หน้าแรก บล็อก

CDM2201 (MCS1450) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพเบื้องต้น s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1450 (MCS 1400) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การกระจายเสียงในภาษาไทย มีความหมายว่าอย่างไร
(1) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
(2) การออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์
(3) การออกอากาศรายการวิทยุกระจายเสียง
(4) การออกอากาศรายการผ่านดาวเทียม
ตอบ 3 หน้า 1 ในภาษาไทยได้แบ่งความหมายของคําว่า “การกระจายเสียง” และ “การแพร่ภาพ เอาไว้ชัดเจน ดังนี้ 1. การกระจายเสียง หมายถึง การออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเป็นคําที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มมีวิทยุกระจายเสียงในปี พ.ศ. 2473 2. การแพร่ภาพ หมายถึง การออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นคําที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มมีวิทยุโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2498

2. สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีเครือข่ายสถานีในส่วนภูมิภาค
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 7
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT
ตอบ 4 หน้า 50 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท.) จัดตั้งขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทําหน้าที่ให้ความรู้ ให้การศึกษา เผยแพร่ ข่าวสารการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐ และให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แม่ข่ายเพื่อถ่ายทอดไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนภูมิภาคในลักษณะเครือข่าย โดยเชื่อมโยงสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือระบบดาวเทียมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

3. การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทยนั้น ดําเนินการในรูปแบบใด
(1) จัดตั้งเป็นบริษัทจํากัด
(2) จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ
(3) จัดตั้งเป็นหน่วยงานราชการ
(4) จัดตั้งเป็นระบบสัมปทาน
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทย มีวิวัฒนาการเริ่มต้นในสมัย รัชกาลที่ 9 โดยเกิดจากความคิดริเริ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2495 แต่ถูกสภาผู้แทนราษฎรและหนังสือพิมพ์โจมตีคัดค้านอย่างมากว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินจึงทําให้รัฐบาลเปลี่ยนแผนการจากเดิมที่จะดําเนินการเอง มาเป็นการจัดตั้งเป็นบริษัทจํากัด (บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด) เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

4. ผู้กล่าวข้อความออกอากาศครั้งแรกในพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย คือ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 4 หน้า 34 การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยทางราชการได้ทําพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล โดยในพิธีเปิดได้อัญเชิญกระแสพระราชดํารัสของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7) มาออกอากาศเป็นครั้งแรก

5. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ได้รับเงินงบประมาณในการจัดตั้งอย่างไร
(1) งบประมาณแผ่นดิน
(2) เงินบริจาคจากประชาชนและภาคเอกชน
(3) งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น
(4) งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมนี
ตอบ 3 หน้า 50 ในระยะเริ่มแรกสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จัดตั้งขึ้นด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน (เงินรายได้ของกรมประชาสัมพันธ์) ประมาณ 8 ล้านบาท แต่ด้วย ข้อจํากัดด้านเทคนิคและความจําเป็นด้านงบประมาณรายได้ กรมประชาสัมพันธ์จึงได้จัดทํา โครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นก็ได้มีมติอนุมัติ โครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่าในวงเงินประมาณ 330 ล้านบาทแก่รัฐบาลไทย

6. แสดงและสะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยมที่สําคัญ ๆ ในระดับชาติ ภูมิภาค หรือท้องถิ่น ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 3 หน้า 93 – 94, 98 หน้าที่ในการให้การศึกษา ซึ่งตรงกับหน้าที่ในการแสดงออกและ ความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมตามความคิดของสื่อมวลชน มีดังนี้
1 แสดงและสะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยมที่สําคัญ ๆ ในระดับชาติ ภูมิภาค หรือท้องถิ่น
2. สนับสนุนวัฒนธรรมและค่านิยมของกลุ่มย่อยภายในสังคม

7. ให้ข่าวสารเบื้องหลังและวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 2 หน้า 92, 98 หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น ซึ่งตรงกับหน้าที่ในการตีความตามความคิด
ของสื่อมวลชน มีดังนี้
1. แสดงความคิดเห็น
2. ให้ข่าวสารเบื้องหลังและ
3. เป็นผู้วิจารณ์หรือตรวจสอบผู้ที่อยู่ในอํานาจ
4. แสดงหรือสะท้อนประชามติ
5. เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

8 แสดงหรือสะท้อนประชามติ ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9 ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 88, 94 – 95 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามแนวคิดของไรท์ มีผลเสียดังนี้
1 ไม่สามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชนได้เท่าละครเวทีและวรรณกรรมคลาสสิก
2 ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป
3 ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า
4 เป็นการทําลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา

10 ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการเผยแพร่ชื่อเสียงของบุคคล เป็นการเพิ่มศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และความเป็น คนเด่นคนดังในสังคม ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

ตอบ 1 หน้า 89 – 91, (คําบรรยาย) หน้าที่ในการเสนอข่าวสารตามแนวคิดของไรท์ มีผลดีต่อบุคคล ประการหนึ่ง คือ สื่อมวลชนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการเผยแพร่ชื่อเสียงของบุคคล ซึ่งเป็นการให้สถานภาพทางสังคม เพราะการที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นการเพิ่มศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และความเป็นคนเด่นคนดังในสังคมแก่บุคคลนั้น

11. ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึง
(1) รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด
(2) เอกชนเป็นเจ้าของทั้งหมด
(3) เป็นของรัฐและเอกชน
(4) เป็นของรัฐวิสาหกิจและเอกชน
ตอบ 3 หน้า 136, (คําบรรยาย) ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยในอดีต เป็นกิจการผูกขาดโดยรัฐหรือรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด แต่ในปัจจุบันเมื่อมีการปฏิรูปสื่อ เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 จึงทําให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้

12. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
ตอบ 1 (ข่าว) ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีสถานี วิทยุโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของ ประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

13. สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

14. ทําให้หลีกหนีหรือปลีกตัวออกจากปัญหาต่าง ๆ ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 99 – 100 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร มีดังนี้
1. ทําให้หลีกหนีหรือปลีกตัวออกจากปัญหาต่าง ๆ
2. ทําให้ได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ
3. ทําให้ได้รับความสุขกับวัฒนธรรมและความสุนทรีย์
4. ช่วยในการฆ่าเวลา
5. ทําให้ผ่อนคลายอารมณ์
6. ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ

15. ค้นหาเหตุการณ์ต่าง ๆ และสถานการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สังคม และโลก ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

ตอบ 1 หน้า 99 หน้าที่ในการเสนอข่าวสารตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร มีดังนี้
1. ค้นหาเหตุการณ์ต่าง ๆ และสถานการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สังคม และโลก
2. ให้คําแนะนําในการปฏิบัติ การแสดงความคิดเห็น และการตัดสินใจ
3. สนองตอบความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจทั่วไป
4. ให้การเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย

16. บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า “พี่เจ” ซึ่งย่อมาจากคําว่า “บูรฉัตรไชยากร

17. วิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์ไทย เริ่มต้นครั้งแรกในรัชกาลใด
(1) ร.6
(2) ร.7
(3) 5.8
(4) ร.9
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

18. การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) ร.5
(2) ร.5
(3) ร.7
(4) ร.8
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

19. บุคคลที่บัญญัติคําว่า “วิทยุโทรทัศน์” หมายถึงใคร
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 1 หน้า 3, 81 คําว่า “Television” นี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ และได้บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า “วิทยุโทรทัศน์” (มักเรียกสั้น ๆ ว่า โทรทัศน์) ซึ่งหมายถึง การส่งและรับสัญญาณภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

20. บุคคลใดที่ได้นําเครื่องรับวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในไทย
(1) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
ตอบ 1 หน้า 32 ใน พ.ศ. 2450 กรมทหารเรือที่มีจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้บัญชาการ ได้นําเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้ในราชการทหาร เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีเดียวกันนี้กองทัพบกที่มีเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์เป็นเสนาธิการก็ได้สั่งเครื่องวิทยุสนามแบบมาร์โคนีมาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

21. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทย เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) ร.5
(2) ร.5
(3) ร.7
(4) ร.8
ตอบ 2 หน้า 32 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชการทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวรในสังกัดของ กระทรวงทหารเรือขึ้น 2 สถานี คือ ที่ตําบลศาลาแดง กรุงเทพฯ กับที่ชายทะเล จ.สงขลา

22. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค เป็นความคิดริเริ่มของใคร
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, 149 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคนั้น เป็นความคิดริเริ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยท่านเล็งเห็นว่า วิทยุโทรทัศน์มีข้อจํากัดที่ไม่สามารถจะแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ จึงบัญชาให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยให้ทําหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่าย ในส่วนภูมิภาคทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ. 2503

23. สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) ช่อง 3
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 3 หน้า 47 สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์ และวิทยุ จํากัด) เป็นเจ้าของสัมปทานหรือร่วมดําเนินการจัดตั้ง ซึ่งเริ่มแพร่ภาพออกอากาศ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

24. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 1 หน้า 42, 44 – 45 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) ในสังกัดของสํานักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย ดังนั้น กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) จึงมีอายุ 62 ปี

25. ข้อใดเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
(1) ช่อง 3, ช่อง 3 HD
(2) ช่อง NBT, ช่อง MCOT
(3) ช่อง 7, ช่อง 7 HD
(4) ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องโมโน 29
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ดิจิทัล) ที่เกิดขึ้นมาภายหลัง และกําลังแพร่ภาพ ออกอากาศอยู่ในขณะนี้ เช่น ช่อง 3 HD, ช่อง 7 HD, ช่อง MCOT HD ช่อง PPTV HD, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องโมโน 29, ช่อง Workpoint, ช่อง TNN 24, ช่อง True 4U เป็นต้น (ส่วนช่อง 3, ช่อง 7, ช่อง MCOT, ช่อง NBT เดิมเป็นช่องระบบอนาล็อก)

26. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การดําเนินงานของหน่วยงานใด
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(2) กองทัพบก กระทรวงกลาโหม
(3) กรมประชาสัมพันธ์
(4) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
ตอบ 3 หน้า 49, 137 138 สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้การดําเนินงานของกรมประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. สถานีในส่วนกลาง คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท.)
2. สถานีในส่วนภูมิภาค คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 4, 5, 7, 8, 9 และ 10 ซึ่งทั้งหมดจะทําหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายในส่วนภูมิภาค

27. การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุเพื่อจะจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของไทยนั้น
ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ คือ
(1) คสช.
(2) กสทช.
(3) กรมประชาสัมพันธ์
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทยตาม รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทําหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ทั้งนี้องค์กรอิสระที่ทําหน้าที่นี้ในปัจจุบัน ได้แก่ คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า กสทช.)

28 กสทช. หมายถึงอะไร
(1) คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(2) คณะกรรมการกําหนดบทบาทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(3) คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(4) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยในสมัยนั้น อยู่กับหน่วยงานใด
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) สํานักงานโฆษณาการ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงทหารเรือ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

30. การทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีว่า “พี่เจ” ในยุคนั้น ย่อมาจากคําว่าอะไร
(1) บูรฉัตรไชยากร
(2) มาร์โคนี
(3) กองช่างวิทยุ
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย ได้ทําพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อใด
(1) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
(2) วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471
(3) วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
(4) วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

32. กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันมีอายุกี่ปี
(1) 58 ปี
(2) 59 ปี
(3) 60 ปี
(4) 62 ปี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

33. องค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาล
ของแต่ละประเทศ คือองค์กรใด
(1) ABU
(2) EBU
(3) ITU
(4) RTU
ตอบ 3 หน้า 58, 115, 124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) มีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ

34. “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก” คือ
(1) ลี เดอ ฟอเรสต์
(2) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(3) เฮนริช เฮิรตซ์
(4) ถูกลิเอลโม มาร์โคนี
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 ใน พ.ศ. 2438 ถูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (Wireless Telegraph) สําเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้นําเอา การทดลองนี้ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

35. เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก มีลักษณะอย่างไร
(1) เครื่องรับวิทยุแร่
(2) เครื่องรับวิทยุหลอดสุญญากาศ
(3) เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์
(4) เครื่องรับแบบเฟลมิ่ง
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงในยุคแรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นเครื่องรับวิทยุแร่ โดยผู้ฟังจะต้องใช้เครื่องฟังครอบไว้ที่หู และสามารถเปิดฟังได้คนเดียว ซึ่งคุณภาพด้านเสียงนั้น ไม่ชัดเจนนักเนื่องจากมีเสียงที่เบา รวมทั้งยังแยกคลื่นของสถานีต่าง ๆ ไม่ค่อยได้อีกด้วย

36. ก่อนที่เราจะบัญญัติคําว่า “วิทยุกระจายเสียง” มาใช้นั้น เราใช้คําทับศัพท์ภาษาอังกฤษครั้งแรกว่าอะไร (1) Radio
(2) Wireless
(3) Radio Telegraph
(4) Radio Broadcasting
ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคําเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่จะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก และภายหลัง ราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คําเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง”

37. บุคคลที่บัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ในอังกฤษนิยมใช้คําดั้งเดิมเรียกวิทยุกระจายเสียงว่าอะไร
(1) Radio
(2) Wireless
(3) Cable
(4) Broadcast
ตอบ 2 หน้า 2 คําว่า “วิทยุกระจายเสียง” มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “วิทยุ” ในขณะที่ชาวอังกฤษนิยม ใช้คําดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Radio

39.“Television” ได้บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่าอะไร
(1) โทรทัศน์
(2) วิทยุโทรภาพ
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) วิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

40. บุคคลแรกที่เป็นผู้นําเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จ คือ
(1) เฮนริช เฮิรตซ์
(2) ถูกลิเอลโม มาร์โคนี
(3) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเส้นเดิน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

41. ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการแสดงความคิดเห็น ตรงกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) การจัดรายการเพลงทางวิทยุโดยให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในรายการ ให้โทรศัพท์เข้ามาตอบปัญหา
(2) รายการมิวสิกวิดีโอทางโทรทัศน์ที่นําเสนอเพลงเพื่อชีวิตของวงคาราบาว
(3) รายการสนทนาหรืออภิปรายทางวิทยุและโทรทัศน์ที่นําประเด็นหัวข้อเรื่องที่มีผลกระทบกับ ประชาชนมาวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกัน และหาข้อสรุปร่วมกัน
(4) รายการละครทางโทรทัศน์ที่นําเสนอเรื่องราวชีวิตที่ต้องต่อสู้ของคนในสังคม
ตอบ 3 หน้า 8 – 9, (คําบรรยาย) ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการแสดงความคิดเห็น นับว่าเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างสติปัญญาอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้มนุษย์ได้รับรู้ รับฟัง แลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดซึ่งกันและกัน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้แก่ตนเอง มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นหนทางให้เกิดความเจริญยิ่งขึ้นได้ในที่สุด เช่น รายการอภิปรายหรือ สนทนาในประเด็นต่าง ๆ ฯลฯ

42. ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนาชนบท ตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) รายการสารคดีชุดดินดําน้ำชุ่ม เพื่อให้ความรู้ทางการเกษตร
(2) รายการของกรมสรรพากร เรื่องการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) รายการเรารักวัฒนธรรมไทย ของกรมศิลปากร
(4) รายการของกรมศุลกากร เรื่องมาตรการกีดกันทางการค้าของชาติยุโรป
ตอบ 1 หน้า 11 – 12 ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนาชนบท เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลนั้นมีโอกาสที่จะได้รู้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางสื่อน้อย ดังนั้นการนําสื่อวิทยุ และโทรทัศน์เข้าไปยังชนบทจึงเปรียบเสมือนเป็นการเปิดหูเปิดตาชาวชนบทให้มีหูตากว้างไกล มากยิ่งขึ้น โดยการนําเสนอหรือป้อนข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เช่น รายการ เพื่อการเกษตร เพื่อการศึกษา เพื่อสุขภาพอนามัย และเพื่องานอาชีพที่สําคัญ ๆ

43. สื่อมวลชนข้อใดต่อไปนี้ที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด
(1) ภาพยนตร์กลางแปลง
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) จากผลการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เกี่ยวกับการฟังวิทยุ และการดูโทรทัศน์ของประชากรไทยในปัจจุบัน พบว่า แนวโน้มประชากรไทยฟังวิทยุลดลง แต่ดูโทรทัศน์มากขึ้น นั่นหมายถึง สื่อมวลชนที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ วิทยุโทรทัศน์ (ในสมัยก่อนสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด คือ วิทยุกระจายเสียง)

44. สื่อใดต่อไปนี้ให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) ภาพยนตร์
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคํานึงหรือจินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ
1. ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
2. แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ
3. ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ
4. การจูงใจให้คิดหรือทํา (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

45. จากแนวคิดที่กล่าวว่า “การจัดรายการตามที่ผู้ฟังชอบกับการพยายามให้ผู้ฟังชอบรายการที่จัด
หมายความว่าอย่างไร
(1) ควรจัดรายการที่ตรงกับความสนใจและความนิยมของผู้ฟังในขณะนั้น ก็จะทําให้รายการเป็นที่ชื่นชอบ ในที่สุด
(2) ต้องพยายามผลิตรายการที่ดีมีสาระแต่น่าสนใจ ผู้ฟังจะติดตามรับฟังโดยตลอด
(3) ต้องสร้างพื้นนิสัยใหม่ให้แก่ประชาชนให้ดําเนินการตามเป้าหมายหลักของการกระจายเสียงได้อย่างเต็มที่
(4) การจัดรายการที่ผู้ฟังชอบเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นความชอบที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากแนวคิดที่กล่าวว่า “การจัดรายการตามที่ผู้ฟังชอบกับการพยายามให้ผู้ฟัง ชอบรายการที่จัด” หมายถึง นักจัดรายการวิทยุควรพยายามผลิตรายการที่ดีมีสาระแต่น่าสนใจ แล้วผู้ฟังก็จะติดตามรับฟังโดยตลอดไปในที่สุด

46. การส่งคลื่นวิทยุกระจายเสียงของไทยเป็นการส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่ใด
(1) 530 ถึง 1600 กิโลเฮิรตซ์ และ 88 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์
(2) 535 ถึง 1605 กิโลเฮิรตซ์ และ 87 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์
(3) 630 ถึง 1700 กิโลเฮิรตซ์ และ 86 ถึง 107 เมกะเฮิรตซ์
(4) 635 ถึง 1705 กิโลเฮิรตซ์ และ 88.5 ถึง 107.5 เมกะเฮิรตซ์
ตอบ 2 หน้า 64, 119 ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4 ระบุว่า “วิทยุกระจายเสียง” หมายถึง การส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่คลื่นวิทยุ 535 ถึง 1605 กิโลเฮิรตซ์ (kHz) ในระบบ AM และย่านความถี่ 87 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ในระบบ FM อันมี ความประสงค์ให้เข้าถึงมวลชนโดยตรง

47. การโฆษณาของสถานีวิทยุโทรทัศน์ต้องใช้เวลาสําหรับการโฆษณาไม่เกินกําหนดเวลาเท่าไร
(1) ไม่เกินชั่วโมงละ 8 นาที
(2) ไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที
(3) ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที
(4) ไม่เกินชั่วโมงละ 15 นาที
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 23 วรรคสอง ระบุว่า คณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะ และระยะเวลาสูงสุดในการโฆษณาและการบริการธุรกิจ แต่ทั้งนี้จะกําหนดการโฆษณาและ การบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีครึ่ง โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที

48. BBC (British Broadcasting Corporation)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 หน้า 113, 165 – 165, 169, 172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ประเทศญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ 1. ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรและไม่มีโฆษณาธุรกิจการค้า แต่จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียม เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) ซึ่งมีลักษณะเหมือนบรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK) 2. ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) เป็นระบบการกระจายเสียง เพื่อการค้า ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

49. NHK (Nippon Hoso Kyokai)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. CBS (Columbia Broadcasting System)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 113, 168 ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดําเนินกิจการ ในรูปแบบของธุรกิจและมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณานั้น ในปัจจุบันจะมีเครือข่าย ระดับชาติที่สําคัญ ได้แก่ CBS (Columbia Broadcasting System), ABC (American Broadcasting Company) NBC (National Broadcasting Company)

51 .PBS (Public Broadcasting Service)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 113, 168, (คําบรรยาย) PBS (Public Broadcasting Service) คือ ระบบวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร และมีรายได้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางของ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ PBS ได้จัดตั้งขึ้นมาในภายหลัง เพื่อผลิตรายการที่ส่งเสริมคุณค่าทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการสาธารณะ เช่น รายการสําหรับเด็ก รายการสําหรับการศึกษา เป็นต้น

52 “ABU” หมายถึงอะไร
(1) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป
(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก
ตอบ 4 หน้า 115, 124 สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก (The Asian Pacific Broadcasting Union : ABU) มีสํานักงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่บริหารงานด้านการกระจายเสียงและให้ความร่วมมือกับประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศไทยก็มีความสัมพันธ์ด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสารรายการโดยผ่านสถาบันนี้

53. พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับล่าสุดในขณะนี้ หมายถึงข้อใด
(1) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
(2) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
(4) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับล่าสุดในขณะนี้ หมายถึง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

54. กรมประชาสัมพันธ์มีชื่อเดิมว่าอะไร
(1) กรมการโฆษณาการ
(2) กรมโฆษณาการ
(3) กรมการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
(4) สํานักโฆษณาการและประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 หน้า 36, (คําบรรยาย) กรมประชาสัมพันธ์มีชื่อเดิมว่า “กรมโฆษณาการ” โดยในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้ง “สํานักงานโฆษณาการ” ขึ้น และต่อมาก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรม ใช้ชื่อว่า “กรมโฆษณาการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังในปัจจุบัน

55. ข้อใดเป็นระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation)
(1) TBS
(2) CNN
(3) BBC
(4) PBS
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

56. หน่วยงานราชการใดมีสถานีวิทยุกระจายเสียงมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร
(1) กรมประชาสัมพันธ์
(2) อ.ส.ม.ท.
(3) กองทัพบก
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 3 หน้า 39 สถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งระบบ AM และ FM ในกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นสถานีวิทยุในสังกัดของกองทัพบกมากที่สุด โดยมีทั้งหมด 24 สถานี แบ่งเป็นระบบ AM 12 สถานี และระบบ FM 12 สถานี รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ มี 11 สถานี และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย มี 9 สถานี

57. แนวคิดในการจัดระบบวิทยุโทรทัศน์ไทยปัจจุบัน ตรงกับข้อใด
(1) Public Service System
(2) Free Market System
(3) Dual System
(4) Mixed System
ตอบ 4 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยปัจจุบันตาม รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่างการสื่อสารเพื่อ ประโยชน์สาธารณะกับการสื่อสารในตลาดเสรี) เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

58. บรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น หมายถึงข้อใด
(1) NHK
(2) N3C
(3) TBS
(4) Radio Japan
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

59. สถานีวิทยุคลื่นสั้นที่มีการจัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ที่จังหวัดอุดรธานี
(1) VOA
(2) BBC
(3) NHK
(4) CNN
ตอบ 1 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ สถานีวิทยุคลื่นสั้น VOA (Voice of America) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุภาคภาษาต่างประเทศที่ กระจายเสียงไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 35 ภาษา ออกอากาศสัปดาห์ละ 805 ชั่วโมง และมีผู้รับฟังประมาณ 26 ล้านคน โดยในประเทศไทยได้จัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อส่งกระจายเสียงต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

60. พัฒนาการวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศใดเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) ญี่ปุ่น
(4) รัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 155 – 156 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิก กิจการวิทยุกระจายเสียงโลก โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก ๆ คือ สถานี KCBS (ค.ศ. 1909), WHA (ค.ศ. 1917), WW) (ค.ศ. 1920) และ KDKA (ค.ศ. 1920)

61. การควบคุมของรัฐในกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของไทย หมายถึงข้อใด
(1) การจัดตั้งเป็นสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักข่าว สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
(2) จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อมวลชน
(3) การตั้งแผนกเซ็นเซอร์ภายในสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ
(4) การออกหนังสือเวียนและคําสั่งอื่น ๆ ให้สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์นําไปปฏิบัติ
ตอบ 4 หน้า 125 – 127 โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. การควบคุมของรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช., การออกกฎหมาย ที่บังคับใช้โดยตรง และกฎหมายอื่นหรือระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและ หลักเกณฑ์ที่ออกมาในรูปของหนังสือเวียนและคําสั่งอื่น ๆ ฯลฯ
2. การควบคุมกันเอง เช่น มีจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้ง การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ
3. การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชม ผู้ฟัง, ผู้อุปถัมภ์รายการ และกลุ่มผลักดันทางสังคม

62. กฎหมายที่เน้นการควบคุมเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์ หมายถึงข้อใด
(1) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(2) กฎกระทรวง
(3) ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
(4) ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
ตอบ 4 หน้า 117, (คําบรรยาย) กฎหมายที่เน้นการควบคุมเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ส่วนพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง (ยกเว้นกฎกระทรวงฉบับที่ 14) และประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี จะเน้นเนื้อหา ที่เกี่ยวกับทางด้านเทคนิค การขอและออกใบอนุญาต

63. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ
1. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ
3. เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผู้ผลิตรายการ) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

64. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบ พหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทําให้เกิดระบบแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 3 หน้า 111, 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของ ระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทําให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

65. ระบบนี้มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภค
จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี) คือ ดําเนินการในรูปตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกัน อย่างเต็มที่ (Competition) โดยเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของ ผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด

66. ระบบนี้มีความเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน และในราคาที่เหมาะสม รัฐจึงมีความชอบธรรมในการดําเนินการแบบผูกขาด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) ประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) หรือระบบที่รัฐเป็น ผู้ให้บริการ โดยเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่าง เท่าเทียมกันและในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะดําเนินการผูกขาดใน การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์

67. ตามแนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากอะไร
(1) บุคคล สังคม วัฒนธรรม บันเทิง
(2) บุคคล สังคม เครื่องมือทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม
(3) บุคคล สังคม การศึกษา วัฒนธรรม
(4) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
ตอบ 4 หน้า 95 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของ
สื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการให้สื่อมวลชนทําอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทําหน้าที่อะไรให้แก่ตนและ สังคม ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่
1. สังคม (Society)
2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate)
3. สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media/Mass Communicators) 4. มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

68.FCC (Federal Communications Commission) หมายถึงข้อใด
(1) บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา
(2) บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของอังกฤษ
(3) องค์กรที่จัดระเบียบในด้านการอนุมัติคลื่นและใบอนุญาตประกอบการ
(4) คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ
ตอบ 4 หน้า 24, 114, 168 คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ FCC (Federal Communications Commission) เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแล กิจการวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รวมทั้งคอยจัดสรรคลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ด้วย

69. สื่อที่ถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2475 หมายถึงข้อใด (1) หนังสือพิมพ์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 35 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วิทยุกระจายเสียง นับว่ามีบทบาทอย่างสําคัญ เพราะคณะราษฎร์ซึ่งนําโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นเครื่องมือ เผยแพร่ข่าวการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนทราบ โดยอ่านประกาศติดต่อกันตลอดเวลา

70. มาตราในการวัดคลื่นความถี่วิทยุระบบ AM คือ
(1) เมกะเฮิรตซ์
(2) กิโลเฮิรตซ์
(3) จิกะเฮิรตซ์
(4) เมตริกเฮิรตซ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

71. สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็น Independent Television หมายถึงข้อใด
(1) ไทยพีบีเอส
(2) NBT
(3) ASTV
(4) ไอทีวี
ตอบ 4 หน้า 52, 54 – 56, (คําบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เกิด กระแสการเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์กันอย่างกว้างขวางซึ่งต่อมาก็ได้มีการจัดตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ITV : Independent Television หรือทีวีเสรี ซึ่งปัจจุบันคือ ไทยพีบีเอส) ขึ้นมา เพื่อเสนอข่าวสารอย่างเป็นกลางโดยปราศจากอํานาจของรัฐและนายทุนจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการเสนอรายการข่าวครั้งใหญ่ในประเทศไทย

72. สื่อทางเลือกของประชาชน หมายถึงข้อใด
(1) ไทยพีบีเอส
(2) วิทยุอินเทอร์เน็ต
(3) วิทยุชุมชน
(4) โมเดิร์นไนน์
ตอบ 2, 3 (คําบรรยาย) สื่อทางเลือกหรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสาร ให้แก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับรู้ข่าวสาร ที่แตกต่างออกไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งมักจะถูกกําหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน ตัวอย่างของสื่อทางเลือก เช่น สถานีวิทยุชุมชน, สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต, โทรทัศน์ดาวเทียม, เคเบิลทีวี ฯลฯ

73. โมเดิร์นไนน์ทีวี สังกัดหน่วยงานใด
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน)
(4) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

74. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550
(2) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
(3) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
(4) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

75. เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด
(1) การออกกําลังกาย
(2) การสอนทําอาหารไทย
(3) การบรรยายธรรม
(4) การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

76. การแพร่คลื่นของสถานีวิทยุกระจายเสียง อยู่ในขั้นตอนใด
(1) ภาคกําเนิดกระแสความถี่วิทยุ
(2) ภาคแปรรูปคลื่นหรือผสมคลื่น
(3) ภาคสายอากาศ
(4) ภาคขยายกําลัง
ตอบ 3หน้า 60 – 62 หลักการทํางานของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วย 4 ภาค ดังนี้
1. ภาคกําเนิดกระแสความถี่วิทยุ ประกอบด้วย วงจรออสซิลเลเตอร์ (Oscillator Circuit) ซึ่งจะทําหน้าที่ผลิตคลื่นความถี่วิทยุตามที่ต้องการ
2. ภาคแปรรูปคลื่นหรือผสมคลื่น ทําหน้าที่ผสมคลื่นวิทยุกับคลื่นเสียงเข้าด้วยกัน โดยใช้วงจร ผสมความถี่ (Modulator Circuit)
3. ภาคขยายกําลัง ทําหน้าที่ขยายคลื่นที่ผสมแล้วให้มีกําลังแรงขึ้นตามความต้องการ
4. ภาคสายอากาศเครื่องส่ง ทําหน้าที่แพร่คลื่นของสถานีวิทยุกระจายเสียง โดยใช้สายอากาศ
ที่มีความยาวเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการแพร่คลื่นแต่ละประเภท

77. กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงที่เป็นแหล่งรวมเสียง หรือที่เรียกว่า “คลื่นเสียง
อยู่ในองค์ประกอบใด
(1) เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง
(2) ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง
(3) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
(4) ห้องควบคุมวิทยุกระจายเสียง
ตอบ 2 หน้า 60, 62 กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นแหล่งรวมเสียง หรือที่เรียกว่า “คลื่นเสียงหรือความถี่เสียง” จากแหล่งต่าง ๆ เช่น เสียงพูด เสียงประกอบ (Sound Effects) ฯลฯ เพื่อผลิตรายการ
2. เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง จะแยกอยู่คนละส่วนกับห้องส่งวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเครื่องส่ง จะทําหน้าที่ส่งคลื่นเสียงไปกับคลื่นวิทยุ
3. เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง จะมีสายอากาศรับคลื่นวิทยุที่ส่งมา โดยวงจรเลือกรับคลื่นวิทยุ (Tuner) จะเลือกหรือกรองเอาเฉพาะสัญญาณความถี่วิทยุของสถานีที่ต้องการเข้ามาเพียง สถานีเดียว แล้วขยายให้สัญญาณมีกําลังแรงขึ้น ก่อนจะส่งเข้าภาคแยกสัญญาณต่อไป

78. กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงที่ทําหน้าที่ส่งคลื่นเสียงไปกับคลื่นวิทยุ อยู่ในองค์ประกอบใด
(1) ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง
(2) ห้องควบคุมวิทยุกระจายเสียง
(3) เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง
(4) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79. กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงที่มีวงจรเลือกรับคลื่นวิทยุ (Tuner) จะเลือกหรือกรอง
เอาเฉพาะสัญญาณความถี่วิทยุของสถานีที่ต้องการ อยู่ในองค์ประกอบใด
(1) เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง
(2) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
(3) ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง
(4) ห้องควบคุมวิทยุกระจายเสียง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

80. การผลิตคลื่นความถี่วิทยุในภาคกําเนิดกระแสความถี่วิทยุ ใช้วงจรใด
(1) Modulator Circuit
(2) Oscillator Circuit
(3) Power Wave Circuit
(4) Amplifier Wave Circuit
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

81. การผสมคลื่นวิทยุกับคลื่นเสียงในภาคแปรรูปคลื่น ใช้วงจรใด
(1) Frequency Circuit
(2) Modulator Circuit
(3) Oscillator Circuit
(4) Generator Circuit
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

ข้อ 82 – 84. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Intelsat
(2) Symphkonie
(3) Domsat
(4) Thaicom

82. ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์ในระดับโลก
ตอบ 1 หน้า 80 – 81 ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จําแนก ตามขอบเขตการใช้งาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. ดาวเทียมในระดับโลก (Global Satellite) ซึ่งที่อยู่ในวงโคจรโลกขณะนี้มีอยู่ 2 ดวง ได้แก่ ดาวเทียม Intelsat และ Intersputnik
2. ดาวเทียมในระดับภูมิภาค (Regional Satellite) ได้แก่ ดาวเทียม Eutelsat, Symphkonie, Telecom, Olympus, Arabsat, Palapa a Asiasat
3. ดาวเทียมในระดับภายในประเทศ (Domestic Satellite) หรือที่เรียกว่า “Domsat” จะมีอยู่ เป็นจํานวนมากทั้งของประเทศสังคมนิยมและประเทศโลกเสรี ซึ่งในประเทศไทยได้ส่ง ดาวเทียมดวงแรก คือ ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) ขึ้นสู่วงโคจรในปี พ.ศ. 2536

83. ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์ในระดับภูมิภาค
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84. ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์ในระดับภายในประเทศ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85. “SW” บนหน้าปัดเครื่องรับวิทยุ หมายถึงอะไร
(1) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่น AM
(2) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่น FM
(3) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่นสั้น
(4) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่นปานกลาง
ตอบ 3 หน้า 65 คําว่า “SW” บนหน้าปัดเครื่องรับวิทยุ ย่อมาจาก Short Wave ซึ่งหมายถึง เครื่องรับวิทยุชนิดที่รับคลื่นสั้นได้ ซึ่งอาจจะแบ่งการรับคลื่นสั้นทั้งหมดเป็น 1 แถบคลื่น
เรียกว่า “แบรนด์” (Brand) หรือหลายแถบคลื่นก็ได้

86. ประเภทสถานีโทรทัศน์ระดับชาติของไทย จัดอยู่ในประเภทใด
(1) Subscription TV
(2) Down Converter Satellite
(3) Open Circuit Television
(4) Community Antenna Television
ตอบ 3 หน้า 74, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติของไทย หรือฟรีทีวี (Free TV) จัดอยู่ ในระบบวงจรเปิด (Open Circuit Television : OCTV) คือ ระบบการกระจายเสียงและภาพ ด้วยคลื่นวิทยุ (Radio Waves หรือ Hertzian Waves) กระจายไปในอากาศสู่เครื่องรับ ซึ่งผู้รับที่มีเครื่องรับอยู่ในรัศมีการกระจายเสียงในช่องความถี่เดียวกัน ก็สามารถรับภาพและเสียง ของสถานีได้ โดยใช้เพียงเสาอากาศที่มีขายอยู่ทั่วไป

87. เคเบิลทีวีเป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงในลักษณะใด
(1) Broadcasting
(2) Narrowcastion
(3) Close Circuit
(4) Open Circuit
ตอบ 2 หน้า 76 เคเบิลทีวี คือ การส่งสัญญาณภาพและเสียงเพื่อให้แพร่กระจายไปสู่ประชาชน จํานวนมากในลักษณะที่เรียกว่า Narrowcastion ซึ่งมีลักษณะแคบกว่า เพราะจะส่งไปยัง ปลายทางที่เจาะจงเฉพาะผู้เป็นสมาชิก และจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ผู้ส่งติดตั้งไว้ให้ เพื่อรับคลื่นหรือสัญญาณเฉพาะเคเบิลทีวีเท่านั้น

88. ปัจจุบันประเทศไทยส่งดาวเทียมไทยคมสู่วงโคจรแล้วจํานวนกี่ดวง
(1) 3 ดวง
(2) 4 ดวง
(3) 5 ดวง
(4) 7 ดวง
ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2536 ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ดวงแรก คือ ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) ขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งปัจจุบันดาวเทียมไทยคม
มีจํานวนทั้งสิ้น 7 ดวง ได้แก่
1. ไทยคม 1A
2. ไทยคม 2
3. ไทยคม 3
4. ไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์
5. ไทยคม 5
6. ไทยคม 6
7. ไทยคม 7 (ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557)

89. ระบบวิทยุโทรทัศน์ 1,125 เส้น และ 1,250 เส้น ซึ่งให้รายละเอียดของภาพดีกว่าระบบ 625 เส้น หรือ 525 เส้น หมายถึงระบบใด
(1) NTSC
(2) SECAM
(3) HDTV
(4) CCIR
ตอบ 3 หน้า 71 ในปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นระบบวิทยุโทรทัศน์ใหม่ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ซึ่งกําลังพัฒนาอยู่ ในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา คือ ระบบที่เรียกว่า HDTV (High Definition Television) เป็นระบบวิทยุโทรทัศน์ 1,125 เส้น และ 1,250 เส้น ซึ่งให้รายละเอียดของภาพดีกว่าระบบ
625 เส้น หรือ 525 เส้น ถึงประมาณ 2 เท่า

90. เคเบิลทีวีระบบดาวเทียม ส่งในย่านความถี่ตรงกับข้อใด
(1) CATV
(2) RSTV
(3) K-BAND
(4) C-BAND
ตอบ 4 หน้า 77 เคเบิลทีวีแบ่งตามลักษณะการส่งสัญญาณได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบการส่งวิทยุโทรทัศน์ทางสายเคเบิลโดยตรง (Community Antenna Television : CATV)
2. ระบบการส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ (Radiated Subscription Television : RSTV) เป็นระบบส่งสัญญาณแบบไมโครเวฟ และใช้ความถี่แบบ MMSD
3. เคเบิลทีวีระบบดาวเทียม จะใช้คลื่นไมโครเวฟเหมือนกัน แต่ในย่านความถี่สูงกว่าไมโครเวฟ ที่ส่งด้วย RSTV เรียกว่า ย่านความถี่ C-BAND หรือ KU-BAND

ข้อ 91. – 100. ข้อใดถูกให้เลือกหมายเลข 1 ข้อใดผิดให้เลือกหมายเลข 2

91 VOA เป็นระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร มีรายได้ จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. และ 59. ประกอบ

92. ญี่ปุ่นมีการกระจายเสียงสองระบบ คือ การกระจายเสียงที่ไม่มีการโฆษณาของ NHK และระบบ การกระจายเสียงเพื่อการค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

93. NHK มีลักษณะเหมือน PBS
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. และ 51. ประกอบ

94. ประเทศอังกฤษไม่มีระบบการกระจายเสียงเพื่อการค้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

95. ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีระบบการกระจายเสียงเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

96. ระบบสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกามีรูปแบบตามแนวคิดทฤษฎีสื่อสารมวลชนกับความรับผิดชอบของสังคม
ตอบ 1 หน้า 160 – 161 ระบบสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกาจะมีรูปแบบตามแนวคิดทฤษฎี สื่อสารมวลชนกับความรับผิดชอบของสังคมทําให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง โดยเสรีภาพในการรายงานและรับรู้ข่าวสารจะได้รับการรับรองไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งมีใจความสําคัญว่า รัฐสภาจะไม่ออกกฎหมายที่มาบั่นทอน เสรีภาพของสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนจะต้องเคารพสิทธิของบุคคลอื่นด้วย

97. สถานีวิทยุในยุคแรก ๆ ของสหรัฐอเมริกามีชื่อว่า สถานีวิทยุ KDKA
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

98. Independent Broadcasting Authority (IBA) เป็นองค์กรที่ควบคุมดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ของเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 หน้า 163, 169 ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) รัฐบาลอังกฤษได้จัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า Independent Television Authority (ITA) เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อการค้า แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Independent Broadcasting Authority (IBA) เพื่อให้ทําหน้าที่เป็นองค์กรควบคุมดูแลกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ของเอกชนในประเทศอังกฤษ

99 BBC ภาคภาษาต่างประเทศในระยะแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเทศในอาณานิคม ของตนเองทั่วโลก
ตอบ 1 หน้า 164 การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของอังกฤษ คือ สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาต่างประเทศ (BBC External Broadcasting Service) ซึ่งเริ่มส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นไปยังต่างประเทศ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เรียกว่า Empire Service ทั้งนี้เพราะ ในช่วงระยะ 6 ปีแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก

100. สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ของไทยปัจจุบันอยู่ในระหว่างทดลองแพร่ภาพในระบบดิจิตอล
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ในปัจจุบันสถานีวิทยุโทรทัศน์ส่วนใหญ่ของไทยได้แพร่ภาพในระบบดิจิตอล (ดิจิทัล) และเริ่มออกอากาศในส่วนกลางตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป หลังจากที่ก่อนหน้านั้นได้ทดลองแพร่ภาพในระบบดิจิตอลให้ประชาชนได้รับชมระหว่างวันที่ 1 – 24 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยจะให้การแพร่ภาพออกอากาศในระบบดิจิตอลครอบคลุม ทั้งประเทศภายใน 4 ปี

CDM2201 (MCS1450) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพเบื้องต้น 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1450 (MCS 1400) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ศักยภาพของสื่อใดตรงกับคํากล่าวที่ว่า “Seeing is believing”
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) หนังสือพิมพ์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 5 ศักยภาพของวิทยุโทรทัศน์ตรงกับคํากล่าวที่ว่า “Seeing is believing” หมายถึง โทรทัศน์ได้สร้างมายาภาพลวงตาให้เราเห็นสิ่งที่สื่อสร้างขึ้นว่าเป็นของจริง ดังนั้นผู้รับสาร จึงต้องอ่านสื่อให้ออกว่าเป็นเทคนิคของการผลิตไม่ใช่ของจริง

2. แนวคิดเกี่ยวกับความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด
(1) ระดับบุคคล ระดับสังคม
(2) ระดับสังคม ระดับโลกาภิวัตน์
(3) ระดับสังคม ระดับโลก
(4) ระดับบุคคล ระดับสังคม ระดับโลก
ตอบ 4 หน้า 7 แนวคิดเกี่ยวกับความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สามารถจําแนก ออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับบุคคล 2. ระดับสังคมและประเทศ 3. ระดับโลก

3. “รายการวิทยุเพื่อการเกษตร” ตรงกับแนวคิดความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในด้านใด
(1) การพัฒนาทางการเมือง
(2) การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(3) การพัฒนาชนบท
(4) การพัฒนาทางการศึกษา
ตอบ 3 หน้า 7, 9 – 12 ความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระดับสังคมและประเทศ มีอยู่ 4 ประการ ดังนี้
1. การพัฒนาทางการศึกษา คือ การเสนอรายการเพื่อสอนหรือเสริมสร้างความรู้โดยตรง
2. การพัฒนาทางการเมือง คือ การเป็นสื่อกลางในการให้สาระข้อวิพากษ์วิจารณ์ และ
แสดงความคิดเห็นในทางการเมืองได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง
3. การพัฒนาชนบท เช่น การนําเสนอรายการวิทยุเพื่อการเกษตร เพื่อการศึกษา เพื่อสุขภาพ อนามัย และเพื่องานอาชีพที่สําคัญ ๆ
4. การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ การเสนอความคืบหน้าและความเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคม

4 สภาพสังคมในยุโรปช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญหลายประการที่นําไปสู่การพัฒนา ระบบการสื่อสารมวลชนประเภทใด
(1) วิทยุโทรเลข
(2) วิทยุโทรศัพท์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 16 สภาพสังคมในยุโรปช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ได้เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรมและการขยายตัวทางการค้า ทําให้ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปมีความจําเป็นต้อง แสวงหาอาณานิคม ส่งผลให้เกิดการค้นคว้าทดลองทางด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุ เพื่อเป็นพาหะส่งข่าวสารไปได้เป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่ต้องใช้สาย (Wireless) จนนําไปสู่ การพัฒนาวิทยุกระจายเสียงในเวลาต่อมา

5 สื่อใดที่ทําให้จุดมุ่งหมายของการค้นคว้าเพื่อการศึกษากลายเป็นการค้นคว้าเพื่อการธุรกิจ
(1) โทรเลข
(2) โทรศัพท์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 4 หน้า 25 การค้นคว้าการส่งวิทยุโทรทัศน์ทํากันอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทําให้จุดมุ่งหมายของการค้นคว้าเพื่อการศึกษากลายเป็นการค้นคว้าเพื่อการธุรกิจ โดยมี บริษัทธุรกิจทางด้านวิทยุโทรทัศน์เกิดขึ้นตามมาหลายแห่งเพื่อแข่งขันค้นคว้าต่อไป

6. ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด
(1) รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด
(2) เอกชนเป็นเจ้าของทั้งหมด
(3) เป็นของรัฐและเอกชน
(4) เป็นของรัฐและภาคประชาชน
ตอบ 3, 4 หน้า 136, (คําบรรยาย) ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยในอดีต เป็นกิจการผูกขาดโดยรัฐหรือรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด แต่ในปัจจุบันเมื่อมีการปฏิรูปสื่อ เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 จึงทําให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้

7. เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดผ่านทางวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด
(1) การบรรยายวิชาเคมี
(2) การสอนทําอาหารไทย
(3) การสอนซ่อมคอมพิวเตอร์
(4) การอภิปรายในรัฐสภา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด
นอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคํานึงหรือจินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ
1. ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การอภิปรายในรัฐสภา ฯลฯ
2. แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ
3. ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ
4. การจูงใจให้คิดหรือทํา (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

8. ผลดีในการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อการให้ศักดิ์ศรีแก่บุคคล ตรงกับบทบาทหน้าที่ข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการให้ความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 88 – 91 หน้าที่ในการให้ข่าวสารของฮาร์โรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ส่งผลดีต่อบุคคล ดังนี้
1. ช่วยเตือนภัยและเป็นเครื่องมือในการทํางานของบุคคล
2. เป็นเครื่องมือในการดําเนินชีวิตประจําวัน
3. มีหน้าที่ในการให้ศักดิ์ศรีแก่บุคคล
4. มีหน้าที่ในการให้สถานภาพทางสังคม
5. เป็นการควบคุมศีลธรรมจรรยาของบุคคล

9 หน้าที่ในการระดมความร่วมมือตามแนวคิดของเดนิส แมคเควล หมายถึงข้อใด
(1) การมีกิริยาสัมพันธ์ทางสังคม
(2) การรณรงค์เพื่อเป้าหมายของสังคม
(3) การสร้างภาพพจน์ และดึงดูดความสนใจ
(4) การให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของสังคมประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ (Mobilization) ได้แก่ สื่อมวลชนช่วยในการรณรงค์เพื่อเป้าหมายของสังคมในด้านการเมือง สงคราม การพัฒนาเศรษฐกิจ การทํางาน และศาสนา

10. หน้าที่ในการแสดงออก (Expressing) ตามแนวคิดของเดนิส แมคเควล หมายถึงข้อใด
(1) วิพากษ์วิจารณ์คู่แข่งขององค์กร
(2) พัฒนาสํานึกในการเป็นสมาชิกองค์กร
(3) พยายามจูงใจและเปลี่ยนพฤติกรรมของคน
(4) แสดงหรือสะท้อนประชามติ
ตอบ 2 หน้า 95 – 97 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการแสดงออก
(Expression) ได้แก่
1. ให้การสนับสนุนความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ และหลักการขององค์กร
2. ช่วยพัฒนาสํานึกในการเป็นสมาชิกขององค์กร เช่น พรรคการเมือง ชนชั้นและกลุ่ม

11. สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ออกอากาศปัจจุบัน ช่องใดเป็นสถานีข่าวสาร
(1) ช่อง NBT, ช่อง MCOT
(2) ช่อง 3 HD, ช่อง Nation
(3) ช่อง Voice TV, ช่องไทยรัฐทีวี
(4) ช่อง PPTV, ช่องอัมรินทร์ทีวี
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยระบบดิจิทัล (ดิจิตอล) ที่เป็นช่องข่าวสารและสาระ ซึ่งออกอากาศปัจจุบัน ได้แก่ ช่อง TNN 24, Spring News, New TV, Voice TV, ไทยรัฐทีวี, Bright TV, Nation TV เป็นต้น

12. สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ออกอากาศปัจจุบัน ช่องใดเป็นสถานีรายการเพื่อเด็กและครอบครัว
(1) ช่อง 13
(2) ช่องโลก้า
(3) ช่อง MCOT
(4) ช่องไทยพีบีเอส
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยระบบดิจิทัล (ดิจิตอล) ที่เป็นช่องหมวดสาธารณะ ซึ่งออกอากาศปัจจุบัน ได้แก่ ช่อง CH5 (HD), NBT (HD), Thai PBS (HD), Thai PBS ช่องเด็ก และครอบครัว (HD) ซึ่งเริ่มออกอากาศใน พ.ศ. 2558 เป็นต้น

13. ปัจจัยเสริมที่ทําให้สื่อมวลชนมีอิทธิพลทางอ้อม หมายถึงข้อใด
(1) การสามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมาก
(2) การนําเสนอเรื่องราว กิจกรรมซ้ํา ๆ บ่อย ๆ
(3) ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
(4) ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารจําเป็นต้องพึ่งพามาก
ตอบ 3 หน้า 106 – 107 แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสา ทางอ้อม โดยอาศัยปัจจัยเสริมต่าง ๆ ได้แก่
1. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
2. กระบวนการเลือกรับสาร
3. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
4. ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหากบุคคลจําเป็นต้องพึ่งพาสื่อมากก็เท่ากับสื่อมีอิทธิพล แต่ถ้าบุคคลพึ่งพาสื่อน้อยหรือไม่ต้องพึ่งพาเลย สื่อย่อมไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อบุคคล

ข้อ 14. – 20. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การควบคุมกันเอง
(2) การควบคุมโดยรัฐ
(3) การควบคุมจากบุคคลภายนอก
(4) การควบคุมจากสังคม

14. การจัดระดับความนิยมของรายการ (Rating)
ตอบ 3 หน้า 125 – 127 โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. การควบคุมโดยรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช., การออกกฎหมายที่ บังคับใช้โดยตรง, การออกกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและ หลักเกณฑ์ที่ออกมาในรูปของหนังสือเวียนและคําสั่งอื่น ๆ ฯลฯ
2. การควบคุมกันเอง ได้แก่ การมีจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน, การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ฯลฯ
3. การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชม ผู้ฟัง, ผู้อุปถัมภ์รายการ ซึ่งเป็นผู้กําหนดในการ ซื้อเวลาโฆษณา โดยอาศัยการจัดระดับความนิยมของรายการ (Rating) จากบริษัทวิจัย, กลุ่มผลักดันทางสังคม ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนารายการให้ดีและมีประโยชน์ต่อสาธารณชน เช่น โครงการสื่อเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ฯลฯ

15. จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16. โครงการสื่อเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

17. ผู้อุปถัมภ์รายการ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

18. กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

19. กลุ่มผลักดันทางสังคม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

20. สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

21. การพัฒนาของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนที่กล่าวได้ว่าเป็นยุคคอมพิวนิเคชั่น (Compunication) หมายถึงข้อใด
(1) เคเบิลทีวี
(2) โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
(3) วีดีโอออนดีมานด์
(4) วิดีโอเทปและเทปคลาสเซ็ท
ตอบ 3 หน้า 28 การพัฒนาของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนในศตวรรษที่ 20 ซึ่งกําลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 อาจแบ่งเป็น 3 ยุคใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ยุคอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เทปคลาสเซ็ท และวิดีโอเทป
2. ยุคคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่อาศัยเครื่องมือคอมพิวเตอร์ เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นสื่อทางเดียวเป็นส่วนใหญ่
3. ยุคคอมพิวนิเคชั่น (Compunication) คือ สื่อที่ปรับปรุงขึ้นในยุคที่ 1 และ 2 โดยเพิ่ม มิติการสื่อสารสองทางเข้ามา ได้แก่ วิดีโอออนดีมานด์

22. ความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระดับสังคม ตรงกับข้อใด
(1) การเสริมสร้างสติปัญญาให้แก่มนุษย์
(2) สื่อกลางในการให้สาระข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง
(3) เสนอความคืบหน้าและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
(4) เป็นเครื่องมือที่สําคัญต่อการสื่อสารของโลก
ตอบ 2, 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

23. พัฒนาการของการคิดค้นวิธีการติดต่อสื่อสารไปสู่วิทยุกระจายเสียง ตรงกับข้อใด
(1) โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลข
(2) โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์
(3) โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์
(4) โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลข
ตอบ 3 หน้า 16 นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นและพัฒนาวิธีการติดต่อสื่อสารแบบใหม่ที่เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ ไปจนถึงวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน

24. นักวิทยาศาสตร์ที่สามารถส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุได้สําเร็จ คือ
(1) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(2) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(3) เฮนรี่ ซี. ดันวูดดี
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน
ตอบ 4 หน้า 18 เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน (Reginald A. Fessenden) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่ประสบความสําเร็จในการทดลองส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุในคืนวันคริสต์มาสปี พ.ศ. 2449 โดยเขาได้กล่าวอวยพรคริสต์มาสไปที่เรือซึ่งแล่นอยู่บริเวณฝั่งบรานท์ร็อค รัฐแมสซาชูเซตส์

25. การพัฒนาเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงที่ทําให้กิจการวิทยุกระจายเสียงแพร่หลายและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วตรงกับข้อใด
(1) เครื่องรับวิทยุแบบเครื่องแร่
(2) เครื่องรับวิทยุใช้หลอดสุญญากาศ
(3) เครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์
(4) เครื่องรับวิทยุเฮเทอโรดายน์
ตอบ 3 หน้า 19 ในปี พ.ศ. 2490 นักวิทยาศาสตร์ของห้องทดลองเบล (Bell-taboratories) ได้ประสบผลสําเร็จในการทดลองประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์ขึ้นใช้แทนเครื่องรับวิทยุ
ชนิดใช้หลอดสุญญากาศ ทําให้เครื่องรับวิทยุมีขนาดเล็กลงและใช้แบตเตอรี่แทนไฟฟ้ากระแสสลับ ที่ใช้ตามบ้านเรือน จึงสามารถพกพาไปได้ทุกหนทุกแห่ง และนับตั้งแต่นั้นกิจการวิทยุกระจายเสียง ในสหรัฐฯ และยุโรปจึงได้พัฒนาจนแพร่หลายและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

26. ข้อใดหมายถึงสื่อใหม่ในศตวรรษที่ 20
(1) สื่อสิ่งพิมพ์
(2) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(3) สื่อวิทยุโทรทัศน์
(4) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 21, 26 – 27 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 สื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อใหม่ในศตวรรษที่ 20 กําลังเปลี่ยนฐานะเป็นเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนรุ่นกลาง เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกหลายประเภท เช่น สื่อมัลติมีเดียที่อาศัย การทํางานของคอมพิวเตอร์และสายโทรศัพท์ในการนําสัญญาณ (ตัวอักษร ภาพ และเสียง)
มาที่เครื่องรับ รวมทั้งดาวเทียมสื่อสารที่เป็นการส่งสัญญาณข้ามทวีปหรือข้ามภูมิภาค

27. สื่อใดที่มีบทบาทอย่างมากในการโฆษณาชวนเชื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
(1) หนังสือพิมพ์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 21 วิทยุกระจายเสียงนับเป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในการโฆษณาชวนเชื่อระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เพราะได้กลายเป็นเวทีการยุทธ์สําหรับมหาชนที่ไม่ได้อยู่ใน สนามรบ ซึ่งการระดมมติของกองหลังเช่นนี้มีนัยในการสร้างลัทธิชาตินิยมที่ผูกติดกับสื่อวิทยุ ต่อมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้วิทยุยังเป็นสื่อของวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านดนตรีและเสียงเพลง

28. ระบบการสื่อสารใดที่เจริญเติบโตและขยายตัวได้อย่างรวดเร็วที่สุดของมนุษยชาติ
(1) การพิมพ์
(2) โทรศัพท์
(3) วิทยุและโทรทัศน์
(4) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 หน้า 27 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต นับเป็นระบบการสื่อสารข่าวสารข้อมูลที่เจริญเติบโตและ ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วที่สุดของมนุษยชาติ ทําให้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนต้นแบบของ ระบบทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) และเป็นที่คาดหมายว่าเครือข่าย อินเทอร์เน็ตจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่สําคัญในยุคปี 2000

29. การอนุญาตให้ประชาชนมีเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงได้มาจากกฎหมายฉบับใด
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
(2) พ.ร.บ. วิทยุโทรเลข พ.ศ. 2473
(3) พ.ร.บ. การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ พ.ศ. 2475
(4) พ.ร.บ. กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2480
ตอบ 2 หน้า 34 – 35 ในสมัยรัชกาลที่ 7 รัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. วิทยุโทรเลข พ.ศ. 2473 ซึ่งมีหลักการสําคัญ คือ อนุญาตให้ประชาชนมีเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงได้ เพราะแต่เดิมนั้น รัฐบาลไม่อนุญาตให้ประชาชนมีเครื่องรับวิทยุไว้ในครอบครอง

30. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเปลี่ยนชื่อมาจากสถานีใด
(1) สถานีวิทยุกรุงเทพที่ศาลาแดง 7 พี่เจ
(2) สถานีวิทยุกรุงเทพที่วังพญาไท
(3) สถานีวิทยุ 1 ปณ.
(4) สถานีวิทยุบูรฉัตรไชยากร
ตอบ 1 หน้า 36 หลังจากเปลี่ยนการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท ได้ย้ายไปอยู่รวมกับสถานีวิทยุที่ศาลาแดง และส่งกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีใหม่ว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพที่ศาลาแดง 7 พี่เจ” ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ เป็น “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย” ปัจจุบันอยู่ในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์

31. สํานักงานโฆษณาการ เป็นชื่อเดิมของหน่วยงานใด
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) กรมสารนิเทศ
(4) กรมการค้าภายใน
ตอบ 2 หน้า 36, (คําบรรยาย) กรมประชาสัมพันธ์มีชื่อเดิมว่า “กรมโฆษณาการ” โดยในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้ง “สํานักงานโฆษณาการ” ขึ้น และต่อมาก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรม ใช้ชื่อว่า “กรมโฆษณาการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังเช่นในปัจจุบัน

32. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สื่อมวลชนที่มีบทบาทอย่างมากในทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นส่วนหนึ่ง ในการสื่อสาระของระบบทุนนิยมที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 3 หน้า 26 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทอย่างมากในทาง เศรษฐกิจและสังคม โดยการใช้สื่อโทรทัศน์ในระยะนั้นประกอบด้วยรายการบันเทิง เช่น ละคร ภาพยนตร์ ดนตรี การแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัลหรือเกมโชว์ และรายการโฆษณาอันเป็นรากฐาน ของลัทธิบริโภคนิยมสมัยใหม่ ดังนั้นวิทยุโทรทัศน์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสาระของระบบ ทุนนิยม เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการกระจายและบริโภคสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

33. การขยายงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ออกไปสู่ภูมิภาค เกิดขึ้นในรัฐบาลใด
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร
ตอบ 2 หน้า 37 ในปี พ.ศ. 2502 คณะรัฐบาลที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ให้กรมประชาสัมพันธ์ขยายงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ออกไปสู่ภูมิภาคโดยมีการจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ลําปาง สงขลา และสุราษฎร์ธานี เพื่อกํากับดูแลงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค

34. สื่อมวลชนที่เป็นรากฐานของลัทธิบริโภคนิยมสมัยใหม่ หมายถึง
(1) หนังสือพิมพ์
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

ข้อ 35 – 37. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) คลื่นตรง
(2) คลื่นพื้นดิน
(3) คลื่นฟ้า
(4) คลื่นพาห์

35. การส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม
ตอบ 1 หน้า 67 – 69 การแพร่คลื่นทางวิทยุกระจายเสียง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การแพร่คลื่นตรง ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) ซึ่งส่งในแถบความถี่สูงมาก (VHF) ทําให้การเดินทางของคลื่นจะไปไม่ได้ไกล
2. การแพร่คลื่นพื้นดิน ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นปานกลาง ซึ่งส่งในแถบความถี่ปานกลาง (MF) บางส่วน คือ ระหว่างความถี่ 550 – 1,600 kHz
3. การแพร่คลื่นฟ้า ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นสั้น ซึ่งจะครอบคลุม พื้นที่ในการส่งได้เป็นระยะทางไกลกว่าการส่งวิทยุกระจายเสียงอื่น

36. การส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม คลื่นปานกลาง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37. การส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม คลื่นสั้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

38. การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่าก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ก่อให้เกิดผลทั้งต่อสังคม บุคคล และกลุ่มเป็นแนวคิดของใคร
(1) ฮาร์โรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(2) ชาร์ลส์ อาร์, ไรท์
(3) เดนิส แมคเควส
(4) เบอร์นาด เบเรลสัน
ตอบ 2 หน้า 88 – 89 ชาร์ลส์ อาร์. ไรท์ (Charles R. Wright) ได้อธิบายถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ สื่อมวลชนว่าก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ก่อให้เกิดผลทั้งต่อสังคม บุคคล และกลุ่ม

39. ผลเสียของสื่อมวลชน “การทําให้ประชาชนมึนเมา” (Narcotization) ข้อใดไม่ถูก
(1) บุคคลเกิดความเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่สนใจในการควบคุมสิ่งแวดล้อม
(2) บุคคลอาจจะใช้เวลามากในการดูดซับข่าวจนกระทั่งตนเองทํางานเพียงเล็กน้อย
(3) บุคคลอาจมีความเชื่อว่าการเป็นคนที่รู้ข่าวสาร คือ การเป็นคนที่กระตือรือร้น
(4) บุคคลอาจเกิดความสันโดษ สนใจเรื่องส่วนตัวของตนมากกว่าสนใจเรื่องของส่วนรวม
ตอบ 4 หน้า 88 – 89, 91 หน้าที่ในการให้ข่าวสารของฮาร์โรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ส่งผลเสียต่อบุคคลประการหนึ่ง ได้แก่ การเข้าถึงข่าวสารจากสื่อมวลชนอาจทําให้บุคคลนั้น เกิดความเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่สนใจในการควบคุมสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ บุคคลอาจจะใช้เวลามาก ในการดูดซับข่าวจนกระทั่งตนเองทํางานเพียงเล็กน้อย และอาจมีความเชื่อว่าการเป็นคนที่รู้ ข่าวสาร คือ การเป็นคนที่กระตือรือร้น ซึ่งพอล เอฟ. ลาซาร์สเฟลด์ (Paul F. Lazarsfeld) และโรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) เรียกผลเสียของสื่อมวลชนในด้านนี้ว่า “การทําให้ประชาชนมึนเมา” (Narcotization)

40. หน้าที่ในการให้สถานภาพทางสังคม ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

41. ผลเสียของหน้าที่ในการสื่อสารที่ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 88, 94 – 95 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงของชาร์ลส์ อาร์. ไรท์ (Charles R. Wright) ส่งผลเสียดังนี้
1. ไม่สามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชนได้เท่าละครเวทีและ วรรณกรรมคลาสสิก
2. ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป
3. ทําให้นักกีฬากลายเป็น นักโฆษณาและนักขายสินค้า
4. เป็นการทําลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา

42. ผลเสียของหน้าที่ในการสื่อสารที่ลดบทบาทความเป็นส่วนตัวของบุคคลในกระบวนการเรียนรู้สังคม ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 3 หน้า 88 – 89, 93 – 94 หน้าที่ในการให้การศึกษาของฮาร์โรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ส่งผลเสีย คือ สื่อมวลชนลดบทบาทความเป็นส่วนตัวของบุคคลในกระบวนการ เรียนรู้ทางสังคม (Depersonalize the Process of Socialization)

43. การสนับสนุนความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ หลักการขององค์กร ตามความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การเผยแพร่ ตรงกับหน้าที่ข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการตีความ
(3) หน้าที่ในการแสดงออก
(4) หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

44. แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ หมายถึงข้อใด
(1) ระบบที่รัฐเป็นผู้ให้บริการ
(2) ระบบที่ธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ
(3) ระบบที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ให้บริการ
(4) ระบบที่รัฐและธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ
ตอบ 1 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Service System) หรือระบบที่ รัฐเป็นผู้ให้บริการ ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจาก สังคมประชาธิปไตยที่เน้นความเชื่อสังคมนิยมในการที่รัฐจะเข้ามาจัดระบบบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การคมนาคม ไฟฟ้า ประปา ตลอดจนระบบการสื่อสารโทรคมนาคม

45. แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี ประกอบด้วย มิติการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) สังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม
(2) สังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม
(3) สังคมอํานาจนิยมที่เน้นระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
(4) สังคมเผด็จการที่เน้นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม
ตอบ 2 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี (Free Market System) หรือระบบที่ธุรกิจเอกชน เป็นผู้ให้บริการ ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจาก สังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม

46. ดาวเทียมในระดับโลก หมายถึง
(1) Domsat
(2) Eutelsat
(3) Intersputnik
(4) Palapa
ตอบ 3 หน้า 80 ดาวเทียมในระดับโลก (Global Satellite) ที่อยู่ในวงโคจรโลกขณะนี้มีอยู่ 2 ดวง ได้แก่
1. ดาวเทียม Intelsat (International Telecommunication Satellite)
2. ดาวเทียม Intersputnik

47. เทคโนโลยีในการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ที่เป็นสถานีที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน ได้แก่
(1) สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต
(2) สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม
(3) สถานีที่ออกอากาศทางสายเคเบิล
(4) สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และ UHF
ตอบ 4 หน้า 82 เทคโนโลยีในการแพร่ภาพสถานีวิทยุโทรทัศน์ในโลกปัจจุบันนี้ มีดังนี้
1. สถานีที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน (Terrestrial Television หรือ Over-the air) ได้แก่ สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และระบบ UHF
2. สถานีที่ออกอากาศทางสายเคเบิล (Cable Television)
3. สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม ได้แก่ สถานีที่ใช้ดาวเทียมเชื่อมสัญญาณ หรือสถานีที่ ออกอากาศด้วยสัญญาณดาวเทียม (Direct Broadcast Satellite : DBS)
4. สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต (Web Television)

48. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย คือ
(1) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
(2) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง
(3) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท
(4) สถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 หน้า 34 – 35, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยทางราชการได้ทําพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการและถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7) ซึ่งถือเป็น จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย

49. ราดิโอ โทรเลข เป็นคําเรียกชื่อสื่อใด
(1) วิทยุโทรเลข
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุแบบแร่
ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคําเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่จะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก และภายหลัง ราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คําเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง”

50.Wireless หมายถึงข้อใด
(1) โทรศัพท์
(2) โทรเลข
(3) วิทยุ
(4) โทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 2 คําว่า “วิทยุกระจายเสียง” มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “วิทยุ” ในขณะที่ชาวอังกฤษนิยม ใช้คําดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Radio

51. Broadcasting หมายถึงข้อใด
(1) การแพร่ภาพ
(2) การกระจายเสียง
(3) การออกอากาศรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ไปสู่สาธารณชน
(4) การแสดงทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณชน
ตอบ 3 หน้า 1 คําว่า “Broadcasting” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ในขณะที่สารานุกรมบริแทนนิกาได้ให้ความหมายไว้ว่า “Broadcasting” คือ การออกอากาศ รายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ผู้รับซึ่งเป็นสาธารณชนทั่วไป

52. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(2) 10 ธันวาคม 2475
(3) 24 มิถุนายน 2498
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

53. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 10 ธันวาคม 2475
(2) 24 มิถุนายน 2498
(3) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 2 หน้า 42, 44 – 45 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทย ทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) ในสังกัดของสํานักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพ เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย

54. การส่งวิทยุกระจายเสียงที่ไม่ต้องใช้คลื่นความถี่เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงทั่วไป
หมายถึงข้อใด
(1) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์นัล
(2) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินฟราเรด
(3) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินทราเน็ต
ตอบ 3 หน้า 82 – 83 การส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการแปลง (Convert) ระบบกระจายเสียงจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital โดยไม่ต้องใช้คลื่นความถี่ เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งเมื่อคนต้องการฟัง และชมก็สามารถ Click เข้าไปที่ Website นั้น ๆ ได้ เรียกว่า Web-Radio และ Web-TV

55.กสทช. หมายถึงอะไร
(1) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(2) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(3) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(4) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ
ตอบ 3 ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรอิสระ ของรัฐองค์กรหนึ่งที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการ สรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสทช.” จํานวน 11 คน

56. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีรายได้ในการดําเนินกิจการจากข้อใด
(1) ค่าเช่าเวลาโฆษณาจากเจ้าของสินค้า
(2) ภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดิน
(3) ค่าเช่าเวลาจากบริษัทผู้ผลิตรายการ
(4) ภาษีค่าธรรมเนียมเครื่องรับโทรทัศน์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีรายได้ในการดําเนินกิจการ ด้วยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท จึงถือเป็นการจัดเก็บ ภาษีจากกลุ่มผู้ที่จําหน่ายสุราและยาสูบมาเป็นเงินบํารุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

57. รัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์
คือข้อใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2545
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรก ที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือ วิทยุและ โทรทัศน์ไทยไม่จําเป็นต้องเป็นของรัฐทั้งหมด แต่จะเปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม ซึ่งเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อนี้ก็ยังใช้ต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 มาตรา 47

58. แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยในรัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) State System
(2) Free Market System
(3) Public Service System
(4) Mixed System
ตอบ 4 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยปัจจุบันตาม รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่าง การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับการสื่อสารในตลาดเสรี) ทั้งนี้เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและ โทรทัศน์ไทยมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

59. กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2543
(3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ที่ออกมาฉบับล่าสุดและบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

60. การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพากันและกันทั่วทั้งโลก ตรงกับความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ระดับใด
(1) ระดับบุคคล
(2) ระดับสังคม
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับโลก
ตอบ 4 หน้า 7, 13 – 14 ความสําคัญของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ระดับโลก มีดังนี้
1. การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก
2. การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความบันเทิง
3. การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันทั่วทั้งโลก

61. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง คือข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 2 หน้า 102 – 104, (คําบรรยาย) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชนมีความเชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร และมองว่าผู้รับสารมี ลักษณะเฉื่อยชา จึงถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร โดยพิจารณาจาก
1. ความสามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมากได้โดยตรง และการเปิดรับของผู้รับสาร คือ สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่ และผู้รับสารก็จะต้องเปิดรับสื่อด้วย
2. มีอิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม และแนวคิดยกย่องผู้นํา ฯลฯ
3. มีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจํานวนมากในลักษณะคล้ายคลึงกัน ทําให้วิทยุและโทรทัศน์ กลายเป็น “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคม เกือบทั้งหมด

ข้อ 62 – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร

62. การทํางานร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน ฯลฯ
ตอบ 2 หน้า 105 นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์หลายท่าน เช่น แคลปเปอร์ (Klapper, 1960) เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง เนื่องจากผู้รับสารจะมีความฉลาด มีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจาก สื่อมวลชน ซึ่งผู้รับสารที่เปิดรับสื่อสามารถคิดและวิเคราะห์ ไม่ใช่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิด ของบุคคลมากมาย โดยอิทธิพลของสื่อมวลชนจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการทํางานร่วมกับ ปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน บรรยากาศทางสังคม ฯลฯ

63. ผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชา ถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

64. ผู้รับสารมีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

65. แคลปเปอร์ (1960)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

66. กระบวนการเลือกรับสาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

67. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

68. “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

69. อิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

70. มีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

71. ผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐอเมริกา ตรงกับข้อใด
(1) เออร์ลี เอ็ม. เทอร์รี่
(2) ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์
(3) เดวิด ซาร์นอฟ
(4) แฟรงค์ คอนราด
ตอบ 2 หน้า 155 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกกิจการ วิทยุกระจายเสียงของโลก โดยมีสถานีวิทยุอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นสถานีในยุคแรก ได้แก่ สถานี KCBS ถือเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยมีศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์ (Charles David Herrold) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง คนแรกของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุ WHA, WWJ และ KDKA

72.BBC World หมายถึงข้อใด
(1) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
(2) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหราชอาณาจักร
(3) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
(4) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของญี่ปุ่น
ตอบ 2 หน้า 163 – 165 การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร คือ สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาต่างประเทศ (BBC External Broadcasting Service) ซึ่งได้เริ่มส่ง กระจายเสียงคลื่นสั้นไปยังต่างประเทศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เรียกว่า Empire Service ทั้งนี้เพราะในช่วงระยะ 6 ปีแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก ต่อมาจึงขยายวงกว้างขึ้นจนเป็นบริการระดับโลก เรียกว่า BBC World Service (บีบีซี ภาคบริการโลก) เมื่อปี ค.ศ. 1988

ข้อ 73 – 75. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ
(2) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อบรรษัทสาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3

73. สหรัฐอเมริกา
ตอบ 1 หน้า 167, (คําบรรยาย) ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะ จัดตั้งขึ้นเพื่อการค้า (มีถึง 90%) และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อสาธารณะ (มีเพียง 10%) ก็ให้ถือว่า เป็นกิจการของเอกชน และดําเนินงานโดยระบบธุรกิจการค้าเอกชน (Private Ownership and Operation) ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะมิได้มีการจัดสรรคลื่นเอาไว้ให้แต่หน่วยราชการ ดังนั้นเอกชน นิติบุคคล องค์กรสาธารณะต่าง ๆ ก็มีสิทธิจัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้

74. อังกฤษ
ตอบ 5 หน้า 113, 165 – 165, 169, 172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ประเทศญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ
1. ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรและไม่มี โฆษณาธุรกิจการค้า แต่จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) ซึ่งมีลักษณะเหมือนบรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK)
2. ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) เป็นระบบการกระจายเสียงเพื่อการค้า ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

75. ญี่ปุ่น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76. แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

77. แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี ประกอบด้วย
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

78. แนวคิดการสื่อสารแบบผสมผสาน (Mixed System) ตรงกับข้อใด
(1) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารในตลาดเสรี
(2) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(3) การสื่อสารในตลาดเสรีผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(4) การสื่อสารระบบพหุนิยมผสมผสานกับการสื่อสารระบบข้ามชาติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

79. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ AM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

80. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

81. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้น นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

82. รัฐธรรมนูญฯ ฉบับใดที่นําไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 2 หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 วรรคสอง ได้กําหนดให้ มีองค์กรอิสระของรัฐจํานวนสององค์กรที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสช.” และมาตรา 46 ระบุว่า ให้มี คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กทช.”

83. การจัดตั้งองค์กรอิสระที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ณ เวลานี้มาจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

84. ผู้บัญญัติศัพท์คําว่า วิทยุกระจายเสียง หมายถึงข้อใด
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) ราชบัณฑิตยสถาน
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

85 กระบวนการสรรหา กสทช. มาจากกฎหมายฉบับใดปี
(1) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543
(2) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

86. ในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. ผู้ที่ทําหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่าจะมี กสทช. หมายถึงข้อใด
(1) กสช.
(2) กกช.
(3) กทช.
(4) กสท.
ตอบ 3 พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 78 ระบุว่า ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรอิสระของรัฐที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ (ในที่นี้คือ กสทช.) ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการตาม พ.ร.บ. นี้เป็นการชั่วคราว (ในที่นี้คือ กทช. เป็นผู้ทําหน้าที่แทนชั่วคราว จนกว่าจะมี กสทช. เกิดขึ้น)

87. การกําหนดแผนแม่บทเพื่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่กิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) กสทช.
(4) คสช.

ตอบ 3 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 27 ระบุให้ กสทช. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุ และแผนเลขหมายโทรคมนาคม
2. กําหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ

88. กฎหมายได้กําหนดให้กิจการวิทยุและโทรทัศน์มีใบอนุญาตประเภทใดบ้าง
(1) บริการสาธารณะ และบริการธุรกิจ
(2) บริการระดับชาติ ท้องถิ่น และระดับจังหวัด
(3) บริการสาธารณะ บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
(4) บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
ตอบ 3 พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 10 ระบุว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่มี 3 ประเภท ดังนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ
2. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน
3. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการธุรกิจ

89. กรณีพิพาทของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกับหน่วยงานคู่สัญญาใดที่นําไปสู่การลงโทษปิดสถานี
(1) กองทัพบก
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) อ.ส.ม.ท.
(4) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (ข่าว) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทยที่ถูกมาตรการลงโทษให้ปิดสถานี ตามคําตัดสิน ของศาลปกครองสูงสุด คือ ไอทีวี เนื่องจากไอทีวีเกิดกรณีพิพาทกับหน่วยงานคู่สัญญา คือ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในกรณีที่ไอทีวีผิดสัญญาการจ่ายค่าสัมปทาน และการเสนอรายการในช่วง Prime Time ไม่เป็นไปตามสัญญาการประมูลข้อ 2 แต่ต่อมา ศาลปกครองสูงสุดก็มีคําสั่งคุ้มครองให้ออกอากาศต่อไปได้ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า TITV โดยมีเงื่อนไขว่า ทันทีที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สถานีวิทยุโทรทัศน์ TITV ต้องเปลี่ยนเป็นทีวีสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ

90. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ตรงกับข้อใด
(1) สนับสนุนผู้ที่อยู่ในอํานาจที่ถูกต้อง
(2) การเผยแพร่ความรู้ ความคิด บรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับกันของสังคม
(3) ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
(4) การให้สถานภาพทางสังคม รายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 95, 99 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของมวลชนผู้รับสารประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล
(Personal Identity) ได้แก่
1. สนับสนุนค่านิยมส่วนตัวของบุคคล
2. ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
3. ทําให้บุคคลเข้าใจตนเองมากขึ้น

91. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) คือข้อใด
(1) การรณรงค์เป้าหมายหลักของสังคม เช่น การเมือง
(2) การจัดลําดับความสําคัญ และสร้างความสอดคล้องกันในสังคม
(3) การแสดงถึงความสัมพันธ์ของอํานาจต่าง ๆ ในสังคม າ ๆ
(4) การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม

ตอบ 4 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของสังคมประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) ได้แก่
1. การแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมย่อย และการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ ๆ
2. การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม

92. The advocate on media functions หมายถึงข้อใด
(1) นักสื่อสารมวลชน
(2) นักประชาสัมพันธ์
(3) มวลชนผู้รับสาร
(4) นักวิจารณ์
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 – เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ (The perspective of the “advocate on media functions) ได้แก่ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักสื่อสารการเมืองและธุรกิจ (Political and Business Communicators) นักรณรงค์ ฯลฯ ซึ่งทํางานให้หน่วยงานต่าง ๆ

93. บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อ สถานีวิทยุแห่งนี้ว่า “พีเจ” ซึ่งย่อมาจากคําว่า “บูรฉัตรไชยากร

94 NHK (Nippon Hoso Kyokai)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

95.CBS (Columbia Broadcasting System)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 113, 168 ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดําเนิน กิจการในรูปแบบของธุรกิจและมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณานั้น ในปัจจุบันจะมี เครือข่ายระดับชาติที่สําคัญ ได้แก่ CBS (Columbia Broadcasting System), ABC (American Broadcasting Company) as NBC (National Broadcasting Company)

96. PBS (Public Broadcasting Service)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 113, 168, (คําบรรยาย) PBS (Public Broadcasting Service) คือ ระบบวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร และมีรายได้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ PBS ได้จัดตั้งขึ้นมาในภายหลัง เพื่อผลิตรายการที่ส่งเสริมคุณค่าทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการสาธารณะ เช่น รายการสําหรับเด็ก รายการสําหรับการศึกษา เป็นต้น

97.“ITU” หมายถึงอะไร
(1) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป
(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก
ตอบ 3 หน้า 58, 115, 124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) มีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ

98. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ
1. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ
3. เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผู้ผลิตรายการ) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

99. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบ พหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทําให้เกิดระบบแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation.
ตอบ 3 หน้า 111, 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของระบบ พหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทําให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่าง แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

100. ระบบนี้มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี) คือ ดําเนินการในรูปตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกันอย่าง เต็มที่ (Competition) โดยเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด

CDM2201 (MCS1450) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพเบื้องต้น s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1450 (MCS 1400) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 กสทช. หมายถึงอะไร
(1) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(2) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(3) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(4) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ
ตอบ 3 ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญ” ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรอิสระของ รัฐองค์กรหนึ่งที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการสรรหา องค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสทช.” จํานวน 11 คน

2 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีรายได้ในการดําเนินกิจการจากข้อใด
(1) ค่าเช่าเวลาโฆษณาจากเจ้าของสินค้า
(2) ภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดิน
(3) ค่าเช่าเวลาจากบริษัทผู้ผลิตรายการ
(4) ภาษีค่าธรรมเนียมเครื่องรับโทรทัศน์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีรายได้ในการดําเนินกิจการ ด้วยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจาก สุราและยาสูบ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท จึงถือเป็นการ จัดเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ที่จําหน่ายสุราและยาสูบมาเป็นเงินบํารุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

3. รัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์
คือข้อใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2545
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือวิทยุและโทรทัศน์ไทยไม่จําเป็นต้องเป็นของรัฐทั้งหมด แต่จะเปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีและ เป็นธรรม ซึ่งเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อนี้ก็ยังใช้ต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 มาตรา 47

4. แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยในรัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) State System
(2) Free Market System
(3) Public Service System
(4) Mixed System

ตอบ 4 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยปัจจุบันตาม รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่าง ปี การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับการสื่อสารในตลาดเสรี) ทั้งนี้เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและ โทรทัศน์ไทยมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

5. กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 (3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ที่ออกมาฉบับล่าสุดและบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

6 การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพากันและกันทั่วทั้งโลก ตรงกับความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ระดับใด
(1) ระดับบุคคล
(2) ระดับสังคม
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับโลก
ตอบ 4 หน้า 7, 13 – 14 ความสําคัญของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ระดับโลก มีดังนี้ 1. การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก 2. การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความบันเทิง 3. การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันทั่วทั้งโลก

7 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย คือ
(1) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
(2) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง
(3) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท
(4) สถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 หน้า 34 – 36, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยทางราชการได้ทําพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการและถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7) ซึ่งถือเป็น จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย จากนั้นในปี พ.ศ. 2481 สถานีวิทยุแห่งนี้ก็ได้โอน กิจการมาสังกัดสํานักงานโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย”

8 ราดิโอ โทรเลข เป็นคําเรียกชื่อสื่อใด
(1) วิทยุโทรเลข
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุแบบแร่
ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคําเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่จะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก และภายหลัง ราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คําเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง

9 Wireless หมายถึงข้อใด
(1) โทรศัพท์
(2) โทรเลข
(3) วิทยุ
(4) โทรทัศน์

ตอบ 3 หน้า 2 คําว่า “วิทยุกระจายเสียง” มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “วิทยุ” ในขณะที่ชาวอังกฤษนิยม ใช้คําดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ Radio

10. Broadcasting หมายถึงข้อใด
(1) การแพร่ภาพ
(2) การกระจายเสียง
(3) การออกอากาศรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ไปสู่สาธารณชน
(4) การแสดงทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณชน
ตอบ 3 หน้า 1 คําว่า “Broadcasting” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ในขณะที่สารานุกรมบริแทนนิกาได้ให้ความหมายไว้ว่า “Broadcasting” คือ การออกอากาศ รายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ผู้รับซึ่งเป็นสาธารณชนทั่วไป

11. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(2) 10 ธันวาคม 2475
(3) 24 มิถุนายน 2498
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

12. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 10 ธันวาคม 2475
(2) 24 มิถุนายน 2498
(3) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 2 หน้า 42, 44 – 45 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) ในสังกัดของสํานักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย ดังนั้น กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) จึงมีอายุ 61 ปี

13. การส่งวิทยุกระจายเสียงที่ไม่ต้องใช้คลื่นความถี่เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงทั่วไป
หมายถึงข้อใด
(1) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์นัล
(2) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินฟราเรด
(3) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินทราเน็ต
ตอบ 3 หน้า 82 – 83 การส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการแปลง (Convert) ระบบกระจายเสียงจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital โดยไม่ต้องใช้คลื่นความถี่ เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งเมื่อคนต้องการฟัง และชมก็สามารถ Click เข้าไปที่ Website นั้น ๆ ได้ เรียกว่า Web-Radio และ Web-TV

14. องค์กรแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมและกํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย คือข้อใด
(1) กกช.
(2) กบว.
(3) กทช.
(4) กสทช.
ตอบ 2 หน้า 118 – 121, (คําบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทยได้ออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” (กบว.) ขึ้นเป็นองค์กรแรก เพื่อควบคุมและกํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่ต่อมาองค์กรนี้ก็ได้ถูกยุบเลิกไป และเกิดองค์กรอิสระต่าง ๆ ขึ้นมาตามลําดับ ได้แก่ กกช. กทช. กสช. และ กสทช. ในปัจจุบัน

15. เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ออกประกาศ คําแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐ ที่มีอํานาจในขณะนั้น สื่อได้ทําบทบาทนี้เพื่ออะไร
(1) เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ
(2) เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ
(3) เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
(4) เพื่อผลประโยชน์ขององค์กรสื่อ
ตอบ 2 เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยมักถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการนําเสนอประกาศ คําสั่ง และ คําแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐที่มีอํานาจในขณะนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากที่สุด

16. สื่อใดต่อไปนี้ที่มีผลต่อการครอบงําอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยมากที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของวิทยุโทรทัศน์ที่ทําให้เกิดประสิทธิภาพจูงใจมากกว่าสื่ออื่น คือ สามารถแสดงภาพให้เห็นจริงและประทับใจ เพราะการเห็นพร้อมการฟังจะมีประสิทธิภาพสูง จึงสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้วิทยุโทรทัศน์ยังสามารถส่งเสริมประสบการณ์ ได้ดีที่สุดเมื่อได้เสนอสาระอันเป็นรูปธรรม จึงทําให้กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุด และสามารถครอบงําอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยได้มากที่สุดในปัจจุบัน

17. การนําเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสํานักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก ตรงกับ
ผลกระทบข้อใด
(1) การไหลของข้อมูลข่าวสารทางเดียว
(2) การไหลของข้อมูลข่าวสารสองทาง
(3) การสื่อสารไร้พรมแดน
(4) การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
ตอบ 3(คําบรรยาย) การสื่อสารไร้พรมแดน (Globalization) มีผลกระทบในด้านลบประการหนึ่ง คือ การสื่อสารไร้พรมแดนจะทําให้ประเทศด้อยพัฒนาสูญเสียเอกราชทางวัฒนธรรมของตนเองหรือเกิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ทําให้ประเทศอภิมหาอํานาจโลกกลายเป็นศูนย์กลางในการไหลของข้อมูลข่าวสารที่สามารถครอบงําอุดมการณ์ความคิดของคนทั้งโลกได้ เช่น การนําเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสํานักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก

18. การควบคุมภายนอกของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด
(1) กลุ่มผลักดันทางสังคม
(2) กฎหมายทางอ้อม
(3) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์
(4) สมาคมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 125 – 127 โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. การควบคุมของรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช., การออกกฎหมาย ที่บังคับใช้โดยตรงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ที่ออกมา ในรูปของหนังสือเรียนและคําสั่งอื่น ๆ ฯลฯ
2. การควบคุมกันเอง ได้แก่ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้ง การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ฯลฯ
3. การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชม ผู้ฟัง, ผู้อุปถัมภ์รายการ และกลุ่มผลักดันทางสังคม

19. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยหน่วยงานใด
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(2) บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน)
(3) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(4) กรมประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

20. สถานีโทรทัศน์ใดที่ได้รับสัมปทานในการดําเนินงานจากหน่วยงานรัฐในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือ (1) โมเดิร์นไนน์ทีวี
(2) ช่อง 7
(3) NBT
(4) ช่อง 5
ตอบ 2 หน้า 47, 136 – 137 สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์สี กองทัพบกช่อง 7 จัดเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด) ได้รับสัมปทานในการดําเนินงานจากหน่วยงานของรัฐ (กองทัพบก) ในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ ซึ่งเริ่มแพร่ภาพออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

21. สถานีโทรทัศน์ใดที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
(1) NBT
(2) ITV
(3) TITV
(4) Thai PBS
ตอบ 2 หน้า 52, 54 — 56, (คําบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เกิดกระแสการเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งต่อมาก็ได้มีการ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ITV : Independent Television หรือทีวีเสรี ปัจจุบันคือ ไทยพีบีเอส) ขึ้นมา เพื่อเสนอข่าวสารอย่างเป็นกลางโดยปราศจากอํานาจของรัฐและนายทุนจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการเสนอรายการข่าวครั้งใหญ่ในประเทศไทย

22. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550
(2) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
(3) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
(4) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
ตอบ 2 (ข่าว) ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมี สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส (TPBS)หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรก ของประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานัก นายกรัฐมนตรี (สปน.)

23. สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน ได้แก่
(1) สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และระบบ UHF
(2) สถานีที่ออกอากาศทางเคเบิล
(3) สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม
(4) สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 หน้า 82 สถานีวิทยุโทรทัศน์ในโลกปัจจุบันนี้มีวิธีการแพร่ภาพโดยอาศัยเทคโนโลยี ดังนี้
1. สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน (Terrestrial Television หรือ Over-the air) ได้แก่ สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และระบบ UHF
2. สถานีที่ออกอากาศทางสายเคเบิล (Cable Television)
3. สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม ได้แก่ สถานีที่ใช้ดาวเทียมเชื่อมสัญญาณ หรือสถานีที่ออกอากาศด้วยสัญญาณดาวเทียม (Direct Broadcast Satellite : DBS)
4. สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต (Web Television)

24. ผลเสียที่ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 88, 94 – 95 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามแนวความคิดของไรท์ มีผลเสียดังนี้
1. ไม่สามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชนได้เท่าละครเวทีและวรรณกรรมคลาสสิก
2. ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป
3. ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า
4. เป็นการทําลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา

25 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
(1) บุคคล กลุ่ม สังคม
(2) บุคคล สังคม สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
(3) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร นักสื่อสารมวลชน
(4) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
ตอบ 4 หน้า 95 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการ ให้สื่อมวลชนทําอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทําหน้าที่อะไรให้แก่ตนและสังคม ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่
1. สังคม (Society)
2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate)
3. สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media/Mass Communicators)
4. มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

26. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร ตรงกับข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 2 หน้า 102 – 104, (คําบรรยาย) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร และมองว่าผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชา จึงถูกกระทํา จากข้อมูลข่าวสาร โดยพิจารณาจาก
1. ความสามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมากได้ โดยตรง และการเปิดรับของผู้รับสาร คือ สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่ และผู้รับสารก็จะต้องเปิดรับสื่อด้วย
2. มีอิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม และแนวคิดยกย่องผู้นํา ฯลฯ
3. มีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจํานวนมากใน ลักษณะคล้ายคลึงกัน ทําให้วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็น “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคมเกือบทั้งหมด

27. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง ตรงกับข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 1 หน้า 105 นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์หลายท่าน เช่น แคลปเปอร์ (Klapper) เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง เนื่องจากผู้รับสาร จะมีความฉลาด มีควากระตือรือร้น และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจาก สื่อมวลชน ซึ่งผู้รับสารที่เปิดรับสื่อสามารถคิดและวิเคราะห์ ไม่ใช่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิด ของบุคคลมากมาย โดยอิทธิพลของสื่อมวลชนจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการทํางานร่วมกับ ปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน บรรยากาศทางสังคม ฯลฯ

ข้อ 28 – 36. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร

28. อิทธิพลของสื่อมวลชนขึ้นกับการทํางานร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน ฯลฯ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. ผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชา ถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

30. ผู้รับสารมีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

31. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
ตอบ 3 หน้า 106 – 107 แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร ทางอ้อม โดยอาศัยปัจจัยเสริมต่าง ๆ ได้แก่
1. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
2. กระบวนการเลือกรับสาร
3. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
4. ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสาร

32. กระบวนการเลือกรับสาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

34. “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

35. อิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

36. สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

37. ผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐอเมริกา ตรงกับข้อใด
(1) เออร์ลี เอ็ม. เทอร์รี่
(2) ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์
(3) เดวิด ซาร์นอฟ
(4) แฟรงค์ คอนราด
ตอบ 2 หน้า 155 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกกิจการ วิทยุกระจายเสียงของโลก โดยมีสถานีวิทยุอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นสถานีในยุคแรก ได้แก่ สถานี KCBS ถือเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยมีศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์ (Charles David Herrold) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง คนแรกของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุ WHA, WWJ และ KDKA

38. BBC World หมายถึงข้อใด
(1) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
(2) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหราชอาณาจักร
(3) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
(4) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของญี่ปุ่น
ตอบ 2 หน้า 163 – 165 การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร คือ สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาต่างประเทศ (BBC External Broadcasting Service) ซึ่งได้เริ่มส่ง กระจายเสียงคลื่นสั้นไปยังต่างประเทศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เรียกว่า Empire Service ทั้งนี้เพราะในช่วงระยะ 6 ปีแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก ต่อมาจึงขยายวงกว้างขึ้นจนเป็นบริการระดับโลก เรียกว่า BBC World Service (บีบีซี ภาคบริการโลก) เมื่อปี ค.ศ. 1988

ข้อ 39 – 41. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ
(2) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อบรรษัทสาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3

39. สหรัฐอเมริกา
ตอบ 1
หน้า 167, (คําบรรยาย) ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะ จัดตั้งขึ้นเพื่อการค้า (มีถึง 90%) และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อสาธารณะ (มีเพียง 10%) ก็ให้ถือว่า เป็นกิจการของเอกชน และดําเนินงานโดยระบบธุรกิจการค้าเอกชน (Private Ownership and Operation) ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะมิได้มีการจัดสรรคลื่นเอาไว้ให้แต่หน่วยราชการ ดังนั้น เอกชน นิติบุคคล องค์กรสาธารณะต่าง ๆ ก็มีสิทธิจัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้

40. อังกฤษ
ตอบ 5
หน้า 113, 165 – 166, 169, 172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ประเทศญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ
1. ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรและไม่มี โฆษณาธุรกิจการค้า แต่จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) ซึ่งมีลักษณะเหมือนบรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK)
2. ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) เป็นระบบการกระจายเสียงเพื่อการค้า ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

41. ญี่ปุ่น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

42. แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประกอบด้วยมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม

ตอบ 2 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Service System) ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจากสังคมประชาธิปไตยที่เน้นความเชื่อ สังคมนิยมในการที่รัฐจะเข้ามาจัดระบบบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การคมนาคม ไฟฟ้า ประปา ตลอดจนระบบการสื่อสารโทรคมนาคม

43. แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี ประกอบด้วยมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 1 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี (Free Market System) ประกอบด้วยมิติทางการเมือง และเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจากสังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม

44 แนวคิดการสื่อสารแบบผสมผสาน (Mixed System) ตรงกับข้อใด
(1) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารในตลาดเสรี
(2) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(3) การสื่อสารในตลาดเสรีผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(4) การสื่อสารระบบพหุนิยมผสมผสานกับการสื่อสารระบบข้ามชาติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

45. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ AM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 2 หน้า 67 – 69 การแพร่คลื่นทางวิทยุกระจายเสียงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การแพร่คลื่นตรง ใช้กับการส่งคลื่นวิทยุของระบบเอฟเอ็ม (FM) ซึ่งส่งในแถบความถี่สูงมาก (VHF)
2. การแพร่คลื่นพื้นดิน ใช้กับการส่งคลื่นวิทยุของระบบเอเอ็ม (AM) ซึ่งส่งในแถบความถี่ ปานกลาง (MF) บางส่วน คือ ระหว่างความถี่ 550 – 1,600 kHz
3. การแพร่คลื่นฟ้า ใช้กับการส่งคลื่นวิทยุของระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นสั้น ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ ในการส่งได้เป็นระยะทางไกลกว่าการส่งวิทยุกระจายเสียงอื่น

46. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้น นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48. รัฐธรรมนูญฉบับใดที่นําไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 2 หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 วรรคสอง ได้กําหนดให้ มีองค์กรอิสระของรัฐจํานวนสององค์กรที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการ ตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสช.” และมาตรา 46 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กทช.”

49. การจัดตั้งองค์กรอิสระที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ณ เวลานี้มาจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

50. เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด
(1) การออกกําลังกาย
(2) การสอนทําอาหารไทย
(3) การบรรยายธรรม
(4) การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์
ตอบ 3(คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคํานึงหรือจินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ
1. ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
2. แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ
3. ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ
4. การจูงใจให้คิดหรือทํา (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

51. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจมากกว่าสื่อมวลชน เป็นแนวคิดของใคร
(1) วิลเบอร์ แซรมม์
(2) พอล ลาซาร์สเฟลด์
(3) ออกูส กงเต้ เฟอร์ดินันท์
(4) นักทฤษฎีสังคมมวลชน
ตอบ 2 หน้า 107, (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ) พอล ลาซาร์สเฟลด์ (Paul Lazarsfeld) เป็นนักวิชาการ ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดการไหลของข่าวสาร 2 ระดับ (Two-step Flow) และพบว่าอิทธิพลของบุคคล (Personal Influence) และผู้นําความคิด (Opinion Leader) หรือคนใกล้ตัว เป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนมากกว่าสื่อมวลชน

52. ผู้รับสารมีความฉลาด และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ตามแนวคิดนี้
ตรงกับข้อใด
(1) วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) วิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง
(3) วิทยุและโทรทัศน์ทําให้เกิดผลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อทุกคนในลักษณะคล้ายคลึงกัน
(4) วิทยุและโทรทัศน์จะสนับสนุนทัศนคติ ค่านิยม และแนวโน้มด้านพฤติกรรมของประชาชนให้มี
ความเข้มแข็งขึ้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

53. ปัจจัยเสริมที่ทําให้วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม หมายถึงข้อใด
(1) ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารจําเป็นต้องพึ่งพามาก
(2) การสามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมาก
(3) การนําเสนอเรื่องราว กิจกรรมซ้ำ ๆ บ่อย ๆ
(4) ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

54. สัญญาณเรียกขานประเทศไทยที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศกําหนดให้ คือ
(1) AS
(2) HS
(3) JS
(4) SS
ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กําหนดคํานําหน้า สัญญาณเรียกขาน (Prefix) สําหรับสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อตกลง ระหว่างประเทศที่จะเข้าใจได้อย่างตรงกัน โดยแต่ละประเทศจะมีคํานําหน้าสัญญาณเรียกขาน ที่กําหนดให้สําหรับประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศไทยมีคํานําหน้าสัญญาณเรียกขาน คือ HS และ E2 เป็นต้น

55. วิทยุเอฟเอ็ม ส่งในย่านความถี่ใด
(1) LF
(2) MF
(3) HF
(4) VHF
ตอบ 4 หน้า 59 การจําแนกแถบคลื่นความถี่วิทยุตามลักษณะการใช้งานด้านการกระจายเสียง ตามข้อบังคับวิทยุของ ITU เมื่อ พ.ศ. 2490 มีดังนี้
1. ความถี่ต่ำ (LF) ได้แก่ 30 – 300 kHz ใช้ส่งได้ในระยะใกล้ ๆ
2. ความถี่ปานกลาง (MF) ได้แก่ 300 – 3,000 kHz ใช้ส่งวิทยุเอเอ็ม (AM)
3. ความถี่สูง (HF) ได้แก่ 3 – 30 MHz ใช้ส่งวิทยุคลื่นสั้นและวิทยุตํารวจ
4. ความถี่สูงมาก (VHF) ได้แก่ 30 – 300 MHz ใช้ส่งวิทยุเอฟเอ็ม (FM) และส่งโทรทัศน์
ระบบ VHF
5. ความถี่เหนือสูง (UHF) ได้แก่ 300 – 3,000 MHz ใช้ส่งโทรทัศน์ระบบ UHF วิทยุของ
หน่วยราชการ และโทรศัพท์มือถือ
6. ความถี่สูงพิเศษ (SF) ได้แก่ 3,000 – 30,000 MHz ใช้ส่งโทรทัศน์ระบบไมโครเวฟ ดาวเทียมสื่อสาร เรดาห์ตรวจพายุ และสงวนไว้สําหรับกิจการทหาร

56. ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์ระบบ 525 เส้น จะมีจํานวนภาพเท่าใดต่อวินาที
(1) 24 ภาพ/วินาที
(2) 25 ภาพ/วินาที
(3) 30 ภาพ/วินาที
(4) 35 ภาพ/วินาที
ตอบ 3 หน้า 70 วิทยุโทรทัศน์ระบบ 525 เส้น จะมีภาพนิ่งปรากฏบนจอโทรทัศน์จํานวน 30 ภาพ/วินาที แต่ถ้าเป็นวิทยุโทรทัศน์ระบบ 625 เส้น จะมีภาพนิ่งปรากฏบนจอโทรทัศน์จํานวน 25 ภาพ/วินาที

57. ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์ระบบ 625 เส้น จะมีจํานวนภาพเท่าใดต่อวินาที
(1) 24 ภาพ/วินาที
(2) 25 ภาพ/วินาที
(3) 30 ภาพ/วินาที
(4) 35 ภาพ/วินาที
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. ระบบส่งโทรทัศน์ทางสายเคเบิลโดยตรง จัดเป็นเคเบิลทีวีประเภท
(1) CATV
(2) CTV
(3) RSTV
(4) DBS
ตอบ 1 หน้า 77 เคเบิลทีวีแบ่งตามลักษณะการส่งสัญญาณได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบการส่งวิทยุโทรทัศน์ทางสายเคเบิลโดยตรง (Community Antenna Television : CATV)
2. ระบบการส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ (Radiated Subscription Television : RSTV) เป็นระบบส่งสัญญาณแบบไมโครเวฟ และใช้ความถี่แบบ MMSD
3. เคเบิลทีวีระบบดาวเทียม จะใช้คลื่นไมโครเวฟเหมือนกัน แต่ในย่านความถี่สูงกว่าไมโครเวฟ ที่ส่งด้วย RSTV เรียกว่า ย่านความถี่ C-BAND หรือ KU-BAND

59. นักวิทยาศาสตร์คํานวณให้ดาวเทียมโคจรรอบโลกให้สูงจากพื้นโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรกี่กิโลเมตร
(1) 36,000 กม.
(2) 38,000 กม.
(3) 40,000 กม.
(4) 42,000 กม.
ตอบ 1 หน้า 79 จากการคํานวณของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ตําแหน่งเหมาะสมที่จะให้ดาวเทียม โคจรรอบโลก โดยให้ลอยสูงจากพื้นโลกเหนือเส้นศูนย์สูตร คือ ประมาณ 36,000 กิโลเมตร

60. ผู้เสนอแนวคิดดาวเทียมค้างฟ้า คือ
(1) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(2) อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก
(3) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน
ตอบ 2 หน้า 79 ในปัจจุบันเราเรียกดาวเทียมที่ดูเหมือนว่าลอยอยู่นิ่ง เมื่อเทียบกับโลกหมุนรอบ ตัวเองว่า “ดาวเทียมค้างฟ้า” (Geostationalry Satellite) และแถบบริเวณที่ดาวเทียมค้างฟ้า ลอยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรรอบโลกเราจะเรียกว่า “เข็มขัดของคลาร์ก” (Clarke ‘s Belt) ตามชื่อของผู้เสนอแนวความคิดนี้ คือ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. Clarke)

61.Intelsat ถือเป็นดาวเทียมระดับใด
(1) ระดับโลก
(2) ระดับภูมิภาค
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับท้องถิ่น
ตอบ 1หน้า 80 – 81 ดาวเทียมในระดับโลก ซึ่งอยู่ในวงโคจรโลกขณะนี้มีอยู่ 2 ดวง ได้แก่
1. ดาวเทียม Intelsat เป็นองค์กรดาวเทียมโทรคมนาคมระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1964 ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 49 ใช้บริการดาวเทียมดวงนี้ผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทย
2. ดาวเทียม Intersputnik เป็นองค์กรดาวเทียมโทรคมนาคมระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1971 โดยกลุ่มประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยม

62. ระบบการทําข่าวผ่านดาวเทียม หมายถึงข้อใด
(1) DTH
(2) SNG
(3) MMSD
(4) RSTV
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบการทําข่าวผ่านดาวเทียม (Satellite News Gathering : SNG) เป็นการ พัฒนาการทําข่าว ณ จุดเกิดเหตุ และส่งสัญญาณภาพกลับไปยังสถานีแม่เพื่อแพร่ภาพ ผ่านดาวเทียม โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดเล็กกะทัดรัดที่สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น

63.“Carrier Wave” หมายถึงข้อใด
(1) คลื่นยาว
(2) คลื่นวิทยุ
(3) คลื่นเสียง
(4) คลื่นสั้น
ตอบ 2 หน้า 62 คลื่นวิทยุมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คลื่นพาหะ (Carrier Wave) หรือคลื่นพาห์” ซึ่งการเรียกคลื่นวิทยุที่เครื่องส่งผลิตขึ้นว่าคลื่นพาห์ เนื่องจากคลื่นวิทยุทําหน้าที่เป็นพาหนะของคลื่นเสียง หรือเป็นตัวพาเสียงไปสู่ผู้ฟังที่อยู่ห่างไกลให้รับได้นั่นเอง

64. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบไมโครเวฟ ใช้คลื่นความถี่ประเภทใด
(1) HF
(2) SHF
(3) UHF
(4) VHF
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

65. ความเหมาะสมของสารที่ส่งในการกระจายเสียงระบบเอเอ็ม รายการประเภทใดต่อไปนี้ที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด
(1) รายการข่าว
(2) รายการเพลง
(3) รายการสนทนา
(4) รายการสารคดี

ตอบ 2 หน้า 67 – 68 ในเรื่องความเหมาะสมของสารที่จะส่งนั้น การกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) เหมาะกับการกระจายเสียงพูด เช่น รายการข่าว รายการอภิปรายหรือสนทนา รายการสารคดี ฯลฯ ส่วนการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) จะเหมาะกับรายการดนตรีหรือเพลง เช่น รายการดนตรี จากแผ่นเสียงและจากการแสดงสด ซึ่งจะให้ความไพเราะและสุนทรียรสกับผู้ฟังมากกว่า

66. การส่งกระจายเสียงในระบบ FM เป็นการผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุอย่างไร
(1) ทางด้านความกว้างของรูปคลื่น (Amplitude)
(2) ทางด้านความยาวของคลื่น (Wave Length)
(3) ทางด้านความถี่ (Frequency)
(4) ทางด้านความเร็ว (Speed Rate)
ตอบ 3 หน้า 63, 65, 67 ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่ 2 ระบบ ได้แก่
1. ระบบเอเอ็ม (AM) หมายถึง การผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุทางด้านความกว้างของรูปคลื่น (Amplitude) ทําให้ความกว้างของคลื่นสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามลักษณะเสียงที่เข้าไปผสม
2. ระบบเอฟเอ็ม (FM) หมายถึง การผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุทางด้านความถี่ (Frequency) ซึ่งเมื่อผสมกันแล้วคลื่นเสียงจะควบคุมให้ความถี่เปลี่ยนไปบ้างห่างบ้าง

67. การครอบคลุมพื้นที่ในการแพร่ของคลื่นวิทยุประเภทใดที่สามารถส่งได้เป็นระยะทางไกล
(1) คลื่นพื้นดิน
(2) คลื่นฟ้า
(3) คลื่นตรง
(4) คลื่นอ้อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

68. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เสรี หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ทีวีไทย
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

69. สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ทีวีไทย
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT
ตอบ 4 หน้า 50 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท. ในปัจจุบัน) จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทําหน้าที่ให้ความรู้ ให้การศึกษา เผยแพร่ข่าวสารการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐ และให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แม่ข่ายเพื่อถ่ายทอดไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนภูมิภาคในลักษณะเครือข่าย โดยเชื่อมโยงสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือระบบดาวเทียมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

70. ผลเสียต่อบุคคล การทําให้ประชาชนมึนเมา ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 89, 91 ไรท์ (Wright) อธิบายถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนว่า ก่อให้เกิดผลเสียต่อบุคคล ดังนี้
1. ข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายสามารถเพิ่มความวิตกกังวลให้แก่บุคคลได้
2. การได้รับข่าวสารมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสันโดษแก่บุคคลได้
3. การเข้าถึงข่าวสารจากสื่อมวลชนอาจทําให้บุคคลเกิดความเฉยเมย เฉื่อยชา และไม่สนใจทํางาน ซึ่งเป็นผลเสียที่เรียกว่า “การทําให้ประชาชนมึนเมา” (Narcotization)

71. ผลเสียต่อวัฒนธรรม ทําให้เกิดการรุกรานทางวัฒนธรรม ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 89, 92 ไรท์ (Wright) อธิบายถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนว่า ก่อให้เกิดผลเสียต่อวัฒนธรรม คือ การเผยแพร่ข่าวสารโดยไม่มีการควบคุมจะทําให้เกิดการรุกราน ทางวัฒนธรรมและทําลายวัฒนธรรมที่ดีงามของเราเอง เช่น กิริยามารยาทของไทย การแต่งกาย ความเสื่อมเสียทางศีลธรรม การมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงาน การสําส่อนทางเพศ การอยู่แบบสามีภรรยาเป็นเวลานานก่อนแต่งงาน ฯลฯ

72. ผู้บัญญัติศัพท์คําว่า วิทยุกระจายเสียง หมายถึงข้อใด
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) ราชบัณฑิตยสถาน
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

73 กระบวนการสรรหา กสทช. มาจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543
(2) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

74. ในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. ผู้ที่ทําหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่าจะมี กสทช. หมายถึงข้อใด
(1) กสช.
(2) กกช.
(3) กทช.
(4) กสท.
ตอบ 3 พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 78 ระบุว่า ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรอิสระของรัฐที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ (ในที่นี้คือกสทช.) ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการ ตาม พ.ร.บ. นี้เป็นการชั่วคราว (ในที่นี้คือ กทช. เป็นผู้ทําหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่าจะมี กสทช. เกิดขึ้น)

75. การกําหนดแผนแม่บทเพื่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่กิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) กสทช.
(4) คสช.
ตอบ 3 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 27 ระบุให้ กสทช. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมแผนความถี่วิทยุ และแผนเลขหมายโทรคมนาคม
2. กําหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ

76. กฎหมายได้กําหนดให้กิจการวิทยุและโทรทัศน์มีใบอนุญาตประเภทใดบ้าง
(1) บริการสาธารณะ และบริการธุรกิจ
(2) บริการระดับชาติ ท้องถิ่น และระดับจังหวัด
(3) บริการสาธารณะ บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
(4) บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
ตอบ 3 พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 10 ระบุว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่มี 3 ประเภท ดังนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ
2. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน
3. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการธุรกิจ

77. กรณีพิพาทของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกับหน่วยงานคู่สัญญาใดที่นําไปสู่การลงโทษปิดสถานี
(1) กองทัพบก
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) อ.ส.ม.ท.
(4) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (ข่าว) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทยที่ถูกมาตรการลงโทษให้ปิดสถานี ตามคําตัดสิน ของศาลปกครองสูงสุด คือ ไอทีวี เนื่องจากไอทีวีเกิดกรณีพิพาทกับหน่วยงานคู่สัญญา คือ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในกรณีที่ไอทีวีผิดสัญญาการจ่ายค่าสัมปทาน และการเสนอรายการในช่วง Prime Time ไม่เป็นไปตามสัญญาการประมูลข้อ 2 แต่ต่อมา ศาลปกครองสูงสุดก็มีคําสั่งคุ้มครองให้ออกอากาศต่อไปได้ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า TITV โดยมีเงื่อนไขว่า ทันทีที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สถานีวิทยุโทรทัศน์ TITV ต้องเปลี่ยนเป็นทีวีสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ

78. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ตรงกับข้อใด
(1) สนับสนุนผู้ที่อยู่ในอํานาจที่ถูกต้อง
(2) การเผยแพร่ความรู้ ความคิด บรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับกันของสังคม
(3) ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
(4) การให้สถานภาพทางสังคม รายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 95, 99 เดนิส เมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนในการ สร้างเอกลักษณ์ของบุคคล (Personal Identity) ตามแนวความคิดของมวลชนผู้รับสาร ได้แก่
1. สนับสนุนค่านิยมส่วนตัวของบุคคล
2. ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
3. ทําให้บุคคลเข้าใจตนเองมากขึ้น

79. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) คือข้อใด
(1) การรณรงค์เป้าหมายหลักของสังคม เช่น การเมือง
(2) การจัดลําดับความสําคัญ และสร้างความสอดคล้องกันในสังคม
(3) การแสดงถึงความสัมพันธ์ของอํานาจต่าง ๆ ในสังคม
(4) การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม
ตอบ 4 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนในการ สร้างความต่อเนื่อง (Continuity) ตามแนวความคิดของสังคม ได้แก่
1. การแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมย่อย และการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ ๆ
2. การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม

80. The advocate on media functions หมายถึงข้อใด
(1) นักสื่อสารมวลชน
(2) นักประชาสัมพันธ์
(3) มวลชนผู้รับสาร
(4) นักวิจารณ์

ตอบ 2 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ (The perspective of the “advocate on media functions) ได้แก่ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักสื่อสารการเมืองและธุรกิจ (Political and Business Communicators) นักรณรงค์ ฯลฯ ซึ่งทํางานให้หน่วยงานต่าง ๆ

81. บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อ สถานีวิทยุแห่งนี้ว่า “ทีเจ” ซึ่งย่อมาจากคําว่า “บูรฉัตรไชยากร

82. บุคคลที่บัญญัติคําว่า วิทยุโทรทัศน์ หมายถึงใคร
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 1 หน้า 3, 81 คําว่า “Television” นี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์และได้ บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า “วิทยุโทรทัศน์” (มักเรียกสั้น ๆ ว่า โทรทัศน์) ซึ่งหมายถึง การส่งและรับสัญญาณภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

83. บุคคลใดที่ได้นําเครื่องรับวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในไทย
(1) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
ตอบ 1 หน้า 32 ใน พ.ศ. 2450 กรมทหารเรือที่มีจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เป็นผู้บัญชาการ ได้นําเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้ในราชการทหาร เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีเดียวกันนี้กองทัพบกที่มีเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์เป็นเสนาธิการก็ได้สั่งเครื่องวิทยุสนามแบบมาร์โคนีมาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

84. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค เป็นความคิดริเริ่มของใคร
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, 149 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคนั้น เป็นความคิดริเริ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยท่านเล็งเห็นว่า วิทยุโทรทัศน์มีข้อจํากัดที่ไม่สามารถจะแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ จึงบัญชาให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยให้ทําหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่าย ในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2503

85. สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) ช่อง 3
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

86. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

87. ข้อใดเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
(1) ช่อง 3, ช่อง 3 HD
(2) ช่อง NBT, ช่อง MCOT
(3) ช่อง 7, ช่อง 7 HD
(4) ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องโมโน 29
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ใน พ.ศ. 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยแพร่ภาพคู่ขนานทั้ง 2 ระบบ ดังนี้
1. ระบบอนาล็อก คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติของไทย หรือฟรีทีวี (Free TV)
ที่ออกอากาศผ่านระบบเดิม มี 6 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3, 5, 7, 9 (MCOT หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี) 11 (NBT หรือ สทท.) และ TPBS (ทีวีไทย)
2. ระบบดิจิตอล คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่เกิดขึ้นมาภายหลัง หรือฟรีทีวี (Free TV) ที่ออกอากาศ ผ่านระบบดิจิตอล ได้แก่ ช่อง 3 HD, BBTV CH7, MCOT HD, PPTV, TNN 24, ไทยรัฐทีวี, โมโน 29, Spring News, New TV ฯลฯ

88. การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุเพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของไทยนั้น
ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ คือ
(1) คสช.
(2) กสทช.
(3) กรมประชาสัมพันธ์
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

89. องค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาล
ของแต่ละประเทศ คือองค์กรใด
(1) ABU
(2) EBU
(3) ITU
(4) RTU
ตอบ 3 หน้า 58, 115, 124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) มีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ

90. “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก” คือ
(1) ลี เดอ ฟอเรสต์
(2) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(3) เฮนริช เฮิรตซ์
(4) ถูกลิเอลโม มาร์โคนี
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 ใน พ.ศ. 2438 ถูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (Wireless Telegraph) สําเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้นําเอา การทดลองนี้ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

91. บุคคลแรกที่เป็นผู้นําเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จ คือ
(1) เฮนริช เฮิรตซ์
(2) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(3) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92.NHK (Nippon Hoso Kyokai)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

93.CBS (Columbia Broadcasting System)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 113, 168 ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดําเนินกิจการ ในรูปแบบของธุรกิจและมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณานั้น ในปัจจุบันจะมีเครือข่าย ระดับชาติที่สําคัญ ได้แก่ CBS (Columbia Broadcasting System), ABC (American Broadcasting Company) และ NBC (National Broadcasting Company)

94.PBS (Public Broadcasting Service)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 113, 168, (คําบรรยาย) PBS (Public Broadcasting Service) คือ ระบบวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร และมีรายได้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางของ สหรัฐอเมริกาที่ได้จัดตั้งขึ้นมาในภายหลัง เพื่อผลิตรายการที่ส่งเสริมคุณค่าทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการสาธารณะ เช่น รายการสําหรับเด็ก รายการสําหรับการศึกษา เป็นต้น

95.“ABU” หมายถึงอะไร
(1) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป
(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก
ตอบ 4 หน้า 115, 124 สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก (The Asian Pacific Broadcasting Union : ABU) มีสํานักงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่บริหารงานด้านการกระจายเสียงและให้ความร่วมมือกับประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศไทยก็มีความสัมพันธ์ด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสารรายการโดยผ่านสถาบันนี้

96. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ
1. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ
3. เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผู้ผลิตรายการ) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

97. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทําให้เกิดระบบแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 3 หน้า 111, 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของ ระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทําให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

98. ระบบนี้มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภค จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี) หรือระบบที่ธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ คือ ดําเนินการในรูป ตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกันอย่างเต็มที่ (Competition) โดยเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่ สมบูรณ์แล้วจะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด

99. ระบบนี้มีความเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันและ ในราคาที่เหมาะสม รัฐจึงมีความชอบธรรมในการดําเนินการแบบผูกขาด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) ประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) หรือระบบที่รัฐเป็น ผู้ให้บริการ โดยเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่าง เท่าเทียมกันและในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะดําเนินการผูกขาดในการ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์

100. ข้อใดหมายถึง สื่อทางเลือกของประชาชน
(1) การถ่ายทอดรายการของสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
(2) การถ่ายทอดรายการ คสช. คืนความสุขให้ประชาชน
(3) การดูรายการต่าง ๆ ทางสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น ยูทูป
(4) การฟังรายการข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สื่อทางเลือกหรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสารให้แก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับรู้ข่าวสาร ที่แตกต่างออกไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งมักจะถูกกําหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน เช่น สถานีวิทยุชุมชน, สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต, โทรทัศน์ดาวเทียม, เคเบิลทีวี ฯลฯ

CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2302 (MCS 2260) หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว
คําแนะนํา – ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ เป็นข้อสอบอัตนัย
– นักศึกษาที่ไม่ได้ส่งงาน/ส่งไม่ครบ ให้ทําข้อสอบทุกข้อ
– นักศึกษาที่ส่งงาน ให้เลือกทําข้อสอบให้ได้คะแนนรวม 70 คะแนน

ข้อ 1. ให้อธิบายวิธีวางแผนการทําข่าวของผู้สื่อข่าว แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ขั้นตอนการวางแผนการทําข่าว มีดังนี้

– กําหนดประเด็นข่าวที่สนใจเบื้องต้น
– ประชุมกองบรรณาธิการเพื่อระดมสมอง และเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
– ทําแผนผังของเรื่องเพื่อให้เห็นภาพการหาประเด็นข่าวที่ชัดเจนขึ้น
– กําหนดแหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นบุคคล เอกสาร ข้อมูล และหลักฐานต่าง ๆ
– ร่างกรอบคําถามในแต่ละประเด็น สําหรับแหล่งข่าวแต่ละคน
– กําหนดกรอบเวลาการทํางานในแต่ละช่วง
– ลงพื้นที่จริง สัมภาษณ์แหล่งข่าว และเก็บข้อมูล
– ประเมินสถานการณ์ในกรณีที่แผนที่กําหนดไว้ไม่เป็นไปตามแผน โดยต้องสามารถ
ปรับเปลี่ยนการทํางานได้เสมอ

สาเหตุที่ต้องวางแผนการทําข่าว มีดังนี้

– เพื่อลดความไม่แน่นอนและปัญหาความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการลงพื้นที่
ทําข่าวจริง
– ต้องวางแผนการทําข่าวเมื่อเกิดประเด็นข่าวใหม่
– เพื่อให้การทําข่าวบรรลุผลตามแผนที่วางไว้
– เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาในการทํางาน เช่น ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความทับซ้อนกัน และลงพื้นที่ ครั้งเดียวสามารถนํามาแตกขยายได้หลายประเด็น
– เพื่อกําหนดกรอบเวลาในการทํางาน
– สามารถช่วยบริหารจัดการด้านการเงินได้

กระบวนการสื่อข่าวและการรายงานข่าว ประกอบด้วย

1. กําหนดประเด็นข่าว
2. ประชุมทีม วางแผน
3. ลงพื้นที่ ได้แก่ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล บันทึกเสียงและภาพของแหล่งข่าว + เหตุการณ์
4. ประเมินความสําคัญของข่าวที่ได้ เช่น ความยาวของข่าว ระยะเวลา ฯลฯ
5. เขียนข่าว/เรียบเรียงข้อมูล
6. ลําดับภาพและเสียง
7. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
8. เผยแพร่ผ่านช่องทางหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ข้อ 2. ขั้นตอนการรายงานข่าวผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอน
อย่างไรบ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผู้รับสารสามารถมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการรายงานข่าวผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ดังนี้

– รูปภาพหรือคลิปวิดีโอของผู้รับสาร ซึ่งเป็นสิ่งบอกเล่าเหตุการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ หรือเป็น พยานจากเหตุการณ์ เช่น ไฟไหม้ ภัยพิบัติ ฯลฯ หรือภาพกราฟิก ภาพตัดต่อที่ประกอบ สร้างโดยผู้ใช้สื่อออนไลน์ สามารถนํามาประกอบการรายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ หรือนําไปใช้ต่อยอดประเด็นเพื่อหามุมมอง รายละเอียดของเหตุการณ์ได้มากขึ้น
และทํารายงานข่าวที่อธิบายบริบทหรือ

– การแสดงความคิดเห็นของผู้รับสารบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการเปิดประเด็นพื้นที่การ ถกเถียง แสดงออกทางความคิด หรือให้ข้อมูล ให้มุมมองหลักต่อมิติข่าว จะเป็นเบาะแส ให้นักข่าวเลือกประเด็นต่อยอดสําหรับบางข่าวที่ต้องการความคิดเห็นของประชาชน
หรือใช้สําหรับข่าวที่อยู่ในกระแสสังคมได้

– นักข่าวอาจหยิบเนื้อหาจากสื่อออนไลน์ที่มีผู้ใช้สื่อเล่าเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ หรืออาจเป็นข่าวฝาก เรื่องราวที่ต้องการความช่วยเหลือที่มีการส่งต่อกัน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การแสดงความคิดเห็น การช่วยเหลือ หรือการ ระดมข้อมูล เป็นต้น

– ผู้รับสารสามารถสื่อข่าวในฐานะนักข่าวพลเมือง เพื่อนําเสนอมุมมองเกี่ยวกับประเด็น ท้องถิ่น หรือจากมุมมองของประชาชนในสิ่งที่สื่อหลักไม่ได้นําเสนอ เช่น การรายงาน ข่าวแบบไลฟ์สด ณ จุดเกิดเหตุที่ห่างไกล เป็นต้น

– ผู้รับสารในฐานะผู้อ่านข่าวสามารถมีส่วนร่วมในการรายงานข่าวผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยการกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม กดหัวใจ กดโกรธ กดขํา ฯลฯ หรือพิมพ์ข้อความ แสดงความคิดเห็นต่อข่าวที่นําเสนอได้
– การไลฟ์สดสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่นิยมทํากันมากขึ้นในปัจจุบันนั้น บางครั้งผู้สื่อข่าวหรือ ผู้ดําเนินรายการที่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมในการตั้งคําถามกับแหล่งข่าวผ่าน ทางการแสดงความคิดเห็น (Comment) ได้โดยตรง

– ผู้รับสารสามารถมีส่วนร่วมโดยการแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากองค์กรรัฐ ซึ่งนักข่าวก็จะต้องตรวจสอบข่าว ความถูกต้อง และพัฒนาต่อยอดสู่ประเด็นข่าวต่อไป

ข้อ 3. การรายงานเนื้อหาข่าวที่สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการณ์ของข่าวนั้นอย่างครบถ้วน
รอบด้าน ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

องค์ประกอบของการรายงานเนื้อหาข่าวที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการณ์ของข่าว ได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน มีดังนี้

– ค้นหาภูมิหลัง (Background) ของเรื่อง เช่น เรื่องนั้น ๆ มีความเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง และมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของผู้คนมาก/น้อยแค่ไหน

– ตอบคําถามให้ได้ว่า ทําไมมันถึงเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร สะท้อนอะไร หรือมีนัยอะไร อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป และส่งผลสืบเนื่องอย่างไร

– ผู้สื่อข่าวต้องสื่อข่าวให้ผู้อ่านเสมือนว่าได้อยู่ในเหตุการณ์จริง โดยต้องยืนยันข้อเท็จจริง
ของเหตุการณ์หรือประจักษ์พยานได้

– ต้องมี Sidebar (ข่าวหรือข้อมูลสั้น ๆ ที่แทรกอยู่แถบข้าง ๆ ของข่าวหรือข้อความหลัก) เป็นส่วนประกอบปลีกย่อย หรือข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ข่าวมีมิติและรอบด้านมากขึ้น เช่น ข้อกฎหมาย บทลงโทษผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งประวัติของบุคคล/สถานที่/สิ่งของในข่าว หรือความเป็นมาก่อนหน้านี้ เป็นต้น

– ต้องมี Localization (การแปลเนื้อหาจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง) ทําให้ผู้รับสาร สนใจข่าวที่ไกลตัวขึ้นมาได้ โดยทําให้เกิดคําถามว่า เหตุการณ์นั้นจะเกิดผลกระทบ อย่างไรกับเรา (ผู้รับสาร) บ้าง เช่น สงครามส่งผลกับราคาน้ํามัน/สินค้าอย่างไร เป็นต้น

ข้อ 4. ในการรายงานข่าว #8 ปี ประยุทธ์ สื่อมวลชนนําเสนอประเด็นข่าวอะไรบ้าง และใช้แหล่งข่าวอะไร ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MCS 2260 หน้า 15 – 18, (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงานในข่าว #8 ปี ประยุทธ์ มีดังนี้

– ลําดับเหตุการณ์ที่มาของ 8 ปี ประยุทธ์ โดยอาจให้ภูมิหลังว่าเกิดขึ้นจากคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญรับคําร้องเพื่อวินิจฉัย “คดีนายกฯ 8 ปี” จากใคร มีจุดเริ่มต้นของการ ยื่นคําร้องอย่างไร และศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคําร้องหรือไม่

– การรับคําร้องของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลต่อพลเอกประยุทธ์อย่างไร ต้องหยุดการปฏิบัติ หน้าที่หรือไม่ และใครทําหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน

– ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญกําลังพิจารณา “คดีนายกฯ 8 ปี” นั้น มีความเคลื่อนไหวทางแวดวงการเมือง ความคิดเห็นของฝ่ายค้านและนักวิชาการอย่างไร และมีการวิเคราะห์ แนวทางการตีความวาระการดํารงตําแหน่งนายกฯ ไว้แนวทาง รวมทั้งวิเคราะห์ เหตุการณ์ทางการเมืองหากพลเอกประยุทธ์ พ้นจากตําแหน่งนายกฯ ไว้อย่างไรบ้าง

– ขั้นตอนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร มีการนัดลงมติและอ่านคําวินิจฉัย
วันไหน เวลาใด

– บรรยากาศบริเวณรอบศาลรัฐธรรมนูญในวันที่จะมีการอ่านคําวินิจฉัยการดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างไร มีมาตรการคุมเข้มอะไรบ้าง

– ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคําวินิจฉัยตัดสินว่าอย่างไร มีคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมติ จํานวนกี่คน ประกอบด้วยใครบ้าง ลงมติเห็นด้วยกี่เสียง ไม่เห็นด้วยกี่เสียง ให้เหตุผลว่า อย่างไร อ้างอิงมาตราในรัฐธรรมนูญอะไรบ้าง มีรายละเอียดทางกฎหมายอย่างไร

– บรรยากาศหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเป็นอย่างไร มีความชุลมุนหรือไม่ ความคิดเห็น ของพลเอกประยุทธ์ หลังศาลตัดสิน ความคิดเห็นของฝ่ายค้านและนักวิชาการต่าง ๆ

– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ เมื่อไหร่ มีอายุในการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกกี่วาระ เคยมีคดียื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนอกจากนี้อีกหรือไม่ และมีผลงานเด่นอะไรบ้าง

แหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว

– คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
– พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้อง)
– ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ส่งคําร้อง)
– ทีมกฎหมายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
– ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน นักกฎหมาย และนักวิชาการที่ให้ความคิดเห็น
– กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ
– กระแสความคิดเห็นของประชาชนทางโซเชียลมีเดีย
– ศาลรัฐธรรมนูญ ณ ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561
– เอกสารคําร้องของ ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน
– เอกสารคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
– คลิปวิดีโอถ่ายทอดสดการอ่านคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
– เพจเฟซบุ๊กที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
– กราฟิกภาพไทม์ไลน์ระบุวัน เวลา บอกลําดับเหตุการณ์ในข่าว

ข้อ 5. เหตุใดสื่อมวลชนจึงรายงานข่าวอาชญากรรม ให้นักศึกษายกตัวอย่างข่าวอาชญากรรม 1 เรื่อง และ อธิบายว่า ผู้สื่อข่าวสามารถรายงานข่าวดังกล่าวให้มีลักษณะสร้างสรรค์ (ทั้งในด้านวิธีการและ เนื้อหา) ได้อย่างไรบ้าง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

สาเหตุที่สื่อมวลชนรายงานข่าวอาชญากรรม มีดังนี้

– ข่าวอาชญากรรม เป็นข่าวที่สะท้อนความผิดปกติของสังคม ดังนั้นการรายงานข่าว อาชญากรรมจึงมีบทบาทเป็นยามรักษาการณ์เตือนภัยให้ผู้อ่านได้ระมัดระวังตัว และ รู้จักเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันตัวจากภัยหลากหลายรูปแบบที่อาจเข้ามาในชีวิตของตนเองโดยไม่รู้ตัว

– การรายงานข่าวอาชญากรรมช่วยประณามการกระทําอันชั่วร้ายของผู้ต้องหาที่ก่อคดี
หรือกระทําความผิดที่สร้างความเสียหาย รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติได้

– การรายงานข่าวอาชญากรรมย่อมส่งผลให้ผู้อ่านข่าวสารเกิดความรับรู้ร่วมกันในด้านผลเสียของการกระทําดังกล่าว จนหยุดความคิดที่จะปฏิบัติตนตามแบบอย่างของ ผู้ต้องหา ตกเป็นข่าว

– การรายงานข่าวอาชญากรรมเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนในด้านการให้ความรู้และป้องกันอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

– การรายงานข่าวอาชญากรรมเป็นกระจกสะท้อนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่พึงจะได้รับจากเจ้าหน้าที่กฎหมายบ้านเมืองว่า มีมากน้อยเพียงไร เพราะถ้าหากเมื่อใดมีการนําเสนอข่าวอาชญากรรมเป็นจํานวนมาก และเต็มไปด้วยความรุนแรง นั่นหมายความว่า ความหย่อนยานของกฎหมายที่ไม่รุนแรงพอที่จะเป็นบทลงโทษให้คนทําผิดไม่เกรงกลัวต่อผลของการกระทําที่เขาพึงจะได้รับ

ตัวอย่างข่าวอาชญากรรม : ไล่ยิงใส่รถเมล์ 9 ขวบดับ สังเวยศึกช่างกล จากข่าวนี้ผู้สื่อข่าว สามารถรายงานข่าวให้มีลักษณะสร้างสรรค์ (ทั้งในด้านวิธีการและเนื้อหา) ดังนี้

– ผู้สื่อข่าวควรระมัดระวังในการใช้ถ้อยคําสํานวนในการนําเสนอข่าวอาชญากรรม ควรใช้ ถ้อยคําสํานวนที่บ่งบอกถึงรสนิยมที่ดี (Good Taste) ใช้คําสุภาพไม่หยาบคาย และใช้ กลวิธีในการเขียนอย่างสร้างสรรค์ โดยควรใช้คําที่ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและ โอกาส ไม่ใช้คําที่เน้นความรุนแรง หรือไม่ใช้ภาษาเน้นย้ํา ซึ่งจะเพิ่มระดับคําให้เกิด ความสยดสยองมากยิ่งขึ้น

– ผู้สื่อข่าวอาชญากรรมควรเล่าเรื่องในลักษณะที่ทําให้มองเห็นภาพได้ ซึ่งเรียกกลวิธีนี้ว่า การแต่งเรื่องให้มีสีสัน หรือวาดให้เห็นภาพ (Illustration) รวมทั้งยังต้องใช้ภาษาที่ ผู้อ่านสามารถมองเห็นถึงเหตุการณ์ เห็นตัวบุคคล และเห็นสถานที่ได้อย่างชัดเจนใน
มโนภาพอีกด้วย

– ผู้สื่อข่าวอาชญากรรมควรระมัดระวังเรื่องการเสนอภาพประกอบข่าว และการเสนอคําอธิบายภาพ ไม่ควรเสนอภาพหรือบรรยายภาพที่มีลักษณะเร้าอารมณ์ของผู้อ่าน จนเกินไป ไม่แสดงภาพที่อุจาดบาดตาน่าขยะแขยง หรือทําให้ผู้อ่านทั่วไปรู้สึกอนาถใจหรือสร้างอารมณ์เกลียดชังจนเกินขอบเขต

– ผู้สื่อข่าวควรเสนอข่าวอาชญากรรมในลักษณะกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต่อการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเกิดความรู้สึกซื่อสัตย์และเคารพต่อหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติงานในความรับผิดชอบอย่างเข้มแข็ง

– ผู้สื่อข่าวควรเสนอรายละเอียดการประกอบอาชญากรรมเพียงแค่พอให้ผู้อ่านเข้าใจใน
เหตุการณ์ เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ควรบรรยายเน้นรายละเอียดให้ผู้อ่านได้รับรู้ทุกขั้นตอน ของการประกอบอาชญากรรม และไม่ควรเล่าเรื่องโดยให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับแผนประกอบคํารับสารภาพเกี่ยวกับการลงมือก่อเหตุ เพราะย่อมส่งผลให้ผู้อ่านทราบถึงวิธีการจนเกิดการเลียนแบบ แล้วนําไปปฏิบัติตามต่อ

– ผู้สื่อข่าวจะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้ต้องสงสัย โดยไม่ควรทําตนเป็นผู้พิพากษาคดีเสียเอง และในกรณีที่มีการเสนอข่าวคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงควรชี้แจงให้ผู้อ่านได้เข้าใจข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้

– ในข่าวอาชญากรรมที่นําเสนอแต่ละข่าว ผู้สื่อข่าวต้องช่วยกันสร้างทัศนคติในการ ต่อต้านการก่ออาชญากรรมที่เป็นผลร้ายต่อสังคมส่วนรวม โดยเน้นให้เห็นถึงผลที่ผู้ก่อ อาชญากรรมจะได้รับการลงโทษตามกฎหมาย

– ผู้สื่อข่าวควรระมัดระวังการเสนอรายละเอียดในข่าวที่จะทําให้ผู้อ่านรู้สึกว่าอาชญากร ผู้นั้นเป็นวีรบุรุษ ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงบุคคลนั้นเป็นผู้ทําลายความสงบสุขของสังคม นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังต้องระมัดระวังเรื่องการเสนอข่าวเกี่ยวกับการวางแผนปราบปราม ไม่นําเสนอรายละเอียดเสียจนเป็นการเปิดช่องทางการหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตํารวจให้แก่คนร้าย

– ผู้สื่อข่าวควรระมัดระวังการเสนอข้อมูลข่าวเกี่ยวกับชื่อและที่อยู่ของพยาน เนื่องจาก การระบุรายละเอียดดังกล่าวอาจนํามาซึ่งภยันตรายแก่พยานได้

ข้อ 6. การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับออนไลน์เกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในระดับโลก ควรนําเสนอเนื้อหาใดบ้าง ควรใช้มัลติมีเดียประเภทใดบ้าง เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย รวดเร็ว ยกตัวอย่างประเด็นข่าว พร้อมระบุมัลติมีเดียที่จะใช้ ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MCS 2260 หน้า 15 – 18, (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงาน มีดังนี้

– แนวโน้มสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกเป็นอย่างไร จํานวนผู้ติดเชื้อ รายใหม่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งรายงานตัวเลขของผู้เสียชีวิต

– ตัวเลขของการติดเชื้อใหม่ในแต่ละทวีปเป็นอย่างไร ทวีปใดยังมีการติดเชื้อสูงที่สุด และประเทศที่มีรายงานการติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ ประเทศใดบ้าง มีอัตราการตายกี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศที่มีการติดเชื้อลดลงน้อยที่สุด ได้แก่ ประเทศใดบ้าง

– การติดเชื้อโควิด-19 ของจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกนั้น มาจากการแพร่กระจาย ของไวรัสสายพันธุ์ใดบ้าง มีความรุนแรงและต้องเฝ้าระวังอย่างไร พร้อมทั้งระบุอาการ เบิ้องต้นของผู้ติดเชื้อจากสายพันธุ์ดังกล่าว

– ความคิดเห็นขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 ทั่วโลกเป็นอย่างไร เช่น การแพร่ระบาดของไวรัสใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้วหรือยัง คําแนะนําในการควบคุมโรคจากองค์การอนามัยโลก และมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่

– รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมโรคของแต่ละ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ

– สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นอย่างไร จํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือลดลง มีระบบดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อเพียงพอหรือไม่ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเพียงใด คําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข และมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคอะไรบ้าง

– ข้อมูลเสริมการระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีใด แพร่ระบาดไปทั่วโลกมาแล้ว กี่ปี มีสาเหตุมาจากอะไร พบครั้งแรกที่ไหน

มัลติมีเดียที่จะใช้ในการายงานข่าวดังกล่าว

– ตารางตัวเลขสถิติจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิตในแต่ละประเทศ

– แผนที่แสดงจํานวนผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศ

– กราฟอัตราแนวโน้มการระบาดของโรคที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

– ภาพจําลองไวรัสที่ทําให้เกิดโรคโควิด-19

– อินโฟกราฟิกแสดงการสรุปข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก

– ภาพถ่ายแสดงบรรยากาศผู้ที่มารับการฉีดวัคซีน

– อินโฟกราฟิกแสดงวิธีป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อไวรัส

– กราฟิกข้อความแสดงคําแนะนําของผู้อํานวยการองค์การอนามัยโลก

– ภาพนิ่งผู้อํานวยการองค์การอนามัยโลกกําลังแถลงข่าว

– คลิปวิดีโอภาพเคลื่อนไหวการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข

– อินโฟกราฟิกแสดงไทม์ไลน์โรคโควิด-19 ตั้งแต่พบครั้งแรก

ข้อ 7. การรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ําท่วมในกรุงเทพมหานครควรนําเสนอประเด็นใดบ้าง และ ควรมีแหล่งข่าวใดบ้าง เพื่อให้ข่าวนั้นมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้อง ควรเสนอภูมิหลังด้านใดบ้าง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MCS 2260 หน้า 15 – 18, (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงาน มีดังนี้

– ฝนตกหนักทําให้มีพื้นที่ถูกน้ําท่วมขังจํานวนกี่จุด บนถนนสายใดบ้าง น้ำขังท่วมสูงถึง ระดับไหน เขตใดมีปริมาณน้ำฝนสูงสุด กี่มิลลิเมตร ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำแต่ละจุด เป็นอย่างไร และเกิดอุบัติเหตุจากฝนตกน้ำท่วมที่ไหน ระบุพิกัดมาให้ชัดเจน

– สาเหตุที่ทําให้เกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร เกิดจากผลกระทบของพายุที่เข้ามาประเทศไทยกี่ลูก และสถานการณ์ฝนตกหนักเช่นนี้จะดีขึ้นเมื่อไร

– การระบายน้ำของกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไร จุดไหนบ้างที่มีน้ำท่วมสูง และแถวไหน ที่มีน้ำแห้งแล้วบ้าง อุโมงค์ระบายน้ำของ กทม. ทํางานได้ดีแค่ไหน มีอุปสรรคและการแก้ปัญหาอย่างไร

– สภาพการจราจรเป็นอย่างไร การระบายรถของตํารวจและการช่วยเหลือรถที่ติดขัด ถนนสายไหนที่มีรถจอดเสีย/น้ำท่วมสูง และควรเตือนให้ประชาชนวางแผนการเดินทางหรือหลีกเลี่ยงเส้นทางใดบ้าง

– สัมภาษณ์ผู้ว่ากรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการทํางานลงพื้นที่ดูแลเรื่องการระบายน้ำ และมาตรการช่วยเหลือประชาชนเบื้องต้น รวมทั้งมาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในอนาคต

– ความรู้สึกของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ ความลําบากในการเดินทาง และความเสียหายของรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ที่ใช้เส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง รวมทั้งสภาพ ความเสียหายของอาคารบ้านเรือนที่โดนน้ำท่วม

– รายงานเรื่องการพยากรณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และการเตือนภัยเกี่ยวกับ พายุที่อาจส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยในวันข้างหน้า

แหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว

– ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
– สํานักการระบายน้ํากรุงเทพมหานคร
– ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กทม.
– เจ้าหน้าที่ กทม. ที่ทําหน้าที่ระบายน้ำและเก็บขยะ
– เจ้าหน้าที่ตํารวจจราจร อาสาสมัครกู้ภัย
– ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– กรมอุตุนิยมวิทยา
– กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ
– สถานีวิทยุที่รายงานการจราจร
– เว็บไซต์หรือ Facebook ของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้
– เพจชื่อดัง/ทวิตเตอร์ของผู้ใช้สื่อออนไลน์ที่แจ้งปัญหาน้ำท่วม พร้อมรูปภาพประกอบ

ภูมิหลัง (Background) ของเรื่องที่ควรนําเสนอ

– ความเป็นมาของเหตุการณ์ที่ว่า จากกรณีเกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ช่วงเวลาใด ต่อเนื่องถึงช่วงเวลาไหน ของวันที่เท่าไหร่ สร้างความปั่นป่วนโกลาหล ในการเดินทางอย่างไร ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินของประชาชนมากน้อยเพียงใด และ ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

– แนวโน้มปีนี้จะมีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครซ้ํารอยกับปี 2554 หรือไม่เทียบสถิติปริมาณฝนสะสมย้อนหลัง จํานวนพายุและมรสุมหรือร่องมรสุมที่พัดผ่านเข้ามายังประเทศไทย

CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2260 (MCS 2201) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 8 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปทําข่าวผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นต่อประเทศไทย
จงวางแผนการทําข่าวดังกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะรายงานสถานการณ์นี้ในแง่มุมหรือประเด็นใด
ได้บ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
การวางแผนการทําข่าวดังกล่าว มีดังนี้

– สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อคิดหาแหล่งข่าวที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องนี้ได้ และเตรียมตั้งคําถามไว้ก่อนล่วงหน้า
– สัมภาษณ์แหล่งข่าว เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สถาบัน สารสนเทศทรัพยากรน้ําและการเกษตร ฯลฯ
– ฟังและจับประเด็นสําคัญจากการสัมภาษณ์ให้ได้
– ตั้งคําถามในประเด็นที่อยากรู้เพิ่มเติม
– ผู้สื่อข่าวอาจต้องหาข้อมูลเสริมเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นดังกล่าวจากเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือ
ประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
– เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว

ประเด็น/แง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว มีดังนี้
– พายุไต้ฝุ่นดังกล่าวชื่ออะไร มีจุดศูนย์กลางและก่อตัวขึ้นที่ไหน มีทิศทางจะพัดผ่าน
ประเทศใดบ้าง
– ประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา และผลกระทบต่อประเทศไทย
– พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังปริมาณน้ําฝนและอุทกภัยมีจังหวัดใดบ้าง และจะได้รับผลกระทบ
ตั้งแต่วันที่เท่าใดถึงวันไหน รวมทั้งผลกระทบต่อการเดินเรือของชาวประมง
– สภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุไต้ฝุ่นดังกล่าว มีบ้านเรือนเสียหายกี่หลัง มีผู้เสียชีวิต สูญหาย และบาดเจ็บกี่คน
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นดังกล่าว มีความเร็วลมเท่าใด และได้สร้างความเสียหาย ที่ประเทศใดมาบ้างก่อนจะมาถึงประเทศไทย

ข้อ 2. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปทําข่าวเกี่ยวกับทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียว ทั่วประเทศ หรือซิงเกิล เกตเวย์ ควรสัมภาษณ์ใครบ้าง หรือหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใด และควร
รายงานเนื้อหาอะไรบ้าง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

การรายงานข่าวข้างต้นควรสัมภาษณ์ หรือหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ดังนี้

– นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี โฆษกรัฐบาล
– กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
– บริษัท CAT และ TOT
– กลุ่มต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อผู้ต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– เว็บไซต์รัฐบาลที่โดนกลุ่มต่อต้านถล่มจนใช้การไม่ได้
– เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบซิงเกิล เกตเวย์
– หนังสือ เอกสาร หรือข้อสั่งการของรัฐบาลที่มีเนื้อหาเร่งรัดการจัดตั้งระบบซิงเกิล เกตเวย์
– แถลงการณ์หรือคําชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาล หลังจากเกิดกระแสต่อต้านอย่างรุนแรง และ มีการแสดงออกด้วยการเข้าไปถล่มหลายเว็บไซต์ของรัฐบาล

ข่าวข้างต้นควรรายงานเนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้
– รัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดตั้งระบบซิงเกิล เกตเวย์ คืออะไร และให้หน่วยงานใดบ้างเป็น ผู้รับผิดชอบ โดยจะเร่งดําเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณใด
– วัตถุประสงค์การจัดตั้งระบบซิงเกิล เกตเวย์ ของรัฐบาล
– กระแสต่อต้านจากผู้คัดค้าน และเหตุผลที่ต้องต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– การรวบรวมรายชื่อผู้ต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– วิธีดําเนินการต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์ และการนัดรวมพลังกันไปถล่มเว็บไซต์ของรัฐบาล ได้แก่ เว็บไซต์ใดบ้าง และผลเป็นอย่างไร
– คําชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาลหลังเกิดการต่อต้าน และมาตรการดําเนินการกับผู้ต่อต้านที่ ไปถล่มเว็บไซต์ของรัฐบาล
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับระบบซิงเกิล เกตเวย์ หมายถึงอะไร ข้อดีและข้อเสีย รวมทั้งมี ประเทศไหนหรือไม่ที่ใช้ระบบนี้

ข้อ 3. ในการเขียนข่าวการก่อจลาจลหน้าสถานีตํารวจภูธรถลาง จ.ภูเก็ต ควรระบุถึงคุณลักษณะ/คุณสมบัติ (Identification) อะไรบ้างในข่าว ยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว
มีดังนี้

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 119 – 122), (คําบรรยาย)

คุณลักษณะที่ต้องระบุในการเขียนข่าวการก่อจลาจลหน้าสถานีตํารวจภูธรถลาง จ.ภูเก็ต

1. คุณลักษณะของบุคคล ได้แก่

– ชื่อ-นามสกุลของวัยรุ่น 2 คน ที่เป็นต้นเหตุและถูกตํารวจขับรถเฉี่ยวชนจนเสียชีวิต ชื่อ-นามสกุลของตํารวจที่มาตั้งด่านเพื่อสกัดจับวัยรุ่นดังกล่าว, ชื่อ-นามสกุล ของผู้บังคับการสถานีตํารวจภูธรถลาง จ.ภูเก็ต, ผู้ว่าราชการ จ.ภูเก็ต และ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มาช่วยเจรจากับชาวบ้านที่ก่อการจลาจล
– อายุของวัยรุ่นที่เสียชีวิต อาชีพของวัยรุ่นที่เสียชีวิต
– ยศหรือตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– ที่อยู่ของวัยรุ่นที่เสียชีวิต

2. คุณลักษณะของสถานที่ ได้แก่ เหตุการณ์การก่อจลาจลเกิดขึ้นที่หน้าสถานีตํารวจ อะไร ที่ไหน ซึ่งต้องระบุคุณลักษณะโดยการบอกที่ตั้ง เลขที่ ซอย ถนน ตําบล อําเภอ และจังหวัด หากสถานที่แห่งนั้น อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหรือสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ต้องระบุลงไปด้วย

3. คุณลักษณะของเหตุการณ์ ได้แก่ ลําดับเหตุการณ์การก่อจลาจลตั้งแต่สาเหตุของการ ก่อเหตุ ชาวบ้านไม่พอใจตํารวจเรื่องอะไร จากนั้นชาวบ้านมารวมตัวกันที่ไหน และเหตุการณ์บานปลายไป อย่างไร จบลงอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์จบลงแล้วมีสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จํานวนผู้บาดเจ็บ คําพูดของผู้เห็นเหตุการณ์ และการดําเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตํารวจ

ข้อ 4. ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวนักศึกษาหลายสิบคนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งป่วย
ด้วยโรคไข้เลือดออก

4.1 อยากทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวใด และควรนําเสนอประเด็นใดบ้าง
4.2 ควรนําเสนอข้อมูลใดหรือประเด็นใดบ้างในส่วนเชื่อมของข่าว ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ
(เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 83 – 91), (คําบรรยาย)

4.1 แหล่งข่าวและประเด็นที่ควรนําเสนอ มีดังนี้

1. แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น ได้แก่

– โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนั้น
– นักศึกษาที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

– สํานักงานเขตในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นตั้งอยู่
– สํานักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
– เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

2. ประเด็นที่ควรนําเสนอในข่าวข้างต้น ได้แก่

– พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มหาวิทยาลัยอะไร มีจํานวนนักศึกษาป่วย ทั้งหมดกี่คน รักษาตัวที่ไหน และอาการเป็นอย่างไร
– อธิการบดีได้ดําเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกในมหาวิทยาลัยอย่างไร และ
ด้วยวิธีการใด
– สํานักงานเขตในพื้นที่นั้น ๆ มีการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคในพื้นที่นั้น ๆ อย่างไร
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การรักษา และการป้องกันโรค
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีนี้ของประเทศไทย มีผู้ป่วยที่คน
เสียชีวิตกี่คน

4.2 ข้อมูลหรือประเด็นที่ควรนําเสนอในส่วนเชื่อมของข่าว มีดังนี้
– อาจระบุคุณลักษณะของบุคคลในข่าว โดยบอกชื่อ-นามสกุล ตําแหน่งทางวิชาการ ชั้นปีที่นักศึกษากําลังศึกษาอยู่ ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย และที่อยู่
– อาจให้ภูมิหลังหรือความเป็นมาเกี่ยวกับสถิติจํานวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปีนี้ มีจํานวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือลดลง
– ให้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก อาการ แนวทางการรักษา สาเหตุการเกิดโรค การแพร่เชื้อ การป้องกัน และการกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย

ข้อ 5. เหตุใดสื่อมวลชนจึงให้ความสนใจรายงานข่าววางระเบิดศาลท้าวมหาพรหมย่านราชประสงค์
อธิบายโดยใช้หลักการด้านคุณค่าเชิงข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 2 – 6), (คําบรรยาย)
(News Values) ดังนี้

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานเป็นข่าวในสื่อมวลชนไทย เนื่องจากมีคุณค่าเชิงข่าว

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ตกใจ ตื่นตระหนก และหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือรู้สึกสงสารผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดดังกล่าว

2. ความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร/ผลกระทบ คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร ในแง่การเป็นอุทาหรณ์สอนใจ บอกให้คนระวังภัยจากการก่อวินาศภัย นอกจากนี้ยังเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจํานวนมากที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการวางระเบิดครั้งนี้

3. ความเปลี่ยนแปลง คือ เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือเปลี่ยนแปลงไป
จากสภาพปกติที่เคยเป็น

4. ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นความใกล้ชิดทาง
กายระหว่างผู้อ่านกับตัวเหตุการณ์

5. ความโดดเด่น ดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

6. ความไม่คาดคิด เงื่อนงํา/ฉงนสนเท่ห์ คือ เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และยังเป็น เหตุการณ์ที่มีเงื่อนงําว่าเป็นการก่อการร้าย หรือเป็นเรื่องทางการเมือง หรือเป็นการแก้แค้นรัฐบาลไทย นอกจากนี้ คนร้ายเป็นใคร คนไทยหรือคนต่างชาติ จึงเป็นเรื่องที่ทําให้ผู้อ่านเกิดความฉงนสนเท่ห์ ทําให้ต้องติดตามเรื่องราวต่อไป

7. ความขัดแย้ง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งทางกายและความคิด

8. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 6. จากหลักการเกี่ยวกับการรายงานข่าวอาชญากรรม
6.1 ประเด็นข่าวที่ควรรายงานมีอะไรบ้าง
6.2 แต่ละประเด็นในข้อ 6.1 มีแหล่งข่าวอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 167 – 173), (คําบรรยาย)

6.1 ประเด็นข่าวที่ควรรายงานในข่าวอาชญากรรม ได้แก่

1. นักเรียนเทคนิคดักยิงนักเรียนคู่อริบนรถเมล์
2. อุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำ
3. นักร้องดังโดดคอนโดหรู ฆ่าตัวตายปริศนา

6.2 แหล่งข่าวในแต่ละประเด็นข้างต้น มีดังนี้

1. นักเรียนเทคนิคดักยิงนักเรียนคู่อริบนรถเมล์

– เจ้าหน้าที่ตํารวจในท้องที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิการกุศลต่าง ๆ
– โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล
– คนขับรถเมล์ กระเป๋ารถเมล์ ผู้โดยสารรถเมล์สายนั้น
– พยานแวดล้อมที่เห็นเหตุการณ์
– พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงของผู้เสียชีวิต
– ผู้บริหารโรงเรียนเทคนิค คณะกรรมการอาชีวศึกษา

2. อุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำ
– เจ้าหน้าที่ตํารวจในท้องที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิการกุศลต่าง ๆ
– เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผู้เชี่ยวชาญบริษัทขนส่งแก๊ส
– โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล
– พยานแวดล้อมที่เห็นเหตุการณ์
– คนขับรถบรรทุกแก๊ส ผู้บริหารของบริษัทขนส่งแก๊ส
– ประชาชนและชาวบ้านในละแวกนั้นที่ได้รับผลกระทบ

3. นักร้องดังโดดคอนโดหรู ฆ่าตัวตายปริศนา
– เจ้าหน้าที่ตํารวจในท้องที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิการกุศลต่าง ๆ
– โรงพยาบาล แพทย์ที่ชันสูตรพลิกศพ
– พยานแวดล้อมที่เห็นเหตุการณ์
– เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในคอนโด
– พ่อแม่ ญาติพี่น้อง คนรัก และเพื่อนฝูงของผู้เสียชีวิต
– กล้องวงจรปิดภายในและภายนอกคอนโด
– หลักฐานและวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ

ข้อ 7. จากข้อมูลในเว็บไซต์เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย http://www.thaiplus.net/ node/201 ต่อไปนี้ จงเขียนเนื้อข่าวและหัวข่าวสําหรับหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์

วันที่ 7 ตุลาคม 2558

ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ให้ ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์

เรียน ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด

สําเนา ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ตามที่ละครเรื่อง “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” ของบริษัท บ้านละคอน จํากัด ที่ออกอากาศใน วันที่ 6 ตุลาคม ที่มีฉากหนึ่งของเรื่องเป็นฉากที่หนึ่งในตัวแสดงหลักติดเชื้อเอชไอวีเข้ารักษาตัวใน โรงพยาบาลและเสียชีวิตจากเอดส์นั้น ทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิ เข้าถึงเอดส์ เห็นว่า ฉากดังกล่าวเป็นการสร้างความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ อย่างร้ายแรง ดังนี้

1. การสื่อสารว่าโรคเอดส์มีระยะสุดท้าย และระยะวิกฤติ รวมทั้งการให้ภาพผู้ป่วยที่มีแผล เหวอะหวะและมีเลือดออกทั้งร่างกาย จะทําให้สังคมเข้าใจผิด เกิดความกลัว รังเกียจ ไม่อยากเข้าใกล้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ

2. การสื่อสารว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วจะต้องเสียชีวิต

ทั้งนี้การสื่อสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ที่ว่า โรคเอดส์ ไม่ได้แบ่งเป็นระยะดังกล่าว แต่แบ่งเป็น “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” กับ “ผู้ป่วยเอดส์” ซึ่งแตกต่างกันที่ผู้ติดเชื้อฯ คือ ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้วยังไม่มีอาการป่วยใด ๆ ในขณะที่ผู้ป่วยเอดส์ คือ ผู้ที่ป่วย ด้วยโรคฉวยโอกาส อันเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งโรคฉวยโอกาสทุกโรคสามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสเมื่อได้รับการรักษาและหายป่วยแล้วก็จะกลับมาเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามเดิมซึ่งไม่มีโรคฉวยโอกาสที่ทําให้มีลักษณะเหมือนที่ละครได้สื่อสารออกไป

อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อรู้ตัวว่ามีเชื้อฯ ไม่จําเป็นจะต้องป่วยเอดส์ เพราะปัจจุบัน มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งครอบคลุมอยู่ในสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพที่ทําให้ ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคนได้รับยาต้านไวรัสฯ ทันที และเริ่มยาเร็วเท่าไหร่ยิ่งทําให้ภูมิคุ้มกันไม่ถูกทําลาย ทําให้ มีสุขภาพแข็งแรง เรียนได้ ทํางานได้ ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป และดูไม่ออกจากรูปลักษณ์ภายนอก โดยเมื่อผู้ติดเชื้อฯ เข้าสู่การรักษาดังเช่นตัวละครในเรื่องเพื่อนรักเพื่อนริษยาแล้ว ผู้ติดเชื้อฯ คนดังกล่าว ก็จะไม่ได้มีสภาพป่วยโทรม และต้องเสียชีวิตในที่สุด

อนึ่งการสื่อสารที่บิดเบือนข้อเท็จจริง และผลิตซ้ําความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์นั้น จะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในสังคมได้อย่างยากลําบาก เกิดการรังเกียจ ไม่รับเข้าเรียน ไม่รับเข้า ทํางาน กีดกันไม่ให้อยู่ร่วมกันในสังคม เพราะเชื่อว่าติดเชื้อฯ แล้ว สุดท้ายจะเป็นดังภาพที่ละครได้ เสนอออกมา ทั้งที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ไม่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป รวมทั้งยังส่งผลให้คนที่มีโอกาสเสี่ยง ในการติดเชื้อฯ ซึ่งหมายถึง ทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ไม่กล้าเข้ามารับการตรวจรักษา เพราะ เชื่อว่ารักษาไม่หาย เมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วก็ต้องเสียชีวิตอย่างทรมาน

ยิ่งไปกว่านั้นก็จะส่งผลให้คนที่มีเพศสัมพันธ์มองความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีของตนเองพลาด และไม่ได้ป้องกัน เพราะคิดว่าคนที่ตัวเองมีเพศสัมพันธ์ด้วยไม่มีเชื้อเอชไอวีแน่นอน เพราะถ้ามีเชื้อฯ
ต้องแสดงอาการป่วยให้เห็นเหมือนในละคร

อย่างไรก็ดีผลกระทบทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างปัญหาในการทํางานป้องกันและแก้ไขปัญหา
ด้านเอดส์ให้กับสังคมและประเทศในระยะยาว

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะ ประโยชน์ที่ทํางานในเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากว่า 20 ปี ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ รับผิดชอบด้วยการแก้ไขข้อมูล และให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและ รอบด้านแก่สังคม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ทางสถานีมีโดยด่วน ไม่ว่าจะผ่านรายการข่าว สกู๊ป หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้แก่สังคม โดยทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ยินดีส่งตัวแทน “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” ที่พร้อมเปิดเผยตนเองเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอยู่ร่วมกับ เชื้อเอชไอวีและให้ข้อมูลข้อเท็จจริงแก่ผู้จัดละคร/ผู้บริหารสถานีฯ หรือเผยแพร่ให้ผู้ชมรับทราบจาก
กรณีดังกล่าว

หากทางผู้จัดละครหรือผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สามารถดูได้ที่ www.thaiplus.net หรือติดต่อคุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว โทร. 086-8814699

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118), (คําบรรยาย)

หัวข่าว

องค์กรเอดส์ชี้ “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” บิดเบือนข้อมูลเรื่อง HIV เนื้อข่าว

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะ ประโยชน์ที่ทํางานในเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากว่า 20 ปี ได้ทําหนังสือถึงผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด และผู้บริหาร สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเผยแพร่ในเว็บไซต์ http://www.thaiplus.net/node/201 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558 ระบุว่า จากกรณีที่ละครเรื่อง “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” ของบริษัท บ้านละคอน จํากัด ที่ออกอากาศ ในวันที่ 6 ตุลาคม มีฉากที่ตัวแสดงหลักติดเชื้อเอชไอวีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิต โดยมีการสื่อสารว่าผู้ป่วยเอดส์ก่อนตายจะมีแผลเหวอะหวะและมีเลือดออกทั้งร่างกาย รวมทั้งการสื่อสารว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วจะต้องเสียชีวิตนั้น

การสื่อสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และสร้างความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์
ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในสังคมได้อย่างยากลําบาก เกิดการรังเกียจ ไม่รับเข้าเรียน ไม่รับเข้าทํางาน กีดกันไม่ให้ อยู่ร่วมกันในสังคม เพราะเชื่อว่าติดเชื้อเอชไอวีแล้ว สุดท้ายจะเป็นดังภาพที่ละครได้เสนอออกมา

ทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ จึงขอเรียกร้องให้ ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รับผิดชอบด้วยการแก้ไขข้อมูล ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและรอบด้านแก่สังคม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ทางสถานีมีโดยด่วน ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้แก่สังคม

ข้อ 8. หากนักศึกษาได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในข้อ 7. ควรใช้แหล่งข่าวใด
และรายงานในประเด็นใดบ้าง

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

แหล่งข่าวในการรายงานข่าวต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในข้อ 7. ได้แก่

– ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด
– ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
– โรงพยาบาล หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเอชไอวี/เอดส์
– ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
– เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์และการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์

ประเด็นที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว ได้แก่

– ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด ได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและดําเนินการ แก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องโรคเอดส์อย่างไร ผ่านทางช่องทางใดของสถานี
– ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้มีมาตรการดูแลป้องกันอย่างไรต่อเนื้อหา ของละครที่มีข้อมูลบิดเบือนความเป็นจริง และอาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับสังคม
– การรักษาและอาการของโรคเอดส์ตามข้อมูลที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
– ข้อมูลเสริมจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีและประสบการณ์การอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในสังคม

CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2260 (MCS 2201) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. สมมติวันพรุ่งนี้ คณะสื่อสารมวลชนเตรียมจัดงานไหว้ครู ประจําปีการศึกษา 2560 พร้อมทั้งจัด
นิทรรศการเพื่อนําเสนอผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดในระดับชาติและ นานาชาติ เช่น หนังสั้น ภาพถ่าย หนังสือพิมพ์นักศึกษาฉบับออนไลน์ เป็นต้น ในงานมีกิจกรรม การเสวนากับศิษย์เก่าที่ประสบความสําเร็จในวงการสื่อมวลชน อาทิ นักข่าว ช่างภาพ ผู้กํากับ ภาพยนตร์ นักแสดง ฯลฯ ให้นักศึกษาวางแผนการทําข่าวดังกล่าว โดยให้ระบุแหล่งข่าวและ ประเด็นเนื้อหาที่จะรายงานสําหรับข่าวก่อนงาน และข่าวหลังงาน (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
การวางแผนการทําข่าวดังกล่าว มีดังนี้

– สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงานดังกล่าว เช่น กําหนดการจัดงานเป็นอย่างไร ใครเป็น เจ้าภาพจัดงาน ใครเป็นประธานในพิธีไหว้ครู สถานที่จัดงานคือที่ไหน วันที่-เวลาใน การจัดงานเมื่อไร ฯลฯ
– ศึกษาประวัติของแหล่งข่าว เช่น ชื่อ-นามสกุลของแหล่งข่าว ตําแหน่งหน้าที่การงาน นักศึกษาที่ได้รับรางวัลมีกี่คน ใครบ้าง และพิธีกร/วิทยากรในงานเสวนาเป็นใคร มีความสําคัญอย่างไร มีประสบการณ์ความรู้ในอาชีพอะไรบ้าง ฯลฯ
– เตรียมตั้งคําถามที่จะสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้า
– ลงพื้นที่ทําข่าว หากมีผู้สื่อข่าวในทีมหลายคนอาจแบ่งไปทําข่าวในกิจกรรมต่าง ๆ ตามเวลาในกําหนดการจัดงาน
– สัมภาษณ์แหล่งข่าวต่าง ๆ โดยต้องฟังและจับประเด็นสําคัญให้ได้
– เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว โดยอาจหาข้อมูลเสริมจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ มาใช้
ประกอบการเขียนข่าวดังกล่าว

แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น มีดังนี้
– คณบดีคณะสื่อสารมวลชน บรรดาอาจารย์ในงานไหว้ครู และตัวแทนนักศึกษาที่ได้ จัดพานมาไหว้ครู
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคําแหง
– นักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดผลงานต่าง ๆ
– ศิษย์เก่าที่มาเป็นวิทยากร และพิธีกรในงานเสวนา
– ผู้เข้าชมงาน และผู้ฟังในงานเสวนา
– เว็บไซต์และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
– เอกสารการจัดงานและหมายกําหนดการต่าง ๆ

ประเด็นเนื้อหาที่จะรายงาน แบ่งออกเป็น

1. ข่าวก่อนงาน ได้แก่
– เจ้าภาพจัดงานไหว้ครูเป็นใคร จัดที่ไหน วันที่ เวลาใด
– มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานอย่างไร
– กําหนดการจัดงาน กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานเริ่มเวลาใดบ้าง
– ศิษย์เก่าที่เป็นวิทยากรและพิธีกรในงานเสวนามีใครบ้าง
– ข้อมูลเสริมจากเว็บไซต์เกี่ยวกับตัววิทยากร หน้าที่การงานในปัจจุบัน

2. ข่าวหลังงาน ได้แก่
– บรรยากาศภายในงานไหว้ครูเป็นอย่างไร มีผู้มาร่วมงานคึกคักหรือไม่
– ความรู้สึกของอาจารย์และนักศึกษาที่มาไหว้ครู
– ความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดผลงานต่าง ๆ
– สาระสําคัญของคําพูดวิทยากรในงานเสวนาแต่ละคน โดยอาจหยิบยกข้อความ ที่เด่น ๆ มานําเสนอในลักษณะการอ้างคําพูดโดยตรง
– ความรู้สึกของผู้มาร่วมงาน
– ข้อมูลเสริมจาก Facebook ของคณะสื่อสารมวลชนเกี่ยวกับรูปภาพบรรยากาศ
ภายในงาน

ข้อ 2. จากเหตุการณ์ฝนตกหนักหลายชั่วโมง ทําให้น้ําท่วมขัง เกิดอุบัติเหตุ และการจราจรติดขัดใน กรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงบ่ายวานนี้ ต่อเนื่องถึงเช้าวันนี้
2.1 ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวจะรายงานเหตุการณ์นี้ในแง่มุมหรือประเด็นใดบ้าง เพื่อให้
ครอบคลุมสถานการณ์รอบด้าน
2.2 หาข้อมูลประกอบการเขียนข่าวดังกล่าวได้จากแหล่งข้อมูลใดบ้าง
2.3 ข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อมของข่าวหรือไม่ ถ้าควรมีน่าจะนําเสนอเนื้อหาใดบ้างในส่วนเชื่อมนั้น

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 83 – 91), (คําบรรยาย)
2.1 ประเด็นหรือแง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์นี้

– ฝนตกหนักทําให้มีพื้นที่ถูกน้ําท่วมขังจํานวนกี่จุด บนถนนสายใดบ้าง และเกิดอุบัติเหตุ ที่ไหน ระบุพิกัดให้ชัดเจน
– การระบายน้ำของ กทม. เป็นอย่างไร จุดไหนที่มีน้ําแห้งแล้วบ้าง อุโมงค์ระบายน้ำ ทํางานได้ดีแค่ไหน มีอุปสรรคและการแก้ปัญหาอย่างไร
– สภาพการจราจรเป็นอย่างไร ถนนสายไหนมีรถจอดเสียและน้ำท่วมสูง ควรเตือนให้ ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทาง

– สัมภาษณ์ผู้ว่าฯ กทม. เกี่ยวกับการลงพื้นที่ดูแลเรื่องการระบายน้ำ
– ความรู้สึกของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– รายงานเรื่องสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาและการเตือนภัยเกี่ยวกับพายุที่อาจ
ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

2.2 แหล่งข้อมูลที่นํามาประกอบการเขียนข่าวดังกล่าว
– ผู้ว่าฯ กทม.
– สํานักการระบายน้ำ กทม.
– ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ําท่วม กทม.
– เจ้าหน้าที่ กทม. ที่ทําหน้าที่ระบายน้ำและเก็บขยะ
– เจ้าหน้าที่จราจร
– ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– กรมอุตุนิยมวิทยา
– เว็บไซต์หรือ Facebook ของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้
– เพจชื่อดังหรือสื่อออนไลน์ที่แจ้งปัญหาน้ําท่วม พร้อมรูปภาพประกอบ

2.3 การเขียนข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อม โดยควรนําเสนอข้อมูลในส่วนเชื่อม ดังนี้
– อาจระบุคุณลักษณะของบุคคลในข่าว ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ยศหรือตําแหน่ง ฯลฯ และ คุณลักษณะของสถานที่ที่เป็นข่าว ได้แก่ บริเวณที่มีน้ําท่วมขังอยู่บนถนน/ซอยใดบ้าง อยู่ใกล้สถานที่สําคัญอะไร ฯลฯ
– อาจให้ภูมิหลังหรือความเป็นมาของเหตุการณ์ว่า จากกรณีเกิดฝนตกหนักทั่วพื้นที่ของ กทม. ตั้งแต่ช่วงเวลาใด ต่อเนื่องถึงช่วงเวลาไหน ของวันที่เท่าไหร่ โดยมีปริมาณ น้ำฝนสูงสุดวัดได้กี่มิลลิเมตร และพื้นที่ใดฝนตกหนักที่สุด

ข้อ 3. ถ้าทีมนักศึกษาภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวด อาหารและขนมประเภทเบเกอรี่ในเวทีการประกวดระดับนานาชาติ นักศึกษาจะรายงานข่าวนี้ อย่างไรบ้าง จงระบุแหล่งข่าว และคําถาม (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น และคําถาม

– ทีมนักศึกษาที่ชนะเลิศ : คําถาม เบเกอรี่ประเภทใดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จุดเด่นที่ ทําให้ชนะ/วัตถุดิบใดเป็นตัวชูโรง ได้รับรางวัลชนะเลิศจากผู้เข้าแข่งขันจํานวนกี่ทีม ใช้เวลาในการฝึกฝนทํากี่เดือน/ปี เคยได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดอื่นหรือไม่ และ ความรู้สึกที่ได้เป็นผู้ชนะ

– อาจารย์ที่ปรึกษา/คณบดีคณะคหกรรมศาสตร์ : คําถาม การให้คําแนะนําปรึกษาแก่ นักศึกษาในเรื่องใดบ้าง ใครเป็นผู้คิดค้นสูตรเบเกอรี เส้นทางการส่งเข้าประกวด และ การต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคต เช่น การจัดวางจําหน่ายเป็นสินค้า และช่องทางการ จัดจําหน่าย เป็นต้น
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนั้น : คําถาม การให้ความสนับสนุนคณะคหกรรมศาสตร์ใน อนาคต และความรู้สึกที่นักศึกษาได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
– ผู้จัดการประกวดระดับนานาชาติ : คําถาม เหตุผลที่ให้รางวัลชนะเลิศ และความเห็น ของคณะกรรมการท่านต่าง ๆ
– เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของเวทีการประกวดดังกล่าว เงินรางวัลที่ได้รับ และ สถิติย้อนหลังว่ามีทีมของมหาวิทยาลัยใดในไทยที่เคยได้รับรางวัลมาแล้วบ้าง
– เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น Facebook ของคณะคหกรรมศาสตร์ เพื่อหา รูปภาพของนักศึกษาที่ชนะเลิศ คณะอาจารย์ที่ปรึกษา และหน้าตาของเบเกอรีที่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ

ข้อ 4. สมมติเกิดอุบัติเหตุรถชนกันบริเวณถนนรามคําแหง ให้นักศึกษาคิดประเด็นข่าวที่ควรรายงานและ ระบุแหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว เพื่อให้สามารถรายงานข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วน
รอบด้าน

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 147 – 149), (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงาน มีดังนี้

– เกิดเหตุรถอะไรชนกัน มีคู่กรณีจํานวนกี่คัน รถชนกันบริเวณถนนรามคําแหงในช่วง ซอยอะไร ขาเข้าหรือขาออก ใกล้สถานที่สําคัญอะไรบ้าง ระบุพิกัดลงไปให้ชัดเจน
– มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตหรือไม่ ถ้ามีจํานวนกี่คน ชื่อ-นามสกุลอะไร อายุเท่าไหร่ อาการ ของผู้บาดเจ็บเป็นอย่างไร กู้ภัยนําส่งโรงพยาบาลไหน
– สภาพความเสียหายในที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร รถเกิดไฟลุกไหม้หรือไม่ และสามารถ เคลื่อนย้ายรถออกจากพื้นที่ได้เองหรือต้องใช้รถยก
– สัมภาษณ์คู่กรณีเกี่ยวกับลําดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จราจร และชาวบ้านที่ เห็นเหตุการณ์ในละแวกนั้น
– การดําเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตํารวจ การตรวจดูกล้องวงจรปิด กล้องหน้ารถ เพื่อยืนยันว่า ใครถูกใครผิด ผิดด้วยข้อหาอะไร และมีโทษเป็นอย่างไร
– การชดใช้ความเสียหายต่อผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตจากประกันภัยรถยนต์
– สภาพการจราจรบนถนนรามคําแหงภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ รถติดไปจนถึงแยกไหน ถนน/ซอยอะไร ต้องปิดการจราจรหรือไม่ พร้อมทั้งบอกเส้นทางหลีกเลี่ยง

แหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว

– คู่กรณีจากอุบัติเหตุรถชนกัน
– เจ้าหน้าที่จราจร
– อาสากู้ภัยต่าง ๆ
– แพทย์/โรงพยาบาล
– ประกันภัยรถยนต์
– ผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้ใช้รถใช้ถนนในละแวกนั้น
– ข้อมูลเสริมจากกล้องวงจรปิด กล้องหน้ารถ
– คลิปภาพเหตุการณ์ในมุมต่าง ๆ ที่มีผู้ถ่ายเอาไว้ได้และเอามาลงใน Facebook หรือ
เพจชื่อดัง

ข้อ 5. ให้นักศึกษาคิดประเด็นข่าว ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา ข่าวการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย หรืออาจเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย อย่างละ 1 ข่าว (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 159, 165 – 166, 182),
(คําบรรยาย)
ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหรืออาจเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย

1. ข่าวเศรษฐกิจ คือ ข่าวมหาวิทยาลัยรามคําแหงขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าบํารุง มหาวิทยาลัย สําหรับนักศึกษาใหม่ตั้งแต่ภาค 1/2560 แต่ค่าหน่วยกิตยัง 25 บาท
เหมือนเดิม

2. ข่าวกีฬา ได้แก่ ข่าวการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยมีมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็น
เจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว

3. ข่าวการเมือง ได้แก่ ข่าวมหาวิทยาลัยรามคําแหงจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภานักศึกษา (ส.ม.ร.) และคณะกรรมการองค์การนักศึกษา (อ.ศ.ม.ร.)

ข้อ 6. เหตุใดสื่อมวลชนจึงรายงานข่าวการรับน้องของสถาบันการศึกษาที่มีการแสดงพฤติกรรม
ไม่เหมาะสมเป็นประจําทุกปี รวมทั้งรายงานอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากเกิดเหตุ
อธิบายโดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับคุณค่าเชิงข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 2 – 6), (คําบรรยาย)

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานเป็นข่าวในสื่อมวลชนไทย เนื่องจากมีคุณค่าเชิงข่าว (News Values) ดังนี้

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น สงสารและรู้สึก เห็นอกเห็นใจรุ่นน้องที่เป็นผู้ถูกกระทํา หรือรู้สึกโกรธและเกลียดรุ่นพี่ที่ไม่มีวุฒิภาวะและไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดกิจกรรมการรับน้องในทางที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้หากรุ่นน้องที่ถูกกระทําเป็นเพศทางเลือกหรือ เพศที่สามก็ยังเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในเรื่องเพศอีกด้วย

2. ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นความใกล้ชิดทาง กายระหว่างผู้อ่านกับตัวเหตุการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นความใกล้ชิดทางใจ หากผู้อ่านเป็นนักศึกษาที่กําลังศึกษาอยู่
หรือเคยจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เป็นข่าว

3. ความโดดเด่น ดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาที่เป็นข่าว รวมทั้งความดังของสถานที่ที่ทํากิจกรรมรับน้อง หากสถานที่นั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนทั่วไปรู้จัก

4. ความขัดแย้ง/การเผชิญหน้า คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งทางกายและ ความคิด นอกจากนี้ยังมีการเผชิญหน้าระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง มีการบังคับให้ทํากิจกรรมรับน้องที่ไม่เหมาะสม และมีการกระทําทางวาจาที่ไม่สุภาพต่าง ๆ เพื่อให้รุ่นน้องได้รับความอับอายหากไม่ปฏิบัติตามที่รุ่นพี่สั่ง 5. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 7. จากข้อมูลต่อไปนี้ ให้นักศึกษาเขียนหัวข่าวและเนื้อข่าวสําหรับหนังสือพิมพ์ หากนักศึกษาเห็นว่า ข้อมูลที่กําหนดให้ยังไม่สมบูรณ์ นักศึกษาสามารถสมมติข้อมูลเพิ่มเติมและแหล่งข่าวที่จําเป็นได้ตามสมควร

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ภาค 2 ปีการศึกษา 2560 ที่ส่วนกลาง (ม.ร. หัวหมาก) ระหว่างวันที่ 11 – 14 พฤศจิกายน 2560 (ทุกวัน) พร้อมเปิดรับ สมัครทางอินเทอร์เน็ตที่ www.iregis2.ru.ac.th ตั้งแต่บัดนี้ – 14 พฤศจิกายน 2560 รวมทั้ง เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในระบบ Pre-degree เพื่อสะสมหน่วยกิต ล่วงหน้า โดยสามารถนําหน่วยกิตมาเทียบโอนได้เมื่อจบ ม.6 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ปรับ การเรียนการสอน เพื่อขยายการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจมากขึ้น โดยมีแนวทางต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ และผู้ที่จบอนุปริญญาขึ้นไปได้พัฒนาศักยภาพ และเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น รวมถึงให้โอกาสนักศึกษาเก่า ม.ร. ที่เคยสมัครเรียนแต่ยังไม่จบ สามารถนําหน่วยกิตที่เคยสอบผ่านมาเทียบโอนเพื่อต่อยอดความรู้จนสําเร็จปริญญาตรีด้วย ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรับสมัคร อาคาร สวป. ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคําแหง โทร 02-310-8614-24 หรือ www.ru.ac.th, Facebook : PR Ramkhamhaeng University

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118), (คําบรรยาย)

หัวข่าว

ม.ร. เปิดรับ นศ. ใหม่ภาค 2/2560

ไอเดียสุดชิค “เรียนไม่จบเทียบโอนได้

เนื้อข่าว (ข้อมูลเพิ่มเติม คือ ข้อมูลที่ขีดเส้นใต้)

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ภาค 2 ปีการศึกษา 2560 เฉพาะส่วนกลาง (ม.ร. หัวหมาก) โดยมีคณะที่เปิดสอน 13 คณะ ได้แก่ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สื่อสารมวลชน วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ทัศนมาตรศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ และเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าศึกษาในระบบ Pre-degree เพื่อสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า โดยสามารถนําหน่วยกิตมาเทียบโอนได้เมื่อจบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ทางมหาวิทยาลัยยังได้ปรับการเรียนการสอน เพื่อขยายการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่ สนใจมากขึ้น โดยมีหลายแนวทางเพื่ออํานวยความสะดวกให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ และผู้ที่จบอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไปได้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น รวมถึงให้โอกาสนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่เคยสมัครเรียนแต่ยังไม่จบ สามารถนําหน่วยกิตที่เคยสอบผ่านมาเทียบโอน เพื่อต่อยอดความรู้จนสําเร็จ ปริญญาตรีด้วย

ผู้สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองระหว่างวันที่ 11 – 14 พฤศจิกายน 2560 (ทุกวัน) ตั้งแต่ เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช หรือสมัครทางอินเทอร์เน็ตที่ www.iregis2.ru.ac.th ตั้งแต่บัดนี้ – 14 พฤศจิกายน 2560 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายรับสมัคร อาคาร สวป. ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคําแหง โทร 02-310-8614-24 หรือ www.ru.ac.th, Facebook : PR Ramkhamhaeng University

CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2260 (MCS 2201) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 9 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปทําข่าวสถานการณ์โรฮีนจาในพื้นที่ภาคใต้ จงวางแผนการทําข่าวดังกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะรายงานสถานการณ์นี้ในแง่มุมหรือประเด็นใดบ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

จากการรายงานสถานการณ์ดังกล่าว ผู้สื่อข่าวต้องวางแผนการทําข่าว ดังนี้

– ผู้สื่อข่าวต้องลงไปยังพื้นที่ภาคใต้ที่มีการพบหลุมศพชาวโรฮีนจา
– สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อคิดหาแหล่งข่าวที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องนี้ได้ และเตรียมตั้งคําถามไว้ก่อนล่วงหน้า
– สัมภาษณ์แหล่งข่าว เช่น เจ้าหน้าที่ทหารและตํารวจที่เข้าตรวจสอบพื้นที่, ชาวโรฮีนจา ที่ลักลอบเข้ามาในไทย, องค์กรทางศาสนาอิสลามของไทยที่ให้ความช่วยเหลือชาวโรฮีนจา เป็นต้น
– ฟังและจับประเด็นสําคัญจากการสัมภาษณ์ให้ได้
– ตั้งคําถามในประเด็นที่อยากรู้เพิ่มเติม
– เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว

ประเด็นแง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว มีดังนี้

– มีการพบหลุมศพของชาวโรฮีนจาที่ไหน จังหวัดอะไร เมื่อเวลา วันที่เท่าใด และใคร
เป็นผู้พบ
– จากการตรวจสอบพื้นที่ของเจ้าหน้าที่พบอะไรบ้าง เช่น หลุมศพมีกี่หลุม ชาวโรฮีนจา ที่ลักลอบเข้ามามีกี่คน มีผู้บาดเจ็บหรือไม่ และมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร
– เจ้าหน้าที่และองค์กรทางศาสนาอิสลามให้การช่วยเหลือชาวโรฮีนจาที่ลักลอบเข้ามา อย่างไร และนําตัวไปไว้ที่ไหน
– การสืบสวนของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับนายหน้าที่ลักลอบนําชาวโรฮีนจาเข้ามา และประเทศ
ที่ชาวโรฮีนจาต้องการจะไป
– การดําเนินคดีและมาตรการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งการส่งตัวชาวโรฮีนจากลับไปยังประเทศต้นทาง
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับประวัติชาวโรฮีนจา มีความเป็นมาอย่างไร มีปัญหาอะไรกับประเทศ ต้นทางถึงต้องอพยพไปยังประเทศที่ 3

ข้อ 2.
2.1 การรายงานข่าวกีฬามีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการรายงานข่าวอื่น ๆ อย่างไร จงอธิบาย
2.2 ยกตัวอย่างประเด็นที่ควรรายงานในข่าวกีฬา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการแข่งขัน และไม่เกี่ยวข้อง
กับการแข่งขันโดยตรง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 183 – 185), (คําบรรยาย)

2.1 ลักษณะพิเศษของการรายงานข่าวกีฬาที่แตกต่างจากการรายงานข่าวอื่น ๆ มีดังนี้

1. ข่าวกีฬามีลักษณะเป็นวงจรเช่นเดียวกับการจัดการแข่งขัน กล่าวคือ การแข่งขันกีฬา รายการต่าง ๆ จะจัดขึ้นตามระยะเวลาที่กําหนดหรือตามฤดูกาล ทําให้ข่าวกีฬามักจะวนเวียนอยู่กับข้อมูลเดิม จนอาจทําให้ข่าวขาดความน่าสนใจไป ในขณะที่ผู้อ่านต้องการความแปลกใหม่อยู่ตลอด ดังนั้นการรายงานข่าว กีฬาจึงต้องพยายามหาข้อมูลใหม่ ๆ หรือเป็นความเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทีม นักกีฬาในแต่ละ ทีม และนักกีฬาที่เป็นดาราในทีม

2. ข่าวกีฬาใช้ถ้อยคําที่มีสีสันชวนติดตาม กล่าวคือ ข่าวกีฬาเป็นการรายงานข้อเท็จจริง ของผลการแข่งขัน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเกมที่มีลีลาการเคลื่อนไหวที่ตื่นเต้น เร้าใจ ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงค่อนข้างมี สีสันหรือใช้ถ้อยคําหวือหวา อาจมีการใช้สํานวนอุปมาอุปไมย การให้สมญานาม วลีใหม่ ๆ การบรรยายให้ถึงลูก ถึงคน ซึ่งจะไม่สามารถนําไปใช้ในการรายงานข่าวอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้การเขียนข่าวกีฬายังมีการใช้คําฟุ่มเฟือย มากกว่าการเขียนข่าวทั่วไป เพื่อให้เห็นภาพพจน์และรู้สึกตื่นเต้นเร้าไปไปกับกีฬาประเภทต่าง ๆ

3. ข่าวกีฬาเป็นการรายงานข่าวในเชิงวิเคราะห์ทํานายผลการแข่งขัน กล่าวคือ ผู้สื่อข่าว กีฬาสามารถแสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์ทํานายผลการแข่งขันว่าทีมใดน่าจะเป็นผู้ชนะ โดยนําข้อมูลทุกด้าน ที่มี รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ที่มีชื่อเสียงหรือผู้เชี่ยวชาญในกีฬานั้น ๆ มาสนับสนุนการวิเคราะห์ของตน ซึ่งจะ แตกต่างจากข่าวประเภทอื่น ๆ ๆ

2.2 ประเด็นที่ควรรายงานในข่าวกีฬา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการแข่งขัน และไม่เกี่ยวข้องกับ
การแข่งขันโดยตรง มีดังนี้

1. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแข่งขัน ได้แก่
– มีการแข่งขันอะไร ที่ไหน วันที่ เวลาใด
– ผู้เล่นแต่ละทีมประกอบด้วยใครบ้าง แต่ละคนมีตําแหน่งการเล่นสําคัญอย่างไร
– ผลงานสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา
– รายละเอียดของการแข่งขันตั้งแต่ต้นจนจบ
– ผลการแข่งขันใครชนะใครแพ้ ผู้เล่นดีเด่นมีใครบ้าง
– ความคิดเห็นที่มีต่อการแข่งขันทั้งของนักกีฬาดาวเด่นและผู้จัดการทีม
– การเตรียมตัวแข่งขันในนัดต่อไป
2. ประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันโดยตรง ได้แก่
– การซื้อขายตัวนักกีฬา
– การย้ายทีมของนักกีฬาและโค้ช
– การฝึกซ้อม การเตรียมทีม

– การคัดเลือกตัวนักกีฬา
– การบาดเจ็บของผู้เล่นระหว่างฝึกซ้อม
– ความเคลื่อนไหวของบุคคลหรือองค์กรในแวดวงกีฬา
– เรื่องส่วนตัวของนักกีฬาคนดัง

ข้อ 3. ในการเขียนข่าวดาราชายชื่อดังขับรถชนคนตาย ควรระบุถึงคุณลักษณะ/คุณสมบัติ (Identification) อะไรบ้างในข่าว ยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 119 – 122), (คําบรรยาย)

คุณลักษณะที่ต้องระบุในการเขียนข่าวดาราชายชื่อดังขับรถชนคนตาย มีดังนี้

1. คุณลักษณะของบุคคล ได้แก่

– ชื่อ-นามสกุลของดาราชายที่ก่อเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– อายุของดาราชายที่ก่อเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี)
– อาชีพของผู้ก่อเหตุเป็นดาราหรือนักแสดงสังกัดช่องไหน รวมทั้งอาชีพของ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี) – ยศหรือตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– เกียรติภูมิหรือชื่อเสียงของดาราชายที่ก่อเหตุ มีผลงานการแสดงเรื่องอะไรบ้าง เรื่องใดทําให้มีชื่อเสียง และมีประชาชนรู้จักมากที่สุด
– ที่อยู่ของดาราชายที่ก่อเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี)
– ชื่อเล่น หรือชื่อที่ใช้ในวงการการแสดงของดาราชายที่ก่อเหตุ

2. คุณลักษณะของสถานที่ ได้แก่ เหตุการณ์รถชนเกิดขึ้นที่ไหน ซึ่งต้องระบุคุณลักษณะ โดยการบอกที่ตั้ง เลขที่ ซอย ถนน ตําบล อําเภอ และจังหวัด หากสถานที่นั้นอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหรือ สถานที่ที่เป็นทีรู้จักกันดีก็ต้องระบุลงไปด้วย

3. คุณลักษณะของเหตุการณ์ ได้แก่ ลําดับเหตุการณ์รถชนตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุดาราชาย อยู่ที่ไหน ขับรถมาจากไหนเพื่อจะไปที่ใด เวลาที่เกิดเหตุรถชน จากนั้นเหตุการณ์ดําเนินไปอย่างไร จบลงอย่างไร และผลที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์จบลงแล้ว มีสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จํานวนผู้เสียชีวิตและ ผู้บาดเจ็บ คําพูดของผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้บาดเจ็บ และการดําเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตํารวจ

ข้อ 4. ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวอาจารย์และกลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง คิดค้นครีมกันแดดประสิทธิภาพสูงจากว่านหางจระเข้และใบบัวบกสําเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย

4.1 อยากทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวใด และควรนําเสนอประเด็นใดบ้าง

4.2 การเขียนข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อมหรือไม่ ถ้าควรมี ควรนําเสนอข้อมูลใดในส่วนเชื่อมดังกล่าว
ไม่ต้องเขียนข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 83 – 91, 178 – 181), (คําบรรยาย)

4.1 แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น และประเด็นที่ควรนําเสนอ มีดังนี้

1. การรายงานข่าวข้างต้นสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวต่อไปนี้ อาจารย์ที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยดังกล่าว

– กลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกันคิดค้นครีมกันแดด
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนั้นที่สนับสนุนการวิจัย
– กลุ่มอาสาสมัครที่ทดลองใช้ครีมกันแดด
– กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– สํานักงานวิจัยแห่งชาติ
– สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
– สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.)
– กรมทรัพย์สินทางปัญญา
– เว็บไซต์ข้อมูลสรรพคุณของว่านหางจระเข้และใบบัวบก

2. ประเด็นที่ควรนําเสนอในข่าวข้างต้น ได้แก่

– มีการคิดค้นอะไร ใครเป็นผู้คิดค้น เมื่อวันที่เท่าใด ที่ไหน
– สาเหตุที่มีการคิดค้นขึ้นมา และใช้เวลาค้นคว้าวิจัยกี่ปี
– ส่วนประกอบในครีมกันแดดมีอะไรโดดเด่น และมีสรรพคุณอะไรบ้าง
– ประสิทธิภาพของครีมกันแดดดังกล่าว มีความแตกต่างจากครีมกันแดดในท้องตลาดอย่างไร
– การทดลองใช้กับกลุ่มอาสาสมัครได้ผลเป็นอย่างไร
– การรับรองจากหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของภาครัฐ การจดสิทธิบัตร และ แผนการผลิตออกสู่ท้องตลาดในอนาคต

4.2 การเขียนข่าวข้างต้นควรมีส่วนเชื่อม โดยควรนําเสนอข้อมูลในส่วนเชื่อม ดังนี้

– อาจระบุคุณลักษณะของบุคคลในข่าว ได้แก่ อาจารย์และกลุ่มนักศึกษาที่คิดค้น โดย บอกชื่อ-นามสกุล ตําแหน่งทางวิชาการ ชั้นปีที่นักศึกษากําลังศึกษาอยู่ ชื่อคณะ และ ชื่อมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักบุคคลในข่าวมากขึ้น

– อาจให้ภูมิหลังหรือความเป็นมาว่าอาจารย์และกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เคยคิดค้นผลิตภัณฑ์อะไรมาก่อนหน้านี้หรือไม่ หรือเคยมีชื่อเสียงจากการประดิษฐ์คิดค้นอะไรมาก่อน

– ให้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับว่านหางจระเข้และใบบัวบก ทั้งเรื่องสรรพคุณและประโยชน์ใน การบํารุงผิว

ข้อ 5. การรายงานข่าวมรณกรรมของเจ้าอาวาสวัดที่มีชื่อเสียง ควรนําเสนอประเด็นอะไรบ้าง และ เหตุการณ์ดังกล่าวมีคุณค่าเชิงข่าวอย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 2 – 6, 131 – 132) (คําบรรยาย)

ประเด็นที่ควรรายงานในข่าวมรณกรรมของเจ้าอาวาสวัดที่มีชื่อเสียง มีดังนี้

– เจ้าอาวาสชื่ออะไร เป็นเจ้าอาวาสวัดไหน ได้มรณภาพลงแล้วเมื่ออายุเท่าใด โดยต้อง ระบุเวลา วันที่ และสถานที่มรณภาพด้วยว่าคือที่ไหน (เช่น ที่โรงพยาบาล หรือที่วัด)
– สาเหตุที่มรณภาพ เช่น ระบบอวัยวะภายในล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น ฯลฯ
– เหตุการณ์ก่อนหน้าเจ้าอาวาสมีอาการอย่างไร เคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหรือไม่
– เหตุการณ์ตื่นเต้นในขณะที่เจ้าอาวาสใกล้จะมรณภาพ ลางร้าย หรือลางสังหรณ์ก่อนที่
จะมรณภาพ
– ประวัติของเจ้าอาวาส เช่น เดิมชื่อว่าอะไร เกิดเมื่อไหร่ มีภูมิลําเนาเดิมอยู่ที่ไหน บิดา-มารดาชื่ออะไร บรรพชาและอุปสมบทที่วัดใดเมื่ออายุกี่ปี โดยต้องบอกด้วยว่า ท่านโด่งดังมีชื่อเสียงและได้รับความนับถือในด้านไหน และได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่
สังคมไทยอย่างไรบ้าง
– รายละเอียดของพิธีศพ เช่น พิธีสวดอภิธรรมจัดที่ไหน ใช้เวลากี่วัน ผู้ใดเป็นเจ้าภาพใน การสวดอภิธรรม กําหนดการบรรจุศพ และกําหนดการฌาปนกิจ

เหตุการณ์ดังกล่าวมีคุณค่าเชิงข่าว (News Values) ดังนี้

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น โศกเศร้าเสียใจที่ ต้องสูญเสียปูชนียบุคคลที่สร้างคุณงามความดีให้กับพระพุทธศาสนา เป็นต้น

2. ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นความใกล้ชิดทาง กายระหว่างผู้อ่านกับตัวเหตุการณ์ และยังเป็นความใกล้ชิดระหว่างผู้อ่านกับตัวบุคคล (เจ้าอาวาส) ซึ่งเป็นที่ เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

3. ความโดดเด่นดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

4. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 6. จากหลักการเกี่ยวกับการรายงานข่าวตามวาระโอกาส

6.1 จงคิดประเด็นข่าวที่ควรรายงานในช่วงวันแรงงานแห่งชาติ ยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย
3 ประเด็น

6.2 แต่ละประเด็นในข้อ 6.1 มีแหล่งข่าวอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

6.1 ประเด็นข่าวที่ควรรายงานในช่วงวันแรงงานแห่งชาติ มีดังนี้
1. ประยุทธ์รับ 11 ข้อเรียกร้องแรงงาน ขอขึ้นค่าแรงเป็น 360 บาท
2. นักวิชาการมองกฎหมายเพื่อคุณภาพ ชีวิตแรงงานกับค่าจ้างขั้นต่ําที่เหมาะสม
3. แรงงานไทยกระอัก นักวิชาการแฉหนี้ท่วม 94%

6.2 แหล่งข่าวในแต่ละประเด็นข้างต้น
1. ประยุทธ์รับ 11 ข้อเรียกร้องแรงงาน ขอขึ้นค่าแรงเป็น 360 บาท
– พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
– คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยที่ยื่นข้อเรียกร้อง
– คณะกรรมการค่าจ้างแรงงาน
– เว็บไซต์ของกรมจัดหางานที่รับผิดชอบเรื่องแรงงาน
– เว็บไซต์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำแต่ละประเทศใน AEC
– เว็บไซต์ข้อมูลเปรียบเทียบอัตราว่างงานในต่างประเทศ

2. นักวิชาการมองกฎหมายเพื่อคุณภาพ ชีวิตแรงงานกับค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสม
– นักวิชาการแต่ละคนที่มาร่วมเสวนา โดยเลือกคนที่มีความโดดเด่น
– เว็บไซต์ข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยแรงงานเอกชนในแต่ละปี ปัจจุบันเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
– เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

3. แรงงานไทยกระอัก นักวิชาการแฉหนี้ท่วม 94%
– นักวิชาการที่ให้ข้อมูล
– ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
– เอกสารผลสํารวจสถานภาพแรงงานไทย
– เอกสารเกี่ยวกับตัวเลขหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทย

ข้อ 7. จากข้อมูลต่อไปนี้ จงเขียนเนื้อข่าวและหัวข่าว สําหรับหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์

สื่อออนไลน์ชั้นนํา 17 แห่งของไทย ได้แก่ 1. บริษัท ไทยเดย์ ดอทคอม จํากัด (www.manager.co.th) 3. บริษัท เดลินิวส์เว็บ จํากัด (www.dailynews.co.th)
2. บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จํากัด (www.thairath.co.th) 4. บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) (www.matichon.co.th, www.khaosod.co.th, www.prachachat.net) 5. บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) (www. bangkokpost.co.th, www.posttoday.com, www.student-weekly.com) 6. บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) (www.nationmultimedia.com, www.komchadluek.com, www.bangkokbiznews.com) 7. บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จํากัด (มหาชน) (www.siamsport.co.th, www.siamdara.com, www.siamsporttv.com, www.sbt.co.th) 8. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (www.thannews.th.com) 9. หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ (www.siamrath.co.th) 10. หนังสือพิมพ์ดาราเดลี่ (www.daradaily.com) 11. หนังสือพิมพ์แนวหน้า (www.naewna.com) 12. หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ (www.chiangmainews.co.th) 13. องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (www.thaipbs.or.th) 14. บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) (www.mcot.net) 15. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (www.banmuang.co.th) 16. สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ (www.springnewstv.tv) และ 17. บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดแคสติ้ง จํากัด (www.pptvthailand.com) ได้รวมตัวกันจัดตั้ง “สมาคมผู้ผลิตข่าว ออนไลน์ – Society of Online News Providers (SONP) ขึ้น เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 ที่สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมประกาศเจตนารมณ์ มุ่งมั่น ส่งเสริม และสนับสนุนสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของ ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนการที่ประชาชนรับรู้ข่าวสารออนไลน์ผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่ผ่านกระบวนการทางวารสารศาสตร์จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตข่าวแต่ละรายโดยตรง และร่วมกันหยุดยั้งผู้ประกอบการเว็บไซต์เชิงธุรกิจในการนําเนื้อหาข่าวและภาพข่าวไปใช้โดยพลการ ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ผลิตโดยเว็บไซต์สมาชิก

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนผ่านแบบก้าวกระโดดของกระบวนการข่าวสารในปัจจุบันบนโลกออนไลน์ และโซเชียลมีเดียถือว่ามีบทบาทอย่างมาก เมื่อรวมกับเทคโนโลยีความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์มือถือ ช่องทาง การนําเสนอและรับข่าวสารในปัจจุบันที่หลากหลายขึ้น แต่ยังขาดบุคลากรด้านนี้อีกเป็นจํานวนมาก ดังนั้นสมาคมผู้ผลิตข่าว ออนไลน์ได้เล็งเห็นความสําคัญของการเสริมสร้างความรู้ให้กับนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างผู้ผลิตข่าวรุ่นใหม่ ให้มีคุณภาพ และมีความเข้าใจบทบาทภารกิจที่แท้จริงของผู้ผลิตข่าวออนไลน์มากขึ้น จึงได้เชิญชวนน้อง ๆ นิสิตนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ในระดับอุดมศึกษาสาขานิเทศศาสตร์, วารสารศาสตร์, ประชาสัมพันธ์, สื่อสารการตลาด และออกแบบ สื่อดิจิทัล ร่วมเข้าค่ายโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ “Young Digital News Providers Camp 2015” ผู้เข้าอบรมจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์และทักษะด้านต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรที่มี ประสบการณ์ตรงจากองค์กรผู้ผลิตข่าวออนไลน์ รับจํานวนจํากัดเพียง 45 คนเท่านั้น ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่นี่ http://www.somp.or.th/wpcontent/uploads/2015/05/YDJC-forweb02.pdf รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 พ.ค. 2558

การอบรมจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 – วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จังหวัดปทุมธานี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยได้รับการสนับสนุนหลักจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือดีแทค, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสนับสนุนร่วมโดยบริษัท จีเอเบิล จํากัด, บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จํากัด สํานักงานใหญ่

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118, 151), (คําบรรยาย)

หัวข่าว
SONP จัดอบรมฟรี! ผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์
เนื้อข่าว

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) จัดอบรมฟรี โครงการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ รุ่นที่ 1 ติวเข้มนิสิตนักศึกษาให้เป็นผู้สื่อข่าวที่มีคุณภาพ

ผู้ที่จะสมัครเข้าอบรมต้องเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ในระดับอุดมศึกษา สาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารการตลาด และออกแบบสื่อดิจิทัล ร่วมเข้าค่ายโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ “Young Digital News Providers Camp 2015” ในวันศุกร์ที่ 26 – วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จังหวัดปทุมธานี โดยจะรับจํานวนจํากัดเพียง 45 คนเท่านั้น ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 พ.ค. 2558 หรือดาวน์โหลด ใบสมัครได้ที่นี่ http://www.sonp.or.th/wp-content/uploads/2015/05/YDJC-forweb02.pdf

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (Society of Online News Providers : SONP) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยเกิดจากการรวมตัวกันของสื่อออนไลน์ ชั้นนํา 17 แห่งของไทย ได้แก่ บริษัท ไทยเดย์ ดอทคอม จํากัด (www.manager.co.th) บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จํากัด (www.thairath.co.th) บริษัท เดลินิวส์เว็บ จํากัด (www.dailynews.co.th) บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) (www.matichon.co.th, www.khaosod.co.th, www.prachachat.net) บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) (www.bangkokpost.co.th, www.posttoday.com, www.student-weekly.com) บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) (www.nationmultimedia.com, www.komchadluek.com, www. bangkokbiznews.com) บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จํากัด (มหาชน) (www.siamsport.co.th, www.siamdara. com, www.siamsporttv.com, www.sbt.co.th) หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (www.thannews.th.com) หนังสือพิมพ์สยามรัฐ (www.siamrath.co.th) หนังสือพิมพ์ดาราเดลี่ (www.daradaily.com) หนังสือพิมพ์แนวหน้า (www.naewna.com) หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ (www.chiangmainews.co.th) องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (www.thaipbs.or.th) บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) (www.mcot.net) หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (www.banmuang.co.th) สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ (www.springnewstv.tv) และ บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดแคสติ้ง จํากัด (www.pptvthailand.com)

ข้อ 8. จากบทความในเฟซบุ๊กของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา นักคิดนักเขียนชื่อดัง เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา จงเขียนเนื้อข่าวและหัวข่าว สําหรับหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์

“พวกเราตั้งทีมอาสากู้ภัยตอนน้ำท่วมใต้ปี 54 ตามด้วยวิกฤติมหาอุทกภัยภาคกลาง ทําทุกอย่างทุกวันตลอด สามเดือน ขบวนการกู้โลก Trekker Volunteers (นักเดินป่าอาสากู้ภัยไทยแลนด์) เห็นมากับตาว่า 1. ของบริจาคล้นเกิน และไปไม่ถึงพื้นที่ รถ/เรือเข้าไปไม่ได้ ต.ย.ตอนถนนสะพานข้ามแม่น้ําตาปีที่สุราษฎร์ขาด ขบวนรถส่งของลงใต้ก็ติดแหง็ก ไปหลายวัน ยังไงก็ไม่ทันการ พวกเราจึงโอนเงินบริจาคที่รวบรวมมาให้ทีมกู้ภัยในพื้นที่ไปซื้อน้ําดื่มที่หาดใหญ่ไปช่วยคนนบพิตํา (นครศรีฯ) เป็นอันดับแรก ของถึงผู้ประสบภัยทันเวลา ไม่ต้องยุ่งกับการขนส่งจากกรุงเทพฯ ด้วย….. แล้วนี่ไกลถึงเนปาล ขนส่งต้องใช้เครื่องบินเท่านั้น ใครจะหอบขึ้นเครื่องไปเองก็ได้แค่คนละ 20 – 30 กก. เลิกคิดได้เลย 2. บะหมี่สําเร็จรูป เยอะมากจนผู้ประสบภัยงงว่าส่งมาทําไม ไฟจะต้มน้ําก็ไม่มี ฝืดคอกินไม่ลงด้วย…. ข้าวกล่องของสด บูดเสียเป็นกองพะเนิน เพราะแพ็คไม่เป็น ขนไปแจกไม่ทัน และยังสร้างภาระให้อาสาสมัครที่มาช่วยลําเลียงมาก ๆ (ต้องดม เสียเวลาคัดทิ้ง) คนทํางานอยากได้เชือก เรือ เครื่องมือแพทย์พื้นฐาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ก็ไม่ค่อยมีใครบริจาคมา มีแต่ที่ไปกองอยู่ตาม หน่วยงานรัฐซึ่งทีมอาสาคนนอกจะเข้าไปขอมาใช้งานก็ยุ่งยากลําบากเหลือทน 3. คนบริจาคถือโอกาสโละเสื้อผ้าเก่าเยอะเกิน จนเป็นภาระหน่วยงานที่รับบริจาค (ที่ดอนเมืองตอนน้ําท่วมกรุง ยังมีภาพภูเขาเสื้อผ้าสูงเกือบชนเพดานที่ทําการท่าอากาศยาน แล้วในที่สุดของทั้งหมดที่คัดแยกขนส่งไม่ทันก็ต้องจมหายไปกับน้ํา) สําหรับกรณีนี้ขอบอกว่าเนปาลมีเสื้อผ้าสิ่งทอขายตามตลาด เหลือล้น ราคาถูกกว่าบ้านเราด้วย ย่านทาเมลทั้งสายถนนขายแต่เสื้อผ้า outdoor คนไทยชอบไปหอบเสื้อ North Face ตัวละสองสามร้อยมาเป็นโหล ๆ แท้รึเปล่าไม่รู้ แต่คุณภาพใช้ได้เลย…. นี่ตัวอย่างให้เห็นภาพ ไม่ต้องคิดเลยนะเรื่องบริจาคเสื้อผ้า ให้คนเนปาล 4. การเดินทางไปช่วยด้วยตนเอง ถ้าทําอะไรไม่ค่อยเป็นก็จะกลายเป็นภาระคนอื่นเปล่า ๆ และอาจเจ็บป่วย ซะเองด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขาดน้ําดื่ม ไฟฟ้าสําหรับหุงต้ม และห้องสุขา เนปาลยามนี้คงต้องการแพทย์และทีมกู้ภัย มือโปรที่มีอุปกรณ์ติดไปด้วยมากที่สุด (เพิ่งไปมาเมื่อเดือนก่อน เห็นการขุดถนนขนหินด้วยแรงคนล้วน ๆ ในกาฐมาณฑุแล้ว ฟันธงได้เลยว่าเครื่องมือรื้อตัดขุดเจาะจะต้องมีน้อยมากเมื่อเทียบกับชาวจิตอาสามามือเปล่าที่แห่กันเข้าไป)… ขอร้องเลย อย่าไปถ้าทําได้แค่ช่วยยกเศษซากทีละชิ้น เขามีแรงคนช่วยกันเองอยู่แล้ว แต่ต้องการเครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญการกอบกู้ภัย พิบัติจ๊ะ ดูนี่ซะก่อน… แค่สองวันเริ่มมีคําเตือนแล้วว่า อย่ารีบเข้าไปโดยไม่ประสานกับหน่วยงานใดในพื้นที่ ขนาดทีมแพทย์ที่ บุกไปกันเองยังหาซื้ออาหารมาเลี้ยงตัวไม่ได้ แล้วจะมีปัญญาไปช่วยใคร…. 5. การบริจาคเงินทางหน่วยงานต่าง ๆ เราต้อง ตรวจสอบว่าจะเอาเงินไปช่วยแค่ไหนอย่างไร (เรื่องมันยาว… ไม่ขอเล่าตรงนี้ดีกว่า) ขอเสนอให้เลือกองค์กรที่ส่ง จนท. เข้าไป ปฏิบัติงานจริงและทันการณ์ มิฉะนั้นเงินของท่านจะกลายเป็นถนนห่วย ๆ ห้องสุขาแบบราดไม่ลงในอีกสามเดือนข้างหน้า (ผลจากการเปิดประมูลงานให้พวกรับเหมาก่อสร้างไปทําแทน) แล้วชาวบ้านก็ไม่ได้ใช้ แถมยังติดป้ายบริจาคคิดเป็นมูลค่า แพงกว่าให้เงินเขาไปสร้างกันเองทั้งสองสามเท่าให้เจ็บใจกันอีก…. ตอนเกิดวาตภัยซัดถล่มย่างกุ้ง เนื่องจากอยู่ใกล้ ๆ มีเพื่อน รวบรวมเงินแลกเป็นเงินจ๊าดพม่าหอบไปซื้อหาข้าวของแถวนั้นแจกจ่ายเองกับมือเลย เพราะตอนนั้นเมียนมาร์ยังไม่ค่อยเปิดรับชาติตะวันตก และกระแสข่าวสับสนจนไม่รู้ว่าหน่วยงานไหนสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้จริงบ้าง

อนึ่งมีผู้แนะนําว่า…. cr@Mattana Kettrarad “ดังนั้นดีที่สุดคือ ให้เป็นเงินกับองค์กรที่เชื่อถือได้เท่านั้น ให้ โดยตรงเลยไม่ต้องผ่านใคร จะบริจาคแค่ครั้งนี้หรือบริจาคช่วยระยะยาวด้วยก็มี เช่น Red Cross -http://bit.ly/1JJsm1 Global Giving http://bit.ly/1E3DCO The U.N. World Food Program – http://bit.ly/1bF5x9y CARE – http://bit.ly/1HMaWsX DOCTORS WITHOUT BORDERS – http://bit.ly/1DadR2F Oxfam – http://bit.ly/1zZeobH

ลองใช้ charitynavigator.org เช็กดูก็ได้ค่ะว่าองค์กรไหนน่าเชื่อถือบ้าง

พวกเลขบัญชีอ้างว่าของกาชาดบ้างอะไรบ้างที่ส่งกันทาง LINE ให้ตรวจเช็กดี ๆ กับ Website หรือ fb
องค์กร หรือโทรไปถามให้แน่ใจนะคะ พวกเรามีบทเรียนมาหลายครั้งแล้ว”

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118), (คําบรรยาย)

หัวข่าว
จิระนันท์นักเขียนชื่อดังแนะ ช่วยเนปาลบริจาคเงินดีที่สุด
เนื้อข่าว

จากบทความในเฟซบุ๊กของนางจิระนันท์ พิตรปรีชา นักคิดนักเขียนชื่อดังเมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา ระบุวิธีการส่งความช่วยเหลือไปยังเนปาลว่า ควรคํานึงถึงสภาพความขาดแคลนและวิธีการขนส่งสิ่งของไปยัง เนปาล โดยไม่ควรบริจาคอาหารสดหรืออาหารสําเร็จรูปที่จําเป็นต้องปรุงเพิ่มเติม เนื่องจากการขนส่งสิ่งของไปเนปาล ทําได้เฉพาะทางเครื่องบินเท่านั้น ทําให้ไม่สามารถส่งอาหารเหล่านั้นได้ทันเวลา เกิดความเสียหายและสูญเปล่า และไม่ควรบริจาคเสื้อผ้าเก่า เนื่องจากเนปาลมีเสื้อผ้าสิ่งทอส่งออกและมีราคาถูกกว่าประเทศไทย

หากต้องการบริจาคสิ่งของควรศึกษาหรือประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ก่อนว่าต้องการ
สิ่งใดบ้าง เช่น เต็นท์กับผ้าห่ม เครื่องมือแพทย์พื้นฐาน ที่สําคัญคือ ไม่ควรเดินทางไปช่วยด้วยตนเอง หากไม่ใช่ ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง เช่น แพทย์ ทีมกู้ภัยที่มีเครื่องมือพร้อม และหากมีความเชี่ยวชาญควร ประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ก่อนการเดินทาง

“ดังนั้นดีที่สุดคือ ให้เป็นเงินกับองค์กรที่เชื่อถือได้เท่านั้น ให้โดยตรงเลยไม่ต้องผ่านใคร จะบริจาค แค่ครั้งนี้หรือบริจาคช่วยระยะยาวด้วยก็มี เช่น Red Cross – http://bit.ly/1JkmT1 GlobalGiving – http://bit.ly/ 1E3DCCO The U.N. World Food Program – http://bit.ly/1bF5x9y CARE – http://bit.ly/1HMaWsX DOCTORS WITHOUT BORDERS – http://bit.ly/1DqdR2F Oxfam – http://bit.ly/1zZeobH ลองใช้ charitynavigator.org เช็กดูก็ได้ค่ะว่าองค์กรไหนน่าเชื่อถือบ้าง พวกเลขบัญชีอ้างว่าของกาชาดบ้างอะไรบ้างที่ส่งกัน ทาง LINE ให้ตรวจเช็กดี ๆ กับ Website หรือ fb องค์กร หรือโทรไปถามให้แน่ใจนะคะ พวกเรามีบทเรียนมา หลายครั้งแล้ว”

ข้อ 9. จากข้อมูลต่อไปนี้ จงเขียนข่าวสําหรับรายงานผ่านทวิตเตอร์ ความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 มีโครงการรณรงค์ป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคไข้เลือดออก ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง จัดที่ห้องศักดิ์ ผาสุกนิรันต์ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช และบริเวณรอบ มหาวิทยาลัย

ข้อมูลจากอาจารย์สมหมาย สุระชัย “จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2557 ซึ่งข้อมูลจากระบบ เฝ้าระวังโรค สํานักระบาดวิทยา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 พบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกสะสมเป็นจํานวน 40,778 คน มีอัตราผู้ป่วย 62.33 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 41 คน และมีการรายงานผู้ป่วยมากขึ้น นอกจากนี้สํานักงานเขตบางกะปิ ยังพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในกลุ่มนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและบริเวณรอบมหาวิทยาลัยรามคําแหง กองกิจการนักศึกษาได้ร่วมกับเขตบางกะปิ และศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก จัดโครงการรณรงค์ ป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคไข้เลือดออกในมหาวิทยาลัยรามคําแหง ชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และร่วมเดินรณรงค์ ตามจุดต่าง ๆ เพื่อติดตามกําจัดยุงลาย ตรวจสอบ และควบคุม เป็นการไม่ให้ยุงลายกระจายเชื้อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป”

ข้อมูลจากผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ “ขอขอบคุณสํานักงานเขตบางกะปิ และ ศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก ที่ได้เข้ามาให้ความรู้และให้แนวทางในการกําจัดยุงลาย อันเป็นต้นเหตุของโรค ไข้เลือดออก ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วงปรับปรุงภูมิทัศน์ ซุ้มนักศึกษาโดยรอบให้ดีขึ้น รามคําแหงจะเร่งสร้าง ความตระหนักและระมัดระวัง กําจัดเหตุของโรคติดต่ออย่างจริงจังมากขึ้น มีการให้ข้อมูลถึงแหล่งและสาเหตุของโรคแก่ บุคลากรและนักศึกษา เพื่อที่จะช่วยกันคนละไม้คนละมือในการลดปัญหาและกําจัดยุงลายให้หมดไป เป็นการสร้างความมั่นใจ ในสุขอนามัยแก่บุคลากร นักศึกษา และสังคมใกล้เคียงของรามคําแหงต่อไป”

จากนั้นมีการบรรยายเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดย ร.ท.หญิงทศพร ศรีบริกิจ
รักษาการผู้อํานวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก มีรายละเอียดดังนี้

“การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกทั้งสาเหตุการเกิดโรค ที่มา การแพร่เชื้อ และการป้องกัน ทั้งนี้ต้องอยู่บนแนวทางสร้างการตระหนักด้วยตนเอง โดยเขตเป็นผู้ให้คําแนะนํา และหน่วยงานต้องหมั่นตรวจตราเพิ่มเติม เพราะเมื่อเป็นโรคไข้เลือดออกมีโอกาสเสียชีวิต ประเทศไทยมีผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วจํานวนมาก

โรคไข้เลือดออกหรือไข้เดงกี่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะ เมื่อยุงกัดผู้ป่วยที่มีเชื้อ ไข้เลือดออกและเมื่อไปกัดคนอื่นจะแพร่เชื้อในระยะติดต่อ 2 – 7 วัน แม้แต่ยุงปกติที่มากัดผู้ป่วยจะเป็นพาหะรับเชื้อไวรัสนี้ ต่อไปด้วย ยุงลายเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ําสะอาดโดยเฉพาะน้ําฝน ลําตัวยุงเป็นปล้องสีขาว แต่ละสายพันธุ์นําโรคไม่เหมือนกัน ยุงก้นปล่องนําเชื้อไข้มาลาเรีย ยุงรําคาญไข้สมองอักเสบ ชิคุนกุนย่าเกิดจากยุงลายเช่นกัน

ยุงลายแบ่งเป็นยุงลายบ้านที่เรามักโดนกัดเป็นเชื้อไข้เดงกี่ ส่วนยุงลายสวนอยู่ตามสวนยางพารา นําเชื้อชิคุนกุนย่า ยุงเสือนําโรคเท้าช้างมักพบในกลุ่มชาวพม่า ดังนั้นหากพอเห็นคนงานจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะพม่าขอให้ช่วยแจ้งทางสาธารณสุข เพื่อที่ให้ทานยาติดต่อกัน 6 เดือน ต้องมีการป้องกันในกลุ่มคนงานชาวพม่า

ยุงลายมีชีวิตเป็นปีสามารถทนกับภาวะแห้งแล้งได้ดี ตามธรรมชาติเกาะอยู่ตามขอบบ่อ ขอบอ่าง การขัดล้างภาชนะเปลี่ยนถ่ายทุก 7 วัน สามารถป้องกันการเกิดยุงลายโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ขอให้เตรียมรับมือ เพราะเป็น ช่วงยุงลายวางไข่ในน้ํานิ่งสะอาด โครงการฯ นี้จึงเป็นการแนะนําและนําสํารวจพื้นที่เพื่อสํารวจแหล่งลูกน้ํายุงลาย เพื่ออธิบายให้เจ้าหน้าที่และนักศึกษาได้เข้าใจวงจรชีวิตยุง อย่างไรก็ตามการพ่นรมควันกําจัดได้เฉพาะยุงตัวแก่ แต่ไม่สามารถ ทําลายตัวโม่งได้ ต้องพ่นซ้ําภายใน 7 วัน เพื่อกําจัดตัวโม่งที่กลายเป็นยุง ทั้งนี้ยุงลายมี 4 สายพันธุ์ ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรค ไข้เลือดออกแล้วสามารถเสี่ยงกับการติดเชื้ออีกได้อีก 3 สายพันธุ์ อาการของโรคคือ ฟักตัว 5 – 8 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีเลือดออกเป็นจุดตามร่างกาย มีไข้สูง ตับโต มีการล้มเหลวของกระแสโลหิต การดูแลต้องดื่มน้ํา เช็ดตัว ทานยาลดไข้ ห้ามทานแอสไพริน ทานได้เพียงพาราเซตามอลเท่านั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย สร้างความตระหนักให้กับทุกฝ่าย
อย่างจริงจัง”

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ม.ราม – ศูนย์บริการสาธารณสุข 35 จัดรณรงค์ป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคไข้เลือดออก รอบรั้ว ม.ราม http://www.ru.ac.th/

 

CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2201 (MCS 2260) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 8 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวการเสวนาเรื่อง “สื่อมวลชนกับสันติภาพใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, เบื้องหลังการทํางานของสื่อมวลชนในพื้นที่สถานการณ์รุนแรง” ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา จงวางแผนการทําข่าวดังกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะรายงาน เหตุการณ์นี้ในแง่มุม/ประเด็นใดบ้าง

แนวคําตอบ หน้า 127 – 128, (คําบรรยาย)

จากข่าวการเสวนาเรื่องดังกล่าว ผู้สื่อข่าวต้องวางแผนการทําข่าว ดังนี้
-ผู้สื่อข่าวจะต้องไปฟังการเสวนาในวัน-เวลาที่จัดงาน และต้องรู้ว่าหัวข้อที่เสวนาคือ อะไร จัดการเสวนาที่ไหน หน่วยงานใดจัด
-สืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่เสวนาและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมตั้งคําถามล่วงหน้า นอกจากนี้ยังต้องศึกษาเกี่ยวกับตัววิทยากรว่ามีใครบ้าง แต่ละคนมีความสําคัญ อย่างไร มีประสบการณ์ความรู้ และตําแหน่งหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการ เสวนาอย่างไร
-ฟังและจับประเด็นสําคัญของคําพูดวิทยากรแต่ละคนให้ได้
-ตั้งคําถามในประเด็นที่จะเพิ่มเติมภายหลังจากการฟัง
-สัมภาษณ์ผู้เข้าฟัง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักศึกษากลุ่มภาคใต้ที่มาฟัง ผู้จัดงาน (คณบดีคณะสื่อสารมวลชน) และวิทยากร เพื่อเก็บข้อมูลและสาระสําคัญเพิ่มเติม
-เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว

ประเด็นแง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว มีดังนี้

– หน่วยงานใดจัดเสวนา เรื่องอะไร จัดที่ไหน วัน-เวลาใด
-มีวัตถุประสงค์ในการจัดอย่างไร
-ใครบ้างเป็นวิทยากร มีความสําคัญอย่างไร เช่น มีประสบการณ์ความรู้ ตําแหน่ง หน้าที่การงาน และมีชื่อเสียงอย่างไร
-ผู้มาฟังเป็นกลุ่มใด มีจํานวนมากน้อยเพียงใด และมีบุคคลที่มีชื่อเสียงมาฟังด้วย หรือไม่
-สาระสําคัญของคําพูดวิทยากรแต่ละคน โดยอาจหยิบยกข้อความเด่น ๆ มานําเสนอ ในลักษณะการอ้างคําพูดโดยตรง
-สัมภาษณ์ผู้เข้าฟัง ผู้จัดงาน และวิทยากรในประเด็นที่ผู้อ่านยังไม่เคยรู้มาก่อน

ข้อ 2. สมมุติวันนี้จะมีการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่างทีมสุพรรณบุรี เอฟซี กับทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวกีฬาที่ได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวการแข่งขันดังกล่าว มีประเด็นข่าว
อะไรบ้างที่ควรรายงานทั้งก่อนและหลังเกม และจงอธิบายว่าประเด็นข่าวดังกล่าวจะหาข้อมูลได้
จากแหล่งข่าวใด

แนวคําตอบ หน้า 184 – 186, (คําบรรยาย)
ประเด็นข่าวที่ควรรายงานทั้งก่อนและหลังเกม แบ่งออกเป็น

1. ประเด็นข่าวก่อนการแข่งขัน ได้แก่ ความสําคัญของการแข่งขัน ผลงานสถิติการแข่งขัน ที่ผ่านมา ระบบการเล่นที่ผ่านมาของแต่ละทีม สภาพความพร้อมของผู้เล่น วิเคราะห์วิจารณ์การเล่นที่อาจจะมี การเปลี่ยนแปลง แผนการเล่นของแต่ละทีม สภาพอากาศที่จะมีผลกระทบต่อการเล่น สภาพแวดล้อมด้านอื่น (เช่น ผู้ชม กองเชียร์) ความคิดเห็นของผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญ และผลการแข่งขันที่คาดว่าจะเป็น

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังอาจเพิ่มเติมประเด็นสําคัญในด้านอื่น ๆ เช่น แต่ละทีมมีการ ปรับปรุงแผนการเล่นอย่างไร ถ้าทีมแพ้จะเกิดผลอย่างไร มีการเตรียมทีมอย่างไร และประสบปัญหาด้านใดหรือไม่
เป็นต้น

2. ประเด็นข่าวหลังการแข่งขัน ได้แก่ ผลการแข่งขันใครเป็นผู้ชนะด้วยสกอร์เท่าไหร่ รายงานรายละเอียดของการแข่งขันตั้งแต่ต้นจนจบ เปรียบเทียบการเล่นของแต่ละทีม ผู้เล่นดีเด่นมีใครบ้าง และ ขาดใครที่จะทําให้ทีมเกิดปัญหา ผู้เข้าชมการแข่งขันมีมากน้อยเพียงใด สภาพอากาศระหว่างการแข่งขัน และ คะแนนรวมสถิติต่าง ๆ หรือการทําลายสถิติ

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังสามารถใช้การสัมภาษณ์ผู้เล่น ผู้จัดการทีมทั้งทีมแพ้และทีมชนะ
เช่น สาเหตุที่ผลการแข่งขันเป็นเช่นนั้น และการเตรียมตัวแข่งขันในนัดต่อไป เป็นต้น

แหล่งข่าวที่ควรสัมภาษณ์ในประเด็นข่าวดังกล่าว มีดังนี้
– ผู้จัดการทีมทั้งทีมแพ้และทีมชนะ
– ผู้เล่นดาวเด่นของแต่ละทีม
– ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาฟุตบอล
– บุคคลที่มีชื่อเสียงหรือดารานักแสดงที่มาร่วมชมการแข่งขัน
– ผู้ชม/กองเชียร์ของแต่ละทีม

ข้อ 3. ในการเขียนข่าวผู้ก่อการร้ายวางระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทําให้มีผู้เสียชีวิต ควรระบุถึง คุณลักษณะ/คุณสมบัติ (Identification) อะไรบ้างในข่าว ยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ ไม่ต้อง
เขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ หน้า 119 – 122 (คําบรรยาย)

คุณลักษณะที่ต้องระบุในการเขียนข่าวผู้ก่อการร้ายวางระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีดังนี้

1. คุณลักษณะของบุคคล ได้แก่
– ชื่อ-นามสกุลของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– อายุของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นเด็ก
– อาชีพของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ
– ยศหรือตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– ที่อยู่ของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ

2. คุณลักษณะของสถานที่ ได้แก่ สถานที่ที่ถูกวางระเบิดคือที่ไหน ซึ่งต้องระบุคุณลักษณะ โดยการบอกที่ตั้ง เลขที่ ซอย ถนน ตําบล อําเภอ และจังหวัด หากสถานที่นั้นอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหรือ สถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ต้องระบุลงไปด้วย

3. คุณลักษณะของเหตุการณ์ ได้แก่ ลําดับเหตุการณ์ที่เกิดระเบิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ เวลาที่เกิดเหตุ จากนั้นเหตุการณ์ดําเนินไปอย่างไร จบลงอย่างไร และผลที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์จบลงแล้ว มีสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จํานวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ คําพูดของผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้บาดเจ็บ และผู้รอดชีวิต รวมทั้งข้อสันนิษฐานจากเจ้าหน้าที่ตํารวจเกี่ยวกับสาเหตุที่เกิดระเบิด ผู้ก่อเหตุ หลักฐานที่พบ เป็นต้น

ข้อ 4. ในการรายงานข่าวตํารวจจับผู้ต้องหาฆ่านักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ มีหลายประเด็นที่ผู้สื่อข่าวต้อง รายงานให้ผู้อ่านได้รับทราบ อยากทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวใดบ้าง และควรนําเสนอ ประเด็นใดในหัวข่าว ความนํา และส่วนเชื่อมของข่าว ไม่ต้องเขียนข่าว

แนวคําตอบ หน้า 29, 63 – 83, 167 – 173, (คําบรรยาย)

แหล่งข่าวที่ควรสัมภาษณ์ในประเด็นข่าวดังกล่าว มีดังนี้
– นายกรัฐมนตรี
– ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ
– ตํารวจท้องที่ และตํารวจที่รับผิดชอบคดีนี้โดยตรง
– เพื่อนผู้ตายที่มาเที่ยวเกาะเต่าด้วยกัน
– นักท่องเที่ยวและชาวบ้านที่เคยเห็นผู้ตายก่อนเกิดเหตุ
– เจ้าของบ้านพัก/รีสอร์ตที่ผู้ตายพักอยู่ก่อนเกิดเหตุ
– เจ้าของบาร์ที่ผู้ตายไปเที่ยวและมีเหตุทะเลาะวิวาทก่อนเกิดเหตุ
– โรงพยาบาล/แพทย์ที่ตรวจดีเอ็นเอผู้ต้องสงสัยทั้งหมดบนเกาะ
– เจ้าหน้าที่นิติเวชที่ชันสูตรพลิกศพ
– กล้องวงจรปิดที่มีภาพผู้ต้องสงสัย
– สํานักข่าวต่างประเทศที่นําเสนอคดีนี้

ประเด็นที่ควรนําเสนอในข่าวดังกล่าว มีดังนี้

– หัวข่าวหรือพาดหัวข่าว (Headline) คือ ส่วนบนสุดของข่าว ซึ่งเป็นประเด็นสําคัญที่สุด และน่าสนใจสําหรับผู้อ่าน ได้แก่ การจับผู้ต้องหาฆ่านักท่องเที่ยวชาวอังกฤษได้ โดยต้องระบุว่าเป็นใคร เป็นคนไทย หรือคนต่างด้าวชาติใด และจับกุมได้ทั้งหมดกี่คน

– ความนําหรือวรรคนํา (Lead) คือ ย่อหน้าแรกของข่าว ซึ่งเป็นการสรุปประเด็นสําคัญ ของข่าว ได้แก่ ตํารวจจับกุมผู้ต้องหาได้ที่ไหน อย่างไร ผู้ต้องหามีกี่คน เป็นคนชาติใด มีอาชีพอะไรบนเกาะ และ มีมูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุอย่างไร

– ส่วนเชื่อม (Neck or Bridge) คือ การอธิบายความเดิมหรือให้ภูมิหลังความเป็นมา ของข่าวที่เคยนําเสนอไปแล้ว ได้แก่ สืบเนื่องจากเหตุฆาตกรรมใคร โดยต้องระบุชื่อบุคคลที่เสียชีวิต อายุ เป็น นักท่องเที่ยวชาติใด สถานที่เสียชีวิต และวัน-เวลาที่เสียชีวิต

ข้อ 5. ตามหลักการที่ศึกษา สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสอีโบล่า ได้รับการรายงานเป็นข่าวใน สื่อมวลชนไทย เพราะมีคุณค่าเชิงข่าวในด้านใดบ้าง

แนวคําตอบ หน้า 2 – 6, (คําบรรยาย)

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานเป็นข่าวในสื่อมวลชนไทย เนื่องจากมีคุณค่าเชิงข่าว (News Values) ดังนี้

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ตกใจและหวาดกลัว ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออาจรู้สึกเห็นอกเห็นใจ สงสารผู้ที่ติดเชื้อและเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบล่า

2. ความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร ผลกระทบ คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร ในแง่การเป็นอุทาหรณ์สอนใจ บอกให้คนระวังภัย และรู้จักป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคร้าย นอกจากนี้ยังเป็นเหตุการณ์ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจํานวนมาก ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่า ทําให้มีผู้คนติดเชื้อและเสียชีวิตไปเป็นจํานวนมาก

3. ความเปลี่ยนแปลง/ความก้าวหน้า คือ เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติที่เคยเป็น นอกจากนี้ยังเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การแพทย์ ซึ่งจะต้องมีการคิดค้นวิจัยตัวยารักษาโรค เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคอีโบล่าที่กําลัง
ลุกลามไปทั่วทวีปแอฟริกาตะวันตก

4. ความโดดเด่น ดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของตัวเชื้อไวรัสอีโบล่าที่ได้คร่าชีวิตของผู้คนไปเป็นจํานวนมาก และยังไม่มีวัคซีนรักษา นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับองค์การที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO), สหประชาชาติ (UN) เป็นต้น

5. ความไม่คาดคิด เงื่อนงํา/ฉงนสนเท่ห์ คือ เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และยังเป็น เหตุการณ์ที่มีเงื่อนงําว่าจะจบลงอย่างไร การควบคุมโรคระบาดและการคิดค้นวัคซีนรักษาจะสําเร็จหรือไม่ จึงเป็น เรื่องที่ทําให้ผู้อ่านเกิดความฉงนสนเท่ห์ ทําให้ต้องติดตามเรื่องราวต่อไป

6. ความขัดแย้ง/การเผชิญหน้า คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งทางกายและความคิด นอกจากนี้ยังมีการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนที่ต้องการเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะทําให้การควบคุมโรคระบาดยากลําบากยิ่งขึ้น

7. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 6. การรายงานข่าวอดีตนักการเมืองเสียชีวิตกับข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตายประชดแฟน ประเด็นที่รายงาน เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร และควรรายงานในประเด็นใดบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ หน้า 131 – 147, (คําบรรยาย)

การรายงานข่าวอดีตนักการเมืองเสียชีวิตกับข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตายประชดแฟน จะมีประเด็นที่
รายงานแตกต่างกัน ดังนี้

ข่าวอดีตนักการเมืองเสียชีวิต ควรรายงานในประเด็นต่อไปนี้

– ผู้ตายเป็นใคร เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ อาชีพ ยศหรือตําแหน่งสูงสุดในปัจจุบัน ฯลฯ
– สาเหตุการเสียชีวิต เช่น ป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจวาย ฯลฯ
– สถานที่เสียชีวิต/วันที่-เวลาที่เสียชีวิต เช่น เป็นการป่วยและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ที่บ้าน
ในวันที่-เวลาใด
– เหตุการณ์ตื่นเต้นในขณะที่ผู้ตายใกล้จะเสียชีวิต ลางร้าย หรือลางสังหรณ์ก่อนเสียชีวิต
– ผลงานของผู้ตาย เคยทําอะไรมาบ้าง เช่น เป็น ส.ส. พรรคอะไร เคยดํารงตําแหน่งใด มาบ้าง หรือมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอะไรบ้าง
– ประวัติส่วนตัว ความเป็นมา เช่น ผู้ตายมีบิดา-มารดา สามี-ภรรยา บุตร-ธิดา หรือญาติ พี่น้องที่เป็นคนดัง นอกจากนี้ผู้ตายมีประวัติการศึกษาจบชั้นมัธยม ปริญญาตรี/โท/เอก หรือปริญญากิตติมศักดิ์อะไรมาบ้าง
– รายละเอียดของพิธีศพ เช่น พิธีสวดพระอภิธรรมจัดที่ใด ใช้เวลากี่วัน ผู้ใดเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรม กําหนดการบรรจุศพ และกําหนดการฌาปนกิจ

ข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตายประชดแฟน ควรรายงานในประเด็นต่อไปนี้
– ผู้ตายเป็นใคร เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ อาชีพ ที่อยู่ ฯลฯ
– วิธีการฆ่าตัวตาย เช่น กระโดดน้ําตาย กระโดดตึกตาย หรือยิงตัวตาย ฯลฯ
– วันที่-เวลาที่เสียชีวิต และสถานที่ที่เสียชีวิต เช่น ฆ่าตัวตายเมื่อวันที่-เวลาใด และที่ไหน
– สภาพศพที่พบเป็นอย่างไร เช่น กระโดดตึกลงมาคอหัก แขนหัก ขาหัก ฯลฯ
– พยานแวดล้อม หรือหลักฐานที่พบ เช่น พบอาวุธปืนที่ใช้ฆ่าตัวตาย หรือบุคคลที่เห็น เหตุการณ์ บุคคลที่อยู่กับผู้ตายเป็นคนสุดท้าย ฯลฯ
– ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตํารวจเกี่ยวกับสาเหตุของการฆ่าตัวตาย เช่น ฆ่าตัวตาย
ประชดแฟนที่มาบอกเลิก ฯลฯ

ข้อ 7. ควรใช้รูปแบบการเขียนข่าวแบบใด และจัดลําดับประเด็นข่าวก่อน-หลังอย่างไรสําหรับข่าวต่อไปนี้
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
7.1 ข่าวไฟไหม้ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง
7.2 ข่าวผลการแข่งขันกีฬาฟุตบอลต่างประเทศเมื่อคืนที่ผ่านมา

แนวคําตอบ หน้า 38 – 40, (คําบรรยาย)

7.1 ข่าวไฟไหม้ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง

1. รูปแบบการเขียนข่าว คือ แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) ชนิดถือความสําคัญ เป็นหลัก (Significant Details) ซึ่งเป็นการรายงานข่าวในลักษณะสรุปย่อข้อเท็จจริงสําคัญ ๆ เป็นความนําของข่าว ไปก่อน แล้วจึงตามด้วยเนื้อข่าวที่เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่มีความสําคัญและน่าสนใจลดหลั่นกันลงไป
เริ่มจากรายละเอียดที่สําคัญมากที่สุดในย่อหน้าแรก ไปจนถึงย่อหน้าสุดท้ายที่เป็นรายละเอียดสําคัญน้อยที่สุด จึงเหมาะกับเหตุการณ์ที่มีเนื้อหาง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน เช่น ข่าวไฟไหม้ เป็นต้น

2. ประเด็นข่าวที่ควรรายงานตามลําดับก่อน-หลัง มีดังนี้
– เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ห้างสรรพสินค้าอะไร วัน-เวลาที่เกิดเหตุ
– รายละเอียดของเหตุการณ์ไฟไหม้ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลัง เกิดเหตุ ต้นเพลิงเกิดขึ้นที่ไหน ลุกลามไปอย่างไร
– ความโกลาหลและการหนีเอาตัวรอดของผู้คน
– การควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง อุปสรรคในการเข้าไปช่วยเหลือ
ผู้คนในห้างสรรพสินค้า และความยากลําบากในการดับเพลิง
– สภาพความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
– รายชื่อผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ อาการ และการรักษา
– ความเห็นหรือข้อสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่ตํารวจเกี่ยวกับสาเหตุของไฟไหม้
หรือการพบวัตถุหลักฐานในที่เกิดเหตุ
– คําสัมภาษณ์ของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือผู้ที่รู้เห็นการลุกลามของต้นเพลิง
– แนวทางการป้องกันเหตุไฟไหม้จากเจ้าของห้างสรรพสินค้า และการช่วยเหลือ เยียวยาผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว
– ข้อมูลเสริม ประวัติสถานที่เกิดเหตุ เช่น ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้เคยมีเหตุไฟไหม้ มาก่อนหรือไม่ ฯลฯ

7.2 ข่าวผลการแข่งขันกีฬาฟุตบอลต่างประเทศเมื่อคืนที่ผ่านมา

1. รูปแบบการเขียนข่าว คือ แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) ชนิดถือเวลาที่เกิดเหตุการณ์เป็นหลัก (Chronological Details) จะเริ่มต้นด้วยความนําที่สรุปย่อเหตุการณ์และผลลัพธ์ทั้งหมด ตามด้วยเนื้อข่าวที่เป็นรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเล่าตามลําดับเวลาที่เกิดเหตุการณ์ อาจมีข้อเท็จจริง เสริมในตอนท้าย จึงเหมาะกับเหตุการณ์ระทึกใจ เหตุการณ์ที่ข้อมูลข่าวมีความต่อเนื่องกันตลอด และเหตุการณ์ที่มี เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น ข่าวการแข่งขันกีฬาฟุตบอล เป็นต้น

2. ประเด็นข่าวที่ควรรายงานตามลําดับก่อน-หลัง มีดังนี้

– มีการแข่งขันฟุตบอลรายการอะไร ระหว่างทีมใดแข่งกับทีมใด แข่งที่ไหน วัน- เวลาใด และใครแพ้ ใครชนะที่สกอร์เท่าใด
– บรรยากาศในการแข่งขันเป็นอย่างไร มีผู้ชมมาเชียร์คึกคักหรือไม่ และผู้เล่นที่ สําคัญของทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งประกอบด้วยใครบ้าง
– ลําดับการแข่งขันที่เกิดขึ้น โดยเล่าตามลําดับเวลาตั้งแต่เริ่มเปิดเกมจนจบเกม ครึ่งแรกครึ่งหลัง ใครเป็นผู้ทําประตูได้ในนาทีที่เท่าใด มีจุดโทษ และมีการต่อเวลาหรือไม่
– ภายหลังจบเกมผลการแข่งขันเป็นอย่างไร ผู้เล่นดีเด่นมีใครบ้าง ขาดใครทําให้ทีม
เกิดปัญหา และแต่ละทีมมีโปรแกรมต้องแข่งกับทีมใดต่อไป
– ความคิดเห็นของผู้จัดการทีมทั้ง 2 ทีม โค้ช และนักเตะดาวเด่นภายหลังจบเกม
– ข้อมูลเสริม เช่น สถิติที่ทั้งสองทีมเคยเจอกันมาก่อน ทีมใดแพ้-ชนะรวมทั้งหมด กี่ครั้ง และสรุปตารางคะแนนรวมของแต่ละทีม

ข้อ 8. จากข้อมูลสมมุติต่อไปนี้ จงเขียนเนื้อข่าว และหัวข่าว

ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีส่วนในการดําเนินชีวิตประจําวันอย่างมาก และสามารถตอบสนอง การใช้งานได้หลากหลาย เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้มากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และสื่อออนไลน์ ที่เป็นช่องทางสําคัญในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของกลุ่มคนในยุคปัจจุบัน ทําให้สื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางการสื่อสารที่สําคัญในการทําการตลาดกับลูกค้า รวมถึงวงการค้าปลีกต่างให้ความสําคัญกับการทําการสื่อสาร ผ่านช่องทางดิจิทัลเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้เล็งเห็นและเข้าใจในพฤติกรรมการรับข้อมูล ข่าวสารที่เปลี่ยนไปของกลุ่มลูกค้า จึงมีการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดอย่างไม่หยุดนิ่ง และตามเทรนด์ ดิจิทัลของโลกตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, Mobile Application ฯลฯ และ ล่าสุดได้นําเทคโนโลยี Beacon Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบดิจิทัลใหม่ล่าสุดมาใช้ในการ สื่อสารกับลูกค้า โดยนําร่องเริ่มใช้ระบบที่เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิเป็นแห่งแรก เพื่อเตรียมความพร้อมของระบบ และให้ความรู้กับลูกค้าก่อน ให้รู้จักคุ้นเคยกับระบบ Beacon Technology ก่อนขยายสู่เดอะมอลล์สาขาอื่น ๆ ดิเอ็มโพเรียม และพารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ต่อไป

สําหรับ Beacon Technology เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สัญญาณ Bluetooth 4.0 Low Energy ในการตรวจสอบ ตําแหน่งของผู้ใช้งานภายในอาคาร โดยจะทํางานควบคู่กันระหว่างตัวกระจายสัญญาณที่ติดอยู่ในจุดต่าง ๆ ของ ห้างสรรพสินค้า และมีโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้เป็นตัวรับสัญญาณ โดยมีระยะทางในการส่งสัญญาณ ในแต่ละจุดได้ไกลถึง 10 เมตร

โดยจากพื้นฐานร ในระบบ Beacon Technology ดังกล่าว ทําให้เดอะมอลล์นํามาปรับใช้ในการผสมกลยุทธ์ ทางการตลาดในการสื่อสารกับลูกค้าผ่านทาง The Mall Group Application บนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ต่าง ๆ ที่เข้ามาช้อปปิ้งที่เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยส่งข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลร้านค้า โปรโมชั่น กิจกรรม สิทธิพิเศษ และอื่น ๆ อีกมากมายให้ลูกค้าในแบบ Real-time ซึ่งสามารถส่งให้ลูกค้าที่เป็นเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่ม เลือกส่งข้อมูลตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละคน โดยลูกค้าสามารถเปิดรับสิทธิพิเศษผ่าน Beacon ได้อย่างง่ายดาย เพียงเมื่อมาช้อปปิ้งที่เดอะมอลล์ บางกะปิ แล้วเปิด Bluetooth และ The Mall Group Application พร้อมกับ

Log In ด้วยบัตร M-Card เพียงเท่านี้สิทธิพิเศษต่าง ๆ จะถูกส่งเป็นข้อความ Push Notification สู่หน้าจอ สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ทั้งนี้สิทธิพิเศษและส่วนลดจากร้านค้าต่าง ๆ อาทิ Pizza Hut, Starbucks, Sukishi, Swensen’s, Fuji และอื่น ๆ อีกมากมายจะถูกส่งไปยังลูกค้าตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม เป็นต้นไป

นอกจากระบบ Beacon Technology แล้ว เดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังได้เพิ่มฟังก์ชัน M-Card Application เข้าไปในตู้ Digital Directory เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการรองรับสมาชิกลูกค้าบัตร M Card ทุกประเภท โดยลูกค้าสามารถรูดการ์ดเพื่อดูคะแนนสะสม หรือแลกคะแนนเพื่อรับสิทธิพิเศษผ่านตู้ Digital Directory ได้อย่าง สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันสามารถสัมผัส Digital Directory ได้แล้วที่เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ งามวงศ์วาน และบางแค และจะพัฒนาระบบเดียวกันนี้ไปยังพารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ภายในเดือนกันยายนนี้ และสามารถ ติดตามข่าวสารอัพเดท ออนไลน์ ไลฟ์สไตล์ทุกเทรนด์ของ The Mall Group ได้ที่ www.themallgroup.com และทางช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ Facebook, Instagram, Twitter, Pinterest, Mobile Application*******

แนวคําตอบ หน้า 29 – 31, 91 – 118, 151, (คําบรรยาย)

หัวข่าว

เดอะมอลล์ กรุ๊ป ส่ง Beacon Technology
เพิ่มช่องทางสื่อสารกับลูกค้ายุคดิจิทัล

เนื้อข่าว

เดอะมอลล์ กรุ๊ป เปิดเผยถึงเทคโนโลยีล่าสุดที่จะนํามาใช้สื่อสารกับลูกค้าว่า บีคอน เทคโนโลยี (Beacon Technology) จะนําร่องเริ่มใช้ระบบที่เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิเป็นแห่งแรก โดยใช้ส่งข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลร้านค้า โปรโมชั่น กิจกรรม สิทธิพิเศษ ฯลฯ ให้กับลูกค้าที่มาช้อปปิ้งที่เดอะมอลล์ในแบบเรียลไทม์ ซึ่งลูกค้า จะต้องเปิดบลูทูธ และเดอะมอลล์ กรุ๊ป แอปพลิเคชั่น พร้อมกับล็อกอินด้วยบัตรเอ็มการ์ด ก็จะได้รับข้อความผ่านทาง หน้าจอสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ทั้งนี้สิทธิพิเศษและส่วนลดจากร้านค้าต่าง ๆ จะถูกส่งไปยังลูกค้าตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม เป็นต้นไป

สําหรับบีคอน เทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สัญญาณบลูทูธ 4.0 โลว์ เอ็นเนอร์ยี ในการ ตรวจสอบตําแหน่งของผู้ใช้งานภายในอาคาร โดยจะทํางานควบคู่กันระหว่างตัวกระจายสัญญาณที่ติดอยู่ในจุดต่าง ๆของห้างสรรพสินค้า และมีโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้เป็นตัวรับสัญญาณ โดยมีระยะทางในการส่งสัญญาณ ในแต่ละจุดได้ไกลถึง 10 เมตร

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2303 (MCS 1350) วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 กิจกรรมทางวาทวิทยาครอบคลุมการสื่อสารเกือบทั้งหมด
(1) ภายในบุคคล
(2) ในสังคมโลก
(3) กิจกรรมในชีวิตประจําวัน
(4) ความรับผิดชอบ
(5) การผลิตสื่อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาทวิทยาได้ขยายขอบเขตออกไปมากมาย ทั้งการใช้เสียงพูดสื่อสารโดยตรง การเป็นพื้นฐานของการแสดง การนําเสนอผลงาน การสื่อสาร องค์การ การเจรจาต่อรองผลประโยชน์ และกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจําวัน

2. วาทวิทยามักไม่พิจารณาให้ความสําคัญกับ เป็นเกณฑ์สําคัญ
(1) วิถีบุคคล
(2) บริบททางสังคม
(3) บุคลิกภาพ
(4) สาระนําเสนอ
(5) สัญชาตญาณ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) วาทวิทยามีลักษณะของความเป็นศาสตร์ (Science) เพราะเป็นวิชาที่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีรองรับ และมีลักษณะเป็นศิลป์ (Art) เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด ซึ่งสามารถเรียนรู้ พัฒนา และฝึกฝนกันได้ ดังนั้นวาทวิทยาจึงไม่ให้ความสําคัญกับสัญชาตญาณ คือ ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิด ทําให้มีความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน

3.เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ
(1) เสียง
(2) สัญลักษณ์
(3) เจตนารมณ์
(4) ความต้องการ
(5) รูปลักษณ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ คําพูดหรือเสียงพูด
ซึ่งเนื้อหาในการพูดก็พัฒนามาจากความคิดและการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ทั้งนี้การพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจากความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

4 Content ในทางวาทวิทยา คือ
(1) ปฏิสัมพันธ์
(2) ความคิด
(3) สาร
(4) ความเชื่อมโยง
(5) ความหมาย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5. การพูดตามอัธยาศัย มีอะไรเป็นตัวกําหนด
(1) อํานาจหน้าที่
(2) สติปัญญา
(3) จิตใจ
(4) ความสัมพันธ์
(5) ความสามารถ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการพูดในขั้น พื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และ ปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วมและมีลักษณะของการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัด ประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับระดับของความสัมพันธ์ หรือสภาวะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของกันและกัน

6 การพูดกับบุคคลเป็นกลุ่มในองค์กรเพื่อหวังผล มีข้อควรพิจารณาจาก
(1) การนัดหมาย
(2) กําหนดการ
(3) เสรีภาพ
(4) วัตถุประสงค์
(5) โครงสร้างกลุ่มชน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดในกลุ่ม หรือการพูดกับบุคคลเป็นกลุ่ม มีดังนี้
1. ปริมาณของผู้สื่อสารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ส่วนจํานวนสูงสุดยากที่จะกําหนดขึ้นอยู่กับโอกาส สถานที่ และความสะดวก
2. เนื้อหาของการสื่อสารมักจะมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีประเด็นร่วมในการปรึกษาหารือ แก้ปัญหา หรือถกเถียง
3. หลายกรณีเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ระหว่างกันและกัน

7. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของกิจกรรมพูดผ่านสื่อสาธารณะ
(1) การกําหนดผู้ส่งสาร
(2) มาตรฐานสื่อ
(3) ระยะเวลาถ่ายทอด
(4) เสรีภาพในเนื้อหา
(5) วิธีการใช้สื่อและช่องทาง
ตอบ 1(คําบรรยาย) การพูดผ่านสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการอาศัยสื่อการ ถ่ายทอดหลักของสังคม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสังคม เพื่อถ่ายทอดสาระการสื่อสารของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องมีการ กําหนดกระบวนการนําเสนอ และตัวผู้พูดที่ทําหน้าที่โดยตรง ได้แก่ พิธีกร ผู้ดําเนินรายการ ผู้ประกาศข่าว สื่อมวลชน หรือเป็นผู้รับเชิญให้พูดเป็นกรณี ๆ ไป ฯลฯ

8. จํานวนผู้ฟังกําหนดอะไรในการเตรียมการของผู้พูดต่อสาธารณชน
(1) คําปฏิสันถาร
(2) วิธีปรากฏตัว
(3) กล่าวนํา
(4) การแต่งกาย
(5) การเลือกสถานที่/ช่องทางนําเสนอ
ตอบ 5(คําบรรยาย) การวิเคราะห์จํานวนหรือขนาดของผู้ชม ผู้ฟังกลุ่มเป้าหมาย จะทําให้ผู้พูดรู้ว่า กลุ่มผู้ฟังมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีพื้นที่/สถานที่เพียงพอหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะจํานวน หรือขนาดของผู้ฟังกับสถานที่จะมีความสัมพันธ์กัน และยังทําให้ผู้พูดสามารถเตรียมวิธีการพูด รูปแบบของการพูด และช่องทางนําเสนอ/อุปกรณ์เครื่องมือประกอบการพูดที่เหมาะสมได้ด้วย

9 ข้อเสียของการพูดที่จะทําให้เกิดผลต่อเนื่องด้านอื่น ๆ ตามมา คือ
(1) คําพูดเชื่อถือไม่ได้
(2) ขาดการเตรียมการ
(3) พูดแล้วแก้ไขไม่ได้
(4) มีสื่ออื่นมาทดแทนแล้ว
(5) มีค่าใช้จ่ายสูง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อเสียของการพูดที่จะทําให้เกิดผลต่อเนื่องด้านอื่น ๆ ตามมา คือ พูดไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ ดังนั้นผู้พูดจึงต้องไตร่ตรองก่อนที่จะพูด หรือคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดก่อนคิด เพราะ หากพูดโดยไม่ยั้งคิด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูดในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็น นายคําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

10. พื้นฐานมารยาทและข้อปฏิบัติในการพูดมาจาก
(1) ความผูกพัน
(2) สถานะทางสังคม
(3) ปฏิสัมพันธ์ที่ควรมี
(4) การพัฒนาความคิด
(5) การคาดเดาการกระทํา
ตอบ 4(คําบรรยาย) พื้นฐานมารยาทและข้อปฏิบัติในการพูดมาจากการพัฒนาความคิด คือ การรู้จัก คิดให้ดีและรอบคอบก่อนพูด ซึ่งการเป็นผู้มีความคิดรอบคอบ ถือเป็นจุดกําเนิดของการรักษา จรรยาบรรณวิชาชีพการพูด และเป็นมารยาทในการพูดที่วิชาวาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด

11. ข้อใดเป็นเจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยา
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยาหรือการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ ตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา พฤติกรรม หรืออากัปกิริยาท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหา สาระที่จะพูด น้ําเสียงและสําเนียง

12. ข้อใดใช้แทนเสียงและคําพูดที่สามารถทําความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ง่ายที่สุด
(1) ท่าทาง
(2) พื้นที่
(3) ระยะห่าง
(4) สีสัน
(5) เวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ใช้มากที่สุด คือ ท่าทางประกอบ ถือเป็น สิ่งที่ใช้แทนเสียงและคําพูด ซึ่งสามารถทําความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ง่ายที่สุด ซึ่งผู้พูด ควรจะแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและสาระการนําเสนอ รวมทั้ง ต้องสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม

13. ข้อใดเป็นอวัจนภาษาที่มีความซับซ้อนในการแปลความหมายและความเข้าใจ
(1) ท่าทาง
(2) ระยะห่าง
(3) สีที่เลือกใช้
(4) กลิ่น
(5) การเปลี่ยนตําแหน่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ถือว่ามีความซับซ้อนในการแปลความหมาย และความเข้าใจ คือ กลิ่น เพราะว่ากลิ่นไม่มีลักษณะที่ตายตัว กลิ่น ๆ หนึ่งอาจจะเป็นกลิ่นหอม ของคนหนึ่ง แต่อาจไม่ใช่กลิ่นหอมของอีกคน แม้คนเหล่านั้นจะอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันก็ตาม อย่างไรก็ตามก็มีกลิ่นบางกลิ่นที่มีลักษณะสากลที่บ่งบอกได้เหมือน ๆ กัน ในทุกวัฒนธรรม เช่น กลิ่นของเน่า กลิ่นรองเท้า หรือกลิ่นปาก เป็นต้น

14 ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “อัตลักษณ์”
(1) หายากในคนอื่น
(2) ทุกคนก็มี
(3) เป็นไปได้ทุกคน
(4) คุณค่าของคน
(5) ผลรวมลักษณะแต่ละบุคคล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลรวมของตัวตน ผลรวมลักษณะแต่ละบุคคล ความเป็นตัวตนที่แท้ หรือส่วนประกอบที่รวมเป็นตัวบุคคลคนหนึ่ง

15. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการนําเสนอสาระความรู้
(1) พูดให้มีเหตุผล
(2) พูดให้ได้คิด
(3) พูดให้ได้สนุก
(4) พูดให้ได้รู้ตัว

(5) พูดให้ได้รู้ทัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการนําเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิด กระตุ้นให้เกิด สติปัญญา โดยการเร่งเร้าให้บุคคลใช้และพัฒนาเนื้อหาสาระที่ได้รับจากการนําเสนอไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับผู้ฟัง ผู้ชม

16. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่า “สัญลักษณ์”
(1) เฉด
(2) อีโก้
(3) ไอคอน
(4) ลค
(5) ดราม่า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ กระทําได้ดังนี้
1. ใช้สื่อแพร่ภาพและเสียง
2. ใช้สัญลักษณ์และไอคอนแทนความหมาย
3. กระบวนการทางกิจกรรม
4. พยาน (บุคคลพยาน วัตถุพยาน)

17. อมเสียงในทางวาทวิทยา คือ
(1) พูดไม่ได้ยิน
(2) พูดอ้อมแอ้ม
(3) พูดกวนใจ
(4) พูดไม่คิด
(5) พูดไม่ระวัง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อมเสียงในทางวาทวิทยา คือ การพูดอ้อมแอ้ม พูดไม่เต็มปาก ไม่ชัดถ้อยชัดคํา

18. การจะดําเนินกิจกรรมทางวาทวิทยา อะไรคือสิ่งที่สําคัญที่สุดที่ต้องตอบคําถามตัวเอง
(1) ระดับความรู้
(2) ความพร้อมที่จะทํา
(3) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(4) ข้อได้เปรียบ – เสียเปรียบ
(5) พรสวรรค์ที่มี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การจะดําเนินกิจกรรมทางวาทวิทยานั้น สิ่งที่สําคัญที่สุดที่ต้องตอบคําถามตัวเอง คือ ความพร้อมที่จะทํา ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของผู้พูดในด้านบุคลิกภาพและเนื้อหาที่จะพูด การใช้ภาษา น้ําเสียง ความถนัดและทักษะของผู้พูด รวมทั้งความเชี่ยวชาญในเรื่องที่จะพูด

19. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของเสียงผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) จังหวะถี่ – ห่าง
(4) ความรู้มาก – น้อย
(5) ราบรื่น – ติดขัด
ตอบ 4(คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของเสียงผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. เสียงราบรื่น – ติดขัด
4. การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
5. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

20. ข้อใดเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทําอันดับแรกเมื่อตกลงใจที่จะพูด
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น
(4) ร่างเนื้อหาการพูด
(5) สํารวจเส้นทางการเดินทาง
ตอบ 2(คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือ ความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

21. หากต้องพูดเนื้อหาที่กําลังเป็นที่ถกเถียงในสังคม ต้องให้ความสําคัญกับแนวคิดใด
(1) ละเอียด
(2) ข้อมูลที่สมดุล
(3) เป็นกันเอง
(4) มีหลักการรองรับ
(5) ผู้ส่งสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการพูดเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีความสําคัญ เสี่ยงต่อการกระทําที่ทําให้เกิดประเด็นขัดแย้ง เป็นที่ถกเถียง หรือเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดในสังคม คือ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี และความหลากหลายในข้อมูลที่ใช้ ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาส ให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย พูดและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

22. ข้อใดไม่เป็นการพูด
(1) อุทานดัง ๆ
(2) บ่นถึงแฟน
(3) ว่ากล่าวตักเตือน
(4) วิจารณ์รัฐบาล
(5) นั่งนินทาลุงท้ายซอย
ตอบ 1(คําบรรยาย) วาทวิทยา (Speech Communication) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น วาทนิเทศ วาทศาสตร์ วาทศิลป์ ฯลฯ แต่เดิมเน้นการสื่อสารด้วยเสียงและกิริยาท่าทางประกอบ ปัจจุบัน เน้นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นํา การชักจูงใจ และความบันเทิงเป็นหลัก ทั้งนี้กระบวนการ พูดในทางวาทวิทยาจะต้องมีการกําหนดเป้าหมายการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง การวางแผน การปรับ รูปแบบการนําเสนอ ดําเนินการตามแผนการพูด และตรวจสอบปฏิกิริยาของผู้ฟัง – ผู้ชม

23. ข้อใดเกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านการวางตัวทางวาทวิทยา
(1) รู้จักกาลเทศะ
(2) รู้จักใช้เวลาเท่าที่มี
(3) บริหารผู้ร่วมงานให้ได้
(4) ติดตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
(5) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าภาพ
ตอบ 1(คําบรรยาย) การวางตัวอย่างเหมาะสมในทางวาทวิทยา มีพื้นฐานมาจากการรู้จักกาลเทศะ คือ ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งคําว่า “กาละ” หมายถึง เหมาะสมกับเวลา จังหวะ และโอกาส ส่วนคําว่า “เทศะ” หมายถึง เหมาะสมกับสถานที่

24. ช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นคําพูด คือ
(1) สิ่งพิมพ์ – ภาพและเสียง
(2) ใบหน้า – ท่าทาง
(3) บุคคล – สื่อ
(4) เครื่องมือ – อุปกรณ์
(5) สติปัญญา – อารมณ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

25. แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือก……
(1) สื่อ
(2) เวลา
(3) เรียนรู้
(4) วิธีแสดงออก
(5) วิถีชีวิต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือกวิธี แสดงออกหรือวิธีนําเสนอที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท
และแบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

26. กระบวนการการพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น พิจารณาจาก
(1) ผลลัพธ์ที่ได้
(2) กระบวนการนําเสนอ
(3) การประมวลเนื้อหา
(4) ความคิดสร้างสรรค์เนื้อหา
(5) วิธีการสืบค้นข้อมูล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบที่สําคัญ อยู่ทั้งหมด 3 สิ่ง ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2. การวิเคราะห์ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางวาทวิทยา และ การวิเคราะห์สถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูด การประมวลเนื้อหาเรื่องราวเพื่อออกแบบหัวข้อ และจัดระเบียบการนําเสนอสาระข่าวสาร/เนื้อหาในการพูด

27.Content Design ในทางวาทวิทยา หมายถึง
(1) รู้จักแหล่งข้อมูล
(2) การออกแบบเนื้อหา
(3) การรับรู้ข้อมูลทีดี
(4) การปรับตัวเข้าหากัน
(5) ช่องทางการเผยแพร่
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Content Design ในทางวาทวิทยา หมายถึง การออกแบบเนื้อหาสาระในการ
นําเสนอ ประกอบด้วย
1. ข้อมูล/เนื้อหาพื้นฐาน
2. ประเด็นสําคัญ
3. ข้อมูลสนับสนุน
4. ส่วนการชักชวน โน้มน้าวจิตใจ
5. การให้ข้อมูลเพิ่มเติม/หมายเหตุ

28. การรับรู้จากข้อมูลข่าวสารเป็นกระบวนการสําคัญของ
(1) การเข้าถึงจิตใจ
(2) การศึกษา
(3) มิตรภาพ
(4) การรักษาสมดุล
(5) การถ่ายทอดข้อมูล

ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดทําให้เกิดการรับรู้ และเรียนรู้จากข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถือเป็นกระบวนการสําคัญของการศึกษา

29. ความเชื่อ หมายถึง
(1) การใส่ใจข้อมูล
(2) การนึกถึงข้อมูล
(3) การจดจําข้อมูล
(4) การรู้จักข้อมูล
(5) การยืนยันข้อมูล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเชื่อในข้อมูล หมายถึง การยืนยันข้อมูล หรือยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น ความจริงหรือมีการดํารงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน

30. โครงสร้างทางวาทวิทยากําหนด……..ในการนําาเสนอ
(1) ข้อมูล
(2) แนวคิด
(3) ลําดับ
(4) วิธีการ
(5) บุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) โครงสร้างทางวาทวิทยา หรือโครงสร้างเนื้อหาการพูด คือ แบบแผนซึ่งมีการ กําหนดไว้ถึงกระบวนการ และลําดับขั้นตอนในการนําเสนอ เพื่อให้ผู้พูดได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ ในการพูดตามลําดับก่อน – หลัง ซึ่งผู้ฟัง – ผู้ชมสามารถติดตามได้อย่างไม่สับสน เป็นไปตาม ธรรมเนียมปฏิบัติ มีความเป็นสากลเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

31. การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง — ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคัดเลือก
(2) การสังเคราะห์
(3) การเพาะบ่ม
(4) การคัดตัวเลือก
(5) การกําหนดคุณค่า
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญใน 2 ด้าน ดังนี้
1. การรับรู้ความหมาย
2. การกําหนดคุณค่าหรือการให้ความหมาย

32. ความเร่งรีบในการนําเสนอจะเกิดผลร้ายด้านใดต่อเนื้อหาการนําเสนอ
(1) การเร้าอารมณ์
(2) การสร้างอารมณ์ร่วม
(3) ความผิดพลาด
(4) ภาพลักษณ์หน่วยงาน
(5) ความคุ้นเคย
ตอบ 3(คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ผู้พูดควรเตรียมตัวให้สดชื่นสําหรับงานที่รออยู่ข้างหน้า แต่สิ่งที่ไม่ควรทําอย่างยิ่ง คือ การทําอะไรเร่งรีบอย่างไม่มีการวางแผน เพราะจะทําให้เกิด ความผิดพลาดต่อเนื้อหาการนําเสนอได้ โดยควรเตรียมการดังต่อไปนี้
1. เตรียมต้นฉบับและสิ่งจําเป็นต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะหยิบจับติดตัวได้ทันที
2. หากมีเวลาให้ฝึกทดสอบการออกเสียง ทดสอบลีลาท่าทางและจัดระเบียบร่างกายกับเวที
เท่าที่พอมีเวลา
3. ตรวจดูบันทึกย่อที่ทําเอาไว้

33. ประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจากการ……..เป็นสมมุติฐานสําคัญ
(1) ค้นคว้าที่ดี
(2) มีข้อมูลที่ไว้ใจได้
(3) เตรียมสารที่ดี
(4) ชูประเด็นในเนื้อหา
(5) การคุ้นเคยกับผู้ฟัง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจากสมมุติฐาน
ที่สําคัญ ดังนี้
1. ผู้พูดมีการเตรียมตัวที่ดี
2. ผู้พูดมีการเตรียมสารเป็นอย่างดี

34. เหตุใดจึงไม่สามารถปฏิเสธการดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นเพื่อ……..
(1) สุขภาพที่ดี
(2) การติดต่อที่ดี
(3) สติปัญญาที่ดี
(4) การรับรู้ที่ดี
(5) จบการนําเสนอที่ดี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งกาย คุณภาพของน้ําเสียง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้ที่ดีนั่นเอง

35. อะไรไม่ใช่ความเป็นตัวตน
(1) สติปัญญา
(2) ทักษะความถนัด
(3) บุคคลที่อ้างอิง
(4) น้ำเสียง
(5) ความสามารถพิเศษ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

36. ในทางการสื่อสารมวลชน กรอบอ้างอิงมักมีความสัมพันธ์กับ
(1) แหล่งข่าว
(2) ภูมิลําเนา
(3) ประวัติส่วนตัว
(4) ความสามารถแฝง
(5) ระดับสติปัญญา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อสาร ผู้พูด (Speaker) จะมีฐานะเป็นผู้ส่งสาร (Sender) เสมอ เพราะเป็นผู้ใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อเตรียมสารและถ่ายทอดไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้ส่งสาร นําเสนอหรือพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายนําสาระข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ หรือ ยึดถือเป็นกรอบอ้างอิง (ประสบการณ์ที่เด่นชัดและใช้เป็นแบบอย่าง) เราจะเรียกผู้ส่งสารว่า “แหล่งข่าวสาร” (Scurce or News Source) โดยเฉพาะในการสื่อสารมวลชน

37. ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด พิจารณาเบื้องต้นจาก……ในการนําเสนอ
(1) ความไพเราะ
(2) ความราบเรียบ
(3) ยาก – ง่าย
(4) ลําดับขั้นตอน
(5) การค้นคว้าข้อมูล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด จะพิจารณาเบื้องต้นจากลําดับขั้นตอน ในการนําเสนอที่เป็นระบบ โดยมีการดําเนินเรื่องที่ดีถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ มีบทนํา เนื้อเรื่อง และบทสรุป

38. การใช้โทนเสียงสูง – ต่ำในการพูด เป็นการสื่อสารที่เน้น
(1) วิธีการ
(2) อารมณ์
(3) จัดการความคิด
(4) จัดลําดับข้อมูล
(5) ปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

39. การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณาจาก
(1) การแต่งตัว
(2) การจัดเวที
(3) การเปลี่ยนตําแหน่ง
(4) เป้าหมายสายตา
(5) รูปแบบการพูด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณา จากวิธีการแสดงออก เช่น ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความหรือ ให้ความสําคัญกับสิ่งที่พูด ซึ่งหากเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้พูดต้องการเน้นเป็นพิเศษ ควรใช้รูปแบบ การพูดในลักษณะตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก เพื่อให้เรื่องที่พูดมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น

40. การจัดลําดับข้อมูลให้ไม่สับสน อาศัยอะไรเป็นเครื่องกําหนดหรือแนวทางเบื้องต้น
(1) ข่าวสารทางสื่อมวลชน
(2) ความรู้ของผู้ชม – ผู้ฟัง
(3) ลําดับเวลาก่อน – หลัง
(4) วัตถุประสงค์หน่วยงาน
(5) แนวความคิดตามทฤษฎีที่กําหนดไว้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

41. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับคําว่า “สังเคราะห์” ที่สุด
(1) ละเอียด
(2) รอบคอบ
(3) ตรงประเด็น
(4) สร้างสรรค์
(5) ทําโดยอิสระ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การสังเคราะห์ หมายถึง การสรุปตามแนวคิดของตน ซึ่งจะมีความหมายไป ในทางรวมเข้าด้วยกัน โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น ส่วนขั้นตอน ของวิธีคิดเชิงสังเคราะห์จะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่า เราต้องการที่จะ สร้างสรรค์สิ่งใดขึ้น เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อให้ทําหน้าที่อะไร

42. ข้อใดไม่ใช่การ “วิเคราะห์”
(1) แจกแจง
(2) ลงลึกในรายละเอียด
(3) เข้าถึงโครงสร้าง
(4) รู้บทบาทและหน้าที่
(5) สร้างนวัตกรรม
ตอบ 5(คําบรรยาย) การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะ แจกแจง จําแนกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทําความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ลงลึกในรายละเอียด/เข้าถึงโครงสร้าง
3. การนําเสนอข้อมูลที่หลากหลาย
2. การประมวลสาระอย่างรอบคอบ
4. วิเคราะห์ตามบทบาทและหน้าที่ของตน

43. ในการตรวจสอบตนเองของผู้พูด ข้อใดคือข้อพิจารณาสําคัญ
(1) ทําอะไรเป็นบ้าง
(2) นัดหมายเวลาไหน
(3) มีความพร้อมเพียงใด
(4) ต้องใช้เวลานานเท่าใด
(5) ใครที่ต้องติดต่อประสานงานด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

44. ข้อใดคือทักษะที่จําเป็นและสําคัญของผู้พูด ซึ่งต้องมีการนําเสนอเรื่องราวที่เป็นปัญหาทางสังคมที่ซับซ้อน
(1) ด้านภาษาต่างประเทศ
(2) ด้านการเงิน — การคลัง
(3) ด้านระดมเครือข่าย
(4) ด้านการบริหารงานบุคคล
(5) ด้านการบูรณาการความรู้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ทักษะที่จําเป็นและสําคัญของผู้พูด ซึ่งต้องมีการนําเสนอเรื่องราวที่เป็นปัญหา ทางสังคมที่ซับซ้อน คือ ทักษะด้านการระดมเครือข่ายจากทุกภาคส่วน เพื่อรวมพลังในการ ขับเคลื่อนประเด็นปัญหาทางสังคมที่ซับซ้อนให้นําไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

45. ข้อใดเป็นความสามารถด้านการใช้เสียงที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์
(1) ความชัดถ้อยคํา
(2) ความดังกังวาน
(3) ออกเสียงชัดเจน
(4) ลูกเล่นและชั้นเชิงนําเสนอ
(5) ลําดับข้อมูลที่ฟังง่าย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “เอกลักษณ์” (Uniqueness) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความโดดเด่น สภาวะที่ไม่มีผู้ใดเหมือน ซึ่งหาได้ยากในคนอื่น เช่น การใช้ลูกเล่นและชั้นเชิงนําเสนอในน้ำเสียง เพื่อบอกคนฟังว่าจุดไหนที่เน้น จุดไหนที่สําคัญ เป็นต้น

46. ข้อใดเป็นความน่าเชื่อถือของผู้พูดในลําดับแรก
(1) การวางตัว
(2) มารยาทสังคม
(3) รสนิยมการแต่งกาย
(4) ความตรงเวลา
(5) วิธีการเลือกคําปฏิสันถาร
ตอบ 1(คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูด ประกอบด้วย
1. การวางตัว มารยาทพื้นฐานทางสังคม ความตรงเวลา
2. หน้าที่ ความเกี่ยวข้อง ประสบการณ์
3. การเลือกเครื่องแต่งกาย ฯลฯ

47. คําว่า “ประเด็นที่น่าสนใจ” หมายถึง
(1) ใคร ๆ ก็รู้
(2) เรื่องลับเฉพาะ
(3) สาระที่มีผลกระทบ
(4) สิ่งประทับใจ
(5) ข่าวสารที่มีอยู่
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “ประเด็นที่น่าสนใจ” หมายถึง สาระที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ หรือ มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม

48. อะไรเกิดขึ้นก่อนใน Speech Communication
(1) อารัมภบท
(2) อุทาน
(3) ทักทาย
(4) เกริ่น
(5) แนะนําตัว
ตอบ 3(คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech Communication) มี มีขั้นตอนดังนี้
1. การกล่าวทักทายหรือมีปฏิสันถาร เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. การเข้าสู่เรื่อง คํานําหรือความนํา
3. ประเด็น/สาระในการนําเสนอ
4. ข้อมูล ความรู้ ประเด็นจูงใจ การให้คุณค่าเนื้อหา
5. การสรุป การปิดท้ายเรื่อง คําลงท้าย
6. คําเชื้อเชิญ การเชิญชวน

49. สิ่งเร้าที่นอกเหนือจากตัวผู้พูดและผู้ฟัง คือ
(1) ความคิด
(2) ความพร้อม
(3) ประสบการณ์
(4) ความรู้
(5) สิ่งแวดล้อม
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของการพูด คือ สถานการณ์หรือสิ่งที่จะส่งผลต่อการพูด จัดเป็น สิ่งเร้าในการพูดที่นอกเหนือจากผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ระบบสังคมวัฒนธรรม เช่น ศาสนา จารีตประเพณี แนวทางปฏิบัติของครอบครัว ฯลฯ
2. กฎระเบียบ อํานาจหน้าที่ เช่น กฎหมาย ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ฯลฯ
3. กระแสสาธารณมติ
4. นโยบาย แผนงาน และโครงการ

50. เนื้อหาในทางวาทวิทยา ให้ความสําคัญกับ
(1) รูปแบบ – ขั้นตอน
(2) ความน่าสนใจ – เป้าหมายการสื่อสาร
(3) ความจํา – ข้อมูล
(4) สาระ – วิธีการ
(5) ความจํา – แนวคิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) ในทางวาทวิทยา หมายถึง ข่าวสารหรือ ข้อมูลที่มีการตระเตรียมไว้เพื่อการนําเสนอ ถือเป็นสาระหลักของการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นการ เตรียมให้กับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ โดยสาระหรือเนื้อหาเหล่านี้จะพิจารณาจากความน่าสนใจ ในการนําเสนอ และการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายการสื่อสาร

51. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดในการสร้างหัวเรื่อง
(1) น่าสนใจ
(2) ประเด็นการนําเสนอ
(3) มีความชักจูงใจ
(4) บอกเรื่องราวจนครบถ้วน
(5) ท้าทายให้คิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง มีลักษณะดังนี้
1. เป็นภาพรวมหลัก แนวคิดหลัก ประเด็นการนําเสนอ หรือทิศทางในการนําเสนอ
2. สัน กระชับ มีความหมายในตัวเอง
3. อาจมีส่วนขยายชื่อเรื่องที่ชวนติดตาม
4. มีความน่าสนใจ หรือสอดคล้องกับความต้องการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
5. มีความชักจูงใจ หรือท้าทายให้คิด หากมีลักษณะเชิงคําถาม ต้องมีการคลี่คลายในเนื้อเรื่อง

52. ประสบการณ์ที่เด่นชัดและใช้เป็นแบบอย่าง คือ
(1) ข้อมูล
(2) กรอบอ้างอิง
(3) แนวคิดหลัก
(4) ทักษะที่พัฒนาแล้ว
(5) อิทธิพลทางความคิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

53. ข้อใดเป็นลําดับต่อจากหัวเรื่อง
(1) คํานํา
(2) ความนํา
(3) การปฏิสันถาร
(4) ประเด็นหลัก
(5) ข้อมูลสนับสนุน
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ) โครงสร้างของเนื้อหาการพูด ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง
2. การกล่าวทักทาย หรือมีปฏิสันถาร
3. การเข้าสู่เรื่อง คํานําหรือความนํา
4. เนื้อหาสาระในการนําเสนอ
5. ส่วนจบความ/ท่อนท้ายเนื้อหา

54. คําทักทาย ทําหน้าที่
(1) ให้ความสําคัญผู้ฟัง
(2) บอกกําาหนดการ
(3) เตือนว่าถึงเวลาพูดแล้ว
(4) สร้างความคุ้นเคย
(5) แสดงว่าผู้พูดเป็นใคร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

55. ข้อใดไม่ควรกล่าวในการปฏิสันถารที่เป็นทางการ
(1) ผู้มีเกียรติทั้งหลาย
(2) สมาชิกทุกท่าน
(3) สมาชิก ณ ที่ประชุมแห่งนี้
(4) ท่านทั้งหลาย และท่านประธาน
(5) เพื่อนเหล่าทหารหาญผู้ร่วมสมรภูมิ
ตอบ 5 หน้า 34 คําปฏิสันถาร หรือการกล่าวทักทาย แบ่งออกเป็น
1. ชนิดที่เป็นพิธีการ จะไม่นิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามา เช่น คําว่า “เคารพนับถือ/ ที่รัก” ฯลฯ โดยมักใช้ในงานรัฐพิธีและงานศาสนพิธีต่าง ๆ
2. ชนิดที่ไม่เป็นพิธีการ จะนิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามาด้วยเพื่อแสดงความเป็นกันเอง เช่น สวัสดีพี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย, เพื่อนเหล่าทหารหาญผู้ร่วมสมรภูมิ ฯลฯ โดยมักใช้ ในงานที่ไม่เป็นทางการมากนัก

56. ข้อใดเป็นการกล่าวคํานําที่ไม่ควรกระทํา
(1) เล่านิทานขําขัน
(2) ยกภาษิตเปรียบเปรย
(3) เสนอข่าวที่เพิ่งเกิด
(4) บทสวดเพื่อสิริมงคล
(5) เล่าเรื่องที่เคยเสียมารยาทของตนเอง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดของการมีคํานําหรือบทนํา ได้แก่
1. มีความชัดเจนในเนื้อหาและมีความน่าสนใจในประเด็นที่คัดสรรมาแล้ว ต้องไม่สั้นหรือ ยาวเยิ่นเย้อ และต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่จะพูดในลําดับถัดไป
2. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างอารมณ์ร่วม สร้างความสนใจ หรือชักจูงใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้อยากรู้ หรือจุดประกายให้ผู้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ
3. ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญที่จะพูด โดยรวบรวมประเด็นสําคัญขึ้นมานําเสนอก่อน (แต่ไม่ใช่การย่อสาระสําคัญของการพูดทั้งหมด)
4. ไม่นิยมย่อความเรื่องราวที่จะพูดโดยรวม มาเป็นคํานํา
5. ไม่นําบทสวด คําทางศาสนา/ความเชื่อ มาเป็นคํานํา
6. มีความเหมาะสมกับกาลเทศะ และไม่ก้าวล่วงต่อสถานะของบุคคลต่าง ๆ ในพิธีการ ฯลฯ

57. บทนํา ทําหน้าที่
(1) เพิ่มคุณค่า
(2) ส่งเสริมความเข้าใจ
(3) สร้างลีลาการนําเสนอ
(4) ชักจูงใจให้ติดตาม
(5) เร่งเร้าให้ตัดสินใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. ภาพทางความคิด ซึ่งสามารถคิดตาม เข้าใจ และเข้าถึงความรู้สึกด้านต่าง ๆ เรียกว่า
(1) ภาพพจน์
(2) ภาพลักษณ์
(3) ภาพติดตา
(4) ภาพประทับใจ
(5) ภาพอุปมา
ตอบ 1(คําบรรยาย) ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคําพูด ซึ่งผู้ที่พูดเก่งต้องสามารถพูดแล้วทําให้ ผู้ฟังเห็นภาพทางความคิด ซึ่งสามารถคิดตาม เข้าใจ และเข้าถึงความรู้สึกด้านต่าง ๆ ได้

59. ร่องรอยการกระทําที่ปรากฏและรับรู้ได้ที่ผู้พูดนํามาเสนอ
(1) รูปธรรม
(2) หลักฐาน
(3) ตัวตน
(4) คํากล่าวอ้าง
(5) ข่าวสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะพูด หมายถึง ร่องรอยการกระทําที่ปรากฏและ รับรู้ได้ที่ผู้พูดนํามาเสนอ เช่น บุคคล และวัตถุพยานต่าง ๆ

60. ข้อใดคือเครื่องมือประกอบการนําเสนอที่ต้องใช้เสมอ
(1) ดิน ฟ้า อากาศ
(2) ผู้ร่วมสนทนา
(3) ผู้ชม – ผู้ฟังทั้งหมด
(4) กลุ่มเป้าหมายบางคน
(5) อวัจนภาษา
ตอบ 5(คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรือเครื่องมือทางการ สื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น ตลอดจนอะไรก็ตามที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ การถ่ายทอด และการส่งต่อสาระข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความรู้หรือความเข้าใจ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

61. เหตุใดจึงมีข้อแนะนําว่า ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอ
ต่อที่สาธารณชน
(1) ส่งผลต่อค่านิยมที่ตั้งไว้
(2) เป็นการดูถูกตนเอง
(3) สื่ออื่นจะนําไปเผยแพร่ต่อเนื่อง
(4) เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
(5) จะสร้างความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก
ตอบ 3(คําบรรยาย) ผลจากการพูด (Impact) ประการหนึ่ง คือ การพูดนั้นอาจสร้างความเสียหาย ต่อตัวผู้พูดได้ ดังนั้นผู้พูดจึงไม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการพูดของตน เช่น ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อสาธารณชนเพราะสื่ออื่นอาจนําไปเผยแพร่ต่อเนื่องในทางเสียหายได้

62. พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ จะปรากฏเป็น…..
(1) ความสามารถ
(2) ศักยภาพ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) ความคิด
ตอบ 3(คําบรรยาย) นิสัย หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ หรือพฤติกรรม เคยชิน ซึ่งเกิดจากการกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อย ๆ จนติด

63. คําว่า “กาลเทศะ” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) สุภาพเรียบร้อย
(4) มีมาตรฐาน
(5) ยอมรับได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

64. ข้อใดไม่ได้อยู่ในกระบวนการทางวาทวิทยา
(1) ข่าวในช่องทางสาธารณะ
(2) การวางแผน
(4) ตรวจสอบปฏิกิริยาผู้ชม
(3) วิเคราะห์ผู้ฟัง
(5) การปรับรูปแบบการนําเสนอ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

65. จํานวน ปริมาณของกลุ่มเป้าหมายจะสัมพันธ์กับการเลือก……..เป็นอันดับแรก
(1) พิธีกร
(2) ผู้ดําเนินรายการ
(3) สถานที่
(4) เวที
(5) ฉากหลัง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

66. ปกติแล้วในเนื้อเรื่องจะเริ่มด้วย
(1) การกล่าวถึงบรรยากาศในงาน
(2) ขอบคุณผู้ฟัง
(3) นําเสนอข้อมูลโดยละเอียด
(4) ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
(5) การปูพื้นฐานความรู้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง คือ สาระข้อมูลหลักในการนําเสนอ ซึ่งโดยปกติแล้ว ในเนื้อเรื่องจะเริ่มต้นด้วยการปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะพูดให้กับผู้ฟัง – ผู้ชม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ก่อนที่จะนําเสนอสาระเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนโดยละเอียดในลําดับถัดไป

67. เนื้อหาการนําเสนอทางวาทวิทยาที่เล็งผลทางพฤติกรรม พิจารณาจาก
(1) เหตุ – ผล
(2) จํานวนครั้ง
(3) ลําดับ – ปริมาณ
(4) ประเด็นจูงใจ
(5) ศัพท์สํานวนที่กินใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจ หมายถึง การนําเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม การกระทํา ความเชื่อ หรือทัศนคติ โดยต้องอาศัยหลักการที่สําคัญ คือ การสร้าง ประเด็นจูงใจหรืออิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออก ซึ่งตัวอย่างของการพูดเพื่อ ชักจูงใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า, การรณรงค์ การเชิญชวน หรือการขอความร่วมมือใน เรื่องต่าง ๆ, การพูดแนะนําให้เปลี่ยนพฤติกรรม ฯลฯ

68. ข้อใดเป็นข้อมูลระดับปฐมภูมิหรือขั้นต้น
(1) ฉันสอบผ่านแล้ว
(2) เพื่อนสนิทฉันเล่ามา
(3) ข่าวช่องนี้มีแต่คําโกหก
(4) ดีเจเล่าข่าวเช้า
(5) เขาเล่าว่าพญานาคมีจริง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเภทของข้อมูล แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลปฐมภูมิหรือขั้นต้น (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งกําเนิดข้อมูลโดยตรง เช่น ฉันสอบผ่านแล้ว, ประสบการณ์ของผู้รอดตาย เป็นต้น
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้รวบรวมขึ้นเอง แต่นําเอามาจาก หน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ทําการเก็บรวบรวมไว้แล้ว

69. ข้อพิจารณาสําคัญของข้อมูลแวดล้อมในทางวาทวิทยา คือ
(1) นํามากล่าวอ้างได้
(2) พูดถึงกันอยู่เสมอ
(3) มีความหมายหลากหลาย
(4) มีอยู่จริงสามารถรับรู้ได้
(5) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาแล้ว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อมูลแวดล้อม คือ สิ่งที่เกิดขึ้น สภาพที่เป็นไปซึ่งมีอยู่หรือเป็นไปในขณะนั้น ทั้งที่เป็นรูปธรรม (มีอยู่จริง สามารถรับรู้ได้) หรือนามธรรม (ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่รู้เห็น รับรู้ และสัมผัสได้)

70. การจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวถึง ผู้พูดจะต้องมีแนวคิดในการรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดเป็นสําคัญ
(1) เปิดกว้าง
(2) เน้นที่มติสาธารณะ
(3) ดูทิศทางจากกระแสข่าวที่น่าเชื่อถือ
(4) ทําโดยปราศจากอคติ
(5) ได้มีการวิพากษ์ข้อมูล

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อสังเกตในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. รวบรวมโดยใจเป็นกลางโดยปราศจากอคติ
2. รวบรวมให้ครอบคลุมและครบถ้วน
3. รวมรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ
4. รวบรวมให้ตรงประเด็น
5. รวบรวมจากหลายแหล่ง

71. ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับ
(1) วิธีการนําเสนอ
(2) เอกสารที่มี
(3) ความรู้ที่ใช้ประกอบ
(4) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(5) ที่มาของข้อมูลที่จะใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72. การฝึกซ้อมพูดของผู้พูด เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียม
(1) คําพูด – อุปกรณ์
(2) อุปกรณ์ – เวที
(3) อุปกรณ์ – ทีมงาน
(4) บุคลิกภาพ – เนื้อหา
(5) บทบาท – วิธีนําเสนอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียมตนเองในด้านบุคลิกภาพ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่นในตัวผู้พูด
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการพูด
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ช่วยตรวจตราสิ่งจําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น หาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ

73. ข้อใดเป็นผลพึงปรารถนาที่สําคัญที่สุดในการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างประสบการณ์ที่ดี
(2) นําไปปรึกษาทีมงาน
(3) ตรวจสอบทีมงาน
(4) เผยแพร่สู่สื่อมวลชน
(5) ลดค่าใช้จ่ายในภารกิจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อร่างต้นฉบับบทพูดเสร็จแล้ว
(1) ทําสําเนาเอาไว้
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) นําไปทดลองซ้อม
(4) นําเสนอแนวทางของตนเอง
(5) ค้นคว้าเพิ่มเติม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. นําไปปรึกษาทีมงาน และตรวจทานแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม หากผู้พูดพบว่ามีสิ่งที่ไม่เหมาะสมในเนื้อหาที่ร่างเอาไว้ ให้กําจัด
สิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกัน
ความผิดพลาด ฯลฯ

75. การจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ จะต้องผ่านขั้นตอนใดก่อน
(1) รวบรวมข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจงบประมาณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

76. เมื่อนําเสนอเนื้อหาที่เตรียมมาทั้งหมดแล้ว สิ่งที่ไม่ควรทํา คือ
(1) ขอบคุณผู้ฟัง
(2) กล่าวสดุดีผู้จัดงาน
(3) วิจารณ์ตนเองต่อผู้ฟัง
(4) เดินลงจากเวที
(5) จับมือกับวิทยากรร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อผู้พูดนําเสนอเนื้อหาที่เตรียมมาทั้งหมดแล้ว ในบางสถานการณ์อาจมีการ กล่าวสดุดี กล่าวคํารําลึก หรือกล่าวไว้อาลัย รวมทั้งการใช้ถ้อยคําเพื่อการจรรโลงใจบางอย่าง หลังจากนั้นให้ผู้พูดทําความเคารพผู้ฟังโดยก้มศีรษะพร้อมกับพูดว่า “ขอบคุณ/สวัสดี” เท่ากับ เป็นการบอกผู้ฟังว่าผู้พูดพูดจบแล้ว จากนั้นให้จับมือกับวิทยากรร่วม แล้วเดินลงจากเวทีอย่าง สง่างาม โดยไม่ต้องวิจารณ์ตนเองต่อผู้ฟัง หรือพูดขออภัยในความบกพร่องใด ๆ ทั้งสิ้น

77. การตอบรับพิธีการพูดต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ…….เป็นอันดับแรก
(1) เจ้าภาพ
(2) รูปแบบพิธีการ
(3) วัน – เวลา สถานที่
(4) บทพูด
(5) เส้นทางและการจราจร
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการยืนยันกําหนดการพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ วัน – เวลา และสถานที่ที่จะไปพูดให้แน่ใจก่อนเป็นลําดับแรก

78. เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ
(1) ไปพบกับเจ้าภาพ
(2) ติดต่อผู้ประสานงาน
(3) ไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ทําตัวให้มีพลังและพร้อมที่จะพูด
(5) ชวนผู้ฟังสนทนา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ ติดต่อผู้ประสานงานตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ เพื่อให้ช่วยอํานวยความสะดวกในการขึ้นเวทีพูด

79. ข้อใดให้กระทําควบคู่กับการทดสอบการออกเสียงเสมอ
(1) ทําความคุ้นเคยกับผู้ประสานงาน
(2) เชิญประธานในงานมาร่วมชม
(3) ฝึกแสดงการทําความเคารพ
(4) ฝึกการใช้อุปกรณ์ในห้องควบคุม
(5) ทดสอบท่าทางและจัดระเบียบร่างกาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

80. การนิยามสิ่งที่พูด หมายถึง
(1) การให้ความหมาย
(2) การปรับเนื้อหา
(3) การให้ความเห็น
(4) การทดสอบความรู้
(5) การทําความรู้จัก
ตอบ 1(คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยามสิ่งที่พูด
หรือการให้คําจํากัดความก่อนเสมอ หมายถึง การอธิบายหรือให้ความหมายของศัพท์และ ประเด็นหลักด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

81. การดําเนินเนื้อหาที่ดี ควรจะ
(1) ความยากง่ายสลับกัน
(2) พูดเร็ว – ช้าเป็นช่วง ๆ
(3) พูดให้น่าตื่นเต้นเร้าอารมณ์
(4) คาดเดายากในการนําเสนอ
(5) มีลําดับและขั้นตอนน่าติดตาม
ตอบ 5(คําบรรยาย) การดําเนินเนื้อหาที่ดีในการพูด ควรจะมีลําดับและขั้นตอนน่าติดตาม ซึ่งลําดับ ขั้นตอนการนําเสนอสาระข้อมูลในการพูดที่มีประสิทธิผล มีดังนี้
1. ให้ความรู้/ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
2. เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง
3. โน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง

82. การเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง คือ
(1) คําทักทาย
(2) การปฏิสันถาร
(3) การไว้อาลัย
(4) อารัมภบท
(5) หัวข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 48. และ 53. ประกอบ) คํานําหรือบทนํา มีลักษณะดังนี้
1. เป็นส่วนนําเข้าสู่เนื้อหาในการนําเสนอ หรือเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง
2. ทําหน้าที่ชักจูงใจ โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย หรือปูพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อนําเข้าสู่
การนําเสนอในลําดับต่อไป
3. อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น คํานํา บทนํา ความนํา วรรคนํา อารัมภบท เกริ่น และส่วนเข้าสู่เนื้อหา เป็นต้น

83. ช่วงกล่าวสรุป มักทําหน้าที่ใดในแนวคิดด้านการสื่อสาร
(1) กําหนดวัตถุประสงค์
(2) บอกกระบวนการ
(3) นําเสนอความสําเร็จ
(4) โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย
(5) สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สรุปหรือส่วนจบเรื่อง คือ ความคิดรวบยอดของเรื่อง ซึ่งเป็นผลรวมของ โครงสร้างการพูดทั้งหมด โดยการกล่าวสรุปหรือการจบเรื่องที่ดีจะต้องเป็นส่วนที่สร้าง ความประทับใจ และมีการขมวดประเด็นหรือนําเสนอผลสําเร็จของการพูด

84. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการเกริ่น
(1) ปูพื้นฐานข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) บอกความแตกต่างที่เกิดขึ้น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. และ 82. ประกอบ

85. เมื่อถึงลําดับการพูดนําเสนอในลําดับของตนเองแล้ว ไม่ต้องกระทําสิ่งใด
(1) ทักทายผู้ชมก่อน
(2) ปฏิสันถารตามที่เตรียมมา
(3) ทําความเคารพประธาน
(4) ชวนผู้ร่วมเวทีสนทนาคุย
(5) ประสานสายตากับผู้ชม
ตอบ 4(คําบรรยาย) เมื่อถึงลําดับการพูดนําเสนอในลําดับของตนเองแล้ว ผู้พูดควรทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด และเริ่มทักทายผู้ชมก่อนด้วยคําปฏิสันถาร ตามที่เตรียมมา โดยต้องยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสและอย่าลืมประสานสายตากับผู้ชม แล้วจึงกล่าวตามโครงสร้างของการพูดตามลําดับขั้นตอน

86. การยิ้มกับผู้ฟัง – ผู้ชม มีเป้าหมายสําคัญเพื่อ
(1) รักษามารยาท
(2) ตรวจสอบความพร้อม
(3) สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี
(4) กลบเกลื่อนความผิดพลาดที่มี
(5) ให้เกียรติเจ้าภาพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตร ระหว่างกัน ซึ่งกฎง่าย ๆ ที่ผู้พูดควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก คือ การยิ้มแย้มดีกว่าบึ้งตึง เพื่อให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด

87. หากนักศึกษาได้รับเชิญเป็นพิธีกรในงานประชุมโดยไม่รู้ว่าจะแต่งกายอย่างไร จะต้องทําอย่างไร
(1) แต่งสากลนิยม
(2) แต่งชุดไทย
(3) แต่งตามรสนิยมตนเอง
(4) แต่งโดยตรวจสอบกับเจ้าภาพ
(5) แต่งโดยตรวจสอบจากผู้ร่วมงานคนอื่น

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งกายของผู้พูดเมื่อได้รับเชิญให้ไปพูดในโอกาสต่าง ๆ นั้น นับว่าสําคัญ อย่างมาก ซึ่งผู้พูดจะสามารถทราบได้ว่าตนควรแต่งกายแบบใดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะ ของงาน โดยการตรวจสอบกับตัวเจ้าภาพเอง หรืออาจพิจารณาจากบัตรเชิญของเจ้าภาพ เช่น โปรดแต่งกายสุภาพ หรือแต่งกายตามสากลนิยม ฯลฯ

88. ข้อใดส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) ประสบการณ์ของผู้ฟังส่วนใหญ่
(2) งบประมาณที่มี
(3) ทัศนคติของผู้พูด
(4) สถานการณ์จากข่าวปัจจุบัน
(5) รสนิยมกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 1(คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น หัวข้อเรื่องที่จะพูดนั้นตรงกับประสบการณ์ของ
ผู้ฟังส่วนใหญ่หรือไม่ ฯลฯ

89. ตามหลักการทางวาทวิทยา วิธีปฏิสันถารจะเกี่ยวข้องกับ
(1) รูปแบบพิธีการ
(2) ความสนใจโดยรวม
(3) ปริมาณผู้รับสาร
(4) ลําดับขั้นตอนของเนื้อหา
(5) คําถามที่น่าสนใจที่เกิดขึ้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

90. ข้อใดไม่ใช่ความบันเทิง
(1) ตลก
(2) เฮฮา
(3) ขําขัน
(4) อัดแน่นด้วยสาระ
(5) โศกเศร้า
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการพูดที่ใช้สิ่งเร้าเป็นปัจจัยสําคัญในการ ส่งเสริมกระบวนการสื่อสารด้วยเสียงและสําเนียงเพื่อเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก เพื่อกระตุ้นการรับรู้ สร้างความน่าสนใจ และสร้างความรู้สึกร่วม โดยต้องคํานึงถึง
1. การไม่พูดมุกตลกเฮฮา ขําขัน นานเกินไป เพราะจะทําให้ไม่ได้สาระอื่น ๆ
2. หลีกเลี่ยงการพูดไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับงาน
3. การไม่ละเลยต่อประเด็น สาระสําคัญ หรือเป้าหมายทางการสื่อสาร

91. เหตุที่ผู้พูดไม่ควรนําเสนอสาระเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนในช่วงเริ่มต้นของการพูด มาจากสาเหตุ
(1) ผู้ฟัง – ผู้ชมไม่มีความรู้
(2) การสร้างภาพพจน์ตามได้ยาก
(4) ไม่ประทับใจในการนําเสนอ
(3) ยังไม่มีการแจกเอกสารประกอบ
(5) ขัดต่อหลักจรรยาบรรณทางวาทวิทยา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58. และ 66. ประกอบ

92. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้พูดประสบปัญหาในการใช้เครื่องเสียงและอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณภาพขึ้นจอ
(1) แทรกบทตลก
(2) หยุดการพูดสักครู่
(3) ขออภัยผู้ฟัง
(4) ชวนคุยเปลี่ยนบรรยากาศ
(5) ตําหนิเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่ไม่ควรกระทําเมื่อผู้พูดประสบปัญหาในการใช้เครื่องเสียงและอุปกรณ์ ในการส่งสัญญาณภาพบนจอ คือ ตําหนิเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เนื่องจากจะทําให้ผู้ฟังเกิด ทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้พูด

93. คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก………ระหว่างกัน
(1) การเสนอข้อมูล
(2) การเคารพอาวุโส
(3) ปฏิสัมพันธ์ร่วม
(4) ยอมรับความสามารถ
(5) การแลกเปลี่ยนข้อมูล
ตอบ 3(คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือความรู้สึกร่วม และเข้ากันได้ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

94. การวิเคราะห์และสร้างเนื้อหาเพื่อการนําเสนอ ต้องผ่านกระบวนการ……ก่อนเสมอ
(1) การเลือกประเด็น
(2) วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
(3) ตรวจสอบข้อมูล
(4) การตรวจสอบความเป็นไปได้
(5) สร้างจุดเด่นในการนําเสนอ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเป็นนักพูดที่ดีจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัจจัยทางการสื่อสารในกระบวนการพูด
เรียงตามลําดับดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ตนเอง (ตัวผู้พูด) และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
2. วิเคราะห์ผู้ชม ผู้ฟัง และกลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์เนื้อหาและสาระการพูด
4. วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม

95. ข้อใดไม่เข้าพวกหากพิจารณาการพูดตามวัตถุประสงค์
(1) บอกกล่าว
(2) เล่าเรื่อง
(3) อบรม
(4) อธิบาย
(5) ชี้แจง
ตอบ 3(คําบรรยาย) การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นขั้นตอนแรกของการพูดเมื่อพิจารณาถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลัก โดยจะบอกข้อมูลข่าวสารเพื่อให้รับรู้ รับทราบ หรือ สร้างปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร จึงเป็นการพูดในรูปแบบที่ทําข้อมูลสารนิเทศให้เป็นข้อมูล สารสนเทศเพื่อการสื่อสาร โดยมีลักษณะสําคัญ ดังนี้
1. บอกกล่าว เล่าเรื่องราว บรรยาย หรืออธิบายให้ฟัง
2. ประกาศให้ทราบ ชี้แจง แจ้งความให้รู้ทั่วกัน
3. เป็นการรายงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

96. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการพูดเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีความสําคัญ เสี่ยงต่อการกระทําที่ทําให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดในสังคม คือ
(1) แหล่งอ้างอิงที่เป็นสากล
(2) ความสมดุลและหลากหลายในข้อมูลที่ใช้
(3) หลักนิติวิทยาศาสตร์
(4) หลักทางศาสนา
(5) อิทธิพลจากสาธารณมติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

97. ข้อความใดที่สามารถใช้จบเรื่องราวที่พูด
(1) บอกว่าสาระที่นําเสนอไม่มีแล้ว
(2) รวบรวมสาระการพูดทวนอีกครั้ง
(3) นําเสนอประเด็นสําคัญเพิ่มเติมจากเนื้อหา
(4) ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
(5) ชื่นชมเพื่อนสนิทในห้องประชุม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

98. หากต้องมีการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหลังพูดจบ จะให้ความสําคัญกับ……..มากที่สุด
(1) แนวคิดของงาน
(2) ลําดับพิธีการ
(3) ความอาวุโส
(4) เวลาที่เหลือ
(5) มุมกล้อง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันมักมีการเชิญถ่ายภาพเป็นที่ระลึกภายหลังการพูดจบลง ซึ่งจะต้อง คิดและจัดการรองรับไว้ทั้งวิธีการ จุดถ่ายภาพ มุมกล้อง และลําดับของสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ อย่าให้เกิดความชุลมุนวุ่นวายขึ้นมาได้

99. วาทวิทยา ให้ความสําคัญกับอะไรมากที่สุด
(1) ความมีรสนิยม
(2) ความโดดเด่น
(3) มารยาทสังคม
(4) รูปแบบแปลกใหม่
(5) สีสันการนําเสนอ
ตอบ 3(คําบรรยาย) วิชาการพูด (วาทวิทยา) มีจุดมุ่งหมายโดยทั่วไป ดังนี้
1. สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย
2. ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี
3. สามารถประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลแบบต่าง ๆ
4. ปลูกฝังการเป็นผู้มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักใช้เหตุผล
5. สามารถสื่อสารกับสมาชิกสังคมได้อย่างถูกกาลเทศะตามมารยาทพื้นฐานของสังคม

100 เรื่องใดไม่ควรนํามาพูด
(1) สภาพบ้านเมือง
(3) สถาบันที่จบมา
(2) วิจารณ์เชื้อชาติ
(4) แรงบันดาลใจ
(5) ความชอบ – ไม่ชอบส่วนตัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรระมัดระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ ชาติกําเนิด และศาสนา เพราะกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน
มีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา 2/2564

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2303 (MCS 1350) วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 5. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ผู้พูด
(2) เนื้อหา
(3) ผู้ฟัง – ผู้ชม
(4) ช่องทาง
(5) ผลกระทบ

1 เพื่อหา Feedback ในกระบวนการสื่อสาร
ตอบ 5(คําบรรยาย) ผลจากการพูด (Impact) หรือผลกระทบ คือ การแสดงออก ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) ในกระบวนการสื่อสาร หรือผลที่เกิดขึ้นมาจากการนําเสนอเรื่องราวเนื้อหา รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์การแสดงออกทั้งในระหว่างการพูด และหลังจากการพูด

2 คือ สาระหลักของการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) ในทางวาทวิทยา หมายถึง ข่าวสารหรือ ข้อมูลที่มีการตระเตรียมไว้เพื่อการนําเสนอ ถือเป็นสาระหลักของการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นการ เตรียมให้กับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ โดยสาระหรือเนื้อหาเหล่านี้จะพิจารณาจากความน่าสนใจ ในการนําเสนอ และการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายการสื่อสาร

3. เป็น Sender เสมอ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อสาร ผู้พูด (Speaker) จะมีฐานะเป็นผู้ส่งสาร (Sender) เสมอ เพราะเป็นผู้ใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อเตรียมสารและถ่ายทอดไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้ส่งสาร นําเสนอหรือพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายนําสาระข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ หรือ ยึดถือเป็นกรอบอ้างอิง เราจะเรียกผู้ส่งสารว่า “แหล่งข่าวสาร” (Source or News Source) โดยเฉพาะในการสื่อสารมวลชน

4. โดยอนุโลม คือ เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรือเครื่องมือทางการ สื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น ตลอดจนอะไรก็ตามที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ การถ่ายทอด และการส่งต่อสาระข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความรู้หรือความเข้าใจ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

5 พิจารณาจากความเหมาะสม กาลเทศะ สถานะ และตัวบุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผู้ฟัง – ผู้ชม (Listener or Audience) จะมีฐานะเป็นผู้รับสาร (Receiver) และมักเป็นกลุ่มเป้าหมายของการพูดเสมอ โดยจะมีลักษณะสังคมประชากร สภาพการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่นําเสนอ ประสบการณ์ ความสนใจ และความคิดที่เห็นต่างกันไปตาม กาลเวลา ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องทําการวิเคราะห์ผู้รับสารทุกครั้งก่อนการเตรียมสาร โดยพิจารณา จากความเหมาะสม กาลเทศะ สถานะ และตัวบุคคล

ข้อ 6. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) รับรู้
(2) เรียนรู้
(3) มีความรู้สึก
(4) ชักจูงใจ
(5) โดยบันทึกย่อ

6.ข้อใดไม่ใช่การแบ่งตามวัตถุประสงค์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการพูด ได้แก่
1. การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูล ถือเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนในการสื่อสารปกติ
2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือให้เรียนรู้ เป็นการให้ข้อมูล + กระบวนการทางปัญญา
3. การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการเข้าถึงอารมณ์และมีความรู้สึก
4. การพูดเพื่อชักจูงใจ เป็นการโน้มน้าวใจให้เกิดพฤติกรรมตามที่กําหนด ซึ่งจําเป็นต้อง
สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ

7. เป็นการเข้าถึงความบันเทิง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

8. ข้อใดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนในการสื่อสารปกติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

9.จําเป็นต้องสร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

10. ข้อมูล + กระบวนการทางปัญญา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

ข้อ 11. – 15. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หัวเรื่อง
(2) ประเด็น
(3) คํานํา
(4) เนื้อเรื่อง
(5) โครงสร้าง

11. แนวคิดหลักในการนําเสนอ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง มีลักษณะดังนี้
1. เป็นภาพรวมหลัก แนวคิดหลัก หรือทิศทางในการนําเสนอ
2. สัน กระชับ มีความหมายในตัวเอง
3. อาจมีส่วนขยายชื่อเรื่องที่ชวนติดตาม
4. มีความน่าสนใจ หรือสอดคล้องกับความต้องการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย หากมีลักษณะ เชิงคําถาม ต้องมีการคลี่คลายในเนื้อเรื่อง

12. ปกติจะมีความยาวมากที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง คือ สาระข้อมูลหลักในการที่ผู้พูดหรือผู้นําเสนอถ่ายทอด ไปยังผู้ฟัง – ผู้ชม (กลุ่มเป้าหมาย) ซึ่งปกติจะมีความยาวมากที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ทั้งนี้ การจะสร้างสาระเนื้อหาขึ้นมาได้ ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเตรียมสาร ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยทางการสื่อสาร
2. การค้นคว้าข้อมูล
3. การประมวลเนื้อเรื่องและแนวคิด
4. การจัดทําร่างเนื้อหาเบื้องต้น

13. แบบแผนที่กําหนดเอาไว้เป็นสากล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงสร้างของเนื้อหาการพูด คือ แบบแผนซึ่งมีการกําหนดไว้ถึงกระบวนการ และขั้นตอนในการนําเสนอ เพื่อให้ผู้พูดได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพูดตามลําดับก่อน – หลัง ซึ่งผู้ฟัง – ผู้ชมสามารถติดตามได้อย่างไม่สับสน เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ มีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

14. เกริ่น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คํานําหรือบทนํา มีลักษณะดังนี้
1.เป็นส่วนน่าเข้าสู่เนื้อหาในการนําเสนอ หรือเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง
2. ทําหน้าที่ชักจูงใจ โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย หรือปูพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อนําเข้าสู่การ
นําเสนอในลําดับต่อไป
3. อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น คํานํา บทนํา ความนํา วรรคนํา อารัมภบท เกริ่น และ ส่วนเข้าสู่เนื้อหา เป็นต้น

15. จะนําเสนอได้ดีก็ต่อเมื่อมีข้อมูลสนับสนุน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเด็นหลักหรือประเด็นสําคัญในเนื้อหาของการนําเสนอนั้น จะนําเสนอได้ดี ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลสนับสนุนประเด็นในแต่ละด้านตามแนวคิดหรือวิธีการของผู้พูด

16. วาทวิทยาในบริบทของการสื่อสารมวลชน เน้นที่
(1) การนําเสนอที่น่าประทับใจ
(2) การสื่อสารที่มีแบบแผน
(3) การพูดที่มีเสน่ห์
(4) การใช้สื่อบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) การใช้คําพูดให้เป็นประโยชน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของกิจกรรมทางวาทวิทยาในบริบทของ การสื่อสารมวลชน จะเน้นที่การนําเสนอที่น่าประทับใจใน 2 สิ่งด้วยกัน ได้แก่
1. วาจา
2. ตัวตน

17. เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ
(1) คําพูด
(2) สัญลักษณ์
(3) เจตนารมณ์
(4) ความต้องการ
(5) รูปพรรณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ คําพูด ซึ่งเนื้อหาในการพูดนั้นก็พัฒนามาจากความคิดและการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ทั้งนี้ การพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจากความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

18. เนื้อหาในการพูดพัฒนามาจาก
(1) สํานึก
(2) ความคิด
(3) ความน่าจะเป็น
(4) ความต้องการ
(5) ความสําคัญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19. การสื่อสารตามอัธยาศัย ขึ้นอยู่กับ
(1) ระดับความคุ้นเคย
(2) ระดับความสามารถ
(3) ระดับจิตใจ
(4) ระดับของความสัมพันธ์
(5) ระดับสติปัญญา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการพูดในขั้น พื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และ ปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วมและมีลักษณะของการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัด ประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับระดับของความสัมพันธ์ หรือสภาวะปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลของกันและกัน

20. การสื่อสารในระดับชุมชน หรือบุคคลจํานวนมาก มีลักษณะเด่นที่
(1) ความเป็นประชาธิปไตย
(2) ความเป็นอิสรเสรีในการสื่อสาร
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) มีผู้นํา – ผู้ตาม และแบบแผนที่กําหนด
(5) อาศัยการโน้มน้าวใจอย่างสูง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดในที่ชุมชน (Communication in Public) มีดังนี้
1. เป็นการพูดหน้าที่ประชุมชน ซึ่งผู้พูดต้องมีพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ หรือกรอบอ้างอิง เกี่ยวกับเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี
2. ผู้พูดมักมีคุณสมบัติเป็นผู้นํา ส่วนผู้ฟังมีสภาพเป็นผู้ตาม
3. สาระการสื่อสารมักจะเป็นเรื่องที่มีการตระเตรียม โดยมีเป้าหมายการสื่อสารที่แน่ชัดและ
เป็นแบบแผนที่กําหนด รวมทั้งมีกระบวนการสื่อสารเป็นขั้นตอนตามแผนงาน
4. เป็นการพูดต่อหน้าผู้ฟังจํานวนมาก ซึ่งอาจทําให้ผู้พูดเกิดอาการประหม่าและตื่นเต้น ดังนั้น ผู้พูดจึงควรตั้งสติกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อการพูดที่ดีขึ้นในครั้งต่อไป
5. อาจมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น ใช้โปรแกรม PowerPoint ใช้สไลด์ หรือใช้โมเดล ประกอบการนําเสนอ ฯลฯ

21. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของกิจกรรมพูดทางสื่อสารมวลชน
(1) มีคนจํานวนมากพูด
(2) อาศัยสื่อออนไลน์
(3) ไม่มีกําหนดเวลา
(4) รูปแบบเนื้อหา
(5) มีการกําหนดผู้พูดหรือกระบวนการนําเสนอ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดผ่านสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการอาศัยสื่อการ ถ่ายทอดหลักของสังคม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสังคม เพื่อถ่ายทอดสาระการสื่อสารของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องมีการ กําหนดกระบวนการนําเสนอ และตัวผู้พูดที่ทําหน้าที่โดยตรง ได้แก่ พิธีกร ผู้ดําเนินรายการ ผู้ประกาศข่าว สื่อมวลชน หรือเป็นผู้รับเชิญให้พูดเป็นกรณี ๆ ไป ฯลฯ

22. การพูดเพื่อปลูกฝังความดีงามให้เกิดแก่จิตใจ หมายถึง การพูด
(1) ประโลมใจ
(2) ประเทืองใจ
(3) จรรโลงใจ
(4) ชําระจิตใจ
(5) สะใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อจรรโลงใจ มีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีงาม สูงส่ง ซึ่งผู้พูด จะชี้ให้เห็นถึงอุดมคติ แนวทางในการดําเนินชีวิต การสร้างสรรค์คุณงามความดี ความประณีต งดงาม คุณค่าอันน่านิยม ตลอดจนความสนุกสนานเบิกบานใจ

23. ข้อใดคือจุดกําเนิดของการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพการพูด
(1) เป็นผู้หมั่นศึกษา
(2) เป็นผู้เคารพความอาวุโส
(3) เป็นผู้มีปัญญา
(4) เป็นผู้มีความสงบเรียบร้อย
(5) เป็นผู้มีความคิดรอบคอบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเป็นผู้มีความคิดรอบคอบ ถือเป็นจุดกําเนิดของการรักษาจรรยาบรรณ วิชาชีพการพูด เพราะหากพูดโดยไม่ยั้งคิด และขาดความรอบคอบในการไตร่ตรองเนื้อหา ก่อนที่จะพูด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูดในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนาย คําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

24. ความมีสมดุลในการสื่อสารทางวาทวิทยา จะเกิดควบคู่กับแนวคิดใด
(1) เอกภาพทางความคิด
(2) มิตรภาพระหว่างกัน
(3) การมีปฏิสัมพันธ์กัน
(4) การมีส่วนร่วมทางสังคม
(5) หลักวาจาธิปไตย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความมีสมดุลในการสื่อสารทางวาทวิทยา คือ การเปิดโอกาสให้มีการสื่อสาร ระหว่างกันอย่างสมดุล โดยผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ฝ่ายเดียว เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางสังคม

25. ข้อใดเป็นเจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยา
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยาหรือการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ ตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา พฤติกรรม หรืออากัปกิริยาท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหา สาระที่จะพูด น้ำเสียงและสำเนียง

26. การถ่ายทอดสารของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย ………“ระหว่างบุคคล” และ “สื่อมวลชน
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ปฏิสัมพันธ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

27. ข้อใดพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
(1) ผู้พูด
(2) ผู้ฟัง
(3) ผู้ชม
(4) เสียง
(5) ท่าที
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งเสียงพูดที่มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณา
จากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

28. ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “เอกลักษณ์”
(1) หายากในคนอื่น
(2) ทุกคนก็มี
(3) เป็นไปได้ทุกคน
(4) คุณค่าที่มี
(5) คนที่น่าเลื่อมใส
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คําว่า “เอกลักษณ์” (Uniqueness) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความโดดเด่น หรือสภาวะที่ไม่มีผู้ใดเหมือน หาได้ยากในคนอื่น เช่น การใช้ลูกเล่นในน้ําเสียง เพื่อบอกคนฟังว่า จุดไหนที่เน้น จุดไหนที่สําคัญ เป็นต้น

29. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี
(1) ใช้เหตุผลในการนําเสนอ
(2) ข้อมูลที่ใช้ต้องเป็นความจริง
(3) คิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) สามารถพูดได้ทุกเรื่อง
(5) ต้องมีความรู้เท่าทันคนอื่น
ตอบ 3(คําบรรยาย) หลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี คือ การรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนพูด ถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดมารยาทในการพูด และเป็นมารยาทของนักพูดที่ดีข้อแรกที่วิช วาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ)

30. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย ภาษา ……
(1) ที่ใช้ถ้อยคํา – ที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ที่ใช้ถ้อยคํา – ท่าทาง
(3) ทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) หนังสือ – ท่าหาง
(5) อักษร – สัญลักษณ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย
เวลา กลิ่น ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร และวัสดุภาษาอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจกันได้

31. อวัจนภาษาที่ใช้มากที่สุด คือ
(1) เสียงในลําคอ
(2) ท่าทางประกอบ
(3) การเปลี่ยนตําแหน่ง
(4) การชี้นิ้ว
(5) อุทาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ใช้มากที่สุด คือ ท่าทางประกอบ ซึ่งผู้พูด ควรจะแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและสาระการนําเสนอ รวมทั้ง ต้องสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม ซึ่งการแสดง ท่าทางประกอบต้องมีชีวิตจิตใจ ไม่ซ้ําซากจําเจ และอย่าทําให้เป็นระบบจนผู้ฟังคุ้นเคยหรือเดาทางออก โดยควรทําให้เห็นเด่นชัด และมีความหลากหลาย

32. เสียงในเชิงวาทวิทยาไม่สามารถสื่อสารถึง …… ได้อย่างสมบูรณ์
(1) เนื้อหา
(2) ข้อมูล
(3) สาระ
(4) ความรู้สึก
(5) ความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและสําเนียง โต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงจะเป็นเพียงการเปล่งวาจาหรือเนื้อหาออกมา ส่วนสําเนียง
ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถสื่อสารถึงอารมณ์และจะบอกถึงอากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ความรู้สึกได้โดยตรงอย่างสมบูรณ์ หากไม่มีสําเนียงมาช่วย

33. ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน คือ
(1) ขึ้นอยู่กับสุขภาพกาย
(2) ต้องอาศัยท่าทางประกอบ
(3) เสื่อมสลายไปได้ทันที
(4) ต้องใช้จักษุภาษา
(5) ต้องอาศัยพรสวรรค์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสาร มวลชน คือ เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน เพราะเสียงเมื่อพูดไปแล้วก็จบไปเลย หากผู้ฟัง ไม่มีโอกาสฟังซ้ําก็จะทําให้หลงลืม จึงไม่อาจนํามาเป็นหลักฐานได้

34. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
(4) พื้นฐานความรู้มาก – น้อย
(5) การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. การใช้จังหวะถี – ห่าง
4. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

35. ข้อใดเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ

(4) กระทําโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ คือ การพูดให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการจะให้คนฟังได้รับทราบ

36. ข้อใดไม่เป็นการพูดในทางวาทวิทยา
(1) เจรจา
(2) ปรึกษา
(3) ว่าความ
(4) อุทาน
(5) โต้วาที ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วาทวิทยา (Speech Communication) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น วาทนิเทศ วาทศาสตร์ วาทศิลป์ ฯลฯ แต่เดิมเน้นการสื่อสารด้วยเสียงและกิริยาท่าทางประกอบ ปัจจุบัน เน้นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นํา การชักจูงใจ และความบันเทิงเป็นหลัก ทั้งนี้การพูดในทาง วาทวิทยาจะต้องมีกระบวนการคิด การกําหนดเป้าหมายการพูด การวางแผน และดําเนินการ ตามแผนการพูดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การเจรจาต่อรองผลประโยชน์, การนําเสนอผลงาน การสื่อสารองค์การ, การปรึกษาหารือ, การว่าความ, การโต้วาที ฯลฯ

37. เหตุใดกิจกรรมด้านวาทวิทยาจึงเป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพ
(1) รู้จักการแต่งกาย
(2) รู้จักการวางตัว
(3) รู้จักการใช้เวลา
(4) รู้จังหวะ
(5) รู้จักบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของงานวาทวิทยาประการหนึ่ง ได้แก่ การสร้างสรรค์และส่งเสริม การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี คือ รู้จักการวางตัวและสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสม

38. ช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นคําพูด คือ
(1) สิ่งพิมพ์ – ภาพและเสียง
(2) ใบหน้า – ท่าทาง
(3) บุคคล – สื่อ
(4) เครื่องมือ – อุปกรณ์
(5) สติปัญญา – อารมณ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

39. แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือก
(1) สื่อ
(2) เวลา
(3) เรียนรู้
(4) วิธีแสดงออก
(5) วิถีชีวิต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือกวิธี แสดงออกหรือวิธีนําเสนอที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท
และแบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

40. ข้อใดไม่ใช่การวิเคราะห์
(1) แจกแจง
(2) มีรายละเอียด
(3) ทําโดยผู้เชี่ยวชาญ
(4) ประมวลสาระอย่างรอบคอบ
(5) เสนอข้อมูลที่หลากหลาย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ มีลักษณะดังนี้
1. การแยกแยะแจกแจงรายละเอียด
2. การประมวลสาระอย่างรอบคอบ
3. การนําเสนอข้อมูลที่หลากหลาย

41. การพูดเป็นการสลายอารมณ์และความรู้สึกระหว่างผู้รับสารได้ เนื่องจาก
(1) เป็นการให้เกียรติแก่กัน
(2) เป็นการสร้างสรรค์เนื้อหาร่วมกัน
(3) เป็นการรับรู้ข้อมูลพร้อม ๆ กัน
(4) เป็นการรู้จักตัวตนที่ลึกซึ้ง
(5) เป็นช่องทางของการมีปฏิสัมพันธ์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดเป็นกระบวนการ สร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกระหว่างผู้รับสารได้ เนื่องจากการพูดเป็นการสร้างสรรค์
เนื้อหาร่วมกัน ทําให้สามารถเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ฟังได้โดยตรง

42. การเรียนรู้จากข้อมูลข่าวสาร เป็นกระบวนการสําคัญของ
(1) การเข้าถึงจิตใจ
(2) การศึกษา
(3) มิตรภาพ
(4) การรักษาสมดุล
(5) การบรรลุความสําเร็จ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดทําให้เกิดการเรียนรู้ จากข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถือเป็นกระบวนการสําคัญของการศึกษา

43. ความเชื่อ หมายถึง
(1) การใส่ใจข้อมูล
(2) การนึกถึงข้อมูล
(3) การจดจําข้อมูล
(4) การให้ความสําคัญแก่ข้อมูล
(5) การยืนยันข้อมูล
ตอบ 5(คําบรรยาย) ความเชื่อในข้อมูล หมายถึง การยืนยันข้อมูล หรือยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น ความจริงหรือมีการดํารงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน

44. การรายงานข่าวสารคดีเชิงลึก อาศัยกระบวนใดด้านวาทวิทยา
(1) สืบค้น
(2) สืบชะตา
(3) สืบเสาะ
(4) สืบสาน
(5) สืบสวน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สืบค้น หมายถึง ค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องจนกว่า จะได้ผล เช่น สืบค้นหาความจริงของเหตุการณ์ เป็นต้น

45. การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคัดสรร
(2) การสังเคราะห์
(3) การเพาะบ่ม
(4) การคัดตัวเลือก
(5) การกําหนดความหมาย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญใน 2 ด้าน ดังนี้
1. การรับรู้ความหมาย
2. การกําหนดความหมาย

46. แนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น เนื้อหาข่าวสารที่น่าสนใจเกิดจากข้อมูลกลุ่มใด
(1) ประโยชน์ – การเร่งรัด
(2) การเร่งรัด – ความพอใจ
(3) ความพอใจ – ความต้องการ
(4) ความต้องการ – ภาพลักษณ์
(5) ภาพลักษณ์ – ความคุ้นเคย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามแนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น เนื้อหาข่าวสารที่น่าสนใจ พิจารณาจาก
1. ความสนใจ
2. ความพึงพอใจ
3. ความต้องการ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ

 

47. การสร้างประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจาก…….เป็นสมมุติฐาน
(1) การศึกษาที่ดี
(2) การหาข้อมูลที่ดี
(3) การเตรียมตัวที่ดี
(4) ความขยันที่มากพอ
(5) ความคุ้นเคยกับข้อมูล
ตอบ 3(คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานของความมีประสิทธิผลในกิจกรรมด้านวาทวิทยา คือ ผู้พูดต้อง มีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมาก่อนเวลาพูดเพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็นเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคย และไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพูด

48. เหตุใดจึงไม่สามารถปฏิเสธการดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นก็เพื่อ
(1) สุขภาพที่ดี
(2) ความสัมพันธ์ที่ดี
(3) สติปัญญาที่ดี
(4) การรับรู้ที่ดี
(5) โอกาสที่ดี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งกาย คุณภาพของน้ําเสียง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้ที่ดีนั่นเอง

49. การพูดเป็นการแสดง
(1) ปัญญา – ความสามารถ
(2) ความคิด – บุคลิกภาพ
(3) การจัดการ – ความสมดุล
(4) สัดส่วน – แนวโน้ม
(5) ตัวตน – วาจา
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

50. ตัวตนของผู้พูด ประกอบด้วย
(1) อัตลักษณ์ – พฤติกรรม
(2) ภูมิหลัง – การศึกษา
(3) ภูมิลําเนา – ครอบครัว
(4) ประวัติส่วนตัว – ความสามารถ
(5) วัตถุประสงค์ – ความสําเร็จ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

51. ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด พิจารณาเบื้องต้นจาก……….ในการนําเสนอ
(1) ความไพเราะ
(2) ความราบเรียบ
(3) คําอ่าน
(4) ลําดับขั้นตอน
(5) การค้นคว้าข้อมูล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด จะพิจารณาเบื้องต้นจากลําดับขั้นตอน ในการนําเสนอที่เป็นระบบ โดยมีการดําเนินเรื่องที่ดีถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ มีบทนํา เนื้อเรื่อง และบทสรุป

52. การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณาจาก
(1) บุคลิกภาพ
(2) การจัดเวที
(3) วิธีการแสดงออก
(4) สายตา
(5) สื่อที่ใช้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณา จากวิธีการแสดงออก เช่น ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความหรือ ให้ความสําคัญกับสิ่งที่พูด ซึ่งหากเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้พูดต้องการเน้นเป็นพิเศษ ควรใช้หลักการ ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก

53. การจัดลําดับข้อมูลให้น่าสนใจ อาศัยอะไรเป็นเครื่องกําหนด
(1) รสนิยมของผู้พูด
(2) ความรู้ของผู้ชม – ผู้ฟัง
(3) สื่อที่มีอยู่
(4) บรรยากาศแวดล้อม
(5) แนวความคิดในการนําเสนอ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดลําดับข้อมูลให้น่าสนใจ มักพิจารณาจากสื่อ (Media) ที่มีอยู่ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูล เพื่อถ่ายทอดไปให้ผู้รับสารเข้าใจได้ ซึ่งอาจมีความหมายรวมถึงสาร สิ่งเร้า โสตทัศนูปกรณ์ในการนําเสนอให้น่าสนใจ ตลอดจนบุคคลที่เชิญมาอภิปรายร่วม

54. เหตุใดผู้พูดจึงต้องระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ
(1) สื่อปัจจุบันมีค่าใช้จ่าย
(2) ผู้ฟังอาจไม่มีการศึกษามากพอ
(3) ผู้ชมมีสติปัญญาสูงกว่าอยู่แล้ว
(4) ไม่รู้ว่าผู้ชม – ผู้ฟังชอบอะไรกันแน่
(5) กลุ่มเป้าหมายปัจจุบันมีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน
ตอบ 5(คําบรรยาย) ผู้พูดควรระมัดระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ ชาติกําเนิด และศาสนา เพราะกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน มีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน

55. เหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อ
(1) จะได้ข้อมูลที่สนับสนุนตนเอง
(2) ป้องกันความผิดพลาด
(3) เพื่อให้ไม่ได้รับการขัดขวาง
(4) เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตรระหว่างกัน
(5) สร้างความคุ้นเคยกับคนคุ้นเคย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตร ระหว่างกัน ซึ่งกฎง่าย ๆ ที่ผู้พูดควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก คือ การยิ้มแย้มดีกว่าทิ้งตึง เพื่อให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด

56. การตรวจสอบตนเองของผู้พูด หลังจากที่ได้มีการเตรียมตัวดีแล้ว ข้อใดคือข้อพิจารณาสําคัญ
(1) พูดนานเท่าใด
(2) นัดหมายเวลาไหน
(3) ตนเองพร้อมหรือเปล่า
(4) ต้องแก้ร่างบทพูดตรงไหน
(5) สุขภาพตนเองเป็นอย่างไร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การตรวจสอบตนเองของผู้พูด หลังจากที่ได้มีการเตรียมตัวดีแล้ว สิ่งที่ผู้พูดต้อง พิจารณาเป็นสําคัญ คือ การเตรียมสุขภาพของตนเอง โดยควรระวังอย่าให้เป็นหวัด เพราะจะ เป็นอุปสรรคต่อการพูดมาก แม้จะเตรียมตัวมาดีแล้วก็ตาม

57. ข้อใดคือทักษะที่จําเป็นของผู้พูด ซึ่งต้องพูดร่วมกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย
(1) การใช้งานบุคคล
(2) การมีมนุษยสัมพันธ์
(3) การจัดการความรู้
(4) การใช้เส้นทาง
(5) การประสานงานกับช่างเทคนิค
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทักษะที่จําเป็นของผู้พูด เมื่อต้องพูดร่วมกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย คือ จะต้องเป็น ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ซึ่งเป็นผลมาจากการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคลทุกคน หรือไม่ทําลายบรรยากาศการพูดคุย จนสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น

58. ข้อใดเป็นความสามารถด้านการใช้เสียงที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์
(1) ความชัดถ้อยชัดคํา
(2) เสียงดังฟังชัด
(3) ออกเสียงชัดเจน
(4) ลูกเล่นในการนําเสนอ
(5) การลําดับข้อมูลที่ฟังง่าย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

59. ข้อใดเป็นความน่าเชื่อถือของผู้พูดในลําดับท้าย ๆ
(1) การวางตัว
(2) มารยาทสังคม
(3) การเลือกเครื่องแต่งกาย
(4) ความตรงเวลา
(5) การเลือก Application ในการนําเสนอ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูด ประกอบด้วย
1. การวางตัว มารยาทพื้นฐานทางสังคม ความตรงเวลา
2. หน้าที่ ความเกี่ยวข้อง ประสบการณ์
3. การเลือกเครื่องแต่งกาย ฯลฯ

60. คําว่า Speech หมายถึง
(1) เนื้อหาการสนทนาทั่วไป
(2) เนื้อหาการพูดที่เฉพาะเจาะจง
(3) เนื้อหาการสื่อสารทางวาจาที่มีการเตรียมการ
(4) บทประพันธ์ที่นําไปพูด
(5) การนําเสนอที่มีแบบแผน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

61. ข้อใดไม่ได้อยู่ในโครงสร้างเนื้อหาการพูด
(1) คํากล่าวทักทาย
(2) ประเด็นการนําเสนอ
(3) หลักฐานการชักจูงใจ
(4) บทสรุปเรื่องราว
(5) แนวทางในการใช้สื่อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงสร้างสาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) มีดังนี้
1. การกล่าวทักทายหรือมีปฏิสันถาร เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. การเข้าสู่เรื่อง คํานํา หรือความนํา
3. ประเด็น/สาระในการนําเสนอ
4. ข้อมูล ความรู้ ประเด็นจูงใจ การให้คุณค่าเนื้อหา
5. การสรุป การปิดท้ายเรื่อง คําลงท้าย
6. คําเชื้อเชิญ การเชิญชวน

62. เนื้อหาในการพูด ถูกพัฒนามาจาก
(1) สํานึก
(2) ความพร้อม
(3) ความคิด
(4) ความจํา
(5) สิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

63. เนื้อหาในทางวาทวิทยา ให้ความสําคัญกับ
(1) รูปแบบ – ขั้นตอน
(2) ความน่าสนใจ – เป้าหมายการสื่อสาร
(3) ความจํา – ข้อมูล
(4) แนวคิด – การตอบสนอง
(5) สิ่งประทับใจ – สาระที่ได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

64. อะไรเกิดขึ้นก่อนใน Speech Communication
(1) อารัมภบท
(2) อุทาน
(3) ทักทาย
(4) เกริ่น
(5) แนะนําตัว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65. ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องทําการประเมินผลการพูด ถือว่ามีลักษณะใด
(1) มีศรัทธา
(2) มีความนับถือ
(3) มีองค์ประกอบ
(4) มีอิทธิพล
(5) มีบริบท
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้ฟัง ผู้ชม ถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้พูด เพราะผู้ฟัง – ผู้ชมมีหน้าที่ประเมินผล การพูดในครั้งนั้น ๆ เพื่อให้ผู้พูดได้ทราบประสิทธิผลของการพูด ผู้พูดจะได้ปรับปรุงตน เนื้อหา วิธีการ และปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่จะมีต่อผู้ชม ผู้ฟังในครั้งต่อไป

66. ในการประชุมของหน่วยงาน ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะให้กับบุคคลทั่วไป บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วม ประชุม แต่รับฟัง – รับชมการถ่ายทอด ถือเป็นบุคคล…….
(1) เปิดเผย
(2) นอกองค์กร
(3) ตามพันธกรณี
(4) ไม่ได้รับเชิญ
(5) สัญจรภายนอก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการประชุมของหน่วยงาน ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะให้กับบุคคลทั่วไป บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมประชุม แต่รับฟัง – รับชมการถ่ายทอด ถือเป็นบุคคลนอกองค์กร คือ บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานที่จัดประชุม อาจจะเป็นประชาชนทั่วไปที่สนใจก็ได้

67. การพบปะชี้แจงโครงการสาธารณะที่จะได้รับหรือสูญเสียประโยชน์บางประการ ผู้จัดการประชุมต้อง
พิจารณาถึงกลุ่มเป้าหมายใดเป็นสําคัญ
(1) ภายใน – ภายนอกชุมชน
(2) เบื้องหน้า – เบื้องหลัง
(3) รู้จัก – ไม่รู้จัก

(4) ได้รับผลกระทบ – ไม่ได้รับผลกระทบ
(5) ควบคุมได้ – ควบคุมไม่ได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในกรณีที่มีการพบปะชี้แจงโครงการสาธารณะที่จะได้รับหรือสูญเสียผลประโยชน์ บางประการ กลุ่มเป้าหมายที่ผู้จัดการประชุมต้องคํานึงถึงเป็นสําคัญ คือ
1. กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการสาธารณะ
2. กลุ่มผู้ไม่ได้รับผลกระทบจากโครงการสาธารณะ

68. สิ่งใดคือเครื่องมือของผู้พูด
(1) เครื่องเสียง
(2) คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรม
(3) แสงและการจัดฉาก
(4) เครื่องบันทึกเสียง
(5) อุปกรณ์ทุกอย่างที่ผู้พูดต้องการใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

69. การใช้อวัจนภาษา ทําเพื่อ
(1) เพิ่มคุณค่า
(2) เข้าถึงการสร้างความเข้าใจ
(3) สร้างลีลาการนําเสนอ
(4) เพิ่มความสนุกสนาน
(5) เร่งเร้าให้ตัดสินใจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

70. วัตถุพยานในการพูด หมายถึง
(1) สิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหลาย
(2) สิ่งที่จับต้องได้
(3) สิ่งที่มีตัวตน
(4) สิ่งที่กล่าวอ้างขึ้นมา
(5) สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่มีร่องรอย
ตอบ 5 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) วัตถุพยานในการพูด หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ สามารถสัมผัสรับรู้ได้ หรือร่องรอยการกระทํา

71. ข้อใดเป็นแนวทางหลักในการใช้เครื่องมือประกอบการพูด
(1) ต้องมีทุกครั้ง
(2) จะมีหรือไม่ก็ได้
(3) มีตามความจําเป็น
(4) ใช้ของที่ทันสมัยเสมอ
(5) นํามาเผื่อไว้ก่อน
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) แนวทางหลักในการใช้เครื่องมือ (Channel) ประกอบการพูด ได้แก่
1. ใช้ตามความจําเป็น
2. ใช้ตามลักษณะงานและคุณสมบัติที่มี
3. ใช้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผล
4. ใช้ตามวัตถุประสงค์
5. ใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

72. เหตุใดจึงมีข้อแนะนําว่า ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อ
สาธารณชน
(1) ผู้ชม – ผู้ฟังมักไม่สนใจ
(2) เป็นการดูถูกตนเอง
(3) อาจมีการเผยแพร่ต่อในทางเสียหาย
(4) เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
(5) จะสร้างความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) ผลจากการพูด (Impact) ประการหนึ่ง คือ การพูดนั้นอาจสร้างความเสียหายต่อตัวผู้พูดได้ ดังนั้นผู้พูดจึงไม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการพูดของตน เช่น ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมา กล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อสาธารณชน เพราะอาจมีการเผยแพร่ต่อในทางเสียหายได้

73. พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ จะปรากฏเป็น
(1) ความสามารถ
(2) ศักยภาพ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) ความคิด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นิสัย หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ หรือพฤติกรรม เคยชิน ซึ่งเกิดจากการกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อย ๆ จนติด

74. คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) ได้ผล
(4) มีมาตรฐาน
(5) ครบครัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ ความเหมาะสมทั้งในเรื่องของ บุคลิกลักษณะในการแต่งกาย การปรากฏตัว การเตรียมเนื้อหา คําปฏิสันถาร ฯลฯ ซึ่งจะต้อง มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจ้าภาพและลักษณะของงาน

75. การจะทราบประสิทธิผลของการพูด อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคะเน
(2) การรู้แจ้ง
(3) การแสดงผล
(4) การประเมินผล
(5) การทํานาย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

76. กระดาษต้นฉบับประกอบการพูด ควรมีลักษณะใด
(1) มีสีสันสดใส
(2) ใหญ่จนเห็นผู้ชมได้ชัด
(3) ไม่บดบังทัศนวิสัย
(4) เล็กที่สุดเท่าที่ทําได้
(5) ไม่ควรมีเส้นบรรทัด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4. ไม่บดบังทัศนวิสัย
5. มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี ฯลฯ

77. การรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ผู้รวบรวมทําได้โดย
(1) รับรู้ – เข้าใจ
(2) วิเคราะห์ – สังเคราะห์
(3) ส่วนร่วม – ไม่มีส่วนร่วม
(4) ติดตาม – สังเกต
(5) บันทึกด้วยตนเอง – บันทึกโดยอุปกรณ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ มีวิธีรับรู้ข้อมูลอยู่ 2 วิธี ได้แก่
1. มีส่วนร่วมในกิจกรรม
2. ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรม

78. ข้อใดมิใช่การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงประจักษ์
(1) อ่านมาจาก IG
(2) คุยกับคุณป้าขายข้าวแกง
(3) แข่งปิงปองกับเพื่อนซี้
(4) กําลังติดฝนบนทางด่วน
(5) ลงทะเบียนยืนยันตัวตนเข้าสอบด้วยตนเอง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ สิ่งที่ผู้รับข้อมูลเข้าไปมีส่วนร่วม รู้เห็น รับรู้ หรือสัมผัส
กับข้อมูลนั้นด้วยตัวเองโดยตรง

79. ข้อพิจารณาสําคัญของข้อมูลแวดล้อมในทางวาทวิทยา คือ
(1) นํามากล่าวอ้างได้
(2) พูดถึงกันอยู่เสมอ
(3) มีความหมายในตัวเอง
(4) มีอยู่จริงสามารถรับรู้ได้
(5) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาแล้ว
ตอบ 4(คําบรรยาย) ข้อมูลแวดล้อม คือ สิ่งที่เกิดขึ้น สภาพที่เป็นไปซึ่งมีอยู่หรือเป็นไปในขณะนั้น ทั้งที่เป็นรูปธรรม (มีอยู่จริง สามารถรับรู้ได้) หรือนามธรรม (ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่รู้เห็น รับรู้ และสัมผัสได้)

80. การจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวถึง ผู้พูดจะต้องมีแนวคิดในการรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดเป็นสําคัญ
(1) เปิดกว้าง
(2) เน้นที่มติสาธารณะ
(3) พิจารณาจากกระแสข่าวที่น่าเชื่อถือ
(4) ทําโดยปราศจากอคติ
(5) มีการวิพากษ์ข้อมูลและวิธีได้มา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อสังเกตในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. รวบรวมโดยใจเป็นกลางโดยปราศจากอคติ
2. รวบรวมให้ครอบคลุมและครบถ้วน
3. รวมรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ
4. รวบรวมให้ตรงประเด็น
5. รวบรวมจากหลายแหล่ง

81. ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับ
(1) วิธีการนําเสนอ
(2) เอกสารที่มี
(3) ความรู้ที่ใช้ประกอบ
(4) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(5) ที่มาของข้อมูลที่จะใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82. การฝึกซ้อมพูดของผู้พูด เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียม
(1) คําพูด – อุปกรณ์
(2) อุปกรณ์ – เวที
(3) อุปกรณ์ – ทีมงาน
(4) บุคลิกภาพ – เนื้อหา
(5) บทบาท – การนําเสนอ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียมตนเองในด้านบุคลิกภาพ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่น
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ช่วยตรวจตราสิ่งจําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น หาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ

83. ข้อใดเป็นผลอันพึงปรารถนาที่สําคัญที่สุดจากการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างประสบการณ์ที่ดี
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) ตรวจสอบทีมงาน
(4) แสวงหาแนวทางของตนเอง
(5) ลดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84. หากผู้พูดพบว่า มีสิ่งที่ไม่เหมาะสมในเนื้อหาที่ร่างไว้ ควรทําอย่างไร
(1) นําไปพูดโดยบอกกับผู้ฟังว่าเป็นสิ่งไม่ดี
(2) นําไปปรึกษาทีมงาน
(3) ตัดทิ้งไม่ต้องนําไปเสนอ
(4) เก็บเป็นข้อมูลสําหรับพูดครั้งต่อไป
(5) ทําเป็นสําเนาแจกจ่ายกับทีมงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

85. การจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ จะต้องผ่านขั้นตอนสําคัญใดก่อน
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) วางแผนซ้อมบทกับเพื่อนสนิท
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือ ความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

86. เหตุใดงานด้านวาทวิทยาจึงต้องมีการจัดทําโครงร่าง (Outline)
(1) ทําให้ดูทันสมัย
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น
(3) ทําให้น่าติดตาม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(5) ทําให้มีเอกภาพ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่างหรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

87. การยืนยันกําหนดการพูด ต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ
(1) เจ้าภาพ
(2) รูปแบบพิธีการ
(3) วัน – เวลา สถานที่
(4) บทพูด
(5) เส้นทางและการจราจร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการยืนยันกําหนดการพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ วัน – เวลา และสถานที่ที่จะไปพูดให้แน่ใจก่อนเป็นลําดับแรก

88. เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ
(1) ไปพบกับเจ้าภาพ
(2) ติดต่อผู้ประสานงาน
(3) ไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ทําตัวให้สดชื่นมีพลัง
(5) ชวนผู้ฟังสนทนา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ ติดต่อผู้ประสานงานตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ เพื่อให้ช่วยอํานวยความสะดวกในการขึ้นเวทีพูด

89. ข้อใดให้กระทําควบคู่กับการทดสอบการออกเสียงเสมอ
(1) ทําความคุ้นเคยกับผู้ประสานงาน
(2) เชิญประธานในงานมาร่วมชม
(3) ฝึกแสดงการทําความเคารพ
(4) ฝึกการใช้อุปกรณ์ในห้องควบคุม
(5) ทดสอบลีลาท่าทางกับเวทีเท่าที่พอมีเวลา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ผู้พูดควรเตรียมตัวให้สดชื่นสําหรับงานที่รออยู่ข้างหน้า แต่สิ่งที่ไม่ควรทําอย่างยิ่ง คือ การทําอะไรเร่งรีบอย่างไม่มีการวางแผน โดยควรเตรียมการ ดังต่อไปนี้
1. เตรียมต้นฉบับและสิ่งจําเป็นต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะหยิบจับติดตัวได้ทันที
2. หากมีเวลาให้ฝึกทดสอบการออกเสียง ทดสอบลีลาท่าทางกับเวทีเท่าที่พอมีเวลา
3. ตรวจดูบันทึกย่อที่ทําเอาไว้

90. เหตุใดในการพูดแต่ละครั้งจะต้องมีการปฏิสันถาร
(1) เพื่อสร้างความสนใจ
(2) เพื่อการปรับตัว
(3) เพื่อให้ความเห็น
(4) เพื่อให้คําจํากัดความ
(5) สร้างความคุ้นเคย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

91. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคยก่อน
(5) พูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา ดังนี้ บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดัง
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้eเสียงที่ชัดเจน

92. การเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง คือ
(1) ทักทาย
(2) การปฏิสันถาร
(3) การแสดงความเคารพ
(4) ความนํา
(5) การนําเสนอข้อมูลเบื้องต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. และ 61. ประกอบ

93. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการมีคํานํา
(1) เปรียบเทียบข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ

ตอบ 1 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ) แนวคิดของการมีคํานํา ได้แก่
1. คํานํา บทนําต้องมีความชัดเจนในเนื้อหาและความน่าสนใจในประเด็นที่คัดสรรมาแล้ว ต้องไม่สั้นหรือยาวเยิ่นเย้อ และต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่จะพูดในลําดับถัดไป
2. คํานําเป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างอารมณ์ร่วม หรือสร้างความสนใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้อยากรู้ หรือจุดประกายให้ผู้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ
3. คํานําต้องชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญที่จะพูด โดยรวบรวมประเด็นสําคัญขึ้นมานําเสนอก่อน (แต่ไม่ใช่การย่อสาระสําคัญของการพูดทั้งหมด)
4. ไม่นิยมย่อความเรื่องราวที่จะพูดโดยรวมมาเป็นคํานํา
5. ไม่นําบทสวด คําทางศาสนา/ความเชื่อมาเป็นคํานํา
6. คํานําต้องมีความเหมาะสมกับกาลเทศะ และไม่ก้าวล่วงต่อสถานะของบุคคลต่าง ๆ
ในพิธีการ ฯลฯ

94. คํานําทําหน้าที่ใดในแนวคิดด้านการสื่อสาร
(1) กําหนดวัตถุประสงค์
(2) บอกกระบวนการ
(3) นําเสนอความสําเร็จ
(4) โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย
(5) สร้างอิทธิพลการนําเสนอ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

95. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่อาจละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟัง
(2) ทดสอบไมโครโฟน
(3) เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ชวนผู้ร่วมสนทนาคุย
(5) ประสานสายตากับคนรู้จัก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

96. สิ่งใดไม่ควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูด
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) หาที่นั่งและนั่งโดยเร็ว
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) ตรวจสอบบันทึกย่อที่เตรียมมา
(5) มองไปยังผู้ชม – ผู้ฟัง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูด คือ ไม่ควรทดสอบไมโครโฟน โดยการใช้ มือเคาะหรือเป่าลมใส่ไมโครโฟน และไม่ควรพูดว่า “ฮัลโหล ๆ” หรือกระแอมกระไอก่อนพูด

97. อะไรคือสิ่งที่เรียกว่า “กาลเทศะ” ในการพูด
(1) การวางตัวอย่างเหมาะสม
(2) การรู้จักรูปแบบของงาน
(3) มีเจ้าภาพที่แน่ชัด
(4) ดําเนินการได้ตามกําหนด
(5) การรับรู้แนวทางปฏิบัติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวางตัวอย่างเหมาะสม มีพื้นฐานมาจากการรู้จักกาลเทศะ คือ ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งคําว่า “กาละ” หมายถึง เหมาะสมกับเวลา จังหวะ และโอกาส ส่วนคําว่า “เทศะ” หมายถึง เหมาะสมกับสถานที่

98. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการ……….เสมอ
(1) เปรียบเทียบข้อแตกต่าง
(2) ตั้งสมมุติฐานให้กับผู้ฟัง
(3) แสดงความเห็น
(4) คําจํากัดความ
(5) ตั้งคําถามที่น่าสนใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยามหรือการให้
คําจํากัดความก่อนเสมอ หมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลักด้วยการ สร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

99. การพูดต่อสาธารณชนที่เสร็จสิ้นลงตามเนื้อหาที่เตรียมมา มักต้องมีการเผื่อเวลาสําหรับ
(1) วิจารณ์ผู้พูด
(2) นําเสนอประวัติผู้พูด
(3) ตอบข้อสงสัยบางประการ
(4) แนะนําตัวผู้ดําเนินรายการ
(5) กล่าวสดุดีตัวผู้ชม – ผู้ฟังบางคน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการพูดต่อสาธารณชนที่เสร็จสิ้นลงตามเนื้อหาที่เตรียมมานั้น ผู้พูดควรต้อง
เผื่อเวลาสําหรับการตอบข้อสงสัยบางประการ เพราะหากในเนื้อหามีคําถามมาตั้งแต่ต้นก็ควร เฉลยปมปัญหา หรือชี้แนวทางของการตอบ อย่าปล่อยให้ค้างคาใจ นอกจากนี้อาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังได้ซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ตามสมควร

100. สิ่งใดมักอยู่ในช่วงท้ายที่นอกเหนือจากการสรุปเนื้อหา
(1) ปฏิสันถาร
(2) คําอธิบายหัวข้อเรื่อง
(3) การกล่าวเชิญชวน
(4) ข้อมูลสําคัญของกิจกรรม
(5) ประวัติองค์กร/หน่วยงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่มักอยู่ในท่อนท้ายเนื้อหาที่นอกเหนือจากการสรุปเนื้อหา ได้แก่
1. ในบางกรณีจะมีการกล่าวทิ้งท้ายถึงการแสดงความเคารพ การกล่าวเชิญชวน หรือ
การแสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใดตามมา
2. ในบางสถานการณ์อาจมีการกล่าวสดุดี กล่าวคํารําลึก หรือไว้อาลัย รวมทั้งการใช้ ถ้อยคําเพื่อการจรรโลงใจบางอย่าง

WordPress Ads
error: Content is protected !!