การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยเรียกหนี้เงินกู้จํานวน 500,000 บาท จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าทําสัญญากู้เงินจากโจทก์เพียง 200,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ต่อมาศาลชั้นต้น มีคําพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินจํานวน 250,000 บาท จําเลยไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าจําเลยต้องรับผิดชดใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์เพียง 200,000 บาท ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยเรียกหนี้เงินกู้จํานวน 500,000 บาท จําเลยยื่น คําให้การอ้างว่าทําสัญญากู้เงินจากโจทก์เพียง 200,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินจํานวน 250,000 บาท จําเลยไม่พอใจในคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์ว่าจําเลยต้องรับผิดชดใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์เพียง 200,000 บาทนั้น คําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงกระทบสิทธิของจําเลยเพียง 50,000 บาทเท่านั้น เมื่อจํานวนเงินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 50,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท และจําเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่าเป็น การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น จําเลยจึงอุทธรณ์ไม่ได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยอ้างว่าจําเลยกระทําละเมิดต่อโจทก์ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 400,000 บาท แก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า ไม่ได้กระทําละเมิดขอให้ศาลยกฟ้อง ในระหว่างการพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้งดสืบพยานของจําเลยอีก 2 ปาก เนื่องจากพยานที่สืบไปแล้วพอได้ความจากคําบอกกล่าวแล้ว จําเลยไม่พอใจ คําสั่งงดสืบพยาน จึงยืนคําแถลงต่อศาลว่า พยานของจําเลยอีก 2 ปากเป็นพยานสําคัญ ขอให้ศาล สืบพยานอีก 2 ปากของจําเลย แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สืบพยานอีก 2 ปากของจําเลยและนัดฟังคําพิพากษา ดังนี้ ถ้าจําเลยไม่พอใจคําสั่งงดสืบพยาน เมื่อศาลมีคําพิพากษาแล้ว จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228

และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้ง คัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยว่า จําเลยกระทําละเมิดต่อโจทก์ทําให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย และจําเลยยื่นคําให้การว่า ไม่ได้กระทําละเมิด ในระหว่างการพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นมีคําสั่ง ให้งดสืบพยานของจําเลยอีก 2 ปาก เนื่องจากพยานที่สืบไปแล้วพอได้ความจากคําบอกกล่าวแล้ว จําเลยไม่พอใจ คําสั่งงดสืบพยาน จึงยื่นคําแถลงต่อศาลว่า พยานอีก 2 ปากเป็นพยานสําคัญ ขอให้ศาลสืบพยานอีก 2 ปาก ของจําเลย แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สืบพยานอีก 2 ปากของจําเลยนั้น คําสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นถือเป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา การที่จําเลยไม่พอใจคําสั่งของศาลจึงยื่นคําแถลงต่อศาลดังกล่าวนั้น คําแถลงของจําเลย ย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งคําสั่งของศาลแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลได้มีคําพิพากษาแล้ว จําเลยย่อมสามารถอุทธรณ์ คําสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226

สรุป จําเลยสามารถอุทธรณ์คําสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้

 

ข้อ 3. โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยฐานผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องจักรต่อโจทก์ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อให้จําเลยส่งมอบเครื่องจักรคืน พร้อมทั้งชําระค่าเช่าซื้อที่ค้างชําระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยให้การว่าจําเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ให้จําเลยส่งมอบเครื่องจักร พร้อมทั้งชําระค่าเช่าซื้อที่ค้างชําระพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ย้ายภูมิลําเนาตามภริยาไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในประเทศไทย จําเลยจึงยื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ ของจําเลยต่อศาลอุทธรณ์ให้โจทก์นําค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายมาวางต่อศาล และศาลไต่สวน ได้ข้อเท็จจริงตามคําร้องของจําเลย ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะมีคําสั่งตามคําร้องของจําเลยอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 253 วรรคหนึ่ง “ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยง ไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาล มีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้”

มาตรา 253 ทวิ วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคําพิพากษา ถ้ามี เหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี ไม่ว่าเวลา ใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้”

วินิจฉัย

ในกรณีที่จําเลยจะยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากมีเหตุใดเหตุหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่งได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาของศาลชั้นต้น และ จําเลยได้ยื่นคําร้องต่อศาลก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะได้มีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ทวิ วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและโจทก์ไม่ได้ ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่เป็นกรณีที่จําเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้ยื่นอุทธรณ์ คัดค้านคําพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น แม้จําเลยจะได้ยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และเนื่องจากมีเหตุตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่ง กล่าวคือโจทก์ได้ย้ายภูมิลําเนาไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในประเทศไทยก็ตาม เมื่อกรณีดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว จําเลยจึงไม่สามารถร้องขอคุ้มครองชั่วคราวได้ ดังนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะมี คําสั่งให้ยกคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของจําเลย

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะมีคําสั่งยกคําร้องของจําเลย

 

ข้อ 4. คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาในวันที่ 10 มีนาคม 2551 ให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์จํานวน 4,000,000 บาท ศาลได้ออกคําบังคับ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ ต่อมาโจทก์ได้ขอ ออกหมายบังคับคดีในวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 หลังจากนั้นโจทก์สืบทรัพย์พบว่า จําเลยมีที่ดิน ที่จังหวัดแพร่ จึงแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจําเลยในวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ดังนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดที่ดินของจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่ง “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาในวันที่ 10 มีนาคม 2551 ให้จําเลยชําระหนี้ แก่โจทก์จํานวน 4,000,000 บาท และศาลได้ออกคําบังคับ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับนั้น ถ้าโจทก์จะบังคับคดี โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจําเลย โจทก์จะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ มีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 วรรคหนึ่ง

แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ขอออกหมายบังคับคดีในวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 และเมื่อโจทก์พบว่า จําเลยมีที่ดินที่จังหวัดแพร่ จึงได้แถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจําเลยในวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 นั้น ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้มีการบังคับคดีเมื่อเกินระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ได้มี คําพิพากษา ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่สามารถไปยึดที่ดินของจําเลยตามคําร้องขอของโจทก์ได้

สรุป เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึดที่ดินของจําเลยตามคําร้องขอของโจทก์ไม่ได้

Advertisement