หน้าแรก บล็อก

POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. บุคคลใดที่นำแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจังและจัดแบ่งเป็นยุคต่างๆ

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Nicholas Henry

ตอบ 5 หน้า 46 – 48, 56 – 58, (คำบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้นำแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจัง โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจ อย่างเป็นระบบนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970 พบว่า พาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจจำแนกออกเป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

2. บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพาราไดม์ (Paradigm)

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Martin Landau

ตอบ 2 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิด เกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ 1. เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่นๆ ที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐาน สำหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 2. เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รุ่นใหม่ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่างๆ กันต่อไป

3. ในองค์ประกอบ 5 ข้อของแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่องค์ประกอบของพาราไดม์

(1) แนวความคิด ทฤษฎี

(2) กฎของการแปลความหมาย

(3) ปัญหา

(4) การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

(5) การศึกษาค้นคว้าแบบเป็นขั้นเป็นตอน

ตอบ 5 หน้า 44 – 45 Robert T. Holt และ John M. Richardson กล่าวว่า พาราไดม์ (Paradigm) ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 5 ประการ คือ
1 แนวความคิด
2 ทฤษฎี
3 กฎของการแปลความหมาย
4 ปัญหา
5 การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

4. บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) คือ

(1) Nicholas Henry

(2) Woodrow Wilson

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Martin Landau

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คำบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ เป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกำเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวได้รับการยอมรับจาก นักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

5. บทความทางบริหารรัฐกิจเรื่อง The Study of Administration เขียนโดย

(1) Woodrow Wilson

(2) Nicholas Henry

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Lawrence C. Mayer

(5) Martin Landau

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6. ใครเป็นผู้เสนอว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(1) Nicholas Henry

(2) Woodrow Wilson

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Robert T. Golembiewski

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7. บุคคลใดที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(1) Frank J. Goodnow

(2) Leonard D. White

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Lawrence C. Mayer

(5) Goodnow and White

ตอบ 5 หน้า 47, (คำบรรยาย) นักวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมือง ออกจากกันเป็นสองส่วนของ Woodrow Wilson มี 2 คน คือ
1 Frank J. Goodnow
2 Leonard D. White

8. บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตำราเรียนเล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ

(1) Woodrow Wilson

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Frank J. Goodnow

(4) Leonard D. White

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์ เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ เขาเสนอความเห็นว่า การเมือง ไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นำตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์
และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

9. ผลงานในหนังสือที่เสนอแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งเสนอ หลักการทำงานของคนงานระดับล่างขององค์การเป็นแนวคิดของใคร

(1) Mary Parker Follet

(2) Henri Fayol

(3) Frederick W. Taylor

(4) James D. Mooney

(5) Alan C. Reiley

ตอบ 3 หน้า 48 – 49 Frederick W. Taylor เป็นผู้เสนอแนวคิดการจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) โดยเน้นในเรื่องการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลในระดับล่างขององค์การ

10. ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 เป็นผลงานของใคร

(1) Lillian Gilbreth

(2) Frederick W. Taylor

(3) Henri Fayol

(4) James D. Mooney and Alan C. Reiley

(5) Gulick and Lyndall Urwick

ตอบ 5 หน้า 48 – 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2: หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “สุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจ” นั่นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB

11. ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 ได้เสนอผลงานอะไร

(1) หลักของการบริหาร

(2) หลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

(3) หลักการของนักบริหารที่ดี

(4) หลักการบริหาร POSDCORB

(5) หลักการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12. การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1938 – 1947 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองสามารถแยกออกจากกันได้

(2) การโจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารมีความสอดคล้องกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

(3) การบริหารที่ปลอดจากค่านิยม แต่ความจริงเป็นการเมืองเต็มไปด้วยค่านิยมและการทุจริต

(4) หลักการบริหารที่กำหนดขึ้นมามีความสมบูรณ์เพียงพอ

(5) โจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่กำหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เป็นได้แค่สุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)

ตอบ 5 หน้า 51 – 52 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่าง ค.ศ. 1938 – 1947 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้
1 การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยผู้คัดค้านเชื่อว่าการบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยมต่างหาก
2 การโจมตีว่าหลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องลงรอยกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยฝ่ายโจมตีเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่กำหนดขึ้นมานั้น ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้แค่เพียงสุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)

13. บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย คือ

(1) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

(2) สมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

(3) สมเด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(4) ปฐม มณีโรจน์

(5) มาลัย หุวะนันท์

ตอบ 1 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”

14. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์

(2) บุคลากร

(3) โครงสร้างองค์การ

(4) สภาพแวดล้อม

(5) ระยะเวลา

ตอบ 5 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ
1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
3 มีการพัฒนาโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ โดยองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

15. องค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

(2) มีกฎระเบียบเป็นทางการและเป็นแบบแผนมาก

(3) ไม่มีการกําหนดระดับการบริหารที่แน่นอนตายตัว มีอิสระในการทํางานได้เอง

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) เป็นหน่วยงานอิสระ มีความยืดหยุ่น และไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

ตอบ 1 หน้า 123 โครงสร้างแบบเรียบง่าย (Simple Structure) เป็นองค์การที่มีการจัดแบ่งหน่วยงานน้อยมาก มีช่วงการควบคุมกว้าง รวมอํานาจการบังคับบัญชาและการตัดสินใจไว้ที่บุคคลคนเดียว มีความเป็นทางการน้อย มีระดับความซับซ้อนต่ํา โครงสร้างองค์การรูปแบบนี้จะมีลักษณะเป็นโครงสร้างองค์การในแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างองค์การในแนวดิ่ง (Tall Structure) มีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว สภาพแวดล้อมขององค์การไม่ซับซ้อน เช่น องค์การธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น

16. องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่แน่นอนและมีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก

(2) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกันและมีความสลับซับซ้อน

(3) มีความยืดหยุ่นไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

ตอบ 1 หน้า 125 – 126 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีระดับชั้นการบังคับบัญชาที่แน่นอน เน้นการใช้ความสามารถหลักขององค์การและรับทรัพยากรจากพันธมิตรภายนอก รวมทั้งใช้การจ้างเหมาบุคคลภายนอกในการปฏิบัติงาน

17. Goldsmith and Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การรูปแบบอะไร

(1) องค์การแบบเรียบง่าย

(2) องค์การแบบระบบราชการ

(3) องค์การแบบแมทริกซ์

(4) องค์การแบบเครือข่าย

(5) องค์การแบบผสม

ตอบ 4 หน้า 126 – 127 Goldsmith และ Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การ แบบเครือข่ายออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ
2 เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน
3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ
4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ
5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

18. คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วยอะไร

(1) ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ และการคิด อย่างเป็นระบบ

(2) การให้บริการ เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ การประสานงาน การทํางานเป็นทีม

(3) รูปแบบองค์การ วัฒนธรรมองค์การ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ภาวะผู้นํา

(4) เป้าหมายขององค์การ ค่านิยม กลยุทธ์ โครงสร้าง และวัฒนธรรม

(5) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

ตอบ 3 หน้า 131 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วย 4 ลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 รูปแบบองค์การที่ไม่มีขอบเขต การมีทีมงานที่ดี และการเอื้ออํานาจ
2 วัฒนธรรมองค์การ เน้นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องเปิดเผย คํานึงถึงเวลา และถูกต้อง
4 ภาวะผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

19. องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 132 – 134 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีสายการบังคับบัญชามาก
2 ช่วงการควบคุมแคบ
3 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง
5 มีความเป็นทางการสูง
6 รวมศูนย์อํานาจในการบริหารและตัดสินใจ
7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่
8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ

20. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization)

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 133 – 134, (คําบรรยาย) องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก
2 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3 เน้นโครงสร้างแนวราบ
4 ขอบข่ายหรือช่วงการควบคุมกว้าง
5 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
6 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย
7 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย
8 มีความเป็นทางการน้อย
9 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

21. การบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบตามความหมายของอุทัย เลาหวิเชียร หมายถึง:

(1) เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับควบคุมบุคคล

(2) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล

(3) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(4) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

(5) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 151 อุทัย เลาหวิเชียร ได้สรุปสาระสําคัญของการบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบ ไว้ดังนี้ 1. เป็นแนวการศึกษาที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย การสรรหา การคัดเลือก การสอบ การเลื่อนขั้น เป็นต้น 2. ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคลภายในองค์การ โดยมองข้ามการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ 3. เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคล

22. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มอร์แกน (Morgan) นํามาใช้ในการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์:

(1) สิ่งแวดล้อม

(2) กลยุทธ์

(3) สายการบังคับบัญชา

(4) เทคโนโลยี

(5) คน/วัฒนธรรม

ตอบ 3 หน้า 135 – 136 มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ

23. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP:

(1) สภาพการเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) บุคลากร

(4) สังคมและวัฒนธรรม

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 3 หน้า 155 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP ประกอบด้วย 1. สภาพการเมือง (Political) 2. เศรษฐกิจ (Economic) 3. สังคม (Social) 4. เทคโนโลยี (Technological)

24. ปัจจัยทางการบริหารที่ถือว่ามีความสําคัญและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็ไม่สามารถทํางานได้ คือ:

(1) คน (Men)

(2) เงิน (Money)

(3) วัสดุอุปกรณ์ (Material)

(4) การจัดการ (Management)

(5) ขวัญกําลังใจ (Morale)

ตอบ 1 หน้า 154 – 155 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 M’s ประกอบด้วย คน (Men), เงิน (Money), วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) โดยปัจจัยเรื่องคน (Men) ถือว่ามีความสําคัญมากที่สุดและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็จะไม่สามารถทํางานได้

25. กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทย คือ:

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2528

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

ตอบ 1 หน้า 167, (คําบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทย ฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 ส่วนในปัจจุบัน คือ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

26. ปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล คือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2550

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2560

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ (คำบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทย ฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 ส่วนในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

27. ข้อใดคือขั้นตอนที่จัดว่าสำคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลในภาครัฐ

(1) ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล

(2) ขั้นตอนที่ 2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้าย และการแต่งตั้ง

(3) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาบุคลากร

(4) ขั้นตอนที่ 4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร

(5) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน

ตอบ 1 หน้า 163, 171 – 172 (คำบรรยาย) การวางแผนทรัพยากรบุคคล จัดว่าเป็นขั้นตอน และเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยเป็นการวางแผนดำเนินงาน เพื่อเตรียมบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและเวลา รวมทั้งพัฒนากำลังคนให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ เช่น ปริมาณงาน ปริมาณบุคลากร ตลาดแรงงาน ลักษณะงาน เป็นต้น การวางแผนทรัพยากรบุคคลผิดพลาด จะทำให้องค์การเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การว่างงาน การจ้างคนไม่เหมาะสมกับงาน การหมุนเวียน เข้าออกจากงานสูง เป็นต้น

28. แนวคิดของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย

(1) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ ท่วงทำนองการบริหาร ทักษะ

(2) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ สไตล์การทำงาน ทักษะ

(3) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ สไตล์การทำงาน ทักษะ

(4) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ ท่วงทำนองการบริหาร ทักษะ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 154 (คำบรรยาย) กรอบแนวคิด 7s ของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย Strategy (กลยุทธ์), Shared Value (วิสัยทัศน์ร่วม), Structure (โครงสร้าง), System (ระบบงาน), Staffing (การจัดบุคลากร), Style (ท่วงทำนองการบริหาร) และ Skill (ทักษะ) ซึ่ง 5 ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับเรื่องบุคลากรมี 35 คือ Staffing, Style และ Skill

29. ตำราเรียนที่ใช้เป็นหนังสือหลักในการสอนวิชาการบริหารงานบุคคลมากเป็นของใคร

(1) Nicholas Henry

(2) Herbert Simon

(3) O. Glenn Stahl

(4) Mary Parker Follet

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 151 ตำราเรียนของ O. Glenn Stahl ถือเป็นหนังสือหลักที่ใช้สอนวิชาการบริหารงานบุคคลในทุกยุคทุกสมัย

30. องค์กรกลางที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย คือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(4) คณะกรรมการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย

(5) คณะกรรมการจัดการบุคคลในมหาวิทยาลัย

ตอบ 3 หน้า 158 – 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรกลางที่ทำหน้าที่กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ ดังนั้น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจึงเป็น “ต้นแบบ” ให้แก่องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ฯลฯ ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล

31. “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” วัดโดย

(1) GDP

(2) อัตราการออม

(3) อัตราเงินเฟ้อ

(4) ประสิทธิภาพการผลิต

(5) รายได้เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอาชีพ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้
1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบ อัตราการใช้จ่าย อัตราการออม มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน
3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต

32. อัตราเงินเฟ้อ เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่อง

(1) Allocation Function

(2) Distribution Function

(3) Stabilization Function

(4) Management Function

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33. ผลกระทบจากการที่ “รัฐมีเศรษฐกิจที่ดี”

(1) รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้น

(2) ข้าราชการว่างงานมากขึ้น

(3) อัตราการว่างงานต่ำ

(4) ความเหลื่อมล้ำในสังคมลดลง

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 270, (คําบรรยาย) สภาวะเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการบริหารองค์การภาครัฐ หากรัฐมีเศรษฐกิจที่ดี จะะส่งผลให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น ประชาชนมีอัตราการว่างงานต่ํา ในทางกลับกัน ถ้ารัฐมีเศรษฐกิจที่ไม่ดี จะส่งผลให้รัฐมีรายได้น้อยลง ประชาชนมีอัตราการว่างงานมากขึ้น

34. GDP เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่องใด

(1) Allocation Function

(2) Distribution Function

(3) Stabilization Function

(4) Management Function

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

35. “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากเงินได้” (Income Base) ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(3) ภาษีสุรา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (หน้า 217, คำบรรยาย) การจำแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนำเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
2 ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนำเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่าย ภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น
3 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนำเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

36. “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย” (Consumption Base) ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(3) ภาษีสุรา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37. “การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกำหนดรายการค่าใช้จ่าย” เป็นลักษณะของงบประมาณระบบใด

(1) Line-Item Budget

(2) Tradition Budget.

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (หน้า 228, 237, คำบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่าย หรือการใช้ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกำหนดรายการค่าใช้จ่าย จึงทำให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณไม่สามารถนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้ ดังนั้นระบบงบประมาณแบบแสดงรายการจึงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตในหน่วยงาน

38. การยกเลิก “ภาษีปากเรือ” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 214 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศอังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย โดยสนธิสัญญาได้ระบุให้ไทยยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ ที่เก็บตามสัญญาฉบับปี พ.ศ. 2369 และให้เก็บภาษีขาเข้าแทนในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ซึ่งผลของสนธิสัญญาฉบับนี้ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก

39. ภาษีในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดเก็บเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ ส่วย ……ที่หายไปอีกสองชนิด ได้แก่

(1) ฤชา และขนอน

(2) ขนอน และอากร

(3) อากร และฤชา

(4) เครื่องบรรณาการ และอากร

(5) ฤชา และเครื่องบรรณาการ

ตอบ 3 หน้า 214, (คำบรรยาย) การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ส่วยสาอากร” แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1 จังกอบ คือ ภาษีชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ
2 อากร คือ ค่าธรรมเนียมที่รัฐเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่สร้างขึ้น เช่น อากรรังนกนางแอ่น อากรมหรสพ
3 ส่วย คือ ของที่เรียกเก็บจากท้องถิ่นพื้นเมืองเพื่อเป็นค่าภาคหลวง เช่น เงินช่วยเหลือราชการ
4 ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพร่ที่ผู้ครอบครองไพร่ทดแทนให้หลวง

40. “หอรัษฎากรพิพัฒน์” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้าหลวงหรือรัชกาลที่ 5) ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ในปี พ.ศ. 2416 ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ
1 เจ้าภาษีนายอากรมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
2 อำนาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน
3 ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ
4 เกิดวิกฤติเงินแผ่นดินไม่พอใช้ในราชการ

41. “ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 215, (คำบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 9 โดยรัฐบาลได้นำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้ในการจัดเก็บแทนภาษีการค้าที่มีปัญหาการจัดเก็บที่ซ้ำซ้อนไม่เป็นธรรม และไม่สนับสนุนต่อภาคการส่งออกของประเทศ

42. สภาพแวดล้อมเฉพาะ ได้แก่

(1) ลูกค้า

(2) คู่แข่งขัน

(3) แรงงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ การบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ

2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ โดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร (ข้าราชการ/พนักงานราชการ) งบประมาณ วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

43. ทุกข้อเป็นสาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย ยกเว้น

(1) การกีฬา

(2) ความไม่รู้ รู้เท่าไม่ถึงการณ์

(3) การลดลงของประชากร

(4) ความเจริญทางวิทยาศาสตร์

(5) การสร้างเขื่อน

ตอบ 3 หน้า 275 – 276, 282 – 283 สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย มีดังนี้
1 การเพิ่มของประชากร
2 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
3 ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4 การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ํา ถนน
5 การกีฬา เช่น การยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์
6 สงคราม
7 ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

44. ข้อใดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น ยกเว้น

(1) ดิน

(2) น้ำ

(3) สัตว์ป่า

(4) อากาศ

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 274 – 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ํา เป็นต้น
2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ํามันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น
3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กําลังงานของมนุษย์ เป็นต้น

45. ข้อใดเป็น “ธรรมเนียมประเพณี”

(1) การทักทายด้วยการไหว้ของคนไทย

(2) ประเพณีแห่นางแมว

(3) การเคารพผู้อาวุโส

(4) พิธีการไหว้ครู

(5) ทั้งข้อ 2 และ 4

ตอบ 1 หน้า 268 – 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบ ผัวเดียวเมียเดียว การเคารพผู้อาวุโส เป็นต้น
2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น
3. ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ำจากแก้ว การใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคำนับ คนไทยไหว้ เป็นต้น

46. ข้อใดเป็นลักษณะของ “วัฒนธรรม”

(1) เป็นมรดกทางสังคม

(2) เป็นวิถีชีวิต

(3) เป็นสิ่งไม่คงที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 267 ลักษณะของวัฒนธรรม มีดังนี้
1 เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
2 เป็นมรดกทางสังคม
3 เป็นวิถีชีวิตหรือแบบของการดำรงชีวิต
4 เป็นสิ่งที่ไม่คงที่

47. เทคโนโลยีที่มีลักษณะของ Process and Product ได้แก่

(1) E-Bidding

(2) Machine

(3) Computer System

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 270 เทคโนโลยี สามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1 เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (Process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนําไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
2 เทคโนโลยีในลักษณะของการผลิต (Product) หมายถึง วัสดุอุปกรณ์และอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3 เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลิต (Process and Product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) ซึ่งมีการทํางานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม

48. “คนไทยใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร” จัดเป็นประเพณีแบบใด

(1) จารีตประเพณี

(2) กฎศีลธรรม

(3) ธรรมเนียมประเพณี

(4) ขนบประเพณี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

49. องค์การใดทําหน้าที่ “พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน”

(1) ศาลยุติธรรม

(2) ศาลปกครอง

(3) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(4) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ 2 หน้า 186 – 187 ตามรัฐธรรมนูญศาลไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ ทําหน้าที่พิจารณาความขัดแย้งระหว่างกฎหมายต่าง ๆ กับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 ศาลยุติธรรม ทําหน้าที่พิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรณีต่าง ๆ
3 ศาลปกครอง ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
4 ศาลทหาร ทําหน้าที่พิจารณาคดีอาญาทหาร และคดีทหารอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด

50. แนวคิดในการควบคุมแบบใดเกิดก่อนแบบอื่น ๆ

(1) การควบคุมผลลัพธ์

(2) การควบคุมผลผลิต

(3) การควบคุมปัจจัยนำเข้า

(4) การควบคุมโดยผู้บริโภค

(5) การควบคุมกระบวนการ

ตอบ 3 หน้า 177, 205 – 206, (คำบรรยาย) แนวคิดในการควบคุมตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า โดยพิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรขององค์การให้ตรงตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กำหนด ยุคที่ 2 ให้ความสำคัญกับการควบคุมกระบวนการทำงาน โดยพิจารณาความสำเร็จไปที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ยุคที่ 3 (ยุคปัจจุบัน) ใช้วิธีการตามยุคที่ 1 และ 2 และให้ความสำคัญกับการควบคุมผลผลิต และผลลัพธ์ รวมทั้งให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบ

51. “ความสามารถของผู้บริหาร” เป็นกลไกการควบคุมระดับใด

(1) กลไกภายในหน่วยราชการ

(2) กลไกภายนอกหน่วยราชการ

(3) กลไกตามรัฐธรรมนูญ

(4) กลไกจุลภาค

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 175, 200 – 233 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นโยบาย แผนงาน โครงการ วิธีปฏิบัติงาน คำสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น

52. ที่กล่าวว่า “งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม” หมายความว่า

(1) การใช้จ่ายของหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ

(2) ผู้บริหารสามารถกำหนดการใช้จ่ายตามที่เห็นสมควร

(3) รายรับของรัฐเป็นตัวกำหนดรายจ่าย

(4) เงินเป็นสิ่งจูงใจในการทำงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 184, 205 – 206, (คำบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม หมายถึง 1. งบประมาณเป็นกฎหมาย และการใช้จ่ายเงินของรัฐหรือหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ 2. งบประมาณเป็นแผนการบริหารที่แสดงโครงการในการดำเนินงาน แสดงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แสดงจำนวนเงินที่ต้องการใช้ ตลอดจนแสดงจำนวนบุคลากรและทรัพยากร ในการสนับสนุนการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ 3. งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

53. ตัวอย่างของนโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุม ได้แก่

(1) การพัฒนาระบบงบประมาณ

(2) นโยบายการพัฒนาบุคลากร

(3) การจัดวางระบบติดตามประเมินผล

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบ ได้แก่:
1 การพัฒนาระบบงบประมาณ
2 การพัฒนาบุคลากร
3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล
4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ

54. ข้อใดเป็นการควบคุมตรวจสอบโดย “รัฐสภา”

(1) บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) บทบาทของศาลปกครอง

(3) การออกกฎหมาย

(4) การตรวจเงินแผ่นดิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ: (3) หน้า 187 – 188 การควบคุมตรวจสอบโดย “รัฐสภา” ได้แก่
1 การพิจารณาออกกฎหมายประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ใน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปีของส่วนราชการต่าง ๆ ตามวิธีการที่กฎหมายกําหนด
3 การตั้งกระทู้และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
4 การตั้งคณะกรรมาธิการติดตามการปฏิบัติงาน

55. การควบคุม หมายถึง

(1) การตรวจสอบประสิทธิภาพ

(2) การตรวจสอบวิธีปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ

(3) การเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ: (5) หน้า 178 – 179 การควบคุม หมายถึง
1 การตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
2 การตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ และขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
3 การตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงานหรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
4 กระบวนการของการออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับ การใช้อํานาจหน้าที่สั่งการ ตลอดจน การตรวจสอบเปรียบเทียบ เพื่อที่จะให้องค์การสามารถปฏิบัติการต่อไปได้

56. ขั้นตอนสุดท้ายของการควบคุม ได้แก่

(1) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน

(2) การปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(3) การกําหนดวิธีการในการวัดความสําเร็จ

(4) การกําหนดมาตรฐานในการทํางาน

(5) การรับเรื่องราวร้องทุกข์

ตอบ: (2) หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

57. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของ “คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน”

(1) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

(2) เป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริต

(3) ทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินให้กับส่วนราชการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 186, 206 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา ทำหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชี หน่วยงานภาครัฐ ติดตามประเมินผลการดําเนินงาน กํากับตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมทั้งเป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริต การใช้จ่ายเงิน

58. ข้อใดจัดเป็นระบบการประกันคุณภาพขององค์การ

(1) มาตรฐาน ISO

(2) เกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด

(3) มาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 202 ระบบการประกันคุณภาพขององค์การ เกิดจากแนวคิดในการพัฒนาองค์การ ที่ให้ความสําคัญต่อลูกค้าขององค์การ การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค การบริหารจัดการ ที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ การคํานึงถึงความเป็นสถาบันขององค์การในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทําให้องค์การมีการจัดตั้งฝ่ายประกันคุณภาพขึ้นเป็นแผนกหนึ่งขององค์การ และมีการนําระบบการประกันคุณภาพเข้ามาใช้ เช่น มาตรฐาน ISO มาตรฐาน HA (กรณี โรงพยาบาล) มาตรฐาน สมศ. (กรณีสถาบันการศึกษา) นอกจากนี้องค์การของรัฐทั้งหลาย ยังต้องรับข้อกําหนดต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นําเสนอ รวมถึงข้อกําหนดตามกฎหมาย เช่น พ.ร.บ. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น

59. ข้อใดมิใช่หน่วยงานอิสระที่บัญญัติขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2550

(1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(2) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(3) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(4) ศาล

(5) องค์กรอัยการ

ตอบ 1 หน้า 186, 192, (คําบรรยาย) หน่วยงานหรือองค์กรอิสระที่บัญญัติขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ สํานักงานคุ้มครองผู้บริโภค ศาล องค์กรอัยการ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น

60. ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ระดับการนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรต่าง ๆ ในองค์การเปลี่ยนไป

(2) ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดําเนินการของหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกร้องให้ได้รับการเยียวยาแก้ไข

(3) เป้าหมายสุดท้ายของการควบคุมตรวจสอบคือการทําให้หน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนด

(4) กลไกภายในเกี่ยวกับการควบคุม ประกอบด้วย ข้อกําหนดทั้งหลายที่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้

(5) นโยบายและแผนขององค์การเป็นเสมือนเข็มทิศที่กํากับทิศทางการดําเนินงาน

ตอบ 4 หน้า 176 – 178, 183, 203 “กลไกภายนอก” ที่เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบหน่วยงาน มี 2 ประเภท คือ
1 การควบคุมตรวจสอบโดยหน่วยงานกลางในการบริหารราชการ เช่น สํานักงบประมาณ สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน เป็นต้น
2 การควบคุมตรวจสอบที่เกิดจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกลไกการควบคุมเพื่ออํานวย ความยุติธรรมและเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เช่น แนวนโยบายแห่งรัฐ และข้อกําหนดทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบาทของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา บทบาทของศาล ในกระบวนการยุติธรรม การตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น (ดูค่าอธิบายข้อ 51. ประกอบ)

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Thomas R. Dye

(2) Ira Sharkansky

(3) David Easton

(4) James Anderson

(5) Theodore Lowi

61. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะคือสิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 หน้า 73 Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาล เลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา

62. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย

ตอบ 3 หน้า 74 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจง คุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

63. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 74 Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาล กระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น

64. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

ตอบ 4 หน้า 73 James Anderson กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาล กระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น

65. ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเภทของนโยบายสาธารณะ

ตอบ 5 หน้า 76, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตาม เนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)

66. ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) Harold Lasswell นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น

(2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา

(3) Theodore Lowi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 74, (คําบรรยาย) Harold Lasswell ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับ Abraham Kaplan ว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 67 – 71. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Economic Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Administrative Policy

67. นโยบายการปฏิรูประบบราชการ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 หน้า 77, (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรอง ที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

68. นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 76, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็น นโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด นโยบายการลดราคาน้ํามันเบนซิน โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ําประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

69. นโยบายกองทุนหมู่บ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน อะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

70. นโยบายจัดระเบียบสังคม เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยอาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศต่าง ๆ เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

71. นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

72. ทุกข้อเป็นบทบาทของ E-Learning ยกเว้น

(1) ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนได้ตลอดเวลา

(2) ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและเพื่อน

(3) ช่วยให้เกิดการทำธุรกรรมในการบริการได้อย่างกว้างขวาง

(4) ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(5) เป็นบทบาทของ E-Learning ทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 312 บทบาทของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) มีดังนี้
1 ช่วยจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนได้ตลอดเวลา
3 ช่วยให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้
4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและเพื่อน
5 ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหามีความทันสมัย และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่างทันที
6 ทำให้เกิดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฯลฯ

73. การพยากรณ์อากาศ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Information

(2) Interchange Transaction

(3) Integration

(4) Intelligence

(5) Interaction

ตอบ 4 หน้า 310, (คำบรรยาย) ระดับอัจฉริยะ (Intelligence) เป็นการพัฒนาโปรแกรมอัจฉริยะขึ้นในระบบ โดยเว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของประชาชนที่มาใช้บริการ โดยสามารถเลือกรูปแบบข้อมูลที่ตนต้องการ หรือข้อมูลที่ประชาชนสนใจเรื่องเดียวกัน เช่น ราคายาง หรือราคาข้าว สามารถรับข้อมูลได้ทันที และสามารถพัฒนาไปถึงการทำนายหรือการพยากรณ์ เช่น การพยากรณ์อากาศ หรือการป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆ ในอนาคตได้

74. การชำระภาษีออนไลน์ เป็นประเภทของการให้บริการแบบใด

(1) G2C

(2) G2G

(3) G2F

(4) G2E

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 308 G2C (Government to Citizen) คือ การให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชําระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียง และการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดําเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น

75. การศึกษาปฏิกิริยาเคมีของกัมมันตภาพรังสี เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Material Technology

(2) Bio Technology

(3) Energy Technology

(4) Nano Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 292, (คําบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology) เป็น การพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาติที่อยู่ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อนํามาทดแทนทรัพยากรเชื้อเพลิง ที่นับวันจะหมดสิ้นไป ซึ่งพลังงานทดแทนอาจได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ํา คลื่นในมหาสมุทร ทรัพยากรใต้น้ํา ปฏิกิริยาทางเคมีของสารกัมมันตภาพรังสี รวมถึง สารให้พลังงานอื่น ๆ จากพืชและสัตว์ การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเหล่านี้ให้เป็นพลังงานในรูปแบบ ที่ต้องการจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ เช่น การใช้กังหันลม (Wind Mill) ในการแปลง พลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า การใช้โซล่าเซลล์ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน ไฟฟ้า เป็นต้น

76. การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Material Technology

(2) Bio Technology

(3) Energy Technology

(4) Nano Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 292, (คําบรรยาย) การพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภาพ (Bio Technology) คือ การนําเอา ความรู้ทางด้านต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง ตามที่มนุษย์ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การจัดการ สิ่งแวดล้อม เช่น การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ การศึกษาเซลล์ต้นกําเนิด (Stem Cells) การตัดแต่งพืชพันธุกรรม (GMO) การบําบัดน้ําเสียโดยใช้กังหันชัยพัฒนา เป็นต้น

77. การนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Material Technology

(2) Bio Technology

(3) Energy Technology

(4) Nano Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 293 – 294, (ค่าบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นการนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทําให้เกิดระบบการสื่อสารข้อมูลและข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกัน ได้ง่าย สะดวก และประหยัด รวมทั้งผู้คนสามารถค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่รวบรวมข้อมูล จากทุกมุมโลกได้ง่าย และสะดวก ตัวอย่างของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ เช่น การถ่ายทอดสด ฟุตบอลจากต่างประเทศ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล เป็นต้น

78. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ตามหนังสือ

(1) เครื่องจักร

(2) โปรแกรม

(3) บุคลากร

(4) ข้อมูล

(5) เป็นส่วนประกอบทุกข้อ

79 การที่รัฐบาลให้บริการประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่าอะไร

(1) E-Commerce

(2) E-Education

(3) E-Government

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 305, (คำบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การที่รัฐบาลนำระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในองค์การภาครัฐเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ในการติดต่อราชการ การชำระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทำหนังสือเดินทาง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

80 การจับจ่ายสินค้าทั่วโลกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่าอะไร

(1) E-Commerce

(2) E-Education

(3) E-Government

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 305, (คำบรรยาย) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบซึ่งครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีช่องทางในการทำธุรกรรมร่วมกันมากขึ้น

81 การสอบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) E-Commerce

(2) E-Education

(3) E-Government

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 306, (คำบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในสถาบันการศึกษา ตัวอย่างของการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน เช่น การเรียนผ่านระบบ Online หรือการสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

82 ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก

(1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(2) การระงับข้อพิพาท

(3) ยุติธรรมทางอาญา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15 – 16), (คำบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งลักษณะสำคัญของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก มีดังนี้
1. มีพื้นฐานจากการใช้อำนาจของรัฐในการควบคุมเพื่อไม่ให้มีการทำผิดกฎเกณฑ์หรือกติกาที่กำหนดไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
2. รูปแบบในการดาเนินการเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมมีลักษณะเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ระหว่างผู้กระทําความผิดฝ่ายหนึ่ง และรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีผู้เสียหายเป็นตัวประกอบ
3. การอํานวยความยุติธรรมมีลักษณะเป็น “กระบวนการดําเนินงานเชิงคดี” ฯลฯ

83. ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

(1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(2) การระงับข้อพิพาท

(3) ยุติธรรมทางอาญา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) เป็นแนวคิดที่ให้ผู้เสียหายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลการกระทํา อาชญากรรมเป็นศูนย์กลางของกระบวนการยุติธรรม โดยที่รัฐและบุคลากรทางกฎหมาย เป็นเพียงผู้ประสานงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือระงับข้อพิพาท โดยให้ผู้กระทําผิดได้แสดงความรับผิดชอบในการกระทําของเขา และให้ความช่วยเหลือ/ บรรเทาผลร้ายแก่ผู้เสียหาย ซึ่งวิธีการของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ได้แก่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การประนอมข้อพิพาท เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 84 – 86. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิธีระงับข้อพิพาททางเลือก

(1) การประเมินความขัดแย้ง

(2) การประสานความขัดแย้ง

(3) การประนอมข้อพิพาท

(4) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(5) อนุญาโตตุลาการ

84. เป็นกระบวนการที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คู่ความเจรจาต่อรองกันได้สําเร็จ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ กระบวนการระงับข้อพิพาท ที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คู่ความเจรจาต่อรองกันได้สําเร็จ ซึ่งกระบวนการนี้ผู้ไกล่เกลี่ย จะเป็นคนกระตุ้นให้คู่ความตกลงกันง่ายขึ้น แต่ไม่มีอํานาจในการกําหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความ

85. เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23) การประนอมข้อพิพาท คือ กระบวนการที่ผู้ประนอม ข้อพิพาทจะพยายามช่วยคู่พิพาทในการแก้ไขความเข้าใจผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน พยายาม ลดทอนความรู้สึกหวาดระแวงและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเทคนิคนี้จะต้องอาศัยความสมัครใจ ของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ

86. มีการตั้งคนกลางขึ้นมาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่งข้อวินิจฉัยนี้เรียกว่าเป็นคําชี้ขาด มีผลผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26) อนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการที่มีการตั้งคนกลาง มาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่งข้อวินิจฉัยนี้ปรากฏในสิ่งที่เรียกว่าเป็น คําชี้ขาดที่มีผลตามกฎหมายผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม

87. ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่

(1) สะดวก

(2) รวดเร็ว

(3) ประหยัดค่าใช้จ่าย

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 29 – 30), (คำบรรยาย) ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่:
1 สะดวก
2 รวดเร็ว
3 ประหยัดค่าใช้จ่าย
4 ลดความเครียด
5 รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท
6 สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท
7 สร้างความสงบสุขให้กับชุมชน ฯลฯ

88. ข้อจำกัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
(1) รักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างคู่พิพาท
(2) สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท
(3) คู่พิพาทได้เป็นช่องทางประวิงให้เกิดความล่าช้า
(4) สร้างความสุขให้กับชุมชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คำบรรยาย) ข้อจำกัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
1. ไม่มีสภาพบังคับ การไกล่เกลี่ยขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคู่พิพาทเป็นสำคัญ
2. คู่พิพาทอาจใช้เป็นช่องทางประวิงเวลาให้คดีเกิดความล่าช้า
3. ผลของการไกล่เกลี่ยไม่สามารถบังคับได้หากกรณีนั้นเกี่ยวกับคำพิพากษา ฯลฯ

89. New Public Service ให้ความสำคัญกับเรื่องใด
(1) การตัดสินใจของการทำงาน
(2) ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
(3) สัญญลักษณ์ของงาน
(4) ประสิทธิภาพการทำงาน
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 2 หน้า 329 – 348, 355 – 357 การจัดการการรัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)
มีแนวทางแตกต่างจากการบริหารราชการแผนใหม่/การบริหารการรัฐแนวใหม่ (New Public
Service : NPS) หรือการรวมการบริหารการนำเสนอแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance
Management) ซึ่งมีลักษณะทางทฤษฎีเด่นชัดในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

1. การจัดการการรัฐแนวใหม่ ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของราชการ การลดขั้นตอน
การทำงาน การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการ
ที่เน้นการแข่งขันแบบตลาดธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสำคัญกับ
เทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อำนาจกับ
ผู้บริหารเหมือนผู้ประกอบการที่เน้นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบผู้ประกอบการ
(Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น

2. การบริหารราชการแผนใหม่ ให้ความสำคัญกับความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย มนุษย์นิยม การสร้างเครือข่ายทางสังคม ประชาสังคม และชุมชน เป็นต้น

90. ข้อใดเป็นเรื่องของ New Public Service
(1) Democratic Governance Management
(2) Neo-Taylorism Management
(3) Market-Based Management
(4) CEO Management
(5) Entrepreneurial Management

ตอบ 1 ดูคำอธิบายในข้อ 89. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95. จะใช้คำสั่งเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
(2) การก่ออาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต
(3) ไวรัสคอมพิวเตอร์
(4) การสำรองข้อมูลในอารยธรรมคอมพิวเตอร์
(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

91. การส่งไปรษณีย์ขยะ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 315 การก่อกวนผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การส่งไปรษณีย์ขยะ (Junk Mail) หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ขยะ (E-mail) จำนวนมากใส่ตู้จดหมายของผู้ใช้ ทำให้ตู้จดหมายเต็มไปด้วยเรื่องราว ไร้สาระ โฆษณาชวนเชื่อ การใช้โปรแกรมยิงคำสั่งแปลก ๆ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

92. การส่งไฟล์ไปทำลายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ โดยวิธีการเรียกมาใช้งาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ หน้า 315, (คำบรรยาย) ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีแหล่งที่แพร่กระจายไวรัส คอมพิวเตอร์อยู่มากมาย ทั้งการแพร่กระจายผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การส่ง ไฟล์ไปทำลายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ โดยวิธีการเรียกมาใช้งาน (Download) หรือ การแพร่กระจายจากการเข้าไปเว็บไซต์ (Web Site) ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์แฝงตัวทำงานอยู่

93. การโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมทำธุรกิจ หรือลงทุนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 315 การล่อลวงบนอินเทอร์เน็ต เช่น การโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมทำธุรกิจหรือลงทุน ในด้านต่าง ๆ การโฆษณาขายสินค้าที่ไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือ การล่อลวงเด็กและเยาวชน ไปทำอนาจาร ทารุณทางเพศ หรือบังคับค้าประเวณี เป็นต้น

94. การใช้วิธีการต่าง ๆ ในการฝ่าระบบป้องกันภัยเข้าไปทำลายข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 หน้า 316 การล้วงข้อมูลโดยจารชนคอมพิวเตอร์ หรือ “แฮกเกอร์” (Hacker) คือ การใช้ วิธีการต่าง ๆ ฝ่าระบบป้องกันภัยหรือรหัสลับบนเครือข่ายเพื่อเข้าไปดูข้อมูล และทำการ เปลี่ยนแปลง หรือนำไปใช้ หรือทำลายข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ที่เข้าสามารถบุกรุกเข้าไปได้ ซึ่งกลุ่มแฮกเกอร์ที่ชอบสร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่นนี้บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผู้ทำลาย หรือ “แครกเกอร์” (Cracker)

95. การค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่รวบรวมข้อมูลจากทุกมุมโลก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

96. ผู้เขียน “Reinventing Government” ได้แก่

(1) Thomas Jefferson

(2) Osborne & Gaebler

(3) Frederick W. Taylor

(4) Christopher Pollitt

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 331, 338 – 339, (คำบรรยาย) Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐหรือการเนรมิต ระบบราชการใหม่ด้วยแนวทางและอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบ เถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นำแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น

97. Thomas Jefferson ให้ความสำคัญกับเรื่องใดในการบริหารราชการ

(1) ประชาธิปไตย

(2) การขยายบทบาทภาครัฐ

(3) การลดบทบาทภาครัฐ

(4) ประสิทธิภาพ

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 1 หน้า 326 – 327 โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ถือเป็นผู้วางรากฐานการเมือง และมีอิทธิพลต่อแนวคิดหลักในการบริหารราชการของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยแนวคิดของเจฟเฟอร์สันนั้นได้ให้ความสําคัญกับประชาธิปไตย (Democracy) ในการบริหารราชการ โดยต้องการให้รัฐบาลกระจายอํานาจให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ และต้องการจํากัดอํานาจของฝ่ายบริหารโดยอาศัยกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

98. “I AM READY” คืออะไร

(1) ภาวะผู้นํา

(2) นโยบายปฏิรูประบบราชการ

(3) กิจกรรมการปฏิรูประบบราชการ

(4) ค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการ

(5) การตอบสนองต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 4 หน้า 352 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กําหนดค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ประกอบด้วย:
I = Integrity (ทํางานอย่างมีศักดิ์ศรี)
A = Activeness (ขยัน ตั้งใจ ทํางานในเชิงรุก)
M = Morality (มีศีลธรรม คุณธรรม)
R = Relevancy (รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก)
E = Efficiency (มุ่งเน้นประสิทธิภาพ)
A = Accountability (มีความสํานึกรับผิดชอบต่อผลงานและสังคม)
D = Democracy (มีใจและการกระทําที่เป็นประชาธิปไตย)
Y = Yield (มุ่งเน้นผลงาน)

99. ใครเป็นผู้กําหนด “I AM READY”

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงาน ก.พ.ร.

(3) คณะรัฐมนตรียุครัฐบาลทักษิณ

(4) Deming นักวิชาการอเมริกัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ประเทศแรกที่มีการริเริ่มให้มีการปฏิรูประบบราชการด้วย New Public Management ได้แก่

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) ญี่ปุ่น

(5) จีน

ตอบ 1 หน้า 330 – 331, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูประบบราชการของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูประบบราชการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

 

POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

คำสั่ง: ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1. ข้อใดเกี่ยวข้องกับนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher)?

(1) การปฏิรูประบบราชการในนิวซีแลนด์

(2) การจัดการกับปัญหาไฟป่าในออสเตรเลีย

(3) การระงับข้อพิพาทระหว่างยูเครนกับรัสเซีย

(4) ความพยายามแก้ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงอุยกูร์

(5) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอังกฤษ

ตอบ 5 หน้า 330 ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิรูปกิจการภาครัฐทั้งระบบราชการและรัฐวิสาหกิจในประเทศอังกฤษ ภายใต้โครงการปฏิรูปที่เรียกว่า “ขั้นต่อไป” (The Next Step) จนประสบความสำเร็จ ซึ่งสามารถลดขนาดของภาครัฐและลดงบประมาณรายจ่ายในการบริหารงานภาครัฐได้

2. หนังสือของผู้ใดต่อไปนี้ที่นำเสนอถึงแนวทางในการเนรมิตระบบราชการใหม่?

(1) Leonard D. White

(2) Woodrow Wilson

(3) Rishi Sunak

(4) Osborne and Gaebler

(5) Max Weber

ตอบ 4 หน้า 331, 338 – 339, (คำบรรยาย) Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐหรือการเนรมิตระบบราชการใหม่ด้วยแนวทางและอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นำแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น

3. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ?

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(2) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551

(3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

(4) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 352 – 354, (คำบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ มีดังนี้ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 4. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ฯลฯ

4 ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีที่สุด

(1) การรวมศูนย์อํานาจ

(2) การแบ่งอํานาจ

(3) การหวงอํานาจ

(4) การกระจายอํานาจ

(5) การรวบอํานาจ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองตามหลักการกระจายอํานาจ เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีอิสระในการดูแลปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี 5 ประเภท คือ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

5 ข้อใดไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย

(1) ฝ่ายนิติบัญญัติ

(2) ฝ่ายการเมือง

(3) ฝ่ายบริหาร

(4) ระบบราชการ

(5) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ตอบ 5 (คำบรรยาย) สถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย ได้แก่ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง ระบบราชการ (สถาบันราชการและข้าราชการ) และประมุขของประเทศ

6 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นฝ่ายบริหาร (Executive Branch)

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) วุฒิสภา

(3) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี

(4) คณะรัฐมนตรี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ
2 ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ทําหน้าที่ในการ บริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย
3 ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย หน้า 8 – 9

7 ข้อใดสอดคล้องกับระบบอุปถัมภ์ (Patronage System)

(1) การมีสํานึกสาธารณะ

(2) การแต่งตั้งโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ

(3) การกําหนดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจน

(4) การคํานึงถึงเรื่องส่วนตัวมากกว่างาน

(5) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) หรืออาจเรียกว่า ระบบเส้นสาย ระบบ พวกพ้อง ระบบเครือญาติ เป็นระบบที่คํานึงถึงเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องงานหรือยึดถือ ความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่พวกพ้อง ดังนั้นการคัดเลือกบุคคล เข้าทํางาน การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง ฯลฯ จึงพิจารณาจาก ความเป็นพวกพ้องเป็นสําคัญ ไม่ได้พิจารณาจากความรู้ความสามารถของบุคคล

8 ข้อใดสอดคล้องกับระบบคุณธรรม (Merit System)

(1) การสั่งการจากล่างขึ้นบน

(2) ยึดความรู้ความสามารถเป็นหลักในการพิจารณา

(3) การมีสํานึกสาธารณะ

(4) การช่วยเหลือกันในหมู่พวกพ้อง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง โดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถของบุคคล เป็นสําคัญ โดยไม่คํานึงถึงเหตุผลทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ส่วนตัว

9 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง

(1) การสั่งการจากบนลงล่าง (Top-Down)

(2) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด

(3) การมีสํานึกสาธารณะ

(4) การรับประโยชน์จากนโยบาย

(5) การวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

ตอบ 3 หน้า 341, (คําบรรยาย) Michael Sandal เห็นว่า ความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น พลเมืองจะคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มีมุมมองที่กว้างไกลและต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของรัฐ (Public Affairs) มีสํานึกสาธารณะว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีความผูกพันในเชิงจริยธรรมกับชุมชนซึ่งร่วมชะตากรรมเดียวกัน

10 ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับสํานักงาน ก.พ.ร.

(1) พัฒนาระบบราชการ

(2) นโยบายการคลัง

(3) การจัดทํางบประมาณ

(4) การปราบปรามการทุจริต

(5) การวางนโยบายด้านการศึกษา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นส่วนราชการ สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 โดยมีหน้าที่ในการริเริ่ม ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการและการพัฒนาระบบราชการผ่านกลไกต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

11 ผู้ใดต่อไปนี้ที่เคยมีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐในสหรัฐอเมริกา

(1) นายโดนัลด์ ทรัมป์

(2) นายอัล กอร์

(3) นายบารัค โอบามา

(4) นางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์

(5) นายบอริส จอห์นสัน

ตอบ 2 หน้า 331 อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ (Al Gore) ได้มีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงาน ภาครัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน (Clinton) ภายใต้โครงการที่เรียกว่า “การทบทวนการปฏิบัติงานแห่งชาติ” (National Performance Review) โดยมีเป้าหมาย อยู่ที่การบริหารงานในระดับสหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลาง และได้มีการออกกฎหมายที่สําคัญ ในการปฏิรูป คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติงานและผลงานรัฐบาล ค.ศ. 1993

12 ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับ Denhardt and Denhardt

(1) Bureaucracy

(2) New Public Governance (NPG)

(3) New Public Service (NPS)

(4) Theory of Needs

(5) I AM READY

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Janet V. Denhardt and Robert B. Denhardt ได้แบ่งพาราไดม์ของ การบริหารรัฐกิจออกเป็น 3 พาราไดม์ คือ 1. การจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management : OPM) 2. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) 3. การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS)

ตั้งแต่ข้อ 13. – 17. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) William F. Willoughby

(2) Thomas R. Dye

(3) Herbert A. Simon

(4) Gareth Morgan

(5) Vincent Ostrom la Elinor Ostrom

13 เป็นผู้กล่าวถึงข้อจำกัดของความมีเหตุผล
ตอบ 3 หน้า 53 Herbert A. Simon ได้อธิบายว่า หลักต่างๆ ของการบริหารประสบกับปัญหาสําคัญ คือ ข้อจำกัดของความมีเหตุผล ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดของบุคคลแต่ละคนใน 3 ประการ ดังนี้ 1. ข้อจำกัดเกี่ยวกับความชํานาญ นิสัย และสัญชาตญาณ 2. ข้อจำกัดเกี่ยวกับค่านิยมและแนวความคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ 3. ข้อจำกัดเกี่ยวกับความรู้และข้อมูลข่าวสาร

14 เป็นผู้เขียนตําราที่สมบูรณ์เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ
ตอบ 1 หน้า 48, 65, (คําบรรยาย) William F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสําคัญในการ บุกเบิกหรือนําเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตําราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ ที่สุดชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียน ที่สมบูรณ์เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยตําราเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงแรงผลักดันใหม่ ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่ แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ และนักบริหารสามารถจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในกิจการงาน ของตนได้ถ้าเขาได้เรียนรู้ว่าจะนําหลักต่าง ๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

15 เป็นผู้เสนอแนวคิด Public Choice
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Vincent Ostrom และ Etinor Ostrom เป็นผู้เสนอแนวคิดทางเลือกสาธารณะ (Public Choice) ซึ่งเป็นสาขาใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ที่สามารถนํามาใช้ในการพัฒนาและ เพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงานภาครัฐได้ภายใต้กรอบเค้าโครงความคิดการบริหารงาน แบบประชาธิปไตย

16 เป็นผู้กล่าวว่านโยบายสาธารณะหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา
ตอบ 2 หน้า 73 Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาล เลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา

17 เป็นผู้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย
ตอบ 4 หน้า 135 – 136 Gareth Morgan ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่ Morgan นํามาพิจารณา ในการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ

18 การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(3) การก่อตัวของนโยบาย

(4) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

(5) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย 1. การกําหนดวัตถุประสงค์ 2. การกําหนดทางเลือก 3. การจัดทําร่างนโยบาย

19 ข้อใดที่มิใช่เงื่อนไขสําคัญของภาษีอากร

(1) การที่รัฐต้องให้ประโยชน์ตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชําระภาษี

(2) เป็นการบังคับจัดเก็บจากรัฐ

(3) เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ

(4) เพื่อนําเงินไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะ

(5) เก็บจากผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงเท่านั้น

ตอบ 1. 5 หน้า 216 ภาษีอากร เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบังคับจัดเก็บจาก บุคคลผู้มีรายได้เพื่อใช้ในการบริหารประเทศและกิจการสาธารณะ โดยผู้ชําระภาษีจะได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนทางอ้อม เพราะว่ารัฐนําเงินภาษีไปใช้จ่ายในการทํานุบํารุงประเทศ อันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศ

20. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ

(1) การได้มาซึ่งบุคลากร

(2) การวางแผนทรัพยากรบุคคล

(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(4) การสอบสวนทางวินัย

(5) การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร

ตอบ 4 หน้า 163 – 164 การบริหารงานบุคคลภาครัฐ ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 6 ขั้นตอน คือ
1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล
2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้ายและแต่งตั้ง
3 การพัฒนาบุคลากร
4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร
5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
6 การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร

21. คณะกรรมการชุดใดมีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคล

(1) สตง.

(2) ป.ป.ช.

(3) ก.พ.

(4) กกต.

(5) สตช.

ตอบ 3 หน้า 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ในการบริหารงาน บุคคล โดยทําหน้าที่กําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่ การกําหนดตําแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตําแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจาก ราชการ

22. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(3) การก่อตัวของนโยบาย

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 87 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย
1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน
2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา
3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ
4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

23. การส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เป็นนโยบายด้านใด

(1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(2) นโยบายด้านการศึกษา

(3) นโยบายด้านสาธารณสุข

(4) นโยบายด้านกีฬาและนันทนาการ

(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 91 – 92 นโยบายด้านการศึกษา มีดังนี้
1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ
3 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี
4 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 24-25. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Policy Formation (การกำหนดนโยบาย)

(2) Policy Formulation (การร่างนโยบาย)

(3) Policy Adoption (การนำนโยบายไปใช้)

(4) Policy Implementation (การนำนโยบายไปปฏิบัติ)

(5) Policy Evaluation (การประเมินนโยบาย)

24. คำถาม: การตีความหรือแปลงนโยบายอยู่ในขั้นตอนใดของนโยบาย?

ตอบ: (4) Policy Implementation (การนำนโยบายไปปฏิบัติ)

คำบรรยาย: หน้า 89 ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย:
1 การส่งต่อนโยบาย
2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ
5 การจัดระบบสนับสนุน
6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

25. คำถาม: การกําหนดเกณฑ์ชี้วัดและวิธีตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมินอยู่ในขั้นตอนใดของนโยบาย?

ตอบ: (5) Policy Evaluation (การประเมินนโยบาย)

คำบรรยาย: หน้า 90 ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย:
1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2 การกําหนดเกณฑ์ชี้วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน
3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน
4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบาย

ตั้งแต่ข้อ 26-27. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(2) นโยบายด้านการศึกษา

(3) นโยบายด้านสาธารณสุข

(4) นโยบายด้านแรงงาน

(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

26. คำถาม: การแก้ไขปัญหาความยากจน จัดสรรที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย เป็นนโยบายด้านใด?

ตอบ: (1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

คำบรรยาย: หน้า 95-96, (คําบรรยาย) นโยบายด้านสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีดังนี้:
1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดสรรที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและรายได้
2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
3 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ในกลุ่มผู้สูงอายุ
4 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ เช่น ส่งเสริมให้ผู้พิการได้รับกายอุปกรณ์ ฯลฯ

27. คำถาม: การพัฒนาและยกระดับจิตใจ เป็นนโยบายด้านใด?

ตอบ: (5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

คำบรรยาย: หน้า 95, (คําบรรยาย) นโยบายด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม มีดังนี้:
1 ส่งเสริมการทํานุบํารุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน
2 ส่งเสริมสถาบันศาสนาทุกศาสนาให้มีบทบาทในการเผยแผ่หลักคําสอนที่ดีงาม ปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน
3 สนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะ ที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ฯลฯ

คำถาม: ตั้งแต่ข้อ 28-33. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Woodrow Wilson

(3) Herbert A. Simon

(4) Thomas S. Khun

(5) Luther H. Gulick

28 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าพาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ?

ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 75 – 76) Robert T. Golembiewski ได้เสนอความเห็นว่าพาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และวิชาการบริหารรัฐกิจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดขึ้นมาในรูปของพาราไดม์เบ็ดเสร็จ แต่ควรจะกำหนดขึ้นมาในรูปของมินิพาราไดม์หลาย ๆ มินิพาราไดม์จะดีกว่า

29 ใครเป็นผู้วิจารณ์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจเป็นเพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร?

ตอบ 3 หน้า 52 Herbert A. Simon ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Proverbs of Administration” (1946) ว่า หลักต่างๆ ของการบริหารรัฐกิจที่ได้กำหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

30 ใครเขียนบทความเสนอว่าการบริหารรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ?

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คำบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ เป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกำเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจาก นักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

31 ใครเสนอว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ 7 ประการ โดยสรุปเป็นคำย่อว่า POSDCORB?

ตอบ 5 หน้า 49 – 50, 64 – 65, (คำบรรยาย) Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ได้เสนอว่า หน้าที่สำคัญของหัวหน้าฝ่ายบริหารมี 7 ประการ โดยสรุปเป็นคำย่อว่า POSDCORB ซึ่งประกอบด้วย 1. P = Planning (การวางแผน) 2. O = Organizing (การจัดองค์การ) 3. S = Staffing (การจัดบุคคลเข้าทำงาน) 4. D = Directing (การอำนวยการ) 5. Co = Coordinating (การประสานงาน) 6. R = Reporting (การรายงานผลการปฏิบัติงาน) 7. B = Budgeting (การจัดทำงบประมาณ)

32 ใครเป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่ความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm)?

ตอบ 4 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิด เกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบาย ไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ 1. เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐาน สำหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 2. เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป

33 ใครเป็นต้นกำเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน?

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ

34 Personnel Administration หมายถึงข้อใด?

(1) การบริหารรัฐกิจ

(2) การบริหารธุรกิจ

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

(5) การบริหารคน

ตอบ 3 หน้า 148 การบริหารงานบุคคล ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งหากจะให้มีความหมายว่าเป็นการบริหารงานบุคคล ในระบบราชการหรือภาครัฐโดยเฉพาะก็จะใช้คำว่า “Public Personnel Administration” และหากจะให้มีความหมายเฉพาะถึงการบริหารงานบุคคลในภาคธุรกิจเอกชนก็จะใช้คำว่า Business Personnel Management”

35. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 M’s

(1) Material

(2) Money

(3) Management

(4) Man

(5) Monarchy

ตอบ 5 หน้า 154 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 M’s ประกอบด้วย 1. คน (Man) 2. เงิน (Money) 3. วัสดุอุปกรณ์ (Material) 4. การจัดการ (Management)

36 – 42. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) หลักธรรมาภิบาล

(2) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน

(3) การบริการสาธารณะแนวใหม่

(4) ทฤษฎีต้นทุนทางธุรกรรม

(5) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม

36. New Public Service หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 หน้า 341 – 348, 356 – 357 การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS) หรือการร่วมบริหารกิจการบ้านเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance Management) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย มนุษยนิยม การสร้างเครือข่ายทางสังคม ประชาสังคม และชุมชน เป็นต้น

37. การทำประชาพิจารณ์สะท้อนถึงหลักการในข้อใด

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมแสดงความเห็นในการตัดสินใจที่สำคัญของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน มีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การทำประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ การทำประชาคม เป็นต้น

38. กระบวนการเลือกตั้งที่ยุติธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดหลักการในข้อใด

ตอบ 5 (คำบรรยาย) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิดและรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่าการคงอยู่ของระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการเลือกตั้งที่ยุติธรรม หรือการให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

39. Transaction-Cost Theory หมายถึงข้อใด

ตอบ 4 หน้า 333 ทฤษฎีต้นทุนทางธุรกรรม (Transaction-Cost Theory) อธิบายว่า ไม่มีธุรกรรมอะไร ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนต่างก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น เงินเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าจึงควรลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม กล่าวคือธุรกรรมบางอย่างอาจเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงถ้ามีการทำสัญญาให้ภาคเอกชนรับไปทำ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการแข่งขันซึ่งจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพของสินค้าและบริการ

40. Good Governance หมายถึงข้อใด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) Good Governance หมายถึง หลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 6 ประการ ดังนี้
1 หลักนิติธรรม
2 หลักคุณธรรม
3 หลักความโปร่งใส
4 หลักความมีส่วนร่วม
5 หลักความรับผิดชอบ
6 หลักความคุ้มค่า

41. การทําประชาคมหมู่บ้านส่งผลให้เกิดหลักการในข้อใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ (หมายเหตุ: ไม่พบข้อ 37 ในเอกสารนี้)

42. หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี 6 ประการ คือข้อใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

43. คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ คือ

ตอบ 3 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ ในการบริหารรัฐกิจ มีดังนี้
1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)
2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)

44. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่

(1) เชื่อในการผูกขาดของภาครัฐ

(2) ให้ความสําคัญกับปัจจัยนําออกมากกว่าวิธีการ

(3) การจัดการแบบภาคเอกชน

(4) มีมาตรฐานการทํางานและตัวชี้วัดที่เด่นชัด

(5) ให้ความสําคัญกับวินัยและความประหยัดในการใช้ทรัพยากร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ตามแนวคิดของ Hood มีดังนี้
1 ให้อํานาจในการจัดการอย่างอิสระแก่มืออาชีพ เพื่อให้เกิดการควบคุมและความรับผิดชอบในองค์การที่แน่ชัด
2 มีมาตรฐานการทํางานและตัวชี้วัดที่เด่นชัด
3 ให้ความสําคัญกับปัจจัยนําออกมากกว่าวิธีการ
4 มีการกระจายหน่วยงานเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
5 ให้ความสําคัญกับการแข่งขัน เชื่อในกลไกตลาด
6 ใช้แนวคิดการจัดการแบบภาคเอกชน มีความยืดหยุ่นในการจ้างงานและให้รางวัล
7 ให้ความสําคัญกับวินัยและความประหยัดในการใช้ทรัพยากร

45. แนวคิดใดให้ความสำคัญกับความเป็นพลเมือง (Citizenship)

(1) New Public Management

(2) Public Administration

(3) Reinventing Government

(4) Public Management

(5) New Public Service

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

46. ข้อใดไม่ใช่คุณค่าหลัก 4 ประการของการจัดการภาครัฐแนวใหม่

(1) ประสิทธิภาพ

(2) ประสิทธิผล

(3) ประหยัด

(4) คุณภาพ

(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 5 หน้า 330 คุณค่าหลัก 4 ประการของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีดังนี้
1 ประสิทธิผล (Effectiveness หรือ Result)
2 ประสิทธิภาพหรือความคุ้มค่า (Efficiency)
3 ประหยัด (Economy)
4 ความเป็นเลิศหรือคุณภาพ (Excellence หรือ Quality)

47. ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างองค์การแบบใหม่กับองค์การแบบเดิม

(1) แผนภูมิแสดงโครงสร้างองค์การ

(2) ความยืดหยุ่นในการทำงาน

(3) การจัดแผนกงาน

(4) ระบบย่อยในองค์การ

(5) จำนวนคนในองค์การ

ตอบ 2 หน้า 114 – 115 องค์การแบบใหม่กับองค์การแบบเดิม มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

1 องค์การแบบใหม่: มีลักษณะเปลี่ยนแปลง, มีความยืดหยุ่นในการทำงาน, ให้ความสำคัญต่อทักษะในการปฏิบัติงาน, งานกำหนดจากสิ่งที่ต้องปฏิบัติ, เน้นทีมงาน, งานมีลักษณะชั่วคราว, ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ, ให้ความสำคัญต่อลูกค้า/ผู้รับบริการ, ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน, เน้นการมีส่วนร่วม ฯลฯ

2 องค์การแบบเดิม: มีลักษณะคงที่, ไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน, ให้ความสำคัญต่องาน, งานถูกกำหนดจากตำแหน่ง, เน้นบุคคล, ความมั่นคงของงาน, ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ, เน้นกฎ ระเบียบ, ปฏิบัติงานในองค์การตลอดชั่วโมงการทำงาน, เน้นการออกคำสั่ง การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา ฯลฯ

48. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

(2) มีลักษณะคงที่

(3) มีลักษณะชั่วคราว

(4) มีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ

(5) ลักษณะงานมีความแตกต่างกัน

ตอบ 1 หน้า 114 ลักษณะสำคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ 1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 2. มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3. มีการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ

49. องค์การแบบสิ่งมีชีวิตมีลักษณะอย่างไร

(1) ช่วงการควบคุมแคบ

(2) รวมอำนาจในการบริหาร

(3) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(4) ระดับชั้นการบังคับบัญชามาก

(5) ความเป็นทางการสูง

ตอบ 3 หน้า 133 – 134, (คำบรรยาย) องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก
2 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3 เน้นโครงสร้างแนวราบ
4 ขอบข่ายหรือช่วงการควบคุมกว้าง
5 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
6 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย
7 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย
8 มีความเป็นทางการน้อย
9 กระจายอำนาจในการบริหารและตัดสินใจ

50. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างองค์การ

(1) Division of Labor

(2) Departmentation

(3) Span of Control

(4) Formalization

(5) Personnel Administration

ตอบ 5 หน้า 116 องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างองค์การ มี 6 ประการ คือ
1 การแบ่งงาน (Division of Labor หรือ Work Specialization)
2 การจัดแบ่งหน่วยงาน (Departmentation)
3 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command)
4 ช่วงของการควบคุม (Span of Control)
5 การรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ (Centralization and Decentralization)
6 ความเป็นทางการ (Formalization)

51. ข้อใดไม่ใช่ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ

(1) วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

(2) ที่มาของทุนในการดำเนินงาน

(3) การคงอยู่

(4) กระบวนการในการบริหาร

(5) คู่แข่งในการดำเนินงาน

ตอบ 4 หน้า 12 – 14, 37 – 39, (คำบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของ CEO ธุรกิจสตาร์ทอัพ) มีสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้
1 วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
2 ขนาดความรับผิดชอบ
3 แหล่งที่มาของทุนในการดำเนินงาน
4 การกำหนดราคาสินค้าและบริการ
5 คู่แข่งขันในการดำเนินงาน
6 การคงอยู่
7 การเป็นไปตามกฎหมาย
8 บทบาทของประชาชนในการกำกับดูแล และความพร้อมในการตรวจสอบจากสาธารณะ

52. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์นโยบายโดย Quade

(1) Objective

(2) Alternative

(3) Validity

(4) Impact

(5) Models

ตอบ 3 (คำบรรยาย) องค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิดของ Quade มีดังนี้
1 วัตถุประสงค์ (Objective)
2 ทางเลือก (Alternative)
3 ผลกระทบ (Impact)
4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (Criteria)
5 ตัวแบบ (Models)

53. นายธนกรเชื่อว่า นักบริหารมีหน้าที่ 5 ประการ คือ “Planning, Organizing, Commanding, Coordinating และ Controlling” ความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับใคร

(1) Max Weber

(2) Henri Fayol

(3) Luther Gulick

(4) ชุบ กาญจนประกร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 50, 65, (คำบรรยาย) ความเชื่อของนายธนกรสอดคล้องกับแนวคิดของ Henri Fayol ซึ่งเสนอว่า หน้าที่การบริหารของนักบริหาร (Functions of Administration) ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC ดังนี้
P = Planning (การวางแผน)
O = Organizing (การจัดองค์การ)
C = Commanding (การอำนวยการ)
C = Coordinating (การประสานงาน)
C = Controlling (การควบคุม)

54. ข้อใดไม่ใช่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในองค์การแบบใหม่

(1) มีความยืดหยุ่น

(2) เน้นทีมงาน

(3) เน้นการมีส่วนร่วม

(4) เน้นความมั่นคงในงาน

(5) ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

55. นายชูชัยตั้งโรงงานผลิตอาหารแปรรูป โดยจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นงานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ งานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากพืช งานผลิตภัณฑ์อาหารคีโต การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งในลักษณะใด

(1) Functional Departmentation

(2) Product Departmentation

(3) Geographical Departmentation

(4) Customer Departmentation

(5) Process Departmentation

ตอบ 2 หน้า 117 – 118, (คำบรรยาย) องค์การแบบแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ (Product Departmentalization) เป็นการจัดองค์การที่ทำให้ผลผลิตแต่ละประเภทอยู่ภายใต้อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้านนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถ ควบคุมกระบวนการผลิตได้ดีและเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน แต่อาจทำให้เกิดความ ซ้ำซ้อนของงานและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยส่วนรวมได้ เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งฝ่ายการผลิต ออกเป็นฝ่ายผลิตอาหาร และฝ่ายผลิตเสื้อผ้า หรือจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นงานผลิตภัณฑ์ อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ งานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากพืช และงานผลิตภัณฑ์อาหารคีโต เป็นต้น

56. การจัดโครงสร้างองค์การแบบใดเป็นองค์การที่มีระดับความซับซ้อนต่ำที่สุด

(1) โครงสร้างแบบเมทริกซ์

(2) โครงสร้างแบบทีมงาน

(3) โครงสร้างแบบระบบราชการ

(4) โครงสร้างแบบเรียบง่าย

(5) โครงสร้างแบบที่เน้นการรวมศูนย์อำนาจ

ตอบ 4 หน้า 123 โครงสร้างแบบเรียบง่าย (Simple Structure) เป็นองค์การที่มีการจัดแบ่ง หน่วยงานน้อยมาก มีช่วงการควบคุมกว้าง รวมอำนาจการบังคับบัญชาและการตัดสินใจไว้ที่ บุคคลคนเดียว มีความเป็นทางการน้อย มีระดับความซับซ้อนต่ำ โครงสร้างองค์การรูปแบบนี้ จะมีลักษณะเป็นโครงสร้างองค์การในแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างองค์การ ในแนวดิ่ง (Tall Structure) เช่น องค์การธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น

57 ข้อใดไม่ใช่วินัย 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

(1) ความรอบรู้แห่งตน

(2) แบบแผนของความคิด

(3) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

(4) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

(5) การคิดนอกกรอบ

ตอบ 5 หน้า 130, 138 Peter Senge ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยเห็นว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ
1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)
2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)
3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

58 ข้อใดเป็นลักษณะขององค์การแบบเครื่องจักร

(1) มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน

(2) มีระเบียบ กฎเกณฑ์น้อย

(3) ความเป็นทางการสูง

(4) รวมอํานาจต่ํา

(5) ช่วงการควบคุมกว้าง

ตอบ 3 หน้า 132 – 134 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีสายการบังคับบัญชามาก
2 ช่วงการควบคุมแคบ
3 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง
5 มีความเป็นทางการสูง
6 รวมศูนย์อํานาจในการบริหารและตัดสินใจ
7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่
8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ

59 ข้อใดไม่ใช่สมมติฐานของทฤษฎีการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์

(1) องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ

(2) องค์การเป็นระบบเปิด

(3) ผู้ตัดสินใจขององค์การมีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล

(4) การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน

(5) โครงสร้างองค์การส่งผลต่อกลยุทธ์ขององค์การ

ตอบ 5 หน้า 134 สมมติฐานหรือเงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามทฤษฎีการจัดโครงสร้างองค์การ ตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) มีดังนี้
1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน
3 การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
5 องค์การเป็นระบบเปิด
6 ผู้ตัดสินใจขององค์การมีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล

60 ข้อใดไม่ใช่บรรยากาศชั้นแรกของการบริหารงานบุคคลภาครัฐ

(1) Sociat

(2) Strategy

(3) Shared Value

(4) Skill

(5) System

ตอบ 1 หน้า 154, 168 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่จัดเป็นบรรยากาศชั้นแรกของการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ ประกอบด้วย 1. ปัจจัยทางการบริหาร 4 M’s คือ คน (Man) เงิน (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) 2. การตลาด (Marketing) 3. ขวัญกําลังใจ (Mcrate) 4. กลยุทธ์ (Strategy) 5. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Value) 6. โครงสร้าง (Structure) 7. ระบบงาน (System) 8. การจัดบุคลากร (Staffing) 9. ท่วงทํานองการบริหาร (Style) 10. ทักษะ (Skill)

61. นายชายได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้จัดทำรายงานเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายรัฐที่ส่งผลต่อองค์การ ข้อใดสอดคล้องกับหัวข้อรายงานของนายชาย

(1) สภาพแวดล้อม

(2) โครงสร้างองค์การตามสถานการณ์

(3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์การ

(4) วิสัยทัศน์ขององค์การ

(5) ทรัพยากรขององค์การ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) หัวข้อรายงานของนายชายเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลต่อองค์การ โดยสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย นโยบายของรัฐ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

62. ข้อใดไม่ได้แสดงลักษณะความเป็น “ศาสตร์” ของการบริหารรัฐกิจ

(1) มีการรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ

(2) มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้

(3) จัดให้มีการร่วมมือประสานงาน

(4) ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 6-7, 36, 38-39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ
1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการ หรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็นวิชาการที่มีการรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนำมาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้
2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอำนวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจำนวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

63. การร่วมมือดำเนินการในองค์การใด ๆ หมายถึงข้อใด

(1) Administration

(2) Management

(3) Public Administration

(4) Business Administration

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) หน้า 5 ดร.ชุบ กาญจนประกร ศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการบริหารของไทย ได้ให้ความหมายของคำว่า การบริหาร (Administration) ว่าหมายถึง การร่วมมือดำเนินการ หรือปฏิบัติงานในองค์การใด ๆ

64. ปรัชญาของการจัดการที่มุ่งเน้นในรูปของกำไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาใด

(1) Administration

(2) Management

(3) Public Administration

(4) Political Science

(5) Business Administration

ตอบ 5 (คำบรรยาย) หน้า 12 การบริหารภาครัฐหรือการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ สนองความต้องการส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น การบริหารภาครัฐจึงมุ่งเน้นผลประโยชน์สาธารณะหรือความพอใจของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการบริหารธุรกิจ (Business Administration) ที่มุ่งเน้นผลกำไรเพื่อความอยู่รอดของหน่วยงานเป็นหลัก

65. แนวคิด POSDCORB นั้น “S” ย่อมาจาก:

(1) Structure

(2) Strategy

(3) Systems Thinking

(4) Shared Value

(5) Staffing

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 31 ประกอบ

66. ผู้ใดเสนอการจัดองค์การแบบ Bureaucracy:

(1) Henri Fayol

(2) Luther H. Gulick

(3) Frederick W. Taylor

(4) Herbert A. Simon

(5) Max Weber

ตอบ 5 หน้า 123 – 124, (คำบรรยาย) Max Weber เสนอการจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้:
1 มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
2 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา
3 มีการคัดเลือกบุคคลอย่างเป็นทางการ
4 มีกฎ ระเบียบ และความเป็นทางการ
5 ไม่เน้นความเป็นส่วนตัว
6 เน้นการปฏิบัติงานเป็นอาชีพ
7 เน้นการจ้างงานตลอดชีพ

67. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมเฉพาะขององค์การของรัฐ:

(1) ผู้รับบริการ

(2) คู่แข่งขัน/คู่เทียบ

(3) เทคโนโลยี

(4) วัตถุดิบ

(5) ข้าราชการ/พนักงานราชการ

ตอบ 3 หน้า 260 – 280, (คำบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ:
1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ
2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินงาน สำหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจำเป็นสำหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร (ข้าราชการ/พนักงานราชการ) งบประมาณ วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

68. ข้อใดคือลักษณะของ Placid Randomized Environment:

(1) มีความซับซ้อน ยุ่งเหยิง

(2) มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

(3) การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีความยุ่งยาก

(4) การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมไม่คงที่แน่นอน

(5) มีการกำหนดกลุ่มในการติดต่อกับสภาพแวดล้อม

ตอบ 4 หน้า 257 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีน้อยมาก และมีลักษณะไม่คงที่แน่นอน เป็นการสุ่ม (Randomized) มากกว่า เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก

69. สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ได้มีอยู่เองตามธรรมชาติ เรียกว่าอะไร

(1) ข้อมูล

(2) ความรู้

(3) เทคโนโลยี

(4) ข่าวสาร

(5) การประมวลผล

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เทคโนโลยี (Technology) คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ได้มีอยู่เองตามธรรมชาติ เป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์

70. การที่ประชาชนสามารถยื่นจ่ายภาษีออนไลน์ได้เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับใด

(1) การให้ข้อมูล

(2) การโต้ตอบ

(3) การทำธุรกรรม

(4) การบูรณาการ

(5) ระดับอัจฉริยะ

ตอบ 3 หน้า 310 การทำธุรกรรม (Interchange Transaction) คือ การที่เว็บไซต์ต่างๆ สามารถดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสมบูรณ์ในตัวเองเช่นเดียวกับร้านอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถดำเนินกิจกรรมซื้อขายและชำระเงิน ตลอดจนส่งสินค้าได้ในการทำธุรกรรมเดียว ในกรณีของรัฐบาลการบริการจะเสมือนกับติดต่อกับส่วนราชการตามปกติ เช่น การจ่ายภาษีออนไลน์ การจ่ายค่าปรับจราจร การดำเนินการนี้จะเป็นการตัดตอนการให้บริการของรัฐหลายอย่างที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทำธุรกรรมด้วยตนเอง

71. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) การสื่อสาร

(2) อาหาร เครื่องดื่ม

(3) ไฟฟ้า น้ำประปา

(4) ประชาธิปไตย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 293 – 294, (คำบรรยาย) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดระบบการสื่อสารข้อมูลและข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก และประหยัด

72. ใครได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย

(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(2) ศาสตราจารย์อมร รักษาสัตย์

(3) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

(4) พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 60 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”

73. New Public Governance เกี่ยวข้องกับสิ่งใดต่อไปนี้

(1) เน้นการทำงานเชิงเครือข่าย

(2) เน้นประสิทธิภาพ

(3) ถ่ายโอนภารกิจให้ภาคเอกชน

(4) จริยธรรมและธรรมาภิบาล

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance : NPG) เป็นแนวคิดที่เน้นการทำงานเชิงเครือข่าย คือ การให้ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ชุมชน องค์การพัฒนาเอกชน และกลุ่มผลประโยชน์ทางด้านวิชาชีพต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ อันเป็นสาธารณะจึงมิได้ผูกขาดอยู่ที่ภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เกิดจากปฏิสัมพันธ์อันหลากหลายของผู้คนจากหลายๆ ภาคส่วน ที่คำนึงถึงผลประโยชน์และให้ความสนใจที่จะเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมสาธารณะ

74 การจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้นเกี่ยวข้องกับผู้ใด

(1) Thomas R. Dye

(2) Elton Mayo

(3) Frederick W. Taylor

(4) Douglas McGregor

(5) Abraham H. Maslow

ตอบ 3 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 227 – 228) Frederick W. Taylor ได้เสนอ แนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้

1. ต้องมีวิธีการคัดเลือกและพัฒนาคนงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

2. ต้องมีความประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีในการใช้เครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารกับการคัดเลือกและฝึกฝนพนักงาน

3. ต้องมีการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแบบรายชิ้น (Piece Rate System) มาใช้ในการจูงใจคนงาน ฯลฯ

75 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

(1) ลดต้นทุน

(2) เพิ่มความรวดเร็ว

(3) ช่วยในการจัดเก็บข้อมูล

(4) รักษาวัฒนธรรมองค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการทํางาน
2. ทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายและสะดวกขึ้น
3. ช่วยลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
4. ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ

76 ใครเห็นว่า การบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยม

(1) Max Weber

(2) Aristotle

(3) Frederick Herzberg

(4) Woodrow Wilson

(5) Fritz Von Morstein Marx

ตอบ 5 หน้า 52 Fritz Von Morstein Marx บรรณาธิการหนังสือชื่อ Elements of Public Administration ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1946 เห็นว่า การบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยม

77 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารงานท้องถิ่น

(1) การจัดการตนเองของคนในท้องถิ่น

(2) การส่งคนจากส่วนกลางเข้าไปบริหาร

(3) คือการบริหารจากส่วนกลาง

(4) การบริหารโดยไม่มีการเลือกตั้ง

(5) การจัดเก็บรายได้โดยส่วนกลางและแบ่งให้กับท้องถิ่น

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การบริหารงานท้องถิ่น เป็นการบริหารงานภายใต้แนวคิดการกระจายอํานาจ การปกครอง โดยรัฐบาลกลางได้มอบอํานาจหน้าที่บางอย่างในการปกครองและการบริการสาธารณะให้ท้องถิ่นรับไปดําเนินการด้วยงบประมาณและบุคลากรของท้องถิ่นเอง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการปกครองและดําเนินกิจการบางอย่างได้เองโดยมีอิสระพอสมควร เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นรวมทั้งทําให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอํานาจในการกําหนดผู้บริหารของท้องถิ่นโดยผ่าน กระบวนการเลือกตั้ง และควบคุมตรวจสอบการทํางานของผู้บริหารท้องถิ่นได้โดยตรง

78 ผู้ใดต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์

(1) Adam Smith

(2) Frederick W. Taylor

(3) Max Weber

(4) Elton Mayo

(5) Abraham H. Mastow

ตอบ 4 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 189 – 190, 230 – 231), (คำบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้นำแนวคิดหรือทฤษฎีแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) มาเผยแพร่ในการบริหารองค์การ โดยได้ทำการทดลองที่เรียกว่า “Hawthorne Experiments” และพบว่า
1 ขวัญของคนงานเป็นสิ่งสำคัญและจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
2 รางวัลทางจิตใจจะให้ความสุขในการปฏิบัติงานและมีผลกระตุ้นในการทำงานมากกว่ารางวัลทางเศรษฐกิจ
3 ปทัสถานทางสังคมของกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพและปริมาณของงาน
4 ภาวะผู้นำ (Leadership) จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดบรรทัดฐานของกลุ่มภายในองค์การ

79. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง

(1) ผู้ว่าฯ กทม. คือการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

(2) ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ กับผู้ว่าฯ กทม. มีที่มาเหมือนกัน

(3) ผู้ว่าราชการของทุกจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง

(4) ผู้ว่าฯ กทม. คือการปกครองท้องถิ่น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) กรุงเทพมหานคร (กทม.) คือ รูปแบบหนึ่งของการปกครองหรือการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้ว่าฯ กทม. เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ดังนั้นผู้ว่าฯ กทม. จึงมีที่มาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนซึ่งแตกต่างจากผู้ว่าราชการของจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งมีที่มาจากการแต่งตั้ง

80. ใครคือผู้แต่งตำราเล่มแรกทางรัฐประศาสนศาสตร์

(1) Max Weber

(2) Woodrow Wilson

(3) Robert Golembiewski

(4) Thomas Kuhn

(5) Leonard D. White

ตอบ 5 (หน้า 47, 65) Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ เขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นำตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

81. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการคลังสาธารณะ

(1) การบริหารหนี้เอกชน

(2) การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ

(3) การบริหารรายจ่ายสาธารณะ

(4) การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน

(5) การกระตุ้นการบริโภค

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การคลังสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการคลังสาธารณะ จึงมีขอบเขตเกี่ยวข้องกับภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การบริหารรายจ่ายสาธารณะ และการก่อหนี้สาธารณะ

82. ข้อใดคือมาตรการที่ดีทางภาษี

(1) จัดเก็บจากคนจำนวนน้อยมาช่วยคนส่วนใหญ่

(2) กำหนดโทษสูงสุดต่อผู้หนีภาษี

(3) การจัดเก็บรายได้จากประชาชนอย่างเสมอภาค

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 219 มาตรการที่ดีทางภาษี มีดังนี้
1 รายได้ของรัฐจะต้องมีเพียงพอสำหรับประเทศ
2 การจัดเก็บรายได้จากประชาชนจะต้องเป็นไปอย่างเสมอภาค
3 โครงสร้างภาษีจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เกิดความมั่นคง และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

83. การจัดโครงสร้างองค์การของมหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยมีการจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นสาขาวิทยบริการต่างๆ ทั่วประเทศ สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Product Departmentation
(2) Functional Departmentation
(3) Geographical Departmentation
(4) Customer Departmentation
(5) Process Departmentation
ตอบ 3 หน้า 118 การจัดโครงสร้างองค์การตามเขตภูมิศาสตร์หรือตามพื้นที่ (Geographical Departmentation หรือ Territorial Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบกว้างขวาง เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เป็นการกระจายอำนาจในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมพื้นที่ ที่ต้องรับผิดชอบ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของแต่ละพื้น พื้นที่ด้วย เช่น การจัดโครงสร้างองค์การของมหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยมีการจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นสาขาวิทยบริการต่างๆ ทั่วประเทศ หรือการเปิดกิจการโรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะกูด เป็นต้น

84. ข้อใดคือประโยชน์ของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน
(1) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(2) เพื่อจัดสรรและกระจายทรัพยากร
(3) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(4) เป็นเครื่องมือในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 225 – 227, (คำบรรยาย) ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้
1 เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
3 เพื่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากรและรายได้
4 เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ
5 เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติให้ดีขึ้น
6 เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและการบริหารราชการ
7 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานตามระบบประชาธิปไตย

85. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบดั้งเดิม
(1) ไม่มีความยืดหยุ่น
(2) ความมั่นคงในงาน
(3) ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว
(4) เน้นกฎ ระเบียบ
(5) เน้นการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

86. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบสิ่งมีชีวิต
(1) เน้นโครงสร้างแนวราบ
(2) เป็นทางการน้อย
(3) กระจายอำนาจการตัดสินใจ
(4) เน้นการทำงานตามสายการบังคับบัญชา
(5) ขอบข่ายการควบคุมกว้าง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

87. ข้อใดเป็นการจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation)

(1) ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

(2) สำนักงานภาคใต้ สำนักงานภาคกลาง สำนักงานภาคเหนือ

(3) ฝ่ายลูกค้าบุคคล ฝ่ายลูกค้าองค์การ

(4) ฝ่ายรับคำสั่งซื้อ ฝ่ายจัดเตรียมสินค้า ฝ่ายบรรจุสินค้า ฝ่ายโลจิสติกส์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 117 การจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การโดยพิจารณาจากประเภทของงานหรือหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยกลุ่มของกิจกรรมที่เหมือนกันและเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน การจัดโครงสร้างองค์การแบบนี้เหมาะกับองค์การที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมคงที่และมีลักษณะเป็นงานประจำ เช่น การจัดโครงสร้างองค์การโดยแบ่งออกเป็น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

88. องค์การแบบ Hybrid Organization มีลักษณะอย่างไร

(1) รวมศูนย์อำนาจ

(2) มีเฉพาะในองค์การภาคประชาสังคม

(3) มีกฎระเบียบมาก

(4) ใช้โครงสร้างองค์การหลายรูปแบบผสมผสานกัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 125, 141 องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) เป็นองค์การที่มีการใช้โครงสร้างองค์การหลาย ๆ รูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากลักษณะเด่นของรูปแบบโครงสร้างองค์การแต่ละแบบ

ตั้งแต่ข้อ 89. – 94. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

89. เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เป็นต้น

90. นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

91. โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต
พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น หรือเป็นนโยบายเพื่อดึงทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง ไปเป็นประโยชน์ให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี นโยบายปฏิรูปที่ดิน โครงการช่วยเหลือชาวสลัม เป็นต้น

92 โครงการช่วยเหลือชาวสลัม เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 เป็นนโยบายที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม เพียงแต่ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึก

ตอบ 5 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม เพียงแต่ต้องการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชนมีความ รู้สึกสำนึกที่ดี มีจิตสำนึกในทางที่ถูกที่ควร โดยต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน มีวินัยและจริยธรรมที่ดี เช่น โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา โครงการพลังแผ่นดิน โครงการ เมืองน่าอยู่ โครงการถนนสีขาว นโยบายหน้าบ้านน่ามอง นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ในประเทศ นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจกับนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

94 โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95 ค่านิยมทางการบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อใด

(1) New Public Service (NPS)

(2) New Public Governance (NPG)

(3) New Public Management (NPM)

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 329 – 330, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการบริหารภาครัฐ การลดบทบาทของรัฐ และเพิ่มบทบาทของเอกชน การนำแนวคิดแบบเอกชนมาใช้ในภาครัฐ การจ้างเหมาบริการ จากภาคเอกชน (Contracting-Out) การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการที่เน้นการแข่งขันแบบภาคธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อำนาจกับผู้บริหารเหมือนเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น

96 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับ “รายจ่ายสาธารณะ” ตามกฎของ Wagner

(1) เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการศึกษาของประชากร

(2) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

(3) ต้องผ่านการพิจารณาอย่างรอบด้าน

(4) มีแนวโน้มลดลง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 239 Adolp Wagner กล่าวว่า เมื่อสังคมใดเริ่มกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ ทางด้านสังคม กฎหมาย และธุรกิจจะมีความซับซ้อนและ หลากหลายมากขึ้น รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะขยายบทบาทของตนในการกำหนด กำกับ หรือ ควบคุมความหลากหลายและความซับซ้อนของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งทำให้รัฐต้องมีรายจ่ายสาธารณะเพิ่มขึ้น

97 ข้อใดไม่ถือเป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(1) สรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

(2) พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ

(3) ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล

(4) อภิปรายผลงานของรัฐบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 187 – 188, (คำบรรยาย) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (รัฐสภา) มีหน้าที่ดังนี้
1 พิจารณาออกกฎหมายประเภทต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย
2 พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3 ตั้งกระทู้และอภิปรายผลงานของรัฐบาล
4 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญติดตามการปฏิบัติงาน

98 การจ้างเหมาบริการ (Contracting-Out) สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1) Good Governance

(2) New Public Management (NPM)

(3) New Public Governance (NPG)

(4) Non-Government Organization (NGO)

(5) Civil Service Organization (CSO)

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

99 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ)

(1) การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า

(2) ขาดเอกลักษณ์

(3) มีความเป็นสหวิทยาการ

(4) มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 28 ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ) มีดังนี้
1 มีลักษณะของการขาดเอกลักษณ์
2 มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์
3 การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า

100 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงข้าราชการตามทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)

(1) มีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตน

(2) อุทิศตนเช่นเดียวกับอาสาสมัคร

(3) เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง

(4) มีความก้าวหน้ามากกว่าพนักงานเอกชน

(5) ไม่มีเวลาส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 332 ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory) อธิบายดังนี้
1 มนุษย์ถูกชักนำให้ทำงานโดยระบบการจูงใจจากองค์การทั้งโดยการให้รางวัลและการลงโทษ
2 ข้าราชการก็เหมือนคนอื่นๆ ที่มีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตัว เขาจะทำประโยชน์สูงสุดให้ตัวเอง ไม่ใช่ให้ประชาชน ด้วยค่าใช้จ่ายของที่ทำงานของเขา
3 เพื่อลดหรือจำกัดการให้บริการประชาชน หน่วยงานราชการสามารถเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้บริการ หรือสงวนไว้สำหรับผู้มีรายได้สูง หรือขึ้นราคาค่าบริการ ฯลฯ

 

 

POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ได้ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

(1) Tao Bin

(2) Notebook Computer

(3) PC

(4) Smartphone

(5) Software

ตอบ 5 หน้า 298, (คำบรรยาย) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางนี้ จะประกอบด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณคณิตศาสตร์และเชิงตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit) และหน่วยความจำภายใน (Memory Unit) ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง เช่น Personal Computer (PC), Notebook Computer, Smartphone, ตู้ Tao Bin เป็นต้น

2. ตำราเล่มแรกของรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) Adam Smith

(2) Leonard D. White

(3) Woodrow Wilson

(4) Max Weber

(5) ปฐม มณีโรจน์

ตอบ 2 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์ เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ เขาเสนอความเห็นว่า การเมือง ไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นำตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

3. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงอะไร

(1) ความสามารถในการประมวลผลและการพัฒนาสื่อข้ามเครือข่าย

(2) การศึกษาด้านพันธุกรรมของพืชและสิ่งมีชีวิต

(3) ปฏิกิริยาทางเคมีของสารกัมมันตรังสี

(4) วิธีการผลิตสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้วัสดุปลอดสารพิษ

(5) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูล

ตอบ 1 หน้า 293 (คำบรรยาย) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การพัฒนาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการประมวลผลและการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น การพัฒนาสื่อข้ามเครือข่ายทั้งในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข ภาพลักษณ์ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และสี ให้สามารถเดินทางไปในระยะทางที่ห่างไกลได้ประเทศต่อประเทศ ทวีปต่อทวีป หรือแม้แต่ ติดต่อนอกโลก ทำให้สามารถโต้ตอบกันได้โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ ระยะทาง เพศ และวัย

4. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมเฉพาะขององค์การของรัฐ

(1) ประชาชนผู้รับบริการ

(2) งบประมาณแผ่นดิน

(3) ปัญหาเศรษฐกิจ

(4) ระเบียบพัสดุ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 260 – 280, (คำบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ
2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินงาน สำหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจำเป็นสำหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร งบประมาณ วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

5. หนังสือของผู้ใดต่อไปนี้ที่นำเสนอถึงแนวทางในการเนรมิตระบบราชการใหม่

(1) Osborne and Gaebler

(2) Leonard D. White

(3) Woodrow Wilson

(4) อุทัย เลาหวิเชียร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 331, 338 – 339, (คำบรรยาย) Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐหรือการเนรมิตระบบราชการใหม่ด้วยแนวทางและอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นำแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น

6. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับ William F. Willoughby

(1) แนวคิดทางการบริหารที่เป็นสากล

(2) หลักการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เขียนตำราโดยเชื่อว่าการบริหารเป็นวิทยาศาสตร์

(4) เน้นการศึกษาวิธีการจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

(5) สถานะของวิชาการบริหารภาครัฐได้รับการยอมรับมากที่สุด

ตอบ 3 หน้า 48, 65, (คำบรรยาย) W.F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสำคัญในการบุกเบิก หรือนำเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตำราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุด ชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียนที่สมบูรณ์เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยตำราเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงแรงผลักดันใหม่ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ และนักบริหารสามารถจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในกิจการงานของตนได้ถ้าเขาได้เรียนรู้ว่าจะนำหลักต่าง ๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

7. ข้อใดคือประโยชน์ของการจัดทำงบประมาณ

(1) เป็นกลไกสำคัญในการวางแผน

(2) เป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาล

(3) เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ

(4) ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย

(5) ใช้ควบคุมทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 225, 249 – 250, (คำบรรยาย) ประโยชน์หรือความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้ 1. เป็นทรัพยากรที่จะถูกจัดสรรเพื่อนําไปใช้ในการจัดบริการสาธารณะต่าง ๆ 2. เป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการวางแผนของรัฐบาล 3. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการทำงานของภาครัฐ ฯลฯ

8 ผู้ใดกล่าวว่า “วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม”

(1) Dwight Waldo

(2) Stephen P. Robbins.

(3) Max Weber

(4) Taylor

(5) Richard L. Daft

ตอบ 4 หน้า 266, 282 Taylor กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะ เป็นสมาชิกของสังคม

9 ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับ Denhardt and Denhardt

(1) Bureaucracy

(2) New Public Governance (NPG)

(3) New Public Service (NPS)

(4) Theory of Needs

(5) I AM READY

ตอบ 3 (คำบรรยาย) Janet V. Denhardt and Robert B. Denhardt ได้แบ่งพาราไดม์ของ การบริหารรัฐกิจออกเป็น 3 พาราไดม์ คือ
1 การจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management : OPM)
2 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)
3 การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS)

10 The Functions of the Executive เป็นหนังสือที่เขียนโดยบุคคลใด

(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

(2) Herbert A. Simon

(3) Chester I. Barnard

(4) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

(5) Abraham H. Mastow

ตอบ 3 หน้า 51 Chester I. Barnard เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” (198) ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อ Herbert A. Simon โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่องานเขียนของ Simon ในหนังสือชื่อ “Administrative Behavior” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1947

11 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการ “ควบคุมตรวจสอบ”

(1) การกําหนดมาตรฐาน

(2) การลงโทษ

(3) การเปรียบเทียบผลงาน

(4) การพัฒนาปรับปรุง

(5) การกําหนดวิธีการในการวัดผล

ตอบ 4 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

12 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของภาคประชาสังคม

(1) ส่งเสริมบทบาทของพลเมือง

(2) ส่งผลดีต่อการบริหารงานภาครัฐ

(3) ลงสมัครรับเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น

(4) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร

(5) ช่วยลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการบริหารงานภาครัฐ

ตอบ 3 หน้า 342, 357 ภาคประชาสังคม (Civil Society) คือ การรวมตัวกันของประชาชน ซึ่งอาจเป็น กลุ่ม สมาคม หรือหน่วยงานที่รัฐก่อตั้งขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและร่วมกัน ทำให้บรรลุผลประโยชน์ของชุมชนของตน โดยบทบาทของภาคประชาสังคมนี้จะช่วยส่งเสริม
บทบาทของพลเมือง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริหารงานภาครัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและยังช่วยลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการบริหารงานภาครัฐอีกด้วย

13 ข้อใดมิใช่หน้าที่ของนักบริหารตามที่ Luther Gulick และ Lyndall Urwick เสนอ

(1) Planning (การวางแผน)

(2) Organizing (การจัดองค์การ)

(3) Staffing (การจัดบุคคลเข้าทํางาน)

(4) Coordinating (การประสานงาน)

(5) Fighting

ตอบ 5 หน้า 49 – 50, 64 – 65, (คำบรรยาย) Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ได้เสนอว่า หน้าที่สำคัญของหัวหน้าฝ่ายบริหารมี 7 ประการ โดยสรุปเป็นคำย่อว่า POSDCORB ซึ่งประกอบด้วย
P = Planning (การวางแผน)
O = Organizing (การจัดองค์การ)
S = Staffing (การจัดบุคคลเข้าทํางาน)
D = Directing (การอำนวยการ)
Co = Coordinating (การประสานงาน)
R = Reporting (การรายงานผลการปฏิบัติงาน)
B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

14 คณะกรรมการชุดใดมีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคล

(1) ป.ป.ช.

(2) สตง.

(3) ก.พ.

(4) กกต.

(5) สตช.

ตอบ 3 หน้า 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคล โดยทำหน้าที่กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่ การกำหนดตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ

15 ข้อใดที่มิใช่เงื่อนไขสำคัญของภาษีอากร

(1) เพื่อนําเงินไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะ

(2) การที่รัฐต้องให้ประโยชน์ตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชําระภาษี

(3) เก็บจากผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงเท่านั้น

(4) เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ

(5) เป็นการบังคับจัดเก็บจากรัฐ

ตอบ 2, 3 หน้า 216 ภาษีอากร เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบังคับจัดเก็บจากบุคคลผู้มีรายได้เพื่อใช้ในการบริหารประเทศและกิจการสาธารณะ โดยผู้ชําระภาษีจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทางอ้อม เพราะว่ารัฐนำเงินภาษีไปใช้จ่ายในการทํานุบํารุงประเทศ อันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศ

16 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์ (Regulative Policy)

(1) กำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้

(2) กำหนดโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

(3) อาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

(4) กำหนดโดยฝ่ายบริหาร

(5) มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม

ตอบ 5 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยอาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เป็นต้น

17 ข้อใดคือมาตรการทางภาษีที่ดี

(1) ควรจัดเก็บภาษีทางอ้อมให้มากกว่าภาษีทางตรง

(2) ทํารายได้สูงสุดให้รัฐ

(3) จัดเก็บจากประชาชนทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น

(4) เป็นไปอย่างเสมอภาค

(5) ควรจัดเก็บจากคนในเมืองมากกว่าคนชนบท

ตอบ 4 หน้า 219 มาตรการทางภาษีที่ดี มีดังนี้
1 รายได้ของรัฐจะต้องมีเพียงพอสำหรับประเทศ
2 การจัดเก็บรายได้จากประชาชนจะต้องเป็นไปอย่างเสมอภาค
3 โครงสร้างภาษีจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เกิดความมั่นคงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

18. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(1) ตรวจสอบรายงานใช้จ่ายงบประมาณด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(2) พัฒนาบุคลากร

(3) วางแผนอัตรากำลัง

(4) กำหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน

(5) พิจารณาด้านค่าตอบแทน

ตอบ 1 หน้า 172 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 246), (คำบรรยาย) บทบาทและหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้
1 คิดค้นวิธีการในการกำหนดหรือระบุตำแหน่งในองค์การ
2 กำหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน การคัดเลือก และการบรรจุพนักงาน
3 วางแผนอัตรากำลัง
4 พัฒนาบุคลากร
5 ประเมินผลการปฏิบัติงาน
6 พิจารณาด้านค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนต่างๆ ฯลฯ

19. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของปัญหาโลกร้อน

(1) หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมีน้อยเกินไป

(2) การจราจรที่ติดขัด

(3) การเผาในที่โล่ง

(4) การคมนาคมขนส่ง

(5) วัฒนธรรมในการบริโภคแบบใช้แล้วทิ้ง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) สาเหตุของปัญหาโลกร้อน ได้แก่
1 การปล่อยก๊าซพิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม
2 การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ จากการคมนาคมขนส่ง และการจราจรที่ติดขัด
3 การเผาในที่โล่ง (Open Burning) และพื้นที่การเกษตร
4 วัฒนธรรมในการบริโภคแบบใช้แล้วทิ้ง โดยเฉพาะถุงและขยะพลาสติก
5 การตัดและทำลายป่าไม้ ฯลฯ

20. ข้อใดคือความต้องการขั้นที่สองตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น

(1) ความต้องการความปลอดภัย

(2) ความต้องการการยอมรับ

(3) ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพ

(4) ความต้องการความสำเร็จ

(5) ความต้องการความรัก

ตอบ 1 (หนังสือ POLL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 340 – 341), (คำบรรยาย) Abraham H. Maslow ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจถึงความต้องการของคนในองค์การ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำดับขั้นจากต่ำสุดไปสูงสุดตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy’s Needs Theory) ทั้งนี้เมื่อความต้องการในลำดับต้นได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลำดับขั้นที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งความต้องการทั้ง 5 ลำดับขั้น ประกอบด้วย
1 ความต้องการทางกายภาพหรือชีววิทยา (Physiological Needs หรือ Biological Needs)
2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Security Needs หรือ Safety Needs)
3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคมหรือความต้องการการยอมรับ (Social Needs หรือ Love Needs)
4 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Esteem Needs หรือ Ego Needs หรือ Status Needs)
5 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต ตามอุดมการณ์ที่ตัวเองตั้งไว้ (Self-Actualization Needs หรือ Self-Realization Needs)

21. ข้อใดแสดงถึงความเป็น “ศาสตร์” ของการบริหารรัฐกิจ

(1) มีการรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ

(2) หยิบยืมความรู้ของการบริหารธุรกิจมาใช้

(3) ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้

(4) ตัวเลือกที่ 1 และ 2 ถูกต้อง

(5) ตัวเลือกที่ 1 และ 3 ถูกต้อง

ตอบ 5 หน้า 6-7, 36, 38-39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ
1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการหรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็นวิชาที่มีการรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนำมาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้
2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอำนวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจำนวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

22. การจัดทำร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(2) การนำนโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การก่อตัวของนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย
1 การกำหนดวัตถุประสงค์
2 การกำหนดทางเลือก
3 การจัดทำร่างนโยบาย

23. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์สาธารณะ

(1) กรอบทางแนวคิดทฤษฎีที่ชุมชนวิชาการให้การยอมรับในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

(2) วัตถุประสงค์ของการบริหารภาครัฐ

(3) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาคเอกชน

(4) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาครัฐ

(5) สถานภาพของวิชาทางการบริหารภาครัฐ

ตอบ 2 หน้า 12 การบริหารภาครัฐหรือการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ สนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน ดังนั้น การบริหารภาครัฐจึงมุ่งเน้นผลประโยชน์สาธารณะหรือความพอใจของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการบริหารธุรกิจ (Business Administration) ที่มุ่งเน้นผลกำไรเพื่อความอยู่รอดของหน่วยงานเป็นหลัก

24. นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษจัดเป็นนโยบายประเภทใด

(1) Distributive Policy

(2) Capitalization Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Regulative Policy

(5) Ethical Policy

ตอบ 2 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

25 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นฝ่ายบริหาร (Executive Branch)

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

(4) คณะรัฐมนตรี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 8 – 9, (คำบรรยาย) อำนาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ
2 ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ทำหน้าที่ในการ บริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย
3 ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย

26 ข้อใดไม่ใช่วินัย 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

(1) ความรอบรู้แห่งตน

(2) แบบแผนของความคิด

(3) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

(4) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

(5) การคิดนอกกรอบ

ตอบ 5 หน้า 130, 138 Peter Senge ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยเห็นว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ 1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) 2. แบบแผนของความคิด (Mental Model) 3. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) 4. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) 5. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

27 ข้อใดสอดคล้องกับ One Best Way

(1) ระบบราชการ

(2) การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

(3) การเปลี่ยนแปลงส่วนเพิ่ม

(4) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

(5) หน้าที่นักบริหาร

ตอบ 2 หน้า 48, (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 179 – 181, 227 – 228) Frederick W. Taylor เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกหลักการบริหารที่เรียกว่า “การจัดการแบบวิทยาศาสตร์” (Scientific Management) ซึ่งประกอบด้วย 1. Specialization คือ การทำงานตามความชำนาญเฉพาะอย่าง โดยจัดให้มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Work) ตามทักษะและความชำนาญของแต่ละคน 2. The One Best Way คือ การแสวงหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด โดยศึกษาจากเรื่องเวลา การปฏิบัติงานและท่าทางการเคลื่อนไหว (Time and Motion Study) 3. Incentive Wage System คือ ระบบการจูงใจคนงาน โดยใช้วิธีกำหนดมาตรฐานการทำงาน และกำหนดค่าตอบแทนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้น (Per Piece Wage)

28 แนวคิดเชิงอุดมการณ์แนวคิดใดที่มีอิทธิพลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่

(1) แนวคิดแบบเผด็จการอำนาจนิยม

(2) แนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่

(3) แนวคิดแบบอนุรักษนิยม

(4) แนวคิดของโจ ไบเดน

(5) แนวคิดแบบสังคมนิยม

ตอบ 2 หน้า 330 – 331, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ได้รับ อิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูประบบราชการของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทซเซอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูป ระบบราชการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

29. ข้อใดไม่ถือเป็นนโยบายที่มีส่วนในการแก้ปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจก

(1) ลดการอุดหนุนราคาพลังงาน

(2) เพิ่มพื้นที่สีเขียว

(3) ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะ

(4) สนับสนุนให้ประชาชนมีรถยนต์เป็นของตนเอง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นโยบายที่มีส่วนในการแก้ปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) มีดังนี้
1 นโยบายลดการอุดหนุนราคาพลังงาน เพราะเมื่อใดที่ราคาน้ํามันสูงขึ้น ปริมาณการใช้รถยนต์จะน้อยลง
2 นโยบายส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว
3 นโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
4 นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ฯลฯ

30. ปรัชญาของการจัดการที่มุ่งเน้นในรูปของกําไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาใด

(1) Administration

(2) Management

(3) Public Administration

(4) Business Administration

(5) Political Science

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

31. ข้อใดไม่ใช่องค์การที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) ศาลปกครอง

(3) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

(4) สํานักนายกรัฐมนตรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 185 – 190, 203 องค์การที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลปกครอง เป็นต้น

32. ข้อใดคือประโยชน์ของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน

(1) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

(2) เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

(3) เพื่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากร

(4) เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 225 – 227, (คําบรรยาย) ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้
1 เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
3 เพื่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากรและรายได้
4 เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ
5 เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติให้ดีขึ้น
6 เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและการบริหารราชการ
7 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการดําเนินงานตามระบบประชาธิปไตย

33. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของระบบราชการ (Bureaucracy)

(1) มีความยืดหยุ่นสูง

(2) มีสายการบังคับบัญชา

(3) มีความเป็นทางการ

(4) ไม่เน้นความเป็นส่วนตัว

(5) จ้างงานตลอดชีพ

ตอบ 1

(หน้า 123 – 124, คำบรรยาย) องค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) ตามแนวคิดของ Max Weber มีลักษณะดังนี้
1 มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
2 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา
3 มีการคัดเลือกบุคคลอย่างเป็นทางการ
4 มีกฎ ระเบียบ และความเป็นทางการ
5 ไม่เน้นความเป็นส่วนตัว
6 เน้นการปฏิบัติงานเป็นอาชีพ
7 เน้นการจ้างงานตลอดชีพ

34. ผู้ใดโจมตีหลักการบริหารว่าเป็นเพียง “ภาษิตทางการบริหาร”

(1) Henri Fayol

(2) Frederick W. Taylor

(3) Herbert A. Simon

(4) Luther H. Gulick

(5) Max Weber

ตอบ 3 หน้า 52 Herbert A. Simon ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Proverbs of Administration” (1946) ว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารรัฐกิจที่ได้กำหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

35. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีที่สุด

(1) การรวมศูนย์อำนาจ

(2) การกระจายอำนาจ

(3) การแบ่งอำนาจ

(4) การรวบอำนาจ

(5) การหวงอำนาจ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองตามหลักการกระจายอำนาจ เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีอิสระในการดูแลปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี 5 ประเภท คือ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

36. การจ้างเหมาบริการ (Contracting-Out) สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1) New Public Governance (NPG)

(2) Good Governance

(3) New Public Management (NPM)

(4) Non-Government Organization (NGO)

(5) Civil Service Organization (CSO)

ตอบ 3 หน้า 329 – 330, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) เป็น แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการบริหารภาครัฐ การลดบทบาทของรัฐและเพิ่มบทบาทของเอกชน การนำแนวคิดแบบเอกชนมาใช้ในภาครัฐ การจ้างเหมาบริการจากภาคเอกชน (Contracting-Cut) การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการที่เน้นการแข่งขันแบบภาคธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อำนาจกับผู้บริหารเหมือนเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น

37. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)

(1) เน้นการลดบทบาทของรัฐและเพิ่มบทบาทเอกชน

(2) การนำแนวคิดแบบเอกชนมาใช้ในภาครัฐ

(3) การมุ่งเน้นประสิทธิภาพ

(4) การจ้างเหมาบริการจากภาคเอกชน

(5) การยึดค่านิยมสาธารณะ

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ข้อใดไม่ใช่ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ

(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

(2) ที่มาของทุนในการดําเนินงาน

(3) กระบวนการในการบริหาร

(4) กลไกการตรวจสอบ

(5) คู่แข่งในการดําเนินงาน

ตอบ 3 หน้า 12 – 14, 37 – 39, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของ CEO ธุรกิจสตาร์ทอัพ) มีสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้
1 วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน
2 ขนาดความรับผิดชอบ
3 แหล่งที่มาของทุนในการดําเนินงาน
4 การกําหนดราคาสินค้าและบริการ
5 คู่แข่งขันในการดําเนินงาน
6 การคงอยู่
7 การเป็นไปตามกฎหมาย
8 บทบาทของประชาชนในการกํากับดูแล และความพร้อมในการตรวจสอบจากสาธารณะ

39. การส่งเสริมให้ผู้พิการได้รับกายอุปกรณ์เป็นนโยบายด้านใด

(1) นโยบายการเงิน

(2) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(3) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

(4) นโยบายด้านสาธารณสุข

(5) นโยบายด้านการศึกษา

ตอบ 2 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) นโยบายด้านสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีดังนี้
1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและรายได้
2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
3 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ในกลุ่มผู้สูงอายุ
4 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ เช่น ส่งเสริมให้ผู้พิการได้รับกายอุปกรณ์ ฯลฯ

40. องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีเฉพาะในองค์การภาคประชาสังคม

(2) รวมศูนย์อํานาจ

(3) ใช้โครงสร้างองค์การหลายรูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน

(4) มีกฎระเบียบมาก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 125, 141 องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) เป็นองค์การที่มีการใช้โครงสร้าง องค์การหลาย ๆ รูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากลักษณะเด่นของรูปแบบโครงสร้างองค์การแต่ละแบบ

41. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ

(1) การวางแผนทรัพยากรบุคคล

(2) การได้มาซึ่งบุคลากร

(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(4) การสอบสวนทางวินัย

(5) การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร

ตอบ 4 หน้า 163 – 164 การบริหารงานบุคคลภาครัฐ ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 6 ขั้นตอน คือ
1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล
2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้ายและแต่งตั้ง
3 การพัฒนาบุคลากร
4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร
5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
6 การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร

42. ใครเป็นผู้นําเสนอแนวคิด POSDCORB

(1) Henri Fayol and Elton Mayo

(2) Luther H. Gulick and Lyndall Urwick

(3) Frederick W. Taylor

(4) Herbert A. Simon.

(5) Max Weber

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

43. การจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมมีส่วนสนับสนุนหลักการในข้อใด

(1) หลักความโปร่งใส เป็นธรรม

(2) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน

(3) หลักการรับผิดชอบต่อสังคม

(4) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม

(5) หลักธรรมาภิบาล

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิดและรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่าการคงอยู่ของระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม หรือการให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

44. ข้อใดเป็น “สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย”

(1) การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

(2) การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

(3) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

(4) การสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 191 – 192 สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย มีดังนี้
1 การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
2 การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
3 การติดต่อสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
4 การอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ
5 การได้รับบริการสาธารณสุข และสวัสดิการจากรัฐ
6 การเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของทางราชการ

45. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ Herbert A. Simon

(1) การวิเคราะห์กระบวนการในการตัดสินใจ

(2) ข้อจำกัดหรือขอบเขตของเหตุผล (Bounded Rationality)

(3) ภาษิตทางการบริหาร (The Proverbs of Administration)

(4) การศึกษาความต้องการของมนุษย์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 53 Herbert A. Simon ได้อธิบายว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารประสบกับปัญหาสําคัญ คือ ข้อจํากัดของความมีเหตุผล ซึ่งเกิดจากข้อจํากัดของบุคคลแต่ละคนใน 3 ประการ ดังนี้ 1. ข้อจํากัดเกี่ยวกับความชํานาญ นิสัย และสัญชาตญาณ 2. ข้อจํากัดเกี่ยวกับค่านิยมและ แนวความคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ 3. ข้อจํากัดเกี่ยวกับความรู้และข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ Simon ยังได้เสนอสิ่งที่เป็นหัวใจของการศึกษาว่า การที่จะเข้าใจได้ว่าภายใต้เงื่อนไขอะไรที่ หลักของการบริหารอันไหนจะสามารถนําไปใช้ปฏิบัติได้นั้นจะต้องอาศัยการศึกษาวิเคราะห์ กระบวนการการบริหารในแง่ของการตัดสินใจ ส่วนการศึกษาความต้องการของมนุษย์นั้น เป็นผลงานของ Abraham H. Maslow (ดูคําอธิบายข้อ 20. และ 34. ประกอบ)

46. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงข้าราชการตามทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)

(1) ข้าราชการมีโอกาสเติบโตในสายงานมากกว่าเอกชน

(2) ข้าราชการอุทิศตนเช่นเดียวกับอาสาสมัคร

(3) ข้าราชการคืออาชีพที่มีความมั่นคง

(4) ข้าราชการมีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตน

(5) ข้าราชการไม่มีเวลาส่วนตัว

ตอบ 4 หน้า 332 ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory) อธิบายดังนี้
1 มนุษย์ถูกชักนําให้ทํางานโดยระบบการจูงใจจากองค์การทั้งโดยการให้รางวัลและการลงโทษ
2 ข้าราชการก็เหมือนคนอื่น ๆ ที่มีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตัว เขาจะทําประโยชน์ สูงสุดให้ตัวเอง ไม่ใช่ให้ประชาชน ด้วยค่าใช้จ่ายของที่ทํางานของเขา
3 เพื่อลดหรือจํากัดการให้บริการประชาชน หน่วยงานราชการสามารถเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้บริการ หรือสงวนไว้สําหรับผู้มีรายได้สูง หรือขึ้นราคาค่าบริการ ฯลฯ

47. การจัดทําประชาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับหลักการข้อใด

(1) หลักการมีส่วนร่วม

(2) หลักการรับผิดชอบต่อสังคม

(3) หลักธรรมคําสอนของศาสนา

(4) หลักประสิทธิภาพ

(5) หลักยุติธรรม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม คือ การทําให้สังคมเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมแสดงความเห็นในการตัดสินใจที่สําคัญของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน มีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การทําประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ การทําประชาคม เป็นต้น

48. ข้อใดอยู่ในขั้นตอนของการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation)

(1) การนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ

(2) การอนุมัติ

(3) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้า 87 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย 1. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน 2. การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา 3. ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ 4. การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

49. หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี 6 ประการ หมายถึง

(1) หลักการรับผิดชอบต่อสังคม

(2) หลักธรรมาภิบาล

(3) หลักคุณธรรม

(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน

(5) หลักของระบบอาวุโส

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล หรือหลักธรรมรัฐ หรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) มีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ประการ ดังนี้ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส 4. หลักความมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า

50. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Interdisciplinary

(1) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาคเอกชน

(2) สถานภาพของวิชาทางการบริหารภาครัฐ

(3) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาครัฐ

(4) กรอบทางแนวคิดทฤษฎีที่ชุมชนวิชาการให้การยอมรับในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

(5) วัตถุประสงค์ของการบริหารภาครัฐ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หน้า 27 สถานภาพของวิชาทางการบริหารภาครัฐ (การบริหารรัฐกิจ) ที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ซึ่งหมายถึง การนําเอาองค์ความรู้จากหลากหลาย สาขาวิชามาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานในองค์การ

51. ข้อใดคือหลักการในการจูงใจคนงานของ Frederick Winslow Taylor

(1) One Best Way หรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด

(2) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

(3) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(4) เวลากับการเคลื่อนไหว

(5) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 227 – 228) Frederick Winslow Taylor ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้
1. ต้องมีวิธีการคัดเลือกและพัฒนาคนงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

2 ต้องมีความประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีในการใช้เครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุด ในการบริหารกับการคัดเลือกและฝึกฝนพนักงาน
3 ต้องมีการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแบบรายชิ้น (Piece Rate System) มาใช้ในการจูงใจคนงาน ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ)

52 นายอนุทินต้องการเปิดกิจการโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย และเกาะกูด การจัดโครงสร้างองค์การควรจะมีลักษณะที่สอดคล้องกับตัวเลือกใด
(1) Functional Departmentation
(2) Product Departmentation
(3) Geographical Departmentation
(4) Customer Departmentation
(5) Process Departmentation
ตอบ 3 หน้า 118 การจัดโครงสร้างองค์การตามเขตภูมิศาสตร์หรือตามพื้นที่ (Geographical Departmentation หรือ Territorial Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่ เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบกว้างขวาง เพื่อทําให้เกิด ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เป็นการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมพื้นที่ ที่ต้องรับผิดชอบ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังสามารถตอบสนอง ความต้องการหรือแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น การเปิดกิจการ โรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะกูด ๆ เป็นต้น

53 ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะ
(1) การหารายได้ของรัฐ
(2) การบริหารนโยบายการเงิน
(3) การงบประมาณ
(4) การบริหารหนี้สาธารณะ
(5) การควบคุมอัตราดอกเบี้ย
ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 260 – 263), (คําบรรยาย) การศึกษาวิชา การบริหารงานคลังสาธารณะ (Public Finance Administration) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ขอบเขตหน้าที่และกิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะของรัฐบาล ดังนี้
1 ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล
2 ศึกษาการตัดสินใจด้านการคลังและการใช้จ่ายของรัฐบาล
3 ศึกษาอํานาจหน้าที่ในการหารายได้หรือการจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของ รัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษีอากร การบริหารหรือก่อหนี้สาธารณะ เป็นต้น
4 ศึกษาการบริหารหรือการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของรัฐบาล ให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์

54 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory)
(1) การจัดองค์การที่ดีต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
(2) ผู้ตัดสินใจขององค์การแนวโน้มเป็นผู้มีเหตุผล
(3) องค์การเป็นระบบปิด
(4) ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) มีดังนี้
1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน
3 การจัดองค์การที่ดีที่สุด ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
5 องค์การเป็นระบบเปิด
6 ผู้ตัดสินใจขององค์การมีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล

55. ข้อใดไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย

(1) ฝ่ายนิติบัญญัติ

(2) ฝ่ายการเมือง

(3) ฝ่ายบริหาร

(4) ระบบราชการ

(5) คณะกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย ได้แก่ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง ระบบราชการ (สถาบันราชการและข้าราชการ) และประมุขของประเทศ

56. ข้อใดเกี่ยวข้องกับนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher)

(1) การปฏิรูประบบราชการในนิวซีแลนด์

(2) การตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในสวีเดน

(3) การแก้ปัญหาการว่างงานของคนผิวดําในสหรัฐอเมริกา

(4) ความพยายามแก้ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงอุยกูร์

(5) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอังกฤษ

ตอบ 5 หน้า 330 ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิรูปกิจการภาครัฐทั้งระบบราชการและรัฐวิสาหกิจในประเทศอังกฤษ ภายใต้โครงการปฏิรูปที่เรียกว่า “ขั้นต่อไป” (The Next Step) จนประสบความสําเร็จ ซึ่งสามารถลดขนาดของภาครัฐและลดงบประมาณรายจ่ายในการบริหารงานภาครัฐได้

57. ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Max Weber

(1) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น

(2) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(3) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(4) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

(5) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 226), (คําบรรยาย) Max Weber ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้
1 การแต่งตั้ง พิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่งบุคคลในการปฏิบัติงานต้องมีการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบและอยู่บนพื้นฐานแห่งการตกลงกัน
2 การเลือกสรรบุคคลเข้าทํางานจะต้องพิจารณาในด้านความสามารถและหลักการแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะอย่าง
3 มีการจ้างงานตลอดชีพ
4 มีการกําหนดค่าตอบแทนในรูปเงินประจําสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ

58. ค่านิยมทางการบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อใด

(1) New Public Service (NPS)

(2) New Public Governance (NPG)

(3) New Public Management (NPM)

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

59. ใครเป็นผู้เขียนบทความเสนอว่าการบริหารรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ

(1) Herbert A. Simon

(2) Woodrow Wilson

(3) Robert A. Dahl

(4) Robert T. Golembiewski

(5) Luther H. Gulick

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson เป็นบิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ และเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” เขาได้เสนอแนวคิดไว้ในบทความเรื่อง
“The Study of Administration” ในปี ค.ศ. 1887 ว่า การบริหารรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องยาก ยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ และควรแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน โดย บทความดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ…”

60. ข้อใดเป็นการจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation)

(1) ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

(2) สำนักงานภาคใต้ สำนักงานภาคกลาง สำนักงานภาคเหนือ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(3) ฝ่ายลูกค้าบุคคล ฝ่ายลูกค้าองค์การ

(4) ฝ่ายรับคำสั่งซื้อ ฝ่ายจัดเตรียมสินค้า ฝ่ายบรรจุสินค้า ฝ่ายโลจิสติกส์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 117 การจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การโดยพิจารณาจากประเภทของงานหรือหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยกลุ่มของกิจกรรมที่เหมือนกันและเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน การจัดโครงสร้างองค์การแบบนี้เหมาะกับองค์การที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมคงที่และมีลักษณะเป็นงานประจำ เช่น การจัดโครงสร้างองค์การโดยแบ่งออกเป็น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

61. ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(2) การวางแผนกำลังคน

(3) การจัดสวัสดิการ

(4) การสร้างขวัญกำลังใจ

(5) การวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 247 – 249) ภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล มีดังนี้ 1. การกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ 2. การวางแผนกำลังคนหรือทรัพยากรมนุษย์ 3. การวัดและประเมินระบบการจัดการบุคคล 4. การจัดการด้านเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่าง ๆ 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 6. การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ฯลฯ

62. ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick Winslow Taylor

(1) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51 ประกอบ

63. ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับสำนักงาน ก.พ.ร.

(1) I AM READY

(2) นโยบายการคลัง

(3) การจัดทำงบประมาณ

(4) การปราบปรามการทุจริต

(5) การวางนโยบายด้านการศึกษา

ตอบ 1 หน้า 352 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดค่านิยมใหม่ ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ประกอบด้วย I = Integrity (ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี), A = Activeness (ขยัน ตั้งใจ ทำงานในเชิงรุก), M = Morality (มีศีลธรรม คุณธรรม), R = Relevancy (รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก), E = Efficiency (มุ่งเน้นประสิทธิภาพ), A = Accountability (มีความสำนึกรับผิดชอบต่อผลงานและสังคม), D = Democracy (มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย), Y = Yield (มุ่งเน้นผลงาน)

64. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับงบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget)?

(1) ทําให้เกิดความเชื่อมโยงกับแผนงานต่าง ๆ

(2) ป้องกันปัญหาการทุจริต

(3) เป็นงบประมาณที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่าย

(4) เน้นการมีส่วนร่วม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 228, 237, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่าย หรือการใช้ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย ดังนั้นระบบงบประมาณแบบแสดงรายการจึงทําให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ ไม่สามารถนําเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้ จึงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตในหน่วยงาน

65. ข้อใดอธิบายถึงวินัย 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้?

(1) การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

(2) กฎ ระเบียบ (Regulations)

(3) การปฏิรูประบบราชการ

(4) การแปรรูปกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน

(5) การลดต้นทุน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

66. ข้อใดสอดคล้องกับระบบคุณธรรม (Merit System)?

(1) การแต่งตั้งโยกย้ายโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ

(2) การสั่งการจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up)

(3) การมีสํานึกสาธารณะ

(4) การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่พวกพ้อง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง โดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถของบุคคล เป็นสําคัญ โดยไม่คํานึงถึงเหตุผลทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ส่วนตัว

67. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบดั้งเดิม?

(1) ไม่มีความยืดหยุ่น

(2) ความมั่นคงในงาน

(3) ให้ความสําคัญกับความเป็นส่วนตัว

(4) เน้นกฎ ระเบียบ

(5) เน้นการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา

ตอบ 3 หน้า 114 – 115 องค์การแบบดั้งเดิม มีลักษณะดังนี้
1 มีลักษณะคงที่
2 ไม่มีความยืดหยุ่น
3 ให้ความสําคัญกับงาน
4 งานถูกกําหนดจากตําแหน่ง
6 เน้นความมั่นคงของงาน
7 เน้นการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา
8 เน้นกฎ ระเบียบ
9 ปฏิบัติงานในองค์การตลอดชั่วโมงการทํางาน ฯลฯ

68. นโยบายการบริหารจัดการที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบ ได้แก่?

(1) การเก็บรักษาความลับ

(2) การจัดสวัสดิการ

(3) ระบบติดตามประเมินผล

(4) การพัฒนาเส้นทางอาชีพ

(5) การเสริมสร้างศักยภาพทางกายภาพ

ตอบ 3 หน้า 184 – 185, (คําบรรยาย) นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุม ตรวจสอบ มีดังนี้
1 การพัฒนาระบบงบประมาณ
2 การพัฒนาบุคลากร
3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล
4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ

69. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(4) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

70. สิ่งที่อยู่ภายนอกองค์การแต่สามารถเป็นปัจจัยที่ส่งผลทั้งทางบวกหรือทางลบต่อองค์การ หมายถึงข้อใด

(1) สภาพแวดล้อม

(2) โครงสร้างองค์การตามสถานการณ์

(3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์การ

(4) วิสัยทัศน์ขององค์การ

(5) ปัญหาขององค์การ

ตอบ 1 หน้า 260, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมทั่วไป คือ สิ่งที่อยู่ภายนอกองค์การและส่งผลกระทบ ต่อการดําเนินงานขององค์การทั้งทางบวกและทางลบ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การของรัฐ ทุกองค์การ ระดับของความสัมพันธ์ต่อองค์การอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของแต่ละองค์การ

71. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของการจัดทํางบประมาณ

(1) งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

(2) งบประมาณแบบแสดงรายการ

(3) งบประมาณแบบแผนงาน

(4) งบประมาณแบบฐานศูนย์

(5) งบประมาณตามสถานการณ์

ตอบ 5 หน้า 237 – 238 ประเภทของการจัดทํางบประมาณ มี 5 ประเภท คือ
1 งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget)
2 งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget)
3 งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget)
4 งบประมาณแบบฐานศูนย์ (Zero Base Budget)
5 งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget)

72. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง

(1) การสั่งการจากบนลงล่าง (Top-Down)

(2) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด

(3) การมีสํานึกสาธารณะ

(4) การรับประโยชน์จากนโยบาย

(5) การวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

ตอบ 3 หน้า 341, (คําบรรยาย) Michael Sandal เห็นว่า ความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น พลเมืองจะคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มีมุมมองที่กว้างไกลและต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของรัฐ (Public Affairs) มีสํานึกสาธารณะว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีความผูกพันในเชิงจริยธรรมกับชุมชนซึ่งร่วมชะตากรรมเดียวกัน

73. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบสิ่งมีชีวิต

(1) อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คงที่

(2) เน้นโครงสร้างแนวราบ

(3) เป็นทางการน้อย

(4) กระจายอํานาจการตัดสินใจ

(5) ขอบข่ายการควบคุมกว้าง

ตอบ 1 หน้า 133 – 134, (คําบรรยาย) องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

1. อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก

2. มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

3. เน้นโครงสร้างแนวราบ

4. ขอบข่ายหรือช่วงการควบคุมกว้าง

5. มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

6. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย

7. มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย

8. มีความเป็นทางการน้อย

9. กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

74. นายสรยุทธ์เชื่อว่า นักบริหารมีหน้าที่ 5 ประการ คือ “Planning, Organizing, Commanding, Coordinating และ Controlling” ความเชื่อของนายสรยุทธ์สอดคล้องกับนักวิชาการท่านใด

(1) Henri Fayol

(2) Luther Gulick

(3) Max Weber

(4) ชุบ กาญจนประกร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1

หน้า 50, 65, (คำบรรยาย) Henri Fayol เสนอว่า หน้าที่การบริหารของนักบริหาร (Functions of Administration) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC ดังนี้
P = Planning (การวางแผน)
O = Organizing (การจัดองค์การ)
C = Commanding (การอำนวยการ)
C = Coordinating (การประสานงาน)
C = Controlling (การควบคุม)

75. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ)

(1) การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า

(2) ขาดเอกลักษณ์

(3) มีความเป็นสหวิทยาการ

(4) มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 28 ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ) มีดังนี้
1 มีลักษณะของการขาดเอกลักษณ์
2 มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์
3 การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า

76. ข้อใดต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดกับผู้บริหารในภาคเอกชน

(1) กระบวนการปฏิบัติงาน

(2) มีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน

(3) การสร้างแรงจูงใจ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 หน้า 11 – 12, (คำบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้บริหารในภาคเอกชน) มีสิ่งที่เหมือนหรือสอดคล้องกัน ดังนี้
1 เป็นกระบวนการบริหารหรือการปฏิบัติงานที่ต้องนำเอาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
2 ต้องอาศัยพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มในการปฏิบัติงาน
3 มีลักษณะการปฏิบัติงานตามสภาพแวดล้อมขององค์การ เช่น มีความเสี่ยงในการดำเนินงาน
4 ลักษณะการบริหารในแต่ละองค์การจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของงานที่ทำ

77. การพัฒนาและยกระดับจิตใจเป็นนโยบายด้านใด

(1) นโยบายด้านการศึกษา

(2) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(3) นโยบายด้านกีฬาและนันทนาการ

(4) นโยบายด้านสาธารณสุข

(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

ตอบ 5 หน้า 95, (คำบรรยาย) นโยบายด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม มีดังนี้
1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน
2 ส่งเสริมสถาบันศาสนาทุกศาสนาให้มีบทบาทในการเผยแผ่หลักคำสอนที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน
3 สนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ฯลฯ

78. ข้อใดไม่ถือเป็นหน้าที่ของรัฐสภา

(1) กำหนดกฎกระทรวง

(2) พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ

(3) อภิปรายผลงานของรัฐบาล

(4) ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (หน้า 187 – 188, คำบรรยาย) รัฐสภา มีหน้าที่ดังนี้:
1 พิจารณาออกกฎหมายประเภทต่างๆ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย (ส่วนการกำหนดกฎกระทรวงนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง)
2 พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3 ตั้งกระทู้และอภิปรายผลงานของรัฐบาล
4 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญติดตามการปฏิบัติงาน

79. ข้อใดไม่ใช่วิชาที่ปรากฏในการศึกษาสาขาบริหารรัฐกิจของสถาบันการศึกษาต่างๆ

(1) ประชาสังคมกับการจัดการท้องถิ่น

(2) การคลังและงบประมาณ

(3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

(4) จริยธรรมทางการบริหาร

(5) การส่งเสริมการขาย

ตอบ 5 (คำบรรยาย) วิชาที่ปรากฏในการศึกษาสาขาบริหารรัฐกิจของสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การคลังและงบประมาณ จริยธรรมทางการบริหาร ประชาสังคมกับการจัดการท้องถิ่น นโยบายสาธารณะ เป็นต้น ส่วนการส่งเสริมการขาย เป็นวิชาที่ปรากฏในการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ

80. การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การจัดการเรื่องสหภาพแรงงาน

(2) การวางแผนกำลังคน

(3) การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน

(4) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคนในองค์การ

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 172 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 249), (คำบรรยาย) แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรือ อุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการกับคนงานหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ในการทำงาน เช่น การเจรจาต่อรองร่วมกัน การบริหารแรงงานให้เป็นไปตามสัญญาการว่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

81. ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าพาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ

(1) Woodrow Wilson

(2) Luther H. Gulick

(3) Robert T. Gotembiewski

(4) Robert A. Dahl

(5) Herbert A. Simon

ตอบ 3 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 75 – 76) Robert T. Gotembiewski ได้เสนอความเห็นว่า พาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และวิชาการบริหารรัฐกิจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดขึ้นมาในรูปของพาราไดม์เบ็ดเสร็จ แต่ควรจะกำหนดขึ้นมาในรูปของมินิพาราไดม์หลายๆ มินิพาราไดม์จะดีกว่า

82. การจัดโครงสร้างองค์การแบบใดที่อาจนำไปสู่ปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

(1) โครงสร้างแบบเรียบง่าย

(2) โครงสร้างแบบเมทริกซ์

(3) โครงสร้างแบบทีมงาน

(4) โครงสร้างแบบระบบราชการ

(5) โครงสร้างแบบแชมร็อค

ตอบ 2 หน้า 125 (คำบรรยาย) โครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix Structure) เป็นโครงสร้างองค์การแบบชั่วคราว ซึ่งเหมาะสมกับองค์การที่มีการดำเนินงานแบบโครงการและต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรฐานที่ต้องการภายในระยะเวลาและวงเงินงบประมาณที่กำหนด โดยจะมีการมอบหมายงานให้ผู้จัดการรับผิดชอบการดำเนินงานในโครงการ และมีการระดมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานประจำตามหน้าที่ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมให้มาร่วมปฏิบัติงาน ข้อเสียของโครงสร้างองค์การแบบนี้ก็คือ ทำให้เกิดปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

83. การยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย เป็นไปตามหลักการของ

(1) ประสิทธิภาพ

(2) ประชาธิปไตย

(3) ประชาสงเคราะห์

(4) ประสิทธิผล

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หลักการประชาธิปไตยที่ดีจะต้องยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย และเปิดโอกาสให้ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถแสดงความคิดเห็น มีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของประเทศได้

84. ประมวลกฎหมายอาญาถือเป็นนโยบายประเภทใด

(1) นโยบายกระจายบริการของรัฐ

(2) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากร

(3) นโยบายเพื่อจริยธรรม

(4) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

85. Turbulent Field มีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด

(1) เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้สร้างสรรค์นวัตกรรม

(2) สงบสุข ปิดตัวเองจากภายนอก

(3) สภาพแวดล้อมแบบปิด

(4) สภาพแวดล้อมในยูเครนภายใต้สภาวะสงคราม

(5) สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นเริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก

ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คำบรรยาย) Fred Emery และ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์ ชุมชนที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมภายนอก เป็นต้น
2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน เป็นต้น
3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก เป็นต้น
4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา สภาพแวดล้อมในยูเครนภายใต้สภาวะสงคราม เป็นต้น

86. ข้อใดแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างบทบาทของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับ CEO ของธุรกิจสตาร์ทอัพ

(1) ขนาดความรับผิดชอบต่างกัน

(2) มีกระบวนการทำงานต่างกัน

(3) มีวัตถุประสงค์ต่างกัน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

87. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(2) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551

(3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

(4) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 352 – 354, (คําบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ มีดังนี้
1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545
2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
3 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
4 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ฯลฯ

88. ผู้ใดถูกเรียกว่าเป็นบิดาแห่งพาราไดม์ (Paradigm)?

(1) Abraham H. Maslow

(2) Woodrow Wilson

(3) Robert T. Golembiewski

(4) Thomas S. Kuhn

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับ พาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสําคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐาน สําหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2. เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องรุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป

89. ข้อใดสอดคล้องกับโปรแกรมระบบ (System Software)?

(1) Soft Power

(2) Hardware

(3) Operating System (OS)

(4) OTP

(5) Tao Bin

ตอบ 3 หน้า 299 – 300 โปรแกรมระบบ (System Software) คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการสั่งงานระบบคอมพิวเตอร์ให้ทํางานตามต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรมแปลภาษา (Language Translator), โปรแกรมบรรณาธิกรณ์ (Editor), โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS), โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program), โปรแกรมวิเคราะห์ข้อผิดพลาด และทดสอบเครื่อง (Diagnostics Routines) เป็นต้น

90. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับกฎของ Wagner?

(1) รายจ่ายสาธารณะมีแนวโน้มลดลง

(2) รายจ่ายสาธารณะต้องผ่านการพิจารณาอย่างรอบด้าน

(3) รายจ่ายสาธารณะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับการศึกษาของประชากร

(4) รายจ่ายสาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 239 Adolp Wagner กล่าวว่า เมื่อสังคมใดเริ่มกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ ทางด้านสังคม กฎหมาย และธุรกิจจะมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะขยายบทบาทของตนในการกําหนด กํากับ หรือ ควบคุมความหลากหลายและความซับซ้อนของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งทําให้รัฐต้องมีรายจ่ายสาธารณะเพิ่มขึ้น

91. ข้อใดเกี่ยวข้องกับหลักการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ?

(1) Scientific Management

(2) Bureaucracy

(3) Bounded Rationality

(4) Piece Rate Pay System

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 48 – 49 นักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ได้พัฒนาปรับปรุงหลักของการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การทํางาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

92. ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับ Abraham H. Maslow

(1) ความต้องการการยอมรับ

(2) ความต้องการความปลอดภัย

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การศึกษาความต้องการตามลำดับขั้น

(5) องค์การแบบเครื่องจักรกล

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 20 ประกอบ

93. ผู้ใดต่อไปนี้ที่เคยมีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐในสหรัฐอเมริกา

(1) อดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน

(2) อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา

(3) อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์

(4) วุฒิสมาชิกแทมมี่ ดักเวิร์ธ

(5) นางแอมเบอร์ เฮิร์ด

ตอบ 3 หน้า 331 อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ (Al Gore) ได้มีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน (Clinton) ภายใต้โครงการที่เรียกว่า “การทบทวนการปฏิบัติงานแห่งชาติ” (National Performance Review) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การบริหารงานในระดับสหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลาง และได้มีการออกกฎหมายที่สำคัญในการปฏิรูป คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติงานและผลงานรัฐบาล ค.ศ. 1993

94. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน

(1) เป็นทรัพยากรที่จะถูกจัดสรรเพื่อนําไปใช้ในการจัดบริการสาธารณะต่าง ๆ

(2) เป็นเครื่องมือในการวางแผนของรัฐบาล

(3) เป็นเครื่องมือในการควบคุมการทํางานของภาครัฐ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 7 ประกอบ

95. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Elton Mayo

(1) การจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) การศึกษาเวลากับการเคลื่อนไหว

(3) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

(4) การจ้างงานตลอดชีพ

(5) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพในการทํางาน

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 189 – 190, 230 – 231), (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพในการทํางาน โดยทําการทดลองที่เรียกว่า “Hawthorne Experiments” ซึ่งพบว่า:
1 ขวัญของคนงานเป็นสิ่งสําคัญและจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
2 รางวัลทางจิตใจจะให้ความสุขในการปฏิบัติงาน และมีผลกระตุ้นในการทํางานมากกว่ารางวัลทางเศรษฐกิจ
3 ปทัสถานทางสังคมของกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพและปริมาณของงาน
4 ภาวะผู้นํา (Leadership) จะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดบรรทัดฐานของกลุ่มภายในองค์การ

96. ข้อใดสอดคล้องกับระบบอุปถัมภ์ (Patronage System)

(1) การแต่งตั้งโยกย้ายโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ

(2) การมีสํานึกสาธารณะ

(3) ระบบเส้นสาย

(4) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) หรืออาจเรียกว่า ระบบเส้นสาย ระบบ พวกพ้อง ระบบเครือญาติ เป็นระบบที่ยึดถือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่พวกพ้อง ดังนั้นการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่ง จึงพิจารณาจากความเป็นพวกพ้องเป็นสําคัญ ไม่ได้พิจารณาจากความรู้ ความสามารถของบุคคล

97. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบเครื่องจักร

(1) มีความยืดหยุ่นสูง

(2) มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก

(3) ความเป็นทางการสูง

(4) มีสายการบังคับบัญชามาก

(5) รวมศูนย์อำนาจ

ตอบ 1 หน้า 132 – 134 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีสายการบังคับบัญชามาก
2 ช่วงการควบคุมแคบ
3 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง
5 มีความเป็นทางการสูง
6 รวมศูนย์อำนาจในการบริหารและตัดสินใจ
7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่
8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ

98. ความเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ของการบริหารรัฐกิจ หมายถึง

(1) การนำองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในการบริหาร

(2) การบริหารงานที่เน้นการมีส่วนร่วม

(3) การบริหารภาครัฐองค์การขนาดใหญ่

(4) ความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

99. ข้อใดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นน้อยลงในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(1) เน้นทีมงาน

(2) มีความยืดหยุ่น

(3) เน้นการมีส่วนร่วม

(4) การจ้างงานตลอดชีพ

(5) ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน

ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนวโน้มที่มักจะเกิดขึ้นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้
1 มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
2 ให้ความสำคัญต่อทักษะในการปฏิบัติงาน
3 เน้นทีมงาน
4 เน้นการมีส่วนร่วม
5 ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน ฯลฯ
6 ส่วนการจ้างงานตลอดชีพนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นน้อยลง

100. แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนัก Keynesian สนับสนุนแนวทางแบบใด

(1) การประหยัดทรัพยากรการบริหาร

(2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

(3) การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐ

(4) การจัดการแบบภาคเอกชน

(5) การขยายบทบาทภาครัฐ

ตอบ 5 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ ในการบริหารรัฐกิจ มีดังนี้
1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)
2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)

 

 

POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ”

1. ข้อใดเป็นนโยบายการเงิน

(1) การควบคุมสินเชื่อส่วนบุคคล

(2) การอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน

(3) การปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

(4) การขึ้นค่าไฟฟ้า

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุมอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุมสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออก ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงิน ก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

2. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

(1) เน้นการพัฒนาความสามารถเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

(2) เป็นองค์การสมัยใหม่

(3) มีการมอบอำนาจในการตัดสินใจเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

(4) มีทีมงานที่กระชับ

(5) มีสายการบังคับบัญชาที่เหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 130 องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์การที่เน้นการพัฒนา ความสามารถเพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทุกสถานการณ์ โดยองค์การจะเน้นให้บุคลากรในองค์การได้รับความรู้ใหม่ ๆ พัฒนาทักษะในการสร้าง สรรหา และถ่ายโอนความรู้ให้เป็นองค์ความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อองค์การโดยส่วนรวม มีข้อมูลข่าวสาร ที่ทันสมัย นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล

3. ข้อใดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น

(1) ก๊าซธรรมชาติ

(2) ดิน

(3) ถ่านหิน

(4) ป่าไม้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 274 – 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ำ เป็นต้น
2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น
3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กำลังงานของมนุษย์ เป็นต้น

4. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของเทคโนโลยี

(1) คน

(2) เครื่องมือ

(3) กระบวนการ

(4) ความรู้

(5) เป็นเทคโนโลยีทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 290 ความรู้ทั้งหลาย (All Knowledge) คือ ความรู้ที่มาจากทฤษฎีและนํามาปฏิบัติให้เกิดผล
1 ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ (Products) คือ ผลที่ได้จากการนําเทคโนโลยีมาใช้
2 กระบวนการ (Processes) คือ ขั้นตอนของการนําเทคโนโลยีมาใช้
3 เครื่องมือ (Tools) คือ อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องจักรในการใช้หรือที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี
4 วิธีการ (Methods) คือ กรรมวิธีหรือเทคนิคที่ใช้สําหรับเทคโนโลยี
5 ระบบ (Systems) คือ กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการคิดค้นในการสร้างสินค้าหรือการบริการ

5. ข้อจำกัดของความมีเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาของหลักการบริหารในความหมายของ Herbert A. Simon หมายถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับอะไร

(1) ความชํานาญ ค่านิยม วิธีการปฏิบัติงาน

(2) ความชํานาญ ค่านิยม ความรู้และข้อมูลข่าวสาร

(3) ความชํานาญ ค่านิยม เป้าหมาย

(4) ความชํานาญ แนวความคิด วิธีการปฏิบัติงาน

(5) ความชํานาญ แนวความคิด เป้าหมาย

ตอบ 2 หน้า 53, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1976 ได้เกิดวิกฤติในวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นครั้งที่สอง โดย Herbert A. Simon ได้อธิบายว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารประสบกับปัญหาสําคัญ คือ ข้อจํากัดของความมีเหตุผล ซึ่งเกิดจากข้อจํากัดของบุคคลแต่ละคนใน 3 ประการ ดังนี้
1 ข้อจํากัดเกี่ยวกับความชํานาญ นิสัย และสัญชาตญาณ
2 ข้อจํากัดเกี่ยวกับค่านิยมและแนวความคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์
3 ข้อจํากัดเกี่ยวกับความรู้และข้อมูลข่าวสาร

6 บุคคลที่เป็นผู้นําในการโจมตีวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งแรก คือใคร

(1) Thomas S. Kuhn

(2) Herbert A. Simon

(3) Leonard D. White

(4) Frank J. Goodnow

(5) William F. Willoughby

ตอบ 2 หน้า 51, (คำบรรยาย) วิชาการบริหารรัฐกิจมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมาจนถึง ค.ศ. 1938 ได้เกิดวิกฤติทางความคิดเป็นครั้งแรก โดยบุคคลที่เป็นผู้นําในการโจมตีวิชาการบริหารรัฐกิจ ครั้งแรกนี้ก็คือ Herbert A. Simon

7 การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Bio Technology

(2) Material Technology

(3) Nano Technology

(4) Energy Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 292, (คำบรรยาย) การพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภาพ (Bio Technology) คือ การนําเอา ความรู้ทางด้านต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง ตามที่มนุษย์ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การจัดการ สิ่งแวดล้อม เช่น การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ การศึกษาเซลล์ต้นกําเนิด (Stem Cells) การตัดแต่งพืชพันธุกรรม (GMO) การบําบัดน้ําเสียโดยใช้กังหันชัยพัฒนา เป็นต้น

8 ใครเสนอว่าอุปสรรคจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์

(1) Carl J. Friedrich

(2) David Easton

(3) William Greenwood

(4) Ira Sharkansky

(5) Theodore Lowi

ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) Carl J. Friedrich กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง ข้อเสนอ สําหรับแนวทางการดําเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาลภายในสภาพแวดล้อม แบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งอุปสรรคและโอกาสบางประการ โดยอุปสรรคและโอกาสนี้จะเป็น แรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์ และเอาชนะสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อนําไปสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง

9. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการในภาษาอังกฤษ คือ

(1) Public Personnel Administration

(2) Personnel Administration

(3) Public Administration

(4) Personnel Management

(5) Public Management

ตอบ 1 หน้า 148 การบริหารงานบุคคล ในภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งหากจะให้มีความหมายว่าเป็นการบริหารงานบุคคล ในระบบราชการหรือภาครัฐโดยเฉพาะก็จะใช้คําว่า “Public Personnel Administration” และหากจะให้มีความหมายเฉพาะถึงการบริหารงานบุคคลในภาคธุรกิจเอกชนก็จะใช้คําว่า “Business Personnel Management”

10. “หอรัษฎากรพิพัฒน์” ทําหน้าที่

(1) ดูแลโรงฝิ่นและยาสูบ

(2) ดูแลเก็บ “ส่วย” และ “ฤชา”

(3) เก็บเงินผลประโยชน์ รายได้ ภาษีอากรให้รัฐ

(4) ดูแลชาวต่างชาติ

(5) เก็บภาษีปากเรือ

ตอบ 3 หน้า 215 หอรัษฎากรพิพัฒน์ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2416 เพื่อเป็นสํานักงานกลางสําหรับ เก็บเงินผลประโยชน์ รายได้ ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ในที่แห่งเดียว มิให้แยกย้าย กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ

11. ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

(1) การระงับข้อพิพาท

(2) ยุติธรรมทางอาญาและการระงับข้อพิพาท

(3) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(4) ยุติธรรมทางอาญา

(5) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการระงับข้อพิพาท

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) เป็นแนวคิดที่ให้ผู้เสียหายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลการกระทํา อาชญากรรมเป็นศูนย์กลางของกระบวนการยุติธรรม โดยที่รัฐและบุคลากรทางกฎหมาย เป็นเพียงผู้ประสานงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือระงับข้อพิพาท โดยให้ผู้กระทําผิดได้แสดงความรับผิดชอบในการกระทําของเขา และให้ความช่วยเหลือ/ บรรเทาผลร้ายแก่ผู้เสียหาย ซึ่งวิธีการของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ได้แก่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การประนอมข้อพิพาท เป็นต้น

12. ข้อใดไม่เป็นสาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย

(1) การสร้างเขื่อน

(2) ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

(3) ความเจริญทางวิทยาศาสตร์

(4) การลดของประชากร

(5) การกีฬา

ตอบ 4 หน้า 275 – 276, 282 – 283 สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย มีดังนี้ 1. การเพิ่มของประชากร 2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3. ความเจริญก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ํา ถนน 5. การกีฬา เช่น การยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ 6. สงคราม 7. ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

13 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีตรวจสอบ เป็นขั้นตอนใด

(1) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(2) การก่อตัวของนโยบาย

(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 5 หน้า 90 ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย
1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2 การกําหนดเกณฑ์วัด และวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน
3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล และวิธีการรายงาน
4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบาย

14 การแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะด้านตามแนวนอนขององค์การ (Horizontal Specialization) หมายถึง

(1) แบ่งตามกิจกรรมตามลําดับขั้นตอนของกระบวนการทํางาน

(2) แบ่งตามความถนัดของคน

(3) แบ่งตามสายการบังคับบัญชา

(4) แบ่งตามวิชาชีพ

(5) แบ่งตามภูมิลําเนา

ตอบ 1 หน้า 116 การแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะด้านตามแนวนอนขององค์การ (Horizontal Specialization) หมายถึง การแบ่งตามกิจกรรมต่าง ๆ ตามลําดับขั้นตอนของกระบวนการ ทํางานในองค์การ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดจําหน่าย เป็นต้น

15 ตัวชี้วัด “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” ได้แก่

(1) รายได้เกษตรกร

(2) อัตราเงินเฟ้อ

(3) อัตราคนยากจน

(4) GDP

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้
1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบ อัตราการใช้จ่าย อัตราการออม มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน
3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต

16 ทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์ตามแนวคิดของ Morgan ได้นําปัจจัยอะไรบ้างมาใช้ในการวิเคราะห์องค์การ

(1) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร โครงสร้าง และการจัดการ

(2) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี ผู้นํา โครงสร้าง และการจัดการ

(3) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้าง และการจัดการ

(4) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน โครงสร้าง และการจัดการ

(5) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โครงสร้าง และการจัดการ

ตอบ 3 หน้า 135 – 136 มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ

17. แนวคิดในการควบคุมแบบใดเกิดก่อนแบบอื่น ๆ

(1) ควบคุมผลลัพธ์

(2) ควบคุมด้วยนโยบาย

(3) ควบคุมด้วยประชาชน

(4) ควบคุมผลผลิต

(5) ควบคุมด้วยกฎระเบียบ

ตอบ 5 หน้า 177, 205 – 206, (คําบรรยาย) แนวคิดในการควบคุมตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ให้ความสําคัญกับการควบคุมปัจจัยนําเข้า โดยพิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรขององค์การให้ตรงตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กําหนด ยุคที่ 2 ให้ความสําคัญกับการควบคุมกระบวนการทํางาน โดยพิจารณาความสําเร็จไปที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน ยุคที่ 3 (ยุคปัจจุบัน) ใช้วิธีการตามยุคที่ 1 และ 2 และให้ความสําคัญกับการควบคุมผลผลิต และผลลัพธ์ รวมทั้งให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบ

18. ข้อจํากัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่

(1) คู่พิพาทใช้เป็นช่องทางประวิงให้เกิดความล่าช้า

(2) สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท

(3) รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท

(4) สร้างความสงบสุขให้กับชุมชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
1. ไม่มีสภาพบังคับ การไกล่เกลี่ยขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคู่พิพาทเป็นสําคัญ
2. คู่พิพาทอาจใช้เป็นช่องทางประวิงเวลาให้คดีเกิดความล่าช้าได้
3. ผลของการไกล่เกลี่ยไม่สามารถบังคับได้ทุกกรณีเช่นเดียวกับคําพิพากษา ฯลฯ

19. ตําราเรียน (Textbook) เล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ

(1) Papers on the Science of Administration

(2) Principles of Public Administration

(3) Principles of Organization

(4) Introduction to the Study of Public Administration

(5) Politics and Administration

ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์ เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชา การบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

20. “การใช้โครงสร้างแผนงานเป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์……กับกิจกรรมที่จะช่วย ให้บรรลุวัตถุประสงค์” เป็นลักษณะของระบบงบประมาณแบบใด

(1) Performance Budget

(2) Line-Item Budget

(3) Tradition Budget

(4) Line-Item Budget และ Tradition Budget

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 230 – 231, 237 งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) เป็นระบบงบประมาณที่มีความมุ่งหมายที่จะให้มีการเชื่อมโยงการจัดสรรงบประมาณ เข้ากับระบบการวางแผน จึงมีการจัดทําแผนงาน (Programming) โดยใช้โครงสร้างแผนงาน เป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุในรอบปีงบประมาณ หนึ่ง ๆ กับกิจกรรมที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ เพื่อเป็นกรอบการตัดสินใจในการ จัดสรรงบประมาณ

21. องค์การแบบเครือข่ายของภาครัฐในความคิดของ Goldsmith and Eggers มีลักษณะประกอบด้วย

(1) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Quality

(2) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Innovation

(3) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Development

(4) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Connection

(5) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Information

ตอบ 2 คำบรรยาย: หน้า 126 องค์การแบบเครือข่ายของภาครัฐตามความคิดของ Goldsmith and Eggers มีลักษณะประกอบด้วย
1 มีความรวดเร็วและมีความยืดหยุ่น (Speed & Flexibility)
2 การเพิ่มขึ้นของการเข้าถึง (Increased Reach)
3 ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)
4 นวัตกรรม (Innovation)

22. ในปี ค.ศ. 1887 เกิดเหตุการณ์อะไร

(1) Woodrow Wilson เสนอแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(2) เป็นยุคทองของการบริหารรัฐกิจ

(3) William F. Willoughby เขียนตําราของวิชาการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์

(4) Gulick เสนอหลักการบริหารที่สําคัญคือ POSDCORB

(5) Frederick W. Taylor เสนอหลักการบริหาร Scientific Management

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson เป็นบิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ และเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” เขาได้เสนอแนวคิดไว้ในบทความเรื่อง “The Study of Administration” ในปี ค.ศ. 1887 ว่า การบริหารรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องยาก ยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ และควรแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน โดย บทความดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ

23. Thomas Jefferson ให้ความสําคัญกับเรื่องใดในการบริหารราชการ

(1) เทคโนโลยี

(2) ประสิทธิภาพ

(3) ประชาธิปไตย

(4) การลดบทบาทภาครัฐ

(5) การขยายบทบาทภาครัฐ

ตอบ 3 หน้า 326 – 327 โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ถือเป็นผู้วางรากฐานการเมือง และมีอิทธิพลต่อแนวคิดหลักในการบริหารราชการของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยแนวคิด ของเจฟเฟอร์สันนั้นได้ให้ความสําคัญกับประชาธิปไตย (Democracy) ในการบริหารราชการ โดยต้องการให้รัฐบาลกระจายอํานาจให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ และต้องการจํากัดอํานาจของฝ่ายบริหารโดยอาศัยกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

24. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบแชมร็อค (Shamrock Organization)

(1) เป็นองค์การที่เปรียบเหมือนใบแชมร็อค

(2) มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก กลุ่มพนักงานชั่วคราว

(3) เป็นองค์การสมัยใหม่ ไม่มีสายการบังคับบัญชา

(4) มีการแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเป็น 3 กลุ่ม เพื่อเป็นการลดจํานวนผู้ปฏิบัติงาน

(5) เป็นองค์การในอนาคตที่ให้คนเข้ามามีส่วนร่วมหรือดําเนินการด้วยตนเองบ้าง

ตอบ 3 หน้า 128 – 129 องค์การแบบแชมร็อค (Shamrock Organization) เป็นโครงสร้างองค์การ ที่เปรียบเหมือนใบแชมร็อค ซึ่งมี 3 แฉกติดกันอยู่บนก้านเดียวกัน โครงสร้างองค์การแบบนี้จะมี การแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในองค์การออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน จากภายนอก และกลุ่มพนักงานชั่วคราว เพื่อเป็นการลดจํานวนผู้ปฏิบัติงานในองค์การให้น้อยลง โดยจะให้ความสําคัญต่อผู้ปฏิบัติภารกิจหลักขององค์การเท่านั้น ทั้งนี้แนวโน้มขององค์การ แบบแชมร็อคในอนาคตนั้นอาจจะให้ลูกค้าขององค์การเข้ามามีส่วนร่วมหรือเข้ามาดําเนินการ ด้วยตนเองบ้างในบางส่วน

25. ผู้ที่กล่าวว่า “การวิจัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วในอดีต” คือ

(1) Martin Landau

(2) Robert T. Golembiewski

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Robert T. Holt

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 3 หน้า 43 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” ได้อธิบายไว้ว่า วิทยาการที่เป็น ปกติ (Normal Science) หมายถึง การวิจัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Achievements) ที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วในอดีต ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ ดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นตัวกําหนดปัญหาและวิธีการวิจัยให้กับผู้ศึกษาวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ดําเนินการ ต่อไปบนพื้นฐานที่กําหนดไว้

26. The American Political Science Association มีความสําคัญอย่างไร

(1) การประชุมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์

(2) การประชุมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งภาคใต้

(3) การประชุมทางวิชาการของสมาคมการบริหารรัฐกิจเกี่ยวกับพาราไดม์แห่งอเมริกา

(4) การประชุมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา

(5) การประชุมทางวิชาการของสมาคมการบริหารรัฐกิจแห่งอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 43 The American Political Science Association คือ การประชุมทางวิชาการของ สมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา

27. ข้อใดเป็นขั้นตอนหลังสุดในกระบวนการควบคุม

(1) แผนงาน

(2) ข้อมูลข่าวสาร

(3) นโยบาย

(4) การตรวจสอบ

(5) การปรับปรุง

ตอบ 5 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 การกำหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดำเนินงาน
2 การกำหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดำเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสำเร็จของงาน
3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
4 การดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

28. องค์การควรมีลักษณะสำคัญประกอบด้วย

(1) คน การพัฒนา กิจกรรมตามโครงสร้าง

(2) คน วัตถุประสงค์ กิจกรรมตามโครงสร้าง

(3) คน การพัฒนา โครงสร้าง

(4) คน วัตถุประสงค์ การปฏิบัติงาน

(5) คน การปฏิบัติงาน โครงสร้าง

ตอบ 2 หน้า 114 ระบุว่า องค์การเป็นระบบย่อยของสังคม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ร่วมกันทำกิจกรรมตามโครงสร้างและรูปแบบที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยองค์การจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3 มีการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ

29. องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber มีลักษณะ ดังนี้

(1) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นการชั่วคราว

(2) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นการทั่วไป

(3) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นการแข่งขัน

(4) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นทางการ

(5) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลไม่เป็นทางการ

ตอบ 4 หน้า 124 ระบุว่า องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber มีลักษณะดังนี้
1 มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
2 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา
3 มีการสอบคัดเลือกบุคคล อย่างเป็นทางการ
4 มีกฎระเบียบที่เป็นทางการมากมาย
5 ไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว
6 เน้นการปฏิบัติงานเป็นอาชีพ

30. “I AM READY” คืออะไร

(1) กิจกรรมการปฏิรูประบบราชการ

(2) นโยบายปฏิรูประบบราชการ

(3) ค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการ

(4) ภาวะผู้นำ

(5) การตอบสนองต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 3 คำอธิบาย: หน้า 352 ระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดค่านิยมใหม่ ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ประกอบด้วย

I = Integrity (ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี)

A = Activeness (ขยัน ตั้งใจ ทำงานในเชิงรุก)

M = Morality (มีศีลธรรม คุณธรรม)

R = Relevancy (รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก)

E = Efficiency (มุ่งเน้นประสิทธิภาพ)

A = Accountability (มีความสำนึกรับผิดชอบต่อผลงานและสังคม)

D = Democracy (มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย)

Y = Yield (มุ่งเน้นผลงาน)

31. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory)

(1) การจัดองค์การที่ดีต้องสอดคล้องกับสถานการณ์

(2) ผู้ตัดสินใจขององค์การแนวโน้มเป็นผู้มีเหตุผล

(3) องค์การเป็นระบบปิด

(4) ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) มีดังนี้:
1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
3 การจัดองค์การที่ดีที่สุด
4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
5 องค์การเป็นระบบเปิด
6 ผู้ตัดสินใจขององค์การที่แนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล

32. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้ในปีใด

(1) 2550

(2) 2551

(3) 2552

(4) 2553

(5) 2554

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นพระราชบัญญัติที่บังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนสามัญของไทยอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

33. ใครเป็นผู้กำหนด “I AM READY”

(1) Deming นักวิชาการอเมริกัน

(2) สำนักงาน ก.พ.ร.

(3) คณะรัฐมนตรียุครัฐบาลทักษิณ

(4) สำนักงาน ก.พ.

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ (หมายเหตุ: ข้อ 30 ไม่ได้อยู่ในข้อมูลที่ให้มา)

34. ผู้ที่กล่าวว่า องค์การคือกระบวนการทำงานที่มีโครงสร้าง เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ

(1) Herbert Hicks

(2) Talcott Parson

(3) Stephen Robbins

(4) James Mooney and Alan Reiley

(5) Chester Barnard

ตอบ 1 หน้า 113 Herbert Hicks กล่าวว่า องค์การเป็นกระบวนการทำงานที่มีโครงสร้าง เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

35. ลักษณะของสภาพแวดล้อมของชุมชนที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมภายนอก เรียกว่า

(1) Placid Randomized Environment

(2) Placid Clustered Environment

(3) Statics Environment

(4) Turbulent Field

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 257 – 258 Fred Emery และ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์ ชุมชนที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมภายนอก เป็นต้น
2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน เป็นต้น
3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก เป็นต้น
4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา เป็นต้น

36 ทุกข้อเป็น Task Environment ของ Daft ยกเว้น

(1) ปัจจัยจากต่างประเทศ

(2) ปัจจัยด้านการเงิน

(3) ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม

(5) ปัจจัยด้านการวางแผน

ตอบ 5 หน้า 255 – 256 Richard L. Daft ได้พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วยปัจจัย หรือส่วนต่าง ๆ 10 ส่วน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นสภาพแวดล้อมของงาน (Task Environment) ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง ได้แก่ 1. ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม 2. ปัจจัยด้านการผลิต 3. ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ 4. ปัจจัยด้านการเงิน 5. ปัจจัยด้านการตลาด 6. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี 7. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 8. ปัจจัยด้านการควบคุม 9. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม 10. ปัจจัยจากต่างประเทศ

37 ข้อมูล หมายถึง

(1) ตำราเรียน

(2) ข้อสอบ

(3) ข่าวกีฬา

(4) แบบสอบถาม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 296, 318 – 319, (คำบรรยาย) ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อจริงหรือความจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคล วัตถุ สสาร สิ่งของ สถาบัน องค์การ การดำเนินงาน การปฏิบัติการ การจัดการ และอื่น ๆ ที่อาจอยู่ในลักษณะของสัญลักษณ์ ข้อความ ตัวเลข รูปภาพ และอื่น ๆ ทั้งนี้ข้อมูล จะอยู่ในรูปแบบที่ยังไม่มีการประเมินหรือตีความหมาย ซึ่งนับเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) เช่น แบบสอบถาม เป็นต้น ส่วนข่าวสาร (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ หรือเป็นข้อมูลบั้นปลายที่มีการเปลี่ยนรูปแล้วให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย เข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ตำราเรียน ภาพยนตร์ ข่าวกีฬา รายงานข่าว รายงานการประชุมประจำปี หนังสือพิมพ์ วารสารข่าวรามคำแหง เป็นต้น

38 ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่

(1) สะดวก

(2) ประหยัดค่าใช้จ่าย

(3) รวดเร็ว

(4) ลดความเครียดในการทำงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 29 – 30), (คำบรรยาย) ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่ 1. สะดวก 2. รวดเร็ว 3. ประหยัดค่าใช้จ่าย 4. ลดความเครียด 5. รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท 6. สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท 7. สร้างความสงบสุขให้กับชุมชน ฯลฯ

39 ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก

(1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(2) การระงับข้อพิพาท

(3) ยุติธรรมทางอาญาและการระงับข้อพิพาท

(4) ยุติธรรมทางอาญา

(5) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการระงับข้อพิพาท

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15 – 16), (คำบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งลักษณะสำคัญของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก มีดังนี้
1 มีพื้นฐานจากการใช้อำนาจของรัฐในการควบคุมเพื่อไม่ให้มีการทำผิดกฎเกณฑ์หรือกติกาที่กำหนดไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
2 รูปแบบในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมมีลักษณะเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะระหว่างผู้กระทำความผิดฝ่ายหนึ่ง และรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีผู้เสียหายเป็นตัวประกอบ
3 การอำนวยความยุติธรรมมีลักษณะเป็น “กระบวนการดำเนินงานเชิงคดี” ฯลฯ

40 Normal Science หมายถึง

(1) การวิจัยที่ยึดมั่นและมีความเห็นที่สอดคล้องกันต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกัน

(2) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกัน

(3) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อผลสำเร็จและมาตรฐานเดียวกัน

(4) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อระเบียบวิจัย

(5) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อผลสำเร็จในวิทยาการ

ตอบ 1 หน้า 44 Thomas S. Kuhn เห็นว่า การวิจัยของผู้ใดก็ตามที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของพาราไดม์ร่วมกัน แสดงว่าผู้วิจัยเหล่านั้นจะต้องผูกพันและยึดมั่นต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกัน ในการศึกษาวิจัย ซึ่งการยึดมั่นและมีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกันนี้ ถือเป็นเงื่อนไขจำเป็นอันดับแรกสำหรับวิทยาการที่เป็นปกติ (Normal Science)

41. “ภาษีเบิกร่อง” ถูกยกเลิกไปในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 3

(2) รัชกาลที่ 6

(3) รัชกาลที่ 9

(4) รัชกาลที่ 5

(5) รัชกาลที่ 4

ตอบ 5 หน้า 214 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศอังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย โดยสนธิสัญญาได้ระบุให้ไทยยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ ที่เก็บตามสัญญาฉบับปี พ.ศ. 2369 และให้เก็บภาษีขาเข้าแทนในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ซึ่งผลของสนธิสัญญาฉบับนี้ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก

42. ผู้ที่ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลว่าเป็น “กระบวนการเพื่อให้ได้มาและพัฒนาพนักงานให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงานและส่งเสริมให้เขาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ” คือ

(1) Nigro, F.A. and Nigro, L.G.

(2) Henry, N.

(3) Kramer, F.A.

(4) Stahl, O.G.

(5) Stephen Robbins

ตอบ 1 หน้า 148 Nigro, F.A. and Nigro, LG. กล่าวว่า การบริหารงานบุคคลเป็นกระบวนการ เพื่อให้ได้มาและพัฒนาพนักงานให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงาน และเพื่อเสริมสร้างสภาวะการทำงานในอันที่จะส่งเสริมให้เขาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ

43. หน่วยงานใดทำหน้าที่กำกับทิศทางการพัฒนาประเทศ

(1) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(2) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(3) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(4) สำนักงบประมาณ

(5) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ตอบ 2 หน้า 177, (คําบรรยาย) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็น หน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยมีหน้าที่หลักในจัดทําแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนมหภาคที่ใช้เป็นกรอบและทิศทางการพัฒนาประเทศ

44. การรักษาดูแล “ภาวะเงินเฟ้อ” เป็นหน้าที่ใดต่อไปนี้

(1) Allocation Function

(2) Distribution Function

(3) Stabilization Function

(4) Promotion Function

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 213, (คําบรรยาย) หน้าที่ของรัฐบาลในการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจการคลัง มีดังนี้
1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) เช่น การให้สัมปทานคลื่นความถี่ในการสื่อสาร
2. การกระจายทรัพยากรหรือรายได้ (Distribution Function) เช่น การจัดสรรที่ทํากินแก่เกษตรกรผู้ยากไร้
3 การส่งเสริมการเจริญเติบโตหรือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (Promotion Function) เช่น การส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจโดยการยกเว้นภาษีบางอย่าง
4 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (Stabilization Function) เช่น การรักษา ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด และการมีงานทําของประชากร

45. ข้อใดเป็นการควบคุมและตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

(1) คณะกรรมาธิการสามัญของสภา

(2) สํานักงบประมาณ

(3) ศาลรัฐธรรมนูญ

(4) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(5) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ตอบ 1 หน้า 187 – 188 การควบคุมและตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ได้แก่
1 การพิจารณาออกกฎหมายประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ใน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปีของส่วนราชการต่าง ๆ ตามวิธีการที่กฎหมายกําหนด
3 การตั้งกระทู้และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
4 การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญติดตามการปฏิบัติงาน

46. Robert T. Gotembiewski มีบทบาทอย่างไร

(1) เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตําราของวิชาการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุด

(2) เป็นผู้ให้ความหมายในเรื่องพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นคนแรก

(3) เป็นผู้กล่าวว่าพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจเริ่มตื่นตัวเป็นที่สนใจมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา

(4) เป็นผู้วิจารณ์ว่านักวิชาการได้ให้ความหมายของพาราไดม์ไว้แตกต่างกันมากจนทําให้มีปัญหาในการสรุปความหมายและปัญหาการนําไปใช้

(5) เป็นผู้กําหนดวิธีการศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจไว้ 5 พาราไดม์

ตอบ 3 หน้า 43 Robert T. Golembiewski ได้กล่าวถึงความตื่นตัวในเรื่องพาราไดม์ของวิชา การบริหารรัฐกิจว่า เมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา มีนักวิชาการทางด้านบริหารรัฐกิจ ตลอดจนสมาคมทางวิชาการหลายแห่งในอเมริกาเริ่มตื่นตัวในเรื่องพาราไดม์ของวิชาการบริหาร รัฐกิจกันมาก สังเกตได้จากการประชุมทางวิชาการของสมาคมทางวิชาการหลายแห่งในอเมริกา เช่น การประชุมประจําปี ค.ศ. 1974 ของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา การประชุมประจําปี ค.ศ. 1974 ของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งภาคใต้ เป็นต้น ซึ่งได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับพาราไดม์ ของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นอย่างมาก

47. แนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดของใคร

(1) Peter Senge (1990)

(2) Handy (1990)

(3) Chester Barnard (1972)

(4) Galbraith (1973)

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 130, 138 Peter Senge ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยเห็นว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ 1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) 2. แบบแผนของความคิด (Mental Model) 3. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) 4. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) 5. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

48. ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจอย่างเป็นระบบ คือ

(1) Woodrow Wilson

(2) Nicholas Henry

(3) Martin Landau

(4) Richard J. Stillman

(5) Thomas S. Kuhn

ตอบ 2 หน้า 46 – 48, 56 – 58, (คำบรรยาย) Nicholas Henry ได้ศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจอย่างเป็นระบบนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970 พบว่า พาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจจำแนกออกเป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้ พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์ พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

49. ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base)

(1) ภาษีโรงเรือน

(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(4) ภาษีล้อเลื่อน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 217, (คำบรรยาย) การจำแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนำเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนำเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่าย ภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น 3. ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนำเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

50. “วัฒนธรรมองค์การ” มีผลต่อการควบคุมอย่างไร

(1) เป็นกลไกภายนอกที่กำกับการทำงานขององค์การ

(2) เป็นวิธีปฏิบัติงานขององค์การ

(3) เป็นกลยุทธ์ในการทำงาน

(4) เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตในองค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 202 วัฒนธรรมองค์การ คือ สภาพทางสังคมภายในองค์การที่เกิดจากการใช้ชีวิตร่วมกันภายในองค์การทำให้เกิดแบบแผนการใช้ชีวิต เช่น ลักษณะการใช้เวลาว่าง การพักผ่อนหย่อนใจ งานอดิเรก กลุ่มเพื่อน พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

51. “Good Governance” เป็นแนวคิดในการควบคุมแบบใด

(1) ควบคุมผลลัพธ์

(2) ควบคุมด้วยกฎระเบียบ

(3) ควบคุมด้วยนโยบาย

(4) ควบคุมด้วยประชาชน

(5) ควบคุมผลผลิต

ตอบ 4 หน้า 177, (คำบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นแนวคิดในการควบคุม และตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยราชการโดยพิจารณาไปที่การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยราชการ ความโปร่งใสในการให้บริการ ตลอดจนผลระยะยาวที่เกิด ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

52. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทำ เช่น การบริการสาธารณะ

(1) Ira Sharkansky

(2) William Greenwood

(3) Carl J. Friedrich

(4) Theodore Lowi

(5) David Easton

ตอบ 1 หน้า 74 Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาล กระทำ เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น

53. ประเทศแรกที่มีการริเริ่มให้มีการปฏิรูประบบราชการด้วย New Public Management ได้แก่

(1) จีน

(2) ฝรั่งเศส

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) อังกฤษ

ตอบ 5 หน้า 330 – 331, 356, 360 – 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูประบบราชการ ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ ก็ได้ถูกนำไปใช้ในการปฏิรูประบบราชการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

54. การที่หน่วยงานนำนโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

(1) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(2) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(3) การนำนโยบายไปปฏิบัติ

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การก่อตัวของนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 89 ขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย 1. การส่งต่อนโยบาย 2. การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ 3. การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย 4. การดำเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ 5. การจัดระบบสนับสนุน 6. การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

55. เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ให้ความสำคัญในเรื่องใดในการแก้ปัญหา

(1) ประสิทธิภาพ

(2) การกระจายอำนาจ

(3) การลดบทบาทภาครัฐ

(4) การขยายบทบาทภาครัฐ

(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 4 หน้า 328 – 329, 355 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) เน้นการขยาย บทบาทของภาครัฐ โดยต้องการให้รัฐเพิ่มการลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และ เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School) ที่ต้องการลดบทบาทและขนาดของ ภาครัฐ โดยใช้วิธีการจัดการแบบเอกชนที่เน้นการแข่งขัน

56. New Public Service ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

(2) การลดขั้นตอนการทํางาน

(3) สัมฤทธิผลของงาน

(4) สัมฤทธิผลของงานและประสิทธิภาพการทํางาน

(5) ประสิทธิภาพการทํางาน

ตอบ 1 หน้า 329 – 348, 356 – 357 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) มีแนวทางแตกต่างจากการบริการสาธารณะแนวใหม่/การบริการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Service : NPS) หรือการร่วมบริหารกิจการบ้านเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance Management) ซึ่งแต่ละแนวทางมีจุดเน้นที่ให้ความสําคัญ ดังนี้

1. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพของราชการ การลดขั้นตอน การทํางาน การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการ ที่เน้นการแข่งขันแบบภาคธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสําคัญกับ เทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อํานาจกับ ผู้บริหารเหมือนเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น

2. การบริการสาธารณะแนวใหม่ ให้ความสําคัญกับความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย มนุษยนิยม การสร้างเครือข่ายทางสังคม ประชาสังคม และชุมชน เป็นต้น

57. การสังเคราะห์วัสดุที่มีความทนทาน เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Nano Technology

(2) Material Technology

(3) Bio Technology

(4) Energy Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 292 การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีวัสดุสังเคราะห์ (Material Technology) เป็นการศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการผลิตสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้วัสดุปลอดสารพิษ เพื่อป้องกันการทําลายชั้นบรรยากาศ ของโลก หรือการสังเคราะห์วัสดุที่มีความทนทาน น้ําหนักเบา และสร้างความปลอดภัยให้แก่ ชีวิตและทรัพย์สิน เช่น เสื้อเกาะกันกระสุน พาหนะที่มีความแข็งแกร่งและปลอดภัยต่อชีวิต เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น

58. “ความเชื่อหลัก 5 ประการของอุดมการณ์การจัดการนิยม” เป็นข้อเสนอของใคร

(1) Frederick W. Taylor

(2) Osborne & Gaebler

(3) Thomas Jefferson

(4) Christopher Pollitt

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 336 Christopher Pollitt ได้เสนอความเชื่อหลัก 5 ประการของอุดมการณ์ การจัดการนิยม (Managerialism) ไว้ดังนี้

1. สังคมจะก้าวหน้าได้ต่อเมื่อมีการเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

2. การเพิ่มผลิตภาพจะต้องเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

3. การนําเทคโนโลยีมาใช้ให้บรรลุผลต้องเกิดจากบุคลากรที่มีอุดมการณ์ในการเพิ่มผลิตภาพ

4. การจัดการเป็นหน้าที่หนึ่งในองค์การที่แยกออกจากหน้าที่อื่น ๆ

5. ผู้จัดการจะต้องมีอํานาจและสิทธิในการจัดการ

59. องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์มาก

(2) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน

(3) มีสายการบังคับบัญชามาก

(4) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานแบบเครือข่าย

(5) มีการตัดสินใจน้อย

ตอบ 4 หน้า 133 องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
2 ช่วงการควบคุมกว้าง
3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย
5 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย
6 มีความเป็นทางการน้อย
7 กระจายอำนาจในการบริหารและตัดสินใจ

60. หนังสือที่สำคัญกล่าวถึงหน้าที่ทางการเมืองกับการบริหารของรัฐบาล คือ

(1) Introduction to the Study of Public Administration

(2) Principles of Public Administration

(3) The Study of Administration

(4) Politics and Administration

(5) American Political Science Review

ตอบ 4 หน้า 47 Frank J. Goodnow ได้เขียนหนังสือชื่อ “Politics and Administration” (1900) โดยแสดงความเห็นว่า รัฐบาลมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ คือ
1 หน้าที่ทางการเมือง ได้แก่ การกำหนดนโยบายหรือการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ
2 หน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การนำนโยบายหรือเจตนารมณ์ของรัฐไปปฏิบัติ

61. ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วนของ Woodrow Wilson คือ

(1) Nicholas Henry

(2) Herbert A. Simon

(3) Frank J. Goodnow

(4) Leonard D. White

(5) Martin Landau

ตอบ 3, 4 หน้า 47, (คำบรรยาย) นักวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วนของ Woodrow Wilson มี 2 คน คือ
1 Frank J. Goodnow
2 Leonard D. White

62. ปัจจัยสภาพแวดล้อมของการบริหารงานบุคคลภาครัฐตามกรอบแนวคิดของ McKinsey 7s ประกอบด้วย

(1) Strategy, Shared Value, Structure, System, Staffing, Style, Skill

(2) Strategy, Shared Value, Structure, System, Setting, Style, Skill

(3) Strategy, Shared Value, Structure, System, Social, Style, Skill

(4) Strategy, Shared Value, Structure, System, Satisfy, Style, Skill

(5) Strategy, Shared Value, Structure, System, Solution, Style, Skitt

ตอบ 1 หน้า 154 กรอบแนวคิด 7s ของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย Strategy (กลยุทธ์), Shared Value (วิสัยทัศน์ร่วม), Structure (โครงสร้าง), System (ระบบงาน), Staffing (การจัดบุคลากร), Style (ท่วงทำนองการบริหาร) และ Skill (ทักษะ) ซึ่ง 5 ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับเรื่องบุคลากรมี 3s คือ Staffing, Style และ Skill

63. ข้อใดเป็นเรื่องของ New Public Service**

(1) Neo-Taylorism Management

(2) CEO Management

(3) Entrepreneurial Management

(4) Market-Based Management

(5) Democratic Governance Management

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

64. ความเป็นทางการ (Formalization) มีผลดีต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์การ คือ**

(1) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีคุณภาพ

(2) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

(3) ทำงานได้สม่ำเสมอ เป็นมาตรฐานเดียวกัน

(4) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเกิดความสามัคคี

(5) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเกิดการพัฒนา

ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการ (Formalization) หมายถึง ระดับของความมีมาตรฐานของงาน ภายในองค์การและการกำหนดกฎระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
ดังนั้นความเป็นทางการจึงมีผลดีต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์การ เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

65. ภาวะเงินฝืด คนว่างงาน รัฐบาลควรมีนโยบายงบประมาณและนโยบายการเงินอย่างไร**

(1) สมดุล ดอกเบี้ยสูง

(2) เกินดุล ดอกเบี้ยสูง

(3) เกินดุล ดอกเบี้ยต่ำ

(4) ขาดดุล ดอกเบี้ยต่ำ

(5) ขาดดุล ดอกเบี้ยสูง

ตอบ 4 หน้า 236, (คำบรรยาย) งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) คือ การจัดทำงบประมาณ ที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้น้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการจ้างงาน ซึ่งการจัดทำงบประมาณขาดดุลนี้จะใช้ร่วมกับ นโยบายการเงินแบบดอกเบี้ยต่ำ โดยมักจะนำไปใช้ในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เงินฝืด คนว่างงาน รวมทั้งในกรณีที่เกิดโรคระบาดโควิด 19

66. ใครเสนอว่านโยบายสาธารณะเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงานของหน่วยงาน**

(1) Theodore Lowi

(2) Ira Sharkansky

(3) Cart J. Friedrich

(4) William Greenwood

(5) David Easton

ตอบ 4 หน้า 73 William Greenwood กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้น ของรัฐบาลเพื่อวางแนวทางกว้าง ๆ สำหรับเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงานของหน่วยงาน ไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

67. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ตามหนังสือ**

(1) เครื่องจักร

(2) โปรแกรม

(3) ข้อมูล

(4) บุคลากร

(5) เป็นส่วนประกอบทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 297 – 301, (คำบรรยาย) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง กลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเชื่อถือได้ โดยระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ หรือส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1. เครื่องจักรและอุปกรณ์ (Hardware)
2. โปรแกรมหรือคำสั่งงาน (Software)
3. บุคลากร (Peopleware)

68. ระบบงบประมาณแบบใดที่ให้ความสำคัญที่ “ต้นทุนต่อหน่วย”

(1) Line-Item Budget

(2) Zero-Based Budget

(3) PPBS

(4) Performance Budget

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 229, 237 งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ให้ความสำคัญกับการประเมินผลงานและการคิดต้นทุนต่อหน่วย จึงเป็นงบประมาณที่อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายและผลสำเร็จของงานเป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลงานจากการปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปโดยประสิทธิภาพสูงสุด

69. คำว่า PEST หรือ STEP หมายถึง

(1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ

(2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีอิทธิพลต่อองค์การ

(3) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อองค์การ

(4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

(5) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การ

ตอบ 2 หน้า 155 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หมายถึง ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีอิทธิพลต่อองค์การ ซึ่งประกอบด้วย สภาพการเมือง (Political) เศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) และเทคโนโลยี (Technology) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP

70. การจับจ่ายสินค้าทั่วโลกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่าอะไร

(1) E-Commerce

(2) E-Government

(3) E-Education

(4) E-Logistic

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 305, (คำบรรยาย) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบซึ่งครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีช่องทางในการทำธุรกรรมร่วมกันมากขึ้น

71. ข้อใดเป็นคุณค่าหลักในการบริหารรัฐกิจตามหนังสือ ยกเว้น

(1) เน้นการขยายบทบาทภาครัฐ

(2) เน้นการลดบทบาทภาครัฐ

(3) เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี

(4) เน้นความเป็นประชาธิปไตย

(5) เน้นประสิทธิภาพภาครัฐ

ตอบ 3 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในการบริหารรัฐกิจ มีดังนี้
1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)
2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)

72. เงื่อนไขสําคัญของทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์ ได้แก่

(1) ขนาดขององค์การ

(2) โครงสร้างองค์การ

(3) โครงสร้างองค์การสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน

(4) เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน

(5) สภาพแวดล้อมขององค์การ

ตอบ 3 หน้า 134 – 135, 138 ทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาว่าองค์การรูปแบบใดจะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์มากที่สุด โดยพิจารณาเงื่อนไขของปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกัน เพื่อที่จะแสวงหารูปแบบองค์การที่ดี ทั้งนี้การออกแบบโครงสร้างองค์การที่มีประสิทธิผลควรสอดคล้องกับเงื่อนไขที่สําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างองค์การต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และระบบย่อยภายในองค์การ

73. การนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Material Technology

(2) Nano Technology

(3) Energy Technology

(4) Bio Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 293 – 294, (คําบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นการนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทําให้เกิดระบบการสื่อสารข้อมูลและข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก และประหยัด เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลจากต่างประเทศ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล เป็นต้น

74. “คนไทยใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร” จัดเป็นประเพณีแบบใด

(1) จารีตประเพณี

(2) กฎศีลธรรม

(3) ธรรมเนียมประเพณี

(4) ขนบประเพณี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 268 – 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว การเคารพผู้อาวุโส เป็นต้น
2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น
3 ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ําจากแก้ว การใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคํานับ คนไทยไหว้ เป็นต้น

75. การสอบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) E-Logistic

(2) E-Government

(3) E-Education

(4) E-Commerce

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 306, (คําบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จําเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในสถาบันการศึกษา ตัวอย่างของการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน เช่น การเรียนผ่านระบบ Online หรือการสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น

76 “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ในสุญญากาศจําเป็นต้องเกี่ยวพันกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ” เป็นคํากล่าวของใคร

(1) Fred W. Riggs

(2) Richard L. Daft

(3) Dwight Waldo

(4) Stephen P. Robbins

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 255 Dwight Waldo กล่าวว่า “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ ในสุญญากาศจําเป็นต้องเกี่ยวพันกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ”

77 “การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐ” ได้รับอิทธิพลจากอุดมการณ์ใด

(1) Keynesian School

(2) Thomas Jefferson

(3) Neo-Liberalism a Keynesian School

(4) Neo-Liberalism

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55. และ 71. ประกอบ

78 ศาลไทยแบ่งเป็นประเภท

(1) 2 ประเภท

(2) 3 ประเภท

(3) 4 ประเภท

(4) 5 ประเภท

(5) 6 ประเภท

ตอบ 3 หน้า 186 – 187 ตามรัฐธรรมนูญศาลไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ ทําหน้าที่พิจารณาความขัดแย้งระหว่างกฎหมายต่าง ๆ กับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 ศาลยุติธรรม ทําหน้าที่พิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรณีต่าง ๆ
3 ศาลปกครอง ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
4 ศาลทหาร ทําหน้าที่พิจารณาคดีอาญาทหาร และคดีทหารอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด

79 ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

(1) Carl J. Friedrich

(2) Theodore Lowi

(3) David Easton

(4) Ira Sharkansky

(5) William Greenwood

ตอบ 2 หน้า 76, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตาม เนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)

80 ตัวอย่างภาษีที่เก็บจากฐานเงินได้

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีสรรพสามิต

(3) ภาษีบํารุงท้องที่

(4) ภาษีมรดก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

81 การศึกษาปฏิกิริยาเคมีของกัมมันตภาพรังสี เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Bio Technology

(2) Material Technology

(3) Energy Technology

(4) Nano Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 292, (คําบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology) เป็น การพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาติที่อยู่ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อนํามาทดแทนทรัพยากรเชื้อเพลิง ที่นับวันจะหมดสิ้นไป ซึ่งพลังงานทดแทนอาจได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ํา คลื่นในมหาสมุทร ทรัพยากรใต้น้ํา ปฏิกิริยาทางเคมีของสารกัมมันตภาพรังสี รวมถึง สารให้พลังงานอื่น ๆ จากพืชและสัตว์ การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเหล่านี้ให้เป็นพลังงานในรูปแบบ ที่ต้องการจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ เช่น การใช้กังหันลม (Wind Mill) ในการแปลง พลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า การใช้โซล่าเซลล์ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน ไฟฟ้า เป็นต้น

82. สภาพแวดล้อมเฉพาะสําหรับองค์การหนึ่ง ๆ ของรัฐ

(1) การศึกษาของประชาชน

(2) ค่านิยมทางสังคม

(3) วัตถุดิบ

(4) ภาวะดอกเบี้ย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 260 – 280, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐเป็นสิ่งที่ควบคุม ได้น้อยมากและมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ การบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ
2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ โดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

83. สายการบังคับบัญชา คืออะไร

(1) การกําหนดจํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) การกําหนดอํานาจการตัดสินใจในองค์การ

(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่ลดหลั่นจากระดับสูงมายังระดับล่าง

(4) การจัดแบ่งงานในองค์การ

(5) ความมีมาตรฐานของงาน

ตอบ 3 หน้า 120 สายการบังคับบัญชา (Chain of Cornmand) หมายถึง สายการกําหนดอํานาจหน้าที่ ที่ลดหลั่นกันลงมาจากระดับสูงลงมายังระดับล่าง และกําหนดการรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยสายการบังคับบัญชาจะชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะขึ้นตรงต่อใคร หรือจะต้องรายงาน ต่อใคร การจัดสายการบังคับบัญชาจึงมีความเกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนในองค์การ รวมถึงเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

84. ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต ที่เรียกว่า PEST หรือ STEP ประกอบด้วย

(1) สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม

(2) สภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และประชาชน

(3) สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

(4) สภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และระบบ

(5) สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้าง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

85. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการจัดองค์การในความหมายของ Stephen Robbins and Mary Coulter

(1) เพื่อให้มีการแบ่งภารกิจและงานที่ต้องปฏิบัติ

(2) เพื่อให้เกิดการประสานงานภายในองค์การ

(3) เพื่อกําหนดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการของบุคคล

(4) เพื่อการวางแผนงานในองค์การ

(5) เพื่อมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคล

ตอบ 4 หน้า 115 วัตถุประสงค์ของการจัดองค์การตามแนวคิดของ Stephen Robbins and Mary Coutter มีดังนี้
1 เพื่อให้มีการแบ่งภารกิจและงานที่ต้องปฏิบัติ
2 เพื่อมอบหมายภารกิจและความรับผิดชอบของบุคคลและแผนกงานทั้งองค์การ
3 เพื่อให้เกิดการประสานงานภายในองค์การ
4 เพื่อจัดกลุ่มบุคคลที่อยู่ในแผนกงาน และจัดกลุ่มแผนกงานภายในองค์การ
5 เพื่อกําหนดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่าง บุคคล กลุ่ม และแผนกงาน
6 เพื่อกําหนดระดับอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ ลําดับชั้น ของการบังคับบัญชาและการควบคุม
7 เพื่อจัดสรรและแบ่งทรัพยากรในองค์การ

86. งบประมาณ “ขาดดุล” เป็นสิ่งจําเป็นในสถานการณ์ใด

(1) เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

(2) เกิดโรคระบาดโควิด 19

(3) สังคมมีความเหลื่อมล้ําสูง

(4) รัฐเก็บภาษีอากรได้มาก

(5) เงินคงคลังมีมาก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

87. การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การประเมินผลนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การก่อตัวของนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การเตรียมและเสนอนโยบาย

ตอบ 5 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย
1 การกําหนดวัตถุประสงค์
2 การกําหนดทางเลือก
3 การจัดทําร่างนโยบาย

88. “พิธีการไหว้ครู” จัดเป็นประเพณีประเภทใด

(1) ขนบประเพณี

(2) องค์พิธีการ

(3) จารีตประเพณี

(4) ธรรมเนียมประเพณี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 คําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

89. ในปี ค.ศ. 1976 เกิดวิกฤติในวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งที่สอง เกี่ยวกับเรื่องอะไร

(1) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจภายในองค์การ

(2) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักเกณฑ์ที่เป็นสากล

(3) หลักการบริหารประสบกับปัญหาข้อจํากัดของความมีเหตุผลของบุคคลแต่ละคน

(4) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นหัวใจของการศึกษา

(5) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

90. ช่วงของการควบคุม (Span of Control) ในทางทฤษฎีกําหนดให้ผู้บังคับบัญชาควรมีผู้ใต้บังคับบัญชาในความรับผิดชอบกี่คน

(1) 20 คน

(2) 10 คน

(3) 25 คน

(4) 5 คน

(5) 15 คน

ตอบ 2 หน้า 120, (คำบรรยาย) ช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management) หมายถึง การกำหนดจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาแต่ละคน ซึ่งในทางทฤษฎี กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งควรมีผู้ใต้บังคับบัญชาในความรับผิดชอบ 10 คน จึงจะเหมาะสมและผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง

91. เกิดวิกฤติในวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งแรกในปี

(1) ค.ศ. 1938

(2) ค.ศ. 1940

(3) ค.ศ. 1947

(4) ค.ศ. 1946

(5) ค.ศ. 1950

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ (หมายเหตุ: อาจมีข้อผิดพลาดในการอ้างอิงถึงข้อ 6 ในเอกสารต้นฉบับ)

92. องค์กรใดทำหน้าที่ “รับเรื่องราวร้องทุกข์” จากการกระทำของรัฐบาล

(1) ศาลปกครอง

(2) สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(3) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) องค์กรอัยการ

(5) ศาลยุติธรรม

ตอบ 3 หน้า 189, 206 ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นองค์การที่ทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณีที่ภาครัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม

93. การควบคุมด้วยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ บทบาทของ

(1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(2) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(3) สำนักงบประมาณ

(4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 186, 189 – 190, (คำบรรยาย) องค์กรอิสระ รัฐธรรมนูญที่มีบทบาทในการควบคุม และตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยราชการ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น

94. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย

(1) Theodore Lowi

(2) William Greenwood

(3) Ira Sharkansky

(4) David Easton

(5) Cart J. Friedrich

ตอบ 4 หน้า 74 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

95. การที่รัฐบาลให้บริการประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่าอะไร

(1) E-Education

(2) E-Logistic

(3) E-Commerce

(4) E-Government

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 305, (คำบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การที่รัฐบาลนำระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในองค์การภาครัฐเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ในการติดต่อราชการ การชำระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทำหนังสือเดินทาง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

96. ผลงานเขียนที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจ คือ

(1) Principles of Organization

(2) Papers on the Science of Administration

(3) Principle of Public Administration

(4) Creative Experience

(5) Science of Administration

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2 : หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “สุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจ” นั่นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB

97. ผู้เขียน “Reinventing Government” ได้แก่

(1) Frederick W. Taylor

(2) Christopher Pollitt

(3) Osborne & Gaebler

(4) Thomas Jefferson

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 331, 338 – 339 Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐด้วยแนวทาง และอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อน โดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นําแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น

98. “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” วัดโดย

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) GDP

(3) อัตราการออม

(4) รายได้เปรียบเทียบ

(5) ประสิทธิภาพการผลิต

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

99. วิพากษ์วิจารณ์ว่าการบริหารงานให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการเขียนรัฐธรรมนูญ

(1) New Public Management

(2) Margaret Thatcher

(3) Woodrow Wilson

(4) Franklin D. Roosevelt

(5) การบริหารแบบ CEO หรือ Chief Executive Officer

ตอบ 3 หน้า 327 จากปัญหาการเมืองการปกครองของสหรัฐอเมริกาในยุคแรก ๆ ที่มีการสร้างบ้าน แปลงเมือง ทําให้ Woodrow Wilson ได้ออกมาโต้แย้งพวกนักรัฐศาสตร์ว่าสนใจแต่ปัญหา รัฐธรรมนูญ แต่ละเลยปัญหาการบริหารหน่วยงานของรัฐ และวิพากษ์วิจารณ์ว่าการบริหารงาน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการเขียนรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ใช้หลักการ บริหารของภาคเอกชนในการบริหารราชการ เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐมีประสิทธิภาพ เหมือนภาคเอกชน

100. นักวิชาการโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นผู้วางรากฐานการเมืองและมีอิทธิพลต่อ แนวคิดหลักในการบริหารรัฐกิจของประเทศอะไร

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) เยอรมนี

(4) ฝรั่งเศส

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ s/2566

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. “XXX คือคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่นักวิจัยสนใจศึกษา โดย XXX 1 ตัวจะมีค่ามากกว่า 1 ค่า” ค่า XXX ในที่นี้หมายถึงอะไร

(1) Variable

(2) Population

(3) Sample

(4) Distribution

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 40, (คำบรรยาย) ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่นักวิจัยสนใจศึกษา โดยตัวแปร 1 ตัวจะมีค่ามากกว่า 1 ค่า เช่น ตัวแปรเพศ มีค่า 2 ค่า คือ เพศชาย และเพศหญิง, ตัวแปรระดับความเครียดในการปฏิบัติงานมี 5 ค่า คือ มากอย่างยิ่ง มาก ปานกลาง น้อย น้อยอย่างยิ่ง เป็นต้น

2. “ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา” เรียกว่าตัวแปรใด

(1) ตัวแปรกด

(2) ตัวแปรองค์ประกอบ

(3) ตัวแปรหลัก

(4) ตัวแปรบิดเบือน

(5) ตัวแปรควบคุม

ตอบ 3 คำบรรยาย: หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรหลัก (Main Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ธรรมาภิบาล ความเครียดในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น

3. ข้อใดเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ

(1) รายได้

(2) จำนวนบุตร

(3) คะแนนสอบ

(4) อาชีพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 คำบรรยาย: หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรเชิงคุณภาพหรือตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Variable) หมายถึง ตัวแปรที่วัดในลักษณะการจัดประเภท เช่น ตัวแปรศาสนา (จัดกลุ่มได้เป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม อื่น ๆ), ตัวแปรเพศ (จัดกลุ่มได้เป็นเพศชาย กับเพศหญิง), ตัวแปรอาชีพ (จัดกลุ่มได้เป็นอาชีพรับราชการ พนักงานเอกชน อื่น ๆ) เป็นต้น

4. ข้อใดเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ

(1) สีผิว

(2) ศาสนา

(3) ภูมิลำเนา

(4) สถานภาพ

(5) ส่วนสูง

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variable) หมายถึง ตัวแปรที่วัดออกมาในลักษณะเชิงตัวเลข โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1 ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable) คือ ตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดออกมาเป็นทศนิยมได้ เช่น รายได้ ส่วนสูง น้ำหนัก อุณหภูมิ คะแนนสอบ เป็นต้น
2 ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (Concrete Variable) คือ ตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดออกมาเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนนักศึกษา จำนวนบุตร จำนวนบุคลากร จำนวนรถยนต์ เป็นต้น

➲ จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 5 – 15. ว่าตัวแปรแต่ละข้อต่ำบนี้มีระดับการวัดอยู่ในระดับใด

(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่ใช่ตัวแปร

5. คะแนนสอบวิชา POL 4100
☐ 0 – 19 คะแนน
☐ 20 – 39 คะแนน
☐ 40 – 59 คะแนน
☐ 60 – 79 คะแนน
☐ 80 – 100 คะแนน

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 (คำบรรยาย) การวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และสามารถจัดอันดับด้วยความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ดีเลิศ หรือสัญลักษณ์แสดงไม่มีผลต่อค่ารวมคะแนน แต่บ่งบอกความสำคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับคะแนนสอบ ระดับการศึกษา ขนาดโรงเรียน ระดับชั้นนักเรียน ระดับคุณภูมิ ระดับจำนวนบุคลากรในองค์กร ตำแหน่ง ทางวิชาการ อันดับการแข่งขัน อันดับคณะรัฐศาสตร์ยอดเยี่ยม เป็นต้น

6. ระดับความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100
☐ มากอย่างยิ่ง
☐ มาก
☐ ปานกลาง
☐ น้อย
☐ น้อยอย่างยิ่ง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7. ความสูงของเด็กนักเรียน …. เซนติเมตร
ตอบ 4 หน้า 43 – 45 (คำบรรยาย) : การวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่ละเอียดที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ มีค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่างเท่า ๆ กัน และมีจุดเริ่มต้นจากศูนย์ (0) หรือมีศูนย์แท้ เช่น จำนวนบุคลากร ……. คน, จำนวนบุตร …… คน, ประสบการณ์ทำงาน …. ปี, อายุ …… ปี, จำนวนผู้สูญเสียจากภัย …… คน, จำนวนยานพาหนะ …… คัน, รายได้ …… บาท/เดือน, จำนวนหนังสือในบ้าน …… เล่ม, ความเร็วในการรับรอบเสียง …… กิโลเมตร/ชั่วโมง, น้ำหนัก ……. กิโลกรัม, ความสูง …. เซนติเมตร, เป็นต้น

8. ภูมิลำเนา
☐ กรุงเทพฯ
☐ ต่างจังหวัด

ตอบ 1 หน้า 42 – 45 (คำบรรยาย) การวัดแบบนามบัญญัติหรือนามบัญญัติประเภท (Nominal Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่เบื้องต้นที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ ทั้งนี้การจัดเป็นกลุ่มดังกล่าวจะเป็นเพียงการจำแนกหรือแยกประเภทเท่านั้น เช่น การเลือกตั้งมีการจัดแบ่งเป็นสาขารายเขตได้ว่าคุณอยู่ในเขต กทม. หรือไม่สามารถเรียงลำดับค่าได้ และไม่สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น เพศ ศาสนา สถานภาพ ภูมิลำเนา จัดตั้งพรรคในการสาขาพรรค หมู่โลหิต ประเภทอาคารมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น

9. ความเร็วในการรับรอบเสียง ……. กิโลเมตร/ชั่วโมง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

10. การเข้าร่วมโครงการ
☐ เข้าร่วม
☐ ไม่เข้าร่วม
☐ ยังไม่ได้ตัดสินใจ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

11 คะแนนความชื่นชอบต่อภาพยนตร์หลานม่า……..คะแนน

ตอบ 3 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบช่วง (Interval Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ สามารถบอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และมีค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่าง เท่า ๆ กัน แต่จะไม่มีศูนย์แท้ ดังนั้นตัวเลขศูนย์ (0) จะเป็นเพียงศูนย์สมมติหรือศูนย์เทียม เช่น คะแนนสอบวิชา POL 4100 …….คะแนน, ความพึงพอใจในการเรียน……คะแนน อุณหภูมิ……………เซลเซียส, คะแนนความชื่นชอบต่อภาพยนตร์หลานม่า …….. คะแนน, ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

12 จำนวนขยะ…..ตัน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

13 อันดับคณะรัฐศาสตร์ยอดนิยมที่คนนึกถึงมาก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

14 คะแนนความพึงพอใจในการเรียนคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง……คะแนน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

15 จำนวนหนังสือในบ้าน…..เล่ม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

16. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่หยาบที่สุด
(1) สถานภาพ
(2) คะแนนสอบ
(3) อุณหภูมิ
(4) คะแนนความเครียด
(5) จำนวนบุตร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

17. ตัวแปรใดมีระดับการวัดที่ละเอียดที่สุด
(1) ศาสนา
(2) คะแนนสอบ
(3) อายุ
(4) สถานภาพ
(5) สัญชาติ
ตอบ: 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

18. ข้อใดกล่าวผิด
(1) การวิจัยเชิงปริมาณ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Quantitative Research
(2) การวิจัยเชิงปริมาณมีลักษณะของข้อมูลที่ใช้ วัดออกมาเป็นตัวเลข
(3) การวิจัยเชิงปริมาณมีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)
(4) การวิจัยเชิงปริมาณสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวแปรได้
(5) การวิจัยเชิงปริมาณไม่จำเป็นต้องทำการศึกษาในเอกสารที่บันทึกไว้
ตอบ: 5

ข้อ 19. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาที่พบบ่อยจากแบบสอบถามโดยใช้คำถามปลายเปิด
(1) เขียนตอบในลักษณะที่สั้นเกินไป
(2) ประหยัดเวลาในการสรุปประเด็น
(3) ผู้ตอบเขียนเชิงเสียดสีหรือตำหนิ
(4) ผู้ตอบอิสระในการตอบ
(5) ผู้ตอบเกิดความเขินอายในการกล่าวถึงเนื้อหาบางส่วน

ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) ข้อดีของการสร้างแบบสอบถามโดยใช้คําถามปลายปิด ได้แก่
1. ประหยัดเวลาในการสรุปประเด็น และการทํารหัส
2. ผู้ตอบไม่ต้องเสียเวลาคิดหาคําตอบ เพราะได้สร้างตัวเลือกของคําตอบไว้ให้แล้ว
3. ผู้ตอบจะมีหน้าที่เพียงทําเครื่องหมายลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นหรือความเป็นจริง ในประเด็นนั้น ๆ เพราะเป็นลักษณะของคําถามที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบตอบโดยอิสระ
4. ผู้ตอบเกิดความสบายใจมากกว่าการสัมภาษณ์ เพราะไม่ต้องกังวลใจว่าผู้อื่นจะรู้ตัวตนว่า ใครเป็นผู้ให้ข้อมูล เป็นต้น

20. การตั้งคําถามว่า “ท่านต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงหรือไม่” และมีตัวเลือก ให้ตอบ 2 รายการคือ 1) [ ต้องการ 2) ไม่ต้องการ เป็นลักษณะของคําถามแบบใด

(1) Rank Priority Question

(2) Check-List Question

(3) Multiple Choice Question

(4) Multi-Response Question

(5) Rating Scale Question

ตอบ 2 หน้า 47 – 48, (คําบรรยาย) คําถามที่ให้เลือกตอบเพียงคําตอบเดียวจากตัวเลือก 2 ตัว (Check-List Question) เป็นประเภทหนึ่งของข้อคําถามปลายปิด ซึ่งเป็นการวัดทัศนคติ โดยมีตัวเลือกให้ตอบ 2 รายการ เพื่อให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น ตัวอย่างเช่น ข้อคําถามใน แบบสอบถามว่า “ท่านต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงหรือไม่” (โดยมีตัวเลือกคือ ต้องการ หรือไม่ต้องการ), ข้อคําถามในแบบสอบถามว่า “ท่านเห็นด้วยกับ การทําให้หนังโป๊ถูกกฎหมายหรือไม่” (โดยมีตัวเลือกคือ เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย) เป็นต้น

21. ข้อใดไม่ใช่ข้อจํากัดของการใช้แบบสอบถาม

(1) อัตราการตอบกลับมักต่ํา

(2) ไม่เหมาะกับผู้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

(3) สร้างได้ยากกว่าเครื่องมือวิจัยอื่น ๆ

(4) ยากในการติดตามทวงถามจากผู้ไม่ตอบ

(5) ผู้ตอบเกิดความกังวลใจว่าผู้อื่นจะรู้ตัวตนว่าใครเป็นผู้ให้ข้อมูล

ตอบ 5 หน้า 49 – 50, (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการส่งแบบสอบถาม มีดังนี้ 1. สร้างได้ยากกว่าเครื่องมือวิจัยอื่น ๆ เพราะต้องอาศัยความรู้ ความชํานาญ 2. กรณีที่มีจํานวนข้อคําถามมากจนใช้เวลาในการตอบนาน อาจทําให้ผู้ตอบไม่ตั้งใจตอบ 3. อัตราการตอบกลับแบบสอบถามมักจะต่ํา และยากในการติดตามทวงถามจากผู้ไม่ตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ 4. ไม่เหมาะสมกับผู้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะผู้ตอบจะต้องเป็นผู้อ่านและตอบคําถาม ด้วยตนเอง เป็นต้น

22. การนําแบบสอบถามไปหาค่า IOC นั้นเป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด

(1) Validity

(2) Reliability

(3) Discrimination

(4) Difficulty

(5) Sensitivity

ตอบ 1 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) เชิงเนื้อหา โดยทั่วไป จะใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งจํานวนที่ใช้ไม่ควรต่ํากว่า 3 คน ในการ พิจารณา โดยวิธีการหาค่านั้นสามารถกระทําได้หลายวิธี เช่น 1. การหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคําถาม (Index of Item Objective Congruence : IOC) 2. การหาอัตราส่วนความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคําถาม (Content Validity Ratio : CVR) 3. การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นต้น

23. ข้อใดหมายถึง “ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจําแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ

(1) Validity

(2) Reliability

(3) Discrimination

(4) Difficulty

(5) Sensitivity

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 66, อํานาจจําแนก (Discrimination) หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจําแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ โดยการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในประเด็นอํานาจจําแนกนี้ มักใช้ในกรณีแบบทดสอบ หรือแบบวัดทัศนคติ

24. จากตัวเลือกต่อไปนี้ข้อใดมีค่าความยากง่ายดีที่สุด

(1) P = 0.90

(2) P = 0.75

(3) P = 0.50

(4) P = 0.25

(5) P = 0.15

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 66, ความยากง่าย (Difficulty) นิยมใช้กับเครื่องมือวิจัยประเภทแบบทดสอบ โดยค่าความยากง่ายของข้อคําถามโดยทั่วไปนิยมคิดคํานวณเป็นค่าสัดส่วน (Proportion : P) ของจํานวนผู้ตอบถูกจากจํานวนผู้ตอบทั้งหมดในข้อคําถามนั้น ๆ โดย P จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 – 1.00 ถ้า P ที่คํานวณได้เข้าใกล้ 0 แสดงว่าข้อคําถามนั้นยากมาก, ถ้า P ที่คํานวณได้เข้าใกล้ 1 แสดงว่าข้อคําถามนั้นง่ายมาก แต่ถ้า P = 0.50 แสดงว่าข้อคําถามนั้นมีความยากง่ายดีที่สุด ซึ่งหมายความว่าข้อคําถามในแบบทดสอบนั้นมีความยากง่ายปานกลาง คือไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป

25. การนําแบบสอบถามไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง ในต่างช่วงเวลากัน เพื่อตรวจสอบดูความคงเส้นคงวาของคําตอบ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด

(1) Validity

(2) Reliability

(3) Discrimination

(4) Difficulty

(5) Sensitivity

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หน้า 65, ความเชื่อมั่นแบบคงที่ (Stability Reliability) คือ ความคงเส้นคงวาของเครื่องมือวิจัยเมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากัน กล่าวคือ เครื่องมือวิจัยที่มีความเชื่อมั่นแบบคงที่ก็คือ เครื่องมือวิจัยที่เมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากันกับผู้ตอบคนเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือฉบับเดิมแล้วได้คําตอบที่เหมือน ๆ เดิม เช่น วิธีการทดสอบ (Test-Retest Method) โดยนักวิจัยจะนําเครื่องมือวิจัย (แบบสอบถาม) ฉบับเดียวกันไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง แต่ต่างช่วงเวลากัน หากผู้ตอบคนใดไม่สามารถตอบได้ทั้ง 2 ครั้ง นักวิจัยต้องตัดผู้ตอบคนนั้นออกไปไม่นํามาใช้ในการคํานวณหาความเชื่อมั่น เป็นต้น

26. การหาค่า IOC ต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิขั้นต่ํากี่คนในการพิจารณา

(1) จํานวน 1 คน

(2) จํานวน 2 คน

(3) จํานวน 3 คน

(4) จํานวน 4 คน

(5) จํานวน 5 คน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

27. ข้อใดเป็นสถิติที่ใช้ในการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency)

(1) พิสัย

(2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

(3) ความแปรปรวน

(4) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

(5) การทดสอบไคสแควร์

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 71 – 76, สถิติพรรณนาหรือสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่าง ๆ ของข้อมูลจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาได้ โดยมิได้มุ่งสรุปอ้างอิงผลการศึกษาไปยังประชากร กล่าวคือ ผลการศึกษาที่ได้เป็นเรื่องเฉพาะของกลุ่มที่นักวิจัยทําการศึกษาเท่านั้น สําหรับสถิติที่ใช้บ่อยในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ เช่น ร้อยละ (Percentage), การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
(Measures of Central Tendency) ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) มัธยฐาน (Median) ฐานนิยม (Mode), การวัดการกระจาย (Measures of Variation) ได้แก่ พิสัย (Range) ความแปรปรวน (Variation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 28 – 33

(1) Arithmetic Mean

(2) Independent Sample T-test

(3) Chi-Square Test

(4) One-Way ANOVA

(5) Correlation

28. เป็นสถิติพรรณนา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. นักวิจัยต้องการทราบว่า ข้าราชการที่มีรายได้ต่างกัน (แบ่งเป็นรายได้น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้มาก) จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้

ตอบ 4 หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นสถิติที่คิดค้นโดย Sir Ronald A. Fisher เพื่อใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร ต่อมาภายหลังจึงได้นำไปใช้ในงานวิจัยด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะใช้ในการทดสอบนัยสำคัญว่าค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขึ้นไป มีความแตกต่างกันหรือไม่ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 3 กลุ่มขึ้นไป และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ การทดสอบว่าข้าราชการที่มีรายได้ต่างกัน (แบ่งเป็นรายได้น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้มาก) จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือไม่ เป็นต้น

30. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีเพศต่างกันจะมีความแตกต่างค่าเฉลี่ยความรู้ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้

ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คำบรรยาย) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test) เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 2 ชุด ที่สุ่มมาจากประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีเพศต่างกันจะมีความแตกต่างค่าเฉลี่ยความรู้ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่, การทดสอบว่านักศึกษาชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ เป็นต้น

31. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักศึกษาชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. นักวิจัยต้องการทราบว่า รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับคะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้

ตอบ 5 หน้า 83 – 84, (คําบรรยาย) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient หรือค่า r) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่มีระดับการวัด แบบช่วงหรือแบบอัตราส่วน โดย ” จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 นั่นคือ หาก ๆ มีค่าเข้าใกล้ – 1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางตรงกันข้าม หาก : มีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่หาก : มีค่าเข้าใกล้ +1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับคะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นความสัมพันธ์ระหว่างอายุงานกับคะแนนความผูกพันต่อองค์การ เป็นต้น

33. นักวิจัยต้องการทราบว่าประเภทของบุคลากรในองค์การมีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันต่อองค์การ (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) หรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้

ตอบ 3 หน้า 78, 82 – 83, (คําบรรยาย) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test) เป็นการทดสอบทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบตัวแปรเชิงคุณภาพที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติ หรือแบบเรียงลําดับ ทั้งนี้พึงตระหนักว่าการทดสอบดังกล่าวจะเป็นเพียงการบอกว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณี ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของบุคลากรในองค์การกับระดับความผูกพันต่อองค์การ (มากที่สุด มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด), ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับระดับความเครียดในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) เป็นต้น

34. หลัก 3R ในการทําวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) Research, Reproduce, Report

(2) Research, Reproduce, Reply

(3) Research, Report, Reply

(4) Research, Report, Reference

(5) Research, Reproduce, Reference

ตอบ 4 หน้า 90, (คําบรรยาย) หลัก 3R ในการทําวิจัย ประกอบด้วย
1 Research หมายถึง การลงมือทําวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2 Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทําวิจัย
3 Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นํามาใช้อย่างครบถ้วน

35. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนประกอบตอนท้ายในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ปกหลัก ปกใน ที่มาและความสําคัญของปัญหา

(2) กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ ภาคผนวก

(3) หน้าอนุมัติ บทคัดย่อ สารบัญ

(4) บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติย่อผู้วิจัย

(5) ปกหลัก กิตติกรรมประกาศ ทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 4 หน้า 91 – 92, 95, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนา มากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด และเป็นรายงานที่บอกรายละเอียดในการทําวิจัย อย่างครบถ้วน โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกหลัก, หน้าปกใน ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก หน้าอนุมัติ, บทคัดย่อภาษาไทย, บทคัดย่อภาษาอังกฤษ, หน้าประกาศคุณูปการหรือ กิตติกรรมประกาศ เป็นต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาจํานวน 5 บทหลัก
3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้วิจัย

36. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนประกอบของส่วนเนื้อเรื่องในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ปกหลัก ทบทวนวรรณกรรม ภาคผนวก

(2) ทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย หน้าอนุมัติ

(3) สารบัญ ระเบียบวิธีวิจัย สมมติฐาน

(4) ขอบเขตการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย อภิปรายผล

(5) กิตติกรรมประกาศ บทสรุป ภาคผนวก

ตอบ 4 หน้า 92 – 94, (คำบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้ บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

37. ดุษฎีนิพนธ์จัดว่าเป็นรายงานการวิจัยประเภทใด

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(5) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วิทยานิพนธ์ (Thesis) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) จัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยเรียบเรียงขึ้นอย่างละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผลตามขั้นตอน ระเบียบวิธีการวิจัย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต

38. รายงานประเภทใดมักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้า

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(5) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์

ตอบ 3 หน้า 76 – 77 บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มักมีความยาวอยู่ที่ ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงาน ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

39. ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ให้ระบุตัวย่อใด

(1) ม.ป.ม.

(2) ม.ม.ป.

(3) ม.ป.ป.

(4) ป.ป.ม.

(5) ป.ม.ม.

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ระบุตัวย่อ “ม.ป.ป.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาไทย) หรือ “n.d.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาต่างประเทศ) แต่หากเอกสารไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ระบุ “ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทที่” หรือ “ชื่อบทความ” แทน

40. ในการเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้างซ้ำ ในกรณีที่ยังไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่นให้ใช้คำว่าอะไร

(1) Ibid.

(2) Ibis.

(3) Idit.

(4) Ideal.

(5) Idot.

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้างซ้ำ ในกรณีอ้างอิงติดกัน และไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่น ให้ใช้คำว่า “เพิ่งอ้าง” หรือ “Ibid.” (มาจากภาษาละตินว่า Ibidem) หรือ ในกรณีอ้างอิงซ้ำไม่ติดกัน มีเชิงอรรถเล่มอื่นคั่น และไม่ได้อ้างถึงเลขหน้าเดิม ให้ใช้คำว่า “(เชิงอรรถ)” หรือ “Op.cit.” (มาจากภาษาละตินว่า Opere citato)

41. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 3 หน้า 11 (คำบรรยาย) วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคำตอบ หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ ตัวอย่างเช่น วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน เป็นต้น

42. ข้อใดต่อไปนี้คือชื่อของ “ประเภทรายการอ้างอิง” ในการศึกษาสังคมศาสตร์

(1) American Political Science Association

(2) American Psychological Association

(3) American Political Science Review

(4) British Companions of Law

(5) British Committee on the Theory of International Politics

ตอบ 2 หน้า 95 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงหลักฐาน เอกสาร และวรรณกรรมทั้งหมดที่ใช้ในการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ รวมถึงรายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย โดยจัดเรียงเป็นหมวดหมู่และเรียงลำดับตามตัวอักษรให้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบัน ประเภทหรือระบบการอ้างอิงที่ได้รับความนิยมในงานวิจัยหรืองานวิชาการในสายสังคมศาสตร์ ได้แก่ การอ้างอิงระบบเอพีเอ (American Psychological Association : APA) และการอ้างอิงระบบทราเบียน (Turabian)

43. คำว่า “American Psychological Association” (APA) สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) สารบัญ

(2) วิธีดำเนินการวิจัย

(3) วัตถุประสงค์

(4) บรรณานุกรม

(5) จิตวิทยาของผู้วิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. คำว่า “Appendix” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร

(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ

(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ

(4) เอกสารแสดงข้อมูลเชิงสถิติและผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS

(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 75, (คําบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) จะปรากฏในส่วนท้ายของ “รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์” เป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติมของรายงานการ วิจัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความจากฎหมายฉบับ เต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติ และผลการคํานวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น

45. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

(1) Sensible

(2) Measurable

(3) Attention

(4) Reasonable

(5) Time

ตอบ 3 หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทําได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคํานึงถึงระยะเวลาที่ เหมาะสม (Time : T)

46. “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกพรรคก้าวไกล” ข้อความดังกล่าว บอกถึงการกําหนดขอบเขตการวิจัยด้านใด

(1) เนื้อหา

(2) พื้นที่

(3) ระยะเวลา

(4) ประชากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 104 ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกําหนด ขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทําให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณ ของคลังข้อมูลจํานวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้น ขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ และเวลา ตัวอย่างเช่น “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกพรรคก้าวไกล” จะเห็นว่า ขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ บ้านเนื้อหาก็คือ กระบวนการตัดสินใจของประชาชน เป็นต้น

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคําถามข้อ 47. – 51. ว่าข้อความในโจทย์สอดคล้องกับเนื้อหาวิจัยบท

(1) บทที่ 1 (2) บทที่ 2 (3) บทที่ 3 (4) บทที่ 4 (5) บทที่ 5

47. เปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสําคัญของปัญหาในการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 92, 102 บทที่ 1 บทนํา (Introduction) ทําหน้าที่เสมือน “ม่าน ในโรงละคร” ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความสําคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึง ความสําคัญของปัญหาในการวิจัย อันจะนําไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย” (Research Design) ต่อไป ดังนั้นบทนําที่ดีและน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไปว่า งานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา เลือกวิธีการนําเสนอ และคลี่คลายไปในทิศทางใด

48. อธิบายให้ผู้อ่านทราบว่างานวิจัยเรื่องนั้นทําอย่างไร

ตอบ 3 หน้า 93, 108 บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) มีเป้าหมายหลักของเนื้อหาในส่วนนี้คือ เพื่ออธิบายให้ผู้อ่านได้ทราบว่า งานวิจัยเรื่องนั้นทําอย่างไร ผลการวิจัยและข้อสรุปที่ได้มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งมักปรากฏ ในงานวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบผสม อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือและการ ตรวจสอบเครื่องมือ วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงการประมวลผลและ การวิเคราะห์ข้อมูล

49. ทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้

ตอบ 2 หน้า 106, (คำบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกำลังศึกษามาทำการวิเคราะห์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

50. นำเสนอผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้

ตอบ 4 หน้า 94, (คำบรรยาย) บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำเสนอผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมมา โดยหลักการแล้วในส่วนนี้มักเดินเรื่องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้ ผู้วิจัยต้องนำเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่าผลการวิจัยนั้นตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์อย่างไร นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสามารถนำเสนอการแปลผล การตีความข้อมูล และการหาข้อสรุปของคำตอบตามปัญหาวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งในบางกรณีพบว่างานวิจัยในบางฉบับอาจมีการแยกบทที่ 4 ออกเป็นหลายบทตามจำนวนของวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในบทที่ 1 กรณีดังกล่าวนี้สามารถกระทำได้เช่นกัน

51. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในอนาคต

ตอบ 5 หน้า 94, (คำบรรยาย) บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะจากการวิจัย เป็นการนำเสนอความเรียงสรุปผลการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ โดยชี้ให้เห็นถึงผลการวิจัยอย่างชัดเจนว่าได้ข้อสรุปอย่างไร เป็นไปตามทฤษฎีหรือสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในอนาคตอย่างไร

52. “ในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่าความเป็นชายที่มีอำนาจนํานั้น จะมีลักษณะเฉพาะตัวตามแต่ละบริบท สถานที่ และช่วงเวลา ดังนั้นในอนาคตหากมีการเลือกศึกษาในบริบทที่จำเพาะเจาะจง เช่น การเลือกเฉพาะโฆษณารถยนต์นั่ง โฆษณารถเพื่อการเกษตร หรือสินค้าชนิดอื่น ๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ จะช่วยให้สามารถอภิปรายคุณลักษณะความเป็นชายที่ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น” ข้อความดังกล่าวเหมาะที่จะเขียนในส่วนใดของรายงานการวิจัย
1 ระเบียบวิธีวิจัย
2 สมมติฐานการวิจัย
3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4 หลักการหรือทฤษฎี
5 ข้อเสนอแนะ
ตอบ 5 หน้า 112, (คำบรรยาย) การเขียนข้อเสนอแนะ (Recommendations) เป็นพันธกิจของผู้วิจัยในการส่งเสริมให้เกิดการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติอันเป็นการสะท้อนให้ผู้อ่านได้เห็นว่า งานวิจัยนั้นมีความสมเหตุสมผลและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ในกรณีของงานวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมักคาดหวังว่า ผู้วิจัยสามารถให้ข้อเสนอแนะเพื่อนําไปสู่นโยบาย พฤติกรรม หรือการปรับปรุงสิ่งที่ศึกษาให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น “ในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่าความเป็นชายที่มีอำนาจนํานั้น จะมีลักษณะเฉพาะตัวตามแต่ละบริบท สถานที่และช่วงเวลา ดังนั้นในอนาคตหากมีการเลือกศึกษาในบริบทที่จำเพาะเจาะจง เช่น การเลือกเฉพาะโฆษณารถยนต์นั่ง โฆษณารถเพื่อการเกษตร หรือสินค้าชนิดอื่น ๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ จะช่วยให้สามารถอภิปรายคุณลักษณะความเป็นชายที่ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น” เป็นต้น

53 “การทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถ ควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น…”
สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

(2) สมมติฐานงานวิจัย

(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

(4) ข้อจํากัดของการวิจัย

(5) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 4 หน้า 105 ข้อจํากัดของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น

54 “นกทุกตัวบินได้ เพนกวินเป็นนก…..” จากการอนุมานแบบแบบนิรนัย ข้อใดสรุปถูกต้อง

(1) เพนกวินบินไม่ได้

(2) เพนกวินบินได้

(3) เพนกวินไม่ใช่นก

(4) นกบางชนิดบินไม่ได้

(5) เพนกวินเป็นนก

ตอบ 2 หน้า 110, (คําบรรยาย) การนําเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive) หมายถึง การนําเสนอข้อมูล จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น นกทุกตัวบินได้ เพนกวินเป็นนก เพนกวินบินได้ อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะกลัวแสงแดด, แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาเป็นคนรวย เป็นต้น

55 ข้อความใดเป็นการอนุมานโดยวิธีอุปนัย

(1) สิ่งมีชีวิตทุกตัวต้องตาย นกเป็นสิ่งมีชีวิต นกต้องตาย

(2) เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน

(3) นักศึกษาที่เข้าเรียนสอบผ่าน นางสาวปีเข้าเรียน นางสาวปีสอบผ่าน

(4) แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาเป็นคนรวย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 110, (คําบรรยาย) การนําเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive) หมายถึง การนําเสนอข้อมูล จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น มุซันเป็นอสูรที่แพ้แสงอาทิตย์ อสูรตนอื่น ๆ จึงมีโอกาส ที่จะแพ้แสงอาทิตย์, อเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน, นายแดง ชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน เป็นต้น

56 ข้อใดถูกต้อง

(1) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

(2) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(3) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือนขนมชั้น

(4) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ

(5) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องใส่อ้างอิง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคําถามข้อ 57. – 61. ว่าข้อความในโจทย์เป็นลักษณะของรายงานวิจัย ประเภทใด

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) รายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย

(5) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร

57. รายงานประเภทใดที่มีรายละเอียดการทําวิจัยครบถ้วน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

58. รายงานประเภทใดมีความยาวประมาณ 50 – 70 หน้า

ตอบ 2 หน้า 96, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดย่อส่วน ลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า

59. รายงานประเภทใดที่ใช้ระบบการอ้างอิงตามข้อกําหนดของแต่ละวารสาร

ตอบ 3 หน้า 96 – 97, 99, (คําบรรยาย) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มี รายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไป แล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกําหนดของแต่ละวารสาร กรณีของประเทศไทย ในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนี การอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ตัวอย่างเช่น 1. “วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง 2. “วารสารรัฐศาสตร์พิจาร” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น

60. รายงานประเภทใดเหมาะแก่การแนะนําหรือให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

ตอบ 5 หน้า 115 – 116, (คําบรรยาย) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นข้อความ โดยสรุปของรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด โดยจะมี เป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารซึ่งมีเวลาไม่มาก สามารถทําความเข้าใจงานวิจัยทั้งหมดเพื่อนําไปสู่ การตัดสินใจหรือการกําหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งเหมาะแก่การแนะนําธุรกิจ เป้าหมายหรือพันธกิจ และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

61. รายงานประเภทใดที่มักจะระบุถึงรายละเอียดของแผนงานวิจัย

ตอบ 5 หน้า 116 – 117, (คําบรรยาย) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร มักจะระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ โครงการวิจัยและ/หรือแผนงานวิจัย ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ ของการทําวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย

62. คําสําคัญ (Key words) ที่ใส่ในบทคัดย่อควรมีกี่คํา

ตอบ 2 หน้า หน้า 114 – 115, (คําบรรยาย) บทคัดย่อ (Abstract) มีหน้าที่สําคัญในการทําให้ผู้อ่านวิจัย หรือบทความสามารถทําความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่สั้น กะทัดรัด แต่ครอบคลุมเนื้อหา ของรายงานการวิจัยทั้งหมด ซึ่งในบทคัดย่อควรจะมีคําสําคัญ (Key words) จํานวน 3 – 5 คํา และมีเนื้อหาของบทคัดย่อไม่ควรมีความยาวเกิน 200 คํา หรือประมาณ 3% ของเนื้อเรื่อง

63. งานวิจัยของบริษัทเครื่องสําอางที่ไม่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด ถือเป็นงานวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(3) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คำนึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัย สามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัย ประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด เช่น งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น

64. ข้อมูลใดที่ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องใส่ลงในโปสเตอร์

(1) ชื่อเรื่อง

(2) บทคัดย่อ

(3) วิธีดำเนินการวิจัย

(4) บรรณานุกรม

(5) ผลการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 123, (คำบรรยาย) องค์ประกอบของการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ประกอบด้วย เนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 บทคัดย่อ (Summary)
3 บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)
4 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย”
5 ผลการวิจัย (Research Results)

65. ข้อใดผิด

(1) ผู้วิจัยสามารถใส่อ้างอิงรูปภาพ หรือตารางในบทคัดย่อได้

(2) บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งถึงหนึ่งหน้ากระดาษ A4

(3) ผู้วิจัยสามารถเขียนบทคัดย่อได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(4) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำในบทคัดย่อ

(5) ไม่มีข้อใดผิด

ตอบ 1 หน้า 114 – 115, (คำบรรยาย) การเขียนบทคัดย่อ ควรมีลักษณะดังนี้
1 บทคัดย่อสามารถทำได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2 เนื้อหาในบทคัดย่อไม่ควรนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
3 บทคัดย่อไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตารางใด ๆ
4 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อ
5 บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งหน้ากระดาษ A4 (กรณีของบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร) ถึง 1 หน้ากระดาษ A4 (กรณีของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) เป็นต้น

66. การคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Hypothesis

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Reporting

(5) Problem Statement

ตอบ 1 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ได้แก่
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิด ความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับ เนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถกำหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคำถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด

67. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Hypothesis

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Reporting

(5) Problem Statement

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรายงานการวิจัย

(1) เป็นวรรณกรรมเพื่อประโยชน์ในเชิงสันทนาการ

(2) ส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์

(3) เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นมีผู้ศึกษาอยู่แล้ว

(4) แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ

(5) เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามีข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

ตอบ 1 หน้า 89 – 90, (คำบรรยาย) ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
2 ส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทำวิจัยแล้วมีคนเพียงจำนวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
4 แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ

69. การสังเกตและระบุปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Hypothesis

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Reporting

(5) Problem Statement

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

70. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Recycle

(2) Responsibility

(3) Research

(4) Representative

(5) Resolution

ตอบ 3 หน้า 2, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ โดยอยู่บนพื้นฐานของวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยม ออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และยังมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และ การอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทํานาย (Predictive)

71 Positivism มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด

(1) ยุคสถาบันนิยม

(2) ยุคคลาสสิก

(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์

(4) ยุคเปลี่ยนผ่าน

(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมี ลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทํานายพฤติกรรมทาง การเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทํานาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์ การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทาง การเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น

72. “Political Science” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Post Behavioral Period

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

73. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) ความคิดทางการเมือง

(2) ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม

(3) ปรัชญาการเมือง

(4) วัฒนธรรมทางการเมือง

(5) ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

74. นายภูมิธรรมทําวิจัยเรื่องนโยบาย รับจํานําข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยทําการสืบค้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายรับจํานําข้าว ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การออกแบบการวิจัย

(5) การกําหนดปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 14 – 16, (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1. การกําหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทํา ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคําถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคําตอบ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนําไปสู่การทําวิจัย
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาคําตอบ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน เมื่อออกแบบสิ่งเหล่านี้ เรียบร้อยแล้วอาจจะต้องเขียนเป็น “โครงร่างการวิจัย” (Research Proposal)
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียนรายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

75. นายเศรษฐาทําวิจัยเรื่องการเมืองไทยกับธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากทําวิจัยเสร็จแล้วมีการจัดทําเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76. นายเศรษฐพุฒิทําการวิจัยเรื่องบทบาทความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีข้อสงสัยที่จะนํามาสู่การทําวิจัย ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ทฤษฎีระบบการเมืองเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

78. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณผสมกับเชิงคุณภาพ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิด พื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ สมัยใหม่นั้นสามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้า อย่างเป็นระบบ

79. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลหลักจํานวน 10 คน ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

80. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้แนวการวิเคราะห์เชิงระบบในการทําวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 5 หน้า 31, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือทฤษฎีนั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือ ที่ช่วยในการมองเห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ที่จะวิจัยโดยไม่มีกรอบคิดทฤษฎีกํากับอยู่ ดังนั้นก่อนที่ผู้วิจัยจะเริ่มลงมือทําการวิจัย หลังจากได้กําหนดปัญหาในการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะต้องเลือกทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ เป็นลําดับต่อมา เช่น แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา เป็นต้น

81. “รายงานการวิจัยฉบับนี้มีการตั้งคําถามในการวิจัยจํานวน 2 ข้อ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 4 หน้า 26 – 27 (คําบรรยาย) การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคําถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คําถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คําถาม “ทําไม อย่างไร อะไร” โดยคําถามประเภท “ทําไม” จะเป็นคําถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คําถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคําถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคําถามประเภท “อะไร” จะเป็นคําถามที่มุ่งให้ค้นหาคําตอบในลักษณะบรรยาย

82. นายปานปรีย์ทําวิจัยเรื่องนโยบายต่างประเทศของไทยกับกลุ่มประเทศอินโดจีนสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายปานปรีย์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ หนังสือ ตํารา งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัยเรื่อง นโยบายต่างประเทศของไทยกับกลุ่มประเทศอินโดจีนสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ, การวิจัยเรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

83. นายมาวินทําวิจัยเรื่องนโยบายต่างประเทศกับเมียนมาสมัยนายทักษิณ ชินวัตร โดยเข้าไปสังเกตการเจรจา พูดคุยกันระหว่างนายทักษิณกับผู้นํารัฐบาลทหารเมียนมา การทําวิจัยของนายมาวินคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้น จะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปสังเกต การบริหารจัดการน้ําของสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการเจรจา พูดคุยกันระหว่างนายทักษิณกับผู้นํารัฐบาลทหารเมียนมา เป็นต้น

84. นายสุทินทําวิจัยเรื่องข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนําไปใช้เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร การทําวิจัยของนายสุทินคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนําไปใช้ เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร, การวิจัยเรื่องข้อเสนอการสร้างแอปพลิเคชันของรัฐ โดยมี จุดมุ่งหมายให้กระทรวงการคลังนําไปใช้ในการโอนเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นต้น

85. นางสาวศิริกัญญาทําวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทําวิจัยของนางสาวศิริกัญญาคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่อง ต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

86. กกต. ทําวิจัยสํารวจจํานวนผู้เข้ารับสมัครสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 การทําวิจัยของ กกต. คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิที่คน ไม่มาใช้สิทธิคน, การสํารวจ จํานวนผู้เข้ารับสมัครสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 เป็นต้น

87. นางสาวกุ้งอึ้งทําวิจัยเรื่องบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในการดูแลเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยอาศัยข้อมูลจากประวัติการทํางานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน การทําวิจัยของนางสาวอุ้งอิงคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

88. นายพรเพชรทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทํางานของสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 12 โดยอาศัย ข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทําวิจัยของนายพรเพชรคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

89. นายพิชิตทำวิจัยเรื่องบทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร ในการเจรจาสันติภาพระหว่างชนกลุ่มน้อยกับผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทำวิจัยของนายพิชิตคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องบทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร ในการเจรจาสันติภาพระหว่างชนกลุ่มน้อยกับผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา เป็นต้น

90. นายเผ่าภูมิทำวิจัยเรื่องข้อเสนอการสร้างแอปพลิเคชันของรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงการคลังนำไปใช้ในการโอนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไปสู่ประชาชน การทำวิจัยของนายเผ่าภูมิคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารที่ให้มาไม่มีข้อ 84 แต่ตอบ 2 คือการวิจัยประยุกต์)

91. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งสมมติฐาน

(2) การตั้งวัตถุประสงค์

(3) การตั้งคำถาม

(4) การสร้างกรอบแนวคิด

(5) การทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 1 หน้า 26, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

92. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) คำถามการวิจัย

(2) กรอบแนวคิดการวิจัย

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทคัดย่อ

(5) วัตถุประสงค์การวิจัย

ตอบ 4 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. สภาพปัญหา หรือ “ความสำคัญของปัญหา” หรือบางครั้งเรียกว่า “ที่มาของปัญหา” (Problem Statement)
3. คำถามการวิจัย (Research Question)
4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5. สมมติฐาน (Hypothesis)
6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)
7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
8. ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits)
9. นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
10. วิธีการในการดำเนินการวิจัย หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) เป็นต้น

93. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกำหนดควบคู่กับการตั้งคำถามการวิจัย

(1) โครงร่างวิจัย

(2) วัตถุประสงค์การวิจัย

(3) เครื่องมือต่างๆ ในการวิจัย

(4) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(5) การเขียนโครงการวิจัย

ตอบ 2 หน้า 28, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์การวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย

94. “สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2566” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 2 หน้า 34, โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นเสียก่อน ตัวอย่างเช่น กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นต้น

95. นิด้าโพลทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนายทหารชั้นนายพลในกองทัพบกที่มีต่อการซื้อข้าว 10 ปี โครงการรับจำนำข้าวเพื่อไปเลี้ยงกำลังพล โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังนายทหารชั้นนายพล จำนวน 100 คน นิด้าโพลต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างเป็นระบบในการส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่างๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนายทหารชั้นนายพลในกองทัพบกที่มีต่อการซื้อข้าว 10 ปี โครงการรับจำนำข้าวเพื่อไปเลี้ยงกำลังพล โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังนายทหารชั้นนายพล จำนวน 100 คน เป็นต้น

96. นายพิชัยต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เรื่องบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน โดยทำการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายพิชัยต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การสัมภาษณ์นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เรื่องบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นต้น

97 นายเสรีทำวิจัยเรื่อง “ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 12”

นายเสรีใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) Institutional Approach

(2) Psychological Approach

(3) System Approach

(4) Historical Approach

(5) Group Approach

ตอบ 2 หน้า 20, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 12, การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ของประชาชนในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2566, การวิจัยเรื่องการออกไปยืนชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการรัฐประหารที่ถนนสุขุมวิทในช่วงปี พ.ศ. 2557 เป็นต้น

98 นายจักรพงษ์ทำวิจัยเรื่อง “กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ของสภาผู้แทนราษฎร” นายจักรพงษ์ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) Institutional Approach

(2) Psychological Approach

(3) System Approach

(4) Historical Approach

(5) Group Approach

ตอบ 3 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทำการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐ เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องกระบวนการบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย, กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ, กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

99. นางสาวจิราพรทําวิจัยเรื่อง “พัฒนาการของกรมประชาสัมพันธ์ในการประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาลไทย”

นางสาวจิราพรใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทําวิจัย

(1) Institutional Approach

(2) Psychological Approach

(3) System Approach

(4) Historical Approach

(5) Group Approach

ตอบ 4 คำบรรยาย: หน้า 22 แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลำดับเหตุการณ์ อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย, พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2566, การวิจัยเรื่อง พัฒนาการของกรมประชาสัมพันธ์ในการประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาลไทย เป็นต้น

100. นายอนุทินทําวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์เชิงสถาบัน กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทย”

นายอนุทินใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทําวิจัย

(1) Institutional Approach

(2) Psychological Approach

(3) System Approach

(4) Historical Approach

(5) Group Approach

ตอบ 5 คำบรรยาย: แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์เชิงสถาบัน กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทย, การวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของขบวนการสมัชชาคนจน เป็นต้น

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คำสั่ง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

จงเลือกตัวต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 1 – 12 ว่าตัวแปรแต่ละข้อต่อไปนี้มีระดับการวัดอยู่ในระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่ได้วัดแปร

1 อาชีพรับราชการ
ตอบ 1 หน้า 42 – 45, (คำบรรยาย) การวัดแบบจำแนกบัญญัติหรือแบบจัดประเภท (Nominal Scale)
เป็นระดับการวัดระดับตัวแปรเทียบง่ายที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ ทั้งนี้
การจัดเป็นกลุ่มดังกล่าวจะเป็นเพียงการจำกลุ่มหรือชนิดแบบประเภทเท่านั้น ซึ่งภายในกลุ่มย่อย
ที่มีการจัดแบ่งไม่สามารถบอกได้ว่ากลุ่มใดดีกว่า เหนือกว่า หรือไม่สามารถเรียงลำดับได้ และ
ไม่สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น เพศ อายุ ศาสนา สถานภาพ ภูมิลำเนา ชาติพันธุ์
นักศึกษาสาขาพุทธ พุฒิโทิต ประเภทบุคลากรมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2 อุณหภูมิ ☐ ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ☐ 20 – 29 องศาเซลเซียส ☐ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ตอบ 2 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และสามารถจัดอันดับด้วยความแตกต่าง
ระหว่างลำดับแต่ไม่ได้ ช่วงของใช้บอกว่าอุณหภูมิ มากที่สุด มาก น้อย น้อยที่สุด ต่ำสุด
หรือสัญลักษณ์ใดๆแต่ไม่มีผลต่อการคำนวณ เช่นบอกความสำคัญในขั้น ไม่สามารถบอก
ปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับคะแนนสอบ ระดับการศึกษา
ระดับชั้นนักโทษ ระดับอุณหภูมิ ระดับจำนวนบุคลากรในองค์กร ตำแหน่งทางวิชาการ
อันดับการแข่งขัน เป็นต้น

3 คะแนนสอบวิชา POL 4100 ………. คะแนน
ตอบ 3 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบช่วง (Interval Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
จัดเป็นกลุ่มได้ สามารถบอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และมีค่าที่เป็นตัวเลขที่มีช่วงห่าง
เท่า ๆ กัน แต่จะไม่มีค่าศูนย์แท้ ค่าศูนย์ตัวเลขศูนย์ (0) จะเป็นเพียงศูนย์สมมติเพื่อการเปรียบเทียบ เช่น
คะแนนสอบวิชา POL 4100 ………. คะแนน, คะแนนเฉลี่ยรวมเพื่อจบ ………. คะแนน,
อุณหภูมิ …. องศาเซลเซียส, ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ……. มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

4 ชาติพันธุ์ ☐ ไทย ☐ คนตะวันออก ☐ มองโกเลอยด์ ☐ ออสเตรลอยด์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

5 จำนวนบุคลากรในองค์การ ☐ ต่ำกว่า 500 คน ☐ 500 – 1,999 คน ☐ 2,000 คนขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

6 ตำแหน่งทางวิชาการ ☐ อาจารย์ ☐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ☐ รองศาสตราจารย์ ☐ ศาสตราจารย์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

7 ประสบการณ์ทำงาน ……… ปี
ตอบ 4 หน้า 43 – 45, (คำบรรยาย) การวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปร
ที่ละเอียดที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้
มีค่าตัวเลขที่มีช่วงห่าง ๆ กัน และมีจุดเริ่มต้นจากศูนย์ (0) หรือมีศูนย์แท้ เช่น จำนวน
บุคลากร ……… คน, จำนวนบุตร ……… คน, ประสบการณ์ทำงาน ……… ปี, อายุ ……… ปี,
จำนวนผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ……… คน, น้ำหนัก ……… กิโลกรัม, รายได้ ……… บาท/เดือน เป็นต้น

8 ขนาดโรงเรียน ☐ ใหญ่มาก ☐ ใหญ่ ☐ กลาง ☐ เล็ก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

9 น้ำหนัก ……… กิโลกรัม
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

10 สถานภาพ ☐ โสด ☐ สมรส ☐ หย่าร้าง ☐ หม้าย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

11 จำนวนผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ……… คน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

12 ระดับชั้นนักโทษ ☐ ชั้นเยี่ยม ☐ ชั้นดีมาก ☐ ชั้นดี ☐ ชั้นกลาง ☐ ชั้นเลว
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

13 ตัวแปรใดมีระดับการวัดที่ละเอียดที่สุด
(1) ศาสนา
(2) รายได้
(3) คะแนนสอบ
(4) ระดับความผูกพันต่อองค์กร
(5) อุณหภูมิ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

14 ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่หยาบที่สุด
(1) ศาสนา
(2) ตำแหน่งทางวิชาการ
(3) รายได้
(4) อันดับการแข่งขัน
(5) จำนวนบุตร
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

15 ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable)
(1) คะแนนความพึงพอใจ
(2) จำนวนบุตร
(3) จำนวนสมาชิกในครอบครัว
(4) จำนวนรถยนต์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable) เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่วัด
ออกมาเป็นค่าตัวเลขต่อเนื่อง เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง รายได้ อุณหภูมิ คะแนนความพึงพอใจในการบริการ
คะแนนสอบ เป็นต้น

➭ จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 16 – 20.

(1) Independent Variable
(2) Dependent Variable
(3) Intervening Variable
(4) Suppressor Variable
(5) Main Variable

16. ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา

ตอบ 5 หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรหลัก (Main Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ธรรมาภิบาล ความเครียดในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น

17. ตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นเนื่องจากการได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอิสระ

ตอบ 2 หน้า 40, (คำบรรยาย) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นเนื่องจากการได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอิสระ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวแปรที่ผันแปรไปตามตัวแปรอิสระ แทนด้วยสัญลักษณ์ Y

18. ตัวแปรที่ทำให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน (ทั้งๆ ที่จริง ๆ แล้วมีความสัมพันธ์กัน)

ตอบ 4 หน้า 41, (คำบรรยาย) ตัวแปรกด (Suppressor Variable) หมายถึง ตัวแปรที่ทำให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน (ทั้งๆ ที่จริง ๆ แล้วมีความสัมพันธ์กัน) โดยหากควบคุมตัวแปรกดแล้วจะพบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

19. ตัวแปรที่อยู่ตรงกลางระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

ตอบ 3 หน้า 41, (คำบรรยาย) ตัวแปรแทรก (Intervening Variable) หมายถึง ตัวแปรที่อยู่ตรงกลางระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม กล่าวคือ เป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรอิสระและเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ซึ่งตัวแปรชนิดนี้ผู้วิจัยไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีอะไรบ้าง และจะเกิดขึ้นเมื่อใด จึงไม่สามารถหาทางควบคุมได้

20. ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นสาเหตุให้เกิดผลต่อตัวแปรตาม

ตอบ 1 หน้า 40, (คำบรรยาย) ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นสาเหตุให้เกิดผลต่อตัวแปรตาม แทนด้วยสัญลักษณ์ X

21. ข้อใดเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ

(1) ส่วนสูง

(2) น้ำหนัก

(3) อายุงาน

(4) ศาสนา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรเชิงคุณภาพหรือหรือตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Variable) หมายถึง ตัวแปรที่วัดในลักษณะการจัดประเภท เช่น ตัวแปรศาสนา (จัดกลุ่มได้เป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม อื่น ๆ), ตัวแปรเพศ (จัดกลุ่มได้เป็นเพศชาย กับเพศหญิง) เป็นต้น

22. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของแบบสอบถาม

(1) สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก

(2) มีความเป็นวัตถุวิสัย

(3) สร้างได้ง่ายกว่าเครื่องมือวิจัยอื่น ๆ

(4) ประหยัดเวลาเมื่อเทียบกับแบบสัมภาษณ์

(5) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ตอบ 3 หน้า 49, (คำบรรยาย) ข้อดีของแบบสอบถาม ได้แก่
1 ทำให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก
2 ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงานคนเมื่อเทียบกับการสัมภาษณ์และการสังเกต
3 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือมีความเป็นวัตถุวิสัย ไม่มีอคติ
4 ผู้ตอบเกิดความสบายใจที่จะตอบโดยอิสระ
5 ผู้ตอบมีเวลาคิดใคร่ครวญในคำตอบ เป็นต้น

23. การสร้างข้อคำถามในแบบสอบถามว่า “ท่านชอบอ่านหนังสือพิมพ์คอลัมน์ใดมากที่สุด (ขอให้ท่านเขียนหมายเลขตามลำดับความสำคัญ 1 2 3 …)” จัดเป็นลักษณะคำถามแบบใด

(1) Check-List Question

(2) Multiple Choice Question

(3) Multi-Response Question

(4) Rank Priority Question

(5) Rating Scale Question

ตอบ 4 หน้า 48, (คำบรรยาย) คำถามที่ให้จัดอันดับความสำคัญ (Rank Priority Question) เป็นประเภทหนึ่งของข้อคำถามปลายปิด มีคำตอบเป็นตัวเลือกเพื่อให้แสดงความคิดเห็น โดยการกำหนดระดับความคิดเห็นของผู้ตอบในแต่ละข้อว่ามากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งข้อคำถามต้องการให้ผู้ตอบใส่ตัวเลขเรียงลำดับคำตอบต่างๆ ตามความสำคัญจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก โดยเริ่มใส่ตั้งแต่หมายเลข 1 2 3 4 5 … ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ข้อคำถามในแบบสอบถามว่า “ท่านชอบอ่านหนังสือพิมพ์คอลัมน์ใดมากที่สุด (ขอให้ท่านเขียนหมายเลขตามลำดับความสำคัญ 1 2 3 …..)” เป็นต้น

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 24 – 26.

(1) Validity

(2) Reliability

(3) Difficulty

(4) Discrimination

(5) Sensitivity

24. ตัวเลือกใดหมายถึง “ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจำแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ”

ตอบ 4 หน้า 66, (คำบรรยาย) อำนาจจำแนก (Discrimination) หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจำแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ โดยการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในประเด็นอำนาจจำแนก มักใช้ในกรณีแบบทดสอบ หรือแบบวัดทัศนคติ

25. การนำแบบสอบถามไปหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด

ตอบ 1 หน้า 62 – 63, (คำบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) เชิงเนื้อหา โดยทั่วไปจะใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งจำนวนที่ใช้ไม่ควรต่ำกว่า 3 คน ในการพิจารณา โดยวิธีการหาค่านั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น
1 การหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (Index of Item Objective Congruence : IOC)
2 การหาอัตราส่วนความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถาม (Content Validity Ratio : CVR)
3 การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นต้น

26. ตัวเลือกใดหมายถึง “เครื่องมือจะต้องสามารถวัดค่าตัวแปรได้ละเอียด และมีความไวเพียงพอที่จะจับความแตกต่างที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย”

ตอบ 5 (คำบรรยาย) ความไวในการแบ่งแยก (Sensitivity) หมายถึง เครื่องมือจะต้องสามารถวัดค่าตัวแปรได้ละเอียด และมีความไวเพียงพอที่จะจับความแตกต่างที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย

27. จากตัวเลขของชุดข้อมูลดังนี้ “10, 13, 15, 17, 23, 23, 25” ฐานนิยม คือค่าใด

(1) 10

(2) 17

(3) 18

(4) 23

(5) 25

ตอบ 4 หน้า 74, (คำบรรยาย) ฐานนิยม คือ ค่าของข้อมูลที่ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา คือ 10, 13, 15, 17, 23, 23, 25 จะเห็นว่าข้อมูลเลข 23 ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด (ซ้ำกัน 2 ตัว) ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 23

28. ข้อใดเป็นสถิติอ้างอิง

(1) Arithmetic Mean

(2) Percentage

(3) Standard Deviation

(4) Median

(5) Multiple Regression

ตอบ 5 หน้า 71, 77 – 79, (คำบรรยาย) สถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงข้อมูลหรือผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากรเป้าหมาย เช่น การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test), การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test), การวิเคราะห์ถดถอยพหุหรือการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) เป็นต้น

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 29 – 33.

(1) Arithmetic Mean

(2) Independent Sample T-test

(3) Chi-Square Test

(4) One-Way ANOVA

(5) Correlation

29. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้

ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คำบรรยาย) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test) เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 2 ชุด ที่สุ่มมาจากประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่, การทดสอบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ เป็นต้น

30. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้

ตอบ 4 หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นสถิติที่คิดค้นโดย Sir Ronald A. Fisher เพื่อใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร ต่อมาภายหลังจึงได้นำไปใช้ในงานวิจัยด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวนั้นจะใช้ในการทดสอบนัยสำคัญว่าค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขึ้นไป มีความแตกต่างกันหรือไม่ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 3 กลุ่มขึ้นไป
และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ เป็นต้น

31. นักวิจัยต้องการทราบว่า ประสบการณ์การทํางานมีความสัมพันธ์กับคะแนนความสุขในการทํางานหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้

ตอบ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient หรือค่า r) หน้า 83 – 84, (คําบรรยาย) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่มีระดับการวัด แบบช่วงหรือแบบอัตราส่วน โดย r จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 นั่นคือ หาก r มีค่าเข้าใกล้ -1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางตรงกันข้าม หาก r มีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่หาก r มีค่าเข้าใกล้ +1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง ประสบการณ์การทํางานกับคะแนนความสุขในการทํางาน, ความสัมพันธ์ระหว่างอายุงาน กับคะแนนความผูกพันต่อองค์การ เป็นต้น

32. นักวิจัยต้องการทราบว่า อาชีพมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) หรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้

ตอบ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test) หน้า 78, 82 – 83, (คําบรรยาย) เป็นการทดสอบทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบตัวแปรเชิงคุณภาพที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติ หรือแบบเรียงลําดับ ทั้งนี้พึงตระหนักว่าการทดสอบดังกล่าวจะเป็นเพียงการบอกว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ใน กรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับระดับความเครียดในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) เป็นต้น

33. สถิติใดเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 3 กลุ่มขึ้นไป และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ

ตอบ ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

34. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรายงานการวิจัย

(1) เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามีข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

(2) ส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์

(3) เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นมีผู้ศึกษาอยู่แล้ว

(4) แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ

(5) เป็นวรรณกรรมเพื่อประโยชน์ในเชิงสันทนาการ

ตอบ (5) หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1. เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
2. ส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัยแล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3. เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
4. แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ

35 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนประกอบตอนต้นในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ปกหลัก ปกใน ที่มาและความสําคัญของปัญหา

(2) กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ ภาคผนวก

(3) หน้าอนุมัติ บทคัดย่อ สารบัญ

(4) ภาคผนวก อ้างอิง ประวัติผู้วิจัย

(5) ปกหลัก กิตติกรรมประกาศ ทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 3 หน้า 92, (คําบรรยาย) “ส่วนประกอบตอนต้น” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้
1 ปกหลัก โดยจะระบุถึงคําว่า “รายงานการวิจัย” ชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อของผู้วิจัยและคณะ ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด ชื่อแหล่งทุน และปีที่เผยแพร่งานวิจัย
2 หน้าปกใน จะมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก
3 หน้าอนุมัติ
4 บทคัดย่อภาษาไทย
5 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
6 หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ
7 สารบัญ จะระบุถึงหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยอย่างครบถ้วน
8 สารบัญตาราง (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของตาราง
9 สารบัญภาพ (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ
10 คําอธิบายสัญลักษณ์และคําย่อที่ใช้ในการวิจัย (ถ้ามี)

36 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนเนื้อเรื่องในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ที่มาและความสําคัญของปัญหา ทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย

(2) ทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย หน้าอนุมัติ

(3) ระเบียบวิธีวิจัย ภาคผนวก อ้างอิง

(4) ทบทวนวรรณกรรม บทคัดย่อ ระเบียบวิธีวิจัย

(5) กิตติกรรมประกาศ บทสรุป ภาคผนวก

ตอบ 1 หน้า 92 – 94, (คําบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้

บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ที่มาและความสําคัญของปัญหา คําถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจํากัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดําเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสําคัญทั้งต่อการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

37. ข้อใดผิด
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่บอกรายละเอียดในการทำวิจัยอย่างครบถ้วน
(2) ผู้วิจัยสามารถใส่ลงรูปภาพ หรือกราฟในบทคัดย่อได้
(3) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมาซ้ำในบทคัดย่อ
(4) ผู้วิจัยสามารถเขียนบทคัดย่อได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(5) ไม่มีข้อใดผิด

ตอบ 2 หน้า 114 – 115 (คำอธิบาย) การเขียนบทคัดย่อ ควรมีลักษณะดังนี้

1 บทคัดย่อสามารถทำได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2 เนื้อหาในบทคัดย่อไม่ควรนำเอาชื่อเรื่องมาซ้ำ

3 บทคัดย่อไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือกราฟใด ๆ

4 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อ

5 บทคัดย่อที่ดีควรมีระยะห่างหน้ากระดาษ A4 (กรณีของบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร) ถึง 1 หน้ากระดาษ A4 (กรณีของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) เป็นต้น

38. ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีพิมพ์ให้ระบุอย่างไร
(1) ม.ป.ป.  (2) ม.ม.ป.  (3) ม.ป.ป.  (4) ป.ม.ป.  (5) ป.ม.ม.

ตอบ 3 (คำอธิบาย) การอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีที่พิมพ์
ให้ระบุคำว่า “ม.ป.ป.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาไทย) หรือ “n.d.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาอังกฤษ)
เอกสารทางวิชาการ หากเอกสารไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ระบุ “ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทความ” แทน

39. ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ระบุอะไรแทน
(1) ชื่อสำนักพิมพ์
(2) สถานที่พิมพ์
(3) ชื่อบทความ
(4) ม.ป.ป.
(5) ไม่ต้องระบุอะไร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. รูปภาพดังกล่าวหมายถึงอะไร

(1) รูปแบบการจัดพิมพ์ในหน้าบรรยายแต่ละบท
(2) รูปแบบการจัดพิมพ์ในหน้าปก
(3) รูปแบบการจัดพิมพ์บทหลัก
(4) รูปแบบการจัดพิมพ์ปกรอง
(5) รูปแบบการจัดวางภาพประกอบ

ตอบ 1

41 หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่จัดประเภทวารสารทางวิชาการของไทยในปัจจุบัน

(1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

(2) วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ

(3) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

(4) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

(5) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย

ตอบ 4 หน้า 96 – 97, 99, (คำบรรยาย) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละวารสาร กรณีของประเทศไทย ในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ตัวอย่างเช่น
1 “วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2 “วารสารรัฐศาสตร์พิจาร” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

42 ข้อใดถูกต้อง

(1) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

(2) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(3) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือนขนมชั้น

(4) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ

(5) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างอิง

ตอบ 2 หน้า 91, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด ในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง
3 ส่วนประกอบตอนท้าย

43. คำว่า “American Psychological Association” (APA) สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) สารบัญ

(2) วิธีดำเนินการวิจัย

(3) วัตถุประสงค์

(4) บรรณานุกรม

(5) จิตวิทยาของผู้วิจัย

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 95 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงหลักฐาน เอกสาร และวรรณกรรมทั้งหมดที่ใช้ในการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ รวมถึงรายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย โดยจัดเรียงเป็นหมวดหมู่และเรียงลำดับตามตัวอักษรให้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบัน ประเภทหรือระบบการอ้างอิงที่ได้รับความนิยมในงานวิจัยหรืองานวิชาการในสายสังคมศาสตร์ ได้แก่ การอ้างอิงระบบเอพีเอ (American Psychological Association : APA) และการอ้างอิงระบบทราเบียน (Turabian)

44. ในการเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้างซ้ำ ในกรณีที่ยังไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่นให้ใช้คำว่าอะไร

(1) Ideat.

(2) Ibis.

(3) Idit.

(4) Ibid.

(5) Idol.

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้าง ในกรณีอ้างอิงติดกัน และไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่น ให้ใช้คำว่า “เพิ่งอ้าง” หรือ “Ibid.” (มาจากภาษาละตินว่า Ibidem) หรือ ในกรณีอ้างอิงซ้ำไม่ติดกัน มีเชิงอรรถเล่มอื่นคั่น และไม่ได้อ้างถึงเลขหน้าเดิม ให้ใช้คำว่า “(เชิงอรรถ)” หรือ “Op.cit.” (มาจากภาษาละตินว่า Opere citato)

45. ข้อใดต่อไปนี้คือชื่อของ “ประเภทรายการอ้างอิง” ในการศึกษาสังคมศาสตร์

(1) American Political Science Association

(2) American Psychological Association

(3) American Political Science Review

(4) British Companions of Law

(5) British Committee on the Theory of International Politics

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46. คำว่า “ระบบทราเบียน” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) สารานุกรม

(2) กิตติกรรมประกาศ

(3) บรรณานุกรม

(4) ประวัติย่อผู้วิจัย

(5) รายการดัชนี

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

47. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

(1) Sensible

(2) Measurable

(3) Attainable

(4) Resource

(5) Time

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทำได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : 7)

48. ในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักการข้อใด

(1) เขียนให้ตรงประเด็น

(2) เขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ

(3) เขียนให้มีความยาวเหมาะสม

(4) อ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 103, (คำบรรยาย) การเขียน “ที่มาและความสำคัญของปัญหา” ผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักสำคัญดังต่อไปนี้
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญของปัญหา
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสมไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนำตัวเลข ตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 ผู้วิจัยต้องขมวดหรือสรุปประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายให้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น

49. “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด” ข้อความดังกล่าวบอกถึงการกำหนดขอบเขตการวิจัยด้านใด

(1) เนื้อหา

(2) พื้นที่

(3) ระยะเวลา

(4) ประชากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 104, (คำบรรยาย) ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทำให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทำให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณของคลังข้อมูลจำนวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้นขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ และเวลา ตัวอย่างเช่น “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด” จะเห็นว่า ขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ กระบวนการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด เป็นต้น

50. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรม

(1) การเขียนทบทวนวรรณกรรมที่ดีจะมีลักษณะเป็นขนมชั้น

(2) เลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญเท่านั้น

(3) วรรณกรรมที่คล้ายคลึงกันควรนำมารวมกันในย่อหน้าใหม่เสมอ

(4) ไม่จำเป็นต้องชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของวรรณกรรมที่ทบทวน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 107 – 108, (คำบรรยาย) หลักการของการเขียนการทบทวนวรรณกรรม มีดังนี้
1 สามารถอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า โดยเลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญเท่านั้น
2 ต้องเรียบเรียงแนวคิดต่าง ๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีการจัดหมวดหมู่ในเรื่องที่คล้ายกันให้อยู่รวมกัน มากกว่าการเขียนในลักษณะของ “ขนมชั้น” ที่แยกแต่ละชิ้นออกจากกัน
3 ในกรณีที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ศึกษาในประเด็นคล้ายคลึงกัน ควรนำมาทบทวนรวมกันในย่อหน้าเดียวกัน
4 ควรมีการเรียบเรียงสาระสำคัญอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ ของวรรณกรรมที่ทบทวน เป็นต้น

51. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) การแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์

(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก

(3) การทำแบบทดสอบ

(4) การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 109 (คำบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการอธิบายถึงวิธีการ และขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าทำอย่างไร มีขั้นตอนในการตรวจสอบข้อมูลและควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้วิธีการดังกล่าว และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและครบถ้วนอย่างไร เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ (การทำแบบทดสอบ, การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์, การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ) การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, การสัมภาษณ์เชิงลึก, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ฯลฯ) เป็นต้น

52. “…การทำให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถ ควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น…” สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

(2) สมมติฐานงานวิจัย

(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

(4) ข้อจำกัดของการวิจัย

(5) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 4 หน้า 105 (คำบรรยาย) ข้อจำกัดของการวิจัย เป็นการทำให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 53. – 59. ว่าข้อความในโจทย์เป็นลักษณะของรายงานวิจัยประเภทใด

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) รายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย

(5) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

53. ดุษฎีนิพนธ์จัดว่าเป็นรายงานการวิจัยประเภทใด

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วิทยานิพนธ์ (Thesis) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) จัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยเรียบเรียงขึ้นอย่างละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผลตามขั้นตอนระเบียบวิธีการวิจัย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต

54. รายงานประเภทใดมีความยาวประมาณ 50 – 70 หน้า

ตอบ 2 หน้า 96 (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า

55. รายงานประเภทใดที่ผู้วิจัยจะส่งไปตีพิมพ์ที่วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ (หมายเหตุ: ไม่มีข้อมูลข้อ 41. ในข้อมูลที่ให้มา)

56 รายงานประเภทใดเขียนในระหว่างที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 99, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้

57 รายงานประเภทใดเหมาะแก่การแนะนำธุรกิจ เป้าหมายหรือพันธกิจ และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

ตอบ 5 หน้า 115 – 116, (คำบรรยาย) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด โดยจะมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารซึ่งมีเวลาไม่มาก สามารถทำความเข้าใจงานวิจัยทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งเหมาะแก่การแนะนำธุรกิจ เป้าหมายหรือพันธกิจ และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

58 กิตติกรรมประกาศมักจะอยู่ในรายงานประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 92, 117 – 118, (คำบรรยาย) กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่า “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคำว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้ในการกล่าวขอบคุณสถาบันหรือให้เกียรติผู้ที่มีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือผลักดันให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำ หน่วยงานต้นสังกัด หรือผู้ให้ทุนวิจัย

59 รายงานประเภทใดที่มักจะระบุถึงรายละเอียดของแผนงานวิจัย

ตอบ 5 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร มักจะระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัยและ/หรือแผนงานวิจัย ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย

60 รายงานประเภทใดที่นำไปสู่การตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายต่าง ๆ

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

61 งานวิจัยประเภทใดที่มักเน้นระเบียบวิธีวิจัยที่เข้มข้น

(1) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(3) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 3 หน้า 129, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือเครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็นอิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ เช่น นักวิจัย A ค้นพบว่ามีแหล่งน้ำบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน เป็นต้น

62. ฝ่ายวิจัยประเภทใดที่อาจจะไม่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด

(1) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(3) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คำนึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัยสามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่างๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัยประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาด และนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด เช่น งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น

63. ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง

(1) สถานที่ในการนำเสนอผลงาน

(2) กำหนดการและรูปแบบของการจัดงาน

(3) ลักษณะของผู้เข้าชมงาน

(4) เนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 122 – 124, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่
1 การวางแผน เช่น สถานที่ในการนำเสนอผลงาน ขนาดของโปสเตอร์ วันและเวลากำหนดการ รูปแบบของการจัดงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
2 เนื้อหาของโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์ให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เข้าชมงาน
3 รูปแบบโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลังโปสเตอร์ ประเภทและขนาดของตัวอักษร เป็นต้น

64. การนำเสนอผลงานด้วยวาจา ผู้วิจัยควรคำนึงถึงสิ่งใด

(1) จำนวนสไลด์

(2) ลักษณะของเวที

(3) รูปแบบของสไลด์

(4) การฝึกตอบคำถาม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 124 – 126 สิ่งที่ผู้วิจัยควรคำนึงถึงในการนำเสนอผลงานด้วยวาจา ได้แก่ จำนวนสไลด์ ลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง รูปแบบของสไลด์ การเตรียมตัวผู้นำเสนอ (การฝึกจับเวลา การฝึกท่าทางในการนำเสนอ การฝึกตอบคำถามและป้องกันข้อเสนอของตนจากผู้วิพากษ์) เป็นต้น

65. หลัก 3R ในการทำวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) Research, Reproduce, Report

(2) Research, Reproduce, Reply.

(3) Research, Report, Reply

(4) Research, Report, Reference

(5) Research, Reproduce, Reference

ตอบ 4 หน้า 90, (คำบรรยาย) หลัก 3R ในการทำวิจัย ประกอบด้วย

1. Research หมายถึง การลงมือทำวิจัยด้วยนักวิจัยเอง

2. Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทำวิจัย

3. Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้อย่างครบถ้วน

66. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร

(4) โครงร่างการวิจัย

(5) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 34 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้น เสียก่อน ดังนั้นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจึงจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารคือโครงร่างการวิจัยสำหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือสอบขออนุญาตในการทำการวิจัย

67. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 3 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา” 2. การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหาคําตอบได้ 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น 4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคําถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ 5. การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด

68. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

70. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Recycle

(2) Responsibility

(3) Research

(4) Representative

(5) Resolution

ตอบ 3 หน้า 2, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ โดยอยู่บนพื้นฐานของวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยม ออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และยังมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และ การอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทำนาย (Predictive)

71. Positivism มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด

(1) ยุคสถาบันนิยม

(2) ยุคคลาสสิก

(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์

(4) ยุคเปลี่ยนผ่าน

(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 7 – 8 (คำบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทำนายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทำนาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นำทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น

72. “วิทยาศาสตร์การเมือง” เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) ยุคสถาบันนิยม

(2) ยุคคลาสสิก

(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์

(4) ยุคเปลี่ยนผ่าน

(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

73. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) จิตวิทยาการเมือง

(2) สถาบันทางการเมือง

(3) สถาบันทางการเมือง

(4) ปรัชญาการเมือง

(5) การพัฒนาทางการเมือง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

74. นายเศรษฐาทําวิจัยเรื่องกระบวนการกําหนดนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยทําการสืบค้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายสาธารณะ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 14 – 16, (คำบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1 การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคำถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนำไปสู่การทำวิจัย
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาคําตอบ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน เมื่อออกแบบสิ่งเหล่านี้ เรียบร้อยแล้วอาจจะต้องเขียนเป็น “โครงร่างการวิจัย” (Research Proposal)
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

75. นางสาวกุ้งอึ้งทําวิจัยเรื่องกระบวนการกําหนดนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์เพาเวอร์ หลังจากทําวิจัย เสร็จแล้วมีการจัดทําเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76. นายสุทินมีความสนใจที่จะทําวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นพลเรือน โดยมีข้อสงสัยที่จะนํามาสู่การทําวิจัย ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ทฤษฎีการพัฒนาทางการเมืองเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 1 หน้า 106, (คําบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมา
ไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกําลังศึกษามาทําการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

78. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

79. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อ ปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 2 หน้า 11 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคําตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ

80. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้แนวการวิเคราะห์เชิงระบบในการทําวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 5 หน้า 31, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือทฤษฎีนั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือ ที่ช่วยในการมองเห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ที่จะวิจัยโดยไม่มีกรอบคิดทฤษฎีกํากับอยู่ ดังนั้นก่อนที่ผู้วิจัยจะเริ่มลงมือทําการวิจัย หลังจากได้กําหนดปัญหาในการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะต้องเลือกทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ เป็นลําดับต่อมา เช่น แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา เป็นต้น

81. “รายงานการวิจัยฉบับนี้มีการตั้งคําถามในการวิจัยจํานวน 3 ข้อ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใด มากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, (คำบรรยาย) การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคำถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คำถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร” โดยคำถามประเภท “ทำไม” จะเป็นคำถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คำถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคำถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคำถามประเภท “อะไร” จะเป็นคำถามที่มุ่งให้ค้นหาคำตอบในลักษณะบรรยาย

82. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) คำถามการวิจัย

(2) กรอบแนวคิดการวิจัย

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทสรุปผู้บริหาร

(5) วัตถุประสงค์การวิจัย

ตอน 4 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่อง (Title) 2. สภาพปัญหา หรือ “ความสำคัญของปัญหา” หรือบางครั้งเรียกว่า “ที่มาของปัญหา” (Problem Statement) 3. คำถามการวิจัย (Research Question) 4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective) 5. สมมติฐาน (Hypothesis) 6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) 7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope) 8. ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits) 9. นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition) 10. วิธีการในการดำเนินการวิจัย หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น

83. นายบิ๊กโจ๊กทำวิจัยเรื่องการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยศึกษาจากหนังสือ ตำรา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทำวิจัยของนายบิ๊กโจ๊กคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ หนังสือ ตำรา งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัยเรื่อง การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, การวิจัยเรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

84. นายบิ๊กต่อทำวิจัยเรื่องการชุมนุมขับไล่ใส่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน โดยเข้าไปสังเกต การขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนําขบวนการสมัชชาคนจน การทำวิจัยของนายบิ๊กต่อคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้น จะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปสังเกต การบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการขึ้นเวที ปราศรัยของแกนนําขบวนการสมัชชาคนจน เป็นต้น

85. นายอนันตชัยทําวิจัยเรื่องข้อเสนอการใช้ระบบอาวุโสในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ โดยมี จุดมุ่งหมายให้คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการ ตํารวจแห่งชาติที่มีการข้ามระบบอาวุโส การทําวิจัยของนายอนันตชัยคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการใช้ระบบอาวุโสในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจ แห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายให้คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหา การแต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติที่มีการข้ามระบบอาวุโส, การวิจัยเรื่องข้อเสนอการเข้ารับ ราชการทหารกองประจําการแบบสมัครใจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนําไปใช้ในการ แก้ปัญหาการเข้ารับราชการทหารกองประจําการแบบการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น

86. นายชัยธวัชทําวิจัยเรื่องสาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน การทําวิจัยของนายชัยธวัชคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ การวิจัยนี้ จะมุ่งอธิบายว่า ทําไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทําไมถึงเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่อง สาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน เป็นต้น

87. นายชาดาทําวิจัยสํารวจจํานวนผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย การทําวิจัยของนายชาดาคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน ไม่มาใช้สิทธิที่คน, การสํารวจ จํานวนผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย เป็นต้น

88. นางสาวศิริกัญญาทําวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทําวิจัยของนางสาวศิริกัญญาคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่อง ต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของคน ๆ หนึ่ง เป็นต้น

89. นายไอติมทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารของพรรคก้าวไกล โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทำวิจัยของนายไอติมคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. นายกัณวีร์ทำวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทำวิจัยของนายกัณวีร์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่างๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง เป็นต้น

91. นายโรมทำวิจัยเรื่องข้อเสนอการเข้ารับราชการทหารกองประจำการแบบสมัครใจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการเข้ารับราชการทหารกองประจำการแบบการเกณฑ์ทหาร การทำวิจัยของนายโรมคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ (หมายเหตุ: ไม่มีข้อ 85 ในข้อมูลที่ให้มา)

92. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งสมมติฐาน

(2) การตั้งวัตถุประสงค์

(3) การตั้งคำถาม

(4) การสร้างกรอบแนวคิด

(5) การทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 1 หน้า 26, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

93. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกำหนดควบคู่กับการตั้งคำถามการวิจัย

(1) โครงร่างวิจัย

(2) วัตถุประสงค์การวิจัย

(3) เครื่องมือต่างๆ ในการวิจัย

(4) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(5) การเขียนโครงการวิจัย

ตอบ 2 หน้า 28, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์การวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย

94. นายอดิศรต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายทักษิณ ชินวัตร เรื่องการเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยทำการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายอดิศรต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการเข้าตำแหน่งที่ปรึกษานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นต้น

95. นายประยุทธ์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน ว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จำนวนเท่าใด นายประยุทธ์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 3 หน้า 53 (คำบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเอาใจใส่และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสังเกตการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจนว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จำนวนเท่าใด เป็นต้น

96. “นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องเตรียมเอกสารสำหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

97. นิด้าโพลทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชนจำนวน 5,000 คน นิด้าโพลต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างเป็นระบบในการส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่าง ๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชนจำนวน 5,000 คน เป็นต้น

98. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

99. นายปฏิพัทธ์ทำวิจัยเรื่อง “กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ” นายปฏิพัทธ์ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) Institutional Approach

(2) Psychological Approach

(3) System Approach

(4) Historical Approach

(5) Group Approach

ตอบ 3 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่า ในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทำการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐ ก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งการทำงานของ อวัยวะต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องกระบวนการบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย, กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

100. นายธนาธรทำวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองของขบวนการสมัชชาคนจน” นายธนาธรใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) Institutional Approach

(2) Psychological Approach

(3) System Approach

(4) Historical Approach

(5) Group Approach

ตอบ 5 หน้า 24, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมา จากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้น ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมี พฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของขบวนการสมัชชาคนจน, การทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศของกลุ่ม LGBTQ เป็นต้น

 

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) กรอบแนวคิดการวิจัย

(3) บทคัดย่อ

(4) ความสำคัญของปัญหา

(5) วัตถุประสงค์การวิจัย

ตอบ 3 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 สภาพปัญหา หรือ “ความสำคัญของปัญหา” หรือบางครั้งเรียกว่า “ที่มาของปัญหา” (Problem Statement)
3 คำถามในการวิจัย (Research Question)
4 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5 สมมติฐาน (Hypothesis)
6 การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
7 ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
8 ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits)
9 นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
10 วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น

2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(2) การเขียนกิตติกรรมประกาศ

(3) การตั้งคำถามการวิจัย

(4) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

(5) การทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 2 หน้า 26, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

3. การเขียนโครงร่างการวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 5 หน้า 14 – 16, (คำบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1 การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคำถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนำไปสู่การทำวิจัย ๆ
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาค่าตอบ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน เมื่อออกแบบสิ่งเหล่านี้ เรียบร้อยแล้วอาจจะต้องเขียนเป็น “โครงร่างการวิจัย” (Research Proposal)
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

4 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5 ข้อสงสัยที่จะนํามาสู่การทําวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6 นางสาวอันทําการวิจัยเรื่องนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปีละ 12,000 บาท ของพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในเวทีเสวนากับทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยนางสาวอัน จะเป็นคนตั้งประเด็นในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง นางสาวอันต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) การสัมภาษณ์กลุ่ม

(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก

(3) โครงร่างการวิจัย

(4) การสังเกต

(5) การทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 1 หน้า 34, (คําบรรยาย) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) หรือบางตําราอาจจะเรียกว่า การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มจาก ผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดําเนินการสนทนา (Moderator) ซึ่งอาจ จะเป็นผู้วิจัยเอง หรือเป็นคนอื่นที่ได้รับมอบหมายมาให้ทําหน้าที่เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการ สนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนา อย่างกว้างขวางละเอียดลึกซึ้ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปีละ 12,000 บาท ของพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นต้น

7 นายสรยุทธ์ต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายทักษิณ ชินวัตร เรื่องการเดินทางกลับสู่ประเทศไทย ภายหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยทําการสัมภาษณ์ซ้ําหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายสรยุทธ์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) การสัมภาษณ์กลุ่ม

(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก

(3) โครงร่างการวิจัย

(4) การสังเกต

(5) แบบสอบถาม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายทักษิณ ชินวัตร เรื่องการเดินทางกลับสู่ประเทศไทยภายหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้น

8 “นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องเตรียมเอกสารสําหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) การสัมภาษณ์กลุ่ม

(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก

(3) โครงร่างการวิจัย

(4) การสังเกต

(5) แบบสอบถาม

ตอบ 3 หน้า 34 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทําวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทําวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทําวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทําเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อ ขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทําวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทําโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้น เสียก่อน ดังนั้นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจึงจําเป็นจะต้องเตรียมเอกสารคือโครงร่างการวิจัย
สําหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือสอบขออนุญาตในการทําการวิจัย

9. นายชัยวุฒิทําวิจัยเรื่องความคิดทางการเมืองของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทําวิจัยของนายชัยวุฒิคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(2) การวิจัยเชิงปริมาณ

(3) การวิจัยบริสุทธิ์

(4) การวิจัยประยุกต์

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่อง ต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของคน ๆ หนึ่ง เป็นต้น

10. นางพรทิพย์ทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทําวิจัยของนางพรทิพย์ คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(2) การวิจัยเชิงปริมาณ

(3) การวิจัยบริสุทธิ์

(4) การวิจัยประยุกต์

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. นายชูวิทย์ทําวิจัยเรื่องการออกแบบระบบการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง การทําวิจัย ของนายชูวิทย์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(2) การวิจัยเชิงปริมาณ

(3) การวิจัยบริสุทธิ์

(4) การวิจัยประยุกต์

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 4 หน้า 12 (คำบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง การเลือกตั้ง เป็นต้น

12. นายธนาธรมีความสนใจที่จะทําวิทยานิพนธ์หัวข้อนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารของพรรคก้าวไกล โดยตั้งคําถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 1 หน้า 2 – 3 (คําบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิด ความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับ เนื้อหาของบทนําในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสําคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหาคําตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคําถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูกหรือผิด

13. นายปูนาทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โดยการแจกแบบสอบถามจํานวน 1,000 ชุด เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14. นายแด็กทําวิจัยเรื่องพฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทย ของประชาชนในจังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2566 หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

15. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ทฤษฎีชนชั้นนําทางการเมืองเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 1 (คำบรรยาย) หน้า 106, การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกําลังศึกษามาทําการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดถึงปัจจุบัน

16. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 11, ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นสามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

17. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หน้า 11, วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคําตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ

18. “เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยในการมองเห็นปัญหาขัดขึ้น” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Literature Review

(2) Research Method

(3) Research Methodology

(4) Research Question

(5) Approach

ตอบ 5 (คำบรรยาย) หน้า 31, แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือทฤษฎีนั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยในการมองเห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะวิจัยโดยไม่มีกรอบคิดทฤษฎีกํากับอยู่ ดังนั้นก่อนที่ผู้วิจัยจะเริ่มลงมือทําการวิจัย หลังจากได้กําหนดปัญหาในการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะต้องเลือกทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์เป็นลําดับต่อมา

19. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) การสรุปผลการวิเคราะห์

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การอ้างอิงข้อมูล

(5) การคาดคะเนคำตอบ

ตอบ 4 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว ซึ่งก็คือ การคาดคะเนคำตอบหรือคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถกำหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคำถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด

20. เนื้อหาของโครงร่างงานวิจัยจะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) หน้าปก

(2) บทนำ

(3) ทบทวนวรรณกรรม

(4) ระเบียบวิธีวิจัย

(5) บทสรุป

ตอบ 2 หน้า 36, (คำบรรยาย) บทที่ 1 “บทนำ” ของรายงานการวิจัย ซึ่งเนื้อหาในบทนำนี้ก็คือ โครงร่างการวิจัยที่ผู้วิจัยได้เขียนขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นการทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะนำโครงร่างดังกล่าวมาใส่ไว้ โดยจะมีหัวข้อหลัก ได้แก่ ที่มาของปัญหา คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับในการวิจัย และระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย โดยทั่วไปแล้วในบทที่ 1 ของรายงานการวิจัยอาจจะไม่มีการทบทวนวรรณกรรมและระเบียบวิธีวิจัยอยู่ในบทนี้

21. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research

(2) Responsibility

(3) Recycle

(4) Representative

(5) Resolution

ตอบ 1 หน้า 2, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ โดยอยู่บนพื้นฐานของวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และยังมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และ การอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทำนาย (Predictive)

22. “Predictive” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) ปรัชญาการเมือง

(2) สถาบันทางการเมือง

(3) ทฤษฎีการเมืองคลาสสิค

(4) วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์

(5) ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23. “Scientific Method” มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด

(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์

(2) ยุคคลาสสิค

(3) ยุคเปลี่ยนถ่าย

(4) ยุคสถาบัน

(5) ยุคพฤติกรรมศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 7 – 8 (คำบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) โดยนักรัฐศาสตร์นั้นมองว่า การศึกษาการเมืองจำต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ (Scientific Method) ซึ่งการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทำนายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทำนาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาการเมือง พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น

24. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) จิตวิทยาการเมือง

(2) ปรัชญาการเมือง

(3) สถาบันทางการเมือง

(4) ทฤษฎีการเมืองคลาสสิค

(5) ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25. นางสาวแพรรี่ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศของกลุ่ม LGBTQ” นางสาวแพรรี่ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิทยานิพนธ์

(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน

(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา

(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ

(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์

(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 5 หน้า 24 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้น ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศของกลุ่ม LGBTQ เป็นต้น

26. นายเศรษฐาทําวิจัยเรื่อง “กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2567

นายเศรษฐาใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทําวิจัย

(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน

(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา

(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ

(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์

(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 3 หน้า 22, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่า ในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐ เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน ซึ่งการทํางานของอวัยวะ ต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทําหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องกระบวนการบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย, กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2567 เป็นต้น

27. นายหนูนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “พัฒนาการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดบุรีรัมย์”

นายหนูใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการนําเสนอหัวข้อวิจัย

(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน

(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา

(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ

(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์

(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐาน ว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์ อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการ ของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็น สาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน ในการเมืองไทย, พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2566, พัฒนาการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

28. ญาณวิทยาของการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ คือแบบใด

(1) Normativism

(2) Positivism

(3) Institutionalism

(4) New Institutionalism

(5) New Positivism

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวคิดสํานักปฏิฐานนิยม (Positivism) เป็นแนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยความรู้จะเข้าสู่จิตใจ ของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสและมนุษย์จะเก็บความรู้นั้นไว้ในรูปของความจํา อีกทั้งความจํา จะสามารถผสมผสานหรือรวมกันได้โดยใช้จินตนาการ ซึ่งในแง่ของญาณวิทยานั้นพบว่าวิธีการ แสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมเป็นวิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์หรือแบบสมัยใหม่ นั่นเอง

29. นายเต้นนําเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “ทัศนคติของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อ การเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน” หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนายเต้นสอดคล้องกับ แนวการวิเคราะห์ใด

(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน

(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา

(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ

(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์

(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 2 หน้า 20, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องทัศนคติของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน, พฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ของประชาชนในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2566, การออกไปยืนชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการรัฐประหารที่ถนนสุขุมวิทในช่วงปี พ.ศ. 2557 เป็นต้น

30. นายชวนทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปรียบเทียบรัฐบาลพรรคเดียวกับรัฐบาลผสมในการเมืองไทย”

นายชวนใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิทยานิพนธ์

(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน

(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา

(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ

(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์

(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 1 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ออกมา ซึ่งแนวการวิเคราะห์นี้เลือกที่จะศึกษาเป็นรายประเทศ หรือนำสองประเทศหรือหลายประเทศมาทำการเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง องค์กร และสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น ๆ มาร่วมด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบรัฐบาลพรรคเดียวกับรัฐบาลผสมในการเมืองไทย, การเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ เป็นต้น

31. นายแม้วทำวิจัยเรื่อง “พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2566

นายแม้วใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน

(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา

(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ

(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์

(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

32. นางสาวเดียร์ทำวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ของประชาชนในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2556” นางสาวเดียร์ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน

(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา

(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ

(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์

(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

33. “Objective, Value-Free, Verify, Explanation, Predictive” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Resolution

(2) Result

(3) Resume

(4) Research

(5) Response

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

34. บุคคลใดไม่ใช่ผู้บรรยายรายวิชา POL 4100 ภาคฤดูร้อน/2565

(1) ปิยะภพ เอนกทวีกุล

(2) ปรีชญา ยศสมศักดิ์

(3) ศุภชัย ศุภผล

(4) วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ

(5) ข้อ 3 ถูก

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ผู้บรรยายรายวิชา POL 4100 (หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์) ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565 มีอยู่ทั้งหมด 3 ท่าน คือ
อาจารย์ปิยะภพ เอนกทวีกุล
อาจารย์ปรีชญา ยศสมศักดิ์
อาจารย์วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ

ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 35 – 46. ว่าตัวแปรแต่ละข้อนั้นมีระดับการวัดอยู่ในระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่ใช่ตัวแปร

35. นิกายศาสนาพุทธ

ตอบ 1 หน้า 42 – 45, (คำบรรยาย การวัดแบบนามบัญญัติหรือแบบจัดประเภท (Nominal Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่หยาบที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ ทั้งนี้ การจัดเป็นกลุ่มดังกล่าวจะเป็นเพียงการจัดกลุ่มหรือจัดแยกประเภทเท่านั้น ซึ่งภายในกลุ่มย่อย ที่มีการจัดแบ่งไม่สามารถบอกได้ว่ากลุ่มใดดีกว่า เหนือกว่า หรือไม่สามารถเรียงลำดับได้ และ ไม่สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา สถานภาพการสมรส ภูมิลำเนา ประเภทบุคลากรมหาวิทยาลัย คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย นิกายศาสนาพุทธ หมู่โลหิต เป็นต้น ชาย หญิง

36. เพศ ชาย หญิง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37. ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และสามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่าง ระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคำนวณ แต่จะบอกความสำคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอก ปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับความเครียด ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ อันดับการแข่งขัน ระดับรายได้ ระดับคะแนนสอบ เป็นต้น

38. คะแนนความพึงพอใจในงาน …. คะแนน

ตอบ 3 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบช่วง (Interval Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ สามารถบอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และมีค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่าง เท่า ๆ กัน แต่จะไม่มีศูนย์แท้ ดังนั้นตัวเลขศูนย์ (0) จะเป็นเพียงศูนย์สมมติหรือศูนย์เทียม เช่น อุณหภูมิ องศาเซลเซียส, คะแนนความพึงพอใจในงาน มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

39. อันดับการแข่งขัน อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 รางวัลชมเชย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

40. ศาสนา
□ พุทธ □ คริสต์ □ อิสลาม □ อื่น ๆ (โปรดระบุ) ……….
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

41. อาชีพ
□ รับราชการ □ พนักงานเอกชน □ อื่น ๆ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

42. ระดับความเครียด
□ มากที่สุด □ มาก □ ปานกลาง □ น้อย □ น้อยที่สุด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

43. ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ………. มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

44. รายได้
□ ต่ำกว่า 10,000 บาท □ 10,000 – 19,999 บาท □ 20,000 – 29,999 บาท □ 30,000 บาทขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

45. รายได้ ………. บาท/เดือน
ตอบ 4 หน้า 43 – 45 (คำอธิบาย) การวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่ละเอียดที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ มีค่าเป็นตัวเลขที่มีความหมายต่าง ๆ กัน และมีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ (0) หรือมีศูนย์แท้ เช่น จำนวนบุคลากร ……… คน, จำนวนชั่วโมง ……… คน, ประสบการณ์ทำงาน ……… ปี, อายุ ……… ปี, รายได้ ………. บาท/เดือน เป็นต้น

46. คะแนนสอบวิชา POL 4100 □ ต่ำกว่า 50 คะแนน □ 50 – 79 คะแนน □ 80 คะแนนขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

47. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่ละเอียดที่สุด
(1) เพศ
(2) อายุ
(3) อาชีพ
(4) ระดับความผูกพันขององค์กร

(5) อุณหภูมิ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่หยาบที่สุด
(1) หมวดเลือก
(2) ตำแหน่งทางวิชาการ
(3) คะแนนความเครียดในการปฏิบัติงาน
(4) อันดับการแข่งขัน
(5) จำนวนบุตร
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

49. ข้อใดจัดเป็นตัวแปรเชิงต่อเนื่อง (Continuous Variable)
(1) น้ำหนัก
(2) จำนวนนักเรียน
(3) จำนวนประชากร
(4) จำนวนรถยนต์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 42, (คำอธิบาย) ตัวแปรเชิงต่อเนื่อง (Continuous Variable) เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดออกมาเป็นปริมาณต่อเนื่องได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง รายได้ อุณหภูมิ คะแนนความพึงพอใจในบริการ คะแนนสอบ เป็นต้น

50. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของแบบสอบถาม

(1) สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก

(2) มีความเป็นวัตถุวิสัย

(3) ประหยัดเวลาเมื่อเทียบกับการสัมภาษณ์

(4) ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก

(5) ผู้ตอบมีเวลาคิดใคร่ครวญในคำตอบ

ตอบ 4 หน้า 49, (คำบรรยาย) ข้อดีของแบบสอบถาม ได้แก่
1 ทำให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก
2 ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงานคนเมื่อเทียบกับการสัมภาษณ์และการสังเกต
3 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบจะมีมาตรฐานเดียวกัน หรือมีความเป็นวัตถุวิสัย ไม่มีอคติ
4 ผู้ตอบเกิดความสบายใจที่จะตอบโดยอิสระ
5 ผู้ตอบมีเวลาคิดใคร่ครวญในคำตอบ เป็นต้น

51. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะข้อคำถามที่ดีของเครื่องมือวิจัย

(1) ข้อคำถามควรสั้น กระชับ แต่ได้ความหมายบริบูรณ์

(2) ควรถามคำถามนำ

(3) ไม่ใช้คำถามเชิงปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ

(4) ไม่ถามในสิ่งที่เป็นความลับ

(5) ข้อคำถามควรมีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้ตอบ

ตอบ 2 หน้า 61 – 62, (คำบรรยาย) ลักษณะข้อคำถามที่ดีของเครื่องมือวิจัย ได้แก่
1 ข้อคำถามควรใช้คำหรือประโยคที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่มีความสลับซับซ้อน
2 ข้อคำถามควรสั้น กระชับ แต่ได้ความหมายครบถ้วนบริบูรณ์
3 ข้อคำถามควรมีความเหมาะสมกับผู้ตอบ ทั้งในแง่ระดับสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ หรือสภาพแวดล้อมของผู้ตอบ
4 ไม่ใช้คำถามเชิงปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เพราะจะทำให้ผู้ตอบเกิดความสับสน
5 ไม่ถามในสิ่งที่เป็นความลับ หรือผู้ตอบอึดอัดใจที่จะตอบ
6 ไม่ถามคำถามนำ เป็นต้น

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 52. – 54

(1) Validity

(2) Reliability

(3) Difficulty

(4) Discrimination

(5) Practicality

52. ตัวเลือกใดหมายถึง “คุณสมบัติของเครื่องมือวิจัยที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ”

ตอบ 1 หน้า 62, (คำบรรยาย) ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือวิจัยที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เช่น หากนายเชษฐาต้องการทราบน้ำหนักของตนจึงไปชั่งตราชั่ง ตราชั่งเป็นเครื่องมือวัดน้ำหนัก) ปรากฏว่าเข็มตราชั่งชี้ไปที่น้ำหนัก 61 กิโลกรัม ทั้ง ๆ ที่น้ำหนักที่แท้จริงของนายเชษฐาคือ 56 กิโลกรัม กรณีนี้แสดงว่าตราชั่งมีปัญหาเรื่องความเที่ยงตรง เป็นต้น

53. การนำแบบสอบถามไปหาค่า IOC นั้นเป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด

ตอบ 1 หน้า 62 – 63, (คำบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยทั่วไปจะใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งจำนวนที่ใช้ไม่ควรต่ำกว่า 3 คน ในการพิจารณา โดยวิธีการหาค่านั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่
1 การหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (Index of Item Objective Congruence : IOC)

2. การหาอัตราส่วนความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคําถาม (Content Validity Ratio : CVR)
3. การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นต้น

54. การนำแบบสอบถามไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง ในต่างช่วงเวลากัน เพื่อตรวจสอบดูความคงเส้นคงวา ของคําตอบ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด

ตอบ 2 หน้า 65, (คําบรรยาย) ความเชื่อมั่นแบบคงที่ (Stability Reliability) คือ ความคงเส้นคงวา ของเครื่องมือวิจัยเมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากัน กล่าวคือ เครื่องมือวิจัยที่มีความเชื่อมั่น แบบคงที่ก็คือ เครื่องมือวิจัยที่เมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากันกับผู้ตอบคนเดียวกัน โดยใช้ เครื่องมือฉบับเดิมแล้วได้คําตอบที่เหมือน ๆ เดิม เช่น วิธีการทดสอบ (Test-Retest Method) โดยนักวิจัยจะนําเครื่องมือวิจัย (แบบสอบถาม) ฉบับเดียวกันไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง แต่ต่างช่วงเวลากัน หากผู้ตอบคนใดไม่สามารถตอบได้ทั้ง 2 ครั้ง นักวิจัยต้องตัดผู้ตอบคนนั้น ออกไปไม่นํามาใช้ในการคํานวณหาความเชื่อมั่น เป็นต้น

55. การหาค่า IOC ต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิขั้นต่ํากี่คนในการพิจารณา

(1) จำนวน 1 คน

(2) จำนวน 2 คน

(3) จำนวน 3 คน

(4) จำนวน 4 คน

(5) จำนวน 5 คน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

56. จากตัวเลือกต่อไปนี้ข้อใดมีค่าความยากง่ายดีที่สุด

(1) P = 0.90

(2) P = 0.75

(3) P = 0.50

(4) P = 0.25

(5) P = 0.15

ตอบ 3 หน้า 66, (คําบรรยาย) ความยากง่าย (Difficulty) นิยมใช้กับเครื่องมือวิจัยประเภทแบบทดสอบ โดยค่าความยากง่ายของข้อคําถามโดยทั่วไปนิยมคิดคํานวณเป็นค่าสัดส่วน (Proportion : P) ของจํานวนผู้ตอบถูกจากจํานวนผู้ตอบทั้งหมดในข้อคําถามนั้น ๆ โดย P จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 – 1.00 ถ้า P ที่คํานวณได้เข้าใกล้ 0 แสดงว่าข้อคําถามนั้นยากมาก, ถ้า P ที่คํานวณได้ เข้าใกล้ 1 แสดงว่าข้อคําถามนั้นง่ายมาก แต่ถ้า P = 0.50 แสดงว่าข้อคําถามนั้นมีความยากง่าย ดีที่สุด ซึ่งหมายความว่าข้อคําถามในแบบทดสอบนั้นมีความยากง่ายปานกลาง คือไม่ยากหรือ ง่ายจนเกินไป

57. เครื่องมือชนิดใดที่นิยมนํามาใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง

(2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

(3) แบบสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง

(4) แบบสังเกต

(5) แบบสอบถาม

ตอบ 5 หน้า 46, (คําบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ที่ถูกนํามาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการ ของคําถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคําถามอย่างเป็นระบบในการ ส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็น ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่าง ๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมา ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

58. จากตัวเลขของชุดข้อมูลมีดังนี้ 10, 15, 15, 17, 20, 23, 25 ฐานนิยมคือค่าใด

(1) 10

(2) 15

(3) 17

(4) 25

(5) 17.86

ตอบ 2 หน้า 74, (คำบรรยาย) ฐานนิยม คือ ค่าของข้อมูลที่ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา คือ 10, 15, 15, 17, 20, 23, 25 จะเห็นว่า ข้อมูลเลข 15 ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด (ซ้ำกัน 2 ตัว) … ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 15

59. ข้อใดเป็นสถิติอ้างอิง

(1) Arithmetic Mean

(2) Mode

(3) Standard Deviation

(4) Range

(5) Independent Sample T-test

ตอบ 5 หน้า 71, 77 – 79, (คำบรรยาย) สถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงข้อมูลหรือผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากรเป้าหมาย เช่น การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test), การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นต้น

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 60. – 67.

(1) Arithmetic Mean

(2) Independent Sample T-test

(3) Chi-Square Test

(4) One-Way ANOVA

(5) Correlation

60. นักวิจัยต้องการทราบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้

ตอบ 4 หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นสถิติที่คิดค้นโดย Sir Ronald A. Fisher เพื่อใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร ต่อมาภายหลังจึงได้นำไปใช้ในงานวิจัยด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวนั้นจะใช้ในการทดสอบนัยสำคัญว่าค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขึ้นไป มีความแตกต่างกันหรือไม่ หรือเป็นวิธีทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระที่มีกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป นำไปวิเคราะห์กับตัวแปรตาม ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ เป็นต้น

61. นักวิจัยต้องการทราบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์วิจัย

ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คำบรรยาย) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test) เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 2 ชุด ที่สุ่มมาจากประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิง มีเหลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ เป็นต้น

62. นักวิจัยต้องการทราบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63. นักวิจัยต้องการทราบว่าอายุงานมีความสัมพันธ์กับคะแนนความผูกพันต่อองค์การหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้

ตอบ 5 หน้า 83 – 84, (คำบรรยาย) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient หรือค่า r) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่มีระดับการวัดแบบช่วงหรือแบบอัตราส่วน โดย r จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 นั่นคือ หาก : มีค่าเข้าใกล้ -1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางตรงกันข้าม หาก ๆ มีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่หาก 1 มีค่าเข้าใกล้ +1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างอายุงานกับคะแนนความผูกพันต่อองค์การ เป็นต้น

64. นักวิจัยต้องการทราบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับระดับความสุขในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) หรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้

ตอบ 3 หน้า 78, 82 – 83, (คำบรรยาย) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test) เป็นการทดสอบทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบตัวแปรเชิงคุณภาพที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติหรือแบบเรียงลําดับ ทั้งนี้พึงตระหนักว่าการทดสอบดังกล่าวจะเป็นเพียงการบอกว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ใน กรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระดับความสุขในการทํางาน เป็นต้น

65. สถิติตัวใดที่มีเงื่อนไขในการใช้ว่า ค่าความถี่ที่คาดหวังในแต่ละช่องเซลล์ต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5

ตอบ 3 หน้า 82, (คำบรรยาย) ข้อตกลงเบื้องต้นของการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) ได้แก่ 1. ข้อมูลแต่ละค่า (ค่าที่สังเกตได้) ต้องอยู่ในช่องเซลล์ใดเซลล์หนึ่งเท่านั้น 2. ข้อมูลแต่ละค่าเป็นอิสระจากข้อมูลอื่น 3. ข้อมูลที่น่ามาวิเคราะห์เป็นความถี่ 4. ค่าความถี่ที่คาดหวังในแต่ละช่องเซลล์ต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5 เป็นต้น

66. สถิติตัวใดเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

67. สถิติตัวใดเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

68. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้า

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร

(4) โครงร่างการวิจัย

(5) รายงายความก้าวหน้างานวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

69. ข้อใดถูกต้อง

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือน “ขนมชั้น”

(3) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

(4) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องใส่อ้างอิง

(5) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ

ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนา มากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกหลัก, หน้าปกใน ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก หน้าอนุมัติ, บทคัดย่อภาษาไทย, บทคัดย่อภาษาอังกฤษ, หน้าประกาศคุณูปการหรือ กิตติกรรมประกาศ เป็นต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาจํานวน 5 บทหลัก
3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้วิจัย

70. หลัก 3R ในการทําวิจัย ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) Research, Reproduce, Report

(2) Research, Reproduce, Reference

(3) Research, Reproduce, Reply

(4) Research, Report, Reply

(5) Research, Report, Reference

ตอบ 5 หน้า 90, (คําบรรยาย) หลัก 3R ในการทําวิจัย ประกอบด้วย
1. Research หมายถึง การลงมือทําวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2. Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทําวิจัย
3. Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นํามาใช้อย่างครบถ้วน

71. “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึงงานวิจัยที่มีลักษณะอย่างไร

(1) งานวิจัยที่ศึกษาประเด็นความเชื่อ ศาสนา จิตวิญญาณ

(2) งานวิจัยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ

(3) งานวิจัยที่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง

(4) งานวิจัยเก่า ๆ

(5) งานวิจัยที่ผู้คนเคารพบูชา

ตอบ 2 หน้า 89, (คําบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทําเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้น โครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง หรือไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ แต่อย่างใด

72. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) ภาคผนวกจะอยู่ในส่วนประกอบตอนท้าย

(3) ประกอบไปด้วย 3 บทหลัก

(4) ต้องมีบทคัดย่อ

(5) ปกหลัก และปกใน มีเนื้อหาและรายละเอียดเหมือนกัน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

73. องค์ประกอบใดไม่อยู่ในส่วนเนื้อเรื่องของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) บทนํา

(2) การทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 5 หน้า 92 – 94, (คําบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้

บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ที่มาและความสําคัญของปัญหา คําถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจํากัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดําเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสําคัญทั้งต่อการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

74. เนื้อหาในบทใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่สามารถแยกเนื้อหาได้มากกว่า 1 บท

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย

(5) บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล

ตอบ 4 หน้า 94, 109 บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย หรือ “ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล” ของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ในบางกรณีนั้นพบว่างานวิจัยในบางฉบับสามารถที่จะแยกเนื้อหา บทที่ 4 ออกเป็นหลายบทตามจํานวนของวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในบทที่ 1 ได้เช่นกัน

75. รายงานการวิจัยฉบับสั้นมักจะมีความยาวประมาณกี่หน้า

(1) 10 – 15 หน้า

(2) 20 – 25 หน้า

(3) 50 – 70 หน้า

(4) 90 – 100 หน้า

(5) 120 – 150 หน้า

ตอบ 3 หน้า 96, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดย่อส่วน ลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า

76. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของบทนา

(1) สรุปผลการวิจัย

(2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย

(3) สารบัญ

(4) แบบสอบถาม

(5) ข้อเสนอแนะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

77. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของบทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสารได้ถูกต้อง

(1) มีความยาวประมาณ 40 – 50 หน้า

(2) ผู้วิจัยสามารถกําหนดรูปแบบการเขียนและการจัดรูปหน้าเองได้

(3) การใช้ระบบอ้างอิงขึ้นอยู่กับข้อกําหนดของแต่ละวารสาร

(4) ไม่ต้องใส่ข้อเสนอแนะ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกําหนดของแต่ละวารสาร กรณีของประเทศไทยในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

78. ลักษณะสําคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย” ที่แตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น คืออะไร

(1) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

(2) เป็นรายงานที่ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(3) เป็นรายงานที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(4) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นก่อนเสนอโครงการวิจัย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 99, (คําบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่จําเป็นต้องมีรายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสําคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทําสัญญากันไว้

79. บทใดในรายงานการวิจัยที่ทําหน้าที่เสมือน “ม่านในโรงละคร”

(1) บทนํา

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิจัย

(5) ข้อเสนอแนะ

ตอบ 1 หน้า 102, (คําบรรยาย) บทนํา (Introduction) ทําหน้าที่เสมือน “ม่านในโรงละคร” ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความสําคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสําคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย อันจะนําไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย” (Research Design) ต่อไป ซึ่งบทนําที่ดีและน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไปว่างานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา เลือกวิธีการนําเสนอ และคลี่คลายไปในทิศทางใด

80. หากผู้วิจัยต้องการใส่บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มลงไปในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผู้วิจัยควรใส่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในส่วนใดของรายงาน

(1) กิตติกรรมประกาศ

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บรรณานุกรม

(5) ภาคผนวก

ตอบ 5 หน้า 95, (คําบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติม ของรายงานการวิจัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความ จากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม/บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม) รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและผลการคํานวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น

81. หน่วยงานใดที่ทําหน้าที่จัดประเภทวารสารทางวิชาการของไทยในปัจจุบัน

(1) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

(2) วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ

(3) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

(4) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

(5) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

82. ในการเขียนที่มาและความสําคัญของปัญหาผู้วิจัยควรจะคํานึงถึงหลักการข้อใด

(1) เขียนให้ตรงประเด็น

(2) เขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญ

(3) เขียนให้มีความยาวเหมาะสม

(4) อ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 103, (คําบรรยาย) การเขียน “ที่มาและความสําคัญของปัญหา” ผู้วิจัยควรจะคํานึงถึงหลักสําคัญดังนี้
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญของปัญหา
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนําตัวเลข ตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 ผู้วิจัยต้องขมวดหรือสรุปประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายให้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น

83. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

(1) อยู่ในรูปของวิธีการดําเนินการ

(2) มีลักษณะของ “SMART”

(3) อยู่ในขอบเขตของการวิจัย

(4) มีความชัดเจน

(5) เรียงลําดับความสําคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ

ตอบ 1 หน้า 103 – 104, (คําบรรยาย) หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่
1 การเขียนให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร
2 การเขียนให้อยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้
3 การจัดเรียงลําดับความสําคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ
4 การเขียนไม่ควรอยู่ในรูปของวิธีการดําเนินการ
5 การเขียนไม่ควรมีจํานวนข้อมากจนเกินไป
6 การเขียนวัตถุประสงค์ควรให้มีลักษณะของ “SMART” เป็นต้น

84. “งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อทําความเข้าใจข้อเสนอและแนวคิดของซินเธีย เอ็นโล เกี่ยวกับประเด็นทางเพศ ในบริบทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ข้อความในเครื่องหมายคําพูดเหมาะที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ในการวิจัย

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) อภิปรายผล

(5) สรุปผลการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 28, (คำบรรยาย) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective) ของรายงานการวิจัย คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อทำความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย

85. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

(1) ความเหมาะสม (Sensible :S)

(2) การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M)

(3) การเป็นที่สนใจ (Attention : A)

(4) การคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

(5) ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R)

ตอบ 3 หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทำได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : 7)

86. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมของสมัชชาสุขภาพจังหวัดภาคใต้ตอนบน” ส่วนที่ขีดเส้นใต้จัดเป็นขอบเขตการวิจัยด้านใด

(1) พื้นที่

(2) เวลา

(3) ประชากร

(4) เนื้อหา

(5) ปริมาณ

ตอบ 4 หน้า 104, (คำบรรยาย) ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทำให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัย ว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทำให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณของคลังข้อมูลจำนวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้นขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ และเวลา ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมของสมัยสุขภาพจังหวัด ภาคใต้ตอนบน” จะเห็นได้ว่าขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ นโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

87. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการทบทวนวรรณกรรมได้ถูกต้อง

(1) สัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กำลังทำอยู่

(2) เลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญ

(3) ควรสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่

(4) เรียบเรียงสาระอย่างเป็นขั้นตอนโดยชี้ให้เห็นว่างานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 107 – 108, (คำบรรยาย) จินตนาภา โสภณ ได้เสนอหลักการในการทบทวนวรรณกรรมไว้ดังนี้
1 วรรณกรรมที่ผู้วิจัยเลือกมาทบทวนต้องมีความสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กำลังทำอยู่
2 วรรณกรรมที่นำมาทบทวนผู้วิจัยสามารถอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า โดยเลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญเท่านั้น
3 ในกรณีที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ศึกษาในประเด็นคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยควรนำมาทบทวนรวมกันในย่อหน้าเดียวกันและสรุปผลออกมาเป็นกลุ่ม มากกว่าการสรุปผลแยกกัน
4 การเขียนทบทวนวรรณกรรมควรเลือกที่ได้มีการรวบรวมและสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่
5 การทบทวนวรรณกรรมควรมีการเรียบเรียงสาระสําคัญอย่างเป็นขั้นตอน โดยชี้ให้เห็นว่าผลงานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร เป็นต้น

88. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนทบทวนวรรณกรรม

(1) เป็นการทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้

(2) เป็นการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา

(3) เป็นการทบทวนงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้อง

(4) การทบทวนวรรณกรรมจะปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย

(5) เป็นการเรียบเรียงความคิดจากการทบทวนวรรณกรรมทุกเรื่องที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 106, (คําบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกําลังศึกษามาทําการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

89. ข้อใดไม่ใช่การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) การแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์

(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก

(3) การทําแบบทดสอบ

(4) การทําการทดลองในห้องปฏิบัติการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 109, (คําบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าทําอย่างไร มีขั้นตอนในการพราวสอบข้อมูลและควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้วิธีการดังกล่าว และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและครบถ้วนอย่างไร เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ (การทําแบบทดสอบ, การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์, การทําการทดลองในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ) การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, การสัมภาษณ์เชิงลึก, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ฯลฯ) เป็นต้น

90. “ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทําการศึกษาสําหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จากการศึกษารายงานทางสถิติจํานวนประชากรในเขตจังหวัดสมุทรปราการ มีข้อมูลที่กระทรวงมหาดไทย อ้างอิงประกาศพบว่ามีจํานวนประชากร 1,261,530 คนอ้างอิงจากทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558” ข้อความในเครื่องหมายคําพูดเหมาะที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ในการวิจัย

(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

(3) สมมติฐานการวิจัย

(4) ขอบเขตของการวิจัย

(5) ข้อเสนอแนะ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

91. “อาวุธของนักล่าอสูรคือดาบนิจิริน ทันจิโร่เป็นนักล่าอสูรจึงมีดาบนิจิรินเป็นอาวุธ” ข้อความในเครื่องหมายคำพูดเป็นการให้เหตุผลแบบใด

(1) นิรนัย

(2) อุปนัย

(3) อัตนัย

(4) ปรนัย

(5) นิตินัย

ตอบ 1 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น อาวุธของนักล่าอสูรคือดาบนิจิริน ทันจิโร่เป็นนักล่าอสูร จึงมีดาบนิจิรินเป็นอาวุธ, อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด, แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย เป็นต้น

92. “มุซันเป็นอสูรที่แพ้แสงอาทิตย์ อสูรตนอื่น ๆ จึงมีโอกาสที่จะแพ้แสงอาทิตย์” ข้อความในเครื่องหมายคำพูดเป็นการให้เหตุผลแบบใด

(1) นิรนัย

(2) อุปนัย

(3) อัตนัย

(4) ปรนัย

(5) นิตินัย

ตอบ 2 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น มุขันเป็นอสูรที่แพ้แสงอาทิตย์ อสูรตนอื่น ๆ จึงมีโอกาสที่จะแพ้แสงอาทิตย์, เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน, นายแดง ชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน เป็นต้น

93. หน้าที่ของ “บทคัดย่อ” คืออะไร

(1) ทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยได้ในเวลาอันรวดเร็ว

(2) แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีคุณูปการในงานวิจัย

(3) ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในอนาคต

(5) บอกประวัติผู้วิจัย

ตอบ 1 หน้า 114 บทคัดย่อ (Abstract) มีหน้าที่สำคัญในการทำให้ผู้อ่านวิจัยหรือบทความสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ข้อความครอบคลุมเนื้อหาของรายงานการวิจัยทั้งหมด

94. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณกี่หน้ากระดาษ A4

(1) ไม่เกิน 1 หน้า

(2) 3 – 5 หน้า

(3) 15 – 20 หน้า

(4) 50 – 70 หน้า

(5) ไม่มีการกำหนดความยาว

ตอบ 2 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) การเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ควรมีลักษณะดังนี้
1 มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ
2 ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
3 อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จำเป็นได้
4 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร
5 บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณ 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 เป็นต้น

95. โดยปกติแล้วการนำเสนอด้วยวาจาจะถูกกำหนดระยะเวลาในการนำเสนอยาวกี่นาที

(1) 5 – 10 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 30 – 40 นาที

(4) 60 นาที

(5) ไม่มีการกำหนดระยะเวลา

ตอบ 2 หน้า 125 การนำเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจำเป็นต้องเตรียมสไลด์สำหรับการนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลำดับความคิดและเนื้อหาสำหรับผู้นำเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นำเสนอมักจะถูกกำหนดให้นำเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

96. พฤติกรรมใดที่จะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสกระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงาน (Plagiarism)

(1) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรม Turn it in

(2) ไม่ตรวจสอบการสะกดคำ

(3) สรุปข้อความที่ได้จากแหล่งข้อมูลอื่นด้วยภาษาของตนเองและใส่อ้างอิง

(4) ใช้ภาษากึ่งทางการ

(5) คัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง

ตอบ 5 หน้า 118 – 121, (คำบรรยาย) หลักการในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้
1. จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม หรือใช้ตัวเลขผสมกับตัวอักษร
2. เรียบเรียงเนื้อหาของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
3. ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์
4. ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป
5. ระวังพฤติกรรมในการคัดลอก (Copy) และวาง (Place) เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสกระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง (Plagiarism) ดังนั้นควรตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรม Turn it in เป็นต้น

97. ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

(1) สถานที่ในการนำเสนอผลงาน

(2) กำหนดการและรูปแบบของการจัดงาน

(3) ลักษณะของผู้เข้าชมงาน

(4) เนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 122 – 124, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่
1 การวางแผน เช่น สถานที่ในการนำเสนอผลงาน ขนาดของโปสเตอร์ วันและเวลากำหนดการ รูปแบบของการจัดงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
2 เนื้อหาของโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์ให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เข้าชมงาน
3 รูปแบบโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลังโปสเตอร์ ประเภทและขนาดของตัวอักษร เป็นต้น

98. องค์ประกอบใดไม่ควรมีอยู่ในโปสเตอร์ที่ผู้วิจัยใช้นำเสนอผลงาน

(1) ชื่อเรื่อง

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทคัดย่อ

(5) ผลการวิจัย

ตอบ 2 หน้า 123, (คำบรรยาย) องค์ประกอบของการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. บทคัดย่อ (Summary)
3. บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)
4. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย”
5. ผลการวิจัย (Research Results)

99. นักวิจัย A ค้นพบว่ามีแหล่งน้ำบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน งานวิจัยของนักวิจัย A จะถูกจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 1 หน้า 129, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือเครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็นอิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ เช่น นักวิจัย A ค้นพบว่ามีแหล่งน้ำบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน เป็นต้น

100. งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ จัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา

(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คำนึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัยสามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่างๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัยประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด เช่น งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น

 

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)”

1. ข้อใดคือความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) เป็นการเผยแพร่ข้อค้นพบหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ

(2) ส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์

(3) บอกเล่าให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาที่ผู้วิจัยศึกษา

(4) แสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 89 – 90, (คำบรรยาย) ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ ๆ ในวงวิชาการ
2 สามารถส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทำวิจัยแล้วมีคนเพียงจำนวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาที่ผู้วิจัยศึกษา
4 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ “สิทธิบัตร” ในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ได้

2. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะเขียนก่อนการลงมือทำวิจัย

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร

(4) โครงร่างการวิจัย

(5) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 34 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อ ขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นเสีย

ตัวอย่างเช่น กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้าน สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นต้น

3. หลัก 3R ในการทำวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) Research, Reproduce, Report

(2) Research, Report, Reference

(3) Research, Report, Reply

(4) Research, Reproduce, Reply

(5) Research, Reproduce, Reference

ตอบ 2 หน้า 90, (คำบรรยาย) หลัก 3R ในการทำวิจัย ประกอบด้วย
1 Research หมายถึง การลงมือทำวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2 Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทำวิจัย
3 Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้อย่างครบถ้วน

4. “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึงงานวิจัยที่มีลักษณะอย่างไร

(1) งานวิจัยที่ศึกษาประเด็นความเชื่อ ศาสนา จิตวิญญาณ

(2) งานวิจัยเก่า ๆ

(3) งานวิจัยที่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง

(4) งานวิจัยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ

(5) งานวิจัยที่ผู้คนเคารพบูชา

ตอบ 4 หน้า 89, (คำบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทำเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้นโครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หรือไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการแต่อย่างใด

5. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) ภาคผนวกจะอยู่ในส่วนประกอบตอนท้าย

(3) ประกอบไปด้วย 5 บทหลัก

(4) ไม่จำเป็นต้องมีบทคัดย่อ

(5) ปกหลัก และปกใน มีเนื้อหาและรายละเอียดเหมือนกัน

ตอบ 4 หน้า 91 – 92, 95, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกหลัก, หน้าปกใน ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก หน้าอนุมัติ, บทคัดย่อภาษาไทย, บทคัดย่อภาษาอังกฤษ, หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ เป็นต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 5 บทหลัก
3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้วิจัย

6. องค์ประกอบใดไม่อยู่ในส่วนเนื้อเรื่องของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) บทนำ

(2) การทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 5 หน้า 92 – 94, (คำบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

7. เนื้อหาในบทใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่สามารถแยกเนื้อหาได้มากกว่า 1 บท

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย

(5) บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล

ตอบ 4 หน้า 94, 109 บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย หรือ “ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล” ของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ในบางกรณีนั้นพบว่า งานวิจัยในบางฉบับสามารถที่จะแยกเนื้อหา บทที่ 4 ออกเป็นหลายบทตามจำนวนของวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในบทที่ 1 ได้เช่นกัน

8. รายงานการวิจัยฉบับสั้นมักจะมีความยาวประมาณกี่หน้า

(1) 10 – 15 หน้า

(2) 20 – 25 หน้า

(3) 50 – 70 หน้า

(4) 90 – 100 หน้า

(5) 120 – 150 หน้า

ตอบ 3 หน้า 96, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการ เผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า

9. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของบทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสารได้ถูกต้อง

(1) ผู้วิจัยสามารถกำหนดรูปแบบการเขียนและการจัดรูปหน้าเองได้

(2) มีความยาวประมาณ 40 – 50 หน้า

(3) ไม่ต้องใส่ข้อเสนอแนะ

(4) การใช้ระบบอ้างอิงขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละวารสาร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คำบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจาก รายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบ การเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละ วารสาร กรณีของประเทศไทยในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภท โดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

10. หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่จัดประเภทวารสารทางวิชาการของไทยในปัจจุบัน

(1) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

(2) วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ

(3) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

(4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

(5) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. หากผู้วิจัยต้องการใส่บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มลงไปในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผู้วิจัยควรใส่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในส่วนใดของรายงาน

(1) กิตติกรรมประกาศ

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ภาคผนวก

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 4 หน้า 95, (คำบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติม ของรายงานการวิจัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความ จากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม/บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม) รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น

12. ลักษณะสำคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย” ที่แตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น คืออะไร

(1) เป็นรายงานที่ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(2) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

(3) เป็นรายงานที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(4) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นก่อนเสนอโครงการวิจัย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 99, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้

13. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(1) เป็นรายงานวิจัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

(2) มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามแผนวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้กับความก้าวหน้าในงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริง

(3) การรายงานผลการวิจัยขั้นต้น คือการจัดทำรายงานหลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยไปแล้วสักระยะหนึ่ง

(4) การรายงานความก้าวหน้ามักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา

(5) การรายงานผลวิจัยขั้นสุดท้ายจะเขียนขึ้นเมื่อทำวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการเขียนวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 100 – 101, (ค่าบรรยาย) ลักษณะของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย ได้แก่
1. ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้า มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามแผนวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้กับความก้าวหน้าในงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริง
2. การรายงานผลการวิจัย การวิจัยขั้นต้น ผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการดำเนินงานในขั้นแรก ตลอดจนรายละเอียดของการปรับแก้ในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้
3. การรายงานความก้าวหน้า เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยไปแล้วระยะหนึ่ง โดยมักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา
4. การรายงานผลวิจัยขั้นสุดท้าย เป็นรายงานที่เขียนขึ้นเมื่อทำวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการเขียนวิจัยฉบับสมบูรณ์ (ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ)

14. เนื้อหาส่วนใดในรายงานการวิจัยที่ทำหน้าที่เปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญของปัญหา

(1) บทนำ

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิจัย

(5) ข้อเสนอแนะ

ตอบ 1 หน้า 102 บทนำ (Introduction) เป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย อันจะนำไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย” (Research Design) ต่อไป ซึ่งบทนำที่ดีและน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไป ว่างานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา เลือกวิธีการนำเสนอ และคลี่คลายไปในทิศทางใด

15. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของบทนำ

(1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา

(2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย

(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

(4) ข้อเสนอแนะ

(5) สมมติฐานงานวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

16. ในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักการข้อใด

(1) เขียนให้ตรงประเด็น

(2) เขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ

(3) เขียนให้มีความยาวเหมาะสม

(4) อ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 103 (คำบรรยาย) การเขียน “ที่มาและความสำคัญของปัญหา” ผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้:
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญของปัญหา
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนำตัวเลข ตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 ผู้วิจัยต้องขมวด หรือสรุปประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายให้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น

17. หลักการที่เรียกว่า “หลัก 3R” ไม่สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1) การลงมือเก็บข้อมูลวิจัยในพื้นที่ด้วยการแจกแบบสอบถาม

(2) การนำเสนอแหล่งที่มาของข้อมูลวิจัยเพียงบางส่วน

(3) การเขียนรายงานการวิจัยโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงมากกว่าอคติ

(4) การนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของตารางตามลำดับเวลา

(5) การออกแบบการวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

18. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

(1) ความเหมาะสม (Sensible : S)

(2) การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M)

(3) การเป็นที่สนใจ (Attention : A)

(4) การคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

(5) ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R)

ตอบ 3 หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทำได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

19. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

(1) อยู่ในรูปของวิธีการดำเนินการ

(2) มีลักษณะของ “SMART”

(3) อยู่ในขอบเขตของการวิจัย

(4) มีความชัดเจน

(5) เรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ

ตอบ 1 หน้า 103 – 104, (คำบรรยาย) หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่:
1 การเขียนให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร
2 การเขียนให้อยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้
3 การจัดเรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ
4 การเขียนไม่ควรอยู่ในรูปของวิธีการดำเนินการ
5. การเขียนไม่ควรมีจํานวนข้อมากจนเกินไป
6. การเขียนวัตถุประสงค์ควรให้มีลักษณะของ “SMART” เป็นต้น

20. “นโยบายต่างประเทศเปรียบเทียบของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัย ประธานาธิบดีบารัค โอบามา และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” จากชื่อวิจัยดังกล่าวอะไรจัดเป็นขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา

(1) นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

(2) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(3) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา

(4) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 104 (คำบรรยาย) ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกําหนดขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทําให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับ อาณาบริเวณของคลังข้อมูลจํานวนมหาศาลเพียงใด เช่น การวิจัยเรื่อง “นโยบายต่างประเทศ เปรียบเทียบของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” จะเห็นได้ว่าขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

21. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการทบทวนวรรณกรรมได้ถูกต้อง

(1) สัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กําลังทําอยู่

(2) เลือกเฉพาะรายละเอียดที่สําคัญ

(3) ควรสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่

(4) เรียบเรียงสาระอย่างเป็นขั้นตอนโดยชี้ให้เห็นว่างานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 107 – 108, (บรรยาย) จินตนาภา โสภณ ได้สนอหลักการในการทบทวนวรรณกรรม ไว้ดังนี้
1 วรรณกรรมที่ผู้วิจัยเลือกมาทบทวนต้องมีความสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กําลังทําอยู่
2 วรรณกรรมที่นํามาทบทวนผู้วิจัยสามารถอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า โดยเลือกเฉพาะรายละเอียดที่สําคัญเท่านั้น
3 ในกรณีที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ศึกษาในประเด็นคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยควรนํามาทบทวน รวมกันในย่อหน้าเดียวกันและสรุปผลออกมาเป็นกลุ่ม มากกว่าการสรุปผลแยกกัน
4 การเขียนทบทวนวรรณกรรมควรเลือกที่ได้มีการรวบรวมและสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่
5 การทบทวนวรรณกรรมควรมีการเรียบเรียงสาระสําคัญอย่างเป็นขั้นตอน โดยชี้ให้เห็นว่าผลงานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร เป็นต้น

22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนทบทวนวรรณกรรม

(1) เป็นการทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้

(2) เป็นการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา

(3) เป็นการทบทวนงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้อง

(4) การทบทวนวรรณกรรมจะปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย

(5) เป็นการเรียบเรียงความคิด จากการทบทวนวรรณกรรมทุกเรื่องที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 106, (คำบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกำลังศึกษามาทำการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

23. “ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 กลุ่ม คือ (1) หัวหน้าสถานีตำรวจ สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยเน้นสถานีตำรวจนครบาลที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก (2) เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาล และกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวรวม 361 คน” ข้อความในเครื่องหมายคำพูดเหมาะที่จะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ในการวิจัย

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) อภิปรายผล

(5) สรุปผลการวิจัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

24. ข้อใดเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล

(2) การแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์

(3) การทำแบบทดสอบ

(4) การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 109, (คำบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าทำอย่างไร มีขั้นตอนในการตรวจสอบข้อมูลและควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้วิธีการดังกล่าว และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและครบถ้วนอย่างไร เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ฯลฯ) การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ (การทำแบบทดสอบ, การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ฯลฯ) เป็นต้น

25. ข้อใดกล่าวถึงการนำเสนอข้อมูลในการเขียนผลการวิจัยไม่ถูกต้อง

(1) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง

(2) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียงกิ่งตาราง

(3) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ

(4) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัยและนิรนัยผสมกันได้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 109 – 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) ในการเขียนผลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถทำเป็นลักษณะความเรียง (Text Presentation) ความเรียงกึ่งตาราง (Semi-Tabulation Presentation) หรือแบบตาราง (Tabulation Presentation) ซึ่งในกรณีที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมาก การมีตารางหรือแผนภูมิประกอบย่อมจะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจข้อมูลทั้งหมดของงานวิจัยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสามารถนำเสนอข้อมูลแบบ “นิรนัย” หรือแบบ “อุปนัย” ก็ได้ แต่เมื่อเลือกนำเสนอด้วยวิธีการใดแล้วก็ควรใช้วิธีการดังกล่าวตลอดรายงานการวิจัย

26. ข้อความใดใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive)

(1) เงาะลูกนี้หวาน เงาะในตะกร้าทุกลูกมีรสหวาน

(2) นายแดงชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน

(3) อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด

(4) นางสาวมานี้ถนัดทำงานบ้าน ผู้หญิงทุกคนถนัดทำงานบ้าน

(5) เด็กชายมานพไม่ชอบสีชมพู เด็กผู้ชายไม่ชอบสีชมพู

ตอบ 3 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด, แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย เป็นต้น

27. ข้อความใดใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive)

(1) ผู้ชายมักชอบดูฟุตบอล นายสมศักดิ์จึงชอบฟุตบอล

(2) เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน

(3) ผู้หญิงชอบแต่งหน้า นางสาวสมศรีจึงชอบแต่งหน้า

(4) แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย

(5) เจ้าหญิงดิสนีย์มักมีผมสีทอง ซินเดอเรลล่ามีผมสีทอง ซินเดอเรลล่าเป็นเจ้าหญิง

ตอบ 2 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน, นายแดงชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน เป็นต้น

28. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการเขียนอภิปรายผลได้ถูกต้อง

(1) เขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน

(2) แสดงผลการวิจัยที่สนับสนุน ขยายความ หรือถกเถียงในแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่มีอยู่

(3) ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการวิจัยที่อาจส่งผลต่อผลของการศึกษา

(4) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากข้อค้นพบว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 110 หลักในการเขียนอภิปรายผล มีดังนี้
1. เขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน
2. แสดงผลการวิจัยที่สนับสนุน ขยายความ หรือถกเถียงในแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่มีอยู่
3. ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการวิจัยที่อาจส่งผลต่อผลของการศึกษา
4. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากข้อค้นพบว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

29. ข้อใดกล่าวถึงข้อควรระวังในการสรุปผลได้ถูกต้อง

(1) ต้องอยู่ภายในขอบเขตของงานวิจัย

(2) ต้องตอบคำถามการวิจัยและสมมติฐานที่ตั้งไว้

(3) ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล

(4) ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คำบรรยาย) ข้อควรระวังในการสรุปผล มีดังนี้
1. ต้องตอบคำถามการวิจัย ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ และสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ต้องอยู่ภายในขอบเขตของงานวิจัย
3. ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม
4. ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล
5. ต้องกำจัดความลำเอียงและอคติส่วนบุคคลออกไป เป็นต้น

30. ในการเขียนข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยควรนำเสนอประเด็นใดบ้าง

(1) การนำผลวิจัยไปใช้

(2) จุดเด่น จุดด้อยของระเบียบวิธีวิจัย

(3) ข้อจำกัดของงานวิจัย

(4) ข้อ 1 – 3 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3 ผิด

ตอบ 4 หน้า 112, (คำบรรยาย) การเขียนข้อเสนอแนะ สามารถนำเสนอได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1. ประเด็นที่เกี่ยวกับการนำผลวิจัยไปใช้ เพื่อแสดงว่าผลการวิจัยสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ใดได้บ้าง หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใดบ้าง
2. ประเด็นที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย โดยชี้ให้ผู้อ่านเห็นถึงจุดเด่น จุดด้อย หรือข้อควรระวัง ของระเบียบวิธีวิจัยที่ผู้วิจัยได้ทำไว้
3. ประเด็นที่เกี่ยวกับการทำวิจัยต่อไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำปัญหาวิจัยคล้ายคลึงกัน ได้เห็นประเด็นที่ควรศึกษาต่อไป รวมไปถึงข้อจำกัดของงานวิจัย

31. ส่วนใดในรายงานการวิจัยที่มีหน้าที่สำคัญในการทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยได้ในเวลาอันรวดเร็ว

(1) หน้าปก

(2) บทคัดย่อ

(3) กิตติกรรมประกาศ

(4) บทนำ

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 2 หน้า 114 บทคัดย่อ (Abstract) มีความสำคัญในการทำให้ผู้อ่านวิจัยสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ข้อความครอบคลุมเนื้อหาของรายงาน

32. ข้อใดผิด การวิจัยทั้งหมด

(1) บทคัดย่อในงานวิจัยต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(2) บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งถึงหนึ่งหน้ากระดาษ A4

(3) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมากล่าวในบทคัดย่อ

(4) ผู้วิจัยสามารถใส่อ้างอิงรูปภาพ หรือตารางในบทคัดย่อได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 114 – 115, (คำบรรยาย) การเขียนบทคัดย่อ ควรมีลักษณะดังนี้
1. บทคัดย่อควรทำเป็นภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. เนื้อหาในบทคัดย่อไม่ควรนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
3. บทคัดย่อไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตารางใด ๆ
4. ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อ
5. บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งหน้ากระดาษ A4 (กรณีของบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร) ถึง 1 หน้ากระดาษ A4 (กรณีของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) เป็นต้น

33. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณกี่หน้ากระดาษ A4

(1) 3 – 5 หน้า

(2) 20 – 25 หน้า

(3) 30 – 45 หน้า

(4) 50 – 70 หน้า

(5) ไม่มีการกำหนดความยาว

ตอบ 1 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) การเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ควรมีลักษณะดังนี้
1. มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ
2. ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนำเอาชื่อเรื่องมากล่าว
3. อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จำเป็นได้
4. ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร
5. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณ 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 เป็นต้น

34. ข้อใดกล่าวถึงการเขียนบทสรุปผู้บริหารได้ถูกต้อง

(1) มีความยาวเท่าบทคัดย่อ

(2) มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ

(3) ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบวิธีวิจัย

(4) ต้องใส่รายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร

(5) ไม่ควรมีตารางหรือรูปภาพ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ส่วนใดในรายงานการวิจัยที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นพื้นที่ในการเขียนคำขอบคุณสถาบันหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความสำเร็จของงานวิจัย

(1) บทคัดย่อ

(2) บทนำ

(3) กิตติกรรมประกาศ

(4) ประวัติผู้วิจัย

(5) ภาคผนวก

ตอบ 3 หน้า 92, 117 – 113, (คำบรรยาย) กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคำว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้ในการกล่าวขอบคุณสถาบันหรือให้เกียรติผู้ที่มีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือผลักดันให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำ หน่วยงานต้นสังกัด หรือผู้ให้ทุนวิจัย

36. ข้อใดไม่ควรทำในการเขียนรายงานการวิจัย

(1) จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม

(2) ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์

(3) เรียบเรียงเนื้อหาของงานวิจัยให้อยู่ภายใน 1 ย่อหน้า

(4) ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป

(5) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์

ตอบ 3 หน้า 118 – 121, (คำบรรยาย) หลักการในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้
1. จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม หรือใช้ตัวเลขผสมกับตัวอักษร
2. เรียบเรียงเนื้อหา ของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
3. ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์
4. ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป
5. ระวังพฤติกรรมในการคัดลอก (Copy) และวาง (Place) เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาส กระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง (Plagiarism) ดังนั้นควรตรวจสอบ การคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรม Turn it in เป็นต้น

37. พฤติกรรมใดที่จะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสกระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงาน (Plagiarism)

(1) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรม Turn it in

(2) ใช้การคัดลอก (Copy) และวาง (Place)

(3) สรุปข้อความที่ได้จากแหล่งข้อมูลอื่นด้วยภาษาของตนเองและใส่อ้างอิง

(4) ใช้ภาษากึ่งทางการ

(5) ไม่ตรวจสอบการสะกดคำ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

(1) สถานที่ในการนำเสนอผลงาน

(2) กำหนดการและรูปแบบของการจัดงาน

(3) ลักษณะของผู้เข้าชมงาน

(4) เนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 122 – 124, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่
1 การวางแผน เช่น สถานที่ในการนำเสนอผลงาน ขนาดของโปสเตอร์ วันและเวลากำหนดการ รูปแบบของการจัดงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
2 เนื้อหาของโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์ให้เหมาะสม กับลักษณะของผู้เข้าชมงาน
3 รูปแบบโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลังโปสเตอร์ ประเภทและ ขนาดของตัวอักษร เป็นต้น

39. องค์ประกอบใดไม่ควรมีอยู่ในโปสเตอร์ที่ผู้วิจัยใช้นำเสนอผลงาน

(1) ชื่อเรื่อง

(2) บทคัดย่อ

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ทบทวนวรรณกรรม

(5) ผลการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 123 (คำบรรยาย) องค์ประกอบของการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ประกอบด้วย เนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 บทคัดย่อ (Summary)
3 บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)
4 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย”
5 ผลการวิจัย (Research Results)

40. ข้อใดกล่าวถึงการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาได้ถูกต้อง

(1) เป็นวิธีการนำเสนอผลงานวิจัยที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม

(2) บทความของผู้วิจัยจะปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์เมื่อผู้วิจัยมีรายชื่อในเวทีนำเสนอ โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นเวทีนำเสนอจริง

(3) เอกสารที่ผู้วิจัยต้องเตรียมในการนำเสนอผลงาน ได้แก่ สไลด์สำหรับนำเสนอเพียงอย่างเดียว

(4) ผู้นำเสนอควรสบตาผู้ฟังเป็นระยะเพื่อสังเกตว่าผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่นำเสนอหรือไม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 124 – 126, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติ เมื่อผู้วิจัยมีรายชื่อเป็น ผู้นำเสนอผลงาน ผู้วิจัยจำเป็นต้องขึ้นเวทีนำเสนอจริง แต่หากไม่ได้ขึ้นเวที บทความของผู้วิจัยผู้นั้นจะถูกตัดออกจากรายชื่อผู้นำเสนอและไม่ปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ ซึ่งในส่วนของเอกสารที่ผู้วิจัยต้องเตรียมในการนำเสนอผลงาน ได้แก่ บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ สไลด์สำหรับการนำเสนอ และสำเนาสไลด์นำเสนอ สำหรับในช่วงของการนำเสนอ ผู้นำเสนอ จำเป็นต้องมีสติและความมั่นใจ สิ่งที่พึงระวังอย่างยิ่งคือ การหลีกเลี่ยงการอ่านข้อความให้ผู้ฟังฟังตาม ดังนั้นผู้นำเสนอควรสบตาผู้ฟังเป็นระยะเพื่อสังเกตว่าผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอหรือไม่ อย่างไร

41. โดยปกติแล้วการนําเสนอด้วยวาจาจะถูกกําหนดระยะเวลาในการนําเสนอยาวกี่นาที

(1) 5 – 10 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 30 – 40 นาที

(4) 60 นาที

(5) ไม่มีการกําหนดระยะเวลา

ตอบ 2 หน้า 125 การนําเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจําเป็นต้องเตรียมสไลด์สําหรับการนําเสนอ ทั้งนี้เพื่อ ความสะดวกในการลําดับความคิดและเนื้อหาสําหรับผู้นําเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นําเสนอมักจะ ถูกกําหนดให้นําเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

42. การนําเสนอผลงานด้วยวาจา ผู้วิจัยควรคํานึงถึงสิ่งใด

(1) จํานวนสไลด์

(2) ลักษณะของเวที

(3) รูปแบบของสไลด์

(4) การฝึกตอบคําถาม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 124 – 126 สิ่งที่ผู้วิจัยควรคํานึงถึงในการนําเสนอผลงานด้วยวาจา ได้แก่ จํานวนสไลด์ ลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง รูปแบบของสไลด์ การเตรียมตัวผู้นําเสนอ (การฝึกจับเวลา การฝึก ท่าทางในการนําเสนอ การฝึกตอบคําถามและป้องกันข้อเสนอของตนจากผู้วิพากษ์) เป็นต้น

43. ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงชาติพันธุ์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 2 หน้า 128, (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้แบ่งประเภท ของการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
1 งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ 2. งานวิจัยเชิงนโยบาย
3 งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 4. งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

44. งานวิจัยประเภทใดมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการ

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือ เครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็น อิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ

45. งานวิจัยประเภทใดที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบาย

(1) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 3 หน้า 130 (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนข้อมูล ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือสนับสนุนทางเลือก เชิงนโยบาย (Policy Choice) ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่การ ประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะในการแก้ไขปัญหาให้แก่ ประชาชน

46. งานวิจัยประเภทใดที่คํานึงถึงการลงทุนและผลตอบแทนเป็นหลัก

(1) งานวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา

(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คํานึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสําคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัย สามารถสํารวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนําไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ําตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัย ประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจําเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด

47. งานวิจัยประเภทใดมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม

(1) งานวิจัยกึ่งทดลอง

(2) งานวิจัยเชิงประเมินผล

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 5 หน้า 132, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา ท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาของ ชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติ ของงานวิจัยประเภทนี้มักจะมีอุดมการณ์ในการกํากับการพัฒนาของท้องถิ่นให้สูงขึ้น

48. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้า

(1) โครงร่างการวิจัย

(2) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย

(3) บทความวิชาการ

(4) แบบสอบถาม

(5) แบบทดสอบก่อนเข้าร่วมวิจัย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

49. เนื้อหาของโครงร่างงานวิจัยจะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) หน้าปก

(2) บทนํา

(3) ทบทวนวรรณกรรม

(4) ระเบียบวิธีวิจัย

(5) บทสรุป

ตอบ 2 หน้า 36, (คำบรรยาย) บทที่ 1 “บทนํา” ของรายงานการวิจัย ซึ่งเนื้อหาในบทนํานี้ก็คือ โครงร่างการวิจัยที่ผู้วิจัยได้เขียนขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นการทําวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะนําโครงร่างดังกล่าว มาใส่ไว้ โดยจะมีหัวข้อหลัก ได้แก่ ที่มาของปัญหา คําถามการวิจัย วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับในการวิจัย และระยะเวลาที่ใช้ ในการดําเนินการวิจัย โดยทั่วไปแล้วในบทที่ 1 ของรายงานการวิจัยอาจจะไม่มีการทบทวน วรรณกรรมและระเบียบวิธีวิจัยอยู่ในบทนี้

50. “กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ 2566 ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

51. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 3 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถกำหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคำถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด

52. การสรุปผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. นายทำวิจัยเรื่องบทบาทของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) ในระบบเศรษฐกิจโลก ขั้นตอนการวิจัยขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทำคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54. นายป้อมมีความสนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์หัวข้อการรักษาอำนาจทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 10 ปี ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตั้งคำถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

55. นายป๊อกทำวิจัยเรื่องข้อเสนอการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีการคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

56. นายอนุทินวิจัยเรื่องทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในภาคใต้ที่มีต่อพรรคภูมิใจไทย โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 5,000 คน เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

57. นายสาทิตทําวิจัยเรื่องนโยบายประกันรายได้เกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเทียบกับนโยบายจํานําข้าวของพรรคเพื่อไทย หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

58. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

59. ที่มาและความสําคัญของปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

60. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

61. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Recycle

(2) Responsibility

(3) Research

(4) Representative

(5) Resolution

ตอบ 3 หน้า 11, 16, (คําบรรยาย) การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือ จากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ สําหรับการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นจะมีขั้นตอนในการวิจัยที่คล้ายคลึงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) คือ เริ่มต้นด้วยการกําหนดปัญหาให้ชัดเจน ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

62. โครงร่างการวิจัย มีความสัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) Vitae

(2) Research Proposal

(3) TCI

(4) Gantt’s Chart

(5) Bibliography

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

63. นายชัชพงศ์ทําวิจัยเรื่องรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กับบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายชัชพงศ์ คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ หนังสือ ตํารา งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัยเรื่อง นโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่องรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กับบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

64. นายชัชชาติทําวิจัยเรื่องข้อเสนอ การทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย มีจุดมุ่งหมายให้กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ (กอนซ.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม การทําวิจัยของ นายชัชชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเลือกตั้ง เป็นต้น.

65. นางสาวรุ้งทําวิจัยเรื่องสาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะราษฎร 2563 การทําวิจัยของนางสาวรุ้งคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ การวิจัยนี้ จะมุ่งอธิบายว่า ทําไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทําไมถึงเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่อง สาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะราษฎร 2563 เป็นต้น

66. กองอํานวยการน้ําแห่งชาติทําวิจัยสํารวจจํานวนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุดีเปรสชันโนรู การทําวิจัยของกองอํานวยการน้ําแห่งชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน และไม่มาใช้สิทธิคน การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การสํารวจจํานวนประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุดีเปรสชันโนรู เป็นต้น

67. นายวรัญชัยทำวิจัยเรื่องการชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของกลุ่มทะลุฟ้า โดยเข้าไปสังเกต การขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนํากลุ่มทะลุฟ้า การทําวิจัยของนายวรัญชัยคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้น จะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปสังเกต การบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนํากลุ่มทะลุฟ้า เป็นต้น

68. Positivism มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Post Behavioral Period

ตอบ 3 หน้า 7 – 3, (คำบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมี ลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทํานายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทํานาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น

69. “วิทยาศาสตร์การเมือง” เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Past Behavioral Period

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. การศึกษารัฐศาสตร์ต้องเปลี่ยนมาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Port Behavioral Period

ตอบ 4 หน้า 7, (คำบรรยาย) ยุคเปลี่ยนผ่าน (The Transitional Period) เป็นยุคที่มีการก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association : APSA) ในปี ค.ศ. 1908 โดยนักรัฐศาสตร์อเมริกันมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า คือ การศึกษาเชิงโครงสร้างไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ เพราะบางครั้งในแต่ละรัฐแม้ว่าจะมีการกําหนด โครงสร้างทางการเมืองอย่างชัดเจน แต่สมาชิกของรัฐก็ไม่ได้ปฏิบัติตามโครงสร้างทางการเมืองที่วางไว้ ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ควรจะเปลี่ยนมาศึกษาถึงสิ่งที่สามารถจะสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง นั่นก็คือ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์

71. การวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Post Behavioral Period

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 8, (คำบรรยาย) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (The Post Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นยุคที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคพฤติกรรมศาสตร์ ว่าหมกมุ่นอยู่กับระเบียบวิธีการศึกษา จนละเลยตัวเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายในทางการเมืองไป ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงถือเป็นยุคแห่งการกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายามครอบงำของพวกพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบันจึงได้เริ่มกลับมาได้รับความสนใจและทำการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง โดยนักวิชาการบางคนนั้นจะเรียกยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์นี้ว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

72. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) Political Thought

(2) Political Institution

(3) Political Ideology

(4) Political Philosophy

(5) Political Psychology

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

73. นางสาวทิพานันท์วิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทำวิจัยของนางสาวทิพานันท์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 คำบรรยาย: หน้า 13, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของคน ๆ หนึ่ง เป็นต้น

74. นางสาวรัชดาวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทำวิจัยของนางสาวรัชดาคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีทำวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันและปราบปรามทุจริตของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในรอบ 8 ปี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทำวิจัยของศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันและปราบปรามทุจริตของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

76. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกำหนดควบคู่กับการตั้งคำถามการวิจัย

(1) Research Proposal

(2) Research Objective

(3) Conceptual Framework

(4) Data Collection

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 28, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์ ในการวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่อ อะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง กำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย

77. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 1 หน้า 11, (คำบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

78. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อ ปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 3 หน้า 11 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคำตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ

79. ข้อใดถูกต้อง

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือน “ขนมชั้น”

(3) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

(4) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างถึง

(5) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

80. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) Research Question

(2) Conceptual Framework

(3) Research Methodology

(4) Executive Summary

(5) Problem Statement

ตอบ 4 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 สภาพปัญหาหรือที่มาของปัญหา (Problem Statement)
3 คำถามในการวิจัย (Research Question)
4 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5 สมมติฐาน (Hypothesis)
6 การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frairework)
7 ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
8 ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits)
9 นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
10 วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น

81. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา 6 ต่อ 3 ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

82. นางสาวกุ้งอึ้งทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 2,000 คน นางสาวอุ้งอิงต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างเป็นระบบในการส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่างๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

83. นายทักษิณต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา 6 ต่อ 3 ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ โดยทำการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายทักษิณต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

84. นายวรงค์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะหลอมรวมประชาชน ว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จำนวนเท่าใด นายวรงค์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 3 หน้า 53, (คำบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเอาใจใส่และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่
เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส เพื่อทําความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสังเกต การออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะหลอมรวมประชาชนว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จํานวนเท่าใด เป็นต้น

85. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งสมมติฐานการวิจัย

(2) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(3) การตั้งคําถามการวิจัย

(4) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

(5) การทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 1 หน้า 26 (คําบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frarnework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

86. แบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติอ่าน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 5 หน้า 14 – 16, (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1 การกําหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทํา ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคําถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคําตอบ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนําไปสู่การทําวิจัย
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะ ทําการหาคําตอ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

87. การจัดทํารายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

89. ข้อสงสัยที่จะนำมาสู่การทำวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

90. การคาดเดาคำตอบ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

91. นายเจ๋งดอกจิกนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ในการขับไล่พี่น้อง 3 ป.” หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนายเจ๋งดอกจิกสอดคล้องกับแนวการวิเคราะห์ใด

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 5 หน้า 20, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การออกไปยืนชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการรัฐประหารที่ถนนสุขุมวิทในช่วงปี พ.ศ. 2557 การชุมนุมทางการเมืองของประชาชนในการขับไล่พี่น้อง 3 ป. เป็นต้น

92. นายวันชัยทำวิจัยเรื่อง “กระบวนการบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย” นายวันชัยใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 4 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทำการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลออกกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง เป็นต้น

93. ข้อค้นพบการวิจัยที่ว่า “การที่ประชาชนขายเสียงในการเลือกตั้งเพราะคำนวณแล้วว่ารับเงินมาแล้วไปเลือกตั้งดีกว่า ดังนั้นจึงรับเงินและไปลงคะแนนให้คนที่ให้เงินมากที่สุดจึงเป็นการตอบสนองประโยชน์ของตนได้ดีที่สุด” ข้อค้นพบการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับแนวการวิเคราะห์ใด

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 1 หน้า 21 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล (Rational Approach/ Rational Choice Approach) มีสมมุติฐานที่สำคัญคือ มนุษย์ทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทำอะไรแล้วจะคำนวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคํานวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะทําตามในทางที่ ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือก วิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด ซึ่งแนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลนี้ได้รับ อิทธิพลมาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)

94. นายนกเขานำเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย” นายนกเขาใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการนำเสนอหัวข้อวิจัย?

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 2 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลำดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย, การวิจัยเรื่องพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยหลังปี พ.ศ. 2540 เป็นต้น

95. Rational Choice Approach เป็นแนวทางการวิเคราะห์ที่ได้รับอิทธิพลจากสาขาวิชาใด?

(1) Sociology

(2) Biology

(3) Economics

(4) Anthropology

(5) Mathematics

ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ)

96. นายจตุพรทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของคณะหลอมรวมประชาชนในการออกมาชุมนุมขับไล่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายจตุพรใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิทยานิพนธ์?

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 3 หน้า 24 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องบทบาทของคณะหลอมรวมประชาชนในการออกมาชุมนุมขับไล่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

97. ญาณวิทยาของการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ คือแบบใด?

(1) Normativism

(2) Institutionalism

(3) New Institutionalism

(4) New Positivism

(5) Positivism

ตอบ 5 (คำบรรยาย) แนวคิดสำนักปฏิฐานนิยม (Positivism) เป็นแนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยความรู้จะเข้าสู่จิตใจ ของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสและมนุษย์จะเก็บความรู้นั้นไว้ในรูปของความจํา อีกทั้งความจํา จะสามารถผสมผสานหรือรวมกันได้โดยใช้จินตนาการ ซึ่งในแง่ของญาณวิทยานั้นพบว่าวิธีการแสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมเป็นวิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์หรือแบบสมัยใหม่

98. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งคําถามการวิจัย

(1) คําถามการวิจัยประเภท “ทําไม” ต้องการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(2) คําถามการวิจัยประเภท “อะไร” เป็นการหาคําตอบในลักษณะบรรยาย

(3) คําถามการวิจัยประเภท “อย่างไร” ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(4) การตั้งคําถามการวิจัยที่ดีควรใช้คําถาม “ใช่หรือไม่ใช่”

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคําถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คําถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คําถาม “ทําไม อย่างไร อะไร” โดยคําถามประเภท “ทําไม” จะเป็นคําถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คําถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคําถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคําถามประเภท “อะไร” จะเป็นคําถามที่มุ่งให้ค้นหาคําตอบในลักษณะบรรยาย

99. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใดที่ถูกนํามาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) In-depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

100. บุคคลใดคือผู้บรรยายรายวิชา POL 4100 ภาค 1/2565

(1) จักรี ไชยพินิจ

(2) ศุภชัย ศุภผล

(3) ปิยะภพ เอนกทวีกุล

(4) ปรีชญา ยศสมศักดิ์

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 มีอยู่ 2 ท่าน คือ 1. อาจารย์ปิยะภพ เอนกทวีกุล 2. อาจารย์ปรีชญา ยศสมศักดิ์

 

 

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1. ปัญหาในการวิจัยที่เรียกว่า “Plagiarism” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด

(1) SPSS

(2) อักขราวิสุทธิ์

(3) Microsoft Word

(4) Acrobat Reader

(5) Google

ตอบ 2 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 102 การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง หรือปัญหาในการวิจัยที่เรียกว่า “Plagiarism” เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยหรือผู้อ่านที่จะนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ต้องพึงระวังอย่างมาก ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงอย่างมากในวงวิชาการ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจสอบสามารถกระทำได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เช่น โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรมเทิร์น อิท อิน (Turn it in) เป็นต้น

2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ข้อมูลของผู้วิจัยและคณะ

(2) ข้อมูลของชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(3) ข้อมูลแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย

(4) ข้อมูลแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ

(5) ข้อมูลแสดงรายชื่อของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ

ตอบ 5 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 72, (คำบรรยาย) “ส่วนประกอบตอนต้น” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ได้แก่ 1. ปกหลัก โดยจะระบุถึงคำว่า “รายงานการวิจัย” ชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อของผู้วิจัยและคณะ ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด ชื่อแหล่งทุน และปีที่เผยแพร่งานวิจัย 2. หน้าปกใน จะมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก 3. หน้าอนุมัติ จะระบุถึงคำอนุมัติจากต้นสังกัด 4. บทคัดย่อภาษาไทย 5. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 6. หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย 7. สารบัญ จะระบุถึงหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยอย่างครบถ้วน 8. สารบัญตาราง (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของตาราง 9. สารบัญภาพ (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ 10. คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อที่ใช้ในการวิจัย

3. ข้อใดต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนำเสนอการวิจัยด้วยวาจา

(1) 5 – 10 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 20 – 30 นาที

(4) 45 – 60 นาที

(5) 60 นาทีขึ้นไป

ตอบ 2 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 106 การนำเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจำเป็นต้องเตรียมสไลด์สำหรับการนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลำดับความคิดและเนื้อหาสำหรับผู้นำเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นำเสนอมักจะถูกกำหนดให้นำเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

4. ระเบียบวิธีการวิจัยดังกล่าวเป็นระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ หรือเป็นระเบียบแบบผสม คือบทใดของรายงานการวิจัย

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

ตอบ 3 หน้า 83 – 93, (คำบรรยาย) การเขียนรายงานการวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5. “นายกนกศักดิ์ให้ความสำคัญอย่างมากกับการตรวจสอบการสะกดคำและการใช้ภาษาราชการ เขาตรวจสอบงานวิจัยด้วยตนเองทุกหน้า หน้าละสามรอบ” การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสำรวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ

ตอบ 2 หน้า 100, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความถูกต้อง” หมายถึง การที่ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเนื้อหาของการวิจัยในทุกส่วนทุกวรรคตอนให้ถูกต้องทั้งตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์ โดยจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการตรวจสอบการสะกดคำและการใช้ภาษาราชการ เพราะการสะกดคำผิดแม้แต่ที่เดียวหรือหลายที่นั้น อาจส่งผลให้ความหมายของคำและประโยคเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังทำให้คุณค่าของงานวิจัยด้อยลงตามไปด้วย

6. “บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร” มีความสัมพันธ์กับหน่วยงานในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) TCI

(2) TGI

(3) NECTEC

(4) สป.อว.

(5) TDRI

ตอบ 1 หน้า 76 – 77, (คำบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

7. นางสาวิกาไม่แน่ใจว่าเครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์กันแน่ จากประเด็นที่ว่านี้ เธอควรพิจารณาเนื้อหาดังกล่าวปรากฏได้จากบทใด

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

8. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป คือบทใดของรายงานการวิจัย

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

9. นายแรมโบ้ทําวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทําวิจัยของนายแรมโบ้คือการวิจัยแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 หน้า 17, (คําบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

10. นางวิชุดาต้องการทราบว่า งานวิจัยในหัวข้อใกล้เคียงกันได้ผลการศึกษาแบบใด เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ใน

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 5 หน้า 91, (คําบรรยาย) บทที่ 5 บทสรุป (การสรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ) ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์นั้นพบว่า การอภิปรายผลเป็นการเขียนเพื่อประเมินและขยายความผลการวิจัยที่ได้ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเป็นจริง โดยชี้ให้เห็นว่าผลการศึกษานั้นสอดคล้องกับงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้าอย่างไร หรือมีแตกต่างจากผลการศึกษาของงานเราอย่างไร ซึ่งผู้วิจัยจะต้องขยายความต่อว่าเพราะเหตุใดหรือปัจจัยใดที่อาจส่งผลให้ผลการศึกษาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นอื่นในหัวข้อใกล้เคียงกัน อีกทั้งจะต้องเขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน หากมีการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรเสนอแนะเพื่อให้ผู้ที่สนใจทําปัญหาวิจัยคล้ายคลึงกันได้เห็นประเด็นที่ควรศึกษา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มให้งานวิจัยในหัวข้อนั้นมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

11. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 3 หน้า 16 – 17 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคําตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ

12. หัวข้อวิจัยเรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในการนําเสนอหัวข้อวิจัย

(1) นายสาธิตนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 กับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2560”

(2) นายจุรินทร์นําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “นโยบายการประกันราคาสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร ของพรรคประชาธิปัตย์”

(3) นายเฉลิมชัยนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์”

(4) นายไตรรงค์นําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “พัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยหลังปี พ.ศ. 2540”

(5) นายชวนนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบอบปกครองระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ”

ตอบ 4 หน้า 49, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลาย ตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจําเป็นที่จะต้อง ย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหน เป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น พัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทย หลังปี พ.ศ. 2540, พัฒนาการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสังคมไทย เป็นต้น

13. นายศิธาทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทําวิจัยของนายศิธาคือการวิจัยแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 หน้า 19, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็น ในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

14. นายประยุทธ์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมเรียกร้องให้มีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ไปอยู่กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่ามีผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลออกมาชุมนุมเรียกร้อง จํานวนเท่าใด นายประยุทธ์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยออกไปรับรู้ โดยตรงจากปฏิกิริยาท่าทางหรือเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งหรือ ที่ใดที่หนึ่ง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของตัวผู้วิจัยเอง ตัวอย่างเช่น การสังเกตว่ามีผู้อํานวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลออกมาชุมนุมเรียกร้องจํานวนเท่าใด เป็นต้น

15. คําว่า “Appendix” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร

(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ

(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ

(4) เอกสารแสดงข้อมูลเชิงสถิติและผลการคํานวณของโปรแกรม SPSS

(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 75, (คำบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนท้ายของ “รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์” จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติมของรายงานการวิจัย ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความจากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและ ผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น

16. นายสุชัชวีร์ทำวิจัยการสำรวจจำนวนรถแท็กซี่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครภายหลังการประกาศขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การทำวิจัยของนายสุชัชวีร์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 2 หน้า 18 – 19. (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสำรวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน ไม่มาใช้สิทธิที่คน, การสำรวจ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การสำรวจจำนวนรถแท็กซี่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครภายหลังการประกาศขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาล เป็นต้น

17. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การเตรียมตัวในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ที่ถูกต้อง

(1) นายพรเทพเลือกใช้สีของอักษรในโปสเตอร์ที่อ่านง่ายที่สุด

(2) นายพรพันธ์ตรวจสอบขนาดพื้นที่ติดโปสเตอร์ก่อนสั่งพิมพ์

(3) นายพรศักดิ์สอบถามผู้จัดงานถึงคุณลักษณะของผู้เข้าชม

(4) นายพรทิวายืนประจำจุดแสดงโปสเตอร์ตั้งแต่เริ่มงาน

(5) นายพรหล้าสอบถามผู้จัดงานถึงความสนใจของผู้เข้าชม

ตอบ 5 หน้า 104 – 105, (คำบรรยาย) การเตรียมตัวในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ได้แก่ 1. ผู้วิจัยจำเป็นต้องทราบถึงสถานที่นำเสนอ ขนาดพื้นที่ติดโปสเตอร์ที่ผู้จัดงานกำหนดให้ วันและเวลาในการนำเสนอ รูปแบบของงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่าย 2. ผู้วิจัยอาจถูกกำหนดให้ทำหน้าที่เพียงติดโปสเตอร์เท่านั้น ในขณะที่บางงานผู้นำเสนอ อาจต้องมาประจำยังจุดแสดงโปสเตอร์ของตนเองตามวันและเวลาที่กำหนด 3. ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาสาระของงานวิจัยให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้เข้าชม 4. ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลัง ประเภทและขนาดของตัวอักษร เป็นต้น

18. ผลการศึกษา คือบทใดของรายงานการวิจัย

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

19. “Objective, Value-Free, Verify, Explanation, Predictive” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research

(2) Resolution

(3) Result

(4) Resurne

(5) Response

ตอบ 1 หน้า 3, 22, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้
โดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถ สังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และการอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทํานาย (Predictive)

20. “นางสาวชมพู่หลีกเลี่ยงการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ในการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์” การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสำรวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ

ตอบ 3 หน้า 101, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความสำรวมระมัดระวัง” หมายถึง การที่ผู้วิจัยได้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในการนำเสนอผลงานวิจัย โดยเขียนรายงานให้อยู่ในขอบเขตของข้อมูลที่ปรากฏอยู่จริง และใช้ข้อมูลดังกล่าวอย่างครบถ้วน ไม่ควรกล่าวเกินความเป็นจริงหรือเกินกว่าสิ่งที่ได้ศึกษามา รวมทั้งหลีกเลี่ยงการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3

21. “สถาบันพระปกเกล้าประกาศให้ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ ประจำปีงบประมาณ 2565” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 2 หน้า 65 โครงร่างการวิจัย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “Research Proposal” ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้าในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้ง เพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นก่อนที่จะทำการวิจัย

22. หัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์สถาบันในการนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์

(1) นายอนุทินเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “ประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของโรคระบาด : ศึกษากรณีโรคไข้หวัดสเปน”

(2) นายเนวินเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของกลุ่มทุนระบบยาในสาธารณสุขไทย”

(3) นายศักดิ์สยามเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พัฒนาการขนส่งมวลชนของไทย : ศึกษากรณีขนส่งมวลชนระบบราง”

(4) นางสาวมนัญญาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาระบบรัฐสภาเปรียบเทียบ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ”

(5) นายชาดาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางการเมืองในการเมืองไทย : ศึกษากรณีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ”

ตอบ 4 หน้า 50 – 51, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ออกมา ซึ่งแนวการวิเคราะห์นี้เลือกที่จะศึกษาเป็นรายประเทศ หรือนำสองประเทศหรือหลายประเทศมาทำการเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง องค์กร และสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น ๆ มาร่วมด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ เป็นต้น

23. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งสมมติฐานการวิจัย

(2) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(3) การตั้งคําถามการวิจัย

(4) การทบทวนวรรณกรรม

(5) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

24. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกําหนดตัวแปรในการวิจัย

(1) การค้นหาตัวแปรจะต้องมาจากการสํารวจวรรณกรรม

(2) การวิจัยที่ดีจะต้องมีตัวแปรที่น้อยที่สุดที่จะตอบปัญหาการวิจัยได้

(3) ผู้วิจัยควรคัดเลือกเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยเท่านั้น

(4) ตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปรเป็นตัวกําหนดวัตถุประสงค์

(5) งานวิจัยในอดีตสามารถนํามาใช้กําหนดตัวแปรในการวิจัยได้

ตอบ 4 หน้า 124 (คําบรรยาย) การกําหนดตัวแปรในการวิจัยนั้นจะขึ้นอยู่กับปัญหาการวิจัยและกรอบความคิด ซึ่งการค้นหาตัวแปรจะต้องมาจากการสํารวจวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือผลงานวิจัยในอดีตที่จะนํามาใช้กําหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง การวิจัยที่ดีจะต้องมีตัวแปรที่น้อยที่สุดที่จะตอบปัญหาการวิจัยได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องคัดเลือกตัวแปรที่ไม่สําคัญออกไป หรือควรคัดเลือกเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยเท่านั้น ซึ่งจะสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการวิจัยด้วย กล่าวคือ วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกําหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปร

25. นายหมอปลาทําวิจัยเรื่องนโยบายการปราบปรามทุจริตเงินทอนวัด หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 4 หน้า 3 – 4 (คําบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิด ความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับ เนื้อหาของบทนําในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสําคัญของปัญหา”
2. การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหา คําตอบได้
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคําถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่า เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5. การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในข้างต้นนั้นถูกหรือผิด

26. “นายกิตติต้องการหาสมการโมเดลเชิงโครงสร้างด้วยตัวแปรแบบใหม่ในงานวิจัยของเขา” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 110, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือเครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ โดยงานวิจัยประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับนักคิด นักปรัชญา และการถกเถียง ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็นอิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเพื่อต้องการหาสมการโมเดลเชิงโครงสร้างด้วยตัวแปรแบบใหม่ เป็นต้น

27. นายมงคลกิตติ์ทำวิจัยเรื่องปัญหากระบวนการสืบสวนสอบสวนของตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี : กรณีศึกษาคดีแตงโม และมีการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือ

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

28. ตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน “การบริหาร” มากที่สุด

(1) Executive Summary

(2) Abstract

(3) Research Design

(4) Interim Report

(5) Vitae

ตอบ 1 หน้า 97 – 98, (คำบรรยาย) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด โดยจะมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารซึ่งมีเวลาไม่มาก สามารถทำความเข้าใจงานวิจัยทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ดังนั้นการเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหารของผู้วิจัยจึงมีคุณูปการอย่างมากในการช่วยให้ผู้บริหาร ซึ่งมีข้อจำกัดคือ “เวลา” ได้ทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด โดยไม่ต้องใช้เวลาอ่านรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือบทความฉบับเต็ม

29. ที่มาและความสำคัญของปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Literature Review

(5) Problem Statement

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

30. นางสุนิสาต้องการทราบถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูลและการเก็บข้อมูลของนายโกศลว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

31. คำว่า “รายงานการวิจัย” สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร

(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ

(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ

(4) เอกสารในการเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 70, (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ในวงวิชาการ
2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัยแล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เพื่อบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
4 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ “สิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น

32. การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อใดของการเขียนรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) เพื่อเผยแพร่ข้อค้นพบใหม่และนวัตกรรม

(2) เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้

(3) เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง

(4) เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางทรัพย์สินทางปัญญา

(5) เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

ตอบ 2 หน้า 70, (คําบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทําเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้นโครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง หรือมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในวงวิชาการ แต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวควรมีวัตถุประสงค์ในการเขียนรายงานการวิจัย ก็คือ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้

33. “เปรียบเทียบแว่นตาใช้การมองดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 5 หน้า 43 – 44, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือกรอบการวิเคราะห์ เป็นเครื่องมือในการมองปรากฏการณ์ ซึ่งเปรียบเสมือนแว่นตาที่ใช้การมองดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ วิธีการมองปรากฏการณ์ใด ๆ โดยผ่านกรอบการวิเคราะห์นั้นมันจะเหมือนกับการใส่แว่นสีต่าง ๆ หรือด้วยเลนส์ขนาดต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เรามองเห็นปรากฏการณ์นั้นชัดขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองด้วย ทั้งนี้เพราะกรอบการวิเคราะห์หนึ่งจะมาพร้อมกับวิธีการวิจัยหรือวิธีการศึกษาปรากฏการณ์โดยอัตโนมัติ

34. นายสนธยามีความสนใจที่จะทําวิทยานิพนธ์หัวข้อบทบาททางการเมืองของกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา โดยตั้งคําถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

35. นายพิธาทําวิจัยเรื่องการปรับตัวของราคาพลังงานที่สูงขึ้นในช่วงสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ขั้นตอนการวิจัยขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

36. “นายเอกเขียนงานวิจัยด้วยการนําเสนอข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะขัดกับความเข้าใจ ของนายเอกก็ตาม” การกระทําดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสํารวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคํา

ตอบ 4 หน้า 101, (คําบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความตรงประเด็น” หมายถึง การที่รายงานการวิจัยมีความตรงไปตรงมา สามารถสะท้อนให้เห็นถึงจุดเน้นที่ผู้วิจัยต้องการ ได้เป็นอย่างดี และผู้วิจัยต้องสามารถนําเสนอสิ่งที่ได้ไปทําการศึกษามาเพื่อนํามาสู่การถ่ายทอด ได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นายเอกเขียนงานวิจัยด้วยการนําเสนอข้อมูลที่ตรงกับความ เป็นจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะขัดกับความเข้าใจของตนเองก็ตาม เป็นต้น

37. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การเขียนองค์ประกอบของบทคัดย่อที่ถูกต้อง

(1) นาย ก. เขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยครบทุกข้อ

(2) นาย ข. เขียนอธิบายถึงจํานวนประชากรและขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

(3) นาย ค. เขียนอธิบายผลการศึกษาและข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์

(4) นาย ง. เขียนบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิง

(5) นาย จ. เขียนถึงผลของการศึกษา ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ

ตอบ 4 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) บทคัดย่อที่ดี ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ได้แก่ 1. การกล่าวถึงปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ครบถ้วน เพื่อชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่า เพราะเหตุใดหัวข้อวิจัยชิ้นนี้จึงควรคุณค่าแก่การศึกษา 2. การกล่าวถึงวิธีการในการดําเนินการวิจัย เพื่อชี้ให้เห็นว่าตามวัตถุประสงค์ในข้างต้น โดยเขียนอธิบายถึงจํานวนประชากรและขนาดของกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยมีการนําเสนอเครื่องมือวิจัยหรือวิธีการวิจัย ในการค้นหาคําตอบเหล่านั้นได้อย่างไร 3. การกล่าวถึงผลของการศึกษา ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ และข้อเสนอแนะ เพื่อชี้ให้อ่าน ได้เห็นภาพของงานวิจัยอย่างรวดเร็วหรือทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งมีประโยชน์ อย่างมากในเชิงวิชาการ

38. นางลลิตาต้องการทราบถึงขอบเขตของการวิจัยว่า ผู้วิจัยทําวิจัยในช่วงเวลาใดถึงเวลาใด เนื้อหาดังกล่าว ปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

39. “นางศิริรักษ์ทําวิจัยเพื่อสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาล เพื่อนําไปสู่การแก้ไข ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ให้ได้ภายในสามปี” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือสนับสนุน ทางเลือกเชิงนโยบาย (Policy Choice) ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนํา
ไปสู่การประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ ตัวอย่างเช่น แนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร, แนวทางในการพัฒนาพุน้ําร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน เป็นต้น

40. รายงานการวิจัยเรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์จิตวิทยาในการทํารายงานการวิจัย

(1) นายวิชญ์ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบบการเลือกตั้งระหว่างระบบเขตกับ ระบบบัญชีรายชื่อ”

(2) นายธรรมนัสทํารายงานการวิจัยเรื่อง “นโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองไทย : ศึกษากรณี พรรคเศรษฐกิจไทย”

(3) นางสาวธนพรทํารายงานการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดพะเยา”

(4) นายบุญสิงห์ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “วิวัฒนาการของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย”

(5) นายไผ่ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองของกลุ่มการเมืองในพรรคพลังประชารัฐ”

ตอบ 3 หน้า 47 แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่า สาเหตุในการกระทําเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การตัดสินใจของผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, การออกไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ของกลุ่มเยาวชน ปลดแอก เป็นต้น

41. จากภาพด้านล่างนี้ เป็นการสํารวจ “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการใช้รถโดยสารสาธารณะ” ตารางดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงมาตรวัดแบบใด

ข้อ ความคาดหวัง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1 ความสะอาด
2 ความปลอดภัย
3 ความสะดวก
4 ความประหยัด

 

(1) Rating Scale

(2) Likert Scale

(3) Sum Meted Scale

(4) Guttman Scale

(5) Semantic Differential Scale

ตอบ 2 หน้า 147 (คําบรรยาย) Likert Scale เป็นมาตรวัดที่มีผู้นิยมมากที่สุด และใช้กันอยู่แพร่หลาย เพราะความง่ายในการสร้าง โดยจะเรียงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งข้อความแต่ละ ข้อความจะมีตัวเลือกในการตอบได้ 5 ทาง เช่น การสํารวจ “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อ การใช้รถโดยสารสาธารณะ” ด้วยการกําหนดให้ คาดหวังมากที่สุด คือ 5, คาดหวังมาก คือ 4, คาดหวังปานกลาง คือ 3, คาดหวังน้อย คือ 2 และคาดหวังน้อยที่สุด คือ 1 เป็นต้น

42. นางสาวรสนาทําวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การทําวิจัยของนางสาวรสนา คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบายหรือการวิจัยเชิงวิเคราะห์ เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ

การวิจัยนี้จะมุ่งอธิบายว่า ทำไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงเป็น เช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัย เรื่องสาเหตุการเกิดรัฐประหารบ่อยครั้งของประเทศไทย เป็นต้น

43. นายอิทธิพลต้องการทราบว่าเพราะเหตุใดผู้วิจัยจึงเลือกศึกษาประเด็นการขาดแคลนแหล่งน้ำในภาคอีสาน แทนที่จะเป็นภาคเหนือ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

44. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงประโยชน์ของ “ตัวแปรเชิงพัฒนา” ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด

(1) ตัวแปรที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้วิจัย

(2) ตัวแปรที่ใช้ในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้า

(3) ตัวแปรมาตรฐานที่ต้องมีในทุกการวิจัย

(4) ตัวแปรที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะของการวิจัยต่อไป

(5) ตัวแปรที่จะนำไปใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา

ตอบ 5 หน้า 125 ตัวแปรเชิงพัฒนา หมายถึง ตัวแปรที่จะทำให้คำตอบของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือ ที่จะนำไปใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา ว่าต้องการพรรณนา อธิบาย ทำนาย หรือควบคุม ตัวอย่างของตัวแปรประเภทนี้ ได้แก่ ความสามารถในการบริหารของหน่วยงานของรัฐ, การมี ส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่าง ๆ เป็นต้น

45. ข้อสงสัยที่จะนำมาสู่การทำวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 20 – 22, (คำบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคำถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนำไปสู่การทำวิจัย
1 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาคําตอบ
3 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน
4 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนำมาประมวลข้อมูล
5 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคำตอบของการวิจัย
6 การจัดทำและนำเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มและทำการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

46. ข้อใดต่อไปนี้คือการกระทําที่ใกล้เคียงกับ “การวิจัย” มากที่สุด

(1) นายเอกต้องการทราบว่าเดือนหน้าเขาจะถูกลอตเตอรี่หรือไม่ เขาจึงไปหาหมอดูเพื่อดูดวง

(2) นายบีต้องการทราบว่าข้อเท็จจริงของข่าวดาราถูกทําร้ายร่างกายเป็นอย่างไร เขาจึงไปพบร่างทรงเพื่อให้ดูเหตุการณ์ให้

(3) นายอาร์มต้องการทราบว่าผลการวิจัยในเรื่องทัศนคติทางการเมืองก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร เขาจึงใช้การคาดเดาอย่างมีหลักการ

(4) นางสาวนุชต้องการทราบว่าปลาที่เธอเลี้ยงไว้หายไปไหน เธอจึงนั่งสังเกตและจดบันทึกในแต่ละวัน

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 18 (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้นจะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา เช่น การเข้าไปสังเกตการบริหารจัดการน้ําของสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการเคลื่อนไหวของม็อบ ทะลุฟ้า, การเข้าไปสังเกตเพื่อต้องการทราบว่าปลาที่เลี้ยงไว้หายไปไหน เป็นต้น

47. “นางอิงอรนําผลการวิจัยที่ได้มาตรวจสอบว่าข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ของงานวิจัย” การกระทําดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสํารวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคํา

ตอบ 1 หน้า 100 (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความเป็นเอกภาพ” หมายถึง การที่ผู้วิจัยเขียนเนื้อหาของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันตลอด ตั้งแต่ส่วนนําของงานวิจัยไปจนกระทั่งถึงส่วนสรุปของงานวิจัย เช่น การนําผลการวิจัยที่ได้มาตรวจสอบว่าข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ของงานวิจัย, การตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานวิจัยอย่างละเอียดว่างานทุกบทมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ที่มาและความสําคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือวิจัย ผลการวิจัย และการสรุปผล เป็นต้น

48. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกําหนดควบคู่กับการตั้งคําถามการวิจัย

(1) การจัดทําแบบสมภาษณ์ในการวิจัย

(2) การเขียนโครงการวิจัย

(3) เครื่องมือต่าง ๆ ในการวิจัย

(4) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(5) การจัดทําแบบสอบถามในการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 56 – 57 (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทําวิจัยว่าจะทําไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสํารวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกําหนดควบคู่ไปกับการตั้งคําถามการวิจัย

49. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์

(1) นายแพทย์โอภาสมีความสนใจเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอน ขั้นตอนแรกที่ต้องทําคือการกําหนดปัญหาการวิจัย

(2) นายแพทย์สมศักดิ์ได้ตั้งคําถามการวิจัยเรื่องการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทําคือการไปศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

(3) นายแพทย์สุวรรณชัยทําการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเรื่องการผลิตยาฟาวิพราเวียร์ครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทําคือการวิเคราะห์ข้อมูล

(4) นายแพทย์ประสิทธิ์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบของการวิจัยเรื่องภาวะสุขภาพจิตของคนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือต้องเขียนรายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มและเผยแพร่ผลการวิจัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 45 ประกอบ

50. นายโสภณต้องการหาทฤษฎีอันเป็นที่มาของกรอบแนวคิดในงานวิจัยของนายกอบศักดิ์ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4 ประกอบ

51. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เกณฑ์การทดสอบความเชื่อถือได้

(1) Stability (เสถียรภาพ)

(2) Original (ความเป็นต้นฉบับ)

(3) Equivalence (การทดแทนซึ่งกันและกันได้)

(4) Homogeneity (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 152 เกณฑ์การทดสอบความเชื่อถือได้ ประกอบด้วย เสถียรภาพ (Stability) การทดแทนซึ่งกันและกันได้ (Equivalence) และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)

52. นายชัชชาติทำวิจัยเรื่องการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทำวิจัยของนายชัชชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 13 ประกอบ

53. นายเทพไททำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 2,000 คน นายเทพไทต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview (การสัมภาษณ์เชิงลึก)

(2) Research Proposal (โครงร่างงานวิจัย)

(3) Observation (การสังเกต)

(4) Questionnaire (แบบสอบถาม)

(5) Focus Group (กลุ่มสนทนา)

ตอบ 4 หน้า 63, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งส่วนมากวิธีการนี้มักจะถูกใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงสำรวจ ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างหรือประชากรที่จะรวบรวมข้อมูลนั้นอยู่ในลักษณะที่กระจัดกระจายกันมากๆ เช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

54. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคสถาบันเน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) Political Philosophy (ปรัชญาการเมือง)

(2) Political Psychology (จิตวิทยาการเมือง)

(3) Political Institution (สถาบันทางการเมือง)

(4) Political Theory (ทฤษฎีการเมือง)

(5) Political Thought (แนวความคิดทางการเมือง)

ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคสถาบันนิยม (Institutional Period) เป็นยุคที่เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาคือ เน้นศึกษา “รัฐ” ดังนั้น นักรัฐศาสตร์จึงเลือกศึกษาสถาบันที่เป็นทางการของรัฐ (Formal Institution) เพราะเชื่อว่าสถาบันทางการเมือง (Political Institution) ที่ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐนั้นจะสามารถสะท้อนความเป็นจริงของรัฐได้ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน รัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร เป็นต้น ซึ่งทำให้การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้ถูกเรียกว่า ศาสตร์แห่งรัฐ (Staatswissenschaft)

55. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การออกแบบการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การนำเสนอรายงานการวิจัย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 45 ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารไม่ได้ระบุคำอธิบายข้อ 45)

56. วิทยานิพนธ์เรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์

(1) นายโทนี่ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปรียบเทียบนโยบายประชารัฐของรัฐบาลประยุทธ์กับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ”

(2) นางสาวกุ้งอึ้งทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การก่อเกิดรัฐบาลพรรคเดียวในการเมืองไทย : ศึกษากรณีพรรคไทยรักไทย”

(3) นางสาวปูทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดเชียงใหม่”

(4) นายโอ๊คทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “พัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2549”

(5) นายชลน่านทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเกิดขึ้นของกลุ่มทางการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย”

ตอบ 5 หน้า 52, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของกลุ่มการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย เป็นต้น

57. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Literature Review

(5) Problem Statement

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารไม่ได้ระบุคำอธิบายข้อ 25)

58. “นายกานต์ต้องการเพิ่มมูลค่าของมะขามด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขายในเทศกาลสำคัญ เขาจึงสำรวจรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคผ่าน Google Form” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 111 – 112, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนหรือการลงทุนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน โดยผู้วิจัยสามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ําตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ธรรมชาติของงานวิจัยประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด ตัวอย่างเช่น การเพิ่มมูลค่าของมะขามด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขายในเทศกาลสำคัญ โดยสำรวจรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคผ่าน Google Form เป็นต้น

59. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(3) Data Analysis

(1) Conclusion

(4) Literature Review

(2) Data Collection

(5) Problem Statement

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

60. “หากมีการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรพิจารณาอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อทำให้การศึกษามีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น” ประโยคดังกล่าวนี้เป็นเนื้อหาที่น่าจะปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใดมากที่สุด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

61. ข้อใดต่อไปนี้คือหลักการที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์

(1) ความตื่นตาตื่นใจ

(2) ความหรูหรา

(3) ความเรียบง่าย

(4) ความถูกต้อง

(5) ความสำรวมระมัดระวัง

ตอบ 3 หน้า 104, (คำบรรยาย) การนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่ การวางแผน รูปแบบโปสเตอร์ และเนื้อหาของโปสเตอร์ โดยผู้วิจัยจะต้องเลือกเนื้อหาที่มีความเรียบง่าย (Simplify) มากที่สุด

62. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ที่มา” ของบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารได้ใกล้เคียงที่สุด

(1) แบบสอบถามที่ผ่านการเก็บข้อมูลแล้ว

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บรรณานุกรม

(4) การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ

(5) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

63. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) Appendix

(2) Conceptual Framework

(3) Research Methodology

(4) Problem Statement

(5) Research Question

ตอบ 1 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่อง (Research Title) 2. สภาพปัญหาหรือที่มาของปัญหา (Problem Statement) 3. คำถามในการวิจัย (Research Question) 4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective) 5. สมมติฐาน (Hypothesis) 6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) 7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope) 8. ประโยชน์ที่จะได้รับ 9. นิยามศัพท์สำคัญ (Operational Definition) 10. วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือ ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น

64. นายสกลธีทำวิจัยเรื่องการออกแบบอุโมงค์ระบบน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายนำไปใช้ประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การทำวิจัยของนายสกลธีคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 5 หน้า 19. (คำบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องการออกแบบอุโมงค์ระบบน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปใช้
ประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อ สิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้ง เป็นต้น

65. ในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ผู้นำเสนอจำเป็นต้องอยู่ในห้องนำเสนอเมื่อการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่ เพราะเหตุใด

(1) ไม่จำเป็น เนื่องจากการอยู่ในห้องนำเสนอต่อสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พร้อม

(2) ไม่จำเป็น เนื่องจากการนำเสนอได้เสร็จสิ้นแล้วและควรออกจากห้องเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้นำเสนอท่านต่อไป

(3) จำเป็น เนื่องจากอาจมีผู้ที่สนใจในงานวิจัยเข้ามาซักถามเพิ่มเติม

(4) จำเป็น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดตามระเบียบของสมาคมวิชาชีพ

(5) ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้จัดงานและเวลาของผู้นำเสนอ

ตอบ 2 หน้า 105, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) ผู้นำเสนอ อาจจะนำเสนอด้วยแบบสไลด์หรือ Power Point ก็ได้ ซึ่งในช่วงหลังการนำเสนอ ผู้นำเสนอควร กล่าวขอบคุณผู้ดำเนินรายการและผู้ประสานงาน อย่ารีบปิดสไลด์ที่นำเสนอ เพราะอาจมีผู้สนใจ ซักถามเพิ่มเติม หากมีผู้ซักถามควรตั้งใจฟังคำถาม และตอบคำถามด้วยความสุภาพ ไม่ควรบอก แก่ผู้ฟังว่าหมดเวลาการนำเสนอ หรือหมดเวลาการซักถามแล้ว แต่ควรรอให้ผู้ดำเนินรายการ หรือกรรมการเป็นผู้บอก เมื่อผู้ดำเนินรายการหรือกรรมการบอกหมดเวลา ควรขอบคุณอีกครั้ง แล้วปิดสไลด์ และลงจากเวทีนำเสนอ เมื่อการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว ผู้นำเสนอไม่จำเป็นต้องอยู่ ในห้องนำเสนอ ควรออกจากห้องเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้นำเสนอท่านต่อไป

66. นายปัญญาต้องการเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงว่ามีข้อความอย่างไรบ้าง เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

67. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะสำคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย”

(1) เป็นการแสดงระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยต่อต้นสังกัด

(2) เป็นการแสดงระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยต่อหน่วยงานผู้ให้ทุน

(3) เป็นการแสดงรายละเอียดของโครงการวิจัยพอสังเขป

(4) เป็นการแสดงงบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย

(5) เป็นการเขียนขึ้นหลังจากที่งานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ตอบ 5 หน้า 79 – 80, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่การวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมี รายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อ รายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้า ๆ ดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือ สัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้ และยังมีผลในการพิจารณาขยายระยะเวลาส่งงานวิจัยตาม กำหนดอีกด้วย

68. การจัดทำรายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

69. “เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

70. นางสาวมุทิดาต้องการทราบถึงผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

71. “นายปองกูลตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานวิจัยอย่างละเอียดว่า งานทุกบทมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ที่มา และความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือวิจัย ผลการวิจัย และการสรุปผล การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้”

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสำรวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

72. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ที่มา” ของรายงานการวิจัยฉบับสั้นได้ใกล้เคียงที่สุด

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานประจำปีของบริษัท

(3) รายงานประจำของมหาวิทยาลัย

(4) เอกสารจากหอจดหมายเหตุ

(5) การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ

ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักมีความหนาประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4

73. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 หน้า 63, (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่า การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถามผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่ เป็นต้น

ข้อ 74. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลำดับความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรมได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

(1) Real Definition – Nominal Definition – Measurement – Conceptualization

(2) Conceptualization – Operation Definition – Real Definition – Measurement

(3) Nominal Definition – Reat Definition – Measurement – Conceptualization

(4) Conceptualization – Real Definition – Nominal Definition – Measurement

(5) Conceptualization – Nominal Definition – Real Definition – Measurement

ตอบ 5 หน้า 117 กระบวนการเปลี่ยนรูปจากนามธรรม (Abstract) ไปสู่รูปธรรม (Concrete) เขียนได้ดังนี้
1 การสร้างกรอบแนวความคิด (Conceptualization)
2 นิยามความหมาย (Nominal Definition)
3 นิยามความจริง (Real Definition)
4 นิยามปฏิบัติการ (Operation Definition)
5 การสร้างเครื่องมือวัด (Measurement)

ข้อ 75. นายวิโรจน์ทําวิจัยเรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายวิโรจน์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 3 หน้า 18, 158, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ เอกสารการวิจัย หนังสือ ตํารา บทความต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัย เรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข้อ 76. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการเขียนบทสรุปผู้บริหารได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

(1) ห้ามมีรูปภาพ

(2) ห้ามมีตาราง

(3) ห้ามอ้างอิง

(4) ห้ามกล่าวชื่อเรื่อง

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 – หน้า 98 การเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหารมีข้อควรระวังอยู่ 4 ประการ คือ
1 ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและน่าเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
2 อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จําเป็นได้
3 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร
4 ควรพยายามรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 และถ้าเป็นบทสรุปเพื่อสื่อมวลชนไม่ควรมีความยาวเกินกว่า 2 หน้ากระดาษ A4

ข้อ 77. ในช่วงเวลาใดต่อไปนี้ถือได้ว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็นแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) มากที่สุด

(1) ค.ศ. 1800 – 1810

(2) ค.ศ. 1850 – 1860

(3) ค.ศ. 1890 – 1900

(4) ค.ศ. 1901 – 1910

(5) ค.ศ. 1950 – 1960

ตอบ 5 หน้า 12, (คำบรรยาย) การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) โดยนักรัฐศาสตร์มองว่า การศึกษาการเมืองจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ (Scientific Method) บางครั้งมักถูกเรียกว่า “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) โดยเน้นการทำนายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทำนาย (Predictive) ไม่เน้นพรรณนาบรรยาย มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) ซึ่งรัฐศาสตร์ ในยุคนี้ถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นำทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น

78. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งคำถามการวิจัย

(1) การตั้งคำถามการวิจัยที่ดีควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร”

(2) คำถามการวิจัยประเภท “ทำไม” เป็นการหาคำตอบในลักษณะบรรยาย

(3) คำถามการวิจัยประเภท “อะไร” ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์

(4) คำถามการวิจัยประเภท “อย่างไร” ต้องการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 54 – 56, (คำบรรยาย) การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคำถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คำถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร” ซึ่งคำถามประเภท “ทำไม” จะเป็นคำถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คำถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคำถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคำถามประเภท “อะไร” จะเป็นคำถามที่มุ่งให้ค้นหาคำตอบในลักษณะบรรยาย

79. “นายเพิ่มศักดิ์ศึกษาว่าเพราะเหตุใดบริเวณสี่แยกจึงมีเด็กและเยาวชนมาขายพวงมาลัยเป็นจำนวนมาก และจะช่วยเพิ่มสิทธิในการเข้าถึงสถานศึกษาได้อย่างไร” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 113, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น กระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้คนในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง, การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่มาขายพวงมาลัยบริเวณสี่แยก เพื่อจะช่วยเพิ่มสิทธิในการเข้าถึงสถานศึกษา เป็นต้น

80. การคาดเดาคำตอบ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

81. “หน้าอนุมัติ” ปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ไม่ใช่ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) หน้าปก

(3) ส่วนประกอบตอนต้น

(4) ส่วนประกอบตอนท้าย

(5) บทสรุปของการวิจัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

82. นางสาวภารดีต้องการทราบว่า นายพงศกรซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักมีความเห็นอย่างไรต่อผลการศึกษาของเขา ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยอื่นก่อนหน้านี้อย่างมาก เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

83. ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) เพื่อแสดงอาณาเขตของงานวิจัยเพื่อมิให้ผู้อื่นทำหัวข้อคล้ายกัน

(2) เพื่อแสดงความสามารถอันโดดเด่นของนักวิจัย

(3) เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

(4) เพื่อป้องกันผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ

(5) เพื่อจับจองพื้นที่ของประเด็นที่ทำการศึกษา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

84. แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลได้รับอิทธิพลจากสาขาวิชาใด

(1) Economics

(2) Sociology

(3) History

(4) Anthropology

(5) Mathematics

ตอบ 1 หน้า 48, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล (Rational Approach) หรือบางทีก็เรียกว่า “Rational Choice Approach” จะมีสมมุติฐานที่สำคัญคือ มนุษย์ทุกคน เป็นมนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทำอะไรแล้วจะคำนวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคำนวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะทำตามในทางที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือกวิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด ซึ่งแนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลนี้ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)

85. นายอัศวินทำวิจัยเรื่องนโยบายการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเข้าไปสังเกตการบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร การทำวิจัยของนายอัศวินคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

86. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์

(1) Normative

(2) Value-Free

(3) Scientific Method

(4) Predictive

(5) Positivism

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

87. “ชุดในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางการเมือง” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Political Philosophy

(2) Political Psychology

(3) Political Institution

(4) Political Theory

(5) Political Thought

ตอบ 4 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) หมายถึง ชุดของภาษาหรือ ชุดในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางการเมือง หรือเรื่องราวของความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ

88. การสรุปผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Literature Review

(5) Problem Statement

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

89. “นายนพพลทำการสำรวจวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัยของเขา” การกระทำของนายนพพลดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อใดของการเขียนรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) เพื่อเผยแพร่ข้อค้นพบใหม่และนวัตกรรม

(2) เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้

(3) เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง

(4) เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางทรัพย์สินทางปัญญา

(5) เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

90. นายโจ๊กทำวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่ โดยนายโจ๊กจะเป็นคนตั้งประเด็นในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง นายโจ๊กต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

91. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่างๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 1 หน้า 17, (คำบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่างๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

92. “สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ” ขึ้นตรงต่อกระทรวงใดในปัจจุบัน

(1) กระทรวงศึกษาธิการ

(2) กระทรวงมหาดไทย

(3) กระทรวงการต่างประเทศ

(4) กระทรวงสาธารณสุข

(5) กระทรวงการอุดมศึกษา

ตอบ 5 (คำบรรยาย) “สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ” เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และยังมีบทบาทเป็น หน่วยงานกลางในการทําหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

93. ในประเทศไทย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ได้แบ่งประเภทของวารสารวิชาการในประเทศไทย ออกเป็นกี่กลุ่ม

(1) ประเทศไทยไม่มีการแบ่งกลุ่มวารสาร มีเพียงในต่างประเทศเท่านั้น

(2) หน่วยงานข้างต้นไม่ได้ทําหน้าที่ในการแบ่งกลุ่มวารสาร

(3) 1 กลุ่ม

(4) 2 กลุ่ม

(5) 3 กลุ่ม

ตอบ 5 หน้า 77 – 78 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ได้แบ่งประเภทของวารสารวิชาการในประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่ม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560) คือ
1 วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือก เข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Iridex (ACI) ต่อไป
2 วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ และอยู่ในฐานข้อมูล TCI
3 วารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต

94. แบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

95. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) Political Philosophy

(2) Political Psychology

(3) Political Institution

(4) Political Theory

(5) Political Thought

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

96. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง “รายงานขั้นต้นของการวิจัย

(1) Interim Report

(2) Inception Report

(3) Inceptual Report

(4) Research Proposal

(5) Final Report

ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) รายงานขั้นต้นของการวิจัย (Inception Report) หมายถึง การสรุปผล การดําเนินงานหลังจากที่ผู้วิจัยได้รับการอนุมัติหัวข้อวิจัยและโครงร่างนําเสนอการวิจัย โดยผู้วิจัย ต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการดําเนินงานในขั้นแรกหรือในช่วงเริ่มต้น ตลอดจนรายละเอียดของ การปรับแก้ในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้

97. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

98. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์มากที่สุด

(1) เป็นรายงานการวิจัยที่มีความยาวประมาณ 50 – 60 หน้า

(2) เป็นรายงานการวิจัยที่นักวิจัยทุกคนต้องทํา

(3) เป็นรายงานการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อย่นระยะเวลาในการอ่าน

(4) เป็นรายงานการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ในห้องสมุด

(5) เป็นรายงานการวิจัยที่พัฒนามาจากบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 2 หน้า 71 – 75, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานการวิจัยที่มีความหนา มากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด เนื่องจากเป็นรายงานที่มีรายละเอียดของการทําวิจัย ครบทั้งหมด มีรูปแบบเคร่งครัด ส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ทางวิชาการ เป็นการนําเสนอที่ผ่านขั้นตอน ต่าง ๆ จนพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์แบบ โดยจะประกอบด้วย ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย นอกจากนี้ยังถือเป็นรายงานการวิจัยที่นักวิจัยทุกคน ต้องเขียนขึ้น และจําเป็นต้องมีลายเซ็นของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ปรากฏอยู่เสมอ

99. นายภูมิธรรมทําวิจัยเรื่องทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อพรรคเพื่อไทย โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 3,000 คน เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบหลักของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย”

(1) รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัย

(2) แหล่งที่มาของเอกสารการวิจัย

(3) รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ

(4) แผนงานที่จะดําเนินการต่อไป

(5) ปัญหาหรืออุปสรรคจากการทําวิจัย

ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คําบรรยาย) องค์ประกอบหลักของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย ได้แก่
1 รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัยหรือแผนงานวิจัย
2 รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้า
3 รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ
4 แผนงานตามโครงการวิจัยที่จะดําเนินการต่อไป
5 คําชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคจากการทําวิจัย

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ s/2566

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566

ข้อสอบกระบวนวิชา POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) มีการแบ่งงานกันทำภายในพรรคตามความถนัด

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

(4) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(5) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้น พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
2 มีการแบ่งงานกันทำภายในพรรคตามความถนัด
3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

2. ตามคำนิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คำนิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมือง ได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติ”

3. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (คำบรรยาย) (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหารได้มีผลทำให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทำให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภาสิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดำรงอยู่ แต่ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

4. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ (หมายเหตุ: น่าจะเป็น “ดูคำอธิบายข้อ 4 ประกอบ” เนื่องจากเป็นข้อที่ 4)

5. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คำบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทำให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ภายใต้เงื่อนไขการออกกฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทำให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

6. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คำบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ “ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

7. ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นำ เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ 1. การวิจารณ์สังคม หรือระเบียบในปัจจุบัน 2. การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต 3. การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

8. ในยุคที่พรรคนาซีมีอำนาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอำนาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็น การแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

9. ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทำลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วย กับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทำลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

10. พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นำพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จำกัดจำนวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ
1 ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออำนาจของผู้นำพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการ หรืออุดมการณ์เป็นหลัก
2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกัน ระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น
3 ผู้นำพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลำพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้
4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไป เมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

11. พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อำนาจ หรือการดำเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้ จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

12. อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

13. อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจ อยู่เท่านั้นไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

14. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchisin) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิด ทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความ ชั่วร้ายนานาประการ

15. ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) อิทธิพร บุญประคอง

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน คณะกรรมการการเลือกตั้งมี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต. ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ, นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ, นายชาย นครชัย และนายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ

16. ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง……………..สมาชิก

(1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษา โครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

17. พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและ ทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจ ฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

18. ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคม และวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

19. ปัจจัยที่ทำให้ประเทศอังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาค

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทำให้ประเทศอังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมี วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

20. พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสำคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

21. การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกันแก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงทำให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

22. ผู้นำประเทศใดในปัจจุบันต่อไปนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

(1) อินโดนีเซีย

(2) มาเลเซีย

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) ไทย

(5) เมียนมา

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้นำประเทศในปัจจุบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คือ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำประเทศเมียนมา ซึ่งมาจากการทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2564

23. ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 นายโจ ไบเดน (Joe Biden) ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด และได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน

24. Joe Biden เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25. การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก

(2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

26. โดยปกติแล้วการประกาศกำหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกำหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

27. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28. ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาลแล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29. เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30. ตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง

(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล

(2) มีแนวคิด อุดมการณ์

(3) แสวงหาอำนาจรัฐ

(4) นำเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง

(5) ประกอบธุรกิจการค้า

ตอบ 5 หน้า 6 ลักษณะที่สำคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ
2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน
3 มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอำนาจรัฐ

32. พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) ศตวรรษที่ 16

(2) ศตวรรษที่ 17

(3) ศตวรรษที่ 18

(4) ศตวรรษที่ 19

(5) ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองในระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์คล้ายคลึงกัน เช่น พวกเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

33. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม

(3) เสนอนโยบาย

(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

(5) จัดตั้งรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ
4 จัดตั้งรัฐบาล
5 เป็นฝ่ายค้าน
6 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

34. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอำนาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ
2 ช่วยทำให้กลไกทางการเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต้องกัน
3 ช่วยผดุงรักษาอำนาจในการปกครองให้สืบเนื่องกัน และการถ่ายทอดอำนาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง
4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
6 ช่วยพัฒนาการเมือง

35. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

36. พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาลแล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

37. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165, 220 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มี พรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) ซึ่งแต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ลําพัง เพียงพรรคเดียว ดังนั้นรัฐบาลในประเทศที่เป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคจึงมักจะ ขาดเสถียรภาพ ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

39. พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมือง ที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้อง ทํางานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

40. พรรคการเมืองเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

41. ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ

(2) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย

(3) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(4) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มีการรับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากองค์การดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค และจัดการเรื่องทุนที่จะใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิก และพรรคชาวไร่ชาวนา

42. ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 คำบรรยาย: ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43. พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

44. ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกันซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้ 1. ผู้ดําเนินงานพรรค (Militant) 2. สมาชิกพรรค (Member) 3. ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer) 4. ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

45. พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDU เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ 1. พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU) 2. พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD) 3. พรรคฟรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

46. การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คำบรรยาย): การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการกำหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจำนวน ส.ส. ที่ลดลง

47. กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาท ในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความสามัคคี และเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

48. หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

49. ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) สังคมโครงสร้างหลวม

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คำบรรยาย): ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอำนาจ การเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงำโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

50. ใครนำเสนอคำอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ

(1) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช

(2) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

(3) ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

(4) ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คำบรรยาย): ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้นำเสนอคำอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” หรือลักษณะของรัฐ 3 ประการ อันได้แก่ การพัฒนา การมีส่วนร่วม และความมั่นคง เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ

51. แนวคิดที่นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คำบรรยาย): จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

52. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย” เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกำหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีผู้นำและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิด ความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

53. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีจำกัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) หน้า 240, กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้านการทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

54. ไลออนส์สากล โรตารี่ ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทำงานให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่
1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) ยุวสมาคม (เจ.ซี.) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิการกุศล ฯลฯ
2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ
3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

55. ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทำในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 (คำบรรยาย) หน้า 277, วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทำได้ในหลายระดับ เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือคนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

56. ชนชั้นนำ (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นำ

(4) คนที่มีอำนาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

57. ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

58. ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

59. จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลัก เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มผลักดันแฝง”

60. หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใด เป็นสำคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทำนุบำรุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก

(2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทำนุบำรุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

61. การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสำคัญคือ ขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คำบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสำคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62. ผู้นำการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิมที่ถูกอุ้มหายไปใน 2547 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) หะยีสุหลง โต๊ะมีนา

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) นายสมชาย นีละไพจิตร เป็นผู้นำการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิม ซึ่งถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547

63 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ…..

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัต เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64. ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

65. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ (หมายเหตุ: ข้อ 6 ในเอกสารที่ให้มาไม่มี กรุณาตรวจสอบเอกสารต้นฉบับ)

66. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 – 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ (หมายเหตุ: ข้อ 6 ในเอกสารที่ให้มาไม่มี กรุณาตรวจสอบเอกสารต้นฉบับ)

68. หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใด ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69. การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่

(1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรอง ผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70. พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง
4 การกําหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง
5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
6 การดูแลการดําเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นอํานาจของศาลฎีกา)

71. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

72. ข้อใดไม่ใช่บทบาทและหน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์

(1) เรียกร้องหรือเสนอนโยบาย

(2) ต่อรองเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 235 – 237, (คำบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) เป็นกลุ่มที่มีบทบาท ในการเรียกร้องหรือต่อรองผลประโยชน์ของกลุ่ม ผลักดัน สนับสนุน นําเสนอข้อคิดเห็นหรือ นโยบายต่อพรรคการเมือง ต่อรัฐบาลให้ไปสู่การตัดสินใจกําหนดนโยบาย หรือพยายามสร้าง อิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นกลุ่มผลประโยชน์จึงแตกต่างจากพรรคการเมือง ตรงที่กลุ่มผลประโยชน์มิได้มีเป้าหมายที่จะใช้อํานาจรัฐหรือจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศ

73. ข้อใดคือทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีอุดมการณ์

(2) ทฤษฎีทางวัฒนธรรม

(3) ทฤษฎีระบบ

(4) ทฤษฎีชนชั้นนํา

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 ทฤษฎีจิตวิทยา
2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ
4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน
6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ
7 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

74. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

75. อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลง พรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76. พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริช ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมือง ออกเป็น 3 แบบ คือ 1. พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมา ยาวนานที่สุด 2. พรรคมวลชน 3. พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้นหรือพรรคแบบผสม

77. ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหา สมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78. การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็น ลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79. ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus (แบบคณะกรรมการ)

(2) Branch (แบบสาขา)

(3) Cell (แบบหน่วยหรือเซลล์)

(4) Militia (แบบทหาร)

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 63 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ
1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)
2 แบบสาขา (Branch)
3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)
4 แบบทหาร (Militia)

80. ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 – 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้ 1. สหภาพกรรมกรกลาง 2. สหภาพกรรมกรชาติไทย 3. สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

81. จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 235 – 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้ 1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม 2. เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ 3. เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

82. การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น กลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดนั้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆ ที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

83. ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุมหรือ มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่า เป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

84. ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้ง ทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและ ตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

85. พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 – 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาด ในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์ และพรรคนาซี

86. พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

87. ประเทศใดมีระบบพรรคครึ่ง

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

88. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

89. สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของ การเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทย ยังไม่เข้มแข็งพอ

90. ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้
1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ
4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเก้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

92. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ

93. คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระเท่านั้น

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระใด
2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
4 เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

94. สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 มีจำนวน 200 ท่าน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 มีจำนวน 250 ท่าน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติถวายคำแนะนำ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

95. นโยบายของพรรคการเมืองมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนำนโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่างของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา
แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

96. การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

98. พรรคพลังประชารัฐมีหัวหน้าพรรคเป็นอดีตข้าราชการทหาร

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบันมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตข้าราชการทหาร เป็นหัวหน้าพรรค

99. “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย ไม่ใช่ความคิดของ Robert Michels

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

100. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

WordPress Ads
error: Content is protected !!