LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด สอบซ่อม 1/2551

การสอบซ่อมภาค  1  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ 1.       ก)    สมควรทำสัญญาฝากเงินประเภท บัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมาก  โดยมีข้อตกลงในคำขอเปิดบัญชีดังกล่าวว่า ธนาคารฯ จะจ่ายเงินตามเช็คที่สมควรออกสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินนั้นธนาคารให้ไม่เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของสมควร (ผู้ฝาก) ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมดังกล่าวระหว่างสมควรและธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมาก  เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือไม่   เพราะเหตุใด  

ข)    อำนาจและหน้าที่ของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิกแก่ตนนั้นจะสุดสิ้นไปเมื่อกรณีใดบ้าง (10 คะแนน)        

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา856 (5 คะแนน)

ก.    การที่สมควรทำสัญญาฝากเงินประเภท บัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมากนั้น สมควรจึงมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมากในการที่จะใช้เช็คสั่งให้ธนาคารไทยยวนลูกหนี้จ่ายเงินให้กับบุคคลใดตามที่ตนเองมีสิทธิในฐานะผู้ฝากเงินและไม่มีข้อตกลงกับธนาคารเพื่อเบิกเงินเกินบัญชีแต่อย่างใด ดังนั้นสมควรไม่ใช่ลูกหนี้ของธนาคาร  ดังนั้นสมควรและธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมากไม่สามารถตกลงกันให้เอาหนี้ที่เกิดขึ้นโดยที่ต่างฝ่ายเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้ซึ่งกันและกันมาตัดทอนด้วยการกักกลบลบหนี้และชำละแต่จำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดนสะพัด 

นิติกรรมระหว่างสมควรและธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมาก ไม่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด (10 คะแนน)

ข.    ตอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 992 (10 คะแนน)

 

ข้อ 2.       ก)    ให้นักศึกษาอธิบายหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คมาโดยละเอียด (10 คะแนน)

ข)    นายพลเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารมั่งคั่ง จำกัด (มหาชน) สาขารามคำแหง ต่อมานายพลได้เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 50,000 บาท จากบัญชีดังกล่าว  ชำระหนี้ค่าเช่าบ้านย่านถนนรามคำแหงให้แก่นายณัฐ  เมื่อนายณัฐได้เช็คนั้นมาก็ละเลยมิได้นำเช็คนั้นไปยื่นให้ธนาคารมั่งคั่งฯ ใช้เงินจนเวลาล่วงเลยนับแต่วันออกเช็คมาเป็นเวลาห้าเดือนเศษ  นายณัฐจึงนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารมั่งคั่งฯ ใช้เงินตามเช็ค  แต่ปรากฏว่าธนาคารมั่งคั่งฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยให้เหตุผลว่า “เงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย”

ในกรณีนี้ นายณัฐจะเรียกให้นายพลต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายณัฐได้หรือไม่  เพราะเหตุใด  (15 คะแนน)

ธงคำตอบ

ก)  ป.พ.พ. มาตรา 990 (10 คะแนน)

ข)  ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคแรก

กรณีดังกล่าวเป็นเช็คที่ออกในเมืองเดียวกัน ซึ่งผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในเดือนหนึ่ง    นับแต่วันลงในเช็คมิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่ายเท่าที่เสียหาย โดยจากข้อเท็จจริงนั้นปรากฏว่านายณัฐยื่นเช็คให้ธนาคารมั่งคั่งฯ ใช้เงินตามเช็คล่วงเลยเวลามาถึงห้าเดือนเศษ ซึ่งแม้ว่าธนาคารมั่งคั่งฯ        จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยให้เหตุผลว่า “เงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย”  ก็ตาม  ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่นายณัฐทำให้    นายพลเสียหายแต่ประการใด

ดังนั้น นายพลจึงยังต้องรับผิดชอบชำระเงินจำนวน 50,000 บาท ตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายณัฐ (15 คะแนน)

 

ข้อ 3.       ก)    การขีดคร่อมเช็คนั้นกระทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด กฎหมายตั๋วเงินได้วางหลักเกณฑ์ให้ธนาคาร ผู้จ่ายและธนาคารผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมต้องปฏิบัติอย่างไร (10 คะแนน)

ข)    พิเศษลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้า ธนาคารสินไทยระบุเอกเป็นผู้รับเงินหรือผู้ถือ พร้อมทั้งได้ขีดคร่อมทั่วไปลงไว้ข้างบนด้านหน้าเช็คเพื่อเตรียมชำระหนี้เอก  แต่เช็คนั้นตกหายไปโดยพิเศษไม่ทราบ  โทเก็บเช็คนั้นได้แล้วส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ตรีซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริต และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้วได้นำเช็คนั้นฝากให้ธนาคารกรุงทองเรียกเก็บเงินจากธนาคารสินไทยเข้าบัญชีตรีที่ธนาคารกรุงทองได้สำเร็จ  ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าเอกเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นหรือไม่  อีกทั้งพิเศษ ธนาคารสินไทย และธนาคารกรุงทองยังคงต้องรับผิดต่อเอกหรือไม่  เพราะเหตุใด (15 คะแนน)

ธงคำตอบ

ก)  อธิบายโดยอ้างอิง มาตรา 994, 997, 998 และมาตรา 1000   =  10 คะแนน

ข)  หลักกฎหมาย    (1)  มาตรา 998  =  2.5   คะแนน

(2)  มาตรา 1000 = 2.5   คะแนน

รวม        5     คะแนน

วินิจฉัย

 เอกมิได้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น เพราะพิเศษยังมิได้มอบเช็คให้เอก พิเศษจึงยังคงเป็นหนี้ตามมูลหนี้เดิมที่มีต่อเอก เนื่องจากยังถือไม่ได้ว่าพิเศษได้ชำระหนี้เอกแล้ว (มาตรา 998) ส่วนธนาคารสินไทย และธนาคารกรุงทอง ซึ่งต่างก็เป็นธนาคารผู้จ่ายและธนาคารผู้เรียกเก็บ หากได้ดำเนินการจ่ายเงินและเรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมไปโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าได้จ่ายเงินให้แก่ตรี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว (มาตรา 998 และมาตรา 1000)

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 1/2551

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  ก  พลับพลามีรถยนต์บรรทุกดินเป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกกับการเติมน้ำมันให้กับรถบรรทุกดิน  พลับพลาจึงทำข้อตกลงกับบริษัท  ปตอ  จำกัด  ผู้ให้บริการน้ำมันโดยรถยนต์บรรทุกดินทุกคันของพลับพลาเข้าเติมน้ำมันที่บริษัท  ปตอ  จำกัด  จะให้สินเชื่อกับพลับพลาโดยเติมน้ำมันในกับรถยนต์ไปก่อนและพลับพลาจะชำระราคาน้ำมันให้กับบริษัท  ปตอ  จำกัด  ทุกๆ  45  วัน  โดยบริษัท  ปตอ จำกัด  จะส่งรายการบัญชีและใบเสร็จค่าน้ำมันให้พลับพลา  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนทุกๆ  30  วัน  เพื่อทราบยอดเงินที่ต้องชำระ  และบริษัท  ปตอ  จำกัด  จะลงรายการในบัญชีว่าเป็นหนี้อยู่จำนวนเท่าใด  และจะเรียกเก็บในรอบบัญชีต่อไป  ดังนี้  นิติสัมพันธ์ระหว่างพลับพลากับบริษัท  ปตอ  จำกัด  เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือไม่เพราะเหตุใด

ข  อาวัล  คืออะไร  และทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

ธงคำตอบ

มาตรา  856  อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน  และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

วินิจฉัย

พลับพลามีหนี้ที่จะต้องชำระ  คือ  ราคาน้ำมันให้กับบริษัท  ปตอ  จำกัด  แต่ในส่วนของบริษัท  ปตอ  จำกัด  ไม่มีหนี้สินอันใดจะต้องชำระให้กับพลับพลาแต่อย่างใด  ดังนั้นข้อตกลงระหว่างพลับพลากับบริษัท  ปตอ  จำกัด  จึงไม่ใช่ข้อตกลงว่าสืบแต่นั้นไป  หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค  จึงถือว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด

สรุป  นิติสัมพันธ์ระหว่างพลับพลากับบริษัท  ปตอ  จำกัด  ไม่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด

อาวัลหรือการรับอาวัล  คือ  การที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้วเข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมด  หรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วเงินต่อผู้ที่เป็นเจ้าหนี้  ซึ่งตั๋วเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนได้และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่าประกันผู้ใด  ถ้าไม่ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นการประกันผู้สั่งจ่าย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

            การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  ใช้ได้เป็นอาวัล  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการรับอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้  (มาตรา 939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่)

            โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก)

 

ข้อ  2  ก  กฎหมายกำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คไว้หรือไม่  อย่างไร  จงอธิบาย

ข  นายแดงเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารมั่นคงจำกัด  (มหาชน)  สาขาหัวหมาก  ต่อมานายแดงได้เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน  100,000  บาท  จากบัญชีดังกล่าว  ชำระหนี้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์ย่านถนนรามคำแหงให้แก่นายขาว  เมื่อนายขาวได้เช็คนั้นมาก็ละเลยมิได้นำเช็คนั้นไปยื่นให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินจนเวลาล่วงเลยนับแต่วันออกเช็คมาเป็นเวลาหกเดือนเศษ  นายขาวจึงนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินตามเช็ค  แต่ปรากฏว่าธนาคารมั่นคงฯตกเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลก  จึงไม่สามารถชำระเงินให้แก่นายขาวได้

หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า  ถ้านายขาวนำเช็คมาขึ้นเงินก่อนที่ธนาคารมั่นคงฯ  จะตกเป็นบุคคลล้มละลาย  ธนาคารมั่นคงฯ  ก็ยังสามารถชำระเงินตามเช็คให้แก่นายขาวได้  ดังนี้  นายแดงจะยังคงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายขาวอยู่หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คนั้น  มาตรา  990  วรรคแรก  ได้วางหลักให้ผู้ทรงยื่นเช็คแก่ธนาคารภายในระยะเวลาจำกัดดังนี้

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกัน  (จังหวัดเดียวกัน)  กับที่ออกเช็ค  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่น  (เช็คที่มิได้ออกและให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน)  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  3  เดือนนับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

ถ้าผู้ทรงเช็คละเลยเสียไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ย่อมเป็นผลเสียแก่ผู้ทรงดังนี้  คือ

1       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังทั้งปวง  และ

2       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้สั่งจ่าย

และมาตรา  990  วรรคท้าย  ยังได้วางหลักในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะความเสียหายดังกล่าว  ให้ผู้ทรงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายไปไล่เบี้ยเอากับธนาคารนั้นได้

ข  อธิบาย

มาตรา  990  วรรคแรก  ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน  คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น  ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน  ถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง  ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย  เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น

วินิจฉัย

กรณีดังกล่าวเป็นเช็คที่ออกในเมืองเดียวกัน  ซึ่งผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันเดือนปีที่ลงในเช็ค  มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลัง  หรือผู้สั่งจ่ายเท่าที่เสียหาย  โดยจากข้อเท็จจริงนั้นปรากฏว่านายขาวยื่นเช็คให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินตามเช็คล่วงเลยเวลามาถึง  6  เดือนเศษ  แต่ธนาคารมั่นคงฯ  ล้มละลาย  จึงไม่สามารถชำระเงินตามเช็คให้แก่นายขาวได้  ซึ่งส่งผลให้นายขาวสิ้นสิทธิในการไล่เบี้ยเงินตามเช็คกับนายแดงผู้สั่งจ่าย  ทั้งนี้เพราะจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า  หากนายขาวยื่นเช็คให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินก่อนที่จะล้มละลาย  ธนาคารมั่นคงก็จะยังสามารถชำระเงินให้แก่นายขาวได้  ดังนั้นการกระทำของนายขาวทำให้นายแดงเสียหาย

สรุป  นายแดงผู้สั่งจ่ายจึงหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดชอบชำระเงิน  100,000  บาท  ตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายขาวแต่อย่างใด

 

ข้อ  3  ก  ตั๋วเงินปลอม  อาจเกิดขึ้นได้จากกรณีใดบ้าง  และจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายแก่ผู้ทรงซึ่งชอบด้วยกฎหมายอย่างไร

ข  ชื่อได้รับเช็คพิพาทจากการส่งมอบของโกงเพื่อชำระราคาสินค้าจำนวน  60,000  บาท  (หกหมื่นบาทถ้วน)  ข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คพิพาทดังกล่าวมีกล้วยเป็นผู้สั่งจ่ายระบุโกงเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ในเช็คนั้นออกแล้วมอบให้โกงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นประกันในการผลิตและส่งมอบสินค้าตามสัญญาให้แก่กล้วย  จำนวน  50,000  บาท  (ห้าหมื่นบาทถ้วน)  ระหว่างนั้นต้นทุนการผลิตสินค้าตามสัญญามีราคาสูงขึ้น  โกงจึงแก้ไขจำนวนเงินในเช็คทั้งจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือเป็น  60,000  บาท  (หกหมื่นบาทถ้วน)  แล้วลงลายมือชื่อด้านหลังเพื่อเตรียมไปฝากให้ธนาคารที่ตนมีบัญชีเรียกเก็บให้  แต่ได้เปลี่ยนใจแล้วนำเช็คพิพาทนั้นไปส่งมอบชำระราคาสินค้าให้แก่ซื่อซึ่งรับโอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเนื่องจากไม่ปรากฏร่องรอยการแก้ไขหรือมีพิรุธอย่างใด  ต่อมาธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะกล้วยได้บอกห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทนั้น  เนื่องจากโกงไม่ส่งมอบสินค้าตามสัญญา  พร้อมกับยกเหตุผลนั้นขึ้นต่อสู้ซื่อด้วย  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าซื่อจะฟ้องบังคับไล่เบี้ยกล้วยและโกงได้เพียงใดหรือไม่  เพราะเหตุใด  

ธงคำตอบ

ก  ตั๋วเงินปลอม  อาจเกิดขึ้นได้จาก  2  กรณี  ได้แก่  การปลอมด้วยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงินนั้น  (มาตรา  1007) และการปลอมด้วยการลงลายมือชื่อปลอมหรือลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจ  (มาตรา  1008) 

1       ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงิน  เช่น  จำนวนเงินอันพึงจะใช้  (มาตรา  1007  วรรคสาม)  นั้น  ป.พ.พ.  ได้บัญญัติผลตามกฎหมายไว้  2  กรณีคือ

กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นประจักษ์  กล่าวคือ  มองเห็นได้หรือมีการแก้ไขไม่แนบเนียนหรือเห็นเป็นประจักษ์นั่นเอง  โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินเสียไป  แต่ยังคงใช้ได้กับผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  (มาตรา  1007  วรรคแรก)

            กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ประจักษ์  กล่าวคือ  มองไม่เห็น  หรือมีการแก้ไขได้อย่างแนบเนียน  หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้  เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นตามเนื้อความเดิมก็ได้  (มาตรา  1007  วรรคสอง)

2       ในกรณีที่มีการลงลายมือชื่อปลอมในตั๋วเงิน  ป.พ.พ.  มาตรา  1006  ได้บัญญัติให้ตั๋วเงินนั้นยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้  ลายมือชื่อปลอมนั้นโดยหลักการแล้ว  ไม่มีผลกระทบไปถึงความสมบูรณ์ของลายมือชื่ออื่นๆในตั๋วเงินนั้น  ขณะเดี่ยวกัน  ป.พ.พ.  มาตรา  1008  ได้บัญญัติให้ลายมือชื่อปลอมนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลยผู้ใดจะแสวงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้มิได้

            ผู้ใดจะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้  เว้นแต่ผู้ที่จะพึงถูกยึดหน่วง  อยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบท  (ถูกกฎหมายปิดปาก)  มิให้ยกเหตุลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้

            ผู้ใดจะทำให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินมิได้  เว้นแต่  ได้ใช้เงินไปในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม

            ผู้ใดจะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งมิได้  เว้นแต่คู่สัญญาผู้ที่จะพึงถูกบังคับให้ใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท  (ถูกกฎหมายปิดปาก)  มิให้ยกลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้

อนึ่งลายมือชื่อปลอมนั้น  กฎหมายไม่อนุญาตให้เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอม  ให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อปลอมนั้น  กรณีย่อมเป็นผลให้เป็นตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อปลอมตลอดไป

ข  อธิบาย

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  916  บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน           นั้นได้ไม่  เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

มาตรา  959  ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง  ผู้สั่งจ่าย  และบุคคลอื่นๆซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้  คือ

(ก)  ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน

มาตรา  967  วรรคแรก  ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา …  914  ถึง  923  959  967

มาตรา  1007  ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด  หรือในคำรับรองตั๋วเงินใด  มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย  เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด                ๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

วินิจฉัย

เช็คพิพาทดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คแบบไม่ประจักษ์  เช็คพิพาทยังคงมีผลบังคับกับโกงตามเนื้อความที่แก้ไขเสมือนมิได้มีการแก้ไขเลย  และยังคงบังคับเอากับกล้วยให้ต้องรับผิดตามเนื้อความเดิม  (จำนวนคงเดิม)  ได้อีกด้วยตามมาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม

ดังนั้น  ในกรณีที่ธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน  ชื่อซึ่งเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิบังคับไล่เบี้ยโกง  ผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ตามจำนวนเงินที่แก้ไขใหม่  (60,000  บาท)  และหรือบังคับไล่เบี้ยกล้วยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้รับผิดตามจำนวนเงินเดิม  (50,000  บาท) โดยรับผิดร่วมกัน  อีกทั้งกล้วยไม่อาจยกเหตุผลที่มีต่อโกงขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้  เพราะเป็นความเกี่ยวพันระหว่างตนที่มีต่อโกงผู้ทรงคนก่อนตามมาตรา  900  วรรคแรก  914  916  959  ก)  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก

สรุป  ซื่อสามารถฟ้องบังคับไล่เบี้ยกล้วยได้  50,000  และโกงได้  60,000  บาท โดยรับผิดร่วมกัน

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1 

(ก)  อาวัลตั๋วแลกเงินนั้นคืออะไร  เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย (10 คะแนน)

(ข)  คมบางสั่งจ่ายเช็คธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  จำนวนเงิน  500,000  บาท  ระบุดอกดินเป็นผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ”  ในเช็คออกมอบให้กับดอกดินเพื่อชำระหนี้  ต่อมาดอกดินสลักหลังและส่งมอบเช็คนั้นชำระราคาสินค้าให้แก่เหลือง  เหลืองรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตเพราะเชื่อเครดิตของคมบางผู้สั่งจ่าย  ดังนี้หากต่อมาเหลืองยื่นเช็คให้ธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  ใช้เงินแต่ธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว  โดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีของคมบางผู้สั่งจ่ายมีไม่พอจ่าย  ดังนี้  เหลืองจะใช้สิทธิไล่เบี้ยให้ดอกดินรับผิดใช้เงินตามเช็คนี้ได้หรือไม่ในฐานะใด

ธงคำตอบ

(ก)  อาวัลหรือการรับอาวัลตั๋วเงิน  (Aval)  คือ  การที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้ว  เข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมด  หรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วเงินต่อผู้ที่เป็นเจ้าหนี้  ซึ่งตั๋วเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนได้  และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่าประกันผู้ใด  ถ้าไม่ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นการประกันผู้สั่งจ่าย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  ใช้ได้เป็นอาวัล  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้ มาตรา  939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่

โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

อนึ่ง  เมื่อมีการรับอาวัลตามแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนประกัน  (มาตรา  900  วรรคแรกประกอบมาตรา  940  วรรคแรก)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น  ย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940  วรรคแรก  ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา  …. 914 ถึง 923  938  ถึง  940

วินิจฉัย

การที่คมบางสั่งจ่ายเช็คธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  จำนวนเงิน  500,000  บาท  ระบุให้ดอกดินเป็นผู้รับเงิน  แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ในเช็คออก  เช็คฉบับดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ  ซึ่งจะโอนให้กันด้วยการส่งมอบก็ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใด  อนึ่งเช็คที่ออกให้ใช้เงินกับผู้ถือนั้นถ้ามีการสลักหลังเช็คแล้วมอบให้กับผู้รับโอนไปนั้นผู้ที่ทำการสลักหลังนั้นจะมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล   (ประกัน)ผู้สั่งจ่าย  ดังนั้นการที่ดอกดินผู้รับเงินได้สลักหลังและส่งมอบเช็คนั้นชำระราคาสินค้าให้แก่เหลือง  ดอกดินจึงมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  คมบางผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  921  หากเหลืองยื่นเช็คให้ธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัดใช้เงิน  แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีของคมบางผู้สั่งจ่ายมีไม่พอจ่าย  ดังนี้เหลืองจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยให้ดอกดินรับผิดใช้เงินตามเช็คนี้ได้ในฐานะเป็นผู้รับอาวัล (ประกัน)  คมบางผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  940  วรรคแรกประกอบมาตรา  989 วรรคแรก

สรุป  เหลืองสามารถไล่เบี้ยดอกดินให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้

 

ข้อ  2 

(ก)  กรณีที่  ผู้สั่งจ่ายเช็ค  ทำการระบุข้อความว่า  ห้ามเปลี่ยนมือ  ลงในเช็คจะมีผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร  จงอธิบาย

(ข)  นางสาวฟ้ารุ่งสั่งจ่ายเช็คเป็นเงินจำนวน  500,000  บาท  ระบุให้ใช้เงินแก่นางสาวน้ำฝนและขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ในเช็คออก  พร้อมทั้งเขียนระบุข้อความว่า  “A/C  PAYEE  ONLY”  ลงที่ด้านหน้าเช็ค  แล้วส่งมอบชำระหนี้ให้แก่นางสาวน้ำฝน  ต่อมาหากนางสาวน้ำฝนต้องการจะโอนเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่นายสายฟ้า  จะต้องกระทำอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

ธงคำตอบ

(ก)   อธิบาย

ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตั้งข้อจำกัดการโอนเช็ค  โดยระบุข้อความว่า  ห้ามเปลี่ยนมือ  หรือ  เปลี่ยนมือไม่ได้  หรือคำอื่นอันได้ความทำนองเช่นเดียวกัน  เช่น  ห้ามโอน  หรือ  ห้ามสลักหลังต่อ  หรือระบุความว่า  จ่ายให้นาย  ก  เท่านั้น  หรือ  จ่ายเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น  (A/C  PAYEE  ONLY  หรือ  ACCOUNT  PAYEE  ONLY)  ย่อมมีผลเป็นการห้ามเปลี่ยนมือหรือห้ามโอนเช็คนั้นต่อไป  กล่าวคือ

ผู้รับเงิน  (ผู้ทรง)  จะโอนเช็คนั้นต่อไปด้วยการสลักหลังและส่งมอบ  ตามมาตรา  917  วรรคแรก  ไม่ได้  แต่เช็คนั้นก็ยังโอนต่อไปอีกได้ตามแบบสามัญหรือตามหลักการโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้อง  ตามมาตรา  306  กล่าวคือ  ต้องทำเป็นหนังสือโอนหนี้ตามเช็คนั้นระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอน  และผู้โอนต้องบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังผู้สั่งจ่าย  หรือให้ผู้สั่งจ่ายยินยอมด้วยโดยทำเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  917  วรรคสอง  เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า  เปลี่ยนมือไม่ได้  ดังนี้ก็ดี  หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา  910  914  ถึง  923

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริง  เช็คฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่าย  คือ  นางสาวฟ้ารุ่งสั่งจ่ายโดยตั้งข้อจำกัดการโอนไว้ตามมาตรา  917  วรรคสอง  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก  โดยคำว่า  “A/C  PAYEE  ONLY”  มีความหมายทำนองเดียวกับคำว่า  เปลี่ยนมือไม่ได้  นางสาวน้ำฝนจึงโอนเช็คนั้นต่อไปด้วยการสลักหลังและส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรก  ไม่ได้  แต่อย่างไรก็ดี  หากนางสาวน้ำฝนต้องการจะโอนเช็คฉบับดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ให้แก่นายสายฟ้าจะต้องโอนต่อไปโดยรูปแบบการโอนแบบการโอนหนี้สามัญ  ตามมาตรา  306  มิใช่การโอนด้วยวิธีการโอนตั๋วเงินทั่วๆไป  กล่าวคือ  ต้องทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนนั่นเอง

สรุป  นางสาวน้ำฝนต้องโอนเช็คได้ด้วยรูปการโอนแบบการโอนหนี้สามัญ  จึงจะชอบด้วยกฎหมาย 

 

ข้อ  3

(ก)  กฎหมายตั๋วเงินได้บัญญัติหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามเช็คที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คไว้อย่างไร

 (ข)  เช็คพิพาทมีการแก้ไขจำนวนเงินจากน้อยไปมากได้อย่างแนบเนียนโดยผู้ทรงเช็ค  ต่อมาธนาคารผู้จ่ายได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทไปโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยโดยอ้างอิงหลักกฎหมายว่าธนาคารจะหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายได้เพียงใดหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก)  ในกรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็ค  ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงิน  (มาตรา  1007  วรรคสาม)  นั้น  กฎหมายตั๋วเงินได้บัญญัติหลักเกณฑ์การจ่ายเงินไว้  2  กรณี  คือ

1.1            กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินเป็นประจักษ์  กล่าวคือ  มองเห็นได้หรือมีการแก้ไขไม่แนบเนียนหรือเห็นเป็นประจักษ์นั่นเอง  โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป  แต่ยังคงใช้ได้กับผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  และหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  (มาตรา  1007  วรรคแรก)

1.2  กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่ประจักษ์  กล่าวคือ  มองไม่เห็น  หรือมีการแก้ไขอย่างแนบเนียน  หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์  และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้  เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นตามเนื้อความเดิมก็ได้  (มาตรา  1007  วรรคสอง)

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม  แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใดๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่ผู้ทรงเช็คเป็นผู้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทจากน้อยไปมากเพียงใด  ย่อมถือว่าเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย  จึงเป็นผู้ทรงซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจำนวนเงินในเช็คทั้งจำนวนที่แก้ไขใหม่  และจำนวนเงินเดิมก่อนการแก้ไข  ตามนัยมาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม  ดังนั้นธนาคารจึงหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายไม่ได้  แม้ตามเนื้อความเดิม  เนื่องจากเป็นผู้ทรงเช็คที่มิชอบด้วยกฎหมาย

สรุป  ธนาคารหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายไม่ได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

(ก)  การโอนตั๋วแลกเงินนั้น  ต้องทำอย่างไร  จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

(ข)  จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน  สั่งให้บุญมีจ่ายเงินให้กับทองไทยและขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออกแล้วมอบให้แก่ทองไทย  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  จำนวน  500,000  บาท  ทองไทย  สลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงิน  ต่อมาพุธได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินชำระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัส  ต่อมาพฤหัสสลักหลังลอยตั๋วแลกเงินชำระหนี้ให้แก่อาทิตย์  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ตามลักษณะของตั๋วแลกเงินมีอยู่  2  ชนิด  คือ  ตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตามคำสั่งผู้รับเงิน  เรียกว่า  “ตั๋วแลกเงินระบุชื่อ”  ซึ่งในตั๋วเงินทั้ง  3  ประเภท  คือ  ตั๋วแลกเงิน  ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค  และตั๋วแลกเงินชนิดที่ระบุชื่อผู้รับและมีคำว่า  “หรือผู้ถือ”  รวมอยู่ด้วย หรือระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ  เรียกว่า  “ตั๋วแลกเงินผู้ถือ”  ซึ่งมีเฉพาะตั๋วแลกเงินและเช็คเท่านั้น

ดังนั้นวิธีการโอนตั๋วแลกเงินจึงแตกต่างกันตามชนิดของตั๋วแลกเงินดังกล่าวข้างต้น  กล่าวคือ

1       กรณีโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อ  มาตรา  917  วรรคแรก  บัญญัติให้โอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

อนึ่งการสลักหลังมี  2  วิธี  คือ  สลักหลังเฉพาะ  (เจาะจงชื่อผู้รับสลักหลัง)  ซึ่งมาตรา  919  ได้บัญญัติวิธีการสลักหลังไว้ดังนี้

(ก)  สลักหลังเฉพาะ  (Specific  Endorsement)  ให้ระบุชื่อผู้รับสลักหลัง  แล้วลงลายมือชื่อผู้สลักหลังลงไปในตั๋วเงิน  โดยจะกระทำด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินนั้นก็ได้  (มาตรา  917  วรรคแรก  มาตรา  919  วรรคแรก)

(ข)  สลักหลังลอย  (Blank  Endorsement)  ผู้สลักหลังเพียงลงลายมือชื่อตนเองโดยลำพังด้านหลังตั๋วเงิน  โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้รับประโยชน์  (ผู้รับสลักหลัง)  มาตรา  917  วรรคแรก  มาตรา  919  วรรคสอง

ผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังโอนตั๋วเงินนั้นมาจากการสลักหลังดังกล่าวใน  (ก)  หรือ  (ข)  แล้วก็สามารถสลักหลังโอนตั๋วเงินระบุชื่อนั้นโดยวิธีข้างต้นต่อไปอีกก็ได้  แต่ผู้ทรงที่ได้รับโอนตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย  สามารถเลือกโอนตั๋วเงินระบุชื่อนั้นต่อไปได้อีก  3  วิธี  ทั้งนี้ตามมาตรา  920  วรรคสอง  คือ

(1) เติมชื่อบุคคลที่ตนเองประสงค์จะโอนให้

(2) สลักหลังลอยหรือสลักหลังเฉพาะต่อไป  หรือ

(3) ส่งมอบต่อไปโดยไม่ต้องสลักหลัง

2       กรณีโอนตั๋วแลกเงินผู้ถือ  มาตรา  918  บัญญัติให้โอนต่อไปได้ด้วยการส่งมอบ

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  917  วรรคแรก  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา  918  ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น  ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน

มาตรา  919  คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์  แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วยหรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน  การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า  “สลักหลังลอย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้บุญมีจ่ายเงินให้กับทองไทย  และขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออกแล้วมอบให้แก่ทองไทยเพื่อเป็นการวางมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ย่อมเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ  การโอนต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา  917  วรรคแรกคือ  สลักหลังและส่งมอบ  จะโอนตั๋วแลกเงินโดยการส่งมอบให้แก่กันเพียงอย่างเดียวเท่านั้นตามมาตรา  918  ไม่ได้  เพราะกรณีมิใช่ตั๋วแลกเงินผู้ถือ  สำหรับการที่ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงิน  ถือเป็นการโอนตั๋วแลกเงินโดยการสลักหลังเฉพาะ  ตามมาตรา  919  วรรคแรก  ซึ่งการโอนต่อไปจะต้องสลักหลังและส่งมอบเช่นเดียวกัน  เมื่อปรากฏว่าต่อมาพุธเพียงแต่ส่งมอบตั๋วแลกเงินชำระหนี้ให้แก่พฤหัสเท่านั้น  หาได้มีการสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยไม่  ทั้งกรณีไม่ใช่การโอนตั๋วแลกเงินต่อจากผู้สลักหลังลอยแต่อย่างใด  การโอนตั๋วแลกเงินจากพุธไปยังพฤหัสจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป  การโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ  2

(ก)  การอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นเกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย  (10  คะแนน)

(ข)  เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน  สั่งให้เดี่ยวจ่ายเงินจำนวน  500,000  บาท  มอบให้แก่ทองไทยระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อฟักทองเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ต่อมาฟักทองได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ศรีทอง  เมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกำหนดวันใช้เงิน  ศรีทองได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้เดี่ยวผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่เดี่ยวไม่ยอมใช้เงิน  ศรีทองได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ดังนี้  เอก  ทองไทย  ฟักทอง  ใครต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้นต่อศรีทอง  เพราะเหตุใด  (15  คะแนน)

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  “เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย”  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้  (มาตรา  939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่)

โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

อนึ่ง  เมื่อมีการรับอาวัลตามแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนประกัน  (มาตรา  900  วรรคแรกประกอบมาตรา  940  วรรคแรก)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก)

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940 วรรคแรก   ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่เอกสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้เดี่ยวจ่ายเงินจำนวน  500,000  บาท  มอบให้แก่ทองไทยระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงิน  แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในตั๋วแลกเงินนั้นออก  ตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวจึงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งจะโอนให้กันด้วยการส่งมอบก็ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใด

อนึ่ง  ตั๋วแลกเงินที่ออกให้ใช้เงินกับผู้ถือนั้น  ถ้ามีการสลักหลังเช็คแล้วมอบให้กับผู้รับโอนไปผู้ที่ทำการสลักหลังนั้นจะมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  ผู้สั่งจ่าย  การที่ทองไทยได้สลักหลังขายลดตั๋วแลกเงิน  โดยระบุชื่อฟักทองเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ทองไทยจึงมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  เอกผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  921  ดังนั้น  เมื่อศรีทองได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้เดี่ยวผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่เดี่ยวไม่ยอมใช้เงินศรีทองได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ตามมาตรา  914  จึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับเอกผู้สั่งจ่าย  ทองไทยผู้รับอาวัลเอกผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  921  ประกอบมาตรา  940  วรรคแรก  ส่วนฟักทองผู้ที่โอนตั๋วแลกเงินด้วยการส่งมอบให้แก่ศรีทองไม่ต้องรับผิด  เพราะไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน  ทั้งนี้ตามมาตรา  900  วรรคแรก

สรุป  เอกและทองไทยต้องรับผิดต่อศรีทอง  ส่วนฟักทองไม่ได้รับผิด

 

ข้อ  3

(ก)  เช็คที่ไม่มีการขีดคร่อมนั้นธนาคารต้องปฏิบัติอย่างไรในการจ่ายเงินจึงจะได้รับการคุ้มครอง  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ถ้าลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม  (10 คะแนน)

(ข)  ข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คธนาคารลายไทยที่แดงปลอมลายมือชื่อทองพูนผู้เป็นเจ้าของบัญชีออกเช็คชำระหนี้เหลือง  ซึ่งเหลืองรับไว้โดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ  และเหลืองได้สลักหลังลอยชำระหนี้ให้กับทับทิม  ต่อมาทับทิมได้นำเช็คไปยื่นให้ธนาคารลายไทยจ่ายเงินและรับเงินไปแล้ว  ดังนี้ธนาคารลายไทยจะหักเงินจากบัญชีของทองพูนได้หรือไม่  เพราะเหตุใด  (15  คะแนน)

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

มาตรา  1009  ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใด  และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้  ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน  หรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น  และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม  ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

ตามมาตรา  1009  ดังกล่าวข้างต้น  ธนาคารจะได้ความคุ้มครองและหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินไปตามเช็ค  แม้ลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม  ก็ต่อเมื่อต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้  คือ

1       ธนาคารได้ใช้เงินไปตามทางค้าปกติ

2       ธนาคารได้ใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ  และ

3       ธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ว่าตั๋วเงินนั้นจะมีการสลักหลังปลอมหรือสลักหลังโดยปราศจากอำนาจหรือไม่  เพียงแต่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ปลอมก็เพียงพอแล้ว  และให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  1009  ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใด  และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้  ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน  หรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น  และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม  ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่ทับทิมนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารลายไทย  แม้ว่าธนาคารลายไทยนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อ  และธนาคารลายไทยได้ตรวจสอบแล้วว่ามีการสลักหลังเรียบร้อยไม่ขาดสาย  แม้ว่าธนาคารลายไทยไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน  หรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม  แต่ธนาคารลายไทยผู้จ่ายต้องตรวจสอบลายมือชื่อของทองพูนผู้สั่งจ่ายเป็นสำคัญว่าต้องเป็นลายมือชื่อที่ถูกต้อง  ไม่เป็นลายมือชื่อปลอม  เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าธนาคารลายไทยได้จ่ายเงินให้กับทับทิมไปทั้งๆที่ลายมือของทองพูนผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม   จึงถือไม่ได้ว่าธนาคารลายไทยได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ  ธนาคารลายไทยจะหักเงินจากบัญชีของทองพูนไม่ได้

สรุป  ธนาคารลายไทยจะหักเงินจากบัญชีของทองพูนไม่ได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

ก  การรับอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นเกิดขึ้นได้ในกรณีนี้ใดบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย

ข  ตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งมีบัวแดงเป็นผู้สั่งจ่าย  โดยโคกสำโรงเป็นผู้จ่ายและมีการระบุชื่อบัวขาวเป็นผู้รับเงิน  แต่บัวแดงผู้สั่งจ่ายมิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  บัวขาวส่งมอบตั๋วแลกเงินให้แก่บัวทองเพื่อชำระหนี้  ต่อมาบัวทองสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินฉบับนี้เพื่อชำระหนี้บัวหลวง  ครั้นตั๋วแลกเงินถึงกำหนดบัวหลวงได้นำตั๋วแลกเงินไปให้โคกสำโรงผู้จ่ายจ่ายเงิน  แต่โคกสำโรงปฏิเสธการจ่ายเงิน  บัวหลวงได้ดำเนินการจัดทำคำคัดค้านอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว  ดังนี้  บัวหลวงจะฟ้องบัวทองให้รับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินได้หรือไม่  ฐานะใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  “เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย”  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้ มาตรา  939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่

โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

อนึ่ง  เมื่อมีการรับอาวัลตามแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนประกัน  (มาตรา  900  วรรคแรกประกอบมาตรา  940  วรรคแรก)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940 วรรคแรก   ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่บัวแดงสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้โคกสำโรงจ่ายเงินให้แก่บัวขาวระบุชื่อบัวขาวเป็นผู้รับเงิน  แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในตั๋วแลกเงินนั้นออก  ตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวจึงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งจะโอนให้กันด้วยการส่งมอบก็ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใด  ตามมาตรา  909(6)

อนึ่งตั๋วแลกเงินที่ออกให้ใช้เงินกับผู้ถือนั้น  ถ้ามีการสลักหลังเช็คแล้วมอบให้กับผู้รับโอนไป  ผู้ที่ทำการสลักหลังนั้นจะมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  ผู้สั่งจ่าย  การที่บัวทองได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินฉบับนี้เพื่อชำระหนี้บัวหลวง  บัวทองจึงมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  บัวแดงผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  921  ดังนั้นเมื่อบัวหลวงได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้โคกสำโรงผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่โคกสำโรงปฏิเสธการใช้เงิน  และบัวหลวงได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตามมาตรา  914  ดังนี้บัวหลวงจึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับบัวแดงผู้สั่งจ่าย  บัวทองผู้รับอาวัลบัวแดงผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  921  ประกอบมาตรา  940  วรรคแรก  ส่วนบัวขาวผู้ที่โอนตั๋วแลกเงินด้วยการส่งมอบให้แก่บัวทองไม่ต้องรับผิด  เพราะไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน  ทั้งนี้ตามมาตรา  900  วรรคแรก

สรุป  บัวหลวงสามารถฟ้องบัวทองให้รับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินได้ในฐานะผู้รับอาวัลบัวแดงผู้สั่งจ่าย

 

ข้อ  2

ก  การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อโดยจำกัดความรับผิดก็ดี  บางส่วนก็ดี  มีเงื่อนไขก็ดี  หรือขายลดก็ดี  ผู้สลักหลังจะกระทำได้หรือไม่และจะส่งผลกระทบต่อคู่สัญญาซึ่งรับสลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นอย่างไร  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย

ข  นายรวยทำธุรกิจส่งออกสินค้าจากประเทศไทย  ได้รับตั๋วแลกเงินจากผู้ซื้อซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีนในมาเลเซีย  ชำระราคาสินค้าด้วยตั๋วแลกเงินล่วงหน้า  3  เดือน  ราคาหน้าตั๋วแลกเงินจำนวน  500,000  บาท  (ห้าแสนบาทถ้วน)  ระบุนายรวยเป็นผู้รับเงิน  ขณะเดียวกันนายรวยก็เป็นหนี้เงินกู้ยืมธนาคารเพื่อการส่งออกฯ  จำนวน  400,000  บาท  (สี่แสนบาทถ้วน)  โดยที่ไม่มีข้อกำหนดห้ามโอน  และนายรวยประสงค์จะสลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวชำระหนี้ธนาคารเพื่อการส่งออกฯ  และได้มาปรึกษาท่าน  ดังนี้ให้ท่านแนะนำนายรวยว่า  นายรวยจะกระทำได้ด้วยการสลักหลังวิธีใดหรือไม่ดังกล่าวในข้อ(ก)  อันเป็นผลให้ธนาคารเพื่อการส่งออกฯจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับสลักหลังโดยชอบตามหลักกฎหมายตั๋วเงิน

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

(1) การจดข้อกำหนดลงไว้ในตั๋วแลกเงินระบุชื่อด้วยการจำกัดความรับผิดในมูลหนี้ตั๋วแลกเงินนั้น  ป.พ.พ.  มาตรา  915(1)  อนุญาตให้ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน  และผู้สลักหลังทุกคนสามารถกระทำได้  อันเป็นผลให้ผู้ทรงมีสิทธิบังคับไล่เบี้ยได้เพียงเท่าที่เขาได้จำกัดความรับผิดไว้นั้น

เช่น  ก  เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งราคา  50,000  บาท  ก  สลักหลังโอนตั๋วเงินชำระหนี้  ข  โดยระบุข้อความในการสลักหลังไว้ว่า  “โอนให้  ข  แต่ขอรับผิดเพียง  30,000  บาท  ดังนี้เป็นการจำกัดความรับผิดตามมาตรา  915(1)  ซึ่ง  ก  มีอำนาจทำได้  การโอนสมบูรณ์ตามกฎหมาย  ส่งผลให้  ข  มีสิทธิฟ้องบังคับเอาหนี้เงินตามตั๋วฯ  นั้นจาก  ก  ได้เพียง  30,000  บาท  พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย

(2) การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อเพียงบางส่วนนั้น  ผู้สลักหลังกระทำมิได้  ต้องสลักหลังโอนจำนวนเงินทั้งหมดในตั๋วแลกเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลังด้วย  หากฝ่าฝืน  การสลักหลังนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ  ตามมาตรา  922  วรรคสอง  เท่ากับว่ามิได้สลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับสลักหลังเลย

เช่น  ตามข้อเท็จจริงข้างต้น  หาก  ก  เป็นหนี้  ข  อยู่  40,000  บาท  ก  จึงสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้  ข  จำนวน  40,000  บาท  ดังนี้การสลักหลังนั้นเป็นโมฆะ  เพราะตั๋วแลกเงินมีราคา  50,000  บาท  จะสลักหลังโอนเพียงบางส่วนคือ  40,000  บาทไม่ได้    ผลก็คือถือว่า  ข  มิได้เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินนั้นเลย  จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินตามตั๋วนั้น  และ  ก  ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินนั้น  ถ้าได้ตั๋วแลกเงินนั้นไว้ในครอบครองอีก

(3) การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อมีเงื่อนไขนั้น  บทบัญญัติมาตรา  922  วรรคแรก  ให้สิทธิผู้สลักหลังกระทำได้  เช่น  ระบุว่า  “ให้การสลักหลังครั้งนี้เป็นผลเมื่อสินค้าที่  ก  ซื้อจาก  ข  มีคุณสมบัติครบถ้วนตามสัญญา”  เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ดี  การสลักหลังโอนโดยมีเงื่อนไขนี้  กฎหมายให้ถือว่าเงื่อนไขในการสลักหลังนั้นมิได้ถูกเขียนลงไว้ในตั๋วแลกเงินนั้นเลย  ผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลังยังมีสิทธิบริบูรณ์ตามตั๋วแลกเงินนั้น  เสมือนว่าไม่มีเงื่อนไขอยู่ในตั๋วแลกเงินนั้นเลย

(4) การสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินระบุชื่อ  ผู้สลักหลังสามารถกระทำได้  ส่งผลให้ผู้รับสลักหลังได้รับโอนตั๋วแลกเงินนั้นในราคาที่หักส่วนลด  เป็นผลให้ได้กำไรจากการซื้อลดตั๋วแลกเงินดังกล่าว  ขณะเดียวกันผู้สลักหลังย่อมได้รับเงินเป็นจำนวนน้อยกว่าราคาหน้าตั๋วแลกเงินนั้น

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  915  ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใดๆก็ดี  จะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้  คือ

(1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  ข้าพเจ้าจะแนะนำให้นายรวยสลักหลังโดยจำกัดความรับผิดไว้เพียงจำนวน  400,000  บาท  (สี่แสนบาทถ้วน)  ตามนัยมาตรา  915(1)  อันเป็นผลให้ธนาคารเพื่อการส่งออกฯได้รับตั๋วแลกเงินนั้นไปทั้งจำนวน  500,000  บาท(ห้าแสนบาทถ้วน)  เพื่อรอเรียกเก็บเงินจากผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  และเมื่อเรียกเก็บเงินได้แล้วก็มีหน้าที่ต้องคืนเงิน  100,000  บาท  ให้แก่นายรวย

สรุป  ข้าพเจ้าจะแนะนำให้นายรวยสลักหลังโดยจำกัดความรับผิดไว้เพียงจำนวน  400,000  บาท

 

ข้อ  3

ก  ตามหลักกฎหมายตั๋วเงินที่ท่านได้ศึกษามานั้น  ผู้ทรงเช็คจะต้องนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คชำระเงินภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใด  และหากไม่ปฏิบัติตามจะมีผลอย่างไร  จงอธิบาย

ข  นายจริงจัง  ได้รับเช็คธนาคารกรุงทอง  จำกัด(มหาชน)  สาขาหัวหมาก  มาจากนายจงใจที่สั่งจ่ายให้เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์ย่านรามคำแหง  ต่อมานายจริงจังได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปยื่นให้ธนาคารกรุงทองฯชำระเงินตามเช็ค  แต่ธนาคารกรุงทองฯปฏิเสธที่จะชำระเงินตามเช็คให้โดยให้เหตุผลว่า  “เงินในบัญชีไม่พอจ่าย”

หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านายจริงจังนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารกรุงทองฯ  ชำระเงินล่วงเลยเวลานับจากวันที่ลงในเช็คไปเป็นเวลาห้าเดือนเศษ  นายจริงจังจะสามารถเรียกให้นายจงใจชำระเงินตามเช็คฯให้แก่นายจริงจังได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คนั้น  มาตรา  990  วรรคแรก  ได้วางหลักให้ผู้ทรงยื่นเช็คแก่ธนาคารภายในระยะเวลาจำกัดดังนี้

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกัน  (จังหวัดเดียวกัน)  กับที่ออกเช็ค  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่น  (เช็คที่มิได้ออกและให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน)  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  3  เดือนนับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

ถ้าผู้ทรงเช็คละเลยเสียไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ย่อมเป็นผลเสียแก่ผู้ทรงดังนี้  คือ

1       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังทั้งปวง  และ

2       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้สั่งจ่าย

และมาตรา  990  วรรคท้าย  ยังได้วางหลักในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะความเสียหายดังกล่าว  ให้ผู้ทรงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายไปไล่เบี้ยเอากับธนาคารนั้นได้

อย่างไรก็ตาม  ผู้ทรงควรยื่นให้ธนาคารจ่ายเงินภายใน  6  เดือนนับแต่วันออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค)  ด้วย  หากยื่นเช็คเกินกว่านั้น  ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้ตามมาตรา  991(2)

ข  อธิบาย

มาตรา  990  วรรคแรก  ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน  คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น  ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน  ถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง  ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย  เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น

วินิจฉัย

กรณีดังกล่าวเป็นเช็คที่ออกในเมืองเดียวกัน  ซึ่งผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันเดือนปีที่ลงในเช็ค  มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลัง  หรือผู้สั่งจ่ายเท่าที่เสียหาย  โดยจากข้อเท็จจริงนั้นปรากฏว่านายจริงจังยื่นเช็คให้ธนาคารกรุงทองฯ  ใช้เงินตามเช็คล่วงเลยเวลามาถึง  5  เดือนเศษ  ซึ่งแม้ว่าธนาคารกรุงทองฯ  จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยให้เหตุผลว่า  “เงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย” ก็ตาม  ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่นายจริงจังทำให้นายจงใจเสียหายแต่ประการใด  ดังนั้นนายจงใจจึงยังต้องรับผิดชอบชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายจริงจัง  (เทียบ ฎ. 1865/2492  ฎ.1162/2515)

สรุป  นายจริงจังสามารถเรียกให้นายจงใจชำระเงินตามเช็คให้แก่นายจริงจังได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

 คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

ก  ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องรับผิดอย่างไรหรือไม่ต่อผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน

ข  บัวขาวเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีเมืองเก่าเป็นผู้จ่าย  บัวแดงเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  และบัวแดงเขียนคำว่า  “ตั๋วแลกเงินใบนี้ไม่จำต้องทำคำคัดค้าน”  ไว้ที่ด้านหน้าของตั๋ว  บัวขาวสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินดังกล่าวให้แก่บัวเหลืองเพื่อชำระราคาสินค้าที่ซื้อจากบัวเหลือง  ครั้นตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงิน  บัวเหลืองได้นำตั๋วแลกเงินไปให้เมืองเก่าผู้จ่ายใช้เงิน  แต่เมืองเก่าปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเมืองเก่าเห็นว่าตนมิได้เป็นลูกหนี้ของบัวแดง  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าใครบ้างที่จะต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดต่อบัวเหลือง  ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมายตั๋วเงิน

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ผู้สั่งจ่าย  (ตั๋วแลกเงินหรือเช็ค)  หมายถึง  บุคคลที่ได้ออกตั๋วแลกเงินและสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า  ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรง (หรือผู้รับเงิน)

ผู้สลักหลัง  หมายถึง  ผู้ทรงคนเดิม  (ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้รับเงินหรือผู้รับสลักหลัง)  ที่ได้ลงลายมือชื่อของตน  (ได้สลักหลัง)  ในตั๋วเงินเมื่อมีการโอนตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อต่อไปให้บุคคลอื่น (ผู้รับสลักหลัง)

โดยหลัก  บุคคลที่จะต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินก็คือ  บุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน  ตามมาตรา  900  วรรคแรก  ที่ว่า  “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

เมื่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเป็นบุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินตามมาตรา  900  จึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน  ในฐานะผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินตามมาตรา  914  ที่ว่า  “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำ ยื่นโดยชอบแล้ว  จะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”  ประกอบกับ  มาตรา  967  วรรคแรก  ที่ว่า  “ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดี  รับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง”

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  937  ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

มาตรา  967  วรรคแรก  ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  บัวแดงได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้เมืองเก่าจ่ายเงินให้แก่บัวขาว  และขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ย่อมเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อและการที่บัวแดงเขียนคำว่า  “ตั๋วแลกเงินใบนี้ไม่จำต้องทำคำคัดค้าน”  ไว้ที่ด้านหน้าของตั๋ว  จึงมีผลทำให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินใบนี้สามารถไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาผู้ต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินได้  โดยไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงินหรือการไม่รับรองของผู้จ่ายก่อนแต่อย่างใด

ต่อมา  บัวขาวสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินดังกล่าวให้แก่บัวเหลืองเพื่อชำระราคาสินค้า  เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงิน  บัวเหลืองได้นำตั๋วแลกเงินไปให้เมืองเก่าผู้จ่ายใช้เงิน  แต่เมืองเก่าปฏิเสธการใช้เงินดังนี้  บัวแดงผู้สั่งจ่ายและบัวขาวผู้สลักหลังซึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงินจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่บัวเหลืองผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามมาตรา  900  วรรคแรก  ประกอบมาตรา  914  และมาตรา  967  วรรคแรก

ส่วนกรณีเมืองเก่าซึ่งเป็นผู้จ่ายนั้น  เมื่อยังมิได้ลงลายมือชื่อรับรองตั๋วแลกเงิน  จึงไม่ต้องรับผิดต่อบัวเหลืองผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน  ตามมาตรา  900  วรรคแรก  และ  937

สรุป  บัวแดงและบัวขาวจะต้องรับผิดต่อบัวเหลือง  ส่วนเมืองเก่าไม่ต้องรับผิดต่อบัวเหลือง

 

ข้อ  2

ก  “ผู้สั่งจ่ายเช็ค”  จะสามารถทำการระบุข้อความว่า  “ห้ามเปลี่ยนมือ”  ลงในเช็คได้หรือไม่  อย่างไร  จงอธิบาย

ข  นายใจกล้าสั่งจ่ายเช็คเป็นจำนวนเงิน  100,000  บาท  ระบุให้ใช้เงินแก่นางสาวใจถึงและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในเช็คออก  พร้อมทั้งเขียนระบุข้อความว่า  “A/C  PAYEE  ONLY”  ลงที่ด้านหลังเช็ค  ชำระหนี้ให้แก่นางสาวใจถึง  ต่อมานางสาวใจถึงทำการส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่นางสาวใจดี  ดังนี้  ถือว่าการที่นางสาวใจถึงมอบเช็คชำระหนี้ให้นางสาวใจดีนั้น  ถือว่าเป็นการโอนเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ผู้สั่งจ่ายเช็คสามารถตั้งข้อจำกัดการโอนเช็คได้  โดยระบุข้อความว่า  “ห้ามเปลี่ยนมือ”  หรือ  “เปลี่ยนมือไม่ได้”  หรือคำอื่นอันได้ความทำนองเช่นเดียวกัน  เช่น  “ห้ามโอน”  หรือ  “ห้ามสลักหลังต่อ”  หรือระบุความว่า  “จ่ายให้นาย  ก  เท่านั้น”  หรือ  “จ่ายเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น  (A/C  PAYEE  ONLY  หรือ  ACCOUNT  PAYEE  ONLY)  ย่อมมีผลเป็นการห้ามเปลี่ยนมือหรือห้ามโอนเช็คนั้นต่อไปตามมาตรา  917  วรรคสอง  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก

และในกรณีดังกล่าวถ้าผู้รับเงิน  (ผู้ทรง)  จะโอนเช็คนั้นต่อไปผู้ทรงจะโอนเช็คนั้นด้วยการสลักหลังและส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรกไม่ได้  แต่จะต้องโอนโดยวิธีการโอนหนี้สามัญทั่วๆไปเท่านั้น  ตาม  ป.พ.พ.  ตามมาตรา  306  คือ  ต้องทำเป็นหนังสือโอนหนี้ตามเช็คนั้นระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนและผู้โอนต้องบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังผู้สั่งจ่าย  (ลูกหนี้)  หรือให้ผู้สั่งจ่าย  (ลูกหนี้)  ให้ความยินยอมด้วยโดยทำเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  899  ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้  ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน  ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่

มาตรา  917  วรรคแรกและวรรคสอง  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า  “เปลี่ยนมือไม่ได้”  ดังนี้ก็ดี  หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  นายใจกล้าสั่งจ่ายเช็คเป็นเงินจำนวน  100,000  บาท  ระบุให้ใช้เงินแก่นางสาวใจถึงและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในเช็คออก  เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คระบุชื่อเฉพาะ  ซึ่งหากผู้สั่งจ่ายจะระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือลงไว้ในเช็ค  จะต้องกระทำลงในด้านหน้าเช็คเท่านั้นตามมาตรา  917  วรรคสอง  และ  989  วรรคแรก

แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า  นายใจกล้าผู้สั่งจ่ายได้ระบุข้อความ  “A/C  PAYEE  ONLY”  ลงในด้านหลังเช็ค  จึงไม่ถือว่าข้อความดังกล่าวมีผลตามกฎหมายแต่อย่างใดตามมาตรา  899  เช็คดังกล่าวยังคงสามารถโอนต่อไปได้ตามวิธีการโอนเช็คระบุชื่อตามปกติ  คือ  สลักหลังและส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรก  แต่จากข้อเท็จจริงนางสาวใจถึงได้โอนเช็คไปโดยเพียงทำการส่งมอบให้แก่นางสาวใจดี  ดังนั้น  การโอนเช็คดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป  การโอนเช็คดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ  3

ก  ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขจำนวนเงิน  และที่มีการปลอมลายมือชื่อคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามมูลหนี้ในตั๋วเงินดังกล่าว  จะก่อให้เกิดผลแก่คู่สัญญาซึ่งเกี่ยวข้องกับตั๋วเงินนั้นอย่างไร  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงิน

ข  เมฆปลอมลายมือชื่อฝนสั่งให้ธนาคารกรุงทองจ่ายเงินจำนวน  50,000  บาท  ให้แก่หมอกพร้อมทั้งได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในเช็คนั้นออกแล้วมอบเช็คนั้นชำระหนี้หมอก  หมอกเป็นหนี้ฟ้าจำนวน  150,000  บาท  จึงได้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คเป็น  150,000  บาท  ทั้งจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือได้อย่างแนบเนียนแล้วสลักหลังเช็คนั้นชำระหนี้ฟ้าซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริต  อีกทั้งมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  แต่ธนาคารกรุงทองได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากเงินในบัญชีของฝนไม่พอจ่าย  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่า  ฟ้าจะบังคับไล่เบี้ยหรือว่ากล่าวเอาความจากเมฆ  ฝน  และหมอกให้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทดังกล่าวได้จำนวนเท่าใดหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ตั๋วเงินปลอม  หมายความถึง  ตั๋วเงินที่ได้ออกมานั้นมีสภาพที่สมบูรณ์  คือ  เป็นตราสารที่มีข้อความหรือรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ครบถ้วน  แต่ต่อมาในภายหลังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางอย่าง  หรือได้มีการปลอมลายมือชื่อของคู่สัญญาคนใดคนหนึ่งในตั๋วเงิน

ตั๋วเงินปลอมนั้นอาจเกิดขึ้นได้  2  กรณี  คือ

1       ตั๋วเงินปลอมที่เกิดจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่สำคัญในตั๋วเงิน  เช่น  จำนวนเงินที่จะใช้  กำหนดเวลาการใช้เงิน  เป็นต้น

2       ตั๋วเงินปลอมที่เกิดจากการลงลายมือชื่อปลอมหรือลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจ

ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขจำนวนเงิน  ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่สำคัญในตั๋วเงินนั้น  จะก่อให้เกิดผลแก่คู่สัญญาซึ่งเกี่ยวข้องกับตั๋วเงินนั้น  คือ

(1) กรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินและการแก้ไขนั้นเห็นได้ประจักษ์  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไปทั้งฉบับสำหรับคู่สัญญาซึ่งมิได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  แต่ยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้แก้ไข  ผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไข  และผู้ยินยอมด้วยในการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทนั้น (มาตรา  1007  วรรคแรกและวรรคสาม)

(2) กรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินและการแก้ไขนั้นเห็นไม่ประจักษ์  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นยังคงใช้ได้ทั้งฉบับเสมือนมิได้มีการแก้ไขเลย  ผู้ทรงซึ่งชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิที่จะบังคับเอากับผู้แก้ไขและผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขได้ตามจำนวนที่แก้ไข  หากไม่เพียงพอก็ยังมีสิทธิบังคับเอากับคู่สัญญาก่อนการแก้ไขได้ตามเนื้อความเดิมก่อนการแก้ไข  (มาตรา  1007วรรคสองและวรรคสาม)

ตั๋วเงินที่มีการปลอมลายมือชื่อคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามมูลหนี้ในตั๋วเงิน  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไปทั้งฉบับสำหรับคู่สัญญาซึ่งถูกปลอม  อีกทั้งเป็นผลให้ผู้ทรงจะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้  และผู้ใช้เงินจะอ้างตนให้หลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอมมิได้  อีกทั้งผู้ทรงจะบังคับไล่เบี้ยผ่านลายมือชื่อปลอมนั้นมิได้  (มาตรา  1008  วรรคแรก)

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม  แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใดๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

มาตรา  1008  วรรคแรก  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้  เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี  เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี  ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้  ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี  หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี  ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด  เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม  หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  เมฆปลอมลายมือชื่อฝนสั่งให้ธนาคารกรุงทองจ่ายเงินจำนวน  50,000  บาท  ต่อมาหมอกได้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คเป็น  150,000  บาท  แล้วสลักหลังเช็คนั้นชำระหนี้ฟ้า  เมื่อฟ้าได้รับโอนไว้โดยสุจริต  อีกทั้งมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ฟ้าจึงเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย  เพราะถึงแม้เช็คพิพาทดังกล่าวจะมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม  แต่เช็คดังกล่าวคงเสียไปเฉพาะผู้สั่งจ่ายตามนัยมาตรา  1008  วรรคแรก

เมื่อปรากฏตามข้อเท็จจริงว่า  หมอกได้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คทั้งจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือได้อย่างแนบเนียน  ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นเห็นไม่ประจักษ์  ดังนั้นเมื่อธนาคารกรุงทองปฏิเสธการจ่ายเงิน  ฟ้าซึ่งเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย  ย่อมมีสิทธิบังคับไล่เบี้ยหมอกผู้แก้ไขจำนวนเงินและเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้จำนวน  150,000  บาท  หากไม่พอ  ฟ้าก็ยังมีสิทธิไล่เบี้ยเมฆผู้สั่งจ่ายให้รับผิดตามเนื้อความเดิม  คือจำนวน  50,000  บาท  ได้ตามมาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม

ส่วนกรณีของฝนนั้น  ฟ้าไม่มีสิทธิบังคับไล่เบี้ยฝน  เนื่องจากฝนมิได้ลงลายมือชื่อ  อีกทั้งเช็คนั้นได้เสียไปแล้วสำหรับฝนตามนัยมาตรา  1008  วรรคแรก

สรุป  ฟ้าสามารถจะบังคับไล่เบี้ยหมอกและเมฆให้รับผิดตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทได้  โดยสามารถไล่เบี้ยหมอกได้  150,000  บาท  และไล่เบี้ยเมฆได้  50,000  บาท  แต่ฟ้าไม่มีสิทธิบังคับไล่เบี้ยฝน

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

(ก)  ผู้ทรงเช็คถ้าต้องการโอนเช็คชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ของตนนั้นต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน

(ข)  บัวขาวเป็นผู้รับเงินตามเช็คของธนาคารศรีทองที่มีบัวแดงเป็นผู้สั่งจ่าย  และได้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ออก  บัวขาวสลักหลังระบุชื่อบัวทองเป็นผู้รับประโยชน์และส่งมอบเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก่บัวทอง  ต่อมาบัวทองสลักหลังลอยและส่งมอบชำระหนี้ให้กับบัวหลวง  บัวหลวงสลักหลังระบุชื่อบัวผันเป็นผู้รับประโยชน์  และส่งมอบตั๋วชำระหนี้ให้กับบัวผัน  บัวผันส่งมอบตั๋วเพื่อชำระหนี้ให้กับบัวเผื่อน  ครั้นเมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค  บัวเผื่อนได้นำเช็คไปให้ธนาคารศรีทองจ่ายเงิน  แต่ธนาคารศรีทองปฏิเสธการจ่ายเงิน  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่าการโอนเช็คฉบับนี้จากบัวขาวถึงบัวเผื่อนได้ทำถูกต้องตามกฎหมายตั๋วเงินหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก)   อธิบาย

ในกรณีที่ผู้ทรงเช็คต้องการโอนเช็คชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ของตนนั้น  การโอนจะถูกต้องตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน  ต้องปฏิบัติดังนี้  คือ

1       ถ้าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ  แยกพิจารณาได้  2  กรณี  คือ

1)    ถ้าผู้ทรงเช็ค  เป็นผู้ที่ได้รับเช็คมาจากผู้สั่งจ่าย  ดังนี้  การโอนเช็คนั้น  ผู้ทรงเช็คจะต้องทำการสลักหลังและส่งมอบเช็คนั้นให้เจ้าหนี้ของตน  ซึ่งการสลักหลังนั้นอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้  ตามมาตรา  917  วรรคแรก  919  และ  989

การสลักหลัง  คือ  การที่ผู้โอนหรือผู้สลักหลังได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนในเช็คนั้น  (หรือในใบประจำต่อ)  ซึ่งเรียกว่าเป็นการสลักหลังเฉพาะ  โดยจะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเช็คก็ได้  หรืออาจจะลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังเช็คโดยไม่ระบุชื่อของเจ้าหนี้ผู้รับสลักหลัง  ซึ่งเรียกว่าเป็นการสลักหลังลอยก็ได้

2)    ถ้าผู้ทรงเช็คเป็นผู้ที่ได้รับเช็คมาจากการสลักหลังของผู้ทรงคนก่อน

(1) ถ้าผู้ทรงเช็คได้รับเช็คมาจากการสลักหลังเฉพาะ  (การสลักหลังระบุชื่อ)  ถ้าผู้ทรงเช็คจะโอนเช็คให้กับเจ้าหนี้ของตน  ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ  1)  คือ  ต้องทำการสลักหลังและส่งมอบเช็คให้กับเจ้าหนี้ของตน  โดยอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้

(2) ถ้าผู้ทรงเช็คได้รับเช็คมาจากการสลักหลังลอย  ถ้าผู้ทรงเช็คจะโอนเช็คให้กับเจ้าหนี้ของตน  ผู้ทรงเช็คสามารถที่จะโอนเช็คต่อไปโดยการสลักหลังและส่งมอบเช็คนั้น  หรืออาจจะโอนเช็คต่อไปโดยการส่งมอบเช็คนั้นให้กับเจ้าหนี้ของตนโดยไม่ต้องสลักหลังใดๆก็ได้  ตามมาตรา  920  วรรคสอง  (2)(3)  และ  989

2       ถ้าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ  กรณีนี้ไม่ว่าผู้ทรงเช็คจะเป็นผู้ที่ได้รับเช็คมาจากผู้สั่งจ่ายหรือจะได้รับเช็คนั้นมาเพราะผู้อื่นโอนให้  ดังนี้ถ้าจะโอนเช็คนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้โดยการส่งมอบเช็คนั้นให้แก่เจ้าหนี้ของตน  โดยไม่ต้องสลักหลังใดๆทั้งสิ้น  ตามมาตรา  918  และ  989

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  917  วรรคแรก  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา  919  คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วยหรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจำต่อ  ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน  การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า  สลักหลังลอย

มาตรา  920  วรรคสอง  ถ้าสลักหลังลอย  ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้  คือ

(2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย  หรือสลักหลังให้แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง

(3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง  และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา …  914  ถึง  923

วินิจฉัย

เมื่อเช็คที่บัวแดงออกให้แก่บัวขาว  เป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ  เพราะมีการขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ออก  ดังนั้นเมื่อบัวขาวได้โอนให้แก่บัวทองโดยการสลักหลังและส่งมอบ  การโอนเช็คดังกล่าวจึงถูกต้องตามกฎหมาย  ตามมาตรา  917  วรรคแรก  และ  989  วรรคแรก

การที่บัวทองได้สลักหลังลอยและส่งมอบเช็คให้แก่บัวหลวง  การโอนเช็คถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย  ตามมาตรา  917  วรรคแรก  919 และ  989  วรรคแรก

การที่บัวหลวงได้สลักหลังระบุชื่อบัวผัน  และส่งมอบเช็คให้แก่บัวผัน  การโอนเช็คถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย  ตามมาตรา  917 วรรคแรก  920  วรรคสอง (2)  และ 989  วรรคสอง

แต่การที่บัวผันได้รับการโอนเช็คจากบัวหลวงโดยการสลักหลังระบุชื่อ  แล้วนำไปโอนโดยการส่งมอบเช็คให้กับบัวเผื่อนโดยไม่มีการสลักหลังนั้น  การโอนระหว่างบัวผันกับบัวเผื่อนถือว่าเป็นการโอนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  เพราะบัวผันไม่ใช่ผู้ทรงที่ได้รับตั๋วมาโดยการสลักหลังลอย  จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนตั๋วเงินต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการสลักหลังตามมาตรา  920  วรรคสอง  (3)  และ 989  วรรคแรก  ดังนั้น  ตามกฎหมายถ้าบัวผันจะโอนเช็คให้กับบัวเผื่อน  บัวผันต้องสลักหลังและส่งมอบเช็คให้แก่บัวเผื่อนการโอนจึงจะถูกต้อง

สรุป  การโอนเช็คฉบับนี้  จากบัวขาวถึงบัวผันได้ทำถูกต้องตามกฎหมาย  แต่การโอนเช็คระหว่างบัวผันกับบัวเผื่อนเป็นการทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 

 

ข้อ  2 

(ก)  วิธีการอาวัลเช็คนั้นต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

(ข)  บางเขนเป็นผู้รับเงินตามเช็คที่ธนาคารบางบัวทองเป็นผู้จ่าย  มีบางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ออกแล้ว  บางเขนจะสลักหลังและส่งมอบเช็คดังกล่าวให้แก่หลักสี่เพื่อชำระราคาสินค้าที่ซื้อจากหลักสี่  แต่หลักสี่ให้บางเขนนำเช็คไปให้บางซื่อรับอาวัลก่อน  บางเขนจึงเอาเช็คไปให้บางซื่อลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็ค  หลักสี่จึงยอมรับชำระหนี้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวจากบางเขน  ครั้นเช็คถึงกำหนดหลักสี่ได้นำเช็คไปให้ธนาคารบางบัวทองใช้เงิน  แต่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเงินในบัญชีของบางขวางผู้สั่งจ่ายมีไม่พอจ่าย  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่าหลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องบางซื่อให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเช็คฉบับดังกล่าวได้หรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

(ก)  อธิบาย

วิธีการอาวัลหรือรับอาวัลเช็คนั้น  มีวิธีการเช่นเดียวกับการอาวัลตั๋วแลกเงิน  กล่าวคือ  จะต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้  คือ

1       บุคคลที่จะเข้ามารับอาวัลคู่สัญญาในตั๋วเงิน  ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลภายนอกหรืออาจจะเป็นคู่สัญญาเดิมในตั๋วเงินนั้น  ตามมาตรา  938  จะต้องเขียนข้อความว่า  ใช้ได้เป็นอาวัล  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายเดียวกัน  เช่น  รับประกัน  หรือ  ค้ำประกัน  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลไว้ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วเงิน  หรือในใบประจำต่อ  ทั้งนี้ต้องระบุไว้ด้วยว่ารับอาวัลให้แก่ผู้ใด  หากไม่ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นการรับอาวัลแก่ผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  939  วรรคแรก  วรรคสอง และวรรคสี่ หรือ

2       เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วเงินนั้น  กฎหมายก็ให้ถือว่าเป็นการรับอาวัลแล้ว  เป็นการรับอาวัลผู้สั่งจ่าย  เว้นแต่กรณีที่เป็นผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายเท่านั้นที่จะลงแต่ลายมือชื่อเพียงอย่างเดียวไม่ได้  ถ้าจะเข้ารับอาวัลผู้ใดจะต้องเขียนข้อความ  และลงลายมือชื่อของตนตามวิธีที่  1  เสมอ  ตามมาตรา  939  วรรคสาม

และเมื่อมีการรับอาวัลตามแบบวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  ย่อมมีผลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน  ตามมาตรา  940  วรรคแรก

อนึ่ง  ในกรณีที่มีการสลักหลังตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ  กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  และต้องรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  921  และ  940  วรรคแรก

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  939  วรรคสาม  อนึ่ง  เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน  ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว  เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สลักหลัง

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา …  914 ถึง  923 , 938  ถึง  940

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย  ในกรณีที่มีการรับอาวัลผู้เป็นคู่สัญญาตามเช็ค  ผู้รับอาวัลจะต้องเขียนข้อความว่า  ใช้ได้เป็นอาวัล  หรือข้อความอื่นที่มีความหมายเดียวกัน  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลไว้ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังเช็ค  หรือผู้รับอาวัลอาจจะลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหน้าของเช็คก็ได้  ตามมาตรา  939  ประกอบกับมาตรา  989  วรรคแรก

กรณีตามอุทาหรณ์  เช็คที่บางขวางออกให้แก่บางเขนนั้นเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ  เมื่อบางเขนนำเช็คไปให้บางซื่อรับอาวัล  กรณีที่จะถือว่าบางซื่อได้เข้ามารับอาวัลเช็คฉบับนี้แล้ว  บางซื่อจะต้องปฏิบัติตามวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา  939  ดังกล่าวข้างต้น  แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า  บางซื่อได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังเช็คโดยมิได้เขียนข้อความว่า  ใช้ได้เป็นอาวัลหรือข้อความอื่นที่มีความหมายเดียวกัน  จึงไม่ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้รับอาวัลเช็คแต่อย่างใด

ดังนั้น  แม้ว่าบางซื่อจะต้องรับผิดตามเช็คเพราะได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็ค  แต่หลักสี่จะฟ้องให้บางซื่อรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลไม่ได้

สรุป  หลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องให้บางซื่อรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลไม่ได้

 

ข้อ  3 

(ก)  ข้อความที่สำคัญในตั๋วเงินถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดผลอย่างไรกับตั๋วเงิน  และคู่สัญญาทั้งหลายบ้าง

(ข)   ข้อเท็จจริงได้ความว่ายอดทองผู้สั่งจ่ายเช็ค  สั่งธนาคารอันดาให้ใช้เงินจำนวน  500,000  บาท  ให้แก่เกาเหลาและได้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ออก  เป็นเช็คลงวันที่  10  กันยายน  2552  ต่อมาเกาเหลาสลักหลังและส่งมอบเช็คใบนั้นชำระหนี้ให้แก่ทาริน  ทารินนำเช็คนั้นสลักหลังและส่งมอบชำระหนี้ทองทา  ต่อมาทองทาแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินในเช็คเป็น  5,000,000  บาท  และลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข  จากนั้นนำเช็คไปสลักหลังและส่งมอบเพื่อชำระหนี้ให้แก่มาวิน  เมื่อถึงวันที่  10  กันยายน  2552  มาวินนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอันดา  และธนาคารได้จ่ายเงินให้กับมาวินไป  5,000,000  บาท

ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่า  ธนาคารอันดาจะหักเงินในบัญชีของยอดทอง  จำนวน  5,000,000  บาท  ได้หรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

(ก)  อธิบาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  1007

ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงิน  เช่น  แก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆแก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงินไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย  ตามมาตรา 1007  วรรคสาม  จะเกิดผลกับตั๋วเงินและคู่สัญญาทั้งหลายตามตั๋วเงิน  ดังนี้  คือ

1       กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นได้ประจักษ์  กล่าวคือ  การแก้ไขนั้นมีการแก้ไขไม่แนบเนียนหรือเห็นได้ประจักษ์นั่นเอง  โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป  แต่ยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  และหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  ตามมาตรา  1007  วรรคแรก

2       กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นไม่ประจักษ์  กล่าวคือ  การแก้ไขนั้นมีการแก้ไขได้อย่างแนบเนียน  หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์ถือว่าตั๋วเงินนั้นไม่เสียไป  และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะถือเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้น   เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วนั้นก็ได้  ตามมาตรา  1007  วรรคสอง

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  1007  วรรคแรกและวรรคสาม  ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด  หรือในคำรับรองตั๋วเงินใด  มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย  เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใดๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

วินิจฉัย

ตาม  ป.พ.พ. มาตรา  1007  วรรคแรกและวรรคสามนั้น  ถ้าตั๋วเงินใดมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้ตามตั๋วเงินนั้น  ถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในข้อสำคัญ  และถ้าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นผู้เป็นคู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคน  ถ้าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเห็นได้ประจักษ์  ให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไปใช้บังคับกันไม่ได้

ตามอุทาหรณ์  การที่ยอดทองผู้สั่งจ่ายเช็ค  สั่งให้ธนาคารอันดาจ่ายเงิน  500,000  บาท  ให้แก่เกาเหลา  แล้วต่อมาทองทาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินในเช็คเป็น   5,000,000  บาท  และลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขไว้  ดังนี้ถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในข้อสำคัญตามมาตรา  1007  วรรคสาม  และเมื่อเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ประจักษ์  คือ  เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการแก้ไข ย่อมมีผลตามมาตรา  1007  วรรคแรก  คือให้ถือว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นอันเสียไปใช้บังคับไม่ได้  เมื่อมาวินนำเช็คไปยื่นเบิกเงินจากธนาคารอันดา  และธนาคารอันดาได้จ่ายเงินให้มาวินไป  5,000,000  บาท  ย่อมถือได้ว่าธนาคารอันดาได้จ่ายเงินตามเช็คไปโดยไม่สุจริตหรือโดยประมาทเลินเล่อ  ดังนั้นธนาคารอันดาจะหักเงินในบัญชีของยอดทองไม่ได้

สรุป  ธนาคารอันดาจะหักเงินในบัญชีของยอดทองไม่ได้ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

(ก)   ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินจะต้องรับผิดอย่างไรหรือไม่ต่อผู้ทรงตั๋วแลกเงิน 

(ข)  บางเขนเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีบางบัวทองเป็นผู้จ่าย  บางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออกแล้ว  บางเขนจะสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินดังกล่าวเพื่อชำระราคาสินค้าที่ซื้อจากหลักสี่  แต่หลักสี่ให้บางเขนนำตั๋วแลกเงินไปให้บางขวางรับรองก่อน  บางเขนจึงเอาตั๋วแลกเงินไปให้บางขวางเขียนข้อความว่า  “รับรองว่าเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินฉบับนี้จริง”  และลงลายมือชื่อไว้ด้านหน้าของตั๋วแลกเงิน  หลักสี่จึงยอมรับชำระหนี้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวจากบางเขน  ครั้นตั๋วแลกเงินถึงกำหนดหลักสี่ได้นำตั๋วแลกเงินไปให้บางบัวทองใช้เงิน  แต่บางบังทองปฏิเสธการใช้เงิน  เนื่องจากเห็นว่าตนมิได้เป็นหนี้บางขวางผู้สั่งจ่ายอีกแล้ว  อนึ่งหลักสี่ได้ทำคำคัดค้านไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าหลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องไล่เบี้ยบางขวางให้รับผิดตามตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้หรือไม่ในฐานะใด

ธงคำตอบ

(ก)     หลักกฎหมาย   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา   900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

อธิบาย

จากหลักกฎหมายดังกล่าว  จะเห็นได้ว่า  ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงตั๋วแลกเงิน  ก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา  900 วรรคแรก  ประกอบกับมาตรา  914  ดังนี้คือ

1       ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วแลกเงินในฐานะผู้สั่งจ่าย  ซึ่งในการลงลายมือชื่อนั้น  ผู้สั่งจ่ายอาจจะเขียนชื่อของตนโดยเขียนชื่อตัวและชื่อสกุลหรืออาจจะเขียนเฉพาะชื่อตัวก็ได้  หรืออาจจะเป็นการลงลายเซ็นก็ได้  แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นการลงลายมือชื่อไว้จริงๆเท่านั้น  จะใช้เครื่องหมายอื่นๆหรือลายพิมพ์นิ้วมือลงไว้แทนการลงลายมือชื่อไม่ได้  และ

2       เมื่อผู้ทรงตั๋วแลกเงินได้นำตั๋วนั้นไปยื่นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  แต่ผู้จ่ายไม่ยอมรับรองหรือไม่ยอมจ่ายเงินแล้วแต่กรณี  ดังนี้ผู้สั่งจ่ายจะต้องรับผิดโดยการใช้เงินให้แก่ผู้ทรง  เมื่อผู้ทรงได้ทำถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด  คือได้ทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

ดังนั้น  ถ้าขาดหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง  เช่น  ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วแลกเงิน  หรืออาจจะลงลายมือชื่อไว้  แต่เมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกำหนดใช้เงินผู้จ่ายได้จ่ายเงินแก่ผู้ทรง  ดังนี้  ผู้สั่งจ่ายก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ทรงตั๋วแลกเงิน

(ข)    หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา   900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  927  อันตั๋วแลกเงินนั้น  จะนำไปยื่นแก่ผู้จ่าย  ณ  ที่อยู่ของผู้จ่าย  เพื่อให้รับรองเมื่อไรๆก็ได้

มาตรา  931  การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำสำนวนว่า  “รับรองแล้ว”  หรือความอย่างอื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น  และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย  อนึ่งแต่เพียงลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้ว

วินิจฉัย

ตามมาตรา  927  ประกอบมาตรา  931  จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้นถ้าจะนำไปให้เขารับรองว่าเมื่อถึงกำหนดจะมีการจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น  จะต้องนำไปให้ผู้จ่ายรับรองเท่านั้น  ถ้านำไปให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้จ่ายทำการรับรอง  ผู้ที่ทำการรับรองก็มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้รับรองแต่อย่างใด

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่บางเขนซึ่งเป็นผู้รับเงินได้นำตั๋วแลกเงินไปยื่นให้บางขวางรับรอง  เมื่อบางขวางไม่ได้เป็นผู้จ่าย  แต่เป็นผู้สั่งจ่าย  ได้ทำการรับรองโดยเขียนข้อความว่า  “รับรองว่าเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินฉบับนี้จริง”  การกระทำของบางขวางไม่ถือว่าเป็นการรับรองตั๋วแลกเงิน  บางขวางจึงไม่อยู่ในฐานะผู้รับรองแต่อย่างใด

ดังนั้น  เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนด  บางบัวทองซึ่งเป็นผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน  ดังนี้  หลักสี่ซึ่งเป็นผู้ทรงย่อมสามารถฟ้องให้บางขวางรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายได้  ตามมาตรา  900  ประกอบมาตรา  914  แต่จะฟ้องบางขวางให้รับผิดในฐานะผู้รับรองไม่ได้

สรุป  หลักสี่ผู้ทรงสามารถฟ้องไล่เบี้ยบางขวางให้รับผิดตามตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้ในฐานะผู้สั่งจ่าย 

 

ข้อ  2 

(ก)   ให้นักศึกษาอธิบายถึงหลักเกณฑ์ของการเป็น  “ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย”  มาให้เข้าใจ

(ข)  นายดินออกตั๋วแลกเงินสั่งให้นายไฟจ่ายเงินให้แก่ลมเป็นตั๋วแบบระบุชื่อ  ต่อมานายลมนำตั๋วฯนั้นไปสลักหลังลอยชำระหนี้ให้แก่นางสาวฝน  ต่อมานางสาวฝนก็ได้ส่งมอบตั๋วฯนั้นชำระหนี้ให้แก่นางสาวน้ำ  หลังจากนั้นนางสาวน้ำเกิดความสงสัยว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในตั๋วฯนี้โดยชอบหรือไม่  จึงมาปรึกษานางสาวฟ้า  ซึ่งนางสาวฟ้าบอกกับนางสาวน้ำมิใช่ผู้มีสิทธิในตั๋วฯนี้  เนื่องจากมีการโอนตั๋วฯมาโดยไม่ถูกต้อง

ดังนี้  คำแนะนำของนางสาวฟ้าที่ให้กับนางสาวน้ำนั้นถูกต้องหรือไม่  เพราะเหตุใด 

ธงคำตอบ

(ก)     หลักกฎหมาย   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  904  อันผู้ทรงนั้น  หมายความว่า  บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ  ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา  905  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม  ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก  ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น  เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง  ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น  หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่  เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้  ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย

อธิบาย

จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น  ทำให้สามารถสรุปหลักเกณฑ์ของการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย  ดังนี้คือ

1        เป็นผู้มีตั๋วเงินไว้ในความครอบครอง (ยึดถือด้วยเจตนายึดถือเพื่อตน)

2        ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  สำหรับตั๋วเงินที่ระบุชื่อหรือเป็นผู้ถือ  สำหรับตั๋วเงินชนิดที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

3        ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย  (ผู้ทรงโดยสุจริต)  และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

4        ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นมาโดยการสลักหลังไม่ขาดสาย

อนึ่ง  การสลักหลังไม่ขาดสาย  หมายถึง  การสลักหลังตั๋วเงินโดยโอนรับช่วงติดต่อกันมาตามลำดับจนถึงมือของผู้ทรงคนปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน

(ข)    หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  904  อันผู้ทรงนั้น  หมายความว่า  บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ  ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา  905  วรรคแรก ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม  ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก  ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น  เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย  อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

มาตรา  917  วรรคแรก  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา  919  วรรคสอง  การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วยหรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจำต่อ  ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน  การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า  สลักหลังลอย

มาตรา  920  วรรคสอง  ถ้าสลักหลังลอย  ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้  คือ

(3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง  และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  เมื่อตั๋วแลกเงินที่นายดินออกให้แก่นายลมเป็นตั๋วแบบระบุชื่อ  ดังนั้น  ถ้านายลมจะโอนตั๋วฉบับนี้ต่อให้แก่นางสาวฝน นายลมก็จะต้องโอนให้แก่นางสาวฝนโดยการสลักหลัง  และส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรก  และการสลักหลังนั้นอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะ  หรือสลักหลังลอยก็ได้  (มาตรา  919  วรรคสอง) 

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า  นายลมได้โอนตั๋วฉบับนี้ให้แก่นางสาวฝนโดยการสลักหลังลอย  ดังนั้นเมื่อนางสาวฝนต้องการโอนตั๋วฉบับนี้ต่อไปให้แก่นางสาวน้ำ  นางสาวฝนก็สามารถโอนตั๋วต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรก  หรืออาจจะโอนตั๋วต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่สลักหลังใดๆก็ได้  ตามมาตรา  920  วรรคสอง(3)  และเมื่อปรากฏว่านางสาวฝนได้โอนตั๋วฉบับนี้ให้แก่นางสาวน้ำโดยการส่งมอบ  จึงถือว่านางสาวน้ำได้รับโอนตั๋วมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย  โดยถือว่านางสาวน้ำได้รับโอนตั๋วมาจากการสลักหลังลอยของนายลม  การสลักหลังโอนตั๋วฉบับนี้จึงไม่ขาดสาย  นางสาวน้ำซึ่งครอบครองตั๋วอยู่จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา  904  และมาตรา  905  วรรคแรก  และย่อมมีสิทธิในตั๋วฉบับดังกล่าวโดยชอบ  ดังนั้นคำแนะนำของนางสาวฟ้าที่ว่านางสาวน้ำมิใช่ผู้มีสิทธิในตั๋วเนื่องจากมีการโอนมาโดยไม่ถูกต้องนั้น  จึงเป็นคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง

สรุป  คำแนะนำของนางสาวฟ้าที่ให้กับนางสาวน้ำนั้นไม่ถูกต้อง

 

ข้อ  3 

(ก)   กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงิน  ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การใช้เงินตามเช็คขีดคร่อมสำหรับธนาคารผู้จ่ายเงิน  รวมทั้งผลของการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การใช้เงินตามเช็คขีดคร่อมสำหรับธนาคารผู้จ่ายเงินไว้อย่างไร

(ข)  โทได้รับเช็คพิพาทขีดคร่อมทั่วไปจากการขายสินค้าให้เอกซึ่งได้ระบุสั่งให้ธนาคารสินไทยจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ  โทได้ถ่ายสำเนาเช็คพิพาทนั้นไว้ก่อนที่ต้นฉบับเช็คนั้นได้หายไป  จึงได้รีบโทรศัพท์แจ้งให้ธนาคารสินไทยทราบ  แต่ปรากฏว่ามีผู้นำเช็คพิพาทนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารสินไทยไปก่อนแล้ว  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าเอกและธนาคารสินไทยยังคงต้องรับผิดตามมูลหนี้เดิม  และหรือมูลหนี้ตามเช็คพิพาทที่มีต่อโทหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก)    อธิบาย

1       หลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามเช็คขีดคร่อมสำหรับธนาคารผู้จ่าย  (Paying  Bank

–          กรณีเช็คขีดคร่อมทั่วไป  ธนาคารผู้จ่ายต้องใช้เงินแก่ธนาคารใดธนาคารหนึ่งของผู้ทรงเช็ค  หากมีการนำเช็คนั้นให้ธนาคารอื่นเรียกเก็บ  (Collecting  Bank)  หรือจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็ค  จะจ่ายเป็นเงินสดมิได้ (มาตรา  994  วรรคแรก)

–          กรณีเช็คขีดคร่อมเฉพาะ  ธนาคารผู้จ่ายต้องใช้เงินให้แก่ธนาคารที่ระบุชื่อไว้โดยเฉพาะจะจ่ายให้ธนาคารอื่นมิได้  และจะจ่ายเป็นเงินสดมิได้  (มาตรา  994  วรรคสอง)

–          กรณีเช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารกว่าธนาคารหนึ่งขึ้นไป  ธนาคารผู้จ่ายต้องปฏิเสธการจ่ายเงิน  เว้นแต่อีกธนาคารหนึ่งนั้นมีฐานะเป็นธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินแทน  ดังนี้  ธนาคารผู้จ่ายก็สามารถจ่ายให้แก่ธนาคารตัวแทนนั้นได้  แต่จะจ่ายให้แก่ธนาคารอื่นมิได้  (มาตรา  995(4)  ประกอบมาตรา  997  วรรคแรก)

อนึ่ง  ธนาคารผู้จ่ายหากได้จ่ายเงินไปภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นไปโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อ  ทั้งได้จ่ายเงินไปตามทางการค้าปกติ  (ในระหว่างวันและเวลาที่เปิดทำการตามนัยมาตรา  1009)  กรณีย่อมเป็นผลให้ธนาคารผู้จ่ายไม่ต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น  (ปกติได้แก่ผู้ทรงเดิม)  และชอบที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้สั่งจ่ายนั้นได้  (มาตรา  998)

2       ผลของการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การใช้เงินตามเช็คขีดคร่อม

–          กรณีเช็คขีดคร่อมทั่วไป  ธนาคารผู้จ่ายได้ใช้เงินสดให้แก่ผู้ทรงเช็คก็ดี  หรือจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารอื่นที่ผู้ทรงเช็คมิได้มีบัญชีเงินฝากก็ดี

–          กรณีเช็คขีดคร่อมเฉพาะ  ธนาคารผู้จ่ายได้ใช้เงินสดหรือจ่ายเงินสดหรือจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารอื่นที่มิได้ถูกระบุชื่อลงไว้โดยเฉพาะก็ดี

–          กรณีเช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารกว่าธนาคารหนึ่งขึ้นไป  ธนาคารผู้จ่ายไม่ปฏิเสธการจ่ายเงิน  หรือจ่ายเงินให้แก่ธนาคารอื่นที่มิใช่อยู่ในฐานะเป็นธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินก็ดี

ผล  ธนาคารผู้จ่ายต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คขีดคร่อมนั้น  (ผู้ทรงเดิม)  ในการที่น่าต้องเสียหาย  (มาตรา  997  วรรคสอง)  และไม่สามารถหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้สั่งจ่ายได้  เพราะถือว่าใช้เงินไปโดยไม่ถูกระเบียบ  แม้ถึงว่าจะใช้เงินไปตามทางการค้าโดยปกติ  โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อก็ตาม  (มาตรา  1009)

(ข)   หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  998  ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คขีดคร่อมเบิกเงินใช้เงินไปตามเช็คนั้นโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ  กล่าวคือว่าถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ใช้เงินให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่ง  ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะก็ใช้ให้แก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้เฉพาะ  หรือใช้ให้แก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นไซร้  ท่านว่าธนาคารซึ่งใช้เงินไปตามเช็คนั้นฝ่ายหนึ่ง  กับถ้าเช็คตกไปถึงมือผู้รับเงินแล้ว  ผู้สั่งจ่ายอีกฝ่ายหนึ่งต่างมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน  และเข้าอยู่ในฐานะอันเดียวกันเสมือนดั่งว่าเช็คนั้นได้ใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแล้ว

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  เมื่อมีผู้นำเช็คพิพาทฉบับนั้น  ซึ่งเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป  และเป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารสินไทย  และเมื่อธนาคารสินไทยผู้จ่ายได้จ่ายเงินตามเช็คขีดคร่อมนั้นไปโดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่อ  เป็นผลให้เงินในบัญชีของเอกผู้สั่งจ่ายได้ถูกหักทอนไปเข้าบัญชีลูกค้าแล้ว  ดังนี้ตามมาตรา  998  ได้บัญญัติให้เอกผู้สั่งจ่าย  และธนาคารสินไทยผู้จ่ายต่างมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน  และเข้าอยู่ในฐานะอันเดียวกัน  เสมือนดังว่าเช็คนั้นได้ใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแล้ว  ดังนั้นทั้งเอกและธนาคารสินไทยจึงไม่ต้องรับผิดตามมูลหนี้เดิม  และหรือมูลหนี้ตามเช็คพิพาทที่มีต่อโทแต่อย่างใด

สรุป  เอกและธนาคารสินไทยไม่ต้องรับผิดตามมูลหนี้เดิม  และหรือมูลหนี้ตามเช็คพิพาทที่มีต่อโท

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1 

(ก)    การรับรองนั้นต้องทำอย่างไร  จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

(ข)   บางเขนเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีบางบัวทองเป็นผู้จ่าย  บางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  บางเชนจะสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้หลักสี่  แต่หลักสี่ให้บางเขนนำตั๋วไปให้บางบัวทองรับรอง  บางเขนจึงเอาตั๋วไปให้บางบัวทองเขียนข้อความว่า  “รับรองแล้ว”  และลงลายมือชื่อของบางบัวทองไว้ด้านหลังของตั๋ว  หลักสี่จึงยอมรับชำระหนี้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วจากบางเขน  เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงินหลักสี่ได้นำตั๋วไปให้บางบัวทองใช้เงิน  แต่บางบัวทองปฏิเสธการใช้เงิน  อนึ่งหลักสี่ได้ทำคำคัดค้านไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่า  หลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในฐานะผู้รับรองตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้หรือไม่

ธงคำตอบ

(ก)   หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  931  การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำสำนวนว่า  “รับรองแล้ว”  หรือความอย่างอื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น  และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย  อนึ่งแต่เพียงลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน  ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้ว

อธิบาย   ตาม ป.พ.พ.  มาตรา  931  ได้กำหนดวิธีการรับรองตั๋วแลกเงินไว้ว่า  ผู้จ่ายอาจจะทำการรับรองตั๋วแลกเงินได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง  ดังนี้  คือ

1       ผู้จ่ายเขียนคำว่า  “รับรองแล้ว”  หรือข้อความอื่นซึ่งมีความหมายเดียวกันเช่นคำว่า  “รับรองจะใช้เงิน”  หรือ  “ยินยอมจะใช้เงิน”  เป็นต้น  พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของผู้จ่ายไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วแลกเงินนั้น  หรือ

2       ผู้จ่ายเพียงแต่ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วแลกเงิน  โดยไม่ต้องเขียนข้อความอย่างใดไว้ก็ได้

(ข)   หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  931  การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำสำนวนว่า  “รับรองแล้ว”  หรือความอย่างอื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น  และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย  อนึ่งแต่เพียงลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน  ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้ว

มาตรา  937  ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

วินิจฉัย

ตาม  ป.พ.พ.  มาตรา  931  และมาตรา  937  จะเห็นได้ว่า  ผู้จ่ายจะต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะผู้รับรองก็ต่อเมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินนั้นแล้ว  โดยการลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้น  โดยจะเขียนข้อความว่า  “รับรองแล้ว”  หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

แต่ถ้าผู้จ่ายได้ทำการลงลายมือชื่อรับรองตั๋วแลกเงิน  แต่ได้กระทำไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงิน  ถือว่าเป็นการรับรองที่ผิดแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนด  ดังนั้นการกระทำของผู้จ่ายไม่ถือว่าเป็นการรับรองหรือถือว่าคำรับรองนั้นไม่มีผลนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่บางเขนเอาตั๋วแลกเงินไปให้บางบัวทองรับรอง  และบางบัวทองได้เขียนข้อความว่า  “รับรองแล้ว”  และลงลายมือชื่อของบางบัวทองไว้ที่ด้านหลังของตั๋วนั้น  ถือว่าเป็นการรับรองที่ผิดแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนด  ดังนั้นการกระทำของบางบัวทองจึงไม่ถือว่าเป็นการรับรอง  และเมื่อบางบัวทองปฏิเสธการใช้เงิน  หลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องให้บางบัวทองรับผิดในฐานะผู้รับรองตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวไม่ได้

สรุป  หลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องให้บางบัวทองรับผิดในฐานะผู้รับรองตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ  2 (ก)    การโอนตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นการโอนสิทธิตามตั๋วแลกเงินไปยังผู้รับโอน

(ข)   สายใจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้สายฝนจ่ายเงิน  จำนวน  500,000  บาท  ระบุชื่อสายป่านเป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  และส่งมอบให้สายป่านเพื่อเป็นการชำระค่าราคาสินค้า  ต่อมาสายป่านสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงิน  โดยระบุชื่อสายสมรเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ต่อมาสายสมรได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สายฟ้า  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่าการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  เพราะเหตุใด  อนึ่ง  กรณีเมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกำหนดวันใช้เงิน  สายฟ้าได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้สายฝนผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่สายฝนไม่ยอมใช้เงิน  สายฟ้าได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ดังนี้  ใครบ้างที่ต้องรับผิดและไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้นต่อสายฟ้า  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก)   อธิบาย

ในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น  กรณีที่จะถือว่าเป็นการโอนสิทธิตามตั๋วแลกเงินไปยังผู้รับโอน  ผู้โอนจะต้องโอนตั๋วแลกเงินให้ถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายได้กำหนดไว้  ดังนี้คือ

1       ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ

การโอนสามารถกระทำได้โดยการสลักหลังและส่งมอบ  ตาม  ป.พ.พ. มาตรา  917  วรรคแรก  ซึ่งบัญญัติว่า  “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

หมายความว่า  ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ  (ผู้รับเงิน)  นั้น  ถ้าจะมีการโอนต่อไปให้แก่บุคคลอื่น  การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทำการสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับโอน  (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

การสลักหลังคือ  การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน)  ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วแลกเงิน  (หรือใบประจำต่อ)  โดยอาจจะเป็นการ  สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)  หรืออาจจะเป็นการสลักหลังลอยก็ได้

(1)    การสลักหลังเฉพาะ  (ระบุชื่อ)  หมายถึง  การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง  (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน)  ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย  โดยอาจจะกระทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วก็ได้ 

(2)    การสลักหลังลอย  หมายถึง  การสลักหลังที่ไม่ได้ระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง  (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้  เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา  919  วรรคสอง

2       ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ

การโอนตั๋วเงินชนิดนี้  ย่อมสามารถกระทำได้โดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียว  ไม่ต้องมีการสลักหลัง  ตาม ป.พ.พ. มาตรา  918  ซึ่งบัญญัติว่า  “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น  ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

(ข)   หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  904  อันผู้ทรงนั้น  หมายความว่า  บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ  ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา  905  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม  ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก  ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น  เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  917  วรรคแรก  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา  919  คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วยหรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจำต่อ  ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน  การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า  สลักหลังลอย

มาตรา  967  วรรคแรก  ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

ตามอุทาหรณ์  การโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  แยกพิจารณาได้ดังนี้

เมื่อตั๋วแลกเงินที่สายใจออกให้แก่สายป่านนั้น  มีการระบุชื่อของสายป่านผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  ย่อมถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ  ดังนั้นเมื่อสายป่านได้โอนตั๋วนั้นให้แก่สายสมร  โดยการสลักหลังและส่งมอบ  การโอนตั๋วดังกล่าวระหว่างสายป่านกับสายสมรจึงถูกต้องตามกฎหมาย  ตาม ป.พ.พ. มาตรา  917 วรรคแรก  และมาตรา  919

เมื่อการโอนตั๋วดังกล่าวระหว่างสายป่านกับสายสมรเป็นการโอนโดยการสลักหลังและระบุชื่อสายสมรผู้รับสลักหลังไว้  ดังนั้น  ถ้าสายสมรจะโอนตั๋วนั้นต่อไปให้แก่สายฟ้า  สายสมรจะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา  917  วรรคแรก  และมาตรา  919 เท่านั้น  เมื่อสายสมรโอนตั๋วนั้นให้แก่สายฟ้าโดยการส่งมอบเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการสลักหลัง  การโอนตั๋วระหว่างสายสมรกับสายฟ้า  จึงเป็นการโอนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

และเมื่อการโอนตั๋วจากสายสมรไปยังสายฟ้า  เป็นการโอนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  ดังนั้นแม้ว่าสายฟ้าจะได้ครอบครองตั๋วแลกเงินฉบับนั้นไว้  สายฟ้าก็ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  ตาม ป.พ.พ  มาตรา  904  และ 905  และเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดใช้เงิน  สายฝนปฏิเสธการจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินฉบับนั้น  ดังนี้สายฟ้าซึ่งไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องสายใจผู้สั่งจ่าย  และสายป่านผู้สลักหลังให้รับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา  900  914  และ  967  วรรคแรก

สรุป  การโอนตั๋วแลกเงินจากสายสมรไปยังสายฟ้าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  และเมื่อสายฟ้าไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  จึงฟ้องสายใจผู้สั่งจ่ายและสายป่านผู้สลักหลังให้ต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้นแก่ตนไม่ได

 

ข้อ  3

(ก)    บุคคลใดบ้างที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงิน  บัญญัติให้มีสิทธิขีดคร่อมเช็คและลงข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือลงไว้บนเช็คนั้น  และจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอย่างไร  แก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับเช็คนั้น

(ข)   หนึ่งฤดีได้รับเช็คธนาคารเมืองทองไว้โดยสุจริตเป็นเช็คที่มีชื่อรื่นฤทัยเป็นผู้รับเงินหรือผู้ถือ  จากการส่งมอบของสมรวดีซึ่งอ้างว่าตนเองเป็นผู้รับซื้อลดเช็คนั้นจากรื่นฤทัย  ข้อเท็จจริงได้ความว่าสรณีย์เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คดังกล่าว  พร้อมกับขีดคร่อมทั่วไปไว้ข้างด้านหน้าเช็คแล้วมอบเช็คนั้นชำระหนี้รื่นฤทัย  รื่นฤทัยรับเช็คนั้นแล้วจึงได้กรอกข้อความว่า  “A/C  Payee  only”  ไว้ตรงกลางของรอยขีดคร่อมแล้วทำตกหายไปโดยไม่รู้ตัว  แต่หนึ่งฤดีไม่อาจได้รับเงินตามเช็คดังกล่าว  เนื่องจากธนาคารเมืองทองได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าใครคือเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนี้  และหนึ่งฤดีจะบังคับไล่เบี้ยสรณีย์  รื่นฤทัย  และสมรวดีให้รับผิดตามมูลหนี้ในเช็คดังกล่าวได้เพียงใด  หรือไม่

ธงคำตอบ

(ก)     อธิบาย

บุคคลที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงิน  บัญญัติให้มีสิทธิขีดคร่อมเช็คและลงข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือลงไว้บนเช็คนั้น  ได้แก่  ผู้สั่งจ่ายเช็ค  และผู้ทรงเช็คนั่นเอง  และเมื่อมีการกระทำการดังกล่าวแล้ว  จะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับเช็คนั้น  ดังนี้  คือ

1       กรณีผู้สั่งจ่ายเช็ค  ในกรณีที่เป็นเช็คไม่มีขีดคร่อม  ผู้สั่งจ่ายจะขีดคร่อมเช็คนั้นก็ได้  โดยอาจจะทำเป็นขีดคร่อมทั่วไป หรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้  (ป.พ.พ. มาตรา  955(1))  และผู้สั่งจ่ายอาจเขียนข้อความลงไว้ที่ด้านหน้าเช็คว่า  “ห้ามเปลี่ยนมือ”  หรือข้อความอื่นที่มีความหมายเดียวกัน  เช่น  “ห้ามโอน”  หรือ  “ห้ามสลักหลังต่อ”  หรือ  “จ่ายเข้าบัญชีผู้รับโอนเท่านั้น”  (A/C  Payee  Only)  ก็ได้  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 917  วรรคสอง  ประกอบกับมาตรา  989  วรรคแรก)

ผลตามกฎหมายที่มีต่อผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับเงิน  คือ

(1)    ผู้ทรงเช็คจะโอนเช็คนั้นต่อไปด้วยการสลักหลังและส่งมอบเช็คตามวิธีการโอนตั๋วเงินตามมาตรา  917  วรรคแรกอีกไม่ได้  เว้นแต่ผู้ทรงเช็คจะโอนเช็คนั้นต่อไปโดยรูปแบบวิธีการเช่นเดียวกับการโอนหนี้สามัญ  ตาม  ป.พ.พ. มาตรา  306  วรรคแรก  กล่าวคือ  ต้องทำเป็นหนังสือโอนมูลหนี้ตามเช็คนั้น  ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอน  และมีหนังสือบอกกล่าวการโอนนั้นไปยังผู้สั่งจ่าย  หรือให้ผู้สั่งจ่ายยินยอมด้วยโดยทำเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง

(2)    ผู้ทรงเช็ค  จะนำเช็คนั้นไปยื่นให้ธนาคารจ่ายเป็นเงินสดไม่ได้  แต่ต้องนำเช็คขีดคร่อมนั้นไปเข้าบัญชีเงินฝากก่อน  โดยนัยตาม ป.พ.พ. มาตรา  994

ผลตามกฎหมายที่มีต่อธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คขีดคร่อม  คือ  ธนาคารจะต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็คเท่านั้น  จะจ่ายเป็นเงินสดไม่ได้  (ป.พ.พ. มาตรา 994)

2       กรณีผู้ทรงเช็ค  ผู้ทรงเช็คสามารถที่จะขีดคร่อมเช็ค  โดยถ้าเป็นเช็คที่ไม่มีขีดคร่อม  ผู้ทรงจะขีดคร่อมเช็คนั้น  เป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้  หรือถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป  ผู้ทรงจะทำให้เป็นขีดคร่อมเฉพาะก็ได้  (ป.พ.พ. มาตรา  995(1) และ (2))  และนอกจากนั้นผู้ทรงจะเติมคำว่า  “ห้ามเปลี่ยนมือ”  หรือคำอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกันลงไว้ก็ได้  (ป.พ.พ. มาตรา  995(3))

และเมื่อผู้ทรงเช็ค  ได้ขีดคร่อมเช็คและเขียนคำว่า  “ห้ามเปลี่ยนมือ”  ลงไว้  ย่อมมีผลตามกฎหมาย  กล่าวคือ  จะได้รับการคุ้มครอง  ตาม ป.พ.พ. มาตรา  999  เช่น  ในกรณีที่เช็คดังกล่าวได้สูญหายไป  หรือถูกโจรกรรมไป  ผู้รับโอนเช็คนั้นจากคนที่เก็บได้  หรือจากคนที่โจรกรรมเช็คนั้นไป  ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกัน  กล่าวคือ  เมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิ  ผู้รับโอนก็ย่อมไม่มีสิทธิในเช็คนั้นเช่นเดียวกัน

(ข)    หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา  995(3)  เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี  ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี  ผู้ทรงจะเติมคำลงว่า  ห้ามเปลี่ยนมือ  ก็ได้

มาตรา  999  บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคำว่า  ห้ามเปลี่ยนมือ  ท่านว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่า  และไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่รื่นฤทัยซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คได้กรอกข้อความว่า  “A/C  Payee  Only” ลงไว้กลางรอยขีดคร่อม  ถือได้ว่าเป็นการลงข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือตามนัยมาตรา  995(3)  แล้ว  และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารื่นฤทัยได้ทำเช็คนั้นตกหายไป  กรณีจึงมิได้เป็นการขายลดเช็คนั้นให้แก่สมรวดีตามที่สมรวดีกล่าวอ้างแต่อย่างใด  ย่อมแสดงว่า  สมรวดีเป็นผู้เก็บเช็คนั้นได้  ดังนั้นสมรวดีจึงมิใช่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น  (ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงแห่งเช็คนั้นคือรื่นฤทัย)  และไม่มีสิทธิที่จะโอนเช็คนั้นต่อไปให้แก่ผู้ใด  เมื่อสมรวดีได้โอนเช็คนั้นให้แก่หนึ่งฤดีโดยการส่งมอบ  ดังนี้ แม้ว่าหนึ่งฤดีจะได้รับเช็คนั้นจากสมรวดีโดยสุจริต  ก็ย่อมไม่มีสิทธิในเช็คนั้นเช่นเดียวกับสมรวดีตามนัยมาตรา  999  ดังนั้น  เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น  หนึ่งฤดีจึงไม่สามารถจะบังคับไล่เบี้ยสรณีย์  รื่นฤทัย  และสมรวดีให้รับผิดตามมูลหนี้ในเช็คดังกล่าวนั้นได้เลย

สรุป  รื่นฤทัยคือเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คดังกล่าว  และหนึ่งฤดีจะบังคับไล่เบี้ยสรณีย์  รื่นฤทัย  และสมรวดีไม่ได้เลย

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

(ก)   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  905  “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง  ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม  ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย”  อยากทราบว่าการสลักหลังไม่ขาดสายนั้นมีลักษณะอย่างไร

(ข)  จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้บุญมีจ่ายเงินจำนวน  500,000  บาท  ระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น ต่อมาพุธได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัส  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่าการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้น  ถูกต้องตามกฎหมาย  หรือไม่อย่างไร

ธงคำตอบ

(ก)    อธิบาย

ตาม  ป.พ.พ. มาตรา  905  คำว่า  “การสลักหลังไม่ขาดสาย”  หมายถึง  การสลักหลังโอนตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ  โดยมีการโอนติดต่อกันมาตามลำดับจนถึงมือของผู้ทรงคนปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน  กล่าวคือ  เป็นการโอนตั๋วเงินที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้  ตาม ป.พ.พ.  มาตรา  917  วรรคแรก  มาตรา  919  และมาตรา  920  นั่นเอง

ตัวอย่างการสลักหลังที่ไม่ขาดสาย

หนึ่งได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินแก่สาม  ต่อมาสามได้สลักหลังและส่งมอบให้สี่  และสี่ได้สลักหลังและส่งมอบให้ห้า  ดังนี้  เมื่อตั๋วเงินได้มาอยู่ในความครอบครองของห้า  ห้าย่อมเป็นผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลัง  และเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย  เพราะห้าได้ตั๋วเงินนั้นมาจากการสลักหลังที่ไม่ขาดสาย

และตามตัวอย่างข้างต้น  หากการที่สามสลักหลังโอนให้สี่นั้น  เป็นการสลักหลังลอย  (เป็นการสลักหลังที่ไม่มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง)  และสี่ได้ส่งมอบตั๋วเงินต่อให้ห้า  ดังนี้  ก็ถือว่าห้าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน  และให้ถือว่าห้าได้ตั๋วเงินนั้นมาจากการสลักหลังลอยของสาม

หมายเหตุ  บุคคลที่ได้ตั๋วเงินมาจากการสลักหลังลอยนั้น  มีสิทธิโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบ  หรืออาจจะส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้  (ตามมาตรา  920)  แต่ถ้าได้ตั๋วมาจากการสลักหลังเฉพาะ  (มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง)  หากโอนตั๋วด้วยการส่งมอบ  จะทำให้การสลักหลังขาดสายทันที  เพราะ ป.พ.พ. มาตรา  917  วรรคแรก  นั้น  กำหนดให้โอนกันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

(ข)   หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  917  วรรคแรก  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา  918  ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น  ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน

มาตรา  919  คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์  แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วยหรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน  การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า  สลักหลังลอย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  เห็นว่า  การที่จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้บุญมีจ่ายเงินโดยระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงิน  และได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ย่อมเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ  ดังนั้น  การโอนต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา  917  วรรคแรก  และมาตรา  919  คือ  สลักหลังและส่งมอบ  จะโอนตั๋วแลกเงินโดยการส่งมอบให้แก่กันเพียงอย่างเดียวเท่านั้นตามมาตรา  918  ไม่ได้ เพราะกรณีมิใช่ตั๋วแลกเงินสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ

และสำหรับการที่ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ถือเป็นการโอนตั๋วแลกเงินโดยการสลักหลังเฉพาะตามมาตรา  917  วรรคแรก  ซึ่งการโอนต่อไปจะต้องสลักหลังและส่งมอบเช่นเดียวกันตามมาตรา  917  วรรคแรก  เมื่อปรากฏว่าต่อมาพุธเพียงแต่ส่งมอบตั๋วแลกเงินชำระหนี้ให้แก่พฤหัสเท่านั้น  หาได้มีการสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยไม่  ทั้งกรณีก็ไม่ใช่การโอนตั๋วแลกเงินต่อจากผู้สลักหลังลอยแต่อย่างใด  ดังนั้น  การโอนตั๋วแลกเงินจากพุธไปยังพฤหัสจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป  การโอนตั๋วแลกเงินจากทองไทยไปยังพุธเป็นการโอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย  แต่การโอนตั๋วแลกเงินจากพุธไปยังพฤหัสเป็นการโอนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อ  2 

(ก)   การอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย  และใครบ้างที่อาวัลตั๋วแลกเงินได้

(ข)  บางเขนเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีบางบัวทองเป็นผู้จ่าย  บางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  บางเขนจะสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้หลักสี่  แต่หลักสี่ให้บางเขนนำตั๋วไปให้บางบัวทองรับรองก่อน  บางเขนจึงเอาตั๋วไปให้บางบัวทองเขียนข้อความว่า  “ยินดีเป็นประกันผู้สั่งจ่าย”  และลงลายมือชื่อไว้ด้านหน้าของตั๋ว  หลักสี่จึงยอมรับชำระหนี้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วจากบางเขน  เมื่อถึงกำหนดใช้เงินหลักสี่ได้นำตั๋วไปให้บางบัวทองใช้เงินแต่บางบัวทองปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเห็นว่าตนได้ชำระหนี้บางขวางผู้สั่งจ่ายไปแล้ว  อนึ่งหลักสี่ได้ทำคำคัดค้านไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่าหลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้หรือไม่  เพราะเหตุใด 

ธงคำตอบ

(ก)    อธิบาย

“การอาวัลตั๋วแลกเงิน”  (การค้ำประกันหรือรับประกันการใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน)  นั้น  จะถือว่าเป็นการรับอาวัลที่ถูกต้องตามกฎหมาย  จะต้องปฏิบัติตามที่  ป.พ.พ. มาตรา  939  ได้บัญญัติไว้  กล่าวคือ  จะต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังนี้  คือ

1       เขียนข้อความลงบนตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อด้วยถ้อยคำสำนวนว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกัน  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งอาจจะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วแลกเงินก็ได้

2       ผู้รับอาวัลลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้น  โดยไม่ต้องเขียนข้อความใดๆลงไว้ก็ได้  ก็ถือว่าเป็นการรับอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

สำหรับบุคคลที่สามารถเข้ามารับอาวัลตั๋วแลกเงินได้นั้น  อาจจะเป็นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งหรืออาจจะเป็นคู่สัญญาเดิมในตั๋วแลกเงินนั้นคนใดคนหนึ่งก็ได้  (ป.พ.พ. มาตรา 938  วรรคสอง)

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  938  ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกันการใช้เงินทั้งจำนวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ซึ่งท่านเรียกว่า  “อาวัล”

อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ  หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

มาตรา  939  อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง  หรือที่ใบประจำต่อ  ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกันนั้นและลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

อนึ่ง  เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน  ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว  เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด  หากมิได้ระบุ  ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940  วรรคแรก  ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

ตามกฎหมาย  ในกรณีที่มีการรับอาวัลผู้เป็นคู่สัญญาตามตั๋วแลกเงิน  ผู้รับอาวัลจะต้องเขียนข้อความว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  หรือข้อความอื่นใดที่มีความหมายเดียวกัน  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลไว้ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วแลกเงิน  หรือผู้รับอาวัลอาจจะลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วแลกเงินก็ได้  และบุคคลที่จะเข้ามารับอาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกหรือคู่สัญญาเดิมในตั๋วแลกเงินก็ได้  (มาตรา 938  และมาตรา  939)

กรณีตามอุทาหรณ์  หลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้หรือไม่  เห็นว่า  ตั๋วแลกเงินที่บางขวางออกให้แก่บางเขนนั้น  เมื่อได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  จึงเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชิ่  และเมื่อบางเขนได้เอาตั๋วไปให้บางบัวทองผู้จ่ายเขียนข้อความว่า  “ยินดีเป็นประกันผู้สั่งจ่าย”  ซึ่งถือเป็นข้อความที่มีความหมายทำนองเดียวกับคำว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  และลงลายมือชื่อไว้ด้านหน้าของตั๋ว  จึงถือเป็นการอาวัลแล้ว  และเป็นการอาวัลบางขวางผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  938  และมาตรา  939

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า  ตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน  หลักสี่ได้นำตั๋วไปให้บางบัวทองใช้เงินแต่บางบัวทองปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเห็นว่าตนได้ชำระหนี้บางขวางผู้สั่งจ่ายไปแล้ว  ดังนั้น  หลักสี่ผู้ทรงจึงสามารถฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้ในฐานะผู้รับอาวัลบางขวางผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  900  วรรคแรก  และมาตรา  940  วรรคแรก

สรุป  หลักสี่ผู้ทรงฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้ในฐานะผู้รับอาวัล

 

ข้อ  3 

(ก)   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารผู้จ่าย  จ่ายเงินตามเช็คไว้อย่างไรบ้าง

(ข)  ห้วยยอดมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดตรัง  สั่งจ่ายเช็คระบุชื่อสิเกาเป็นผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  ซึ่งเป็นเช็คของธนาคารอันดามันสาขาจังหวัดภูเก็ต  ระบุจำนวนเงินลงไว้ในเช็ค  500,000  บาท  ลงวันที่  10  สิงหาคม  2553  มอบให้กับสิเกาเพื่อชำระหนี้  ต่อมาสิเกาสลักหลังลอยแล้วมอบเช็คชำระหนี้ให้แก่บินหลา  บินหลานำเช็คนั้นไปส่งมอบให้แก่หัวไทรที่มีภูมิลำเนาที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อชำระหนี้  วันที่  10  ธันวาคม  2553  หัวไทรนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอันดามันสาขาจังหวัดภูเก็ต  แต่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเงินในบัญชีของห้วยยอดมีไม่พอจ่าย  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าบุคคลใดต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินต่อหัวไทรเพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก)     อธิบาย

ตามกฎหมาย  การนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารผู้จ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น  ผู้ทรงเช็คจะต้องนำไปยื่นในวันที่เช็คถึงกำหนดซึ่งก็คือ  วันออกเช็คอันเป็นวันที่ผู้สั่งจ่ายระบุลงไว้ในเช็คนั่นเอง  หรืออย่างช้าต้องนำไปยื่นภายในกำหนดเวลาตามหลักเกณฑ์ที่ 

ป.พ.พ. มาตรา  990  ได้กำหนดไว้  ดังนี้คือ

1       ถ้าเป็นเช็คที่ออกให้ใช้เงินในเมือง  (จังหวัด)  เดียวกับที่ออกเช็ค  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารตามเช็คเพื่อให้ใช้เงินภายในกำหนด  1  เดือน  นับแต่วันที่เช็คออก

2       ถ้าเป็นเช็คที่ออกให้ใช้เงินที่อื่น  (ในจังหวัดอื่น)  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารตามเช็คเพื่อให้ใช้เงินภายในกำหนด  3  เดือน  นับแต่วันที่ออกเช็ค

ในกรณีที่ผู้ทรงไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ผู้ทรงย่อมได้รับผลดังนี้  คือ

1       ผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลังทั้งปวง  (โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้สลักหลังเหล่านั้นจะได้รับความเสียหายหรือไม่)

2       ผู้ทรงย่อมเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเท่าที่ผู้สั่งจ่ายได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด  เพราะการที่ผู้ทรงละเลยไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลานั้น

และตาม  ป.พ.พ. มาตรา  991(2)  ยังได้วางหลักไว้อีกว่า  ผู้ทรงจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารจ่ายเงินภายใน  6  เดือนนับแต่วันออกเช็ค  (วันที่ลงเช็ค) ด้วย  หากยื่นเช็คเกินกว่านั้น  ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้

(ข)    หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น  ย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940  ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา  910  914  ถึง  923  925  926  938  ถึง 940  945  946  959  967  971

มาตรา  990  วรรคแรก  ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน  คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น  ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน  ถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง  ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย  เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  บุคคลใดต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินต่อหัวไทร  เห็นว่า  การที่ห้วยยอดมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดตรังได้สั่งจ่ายเช็คของธนาคารอันดามันสาขาจังหวัดภูเก็ตเพื่อใช้เงินตามเช็คนั้น  เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่น  (จังหวัดอื่น)  ดังนั้น ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คให้ธนาคารผู้ใช้เงินตามเช็คใช้เงินภายในกำหนด  3  เดือน  นับแต่วันที่  10  สิงหาคม  2553  ซึ่งเป็นวันที่ออกเช็ค (วันที่ลงในเช็ค)  ตามมาตรา  990  วรรคแรก  เมื่อปรากฏว่าหัวไทรผู้ทรงเช็คนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอันดามันสาขาจังหวัดภูเก็ตในวันที่  10  ธันวาคม  2553  ซึ่งพ้นกำหนด  3  เดือน  นับแต่วันที่ออกเช็คแล้ว  ดังนั้น  เมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเงินในบัญชีของห้วยยอดมีไม่พอจ่าย  หัวไทรผู้ทรงเช็คย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง

แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อเช็คดังกล่าวเป็นเช็คผู้ถือ  เนื่องจากมิได้มีการขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือออก”  การที่สิเกาสลักหลังลอยแล้วมอบเช็คชำระหนี้ให้แก่บินหลานั้น  ย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  921  สิเกาจึงต้องรับผิดในเช็คฉบับนี้ในฐานะเป็นผู้รับอาวัลห้วยยอดผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  900  921  940  วรรคแรก  และมาตรา  989)  ส่วนบินหลา  เมื่อไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คจึงไม่ต้องรับผิดต่อหัวไทร  (มาตรา  900)

และในกรณีของห้วยยอดผู้สั่งจ่ายนั้น  เมื่อมิได้เกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ห้วยยอด  เพราะการที่หัวไทรละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น  ห้วยยอดผู้สั่งจ่ายจึงยังคงต้องรับผิดต่อหัวไทรในฐานะผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  900  914  989  และมาตรา  990)

สรุป  สิเกาต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินต่อหัวไทรในฐานะผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย  และห้วยยอดยังคงต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินต่อหัวไทรในฐานะผู้สั่งจ่าย  ส่วนบินหลาไม่ต้องรับผิดต่อหัวไทรเพราะมิได้ลงลายมือชื่อในเช็ค

WordPress Ads
error: Content is protected !!