LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 2/2549

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  ก  ให้อธิบายถึงลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด

ข  การรับรองตั๋วแลกเงินคืออะไร  การรับรองนั้นทำอย่างไร  และความรับผิดของผู้รับรองนั้นมีอย่างไรบ้าง

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

มาตรา  856  อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน  และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

จากบทบัญญัติดังกล่าว  สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น  มีลักษณะดังต่อไปนี้

 1       เป็นสัญญาต่างตอบแทน  เพราะคู่สัญญาต่างมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อกันเช่นการชำระหนี้  กล่าวคือ  จัดทำบัญชีและให้มีการหักทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยวิธีการหักกลบลบหนี้กัน  แล้วชำระหนี้เฉพาะยอดที่คงเหลือ

2       เป็นสัญญาระหว่างบุคคล  2  ฝ่าย  ซึ่งไม่ต้องทำตามแบบ  กล่าวคือ  เพียงแค่คู่สัญญาแสดงเจตนามีคำเสนอ  คำสนองตรงกัน  ก็ก่อให้เกิดเป็นสัญญาผูกมัดบังคับกันได้โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ  หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดแต่อย่างใด

3       ที่ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือชั่วระยะเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  แสดงว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีการกำหนดเวลาและไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสัญญา

4       ให้ตัดทอน  หรือหักทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนที่เกิดขึ้นจากกิจการระหว่างเขาทั้งสอง

5       คงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

ข  อธิบาย

การรับรองตั๋วแลกเงิน  คือ  การที่ผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วแลกเงินเพื่อผูกพันตนเองในอันที่จะรับผิดชอบจ่ายเงินตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายที่ได้มีคำสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน

สำหรับวิธีการรับรองตั๋วแลกเงินนั้น  มาตรา  931  ได้กำหนดแบบหรือวิธีการรับรองไว้โดยกำหนดให้ผู้จ่ายลงข้อความว่า  รับรองแล้ว  หรือข้อความอื่นทำนองเช่นเดียวกัน  เช่น  รับรองจะใช้เงิน  หรือ  ยินยอมจะใช้เงิน  ฯลฯ  และลงลายมือชื่อของผู้จ่ายในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้น  และอาจลงวันที่รับรองไว้หรือไม่ก็ได้  หรือเพียงแต่ผู้จ่ายลงลายมือชื่อของตนในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้นเพียงลำพังโดยไม่จำต้องมีข้อความดังกล่าวอยู่เลย  ก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้วเช่นเดียวกัน  อนึ่งการที่ผู้จ่ายทำการรับรองที่ด้านหลังตั๋วแลกเงิน  ถือว่าเป็นการรับรองที่ผิดแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนด    ไม่ถือว่าเป็นการรับรองหรือคำรับรองนั้นไม่มีผล

อย่างไรก็ดี  การรับรองตามมาตรา  931  นี้  ย่อมมีผลเฉพาะตัวผู้จ่ายเท่านั้น  บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้จ่าย  หากได้ทำการรับรองตามความในมาตรานี้ก็มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้รับรอง แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล (มาตรา  940)  หรือเป็นผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า  (มาตรา  953)  ก็ได้

การรับรองตั๋วแลกเงิน  ตามมาตรา  935  ได้กำหนดไว้  2  ประเภท  ดังนี้

 1       การรับรองตลอดไป  คือ  การที่ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินทั้งหมดตามจำนวนเงินที่ปรากฏในตั๋วแลกเงิน  โดยไม่มีข้อแม้หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงิน

2       การรับรองเบี่ยงบ่าย  คือ  การรับรองใน  2  กรณีดังต่อไปนี้  คือ

 –          การรับรองเบี่ยงบ่ายอย่างมีเงื่อนไข  เช่น  ผู้จ่ายรับรองจะจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดในตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน

–          การรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วน  เช่น  ตั๋วแลกเงินราคา  50,000  บาท  ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินจำนวน  40,000  บาท  เป็นต้น

ผลของการรับรองตั๋วแลกเงิน  มีบัญญัติไว้ในมาตรา  937  กล่าวคือ  เมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้ว  ผู้จ่ายจะกลายเป็นผู้รับรองและต้องผูกพันรับผิดตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

 

ข้อ  2  ก  ให้นักศึกษาอธิบายหลักเกณฑ์ที่บุคคลจะมีหน้าที่ต้องรับผิดตามสัญญาตั๋วเงิน  โดยยกหลักกฎหมายประกอบให้ชัดเจน

ข  นายเสือสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าระบุให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือ  เป็นเงินจำนวน  500,000  บาท  ชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่นายสิงห์  ต่อมาก่อนที่เช็คฉบับดังกล่าวจะถึงกำหนดชำระ  มีข่าวลือว่าธุรกิจต่างๆของนายเสือกำลังประสลภาวะขาดทุนอย่างหนัก  ทำให้นายสิงห์เกรงว่าตนจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวได้  เพราะไม่สามารถติดต่อนายเสือได้เลยจึงมาปรึกษานายกระทิงซึ่งเป็นพี่ชายของนายเสือ  นายกระทิงจึงทำการเขียนคำว่า  กระทิงทอง  ซึ่งเป็นชื่อร้านอาหารที่นายกระทิงเป็นเจ้าของอยู่นั้นลงในด้านหลังเช็คฉบับดังกล่าวให้กับนายสิงห์ไป  ต่อมาเช็คฉบับดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน  นายสิงห์จึงมาเรียกให้นายกระทิงชำระเงินตามเช็คให้ตน  กรณีนี้นายกระทิงมีหน้าที่ที่จะต้องชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายสิงห์หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ตาม  ป.พ.พ.  ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลจะมีหน้าที่ต้องรับผิดตามสัญญาตั๋วเงิน  ดังนี้คือ

 1       บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น (มาตรา  900  วรรคแรก)  โดยอาจรับผิดเนื่องจากลงลายมือชื่อ

–          โดยลำพัง  เพราะไม่ปรากฏว่าลงลายมือชื่อรับผิดในฐานะใด

–          รับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินหรือเช็ค

–          รับผิดในฐานะผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

–          รับผิดในฐานะผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินหรือเช็ค

–          รับผิดในฐานะเป็นผู้รับรองตั๋วแลกเงิน

–          รับผิดในฐานะเป็นผู้รับอาวัลตั๋วแลกเงินหรือเช็ค

 2       การลงแต่เพียงเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด  เช่น  แกงได  หรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงิน  แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม  หามีผลเป็นการลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่ (มาตรา  900  วรรคสอง ) ฉะนั้นผู้ใดจะสั่งจ่าย  สลักหลัง  รับอาวัล  โดยพิมพ์ลายนิ้วมือและมีพยานรับรอง  2  คน  ตามมาตรา  9  วรรคสอง  ก็ไม่เป็นการลงลายมือชื่อสั่งจ่าย  สลักหลัง  หรือรับอาวัล

3       บุคคลใดลงลายมือชื่อของตนในตัวเงิน  และมิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง  บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น  (มาตรา  901)

4       ถ้าตั๋วเงินมีลายมือชื่อของบุคคลหลายคน  มีทั้งบุคคลไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินได้เลย  หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่นๆ  นอกนั้นซึ่งยังคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้น  (มาตรา  902)

ข  อธิบาย

มาตรา  900  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940  ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

แม้ถึงว่าความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้นจะตกเป็นใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใดๆ  นอกจากเพราะทำผิดระเบียบ  ท่านว่าข้อสัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว  ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้  กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับผิดแทนตัวผู้นั้น

มาตรา  967  วรรคแรก  ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา  910  914  ถึง  923…938  ถึง  940…967  971

วินิจฉัย

การที่นายกระทิงเขียนคำว่า  กระทิงทอง  ซึ่งเป็นชื่อร้านอาหารที่นายกระทิงเป็นเจ้าของอยู่นั้นลงในด้านหลังเช็คฉบับดังกล่าว  ถือได้ว่านายกระทิงเป็นผู้ลงลายมือชื่อของตนในเช็คฉบับดังกล่าวแล้ว  ในฐานะสลักหลังเช็คผู้ถือ  จึงตกเป็นประกัน (อาวัล)  นายเสือผู้สั่งจ่ายตาม มาตรา  900  921  989  วรรคแรก  ดังนั้นนายกระทิงย่อมอยู่ในฐานะต้องผูกพันใช้เงินตามเช็คนั้นให้กับนายสิงห์  เช่นเดียวกับนายเสือผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  967  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก

สรุป  นายกระทิงมีหน้าที่ต้องชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายสิงห์

 

ข้อ  3  ก  เช็คขีดคร่อมที่มีข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือนั้น  อาจเกิดจากการกระทำของบุคคลใดและจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอย่างไร

ข  ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีเช็คพิพาทอยู่  2  ฉบับ

ฉบับแรก  เป็นเช็คที่มีคนร้ายปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย  แล้วต่อมาเช็คนั้นตกอยู่ในความครอบครองของไก่ย่าง  ซึ่งรับโอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าไก่ย่างเป็นผู้ทรงเช็คที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เพราะเหตุใด

ฉบับสอง  เป็นเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อส้มตำผู้รับเงิน  แล้วสลักหลังโอนเช็คนั้นขายลดให้แก่ไก่ย่าง  ซึ่งรับโอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ต่อมาธนาคารผู้จ่ายได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าว  ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าธนาคารจะหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายเช็คได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

เช็คขีดคร่อมที่มีข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือนั้น  อาจเกิดจากการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามที่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงินบัญญัติไว้  ได้แก่  บุคคลสามฝ่ายประกอบด้วย  ผู้สั่งจ่าย  ผู้สลักหลัง  และผู้ทรง  กล่าวคือ

 (1) กรณีผู้สั่งจ่ายเช็ค  อาจขีดคร่อมเช็ค  (มาตรา  995  (1) )  และหรือลงข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยน  หรือความหมายทำนองเดียวกัน  เช่น  “A/C  PAYEE  ONLY”  ลงไว้บนเช็ค  (มาตรา  917  วรรคสอง ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก)

(2) กรณีผู้สลักหลังเช็ค  ซึ่งเดิมเคยเป็นผู้รับเงินมาก่อนหรือเคยเป็นผู้รับสลักหลังต่อมาโดยลำดับคนใดคนหนึ่ง  จะลงข้อกำหนดห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนลงไว้บนเช็คขีดคร่อมก็ได้  (มาตรา  923  ประกอบ  มาตรา  989  วรรคแรก)

(3) กรณีผู้ทรงเช็ค  จะลงข้อความห้ามเปลี่ยนมือ  ลงไว้บนเช็คขีดคร่อมก็ได้  (มาตรา  995  (3) )

เช็คขีดคร่อมที่มีข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือ  โดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  หากมีการโอนหรือเปลี่ยนมือต่อไป  ย่อมเป็นผลให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  (มาตรา  999)

ข  อธิบาย

มาตรา  905  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม  ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก  ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น  เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง  ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น  หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่  เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

มาตรา  1008  วรรคแรก  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้  เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี  เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี  ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้  ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี  หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี  ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด  เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม  หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

มาตรา  1009  ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใด  และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้  ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน  หรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น  และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม  ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

วินิจฉัย

เช็คฉบับแรก  เช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม  เช็คนั้นคงเสียไปเฉพาะผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  1008  แต่ไก่ย่างยังคงเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  905

เช็คฉบับที่สอง  เช็คที่มีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม  ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คภายใต้หลักเกณฑ์มาตรา  1009  ย่อมหักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายเช็คได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 1/2550

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ
ข้อ 1 ก อำนาจเป็นหนี้เงินตามบัญชีที่บริษัท อุบล จำกัด ลงรายการไว้คือเอาเงินจำนวนสามแสนบาทไปสร้างโรงเรือนและซื้อลูกไก่ อาหารไก่เป็นเงินสี่แสนบาท ซึ่งเป็นการไปเลี้ยงเพื่อขายให้กับผู้ส่งออกไปต่างประเทศ และอำนาจจะชำระหนี้เมื่อมีการขายไก่ให้กับผู้ส่งออกแต่เกิดโรคไข้หวัดนกระบาดผู้ส่งออกจึงงดรับซื้อ อำนาจจึงขอให้บริษัทอุบล จำกัด รับซื้อไก่ของตนเพื่อเอาไปขายให้กับผู้ผลิตไก่ย่าง บริษัทอุบล จำกัด ตกลงรับซื้อโดยตีราคาไก่ห้าแสนบาทและเมื่อหักทอนบัญชีแล้วปรากฏว่าอำนาจยังคงเป็นหนี้สองแสนบาท ดังนี้บริษัทอุบล จำกัด จะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นจากหนี้เงินจำนวนดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ป.พ.พ. มาตรา 655 “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมเงินจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ

ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดี หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่

ข การรับรองตั๋วแลกเงินคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

ธงคำตอบ

ก อธิบาย

มาตรา 856 อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน แต่คงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

วินิจฉัย

ข้อตกลงระหว่างอำนาจกับบริษัทอุบล จำกัด ที่มีการหักทอนราคาไก่ที่บริษัทอุบล จำกัด จะต้องจ่ายให้กับอำนาจ กับหนี้เงินตามบัญชีที่อำนาจจะต้องชำระให้กับบริษัทอุบล จำกัด เป็นการตกลงเพื่อการหักกลบลบหนี้กันเพียงครั้งเดียวโดยมิได้มีการตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่งให้ตัดทอนบัญชีทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างอำนาจกับบริษัทอุบล จำกัด โดยการหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค ข้อตกลงระหว่างอำนาจกับบริษัทอุบล จำกัด จึงไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามมาตรา 856 เมื่อมีการหักทอนบัญชีแล้วอำนาจยังคงเป็นหนี้บริษัทอุบล จำกัด สองแสนบาท ดังนั้นบริษัทอุบล จำกัด จะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามมาตรา 655 จากหนี้เงินจำนวนดังกล่าวกับอำนาจไม่ได้

สรุป บริษัทอุบล จำกัด จะคิดดอกเบี้ยทบต้นกับอำนาจไม่ได้ เพราะข้อตกลงระหว่างอำนาจ กับบริษัทอุบล จำกัด มิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด

ข อธิบาย

การรับรองตั๋วแลกเงิน คือ การที่ผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วแลกเงินเพื่อผูกพันตนเองในอันที่จะรับผิดชอบจ่ายเงินตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายที่ได้มีคำสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน

สำหรับวิธีการรับรองตั๋วแลกเงินนั้น มาตรา 931 ได้กำหนดแบบหรือวิธีการรับรองไว้โดยกำหนดให้ผู้จ่ายลงข้อความว่า “รับรองแล้ว” หรือข้อความอื่นทำนองเช่นเดียวกัน เช่น “รับรองจะใช้เงิน” หรือ “ยินยอมจะใช้เงิน” ฯลฯ และลงลายมือชื่อของผู้จ่ายในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้น และอาจลงวันที่รับรองไว้หรือไม่ก็ได้ หรือเพียงแต่ผู้จ่ายลงลายมือชื่อของตนในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้นเพียงลำพังโดยไม่จำต้องมีข้อความดังกล่าวอยู่เลย ก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้วเช่นเดียวกัน อนึ่งการที่ผู้จ่ายทำการรับรองที่ด้านหลังตั๋วแลกเงิน ถือว่าเป็นการรับรองที่ผิดแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนด ไม่ถือว่าเป็นการรับรองหรือคำรับรองนั้นไม่มีผล

อย่างไรก็ดี การรับรองตามมาตรา 931 นี้ ย่อมมีผลเฉพาะตัวผู้จ่ายเท่านั้น บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้จ่าย หากได้ทำการรับรองตามความในมาตรานี้ก็มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้รับรอง แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล (มาตรา 940) หรือเป็นผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า (มาตรา 953) ก็ได้

การรับรองตั๋วแลกเงิน ตามมาตรา 935 ได้กำหนดไว้ 2 ประเภท ดังนี้

1 การรับรองตลอดไป คือ การที่ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินทั้งหมดตามจำนวนเงินที่ปรากฏในตั๋วแลกเงิน โดยไม่มีข้อแม้หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงิน

2 การรับรองเบี่ยงบ่าย คือ การรับรองใน 2 กรณีดังต่อไปนี้ คือ

– การรับรองเบี่ยงบ่ายอย่างมีเงื่อนไข เช่น ผู้จ่ายรับรองจะจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดในตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน

– การรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วน เช่น ตั๋วแลกเงินราคา 50,000 บาท ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินจำนวน 40,000 บาท เป็นต้น

ผลของการรับรองตั๋วแลกเงิน มีบัญญัติไว้ในมาตรา 937 กล่าวคือ เมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้ว ผู้จ่ายจะกลายเป็นผู้รับรองและต้องผูกพันรับผิดตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

 

ข้อ 2 ก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงินนั้น มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับโอนตั๋วเงินโดยสุจริตหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

ข นายถั่วพูได้รับเช็คระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งปรากฏลายมือชื่อนายถั่วแดงเป็นผู้สั่งจ่ายมาจากนายถั่วเขียวฉบับหนึ่งเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน ต่อมาเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระเงิน นายถั่วพูได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปยื่นให้ธนาคารใช้เงินตามเช็ค แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่าย นายถั่วพูจึงเรียกให้นายถั่วแดงใช้เงินตามเช็คให้ นายถั่วแดงไม่ยอมชำระเงินให้แก่นายถั่วพูโดยอ้างว่าแท้จริงแล้ว นายถั่วแดงสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก่นายถั่วเหลือง และไม่ทราบว่าเช็คฯไปตกอยู่กับนายถั่วเขียวได้อย่างไร

กรณีนี้ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่านายถั่วพูได้รับเช็คจากนายถั่วเขียวโดยสุจริต และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้ออ้างดังกล่าวของนายถั่วแดงจะฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก อธิบาย

ตาม ป.พ.พ. ได้บัญญัติหลักการคุ้มครองผู้รับโอนตั๋วเงินโดยสุจริตไว้ในมาตรา 916 ซึ่งมีหลักคือ “บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อนๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล”

จากหลักดังกล่าวนี้สามารุอธิบายได้ว่า ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายคนใดได้รับตั๋วมาโดยตนเองสุจริต มิได้คบคิดฉ้อฉลกับผู้โอนตั๋วมาให้ตนแต่ประการใด ผู้ทรงคนนั้นมีสิทธิฟ้องให้ผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วต้องรับผิดชอบตามเนื้อความแห่งตั๋วเงินนั้นได้ทุกคน ผู้ที่ถูกไล่เบี้ยจะอ้างว่าข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือตนกับผู้ทรงคนก่อนๆนั้นมาต่อสู้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายและสุจริตนั้นไม่ได้

ตัวอย่าง

แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งดำจ่ายเงินให้ขาว ขาวได้โอนตั๋วเงินใบนี้ให้เขียวเป็นค่าตอบแทนที่ซื้อฝิ่นจากเขียว เขียวได้โอนตั๋วต่อไปให้เหลือง เหลืองรับตั๋วที่โอนมาจากเขียวโดยสุจริต มิทราบการซื้อขายฝิ่นระหว่างขาวกับเขียวแต่อย่างใด ดังนี้เมื่อตั๋วแลกเงินนี้ถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเขียว ขาวและแดงได้ เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วจะต้องรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วเงินนั้นตามมาตรา 900 โดยเขียวและขาวต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้สลักหลังตั๋ว ส่วนแดงรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายตั๋ว เขียวจะอ้างว่า “ตั๋วใบนี้เป็นโมฆะเนื่องจากสัญญาซื้อขายฝิ่นระหว่างตนกับขาวเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ฉะนั้นตั๋วเงินที่ขาวให้มาเป็นค่าฝิ่นนั้นจึงใช้ไม่ได้เป็นโมฆะ ดังนั้นเหลืองจึงไม่มีสิทธิฟ้องเขียวได้ตามตั๋วแลกเงินใบนี้” ข้ออ้างของเขียวเหล่านี้จะยกขึ้นมาต่อสู้กับเหลืองซึ่งเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายและสุจริตไม่ได้ เพราะเหลืองไม่ทราบการซื้อขายฝิ่นโดยใช้ตั๋วเงินระหว่างขาวกับเขียวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นไว้ว่า แม้ผู้ทรงนั้นจะสุจริตและเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่ถ้าปรากฏว่าข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ผู้ทรงนั้น เป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับตั๋วแลกเงินนั้นเอง เช่น ตั๋วนั้นขาดอายุความใช้เงินแล้ว ฯลฯ เหล่านี้สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ทรงที่สุจริตและชอบด้วยกฎหมายนั้นได้

ข อธิบาย

มาตรา 904 อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา 905 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

มาตรา 916 บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

มาตรา 989 วรรคแรก บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910 914 ถึง 923…

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริงนายถั่วพูได้รับเช็ค ซึ่งเป็นเช็คระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ มาจากนายถั่วเขียว การชำระหนี้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงถือว่านายถั่วพูเป็นผู้ทรงเช็คฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 904 905 จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก กล่าวคือ เมื่อนายถั่วพูเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายและมิใช่ได้เช็คมาโดยการคบคิดกันฉ้อฉลกับนายถั่วเขียว นายถั่วแดงก็จะยกข้ออ้างที่ว่าไม่ทราบว่านายถั่วพูได้เช็คมาอย่างไรนั้นขึ้นต่อสู้นายถั่วพูไม่ได้

สรุป ข้ออ้างดังกล่าวของนายถั่วแดงจึงฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 3 ก กฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามเช็คขีดคร่อมสำหรับธนาคารผู้จ่าย และธนาคารผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมไว้อย่างไร ให้อธิบายโดยยกหลักกฎหมายประกอบ

ข เอกยื่นคำขอให้ธนาคารสินไทยออกแคชเชียร์เช็ค (Cashier’s cheque) จำนวนสี่แสนบาท ระบุโทเป็นผู้รับเงินหรือตามคำสั่ง แล้วได้ส่งมอบเช็คให้แก่โทเพื่อชำระราคารถยนต์ โทรับเช็คนั้นมาแล้วจึงได้ขีดคร่อมทั่วไปไว้ที่ด้านหน้าเช็ค และลงลายมือชื่อของตนไว้ด้านหลังเพื่อประสงค์ที่จะมอบให้ธนาคารอ่าวไทยเรียกเก็บเงินตามเช็ค แต่ได้ทำเช็คนั้นตกหายไปโดยไม่รู้ตัว ตรีเก็บเช็คนั้นได้แล้วโอนโดยส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่จัตวา ต่อมาจัตวาได้นำเช็คดังกล่าวไปฝากให้ธนาคารกรุงทองเรียกเก็บเงินตามเช็คโดยเข้าบัญชีของจัตวาได้สำเร็จ ครั้นโทรู้ว่าเช็คนั้นหายไปและสืบทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และได้มาปรึกษาท่าน

(1) โทจะเรียกร้องให้ธนาคารสินไทย ธนาคารกรุงทอง และเอกให้รับผิดตามมูลหนี้ในเช็คและมูลหนี้เดิมได้เพียงใดหรือไม่

(2) โทจะเรียกร้องให้ตรีและจัตวาคืนเงินตามมูลหนี้ในเช็คนั้นได้หรือไม่

(3) การโอนเช็คพิพาทดังกล่าวขาดสายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก อธิบาย

เช็คขีดคร่อม หมายถึง เช็คที่บนด้านหน้าทางด้านซ้ายของเช็คมีรอยเส้นขนาน 2 เส้น ขีดพาดไว้ ในช่องระหว่างเส้นขนานทั้ง 2 เส้นนี้อาจจะมีถ้อยคำเขียนไว้ก็ได้ ตามมาตรา 994 แบ่งเช็คขีดคร่อมออกเป็น 2 ชนิด คือ

1 เช็คขีดคร่อมทั่วไป หมายถึง เช็คที่ในช่องระหว่างเส้นขนานทั้ง 2 เส้นว่างเปล่า ไม่มีถ้อยคำใดเขียนไว้ หรือมีถ้อยคำแต่เพียง “และบริษัท” หรือคำย่อใดๆอยู่ในระหว่างเส้นขนานทั้ง 2 เส้นนั้น

2 เช็คขีดคร่อมเฉพาะ หมายถึง เช็คที่ในช่องระหว่างเส้นขนานทั้ง 2 เส้นนั้น มีชื่อธนาคารใดธนาคารหนึ่งระบุลงไว้โดยเฉพาะ

หลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามเช็คขีดคร่อมสำหรับธนาคารผู้จ่าย (Paying Bank) ตามมาตรา 998 มีหลักคือ

– กรณีเช็คขีดคร่อมทั่วไป ธนาคารผู้จ่ายต้องใช้เงินแก่ธนาคารใดธนาคารหนึ่งของผู้ทรงเช็ค หากมีการนำเช็คนั้นให้ธนาคารอื่นเรียกเก็บ (Collecting Bank) หรือจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็ค จะจ่ายเป็นเงินสดมิได้

– กรณีเช็คขีดคร่อมเฉพาะ ธนาคารผู้จ่ายต้องใช้เงินให้แก่ธนาคารที่ระบุชื่อไว้โดยเฉพาะจะจ่ายให้ธนาคารอื่นมิได้ และจะจ่ายเป็นเงินสดมิได้

– กรณีเช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารกว่าธนาคารหนึ่งขึ้นไป ธนาคารผู้จ่ายต้องปฏิเสธการจ่ายเงิน เว้นแต่อีกธนาคารหนึ่งนั้นมีฐานะเป็นธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินแทน ดังนี้ ธนาคารผู้จ่ายก็สามารถจ่ายให้แก่ธนาคารตัวแทนนั้นได้ แต่จะจ่ายให้แก่ธนาคารอื่นมิได้

ดังนั้น ถ้าธนาคารผู้จ่ายได้ใช้เงินไปตามเช็คนั้นโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผลให้

1 ให้ถือว่าธนาคารผู้จ่ายได้ใช้เงินให้แก่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงและธนาคารก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้สั่งจ่ายด้วย ดังนี้ธนาคารผู้จ่ายย่อมมีสิทธิหักเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้

2 ให้ถือว่าผู้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมนั้นได้หลุดพ้นจากความรับผิดที่มีต่อผู้รับเงินเงิน ผู้รับเงินจะเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดตามเช็คนั้นหรือตามมูลหนี้เดิมอีกไม่ได้

หลักเกณฑ์การเบิกเงินตามเช็คขีดคร่อมสำหรับธนาคารผู้เรียกเก็บเงิน ตามมาตรา 1000 มีหลักคือ

1 ต้องเป็นเช็คที่ขีดคร่อมมาก่อน มิใช่ธนาคารขีดคร่อมเสียเอง

2 เช็คขีดคร่อมใบนั้น เมื่อเบิกมาแล้วจะต้องนำเข้าบัญชีของลูกค้าธนาคารนั้น

3 ธนาคารจะต้องดำเนินการเบิกเงินเพื่อลูกค้านี้โดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อ

ดังนั้นหากครบหลักเกณฑ์ดังกล่าว ธนาคารผู้เรียกเก็บเงินรายใดได้เรียกหรือรับเงินไว้ตามเช็คขีดคร่อมทั่วไปหรือเช็คขีดคร่อมเฉพาะ ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น (ผู้ทรงเดิม) แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้เคยค้านั้นไม่มีสิทธิในเช็คขีดคร่อมนั้นเลย หรือผู้เคยค้านั้นมีสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คขีดคร่อมนั้น

ข อธิบาย

มาตรา 905 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

มาตรา 917 วรรคแรก อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา 989 วรรคแรก บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910 914 ถึง 923

มาตรา 998 ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คขีดคร่อมเบิกเงินใช้เงินไปตามเช็คนั้นโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ กล่าวคือว่าถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ใช้เงินให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่ง ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะก็ใช้ให้แก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้เฉพาะ หรือใช้ให้แก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นไซร้ท่านว่าธนาคารซึ่งใช้เงินไปตามเช็คนั้นฝ่ายหนึ่ง กับถ้าเช็คตกไปถึงมือผู้รับเงินแล้ว ผู้สั่งจ่ายอีกฝ่ายหนึ่งต่างมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน และเข้าอยู่ในฐานะอันเดียวกันเสมือนดั่งว่าเช็คนั้นได้ใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแล้ว

มาตรา 1000 ธนาคารใดได้รับเงินไว้เพื่อผู้เคยค้าของตนโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่ออันเป็นเงินเขาใช้ให้ตามเช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนก็ดี หากปรากฏว่าผู้เคยค้านั้นไม่มีสิทธิหรือมีสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คนั้นไซร้ ท่านว่าเพียงแต่เหตุที่ได้รับเงินไว้หาทำให้ธนาคารนั้น ต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นแต่อย่างหนึ่งอย่างใดไม่

วินิจฉัย

(1) กรณีตามอุทาหรณ์

– โทจะเรียกร้องให้ธนาคารสินไทยรับผิดไม่ได้ เพราะธนาคารสินไทยเป็นธนาคารผู้สั่งจ่ายซึ่งได้ใช้เงินแก่ธนาคารที่เรียกเก็บเงินตามเช็คแล้ว ตามมาตรา 998 ให้ถือว่าธนาคารผู้สั่งจ่ายได้จ่ายเงินแก่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของที่แท้จริง

– โทจะเรียกร้องให้ธนาคารกรุงทองรับผิดไม่ได้ เพราะธนาคารกรุงทองเป็นธนาคารผู้เรียกเก็บเงิน ย่อมหลุดพ้นตามมาตรา 1000

– โทจะเรียกร้องให้เอกผู้สั่งจ่ายรับผิดไม่ได้ เพราะเอกหลุดพ้นเช่นเดียวกับธนาคารสินไทย ตามมาตรา 998

(2) โทจะเรียกร้องให้ตรีคืนเงินในฐานลาภมิควรได้ (มาตรา 409) แต่จะเรียกร้องให้จัตวาคืนเงินมิได้หากจัตวารับมอบเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ตามมาตรา 905 วรรคแรกและวรรคสอง

(3) การโอนเช็คดังกล่าวไม่ขาดสาย เพราะเป็นการสลักหลังโอนตั๋วเงินระบุชื่อ โดยลงลายมือชื่อของตนโดยลำพังด้านหลังตั๋วเงิน โดยมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลังลงไปด้วย จึงเป็นการสลักหลังลอยการที่ตรีเก็บเช็คนั้นได้แล้วโอนโดยส่งมอบเช็คนั้น ย่อมทำได้ เพราะถ้าสลักหลังลอยสามารถโอนได้โดยการส่งมอบ ดังนั้นการโอนเช็คพิพาทดังกล่าวจึงไม่ขาดสาย ตามมาตรา 905 วรรคแรกและวรรคสอง มาตรา 917 วรรคแรกประกอบด้วย 989 วรรคแรก

 

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 2/2550

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ 1  ก  บุญมีเปิดบัญชีฝากเงินประเภทกระแสรายวันกับธนาคารกรุงเก่ามหาชน  จำกัด  จำนวน  200,000  บาท  และมีการสะพัดทางบัญชีตลอดมา  ภายหลังบุญมีเหลือเงินฝากในบัญชีเพียงเล็กน้อยไม่พอที่จะใช้จ่ายในการลงทุน  จึงยื่นคำร้องต่อธนาคารขอเบิกเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่อยู่ในบัญชี  วงเงินไม่เกิน  2,000,000  บาท  โดยยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละบาทต่อเดือนในระบบดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตามประเพณีธนาคาร  หากเมื่อมีการหักทอนบัญชีแล้วปรากฏว่าบุญมีเป็นหนี้ธนาคาร  จนกว่าจะชำระส่วนที่เป็นหนี้ครบถ้วน  หลังจากนั้นบุญมีได้สะพัดทางบัญชีโดยมีการออกเช็คสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ของบุญมีและมีการฝากเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันเพื่อหักทอนบัญชีตลอดมา  ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างบุญมีกับธนาคารกรุงเก่ามหาชน  จำกัด   เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือไม่  เพราะเหตุใด  ต่อมาธนาคารได้มีการหักทอนบัญชีแล้วปรากฏว่าบุญมีเป็นหนี้ธนาคาร  3,000,000  บาท  ธนาคารจึงบอกเลิกสัญญาเรียกให้บุญมีชำระหนี้ในจำนวนดังกล่าวได้หรือไม่  อย่างไร

ข  ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงอย่างไรบ้าง

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

มาตรา  856  อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน  และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

มาตรา  859  คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใดๆก็ได้  ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้

วินิจฉัย

ธนาคารกรุงเก่ามหาชน  จำกัด  กับบุญมี  ต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน  และบุคคลทั้งสองได้ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นให้มีการนำหนี้ที่เกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองที่ต่างเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกันนั้น  มาตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยการหักกลบลบกันและชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาคอันเป็นหลักสำคัญของบัญชีเดินสะพัด  ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างบุญมีกับธนาคารกรุงเก่ามหาชน  จำกัด  จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด  ตามมาตรา  856   และเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด  ดังนั้นคู่สัญญาฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใดๆก็ได้  ตามมาตรา  859

สรุป  นิติสัมพันธ์ระหว่างบุญมีกับธนาคารกรุงเก่ามหาชน  จำกัด  เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด  ดังนั้นธนาคารฯมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกให้บุญมีชำระหนี้ได้

ข  อธิบาย 

การรับรองตั๋วแลกเงิน  คือ  การที่ผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วแลกเงินเพื่อผูกพันตนเองในอันที่จะรับผิดชอบจ่ายเงินตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายที่ได้มีคำสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน

สำหรับวิธีการรับรองตั๋วแลกเงินนั้น  มาตรา  931  ได้กำหนดแบบหรือวิธีการรับรองไว้โดยกำหนดให้ผู้จ่ายลงข้อความว่า  รับรองแล้ว  หรือข้อความอื่นทำนองเช่นเดียวกัน  เช่น  รับรองจะใช้เงิน  หรือ  ยินยอมจะใช้เงิน  ฯลฯ  และลงลายมือชื่อของผู้จ่ายในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้น  และอาจลงวันที่รับรองไว้หรือไม่ก็ได้  หรือเพียงแต่ผู้จ่ายลงลายมือชื่อของตนในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้นเพียงลำพังโดยไม่จำต้องมีข้อความดังกล่าวอยู่เลย  ก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้วเช่นเดียวกัน  อนึ่งการที่ผู้จ่ายทำการรับรองที่ด้านหลังตั๋วแลกเงิน  ถือว่าเป็นการรับรองที่ผิดแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนด    ไม่ถือว่าเป็นการรับรองหรือคำรับรองนั้นไม่มีผล

อย่างไรก็ดี  การรับรองตามมาตรา  931  นี้  ย่อมมีผลเฉพาะตัวผู้จ่ายเท่านั้น  บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้จ่าย  หากได้ทำการรับรองตามความในมาตรานี้ก็มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้รับรอง แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล (มาตรา  940)  หรือเป็นผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า  (มาตรา  953)  ก็ได้

การรับรองตั๋วแลกเงิน  ตามมาตรา  935  ได้กำหนดไว้  2  ประเภท  ดังนี้

1       การรับรองตลอดไป  คือ  การที่ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินทั้งหมดตามจำนวนเงินที่ปรากฏในตั๋วแลกเงิน  โดยไม่มีข้อแม้หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงิน

2       การรับรองเบี่ยงบ่าย  คือ  การรับรองใน  2  กรณีดังต่อไปนี้  คือ

 –          การรับรองเบี่ยงบ่ายอย่างมีเงื่อนไข  เช่น  ผู้จ่ายรับรองจะจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดในตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน

–          การรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วน  เช่น  ตั๋วแลกเงินราคา  50,000  บาท  ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินจำนวน  40,000  บาท  เป็นต้น

ผลของการรับรองตั๋วแลกเงิน  มีบัญญัติไว้ในมาตรา  937  กล่าวคือ  เมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้ว  ผู้จ่ายจะกลายเป็นผู้รับรองและต้องผูกพันรับผิดตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

 

ข้อ  2  ก  ผู้ทรงตั๋วเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย  มีหลักเกณฑ์เป็นอย่างไร  ให้อธิบายโดยยกหลักกฎหมายประกอบให้ชัดเจน

 ข  มะลิออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จำปีจ่ายเงินให้แก่จำปาเป็นตั๋วแบบระบุชื่อ  ต่อมาจำปาสลักหลังเฉพาะระบุชื่อกุหลาบ  แล้วส่งมอบตั๋วฯ  นั้นชำระหนี้ให้กุหลาบ  จากนั้นกุหลาบนำตั๋วฯ  นั้นไปสลักหลังลอยขาดลดให้แก่ลั่นทมซึ่งต่อมาลั่นทมก็ได้ส่งมอบตั๋วฯ  นั้นชำระหนี้ให้แก่ชวนชม  แล้วชวนชมก็สลักหลังตั๋วฯนั้นโดยระบุชื่อราตรี  แล้วส่งมอบให้แก่ราตรีเพื่อชำระหนี้

จากข้อเท็จจริงข้างต้นนั้น  ราตรีถือว่าเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

มาตรา  904  อันผู้ทรงนั้น  หมายความว่า  บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ  ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา  905  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม  ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก  ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น  เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง  ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น  หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่  เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้  ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย

อธิบาย

จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น  ทำให้สามารถสรุปหลักเกณฑ์ของการเป็นผูทรงตั๋วเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย  ดังนี้คือ

 1       เป็นผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง  (ยึดถือด้วยเจตนายึดถือเพื่อตน)

2       ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  สำหรับตั๋วเงินที่ระบุชื่อ  หรือเป็นผู้ถือ  สำหรับตั๋วเงินชนิดที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

3       ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย  (ผู้ทรงโดยสุจริต)  และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

4       ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นมาโดยการสลักหลังไม่ขาดสาย

อนึ่งการสลักหลังไม่ขาดสาย  หมายถึง  การสลักหลังตั๋วเงินโดยโอนรับช่วงติดต่อกันมาตามลำดับจนถึงมือของผู้ทรงคนปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน

ข  อธิบาย

มาตรา  904  อันผู้ทรงนั้น  หมายความว่า  บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ  ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา  905  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม  ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก  ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น  เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

มาตรา  920  วรรคสอง  ถ้าสลักหลังลอย  ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้  คือ

(3)โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง  และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด

วินิจฉัย

ลั่นทมเป็นผู้ทรงตั๋วเงินระบุชื่อที่ได้มาจากการสลักหลังลอยของกุหลาบ  จึงมีสิทธิส่งมอบตั๋วฯ  ชำระหนี้ให้กับชวนชมต่อไปได้  ตามมาตรา 920  วรรคสอง  (3)  ซึ่งถือว่าชวนชมเป็นผู้ทรงที่ได้รับตั๋วฯ  มาจากการสลักหลังลอยของกุหลาบโดยตรงโดยไม่ผ่านมือของลั่นทมเลย  เพราะลั่นทมได้โอนตั๋วฯมาโดยการส่งมอบ  จึงไม่ปรากฏลายมือของลั่นทมในตั๋วฯ  โดยไม่ถือว่าการโอนตั๋วฯนี้ขาดสายแต่อย่างใด  ตามมาตรา  905  วรรคแรก  ดังนั้นเมื่อชวนชมถือว่าเป็นผู้ทรงตั๋วฯ  โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ต่อมาชวนชมสลักหลังตั๋วฯ  ชำระหนี้ให้ราตรี  ราตรีก็ยอม  เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เช่นเดียวกัน  ตามมาตรา  904  และมาตรา  905  วรรคแรก

สรุป  ราตรีเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ  3  ก  เช็คที่มีการลงลายมือชื่อปลอมกับเช็คที่มีการลงลายมือชื่อ  โดยปราศจากอำนาจนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  จะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายแก่คู่สัญญาในเช็คนั้นอย่างไร  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย

          ข  เอกได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้าชำระราคาสินค้า  จำนวน  300,000  บาท  ระบุชื่อบริษัทผู้ขายเป็นผู้รับเงิน  พร้อมกับขีดคร่อมทั่วไปและได้ขีดฆ่าเฉพาะคำว่า  หรือผู้ถือ  ในเช็คนั้นโดยมิได้ขีดฆ่าคำว่า  “or  bearer”  ในเช็คนั้นออกแต่อย่างใด  ต่อมาตรีได้สลักหลังเช็คแทนโดยที่โทผู้จัดการบริษัทผู้ขายมิได้มอบอำนาจในการสลักหลังขายลดเช็คพิพาทดังกล่าวให้แก่จัตวาซึ่งได้เข้าทำสัญญารับซื้อลดเช็คพิพาทนั้นไว้โดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่อย่างใด  เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าตรีเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ขายนั้น  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า  เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อหรือเป็นเช็คผู้ถือ  จัตวาเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทหรือไม่  หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค  จัตวาจะบังคับไล่เบี้ยเอก  โท  และตรีให้ต้องรับผิดตามมูลหนี้ในเช็คพิพาทดังกล่าวได้เพียงใดหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

เช็คที่มีการลงลายมือชื่อปลอมกับเช็คที่มีการลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจนั้นมีทั้งความเหมือนกันและแตกต่างกัน  กล่าวคือ

–          กรณีที่เหมือนกัน  คือ  เช็คนั้นย่อมเสียไปทั้งฉบับสำหรับเจ้าของลายมือชื่อ  ซึ่งถูกปลอมลายมือชื่อ  และเจ้าของลายมือชื่อซึ่งมิได้มอบอำนาจ  อีกทั้งเป็นผลให้ผู้ใดจะแสวงสิทธิจากลายมือชื่อทั้งสองนั้นเพื่อยึดหน่วงเช็คนั้นไว้ก็ดี  หรือเพื่อทำให้หลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินตามเช็คนั้นก็ดี  หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามมูลหนี้ในเช็คนั้นก็ดี  ย่อมไม่อาจกระทำได้  เว้นแต่บุคคลซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง  หรือจะพึงถูกบังคับการใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานะเป็นบุคคลซึ่งถูกตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลายมือชื่อซึ่งลงไว้โดยปราศจากอำนาจขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้  (มาตรา  1008  วรรคแรก)  หรือเว้นแต่กรณีที่ธนาคารผู้ใช้เงินตามเช็คระบุชื่อที่มีการสลักหลังปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจตามนัยมาตรา  1009

–          กรณีที่แตกต่างกัน  คือ  เช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและหรือลายมือชื่อผู้สลักหลังชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม  เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอม  ไม่อาจให้สัตยาบันได้  หากแสดงออกด้วยการยอมรับว่าเป็นลายมือชื่อตนเอง  กรณีย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทหรือถูกปิดปากมิให้ยกลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้  ขณะที่ลายมือชื่อที่ลงไว้โดยปราศจากอำนาจ  เจ้าของลายมือชื่อที่เขาลงไว้โดยมิได้มอบอำนาจอาจให้สัตยาบันได้  และกลายเป็นการลงลายมือชื่อโยได้รับมอบอำนาจ  (มาตรา  1008  วรรคท้าย)

ข  อธิบาย

มาตรา  900  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  904  อันผู้ทรงนั้น  หมายความว่า  บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลัง  ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ  ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา  905  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา  1008  บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย  แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม  ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก  ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้มีลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น  เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง  ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น  หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่  เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  917  วรรคแรก  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา  959  ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง  ผู้สั่งจ่าย  และบุคคลอื่นๆซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้  คือ

(ก)  ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน

มาตรา  967  วรรคแรก  ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา …  914  ถึง  923  959  967  967

มาตรา  1008  วรรคแรก  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้  เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี  เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี  ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้  ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี  หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี  ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด  เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม  หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

วินิจฉัย

เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อบริษัทผู้ขายเป็นผู้รับเงิน  เมื่อได้มีการขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ที่เป็นภาษาไทยแล้ว  ก็เพียงพอแล้วที่จะถือว่าเป็นเช็คระบุชื่อ  ย่อมโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ  (มาตรา  917  วรรคแรก  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก)

การที่ตรีได้ลงลายมือชื่อโทผู้จัดการบริษัทผู้ขายในฐานะเป็นผู้รับเงิน  ซึ่งมิได้อนุญาตหรือมอบอำนาจไว้ไปสลักหลังขายลดเช็คพิพาทให้แก่จัตวา  กรณีย่อมเป็นการลงลายมือชื่อสลักหลังโดยปราศจากอำนาจ  ย่อมเป็นผลให้ลายมือชื่อโทนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย  ตามนัยมาตรา  1008  วรรคแรก  เท่ากับว่าจัตวาได้รับเช็คพิพาทนั้นมาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย  จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  904    และ  905  วรรคแรกและวรรคสอง  แม้ว่าธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน  จัตวาก็จะบังคับให้เอก  โท    และตรี  ให้ต้องรับผิดตามมูลหนี้ในเช็คพิพาทดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา  900  วรรคแรก  914  959  ก)  967  วรรคแรก  และมาตรา 989  วรรคแรก

สรุป  –     เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อ

–          จัตวาไม่เป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย

–          จัตวาไล่เบี้ยเอก  โท  และตรีมิได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด S/2550

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  ก  อาทิตย์ออกทุนให้จันทร์ออกทะเลจับปลาครั้งละห้าแสนบาท  เป็นเวลา  5  ปี  โดยให้เบิกเป็นเงินสด  น้ำมัน  หรือน้ำแข็งเพื่อใช้แช่ปลา  โดยอาทิตย์จะจดบัญชีคำนวณเป็นจำนวนเงินทั้งหมดตามที่จันทร์เบิกไปและเมื่อจันทร์ได้ปลามาแล้วจะต้องขายให้อาทิตย์  โดยอาทิตย์จะชำระราคาปลาให้กับจันทร์เพียง  10  เปอร์เซ็นต์  เพื่อให้จันทร์ไว้ใช้ส่วนตัว  ส่วนอีก  90  เปอร์เซ็นต์นั้นเก็บไว้เพื่อรอชำระหนี้ แล้วมอบใบเสร็จรับเงินให้จันทร์เก็บไว้เพื่อตรวจสอบและหักบัญชีกันทุกๆ  3  เดือน  ทำให้รู้ว่าฝ่ายใดเป็นหนี้จำนวนเงินเท่าใด  และจะกระทำเช่นนี้ตลอดเวลา  5  ปี  ดังนี้  นิติสัมพันธ์ระหว่างอาทิตย์กับจันทร์เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือไม่

ข  การรับรองตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

มาตรา  856  อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน  และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

วินิจฉัย

นิติสัมพันธ์ระหว่างอาทิตย์กับจันทร์มีข้อตกลงว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลาอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค  จึงถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา  856

สรุป  นิติสัมพันธ์ระหว่างอาทิตย์กับจันทร์เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด

ข อธิบาย

การรับรองตั๋วแลกเงิน  คือ  การที่ผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วแลกเงินเพื่อผูกพันตนเองในอันที่จะรับผิดชอบจ่ายเงินตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายที่ได้มีคำสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน

สำหรับวิธีการรับรองตั๋วแลกเงินนั้น  มาตรา  931  ได้กำหนดแบบหรือวิธีการรับรองไว้โดยกำหนดให้ผู้จ่ายลงข้อความว่า  รับรองแล้ว  หรือข้อความอื่นทำนองเช่นเดียวกัน  เช่น  รับรองจะใช้เงิน  หรือ  ยินยอมจะใช้เงิน  ฯลฯ  และลงลายมือชื่อของผู้จ่ายในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้น  และอาจลงวันที่รับรองไว้หรือไม่ก็ได้  หรือเพียงแต่ผู้จ่ายลงลายมือชื่อของตนในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินนั้นเพียงลำพังโดยไม่จำต้องมีข้อความดังกล่าวอยู่เลย  ก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้วเช่นเดียวกัน  อนึ่งการที่ผู้จ่ายทำการรับรองที่ด้านหลังตั๋วแลกเงิน  ถือว่าเป็นการรับรองที่ผิดแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนด    ไม่ถือว่าเป็นการรับรองหรือคำรับรองนั้นไม่มีผล

อย่างไรก็ดี  การรับรองตามมาตรา  931  นี้  ย่อมมีผลเฉพาะตัวผู้จ่ายเท่านั้น  บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้จ่าย  หากได้ทำการรับรองตามความในมาตรานี้ก็มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้รับรอง แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล (มาตรา  940)  หรือเป็นผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า  (มาตรา 953)  ก็ได้

การรับรองตั๋วแลกเงิน  ตามมาตรา  935  ได้กำหนดไว้  2  ประเภท  ดังนี้

1       การรับรองตลอดไป  คือ  การที่ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินทั้งหมดตามจำนวนเงินที่ปรากฏในตั๋วแลกเงิน  โดยไม่มีข้อแม้หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงิน

2       การรับรองเบี่ยงบ่าย  คือ  การรับรองใน  2  กรณีดังต่อไปนี้  คือ

 –          การรับรองเบี่ยงบ่ายอย่างมีเงื่อนไข  เช่น  ผู้จ่ายรับรองจะจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดในตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน

–          การรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วน  เช่น  ตั๋วแลกเงินราคา  50,000  บาท  ผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินจำนวน  40,000  บาท  เป็นต้น

ผลของการรับรองตั๋วแลกเงิน  มีบัญญัติไว้ในมาตรา  937  กล่าวคือ  เมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้ว  ผู้จ่ายจะกลายเป็นผู้รับรองและต้องผูกพันรับผิดตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

 

ข้อ  2  ก  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  บัญญัติวิธีการโอนตั๋วเงินไว้อย่างไร  ให้อธิบายโดยสังเขป

          ข  จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าสั่งให้ธนาคารสินไทยจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ  จำนวน  500,000  บาท  มอบให้อังคาร  เพื่อเป็นการวางมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  อังคารสลักหลังขายลดเช็คโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดเช็คนั้น  ต่อมาพุธได้ส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัส  ถึงกำหนดวันที่ออกเช็ค  พฤหัสได้นำเช็คนั้นไปฝากเข้าบัญชีของตนที่ธนาคารกรุงทองให้ธนาคารเรียกเก็บเงินแทน  แต่ธนาคารสินไทยปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากเงินในบัญชีฯ  จันทร์ไม่พอจ่าย  ดังนี้ใครบ้างที่ต้องรับผิดและไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นต่อพฤหัสเพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ตามลักษณะของตั๋วแลกเงินมีอยู่  2  ชนิด  คือ  ตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตามคำสั่งผู้รับเงิน  เรียกว่า  ตั๋วแลกเงินระบุชื่อ  ซึ่งในตั๋วเงินทั้ง  3  ประเภท  คือ  ตั๋วแลกเงิน  ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค  และตั๋วแลกเงินชนิดที่ระบุชื่อผู้รับและมีคำว่า  หรือผู้ถือ  รวมอยู่ด้วย หรือระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ  เรียกว่า  ตั๋วแลกเงินผู้ถือ  ซึ่งมีเฉพาะตั๋วแลกเงินและเช็คเท่านั้น

ดังนั้นวิธีการโอนตั๋วแลกเงินจึงแตกต่างกันตามชนิดของตั๋วแลกเงินดังกล่าวข้างต้น  กล่าวคือ

1       กรณีโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อ  มาตรา  917  วรรคแรก  บัญญัติให้โอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

อนึ่งการสลักหลังมี  2  วิธี  คือ  สลักหลังเฉพาะ  (เจาะจงชื่อผู้รับสลักหลัง)  ซึ่งมาตรา  919  ได้บัญญัติวิธีการสลักหลังไว้ดังนี้

 (ก)  สลักหลังเฉพาะ  (Specific  Endorsement)  ให้ระบุชื่อผู้รับสลักหลัง  แล้วลงลายมือชื่อผู้สลักหลังลงไปในตั๋วเงิน  โดยจะกระทำด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินนั้นก็ได้  (มาตรา  917  วรรคแรก  มาตรา  919  วรรคแรก)

(ข)  สลักหลังลอย  (Blank  Endorsement)  ผู้สลักหลังเพียงลงลายมือชื่อตนเองโดยลำพังด้านหลังตั๋วเงิน  โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้รับประโยชน์  (ผู้รับสลักหลัง)  (มาตรา  917  วรรคแรก  มาตรา  919  วรรคสอง)

ผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังโอนตั๋วเงินนั้นมาจากการสลักหลังดังกล่าวใน  (ก)  หรือ  (ข)  แล้วก็สามารถสลักหลังโอนตั๋วเงินระบุชื่อนั้นโดยวิธีข้างต้นต่อไปอีกก็ได้  แต่ผู้ทรงที่ได้รับโอนตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย  สามารถเลือกโอนตั๋วเงินระบุชื่อนั้นต่อไปได้อีก  3  วิธี  ทั้งนี้ตามมาตรา  920  วรรคสอง  คือ

(1) เติมชื่อบุคคลที่ตนเองประสงค์จะโอนให้

(2) สลักหลังลอยหรือสลักหลังเฉพาะต่อไป  หรือ

(3) ส่งมอบต่อไปโดยไม่ต้องสลักหลัง

 2       กรณีโอนตั๋วแลกเงินผู้ถือ  มาตรา  918  บัญญัติให้โอนต่อไปได้ด้วยการส่งมอบ

ข  อธิบาย

มาตรา  900  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด  เช่น  แกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไซร้  แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม  ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

วินิจฉัย

เช็คที่จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบให้แก่อังคาร  เพื่อเป็นการวางมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  เช็คดังกล่าวเป็นเช็คผู้ถือสามารถโอนได้ด้วยการส่งมอบ  และยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบด้วยกฎหมาย  แม้จะมีการสลักหลังโอนตั๋วเช็คชนิดผู้ถือ  โดยผู้ทำการสลักหลังนั้นจะต้องผิดในฐานเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  ผู้สั่งจ่าย  ดังนั้นเมื่อธนาคารสินไทยปฏิเสธการจ่ายเงิน  พฤหัสผู้ทรงเช็คสามารถฟ้องจันทร์ที่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะผู้สั่งจ่ายให้รับผิดได้  ตามมาตรา  900  ประกอบมาตรา  914  ส่วนอังคารสลักหลังขายลดเช็คโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดเช็คนั้นอังคารต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลจันทร์ผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  921  พุธได้ส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัส  โดยที่พุธมิได้ลงลายมือชื่อบนเช็คนั้น  พุธจึงไม่ต้องรับผิดตามกฎหายตั๋วเงินต่อพฤหัสถึงกำหนดวันที่ออกเช็ค  ตามมาตรา  900

สรุป  จันทร์และอังคารต้องรับผิด  ส่วนพุธไม่ต้องรับผิด

 

ข้อ  3  ก  ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขรายการที่สำคัญนั้นจะเกิดผลอย่างไรกับบุคคลที่เป็นคู่สัญญาบ้าง

ข  เอกเขียนและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเมื่อวันที่  8  มิถุนายน  2550  สั่งให้ธนาคารสินไทยจ่ายเงินจำนวน  500,00  บาท  ให้กับนายบุญมีและขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ออกแล้ว  ระบุวันที่ออกเช็คคือ  วันที่  8  สิงหาคม  2550  มอบให้นายบุญมี  เพื่อเป็นการวางมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  บุญมีสลักหลังขายลดเช็คโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดเช็คนั้น  ต่อมาพุธได้สลักหลังเช็คนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัสโดยมี  โทเป็นผู้รับอาวัล  พูธ  ดังนี้  วันที่  8  สิงหาคม  2550  นายเอกมาพบพฤหัสแจ้งให้ทราบว่าเงินในบัญชีของตนไม่มีเงินพอที่จ่าย  จึงขอแก้วันที่ออกเช็คเป็นวันที่  10  กันยายน  2550  โดยลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไว้  วันที่  12  กันยายน  2550  พฤหัส  นำเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารสินไทยปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากเงินในบัญชีฯ  เอกมีไม่พอจ่าย  ดังนี้ใครบ้างที่ต้องรับผิดและไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นต่อพฤหัส

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย 

ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงิน  เช่น  แก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงิน  กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย  (มาตรา  1007  วรรคสาม)  ตาม  ป.พ.พ.  ได้บัญญัติผลตามกฎหมายไว้  2  กรณี  คือ

 1       กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นประจักษ์  กล่าวคือ  มองเห็นได้หรือมีการแก้ไขไม่แนบเนียนหรือเห็นเป็นประจักษ์นั่นเอง  โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินเสียไป  แต่ยังคงใช้ได้กับผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  (มาตรา  1007  วรรคแรก)

2       กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ประจักษ์  กล่าวคือ  มองไม่เห็น  หรือมีการแก้ไขได้อย่างแนบเนียน  หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์  และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้  เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นตามเนื้อความเดิมก็ได้  (มาตรา  1007  วรรคสอง)

ข  อธิบาย

มาตรา  1007  ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด  หรือในคำรับรองตั๋วเงินใด  มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย  เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใดๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

วินิจฉัย

การที่เอกขอแก้วันที่ออกเช็คจากวันที่  8  สิงหาคม  2550  เป็นวันที่  10  กันยายน  2550  โดยลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขไว้ถือว่าเป็นการแก้ไขรายการที่สำคัญในเช็คตามมาตรา  1007  วรรคท้าย  และเป็นการแก้ไขที่ประจักษ์มีผลทำให้เช็คนั้นเสียไปแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นคือ  เอกยังต้องรับผิดต่อพฤหัส  ส่วนโทผู้รับอาวัลพุธนั้นมิได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  กับทั้งมิใช่ผู้สลักหลังในภายหลัง  จึงมิต้องรับผิดต่อพฤหัสแต่อย่างใด  ตามมาตรา  1007  วรรคแรก

สรุป  เฉพาะนายเอกผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเท่านั้นต้องรับผิดต่อพฤหัส

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด สอบซ่อม 1/2551

การสอบซ่อมภาค  1  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ 1.       ก)    สมควรทำสัญญาฝากเงินประเภท บัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมาก  โดยมีข้อตกลงในคำขอเปิดบัญชีดังกล่าวว่า ธนาคารฯ จะจ่ายเงินตามเช็คที่สมควรออกสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินนั้นธนาคารให้ไม่เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของสมควร (ผู้ฝาก) ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมดังกล่าวระหว่างสมควรและธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมาก  เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือไม่   เพราะเหตุใด  

ข)    อำนาจและหน้าที่ของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิกแก่ตนนั้นจะสุดสิ้นไปเมื่อกรณีใดบ้าง (10 คะแนน)        

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา856 (5 คะแนน)

ก.    การที่สมควรทำสัญญาฝากเงินประเภท บัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมากนั้น สมควรจึงมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมากในการที่จะใช้เช็คสั่งให้ธนาคารไทยยวนลูกหนี้จ่ายเงินให้กับบุคคลใดตามที่ตนเองมีสิทธิในฐานะผู้ฝากเงินและไม่มีข้อตกลงกับธนาคารเพื่อเบิกเงินเกินบัญชีแต่อย่างใด ดังนั้นสมควรไม่ใช่ลูกหนี้ของธนาคาร  ดังนั้นสมควรและธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมากไม่สามารถตกลงกันให้เอาหนี้ที่เกิดขึ้นโดยที่ต่างฝ่ายเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้ซึ่งกันและกันมาตัดทอนด้วยการกักกลบลบหนี้และชำละแต่จำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดนสะพัด 

นิติกรรมระหว่างสมควรและธนาคารไทยยวนสาขาหัวหมาก ไม่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด (10 คะแนน)

ข.    ตอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 992 (10 คะแนน)

 

ข้อ 2.       ก)    ให้นักศึกษาอธิบายหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คมาโดยละเอียด (10 คะแนน)

ข)    นายพลเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารมั่งคั่ง จำกัด (มหาชน) สาขารามคำแหง ต่อมานายพลได้เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 50,000 บาท จากบัญชีดังกล่าว  ชำระหนี้ค่าเช่าบ้านย่านถนนรามคำแหงให้แก่นายณัฐ  เมื่อนายณัฐได้เช็คนั้นมาก็ละเลยมิได้นำเช็คนั้นไปยื่นให้ธนาคารมั่งคั่งฯ ใช้เงินจนเวลาล่วงเลยนับแต่วันออกเช็คมาเป็นเวลาห้าเดือนเศษ  นายณัฐจึงนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารมั่งคั่งฯ ใช้เงินตามเช็ค  แต่ปรากฏว่าธนาคารมั่งคั่งฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยให้เหตุผลว่า “เงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย”

ในกรณีนี้ นายณัฐจะเรียกให้นายพลต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายณัฐได้หรือไม่  เพราะเหตุใด  (15 คะแนน)

ธงคำตอบ

ก)  ป.พ.พ. มาตรา 990 (10 คะแนน)

ข)  ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคแรก

กรณีดังกล่าวเป็นเช็คที่ออกในเมืองเดียวกัน ซึ่งผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในเดือนหนึ่ง    นับแต่วันลงในเช็คมิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่ายเท่าที่เสียหาย โดยจากข้อเท็จจริงนั้นปรากฏว่านายณัฐยื่นเช็คให้ธนาคารมั่งคั่งฯ ใช้เงินตามเช็คล่วงเลยเวลามาถึงห้าเดือนเศษ ซึ่งแม้ว่าธนาคารมั่งคั่งฯ        จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยให้เหตุผลว่า “เงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย”  ก็ตาม  ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่นายณัฐทำให้    นายพลเสียหายแต่ประการใด

ดังนั้น นายพลจึงยังต้องรับผิดชอบชำระเงินจำนวน 50,000 บาท ตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายณัฐ (15 คะแนน)

 

ข้อ 3.       ก)    การขีดคร่อมเช็คนั้นกระทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด กฎหมายตั๋วเงินได้วางหลักเกณฑ์ให้ธนาคาร ผู้จ่ายและธนาคารผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมต้องปฏิบัติอย่างไร (10 คะแนน)

ข)    พิเศษลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้า ธนาคารสินไทยระบุเอกเป็นผู้รับเงินหรือผู้ถือ พร้อมทั้งได้ขีดคร่อมทั่วไปลงไว้ข้างบนด้านหน้าเช็คเพื่อเตรียมชำระหนี้เอก  แต่เช็คนั้นตกหายไปโดยพิเศษไม่ทราบ  โทเก็บเช็คนั้นได้แล้วส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ตรีซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริต และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้วได้นำเช็คนั้นฝากให้ธนาคารกรุงทองเรียกเก็บเงินจากธนาคารสินไทยเข้าบัญชีตรีที่ธนาคารกรุงทองได้สำเร็จ  ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าเอกเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นหรือไม่  อีกทั้งพิเศษ ธนาคารสินไทย และธนาคารกรุงทองยังคงต้องรับผิดต่อเอกหรือไม่  เพราะเหตุใด (15 คะแนน)

ธงคำตอบ

ก)  อธิบายโดยอ้างอิง มาตรา 994, 997, 998 และมาตรา 1000   =  10 คะแนน

ข)  หลักกฎหมาย    (1)  มาตรา 998  =  2.5   คะแนน

(2)  มาตรา 1000 = 2.5   คะแนน

รวม        5     คะแนน

วินิจฉัย

 เอกมิได้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น เพราะพิเศษยังมิได้มอบเช็คให้เอก พิเศษจึงยังคงเป็นหนี้ตามมูลหนี้เดิมที่มีต่อเอก เนื่องจากยังถือไม่ได้ว่าพิเศษได้ชำระหนี้เอกแล้ว (มาตรา 998) ส่วนธนาคารสินไทย และธนาคารกรุงทอง ซึ่งต่างก็เป็นธนาคารผู้จ่ายและธนาคารผู้เรียกเก็บ หากได้ดำเนินการจ่ายเงินและเรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมไปโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าได้จ่ายเงินให้แก่ตรี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว (มาตรา 998 และมาตรา 1000)

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 1/2551

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  ก  พลับพลามีรถยนต์บรรทุกดินเป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกกับการเติมน้ำมันให้กับรถบรรทุกดิน  พลับพลาจึงทำข้อตกลงกับบริษัท  ปตอ  จำกัด  ผู้ให้บริการน้ำมันโดยรถยนต์บรรทุกดินทุกคันของพลับพลาเข้าเติมน้ำมันที่บริษัท  ปตอ  จำกัด  จะให้สินเชื่อกับพลับพลาโดยเติมน้ำมันในกับรถยนต์ไปก่อนและพลับพลาจะชำระราคาน้ำมันให้กับบริษัท  ปตอ  จำกัด  ทุกๆ  45  วัน  โดยบริษัท  ปตอ จำกัด  จะส่งรายการบัญชีและใบเสร็จค่าน้ำมันให้พลับพลา  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนทุกๆ  30  วัน  เพื่อทราบยอดเงินที่ต้องชำระ  และบริษัท  ปตอ  จำกัด  จะลงรายการในบัญชีว่าเป็นหนี้อยู่จำนวนเท่าใด  และจะเรียกเก็บในรอบบัญชีต่อไป  ดังนี้  นิติสัมพันธ์ระหว่างพลับพลากับบริษัท  ปตอ  จำกัด  เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือไม่เพราะเหตุใด

ข  อาวัล  คืออะไร  และทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

ธงคำตอบ

มาตรา  856  อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน  และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

วินิจฉัย

พลับพลามีหนี้ที่จะต้องชำระ  คือ  ราคาน้ำมันให้กับบริษัท  ปตอ  จำกัด  แต่ในส่วนของบริษัท  ปตอ  จำกัด  ไม่มีหนี้สินอันใดจะต้องชำระให้กับพลับพลาแต่อย่างใด  ดังนั้นข้อตกลงระหว่างพลับพลากับบริษัท  ปตอ  จำกัด  จึงไม่ใช่ข้อตกลงว่าสืบแต่นั้นไป  หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง  ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค  จึงถือว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด

สรุป  นิติสัมพันธ์ระหว่างพลับพลากับบริษัท  ปตอ  จำกัด  ไม่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด

อาวัลหรือการรับอาวัล  คือ  การที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้วเข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมด  หรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วเงินต่อผู้ที่เป็นเจ้าหนี้  ซึ่งตั๋วเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนได้และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่าประกันผู้ใด  ถ้าไม่ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นการประกันผู้สั่งจ่าย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

            การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  ใช้ได้เป็นอาวัล  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการรับอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้  (มาตรา 939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่)

            โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก)

 

ข้อ  2  ก  กฎหมายกำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คไว้หรือไม่  อย่างไร  จงอธิบาย

ข  นายแดงเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารมั่นคงจำกัด  (มหาชน)  สาขาหัวหมาก  ต่อมานายแดงได้เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน  100,000  บาท  จากบัญชีดังกล่าว  ชำระหนี้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์ย่านถนนรามคำแหงให้แก่นายขาว  เมื่อนายขาวได้เช็คนั้นมาก็ละเลยมิได้นำเช็คนั้นไปยื่นให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินจนเวลาล่วงเลยนับแต่วันออกเช็คมาเป็นเวลาหกเดือนเศษ  นายขาวจึงนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินตามเช็ค  แต่ปรากฏว่าธนาคารมั่นคงฯตกเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลก  จึงไม่สามารถชำระเงินให้แก่นายขาวได้

หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า  ถ้านายขาวนำเช็คมาขึ้นเงินก่อนที่ธนาคารมั่นคงฯ  จะตกเป็นบุคคลล้มละลาย  ธนาคารมั่นคงฯ  ก็ยังสามารถชำระเงินตามเช็คให้แก่นายขาวได้  ดังนี้  นายแดงจะยังคงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายขาวอยู่หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คนั้น  มาตรา  990  วรรคแรก  ได้วางหลักให้ผู้ทรงยื่นเช็คแก่ธนาคารภายในระยะเวลาจำกัดดังนี้

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกัน  (จังหวัดเดียวกัน)  กับที่ออกเช็ค  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่น  (เช็คที่มิได้ออกและให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน)  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  3  เดือนนับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

ถ้าผู้ทรงเช็คละเลยเสียไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ย่อมเป็นผลเสียแก่ผู้ทรงดังนี้  คือ

1       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังทั้งปวง  และ

2       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้สั่งจ่าย

และมาตรา  990  วรรคท้าย  ยังได้วางหลักในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะความเสียหายดังกล่าว  ให้ผู้ทรงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายไปไล่เบี้ยเอากับธนาคารนั้นได้

ข  อธิบาย

มาตรา  990  วรรคแรก  ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน  คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น  ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน  ถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง  ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย  เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น

วินิจฉัย

กรณีดังกล่าวเป็นเช็คที่ออกในเมืองเดียวกัน  ซึ่งผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันเดือนปีที่ลงในเช็ค  มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลัง  หรือผู้สั่งจ่ายเท่าที่เสียหาย  โดยจากข้อเท็จจริงนั้นปรากฏว่านายขาวยื่นเช็คให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินตามเช็คล่วงเลยเวลามาถึง  6  เดือนเศษ  แต่ธนาคารมั่นคงฯ  ล้มละลาย  จึงไม่สามารถชำระเงินตามเช็คให้แก่นายขาวได้  ซึ่งส่งผลให้นายขาวสิ้นสิทธิในการไล่เบี้ยเงินตามเช็คกับนายแดงผู้สั่งจ่าย  ทั้งนี้เพราะจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า  หากนายขาวยื่นเช็คให้ธนาคารมั่นคงฯ  ใช้เงินก่อนที่จะล้มละลาย  ธนาคารมั่นคงก็จะยังสามารถชำระเงินให้แก่นายขาวได้  ดังนั้นการกระทำของนายขาวทำให้นายแดงเสียหาย

สรุป  นายแดงผู้สั่งจ่ายจึงหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดชอบชำระเงิน  100,000  บาท  ตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายขาวแต่อย่างใด

 

ข้อ  3  ก  ตั๋วเงินปลอม  อาจเกิดขึ้นได้จากกรณีใดบ้าง  และจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายแก่ผู้ทรงซึ่งชอบด้วยกฎหมายอย่างไร

ข  ชื่อได้รับเช็คพิพาทจากการส่งมอบของโกงเพื่อชำระราคาสินค้าจำนวน  60,000  บาท  (หกหมื่นบาทถ้วน)  ข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คพิพาทดังกล่าวมีกล้วยเป็นผู้สั่งจ่ายระบุโกงเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ในเช็คนั้นออกแล้วมอบให้โกงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นประกันในการผลิตและส่งมอบสินค้าตามสัญญาให้แก่กล้วย  จำนวน  50,000  บาท  (ห้าหมื่นบาทถ้วน)  ระหว่างนั้นต้นทุนการผลิตสินค้าตามสัญญามีราคาสูงขึ้น  โกงจึงแก้ไขจำนวนเงินในเช็คทั้งจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือเป็น  60,000  บาท  (หกหมื่นบาทถ้วน)  แล้วลงลายมือชื่อด้านหลังเพื่อเตรียมไปฝากให้ธนาคารที่ตนมีบัญชีเรียกเก็บให้  แต่ได้เปลี่ยนใจแล้วนำเช็คพิพาทนั้นไปส่งมอบชำระราคาสินค้าให้แก่ซื่อซึ่งรับโอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเนื่องจากไม่ปรากฏร่องรอยการแก้ไขหรือมีพิรุธอย่างใด  ต่อมาธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะกล้วยได้บอกห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทนั้น  เนื่องจากโกงไม่ส่งมอบสินค้าตามสัญญา  พร้อมกับยกเหตุผลนั้นขึ้นต่อสู้ซื่อด้วย  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าซื่อจะฟ้องบังคับไล่เบี้ยกล้วยและโกงได้เพียงใดหรือไม่  เพราะเหตุใด  

ธงคำตอบ

ก  ตั๋วเงินปลอม  อาจเกิดขึ้นได้จาก  2  กรณี  ได้แก่  การปลอมด้วยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงินนั้น  (มาตรา  1007) และการปลอมด้วยการลงลายมือชื่อปลอมหรือลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจ  (มาตรา  1008) 

1       ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงิน  เช่น  จำนวนเงินอันพึงจะใช้  (มาตรา  1007  วรรคสาม)  นั้น  ป.พ.พ.  ได้บัญญัติผลตามกฎหมายไว้  2  กรณีคือ

กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นประจักษ์  กล่าวคือ  มองเห็นได้หรือมีการแก้ไขไม่แนบเนียนหรือเห็นเป็นประจักษ์นั่นเอง  โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินเสียไป  แต่ยังคงใช้ได้กับผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  (มาตรา  1007  วรรคแรก)

            กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ประจักษ์  กล่าวคือ  มองไม่เห็น  หรือมีการแก้ไขได้อย่างแนบเนียน  หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้  เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นตามเนื้อความเดิมก็ได้  (มาตรา  1007  วรรคสอง)

2       ในกรณีที่มีการลงลายมือชื่อปลอมในตั๋วเงิน  ป.พ.พ.  มาตรา  1006  ได้บัญญัติให้ตั๋วเงินนั้นยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้  ลายมือชื่อปลอมนั้นโดยหลักการแล้ว  ไม่มีผลกระทบไปถึงความสมบูรณ์ของลายมือชื่ออื่นๆในตั๋วเงินนั้น  ขณะเดี่ยวกัน  ป.พ.พ.  มาตรา  1008  ได้บัญญัติให้ลายมือชื่อปลอมนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลยผู้ใดจะแสวงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้มิได้

            ผู้ใดจะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้  เว้นแต่ผู้ที่จะพึงถูกยึดหน่วง  อยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบท  (ถูกกฎหมายปิดปาก)  มิให้ยกเหตุลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้

            ผู้ใดจะทำให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินมิได้  เว้นแต่  ได้ใช้เงินไปในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม

            ผู้ใดจะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งมิได้  เว้นแต่คู่สัญญาผู้ที่จะพึงถูกบังคับให้ใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท  (ถูกกฎหมายปิดปาก)  มิให้ยกลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้

อนึ่งลายมือชื่อปลอมนั้น  กฎหมายไม่อนุญาตให้เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอม  ให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อปลอมนั้น  กรณีย่อมเป็นผลให้เป็นตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อปลอมตลอดไป

ข  อธิบาย

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  916  บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน           นั้นได้ไม่  เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

มาตรา  959  ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง  ผู้สั่งจ่าย  และบุคคลอื่นๆซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้  คือ

(ก)  ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน

มาตรา  967  วรรคแรก  ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา …  914  ถึง  923  959  967

มาตรา  1007  ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด  หรือในคำรับรองตั๋วเงินใด  มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย  เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด                ๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

วินิจฉัย

เช็คพิพาทดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คแบบไม่ประจักษ์  เช็คพิพาทยังคงมีผลบังคับกับโกงตามเนื้อความที่แก้ไขเสมือนมิได้มีการแก้ไขเลย  และยังคงบังคับเอากับกล้วยให้ต้องรับผิดตามเนื้อความเดิม  (จำนวนคงเดิม)  ได้อีกด้วยตามมาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม

ดังนั้น  ในกรณีที่ธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน  ชื่อซึ่งเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิบังคับไล่เบี้ยโกง  ผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ตามจำนวนเงินที่แก้ไขใหม่  (60,000  บาท)  และหรือบังคับไล่เบี้ยกล้วยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้รับผิดตามจำนวนเงินเดิม  (50,000  บาท) โดยรับผิดร่วมกัน  อีกทั้งกล้วยไม่อาจยกเหตุผลที่มีต่อโกงขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้  เพราะเป็นความเกี่ยวพันระหว่างตนที่มีต่อโกงผู้ทรงคนก่อนตามมาตรา  900  วรรคแรก  914  916  959  ก)  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก

สรุป  ซื่อสามารถฟ้องบังคับไล่เบี้ยกล้วยได้  50,000  และโกงได้  60,000  บาท โดยรับผิดร่วมกัน

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1 

(ก)  อาวัลตั๋วแลกเงินนั้นคืออะไร  เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย (10 คะแนน)

(ข)  คมบางสั่งจ่ายเช็คธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  จำนวนเงิน  500,000  บาท  ระบุดอกดินเป็นผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ”  ในเช็คออกมอบให้กับดอกดินเพื่อชำระหนี้  ต่อมาดอกดินสลักหลังและส่งมอบเช็คนั้นชำระราคาสินค้าให้แก่เหลือง  เหลืองรับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตเพราะเชื่อเครดิตของคมบางผู้สั่งจ่าย  ดังนี้หากต่อมาเหลืองยื่นเช็คให้ธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  ใช้เงินแต่ธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว  โดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีของคมบางผู้สั่งจ่ายมีไม่พอจ่าย  ดังนี้  เหลืองจะใช้สิทธิไล่เบี้ยให้ดอกดินรับผิดใช้เงินตามเช็คนี้ได้หรือไม่ในฐานะใด

ธงคำตอบ

(ก)  อาวัลหรือการรับอาวัลตั๋วเงิน  (Aval)  คือ  การที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้ว  เข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมด  หรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วเงินต่อผู้ที่เป็นเจ้าหนี้  ซึ่งตั๋วเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนได้  และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่าประกันผู้ใด  ถ้าไม่ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นการประกันผู้สั่งจ่าย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  ใช้ได้เป็นอาวัล  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้ มาตรา  939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่

โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

อนึ่ง  เมื่อมีการรับอาวัลตามแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนประกัน  (มาตรา  900  วรรคแรกประกอบมาตรา  940  วรรคแรก)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น  ย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940  วรรคแรก  ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา  …. 914 ถึง 923  938  ถึง  940

วินิจฉัย

การที่คมบางสั่งจ่ายเช็คธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัด  จำนวนเงิน  500,000  บาท  ระบุให้ดอกดินเป็นผู้รับเงิน  แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  ในเช็คออก  เช็คฉบับดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ  ซึ่งจะโอนให้กันด้วยการส่งมอบก็ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใด  อนึ่งเช็คที่ออกให้ใช้เงินกับผู้ถือนั้นถ้ามีการสลักหลังเช็คแล้วมอบให้กับผู้รับโอนไปนั้นผู้ที่ทำการสลักหลังนั้นจะมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล   (ประกัน)ผู้สั่งจ่าย  ดังนั้นการที่ดอกดินผู้รับเงินได้สลักหลังและส่งมอบเช็คนั้นชำระราคาสินค้าให้แก่เหลือง  ดอกดินจึงมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  คมบางผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  921  หากเหลืองยื่นเช็คให้ธนาคารพิมพ์ไทยมหาชน  จำกัดใช้เงิน  แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีของคมบางผู้สั่งจ่ายมีไม่พอจ่าย  ดังนี้เหลืองจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยให้ดอกดินรับผิดใช้เงินตามเช็คนี้ได้ในฐานะเป็นผู้รับอาวัล (ประกัน)  คมบางผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  940  วรรคแรกประกอบมาตรา  989 วรรคแรก

สรุป  เหลืองสามารถไล่เบี้ยดอกดินให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้

 

ข้อ  2 

(ก)  กรณีที่  ผู้สั่งจ่ายเช็ค  ทำการระบุข้อความว่า  ห้ามเปลี่ยนมือ  ลงในเช็คจะมีผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร  จงอธิบาย

(ข)  นางสาวฟ้ารุ่งสั่งจ่ายเช็คเป็นเงินจำนวน  500,000  บาท  ระบุให้ใช้เงินแก่นางสาวน้ำฝนและขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ในเช็คออก  พร้อมทั้งเขียนระบุข้อความว่า  “A/C  PAYEE  ONLY”  ลงที่ด้านหน้าเช็ค  แล้วส่งมอบชำระหนี้ให้แก่นางสาวน้ำฝน  ต่อมาหากนางสาวน้ำฝนต้องการจะโอนเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่นายสายฟ้า  จะต้องกระทำอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

ธงคำตอบ

(ก)   อธิบาย

ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตั้งข้อจำกัดการโอนเช็ค  โดยระบุข้อความว่า  ห้ามเปลี่ยนมือ  หรือ  เปลี่ยนมือไม่ได้  หรือคำอื่นอันได้ความทำนองเช่นเดียวกัน  เช่น  ห้ามโอน  หรือ  ห้ามสลักหลังต่อ  หรือระบุความว่า  จ่ายให้นาย  ก  เท่านั้น  หรือ  จ่ายเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น  (A/C  PAYEE  ONLY  หรือ  ACCOUNT  PAYEE  ONLY)  ย่อมมีผลเป็นการห้ามเปลี่ยนมือหรือห้ามโอนเช็คนั้นต่อไป  กล่าวคือ

ผู้รับเงิน  (ผู้ทรง)  จะโอนเช็คนั้นต่อไปด้วยการสลักหลังและส่งมอบ  ตามมาตรา  917  วรรคแรก  ไม่ได้  แต่เช็คนั้นก็ยังโอนต่อไปอีกได้ตามแบบสามัญหรือตามหลักการโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้อง  ตามมาตรา  306  กล่าวคือ  ต้องทำเป็นหนังสือโอนหนี้ตามเช็คนั้นระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอน  และผู้โอนต้องบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังผู้สั่งจ่าย  หรือให้ผู้สั่งจ่ายยินยอมด้วยโดยทำเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  917  วรรคสอง  เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า  เปลี่ยนมือไม่ได้  ดังนี้ก็ดี  หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ

มาตรา  989  วรรคแรก  บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด  2  อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้  คือบทมาตรา  910  914  ถึง  923

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริง  เช็คฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่าย  คือ  นางสาวฟ้ารุ่งสั่งจ่ายโดยตั้งข้อจำกัดการโอนไว้ตามมาตรา  917  วรรคสอง  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก  โดยคำว่า  “A/C  PAYEE  ONLY”  มีความหมายทำนองเดียวกับคำว่า  เปลี่ยนมือไม่ได้  นางสาวน้ำฝนจึงโอนเช็คนั้นต่อไปด้วยการสลักหลังและส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรก  ไม่ได้  แต่อย่างไรก็ดี  หากนางสาวน้ำฝนต้องการจะโอนเช็คฉบับดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ให้แก่นายสายฟ้าจะต้องโอนต่อไปโดยรูปแบบการโอนแบบการโอนหนี้สามัญ  ตามมาตรา  306  มิใช่การโอนด้วยวิธีการโอนตั๋วเงินทั่วๆไป  กล่าวคือ  ต้องทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนนั่นเอง

สรุป  นางสาวน้ำฝนต้องโอนเช็คได้ด้วยรูปการโอนแบบการโอนหนี้สามัญ  จึงจะชอบด้วยกฎหมาย 

 

ข้อ  3

(ก)  กฎหมายตั๋วเงินได้บัญญัติหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามเช็คที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คไว้อย่างไร

 (ข)  เช็คพิพาทมีการแก้ไขจำนวนเงินจากน้อยไปมากได้อย่างแนบเนียนโดยผู้ทรงเช็ค  ต่อมาธนาคารผู้จ่ายได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทไปโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยโดยอ้างอิงหลักกฎหมายว่าธนาคารจะหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายได้เพียงใดหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก)  ในกรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็ค  ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อความสำคัญในตั๋วเงิน  (มาตรา  1007  วรรคสาม)  นั้น  กฎหมายตั๋วเงินได้บัญญัติหลักเกณฑ์การจ่ายเงินไว้  2  กรณี  คือ

1.1            กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินเป็นประจักษ์  กล่าวคือ  มองเห็นได้หรือมีการแก้ไขไม่แนบเนียนหรือเห็นเป็นประจักษ์นั่นเอง  โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป  แต่ยังคงใช้ได้กับผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  และหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  (มาตรา  1007  วรรคแรก)

1.2  กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่ประจักษ์  กล่าวคือ  มองไม่เห็น  หรือมีการแก้ไขอย่างแนบเนียน  หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์  และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้  เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นตามเนื้อความเดิมก็ได้  (มาตรา  1007  วรรคสอง)

(ข)  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม  แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใดๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่ผู้ทรงเช็คเป็นผู้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทจากน้อยไปมากเพียงใด  ย่อมถือว่าเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย  จึงเป็นผู้ทรงซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย  กรณีย่อมไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจำนวนเงินในเช็คทั้งจำนวนที่แก้ไขใหม่  และจำนวนเงินเดิมก่อนการแก้ไข  ตามนัยมาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม  ดังนั้นธนาคารจึงหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายไม่ได้  แม้ตามเนื้อความเดิม  เนื่องจากเป็นผู้ทรงเช็คที่มิชอบด้วยกฎหมาย

สรุป  ธนาคารหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายไม่ได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

(ก)  การโอนตั๋วแลกเงินนั้น  ต้องทำอย่างไร  จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

(ข)  จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน  สั่งให้บุญมีจ่ายเงินให้กับทองไทยและขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออกแล้วมอบให้แก่ทองไทย  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  จำนวน  500,000  บาท  ทองไทย  สลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงิน  ต่อมาพุธได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินชำระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัส  ต่อมาพฤหัสสลักหลังลอยตั๋วแลกเงินชำระหนี้ให้แก่อาทิตย์  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ตามลักษณะของตั๋วแลกเงินมีอยู่  2  ชนิด  คือ  ตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตามคำสั่งผู้รับเงิน  เรียกว่า  “ตั๋วแลกเงินระบุชื่อ”  ซึ่งในตั๋วเงินทั้ง  3  ประเภท  คือ  ตั๋วแลกเงิน  ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค  และตั๋วแลกเงินชนิดที่ระบุชื่อผู้รับและมีคำว่า  “หรือผู้ถือ”  รวมอยู่ด้วย หรือระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ  เรียกว่า  “ตั๋วแลกเงินผู้ถือ”  ซึ่งมีเฉพาะตั๋วแลกเงินและเช็คเท่านั้น

ดังนั้นวิธีการโอนตั๋วแลกเงินจึงแตกต่างกันตามชนิดของตั๋วแลกเงินดังกล่าวข้างต้น  กล่าวคือ

1       กรณีโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อ  มาตรา  917  วรรคแรก  บัญญัติให้โอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

อนึ่งการสลักหลังมี  2  วิธี  คือ  สลักหลังเฉพาะ  (เจาะจงชื่อผู้รับสลักหลัง)  ซึ่งมาตรา  919  ได้บัญญัติวิธีการสลักหลังไว้ดังนี้

(ก)  สลักหลังเฉพาะ  (Specific  Endorsement)  ให้ระบุชื่อผู้รับสลักหลัง  แล้วลงลายมือชื่อผู้สลักหลังลงไปในตั๋วเงิน  โดยจะกระทำด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินนั้นก็ได้  (มาตรา  917  วรรคแรก  มาตรา  919  วรรคแรก)

(ข)  สลักหลังลอย  (Blank  Endorsement)  ผู้สลักหลังเพียงลงลายมือชื่อตนเองโดยลำพังด้านหลังตั๋วเงิน  โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้รับประโยชน์  (ผู้รับสลักหลัง)  มาตรา  917  วรรคแรก  มาตรา  919  วรรคสอง

ผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังโอนตั๋วเงินนั้นมาจากการสลักหลังดังกล่าวใน  (ก)  หรือ  (ข)  แล้วก็สามารถสลักหลังโอนตั๋วเงินระบุชื่อนั้นโดยวิธีข้างต้นต่อไปอีกก็ได้  แต่ผู้ทรงที่ได้รับโอนตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย  สามารถเลือกโอนตั๋วเงินระบุชื่อนั้นต่อไปได้อีก  3  วิธี  ทั้งนี้ตามมาตรา  920  วรรคสอง  คือ

(1) เติมชื่อบุคคลที่ตนเองประสงค์จะโอนให้

(2) สลักหลังลอยหรือสลักหลังเฉพาะต่อไป  หรือ

(3) ส่งมอบต่อไปโดยไม่ต้องสลักหลัง

2       กรณีโอนตั๋วแลกเงินผู้ถือ  มาตรา  918  บัญญัติให้โอนต่อไปได้ด้วยการส่งมอบ

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  917  วรรคแรก  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา  918  ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น  ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน

มาตรา  919  คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์  แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วยหรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ  ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน  การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า  “สลักหลังลอย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้บุญมีจ่ายเงินให้กับทองไทย  และขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออกแล้วมอบให้แก่ทองไทยเพื่อเป็นการวางมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ย่อมเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ  การโอนต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา  917  วรรคแรกคือ  สลักหลังและส่งมอบ  จะโอนตั๋วแลกเงินโดยการส่งมอบให้แก่กันเพียงอย่างเดียวเท่านั้นตามมาตรา  918  ไม่ได้  เพราะกรณีมิใช่ตั๋วแลกเงินผู้ถือ  สำหรับการที่ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงิน  ถือเป็นการโอนตั๋วแลกเงินโดยการสลักหลังเฉพาะ  ตามมาตรา  919  วรรคแรก  ซึ่งการโอนต่อไปจะต้องสลักหลังและส่งมอบเช่นเดียวกัน  เมื่อปรากฏว่าต่อมาพุธเพียงแต่ส่งมอบตั๋วแลกเงินชำระหนี้ให้แก่พฤหัสเท่านั้น  หาได้มีการสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยไม่  ทั้งกรณีไม่ใช่การโอนตั๋วแลกเงินต่อจากผู้สลักหลังลอยแต่อย่างใด  การโอนตั๋วแลกเงินจากพุธไปยังพฤหัสจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป  การโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ  2

(ก)  การอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นเกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย  (10  คะแนน)

(ข)  เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน  สั่งให้เดี่ยวจ่ายเงินจำนวน  500,000  บาท  มอบให้แก่ทองไทยระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อฟักทองเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ต่อมาฟักทองได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ศรีทอง  เมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกำหนดวันใช้เงิน  ศรีทองได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้เดี่ยวผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่เดี่ยวไม่ยอมใช้เงิน  ศรีทองได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ดังนี้  เอก  ทองไทย  ฟักทอง  ใครต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้นต่อศรีทอง  เพราะเหตุใด  (15  คะแนน)

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  “เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย”  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้  (มาตรา  939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่)

โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

อนึ่ง  เมื่อมีการรับอาวัลตามแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนประกัน  (มาตรา  900  วรรคแรกประกอบมาตรา  940  วรรคแรก)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก)

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940 วรรคแรก   ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่เอกสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้เดี่ยวจ่ายเงินจำนวน  500,000  บาท  มอบให้แก่ทองไทยระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงิน  แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในตั๋วแลกเงินนั้นออก  ตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวจึงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งจะโอนให้กันด้วยการส่งมอบก็ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใด

อนึ่ง  ตั๋วแลกเงินที่ออกให้ใช้เงินกับผู้ถือนั้น  ถ้ามีการสลักหลังเช็คแล้วมอบให้กับผู้รับโอนไปผู้ที่ทำการสลักหลังนั้นจะมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  ผู้สั่งจ่าย  การที่ทองไทยได้สลักหลังขายลดตั๋วแลกเงิน  โดยระบุชื่อฟักทองเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ทองไทยจึงมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  เอกผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  921  ดังนั้น  เมื่อศรีทองได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้เดี่ยวผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่เดี่ยวไม่ยอมใช้เงินศรีทองได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ตามมาตรา  914  จึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับเอกผู้สั่งจ่าย  ทองไทยผู้รับอาวัลเอกผู้สั่งจ่าย  ตามมาตรา  921  ประกอบมาตรา  940  วรรคแรก  ส่วนฟักทองผู้ที่โอนตั๋วแลกเงินด้วยการส่งมอบให้แก่ศรีทองไม่ต้องรับผิด  เพราะไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน  ทั้งนี้ตามมาตรา  900  วรรคแรก

สรุป  เอกและทองไทยต้องรับผิดต่อศรีทอง  ส่วนฟักทองไม่ได้รับผิด

 

ข้อ  3

(ก)  เช็คที่ไม่มีการขีดคร่อมนั้นธนาคารต้องปฏิบัติอย่างไรในการจ่ายเงินจึงจะได้รับการคุ้มครอง  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ถ้าลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม  (10 คะแนน)

(ข)  ข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คธนาคารลายไทยที่แดงปลอมลายมือชื่อทองพูนผู้เป็นเจ้าของบัญชีออกเช็คชำระหนี้เหลือง  ซึ่งเหลืองรับไว้โดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ  และเหลืองได้สลักหลังลอยชำระหนี้ให้กับทับทิม  ต่อมาทับทิมได้นำเช็คไปยื่นให้ธนาคารลายไทยจ่ายเงินและรับเงินไปแล้ว  ดังนี้ธนาคารลายไทยจะหักเงินจากบัญชีของทองพูนได้หรือไม่  เพราะเหตุใด  (15  คะแนน)

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

มาตรา  1009  ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใด  และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้  ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน  หรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น  และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม  ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

ตามมาตรา  1009  ดังกล่าวข้างต้น  ธนาคารจะได้ความคุ้มครองและหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินไปตามเช็ค  แม้ลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม  ก็ต่อเมื่อต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้  คือ

1       ธนาคารได้ใช้เงินไปตามทางค้าปกติ

2       ธนาคารได้ใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ  และ

3       ธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ว่าตั๋วเงินนั้นจะมีการสลักหลังปลอมหรือสลักหลังโดยปราศจากอำนาจหรือไม่  เพียงแต่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ปลอมก็เพียงพอแล้ว  และให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  1009  ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใด  และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้  ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน  หรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น  และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม  ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่ทับทิมนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารลายไทย  แม้ว่าธนาคารลายไทยนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อ  และธนาคารลายไทยได้ตรวจสอบแล้วว่ามีการสลักหลังเรียบร้อยไม่ขาดสาย  แม้ว่าธนาคารลายไทยไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน  หรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม  แต่ธนาคารลายไทยผู้จ่ายต้องตรวจสอบลายมือชื่อของทองพูนผู้สั่งจ่ายเป็นสำคัญว่าต้องเป็นลายมือชื่อที่ถูกต้อง  ไม่เป็นลายมือชื่อปลอม  เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าธนาคารลายไทยได้จ่ายเงินให้กับทับทิมไปทั้งๆที่ลายมือของทองพูนผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม   จึงถือไม่ได้ว่าธนาคารลายไทยได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ  ธนาคารลายไทยจะหักเงินจากบัญชีของทองพูนไม่ได้

สรุป  ธนาคารลายไทยจะหักเงินจากบัญชีของทองพูนไม่ได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

ก  การรับอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นเกิดขึ้นได้ในกรณีนี้ใดบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย

ข  ตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งมีบัวแดงเป็นผู้สั่งจ่าย  โดยโคกสำโรงเป็นผู้จ่ายและมีการระบุชื่อบัวขาวเป็นผู้รับเงิน  แต่บัวแดงผู้สั่งจ่ายมิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  บัวขาวส่งมอบตั๋วแลกเงินให้แก่บัวทองเพื่อชำระหนี้  ต่อมาบัวทองสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินฉบับนี้เพื่อชำระหนี้บัวหลวง  ครั้นตั๋วแลกเงินถึงกำหนดบัวหลวงได้นำตั๋วแลกเงินไปให้โคกสำโรงผู้จ่ายจ่ายเงิน  แต่โคกสำโรงปฏิเสธการจ่ายเงิน  บัวหลวงได้ดำเนินการจัดทำคำคัดค้านอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว  ดังนี้  บัวหลวงจะฟ้องบัวทองให้รับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินได้หรือไม่  ฐานะใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กฎหมายได้บัญญัติให้มีการรับอาวัลได้  2  กรณี  ได้แก่  การรับอาวัลตามแบบ  และการรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย

1       การรับอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา  คือ  ทำได้โดย

การเขียนข้อความลงบนตั๋วเงินหรือใบประจำต่อว่า  “ใช้ได้เป็นอาวัล”  หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกันนั้น  เช่น  “เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย”  และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล  ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้ มาตรา  939  วรรคแรก  วรรคสอง  และวรรคสี่

โดยการที่ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋วโดยไม่ต้องเขียนข้อความก็ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  (มาตรา  939  วรรคสาม)

อนึ่ง  เมื่อมีการรับอาวัลตามแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนประกัน  (มาตรา  900  วรรคแรกประกอบมาตรา  940  วรรคแรก)

2       อาวัลโดยผลของกฎหมาย  คือ  ถ้ามีการสลักหลังโอนตั๋วเงินผู้ถือเมื่อใด  กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย  จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  มาตรา  921  และมาตรา  940  วรรคแรก

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  921  การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน  (อาวัล)  สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา  940 วรรคแรก   ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่บัวแดงสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้โคกสำโรงจ่ายเงินให้แก่บัวขาวระบุชื่อบัวขาวเป็นผู้รับเงิน  แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในตั๋วแลกเงินนั้นออก  ตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวจึงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งจะโอนให้กันด้วยการส่งมอบก็ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใด  ตามมาตรา  909(6)

อนึ่งตั๋วแลกเงินที่ออกให้ใช้เงินกับผู้ถือนั้น  ถ้ามีการสลักหลังเช็คแล้วมอบให้กับผู้รับโอนไป  ผู้ที่ทำการสลักหลังนั้นจะมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  ผู้สั่งจ่าย  การที่บัวทองได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินฉบับนี้เพื่อชำระหนี้บัวหลวง  บัวทองจึงมีฐานะเป็นผู้รับอาวัล  (ประกัน)  บัวแดงผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  921  ดังนั้นเมื่อบัวหลวงได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้โคกสำโรงผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่โคกสำโรงปฏิเสธการใช้เงิน  และบัวหลวงได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตามมาตรา  914  ดังนี้บัวหลวงจึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับบัวแดงผู้สั่งจ่าย  บัวทองผู้รับอาวัลบัวแดงผู้สั่งจ่ายตามมาตรา  921  ประกอบมาตรา  940  วรรคแรก  ส่วนบัวขาวผู้ที่โอนตั๋วแลกเงินด้วยการส่งมอบให้แก่บัวทองไม่ต้องรับผิด  เพราะไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน  ทั้งนี้ตามมาตรา  900  วรรคแรก

สรุป  บัวหลวงสามารถฟ้องบัวทองให้รับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินได้ในฐานะผู้รับอาวัลบัวแดงผู้สั่งจ่าย

 

ข้อ  2

ก  การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อโดยจำกัดความรับผิดก็ดี  บางส่วนก็ดี  มีเงื่อนไขก็ดี  หรือขายลดก็ดี  ผู้สลักหลังจะกระทำได้หรือไม่และจะส่งผลกระทบต่อคู่สัญญาซึ่งรับสลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นอย่างไร  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย

ข  นายรวยทำธุรกิจส่งออกสินค้าจากประเทศไทย  ได้รับตั๋วแลกเงินจากผู้ซื้อซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีนในมาเลเซีย  ชำระราคาสินค้าด้วยตั๋วแลกเงินล่วงหน้า  3  เดือน  ราคาหน้าตั๋วแลกเงินจำนวน  500,000  บาท  (ห้าแสนบาทถ้วน)  ระบุนายรวยเป็นผู้รับเงิน  ขณะเดียวกันนายรวยก็เป็นหนี้เงินกู้ยืมธนาคารเพื่อการส่งออกฯ  จำนวน  400,000  บาท  (สี่แสนบาทถ้วน)  โดยที่ไม่มีข้อกำหนดห้ามโอน  และนายรวยประสงค์จะสลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวชำระหนี้ธนาคารเพื่อการส่งออกฯ  และได้มาปรึกษาท่าน  ดังนี้ให้ท่านแนะนำนายรวยว่า  นายรวยจะกระทำได้ด้วยการสลักหลังวิธีใดหรือไม่ดังกล่าวในข้อ(ก)  อันเป็นผลให้ธนาคารเพื่อการส่งออกฯจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับสลักหลังโดยชอบตามหลักกฎหมายตั๋วเงิน

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

(1) การจดข้อกำหนดลงไว้ในตั๋วแลกเงินระบุชื่อด้วยการจำกัดความรับผิดในมูลหนี้ตั๋วแลกเงินนั้น  ป.พ.พ.  มาตรา  915(1)  อนุญาตให้ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน  และผู้สลักหลังทุกคนสามารถกระทำได้  อันเป็นผลให้ผู้ทรงมีสิทธิบังคับไล่เบี้ยได้เพียงเท่าที่เขาได้จำกัดความรับผิดไว้นั้น

เช่น  ก  เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งราคา  50,000  บาท  ก  สลักหลังโอนตั๋วเงินชำระหนี้  ข  โดยระบุข้อความในการสลักหลังไว้ว่า  “โอนให้  ข  แต่ขอรับผิดเพียง  30,000  บาท  ดังนี้เป็นการจำกัดความรับผิดตามมาตรา  915(1)  ซึ่ง  ก  มีอำนาจทำได้  การโอนสมบูรณ์ตามกฎหมาย  ส่งผลให้  ข  มีสิทธิฟ้องบังคับเอาหนี้เงินตามตั๋วฯ  นั้นจาก  ก  ได้เพียง  30,000  บาท  พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย

(2) การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อเพียงบางส่วนนั้น  ผู้สลักหลังกระทำมิได้  ต้องสลักหลังโอนจำนวนเงินทั้งหมดในตั๋วแลกเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลังด้วย  หากฝ่าฝืน  การสลักหลังนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ  ตามมาตรา  922  วรรคสอง  เท่ากับว่ามิได้สลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับสลักหลังเลย

เช่น  ตามข้อเท็จจริงข้างต้น  หาก  ก  เป็นหนี้  ข  อยู่  40,000  บาท  ก  จึงสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้  ข  จำนวน  40,000  บาท  ดังนี้การสลักหลังนั้นเป็นโมฆะ  เพราะตั๋วแลกเงินมีราคา  50,000  บาท  จะสลักหลังโอนเพียงบางส่วนคือ  40,000  บาทไม่ได้    ผลก็คือถือว่า  ข  มิได้เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินนั้นเลย  จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินตามตั๋วนั้น  และ  ก  ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินนั้น  ถ้าได้ตั๋วแลกเงินนั้นไว้ในครอบครองอีก

(3) การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อมีเงื่อนไขนั้น  บทบัญญัติมาตรา  922  วรรคแรก  ให้สิทธิผู้สลักหลังกระทำได้  เช่น  ระบุว่า  “ให้การสลักหลังครั้งนี้เป็นผลเมื่อสินค้าที่  ก  ซื้อจาก  ข  มีคุณสมบัติครบถ้วนตามสัญญา”  เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ดี  การสลักหลังโอนโดยมีเงื่อนไขนี้  กฎหมายให้ถือว่าเงื่อนไขในการสลักหลังนั้นมิได้ถูกเขียนลงไว้ในตั๋วแลกเงินนั้นเลย  ผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลังยังมีสิทธิบริบูรณ์ตามตั๋วแลกเงินนั้น  เสมือนว่าไม่มีเงื่อนไขอยู่ในตั๋วแลกเงินนั้นเลย

(4) การสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินระบุชื่อ  ผู้สลักหลังสามารถกระทำได้  ส่งผลให้ผู้รับสลักหลังได้รับโอนตั๋วแลกเงินนั้นในราคาที่หักส่วนลด  เป็นผลให้ได้กำไรจากการซื้อลดตั๋วแลกเงินดังกล่าว  ขณะเดียวกันผู้สลักหลังย่อมได้รับเงินเป็นจำนวนน้อยกว่าราคาหน้าตั๋วแลกเงินนั้น

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  915  ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใดๆก็ดี  จะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้  คือ

(1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  ข้าพเจ้าจะแนะนำให้นายรวยสลักหลังโดยจำกัดความรับผิดไว้เพียงจำนวน  400,000  บาท  (สี่แสนบาทถ้วน)  ตามนัยมาตรา  915(1)  อันเป็นผลให้ธนาคารเพื่อการส่งออกฯได้รับตั๋วแลกเงินนั้นไปทั้งจำนวน  500,000  บาท(ห้าแสนบาทถ้วน)  เพื่อรอเรียกเก็บเงินจากผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย  และเมื่อเรียกเก็บเงินได้แล้วก็มีหน้าที่ต้องคืนเงิน  100,000  บาท  ให้แก่นายรวย

สรุป  ข้าพเจ้าจะแนะนำให้นายรวยสลักหลังโดยจำกัดความรับผิดไว้เพียงจำนวน  400,000  บาท

 

ข้อ  3

ก  ตามหลักกฎหมายตั๋วเงินที่ท่านได้ศึกษามานั้น  ผู้ทรงเช็คจะต้องนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คชำระเงินภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใด  และหากไม่ปฏิบัติตามจะมีผลอย่างไร  จงอธิบาย

ข  นายจริงจัง  ได้รับเช็คธนาคารกรุงทอง  จำกัด(มหาชน)  สาขาหัวหมาก  มาจากนายจงใจที่สั่งจ่ายให้เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์ย่านรามคำแหง  ต่อมานายจริงจังได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปยื่นให้ธนาคารกรุงทองฯชำระเงินตามเช็ค  แต่ธนาคารกรุงทองฯปฏิเสธที่จะชำระเงินตามเช็คให้โดยให้เหตุผลว่า  “เงินในบัญชีไม่พอจ่าย”

หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านายจริงจังนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารกรุงทองฯ  ชำระเงินล่วงเลยเวลานับจากวันที่ลงในเช็คไปเป็นเวลาห้าเดือนเศษ  นายจริงจังจะสามารถเรียกให้นายจงใจชำระเงินตามเช็คฯให้แก่นายจริงจังได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

กำหนดเวลาที่ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คนั้น  มาตรา  990  วรรคแรก  ได้วางหลักให้ผู้ทรงยื่นเช็คแก่ธนาคารภายในระยะเวลาจำกัดดังนี้

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกัน  (จังหวัดเดียวกัน)  กับที่ออกเช็ค  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

–                    ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่น  (เช็คที่มิได้ออกและให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน)  ผู้ทรงต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารใช้เงินภายใน  3  เดือนนับแต่วันที่ออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค) นั้น

ถ้าผู้ทรงเช็คละเลยเสียไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ย่อมเป็นผลเสียแก่ผู้ทรงดังนี้  คือ

1       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังทั้งปวง  และ

2       ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้สั่งจ่าย

และมาตรา  990  วรรคท้าย  ยังได้วางหลักในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะความเสียหายดังกล่าว  ให้ผู้ทรงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายไปไล่เบี้ยเอากับธนาคารนั้นได้

อย่างไรก็ตาม  ผู้ทรงควรยื่นให้ธนาคารจ่ายเงินภายใน  6  เดือนนับแต่วันออกเช็ค  (วันที่ลงในเช็ค)  ด้วย  หากยื่นเช็คเกินกว่านั้น  ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้ตามมาตรา  991(2)

ข  อธิบาย

มาตรา  990  วรรคแรก  ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน  คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น  ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน  ถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง  ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย  เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น

วินิจฉัย

กรณีดังกล่าวเป็นเช็คที่ออกในเมืองเดียวกัน  ซึ่งผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายใน  1  เดือน  นับแต่วันเดือนปีที่ลงในเช็ค  มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลัง  หรือผู้สั่งจ่ายเท่าที่เสียหาย  โดยจากข้อเท็จจริงนั้นปรากฏว่านายจริงจังยื่นเช็คให้ธนาคารกรุงทองฯ  ใช้เงินตามเช็คล่วงเลยเวลามาถึง  5  เดือนเศษ  ซึ่งแม้ว่าธนาคารกรุงทองฯ  จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยให้เหตุผลว่า  “เงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย” ก็ตาม  ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่นายจริงจังทำให้นายจงใจเสียหายแต่ประการใด  ดังนั้นนายจงใจจึงยังต้องรับผิดชอบชำระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายจริงจัง  (เทียบ ฎ. 1865/2492  ฎ.1162/2515)

สรุป  นายจริงจังสามารถเรียกให้นายจงใจชำระเงินตามเช็คให้แก่นายจริงจังได้

LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2013

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

 คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1

ก  ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องรับผิดอย่างไรหรือไม่ต่อผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน

ข  บัวขาวเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีเมืองเก่าเป็นผู้จ่าย  บัวแดงเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  และบัวแดงเขียนคำว่า  “ตั๋วแลกเงินใบนี้ไม่จำต้องทำคำคัดค้าน”  ไว้ที่ด้านหน้าของตั๋ว  บัวขาวสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินดังกล่าวให้แก่บัวเหลืองเพื่อชำระราคาสินค้าที่ซื้อจากบัวเหลือง  ครั้นตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงิน  บัวเหลืองได้นำตั๋วแลกเงินไปให้เมืองเก่าผู้จ่ายใช้เงิน  แต่เมืองเก่าปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเมืองเก่าเห็นว่าตนมิได้เป็นลูกหนี้ของบัวแดง  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าใครบ้างที่จะต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดต่อบัวเหลือง  ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมายตั๋วเงิน

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ผู้สั่งจ่าย  (ตั๋วแลกเงินหรือเช็ค)  หมายถึง  บุคคลที่ได้ออกตั๋วแลกเงินและสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า  ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรง (หรือผู้รับเงิน)

ผู้สลักหลัง  หมายถึง  ผู้ทรงคนเดิม  (ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้รับเงินหรือผู้รับสลักหลัง)  ที่ได้ลงลายมือชื่อของตน  (ได้สลักหลัง)  ในตั๋วเงินเมื่อมีการโอนตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อต่อไปให้บุคคลอื่น (ผู้รับสลักหลัง)

โดยหลัก  บุคคลที่จะต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินก็คือ  บุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน  ตามมาตรา  900  วรรคแรก  ที่ว่า  “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

เมื่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเป็นบุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินตามมาตรา  900  จึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน  ในฐานะผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินตามมาตรา  914  ที่ว่า  “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำ ยื่นโดยชอบแล้ว  จะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”  ประกอบกับ  มาตรา  967  วรรคแรก  ที่ว่า  “ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดี  รับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง”

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  900  วรรคแรก  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา  914  บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า  เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว  ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี  หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี  ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง  หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น  ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา  937  ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

มาตรา  967  วรรคแรก  ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น  บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี  สลักหลังก็ดี  หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี  ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  บัวแดงได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้เมืองเก่าจ่ายเงินให้แก่บัวขาว  และขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ย่อมเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อและการที่บัวแดงเขียนคำว่า  “ตั๋วแลกเงินใบนี้ไม่จำต้องทำคำคัดค้าน”  ไว้ที่ด้านหน้าของตั๋ว  จึงมีผลทำให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินใบนี้สามารถไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาผู้ต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินได้  โดยไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงินหรือการไม่รับรองของผู้จ่ายก่อนแต่อย่างใด

ต่อมา  บัวขาวสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินดังกล่าวให้แก่บัวเหลืองเพื่อชำระราคาสินค้า  เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงิน  บัวเหลืองได้นำตั๋วแลกเงินไปให้เมืองเก่าผู้จ่ายใช้เงิน  แต่เมืองเก่าปฏิเสธการใช้เงินดังนี้  บัวแดงผู้สั่งจ่ายและบัวขาวผู้สลักหลังซึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงินจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่บัวเหลืองผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามมาตรา  900  วรรคแรก  ประกอบมาตรา  914  และมาตรา  967  วรรคแรก

ส่วนกรณีเมืองเก่าซึ่งเป็นผู้จ่ายนั้น  เมื่อยังมิได้ลงลายมือชื่อรับรองตั๋วแลกเงิน  จึงไม่ต้องรับผิดต่อบัวเหลืองผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน  ตามมาตรา  900  วรรคแรก  และ  937

สรุป  บัวแดงและบัวขาวจะต้องรับผิดต่อบัวเหลือง  ส่วนเมืองเก่าไม่ต้องรับผิดต่อบัวเหลือง

 

ข้อ  2

ก  “ผู้สั่งจ่ายเช็ค”  จะสามารถทำการระบุข้อความว่า  “ห้ามเปลี่ยนมือ”  ลงในเช็คได้หรือไม่  อย่างไร  จงอธิบาย

ข  นายใจกล้าสั่งจ่ายเช็คเป็นจำนวนเงิน  100,000  บาท  ระบุให้ใช้เงินแก่นางสาวใจถึงและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในเช็คออก  พร้อมทั้งเขียนระบุข้อความว่า  “A/C  PAYEE  ONLY”  ลงที่ด้านหลังเช็ค  ชำระหนี้ให้แก่นางสาวใจถึง  ต่อมานางสาวใจถึงทำการส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่นางสาวใจดี  ดังนี้  ถือว่าการที่นางสาวใจถึงมอบเช็คชำระหนี้ให้นางสาวใจดีนั้น  ถือว่าเป็นการโอนเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ผู้สั่งจ่ายเช็คสามารถตั้งข้อจำกัดการโอนเช็คได้  โดยระบุข้อความว่า  “ห้ามเปลี่ยนมือ”  หรือ  “เปลี่ยนมือไม่ได้”  หรือคำอื่นอันได้ความทำนองเช่นเดียวกัน  เช่น  “ห้ามโอน”  หรือ  “ห้ามสลักหลังต่อ”  หรือระบุความว่า  “จ่ายให้นาย  ก  เท่านั้น”  หรือ  “จ่ายเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น  (A/C  PAYEE  ONLY  หรือ  ACCOUNT  PAYEE  ONLY)  ย่อมมีผลเป็นการห้ามเปลี่ยนมือหรือห้ามโอนเช็คนั้นต่อไปตามมาตรา  917  วรรคสอง  ประกอบมาตรา  989  วรรคแรก

และในกรณีดังกล่าวถ้าผู้รับเงิน  (ผู้ทรง)  จะโอนเช็คนั้นต่อไปผู้ทรงจะโอนเช็คนั้นด้วยการสลักหลังและส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรกไม่ได้  แต่จะต้องโอนโดยวิธีการโอนหนี้สามัญทั่วๆไปเท่านั้น  ตาม  ป.พ.พ.  ตามมาตรา  306  คือ  ต้องทำเป็นหนังสือโอนหนี้ตามเช็คนั้นระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนและผู้โอนต้องบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังผู้สั่งจ่าย  (ลูกหนี้)  หรือให้ผู้สั่งจ่าย  (ลูกหนี้)  ให้ความยินยอมด้วยโดยทำเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  899  ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้  ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน  ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่

มาตรา  917  วรรคแรกและวรรคสอง  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ  ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม  ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า  “เปลี่ยนมือไม่ได้”  ดังนี้ก็ดี  หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี  ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  นายใจกล้าสั่งจ่ายเช็คเป็นเงินจำนวน  100,000  บาท  ระบุให้ใช้เงินแก่นางสาวใจถึงและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในเช็คออก  เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คระบุชื่อเฉพาะ  ซึ่งหากผู้สั่งจ่ายจะระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือลงไว้ในเช็ค  จะต้องกระทำลงในด้านหน้าเช็คเท่านั้นตามมาตรา  917  วรรคสอง  และ  989  วรรคแรก

แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า  นายใจกล้าผู้สั่งจ่ายได้ระบุข้อความ  “A/C  PAYEE  ONLY”  ลงในด้านหลังเช็ค  จึงไม่ถือว่าข้อความดังกล่าวมีผลตามกฎหมายแต่อย่างใดตามมาตรา  899  เช็คดังกล่าวยังคงสามารถโอนต่อไปได้ตามวิธีการโอนเช็คระบุชื่อตามปกติ  คือ  สลักหลังและส่งมอบตามมาตรา  917  วรรคแรก  แต่จากข้อเท็จจริงนางสาวใจถึงได้โอนเช็คไปโดยเพียงทำการส่งมอบให้แก่นางสาวใจดี  ดังนั้น  การโอนเช็คดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป  การโอนเช็คดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ  3

ก  ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขจำนวนเงิน  และที่มีการปลอมลายมือชื่อคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามมูลหนี้ในตั๋วเงินดังกล่าว  จะก่อให้เกิดผลแก่คู่สัญญาซึ่งเกี่ยวข้องกับตั๋วเงินนั้นอย่างไร  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงิน

ข  เมฆปลอมลายมือชื่อฝนสั่งให้ธนาคารกรุงทองจ่ายเงินจำนวน  50,000  บาท  ให้แก่หมอกพร้อมทั้งได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ในเช็คนั้นออกแล้วมอบเช็คนั้นชำระหนี้หมอก  หมอกเป็นหนี้ฟ้าจำนวน  150,000  บาท  จึงได้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คเป็น  150,000  บาท  ทั้งจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือได้อย่างแนบเนียนแล้วสลักหลังเช็คนั้นชำระหนี้ฟ้าซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริต  อีกทั้งมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  แต่ธนาคารกรุงทองได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากเงินในบัญชีของฝนไม่พอจ่าย  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่า  ฟ้าจะบังคับไล่เบี้ยหรือว่ากล่าวเอาความจากเมฆ  ฝน  และหมอกให้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทดังกล่าวได้จำนวนเท่าใดหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก  อธิบาย

ตั๋วเงินปลอม  หมายความถึง  ตั๋วเงินที่ได้ออกมานั้นมีสภาพที่สมบูรณ์  คือ  เป็นตราสารที่มีข้อความหรือรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ครบถ้วน  แต่ต่อมาในภายหลังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางอย่าง  หรือได้มีการปลอมลายมือชื่อของคู่สัญญาคนใดคนหนึ่งในตั๋วเงิน

ตั๋วเงินปลอมนั้นอาจเกิดขึ้นได้  2  กรณี  คือ

1       ตั๋วเงินปลอมที่เกิดจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่สำคัญในตั๋วเงิน  เช่น  จำนวนเงินที่จะใช้  กำหนดเวลาการใช้เงิน  เป็นต้น

2       ตั๋วเงินปลอมที่เกิดจากการลงลายมือชื่อปลอมหรือลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจ

ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขจำนวนเงิน  ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่สำคัญในตั๋วเงินนั้น  จะก่อให้เกิดผลแก่คู่สัญญาซึ่งเกี่ยวข้องกับตั๋วเงินนั้น  คือ

(1) กรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินและการแก้ไขนั้นเห็นได้ประจักษ์  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไปทั้งฉบับสำหรับคู่สัญญาซึ่งมิได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  แต่ยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้แก้ไข  ผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไข  และผู้ยินยอมด้วยในการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทนั้น (มาตรา  1007  วรรคแรกและวรรคสาม)

(2) กรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินและการแก้ไขนั้นเห็นไม่ประจักษ์  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นยังคงใช้ได้ทั้งฉบับเสมือนมิได้มีการแก้ไขเลย  ผู้ทรงซึ่งชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิที่จะบังคับเอากับผู้แก้ไขและผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขได้ตามจำนวนที่แก้ไข  หากไม่เพียงพอก็ยังมีสิทธิบังคับเอากับคู่สัญญาก่อนการแก้ไขได้ตามเนื้อความเดิมก่อนการแก้ไข  (มาตรา  1007วรรคสองและวรรคสาม)

ตั๋วเงินที่มีการปลอมลายมือชื่อคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามมูลหนี้ในตั๋วเงิน  ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไปทั้งฉบับสำหรับคู่สัญญาซึ่งถูกปลอม  อีกทั้งเป็นผลให้ผู้ทรงจะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้  และผู้ใช้เงินจะอ้างตนให้หลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอมมิได้  อีกทั้งผู้ทรงจะบังคับไล่เบี้ยผ่านลายมือชื่อปลอมนั้นมิได้  (มาตรา  1008  วรรคแรก)

ข  หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม  แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย  และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้  ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใดๆ  แก่วันที่ลง  จำนวนเงินอันจะพึงใช้  เวลาใช้เงิน  สถานที่ใช้เงินกับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน  ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

มาตรา  1008  วรรคแรก  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้  เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี  เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี  ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้  ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี  หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี  ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด  เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม  หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  เมฆปลอมลายมือชื่อฝนสั่งให้ธนาคารกรุงทองจ่ายเงินจำนวน  50,000  บาท  ต่อมาหมอกได้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คเป็น  150,000  บาท  แล้วสลักหลังเช็คนั้นชำระหนี้ฟ้า  เมื่อฟ้าได้รับโอนไว้โดยสุจริต  อีกทั้งมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ฟ้าจึงเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย  เพราะถึงแม้เช็คพิพาทดังกล่าวจะมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม  แต่เช็คดังกล่าวคงเสียไปเฉพาะผู้สั่งจ่ายตามนัยมาตรา  1008  วรรคแรก

เมื่อปรากฏตามข้อเท็จจริงว่า  หมอกได้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คทั้งจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือได้อย่างแนบเนียน  ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ  แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นเห็นไม่ประจักษ์  ดังนั้นเมื่อธนาคารกรุงทองปฏิเสธการจ่ายเงิน  ฟ้าซึ่งเป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย  ย่อมมีสิทธิบังคับไล่เบี้ยหมอกผู้แก้ไขจำนวนเงินและเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้จำนวน  150,000  บาท  หากไม่พอ  ฟ้าก็ยังมีสิทธิไล่เบี้ยเมฆผู้สั่งจ่ายให้รับผิดตามเนื้อความเดิม  คือจำนวน  50,000  บาท  ได้ตามมาตรา  1007  วรรคสองและวรรคสาม

ส่วนกรณีของฝนนั้น  ฟ้าไม่มีสิทธิบังคับไล่เบี้ยฝน  เนื่องจากฝนมิได้ลงลายมือชื่อ  อีกทั้งเช็คนั้นได้เสียไปแล้วสำหรับฝนตามนัยมาตรา  1008  วรรคแรก

สรุป  ฟ้าสามารถจะบังคับไล่เบี้ยหมอกและเมฆให้รับผิดตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทได้  โดยสามารถไล่เบี้ยหมอกได้  150,000  บาท  และไล่เบี้ยเมฆได้  50,000  บาท  แต่ฟ้าไม่มีสิทธิบังคับไล่เบี้ยฝน

WordPress Ads
error: Content is protected !!