LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ในศาลแขวงแห่งหนึ่งมีนายอภิชาติเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล นายอภิชิตเป็นผู้พิพากษา และนายอภิศักดิ์เป็นผู้พิพากษาอาวุโส นายอภิชาติได้จ่ายสํานวนคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งมีอัตราโทษ จําคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 พันบาท ให้แก่นายอภิศักดิ์ผู้พิพากษาอาวุโสเป็น เจ้าของสํานวน ในวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์นัดแรก จําเลยให้การรับสารภาพ นายอภิศักดิ์จึง มีคําสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะเพื่อตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ในการกระทํา ความผิดของจําเลยก่อน พร้อมกับให้เลื่อนไปนัดฟังคําพิพากษาในเดือนถัดไป เมื่อถึงวันนัดฟัง คําพิพากษานายอภิศักดิ์ได้อ่านรายงานของพนักงานคุมประพฤติให้จําเลยฟังแล้ว จําเลยไม่คัดค้าน ซึ่งนายอภิศักดิ์เห็นว่า จําเลยเคยกระทําความผิดในลักษณะเดียวกันมาก่อนหลายครั้ง โดยมีความเห็น ที่จะพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปี และไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ นายอภิศักดิ์ จึงนําสํานวนไปปรึกษานายอภิชาติผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แต่ปรากฏว่านายอภิชาติผู้พิพากษา หัวหน้าศาลไปราชการนอกพื้นที่ นายอภิศักดิ์จึงนําสํานวนไปปรึกษานายอภิชิตผู้พิพากษาคนเดียว ที่เหลืออยู่ในศาล นายอภิชิตเห็นด้วยกับคําพิพากษาของนายอภิศักดิ์ จึงลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะ กับนายอภิศักดิ์ด้วย

ดังนี้ ท่านเห็นว่า คําพิพากษาของนายอภิศักดิ์ผู้พิพากษาอาวุโสที่มีนายอภิชิตลงลายมือชื่อเป็น องค์คณะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 วรรคสอง “เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้า ศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น เป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กําหนด ไว้ในมาตรา 30 แล้ว ให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษา ลงโทษจําคุกเกินกว่าหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ” หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําพิพากษาของนายอภิศักดิ์ผู้พิพากษาอาวุโสที่มีนายอภิชิตลงลายมือชื่อ เป็นองค์คณะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เห็นว่า การที่นายอภิชาติผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่าย สํานวนคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 พันบาท ให้แก่นายอภิศักดิ์นั้น โดยหลักนายอภิศักดิ์ ย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านายอภิศักดิ์ซึ่งเป็นผู้พิพากษาคนเดียว จะพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนดเกินกว่า 6 เดือน ดังนี้ จะกระทํามิได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 25 (5) จึงต้องมีผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งมาลงลายมือชื่อด้วย และในกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ในระหว่างทําคําพิพากษาตามมาตรา 29 (3) และวรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2)

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายอภิชาติผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปราชการนอกพื้นที่ คงเหลือแต่ นายอภิชิตซึ่งมีหน้าที่ทําการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตามมาตรา 9 วรรคสอง ดังนั้น การที่นายอภิศักดิ์นํา สํานวนไปปรึกษานายอภิชิตผู้พิพากษาคนเดียวที่เหลืออยู่ในศาลและเป็นผู้ทําการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ตามมาตรา 9 วรรคสอง คําพิพากษาของนายอภิศักดิ์ผู้พิพากษาอาวุโสที่มีนายอภิชิตลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะ จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

ข้าพเจ้าเห็นว่าคําพิพากษาของนายอภิศักดิ์ผู้พิพากษาอาวุโสที่มีนายอภิชิตลงลายมือชื่อ เป็นองค์คณะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2.นายเอกเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายโทต่อศาลจังหวัดว่า นายโทได้ประมาทขับรถชนรั้วบ้านของนายเอก เสียหาย ซึ่งการกระทําของนายโทเป็นการละเมิดต่อนายเอก เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของนายเอก ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับนายโทซ่อมรั่วบ้านที่ชํารุดเสียหายคืนให้แก่นายเอก หากนายโท ไม่กระทํา ให้นายโทชดใช้ราคารั้วบ้านของนายเอกที่เสียหายเป็นเงิน 1 แสนบาท นายเก่งและนายกล้า ผู้พิพากษาศาลจังหวัดได้รับจ่ายสํานวนคดีดังกล่าวให้พิจารณาพิพากษา เมื่อถึงวันนัดพิจารณา นายเก่งและนายกล้าร่วมกันทําคําสั่งว่า คดีมีทุนทรัพย์ 1 แสนบาท อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษา ของศาลแขวง ดังนั้น ศาลจังหวัดไม่มีอํานาจพิจารณาพิพากษา จึงให้โอนคดีไปยังศาลแขวง ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งโอนคดีของนายเก่งและนายกล้าชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 16 วรรคท้าย “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขต ของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ คําสั่งโอนคดีของนายเก่งและนายกล้าชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่ เห็นว่า การฟ้องของนายเอกที่ขอบังคับให้นายโทซ่อมรั้วบ้านของนายเอกนั้นเป็นการฟ้องขอให้บังคับ จําเลยให้กระทําการ จึงถือเป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ (คดีไม่มีทุนทรัพย์) แม้นายเอกจะมีคําขอให้นายโทชดใช้ราคารั้วบ้านที่เสียหายเป็นเงิน 1 แสนบาทด้วย แต่ก็เป็นคําขอบังคับเมื่อ ไม่อาจบังคับตามคําขอในเรื่องการซ่อมรั้วบ้านได้ จึงไม่ทําให้คดีของนายเอกเป็นคดีมีทุนทรัพย์ คดีของนายเอก จึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ดังนั้น คําสั่งโอนคดีของ นายเก่งและนายกล้าที่ให้โอนคดีไปยังศาลแขวงจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตามมาตรา 16 วรรคท้าย

สรุป

คําสั่งโอนคดีของนายเก่งและนายกล้าไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3. นายสมเกียรติต้องการฟ้องนายดํารงซึ่งเป็นนักธุรกิจมีชื่อเสียงและประชาชนรู้จักดีข้อหายักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดอาญามาตรา 352 มีอัตราโทษจําคุก 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท และในฐานะนักธุรกิจจึงมีความผิดในฐานเป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนจึง ผิดกฎหมายอาญามาตรา 354 อันมีอัตราโทษจําคุก 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาทอีกด้วย นายสมเกียรติจึงมาปรึกษาท่านว่าจะต้องนําคดีดังกล่าวนี้ไปยื่นฟ้องยังศาลใดระหว่างศาลจังหวัด หรือศาลแขวง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีอาญาที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) และหากเป็นคดีที่เป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท จะต้องดูโทษของบทที่หนักที่สุด หากเป็นอัตราโทษจําคุกเกินกว่า 3 ปี หรือปรับเกินกว่า 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ย่อมไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาของศาลแขวง จะต้องนําคดีไปฟ้องที่ศาลจังหวัดตาม มาตรา 18

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อคดีอาญาที่นายสมเกียรติต้องการฟ้องนายดํารงนั้น เป็นความผิดฐาน ยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 354 ซึ่งถือเป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้อง ดูโทษใน ป.อ. มาตรา 354 เป็นหลัก เมื่อปรากฏว่ามีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท จึงเกินอัตราโทษที่ศาลแขวงจะมีอํานาจรับพิจารณาพิพากษาคดี ดังนั้น นายสมเกียรติจึงต้องนําคดีดังกล่าว ไปยื่นฟ้องยังศาลจังหวัดตามมาตรา 18

สรุป

หากนายสมเกียรติมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแนะนํานายสมเกียรติให้นําคดีนี้ไป ฟ้องที่ศาลจังหวัด

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายทรงกลดได้ยื่นฟ้องขับไล่นายเคี้ยงออกจากที่ดินมีมูลค่า 3 แสนบาทของตนที่ศาลจังหวัดมีนบุรี (ศาลจังหวัดมีนบุรีไม่มีศาลแขวงอยู่ในเขตท้องที่มีนบุรีด้วย) โดยมีนายหนึ่งและนายสองเป็นองค์คณะ พิจารณาพิพากษา นายเคี้ยงยื่นคําให้การต่อสู้ว่าที่ดินผืนนี้เป็นของตนไม่ใช่ของนายทรงกลดโดยอ้าง พยานหลักฐานชัดแจ้ง ในวันนัดพิจารณานัดแรกนายสองป่วยกะทันหันต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล นาน 1 เดือน คดีนี้จึงมีเพียงนายหนึ่งเพียงผู้เดียวพิจารณาคดีนี้ไปจนกระทั่งพิพากษาคดี โดยได้ พิพากษาให้นายทรงกลดชนะคดี กรณีนี้คําพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 18 คดีแพ่งที่ศาลจังหวัด โดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาท และคดีมีข้อพิพาทนั้นจะต้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท อีกทั้งในเขตจังหวัดจะต้องไม่มีศาลแขวงอยู่ในท้องที่ด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายทรงกลดได้ยื่นฟ้องขับไล่นายเคี้ยงออกจากที่ดิน โดยหลักแล้ว คําฟ้องเช่นนี้ไม่ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายเคี้ยงยื่นคําให้การต่อสู้ว่าที่ดินผืนนี้เป็นของตน ไม่ใช่ของนายทรงกลด คดีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทว่าเป็นของนายทรงกลดหรือนายเคี้ยง ส่งผลให้คดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์

เมื่อคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ก็ต้องมีการตีราคาที่ดินพิพาท เมื่อปรากฏว่าที่ดินมีมูลค่า 3 แสนบาท จึงถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท ศาลจังหวัดมีนบุรีโดยผู้พิพากษาคนเดียวจึงมีอํานาจรับ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งคดีนี้ได้ตามมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 18 เนื่องจากท้องที่มีนบุรีไม่มีศาลแขวงอยู่ ในท้องที่ ดังนั้น เมื่อคดีนี้มีองค์คณะ คือ นายหนึ่งและนายสอง แต่ตอนหลังเหลือเพียงนายหนึ่งเพราะนายสอง ป่วยกะทันหัน คดีนี้จึงยังคงสามารถพิจารณาพิพากษาได้โดยนายหนึ่งเพียงลําพังคนเดียว คําพิพากษาของศาลจังหวัด มีนบุรีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

สรุป คําพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรีจึงชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายธามต้องการฟ้องเรียกเงินตามเช็ค 3 ฉบับ ฉบับละ 200,000 บาท ที่ไม่สามารถขึ้นเงินได้จากนายเล้ง จึงได้รวมทุนทรัพย์ของเช็คทั้ง 3 ฉบับเข้าด้วยกันแล้วยื่นฟ้องคดีที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ นายเล้งยื่นคําให้การคัดค้านว่าคดีนี้ต้องคิดทุนทรัพย์แยกกันและต้องนําไปฟ้องที่ศาลแขวง สมุทรปราการเพราะทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท คําให้การต่อสู้คดีของนายเล้งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17) จะต้องนําคดีไปฟ้องที่ศาลจังหวัดตามมาตรา 18

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายธามต้องการฟ้องเรียกเงินตามเช็ค 3 ฉบับจากนายเล้ง จึงได้ รวมทุนทรัพย์ของเช็คทั้ง 3 ฉบับเข้าด้วยกัน แล้วยื่นฟ้องคดีที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการนั้น ถือเป็นกรณีที่โจทก์ คนเดียวฟ้องจําเลยคนเดียวตามเช็คหลายฉบับ หาใช่กรณีที่โจทก์คนเดียวฟ้องจําเลยหลายคนตามเช็คหลายฉบับ อันจะต้องแยกทุนทรัพย์ไม่ ดังนั้น จึงต้องรวมทุนทรัพย์ของเช็คทุกฉบับเข้าด้วยกัน การกระทําดังกล่าวของ นายธามจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เช็คทั้ง 3 ฉบับ มีทุนทรัพย์รวมกันเกิน 3 แสนบาท จึงไม่สามารถ ฟ้องคดีนี้ที่ศาลแขวงสมุทรปราการได้ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) จะต้องนําคดีไปยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัด ตามมาตรา 18 ดังนั้น คําให้การต่อสู้คดีของนายเล้งที่ว่าคดีนี้ต้องคิดทุนทรัพย์แยกกัน และต้องนําคดีไปฟ้องที่ ศาลแขวงสมุทรปราการ เพราะทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําให้การต่อสู้คดีของนายเล้งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. นายเอกผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องจําเลยมีทุนทรัพย์สามแสนบาท เมื่อพิจารณาเสร็จขณะที่ทําคําพิพากษาอยู่นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทุนทรัพย์ดังกล่าวมีราคาสี่แสนบาท นายเอกเห็นว่าเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ จึงนําคดีไปให้นายโทผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ตรวจสํานวนลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะร่วมกับนายเอกทําคําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คําพิพากษาของนายเอกและนายโทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่า ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ศาลแขวงซึ่งมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมี อํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ (ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้อง) ไม่เกิน 3 แสนบาท (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องจําเลย มีทุนทรัพย์ 3 แสนบาทนั้น นายเอกย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ตามมาตรา 25 (4) ประกอบ กับมาตรา 17 แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าทุนทรัพย์ดังกล่าวมีราคาสี่แสนบาท คดีจึงเกินอํานาจศาลแขวงที่จะ พิจารณาพิพากษา ดังนั้น นายเอกผู้พิพากษาศาลแขวงจะต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ และคืนฟ้องให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นําคดีไปฟ้องยังศาลที่มีอํานาจ นายเอกจะนําคดีไปให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ตรวจสํานวนลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะร่วมกับนายเอกทําคําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าว ไม่ถือเป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 29 (3) และมาตรา 31 เนื่องจากหลักกฎหมายดังกล่าวเป็น การให้อํานาจแก่ผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นเท่านั้น มิได้ให้อํานาจแก่ผู้พิพากษาในการ พิจารณาคดีในศาลแขวงแต่อย่างใด อีกทั้งถ้าให้อํานาจผู้พิพากษาคนเดียวในศาลแขวงดําเนินการดังกล่าวได้ ก็จะเป็น การขยายอํานาจของศาลแขวงให้มีอํานาจเหมือนศาลจังหวัดหรือศาลชั้นต้นอื่น

ดังนั้น การที่นายเอกไม่สั่งจําหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่นําคดีไปให้นายโทผู้พิพากษา หัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะร่วมกับนายเอกทําคําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คําพิพากษา ของนายเอกและนายโทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําพิพากษาของนายเอกและนายโทไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายแดง ผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท แล้วเห็นควรพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยหนึ่งปี แต่จําเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือจําคุกหกเดือน แต่จําเลยในคดีนี้เคยถูก ศาลพิพากษาลงโทษจําคุกในคดีอื่นมาแล้ว โดยศาลในคดีเดิมได้รอการลงโทษจําคุกสามเดือนไว้ ต่อมาจําเลยได้กระทําความผิดในคดีนี้ภายในระยะเวลาที่ถูกรอการลงโทษ ดังนั้น นายแดง จึง พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยบวกโทษที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง เป็นจําคุกจําเลยเก้าเดือน ดังนี้การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก “เมื่อปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตาม คําแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกําหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทําความผิด อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุกสําหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกําหนดโทษที่รอการกําหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอ การลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17 ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับได้ แต่ จะลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ซึ่งมี อัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท แล้วพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี แต่จําเลยให้การ รับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงเหลือจําคุก 6 เดือนนั้น คําพิพากษาของนายแดงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้ลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน และแม้ว่านายแดงให้นําโทษจําคุกในคดีก่อนที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจําคุก 3 เดือน แต่ให้รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจําคุกในคดีนี้ทําให้จําเลยต้องรับโทษจําคุกรวมทั้งหมด 9 เดือนก็ตาม ก็เป็นเพียงการดําเนินการตามที่ ป.อาญา มาตรา 58 วรรคแรก ได้กําหนดไว้เท่านั้น ดังนั้น การพิจารณา พิพากษาคดีของนายแดงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายปราณนท์ต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการให้ศาลสั่งนายปราณพี่ชายฝาแฝดเป็นบุคคลไร้ความสามารถโดยมีตนเป็นผู้อนุบาล ซึ่งนายปราณป่วยนอนไม่ได้สติอยู่ที่โรงพยาบาล มานานเกินกว่า 2 ปีแล้วตามใบรับรองแพทย์ และนายปราณนที่ไม่สามารถจัดการเบิกถอนเงินใน บัญชีธนาคารของนายปราณ เพื่อนํามาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับนายปราณได้ โดยนายปราณ มีเงินฝากธนาคารกรุงธนจังหวัดสมุทรปราการ 10 ล้านบาท และเงินฝากธนาคารกรุงสยาม จังหวัดสมุทรปราการ 3 แสนบาท นายสินธรซึ่งเป็นอาของนายปราณนท์และนายปราณได้คัดค้าน ในที่ประชุมญาติ อ้างว่านายปราณนท์ยื่นคําร้องดังกล่าวที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการหมดเลยไม่ได้ เนื่องจากต้องแยกยืนเป็น 2 ศาล คือศาลจังหวัดสมุทรปราการในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงธน และ ศาลแขวงสมุทรปราการในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงสยาม โดยดูจากจํานวนเงินในธนาคารที่มี ไม่เท่ากัน และอํานาจศาลที่จะสามารถรับคดีนี้ได้

ในฐานะที่ท่านเป็นนักศึกษากฎหมาย ให้ท่าน แนะนํานายปราณนท์และนายสินธรเกี่ยวกับการยื่นคําร้องขอให้นายปราณเป็นบุคคลไร้ความสามารถครั้งนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปราณนท์ต้องการยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งให้ นายปราณเป็นบุคคลไร้ความสามารถ และตั้งให้ตนเองเป็นผู้อนุบาลนั้น ถือว่าเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นตัวเงินได้ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์และเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ดังนั้น นายปราณนท์จะต้อง ยื่นคําร้องดังกล่าวต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการตามมาตรา 18 โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องเงินในบัญชีของธนาคารใดเลย จะยื่นคําร้องต่อศาลแขวงสมุทรปราการไม่ได้ เพราะศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ หรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาทเท่านั้น (มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

สรุป

ข้าพเจ้าจะแนะนํานายปราณนท์และนายสินธรว่าจะต้องยื่นคําร้องดังกล่าวต่อศาล จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องเงินในบัญชีของธนาคารใด ๆ เลย

 

ข้อ 3. นายมนัส อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจ่ายสํานวนคดีอาญาเรื่องหนึ่งให้นายมนูกับนายมานิตผู้พิพากษาศาลอาญาเป็นองค์คณะพิจารณาคดี ระหว่างพิจารณาคดี นายมนูได้รับคําสั่งให้ย้ายไปรับราชการ ที่ต่างจังหวัด นายมานิตจะนําคดีไปปรึกษากับนายมนัส แต่ทราบว่านายมนัสลาป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล และนายมโน รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนที่ 1 ไปรับราชการยังต่างประเทศ ส่วนนายมานพ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนที่ 2 ติดอบรมอยู่ต่างจังหวัด คงเหลือแต่นายมาโนช รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญาคนที่ 3 เป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดจึงมอบหมายนายมานนท์ผู้พิพากษาศาลอาญา เข้าเป็นองค์คณะแทนนายมนูร่วมพิจารณาคดีกับนายมานิตต่อไป ดังนี้ การกระทําของนายมาโนชรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนที่ 3 ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 8 วรรคสอง “เมื่อตําแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองประธาน ศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําการแทน ถ้ามีรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหลายคน ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการแทนได้ ให้ผู้ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับเป็นผู้ทําการแทน”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมนัส อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจ่ายสํานวนคดีอาญาให้นายมนู กับนายมานิตผู้พิพากษาศาลอาญาเป็นองค์คณะพิจารณาคดีนั้น เมื่อในระหว่างพิจารณาคดี นายมนูได้รับคําสั่ง ให้ย้ายไปรับราชการที่ต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 กรณีจึงต้องด้วย บทบัญญัติมาตรา 28 (3) ประกอบมาตรา 26 ที่ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาหรือผู้พิพากษาในศาลอาญา ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามอบหมายนั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไป

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายมนัสอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาลาป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล นายมโนรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนที่ 1 ไปรับราชการยังต่างประเทศ ส่วนนายมานพรองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญาคนที่ 2 ติดอบรมอยู่ต่างจังหวัด จึงถือเป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 กรณีจึงต้องด้วย บทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง ที่นายมาโนช ซึ่งเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา คนที่ 3 เป็นผู้ทําการแทนโดยเป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทน หรืออาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในศาลอาญานั้นเป็น ผู้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปก็ได้

ดังนั้น การที่นายมาโนชได้มอบหมายให้นายมานนท์ผู้พิพากษาศาลอาญาเข้าเป็นองค์คณะ แทนนายมนูร่วมพิจารณาคดีกับนายมานิต จึงเป็นการกระทําที่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การกระทําของนายมาโนชรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนที่ 3 ชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายพงษ์ศักดิ์ เป็นเจ้าของรถตู้บริการสายมีนบุรี-บางกะปิ โดยมีนายสมชายเป็นลูกจ้างขับรถเลขทะเบียน 1234 กท. นายสมชายได้ขับรถตู้คันดังกล่าวด้วยความเร็วสูงทําให้รถเสียหลักพลิกคว่ำ ก่อให้เกิดความบาดเจ็บแก่นายหนึ่ง นายสอง นายสาม นางสาวสี่ และนางห้า ที่ท้องที่เขตมีนบุรี อันมีศาลจังหวัดมีนบุรีเพียงศาลเดียวในเขตท้องที่ดังกล่าวไม่มีศาลแขวงผู้โดยสารทั้งห้าต้องการฟ้องคดีนี้ เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนคนละ 100,000 บาทจากนายพงษ์ศักดิ์และนายสมชาย อยากทราบว่า

(ก) ผู้โดยสารทั้งห้าสามารถฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ที่ศาลจังหวัดมีนบุรีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และ

(ข) หากนายอดิศรผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมีนบุรีเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีเพียงลําพังคนเดียวจะสามารถเป็นองค์คณะได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) ผู้โดยสารทั้งห้าสามารถฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ที่ศาลจังหวัดมีนบุรีได้หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ เป็นคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์หรือคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณราคาเป็นเงินได้ เมื่อโจทก์หลายคนฟ้อง จําเลยหลายคนจึงต้องพิจารณาว่าโจทก์ใช้สิทธิเฉพาะตัวหรือไม่ หากเป็นสิทธิเฉพาะตัวให้พิจารณาทุนทรัพย์แยกกัน และเมื่อปรากฏว่าจําเลยมีหลายคนก็ต้องพิจารณาว่า จําเลยเป็นหนี้ร่วมกันหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว กรณี โจทก์ทั้งห้าได้รับบาดเจ็บถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงต้องยกทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน และจําเลยทั้งสองเป็น ลูกจ้างกับนายจ้างจึงต้องรับผิดร่วมกัน ทําให้คดีนี้มีทุนทรัพย์ คือ ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งหมดเรียกร้อง และ จําเลยทั้งสองต้องชําระไม่เกินคนละ 100,000 บาท ซึ่งอยู่ในอํานาจของผู้พิพากษาคนเดียวหรือศาลแขวง ตามมาตรา 17 และมาตรา 25 (4) แต่เนื่องจากเขตมีนบุรีมีเพียงศาลจังหวัดมีนบุรี จึงสามารถฟ้องคดีดังกล่าวนี้ที่ ศาลจังหวัดมีนบุรีได้เลย โดยคิดทุนทรัพย์แยกตามโจทก์แต่ละคน และความรับผิดของจําเลยร่วมดังกล่าว

(ข) หากนายอดิศรผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมีนบุรีเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี เพียงลําพังคนเดียวจะสามารถเป็นองค์คณะได้หรือไม่ เห็นว่าเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท และโจทก์สามารถฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดมีนบุรี ซึ่งโดยหลักจะต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะ 2 คนตามมาตรา 18 และมาตรา 26 แต่เนื่องจากมาตรา 26 อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 25 ดังนั้น นายอดิศรจึงสามารถเป็นองค์คณะ พิจารณาพิพากษาคดีเพียงลําพังคนเดียวได้ตามมาตรา 25 (4)

สรุป

(ก) ผู้โดยสารทั้งห้าสามารถฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ที่ศาลจังหวัดมีนบุรีได้

(ข) นายอดิศรผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมีนบุรีสามารถเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีเพียงลําพังคนเดียวได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลแขวงขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท มีนายแดงผู้พิพากษาศาลแขวง เป็นองค์คณะ เมื่อพิจารณาคดีเสร็จ นายแดงและผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ได้ย้ายไปรับราชการ ยังศาลอื่น นายดําผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ได้เข้าตรวจสํานวน ลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาคนเดียว โดยพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยหนึ่งปี ปรับห้าพันบาท โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 การทําคําพิพากษาของนายดําชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 วรรคสอง “เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้า ศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น เป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งเกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงพิจารณาคดีเสร็จแล้วได้ย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น ถือเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้กรณีพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ โดยเกิดเหตุในขณะทําคําพิพากษาคดี ในศาลชั้นต้นตามมาตรา 30 ซึ่งตามมาตรา 29 (3) กําหนดให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมีอํานาจตรวจสํานวนและ ลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา

อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้ย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น พร้อมกับนายแดง ดังนั้น นายดําผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น จึงเป็นผู้ทําการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ตามมาตรา 9 วรรคสอง ประกอบมาตรา 29 วรรคท้าย นายดําจึงมีอํานาจตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคํา พิพากษาในคดีนี้ได้ตามมาตรา 29 (3) ด้วย แต่การที่นายตําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โดยโทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 56 นั้นไม่ชอบตามมาตรา 25 (5) เพราะผู้พิพากษา คนเดียวเป็นองค์คณะจะพิพากษาลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือนไม่ได้ แม้จะรอการลงโทษก็ถือเป็นการลงโทษเกินกว่า ที่กฎหมายกําหนด การทําคําพิพากษาของนายดําจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การทําคําพิพากษาของนายดําไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 3. ในศาลจังหวัดแห่งหนึ่ง มีนายเก่งดํารงตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล นายสองผู้พิพากษาอาวุโส นายสาม นายสี่ นายห้า และนายหก ผู้พิพากษาศาลจังหวัด (เรียงตามลําดับอาวุโส) นายเก่งได้ จ่ายสํานวนคดีอาญาเรื่องหนึ่ง (อัตราโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี) ให้นายสามและนายสี่ เป็นองค์คณะ พิจารณาพิพากษาเมื่อองค์คณะทั้งสองได้รับสํานวนคดีแล้ว นายสามพบว่าจําเลยเป็นเพื่อนสนิท กับตนตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายสามเกรงว่าจะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการ พิจารณาพิพากษาคดี จึงเสนอความเห็นต่อนายเก่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้โอนสํานวนคดีให้แก่ ผู้พิพากษาอื่น นายเก่งเห็นด้วยกับนายสามจึงโอนสํานวนคดีดังกล่าวให้นายหกเป็นองค์คณะแทนนายสาม ท่านเห็นว่าการกระทําดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 33 “การเรียกคืนสํานวนคดีหรือการโอนสํานวนคดีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ องค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณา หรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทําได้

ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณีไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสํานวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธาน ศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้น เป็นผู้มีอํานาจในการเสนอความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีหนึ่งคนหรือมีหลายคนแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสํานวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้นทั้งหมด ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดของศาลนั้นเป็น ผู้มีอํานาจในการเสนอความเห็น

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจในการเสนอความเห็นตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง…”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยหลักแล้วเมื่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบของศาล จ่ายสํานวนคดีให้แก่ องค์คณะผู้พิพากษาในศาลไปแล้ว ก็ต้องให้องค์คณะดังกล่าวนั้นพิจารณาคดีไปจนเสร็จสํานวน จะเรียกคืนสํานวนคดี หรือโอนสํานวนจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นไม่ได้ เว้นแต่

1 เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม ในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และ

2 ในกรณีของศาลจังหวัด ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด ซึ่งมิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้น เสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีนั้น หรือให้โอนสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น ๆ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวนคดีให้นายสาม และนายสี่ เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง และต่อมานายเก่งได้เรียกคืนสํานวนคดีดังกล่าว และโอนสํานวนคดีให้นายหกเป็นองค์คณะแทนนายสาม เนื่องจากนายสามได้เสนอความเห็นต่อนายเก่งให้โอน สํานวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาอื่น เพราะนายสามพบว่าจําเลยเป็นเพื่อนสนิทกับตนตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยนั้น การกระทําดังกล่าวของนายสามย่อมไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 33 ทั้งนี้เพราะเมื่อปรากฏว่า นายสามซึ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวพบว่าตนเองเป็นเพื่อนสนิทกับจําเลย และจะทําให้ กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีนั้นของศาล นายเก่งซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะสามารถเรียกคืนสํานวนคดีหรือโอนสํานวนคดีจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะอื่น ได้ก็ต่อเมื่อผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นซึ่งมิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้นได้เสนอความเห็นให้เรียกคืน สํานวนคดี หรือให้โอนสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น

แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่าในศาลนั้นมีนายสาม นายสี่ นายห้า และนายหกเป็น ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเรียงตามลําดับอาวุโส และเมื่อนายสามกับนายสี่ ได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้น ดังนั้น ผู้ที่จะเสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีจึงต้องเป็นนายห้า ซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงไปมิใช่นายสาม การที่นายเก่งได้เรียกคืนสํานวนคดีและโอนสํานวนคดีเนื่องจากการที่นายสามเป็นผู้เสนอความเห็นนั้นการกระทํา ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

การที่นายเก่งได้เรียกคืนสํานวนคดีและโอนสํานวนคดีดังกล่าวนั้นเป็นการกระทําที่ ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม S/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. (ก) การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสามและสี่ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมีความแตกต่างกันอย่างไร

(ข) นายเอกนําเอาคดีอาญาคดีหนึ่งเกิดเหตุที่เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร (เขตลาดพร้าวอยู่ในเขตอํานาจของศาลอาญาและศาลแขวงพระนครเหนือ) ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทไปยื่นฟ้องที่ศาลอาญา กรณีนี้ศาลอาญาจะมีคําสั่งอย่างไรกับคดีนี้ของนายเอก

ธงคําตอบ

(ก) การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสามและวรรคสี่ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มีความ แตกต่างกันอย่างไรนั้น เห็นว่า

มาตรา 16 วรรคสาม บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา และ คดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา ศาลแพ่งหรือศาลอาญาแล้วแต่กรณี อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้ พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอํานาจ”

หลักเกณฑ์การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสาม คือ

1 ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา

2 คดีนั้นได้เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา

3 ศาลแพ่งหรือศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโอนคดี ไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอํานาจ

ส่วนมาตรา 16 วรรคสี่ บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้น ในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

หลักเกณฑ์การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสี่ คือ

1 ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด

2 คดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวง

3 ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ

จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าตามมาตรา 16 วรรคสามและวรรคสี่ จะแตกต่างกัน ตรงที่ว่ามาตรา 16 วรรคสาม เป็นกรณีที่คดีเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา แต่ได้ฟ้องคดีนั้นต่อศาลแพ่ง หรือศาลอาญา ดังนี้ ศาลแพ่งหรือศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ หรือมีคําสั่งโอนคดีไปยัง ศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอํานาจได้ แต่ในส่วนของมาตรา 16 วรรคสี่นั้น เป็นกรณีที่คดีเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและ อยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวง แต่มีการนําคดีนั้นยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด ดังนี้ ศาลจังหวัดจะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้ พิจารณาพิพากษาไม่ได้ จะต้องมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

(ข) หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 16 วรรคท้าย “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขต ของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับเม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีอาญาที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5)

กรณีตามอุทาหรณ์ คดีอาญาที่นายเอกนําไปฟ้องนั้น มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี และ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท จึงอยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) เมื่อปรากฏ ข้อเท็จจริงว่านายเอกได้นําคดีไปยื่นฟ้องที่ศาลอาญา ดังนั้น ศาลอาญาซึ่งมีอํานาจเทียบเท่าศาลจังหวัดจึงต้องโอนคดี กลับไปยังศาลที่คดีอยู่ในเขตอํานาจตามมาตรา 16 วรรคท้าย ซึ่งก็คือศาลแขวงพระนครเหนือนั่นเอง

สรุป ศาลอาญาจะต้องมีคําสั่งโอนคดีอาญาของนายเอกไปยังศาลแขวงพระนครเหนือ

 

ข้อ 2. นายจนได้กู้เงินนายรวยเมื่อถึงกําหนดชําระหนี้นายจนไม่ยอมชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชําระจํานวน 5 แสนบาท ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 นายรวยได้ยื่นฟ้องนายจนต่อศาลแพ่ง ขอให้ชําระเงิน จํานวนดังกล่าว ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นายจนได้ทํานิติกรรมยกที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ นายเฮง ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีราคาสามแสนบาท ตามราคาประเมินของกรมที่ดิน นายรวยเจ้าหนี้ได้ทราบถึงการทํานิติกรรมดังกล่าว จึงมาฟ้องต่อศาลแพ่งขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม การให้ที่ดินของนายจน เนื่องจากนายจนไม่มีทรัพย์อื่นใด เมื่อยกที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเฮงแล้ว หากศาลแพ่งพิพากษาให้นายรวยชนะคดีข้างต้น นายรวยย่อมเสียเปรียบ เพราะไม่สามารถบังคับคดี ให้ได้เงินที่นายจนกู้ยืมไปคืน ศาลแพ่งสั่งไม่รับฟ้องเพราะเห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีราคาสามแสนบาท อยู่ในอํานาจและเขตอํานาจของศาลแขวงพระนครเหนือ ต้องไปยื่นฟ้องคดีที่ศาลแขวงพระนครเหนือ จึงจะถูกต้อง การสั่งไม่รับฟ้องของศาลแพ่งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคแรก “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17) จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งแล้วแต่กรณี

กรณีตามอุทาหรณ์เป็นเรื่องที่นายจนลูกหนี้ได้ทํานิติกรรมยกที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่นายเฮง ซึ่ง นายจนไม่มีทรัพย์สินใดอีก ถือได้ว่าเป็นนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237

การที่นายรวยได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินของนายจนเป็นเพียงคดีที่ ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเท่านั้น มิได้เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์มาเป็นของนายรวยหรือนายรวยได้รับประโยชน์ แต่อย่างใด เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์พิพาทกลับมาเป็นของลูกหนี้ ฟ้องเช่นนี้เป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ (คําพิพากษาฎีกาที่ 919/2508 (ประชุมใหญ่))

เมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลแขวงจึงไม่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 คดีจึงอยู่ในอํานาจของศาลแพ่ง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 19 วรรคแรก คําสั่งของศาลแพ่งที่ไม่รับคดีนี้ไว้พิจารณาจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การสั่งไม่รับฟ้องของศาลแพ่งไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 3. นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครพนม จ่ายสํานวนคดีอาญาเรื่องหนึ่งให้แก่นายดําผู้พิพากษาศาลจังหวัด และนางสาวสวย ผู้พิพากษาประจําศาล ศาลจังหวัดนครพนมเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษา องค์คณะดังกล่าวได้สืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ยังไม่ได้สืบพยานจําเลย นายเอกได้โอน สํานวนคดีไปให้นายเขียว และนายขาวผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครพนมเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษาแทน โดยให้ความเห็นว่า เพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม นายดําจึงโต้แย้งว่า นายเอกไม่มีอํานาจทําความเห็นในการโอนสํานวนคดี ผู้มีอํานาจทําความเห็นจะต้องเป็นตน ซึ่งเป็น ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุด ท่านเห็นว่า การโต้แย้งของนายดําฟังขึ้นหรือไม่ (ในศาลจังหวัดนครพนมมีนายเอกผู้พิพากษา หัวหน้าศาลนายแดงผู้พิพากษาอาวุโส นายดํา นายเขียว นายขาว และนางสาวสวย ผู้พิพากษาศาลจังหวัด และผู้พิพากษาประจําศาลตามลําดับ)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 33 “การเรียกคืนสํานวนคดีหรือการโอนสํานวนคดีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ องค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณา หรือพิพากษาอรรถคดีของศาสนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทําได้

ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณีไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสํานวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รองประธานศาลฎีการองประธาน ศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้น เป็นผู้มีอํานาจในการเสนอความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีหนึ่งคนหรือมีหลายคนแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสํานวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้นทั้งหมด ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดของศาลนั้นเป็น ผู้มีอํานาจในการเสนอความเห็น

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจในการเสนอความเห็นตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง…”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยหลักแล้วเมื่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบของศาล จ่ายสํานวนคดีให้แก่ องค์คณะผู้พิพากษาในศาลไปแล้ว ก็ต้องให้องค์คณะดังกล่าวนั้นพิจารณาคดีไปจนเสร็จสํานวน จะเรียกคืนสํานวนคดี หรือโอนสํานวนจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นไม่ได้ เว้นแต่

1 เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม ในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และ

2 ในกรณีของศาลจังหวัด ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด ซึ่งมิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้น เสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีนั้น หรือให้โอนสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครพนมได้จ่ายสํานวนคดีให้ นายดําและนางสาวสวยเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องหนึ่ง และต่อมานายเอกได้โอนสํานวนคดีไปให้ นายเขียวและนายขาวเป็นองค์คณะแทนนั้น การกระทําของนายเอกย่อมไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ทั้งนี้เพราะเมื่อปรากฏว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะทําให้กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม นายเอก ซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจะสามารถเรียกคืนสํานวนคดีหรือโอนสํานวนคดีจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบ สํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นซึ่งมิได้เป็นองค์คณะ ในสํานวนคดีนั้นได้เสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดี หรือให้โอนสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น ดังนั้น การโต้แย้งของนายดําที่ว่านายเอกไม่มีอํานาจทําความเห็นในการโอนสํานวนคดีจึงฟังขึ้น

และเมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่าในศาลนั้นมีนายดํา นายเขียว และนายขาว เป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเรียงตามลําดับอาวุโส และนายดําได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้น ดังนั้น ผู้ที่จะเสนอ ความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีจึงต้องเป็นนายเขียวซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงไปมิใช่นายดํา การโต้แย้ง ของนายดําที่ว่าผู้มีอํานาจทําความเห็นจะต้องเป็นตน ซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป การโต้แย้งของนายดําที่ว่านายเอกไม่มีอํานาจทําความเห็นในการโอนสํานวนคดีนั้นฟังขึ้น แต่การโต้แย้งที่ว่านายดําเป็นผู้มีอํานาจทําความเห็นนั้นฟังไม่ขึ้น

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายช้างได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดของนายเสือ โดยสงบ เปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงได้ยื่นคําร้องต่อศาลจังหวัดชลบุรี ขอให้ศาลจังหวัดชลบุรีไต่สวนแล้ว มีคําสั่งแสดงว่านายช้างได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นายนิติ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชลบุรีแต่เพียงผู้เดียวได้ตรวจคําร้องและสอบถาม นายช้างแล้วได้ความว่าที่ดินแปลงนี้มีราคาสามแสนบาท นายนิติจึงสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงชลบุรีที่มีเขตอํานาจ การสั่งโอนคดีของนายนิติชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 16 วรรคท้าย “ในกรณีที่มีการยืนฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงิน ที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับ มาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ การร้องขอให้ศาลมีคําสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครอง ปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น เป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นตัวเงินได้ ซึ่งเป็น คดีไม่มีข้อพิพาท ดังนั้น แม้ที่ดินดังกล่าวจะมีราคา 300,000 บาท คดีแพ่งเรื่องนี้ก็ไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง (ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) คดีนี้จึงอยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตามมาตรา 18 กรณีจึงไม่ต้องตามมาตรา 16 วรรคท้าย ที่ศาลจังหวัดจะมีคําสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวง ดังนั้น การที่นายนิติสั่งโอนคดีดังกล่าวไปยังศาลแขวงชลบุรีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคดีไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงชลบุรี แต่อยู่ใน อํานาจของศาลจังหวัดชลบุรี

สรุป การสั่งโอนคดีของนายนิติ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. เขียวเป็นโจทก์ฟ้องนายเหลืองต่อศาลจังหวัดข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี นายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวน คดีดังกล่าวให้นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดไต่สวนมูลฟ้อง นายเอกได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดี ดังกล่าวไม่มีมูลควรพิพากษายกฟ้อง จึงนําสํานวนคดีไปปรึกษากับนายใหญ่ นายใหญ่จึงมอบหมายให้ นายเด่นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดนั้น ตรวจสํานวนการไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อ ทําคําพิพากษายกฟ้องร่วมกับนายเอก ท่านเห็นว่าการกระทําดังกล่าวทั้งหมดชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้ หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กําหนด ไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่ คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”

มาตรา 32 “ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีในแต่ละศาลแล้วแต่กรณี รับผิดชอบ ในการจ่ายสํานวนคดีให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาในศาลหรือในแผนกคดีนั้น โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ “กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เขียวเป็นโจทก์ฟ้องนายเหลืองต่อศาลจังหวัดในคดีอาญาในข้อหา ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 และนายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวนคดี ดังกล่าวให้นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดไต่สวนมูลฟ้องนั้น นายใหญ่ย่อมมีอํานาจจ่ายสํานวนคดีได้ตามมาตรา 32 ประกอบมาตรา 25 (3) และนายเอกย่อมมีอํานาจไต่สวนมูลฟ้องได้ตามมาตรา 25 (3)

เมื่อนายเอกผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล ควรพิพากษา ยกฟ้อง แต่คดีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนานั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนด คือจําคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี ซึ่งถือว่าเป็นอัตราโทษตามมาตรา 25 (5) คือ มีอัตราโทษจําคุกเกินกว่า 3 ปี จึงไม่อยู่ในอํานาจของผู้พิพากษา ศาลชั้นต้นคนเดียว นายเอกผู้พิพากษาที่ทําการไต่สวนมูลฟ้องจะพิพากษายกฟ้องไม่ได้ กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 31 (1) ถือได้ว่ามีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดี ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็น องค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ดังนั้นจึงต้องมีผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะ และผู้พิพากษาที่จะเป็นองค์คณะมีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษานั้น ได้แก่ ผู้พิพากษาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 (3) คือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้ทําการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรืออธิบดี ผู้พิพากษาภาคตามมาตรา 29 วรรคท้าย

ดังนั้นในกรณีนี้นายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาเป็น องค์คณะร่วมกับนายเอกเท่านั้น จะมอบหมายให้ผู้ใดทําคําพิพากษาแทนไม่ได้ การที่นายใหญ่มอบหมายให้นายเด่น ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดนั้นตรวจสํานวนการไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษายกฟ้องร่วมกับ นายเอก จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 29 (3)

สรุป การที่นายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจ่ายสํานวนคดีนี้ให้นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัด ไต่สวนมูลฟ้อง และการที่นายเอกได้ทําการไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย

แต่การที่นายใหญ่มอบหมายให้นายเด่น ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดตรวจสํานวนการไต่สวน มูลฟ้อง และลงลายมือชื่อทําคําพิพากษายกฟ้องร่วมกับนายเอกไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. กะรัตให้สายน้ำผึ้งกู้ยืมเงินจํานวน 2 ครั้ง โดยทําหนังสือสัญญากู้ 2 ฉบับ ๆ ละ 200,000 บาท เมื่อครบกําหนดสายน้ำผึ้งบิดพลิ้วไม่ยอมชําระ อีกทั้งยังยืมสร้อยเพชรราคา 200,000 บาทของกะรัตไปใส่ ออกงานและไม่ยอมคืน กะรัตจึงตั้งใจจะฟ้องเรียกคืนเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับ และเรียกคืนสร้อยเพชรจาก สายน้ำผึ้ง ดังนั้นการฟ้องคดีเรียกคืนเงินกู้และเรียกคืนสร้อยเพชรคืนจากสายน้ำผึ้งของกะรัตนั้น สามารถฟ้องร้องเป็นคดีเดียวกันได้หรือไม่ อย่างไร และกะรัตจะฟ้องเรียกเงินกู้ และสร้อยเพชร คืนจากสายน้ำผึ้งได้ที่ศาลจังหวัดหรือศาลแขวง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17) จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งแล้วแต่กรณี

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่กะรัตจะฟ้องเรียกคืนเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับ และเรียกคืนสร้อยเพชรจาก สายน้ำผึ้งนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 คดีฟ้องเรียกคืนเงินกู้ เป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณราคาเป็นเงินได้ หรือที่เรียกว่า คดีมีทุนทรัพย์ และการทําสัญญาเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับกับจําเลยรายเดียวกันสามารถรวมทุนทรัพย์ฟ้อง เป็นคดีเดียวกันได้ ดังนั้นเมื่อรวมสัญญาเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับจึงมีทุนทรัพย์ 400,000 บาท จึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง แต่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) และมาตรา 18 ดังนั้น กะรัตจึงต้องฟ้องคดีนี้ ที่ศาลจังหวัด จะฟ้องคดีนี้ที่ศาลแขวงไม่ได้

2 คดีฟ้องเรียกคืนสร้อยเพชรเป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณราคา เป็นเงินได้ หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ ดังนั้นคดีนี้จึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงแต่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตาม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) และมาตรา 18 กะรัตจึงต้องฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัด จะฟ้องคดีนี้ที่ศาลแขวงไม่ได้

สรุป ทั้งคดีฟ้องเรียกคืนเงินกู้และคดีฟ้องเรียกสร้อยเพชรคืน กะรัตจะต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด และต้องแยกฟ้องเป็นคนละคดีจะฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันไม่ได้ เพราะเป็นคดีที่เกิดจากสัญญาคนละฉบับ

 

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 1/2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรี ขอให้พิพากษาขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จําเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย เพราะบิดาของโจทก์ได้โอนขายที่ดินให้แก่จําเลย ก่อนที่บิดาของโจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลสั่งไต่สวนราคาที่ดินและให้โจทก์ชําระค่าธรรมเนียมศาล ตามราคาที่ดินพิพาท เมื่อไต่สวนแล้วปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคาสองแสนเก้าหมื่นแปดพันบาท ศาลจังหวัดราชบุรีเห็นว่าราคาที่ดินพิพาทไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาของศาลจังหวัดราชบุรี จึงมีคําสั่ง โอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรี ท่านเห็นว่า คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดราชบุรีชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

(ศาลจังหวัดราชบุรีและศาลแขวงราชบุรีมีเขตอํานาจตลอดจังหวัดราชบุรี)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 16 วรรคท้าย “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขต ของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้นดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งมีราคาทรัพย์สินที่พิพาท หรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดขอให้พิพากษาขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน โดยหลักแล้วคําฟ้องเช่นนี้ไม่ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจําเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ ของจําเลย คดีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือจําเลย ส่งผลให้คดีนี้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์

เมื่อคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ก็ต้องมีการตีราคาที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อไต่สวนแล้วที่ดิน พิพาทมีราคาสองแสนเก้าหมื่นแปดพันบาท ถือว่าทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสนบาท ดังนั้นจึงเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า การที่ศาลจังหวัดราชบุรีเห็นว่าราคาที่ดินพิพาทไม่อยู่ในอํานาจ พิจารณาของศาลจังหวัดราชบุรี จึงมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีนั้นชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่ เห็นว่า ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย ได้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อ ศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ์ดังกล่าว การที่ศาลจังหวัดราชบุรี ได้มีคําสั่งโอนคดีไปยัง ศาลแขวงราชบุรี คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดราชบุรีจึงขอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดราชบุรีชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายจันทร์ต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของนายอาทิตย์เจ้ามรดกบิดาตนเอง เนื่องจากมีทรัพย์มรดกในธนาคารหลายธนาคาร โดยนายอาทิตย์มีเงินฝาก ที่ธนาคาร 4 แห่ง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํานวน 250,000 บาท ธนาคารออมสิน จํานวน 1,000,000 บาท ธนาคารกสิกร จํานวน 800,000 บาท ธนาคารทหารไทย จํานวน 180,000 บาท นายจันทร์จึงมาปรึกษาท่านว่าจะนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ที่ศาลใดระหว่างศาลแพ่งและศาลแขวงพระนครเหนือ ให้ท่านตอบคําถามนายจันทร์

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคแรก “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 คดีแพ่งที่ศาลแขวง โดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาท และคดีมีข้อพิพาทนั้นจะต้องเป็น คดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท หรือเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งตนเป็น ผู้จัดการมรดกของนายอาทิตย์เจ้ามรดกนั้น ถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่อยู่ในอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 ดังนั้น นายจันทร์จะต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ที่ศาลแพ่ง จะนําไปยื่นที่ศาลแขวงพระนครเหนือ ไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ แต่อยู่ในอํานาจพิจารณา พิพากษาของศาลแพ่ง (ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคแรก)

สรุป นายจันทร์ต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลแพ่ง เพราะเป็นคดี ไม่มีข้อพิพาทจึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ

 

ข้อ 3. นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้จ่ายสํานวนคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ให้แก่นายน้อยผู้พิพากษาศาลแขวง เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา นายน้อยสืบพยานโจทก์ไปเพียงหนึ่งปาก ได้ย้ายไปรับราชการยัง ศาลจังหวัดอื่นนายเอกจึงนําสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายเก่งผู้พิพากษาศาลแขวงแห่งนั้นเป็นองค์คณะ แทนนายน้อย นายเก่งจึงได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้น แล้วทําคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยหนึ่งปี โดยมีนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาเป็นองค์คณะด้วย ท่านเห็นว่า การกระทําของนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลข้างต้นชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ให้ ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณี ที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กําหนด ไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้ว เห็นว่าควรพิพากษา ลงโทษจําคุกเกินกว่าหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้จ่ายสํานวนคดีซึ่งพนักงาน อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 310 ซึ่งมี ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ให้แก่นายน้อยผู้พิพากษาศาลแขวง เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา นายน้อยย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ตามพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม มาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17

เมื่อนายน้อยสืบพยานโจทก์ไปเพียงหนึ่งปาก ได้ย้ายไปรับราชการยังศาลจังหวัดอื่น กรณีนี้ถือว่า มีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณา คดีต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 ประกอบมาตรา 30 ซึ่งตามมาตรา 28 (3) ได้กําหนดให้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงหรือผู้พิพากษาศาลแขวงซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงมอบหมายเป็นผู้นั่ง พิจารณาคดีนั้นแทนต่อไป ดังนั้น การที่นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้นําสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายเก่ง ผู้พิพากษาศาลแขวงแห่งนั้นเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีแทนนายน้อยจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และทําให้นายเก่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17 แต่นายเก่งจะลงโทษจําคุกจําเลยเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากนายเก่งได้พิจารณาคดีดังกล่าวจนเสร็จสิ้น แล้วเห็นว่าควร พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี ซึ่งเป็นโทษจําคุกที่เกิน 6 เดือน กรณีนี้ถือว่าเป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31 (2) ซึ่งตามมาตรา 29 (3) ได้กําหนดว่าถ้านายเก่งจะทําคําพิพากษา จะต้องนําสํานวนคดีนั้นไปให้นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้ตรวจ และลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาด้วย คําพิพากษานั้นจึงจะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อนายเก่งได้พิจารณาคดีดังกล่าวจนเสร็จสิ้นแล้วทําคําพิพากษา ลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปีนั้น มีนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อในคําพิพากษา เป็นองค์คณะด้วย ดังนั้นการกระทําของนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลกรณีนี้จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เช่นเดียวกัน

สรุป การที่นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้นําสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายเก่งผู้พิพากษา ศาลแขวงแห่งนั้นเป็นองค์คณะนังพิจารณาคดีแทนนายน้อย ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ตามมาตรา 28 (3) และมาตรา 30 และการที่นายเอกตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาเป็นองค์คณะก็ชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมเช่นเดียวกันตามมาตรา 29 (3) และมาตรา 31 (2)

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม S/2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานีไม่มีศาลแขวง) ในความผิดฐานยักยอก 2 ครั้ง ซึ่งความผิดฐานยักยอกมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท มีนายเก่ง และนายกล้าซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา เมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้นลง นายเก่งย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น นายกล้าจึงพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยกระทงละ 6 เดือน รวมเป็นโทษจําคุก 1 ปี การทําคําพิพากษาของนายกล้าชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน เป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง (มาตรา 26) แต่อย่างไรก็ดี ผู้พิพากษาคนเดียว มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าวไม่ได้ (มาตรา 25 (5)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 2 ครั้งนั้น แม้จะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือความผิดหลายกระทง แต่เมื่อความผิดแต่ละกระทง เป็นความผิดที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ดังนี้ ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลนั้น ย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ แม้ว่าเมื่อรวมความผิดแต่ละกรรม หรือแต่ละกระทงแล้วอัตราโทษจะเกินอํานาจของผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม

การที่นายเก่งและนายกล้าซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดได้ร่วมกันเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษาคดีดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วทั้งสองก็ต้องร่วมกันทําคําพิพากษา แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าก่อนทํา คําพิพากษานั้น นายเก่งได้ย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น ดังนี้ นายกล้าซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีดังกล่าว มาตั้งแต่ต้นย่อมมีอํานาจตามมาตรา 25 (5) คือมีอํานาจพิพากษาลงโทษจําเลยได้ แต่จะพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย แต่ละกระทงเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาทไม่ได้ ดังนั้นการที่นายกล้าได้พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย กระทงละ 6 เดือน แม้จะรวมโทษจําคุกทั้ง 2 กระทงเป็น 1 ปีก็ตาม คําพิพากษาของนายกล้าก็ชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม

และตามข้อเท็จจริงนั้น การที่นายเก่งได้ย้ายไปรับราชการยังศาลอื่นนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ตามมาตรา 30 และถือว่ามีเหตุจําเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีตามมาตรา 29 ก็ตาม แต่เมื่อกรณีที่นายกล้าได้พิพากษา ให้ลงโทษจําคุกจําเลยกระทงละ 6 เดือนนั้น เป็นอํานาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่สามารถทําคําพิพากษาได้ ดังนั้น ในการทําคําพิพากษาของนายกล้าดังกล่าวจึงไม่จําต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา แต่อย่างใด

สรุป การทําคําพิพากษาของนายกล้าชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. ศาลแขวงสุพรรณบุรี โดยนายจันทร์ผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรี พิจารณาคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องมีทุนทรัพย์สามแสนบาท ต่อมาปรากฏว่าราคาทรัพย์ที่พิพาทเกินสามแสนบาท นายจันทร์เห็นว่า เป็นเหตุจําเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ จึงนําคดีไปให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงสุพรรณบุรี ตรวจสํานวนลงชื่อทําคําพิพากษาเป็นองค์คณะ แล้วพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี

คําพิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมี คําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 2545 ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่า ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ศาลแขวงซึ่งมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ (ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้อง) ไม่เกิน 3 แสนบาท (มาตรา 25(4) ประกอบกับมาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีได้พิจารณาคดีแพ่งซึ่งโจทก์ ฟ้องจําเลยมีทุนทรัพย์ 3 แสนบาทนั้น นายจันทร์ย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ตามมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าทรัพย์ที่พิพาทมีราคาเกิน 3 แสนบาท คดีจึงเกินอํานาจศาลแขวงที่จะ พิจารณาพิพากษา ดังนั้น นายจันทร์ผู้พิพากษาศาลแขวงจะต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ และคืนฟ้องให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นําคดีไปฟ้องยังศาลที่มีอํานาจ นายจันทร์จะนําคดีไปให้ผู้พิพากษาหัวหน้า ศาลแขวงสุพรรณบุรีตรวจสํานวนลงชื่อทําคําพิพากษาเป็นองค์คณะ แล้วพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่ได้ เพราะ กรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31 (4) เนื่องจากตามมาตรา 26 ประกอบกับ มาตรา 31 (4) นั้น เป็นการให้อํานาจแก่ผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นเท่านั้น มิได้ให้อํานาจ แก่ผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีในศาลแขวงแต่อย่างใด อีกทั้งถ้าให้อํานาจผู้พิพากษาคนเดียวในศาลแขวง ดําเนินการดังกล่าวได้ ก็จะเป็นการขยายอํานาจของศาลแขวงให้มีอํานาจเหมือนศาลจังหวัดหรือศาลชั้นต้นอื่น

ดังนั้น การที่นายจันทร์ไม่สั่งจําหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่นําคดีไปให้ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลแขวงสุพรรณบุรีตรวจสํานวนลงชื่อทําคําพิพากษาเป็นองค์คณะ แล้วพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีนั้น คําพิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําพิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. ในศาลจังหวัดมีนายเอกเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล นายโทผู้พิพากษาอาวุโส นายดํา นายแดง นายเขียว ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเรียงตามลําดับอาวุโส และนายกล้าผู้พิพากษาประจําศาล นายเอกได้ จ่ายสํานวนคดีให้นายดําและนายแดงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ปรากฏต่อมาว่า นายเขียวทราบว่านายแดงเป็นญาติกับฝ่ายจําเลย จึงนําความไปบอกนายดํา นายดําเห็นว่าอาจจะ กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น นายดําจึงเสนอความเห็นให้ นายเอกเรียกคืนสํานวนคดี นายเอกจึงเรียกคืนสํานวนคดีดังกล่าว และโอนสํานวนคดีให้นายกล้า เป็นองค์คณะแทนนายแดง ท่านเห็นว่า การกระทําดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 33 “การเรียกคืนสํานวนคดีหรือการโอนสํานวนคดีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ องค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณา หรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทําได้

ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสํานวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มี อาวุโสถัดลงมาตามลําดับในศาลนั้น เป็นผู้มีอํานาจในการเสนอความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีหนึ่งคนหรือมีหลายคน แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสํานวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้นทั้งหมด ให้ผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดของศาลนั้นเป็นผู้มีอํานาจในการเสนอความเห็น

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจในการเสนอความเห็นตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง…”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยหลักแล้วเมื่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบของศาล จ่ายสํานวนคดีให้แก่ องค์คณะผู้พิพากษาในศาลไปแล้ว ก็ต้องให้องค์คณะดังกล่าวนั้นพิจารณาคดีไปจนเสร็จสํานวน จะเรียกคืนสํานวนคดี หรือโอนสํานวนจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นไม่ได้ เว้นแต่

1 เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม ในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และ

2 ในกรณีของศาลจังหวัด ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด ซึ่งมิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้น เสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีนั้น หรือให้โอนสํานวนคดีนั้น ไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวนคดีให้นายดํา และนายแดงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง และต่อมานายเอกได้เรียกคืนสํานวนคดีดังกล่าว และโอนสํานวนคดีให้นายกล้าเป็นองค์คณะแทนนายแดง เนื่องจากนายดําได้เสนอความเห็นให้นายเอกเรียกคืน สํานวนคดีเพราะนายดําได้ทราบจากนายเขียวว่านายแดงเป็นญาติกับจําเลยนั้น การกระทําดังกล่าวของนายเอก ย่อมไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ทั้งนี้เพราะ เมื่อปรากฏว่านายแดงซึ่งเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษาคดีดังกล่าวเป็นญาติกับจําเลยและจะทําให้กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือ พิพากษาคดีนั้นของศาล นายเอกซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลสามารถเรียกคืนสํานวนคดีหรือโอนสํานวนคดีจาก องค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบสํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้พิพากษาที่มีอาวุโส สูงสุดในศาลนั้นซึ่งมิได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้นได้เสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดี หรือให้โอน สํานวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น

แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่าในศาลนั้นมีนายดํา นายแดง และนายเขียวเป็น ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเรียงตามลําดับอาวุโส และเมื่อนายดํากับนายแดงได้เป็นองค์คณะในสํานวนคดีนั้น ดังนั้น ผู้ที่จะเสนอความเห็นให้เรียกคืนสํานวนคดีจึงต้องเป็นนายเขียวซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงไปมิใช่ นายดํา การที่นายเอกได้เรียกคืนสํานวนคดีและโอนสํานวนคดีเนื่องจากการที่นายดําเป็นผู้เสนอความเห็นนั้น การกระทําดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การที่นายเอกได้เรียกคืนสํานวนคดีและโอนสํานวนคดีดังกล่าวนั้นเป็นการกระทําที่ ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2/2555

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินที่เช่าต่อศาลจังหวัดนครปฐมและขอให้ศาลจังหวัดนครปฐมพิพากษาบังคับให้จําเลยชําระค่าเช่าที่ดินที่ค้างชําระเป็นเงินสองแสนห้าหมื่นบาท ศาลจังหวัดนครปฐม เห็นว่าทุนทรัพย์ในคดีอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม จึงสั่งโอนคดีไปยัง ศาลแขวงนครปฐม ซึ่งมีเขตอํานาจตลอดเขตจังหวัดนครปฐม ศาลแขวงนครปฐมสั่งไม่รับโอนคดี ที่โอนมาจากศาลจังหวัดนครปฐม โดยเห็นว่าคดีอยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดนครปฐม

คําสั่งของศาลทั้งสองนี้ถูกต้องหรือไม่ ให้อธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25(4) ประกอบกับมาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า คดีฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินที่เช่าและ ให้จําเลยชําระค่าเช่าที่ดินที่ค้างชําระเป็นเงินสองแสนห้าหมื่นบาทนั้น เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษา ของศาลแขวงนครปฐมหรือศาลจังหวัดนครปฐม กรณีนี้เห็นว่าจากคําฟ้องของโจทก์นั้นคดีหลักคือคดีฟ้องขับไล่ จําเลยออกจากที่ดินที่เช่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้ว่าโจทก์จะฟ้องเรียกค่าเช่ามาด้วยก็ตามก็ไม่ทําให้คดีนี้เป็นคดี ที่มีทุนทรัพย์ ดังนั้น คดีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงนครปฐมตามมาตรา 25(4) ประกอบมาตรา 17 (คําพิพากษาฎีกาที่ 22/2503 (ประชุมใหญ่)

เมื่อโจทก์นําคดีไปฟ้องยังศาลจังหวัดนครปฐม และศาลจังหวัดนครปฐมมีคําสั่งให้โอนคดีไป ยังศาลแขวงนครปฐมโดยเห็นว่าคดีอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนครปฐม คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดนครปฐม จึงไม่ถูกต้อง ส่วนคําสั่งไม่รับโอนคดีของศาลแขวงนครปฐมโดยเห็นว่าคดีอยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดนครปฐม นั้นถูกต้อง เพราะคดีดังกล่าวศาลแขวงไม่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาเพราะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะ ฟ้องเรียกค่าเช่าไม่เกินสามแสนบาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่อยู่ในอํานาจศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(4) ก็ตาม

สรุป คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดนครปฐมไม่ถูกต้อง ส่วนคําสั่งไม่รับโอนคดีของศาลแขวงนครปฐมถูกต้อง

 

ข้อ 2. ศาลจังหวัดมีนบุรีได้พิจารณาคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลย ฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ซึ่งระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิตหรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปี ถึงยี่สิบปี เมื่อศาลได้พิจารณาคดีเสร็จแล้ว จึงมีคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยตลอดชีวิต โจทก์ จําเลย มิได้อุทธรณ์ ศาลจังหวัดมีนบุรีจึงได้ส่งสํานวนคดีดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 นายเอก นายโท นายตรี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้เป็นองค์คณะ ร่วมกันพิจารณาคดีแล้วเห็นว่า การกระทําของจําเลยเป็นการทารุณโหดร้าย เป็นที่น่าหวาดกลัว แก่ประชาชนโดยทั่วไป จึงพิพากษาแก้ไขคําพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นลงโทษประหารชีวิต ท่านเห็นว่า คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 22 “ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอํานาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอํานาจดังต่อไปนี้

(1) พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษ ประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิต ในเมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคตามที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 212 “คดีที่จําเลยอุทธรณ์คําพิพากษา ที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจําเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทํานองนั้น”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง “ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ ต้องส่งสํานวนคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต ไปยังศาลอุทธรณ์ในเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ คําพิพากษานั้น และคําพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืน”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 22 ของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมดังกล่าว จะเห็นว่าโดยหลักการแล้ว ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคจะมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่คู่ความอุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาหรือคําสั่ง ของศาลชั้นต้นมาเท่านั้น ดังนั้นหากคู่ความมิได้อุทธรณ์ คดีย่อมยุติเสร็จเด็ดขาดไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง ของศาลชั้นต้น แต่ความในมาตรา 22(1) ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นกําหนดให้ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิต หรือ จําคุกตลอดชีวิต ในเมื่อคดีได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 วรรคสอง คือ เมื่อโจทก์และจําเลยไม่ได้อุทธรณ์คําพิพากษานั้น และพ้นกําหนด ระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ในกรณีนี้หากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีเป็นอันยุติ คู่ความจะฎีกาต่อไปอีกไม่ได้

ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อศาลจังหวัดมีนบุรีพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยตลอดชีวิต พ้นกําหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว โจทก์จําเลยไม่อุทธรณ์ ศาลจังหวัดมีนบุรีจึงต้องส่งสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์มีอํานาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจําคุกตลอดชีวิตจําเลยดังกล่าวได้

แต่อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะแก้ไขคําพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรีเพื่อลงโทษจําเลย ให้หนักขึ้นไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ทั้งนี้เพราะคดีดังกล่าวโจทก์และจําเลย มิได้อุทธรณ์คําพิพากษา ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจําเลยให้หนักขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคดีนั้นโจทก์อุทธรณ์ขอให้ เพิ่มโทษจําเลยเท่านั้น ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขคําพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นลงโทษประหารชีวิต คําพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 22(1) ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 212

สรุป คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. ในศาลจังหวัดบึงกาฬ (ไม่มีศาลแขวงอยู่ในเขตอํานาจ) นายจันทร์ผู้พิพากษาจังหวัดบึงกาฬได้พิจารณาคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องจําเลยมีทุนทรัพย์ 280,000 บาท ขณะที่ทําคําพิพากษานายจันทร์พบว่า ราคาทรัพย์สินดังกล่าวมีราคา 400,000 บาท นายจันทร์จึงนําคดีไปให้นายอังคารผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัดบึงกาฬตรวจสํานวน ลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะทําคําพิพากษา แต่เนื่องจาก นายอังคารได้เดินทางไปราชการต่างประเทศ นายพุธผู้พิพากษาอาวุโสในศาลนั้นจึงนําสํานวนดังกล่าว มาตรวจและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คําพิพากษาดังกล่าวของนายจันทร์และ นายพุธ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 วรรคสองและวรรคท้าย “เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุด ในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมา ตามลําดับในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลจะเป็นผู้ทําการแทนในตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ไม่ได้”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 25(4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่า ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องจําเลยมีทุนทรัพย์เพียง 280,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดบึงกาฬ จึงอยู่ในอํานาจผู้พิพากษาคนเดียวในการพิจารณาพิพากษา ดังนั้นนายจันทร์จึงพิจารณาคดีนี้ได้ตามมาตรา 25(4) แต่เมื่อต่อมาราคาทรัพย์ที่พิพาทเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 บาท จึงเป็นกรณีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31(4) ที่นายจันทร์ผู้พิพากษาคนเดียวไม่อาจทําคําพิพากษา ในคดีนี้ต่อไปได้ นายจันทร์จะต้องนําสํานวนคดีนี้ไปให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดบึงกาฬตรวจสํานวนและ ทําคําพิพากษาร่วมตามมาตรา 29(3)

1 แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายอังคารผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้ไปราชการต่างประเทศจึงไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ จึงต้องนํามาตรา 9 วรรคสองมาใช้บังคับ (ตามมาตรา 29 วรรคสอง) กล่าวคือให้ผู้ทําการแทน นายอังคารผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดบึงกาฬซึ่งหมายถึงผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นตรวจสํานวน และทําคําพิพากษา คําพิพากษานั้นจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

แต่เมื่อตามอุทาหรณ์ นายพุธผู้พิพากษาอาวุโสในศาลนั้นเป็นผู้ตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อ ทําคําพิพากษาร่วมกับนายจันทร์ การกระทําของนายพุธถือว่าเป็นการขัดต่อมาตรา 9 วรรคท้ายซึ่งบัญญัติ ห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสเป็นผู้ทําการแทนในตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ดังนั้นคําพิพากษาดังกล่าวของ นายจันทร์และนายพุธจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําพิพากษาของนายจันทร์และนายพุธไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 1/2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายหนึ่ง นายสอง และนายสามผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามลําดับ ได้ร่วมกันเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าว มีปัญหาข้อกฎหมายที่องค์คณะ ไม่อาจหาข้อยุติได้ จึงเสนอต่อประธานศาลอุทธรณ์ให้นําคดีเข้า ที่ประชุมใหญ่ศาลอุทธรณ์ในการประชุมใหญ่นอกจากมีองค์คณะใหญ่ข้างต้นแล้ว ยังมีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ทั้งหมดเข้าร่วมประชุมใหญ่จนได้ข้อยุติ แต่นายสามไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ จึงไม่ยอมลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา นายหนึ่งจึงนําสํานวนคดีและคําพิพากษาตามมติที่ประชุมใหญ่ ไปให้นายแดงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้เข้าที่ประชุมใหญ่ลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา นายแดง เมื่อได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้วจึงลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะในคําพิพากษาร่วมกับนายหนึ่ง และนายสอง นายห้าซึ่งได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ได้ทําความเห็นแย้งกลัดไว้ในสํานวนด้วย ท่านเห็นว่า คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์และการทําความเห็นแย้งดังกล่าวขอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 27 “ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีได้

ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เข้าประชุมใหญ่ ในศาลนั้นหรือในแผนกคดีของศาลดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดีแล้ว มีอํานาจ พิพากษาหรือทําคําสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย”

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 27 วรรคแรก ได้บัญญัติว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดี ของศาลอุทธรณ์นั้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่ง นายสอง และนายสาม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามลําดับ ได้เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาทั้งสาม คนในคดีดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

และในกรณีที่มีการนําคดีเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ของศาลอุทธรณ์นั้น พระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม มาตรา 27 วรรคสอง ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เข้าประชุมใหญ่ในศาลอุทธรณ์นั้น เมื่อได้ ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้ว มีอํานาจพิพากษาหรือทําคําสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์มีอํานาจ ทําความเห็นแย้งได้ด้วย

เมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า ได้มีการนําคดีอาญาเรื่องดังกล่าวที่มีปัญหาข้อกฎหมาย ที่องค์คณะไม่อาจหาข้อยุติได้เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ของศาลอุทธรณ์จนได้ข้อยุติ แต่นายสามไม่เห็นด้วยกับมติ ที่ประชุมใหญ่ จึงไม่ยอมลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา ดังนี้การที่นายแดงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้เข้าที่ประชุมใหญ่ ได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้ว ได้ลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะในคําพิพากษาร่วมกับนายหนึ่งและนายสองนั้น

นายแดงย่อมมีอํานาจกระทําได้ตามมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้น คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงชอบด้วย กฎหมาย เพราะถือว่ามีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

ส่วนกรณีที่นายห้าซึ่งได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ได้ทําความเห็นแย้งกลัดไว้ในสํานวนนั้น นายห้า ย่อมมีอํานาจกระทําได้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้วตามมาตรา 27 วรรคสองตอนท้าย

สรุป คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และการทําความเห็นแย้งของนายห้าชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายเขียวฟ้องขับไล่นายขาวออกจากที่ดินของนายเขียว ซึ่งมีราคา 200,000 บาท ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี นายขาวให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของนายขําอนุญาตให้นายขาวอาศัยอยู่ นายเขียวไม่มีอํานาจฟ้อง ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรีจ่ายสํานวนให้นายอรรถผู้พิพากษา เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา นายอรรถออกนั่งพิจารณาคดี สืบพยาน โจทก์จําเลยเสร็จแล้วจึง พิพากษาคดีดังกล่าว ให้ท่านวินิจฉัยว่า การจ่ายสํานวนคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล การพิจารณาและพิพากษาคดีของนายอรรถ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือ คดีอาญาทั้งปวง”

วินิจฉัย

ตามหลักพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(4) ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวของ ศาลจังหวัด (ศาลชั้นต้น) มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ (ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงิน ที่ฟ้อง) ไม่เกิน 3 แสนบาท

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวฟ้องขับไล่นายขาวออกจากที่ดินของนายเขียวเป็นคดีไม่มี ทุนทรัพย์ แม้นายขาวจะต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของนายอนุญาตให้นายขาวอาศัยอยู่ แต่ก็มิได้ต่อสู้ว่าที่ดินที่ พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของนายขาวเอง จึงไม่ใช่เป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ จึงไม่ทําให้เป็น คดีมีทุนทรัพย์ขึ้นมา ดังนั้นแม้ที่ดินที่พิพาทจะมีราคาเพียง 200,000 บาท คดีก็ไม่อยู่ในอํานาจของผู้พิพากษา คนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 วรรคแรก (4) จะต้องมีผู้พิพากษา อย่างน้อยสองคนเป็นองค์คณะ และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคนตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 26

ดังนั้น การจ่ายสํานวนคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี การพิจารณาและพิพากษาคดี ของนายอรรถจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การจ่ายสํานวนคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล การพิจารณาและพิพากษาคดีของนายอรรถ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. น.ส.พอใจ เป็นโจทก์ฟ้องนายอู๊ดในข้อหาลักโทรศัพท์มือถือตน เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงนนทบุรีมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นายสมยศผู้พิพากษา ศาลแขวงนนทบุรี ไต่สวนมูลฟ้องมีคําสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา เมื่อพิจารณาเสร็จสิ้น นายสมยศ ต้องการจะลงโทษจําคุกนายอู๊ดเป็นเวลา 8 เดือน จึงนําเอาสํานวนไปให้นายอุดมผู้พิพากษาอาวุโส ประจําศาลแขวงนนทบุรีทําการลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมด้วย ดังนี้

(ก) คําสั่งประทับรับฟ้องชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) การทําคําพิพากษาที่นายสมยศนําเอาสํานวนไปให้นายอุดมผู้พิพากษาอาวุโสประจําศาลแขวงนนทบุรี ทําการลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมด้วยชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมี คําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ให้ ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25(5) แล้ว เห็นว่าควรพิพากษา ลงโทษจําคุกเกินกว่าหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับนั้นอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว”

วินิจฉัย

(ก) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมยศผู้พิพากษาศาลแขวงนนทบุรี ไต่สวนมูลฟ้องและมี คําสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาในคดีดังกล่าวนั้น คําสั่งประทับรับฟ้องขอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตาม มาตรา 25(3) ประกอบกับมาตรา 17 เพราะเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจผู้พิพากษาคนเดียว และเป็นคดีอาญาที่มีอัตรา โทษอย่างสูงจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(ข) เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนนทบุรีตามมาตรา 17 และมาตรา 25(5) ซึ่งนายสมยศผู้พิพากษาเจ้าของสํานวนทําหน้าที่พิจารณาและพิพากษา และเมื่อพิจารณาเสร็จสิ้น ถ้านายสมยศ จะพิพากษาคดี นายสมยศมีอํานาจพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีอาญาโดยให้ลงโทษจําคุกได้ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับเท่านั้น หากต้องการพิพากษาลงโทษจําคุกหรือปรับเกินกว่านี้ ก็จะถือเป็น เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31(2) ทําให้ไม่อาจทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ จึงต้องให้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงมาทําคําพิพากษาโดยตรวจสํานวนทั้งหมด และหากมีกรณีใดต้องการโต้แย้ง ก็สามารถทําได้ตามมาตรา 29(3) ดังนั้น การที่นายสมยศต้องการจะลงโทษจําคุกจําเลยเป็นเวลา 8 เดือน และนํา สํานวนคดีนี้ไปให้นายอุดมผู้พิพากษาอาวุโสประจําศาลแขวงนนทบุรีทําการลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมด้วย จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

(ก) คําสั่งประทับรับฟ้องชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

(ข) การทําคําพิพากษาของนายสมยศดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

WordPress Ads
error: Content is protected !!