LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม S/2554

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายดีเป็นโจทก์ฟ้องนายเกเรต่อศาลแขวง (ในท้องที่นั้นมีทั้งศาลจังหวัดและศาลแขวง) ในข้อหากระทําความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท นายนิติ ผู้พิพากษาประจําศาลในศาลแขวงแห่งนั้นได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูล จึงพิพากษายกฟ้อง คําพิพากษาดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมี คําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

ผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจตาม (3)(4) หรือ (5)”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในความผิด ฐานลักทรัพย์ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334) ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5) ประกอบมาตรา 17

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า คําพิพากษายกฟ้องของนายนิติผู้พิพากษาประจําศาล ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า อํานาจของผู้พิพากษาประจําศาลนั้นถูกจํากัดโดยบทบัญญัติมาตรา 25 วรรคท้าย กล่าวคือ ไม่มีอํานาจตามมาตรา 25(3)(4) และ (5) เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายนิติเป็นผู้พิพากษาประจําศาล นายนิติจึงไม่มีอํานาจไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา การที่นายนิติผู้พิพากษาประจําศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล จึงพิพากษายกฟ้อง คําพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(3) ประกอบวรรคท้าย

สรุป คําพิพากษาดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายใหญ่ฟ้องนายเล็กข้อหาชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาทต่อศาลอาญา มีนายหนึ่ง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเป็นผู้ไต่สวนมูลฟ้อง นายหนึ่งเห็นว่าคําฟ้องของนายใหญ่ไม่มีมูล จึงพิพากษายกฟ้องของนายใหญ่โดยได้ให้นายสองรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ซึ่งมีอาวุโส น้อยที่สุดเข้าตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษายกฟ้อง การไต่สวนมูลฟ้องของนายหนึ่ง และการพิพากษายกฟ้องของนายหนึ่งและนายสองชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่ คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 2545)”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า การไต่สวนมูลฟ้องของนายหนึ่ง ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เห็นว่า โดยหลักแล้วในศาลชั้นต้นผู้พิพากษาคนเดียวไม่มีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาญาฐานชิงทรัพย์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5) เพราะความผิดฐานชิงทรัพย์ มีกําหนดอัตราโทษตามกฎหมายให้จําคุกเกิน 3 ปี จึงต้องให้ผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะ

แต่สําหรับการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา ไม่ว่าคดีนั้นกฎหมายจะกําหนดอัตราโทษจําคุกกี่ปีก็ตาม ผู้พิพากษาคนเดียวก็ย่อมมีอํานาจกระทําได้ตามมาตรา 25(3) ดังนั้น การไต่สวนมูลฟ้องของนายหนึ่งจึงชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการต่อมามีว่า การพิพากษายกฟ้องของนายหนึ่งและนายสอง ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เห็นว่า การที่นายหนึ่งเห็นว่าคําฟ้องของนายใหญ่ไม่มีมูล จึงพิพากษา ยกฟ้องของนายใหญ่นั้น เมื่อคดีข้อหาชิงทรัพย์มีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 2545) จึงถือได้ว่ามีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31(1) ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างทําคําพิพากษา กรณีนี้ จึงต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเข้าร่วมตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อ ทําคําพิพากษายกฟ้องด้วยตามมาตรา 29(3) แต่เมื่อนายหนึ่งเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา จึงไม่อาจลงลายมือชื่อ ในอีกฐานหนึ่งได้ เพราะนายหนึ่งเป็นผู้พิพากษาผู้ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว กรณีนี้จึงต้องให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เป็นผู้ลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายหนึ่งได้ให้นายสองรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เข้าตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษายกฟ้องนายใหญ่ด้วย ดังนั้น การพิพากษายกฟ้องของ นายหนึ่งและนายสองจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การไต่สวนมูลฟ้องของนายหนึ่ง และการพิพากษายกฟ้องของนายหนึ่งและนายสอง ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 3. นายเอกผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องจําเลยมีทุนทรัพย์สามแสนบาท ขณะที่ทําคําพิพากษาอยู่นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทรัพย์ที่พิพาทนั้นมีราคาเกินกว่าสามแสนบาท นายเอก จึงนําคดีไปให้นายโทผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะ ทําคําพิพากษา และพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คําพิพากษาดังกล่าวของนายเอกและนายโทชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 25(4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่า ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ศาลแขวงซึ่งมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ (ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้อง) ไม่เกิน 3 แสนบาท (มาตรา 25(4) ประกอบกับมาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องจําเลย มีทุนทรัพย์ 3 แสนบาทนั้น นายเอกย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ตามมาตรา 25(4) ประกอบ มาตรา 17 แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในขณะที่ทําคําพิพากษาว่าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นมีราคาเกินกว่า 3 แสนบาท คดีจึงเกินอํานาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนั้น นายเอกผู้พิพากษาศาลแขวงจะต้องมีคําสั่งจําหน่าย คดีโจทก์ออกจากสารบบความ และคืนฟ้องให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นําไปฟ้องยังศาลที่มีเขตอํานาจ นายเอกจะนําคดี ไปให้นายโทผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะทําคําพิพากษา และพิพากษา ให้โจทก์ชนะคดีมิได้ เพราะกรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31(4) เนื่องจาก ตามมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 31(4) นั้น เป็นการให้อํานาจแก่ผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีใน ศาลชั้นต้นเท่านั้น มิได้ให้อํานาจแก่ผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีในศาลแขวงแต่อย่างใด อีกทั้งถ้าให้อํานาจ ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลแขวงดําเนินการดังกล่าวได้ ก็จะเป็นการขยายอํานาจของศาลแขวงให้มีอํานาจเหมือน ศาลจังหวัดหรือศาลชั้นต้นอื่น

ดังนั้น การที่นายเอกไม่สั่งจําหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่นําคดีดังกล่าวไปให้นายโท ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อร่วมกับนายเอก พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีนั้น คําพิพากษา ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําพิพากษาดังกล่าวของนายเอกและนายโทไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW304 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2/2554

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 304 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3

ข้อ 1. ในศาลอาญามีนายใหญ่ดํารงตําแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา นายกลาง นายเล็ก และนายน้อยดํารงตําแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ตามลําดับ นายใหญ่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา จ่ายสํานวนคดีให้นายโทผู้พิพากษาศาลอาญาและนายดําผู้พิพากษาประจําศาลศาลอาญา เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง เมื่อเริ่มสืบพยานโจทก์ไปได้เพียงปากเดียว ฝ่ายจําเลย ทราบว่านายโทเป็นญาติทางฝ่ายภริยาของผู้เสียหาย ทนายจําเลยจึงร้องคัดค้านนายโท เมื่อนายใหญ่ ได้รับคําร้องคัดค้านแล้วเห็นว่า หากให้นายโทเป็นองค์คณะพิจารณาคดีต่อไปอาจจะกระทบกระเทือน ต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี นายใหญ่จึงเรียกคืนสํานวนคดีดังกล่าว และโอน สํานวนคดีให้นายเอกผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญาเป็นองค์คณะแทนนายโท

ท่านเห็นว่าการกระทําดังกล่าวข้างต้นชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 33 วรรคแรก “การเรียกคืนสํานวนคดีหรือการโอนสํานวนคดีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ ขององค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือ พิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทําได้”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 33 วรรคแรกดังกล่าว เมื่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบของศาล จ่ายสํานวนคดี ให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาในศาลไปแล้ว ก็ต้องให้องค์คณะดังกล่าวนั้นพิจารณาคดีไปจนเสร็จสํานวน จะเรียกคืน สํานวนคดีหรือโอนสํานวนจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นไม่ได้ เว้นแต่

1 เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม และ

2 รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ซึ่งมิได้เป็นองค์คณะในคดีนั้น เสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีนั้น หรือให้โอนสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายใหญ่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้จ่ายสํานวนคดีให้นายโท ผู้พิพากษาศาลอาญาและนายดําผู้พิพากษาประจําศาลศาลอาญา เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อเริ่มสืบพยานโจทก์ไปได้เพียงปากเดียว ได้มีการร้องคัดค้านจากฝ่ายจําเลยว่านายโท เป็นญาติทางฝ่ายภริยาของผู้เสียหาย จึงถือว่าเป็นกรณีที่อาจจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม ดังนั้น ในการเรียกสํานวนคดีคืนและโอนสํานวนคดีนี้ไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไป ในกรณีนี้ เป็นศาลอาญา นายใหญ่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้นคือนายกลางได้เสนอความเห็นให้กระทําได้

แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ ปรากฏว่านายใหญ่ได้เรียกคืนสํานวนคดีดังกล่าว และโอนสํานวนคดี ให้นายเอกผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญาเป็นองค์คณะแทนนายโท โดยที่นายกลางรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่ได้ทําความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีและโอนสํานวนคดีนั้นเสนอต่อนายใหญ่ แต่อย่างใด ดังนั้นการกระทําดังกล่าวของนายใหญ่จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 33 วรรคแรก

สรุป การกระทําดังกล่าวของนายใหญ่ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายดํากระทําความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ที่จังหวัดนครปฐมศาลแขวงจังหวัดนครปฐม พิพากษาให้จําคุกนายดํา มีกําหนด 6 เดือน แต่ให้รอการลงโทษไว้ มีกําหนด 2 ปี ยังไม่พ้นกําหนดระยะเวลารอการลงโทษ นายดําไปกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ที่จังหวัดราชบุรีขึ้นอีก ศาลแขวงจังหวัดราชบุรีพิพากษาให้จําคุก นายดํา มีกําหนด 6 เดือน ให้รอการลงโทษจําคุกนายดําไว้มีกําหนด 2 ปี ยังไม่พ้นกําหนดระยะเวลา รอการลงโทษ นายดําไปกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ที่ จังหวัดชุมพร พนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดชุมพรขอให้ศาลแขวงจังหวัดชุมพรพิพากษาลงโทษ นายดําจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 และให้นําโทษที่ศาลแขวงจังหวัดนครปฐม และศาลแขวงจังหวัดราชบุรีให้รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษของศาลแขวงจังหวัดชุมพร ศาลแขวงจังหวัดชุมพรพิจารณาแล้วพิพากษาให้จําคุกนายดํา 6 เดือน ปรับหกพันบาท ไม่เสียค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นายดําจําเลยแถลงว่าไม่มีเงินเสียค่าปรับ ศาลแขวงจังหวัดชุมพรจึงเปลี่ยนโทษปรับเป็นกักขังแทนมีกําหนด 30 วัน และให้นําโทษจําคุกที่ ศาลแขวงจังหวัดนครปฐมและศาลแขวงจังหวัดราชบุรีให้รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษของ ศาลแขวงจังหวัดชุมพร เป็นจําคุก 18 เดือน และกักขังอีก 30 วัน นายอุทธรณ์ว่า พนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดชุมพร ไม่มีอํานาจขอให้นําโทษที่ศาลแขวงจังหวัดนครปฐมพิพากษาให้รอการลงโทษมาบวกเข้ากับโทษที่ศาลแขวงจังหวัดชุมพรพิพากษา เพราะ ศาลแขวงจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลในคดีหลังของศาลแขวงจังหวัดนครปฐมมิได้บวกโทษจําเลย เป็นการล่วงเลยเวลามาแล้ว ศาลแขวงจังหวัดชุมพรเป็นศาลในคดีหลังของศาลแขวงจังหวัดราชบุรี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ได้แต่เพิ่มโทษจําเลยเฉพาะที่ศาลแขวงจังหวัดราชบุรี มิได้ เพิ่มโทษจําเลยเท่านั้น ส่วนที่ศาลแขวงจังหวัดชุมพรพิพากษาจําคุกจําเลย 6 เดือน และกักขังอีก 30 วันนั้นก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจําเลยต้องถูกจองจําถึง 7 เดือน ซึ่งผู้พิพากษาศาลแขวงจังหวัดชุมพรไม่มีอํานาจกระทําได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ขอให้พิพากษายกฟ้อง ท่านเห็นว่าคําร้องขอบวกโทษของศาลแขวงจังหวัดนครปฐมและศาลแขวงจังหวัดราชบุรีเข้ากับโทษ ของศาลแขวงจังหวัดชุมพรของพนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดชุมพร และคําพิพากษาของ

ศาลแขวงจังหวัดชุมพรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก “เมื่อปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตาม คําแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกําหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทําความผิด อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุกสําหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกําหนดโทษที่รอการกําหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอ การลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

ประเด็นที่ 1 คําร้องขอบวกโทษของศาลแขวงจังหวัดนครปฐมและศาลแขวงจังหวัดราชบุรี เข้ากับโทษของศาลแขวงจังหวัดชุมพรของพนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดชุมพรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก ได้วางหลักไว้ว่า ถ้าจําเลยเคยได้กระทําความผิดมาก่อน และศาลในคดีก่อนได้พิพากษาว่าจําเลยกระทําความผิดและได้กําหนดโทษจําคุกที่จะลงแก่จําเลยไว้ แต่โทษจําคุกนั้น ให้รอการลงโทษไว้ภายในเวลาที่ศาลกําหนด ถ้าจําเลยได้มากระทําความผิดขึ้นอีกภายในเวลาที่ศาลกําหนดอันมิใช่ ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อน เข้ากับโทษในคดีหลัง ซึ่งโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนนั้นจะเป็นโทษเพียงคดีเดียวหรือหลายคดีก็ได้

ตามอุทาหรณ์ การที่นายดําได้กระทําความผิดมาก่อน 2 คดี และศาลในคดีก่อนคือศาลแขวงจังหวัดนครปฐมและศาลแขวงจังหวัดราชบุรีได้พิพากษาให้จําคุกนายดําคดีละ 6 เดือน แต่โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกําหนด 2 ปี ดังนี้เมื่อนายดําได้มากระทําความผิดขึ้นอีกภายในกําหนดระยะเวลารอการลงโทษ ศาลในคดีหลัง คือศาลแขวงจังหวัดชุมพรก็ต้องนําโทษจําคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจําคุกในคดีหลัง ดังนั้น การที่พนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดชุมพรได้ยื่นคําร้องให้ศาลแขวงจังหวัดชุมพรนําโทษที่ศาลแขวงจังหวัดนครปฐม และศาลแขวงจังหวัดราชบุรีให้รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษของศาลแขวงจังหวัดชุมพรนั้น คําร้องดังกล่าวจึง ชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นที่ 2 คําพิพากษาของศาลแขวงจังหวัดชุมพรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5) ประกอบมาตรา 17 ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับได้ แต่จะลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

ตามอุทาหรณ์ การที่ศาลแขวงจังหวัดชุมพรได้พิพากษาให้จําคุกนายดํา 6 เดือน และปรับ 6,000 บาทนั้น คําพิพากษาของศาลแขวงจังหวัดชุมพรชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เพราะมิได้ลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาทแต่อย่างใด แม้ว่านายดําจําเลยจะแถลงว่าไม่มีเงินเสียค่าปรับ และศาลแขวงจังหวัดชุมพร ได้เปลี่ยนโทษปรับเป็นกักขังแทนค่าปรับมีกําหนด 30 วัน ทําให้นายดําจําเลยต้องถูกคุมขังถึง 7 เดือนก็ตาม เพราะ การกักขังแทนค่าปรับไม่ใช่โทษจําคุก และการที่ศาลแขวงจังหวัดชุมพรให้นําโทษจําคุกที่ศาลแขวงจังหวัดนครปฐม และศาลแขวงจังหวัดราชบุรีให้รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจําคุกของศาลแขวงจังหวัดชุมพรทําให้นายดํา ต้องรับโทษจําคุก 18 เดือน และกักขังอีก 30 วันนั้น ก็เป็นการดําเนินการตามที่ ป.อาญา มาตรา 58 วรรคแรก ได้กําหนดไว้ ดังนั้นคําพิพากษาของศาลแขวงจังหวัดชุมพรจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําร้องขอให้บวกโทษของศาลแขวงจังหวัดนครปฐมและศาลแขวงจังหวัดราชบุรีเข้ากับโทษ ของศาลแขวงจังหวัดชุมพรของพนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดชุมพร และคําพิพากษาของศาลแขวงจังหวัดชุมพร ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. นายไก่ได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายกาไปเป็นจํานวนสองแสนเก้าหมื่นบาท เมื่อถึงกําหนดชําระหนี้ตามสัญญากู้ นายไก่ไม่มีเงินชําระหนี้ให้แก่นายกา นายกาจึงต้องการฟ้องนายไก่ให้ชําระหนี้เงินตาม สัญญากู้สองแสนเก้าหมื่นบาท และดอกเบี้ยที่ค้างชําระจนถึงวันฟ้องอีกเป็นจํานวนเงินหนึ่งหมื่นบาท พร้อมกับขอให้ศาลบังคับให้นายไก่ชําระดอกเบี้ยอีกร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะ ชําระเงินเสร็จสิ้น ถ้าในท้องที่นั้นมีทั้งศาลจังหวัดและศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ นายกาจะต้องฟ้องคดีดังกล่าวที่ศาลจังหวัด หรือศาลแขวง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25(4) ประกอบกับมาตรา 17) จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งแล้วแต่กรณี

ตามอุทาหรณ์ การที่นายกาต้องการฟ้องให้นายไก่ให้ชําระหนี้เงินตามสัญญากู้นั้น ถือว่าเป็น การฟ้องคดีที่มีทุนทรัพย์ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจํานวนเงินที่ฟ้องตามสัญญากู้นั้นมีจํานวน 290,000 บาท และดอกเบี้ยที่ค้างชําระจนถึงวันฟ้องเป็นจํานวนเงิน 10,000 บาท เมื่อรวมกันแล้วมีจํานวน 300,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท (ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันชําระเสร็จไม่นํามารวมค่านวณเป็นทุนทรัพย์) จึงเป็นคดีแพ่งที่ อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ดังนั้นนายกาจึงต้องฟ้องคดีดังกล่าวที่ศาลแขวง

สรุป นายกาจะต้องฟ้องคดีดังกล่าวที่ศาลแขวง

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยรับโอนที่ดินจากนายเมฆซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยฉ้อฉล ซึ่งนายเมฆเป็นหนี้ตามสัญญากู้จํานวน 5,000,000 บาท หนี้ตามสัญญากู้ระหว่างนายเมฆกับโจทก์ถึงกําหนดชําระแล้ว การที่นายเมฆโอนที่ดินให้จําเลยโดยฉ้อฉลจะมีผลทําให้โจทก์ไม่สามารถติดตามนําที่ดิน พิพาทแปลงนี้มาบังคับชําระหนี้ตามสัญญากู้ได้ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงขอให้ศาล มีคําสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินโดยฉ้อฉลระหว่างนายเมฆและจําเลย จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า จําเลย และนายเมฆไม่ได้กระทําการโอนที่ดินโดยฉ้อฉลขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลมีคําพิพากษา ให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งให้เพิกถอนการโอนที่เป็นการฉ้อฉลระหว่างนายเมฆและจําเลย

ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่ พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยรับโอนที่ดินจากนายเมฆซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ โดยฉ้อฉล ซึ่งนายเมฆเป็นหนี้ตามสัญญากู้จํานวน 5,000,000 บาท หนี้ตามสัญญากู้ระหว่างนายเมฆกับโจทก์ถึง กําหนดชําระแล้ว การที่นายเมฆโอนที่ดินให้จําเลยโดยฉ้อฉลจะมีผลทําให้โจทก์ไม่สามารถติดตามนําที่ดินพิพาทแปลงนี้ มาบังคับชําระหนี้ตามสัญญากู้ได้ ทําให้เจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนการโอนที่ดิน โดยฉ้อฉลระหว่างนายเมฆและจําเลยนั้น ถ้าศาลมีคําพิพากษาให้เพิกถอนแล้วที่ดินพิพาทแปลงนี้ก็จะกลับไปเป็น ของนายเมฆ โดยโจทก์จะไม่ได้รับทรัพย์สินใดจากการฟ้อง ดังนั้น คดีที่โจทก์ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

และเมื่อต่อมาศาลได้มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งให้เพิกถอนการโอนที่เป็นการฉ้อฉลระหว่าง นายเมฆและจําเลยนั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

สรุป โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2 โจทก์ยื่นคําฟ้องและจําเลยยื่นคําให้การเรียบร้อยแล้วก่อนถึงวันสืบพยาน จําเลยมายื่นคําร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าตนเองป่วยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลเห็นว่าจําเลยไม่ได้ป่วยจริงจึงมีคําสั่งยกคําร้อง คงให้มีวันสืบพยานดังเดิม เมื่อถึงวันสืบพยาน จําเลยมายืนบัญชีระบุพยาน ศาลมีคําสั่งไม่รับ เพราะเกินกําหนดระยะเวลายื่นคําให้การแล้ว ภายหลังจากสืบพยานไปบ้างแล้วโจทก์มายื่นคําร้อง ขอให้ศาลยึดรถยนต์ของจําเลยไว้ชั่วคราว เพราะจําเลยมีเจตนาจะยักย้ายโอนขายรถยนต์ดังกล่าว ศาลจึงมีคําสั่งให้ยึดรถยนต์จําเลยไว้ชั่วคราวระหว่างพิจารณา ให้ท่านวินิจฉัยว่า จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งของศาลที่สั่งดังต่อไปนี้ในระหว่างพิจารณาได้หรือไม่

(ก) คําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี

(ข) คําสั่งไม่รับบัญชีระบุพยาน

(ค) คําสั่งยึดรถยนต์จําเลยไว้ชั่วคราว

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่าง พิจารณา

มาตรา 228 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

(2) มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือมี คําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อจะบังคับคดีตามคําพิพากษาต่อไป หรือ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 และมาตรา 228

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่ง ไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นตามมาตรา 226 (2) ส่วนคําสั่งของศาลนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ ไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องโต้แย้งก่อนที่จะอุทธรณ์แต่ประการใด (อุทธรณ์ได้ทันที)

กรณีตามอุทาหรณ์ จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งของศาลที่สั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

(ก) คําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี เป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินคดี ซึ่งเมื่อศาลสั่งไปแล้ว ไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล และไม่ใช่คําสั่งตามมาตรา 227 และมาตรา 228 จึงถือเป็นคําสั่งที่ศาลสั่งในระหว่าง พิจารณา ดังนั้น จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งของศาลดังกล่าวในระหว่างพิจารณาไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226

(ข) คําสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินคดี ซึ่งเมื่อศาลสั่งไปแล้ว ไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล และไม่ใช่คําสั่งตามมาตรา 227 และมาตรา 228 จึงถือเป็นคําสั่งที่ศาลสั่งในระหว่าง พิจารณา ดังนั้น จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งของศาลดังกล่าวในระหว่างพิจารณาไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226

(ค) คําสั่งยึดรถยนต์จําเลยไว้ชั่วคราว เป็นคําสั่งที่เกี่ยวด้วยคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (2) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา อันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (1) ดังนั้น จําเลยจึงสามารถอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้ ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 วรรคสอง

สรุป

(ก) จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีในระหว่างพิจารณาไม่ได้

(ข) จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานในระหว่างพิจารณาไม่ได้

(ค) จําเลยสามารถอุทธรณ์คําสั่งยึดรถยนต์จําเลยไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาได้

 

ข้อ 3 โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ที่จําเลยยืมไปจากโจทก์ 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์พร้อมยื่นคําร้องต่อศาลขอให้ จําเลยนําเงินที่ได้จากการขายที่ดินของจําเลยมาวางศาลก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยอ้างว่าเป็น ทรัพย์สินที่พิพาทที่ง่ายแก่การใช้สอยหรือยักย้ายถ่ายเท หากโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่อาจ ติดตามเอากลับคืนมาเพื่อบังคับคดีตามคําพิพากษาได้ ปรากฏว่าจําเลยได้รับสําเนาอุทธรณ์และคําร้อง ของโจทก์ดังกล่าวแล้วไม่ยื่นคําแก้อุทธรณ์และคัดค้านคําร้องของโจทก์ ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาสั่งคําร้องของโจทก์และศาลนั้น จะอนุญาตตามคําร้องของโจทก์ดังกล่าวได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคําขอ เช่นว่านี้”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคําขอ ต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และ มาตรา 262

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ที่จําเลยยืมไปจากโจทก์ 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์พร้อมยื่นคําร้องต่อศาล ขอให้จําเลยนําเงินที่ได้จากการขายที่ดินของจําเลยมาวางศาลก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษานั้น คําร้องของโจทก์ที่ ยืนไปพร้อมกับอุทธรณ์ขอให้ศาลนําวิธีการชั่วคราวก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษามาใช้บังคับแก่จําเลยดังกล่าวนั้น ถือเป็นคําขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เมื่อปรากฏว่าคดีนี้อยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีที่อุทธรณ์ย่อม เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ เพราะคดีนี้ได้เสร็จการพิจารณาไปจากศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งการยื่นขอ คุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้ายมาใช้บังคับ ดังนั้น ศาลชั้นต้น จึงไม่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์

การขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการขอให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ขอที่พิพาทกันในคดีให้ได้รับความคุ้มครองไว้ในระหว่างพิจารณาจนกว่า ศาลจะมีคําพิพากษา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษา แต่เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นคดีที่ขอให้จําเลยชําระหนี้เป็นเงิน มิใช่เป็นคดีที่พิพากษาเกี่ยวด้วยตัวทรัพย์สิน เงินที่จําเลยจะต้องชําระแก่โจทก์จึงมิใช่ทรัพย์สินที่พิพาทกันในคดีที่ จะขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์โดยให้จําเลยนํามาวางศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ จะอนุญาตตามคําร้องขอของโจทก์ไม่ได้

สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาสั่งคําร้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์จะอนุญาต ตามคําร้องขอของโจทก์ไม่ได้

 

ข้อ 4 ศาลแพ่งมีคําพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ให้จําเลยชําระเงิน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยกับค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ คดีไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ โจทก์ขอ บังคับคดี ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี และเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินปันผลของจําเลยที่มีสิทธิจะได้รับจากสหกรณ์ปีละ 5,000 บาท นับแต่ปี 2557 เป็นต้นมา แต่ไม่พอชําระหนี้ตามคําพิพากษา วันที่ 20 มิถุนายน 2561 โจทก์ได้แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถจักรยานยนต์ของจําเลยราคา 30,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการยึดให้ตามคําขอของโจทก์ และประกาศนัดขายทอดตลาดแล้ว จําเลยยื่นคําคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า บัดนี้พ้นกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลแพ่งมี คําพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีตามคําสั่งอายัดเงินปันผลสหกรณ์ของจําเลยแล้ว และไม่มีสิทธิบังคับยึดรถจักรยานยนต์ของจําเลยด้วย

ให้วินิจฉัยว่า คําคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่ง “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้ มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัด สิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่มี คําพิพากษาหรือคําสั่ง ซึ่งคําว่า “นับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง” ตามมาตรา 274 ดังกล่าว หมายความว่า นับแต่ วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลในชั้นที่สุดในคดีนั้น และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงาน บังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการบังคับคดี แก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่คดีนี้ศาลแพ่งได้มีคําพิพากษาวันที่ 15 มกราคม 2550 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปีนับแต่ วันที่มีคําพิพากษาของศาลแพ่ง ซึ่งกําหนดระยะเวลาในการบังคับคดีจะครบกําหนดในวันที่ 15 มกราคม 2560 เมื่อโจทก์ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินปันผลของจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีสิทธิจะ ได้รับจากสหกรณ์ไว้แล้วเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 ซึ่งอยู่ภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคําพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะดําเนินการบังคับคดีแก่สิทธิเรียกร้องตามที่อายัดไว้นั้นต่อไปได้จนแล้วเสร็จหรือครบถ้วน ตามจํานวนหนี้ตามคําพิพากษา ดังนั้น การที่จําเลยยื่นคําคัดค้านว่า บัดนี้พ้นกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลแพ่ง มีคําพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีตามคําสั่งอายัดเงินปันผลสหกรณ์ของจําเลยแล้วนั้น คําคัดค้านส่วนนี้ ของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้น

ส่วนการที่โจทก์ขอให้ดําเนินการบังคับคดีแก่รถจักรยานยนต์ของจําเลยนั้น เมื่อโจทก์ได้ร้องขอให้ มีการบังคับคดีโดยวิธียึดรถจักรยานยนต์ของจําเลยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2561 ซึ่งเป็นการยื่นคําร้องขอภายหลัง เมื่อล่วงพ้นกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาของศาลแพ่งแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง คําคัดค้านของจําเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับยึดรถจักรยานยนต์ ของจําเลยในส่วนนี้จึงฟังขึ้น

สรุป คําคัดค้านของจําเลยในส่วนที่ว่าโจทก์หมดสิทธิบังคับคดีตามคําสั่งอายัดเงินปันผลสหกรณ์ ของจําเลยฟังไม่ขึ้น แต่คําคัดค้านของจําเลยในส่วนที่ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับยึดรถจักรยานยนต์ของจําเลยนั้นฟังขึ้น

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยเรียกหนี้เงินกู้จํานวน 500,000 บาท จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าทําสัญญากู้เงินจากโจทก์เพียง 200,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ต่อมาศาลชั้นต้น มีคําพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินจํานวน 250,000 บาท จําเลยไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าจําเลยต้องรับผิดชดใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์เพียง 200,000 บาท ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยเรียกหนี้เงินกู้จํานวน 500,000 บาท จําเลยยื่น คําให้การอ้างว่าทําสัญญากู้เงินจากโจทก์เพียง 200,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินจํานวน 250,000 บาท จําเลยไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์ว่าจําเลยต้องรับผิดชดใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์เพียง 200,000 บาทนั้น คําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงกระทบสิทธิของจําเลยเพียง 50,000 บาทเท่านั้น เมื่อจํานวนเงินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 50,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท และจําเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่าเป็น การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น จําเลยจึงอุทธรณ์ไม่ได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยอ้างว่าจําเลยกระทําละเมิดต่อโจทก์ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 400,000 บาท แก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า ไม่ได้กระทําละเมิดขอให้ศาลยกฟ้อง ในระหว่างการพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้งดสืบพยานของจําเลยอีก 2 ปาก เนื่องจากพยานที่สืบไปแล้วพอได้ความจากคําบอกกล่าวแล้ว จําเลยไม่พอใจ คําสั่งงดสืบพยาน จึงยืนคําแถลงต่อศาลว่า พยานของจําเลยอีก 2 ปากเป็นพยานสําคัญ ขอให้ศาล สืบพยานอีก 2 ปากของจําเลย แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สืบพยานอีก 2 ปากของจําเลยและนัดฟังคําพิพากษา ดังนี้ ถ้าจําเลยไม่พอใจคําสั่งงดสืบพยาน เมื่อศาลมีคําพิพากษาแล้ว จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228

และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้ง คัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยว่า จําเลยกระทําละเมิดต่อโจทก์ทําให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย และจําเลยยื่นคําให้การว่า ไม่ได้กระทําละเมิด ในระหว่างการพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นมีคําสั่ง ให้งดสืบพยานของจําเลยอีก 2 ปาก เนื่องจากพยานที่สืบไปแล้วพอได้ความจากคําบอกกล่าวแล้ว จําเลยไม่พอใจ คําสั่งงดสืบพยาน จึงยื่นคําแถลงต่อศาลว่า พยานอีก 2 ปากเป็นพยานสําคัญ ขอให้ศาลสืบพยานอีก 2 ปาก ของจําเลย แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สืบพยานอีก 2 ปากของจําเลยนั้น คําสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นถือเป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา การที่จําเลยไม่พอใจคําสั่งของศาลจึงยื่นคําแถลงต่อศาลดังกล่าวนั้น คําแถลงของจําเลย ย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งคําสั่งของศาลแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลได้มีคําพิพากษาแล้ว จําเลยย่อมสามารถอุทธรณ์ คําสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226

สรุป จําเลยสามารถอุทธรณ์คําสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้

 

ข้อ 3. โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยฐานผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องจักรต่อโจทก์ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อให้จําเลยส่งมอบเครื่องจักรคืน พร้อมทั้งชําระค่าเช่าซื้อที่ค้างชําระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยให้การว่าจําเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ให้จําเลยส่งมอบเครื่องจักร พร้อมทั้งชําระค่าเช่าซื้อที่ค้างชําระพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ย้ายภูมิลําเนาตามภริยาไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในประเทศไทย จําเลยจึงยื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ ของจําเลยต่อศาลอุทธรณ์ให้โจทก์นําค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายมาวางต่อศาล และศาลไต่สวน ได้ข้อเท็จจริงตามคําร้องของจําเลย ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะมีคําสั่งตามคําร้องของจําเลยอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 253 วรรคหนึ่ง “ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยง ไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาล มีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้”

มาตรา 253 ทวิ วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคําพิพากษา ถ้ามี เหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี ไม่ว่าเวลา ใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้”

วินิจฉัย

ในกรณีที่จําเลยจะยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากมีเหตุใดเหตุหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่งได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาของศาลชั้นต้น และ จําเลยได้ยื่นคําร้องต่อศาลก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะได้มีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ทวิ วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและโจทก์ไม่ได้ ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่เป็นกรณีที่จําเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้ยื่นอุทธรณ์ คัดค้านคําพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น แม้จําเลยจะได้ยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และเนื่องจากมีเหตุตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่ง กล่าวคือโจทก์ได้ย้ายภูมิลําเนาไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในประเทศไทยก็ตาม เมื่อกรณีดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว จําเลยจึงไม่สามารถร้องขอคุ้มครองชั่วคราวได้ ดังนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะมี คําสั่งให้ยกคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของจําเลย

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะมีคําสั่งยกคําร้องของจําเลย

 

ข้อ 4. คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาในวันที่ 10 มีนาคม 2551 ให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์จํานวน 4,000,000 บาท ศาลได้ออกคําบังคับ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ ต่อมาโจทก์ได้ขอ ออกหมายบังคับคดีในวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 หลังจากนั้นโจทก์สืบทรัพย์พบว่า จําเลยมีที่ดิน ที่จังหวัดแพร่ จึงแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจําเลยในวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ดังนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดที่ดินของจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่ง “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาในวันที่ 10 มีนาคม 2551 ให้จําเลยชําระหนี้ แก่โจทก์จํานวน 4,000,000 บาท และศาลได้ออกคําบังคับ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับนั้น ถ้าโจทก์จะบังคับคดี โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจําเลย โจทก์จะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ มีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 วรรคหนึ่ง

แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ขอออกหมายบังคับคดีในวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 และเมื่อโจทก์พบว่า จําเลยมีที่ดินที่จังหวัดแพร่ จึงได้แถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจําเลยในวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 นั้น ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้มีการบังคับคดีเมื่อเกินระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ได้มี คําพิพากษา ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่สามารถไปยึดที่ดินของจําเลยตามคําร้องขอของโจทก์ได้

สรุป เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึดที่ดินของจําเลยตามคําร้องขอของโจทก์ไม่ได้

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเอผู้ตายซึ่งเป็นบิดาโจทก์ โดยเขียนข้อความให้ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 500,000 บาทให้จําเลย จึงขอให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรมที่จําเลยอ้าง เป็นโมฆะ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า ไม่เคยปลอมพินัยกรรมของนายเอ นายเอเขียนพินัยกรรม แสดงเจตนายกที่ดินให้จําเลย ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ว่าจําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเอ ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่า พินัยกรรมที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยโดยอ้างว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเอผู้ตาย ซึ่งเป็นบิดาโจทก์ โดยเขียนข้อความให้ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 500,000 บาทให้จําเลย จึงขอให้ศาลแสดงว่า พินัยกรรมที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ และจําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า จําเลยไม่เคยปลอมพินัยกรรมของนายเอ แต่นายเอ เขียนพินัยกรรมแสดงเจตนายกที่ดินให้จําเลย ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ว่าจําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเอ ขอให้ศาลอุทธรณ์ มีคําพิพากษาว่าพินัยกรรมที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะนั้น โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์อุทธรณ์นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อในขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นพินัยกรรมฉบับนี้ยังคงมีผลสมบูรณ์และที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม จึงยังคงเป็นของจําเลย แต่ถ้าศาลพิพากษาให้พินัยกรรมที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะก็จะทําให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้หรือ เสียสิทธิในทรัพย์นั้น คดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และเมื่อที่ดินมีราคา 500,000 บาท ซึ่งเกินกว่า 50,000 บาท จึงไม่เข้าข้อห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้

สรุป โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินท้ายคําฟ้องจํานวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้อง ของโจทก์แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า สัญญากู้ยืมเงินท้ายคําฟ้องของโจทก์มีเพียงลายพิมพ์นิ้วมือ ของผู้กู้โดยไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ไว้ด้วยสองคน จึงถือไม่ได้ว่าเป็น หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ยืมเป็นสําคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดี แก่จําเลยไม่ได้ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในวันเดียวกันกับวันที่โจทก์ยื่นคําฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า คําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ แล้วมีคําสั่งว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นคดีที่มีจํานวนในทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวชอบหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 24 วรรคหนึ่ง “เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัย ให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสําคัญแห่งคดีบางข้อ หรือถึงแม้จะดําเนินการพิจารณาประเด็นข้อสําคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทําให้ได้ความชัดขึ้นอีกแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอ ให้ศาลมีอํานาจที่จะมีคําสั่งให้มีผลว่าก่อนดําเนินการพิจารณาต่อไป ศาลจะได้ พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้น”

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่ง วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และ ให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องของโจทก์แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า สัญญากู้ยืมเงินท้ายคําฟ้องของโจทก์มีเพียงลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้โดยไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ของผู้กู้ไว้ด้วยสองคน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ยืมเป็นสําคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จําเลยไม่ได้ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ถือว่าเป็นคําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมายเมื่อศาลเห็นสมควรตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง มิให้ถือว่า เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา และให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227

การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมายมิใช่อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ดังนั้นแม้จะเป็นคดีที่มีจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์จะไม่เกิน 50,000 บาท ก็ไม่เข้าข้อห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เพราะ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับกับการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ใช้บังคับกับ การอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. ผู้ร้องยื่นคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่อมามีผู้คัดค้านยื่นคําคัดค้านเข้ามาในคดี คัดค้านการตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและมีคําขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ในระหว่าง พิจารณาผู้ร้องเห็นว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์มรดกครอบครองอยู่และมีรายได้รวมถึงดอกผลจากทรัพย์ มรดกนั้น ในกรณีเช่นนี้หากผู้ร้องต้องการยื่นคําร้องขอคุ้มครองผลประโยชน์ชั่วคราวก่อนศาลพิพากษา ขอให้ผู้คัดค้านแสดงบัญชีเงินรายได้ของทรัพย์มรดกและนํารายได้และดอกผลของทรัพย์มรดก มาวางต่อศาลไว้ในระหว่างพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการแบ่งมรดกจะสามารถทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตาม กฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่น คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินทิพิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่ง ห้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ผู้ร้องยื่นคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่อมามีผู้คัดค้าน ยื่นคําคัดค้านเข้ามาในคดีคัดค้านการตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและมีคําขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย ในระหว่างพิจารณาผู้ร้องเห็นว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์มรดกครอบครองอยู่และมีรายได้รวมถึงดอกผล จากทรัพย์มรดกนั้น กรณีเช่นนี้หากผู้ร้องต้องการยื่นคําร้องขอคุ้มครองผลประโยชน์ชั่วคราวก่อนศาลพิพากษา ขอให้ผู้คัดค้านแสดงบัญชีเงินรายได้ของทรัพย์มรดกและนํารายได้และดอกผลของทรัพย์มรดกมาวางต่อศาล ไว้ในระหว่างพิจารณาเพื่อผลประโยชน์ในการแบ่งมรดกนั้น จะสามารถทําได้หรือไม่ เห็นว่า ในการยื่นคําร้อง ขอคุ้มครองชั่วคราวทั้งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 และมาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นคําร้องที่เกี่ยวข้องกับคําขอ ท้ายฟ้องซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลจะต้องมีคําพิพากษาด้วย ซึ่งตามอุทาหรณ์การยื่นคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อมีผู้คัดค้านทําให้คดีไม่มีข้อพิพาทกลายเป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยนั้นก็มีเพียงการ พิจารณาคุณสมบัติของผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าใครมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น ไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ไปถึงตัวทรัพย์มรดกแต่อย่างใด ดังนั้น การยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับทรัพย์มรดกดังกล่าวของผู้ร้อง จึงไม่สามารถทําได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 และมาตรา 264

สรุป การยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ร้องไม่สามารถทําได้

 

ข้อ 4. ศาลแพ่งสืบพยานโจทก์จําเลยเสร็จและให้คู่ความรอฟังคําพิพากษาในวันเดียวกันแล้วมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระเงินตามฟ้อง 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันถัดจาก วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ และศาลแพ่งได้ออกคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา ของศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคําพิพากษา โดยปรากฏว่าจําเลยและทนายความไม่อยู่รอฟัง คําพิพากษาในวันนั้น อีกสามเดือนต่อมา โจทก์สืบทราบว่าจําเลยมีที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ตั้งอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ได้ยื่นคําขอให้บังคับคดีที่ดินของจําเลยดังกล่าวต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ โดยระบุข้อความคําขอให้บังคับคดีถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายเพื่อให้ศาลจังหวัดเชียงใหม่ กําหนดวิธีการบังคับคดีแก่ที่ดินของจําเลยดังกล่าว ให้วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิยื่นคําขอให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีได้หรือไม่ และศาลจังหวัดเชียงใหม่ จะกําหนดวิธีการบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 วรรคหนึ่ง “ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตาม มาตรา 276 และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ”

มาตรา 272 วรรคหนึ่ง “ถ้าศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งอย่างใดซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่ ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ก็ให้ศาลออกคําบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น และให้ถือว่า ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับแล้วในวันนั้น”

มาตรา 276 วรรคหนึ่ง “เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้บังคับคดี ถ้าศาลเห็นว่าลูกหนี้ ตามคําพิพากษาได้ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําบังคับแล้ว ทั้งระยะเวลาที่กําหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคําบังคับนั้น ได้ล่วงพ้นไปแล้ว และคําขอได้ระบุข้อความได้ครบถ้วน ให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายนี้ และตามมาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลแพ่งสืบพยานโจทก์จําเลยเสร็จและให้คู่ความรอฟังคําพิพากษา ของศาลในวันเดียวกันแล้วมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระเงินตามฟ้องพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์อันเป็นคําพิพากษา ซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่จําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ป.วิ.แพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้ศาล ออกคําบังคับคดีทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษานั้น และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับ ในวันนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้ออกคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคําพิพากษา ซึ่งในวันที่ได้อ่านคําพิพากษาให้แก่จําเลยฟังย่อมถือว่าจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับแล้ว แม้จําเลยและทนายจําเลยจะมิได้อยู่รอฟังคําพิพากษาและคําบังคับของศาลชั้นต้นก็ตาม

ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า เวลาได้ผ่านพ้นไป 3 เดือน ซึ่งล่วงพ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามคําบังคับแล้ว จําเลยก็ยังมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคําขอให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่ง

และตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่า ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมี อํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 276 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น เมื่อศาลแพ่ง เป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ศาลแพ่งจึงเป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีที่จะกําหนด วิธีการบังคับคดี มิใช่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แม้ที่ดินที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้บังคับคดีจะตั้งอยู่ ในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคําขอให้บังคับคดีต่อศาลแพ่งเพื่อกําหนดวิธีการบังคับคดี ตามมาตรา 276 มิใช่ยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ เพราะศาลจังหวัดเชียงใหม่จะกําหนดวิธีการบังคับคดีตามคําขอ ของโจทก์ไม่ได้

สรุป โจทก์มีสิทธิยื่นคําขอให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีได้ และศาลจังหวัดเชียงใหม่จะกําหนด วิธีการบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ไม่ได้

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ บัดนี้นายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรมแล้ว จําเลยไม่ยอมคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของนายเส็ง ผู้ตาย ขอให้จําเลยจดทะเบียนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จําเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย มิใช่ของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสี่ และจําเลยแถลงรับกันต่อศาลชั้นต้นว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องมีราคา 200,000 บาท ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย มิใช่เป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่

โจทก์อุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ ไม่ใช่ของจําเลย ให้วินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิอุทธรณ์ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนายเส็ง บิดาของโจทก์ทั้งสี่ บัดนี้นายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรมแล้ว จําเลยไม่ยอมคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งเป็นทายาทของนายเส็งผู้ตาย ขอให้จําเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งจําเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย มิใช่เป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่นั้น คําฟ้องของโจทก์ทั้งสี่เป็นคําฟ้องเรียกให้จําเลย ส่งคืนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายเส็ง ซึ่งถือเป็นคดีที่มีคําขอ ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น การอุทธรณ์ย่อมอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยมิใช่เป็นของนายเส็ง บิดาโจทก์ทั้งสี่จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสี่ และโจทก์อุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ ไม่ใช่ของจําเลยนั้น ถือเป็นการอุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

และเมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 200,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่จะอุทธรณ์รวมกันมาในอุทธรณ์ ฉบับเดียวกัน แต่การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่จะต้องแยกออกจากกันตามราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องเอาแก่จําเลยเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิ ของตนโดยเฉพาะในฐานะที่เป็นทายาทของนายเส็งผู้ตาย ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนจึงมีเพียงคนละ 50,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความ อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังกล่าว

สรุป โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จําเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย จําเลยอ้างว่าไม่เคยทําสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์ และจําเลยได้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจําเลยตกลงจะโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง ให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมและคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคําร้องต่อ ศาลชั้นต้นอ้างว่าจําเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาตามยอม ขอให้เรียกจําเลยมาสอบถาม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ไต่สวนคําร้องของโจทก์ จําเลยไม่พอใจคําสั่ง ของศาลชั้นต้น จึงใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งของศาล ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228

และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้ง คัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จําเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย แต่จําเลยอ้างว่าไม่เคยทําสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ ต่อมาในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์และจําเลยได้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจําเลยตกลงจะโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ และศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมและคดีเสร็จเด็ดขาดแล้วนั้น ต่อมาการที่โจทก์ได้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้น อ้างว่าจําเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาตามยอม ขอให้เรียกจําเลยมา สอบถามนั้น เป็นกรณีที่คําร้องของโจทก์มีการกล่าวหาจําเลย คําร้องของโจทก์ฉบับนี้จึงถือว่าเป็นคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) ส่งผลทําให้เกิดคดีขึ้นใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ไต่สวนคําร้องของโจทก์ คําสั่งของ ศาลชั้นต้นไม่ทําให้คดีเสร็จไป จึงเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจําเลยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งนั้นไว้ก่อน แต่ใช้สิทธิใน การยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลทันที จําเลยจึงไม่สามารถอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ไม่ได้

 

ข้อ 3. ข้อนี้มีคําถามอยู่ 2 ข้อ ให้เลือกทําเพียงข้อเดียว และต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษา

(ก) ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยใช้เงินโจทก์ 10 ล้านบาท ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินไว้ตามคําขอของโจทก์เพื่อขายทอดตลาด นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่า บ้านที่ดินที่ยึดหาใช่ของจําเลยแต่เป็นของนายแดงผู้ร้อง ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยบ้านที่ดินที่ยึด โจทก์คัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นของจําเลย และมีคําสั่งให้ยกคําร้องนายแดง นายแดงอุทธรณ์ว่าบ้านที่ดินที่ยึดเป็นของตนพร้อมกับคําร้องให้ศาลมีคําสั่งงดการขายบ้านที่ดิน ไว้ก่อนในระหว่างอุทธรณ์ ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขาย และถ้าท่านเป็นศาล

ท่านมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตอย่างไร

(ข) ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยใช้เงิน 10 ล้านบาทแก่โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินของจําเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชําระหนี้ตาม คําพิพากษา จําเลยเห็นว่าหากบ้านที่ดินของจําเลยถูกขายทอดตลาดไปแล้ว หากต่อมาศาลอุทธรณ์ มีคําพิพากษาว่าจําเลยไม่ได้ผิดสัญญาและให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จําเลยก็จะเสียสิทธิใน บ้านที่ดิน จําเลยจึงยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้งดการขายบ้านที่ดินของจําเลยไว้ก่อนในระหว่าง อุทธรณ์ ดังนี้ ศาลใดมีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลยที่ขอให้งดการขาย และถ้าท่านเป็นศาล ท่านมี หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตามคําขอของจําเลยอย่างไร

ธงคําตอบ

ข้อ (ก)

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะ ยื่นคําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง ของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าบ้านที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ยึดไว้เพื่อขายทอดตลาด เป็นที่ดินของนายแดงหาใช่ของจําเลยไม่ ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยบ้านที่ดินที่ยึดนั้น ถือว่าเป็นคดีร้องขัดทรัพย์และนายแดงมีฐานะเป็นโจทก์

การที่ศาลชั้นต้นทําการไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นของจําเลยและมีคําสั่งให้ยกคําร้องของนายแดง นายแดงได้อุทธรณ์พร้อมกับร้องขอให้ศาลมีคําสั่งงดการขายบ้านที่ดินที่ยึดไว้ก่อน คําขอของนายแดงถือว่าเป็น คําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 และมาตรา 254 และเมื่อคดีนี้อยู่ระหว่างอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอํานาจสั่งคําร้องของนายแดง เพราะ กรณีการยื่นคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 นั้น มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้าย มาใช้บังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ (นายแดง)

และตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตไว้ว่า ในกรณี ที่ศาลจะพิจารณาอนุญาตตามคําขอของนายแดง ศาลจะต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการคุ้มครองประโยชน์ ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทได้รับการคุ้มครองไว้ก่อนพิพากษา และ ตามข้อเท็จจริง หากนายแดงไม่ได้ยื่นคําขอ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดบ้านที่ดินนั้นไปแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่าบ้านที่ดินที่ยึดเป็นของนายแดง นายแดงก็จะไม่ได้บ้านที่ดินคืน ทําให้นายแดง ต้องเสียหายและเสียสิทธิในบ้านที่ดินนี้ และเมื่อพิจารณาได้ความดังกล่าวแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็จะมีคําสั่งให้งดการ ขายบ้านที่ดินไว้ก่อนในระหว่างอุทธรณ์ได้

สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขายไว้ก่อน และศาลอุทธรณ์ จะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ดังกล่าวข้างต้น

หมายเหตุ คําถามในข้อ 3. มี 2 ข้อ ซึ่งท่านอาจารย์ให้นักศึกษาเลือกทําเพียงข้อเดียว และ ต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษา ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องเลือกทําข้อ (ก)

ส่วนคําถามในข้อ (ข) นั้น ไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะการที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินของจําเลยและประกาศขายทอดตลาดนั้น เป็นกรณีที่ศาลบังคับให้จําเลย ปฏิบัติตามคําพิพากษา หากจําเลยไม่อยากถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลยก็จะต้องร้องขอให้ศาลทุเลา การบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 231 หรือขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 292 (1) แล้วแต่กรณี จําเลยจะร้องขอวิธีการชั่วคราวขอให้ศาลมีคําสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจําเลย ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้

 

ข้อ 4. ศาลแพ่งมีคําพิพากษาให้จับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ กับให้จําเลยใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์จํานวน 50,000 บาท และได้ออกคําบังคับแก่จําเลยในวันที่ได้อ่านคําพิพากษาให้จําเลยฟัง โดยชอบแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ทําหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจําเลยทั้งหมดตามคําพิพากษา ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว ผู้ร้องยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งเพื่อเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา โจทก์ไม่ยื่นคําคัดค้าน จําเลยยื่นคําคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะเข้าสวมสิทธิ บังคับคดีไม่ได้ ขอให้ยกคําร้อง ให้วินิจฉัยว่า คําคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ และศาลแพ่งจะมีคําสั่งให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคสาม “ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดี ตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์ เฉพาะสิง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่ศาลแพ่งมีคําพิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ กับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จํานวน 50,000 บาท ต่อมาโจทก์ได้ทําหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจําเลย ทั้งหมดตามคําพิพากษาให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว และผู้ร้องได้ยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งเพื่อเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษา แต่จําเลยได้ยื่นคําคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะเข้าสวมสิทธิบังคับคดีไม่ได้นั้น คําคัดค้านของจําเลยย่อมฟังไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม ได้บัญญัติให้บุคคลผู้ซึ่งรับโอน หรือรับช่วงสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งที่เป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง มีอํานาจบังคับคดีโดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป ดังนั้น เมื่อผู้ร้องได้รับ โอนสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาโดยชอบแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอ ต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อบังคับคดีต่อไปได้

แต่อย่างไรก็ดี ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม ได้บัญญัติให้บุคคลผู้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิ ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งดังกล่าวนั้น มีอํานาจบังคับคดีเฉพาะตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่ เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณีเท่านั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องรับโอนมาจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษานั้น นอกจากจะเป็นการให้ชําระเงิน แก่โจทก์แล้ว ยังมีการบังคับคดีโดยให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ด้วย ซึ่งการบังคับคดีใน ส่วนหลัง มิใช่การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งตามความในหมวด 2 หรือหมวด 3 ที่ผู้ร้องจะเรียกร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ แต่เป็นการบังคับคดีในกรณี ที่ให้ขับไล่ตามความในหมวด 4 ซึ่งไม่อยู่ในบังคับที่ผู้ร้องจะขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาในส่วนนี้ได้ ส่วนสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาที่บังคับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นการบังคับในกรณีที่เป็นหนี้เงิน ซึ่งผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปได้ ดังนั้น ศาลแพ่งชอบที่จะมีคําสั่งให้ผู้ร้อง เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเฉพาะในกรณีที่ให้จําเลยชําระเงินและยกคําร้องขอเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาในกรณีที่ให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์

สรุป คําคัดค้านของจําเลยฟังไม่ขึ้น และศาลแพ่งชอบที่จะมีคําสั่งให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเฉพาะในกรณีที่ให้จําเลยชําระเงินและมีคําสั่งยกคําร้องขอที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาในกรณีที่ให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า โจทก์ทําสัญญากู้เงินจากจําเลยจํานวน 5 ล้านบาท โดยโจทก์นําโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จําเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์นําหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยไปชําระคืน เต็มจํานวนแล้ว แต่จําเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ โจทก์จึงขอศาลบังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดิน แก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่เคยนําโฉนดที่ดินมาให้ตนยึดถือเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ แต่อย่างใด และที่ดินที่โจทก์อ้างก็เป็นที่ดินสาธารณะ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้น มีคําพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยโดยอ้างว่า โจทก์ทําสัญญากู้เงินจากจําเลยจํานวน 5 ล้านบาท และโจทก์ได้นําโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จําเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์นําหนี้เงินกู้พร้อม ดอกเบี้ยไปชําระคืนเต็มจํานวนแล้ว แต่จําเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ โจทก์จึงขอศาลบังคับให้จําเลยคืนโฉนด ที่ดินแก่โจทก์ แต่จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่เคยนําโฉนดที่ดินมาให้ตนยึดถือเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้แต่อย่างใด และที่ดินที่โจทก์อ้างก็เป็นที่ดินสาธารณะ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง และต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษายกฟ้อง โจทก์นั้น การที่โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดิน ตามฟ้องแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง และโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาล บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคําพิพากษายกฟ้อง และโจทก์ ต้องการยื่นอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อเป็นการอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่เข้าข้อห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้

สรุป โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยบุกรุกเข้ามาในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยไม่มีอํานาจ ขอให้ศาลบังคับให้ขับไล่จําเลยและบริวารของจําเลยออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ จําเลยยื่นคําให้การ ต่อสู้ว่า อสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจําเลย ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลย เนื่องจากจําเลยทําไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มของศาล จําเลยจึง ยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งของศาล ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ

มาตรา 18 วรรคท้าย “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ขอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา

มาตรา 228 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่ง มิได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 และมาตรา 228

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่ง ไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นตามมาตรา 226 (2) ส่วนคําสั่งของศาลนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ ไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องโต้แย้งก่อนที่จะอุทธรณ์แต่ประการใด (อุทธรณ์ได้ทันที)

กรณีตามอุทาหรณ์ คําให้การเป็นคําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) เมื่อศาลชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลยด้วยเหตุว่าจําเลยทําไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มของศาล ซึ่งเป็นคําสั่งในชั้นตรวจคํา คู่ความของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 ซึ่งมิได้ทําให้ คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากแต่ทําให้ประเด็นบางข้อตามที่จําเลยยกขึ้นต่อสู้ในคําให้การเสร็จไปเท่านั้น จึงเป็นคําสั่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา อันจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นใน ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (1) ดังนั้นจําเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การ ของจําเลยได้ทันทีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 วรรคสอง แม้คดีนั้นจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม

สรุป จําเลยสามารถยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นได้ทันที โดยไม่ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อน

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยกระทําละเมิดลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ศาลบังคับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 10 ล้านบาท จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยไม่ได้กระทําละเมิด ไม่ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้องใน ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ขอให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลย หยุดใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน เสียหายของโจทก์ในระหว่างการพิจารณา ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะมีคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์อย่างไร เพราะ เหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ำหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตาม กฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว วินิจฉัย การประกอบการ สํานักงาน

วิธีขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น โจทก์จะต้องร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายใน บังคับแห่งเงื่อนไขที่จะกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ คือ

1 วิธีการคุ้มครองชั่วคราวที่จะนํามาใช้แก่จําเลยจะต้องเป็นวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) – (4) กล่าวคือ (1) ขอให้ยึดอายัดชั่วคราว (2) ขอห้ามชั่วคราว (3) ขอห้ามเปลี่ยนแปลง ทางทะเบียนชั่วคราว (4) ขอให้จับกุมกักขังจําเลยชั่วคราว

2 สิ่งที่ขอคุ้มครองจะต้องสอดคล้องกับประเด็นตามคําฟ้องและคําขอท้ายฟ้อง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําละเมิดลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 10 ล้านบาท จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยไม่ได้กระทําละเมิด ไม่ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง และ ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ขอให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลยหยุดใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายของโจทก์ในระหว่าง พิจารณานั้น จะเห็นได้ว่า สิ่งที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวนั้นไม่เกี่ยวกับประเด็นที่โจทก์ฟ้องและคําขอท้ายฟ้อง ที่ขอให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์จึงขอคุ้มครองชั่วคราวไม่ได้ เพราะไม่ต้องด้วย หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งยกคําร้องของโจทก์

 

ข้อ 4. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และให้โจทก์ชําระราคาค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จําเลย หากจําเลยไม่จดทะเบียนโอน ให้ถือคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลย หากจําเลยไม่สามารถ จดทะเบียนโอนได้ ให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายจํานวน 500,000 บาท พร้อมคืนเงินมัดจําจํานวน 200,000 บาท แก่โจทก์ ศาลออกคําสั่งบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 15 วัน จําเลย นําเงิน 700,000 บาทมาวางต่อศาล แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จนครบกําหนดเวลาตามคําบังคับแล้ว

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า โจทก์จะมีสิทธิร้องขอให้บังคับแก่คดีจําเลยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 271 แห่ง ป.วิ.แพ่ง นั้น มีหลักว่า ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะหรือ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้

แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีภายใน ขอบเขตของคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะต้องดําเนินการบังคับตามลําดับก่อนหลัง ที่ระบุไว้ในคําพิพากษา เจ้าหนี้จะเลือกให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามคําพิพากษาไม่ได้ และลูกหนี้ตามคําพิพากษา ก็ต้องปฏิบัติการชําระหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ใน คําพิพากษาเช่นเดียวกันด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยไป จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และให้โจทก์ชําระราคาค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จําเลย หากจําเลยไม่ไปจดทะเบียนโอน ให้ถือคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลย หากจําเลยไม่สามารถจดทะเบียน โอนได้ ให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายจํานวน 500,000 บาท พร้อมคืนเงินมัดจําจํานวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น เป็นกรณีที่หนี้ตามคําพิพากษามีหลายอย่าง และมิใช่หนี้ที่ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใด อย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 แต่เป็นเรื่องการดําเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 ดังนั้น การที่โจทก์ ร้องขอให้บังคับคดีก็ต้องเป็นไปตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ในคําพิพากษานั้น และจําเลย (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) ก็จะต้องปฏิบัติการชําระหนี้ต่อโจทก์ตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ในคําพิพากษาด้วย ซึ่งกรณีตามอุทาหรณ์ดังกล่าวนี้ จําเลยจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อน จําเลยจะเลือกวิธีการชําระค่าเสียหาย และคืนเงินมัดจําให้แก่โจทก์ทั้งที่จําเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยโจทก์ไม่ยินยอมตกลงด้วยหาได้ไม่

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลย ยอมน้ําเงิน 700,000 บาท มาวางต่อศาลเพื่อชําระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จึงเท่ากับว่าจําเลยยังมิได้ปฏิบัติให้ ถูกต้องตามคําพิพากษา ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาโดยถือเอาคําพิพากษา แทนการแสดงเจตนาของจําเลยได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271

สรุป โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีจําเลยได้

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ที่ 1 ถึงโจทก์ที่ 3 ร่วมกันยื่นฟ้องจําเลยว่า โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทของนายทุเรียนร่วมกับจําเลยแต่เมื่อนายทุเรียนถึงแก่ความตายจําเลยได้ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกไปแปลงหนึ่งมีมูลค่า 100,000 บาท แต่ไม่ยอมแบ่งให้โจทก์ทั้งสามขอให้จําเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสาม จําเลยยื่นคําให้การว่า ที่ดินดังกล่าวนายทุเรียนได้ให้ตนไว้ตั้งแต่ก่อนนายทุเรียนตายไม่ใช่ทรัพย์มรดกเป็นทรัพย์สินของ จําเลย จําเลยจึงไม่ต้องแบ่งให้โจทก์ทั้งสามขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสาม ในระหว่างพิจารณาโจทก์ทั้งสาม ขอสืบพยานบุคคล 10 ปาก แต่เมื่อได้สืบพยานไปแล้ว 8 ปาก ศาลใช้ดุลพินิจเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมา เพียงพอแล้วจึงมีคําสั่งระหว่างพิจารณาให้สืบพยานโจทก์สองปาก แล้วพิพากษาว่า ที่ดินดังกล่าวนายทุเรียนยกให้จําเลยกอนตายไม่ใช่ทรัพย์มรดก ยกฟ้องโจทก์ โดยโจทก์ทั้งสามได้โต้แย้งคําสั่ง งดสืบพยานไว้แล้ว โจทก์ทั้งสามจึงต้องการอุทธรณ์ดังนี้

(1) อุทธรณ์ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของนายทุเรียนขอให้จําเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสาม

(2) อุทธรณ์คําสั่งที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งงดสืบพยานโจทก์

ให้ท่านวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสามจะสามารถอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 หลัง

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ที่ 1 ถึงโจทก์ที่ 3 ร่วมกันยื่นฟ้องจําเลยว่า โจทก์ทั้งสามเป็น ทายาทของนายทุเรียนร่วมกับจําเลย เมื่อนายทุเรียนถึงแก่ความตายจําเลยได้ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกไปแปลงหนึ่ง มีมูลค่า 100,000 บาท แต่ไม่แบ่งให้โจทก์ทั้งสามขอให้จําเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสาม จําเลยยื่นคําให้การ ว่าที่ดินดังกล่าวนายทุเรียนได้ให้ตนไว้ตั้งแต่ก่อนนายทุเรียนตายไม่ใช่ทรัพย์มรดกเป็นทรัพย์สินของจําเลย จําเลยจึง ไม่ต้องแบ่งให้โจทก์ทั้งสามขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างพิจารณาโจทก์ทั้งสาม

ขอสืบพยานบุคคล 10 ปาก แต่เมื่อสืบพยานไปแล้ว 8 ปาก ศาลใช้ดุลพินิจเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเพียงพอแล้ว จึงมีคําสั่งระหว่างพิจารณาให้งดสืบพยานโจทก์ 2 ปาก แล้วพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าว นายทุเรียนยกให้จําเลย ก่อนตายไม่ใช่ทรัพย์มรดกให้ยกฟ้องโจทก์ และโจทก์ทั้งสามได้โต้แย้งคําสั่งงดสืบพยานไว้แล้วนั้น โจทก์ทั้งสามจะ อุทธรณ์ได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

(1) การที่โจทก์ทั้งสามจะอุทธรณ์ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของนายทุเรียนให้จําเลย แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ แต่ละคนมีส่วนร่วมในทรัพย์ที่พิพาทคนละ 1 ใน 4 ส่วน จึงถือว่ามีทุนทรัพย์คนละเพียง 25,000 บาท ดังนั้น เมื่อเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่สามารถอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวนี้ได้

(2) การที่โจทก์ทั้งสามจะอุทธรณ์คําสั่งที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งงดสืบพยานโจทก์นั้น โจทก์ทั้งสาม ไม่สามารถอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนี้ได้ เพราะแม้คําสั่งดังกล่าวจะเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา และโจทก์ทั้งสามได้ โต้แย้งไว้แล้วตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 ก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์แล้ว คําสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งเกี่ยวกับคดีดังกล่าว จึงต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย

สรุป

(1) โจทก์ทั้งสามจะอุทธรณ์ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของนายทุเรียนไม่ได้

(2) โจทก์ทั้งสามจะอุทธรณ์คําสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยโดยไม่สุจริตปลูกสร้างโรงเรือนโดยหลังคาโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางวา ทําให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์จากที่ดินส่วนที่รุกล้ําคิดค่าเสียหาย เป็นเงินเดือนละ 2,000 บาท ก่อนฟ้องเป็นเวลา 1 ปี เป็นเงิน 12,000 บาท ขอให้บังคับจําเลยรื้อถอน หลังคาโรงเรือนออกไปให้พ้นแนวเขตที่ดินของโจทก์ และให้จําเลยใช้ค่าเสียหาย 12,000 กับเดือนละ 2,000 บาท แก่โจทก์ จนกว่าจําเลยจะรื้อถอนหลังคาโรงเรือนออกไปจากที่ดินของโจทก์ จําเลย ให้การว่า หลังคาโรงเรือนของจําเลยอยู่ในเขตที่ดินของจําเลยไม่ใช่ในเขตที่ดินของโจทก์ หากหลังคา โรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ จําเลยก็ปลูกสร้างโรงเรือนมากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ไม่เคย โต้แย้ง จําเลยย่อมได้สิทธิในที่ดินส่วนที่รุกล้ำของโจทก์โดยการครอบครอง โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้อง ขอให้รื้อถอน ขอให้ยกฟ้อง ก่อนสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินส่วนที่โจทก์อ้างว่า หลังคาโรงเรือนของจําเลยรุกล้ําได้เนื้อที่ 20 ตารางวา คิดเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นพิจารณา แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า หลังคาโรงเรือนของจําเลยรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต พิพากษาให้จําเลยรื้อถอนหลังคาที่รุกล้ำนั้น และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200 บาท ก่อนฟ้องเป็นเงิน 2,400 บาท และนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปเดือนละ 200 บาท จนกว่าจําเลย จะรื้อถอนหลังคาโรงเรือนออกไปจากเขตที่ดินของโจทก์ จําเลยอุทธรณ์ว่า หลังคาโรงเรือนของจําเลยอยู่ในเขตที่ดินของจําเลย ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์จําเลย ไม่ต้องรื้อถอน โจทก์ไม่เสียหายเพราะโจทก์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ขอให้ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า จําเลยมีสิทธิอุทธรณ์หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนด ในพระราชกฤษฎีกา

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการห้ามคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ในคดีดังต่อไปนี้ คือ

1 คดีที่ราคาทรัพย์ที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

2 คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะ การยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จําเลยโดยไม่สุจริตปลูกสร้างโรงเรือนโดย หลังคาโรงเรือนรุกล้ําเข้ามาในที่ดินของโจทก์นั้น แม้จําเลยให้การต่อสู้ว่า หลังคาโรงเรือนของจําเลยอยู่ในเขตที่ดิน ของจําเลยไม่ใช่ในเขตที่ดินของโจทก์ และหากหลังคาโรงเรือนของจําเลยจะรุกล้ําเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ จําเลยก็ได้สิทธิในที่ดินส่วนที่รุกล้ําของโจทก์โดยการครอบครอง ก็ไม่ทําให้คดีนี้กลายเป็นคดีที่พิพาทกันเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดิน อันจะทําให้เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินส่วนที่รุกล้ำเพราะคําฟ้องของโจทก์มิใช่เรื่องที่อ้างว่า จําเลยเข้าไปครอบครองที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจ คํานวณเป็นราคาเงินได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

“ส่วนอุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า หลังคาโรงเรือนของจําเลยอยู่ในเขตที่ดินของจําเลยไม่ใช่ที่ดิน ของโจทก์ และโจทก์ไม่เสียหายนั้น เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกําหนด ค่าเสียหายของศาลชั้นต้น ซึ่งถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และอุทธรณ์ของจําเลยในข้อที่ว่า จําเลยไม่ต้องซื้อ ถอนหลังคาโรงเรือน เป็นคําขอประธานหรือคําขอหลักซึ่งเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง คําขอเรื่องค่าเสียหายซึ่งเป็นคําขอต่อเนื่องหรือคําขออุปกรณ์ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ด้วย เช่นกัน แม้จะเป็นคําขออันมีทุนทรัพย์ซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 2,400 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งก็ตาม ดังนั้น จําเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้

สรุป จําเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 3. (ก) ถ้าท่านเป็นศาล ท่านมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่คู่ความได้ยืนไว้ต่อศาลอย่างไร

(ข) ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยใช้เงินแก่โจทก์ 10 ล้านบาท ฐานผิดสัญญา จําเลยไม่เห็นด้วย จําเลยอุทธรณ์ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาไม่นําเงิน 10 ล้านบาท มาชําระให้โจทก์ในชั้น บังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินของจําเลยเพื่อขายทอดตลาด จําเลยเห็นว่า หากบ้านที่ดินของจําเลยถูกขายทอดตลาดไปแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์เห็นว่าจําเลยไม่ได้ผิดสัญญา และมีคําพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะ จําเลยก็จําต้องเสียหายและเสียสิทธิในบ้านที่ดิน

จําเลยจึงยื่นคําร้องต่อศาลให้มีคําสั่งงดการขายบ้านที่ดินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษา ดังนี้ ตามข้อเท็จจริง ศาลจะมีคําสั่งกําหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษา ให้งดการขายบ้านที่ดินของจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่น คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262

วินิจฉัย

(ก) ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล การที่ข้าพเจ้าจะอนุญาตตามคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษาตาม มาตรา 264 นั้น ข้าพเจ้าจะต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทให้ได้รับการคุ้มครองไว้ก่อนมีคําพิพากษา หมายความว่า หากผู้ขอไม่มาขอ ต่อมาผู้ขอเป็นฝ่ายชนะคดี ผู้ขอจะเสียสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาท

(ข) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยใช้เงินแก่โจทก์ 10 ล้านบาท ซึ่ง จําเลยไม่เห็นด้วยและได้ยื่นอุทธรณ์ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาคือไม่นําเงิน 10 ล้านบาท มาชําระให้แก่โจทก์ และในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินของจําเลยเพื่อขายทอดตลาดนั้น ถือเป็นกรณีที่โจทก์ ร้องขอให้บังคับจําเลยเพื่อให้ปฏิบัติตามคําพิพากษา ดังนั้น การที่จําเลยได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลให้มีคําสั่งงดการ ขายบ้านที่ดินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษานั้น จําเลยจะมาขอวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพื่อที่จะไม่ต้องถูกบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลไม่ได้ เพราะคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จําเลย ชําระหนี้เป็นเงินฐานผิดสัญญา มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งแต่อย่างใด จึงไม่อาจขอให้นําทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ได้ ดังนั้น เมื่อจําเลยร้องขอ ศาลจะมีคําสั่ง กําหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตาม จําเลยยังมีทางออกที่จะไม่ต้องถูกบังคับในระหว่างอุทธรณ์ได้ โดยการที่จําเลย จะต้องร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 292 ซึ่งบัญญัติว่า “เจ้าพนักงานบังคับคดี

ต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีต่อไปนี้

(2) ถ้าศาลได้มีคําสั่งให้งดการบังคับคดีไว้” ซึ่งศาลจะมีคําสั่งให้งด “การบังคับคดีไว้หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล

สรุป ศาลจะมีคําสั่งกําหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้ แต่ศาลอาจมีคําสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 292 (2) ได้ หากจําเลย ได้ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้งดการบังคับคดีตามมาตรานี้

 

ข้อ 4. ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นได้ยึดที่ดินของจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อขายทอดตลาดชําระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ต่อมาวันที่ 10 มกราคม 2560 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้นําที่ดินที่ยึดออกขายทอดตลาดได้ในราคา 500,000 บาท วันรุ่งขึ้น นายเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาของจําเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่ง ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นว่า นายเงินเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาของจําเลยซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 ให้จําเลยชําระเงิน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่นายเงิน จําเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่นายเงินจะบังคับคดีได้ ขอให้มีคําสั่งให้นายเงินเข้าเฉลี่ยจากเงินที่ได้จากการ ขายทอดตลาดที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ในคดีนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นระรับคําร้องขอเฉลี่ยของนายเงินไว้พิจารณาหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

มาตรา 290 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ “เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน อย่างใดของลูกหนี้ตามคําพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอื่นยึด หรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ําอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเช่นว่านี้มีอํานาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลที่ ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือ จําหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่น คําขอเช่นว่านี้ให้ยื่นก่อนสิ้น ระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด หรือจําหน่ายได้ในครั้ง นั้น ๆ”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 290 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สิน ของลูกหนี้เพื่อขายทอดตลาด เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอื่นอาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับ ให้ยึดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นได้ แต่คําขอ ดังกล่าวจะต้องยืนก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น และต้องยื่นคําร้องขอ ภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาในคดีของตนด้วยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นได้ยึดที่ดินของจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามคําพิพากษา และได้นําออกขายทอดตลาดในวันที่ 10 มกราคม 2560 นายเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ของจําเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่ง ย่อมสามารถยื่นคําร้องขอเพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยเงินที่ได้ จากการขายทอดตลาดนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายเงินยื่นคําร้องขอเฉลี่ยเงินตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 290 วรรคหนึ่งนั้น ถือว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อให้ตนซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้รับชําระหนี้ จากเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินของจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาของนายเงินที่ถูกเจ้าพนักงาน บังคับคดียึดไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา นายเงินจึงต้องร้องขอเฉลี่ยภายใน 14 วันนับแต่วันที่มี การขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ และต้องยื่นคําร้องขอภายใน 10 ปีนับแต่ วันมีคําพิพากษาในคดีของตนด้วยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคําร้องขอของนายเงินว่า ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระเงิน แก่นายเงิน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 นายเงินยื่นคําร้องขอเฉลี่ยต่อศาลชั้นต้นในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่มีการ ขายทอดตลาดในวันที่ 10 มกราคม 2560 จึงล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษา คือวันที่ 15 มีนาคม 2545 ดังกล่าวแล้ว นายเงินย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจําเลย ในคดีนี้ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ได้ แม้ว่านายเงินจะได้ยื่นขอเฉลี่ยภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ ก็ตาม ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะไม่รับคําร้องขอเฉลี่ยของนายเงินไว้พิจารณา

สรุป ศาลชั้นต้นจะไม่รับคําร้องขอเฉลี่ยของนายเงินไว้พิจารณา

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างบ้านอาศัยในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ขอให้ขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ก่อนฟ้องเป็น เวลา 3 เดือน เดือนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท แก่โจทก์ จําเลยให้การว่าที่ดินของนางจัน แม่ยายของจําเลยที่อนุญาตให้จําเลยเข้าไปปลูกบ้านพักอาศัยไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่เสียหาย ขอให้ยกฟ้อง ชั้นพิจารณาของศาล โจทก์และจําเลยแถลงรับกันว่าที่ดินที่พิพาทเนื้อที่ 1 ไร่ มีราคา 100,000 บาท ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ของนางจัน แล้วพิพากษาขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายก่อนฟ้องเดือนละ 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 9,000 บาท แก่โจทก์ นางจันอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของนางจันไม่ใช่ ของโจทก์ ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์เป็นการไม่ชอบ จําเลยอุทธรณ์ว่า คําพิพากษา ศาลชั้นต้นที่ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่เสียหายเลย

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะรับอุทธรณ์ของนางจันและจําเลยไว้พิจารณาได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 145 วรรคหนึ่ง “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คําพิพากษาหรือคําสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา หรือมีคําสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคําสั่งจนถึงวันที่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี”

มาตรา 223 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 138, 168, 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด”

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

1 คําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ของนางจันนั้น เป็นคําวินิจฉัย ชี้ขาดตัดสินคดีระหว่างโจทก์และจําเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 145 ซึ่งไม่มีผลผูกพัน บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความ และเมื่อนางจันเป็นเพียงบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความ คําพิพากษาของศาลดังกล่าว จึงไม่ได้กระทบต่อสิทธิของนางจันแต่อย่างใด นางจันจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.แพง มาตรา 223 ดังนั้นเมื่อนางจันอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของนางจันไม่ใช่ของโจทก์ ศาลจะรับอุทธรณ์ของนางจัน ไว้พิจารณาไม่ได้

2 อุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า คําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายไม่ชอบเพราะ โจทก์ไม่เสียหายเลยนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงการกําหนดค่าเสียหายของศาลชั้นต้นที่ให้จําเลยใช้ค่าเสียหาย 9,000 บาท แก่โจทก์ ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และเป็นการอุทธรณ์ในคดีที่มีจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์เพียง 9,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อจําเลยได้อุทธรณ์ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป ศาลจะรับอุทธรณ์ของนางจันและของจําเลยไว้พิจารณาไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่าจําเลยกู้เงินโจทก์จํานวน 5 ล้านบาท หนี้ตามสัญญากู้ถึงกําหนดชําระ จําเลยไม่ชําระหนี้ ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์จํานวน 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงต้องการยื่นอุทธรณ์ ก่อนที่ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์จะสิ้นสุดลง จําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นคําฟ้อง อุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของจําเลย ดังนี้ คําสั่งอนุญาต

ตามคําร้องของศาลชั้นต้นเป็นคําสั่งระหว่างการพิจารณาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 นั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป 3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลย และต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยเป็น ฝ่ายแพ้คดี จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงต้องการอุทธรณ์ และก่อนที่ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ จะสิ้นสุดลง จําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นคําฟ้องอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน และศาลชั้นต้นได้มีคําสั่ง อนุญาตตามคําร้องของจําเลยนั้น คําสั่งอนุญาตตามคําร้องของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 เพราะเป็นคําสั่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาแล้ว มิใช่คําสั่งในขณะที่ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา

สรุป คําสั่งอนุญาตตามคําร้องของศาลชั้นต้นไม่เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดิน 10 ไร่ ราคา 10 ล้านบาท ให้โจทก์ฐานผิดสัญญา จําเลยให้การต่อสู้ว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดสัญญาหรือมิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ ในระหว่างพิจารณาโจทก์เห็นว่าจําเลยเข้าไปในที่ดินที่พิพาทและขุดดินไปขายและยังขุดอยู่ และ จําเลยจะดําเนินการให้ทําการจดทะเบียนโอนขายที่ดินที่พิพาท ทั้งที่ดินที่พิพาทมีรายได้ค่าเช่า ใน ระหว่างพิจารณาเดือนละกว่า 100,000 บาท และจําเลยรับไปแต่ฝ่ายเดียว หากต่อมาโจทก์เป็น ฝ่ายชนะที่ดินที่พิพาทก็จะต้องเสื่อมราคาเสื่อมประโยชน์ในการใช้สอยเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ และ หากจําเลยโอนขายไปแล้วโจทก์ก็จะบังคับให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนไม่ได้โจทก์ก็จะต้องเสียสิทธิ ทั้งโจทก์ก็จะต้องเสียสิทธิไม่ให้ผลประโยชน์อันเกิดจากที่ดินที่พิพาทในระหว่างพิจารณา โจทก์มาถามท่านว่าโจทก์จะยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งห้ามจําเลยขุดดินในที่ดินที่พิพาทและยื่นคําร้อง ให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยและโอนขายที่ดินที่พิพาท ทั้งจะยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตั้งผู้จัดการ เพื่อรวบรวมผลประโยชน์อันเกิดจากที่ดินที่พิพาทในระหว่างพิจารณามาวางต่อศาลไว้ก่อนมี

คําพิพากษาได้หรือไม่ ท่านจะให้คําตอบแก่โจทก์อย่างไรและเพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตาม กฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น…”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยืน คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง ของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

บทบัญญัติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอให้ศาลมีคําสั่ง กําหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา โดยหากโจทก์เห็นว่าโจทก์จะได้รับ ความเสียหายจากการกระทําของจําเลย โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ แต่การ ร้องขอนั้น โจทก์จะต้องร้องขอเพื่อไม่ให้โจทก์ต้องเสียหายในเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยด้วย เพราะถ้า ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับจําเลยแล้ว โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรานี้ไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์เห็นว่าจําเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทและขุดดินไปขายและยังขุดอยู่ และจําเลยจะดําเนินการให้ทําการจดทะเบียนโอนขายที่ดินที่พิพาท ซึ่งจะทําให้โจทก์เสียหายและเสียสิทธิใน ที่ดินที่พิพาทนั้น โจทก์จะยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามจําเลยขุดดินในที่ดินที่พิพาทและยื่นคําร้องให้ศาลมี คําสั่งห้ามมิให้จําเลยโอนขายที่ดินที่พิพาท ซึ่งเป็นการร้องขอให้ศาลมีคําสั่งกําหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) ได้หรือไม่นั้น แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

กรณีที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่พิพาท ซึ่งหากจําเลยโอนขาย ไปแล้ว ถ้าโจทก์ชนะคดีโจทก์ก็จะต้องเสียหายและเสียสิทธิในที่ดินที่พิพาท ดังนั้นเพื่อไม่ให้โจทก์ต้องเสียหายและ เสียสิทธิในที่ดินที่พิพาท โจทก์ย่อมสามารถที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยโอนขายที่ดินที่พิพาทได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) หรือจะขอให้ศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินที่พิพาท ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (3) ไว้ก่อนมีคําพิพากษาก็ได้

กรณีที่ 2 การที่โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยขุดดินในที่ดินที่พิพาทตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) นั้น โจทก์จะร้องขอกรณีนี้ไม่ได้ เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับจําเลยแต่อย่างใด

ส่วนการที่โจทก์จะยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตั้งผู้จัดการเพื่อรวบรวมผลประโยชน์อันเกิด จากที่ดินที่พิพาทนั้น เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ที่โจทก์จะต้องร้องขอเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ของโจทก์หากต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโจทก์จะได้ไม่เสียสิทธิในผลประโยชน์นั้น แต่ตามข้อเท็จจริง ปรากฏว่าที่ดินที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยอยู่ ดอกผลอันเกิดจากที่ดินที่พิพาทในระหว่างพิจารณา ย่อมตกแก่จําเลย ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิได้แม้ต่อมาโจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดี ดังนั้น โจทก์จะขอให้ศาลมีคําสั่งตั้ง ผู้จัดการเพื่อรวบรวมผลประโยชน์อันเกิดจากที่ดินที่พิพาทมาวางต่อศาลไม่ได้ เพราะมิใช่เป็นกรณีคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้ขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 แต่อย่างใด

สรุป ถ้าโจทก์มาถามข้าพเจ้าว่าจะยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งดังกล่าวได้หรือไม่ ข้าพเจ้าจะให้ คําตอบแก่โจทก์ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจําเลยยินยอมชําระหนี้จํานวน 1,000,000 บาท ให้โจทก์ โดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 1 ใช้หนี้ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันถัดจากวันทําสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ ศาลชั้นต้นออกคําบังคับแก่จําเลยโดยชอบแล้ว เมื่อครบกําหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จําเลยไม่ปฏิบัติตามยอม โจทก์ยื่นคําขอให้ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ของจําเลยขายทอดตลาดชําระหนี้ตาม

คําพิพากษา ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

มาตรา 278 “ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ในอันที่จะรับชําระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นํามาวางและออกใบรับให้ กับมีอํานาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดถือ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาไว้ และมีอํานาจที่จะเอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด”

มาตรา 282 “ถ้าคําพิพากษาหรือคําสั่งใดกําหนดให้ชําระเงินจํานวนหนึ่ง ภายใต้บังคับแห่ง บทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอํานาจที่จะรวบรวมเงินให้พอชําระตามคําพิพากษาหรือ คําสั่งโดยวิธียึดหรืออายัด และขายทรัพย์สินของลูกหนี้”

วินิจฉัย

การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจําเลยยินยอมชําระหนี้ จํานวน 1,000,000 บาท ให้โจทก์ โดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 1 ใช้หนี้ให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันถัดจากวันทําสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลชั้นต้นออกคําบังคับแก่จําเลยโดยชอบแล้ว แต่ เมื่อครบกําหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความจําเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์จึงยื่นคําขอให้ศาลชั้นต้นออกหมาย บังคับคดีให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ของจําเลยขายทอดตลาดชําระหนี้ตามคําพิพากษานั้น เมื่อหนี้ที่จําเลยจะต้อง ปฏิบัติตามคําพิพากษาแก่โจทก์ ซึ่งการบังคับคดีจะต้องอาศัยเป็นหลักในการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 เป็นหนี้ที่จําเลยต้องกระทําด้วยการจดทะเบียนโอนห้องชุดเลขที่ 1 ใช้แทนหนี้เงินที่จะต้องชําระแก่โจทก์ มิใช่เป็น หนี้เงินที่การบังคับคดีจะต้องกระทําโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา และนําออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 278 และ 282 และหนี้ที่จําเลยต้องจดทะเบียนโอนห้องชุดเป็น หนี้บังคับให้จําเลยทํานิติกรรม ซึ่งการบังคับคดีสามารถกระทําได้โดยการให้ถือเอาคําพิพากษาของศาลแทนการ แสดงเจตนา กรณีจึงมิใช่การบังคับคดีที่จะต้องอาศัยหรือดําเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 275 และ 276 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคําขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่ง ให้ออกหมายบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ไม่ได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 2603/2530, 11979/2557)

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ไม่ได้

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า โจทก์นํารถยนต์ราคา 1,500,000 บาท ไปขายฝากไว้กับจําเลย ซึ่งโจทก์ต้องไถ่คืนในราคา 1,650,000 บาท ภายใน 12 เดือน ก่อนครบกําหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โจทก์ไปขอไถ่รถยนต์คืนจากจําเลย แต่จําเลยกลับบ่ายเบียงจนล่วงเลยระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ขายฝาก โจทก์จึงมาฟ้องคดีต่อศาล ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยคืนรถยนต์ที่ขายฝากแก่โจทก์ จําเลย ยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่ได้มาขอไถ่ภายในระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โจทก์จึง ไม่มีสิทธิไถ่ทรัพย์คืนได้อีก ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงต้องการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับให้จําเลยคืนรถยนต์ที่ขายฝากแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่าโจทก์นํารถยนต์ราคา 1,500,000 บาท ไป ขายฝากไว้กับจําเลย และโจทก์ไปขอไถ่คืนจากจําเลยก่อนครบกําหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก แต่จําเลย กลับบ่ายเบี่ยงจนล่วงเลยระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โจทก์จึงมาฟ้องคดีต่อศาลขอให้ศาลบังคับให้จําเลย คืนรถยนต์ที่ขายฝากแก่โจทก์ แต่จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่ได้มาขอไถ่ภายในระยะเวลาตามที่ระบุไว้ใน สัญญาขายฝาก โจทก์จึงไม่มีสิทธิไถ่ทรัพย์คืนได้อีก ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง และต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา ให้ยกฟ้องโจทก์นั้น การที่โจทก์ไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น และโจทก์ต้องการยื่นอุทธรณ์คําพิพากษา ของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่า เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์ก็จะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ ฟ้องให้จําเลยคืนทรัพย์สินตามสัญญาขายฝาก ซึ่งในขณะยื่นฟ้องนั้นทรัพย์ที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่ถ้าศาลพิพากษา ให้โจทก์ชนะคดี จะทําให้โจทก์ได้ทรัพย์พิพาทคืนมา จึงถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ เกิน 5 หมื่นบาท ดังนั้น โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224

สรุป โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยกู้เงินโจทก์จํานวน 5,000,000 บาท ต่อมาหนี้ตามสัญญากู้ถึงกําหนดชําระแต่จําเลยไม่ชําระหนี้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปีแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า ไม่เคยกู้เงินโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง แต่จําเลยไม่ยื่นคําให้การภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลย จําเลยไม่พอใจคําสั่งของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งของศาล ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ”

มาตรา 18 วรรคท้าย “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

มาตรา 228 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่ง มิได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป” วินิจฉัย คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป 3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 และมาตรา 228

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่ง ไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นตามมาตรา 226 (2) ส่วนคําสั่งของศาลนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ ไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องโต้แย้งก่อนที่จะอุทธรณ์แต่ประการใด (อุทธรณ์ได้ทันที)

กรณีตามอุทาหรณ์ คําให้การเป็นคําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) เมื่อศาลชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลยด้วยเหตุว่าจําเลยมิได้ยื่นคําให้การภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ซึ่งเป็นคําสั่งใน ชั้นตรวจคําคู่ความของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 ซึ่งมิได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากแต่ทําให้ประเด็นบางข้อตามที่จําเลยยกขึ้นต่อสู้ในคําให้การเสร็จไปเท่านั้น จึงเป็นคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา อันจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (1) ดังนั้นจําเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ ไม่รับคําให้การของจําเลยได้ทันทีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 วรรคสอง แม้คดีนั้นจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของ ศาลชั้นต้นก็ตาม

สรุป จําเลยสามารถยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นได้ทันที โดยไม่ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่งนั้น ไว้ก่อน

 

ข้อ 3. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้ชําระหนี้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาแก่โจทก์เป็นเงิน 10 ล้านบาท จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงาน บังคับคดีได้ยึดที่ดินไว้ตามคําขอของโจทก์ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ซึ่งอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็น ของจําเลย นายดีใจได้ยื่นคําร้องต่อศาลว่าที่ดินที่ยึดไม่ใช่ของจําเลย แต่เป็นของนายดีใจผู้ร้อง ขอให้ศาลมีคําสั่งปล่อยที่ดินที่ยึด โจทก์ยื่นคําคัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนสืบพยานโจทก์และนายดีใจ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายดีใจยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งงดการขายทอดตลาดที่ดิน ที่ยึดและยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งยึดรถยนต์หมายเลขทะเบียน กท 2141 ของโจทก์ไว้ชั่วคราว ก่อนพิพากษา เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาของศาล โจทก์มีพฤติการณ์ที่จะแอบยักย้ายถ่ายเท ทรัพย์สินของตนให้แก่บรรดาญาติพี่น้อง ดังนี้ให้วินิจฉัยว่านายดีใจจะยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ในกรณีดังที่กล่าวมาข้างต้นได้หรือไม่ และศาลจะต้องสําเนาคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของนายดีใจ ให้โจทก์มีโอกาสได้คัดค้านก่อนหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 21 “เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคําขอหรือคําแถลงต่อศาล

(2) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า คําขออันใดจะทําได้แต่ฝ่ายเดียว ห้ามมิให้ศาล ทําคําสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ มีโอกาสคัดค้านก่อน

(3) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คําขออันใดอาจทําได้แต่ฝ่ายเดียวแล้ว ให้ศาล มีอํานาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคําสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ เว้นแต่ในกรณีที่คําขอนั้น เป็นเรื่องขอหมายเรียกให้ให้การ หรือเพื่อยึดหรือเพื่ออายัดทรัพย์สินก่อนคําพิพากษา”

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย…”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่น คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง ของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษานั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นเรื่องของโจทก์ขอให้ศาล คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ส่วน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองประโยชน์ของ คู่ความผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษา ซึ่งเป็นวิธีชั่วคราวอันหนึ่งโดยคู่ความนั้นอาจจะ เป็นฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจําเลยก็ได้ และในคดีร้องขัดทรัพย์นั้น ผู้ร้องขัดทรัพย์จะมีฐานะเป็นโจทก์ ในส่วนร้อง ขัดทรัพย์ ส่วนโจทก์เดิมก็จะมีฐานะเป็นจําเลยในส่วนร้องขัดทรัพย์ ดังนั้น ผู้ร้องขัดทรัพย์จึงสามารถที่จะขอใช้ วิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 คําร้องขอของนายดีใจที่ขอให้ศาลมีคําสั่งงดการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึด เป็นคําขอให้ ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณา เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะมีคํา พิพากษา ดังนั้น หากเจ้าพนักงานบังคับขายทอดตลาดที่ดินพิพาทที่ยึดไปแล้ว และสุดท้ายศาลพิพากษาให้นายดีใจ ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นฝ่ายชนะคดีก็จะเป็นที่เสียหายแก่นายดีใจเพราะที่ดินของตนถูกขายทอดตลาดไปแล้ว นายดีใจ จึงชอบที่จะร้องขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 โดยขอให้ศาลมีคําสั่งงดการขายทอดตลาดที่ดิน ที่ยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาได้ เพราะสิ่งที่ขอคุ้มครองสอดคล้องกับประเด็นตามคําร้องขัดทรัพย์และคําขอให้ ศาลมีคําสั่งปล่อยที่ดินที่ยึด

และเมื่อการยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 กฎหมายมิได้ บัญญัติไว้ว่าจะทําได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 21 (2) กล่าวคือ ศาล จะต้องสําเนาคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของนายดีใจให้โจทก์มีโอกาสได้คัดค้านก่อน

2 คําร้องขอของนายดีใจ (โจทก์ในส่วนร้องขัดทรัพย์) ที่ให้ศาลมีคําสั่งยึดรถยนต์หมายเลข ทะเบียน กท 2141 ของโจทก์ (จําเลยในส่วนร้องขัดทรัพย์) ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา เนื่องจากในระหว่างการพิจารณา ของศาล โจทก์มีพฤติการณ์ที่แอบยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนให้แก่บรรดาญาติพี่น้องนั้น เป็นคําขอให้ใช้ วิธีการชั่วคราวโดยยึดทรัพย์สินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1)

แต่อย่างไรก็ตาม แม้นายดีใจผู้ร้องขัดทรัพย์ จะมีฐานะเป็นโจทก์ในส่วนร้องขัดทรัพย์ แต่โดยสภาพแห่งคําร้องขัดทรัพย์ไม่อาจร้องขอคุ้มครองตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ เพราะผู้ร้องขัดทรัพย์ มีสิทธิเพียงขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึด (ที่ดิน) ไว้เท่านั้น ดังนั้น การที่นายดีใจขอให้ศาลมีคําสั่งยึดรถยนต์ของ โจทก์ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา : จําเลยในคดีร้องขัดทรัพย์) ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา จึงไม่สอดคล้องกับประเด็น ตามคําฟ้องและคําขอท้ายฟ้อง นายดีใจจึงไม่สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวในประเด็นดังกล่าวได้ ศาลชอบที่จะ ยกคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของนายดีใจในส่วนนี้ได้ทันที และกรณีนี้ไม่จําต้องวินิจฉัยว่าศาลจะต้องสําเนาคําร้อง ให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อนหรือไม่ และ

สรุป นายดีใจสามารถยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 โดยขอให้ ศาลมีคําสั่งงดการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาได้ และศาลจะต้องสําเนาคําร้องขอคุ้มครอง ชั่วคราวของนายดีใจให้โจทก์มีโอกาสได้คัดค้านก่อน แต่นายดีใจจะยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อให้ศาลยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้ชั่วคราวก่อน พิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) ไม่ได้

 

ข้อ 4. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจําเลยให้แก่โจทก์ฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายและให้โจทก์ชําระค่าที่ดินที่ยัง ขาดอยู่ให้จําเลย ถ้าจําเลยโอนให้โจทก์ไม่ได้ ให้จําเลยคืนมัดจํา 1,000,000 บาท พร้อมค่าเสียหาย อีก 500,000 บาท ให้โจทก์ ศาลชั้นต้นมีคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลยยอมน้ําเงิน 1,500,000 บาท มาวางต่อศาลเพื่อชําระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีจําเลยได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 271 แห่ง ป.วิ.แพ่ง นั้น มีหลักว่า ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะหรือ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้

แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีภายใน ขอบเขตของคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะต้องดําเนินการบังคับตามลําดับก่อนหลัง ที่ระบุไว้ในคําพิพากษา เจ้าหนี้จะเลือกให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามคําพิพากษาไม่ได้ และลูกหนี้ตามคําพิพากษา ก็ต้องปฏิบัติการชําระหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ใน คําพิพากษาเช่นเดียวกันด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยไป จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจําเลยให้แก่โจทก์ฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขาย และให้โจทก์ชําระราคาค่าที่ดิน ที่ยังขาดอยู่ให้จําเลย ถ้าจําเลยโอนให้แก่โจทก์ไม่ได้ให้จําเลยคืนมัดจํา 1,000,000 บาท พร้อมค่าเสียหายอีก 500,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น เป็นกรณีที่หนี้ตามคําพิพากษามีหลายอย่าง และมิใช่หนี้ที่ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา มีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 แต่เป็นเรื่องการดําเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 ดังนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีก็ต้องเป็นไปตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ในคําพิพากษานั้น และ จําเลย (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) ก็จะต้องปฏิบัติการชําระหนี้ต่อโจทก์ตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ในคําพิพากษาด้วย ซึ่งกรณีตามอุทาหรณ์ดังกล่าวนี้จําเลยจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อน จําเลย จะเลือกวิธีการชําระค่าเสียหายและคืนเงินมัดจําให้แก่โจทก์ทั้งที่จําเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดย โจทก์ไม่ยินยอมตกลงด้วยหาได้ไม่

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลย ยอมนำเงิน 1,500,000 บาท มาวางต่อศาลเพื่อชําระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จึงเท่ากับว่าจําเลยยังมิได้ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามคําพิพากษา ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาโดยอาศัยคําบังคับที่ ออกตามคําพิพากษานั้นได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271

สรุป โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีจําเลยได้อีก

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!