LAW3007กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้บังคับขับไล่จําเลยผู้เช่าออกไปจากที่ดินที่จําเลยทําสัญญาเช่าจากโจทก์ในอัตราเดือนละ 3,000 บาท และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินซึ่ง อาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้อง เดือนละ 6,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยและบริวาร ออกไปจากที่ดินที่เช่า จําเลยให้การว่า จําเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จําเลยจนเสร็จและมีคําพิพากษาโดยฟังว่าจําเลยผิดสัญญาเช่า ตามฟ้องจึงพิพากษาให้จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินที่จําเลยเช่าจากโจทก์ กับให้จําเลยใช้ ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยและ บริวารจะออกไปจากที่ดินที่เช่า จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ที่เช่าจึงฟ้องจําเลยไม่ได้ ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจําเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนด ในพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 225 วรรคหนึ่ง “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความ จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็น สาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการห้ามคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดี ดังต่อไปนี้ คือ

1 คดีที่ราคาทรัพย์ที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

2 คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

และตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ในการยื่นอุทธรณ์นั้น

1 ต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์

2 ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และ

3 อุทธรณ์นั้นไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากที่ดินที่เช่า ซึ่งในขณะยื่น คําฟ้องมีค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลผู้เช่าออกจากที่ดินอันมีค่าเช่าในขณะยื่นคําฟ้อง เดือนละ 3,000 บาท ซึ่งไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224

การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินที่จําเลยเช่าจากโจทก์แม้โจทก์ จะฟ้องเรียกให้จําเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์เดือนละ 6,000 บาท และศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จําเลย ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท แต่ค่าเสียหายดังกล่าวนั้นมิใช่ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ จําเลย ดังนั้นจะถือเอาค่าเสียหายไม่ว่าที่โจทก์ฟ้องหรือที่ศาลชั้นต้นกําหนดมาเป็นค่าเช่าไม่ได้ เพราะมิใช่คดีฟ้อง ขับไล่บุคคลผู้อาศัยหรือผู้บุกรุกออกจากที่ดิน

กรณีที่จําเลยอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจําเลยในข้อที่ว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่านั้น เป็นการ อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงย่อมต้องห้ามมิให้จําเลย อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224

ส่วนอุทธรณ์ของจําเลยในข้อที่ว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่เช่าจึงฟ้องจําเลยไม่ได้นั้นเป็น อุทธรณ์นอกเหนือจากที่จําเลยให้การต่อสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ดังนั้น อุทธรณ์ของจําเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป อุทธรณ์ของจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. วันที่ 1 มีนาคม 2559 โจทก์ยื่นคําฟ้องว่า “จําเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 60,000 บาท แต่ไม่ยอมชําระคืน ขอให้ศาลพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย” ต่อมาวันที่ 10 มีนาคม 2559 จําเลย ยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลายื่นคําให้การต่อศาล อ้างว่าจําเลยต้องไปงานศพที่ต่างจังหวัดมิสามารถ ยื่นคําให้การได้ทันกําหนด 15 วัน ศาลพิเคราะห์คําร้องแล้วเห็นว่ามิใช่พฤติการณ์พิเศษจึงไม่อนุญาตให้จําเลยขยายระยะเวลาโดยมี คําสั่งในวันที่ 13 มีนาคม 2559 ต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม 2559 จําเลยจึงยื่นอุทธรณ์คําร้องขออนุญาต ยื่นคําให้การดังกล่าวต่อศาล ให้ท่านวินิจฉัยว่า จําเลยจะสามารถยื่นอุทธรณ์คําร้องขออนุญาตยื่นคําให้การดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่ โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่ง วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และ ให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

มาตรา 228 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป” วินิจฉัย คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228

และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้ง คัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)

ตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลายื่นคําให้การนั้น คําร้องขอขยาย ระยะเวลายื่นคําให้การไม่ใช่คําคู่ความ ดังนั้น การที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้จําเลยขยายระยะเวลายื่นคําให้การ จึงไม่ใช่คําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 หรือมาตรา 228 (3) แต่อย่างใด คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา (คําพิพากษาฎีกาที่ 665/2509)

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จําเลยจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คําร้องขออนุญาตยื่นคําให้การ ดังกล่าวได้ทันทีเพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 ถ้าจําเลยต้องการจะอุทธรณ์จะต้องโต้แย้งคําสั่งของ

ศาลไว้ก่อน แล้วจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีนั้น

สรุป จําเลยจะยื่นอุทธรณ์คําร้องขออนุญาตยื่นคําให้การดังกล่าวทันทีไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจําเลยเป็นเงิน 1 ล้านบาท ฐานผิดสัญญา จําเลยต่อสู้ว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดสัญญา โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้อง ขอให้ศาลยกฟ้องในระหว่างพิจารณา โจทก์ร้องขอให้ศาล มีคําสั่งยึดรถยนต์ 2 คัน ที่จําเลยเอาไปให้อู่ซ่อม ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะไม่ส่งสําเนาคําร้องให้จําเลยได้คัดค้านก่อนได้หรือไม่ และถ้าท่านไต่สวน แล้วเห็นว่ารถยนต์คันแรกเป็นรถยนต์ที่เช่าซื้อ ส่วนอีกคันเป็นรถยนต์ของจําเลย และจําเลยไม่จ่าย ค่าซ่อมรถยนต์ทั้ง 2 คัน อู่ซ่อมรถยนต์จึงยึดหน่วงรถยนต์ทั้ง 2 คันไว้ ท่านเห็นว่าโจทก์จะขอยึดรถยนต์ 2 คันนี้ไว้ก่อนมีคําพิพากษาได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย”

วินิจฉัย

บทบัญญัติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอคุ้มครอง ประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาก่อนพิพากษา และตามมาตรา 254 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการยื่นคําร้อง ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยนั้น คําว่า “ยึด” หมายถึง การเอา ทรัพย์สินมาไว้ในความดูแลรักษาของเจ้าพนักงานบังคับคดี และทรัพย์สินที่จะยึดนั้น ต้องเป็นทรัพย์สินของ จําเลย คือยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย โดยไม่คํานึงว่าทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจําเลยเป็นเงิน 1 ล้านบาท ฐานผิดสัญญา และในระหว่างพิจารณา โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งยึดรถยนต์ 2 คันที่จําเลยเอาไปให้อู่ซ่อมนั้น คําขอของโจทก์ ที่ให้ยึดรถยนต์เป็นคําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) ซึ่งถือเป็นคําขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด ดังนั้น ศาลจะให้ ส่งสําเนาคําร้องของโจทก์ให้จําเลยได้คัดค้านก่อนไม่ได้

ส่วนการที่โจทก์ขอให้ศาลมีคําสั่งยึดรถยนต์ 2 คันที่จําเลยเอาไปให้อู่ซ่อมนั้น เมื่อปรากฏ ข้อเท็จจริงว่ารถยนต์คันแรกเป็นรถยนต์ที่จําเลยเช่าซื้อมายังมิใช่เป็นของจําเลย ดังนั้นโจทก์จะร้องขอให้ยึดไม่ได้ ส่วนรถยนต์อีกคันซึ่งเป็นของจําเลยนั้นแม้จะถูกอู่ซ่อมรถยนต์ใช้สิทธิยึดหน่วงไว้เนื่องจากจําเลยไม่จ่ายค่าซ่อม โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้ยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษาได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1)

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะไม่ส่งสําเนาคําร้องให้จําเลยได้คัดค้านก่อน และโจทก์จะขอยึด รถยนต์ไว้ก่อนมีคําพิพากษาได้เฉพาะรถยนต์คันที่เป็นของจําเลยเพียง 1 คันเท่านั้น

 

ข้อ 4. คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ศาลชั้นต้นได้อ่านคําพิพากษาของศาลชั้นต้นให้โจทก์ฟังโดยจําเลยไม่มาฟังคําพิพากษาว่า พิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ภายใน 7 วันนับแต่วันฟังคําพิพากษานี้ ต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 โจทก์ยืนคําแถลง ต่อศาลชั้นต้นว่า บัดนี้ล่วงพ้นกําหนดเวลาจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามคําพิพากษาแล้ว จําเลย ไม่ยอมปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ได้ตรวจสอบโฉนดที่ดินที่พิพาทที่อยู่ที่สํานักงานที่ดินพบว่าจําเลย จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้นายจันทร์ไปในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งนายจันทร์และเจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการจดทะเบียนโอนที่ดิน พิพาทให้แก่โจทก์ตามคําพิพากษา ให้วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดีหรือไม่ ศาลชั้นต้นจะ มีหนังสือแจ้งนายจันทร์และเจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตามคําพิพากษาหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

มาตรา 272 “ถ้าศาลได้พิพากษาหรือมีคําสั่งอย่างใดซึ่งจะต้องมีการบังคับคดี ก็ให้ศาลมีคํา บังคับกําหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคําบังคับในวันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่ง และให้เจ้าพนักงานศาลส่งคําบังคับนั้น ไปยังลูกหนี้ตามคําพิพากษา เว้นแต่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้อยู่ในศาลในเวลาที่ศาลมีคําบังคับนั้น และศาลได้สั่ง ให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จําเลยได้หรือไม่

การที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคําพิพากษาของศาลชั้นต้นให้โจทก์ฟัง โดยจําเลยไม่มาฟัง คําพิพากษาว่า พิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 7 วันนับแต่วันฟัง คําพิพากษานี้นั้น ถือว่าหนี้ที่จําเลยจะต้องปฏิบัติตามคําพิพากษาของศาลที่ให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ให้แก่โจทก์นั้น เป็นกรณีคําพิพากษาซึ่งจะต้องมีการบังคับคดี ซึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 272 ได้บัญญัติให้ศาล มีคําบังคับกําหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคําบังคับในวันที่ได้อ่านคําพิพากษา และให้เจ้าพนักงานศาลส่งคําบังคับนั้นไปยัง ลูกหนี้ตามคําพิพากษา เมื่อคดีนี้จําเลยไม่ได้มาศาลในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคําพิพากษา ศาลชั้นต้นยังมิได้ออก คําบังคับและให้เจ้าพนักงานศาลส่งคําบังคับนั้นไปยังจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จําเลยได้ แม้จะล่วงพ้นกําหนดเวลาตามคําพิพากษาที่ให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม

2 ศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งนายจันทร์และเจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการจดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคําพิพากษาได้หรือไม่

แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าจําเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่นายจันทร์ไปใน ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่เมื่อนายจันทร์เป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ตาม คําพิพากษาของโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งนายจันทร์และเจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการ จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคําพิพากษาไม่ได้ (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271)

สรุป โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดี และศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งนายจันทร์และเจ้าพนักงาน ที่ดินดําเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคําพิพากษาไม่ได้

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่งโจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยได้ทําการปิดทางภาระจํายอมที่โจทก์ใช้เข้าออกจากที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานของโจทก์สู่ทางสาธารณะ ทําให้โจทก์ใช้ทางภาระจํายอมนั้นไม่ได้ โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่สามารถใช้ทางนั้นขนส่งสินค้าจากโรงงานของโจทก์ได้ คํานวณค่าเสียหาย ได้จํานวน 5 ล้านบาท ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยเปิดทางภาระจํายอมเพื่อให้โจทก์สามารถใช้เข้าออก โรงงานของตนได้ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าทางที่จําเลยปิดกั้นนั้นไม่ใช่ทางภาระจํายอม ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลมีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์ไม่พอใจในคําพิพากษา ของศาลชั้นต้น จึงต้องการยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้จําเลย เปิดทางภาระจํายอมแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปิดทางภาระจํายอม เป็น จํานวนเงิน 5 ล้านบาท ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้า ไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เห็นว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา ดังนั้น หากเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

ตามข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฟ้องศาลขอให้บังคับจําเลยเปิดทางภาระจํายอมเพื่อให้โจทก์สามารถ เข้าออกโรงงานของตนได้นั้น แม้โจทก์จะคํานวณค่าเสียหายจากการกระทําของจําเลยเป็นจํานวน 5 ล้านบาท แต่คดีที่โจทก์ฟ้องจําเลย ถือเป็นการฟ้องขอให้เปิดทางภาระจํายอม ไม่ใช่การฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคดี ไม่มีทุนทรัพย์ ดังนั้น โจทก์จึงสามารถยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้จําเลยเปิดทาง ภาระจํายอมแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปิดทางภาระจํายอมเป็นจํานวนเงิน 5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น และเป็นปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 แต่อย่างใด

สรุป โจทก์อุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์พร้อมเรียกค่าเสียหายจากจําเลยก่อนฟ้อง 60,000 บาท และอีกเดือนละ 10,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากที่ดินพิพาท จําเลยให้การว่าโจทก์ทําสัญญาจะขายที่ดินพิพาทแก่จําเลย โดยยอมให้จําเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาท ในระหว่างชําระค่าที่ดินที่เหลือและยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่กัน โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จําเลยและ เรียกค่าเสียหายตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยอยู่ในที่ดิน พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจําเลย จึงพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดิน พิพาท และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายก่อนฟ้องแก่โจทก์ 30,000 บาท และเดือนละ 5,000 บาท นับ ถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยจะออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาท จึงไม่มีสิทธิขับไล่จําเลย และโจทก์ ไม่ได้รับความเสียหาย จําเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายก่อนฟ้อง 30,000 บาทแก่โจทก์

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนด ในพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการห้ามคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ในคดีดังต่อไปนี้ คือ

1 คดีที่ราคาทรัพย์ที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

2 คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา นางกรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท จําเลยมิได้ให้การกล่าวแก้ข้อพิพาท ด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจําเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จําเลย และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายก่อนฟ้อง แก่โจทก์ 30,000 บาท และอีกเดือนละ 5,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ตกลงยินยอม ให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิ์ขับไล่จําเลย โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย จําเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย ก่อนฟ้อง 30,000 บาท แก่โจทก์ อุทธรณ์ของจําเลยจึงมีประเด็นเรื่องขับไล่กับประเด็นเรื่องค่าเสียหายก่อนฟ้องปนกัน ดังนั้น ในการพิจารณาสิทธิอุทธรณ์ของจําเลยว่าจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ จึงต้องแยกพิจารณาแต่ละประเด็น ออกจากกัน

 

1 ประเด็นเรื่องขับไล่ จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จําเลย ถือเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายรายเดือนจากจําเลย เดือนละ 10,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลยและกําหนดให้จําเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ในกรณีนี้ จึงต้องฟังว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ถือว่าอุทธรณ์ของจําเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ ยื่นคําฟ้องเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งเกิน 4,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ศาลชอบที่จะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นเรื่องขับไล่ไว้พิจารณาได้

2 ประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ตามอุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า จําเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย ก่อนฟ้อง 30,000 บาท แก่โจทก์ อุทธรณ์ของจําเลยส่วนนี้เป็นคําขอในคดีมีทุนทรัพย์ และมีจํานวนทุนทรัพย์ที่ พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ 30,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวเป็นการ โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นเรื่องขับไล่ไว้พิจารณาได้ แต่จะรับอุทธรณ์ของ จําเลยในประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้พิจารณาไม่ได้

 

ข้อ 3. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยใช้เงิน 20 ล้านบาทแก่โจทก์ฐานผิดสัญญาจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินตามที่โจทก์อ้างว่า เป็นของจําเลย ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาด นายแดงยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าที่ดิน ที่ยึดเป็นของนายแดงผู้ร้อง หาใช่ของจําเลย ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดินคืนให้นายแดง โจทก์ ยื่นคําคัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นที่ดินของนายแดงผู้ร้อง และมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดิน คืนให้นายแดง โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์อุทธรณ์ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษาศาลไต่สวน แล้วเห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการยึดและปล่อยที่ดินคืนให้นายแดง ศาลจึงมีคําสั่งให้ ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ และคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดที่ดินที่พิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษา ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่น คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่ง ห้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์ยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษานั้น ถือเป็นการร้องขอ วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เมื่อปรากฏว่าคดีนี้อยู่ในระหว่าง อุทธรณ์ ดังนั้นศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีที่อุทธรณ์ ย่อมเป็นศาลที่มีอํานาจ สั่งคําร้องของโจทก์ แม้ว่าศาลชั้นต้นจะยังมิได้ส่งสําเนาความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ก็ตาม เพราะกรณี การยื่นขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้าย มาใช้บังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์

ส่วนประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยคือ การที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดที่ดินที่พิพาทไว้ ก่อนมีคําพิพากษา ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ในการพิจารณาอนุญาตคําขอของโจทก์ที่ยื่นไว้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ศาลต้องไต่สวนแล้วเห็นว่า เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันได้รับความคุ้มครองไว้ก่อนมีคําพิพากษา เมื่อปรากฏว่า คดีนี้หากเจ้าพนักงานบังคับคดี เพิกถอนการยึดที่ดิน นายแดงก็จะสามารถโอนขายได้ ซึ่งหากต่อมาศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นที่ดินของจําเลยและ มีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ย่อมเป็นการเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์จะไม่สามารถนําที่ดินออกขาย ทอดตลาดเพื่อชําระหนี้ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษาย่อมเป็น การคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 คําสั่งของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสังคําร้องของโจทก์ และคําสั่งให้ระงับการถอนการยึด ที่ดินพิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ศาลแพ่งพิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ให้แก่โจทก์ และล่วงพ้นกําหนดเวลาตามคําบังคับแล้ว จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ยื่นคําขอต่อศาลชั้นต้นให้ออก หมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้จําเลยปฏิบัติตาม คําพิพากษา แต่จําเลยได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ให้แก่นายเหลืองไปในราคา 1,000,000 บาท โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลย เพื่อใช้ค่าที่ดิน 1,000,000 บาท แทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์

ให้วินิจฉัยว่า การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดี แก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลยใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

มาตรา 275 วรรคหนึ่ง “ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอให้บังคับคดี ให้ยื่นคําขอฝ่ายเดียว ต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี”

มาตรา 282 “ถ้าคําพิพากษาหรือคําสั่งใดกําหนดให้ชําระเงินจํานวนหนึ่ง ภายใต้บังคับแห่ง บทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอํานาจที่จะรวบรวมเงินให้พอชําระตามคําพิพากษาหรือ คําสั่งโดยวิธียึดหรืออายัด และขายทรัพย์สินของลูกหนี้”

มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือ ต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล ให้มีคําสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัย คือ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้น ชอบหรือไม่ เห็นว่า การที่ศาลแพ่งพิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ให้แก่โจทก์ และโจทก์ยื่นคําขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีนั้น ถือเป็นการบังคับให้จําเลยทํานิติกรรม มิใช่การ บังคับคดีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกําหนดให้ต้องดําเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี เหมือนอย่างการบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่ง กําหนดให้ชําระเงิน หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาถูก พิพากษาให้ขับไล่หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 282 และมาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องขอให้ศาล ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 275 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี ให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัย คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ของจําเลยใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ได้หรือไม่ เห็นว่า ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 บัญญัติให้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ โดยอาศัยและตามคําบังคับที่ ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่จําเลยจะต้องชําระแก่โจทก์ตามคําพิพากษา คือ การจดทะเบียน โอนทรัพย์สินซึ่งเป็นหนี้กระทําการ และในคําพิพากษามิได้กําหนดเอาไว้ด้วยว่า หากจําเลยโอนทรัพย์สินไม่ได้ให้ ชดใช้ราคาแทน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะบังคับคดีนอกเหนือไปจากคําพิพากษาของศาลซึ่ง จะต้องมีการบังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลย เพื่อให้ใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ไม่ได้

สรุป การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าพนักงานบังคับคดี จะดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลยเพื่อให้ใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ไม่ได้

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลย อ้างว่าจําเลยบุกรุกเข้ามาในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ ทําให้โจทก์ไม่สามารถนําอสังหาริมทรัพย์ออกขายหรือออกให้เช่าได้ ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์มีราคา 50,000 บาท ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นและถ้านําออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท จําเลย ยื่นคําให้การอ้างว่า อสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจําเลย ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมา ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงต้องการยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อ ศาลอุทธรณ์ ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์มีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลมีคําพิพากษาให้ขับไล่จําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้า ไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยโดยอ้างว่าจําเลยบุกรุกเข้ามาในอสังหาริมทรัพย์ ของโจทก์ และจําเลยได้ยื่นคําให้การต่อสู้ว่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจําเลยนั้น เป็นกรณีที่ จําเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาท จึงทําให้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ในตอนแรก กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์

เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีและโจทก์ต้องการยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาล ชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้นโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น เมื่อเป็นคดีมีทุนทรัพย์จึงต้องคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งต้องพิจารณาราคาอสังหาริมทรัพย์ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้น เมื่อปรากฏว่าในขณะ ยื่นฟ้องอสังหาริมทรัพย์มีราคา 50,000 บาท โจทก์จึงไม่สามารถอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ เพราะ ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก

สรุป โจทก์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลมีคําพิพากษาให้ขับไล่จําเลยไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขอศาลบังคับจําเลยชําระหนี้ค่าซื้อเนื้อบรรจุกระป๋องที่ค้างชําระจํานวน 10 ล้านบาท จําเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ส่งเนื้อบรรจุกระป๋องคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในสัญญา จําเลยจึงไม่ยอมรับเนื้อบรรจุกระป๋อง จึงเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใช้เงินค่าเนื้อบรรจุกระป๋องแก่โจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ส่งเนื้อบรรจุกระป๋องหมดอายุ เนื้อที่บรรจุในกระป๋องเน่าเสีย คําฟ้องของโจทก์ เป็นฟ้องเคลือบคลุมและคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในการ ยื่นอุทธรณ์นั้น

1 ต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์

2 ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และ

3 อุทธรณ์นั้นไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

เว้นแต่ จะต้องด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ก็ยังมีสิทธิที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ได้ คือ

1 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ

2 เป็นปัญหาที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือ

3 เพราะเหตุเป็นเรื่องศาลชั้นต้นที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์

กรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์ฟ้องบังคับให้จําเลยชําระหนี้ค่าซื้อเนื้อบรรจุกระป๋องจํานวน 10 ล้านบาท จําเลยต่อสู้ว่าโจทก์ส่งเนื้อบรรจุกระป๋องคุณภาพต่ํากว่าเกณฑ์ และต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี การที่จําเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ส่งเนื้อบรรจุกระป๋องหมดอายุ เนื้อที่บรรจุในกระป๋องเน่าเสีย คําฟ้องของโจทก์เป็น ฟ้องเคลือบคลุมและคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ซึ่งข้อต่อสู้เหล่านี้จําเลยไม่เคยยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นมาก่อนนั้น

อุทธรณ์ของจําเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก อีกทั้งข้อต่อสู้ดังกล่าวก็ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จําเลยจะ มีสิทธิยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ดังนั้น อุทธรณ์ของจําเลยจึงไม่ชอบที่ ศาลชั้นต้นจะรับไว้พิจารณาได้ ศาลจึงไม่สามารถรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นดังกล่าวได้เลย

สรุป ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นดังกล่าวไม่ได้เลย

 

ข้อ 3. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่งโจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยให้ออกจากตึกแถวของโจทก์ จําเลยให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวที่พิพาทให้แก่จําเลยและรับเงินค่าที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจําเลย ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จําเลยยื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว โดย อ้างว่าหลังจากโจทก์ฟ้องแล้วโจทก์ได้กระทําละเมิดสิทธิและประโยชน์ของจําเลยโดยตัดท่อน้ําบาดาล ไม่มีการจ่ายน้ําบริโภคไปยังตึกแถวพิพาทที่จําเลยอยู่อาศัย จําเลยในฐานะผู้เช่าไม่สามารถร้องขอ ให้การประปานครหลวงเดินท่อน้ําให้ได้เพราะโจทก์ไม่ยอมให้วางท่อผ่านที่ดินของโจทก์ ขอให้ศาล มีคําสั่งให้โจทก์ต่อท่อและจ่ายน้ําบริโภคให้ตึกแถวพิพาทโดยใช้น้ําบาดาลของโจทก์เช่นเดิมหรือ ให้โจทก์ดําเนินการยื่นคําร้องต่อการประปานครหลวง โจทก์ยื่นคําคัดค้านขอให้ศาลยกคําร้องของ จําเลยโดยอ้างว่า

(ก) จําเลยไม่มีสิทธิยื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวตามกฎหมายได้

(ข) คําร้องของจําเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่ศาลจะอนุญาต

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าคําคัดค้านของโจทก์ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ำหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําคัดค้านของโจทก์ทั้งสองข้อฟังขึ้นหรือไม่ เห็นว่า

(ก) การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ผู้มีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวคือ คู่ความ ฝ่ายโจทก์ ในกรณีเมื่อจําเลยยื่นคําให้การและฟ้องแย้งโจทก์ จําเลยในคดีตามฟ้องแย้งย่อมอยู่ในฐานะโจทก์มีสิทธิ ยื่นคําขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3092/2524) ดังนั้น ข้อคัดค้าน ของโจทก์ในประเด็นที่ว่า จําเลยไม่มีสิทธิยื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวตามกฎหมายจึงฟังไม่ขึ้น

(ข) วิธีขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น โจทก์จะต้องร้องขอให้ศาลมีคําสั่ง ภายในบังคับแห่งเงื่อนไขที่จะกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ คือ

1 วิธีการคุ้มครองชั่วคราวที่จะนํามาใช้แก่จําเลยจะต้องเป็นวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) – (4) กล่าวคือ (1) ขอให้ยึดอายัดชั่วคราว (2) ขอห้ามชั่วคราว (3) ขอห้ามเปลี่ยนแปลง ทางทะเบียนชั่วคราว (4) ขอให้จับกุมกักขังจําเลยชั่วคราว

2 สิ่งที่ขอคุ้มครองจะต้องสอดคล้องกับประเด็นตามคําฟ้องและคําขอท้ายฟ้อง

ดังนั้น การที่จําเลยในฐานะโจทก์ตามฟ้องแย้ง ขอคุ้มครองชั่วคราวโดยขอให้ศาลมีคําสั่งให้ โจทก์ต่อท่อและจ่ายน้ําบริโภคให้ตึกแถวพิพาทโดยใช้น้ำบาดาลของโจทก์เช่นเดิม หรือให้โจทก์ดําเนินการยื่นคําร้อง ต่อการประปานครหลวง จึงไม่ใช่วิธีการขอคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 254 (1) – (4) อีกทั้งเป็นเรื่อง ที่ไม่สอดคล้องกับประเด็นตามฟ้องแย้งของจําเลย ซึ่งขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวที่พิพาท ให้แก่จําเลยและรับเงินค่าที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจําเลยเท่านั้น จําเลยจึงไม่สามารถยื่นขอคุ้มครองชั่วคราว ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ ดังนั้น ข้อคัดค้านของโจทก์ในประเด็นที่ว่า คําร้องของจําเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์ ตามที่ศาลจะอนุญาตจึงฟังขึ้น

สรุป คําคัดค้านของโจทก์ในประเด็นที่ว่า จําเลยไม่มีสิทธิยื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ ชั่วคราวตามกฎหมายฟังไม่ขึ้น ส่วนคําคัดค้านของโจทก์ในประเด็นที่ว่า คําร้องของจําเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่ ศาลจะอนุญาตนั้นฟังขึ้น

 

ข้อ 4. ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 ให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีและชําระเงินจํานวน 3,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ศาลมีคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา เมื่อสิ้นระยะเวลาตามคําบังคับ จําเลยยังคงไม่ชําระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นออก หมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2548 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 โจทก์แถลงขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 ซึ่งมีชื่อจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินได้ ยึดที่ดินดังกล่าวตามคําขอของโจทก์โดยประมาณราคาไว้ 1,500,000 บาท ในวันที่ 13 มกราคม 2551 จําเลยได้นําเงินสดจํานวน 500,000 บาท มาชําระให้แก่โจทก์และทําหนังสือรับสภาพหนี้ตาม คําพิพากษามอบไว้ให้แก่โจทก์ด้วย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดที่ดินที่ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดในวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 และในวันขายทอดตลาด โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ของจําเลยราคาประมาณ 1,000,000 บาทเพิ่มเติม จําเลยยื่นคําคัดค้านขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาดและให้ยกคําขอ ให้ยึดรถยนต์เพิ่มเติมของโจทก์ โดยอ้างเหตุผลประการเดียวกันว่า โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้ว ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าข้อคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ในการร้องขอให้บังคับคดีนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 ได้กําหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาถึงที่สุด กล่าวคือต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี แล้ว และต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ดําเนินการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินใดบ้าง (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 275, 276 และมาตรา 278) หลังจากนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ต้องดําเนินการต่อไป ซึ่งจะมีการบังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกําหนด 10 ปีหรือไม่ ไม่เป็นข้อสําคัญ

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้อคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ภายในวันที่ 14 มีนาคม 2557 และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2548 และต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 ซึ่งมีชื่อจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมถือได้ว่าเป็น การร้องขอให้บังคับคดี ซึ่งโจทก์ได้กระทําการภายในกําหนดเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว และเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีสิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้น แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศ ขายทอดตลาดที่ดินของจําเลยในวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ซึ่งล่วงพ้นกําหนดเวลาในการบังคับคดีแล้วก็ตาม ก็เป็น การบังคับคดีโดยชอบ โจทก์หาหมดสิทธิบังคับคดีไม่ ดังนั้น จําเลยจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึด ที่ดินที่จะขายทอดตลาดไม่ได้ ข้อคัดค้านของจําเลยในส่วนนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่ 2 ข้อคัดค้านของจําเลยที่ขอให้ยกคําขอของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลยเพิ่มเติมนั้น แม้ในวันที่ 13 มกราคม 2551 จําเลยจะได้นําเงินสดจํานวน 500,000 บาท มาชําระให้แก่โจทก์และทําหนังสือ รับสภาพหนี้ตามคําพิพากษามอบไว้ให้แก่โจทก์ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทําให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด เนื่องจาก ระยะเวลา 10 ปี ในการบังคับคดีมิใช่อายุความจึงไม่มีกรณีการสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 ประกอบ มาตรา 193/15 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เพิ่งแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ของจําเลยในวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังเมื่อพ้นกําหนดเวลาที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีตามคําพิพากษาเพื่อให้จําเลยชําระเงินที่ขาดอยู่ได้

ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะยกคําขอของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลยเพิ่มเติมเสียได้ ข้อคัดค้านของจําเลย ในส่วนนี้จึงฟังขึ้น

สรุป ข้อคัดค้านของจําเลยที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาดนั้น ฟังไม่ขึ้น ส่วนข้อคัดค้านของจําเลยที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกคําขอของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลยเพิ่มเติม นั้นฟังขึ้น

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยทําหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์ไป 300,000 บาท ถึงกําหนดแล้วจําเลยไม่ชําระโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจําเลยให้ชําระหนี้ แต่จําเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจําเลยชําระเงิน 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จ จําเลยให้การว่าจําเลย ไม่เคยกู้เงินโจทก์ และคดีขาดอายุความเพราะโจทก์ยื่นฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความและจําเลยได้กู้เงินโจทก์จริง พิพากษาให้จําเลยชําระหนี้ตามฟ้อง ให้แก่โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ว่าจําเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ สัญญากู้ที่โจทก์นํามาฟ้องเป็นสัญญาปลอม ทั้งฉบับและมิได้ปิดอากรแสตมป์รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113

ศาลชั้นต้นสังรับอุทธรณ์ของจําเลย ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นขอใดบ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้า ไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกลาวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่ เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในการยืนอุทธรณ์นั้น

1 ต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์

2 ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และ

3 อุทธรณ์นั้นไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

เว้นแต่ จะต้องด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ก็ยังมีสิทธิที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ได้ คือ

1 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ

2 เป็นปัญหาที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือ

3 เพราะเหตุเป็นเรื่องศาลชั้นต้นที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยทําหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์ไป 300,000 บาท ถึงกําหนดแล้วจําเลยไม่ชําระ จําเลยให้การว่าจําเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์และคดีขาดอายุความเพราะโจทก์ยื่นฟ้องเป็น 10 ปีแล้วนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความและจําเลยได้กู้เงินโจทก์จริง จึงพิพากษา ให้จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ ดังนี้จําเลยย่อมอุทธรณ์ได้ทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง เพราะ กรณีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคแรก แต่การอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อกฎหมาย และปัญหาข้อเท็จจริงนั้น จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 225 ดังที่ได้กล่าวไว้ด้วย

จากข้อเท็จจริง การที่จําเลยอุทธรณ์ว่าจําเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ สัญญากู้ที่โจทก์นํามาฟ้องเป็น สัญญาปลอมทั้งฉบับ และมิได้ปิดอากรแสตมป์รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งศาลชั้นต้น สั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยนั้น กรณีเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นข้อใดบ้างนั้น แยกวินิจฉัย ได้ดังนี้

1 ประเด็นที่จําเลยอุทธรณ์ว่าจําเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์นั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงและเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในข้อนี้ ไว้จึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยในประเด็นนี้

2 ประเด็นที่จําเลยอุทธรณ์ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นํามาฟ้องเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับนั้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และเมื่อปรากฏว่าจําเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ในศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่า เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 225 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ไว้จึงมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่สามารถรับวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้

3 ประเด็นที่จําเลยอุทธรณ์ว่าสัญญากู้มิได้ปิดอากรแสตมป์รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากรนั้น ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จําเลยก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ได้ตามมาตรา 225 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจําเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว ดังนั้นศาลอุทธรณ์ต้องรับ วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้

สรุป

ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจําเลยเฉพาะในประเด็นที่ว่าจําเลยไม่เคยกู้เงิน โจทก์ และสัญญากู้มิได้ปิดอากรแสตมป์รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าสัญญากู้ที่โจทก์ นํามาฟ้องเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่สามารถรับวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระเงินที่จําเลยกู้ยืมจากโจทก์จํานวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ จําเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคย กู้ยืมเงินและรับเงินจากโจทก์เลย ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จและนัดสืบพยานจําเลย ถึงวันนัดสืบพยานจําเลย จําเลยยื่นคําร้องขอให้ศาลชั้นต้นไปเดินเผชิญสีบบ้านเช่าที่จําเลยอาศัย ว่ามีสภาพทรุดโทรม ไม่มีความน่าเชื่อถือว่าโจทก์จะให้จําเลยกู้ยืมเงินตามฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า ไม่มีเหตุสมควรให้ยกคําร้อง จําเลยยื่นคําร้องโต้แย้งคําสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลย ชําระเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จ แก่โจทก์ ให้วินิจฉัยว่า จําเลยมีสิทธิอุทธรณ์ว่าคดีมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะไปเดินเผชิญสืบบ้านเขา ของจําเลยได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 190 “จํานวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทกันในคดีนั้น ให้คํานวณดังนี้

(1) จํานวนทุนทรัพย์หรือราคานั้น ให้คํานวณตามคําเรียกร้องของโจทก์ ส่วนดอกผลอันมิถึงกําหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคําฟ้องหรือค่าธรรมเนียมศาลซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์รวมอยู่ในคําเรียกร้องห้ามไม่ให้ คํานวณรวมเข้าด้วย”

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน ค่ความที่ โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่า คําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และให้อยู่ภายใน ข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

มาตรา 228 วรรคแรกและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

(1) ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจําขัง ผู้ใด ตามประมวลกฎหมายนี้

(2) มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือ มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อจะบังคับคดีตามคําพิพากษาต่อไป หรือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําสั่งศาลชั้นต้นที่เห็นว่าไม่มีเหตุสมควรที่จะไปเดินเผชิญสืบบ้านเช่าของ จําเลยและยกคําร้องของจําเลยนั้น เป็นคําสั่งใด ๆ ของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลนั้นจะได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาด ตัดสินคดี และมิใช่คําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และ 228 ทั้งไม่ทําให้คดีนั้นเสร็จไปจากศาล จึงเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาและคู่ความฝ่ายที่โต้แย้งชอบที่จะ อุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษาตามมาตรา 226 (1) (2)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคําสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ ในการดําเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมาย ดังนั้นอุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า คดีมีเหตุสมควร ที่ศาลชั้นต้นจะไปเดินเผชิญสืบบ้านเช่าของจําเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และต้องอยู่ภายใต้บังคับ ของมาตรา 224 ด้วย

เมื่อตามข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยชําระเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ และดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จ เป็นดอกผลอันยังมิได้ถึงกําหนดเกิดขึ้นในเวลาที่ยื่นฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 190 (1) บัญญัติห้ามมิให้คํานวณ รวมเข้าด้วยเป็นจํานวนทุนทรัพย์ในคดี ดังนั้นอุทธรณ์ของจําเลยจึงเป็นคดีที่จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันใน ชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งมาตรา 224 วรรคแรก ห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอุทธรณ์คําสั่ง ระหว่างพิจารณาของจําเลยในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคแรกด้วย แม้ว่าจําเลยจะได้โต้แย้งคําสั่งนั้นไว้แล้วก็ตาม ดังนั้น จําเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่า คดีมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้น จะไปเดินเผชิญสืบบ้านเช่าของจําเลยได้

สรุป จําเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่า คดีมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะไปเดินเผชิญสืบบ้านเช่าของจําเลยได้

 

 

ข้อ 3. (ก) ถ้าท่านเป็นศาล ท่านมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตามคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษาตามมาตรา 264 อย่างไร

(ข) โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับขับไล่จําเลย ให้ออกไปจากบ้านและที่ดินของโจทก์ จําเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย และจําเลยก็เป็นทายาทของผู้ตาย ขอให้ศาลยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าบ้านและที่ดินที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย และโจทก์กับ จําเลยต่างก็เป็นทายาทของผู้ตาย และมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ก่อนที่ ศาลชั้นต้นจะส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จําเลยร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์ นําค่าเช่าอันเกิดจากบ้านและที่ดินที่พิพาทมาวางต่อศาล ศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าบ้านและที่ดิน ที่พิพาทมีรายได้ค่าเช่าและโจทก์รับไปฝ่ายเดียว และมีคําสั่งให้โจทก์นําค่าเช่าอันเกิดจาก บ้านที่ดินที่พิพาทมาวางต่อศาลไว้ก่อนมีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลย และคําสั่งให้โจทก์นําค่าเช่าอันเกิดจากบ้านที่ดินที่พิพาทมาวางต่อศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะ ยื่นคําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือ ผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของ บุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

(ก) ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล การที่ข้าพเจ้าจะอนุญาตตามคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษาตาม มาตรา 264 นั้น ข้าพเจ้าจะต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทให้ได้รับการคุ้มครองไว้ก่อนมีคําพิพากษา หมายความว่า หากผู้ขอไม่มาขอ ต่อมาผู้ขอเป็นฝ่ายชนะคดี ผู้ขอจะเสียสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาท

(ข) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์นําค่าเช่ามาวางต่อศาลไว้ ก่อน มีคําพิพากษานั้น ถือว่าเป็นการขอวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์จําเลยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ในระหว่างอุทธรณ์ ดังนั้นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า ศาลใดมีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลย

กรณีนี้เห็นว่า เมื่อศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณา แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า ศาลชั้นต้นจะยังไม่ได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ก็ตาม ศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลย จึง หมายถึงศาลอุทธรณ์ มิใช่ศาลชั้นต้น และกรณีการยื่นคําขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 นั้น มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้ายมาใช้บังคับ ดังนั้นศาลชั้นต้นจึงไม่มีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลย

ส่วนประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อมาคือการที่ศาลมีคําสั่งให้โจทก์นําค่าเช่ามาวางต่อศาลไว้ก่อนมี คําพิพากษาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าในการพิจารณาอนุญาตตามคําร้องที่จําเลยยื่นต่อศาล ศาลจําต้องไต่สวน แล้วเห็นว่าเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกัน ให้ได้รับการคุ้มครองไว้ก่อนมีคําพิพากษาตามมาตรา 264 แต่คดีนี้จําเลยให้การต่อสู้เพียงให้ยกฟ้องโจทก์ หาได้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเช่ามาด้วย หากจําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ศาลก็เพียงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ และอาจให้โจทก์รับผิด ค่าธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจําเลยหาใช่เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอไม่ ดังนั้นการที่ศาลมีคําสั่ง ให้โจทก์นําค่าเช่ามาวางต่อศาลไว้ก่อนมีคําพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 264

สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลย และคําสั่งให้โจทก์นําค่าเช่ามาวาง ต่อศาลไว้ก่อนมีคําพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ในวันนัดฟังคําพิพากษา โจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นอ่านคําพิพากษาให้คู่ความฟังโดยศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์และจําเลยได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมีข้อความว่า ศาลได้อ่าน คําพิพากษาให้ฟังแล้ว และให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 30 วัน มิฉะนั้นอาจถูกบังคับ ยึดทรัพย์หรือถูกจับและจําขังตามกฎหมาย อีกสองเดือนถัดมา โจทก์ยื่นคําขอต่อศาลชั้นต้นว่า จําเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคําพิพากษา ขอให้ศาลชั้นต้นมีคําสั่งจับกุมและจําขังจําเลยตามคําสั่งของศาล ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ให้ยกคําขอของโจทก์ ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคําขอของโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ก่อนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

มาตรา 272 “ถ้าศาลได้พิพากษาหรือมีคําสั่งอย่างใดซึ่งจะต้องมีการบังคับคดี ก็ให้ศาลมีคํา บังคับกําหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคําบังคับในวันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่ง และให้เจ้าพนักงานศาลส่งคําบังคับนั้น ไปยังลูกหนี้ตามคําพิพากษา เว้นแต่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้อยู่ในศาลในเวลาที่ศาลมีคําบังคับนั้น และศาลได้สั่ง ให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญ”

มาตรา 273 วรรคแรกและวรรคท้าย “ถ้าในคําบังคับได้กําหนดให้ใช้เงิน หรือให้ส่งทรัพย์สิน หรือให้กระทําการ หรืองดเว้นการกระทําการอย่างใด ๆ ให้ศาลระบุไว้ในคําบังคับนั้นโดยชัดแจ้ง ซึ่งระยะเวลาและ เงื่อนไขอื่น ๆ อันจะต้องใช้เงิน ส่งทรัพย์สิน กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ นั้น

นอกจากนี้ให้ศาลระบุไว้โดยชัดแจ้งในคําบังคับว่าในกรณีที่มิได้มีการปฏิบัติตามคําบังคับเช่น ว่านี้ภายในระยะเวลาหรือภายในเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องถูกยึดทรัพย์ หรือถูกจับ และจําขังดังที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้”

มาตรา 275 วรรคแรก “ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอให้บังคับคดี ให้ยื่นคําขอฝ่ายเดียว ต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี”

มาตรา 296 ทวิ วรรคแรก “ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือ ต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอบที่จะยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องต่อ ศาลให้มีคําสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคําพิพากษาให้แก่โจทก์และจําเลยฟัง แล้วคู่ความ ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาการอ่านคําพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมีข้อความว่า ให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาที่ให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน มิฉะนั้นอาจถูกบังคับยึดทรัพย์หรือถูกจับและจําขังตามกฎหมาย อันถือได้ว่าเป็นคําบังคับที่กําหนดวิธีที่จะปฏิบัติ ตามคําพิพากษา โดยมีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งในคําบังคับว่า ในกรณีที่มิได้มีการปฏิบัติตามคําบังคับภายใน ระยะเวลาที่ได้กําหนดไว้ จําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องถูกยึดทรัพย์หรือถูกจับและจําขังตามที่บัญญัติไว้ ในลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 272 และมาตรา 273 วรรคท้าย ย่อมถือว่าจําเลยได้ทราบคําบังคับแล้วในวันที่ศาลได้อ่านคําพิพากษา ดังนั้น เมื่อจําเลยมิได้ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษานั้นได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271

ส่วนการร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาของศาลที่ให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์นั้น เป็นการบังคับให้จําเลยทํานิติกรรมมิใช่การบังคับคดีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งกําหนดให้ต้องดําเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีเหมือนอย่างการบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่ง กําหนดให้ชําระเงิน หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 273 วรรคแรก และมาตรา 296 ทวิ วรรคแรก จึงมิใช่เป็นกรณีที่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 275 ดังนั้น คําสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีก่อนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคําขอของโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ก่อนเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยฐานผิดสัญญาซื้อขายเครื่องเรือน อ้างว่า จําเลยไม่ยอมนําเครื่องเรือนมาส่งมอบให้โจทก์ตามสัญญา ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะไม่สามารถนําเครื่องเรือนไปส่งให้ลูกค้าได้ ขอให้ ศาลบังคับจําเลยให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงินจํานวน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลย ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยไม่พอใจ ในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงต้องการยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ก่อนที่ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์จะสิ้นสุดลง จําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นคําฟ้อง อุทธรณ์ ต่อมาศาลมีคําสั่งให้ยกคําร้อง จําเลยไม่พอใจในคําสั่งของศาลจึงยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาล ทันที โดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งของศาลไว้ก่อน

ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 223 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 138, 168, 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งขี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่ถือว่าเป็น “คําสั่งระหว่างพิจารณา” ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นใน ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 และมาตรา 228

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่ง ไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นตามมาตรา 226 (2) ส่วนคําสั่งของศาลนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ ไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องโต้แย้งก่อนที่จะอุทธรณ์แต่ประการใด (อุทธรณ์ได้ทันที)

ตามข้อเท็จจริง การที่จําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นคําฟ้องอุทธรณ์ ถือว่าจําเลย ยื่นคําร้องในขณะที่ไม่มีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล เนื่องจากศาลได้มีคําพิพากษาไปแล้ว ดังนั้นการที่ศาลมีคําสั่ง ยกคําร้องของจําเลยจึงไม่ใช่คําสั่งระหว่างพิจารณา แม้จําเลยจะไม่ได้โต้แย้งคําสั่งของศาล จําเลยก็สามารถอุทธรณ์ได้ เพราะสิทธิของจําเลยถูกโต้แย้ง โดยอาศัยมาตรา 223 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 223 นั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว คู่ความหรือบุคคลภายนอกซึ่งถูกกระทบกระทั่งต่อสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในคดี ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งที่กฎหมายได้บัญญัติให้เป็นที่สุดหรือห้ามมิให้อุทธรณ์

สรุป จําเลยสามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง จําเลยอุทธรณ์ว่า ลายมือชื่อของผู้กู้ในหนังสือ สัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ลายมือชื่อจําเลย อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินเกินกว่าอัตราที่กฎหมาย กําหนดตกเป็นโมฆะ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โดยนายยุติผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองไว้แล้วว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้

ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้า ไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่ เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ ค่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในการ ยื่นอุทธรณ์นั้น

1 ต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์

2 ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และ

3 อุทธรณ์นั้นไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้น จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

เว้นแต่ จะต้องด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ก็ยังมีสิทธิที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ได้ คือ

1 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ

2 เป็นปัญหาที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือ

3 เพราะเหตุเป็นเรื่องศาลชั้นต้นที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า ลายมือชื่อของผู้กู้ ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของจําเลย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า อุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าว ถือเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม เมื่อ จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ จึงไม่มีข้อต่อสู้ของจําเลยตามคําให้การในศาลชั้นต้นที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก อีกทั้งข้อที่จําเลยยกขึ้นต่อสู้ในอุทธรณ์ดังกล่าวก็มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนตามที่ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง บัญญัติยกเว้นให้อุทธรณ์ได้แม้จะมิได้ยกขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นแต่อย่างใด จึงไม่อยู่ในอํานาจของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามมาตรา 224 วรรคแรก ดังนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ในกรณีนี้ได้

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยคือ อุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินเกินกว่า อัตราที่กฎหมายกําหนด ตกเป็นโมฆะ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ เห็นว่า อุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าว ถือเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จําเลยขาดนัดยืน คําให้การซึ่งเท่ากับมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จําเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง อุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับไว้พิจารณา

สรุป ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์ของจําเลย โดยไม่รับอุทธรณ์ในข้อที่ว่า ลายมือชื่อของผู้กู้ ในหนังสือสัญญายืมเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของจําเลย และรับอุทธรณ์ในข้อที่ว่า อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงิน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนดตกเป็นโมฆะ

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ใช้ที่ดินของจําเลยเป็นทางเข้าออกมากว่า 10 ปี จําเลยได้ปิดกั้นทางทําให้โจทก์เข้าออกไม่ได้ ขอให้ศาลบังคับจําเลย ให้จําเลยเปิดทางให้โจทก์เข้าออกเพราะที่ดินของ จําเลยมีทางภาระจํายอม จําเลยต่อสู้ว่าที่ดินของจําเลยไม่มีทางภาระจํายอม ขอให้ศาลยกฟ้องใน ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคําร้องต่อศาลว่า จําเลยจะก่อสร้างบ้านจัดสรรและจะโอนขายที่ดินที่ โจทก์ฟ้องให้จําเลยเปิดทางภาระจํายอม หากต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายชนะ โจทก์ก็จะต้องเสียหาย ใช้ ที่ดินของจําเลยเป็นทางเข้าออกไม่ได้ ขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยก่อสร้างและขอให้มีคําสั่งห้าม มิให้จําเลยจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของจําเลย ศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า จําเลยจะก่อสร้าง บ้านและจะโอนขายที่ดินที่โจทก์ฟ้องให้จําเลยเปิดทาง และมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยก่อสร้างบ้านและมี คําสั่งห้ามมิให้จําเลยจดทะเบียนสิทธินิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษา

ดังนี้ นักศึกษาเห็นว่า คําสั่งของศาลที่ห้ามมิให้จําเลยก่อสร้างบ้านและห้ามมิให้จําเลยจดทะเบียนสิทธินิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของจําเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตาม กฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ๆ

มาตรา 255 “ในการพิจารณาอนุญาตตามคําขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา 254 ต้องให้เป็นที่พอใจ ของศาลว่า คําฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนําวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้”

วินิจฉัย

บทบัญญัติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอให้ศาลมีคําสั่ง กําหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา โดยหากโจทก์เห็นว่าโจทก์จะได้รับ ความเสียหายจากการกระทําของจําเลย โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ แต่การร้องขอนั้น โจทก์จะต้องร้องขอเพื่อไม่ให้โจทก์ต้องเสียหายในเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยด้วย เพราะถ้าไม่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับจําเลยแล้ว โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรานี้ ไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จําเลยเปิดทางให้โจทก์เข้าออก เพราะที่ดินของจําเลยมีทาง ภาระจํายอม การที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยก่อสร้างบ้านจัดสรรและห้ามมิให้จําเลยจดทะเบียน สิทธินิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของจําเลย จึงไม่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับจําเลย เพราะโจทก์ ไม่ได้ฟ้องบังคับห้ามมิให้จําเลยก่อสร้างบ้าน และมิได้ฟ้องบังคับให้จําเลยโอนที่ดินที่พิพาท อีกทั้งในการพิจารณา อนุญาตตามคําขอที่โจทก์ยื่นไว้ตามมาตรา 254 นั้น ศาลจะต้องเห็นว่าคําฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนํา วิธีการตามที่ขอมาใช้ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 255 ด้วย ศาลจึงอนุญาตตามคําขอได้ เมื่อปรากฏว่าเรื่องนี้โจทก์ร้องขอ ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับจําเลยจึงถือว่าคําฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลแม้จะมีเหตุ ศาลจะมีคําสั่งอนุญาตตาม คําขอไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 255 ดังนั้น คําสั่งของศาลที่ห้ามมิให้จําเลยก่อสร้างบ้านและห้ามมิให้จําเลย จดทะเบียนสิทธินิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของจําเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ในกรณีดังกล่าวนี้ หากโจทก์ต้องการขอให้ศาลมีคําสั่งกําหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราว โจทก์ก็ชอบ ที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลยเปิดทางและให้มีคําสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินของ จําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) และ (3) เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการกระที่ถูกฟ้องร้อง

สรุป คําสั่งของศาลที่ห้ามมิให้จําเลยก่อสร้างบ้านและห้ามมิให้จําเลยจดทะเบียนสิทธินิติกรรม ใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามโฉนดเลขที่ 111 ให้แก่โจทก์ โจทก์แถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคําบังคับ นายยุติผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ออกคําบังคับ โดยให้เพิ่มข้อความต่อท้ายด้วยว่า หากจําเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคําพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ของจําเลย จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ ชั้นบังคับคดีเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือรายงานต่อศาล ชั้นต้นว่า เนื่องจากคําพิพากษาของศาลไม่ได้ระบุว่าให้ถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ของจําเลย แม้จะมีข้อความดังกล่าวระบุไว้ในคําบังคับ แต่คําบังคับไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคําพิพากษา และการจดทะเบียนโอนที่ดินจะต้องมีคู่กรณีมาดําเนินการด้วยกันทั้งสองฝ่ายจึงจะจดทะเบียนโอน แก่กันได้ เจ้าพนักงานที่ดินควรจะปฏิบัติอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคําสั่งแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินว่า หาก จําเลยไม่ไปจดทะเบียนให้แก่โจทก์ ก็ให้ถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลยตามที่ ระบุไว้ในคําบังคับ

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลดังกล่าวชอบหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

มาตรา 272 “ถ้าศาลได้พิพากษาหรือมีคําสั่งอย่างใดซึ่งจะต้องมีการบังคับคดี ก็ให้ศาลมี คําบังคับกําหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคําบังคับในวันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่ง และให้เจ้าพนักงานศาลส่ง

คําบังคับนั้นไปยังลูกหนี้ตามคําพิพากษา เว้นแต่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้อยู่ในศาลในเวลาที่ศาลมีคําบังคับนั้น และศาลได้สั่งให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จําเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ เป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นการให้จําเลยกระทํานิติกรรม อันเป็นหนี้ที่จําเลยต้องชําระแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษา และ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 272 บัญญัติว่า “ถ้าศาลได้มีคําพิพากษาหรือมีคําสั่งอย่างใดซึ่งต้องมีการบังคับคดี ก็ให้ศาลมีคําบังคับกําหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคําบังคับ” การที่นายยุติผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้ออกคําบังคับโดย เพิ่มข้อความต่อท้ายในคําบังคับว่า หากจําเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคําพิพากษาของศาลแสดงการแสดงเจตนาของจําเลย จึงเป็นเพียงการกําหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคําพิพากษา มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ที่จะต้องปฏิบัติ นอกเหนือไปจากคําพิพากษาอันจะเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 271 ที่บัญญัติให้การบังคับคดีต้องโดยอาศัยและ ตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาและคําสั่งนั้นแต่อย่างใดไม่ คําบังคับของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยมาตรา 272 แล้ว

เมื่อจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา และสภาพแห่งการบังคับคดีสามารถใช้คําพิพากษาของศาล แทนการแสดงเจตนาของจําเลยที่จะต้องไปดําเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงชอบ ที่จะมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยถือเอาคําพิพากษาของศาล แทนการแสดงเจตนาของจําเลยได้ ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบแล้ว (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1584/2546 และที่ 2701/2537)

สรุป คําสั่งของศาลดังกล่าวชอบแล้ว

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 S/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์นําตึกแถวพิพาทออกให้จําเลยเช่า โดยคิดค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท บัดนี้ สัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่ากับจําเลย และได้บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้ว แต่จําเลย ไม่ยอมออกไปจากตึกแถวพิพาท โจทก์จึงฟ้องขอศาลบังคับขับไล่จําเลย จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า ตึกแถวพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของมารดาจําเลย โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่ ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมา ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ขับไล่ ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ว่าตึกแถวพิพาทเป็นของมารดาจําเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขับไล่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคแรกและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนด ในพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการห้ามคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ในคดีดังต่อไปนี้ คือ

1 คดีที่ราคาทรัพย์ที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

2 คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับขับไล่จําเลยออกจากตึกแถวพิพาทและ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าตึกแถวพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของมารดาจําเลย โดยมิได้ให้การยกข้อต่อสู้ที่ว่า ตึกแถวพิพาทเป็นของจําเลยอันเป็นการต่อสู้กรรมสิทธิ์และจะทําให้เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์นั้น คดีนี้จึงเป็นคดีไม่มี ทุนทรัพย์ ประเภทคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคําฟ้อง

ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการคิดค่าเช่ากันเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งเกิน 4,000 บาท จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง จําเลยจึงสามารถอุทธรณ์ว่าตึกแถวพิพาทเป็นของมารดาจําเลย โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่ ซึ่งถือเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และเป็นปัญหาข้อเท็จจริงได้

สรุป

จําเลยจะอุทธรณ์ว่าตึกแถวพิพาทเป็นของมารดาจําเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขับไล่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์ จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จําเลยชําระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง จําเลยอุทธรณ์ว่าคําฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณา

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ดังกล่าวของจําเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวใน ศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่อง ให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้อง ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในการ ยื่นอุทธรณ์นั้น

1 ต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์

2 ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และ

3 อุทธรณ์นั้นไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

เว้นแต่ จะต้องด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ก็ยังมีสิทธิที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ได้ คือ

1 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ

2 เป็นปัญหาที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือ

3 เพราะเหตุเป็นเรื่องศาลชั้นต้นที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ จึงไม่มีข้อเถียงของจําเลยที่ยกขึ้นต่อสู้ในคําให้การ ดังนั้น อุทธรณ์ของจําเลย ที่ว่าคําฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก อีกทั้งปัญหาว่าคําฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ก็มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จําเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ดังนั้น อุทธรณ์ของจําเลยจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับไว้พิจารณาได้ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจําเลย ไว้พิจารณาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ดังกล่าวของจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทโดยหลังจากจําเลยที่ 1 ทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทําสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทให้แก่จําเลยที่ 2 ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสํานวนความไปยัง ศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ทํานิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาท และขอให้ศาลมีคําสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมี คําพิพากษา

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลใดมีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์และวิธีการชั่วคราวที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าว ต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ้งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมีให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดี หรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยมีว่า วิธีการชั่วคราวที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคําสั่ง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 254 นั้น ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวจะต้องตรง กับการกระทําของจําเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดี และเป็นเรื่องที่อยู่ในคําขอท้ายฟ้องด้วย

ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่างจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้มีคําขอให้จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ คําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่ขอห้ามมิให้จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ทํานิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาท และมีคําสั่ง อายัดที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) และ (1) จึงเป็นเรื่องนอกเหนือจาก ประเด็นแห่งคดีและคําขอท้ายฟ้องของโจทก์ คําขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลใดมีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ เห็นว่า คําขอคุ้มครอง ชั่วคราวที่โจทก์ยื่นภายหลังจากที่ได้ยื่นอุทธรณ์นั้น โดยหลักเป็นอํานาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่คดีอยู่ระหว่าง การพิจารณาที่จะดําเนินการไต่สวนและสั่งคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ อย่างไรก็ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 วรรคท้าย ได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้โดยให้อํานาจศาลชั้นต้น สามารถสั่งคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวได้ ถ้ายังไม่ได้ส่ง สํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์

ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งสํานวนความไปศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้น ย่อมมีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ตามมาตรา 254 วรรคท้าย

สรุป ศาลชั้นต้นเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ และวิธีการชั่วคราวที่โจทก์ขอไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

 

 

ข้อ 4. ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาในวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 และมีคําบังคับให้จําเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพไม่มีสิ่งปลูกสร้างและวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง จําเลยยื่นอุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงมี คําสั่งไม่รับอุทธรณ์ จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 และแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2556 ต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายน 2556 โจทก์ได้นําเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยังที่ดินพิพาทและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกําหนดเวลาให้จําเลยรื้อถอนโรงเรือนและ สิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท หากไม่ดําเนินการเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการรื้อถอน ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 จําเลยยื่นคําร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการบังคับคดีอ้างว่า การบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้ว ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าข้ออ้างของจําเลยตามคําร้องฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 147 วรรคสอง “คําพิพากษาหรือคําสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคําขอให้พิจารณา ใหม่ได้นั้น ถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกา หรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กําหนดไว้ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลา เช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง…”

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 271 แห่ง ป.วิ.แพ่งนั้น มีหลักว่า ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะหรือเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษา ย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้

แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี นับจากวันที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง และคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นจะต้องเป็นคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุด ด้วย (ฎีกาที่ 3325/2552) ซึ่งคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม ย่อมถือว่าคําพิพากษาถึงที่สุดนับแต่ระยะเวลาที่อาจอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงตามนัย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง มิใช่ถึงที่สุดนับจากวันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา (ฎีกาที่ 4906/2549, ฎีกาที่ 3714 – 3717/2554)

ดังนั้น จากข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาในวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี จึงต้องเริ่มนับจากวันสิ้นกําหนดระยะเวลาอุทธรณ์ คือวันที่ 30 มิถุนายน 2546 (1 เดือน นับจากศาลพิพากษา) และจะครบกําหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ในวันที่ 30 มิถุนายน 2556)

เมื่อการบังคับคดีของโจทก์ ตามคําพิพากษาเป็นการขอบังคับให้จําเลยรื้อถอนโรงเรือนและ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งต้องดําเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งในการบังคับคดีประเภทนี้ เมื่อโจทก์ได้ร้องขอให้ศาล ออกหมายบังคับคดี แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว และแถลงขอให้เจ้าพนักงาน ดําเนินการบังคับคดีภายในเวลา 10 ปี ก็ถือว่า โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับตามคําพิพากษาภายใน 10 ปี ตามนัย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเมื่อใด หรือปิดประกาศให้รื้อถอนเมื่อใดนั้น เป็นขั้นตอนการดําเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปดําเนินการดังกล่าวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษา ก็ถือว่าการร้องขอบังคับคดีของโจทก์ชอบแล้ว

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในวันที่ 31 มีนาคม 2555 และแถลง ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีในวันที่ 5 มิถุนายน 2556 อันถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดี ภายในกําหนดเวลาบังคับคดีตามกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีสิทธิบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่อไปจน เสร็จสิ้น แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกําหนดเวลาให้จําเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจาก ที่ดินพิพาท หากไม่ดําเนินการเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการรื้อถอนในวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ซึ่งเป็น การล่วงพ้นกําหนดเวลาบังคับคดีแล้วก็ตาม ก็เป็นการบังคับคดีโดยชอบ โจทก์หาหมดสิทธิบังคับคดีไม่ ข้ออ้างของ จําเลยตามคําร้องขอให้ศาลเพิกถอนการบังคับคดีจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้ออ้างของจําเลยตามคําร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการร้องขอ บังคับคดีของโจทก์ได้กระทําภายในระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท โดยอ้างว่า จําเลยทําสัญญาเช่าที่ดินราคา 2,000,000 บาท จากโจทก์ในอัตราค่าเช่า 4,000 บาทต่อเดือน เมื่อครบกําหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่า จําเลยไม่ยอม ออกจากที่ดิน ขอให้ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จําเลย จําเลยให้การต่อสู้ในประเด็นว่า “จําเลยไม่ได้ ค้างชําระค่าเช่า และยังไม่ครบกําหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่า” ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลย ออกจากที่ดินพิพาทตามฟ้อง ต่อมาจําเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในประเด็นที่ว่า “ที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่ จําเลย” ขอให้มีคําพิพากษากลับคําพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ยกฟ้องโจทก์ จําเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์

ให้วินิจฉัยว่า จําเลยมีสิทธิอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 223 ทวิ “ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์อาจขออนุญาต ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยทําเป็นคําร้องมาพร้อมคําฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ได้สั่งรับอุทธรณ์และส่งสําเนาคําฟ้องอุทธรณ์และคําร้องแก่จําเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจําเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคําร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกําหนดเวลายืนคําแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ให้สั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยืนอุทธรณ์โดยตรงต่อ ศาลฎีกาได้ มิฉะนั้นให้สั่งยกคําร้อง ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคําร้อง ให้ถือว่าอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ยื่นต่อศาลอุทธรณี ตามมาตรา 223 คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตหรือยกคําร้องในกรณีนี้ให้เป็นที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่ง ยกคําร้องเพราะเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกา ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคําสั่ง

ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลฎีกา ส่งสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป”

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่ คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวใน ศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่อง ให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้อง ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในประเด็นที่ว่า “ที่ดินพิพาทเป็น กรรมสิทธิ์ของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์” นั้น เป็นกรณีที่จําเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทว่ามิใช่ที่ดินของโจทก์ ซึ่งศาลต้องฟังข้อเท็จจริงก่อนว่าโจทก์หรือจําเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทก่อนมีคําวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่จําเลยจะยื่น อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวิวรรคแรกได้ แม้คู่ความฝ่ายอื่นจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็น ดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจําเลยอุทธรณ์จะมิได้คัดค้านก็ตาม

และแม้ประเด็นตามอุทธรณ์ของจําเลยจะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งศาลฎีกา สามารถส่งสํานวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดต่อไปได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวิวรรคสอง แต่เมื่อประเด็นพิพาท ตามอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจําเลย เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ และทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทคือ 2,000,000 บาท ซึ่งเกินกว่า 50,000 บาท และเป็นคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรกก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า กรณีนี้ เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งยังมิใช่ปัญหาข้อใด อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมถึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น เพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือมิใช่เรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 จําเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว

สรุป จําเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ และให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 4,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ จําเลยให้การปฏิเสธว่า จําเลยอยู่ใน ที่ดินพิพาทตามฟ้องโดยนางฉายมารดานางฟ้าภริยาจําเลยเช่าจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่ ขอให้ ยกฟ้องศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จและนัดจําเลย ระหว่างสืบพยานจําเลย จําเลยขอให้ศาลชั้นต้น ไปเผชิญสืบนางฉายที่นอนป่วยรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่จําเป็นแก่คดี จึงงดเสีย และจําเลยยื่นคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง จําเลย ยื่นคําแถลงโต้แย้งคําสั่งศาลชั้นต้นที่งดไปเผชิญสืบ และที่ยกคําร้องที่ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียก นางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท แก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยจะออกจาก ที่ดินของโจทก์

ให้วินิจฉัยว่า จําเลยจะอุทธรณ์คําพิพากษาว่า จําเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท และอุทธรณ์คําสั่งของ ศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วมและที่งดไปเผชิญสืบนางฉาย ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคแรกและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมีให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนด ในพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา การ

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ขอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และให้อยู่ภายใน ข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

มาตรา 228 วรรคแรกและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

(1) ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจําขัง ผู้ใด ตามประมวลกฎหมายนี้

(2) มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือ มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อจะบังคับคดีตามคําพิพากษาต่อไป หรือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ และให้จําเลยชดใช้ ค่าเสียหายเดือนละ 4,000 บาท จําเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างว่า จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาทตามฟ้องโดยนางฉายมารดา นางฟ้าภริยาจําเลยเช่าจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่นั้น เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์

อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกิน 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง และให้จําเลย ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท จําเลยจะอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าจําเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทไม่ได้

เมื่ออุทธรณ์ของจําเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ย่อมต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในระหว่างพิจารณาด้วย ดังนั้น แม้ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วมก็ดี และคําสั่งศาลชั้นต้นที่งดไป เผชิญสืบนางฉายก็ดี เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เพราะมิใช่เป็นคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 ที่ไม่ให้ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา และจําเลยจะได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้แล้วก็ตาม ก็ต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์คําสั่งนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 จําเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์คําพิพากษาว่าจําเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทไม่ได้ และจะอุทธรณ์ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วมและที่งดไปเผชิญสืบนางฉายไม่ได้ เช่นเดียวกัน

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลย ให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้เป็นเงิน 10 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยฐานผิดสัญญา หากจําเลยไม่ชําระขอบังคับจํานองที่ดินของจําเลย จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยกู้เงินโจทก์เพียง 7 ล้านบาท และจําเลยได้ชําระแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง ก่อนวันชี้สองสถาน โจทก์ทราบมาว่า จําเลย จะโอนขายรถยนต์ของจําเลย และจะถอนเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคาร หากจําเลยโอนขายไปแล้ว และได้ถอนเงินไปจากธนาคาร ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายชนะ โจทก์ก็จะบังคับรถยนต์ไม่ได้ และจะให้ ธนาคารส่งเงินมาศาลก็ไม่ได้ โจทก์ก็จะต้องเสียหายไม่ได้รับชําระหนี้ โจทก์มาถามท่านว่า โจทก์จะมี ทางแก้อย่างไรที่โจทก์จะไม่เสียหาย ถ้าต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ดังนี้ ท่านจะให้คําตอบแก่โจทก์

อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อ จัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย”

วินิจฉัย

บทบัญญัติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอคุ้มครองประโยชน์ ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาก่อนพิพากษา และตามมาตรา 254 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการยื่นคําร้องขอให้ศาล มีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยนั้น โจทก์จะร้องขอวิธีการชั่วคราวได้จะต้องเป็น กรณีที่โจทก์จะเสียหายหรือเสียสิทธิเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยด้วย

ตามอุทาหรณ์ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้บังคับจําเลยใช้เงินหากจําเลยไม่ชําระขอบังคับจํานองที่ดินของ จําเลย โจทก์ไม่ได้ขอบังคับมาว่าหากบังคับจํานองไม่พอชําระหนี้ ขอบังคับทรัพย์อื่นของจําเลยแต่อย่างใด ดังนั้น หากโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ก็จะร้องขอให้บังคับได้เฉพาะทรัพย์ที่จํานอง โจทก์จะร้องขอให้บังคับทรัพย์อื่นของจําเลยไม่ได้ และแม้จําเลยจะโอนขายรถยนต์และถอนเงินไปจากธนาคาร โจทก์ ก็ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 254 (1) ไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้เสียหายอะไร และไม่มีอะไรให้ คุ้มครองตามมาตรา 254

สรุป ข้าพเจ้าจะให้คําตอบแก่โจทก์ว่า โจทก์จะร้องขอวิธีการชั่วคราวให้ศาลมีคําสั่งให้ยึด หรืออายัดรถยนต์และเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคารไม่ได้

 

ข้อ 4. ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2544 ให้จําเลยชําระเงินจํานวน 1,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จําเลยไม่ชําระ โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ต่อมาวันที่ 15 เมษายน 2553 โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดิน โฉนดเลขที่ 1 ซึ่งมีชื่อจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินดังกล่าวตามคําขอ ของโจทก์โดยประมาณราคาไว้ 500,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตขายทอดตลาดที่ดินที่ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 และในวันขายทอดตลาด โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ราคา 300,000 บาท ของจําเลยเพิ่มเติม จําเลย ยืนคําคัดค้านขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาดและให้ยกคําขอให้ ยึดรถยนต์เพิ่มเติมของโจทก์ โดยอ้างว่า โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้ว ให้วินิจฉัยว่า คําคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ในการร้องขอให้บังคับคดีนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 ได้กําหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาถึงที่สุด กล่าวคือต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี แล้ว และต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ดําเนินการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินใดบ้าง (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 275 276 และมาตรา 278) หลังจากนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ต้องดําเนินการต่อไป ซึ่งจะมีการบังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกําหนด 10 ปีหรือไม่ ไม่เป็นข้อสําคัญ

กรณีตามอุทาหรณ์ คําคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2544 โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2554 และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก็ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2549 และต่อมาวันที่ 15 เมษายน 2553 โจทก์ ได้แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1 ซึ่งมีชื่อจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการ ร้องขอให้บังคับคดีซึ่งโจทก์ได้กระทําการภายในกําหนดเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว และ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีสิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและ ประกาศขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 1 ของจําเลยในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 นั้น แม้จะล่วงพ้นกําหนดเวลา การบังคับคดีแล้วก็ตาม ก็เป็นการดําเนินการบังคับคดีโดยขอบ โจทก์หาหมดสิทธิบังคับคดีไม่ ดังนั้นจําเลยจะขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาดนั้นไม่ได้ คําคัดค้านของจําเลยในส่วนนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่ 2 คําคัดค้านของจําเลยที่ขอให้ยกคําขอของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลยเพิ่มเติม นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งยื่นคําขอดังกล่าวในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังเมื่อพ้นกําหนดเวลา ที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีตามคําพิพากษา เพื่อให้จําเลยชําระเงินที่ขาดอยู่ได้ ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยกคําขอของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลย เพิ่มเติมเสียได้ คําคัดค้านของจําเลยในส่วนนี้จึงฟังขึ้น

สรุป คําคัดค้านของจําเลยที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาด โดยอ้างว่า โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วนั้นฟังไม่ขึ้น ส่วนคําคัดค้านของจําเลยที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกคําขอ ของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลยนั้นฟังขึ้น

 

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 1/2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจํายอมแก่ที่ดินของโจทก์ หากจําเลยไม่จดทะเบียนภาระจํายอมดังกล่าวให้ถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ถ้าจําเลยไม่ อาจจดทะเบียนภาระจํายอมนั้นให้โจทก์ได้ ให้จําเลยชําระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จ และให้จําเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกําหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท คําขออื่น นอกจากนี้ให้ยก จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่ได้ตกลงให้โจทก์ทําถนนในทางพิพาท โดยจําเลยตกลง จะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจํายอม ค่าเสียหายของโจทก์มีจํานวนน้อยกว่า 20,000 บาท และอุทธรณ์ว่าโจทก์ถมดินในทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของตนเอง แล้วนําคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิ ไม่สุจริต โดยจําเลยขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อโจทก์รับ สําเนาคําร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาของจําเลยแล้ว ไม่ค้าน ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ แต่มิได้สั่งอนุญาตให้จําเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้น มีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและมีคําสั่งให้ส่งสํานวนไปยังศาลฎีกา ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและมีคําสั่งให้ส่งสํานวนไปยังศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกาควรมีคําพิพากษาหรือคําสั่งอย่างใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 223 ทวิ “ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์อาจขออนุญาต ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยทําเป็นคําร้องมาพร้อมคําฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ได้สั่งรับอุทธรณ์และส่งสําเนาคําฟ้องอุทธรณ์และคําร้องแก่จําเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจําเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคําร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกําหนดเวลายื่นคําแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ให้สั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อ ศาลฎีกาได้ มิฉะนั้นให้สั่งยกคําร้อง ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคําร้อง ให้ถือว่าอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ ตามมาตรา 223 คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตหรือยกคําร้องในกรณีนี้ให้เป็นที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสัง ยกคําร้องเพราะเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกา ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคําสั่ง

ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลฎีกา ส่งสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป”

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า คําสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจําเลย และมีคําสั่งให้ส่งสํานวนไปยังศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวินั้น กฎหมายกําหนดว่าจะต้องเป็นการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น โดยให้ ผู้อุทธรณ์ยื่นคําร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกามาพร้อมกับคําฟ้องอุทธรณ์ โดยยื่นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง

ตามข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า จําเลยไม่ได้ตกลงให้โจทก์ทําถนนในทางพิพาท โดยจําเลย ตกลงจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจํายอม ค่าเสียหายของโจทก์มีจํานวนน้อยกว่า 20,000 บาท นั้น ถือเป็น การโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนอุทธรณ์ ของจําเลยที่ว่าโจทก์ถมดินในทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของตนเอง แล้วนําคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตนั้น ก็เป็น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าจําเลยได้ตกลงให้โจทก์ถมดินในทางพิพาท โดยจําเลยจะไปจดทะเบียนทางพิพาท เป็นภาระจํายอมให้จริงหรือไม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนําไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้นเมื่อ อุทธรณ์ของจําเลยทั้งสองข้อดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จําเลยจะขออนุญาต อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคแรกได้ ส่วนที่ศาลชั้นต้น รับอุทธรณ์โดยมิได้สั่งอนุญาตให้จําเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อโจทก์รับสํานวนคําร้องขออนุญาตยื่น อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาของจําเลยแล้วไม่ค้าน และศาลชั้นต้นส่งสําเนามายังศาลฎีกา จึงพออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จําเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคแรกแล้ว ดังนั้นคําสั่งของศาลชั้นต้นที่สังรับอุทธรณ์ของจําเลยและมีคําสั่งให้ส่งสํานวนไปยัง ศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลฎีกาควรมีคําพิพากษาหรือคําสั่งอย่างใดนั้น เห็นว่า เมื่อ ศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของจําเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย่อมมีอํานาจส่งสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยชี้ขาดต่อไปตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคสอง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของ คดีนี้ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น เพื่อความรวดเร็วและกรณีไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษา ยกคําสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจําเลยและที่อนุญาตให้จําเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้น สั่งอุทธรณ์ของจําเลยใหม่ และค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

สรุป คําสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและมีคําสั่งให้ส่งสํานวนไปยังศาลฎีกาไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย และศาลฎีกาควรจะพิพากษายกคําสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจําเลย และที่อนุญาตให้จําเลย ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจําเลยใหม่ และค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยกู้ยืมเงิน 100,000 บาท ไปจากโจทก์ แล้วผิดนัดไม่ชําระ ขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้จํานวนดังกล่าวแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง จําเลยให้การว่า จําเลยชําระหนี้ กู้ยืมตามฟ้องแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังว่าจําเลยชําระหนี้ ให้แก่โจทก์แล้ว 50,000 บาท จึงพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้ที่เหลือ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์โดยอ้างว่า มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จําเลยได้ ให้ยกคําร้อง จําเลยอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์

ให้วินิจฉัยว่า

ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นของจําเลยหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 190 “จํานวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทกันในคดีนั้น ให้คํานวณดังนี้

(1) จํานวนทุนทรัพย์หรือราคานั้น ให้คํานวณตามคําเรียกร้องของโจทก์ ส่วนดอกผลอันมี ถึงกําหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคําฟ้องหรือค่าธรรมเนียมศาลซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์รวมอยู่ในคําเรียกร้องห้ามไม่ให้คํานวณ รวมเข้าด้วย”

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นของจําเลยหรือไม่ เห็นว่า การที่จําเลยอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่จําเลยนั้น แม้มิใช่เป็นการอุทธรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นพิพาทแห่งคดี แต่เป็นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นอันเป็นสาขาย่อยของคดี ก็ย่อมตกอยู่ ในบังคับของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเช่นกัน

เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจาก วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ การที่จําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์โดยอ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษ และศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จําเลยได้ ให้ยกคําร้อง จําเลยจึงอุทธรณ์ คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก สําหรับดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์นั้นถือว่าเป็นดอกผลอันมิถึงกําหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคําฟ้อง ห้ามมิให้ คํานวณรวมเข้าเป็นทุนทรัพย์ในคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 190(1) กรณีจึงไม่อาจนําดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่จําเลย ต้องรับผิดตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นมารวมคํานวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ได้ ดังนั้น เมื่ออุทธรณ์ของ จําเลยเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคแรก ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยไม่ได้

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นของจําเลยไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยกระทําละเมิดลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทําให้โจทก์เสียหายขอให้ศาลบังคับจําเลย ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 10 ล้านบาท จําเลยให้การต่อสู้ว่า จําเลยไม่ได้กระทําละเมิด ไม่ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้องใน ชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจําเลยแล้วเห็นว่า จําเลยไม่ได้กระทําละเมิด ไม่ได้ ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์อุทธรณ์ว่า จําเลยกระทําละเมิดลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ พร้อมกับคําร้อง ต่อศาล ให้มีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพากษาไว้ก่อนมีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ และท่านเห็นว่า โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้าม มิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทไว้ก่อนศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปลาหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดี หรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ เห็นว่า คําขอที่โจทก์ยื่นมาพร้อมอุทธรณ์นั้น ถือเป็นคําขอวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 โดยหลัก เป็นอํานาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสังคําร้องดังกล่าว แต่ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 วรรคท้าย ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ได้ตลอดเวลาที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นย่อม เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 วรรคท้าย

และประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมาย การค้าที่พิพาทไว้ก่อน ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาได้หรือไม่ เห็นว่า ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิ์ แก่โจทก์ในการขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาก่อนพิพากษา ดังนั้น ในการร้องขอ

วิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 โจทก์จะต้องร้องขอเพื่อไม่ให้โจทก์ต้องเสียหายในเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ศาลบังคับจําเลยเท่านั้น จะร้องขอในเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยไม่ได้ เมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องเพียงต้องการให้ศาลบังคับจําเลยใช้เงินค่าเสียหาย โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254(1) โดยขอให้ศาลยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนศาลพิพากษา ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะอยู่กับ บุคคลใดก็ตาม ดังนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทไว้ก่อนศาลอุทธรณ์ มีคําพิพากษา อันเป็นการขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254(2) จึงไม่สามารถทําได้ เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ศาลบังคับจําเลย

สรุป ศาลชั้นต้นเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ และโจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่ง ห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทไว้ก่อนศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาไม่ได้

 

ข้อ 4. ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยชําระเงิน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 จําเลยไม่ชําระ โจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดี ต่อมา วันที่ 7 พฤษภาคม 2555 โจทก์แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จําเลยนําเงินมาชําระหนี้ตาม คําพิพากษาแก่โจทก์บางส่วน จํานวน 50,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 ขณะนี้โจทก์สืบทราบ ว่าจําเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ขอเวลาระยะหนึ่งแล้วจะมาแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดโดยเร็ว จนกระทั่งต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2555 โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 456 ของจําเลย ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งว่า การที่จําเลยนําเงินมาชําระหนี้ตาม คําพิพากษาให้โจทก์บางส่วน มีผลให้อายุความบังคับคดีสะดุดหยุดลง โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเพื่อชําระหนี้ตามคําพิพากษาส่วนที่เหลือได้ต่อไป

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบหรือไม่ เห็นว่า ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยชําระเงิน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2555

ตามข้อเท็จจริง แม้จะปรากฏจากคําแถลงของโจทก์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 ว่า จําเลยนําเงินมาชําระหนี้ตามคําพิพากษาแก่โจทก์บางส่วนเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 ก็ตาม ก็ไม่มีผลทําให้ ระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 สะดุดหยุดลง เพราะกําหนดเวลาการบังคับคดี มิใช่ อายุความบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากแต่เป็นระยะเวลาที่ กําหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งอาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 23 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษา คือ ภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2555

ส่วนที่โจทก์แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 ที่ว่า ขณะนี้โจทก์ สืบทราบว่าจําเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ขอเวลา ระยะหนึ่งแล้วจะมาแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดโดยเร็ว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 เพราะไม่มีรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินเพียงพอที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีได้ การที่โจทก์เพิ่งแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 456 ของจําเลย ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัด เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 อันเป็นเวลาล่วงพ้นกําหนด 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาคือวันที่ 17 มิถุนายน 2555 แล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจําเลยแล้ว

ดังนั้น คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ว่า การที่จําเลยนําเงินมาชําระหนี้ตามคําพิพากษา ให้โจทก์บางส่วน มีผลให้อายุความบังคับคดีสะดุดหยุดลง โจทก์จึงมีสิทธิ์บังคับคดีเพื่อชําระหนี้ตามคําพิพากษา ส่วนที่เหลือต่อไปนั้นจึงไม่ชอบ

สรุป คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 S/2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าจําเลยได้อาศัยที่ดินดังกล่าวของมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์เสียชีวิต โจทก์ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวมาและไม่ประสงค์จะให้จําเลยอาศัยอีกต่อไป ได้บอกกล่าวให้จําเลยขนย้ายออกจากที่ดินพิพาท แต่จําเลยเพิกเฉยไม่ยอมขนย้าย ที่ดินพิพาท หากนําออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท ขอให้ศาลบังคับจําเลยให้ขนย้ายออกจาก ที่พิพาทและชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันบอกกล่าวให้ขนย้ายจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 20,000 บาท จําเลยให้การต่อสู้ว่าจําเลยเป็นน้าชายโจทก์ จําเลยไม่ได้อาศัยแต่ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว จําเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยครอบครองปรปักษ์ โจทก์ไม่เสียหายขอให้ศาลยกฟ้อง ระหว่างศาลชั้นต้นพิจารณาคดี คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความ โดยจําเลยยอมขนย้าย ออกจากที่พิพาทภายใน 2 เดือนนับแต่ศาลมีคําพิพากษาตามยอม ส่วนโจทก์ไม่ติดใจเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมหลังจากศาลมีคําพิพากษาตามยอมได้ 6 สัปดาห์ จําเลยจึงทราบโดยมี หลักฐานว่า ทนายจําเลยได้ร่วมมือกับฝ่ายโจทก์หลอกลวงจําเลยให้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังกล่าว จําเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ

และคําพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์เช่นว่านี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 138 “ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนคําฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษา ไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(2) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(3) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอม ยอมความ

มาตรา 223 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 138, 168, 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด”

มาตรา 229 “การอุทธรณ์นั้นให้ทําเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคําพิพากษาหรือมีคําสั่ง ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น…”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้วในคดีที่มีคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ของคู่ความแล้ว จะอุทธรณ์ต่อไปไม่ได้ เว้นแต่กรณีเข้าข้อยกเว้นอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง กล่าวคือ

1) เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

2) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย

3) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอม ยอมความ

กรณีตามอุทาหรณ์ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เห็นว่า จําเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาล อุทธรณ์เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคําพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น อ้างว่า ทนายจําเลยได้ ร่วมมือกับฝ่ายโจทก์หลอกลวงจําเลยให้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ เท่ากับกล่าวอ้างว่าสัญญา ประนีประนอมเกิดขึ้นจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1) ดังนั้น จําเลยชอบที่จะอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 223

แต่อย่างไรก็ตาม ในการอุทธรณ์นั้นจะต้องอุทธรณ์ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 229 แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า จําเลย ได้ทราบถึงการหลอกลวงนั้นหลังจากที่ศาลได้มีคําพิพากษาแล้วถึง 6 สัปดาห์ ดังนั้น จําเลยจึงไม่สามารถอุทธรณ์ ขอให้ศาลเพิกถอนคําพิพากษาตามยอมนั้นได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนคําพิพากษาตามยอมนั้นไม่ได้

 

ข้อ 2. คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง จําเลยได้ยื่นคําร้องขอขยายเวลายื่นคําให้การเนื่องจากทนายป่วย ศาลชั้นต้นอนุญาตโดยให้ยื่นภายในวันที่ศาลกําหนด ถึงกําหนดจําเลยไม่ยื่นคําให้การจนพ้นเวลาที่ศาลกําหนดแล้ว จําเลยได้ยื่นคําร้องขออนุญาตยื่นคําให้การพร้อมกับแนบคําให้การมาด้วย ศาลชั้นต้นพิจารณา แล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรอนุญาต มีคําสั่งยกคําร้องและมีคําสั่งไม่รับคําให้การจําเลย จําเลยไม่ได้ โต้แย้งคําสั่งแต่ได้ยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นทันที

ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่ โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่ง วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และ ให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

มาตรา 228 วรรคแรกและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป” วินิจฉัย คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228

และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว ค่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้ง คัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226(2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้องและมีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลยนั้น คําสั่งของศาลดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของคําสั่งไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การ ไม่ใช่คําสั่งไม่รับคําให้การ ซึ่งทําให้ คดีนั้นเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 หรือทําให้คดีเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) แต่อย่างใด ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งจําเลยไม่สามารถ ที่จะอุทธรณ์คําสั่งของศาลได้ทันที ถ้าจําเลยต้องการอุทธรณ์จะต้องโต้แย้งคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นทันทีไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ 10 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยฐานผิดสัญญาหากจําเลยไม่ชําระขอบังคับจํานองที่ดินของจําเลย จําเลยต่อสู้ว่าจําเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ตามที่ฟ้อง จําเลยกู้เพียง 7 ล้านบาท และจําเลยได้ชําระแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า จําเลยกู้เงินโจทก์เพียง 7 ล้านบาท และจําเลยชําระแล้ว และมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ก่อนที่ โจทก์จะยื่นอุทธรณ์ โจทก์ทราบมาว่าจําเลยจะไปถอนเงิน 7 ล้านบาทที่ได้ฝากไว้กับธนาคาร ทั้งจะย้ายภูมิลําเนาไปอยู่ต่างประเทศ หากต่อมาโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้ โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี โจทก์จะเสียหายไม่ได้รับชําระหนี้ตามคําพิพากษา โจทก์มาถามท่านว่า โจทก์จะมีทางร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ไว้ก่อนเพื่อ ไม่ให้โจทก์เสียหายได้หรือไม่ และโจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอายัดเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคาร ได้หรือไม่ ท่านจะให้คําตอบแก่โจทก์อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอคุ้มครองประโยชน์ของ โจทก์ในระหว่างพิจารณาก่อนพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์จะร้องขอวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 โจทก์จะต้องร้องขอก่อนที่ศาลนั้นจะมีคําพิพากษา แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มี คําพิพากษาแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ไว้ก่อนเพื่อไม่ให้โจทก์ เสียหายนั้น โจทก์จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่ได้ แต่โจทก์ชอบที่จะไปร้องขอในชั้นอุทธรณ์ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ มีคําพิพากษา โดยการที่โจทก์จะต้องทําให้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์โดยการยื่นอุทธรณ์นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น โจทก์จะต้องเสียหายในเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยด้วย แต่เมื่อข้อเท็จจริง ตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า โจทก์ฟ้องเพียงต้องการบังคับที่ดินที่จํานอง ซึ่งหากจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ก็จะบังคับเอาทรัพย์สินอื่นของจําเลยไม่ได้ ดังนั้น โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอายัดเงินที่จําเลยฝากไว้กับ ธนาคารไม่ได้

สรุป ข้าพเจ้าจะให้คําตอบแก่โจทก์ว่า โจทก์มีทางที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ ของโจทก์ได้โดยการไปร้องขอในชั้นอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษา แต่โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่ง อายัดเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคารไม่ได้

 

ข้อ 4. ข้อนี้มีคําถาม 2 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียงข้อเดียว และต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอมาตรา 264

(1) ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุด ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 10 ล้านบาทให้โจทก์ฐานผิดสัญญา ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินเพื่อขายทอดตลาด เอาเงินมาชําระหนี้ตามคําพิพากษา แต่นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าที่ดินที่ยึดเป็นของ นายแดงหาใช่ของจําเลยไม่ ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดินคืนให้นายแดง โจทก์คัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าที่ดินที่ยึดเป็นของจําเลย และมีคําสั่งให้ยกคําร้องของนายแดง นายแดงอุทธรณ์พร้อมกับคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้งดการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดไว้ก่อน มีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขายไว้ก่อน และหากท่านเป็น ศาลไต่สวนได้ข้อเท็จจริงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการให้มีการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึด

ท่านจะมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษาหรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 10 ล้านบาทให้โจทก์จําเลยอุทธรณ์ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึด ที่ดินของจําเลยและประกาศขายทอดตลาด จําเลยเกรงว่าหากที่ดินของจําเลยถูกขายทอดตลาด ไปแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ จําเลยก็จะเสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จําเลยยื่นคําร้องให้ศาลมี คําสั่งให้งดการขายที่ดินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลยที่ขอให้งดการขายที่ดินของจําเลยไว้ก่อน มีคําพิพากษา และหากท่านเป็นศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าที่ดินของจําเลยถูกขายไปแล้ว ต่อมาจําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จําเลยก็จะต้องเสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ท่านจะมีคําสั่งให้งดการขาย

ที่ดินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ข้อ (1)

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะ ยื่นคําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง ของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ เพื่อขายทอดตลาด เป็นที่ดินของนายแดงหาใช่ของจําเลยไม่ ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดินคืนให้แก่นายแดงนั้น ถือว่าเป็นคดีร้องขัดทรัพย์และนายแดงมีฐานะเป็นโจทก์

การที่ศาลชั้นต้นทําการไต่สวนและมีคําสั่งให้ยกคําร้องของนายแดง นายแดงได้อุทธรณ์พร้อมกับ ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งงดการขายที่ดินที่ยึดไว้ก่อน คําขอของนายแดงถือว่าเป็นคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 และมาตรา 254 และเมื่อคดีนี้ อยู่ระหว่างอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอํานาจสั่งคําร้องของนายแดง เพราะกรณีการยื่นคําขอเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 นั้น มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้ายมาใช้บังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอํานาจ สั่งคําร้องของโจทก์ (นายแดง)

และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อมามีว่า ศาลอุทธรณ์จะมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษา หรือไม่ ซึ่งในกรณีที่ศาลจะพิจารณาอนุญาตตามคําขอของนายแดง ศาลจะต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทได้รับการคุ้มครองไว้ก่อนพิพากษา และตามข้อเท็จจริง หากนายแดงไม่ได้ยื่นคําขอ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินนั้นไปแล้ว ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่าที่ดินที่ยึดเป็นของนายแดง นายแดงก็จะไม่ได้ที่ดินคืน ทําให้นายแดงต้องเสียหาย และเสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ต้องมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษา เพราะเป็นการ คุ้มครองประโยชน์ของนายแดงผู้ขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264

สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขายไว้ก่อน และศาลอุทธรณ์ จะต้องมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษา

หมายเหตุ คําถามในข้อ 4. มี 2 ข้อ ซึ่งท่านอาจารย์ให้นักศึกษาเลือกทําเพียงข้อเดียว และ ต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องเลือกทําข้อ (1)

ส่วนคําถามในข้อ (2) นั้น ไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะการที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินของจําเลยและประกาศขายทอดตลาดนั้น เป็นกรณีที่ศาลบังคับให้จําเลย ปฏิบัติตามคําพิพากษา หากจําเลยไม่อยากถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลยก็จะต้องร้องขอให้ศาลทุเลา การบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 231 หรือขอให้ศาลงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 292 แล้วแต่กรณี จําเลยจะร้องขอวิธีการชั่วคราวขอให้ศาลมีคําสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจําเลยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้

LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 2/2555

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จําเลยก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 10 ตารางวา ขอให้บังคับจําเลยรื้อถอนรั้วที่ปลูกสร้างรุกล้ำออกไป จากที่ดินของโจทก์และทําให้ที่ดินของโจทก์อยู่ในสภาพเรียบร้อย จําเลยให้การว่าจําเลยมิได้ ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตก การก่อสร้างรั้วของจําเลยทําโดยสุจริต ตามความเป็นจริง ตามแนวที่ดินที่จําเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ นับแต่จําเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิม จําเลยครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดิน ของโจทก์ตั้งแต่จําเลยได้รับโอนมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปีแล้วโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนา เป็นเจ้าของ ขอให้ยกฟ้อง ขณะยื่นฟ้องที่ดินพิพาทมีราคา 50,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าแนวเขตที่ดินของโจทก์จําเลยอยู่กลางคูน้ํา รั้วไม้ไผ่ที่จําเลยกั้นรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน ของโจทก์และกันไม่ถึง 10 ปี จําเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และในวันที่โจทก์ ยื่นอุทธรณ์ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณาเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก ที่ได้กําหนดว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา มิใช่ทุนทรัพย์ ที่ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จําเลยสร้างรั้วรุกล้ำ เข้ามาทางทิศตะวันตกเป็นเนื้อที่ 10 ตารางวา ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จําเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาท ของโจทก์ และการที่จําเลยให้การต่อสู้ว่า จําเลยกั้นรั้วตามแนวเขตที่ดินของจําเลยซึ่งจําเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดย การครอบครองปรปักษ์จึงเป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และแม้โจทก์จะมีคําขอให้จําเลย รื้อถอนริ้วที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทอยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อประเด็นสําคัญของคดีนี้อยู่ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็น กรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจําเลย และคําขอให้รื้อถอนริ้วออกไปเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น เรียกไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่แยกกันได้จากคําขอปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว

 

การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แนวเขตที่ดินของโจทก์จําเลยอยู่กลางคูน้ำ รั้วไม้ไผ่ที่จําเลยกั้นรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์และกั้นไม่ถึง 10 ปี จําเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการอุทธรณ์ โต้เถียงในข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

และที่ว่าราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันใน ชั้นอุทธรณ์นั้น จะต้องถือตามราคาที่ดินพิพาทในขณะยื่นฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้น แม้ในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ที่ดินพิพาทจะมีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 บาทก็ตาม แต่เมื่อขณะยื่นฟ้องที่ดินพิพาทมีราคา 50,000 บาท จึงถือได้ว่า ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก ดังนั้นคําสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณาเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้เงินกู้ยืมจํานวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัด จําเลยยื่นคําให้การต่อสู้คดีในวันสุดท้ายของเวลาที่ครบกําหนดยื่นคําให้การตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งคําให้การ ในวันรุ่งขึ้นว่า จําเลยมิได้แนบในแต่งทนายความมาท้ายคําให้การ จึงไม่รับคําให้การและถือว่าจําเลย ขาดนัดยื่นคําให้การ วันเดียวกันจําเลยยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนคําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การ และที่ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การอ้างว่าเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง

ให้วินิจฉัยว่า จําเลยมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การ และยกคําร้องของจําเลยที่ขอให้เพิกถอนคําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การและที่ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การทันทีได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ”

มาตรา 18 วรรคท้าย “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่ง วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และ ให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

มาตรา 228 วรรคแรกและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่ง มิได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป” วินิจฉัย คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 และมาตรา 228

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่ง ไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นตามมาตรา 226(2) ส่วนคําสั่งของศาลนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ ไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องโต้แย้งก่อนที่จะอุทธรณ์แต่ประการใด (อุทธรณ์ได้ทันที)

กรณีตามอุทาหรณ์ คําให้การเป็นคําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1(5) เมื่อศาลชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลยด้วยเหตุว่าจําเลยมิได้แนบใบแต่งทนายความมาท้ายคําให้การ ซึ่งเป็นคําสั่งใน ชั้นตรวจคําคู่ความของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 ซึ่งมิได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากแต่ทําให้ประเด็นบางข้อตามที่จําเลยยกขึ้นต่อสู้ในคําให้การเสร็จไปเท่านั้น จึงเป็นคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228(3) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา อันจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226(1)

ดังนั้นจําเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้น ที่ไม่รับคําให้การของจําเลยได้ทันทีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 วรรคสอง แม้คดีนั้นจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของ ศาลชั้นต้นก็ตาม

ส่วนคําร้องของจําเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การและที่ถือว่า จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การนั้น เป็นเพียงคําร้องที่จําเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดระเบียบ มิได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง จึงมิใช่เป็นคําสั่งไม่รับหรือคืนคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 และถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้น ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226(1) ดังนั้นจําเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคําร้อง ของจําเลยที่ขอให้เพิกถอนคําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การ และที่ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การในทันที ขณะคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาได้

สรุป จําเลยมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การได้ทันที แต่จะอุทธรณ์คําสั่ง ของศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องของจําเลยที่ขอให้เพิกถอนคําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การและที่ถือว่าจําเลยขาดนัด ยื่นคําให้การทันทีไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําละเมิดลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทําให้โจทก์เสียหายขอให้ศาลบังคับจําเลย ห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาท และให้จําเลยใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท จําเลยให้การต่อสู้ว่า จําเลยไม่ได้กระทําละเมิดลอกเลียนแบบ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า จําเลยไม่ได้กระทํา ละเมิด ไม่ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ ไม่เห็นด้วย โจทก์อุทธรณ์ หลังจากที่ศาลชั้นต้นส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แล้ว โจทก์ยื่นคําร้องต่อศาล ขอให้มีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าไว้ก่อนมีคําพิพากษา ศาลให้ส่งสําเนาให้จําเลยคัดค้าน ในวันไต่สวน ศาลสืบพยานโจทก์จําเลยแล้วเห็นว่า จําเลยยังคงใช้ เครื่องหมายการค้าที่พิพาทอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ และมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้า ที่พิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษา

ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ และคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดี หรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

มาตรา 255 “ในการพิจารณาอนุญาตตามคําขอที่ยืนไว้ตามมาตรา 254 ต้องให้เป็นที่พอใจ ของศาลว่า คําฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนําวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(2) ในกรณีที่ยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่งตามมาตรา 254(2) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า

(ก) จําเลยตั้งใจจะกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือ การกระทําที่ถูกฟ้องร้อง”

วินิจฉัย

ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ ในระหว่างพิจารณาก่อนพิพากษา แต่ก่อนที่ศาลจะสั่งอนุญาตตามคําขอของโจทก์นั้นจะต้องเป็นที่พอใจของศาล ด้วยว่าคําฟ้องของโจทก์มีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนําวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 255

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้า ที่พิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษา เป็นคําขอวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254(2) และเป็นการร้องขอในชั้นอุทธรณ์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แล้ว ดังนั้นศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นศาลที่มี อํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ เพราะกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 วรรคท้าย

และตามคําฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลบังคับจําเลยห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาท และโจทก์ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทนั้น ถือว่าคําฟ้องของโจทก์มีมูล และเมื่อศาลสืบพยานโจทก์จําเลยแล้วเห็นว่า จําเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ย่อมถือว่ามีเหตุเพียงพอต้องด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 255 ดังนั้นการที่ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้เครื่องหมายการค้า ที่พิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษาจึงเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ และคําสั่งห้ามมิให้จําเลยใช้ เครื่องหมายการค้าที่พิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษาเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ศาลแพ่งมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยชําระเงินจํานวน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2544 จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ขอให้ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดอายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของจําเลยชําระหนี้ตามคําพิพากษาแก่โจทก์ ศาลแพ่งออกหมายบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 โจทก์แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าโจทก์สืบทราบว่าจําเลยมีที่ดินเพียง แปลงเดียวตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ขอเวลาตรวจสอบเลขที่โฉนดที่ดินและที่ตั้งของที่ดิน ให้แน่ชัดว่าตั้งอยู่ในอําเภอใด ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2554 โจทก์แถลงเลขที่โฉนดที่ดินและที่ตั้ง ของที่ดินของจําเลยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาด ที่ดินดังกล่าวเพื่อชําระหนี้ตามคําพิพากษาแก่โจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งว่าโจทก์มิได้ร้องขอ ให้บังคับจนล่วงพ้นเวลาที่กฎหมายกําหนดแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีให้ยกคําแถลงขอให้ บังคับคดีของโจทก์

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยกคําแถลงขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ขอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 271 แห่ง ป.วิ.แพ่งนั้น มีหลักว่า ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะหรือ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้

แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัยและตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อศาลแพ่งมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดให้จําเลยชําระเงินจํานวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2544 และจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาดังกล่าวได้ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวัน ครบกําหนด 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นโจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีตามคําพิพากษานั้น

และแม้โจทก์ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดอายัดและ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจําเลย กับได้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจําเลยมีที่ดินเพียงแปลงเดียว ตั้งอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 แม้จะอยู่ภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาแล้วก็ตาม แต่โจทก์ กลับขอเวลาตรวจสอบเลขที่โฉนดที่ดินและที่ตั้งของที่ดินให้แน่ชัดว่าตั้งอยู่ในอําเภอใด เท่ากับโจทก์ก็ยังไม่ทราบ ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่แน่นอนเกี่ยวกับที่ดินเพียงพอที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทําการยึดหรืออายัดได้ เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีแก่ที่ดินของจําเลยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 เมื่อโจทก์เพิ่งมา แถลงเลขที่โฉนดที่ดินและที่ตั้งของที่ดินของจําเลยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและ ขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2554 อันเป็นเวลาภายหลังเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษา โจทก์ย่อม หมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อให้จําเลยชําระหนี้ตามคําพิพากษาแก่โจทก์ได้ ดังนั้น คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี ที่ยกคําแถลงขอให้บังคับคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยกคําแถลงขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย

WordPress Ads
error: Content is protected !!