HIS1002 อารยธรรมตะวันออก การสอบไล่ภาค1 ปีการศึกษา2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ในวิชาอารยธรรมตะวันออก “ดินเดนตะวันออกกลาง” มีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม

(2) เป็นที่ตั้งของพีระมิดและสวนลอยบาบิโลน

(3) เป็นแหล่งความเจริญเริ่มแรกของโลก      

(4) เป็นแหล่งเชื่อมทวีป คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา

ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East หรือ Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง3ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของการเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมและความเจริญเริ่มแรกของโลก คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิด 3 ศาสนาหลักของโลก คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

2.         “ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด 

(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(2)       ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้         

(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้     

(4) แอฟริกาตะวันออกกลาง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         คำว่า “B.C.” หมายถึงอะไร

(1)       พุทธศักราช     

(2)       ก่อนสมัยพุทธกาล      

(3)       คริสตกาล       

(4)       ก่อนคริสต์ศักราช

ตอบ 4 หน้า 5, (คำบรรยาย) ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ : B.C.) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติ เช่น 245 ปีก่อน ค.ศ. (หรือ 245 B.C.) หมายถึง 245 ปีก่อนพระเยซูประสูติ

4.         มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด

(1)       ยุคหินเก่า       

(2)       ยุคหินใหม่      

(3)       ยุคทองแดง     

(4)       ยุคสำริด

ตอบ 2 หน้า 6, (คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่น้ำใหญ่เพื่อมุ่งที่จะใช้นํ้าในการทำเกษตรกรรมและดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง

5.         มนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด

(1)       สุเมเรียน         

(2)       อียิปต์โบราณ 

(3)       เปอร์เซียโบราณ         

(4)       ฮิบรู

ตอบ 2 หน้า 1118-20 อารยธรรมอียิปต์โบราณมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์โดยชาวอียิปต์ได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ” เนื่องจากเป็นชนชาติที่มีความรอบรู้และแม่นยำทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต มีทักษะและความชำนาญในการก่อสร้าง และกษัตริย์เก่งในการรบและการปกครอง ทำให้ชาวอียิปต์ได้ทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมไว้ให้แก่โลกมากที่สุด เช่น มหาพีระมิดที่เมืองกีซา วิหารเทพเจ้าอะมอนที่คาร์นัค เป็นต้น

6.         อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด

(1)       อินเดียโบราณ

(2) อียิปต์โบราณ       

(3) เมโสโปเตเมีย       

(4) กรีกโบราณ

ตอบ 3  อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดบนดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส หรือที่เรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” ซึ่งเราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า“ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก

7.         กลุ่มชนใดเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(1)       สุเมเรียน         

(2) อัคคาเดียน           

(3) อะมอไรท์  

(4) ฮิตไตท์

ตอบ 1 หน้า 21 – 2282 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียซึ่งเรียกว่า “ซูเมอร์” เมือประมาณ 5000 B.C. และถือเป็นผู้วางรากฐานธารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึงอารยธรรมที่เด่น ๆมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง สังคมการประกอบอาชีพ ศาสนา ศิลปะการเขียน สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์

8.         จุดมุ่งหมายของการสร้างซิกกูแรตคืออะไร

(1)       เป็นวิหารเทพเจ้า        

(2) เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย

(3)       เป็นสถานที่ศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า

(4) เป็นที่อยู่ของผู้ปกครองนครรัฐ

ตอบ 1 หน้า 23 – 24 สถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุดของชาวสุเมเรียนก็คือ มหาวิหารหอคอยหรือซิกกูแรต(Ziggurat) ที่นครรัฐเออรุค ซึ่งสร้างขึ้นด้วยอิฐ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างก็เพื่อใช้เป็นวิหารเทพเจ้า ซึ่งชั้นบนสุดของซึกกูแรตจะถูกกำหนดให้เป็นที่ประทับของเทพเจ้าและเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

9.         สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด       

(1) ไฮโรกลิฟิก

(2)       คูนิฟอร์ม        

(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งเป็นศิลปะการเขียนของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดยอักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวสุเมเรียนจะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้งเพื่อเก็บรักษา ข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง

10.       ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด

(1)       สมัยก่อนราชวงศ์        

(2) สมัยราชวงศ์         

(3) สมัยอาณาจักรใหม่

(4) สมัยอาณาจักรกลาง

ตอบ 2 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณจัดตั้งชาติและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตริย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็นาวอียิปต์โบราณ มีทั้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ”ซึ่งสมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่าสมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

11.       ข้อใดถูก

(1)       อียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษาโลก และโลกหน้ามีจริง

(2)       โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์โบราณ

(3)       ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการชลประทานในสมัยอาณาจักรกลาง

(4)       โรมันคือชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์

ตอบ 1 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะวันพิพากษาโลก และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายใปดวงวิญญาณจะคงอยู่และจะเกิดใหม่ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่

คัมภีร์มรณะหรือคัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์

12.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ”

(1)       สุเมเรียน         

(2) อียิปต์โบราณ       

(3) ฮิตไตท์      

(4) กรีกโบราณ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

13.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ’’

(1)       อัสซีเรียน        

(2) ฮิตไตท์      

(3) ฟินิเชียน   

(4) ออตโตมาน เติร์ก

ตอบ 2 หน้า 35 – 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตะวันออกของเอเชียไมเนอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเนอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่า “เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ” ซึ่งการรบของฮิตไตท์มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขยายดินแดนและอำนาจ แสวงหาเส้นทางการค้า และแสวงหาแร่เหล็กเพื่อนำมาทำของใช้และอาวุธ

14.       กลุ่มชนใดวางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(1) ฮิบรู          

(2) ฟินิเชียน   

(3) อราเมียน  

(4) สุเมเรียน

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 ฟินิเชียนเป็นเซมิทกลุ่มแรกที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนฟินิเชียนนชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินิเชียนได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

15.       ข้อใดถูก

(1)       มรดกความเจริญที่อราเมียนให้แก่โลกคือการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(2)       สุเมเรียนคือวางรากฐานอารยธรรมในดินแดนเอเชียไมเนอร์

(3)       พยัญชนะที่ยุโรปใช้กันในปัจอุบันมีรากฐานมาจากพยัญชนะฟินิเชียน

(4)       มรดกความเจริญที่ฮิบรูให้แก่โลกคือด้านสถาปัตยกรรม

ตอบ 3 หน้า 40 มรดกความเจริญเด่นที่ฟินิเชียนให้ไว้แก่โลกคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการประดิษฐ์พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว ต่อมาเมื่อกรีกรับและนำพยัญซนะฟินิเชียนไปใช้ในยุโรปกรีกได้พัฒนาและเพิ่มพยัญชนะจาก 22 ตัวเป็น 26 ตัว ดังนั้นพยัญชนะฟินีเชียนจึงเป็นรากฐานของพยัญขนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรปใช้ในปัจจุบัน

16.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรู ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร

(1)       อิลราเอล         

(2) อิรัก           

(3) อิหร่าน      

(4) ตุรกี

ตอบ 1 หน้า 40. 46 ฮิบรูหรือยิวเป็นเซมิทกลุ่มที่สองที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนปาเลสไตน์บริเวณตอนใต้สุดของชายฝั่งตะวันออกทะเลเมตีเตอร์เรเนียน ในปัจจุบัน

พื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรูเป็นที่ตั้งของประเทศอิสราเอล

17.       ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นขณะฮิบรูอยู่ใต้การปกครองของกลุ่ชซนใด

(1)       เปอร์เซียโบราณ         

(2) กรีก          

(3) โรมัน         

(4) มุสลิม

ตอบ 3 หน้า 4459 – 61 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สองที่เกิดขึ้นในสังคมฮิบรูหรือยิวในดินแดนปาเลสไตน์ (ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน) ขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ทั้งนี้นักศาสนศาสตร์เรียกศาสนาคริสต์ว่า “บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaism)เพราะคัมภีร์เก่าของศาสนายูดาห์เป็นคำสอนพื้นฐานซึ่งนำไปสู่การเกิดศาสนาคริสต์

18.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1)       อราเมียน        

(2) เซลจุก เติร์ก         

(3) ออตโตมาน เติร์ก  

(4) ฟินิเชียน

ตอบ 1 หน้า 46 – 47 อราเมียนเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนซีเรียบริเวณตอนเหนือของชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศซีเรียในปัจจุบัน) ทั้งนี้ อราเมียนได้รับการยกย่องว่า “เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิกเพื่อประโยชน์ในการค้าขายทางบก

19.       ศูนย์กลางของจักรวรรดิลิเดียนคือดินแดนใด

(1)       เอเชียไมเนอร์  

(2)       เมโสโปเตเมีย 

(3)       ปาเลสไตน์      

(4) คาบสมุทรอาระเบีย

ตอบ 1 หน้า 47 – 48 ในปี 680 B.Cชาวลิเดียนได้ร่วมกันจัดตั้งอาณาจักรลิเดียนขึ้นในดินแดนลิเดียบริเวณทางตะวันตกตอนกลางของเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ซึ่งลิเดียน จะเก่งในการรบและการค้าขาย จึงทำให้พื้นที่ของอาณาจักรขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิลิเดียนโดยมีกรุงซาร์ดีสเป็นเมืองศูนย์กลางทั้งการปกครองและการค้าขาย

20.       ใครคือผู้นำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(1)       ดาริอุสที่ 1      

(2)       ไซรัสที่ 2         

(3)       นาโบนิคัสที่     3         

(4) โครอีซุสที่ 4

ตอบ 2 หน้า 51 ไซรัสที่ 2 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ของเปอร์เซีย ซึ่งทรงเก่งในการรบและการขยายดินแดนโดยในปี 550 B.Cเมื่อไซรัสที่ 2 มีชัยชนะเหนือเมดีสแล้ว พระองค์ได้รวมมีเดียเข้ากับเปอร์เซียและเรียกดินแดนนี้ว่า “เปอร์เซีย” จากนั้นทรงนำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณขึ้นโดยกำหนดให้ซูซาเป็นเมืองหลวง

21.       ผู้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองมาจากกลุ่มชนใด

(1)       ฮิตไตท์

(2)       อัสซีเรียน        

(3)       ออตโตมาน เติร์ก        

(4) มุสลิม

ตอบ 2 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจากอัสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่ 2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius Iซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณโดยหลักในการปกครองจักรวรรดิของดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่งก็คือ เน้นกระจายการปกครองจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2 วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค และการปกครองระบบเขต (The Satrapy Systemที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและพื้นที่ด้วยการปฏิบัติจริง

22.       หลักการปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณคืออะไร

(1)       การเข้าถึงประชาชนและพื้นที่

(2) จักรวรรดิคือแผ่นดินและประชาชน

(3)       ประชาชนคือผู้รับใช้กษัตริย์    

(4) บูชาในบรรพบุรุษและสุริยเทพ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.       ถนนสายยุทธคาสตร์ของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเชื่อมดินแดนเปอร์เซียกับดินแดนใด

(1)       เมโสโปเตเมีย 

(2) คาบสมุทรบอลข่าน

(3) คาบสมุทรอนาโตเลีย        

(4) ปาเลสไตน์

ตอบ 3 หน้า 5257 ในสมัยดาริอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ ทรงห้มีการสร้างถนนหลวง(The Royal Road or The Royal Post Road or The Kings Highwayหรือถนนสายยุทธศาสตร์ที่เชื่อมจกเมืองหลวงซูซาในจักรวรรดิเปอร์เซียไปสู่เอเซียไมเนอร์บนคาบสมุทรอนาโตเลีย โดยมีปลายทางสิ้นสุดที่อีเพซุสซึ่งเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งถบนหลวงสายนี้จะใช้ประโยชน์เพื่อการคมนาคม การค้าขาย การเคลื่อนกองกำลังทหาร และการสื่อสารส่งข่าวในทุกพื้นที่ของจักรวรรดิ

24.       ข้อใดถูก

(1)       ศาสนาโซโรแอสเตอร์คือศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(2)       อะมอไรท์นำการสร้างจักรวรรดิแรกของโลก

(3)       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิตไตท์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเลบานอน

(4)       อับราฮัมคือผู้นำฮิบรูอพยพจากดินแดนสลุ่มแม่นํ้าไนล์มุ่งกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์

ตอบ 1 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1.         มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheisticนั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดาเพียงองค์เดียว   

2. คิด พูด และทำความดี

3. ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว     

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

25.       “บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaismหมายถึงอะไร

(1)       นางมาเรีย       

(2) อิสราเอล   

(3) ศาสนาคริสต์        

(4) กรุงเยรูซาเล็ม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

26.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมอิสลามคือดินแดนใด

(1)       ตะวันออกกลาง          

(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย

(3) คาบสมุทรอาระเบีย          

(4) คาบสมุทรบอลข่าน

ตอบ3 หน้า 6372 – 75 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอาระเบีย(ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในซ่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกาหลิบฮารัน เอล-ราชิด นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง

27.       ยุคทองของอารยธรรมอิสลามคือช่วงเวลาใด

(1)       ออตโตมาน เติร์ก        

(2) ราชวงศ์อุมัยยัค    

(3) เซลจุก เติร์ก         

(4)       ราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28.       ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม

(1)       อาบู บากร์      

(2)       โอธมาน          

(3) อาลี          

(4)       มูวียะ

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์โดยมีเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบทั้ง 4 องค์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ไต้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม)โอมาร์ โอธมาน และอาลี

29.       มรดกความเจริญที่แคลเดียนให้แก่โลกคือด้านใด

(1)       การปกครอง   

(2) สถาปัตยกรรม      

(3) ศาสนา      

(4)       ภาษา

ตอบ 2 หน้า 3293 (เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก ได้แก่

1.         ด้านสถาปัตยกรรม ที่เด่น ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

2.         ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคารดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

30.       ออตโตมาน เติร์ก คือใคร       

(1) เติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

(2)       เติร์กผู้นำกองกำลังมุสลิมในสงครามครูเสด 

(3) เติร์กผู้ขับไล่ไบแซนไทน์ออกจากคาบสมุทรอนาโตเลีย

(4)       เติร์กผู้นำการบริหารจักรวรรดิมุสลิมในสมัยราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 1 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเชียไมเนอร์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad IIได้นำกองกำลังมุสลิมยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำการปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

31.       คำว่า “เอเชียตะวันออก” เป็นชื่อเรียกที่นิยมกันมากในสมัยใด         

(1) ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

(2)       สมัยล่าอาณานิคม     

(3) สมัยสงครามฝิ่น   

(5) สมัยสงครามเย็น

ตอบ 1 หน้า 97(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 270) ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกประกอบด้วย จีน เกาหลี มองโกเลีย และไต้หวัน ซึ่งดินแดนแถบนี้เดิมทีชาวจีนเรียกว่า“อาณาจักรกลาง” แต่สำหรับชาวตะวันตกจะรู้จักกันในชื่อ “ตะวันออกไกล” พอมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เอเชียตะวันออก”

32.       สภาพภูมิประเทศทางภาคตะวันตกของจีนมีจุดเด่นในเรื่องใด

(1)       ประกอบไปด้วยที่ราบสูงและเทือกเขา

(2) เป็นที่เหมาะแก่การสร้างสุสานของผู้ปกครอง

(3)       เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เป็นปฏิบิกษ์ต่อรัฐบาลกลาง

(4)       มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูก

 ตอบ 1 หน้า 97 สภาพภูมิประเทศทางภาคตะวันตกของจีนโดยส่วนใหญ่หรือประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศจะเป็นพื้นที่ที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ โดยประกอบไปด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง เช่น ภูเขาหิมาลัย ภูเขาคุนลุ้น ที่ราบสูงทิเบต ฯลฯ ส่วนพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้จะเป็นที่ราบที่ลาดเอียงไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

33.       จักรพรรดิจิ๋นซี นำแนวคิดของนักปรัชญาจีนท่านใดมาใช้ในการรวมประเทศ

(1) ขงจื๊อ        

(2) เล่าสือ       

(3) โมจื๊อ         

(4) ฮั่น ไฝ ลือ

ตอบ 4 หน้า 109(คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์จิ๋น คือ ทรงนำแนวคิดของฮั่น ไฝ ลือ นักปรัชญาแห่งสำนักฝาเจี่ย มาใช้ในการรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน(China)

34.       ข้อใดถูกเมื่อกล่าวถึง “ลุ่มแม่น้ำเหลือง”

(1)       ถูกใช้เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อจากภาคตะวันตกสู่ภาคตะวันออกของจีน

(2)       มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “แม่น้ำแยงซี”

(3)       เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีน

(4)       นักบุกเบิกชาวตะวันตกนิยมตั้งบ้านเรือน ร้านค้า ทั้งสองข้างฝั่ง เพราะเหมาะแก่การขนส่ง

ตอบ 3 หน้า 97 – 99146 (เล่มเก่า)149 – 150 (เล่มเก่า) แม่นํ้าฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกันนอกจากนี้ยังเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่นำที่สร้างความอุดมสมบูรณให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่น้ำไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดหรือศูนย์กลางอารยธรรมเริ่มแรกของจีนในยุคหินใหม่ประมาณ 4000 B.Cมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากการขุดค้นพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน และเครื่องมือเครื่องใขช้ที่ทำมาจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจีนในยุคก่อนประวัติศาสตร์

35.       ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวมองโกลตั้งอยู่ทางภาคใดของจีน

(1) ภาคเหนือ 

(2) ภาคใต้      

(3) ภาคตะวันตก        

(4) ภาคตะวันออก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ชาวมองโกลหรือชาวมองโกเลีย เป็นกลุ่มชนหนึ่งที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในประเทศมองโกเลีย และเขตปกครองตนเองมองโกลเลียในบริเวณที่ราบสูงทางภาคเหนือของประเทศจีน โดยชาวมองโกลสามารถเข้ายึดครองจีนได้ในสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนที่ทั้งประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองของขชาวต่างชาติ และเจริญสูงสุดในสมัยของกษัตริย์กุบไลข่าน

36.       ท่านใดไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีนโบราณ

(1) ซือมา ตัน  

(2) ซือมา เชียง           

(3) ปาน เปียว

(4) ขงจื๊อ

ตอบ 1 หน้า 105 – 108172 (เล่มเก่า)174 – 175 (เล่มเก่า) นักประวัติคาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีนโบราณ ได้แก่

1. ซือมา เชียง ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนแรกของจีน โดยผลงานเด่นของเขาคือ บันทึกของนักประวัติศาสตร์

2. บุคคลในตระกูลปานได้แก่ ปาน เปียวปาน กู และปาน เจา ซึ่งได้นำผลงานของซือมา เชียง มาเขียนเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

3. ขงจื๊อ โดยผลงานเด่นของเขาคือ ตำรามีค่า 5 เล่ม หรือคัมภีร์ทั้ง 5(The Five Classicsฯลฯ

 37.      ข้อใดผิด

(1)       จิ๋นซี คือผู้รวมประเทศจีน ส่วนซุนยัดเซ็น คือผู้ล้มล้างราชวงศ์แมนจู

(2)       จีนอนุญาตให้อังกฤษตั้งสถานีการค้าที่แคนตอน ส่วนมาเก๊าให้เป็นของโปรตุเกส

(3)       เมาเซตุงใช้เกษตรกรรมเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนเติ้งเสี่ยวผิงสนใจการค้า

(4)       ในบันทึกของจงจื๊อกล่าวว่า “กษัตริย์เหยาเป็นกษัตริย์ประชาธิปไตย ส่วนกษัตริย์ชุนเป็นเผด็จการ”

ตอบ 4 หน้า 98 – 100 กษัตริย์เหยาและกษัตริย์ชุน เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 และ 5ในรัชสมัยของกษัตริย์ฮวงตี่ของจีน ซึ่งทั้ง 2 พระองศ์มักถูกกล่าวอ้างเสมอในบันทึกคำสอนของขงจื๊อว่าเป็นกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมและมีแนวคิดประชาธิปไตยที่สมควรใช้เป็นแบบอย่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ กษัตริย์นักประชาธิปไตย ”

38.       จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงกับราชวงศ์หยวนต่างกันในเรื่องใด

(1) ชาติพันธุ์   

(2) หลักการปกครอง  

(3) นโยบายต่างประเทศ

(4) ระบบเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงกับราชวงศ์หยวนมีลักษณะที่ต่างกันในเรื่องชาติพันธุ์กล่าวคือ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงจะเป็นชาวฮั่นหรือชาวจีนแท้ ๆ โดยมีฐานะเป็นสามัญชนหรือเป็นชาวนามาก่อน ส่วนจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวนจะไม่ใช่ชาวจีนแท้หรือเป็นชาวต่างชาติ นั่นคือ ชาวมองโกล

39.       แนวคิดที่ว่าด้วย “อาณัติแห่งสวรรค์” ราชวงศ์ใดเป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรก

(1) ชาง           

(2) เซีย

(3) โจว

(4) สมัย 5 วีรบุรุษ

ตอบ 3 หน้า 102(คำบรรยาย) ความเจริญเด่นที่เกิดขึ้นในจีนสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก คือผู้ปกครองได้นำแนวคิดทางการเมืองที่ยอดเยี่ยมซึ่งเรียกว่า “ทฤษฎีแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก โดยกษัตริย์จะถือว่าตนเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องศ์จักรพรรดิที่สืบเชื้อสายมาจากสวรรค์ให้ลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลกเรียกว่า “อาณัติแห่งสวรรค์”

40.       อาณาจักรจิ๋นอันยิ่งใหญ่หมายถึงอาณาจักรใด

(1) อาณาจักรโรมัน    

(2) ดินแดนลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติส

(3) อินเดียโบราณ      

(4) อียิปต์สมัยกลาง

ตอบ 1 หน้า 174 (เล่มเก่า) ในสมัยราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง จีนมีทารติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกไกลไปถึงจักรวรรดิโรมัน โดยอาศัยเส้นทางสายไหม (Silk Roadและเส้นทางทางทะเล ด้วยเหตุนี้จีนจึงเป็นที่รู้จักของชาวโรมันในนามของ “ดินแดนแห่งผ้าไหม” ในขณะเดียวกัน ด้วยความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมัน จีนจึงยกย่องให้อาณาจักรโรมันเท่าเทียมกับอาณาจักรจิ๋นของจีนโดยเรียกอาณาจักรโรมันว่า “อาณาจักรจินอันยิ่งใหญ่”

41.       ตะวันตกชาติใดเดินทางมาติดต่อค้าขายกับจีนแต่ไม่ประสบความสำเร็จและล้มเลิกความตั้งใจในที่สุด

(1) โปรตุเกส  

(2) อังกฤษ     

(3) สเปน        

(4) ดัตช์

ตอบ 3 หน้า 112204 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาติตะวันตกเริ่มเดินทางเข้ามาในเอเชียมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1514 ได้มีชาวตะวันตกชาติแรกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับจีนคือ พ่อค้าชาวโปรตุเกส ตามมาด้วยฮอลันดา (ดัตช์) อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปนโดยสเปนพยายามเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับจีนแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จและล้มเลิกความตั้งใจในที่สุด

42.       ข้อใดไม่ใช่ข้อเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาในฮ่องกงที่เรียกตนเองว่า “Occupy Central

(1)       ต้องการให้ผู้ปกครองฮ่องกงลาออก

(2)       ต้องการแยกฮ่องกงออกจากประเทศจีน

(3)       ต้องการให้จีนแผ่นดินใหญ่เคารพในสิทธิและเสียงของชาวฮ่องกงในการเลือกผู้บริหารโดยตรง

(4)       ต้องการให้ฮ่องกงมีอิสระในการปกครองตนเอง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ข้อเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาในฮ่องกงที่เรียกตนเองว่า “Occupy Central” นั้นมีดังนี้

1. ต้องการให้ผู้ปกครองฮ่องกงลาออก เพราะใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน

2. ต้องการให้จีนแผ่นดินใหญ่เคารพในสิทธิและเสียงของชาวฮ่องกงในการเลือกผู้บริหารโดยตรง

3. ต้องการให้ฮ่องกงมีอิสระในการปกครองตนเอง

43.       ข้อใดผิด

(1)       ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของจีนปัจจุบันคือ สี จิ้นผิง

(2)       นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล สนับสนุนนโยบาย “สี่ทันสมัย” ของเติ้งเสี่ยวผิง

(3)       จีนนำหน้าญี่ปุ่น และปัจจุบันก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจในเอเชีย

(4)       สงครามฝิ่นเป็นสงครามระหว่างจีนกับรัสเซีย

ตอบ 4 หน้า 112 – 113(คำบรรยาย) สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – 1842) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจู ซึ่งผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคฉบับแรกกับอังกฤษ เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nankingจนส่งผลให้จีนต้องเปลี่ยนสภาพจากอาณาจักรกลางไปเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตกในที่สุด

44.       พรรคการเมืองใดที่ปกครองจีนในปัจจุบัน

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน 

(2) พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศจีน

(3) พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย     

(4) พรรคประชาธิปไตยประชาชนจีน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) จีนแผ่นดินใหญ่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ซึ่งมีการปกครองแบบลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีนายสี จิ้นผิง เป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรคและประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายหลี่ เค่อเฉียง เป็นนายกรัฐมนตรี

45.       คนป่าเถื่อนในสายตาของผู้ปกครองจีนหมายถึงใคร

(1) ชนกลุ่มเร่ร่อนทางตอนเหนือของจีน          

(2) ชาวทิเบต

(3) ชาวเอเชียที่ไม่ใช่ชาวจีน    

(4) ผู้มีอาชีพพ่อค้า

ตอบ 4 หน้า 204 (เล่มเก่า)215229(คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์หมิงช่วงปี ค.ศ. 1514 ได้เริ่มมีพ่อค้าชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายด้วย รวมทั้งได้นำความรู้หรือเทคนิคใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวโปรตุเกสไม่ได้รับการต้อนรับมากนัก เนื่องจากผู้ปกครองจีนมีความคิดว่าตนนั้นเป็นประเทศที่มีความเจริญมากที่สุด จนมองดูพ่อค้าาวตะวันตกชาติต่างๆ ว่าเป็น “คนป่าเถื่อน” ดังนั้นผู้ปกครองจีนจึงไม่ยอมรับความเจริญของคนป่าเถื่อนมาช้ในประเทศของตน

46.       ข้อใดถูก

(1)       เกาะฮอนชูเป็นแหล่งที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด

(2)       เกาะชิโกกุตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ

(3)       เกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นคือเกาะริวกิว

(4)       เกาะที่เล็กที่สุดของญี่ปุ่นคือเกาะฮอกไกโด

ตอบ 1 หน้า 121(คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่

1.         เกาะฮอกไกโด เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น

2.         เกาะฮอนซู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด และถือว่ามีความเจริญมากที่สุด โดยเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองของญี่ปุ่น

3.         เกาะชิโกกุ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและชายฝั่งทะเล

4.         เกาะคิวชิว เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น และเป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการติดต่อกับชาวยุโรป

47.       ชาวไอนุคือใคร

(1) บรรพบุรุษรุ่นแรกของญี่ปุ่น           

(2) เป็นกลุ่มนักโทษจีนที่ถูกส่งไปจำคุกบนเกาะฮอกไกโด

(3) นักจารึกแสวงบุญจากยุโรป         

(4) เชื่อว่าเป็นลูกหลานของเทพีแห่งดวงอาทิตย์

ตอบ 1 หน้า 123(คำบรรยาย) พวกไอนุ ถือว่าเป็นบรรพบุรุษกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่บนเกาะฮอกไกโดทางภาคเหนือของญี่ปุ่นในช่วงประมาณ 20,000 – 10,000 ปีก่อนคริสตกาลโดยเป็นพวกที่มีเชื้อสายคอเคซอยด์มากกว่ามองโกลอยด์ ดังนั้นจึงมีลักษณะคล้ายชาวยุโรปมากกว่าชาวเอเชีย นั่นคือ เป็นคนผิวขาว หน้าแบน ตาสีฟ้า ขนดก และมีรูปร่างไม่สูงนัก ปัจจุบันพวกไอบุจะอาศัยอยู่มากบนเกาะฮอกไกโดและเกาะคูริล

48.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นโบราณ

(1)       นักรบญี่ปุ่นโบราณเคยเข้าไปครอบครองรัฐมิมานาของเกาหลีหลายร้อยปี

(2)       จิมมู เทนโน คือผู้รวมแผ่นดินญี่ปุ่นที่แตกแยกเข้าด้วยกัน

(3)       สังคมอูจิเป็นสังคมที่ยอมรับสตรีเป็นผู้นำ

(4)       วัฒนธรรมทูมูลิ ญี่ปุ่นรับมาจากจีน

ตอบ 4 หน้า 125 วัฒนธรรมทูมูลิหรือวัฒนธรรมหลุมฝังศพ เป็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณอย่างหนึ่งที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ ทั้งนี้จะมีการนำเครืองมือเครื่องใช้ เช่น รูปตุ๊กตาดินเผาหรือตัวฮานีวา อาวุธของนักรบ และเครื่องประดับต่างๆ ฝังรวมลงไปในหลุมฝังศพด้วย โดยเริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

49.       ลัทธิชินโต เชื่อในเรื่องใดมากที่สุด

(1)       ความบริสุทธิ์ยุติธรรมของธรรมชาติ    

(2) เชื่อในภูตผีปีศาจ

(3) ความศักดิสิทธิ์ของเทพีแห่งดวงอาทิตย์   

(4) นับถือบรรพบุรุษ

ตอบ 1 หน้า 126(คำบรรยาย) ลัทธิชินโต เป็นลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของขาวญี่ปุ่นโบราณที่ไม่ได้รับมาจากใคร แต่ได้รับอิทธิพลมาจากความบริสุทธิ์ยุติธรรมของธรรมชาติอันงดงามและสิ่งแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์ของชาวญี่ปุ่นเอง โดยเน้นการควบคุมธรรมชาติมากกว่าความหวาดกลัว และเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีวิญญาณ ดังนั้นจึงมีการนับถือธรรมชาติโดยไม่มีเกณฑ์ใด ๆ แน่นอน ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่นได้สถาปนา “ลัทธิชินโตของรัฐ” ขึ้น ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นที่เน้นความเป็นชาตินิยม และการนับถือองค์จักรพรรดิว่ามีฐานะเป็นเทพ

50.       ข้อใดคือความเจริญที่ญี่ปุ่นรับมาจากจีน

(1)       ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก     

(2) อุตสาหกรรมการต่อเรือเดินสมุทรด้วยเหล็กกล้า

(3) การนับถือความบริสุทธิ์ในธรรมชาติ         

(4) สถาปัตยกรรมการก่อสร้างแห่งเมืองนารา

ตอบ 4 หน้า 126 – 129 ความเจริญที่สำคัญที่ญี่ปุ่นโบราณรับมาจากจีน ได้แก่

1.         ตัวอักษรจีน     

2. รูปแบบการปกครองในสมัยราชวงศ์ถังของจีน      

3. ศาสนาพุทธ

4.         สถาปัตยกรรม โดยมีการสร้างบ้านเมืองเพื่อรองรับหน่วยงานปกครองต่าง ๆ เช่น ปราสาทราชวังสถานที่ราชการ ฯลฯ มีการจำลองรูปแบบตึกรามบ้านช่องจากจีน และมีการก่อสร้างเมืองสำคัญที่สวยงาม เช่น เมืองหลวงแห่งนครนารา เมืองหลวงเกียวโตแห่งยุคเฮอิอัน เป็นต้น

51.       ในสมัยศักดินา วรรณกรรมที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่มุ่งยกย่องชนชั้นใด    

(1) พ่อค้านักธุรกิจ

(2) ชนชั้นขุนนาง ชนชั้นสูง     

(3) ชาวไร่ชาวนา         

(4) ชบชั้นปัญญาชน

ตอบ 2 หน้า 130 – 131(คำบรรยาย) ญี่ปุ่นในสมัยศักดินายุคแรกหรือสมัยโชกุนเรืองอำนาจ

(ค.ศ.900 – 1600) มีความเจริญที่สำคัญเกิดขึ้นหลายด้าน เช่น ทางด้านวรรณคดีหรือ

วรรณกรรม ส่วนใหญ่จะมุ่งยกย่องชนชั้นขุนนางและชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะ

การผจญภัยอันกล้าหาญของนักรบหรือซามูไร

52.       ข้อใดผิด

(1)       หนังสือโคจิกิ และนิฮอง โซกิ เป็นผลงานทางประวัติศาสตร์โบราณของญี่ปุ่น

(2)       โชกุนคือตำแหน่งผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นในสมัยศักดินา

(3)       ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ประชากรใฝ่แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ

(4)       ต่างชาติที่บังคับเปีดประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือ อังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 133 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วงหลังสงครามนั้น ชาติตะวันตกต้องการติดต่อกับญี่ปุ่นมากขึ้น เริ่มจากรัสเซียและอังกฤษที่เดินทางเข้ามาขอเปิดประเทศ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งมาจบลงที่สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ส่งนายพลเรือเปอร์รีพร้อมเรือปืนเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1853 ต่อมาญี่ปุ่นได้ยอมลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับสหรัฐอเมริกา จากนั้นญี่ปุ่นก็ลงนมเปิดประเทศกับชาติตะวันตกอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น

53.       ญี่ปุ่นยอมรับความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังเหตุการณ์ใด

(1) ถูกระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมา นางาซากิ      

(2) การพ่ายแพ้ในสงครามกับจีนในเกาหลี

(3) การลอบสังหารผู้นำทางทหารโดยกลุ่มนักรบนิรนาม        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 135 – 136(คำบรรยาย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี โดยเปิดฉากเข้ายึดครองจีนในปี ค.ศ. 1937 ต่อมาได้รุกรานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปไกลถึงฮาวายในปี ค.ศ. 1941 จนกระทังเมื่อญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลอฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้กองกำลังพันธมิตรภายใต้การนำของสหรัฐฯ ส่งฝูงบินมาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองสำคัญของญี่ปุ่น 2 เมืองคือ เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และเมืองนางาซากิ ในวันที่ 9 สิงหาคมในปีเดียวกัน ซึ่งระเบิดได้ทำลายญี่ปุ่นลงอย่างย่อยยับ จนทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศวางอาวุธและยอมรับความพ่ายแพ้ต่อฝ่ายพันธมิตรในที่สุด

54.       ใครคือนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่น

(1) นายชินโซะ อาเบะ

(2) นายอิโต ฮิโรบูมิ    

(3) นายฟูกูดา ยาซูโอะ           

(4) นายโตซิกิ ไคฟู

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยมีพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDPเป็นพรรครัฐบาลที่ปกครองญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็คือนายชินโซะ อาเบะ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2012

55.       พรรคการเมืองใดปกครองญี่ปุ่นในปัจจุบัน

(1) พรรคญี่ปุ่นก้าวหน้า          

(2) พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย    

(4) พรรคสังคมนิยม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56.       ข้อใดผิดเมื่อกล่าวถึงเกาหลี

(1) เป็นชาติที่อ่อนแอและต้องพึ่งพาจีน          

(2) สถานที่ตั้งถูกขนาบข้างด้วยมหาอำนาจ

(3) แตกแยกเป็น 2 ประเทศ   

(4) คิม จอง-อึน นิยมสหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง-อึน โดยเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ส่วนประธานาธิบดีของเกาหลีใต้คนปัจจุบันก็คือ นางปาร์ค กึน-เฮ โดยเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

57.       เทพเจ้าดันกุน-วังกอม คือใคร

(1)       บรรพบุรุษของชาวเกาหลีและเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโกโชซอน

(2)       ผู้นำการอพยพหนีภัยการเมืองมาจากจีนในสมัยราชวงศ์ชาง

(3)       บุคคลแรกที่นำเหล็กมาผลิตเป็นเครื่องมือทางการเกษตร

(4)       เป็นผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าและประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติ

ตอบ 1 หน้า 146 ตามหลักฐานของชาวเกาหลีที่ปรากฏในตำนานโคกุน กล่าวว่า อาณาจักรโกโชซอนหรือโชซอนแรกก่อตั้งขึ้นโดยบรรพบุรุษของชาวเกาหลีนามว่า ดันกุน-วังกอม ซึ่งเป็นพวกมองโกลอยด์ที่มีฐานะเป็นบุตรของเทพเจ้าที่เสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เมื่อประมาณ 2,333 ปีก่อนคริสตกาลโดยมีอาณาเขตคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของคาบสมุทรระหว่างลุ่มแม่น้ำเหลียวกับลุ่มแม่นํ้าเตดอง

58.       ที่เรียกว่า “ถังจิ๋ว” ตรงกับสมัยใดของเกาหลี

(1) ซิลลา        

(2) โกโชซอน  

(3) ปักเจ        

(4) โชซอน

ตอบ 1 เกาหลีโบราณมีการปกครองที่เรียกว่า“ยุค 3 อาณาจักร” (Three Kingdomsซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวเกาหลีแท้ ๆ ประกอบด้วยอาณาจักรโคคูเรียวหรีอโคกูรยอ (มีอิทธิพลมากที่สุด) อาณาจักรปักเจ และอาณาจักรซิลลา ซึ่งได้ชื่อว่า “ถังจิ๋วหรือถังน้อย” (Little Tangเนื่องจากได้รับเอาแบบอย่างความเจริญมาจากจีนในสมัยราชวงศ์ถัง

59.       ยางบัน จุงอิน ยางมิน และซอนมิน คือใคร

(1) ตำแหน่งผู้นำทางทหารของเกาหลีเหนือ   

(2) ชนชั้นที่ลดหลั่นกันในสังคมลมัยราชวงศ์ยี่

(3) เชื้อพระวงศ์ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์

(4) นักธุรกิจ เจ้าของที่ดินในสมัยปักเจ

ตอบ 2 หน้า 157 สังคมเกาหลีโบราณในสมัยราชวงศ์ยี่มีการกำหนดหน้าที่ของคนในสังคมอย่างละเอียดโดยแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น คือ

1.         ชนชั้นยางบัน เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุด

2.         ชนชั้นจุงอิบ เป็นชนชั้นกลาง ได้แก่ ข้าราชการในระดับรับนโยบายมาปฏิบัติ

3.         ชนชั้นยางมิน เป็นชนชั้นสามัญชนซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มช่างฝีมือ ช่างประดิษฐ์ ช่างก่อสร้าง และชาวไร่ชาวนา

4.         ชนชั้นชอนมิน เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ได้แก่ พวกทาสที่สังกัดรัฐบาลและเอกชน รวมทั้งนักแสดง สตรีที่ขายบริการ นักไสยศาสตร์ และพ่อค้าขายเนื้อสัตว์

60.       ข้อใดผิด

(1)       ก่อนที่เกาหลีจะประดิษฐ์ตัวอักษร “ฮันกูล” เกาหลีใช้ตัวอักษรจีนเป็นหลัก

(2)       เกาหลีเหนือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี”

(3)       ลัทธิจูเช ของเกาหลีเหนือ เน้นความเป็น “ชาตินิยม พึ่งพาตนเอง และเชื่อผู้นำดุจเทพเจ้า”

(4)       นายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้เป็นสตรีนามว่า ปาร์ค กิน-เฮ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

61.       อารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด

(1) คงคา        

(2) สินธุ          

(3) ยมุนา        

(4) พรหมบุตร

ตอบ 2 หน้า 174183188 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลกโดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าสินธุหรืออินดัสในประเทศปากีสถานปัจจุบัน เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเห็นได้จากการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปา ทั้งนี้ชนชาติที่เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็คือ พวกทราวิฑหรือดราวิเดียน (Dravidiansซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมของอินเดีย นอกจากนี้ชาวสินธุยังเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบและทำท่อระบายนํ้าโสโครก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีความเจริญสูงสุดด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในบริเวณอื่นของโลก

62.       ผู้สร้างอารยธรรมเริ่มแรกในเอเขียใต้ได้แก่พวกใด

(1) อารยัน      

(2) ทราวิฑ      

(3) ตังกัส        

(4) พยู่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63.       พื้นที่ส่วนใหญ่ของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศใด

(1) อินเดีย      

(2) บังคลาเทศ

(3) ปากีสถาน

(4) อัฟกานิสถาน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

64.       มรดกตกทอดของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกที่มืต่อชนรุ่นหลังที่สำคัญที่สุดคือเรื่องใด

(1) ศาสนา      

(2) ภาษา        

(3) การชลประทาน    

(4) การปกครอง

ตอบ 1 หน้า 183186 – 188 มรดกด้านอารยธรรมของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้(อารยธรรมล่มแม่นํ้าสินธุ) ที่ตกทอดถึงอินเดียรุ่นหลังที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความเชื่อทางศาสนาเช่น การนับถือเจ้าแม่หรือมหามาตา การบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ การบูชาวัวตัวผู้ การบูชาต้นโพและต้นไทร เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ชาวฮินดูสมัยใหม่เป็นหนี้ชาวสินธุอยู่มาก

65.       เส้นทางแรกที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ารุกรานชมพูทวีปได้แก่บริเวณใด         

(1) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

(2) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   

(3) ทิศตะวันตกเฉียงใต้         

(4) ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 1 (คำบรรยาย) อารยันเป็นชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากพวกอินโด-ยูโรเปียน และถือว่าเป็นซาวต่างชาติพวกแรกที่เข้ามารุกรานอินเดียโบราณ (ชมพูทวีป) แต่เดิมนั้นจะอาศัยอยู่ทางภาคกลางองทวีปเอเชียรอบ ๆ ทะเลสาบแคสเปียน ต่อมาได้เข้ารุกรานอินเดียโดยผ่านทางช่องเขาไคเบอร์ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และได้จับชาวพื้นเมือง (ทราวิฑ) มาเป็นทาสซึ่งชนเผ่าอารยันนี้จะมีลักษณะเด่นคือ มีผิวขาว ตัวสูง และจมูกโด่ง ในปัจจุบันก็คือประชากรส่วนใหญ่ของอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ

66.       คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์ที่ศึกษาได้เฉพาะคนในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ถามว่าเริ่มแรกสุดได้แก่เล่มใด

(1) ฤคเวท      

(2) ยชุรเวท     

(3) สามเวท    

(4) อาถรรพเวท

ตอบ 1 หน้า 191 – 192(คำบรรยาย) คัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและนับว่าเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งคัมภีร์พระเวทในชั้นแรกมี 3 เล่ม เรียกว่า“ไตรเวท” ได้แก่ ฤคเวท (เป็นเล่มที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุด) ยชุรเวท และสามเวท ต่อมาได้มีการแต่งอาถรรพเวทเพิ่มเติมขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง

67.       ถ้าจัดคุณสมบัติของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เข้าอยู่ในระบบวรรณะควรจัดอยู่ในระบบวรรณะใด

(1) พราหมณ์  

(2) กษัตริย์     

(3) แพศย์       

(4) ศูทร

ตอบ 2 หน้า 195 – 196(คำบรรยาย) ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระเจ้า (พระพรหม) เป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.         วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.         วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สีแดง

3.         วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้านายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.         วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นตํ่าสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกรและข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

68.       ถ้าจัดคุณสมบัติของบุคคลผู้มีอายุ 30 ปี เข้าอยู่ในหลักอาศรม 4 ตามคติฮินดู ควรจัดไว้ในอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม   

(2) คฤหัสถ์ถาศรม     

(3) วานปรัสถาศรม    

(4) สันยัสตาศรม

ตอบ 2 หน้า 199(คำบรรยาย) ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น หลักอาศรม 4 หมายถึงธรรมหรือหลักการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามวัยหรีอตามขั้นตอนของชีวิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคนในแต่ละอาศรมให้เหมาะกับวัย ซึ่งประกอบด้วย

1.         พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1-25 ปีเป็นวัยแห่งการศึกษา

2.         คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 บี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงานมีครอบครัว

3.         วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 บี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.         สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 บี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติโดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

69.       ศาสนาคู่ใดมีคำสอนสอดคล้องกับมากที่สุด

(1) พราหมณ์-เชน       

(2) เชน-พุทธ  

(3) พุทธ-สิกข์ 

(4) สิกข์-เชน

ตอบ 2 หน้า 202 – 203205 – 207 ศาสนาเชนและศาสนาพุทธจะมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด โดยเฉพาะหลักอนุพรต 5 ของเชนจะเหมือนกับศีล 5 ของพุทธ นอกจากนี้ทั้ง 2 ศาสนายังมีทัศนะที่ขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เหมือนกันหลายเรื่อง เช่น ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก การฆ่าสัตว์บูชายัญ ระบบวรรณะ การสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า การล้างบาปในแม่น้ำคงคาอันศักดิสิทธิ์ เป็นต้น

70.       พระธรรมจักรและกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์แทนปางใดของพระพุทธเจ้า

(1) ปางประสูติ           

(2) ปางตรัสรู้  

(3) ปางปฐมเทศนา    

(4) ปางปรินิพพาน

ตอบ 3 หน้า 214 – 217(คำบรรยาย) พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์เมารยะทรงมีพระราชกรณียกิจ ดังนี้

1.         ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูก ดังคำกล่าวที่ว่า “พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ให้เหมือนบิดารักษาบุตรทุกเมื่อ” และทรงเป็นธรรมราชา

2.         ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนารวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก

3.         ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกของพุทธศาสนา จนทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยนี้ เช่น โปรดให้จารึกพระธรรมคำสอนลงบนเสาหินที่เรียกว่า “Asokas Pillars” โดยหัวเสาจะมีรูปสิงห์ 4 ตัวยืนหันหลังชนกัน ข้างบนหลังสิงห์มีพระธรรมจักร ซึ่งปัจจุบันอินเดียใช้หัวเสารูปสิงห์เป็นตราแผ่นดิน รวมทั้งโปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน อาทิเช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพพระธรรมจักรและมีกวางหมอบ เป็นต้น

71.       กษัตริย์พระองศ์ใดเป็นแบบอย่างขององค์ประมุขที่มีขันติธรรมในศาสนา

(1) พระเจ้าอักบาร์      

(2) พระเจ้าจาหันกีร์   

(3) พระเจ้าชาห์เจฮาน

(4) พระเจ้าโอรังเซป

ตอบ 1 หน้า 224 – 225(คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ในสมัยจักรวรรดิโมกุลแห่งอินเดีย โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดและมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของพระองค์ก็คือ ทรงมีขันติธรรมในศสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศเนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

 

72.       “พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ให้เหมือนบิดารักษาบุตรทุกเมื่อ” ท่านว่ากษัตริย์พระองค์ใดทรงปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าว

(1) พระเจ้าจันทรคุปต์

(2) พระเจ้าอักบาร์      

(3) พระเจ้าโอรังเซป   

(4) พระเจ้าอโศก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

73.       ราชวงค์ใดของอินเดียที่พุทธคาสนาเจริญสูงสุด

(1) ราชวงศ์เมารยะ    

(2) ราชวงศ์คุปตะ       

(3) ราชวงศ์คุงคะ       

(4) ราชวงศ์กุษาณะ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

74.       บทละครเรื่อง ศกุนตลา เป็นมรดกด้านวรรณกรรมของสมัยใด

(1) ราชวงศ์เมารยะ    

(2) ราชวงศ์คุปตะ       

(3) ราชวงศ์ศุงคะ       

(4) ราชวงศ์กุษาณะ

ตอบ 2 หน้า 219 – 222 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” เพราะมี

ความเจริญด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

1. เป็น “ยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต”โดยกวีเอกในสมัยนี้ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย”โดยผลงานเด่นที่รู้จักไปทัวโลกคือ บทละครเรื่องศกุนตลา ซึ่งเป็นวรรณกรรมอินเดียที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาแปลเป็นภาษาไทย 2. มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ที่เด่น ๆ คือ การเจาะภูเขาเป็นลูก ๆ ให้เป็นถํ้าเพื่อสร้างสังฆารามหรือเทวสถานและพุทธสถาน ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ถํ้าอชันตา ซึ่งภาพเขียนสีรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีบนฝาผนังถํ้าที่ 1 ถือว่าเป็นจิตรกรรมชิ้นเอกของยุค

75.       “มุมทัชมาฮาล” แปลว่า “รัตนะแหงราชสำนัก” เป็นที่มาของการสร้างปราสาททัชมาฮาล ถามว่าพระนางเป็นพระมเหสีของกษัตริย์พระองศ์ใด

(1) พระเจ้าอักบาร์      

(2) พระเจ้าบาบูร์        

(3) พระเจ้าจาหันกีร์   

(4) พระเจ้าชาห์เจฮาน

ตอบ 4 หน้า 226 พระเจ้าชาห์เจฮานทรงมีพระมเหสีที่ทรงพระสิริโฉมงดงามนามว่า“มุมทัชมาฮาล”แปลว่า รัตนแห่งราชสำนัก ตอมาเมื่อพระนางสวรรคตขณะประสูติพระโอรสองศ์ที่ 14 ทำให้พระเจ้าชาเน์จฮานเสียพระทัยอย่างมาก จึงโปรดให้สร้างปราสาททัชมาฮาลขึ้นที่เมืองอักราเพื่อใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของพระมเหสีมุมทัช โดยทัชมาฮาลจะเป็นศิลปะฮินดูผสมมุสลิมและจัดเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามจนนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

76.       อินเดียสมัยใดได้ชื่อว่า เป็นยุคทองของอินเดียโบราณ          

(1) ราชวงศ์เมารยะ

(2) ราชวงศ์อินโด-แบกเทรีย   

(3) ราชวงศ์คุปตะ       

(4) ราชวงศ์โมกุล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77.       ภาษาใดที่คนพูดกันมากที่สุดในอินเดีย

(1) เบงกาลี    

(2) อูรดู           

(3) ปัญจาบ    

(4) ฮินดี

ตอบ 4 หน้า 175 – 176(คำบรรยาย) อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านภาษา โดยมีภาษาพูดกว่า 200 ภาษา และหากนับรวมภาษาถิ่นด้วยจะมีราว 800 ภาษา ทั้งนี้ภาษาต่าง ๆที่ใช้กันอยู่ในอินเดียปัจจุบันจะเป็นภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต เช่น ภาษาฮินดี อูรดู บงกาลี คุชราตี ฯลฯ โดยภาษาที่คนอินเดียพูดและใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ภาษาฮินดี รองลงมา ได้แก่ ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาราชการที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัย

78.       ชาวตะวันตกชาติใดที่เข้ามาในอินเดียเป็นชาติแรกและสามารถยึดตลาดการค้าจากพ่อค้าอาหรับได้สำเร็จในคริสต์คตวรรษที่ 16

(1) โปรตุเกส  

(2) ดัตช์          

(3) อังกฤษ     

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 โปรตุเกสเป็นมหาอำนาจตะวันตกาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลสูงสุดในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยได้เดินเรือเข้ามาค้าขายในอินเดียแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จนสามารถยึดตลาดการค้ามาจากพ่อค้าอาหรับที่มีอิทธิพลอยู่ในดินแดนนี้ได้สำเร็จ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกัว (Goaซึ่งเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการค้าศาสนาคริสต์ การปกครอง และวัฒนธรรมของโปรตุเกส

79.       ข้าหลวงคนใดเป็นผู้จุดฉนวนกบฏซีปอย

(1) Lord Bentinck      

(2) Lord Dalhousie

(3) Lord Cornwallis  

(4) Lord Curzon

ตอบ 2 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นขบวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857 ซึ่งการแทรกแซงดังกล่าวมีดังนี้

1. ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เริยกว่า “The Doctrine of Lapse ทำให้ประเพณีในการสืบราชสมบัติของเจ้าผู้ครองนครเปลี่ยนไป

2. ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีโฉนดมาแสดงก็ให้ยึดเป็นของอังกฤษ

3. ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตตี (Suttee),ออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและประเพณีฆ่าคนบูฃายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

4. สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาว (Enfield Rifleมาให้ทหารซีปอยใช้โดยได้นำน้ำมันหมูและไขวัวมาใช้เป็นนํ้ามันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอยทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน

80.       สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอยคืออังกฤษออกกฎหมายแทรกแซงเรื่องใดของอินเดีย

(1) ด้านการปกครอง

(2) ด้านเศรษฐกิจ       

(3) ด้านสังคม 

(4) ด้านการทหาร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81.       อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอยแพ้อังกฤษ

(1) อาวุธยุทโธปกรณ์ด้อยกว่าของอังกฤษ     

(2) ระบบการสือสารด้อยกว่าของอังกฤษ

(3) ซีปอยมีความชำนาญในการรบด้อยกว่าอังกฤษ   

(4) ชาวอินเดียแตกความสามัคคี

ตอบ 4 หน้า 234 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอยได้ มีดังนี้

1.         ผู้นำทัพและทหารอังกฤษ มีประสบการณ์และความชำนาญในการรบมากกว่า และมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

2.         อังกฤษมีระบบและเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งก็คือเครื่องโทรเลขที่ช่วยให้สามารถส่งข่าวได้อย่างรวดเร็ว

3.         ผู้ปกครองหลายรัฐเข้าร่วมกับอังกฤษเพื่อปราบกบฏซีปอย อันแสดงให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีในหมู่ชาวอินเดียเอง ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอยพ่ายแพ้อังกฤษ

82.       นักชาตินิยมคนใดที่ยอมรับกันว่า “หัวรุนแรงที่สุด”

(1) Nehru 

(2) Jinnah

(3) Tilak    

(4) Ranade

ตอบ หน้า 239(คำบรรยาย) พาล คงคาธาร ติลัก (Bal Gangadhar Tilakเป็นนักชาตินิยมหัวรุนแรงที่สุดของอินเดีย โดยเขาจะไม่ยอมรับการปฏิรูปใด ๆ ในแนวทางของอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดชาตินิยมของอินเดียมาเป็นขบวนการประชาชนโดยยึดคติว่า“การปกครองตนเองเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน และประชาชนต้องการปกครองตนเอง”รวมทั้งเป็นผู้ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณของอินเดียขึ้นมาใหม่ เพื่อปลุกจิตลำนึกชาตินิยมในหมู่ชาวอินเดีย ทั้งนี้ติลักได้รับสมญานามจากชาวอินเดียว่า “โลกมานยะ” แต่ชาวอังกฤษกลับตั้งฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งความยุ่งยากในประวัติศาสตร์อินเดีย”

83.       หัวใจการต่อสู้ของขบวนการสัตยาเคราะห์คือเรื่องใด

(1) อหิงสา      

(2) ขันติ          

(3) อุเบกข

(4) เมตตากรุณา

ตอบ1 มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhiเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนิติศาสตร์ และเป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ที่เรียกว่า“การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลังแต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่

1. สัตยะ คือ ความจริง           

2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง

3. การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟัง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง

84.       การที่อังกฤษออก พ.ร.บ. เก็บอะไรที่ชาวอินเดียถือว่าไม่เป็นธรรมมากที่สุด

(1) ภาษีที่ดิน  

(2) ภาษีการค้า           

(3) ภาษีเกลือ 

(4) ภาษีมรดก

ตอบ 3 หน้า 224515 (เล่มเก่า) การที่อังกฤษออก พ.ร.บ. เก็บภาษีเกลือชาวอินเดียแพงเกินไปนั้นาวอินเดียถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมมากที่สุด เพราะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวอินเดียในทุกครัวเรือน จนมหาตมะ คานธี ต้องชักชวนประชาชนให้หันมาทำนาเกลือเองผลปรากฏว่าอังกฤษสั่งปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาอังกฤษก็ยอมเปิดการประชุมโต้ะกลมระหว่างอินเดียกับอังกฤษเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในที่สุด

85.       ท่านคิดว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักชาตินิยมชื่นชอบ “The MorleyMinto Reforms of 1909”

(1)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

(2)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้สิทธิเลือกรัฐบาลปกครองตนเอง

(3)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานของรัฐ

(4)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภา

ตอบ 4 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์–มินโต (The MorleyMinto Reformsซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรกด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอินเดียที่กรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้นแต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในเรื่องการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

86.       ข้อใดที่เป็นเนื้อหาสำคัญของ “The Rowlatt Act of 1919” ที่ทำให้นักชาตินิยมไม่พอใจ

(1) อังกฤษอนุญาตให้หญิงม่ายแต่งงานได้   

(2) อังกฤษแบ่งแคว้นเบงกอลออกเป็น 2 ส่วน

(3) อังกฤษควบคุมการบริหารในมหาวิทยาลัย           

(4) อังกฤษลิดรอนเสรีภาพของซาวอินเดยอย่างรุนแรง

ตอบ 4 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า“กฎหมายโรว์แลตต์” (The Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่มีสิทธิอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดล้มล้างรัฐบาลได้ทันทีโดยไม่ต้องดำเนินการสอบสวนหรือขึ้นศาลตามขบวนการยุติธรรม ซึ่งนักชาตินิยมมองว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นสาเหตุให้มหาตมะ คานธีลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการประท้วงอังกฤษเสียเอง

87.       บุคคลใดได้รับสมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งชาติปากีสถาน”

(1) Nehru 

(2) Gandhi

(3) Jinnah

(4) Tilak

ตอบ 3 หน้า 241244 – 245(คำบรรยาย) มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Muhammad Alt Jinnah)ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิม เป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดียควบคู่ไปกับการต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิม โดยการประชุมสันนิบาตมุสลิมทีละโฮร์ในปี ค.ศ. 1940จินนาห์ได้เสนอข้อมติเพื่อขอแยกมุสลิมออกจากฮินดูมาตั้งประเทศปากีสถาน จนกระทั่งเมื่ออินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 อินเดียได้แยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดียและปากีสถาน ทำให้จินนาห์ได้รับสมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งชาติปากีสถาน”

88.       รูปสิงห์สี่ตัวยืนหันหลังชนกันที่อินเดียใช้เป็นตราแผ่นดินนั้น ได้มาจากที่ใด

(1) หัวเสาในสมัยพระเจ้าอโศก          

(2) หัวเสาในสมัยพระเจ้ามิลินทร์

(3) หัวเสาในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์  

(4) หัวเสาในสมัยพระเจ้าอักบาร์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

89.       กลางผืนธงชาติของอินเดีย บนแถบสีขาวมีสิ่งใดปรากฏอยู่

(1) ดอกบัว     

(2) ช้าง           

(3) ธรรมจักร  

(4) นกยูง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ธงชาติของสาธารณรัฐอินเดียประกอบด้วยแถบสี 3 แถบ คือ แถบบนสีส้ม

แถบล่างสีเขียว ส่วนแถบกลางสีขาวจะมีรูปพระธรรมจักรอยู่ตรงกลาง ซึ่งพระธรรมจักรดังกล่าวก็คือสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธนั่นเอง

90.       ท่านคิดว่ามรดกด้านอารยธรรมของอินเดียในเรื่องใดที่ทำให้อารยธรรมอินเดียดูยิ่งใหญ่เท่าจีน

(1) ภาษา        

(2) ศาสนา      

(3) ศิลปะ       

(4) การปกครอง

ตอบ 2 หน้า 174(คำบรรยาย) อินเดียโบราณได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ 4 ศาสนาสำคัญของโลกคือ พราหมณ์-ฮินดู เชน พุทธ และสิกข์ ซึ่งจากมรดกอารยธรรมในด้านศาสนานี้เองที่ทำให้อายธรรมอินเดียยิ่งใหญ่เท่าจีน นั้งนี้เพราะจีนรับอารยธรรมด้านศาสนาไปจากอินเดียนั่นเอง

91.       อาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนี้บุญคุณด้านวัฒนธรรมของประเทศใดมากที่สุด

(1) โรมัน         

(2) เปอร์เซีย   

(3) อินเดีย      

(4) จีน

ตอบ 3 หน้า 255270 – 271273 – 275323 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) หมายถึง ดินแดนในเอเชียตะวันออกส่วนที่อยู่บนผืนแผ่นดิบใหญ่ซึ่งเป็นแหลมอินโดจีนและดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกนอกจากนี้ยังเป็นดินแดนที่มีประชากรหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เป็นแหล่งที่มาของเครื่องเทศโดยเฉพาะในหมู่เกาะต่าง ๆ รวมทั้งเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน จึงเป็นแหล่งรับวัฒนธรรมจากทั้ง 2 ประเทศ โดยดินแดนต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเวียดนามเพียงประเทศเดียวที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน เราจึงสามารถสรุปได้ว่า อาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนี้บุญคุณวัฒนธรรมอินเดียมากที่สุด

92.       ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มีหลายชาติพันธุ์   

(2) ดินแดนแห่งเครื่องเทศ

(3) ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียมากที่สุด        

(4) อยู่ติดมหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93.       แม่นํ้าสายใดยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) แม่นํ้าโขง  

(2) แม่นํ้าเจ้าพระยา   

(3) แม่นํ้าอิระวดี         

(4) แม่นํ้าแดง

ตอบ 1 หน้า 256 – 257542 (เล่มเก่า) แม่นํ้าโขง ถือว่าเป็นแม่นํ้าสายที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นแม่นํ้าสายสำคัญที่ไหลผ่านหลายประเทศได้แก่ จีน ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย

94.       แม่นํ้าสำคัญของประเทศลาวคือแม่น้ำสายใด

(1) แม่น้ำโขง  

(2) แม่นํ้าแดง 

(3) แม่นํ้าดำ   

(4) แม่นํ้าสาละวิน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95.       ภาษาใดจัดอยู่ในกลุ่ม AustroAsiatic

(1) ภาษาพม่า

(2) ภาษาไทย 

(3) ภาษาเวียดนาม    

(4) ภาษามอญ

ตอบ 4 หน้า 259 ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามภาษาพูดได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล SinoTibetan ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาทิเบต-พม่า ภาษากะเหรี่ยงและภาษาแม้ว-เย้า

2.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล TaiKadai ได้แก่ ภาษาไทหรือไต และภาษากะได สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันก็จัดอยู่ในตระกูลนี้ด้วย

3.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล AustroAsiatic ได้แก่ ภาษามอญ-เขมร ภาษาเวียด-มวงและภาษาเซนอย-เซมัง

4.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล Austronesian หรือ MalayoPolynesian ได้แก่ ภาษาจามและภาษามาเลย์

96.       ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลใด

(1) SinoTibetan

(2) TaiKadai

(3) AustroAsiatic

(4) MalayoPolynesian

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       ประชากรกลุ่มมองโกลอยด์เหนือมีลักษณะทางกายภาพแบบใด

(1) ตัวเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก       

(2) ตัวสูง ผิวขาว ผมหยิก

(3) ตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง ผมเหยียดตรง        

(4) ตัวสูง ผิวดำ ผมหยิก

 ตอบ 3 หน้า 543 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.         ออสตราลอยด์ (Australoidเป็นประชากรเชื้อสายอินโดนีเซีย-มาเลเซียที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะตัวเตี้ย ผิวดำ และผมหยิก

2.         มองโกลอยด์ (Mongoloidเป็นกลุ่มชนมองโกลอยด์เหนือที่อพยพมาจากตอนเหนือของจีนแล้วเข้ามาอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคนี้ เช่น ชาวไทย ลาว พม่า ฯลฯส่วนใหญ่จะตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง และผมเหยียดตรง

98.       ทะเลอันดามันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรใด            

(1) มหาสมุทรอินเดีย

(2)  มหาสมุทรแปซิฟิก           

(3) มหาสมุทรอาร์กติก           

(4) มหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 1 หน้า 541 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ดิบแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเป็นกำแพงที่แบ่งเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน โดยทางฝั่งตะวันตก ได้แก่ทะเลอันดามันของไทย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางฝั่งตะวันออก ได้แก่อ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก

99.       ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึงมนุษย์ชวา

(1) ค้นพบโดย อูยีน ดูบัว ศัลยแพทย์ชาวฮอลันดา     

(2) ยืนสองขา

(3) ความจุสมองเท่ามนุษย์ในปัจจุบัน

(4) เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 266 – 267548 (เล่มเก่า) ในปี ค.ศ. 1891 อูยีน ดูบัว (Eugene Duboisศัลยแพทย์าวฮอลันดา ได้ค้นพบซากฟอสซิลของมนุษย์โฮโม อีเรคตัส (Homo erectusหรือมนุษย์ชวาบริเวณเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียเป็นครั้งแรกโดยนักมานุษยวิทยาได้จัดมนุษย์ชวาที่ขุดพบนี้ว่าเป็นมนุษย์วานร (Pithecanthropusซึ่งเป็นบรรพบุรุษเริ่มแรกของมนุษย์ โดยสามารถยืนสองขาได้ แต่มีขนาดของสมองเล็กกว่ามนุษย์ในปัจจุบัน และมีชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็งตอนต้น

100.    ข้อใดคือวัฒนธรรมยุคหินใหม่           

(1) เพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์

(2) เคลื่อนย้ายตามฤดูกาล    

(3) อาศัยอยู่ตามถํ้า    

(4) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

ตอบ 1 หน้า 268(คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคของการปฎิวิติเกษตรกรรม โดยมนุษย์จะเริ่มทำการเกษตรกรรมซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบใหม่คือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการปลูกข้าวและผลไม้หลาย ๆ ชนิดอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เริ่มมีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแล้วอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเริ่มรู้จักการทำเครื่องจักสาน ภาชนะดินเผา และเครื่องมือหินขัดขึ้นใช้ มีการแบ่งงานกันทำและมีการติดต่อกับระหว่างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ดังนั้นยุคหินใหม่จึงเป็นยุคของการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

101.    วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน เป็นวัฒนธรรมหินเก่าทื่อยู่ในประเทศใด

(1) พม่า          

(2) ลาว           

(3) เวียดนาม  

(4) ไทย

ตอบ 4 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้วซึ่งวัฒนธรรมหินเก่าในภูมิภาคนี้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทยวัฒนธรรมแทมปาเนียนในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจีตาเนียนในอินโดนีเซีย

102.    ข้อใดไม่ใช่หลักฐานจากอินเดียที่แสดงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) คัมภีร์อรรถศาสตร์

(2) คัมภีร์ปุราณะ       

(3) หนังสือเรื่อง Geographia

(4) ชาดก

ตอบ 3 หน้า 272 – 273558 – 559 (เล่มเก่า) หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีดังนี้

1. หลักฐานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ จารึกเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและแหลมมลายู

2. หลักฐานจากโรมัน ได้แก่ หนังสือเรื่องภูมิศาสตร์(Geographiaของปโทเลมี 

3. หลักฐานจากอินเดีย ได้แก่ มหากาพย์รามายณะคัมภีร์อรรถศาสตร์ ชาดก คัมภีร์ปุราณะ นิเทสสะ และจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช

4.         หลักฐานของจีน ได้แก่ บันทึกการเดินทางของราชทูตจีน

103.    อิทธิพลจีนส่งผลแก่วัฒนธรรมของชาติใดมากที่สุด

(1) พิลิปปินส์ 

(2) เวียดนาม  

(3) กัมพูชา     

(4) มาเลเซีย

ตอบ 2 หน้า 275(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 368 – 369) เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใด้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนโดยตรง ซึ่งวัฒนธรรมที่จีนนำมาให้เวียดนาม ได้แก่

1. การปกครองแบบโอรสสวรรค์หรืออาณัติสวรรค์

2. ระเบียบการบริหารราชการและระบบการสอบไล่เข้ารับราชการหรือการสอบจอหงวนตามลัทธิขงจื๊อ

3. ลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธนิกายมหายาน

4. วรรณคดีและอักษรศาสตร์

5. วัฒนธรรมความเป็นอยู่และประเพณี เช่น การแต่งกาย การกิน การแต่งงาน การทำศพ เป็นด้น

104.    ตามความเชื่อของขาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์อยู่ในฐานะใด

(1) เจ้าแห่งแม่นํ้า        

(2) เจ้าแห่งป่าไม้        

(3) เจ้าแห่งภูเขา         

(4) เจ้าแห่งสุวรรณภูมิ

ตอบ 3 หน้า 279 – 281568 (เล่มเก่า) จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยมีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทั้งนี้คำว่า “ฟูนัน” เป็นการเรียกตามแบบจีนหากมาจากภาษาเขมรจะเรียกว่า“บนัมหรือพนม”แปลว่าภูเขาและชาวฟูนันจะเรียกประมุขว่า“กุรุง บนัม” แปลว่า กษัตริย์แห่งภูเขา เนื่องจากชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์จะอยู่ในฐานะเจ้าแห่งภูเขา (Kings of the Mountainsหรือไศลราชา

105.    เมืองหลวงของฟูนันคือเมืองใด

(1) เมืองออกแก้ว       

(2) เมืองวยาธปุระ      

(3) เมืองนครปฐม       

(4) เมืองบิญดิน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 104. ประกอบ

106.    กษัตริย์องค์ใดของเขมรที่เป็นผู้สร้างปราสาทบายน  

(1) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2

(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2         

(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7         

(4) พระเจ้าอิศานวรมัน

ตอบ 3 หน้า 286573 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) เขมรในสมัยพระเจ้าชัยเวรมันที่ 7 ได้มีการสร้างปราสาทบายนขึ้นโดยรับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายนคือ บนยอดของปรางค์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวงหรือนครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณกลางเมืองพระนคร

107.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค        

(2) สะเทิม      

(3) เมาะตะมะ

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอบล่างด้านตะวันออกของแม่นํ้าอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อมอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนไต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

108.    ตามบันทึกของจีน ชาวจามมีลักษณะอย่างไร           

(1) ผิวขาว ผมเหยียดตรง

(2) ตาลึก ผมดำ         

(3) ตาโต ผิวขาว         

(4) ตัวใหญ่ ผมเหยียดตรง

ตอบ 2 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีนหรือบริเวณตอบกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือฃองอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือบริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเกียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนามทั้งนี้ลักษณะของซาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก

109.    ข้อใดกล่าวถึงอาณาจักรพุกามไม่ถูกต้อง

(1) พุกามล่มสลายลงเพราะถูกมอญโจมตี    

(2) พุกามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากมอญ

(3) กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา

(4) พุทธศาสนานิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพุกามอย่างมาก

ตอบ 1 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของลุ่มแม่นํ้าอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดซองพม่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพุกามคือพระเจ้าอโนรธา โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้างสิทธิธรรมทางศาสนาในการโจมตีและยึดครองดินแดนต่าง ๆ และทรงสร้างพุกามให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งนี้อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเนื่องจากถูกกองทัพมองโกลของกุบไลข่านเข้าโจมตีในปี พ.ศ. 1821 กอปรกับมีความอ่อนแอภายในอาณาจักร

110.    สถาปัตยกรรมที่สำคัญของราชวงศไศเลนทร์ คือข้อใด

(1) ปราสาทนครวัด    

(2) บุโรพุทโธ  

(3) ปรัมบานัน

(4) อานันทะเจดีย์

ตอบ 2 ราชวงค์ไศเลนทร์ เป็นสมัยที่อาณาจักรชวาภาคกลางมีความเจริญรุ่งเรืองโดยดูได้จากงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงและกลายเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีเกี่ยวกับราชวงค์ไศเลนทร์คือ บุโรพุทโธ (Borobudurซึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นเจดีย์หินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรวมทั้งเป็นเจดีย์ในพุทธศาลนานิกายมหายาน ลัทธิศิวพุทธ และความเชื่อในเรื่องจักรวาล

111.    ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส          

(2) การสำรวจดินแดนใหม่     

(3) การค้า      

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง

2. ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปสู่พวกนอกศาสนา

4. ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่

5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ

6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้

112.    ชาวยุโรปชาติใดเดินทางเข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติแรก

(1) สเปน        

(2) โปรตุเกส  

(3) ดัตช์          

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 324 – 326592 – 594 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสสามารถทำสงครมยึดเมืองมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศได้สำเร็จเป็นแห่งแรก ซึ่งหลังจากที่ยึดมะละกาได้แล้วก็ได้แต่งตั้งผู้ปกครองมะละกาที่เรียกว่า “กะปิตัน” (Kapitanจากนั้นโปรตุเกสได้ปกครองมะละกาแบบทหาร (Fortress System)สร้างป้อมอา ฟาโมซา (A Famosaและสร้างโบสถ์เซนต์พอลขึ้นเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ รวมทั้งส่งคนออกสำรวจหมู่เกาะเครื่องเทศเพื่อต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศใน Ternate, Tidore และ Banda อีกด้วย

113.    ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์    

(2) ปีนัง          

(3) มะละกา   

(4) พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้วในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlement)โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะปีนัง

114.    ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในด้านการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส  

(2) สเปน        

(3) ดัตช์          

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 331(คำบรรยาย) ดัตช์หรือฮอลันดาถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จทางด้านการค้ามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปี พ.ศ. 2173 ดัตช์ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่บันทัมบนเกาะชวา ต่อมาในปี พ.ศ. 2145 ก็ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการค้าเครื่องเทศที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้บันทัมกลายเป็นศูนย์กลางการค้าในบริเวณนี้

115.    ดัตช์ได้ใช้นโยบายใดเพื่อปรับปรุงสวัสดิการคนพื้นเมืองในบังคับให้ดีขึ้น

(1) Culture System   

(2) Encomienda        

(3) Ethical Policy       

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 334 ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ดัตช์ได้มีการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจบนเกาะชวาโดยใช้นโยบายที่เรียกว่า “Ethical Policy” ซึ่งเป็นนโยบายที่จัดการบริการสวัสดิการสาธารณะให้ดีมากขึ้น เช่น การศึกษา สาธารณสุข การเกษตร และการคมนาคม ซึ่งต่อมาชาวอินโดนีเซียที่มีการศึกษาไม่พอใจที่ไม่มีสิทธิในการปกครองประเทศ ระบบนี้จึงถือเป็นแรงกระตุ้นประการหนึ่งที่ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมในอินโดนีเซีย

116.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึง เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน

(1) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส         

(2) เป็นผู้เดินทางมาถึงฟิลิปปินส์

(3) เป็นผู้เดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก

(4) เป็นผู้ทำให้ชาวสเปนถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์

 ตอบ 1 หน้า 328 – 329600 (เล่มเก่า) เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่สามารถเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยในปี พ.ศ. 2055 แมกเจลแลนได้เดินทางมาถึงหมู่เกาะวิสายะของฟิลิปปินส์ตามคำสั่งของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ที่ให้ค้นหาเส้นทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศและยึดดินแดนที่ค้นพบ ต่อมาเขาได้เดินทางมาถึงเกาะลิมาซาวาและเกาะเซบู โดยได้ผูกมิตรกับหัวหน้าเกาะทั้งสอง และที่เกาะเซบูเขาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในหมู่เกาะทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ ส่งผลให้แมกเจลแลนและชาวสเปนจำนวนมากถูกฆ่าตายในฟิลิปปีนส์

117.    ข้อใดหมายถึงสนธิสัญญาซารากอสสา

(1) สนธิสัญญาที่กำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของโปรตุเกสกับสเปน

(2) สนธิสัญญาที่ให้สเปนกับโปรตุเกสออกสำรวจดินแดนต่าง ๆ คนละเส้นทางกัน

(3) สนธิสัญญาที่โปรตุเกสทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

(4) สนธิสัญญาที่ดัตช์ทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ตอบ 1 หน้า 328 ด้วยเหตุที่ทั้งสเปนและโปรตุเกสต่างก็ต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ในปี พ.ศ. 2072 สเปนและโปรตุเกสได้ทำ “สนธิสัญญาซารากอสสา”ระหว่างกัน โดยมีการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ชัดเจน

ตั้งแต่ข้อ 118. – 120. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา      

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3) ระบบโปโล

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

118.    ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomiendaคือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ในฟิเลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Encomiendoros)เรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

119.    ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมืองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.         ระบบโปโล (Polo Systemเป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.         ระบบวันดาลา (Vandala Systemเป็นระบบบังคับซื้อสินค้า โดยบังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาตํ่า

120.    ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 119. ประกอบ

HIS1001 อารยธรรมตะวันตกภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  HIS1001 อารยธรรมตะวันตก

คำสั่ง  ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ศิลปะของอารยธรรมใดในยุคโบราณถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสนองการพระศาสนา

1.   อียิปต์                  

2.    เมโสโปเตเมีย                

3.   โรมัน                               

4.   กรีก

ตอบ 1       หน้า 616321 (H)  ศิลปะของอารยธรรมอียิปต์โบราณมักถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสนองการพระศาสนา ทำให้งานศิลปะต่าง ๆ ล้วนแสดงออกซึ้งสัญลักษณ์ทางศาสนาทั้งสิ้น นอกจากนี้ศิลปะของอียิปต์โบราณนั้นก็ไม่ใช่ศิลปะเพื่อศิลปะ แต่เป็นศิลปะที่เปลี่ยนแปลงไปตามอุดมคติ วิถีทางการเมืองและสังคม เช่น ในสมัยอาณาจักรเก่าจะนิยมสร้างพีระมิดเพื่อหวังผลในโลกหน้า แต่ในสมัยจักรวรรดินิยมจะสร้างวิหารเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และอานุภาพของฟาโรห์

2.         ผลงานศิลปกรรมใดแสดงว่าชาวอียิปต์เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ

1.   พีระมิด

2.   สฟิงซ์

3.   ซิกกูแรต

4.   โอเบลิส์

             ตอบ 1       หน้า 64 – 65 ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์ จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์รวมทั้งยังเขียนเรื่องราวแสดงความบริสุทธิ์และความประพฤติที่ดีของตนเอาไว้เพื่อนำไปแสดงต่อเทพเจ้าโอสิริสเมื่อตนตายไปแล้ว ซึ่งถ้าเขียนเป็นหนังสือจะเรียกว่า “Book of  the Dead” แต่ถ้าเขียนไว้ตามหีบศพจะเรียกว่า “Coffin Texts” และถ้าเขียนไว้บนกำแพงพีระมิดจะเรียกว่า“Pyramid Texts”  

3.         การก่อสร้างสุสาน วัด และวังของชาวอียิปต์ เป็นตัวอย่างของความเจริญทางด้านใด

1.   วิทยาศาสตร์

2.   อักษรศาสตร์

3.   เทคโนโลยี

4.   ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4       หน้า 61 – 62 การสร้างสุสานหรือพีระมิด วัด วิหาร และวังของอียิปต์นั้น ได้แสดงถึงความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์(โดยเฉพาะดาราศาสตร์) คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและลักษณะทางวิศวกรรมอย่างสูง นั่นคือ สถาปนิกชาวอียิปต์มีความสามารถประดิษฐ์เครื่องมือกลสำหรับเคลื่อนย้ายหินขนาดใหญ่และสิ่งของหนักอื่น ๆ อีกทั้งยังรู้หลักการคำนวณหาปริมาตรของพีระมิดเพื่อรองรับกับแรงกดของหินขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ได้อย่างสมดุลอีกด้วย 

4.         สังคมของอารยธรรมใดในยุคโบราณที่มีลักษณะเป็นสังคมเมืองตั้งแต่แรกเริ่มมาก่อน

1.   อารยธรรมอียิปต์

2.   โรมัน

3.   อารยธรรมกรีก

4.   เมโสโปเตเมีย

ตอบ 4       หน้า 67 – 69  อารยธรรมเมโสโปเตเมียเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 B.C. โดยชนชาติแรกที่เริ่มสร้างอารยธรรมไว้ในเมโสโปเตเมีย คือ พวกสุเมเรียน ซึ่งพัฒนาการทางวัฒนธรรมของสุเมเรียน  แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1. ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250 – 3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรม คนเมือง หรือสมัยสังคมเมือง (Urban Civilization) 2. ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C. เป็นสมัยของการสร้างความเจริญในด้านต่าง ๆ

5.         ผู้ปกครองเมโสโปเตเมียพิทักษ์ความยุติธรรมด้วยวิธีใด

             1.   แสดงอำนาจบาตรใหญ่     2.   เชือดไก่ให้ลิงดู           3.   ออกกฎหมาย                  4.   ตั้งศาลพิเศษ

ตอบ 3       หน้า 72 – 7424 (H) ผู้ปกครองเมโสโปเตเมียจะพิทักษ์ความยุติธรรมด้วยการออกกฎหมายโดยเฉพาะในสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี ซึ่งเป็นผู้นำที่ปกครองพวกอะมอไรท์หรือพวก      บาบิโลนเก่าได้มีการร่างประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The code of Hammurabi) ขึ้นมาใช้ โดยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายชองพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลัก Lex Talionis (ลัทธิสนองตอบ) คือ ตาต่อตาฟันต่อฟัน ซึ่งประมวลกฎหมายฮัมมูราบีนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของกฎหมายโรมัน

6.         ระบบการปกครองใดของเมโสโปเตเมียที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของเทพ

             1.   ระบบคณาธิปไตย             2.   ระบบราชาธิปไตย        3.   ระบบประชาธิปไตย     4.   ระบบทรราช

             ตอบ 2       หน้า 708025 (H) (คำบรรยาย) การปกครองของเมโสโปเตเมียมักจะเป็นการปกครองในระบอบเทวาธิปไตย หรือเทวราชาธิปไตย ซึ่งอาจเรียกได้ว่าการปกครองแบบกษัตริย์เอกาธิปไตยหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั้นคือ กษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพซึ่งเป็นตัวแทนของเทพเจ้าที่ถูกส่งลงมาปกครองพวกมนุษย์ ดังนั้นจึงทรงมีฐานะเป็นเทวกษัตริย์และถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของเทพหรือของกษัตริย์นั้นเอง เช่น การปกครองของ สุเมเรียนและอัสสิเรีย ฯลฯ 

7.         การมีระบบชั่งตวงวัด เป็นเครื่องแสดงความก้าวหน้าของชาวเมโสโปเตเมียในด้านใด

             1.   การปกครอง     2.   การคลัง                           3.   การค้า                              4.   การขนส่ง

             ตอบ 3       หน้า 69 – 7023 – 24 (H), (H1 102 เลขพิมพ์ 42115 หน้า 85) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือการนับหน่วย 6010         และ 6 เช่น 1 ชั่วโมงมี 60 นาที(10 x 6 = 60)วงกลมมี 360 องศา(60 x 6 = 360) ฯลฯ นอกจากนี้ ชาวสุเมเรียนยังนำเอาหลักการนับหน่วย 60 ไปใช้กำหนดมาตราชั่งตวงวัด ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าด้านการค้าแบบเมโสโปเตเมีย เช่น 60 Shekels = 1 Mina, 6O Minas = 1 Talent เป็นต้น

8.         ในยุคโบราณชาวอียิปต์และชาวสุเมเรียนใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อพัฒนาการเกษตร

             1.   การเคมี         2.   การขนส่งทางทะเล             3.   การชลประทาน             4.   ระบบนาสาม

             ตอบ 3       หน้า 596371 ในยุคโบราณนั้นทั้งชาวอียิปต์และชาวสุเมเรียนต่างก็ใช้เทคโนโลยีด้านการ            ชลประทานเพื่อพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้ามากขึ้น กล่าวคือ ชาวอียิปต์ได้ขุดคูส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเหลือกินเหลือใช้จนส่งเป็นสินค้าออกไปขายได้ในขณะที่ชาวสุเมเรียนก็สร้างเขื่อนและขุดคลองคูทดน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภครวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัย

9.         การจัดตั้งทหารม้าของเมโสโปเตเมีย เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติอะไร

             1.   ยุทธศาสตร์                        2.   จรยุทธ์                             3.   กลยุทธ์                            4.   ยุทธการ

             ตอบ 3       หน้า 7624 (H), (คำบรรยาย) กลยุทธ์ด้านการทหารของเมโสโปเตเมียจะเริ่มต้นด้วยการใช้ทหารราบในการรบ แต่เมื่ออนารยชนแคสไซท์เข้ายึดกรุงบาบิโลนโดยนำม้าและรถศึกขนาดเบาเข้ามาใช้ในบาบิโลเนียเมื่อปี 1750 B.C. ก็ทำให้อาณาจักรต่าง ๆ ในเมโสโปเตเมียหันมาใช้ม้าเทียมเข้ากับรถศึกขนาดเบาในการรบ และต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งทหารม้าขึ้นโดยมีการยุทธ์ที่สำคัญ คือ การทหารแบบรวมเหล่า (ทหารราบ ทหารม้า รถศึก) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติกลยุทธ์ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์             

10.       การเขียนตัวอักษรของอียิปต์บนกระดาษแสดงนวัตกรรมที่พัฒนาก้าวหน้ากว่าวิธีการเขียนตัวอักษรของอารยธรรมใดในยุคโบราณ

             1.   ของ Crete              2.   ของฟินิเชียน               3.   ของโรมัน                     4.   ของเมโสโปเตเมีย

             ตอบ 4       หน้า 47 – 486922 – 23 (H) เมื่อประมาณ 3,000 B.C. ชาวอียิปต์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการบันทึกตัวอักษรลงบนกระดาษปาไปรัส (Papyrus) ซึ่งนวัตกรรมเช่นนี้ถือว่าพัฒนาก้าวหน้ากว่าวิธีเขียนตัวอักษรคูนิฟอร์มหรือตัวอักษรรูปลิ่มของชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมียเป็นอย่างมาก เพราะชาวสุเมเรียนไม่มีกระดาษปาไปรัสเหมือนชาวอียิปต์จึงต้องใช้เหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนำไปผึ่งแดดหรือเผาไฟให้แห้งแข็งแทน

11.       นครรัฐกรีกใดที่พลเมืองทหารชั้นสูงมีอำนาจแท้จริงในการปกครอง

1.   เอเธนส์                              

2.   สปาร์ตา                           

3.   โครินท์                            

4.   ธีบส์

ตอบ 1      หน้า 126 – 13043 (H), (คำบรรยาย)  ระบอบประชาธิปไตยของกรีกเอเธนส์มีลักษณะเด่น คือเป็นรูปแบบการปกครองที่พลเมืองชายชั้นสูงมีสิทธิทางการเมือง โดยจะมีอำนาจในการพิจารณา   กฎหมายหรือนโยบายต่าง ๆ ที่ผ่านสภาห้าร้อยแล้ว มีสิทธิเลือกผู้แทนไปปกครองและคัดเลือกอาร์คอนเป็นประมุข นอกจากนี้อำนาจแท้จริงในการปกครองยังตกอยู่ที่ทหารชั้นสูง คือ คณะ 10 นายพล ส่วนประชาชนที่เป็นผู้หญิง ทาส และชนต่างด้าวต่างนครจะไม่มีสิทธิทางการเมืองทุกคน ดังนั้นประชาธิปไตยในเอเธนส์จึงสมบูรณ์

12.       เหตุการณ์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นเหตุการณ์อะไร

1.   เหตุการณ์ธรรมชาติ                                                         

2.   เหตุการณ์ของมนุษย์

3.   เหตุการณ์เทพบันดาล                                                      

4.   เหตุการณ์ซ้ำของธรรมชาติ

             ตอบ 2       หน้า 41  (คำบรรยาย)  ประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ของมนุษย์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทำนายล่วงหน้ามิได้ และไม่อาจนำมาทดลองซ้ำในห้องทดลองส่วนเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นสามารถศึกษาได้จากประสบการณ์เละประสาทสัมผัส ซึ่งเกิดและดับซ้ำเป็น วัฏจักรหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จึงทำให้สามารถทำนายล่วงหน้าได้อย่างเที่ยงตรงโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ประวัติศาสตร์กลายเป็นวิทยาศาสตร์แท้ๆ ได้

13.       หลักฐานต่อไปนี้หลักฐานใดคือซากวัสดุ

             1.   บันทึกความทรงจำ           2.   โบราณสถาน                 3.   ความทรงจำ                    4.   บทเพลง

             ตอบ 2       หน้า 2012 (H), (คำบรรยาย)ซากวัสดุ (Material Remains)ได้แก่ ซากวัสดุโบราณที่เหลือตกค้างมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นหลักฐานในการศึกษามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.ซากสิ่งมีชีวิต (Fossil) คือ ซากสิ่งมีชีวิตในอดีตที่เหลือตกค้างอยู่ตามชั้นหิน 2. เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธและสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นศิลปะ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดของวิธีการศึกษาเรื่องราวต่างๆ สมัยก่อนประวัติศาสตร์

14.       เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันจึงเกิดอะไรขึ้น

             1.   ประชากรเพิ่ม                    2.   ทำสงครามกัน                3.   อารยธรรม                      4.   ความขัดแย้ง

             ตอบ 3       หน้า 2513(H) อารยธรรม (Civilization)หมายถึง วัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับความสามารถในการประดิษฐ์ตัวอักษรและการเก็บรวบด้วยการบันทึก มีการแบ่งงานกันทำและมีความสำนึกในความเป็นตัวตนของตน ดังนั้นเมื่อใดที่มนุษย์เริ่มแสดงออกถึงความต้องการที่จะบันทึกเรื่องราวของตน มีความหวัง ความเชื่อ และความต้องการที่จะอยู่ร่วมกันมากกว่าอยู่ตามลำพังเราจะถือว่าเป็นการเริ่มต้นสมัยแห่งอารยธรรมของมนุษย์  

15.       การถ่ายทอดคือลักษณะเด่นของอะไร

             1.   วัฒนธรรม                          2.   การพัฒนา                      3.   ความก้าวหน้า                4.   อารยธรรม

             ตอบ 4       หน้า 31 (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ) อารยธรรมมีลักษณะเด่น คือมีการถ่ายทอด        และเผยแพร่ออกไปโดยจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ ไม่อยู่คงที่และเป็นความเจริญซึ่งเกิดขึ้นตามนครไม่ได้เกิดขึ้นตามชนบท 

16.       การเมืองการปกครองของอารยธรรมใดที่ริเริ่มให้มีการเลือกตั้งและมีองค์กรผู้แทนชนชั้น

             1.   ไบแซนไทน์                      2.   กรีก                  3.   โรมัน                               4.   เมโสโปเตเมีย

             ตอบ 2       หน้า 107 – 108117122 – 12742 – 43 (H)  ปรัชญาการเมืองของกรีกถือเป็นต้นแบบของการเมืองในสมัยต่อมา และเป็นต้นกำเนิดหรือแม่แบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเริ่มขึ้นที่นครรัฐเอเธนส์เป็นแห่งแรก ต่อมาสามัญชนได้เรียกร้องให้สร้างประมวลกฎหมายเพื่อสิทธิอันเท่าเทียมกัน ตลอดจนริเริ่มให้มีการเลือกตั้งและมีองค์กรผู้แทนชนชั้น เพื่อให้เป็นตัวแทนในการปกครองตนเอง (Self-government) อันเป็นการปกครองในอุดมคติของชนชาติกรีกในยุคโบราณ 

17.       เอกภาพของศิลปะเป็นลักษณะของศิลปะชนชาติใดในยุคโบราณ

             1.   กรีกไมซีเน                         2.   กรีก                  3.   โรมัน                               4.   เมโสโปเตเมีย

             ตอบ 2       หน้า 131133 (คำบรรยาย) ศิลปะของชนชาติกรีกในยุคโบราณจะเน้นเรื่องสุนทรียภาพหรือความงาม โดยให้ความสำคัญกับดุลยภาพ คือ การเน้นเรื่องน้ำหนักเท่ากันของสี เส้นแสง และเงา ตลอดจนเน้นความมีเอกภาพของศิลปะหรือการประสานกลมกลืนของทุกสิ่งตามอุดมคติของชาวกรีกที่ว่า “Nothing in excess and everything in proportion” (ไม่มีสิ่งที่เกินไป และทุกสิ่งจะต้องเป็นสัดส่วน)   

18.       ชนกลุ่มใดสร้างอารยธรรมจากการค้าเป็นสำคัญในยุคโบราณ

             1.   เมโสโปเตเมีย                    2.   กรีก                                  3.   อียิปต์                               4.   ฟินิเชียน

             ตอบ 4       หน้า 8427 (H) ชาวฟินิเชียนเป็นชนเผ่าเซมิติกที่เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนด้านซีเรีย (ปัจจุบันคือประเทศเลบานอน) โดยมีอาชีพสำคัญคือ ท่าการค้าหรือการพาณิชยกรรม ทำให้ชาวฟินิเชียนได้รับการยกย่องว่าเป็น พ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” โดยเป็นทั้งนักต่อเรือนักเดินเรือ และนักล่าอาณานิคม ซึ่งอาณานิคมที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญคือ เมืองคาดิซในสเปนและเมืองคาร์เถจบนฝั่งแอฟริกาเหนือ (ปัจจุบันคือประเทศตูนิเซีย) 

19.       การปกครองตนเองคือการปกครองในอุดมคติของชนชาติใดก่อนในยุคโบราณ

             1.   ชาวโรมัน                2.   ชาวกรีก                      3.   ชาวไบแซนไทน์                     4.   ชาวบาบิโลเนีย

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

20.  การใช้สัญลักษณ์มนุษย์ในการสร้างสรรค์ศิลปกรรม เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะชนชาติใด

             1.   อียิปต์                                  2.   โรมัน                               3.   เมโสโปเตเมีย                                 4.   กรีก

             ตอบ 4       หน้า 131, (คำบรรยาย) ชาวกรีกเป็นนักวัตถุนิยมที่มองโลกในแง่กายภาพ ทำให้งานศิลปะของกรีก                ส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายทางโลกเป็นสำคัญ โดยมีเอกลักษณ์เด่น คือ เป็นงานที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของมนุษย์ ตามคตินิยมที่ว่ามนุษย์คือสัตย์โลกที่สำคัญที่สุดในจักรภพ ดังนั้นประติมากรรมบางชิ้นแม้จะเป็นรูปบนของเทพเจ้า แต่ก็ไม่ได้ทิ้งลักษณะความเป็นมนุษย์ไปเลยทีเดียว

21.       ในระบอบทรราชกรีก ผู้นำมีอำนาจโดยวิธีใด

1.   เลือกตั้ง               

2.   คัดเลือก                           

3.   ยึดอำนาจ                        

4.   สืบต่อในวงศ์สกุล

ตอบ 3       หน้า 116 – 11740 (H) ระบอบทรราช (Tyranny) เป็นระบอบการปกครองในยุคหนึ่งของกรีกซึ่งผู้นำจะยึดอำนาจแล้วปกครองตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชน เรียกว่า สัญญาประชาคม     หรือเป็นการก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง ไม่ใช่จากการสืบสายโลหิต ดังนั้นความหมายของคำว่า ทรราช” (Tyrants) จึงมีความหมายถึงคนไม่ดีหรือผู้ปกครองที่ปกครองแบบกดขี่เพราะเมื่อพวกทรราชปกครองไปได้ระยะหนึ่ง ก็มักจะหลงอำนาจและกลายเป็นเผด็จการไป 

22.  ระบอบนครรัฐเป็นระบอบการปกครองของชนชาติใดมาก่อนในยุคโบราณ

             1.   สุเมเรียน                             2.   กรีก                                  3.   โรมัน                               4.   อิตาลี

             ตอบ 1       หน้า 68 – 70 (คำบรรยาย) สุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่เริ่มสร้างและวางรากฐานทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าชนกลุ่มนี้อพยพมาจากที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีปเอเชียแล้วเข้ามาตั้งบ้านเรือนในเขตบาบิโลเนียบริเวณซูเมอร์เมื่อ 4,000 B.C. โดยเริ่มจากการเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ต่อมาได้รวมกันเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐจะปกครองตนเองและมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น เมือง Ur, Eridu, Kish เป็นต้น

23.       การนับหลัก 6010 และ 6 เป็นการคิดค้นทางด้านใดของชนใดในยุคโบราณ

1.   ทางเทคโนโลยีของกรีก

2.   ทางวิทยาศาสตร์ของชาวสุเมเรียน

3.   ทางเคมีวิทยา

4.   ทางแคลคูลัสของชาวโรมัน

 ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

24.       จักรวรรดิใดเป็นจักรวรรดิแรกที่ปกครองตามหลักกฎหมาย และจักรวรรดิใดสืบต่อและพัฒนาหลัก  

ปฏิบัตินี้จนเป็นระบบนิติศาสตร์

1.   บาบิโลเนียใหม่ต่อมาจักรวรรดิเปอร์เซีย

2.   สุเมเรียนต่อมาบาบิโลเนียใหม่

3.   บาบิโลเนียเก่าต่อมาจักรวรรดิโรมัน

4.   แคลเดียต่อมาจักรวรรดิไบแซนไทน์

             ตอบ 3       หน้า 73 – 74173253255 (คำบรรยาย) จักรวรรดิแรกที่ใช้กฎหมายเป็นหลักในการปกครอง คือ พวกอะมอไรท์หรือบาบิโลเนียเก่า ส่วนจักรวรรดิโรมันก็ได้ยืดกฎหมายเป็นหลักในการปกครองเช่นเดียวกัน โดยกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมันคือกฎหมาย 12 โต๊ะ ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นพื้นฐานแห่งระบบนิติศาสตร์ของโลกตะวันตกในปัจจุบันและก่อให้เกิดกฎหมายสำคัญขึ้น   คือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ) 

25.       การดำเนินชีวิตโดยมีกิจกรรมร่วมกันในสาธารณะเสมอ เป็นลีลาการดำเนินชีวิตของชนชาติใดในยุค

             โบราณ      1.   อียิปต์                      2.   เมโสโปเตเมีย                          3.   กรีก                  4.   สุเมเรียน

             ตอบ 3       หน้า 110130, (คำบรรยาย) เอกลักษณ์ทางสังคมของชาวกรีก คือ วิถีชีวิตในตัวเมืองหรือนครรัฐซึ่งในนครรัฐนี้จะมีสถานที่นัดพบปะประชุมกัน รวมทั้งเป็นตลาดด้วย ทำให้ชีวิตประจำวันของพลเมืองกรีกโดยเฉพาะที่นครรัฐเอเธนส์นั้นจะแสดงถึงความผูกพันกับกิจกรรมสาธารณะและการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การประกอบพิธีกรรม กิจกรรมทางการเมืองการปกครองการกีฬา การละครและความบันเทิง เป็นต้น  

26.       ในยุคกลาง ขุนนางมีอำนาจแท้จริงในระบอบการปกครองแบบใด

             1.   คณาธิปไตย            2.   ศักดินาสวามิภักดิ์                      3.   สมบูรณาญาสิทธิราชย์                 4.   ทรราช

             ตอบ 2       หน้า 223 – 22465 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล

                                (Feudalism/Feudal) มีหัวใจสำคัญ คือ เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord) หรือผู้มีที่ดินจำนวนมาก กับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยมีที่ดิน     (Fiefs/Feuda) เป็นพันธกิจแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกัน นอกจากนี้ยังเป็นระบบการเมืองการปกครองในยุคกลางที่ขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจอย่างแท้จริงเพราะพวกเสรีชนได้มอบที่ดินให้แก่ขุนนางเพื่อขอความคุ้มครองในยามที่บ้านเมืองเกิดจลาจลแทนการขอความคุ้มครองจากกษัตริย์ซึ่งอ่อนแอและมีฐานะเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น 

27.       การที่ชาวโรมันร่วมกิจกรรมความบันเทิงอย่างเสมอกัน ทำให้ชาวโรมันรู้สึกอะไร

             1.   เจ้าข้าฟ้าเดียวกัน                                                               2.   มีความแตกต่างทางชนชั้นน้อย

             3.   สถานภาพพลเมืองไม่มีความหมาย                               4.   ความแตกต่างทางชนชั้นเป็นเรื่องปกติ

             ตอบ 2       หน้า 177-178, (คำบรรยาย) จากการที่ชาวโรมันเป็นชนชาติที่นิยมมีกิจกรรมร่วมกันในที่สาธารณะมากที่สุด โดยเฉพาะการร่วมกิจกรรมด้านความบันเทิงและการกีฬาอย่างเสมอภาคกัน เช่นการอาบน้ำสาธารณะ การแข่งรถศึกที่ Circus Maximus การต่อสู้แบบกลาดิ    เอเตอร์  (Gladiator)และการละครประเภทต่างๆ ได้ส่งผลทำให้ชาวโรมันมีความรู้สึกแตกต่างหรือเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางชนชั้นน้อยมาก

28.       ระบบเศรษฐกิจโรมันเป็นระบบเศรษฐกิจสากลเพราะมีลักษณะใด

             1.   รัฐควบคุมผูกขาดเศรษฐกิจ                                      2.   การมีระบบจัดเก็บภาษีระบบเดียวทั้งจักรวรรดิ

             3.   พลเมืองทุกหนแห่งควบคุมวิถีเศรษฐกิจเอง      4.   รัฐไม่แทรกแซงหรือควบคุมวิถีเศรษฐกิจ

             ตอบ 2       หน้า 177, (คำบรรยาย) ในช่วงที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกมีความเจริญสูงสุดนั้น เป็นสมัยที่เรียกว่า สากลรัฐโรมัน” ซึ่งถือว่าเป็นจักรวรรดิในอุดมคติของชาวยุคกลางและเป็นแบบ อย่างของลักษณะจักรวรรดิสากลที่มีเอกภาพและสันติสุขนั่นคือ มีการปกครองตนเองในระดับมณฑลที่ใช้ภาษาละติน กฎหมาย ระบบเศรษฐกิจด้านการจัดเก็บภาษีและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตลอดจนระบบ       การศาลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เป็นดินแดนที่คนต่างเชื้อชาติต่างภาษาต่างวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติและราบรื่น 

29.       ชาวกรีกเอเธนส์มีลัทธินิยมใดในการกำจัดบุคคลไม่พึงปรารถนา

             1.  กักบริเวณ            2.   ขับเนรเทศ                      3.   บัพพาชนียกรรม                           4.   จองจำชั่วชีวิต

             ตอบ 2       หน้า 126 – 12743 (H), (คำบรรยาย) ระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) คือ การขับเนรเทศบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาออกนอกประเทศ โดยให้ประชาชนเขียนชื่อผู้เป็นภัยต่อรัฐลงบนเปลือกหอยออสตราคอน (Ostrakon) ถ้าผู้ใดได้คะแนนเสียงเกิน 6,000 เสียง และสภาประชาชนส่วนใหญ่ลงมติเห็นด้วยบุคคลนั้นต้องถูกเนรเทศออกจากนครรัฐเอเธนส์เป็นเวลา 10 ปี

30.       ในยุคกลาง จักรวรรดิใดมีนโยบายรัฐควบคุมเศรษฐกิจ

             1.   โรมันอันศักดิ์สิทธิ์            2.   ไบแซนไทน์                   3.   ชาร์เลอมาญ                   4.   เปอร์เซีย

             ตอบ 2       หน้า 289 – 291341 (103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 221) การค้าระบบกิลด์ในยุคกลาง โดยเฉพาะในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกนั้นบรรดาพ่อค้า และช่างฝีมือไม่อาจทำการค้าได้เองโดยลำพัง เพราะรัฐบาลมีนโยบายควบคุมและผูกขาดเศรษฐกิจโดยผ่านสมาคมเฉพาะอาชีพ (Guild System) ดังนั้นพ่อค้าและช่างฝีมือจึงต้องรวมตัวกันเป็นสมาชิกของสมาคมเฉพาะอาชีพ คือ สมาคมพ่อค้าและสมาคมช่างฝีมือเพื่อให้สามารถทำการค้าและปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนได้ 

31.       ความนิยมรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นรูปโค้งและวงกลม เป็นความนิยมมากของอารยธรรมชนชาติใดในยุคโบราณ       

1.   เมโสโปเตเมีย                    

2.   ชาร์เลอมาญ                   

3.   โรมัน               

4.   มาซิโดเนีย

ตอบ 3       หน้า 176179 ผลงานทางสถาปัตยกรรมรองโรมันนับเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะการจัดตั้งสถานที่ทำการของรัฐ ศาลสถิตยุติธรรม โรงมหรสพแอมพิเธียเตอร์รูปครึ่งวงกลมและประตูชัยรูปโค้ง ซึ่งการก่อสร้างของโรมันนั้นจะได้รับแบบอย่างมาจากกรีก เพียงแต่เพิ่มการใช้ประตูโค้งและรูปโดมหรือวงกลมซึ่งกรีกไม่มี นอกจากนี้จะมุ่งการก่อสร้างขนาดใหญ่มากกว่าการคำนึงถึงอัตราส่วน 

32.       อะไรคือลักษณะเด่นชองวิธีคิดของนักปรัชญากรีก                                       

1.   การคิดเชื่อถือเทพลิขิต                     

2.   การศรัทธาวิทยาศาสตร์                

3.   การคิดตามหลักเหตุผล

4.   การคิดตามหลักเทวนิยม

             ตอบ 3       หน้า 137 – 139, (คำบรรยาย) ปรัชญากรีกในระยะแรกจะคิดลึกซึ้งในเรื่องมนุษย์และธรรม ชาติซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของชาวกรีกว่า เป็นการค้นหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล โดยใช้หลักวิภาษวิธี คือ การเปิดโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์แนว คิดต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางไม่จำกัดอยู่เฉพาะข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากุญแจที่จะไขไปสู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ก็คือ พลังแห่งเหตุผลของคน (Logos) หรือการคิดตามหลักเหตุผลนั่นเอง

33. ในยุคโบราณ อารยธรรมใดพัฒนาจากการผสมผสานอารยธรรมกรีกกับอารยธรรมโลกตะวันออก

             1.   โรมัน                  2.   เฮลเลนิก                         3.   เฮลเลนิสติก                   4.   กรีกเฮลเลนิก

             ตอบ 3       หน้า 144 – 14647 (H) อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic Civilization) เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นหลังสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งเป็นจักรพรรดิเปอร์เซียที่ทรงพยายามรวมลักษณะที่ดีของชีวิตแบบโลกตะวันตก (อารยธรรมกรีกเฮลเลนิก) เข้ากับลักษณะที่ดีแบบโลกตะวันออก  (อารยธรรมเปอร์เซีย) ทำให้ปัจจุบันเราเรียกอารยธรรมนี้ว่า เฮลเลนิสดิก” (Hellenistic) เพื่อให้แตกต่างจากอารยธรรมกรีกบริสุทธิ์ทีเรียกว่า เฮลเลนิก” (Hellenic) 

34.       การจัดขบวนรบแบบ Phalanx ใช้หน่วยรบหลักอะไร

             1.   ทหารม้า                  2.   รถศึก                           3.   ทหารราบ                        4.   ทหารราบหุ้มเกราะ

             ตอบ 4       หน้า 144 (คำบรรยาย) ฟาแลนซ์ (Phalanx) คือ การจัดขบวนรบของกองทัพกรีกแบบเรียงแถวหน้ากระดาน ซึ่งเดิมจะมีแค่ 2 แถว จากนั้นก็พัฒนามาเป็น 4 แถว และ 8 แถวตามลำดับ โดยให้แถวที่ 1 ถืออาวุธสั้น และแถวต่อมาถืออาวุธยาวตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่กรีกต้องจัดขบวนรบแบบนี้ก็เพราะทหารราบหุ้มเกราะ (Hoplite) ที่เป็นหน่วยรบหลักต้องถืออาวุธและโล่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการจัดขบวนรบแบบฟาแลนซ์เพื่อให้กองทัพเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ 

35.       นักปรัชญากรีกคิดลึกซึ้งเรื่องใดก่อนในระยะแรก

             1.   ธรรมชาติ                           2.   เทววิทยา                         3.   ความลี้ลับ                        4.   สังคม

             ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ 

36.       ประชาธิปไตยเอเธนส์มีลักษณะใด

             1.   ประชาชนทุกชนชั้นมีสิทธิทางการเมือง                     2.   พลเมืองหญิงชายมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง

             3.   ประชาชนมีสิทธิ์ยับยั้งกฎหมาย                                    4.   พลเมืองชายชั้นสูงมีสิทธิทางการเมือง

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ 

37.       ข้อใดคือลักษณะของจักรวรรดิสากลของจักรวรรดิโรมัน

1.   การให้สถานภาพพลเมืองแก่ชนทุกเชื้อชาติ      

2.   การใช้ภาษา กฎหมาย และการศาลแบบเดียวกัน

3.   การให้สิทธิทางการเมืองแก่พลเมือง

4.   การให้ทุกหนแห่งปกครองตนเอง

ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ 

38.       จักรวรรดิใดของยุคโบราณเป็นจักรวรรดิในอุดมคติของชาวยุคกลาง

             1.   จักรวรรดิไบแซนไทน์                                                     2.   จักรวรรดิโรมันตะวันตก

             3.   จักรวรรดิมาชิโดเนีย                                                        4.   จักรวรรดิชาร์เลอมาญ

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ 

39.       ในสมัยเรืองอำนาจ สังคมโรมันเป็นสังคมสากลเพราะมีลักษณะใด

             1.   มีธรรมเนียมประเพณีแบบเดียวกัน                               2.   ประชากรเชื้อชาติเดียวมัน

             3.   ประชาชนเป็นพลเมืองหมด                                          4.   มีประชากรหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

40.       เหตุใดวิถีเศรษฐกิจโรมันจึงมีการใช้แรงงานทาสเป็นหลัก

             1.   เพราะมีการค้าทาส                                                           2.   เพราะมีการเกษตรเพื่อการค้า

             3.   เพราะมีการค้าระหว่างประเทศ                                     4.   เพราะมีศึกสงครามบ่อย

             ตอบ 2       หน้า 176, (คำบรรยาย) ในสมัยโรมันเรืองอำนาจสุดขีดหรือสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana) ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและใช้แรงงานจากพวกทาสเป็นหลักโดยเฉพาะในช่วงที่การเกษตรขยายตัวเป็นการเกษตรเพื่อการค้า แต่ในช่วงปลายของสมัยนี้ได้มีเกษตรกรกลุ่มใหม่เกิดขึ้นคือ พวก Colonus ที่เข้ามาทำงานในไร่แทนพวกทาส ซึ่งพวกนี้จะไม่ใช่ทั้งทางและเสรีชน แต่จะถูกผูกติดอยู่กับที่ดิน 

41.       เหตุใดจักรพรรดิโรมันจึงมิได้ทรงรับผิดชอบต่อประชาชนในการปกครองจักรวรรดิ

1.   เพราะทรงสืบราชสันตติวงศ์                                         

2.   เพราะทรงเป็นเทวราช

3.   เพราะทรงมาจากการเลือกตั้ง                                         

4.   เพราะทรงเป็นผู้แทนประชาชน

             ตอบ 2       หน้า 169 – 170, (คำบรรยาย) ในสมัยของออกุสตุสที่ 1 ซึ่งเป็นสมัยที่เริ่มต้นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือจักรพรรดิราชย์ของจักรวรรดิโรมันนั้น ถือเป็นยุคที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “Roman’s Golden Age” (ยุคทองของโรมัน) และตั้งเป็นยุคที่จักรพรรดิโรมันมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงในฐานะของเทพเจ้า คือ จักรพรรดิทรงเป็นเทวราชซึ่งปกครองจักรวรรดิโดยรับผิดชอบต่อทวยเทพ แต่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนนอกจากนี้จักรพรรดิยังมีสิทธิเลือกรัชทายาทด้วยพระองค์เองอีกด้วย 

42.       ในยุคกลาง ชนกลุ่มใดในสังคมมีอำนาจเป็นอิสระและมีอภิสิทธิ์

1.   พ่อค้าและช่างฝีมือ

2.   พระและขุนนาง

3.   คอมมูนของชนชั้นกลาง        

4.   ชนชั้นกลาง

ตอบ 2       หน้า 304 – 305, (คำบรรยาย) การแบ่งชนชั้นในยุคกลางนั้นจะเป็นการแบ่งตามบทบาทหน้าที่ในสังคม ซึ่งมีอยู่ 3 ชนชั้น คือ

1. พระหรือนักบวชเป็นชนชั้นสูงในสังคม มีหน้าที่สำคัญในการสวดมนต์และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ประชาชน ทำให้พระกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ประชาชนต้องเสียภาษีให้และต้องปฏิบัติตามคำสั่ง

2. ขุนนาง เป็นอภิสิทธิ์ชน มีหน้าที่ร่างกฎหมายและระเบียบคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า

3. สามัญชน เป็นพวกไร้อภิสิทธิ์ มีหน้าที่ใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และช่างฝีมือ  

43.       ในยุคกลาง พ่อค้ารวมตัวกันในแต่ละนครจัดตั้งเป็นองค์กรประเภทอะไร

             1.   พรรคการเมือง 2.   สหภาพการค้า               3.   สมาคมเฉพาะอาชีพ          4.   องค์กรผู้แทน

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ

44.       ในยุคกลาง การอภิเษกร่วมราชวงศ์ก่อให้เกิดปัญหาอะไร

             1.   การสืบราชย์                                                                      2.   การปกครองท้องถิ่น

             3.   เกิดระบบศักดินาสวามิภักดิ์                                            4.   การรวมเป็นจักรวรรดิยาก

             ตอบ 1       หน้า 29679 (H), (คำบรรยาย) ในยุคกลางนั้นมักมีการทำสงครามระหว่างกันเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ปัญหาการสืบราชบัลลังก์หรือสืบราชสันตติวงศ์อันเนื่องมาจากการอภิเษกสมรสร่วมราชวงศ์ เช่น กรณีที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ของอังกฤษทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส ในฐานะที่ทรงเป็นทายาทของฟิลิปที่ 4 กษัตริย์ต้นราชวงศ์คาเปเตียนของฝรั่งเศส แต่ขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอม จึงก่อให้เกิดสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานถึง 100 ปี 

45.       สงครามใดในยุคกลางที่ถือว่าเป็นมหายุทธ์

             1.   สงครามสามสิบปี             2.   สงคราม 100 ปี               3.   สงครามครูเสด               4.   สงคราม 7 ปี

             ตอบ 3       หน้า 279 – 28576 – 77 (H) สงครามครูเสดในยุคกลางถือเป็นสงครามมหายุทธ์ที่มีรัฐและฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วมสงครามมากมาย ซึ่งกินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง)โดยเป็นสงครามศาสนาระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมเพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็มและเมื่อสิ้นสุดสงครามพวกคริสเตียนก็ไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมอสเล็มได้จึงถือว่าเป็น ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก ซึ่งผลของสงครามนี้ได้ทำให้อำนาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น

46.       เหตุใดสังคมยุคกลางจึงยกย่องพระเป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม

             1.   เพราะพระมีอำนาจปกครองอาณาจักร                         2.    เพราะศาสนจักรคือผู้แทนพระผู้เป็นเจ้า

             3.   เพราะพระมีหน้าที่สวดมนต์และตั้งพิธี                       4.   เพราะพระลงโทษญาติโยมถึงตายได้

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ  

47.       เมื่อสิ้นยุคกลาง ชนชั้นใดตกต่ำเสื่อมถอยอำนาจอิทธิพล

             1.   กษัตริย์                                2.   พ่อค้า                               3.   ชนชั้นกลาง                                   4.   พระ

ตอบ 4       หน้า 303-30431833397 (H) ในช่วงปลายยุคกลางจนถึงต้นยุคใหม่ การปฏิรูปศาสนาโดยเฉพาะนิกายโปรเตสแตนต์ ทำให้ความเป็นกลุ่มก้อนของสถาบันคริสต์ศาสนาแตกกระจัดกระจายส่งผลให้อำนาจของศาสนจักรและสันตะปาปาเสื่อมอิทธิพลลง ในขณะที่กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นเนื่องจากประชาชนในชาติไม่อยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของศาสนจักรอีกต่อไปแต่ได้หันมาชื่นชมชาติภูมิของตน โดยสนับสนุนให้กษัตริย์เป็นผู้ดูแลวัดและจัดการกิจกรรมภายในประเทศอย่างเต็มที่

48.       เมื่อสิ้นจักรวรรดิโรมันใน ค.ศ. 476 สังคมเป็นจลาจล เศรษฐกิจได้หวนคืนสู่ระบบอะไร

             1.   ระบบนาเปิด           2.   ระบบแมเนอร์                           3.   ระบบนาสาม 4.   ระบบล้อมรั้ว

ตอบ 2       หน้า 23766 (H), (คำบรรยาย) เมื่อสิ้นจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ. 476 การเมืองการปกครองของยุโรปได้เข้าสู่ยุคกลาง ซึ่งมีการพัฒนา 2 แบบขนานควบคู่กันไป คือ

1. ในยุคสมัยที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะกลียุค เกิดการจลาจล ก็จะมีการเมืองการปกครองแบบกระจายอำนาจจากกษัตริย์ไปยังขุนนาง หรือที่เรียกว่าระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล รวมทั้งมีการนำระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์มาใช้

2. ในยุคสมัยที่รวมกันเป็นอาณาจักร ก็จะมีการเมืองการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น หรือที่เรียกว่าระบอบราชาธิปไตยหรือจักรพรรดิราชย์ 

49.       ลักษณะใดแสดงว่าศิลปะโรมาเนสก์แตกต่างจากศิลปะโกธิค

             1.   รูปแบบสถาปัตยกรรมนิยมรูปทรงเพรียวเบา              2.   ศิลปะโรมาเนสก์นิยมหลังคาโค้งแหลม

             3.   รูปทรงอาคารหนาหนักนิยมรูปโค้งและวงกลม         4.   นิยมใช้กระจกสีและหินอ่อน

             ตอบ 3       หน้า 313-315 สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างศิลปะโรมาเนสก์กับศิลปะโกธิค คือ ศิลปะโรมาเนสก์ จะนิยมรูปทรงอาคารหนาทึบ ไม่ค่อยมีแสงสว่าง รวมทั้งมีสิ่งก่อสร้างโค้งกลม เสาและกำแพงหนาในขณะที่ศิลปะโกธิคจะนิยมสร้างโบสถ์ที่มีหลังคาโค้งแหลม เซาะเป็นร่อง ซึ่งมีผลให้อาคารดูมีน้ำหนัก เพรียวเบา นอกจากนี้หน้าต่างก็มักประดับด้วยกระจกสีเพื่อให้มีแสงสว่างมากขึ้น 

50.       การเกษตรของยุคกลางเพิ่มผลผลิตโดยวิธีการใด

             1.   ใช้วิทยาศาสตร์                 2.   ระบบนาสาม                  3.   ใช้เครื่องจักร   4.   ใช้กำลังและพลังงาน

ตอบ 2       หน้า 23666 (H), (คำบรรยาย) การเกษตรในระบอบฟิวดัลของยุคกลาง จะใช้ระบบนาสาม(Three Fields System) คือ การแบ่งที่ดินเป็น 3 แปลง แต่มีการหมุนเวียนเพาะปลูกคราวละ 2 แปลงส่วนอีกแปลงหนึ่งพักว่างให้ที่ดินฟื้นตัว ครั้นฤดูกาลต่อมาจึงใช้ที่ดินว่างผืนนั้นแล้วปล่อยแปลงอื่นให้ว่างแทน ทำสลับกันเช่นนี้ทุกปีเพื่ออนุรักษ์ดินและเพิ่มผลผลิต 

51.       รูปแบบสถาปัตยกรรมใดมีลักษณะแตกต่างจากพีระมิดในยุคโบราณ

1.   Portico                                    

2.   Step Pyramid                             

3.   Mastaba                          

4.   Ziggurat

             ตอบ 1       หน้า 496369, (คำบรรยาย) Portico คือ มุขหน้าหรือมุขห้องโถง ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโรมันที่เป็นตัวอาคารส่วนหน้าที่ยื่นออกมาจากอาคารหลังทรงเหลี่ยม โดยจะมีลักษณะเป็นระเบียงทางเข้าที่มีหลังคาและเสากลมแบบกรีก (ส่วน Step Pyramid คือ พีระมิดแบบขั้นบันได Mastaba คือ สุสานหินของอียิปต์ช่วงต้นราชวงศ์ จะมีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายฐานพีระมิด Ziggurat คือ สถาปัตยกรรมของชาวสุเมเรียนที่มีลักษณะคล้ายกับพีระมิด)

52.       อะไรคือลักษณะที่เป็นนวัตกรรมการปกครองแบบโรมัน

             1.   การมีผู้ปกครองร่วมกันเป็นหมู่คณะ                             2.   การเลือกตั้งซ้อน 2 ครั้ง

             3.   การมีผู้นำสูงสุด 2 คนเป็นกงสุล                                    4.   การมีผู้นำสูงสุดคนพียง 1 คน

             ตอบ 3       หน้า 161 (คำบรรยาย) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน ชาวโรมันได้ริเริ่มรูปแบบการปกครองระบอบกงสุล (Consulate System) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการปกครองแบบโรมันเอง นั่นคือระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุล (Consuls) 2 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง              “Magistrates” หรือผู้นำสูงสุด ทำหน้าที่เป็นประมุขของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารโดยจะคัดเลือกมาจากขุนนางสามัญชนอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากพวกแพทริเชียน หรือกลุ่มชนชั้นสูงของสังคม 

53.       ในยุคกลาง ระบอบราชาธิปไตยและระบอบศักดินาสวามิภักดิ์มีความแตกต่างกันเป็นตรงกันข้ามในด้านใดเป็นหลัก

             1.   การนับถือศาสนา             2.   วิธีการใช้อำนาจ            3.   ลัทธิประเพณีการเมือง                 4.   คติวีรชน

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ 

54.       ในปลายยุคกลาง ขุนนางตกยากและตกต่ำด้วยเหตุใด

             1.   เศรษฐกิจตกต่ำ 2.   สงคราม           3.   กษัตริย์มีอำนาจ                              4.   ภัยธรรมชาติ

             ตอบ 2       หน้า 296-29979-80 (H) สาเหตุที่ทำให้ขุนนางตกยากและตกต่ำในปลายยุคกลางนั้นเนื่องมาจากปัญหาทางด้านสงคราม ซึ่งทำให้ขุนนางเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และยังถือว่าเป็นการสิ้นสุดของระบอบฟิวดัลอีกด้วย ไค้แก่

1.   สงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337-1453) เป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาสิทธิในการสืบราชบัลลังก์

2.   สงครามดอกกุหลาบ (ค.ศ.1455-1485) เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่างขุนนาง 2 ตระกูล คือ ตระกูลแลงคาสนตอร์และตระกูลยอร์ค 

55.       เมื่อใดที่บ้านเมืองเป็นจลาจลในยุคกลางผู้คนจะพึ่งพาใครเป็นหลัก

             1.   กษัตริย์                                2.   ขุนนาง                            3.   พ่อค้า                               4.   พึ่งตนเอง

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 26. และ 48. ประกอบ 

56.       ในยุคกลาง การกระจายอำนาจเป็นวิธีการใช้อำนาจของระบอบการปกครองใด

             1.   ราชาธิปไตย                       2.   จักรพรรดิราชย์              3.   ศักดินาสวามิภักดิ์          4.   คณาธิปไตย

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57.       ข้อใดแสดงว่าอาณาจักรมีอำนาจเหนือศาสนจักรในปลายยุคกลาง

             1.   เกรเกอรี่ที่ 7 ทรงอภัยโทษแก่แฮนรี่ที่ 4                        2.   พระสันตะปาปาประทับที่เมืองอาวิญยอง

             3.   เฮนรี่ที่ 4 เสด็จไปเมืองคนอสซา                                    4.   การลอบสังหารสังฆราชเบคเคท

             ตอบ 2       หน้า 300 – 30380 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง (Babylonian  Captivity ค.ศ. 1305 – 1377) เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับพวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงบาบิโลเนียในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาก็พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลานานถึง 70 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรสามารถบังคับบัญชาศาสนจักรได้ ทำให้สันตะปาปาตกอยู่ภาย ใต้อำนาจขอกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนสันตะปาปา จนทำให้สันตะปาปามิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

58.       เหตุใดการปฏิรูปศาสนาจึงทำให้ศาสนจักรตกต่ำในปลายยุคกลาง

             1.   ญาติโยมเป็นอิสระจากศาสนจักร 2.   ผู้คนไม่อยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของศาสนจักร

             3.   ศาสนจักรตกยาก                                              4.   มีคนเข้ารีตลดฮวบ

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ 

59.       มหาอำนาจชาติใดในปลายยุคกลางเคยมีอำนาจเหนือศาสนจักรที่กรุงโรมและแสดงอำนาจโดยวิธีใด

             1.   อังกฤษ โดยการแต่งตั้งพระคาร์ดินาล              2.   โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยแต่งตั้งพระสันตะปาปา

             3.   ฝรั่งเศส แต่งตั้งพระสันตะปาปา                      4.   เยอรมนี ถอดถอนพระคาร์ดินาล

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ 

60.       ในปลายยุคกลางศาสนจักรที่กรุงโรมแตกแยกครั้งใหญ่ด้วยเหตุใด

             1.   ยุโรปครอบงำกรุงโรม                                                     2.   ชิงตำแหน่งพระสันตะปาปา

             3.   อาณาจักรยุให้ศาสนจักรแตกแยก                                 4.   ความขัดแย้งด้วยเรื่องหลักธรรม

             ตอบ 2       หน้า 30380 – 81 (H) ในปลายยุคกลาง ศาสนจักรที่กรุงโรมตกต่ำลงเนื่องจากเกิดการแตกแยกครั้งใหญ่ (The Great Schism) ซึ่งเป็นการแตกแยกกันเองภายในวงการศาสนจักรที่ดำเนินมาถึง 40 ปีโดยมีสาเหตุมาจาการแย่งชิงตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างชาวอิตาลีกับชาวฝรั่งเศส จนส่งผลให้เกิดสันตะปาปาขึ้นพร้อมกัน 2 องค์ทั้งที่กรุงโรมในอิตาลีและที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส แต่เหตุการณ์นี้ก็สิ้นสุดลงหลังการประชุมที่คองสตังซ์ในระหว่างปี ค.ศ. 1414 – 1418 ซึ่งได้กำหนดให้มีสันตะปาปาเพียงองค์เดียวประทับที่กรุงโรม

61.       นักวิทยาศาสตร์มองโลกเป็นอะไร

1.   โลกทิพย์             

2.   โลกแห่งจินตนาการ                     

3.   เครื่องจักร                       

4.   ละครโรงใหม่

ตอบ 3       (คำบรรยาย) นักวิทยาศาสตร์ในช่วงต้นยุคใหม่มองระบบจักรวาลว่า โลกคือเครื่องจักร” เพราะมีการทำงานเป็นระบบระเบียบ เป็นไปตามจุดประสงค์ของมันในขณะที่ยุคกลางซึ่งเป็นยุคที่มีความศรัทธาต่อศาสนามากกลับมองว่าระบบจักรวาลเป็นระบบที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติล้วนเกิดจากแผนการของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น 

62.       ผลงานด้านใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

             1.   ประชากรเพิ่ม เกิดง่าย ตายช้า                                        2.   การคิดลึกซึ้งเรื่องโลก

             3.   การกีฬาเพื่อพระเจ้า                                                         4.   การละครเพื่อพระเจ้า

             ตอบ 1       (คำบรรยาย) (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 502 – 503509) จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ของหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ที่ได้ค้นพบจุลินทรีย์ทำให้ชาวตะวันตกระวังในเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด และรู้วิธีควบคุมโรคระบาดด้วยวัคซีน ซึ่งส่งผลให้อัตราการตายน้อยลงและทำให้จำนวนประชากรในยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพิ่มสูงกว่าที่อื่น ๆ ในโลก 

63.       ในศตวรรษที่ 18 ระบบการผลิตสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อมีการใช้อะไรเป็นปัจจัยในการผลิต            

             1.  ระบบทำงานหมุนเวียน   2.   การธนาคาร         3.   เครื่องจักร         4.   หัวสมองรู้คิด

             ตอบ 3       หน้า 340 – 34488 – 89 (H) เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 การปฏิวัติทางการค้าทำให้เกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ คือ ระบอบทุนนิยม (Commercial Capitalism) ซึ่งเป็นระบอบที่ก่อให้เกิดการใช้เงินเหรียญและมีความต้องการสะสมทองแท่งตามระบบมาตรฐานทองคำมากขึ้น นอกจากนี้การปฏิวัติทางการค้ายังส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องจักรในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อผลิตให้ได้ปริมาณมากและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

64.       เทวนิยมไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไปในสมัยใดของยุคใหม่

             1.   สมัยฟื้นฟูวิทยาการ                                                          2.   สมัยประเทืองปัญญา

             3.   สมัยปฏิวัติวิทยาศาสตร์                                    4.   การปฏิรูปศาสนา

             ตอบ 2       หน้า 443110 (H) สมัยประเทืองปัญญา (The Enlightenment) หมายถึง การที่วิทยาศาสตร์เริ่มมีความสำคัญโดยเข้ามาแทนที่วิชาเทววิทยา (เทวนิยม) ในการอธิบายเรื่องของจักรภพโดยเป็นยุคที่เน้นความสำคัญของเหตุผลของมนุษย์ในฐานะที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้ามีการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ เชื่อถือในสิ่งที่พิสูจน์ได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นยุคที่มีการเทิดทูนสภาวะของปัจเจกชนอย่างเต็มกำลัง

65.       การปฏิวัติอุตสาหกรรมหมายถึงกระบวนการอะไร

             1.   เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต                                                         2.   เปลี่ยนแปลงทางการเมือง

             3.   เปลี่ยนแปลงวิธีคิด                                                           4.   เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

             ตอบ 4       หน้า 494561 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากสังคมเกษตรกรรมและการค้าแบบเก่ามาเป็นสังคมอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนและสัตว์ โดยมีการพัฒนารูปแบบของกำลังใหม่ ๆ คือ น้ำ ไอน้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและพลังงานปรมาณู นอกจากนี้ยังมีการผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการอพยพจากชนบทเข้าเมืองด้วย 

66.       การใช้เครื่องจักรในการผลิตเป็นการใช้ทดแทนอะไร

             1.   พลังงานไฟฟ้า                  2.   พลังงานถ่านหิน                 3.   แรงงานมนุษย์             4.   แรงงานไอน้ำ

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ 

67.       การผลิตเป็นอุตสาหกรรมมีลักษณะอะไร

             1.   ผลิตตามฤดูกาล                                                                                 2.   ผลิตตามคำสั่งของลูกค้า

             3.   ผลิตปริมาณมากสารพัดประเภท                                   4.   ผลิตสินค้าพิเศษเฉพาะตามสั่ง

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ 

68. ลัทธิใดส่งเสริมให้มีการสะสมทองแท่งตามระบบมาตรฐานทองคำ

             1.   ลัทธิทุนนิยม              2.   ลัทธิพาณิชย์นิยม   3.   ลัทธิสังคมนิยม               4.   ลัทธิกีดกันสินค้า

             ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ 

69.       กระบวนการใดส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.   การค้นพบดินแดน

2.   การปฏิรูปศาสนา

3.   การปฏิวัติการเกษตร       

4.   การปฏิวัติการค้า

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ 

70.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการมีความหมายในทางโลกโดยเน้นอะไรเป็นสำคัญ

             1.   ศาสนา                                2.   งานศิลป์                          3.   การปกครอง                      4.   กฎหมาย

             ตอบ 2       หน้า  356 – 35892 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) คือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือเป็นการศึกษาศิลปวิทยาการกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ซึ่งในทางโลกจะเน้นที่งานศิลป์ แต่ในส่วนของมนุษย์นิยมจะเน้นที่งานวรรณกรรม ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้ก่อให้เกิดผลงานทั้งทางด้านศิลปะ การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และการกำเนิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

71.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการโดยเน้นวรรณกรรม เป็นความหมายของการฟื้นฟูในทางด้านใด

1.   มนุษยธรรม                        

2.   ศิลปกรรม                       

3.   อักษรศาสตร์ 

4.   มนุษยนิยม

ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ 

72.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นการฟื้นฟูความรู้ทางใด

1.   ความลี้ลับ                           

2.   จริยศาสตร์                        

3.   ทางธรรม                      

4.   ทางโลก

ตอบ 4       หน้า 356 – 357 (ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ) กระบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุคใหม่จะเน้นความสำคัญของมนุษย์ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งจักรภพและมุ่งไปสูการดำรงชีวิตทางโลกเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอุดมคติของสากลมนุษย์ (Universal Man) ที่เป็นคนรอบรู้ภาษาใต้คำขวัญที่ว่า มนุษย์ทำได้ทุกอย่างที่อยากจะทำ” ดังนั้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการจึงถือว่าเป็นกระบวนการฟื้นฟูความสำคัญในการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลก ซึ่งนับว่ามีความแตกต่างจากยุคกลางซึ่งถูกครอบงำจากคริสต์ศาสนาโดยสิ้นเชิง 

73.       ความคิดว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรภพนั้น เป็นความคิดหลักของความเคลื่อนไหวอะไรในยุคใหม่

             1.   การปฏิรูปศาสนา                                                              2.   การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

             3.   การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ                                   4.   การปฏิวัติอุตสาหกรรม

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

  74.     ข้อใดคือสาเหตุทางการเมืองของการปฏิรูปศาสนา

             1.   ศาสนจักรปกครองตนเอง                                               2.   การเรียกค่าบำรุงศาสนา

             3.   การประพฤติผิดศีลธรรม                                                 4.   ศาสนจักรค้าขาย

             ตอบ 1       หน้า 376 – 37797 (H) สาเหตุทางการเมืองของการปฏิรูปศาสนามีดังนี้

1.   สันตะปาปาสนพระทัยแต่เรื่องการขยายดินแดนและเผยแพร่อิทธิพล เพื่อหวังผลให้ ศาสนจักรปกครองตนเองมากกว่าการเป็นผู้นำทางศาสนา

2.   ความเสื่อมของศาสนจักรจากเหตุการณ์การคุมขังแห่งบาบิโลเนียและการแตกแยกครั้งใหญ่

3.   กษัตริย์ต้องการขจัดอิทธิพลของสันตะปาปาออกจากดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองเพื่อเข้าครอบครองและหาผลประโยชน์จากที่ดินของวัด 

75.       เหตุใดอาณาจักรต้องการบังคับบัญชาศาสนจักร

             1.   เพราะต้องการแต่งตั้งพระ                                              2.   เพราะศาสนจักรต้องการปกครองทั้งทวีป

             3.   เพราะต้องการเก็บภาษีวัด                                               4.   ถูกข้อ 1 และ 3

             ตอบ 4       หน้า 243300 – 30168 – 69 (H) 80 (H) สาเหตุที่อาณาจักรต้องการปกครองศาสนจักรมีดังนี้

1. กษัตริย์ต้องการมีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าพระ เพราะกษัตริย์ทรงถือว่าสงฆ์ทำประโยชน์ในที่ดินของพระองค์ ดังนั้นจึงควรถวายความสวามิภักดิ์ตามระบอบฟิวดัล เช่น กรณีของจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 กับสันตะปาปาเกรเกอรี่ที่ 7 แต่ในที่สุดสันตะปาปาก็เป็นฝ่ายชนะ

2. กษัตริย์ต้องการเก็บภาษีวัดเพื่อใช้ในการทำสงคราม เช่น กรณีพระเจ้าฟิลิปที่ 4 กับสันตะปาปาโบนิฟาซที่ 8 แต่ต่อมาสันตะปาปาก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้และสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1303 

76.       เหตุใดการปฏิรูปศาสนาต้องปฏิรูปตัวบุคคลคือนักบวช

             1.   เพราะนักบวชเป็นคณะผู้บริหารศาสนจักร                2.   เพราะนักบวชไม่รู้หนังสือและหลักธรรม

             3.   เพราะนักบวชไม่ประพฤติธรรม                                   4.   ถูกข้อ 2 และ 3

             ตอบ 4       หน้า 37797 – 98 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาที่ดำเนินมาตั้งแต่ปลายยุคกลางเป็นการปฏิรูปตัวนักบวชและศาสนจักรเป็นสำคัญ โดยสาเหตุทางสังคมที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนามี         ดังนี้ 1. มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการฉ้อฉลและความประพฤติที่ผิดวินัยผิดศีลธรรมของพระหรือคณะนักบวชกับเจ้าหน้าที่ศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด เช่น การซื้อขายตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ของพระที่เรียกว่า “Nepotism”  2. พระไม่รู้หนังสือและหลักธรรมพอที่จะทำการสอนศาสนา   3. การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป            4. ถูกโจมตีจากนักมนุษย์นิยมว่ามนุษย์ควรสนใจในโลกนี้มากกว่าโลกหน้า  

77.       ข้อใดคือผลของการปฏิรูปศาสนา

             1.   พระมีอำนาจครอบงำอาณาจักร                                     2.   ขุนนางมีอำนาจมากขึ้น

             3.   กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น                                    4.   ศาสนจักรเป็นใหญ่ในยุโรป

             ตอบ 3       หน้า 386101 (H), (คำบรรยาย) ผลของการปฏิรูปศาสนาเมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีดังนี้

1. เป็นการสิ้นสุดของสภาพศาสนาสากล คือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะวันตกอีกต่อไป  

2. เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ้งแยกตัวออกจากคริสตจักรที่กรุงโรมแล้วเผยแผ่ไปยังดินแดนต่าง ๆ มากมายหลายนิกาย เช่น ลูเธอรันนิสม์ คาลวินิสม์ โพรสไบทีเรียน นิกายอังกฤษ                 

3. เกิดลัทธิชาตินิยม             

4. กษัตริย์และชนชั้นกลาง (พ่อค้า) มีอำนาจมากขึ้นและเกิดระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแทนที่ระบอบฟิวดัล  

5. เกิดสงครามศาสนาและสงครามแย่งชิงดินแดนในโลกใหม่  

78.       วิทยาศาสตร์ต้นยุคใหม่ต้องอาศัยอะไรเป็นสำคัญในการศึกษา

             1.   การจินตนาการ                 2.   การทดลอง        3.   การคิดคาดเดา             4.   การเปรียบเทียบศึกษา

             ตอบ 2       หน้า 37339597 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ของยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่นั้นเป็นการปฏิวัติที่อาศัยการสังเกต ประสบการณ์ และการทดลองเป็นเครื่องมือหลักโดยวิทยาศาสตร์พัฒนาเริ่มต้นมาจากการตั้งข้อสมมุติฐานเป็นพื้นฐานก่อน แล้วจึงแสวงหาข้อมูลเพื่อที่จะทดลองและพิสูจน์ข้อสมมุติฐานนั้นเป็นจริงตามที่พิสูจน์ก็จะมีการตั้งขึ้นเป็นทฤษฎี และถ้าหากทฤษฎีเป็นที่ยอมรับมากขึ้นตามลำดับ ทฤษฎีนั้นก็จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ 

79.       อดัม สมิธ มีความคิดต่อต้านการค้าแบบใด

             1.   การค้าเสรี           2.   การค้าผูกขาด                 3.   การค้าโดยรัฐ  4.   การค้าโดยศาสนจักร

             ตอบ 2       หน้า 430499 – 500502 (คำบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam smith) บิดาของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้เสนอนโยบายการค้าเสรี (Laissez-faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี คือ การที่รัฐบาลจะต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยการตั้งข้อจำกัดทางการค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเขาได้ให้ทัศนะว่าบุคคลควรมีโอกาสแสวงหากำไรของตนทางเศรษฐกิจโดยไม่ถูกควบคุมและจำกัดด้วยลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ซึ่งมีลักษณะเป็นการค้าผูกขาดเฉพาะแห่ง 

80.       ผู้ปกครองแบบสมัยประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) ใช้อำนาจอย่างไร

             1.   กระจายอำนาจ       2.   กึ่งรวมกึ่งกระจายอำนาจ         3.   แบ่งมอบอำนาจ       4.   รวมอำนาจเด็ดขาด

             ตอบ 4       หน้า 419431491 กษัตริย์หรือผู้ปกครองแบบสมัยประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) จะใช้อำนาจในการปกครองตามระบอบราชาธิปไตยที่เป็นการรวมอำนาจเด็ดขาดทำให้กษัตริย์มักจะพยายามหาทางกำจัดพวกขุนนางและพระโดยอ้างว่าเป็นการกำจัดอำนาจของอภิสิทธิ์ชน ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วทรงกำจัดอำนาจขุนนางและพระก็เพื่อเพิ่มพระราชอำนาจซึ่งตัวอย่างของกษัตริย์ที่มีลักษณะดังกล่าว เช่น พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซียและพระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซียเป็นต้น 

81.       มีกี่ชนชั้น และชนชั้นใดบ้างที่ต่อต้านระบอบเก่าในศตวรรษที่ 18

1.   2 ชนชั้น คือ พระและขุนนาง                                        

2.   3 ชนชั้น คือ พระ ขุนนาง และสามัญชน

3.   2 ชนชั้น คือ ขุนนางและชนชั้นกลาง                          

4.   1 ชนชั้น คือ ชนชั้นกลาง

ตอบ 4       หน้า 455461 (คำบรรยาย) การปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 เป็นการต่อต้านเพื่อล้มระบอบเก่า คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบอบการปกครองแบบรวมอำนาจที่กษัตริย์ทรงใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขต นอกจากนี้พวกอภิสิทธิ์ชน (ชนชั้นสูง)ยังเอารัดเอาเปรียบคนจน ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทางการเมืองและสังคม จนเป็นเหตุให้ชนชั้นกลางออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิมนุษยชนและหน้าที่อันเท่าเทียมกันในสังคมและต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น ซึ่งต่อมาการปฏิวัติก็ได้ขยายไปยังมวลชนและประสบความสำเร็จในที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อเปลี่ยนการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

82.       การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 17 – 20 เป็นการล้มล้างระบอบใด

             1.   ระบอบประชาธิปไตย                                                     2.   ระบอบสาธารณรัฐ

             3.   ระบอบเทวราช                                                                 4.   ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ  

83.       การล้มล้างระบอบเก่ามุ่งหมายสร้างระบอบอะไรแทนที่

             1.   ระบอบจักรพรรดิราชย์                                                    2.   ระบอบประชาธิปไตย   

             3.  ระบอบสาธารณรัฐ                                                            4.   ระบอบเทวราช

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ  

84.       สงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1642 – 1649 จบลงโดยฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ

             1.   สภาขุนนาง                       2.   รัฐสภา                             3.   กษัตริย์                             4.   สภาสามัญชน

             ตอบ 2       หน้า 411-413107 (H) ในระหว่างปี ค.ศ. 1642-1649 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอังกฤษทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่1 กับรัฐสภาอังกฤษซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเพียวริตัน (Puritans) ในกรณีที่พระองค์ต้องการเงินเพื่อไปปราบปรามการกบฏของพวกสก็อต โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1649 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบเทวสิทธิ์ในอังกฤษและเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)  

85.       ในปลายศตวรรษที่ 18 ประเทศใดปฏิวัติการเมืองตามอุดมคติของสมัยประเทืองปัญญาเป็นประเทศแรก

             1.   ฝรั่งเศส                               2.   อังกฤษ                            3.   ปรัสเซีย                           4.   สหรัฐอเมริกา

             ตอบ 1       (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 486 – 487489) ในปลายศตวรรษที่ 18 อุดมคติของสมัยประเทืองปัญญาไม่มีผลต่อยุโรปจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 ทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่เป็นแหล่งที่มาทางความคิดแบบประเทืองปัญญา แต่ไม่มีกษัตริย์แบบประเทืองปัญญาปกครอง จนถึงสมัยของพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราช ซึ่งทรงได้รับยกย่องว่าเป็นกษัตริย์แบบประเทืองปัญญา ทั้งนี้เพราะทรงใช้นโยบายปฏิรูปภายในประเทศตลอดจนทรงใช้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

86.       การปฏิวัติฝรั่งเศสมีจุดมุงหมายล้มล้างอำนาจของใคร

             1.   ชนชั้นกลาง                       2.   ชนชั้นขุนนาง                    3.   กษัตริย์                        4.   พระ

             ตอบ 3       หน้า 461 – 462114 – 115 (H)  การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของชนชั้นกลางที่ต้องการล้มล้างอำนาจของกษัตริย์และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการปฏิวัติทางการเมืองของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 (ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ) 

87.       การปฏิวัติทางการเมืองในระหว่างศตวรรษที่ 18 – 20 ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในท้ายสุดเมื่อมีใครเข้าร่วม              

             1.   พระ                     2.   ขุนนาง                            3.   พ่อค้า                               4.   มวลชน

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ 

88.       นโปเลียนทรงถือพระองค์เป็นกษัตริย์แบบใด

             1.   แบบประเทืองปัญญา         2.   แบบสาธารณรัฐ             3.   แบบกงสุล                   4.   แบบเสรีนิยม

             ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ 

89.       เหตุใดในศตวรรษที่ 19 ยุโรปจึงเป็นโรงงานโลก

             1.   เพราะยุโรปเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต           2.   เพราะยุโรปผลิตสินค้าไปขายทั่วโลก

             3.   เพราะยุโรปตั้งตลาดร่วมยุโรป                                       4.   เพราะยุโรปมีสหภาพศุลกากร

             ตอบ 2       หน้า 495123 (H) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เคยมีการนำระบบโรงงานที่มีการผลิตโดยการใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่การผลิตในครัวเรือน ทั้งนี้เพราะเมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบการผลิตแบบเก่าไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิวัติระบบการผลิตโดยนำระบบโรงงานและเครื่องจักรเข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้ยุโรปผลิตสินค้าและบริการไปขายทั่วโลกจนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานโลก (เมื่อก่อน ค.ศ. 1914) 

90.       ในกลางศตวรรษที่ 19 ผู้ประกอบการค้าและการอุตสาหกรรมเป็นชนชั้นใด

             1.   ชนชั้นกลาง                       2.   ชนชั้นสูง                         3.   ชนชั้นสามัญ                 4.   ชนชั้นเจ้า

             ตอบ 1       หน้า 343494 – 495561 ในกลางศตวรรษที่ 19 ผู้ประกอบการค้า การอุตสาหกรรมและควบคุมระบบโรงงาน คือ ชนชั้นกลาง (หรือพวกพ่อค้า) ซึ่งเป็นที่มาของลัทธินายทุนดังนั้นชนชั้นกลางจึงกลายเป็นผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรมและมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจสูงมากจนเกือบจะเป็นอภิสิทธิ์ชน ใหม่ในสังคมที่มีอิทธิพลไม่น้อยไปกว่าขุนนางในสมัยฟิวดัล 

91.       ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในต้นยุคใหม่ กษัตริย์ทรงปกครองรัฐโดยทรงรับผิดชอบต่อใคร

1.   ขุนนาง               

2.   พระ                 

3.   พระผู้เป็นเจ้า                                 

4.   ประชาชน

ตอบ 3       หน้า 333 – 33486 (H) ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรปในต้นยุคใหม่นั้นกษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งลงมาปกครองมนุษย์และทรงได้รับอำนาจเทวสิทธิ์มาจากพระเจ้า ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ดังนั้นประชาชนจึง ไม่มีสิทธิ์ที่จะปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง เพราะถ้าหากคิดล้มล้างกษัตริย์จะถือว่าเป็นความผิดและเป็นบาปใหญ่หลวง 

92.       กษัตริย์รวมอำนาจได้สำเร็จแท้จริงเมื่อทรงมีอำนาจบังคับบัญชาสถาบันใดในต้นยุคใหม่

             1.   พระบรมวงศานุวงศ์         2.   ศาสนจักร          3.   สหภาพการค้า       4.   ชมรมสมาคมของสามัญชน

             ตอบ 2       หน้า 332 – 338402105 (H)  ยุโรปช่วงเริ่มต้นยุคใหม่จนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นั้นจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจการปกครองจะถูกรวบรวมเข้าสู่ศูนย์กลางคือ อำนาจสูงสุดจะเป็นของกษัตริย์ โดยกษัตริย์ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางในการปราบปรามขุนนางและศาสนจักรให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจ จนส่งผลให้กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างไม่จำกัดและสามารถรวมอำนาจได้สำเร็จอย่างแท้จริง 

93.       ลักษณะใดแสดงว่ากษัตริย์มีอำนาจล้นเหลือในต้นยุคใหม่

             1.   มีอำนาจลงโทษคนทำผิด                2.   จับกุมคุมขังโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาลสถิตยุติธรรม

             3.   อำนาจแต่งตั้งแม่ทัพและผู้ว่าราชการ        4.   อำนาจให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการ

             ตอบ 2       ในยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่ การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะส่งเสริมให้กษัตริย์มีอำนาจอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในระบบราชการนั้นจะเน้นในด้านกฎหมายและการศาล กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้ออกกฎหมายทุกฉบับ มีสิทธิประกาศสงคราม แต่งตั้งข้าราชการ จัดระบบภาษี และเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจอย่างล้นเหลือในการตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆรวมทั้งสามารถจับกุมคุมขังได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาลสถิตยุติธรรม 

94.       ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของต้นยุคใหม่ ระบบราชการเน้นอะไรเป็นหลัก

             1.   กฎหมาย             2.   การศาล                           3.   การโฆษณาชวนเชื่อ                     4.   ถูกข้อ 1 และ 2

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ 

95.       ในสมัยประเทืองปัญญามีวิธีการคิดอย่างไร

             1.   คิดลึกซึ้งอย่างปรัชญา                                                      2.   คิดจินตนาการฝันเฟื่อง

             3.   รู้คิดอย่างมีเหตุผล                                                             4.   คิดทบทวนหน้าหลังอย่างผิวเผิน

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ 

96.       ปัญญาชนสมัยประเทืองปัญญามีความคิดต่อต้านอะไร

             1.   วิทยาศาสตร์                       2.   เหตุผล                   3.   วิธีธรรมชาติ                   4.   สถาบันเดิมในสังคม

             ตอบ 4       กลุ่มปัญญาชนหรือผู้นำของสมัยประเทืองปัญญาที่เรียกว่า Philosophes ได้พยายามยกเลิกรูปแบบและสถาบันเดิมในสังคมเพื่อให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมใหม่ โดยพวกเขาเชื่อว่ามนุษย์สามารถสร้างสวรรค์ในสังคมของตนด้วยการรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผล ซึ่งการปฏิรูปสังคมจะทำได้ด้วยการประยุกต์รูปแบบของกฎธรรมชาติ (Natural Law)ในโลกวิทยาศาสตร์ให้แก่ชีวิตมนุษย์และแสวงหากฎธรรมชาติที่จะทำให้ผู้ปกครองปกครองมนุษย์ภายใต้สังคมที่สมบูรณ์แบบให้ได้

  97.     ตามความคิดของจอห์น ลอค ใครมีหน้าที่พิทักษ์สิทธิมนุษยชน

             1.   ศาสนจักร                           2.   รัฐ                                     3.   รัฐบาล                             4.   ประชาชน

             ตอบ 3       จอห์น ลอค (John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสิทธิธรรมชาติของมนุษย์กล่าวคือ โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในชีวิต ทรัพย์สิน และอิสรเสรี ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่พิทักษ์ปกป้องสิทธิของมนุษย์นี้ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติ ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องไม่กดขี่สิทธิธรรมชาติของประชาชนและต้องมีสัญญาต่อกัน โดยประชาชนได้ยอมสละสิทธิบางประการให้แก่รัฐบาลเพื่อสะดวกต่อการปกครอง หากรัฐบาลกระทำการใดที่ประชาชนไม่พอใจ ประชาชนก็มีสิทธิล้มล้างรัฐบาลที่ไม่พิทักษ์สิทธินั้นได้ 

98.       ศิลปะ Mannerism มีรูปลักษณ์และรูปแบบ เกินพอดี” อย่างไร

             1.   ขาดดุลยภาพ            2.   รูปทรงตามจริง           3.   เน้นธรรมชาติ         4.   ไม่เน้นอารมณ์ความรู้สึก

             ตอบ 1       หน้า 392 จิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จะแสดงออกเป็นแบบ “Mannerism” คือศิลปะการเขียนภาพเกี่ยวกับศาสนาที่แสดงรูปลักษณ์บิดเบี้ยวเกินพอดี เพราะขาดดุลยภาพอันเป็นศิลปะที่มีลักษณะขัดแย้งกับศิลปะคลาสสิกแบบกรีกอย่างสิ้นเชิง (Ant1-Renaissance) เช่น ภาพวาด “Saint Martin and the Beggar” และภาพวาด “View of Toledo” ซึ่งเป็นผลงานของเอล เกรโค จิตรกรชาวกรีกที่มีชื่อเสียง เป็นต้น 

99.       ในสมัยปฏิรูปศาสนา ศิลปะอะไรของโปรเตสแตนต์ที่มีรูปแบบใดแตกต่างจากศิลปะของคาทอลิกและเรียกว่าศิลปะอะไร             

             1.   Baroque รูปแบบเกินจริง                                2.   Mannerism รูปแบบหรูหรา

             3.   Realism รูปแบบเหมือนจริง                           4.   Gothic รูปแบบจินตนาการ

             ตอบ 3       หน้า 391-39252ศิลปะแบบสัจนิยม (Realism) ซึ่งเป็นผลิตผลจากการปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์นั้น จะมีรูปแบบเน้นความเหมือนจริงตามธรรมชาติโดยไม่ต้องตกแต่งอะไรเลยดังนั้นศิลปะแบบนี้จึงมีลักษณะแตกต่างและตรงกันข้ามกับศิลปะแบบบารอค (Baroque) ซึ่งเป็นผลิตผลจากการปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและมีการตกแต่งประดับประดามากจนเกินจริง

100.     ศิลปะ Romanticism เป็นศิลปะแบบใหม่ที่ต่อต้านศิลปะใดซึ่งเป็นแบบเดิมของต้นศตวรรษที่ 18

             1.   Gothic                                 2.   Neo-Classicism                              3.   Mannerism                     4.   Baroque

             ตอบ 2       หน้า 428473 – 474489119 (H) ในต้นศตวรรษที่ 19 ศิลปะโรแมนติก (Romanticism) กลับได้รับความนิยมแทนที่ศิลปะแบบบารอค ซึ่งศิลปะโรแมนติกนี้เป็นศิลปะแบบใหม่ที่เน้นการต่อต้านข้อจำกัดอย่างแข็งขันของศิลปะนีโอ-คลาสสิก (Neo-Classicism) หรือต่อ ต้านความสุดยอดของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทั้งหมด โดยจะเน้นที่อารมณ์และความคิดความ รู้สึกที่ลึกซึ้งมากกว่าเหตุผลเน้นชีวิตความเป็นอยู่ของปัจเจกชนมากกว่ารัฐ เน้นการนับถือธรรมชาติและการต่อต้านอำนาจเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข

101.     ในต้นศตวรรษที่ 19 ศิลปะใดที่แสดงความสนใจชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และสื่อให้คิดและรู้สึกอย่างลึกซึ้ง   

1.   Baroque               

2.   Realism                         

3.   Romanticism 

4.   Neo-Classicism

ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 100. ประกอบ 

102.     ในต้นศตวรรษที่ 20 บรรดามหาอำนาจตะวันตกมีความสัมพันธ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันด้วยเหตุใด

1.   ผลประโยชน์ขัดกัน                         

2.   แข่งกันลดอาวุธ                             

3.   อุดมการณ์ต่างกัน   

4.   การถือศาสนาต่างนิกาย

             ตอบ 1       หน้า 531 – 532 ในต้นศตวรรษที่20 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจตะวันตกในยุโรปขึ้น  คือ เหตุการณ์การครอบครองคาบสมุทรบอลข่านในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งวิกฤตการณ์นี้ได้กลายเป็นปัญหาที่ไม่อาจยุติได้ ทั้งนี้เพราะชาติยุโรปต่างมุ่งแสวงหาผลประโยชน์อย่างเต็มที่บวกกับแรง    บันดาลใจของลัทธิชาตินิยม ทำให้แต่ละประเทศต่างไม่ยอมสูญเสียผลประโยชน์ของตน จนบานปลายกลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด 

103.     ปัจจัยใดทำให้บรรดามหาอำนาจมั่นใจกล้าที่จะตัดสินใจเปิดฉากสงความโลกครั้งที่ 1

             1.   ระบบพันธมิตร                 2.   ความมั่งคั่ง                      3.   ความมีอำนาจ                 4.   อุดมการณ์

             ตอบ 1       หน้า 533564 การที่บรรดามหาอำนาจรวมตัวกันเป็นระบบพันธมิตรนั้น นับเป็นปัจจัยที่ทำให้บรรดามหาอำนาจกล้าที่จะตัดสินใจเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 1 เร็วขึ้น ทั้งนี้เพราะประเทศที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรต่างก็หวังพึ่งพาประเทศคู่สัมพันธ์ของตนในอนาคตจนไม่กล้าถอนตัวออกมาซึ่งความเกี่ยวพันกันเป็นระบบพันธมิตรนี้เองกลับกลายเป็นการดึงกันเข้าสู่สงครามใหญ่และมีผลให้การรักษาดุลอำนาจในยุโรปล้มเหลวโดยสิ้นเชิง 

104.     ระบบการค้าเสรีใน ค.ศ. 1900 ถูกลัทธินิยมใดทำลายลง

1.   Liberalism                          2.   Capitalism                       3.   Socialism                        4.   Protectionism

ตอบ 4       (คำบรรยาย) ระบบการค้าเสรีในปี ค.ศ. 1900 ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากอิทธิพลของลัทธินิยมปกป้องเศรษฐกิจ (Protectionism) กล่าวคือ เมื่อเริ่มมีการค้าขายอย่างเสรีก็ทำให้ประเทศต่าง ๆ เริ่มที่จะปกป้องสินค้าและบริการของตน ไม่ให้สินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดได้ โดยใช้วิธีการจัดเก็บภาษีและตั้งกฎระเบียบที่เข้มงวด 

105. ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจใดบ้าง

1.   ฝรั่งเศสกับรัสเซีย

2.   อังกฤษกับฝรั่งเศส

3.   เยอรมนีกับออสเตรีย             

4.   ฝรั่งเศสกับเยอรมนี

             ตอบ 4       หน้า 529 – 530562, (คำบรรยาย) บิสมาร์คจัดตั้งระบบพันธมิตรขึ้นในปี ค.ศ. 1882โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนอัลซัส-ลอเรนน์เป็นหลักทำให้บิสมาร์คต้องพยายามปิดล้อมฝรั่งเศสให้อยู่โดดเดี่ยว โดยการจัดตั้งระบบพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้น เพี่อมิให้พันธมิตรฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งอาจรวมตัวกันได้ในวันข้างหน้าสามารถทำการโจมตีได้ ทั้งนี้ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คเป็นระบบพันธมิตรแบบตั้งรับในยามสงบ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เกิดการทูตแบบใหม่ขึ้น 

106. การเจรจาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ยึดถือโครงการสันติภาพอะไร ของประเทศใด

             1.   Marshall Plan ของอังกฤษ                                              2.   Atlantic Charter ของรัสเซีย

             3.   Peace Program ของฝรั่งเศส                                          4.   Fourteen Points ของสหรัฐอเมริกา

             ตอบ 4       หน้า 538 – 540544135 – 137 (H) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 14 ข้อ (Fourteen Points) ต่อรัฐสภาอเมริกัน โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ต้องการสถาปนาสันติภาพอันถาวรขึ้นด้วยการจัดตั้งสันนิบาตแห่งสหประชาชาติ เพื่อขจัดข้อขัดแย้งระหว่างประเทศโดยใช้วิธีเจรจาออมชอมหรือยุติด้วยกำลังและการศาล ซึ่งสนธิสัญญานี้ได้ส่งผลให้แผนที่ของยุโรปเปลี่ยนไป เพราะการล่มสลายของจักรวรรดิทั้ง 4 คือ รัสเซีย เยอรมนี ออสเตรีย และตุรกี 

107. คำขวัญใดของการปฏิวัติฝรั่งเศสที่สะท้อนถึงสาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส

             1.   สิทธิมนุษยชนโดยธรรมชาติ                                          2.   อิสรภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ

             3.   ระบอบเก่าจงเจริญ                                                           4.   อิสรเสรีเหนือสิ่งอื่นใด

             ตอบ 2       หน้า 446 – 447 ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสเห็นว่ามนุษย์นั้นเกิดมาดีแต่ต้องมาเสียเพราะสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาและกฎหมายในสังคมนั้น ประชาชนควรมีสิทธิเลือกรัฐบาลของตนเองและควบคุมได้ด้วย โดยแนวคิดนี้ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่องสัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งได้กลายเป็นคัมภีร์ของการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสตามคำขวัญที่ว่า อิสรภาพ (Liberty) เสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity)”  

108.     การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 อ้างลัทธิใดเพื่อความชอบธรรมของการปฏิวัติ

             1.   ลัทธิทุนนิยม         2.   ลัทธิเสรีนิยม               3.   ลัทธิสังคมนิยม                  4.   ลัทธิจักรวรรดินิยม

             ตอบ 2       หน้า 478 – 479490124 1.   (คำบรรยาย) ลัทธิที่ส่งเสริมให้เกิดความชอบธรรมของการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 19 ได้แก่ 1. ลัทธิโรแมนติก จะเน้นความเป็นเอกภาพของปัจเจกชน  2. ลัทธิชาตินิยม จะเน้นการแสดงความจงรักภักดีสูงสุดต่อชาติพันธุ์ ท้องถิ่นและชาติของตนเนื่องจากมีการใช้ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นสื่อปลูกฝังให้เกิดความรักชาติและการรวมกันเป็นหนึ่งตลอดจนความรู้สึกสำนึกในเชื้อชาติเดียวกัน        3. ลัทธิเสรีนิยม จะเน้นความอิสรเสรีความเสมอภาคตามกฎหมาย และเรียกร้องการปกครองโดยมีผู้แทน  

109.     อะไรคือสื่อทำให้เกิดความรักชาติและรวมกันเป็นหนึ่งในศตวรรษที่ 19

             1.   สถาบันกษัตริย์ 2.   สื่อมวลชน                      3.   วัฒนธรรม                      4.   สภาบันการศึกษา

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ 

110.     ในศตวรรษที่ 19 กรีกและเบลเยียมต่อสู้จนได้รับเอกราชโดยความช่วยเหลือจากใคร

             1.   รัสเซียออสเตรีย              2.   ปรัสเซียรัสเซีย             3.   ฝรั่งเศสรัสเซีย             4.   อังกฤษฝรั่งเศส

             ตอบ 4       หน้า 118 (H) ยุคเมตเตอร์นิก (ค.ศ. 1815 – 1848) คือ ยุคแห่งการต่อต้านระบอบเสรีนิยมในยุโรป โดยมีเจ้าชายเมตเตอร์นิกแห่งอาณาจักรออสเตรียเป็นผู้นำการต่อต้าน แต่ก็ยังมีขบวนการเสรีนิยม   2 แห่งที่สามารถทำการปฏิวัติได้สำเร็จในช่วงศตวรรษที่ 19 คือ 1. การปฏิวัติของพวกกรีกซึ่งแยกตัวออกจากการปกครองของตุรกีในปี ค.ศ. 1821 – 1829 โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซีย อังกฤษและฝรั่งเศส 2. การปฏิวัติของเบลเยียมซึ่งแยกตัวออกจากฮอลแลนด์ในปี ค.ศ. 1830 โดยได้รับความช่วยเหลือจากอังกฤษ 

111.     เมื่อ ค.ศ. 1871 แผนที่ยุโรปเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุใด

1.   ฝรั่งเศสสร้างจักรวรรดิ                                                    

2.   เยอรมนีพ่ายแพ้แก่ฝรั่งเศส

3.   รัสเซียครองโปแลนด์                                                      

4.   เยอรมนีและอิตาลีรวมประเทศ

ตอบ 4       หน้า 512 – 519119 (H), 124 – 129 (H) (คำบรรยาย) จากการที่ประเทศอิตาลีและเยอรมนีสามารถรวมประเทศได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1870 และ ค.ศ. 1871 ตามลำดับ ได้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยมว่ามีบทบาทส่งเสริมทำให้เกิดการรวมประเทศเยอรมันและอิตาลีขึ้นซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้แผนที่ยุโรปเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้ดุลยภาพแห่งอำนาจ (Balance of Power) ได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เนื่องจากเกิดประเทศมหาอำนาจขึ้น คือ ประเทศเยอรมนีและอิตาลี  

112.     ในยุคใหม่ก่อนสงครามโลก บรรดามหาอำนาจรักษาสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยร่วมกันโดยวิธีการใด   

             1.   สร้างระบบพันธมิตร    2.   ตั้งองค์กรกลาง      3.   สร้างสันนิบาต     4.   รักษาดุลยภาพแห่งอำนาจ

             ตอบ 4       (คำบรรยาย) หลักความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในยุโรปตั้งแต่ยุคใหม่เป็นต้นมานั้นได้กำหนดว่าทุกประเทศต้องเคารพในหลักการถ่วงดุลอำนาจ ไม่ให้ประเทศใดมีอำนาจมากจน เกินไปโดยเชื่อว่าสันติภาพและความมั่นคงจะคงอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการรักษาสมดุลหรือดุลยภาพแห่งอำนาจ ถ้ามหาอำนาจใดล่วงละเมิดหลักการถ่วงดุลอำนาจโดยการขยายอาณาเขตออกไปเพื่อตั้งตนเป็นใหญ่ บรรดามหาอำนาจที่เหลือกจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพันธมิตรเพื่อเข้าไปล้อมปราบ หรือเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย หรือใช้กำลังยับยั้งโดยการรวมกลุ่มรบเพื่อสั่งสอน แต่จะไม่เข้าไปทำลายรัฐ

113.     ระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 18 ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ในแต่ละรัฐมหาอำนาจ มักสืบเนื่องมาจาก

             ปัจจัยใดเป็นจุดเริ่มต้น          

             1.   การอภิเษกสมรสร่วมราชวงศ์                                        2.   ศาสนาต่างนิกาย

             3.   การแข่งขันการค้า                                                             4.   การล่าอาณานิคม

             ตอบ 2       หน้า 416 – 418108 (H) ในระหว่างศตวรรษที่ 16 – 18 ปัญญาการสืบราชสันตติวงศ์ในแต่ละรัฐมหาอำนาจของยุโรปยุคใหม่ มักมีจุดเริ่มต้นมาจากปัจจัยด้านศาสนาเป็นหลักซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศอังกฤษ เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เกิดความขัดแย้งกับรัฐสภาในเรื่องที่จะให้อังกฤษกลับไปนับถือนิกายคาทอลิกตามอย่างพระโอรสของพระองค์ ทำให้รัฐสภาอังกฤษไปเชิญเจ้าหญิงแมรี่พระราชธิดาของพระองค์ ซึ่งทรงนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ให้มาปกครองอังกฤษแทน และต่อมาในปี ค.ศ. 1701 ก็มีการออกพระราชบัญญัติ Act of settlement ห้ามผู้นับถือคาทอลิกขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษอีก

114.     ในยุคใหม่จนถึงปัจจุบัน มีมหาอำนาจใดบ้างที่เคยถูกล้อมปราบเพราะพยายามตั้งตนเป็นใหญ่ในยุโรป

             1.   สเปน ฝรั่งเศส และเยอรมนี                                           2.   รัสเซีย ปรัสเซีย และออสเตรีย

             3.   ฝรั่งเศส อังกฤษ และสเปน                                             4.   อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี

             ตอบ 1       หน้า 464466468 – 469 (คำบรรยาย) ในยุคใหม่จนถึงปัจจุบันนั้น ประเทศมหาอำนาจที่พยายามตั้งตนเป็นใหญ่เพราะต้องการสร้างจักรวรรดิในยุโรป จนถูกชาติมหาอำนาจอื่น ๆ รวมตัวเป็นพันธมิตรเพื่อล้อมปราบอยู่หลายครั้ง ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะในยุคนโปเลียนที่ยุโรปเกือบทั้งหมดยกเว้นอังกฤษต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส ทำให้มหาอำนาจในยุโรปต้องรวมตัวกันเป็นพันธมิตรถึง 3 ครั้ง เพื่อล้อมปราบฝรั่งเศส นอกจาก นี้ก็ยังมีประเทศสเปนในสมัยสงคราม 30 ปี และประเทศเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้ง  ที่ 1 และ 2

115.     หลังสงครามปราบนโปเลียน บรรดามหาอำนาจประชุมสันติภาพกันที่ใด

             1.   Westpha1ia                        2.   Vienna                             3.   Versailles                        4.   Geneva

             ตอบ 2       หน้า 470 – 472117 (H) ภายหลังสงครามปราบนโปเลียนในปี ค.ศ. 1815 บรรดาผู้นำประเทศมหาอำนาจยุโรปใหม่ ได้แก่ อังกฤษ ปรัสเซีย รัสเซีย และออสเตรีย ได้มาประชุมสันติภาพร่วมกันที่กรุงเวียนนา (Vienna) โดยมีนายกรัฐมนตรีของออสเตรีย คือเจ้าชายคลีเมน ฟอน เมตเตอร์นิก เป็นผู้กำหนดพื้นฐานการประชุมในลักษณะขอความเห็นชอบเพื่อจัดระเบียบยุโรปใหม่ นั่นคือ การกลับไปปกครองดินแดนเท่าที่เคยมีอยู่ก่อนสมัยของนโปเลียน และที่สำคัญคือ การธำรงไว้ซึ่งหลักการถ่วงดุลอำนาจในยุโรปนั่นเอง

116.     หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศใดในยุโรปเป็นต้นตำรับของระบอบฟาสชิสต์

             1.   เยอรมนี                              2.   รัสเซีย                              3.   ออสเตรีย                         4.   อิตาลี

ตอบ 4       หน้า 541 – 543137 – 138 (H) (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดขบวนการชาตินิยม ที่เรียกว่าระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดี่ยวมีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาดแต่พรรคเดียว แบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่

1. ระบอบคอมมิวนิสต์ (เผด็จการซ้าย) เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย

2. ระบอบฟาสซิสต์ (เผด็จการขวา) เกิดขึ้นในอิตาลีและขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่าลัทธินาซี เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์และโลกเสรีประชาธิปไตย

1 17.    นอกจากสงครามโลก 2 ครั้งแล้ว ในศตวรรษที่ 20 มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นที่ถือว่าสำคัญมากและทรงอิทธิพลต่อยุโรป     

             1.   การปฏิวัติฝรั่งเศส                                             2.   การปฏิวัติรัสเซีย  

             3.   ระเบิดนิวเคลียร์                                                4.   การประชุมสันติภาพที่แวร์ซายส์

             ตอบ 2       หน้า 136 (H), (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 530 – 531) ในศตวรรษที่ 20 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ทรงอิทธิพลต่อยุโรป คือ การปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ภายใต้การนำของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นำ ซึ่งได้ส่งผลให้รัสเซียจำเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และบอลเซวิค ได้ดำเนินการตามหลักสังคมนิยม โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์     และก่อตั้งสหภาพสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียจนส่งผลให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่ขยายไปทั่วยุโรปและทุกส่วนต่าง ๆ ของโลก

118.     หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีกี่จักรวรรดิล่มสลาย ได้แก่จักรวรรดิใดบ้าง

             1.   4 จักรวรรดิคือ รัสเซีย ฝรั่งเศส ตุรกี และฮังการี   

             2.   2 จักรวรรดิคือ รัสเซีย และเยอรมนี

             3.   3 จักรวรรดิคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย        

             4.   4 จักรวรรดิคือ รัสเซีย เยอรมนี ออสเตรีย และตุรกี

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 106. ประกอบ

119.     หลักการสำคัญขององค์การสหประชาชาติปรากฏในเอกสารชื่ออะไร

             1.   Atlantic Charter                                                2.   Fourteen Points        

             3.   Bill of Rights                                                     4.   Declaration of Human Rights

             ตอบ 4       (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 543), (คำบรรยาย) องค์การสหประชาชาติเป็นผลมาจากความร่วมมือของประเทศภาคีมหามิตรภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหลักการสำคัญประการหนึ่งที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และต่อมาหลักการนี้ได้ปรากฏอยู่ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Declaration of Human Righzcts) เมื่อวันที่10 ธันวาคม ค.ศ. 1948  คือ มาตรา 1 ข้อ 3 เพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรมและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชน

120.     หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองระหว่างประเทศมีการแบ่งเป็นกี่ฝ่าย ได้แก่ฝ่ายใดบ้าง

             1.   3 ฝ่าย โลกเสรี โลกคอมมิวนิสต์ โลกกลาง                 

             2.   2 ฝ่าย โลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์

             3.   2 ฝ่าย โลกเสรีสังคมนิยมกับโลกเสรี                           

             4.   2 ฝ่าย โลกคอมมิวนิสต์กับโลกไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

             ตอบ 2       หน้า 556139 (H) ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีดังนี้

1. เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของโลก โดยมหาอำนาจยุโรปตะวันตกได้ลดความสำคัญลง และเกิดประเทศมหาอำนาจใหม่ทำให้การเมืองระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ซึ่งมีโซเวียตรัสเซียเป็นผู้นำ

2. มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น

3. ประเทศที่ตราเป็นอาณานิคมมีการเรียกร้องขอเอกราช

HIS1001 อารยธรรมตะวันตกภาค 2 ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาค 2  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  HIS1001  อารยธรรมตะวันตก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมและอารยธรรมจากการศึกษาอะไรเป็นสำคัญ

1.   ธรณีวิทยา           

2.   สังคมวิทยา                     

3.   วิทยาศาสตร์                   

4.   ประวัติศาสตร์

ตอบ 4       หน้า 203712 (H), (คำบรรยาย) มนุษย์สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมและอารยธรรมได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์เพราะประวัติศาสตร์ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์มนุษย์ซึ่ง มีความหมายเป็น 2 นัย คือ 1. การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยการเกิดมนุษย์มาจน ถึงปัจจุบัน 2. ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าหลักฐาน และทดสอบความจริงแท้ถูกต้องของหลักฐาน โดยใช้วิธีการตรวจสอบด้วยการวิจารณ์ภายนอกและการวิจารณ์ภายใน

2.         การศึกษาประวัติศาสตร์ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในด้านใด

1.   ทดสอบความจริงแท้ถูกต้องของหลักฐาน      

2.   การแสวงหาหลักการและทฤษฎีของเหตุการณ์

3.   การทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้า                             

4.   การตั้งข้อสมมุติฐานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         อักษรคูนิฟอร์มพัฒนารูปแบบมาจากอะไร

1.   อักษรภาพ          2.   เครื่องหมายและสัญลักษณ์            3.   พยัญชนะและสระ    4.   สัญลักษณ์

ตอบ 1      หน้า 6923(H), (คำบรรยาย) เมื่อประมาณ 3,500 B.C. ชาวสุเมเรียนได้ประดิษฐ์ตัวอักษรโดยใช้ต้นอ้อแห้งหรือเหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนำไปตากแดดหรือเผาไฟให้แห้งเรียกว่าตัวอักษรคูนิฟอร์ม(Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม ซึ่งได้พัฒนารูปแบบมาจากอักษรภาพ  (Pictograms) ที่ใช้ในระยะแรก ๆ และต่อมาจึงพัฒนาจากอักษรภาพมาเป็นการใช้เครื่องหมายแทนสัญลักษณ์

4.         ชาวสุเมเรียนควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตรด้วยวิรีใด

1.   การชลประทาน                                2.   ถมชายฝั่งแม่น้า              3.   สร้างสะพานเชื่อมคลอง       

4.   สร้างเขื่อนริมน้ำ

             ตอบ 1       หน้า 71, (คำบรรยาย) ชาวสุเมเรียนได้ริเริ่มเทคโนโลยีควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตรด้วยการชลประทาน กล่าวคือใช้วิธีการสร้างเขื่อน ขุดคูคลองเป็นเครือข่ายเก็บกักน้ำ ทดน้ำ ระบายน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยด้วย

5.         อัสสิเรียปกครองภูมิภาคด้วยวิธีการใด

1.   แบ่งเป็นมณฑล ตั้งผู้ว่าราชการและแม่ทัพ                  2.   แบ่งเป็นภาค ปกครองตนเอง

3.   แบ่งเป็นอาณาจักร ตั้งผู้ปกครอง                                   4.   แบ่งเป็นนครรัฐ ปกครองตนเอง

ตอบ 1       หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) อัสสิเรีย นับเป็นชนชาติแรกในเมโสโปเตเมียที่จัดระเบียบการ

ปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ โดยมีการรวมอำนาจสูงสุดไว้ที่ส่วนกลาง คือ กษัตริย์ และมีการกระจายอำนาจไปยังส่วนภูมิภาค คือ มีการแบ่งมณฑลและสถาปนาเมืองหลวงประจำมณฑลขึ้นโดยแต่ละมณฑลก็จะมีผู้ว่าราชการและแม่ทัพ ซึ่งการปกครองในลักษณะนี้ทำให้กษัตริย์ดาริอุสที่           1 แห่งเปอร์เซียทรงรับไปบริหารจักรวรรดิเปอร์เซียในเวลาต่อมาด้วย

6.         ในยุคโบราณ เมโสโปเตเมียได้ปฏิวัติการทหารด้านใด                  

1.   การทหารราบ          2.   การพหารม้า               3.   การรวมเหล่า                  4.   การจัดตั้งกองเสนาธิการ

ตอบ 3       หน้า 7624 (H), (คำบรรยาย) กลยุทธ์ด้านการทหารของเมโสโปเตเมียจะเริ่มต้นด้วยการใช้ทหารราบในการรบ แต่เมื่ออานารยชนแคสไซท์เข้ายึดกรุงบาบิโลนโดยใช้ม้าและรถศึกขนาดเบาก็ทำให้อาณาจักรต่าง ๆ ในเมโสโปเตเมียหันมาใช้ม้าเทียมเข้ากับรถศึกขนาดเบาในการรบ ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งทหารม้าขึ้น และเริ่มรู้จักประกอบกำลังเข้าเป็นหมวดหมู่ โดยมีการยุทธ์ที่สำคัญคือการทหารแบบรวมเหล่า (ทหารราบ ทหารม้า รถศึก) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์

7.         มีเหตุปัจจัยใดที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียบูชาเทวดามากมาย

1.   กลัวภัยธรรมชาติและภัยสงคราม                  2.   ต้องการชีวิตสุขนิรันดร์ในชาติหน้า

3.   ต้องการขอพรศิริมงคล                                                    4.   ต้องการติดต่อทวยเทพเพื่อความมั่นใจ

ตอบ 1       หน้า 65 – 68,  (คำบรรยาย) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียต้องบูชาเทวดามากมายและเป็นพวกมองโลกในแง่ร้าย หวาดกลัว ไม่คิดที่จะกลับมาเกิดใหม่นั้น สรุปได้เป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ   1. การต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติอยู่เป็นประจำ เช่น อุทกภัย  2. การทำสงครามเพื่อแย่งชิงดินแดนระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

8.         ข้อใดแสดงอารยธรรมอียิปต์มีลักษณะแตกต่างจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

             1.   อารยธรรมอียิปต์รับแบบอย่างจากกรีซ               

             2.   อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมของชนชาติเดียว

             3.   อารยธรรมอียิปต์แพร่หลายไปสู่เมโสโปเตเนีย    

             4.   อารยธรรมอียิปต์รับแบบอย่างมาจากจีน

             ตอบ 2       หน้า 67 – 6822 – 23 (H), (คำบรรยาย) ลักษณะเด่นของอารยธรรมอียิปต์ที่แตกต่างจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีดังนี้

1.   อียิปต์เป็นอารยธรรมของชนชาติเดียวแต่เมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ

2.   เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเหมือนกับอียิปต์ที่มีทะเลทราย จึงถูกรุกรานได้โดยง่าย

3.   สิ่งก่อสร้างของอียิปต์สร้างด้วยหินจึงแข็งแรงทนทาน ส่วนสถาปัตยกรรมของเมโสโปเตเมียสร้างด้วยอิฐจึงไม่ยั่งยืน เพราะไม่มีหินขนาดใหญ่เหมือนอียิปต์

4.   อียิปต์เป็นพวกที่มีชีวิตสุขสมบูรณ์ ทำให้มองโลกในแง่ดีและไม่อยากตาย จึงมีการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำมัมมี่เพื่อที่จะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า แต่เมโสโปเตเมียส่วนใหญ่มอง        โลกในแง่ร้าย ไม่คิดจะกลับมาเกิดใหม่

9.         ระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์ถือความยุติธรรมเป็นสำคัญ จึงปกครองด้วยการยึดถืออะไรเป็นหลัก

1.   กฎหมายและการศาล

2.   การศาล 3 ชั้น

3.   พัฒนาประมวลกฎหมาย

4.   การฎีกาสู่สภา 500

             ตอบ 1       หน้า 126, (คำบรรยาย) ระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์มีลักษณะเด่น คือ เป็นรูปแบบการปกครอง    ที่พลเมืองชายชั้นสูงมีอำนาจทางการเมือง ปกครองนครรัฐด้วยการรับผิดชอบร่วมกัน โดยจะยึดถือกฎหมายและการศาลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะถือว่ากฎหมายและการศาลเท่านั้นที่จะสามารถปกป้องคุ้มครองและพิทักษ์ความยุติธรรมได้ ซึ่งนวัตกรรมนี้ยังถือเป็นพื้นฐานการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของโลกตะวันตกต่อมาด้วย

10.       ปรัชญาโลกตะวันตกมีกระบวนการคิดโดยใช้เทคนิคอะไรของกรีซ

1.   การโต้แย้งอ้างหลักธรรม

2.   วิภาษวิธีและหลักเหตุผล

3.   โต้แย้งตามลีลาวาทศิลป์

4.   การตั้งข้อสมมุติฐาน

             ตอบ 2       หน้า 137 – 139, (คำบรรยาย) ปรัชญาของชาวกรีกในระยะแรกจะคิดลึกซึ้งในเรื่องมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของชาวกรีกว่า เป็นการค้นหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล โดยใช้หลักวิภาษวิธี คือ การเปิดโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่เฉพาะข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากุญแจที่จะไขไปสู่ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ก็คือพลังแห่งเหตุผลของคน (Logos) หรือการคิดตามหลักเหตุผลนั่นเอง

11.       ตามความคิดของเพลโตเรื่องสาธารณรัฐ ผู้ปกครองในอุดมคติต้องมีคุณสมบัติสำคัญอะไร

1.   เป็นนักรบนักบริหาร                                                       

2.   ผู้มีการศึกษาและเป็นนักปรัชญา

3.   เป็นคนดีมีวิชา                                                                   

4.   เป็นนักปรัชญาผู้ทรงธรรม

ตอบ 2       หน้า 14145 (H) (คำบรรยาย) เพลโต (Plato) ได้เขียนหนังสือเรื่องสาธารณรัฐ (The Republic)    ซึ่งได้กล่าวถึงการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่ไม่มีแห่งหนใดเลย (No Place) เป็นสังคมในอุดมคติ (Utopia) และก็เสนอว่าผู้ปกครองในอุดมคตินั้นจะต้องให้ผู้ที่การศึกษาและมีสติปัญญาเป็นผู้ดำเนินการปกครองและต้องเป็นนักปรัชญาด้วยเพื่อปกครองตามความต้องการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน

12.       เฮโรโดตัสเขียนประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการใดในการแสวงหาข้อมูล

1.   วิธีการฟังเล่าลือมา                                                           

2.   วิธีการสืบสวนสอบถาม

3.   วิธีการอ่านเอกสารชั้นต้น                                               

4.   วิธีการวิจัยเอกสารชั้นสอง

             ตอบ 2       หน้า 13644 (H), (คำบรรยาย) เฮโรโดตัส (Herodotus) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาประวัติศาสตร์” โดยเขาได้เขียนประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย                ขึ้นและเรียกหนังสือนี้ว่า Historia โดยใช้วิธีการสืบสวนสอบถามจากคนที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรงและก็นำหลักฐานที่ได้มาเรียบเรียงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์

13.       กรีกเน้นดุลยภาพในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ใด

1.   สุนทรียภาพ           2.   ความเหมือนจริง        3.   ความเกินจริง 4.   ถ่ายทอดธรรมชาติ

ตอบ 1       หน้า 131133, (คำบรรยาย) ศิลปะของชาวกรีกในยุคโบราณจะเน้นเรื่องสุนทรียภาพหรือความงาม โดยให้ความสำคัญกับดุลยภาพ คือ การเน้นเรื่องน้ำหนักเท่ากันของสี เส้น แสง และเงา ตลอดจนเน้นความมีเอกภาพของศิลปะหรือการประสานกลมกลืนของทุกสิ่งตามอุดมคติของชาวกรีกที่ว่า “Nothing in excess, and everything in proportion” (ไม่มีสิ่งที่เกินไป และทุกสิ่งจะต้องเป็นสัดส่วน)

14.       ชาวกรีกสร้างสรรค์งานศิลป์โดยมีจุดมุ่งหมายอะไรที่แตกต่างจากศิลปะอียิปต์และศิลปะเมโสโปเตเมีย

1.   มุ่งหมายทางโลก                                                               

2.   มุ่งหมายทางธรรม             

3.   มุ่งสดุดีทวยเทพ                                                                

4.   มุ่งหมายผลทางการเมือง

             ตอบ 1       หน้า 131, (คำบรรยาย) ชาวกรีกเป็นนักวัตถุนิยมที่มองโลกในแง่กายภาพ สร้างสรรค์งานศิลป์โดยมีจุดมุ่งหมายทางโลกเป็นสำคัญ จึงทำให้งานศิลปะของกรีกส่วนใหญ่มีเอกลักษณ์เด่น คือ เป็นงานที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของมนุษย์ ตามคตินิยมที่ว่ามนุษย์คือสัตว์โลกที่สำคัญที่สุดในจักรภพ ซึ่งแตกต่างจากศิลปะอียิปต์และศิลปะเมโสโปเตเมียที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อมุ่งสดุดีทวยเทพหรือสนองการพระศาสนา

15.  การค้าของจักรวรรดิโรมันเป็นแบบใด

1.   การค้าเสรี                           

2.   การค้าผูกขาด                 

3.   รัฐและเอกชนรวมกันดำเนินการค้า    

4.   รัฐควบคุมการค้า

             ตอบ 1       หน้า 17652 (H), (คำบรรยาย) จักรวรรดิโรมันจะใช้การค้าแบบเสรี คือ รัฐเป็นผู้คุ้มครองและส่งเสริมการค้าขายโดยรัฐไม่ได้เข้าไปควบคุมเศรษฐกิจหรือตั้งข้อจำกัดทางการค้า ทำให้สังคมโรมันมีลักษณะเป็นสังคมเมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้วยการค้า โดยมีศูนย์กลางการค้าอยู่ทีโรม และเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ ซึ่งมีสินค้าจากทุกมุมโลกมาค้าขายหมุนเวียนอยู่

16.  ในสมัยจักรวรรดิเรืองอำนาจที่สุด การเกษตรเป็นแบบที่เรียกว่าอะไร

1.   Manor                                 2.   Plantation                       3.   Fief                                  4.   Benifice

ตอบ 2       หน้า 176, (คำบรรยาย) ในสมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจที่สุดหรือสมัยสันติสุขโรมัน  (Pax Romana) การเกษตรยังคงเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนในจักรวรรดิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกษตรแบบ Plantation คือ การมีไร่ขนาดใหญ่เพาะปลูกพืชประเภทเดียวเพื่อการค้า โดยอาศัยแรงงานจากพวกทาสเป็นหลัก

17.       การปกครองแบบใดที่ถือว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ชาวโรมันคิดริเริ่ม

1.   ระบอบทรราชย์       2.   ระบอบจักรพรรดิราชย์            3.   ระบอบพลีเบียน           4.   ระบอบกงสุล

ตอบ 4       หน้า 161, (คำบรรยาย) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน ชาวโรมันได้ริเริ่มรูปแบบการปกครองระบอบกงสุล (Consulate System) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการปกครองแบบโรมันเอง นั่นคือระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุล(Consuls)2 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “Magistrates” หรือผู้นำสูงสุด ทำหน้าที่เป็นประมุขของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารโดยจะคัดเลือกมาจากขุนนางสามัญชนอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากพวกแพทริเชียน หรือ กลุ่มชนชั้นสูงของสังคม

18.  ในระบอบการปกครองของอียิปต์ อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร

1.   ฟาโรห์                2.   นักบวชหญิง                  3.   คณะนักรบ                     4.   คณะนักบวช

ตอบ 1       หน้า536019(H) ระบอบการปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิดจะเป็นแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) โดยมีฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุดหรือเทวกษัตริย์ กล่าวคืออำนาจอธิปไตยจะเป็นของฟาโรห์ซึ่งทรงมีฐานะเป็นศูนย์กลางของทุกสถาบัน ดังนั้นฟาโรห์ก็คือรัฐที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำสูงสุดทั้งตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและประมุขทางศาสนาเป็นผู้พิพากษาสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชาการกองทัพและบัญชาการทางด้านพลเรือนรวมทั้งทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งหมดสามารถทำการค้าขายได้แต่เพียงผู้เดียว

19.       เหตุใดอียิปต์โบราณมีพ่อค้าเอกชนน้อย

1.   เพราะศาสนาห้ามการค้าขาย                                          2.   เพราะรัฐห้ามการค้าขาย

3.   เพราะรัฐหรือฟาโรห์ค้าขายได้แต่เพียงผู้เดียว            4.   เอกชนขาดทุนรอน

ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

20.       ชาวอียิปต์มองโลกในแง่ดี ไม่อยากตายเพราะอะไร

1.   ชีวิตในชาตินี้สุขสมบูรณ์                                                2.   ศาสนาสอนว่าชีวิตเป็นอมตะ

3.   อยากเสวยสุขในชาตินี้เท่านั้น                                       4.   ศาสนาสอนว่าชาติหน้ามีแต่ทุกข์

ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

21.       อียิปต์โบราณรักษาแผลและแก้อักเสบโดยวิธีการใด

1.   ดองแผลมิให้เนา                                                              

2.   ใช้ด่างทับทิมและน้ำเกลือ

3.   ใช้สมุนไพร                                                                       

4.   ใช้กระเทียมและหัวหอม

             ตอบ 2       หน้า 6222 (H) อียิปต์มีความเจริญทางด้านการแพทย์ดังนี้

1. ริเริ่มการตรวจและรักษาโรคโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งได้แยกผู้เชียวชาญออกเป็นจักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์

2. มีการค้นพบว่าหัวใจคือศูนย์กลางการหมุนเวียนของโลหิต

3. ริเริ่มการจำแนกยาชนิดต่าง ๆ ตามอาการของโรคที่ปรากฏ

4. ใช้ด่างทับทิมในการรักษาบาดแผล และใช้น้ำเกลือเพื่อป้องกันการอักเสบ

5. มีการทำน้ำยารักษาศพเพื่อป้องกันการเน่าเปื่อย

22.       กลุ่มชนชาวกรีกกลุ่มใดมีอิทธิพลสามารถเรียกร้องและต้องการมีส่วนร่วมการปกครอง จนทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองขึ้น

1.   ทหารม้า                   2.   พ่อค้า                          3.   ทหารราบและฝีพาย                     4.   สามัญชน

ตอบ 2       หน้า 11640 (H), (คำบรรยาย)         ในตอนปลายยุคขุนนางของกรีกนั้น กองทหารราบเริ่มมีความสำคัญขึ้นมาแทนที่กองทหารม้าของพวกขุนนาง และพวกขุนนางก็เริ่มทะเลาะกันเองประกอบกับประชาชนจำนวนมากไม่พอใจการปกครองของเหล่าขุนนาง ทำให้พ่อค้าที่มั่งคั่งสามารถจ้างทหารของตนเข้ายึดอำนาจจากพวกขุนนางได้สำเร็จ ซึ่งกลุ่มพ่อค้าเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสามารถเรียกร้องและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง จนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองขึ้นในเวลาต่อมา

23.       Acropolis แตกต่างจาก Polis ในด้านใด

             1.   ด้านการเป็นนครแห่งเทวดาซ้อนอยู่ภายในนคร       2.   ด้านการเป็นเมืองบนที่สูงภายในนคร

             3.   ด้านการเป็นเมืองบริวารของนคร                                 4.   ด้านการเป็นเมืองทหารอยู่ภายในนคร

             ตอบ 2       หน้า 11038 (H) คำว่า นครรัฐ” (City-State) จะตรงกับภาษากรีกว่า “Polis” ซึ่งมีความหมายถึง ป้อม ค่าย หรือที่ปลอดภัยจากศัตรู โดยแต่ละนครรัฐของกรีกจะมีสภาพแตกต่างกันออกไป แต่ที่มีอยู่เหมือนกันคือ 1. มีขนาดเล็ก 2. มีประชากรไม่มาก 3. บริเวณที่ปลอดภัยที่สุดคือ Acropolis ซึ่งแปลว่าส่วนที่สูงที่สุดของนครรัฐหรือการเป็นเมืองบนที่สูงภายในนครรัฐ  4. มีตลาดซึ่งเป็นสถานที่ที่มาพบปะและประชุมกัน

24.       นวัตกรรมทางการทหารกรีกที่ขึ้นชื่อคืออะไร                                                  

             1.   การจัดหน่วยรถศึกเบา                                                     2.   การจัดทัพรวมเหล่า                      

             3.   การจัดขบวนรบฟาแลนซ์                                               4.   การจัดกองทัพประจำการ

             ตอบ 3       หน้า 144, (คำบรรยาย) ฟาแลนซ์ (Phalanx) คือ การจัดขบวนรบกองทัพของกรีกแบบเรียงแถวหน้ากระดาน ซึ่งเดิมจะมีแค่ 2 แถว จากนั้นก็พัฒนามาเป็น 4 แถว และ 8 แถวตามลำดับ โดยให้แถวที่ 1 ถืออาวุธสั้น และแถวต่อมาถืออาวุธยาวตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่กรีกต้องจัดขบวนรบแบบนี้ก็เพราะทหารราบหุ้มเกราะ (Hoplite) ที่เป็นหน่วยรบหลักต้องถืออาวุธและโล่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้เคลื่อนที่ได้ช้า จึงจำเป็นต้อองใช้วิธีการจัดขบวนรบแบบฟาแลนซ์เพื่อให้กองทัพเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นและมีอิสระสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ

25.       ข้อใดแสดงความหมายประชาธิปไตยแบบเอเธนส์

             1.   การปกครองที่ชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิ์รวมการปกครอง

             2.   การปกครองที่ประสานระบอบราชาธิปไตยเข้ากับประชาธิปไตย

             3.   การปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกชนชั้น

             4.   การปกครองที่พลเมืองชายชั้นสูงมีอำนาจทางการเมือง

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

26.       แรงงานหลักในระบบแมเนอร์คือแรงงานประเภทใด

             1.   ช่างฝีมือ                              2.   พ่อค้า                               3.   ทาสติดที่ดิน                   4.   ทาส

             ตอบ 3       หน้า 233 – 23466 (H), (คำบรรยาย) ระบบแมเนอร์ (Memorialise) เป็นระบบเศรษฐกิจหมู่บ้านแบบพึ่งตนเองที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปกครองแบบฟิวดัล เนื่องจากขาดแคลนที่ดินสมบูรณ์จึงทำให้เกิดความคิดเรื่องการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีการแบ่งที่ดินเป็นเขต เขตที่หนึ่งจะแบ่งให้กับทาสติดที่ดิน (Serfs) ซึ่งเป็นแรงงานหลักในการทำการเกษตร ส่วนที่สองจะถูกแบ่งให้ลอร์ด (Lord) เจ้าของแมเนอร์ และส่วนที่สามจะถูกปล่อยให้ว่างไว้

27.       ในยุคสมัยที่รุ่งเรืองในยุคกลาง ศูนย์กลางการค้าอยู่ตามสถานที่ใด

             1.   สถานีการค้า                      2.   หมู่บ้าน                 3.   น่านน้ำ                      4.   แวดล้อมคฤหาสน์

             ตอบ 3       หน้า 307, (คำบรรยาย) ในสมัยที่รุ่งเรืองในยุคกลาง เส้นทางการค้าในทะเลเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นน่านน้ำจึงกลายเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง จึงทำให้เกิดศูนย์กลางการค้าขึ้นรอบ ๆ น่านน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีพ่อค้าสำคัญคือชาวเวนิสและเจนัวนำสินค้าจากตะวันออกมายังอิตาลี ทางใต้ของฝรั่งเศส ต่อไปถึงชายฝั่งนครบริเวณฟลานเดอร์แล้วจึงขยายเข้าไปในอังกฤษและยุโรปภาคเหนือโดยทางเรือ

28.       สมาคมพ่อค้าที่ขึ้นชื่อที่สุดในยุคกลางคือสมาคมชื่ออะไร อยู่ในดินแดนใด

1.   Delian League ในกรีช

2.   East Asiatic Cooperation ในฮอลันดา

3.   Merchants’ Association ในอังกฤษ

4.   Hanseatic League ในเยอรมนี

ตอบ 4       หน้า 289307341 สมาคมพ่อค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคกลาง คือ สันนิบาตฮันซีอาติก (Hanseatic League) เป็นการรวมตัวของสมาคมพ่อค้าของบรรดาเมืองต่าง ๆ ทางภาคเหนือของเยอรมนี ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการค้าทางทะเลเหนือและทะเลบอลติกโดยมีผู้นำคือ Lubeck, Hamburg และ Bremen

29.       ภารกิจหลักของคริสตจักรได้แก่อะไร                 

1.   การเผยแผ่ศาสนาแก่อนารยชน

2.   การพิพากษาคดีธรรมคดีโลก        

3.   การทำให้อนารยชนเป็นผู้เจริญ

4.   ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4       หน้า 20824259 (H), (คำบรรยาย) ศาสนาคริสต์หรือคริสตจักรเป็นสถาบันสำคัญในสมัยกลางที่มีส่วนในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้เพราะเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น ซึ่งมีภารกิจหลักคือ การเผยแผ่ศาสนาแก่อนารยชนและทำให้อนารยชนเป็นผู้เจริญโดยพระหรือนักบวชเป็นกลุ่มเดียวที่รู้หนังสือในสังคมทำหน้าที่เป็นผู้นำทางความคิดและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้คน รวมทั้งเป็นผู้เก็บเอกสารต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยกรีกโรมัน เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย และเป็นผู้ทำการสอนที่รอบรู้และตอบปัญหาได้สารพัด

30.       เหตุใดผู้คนในยุคกลางจึงเรียนรู้สรรพสิ่งจากพระ

1.   เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่รู้หนังสือในสังคม

2.   เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่บวชเรียน

3.   เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่ประพฤติธรรม  

4.   เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่ผูกขาดศิลปวิทยาการ

ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31.       ข้อใดแสดงความเจริญก้าวหน้าทางดาราศาสตร์อาหรับ

1.   การค้นพบทฤษฎีสุริยจักรวาล        

2.   การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สังเกตและคำนวณตำแหน่งของดวงดาว

3.   การสร้างกล้องโทรทัศนศึกษาการโคจรขางดาวเคราะห์

4.   การค้นพบวิธีการคำนวณระยะใกล้ไกลของดวงดาว

ตอบ 2       หน้า 258 – 25971 (H), (คำบรรยาย) อารยธรรมอาหรับหรือมอสเล็มในยุคกลางที่สำคัญ คือ 

1. ด้านคณิตศาสตร์ คือ การใช้เลขศูนย์และระบบทศนิยม รวมทั้งการพัฒนาวิชาพีชคณิต เรขาคณิตและตรีโกณมิติ                      

2. ด้านการแพทย์ คือ ประดิษฐ์ยาช่วยระงับความเจ็บปวด และริเริ่มการผ่าตัดตา          

3. ด้านดาราศาสตร์ คือ การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สังเกตและคำนวณตำแหน่งของดวงดาว การคำนวณระยะทางตามปีสุริยคติ และการเกิดอุปราคา ฯลฯ

32.       หัวใจของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์คือความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างชนชั้นใด

1.   ชนชั้นสูงกับชนชั้นต่ำ                                                    2.   ขุนนางกับพ่อค้า

3.   ขุนนางกับเจ้านายและพ่อค้า                                          4.   เจ้าเหนือหัวกับบริวาร

             ตอบ 4       หน้า 223 – 22465 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล(Feudalism Feudal) มีหัวใจสำคัญ คือ เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord) หรือผู้มีที่ดินจำนวนมากกับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมี ที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธกิจแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกันนอกจากนี้ยังเป็นระบบการเมือง การปกครองในยุคกลางที่ขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจอย่างแท้จริงเพราะพวกเสรีชนได้มอบที่ดินให้แก่ขุนนางเพื่อขอความคุ้มครองแทนการขอความคุ้มครองจากกษัตริย์ซึ่งอ่อนแอและมีฐานะเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น

33.       ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เป็นระบบการเมืองที่มีเงื่องไขชัดเจนอะไร

             1.   เจ้ากับข้าต้องมีพันธกิจต่อกัน                                         2.   เจ้ากับข้าผลัดกันครองเมือง

             3.   การแบ่งแผ่นดินเสมอกัน                                                4.   การสาบานจงรักภักดีต่อกัน

             ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34.       ระบอบการปกครองแบบใดในยุคกลางที่กษัตริย์ทรงเป็นแต่เพียงหุ่นเชิด

             1.   ระบอบราชาธิปไตย                                                         2.   ระบอบประชาธิปไตย

             3.   ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์                                                4.   ระบอบทรราชย์

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

35.       ในระบอบจักรพรรดิราชย์โรมัน จักรพรรดิทรงอ้างหลักการใดในการใช้พระราชอำนาจอย่างชอบธรรม

             1.   หลักการอำนาจเป็นของปวงชน                2.   หลักการของทหารร่วมการปกครอง

             3.   หลักการว่าด้วยจักรพรรดิทรงเป็นเทพ     

             4.   หลักการว่าจักรพรรดิทรงได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

             ตอบ 3       หน้า 169 – 170, (คำบรรยาย) ในสมัยของออกุสตุสที่ 1 ซึ่งเป็นสมัยที่เริ่มต้นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือจักรพรรดิราชย์ของจักรวรรดิโรมันนั้น ถือเป็นยุคที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “Roman’s Golden Age” (ยุคทองของโรมัน) และยังเป็นยุคที่จักรพรรดิโรมันมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงในฐานะของเทพเจ้า คือ จักรพรรดิทรงเป็นเทวราช ซึ่งปกครองจักรวรรดิ โดยรับผิดชอบต่อทวยเทพ แต่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน นอกจากนี้จักรพรรดิยังมีสิทธิเลือกรัชทายาทด้วยพระองค์เองอีกด้วย

36.       Lecion เป็นหน่วยรบแบบใด

             1.   กองทัพเกณฑ์         2.   กองทัพอาสาสมัคร                  3.   กองทัพเฉพาะกิจ                4.   กองทัพอาชีพ

             ตอบ 4       หน้า 155173 – 174 (คำบรรยาย) ในระหว่างศตวรรษที่ 4 B.C. กองทัพโรมันได้เลิกการใช้หอกยาวและการรบแบบทหารฟาแลนซ์ของกรีกมาเป็นกองทหารลีเจียน (Legion) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของกองทัพโดยมีหน่วยรบเป็นแบบกองทัพอาชีพหรือกองทัพประจำประมาณ 3,600 คนประกอบขึ้นเป็นหน่วยรบที่สำคัญ คือ ทหารราบและทหารม้า ซึ่งส่งผลให้โรมันมีการจัดทัพที่เป็นระเบียบและทำให้โรมกลายเป็นเจ้าครอบครองจักรวรรดิอันไพศาล

37.       เหตุใดจักรวรรดิโรมันจึงถือว่าศาสนาคริสต์เป็นลัทธิอุบาทว์

             1.   เพราะสอนให้นับถือพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว

             2.   เพราะชาวคริสต์จัดตั้งเป็นสมาคมชมรม

             3.   เพราะมีความเคลื่อนไหวก่อการร้าย                                     4.   เพราะมีลัทธิพิธีบูชาไฟ

ตอบ 1       หน้า 184 (คำบรรยาย) สาเหตุที่จักรวรรดิโรมันถือว่าศาสนาคริสต์เป็นลัทธิอุบาทว์และมีการปราบปรามอย่างมากมายนั้น เนื่องจาก

1. ผู้ที่เลื่อมใสศาสนาคริสต์มีการชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรมันถือว่าเป็นการเข้าข่ายซ่องสุมกำลังคนที่จะล้มอำนาจรัฐ

2. ศาสนาคริสต์สอนให้มนุษย์มีหน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งขัดต่อหน้าที่ของโรมันที่ทุกคนต้องมีหน้าต่อรัฐ

3. ศาสนาคริสต์สอนให้นับถือพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ซึ่งขัดต่อคติของโรมันที่ให้เคารพสักการะจักรพรรดิและถือว่าเป็นอธิปไตยสูงสุดที่ปรากฏในร่างของมนุษย์

38.       วิถีชีวิตโรมัน เป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปในชุมชนแบบใด

1.   ในหมู่บ้าน

2.   ในเมือง

3.   ในชนบท

4.   ชุมชนแวดล้อมปราสาท

ตอบ 2       หน้า 177  วิถีชีวิตของชาวโรมันเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปในเมืองเป็นหลักและเน้นการมีกิจกรรมร่วมกันในที่สาธารณะ กล่าวคือ ชาวโรมันนิยมอาบน้ำสาธารณะและการกีฬา ซึ่งกีฬาที่นิยมกันมากได้แก่การแข่งรถศึกที่ Circus Maximus และการต่อสู้แบบรุนแรงป่าเถื่อนระหว่างคนกับคน และคนกับสัตว์แบบกลาดิเอเตอร์ (Gladiator) ซึ่งจากการที่ชาวโรมันได้เล่นกีฬาและมีการบันเทิงเริงรมย์ร่วมกันก็ได้ส่งผลให้ชาวโรมันมีความรู้สึกแตกต่างหรือเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางชนชั้นน้อยมาก

39.       ถนนโรมันมีลักษณะใดโดดเด่น

1.   ถนนคอนกรีตมีหลายชั้น

2.   ถนนโค้งเป็นหลังเต่า มีรางระบายน้ำสองข้าง

3.   ถนนคอนกรีตฝังท่อระบายน้ำ

4.   ถนนคอนกรีตมีวงกลมทุกสี่แยก

ตอบ 2       หน้า 176 (คำบรรยาย) แบบอย่างการสร้างถนนโรมันนั้นจะเขียนแบบมาจากกรีกแต่ถนนโรมันจะ มีลักษณะโดดเด่น คือ จะทำถนนโค้งเป็นหลังเต่า มีรางระบายน้ำอยู่สองข้างถนน ก่อขอบด้วยอิฐและเทคอนกรีตโรมันลงไป ซึ่งระบบก่อสร้างแบบรูปโค้งนี้ต่อมาก็ได้พัฒนานำไปสร้างสะพานส่งน้ำขึ้น เพื่อส่งน้ำไปยังนครต่าง ๆ ของโรมัน

40.       ข้อใดแสดงว่าอาณาจักรมีอำนาจเหนือศาสนจักรในจักรวรรดิไบแซนไทน์

1.   ระบอบ Caesaropapism                                   

2.   ระบอบ Principate

 3.   ระบอบ lmperator                                                            

4.   ระบอบ Augustus

ตอบ 1       (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 218222) ประมุขของอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์จะปกครองประเทศด้วยความเข้มแข็งตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ถือว่าจักรพรรดิเป็นตัวแทนของพระเจ้า กล่าวคือ จักรพรรดิทรงมีอำนาจเหนือการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักรหรือเป็นผู้ใหญ่ทั้งทางโลกและทางธรรมตามระบอบที่เรียกว่า “Caesaropapism” ซึ่งมาจากคำว่า Caesar กับPope หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จักรพรรดิทรงมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และประมุขทางศาสนา ซึ่งแสดงว่าอาณาจักรมีอิทธิพลและอำนาจเหนือศาสนจักร

41.       ประมวลกฎหมายจัสติเนียนเป็นประมวลกฎหมายที่พัฒนาปรับปรุงมาจากกฎหมายใด

1.   กฎหมายโรมัน     

2.   กฎหมายคอนสแตนติน             

3.   กฎหมายฮัมมูราบี          

4.   กฎหมายบาบิโลน

ตอบ  1  หน้า 25370 (H), (คำบรรยาย) ประมวลกฎหมายจัสติเนียน เป็นประมวลกฎหมายที่พัฒนาปรับปรุงมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่กฎหมาย 12 โต๊ะและกฎหมายอื่นอีกที่กระจัดกระจายยากแก่การแก้ไข จึงได้นำมาปรับปรุงและรวบรวมตัวบทกฎหมายใหม่โดยประมวลกฎหมายจัสติเนียนประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 529 และถือเป็นประมวลกฎหมายแพ่งมีทั้งหมด 4 ภาค คือ   

1. ตัวบทกฎหมายแท้ ๆ  

2. ภาคผนวกของตัวบทกฎหมาย    

3. ความเห็นทางกฎหมายของนักนิติศาสตร์    

4. ตำรากฎหมายของนักศึกษา

42.       สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์มีอิทธิพลแบบตะวันออกโดยดูจากรูปแบบใด

1.   หลังคาแหลมโค้ง อาคารเพรียว                                     2.   หลังคาโดม นิยมประดับแก้ว

3.   อาคารเหลี่ยม นิยมมีระเบียงรอบ                   4.   มีอาคารทรงกลมติดอยู่กับอาคารทรงเหลี่ยม

             ตอบ 2       หน้า 253 รูปแบบสถาปัตยกรรมของไบแซนไทน์นั้นจะมีลักษณะผสมผสานหลายรูปแบบโดยโบสถ์ที่สวยงามมาก คือ โบสถ์เซนต์โซเฟีย ซึ่งสร้างในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน นับได้ว่าเป็นตัว อย่างอันดีของการผสมผสานระหว่างศิลปะภาคตะวันออก คือ หลังคาโดม และนิยมประดับประดาด้วยแก้ว บวกกับศิลปะภาคตะวันตก คือ ศิลปะโรมันแบบอาคารเหลี่ยมพร้อมกับการตกแต่งด้วยหินอ่อนและโมเสก นอกจากนี้ทรวดทรงภายนอกก็ยังงดงามตามศิลปะกรีกด้วย

43.       ชาวไร่ชาวนาในยุคกลางเพาะปลูกพืชหมุนเวียน โดยใช้ระบบอะไรในการใช้ที่ดิน

             1.   ระบบนาสาม                     2.   ระบบล้อมรั้ว 3.   ระบบนาเปิด      4.   ระบบนาเลื่อนลอย

             ตอบ 1       หน้า 23666 (H), (คำบรรยาย) การเกษตรในระบอบฟิวดัลของยุคกลาง จะใช้ระบบนาสาม (Three Fields System) คือ การแบ่งที่ดินเป็น 3 แปลง แต่มีการเพาะปลูกพืชหมุนเวียนเพียงคราวละ 2 แปลงส่วนอีกแปลงหนึ่งพักว่างให้ที่ดินฟื้นตัว ครั้นฤดูกาลต่อมาจึงใช้ที่ดินว่างฝืนนั้นแล้วปล่อยแปลงอื่นให้ว่างแทน ทำสลับกันเช่นนี้ทุกปีเพื่ออนุรักษ์ดินและเพิ่มผลผลิต

44.       ทาสประเภทใดที่นายทาสจะเอาไปซื้อขายไม่ได้

             1.   ทาสเชลย                            2.   ทาส                  3.   ทาสติดที่ดิน                   4.   ทาสมรดก

             ตอบ 3       หน้า 228 (คำบรรยาย) ในสังคมยุคกลางถือว่าทาสเป็นอวิญญาณทรัพย์ คือ สามารถซื้อขายและยกเป็นมรดกตกทอดได้ ซึ่งต่างไปจากทาสติดที่ติน (Serfs) ที่เป็นชนชั้นพื้นฐานล่างสุดของสังคมเพราะทาสชนิดนี้จะไม่มีอิสรภาพ ซื้อขายไม่ได้ และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของทาสติดที่ดินก็ยังคงอาศัยอยู่ที่เดิมโดยที่เจ้า (Lord) ไม่สามารถขับไล่ออกไปได้

45.       ข้อใดแสดงบทบาทอาณาจักรมิให้ศาสนจักรปกครองตนเอง

             1.   การออกฎหมายปกครองศาสนจักร                                               2.   การเกณฑ์พระเป็นทหาร

             3.   รัฐแทรกแซงและบังคับบัญชาพระ                                              4.   การตั้งศาลศาสนา

             ตอบ 3       หน้า 260 – 261, (คำบรรยาย) ในยุคกลางอันรุ่งเรืองได้เกิดการแข่งขันกันระหว่างอาณาจักรกับศาสนจักร ซึ่งความขัดแย้งส่วนใหญ่มักจะมาจากทางฝั่งอาณาจักรที่ไม่ต้องการให้ศาสนจักรได้ปกครองตนเอง ดังนั้นรัฐจึงพยายามแทรกแซงและบังคับบัญชาพระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การใช้อิทธิพลและอำนาจเข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญของคริสตจักรทั้งนี้เพราะอาณาจักรถือว่าศาสนจักรเป็นเพียงฐานสนับสนุนอำนาจของกษัตริย์ และกษัตริย์จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งทุกตำแหน่งในศาสนจักร

46.       เมื่อสิ้นยุคกลาง อาวุธอะไรที่มีพลานุภาพจนสามารถเป็นพลังอำนาจแห่งชาติได้

             1.   ปืนใหญ่                 2.   ปืนคาร์ไบน์                3.   ระเบิดดาวกระจาย                        4.   ทุ่นระเบิด

             ตอบ 1       (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 460 – 461) เมื่อสิ้นยุคกลาง อำนาจของกษัตริย์แห่งรัฐชาติเจริญมั่นคงขึ้นแทนที่อำนาจของศาสนจักรและขุนนางในระบอบฟิวดัลทีเสื่อมลง โดยปัจจัยที่ส่งเสริมอำนาจของกษัตริย์ก็คือ การปฏิวัติเทคโนโลยีทางการทหาร เมื่อมีการประดิษฐ์ปืนใหญ่ขึ้นใช้ ซึ่งถือเป็นอาวุธที่มีพลานุภาพจนสามารถเป็นพลังอำนาจแห่งชาติได้ โดยชาติใดที่ครอบครองปืนใหญ่มากก็จะทำให้ชาตินั้นกลายเป็นมหาอำนาจได้

47.       ออตโตมัน เตอร์ก สามารถควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกไว้ได้ด้วยเหตุใด

             1.   เพราะเป็นใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน                        2.   เพราะพิชิตอิตาลีซึ่งเป็นศูนย์การค้า

             3.   มีวิทยาการการค้าและธุรกิจเหนือกว่าชาวยุโรป             

             4.   เพราะเชี่ยวชาญการเดินเรือค้าขายมากที่สุด

             ตอบ 1       หน้า 256, (คำบรรยาย) ในยุคกลางหลังจากที่กลุ่มมุสลิมออโตมัน เตอร์ก สามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453 แล้ว ก็ได้รุกรานต่อไปยังเอเชียตะวันออกจนกลายเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลเป็นใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสามารถควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกไว้ได้ทั้งหมด ส่งผลให้ชาวยุโรปต้องแสวงหาดินแดนใหม่ เพื่อขยายเส้นทางการค้าสู่ตะวันออกอีกครั้งหนึ่ง

48.       เมื่อยุโรปมีการพัฒนาก่อเกิดประเทศชาติขึ้นในตอนกลางของยุคกลาง ทั้งอาณาจักรและศาสนจักรส่งเสริมการศึกษาด้วยจุดประสงค์ใด

             1.   ต้องการนักบริหารทรงคุณวุฒิ                                       2.   ต้องการให้ประชาชนมีความรู้

             3.   ต้องการให้ประชาชนเรียนรู้หนังสือ                           4.   ต้องการเผยแผ่ศาสนาโดยสื่อการศึกษา

             ตอบ 1       (คำบรรยาย) ในตอนกลางของยุคกลาง เมื่อยุโรปมีการพัฒนาก่อเกิดประเทศชาติขึ้นนั้นทั้งฝ่ายอาณาจักรคือ กษัตริย์และขุนนาง และฝ่ายศาสนจักรคือ พระหรือนักบวช ได้ส่งเสริมการศึกษาโดยมีการสนับสนุนให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาทุกระดับจนกระทั่งถึงระดับมหาวิทยาลัย เพราะต้องการนักบริหารที่ทรงคุณวุฒิและมีการศึกษาสูงเข้ามาทำงานในระบบราชการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่จัดตั้งสถาบันการศึกษาก็ได้แก่ วัด สมาคมชมรม และสมาคมอาชีพ เป็นต้น

49.       เหตุใดมหาวิหาร (Cathedrals) ส่วนใหญ่จึงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมหลายแบบซ้อนอยู่

             1.   เพราะสร้างหลายยุคสมัยต่อเนื่องกันมา           2.   เพราะผู้สร้างต้องการให้ยุคต่อมาสานต่อ

             3.   สร้างหลายครั้งเพราะมีงานก่อสร้างไม่พอ    4.   เพราะผู้สร้างมีรสนิยมเหมือนกันจึงมีหลายแบบ

             ตอบ  1      (คำบรรยาย) ในตอนปลายของยุคกลางนั้น บรรดานครต่าง ๆ มักจะนิยมแข่งกันสร้างมหาวิหาร (Cathedrals) ให้ใหญ่ที่สุด สวยที่สุด และสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อแสดงความมั่งคั่งและวัฒนธรรมอันสูงส่งของแต่ละนครนั้น ๆ ทั้งนี้มหาวิหารส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างเสร็จภายในคราวเดียว แต่จะสร้างหลายยุคหลายสมัยต่อเนื่องกันมา จึงทำให้มหาวิหารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมหลายแบบซ้อนกันอยู่

50.       การสร้างอาคารด้วยหิน มีขนาดใหญ่หนาหนัก มีหน้าต่างเล็ก ๆ นั้น เป็นความนินมรูปแบบ สถาปัตยกรรมใดของยุคกลาง         

             1.   Gothic                 2.   Neo-Classic                    3.   Romanesque 4.   Baroque

             ตอบ 3       หน้า 313326 – 327 ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque) เป็นสถาปัตยกรรมยุคกลางในสมัยที่มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระ โดยมีลักษณะเด่น คือ มีเพดานและหลังคาหินโค้งเหมือนประทุนเกวียนและโดมเป็นหัวใจในการก่อสร้าง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากไบแซนไทน์และโรมัน นอกจากนี้วิหารและโบสถ์ยังมีขนาดใหญ่หนาทึบและคงทน มีสิ่งก่อสร้างด้วยหินโค้งกลม เสาและกำแพงหนาหนัก มีหน้าต่างเล็ก ๆ ทำให้ภายในวิหารค่อนข้างมืดจนดูเหมือนอยู่ในป้อมปราการมากกว่า

51.       ในยุคกลางมีความนิยมแบบแผนการศึกษาใดที่ขึ้นชื่อโดดเด่น

1.   Neo-Classicism และ Realism                                         

2.   Platoism และ Sophistism

3.   Scholasticism และ Skepticism                                      

4.   Sur-Realism และ Skepticism

ตอบ 3       หน้า 310 – 311326 (คำบรรยาย) แบบแผนการศึกษา ในยุคกลางที่ได้รับความนิยมขึ้นชื่อโดดเด่นมี 2 ปรัชญา คือ 

1. สกอลัสติก (Scholasticism) เป็นปรัชญาที่ไม่ส่งเสริมการคิดค้นหรือการทดลองใหม่แต่จะเน้นการเลียนแบบหรือว่าตามครูไปทุกๆ อย่าง รวมทั้งเริ่มมีการอ่านหนังสือของพวกนอกศาสนา เช่น อริสโตเติล ซึ่งช่วยสร้างความคิดเฉียบคม โดยการใช้หลักเหตุผลเชิงตรรกศาสตร์        

2. สเคปติซิสม์ (Skepticism) เป็นปรัชญาที่สอนไม่ให้เชื่อสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ แต่จะเน้นการศึกษาด้วยวิธีการซักถาม ซึ่งทำให้มนุษย์มีโอกาสคิดและแสดงออกอย่างเสรี

52.       การพัฒนากฎหมาย การศาล และการคลัง เป็นการพัฒนาในปลายยุคกลางเพื่อการปกครองแบบใด

1.   ระบอบราชาธิปไตย

2.   ระบอบประชาธิปไตย

3.   ระบอบสาธารณรัฐ

4.   ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์

ตอบ 1 หน้า 293, (คำบรรยาย) ในปลายยุคกลางระบอบกษัตริย์แบบฟิวดัลล่มสลายไป ทำให้กษัตริย์เพิ่มพระราชอำนาจขึ้นมาใหม่และสามารถสถาปนารัฐชาติ (Nation States) ขึ้นมาได้ จึงมีการพัฒนาไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่รวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง โดยมีการจัดตั้งระบบราชการขึ้นมา และเน้นความสำคัญของการพัฒนากฎหมาย การศาล และการคลังซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศชาติ

53.       ที่ว่าจักรพรรดิชาร์เลอมาญทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดินั้นหมายความว่าอะไร

1.   จักรพรรดิทรงเป็นเทวราช

2.   พระเป็นเจ้าเห็นชอบโปรดให้จักรพรรดิปกครอง

3.   จักรพรรดิทรงอวตารมาจากพระเป็นเจ้า

4.   สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งจักรพรรดิ

ตอบ 4 หน้า 218 – 220319 – 32063 (H) ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมากที่สุดของราชวงค์คาโรแลงเจียน และถือว่าทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดิทั้งนี้เพราะพระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 เพื่อสถาปนาให้ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งราชอาณาจักรโรมันอันศักดิสิทธิ์  (The Holy Roman Empire) ในปี ค.ศ. 800 ทั้งนี้ผลงานที่สำคัญของพระองค์คือ สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทรงส่งเสริมการศึกษา กำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญ และกำหนดมาตราวัด

54.       เหตุการณ์ใดที่แสดงว่าอาณาจักรสามารถบังคับบัญชาศาสนจักรได้ในปลายยุคกลาง

1.   จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 เข้าเฝ้าพระสันตะปาปา

2.   สมเด็จพระสันตะปาปาถวายพระมหามงกุฎแด่จักรพรรดิในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

3.   สมเด็จพระสันตะปาปาหลายองค์ประทับที่เมืองอาวิญยอง

4.   สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งกษัตริย์

ตอบ 3หน้า 300 – 30380 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง (Babylonian Captivity ค.ศ. 1305 – 1377) เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับพวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงบาบิโลนในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาก็พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลานานถึง 70 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรสามารถบังคับบัญชาศาสนจักรได้ ทำให้สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนสันตะปาปา จนทำให้สันตะปาปามิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

55.       ประเทศใดในยุโรปในปลายยุคกลางที่ไม่มีองค์กรผู้แทนชนชั้นของทั้งประเทศ

 1.   สเปน

2.   เยอรมนี

3.   อังกฤษ

4.   ฝรั่งเศส

ตอบ 4       (คำบรรยาย) ประเทศฝรั่งเศสในปลายยุคกลางจะไม่มีองค์กรผู้แทนชนชั้นของทั้งประเทศมีแต่องค์กรระดับมณฑลที่เรียกว่า สภาฐานันดร (Estates-General) ซึ่งมี 3 ระดับ คือ

1. พระ เป็นเจ้าเหนือหัวทางจิตวิญญาณ                         

2. ขุนนาง เป็นเจ้าเหนือหัวทางโลก

3. สามัญชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวเมือง

56.       เมื่อปิดฉากยุคกลาง ประเทศใดมีระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งมีความหมายแท้จริง

1.   สเปน

2.   อังกฤษ

3.   ฝรั่งเศส

4.   เนเธอร์แลนด์

ตอบ 2 หน้า 275 – 27875 – 76 (H), (คำบรรยาย) เมื่อสิ้นยุคกลาง ระบบรัฐสภาของอังกฤษถือเป็นระบบองค์กรผู้แทนชนชั้นซึ่งมีความเข้มแข็งและมีความหมายแท้จริง โดยรัฐสภา (Parliament) ของอังกฤษประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาขุนนาง (House of Lords) และสภาสามัญชน (House of Commons) ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องภาษี นิติบัญญัติ และการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์

57.       องค์กรใดของฝรั่งเศสที่มีลักษณะเป็นองค์กรผู้แทนใกล้เคียงกับ Parliamet ของอังกฤษในปลายยุคกลาง

1.   Parlements                         

2.   Estates-General                             

3.   Cortes                              

4.   Diet

ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 55. และ 56. ประกอบ

58.       Magna Carta มีหลักการอะไรสำคัญยิ่ง                                                             

1.   การปกครองโดยทุกชนชั้น

2.   ทุกชนชั้นอยู่ใต้กฎหมาย                 

3.   ความเสมอภาคและภราดรภาพ

4.   การจัดตั้งศาลสูงสุด

ตอบ 2       หน้า 27575 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยมีหลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอำนาจของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทำด้วยความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภาของอังกฤษ

59.       แม้จะเป็นจักรวรรดิ แต่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีระบบการปกครองแบบใดแท้จริง

1.   ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์

2.   ระบอบสาธารณรัฐ

3.   ระบบทรราชย์     

4.   ระบอบราชาธิปไตย

ตอบ 4       (คำบรรยาย) ระบอบราชาธิปไตยในจักรวรรดิโรมันจะมี 3 รูปแบบ คือ

1.   แบบจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์ ซึ่งเป็นระบอบที่จักรพรรดิทรงมีอำนาจเหนือการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักรที่เรียกว่า “Caesaropapism” 

2.   แบบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นระบอบที่ขุนนางมีอำนาจและมักจะประสานกับสันตะปาปาเป็นสำคัญ

3. ระบอบราชาธิปไตยแบบที่กษัตริย์นั้นแข่งขันอำนาจกับพวกขุนนางและพระ

60.       ในยุคกลางมีชนชั้นใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญโดดเด่น

1.   พระและชาวนา

2.   พ่อค้าและขุนนาง

3.   นักบวชและขุนนาง

4.   นักรบและชาวนา

ตอบ 3       หน้า 304 – 305, (คำบรรยาย) การแบ่งชนชั้นในยุคกลางนั้นจะเป็นการแบ่งตามบทบาทหน้าที่ในสังคม ซึ่งมีอยู่ 3 ชนชั้น คือ

1. พระหรือนักบวชเป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม มีหน้าที่สำคัญในการสวดมนต์และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ประชาชนทำให้พระกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ประชาชนต้องเสียภาษีให้และต้องปฏิบัติตามคำสั่ง

2. ขุนนาง เป็นอภิสิทธิ์ชน มีหน้าที่ร่างกฎหมายและระเบียบคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า

3. สามัญชน เป็นพวกไร้อภิสิทธิ์มีหน้าที่ใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และช่างฝีมือ

61.       อะไรคือลักษณะเด่นของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

1.   การศึกษาศิลปะอียิปต์                                                                      

2.   วรรณกรรมวิจารณ์

3.   การศึกษาศิลปวิทยาการกรีกและโรมัน                                        

4.   การศึกษาศิลปกรรมกรีกและโรมัน

             ตอบ 3       หน้า 356-35892(H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) คือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือเป็นการศึกษาศิลปวิทยาการกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งในทางโลกจะเน้นที่งานศิลป์ แต่ในส่วนของมนุษยนิยมจะเน้นที่งานวรรณกรรม ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้ก่อให้เกิดผลงานทั้งทางด้านศิลปะ การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และการกำเนิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

62.       ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีการเผยแพร่ศิลปวิทยาการโดยใช้อะไรเป็นสื่อสำคัญ

             1.   การพิมพ์                2.   การสอน                       3.   ถูกข้อ 1 และ 2                  4.   การบอกเล่า

             ตอบ 1       หน้า 355 – 357372 – 375 ผลจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ได้แก่ 1. เกิดวรรณคดีซึ่งให้ความสนใจในเรื่องมนุษยนิยม (Humanism)  2. เกิดการปกครองในระบอบราชาธิปไตย  3. เกิดการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ซึ่งเทคโนโลยีการพิมพ์นี้ทำให้มีการเผยแพร่ศิลปวิทยาการได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น   4.เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์   5.เกิดการปฏิรูปศาสนา ฯลฯ

63.       ในศตวรรษที่ 17 เหตุใดวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปจึงไม่ก้าวหน้า

             1.   ศาสนจักรขัดขวางการสอน                                            2.   ขาดเครื่องมือที่จะสังเกตและคำนวณ

             3.   รัฐไม่สนับสนุนการวิจัย                                  4.   ภาวะจลาจลทำให้ไม่สนใจวิทยาศาสตร์

             ตอบ 2       หน้า 373, (คำบรรยาย) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (ระหว่างปี ค.ศ. 1500 – 1700) ที่เกิดขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้น แสดงให้เป็นว่าคนเริ่มมีความสนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อพยายามที่จะเข้าใจธรรมชาติและค้นหากฎของธรรมชาติ แต่ทั้งนี้วิทยาศาสตร์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการก็ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะขาดเครื่องมือที่จะใช้ในการสังเกตและคำนวณ

64.       ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 การพิสูจน์และการตั้งทฤษฎีมีวิธีการใดเป็นพื้นฐาน

             1.   การคำนวณ           2.   การสืบค้นวิธีการพิเศษ               3.   การตั้งข้อสมมุติฐาน          4.   การทดลอง

             ตอบ 3       หน้า 37339597 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ของยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่นั้นเป็นการปฏิวัติที่อาศัยการสังเกต ประสบการณ์ และการทดลองเป็นเครื่องมือหลัก โดยวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเริ่มต้นมาจากการตั้งข้อสมมุติฐานเป็นพื้นฐานก่อน แล้วจึงแสวงหาข้อมูลเพื่อที่จะทดลองและพิสูจน์ข้อสมมุติฐานนั้นเป็นจริงตามที่พิสูจน์ก็จะมีการตั้งขึ้นเป็นทฤษฎี และถ้าหากทฤษฎีเป็นที่ยอมรับมากขึ้นตามลำดับ ทฤษฎีนั้นก็จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ

65.       การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นไปได้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โดยอาศัยอะไร

             1.   วิทยาศาสตร์                       2.   เทคโนโลยี                      3.   การค้า                              4.   ถูกข้อ 1 และ 2

             ตอบ 3       หน้า 343 – 344, (คำบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่อเนื่องหลายประการคือ 1. การปฏิวัติทางการค้าได้ทำให้เกิดชนชั้นนายทุนที่แสวงหาผลกำไรมากขึ้นเรื่อย ๆ    2. ลัทธิพาณิชย์ชาตินิยมส่งเสริมให้มีการป้องกันอุตสาหกรรมขนาดเล็กและเพิ่มผลผลิตเพื่อส่งเป็นสินค้าออก   3. ตลาดต้องการสินค้าจำนวนมาก และสินค้าบางชนิดก็มีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้มีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตสินค้าอย่างรวดเร็วและให้ได้ปริมาณมากขึ้น ฯลฯ

66.       กำลังพลังงานใดที่ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งยุควิทยาศาสตร์

             1.   ทองคำ                                2.   ถ่านหิน                           3.   เครื่องจักร                       4.   แก๊ส

             ตอบ 4       (คำบรรยาย) ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ได้นำไปสู่การพัฒนากำลังและพลังงานที่สำคัญคือไฟฟ้า แก๊ส น้ำ น้ำมัน แล้วจึงได้พัฒนามาเป็นการใช้เครื่องจักรซึ่งถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งยุค                วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องจักรไอน้ำถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง จนอาจกล่าวได้ว่ายุโรปครองโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้เพราะเครื่องจักรไอน้ำมากกว่าอย่างอื่น

67.       การปฏิวัติอุตสาหกรรมมุ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำมาหากินแบบเดิมอะไร       

             1.   เศรษฐกิจพอเพียง                                                             2.   การเกษตรเพื่อการค้า                   

             3.   ระบบศักดินาสวามิภักดิ์                                  4.   เศรษฐกิจการเกษตร

             ตอบ 4       หน้า 494561 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จากสังคมเกษตรกรรมและการค้าแบบเก่ามาเป็นสังคมอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนและสัตว์ โดยมีการพัฒนารูปแบบของกำลังใหม่ ๆ คือ น้ำ ไอน้ำ ไฟฟ้า น้ำมัน และพลังงานปรมาณู นอกจากนี้ยังมีการผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมืองด้วย

68.       ชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ ถือกำเนิดมาจากอะไร

             1.   สังคมยุคกลาง                    2.   การค้าขาย                       3.   ลัทธิทุนนิยมผูกขาด                      4.   โรงงาน

             ตอบ 4       หน้า 494 – 495499124 (H), (คำบรรยาย) ระบบโรงงานอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างระหว่างชนชั้นมีมากขึ้น คือ 1. ชนชั้นนายทุน หรือชนชั้นกลางส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะดี และเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจึงเป็นผู้กุมอำนาจทางสังคม   2. ชนชั้น           กรรมาชีพ หรือผู้ใช้แรงงาน เป็นชนชั้นที่ยากจน และจำเป็นต้องอาศัยค่าแรงงานเป็นเครื่องยังชีพจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกนายทุน

69.       ข้อใดแสดงว่าการเมืองการปกครองเดิมมีความเจริญทันสมัยในปลายยุคกลาง

             1.   มีระบบกงสุล องค์กรผู้แทนและการศาล     2.   มีระบบทรราชย์ องค์กรผู้แทนและการศาล

             3.   มีระบอบราชาธิปไตย กองทัพและการศาล

             4.   มีระบบราชการ การศาล การจัดเก็บภาษี และการมีองค์กรผู้แทนประชาชน

             ตอบ 4       (คำบรรยาย) ตั้งแต่ยุคกลางในปี ค.ศ. 1100 เป็นต้นมาจนถึงสมัยปลายยุคกลางนั้นสิ่งที่แสดงว่าการเมืองการปกครองในยุโรปเริ่มมีความเจริญและทันสมัย คือ การมีระบบราชการ มีระบบการศาลที่         มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยการส่งผู้พิพากษาไปตรวจราชการ มีระบบการจัดเก็บภาษีและการมีองค์กรผู้แทนประชาชน

70.       เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุข ระเบียบแบบแผนและความมั่นคงปลอดภัย ชาวยุโรปในต้นยุคใหม่ต้องการ

             ปกครองระบอบใด                                

             1.   ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์                                                2.   ระบอบราชาธิปไตย                                     

             3.   ระบอบทรราชย์                                                                4.   ระบอบประชาธิปไตย

             ตอบ 2       หน้า 332 – 335402105 (H), (คำบรรยาย) ชาวยุโรปในต้นยุคใหม่จะต้องการการปกครองในระบอบราชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ กษัตริย์จะมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาด เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุข ระเบียบแบบแผนและความมั่นคงปลอดภัยโดยกษัตริย์ทรงได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางในการปราบปราม      ขุนนางและศาสนจักรให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจ ซึ่งเป็นผลให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์สิ้นสุดลง

71.       ในต้นยุคใหม่ ชนชั้นใดมีบทบาทสำคัญในการล้มล้างระบอบศักดินาสวามิภักดิ์

1.   ชนชั้นสูง              

2.   สามัญชน                     

3.   ชนชั้นกลาง                   

4.   ชนชั้นทาส

ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72.       ในศตวรรษที่ 18 ระบอบเก่าในยุโรปหมายถึงระบอบอะไร                                         

1.   ระบอบทรราชย์                                                                

2.   ระบอบประชาธิปไตย                 

3.   ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

4.   ระบอบกงสุล

ตอบ 3       หน้า 455461, (คำบรรยาย) การปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 เป็นการต่อต้านเพื่อล้มระบอบเก่า คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบการปกครองแบบรวมอำนาจที่กษัตริย์ทรงใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขต นอกจากนี้พวกอภิสิทธิ์ชน (ชนชั้นสูง) ยังเอารัดเอาเปรียบคนจน จนทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทางการเมืองและสังคม ซึ่งเป็นเหตุให้ชนชั้นกลางออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิมนุษยชนและหน้าที่อันเท่าเทียมกันในสังคมและต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อเปลี่ยนการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

73.       ชนชั้นใดอุปถัมภ์ศิลปวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

             1.   สามัญชนและพ่อค้า                                                         2.   พ่อค้าและช่างศิลป์

             3.   ชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง                                             4.   ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางระดับสูง

             ตอบ 3       หน้า 357 – 35892 (H), (คำบรรยาย) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้รับการอุปถัมภ์จากชน 2 กลุ่ม คือ  1. ชนชั้นสูง ซึ่งเกิดจากการที่รัฐต่าง ๆ มั่งคั่งจากการค้า และมีเสรีภาพมากสามารถสนับสนุนให้กำลังใจแก่นักปราชญ์ นักประพันธ์ ช่างฝีมือ และช่างศิลป์    2. ชนชั้นกลาง ซึ่งร่ำรวยจากอาชีพการค้า ต้องการมีชีวิตที่มีความสุขและอยากจะมีรสนิยมสูงทำ                      ให้มีการส่งเสริมศิลปะจนนำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

74.       ลัทธิมนุษยธรรมนิยม สอนให้นิยมเทิดทูนอะไร

             1.   ธรรมชาติและปรัชญา                                                     2.   ธรรมชาติและมนุษย์    

             3.   มนุษย์และปรัชญา                                                            4.   มนุษย์และศาสนา

             ตอบ 2       หน้า 35795 (H), (คำบรรยาย) ปรัชญาที่เด่นและมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือ  มนุษยธรรมนิยม หรือมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งมีความหมายกว้าง ๆ ถึง การเทิดทูนมนุษย์และธรรมชาติมากกว่าเทพเจ้าหรือเรื่องของโลกอื่น” หรืออาจตีความในวงแคบว่า เป็นความกระหือรือร้นสนใจในข้อเขียนสมัยคลาสสิกที่เน้นความสนใจในเรื่องของมนุษย์เป็นสำคัญ”  ซึ่งความหมายอันนี้เป็นการตีความหมายในชั้นแรกของพวกที่เริ่มการฟื้นฟูศิลปวิทยา

75.       ตั้งแต่ปลายยุคกลาง คริสตจักรตกเป็นเป้าแห่งการวิจารณ์เรื่องใดเป็นสำคัญ            

             1.   การประพฤติผิดวินัย                                                        2.   การแตกแยกนิกาย

             3.   การขัดแย้งกับพระสันตะปาปา                                      4.   การจัดตั้งกองทัพ

             ตอบ 1       หน้า 37797 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุทางสังคมที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาตั้งแต่ปลายยุคกลาง  มีดังนี้ 1. มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการฉ้อฉลและความประพฤติที่ผิดวินัยผิดศีลธรรมของพระหรือคณะนักบวชกับเจ้าหน้าที่ศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด เช่น การซื้อขายตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ของพระที่เรียกว่า “Nepotism” 2. การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป 3. ถูกโจมตีจากนักมนุษยนิยมว่า มนุษย์ควรสนใจโลกนี้มากกว่าโลกหน้า

76.       การปฏิรูปศาสนาเป็นผลมาจากกระบวนการอะไร

             1.   การปฏิวัติวิทยาศาสตร์                                                     2.   การปฏิวัติการค้า

             3.   การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ                                   4.   การปฏิวัติอุตสาหกรรม

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

77.       เหตุใดการปฏิรูปศาสนาจึงนำไปสู่สงครามกลางเมือง

             1.   ความขัดแย้งว่าด้วยการบูชารูปเคารพ          

             2.   ความพยายามที่จะให้ทั้งประเทศถือศาสนานิกายเดียวกัน

             3.   ความพยายามที่จะให้กษัตริย์ถือศาสนานิกายเดียวกันกับราษฎร

             4.   ความพยายามของอาณาจักรที่จะแต่งตั้งพระสันตะปาปาเอง

             ตอบ 2       หน้า 386101 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในตอนต้นศตวรรษที่ 16 เป็นการปฏิรูปตัวบุคคล(นักบวช) และตัวสถาบัน (คริสตจักร) ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปหลักธรรมและหลักปฏิบัติให้มีหลักขันติธรรมในการนับถือ แต่การปฏิรูปก็ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นเรื่องของการเมือง โดยมีสาเหตุมาจากความพยายามที่จะให้ทั้งประเทศนับถือศาสนานิกายเดียวกัน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐต่าง ๆ ขึ้น จนเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 17 จึงได้มีการประกาศยุติปัญหาความแตกแยกของคริสตจักร คือ การประกาศให้ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกาย คือ นิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้

78.       ข้อใดแสดงการยุติปัญหาความแตกแยกของคริสตจักรเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 17

             1.   พระสันตะปาปาทรงครองราชย์ในยุโรป 

             2.   การประกาศให้ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกายได้

             3.   คำประกาศสิทธิมนุษยชน                          4.   คำประกาศสิทธิโดยธรรมชาติ

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79.       ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปใช้ประโยชน์อเนกอนันต์ของวิทยาศาสตร์และหลักเหตุผลเพื่ออะไร

             1.   เพื่อรอดพ้นจากอำนาจศาสนจักร                  2.   เพื่อสร้างความเจริญ

             3.   เพื่อแสวงหาสัจธรรมสูงสุด                                            4.   เพื่อหวนคืนสู่ธรรมชาติ

             ตอบ 2       หน้า 521, (คำบรรยาย) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปใช้ประโยชน์อเนกอนันต์ของวิทยาศาสตร์และหลักเหตุผลเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า นอกจากนี้ยังนับเป็นการปฏิวัติทางปัญญาที่สำคัญที่ผู้ได้รับการศึกษาในทุกหนแห่งจะมีทัศนคติต่อจักรวาลและมนุษย์แบบใหม่ คือ การไม่ยอมรับความคิดใดง่าย ๆ จนกว่าจะตั้งข้อสงสัยและซักถามก่อน ดังนั้นจึงเริ่มมีลัทธิสัจนิยมและวัตถุนิยม ซึ่งถือเป็นรูปแบบของสมัยใหม่อย่างแท้จริง

80.       ข้อใดคือผลของกระบวนการสร้างความเจริญและทันสมัยเมื่อถึง ค.ศ. 1914

             1.   ยุโรปสร้างยุโรปสองในอเมริกา                    2.   กระบวนการนาครธรรมในยุโรป

             3.   ยุโรปมีอำนาจและมั่งคั่งที่สุดในโลก           

             4.   สงครามโลกระหว่างลัทธิทุนนิยมกับลัทธิคอมมิวนิสต์

             ตอบ 3       (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 520 – 521), (คำบรรยาย) เมื่อถึงปี ค.ศ. 1914 ผลของกระบวนการสร้างความเจริญและทันสมัยนั้น ทำให้ยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและความมั่งคั่งที่สุดในโลก เพราะยุโรปเป็นทวีปแรกที่มีการพัฒนาทั่วไปให้เจริญทันสมัยก่อนทวีปอื่น ๆ ทั้งหมด ซึ่งกระบวนการพัฒนาให้เจริญและทันสมัยจะปรากฏในด้านการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติทางการเมืองตามลำดับ

81.       ข้อใดคือหลักการเบื้องต้นของลัทธิเสรีนิยม

1.   การต่อสู้ระหว่างชนชั้น                  

2.   การปกครองที่ใช้กฎหมาย คือ อนาธิปไตย

3.   การรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง                        

4.   ความต้องการลัทธิเสรีภาพและความเสมอภาค

             ตอบ 4       หน้า 479490499, (คำบรรยาย) หลักการเบื้องต้นของลัทธิเสรีนิยมเมื่อมีการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 19  ได้แก่ ความต้องการสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคตามกฎหมาย และเรียกร้องการปกครองโดยมีผู้แทน นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้ล้มเลิกระบบผูกขาดทางการค้า และใช้นโยบายการค้าเสรี (Laissez-Faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี คือ การที่รัฐบาลไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงทางด้านเศรษฐกิจ

82.       ใน ค.ศ. 1688 การปฏิวัติในอังกฤษทำให้เกิดผลอะไร                                   

             1.   พระราชอำนาจเด็ดขาดมั่นคง                                        2.   ระบบรัฐสภามีอำนาจสูงสุด       

             3.   กษัตริย์ในสภาขุนนาง                                                     4.   การสถาปนาจักรภพอังกฤษ

             ตอบ 2       หน้า 417108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรืองในอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้

1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลงและเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบรัฐสภาซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ    2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด 3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น     4. กษัตริย์จะประกาศสงครามจัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน

83.       การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 เป็นความพยายามสร้างการปกครองที่มีอะไรเป็นองค์ประกอบหลัก  

             1.   ระบบการปกครองมีกษัตริย์เหนือกฎหมาย                  2.   ระบบการปกครองมีรัฐธรรมนูญ

             3.   ระบบการปกครองมีชนชั้นสูงเป็นใหญ่           4.   ระบบการปกครองมีชนชั้นกรรมาชีพเป็นใหญ่

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

84.       การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 มีหลักการอะไรเป็นสำคัญ

             1.   การค้าเสรี           2.   สิทธิมนุษยชน               3.   เชิดชูกษัตริย์                   4.   ประชาธิปไตยยูโทเปีย

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

85.       การชุมนุมแสดงออกทางการเมืองในโลกปัจจุบัน ส่วนใหญ่เรียกร้องหลักการอะไรของประเทศใด

             1.   การต่อสู้ระหว่างชนชั้นของเยอรมนี            2.   การประกอบการอิสระ

             3.   ความเป็นธรรมของสังคม                               4.   อิสรเสรี เสมอภาค และภราดรภาพของฝรั่งเศส

             ตอบ 4       หน้า 447114 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ได้ส่งผลให้มีการเผยแพร่แนวความคิดของการปฏิวัติออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรปโดยเฉพาะคัมภีร์ของการปฏิวัติใหญ่ ในฝรั่งเศส ได้แก่ คำขวัญที่ว่า อิสรภาพ (Liberty) เสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity)” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักการที่แพร่หลายและปรากฏในการปฏิวัติทางการเมืองทุกหนแห่งในโลกปัจจุบัน

86.       การปฏิวัติฝรั่งเศสทำให้เกิดการปฏิวัติโดยชนชั้นใดในศตวรรษที่ 19

             1.   ชนชั้นสูง           2.   ชนชั้นสามัญ                  3.   ชนชั้นพระ                     4.   ชนชั้นกลาง

             ตอบ 4       หน้า 461 – 462114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบอภิสิทธิ์และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการปฏิวัติทางการเมืองของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 (ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ)

87.       นักเสรีนิยมเรียกร้องต้องการอะไรเป็นเบื้องต้นในการปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19

             1.   ล้มล้างสมาคมการค้า                        2.   ล้มเลิกระบบผูกขาดการค้า          3.   สิทธิยับยั้งกฎหมาย    

             4.   ล้มเลิกอภิสิทธิ์

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

88.       ความขัดแย้งทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 เป็นความขัดแย้งเรื่องอะไร

             1.   ระดับขั้นตอนของสิทธิเสรีภาพและรูปแบบการปกครอง 

             2.   สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และเจตจำนงส่วนรวม

             3.   วิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดี                        4.   รัฐสภามีอำนาจมากเกินไป

             ตอบ 1       หน้า 472477 – 479118 (H) (คำบรรยาย) ในศตวรรษที่ 19 ความขัดแย้งทางการเมืองในยุโรปเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมใน 2 ประเด็น คือ

1.   รูปแบบการปกครอง คือ ฝ่ายเสรีนิยมเรียกร้องการรวมชาติเพื่อการปกครองระบอบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะต่อสู้เพื่อรักษาระบอบเก่า คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2.   ระดับขั้นตอนของสิทธิเสรีภาพ คือ ฝ่ายอนุรักษนิยมต้องการที่จะฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ตามระบอบเก่า ซึ่งเป็นระบอบที่ขัดขวางสิทธิหน้าที่มนุษยชน ในขณะที่ฝ่ายเสรีนิยมเรียกร้องเสรีภาพและความเสมอภาค โดยเฉพาะสิทธิร่วมทางการเมือง

89.       ตามระบอบเก่าของศตวรรษที่ 18 กบฏประชาชนถือว่าเป็นอะไร

1.   ทรยศต่อรัฐ

2.   สิทธิชอบธรรม

3.   ทรยศต่อฟ้าดิน

4.   ผิดบาปใหญ่หลวง

ตอบ 4       หน้า 402 – 403, (คำบรรยาย) ตามระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17 – 18 กษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งลงมาปกครองมนุษย์และทรงได้รับอำนาจเทวสิทธิ์มาจากพระเจ้า ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ดังนั้นประชาชนจึงไม่มีสิทธิที่จะปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง เพราะถ้าหากคิดล้มกษัตริย์จะถือว่าเป็นความผิดและเป็นบาปใหญ่หลวง นอกจากนี้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังถือว่าความคิดริเริ่มของผู้ปกครอง คือ นโยบายแห่งรัฐ พระราชสำนักเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลกลาง และมี            กฎหมายสนองตอบที่ให้คุณให้โทษแก่บรรดาขุนนางและข้าราชการทั้งหลาย

90.       เหตุใดประชาชนทั่วไปส่งเสริมให้มีการสร้างระบอบการปกครองใหม่ในต้นยุคใหม่

1.   ไม่นิยมเจ้า

2.   ไม่นิยมพ่อค้า

3.   ไม่นิยมชนชั้นกลาง              

4.   ไม่นิยมพระและขุนนาง

ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

91.       ระบอบเก่าเป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจแบบใดในศตวรรษที่ 18

1.   รวมอำนาจ         

2.   กระจายอำนาจ               

3.   กึ่งรวมอำนาจ                 

4.   กึ่งกระจายอำนาจ

 ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

92.       ระบอบการปกครองใดที่ถือว่าความคิดริเริ่มของผู้ปกครองคือนโยบายแห่งรัฐ โดยมีกฎหมายสนองตอบ

1.   ระบบทรราชย์                   

2.   ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์                   

3.   ระบอบประชาธิปไตย   

4.   ระบอบกงสุล

ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 89. ประกอบ

93.       หัวใจหลักของการปฏิวัติทางการเมืองตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 17 คืออะไร

1.   การล้มล้างระบอบประชาธิปไตย

2.   การขจัดอำนาจทรงพลังของคริสตจักร

3.   การล้มล้างระบบเทวราชาธิปไตย

4.   การสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ตอบ 3       (คำบรรยาย) หัวใจหลักของการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรประหว่างปี ค.ศ. 1650 – 1917 เกิดขึ้นเนื่องมาจากความต้องการล้มล้างระบบเทวราชาธิปไตย นั่นคือ ระบอบที่กษัตริย์ตั้งตนเป็นเทพและมีสิทธิที่จะปกครองประชาชน เพราะได้รับความเห็นชอบจากพระผู้เป็นเจ้าเบื้องบนแล้ว ซึ่งตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ได้เกิดกระแสความไม่นิยมในระบอบนี้ เพราะปิดกั้นสิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพทางการเมือง

94.       สมัยประเทืองปัญญามีความคิดหลักอะไร

1.   มนุษย์อยู่ภายใต้ชะตาฟ้าลิขิต

2.   ธรรมชาติมีกฎเกณฑ์แน่นอน

3.   มนุษย์ควรถูกปกครองอย่างไร

4.   รู้จักมนุษย์โดยเรียนรู้จากธรรมชาติ

             ตอบ 3       หน้า 442 – 443 ในสมัยประเทืองปัญญา (The Enlightenment) ความสนใจของมนุษย์ในชาติตะวันตกจะเน้นความคิดหลักที่ว่า มนุษย์ควรจะถูกปกครองอย่างไร” นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เน้นความสำคัญของเหตุผลมนุษย์ในฐานะที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้าโดยมีการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์คือ เชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ได้ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นยุคที่มีการเทิดทูนสภาวะของปัจเจกชนอย่างเต็มกำลัง

95.       ประเทศใดในปลายศตวรรษที่ 18 ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับระบอบเก่า แต่ก็เป็นแกนกลางของการสร้างระบอบใหม่ด้วย 

1.   อังกฤษ

2.   ฝรั่งเศส

3.   เยอรมนี

4.   รัสเชีย

ตอบ 2       หน้า 403114 – 115 (H), (คำบรรยาย) พื้นฐานแห่งการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปในปลายศตวรรษที่ 18 คือ การปฏิบัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 เนื่องจากฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับหรือแกนกลางของระบอบเก่า (ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) แต่ต่อมาฝรั่งเศสก็กลายเป็นแกนกลางแห่งการปฏิวัติเพื่อสร้างระบอบใหม่ (ระบอบประชาธิปไตย) ของศตวรรษที่ 19 ด้วย และถึงแม้ผลของการปฏิวัติฝรั่งเศสจะลงเอยด้วยการปกครองตามระบอบเก่าเหมือนเดิม แต่ก็ถือว่าฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ความคิดในการปฏิวัติให้ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วยุโรป

96.       ระบอบใหม่ของศตวรรษที่ 19 คือระบบอะไร

1.   ระบอบคอมมิวนิสต์

2.   ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

3.   ระบอบประชาธิปไตย

4.   ระบอบสังคมนิยม

ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       ในศตวรรษที่ 19 มีปัจจัยใดประจวบเหมาะในการล้มล้างระบอบเก่า

1.   ความทุกข์ยาก ความไม่พอใจทางการเมือง และความไม่เป็นธรรมในสังคม

2.   ชนชั้นสูงตกต่ำ ชนชั้นกลางปลุกระดมมวลชนโฆษณาชวนเชื่อ

3.   ลัทธิเสรีประชาธิปไตยขัดแย้งกับลัทธิสังคมนิยม

4.   การนัดหยุดงานและขบวนการเรียกร้องขอสิทธิทางการเมือง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ในศตวรรษที่ 19 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการล้มล้างระบอบเก่ามี 3 ประการ คือ

1. ความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความทุกข์ยาก  

2. ความไม่พอใจทางการเมือง                

3. ความไม่เป็นธรรมในสังคม

98.       ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 แผนที่ยุโรปเปลี่ยนครั้งใหญ่สืบเนื่องจากอะไร

1.   การรวมเบลเยียม

2.   การรวมเยอรมนี

3.   การรวมโปแลนด์

4.   บอลข่านมีเอกราช

 ตอบ 2       หน้า 512 – 519119 (H), 24 – 129 (H), (คำบรรยาย) จากการที่ประเทศอิตาลีและเยอรมนีสามารถรวมประเทศได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1870 และ ค.ศ. 1871 ตามลำดับ ได้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยมว่ามีบทบาทส่งเสริมทำให้เกิดการรวมประเทศเยอรมนีและอิตาลีขึ้นซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้แผนที่ยุโรปเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้ดุลยภาพแห่งอำนาจ (Balance of Power) ได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากเกิดประเทศมหาอำนาจขึ้นคือ ประเทศเยอรมนีและอิตาลี

99.       การล่าอาณานิคมอีกตั้งแต่ ค.ศ. 1871 เกิดจากความจำเป็นด้านใด

1.    การแผ่ขยายอำนาจทั่วโลกยุโรป

2.   การแผ่ขยายการค้าไปทั่วโลก

3.   การสร้างพันธมิตร

4. เศรษฐกิจการเกษตรเติบใหญ่

ตอบ 2       หน้า 523 – 524130 – 131 (H) สาเหตุที่ทำให้ในระหว่างปี ค.ศ. 1871 – 1914 ประเทศมหาอำนาจในยุโรปซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดาเป็นผู้นำ ต้องออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชียนั้น เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าไปทั่วโลก และการเพิ่มขึ้นของจำนวนพลเมือง จึงมีความจำเป็นต้องมีการออกแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นตลาดการค้า ตลาดลงทุน แหล่งวัตถุดิบ จัดตั้งฐานทัพและเพื่อระบายพลเมือง

100.     การรวมตัวกันเป็นพันธมิตรในยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 1907 มาจากความหวาดกลัวอะไร

1.   กลัวอังกฤษ

2.   กลัวเยอรมนี

3.   กลัวฝรั่งเศส

4.   กลัวรัสเชีย

ตอบ 2       หน้า 530 – 531 (คำบรรยาย) การรวมตัวกันเป็นพันธมิตรในยุโรประหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย โดยมีการทำสัญญาเป็นกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ตั้งแต่ ค.ศ. 1907 นั้นมีสาเหตุมาจากความหวาดกลัวว่าเยอรมนีจะคิดสร้างจักรวรรดิขึ้นในยุโรป จึงมีการรวมตัวกันขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับกลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple AIIiance) อันประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งรวมตัวเป็นพันธมิตรมาตั้งแต่ ค.ศ. 1882 ส่งผลให้บรรดามหาอำนาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย นับตั้งแต่ค.ศ. 1907 เป็นต้นมา

101.     ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คเป็นระบบพันธมิตรแบบใด ในภาวะใด

1.   แบบตั้งรับในยามศึก                                                        

2.   แบบรบรุกในยามสงบ

3.   แบบป้องปรามในยามสงบ                                             

4.   แบบตั้งรับในยามสงบ

             ตอบ 4       หน้า 529 – 530562, (คำบรรยาย) บิสมาร์จัดตั้งระบบพันธมิตรขึ้นในปี ค.ศ. 1882 โดยมีจุดมุ่งหมายเพี่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนอัลซัสลอเรนน์เป็นหลักทำให้บิสมาร์คต้องพยายามปิดล้อมฝรั่งเศสให้อยู่โดดเดี่ยวโดยการจัดตั้งระบบพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อมิให้พันธมิตรฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งอาจรวมตัวกันได้ในวันข้างหน้าสามารถทำการโจมตีได้ทั้งนี้ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คเป็นระบบพันธมิตรแบบตั้งรับในยามสงบซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เกิดการทูตแบบใหม่ขึ้น

102.     มีดินแดนใดในยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 1871 – 1914 ที่อาจกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศและนำไปสู่สงครามได้             

1.   สุเดเตนและดานซิก

2.   โปแลนด์และกรีซ

3.   อัลซัส-ลอเรนน์ และบอลข่าน

4.   ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 3       หน้า 518 – 519531 – 533132 – 133 (H), (คำบรรยาย) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1817 – 1914 ยุโรปมีดินแดนที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศและเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ 1. ดินแดนอัลซัส-ลอเรนน์ ซึ่งเป็นกรณีพิพาทระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ผลคือเยอรมนีได้ครอบครองดินแดนนี้ ทำให้ฝรั่งเศสต้องการแก้แค้นเยอรมนี และต้องการดินแดนแคว้นอัลซัส-ลอเรนน์คืนมา              2. คาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจตะวันตกในยุโรปที่ต่างมุ่งแสวงหาประโยชน์อย่างเต็มที่ จนบานปลายกลายเป็นชนวนให้สงคราม

103.     สงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งใดที่หาข้อยุติมิได้

1.   ความขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศส

2.   ความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับเซอร์เบีย

3.   ความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับอิตาลี

4.   ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับออสเตรีย

ตอบ 2       หน้า 534 – 535562133 (H), (คำบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นเมื่อมีความขัดแย้ง ระหว่างออสเตรีย – ฮังการี กับเซอร์เบียใน ค.ศ. 1914 โดยมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่นักศึกษาชาวเซิร์บลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุก ฟรานชิส เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารออสเตรียทำให้ออสเตรียยื่นคำขาดให้เซอร์เบียปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตนภายใน 24 ชั่วโมง แต่เชอร์เบียไม่ยอมจึงทำให้บรรดามหาอำนาจที่รวมตัวกันเป็นระบบพันธมิตรของทั้ง 2 ฝ่ายใช้กำลังทำสงครามกันจนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด

104.     ภาวะใดหนุนนำให้ผู้คนในเยอรมนีและอิตาลีนิยมลัทธิฟาสซิสต์

1.   พลังอำนาจทหาร

2.   พลังอำนาจเศรษฐกิจ

3.   ภาวะเศรษฐกิจทรุด      

4.   ภาวะจลาจลภายใน

ตอบ 3       หน้า 544, (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบอบฟาสซิสต์ (Facism) เป็นที่นิยมทั้งในเยอรมนีและอิตาลีเนื่องจาก 1. ระบอบประชาธิปไตยแก้ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไม่ได้

2. เกิดความยากไร้และคับแค้นใจเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำระหว่างปี ค.ศ. 1929 – 1934

3. กลัวลัทธิคอมมิวนิสต์

105.     ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดามหาอำนาจผู้ชนะร่วมกันจัดตั้งองค์การสันนิบาตแห่งชาติขึ้นตามหลักการอะไร   

1.   ประชาธิปไตย

2.   การอยู่ร่วมกันโดยสันติ

3.   ความมั่นคงร่วมกัน       

4.   ธรรมย่อมเหนืออธรรม

             ตอบ 3       หน้า 540 – 541135 (H), (คำบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) จัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน โดยมุ่งขจัดความขัดแย้ง เป็นตุลาการระหว่างประเทศดำเนินการลดอาวุธและขจัดทูตลับ ซึ่งผลงานที่สำคัญของสันนิบาตชาติคือ ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจได้สำเร็จพอสมควร แต่ไม่สามารถรักษาสันติภาพและระเบียบแบบแผนไว้ได้ ซึ้งส่งผลให้สันนิบาตชาติอ่อนแอเนื่องจากไม่มีกองทัพเป็นของตนเอง

106.     เหตุใดอังกฤษและฝรั่งเศสจึงมีนโยบายผ่อนปรนต่อเยอรมนีใน ค.ศ. 1939

1.   เพราะกลัวเยอรมนีไม่พอใจ

2.   เพราะไม่พร้อมที่จะรบกับเยอรมนี

3.   เพราะเยอรมนีมีรัสเซียเป็นพันธมิตร

4.   เพราะเยอรมนีปฏิบัติตามสนธิสัญญาแวร์ชายส์

 ตอบ 2       หน้า 545 – 546549 – 550 (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง อังกฤษ และฝรั่งเศสได้ใช้นโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) กับเยอรมนีมาโดยตลอดจนถึง ค.ศ. 1939 ทั้งนี้เพราะยังไม่ต้องการสงครามและไม่พร้อมที่จะรบกับเยอรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์และไม่ยอมถอนทหารออกจากโปแลนด์ทำให้อังกฤษกับฝรั่งเศสต้องรับประกันความปลอดภัยของโปแลนด์และประกาศทำสงครามกับเยอรมนี ซึ่งถือเป็นการยุตินโยบายผ่อนปรนและก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด

107.     อิตาลีและเยอรมนีต่างรวมประเทศได้โดยใช้วิธีใด

1.   ยุทธวิธี

2.   สันติวิธีทางการทูต

3.   ธรรมยุทธ์

4.   ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4       หน้า 512 – 519125 – 129 (H), (คำบรรยาย) ประเทศอิตาลีและเยอรมนีรวมชาติได้สำเร็จในระหว่างปี ค.ศ. 1870 – 1871 โดยใช้วิธีดังนี้คือ 1. ยุทธวิธี คือ อิตาลีใช้วิธีทำสงครามโดยการปราบออสเตรียส่วนเยอรมนีใช้ นโยบายเลือดและเหล็ก” ทำสงครามถึง 3 ครั้งคือ สงครามกับเดนมาร์กเรื่องดินแดนชเลสวิก-โฮลสไตน์สงครามกับออสเตรีย และสงครามกับฝรั่งเศส 2. สันติวิธีทางการทูต คือ อิตาลีผูกมิตรกับมหาอำนาจคือฝรั่งเศสให้เข้ามาช่วย ส่วนเยอรมนีใช้วิธีเจรจารักษาไมตรีกับนานาประเทศ

108.     ในการปฏิวัติในรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1917 ประชาชนเรียกร้องต้องการอะไร

1.   อิสรเสรี เสมอภาค และภราดรภาพ

2.   ระบอบประชาธิปไตย

3.   สันติภาพ ขนมปัง และที่ดิน

4.   สงบศึกและล้มล้างซาร์

ตอบ 3       หน้า 537136 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติครั้งใหญ่ในรัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1917 เป็นการปฏิวัติที่ล้มระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 1. การปกครองล้าหลังตามไม่ทันสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง 2. เป็นผลกระทบมาจากการที่รัสเซียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประชาชนจึงต้องการสันติภาพ 3. แรงกดดันจากความยากไร้ของประชาชน คือประชาชนต้องการขนมปังและที่ดินทำมาหากิน ฯลฯ

109.     ระบอบฟาสซิสต์และระบอบคอมมิวนิสต์มีลักษณะใดที่เหมือนกันในการปกครอง

1.   การกระจายอำนาจ

2.   การใช้อำนาจโดยประธานพรรค

 3.   การใช้อำนาจโดยพรรค 1 พรรค

4.   การมีสำนักการเมือง (Politburo) เป็นหลัก

ตอบ 3       หน้า 541 – 543137 – 138 (H), (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดขบวนการชาตินิยม ที่เรียกว่า ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดี่ยวมีอิทธิพลครอบงำหรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาดแต่พรรคเดียวแบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่ 1. ระบอบคอมมิวนิสต์ (เผด็จการซ้าย) เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย 2. ระบอบฟาสซิสต์ (เผด็จการขวา) เกิดขึ้นในอิตาลีและขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า ลัทธินาซี เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์และโลกเสรีประชาธิปไตย

110.     การทูตยุคใหม่ยึดถือหลักการใดในการมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรป

1.   การเป็นพันธมิตร

2.   การมีผู้นำกลุ่มประเทศ

3.   การจัดตั้งสันนิบาต      

4.   การถ่วงดุลอำนาจ

ตอบ 4       (คำบรรยาย) หลักความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในยุโรปตั้งแต่ยุคใหม่เป็นต้นมานั้นได้กำหนดว่าทุกประเทศต้องเคารพในหลักการถ่วงดุลอำนาจไม่ให้ประเทศใดมีอำนาจมากจนเกินไปโดยเชื่อว่าสันติภาพและความมั่นคงจะคงอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการรักษาสมดุจหรือดุลยภาพแห่งอำนาจถ้ามหาอำนาจใดล่วงละเมิดหลักการถ่วงดุลอำนาจโดยการขยายอาณาเขตออกไปเพื่อตั้งตนเป็นใหญ่บรรดามหาอำนาจที่เหลือก็จะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพันธมิตรเพื่อเข้าไปล้อมปราบ หรือเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย หรือใช้กำลังยับยั้งโดยการรวมกลุ่มรบเพื่อสั่งสอน แต่จะไม่เข้าไปทำลายรัฐ

111.     ข้อใดคือมาตรการลงโทษรัฐที่ถ่วงละเมิดหลักการถ่วงดุลอำนาจในยุคใหม่      

1.   การตั้งศาลพิพากษา                                                         

2.   การใช้กำลังยับยั้ง            

3.   การเจรจาต่อรองผลประโยชน์                                       

4.   การอัปเปหิจากเวทีโลก

ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ

112.     พฤติกรรมใดแสดงว่าชาวยุโรปเป็นผู้เจริญ รู้จักแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีใน ค.ศ. 648

1.   การประชุมที่เวียนนา                                                       

2.   การประชุมที่เบอร์ลิน

3.   การประชุมที่เวสต์ฟาเลีย                                                

4.   การประชุมที่แวร์ชายส์

ตอบ 3       หน้า 390 – 391408101 (H), (คำบรรยาย) สนธิสัญญาที่เวสต์ฟาเลีย (Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 นับเป็นการประชุมร่วมกันโดยสันติวิธีระหว่างมหาอำนาจชาติต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในยุโรป โดยเป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่ยุติสงคราม 30 ปีซึ่งเป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) ในระหว่างปี ค.ศ. 1618 – 1648 ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระถึง 300 รัฐ และดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

113.     ใน ค.ศ. 1648 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกบงการให้แบ่งแยกเป็นรัฐอิสระ โดยสนธิสัญญาใด

1.   แวร์ซายส์

2.   เวสต์ฟาเลีย

3.   เบอร์ลิน

4.   มิวนิค

ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ

114. เหตุใดบรรดามหาอำนาจในยุโรปจึงรวมตัวเป็นพันธมิตรถึง 3 ครั้งเพื่อปราบฝรั่งเศส

1.   เพราะฝรั่งเศสต้องการเป็นเจ้าโลก                          

2.   เพราะฝรั่งเศสเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายของตนในยุโรป

3.   เพราะฝรั่งเศสคิดสร้างจักรวรรดิในยุโรป 

4.   เพราะฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของลัทธิสังคมนิยม

 ตอบ 3       หน้า 464466468 – 469 (คำบรรยาย) ในยุคใหม่จนถึงปัจจุบันนั้น ประเทศมหาอำนาจที่พยายามตั้งตนเป็นใหญ่เพราะต้องการสร้างจักรวรรดิในยุโรป จนถูกชาติมหาอำนาจอื่น ๆ รวมตัวเป็นพันธมิตรเพื่อล้อมปราบอยู่หลายครั่ง ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะในยุคนโปเลียนที่ยุโรปเกือบทั้งหมดยกเว้นอังกฤษต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส ทำให้มหาอำนาจในยุโรปต้องรวมตัวกันเป็นพันธมิตรถึง 3 ครั้ง เพื่อล้อมปราบฝรั่งเศส นอกจากนี้ก็ยังมีประเทศสเปนในสมัยสงคราม 30 ปี และประเทศเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2

115.     บรรดามหาอำนาจภายหลัง ค.ศ. 1815 ได้พยายามต้านทานคลื่นปฏิวัติด้วยวิธีการใด

             1.   ปฏิบัติการไล่ล่าแกนนำ                   2.   ระบบข่าวกรองเป็นเครือข่ายระหว่างประเทศ

             3.   สร้างพันธมิตรกับคริสตจักร                           4.   ความร่วมมือทางการทูต

             ตอบ 4       หน้า 477 – 479, (คำบรรยาย) ในระหว่าง ค.ศ. 1815 – 1848 ได้เกิดคลื่นปฏิวัติเสรีนิยมขึ้นในยุโรปโดยมีศูนย์กลางของการปฏิวัติอยู่ที่กองทัพ มหาวิทยาลัย และสมาคมลับ ทำให้บรรดามหาอำนาจในยุโรปต้องใช้ความร่วมมือทางการทูตระหว่างประเทศ โดยการจัดตั้งสมาคมยุโรป (Concert of Europe) และใช้วิธีการแทรกแซงทางทหาร เพื่อต้านทานและบดขยี้คลื่นปฏิวัติในยุโรปไม่ให้เกิดขึ้นโดยมีผู้นำของการทูตแบบนี้ คือ เจ้าชายเมตเตอร์นิกแห่งออสเตรียจึงเรียกเหตุการณ์ในยุคนี้ว่า  ยุคเมตเตอร์นิก หรือยุคแห่งการต่อต้านระบอบเสรีนิยม

116.     ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งประเทศใน ค.ศ. 1945                     

             1.   ผู้ชนะบงการให้แบ่ง                                                       2.   การยึดครองโดยแบ่งเขต                             

             3.   สนธิสัญญาแวร์ซายส์                                                      4.   รัสเซียบงการ

             ตอบ 2       หน้า 556, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1945 เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต ภายใต้การยึดครองโดยแบ่งเขต ซึ่งเบอร์ลินทั้งหมดจะอยู่ในเขตยึดครองของรัสเซีย แต่ก็ให้อยู่ภายใต้การปกครองของ 4 ชาติฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และโซเวียตรัสเซีย ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ คือ 1. เยอรมนีตะวันออก ภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต มีชื่อเรียกว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี”  2. เยอรมนีตะวันตก ภายใต้การดูแลของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา มีชื่อเรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

117.     ประเทศใดที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองแล้วได้รับประโยชน์เป็นการขยายดินแดนภายใต้อิทธิพลของตนมากที่สุดใน ค.ศ. 1948    

             1.   สหรัฐอเมริกา          2.   อังกฤษ              3.   ฝรั่งเศส             4.   รัสเซีย

             ตอบ 4       (คำบรรยาย) ตามข้อตกลงยัลต้า (Yalta) และปอตสดัม (Potsdom) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ส่งผลให้ประเทศรัสเซียสามารถแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ยุโรปตะวันออกตั้งแต่ทะเลบอลติก ไปจนถึงทะเลดำได้สำเร็จ ทำให้รัสเซียสามารถขยายดินแดนภายใต้อิทธิพลของตนได้มากที่สุดใน ค.ศ. 1948 และรวมตัวกันเป็นสหภาพโซเวียต

118.     ลักษณะพิเศษของสงครามเย็นคืออะไร  

             1.   การต่อสู้ด้วยกำลังอย่างถึงที่สุด                                                      2.   เป็นสงครามในแบบเบ็ดเสร็จ

             3.   การต่อสู้ทุกรูปแบบยกเว้นสงครามโดยตรง                                4.   สงครามจรยุทธ์โดยประชาชน

             ตอบ 3       หน้า 559139 (H) ลักษณะสำคัญของสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1991) คือ 1. เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านพลังลัทธิอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างโลก 2 ฝ่าย คือ โลกเสรีประชาธิปไตยซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำกับฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีโซเวียตรัสเชียเป็นผู้นำ 2. มีการต่อสู้ทุกรูปแบบยกเว้นการทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จที่มีการเผชิญหน้ากันโดยตรงแต่จะใช้วิธีการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War) เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ 3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อ 4. มีการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ

119.     เมื่อ ค.ศ. 1945 การแบ่งโลกเป็น 2 ฝ่ายคือ โลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ เป็นการแบ่งตามเกณฑ์ใด

             1.   พลังอำนาจทางทหาร                                                      2.   พลังอำนาจทางเศรษฐกิจ

             3.   พลังลัทธิอุดมการณ์                                                          4.   พลังอำนาจทางการเมืองโลก

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 118. ประกอบ

120.     โลกเสรีตอบโต้การแพร่ขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการใด

             1.   ตั้งองค์การสหประชาชาติ                                              2.   ตั้งองค์การนาโต้

             3.   ตั้งองค์การโคมินเทอร์น                                                  4.   ตั้งระบบสัญญาโคเมคอน

             ตอบ 2       หน้า 559 – 560 (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 545 – 546) ในยุคสงครามเย็นฝ่ายโลกเสรีและโลก   คอมมิวนิสต์ต่างก็หามาตรการเพื่อนำมาใช้ตอบโต้กัน กล่าวคือ ฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrie) และแผนการมาร์แซล (The Marshall Plan) รวมทั้งจัดตั้งองค์การนาโต้ (NATO) เพื่อความร่วมมือทางทหารและปิดล้อมการแพร่ขยายอำนาจของคอมมิวนิสต์ ส่วนฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียตก็จัดตั้งองค์การโคมินเทอร์(Comintern) และแผนโมโลตอฟ รวมทั้งจัดตั้งกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอ (The Warsaw Pact) เพื่อตอบโต้ปฏิบัติการของตะวันตกโดยเฉพาะองค์การนาโต้   

HIS1001 อารยธรรมตะวันตกภาค 1 ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ ภาค 1  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  HIS1001 อารยธรรมตะวันตก

คำสั่ง  ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ความสำคัญของยุคน้ำแข็ง คือ

1.  โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งเกือบจะถึงเขตร้อนในปัจจุบัน        

2.   เกิดขึ้น 4 ระยะกินเวลาประมาณ 1 ล้านปี

3.   มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคน้ำแข็ง                                              

4 ถูกทุกข้อ

ตอบ  3      หน้า 2, 8 (H) ระยะที่โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งจนเกือบจะถึงเขตร้อน โดยเกิดขึ้นทั้งหมด 4 ระยะกินเวลาประมาณ 1 ล้านปีนั้น เราเรียกว่า ยุคน้ำแข็ง” (Pleistocene) ซึ่งมีความสำคัญต่อเรื่องราวของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงระยะเวลาที่น้ำแข็งละลายได้ปรากฏร่องรอยของสิ่งมีชีวิตคือ มนุษย์” ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก

2.         ไพรเมท (Primate) คือ

             1.   ยุคน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในระยะแรก                                    2.   บรรพบุรุษของมนุษย์

             3.   การรวมตัวของกลุ่มผงและก๊าซในจักรวาล                 4.   ถ่านหินที่ค้นพบที่หมู่เกาะสปิตเบอร์เกน

             ตอบ  2      หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณ    ยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนาของไพรเมท (Plimate)  ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์   ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

3.         ยูเรเชีย (Eurasia) คือ

             1.   ดิน1แดนในทวีปแอฟริกา                              2.   ดินแดนตอนกลางของทวีปเอเชียที่ติดต่อกับยุโรป

             3.   แหล่งกำเนิดของมนุษย์                                   4.   ถูกข้อ 2 และ 3

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

4.         ดินแดนที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดของมนุษย์ คือทวีป

             1.   เอเชีย                                  2.   อเมริกา            3.   ออสเตรเลีย                     4.  ถูกข้อ 2 และ 3

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

5.         สมัยสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ตามสมัยธรณีวิทยา คือ

             1.   อาร์เคโอโซอิก 2.   พาเลโอโซอิก                 3.   เมโซโซอิก                      4.  เซไนโซอิก

             ตอบ  2      หน้า 6 – 7, 8 – 9 (H) ประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของโลกแบ่งออกตามชั้นของหินได้ 5 สมัยได้แก่ 1. อาร์เคโอโซอิก (Archeozoic) คือ สมัยของสัตว์เซลล์เดียว (1,550 – 825 ล้านปีมาแล้ว)        2.  โพรเทโรโซอิก (Proterozoic) คือ สมัยของสัตว์น้ำโบราณไม่มีกระดูกสันหลัง  (825 – 500 ล้านปีมาแล้ว)    3. พาเลโอโซอิก (Paleozoic) คือ สมัยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (500 – 185 ล้านปีมาแล้ว)      4. เมโซโซอิก (Mesozoic) คือ สมัยของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่  เช่น ไดโนเสาร์ (185 – 60 ล้านปีมาแล้ว)   5. เซโนโซอิก (Cenozoic) คือ สมัยของสิ่งมีชีวิตที่มีสภาพคล้ายปัจจุบันมากที่สุด (60 ล้านปีมาแล้ว).

6.      ความสำคัญของนักชาติพันธุ์วิทยาคือผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับ

         1.   โครงกระดูก  เครื่องมือ และอาวุธในอดีต                       2.   วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

         3.   ซากพืชและสัตว์ที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน 4.   วัฒนธรรมของมนุษย์ในอดีต

         ตอบ  2         หน้า 7, 9 (H) ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและเรื่องราวของมนุษย์ยุคต้นจำเป็นต้องอาศัยงานค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1. นักโบราณคดี  คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากโครงกระดูก  เครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธใน อดีต

2.  นักชาติพันธุ์วิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

3.  นักธรณีวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากพืชและสัตว์ที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน

4.  นักมานุษยวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ในอดีต เป็นต้น

7.      ยุคก่อนรู้หนังสือจัดอยู่ในยุค

         1.   หิน                                          2.   โลหะ                               3.   ประวัติศาสตร์                4.   โบราณ

         ตอบ  1         หน้า 7, 37, 2 (H), 9 (H) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์จะใช้การประดิษฐ์ตัวอักษรหรือการรู้จักเรียนหนังสือของมนุษย์เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ

1.  ยุคหิน (ยุคก่อนประวัติศาสตร์) คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษรหรือยุคก่อนการสร้างอารยธรรม

2.  ยุคโลหะ (ยุคประวัติศาสตร์) คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรและเริ่มอยู่รวมกันเป็นหลักแหล่งแบบสังคมเมือง เรียกว่าเป็นสมัยอารยธรรมของมนุษย์

8.      มนุษย์ที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่ม Homo sapiens คือ

         1.   Neanderthal          2.   Cro-Magnon 3.   Grimaldi          4.   Chancelade

         ตอบ  1         หน้า 11 – 12, 38, 10 (H) มนุษย์ Neanderthal ถือเป็นตัวแทนของมนุษย์ Homo Fabor คือ มนุษย์ที่มีความสามารถเพียงการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ก่อนหน้าสมัยของมนุษย์ Homo Sapiens หรือมนุษย์ฉลาด ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ และมีหน้าตาคล้ายมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น จนถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งจะมีอยู่  3 เผ่าพันธุ์ คือ

1.  โครมันยอง (Cro-Magnon) คือ คนขาว                      

2. กริมัลดี (Grimaldi) คือ คนดำ

3. ชานเชอเลด (Chancelade) คือ คนเหลือง หรือผิวสีน้ำตาล

9.      ความสำคัญของมนุษย์ยุคหินกลาง คือ

1.   รู้จักเพาะปลูก       2.   รู้จักเลี้ยงสัตว์ 3.   การตั้งถิ่นฐาน                4.   ถูกทุกข้อ

ตอบ  2         หน้า  8 – 15, 38 – 39, 9 – 10 (H)  ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ

1. ยุคหินแรก เป็นยุคลองผิดลองถูกของมนุษย์

2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้  เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้

3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข

4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อน มาเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานถาวรรวมกันเป็นชุมชนรกราก

10.    ประวัติศาสตร์ยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อ

         1.   กรุงโรมถูกทำลาย                                2.   กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกทำลาย

         3.   การประดิษฐ์แท่นพิมพ์                       4.   การค้นพบโลกใหม่

         ตอบ  1         หน้า 17, 2 – 3 (H), 16 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลงเพราะถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครองและทำลายกรุงโรม ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคโบราณและเริ่มต้นก้าวเข้ายุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของพวกโรมันต้องเปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย นั่นคือ การแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรมความเจริญต่าง ๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา

11.    ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน เน้นในเรื่อง

1.   พระเจ้าสร้างโลก                                                 

2.   การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม

3.   การถ่ายทอดพันธุกรรม                                                       

4.   ถูกข้อ 2 และ 3

         ตอบ  4         หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) โดยสรุปคือ

1.  สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เชลล์เดียวในทะเล

2.  สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม

3.  สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืชและสัตว์ที่มีชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย

4.  สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ จะต้องสูญพันธุ์ในที่สุด

12.    ความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์ คือ

1.   การเรียนรู้เรื่องราวของมนุษย์                                                           

2.   การค้นคว้าหาหลักฐาน

3.   การตรวจสอบซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างตามชั้นของหิน    

4.   ถูกข้อ 1 และ 2

         ตอบ  4         หน้า 20, 37, 12 (H) ประวัติศาสตร์คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์มนุษย์ ซึ่งน่าจะมีความหมายเป็น 2 นัย คือ 1. การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกำเนิดมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน                2. ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะใช้วิธีการศึกษาโดยการค้นคว้าหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น  2 ประเภทใหญ่ คือ ซากวัสดุ และเรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน

13.    วัฒนธรรม คือ

1.   ความเจริญก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์                        

2.   ภาษา

3.   ศิลปกรรม                                                                                              

4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ 4          หน้า 21 – 22, 12 (H) วัฒนธรรม คือ ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรือประสบการณ์ทางสังคมทั้งหมดซึ่งกลุ่มมนุษย์ส่งผ่านแก่คนรุ่นต่อมา ได้แก่ ความรู้ ความเชื่อ ภาษา ศิลปกรรม  ศิลปะ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม มารยาททางสังคมและความสามารถอื่น ๆ  ตลอดจนความเคยชินต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถดูความแตกต่างทางวัฒนธรรมของมนุษย์ได้จากศิลปะ  ภาษา และพฤติกรรม

14.    ทฤษฎีโนแมดทางอารยธรรมเน้นในเรื่อง

         1.   ผู้ชนะนำเอาอารยธรรมของผู้แพ้ที่เจริญกว่ามาปรับปรุงใช้

         2.   การเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ในทะเลทราย                                   

         3.   ความเสื่อมของสภาพแวดล้อม

         4.   สภาพทางภูมิศาสตร์มีผลต่อการสร้างอารยธรรม

         ตอบ  1         หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nornad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะนำเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (คำว่า “Nomad” หมายถึง  ชนเผ่าที่เร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ) เช่น ในกรณีที่พวกเซไมท์เข้ายึดครองดินแดนของพวกสุเมเรียนและรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับปรุงใช้ เป็นต้น

15.    อารยธรรมโลก คืออารยธรรม

         1.  จีน-อินเดีย              2.   อียิปต์-เมโสโปเตเมีย                    3.   กรีก                  4.   โรมัน

         ตอบ  2         หน้า 30 – 31, 14 (H) อารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียได้รับการยกย่องว่าเป็นอารยธรรมโลกซึ่งมีอิทธิพลและมีส่วนสำคัญอย่างมากในการวางรากฐานของอารยธรรมกรีก-โรมันที่ถือเป็นแม่แบบของอารยธรรมตะวันตก ส่วนอารยธรรมจีน-อินเดียนั้นถือเป็นแม่แบบของอารยธรรมตะวันตก 

16.    ความสำคัญของแม่น้ำไนล์ต่อการสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์ คือ

         1.   ป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก                                2.   เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าองค์สำคัญของอียิปต์

         3.   สร้างความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งให้แก่อียิปต์ 4.   เป็นแหล่งประมงที่สำคัญของอียิปต์

         ตอบ  3         หน้า 46, 17 (H) จากทางที่สภาพภูมิประเทศของอียิปต์ล้อมรอบไปด้วยทะเลทราย  มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง  และมีฝนตกเฉพาะบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ (บริเวณเดลต้า) แม่น้ำไนล์จึงเป็นหัวใจสำคัญที่หลีกเลี่ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่อียิปต์ จนทำให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมและ มีความมั่งคั่ง จนสามารถสร้างสมอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกของโลกในยุคโบราณได้

17.    กลุ่มผู้รุกรานจากภายนอกจะสามารถเข้ารุกรานอียิปต์ได้โดยง่ายโดยผ่านบริเวณ

         1.   แม่น้ำไนล์             2.   ช่องแคบสุเอช               3.   ทะเลทราย                      4.   เดลต้า

         ตอบ  2         หน้า 47 – 48, 18 (H) บริเวณเดียวที่เป็นจุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก และบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสนั้นก็คือแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่เขตช่องแคบสุเอชจึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่างสองทวีปและสอง    อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์

18.    ความสำคัญของสมัยก่อนราชวงศ์อียิปต์ คือ

         1.   การสร้างปฏิทินแบบสุริยคติขึ้นใช้  2.   การแบ่งดินแดนออกเป็นอียิปต์สูงและอียิปต์ต่ำ

         3.   มีการปกครองแบบหมู่บ้านและนครรัฐ           4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 51 – 53, 18 – 19 (H)  ความสำคัญของสมัยก่อนราชวงศ์อียิปต์ มีดังนี้

1. มีการปกครองแบบหมู่บ้านและมีหัวหน้าปกครอง เมื่อ 5,000 B.C.

2. มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติที่ปีหนึ่งมี 365  ¼  วัน ในปี 4241 B.C.

3. มีการปกครองแบบนครรัฐ (City states) และแบ่งเป็นจังหวัด ในราว 3,200  B.C.

4. ดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน เรียกว่า Land of Two Lands คือ อียิปต์สูงหรืออียิปต์บน และอียิปต์ต่ำหรืออียิปต์ล่าง ฯลฯ

19.    คำว่า ฟาโรห์” มีความหมายที่แท้จริง คือ

         1.   กษัตริย์หรือผู้ปกครอง                         2.   เทพเจ้า            3.   พีระมิด            4.   พระราชวังหรือเรือนหลวง

         ตอบ 4          หน้า 53, 19 (H) ฟาโรห์ (Pharoh) เป็นคำที่ใช้เรียกตำแหน่งกษัตริย์อียิปต์โบราณมาจากคำภาษาอียิปต์ว่า “Per-O” ซึ่งหมายถึง พระราชวัง (Great House) หรือเรือนหลวง (Royal House) นั่นเอง

20.    ความสำคัญของสมัยประชาธิปไตยของอียิปต์ คือ

         1.   สมัยอาณาจักรกลาง

         2.   สมัยที่ประชาชนช่วยฟาโรห์ยึดอำนาจคืนจากพวกขุนนาง

         3.   สมัยที่ฟาโรห์อนุญาตให้ประชนเช่นเข้ารับราชการ                                    4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ 4          หน้า 55 – 56, 99, 20 (H) สมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์ (2,000 B.C. – 1,73O B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์สามารถยึดอำนาจคืนมาจากขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชนจึงทรงให้รางวัลแก่ประชาชนโดยอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการ รวมทั้งให้สิทธิในการปกครองซึ่งถือได้ว่าเป็นสมัยเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ แต่การยึดอำนาจกลับคืนมาของฟาโรห์ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จสมบูรณ์ เพราะฟาโรห์ได้สูญอำนาจลงทีละน้อยเนื่องจากขุนนางค่อย ๆ รวบอำนาจ และต่อมาในปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูกรุกรานโดยพวกฮิคโซสที่รู้จักการใช้ม้าและรถศึก ทำให้สามารถยึดครองอียิปต์ได้นานถึง 150 ปี

21.    สมัยจักรวรรดิของอียิปต์เกิดขึ้นเมื่อ

1.   มีการเปลี่ยนแปลงจากการสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหาร

2.   สามารถขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์

3.   มีความรุ่งเรืองทางการค้า                                                    

4.   พวกพระและขุนนางขึ้นมามีอำนาจ

         ตอบ 1          หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1,580 B.C. – 1,090 B.C.) เกิดขึ้นเมื่ออียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จ แล้วฟาโรห์ก็เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวโดยมีการสร้างกองทัพบกและเรือ รับรูปแบบการใช้ม้าและรถศึกจากฮิคโซส และเริ่มมีการใช้เหล็กด้วย นอกจากนี้ยังนิยมสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร  เพื่อแสดงอำนาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์แทนการสร้างพีระมิด

22.    ความสำคัญของการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮโตปที่ 4 คือ

1.   การนับถือเทพเจ้าองค์เดียว                                

2.   การนับถือเทพเจ้าหลายองค์

3.   การลดอำนาจของพวกพระ                               

4.   ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4          หน้า 58, 106, 21 (H) ความสำคัญของการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮโตปที่ 4 คือ

1. ต้องการปฏิรูปศาสนาเพี่อผลทางการเมืองคือ เปลี่ยนให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนเป็นเทพเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และทรงเปลี่ยนพระนามของพระองค์เป็นอิคนาเตน (Ikhnaten)  หมายถึง พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พอพระทัยของอาเตน โดยถือว่าเป็นการสร้างอำนาจให้กับตนเองอีกทางหนึ่ง 

2. ทรงต้องการตัดทอนหรือลดอำนาจของพวกพระ  ซึ่งร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย

23.    จุดมุ่งหมายในการทำมัมมี่ของพวกอียิปต์ คือ

         1.   คิดจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า                                    2.   การเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย

         3.   เพื่อการทดลองทางการแพทย์                                           4.   ถูกข้อ 1 และ 2

         ตอบ 4          หน้า 64 – 65, 22 (H) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตพลังความตายเป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร

24.    สาเหตุที่นำความเสื่อมมาสู่อียิปต์ คือ

         1.   การรุกรานจากภายนอก                                      2.   สงครามกลางเมือง

         3.   การเกิดโรคระบาด                                              4.   ข้าวยากหมากแพง

         ตอบ 1          หน้า 65, 22 (H) เมื่อประมาณ 1,100 B.C. อียิปต์เริ่มเสื่อมลงเนื่องจากการทำสงคราม และถูกรุกรานจากภายนอก นับตั้งแต่การทำสงครามกับพวกฮิทโทท์ อัสสิเรียน เปอร์เซีย และในปี 332 B.C. อียิปต์ก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก ซึ่งพระองค์ได้ทรงสร้างเมืองอเล็กซานเดรียไว้ตรงปากแม่น้ำไนล์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองและอารยธรรมไว้ในอียิปต์

25.    คำว่า “Mesopotamia” มีความหมายถึง

         1.   Land of Two Lands                                             2.   Land of Babylonia

         3.   Land between Rivers                                          4.   Land of the Desert

         ตอบ  3         หน้า 64 – 67, 22 – 23 (H) คำว่า เมโสโปเตเมีย” (Mesopotamia) เป็นภาษากรีก แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” (Land between Rivers) เพราะตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส  ซึ่งบางครั้งน้ำในแม่น้ำก็ไหลล้นฝั่งแต่บางครั้งก็แห้งจนคาดคะเนไม่ได้ ทำให้ประชาชนที่มีอยู่หลายเชื้อชาติ (สุเมเรียน เซไมท์ และอินโด -ยุโรป) ในดินแดนนี้เดือดร้อนและทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่กลายเป็นพวกมองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์หวาดกลัว และไม่คิดเรื่องกลับมาเกิดใหม่

26.    ความแตกต่างระหว่างอารยธรรมอียิปต์กับเมโสโปเตเมีย คือ

         1.   อียิปต์หวังจะกลับมาเกิดใหม่ แต่เมโสโปเตเมียไม่หวังจะกลับมาเกิดใหม่

         2.   อียิปต์เป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ แต่เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของชนเชื้อชาติเดียว

         3.   สถานภาพของสตรีในเมโสโปเตเมียดีกว่าอียิปต์

         4.   แม่น้ำที่ไหลผ่านเมโสโปเตเมียให้ความอุดมสมบูรณ์มากกว่าแม่น้ำที่ไหลผ่านอียิปต์

         ตอบ  1         ดูคำอธิบายข้อ 23. และ 25. ประกอบ

27.    ตัวอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้โดยพวก

1.   อียิปต์

2.   สุเมเรียน

3.   อัคเคเดียน

4.   ฮิทไทท์

ตอบ  2         หน้า 69 – 71, l00, 22 – 24 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน ได้แก่

1. ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่มขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลายในเมโสโปเตเมีย

2. สร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า ซิกกูแรต” (Ziggurats)                 

3. ทำปฏิทินจันทรคติขึ้นใช้โดยปีหนึ่งจะมี 354 วัน     

4. การนับหน่วย 60, 10 และ 6  มีผลต่อการนับเวลาและการคำนวณทางเรขาคณิต                

5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ คือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

28.    พวกอมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่ามีผลงานทางอารยธรรมที่สำคัญ คือ

1.   ตัวอักษร                 2.   การนับหน่วย 60           3.   กฎหมาย          4.   สถาปัตยกรรมชิกกูแรต

         ตอบ 3          หน้า 72 – 74, 24 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของพวกอมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่า คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi) ของกษัตริย์ฮัมมูราบี ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลัก Lex Talionis (ลัทธิสนองตอบ) คือ ตาต่อตา  ฟันต่อกน ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของกฎหมายโรมัน

29.    กลุ่มชนที่นำม้าเข้ามาใช้ในดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นพวกแรก คือ

1.   ฮิคโชส

2.   แคสไซท์                         

3.   อียิปต์

4.   สุเมเรียน

         ตอบ  2         หน้า 76, 80, 24 (H) ในปี 1750 B.C. พวกเเคสไซท์ (Kassites) ซึ่งเป็นอนารยชนเผ่าเซไมท์หรือเซมิติกในดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้นำเอาม้าและรถศึกเข้ามาใช้ในบาบิโลเนียเป็นพวกแรกและเข้ายึดกรุงบานิโลนจากพวกอมอไรท์ได้สำเร็จ แต่พวกแคสไซท์ก็มีอำนาจอยู่ในระหว่างปี 1750 – 900 B.C. เท่านั้น จึงถูกพวกอัสสิเรียนขับไล่และเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนแทน

30.    สิ่งที่พวกฮิทไทท์ทิ้งไว้เป็นมรดกแก่ดินแดนตะวันออกใกล้ คือ

1.   การใช้ม้า                                                                                                               

2.   การใช้เหล็ก

3.   การผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์มและเฮียโรกลิฟิกเข้าด้วยกัน    

4.   ถูกทุกข้อ

ตอบ  4         หน้า 78 – 79, 25 (H) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิทไทท์ คือ 1. นำเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นชาติแรก และรู้จักใช้ม้าในการรบ          2. ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์มของชาวสุเมเรียนและตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น              3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้แทนการแก้แค้น     4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อให้แก่พวกกรีกซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

31.    ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสสิเรีย คือ

1.   ห้องสมุด                                                

2.   การแกะสลักภาพนูน

3.   นิยายเรื่องการสร้างโลก                     

4.   ถ่ายทอดอารยธรรมให้แก่พวกโรมัน

         ตอบ  1         หน้า 82, 26 (F1) ผลงานสำคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสสิเรีย คือ ทรงสร้างหอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ ซึ่งถือเป็นห้องสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตก และเป็นที่มาของการสร้างห้องสมุดในปัจจุบัน โดยภายในห้องสมุดได้บรรจุแผ่นดินเหนียวถึง 22,000แผ่น ส่วนใหญ่เป็นพวกเพลงสวดสำหรับพิธีทางศาสนาของพวกสุเมเรียน นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างโลกครั้งใหญ่ตำราไวยากรณ์และตำราแพทย์

32.    ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่ คือ

         1.   การทำลายจักรวรรดิอัสสิเรีย                              2.   การสร้างสวนลอย

         3.   วิชาดาราศาสตร์และโหราศาสตร์                     4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ 4          หน้า 82 – 83, 26 (H) ผลงานสำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่ คือ

1. กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ได้ร่วมมือกับพวกมีดส์หรือมีเดียทำลายจักรวรรดิอัสสิเรียและสถาปนาจักรวรรริแคลเดียหรือบาบิโลนใหม่ (New-Babylonia)  2. สร้างสวนลอยแห่งนครบาบิโลน    3. มีผลงานทางด้านวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์  โดยได้ค้นพบดาวเคราะห์ 5 ดวง คือ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ เมื่อมารวมกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์กลายเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ 7 องค์ ซึ่งนับเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ใช้เรียกขานวันต่าง ๆ 7 วันใน 1 สัปดาห์ในปัจจุบัน

33.    ความสำคัญของพวกฟินิเชียนกับพวกอราเมียน คือ

1.   เป็นชนเผ่าเซไมท์เหมือนกัน

2.   ฟินิเชียนเป็นพ่อค้าทางทะเล อราเมียนเป็นพ่อค้าทางบก

 3.   ภาษาอราเมียน คือ ภาษาที่พระเยซูและสาวกใช้เพื่อเผยแผ่ศาสนา                           

4.   ถูกทุกข้อ

ตอบ 4          หน้า 84 – 87, 27 (H)  ความสำคัญของพวกฟินิเชียนและเราเมียน คือ

1.  เป็นชนเผ่าเซไมท์ (เซมิติก) เหมือนกันและมีดินแดนที่อยู่ใกล้กัน

2.   ฟินิเชียนเป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนอราเมียนเป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (เอเชียตะวันตก)

3.  พยัญชนะของฟินิเชียนได้กลายเป็นรากฐานของตัวอักษรกรีกและโรมันในเวลาต่อมาส่วนภาษาอราเมียนเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษาที่พระเยชูและสาวกใช้ในการสอนศาสนา

34.    ความสำคัญของพวกเฮบรูว์ คือ

         1.  มี The Old Testament เป็นคัมภีร์ทางศาสนา   2.   มีอับราฮัมและกษัตริย์เดวิดเป็นที่สำคัญ

         3.  ถูกทำลายล้างโดยพวกโรมัน                                               4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ 4          หน้า 87 – 90, 28 – 30 (H) ความสำคัญของพวกเฮบรูว์หรือพวกยิว ได้แก่

1.   มีบรรพบุรุษที่สำคัญ คือ อับราฮัมยาคอบหรืออิสราเอลโมเสสกษัตริย์ซอลกษัติย์เดวิดและกษัตริย์โซโลมอน

2.   เป็นชนชาติที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสต์ศาสนา เพราะพระคัมภีร์เก่า (The old Testament)  ของพวกเฮบรูว์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ไบเบิล (The Holy Bible) –ของศาสนาคริสต์

3.   ถูกพวกโรมันทำลายโดยสงครามแบบเบ็ดเสร็จในระหว่างปี ค.ศ. 132 – 135 ฯลฯ

35.    ความสำคัญของกษัตริย์ ครีซัสแห่งลิเดีย คือ

         1.   มั่งคั่งจากการค้า                                                    2.   การทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นใช้

         3.   พ่ายแพ้พวกเปอร์เซียในปี 546 B.C.                 4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 92 – 93, 30 (H) ความสำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย ได้แก่

1.   เป็นกษัตริย์ที่มั่งคั่งมากจากการค้ากับดินแดนแถบลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรทีสและหมู่เกาะอีเจียน

2. ทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนตามน้ำหนักของเหรียญ ซึ่งถือเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน 

3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าไชรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.

36.    ความสำคัญของกษัตริย์ดาริอุสแห่งเปอร์เชีย คือ

         1.   ทรงอุปถัมภ์ศาสนาโซโรแอสเตอร์                         2.   ขยายจักรวรรดิออกไปอย่างกว้างขวาง

         3.   พ่ายแพ้สงครามมาราธอนต่อพวกเอเธนส์ในปี 490 B.C.            4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 93 – 96, 143, 31 (H), 46 (H) ความสำคัญของกษัตริย์ดาริอุสมหาราชแห่งเปอร์เซีย มีดังนี้

1.   ขยายจักรวรรดิออกไปอย่างกว้างขวางโดยแบ่งเขตออกเป็น 20 มณฑล เรียกว่า “Satrapies”

2.   สร้างถนนไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิ เรียกว่า เส้นทางพระราชา” (The King’s Highway) เพื่อใช้ประโยชน์ในการปกครอง การสื่อสาร และการค้า

3.   ทรงอุปถัมภ์ศาสนาเซโรแอสเตอร์ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ

4.   ทรงพ่ายแพ้ต่อพวกกรีกเอเธนส์ในสงครามมาราธอนในปี 490 B.C. ฯลฯ

37.    ประชาชาติกลุ่มอารยธรรมอีเจียนทีทำสงครามกับพวกกรีกในสงครามม้าไม้ในมหากาพย์อีเลียด คือพวก

         1.   ครีตัน                                     2.   ไมซีเนียน                       3.   ทรอย                               4.   เปอร์เซีย

         ตอบ  3         หน้า 110 – 111, 113, 35 – 37 (H) พวกโทรจันหรือทรอย ถือเป็นประชาชาติกลุ่มอารยธรรมอีเจียนแหล่งสุดท้ายที่พยายามต่อสู้กับผู้รุกรานชาวกรีก จนเป็นต้นกำเนิดให้จินตกวีตาบอดชื่อโฮเมอร์ (Homer) แต่งมหากาพย์อีเลียด (Iliad) เล่าเรื่องราวการทำสงครามม้าไม้ (Trojan War)  ระหว่างพวกกรีกกับทรอย จนเป็นเหตุให้ทรงทรอยต้องล่มสลายไปในที่สุด

38.    ความสำคัญของศาสนาของชาวกรีก คือ

         1.   เน้นในเรื่องพระธรรมคำสั่งสอน                                     2.   การนับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว

         3.   เน้นในเรื่องการเกิดใหม่ในโลกหน้า

         4.   ความต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเอง

         ตอบ  4         หน้า 114 – 115, 39 (H) ความเชื่อเรื่องศาสนาของกรีกในยุคกษัตริย์ หรือยุคที่เริ่มการปกครองแบบนครรัฐนั้น ชาวกรีกจะเน้นความต้องการให้ศาสนาอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  การควบคุมตนเอง ความเจริญรุ่งเรืองของตนเอง และการทำมาหากิน รวมทั้งหนทางที่จะได้ผลประโยชน์ เช่น การมีอายุยืน โชคดี และเพาะปลูกได้ผล โดยจะไม่เน้นเรื่องจริยธรรมทางศาสนา การช่วยให้พ้นบาปหรือให้พรใด ๆ หรือชีวิตหลังความตาย

39.    ชาวกรีก เรียกตนเองว่า

         1.   Hellenes                 2.   Hellas               3.   Hellen1c          4.   Hellenistic

         ตอบ 1          หน้า 117, 38 (H) ชาวกรีกโบราณแม้จะแยกกันอยู่เป็นนครรัฐ แต่ก็รู้ตัวว่าเป็นชาวกรีกเหมือนกัน เพราะมีภาษาพูดและนับถือศาสนาเดียวกัน โดยชาวกรีกจะเรียกตนเองว่า เฮลเลนส์  (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ว่า เฮลลัส (Hellas) ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกว่า พวกป่าเถื่อน (Barbarians)

40.    ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนครรัฐสปาร์ตา

         1.   สืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน                                        

         2.   มีสภาพภูมิศาสตร์อยู่ในหุบเขาไม่ติดชายฝั่งทะเล

         3.   แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยการทำสงคราม

         4.   ชาวสปาร์ตามีภารกิจต่อรัฐน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบทับชนกลุ่มอื่น ๆ

         ตอบ  4         หน้า 118 – 121, 40 – 41 (H) ลักษณะสำคัญของนครรัฐสปาร์ตา คือ

                                1.   ชาวสปาร์ตาสืบเชื้อสายมาจากพวกตอเรียน

2.   มีสภาพภูมิศาสตร์อยู่ในหุบเขาไม่ติดชายฝั่งทะเล ทำให้ไม่มีกำแพงธรรมชาติป้องกันเหมือนนครรัฐอื่น

3.  แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยการทำสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ

4.  ปกครองแบบเผด็จการทหารเบ็ดเสร็จ  เพื่อควบคุมพวกทาสที่มีจำนวนมากกว่า

5.   ชาวสปาร์ตาเป็นผู้แบกภาระของรัฐไว้หนักที่สุด เพราะต้องเป็นทหารตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี

41.    ยุคทองและยุคประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์เป็นสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของ

1.   ดราโค                                    

2.   โซลอน                            

3.   คลิสเธนีส                       

4.   เพริคลิส

ตอบ  4         หน้า 127, 130, 43 (H) ในสมัยที่เพริคลิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ปกครองเอเธนส์นั้น (ราวปี 461 – 429 B.C.) เขาได้ทำให้เอเธนส์กลายเป็นบรมครูของนครรัฐกรีกทั้งมวล ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของเอเธนส์ นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองมากที่สุด ดังนั้นจึงนับเป็นสมัยประชาธิปไตยของเอเธนส์อีกด้วย

42.    รัฐในอุดมคติของอริสโตเติล คือ

         1.   การปกครองโดยกลุ่มคนฉลาด                          2.   การปกครองโดยการใช้กฎหมาย

         3.   การปกครองแบบเผด็จการ                                 4.   การปกครองแบบประชาธิปไตย

         ตอบ  2         หน้า 142, 45 (H) ในด้านการปกครองนั้น อริสโตเติลไม่เน้นที่คณะบุคคลเหมือนเพลโตแต่เขาถือว่ารัฐในอุดมคติจะต้องมีการปกครองโดยการใช้กฎหมายเป็นหลัก มิใช่ตัวบุคคลเนื่องจากกฎหมายเกิดจากเหตุผล ซึ่งเป็นผลของความคิดอย่างรอบคอบและสมดุลแล้วนั่นเอง

43.    การวิ่งมาราธอนในปัจจุบันเป็นผลมาจาก

         1.   การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในยุคโบราณ                            2.   การทำสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา

         3.   การทำสงครามระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย 4.   การบูชาเทพเจ้าประจำปีที่ทุ่งราบมาราธอน

         ตอบ 3          หน้า 143, 46 (H) สงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอน เป็นการทำสงครามระหว่างกรีกเอเธนส์กับเปอร์เซียในปี 49O B.C. โดยในสงครามครั้งนี้ได้เกิดมีวีรบุรุษชาวเอเธนส์ชื่อเฟดิปปิดิส  ซึ่งวิ่ง 2 วัน 2 คืนระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตาเพื่อขอกำลังทหารและแจ้งข่าวชัยชนะของเอเธนส์จนตัวเขาขาดใจตาย จึงเป็นตำนานให้เกิดการแข่งขันวิ่งมาราธอนเป็นระยะทาง 26 ไมล์ เมื่อมีการพื้นฟูกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1896

44.    สาเหตุที่พระเจ้าฟิลิปแห่งมาสิโดเนียสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกเข้าด้วยกันได้สำเร็จในปี 338 B.C. คือ

         1.   การเกิดสงครามภายในนครรัฐกรีก                  2.   การได้รับความช่วยเหลือจากเปอร์เชีย

         3.  มาสิโดเนียมีความเจริญทางเทคโนโลยีมากกว่านครรัฐอื่น ๆ                       4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  1         หน้า 143 – 144, 46 (H) ในปี 431 – 404 B.C. นครรัฐสปาร์ตาและเอเธนส์ของกรีกได้ทำสงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพลอปอนเนเชียน” (The Peloponnesian War)  ซึ่งเกิดขึ้นบนคาบสมุทรเพลอปอนเนซุสเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง  จนเปิดโอกาสให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาสิโดเนียยกกองทัพทหารฟาลังก์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้เป็นผลสำเร็จในปี 338 B.C.

45.    การปั้นพระพุทธรูปในอินเดียเป็นผลมาจาก

         1.   การทำสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย

         2.   การรุกรานอินเดียโดยกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์

         3.   เมื่อกรุงทรอยแตกพวกศิลปินทรอยได้หนีไปยังอินเดีย

         4.   อินเดียได้รับการถ่ายทอดการบินมาจากเปอร์เซีย

         ตอบ  2         หน้า 152, 47 (H) (คำบรรยาย) อิทธิพลที่อินเดียได้รับจากกรีกในสมัยที่ถูกรุกรานโดยกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช คือ ประติมากรรมหรือการปั้น ซึ่งที่เด่นชัดก็คือ การปั้นพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับ     เทพเจ้าอพอลโลของกรีกมาก

46.    สาธารณรัฐโรมันเกิดขึ้นจากการที่ชาวโรมันสามารถขับไล่อิทธิพลของพวก…..ออกไปจากกรุงโรมได้สำเร็จ

         1.   ละติน                                     2.   อีทรัสกัน                         3.   คาร์เถจ                            4.   กรีก

         ตอบ  2         หน้า 159, 48 – 49 (H) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสกันซึ่งเป็นกลุ่มทหารรับจ้างจากเอเชียน้อย ได้เข้ามาปกครองโรมันในระบอบกษัตริย์อย่างกดขี่ จนในปี 509 B.C. พวกแพทริเชียน  ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงของชาวโรมัน ก็ขับไล่อิทธิพลของพวกอีทรัสกันออกไปจากกรุงโรมได้สำเร็จจากนั้นชาวโรมันก็เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ  และดำรงอยู่ต่อมานานถึงประมาณ 500 ปี

47.    สงครามปูนิท คือสงครามที่พวกโรมันทำกับพวก…..

         1.   ละติน                                     2.  อีทรัสกัน                          3.   คาร์เถจ                            4.   กรีก

         ตอบ  3         หน้า 163, 50 (H) สงครามปูนิก (The punic War) เป็นสงครามระหว่างโรมันกับคาร์เถจที่ทำกันถึง 3 ครั้ง ในช่วงระหว่างปี 264 – 149 B.C. ซึ่งสงครามจบลงด้วยชัยชนะของโรมันทำให้โรมันสามารถยึดครองเกาะซิซิลี่ แอฟริกาเหนือ สเปน และฝรั่งเศส

48.    สำนวน “Cussing the Rubicon” มีความหมายถึง

         1.   การไปตายเอาดาบหน้า

         2.   ชัยชนะที่ได้มาแต่ผู้ชนะก็ได้รับความเสียหายเป็นอันมาก

         3.   การตัดสินใจเดินข้ามแม่น้ำ                                                4.   การตัดสินใจเข้าโจมตีอียิปต์

         ตอบ  1         หน้า 166, 50 (H) ในปี 49 B.C. จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้นำกองทัพข้ามแม่น้ำ         รูบิคอง  (Rubicon) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างอิตาลีกับซิซัลไปน์โกล เข้าไปในกรุงโรมเพื่อทำสงครามแย่งชิงอำนาจกับปอมเปย์  และจากเหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดสำนวนภาษาอังกฤษว่า “Crossing the Rubicon” ซึ่งมีความหมายว่า ไปตายเอาดาบหน้า หรือการตกลงใจที่เด็ดเดี่ยว

49.    ผู้ที่นำปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์มาเผยแพร่ใช้ในสาธารณรัฐโรมัน คือ

         1.   พระนางคลีโอพัตรา            2.   จูเลียส ซีชาร์                   3.   ปอมเปย์           4.   บรูตัส

         ตอบ  2         หน้า 52, 50 – 51 (H) (ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ) ในปี 46 B.C.  จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง ส่วนชื่อเดือนสิงหาคม หรือ August จะมาจากชื่อของจักรพรรคิออกุสตุสที่ 1  (Augustus I หรือ Augustus Caesar ซึ่งปกครองจักรววรรดิโรมันในปี 27 B.C.

50.    ชื่อเดือนที่ได้มาจากชื่อของจักรพรรดิออกุสตุสที่  1 (Augustus I) คือเดือน

         1.   มิถุนายน                2.   กรกฎาคม                        3.   สิงหาคม          4.   กันยายน

         ตอบ  3         ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51.    คำว่า “Gladiator” มีความหมายถึง

1.   ถนนโรมัน                                                            

2.   ปูนซีเมนต์ซึ่งพวกโรมันนำมาใช้เป็นพวกแรก

3.   กีฬาที่มีการต่อสู้ระหว่างคนกับคนและคนกับสัตว์       

4.   สถานที่แข่งรถศึกของพวกโรมัน

         ตอบ  3         หน้า 177 – 176, 52 (H) คำว่า กลาดิเอเตอร์ (Gladiator) หมายถึง กีฬาที่มีการต่อสู้แบบรุนแรงระหว่างคนกับคนและคนกับสัตว์ ซึ่งจะต่อสู้กันถึงตาย จึงนับเป็นกีฬาที่ป่าเถื่อนแต่เป็นที่นิยมกันในจักรวรรดิโรมัน โดยจะจัดแข่งขันกันในสนามแข่งขันที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่าสนามกีฬาโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม

52.    ภาษาของชาติใดที่ไม่ได้สืบทอดมาจากภาษา Romance หรือภาษาละติน

         1.   อิตาเดียน               2.  ฝรั่งเศส            3.   สเปน               4.   อังกฤษ

         ตอบ  4         หน้า 180, 53 (H) ภาษาละตินเป็นต้นกำเนิดของภาษาโรมานซ์สมัยใหม่ (Romance Language)  ซึ่งได้แก่ ภาษาอิตาเลียน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษารูมาเนีย  ส่วนภาษาอังกฤษนั้นมีต้นกำเนิดส่วนใหญ่มาจากภาษาเยอรมัน แต่ก็มีคำในภาษาอังกฤษถึง 1 ใน 3 ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน

53.    ผู้ที่ทำให้เปิดวิชาเทววิทยา (Theology) ขึ้นคือ

         1.   พระเยชู                 2.   เชนต์ปอล                       3.  เซนต์ปีเตอร์                    4.   เซนต์เจมส์

         ตอบ 2          หน้า 183, 53 (H) เซนต์ปอลได้สร้างกฎเกณฑ์ทางศาสนาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับคำสอนของพระเยซู และเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดวิชาเทววิทยา (Theology) ขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เลื่อมใสได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเรื่องของศาสนาและพระเจ้ามากขึ้นกว่าเดิม

54.    คริสต์ศาสนาที่นับถือในอาณาจักรโรมันตะวันออกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1054 เป็นต้นมา เป็นที่รู้จักกันในนาม

         1.   Roman Catholic                   2.   Greek Orthodox                           3.   Protestant       4.   Puritan

         ตอบ  2         หน้า 185, 239, 321, 54 (H) ในปี ค.ศ. 1054  ศาสนาคริสต์ได้แยกออกจากกันเป็น 2 นิกายอิสระ คือ

1.   นิกายกรีกออร์ธอดอกส์ (Greek Orthodox) นับถือกันในอาณาจักรโรมันตะวันออกโดยมีแพทริอาร์ช (Patriarch) แห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นประมุข

2. นิกายโรมันคาทอลิก (Ronan Catholic) นับถือกันในอาณาจักรโรมันตะวันตกโดยมีสันตะปาปา (Pope) ที่กรุงโรมเป็นประมุข

55.    พืชชนิดใดไม่ได้มีถิ่นกำเนิดมาจากโลกใหม่

         1.   Tobacco                 2.   Potato              3.   Tomato           4.   Apple

         ตอบ  4         หน้า 55 (H) พืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากโลกใหม่และถูกนำไปเผยแพร่โดยชาวยุโรป ได้แก่ ยาสูบ (Tobacco), มันฝรั่ง (Potato), มะเขือเทศ (Tomato), โกโก้ (Cacao), หมากฝรั่ง (Gum) ข้าวโพด (Maize) เป็นต้น

56.    ลักษณะเด่นของยุคกลาง คือ

         1.   คนไม่ค่อยรู้หนังสือ                             2.  ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุด

         3.   ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์   4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 208, 59 (H) ลักษณะเด่นของยุคกลาง คือ

1.   คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้หนังสือ แต่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกทักษะ หรือการเรียนรู้ด้วยของจริงจากการดู การฟัง และการฝึกวิชาชีพ

2.   ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุด มีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมันนั้น

3.   มีการปกครองเป็นแบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)

4.   พวกอนารยชน คริสต์ศาสนา และระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นสถาบันที่มีบทบาทเด่นในการผสมผสานและพัฒนาในยุคกลาง

57.    พวกอนารยชนลอมบาร์ดได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศใดในปัจจุบัน

         1.   อังกฤษ                                   2.   อิตาลี                3. ฝรั่งเศส             4.   เยอรมนี

         ตอบ  2         หน้า 212, 60 (H) หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกแล้ว พวกอนารยชนลอมบาร์ด (The Lombards) ก็เริ่มรุกรานอิตาลีในปี ค.ศ. 568 โดยยึดภาคเหนือของลุ่มแม่น้ำโปไว้เป็นที่มั่นแล้วขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ของแหลมอิตาลี และได้ก่อตั้งแคว้นลอมบาร์รีขึ้น  ทำให้ต่อมาดินแดนแบบนี้จึงได้ชื่อว่าแค้วนลอมบาร์ดี

58.    ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรภาษาแรกของพวกเยอรมัน คือภาษาของพวก

         1.   กอธ                                        2.   เบอร์กันเดียน                 3.   แฟรงค์            4.   แวนเดิล

         ตอบ  1         หน้า 211, 60 (H) ภาษาลายลักษณ์อักษรภาษาแรกของพวกเยอรมัน  คือ ภาษาของพวกกอธ(Goths) หรือภาษากอธ (Gothic) ซึ่งเป็นอนารยชนชาวเยอรมันตะวันออก (East Germans) พวกแรกที่เดินทางเข้าไปในรัสเซียจนถึงบริเวณทะเลดำ  เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3

59.    สาเหตุความเสื่อมของราชวงค์เมโรแวงเจียนของพวกแฟรงค์ คือ

         1.   การเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์

         2.   การแบ่งดินแดนให้แก่พระราชโอรสทุกพระองค์

         3.   การทำสงครามแย่งชิงดินแดนระหว่างพระราชโอรสเมื่อกษัตริย์องค์เดิมสิ้นพระชนม์

         4.   ถูกข้อ 2 และ 3

         ตอบ  4         หน้า 215 – 216, 62 (H) เมื่อกษัตริย์โคลวิสของพวกแฟรงค์สิ้นพระชนม์ลงใน ค.ศ. 511 ราชวงศ์เมโรแวงเจียนค่อย ๆ เสื่อมอำนาจ เนื่องจากประเพณีที่กษัตริย์ทรงแบ่งดินแดนในอาณาจักรให้แก่พระราชโอรสทุกพระองค์ ทำให้อาณาจักรแตกแยก และเกิดการทำสงครามแย่งชิงดินแดนกันเองระหว่างพระราชโอรส จนในที่สุดอำนาจก็ตกไปอยู่กับสมุหราชมณ-เทียรและนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 738 (ปลายศตวรรษที่  8) เป็นต้นมานั้น กษัตริย์เมโรแวงเจียนก็กลายเป็น กษัตริย์ที่ไม่ทำอะไร” (Do nothing Kings) หรือกษัตริย์ที่ขี้เกียจ (Sluggard Kings)

60.    การบริจาคที่ดินของเปแปง (Donation of Pepin) ให้แก่สันตะปาปาในปี ค.ศ. 752 มีผลติดตามมา คือ

1.   ทำให้อำนาจทางการเมืองของเปแปงมั่นคงยิ่งขึ้น

2.   เปแปงได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากสันตะปาปา

3.   ทำให้เกิดรัฐสันตะปาปาขึ้นในเวลาต่อมา                                      

4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  3         หน้า 217, 319, 62 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 ขึ้นเป็นกษัตริย์ของราชวงศ์คาโรแลงเจียนในปีค.ศ. 752 แล้ว เปแปงก็ต้องการการสนับสนุนทางการเมือง จึงเข้ายึดครองอาณาจักรภาคกลางในอิตาลีของพวกลอมบาร์ด และนำไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของเปแปง  (Donation of Pepin) ซึ่งมีผลตามมาคือ เกิดรัฐสันตะปาปา (Papal States) และเป็นการเริ่มอำนาจทางการเมืองของสันตะปาปาในอิตาลี ซึ่งยืนยงต่อมาจนถึง ค.ศ. 1870

61.    ความสำคัญของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ  คือ

1.   รวบรวมดินแดนในยุโรปเข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น

2.   ได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิจากสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800

3.   ฟื้นฟูศิลปวิทยาขึ้นมาใหม่ภายหลังจากกรุงโรมแตกในศตวรรษที่ 5                         

4.   ถูกทุกข้อ

ตอบ 4  หน้า 217 – 220, 63 (H) ความสำคัญของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ (Charlemagne) คือ

1.  ทรงรวบรวมดินแดนในยุโรปตะวันตกเข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น

2.   ทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 ในปี ค.ศ. 800  ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ โดยมีจักรพรรดิเป็นชาวเยอรมัน

3.   มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาคาโรแลงเจียนขึ้นมาใหม่คือ การผสมผสานอารยธรรมคลาสสิกกับรูปแบบประเพณีของอนารยชน ฯลฯ

62.    ความหมายของคำว่า “Fiefs” คือ

1.   เจ้าของที่ดิน                                                                                                          

2.   ผู้เช่าที่ที่ดิน

3.   ที่ดินที่เป็นพันธะระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน           

4.   ที่ดินของพวกทาสติดที่ดิน

         ตอบ  3         หน้า 223, 65 (H) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟัวดัล (Feudalism/Feudal) มาจากคำว่า “Feuda” หรือ“Fiefs” ซึ่งหมายถึง ที่ดินที่เป็นพันธะระหว่างเจ้าของที่ดินหรือเจ้า (Lord) กับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือข้า (Vassals)

63.    ความสำคัญของเงินช่วย Aids ในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ คือ

1.   เพื่อจัดทัพไปทำสงครามครูเสด                                                        

2.   เพื่อไถ่ตัวเจ้าเมื่อถูกจับเป็นเชลย

3.   เพื่อจ่ายแก่บุตรของเจ้าเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน                

4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 229 Aids คือ เงินช่วยที่ข้าผู้เช่าที่ดินจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ 

1.  เพื่อจัดทัพไปทำสงครามศาสนาหรือสงครามครูเสด

2. เพื่อไถ่ตัวเจ้าเมื่อถูกจับไปเป็นเชลยสงคราม

3. เพื่อจ่ายแก่บุตรชายของเจ้าเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน

4. เพื่อจ่ายในการแต่งงานลูกคนโตของเจ้า

64.    ความสำคัญของการบัพพาชนียกรรม (Excommunication) และ interdict คือ

         1.   การประกาศสันติสุขแห่งพระเจ้า                                     2.   ระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

         3.   เป็นการลงโทษทางศาสนา                                                4.   เป็นการแต่งตั้งพระในตำแหน่งสูง ๆ

         ตอบ  3         หน้า 240, 321, 66 (H) มาตรการลงโทษทางศาสนาคริสต์  มีดังนี้

1. Excommunication หรือการบัพพาชนียกรรม คือ การประกาศขับไล่บุคคลให้เป็นพวกนอกศาสนา หรือพากนอกรีต (Heretic) ทำให้ไม่มีใครคบด้วย

2.   Interdict คือ การประกาศให้เป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามทำพิธีกรรม และบางกรณีอาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุด ส่งผลให้คนเกรงกลัวเชื่อฟังศาสนา และทำให้ศาสนาคริสต์มั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ได้ในยุคกลาง

65.    สาเหตุสำคัญที่นำความเสื่อมมาสู่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์  คือ

         1.   สงครามครูเสด        2.   ความเจริญทางการค้า                3.   การเกิดโรคระบาด        4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 237, 66 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล๘ เสื่อมลงได้แก่

1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปจำนวนมาก กษัตริย์จึงมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

2. ความเจริญทางการค้า ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามครูเสด

3. ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้อัศวินสวมเกราะและป้อมปราการหมดความหมาย

4.  การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค ทำให้ประชากรลดลง พวกทาศติดที่ดินจึงหางานทำได้ง่ายขึ้น

66.    จักรพรรดิโรมันผู้ทรงยอมรับเอาคริสต์ศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติในปี ค.ศ. 380 คือ

         1.   คอนสแตนติน                      2.   ทีโอโดซิอุส                    3.   เนโร                4.   ออกุสตุสที่ 1

         ตอบ  2         หน้า 165, 54 (H) ในปี ค.ศ. 380 เป็นปีที่สำคัญต่อบทบาทของศาสนาคริสต์ เมื่อจักรพรรดิ ทีโอโดซิอุส (Theodosius) ได้ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรติโรมันทำให้ศาสนาคริสต์มีบทบาทางการเมืองของโรมันอย่างแท้จริง จนกระทั่งกลายเป็นองค์การทางศาสนาและการเมืองที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในพระวัติศาสตร์

67.    จักรพรรดิเยอรมันผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาในปี  ค.ศ. 962 เพื่อสถาปนาจักรวรรดิโรมัน

         อันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเช่นเดียวกับสมัยจักรพรรดิชาร์เลอมาญ  คือ

         1.   คอนราด                 2.   ฟิลิป                 3.   ออตโตที่ 1                      4.   เฮนรี่ที่ 1

         ตอบ 3          หน้า 246 – 247, 69 (H) ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออตโตที่ 1 แห่งแซกโซนี ได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ให้ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับ แต่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จะประกอบไปด้วยดินแดนเยอรมนีและอิตาลี ซึ่งทำให้พระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ในยุโรปในฐานะพระจักรพรรดิผู้ปกครองเยอรมนี และยังได้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งอิตาลีอีกด้วย

68.    โบสถ์เชนต์โซเฟียในกรุงคอนสแตนติโนเปิลสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิ

         1.   ลีโอ                                         2.   จัสติเนียน                       3.   เนโร                                4.   ทราจัน

         ตอบ  2         หน้า 252 – 253, 70 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก  ได้แก่

1.  ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปนและอิตาลีในยุโรปตะวันตก

2. สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civillis) ในปี  ค.ศ. 529

3. สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ในกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537

69.    ความพ่ายแพ้ของจักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา ต่อสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3  ตามสนธิสัญญาสันติภาพคองสตังซ์ในปี ค.ศ. 1183 มีผลที่ติดตามมา คือ

         1.   สิ้นสุดการรวมดินแดนเยอรมนีเข้ากับอิตาลี

         2.   ดินแดนเยอรมนีแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

         3.   สันตะปาปาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ                    4.   ถูกข้อ 1 และ 2

         ตอบ  4         หน้า 261, 71 – 72 (H) จากความพ่ายแพ้ของจักรพรรดิเฟรเดอริกที่ 1 บาร์บารอสซาต่อสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3ในสงครามระหว่างอาณาจักรกับศาสนจักร ทำให้จักรพรรดิต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพคองสตังซ์กับพวกลอมบาร์ดในปี ค.ศ. 1183 ซึ่งมีผลตามมา คือ

1. แคว้นลอมบาร์ดเป็นอิสระและได้ปกครองตนเอง

2. สิ้นสุดการรวมดินแดนอิตาลีเข้ากับเยอรมนี

3. อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ดินแดนเยอรมนี) แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

70.    ขุนนางฝรั่งเศสผู้สามารถยกกองทัพไปตีอังกฤษได้สำเร็จและปราบดาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษในปี ค.ศ. 1066 คือ

         1.   ฟิลิป ออกัสตัส                      2.   วิลเลียมแห่งนอร์มังดี                   3.   อองรี                4.   หลุยส์

         ตอบ  2         หน้า 271, 72 (H) 74 (H) ในปี ค.ศ. 1066 วิลเลียมแห่งนอร์มังดี ขุนนางฝรั่งเศสซึ่งมีฐานะ เป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศสได้ยกกองทัพเข้ายึดครองอังกฤษได้สำเร็จ และได้ปราบดาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษ คือ กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 หรือวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) ซึ่งมีผลให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ เป็นเจ้า (Lold) สูงสุดในอังกฤษและเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศสเมื่อไปถือครองดินแดนในฝรั่งเศส ซึ่งจะกลายมาเป็นชนวนของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

71.    การที่พระเจ้าจอห์นกษัตริย์อังกฤษถูกพวกขุนนางบังคับให้ลงนามในเออสาร Magna Carta ในปี ค.ศ.1215  ทำให้มีผลติดตามมา คือ

1.   เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบรัฐสภาในอังกฤษ

2.   กษัตริย์อังกฤษจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพวกขุนนาง

3.   กษัตริย์อังกฤษต้องขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ฝรั่งเศส

4.   ทำให้การเก็บภาษีมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

         ตอบ  1         หน้า 275, 75 (H), 108 (H) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นกษัตริย์อังกฤษทรงถูกพวกขุนนางบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้เดิมผลให้กษัตริย์ถูกลดอำนาจในการตัดสินคดี และการจัดเก็บภาษีต้องทำด้วยความยุติธรรม ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภาของอังกฤษ และเป็นการปกครองที่กษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

72.    สงครามครูเสดครั้งที่ 4 มีผลทำให้กองทัพครูเสดยึดครองกรุง….ได้สำเร็จ

1.   เยรูซาเล็ม               2.   คอนสแตนติโนเปิล                      3.   ไคโร                4.   แบกแดด

         ตอบ  2         หน้า 283, 76 (H) สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202 – 1204) เป็นสงครามระหว่างพวกคริสเตียนในจักรวรรดิโรมันตะวันตกกับจักรวรรดิโรมันตะวันออกด้วยกันเองเนื่องจากกองทัพครูเสดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกภายใต้การนำของสาธารณรัฐเวนิสและวารสนับสนุน ของสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ได้เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้สำเร็จ

73.    ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ประกาศทอง” (The Golden Bull) ในปี ค.ศ. 1356 แล้ว ผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คือ

1.  สันตะปาปา                                                                            

2.   คณะผู้เลือกตั้ง 7 คน

3.  จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันตะวันออก                        

4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  2         หน้า 292 – 293, 78 (H) ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Goden Bull) ในปี ค.ศ. 1356โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กนั้น ได้กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์  หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน เป็นผู้มีสิทธิเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร จึงถือเป็นการตัดสิทธิในการเลือกจักรพรรดิของสันตะปาปาออกไป

74.    ผลของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสซึ่งต้นสุดลงในปี ค.ศ. 1453 คือ

         1.  ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อม                                2.  ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม

         3.  กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น                                                        4.  ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 299, 79 (H) ผลของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสมีดังนี้ คือ

1.   เป็นการสิ้นสุดระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะพวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก และยังส่งผลให้กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น   

2.  ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นทั้ง 2 ชาติ กษัตริย์สามารถรวมชาติได้สำเร็จ

3. อังกฤษได้เลิกใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ

75.    “สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนีย” (Babylonian Captivity 1305 – 1377) มีความสำคัญ คือ

1.  สันตะปาปาเสด็จมาประทับที่เมืองอาวิญยอง

2.  สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส

3.  แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของสันตะปาปา                       

ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 300 – 303, 80 – 81 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง(Babylonian Captivity 1305 – 1377)  เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับพวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่กรุงบาบิโลนในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ซึ่งมีผลตามมาคือ

1.   สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนสันตะปาปา

2.   สันตะปาปามิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

3. แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของส้นตะปาปาและศาสนจักร

76.    ความสำเร็จของการสถาปนารัฐชาติของพระเจ้าเฟอร์ดินานกับพระนางอิสซาเบลลาแห่งสเปน คือ

         1.  การยึดกรุงเยรูซาเล็มจากพวกมอสเล็ม                              2.  การยึดกรานมาดาจากมัวร์

         3.  การเข้ายึดครองโปรตุเกส                                                    4.  การทำสงครามจนได้รับชัยชนะจากฝรั่งเศส

         ตอบ  2         หน้า 267, 335 – 336, 86 – 87 (H) การรวมสเปนที่เข้มแข็งที่สุดเกิดขึ้นเมื่อกษัตริย์อาทอลิก(The catholic Kings) แห่งสเปน คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 2 แห่งอรากอน และพระราชนี-อิสซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล ได้ทรงอภิเษกสมรสและร่วมกันทำสงครามครูเสดจนสามารถขับไล่พวกมัวร์ออกจากสเปนและยึดอาณาจักรกรานาตาคืนมาได้สำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1492  ทำให้การปกครองโดยมุสลิมในสเปนสิ้นสุดลง และสามารถสถาปนารัฐชาติได้สำเร็จมั่นคงตั้งแต่ ค.ศ. 1469 – 1516

77.    ในสมัยศตวรรษที่ 15 ดินแดนที่ยังไม่ได้รวมตัวเป็นรัฐชาติ คือ

         1.  เยอรมนี                   2.  อิตาลี                 3.  โปรตุเกส                         4.  ถูกข้อ 1 และ 2

         ตอบ  4         หน้า 332, 393, 86 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นสมัยการกำเนิดรัฐชาติภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้ประสบความสำเร็จใน 4 ประเทศ คือ สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของระบอบฟิวดัล และความสำนึกในความเป็นชาติ

78.    ลักษณะที่สำคัญของลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) คือ

         1.   การควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบากแห่งชาติ                       2.   รัฐบาลหาเงินมาเพื่อขยายกองทัพ

         3.   การพึ่งพาเศรษฐกิจชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด                    4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 339 – 340, 88 (H) ลักษณะที่สำคัญของลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) ได้แก่

1.       รัฐบาลแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด 

2.       นายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้า

3.       รัฐบาลนำเงินที่ได้จากการค้าไปสร้างกองทัพเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอื่น

4.    บังคับให้ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เท่านั้น

5.    พึ่งพาเศรษฐกิจของชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด

6.    เน้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างรัฐชาติ

79.    ชาวโปรตุเกสคนแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือมาสู่อินเดีย คือ

         1.   ไดแอซ                   2.   วาสโก ดา กามา             3.   คาบรัล                             4.   แมกเจลแลน

         ตอบ  2         หน้า 336, 351, 90 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเบนชาติแรกที่เป็นผู้นำในการเดินเรือเข้ามาในทวีปเอเชีย โดยนักเดินเรือคนสำคัญ คือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama)สามารถเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกา ไปถึงอินเดียในปี ค.ศ. 1498 ได้สำเร็จเป็นคนแรก

80.    สนธิสัญญาทอร์เดเซลลัส ค.ศ. 1494 โดยสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 เป็นสนธิสัญญาเพื่อแบ่งเขตสำรวจทางทะเลระหว่างประเทศ……. กับประเทศ……..

         1.   สเปน โปรตุเกส                   2.   โปรตุเกส อังกฤษ          3.   อังกฤษ สเปน                 4.   สเปน ฝรั่งเศส

         ตอบ  1         หน้า 351, 90 (H) จากข้อพิพาทในการสำรวจดินแดนอเมริกา ได้ทำให้เกิดสนธิสัญญา     ทอร์เดเซลลัส (The Treaty of Tordesillas) ขึ้นในปี ค.ศ. 1494 โดยสันตะปาปาอเล็กซาน- เดอร์ที่ 6 ทรงให้ลากเส้นสมมุติเพื่อแบ่งเขตการสำรวจทางทะเลระหว่างสเปนกับโปตุเกส ซึ่งส่งผลให้สเปนได้สิทธิการสำรวจทางตะวันตกและโปรตุเกสได้สิทธิการสำรวจทางตะวันออก

81.    การฟื้นฟูศิลปวิทยาการก่อให้เกิดผลตามมา คือ

1.   วรรณคดีซึ่งให้ความสนใจในเรื่องของมนุษย์               

2.   ศิลปวิทยาการแพร่ขยายเพราะการพิมพ์

3.   การปฏิรูปศาสนา                                                                 

4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 355 – 357, 372 – 375 ผลจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Ronaissance) ได้แก่ 

1. เกิดวรรณคดีซึ่งให้ความสนใจ ในเรื่องมนุษย์ (Humanism)   

2. เกิดการปกครองในระบอบราชาธิปไตย              

3. เกิดการประดิษฐ์แทนพิมพ์ จึงทำให้ศิลปวิทยาการแพร่ขยายได้สะดวกรวดเร็วขึ้น        

4. เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์             

5. เกิดการปฏิรูปศาสนา ฯลฯ

82.    หนังสือ The Prince โดยมาเคียเวลลี พิมพ์ในปี ค.ศ. 1513 มีจุดประสงค์ในการเขียนเพื่อ

         1.   หาผู้ปกครองที่ฉลาดและเข้มแข็ง                     2.   การได้มาซึ่งอำนาจ

         3.   การรวมอิตาลีเข้าด้วยกัน                                     4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4         หน้า 362, 94 (H) จุดประสงค์ที่มาเคียเวลลีเขียนหนังสือเรื่อง “The Prince” ซึ่งพิมพ์ในปีค.ศ. 1513 คือ ต้องการที่จะรวมอิตาลีให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน โดยมีผู้ปกครองที่ฉลาดและเข้มแข็ง เป็นผู้ที่มีความรักชาติอย่างจริงใจ ใช้นโยบายเด็ดขาด และมีวิธีการได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่คำนึงถึงถึงศีลธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ยุติธรรม หรือเกียรติยศชื่อเสียง

83.    สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ

         1.   พระไม่อยู่ในศีลธรรม                                         2.   พิธีกรรมทางศาสนามีมากเกินไป

         3.   สันตะปาปาเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง           4.   การขายใบไม่บาป

         ตอบ  4            หน้า 378, 98 (H), 103 (H)  สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16  คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่  10  ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมันซึ่งเป็นบุคคลแรกที่มีบทบาทในการริเริมให้มีการปฏิรูปศาสนาขึ้นในยุโรป จนกลายเป็นจุดเริ่มต้น  ของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

84.    นิกายที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม Protestant คือ

         1.   Lutheranism         2.  Jesuit                 3.   Calvinism                        4.   Presbyterian

         ตอบ  2            หน้า 386, 101 (F)  ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant) แบ่งออกเป็นนิกายต่าง ๆ ดังนี้

1. นิกายลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism)                           

2. นิกายคาลวินิสม์ (Calvinism)

3. นิกายเพสไบทีเวียน (Presbyterins)

4. นิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England)

85.    บุคคลคนแรกที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในยุโรป คือ

         1.  อิรัสมัส                    2.   มาร์ติน ลูเธอร์                3.   อูลริค สวิงกลิ                 4.   จอห์น คาลแวง

         ตอบ  2            ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

86.    การประกาศใช้พระราชบัญญัติ Act of supremacy ในปี ค.ศ. 1534 ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ทำให้มีผลติดตามมา คือ

         1.   กษัตริย์อังกฤษคือผู้ควบคุมศาสนจักรในอังกฤษ

         2.   เกิดนิกาย Church of England

         3.   กษัตริย์อังกฤษยึดที่ดินของวัดมาเป็นของกษัตริย์                          4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ  4            หน้า 383, 99 (H) พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ทรงปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ โดยให้รัฐสภาออกฎหมาย  The Act of supremacy ในปี ค.ศ. 1534  ซึ่งทำให้มีผลติดตามมา คือ

1. กษัตริย์ขึ้นมาเป็นประมุขทางศาสนาและควบคุมศาสนจักรในอังกฤษแทนสันตะปาปา

2.   กษัตริย์ทรงยึดทรัพย์สินและที่ดินของวัดมาแจกจ่ายให้ขุนนางที่สนับสนุนพระองค์

3.   อังกฤษเปลี่ยนศาสนามาเป็น “Catholic without Pope” ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1563 จะเรียกศาสนาในอังกฤษว่า นิกายอังกฤษ”  (Church of England)

87.    การจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา (Inquisition) ทำให้ดินแดน…และ….. รอดพ้นจากการขยายอิทธิพลของพวกโปรเตสแตนต์

         1.   อังกฤษ  ฝรั่งเศส   2.   ฮอลันดา เบลเยียม         3.   เยอรมนี สวีเดน             4.   สเปน อิตาลี

         ตอบ 4             หน้า 385, 99 (H) การต่อต้านการปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ของฝ่ายคาทอลิกประการหนึ่งคือ จารจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา (Inquisition) เพื่อต่อต้านการกระทำของพวกนอกรีตหรือพวกโปรเตสแตนต์ โดยมีการลงโทษอย่างรุนแรง เช่น การเผาทั้งเป็น  ซึ่งศาลพิเศษทางศาสนาประสบความสำเร็จในการปราบปรามพวกนอกรีตเป็นจำนวนมากในสเปนและอิตาลี จึงทำให้ทั้งสองประเทศนี้รอดพ้นจากการขยายอิทธิพลของพวกโปรเตสแตนต์

88.    ผลของการปฏิรูปศาสนา คือ

         1.   การสิ้นสุดสภาพศาสนาสากล                          

         2.   การยึดมั่นในพระคัมภีร์และการเกิดความรู้สึกชาตินิยม

         3.   การเกิดสงครามศาสนา                                                                       4.   ถูกทุกข้อ

         ตอบ 4             หน้า 386, 101 (H) ผลของการปฏิรูปศาสนา คือ

1. การสิ้นสุดของสภาพศาสนาสากล คือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะวันตกอีกต่อไป เกิดนิกายโปรเตสแตนต์มากมายหลายนิกาย

2. การสิ้นสุดเอกภาพทางการเมืองของยุโรปและเปลี่ยนไปเป็นการสร้างสปิริตชาตินิยม

3. เน้นความเชื่อมั่นในศาสนาเพียงหนึ่งเดียว คือ โปรเตสแตนต์เชื่อมั่นในพระคัมภีร์      ไบเบิล  ส่วนคาทอลิกเชื่อมั่นในวัด

4. กษัตริย์และชนชั้นกลาง (พ่อค้า) มีอำนาจมากขึ้นและเกิดระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

5. เกิดสงครามศาสนาและสงครามชิงดินแดนในโลกใหม่

89.    ก่อนเกิดการปฏิรูปศาสนา ดัทช์เคยเป็นอาณานิคมของ……. มาก่อน

         1.   อังกฤษ                   2.   ฝรั่งเศส                           3.   สเปน                               4.   โปรตุเกส

         ตอบ  3            หน้า 387 – 388, 100 (H) ดัทช์เคยเป็นอาณานิคมของสเปนและนับถือนิกายคาทอลิกมาก่อนเมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาพวกดัทช์ได้เปลี่ยนไปเป็นโปรเตสแตนต์นิกายคาลวินิสม์ ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ของสเปนนำเอาระบบศาลพิเศษทางศาสนาเข้าไปใช้กับพวกดัตช์ ส่งผลให้พวกดัทช์ก่อการปฏิวัติแยกตัวออกจากการปกครองของสเปนและได้ประกาศ เอกราชในปี  ค.ศ. 1581 เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐ แต่ได้เอกราชอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.  1648

90.    สงคราม 30 ปี (ค.ศ. 1618 – 1648) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายในยุโรป  มีผลทำให้การรวม….ช้าไปถึง 200 ปี

         1.   อิตาลี                                      2.   เยอรมนี                           3.   สวิตเซอร์แลนด์                             4.   ออสเตรีย

         ตอบ  2         หน้า 390 – 391, 101 (H) สงครามยุโรปหรือสงคราม 30 ปี (ค.ศ. 1618 – 1648)  เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี)  ระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ซึ่งมีประเทศผู้นำคือ  อังกฤษและฝรั่งเศส กับพวกคาทอลิกซึ่งมีประเทศผู้นำคือ สเปน ซึ่งในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรปแทนที่สเปน และดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

91.    ความสำเร็จของริเชอลิเชอลิเออในการนำฝรั่งเศสเข้าร่วมในสงคราม 30 ปี คือ การทำลายอำนาจของพวก…..ในยุโรป

1.  อังกฤษ                                    

2.   สเปน                               

3.   รัสเซีย                              

4.   ดัทช์

         ตอบ  2         หน้า 404, 407,  106 (H) จุดประสงค์สำคัญที่ทำให้บาทหลวงริเชอลิเอออัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13แห่งฝรั่งเศสซึ่งเป็นคาทอลิก นำฝรั่งเศสเข้าสู่สงคราม 30 ปีร่วมกับฝ่ายโปรเตสแตนต์ในเยอรมนี คือ การมุ่งทำลายล้างราชวงศ์แฮปสเบิร์ก (Hapsburg) ของสเปนซึ่งปกครองดินแดนปิดล้อมฝรั่งเศสในขณะนั้นให้ได้ นอกจากนี้ก็เพื่อผลทางการค้า ความมั่นคงในเขตทะเลบอลติก และการรักษาสถานภาพของแคว้นเยอรมนีก่อนสงคราม

92.    กษัตริย์ฝรั่งเศสผู้ทรงยกเลิกโองการแห่งเมืองนังส์ (Edict of Nantes) ซึ่งเป็นข้อประนีประนอมทางศาสนาในปี ค.ศ. 1685 คือ

1.   เฮนรี่ที่ 4

2.   หลุยส์ที่ 13

3.   หลุยส์ที่ 14

4.   หลุยส์ที่ 15

         ตอบ  3         หน้า 404, 409, 106 (H) ในปี ค.ศ. 1598 พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าพวกฮิวเกอโนต์  (พวกโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส) ได้ทรงออกโองการแห่งเมืองนังส์ (Edict of Nantes) เพื่อให้เกิดการประนีประนอมและความเสมอภาคทางศาสนาขึ้นในฝรั่งเศส แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1685  พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงยกเลิกโองการแห่งเมืองนังส์และปราบปรามพวกฮิวเกอโนต์อย่างรุนแรง ส่งผลให้การอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของฝรั่งเศสกระทบกระเทือนเป็นอย่างยิ่ง

93.    การต่อสู้ระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับพวกเพียวริตันในรัฐสภามีผลตามมา คือ

         1.  อังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ          

         2.   รัฐสภาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์

         3.   อังกฤษปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

         4.   อังกฤษเปลี่ยนกลับไปนับถือนิกายคาทอลิก

         ตอบ  1         หน้า 411 – 413, 107 (H) ในปี ค.ศ. 1642 – 1649 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอังกฤษซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับพวกเพียวริตัน (Puritans) ในรัฐสภาอังกฤษ ในกรณีที่พระองค์ต้องกการหาเงินเพื่อไปปราบปรามการกบฏของพวก สก็อตแต่สงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลที่  1 ถูกตัดสินประหารชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบเทวสิทธิ์ในอังกฤษ และเปลี่ยนแปลงไปสู่การไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)

94.    ผลงานที่สำคัญของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซียกับพระนางแคเทอรีนแห่งรัสเซีย คือ การแบ่งประเทศ……

         1.   ออสเตรีย               2.   โปแลนด์                         3.   ฮังการี                              4.   โรมาเนีย

         ตอบ  2         หน้า 427, 109 (H) พระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเชียได้ร่วมกับปรัสเซียและออสเตรียทำการแบ่งประเทศโปแลนด์ถึง 3 ครั้ง คือ 1. ในปี ค.ศ. 1772 ร่วมกับพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย และออสเตรีย ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791                  2.   ในปี ค ศ. 1793 ร่วมกับปรัสเซีย จนทำให้เกิดจลาจลใน     โปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด       3. ในปี ค.ศ. 1795 ร่วมกับ ปรัสเซียและออสเตรีย ซึ่งเป็นผลทำให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรปนับตั้งแต่นั้น

95.    ในยุคแห่งเหตุผล (Age of Reason 1650 – 1815) เหตุและผลทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทมากขึ้น  สิ่งที่ลดความสำคัญลง คือ

1.   ความคลั่งไคล้ในศาสนา

2.   ศรัทธาและความเชื่อมั่นทางศาสนา

3.   ความเชื่อมั่นในตัวเองหรือความเป็นมนุษย์    

4.   ถูกข้อ 1 และ 2

         ตอบ  4         หน้า 432, 110 (H) ยุคแห่งเหตุผล (Age of Reason) คือ ตลอดสมัยระหว่างปี ค.ศ.1650 – 1815 เป็นยุคที่สงครามนองเลือดที่เกิดจากความคลั่งไคล้ในศาสนาเริ่มลดความรุนเเรงลงและความศรัทธาเชื่อมั่น (Faith) ทางศาสนาเริ่มเปิดทางให้กับหลักเหตุและผล (Reason) มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นของการค้นคว้าทางวิยาศาสตร์ที่ได้สร้างหลักการซักถามการให้เหตุผล และการหาคำตอบมาพิสูจน์ให้ได้ โดยวิธีการทดลองทางวิทยศาสตร์

96.    การค้นพบที่สำคัญในยุคประเทืองปัญญา  (Age of Enlightenment 1700 – 1789) คือ

         1.   แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลกและจักรวาลโดยเซอร์ไอแซค นิวตัน

         2.   แนวปรัชญาสวรพเทวนิยมของสปินโนซา

         3.   ทฤษฎีการเมืองของโทมัส ฮอบบ์

         4.   ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของอดัม สมิธ

ตอบ  1                   หน้า 430, 432, 437 – 438, 110 – 111 (H) ยุคประเทืองปัญญา (Age of Enlightenment) คือ ส่วนหนึ่งของยุคแห่งเหตุผล ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1700 – 1789  ซึ่งมีการค้นพบที่สำคัญ ได้แก่ การค้นพบกฎความโน้มถ่วงหรือกฎการดึงดูดของโลก  และจักรวาลเรื่องโลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยเซอร์ไอแซก  นิวตันจากงานพิมพ์ที่เรียกสั้น ๆ ว่า Principia ในปี ค.ศ. 1687

97.    นักปรัชญาทางการเมืองผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 คือ

         1.   รุสโซ                                      2.   จอห์น ล็อค                     3.   โทมัส ฮอบบ์ 4.   ถูกข้อ 1 และ 2

         ตอบ  4         หน้า 441, 446 – 447, 454, 112 – 113 (H) จอห์น ล็อค และรุสโซ เป็นนักปรัชญาทางการเมืองผู้เสนอแนวคิดสัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏในคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของชาวอาณานิคม ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น

98.    การปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776  มีอิทธิพลทำให้เกิดการปฏิวัติขึ้นประเทศ…. ในเวลาต่อมา

         1.  อังกฤษ                                    2.   ฝรั่งเศส                           3.   สเปน                               4.   ออสเตรีย

         ตอบ  2         หน้า 456, 114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 นั้น  ได้รับอิทธิพลมาจากการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 และการปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ทำให้ฝรั่งเศสนำแนวทางจากทั้งสองประเทศนี้มาเป็นแบบของตน กล่าวคือ ดำเนินการปฏิบัติงานตามแบบอังกฤษ แต่ดำเนินการเรื่องการประกาศสิทธิมนุษยชนตามแบบอเมริกา

99.    สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ

         1.   การปกครองแบบกดขี่                                         2.   ปัญหาทางด้านการคลัง

         3.   ความไม่เสมอภาคทางสังคม                              4.   ความขัดแย้งในกลุ่มพวกขุนนาง

         ตอบ  2         หน้า 114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1769 คือ ปัญหาทางการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในการบริหารประเทศจึงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกันหาวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนที่ประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่การปฏิวัติในที่สุด

100.     การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ทำให้ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ

             1.   สาธารณรัฐ                                                        2.   สมบูรณาญาสิทธิราชย์

             3.   กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ                              4.   เผด็จการ

             ตอบ  1      หน้า 461 – 462, 114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบอภิสิทธิ์และต้องการเข้ามามีส่วนรวมในการปกครอง ซึ่งภาคหลังการปฏิวัติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองในระบอบสาธารธนรัฐ นอกจากนยังส่งผลกระทบต่อภายนอก คือ การเกิดสงครามและเผยแพร่ความคิดของการปฏิวัติออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

101.     การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ (Continental System) คือยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่นโปเลียนห้ามไม่ให้ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสทำการติดต่อค้าขายกับประเทศ…….

1.   ฮอลันดา             

2.   สหรัฐอเมริกา                

3.   อังกฤษ                            

4.   โปรตุเกส

             ตอบ  3      หน้า 469, 117 (H) ในปี ค.V. 1808 ยุโรปเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ยกเว้นประเทศอังกฤษที่นโปเลียนยึดครองไม่ได้เพราะอังกฤษเป็นเกาะและเป็นมหาอำนาจทางทะเล ดังนั้นนโปเลียนจึงใช้วิธีการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ (Continental system) ไม่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศบนภาคพื้นยุโรปกับอังกฤษ ทำให้ฝรั่งเศสและประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เช่น ประเทศรัสเซียต้องเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้า

102.     สงครามที่ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจ คือสงครามที่ทำกับประเทศ

1.   ฮอลันดา                             

2.   รัสเซีย                              

3.   อังกฤษ

4.   ออสเตรีย

ตอบ  2      หน้า 470, 117 (H) ในปี  ค.ศ. 1810 รัสเชียได้ยกเลิกการเข้าร่วมกับฝรั่งเศสในการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่พระจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงเกณฑ์ทหารทั้งหมดประมาณ  6แสนคนบุกรัสเซียแต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวและกองทัพของรัสเซียจนต้องถอยทัพกลับมา ส่งผลให้นโปเลียนหมดอำนาจจนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ.  1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

103.     ภายหลังการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna 1814 – 1815) สิ้นสุดลง ยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่ม

1.   เสรีนิยม              

2.   ประชาธิปไตย                

3.   อนุรักษ์นิยม                   

4.   สาธารณรัฐนิยม

ตอบ  3      หน้า 472 – 473, 118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว ยุโรปก็ต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำของเจ้าชายเมตเตอร์นิกซึ่งเป็นเสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย และเป็นพวกอนุรักษนิยมที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยทำการต่อต้านระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย ลัทธิชาตินิยมและระบอบอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ ทำให้ยุคสมัยของคองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ศ. 1815 – 1848)

104.     บุคคลผู้มีบทบาทเด่นทางการเมืองในยุโรปโนระหว่างปี ค.ศ. 1815 – 1848 ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลง คือ

1.   ชาร์ล อัลเบิร์ท                   

2.   ลอร์ดคาสเซิลเร

3.   เมตเตอร์นิก                    

4.   หลุยส์ที่ 18

ตอบ  3      ดูคำอธิบายข้อ 103. ประกอบ

105.     สมัยเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญของอังกฤษ  คืออุตสาหกรรม

1.   ทอผ้า                   

2.   เหล็กกล้า                        

3.   การผลิตอาหาร

4.   การขนส่ง

ตอบ  1      หน้า 495 – 496, 562, 123 (H) การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในระหว่างปี ค.ศ. 1760 – 1830โดยเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ หลังจากนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงได้แพร่ขยายไปในประเทศต่าง ๆ บนภาคพื้นยุโรป สหรัฐอเมริกา และในทวีปเอเชีย

106.     ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่อังกฤษนำมาใช้ในช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม  คือทฤษฎีของ

1.   โทมัส มัลธัส

2.   อดัม สมิธ

3.   เดวิด ริคาร์โด            

4.   จอห์น สจ๊วต มิลล์

ตอบ 2       หน้า 430, 499 – 500, 502 ในช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษนั้น อังกฤษได้นำทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของอดัม สมิธ (Adam Smith) มาใช้ คือ นโยบายการค้าเสรี(Laissez-faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี ซึ่งเขาได้ให้ทัศนะว่าบุคคลควรมีโอกาสแสวงหากำไรของตนทางเศรษฐกิจ โดยไม่ถูกควบคุมด้วยกฎเกณฑ์การค้าแบบพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ซึ่งมีลักษณะเป็นการค้าแบบผูกขาดเฉพาะแห่ง

107.     ลัทธิที่เน้นการควบคุมอุตสาหกรรมของประเทศโดยสหภาพกรรมกร คือลัทธิ

 1.   อนาธิปไตย        

2.   ซินติคาลิสม์

3.   สังคมนิยมคริสเตียน

4.   สังคมนิยมปฏิวัติ

 ตอบ  2      หน้า 507 ลัทธิซินดิคาลิสม์ (Syndicalism) คือ ลัทธิที่เน้นการควบคุมอุตสาหกรรมของประเทศ  โดยสหพันธ์กรรมกร ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มกรรมกรในอุตสาหกรรมทั้งหมดเป็นสหภาพโดยไม่มีการแบ่งเป็นอาชีพหรือความชำนาญ และไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง  นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการก่อวินาศกรรมทำลาย ซึ่งส่วนใหญ่ลัทธินี้จะแพร่หลายไปในฝรั่งเศส  อิตาลี และสเปนตามลำดับ

108.     ประเทศที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรวมอิตาลี คือ

1.   ออสเตรีย            

2.   รัสเซีย              

3.   ปรัสเซีย

4.   ฝรั่งเศส

ตอบ 1       หน้า 515, 125 – 127 (H) ศัตรูสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการรวมอิตาลี คือ ออสเตรียซึ่งได้เข้าครอบครองดินแดนลอมบาร์ดีและเวเนเทียในแหลมอิตาลี ส่วนรัฐผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกัน คือ อาณาจักรปิเอดมอนต์-ซาร์ดิเนีย ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์        ซาวอยซึ่งได้ทำสงครามต่อสู้เพื่อรวมอิตาลีเรื่อยมา จนกระทั่งการรวมอิตาลีประสบความสำเร็จสมบูรณ์เมื่อกองทหารอิตาลีบุกเข้ายึดกรุงโรมมาเป็นเมืองหลวงได้ในปี ค.ศ. 1871

109.     รัฐผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าร่วมด้วยกัน คือ

1.   ฟลอเรนซ์

2.   ซาร์ดิเนีย                         

3.   เวเนเทีย

4.   ลอมบาร์ดี

 ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

110.     นโยบาย เลือดและเหล็ก” ของบิสมาร์ค คือ

1.   เน้นการทำอุตสาหกรรม                 

2.   การทำให้ปรัสเชียเป็นศูนย์กลางทางการทูต

3.   การออกแสวงหาอาณานิคม           

4.   การใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการรวมเยอรมนี

ตอบ  4        หน้า 517 – 519, 128 – 129 (H) บิสมาร์ค (Bismarck) อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซียซึ่งเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนี ได้ประกาศใช้นโยบายเลือดและเหล็กในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการให้ปรัสเซียทำสงครามถึง 3 ครั้ง คือ

1. สงครามกับเดนมาร์กเรืองดินแดนชเลสวีก-โฮลสไตน์ ในปี ค.ศ. 1864

2 สงครามกับออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1866

3. สงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1870 – 1871 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้บิสมาร์คสามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีได้สำเร็จโนปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ประเทศฝรั่งเศส

111.     การรวมชาติเยอรมนีประสบความสำเร็จเป็นผลมาจากการพ่ายแพ้สงครามของประเทศ.

1.   อังกฤษ                

2.   รัสเซีย              

3.   ฝรั่งเศส           

4.   สเปน

ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ

112.     ในช่วงของการปฏิบัติทางปัญญายุคใหม่ (ค.ศ. 1830 – 1914) ผู้ที่แสดงทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องเพศจะมีผลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านประสาทและจิตวิทยา คือ

1.   ซิกมันด์ ฟรอยด์                

2.   อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์                      

3.  ชาร์ลส์ ดาร์วิน                

4.   นิทเช่

ตอบ  1      หน้า 521 – 522, 130 (H) ในยุคแห่งการปฏิวัติทางปัญญายุคใหม่ (ค.ศ. 1830 – 1914) นั้น ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักวิทยาศาสตร์ชาวยิวในออสเตรีย ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องเพศไว้ในหนังสือ “Studies of Hysteria” ในปี ค.ศ. 1895 โดยเขาเห็นว่าเรื่องเพศนั้นจะมีผลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านประสาทและจิตวิทยา

113.     ประเทศที่ไม่ได้เป็นเอกราชในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือ

             1.   เอธิโอเปีย                           2.   ไลบีเรีย                            3.   จีน                    4.   เวียดนาม

ตอบ  4      หน้า 523, 525, 130 – 131 (H) จักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือยุคที่ประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้ออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย  ทำให้ทวีปแอฟริกาเหลือประเทศเอกราชเพียง 2 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย (อบิสสิเนีย)และไลบีเรีย ส่วนในทวีปเอเชียเหลือประเทศเอกราช 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และไทย (ส่วนประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว เป็นอาณานิคมของรัฐบาลฝรั่งเศส)

114.     ปัจจัยทางเศรษฐกิจซึ่งผลักดันให้ชาติมหาอำนาจในยุโรปออกมาแสวงหาอาณานิคมในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือ

1.   ความต้องการทาสแรงงาน                              

2.   เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

3.   ความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก        

4.   การเผยแผ่ศาสนาก่อให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

             ตอบ  2         หน้า 524, 131 (H) สาเหตุที่มหาอำนาจยุโรปออกมาแสวงหาอาณานิคมในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ มีดังนี้

1.      ปัจจัยทางเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มจำนวนพลเมือง จึงต้องแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาด การจัดตั้งฐานทัพ และเพื่อระบายพลเมือง

2.      เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรป

3.      เพื่อเผยแผ่ศาสนา

4.      ลัทธิชาตินิยมที่ชาวยุโรปต้องการเข้าครอบครองดินแดนที่มีอารยธรรมหรือวัฒนธรรมต่ำกวา

115.     บิสมาร์คจัดทำสนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิขึ้นในปี ค.ศ. 1873 เพื่อต้องการทำให้ประเทศ ….อยู่อย่างโดดเดี่ยว

1.   อังกฤษ                                                

2.   รัสเซีย              

3. ออสเตรีย           

4.   ฝรั่งเศส

ตอบ  4      หน้า 529 บิสมาร์ค นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้จัดทำสนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ  (The Three Emperors League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1873 ซึ่งเป็นการเข้าร่วมภาคีระหว่างจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย-ฮังการี ไกเซอร์ วิลเลียมที่ 1 แห่งเยอรมนี และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อโดดเดี่ยวฝรั่งเศส แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับออสเตรีย-ฮังการีเรื่องผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่านก็ส่งผลให้ความต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จ

116.     ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) คือ

             1.   อังกฤษ                2.   ฝรั่งเศส           3.   อิตาลี                4.   รัสเซีย

ตอบ  3      หน้า 529 – 533, 133 (H) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอำนาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1. ฝ่ายไตรพันธไมตรี (Triple Alliance)  ได้แก่  เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี

2. ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Entente) ได้แก่ ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ

117.     ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในฝ่ายประเทศมหาอำนาจกลาง (Central Power) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ

1.   เยอรมนี              2.   อิตาลี                3.   ออสเตรีย-ฮังการี                           4.   บัลแกเรีย

ตอบ  2      หน้า 535, 133 – 134 (H)  เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914  มหาอำนาจในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1.       ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย.

2.       ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ได้แก่ ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ เซอร์เบีย อิตาลี(ซึ่งถอนตัวจากฝ่ายไตรพันธไมตรีในปี  ค.ศ. 1915) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และไทย

118.     ประเทศที่ถอนตัวออกในระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) คือ

             1.   สหรัฐอเมริกา    2.   ออสเตรีย-ฮังการี           3.   รัสเซีย              4.   บัลแกเรีย

             ตอบ  3      หน้า 537, 543, 134 (H), 36 – 137 (H) ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1917 ได้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติครั้งใหญ่ในรัสเซีย ภายใต้การนำของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นำ ซึ่งได้ส่งผลให้รัสเซียจำเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) และบอลเชวิคได้ดำเนินการตามหลักสังคมนิยม โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียต จนส่งผลให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่ขยายไปทั่วยุโรปและทุกส่วนต่าง ๆ ของโลก

119.     ก่อนที่จะบุกโปแลนด์ ฮิตเลอร์ ได้ทำการยึดครองประเทศ

1.   ออสเตรีย            2.   เชคโกสโลวะเกีย          3.   เบลเยียม          4.   ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4       หน้า 548 – 550 วิกฤตการณ์ตึงเครียดก่อนที่ฮิตเลอร์จะนำกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่  2 นั้น ได้แก่

1. เยอรมนีได้รวมเอาออสเตรียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี

2. การรวมแคว้นซูเดเทนของเชคโกสโลวะเกียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี

3. เยอรมนียึดแคว้นเมเมลคืนจากลิทัวเนีย                                       4. อิตาลีรุกรานอัลบาเนีย

120.     สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์สงครามเย็น คือ

1.   การแข่งขันกันสะสมอาวุธ                             

2.   สงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียตรัสเซีย

3.   การแข่งขันทางด้านอวกาศ                             

4.   การโฆษณาชวนเชื่อ

ตอบ  2      หน้า 559, 139 (H) ลักษณะสำคัญของสงครามเย็น คือ 

1. เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย  ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำกับฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ซึ่งมีโซเวียตรัสเซียเป็นผู้นำ  

2. ไม่มีการทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) ที่มีการเผชิญหน้ากันโดยตรง แต่จะใช้วิธีการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War) เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ  

3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อ              

4. มีการแข่งขันกันสะสมอาวุธและแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปใด

(1)       ยุโรป    (2) เอเชีย         (3) ออสเตรเลีย            (4) อเมริกา

ตอบ 2 หน้า 1 – 28 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ใน ทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนา ของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้ กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

2.         ข้อใดสอดคล้องกับยุคหิน      

(1) ก่อนประวัติศาสตร์

(2)       ก่อนการรู้หนังสือ        (3) ก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 72 (H), 9 (H) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะพิจารณาจากการรู้หนังสือ หรือการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ ๆ ดังนี้

1.         ยุคหินหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร

2.         ยุคโลหะหรือยุคเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ ตัวอักษรแล้ว

3.         มนุษย์เปลี่ยนจากสังคมเร่ร่อนเป็นสังคมตั้งรกราก ตั้งถิ่นฐานในยุคใด

(1)       หินแรก (2) หินเก่า        (3) หินกลาง    (4) หินใหม่

ตอบ 4 หน้า 8 – 1538 – 399 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ

1.         ยุคหินแรก เป็นยุคลองผิดลองถูกของมนุษย์ 2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์ เริ่มใข้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้  3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข 4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูก ผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้ มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อนเป็นชุมชนตั้งรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก

4.         ข้อใดเรียงลำดับพัฒนาการของมนุษย์ได้ถูกต้อง

(1)       Savagery-Urban Life-Barbarism       (2) Savagery-Barbarism-Civilization

(3)       Urban Life-Savagery-Barbarism      (4) Barbarism-Savagery-Civilization

ตอบ 2 หน้า 4 – 538 – 39 พัฒนาการของมนุษย์เริ่มจากสมัยแห่งความดุร้าย (Savagery) มาสู่ สมัยป่าเถื่อน (Barbarism) จบในที่สุดก็มาถึงสมัยอารยธรรม (Civilization) ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์เริ่มสื่อภาษาด้วยสัญญาณเสียง เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษร มีการอยู่รวมกันเป็นหลักแหล่งแบบสังคมเมือง และที่สำคัญคือ การเกษตรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จ เบื้องต้นของมนุษย์ที่มีความเจริญแล้ว และเป็นอาชีพของมนุษย์อารยะ (Civilized)

5.         ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลล์ ดาร์วิน

(1)       สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล

(2)       สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้จึงจะอยู่รอด

(3)       สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่

(4)       สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 18 – 1911 (H) ชาว์ลล์ ดาร์วิน นักชาติพันธุวิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

1.         สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล

2.         สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม

3.         สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืชและสัตว์ที่มี ชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตนก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย

4.         สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

6.         อารยธรรมใดจัดอยู่ในกลุ่มของอารยธรรมโลก

(1)       อารยธรรมอินคา         (2) อารยธรรมกรีก

(3)       อารยธรรมเมโสโปเตเมีย        (4) อารยธรรมโรมัน

ตอบ 3 หน้า 3114 (H), 17 (H) ขอบเซตของอารยธรรมในยุคโบราณ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.         อารยธรรมตะวันออก มีแม่แบบคือ อารยธรรมจีน-อินเดีย

2.         อารยธรรมตะวันตก มีแม่แบบคือ อารยธรรมกรีก-โรมัน

3.         อารยธรรมโลก มีแม่แบบคือ อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย

7.         ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับบทปฐมกาล (The Genesis)

(1) มนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าสร้างคือ อดัม-อีวา

(2)       พระเจ้าสร้างโลกและจักรวาลภายใน 5 วัน    (3) เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าสร้างโลก

(4)       ซาตานที่ชักชวนให้อดัม-อีวา ผิดบาปครั้งแรกมาปรากฏในลักษณะของ งู

ตอบ 2 หน้า 1044 (H), (คำบรรยาย) บทปฐมกาล (The Genesis) เป็นเรื่องราวที่อยู่ในพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

1.         เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าสร้างโลกและสรรพสิงต่าง ๆ ขึ้นมาในจักรวาล รวมทั้งมนุษย์ และสัตว์โลกภายในเวลา 6 วัน

2.         มนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าสร้างคือ อดัม-อีวา โดยพระเจ้าสร้างมนุษย์คนแรกคือ อดัม

แล้วหักซี่โครงชิ้นหนึ่งของอดัมมาสร้างเป็นผู้หญิงคือ อีวาหรืออิฟ” อาศัยอยู่ในสวนเอเดน

3.         ซาตานที่มาปรากฏในลักษณะของ งู” ได้ชักชวนให้ อดัม-อีวา ผิดบาปครั้งแรกโดยการกิน ผลไม้ต้องห้าม จนถูกพระเจ้าขับไล่ออกจากสวนเอเดน โดยต่อมาทั้งสองได้กลายเป็น บรรพบุรุษของมนุษย์และจะต้องได้รับความยากลำบาก

8.         ชนชาติใดเป็นต้นกำเนิดของศาสนาหลักที่สำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมตะวันตก

(1)       Latin         (2) Roman          (3) Hebrew        (4) Hellenes

ตอบ 3 หน้า 879028 (H) พวกฮิบรู (Hebrew) หรือพวกยิว เป็นชนชาติที่เป็นต้นกำเนิดของ ศาสนาคริสต์ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมตะวันตก ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างโลก กำเนิดของโลก นํ้าท่วมโลก บัญญัติสิบประการ รวมทั้งความเชื่อที่ว่าพระเจ้า เป็นผู้ออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และเป็นผู้ตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล

9.         เหตุการณใดถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่

(1)       A.D. 1445 จอห์น กูเตนเบิร์กประดิษฐ์แท่บพิมพ์

(2)       A.D. 476 อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลาย

(3)       A.D. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดครอง

(4)       A.D. 1492 โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่

ตอบ หน้า17,2-3(H) เหตุการณ์ที่นำไปลู่การสิ้นสุดยุคกลางเข้ามาลสู่ยุคใหม่ในสมัยศตวรรษที่15ได้แก่

1.         ปี ค.ศ. 1445 (A.D. 1445) เป็นปีที่จอห์น กูเตนเบิร์ก ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ

2.         ปี ค.ศ. 1453 (A.D. 1453) เป็นปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นเมืองหลวงของ จักรวรรดิโรมันตะวันออกถูกพวกออตโตมัน เติร์ก ยึดครอง

3.         ปี ค.ศ. 1492 (A.D. 1492) เป็นปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางไปค้นพบโลกใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่

10.       ผลงานของอียิปต์ที่สำคัญในสมัยก่อนราชวงศ์คือ

(1)       การสร้างพีระมิด          (2) การสร้างวิหาร        (3) การสร้างปฏิทิน     (4) การทำมัมมี่

ตอบ 3 หน้า 51 – 5318 – 19 (H) สมัยก่อนราชวงศ์ของอียิปต์มีความสำคัญดังนี้

1.         มีกลุ่มชนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอียิปต์บริเวณลุ่มแม่นํ้าไนล์เมื่อประมาณ 5000 B.C. โดยกลุ่มชนเหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและมีหัวหน้าปกครอง

2.         มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติที่หนึ่งปีมี 365 วัน ในปี 4241 B.C.

3.         ดินแดนบริเวณลุ่มแม่นํ้าไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน จึงได้ชื่อว่า “Land of Two Lands” ได้แก่ อียิปต์บนหรืออียิปต์สูง และอียิปต์ล่างหรืออียิปต์ตํ่า

11.       ในสมัยฟิวดัล ฟาโรห์ถูกยึดอำนาจจากขุนนาง ทำหน้าที่เป็นผู้นำของกลุ่มใด

(1)       ขุนนาง (2) พระ            (3) ทหาร          (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 5520 (H) สมัยฟิวดัลของอียิปต์ (2200 – 2000 B.C.) เป็นสมัยที่พวกขุนนางหรือผู้ว่าราชการมณฑลต่าง ๆ (Nomarchs) เข้ายึดอำนาจจากฟาโรห์มาเป็นของตนเอง ทำให้ฟาโรห์ ในสมัยราชวงศ์ที่ 7 และ 8 มีฐานะเป็นเพียงฟาโรห์หุ่นเชิด โดยจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของ พวกพระ จนกระทั่งในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ทีบีส (Thebes) ซึ่งสามารถ ขับไล่ขุนนางและเข้ายึดอำนาจได้สำเร็จ ทำให้อียิปต์รวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง

12.       การปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ให้นับถือพระเจ้าองค์เดียว มีจุดประสงศ์สำคัญคือ

(1)       ลดอำนาจพวกพระ      (2) นับถือสุริยเทพอาเตนเพียงองค์เดียว

(3)       การย้ายเมืองหลวงเพื่อเพิ่มอำนาจ      (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 5821 (H) จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 มีดังนี้

1.         ต้องการให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตนเพียงองค์เดียวเท่านั้น

2.         เพื่อผลทางการเมือง คือ สร้างอำนาจให้กับฟาโรห์ และต้องการลดอำนาจของ พวกพระอามอนที่รํ่ารวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย

13.       เมโสโปเตเมียมีความหมายว่าอย่างไร

(1)       ดินแดน 2 ดินแดนรวมกัน        (2) ดินแดนแห่งความหวัง

(3) ดินแดนระหว่างแม่นํ้า 2 สาย         (4) ที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

ตอบ 3 หน้า 65 – 6622 (H) คำว่า เมโสโปเตเมีย” เป็นภาษากรีก แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่นํ้า 2 สาย” (Land between Rivers) คือ แม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส โดยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้ชื่อว่าเป็นอารยธรรมเกษตรกรรม ทั้งนี้จะครอบคลุมบริเวณตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียไปจนถึงซีเรีย และปาเลสไตน์ ซึ่งเราสามารถเรียกบริเวณนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) หรือดินแดนเอเชียตะวันตก (ประเทศอิรักในปัจจุบัน)

14.       เทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์คือเทพเจ้าองค์ใด

(1) อานูบิส      (2) ไอซีส          (3) โอซิริส        (4) ซุส

ตอบ 3 หน้า 4718 (H) ชาวอียิปต์เชื่อว่าการขึ้นลงของแม่นํ้าไนล์เกิดจากอิทธิพลของฟาโรห์ ซึ่งเป็น ผู้เดียวที่เข้าใจถึงความกลมกลืนและความสอดคล้องของจักรวาล ดังนั้นการปกครองของอียิปต์ ในระยะแรกจะอยู่ในรูปของกษัตริย์เทวาธิปไตย โดยในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนมีชีพอยู่ ก็จะมีฐานะเป็นเทพโฮรัส (Horus) โอรสของเทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดแห่ง แม่น้ำไนล์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอซิริสอีกองค์หนึ่ง ทำให้กษัตริย์ของ อียิปต์ทุกพระองค์เมื่อได้มีการทำพิธีฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอซิริสทุกพระองค์ไป

15.       ข้อใดถูกต้อง

(1)       การประดิษฐ์ Papyrus ทำจากต้นกก ต้นอ้อ ริมแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

(2)       Book of the Dead คือ หนังสือเขียนความดีหลังเสียชีวิตและใบเบิกทางสู่โลกหน้า

(3)       อักษร Cuneiform มีความสัมพันธ์กับ Papyrus

(4)       ชาวเมโสโปเตเมียรับวิธีการสร้างปฏิทินจากอียิปต์

ตอบ 2 หน้า 64 – 65 ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์ จึงมีการเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และมีการสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพ ของฟาโรห์ รวมทั้งมีการเขียนเรื่องราวแสดงความบริสุทธิ์และความประพฤติที่ดีของตนเอาไว้ ในม้วนกระดาษ Papyrus หรือเขียนไว้บนฝาหีบศพ เพื่อนำไปแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริสเมื่อตน เสียชีวิตไปแล้วและเป็นใบเบิกทางสู่โลกหน้า ซึ่งหนังสือนี้จะเรียกว่า “Book of the Dead” ถ้าเขียนไว้ตามหีบศพจะเรียกว่า “Coffin Texts” และถ้าเขียนไว้บนกำแพงพีระมิดจะเรียกว่า “Pyramid Texts”

16.       การประดิษฐ์อักษรรูปลิ่มลงบนแผ่นดินเหนียว เป็นผลงานของชนกลุ่มใด

(1) สุเมเรียน    (2) อียิปต์        (3) อราเมียน    (4) ฟินิเชียน

ตอบ 1 หน้า 69 – 7123 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐาน ทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่มลงบนแผ่นดินเหนียว เมื่อประมาณ 3500 B.C.

2.         มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า

3.         มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน

4.         มีการนับหน่วย 6010 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาและการคำนวณทางเรขาคณิต

5.         ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

6.         มีการกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด โดยยึดหลักการนับหน่วย 60 เป็นต้น

17.       ปัจจัยที่ช่วยในการรักษาสภาพศิลปะและสถาปัตยกรรมอียิปต์คือข้อใด

(1)       การปกครองระบอบกษัตริย์    (2) สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง

(3) การตั้งอยู่บริเวณรอบแม่นํ้าไนล    (4) ชนกลุ่มอื่นไม่สามารถทำลายได้

ตอบ 2 หน้า 46 – 4717 – 18 (H) ปัจจัยทางธรรมชาติที่ช่วยสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์ ได้แก่

1.         ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่นํ้าไนล์ ทำให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และ มีความมั่งคั่ง จนสามารถสร้างสมอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้

2.         มีทะเลทรายช่วยกั้นให้พ้นจากเขตอากาศร้อนและความกดอากาศตํ่า นอกจากนี้ยังเป็น ปราการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก

3.         สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งของอียิปต์ ช่วยรักษาสิ่งที่มีค่าทางอารยธรรม อันได้แก่ สภาพศิลปะและสถาปัตยกรรมไม่ให้เกิดความเสียหายได้

4.         กระแสลมจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่พัดลงใต้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยอำนวยความสะดวก ต่อการเดินทางค้าขายทางทะเล

5.         ถึงแม้อียิปต์จะขาดแคลนป่าไม้ แต่ก็มีดินเหนียว หินแกรนิต หินทราย และหินฝุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างของอียิปต์

18.       กฎหมายสนองตอบ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เฆี่ยน เผาทั้งเป็น เป็นลักษณะของกฎหมายใด

(1)       กฎหมายฮัมมูราบี        (2) จัสติเนียน  (3) 12 โต๊ะ       (4) โซลอน

ตอบ 1 หน้า 72 – 7424 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของพวกอะมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่า คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hummurabi) ของพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำก็คือ เพื่อผดุงหรือพิทักษ์ความยุติธรรน ให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันไม่ให้คนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของ กฎหมายโรมัน

19.       ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1)       กษัตริย์อัสซูร์บานิบัลเป็นผู้เริ่มต้นตั้งห้องสมุด

(2)       การผลิตเหรียญกษาปณ์ครั้งแรกในอาณาจักรแคลเดีย

(3)       ภาพสลักนูนต่ำภาพสงครามและการต่อสู้เป็นผลงานของชาวอัสซีเรียน

(4)       แคสไซต์เป็นกลุ่มที่ใช้ม้าและรถศึกในการทำสงคราม

ตอบ 2 หน้า 92 – 9330 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทีสำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดิย มีดังนี้

1.         เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มนํ้าไทกริส-ยูเฟรติส และหมู่เกาะอีเจียน 2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน 3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียในปี 546B.C.

20.       ภาษาที่พระเยซูและสาวกใช้สอนศาสนาในดินแดนปาเลสไตน์คือภาษาใด

(1)       เฮียโรกลิฟิก     (2) อียิปต์        (3) อราเมอิก    (4) ฮีบรู

ตอบ 3 หน้า 86 – 8727 (H), (คำบรรยาย) ความสำคัญของพวกอราเมียน มีดังนี้

1.         ภาษาอราเมียนหรือภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษา ที่พระเยซูและเหล่าสาวกใขช้ในการสอนศาสนาในดินแดนปาเลสไตน์

2.         พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้

(Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก

21.       เหตุใดกรีกจึงมีการปกครองแบบ นครรัฐ

(1)       สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ     (2) Landlocked Country

(3) หลีกเลี่ยงการปกครองระบอบทหาร          (4) ชาวกรีกเคร่งครัดในกฎระเบียบ

ตอบ 1 หน้า 110112 – 11338 (H) สาเหตุที่ทำให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ เนื่องจาก

1.         ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกริกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติด ชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดนที่ แบ่งแยกชาวกริกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน

2.         ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ

22.       กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรีกที่มีลักษณะคล้ายกับกฎหมายฮัมมูราบีคือข้อใด

(1)       ฮัมมูราบี          (2)       ดราโค  (3) โซลอน       (4)       เพลิคลิส

ตอบ 2 หน้า 12342 (H) ดราโค (Draco) เป็นเจ้าของประมวลกฎหมายที่เข้มงวด จนทำให้เกิดคำว่ “Draconic” ซึ่งมีความหมายว่า รุนแรงหรือเข้มงวด ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกฎหมายฮัมมูราบี โดยกฎหมายของดราโคให้ความยุติธรรมดีขึ้น แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้ กฎหมาย ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อปี 620 B.C. ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรีก

23.       นครรัฐใดในอารยธรรมกรีกที่เป็นต้นกำเนิดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

(1)       ทรอย   (2)       สปาร์ตา           (3) เอเธนส์      (4)       อิทาก้า

ตอบ 3 หน้า 12713040 (H), 43 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.) นับจากสมัยของดราโคถึงเพริคลิสนั้น เอเธนสได้พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปได้มากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของเพริคลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนา ไปถึงจุดสูงสุด จนทำให้สมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองของเอเธนส์” และทำให้เอเธนส์กลายเป็น บรมครูของนครรัฐกรีกหรือชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นเอเธนส์จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดและ แม่แบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก

24.       คณะเอเฟอร์ (Ephors) ทำหน้าที่ใด

(1)       คัดเลือกทหารที่แข็งแรงเข้ากองทัพ     (2) กลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่มีสิทธิคัดค้านในสภา

(3) ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่ (4) ออกกฎหมาย

ตอบ 3 หน้า 119 – 12012241 (H) กลุ่มผู้มีอำนาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตาคือ คณะเอเฟอร์ (Ephors) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังนี้

1.         กำหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ต้องนำไปให้คณะเอเฟอร์ ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรืออ่อนแอก็จะลูกนำไปทิ้งหน้าผา เพื่อไมให้เป็นภาระต่อสังคม   2. สามารถถอดถอนหรือสั่งประหารกษัตริย์ได้

3.         ควบคุมระบบการศึกษา         4. มีอำนาจเหนือกฎหมายและสภา

25.       ข้อใดถูกต้อง

(1)       สงครามเปอร์เซียทำให้นครรัฐของกรีกแยกจากกัน

(2)       การแข่งขันวิ่งมาราธอนเพื่อเป็นเกียรติให้กับเฟดิปปิดิส ในสงครามเปอร์เซีย

(3)       สงครามคาบสมุทรเพโลพอนนีซุส เป็นสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา

(4)       รัฐสปาร์ตาเป็นแม่แบบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 2 หน้า 14346 (H) สงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอน เป็นการทำสงครามระหว่างกรีกเอเธนส์กับเปอร์เซียในปี 490 B.C. โดยสงครามในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดวีรบุรุษชาวเอเธนล์ชื่อ เฟดิปปิดิส” (Phedippides) ซึ่งใช้เวลาวิ่งไปกลับระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตารวม 2 วัน 2 คืน เพื่อขอกำลังทหารมาช่วยเอเธนส์ และวิ่งกลับมาที่เอเธบล์เพื่อแจ้งข่าวถึงชัยชนะของเอเธนส์ จนล้มขาดใจตาย ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้กลายมาเป็นตำนานให้เกิดการแช่งขันวิ่งมาราธอนเป็นระยะทาง 26 ไมล์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับเฟดิปปิดิส เมื่อมีการฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1896

26.       ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอารยธรรมเฮลเลนิสติก

(1) ไมใช่อารยธรรมกรีกแท้      (2) อารยธรรมกรีกผสมเปอร์เซีย

(3) เริ่มในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (4) เกิดในช่วงสงครามเมืองทรอย

ตอบ 4 หน้า 14638 (H), 47 (H) อารยธรรมกรีกโบราณ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ

1.         อารยธรรมเฮลเลนิก (Hellenic) เป็นอารยธรรมกรีกแท้ หรือสมัยก่อนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช โดยเริ่มตั้งแต่สมัยการอพยพของพวกอินโด-ยุโรป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวกรีก

2.         อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic) เป็นอารยธรรมที่เริ่มในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยเป็นอารยธรรมผสมระหว่างอารยธรรมกรีกเฮลเลนิก (ตะวันตก) กับอารยธรรมเปอร์เซีย (ตะวันออก)

27.       การปกครองที่ดีต้องใช้กฎหมายไม่ใช่ตัวบุคคล ต้องส่งเสริมการปกครองโดยเสรีภาพของประชาชน เป็นแนวคิดของใคร

(1) เพลโต        (2) อรีสโตเติล  (3) โสเครติส    (4) โซฟิสต์

ตอบ 2 หน้า 141 – 14245 (H) อรีสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งชนชั้นของ เพลโต เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยสังคมที่ดีนั้นทุกคบควรมีความรู้สึกเป็นมิตรต่อกัน และทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน ส่วนในด้านการปกครองนั้น อริสโตเติลก็ส่งเสริมการปกครอง โดยเสรีภาพของประชาชนและการมีส่วนปกครองตนเอง รวมทั้งถือว่ารัฐในอุดมคติจะต้อง มีการปกครองโดยใช้กฎหมายเป็นหลักมิใช่ตัวบุคคล เนื่องจากกฎหมายเกิดจาก เหตุผล ซึ่งเป็นผลของความคิดอย่างรอบคอบและสมดุล

28.       กลุ่มชนที่ขับไส่ชาวอีทรัสคันในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทเบอร์คือกลุ่มใด

(1) Latin—Patrician  (2) Latin-Plebeian     (3) Roman          (4) Greek

ตอบ 1 หน้า 158 – 15948 (H) จากการที่กษัตริย์อีทรัสคันปกครองโรมันอย่างกดขี่ ทำให้พวกแพทริเซียน (Latin—Patrician) ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงชาวโรมันขับใล่พวกอีทรัสคันออกไป จากบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทเบอร์ของกรุงโรมได้สำเร็จในปี 509 B.C. จากนั้นจึงตั้งคณะรัฐบาล ของตนเองแล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ และดำรงอยู่ต่อมานานถึง 500 ปี

29.       สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรมคือ

(1)       วัว        (2) แมลงป่อง  (3) หมาป่า       (4) สิงโต

ตอบ 3 หน้า 15848 (H) ในมหากาพย์อีเนียดของเวอร์จิลได้กล่าวถึงตำนานการสร้างกรุงโรมไว้ว่า โรมิวลุส (Romulus) และเรมุส (Remus) โอรสแฝดของนางซิลเวิยกับเทพเจ้ามาร์ส (Mars) เป็นผู้สร้างกรุงโรมขึ้นในปี 753 B.C. โดยได้รอดชีวิตจากการที่ถูกอมูลิอุสจับใส่ตะกร้าลอยนํ้า และได้รับความช่วยเหลือจากหมาใน (หมาป่า) ดังนั้นหมาในจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโใม ด้วยเหตุนี้เองคนอิตาลีที่ไม่ชอบโรมันจึงเรียกพวกโรมันว่า พวกลูกหมาใน

30.       ข้อใดเป็นมหากาพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับอารยธรรมกรีก

(1)       อีเลียด (2) โอดิสเสย์   (3) อีเนียส       (4) Troy

ตอบ 1 หน้า 110 – 11111336 – 37 (H) มหากาพย์อีเลียด (Iliad) ซึ่งแต่งโดยจินตกวีตาบอดชื่อโฮเมอร์ (Homer) เป็นเรื่องราวของการทำสงครามระหว่างกรุงทรอยหรือพวกโทรจันกับพวกกรีก โดยมีสาเหตุจากการที่เจ้าชายปารีสแห่งกรุงทรอยเสด็จเยือนสปาร์ตา และได้พบรักกับ พระนางเฮเลน ผู้เป็นมเหสีของกษัตริย์เมนิเลอัสแห่งสปาร้ตา จึงได้พากันหนีไปครองรักกันที่กรุงทรอย ทำให้พระนางเฮเลนมีฉายาว่า “Helen of Troy” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ และเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามม้าไม้ (Trojan War) ในเวลาต่อมา

31.       ใครเป็นผู้นำปฏิทินแบบสุริยคติมาใช้โนอาณาจักรโรมัน

(1)       จูเลียส ซีซาร์    (2)       มาร์ค แอนโธนี (3) ออกุสตุส    (4)       โรมิวลุส

ตอบ 1 หน้า 5250 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

32.       กลุ่มตัวแทนประชาชนที่ได้รับสิทธิเข้าไปนั่งในสภา และสามารถ Veto คัดค้านการออกกฎหมายของ สภา Senate คือกลุ่มใด

(1)       Tribunes  (2)       Patrician  (3)       Plebeian  (4)       Etruscan

ตอบ 3 หน้า 16149 (H) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน พวกแพทริเชียน (Patrician) หรือกลุ่มชนชั้นสูง ได้ยินยอมให้พวกพลีเบียน (Plebeian)หรือกลุ่มชนชั้นต่ำ จัดตั้งคณะตรีบูน (Tribunes) ขึ้น ในปี 466 B.C. เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนในสภาซีเนท (Senate) และ สามารถวีโต้ (Veto) หรือคัดค้านกฎหมายที่จะออกมาขัดผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนได้ ต่อมาพวกพลีเบียนยังได้เรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน เรียกว่า กฎหมาย 12 โต๊ะโดยได้ประกาศใช้เมื่อปี 450 B.C.

33.       อนารยชนกลุ่มใดที่สามารถรวบรวมปราบปรามกลุ่มอื่น และสามารถสถาปนาดินแดนของตนเองเป็นปึกแผ่น

(1)       Franks      (2)       Lombards         (3)       Ottoman Turks         (4) Visigoths

ตอบ 1 หน้า 215 – 21761 – 62 (H) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชนที่สามารถรวบรวมดินแดน ยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันกะวันตก โดยพวกแฟรงค์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่นํ้าไรน์เมื่อประมาณ ค.ศ. 300 ต่อมาได้อพยพ ไปตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของแคว้นกอล และได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นภายใต้การนำของ 2 ราชวงศ์ คือ อาณาจักรเมโรแวงเจียน และอาณาจักรคาโรแลงเจียน

34.       ผลงานทางด้านอารยธรรมโรมันที่ได้รับอิทธิพลจากชาวอีทรัสคันคือข้อใด    

(1) การใช้ปฏิทิน

(2)       การก่อสร้างโดยใช้ซีเมนต์      (3) ซุ้มโค้ง Arch      (4) Circus Maximus

9v[ 3 หน้า 15949 (H), (คำบรรยาย) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสคันซึ่งเป็นกลุ่มทหารรับจ้าง จากเอเชียน้อย ได้เข้ามาปกครองโรมันเป็นเวลาถึง 700 ปี และได้ให้มรดกทางอารยธรรม ที่สำคัญไว้กับชาวโรมัน ดังนี้ 1. การก่อสร้างโดยใช้หิน         2. การก่อสร้างซุ้มรูปโค้ง (Arch) และอุโมงค์ (Vault) 3. วิธีเก็บกักนํ้าและการทำท่อระบายนํ้า 4. การต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์ (Gladiatorial Combat) 5. วิธีการเดินทัพแบบฟาลังก์ (Phalanx) เป็นต้น

35.       ชาวอียิปต์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมืองของโรมันถึง 2 สมัย คือ

(1)       พระเจ้าปโทเลมี           (2) พระนางคลีโอพัตรา (3) พระนางเนเฟอร์ติติ (4) เอปเซตสุต

ตอบ 2 หน้า 167 – 16950 – 51 (H), (คำบรรยาย) พระนางคลีโอพัตรา เป็นชาวอียิปต์ที่เข้าไป มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองของสาธารณรัฐโรมันถึง 2 สมัย คือ

1.         ในสมัยการรวมไตรพันธมิตรครั้งที่ 1 โดยพระนางคลีโอพัตราได้แต่งงานกับจูเลียส ซีซาร์ แล้วร่วมมือกับซีซาร์ฆ่าฟาโรห์ปโทเลมีที่ 12 ซึ่งเป็นน้องชายตาย จากนั้นซีซาร์ได้สถาปนา พระนางคลีโอพัตราขึ้นเป็นราชินีองค์สุดท้ายของอียิปต์

2.         ในสมัยการรวมไตรพันธมิตรครั้งที่ 2 หลังจากที่ซีซาร์ตาย พระนางคลีโอพัตราเกรงว่า อียิปต์อาจเสียเอกราชให้แก่จักรวรรดิโรมัน จึงใช้เสน่ห์ยั่วยวนมาร์ค แอบโธนี จนได้แต่งงานกัน เพื่อหวังผลทางการเมือง

36.       จุดประสงค์ในการสร้างถนนทั่วอาณาจักรโรมัน “All roads lead to Rome” คือข้อใด

(1)       สะดวกในการสื่อสาร   (2) ดูแลเมืองในอาณานิคม

(3)       สร้างเสริมอาณาจักรให้ดูยิ่งใหญ่       (4) เส้นทางลำเลียงเสบียง

ตอบ 2 หน้า 52 (H), (คำบรรยาย) ในสมัยจักรวรรดิโรมันได้มีการสร้างถนนไว้ทั่วอาณาจักร จนมีคำพังเพยที่ว่า ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม” (All roads lead to Rome) ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ทางทหารโดยเฉพาะการดูแลเมืองในอาณานิคม ซึ่งหากเมืองขึ้นก่อการกบฏก็สามารถเดินทัพเพื่อไปปราบกบฏได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไม่มีศึกสงครามถนนโรมันก็จะ กลายเป็นเส้นทางทางเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยส่งเสริมการค้าขายติดต่อกันทั่วไปภายในจักรวรรดิโรมัน

37.       Colosseum สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด

(1) โรงละคร    (2) สนามต่อสู้ Gradiator

(3) โรงอาบนํ้าสาธารณะ         (4) ตลาดศูนย์กลางเมือง

ตอบ 2 หน้า 177 – 17952 (H) ชาวโรมันเป็นกลุ่มชนที่นิยมการกีฬาและความบันเทิง ซึ่งที่ได้รับ ความนิยมมาก ได้แก่

1.         การแข่งรถศึกเทียมม้าที่ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามที่จุคนดูได้ประมาณ 150,000 คน

2.         การแข่งขันกีฬากลาดิเอเตอร์ (Gradiator Combat) ที่สนามโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนซึ่งอาจเป็นนักสู้ถืออาวุธ พวกฟรีดแมน หรีอ พวกทาสด้วยกันเอง หรือระหว่างบุคคลเหล่านี้กับสัตว์ที่ดุร้ายก็ได้

3.         การจัดการแสดงละครที่โรงมหรสพรูปครึ่งวงกลม (Amphitheater) ซึ่งเป็นโรงละคร ขนาดใหญ่ในกรุงโรม

38.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของยุคกลางตอนต้น

(1)       มีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและคริสต์ศาสนา

(2)       สังคมชนบท ผู้คนประกอบอาชีพทำนา

(3)       มีการสู้รบระหว่างกลุ่มชนตลอดเวลาเพื่อแย่งชิงทรัพยากร วัตถุดิบ และอาหาร

(4)       ไม่ตั้งอาณาจักรใหญ่ของตนเอง ปกครองโดยไม่ใช้กฎหมายและไม่มีระเบียบแบบแผน

ตอบ 1 หน้า 205 – 20859 (H), (คำบรรยาย) ยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 500 – 1050) ถูกเรียกว่า ยุคมืด” (Dark A§e) เนื่องจากมีพวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มต่าง ๆ เข้ามารุกรานยุโรปตะวันตก ทำให้สภาพบ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวาย มีการปล้นสะดมและสู้รบระหว่างกลุ่มชนตลอดเวลา เพื่อแย่งชิงทรัพยากร วัตถุดิบ และอาหาร นอกจากนี้สภาพสังคมยังมีลักษณะเป็นสังคมชนบท โดยประชชนเกือบ 90% เป็นชาวนาชาวไร่ที่ยากจน ไม่มีการตั้งอาณาจักรใหญ่ของตนเอง แต่จะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ปกครองโดยไม่ใช้กฎหมายและไม่มีระเบียบแบบแผน รวมทั้งในช่วงแรกพวกอนารยชนยังไม่มีการรับนับถือศาสนาคริสต์หรือลัทธิใด ๆ อีกทั้งไม่สนใจ ในเรื่องศิลปวัฒนธรรม แต่จะเน้นการทำมาหากินมากกว่า

39.       การบริจาคที่ของ Pepin III มีความสำคัญอย่างไร

(1) เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรโรมันอันศักดิสิทธิ

(2)       ช่วยเพื่มอำนาจของกษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง

(3)       เป็นจุดเริ่มของนครรัฐสันตะปาปา (Papal States)

(4) แบ่งอาณาจักรให้โอรสหลังจากหมดอำนาจ

ตอบ 3 หน้า 21762 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์คาโรแลงเจียนของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแปงก็ต้องการการสนับสนุนทางการเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองศ์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักรทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนำไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของเปแปง (Donation of Pepin) ต่อมา ดินแดนนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีผลสำคัญคือ เป็นการเริ่มอำนาจ ทางการเมืองของสันตะปาปาในอิตาลีซึ่งยืนยงจนถึงปี ค.ศ. 1870

40.       ข้อใดไม่ใช่ผลงานของจักรพรรดิชาร์เลอมาญมหาราช

(1)       นำการใช้เงินเหรียญกลับมาใหม่         (2) การแบ่งเขตการปกครอง

(3) การแบ่งกฎหมายเป็นหมวดหมู่     (4) จัดตั้งรัฐสันตะปาปา

ตอบ 4 หน้า 219 – 22063 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ) ผลงานเด่นของจักรพรรดิชาร์เลอมาญมหาราชของราชวงศ์คาโรแลงเจียน มีดังนี้

1. สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตก เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกันอย่างเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งที่สุดของยุโรปตะวันตก

2. มีการกำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญและกำหนดมาตราวัด

3.         มีการส่งเสริมและฟื้นฟูการศึกษา

4. วางระเบียบการปกครองในยุโรปขึ้นมาใหม่โดยมีการแบ่งเขตการปกครองภายในอาณาจักรออกเป็น “County” มีผู้ดูแลคือ Count, “Duchy” มีผู้ดูแลคือ Duke, “March” มีผู้ดูแลคือ Marquis และ Kingdom มีผู้ดูแลคือ King 5. มีการแบ่งกฎหมายออกเป็นหมวดหมู่ เป็นต้น

41.       ระบอบศักดินาสวามีภักดิ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มใด

(1)       กษัตริย์-ประชาชน       (2) เจ้าของที่ดิน-ทาส

(3) เจ้าของที่ดิน-ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน         (4) ขุนนาง-ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน

ตอบ 3 หน้า 223 – 22465 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism/Feudal) เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord)หรือเจ้าของที่ดินซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกษัตริย์หรือขุนนาง กับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือ ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยมีที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธะแห่งความผูกพันและภาระหน้ที่ที่มิต่อกันระหว่างเจ้ากับข้า

42.       ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในระบอบ Feudalism คือข้อใด

(1) ระบบทุนนิยม        (2) ระบบปราสาท (3) ระบบพาณิชย์นิยม (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 233 – 23466 CH), (คำบรรยาย) ระบบแมเนอร์ ระบบคฤหาสน์ หรือระบบปราสาท (Manorialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปกครองแบบฟิวดัล และถือเป็น หน่วยเศรษฐกิจของยุคกลาง ซึ่งสภาพโดยทั่วไปของแมเบอร์ (Manor) จะประกอบด้วย คฤหาสน์ หรือปราสาท (Castle/Manor Flouse) ของเจ้าของที่ดินเป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกระท่อม ของชาวนารวมกันเป็นหมู่บ้าน (Village) ส่วนรอบนอกหมู่บ้านจะเป็นทุ่งโล่งสำหรับการเกษตร ทุ่งหญ้า และป่าไม้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง (Self-sufficiency) ซึ่งมีการทำการเกษตรเป็นหลัก

43.       การกำหนดเขตห้ามรบในบริเวณของพระเจ้า ในโบสถ์ และพื้นที่รอบโบสถ์ คือข้อใด

(1) Truce of God (2) Interdict     (3) Excommunication (4) Peace of God

ตอบ 4 หน้า 231 – 23265 – 66 (H) ในยุคกลาง สันตะปาปาได้ประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการ ชั่วคราวใน 2 กรณี ดังนี้คือ 1. ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า (Peace of God) ซึ่งมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้การพิทักษ์แก่บุคคลและสถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น ในโบสถ์ พื้นที่รอบโบสถ์ สำนักชี เป็นต้น 2. ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (Truce of God) คือ ห้ามทำการรบตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินในวันพุธไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์

44.       ข้อใดไม่ถูกต้องในเรื่องที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา

(1)       กษัตริย์โรมันที่ประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติคือ ธีโอโดซีอุส

(2)       จักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นชาวโรมันคนแรกที่หันมานับถือคริสต์ศาสนา

(3)       สาวกที่นำคริสต์ศาสนามาเผยแผ่ในโรมคือ เซนต์ปีเตอร์

(4)       อาณาจักรโรมันตะวันออกนับถือคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก

ตอบ 4 หน้า 238 – 23932154 (H), (คำบรรยาย) จากความขัดแย้งทางศาสนาในเรื่องการบูชา รูปเคารพระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออกในปี ค.ศ. 1054 ทำให้คริสต์ศาสนาแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดเป็น 2 นิกาย คือ

1.         นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีประมุขสูงสุดคือ แพทริอาร์ค มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใข้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายใน

ยุโรปตะวันออกและรัสเซีย

2.         นิกายโรมันคาทอลิก นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันตก มีประมุขสูงสุดคือ สันตะปาปามีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี

45.       วิธีการลงโทษของคริสตจักรต่อกษัตริย์คือวิธีการใด

(1) Truce of God (2) Interdict     (3) Excommunication (4) Peace of God

ตอบ 3 หน้า 24032166 (H) มาตรการสำคัญที่ศาสนจักรใข้ลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนา มีดังนี้ 1. การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่บุคคลสำคัญ เช่น กษัตริย์ หรือนักคิดคนสำคัญ ออกจากการเป็นคริสเตียนหรือเป็นพวกนอกรีต (Heretic) โดยไม่ให้ศาสนิกชนอื่นเข้ามาคบหาด้วย         2. การอินเทอดิค (Interdict) คือ การประกาศว่ดินแดนใดดินแดนหนึ่งเป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และบางกรณี อาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุด

46.       ข้อใดคือจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด           

(1) การแตกแยกทางศาสนาในอาณาจักรไบแซนไทน์

(2)       ชาวมุสลิมเข้ายึดครองดินแดนศักดิสิทธิ์ และไม่ให้ชาวคริสต์เดินทางไปแสวงบุญ

(3)       สงครามศาสนาระหว่างคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ (4) ออตโตมันเข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล

ตอบ 2 หน้า 279 – 28576 – 77 (H) สงครามครูเสดในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิม ทั้งนี้สาเหตุโดยทั่วไป ที่ก่อให้เกิดสงคราม คือ

1.         พวกเซลจุก เติร์ก ซึ่งเป็นชาวมุสลิม ได้เข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นเมืองศักดิสิทธิของพวกคริสเตียน นอกจากนี้ยังไม่อนุญาตให้พวกคริสเตียนเดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเล็ม และทำการปราบปรามพวกคริสเตียนด้วย

2.         พวกเซลจุก เติร์ก ฃู่ที่จะบุกจักรวรรดิโรมันตะวันออก พระจักรพรรดิจึงต้องขอความช่วยเหลือจากสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 เพื่อปราบปรามพวกเซลจุก เติร์ก ในปี ค.ศ. 1095

47.       ความสำคัญของ Magna Carta : The Great Charter คือข้อใด

(1)       การประกาศสิทธิมนุษยชนในอังกฤษ  (2) การปกครองระบอบประชาธิปไตย

(3) การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ     (4) ยุคกษัตริย์ประเทืองปัญญา

ตอบ 3 หน้า 27575 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน(John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษโดยมี หลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอำนาจ ของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน และการจัดเก็บภาษีต้องทำ ด้วยความยุติธรรม ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภา หรือการปกครอง ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

48.       สาเหตุของสงคราม 100 ปี Edward III ไม่สามารถขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศสได้ เพราะขัดแย้งกับกฎหมายข้อใด

(1)       Salic Law (2) Table Law    (3) Solon Law    (4) Justinian Law

ตอบ 1 หน้า 296 – 29779 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสเนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลงโดยไม่มีรัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศส ไม่ยินยอมโดยอ้างกฎหมายที่เรียกว่า “Salic Law” เพื่อตัดสิทธิในราชบัลลังก์ของพระองค์ ดังนั้น พระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดำเนินมาจนถึงปี ค.ศ. 1453

49.       พวกอนารยชนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในสเปนภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกคือ

(1) ลอมบาร์ด  (2) แองเกิลส์และแซกซัน        (3) วิสิกอธ       (4) เบอร์กันเดียน

ตอบ 3 หน้า 20621154 (H), 73 (H) ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 อนารยชนเยอรมันตะวันออกเผ่าวิสิกอธ (Visigoths) ก็ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและปกครองสเปน เป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี จนกระทั่งถูกพวกมัวร์ที่นับถือศาสนาอิสลามจากแอฟริกาเหนือ เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 711

50.       ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้โคลวิสสามารถสถาปนาอาณาจักรเมโรแวงเจียนได้สำเร็จคือ

(1)       เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ (2) รบชนะพวกฮั่น

(3) ได้รับการสนับสนุนจากสันตะปาปา          (4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 21532362 (H), 82 – 83 (H) โคลวิส เป็นกษัตริย์ของพวกแฟรงค์ที่ได้สถาปนาราชวงศ์ เมโรแวงเจียนขึ้นในปี ค.ศ. 481 โดยสิ่งที่ส่งเสริมพระราชอำนาจของโคลวิส คือ การเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เพราะทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงที่เป็นคริสเตียนในปี ค.ศ. 496 ทำให้พระองค์ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากพระสันตะปาปาและชาวพื้นเมือง

51.       สนธิสัญญาแวร์ดังปี ค.ค. 843 เพื่อแบ่งจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ เป็นจุดกำเนิดของประเทศใด ในปัจจุบัน

(1)       สเปน   (2) ฝรั่งเศส      (3) เยอรมนี      (4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 220 – 22164 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกำเนิดของประเทศ เยอรมนีและฝรั่งเศสในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของชาร์เลอมาญออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.         หลุยส์เดอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี

2.         ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ได้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิ ปัจจุบันก็คือ ประเทศฝรั่งเศส

3.         โลแธร์ (Lothair) ได้ครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาก็คือ แคว้นลอแรน

52.       Excommunication คือ มาตรการศาสนจักรโดย

(1)       ให้ความพิทักษ์บุคคลและสถานที่บางแห่งยามสงคราม

(2)       ระยะเวลาพักรบหรือห้ามทำสงคราม

(3)       การประกาศปิดโบสถ์

(4) การขับไล่บุคคลใดบุคคลหนึ่งออกจากการเป็นคริสเตียน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

53.       ภายหลังประกาศการใช้รัฐธรรมนูญประกาศทองในปี ค.ศ. 1356 ผู้มีสิทธิเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์คือ   

(1) สันตะปาปา

(2)       คณะผู้เลือก 7 คน       (3) กษัตริย์รัสเซีย        (4) กษัตริย์ราชวงศ์แฮปสเบิร์ก

ตอบ 2 หน้า 292 – 29378 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bull) ปี ค.ศ. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นใน อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (Electors) เป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิ ของสันตะปาปาในการเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ออกไป และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ

54.       ลัทธิที่มีการควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติพึ่งพาเศรษฐกิจชาติอื่น ๆ ให้น้อยลง เพื่อนำมาสร้างกองทัพและแสวงหาอาณานิคม คือลัทธิเศรษฐกิจแบบใด

(1) ชาตินิยม    (2) นายทุน      (3) พาณิชย์ชาตินิยม   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 339 – 34088 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) เป็นระบบ การค้าที่รัฐบาลแห่งชาติและกษัตริย์จะเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด นั่นคือ กษัตริย์เป็น ผู้อุปถัมภ์และมีอำนาจในการกำหนดสิทธิในการต่อรองหรือผูกขาดสินค้า ทั้งนี้พวกนายทุน จะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล ส่วนกษัตริย์จะสะสมโลหะมีค่าเพื่อหาเงินมาขยาย กองทัพและสะสมอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอีน นอกจากนี้ยังผูกขาดการค้าโดย บังคับให้ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เท่านั้น เน้นการพื่งพาเศรษฐกิจจากชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด และส่งเสริมการมีอาณานิคม ทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าและเกิดกรณีพิพาท ในกลุ่มประเทศอาณานิคมอยู่บ่อยครั้ง

55.       บุคคลสำคัญที่ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการสำรวจทางทะเลคือ

(1) เจ้าชายเฮนรี          (2) มาร์โค โปโล           (3) พระเจ้าจอห์นที่ 1   (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 35173 (H), 90 (H) บุคคลสำคัญที่ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการสำรวจทางทะเลในศตวรรษที่ 15 คือ เจ้าขายเฮนรี นักเดินเรือ (Henry the Navigator) ซึ่งทรงสนพระทัย ในการศึกษาเรื่องราวของทวีปแอฟริกา และทรงเปิดโรงเรียนเดินเรือขึ้น ทำให้โปรตุเกสมีนักเดินเรือ ที่สำคัญ 3 ท่าน ได้แก่ ไดแอช (Diaz), วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) และคาบรัล (Cabral)

56.       บุคคลผู้ใดได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เดินทางรอบโลกประสบความสำเร็จเป็นคนแรก

(1) โคลัมบัส    (2) แมกเจลแลน          (3) วาสโก ดา กามา    (4) อเมริโก เวสปุคซี

ตอบ 2 หน้า 35190 (H), (คำบรรยาย) แมกเจลแลน (Magellan) เป็นนักสำรวจทางเรือชาวสเปน รุ่นแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรกในระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย

57.       สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาคือ

(1)       ความประพฤติผิดของพระ     (2) การขายใบไถ่บาป

(3)       สันตะปาปาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง           (4) การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป

ตอบ 2 หน้า 37898 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงิน ไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมติจากมาร์ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัด ในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

58.       ความสำคัญของสงคราม 30 ปีคือ     

(1) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรป

(2)       ความตกต่ำของสเปนและการก้าวขึ้นมามีอำนาจของฝรั่งเศส

(3)       ทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปถึง 200 ปี 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 390 – 391101 (H) สงคราม 30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 – 1648) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ที่ได้รับความช่วยเหลือจวกอังกฤษและฝรั่งเศสกับพวกคาทอลิกที่ได้รับความช่วยเหลือจากสเปน ในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของ พวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรปแทนที่สเปน ขณะที่ดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

59.       เหตุการณ์ใดถือเป็นการยุติยุค Reconquista

(1) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ในประเทศเยอรมนี (2) การแตกแยกทางศาสนาครั้งใหญ่

(3) Armada War         (4) สเปนยึดครองกรานาดา

ตอบ 4 หน้า 267335 – 33673 (H), 86 – 87 (H) ยุค Reconquista หรือ Reconquest เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) หรือมุสลิมสเปน ซึ่งยึดครองสเปนนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 718 – 1492 รวมระยะเวลาเกือบ 800 ปี โดยยุคนี้ได้สิ้นสุดลง เมื่อสเปนสามารถเข้ายึดครองอาณาจักรกรานาดาจากพวกมัวร์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 ภายใต้การนำของกษัตริย์สเปน 2 พระองค์ คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอรากอน และ พระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล จากนั้นจึงมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 4 แห่ง คือ คาสติล (Castile), อรากอน (Aragon), กรานาดา (Granada) และนาวาร์ (Navarre)เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาเป็นรัฐชาติสเปนนับตั้งแต่นั้น

60.       ข้อใดคือลักษณะของ Romanesque Arts

(1) Pointed Arch        (2) หลังคาโค้งมน อิทธิพลของศาสนาคริสต์

(3) มีการประดับตกแต่งในรายละเอียดฟุ่มเฟือย        (4) มีส่วนผสมของ Greco Roman

ตอบ 2 หน้า 313326 – 327 ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque Arts) เป็นสถาปัตยกรรมยุคกลาง ในสมัยที่มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ โดยมีลักษณะเด่น คือ มีเพดานและ หลังคาหินโค้งมนเหมือนประทุนเกวียน และโดมโค้งครึ่งวงกลมซึ่งเป็นหัวใจในการก่อสร้าง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากไบแซนไทนํและโรมัน นอกจากนี้วิหารและโบสถ์ยังมีขนาดใหญ่ หนาทึบและคงทน มีสิ่งก่อสร้างด้วยหินโค้งกลม เสาและกำแพงหนาหนัก มีหน้าต่างเล็ก ๆ ทำให้ภายในวิหารค่อนข้างมืดจนดูเหมือนอยู่ในป้อมปราการมากกว่า

61.       ผลของสงครามดอกกุหลาบคือข้อใด

(1) Edward III มีสิทธิในราชบัลลังถ์ฝรั่งเศส        (2) สถาปนาราชวงศ์ Sturt Dynasty

(3) Henry VIII มีสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส        (4) สถาปนาราขวงศ์ Tudor Dynasty

ตอบ 4 หน้า 29932679 – 80 (H) สงครามดอกกุหลาบ (War of the Roses : ค.ศ. 1455)เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแย่งกันขึ้นปกครองอังกฤษ ระหว่างตระกูลแลงคาสเตอร์ (ดอกกุหลาบสีแดง) กับตระกูลยอร์ก (ดอกกุหลาบสีขาว) สงครามจบลงในปี ค.ศ. 1485 โดยเฮนรี ทิวดอร์ ผู้นำตระกูลแลงคาสเตอร์เป็นผู้ชนะ ซึ่งมีผลติดตามมาคือ 1. ขุนนางเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ทำให้กษัตริย์องค์ใหม่สามารถ พัฒนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น 2. เฮนรี ทิวดอร์ ได้สถาปนาราชวงศ์ ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ขึ้นปกครองอังกฤษ

62.       ใครเป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุดและให้การสนับสบุนการค้าในระบบ Mercantilism

(1) ขุนนาง       (2) กษัตริย์      (3) พ่อค้าคนกลาง       (4) ศาสนจักร

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

63.       ข้อใดคือสาเหตุของการเกิด Anglican Church ในประเทศอังกฤษ

(1) Henry VIII – Bloody Mary     (2) Henry VII – Bloody Mary

(3) Henry VIII – Virgin Queen     (4) Henry VIII – Ann Bolynn

ตอบ 4 หน้า 38399 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII) แห่งอังกฤษทรงไม่พอพระทัยที่สันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาด จากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน (Ann Bolynn) จึง ทรงตั้งสังฆราชแห่งแคนเทอเบอรี่ขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรง ให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supreamacy” ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้ง ให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา ซึ่งส่งผลทำให้อังกฤษ เปลี่ยนศาสนาเป็น นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)

64.       ผลจากสงคราม 1588 Invincible Armada War ในสมัยพระราชินี Elizabeth I คือข้อใด

(1) สถาปนาราชวงศ์ Tudor Dynasty  (2) อังกฤษก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางทะเล

(3) สิ้นสุดความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของโปรตุเกส (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 388 – 38987 (H), 100 – 101 (H) สงครามอาร์มาดา (The Invincible Armada War : ค.ศ. 1588) เป็นสงครามทางทะเลระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน กับพระราชินี เอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I) แห่งอังกฤษ ซึ่งผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้สเปน หมดอิทธิพลในยุโรป ในขณะที่อังกฤษกลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลแทนสเปน

65.       ข้อใดเป็นสาเหตุของการออกแสวงหาอาณาจักรใหม่

(1) ผลจากสงครามครูเสด       (2) ล้มเลิกการผูกขาดสินค้ากับอิตาลี

(3) The book of Marco Polo      (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 350 – 35189 – 90 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้ยุโรปตะวันตกออกสำรวจเส้นทาง ทางทะเลเพื่อแสวงหาอาณานิคมใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 15 – 16 มีดังนี้

1.         แรงบันดาลใจจากผลของสงครามครูเสด เมื่อกองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชีย ไปเผยแพร่ในยุโรป 2. อิทธิพลจากหนังสือชื่อ The book of Marco Polo ของมาร์โค โปโล ซึ่งเป็นบันทึกเรี่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปจีนที่ใช้เวลานานถึง 25 ปี

3.         เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับภาคตะวันออกถูกตัดขาด เนื่องจากกรุงคอนสแตนติโนเบล ถูกพวกออตโตมัน เติร์ก ยึดครอง 4. มีความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก 5. ต้องการล้มเลิกการผูกขาดสินค้าจากภาคตะวันออกของพ่อค้าชาวอิตาลี เป็นต้น

66.       ใครเป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนเดินเรือและการสำรวจดินแดนใหม่       

(1) Vasco da Gama

(2)       Henry the Navigator        (3) Marco Polo (4) Columbus

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

67.       นักเดินเรือที่ค้นพบและทำลายอารยธรรม Aztec Mexico คือใคร         

(1) Vasco da Gama

(2)       Pizarro     (3) Cortez (4) Columbus

ตอบ 3 หน้า 35155 (H) คอร์เตซ (Cortez) เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่เข้าไปทำการสำรวจ ดินแดนเม็กซิโก (Mexico) เป็นคนแรก ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่เข้าไปทำลายอารยธรรม ของพวกแอสเท็ค (Aztec) ในเม็กซิโกระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1521

68.       ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1)       นักเดินเรือที่ค้นพบและตั้งชื่อทวีปอเมริกาคือ Columbus

(2)       นักเดินเรือที่ค้นพบเดินทางไปถึงอินเดียคนแรกคือ Vasco da Gama

(3)       Magellan เดินทางโดยเรือรอบโลกคนแรก

(4) ฟิลิปปินส์ตั้งชื่อตามกษัตริย์ที่ให้การสนับสนนการเดินเรือคือ K. Philip

ตอบ 1 หน้า 35135490 – 91 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1492 โคลัมบัส (Columbus) เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่ค้นพบโลกใหม่หรือทวีปอเมริกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1507 มาร์ติน ไวด์ซีมูลเลอร์ นักเขียนแผนที่ชาวเยอรมัน ได้นำชื่อของอเมริโก เวสปุคซี (Americo Vespucci) ซึ่งเป็นนักสำรวจ ชาวฟลอเรนซ์ มาตั้งเป็นชื่อของทวีปอเมริกา นั่นคือ จากชื่อ Americo เป็น America

69.       การกลับมาเกิดใหม่ของอารยธรรม Greco-Roman คือศิลปะในยุคใด

(1) Renaissance (2) Neo-Classic (3) Gothic (4) Byzantine

ตอบ 1 หน้า 356 – 35892 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) คือ การเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีกโรมัน (Greco-Roman)ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

70.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับ Renaissance Arts

(1) Universal Man     (2) Gothic-Pointed Arch

(3)       การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ครั้งแรกในยุโรป           (4) Romeo Juliat, Hamlet

ตอบ2 หน้า 314 – 315327359 – 372 ศิลปะโกธิก (Gothic Arts) เป็นศิลปะเพื่อคริสต์ศาสนา โดยมีลักษณะเด่นคือ โครงสร้างของวิหารจะมีลักษณะเป็นหลังคาโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) ภายในมีการประดับประดาหน้าต่างด้วยแก้วโมเสกสี ส่วนภายนอกจะมีหอคอยคู่สูงตระหง่าน มีปลายยอดแหลมชี้ตรงสู่สวรรค์และพระเจ้า ซึ่งเป็นการแสดงถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ยังคง เทิดทูนพระเจ้า อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของยุคกลาง

71.       หนังสือเรื่อง The Prince ของ Machiavelli 1469 – 1527 มีความสำคัญอย่างไร

(1)       มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2)       ลักษณะของผู้ปกครองที่ดีสามารถรวมชาติได้ต้องไม่คำนึงถึงศีลธรรม

(3)       ต้องการกระตุ้นและอยากได้ผู้นำในการรวมชาติของอิตาลี   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 333 – 33436286 (H), 94 (H), (คำบรรยาย) นีโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli : ค.ศ. 1496 – 1527) เป็นนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสมัยเรอเนสซองส์ โดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Prince ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐ ในทุกวิถีทางที่จำเป็น โดยไม่ต้องคำนึงถึงความซื่อสัตย์ยุติธรรมหรือเกียรติยศชื่อเสียง ศีลธรรม และวิธีการที่ถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริมการปกครองในระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เข้มแข็ง เพื่อหากษัตริย์หรือผู้นำในการรวมชาติอิตาลีภายใต้การปกครองเดียวกัน

72.       เสรีชนผู้มีสิทธิเลือกผู้บริหารด้วยตนเอง ประชาชนเป็นผู้รักษากฎหมาย และมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นลักษณะของเมืองในข้อใด

(1) The Prince    (2) Utopia (3) Eurasia         (4) Nation-State

ตอบ 2 หน้า 37196 (H) ผลงานการเขียนที่สำคัญของเซอร์โทมัส มอร์ (Sir Thomas More) ผู้นำ ขบวนการมนุษยนิยมในอังกฤษก็คือ Utopia ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นเรื่องรัฐในอุดมคติ หรืออุดมรัฐ และกล่าวถึงสังคมที่ดีจะต้องประกอบด้วยเสรีชน การมีสิทธิเลือกผู้บริหารด้วยตนเอง ผู้รักษากฎหมายต้องไม่ใช่ตำรวจแต่ต้องเป็นประชาชนผู้มีสำนึก และต้องมีเสรีภาพ ในการนับถือศาสนาอย่างเต็มที่ในปัจจุบันคำว่า “Utopia” หมายถึง สถานที่หรือสังคม ในอุดมคติ (An Ideal Place or Society)

73.       ข้อใดคือสาเหตุสำคัญที่สุดที่กระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปศาสนา

(1)       การประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากเกินไป   (2) Pope ยุ่งเกี่ยวการเมืองและอำนาจ

(3)       การขายใบไถ่บาปให้กับชาวคริสต์      (4) การซื้อขายตำแหน่งทางศาสนา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

74.       95 Theses ของมาร์ติน ลูเธอร์ ถูกศาสนจักรจัดอยู่ในกลุ่มใด

(1)       The Index of Blacklist       (2) The Inquisition

(3)       Edict of Nantes         (4) Act of Succession

ตอบ 1 หน้า 385 – 386100 (H), (คำบรรยาย) การประชุมทางศาสนาที่เมืองเทรนท์ ค.ศ. 1545 มีสาระสำคัญดังนี้            1. พระสันตะปาปาคือประมุขทางศาสนา

2.         คัมภีร์ไบเบิลต้องเขียนเป็นภาษาละตินเท่านั้น

3.         ห้ามขายตำแหน่งทางศาสนาและขายใบไถ่บาป

4.         อนุญาตให้พระเทศน์เป็นภาษาท้องถิ่นได้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจดีขึ้น

5.         มีการขึ้นบัญชีหนังสือต้องห้าม (The Index of Blacklist) เช่น หนังสือวิจารณ์พระคัมภีร์ใหม่ ของ Erasmus, คำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ของมาร์ติน ลูเธอร์ เป็นต้น

75.       ผลของสงครามใดทำให้เยอรมนีรวมประเทศได้ช้ากว่าประเทศอื่น

(1) สงครามศาสนาในฝรั่งเศส (2) สงคราม 100 ปี

(3) สงคราม 30 ปี        (4) การปฏิรูปศาสนาในเยอรมนี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 58. ประกอบ

76.       ข้อใดไม่ใช่กลุ่มนิกายโปรเตสแตนต์

(1) Lutheranism (2) Calvinism   (3) Huguenots  (4) Templar

ตอบ 4 หน้า 383386101 (H) ผลที่สำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปศาสนาก็คือ เป็นการสิ้นสุด ของสภาพศาสนาสากล นั่นคือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะจับตก อีกต่อไป เพราะประชาชนสามารถเปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีหลากหลายนิกาย เช่น นิกายลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism), นิกายคาลแวงในฝรั่งเศส (Calvinism/Huguenots), นิกายเพรสไบทีเรียนในสกอตแลนด์ (Presbyterian), นิกายแองกลิคันหรือนิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England) เป็นต้น       

77.       ประเทศอังกฤษเปลี่ยนไปปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญหลังจากเหตุการณ์

(1) สงครามอาร์มาดา  (2) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง

(3) สงครามดอกกุหลาบ          (4) การต่อสู้ระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับรัฐสภา

ตอบ 2 หน้า 417108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรือง (The Glorious Revolution) ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้ 1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบรัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy/King in Parliament) 2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด

3.         ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น  4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม

จัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน

78.       ใน ค.ศ. 1795 ประเทศที่ถูกรัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซียเข้ายึดครองจนหายไปจากแผนที่ยุโรป คือประเทศใด

(1) ฮังการี        (2)ลิทัวเนีย      (3)       โปแลนด์          (4) บัลแกเรีย

ตอบ 3 หน้า 427109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซีย ได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์ เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเซียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่2ใบปี ค.ศ. 1793ทำให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็ร่วมกันแบ่ง โปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรปนับตั้งแต่นั้น

79.       อิทธิพลของนักปรัชญาที่มีผลต่อการปฏิวัติอเมริกัน ได้แก่ อิทธิพลของ

(1) จอห์น ล็อค (2)       รุสโซ    (3)       โทมัส ฮอบบ์    (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 441446 – 447454112 – 113 (H) จอห์น ล็อค และฌอง ฌาค รุสโซ เป็นนักปรัชญา ทางการเมืองผู้เสนอทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติ อเมริกันในปี ค.ศ. 1776 โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏในคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของรัฐอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดีคนแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน

80.       กลุ่มชนที่มีอภิสิทธิ์และไม่ต้องเสียภาษีก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789ได้แก่

(1) พระขุนนาง          (2)       ขุนนางสามัญชน       (3) สามัญชนพระ     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 459 – 460114 (H) ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสมีการแบ่งชนชั้น ทางสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น หรือ 3 ฐานันดร ได้แก่

1.         ฐานันดรที่ 1 ได้แก่ พระหรือเจ้าหน้าที่ศาสนา 2. ฐานันดรที่ 2 ได้แก่ เจ้าหรือขุนนาง

3.         ฐานันดรที่ 3 ได้แก่ สามัญชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา

โดยฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มชนที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคม และไม่ต้องเสียภาษี ส่วนฐานันดรที่ 3 เป็นกลุ่มชนที่ไม่มีอภิสิทธิ์ โดยต้องแบกรับภาระภาษีและภาระทางสังคมของประเทศ

81.       ภายหลังจากการประชุมเวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว บุคคลผู้คอยสกัดกั้นไม่ให้เกิดการปฏิวัติ โดยขบวนการเสรีนิยมคือใคร

(1) ดุ๊กแห่งเวลลิงตัน   (2)       เมตเตอร์นิก     (3)       นโปเลียน         (4) ฮาร์เดนเบิร์ก

ตอบ 2 หน้า 471 – 473118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ประเทศ ในยุโรปส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ ทำการต่อต้านระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของคองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ศ. 1815 – 1848)

82.       การปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นในสมัยของใคร

(1)       พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (2) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (3) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (4) ใม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ ปัญหาทางการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในการบริหารประเทศ จึงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกันหาวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนที่ประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือและ ชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่การปฏิวัติในที่สุด

83.       นายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำในการรวมชาติอิตาลีคือผู้ใด

(1) การิบอลดี  (2) คาวัวร์        (3) เนเปิล        (4) ทัคคานี

ตอบ 2 หน้า 512 – 513126 (H) ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในการรวมชาติอิตาลีในระหว่างปี ค.ศ.1860 – 1861 คือ เคานต์ คามิลโล ติ คาวัวร์ นายกรัฐมนตรีของซาร์ดิเนีย ซึ่งเชื่อว่าการรวมชาติ จะกระทำได้โดยการปราบออสเตรียก่อน จากนั้นจึงดึงประเทศมหาอำนาจเข้ามาช่วย พร้อมกับ ดำเนินการทางการทูตไปด้วย ดังนั้นคาวัวร์จึงนำซาร์ดิเนิยเข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งทำให้คาวัวร์สามารถขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส ให้มาช่วยรบกับออสเตรียได้

84.       ชาติใดที่ไม่ได้เป็นเอกราชในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่

(1) จีน  (2) ญี่ปุ่น         (3) เอธิโอเปีย  (4) อียิปต์

ตอบ 4 หน้า 523131 (H) ในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยังคงความเป็น เอกราชมีเพียง 2 ประเทศคือ เอธิโอเปีย (อบิสสิเนิย) ซึ่งได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากอิตาลี ในปี ค.ศ. 1896 และไลบีเรีย ซึ่งสหรัฐอเมริกาปลดปล่อยให้เป็นประเทศของทาสนิโกร ในปี ค.ศ. 1822 และได้เป็นสาธารณรัฐเอกราชในปี ค.ศ. 1847 ส่วนในทวีปเอเชียเหลือ ประเทศเอกราชคือ จีน ญี่ปุ่น และไทย

85.       ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) เกิดการปฏิวัติราชวงศ์โรมานอฟ    (2) มีปัญหาทางเศรษฐกิจ

(3) เกิดการปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิค   (4) รัสเซียแพ้สงคราม

ตอบ 4 หน้า 537134 (H), 136 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 มีดังนี้            1. เกิดการปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 2. รัสเซียมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน 3. เกิดการปฏิวัติของพรรคบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ภายใต้การนำของเลนิน ส่งผลให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียตขึ้น

86.       สนธิสัญญาที่ประเทศฝ่ายชนะทำกับเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง คือ

(1) แวร์ซายส์   (2) แซงต์แยร์แมง        (3) ตริอานอง   (4) เนยยี่

ตอบ 1 หน้า 539 – 540136 – 137 (H) การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสในระหว่างปี ค.ศ. 1919 – 1920 เป็นการทำสัญญาที่ประเทศฝ่ายชนะทำเพื่อลงโทษประเทศฝ่ายผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลก่อให้เกิดสนธิสัญญาฉบับต่าง ๆ ได้แก่ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี สนธิสัญญา แซงต์แยร์แมงทำกับออสเตรีย สนธิสัญญาตรีอาบองทำกับฮังการี สนธิสัญญาเนยยี่ทำกับ บัลแกเรีย และสนธิสัญญาแซฟร์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นสนธิสัญญาโลซานน์ทำกับตุรกี

87.       ลัทธิทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง และมีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการแพร่ขยาย ของลัทธิคอมมิวนิสต์คือลัทธิใด

(1)       ฟาสซิสต์         (2) นาซี            (3) จักรวรรดินิยม        (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 541 – 543137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้เกิดขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งเป็บการปกครองที่ผู้นำเดี่ยว มีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยูในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาด ในลักษณะก้าวร้าวแต่เพียงพรรคเดียว แบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่

1.         ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย 2. ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุสโสลินิ เกิดขึ้นในอิตาลีและขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประขาธิปไตย

88.       สงครามที่อิตาลีสามารถยึดครองกรุงโรมและสถาปนาเป็นเมืองหลวงในปี ค.ค. 1870 ซึ่งถือว่าเป็นการรวมประเทศอิตาลีอย่างสมบูรณ์ คือสงครามใด    

(1) สงครามไครเมีย

(2)       สงคราม 7 ปี    (3) สงคราม 30 ปี        (4) สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

ตอบ 4 หน้า 515126 – 127 (H) หลังจากที่คาวัวร์เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1861 การรวมอิตาลีก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะแคว้นเวเนเทียยังอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย และ กรุงโรมยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1870 กองกำลังทหารของฝรั่งเศสที่ให้ความคุ้มครองแก่สันตะปาปาในกรุงโรม จึงเดินทางกลับฝรั่งเศส รัฐบาลอิตาลีได้ถือโอกาสเข้ายึดกรุงโรมมาเป็นเมืองหลวง และรวมอิตาลี ได้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1871

89.       บิสมาร์คอัครเสนาบดีของเยอรมนีใช้นโยบายใดในการรวมประเทศในระยะแรก

(1) การสร้างพันธมิตรทางการทูต        (2) การเปลี่ยนทิศทางการทูต

(3)       การทำสงคราม เลือดและเหล็ก”    (4) พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม

ตอบ 3 หน้า 517 – 520128 – 129 (H) บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ได้ประกาศใช้ นโยบายเลือดและเหล็กในการบริหารประเทศ และใช้ในการดำเนินนโยบายเพื่อรวมเยอรมนี เข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นบิสมาร์คจะใช้วิธีการทำสงครามถึง 3 ครั้ง คือ ทำสงครามกับ เดนมาร์ก ออสเตรีย และฝรั่งเศส ซึ่งหลังจากที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่ปรัสเซีย ได้ส่งผลทำให้ บิสมาร์คสามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีขึ้นได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวัง แวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาบิสมาร์คได้เปลี่ยนจากการใช้นโยบายรุนแรงเป็นการใช้ นโยบายทางการทูตด้วยการสร้างระบบพันธมิตรขึ้น เพื่อต้องการปิดล้อมฝรั่งเศสให้อยู่โดดเดี่ยว ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสแก้แค้นเยอรมนีได้ในภายหลัง

90.       ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ

(1) เยอรมนี      (2) อังกฤษ      (3) ฝรั่งเศส      (4) รัสเซีย

ตอบ 1 หน้า 530 – 531533133 (H) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศมหาอำนาจในยุโรป จะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1.         กลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี

2.         กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ

91.       สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามด้วยเหตุใด      

(1) เป็นพันธมิตรกับฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส

(2)       ลักลอบค้าอาวุธสงครามให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและถูกจับได้

(3)       ต้องการอาณานิคม     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 536 – 537134 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ประกาศตัวเป็นกลางต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร มีดังนี้

1.         สหรัฐฯ แอบลักลอบค้าอาวุธสงครามให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อมาเมื่อเยอรมนีทราบเรื่องนี้ จึงนำเรือดำนํ้าไปยิงเรือสินค้าของสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ ได้รับความเดือดร้อน

2.         สหรัฐฯ ไม่พอใจที่เยอรมนีชักชวนให้เม็กซิโกกับญี่ปุ่นทำสงครามกับสหรัฐฯ

3.         สหรัฐฯ เป็นผู้ขายอาวุธให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรพ่ายแพ้สงคราม สหรัฐฯ ก็จะต้องสูญเสียเงินที่ควรได้จากการขายอาวุธ

92.       ผู้แทนของประเทศใดเป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ

(1)       อังกฤษ            (2) สหรัฐอเมริกา         (3)       ฝรั่งเศส            (4)       เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 540 – 541,135 – 136 (H), (คำบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) ก่อตั้งขึ้นตามหลัก 14 ประการ ซึ่งเป็นข้อเสนอของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ที่ถูกระบุไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดข้อขัดแย้งระหว่างประเทศโดย อาศัยวิธีเจรจาออมชอมหรือยุติด้วยกำลังและการศาล ทั้งนี้สับนิบาตชาติประสบความสำเร็จ ในเรื่องการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถรักษาสันติภาพและระเบียบแบบแผนได้ ซึ่งส่งผลให้สันนิบาตชาติอ่อนแอเนื่องจากไม่มีกองทัพเป็นของตนเอง

93.       นโยบาย Anti-Semitism เป็นนโยบายต่อต้านชาวยิวของใคร

(1) เบนิโต มุสโสลินี     (2) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์     (3)       บิสมาร์ค          (4) โอลิเวอร์ ครอมเวลส์

ตอบ 2 หน้า 543138 (H), (คำบรรยาย) อดอส์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นผู้ก่อตั้งลัทธินาซี (Nazism) ขึ้นในเยอรมนี ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ซึ่งนโยบายของฮิตเลอร์จะเน้นเรื่องชาตินิยม นอกจากนี้ยังต้องการยุติการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเยอรมนี โจมตีสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ลงโทษเยอรมนี และเพื่อต่อต้านชาวยิว (Anti-Semitism) โดยมีเป้าหมาย ที่จะฟื้นฟูเยอรมนีให้มีสภาพเหมือนก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และต้องการกู้เกียรติภูมิของชาติกลับคืนมา

94.       ข้อใดไมใช่สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

(1)       ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก

(2)       ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3)       ความต้องการขยายดินแดนของประเทศมหาอำนาจ

(4)       ความอ่อนแอขององค์การสหประชาชาติ

ตอบ 4 หน้า 546 – 547138 (H) สาเหตุที่นำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้

1.         ความต้องการขยายดินแดนของประเทศมหาอำนาจซึ่งไม่มีอาณานิคมเหมือนชาติมหาอำนาจชาติอื่นๆ เนื่องจากต้องการหาตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและแสวงหาอาณานิคม

2.         ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ 3. ความไม่เป็นธรรมจากการทำสนธิสัญญา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง 4. เกิดการต่อสู้กันระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทธิฟาสซิลต์ 5. เป็นผลกระทบมาจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี ค.ศ. 1929

95.       มหาอำนาจที่บังคับให้จีนเปิดประเทศคือ

(1)       อังกฤษ            (2) ฝรั่งเศส      (3) ฮอลันดา    (4) รัสเซีย

ตอบ 1 หน้า 527132 (H) อังกฤษเป็นชาติแรกที่ใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วย สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840 – 1842) เนื่องจากอังกฤษนำฝิ่นจากอินเดียมาขายในจีน รัฐบาลแมนจู ของจีนไม่ยินยอมจึงทำให้เกิดสงครามขึ้น ผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายแพ้และต้องลงนามใน สนธิสัญญานานกิงในปี ค.ศ. 1842 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

1.         จีนต้องเปิดเมืองท่าเพิ่มอีกคือ เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามา พำนักและค้าขาย

2.         จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย

3.         จีนต้องยกเลิกภาษีขาเข้า

96.       แกนนำฝ่ายอักษะ ได้แก่ประเทศใด

(1)       เยอรมนี-ฝรั่งเศส-ญี่ปุ่น           (2) เยอรมนี-อิตาลี-ญี่ปุ่น

(3) เยอรมนี-อิตาลี-ฝรั่งเศส     (4) เยอรมนี-ออสเตรีย-ฮังการี-ญี่ปุ่น

ตอบ 2 หน้า 138 (H) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1.         ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

2.         ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และ โซเวียตรัสเซีย

97.       ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศมหาอำนาจผู้นำ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ คือสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1 (2) สงครามโลกครั้งที่ 3 (3) สงครามเย็น      (4) สงครามครูเสด

ตอบ 3 หน้า 559 – 561139 (H) สงครามเย็น (Cold War) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1945 หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ใน โซเวียตรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งสงครามเย็นมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1.         เป็นความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างสหรัฐอเมริกา ผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับโซเวียตรัสเซียผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์

2.         ทั้งสองประเทศจะไม่ทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) ต่อกันโดยตรง เพราะต่างฝ่ย ต่างก็มีอาวุธร้ายแรง แต่มักใช้วิธีการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War)

3.         แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อ

4.         มีการแช่งขันกันสะสมอาวุธและแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ

98.       เหตุการณ์ใดถือว่าเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณ

(1) A.D. 1445 จอห์น กูเตนเบิร์ก ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ (2) A.D. 476 อาณาจักรโรมันตะวันตกล่ม

(3) A.D. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดครอง  (4) A.D. 1492 โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่

ตอบ 2 หน้า 17186 – 1872 – 3 (H), 54(H) ในปี ค.ศ. 476 (A.D. 476) เป็นปีที่กรุงโรม ถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง โดยโอดัวเซอร์ หัวหน้าพวกอนารยชนเยอรมัน ได้ถอดถอนจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุลุส ออกจากตำแหน่ง และเข้ายึดครองจักรวรรดิ โรมันตะวันตก ดังนั้นจึงถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคโบราณแล้วเข้าสู่ยุคกลาง และ ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายนับตั้งแต่นั้น

99.       การค้นพบถ่านหินที่หมู่เกาะ “Spitsbergen” มีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นสถานที่ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุด

(2)       แสดงว่าในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยการสะสมของสิ่งมีชีวิต

(3)       ปัจจุบันปกคลุมด้วยน้ำแข็ง แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 27 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียน อยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะ สปิตเบอร์เกน (Spitsbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ (Norway) ใกล้กับบริเวณ ขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็งนั้น ถือเป็นประจักษ์พยานได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน

100.    อาณาจักรโรมันรับอารยธรรมกรีกมาปรับใช้เป็นลักษณะของทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีภูมิศาสตร์ (2) ทฤษฎีโนแมด           (3) ทฤษฎีดินเสื่อม      (4) ทฤษฎีศาสนา

ตอบ 2 หน้า 26 – 2715513 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับ เอาวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (พวกโนแมด เป็นพวกเร่ร่อนตามทะเลทรายที่สามารถรบชนะพวกที่มีอารยธรรมสูงกว่า) เช่น หลังจากที่ อาณาจักรโรมันได้ครอบครองกรีกแล้ว ก็ได้รับเอาอารยธรรมของกรีกมาปรับปรุงใช้ เป็นต้น

101.    “Suez Canal” มีความสำคัญอย่างไร

(1) เส้นทางการค้าขายหลัก     (2) ป้องกันการรุกราน

(3) เส้นทางที่เป็นจุดอ่อนของการโจมตี           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 47 – 485618 (H), 20 (H), (คำบรรยาย) จุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ที่ทำให้ พวกฮิคโซสสามารถเช้ามารุกรานและยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez) หรือคลองสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของอียิปต์

102.    เหตุใดอารยธรรมเมโสโปเตเมียถึงมีความหลากหลาย

(1) ความแตกต่างด้านศาสนาและความเชื่อ   (2) ชาวเมโสโปเตเมียมีทักษะในการประดิษฐ์

(3) ความแตกต่างทางด้านกลุ่มชน      (4) ชาวเมโสโปเตเมียรับอารยธรรมจากอียิปต์

ตอบ 3 หน้า 6723 (H), (คำบรรยาย) ลักษณะของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีดังนี้

1.         เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ ทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีการทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา

2.         เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการรุกรานจากภายนอก จึงถูกรุกรานได้ง่าย

3.         การไหลท่วมล้นฝั่งฃองแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรตีสในแต่ละปีมีความรุนแรง จนสร้างความเสียหาย ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก ประกอบกับมีการทำสงคราม แย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียส่วนใหญ่เป็นพวกที่มองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์ หวาดกลัว และไม่คิดจะกลับมาเกิดใหม่อีก

103.    กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า พ่อค้าทางทะเลและกลุ่มพ่อค้าทางบก” คือกลุ่มใด

(1) อัคคาเดียน-ฟินิเชียน (2) แคลเดียน-อัสสิเรียน (3) แคลเดียน-ฮิบรู           (4) ฟินิเชียน-อราเมียน

ตอบ 4 หน้า 8486 – 8727 (H) สิ่งที่ฟินิเชียนและอราเมียนต่างก็มีเหมือนกันคือ การทำการค้า โดยพวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้” (Near East) หรือเอเชียตะวันตก ในขณะที่พวกพินีเชียนได้รับฉายาว่าเป็น พ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

104.    กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า ชาวโรมันแห่งภาคตะวันออก” คือกลุ่มใด

(1) อัคคาเดียน            (2) อัสสิเรียน   (3) ฮิบรู            (4) ฮิตไตท์

ตอบ 2 หน้า 8226 (H) ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่า ชาวโรมันแห่งภาคตะวันออก” เนื่องจากมีลักษณะเหมือนชาวโรมันหลายประการ ดังนี้ 1. ชอบทำสงครามและสร้างจักรวรรดิอันกว้างใหญ่

2.         ปกครองแบบเข้มงวดต่อดินแดนที่ถูกปกครองโดยใช้วิธีที่เรียกว่า กำปั้นเหล็ก” (Iron-fist)

3.         มืการสร้างถนนไว้ทั่วจักรวรรดิ เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร การปกครอง และการเก็บภาษี

4.         รับอารยธรรมที่เจริญกว่าจากชนชาติอื่นมาใช้ และถ่ายทอดไปยังดินแดนที่อยู่ภายใต้ การปกครอง ซึ่งต่อมาอารยธรรมของอัสสิเรียนได้ถูกถ่ายทอดให้แก่จักรวรรดิเปอร์เซีย

105.    จุดประสงค์ของการจัดกีฬาโอลิมปิกคือข้อใด

(1) สร้างความสามัคคีในหมู่ชาวกรีก   (2) รักษาประเพณีดั้งเดิม

(3) ถวายการแสดงให้กับเทพเจ้า        (4) ถวายการแสดงให้กับกษัตริย์

ตอบ 3 หน้า 11539(H) ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้ามักจะพอใจในการแสดงออกถึงความกล้าหาญ และความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแก่ เทพซีอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของกรีก ซึ่งผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฎที่ทำด้วยก้านมะกอก หรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ๋

106.    ผลงานทางอารยธรรมกรีกในข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) หัวเสา Doric, Ionic, Corinthian        (2) การสร้างโรงละคร Amphitheater

(3) มีดสปาร์ตาจากนครรัฐสปาร์ตา     (4) ลักษณะเมืองบนที่สูง Acropolis

ตอบ 2 หน้า 110132 – 133178 – 17938 (H), 44 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ)ผลงานทางด้านอารยธรรมที่สำคัญของกรีก ได้แก่

1.         บริเวณอะโครโพลิส (Acropolis) ซึ่งเป็นส่วนที่สูงที่สุดของเมืองและมีความปลอดภัยที่สุด ทั้งนี้บนยอดอะโครโพลิสจะเป็นที่ตั้งของมหาวิหารพาร์เทนอน (Parthenon)

2.         แบบก่อสร้างเสาของกรีกซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ แบบดอริค (Doric), ไอโอนิค (Ionic) และ คอรินเธียน (Corinthian)

3.         มีดสปาร์ตาจากนครรัฐสปาร์ตา ซึ่งมีลักษณะเป็นมีดสั้นรูปสามเหลี่ยมข้าวหลามตัด

107.    ศาสนาของชาวโรมันมีลักษณะอย่างไร

(1) เชื่อมั่นในพระเจ้า มีพิธีกรรมเคร่งครัด        (2) บูชาเทพเจ้าซึ่งได้รับอิทธิพลจากกรีก

(3) ศาสนาแห่งเหตุผล ความดี-ความชั่ว          (4) บูชาเทพเจ้า มีศีลธรรม

ตอบ 2 หน้า 11539 (H), (HI 103 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 3658) ทั้งชาวกรีกและโรมันต่างก็มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณและอำนาจลึกลับต่าง ๆ โดยเชื่อว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งลึกลับหล่านั้นก็คือ เทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าจะมีรูปร่างหน้าตา อารมณ์ และความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ ทั้งนี้ ชาวโรมันจะรับเอาเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมด แต่มีการแปลงชื่อใหม่ โดยเทพเจ้าที่สำคัญ เช่น เทพซีอุส (Zeus) เป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกโรมันเรียกว่า ‘’จูปิเตอร์” (Jupiter), เทพโพไซดอน (Poseidon) เป็นเจ้าแห่งทะเล พวกโรมันเรียกว่า เนปจูน” (Neptune) เป็นต้น

108.    ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรไบแซนไทน์

(1) คอนสแตนติโนเปิล            (2) ธีโอโดซิอุส (3) กรีกออร์ธอดอกซ์   (4) ชาร์เลอมาญ

ตอบ 4 หน้า 238 – 23969 – 70 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ) ในปี ค.ศ. 330 จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิคอนสแตนติน โดยมี กรุงคอนลแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ทั้งนี้ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายกรีก พูดภาษากรีก และนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ จักรพรรดิที่มีบทบาทสำคัญในจักรวรรดินี้ เช่น จักรพรรดิจัสติเนียน จักรพรรดิธีโอโดซิอุส เป็นต้น

109.    ผลงานสำคัญของ K. William I the Conqueror คือข้อใด

(1) Doomsday Book  (2) การรวบรวมหนังสือเพื่อจัดตั้งห้องสมุด

(3) นำภาษาอังกฤษมาใช้เป็นภาษาทางการ   (4) ทำสงครามชนะพวก Norman

ตอบ 1 หน้า 271 – 27372 (H), 74 (H) กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 หรือวิลเลียมผู้พิซิต (William I,William the Conqueror) ทรงนำกองทัพนอร์มัน (Norman) เข้ารุกรานอังกฤษ และสามารถ รบชนะพวกแองโกล-แซกซันจนสามารถเข้ายึดครองอังกฤษได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1066 ซึ่งทำให้ มีผลติดตามมาคือ 1. กษัตริย์อังกฤษทรงมี 2 สถานภาพคือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งจากสภาพดังกล่าวได้ กลายเป็นชนวนของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

2.         ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเป็นภาษาทางการในอังกฤษ

3.         จัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียดในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเรียกว่า “Doomsday Book”เพื่อการเก็บภาษีที่ถูกต้องและเพื่อการเกณฑ์แรงงาน เป็นต้น

110.    รัฐใดไม่ได้รวมสถาปนาเป็นชาติสเปน

(1) Castile (2) Navarre        (3) Aragon          (4) Calais

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

111.    ข้อใดไม่ใช่วิธีที่สหรัฐอเมริกากับโซเวียตรัสเซียใช้ต่อสู้กันในระยะที่เกิดสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1991)

(1) วิธีทางการทูต        (2) การโฆษณาชวนเชื่อ

(3) สงครามแบบเบ็ดเสร็จ       (4) สงครามตัวแทน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ

112.    ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคณะ Jesuit

(1)       เผยแผ่ศาสนาในดินแดนต่างประเทศโดยมิชชันนารี

(2)       จัดตั้งศาลศาสนาเพื่อตัดสินคดีความเกี่ยวกับความประพฤติของพระ

(3)       ออกประกาศ Edict of Nantes ให้อำนาจในการเลือกนับถือนิกายอื่น ๆ

(4)       ฟื้นฟูความเชื่อและความศรัทธาของชาวคาทอลิก

ตอบ 3 หน้า 384 – 38599 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1534 อิกนาเชียส โลโยลา (Ignatius Loyola) อดีตทหารผ่านศึกชาวสเปน ได้จัดตั้งสมาคมเยซูหรือคณะเยซูอิต (Jesuit) ขึ้น เพื่อต่อต้าน การปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเน้นให้พระคาทอลิก เคร่งครัดในระเบียบวินัยแบบทหาร และเน้นให้การศึกษาแบบใหม่แก่บุตรหลานชาวคาทอลิก เพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนไปเป็นโปรเตสแตนต์ โดยเน้นให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยทั้งในอิตาลี สเปน โปรตุเกส และเยอรมนีตอนใต้ นอกจากนี้คณะเยซูอิตยังให้มิชชันนารีออกไปเผยแผ่ศาสนา ในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งจัดตั้งศาลศาสนาเพื่อตัดสินคดีความเกี่ยวกับความประพฤติของพระ

113.    ข้อใดถูกต้อง

(1)       พระราชวังแวร์ซายส์ในประเทศฝรั่งเศส จัดเป็นศิลปะแบบ Renaissance

(2)       Martin Luther เป็นผู้แปลและพิมพ์พระคัมภีร์ใหม่เป็นภาษาท้องถิ่น

(3)       Huguenots คิอ ผู้ที่นับถือโปรเตสแตนต์ในประเทศอังกฤษ

(4)       The Election คือ ทฤษฎีการเลือกสรรของพระเจ้าในนิกาย Lutheranism

ตอบ 2 หน้า 378 – 38398 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ) ในขณะที่ลี้ภัยอยู่ที่แซกโซนีมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมัน และภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ แล้วพิมพ์พระคัมภีร์ใหม่ออกเผยแผ่ไปทั่วภาคตะวันตก เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้โดยการอ่านพระคัมภีร์ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพระ

114.    กษัตริย์ของอังกฤษผู้ทรงปกครองภายใต้ระบอบ King in Parliament และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของ Tudor Dynasty คือใคร           

(1) Elizabeth I

(2)       Catherine the Great         (3) Alfonso Henriques       (4) Edward VI

ตอบ 1 หน้า 410107 (H), (คำบรรยาย) พระนางเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I : ค.ศ. 1558 – 1603) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงค์ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ของอังกฤษ ทรงปกครองอังกฤษโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า กษัตริย์ในรัฐสภา” (King in Parliament) หมายความว่า กษัตริย์และรัฐสภาจะใช้อำนาจในการปกครองร่วมกัน แต่กษัตริย์จะปกครองโดยต้องได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งถือว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา หรือระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

115.    ผู้ที่ได้รับฉายาว่า The Sun King คือใคร

(1) K. Henry IV   (2) K. Louis XIV (3) Charles II      (4) Frederick

ตอบ 2 หน้า 106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) แห่งฝรั่งเศส เป็นกษัตริย์ผู้ทรงอำนาจสูงสุดและทรงได้รับฉายาว่าสุริยกษัตริย์” (The Sun King) ที่ปกครองประเทศ ด้วยระบอบเทวกษัตริย์ รวมทั้งทรงกล่าวว่า ความรุ่งเรืองของชาติและกษัตริย์เป็นเรื่อง เดียวกัน เมื่อประเทศรํ่ารวย รุ่งเรือง มีอำนาจ จึงควรยกย่องกษัตริย์ผู้ทรงทำให้เกิดผลนั้น กษัตริย์จึงควรได้รับความสุขสบายมากกว่าคนอื่น” ทั้งนี้ได้ทรงสร้างพระราชวังแวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอย่นอกกรุงปารีส เพื่อให้เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองค์

116.    ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรือง (The Glorious Revolution) คือข้อใด

(1)       Enlightened Despots กษัตริย์ประเทืองปัญญา

(2)       Enlightened Depotism สมัยราชาธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม

(3)       Age of Enlightenment ยุคของการประเทืองปัญญา

(4)       King in Parliament กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

117.    ความรุ่งเรืองของชาติและกษัตริย์เป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อประเทศร่ำรวย มีอำนาจ ควรยกย่องผู้ทรงทำให้ เกิดผลนั้น กษัตริย์จึงควรได้รับความสุขสบายมากกว่าคนอื่น เป็นคำพูดของใคร

(1) K. Henry IV   (2) K. Louis XIV (3) Charles II      (4) Frederick

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 115. ประกอบ

118.    ลักษณะที่สำคัญของลัทธิโรแมนติก (Romanticism) หรือลัทธิจินตนิยม คือ

(1) นับถือธรรมชาติส่งเสริมความรัก    (2) เน้นอารมณ์ความรู้สึกเพ้อฝัน

(3)       ต่อต้านการใช้ความรุนแรง       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 473 – 474489119 (H) ลัทธิโรแมนติก (Romanticism) หรือลัทธิจินตนิยมเป็นขบวนการที่ต่อต้านข้อจำกัดของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทั้งหมด โดยจะเน้นที่อารมณ์และ ความรู้สึกเพ้อฝันที่ลึกซึ้งมากกว่าเหตุผล เน้นชีวิตความเป็นอยู่และความสำคัญของปัจเจกชน หรือตัวบุคคลมากกว่ารัฐ เน้นการนับถือธรรมชาติ ส่งเสริมความรักอย่างรุนแรง และต่อต้าน การใช้อำนาจหรือการใช้ความรุนแรงเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี

119.    การปิดล้อมทางเศรษฐกิจคือมาตรการที่นโปเลียนใข้ลงโทษประเทศใด

(1) รัสเซีย        (2) ปรัสเซีย     (3) อังกฤษ      (4) โปรตุเกส

ตอบ 3 หน้า 469117 (H) ในปี ค.ค. 1808 ยุโรปเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ยกเว้นประเทศอังกฤษที่นโปเลียนยึดครองไม่ได้ เพราะ อังกฤษเป็นเกาะและเป็นมหาอำนาจทางทะเล ดังนั้นนโปเลียนจึงใช้วิธีการปิดล้อมอังกฤษ ทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) ไม่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศบนภาคพื้นยุโรป กับอังกฤษ ทำให้ฝรั่งเศสและประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เช่น ประเทศรัสเซีย ต้อง เดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้า

120.    การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสในระหว่างปี ค.ศ. 1919 – 1920 เป็นการทำสัญญาเพื่อลงโทษฝ่ายผู้แพ้ มีผลก่อให้เกิดสัญญาใด    

(1) สัญญาแวร์ซายส์-เยอรมนี

(2) สัญญาแซงต์แยร์แมง-บัลแกเรีย   (3) สัญญาแซฟร์-ฮังการี          (4) สัญญาเนยยี่-ออสเตรีย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

 

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1001 อารยธรรมตะวันตก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         หลักฐานที่สำคัญที่สุดในการศึกษาประวัติศาสตร์คือ

(1)       ซากสิ่งมีชีวิต   

(2) ลายลักษณ์อักษร

(3) เครื่องมือเครื่องใช้ 

(4) งานศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 2112 (H), (คำบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมาย เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล ฯลฯ

2.         หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม

2.         นักเล่นพระเครื่องใช้วิธีการตรวจสอบความเที่ยงแท้ของหลักฐานโดย

(1)External Criticism

(2) Internal Criticism

(3) Primary Records 

(4) Secondary Records

ตอบ 1 หน้า 2112 (H), (คำบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงแท้ของหลักฐานมี 2 วิธี คือ

1.         การวิจารณ์ภายนอก (External Criticism) คือ การตรวจสอบความเที่ยงแท้ของหลักฐาน ว่าเป็นของจริงหรือของปลอม เช่น การตรวจดูพระเครื่อง การตรวจดูอัญมณี เป็นต้น

2.         การวิจารณ์ภายใน (Internal Criticism) คือ การเรียบเรียงหรือการตีความเอกสารที่เป็น ลายลักษณ์อักษร เช่น การตรวจสอบศิลาจารึก การตีความบันทึกทางการเมือง เป็นต้น

3.         ข้อใดไม่จัดอยู่ในความหมายของคำว่าวัฒนธรรม

(1)การเคี้ยวเสียงดัง   

(2) การกินด้วยมือ

(3) การกินด้วยช้อนส้อม         

(4) การกินด้วยตะเกียบ

ตอบ 1 หน้า 21 – 2212 (H), (คำบรรยาย) วัฒนธรรม หมายกึง ความดีงามหรือความเจริญก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมจนก่อให้เกิดความรู้ ความเชื่อ ภาษา ศิลปกรรม ศิลปะ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม มารยาททางสังคม ความสามารถอื่น ๆ ตลอดจนความเคยชินต่าง ๆ แบบเดียวกัน ถือว่ามนุษย์มีวัฒนธรรมเดียวกัน ซึ่งเราสามารถดูความแตกต่างของแต่ละวัฒนธรรมได้จากงานศิลปะ ภาษา และพฤติกรรม

4.         ทฤษฎีการเอาชนะของทอยน์บีทางอารยธรรมเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1)การสร้างระบบการชลประทาน      

(2) การเปลี่ยนสภาพคนป่าเถื่อนให้เป็นอารยชน

(3) การรับสิ่งที่เจริญกว่ามาปรับปรุงใช้          

(4) การทำลายหน้าดินจนก่อให้เกิดนํ้าท่วม

ตอบ 1 หน้า 2713 (H) ทฤษฎีเพื่อเอานะของอาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี เป็นทฤษฎีที่เชื่อในความพยายาม ของมนุษย์ที่จะเอาขนะธรรมชาติ เช่น อียิปต์ใช้ประโยชน์จากนํ้าท่วมแม่นํ้าไนล์ด้วยการสร้าง ระบบการชลประทาน หรือการปรับปรุงเขตทะเลทรายให้ใช้ประโยขน์ในการเกษตรกรรมได้ เป็นต้น

5.         ข้อใดไม่จัดอยูในแหล่งกำเนิดอารยธรรมในยุคโบราณ

(1)อียิปต์        

(2) เมโสโปเตเมีย       

(3) จีน 

(4) ออสเตรเลีย

ตอบ4 หน้า 2813 (H) อารยธรรมเริ่มแรกของโลกหรืออารยธรรมในยุคโบราณมักถือกำเนิดขึ้น ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้า ได้แก่ อารยธรรมอียิปต์โบราณในที่ราบลุ่มแม่นํ้าไนล์ อารยธรรมเมโสโปเตเมียในที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติส อารยธรรมจีนในที่ราบลุ่มแม่นํ้าฮวงโหหรือ แม่น้ำเหลือง และอารยธรรมอินเดียในที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ

6.         แม่แบบของอารยธรรมตะวันตกคือ

(1) กรีก           

(2) โรมัน         

(3) อียิปต์       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 3114 (H), 17 (H) ขอบเขตของอารยธรรมในยุคโบราณ แบงออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.         อารยธรรมตะวันออก มีแม่แบบคือ อารยธรรมจีน-อินเดีย

2.         อารยธรรมตะวันตก มีแม่แบบคือ อารยธรรมกรีก-โรมัน

3.         อารยธรรมโลก มีแม่แบบคือ อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย

7.         โลหะที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายอำนาจของมนุษย์คือ

(1) ทองแดง    

(2) เหล็ก         

(3) ทองบรอนซ์           

(4) ดีบุก

ตอบ2 หน้า 33 – 3414 (H) การเรียนรู้การใช้โลหะของมนุษย์ในอารยธรรมสมัยแรกจะเริ่มจาก การใช้ทองแดง ต่อมาก็ได้มีการนำทองแดงมาผสมกับดีบุกกลายเป็นทองบรอนซ์ จนกระทั่ง พัฒนามาเป็นการหลอมเหล็กขึ้นใช้ ซึ่งเหล็กได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตอาวุธเพื่อใช้ ในการขยายอำนาจของมนุษย์ในเวลาต่อมา

8.         ความสำคัญของประวัติศาสตร์ในยุคโบราณคือ

(1)       เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 5000 B.C. – A.D. 500

(2)       เป็นเรื่องราวของอียิปต์ เมโสโปเตเมีย กรีก และโรมัน

(3)       เป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 1711 (H) ประวัติศาสตร์ในยุคโบราณ จะอยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณ 5000 B.C. – A.D. 500 ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์มีการตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งแบบสังคมเมือง มีตัวอักษรใช้ รวมทั้งมีศาสนาและวัฒนธรรมดีกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยอารยธรรม ความเจริญในยุคโบราณ ได้แก่ อารยธรรมอียิปต์ เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย กรีก และโรมัน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรโรมัน ถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครองในปี ค.ค. 476

9.         แม้ว่าอากาคร้อนและแห้งแล้งแต่ชาวอียิปต์ยังสามารถเพาะปลูกได้ผลดี เพราะ

(1)       ชาวอียิปต์เก่งการทำชลประทาน        

(2) ความอุดมสมบูรณ์ตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำไนล์

(3) อียิปต์มีทะเลทรายล้อมรอบ          

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 465917 (H), 21 (H) ถึงแม้ว่าสภาพที่ตั้งของอียิปต์จะเป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนและ แห้งแล้ง มีภูมิประเทศแวดล้อมไปด้วยทะเลทราย และมีฝนตกเฉพาะบริเวณเดลต้า แต่อียิปต์ ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่นํ้าไนล์ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการชลประทานที่ดี จึงทำให้อียิปต์ กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ซึ่งส่งผลให้มีผลผลิต ทางการเกษตรจำนวนมาก และสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปขายยังดินแดนต่าง ๆ ได้อีกด้วย

10.       ไพรเมท (Primate) มีความสำคัญคือ

(1) ทฤษฎีกำเนิดโลกของอิมมานูเอล คานท์   

(2) บรรพบุรุษของมนุษย์

(3) การเคลื่อนไหวของธารนํ้าแข็ง       

(4) เป็นยุคย่อย 1 ใน 4 ยุคของยุคนํ้าแข็ง

ตอบ 2 หน้า 1 – 28 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ใน ทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนา ของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้ กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

11.       แหล่งกำเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีป

(1) แอฟริกา    

(2) อเมริกา     

(3) ออสเตรเลีย           

(4) อาร์กติก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.       ข้อใดไม่ถูกต้องในการศึกษาวิวัฒนาการของโลกตามหลักธรณีวิทยา

(1)       ธรณีวิทยาคือการศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน

(2)       มนุษย์และไดโนเสาร์คือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในยุคเดียวกัน

(3)       ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปปเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว

(4)       สมัยเซโนโซอิกคือสมัยที่สิ่งมีชีวิตมีสภาพคล้ายปัจจุบันที่สุด

ตอบ 2 หน้า 6 – 78 – 9 (H) ธรณีวิทยา คือ การศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน ซึ่งประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของโลก แบ่งออกเป็น 5 สมัย ได้แก่

1.         อาร์เคโอโซอิก (Archeozoic) คือ สมัยของสัตว์เซลล์เดียว (1,550 – 825 ล้านปีมาแล้ว)

2.         โพรเทโรโซอิก (Proterozoic) คือ สมัยของสัตว์นํ้าโบราณไม่มีกระดูกสันหลัง (825 – 500 ล้านปีมาแล้ว)

3.         พาเลโอโซอิก (Paleozoic) คือ สมัยที่เริ่มมีสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า (500 – 185 ล้านปีมาแล้ว)

4.         เมโซโซอิก (Mesozoic) คือ สมัยของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ เช่น ไดโนเสาร์ (185 – 60 ล้านปีมาแล้ว)

5.         เซโนโซอิก (Cenozoic) คือ สมัยของสิ่งมีชีวิตที่มีสภาพคล้ายปัจจุบันมากที่สุด (60 ล้านปีมาแล้ว) ได้แก่ เกิดบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ในตระกูลไพรเมท (Primate)ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

13.       การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์แบ่ง

(1) ซากวัสดุ    

(2) ซากสิ่งมีชีวิต         

(3) ตัวอักษร    

(4) การแบ่งชั้นของหิน

ตอบ 3 หน้า 72 (H), 9 (แ) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะพิจรณาจากการรู้หนังสือ หรือการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ ๆ ดังนี้

1.         ยุคหินหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร

2.         ยุคโลหะหรือยุคเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ ตัวอักษรแล้ว

14.       ความสำคัญของยุคหินใหม่คือยุค

(1) ลองผิดลองถูก      

(2) ล่าสัตว์      

(3) เลี้ยงสัตว์  

(4) ตั้งถิ่นฐาน

ตอบ4 หน้า 8 – 1538 – 399 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ 1. ยุคหินแรก เป็นยุค ลองผิดลองถูกของมนุษย์ 2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้ 3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข 4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อน เป็นชุมชนตั้งรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก

15.       มนุษย์ที่รู้จักคิดและโต้ตอบมีลักษณะคล้ายมนุษย์ปัจจุบันคือ

(1) Pithecanthropus

(2) Sinanthropus

(3) Homo Fabor

(4) Homo Sapiens

ตอบ4 หน้า 11-123810 (H) Homo Sapiens หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรก ในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ และมีหน้าตาคล้าย มนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น จนถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ

1.โครมันยอง (Cro-Magnon) คือ คนผิวขาว

2. กริมัลดี (Grimaldi) คือ คนผิวดำ

3.ชานเซอเลด (Chancelade) คือ คนผิวเหลือง หรือผิวสีนํ้าตาล

16.       ประวัติศาสตร์ยุคโบราณได้เปลี่ยนมาสู่ประวัติศาสตร์ยุคกลางภายหลังกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 เพราะ

(1) เปลี่ยนแปลงสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบท        

(2) มีการฟื้นฟูการศึกษาเพราะการประดิษฐ์แทนพิมพ์

(3) การรับอารยธรรมคลาสสิกมาจากภาคตะวันออก

(4) มนุษย์มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ตอบ 1 หน้า 3 (H), 54 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคโบราณและก้าวเข้าสู่ ยุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของพวกโรมันต้องเปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย นั่นคือ การแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรม ความเจริญต่าง ๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา

17.       ทฤษฎีพัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน ไม่ตรงกับข้อใด

(1) สิ่งมีชีวิตพัฒนาการมาจากสัตว์เซลล์เดียว           

(2) เข้ากันได้ดีกับหลักการของศาสนาคริสต์และยิว

(3) การถ่ายทอดพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ 

(4) การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 18 – 1911 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

1.         สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล

2.         สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม

3.         สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืชและสัตว์ที่มีชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตนก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย

4.         สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

18.       ความสำคัญของทะเลทรายต่อผลการสร้างอารยธรรมของอียิปต์คือ

(1)       เป็นส่วนประกอบสำคัญต่อสิ่งก่อสร้างของอียิปต์

(2)       เป็นพรมแดนธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากภายนอก

(3)       เป็นเส้นทางลัดที่จะออกไปค้าขายทางทะเลแดง

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ2 หน้า 4718 (H) ทะเลทรายถือเป็นปัจจัยทางธรรมชาติปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างสมอารยธรรม ของอียิปต์คือ ช่วยให้อียิปต์มีอาภาศปลอดโปรง เนื่องจากทะเลทรายช่วยกั้นให้พ้นจาก เขตอากาศร้อนและความกดอากาศตํ่า นอกจากนี้ยังเป็นพรมแดนหรือปราการทางธรรมชาติ ที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกอีกด้วย

19.       ในสมัยอาณาจักรเก่ากิจกรรมที่ชาวอียิปต์ได้ทำเพื่อแสดงว่าฟาโรห์มีสภาวะเป็นเทวกษัตริย์คือ

(1)       การถวายอุทิศผู้คนเป็นเครื่องบูชายัญ

(2) การสร้างเขื่อนถวายแก่ฟาโรห์

(3) การสร้างพีระมิดถวายแก่ฟาโรห์   

(4) พิธีการทรงเจ้าเข้าทรงของฟาโรห์

ตอบ 3 หน้า 53 – 546019 (H), 21 (H) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิด เป็นแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) โดยมีฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุด และทรงเป็นเทวกษัตริย์ ที่มีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re/Ra) ด้วยความเชื่อนี้ จึงทำให้ชาวอียิปต์มีการสร้างพีระมิดเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ เนื่องจากเชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนำความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่ และเพื่อหวังผลในโลกหน้า

20.       ความสำคัญของสมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์คือ

(1)       เป็นสมัยประชาธิปไตยเพราะสามัญชนสามารถเข้ารับราชการได้     

(2) ถูกรุกรานจากพวกฮิคโซส

(3) พวกพระและขุนนางมีอำนาจเหนือฟาโรห์ 

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 55 – 5620 (H) สมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์ เป็นสมัยที่ฟารห์ทรงยึดอำนาจ คืนมาจากพวกขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน พระองค์จึงทรงตอบแทนประชาชน ด้วยการอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ ต่อมาใบปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูกรุกรานเป็นครั้งแรกโดยพวกฮิคโซล (Hyksos) ผ่านทางบริเวณช่องแคบสุเอซ ซึ่งพวกฮิคโซสรู้จักการใช้ม้าและรถศึกในการทำสงคราม จึงทำให้สามารถครอบครองอียิปต์ได้นานถึง 150 ปี

21.       การสร้างวิหารในสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิก็เพื่อ

(1) ถวายแก่เทพเจ้า

(2) แสดงอำนาจของฟาโรห์

(3) ต้องการกลับมาเกิดใหม่   

(4) แสดงความสามารถในวิธีการก่อสร้าง

ตอบ 2 หน้า 56 – 5720 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิชองอียิปต์ เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอำนาจมากที่สุด เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอำนาจคืนจากพวกขุนนางและพระ จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาด แต่เพียงผู้เดียว มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้าน เอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สำคัญก็คือ การเปลี่ยนจากการสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหาร ตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอำนาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์

22.       การปฏิวัติทางศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ก็เพื่อ

(1) ปฏิรูปศาสนาเพื่อผลทางการเมือง

(2) ตัดทอนอำนาจและความร่ำรวยของพวกพระ

(3)ทำให้มีลักษณะคล้ายศาสนาของพวกยิว  

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 5821 (H) จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาชองฟาาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 มีดังนี้

1.         ต้องการให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตนเพียงองค์เดียวเท่านั้น

2.         เพื่อผลทางการเมือง คือ สร้างอำนาจให้กับฟาโรห์ และต้องาารตัดทอนอำนาจของพวกพระอามอนที่ร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย

23.       สิ่งที่ไม่ได้เป็นมรดกทางอารยธรรมของอียิปต์คือ       

(1) อักษรภาพ

(2)       อักษรรูปลิ่ม    

(3) การทำกระดาษ

(4) หัวใจคือศูนย์กลางการโหลเวียนของโลหิต

ตอบ 2 หน้า 59 – 6369. 21 – 23 (H), (คำบรรยาย) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของอียิปต์ มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.C. ซึ่งมีลักษณะเป็นอักษรภาพที่บันทึกลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus)

2. มีการสร้างพีระมิดและวิหาร ที่ใหญ่โตเพื่อถวายแก่พาโรห์ 

3. มีความเจริญทางด้านการแพทย์ เช่น มีการค้นพบว่าหัวใจ คือศูนย์กลางการหมุนเวียนของโลหิต ฯลฯ

4. มีการสร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง

5.         มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติขึ้นในปี 4241 B.C.

6. มีการนำต้นอ้อหรือต้นกกที่ขึ้นในแม่นํ้าไนล์มาทำกระดาษปาไปรัส เป็นต้น

24.       กลุ่มชนที่ไม่ได้เข้ารุกรานและยึดครองอียิปต์คือ

(1)สุเมเรียน    

(2) อัสสิเรียน  

(3) เปอร์เซีย   

(4) กรีก

ตอบ 1 หน้า 6522 (H) เมื่อประมาณ 1100 B.C. อียิปต์เริ่มเสื่อมลงเนื่องจากการทำสงคราม และถูกรุกรานจากภายนอก นับตั้งแต่การทำสงครามกับพวกฮิตไตท์ อัสสิเรียน และเปอร์เซีย ต่อมาในปี 332 B.C. อียิปต์ก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีซ ซึ่งพระองค์ ได้ทรงสร้างเมืองอเล็กซานเดรียไว้ตรงปากแม่นํ้าไนล์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองและ ศูนย์กลางอารยธรรมไว้ในอียิปต์

25.       ปัจจัยที่ทำให้ชาวอียิปต์กับประชากรในเมโสโปเตเมียมีความเชื่อและทัศนคติในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันคือ

(1)แม่น้ำ         

(2) สภาพภูมิประเทศ 

(3) ความแตกต่างทางเชื้อชาติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 65 – 6823 (H) ปัจจัยที่ทำให้ชาวอียิปต์กับชาวเมโสโปเตเมียมีความเชื่อและทัศนคติในการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน มีดังนี้ 1. ลักษณะภูมิประเทศของเมโสโปเตเมียไม่มีภูเขา และทะเลทรายเหมือนอียิปต์ จึงทำให้ถูกศัตรูรุกรานได้ง่ายกว่าอียิปต์

2.         เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ ในขณะที่อียิปต์เป็นที่อยู่ของชนกลุ่มเดียว

3.         ดินแดนทั้ง 2 แห่งต่างได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของแม่นํ้า แต่ชาวเมโสโปเตเมีย ได้รับความเดือดร้อนจากการไหลล้นฝั่งของแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ประกอบกับมีการทำสงคราม แย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียเป็นพวกมองโลกในแง่ร้ายและไม่คิด จะกลับมาเกิดใหม่ ในขณะที่อียิปต์ได้รับประโยชน์จากแม่นํ้าไนล์ ทำให้เป็นพวกที่มองโลก ในแง่ดีและคิดจะกลับมาเกิดใหม่

26.       การนับหน่วย 60 ของพวกสุเมเรียนมีผลต่อปัจจุบันคือ

(1) เรขาคณิต 

(2) นาฬิกา      

(3) ปฏิทิน       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 69 – 7123 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐาน ทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่มลงบนแผ่นดินเหนียว เมื่อประมาณ 3500 B.C. 

2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า

3. มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปี จะมี 354 วัน

4. มีการนับหน่วย 6010 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกา และการคำนวณทางเรขาคณิตในปัจจุบัน

5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

6. มีการกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด โดยยึดหลักการนับหน่วย 60 เป็นต้น

27.       ความสำคัญของกฎหมายฮัมมูราบีของพวกบาบิโลนคือ

(1)ใช้ลัทธิสนองตอบ หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน 

(2) เพื่อผดุงความยุติธรรมให้คงอยู่ในแผ่นดิน

(3)ใช้ต่อมาจนถึงสมัยกฎหมายโรมัน 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 72 – 7424 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของพวกอะมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่า คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hummurabi) ของพระเจ้าอัมมูราบี ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำก็คือ เพื่อผดุงหรือพิทักษ์ความยุติธรรม ให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันไมให้คนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของ กฎหมายโรมัน

28.       พวกฮิคโซสและพวกแคสไซท์มีลักษณะเหมือนกันคือ

(1) การใช้ม้าและรถศึก          

(2) การทำเขื่อน          

(3) การทำปฏิทิน        

(4) การประดิษฐ์ตัวอักษร

ตอบ 1 หน้า 76 – 7720 (H), 24 (H) สิ่งที่พวกฮิคโซสและพวกแคสไซท์มีลักษณะเหมือนกันคือเป็นพวกที่นำม้าและรถศึกมาใช้ทั้งในยามสงครามและยามสงบ โดยการใช้ม้านั้นทำให้อนารยชน ทั้ง 2 เผ่าสามารถแย่งชิงดินแดนอื่น ๆ มาเป็นเมืองขึ้นของตนได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วย ทำให้การส่งข่าวสารระหว่างเมืองต่าง ๆ เร็วขึ้น ข่วยในการขนส่งและการเผยแพร่ศิลปวทยาการ รวมทั้งทำให้สะดวกในการสร้างและปกครองจักรวรรดิที่กว้างใหญ่ไพศาล

29.       ผลงานที่สำคัญของพวกฮิตไตท์คือ

(1) คณิตศาสตร์         

(2) การแพทย์ 

(3) การหลอมเหล็ก     

(4) การก่อสร้าง

ตอบ 3 หน้า 78 – 7925 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิตไตท์ มีดังนี้

1.         นำเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นชาติแรก รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ

2.         ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์มของชาวสุเมเรียนและตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของ อียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น

3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือ การลงโทษพอเข็ดหลาบแทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ

4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่ พวกฟรีเจียนและลีเดิยน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

30.       ผลงานที่สำคัญของพวกอัสสิเรียนคือ

(1) การแบ่งการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ         

(2) การสร้างถนนและระบบการส่งข่าว

(3) ศิลปะการแกะสลักภาพนูน          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 80 – 8225 – 26 (H) มรดกทางอารยธรรมของอัสสิเรียน มีดังนี้

1. เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ

2. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมาก ของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนตํ่า ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะที่ดุร้ายของชาวอัสสิเรียน

3.         สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ ซึ่งสร้างในสมัย

พระเจ้าอัสซูร์บานิพัล  

4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น ชาวโรมันตะวันออก” เพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน เช่น มีความสามารถทางด้านการคมนาคม การสร้างถนน และ ระบบการส่งข่าวสาร ชอบทำสงครามเพื่อขยายจักรวรรดิออกไปให้กว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้น

31.       ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่คือ

(1)สวนลอย    

(2) การนับวันในหนึ่งสัปดาห์  

(3) การทำเหรียญ       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 82 – 8426 (H) ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือพวกบาบิโลนใหม่ มีดังนี้

1.         มีการสร้าง สวนลอยแห่งนครบาบิโลน” ขึ้นในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งชาวกรีกนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

2.         มีความเจริญทางด้านโหราศาสตร์ นั่นคือ ชาวแคลเดียนเป็นผู้ริเริ่มการเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

3.         มีความเจริญทางด้านดาราศาสตร์ นั่นคือ สามารถคำนวณหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์ หมุนรอบโลก รวมทั้งเวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้อย่างแม่นยำ

32.       พวกฟินิเชียนและพวกอราเมียนเป็นชนเผ่าเซไมท์ด้วยกัน และยังมีความสำคัญเหมือนกันในด้าน

(1) การค้า       

(2) ภาษา        

(3) การทำชลประทาน

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 84 – 8727 (hi) ความสำคัญที่เหมือนกันของพวกพฟินิเชียนและพวกอราเมียน มีดังนี้ 1. เป็นชนเผ่าเซไมท์ (เซมิติก) เหมือนกันและมีดินแดนอยูใกล้กัน

2. มีความชำนาญที่เหมือนกัน คือ การทำการค้าขาย โดยฟินิเชียนเป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียน สวนอราเมียนเป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (เอเชียตะวันตก)

3.         พยัญชนะของฟินิเชียนได้กลายเป็นรากฐานของตัวอักษรกรีกและโรมันในเวลาต่อมา ส่วนภาษาอราเมียนหรือภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษา ที่พระเยซูและสาวกใช้ในการสอนศาสนา

33.       ดินแดนในพันธสัญญาที่พระเจ้าประทานให้แก่อับราฮัม บรรพบุรุษของชาวฮิบรูคือ

(1) Uganda

(2) Canaan Palestine        

(3) Babylonia   

(4) Egypt

ตอบ 2 หน้า 8728 (H), (คำบรรยาย) พวกฮิบรูเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนคือ อับราฮัม ซึ่งได้นำ ชาวฮิบรูมาตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลทรายอาระเบีย ต่อมาพระเจ้า ได้ให้พันธสัญญากับอับราฮัมว่าจะประทานดินแดน Canaan Palestine ให้แก่หลานชายของอับราฮัมคือ Jacob หรือ Israel เพื่อตั้งถิ่นฐาน ต่อมายาคอบไต้นำพวกฮิบรูอพยพ มาทางภาคตะวันตกแล้วเข้าครอบครองปาเลสไตน์ โดยเรียกดินแดนนี้ว่า อิสราเอล

34.       อาณาจักรจูดาห์ของพวกฮิบรูหายไปจากแผนที่โลกในศตวรรษที่ 2 ด้วยการกระทำของพวก

(1) แคลเดียน 

(2) กรีก           

(3) เปอร์เซีย   

(4) โรมัน

ตอบ 4 หน้า 9029 (H) ในช่วงศตวรรษที่ 1 และ 2 พวกกรีกและโรมันไตด้เข้ามาปกครองปาเลสไตน์ แทนเปอร์เซียตามลำดับ ทำให้พวกฮิบรูที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรมันก่อการกบฏขึ้น โรมันจึงยกกองทัพไปปราบปรามอย่างทารุณ และประหารพวกฮิบรูเป็นจำนวนมาก ส่วนพวกฮิบรูที่เหลือซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลาตอมาว่า พวกยิว” ได้หนีไปอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของยุโรปและเอเชีย จนกระทั่งประมาณศตวรรษที่ 20 อาณาจักรจูดาห์ก็ล่มสลายลงอย่างถาวร

35.       ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดียคือ

(1) การทำเหรียญ       

(2) ตัวอักษร    

(3) คณิตศาสตร์         

(4) การขยายอำนาจ

ตอบ 1 หน้า 92 – 9330 (H), (คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้

1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าไทกรีส-ยูเฟรตีสและ หมู่เกาะอีเจียน   2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรก

เพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรม ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดย พระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.

36.       แสงสว่างในศาสนาโซโรแอสเตอร์ของเปอร์เซียมีนัยถึง

(1) ความดี      

(2) ความชั่ว    

(3) ความลุ่มหลง        

(4) ตัณหาราคะ

ตอบ 1 หน้า 96 – 9831 (H) ลักษณะที่สำคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ของเปอร์เซีย มีดังนี้

1. มีลักษณะเป็นทวิเทพ คือ พระเจ้าองค์เดียวเป็นพระเจ้าทั้งความดีและ ความชั่ว ซึ่งพระเจ้าแห่งความดีคือ พระอาหุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและความดี ส่วนพระเจ้าแห่งความชั่ว คือ อหริมัน เป็นเทพเจ้าแห่งความมืดและความชั่วร้าย

2.เชื่อในเรื่องการพื้นคืนชีพของคนตาย

3. เป็นศาสนาแห่งจริยธรรมและเหตุผล โดยเชื่อว่า ตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่เคยทำไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่      

4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก

5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ

37.       แม้กรีซมีรูปแบบการปกครองเป็นนครรัฐ แต่สิ่งที่ทำให้ชาวกรีกหรือชาวเฮลเลนส์สามารถมารวมตัวกันได้คือ

(1) ภาษา ศาสนา และกีฬา

(2) การทำสงคราม

(3) ประเพณีการแข่งเรือ

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 11011738 (H), (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ชาวกรีกหริอชาวเฮลเลนส์สามารถรวมตัวกันได้ มีดังนี้

1. มีภาษาพูดเดียวกัน ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกวา พวกป่าเถื่อน” (Barbarians) 2. รู้สึกวาพวกตนคือ พวกเฮลเลนส์ (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัย อยู่ว่า เฮลลัส” (Hellas) ซึ่งนับถือศาสนาเดียวกัน

3. มีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนครรัฐต่าง ๆ จะหยุดทำสงครามแล้วมาแข่งขันกีฬาร่วมกัน

4.         เมื่อมีการทำสงคราม

38.       ความสำคัญของสงครามม้าไม้หรือมหากาพย์อีเลียดคือ

(1)       การขยายอำนาจของพวกกรีกต่อกรุงทรอยซึ่งเป็นอารยธรรมอีเจียนแหล่งสุดท้ายในบริเวณทะเลอีเจียน

(2)       เป็นสงครามระหว่างพวกเซไมท์กับพวกอินโด-ยุโรป

(3)       เป็นสัญลักษณ์ของนักรบผู้ใช้ม้าในการทำสงครามซึ่งมีชัยเป็นครั้งแรก        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 110 – 11135 – 36 (H) อารยธรรมทรอยเป็นอารยธรรมอีเจียนแหล่งสุดท้ายในบริเวณ ทะเลอีเจียนที่พยายามต่อต้านชาวกรีกผู้รุกราน อันเป็นต้นกำเนิดของมหากาพย์อีเลียด (Iliad) และโอดิสเสย์ (Odyssey) ของจินตกวีตาบอดชื่อ โฮเมอร์ โดยมหากาพย์อีเลียตจะเป็นเรื่องราว ของการทำสงครามม้าไม้หรือสงครามกรุงทรอยระหว่างพวกเซไมท์ (โทรจันหรือทรอย) กับ พวกอินโด-ยุโรป (กรีก) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเรื่องม้าไม้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของนักรบผู้ใช้ม้า ในการทำสงครามซึ่งมีชัยเป็นครั้งแรก

39.       ความเป็นพลเมืองกรีกจะได้รับสิทธิแตกต่างจากประชาชนกรีกทั่วไปคือ

(1) ร่วมพิธีกรรมทางศาสนา

(2)ร่วมการทำสงคราม

(3) ร่วมทางการเมือง  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11338(H) ความเป็นพลเมืองกรีกในแต่ละนครรัฐจะมีสิทธิดังนี้

1.         มีสิทธิและมีส่วนที่จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

2.         มีสิทธิและมีส่วนร่วมทางการเมือง

3. มีส่วนในการต่อสู้เพื่อป้องกันนครรัฐ

40.       กีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ซึ่งจัดในปี ค.ศ. 1896 มีการแข่งขันกันที่เมือง

(1)สปาร์ตา     

(2) เอเธนส์     

(3) มาสิโดเนีย

(4) คอรินธ์

ตอบ 2 หน้า 39 (H), (คำบรรยาย) ปีแยร์ เฟรดี บารง เดอ กูแบร์แต็ง เป็นนักศึกพาชาวฝรั่งเศสที่ได้ เสนอแนวคิดในการฟื้นฟูการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ถูกยกเลิกไปในปี ค.ค. 393โดยการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิก และกำหนด ให้จัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี

41.       ความสำคัญของทรราชกรีกคือ

(1) ได้อำนาจมาจากการสืบสายโลหิต

(2) ส่งเสริมการค้า

(3)       เคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย       

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 116-11740 (H) ทรราชกรีก (Tyrants) คือ ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง ไม่ใช่ ด้วยการสืบสายโลหิต ส่วนใหญ่ทรราชจะมาจากพ่อค้าที่อ้างว่าจะปกป้องคนจนจากพวกขุนนาง และข้าราชการ รวมทั้งต้องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยช่วยส่งเสริม การค้าและเคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ดี ต่อมา เมื่อมีการสืบทอดสายโลหิต พวกทรราชคนต่อมาหลงอำนาจและปกครองแบบกดขี่ จึงถูก ประชาชนร่วมมือกันขับไล่ออกจากอำนาจ

42.       สาเหตุที่ทำให้สปาร์ตาต้องปกครองแบบเผด็จการทหาร เพราะ

(1)       เป็นพวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก

(2)       มีปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ต่อการเลี้ยงชีพ

(3)       มีทาสเชลยศึกจำนวนมากจากการทำสงคราม          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 118 – 12140 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้สปาร์ตาต้องปกครองแบบเผด็จการทหาร หรือแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีดังนี้ 1. ชาวสปาร์ดาสืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน ซึ่งเป็น พวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก 2. มีสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในหุบเขาและไม่ติดชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ 3. ชาวสปาร์ตาแก้ป้ญหาทางเศรษฐกิจด้วยการทำสงคราม ปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทำให้มีจำนวนทาสและเชลยศึกมากกว่าชาวสปาร์ตาแท้ ๆ จึงต้องมีการควบคุมพวกทาสด้วยระบบทหาร

43.       ความสำคัญของสงครามเพโลพอนนีเชียนคือ           

(1) สปาร์ตาไม่พอใจเอเธนส์ที่ปกครองแบบประชาธิปไตย

(2)นครรัฐกรีกถูกรุกรานจากพวกเปอร์เซีย     

(3) การล่มสลายของระบบนครรัฐกรีก

(4)นครรัฐกรีกถูกยึดครองโดยพวกโรมัน

ตอบ 3 หน้า 14446 (H) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐตาง ๆ ของกรีกได้ทำสงครามภายใน ระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพโลพอนนีเชียน” (The Peloponnesian War) ซึ่งเกิดขึ้น บนคาบสมุทรเพโลพอนมีซัสเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาสิโดเนียยกกองทัพทหารฟาแลงซ์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้สำเร็จ ในปี 338 B.C.

44.       ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของการแพทย์” คือ

(1) เฮโรโดตัส  

(2) อริสโตเติล 

(3) ฮิปโปเครติส          

(4) โสเครติส

ตอบ 3 หน้า 136.44(H) ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้รับการยกยองว่าเป็น ‘‘บิดาของการแพทย์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะพระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาคบริสุทธิ์ และการควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณของแพทย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “Hippocratic Oath”

45.       บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อการปั้นพระพุทธรูปของอินเดียคือ         

(1) เพลโต

(2)อเล็กซานเดอร์มหาราช      

(3) ทูไซดิดิส    

(4) พิทากอรัล

ตอบ 2 หน้า 152.47 (H) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก ได้ยกกองทัพขยายอำนาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่นํ้าสินธุในปี 323 B.C. ส่งผลให้ชาวอินเดีย ในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั่นคือ ศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบนกรีก (Greco Buddhist Arts) ซึ่งจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้น จะมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก

46.       สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของนิยายการสร้างกรุงโรมซึ่งเป็นเรื่องราวของพี่น้องฝาแฝดโรมิวลุสและเรมุสคือ

(1)หมาป่า       

(2) วัว 

(3) หมู

(4) กวาง

ตอบ 1 หน้า 15848 (H) ในมหากาพย์อีเนียดของเวอร์จิลได้กล่าวถึงตำนานการสร้างกรุงโรมไว้ว่า โรมิวลุสและเรมุส โอรสแฝดของนางซิลเวียกับเทพเจ้ามาร์ส (Mars) เป็นผู้สร้างกรุงโรมขึ้น ในปี 753 B.C. ได้รอดชีวิตจากการที่ถูกอมูลิอุสจับใส่ตะกร้าลอยน้ำ โดยได้รับการช่วยเหลือ จากหมาใน (หมาป่า) ดังนั้นหมาในจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรม ด้วยเหตุนี้เองคนอิตาลี ที่ไม่ชอบโรมันจึงเรียกพวกโรมันว่า พวกลูกหมาใน

47.       ในตอนต้นสมัยสาธารณรัฐโรมัน สิ่งที่เป็นเครื่องแสดงการให้สิทธิในการปกครองและสิทธิในการยับยั้งกฎหมายคือ

(1)Patrician       

(2) Plebeian      

(3) Hortensian 

(4) Tribunes

ตอบ 4 หน้า 16149 (H) ในตอนต้นสมัยสาธารณรัฐโรมัน พวกแพทริเชียน (Patrician) หรือ กลุ่มชนชั้นสูงได้ยินยอมให้พวกพลีเบียน (Plebeian) หรือกลุ่มชนชั้นต่ำ จัดตั้งคณะตรีบูน (Tribunes) ขึ้นในปี 466 B.C. เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนในสภาซีเนท (Senate) และสามารถวีโต้ (Veto) หรือคัดค้านกฎหมายที่จะออกมาขัดผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนได้

48.       สำนวน “Pyrrhic Victory” มีความหมายถึง

(1) ไปตายเอาดาบหน้า          

(2) ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน

(3)ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม    

(4) ทำตัวให้เหมือนชาวโรมัน

ตอบ 2 หน้า 16349 (H) ในช่วงที่โรมันทำสงครามขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ของแหลมอิตาลี ซึ่งเป็นเขตยึดครองของพวกกรีก กรีกได้ขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ไพรัสแห่งเอปิรัสซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งนครรัฐกริก โดยในระยะแรกนั้นกษัตริย์ไพรัสทรงได้รับชัยขนะ แต่กองทัพของพระองค์ ก็ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จนเกิดเป็นสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “Pyrrhic Victory” หมายถึง ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน โดยในที่สุดโรมก็ชนะและสามารถ ยึดครองแหลมอิตาลีได้ทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 265 B.C. เป็นต้นมา

49.       สิ่งที่จูเลียส ซีซาร์ ได้มาจากอียิปต์และนำมาเผยแพร่ใช้ในสาธารณรัฐโรมันในปี 46 B.C. และได้ตกทอด ใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ

(1)ปฏิทินแบบสุริยคติ

(2) การทำระบบชลประทาน

(3)ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก         

(4) วิชาคณิตศาสตร์

ตอบ1 หน้า 5250 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

50.       ความหมายของ “Pax Romana” ซึ่งเริ่มในสมัยจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 คือ

(1)เป็นยุคทองของโรมัน         

(2) เป็นพลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง

(3) การยกเลิกระบอบสาธารณรัฐ      

(4) สันติสุขที่ไม่มีผู้ใดมารุกรานร่วม 200 ปี

ตอบ 4 หน้า 169 – 17151 (H) ความสำคัญของสมัยการปกครองของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 มีดังนี้

1.         เป็นสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana : 27 B.C. – A.D. 180) ซึ่งเกิดขึ้นจากอานุภาพของ จักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 ทำให้ไม่มีกลุ่มชนใดมารุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นเวลาร่วม 200 ปี

2.         เป็นยุคทองของโรมัน (Roman’s Golden Age)

3.         ได้ชื่อว่าเป็น ยุคปรินซิเปท” (Principate) นั่นคือ ออกุสตุสทรงพอพระทัยในตำแหน่ง พลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง (Princeps) มากกว่าตำแหน่งจักรพรรดิ

4.         มีการยกเลิกการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมัน

5.         เป็นสมัยที่พระเยซูคริสต์ประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในมณฑลจูเดียของโรมัน

51.       ข้อความที่กล่าวว่า ผู้ต้องหาจะต้องถือว่าบริสุทธิ์ก่อนที่จะได้รับการตัดสินว่าผิดหรือถูก” ปรากฏอยู่ในกฎหมาย

(1) ฮัมมูราบี    

(2) จัสติเนียน 

(3) 12โต๊ะ       

(4) ตรา3ดวง

ตอบ 3 หน้า 172 – 17352 (H) กฎหมายโรมันนับว่ามีความสำคัญมากในการช่วยรักษาความสงบ และระเบียบปกครองในจักรวรรดิ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่ามีความเที่ยงตรงยุติธรรม ให้เสรีภาพ และมีมนุษยธรรมโดยหลักใหญ่ที่เป็นแนวปฏิบัติซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมาย 12โต๊ะ คือ ผู้ต้องหานั้นจะต้องถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนที่จะได้รับการตัดสินว่าผิดหรือถูก” ได้เป็นที่ยอมรับ มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งกฎหมายโรมันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปในเวลาต่อมา ซึ่งที่สำคัญคือ ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน

52.       ภาษาที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดหรือตกทอดมาจากภาษาโรมานซ์หรือภาษาละตินคือ ภาษา

(1) อังกฤษ     

(2) โรมาเนีย   

(3) ฝรั่งเศส     

(4) สเปน

ตอบ 1 หน้า 18053 (H) ภาษาละตินเป็นต้นกำเนิดของภาษาโรมานซ์สมัยใหม่ ได้แก่ ภาษาอิตาลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาโรมาเนีย ส่วนภาษาอังกฤษนั้นมีต้นกำเนิด ส่วนใหญ่มาจากภาษาเยอรมัน

53.       การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนมีความสำคัญคือ

(1)       เป็นการไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์เป็นครั้งสุดท้าย

(2)       เพื่อป้องกันการเกิดวันสิ้นสุดของโลก (Doomsday)

(3)       ทำให้ชาวโรมันหันมายอมรับศาสนาคริสต์ทันที

(4)       ทำให้มีการปราบปรามพวกคริสเตียนเป็นเวลา 300 ปี

ตอบ 1 หน้า 181 – 18253 (H) พระเยซูคริสต์ เป็นบุตรของนางมาเรียและโยเซฟ ซึ่งมีถิ่นฐานอยูที่เมืองนาซาเรธ แต่พระองค์มาประสูติที่เมืองเบธเลเฮม ทั้งนี้ทรงศึกษาคัมภีร์ The Old Testament ตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่ออายุได้ 30 ปีก็ได้ออกเทศนาสั่งสอน โดยอ้างตนว่าเป็น พระบุรของพระเจ้า” หรือทรงเป็น พระมหาไถ่” (Messiah) เพื่อทำหน้าที่ไถ่บาปให้แก่มนุษย์ ซึ่งการสิ้นพระซนม์ บนไม้กางเขนของพระองค์ก็เท่ากับทรงไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์เป็นครั้งสุดท้าย

54.       สันตะปาปาองค์แรกของกรุงโรมคือ

(1)St. Paul

(2) St. James     

(3) St. Peter      

(4) St. Thomas

ตอบ 3 หน้า 238 – 240 อัครสาวกของพระเยซูคริสต์คนแรกที่เข้าไปเผยแผ่คริสต์ศาสนาในกรุงโรม ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 คือ เซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ซึ่งต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนัก ในระยะแรก แต่ต่อมาชาวโรมันก็ยอมรับ ทำให้กรุงโรมกลายเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนา และเซนต์ปีเตอร์ ก็กลายเป็นสันตะปาปา (Pope) องค์แรกของคริสตจักรในกรุงโรม

55.       ศาสนาคริสต์นิกายตะวันออกซึ่งแยกตัวออกจากนิกายตะวันตกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1054 คือ นิกาย

(1) Greek Orthodox

(2) Roman Catholic

(3) Church of England

(4) Presbyterian

ตอบ 1 หน้า 238 – 23932154 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1054 คริสต์ศาสนาได้แยกออกจากกัน อย่างเด็ดขาดเป็น 2 นิกาย คือ 1. นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) นับถือกันใน จักรวรรดิโรมันตะวันออก มีประมุขสูงสุดคือ แพทริอาร์ค มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใช้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันออกและรัสเซีย      

2. นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันตก มีประมุขสูงสุดคือ สันตะปาปา มีศูนย์กลางอยูที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี

56.       พืชที่ชาวยุโรปไม่ได้นำมาจากทวีปอเมริกาคือ

(1) Tobacco       

(2) Apple  

(3) Gum    

(4) Potato

ตอบ 2 หน้า 55 (H) พืซสำคัญในทวีปอเมริกาที่ถูกนำไปเผยแพร่โดยชาวยุโรป เช่น ยาสูบ (Tobacco), มันฝรั่ง (Potato), มะเขือเทศ (Tomato), โกโก้ (Cacao), หมากฝรั่ง (Gum), ข้าวโพด (Maize) เป็นต้น

57.       วิธีการศึกษาในยุคกลางตอนต้นคือ

(1) เรียนรู้ด้วยของจริงจากการดูและการฟัง   

(2) เรียนวิชาชีพจากการฝึกฝนกับผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ

(3) การเข้าเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 208 – 20959 (H) ลักษณะเด่นของยุคกลางตอนต้น มีดังนี้

1.         คนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ แต่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกทักษะ หรือการเรียนรู้ด้วยของจริง จากการดู การฟัง และการเรียนวิชาชีพจากการฝึกฝนกับผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ

2.         คริสต์ศาสนามีอำนาจสูงสุด โดยมีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น

3.         มีการปกครองเป็นแบบศักดินาสวามีภักดิ์ (Feudalism)

4.         พวกอนารยชน คริสต์ศาสนา และระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นสถาบันทีมีบทบาทเด่น ในการผสมผสานและพัฒนาในยุคกลาง

58.       พวกอนารยชนเยอรมันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอังกฤษคือ

(1) Visigoths

(2) Angles and Saxons

(3) Vandals       

(4) Burgundians

ตอบ 2 หน้า 21260 (H) พวกแองเกิลส์และแซกซัน (The Angles and Saxons)เป็นอนารยชนเยอรมันที่เข้ายึดครองและอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ เนื่องจากได้รับชัยชนะเหนือพวกโรมันและพวกเซลท์ (Celts) ในบริเทน จากนั้นจึงสถาปนาอาณาจักร เยอรมันขึ้นโดยให้ชื่อตามนามของพวกแองเกิลส์ว่า “ England”

59.       การรุกรานของพวกอนารยชนในยุคกลางตอนต้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุโรปตะวันตกคือ

(1)เปลี่ยนจากสังคมเมืองเป็นสังคมชนบท     

(2) ไม่ใช้กฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

(3) ไม่มีการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ4  หน้า 214 – 21561 (H) ยุโรปตะวันตกภายใต้การปกครองของพวกอนารยชนในยุคกลางตอนต้น มีลักษณะดังนี้

1.         จักรวรรดิแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากกวาที่จะรวมตัวกันเป็นปึกแผ่น

2.         พวกอนารยชนไม่สร้างเมืองเหมือนพวกกรีก-โรมัน แต่มีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท

3.         พวกอนารยชนมักทำสงครามระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีเวลาพอที่จะทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ทำให้อารยธรรมกรีก-โรมันเสื่อมลง

4.         พวกอนารยชนไม่ใช้กฎหมายที่เป็นเหตุเป็นผลหรือเป็นลายลักษณ์อักษร การตัดสินลงโทษ จึงอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และใช้การต่อสูหรือสาบานตน

5.         เศรษฐกิจซบเซา โดยมีลักษณะเป็นเศรษฐกิจแบบชุมชนแคบ ๆ และใช้วิธีการแลกเปลี่ยน สินค้าแทนการใช้เงิน

60.       ผลงานที่สำคัญของชาร์ล มาร์แตล ในปี ค.ศ. 732 คือ

(1)       รบชนะพวกมัวร์ที่เมืองตูร์ในฝรั่งเศส

(2)       ขับไล่พวกมัวร์ออกจากสเปนได้สำเร็จ

(3)       สามารถผลักดันพวกมัวร์ออกจากฝรั่งเศสกลับลงไปอยู่ในสเปน      

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ . 4 หน้า 21762 (H), (คำบรรยาย) ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) เป็นสมุหราชมณเฑียร ที่มีบทบาทสำคัญต่อการก่อตั้งราชวงศ์คาโรแลงเจียน โดยเขาได้รับฉายาว่า ขุนค้อน(The Hammer) ที่สามารถรบชนะพวกมอสเล็มหรือพวกมัวร์ที่เมืองตูร์ (Tours) ในฝรั่งเศส ได้สำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นการยุติการขยายอำนาจของพวกมัวร์ที่เข้าไปในฝรั่งเศสโดยสิ้นเชิง ใบปี ค.ศ. 732 หลังจากนั้นพวกมัวร์ก็ถูกผลักดันให้กลับไปอยู่ในสเปนตามเดิม

61.       กษัตริย์ผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 เป็นจักรพรรดิโรมันองค์ใหม่ผู้สามารถ รวบรวมดินแดนยุโรบตะวันตกเข้าด้วยกันอีกครั้ง ภายหลังกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 คือ

(1) Meroveg      

(2) Clovis  

(3) Pepin  

(4) Charlemagne

ตอบ 4 หน้า 218 – 22063 (H) ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) เป็นกษัตริย์ชาวแฟรงค์ที่ทรงอานุภาพ มากที่สุดของราชวงศ์คาโรแลงเจียน และถือว่าทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดิ ทั้งนี้เพราะ ในปี ค.ศ. 800 พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากลันตะปาปาลีโอที่ 3 เพื่อสถาปนาให้ทรงเป็น จักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ผลงานที่สำคัญของพระองค์คือ สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทรงส่งเสริมการศึกษา กำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญ และกำหนดมาตราวัด

62.       สนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ศ. 843 เพื่อแบ่งจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ เป็นที่มาของประเทศ… ในปัจจุบัน

(1) เยอรมนี     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) อังกฤษ     

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 220 – 22164 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกำเนิดของประเทศ เยอรมนีและฝรั่งเศสในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของชาร์เลอมาญออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.         หลุยส์เดอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี

2.         ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ได้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิปัจจุบันก็คือ ประเทศฝรั่งเศส          

3. โลแธร์ (Lothair) ได้ครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึงต่อมาก็คือ แคว้นลอแรน

63.       ที่มาของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในยุคกลางของยุโรปคือ  

(1) ยุโรปถูกรุกรานอีกครั้งจากภายนอก

(2)กบัตริยอ่อนแอไม่สามารถดูแลประชากรได้ทั่วถึง

(3)ประชาชนหันมาพึ่งพาขุนนางเพื่อความปลอดภัยของตนเอง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 222 – 22665 (H) สาเหตุที่ทำให้เกิดระบอบฟิวดัล (Feudalism) หรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ มีดังนี้

1. กษัตริย์อ่อนแอ ทำให้ไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นประชาชนจึงต้องหันมาพึ่งพาขุนนางเพื่อความปลอดภัยของตนเอง

2.         ยุโรปถูกรุกรานอีกครั้งจากพวกอนารยชนภายนอก

3. เศรษฐกิจซบเซา ทำให้ชนชั้นกลาง หรือพวกพอค้าหมดอำนาจ ในขณะที่ขุนนางเจ้าของที่ดินขึ้นมามีอำนาจแทน

64.       สาเหตุความเสื่อมของระบอบฟิวดัลคือ         

(1) สงครามครูเสด

(2)ความเจริญทางการค้า       

(3) โรคระบาด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23766 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง มีดังนี้

1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก กษัตริย์จึงมิอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

2.ความเจริญทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์ลดความสำคัญลง

3.ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้บทบาทของขุนนางและอัศวินสวมเกราะลดลง

4.การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค ทำให้ประชากรลดลง พวกทาสดิดที่ดิน จึงหางานทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

65.       จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งอาณาจักรโรมันตะวันออกมีผลงานที่สำคัญคือ

(1)       ขยายอำนาจเข้าไปในยุโรปตะวันตก

(2) กฎหมาย   

(3) โบสถ์เซนต์โซเฟีย 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 252 – 25370 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกมีดังนี้

1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี

2.สร้างประมวลกฎหมายจัลติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529

3.สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537

66.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสันตะปาปา           

(1) การขยายอำนาจจักรพรรดิเข้าไปในแหลมอิตาลี

(2)การแข่งขันกันแต่งตั้งพระชั้นผู้ใหญ่           

(3) ทำให้รัฐเยอรมันแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

(4)ทำให้จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุดเหนือองค์สันตะปาปา

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 (H), 77 – 78 (H), (คำบรรยาย) ความสำคัญของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระหวางจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสันตะปาปาในยุคกลาง มีดังนี้

1.จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวางและ ได้รวมอิตาลีเข้ากับอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และทรงเน้นว่าอาณาจักรเป็นฝ่ายปกครอง ศาสนจักร ทำให้สันตะปาปาไม่พอใจ

2.การแข่งขันกันแต่งตั้งพระชั้นผู้ใหญ่ระหว่างจักรพรรดิกับสันตะปาปา

3.ทำให้อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ดินแดนเยอรมนี) แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

4.ทำให้จักรพรรดิไม่มีอำนาจสูงสุดอีกต่อไป

67.หลังจากราชวงศ์คาโรแลงเจียนหมดอำนาจไปจากฝรั่งเศส พวกขุนนางได้เลือกอู๊ก กาเปท์ ขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 987 จึงเป็นที่มาของการเกิดระบอบ… ขึ้นในยุโรป     

(1) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2) ศักดินาสวามิภักดิ์ 

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

ตอบ 2 หน้า 26472 (H) หลังจากพระเจ้าหลุยส์ทิ่ 5 แห่งราชวงศ์คาโรแลงเจียนสายฝรั่งเศส สิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 987 พวกขุนนางฝรั่งเศสจึงได้เลือก อู๊ก กาเปท์ ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์คาเปเตียน ทั้งนี้ทรงมีดินแดนที่ปกครองอย่างแท้จริงคือ เกาะฝรั่งเศส ซึ่งเป็นดินแดนเล็ก ๆ ในภาคกลาง ของฝรั่งเศสเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นกษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจแต่ประการใด ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้น ของการปกครองในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ขึ้นในยุโรป นอกจากนี้ยังทรงวางรากฐาน การสืบราชสมบัติจากพ่อไปสู่สูกอีกด้วย

68.       ความสำคัญของกษัตริย์ฟิลิป ออกัสตัส แห่งฝรั่งเศส คือ

(1) ขัดแย้งกับกษัตริย์จอห์นแห่งอังกฤษและสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3       

(2) สร้างพระราชวังลูฟร์

(3)ก่อตั้งมหาวิทยาลัยปารีสในปี ค.ศ. 1200  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 26627572 (H), 75 (H) ความสำคัญของกษัตริย์ฟิลิป ออกัสตัส แห่งฝรั่งเศส มีดังนี้

1.         ทรงมีปัญหาขัดแย้งกับสันตะปาปาอินโนเซนต์ทิ่ 3 ในเรื่องทิ่ทรงหย่าขาดกับพระมเหสี ซึ่งทำให้สันตะปาปาทรงประกาศปิดโบสถ์ (Interdict) ในฝรั่งเศส

2.         ทำให้มีการก่อสร้างพระราชวังลูฟร์ (Louvre) ขึ้น

3.         มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยปารีสในปี ค.ศ. 1200         

4. สนับสนุนการสร้างเมืองใหม่

5.         ร่วมมือกับชาวเมืองเพื่อกำจัดอิทธิพลของขุนนางฟิวดัลลง

6.         ทรงทำสงครามกับพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษเรื่องผลประโยชน์ในฝรั่งเศส

69.       การรวมสเปนในศตวรรษที่ 15 ภายหลังพวกมัวร์เข้ามามีอำนาจและอิทธิพลร่วม 800 ปี คือ การรวม อาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือ

(1) คาสติลกับอรากอน

(2) อรากอนกับนาวาร์ 

(3) นาวาร์กับโปรตุเกส

(4) โปรตุเกสกับคาสติล

ตอบ 1 หน้า 26773 (H) การรวมสเปนที่เข้มแข็งที่สุดคือ การรวมอาณาจักรคริสเตียน 2 แห่ง นั่นคือ คาสติลและอรากอนเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการอภิเษกระหวางเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งคาสติล กับเจ้าชายเฟอร์ดินันด์แห่งอรากอน ที่ทรงร่วมกันปกครองในฐานะกษัตริย์คาทอลิก และได้ทำสงครามกับพวกมัวร์จนมีชัยชนะในปี ค.ศ. 1492 นอกจากนี้ยังสามารถยึดอาณาจักรกรานาดา ที่อยู่ทางตอนใต้ของสเปนคืนจากพวกมัวร์ได้สำเร็จ ทำให้การปกครองโดยมุสลิมในสเปนสิ้นสุดลง

70.       ผลจากการที่วิลเลียม ดุ๊กแห่งนอร์มังดี เข้ายึดครองอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 คือ

(1)       ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและปะปนในภาษาอังกฤษ

(2)       กษัตริย์ฝรั่งเศสมีฐานะเป็นกษัตริย์อังกฤษด้วย

(3)       กษัตริย์อังกฤษมีฐานะเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสด้วย

(4)       พวกแองโกล-แซกซันกลับมามีอำนาจ

ตอบ 1 หน้า 271 – 27372 (H), 74 (H) ผลจากการที่วิลเลียม ดุ๊กแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส ได้เข้า ยึดครองอังกฤษในปี ค.ค. 1066 มีดังนี้

1. ทำให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะ เป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไปถือครองและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากที่ดินในฝรั่งเศส

2. ขุนนางแองโกล-แซกซันถูกกำจัด

3.         ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเข้าไปปะปนในภาษาอังกฤษ

4.         มีการนำระบบแมเนอร์เข้ามาใช้ในอังกฤษ

5. มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเริยกว่า “Doomsday Books” เพื่อการเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน

71.       ความสำคัญของรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา ปี ค.ศ. 1215 ของอังกฤษคือ

(1)       ทำให้กษัตริย์จอห์นมีอำนาจเหนือพวกขุนนาง

(2)       กษัตริย์จอห์นสามารถยึดดินแดนในฝรั่งเศสกลับคืนมา

(3)       ทำให้อังกฤษรวมประเทศได้สำเร็จ

(4)       เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบรัฐสภา

ตอบ 4 หน้า 27575 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยมี หลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอำนาจ ของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทำด้วย ความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครอง ใบระบอบรัฐสภา หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

72.       สงครามครูเสดที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1095 เป็นสงครามที่พวกคริสเตียนยกทัพไปตี… คืนจากพวกมุสลิม

(1) เบธเลเฮม 

(2) เยรูซาเล็ม 

(3) คอนสแตนติโนเปิล           

(4) ดามัสกัส

ตอบ 2 หน้า 279 – 28576 – 77 (H) สงครามครูเสด (ค.ค. 1095 – 1291) ในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ที่กินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่าง ศาสนาคริสต์กับคาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมหรือมอสเล็ม เพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงครามพวกคริสเตียนก็ไม่สามารถยึด กรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมุสลิมได้ จึงถือว่าเป็น ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก

73.       ผลของสงครามครูเสดคือ

(1) การเปิดดินแดนยุโรปตะวันตกออกสู่โลกภายนอก

(2) ฟื้นฟูการค้าในยุโรปตะวันตก

(3)การสิ้นสุดของระบอบฟิวดัล          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 284 – 28577 (H) ผลของสงครามครูเสด มีดังนี้

1. ทำให้ระบอบฟิวดัลหรือระบอบ ศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง

2. เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการค้าในดินแดนยุโรปตะวันตก

3. มีการเปิดเส้นทางการค้าเพื่อนำเอาความเจริญและสินค้าจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ ในยุโรปตะวันตก          

4. กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น ในขณะที่ขุนนางเสื่อมอำนาจและยากจนลง

5.เมืองต่างๆ เริ่มขยายขึ้น เพราะการค้าขยายตัว

6. อำนาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น

7.มีการนำเงินและทองเข้ามาในยุโรปมากขึ้น เป็นต้น

74.       รัฐธรรมนูญฉบับ ประกาศทอง” ปี ค.ศ. 1356 โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญคือ

(1)จัดตั้งคณะผู้เลือกตั้ง 7 คนเป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่

(2)ต้องการตัดสิทธิสันตะปาปาออกจากการเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่

(3)ทำให้ดินแดนเยอรมนีสามารถรวมชาติได้สำเร็จ

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 292 – 29378 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bull) ปี ค.ศ.. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักร โรมันอันศักดิสิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (Electors) เป็นผู้เลือก จักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิของ สันตะปาปาในการเลือกจักรพรรดิองค์หม่ออกไป และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงค์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ

75.       ความสำคัญของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสคือ

(1) การฟื้นตัวของระบอบฟิวดัล         

(2) ขุนนางกลับมามีอำนาจเหนือกษัตริย์

(3)อังกฤษและฝรั่งเศสสามารถรวมชาติได้สำเร็จ

(4) ส่งผลต่อการเกิดสงครามดอกกุหลาบในอังกฤษ

ตอบ3 หน้า 29979 (H) ผลของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส มีดังนี้

1.         เป็นการสิ้นสุดระบอบฟิวคัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะ พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก และยังส่งผลให้กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น

2.         ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นทั้ง 2 ชาติ จนกษัตริย์ของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถ รวมตัวเป็นรัฐชาติ (Nation-state) ได้สำเร็จ

3.         อังกฤษได้เลิกใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ

76.       เหตุการณ์ Babylonian Captivity ค.ศ. 1305 – 1377 และ The Great Schism ค.ศ. 1378 – 1417 มีความสำคัญคือ

(1)แสดงถึงความเสื่อมของคาสนจักร 

(2) แสดงถึงความเสื่อมอำนาจของอาณาจักร

(3) พวกแคลเดียนไปกวาดต้อนพวกยิว          

(4) ศาสนาคริสต์แตกแยกออกเป็นหลายนิกาย

ตอบ1 หน้า 300 – 30380 – 81 (H) เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของศาสนจักร ในศตวรรษที่ 14 – 15 มีดังนี้

1.         การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เกิดขึ้นเพราะ สันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้ สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาพำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ส่งผลให้สันตะปาปา ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

2.         การแตกแยกครั้งใหญ่ (The Great Schism : ค.ศ. 1378 – 1417) มีสาเหตุมาจากการแย่งชิงตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างชาวอิตาลีกับชาวฝรั่งเศส จนส่งผลให้เกิดสันตะปาปาขึ้น พร้อมกัน 2 องค์ทั้งที่กรุงโรมในอิตาลี และที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส

77.       ความสำคัญของอำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์คือ         

(1) เป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2)กษัตริย์ดึงอำนาจมาจากสันตะปาปาที่เสื่อมอำนาจลง

(3)กษัตริย์คือตัวแทนของพระเจ้าบนโลก       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 332 – 33386 (H) อำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (Divine Rights of King) แต่เดิมนั้น คืออำนาจของสันตะปาปา เมื่อสันตะปาปาเสื่อมอำนาจลงกษัตริย์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจนี้แทน โดยกษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งมาปกครองมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ จึงไม่มีสิทธิปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้ยุโรปในช่วงต้นยุคใหม่มีการปกครอง ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นคือ กษัตริย์เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดิน

78.       ในสมัยศตวรรษที่ 15 ดินแดนที่ยังไม่สามารถรวมเป็นรัฐชาติได้สำเร็จคือ

(1)สเปน         

(2) โปรตุเกส   

(3) อังกฤษและฝรั่งเศส          

(4) เยอรมนีและอิตาลี

ตอบ 4 หน้า 332338393. 86 (H), 88 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นสมัยการกำเนิดรัฐชาติ ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งประเทศที่สามารถรวมตัวกันเป็นรัฐชาติได้สำเร็จ ได้แก่ สเปน โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ในขณะที่เยอรมนีและอิตาลียังคงแตกแยก ออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศขาดเอกภาพทางการเมือง

79.       ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการปฏิวัติทางการค้า ค.ศ. 1500 – 1700

(1)       ความเจริญทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่แอตแลนติกและภาคโพ้นทะเล

(2)       เศรษฐกิจของอิตาลีซบเซาลง

(3)       การค้าเข้ามามีบทบาทแทนการเกษตรกรรม

(4)       ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก

ตอบ 4 หน้า 33988 (H) ความสำคัญของการปฏิวัติทางการค้า (ค.ศ. 1500 – 1700) มีดังนี้

1.         ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปได้เปลี่ยนแปลงจากบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่ มหาสมุทรแอตแลนติกและภาคโพ้นทะเล

2. เศรษฐกิจของอิตาลีซบเซาและลดความสำคัญลง ในขณะที่สเปนและโปรตุเกสมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

3. การค้าเข้ามามีบทบาทแทน การเกษตรกรรม

4. ลัทธิเศรษฐกิจแบบพาณิชย์ชาตินิยมได้แพร่หลายไปทั่วโลก

80.       ข้อใดไม่ใช่ความหมายของลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม

(1) การควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติ

(2) รัฐต้องการเงินเพื่อนำไปสร้างกองทัพ

(3) พึ่งพาเศรษฐกิจชาติอื่นให้น้อยลง 

(4) อาณานิคมมีความเสรีทางเศรษฐกิจ

ตอบ 4 หน้า 339 – 34088 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) เป็นระบบการค้าที่รัฐบาลแห่งชาติและกษัตริย์จะเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด นั่นคือ กษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีอำนาจในการกำหนดสิทธิในการต่อรองหรือผูกขาดสินค้า ทั้งนี้พวกนายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล ส่วนกษัตริย์จะสะสมโลหะมีค่าเพื่อหาเงินมาขยายกองทัพ และสะสมอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอื่น นอกจากนี้ยังผูกขาดการค้าโดยบังคับให้ ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เทานั้น เน้นการพึ่งพาเศรษฐกิจจากชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด และส่งเสริมการมีอาณานิคม ทำให้เกิดการแช่งขันทางการค้าและเกิดกรณีพิพาทในกลุ่มประเทศอาณานิคมอยู่บ่อยครั้ง

81.       ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการสำรวจทางทะเลในสมัยศตวรรษที่ 15

(1) ความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก    

(2) กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกพวกเติร์กยึดครอง

(3) ล้มการผูกขาดการค้าของพวกพ่อค้าอิตาลี           

(4) กรุงโรมถูกพวกอนารยชนเยอรมันยึดครอง

ตอบ 4 หน้า 350 – 35189 – 90 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้ยุโรปตะวันตกออกสำรวจ เส้นทางทางทะเลเพื่อแสวงหาอาณานิคมใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 15 – 16 มีดังนี้

1.แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ยุคกลางที่กองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชีย ไปเผยแพร่ในยุโรป

2 อิทธิพลจากหนังสือชื่อ The book of Marco Polo ของมารโค โปโล ซึ่งเป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปจีนที่ใช้เวลานานถึง 25 ปี

3.เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับภาคตะวันออกถูกตัดขาด เนื่องจากกรุงคอนสแตนติโนเปิล ถูกพวกออตโตมัน เติร์ก ยึดครองในปี ค.ศ. 1453

4.มีความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก

5.ต้องการล้มเลิกการผูกขาดสินค้าจากภาคตะวันออกของพ่อค้าชาวอิตาลี เป็นต้น

82.       ชาวยุโรปชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือมาสู่อินเดียในศตวรรษที่ 15 คือ

(1) สเปน        

(2) โปรตุเกส   

(3) อังกฤษ     

(4) ฮอลันดา

ตอบ 2 หน้า 33635190 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เป็นผู้นำในการเดินเรือ เข้ามาในทวีปเอเชีย โดยนักเดินเรือคนสำคัญ คือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) สามารถเดินเรืออ้อมทวีปแอพ่ริกาไปถึงอินเดียในปี ค.ศ. 1498 ได้สำเร็จเป็นคนแรก

83.       การฟื้นพูศิลปวิทยาหรือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกมีผลตามมาคือ การให้ความสำคัญแก่

(1) พระเจ้า     

(2) โลกหน้า    

(3) มนุษย์       

(4) พระ

ตอบ 3 หน้า 356 – 35892 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance)ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 คือ การเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในสมัยพ่นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสำคัญของมนุษย์ ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณทางโลก ทั้งนี้การฟื้นฟู ศิลปวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปใน ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

84.       รัฐที่รํ่ารวยที่สุดในแหลมอิตาลีซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นเจ้าทะเลและศูนย์กลางการอุตสาหกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ

(1) ฟลอเรนซ์  

(2) เวนิส         

(3) เจนัว         

(4) ปิซ่า

ตอบ 2 หน้า 359 – 36092 – 93 (H) สาธารณรัฐเวนิสเป็นหนึ่งในบรรดา 5 รัฐผู้นำในแหลมอิตาลี ที่รํ่ารวยที่สุดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในคริสต์ศตวรรษ ที่ 14 จนได้ชื่อว่า ราชินีแห่งท้องทะเล” (Queen of the Seas) ทั้งนี้เวนิสมีเรือถึง 3,300 ลำ เป็นกองเรือใหม่ที่สุดในโลก เพราะมีทุนมหาศาลจากการทำอุตสาหกรรม สามารถทำการผลิต กระสุนปืนและอะไหล่สำหรับเรือด้วยตนเอง ซึ่งการทุ่มเทด้านการค้าและอุตสาหกรรมนี้มีผลให้ เวนิสเริมกระบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และได้กลายเป็นศูนย์กลาง ทางด้านการพิมพ์ของยุโรป

85.       จุดมุ่งหมายในการเขียนหนังสือ The Prince ของมาเคียเวลลี ในปี ค.ศ. 1513 คือ

(1) ต่อต้านอำนาจกษัตริย์       

(2) รวมอิตาลีเข้าด้วยกัน

(3) การก้าวไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม       

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 333 – 33436294 (H) นิโคโล มาเคียเวลลี (NicoLo Machiavelli) เป็นนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสมัยเรอเนสซองส์ โดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Prince ใบปี ค.ศ. 1513 ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐในทุกวิถีทางที่จำเป็นโดยมีวิธีการที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จและได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมและวิธีการที่ถูกต้อง ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของเขาก็คือ ต้องการรวมอิตาลีภายใต้การปกครองเดียวกัน

86.       สาเหตุปัจจุบันที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ

(1)พิธีกรรมทางศาสนามีมากเกินไป   

(2) พระไม่มีความรู้และศีลธรรม

(3) สันตะปาปาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมีอง    

(4) การขายใบไถ่บาป

ตอบ 4 หน้า 378 – 37998 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ใบนกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร็ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียน คำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

87.       ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของนิกายโปรเตสแตนต์

(1) ตัดอำนาจสันตะปาปา      

(2) เป็นศาสนาแห่งชาติ

(3) เน้นการเข้าถึงศาสนาโดยการอ่านพระคัมภีร์        

(4) การคงคำสอนในพระคัมภีร์เป็นภาษาละติน

ตอบ 4 หน้า 379 – 38198 (H), (คำบรรยาย) ในขณะที่ลี้ภัยอยู่ที่แซกโซนี มาร์ติน ลูเธอร์(Martin Luther) ผู้ก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนต์ ได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาละตินเป็น ภาษาเยอรมันและภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงศาสนาได้ โดยการอ่านพระคัมภีร์ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพระหรือชี และไมมีพิธีกรรมอย่างคาทอลิก จนเป็นที่มาของนิกายลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism) ซึ่งเป็นนิกายโปรเตสแตนต์นิกายแรก

88.       อังกฤษทำการปฏิรูปศาสนาในสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เพราะกษัตริย์ต้องการ

(1) หย่าขาดจากพระมเหสี     

(2) ตัดอำนาจสันตะปาปา

(3) ทำให้ศาสนาเกิดความบริสุทธิ์      

(4) ยึดที่ดินของวัด

ตอบ 1 หน้า 38399 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ทรงไม่พอพระทัยที่พระสันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาดจาก พระนางแคเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน จึงทรงตั้งสังฆราชแห่งแคนเทอเบอรีขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy” ในปี ค.ค. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุข ทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา ซึ่งส่งผลทำให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็น นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)

89.       ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของสงคราม 30 ปี

(1) เป็นสงครามคาสนาในดินแดนเยอรมนี     

(2) ทำให้ฝรั่งเคสมีชัยเหนือสเปน

(3) ทำให้การรวมเยอรมนีช้าไป 200 ปี           

(4) พวกคาทอลกได้รับชัยชนะ

ตอบ4  หน้า 390 – 391101 (H) สงคราม 30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 – 1648;เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ที่ได้รับความช่วยเหลือจากอังกฤษและฝรั่งเศสกับ พวกคาทอลิกที่ได้รับความช่วยเหลือจากสเปน ในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวก โปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรปแทนที่สเปน ขณะที่ดินแดน เยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

90.       คำประกาศแห่งเมืองนังต์ (Edict of Nantes) ค.ศ. 1598 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แหงฝรั่งเศส เรื่องขันติธรรมทางศาสนามีผลทำให้

(1)       ประชาชนไม่ต้องนับถือศาสนานิกายเดียวกับกษัตริย์

(2)       ฝรั่งเศสปลอดจากสงครามศาสนาตลอดศตวรรษที่ 17

(3)       พวกฮิวเกอโนต์และพวกคาทอลิกมีสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎหมาย

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 383 – 384404101 (H), 106 (H) หลังจากที่พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ปฐมกษัตริย์ของราชวงค์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงเปลี่ยนมานับถือนิกายคาทอลิกแล้ว (เดิมทรงเป็นฮิวเกอโนต์ หรือโปรเตสแตนต์) พระองค์ได้ทรงออกคำประกาศโองการแห่งเมืองนังต์ (Edict of Nantes) ในปี ค.ศ. 1598 เพื่อให้เกิดการประนีประนอมและเกิดความเสมอภาคทางศาสนา รวมทั้ง เป็นการให้สิทธิอย่างเท่าเทียมกันระหว่างพวกคาทอลิกกับพวกฮิวเกอโนต์ ทำให้ฝรั่งเศส เป็นประเทศเดียวที่ประชาชนไม่ต้องนับถือศาสนานิกายเดียวกับกษัตริย์ และปลอดจาก สงครามศาสนาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17

91.       พระราชวังแวร์ซายส์มีความสำคัญต่อการเมืองฝรั่งเศสตลอดสมัยหลุยส์ที่ 14 คือ

(1) ยุติปัญหาศาสนา  

(2) กำจัดอิทธิพลขุนนางท้องถิ่น

(3) ศูนย์รวมนักวิชาการ          

(4) หนีห่างชีวิตอันสับสนในปารีส

ตอบ.2 หน้า 409106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอยูนอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงคํที่สำคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทำตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่าๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอำนาจใหม่ ทำให้พระราชวังแห่งนี้ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองค์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสำคัญ ของพระองค์มาอาศัยอยู่ ทำให้พระองค์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด

92.       ความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับพวกเพียวริตันในสภา มีผลทำให้อังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ

(1) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2) ศักดินาสวามีภักดิ์

 (3) สาธารณรัฐ          

(4) ประชาธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 411 – 413107 (H) ในระหว่างปี ค.ศ. 1642 – 1649ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ในอังกฤษ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหวางพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับรัฐสภาอังกฤษซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเพียวริตัน (Puritans) ในกรณีที่พระองค์ต้องการเงินเพื่อไปปราบปรามการก่อกบฏของพวกสก็อต โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1649 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบเทวสิทธิ์ในอังกฤษและเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)

93.       อังกฤษปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นผลมาจาก

(1) การประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา      

(2) การทำสงคราม 7 ปีกับฝรั่งเศส

(3) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง ค.ศ. 1688   

(4) รัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา

ตอบ 3 หน้า 417108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้

1.         ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่การปกครองใน ระบอบรัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด

3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น        

4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม จัดกองทัพหรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน

94.       ผลงานสำคัญของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซียคือ

(1) พัฒนากองทัพ

(2)ทำสงครามกับออสเตรีย    

(3) ร่วมแบ่งโปแลนด์  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 419 – 421108 – 109 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ทรงเป็นกษัตริย์ทรงภูมิธรรมหรือกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) ซึ่งมีผลงานที่สำคัญดังนี้

1.         พยายามหาเงินเพื่อพัฒนากองทัพที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีและมีอาวุธที่ทันสมัย เพื่อขยายอำนาจทางการทหาร และสร้างรัฐบาลให้เข้มแข็ง จนทำให้ปรัสเซียในสมัยของ พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็น สปาร์ตาแห่งยุโรป

2.         ในระหว่างปี ค.ศ. 1740 – 1748ทำสงครามกับออสเตรียเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางทหาร ในยุโรปกลาง โดยแย่งชิงดินแดนไซลีเชียจากพระราชินีมาเรีย เธเรซา

3.         ในปี ค.ศ. 1772 ทรงร่วมกับพระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และออสเตรียแบ่งแยก โปแลนด์เป็นครั้งแรก

95.       ในปี ค.ศ. 1795 ประเทศในยุโรปกลางที่หายไปจากแผนที่ของยุโรปเพราะการแบ่งของ 3 ประเทศมหาอำนาจ คือ รัสเซีย ปรัสเชีย และออสเตรียคือ

(1)บัลแกเรีย   

(2) โปแลนด์   

(3) โรมาเนีย   

(4) ฮังการี

ตอบ 2 หน้า 427109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซียได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์ เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ค. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเซียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่2ในปี ค.ศ. 1793ทำให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็รวมกัน แบ่งโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป นับตั้งแต่นั้น

96.       ลักษณะสำคัญของกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) คือ

(1) มีความรู้

(2)สมบูรณาญาสิทธิราชย์      

(3) เคร่งศาสนา          

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 419431491108 (H) ลักษณะสำคัญของกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) คือ เป็นกษัตริย์ผู้ทรงถือพระองค์ว่าเป็น ผู้รับใช้ชาติคนแรก” นั่นคือ มีหน้าที่ให้ ความสุขแก่ประชาชนด้วยการสร้างรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการปฏิรูปเมื่อจำเป็น นอกจากนี้ยังทรงปกครองประเทศในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงนำเอาความรู้มาใช้ใน การปรับปรุงประเทศ และไม่สนใจในเรื่องความแตกต่างทางด้านศาสนา ซึ่งกษัตริย์ที่ทรงเป็นกษัตริย์ประเทืองปัญญา เช่น พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย พระนางแคเทอรีนมหาราชินี แห่งรัสเซีย เป็นต้น

97.       นักวิทยาศาสตร์ผู้เสนอทฤษฎีว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาลคือ

(1) ไทโซ บราเฮ           

(2)เคปเลอร์    

(3)โคเปอร์นิคัส           

(4)ปโทเลมี

ตอบ 3 หน้า 434110(H) นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ เป็นผู้ที่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกเป็นบริวารดวงหนึ่ง

98.       นักวิทยาศาสตร์ผู้เสนอกฎแรงโน้มถ่วงของโลกหรือกฎการดึงดูดของโลกคือ

(1) ไอสไตน์     

(2)กาลิเลโอ    

(3)นิวตัน         

(4)โคเปอร์นิคัส

ตอบ 3 หน้า 437 – 439111 (H) เซอรไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ กฎแห่งการดึงดูดของโลก” นอกจากนี้ผลงานเรื่อง “Principia” ของเขายังช่วยอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจร รอบโลก อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ยํ้าว่า หลักการของวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การคำนวณ และการทดลอง

99.       นักปรัชญาผู้เสนอแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่ายคือ บริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ คือ

(1) ล็อค          

(2)มองเตสกีเออ         

(3)ฮอบส์         

(4)รุสโซ

ตอบ 2 หน้า 447 – 448, (คำบรรยาย) มองเตสกีเออ เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่เขียนหนังสือชื่อ วิญญาณแห่งกฎหมาย” (The Spirit of Law)ในปี ค.ศ. 1748 ทั้งนี้เขาเห็นว่าการปกครอง ที่ดีที่สุดคือ การใช้กฎหมาย และต้องมีการแบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย อย่างเด็ดขาด ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

100.    สาเหตุที่ชาวอาณานิคมอเมริกันไม่ยอมเสียภาษีเพิ่มให้แกอังกฤษคือ

(1) ไม่มีผู้แทนในสภาอังกฤษ  

(2) ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส

(3)ไม่พอใจที่อังกฤษยึดครองแคนาดา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 453 – 454113 (H), (คำบรรยาย) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพ ระหว่างอังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งในนิวอิงแลนด์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะอังกฤษ พยายามบังคับให้อาณานิคมอเมริกันต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามนโยบายพาณิชย์ชาตินิยม แต่ ชาวอาณานิคมต่อต้านไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีผู้แทนของตนในรัฐสภาของอังกฤษ และต่อต้านไม่ยอมซื้อสินค้าของอังกฤษโดยความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกาเพื่อ ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนา ประเทศสหรัฐอเมริกา

101.    กลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ไม่ต้องเสียภาษีก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 คือ

(1) พระ           

(2) ขุนนาง      

(3) สามัญชน  

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 459 – 460114 (H) ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสมีการแบ่งชนชั้นทางสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น หรือ 3 ฐานันดร ได้แก่

1.         ฐานันดรที่ 1 ได้แก่ พระหรือเจ้าหน้าที่ศาสนา

2.         ฐานันดรที่ 2 ได้แก่ เจ้าหรือขุนนาง

3.         ฐานันดรที่ 3 ได้แก่ สามัญชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา

โดยฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคมที่ไมต้องเสียภาษีรายได้ ส่วนฐานันดรที่ 3 เป็นกล่มที่ไม่มีอภิสิทธิ์ โดยต้องแบกรับภาระภาษีและภาระทางสังคมของประเทศ

102.    สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 คือ

(1) ความแตกต่างทางสังคม   

(2) ปัญหาการคลัง

(3)การใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐบาล        

(4) ได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกา

ตอบ 2 หน้า 460 – 461114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ ปีญหาทางด้านการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในการ บริหารประเทศ จึงทรงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกัน หาวิธีแก้ไขปัญหาการคลัง แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่าฝีมือ และชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่ การปฏิวัติฝรั่งเศสในที่ลุด

103.    ปัจจัยที่ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจคือ           

(1) การปิดล้อมอังกฤษ

(2) ลัทธิชาตินิยมที่ต่อต้านฝรั่งเศส     

(3) การบุกรัสเซีย        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 469 – 470117 (H) ปัจจัยที่ทำให้จักรพรรดิบโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจ มีดังนี้

1.         มีการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) เพื่อไม่ให้ประเทศบนภาคพื้น- ยุโรปค้าขายกับอังกฤษ แต่ก็ไม่เป็นผล จนถูกกล่าวว่าเป็นเพียง แผนการณ์บนกระดาษ” (Paper Blockade)

2.         ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียนเกิดความรู้สึกชาตินิยม เพราะไม่พอใจต่อ การถูกกดขี่จากกองทัพนโปเลียน

3.         ทำสงครามกับรัสเชียในปี ค.ศ. 1812 แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และกองทัพรัสเซีย จนต้องถอยทัพกลับมา ซึ่งสงครามในครั้งนี้ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจ จนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

104.    ในยุคเมตเตอร์นิก ค.ศ. 1815 – 1848 ยุโรปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวก

(1) เสรีนิยม    

(2) สังคมนิยม

(3) ชาตินิยม   

(4) อนุรักษนิยม

ตอบ 4 หน้า 471 – 473118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ประเทศในยุโรปส่วนใหญก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำการต่อต้านระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของคองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ค. 1815 – 1848)

105.    ประเทศผู้นำในอุตสาหกรรมทอผ้าในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ

(1) ฝรั่งเศส     

(2) อังกฤษ     

(3) เบลเยียม  

(4) เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 495 – 496562123 (H) ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศแรกบนภาคพื้นทวีปยุโรปที่ ประสบความสำเร็จจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในระหว่างปี ค.ศ. 1760 – 1830 โดยเริ่มจาก การประดิษฐ์เครืองจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ หลังจากนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงได้แพร่ขยายไปในประเทศต่าง ๆ บนภาคพื้นยุโรป สหรัฐอเมริกา และในทวีปเอเชีย

106.    ขบวนการอนาธิปไตย (Anarchism) ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นขบวนการที่ต่อต้าน

(1) ลัทธิสังคมนิยม     

(2) ลัทธิคอมมิวนิสต์   

(3) ลัทธินายทุน          

(4) ลัทธิซินดิคาลิสม์

ตอบ 3 หน้า 505 อนาธิปไตย (Anarchism) เป็นขบวนการที่ต่อต้านระบบนายทุนซึ่งมีแนวความคิดที่รุนแรงกว่าสังคมนิยมมาก โดยอนาธิปไตยจะเน้นการทำลายอำนาจทุกชนิดทั้งความคิด ในเรื่องการปกครองโดยรัฐ ระเบียบประเพณี และระบบชนชั้น ทั้งนี้เพราะกลุ่มอนาธิปไตย มีความเชื่อว่าทุกรัฐบาลล้วนกดขี่ ซึ่งนักคิดคนสำคัญของขบวนการนี้ เช่น วิลเลียม กอดวิน,ปิแอร์ พรูดองไมเคิล บูกานิน เป็นต้น

107.    ผู้บัญชาการกองทัพอาสาสมัครเชิร์ตแดง (Red Shirts) ผู้มีบทบาทสำคัญในการรวมอิตาลีคือ

(1) มาสสินิ     

(2) คาวัวร์       

(3) การิบัลดี   

(4) ออสินิ

ตอบ 3 หน้า 515126 (H) จากการที่ซาร์ดิเนียต้องยกเมืองนิซและแคว้นซาวอยให้แกฝรั่งเศส เพื่อ เป็นการตอบแทนในการช่วยรบกับออสเตรียในปี ค.ค. 1859 นั้น ทำให้การิบัลดี (Garibaldi) ซึ่งเป็นวีรบุรุษของชาวอิตาเลียนไม่พอใจ ดังนั้นเขาจึงรวบรวมอาสาสมัครเชิร์ตแดง (Red Shirts)ในปี ค.ศ. 1860 ลงเรือไปซิซิลี จากนั้นก็เข้ายึดซิซิลีและข้ามมายึดเนเปีลส์ รวมทั้งเดินทัพมุ่งสู่กรุงโรม ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากกองทหารฝรั่งเศสด้วย

108.    การรวมเยอรมนีของบิสมาร์คด้วยนโยบาย เลือดและเหล็ก” คือ การรวมเยอรมนีโดย

(1) ขอความช่วยเหลือจากต่างชาติ     

(2) การทำสงคราม

(3) วิถีทางการทูต       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 517 – 520128 – 129 (H) บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ได้ประกาศใช้ นโยบายเลือดและเหล็กในการบริหารประเทศ และใช้ในการดำเนินนโยบายเพื่อรวมเยอรมนี เข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นบิสมาร์คจะใช้วิธีการทำสงครามถึง 3 ครั้ง คือ ทำสงครามกับเดนมาร์ก ออสเตรีย และฝรั่งเศส ซึ่งหลังจากที่ฝรังเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพแก่ปรัสเซีย ได้ส่งผลทำให้บิสมร์ค สามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีขึ้นได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส

109.    ในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ค.ศ. 1871 – 1914 ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) โปรตุเกส   

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ค. 1871 – 1914) ไทยต้องยอมเสียดินแดน ซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับชาติตะวันตก 2 ประเทศ คือ

1. เสียดินแดนของรัฐตอนบนในแหลมมลายู ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานูให้แก่อังกฤษ ในปี ค.ศ. 1909           

2. เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขงได้แก่พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส

110.    สิ่งที่อังกฤษใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงครามเปิดประเทศจีนคือ

(1) ระบบการค้าเสรี    

(2) ฝิ่น

(3) ผ้า 

(4) ความไม่เป็นธรรมทางการค้า

ตอบ 2 หน้า 527132 (H) อังกฤษเป็นชาติแรกที่ใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วย สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840 – 1842) เนื่องจากอังกฤษไม่พอใจระบบการค้าทีเอาเปรียบของจีน จึงแก้ปัญหาด้วยการนำฝิ่นจากอินเดียมาขายในจีน รัฐบาลแมนจูของจีนไม่ยินยอมจึงทำให้เกิด สงครามขึ้น ผลปรากฎว่าจีนเป็นฝ่ายแพ้และต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิงในปี ค.ศ. 1842 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

1. จีนต้องเปิดเมีองท่าเพิ่มอีกคือ เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาพำนักและค้าขาย

2. จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกถษ และต้อง ชดใช้ค่าเสียหายด้วย

3. จีนต้องยกเลิกภาษีขาเข้า

111.    สนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิซึ่งเป็นนโยบายที่บิสมาร์คต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จเพราะความขัดแย้งระหว่าง    

(1) เยอรมนีกับรัสเซีย

(2) ออสเตรียกับรัสเซีย           

(3) ออสเตรียกับเยอรมนี        

(4) ฝรั่งเศสกับเยอรมนี

ตอน2   หน้า 529 ภายหลังการรวมเยอรมนีในปี ค.ศ. 1871 แล้ว บิสมาร์กได้พยายามโดดเดี่ยวฝรั่งเศสด้วยการเข้าร่วมจัดตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิ (The Three Emperors League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1873 ซึ่งเป็นการเข้าร่วมภาคีระหว่างจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟ แห่งออสเตรียไกเซอร์วิลเลยมที่ 1 แห่งเยอรมนี และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของสันนิบาตนี้ ก็คือ ความขัดแย้งระหวางรัสเซียกับออสเตรียเรื่องผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งส่งผลให้ รัสเซียถอนตัวออกมา ทำให้ความต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จ

112.    ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ

(1) เยอรมนี     

(2) ออสเตรีย-ฮังการี

(3) บัลแกเรีย  

(4) อิตาลี

ตอบ 4 หน้า 535134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอำนาจ ในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1.         ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย

2.         ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ต่อมาก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย

113.    สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ

(1) ไม่พอใจเยอรมนีที่ใช้เรือดำนํ้าอย่างไม่มีขอบเขต

(2)ไม่พอใจเยอรมนีที่ยุให้เม็กซิโกกับญี่ปุ่นทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา

(3) ถูกโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์  

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ4 หน้า 536 – 537134 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ประกาศตัว เป็นกลาง ต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร มีดังนี้

1.สหรัฐฯ แอบลักลอบค้าอาวุธสงครามให้แก่ฝายสัมพันธมิตร ต่อมาเมื่อเยอรมนีทราบเรื่องนี้ จึงทำสงครามเรือดำนํ้าโดยไม่จำกัดขอบเขต ทำให้สหรัฐฯ ได้รับความเดือดร้อน

2.สหรัฐฯ ไม่พอใจที่เยอรมนีชักชวนให้เม็กซิโกกับญี่ปุ่นทำสงครามกับสหรัฐฯ

3.สหรัฐฯ เป็นผู้ขายอาวุธให้แก่ฝ่ายส้มพันธมิตร ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรพ่ายแพ้สงคราม สหรัฐฯ ก็จะต้องสูญเสยเงินที่ควรได้จากการขายอาวุธ

114.    สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลปฏิวัติของเคอเรนสกี้ไม่ยอมถอนรัสเซียออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ

(1) กลัวเลนินจะปฏิวัติ           

(2) กลัวว่าซาร์จะกลับมามีอำนาจ

(3)สหรัฐอเมริกาขู่จะไม่ให้เงินกู้          

(4) กลัวการปฏิวัติซ้อนจากพวกรัสเซียขาว

ตอบ 3 หน้า 537 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลเฉพาะกาลของนายเคอเรนสกี้ได้ถูกกดดันจาก สหรัฐอเมริกาให้รัสเซียทำสงครามต่อไป มิฉะนั้นจะไม่ให้รัสเซียกู้ยืมเงิน แต่ทหารรัสเซียไม่มีกำลังใจในการรบ อีกทั้งความไม่พร้อมในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และชาวรัสเซียโดยทั่วไป เริ่มเบื่อหน่ายการบริหารงานของนายเคอเรนสกี้ ดังนั้นจึงส่งผลให้การปฏิวัติครั้งใหญ่ของพรรคบอลเชวิคของเลนินในช่วงปลายปี ค.ศ. 1917 ได้รับการสนับสบุนจนได้รับชัยชนะ ทำให้รัสเซียต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ในที่สุด

115.    หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง สหรัฐอเมริกาไม่ได้ร่วมเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติทั้ง ๆ ที่เป็นข้อเสนอของ ประธานาธิบดีวิลสัน เพราะ

(1) รัฐสภาไม่อนุมัติ    

(2) ละเมิดลัทธิมอนโร 

(3) ขัดแย้งกับฝรั่งเศส

(4)ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ4 หน้า 539137 (H) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ค. 1919 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ได้เสนอ ร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ต่อรัฐสภาอเมริกัน แต่สภาไม่ยอมรับเพราะ

1.         เห็นว่าสนธิสัญญาฉบับนี้บีบคั้นเยอรมนีมากเกินไป

2.         การที่สหรัฐอเมริกาจะต้องเข้าเป็นสมาขิกของสันนิบาตชาตินั้น ถือว่าเป็นการละเมิด ลัทธิมอนโรที่สันนิบาตชาติอาจเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในทวีปอเมริกาได้ ทำให้ ความต้องการความโดดเดี่ยวเป็นเอกเทศของสหรัฐอเมริกาต้องสิ้นสุดลง

116.    ลัทธิที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงเพื่อต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ

(1) ฟาสซิสต์   

(2) นาซี           

(3) ประชาธิปไตย       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 541 – 543137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิดขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดี่ยว มีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาด ในลักษณะก้าวร้าวแต่เพียงพรรคเดียว แบงออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่

1.         ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย

2.         ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุสโสลินี เกิดขึ้นในอิตาลี และขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสริประชาธิปไตย

117.    ประเทศที่ถูกฮิตเลอร์เข้ายึดครองก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ในปี ค.ศ. 1939 คือ

(1) ออสเตรียและเชคโกสโลวะเกีย    

(2) ฝรั่งเศส     

(3) รัสเซีย       

(4) ฮอลแลนด์

ตอบ 1 หน้า 548 – 550 วิกฤตการณ์ตึงเครียดก่อนที่ฮิตเลอร์จะนำกองทัพบุกโปแลนด์ อันเป็น จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่2ในปีค.ศ. 1939ได้แก่

1.         เยอรมนีได้รวมเอาออสเตรียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี

2.         เยอรมนีได้รวมแคว้นซูเดเทนของเชคโกสโลวะเกียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี

3.         เยอรมนียึดแคว้นเมเมลคืนจากลิทัวเนีย

4.         อิตาลีรุกรานอัลบาเนีย

118.    ฮิตเลอร์ทำสัญญากับชาติใดก่อนบุกโปแลนด์ ค.ศ. 1939

(1) อังกฤษ     

(2) รัสเซีย       

(3) อิตาลี        

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 550 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้โปแลนด์คืนฉนวนโปแลนด์และเมืองดานซิกให้เยอรมนี แต่โปแลนด์ไม่ยินยอม ฮิตเลอร์จึงตอบโต้ว่ากองทัพเยอรมันจะบุก โปแลนด์ ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสไม่พอใจ และได้พยายามชักชวนรัสเซียให้เข้ามาช่วยสกัดกั้น ฮิตเลอร์ แต่รัสเซียไม่ยอมเข้าร่วมด้วย ฮิตเลอร์จึงตัดหน้าด้วยการเดินทางไปพบสตาลิน แล้ว ตกลงทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ทั้งนี้สตาลินยินยอมเพราะ หวังว่าการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีจะทำให้รัสเซียสามารถวางตัวเป็นกลางได้

119.    ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ยุโรปตะวันออกตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ

(1) รัสเซีย       

(2) สหรัฐอเมริกา        

(3) อังกฤษ     

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 หนา 556139 (H) ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีดังนี้

1.         เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของโลก โดยมหาอำนาจยุโรปตะวันตกได้ลดความสำคัญลง และเกิดประเทศมหาอำนาจใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย และรัสเชซีย ซึ่งเป็นผู้นำของยุโรปตะวันออกและโลกคอมมิวนิสต์

2.         มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

3.         ประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมมีการเรียกร้องเอกราช

120.    วิกฤตการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 ในสมัยสงครามเย็น การขนส่งเข้าเบอร์ลินทำได้เฉพาะทาง

(1) รถไฟ         

(2) รถยนต์      

(3) เครื่องบิน  

(4) เรือ

ตอบ 3 หน้า 560 การปิดล้อมเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1948 เป็นผลมาจากวิกฤตการณ์สงครามเย็น โดย สหภาพโซเวียตได้สั่งปิดเบอร์ลินของเยอรมนีซึ่งเป็นเขตยึดครองของตน เพราะต้องการขับไล่ สัมพันธมิตรออกจากเบอร์ลินทั้งหมด โดยอนุญาตให้การขนส่งกระทำได้เฉพาะทางอากาศ ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาจึงตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การนาโต้ (NATO) ขึ้น ทำให้ โซเวียตซึ่งยังไม่พร้อมทำสงครามยอมยกเลิกการปิดล้อม และยอมให้องค์การสหประชาชาติ เข้ามาช่วยจัดการเปิดการคมนาคมระหว่างเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออกใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1949

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสิ้นสุดยุค Reconquest      

(1)       การค้นพบทฤษฎีวิธีการทางวิทยาศาสตร์

(2) Christopher Columbus ค้นพบโลกใหม่ทวีปอเมริกา

(3) การปฏิรูปศาสนาโดย Martin Luther

(4) กรุงคอนสแตนติโนเปลถูกออตโตมัน เติร์ก ยึดครอง

ตอบ 2 หน้า 2-3 (H), 73 (H), 90 (H) ยุค Recoriquest หรือ Reconquista เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ในสเปน โดยยุคนี้สิ้นสุดลงในปี A.D. 1492 ซึ่งตรงกับปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินทางไปค้นพบโลกใหม่ หรือทวีปอเมริกา โดยถือเป็นปีแห่งการสิ้นสุดสมัยประวัติศาสตร์ยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่

2.         A.Q. Anno Domini Nortri Leau Christh (ปีของพระเยซูคริสต์) หรือคริสต์ศักราชเริ่มนับเวลาตั้งแต่ เกิดเหตุการณ์ใด

(1)       พระเจ้าสร้างโลก        

(2) พระเยซูสิ้นพระชนม์

(3) พระเยซูประสูติ     

(4) เริ่มมีการใช้ตัวหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 1 (H) A.D.(Anno Domini) เป็นภาษาละตินซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษคือ “in the year of the Lord” หมายถึง ปีภายหลังการประสูติของพระเยซูคริสต์หรือคริสต์ศักราช โดยใช้ ชื่อย่อว่า ค.ศ. เช่น A.D. 2000 หรือ ค.ศ. 2000

3.         ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1)       ยุคหินคือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษรหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์

(2)       ยุคโลหะคือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร

(3)       ยุคกลางมีความรุ่งเรืองทางคริสต์ศาสนาสูงที่สุด

(4)       อารยธรรมโรมันจัดอยู่ในยุคประวัติศาสตร์หรือยุคกลาง

ตอบ 2 หน้า 72 (H), 9 (H) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะพิจารณาจากการรู้หนังสือ หรือการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ ดังนี้

1.         ยุคหินหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร

2.         ยุคโลหะหรือยุคประวัติศาสตร์ คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรแล้ว

4.         A.D. 476 เกิดเหตุการณ์สำคัญที่นักประวัติศาสตร์ถือว่าสิ้นสุดยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลางคือ

(1)       อาณาจักรโรมันตะวันออกล่มสลาย    

(2) สิ้นสุดยุค Reconquest ในสเปน

(3) อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลาย

(4) การเกิดใหม่ของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ตอบ 3 หน้า 3 (H), 54 (H) ในปี A.D. 476 (ค.ศ. 476) เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ โรมันตะวันตกล่มสลาย เนื่องจากถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่ง การสิ้นสุดยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของ พวกโรมันต้องเปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย ภายใต้การเข้ามามีอำนาจของพวกอนารยชน ในยุโรปตะวันตก ทำให้มีการแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรม ความเจริญต่างๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา

5.         ความสำคัญของยุคโลหะ

(1)ยุคที่มีการประดิษฐ์ตัวอักษร          

(2) ยุครู้หนังสือ

(3) ยุคประวัติศาสตร์  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6.         ยุคน้ำแข็ง (Pleistocene) ในช่วงที่น้ำแข็งละลายมีความสำคัญอย่างไร

(1)       มีสัตว์เซลล์เดียวได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก

(2)       ปรากฏร่องรอยสิ่งมีชีวิตคือ มนุษย์” ขึ้นครั้งแรก

(3)       สัตว์เลื้อยคลานประเภทไดโนเสาร์ถือกำเนิด

(4)       มีการค้นพบหมู่เกาะสปีตส์เบอร์เกน (Spitsbergen)

ตอบ 2 หน้า 28 (H) ยุคที่ธารนํ้าแข็งแผ่เข้ามาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลกนั้น เรียกว่า ยุคนํ้าแข็ง” (Pleistocene) ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นประมาณเกือบ 1 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้นับว่ามีความสำคัญต่อเรื่องราวของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงที่น้ำแข็งละลายได้ปรากฏร่องรอยของสิ่งมีชีวิตคือ มนุษย์” ขึ้นเป็นครั้งแรก

7.         A.D. 1795 Immanuel Kant (อิมมานูเอล คานท์) นักปรัชญาชาวเยอรมันเสนอทฤษฎีใดซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีการสร้างโลกในพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament : The Genesis)

(1)       สิ่งมีชีวิตกำเนิดจากสัตว์เซลล์เดียว

(2)       โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก

(3)       โลกเกิดจากการรวมตัวของฝุ่น ผง ก๊าซ ที่เคลื่อนไหวในจักรวาล

(4)       มนุษย์ถือกำเนิดในยุคน้ำแข็ง

ตอบ 3 หน้า 17 (H) ในปี A.D. 1775 อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ได้เสนอทฤษฎีการกำเนิดของโลกว่า โลกและดาวเคราะห์ถือกำเนิดมาจากกลุ่มเมฆ กลุ่มผงและ กลุ่มก๊าซที่เคลื่อนไหวในจักรวาล ซึ่งได้ถูกกระแสลมหมุนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็น ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ขัดแย้งกับทฤษฎีการสร้างโลกในพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ในบทปฐมกาล (Genesis) ที่กล่าวว่า พระเจ้า (พระยะโฮวา) คือผู้สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาในจักรวาลรวมทั้งโลกและมนุษย์

8.         หมู่เกาะสปิตสํเบอร์เกน (Spitsbergen) ตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์เป็นการพิสูจน์ทฤษฎีใด

(1) โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

(2) สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจากถ่านหิน

(3) มนุษย์ถือกำเนิดในยุคนํ้าแข็ง       

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 27 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้นหมุนเวียนอยู่ตลอด เวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะสปิตล์เบอร์เกน (Spitsbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ (Norway) ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารนํ้าแข็งนั้น ถือเป็น ประจักษ์พยานได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน

9.         ข้อใดไม่ใช่ทวีปแหล่งกำเนิดของมนุษย์

(1) เอเชีย        

(2) อเมริกา     

(3) แอฟริกา    

(4) ยูเรเชีย

ตอบ 2 หน้า 1 – 28 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ใน ทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนื้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนา ของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้ กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

10.       ยุคหินใดที่มนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐานและสร้างอารยธรรม

(1)       ยุคหินแรก       

(2) ยุคหินเก่า  

(3) ยุคหินกลาง          

(4) ยุคหินใหม่

ตอบ 4 หน้า 8 – 1538 – 399 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ

1. ยุคหินแรก เป็นยุคลองผิดลองถูกของมนุษย์

2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้

3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข 4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อน เป็นชุมชนตั้งรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งงานกันทำ และเริ่มดำรงชีวิตแบบสังคมเมือง (Urban Life) ซึ่งถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม (Civilization) ของมนุษย์

11.       สัตว์ชนิดใดที่มนุษย์นำมาเลี้ยงเป็นชนิดแรก

(1) แมว           

(2) ช้าง           

(3) ม้า 

(4) สุนัข

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.       ข้อใดจัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความนาเชื่อถือน้อยที่สุด

(1)จารึก          

(2) พงศาวดาร

(3) ตำนาน      

(4) จดหมายเหตุ

ตอบ 3 หน้า 2112 (H), (คำบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ มากที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ

2.         หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม

13.       Nomad Theory มีลักษณะอย่างไร    

(1) การปรับตัวการใช้ชีวิตเข้ากับสภาพแวดล้อม

(2)การเอาชนะธรรมชาติ การทำชลประทาน  

(3) การทำลายอารยธรรม

(4)การที่ผู้ชนะรับเอาอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาปรับใช้

ตอบ 4 หน้า 26 – 2713 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอา วัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (พวกโนแมดเป็น พวกเร่ร่อนตามทะเลทรายที่สามารถรบชนะพวกที่มีอารยธรรมสูงกว่า) เช่น ในกรณีที่ พวกเซไมท์เข้ายึดครองดินแดนของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียน มาปรับปรุงใช้ เป็นต้น

14.       ข้อใดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของอียิปต์      

(1) การประดิษฐ์ปฏิทินแบบสุริยคติ

(2)       การประดิษฐ์กระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกจากต้น Papyrus

(3)       ตัวอักษร Hieroglyphic 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59 – 6321 – 23 (H), (คำบรรยาย) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของอียิปต์ มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.C.ซึ่งมีลักษณะเป็นอักษรภาพที่บันทึกลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus หรือคำว่า Paper ในปัจจุบัน)         

2. มีการสร้างพีระมิดเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บพระศพของฟาโรห์

3.         มีความเจริญทางด้านการแพทย์ เช่น มีการค้นพบว่าหัวใจคือศูนย์กลางการหมุนเวียน ของโลหิต ฯลฯ         

4. มีการสร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง

5.         มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติขึ้นในปี 4241 B.C.

6.         มีการนำต้น Papyrus หรือต้นกกที่ขึ้นในแม่นํ้าไนล์มาทำกระดาษปาไปรัส เป็นต้น

15.       ช่องแคบสุเอซ (Suez Canal) มีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นจุดเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเบียนกับทะเลแดงเพื่อใช้ทำการค้า

(2)       คลองสายหลักของประเทศสร้างความอุดมสมบูรณ์

(3)       เป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันดินแดน

(4)       เป็นจุดแข็งของสภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์

ตอบ 1 หน้า 47 – 485618 (H), 20 (H) จุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ที่ทำให้พวกฮิคโซสสามารถ เข้ามารุกรานและยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเป็น พื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตกบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพาน ระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นจุดเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงเพื่อใช้เป็น เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัย ประวัติศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์

16.       จุดประสงค์ของการสร้างพีระมิดคือข้อใด

(1) วิหารเพื่อบูชาเทพเจ้า        

(2) พระราชวังของฟาโรห์

(3) สถานที่เก็บพระศพของทำโรห์      

(4) ศาสนสถานประจำราชวัง

ตอบ 3 หน้า 53 – 5464 – 6519 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ

1.         เชื่อว่าเมื่อทำโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนำความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่

2.         จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทำให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของทำโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ

17.       ฟาโรห์องค์ใดพยายามลดบทบาทและอำนาจของพระให้น้อยลง โดยการประกาศยกเลิกเทพเจ้าทั้งหมด ให้นับถือเทพเจ้าองค์เดียว

(1) เมเนส       

(2) ตุเตนกาเมน          

(3) แฮทเซปสุท           

(4) อาเมนโฮเตป

ตอบ 4 หน้า 5821 (H) จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมโฮเตปที่ 4 มีดังนี้

1.         ต้องการให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตนเพียงองค์เดียวเท่านั้น

2.         เพื่อผลทางการเมือง คือ สร้างอำนาจให้กับฟาโรห์ และต้องการตัดทอนอำนาจของ พวกพระอามอนที่ร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย

18.       กระดาษ Papyrus ซึ่งใช้เขียนตัวอักษร Hieroglyphic เป็นที่มาของคำว่า…..ซึ่งมีการใช้ในปัจจุบัน

(1)Picture 

(2) Paper  

(3) Print    

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

19.       เหตุใดชาวเมโสโปเตเมียถึงมองโลกในแง่ร้าย

(1)       ได้รับความลำบากและความเสียหายจากแม่นํ้าไทกรีส-ยูเฟรติส

(2)       มีการอยู่ร่วมกันของหลายเผ่าพันธุ์ทำให้เกิดความขัดแย้ง

(3)       พื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการแย่งชิงอาหารและทรัพยากร        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 65 – 6823 (H), (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์ หวาดกลัว จนทำให้ไม่คิดที่จะกลับมาเกิดใหม่อีก และไม่มีการทำมัมมี่เช่นเดียวกับชาวอียิปต์ มีดังนี้

1.         เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ จึงทำให้เกิดการทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน อยู่ตลอดเวลา

2.         เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการรุกรานจากภายนอกเหมือนกับอียิปต์ ที่มีทะเลทราย จึงถูกรุกรานได้ง่าย

3.         การไหลท่วมล้นฝั่งของแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติสในแต่ละปีมีความรุนแรง จนสร้างความลำบาก และความเสียหายให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก

4.         พื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีการแย่งชิงอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ

20.       กลุ่มชนชาติแรกที่สร้างอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมียคือกลุ่มใด

(1) สุเมเรียน   

(2) อัคคาเดียน           

(3) แคลเดียน 

(4) เปอร์เซีย

ตอบ 1 หน้า 68 – 7123 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม โดยใช้เหล็กแหลมกดลง บนแผ่นดินเหนียวแล้วจึงนำไปตากให้แห้ง เมื่อประมาณ 3500 B.C.

2.         มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า

3.         มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน

4.         มีการนับหน่วย 6010 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกาและการคำนวณ ทางเรขาคณิตในปัจจุบัน

5.         ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นต้น

21.       ตัวอักษรรูปลิ่มเกิดจากการนำของแหลมมากดทับลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วนำไปตาก เรียกว่า

(1) เฮียโรกลิพีก          

(2) คูนิฟอร์ม   

(3) อราเมอิก   

(4) ละติน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

22.       กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลกคือกฎหมายใด

(1)       กฎหมายจัสติเนียน    

(2) กฎหมายดราโค

(3) รัฐธรรมนูญแมกนาคาร์ตา

(4) กฎหมายฮัมมูราบี

ตอบ 4 หน้า 73 – 7424 (H) พระเจ้าฮัมมูราบี แห่งจักรวรรดิบาบิโลเนีย ได้ทรงร่างประมวลกฎหมาย ฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ขึ้นมาใช้ โดยจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นหินไดโดไรท์สีดำซึ่งสูง 8 ฟุต ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ของโลก ทั้งนี้ประมวลกฎหมายอัมมูราบีจะอาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของสุเมเรียน

23.       ชนชาติใดได้รับฉายาว่า ชาวโรมันตะวันออก

(1) อัคคาเดียน           

(2) อัสสิเรียน  

(3) ลิเดียน      

(4) เปอร์เซียน

ตอบ 2 หน้า 80 – 8225 – 26 (H) มรดกทางอารยธรรมของอัสสิเรียน มีดังนี้

1.         เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ

2. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมาก ของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนตํ่า ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะที่ดุร้ายของชาวอัสสิเรียน

3.         สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ ซึ่งสร้างในสมัย พระเจ้าอัสซูร์บานิพัล  

4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น ชาวโรมันตะวันออกเพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน เช่น มีความสามารถทางด้านการคมนาคม การสร้างถนน และ ระบบการส่งข่าวสาร ชอบทำสงครามเพื่อขยายจักรวรรดิออกไปให้กว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้น

24.       มรดกที่ชาวลิเดียนทิ้งไว้ให้คือข้อใด

(1) การนำเหล็กมาใช้เป็นพวกแรก     

(2) การประดิษฐ์เหรียญกษาปณ์

(3) การสลักนูนต่ำที่สวยงาม  

(4) นำรถศึกมาใช้ในการสงคราม

ตอบ 2 หน้า 92 – 9330 (H), (คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้

1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรตีสและ หมู่เกาะอีเจียน

2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรีอทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรม ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดย พระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.

25.       กลุ่มใดเป็นผู้ปรับปรุงตัวอักษร Hieroglyphic + Cuneiform และส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน

(1) อัคคาเดียน           

(2) ฮิตไตท์      

(3) ลิเดียน      

(4) ฟินิเชียน

ตอบ 2 หน้า 78 – 7925 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิตไตท์ มีดังนี้

1.         นำเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นชาติแรก รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ

2.         ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ของชาวสุเมเรียนและตัวอักษร เฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ของอิยิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อมาได้ส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน

3.         กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบิ แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือการลงโทษพอเข็ดหลาบ แทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ

4.         ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

26.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของอารยธรรมกรีก

(1) ให้ความสำคัญกับมนุษย์ ปัจเจกบุคคล    

(2) เน้นความสนุกสนานร่าเริง กิจกรรมสาธารณะ

(3) มีศีลธรรมและการปฏิบัติตนเป็นคนดี       

(4) ให้ความสำคัญความรู้และปรัชญา

ตอบ 3 หน้า 107130 – 13113715147 (H) ลักษณะสำคัญของอารยธรรมกรีก มีดังนี้

1.         ชาวกรีกโบราณจะเน้นความสำคัญชองมนุษย์ โดยถือว่ามนุษย์คือสัตว์โลกที่มีความสำคัญที่สุด ในจักรภพ รวมทั้งจะยอมรับนับถือความเป็นปัจเจกบุคคล

2.         ให้ความสำคัญในเรื่องความรู้และปรัชญา

3.         เน้นกิจกรรมสาธารณะและความสนุกสนานร่าเริง

4.         มองโลกในแง่ดี มีเหตุผลและมีโลกทัศน์ที่กว้าง ส่งเสริมในเรื่องเสรีภาพ

5.         มีความผูกพันต่อส่วนรวมซึ่งแสดงออกในลักษณะของการปกครองโดยเสียงข้างมากหรือ ระบอบประชาธิปไตย

6.         เป็นนักมนุษยนิยม (Humanist)

27.       ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรีกเป็นหมู่เกาะ ทำให้กรีกมีการปกครองแบบใด

(1) นครรัฐ       

(2) กษัตริย์     

(3) เผด็จการ   

(4) สาธารณรัฐ

ตอบ 1 หน้า 110112 – 11338 (H) สาเหตุที่ทำให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ เนื่องจาก

1.         ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติด ชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดน ที่แบ่งแยกชาวกรีกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน

2.         ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ

28.       พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกเข้าด้วยกันและขยายจักรวรรดิกรีกออกไป อย่างกว้างขวาง โดยมีเมืองศูนย์กลางทางอารยธรรมเฮลเลนิสติกอยู่ที่เมืองใด

(1) อินเดีย      

(2)อเล็กซานเดรีย       

(3)เอเธนส์      

(4)มาสิโดเนีย

ตอบ 2 หน้า 14514846 – 47 (H) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)แห่งมาสิโดเนีย สามารถรวบรวมนครรัฐกรีกเข้าด้วยกัน จากนั้นได้ขยายจักรวรรดิกรีกออกไป อย่างกว้างขวางนับตั้งแต่เอเชียน้อย ซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และชายแดนอินเดีย ทั้งนี้ได้ทรงพยายามรวมลักษณะที่ดีของอารยธรรมตะวันตก (กรีก) และ ตะวันออก (เปอร์เซีย) เข้าด้วยกัน ปัจจุบันเราเรียกอารยธรรมนี้ว่า เฮลเลนิสติก’’ (Hellenistic) ซึ่งมีศูนย์กลางของอารยธรรมอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์

29.       เมืองที่เป็นต้นแบบของการปกครองแบบประชาธิปไตยคือข้อใด

(1) สปาร์ตา    

(2)อิกทากัา     

(3)ทรอย         

(4)เอเธนส์

ตอบ 4 หน้า 12713040 (H), 43 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.) เอเธนส์ได้พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยของเพริคลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุด จนทำให้สมัยนี้ ได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองของเอเธนส์” และทำให้เอเธนส์กลายเป็น บรมครูของนครรัฐกรีก หรือชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นเอเฮนส์จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดและต้นแบบของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก

30.       จุดประสงค์ของกีฬาโอลิมปิกในยุคโบราณคือข้อใด

(1)       การแข่งขันหาบุคคลที่แข็งแรงที่สุดเพื่อคัดเลือกเป็นกษัตริย์

(2)       การแสดงต่อเทพเจ้าที่สถิตอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส

(3)       เพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในนครรัฐกริก       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 115.39(H) ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเทพเจ้ากรีกมักจะพอใจในการแสดงออกถึงความ กล้าหาญและความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแด่เทพเจ้ากรีกที่สถิตอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส โดยเฉพาะเพื่อถวายแด่ เทพเซอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดชของกรีก โดยในการแข่งขันครั้งแรกจะมีเฉพาะกีฬาวิ่งแข่ง ต่อมาจึงได้เพิ่มประโดดสูง พุ่งแหลน ขว้างจักร ชกมวย มวยปลํ้า การแข่งม้า และการแข่งรถ ซึ่งผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฎที่ทำด้วยก้านมะกอก

31.       ฮิปโปเครติสมีผลงานสำคัญทางด้าน

(1) ปรัชญา     

(2) การแพทย์ 

(3) ประวัติศาสตร์       

(4) คณิตศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 13644 (H) ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของการแพทย์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะพระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ และการควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณของแพทย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “Hippocratic Oath”

32.       คณะเอเฟอร์ (Ephors) มีหน้าที่ใด

(1) พิจารณาความสมบูรณ์ของสมาชิกสภา   

(2) ออกกฎหมาย

(3) พิจารณาความสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่   

(4) ถอดถอนกษัตริย์

ตอบ 3 หน้า 119 – 12012241 (H) กลุ่มผู้มีอำนาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตาคือ คณะเอเฟอริ์ (Ephors) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังนี้

1.กำหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ต้องนำไปให้คณะเอเฟอร์ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรืออ่อนแอก็จะถูกนำไปทิ้งหน้าผา เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อสังคม  

2. สามารถถอดถอนหรือสั่งประหารกษัตริย์ได้

3.ควบคุมระบบการศึกษา      

4. มีอำนาจเหนือกฎหมายและสภา

33.       การบริหารอยู่ในมือคนส่วนใหญ่” ผู้ที่เป็นผู้วางรากฐานประชาธิปไตยในเอเธนส์คือใคร

(1) คลิสเธนิส (Cleisthenes)    

(2) ธีโอโดซีอุส (Theodosius)

(3) เพริคลิส (Pericles)    

(4) เฮโรโดตัส (Herodotus)

ตอบ 1 หน้า 126 – 12743 (H) คลิสเธนีส (Cleisthenes) เป็นผู้ที่วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์เป็นคนแรกจนได้รับสมญาว่า บิดาของประชาธิปไตยแห่งกรุงเอเธนส์” และทำให้ประชาธิปไตยมีความหมายว่า การบริหารอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่” ซึ่งการปฏิรูป ที่สำคัญ ได้แก่

1. กำจัดอิทธิพลของครอบครัวที่มีอำนาจทางการเมือง

2.จัดตั้งสภา 500 แทนสภา 400 ของโซลอน และแบ่งเอเธนส์ออกเป็น 10 เขต แต่ละเขต มีสมาชิก 50 คน  

3. นำเอาระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) ซึ่งเป็นการเนรเทศบุคคล ที่ไม่พึงปรารถนาออกนอกประเทศมาใช้

34.       สงครามใดเป็นจุดเริ่มต้นทให้นครรัฐกรีกเกิดความแตกแยก

(1)       Persian War    

(2) Trojan War

(3) Peloponnesian War    

(4) Armada War

ตอบ3  หน้า 14446 (H) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐต่าง ๆ ของกรีกได้ทำสงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพโลพอนนีเชียน” (The Peloponnesian War) ซึ่งเกิดขึ้น บนคาบสมุทรเพโลพอนนีซัสเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บรรดานครรัฐกรีกเกิดความแตกแยกและ อ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาสิโดเนียยกกองทัพทหารฟาแลงช์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียว เข้าไว้ด้วยกันได้สำเร็จในปี 338 B.C.

35.       กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมันคือข้อใด

(1) ฮัมมูราบี    

(2) โซลอน      

(3) ดราโค       

(4) 12 โต๊ะ

ตอบ 4 หน้า 16149 (H) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน หลังจากที่พวกพลีเบียนได้รวมตัวกันเรียกร้องสิทธิ ในการปกครองจากพวกแพทรีเชียนในปี 466 B.C. แล้ว พวกพลีเบียนยังได้เรียกร้องให้ มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนำไปติด ที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรโดยทั่วไปทราบ เรียกว่า กฎหมาย 12โต๊ะ” ซึ่งถือว่าเป็น กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน โดยประกาศใช้เมื่อปี 450 B.C.

36.       ความสำคัญของปฏิทินแบบจูเลียนที่ประกาศใช้ในสาธารณรัฐโรมันตั้งแต่ปี 46 B.C. และตกทอด ใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ

(1) มีที่มาจากปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์   

(2) กรกฎาคมเป็นเดือนของจูเลียส ซีซาร์

(3) สิงหาคมเป็นเดือนของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1      

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 5250 – 51 (H), (คำบรรยาย) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติ ของอียิปต์มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ปฏิทินจึงถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก โดยมีชื่อว่า Julian Calendar ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อ เดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar ส่วนชื่อเดือนสิงหาคม (August) จะมาจากชื่อของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 (Augustus I) ซึ่งปกครองจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.

37.       สาเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากสาธารณรัฐโรมันกลายมาเป็นจักรวรรดิโรมันคือ (1) การประกาศใช้ปฏิทินใหม่    

(2) การสังหารจูเลียส ซีซาร์

(3) การถือกำเนิดของซีซาเรียนบุตรขายของซีซาร์      

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 168 – 16951 (H) หลังจากที่จูเลียส ซีซาร์ ถูกบรูตัสและสมาชิกสภาซีเนทรุมสังหาร จนสิ้นพระชนม์แล้ว กรุงโรมก็เกิดความวุ่นวายเพราะมีการแย่งขิงอำนาจซึ่งกันและกันในที่สุด ออคเตเวียน หลายชายและมีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของซีซาร์ได้รับชัยชนะ และได้สถาปนา ตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมัน โดยทรงมีพระนามใหม่ว่า ออกุสตุสที่ 1” พร้อมทั้งมีการ เปลี่ยนแปลงการปครองจากระบอบสาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.

38.       สำนวน “Pyrrhic Victory” มีความหมายอย่างไร        

(1) ชัยชนะที่ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม

(2)ชัยชนะที่ได้รับการโหวตและตัดสินจากเสียงข้างมาก

(3)ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 16349 (H) ในช่วงที่โรมันทำสงครามขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ของแหลมอิตาลี ซึ่งเป็นเขตยึดครองของพวกกรีก กรีกได้ขอความข่วยเหลือจากกษัตริย์ไพรัส (Pyrrhus)แห่งเอปิรัสซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งนครรัฐกรีก โดยในระยะแรกนั้นกษัตริย์ไพรัสทรงได้รับชัยชนะ แต่กองทัพของพระองค์ก็ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จนเกิดเป็นสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “Pyrrhic Victory” หมายถึง ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน โดยในที่สุด โรมก็ชนะและสามารถยึดครองแหลมอิตาลีได้ทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 265 B.C. เป็นต้นมา

39.       Pax Romana (สมัยสันติสุขโรมัน) 25 B.C. – A.D. 180 เป็นสมัยที่ไม่มีกลุ่มใดมารุกรานโรมันเป็นระยะเวลา 200 ปี เป็นผลงานของใคร

(1) Nero    

(2) Julius Caesar       

(3) Augustus Caesar

(4) Pyrrhus

ตอบ 3 หน้า 169 – 17151 (H) ความสำคัของสมัยการปกครองของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1(Augustus Caesar หรือ Augustus I) มีดังนี้

1. เป็นสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana : 27 B.C. – A.D. 180) ซึ่งเกิดขึ้นจากอานุภาพของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 ทำให้ไม่มีกลุ่มชนใดมา รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นเวลาร่วม 200 ปี

2. เป็นยุคทองของโรมัน (Roman’s Golden Age)

3.ได้ชื่อว่าเป็น ยุคปรินซิเปท” (Pnndpate) นั่นคือ ออกุสตุสทรงพอพระทัยในตำแหน่ง พลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง (Princeps) มากกว่าตำแหน่งจักรพรรดิ

4.         มีการยกเลิกการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมัน

5.         เป็นสมัยที่พระเยซูคริสต์ประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในมณฑลจูเดียของโรมัน

40.       ข้อใดไม่ใช่อารยธรรมโลกโบราณในทวีปอเมริกา ได้แก่อารยธรรมใด

(1) แอสเท็ค    

(2) มายา        

(3) อินคา        

(4) สุเมเรียน

ตอบ 4 หน้า 18955 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ) อารยธรรมเก่าในโลกใหม่หรืออารยธรรมโลกโบราณในทวีปอเมริกา จะมีเพียง 3 ชนเผ่าที่มีอารยธรรมสูงเทียบเท่ากับอารยธรรมอียิปต์ และเมโสโปเตเมีย ได้แก่ มายา (Maya) ในอเมริกากลางและกัวเตมาลาแอสเท็ค (Aztec)ในเม็กซิโก และอินคา (Inca) ในเปรู

41.       เหตุใดยุคกลางตอนต้นถึงถูกเรียกว่า ยุคมืด” (Dark Age)

(1)       ความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมกรีก-โรมัน หยุดชะงักและสูญหาย

(2)       เกิดสงครามความขัดแย้งระหว่างศาสนาบ่อยครั้ง

(3)       โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์เป็นผลให้ขาดอาหารและความอุดมสมบูรณ์

(4)       ความเสื่อมของคริสต์ศาสนา

ตอบ 1 หน้า 205 – 20831859 (H), (คำบรรยาย) ยุคกลางตอนต้น (คศ. 500 – 1050) ถูกเรียกว่า ยุคมืด” (Dark Age) เพราะความเจริญก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ของอารยธรรม กรีก-โรมัน หรืออารยธรรมคลาสสิกได้หยุดชะงักลงและสูญหายไปจากดินแดนยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ยังถูกพวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มต่างๆ เข้ามารุกรานอยู่เสมอ ทำให้สภาพบ้านเมือง เกิดความสับสนวุ่นวาย มีการปล้นสะดมและสู้รบระหว่างกลุ่มชนตลอดเวลา อีกทั้งสภาพสังคม ยังมีลักษณะเป็นสังคมชนบทโดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาชาวไร่ที่ยากจนไมมีการตั้งอาณาจักรใหญ่ของตนเอง ปกครองโดยไม่ใช้กฎหมายและไม่มีระเบียบแบบแผน อย่างไรก็ตามสถาบันเดียวที่พวกอนารยชนไม่ได้ทำลายไปพร้อมกับจักรวรรดิโรมันตะวันตกและกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ ในยุคกลางก็คือ ศาสนาคริสต์

42.       การปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) สิ่งใดสำคัญที่สุด

(1)ทอง

(2) อำนาจ      

(3) ทรัพยากร  

(4) ที่ดิน

ตอบ 4 หน้า 223 – 22465 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล(Feudalism/FeudaO เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord) หรือ ผู้ให้เช่าที่ดินซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกษัตริย์หรือขุนนาง กับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือผู้เช่าที่ดิน โดยมีที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธะแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกันระหว่างเจ้ากับข้า

43.       ระบบเศรษฐกิจของพวกอนารยชนที่ใช้ร่วมกับการปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์คือข้อใด

(1)ทุนนิยม      

(2)เสรีนิยม     

(3) พาณิชย์ชาตินิยม

(4) ระบบปราสาท

ตอบ 4 หน้า 233 – 23466 (H), (คำบรรยาย) ระบบแมเนอร์ ระบบคฤหาสน์ หรือระบบปราสาท (Manorialism) เป็นระบบเศรษฐกิจของพวกอนารยชนที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปกครองแบบ ศักดินาสวามิภักดิ์ และถือเป็นหน่วยเศรษฐกิจของยุคกลาง ซึ่งสภาพโดยทั่วไปของแมเนอร์ (Manor) จะประกอบด้วย คฤหาสน์หรือปราสาท (Castte/Manor House) ของเจ้าของที่ดิน เป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกระท่อมของชาวนารวมกันเป็นหมู่บ้าน (Village) ส่วนรอบนอกหมู่บ้านจะเป็นทุ่งโล่งสำหรับการเกษตร ทุ่งหญ้า และป่าไม้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบเศรษฐกิจ แบบพึ่งตนเอง (Self-sufficiency) ซึ่งมีการทำการเกษตรเป็นหลัก

44.       อนารยชนกลุ่มแรกที่สามารถก่อตั้งอาณาจักรแรกขึ้นในดินแดนยุโรปตะวันตกคือกลุ่มใด

(1)Norman        

(2)Franks 

(3) Visigoths     

(4)Ostrogoths

ตอบ 2 หน้า 215 – 21761 – 62 (H) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชนที่สามารถรวบรวมดินแดน ยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยพวกแฟรงค์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่นํ้าไรน์เมื่อประมาณ ค.ศ. 300 ต่อมาได้อพย ไปตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของแคว้นกอล และได้ก่อตั้งอาณาจักรแฟรงค์เป็นอาณาจักรแรก ขึ้นในดินแดนยุโรปตะวันตกภายใต้การนำของ 2 ราชวงศ์ คือ อาณาจักรเมโรแวงเจียน และ อาณาจักรคาโรแลงเจียน

45.       Donation of Pepin การบริจาคที่ของ Pepin ที่ภายหลังพัฒนาเป็นนครรัฐวาติกันคือพื้นที่ใด

(1)Papal States

(2) Aix-la-chapelle   

(3) Vatican        

(4) Constantinoble

ตอบ 1 หน้า 21762 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์คาโรแลงเจียนของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแปงก็ต้องการการสนับสนุนทางการเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองค์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักรทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนำไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของเปแปง (Donation of Pepin) ต่อมา ดินแดนนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีผลสำคัญคือ เป็นการเริ่มอำนาจ ทางการเมืองของสันตะปาปาในอิตาลีซึ่งยืนยงจนถึงปี ค.ศ. 1870

46.       Vassal มีความหมายว่าอย่างไร

(1)ผู้ให้เช่าที่ดิน           

(2) ทาสติดที่ดิน          

(3) ผู้เช่าที่ดิน  

(4) แรงงาน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

47.       ในยุคกลางมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางบ่อยครั้ง สันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบ เพื่อพระผู้เป็นเจ้า คือประกาศข้อใด

(1)Peace of God        

(2) Truce of God       

(3) Interdict      

(4) Excommunication

ตอบ 2 หน้า 231 – 23265 – 66 (H) ในยุคกลางมักมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางอยู่บ่อยครั้งสันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการชั่วคราวใน 2 กรณี ดังนี้คือ

1.         ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า (Peace of God) ซึ่งมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ การพิทักษ์แก่บุคคลและสถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น ในโบสถ์ พื้นที่รอบโบสถ์ สำนักชีเป็นต้น

2.         ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (Truce of God) คือ ห้ามทำการรบตั้งแต่ พระอาทิตย์ตกดินในวันพุธไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์

48.       วิธีการใดที่สันตะปาปาใช้ลงโทษกษัตริย์

(1)Peace of God        

(2) Truce of God       

(3) Interdict      

(4) Excommunication

ตอบ 4 หน้า 24032166 (H) มาตรการสำคัญที่ศาสนจักรใช้ลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนามีดังนี้

1. การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่บุคคลสำคัญ เช่น กษัตริย์ หรือนักคิดคนสำคัญ ออกจากการเป็นคริสเตียนหรือเป็นพวกนอกรีด (Heretic) โดยไมให้ศาสนิกชนอื่นเข้ามาคบหาด้วย        

2. การอินเทอดิค (Interdict) คือ การประกาศว่าดินแดนใดดินแดนหนึ่งเป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และบางกรณี อาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุด

49.       ข้อใดไม่ใช่ความเสื่อมของระบบฟิวดัล          

(1) สงครามครูเสดทำให้ขุนนางตายเป็นจำนวนมาก

(2)       การผลิตดินปืน ทำให้นักรบและอัศวินหมดความหมาย

(3)       โรคระบาดกาฬโรค (Black Death)     

(4) การแย่งชิงที่ดินระหว่างกษัตริย์

ตอบ 4 หน้า 23766 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง มีดังนี้

1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาท กษัตริย์จึงมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

2.         ความเจริญทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์ลดความสำคัญลง

3.         ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้นักรบและอัศวินสวมเกราะหมดความหมาย

4.         การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค (Black Death) ทำให้ประชากรลดลง พวกทาสติดที่ดินจึงหางานทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

50.       การเลือกสันตะปาปาองค์ใหม่สืบต่อจากสันตะปาปาองค์เก่าเลือกจากพระในกลุ่มใด

(1)Priest   

(2) Bishop

(3) Archbishop

(4) Cardinal

ตอบ 4 หน้า 240 – 24167 – 68 (H), (คำบรรยาย) ตำแหน่งของพระในโครงสร้างของศาสนจักร สามารถเรียงลำดับจากระดับตํ่าสุดไปหาสูงที่สุด ได้แก่ พระ (Priest), บิชอป (Bishop),อาร์ชบิชอป (Archbishop), คาร์ดินัล (Cardinal) ซึ่งแต่งตั้งโดยสันตะปาปา โดยทำหน้าที่ เป็นที่ปริกษาของสันตะปาปา และสันตะปาปา (Pope) ซึ่งเป็นหัวหน้าสูงสุดของศาสนจักร เมื่อสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ลง พระที่อยู่ในกลุ่ม Cardinal จะเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับเลือกให้ เป็นสันตะปาปาองค์ใหม่โดยผ่านที่ประชุมของคณะคาร์ดินัล (College of Cardinals)หรือพระราชาคณะ

51.       จักรวรรดิโรมันตะวันออกล่มสลายจากการรุกรานของกลุ่มใด

(1)Moors  

(2) Lombards   

(3) Franks

(4) Ottoman Turks

ตอบ 4 หน้า 25554 (H), 70 (H) ในปี A.D. 1453 จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ได้ล่มสลายลง เพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก (Ottoman Turks) เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ หลังจากนั้นอารยธรรมไบแซนไทน์จึงถูกถ่ายทอดให้แก่รัสเซียทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ปฏิทิน ตัวอักษร และนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) ซึ่งได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ รัสเซีย (Russia) เรียกว่า นิกาย Russian Orthodox”

52.       A.D. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก นิกาย Greek Orthodox ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่

(1)Russia  

(2) Germany     

(3) Rome  

(4) Moscow

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53.       ประมวลกฎหมายใดเป็นแบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

(1)ดราโค        

(2) จัสติเนียน 

(3) 12โต๊ะ       

(4) อัมมูราบี

ตอบ 2 หน้า 252 – 25332370 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีดังนี้

1.         ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี

2.         สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529 ซึ่งได้กลายเป็น แบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจบัน

3.         สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537

54.       A.D. 718 – 1492 ระยะเวลากว่า 700 ปี เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ ในสเปนเรียกว่ายุคใด

(1)Dark Age      

(2) Reconquest

(3) Renaissance

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 267335 – 33673 (H), 86 – 87 (H) ยุค Reconquista หรือ Reconquest เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) หรือมุสลิมสเปน ซึ่งยึดครองสเปนนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 718 – 1492 เป็นระยะเวลากว่า 700 ปี โดยยุคนี้ได้สิ้นสุดลง เมื่อสเปนสามารถเข้ายึดครองอาณาจักรกรานาดาจากพวกมัวร์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 ภายใต้การนำของกษัตริย์สเปน 2 พระองค์ คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานค์ที่ 2 แห่งอรากอน และพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล จากนั้นจึงมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 4 แห่ง คือ คาสติล (Castile), อรากอน (Aragon), กรานาดา (Granada) และนาวารี (Navarre)เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาเป็นรัฐชาติสเปนนับตั้งแต่นั้น

55.       ข้อใดไมใช่สาเหตุของการเกิดสงครามร้อยปีคือข้อใด

(1)       Edward III แห่งอังกฤษต้องการครองบัลลังก์ฝรั่งเศส

(2)       อังกฤษมีความเข้มแข็งทางทหารและพลเมืองบางส่วนของฝรั่งเศสเข้าข้างฝ่ายอังกฤษ

(3)       ต้องการทำการค้าร่วมกับฝรั่งเศส

(4)       ถูกขัดขวางจากฝรั่งเศสในการยึดสกอตแลนด์

ตอบ 3 หน้า 296 – 29779 (H), (คำบรรยาย) สงครามร้อยปี (The Hundred Years’ War:ค.ศ. 1337 – 1453) เป็นสงครามฟิวดัลระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีสาเหตุสำคัญดังนี้

1.         กษัตริยเอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ ฝรั่งเศสในฐานะที่ทรงเป็นทายาทของฟิลิปที่ 4 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส

2.         อังกฤษมีความเข้มแข็งทางทหาร และพลเมืองบางส่วนของฝรั่งเศสเข้าข้างฝ่ายอังกฤษ

3.         แคว้นฟลานเดอร์ (เบลเยี่ยมในปัจจุบัน) ซึ่งควรจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส แต่ประชาชนกลับฝักใฝ่อังกฤษเพราะได้รับผลประโยชน์ทางการค้า

4.         อังกฤษถูกฝรั่งเศสขัดขวางในการยึดครองสกอตแลนด์

56.       Tudor Dynasty เป็นผลจากการเกิดสงครามใด

(1) สงคราม 100 ปี     

(2) สงครามดอกกุหลาบ

(3) สงครามเปอร์เซียน

(4) สงครามกลางเมืองฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 29932679 – 80 (H) สงครามดอกกุหลาบ (War of the Roses : ค.ศ. 1455)เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแย่งกันขึ้นปกครองอังกฤษ ระหว่างตระกูลแลงคาสเตอร์ (ดอกกุหลาบสีแดง) กับตระกูลยอร์ก (ดอกกุหลาบสีขาว) สงครามจบลงในปี ค.ศ. 1485โดยเฮนรี ทิวดอร์ ผู้นำตระกูลแลงคาสเตอร์เป็นผู้ชนะ ซึ่งมีผลติดตามมาคือ

1. ขุนนางเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ทำให้กษัตริย์องค์ใหม่สามารถ พัฒนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

2. เฮนรี ทิวดอร์ ได้สถาปนาราชวงศ์ ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ขึ้นปกครองอังกฤษ

57.       อังกฤษเปลี่ยนศาสนาจาก Catholic เป็น Anglican Church (Church of England) สมัยใด

(1) Henry V        

(2) Edward I      

(3) Henry VIII

(4) William the Conqueror

ตอบ 3 หน้า 38399 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII) แห่งอังกฤษทรงไม่พอพระทัยที่สันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาดจาก พระบางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน (Ann Bolynn) จึงทรงตั้ง สังฆราชแห่งแคนเทอเบอรี่ขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภา ออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy” นปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็น ประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Pope” ซึ่งส่งผล ทำให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็น นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)

58.       ภาษาฝรั่งเศสเข้าไปปะปนกับภาษาอังกฤษและแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นสูงของอังกฤษ เป็นผลมาจากการกระทำของ……ในปี ค.ศ. 1066

(1) วิลเลียมแห่งนอร์มังดี

(2) ฟิลิป ออกัสตัส      

(3) ริชาร์ดใจสิงห์        

(4) อัลเฟรดมหาราช

ตอบ 1 หน้า 271 – 27372 (H), 74 (H) ผลจากการที่วิลเลียม ดุ๊กแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส ได้เข้า ยึดครองอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 มีดังนี้

1. ทำให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะ เป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไป ถือครองและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากที่ดินในฝรั่งเศส

2. ขุนนางแองโกล-แซกซันถูกกำจัด

3.ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเข้าไปปะปนในภาษาอังกฤษ

4.มีการนำระบบแมเนอร์เข้ามาใช้ในอังกฤษ

5. มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเรียกว่า “Doomsday Books” เพื่อการเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน

59.       Henry the Navigator เจ้าชายแห่งการเดินเรือเป็นผู้นำการเดินเรือของประเทศใด

(1)สเปน         

(2) โปรตุเกส   

(3) อังกฤษ     

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 35173 (H), 90 (H) บุคคลสำคัญที่ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการสำรวจ ทางทะเลในศตวรรษที่ 15 คือ เจ้าชายเฮนรี นักเดินเรือ (Henry the Navigator) ซึ่งทรง สนพระทัยในการศึกษาเรื่องราวของทวีปแอฟริกา และทรงเปิดโรงเรียนเดินเรือขึ้น ทำให้โปรตุเกส มีนักเดินเรือที่สำคัญ 3 ท่าน ได้แก่ ไดแอซ (Diaz), วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) และ คาบรัล (Cabral)

60.       บุคคลใดเป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาในปี A.D. 1492

(1) วาสโก ดา กามา   

(2) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

(3) เดวิด เบคแฮม       

(4) แมกเจลแลน เดลคาโน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

61.       บุคคลผู้เดินทางโดยเรือรอบโลกเป็นกลุ่มแรกคือใคร

(1) วาสโก ดา กามา   

(2) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

(3) เดวิด เบคแฮม       

(4) แมกเจลแลน เดลคาโน

ตอบ 4 หน้า 35190 (H), (คำบรรยาย) แมกเจลแลน เดลคาโน เป็นนักสำรวจทางเรือชาวสเปน กลุ่มแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรกในระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย

62.       “Renaissance” มีความหมายว่าอย่างไร        

(1) การนำศิลปวิทยาการในยุคกลางกลับมาใช้ใหม่

(2)การพัฒนาศิลปวิทยาการต่อเนื่องจากยุคกลาง     

(3) การฟื้นฟูศิลปะและวิชาการกรีก-โรมัน

(4)ความพยายามหาแนวทางใหม่ในการพัฒนาศิลปะนำใปสู่ยุคใหม่

ตอบ 3 หน้า 355 – 35892 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) ซึ่งคำว่า “Renaissance” แปลตามศัพท์ได้ว่า การเกิดใหม่” (Rebirth) ซึ่งก็จะหมายถึงการฟื้นฟูศิลปะ และวิชาการกรีก-โรมัน หรือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรม กรีก-โรมัน (Greco-Roman) ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรก ที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปใบประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

63.       การจัดทั้งคณะผู้เลือก 7 คน (7 Electors) เพื่อเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง ปี ค.ศ. 1356 เท่ากับเป็นการตัดอิทธิพลของ….ออกจากการเลือกตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

(1) กษัตริย์เยอรมัน     

(2) สันตะปาปา          

(3) ขุนนางฝรั่งเศส      

(4) พระ

ตอบ 2 หน้า 292 – 29378 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bull) ปี ค.ศ. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิซาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกทั้ง 7 คน (7Electors) เป็น ผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิของ สันตะปาปาออกจากการเลือกตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ

64.       เหตุการณ์ Babylonian Captivity ค.ศ. 1305 – 1377 และเหตุการณ์ The Great Schism ค.ศ. 1378 – 1417 แสดงให้เห็บถึงความเสื่อมของ

(1) ศาสนจักร

(2)ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์  

(3) ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์     

(4) พวกแคลเตียน

ตอบ 1 หน้า 300 – 30380 – 81 (H) เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของศาสนจักร ในศตวรรษที่ 14-15 มีดังนี้

1.         การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เกิดขึ้นเพราะ สันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้ สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาพำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ส่งผลให้สันตะปาปา ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

2.         การแตกแยกครั้งใหญ่ (The Great Schism : ค.ศ. 1378 – 1417) มีสาเหตุมาจากการแย่งชิง ตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างชาวอิตาลีกับชาวฝรั่งเศส จนส่งผลให้เกิดสันตะปาปาขึ้น พร้อมกัน 2 องค์ทั้งที่กรุงโรมในอิตาลี และที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส

65.       รัฐใดได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งท้องทะเล

(1) เวนิส         

(2) เจนัว         

(3) ปิซา          

(4) ฟลอเรนซ์

ตอบ 1 หน้า 359 – 36092 – 93 (H) สาธารณรัฐเวนิสเป็นหนึ่งในบรรดา 5 รัฐผู้นำในแหลมอิตาลี ที่ร่ำรวยที่สุดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในคริสต์ศตวรรษ ที่ 14 จนได้ชื่อว่า ราชินีแห่งท้องทะเล” (Queen of the Seas) ทั้งนี้เวนิสมีเรือถึง 3,300 ลำ เป็นกองเรือใหม่ที่สุดในโลก เพราะมีทุนมหาศาลจากการทำอุตสาหกรรม สามารถทำการผลิต กระสุนปืนและอะไหล่สำหรับเรือด้วยตนเอง ซึ่งการทุ่มเทด้านการค้าและอุตสาหกรรมนี้มีผลให้ เวนิสเริ่มกระบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และได้กลายเป็นศูนย์กลาง ทางด้านการพิมพ์ของยุโรป

66.       “The end justifies the means” การทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรมเป็นทัศนะหนึ่งในหนังสือเล่มใด        

(1) The Art of War

(2)The Principia        

(3) The Book of Marco Polo

(4) The Prince

ตอบ 4 หน้า 333 – 33436294 (H) นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) เป็นนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการโดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Prince ในปี ค.ศ. 1513 ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐในทุกวิถีทางที่จำเป็น โดยวิธีการ ที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จและได้มาซึ่งอำนาจจะเป็นไปตามทัศนะหนึ่งที่ว่า “The end justifies the means ” หรือการทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรมและ วิธีการที่ถูกต้อง ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของเขาก็คือ ต้องการรวมอิตาลีภายใต้การปกครองเดียวกัน

67.       The Last Supper & Mona Lisa เป็นภาพเขียนอันโด่งดังของศิลปินใด

(1)Leonardo da Vinci

(2) John Lock

(3) Raphael       

(4) Michelangelo

ตอบ 1 หน้า 363 – 36494 (H) ลีโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo da Vinci) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสากลมนุษย์ (Universal Man) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยดา วินซี ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถรอบตัว โดยเป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร ทั้งนี้ ผลงานด้านจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ The Last Supper และ Mona Lisa ซึ่งนับเป็นตัวอย่างอันดีของศิลปะที่เชิดชูความสำคัญของสตรีในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

68.       ข้อใดคือผลงานของ William Shakespeare ที่โด่งดังในสมัย Renaissance

(1) The Principia       

(2) The Panthom of the Opera

(3)Romeo & Juliet    

(4) Social Contract

ตอบ 3 หน้า 37196 (H) วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare) เป็นนักเขียนวรรณกรรม ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยเขียนบทละครเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด 38 เรื่อง มีทั้งสุขนาฏกรรม (Comedies), โศกนาฏกรรม (Tragedies) และประวัติศาสตร์ (Histories) ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียง1ของเช็คสเปียร์ เช่น Romeo & Juliet, Hamlet, Macbeth เป็นต้น

69.       สาเหตุที่อิตาลีเป็นจุดกำเนิดของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในสมัยศตวรรษที่ 14 เพราะ

(1) เคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันมาก่อน       

(2) มั่งคั่งเพราะการค้า

(3)ผู้ปกครองมีเสรีภาพและรํ่ารวยสามารถสนับสนุนการสร้างผลงานทางด้านศิลปะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 35892 (H) สาเหตุที่ทำให้อิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการใน ศตวรรษที่ 14 มีดังนี้           

1. เคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันมาก่อน

2. การเดินทางของมาร์โค โปโล ไปยังจีนในระหว่างปี ค.ศ. 1269 – 1295 ได้กระตุ้นให้ ผู้คนในอิตาลีใฝ่รู้มากกว่าผู้คนในดินแดนอื่น ๆ ในสมัยกลาง

3. เจ้าผู้ครองนครรัฐด่าง ๆ ในอิตาลีมังคั่งจากการค้า และมีเสรีภาพมากจนสามารถสนับสนุน การสร้างผลงานทางด้านศิลปะของนักปราชญ์ นักประพันธ์ ข่างฝีมือ และช่างศิลป์ได้

70.       ผู้ที่เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ต่อต้านศาสนจักรคือใคร

(1) Martin Luther

(2) Henry VIII    

(3) Calvin 

(4) Elizabeth I

ตอบ 1 หน้า 378 – 37998 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์ เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัด ในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

71.       สาเหตุปัจจุบันซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการปฏิรูปศาสนาคือข้อใด

(1) การเรี่ยไรเงินบริจาคเพื่อสร้างโบสถ์ St. Peter

(2) การซื้อขายตำแหน่งทางศาสนา

(3)การขายใบไถ่บาป 

(4) พระประพฤติตัวไม่เหมาะสม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72.       บุคคลที่ไม่ได้เสนอทฤษฎีว่าดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาลคือ

(1) ปโทเลมี    

(2) โคเปอร์นิคัส          

(3) กาลิเลโอ   

(4) ไอแซค นิวตัน

ตอบ 1 หน้า 434436 – 438110 – 111 (H) คลอเดียส ปโทเลมี (Claudius Ptolemy) เป็น นักดาราศาสตร์แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ซึ่งได้สรุปว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรโดยรอบ สำหรับโคเปอร์นิคัส เคปเลอร์ กาลิเลโอ และเซอรไอแซค นิวตัน ต่างก็มีความคิดขัดแย้งกับปโทเลมี เพราะเชื่อว่า ดวงอาทิตย์ คือศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกเป็นบริวารดวงหนึ่ง

73.       “Catholic without Pope” คือนิกายใด

(1) Roman Catholic

(2) Lutheranism

(3) Calvinism    

(4) Church of England

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

74.       Inquisition ถูกก่อตั้งเพื่อจุดประสงค์ใด

(1)       ต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนา

(2)       ต่อต้านการกระทำของพวกนอกรีต มีการลงโทษอย่างรุนแรง

(3)       สนับสนุนนิกายที่แยกออกมาจาก Catholic

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 38599 (H) การจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา (Inquisition) มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้าน การกระทำของพวกนอกรีตหรือพวกโปรเตสแตนต์ โดยมีการลงโทษอย่างรุนแรง เข่น การเผา ทั้งเป็น ซึ่งศาลพิเศษทางศาสนาประสบความสำเร็จในการปราบปรามพวกนอกรีตเป็นจำนวนมาก ในสเปนและอิตาลี

75.       Edict of Nantes (โองการแห่งเมืองนังต์) มีเนื้อหาสำคัญเรื่องใด

(1)       ประกาศให้ประชาชนนับถือศาสนาตามกษัตริย์

(2)       ประกาศให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างคาทอลิกและฮิวเกอโนต์

(3)       ให้ความช่วยเหลือคาทอลิกในการต่อต้านฮิวเกอโนต์

(4)       ประกาศให้เสรีภาพประชาชนในการนับถือทางศาสนา

ตอบ 2 หน้า 383 – 384404101 (H), 106 (H) หลังจากที่พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ปฐมกษัตริย์ของ ราซวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงเปลี่ยนมานับถือนิกายคาทอลิกแล้ว (เดิมทรงเป็นฮิวเกอโนต์ หรือโปรเตสแตนต์) พระองค์ได้ทรงออกคำประกาศโองการแห่งเมืองนังต์ (Edict of Nantes) ในปี ค.ศ. 1598 เพื่อให้เกิดการประนีประนอมและเกิดความเสมอภาคทางศาสนา รวมทั้ง เป็นการให้สิทธิอย่างเท่าเทียมกันระหว่างพวกคาทอลิกกับพวกฮิวเกอโนต์ ทำให้ฝรั่งเศส เป็นประเทศเดียวที่ประชาชนไม่ต้องนับถือศาสนานิกายเดียวกับกษัตริย์ ปลอดจากสงคราม ศาสนาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเกิดหลักการใหม่ว่า ศาสนาเสรีมีในประเทศเสรี (A free church in a free state)

76.       ข้อใดไมใข่ผลงานของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย

(1) ทรงเป็นกษัตริย์ประเทืองปัญญา  

(2) ทำสงครามแย่งดินแดนไซลีเซียจากออสเตรีย

(3) ร่วมมือกับออสเตรียและรัสเซียแบ่งโปแลนด์        

(4) ขยายอำนาจเข้าไปในทวีปอเมริกาเหนือ

ตอบ 4 หน้า 419 – 421108 – 109 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัเซีย ทรงเป็นกษัตริย์ทรงภูมิธรรมหรือกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) ซึ่งมีผลงานที่สำคัญดังนี้

1.         พยายามหาเงินเพื่อพัฒนากองทัพที่ได้รับการผฝึกฝนเป็นอย่างดีและมีอาวุธที่ทันสมัย เพื่อขยายอำนาจทางการทหาร และสร้างรัฐบาลให้เข้มแข็ง จนทำให้ปรัสเซียในสมัยของ พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็น สปาร์ตาแห่งยุโรป

2.         ในระหว่างปี ค.ศ. 1740 – 1748ทำสงครามกับออสเตรียเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางทหาร ในยุโรปกลาง โดยแย่งชิงดินแดนไซลีเซียจากพระราชินีมาเรีย เธเรซา

3.         ในปี ค.ศ. 1772 ทรงร่วมกับพระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซียและออสเตรียแบ่งแยก โปแลนด์เป็นครั้งแรก

77.       New Monarchies (ระบอบราชาธิปไตยยุคใหม่) มีลักษณะอย่างไร

(1)       กษัตริย์ได้รับการสนับสนุบจากชนชั้นกลางเป็นศูนย์รวมอำนาจ

(2)       กษัตริย์สามารถปราบปรามขุนนางมาอยู่ภายใต้อำนาจได้

(3)       คริสตจักรลดบทบาทอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 402 – 403105 (H) ระบอบราชาธิปไตยยุคใหม่ (New Monarchies) คือ ระบอบที่ กษัตริย์ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลาง จนสามารถปราบปรามพวกขุนนางให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ ทำให้กษัตริย์กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน และมีพระราชอำนาจ ไม่จำกัด แม้แต่คณะสงฆ์และคริสตจักรก็ต้องลดบทบาทอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ กษัตริย์ยุคใหม่ ได้แก่ กษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ของฝรั่งเศส กษัตริย์ราชวงศ์แฮปสเบิร์กของสเปน และกษัตริย์ราชวงศ์ทิวดอร์ของอังกฤษ

78.       “A free church in a free state” ศาสนาเสรีมีในประเทศเสรี เป็นข้อความจากประกาศฉบับใด

(1) The Golden Bull 

(2) Edict of Nantes

(3) 7 Electors     

(4) Magna Carta the Great Charter

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ

79.       จุดประสงค์ของการสร้างพระราชวงแวร์ซายส์คือข้อใด

(1)       ต้องการประกาศความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์บูร์บอง

(2)       เป็นพระราชวังแห่งแรกของราชวงศ์บูร?บอง

(3)       ต้องการรวมอำนาจขุนนางที่มีอิทธิพลเข้าสู่ศูนย์กลาง

(4)       ต้องการกระจายอำนาจโดยรอบของพระราชวงศ์

ตอบ 3 หน้า 409106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทำตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่า ๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอำนาจใหม่ ทำให้พระราชวังแห่งนี้ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองศ์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสำคัญ ของพระองศ์มาอาศัยอยู่ ทำให้พระองศ์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด

80.       ใครเป็นผู้ยกเลิก Edict of Nantes (โองการแห่งเมืองนังต์)

(1) หลุยส์ที่ 16           

(2) หลุยส์ที่ 14           

(3) Henry IV      

(4) Philip the Fair

ตอบ 2 หน้า 409106 (H) ในปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงประกาศยกเลิกโองการแห่ง เมืองนังต์ (Edict of Nantes) และเริ่มปราบปรามพวกฮิวเกอโนต์ ทำให้พวกฮิวเกอโนต์ หนีไปยังประเทศอังกฤษ ปรัสเซีย และฮอลันดา ซึ่งเหตุการณดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อ การอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก

81.       A.D. 1789 เกิดเหตุการณ์ใดที่มีความสำคัญมากต่อโลก

(1) การปฏิวัติฝรั่งเศส 

(2) การประกาศอิสรภาพของอเมริกา

(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรม     

(4) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง

ตอบ 1 หน้า 455 – 461114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 (A.D. 1789) เกิดขึ้น ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยเป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเก่าและต้องการเข้ามามีสวนร่วมในการปกครอง มีผล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ ได้แก่       

1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่เข้มแข็งพอที่จะปกครองใบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2. ฝรั่งเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองไม่มีประสิทธิภาพ และเกิดการออกเสียงที่ไม่เป็นธรรมในสภา

3. เกิดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในราชสำนักและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทำสงคราม

4. ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษและการปฏิวัติอเมริกัน ส่วนสาเหตุปัจจุบันก็คือ ปัญหาทางด้านการคลัง

82. _____ถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินภายหลังการปฎิวัติฝรั่งเศส

(1)หลุยส์ที่ 16

(2) Henry IV      

(3) หลุยส์ที่ 14           

(4) Philip the Fair

ตอบ1 หน้า 464115 (H) ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อังตัวแนตได้ถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยตินในปี ค.ศ. 1793 หลังจากนั้นอังกฤษก็ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตร กับชาติต่าง ๆ ทำสงครามกับฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะอังกฤษกลัวว่าฝรั่งเศสจะเข้ายึดครองเบลเยียม ซึ่งเป็นจุดพักสินค้าที่อังกฤษจะนำเข้าไปขายในประเทศบนภาคพื้นทวีปยุโรป

83.       ผู้ที่ได้รับฉายาว่า King in Parliament หมายถึงใคร

(1) Louis XIV

(2)Elizabeth (Virgin Queen)     

(3) Marry I         

(4) James II

ตอบ 2 หน้า 410107 (H), (ค่าบรรยาย) พระนางเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I หรือ Virgin Queen : ค.ศ. 1558 – 1603) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ของอังกฤษ ทรงปกครองอังกฤษโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า กษัตริย์ในรัฐสภา” (King in Parliament) หมายความว่า กษัตริย์และรัฐสภาจะใช้อำนาจในการปกครองร่วมกับ แต่กษัตริย์จะปกครอง โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งถือว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยใน ระบอบรัฐสภา หรือระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

84.       การปกครองแบบ Commonwealth สามารถปราบปรามไอร์แลนด์ สกอตแลนด์เข้าร่วมกับอังกฤษและเวลส์ในสมัยของใคร

(1) โอลิเวอร์ ครอมเวลส์          

(2) James I

(3) Chales I        

(4) James II

ตอบ 1 หน้า 414107 (H) สาธารณรัฐเพียวริตัน (Puritan Republic) ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ สามารถปราบปรามไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ให้เข้ามาร่วมกับอังกฤษและเวลส์ เป็นการปกครองแบบคอมมอนเวลท์ (Commonwealth) ซึ่งในสมัยครอมเวลส์นั้น ปรากฏว่า อังกฤษมีความเจริญทางด้านการค้าและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถยึดเกาะจาไมก้า จากสเปนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1658 ด้วย

85.       The Glorious Revolution การปฏิวัติอันรุ่งเรืองเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด

(1)       James II ยอมสละราชบัลลังก์โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ

(2)       รัฐสภาทำการปฏิวัติอำนาจของกษัตริย์และแต่งตั้งโอลิเวอร์ ครอมเวลส์

(3)       James II พยายามต่อต้านอำนาจของรัฐสภาจนเกิดสงคราม

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 415417108 (H) การปฏิวัติอันรุ่งเรืองในอังกฤษ (The Glorious Revolution)ในปี ค.ศ. 1688 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (James II) ซึ่งทรงขัดแย้ง กับรัฐสภาในเรื่องศาสนา กล่าวคือ เมื่อพระโอรสของพระองค์รับศีลเป็นคาทอลิก ทำให้พระองค์ ต้องการให้อังกฤษกลับไปนับถือนิกายคาทอลิกด้วย รัฐสภาอังกฤษจึงตัดสินใจไปเชิญเจ้าหญิงแมรี พระราชธิดาของพระองค์ซึ่งนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ และได้อภิเษกกับวิลเลียมแห่งออเรนจ์ กษัตริย์แห่งฮอลันดา ให้มาปกครองอังกฤษแทน ทำให้พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ยอมสละราชบัลลังก์ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และได้เสด็จลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส

86.       นักปรัชญาทางการเมืองผู้เสนอทฤษฎีให้ประชาฃนสามารถล้มรัฐบาลได้ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา หรือทำให้ประชาชนไม่พอใจคือ

(1) จอห์น ล็อค

(2) ฌอง ฌาค รุสโซ    

(3) โทมัส ฮอบบ์         

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 441446 – 447454112 – 113 (H) จอห์น ล็อค และฌอง ฌาค รุสโซ เป็นนักปรัชญาทางการเมืองผู้เสนอทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract) ที่เห็นว่า มนุษย์มีความเท่าเทียมกันตั้งแต่เกิด…ประชาชนเลือกรัฐบาลขึ้นมาเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้ารัฐบาลทำลายสิทธินั้นด้วยการไม่ปฏิบัติตามคำมันสัญญาหรือทำให้ประชาชนไม่พอใจ ประชาชนย่อมมีสิทธิล้มรัฐบาลได้

87.       ปี ค.ศ. 1492 มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การสร้างรัฐชาติของสเปน เมื่อพวกคริสเตียนสามารถเข้ายึดครองอาณาจักรจากพวกมัวร์ (Moors) ได้สำเร็จ

(1) คาสติล     

(2) อรากอน    

(3) นาวาร์       

(4) กรานาดา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

88.       การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776 ก่อให้เกิดการปกครองรูปแบบใหม่ขึ้นในเวลานั้นคือ

(1) สาธารณรัฐประชาธิปไตย 

(2) สาธารณรัฐสังคมนิยม

(3) คณาธิปไตย          

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

ตอบ 1 หน้า 454113 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776 ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญา ทางการเมือง 2 ท่านคือ จอห์น ล็อค และรุสโซ โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏใน คำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของรัฐอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดี คนแรก คือ จอร์จ วอชิงตัน

89.       ข้อใดไม่ถูกต้องในเรื่องการปฏิวัติทางการค้า ค.ศ. 1500 – 1700

(1)       การค้าในเมดิเตอร์เรเนียนซบเซาลง

(2)       เกิดลัทธิเศรษฐกิจแบบพาณิชย์ชาตินิยม

(3)       พวกพระและขุนนางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเศรษฐกิจ

(4)       มีการฟื้นฟูการค้าทาสขึ้นใหม่

ตอบ 3 หน้า 339 – 34488 – 89 (H) ความสำคัญของการปฏิวัติทางการค้า (ค.ศ. 1500 – 1700) มีดังนี้

1.         ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปได้เปลี่ยนแปลงจากบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปสู่มหาสมุทรแอตแลนติกและภาคโพ้นทะเล

2.         เศรษฐกิจของอิตาลีซบเซาลงในขณะที่สเปนและโปรตุเกสมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

3.         การค้าเข้ามามีบทบาทแทนการเกษตรกรรม

4.         ลัทธิเศรษฐกิจแบบพาณิชย์ชาตินิยมได้แพร่หลายไปทั่วโลก

5. กำเนิดระบอบทุนนิยม

6.         ชนชั้นกลางอันได้แก่ พวกพ่อค้า นายธนาคาร นักลงทุน และเจ้าของกิจการอุตสาหกรรม กลายเป็นพวกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

7.         เกิดการฟื้นฟูการค้าทาสขึ้นมาใหม่โดยชาวโปรตุเกส เป็นต้น

90.       สาเหตุที่ทำให้เกิดการแสวงหาเส้นทางเดินเรือมาสู่ทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 คือ

(1)       คอนสแตนติโนเปิลถูกยึดครอง

(2)       ต้องการล้มเลิกการผูกขาดทางการค้าของพวกเวนิสและเจนัว

(3)       ความต้องการเครื่องเทศ ผ้าไหม พรม และเครื่องแก้ว 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 350 – 35189 – 90 (H) สาเหตุที่ก่อให้เกิดการสำรวจทางทะเลของประเทศในยุโรปตะวันตกมาสู่ทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 14 – 15 คือ 1. แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ยุคกลางที่กองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชียไปเผยแพร่ในยุโรป

2.         กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกพวกออตโตมัน เติร์ก เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1453 ทำให้ เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียถูกตัดขาด

3. มีความต้องการสินค้าจากเอเชียหรือ ภาคตะวันออก เช่น เครื่องเทศ ผ้าไหม พรม และเครื่องแก้ว

4. ต้องการล้มการผูกขาดของ พวกพ่อค้าชาวอิตาลีที่มั่งคั่งจากการค้า เช่น เวนิส เจนัว

5. มีการปรับปรุงเส้นทางเดินเรือ มีการประดิษฐ์เรือขนาดใหญ่ เข็มทิศ และมีการทำแผนที่ที่มีความแน่นอนมากขึ้น

91.       การทำลายคุกบาสติลย์ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 จนกลายมาเป็นวันชาติของฝรั่งเศสในปัจจุบัน มีสาเหตุมาจาก

(1)       มีข่าวลือว่ารัฐบาลจะนำทหารมาปราบปรามพวกปฏิวัติ

(2)       เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองใบระบอบเก่า

(3)       ต้องการปล่อยนักโทษมาสู้กับรัฐบาล

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 461115 (H) การบุกเข้าทำลายคุกบาสติลย์ของฝายฐานันดรที 3 ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 จนกลายมาเป็นวันชาติของฝรั่งเศสในปัจจุบันนั้น มีสาเหตุมาจาก

1.         มีข่าวลือว่ารัฐบาลได้เตรียมใช้กำลังทหารเพื่อปราบปรามพวกปฏิวัติ

2.         คุกบาสติลย์เป็บที่คุมขังของบุคคลทีเป็นศัตรูของรัฐ และเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึง ความโหดร้ายของการปกครองในระบอบเก่า

92.       ก่อนเกิดการปฏิรูปศาสนา คริสต์ศาสนาที่เผยแผ่ในดินแดนยุโรปตะวันตกคือ

(1) โรมันคาทอลิก       

(2) กรีกออร์ธอดอกซ์  

(3) โปรเตสแตนต์       

(4) แอเดรียน

ตอบ 1 หน้า 208237 – 238376386 ก่อนเกิดการปฏิรูปศาสนา สถาบันที่สำคัญที่สุดในยุโรป ตะวันตกสมัยยุคกลางก็คือ คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีส่วนในการสร้างความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน โดยจะมีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น แต่หลังจาก การปฏิรูปศาสนาในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ได้ส่งผลให้นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนาเพียง นิกายเดียวในยุโรปตะวันตกอีกต่อไป แต่ได้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้นมาอีกหลายนิกาย เช่น นิกายลูเธอรันนิสมีนิกายคาลแวงหรือคาลวินิสม์นิกายแองกลิคันหรือนิกายอังกฤษ เป็นต้น

93.       ข้อใดไม่ใช่ผลงานของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย

(1)       เปิดประเทศรับอารยธรรมยุโรปตะวันตกและพัฒนากองทัพเรือ

(2)       บังคับให้ชาวรัสเชียโกนหนวดโกนเครา

(3)       ตั้งโรงพิมพ์ โรงเรียน โรงพยาบาล และปรับปรุงปฏิทินเป็นแบบตะวันตก

(4)       ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่มอสโก

ตอบ 4 หน้า 421426109 (H) ผลงานที่สำคัญของพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 หรือปีเตอร์มหาราชแห่งราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซีย (ค.ศ. 1682 – 1725) มีดังนี้

1. เป็นผู้เปิดประเทศเพื่อรับอารยธรรมจากยุโรปตะวันตกและพัฒนากองทัพเรือ

2. ออกกฎหมายให้ชาวรัสเซียแต่งกายแบบ ยุโรป ให้โกนหนวดเครา และสวมเสื้อแขนสั้นแบบยุโรป

3. ตั้งโรงพิมพ์ โรงเรียน โรงพยาบาล และ ปรับปรุงปฏิทินเป็นแบบตะวันตก

4. ย้ายเมืองหลวงจากมอสโกไปยังกรุงเซนต่ปีเตอร์สเบิร์ก

94.       ในยุคที่เมตเตอร์นิกมีอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศในยุโรป (ค.ศ. 1815 – 1848) สิ่งที่เมตเตอร์นิก ยับยั้งไม่ต้องการให้เกิดคือ

(1) สันตะปาปากลับมามีอำนาจ        

(2) การขยายอำนาจของตุรกี

(3) การปฏิวัติของพวกเสรีนิยม          

(4) การขยายอำนาจของอังกฤษทางทะเล

ตอบ 3 หน้า 471 – 473118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ประเทศ ในยุโรปส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำการต่อต้านการปฏิวัติของพวกเสรีนิยมหรือระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของ คองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า ยุคเมตเตอร์นิก‘’ (ค.ศ. 1815 – 1848)

95.       The Restoration คือช่วงเวลาของเหตุการณ์ใด

(1) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง         

(2) การปฏิรูปศาสนา

(3) การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์   

(4) การต่อต้านระบอบสังคมนิยม

ตอบ 3 หน้า 414 – 415108 (H) การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ (The Restoration : ค.ศ. 1660) เกิดขึ้น หลังจากที่ครอมเวลส์ถึงแก่กรรม โดยรัฐสภาได้ไปเชิญพระเจ้าชาร์ลที่ 2 (ค.ศ. 1660 – 1685) พระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ที่ทรงลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศสให้มาปกครองอังกฤษ ซึ่งในปี ค.ศ. 1679 ได้มีการออกกฎหมาย Habeas Corpus Act มีใจความสำคัญว่า บุคคลจะถูกคุมขัง เป็นเวลานานเกินควรโดยบุคคลผู้นั้นไม่ได้รับการขึ้นศาล และไม่มีโอกาสป้องกันการจับกุมและ จำคุกโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้” โดยสมัยนี้จัดว่าเป็นสมัยสถาปนาระบอบกษัตริย์โดยรัฐสภาขึ้น ในอังกฤษ

96.       ผลงาน Principia ของ Sir Isaac Newton เป็นงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร

(1) กฎการดึงดูดของโลก       

(2) การค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์

(3) การค้นพบวงแหวนของดาวเสาร์   

(4) โลกคือศูนย์กลางของจักรวาล

ตอบ 1 หน้า 437 – 439111 (H) เซอร์ไอแซค นิวดัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ ‘’กฎการดึงดูดของโลก” ซึ่งปรากฏในผลงานเรื่อง “Principia” ในปี ค.ศ. 1687 นอกจากนี้นิวตันยังอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจร รอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ที่ยํ้าว่า หลักการของวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การคำนวณ และการทดลอง

97.       ความสำคัญของรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา ซึ่งพระเจ้าจอห์นถูกบังคับให้ลงนามโดยพวกขุนนางอังกฤษในปี ค.ศ. 1215 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบ…….ในเวลาต่อมา

(1)สมบูรณาญาสิทธิราชย์      

(2) รัฐสภา

(3) ศักดินาสวามิภักดิ์

(4) เผด็จการ

ตอบ 2 หน้า 27575 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษโดยมี หลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์ยังถูก ลดอำนาจในการตัดสินคดี โดยจะให้ศาลยุติธรรมเท่านั้นทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน และ การจัดเก็บภาษีต้องทำด้วยความยุติธรรม ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภา หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

98.       ผลงานสำคัญของพระนางแคเทอรีนมหาราชินี กษัตริย์ประเทืองปัญญาของรัสเซียคือข้อใด

(1) ปรับปรุงประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ  

(2) ขยายอำนาจสู่ภายนอก

(3) ทำการแบ่งโปแลนด์ถึง 3 ครั้ง จนหายจากแผนที่ทวีปยุโรป          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 427109 (H) พระนางแคเทอรีนมหาราชินี (ค.ศ. 1762 – 1796) ทรงเป็นกษัตริย์ ประเทืองปัญญาของรัสเซีย โดยทรงมีผลงานที่สำคัญดังนี้

1.         ทรงพยายามปรับปรุงประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ

2.         อุปถัมภ์นักปราชญ์และขยายอำนาจออกสู่ภายนอก

3.         ในระหว่างปี ค.ศ. 1772 – 1795 ได้ร่วมกับปรัสเซียและออสเตรียทำการแบ่งแยกโปแลนด์ ถึง 3 ครั้ง จนทำให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป

99.       อเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของประเทศใด

(1) ฝรั่งเศส     

(2) เยอรมนี     

(3) รัสเซีย       

(4) อังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 453 – 454113 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพระหว่างอังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งในนิวอิงแลนด์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะอังกฤษพยายามบังคับให้อาณานิคมอเมริกันต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามนโยบายพาณิชย์ ชาตินิยม แต่ชาวอาณานิคมต่อต้านไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีผู้แทนของตนในรัฐสภา ของอังกฤษ และต่อต้านไม่ยอมซื้อสินค้าของอังกฤษ โดยความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่การปฏิวัติ อเมริกันในที่สุด

100.    ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี A.D. 1789

(1)       ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในราชสำนักค่าใช้จ่ายการทำสงคราม

(2)       อิทธิพลจากการปฏิวัติประเทศอเมริกาและอังกฤษ

(3)       ได้รับการช่วยเหลือในยุคเมตเตอร์นิก

(4)       การออกเสียงที่ไม่เป็นธรรมในสภา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

101.    การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) เป็นนโยบายที่นโปเลียนใช้กับประเทศใด

(1) รัลเซีย       

(2) อังกฤษ     

(3) ปรัสเซีย    

(4) ออสเตรีย

ตอบ 2 หน้า 469 – 470117(H) ปัจจัยที่ทำให้จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจ มีดังนี้

1.         มีการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) เพื่อไม่ให้ประเทศบนภาคพื้นยุโรปค้าขายกับอังกฤษ แต่ก็ไม่เป็นผล จนถูกกล่าวว่าเป็นเพียง แผนการณ์บนกระดาษ’’ (Paper Blockade)

2.         ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียนเกิดความรู้สึกชาตินิยม เพราะไม่พอใจต่อ การถูกกดขี่จ4ากกองทัพนโปเลียน

3.         ทำสงครามกับรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 เนื่องจากรัสเซียฝ่าฝืนนโยบายการปิดล้อมอังกฤษ ทางเศรษฐกิจ แต่กองทัพนโปเลียบก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และกองทัพรัสเซีย จนต้องถอยทัพกลับมา ซึ่งสงครามในครั้งนี้ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจ จนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

102.    ประเทศที่ฝ่าฝืนนโยบายการปิดล้อมทางเศรษฐกิจของนโปเลียน จนเป็นชนวนสงครามและทำให้นโปเลียน เสียอำนาจสมัยแรกคือประเทศใด

(1) รัสเซีย       

(2) อังกฤษ     

(3) ปรัสเซีย    

(4) ออสเตรีย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ

103.    สาเหตุที่ทำให้อังกฤษเป็นผู้นำในการปฎิวัติอุตสาหกรรมในสมัยศตวรรษที่ 18 เพราะ

(1) มั่งคั่งจากการค้า   

(2) มีเหล็ก ถ่านหิน และกำลังคน

(3) เป็นผู้นำทางการประดิษฐ์และเทคโนโลยี 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 495 – 496123 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นชาติแรกในศตวรรษที่ 18 มีดังนี้.

1. มีความสงบทางการเมืองภายหลังการปฎิวัติอันรุ่งเรือง ในปี ค.ศ. 1688   

2. มีความมั่งคั่งจากการค้า

3. มีความพร้อมในเรื่องกำลังคนหรือแรงงาน เนื่องจากชนชั้นกลางของอังกฤษเพิ่มจำนวนขึ้นเร็วมาก ทำให้เกิดแรงงานราคาถูก

4. มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรที่ก้าวหน้า 

5. มีถ่านหินและเหล็กเป็นจำนวนมาก

6. มีการพัฒนาเทคโนโลยีและการประดิษฐ์เครื่องจักร โดยเครื่องจักรที่สำคัญคือ เครื่องจักรไอนํ้า

104.    ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ

(1) เกิดชนชั้นนายทุนและกรรมกร      

(2) การเพิ่มจำนวนประชากร

(3) จักรวรรดินิยมและสังคมนิยม       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 499124 (H) ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีดังนี้

1. เกิดลัทธินายทุนขึ้น 

2. เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคมคือ นายทุนกับกรรมกร

3. ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

4. เกิดการออกแสวงหาอาณานิคมหรือเริ่มลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1870 – 1914)

5.เกิดลัทธิเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ เพื่อต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์ ของพวกนายทุนอุตสาหกรรม เป็นต้น

105.    การที่คาวัวร์นำซาร์ดิเนียเข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ก็เพื่อ

(1) ต้องการแก้แค้นรัสเซีย      

(2) ต้องการเมืองนีซและซาวอยกลับคืน

(3) ขอความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสเพื่อรวมอิตาลี        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 512 – 513126 (H) ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในการรวมชาติอิตาลีในระหว่างปี ค.ศ.1860 – 1861 คือ เคานต์ คามิลโล ดิ คาวัวร์ นายกรัฐมนตรีของซาร์ดิเนีย ซึ่งเชื่อว่าการรวมชาติ จะกระทำได้โดยการปราบออสเตรียก่อน จากนั้นจึงดึงประเทศมหาอำนาจเข้ามาช่วย พร้อมกับดำเนินการทางการทูตไปด้วย ดังนั้นคาวัวร์จึงนำซาร์ดิเนิยเข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งทำให้คาวัวร์สามารถขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเคส ให้มาช่วยรบกับออสเตรียได้

106.    การรวมอิตาลีมีความสำเร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1870 เมื่อได้กรุงโรมเป็นเมืองหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำสงครามระหว่าง         

(1) ออสเตรียกับปรัสเซีย

(2)ฝรั่งเศสกับปรัสเซีย

(3) ซาร์ดิเนียกับออสเตรีย      

(4) ออสเตรียกับฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 515126 – 127 (H) หลังจากที่คาวัวร์เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1861 การรวมอิตาลีก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนั้เพราะแคว้นเวเนเทียยังอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย และ กรุงโรมยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1870 กองกำลังทหารของฝรั่งเศสที่ให้ความคุ้มครองแก่สันตะปาปาในกรุงโรม จึงเดินทางกลับฝรั่งเศส รัฐบาลอิตาลีได้ถือโอกาสเข้ายึดกรุงโรมมาเป็นเมืองหลวง และรวมอิตาลี ได้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1871

107.    ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ปัจจัยที่ทำให้ปรัสเซียกลายมาเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันคือ

(1) ไม่มีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย         

(2) การจัดตั้งสหภาพศุลกากร

(3)การมีผู้นำที่เข้มแข็งคือบิสมาร์ค     

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 418 – 421515517 – 519128 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ปรัสเซียได้กลายมาเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันได้สำเร็จ โดยมีปัจจัยสำคัญ อยู่ 3 ประการ ดังนี้

1. ปรัสเซียไม่มีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย เพราะผู้ปกครองให้เสรีภาพ ในการนับถือศาสนา จึงมีชาวต่างชาติเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นจำนวนมาก

2.มีการจัดตั้งสหภาพศุลกากรซึ่งเป็นการประกาศอิทธิพลของปรัสเซีย

3.การมีผู้น่าที่เข้มแข็งคือ บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ซึ่งได้ประกาศใช้นโยบาย เลือดและเหล็ก’’ ในการบริหารประเทศและการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน

108.    ความสำคัญของสงครามเจ็ดสัปดาห์ในปี ค.ศ. 1866 ระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียคือ

(1) ออสเตรียกลายเป็นผู้นำในกลุ่มรัฐเยอรมัน           

(2) ปรัสเซียกลายเป็นผู้นำในกลุ่มรัฐเยอรมัน

(3) ออสเตรียเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นออสเตรีย-ฮังการี        

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 517 – 518129 (H) ความสำคัญของสงครามเจ็ดสัปดาห์ในปี ค.ศ. 1866 ระหว่าง ออสเตรียกับปรัสเซีย มีดังนี้

1. เป็นการตัดอิทธิพลชองออสเตรียออกจากดินแดนเยอรมนี

2. รัฐเยอรมันทางตอนเหนือยอมเข้ามารวมกับปรัสเชีย โดยมีการจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมัน ทางตอนเหนือขึ้น

3. ในปี ค.ศ. 1867 ออสเตรียได้เปลี่ยนสถานภาพมาเป็นอาณาจักร ออสเตรีย-ฮังการี

109.    ลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ค.ศ. 1871 – 1914 เน้นการยึดครองประเทศด้อยพัฒนาในทางเศรษฐกิจเป็นเพราะผลกระทบที่ได้รับจากการเกิด

(1) การปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2)การรวมเยอรมนี     

(3) การปฏิรูปศาสนา  

(4) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ตอบ 1 หน้า 522 – 524130 – 131 (H) ลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือ ยุคที่ประเทศมหาอำนาจในยุโรปนำโดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา ได้ออกมาแสวงหา อาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งเน้นการยึดครองประเทศด้อยพัฒนาในทางเศรษฐกิจ โดยมีสาเหตุสำคัญคือ

1. ผลจากการปฏิวัติอุตลาหกรรมทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนพลเมือง ทำให้ตัองมีการแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และตลาด เพื่อจัดตั้งฐานทัพ และเพื่อระบายพลเมือง

2. ต้องการแสดงถึงความเป็นประเทศ มหาอำนาจในยุโรป

3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์

4. ลัทธิชาตินิยม ทำให้ชาวยุโรป ต้องการเข้าครอบครองดินแดนที่มีอารยธรรมต่ำกว่า

110.    จีนและอินเดียต่างก็เป็นชาติที่มีอารยธรรมสูง อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ทั้ง 2 ชาติได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่

(1) ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยเครื่องจักร          

(2) กองทัพไม่มีประสิทธิภาพ

(3)ประชาชนและสังคมขาดระเบียบ  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 523131 (H) จีนและอินเดียต่างเป็นชาติที่มีอารยธรรมสูง แต่ก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ทั้งนี้เพราะทั้ง 2 ชาติมีปัญหาเรื่อง

1. ขาดอุตสาหกรรม ที่ผลิตด้วยเครื่องจักร

2. ขาดกองทัพที่มีประสิทธิภาพ

3. ประชาชนและสังคมขาดระเบียบวินัย

111.    ภายหลังการรวมเยอรมนีประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1871 ประเทศที่ถูกบิสมาร์คดำเนินนโยบาย จนกระทั่งต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลากว่า 20 ปีคือ

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) ออสเตรีย  

(4) อิตาลี

ตอบ 2 หน้า 129 (H), (คำบรรยาย) หลังจากที่บิสมาร์คสามารถรวมเยอรมนีได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1871 แล้ว สิ่งที่บิสมาร์คไม่ต้องการให้เกิดขึ้นคือ

1.         ไม่ต้องการให้ฝรั่งเศสมีพันธมิตรโดยเฉพาะกับรัสเซีย เพราะอาจจะทำการแก้แค้นเยอรมนีได้ และทำให้เยอรมนีต้องทำศึก 2 ด้าน ดังนั้นจึงต้องดำเนินนโยบายโดดเดี่ยวฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศลต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลากว่า 20 ปี

2.         เยอรมนีไม่ควรเป็นศัตรูกับอังกฤษที่เป็นมหาอำนาจทางทะเล เพราะอังกฤษไม่มีผลประโยชน์ในทวีปยุโรป แต่อังกฤษจะมีผลประโยชน์กับอาณานิคมภาคโพ้นทะเล

112.    ประเทศใดไม่ได้อยู่กลุ่มประเทศมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ

(1) เยอรมนี     

(2) ออสเตรีย-ฮังการี   

(3) ตุรกี           

(4) อิตาลี

ตอบ 4 หน้า 535134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1.         ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย

2.         ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ต่อมาก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย

113.    สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลชั่วคราวของเคอเรนสกี้ไม่ยอมถอนรัสเซียออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ภายหลังล้มระบอบซาร์ลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 เพราะถูก…….ขู่จะไม่ยอมห้รัสเซียกู้เงิน

(1) อังกฤษ     

(2) สหรัฐอเมริกา        

(3) ฝรั่งเศส     

(4) อิตาลี

ตอบ 2 หน้า 537136 (H) ภายหลังจากการล้มระบอบซาร์ลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 รัสเซียก็มีรัฐบาลชั่วคราวของนายเคอเรนสกี้ขึ้นมาปกครองแทน แต่ก็ยังไม่ยอมถอนตัวออกจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาให้ทำสงครามต่อไป มิฉะนั้นจะไม่ให้ รัสเซียกู้ยืมเงิน แต่ทหารรัสเซียไม่มีกำลังใจในการรบ อีกทั้งความไม่พร้อมในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และชาวรัสเซียโดยทั่วไปเริ่มเบื่อหน่ายการบริหารงานของนายเคอเรนสกี้ ดังนั้นจึงเป็นการ เปิดโอกาสให้พรรคบอลเชวิคของเลนินทำการปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ซึ่งส่งผลทำให้รัสเซียต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และรัสเซียต้อง ถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1

114.    ความสำคัญของลัทธิฟาสซิสต์และลัทธินาซีคือ

(1) เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ          

(2) ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์

(3) ต่อต้านโลกเสรีและระบอบประชาธิปไตย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 541 – 543137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิด ขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดียว มีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาดใน ลักษณะก้าวร้าวแต่เพียงพรรคเดียว แบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่

1.         ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิ ทุนนิยมประชาธิปไตย

2.         ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุลโสลินี เกิดขึ้นในอิตาลี และขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัว ของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประชาธิปไตย

115.    ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ทำสัญญา Nazi-Soviet กับสตาลินในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 เพราะ

(1) ต้องการเอาใจรัสเซีย         

(2) ไม่ต้องการทำศึก 2 ด้าน

(3) ต้องการให้รัสเซียคานอำนาจอังกฤษ        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 550, (คำบรรยาย) ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ได้เดินทางไปพบสตาลินที่รัสเซีย เพื่อตกลงทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันหรือที่เรี่ยกว่า สนธิสัญญา Nazi-Soviet” ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ทั้งนี้เพราะฮิตเลอร์ต้องการเอาใจรัสเซีย ไม่ต้องการทำศึก 2 ด้าน และต้องการให้รัสเซียคานอำนาจของอังกฤษและฝรั่งเศส ส่วนรัสเซียก็หวังว่าตนจะสามารถ วางตัวเป็นกลางได้เมื่อเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี

116.    สาเหตุที่ฮิตเลอร์บุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939จนเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ขึ้นเพราะ

(1) การเกิดโปแลนด์ทำดินแดนเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

(2) ต้องการเอาใจรัสเซีย

(3) โปแลนด์หันมาฝักใฝ่อังกฤษและฝรั่งเศส 

(4) ต้องการหาช่องทางออกสู่ทะเลบอลติก

ตอบ 3 หน้า 550138 (H) สาเหตุปัจจฺบันที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การที่กองทัพเยอรมนี เริ่มบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เนื่องจากฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้โปแลนด์ยอมคืน ฉนวนโปแลนด์และเมืองดานซิกให้เยอรมนี แต่โปแลนด์ไม่ยินยอมและหันไปฝักใฝ่อังกฤษและ ฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์ ฝ่ายอังกฤษได้ยื่นคำขาดให้เยอรมนียุติการบุกนั้น แต่เยอรมนีไม่ยอมปฏิบัติตาม อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 จนทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในที่สุด

117.    สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์สงครามเย็นในระหว่างปี ค.ศ. 1945 – 1991 คือ

(1)       สงครามเบ็ดเสร็จระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียตรัสเซีย

(2)       การโฆษณาชวนเชื่อลัทธิอุดมการณ์

(3)       สงครามตัวแทน เช่น สงครามเกาหลี

(4)       การยึดครองยุโรปตะวันออกโดยโซเวียตรัสเซีย

ตอบ 1 หน้า 559 – 561139 (H) สงครามเย็น (Cold War) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1945 หลังจากที่ สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในโซเวียตรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งสงครามเย็นมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. เป็นความขัดแย้ง ทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างสหรัฐอเมริกามหาอำนาจ ผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับโซเวียตรัสเซียมหาอำนาจผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์

2.         ทั้งสองประเทศจะไม่ทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) ต่อกันโดยตรง เพราะต่างฝ่าย ต่างก็มีอาวุธร้ายแรง แต่มักใช้วิธิการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War) เช่น สงครามเกาหลี

3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อลัทธิอุดมการณ์

4.         มีการแช่งขันกันสะสมอาวุธและแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ

5.         การยึดครองยุโรปตะวันออกโดยโซเวียตรัสเซีย

118.    ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศมหาอำนาจผู้นำ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับประเทศมหาอำนาจผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ คือสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามโลกครั้งที่ 3

(3) สงครามเย็น          

(4) สงครามครูเสด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ

119.    ผู้ก่อทั้งลัทธิฟาสซิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงคือใคร

(1) เบนิโต มุสโสลินี

(2) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

(3) บิสมาร์ค   

(4) โอลิเวอร์ ครอมเวลส์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 114. ประกอบ

120.    ข้อใดไมใช่สาเหตุที่รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ

(1) เกิดการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟ    

(2) ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน

(3) เกิดปัญหาการปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิค   

(4) แพ้สงคราม

ตอบ 4 หน้า 537134 (H), 136 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 มีดังนี้           

1. เกิดการปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917

2. รัสเซียมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน

3.         เกิดการปฏิวัติของพรรคบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ภายใต้การนำของเลนิน ส่งผลให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียตขึ้น

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ขอสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         นักปรัชญาชาวเยอรมันผู้เสนอทฤษฎีว่าโลกและดาวเคราะห์ถือกำเนิดมาจากการรวมตัวของกลุ่มผงและก๊าซที่เคลื่อนไหวในจักรวาลคือ

(1)อิมมานูเอล คานท์  

(2) เคปเลอร์   

(3) โคเปอร์นิคัส          

(4) ฟรอยด์

ตอบ 1 หน้า 17 (H) ในปี ค.ศ. 1775 อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ได้เสนอทฤษฎีการกำเนิดของโลกว่า โลกและดาวเคราะห์ถือกำเนิดมาจากกลุ่มเมฆ กลุ่มผงและ กลุ่มก๊าซที่เคลื่อนไหวในจักรวาล ซึ่งได้ถูกกระแสลมหมุนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

2.         ความสำคัญของยุคนํ้าแข็งคือการกำเนิดของ

(1)สัตว์เซลล์เดียว       

(2) มนุษย์       

(3) วาฬ           

(4) ไดโนเสาร์

ตอบ 2 หน้า 28 (H) ยุคที่ธารน้ำแข็งแผ่เข้ามาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลกนั้น เรียกว่า ‘’ยุคนํ้าแข็ง” (Pleistocene) ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นประมาณเกือบ 1 ล้านปีมาแล้ว และสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว ยุคนี้นับว่ามีความสำคัญต่อเรื่องราวของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงระยะเวลาที่นํ้าแข็งละลายได้ปรากฏร่องรอยของสิ่งมีชีวิตคือ มนุษย์” ขึ้นเป็นครั้งแรก

3.         ยูเรเชียคือแหล่งกำเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชียบริเวณที่ติดต่อกับทวีป

(1) แอฟริกา    

(2) อเมริกา     

(3) ยุโรป         

(4) ออสเตรเลีย

ตอบ 3 หน้า 1 – 28 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ในทวีปเอเชีย และแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับทวีปยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐาน ในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

4.         มนุษย์ Homo sapiens ผู้เป็นบรรพบุรุษของพวกผิวขาวในปัจจุบันคือ

(1) Neanderthal        

(2) Cro-Magnon        

(3) Grimaldi      

(4) Chancelade

ตอบ 2 หน้า 11-123810 (H) Homo sapiens หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรก ในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ และมีหน้าตาคล้าย มนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น จนถือเป็นบรรพบุรุษชองมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ

1.โครมันยอง (Cro-Magnon) คือ คนผิวขาว

2. กริมัลดี (Grimaldi) คือ คนผิวดำ

3. ชานเซอเลด (Chancelade) คือ คนผิวเหลือง หรือผิวสีนํ้าตาล

5.         ความสำคัญของยุคหินกลางคือ

(1) การเลี้ยงสัตว์        

(2) การเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก

(3) การตั้งถิ่นฐาน       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 8 – 1538 – 399 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ

1. ยุคหินแรก เป็นยุค ลองผิดลองถูกของมนุษย์

2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้

3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข

4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจาก ชุมชนเร่ร่อน เป็นชุมชนรกราก หรือเป็นยฺคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก

6. ประวัติศาลตร์ยุคโบราณสิ้นสุดลงเมื่อ

(1) จักรวรรดิโรมันตะวันออกถูกทำลาย          

(2) จักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลาย

(3) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์                  

(4) การค้นพบโลกใหม่

ตอบ 2 หน้า 3 (H), 54 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตถูกทำลาย เนื่องจากถูกพวกอนารยชนยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุด ยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของพวกโรมันต้อง เปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย ภายใต้การเข้ามามีอำนาจของพวกอนารยชนในยุโรปตะวันตก ทำให้มีการแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรมความเจริญต่าง ๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา

7.         ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาว์วิน กล่าวไว้ว่า สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจาก

(1) พระเจ้าเป็นผู้สร้าง

(2) สัตว์เซลล์เดียวในทะเล

(3) การถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่      

(4) เชื้อแบคทีเรีย

ตอบ 2 หน้า 18 – 1911 (H) ชาร์ลล์ ดาร์วิน นักชาติพันธุวิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

1.         สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล

2.         สิ่งมีชีวิตจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม

3.         สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืซและสัตว์ที่มี ชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตนก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย

4.         สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุไปในที่สุด

8.         ประวัติศาสตร์คือการเรียนรู้เรื่องราวของ

(1) มนุษย์       

(2) สัตว์          

(3) เครื่องมือเครื่องใช้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 203712 (H) ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชาติพันธุ์มนุษย์ในอดีต ซึ่งน่าจะมีความหมายเป็น 2 นัย คือ

1.         การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกำเนิดมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน

2.         ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ

9.         หนังสือตำราอารยธรรมตะวันตกจัดเป็น

(1) เอกสารชั้นหนึ ง    

(2) หลักฐานรอง         

(3) การตรวจสอบภายนอก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 2112 (H), (คำบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ

2.         หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม เช่น ตำราอารยธรรมตะวันตก ฯลฯ

10.       ข้อใดไม่จัดอยู่ในความหมายของคำว่า วัฒนธรรม

(1) การกิน      

(2) ภาษา        

(3) การทำผิดกฎหมาย           

(4) ศิลปะ

ตอบ 3 หน้า 21 – 2212 (H), (คำบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง ความดีงามหรือความเจริญก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมจนก่อให้เกิดความรู้ ความเชื่อ ภาษา ศิลปกรรม ศิลปะ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม มารยาททางสังคม ความสามารถอื่น ๆ ตลอดจนความเคยชินต่าง ๆ แบบเดียวกัน ถือได้ว่ามนุษย์มีวัฒนธรรมเดียวกัน ซึ่งเราสามารถ แยกแยะความแตกต่างของแต่ละวัฒนธรรมได้จากงานศิลปะ ภาษา และพฤติกรรม

11.       ทฤษฎีโนแมดทางอารยธรรมเน้นในเรื่อง

(1)       สภาพภูมิศาสตร์

(2)       การเสื่อมของการใช้ดิน

(3)       ผู้ชนะรับเอาวัฒนธรรมที่สูงกว่าของผู้แพ้มาปรับปรุงใช้

(4)       ความพยายามเอาชนะธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 26 – 2713 (H) ทฤษฎีโบแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (พวกโนแมดเป็น พวกเร่ร่อนตามทะเลทรายที่สามารถรบชนะพวกที่มีอารยธรรมสูงกว่า) เช่น ในกรณีที่พวกเซไมท์ เข้ายึดครองดินแดนของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับปรุงใช้ เป็นต้น

12.       อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมียจัดอยู่ในกลุ่มอารยธรรม

(1) ตะวันออก 

(2) ตะวันตก   

(3) สากล        

(4) โลก

ตอบ 4 หน้า 3114 (H), 17 (H) ขอบเขตของอารยธรรมในยุคโบราณ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.         อารยธรรมตะวันออก มีแม่แบบคือ อารยธรรมจีน-อินเดีย

2.         อารยธรรมตะวันตก มีแม่แบบคือ อารยธรรมกรีก-โรมัน

3.         อารยธรรมโลก มีแม่แบบคือ อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย

13.       โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักหลอมใช้คือ

(1) ทองแดง    

(2) ดีบุก          

(3) ทองบรอนซ์           

(4) เหล็ก

ตอบ 1 หน้า 33 – 3414 (H) การเรียนรู้การใช้โลหะของมนุษย์ในอารยธรรมสมัยแรกนั้น มนุษย์ได้รู้จัก วิธีการหลอมทองแดง แล้วนำทองแดงนั้นมาเป็นอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งเป็นเครื่องประดับ ต่อมาจึงเริ่มเรียนรู้การนำทองแดงมาผสมกับดีบุกกลายเป็นทองบรอนซ์ ต่อจากนั้นก็เริ่มรู้จัก การหลอมเหล็กขึ้นใช้ ซึ่งเหล็กได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายอำนาจของมนุษย์ในเวลาต่อมา

14.       ความสำคัญของแม่นํ้าไนล์ต่อการสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์คือ

(1) ช่วยป้องกันการรุกรานจากข้าศึก  

(2) ช่วยทำให้อียิปต์อุดมสมบูรณ์ด้านเกษตรกรรม

(3) เป็นแหล่งผลิตแร่เหล็ก     

(4) เป็นแหล่งประมงที่สำคัญ

ตอบ 2 หน้า 4617(H) แม่นํ้าไนล์คือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ ทั้งนี้เพราะสภาพที่ตั้ง ของอียิปต์จะเป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง มีภูมิประเทศแวดล้อมไปด้วยทะแลหราย และมีฝนตกเฉพาะบริเวณเดลต้า แต่อียิปต์ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ จึงช่วยทำให้อียิปต์ มีความอุดมสมบรณ์ด้านเกษตรกรรม และความมั่งคั่งจนสามารถสร้างสมอารยธรรมอันยิ่งใหญ ของโลกในยุคโบราณ

15.       บริเวณจุดอ่อนของอียิปต์ที่ศัตรูจะเข้ารุกรานได้โดยง่ายคือบริเวณ

(1) ช่องแคบสุเอซ       

(2) แม่น้ำไนล์  

(3) เดลด้า       

(4) ทะเลทราย

ตอบ 1 หน้า 47 – 485618 (H), 20 (H) บริเวณเดียวที่เป็นจุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ ที่ทำให้พวกฮิคโซสสามารถเข้ามารุกรานและยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตกบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรทีส ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้ จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัตศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์

16.       การสร้างปฏิทินของอียิปต์เป็นผลมาจาก

(1) การดูดวงอาทิตย์  

(2) การดูดวงจันทร์     

(3) การทำชลประทาน

(4) การทำพีระมิด

ตอบ 3 หน้า 6322 (H), (คำบรรยาย) การสร้างปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ในปี 4241 B.C.เป็นผลมาจากการที่ฟาโรห์ได้ส่งคนไปสังเกตการขึ้นลงของระดับนํ้าในแม่นํ้าไนล์แล้วจดเป็นสถิติ เพื่อการทำชลประทาน ซึ่งปฏิทินสุริยคติจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำเกษตรกรรม เพราะทำให้ทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และทำให้รู้สภาวะการขึ้นลงของ แม่น้ำไนล์ได้อย่างแม่นยำ

17.       สมัยราชวงศ์ของอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อ

(1) มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก         

(2) มีการรวมอียิปต์สูงกับอียิปต์ตํ่าเข้าด้วยกัน

(3) ชาวอียิปต์เลิกเร่ร่อนและหันมาตั้งถิ่นฐาน 

(4) พวกพระและขุนนางหมดอำนาจ

ตอบ 2 หน้า 53, 19 (H) สมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิดของอียิปต์ (3000 – 2400 B.C.) เริ่มต้นขึ้น เมื่อฟาโรห์เมเนส (Menes) ทรงรวมอียิปต์สูงกับอียิปต์ตํ่าเข้าด้วยกัน และสร้างเมืองใหม่คือ เมืองเมมฟิส (Memphis) ขึ้นเป็นเมืองหลวง แล้วเริ่มรวมนครรัฐต่าง ๆ ของอียิปต์เข้าด้วยกัน ซึ่งกินเวลาตลอดสมัยราชวงศ์ที่ 1 คือประมาณ2700 B.C. จึงเป็นสมัยเริ่มต้นราชวงศ์อย่างแท้จริง

18.       คำว่า ฟาโรห์ มีความหมายถึง

(1) กษัตริย์     

(2) ขุนนาง      

(3) พระ           

(4) พระราชวัง

ตอบ 4 หน้า 19 – 20 (H) คำว่า ฟาโรห์” มีความหมายถึง พระราชวังหรือเรือนหลวง (Great House/ Royal House) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวอียิปต์ใช้เรียกกษัตริย์ผู้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์จนกระทั่งไม่กล้า เอ่ยถึงพระนามของกษัตริย์ จึงเรียกที่อยู่ของกษัตริย์แทน

19.       สิ่งก่อสร้างที่นิยมสร้างในสมัยอาณาจักรเก่าคือ

(1) เขื่อน         

(2) พีระมิด      

(3) วิหาร         

(4) พระราชวัง

ตอบ 2 หน้า 53 – 5419 (H), (คำบรรยาย) ความสำคัญในสมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิดของอียิปต์ (3000 – 2400 B.C.) มีดังนี้

1.         ศิลปะสำคัญที่นิยมสร้าง คือ การสร้างพีระมิด เพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์ว่า เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนำความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์ เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่

2.         มีการปกครองเป็นแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) โดยมีฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุด และมีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re/Ra) ทรงทำหน้าที่ เป็นทั้งหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพระ โดยมีนโยบายคือ รักษาสันติภาพไม่รุกรานใคร ซึ่งนับเป็นจุดอ่อนของฟาโรห์คือไม่มีกองทัพของพระองค์เอง ต้องอาศัยการเกณฑ์ทหาร มาจากพวกขุนนางที่ปกครองจังหวัดต่าง ๆ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟาโรห์สูญเสียอำนาจ ให้กับเหล่าขุนนาง และทำให้สมัยอาณาจักรเก่าเสื่อมลงในที่สุด

20.       สมัยอาณาจักรเก่าฟาโรห์หมดอำนาจเพราะพวก

(1) ขุนนาง      

(2) พระ           

(3) ฮิคโซส      

(4) กรีก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21.       สมัยขุนนางฟาโรห์มีบทบาทสำคัญทางด้าน

(1) การปกครอง         

(2) ศาสนา      

(3) การทำชลประทาน

(4) วรรณคดี

ตอบ 2 หน้า 5520 (H) สมัยฟิวดัลของอียิปต์ (2200 – 2000 B.C.) เป็นสมัยที่พวกขุนนางหรือ ผู้ว่าราชการมณฑลต่าง ๆ (Nomarchs) เข้ายึดอำนาจจากฟาโรห์มาเป็นของตนเอง ทำให้ ฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ที่ 7 และ 8 มีฐานะเป็นเพียงฟาโรห์หุ่นเชิด โดยจะมีบทบาทสำคัญ ทางด้านศาสนา ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของพวกพระ จนกระทั่งในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ที่ 11 แห่งราขวงศ์ทีบีส (Thebes) ซึ่งสามารถขับไล่ขุนนางและเข้ายึดอำนาจได้สำเร็จ ทำให้อียิปต์ รวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง

22.       สมัยประชาธิปไตยของอียิปต์จัดอยู่ในสมัย

(1) อาณาจักรเก่า       

(2) ขุนบาง      

(3) อาณาจักรกลาง    

(4) อาณาจักรใหม่

ตอบ 3 หน้า 55 – 5620 (H) สมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์ (2000 – 1730 B.C.) เป็นสมัยที่ ฟาโรห์ทรงยึดอำนาจคืนมาจากพวกขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน พระองศ์ จึงทรงตอบแทนประชาชนด้วยการอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการได้ ซึ่งถือว่าเป็นสมัย เริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ ต่อมาในปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูกรุกราน เป็นครั้งแรกโดยพวกฮิคโซส (Hyksos) ผ่านทางบริเวณช่องแคบสุเอซ ซึ่งพากฮิคโซสรู้จัก การใช้ม้าและรถศึกในการทำสงคราม จึงทำให้สามารถยึดครองอียิปต์ต่ำบริเวณเดลต้า ได้สำเร็จเป็นเวลานานถึง 150 ปี

23.       ปัจจัยที่ทำให้พวกฮิคโซสยึดครองอียิปต์ตํ่าได้สำเร็จคือ

(1) การใช้ม้าและรถศึก          

(2) การเข้าโจมตีอียิปต์ผ่านทางทะเลทราย

(3) ได้รับความช่วยเหลือจากพวกขุนนาง       

(4) เก่งในการทำชลประทาน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

24.       จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 คือ

(1) ทำให้ศาสนาบริสุทธิ์         

(2) เปลี่ยนมานับถือเทพเจ้าองค์เดียว

(3) ลดอำนาจพวกพระ           

(4) ต้องการย้ายเมืองหลวง

ตอบ 3 หน้า 5821 (H) ฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ของอียิปต์ ทรงปฏิรูปศาสนาโดยทรงให้ยกเลิกการนับถือเทพเจ้าองค์อื่นๆ ทั้งหมด แล้วให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตน เพียงองค์เดียวเท่านั้น รวมทั้งทรงย้ายเมืองหลวงจากทีบีส (Tebes) ไปอยู่ที่เทล เอล อามาร์นา (Tell el Amana) ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อผลทางการเมือง คือ เป็นการ ลดอำนาจของพวกพระอามอนที่ร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย และ ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว

25.       การทำมัมมี่ของอียิปต์มีจุดประสงค์เพื่อ        

(1) การกลับมาเกิดใหม่

(2) การรักษาศพไมให้เน่าเปื่อย          

(3) เอาไว้บูชา 

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 64 – 6522 (H) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตหลังความตาย เป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธี เก็บรักษาศพไมให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์ โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร

26.       อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นในทวีป

(1) เอเชีย        

(2) แอฟริกา    

(3) ออสเตรเลีย           

(4) ยุโรป

ตอบ 1 หน้า 65 – 6622 (H) คำว่า เมโสโปเตเมีย” เป็นภาษากรีก แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่นํ้า 2 สาย” (Land between Rivers) คือ แม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรทีส โดยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้ชื่อว่าเป็นอารยธรรมเกษตรกรรม ทั้งนี้จะครอบคลุมบริเวณตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียไปจนถึงซีเรีย และปาเลสไตน์ ซึ่งเราสามารถเรียกบริเวณนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) หรือดินแดนเอเชียตะวันตก (ประเทศอิรักในปัจจุบัน)

27.       ข้อใดไม่ใช่ผลงานของพวกสุเมเรียน

(1) ปฏิทินแบบสุริยคติ

(2) ตัวอักษรคูนิฟอร์ม 

(3) การนับหน่วย 60   

(4) กฎหมายสนองตอบ

ตอบ 1 หน้า 68 – 7123 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม โดยใช้เหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วจึงนำไปตากให้แห้ง เมี่อประมาณ 3500 B.C.

2.         มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า

3.         มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน

4.         มีการนับหน่วย 6010 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกาและการคำนวณทางเรขาคณิตในปัจจุบัน

5.         ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นต้น

28.       ผลงานที่สำคัญของพระเจ้าฮัมมูราบีคือ

(1) ศาสนา      

(2) กฎหมาย   

(3) ห้องสมุด   

(4) การหลอมเหล็ก

ตอบ 2 หน้า 73 – 7424 (H) พระเจ้าฮัมมูราบี แห่งจักรวรรดิบาบิโลเนียหรือบาบิโลนเก่า ทรงมีผลงานที่สำคัญคือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) โดยจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม ลงบนแผ่นหินไดโดไรท์สีดำซึ่งสูง 8 ฟุต ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์ อักษรฉบับแรกของโลก ทั้งนี้ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีจะอาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของสุเมเรียน

29.       ความสำคัญของพวกฮิตไทต์คือ

(1) ศาสนา      

(2) กฎหมาย   

(3) ห้องสมุด   

(4) การหลอมเหล็ก

ตอบ 4 หน้า 78 – 7925 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิตไทต์ มีดังนี้

1.         มีการหลอมเหล็กใช้เป็นชาติแรก รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ

2.         ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ของชาวสุเมเรียนและตัวอักษร เฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ของอียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อมาได้ส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน

3.         กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือการลงโทษพอเข็ดหลาบ แทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ

4.         ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

30.       ผลงานของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสซีเรียคือ

(1) ศาสนา      

(2) กฎหมาย   

(3) ห้องสมุด   

(4) การหลอมเหล็ก

ตอบ 3 หน้า 8226 (H) ผลงานสำคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสซีเรีย คือ ทรงสร้างหอสมุด ที่กรุงนิเนอเวห์ โดยทรงให้มีการรวบรวมแผ่นดินเหนียวประมาณ 22,000 แผ่นเข้าด้วยกัน ซึ่งนับเป็นห้องสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตก และเป็นที่มาของการสร้างห้องสมุดในปัจจุบัน โดยแผ่นดินเหนียวนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกเพลงสวดสำหรับพิธีทางศาสนาของพวกสุเมเรียน นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างโลกครั้งใหญ่ ตำราไวยากรณ์และตำราแพทย์

31.       ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่คือ

(1) ดาราศาสตร์          

(2) สวนลอย   

(3) กฎหมาย   

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 82 – 8426 (H) ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือพวกบาบิโลนใหม่ มีดังนี้

1.         มีการสร้าง สวนลอยแห่งนครบาบิโลน” ขึ้นในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งชาวกรีกนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

2.         มีความเจริญทางด้านโหราศาสตร์ นั่นคือ ชาวแคลเดียนเป็นผู้ริเริ่มการเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

3.         มีความเจริญทางด้านดาราคาสตร์ นั่นคือ สามารถคำนวณหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์ หมุนรอบโลก รวมทั้งเวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้อย่างแม่นยำ

32.       ความสำคัญของพวกฟินิเชียนคือ

(1) พ่อค้าทางบก        

(2) พ่อค้าทางทะเล     

(3) ดาราศาสตร์          

(4) การชลประทาน

ตอบ 2 หน้า 84 – 8527 (H) ความสำคัญของพวกพินิเชียน มีดังนี้

1. เป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียนในศตวรรษที่ 11 B.C. เป็นนักต่อเรือ นักเดินเรือ และนักล่าอาณานิคม

2. เป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุง โดยลอกเลียนแบบอย่างการปกครองจากอียิปต์และ บาบิโลเนียผ่านทางการค้า

3. รับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์และตัวอักษรคูนิฟอร์ม ของสุเมเรียนมาดัดแปลงเป็นของตน เพื่อการจดบันทึกทางการค้า ต่อมาตัวอักษรดังกล่าว ก็ถูกถ่ายทอดให้แก่พวกกรีกและพวกโรมัน

33.       คัมภีร์ของพวกฮิบรูคือ           

(1) The Holy Bible

(2) The Old Testament     

(3) The New Testament   

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 901044, (H), 30 (H) พระคัมภีร์ไบเบิล (The Holy Bible) ประกอบด้วยคัมภีร์ 2 เล่ม คือ

1. พระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพวกฮิบรูหรือพวกยิวที่นับถือ ศาลนายิว โดยพระคัมภีร์เก่าจะเป็นเรื่องราวตั้งแต่บทปฐมกาล (Genesis) คือ การที่พระเจ้า ทรงสร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาในจักรวาล รวมทั้งมนุษย์และสัตวโลก ตลอดจนเรื่องราวที่เป็น ประวัติศาสตร์ของชาวยิว

2. พระคัมภีร์ใหม่ (The New Testament) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ประวัติของพระเยซูของคริสต์ศาสนา พร้อมทั้งคำสั่งสอนของพระองค์ ทั้งนี้พวกคริสเตียน จะต้องอ่านทั้งพระคัมภีร์เก่าและพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งรวมกันเป็นพระคัมภีร์ไบเบิล ส่วนพวกฮิบรู หรือพวกยิวจะอ่านพระคัมภีร์เก่าเพียงเล่มเดียว

34.       ผลงานของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดียคือ

(1) การทำเหรียญ       

(2) กฎหมาย   

(3) สวนลอย   

(4) การทำชลประทาน

ตอบ 1 หน้า 92 – 9330 (H), (คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้

1.         เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรทีสและ หมู่เกาะอีเจียน           

2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรม ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดย พระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.

35.       ศาสนาของพวกเปอร์เซียคือ

(1) ฮินดู          

(2) โซโรแอสเตอร์        

(3) จูดาอิสซึม 

(4) ออร์ธอดอกซ์

ตอบ 2 หน้า 96 – 9831 (H) ลักษณะที่สำคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ของเปอร์เซีย มีดังนี้

1. เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวศาสนาแรกของเอเชียตะวันตก โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา       

2. มีลักษณะเป็นทวิเทพ คือ พระเจ้าองค์เดียวเป็นพระเจ้าทั้งความดีและความชั่ว ซึ่งพระเจ้าแห่งความดีคือ พระอาหุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง และความดี ส่วนพระเจ้าแห่งความชั่ว คือ อหริมัน เป็นเทพเจ้าแห่งความมืดและความชั่วร้าย

3.         เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก

4.         เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น

36.       กรีกโบราณปกครองแบบนครรัฐเพราะปัญหาทางด้าน

(1) ภูมิศาสตร์

(2) การปกครอง         

(3) เศรษฐกิจ  

(4) การทำสงครามกับเพื่อนบ้าน

ตอบ 1 หน้า 110112 – 11338 (H) สาเหตุที่ทำให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ เนื่องจาก

1.         ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติด ชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดนที่ แบ่งแยกชาวกรีกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน           

2. ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ

37.       สิ่งที่ทำให้ชาวกรีกสามารถรวมตัวกันได้คือ

(1) กิฬาโอลิมปิก        

(2) การทำสงคราม     

(3) การค้า       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 11011738 (H), (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ชาวกรีกหรือชาวเฮลเลนส์สามารถรวมตัวกันได้ มีดังนี้

1. มีภาษาพูดเดียวกัน ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกว่า พวกป่าเถื่อน” (Barbarians)

2. รู้สึกว่าพวกตนคือ พวกเฮลเลนส์ (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ว่า เฮลลัส” (Hellas) ซึ่งนับถือศาสนาเดียวกัน

3. มีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนครรัฐต่าง ๆ จะหยุดทำสงครามแล้วมาแข่งขันกีฬาร่วมกัน

4. เมื่อมีการทำสงคราม โดยนครรัฐต่าง ๆ ก็จะมารวมกันเป็นสมาพันธรัฐ เมื่อเสร็จศึกสงครามจากภายนอก กรีกก็จะแตกแยกกันอีกและต่างก็ดำเนินการปกครองตนเองไปโดยลำพัง

38.       พวกทรราชกรีกมีอาชีพเดิมคือ

(1) ทาส          

(2) ขุนนาง      

(3) พ่อค้า        

(4) พระ

ตอบ 3 หน้า 116 – 11740 (H) ทรราชกรีก (Tyrants) คือ ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง ไม่ใช่ด้วยการสืบสายโลหิต ส่วนใหญ่ทรราชจะมาจากพ่อค้าที่อ้างว่าจะปกป้องคนจนจาก พวกขุนนางและข้าราชการ เน้นการปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยช่วยส่งเสริมการค้าและเคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไข ปัญหาได้ดี ต่อมาเมื่อมีการสืบทอดสายโลหิต พวกทรราชคนต่อมาหลงอำนาจและปกครอง แบบกดขี่ จึงถูกประชาชนร่วมมือกันขับไล่ออกจากอำนาจ

39.       นครรัฐสปาร์ตาปกครองแบบเผด็จการทหารเพราะมีปัญหเรื่อง

(1) การค้า       

(2) ภาษา        

(3) ทาส          

(4) ศาสนา

ตอบ 3 หน้า 118 – 12140 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้นครรัฐสปาร์ตาต้องปกครองแบบ เผด็จการทหารหรือแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีดังนี้

1. ชาวสปาร์ตาสืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน ขึ้งเป็นพวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพ เข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก

2.         มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในหุบเขา และไม่ติดชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ

3.         ชาวสปาร์ตาแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการทำสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทำให้มีจำนวน ทาสและเชลยศึกมากกว่าชาวสปาร์ตาแท้ ๆ จึงต้องมีการควบคุมพวกทาสแบบเผด็จการทหาร

40.       นครรัฐเอเธนส์เป็นแม่แบบของการปกครองในระบอบ

(1) ทหาร         

(2) ประชาธิปไตย       

(3) กษัตริย์     

(4) สาธารณรัฐ

ตอบ 2 หน้า 12713040 (H), 43 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.)นครรัฐเอเธนส์ได้พัฒนาการปกครองใบระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยของเพริคลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุด จนทำให้สมัยนี้ได้ชื่อว่า เป็น ยุคทองของเอเธนส์” และทำให้นครรัฐเอเธนส์กลายเป็น บรมครูของนครรัฐกรีกหรือ ชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นนครรัฐเอเธนส์จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดและแม่แบบของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก

41.       ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาแพทย์ศาสตร์คือ

(1) พิทากอรัส 

(2) ฮิปโปเครติส          

(3) เฮโรโดตัส  

(4) ทาลิส

ตอบ 2 หน้า 13644 (H) ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของวิชา แพทย์ศาสตร์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะ พระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ และ การควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณ ของแพทย์ในปัจจุบันที่เรียกว่า “Hippocratic Oath”

42.       การวิ่งมาราธอนมีกำเนิดมาจากวีรกรรมของนครรัฐ

(1) สปาร์ตา    

(2) เอเธนส์     

(3) คอรินทร์    

(4) มาซิโดเนีย

ตอบ 2 หน้า 14346 (H) สงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอน เป็นการทำสงครามระหว่างนครรัฐเอเธนล์กับเปอร์เซีย แต่พระเจ้าดาริอุสแห่งเปอร์เซียต้องมาพ่ายแพ้ที่สมรภูมิมาราธอน ในปี 490 B.C. สงครามในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดวีรบุรุษชาวเอเธนส์ชื่อ เฟดิปปิดิส” (Phedippides) ซึ่งใช้เวลาวิ่งจากเอเธนส์ไปสปาร์ตา 2 วัน 2 คืน เพื่อขอกำลังทหารมาช่วยเอเธนส์ แล้ววิ่งกลับมาเอเธนส์และได้เข้าร่วมรบที่ทุ่งมาราธอนด้วย ซึ่งเอเธนส์ก็รบชนะได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือ จากสปาร์ตา เฟดิปปิดิสวิ่งกลับเอเธนล์เพื่อแจ้งข่าวถึงชัยชนะของเอเธนล์แล้วล้มลงขาดใจตาย จบกลายมาเป็นตำนานให้เกิดการแข่งขันวิ่งมาราธอนเป็นระยะทาง 26 ไมล์ เมื่อมีการฟื้นฟู กีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1896

43.       สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการรุกรานอินเดียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชคือ

(1) การปกครองแบบประชาธิปไตย   

(2) การปกครองแบบเผด็จการทหาร

(3) การปั้นพระพุทธรูป           

(4) การเผยแผ่คริสต์ศาสนา

ตอบ 3 หน้า 15247 (H) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก ได้ยกกองทัพ ขยายอำนาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในปี 323 B.C. ส่งผลให้ชาวอินเดีย ในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั้นคือ ศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบบกรีก (Greco Buddhist Arts) ซึ่งจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้น จะมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก

44.       อารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอารยธรรม

(1) เฮลเลนิก   

(2) ละติน        

(3) เฮลเลนิสติก          

(4) แอสเท็ค

ตอบ 2 หน้า 15847 – 48 (H), (คำบรรยาย) อารยธรรมโรมันเป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณ 2000 – 1000 B.C. โดยหนึ่งในบรรดา พวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า ที่ราบละติอุม (Plain of Latium) โดยพวกละตินกลุ่มนี้ได้สร้างกรุงโรม (Rome) ขึ้นบนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์เมื่อปี 753 B.C. และทำให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรมัน” หรืออารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อารยธรรมละติน นั่นเอง

45.       พวกอีทรัสกันปกครองพวกโรมันด้วยการปกครองในระบอบ

(1) กษัตริย์     

(2) สาธารณรัฐ           

(3) ประชาธิปไตย       

(4) เผด็จการทหาร

ตอบ 1 หน้า 158 – 15948 – 49 (H) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสกัน (Etruscan) ซึ่งเป็นกลุ่ม ทหารรับจ้างจากเอเชียน้อยได้เข้ายึดครองภาคเหนือและภาคตะวันตกของแหลมอิตาลี รวมทั้ง เข้ายึดครองกรุงโรมและทำการปกครองพวกโรมันด้วยการปกครองในระบอบกษัตริย์อย่างกดขี่ ต่อมาในปี 509 B.C. ได้ถูกพวกแพทริเชียน (Patricians) ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงชาวโรมันขับไล่ ออกจากกรุงโรมและตั้งคณะรัฐบาลของตนเอง เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ มาเป็นระบอบสาธารณรัฐและดำรงอยู่ต่อมานานถึงประมาณ 500 ปี

46.       กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมันคือกฎหมาย

(1) ดราโค       

(2)โซลอน       

(3) ฮัมมูราบี    

(4) 12โต๊ะ

ตอบ 4 หน้า 16149 (H) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน หลังจากที่พวกพลีเบียนได้รวมตัวกันเรียกร้อง สิทธิในการปกครองจากพวกแพทริเชียนในปี 466 B.C. แล้ว พวกพลีเบียนยังได้เรียกร้องให้ มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนำไปติด ที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรโดยทั่วไปทราบ เรียกว่า กฎหมาย 12โต๊ะ” ซึ่งถือว่าเป็น กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน โดยประกาศใช้เมื่อปี 450 B.C.

47.       คำว่า Crossing the Rubicon เป็นสำนวนมีความหมายถึง

(1) การไปตายเอาดาบหน้า    

(2) การข้ามแม่นํ้ารูบิคอง

(3) ชัยชนะที่ได้มาแต่เสียหายเป็นอย่างมาก  

(4) ข้ามไปสู่สวรรค์

ตอบ 1 หน้า 16650 (H) ในปี 49 B.C. จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้นำกองทัพข้ามแม่น้ำรูบิคอง (Rubicon) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างอิตาลีกับซิซัลไปน์โกล เข้าไปในกรุงโรมเพื่อทำสงคราม แย่งชิงอำนาจกับปอมเปย์ (Pompey) ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดสำนวนภาษาอังกฤษว่า “Crossing the Rubicon” ซึ่งมีความหมายว่า การไปตายเอาดาบหน้า หรือการตกลงใจที่ เด็ดเดี่ยว” และทำให้ซีซาร์ได้เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวในสาธารณรัฐโรมัน

48.       ปฏิทินสุริยคติทีจูเลียส ซีซาร์ นำมาประกาศใช้ได้มาจากประเทศ

(1) อิรัก           

(2) อิหร่าน      

(3) อียิปต์       

(4) กรีซ

ตอบ 3 หน้า 5250 – 51 (H), (คำบรรยาย) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติ ของอียิปต์มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ปฏิทินจึงถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก โดยมีชื่อว่า Julian Calendar ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อ เดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar ส่วนชื่อเดือนสิงหาคม (August) จะมาจากชื่อของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 (Augustus I) ซึ่งปกครองจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.

49.       จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันคือ

(1) จูเลียส ซีซาร์         

(2)ออกุสตุสที่ 1          

(3) เนโร          

(4) เวสปาเชียน

ตอบ 2 หน้า 168 – 16951 (H) หลังจากที่จูเลียส ซีซาร์ ถูกบรูตัสและสมาซีกสภาซีเนทรุมสังหาร จนสิ้นพระชนม์แล้ว กรุงโรมก็เกิดความวุ่นวายเพราะมีการแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน ในที่สุด ออคเตเวียน หลานชายและมีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของซีซาร์ได้รับชัยชนะ และได้สถาปนา ตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันโดยทรงมีพระนามใหม่ว่า ออกุสตุสที่ 1” (Augustus I หรือ Augustus Caesar) พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.

50.       จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์จูเลียนผู้เผากรุงโรมในปี ค.ศ. 64 คือ

(1) เวสปาเชียน          

(2) ติตุส          

(3) เนโร          

(4) คอนสแตนติน

ตอบ 3 หน้า 17052 (H) 40 ปีหลังจากที่จักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันสิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 14 จักรพรรดิโรมันก็ล้วนเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ของจูเลียส ซีซาร์ทั้งสิ้น จึงเรียกราชวงศ์นี้ว่า ราชวงศ์จูเลียน” (Julian Dynasty) จนถึงสมัยจักรพรรดิเนโร (Nero) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์จูเลียนผู้เผากรุงโรมในปี ค.ศ. 64 เนื่องจากทรงมีสติวิปลาส ทำให้ความเกลียดชังพระองค์แผ่กระจายไปในวงกว้าง จนเนโรต้องตัดสินพระทัยปลงพระชนม์ พระองค์เองในปี ค.ศ. 68 ซึ่งการสิ้นพระชนม์ชองเนโรก็เทำกับเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์จูเลียน

51.       กลุ่มชนพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์คือ

(1) กรีก           

(2) โรมัน         

(3) อียิปต์       

(4) สุเมเรียน

ตอบ 2 หน้า 176178 – 17952 (H) วิศวกรชาวโรมันถือว่าเป็นพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานทางด้านวิศวกรรมและถาปัตยกรรม เช่น การสร้างถนน การสร้างสะพาน การทำท่อส่งนํ้า การก่อสร้างแอมพิเธียเตอร์ การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เป็นต้น ทั้งนี้การก่อสร้างของโรมันส่วนใหญ่ได้รับแบบอย่างมาจากกรีก

52.       Persecution คือยุคที่พวกโรมันปราบปรามพวก……..เป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี

(1) กรีก           

(2) อียิปต์       

(3) สเปน        

(4) คริสเตียน

ตอบ 4 หน้า 18454 (H) ยุค Persecution คือ ยุคที่พวกโรมันทำการปราบปรามพวกคริสเตียน เป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี เนื่องจากพวกโรมันไม่ยอมรับศาสนาคริสต์ที่มีหลักการโต้แย้งกับ การปกครองของพวกโรมัน โดยพวกโรมันเชื่อว่าหน้าที่เบื้องต้นก็คือหน้าที่บฏิบัติต่อรัฐ การเคารพสักการะซีซาร์ถือว่าเป็นอธิปไตยสูงสุดที่ปรากฏในร่างของมนุษย์ย่อมไม่ขัดต่อหลักกา ของศาสนาใด แต่พวกครีสเตียนในขณะนั้นเชื่อว่าหน้าที่เบื้องต้นของมนุษย์ก็คือหน้าที่ต่อพระเจ้า รัฐเป็นเรื่องทางโลก ส่วนพระเจ้าเป็นเรื่องของจิตใจ ดังนั้นรัฐจึงรองลงมาจากพระเจ้า ทัศนคติ ของพวกคริสเตียนดังกล่าวนี้ พวกโรมันถือว่าเป็นการคิดกบฏต่อซีซาร์ ต่ออาณาจักรโรมัน และต่อชาวโรมันเป็นส่วนรวม

53.       อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาถูกค้นพบโดยพวก

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) สเปน        

(4) ดัตช์

ตอบ 3 หน้า 188 – 18935155 (H) อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาหรืออารยธรรมเก่าในโลกใหม่ ถูกค้นพบโดยโคลัมบัส (Columbus) นักเดินเรือชาวสเปนในปี ค.ศ. 1492 แต่ต่อมาอารยธรรม เหล่านี้ก็ถูกทำลายโดยพวกสเปนเช่นเดียวกัน นั่นคือ คอร์เตส (Cortes) ได้เข้าทำลายอารยธรรม ของพวกแอสเท็คในเม็กซิโกระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1521 และปิซาโร (Pizarro) ได้เข้าทำลาย อารยธรรมของพวกอินคาในเปรูในปี ค.ศ. 1532

54.       สถาบันที่ไม่ค่อยมีบทบาทใบยุคกลางตอนต้นคือ

(1) การศึกษา 

(2) ศาสนจักร 

(3) กษัตริย์     

(4) อนารยชน

ตอบ 1 หน้า 208 – 20959 (H), (คำบรรยาย) ลักษณะเด่นของยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 500 – 1000) คือ

1.         มีอนารยชนกลุ่มต่างๆ เข้ามารุกรานยุโรปตะวันตก

2.         เปลี่ยนจากสังคมเมืองที่เจริญมาตั้งแต่กรีก-โรมัน เป็นสังคมปิดแบบชนบท โดยส่วนใหญ่ จะเป็นชาวนาชาวไร่ที่ยากจน เพระถูกกดขี่จากชนกลุ่มน้อย ซึ่งได้แก่ กษัตริย์ พระ และขุนนาง

3.         เป็นยุคมืด (Dark Age) ของอารยธรรมกรีก-โรมัน เพราะมีเพียงพวกพระที่ยังคงศึกษา อารยธรรมกรีก-โรมัน ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ

4.         คริสต์ศาสนาเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุด โดยมีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คน ในสมัยนั้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ขาดความปลอดภัย และขาดความรู้ จึงหันเข้าหา ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

5.         สถาบันที่มีบทบาทเด่นในการผสมผสานและพัฒนาในยุคกลางตอนต้น คือ พวกอนารยชน คริสต์ศาสนา และระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)

55.       ประเทศสเปนเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกอนารยชนเยอรมันเผ่า

(1) แองเกิลส์  

(2) แซกซัน      

(3) ลอมบาร์ด 

(4) วิสิกอธ

ตอบ 4 หน้า 20621160 (H), 73 (H), (คำบรรยาย) พวกอนารยชนเยอรมันตะวันออก (East Germans) หรือพวกกอธ (Goths) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1. วิสิกอธ (Visigoths หรือ West Goths) ได้เข้ายึดครองกรุงโรมในปี ค.ค. 476 และได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและปกครองประเทศสเปนเป็น ระยะเวลาร่วม 300 ปี

2. ออสโตรกอธ (Ostrogoths หรือ East Goths) ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐาน ในประเทศอิตาลี จนถึงในปี ค.ศ. 554 จึงถูกจักรพรรดิจัลติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยึดแหลมอิตาลีกลับไปรวมเป็นดินแดนจักรวรรดิโรมันตะวันออก

56.       ในยุคกลางตอนต้นสังคมของยุโรปตะวันตกมีลักษณะเป็นสังคม

(1) เมือง         

(2) ชนบท       

(3) ของพวกพ่อค้า      

(4) อุตสาหกรรม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

57.       จักรพรรดิผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 ในปี ค.ศ. 800 เพื่อสถาปนาจักรวรรดิโรมัน ขึ้นมาใหม่คือ

(1) ชาร์ล มาร์แตล      

(2) ชาร์เลอมาญ         

(3) เปแปง      

(4) โคลวิส

ตอบ 2 หน้า 218 – 22063 (H) ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) เป็นกษัตริย์ชาวแฟรงก์ที่ทรงอานุภาพ มากที่สุดของราชวงศ์คาโรแลงเจียน และถือว่าทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดิ ทั้งนี้เพราะ ในปี ค.ศ. 800 พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 เพื่อสถาปนาให้ทรงเป็น จักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ผลงานที่สำคัญของพระองค์คือ สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทรงส่งเสริมการศึกษา กำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญ และกำหนดมาตราวัด

58.       ประเทศที่มีจุดกำเนิดมาจากการทำสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 คือ

(1) เยอรมนี     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) อังกฤษ     

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 220 – 22164 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกำเนิดของประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ ออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.         หลุยส์เตอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี

2.         ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ไต้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิ ปัจจุบันคือ ประเทศฝรั่งเศส

3.         โลแซร์ (Lothair) ได้ครอบครองดิบแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาคือ แคว้นลอแรน

59.       จุดกำเนิดของการปกครองในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในศตวรรษที่ 10 คือประเทศ

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) เยอรมนี     

(4) สเปน

ตอบ 2 หน้า 22264 (H) ภายหลังการแบ่งแยกจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญตามสนธิสัญญาแวร์ดังได้สิ้นสุดลงแล้ว ยุโรปได้ถูกรุกรานอีกครั้งโดยพวกแมกยาร์ (Magyars) จาก เอเชียพวกมอสเล็ม (Moslems) จากแอพ่ริกาเหนือ และพวกนอร์สแมน (Norsemen) หรือ ที่รู้จักกันในนามพวกไวกิ้ง (Vikings) จากสแกนดิเนเวีย ซึ่งผลของการรุกรานระลอกใหม่ทำให้ บรรดากษัตริย์และเจ้าผู้ปกครองนครเล็ก ๆ ไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้อยู่ใต้การปกครองได้ จึงเกิดระบบการเมืองการปกครองใหม่ คือ ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) หรือ ระบอบฟิวดัล ซึ่งเริ่มต้นขึ้นทางภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 10 ต่อมาก็ได้แพร่หลายไปทั่วดินแดนยุโรปตะวันตก

60.       สาเหตุที่คริสต์ศาสนากลายเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในยุคกลางเพราะประชาชนส่วนใหญ่

(1) ยากจน      

(2) ขาดความปลอดภัย

(3) ไม่รู้หนังสือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

61.       การบัพพาชนียกรรมคือ         

(1) การขับบุคคลใดบุคคลหนึ่งออกจากการเป็นคริสเตียน

(2) การลงโทษทางศาสนา      

(3) การออกบวช         

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 23224032166 (H), (คำบรรยาย) มาตรการสำคัญที่ศาสนจักรใช้ลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางศาสนา มีดังนี้

1. การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น กษัตริย์ ขุนนาง หรือนักคิดคนสำคัญ ออกจากการเป็นคริสเตียนหรือ เป็นพวกนอกรีต (Heretic) โดยไม่ให้ศาสนิกชนอื่นเข้ามาคบหาด้วย    

2. การอินเทอดิค (Interdict) คือ การประกาศว่าดินแดนใดดินแดนหนึ่งเป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา และบางกรณีอาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษ ที่รุนแรงที่สุด

62.       สาเหตุที่ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อม เพราะ

(1) สงครามครูเสด      

(2) ความเจริญทางการค้า

(3) การเกิดโรคระบาด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23766 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล เสื่อมลง มีตังนี้   

1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก กษัตริย์จึงมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

2. ความเจริญทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของแมเนอร์ลดความสำคัญลง

3. ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้อัศวินสวมเกราะและป้อมปราการหมดความหมาย

4. การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค (Black Death) ทำให้ประชากรลดลง พวกทาสติดที่ดินจึงหางานทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

63.       มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรมคือ

(1) เซนต์ไมเคิล           

(2) เซนต์ปีเตอร์          

(3) เซนต์ปอล 

(4) เซนต์เจมส์

ตอบ 2 หน้า 18523853 – 54 (H) เซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) เป็นหนึ่งในบรรดาอัครสาวกของ พระเยซูคนแรกที่ได้นำเอาคำสั่งสอนของพระเยซูออกไปเผยแผ่ยังกรุงโรม แต่ได้ถูกทำร้ายจน เสียชีวิต ต่อมาเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ทรงอนุญาตให้ศาสนาคริสต์เผยแผ่ ในจักรวรรดิโรมันได้อย่างเสรี และในสมัยจักรพรรดิเธโอโดซิอุส (Theodosius) ก็ทรงประกาศ ให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิโรมัน ทำให้กรุงโรมกลายเป็นศูนย์กลาง ของคริสต์ศาสนา และในเวลาต่อมามหาวิหารในกรุงโรมจึงได้ชื่อ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็น มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม

64.       ตำแหน่งสงฆ์ผู้ที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสันตะปาปาคือ

(1) Priest   

(2) Bishop

(3) Archbishop

(4) Cardinal

ตอบ 4 หน้า 240 – 24167 – 68 (H), (คำบรรยาย) ตำแหน่งของพระในโครงสร้างของศาสนจักร สามารถเรียงลำดับจากระดับต่ำสุดไปหาสูงที่สุด ได้แก่ พระ (Priest), บิชอป (Bishop),อาร์ชบิชอป (Archbishop), คาร์ดินัล (Cardinal) ซึ่งแต่งตั้งโดยสันตะปาปา โดยทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาของสันตะปาปา และสันตะปาปา (Pope) ซึ่งเป็นหัวหน้าสูงสุดของศาสนจักร เมื่อสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ลง พระที่อยู่ในกลุ่ม Cardinal จะเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับเลือกให้ เป็นสันตะปาปาองค์ใหม่โดยผ่านที่ประชุมของคณะคาร์ดินัล (College of Cardinals) หรือ พระราชาคณะ

65.       จักรพรรดิผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ในปี ค.ศ. 962 เหมือนกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับคือ    

(1) เฟรเดอริก บาร์บารอสซา

(2) ออตโตที่ 1 

(3) เฮนรีที่ 4    

(4) เปแปง

ตอบ 2 หน้า 246 – 24769 (H) ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออตโตที่ 1 (Otto I) แห่งแซกโซนี ได้รับการ สวมมงกุฎจากลับตะปาปาจอห์นที่ 12 ให้ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับ โดย จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จะประกอบไปด้วยดินแดนเยอรมนีและ อิตาลี ซึ่งทำให้พระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ใบยุโรปในฐานะพระจักรพรรดิผู้ปกครองเยอรมนี และ ยังได้ตำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งอิตาลีอีกด้วย

66.       สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปากับจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุคกลางคือ

(1) สันตะปาปาเป็นผู้สวมมงกุฎให้จักรพรรดิ 

(2) แย่งกันแต่งตั้งพระในตำแหน่งสูง ๆ

(3) จักรพรรดิขยายอำนาจเข้าไปในแหลมอิตาลี         

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 243250 – 25168 – 69 (H) ในศตวรรษที่ 11 ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างสันตะปาปา เกรเกอรีที่ 7 กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีสาเหตุมาจากการ แย่งกันแต่งตั้งพระในตำแหน่งสูง ๆ ซึ่งสันตะปาปาเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ แต่ในที่สุดสันตะปาปา และจักรพรรดิก็สามารถทำความตกลงกันได้ด้วยข้อตกลงแห่งเมืองเวิร์มในปี ค.ศ. 1122 ซึ่งทั้ง สันตะปาปาและจักรพรรดิต่างก็มีสิทธิเห็นชอบหรือไม่ชอบในตำแหน่งพระราชาคณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง เลือกมาได้ ซึ่งนับว่าเป็นชัยชนะของสันตะปาปาที่จะได้มีสิทธิร่วมในการเลือกตั้งและแต่งตั้ง พระราชาคณะด้วย ซึ่งในอดีตจักรพรรดิจะเป็นผู้มีสิทธิในการแต่งตั้งพระราชาคณะโดยไม่ต้องผ่าน ความเห็นชอบจากสันตะปาปา

67.       โบสถ์ใหญ่ในกรุงคอนสแตนติโนเปิลสร้างในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนคือ

(1) เซนต์โซเฟีย           

(2) เซนต์เจมส์

(3) เซนต์ปอล 

(4) เซนต์เบเบดิก

ตอบ 1 หน้า 252 – 25332370 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีดังนี้

1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี

2. สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529 ซึ่งได้กลายเป็นแบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

3. สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537

68.       ในยุคกลางสเปนตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวก

(1) โรมัน         

(2) ฝรั่งเศส     

(3) มัวร์           

(4) ลอมบาร์ด

ตอน.3 หน้า 26773 (H) ในปี ค.ศ. 711 พวกมัวร์ (Moors) หรือมอสเล็มจากแอฟริกาเหนือซึ่งนับถือ ศาสนาอิสลามได้เข้ายึดครองสเปนและนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 718 – 1492 เป็นระยะเวลากว่า 700ปี เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconquista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์สเปน 2 พระองค์ คือ พระเจัาเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอรากอน และพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล ได้ทำสงครามจนสามารถขับไล่พวกมัวร์ ออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย และยึดครองอาณาจักรกรานาดาได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 ทำให้ การปกครองโดยมุสลิมในสเปนสิ้นสุดลง

69.       ในปี ค.ศ. 1066 วิลเลียมแห่งนอร์มังดี ขุนนางชาว สามารถยกกองทัพไปตีอังกฤษได้สำเร็จ

(1) ดัตช์          

(2) เยอรมัน     

(3) ฝรั่งเศส     

(4) สเปน

ตอบ 3 หน้า 271 – 27372 (H), 74 (H) ในปี ค.ศ. 1066 วิลเลียมแห่งนอร์มังดี ขุนนางชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีฐานะเป็นข้าของกษัตริย์ฝรั่งเศส ได้ยกกองทัพเข้ารุกรานอังกฤษและรบชนะกษัตริย์ฮาโรลด์ กอดวินสัน ได้สำเร็จ ซึ่งสงครามในครั้งนี้ทำให้มีผลสำคัญติดตามมาคือ ทำให้กษัตริย์อังกฤษ มี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของ กษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไปถือครองและเก็บเกี่ยวผลประโยขบ์จากที่ดินในฝรั่งเศส ซึ่งจากสถานภาพ ดังกล่าวได้กลายมาเป็นขนวนของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

70.       สงครามครูเสดคือสงครามที่พวกคริสเตียนยกกองทัพไปตีเมีอง กลับคืนจากพวกมุสลิม

(1) เบธเลเฮม 

(2)เยรูซาเล็ม  

(3) คอนสแตนติโนเปิล

(4) ลิสบอน

ตอบ 2 หน้า 279 – 28576 – 77 (H) สงครามครูเสด (ค.ศ. 1095 – 1291) ในยุคกลาง ถือเป็น สงครามมหายุทธ์ที่กินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่าง ศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมหรือมอสเล็ม เพื่อแย่งกันเข้าครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงครามพวกคริสเตียนก็ไม่สามารถ ยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมุสลิมได้ จึงถือว่าเป็น ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะได้ทำให้เกิดผลดีและความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่างๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่นๆ เป็นอันมาก

71.       สงครามครูเสดทำให้การปกครองในระบบ……สิ้นสุดลง

(1) กษัตริย์     

(2) ศักดินาสวามีภักดิ์

(3) สาธารณรัฐ           

(4) ประชาธิปไตย

ตอบ 2 หน้า 284 – 28577 (H) ผลของสงครามครูเสด มีดังนี้

1. ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัลเสื่อมลง เพราะพวกขุนนางได้ตายไปเป็นจำนวนมาก

2.         เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการค้าในดินแดนยุโรปตะวันตก  

3. มีการเปิดเส้นทางการค้าเพื่อนำเอาความเจริญและสินค้าจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตก

4.         กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น ในขณะที่ขุนนางเสื่อมอำนาจและยากจนลง

5.         เมืองต่าง ๆ เริ่มขยายขึ้น เพราะการค้าขยายตัว

6. อำนาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น เป็นต้น

72.       ผู้มีสิทธิเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประกาศทองในปี ค.ศ. 1356 คือ

(1) คณะผู้เลือกตั้ง 7 คน

(2) สันตะปาปา          

(3) กษัตริย์อังกฤษ     

(4) ขุนนางฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 292 – 29378 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bult) ในปี ค.ศ. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้น ในอาณาจักรโรมันอันศักดิสิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (7Electors) เป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิ ของสันตะปาปาออกจากการเลือกตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับ การเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ

73.       สงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) เป็นสงครามที่ฝรั่งเศสทำกับ

(1) สเปน        

(2) อังกฤษ     

(3) เยอรมนี     

(4) ฮอลันดา

ตอบ 2 หน้า 296 – 29779 (H) สงครามร้อยปี (The Hundred Years’ War : ค.ศ. 1337 – 1453) เป็นสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส โดยมีสาเหตุปัจจุบันเนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในฐานะที่ ทรงเป็นทายาทของฟิลิปที่ 4 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลงโดยไม่มี รัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอม ดังนั้นพระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศสใน ปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดำเนินมาจนชาวฝรั่งเศสสามารถรวมตัวกันขับไล่อังกฤษออกจาก ดินแดนฝรั่งเศสได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453

74.       ผลของสงครามร้อยปี ทำให้เกิดความรู้สึก    

(1) ชาตินิยม

(2) ท้องถิ่นนิยม          

(3) รักประชาธิปไตย   

(4) ศรัทธาทางศาสนาเพิ่มขึ้น

ตอบ 1 หน้า 29979 (H) ผลของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส มีดังนี้

1.         เป็นการสิ้นสุดระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัลทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะ พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก และยังส่งผลให้กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น

2.         ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นทั้ง 2 ชาติ จนกษัตริย์ของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถรวมตัว เป็นรัฐชาติ (Nation-state) ได้สำเร็จ

3.         อังกฤษได้เลิกใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ

75.       สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (ค.ศ. 1305 – 1377) สันตะปาปาย้ายมาประทับที่ประเทศ

(1) อิตาลี        

(2) อังกฤษ     

(3) ฝรั่งเศส     

(4) เยอรมนี

ตอบ 3 หน้า 301 – 30280 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับ พวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงบานิโลนในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาชาวฝรั่งเศสได้ย้าย ที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศส องค์ต่อ ๆ มาก็พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้ส่งผลให้สันตะปาปาตกอยู่ ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

76.       ระบอบการปกครองที่มาแทนที่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในตอนปลายยุคกลางคือ

(1) สาธารณรัฐ           

(2) กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

(3) คณาธิปไตย          

(4) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ตอบ 4 หน้า 332 – 33386 (H) หลังจากที่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัลได้เลื่อมลง ในตอนปลายยุคกลางช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 รูปแบบการปกครองระบอบใหม่ที่เข้ามาแทนที่คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) ซึ่งเป็นระบอบที่กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการ ปกครองแผ่นดิน และอำนาจที่เฟื่องฟูมากคือ อำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (Divine Rights of King) โดยกษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งมาปกครองมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึง ไม่มีสิทธิปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง เพราะถ้าคิดล้มล้างกษัตริย์ก็จะถือว่าเป็นความผิดบาป

77.       กษัตริย์สเปนผู้สามารถขับไล่พวกมัวร์ออกจากคาบสมุทรไอบีเรียได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 คือ

(1) ชาร์ลที่ 5   

(2) ฟิลิปที่ 2    

(3) ฮวน คาร์ลอส        

(4) เฟอร์ดินานด์และอิซาเบลลา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

78.       ระบอบเศรษฐกิจที่ประเทศแม่ใช้กับอาณานิคมในตอนต้นยุคใหม่คือ

(1) พาณิชย์ชาตินิยม  

(2) เสรีนิยม    

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 339 – 34088 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิพาณิขย์ชาตินิยม (Mercantilism) เป็นระบบ การค้าที่รัฐบาลแห่งชาติและกษัตริย์จะเป็นผู้ควบคุมเศษฐกิจทั้งหมด โดยพวกนายทุนจะได้รับ การส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล ส่วนกษัตริย์จะสะสมโลหะมีค่าเพื่อหาเงินมาขยายกองทัพ และสะสมอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอื่บ นอกจากนี้ยังผูกขาดการค้าโดยบังคับให้ ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เท่านั้น เน้นการพึงพาเศรษฐกิจจากชาติอื่นๆ ให้น้อยที่สุด และส่งเสริมการมีอาณานิคม ทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าและเกิดกรณีพิพาทในกลุ่ม ประเทศอาณานิคมจนเกิดสงครามขึ้นบ่อยครั้งในระหว่างปี ค.ศ. 1650 – 1815

79.       ประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการค้าทาสในยุคใหม่คือ

(1) ดัตช์          

(2) ฝรั่งเศส     

(3) อังกฤษ     

(4) โปรตุเกส

ตอบ 4 หน้า 342 – 34389 (H) ระบบการค้าทาสได้สูญสิ้นจากอารยธรรมยุโรปไปตั้งแต่ในยุคกลาง ประมาณปี ค.ศ. 1000 แต่พอมาถึงในยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่ที่มีการขยายอิทธิพลทางการค้าของ ประเทศในยุโรป ได้เกิดโฉมหน้าเศร้าในประวัติศาสตร์ขึ้นมาอีกก็คือ เกิดการฟื้นฟูการค้าทาส ซึ่งผู้ที่ริเริมเป็นประเทศแรก คือ โปรตุเกส และต่อมาประเทศอื่น ๆ เช่น อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส ก็พลอยถือปฏิบัติด้วย

80.       สาเหตุที่ทำให้ประเทศในยุโรปตะวันตกค้นหาเส้นทางเดินเรือมาสู่ทวีปเอเชียในศตวรรษที่ 15 คือ

(1) ความต้องการเครื่องเทศ   

(2) กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก

(3) เพื่อล้มการผูกขาดทางการค้าของพวกอิตาลี        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 350 – 35189 – 90 (H) สาเหตุที่ก่อให้เกิดการสำรวจทางทะเลของประเทศในยุโรปตะวันตกมาสู่ทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 คือ

1. แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ ยุคกลางที่กองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชียไปเผยแพร่ในยุโรป

2. กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1453 ทำให้เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียถูกตัดขาด

3. มีความต้องการสินค้าจากเอเชียหรือ ภาคตะวันออก เช่น เครื่องเทศ ผ้าไหม พรม และเครื่องแก้ว

4. ต้องการล้มการผูกขาดของ พวกพ่อค้าชาวอิตาลีที่มั่งคั่งจากการค้า เช่น เวนิส เจนัว         

5. มีการปรับปรุงเส้นทางเดินเรือ มีการประดิษฐ์เรือขนาดใหญ่ เข็มทิศ และมีการทำแผนที่ที่มีความแน่นอนมากขึ้น

81.       บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรกคือ

(1) แมกเจลแลน         

(2) บัลบัว       

(3) วาสโก ดา กามา   

(4) โคลัมบัส

ตอบ 1 หน้า 35190 (H), (คำบรรยาย) แมกเจลแลน เดลคาโน เป็นนักสำรวจทางเรือชาวสเปน กลุ่มแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือเดินทางรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรกในระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย

82.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการคือการฟื้นฟูอารยธรรม

(1) กรีก-โรมัน 

(2) อียิปต์       

(3) เมโสโปเตเมีย       

(4) ยุคกลาง

ตอบ 1 หน้า 355 – 35892 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) ซึ่งคำว่า “Renaissance” แปลตามศัพท์ได้ว่า การเกิดใหม่” (Rebirth) ซึ่งก็จะหมายถึงการเกิดใหม่ ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน (Greco-Roman) ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสำคัญของมนุษย์ ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลก ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

83.       แหล่งกำเนิดของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการอยู่ที่เมือง

(1) ฟลอเรนซ์  

(2) ลอนดอน   

(3) ปารีส        

(4) อัมสเตอร์ดัม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84.       ปรัชญาในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเน้นในเรื่อง

(1) ศาสนา      

(2) วัตถุนิยม   

(3) สังคมนิยม

(4) มนุษยนิยม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85.       จุดมุ่งหมายในการเขียน The Prince โดยมาเคียเวลลี ในปี ค.ศ. 1513 คือการรวม …….. เข้าด้วยกัน

(1) อิตาลี        

(2)เยอรมนี      

(3) อังกฤษ     

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 333 – 33436294 (H) นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) เป็นนักเขียนผู้ทรง อิทธิพลมากที่สุดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการโดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Princeในปี ค.ศ. 1513 ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐในทุกวิถีทางที่จำเป็นโดยวิธีการ ที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จและได้มาซึ่งอำนาจจะเป็นไปตามทัศนะหนึ่งที่ว่า “The end justifies the means” หรือการทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรมและ วิธีการที่ถูกต้อง ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของเขาก็คือ ต้องการรวมอิตาลีให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน

86.       ผลงานชิ้นสำคัญของลีโอนาร์โด ดา วินซี คือ 

(1) The Last Judgement

(2) Mona Lisa   

(3) Romeo and Juliet

(4) Utopia

ตอบ 2 หน้า 363 – 36494 (H) ลีโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo da Vinci) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสากลมนุษย์ (Universal Man) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยดา วินซี ถือว่าเป็นผู้ที่มี ความสามารถรอบตัว โดยเป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร ทั้งนี้ ผลงานด้านจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ The Last Supper และ Mona Lisa ซึ่งนับเป็นตัวอย่างอันดีของศิลปะที่เชิดชูความสำคัญของสตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

87.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในดินแดนเยอรมนีได้ก่อให้เกิดผลงานสำคัญทางด้าน

(1) จิตรกรรม  

(2) ประติมากรรม       

(3) ปรัชญา     

(4) การพิมพ์

ตอบ 4 หน้า 359,372,3 (H), 96 (H) การฟื้นนฟูศิลปวิทยาการในดินแดนเยอรมนีได้ก่อให้เกิดผลงาน สำคัญทางด้านการพิมพ์ โดยบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องว่าประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของชาวยุโรป ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1445 คือ โจฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ช่างทองชาวเยอรมัน ซึ่งการพิมพ์นี้มีผลต่อการปฏิวัติอารยธรรมยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก เพราะทำให้การแพร่ขยาย ศิลปวิทยาการทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นทำให้หนังสือหาอ่านได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการศึกษา ทางด้านศาสนา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา

88.       นิกายที่ใม่จัดอยู่ในกลุ่มโปรเตสแตนต์คือ

(1) ลูเธอรันนิสม์         

(2) ฟรานซิสกัน           

(3) เพรสไบทีเรียน      

(4) คาลวินิสม์

ตอบ 2 หน้า 38338697 (H), 101 (H) การปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนเยอรมนี(อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) ในตอนต้นศตวรรษที่ 16 โดยกลุ่มนักมนุษยนิยมที่ไม่พอใจต่อ บทบาทของศาสนจักร มีผลทำให้เกิดความแตกแยกทางศาสนา และเป็นการสิ้นสุดของสภาพ ศาสนาสากล นั่นคือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะวันตกอีกต่อไป เพราะประชาชนสามารถเปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีหลากหลายนิกาย เช่น นิกาย- ลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism), นิกายคาลวินิสม์หรือนิกายคาลแวงในฝรั่งเศส (Calvinism/ Huguenots), นิกายเพรสไบทีเรียนในสกอตแลนด์ (Presbyterian), นิกายแองกลิคันหรือ นิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England) เป็นต้น

89.       การปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดน

(1) เยอรมนี     

(2) อิตาลี        

(3) อังกฤษ     

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90.       สาเหตุปัจจุบันที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปศาสนาคือ         

(1) สันตะปาปาเสื่อมอำนาจ

(2) การขายใบไถ่บาป

(3) พระประพฤติผิดศีลธรรม  

(4) การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป

ตอบ 2 หน้า 378 – 37998 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์ เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัด ในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

91.       การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะ

(1) ต้องการทำให้ศาสนาเกิดความบริสุทธิ    

(2) กษัตริย์ต้องการอภิเษกสมรสใหม่

(3)  กษัตริย์ต้องการยึดที่ดินของวัด    

(4) ต้องการตัดอิทธิพลของสันตะปาปา

ตอบ 2 หน้า 38399 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII) แห่งอังกฤษทรงไม่พอพระทัยที่สันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาดจาก พระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน (Ann Bolynn) จึงทรงตั้ง สังฆราซแห่งแคนเทอเบอรี่ขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภา ออกกฎหมายที่เรียกวา “The Act of Supremacy” ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Pope” ซึ่งส่งผล ทำให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็น นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)

92.       เมื่อเกิดสงครามศาสนาระหว่างพวกโปรเตสแตนต์กับพวกคาทอลิก ประเทศผู้นำของพวกคาทอลิกคือ

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) สเปน        

(4) ดัตช์

ตอบ 3 หน้า 390 – 391101 (H) สงคราม30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 –   1648)เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในดินแดนเยอรมนีหรืออาณาจักรโรมันอันศักดิสิทธิ์โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์กับพวกคาทอลิกโดยมีอังกฤษกับฝรั่งเศส เป็นผู้นำและเข้าช่วยเหลือพวกโปรเตสแตนต์ สเปนเป็นผู้นำและเข้าช่วยเหลือพวกคาทอลิก ในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็น มหาอำนาจในยุโรปแทนทสเปน ขณะที่ดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

93.       พระราชวังแวร์ซายส์ในฝรั่งเศสสร้างในสมัยพระเจ้า

(1) นโปเลียน  

(2) เฮนรีที่ 4    

(3) ฟรานซิสที่ 1          

(4) หลุยส์ที่ 14

ตอบ 4 หน้า 409106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทำตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่า ๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอำนาจใหม่ ทำให้พระราชวังแวร์ซายส์ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองศ์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสำคัญ ของพระองศ์มาอาศัยอยู่ ทำให้พระองศ์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด

94.       การปฏิวัติอันรุ่งเรืองในอังกฤษปี ค.ศ. 1688 มีผลตามมาคือ

(1) อังกฤษเป็นผู้นำทางการเกษตร    

(2) การปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

(3) อังกฤษเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก    

(4) นิกายอังกฤษสามารถเผยแพร่ได้อย่างเสรี

ตอบ 2 หน้า 417108.(H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรือง (The Glorious Revolution) ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้

1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่ การปกครองในระบอบรัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)

2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด         

3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น        

4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม จัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใดต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน

95.       ผลของสงคราม 7 ปี (ค.ศ. 1756 – 1763) ทำให้ฝรั่งเศสสูญเสีย……ให้แก่อังกฤษ

(1) คาเล่ส์       

(2) แคนาดา    

(3) ยิบรอลต้า 

(4) ไอร์แลนด์

ตอบ 2 หน้า 419 – 421109 (H) ความสำคัญของสงคราม 7 ปี (ค.ศ. 1756 – 1763) คือ

1.         เป็นสงครามที่ทำกันทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย

2.         เป็นการเปลี่ยนทิศทางการทูต คือ ศัตรูกลับกลายเป็นมิตร และมิตรกลายเป็นศัตรู โดยปรัสเซยเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ เพื่อรบกับออสเตรียซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส

3.         ผลของสงคราม คือ ปรัสเซียได้ครอบครองไซลีเซียของออสเตรีย และจากสนธิสัญญาปารีส ปี ค.ศ. 1763 ทำให้อังกฤษได้ครอบครองแคนาดาของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจาก การแสวงหาผลประโยชน์ในอินเดีย ทำให้อินเดียต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในเวลาต่อมา

96.       ประเทศที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการแบ่งโปแลนด์คือ

(1) รัสเซีย       

(2) ออสเตรีย  

(3) ปรัสเซีย    

(4) สเปน

ตอบ 4 หน้า 427109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเชียได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์ เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเชียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่2ในปี ค.ศ. 1793ทำให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็ร่วมกัน แบ่งโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป นับตั้งแต่นั้น

97.       นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ผู้เสนอทฤษฎีว่าดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาลคือ

(1) ปโทเลมี    

(2) ไทโซ บราเฮ           

(3) โจฮันน์ เคปเลอร์   

(4) โคเปอร์นิคัส

ตอบ 4 หน้า 434110 (H) นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus) นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ เป็นผู้เสนอทฤษฎีว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกเป็นบริวารดวงหนึ่ง

98.       นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบกฎแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นชาว

(1) เยอรมัน     

(2) อังกฤษ     

(3) ฝรั่งเศส     

(4) สเปน

ตอบ 2 หน้า 437 – 439111 (H) เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ กฎการดึงดูดของโลก” ซึ่งปรากฏในผลงานเรื่อง “Principia” ในปี ค.ศ. 1687 นอกจากนี้นิวตันยังอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจร รอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ที่ยํ้าว่า หลักการของวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การคำนวณ และการทดลอง

99.       สาเหตุสำคัญที่นำมาสู่การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776 คือ

(1) ปัญหาเรื่องการเก็บภาษี   

(2) ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส

(3) การถูกบังคับให้ซื้อสินค้าจากอังกฤษ       

(4) ไม่พอใจที่อังกฤษเข้ายึดครองแคนาดา

ตอบ 1 หน้า 453 – 454113 (H), (คำบรรยาย) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพระหว่าง อังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งในนิวอิงแลนด์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะอังกฤษพยายาม บังคับให้อาณานิคมอเมริกันต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามนโยบายพาณิชย์ชาตินิยม แต่ชาวอาณานิคม ต่อต้านไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีผู้แทนของตนในรัฐสภาของอังกฤษ และต่อต้านไม่ยอม ซื้อสินค้าของอังกฤษ โดยความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776ในที่สุด

100.    นักปรัชญาทางการเมืองผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกันคือ

(1) โทมัส ฮอบส์          

(2) มองเตสกิเออร์      

(3) โวลแตร์     

(4) จอห์น ล็อค และรุสโซ

ตอบ 4 หน้า 454,113 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติอเมริกันในปีค.ศ.1776 ได้รับอิทธิพลจากนักปรัขญา ทางการเมือง 2 ท่านคือ จอห์น ล็อค และรุสโซ โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏใน คำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของรัฐอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดี คนแรก คือ จอร์จ วอชิงตัน

101.    สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ

(1) ปัญหาทางด้านการคลัง    

(2) กษัตริย์ปกครองแบบกดขี่

(3) อิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม          

(4) ความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ตอบ 1 หน้า 460 – 461114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่สำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ ปัญหาทางด้านการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีเงินเพียงพอที่จะ ใช้จ่ายในการบริหารประเทศ จึงทรงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกันหาวิธีแก้ไขปัญหาการคลัง แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนที่ประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของ ฝรั่งเศส จนทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในที่สุดภายใต้การนำของพวกชนชั้นกลาง ซึ่งผลของการปฏิวัติทำให้ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐในปี ค.ศ. 1792

102.    การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เกิดขึ้นภายใต้การนำของพวก

(1) ชนชั้นกลาง           

(2) พระ           

(3) ขุนนาง      

(4) ชาวนา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ

103.    นโปเลียนหมดอำนาจเพราะทำสงครามกับ

(1) ปรัสเซีย    

(2) ออสเตรีย  

(3) รัสเซีย       

(4) โปแลนด์

ตอบ 3 หน้า 470117 (H) ในปี ค.ศ. 1810 รัสเซียได้ยกเลิกการเข้าร่วมกับฝรั่งเศลในการปิดล้อม อังกฤษทางเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดเมืองทำรับเรืออังกฤษ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงเกณฑ์ทหาร ทั้งหมดประมาณ 6 แสนคนบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และกองทัพของรัลเซีย จนต้องถอยทัพกลับมาเหลือทหารเพียงประมาณ 2 หมื่นคน โดยการ ทำสงครามกับรัสเซียในครั้งนี้ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจจนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

104.    ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว ยุโรปก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวก

(1) เสรีนิยม    

(2) อนุรักษนิยม          

(3) สังคมนิยม

(4) ชาตินิยม

ตอบ 2 หน้า 471 – 473118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว ประเทศ ในยุโรปส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำการต่อต้านการปฏิวัติของพวกเสรีนิยมหรือระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของ คองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ศ. 1815 – 1848)

105.    ประเทศผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ

(1) อังกฤษ     

(2) เบลเยียม  

(3) ฝรั่งเศส     

(4) สเปน

ตอบ 1 หน้า 495 – 496562123 (H) ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม ใบระหว่างปีค.ศ.1760- 1830 โดยเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ หลังจากนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงได้แพร่ขยายไป ในประเทศต่าง ๆ บนภาคพื้นยุโรป สหรัฐอเมริกา และในทวีปเอเชีย

106.    ปรัชญาที่ต่อต้านพวกนายทุนเอาเปรียบพวกกรรมกรคือ

(1) เสรีนิยม    

(2) สังคมนิยม

(3) อนุรักษนิยม          

(4) ชาตินิยม

ตอบ 2 หน้า 500 – 501124 (H) ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้น 2 ชนชั้น คือ นายทุนหรือชนชั้นกลางกับกรรมกร ซึ่งนายทุนจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีอิทธิพลทางการเมือง ส่วนกรรมกรในโรงงานซึ่งรวมไปถึงผู้หญิงและเด็กที่อายุเพียง 10 ขวบ หรือน้อยกว่านั้นจะเป็นผู้เสียเปรียบอย่างแท้จริง จากความไม่พอใจในสภาพอันแร้นแค้นของ กรรมกรทั้งหญิงและเด็กได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่จะปฏิรูปสังคมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่ ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบชองนายทุน และเจ้าของที่ดินต่อคนงาน

107.    ประเทศผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ

(1) เนเปิลส์     

(2) ซาร์ดิเนีย   

(3) เวนิส         

(4) เจนัว

ตอบ 2 หน้า 512 – 513126 (H) ประเทศผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ อาณาจักรปิเอดมอนต์เ- ซาร์ดิเนิย โดยมี เคานต์ คามิลโล ดิ คาวัวร์ เป็นนายกรัฐมนตรีของซาร์ดิเนียในปี ค.ศ. 1852 ซึ่งคาร์วัวร์เชื่อว่าการรวมชาติจะกระทำได้โดยการปราบออสเตรียก่อน จากนั้นจึงดึงประเทศ มหาอำนาจเข้ามาช่วย พร้อมกับดำเนินการทางการทูตไปด้วย ดังนั้นคาวัวร์จึงนำซาร์ดิเนีย เข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งทำให้คาวัวร์สามารถขอความช่วยเหลือจาก จักรพรรตินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศสให้มาช่วยรบกับออสเตรียได้ ซึ่งมีผลทำให้ซาร์ดิเนีย ต้องยกเมืองนีซและแคว้นซาวอยให้แก่ฝรั่งเศสเป็นการตอบแทน

108.    ผู้นำกองทัพอาสาสมัครเสื้อแดงผู้มีบทบาทสำคัญในการรวมอิตาลีคือ

(1) คาวัวร์       

(2) ออร์ซินี      

(3) การิบัลดี   

(4) มาสสินี

ตอบ 3 หน้า 515126(H) การิบัลดี (Garibaldi) วีรบุรุษในการรวมชาติของชาวอิตาลีไม่พอใจที่ รัฐบาลไต้ยกเมืองนีซให้แก่ฝรั่งเศส จึงรวบรวมอาสาสมัครใส่เสื้อสีแดง (Red Shirts) ลงเรือไป ยึดซิซิลีและเนเปิลส์ แล้วเดินทัพม่งสู่กรุงโรมซึ่งเป็นที่อยู่ของสันตะปาปาและได้รับการคุ้มครอง จากกองทหารฝรั่งเศส คาวัวร์กลัวว่ากองทัพของการิบัลดีจะปะทะกับกองทัพทหารฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพันธมิตรของตนเอง จึงได้ส่งพระเจ้าวิคเตอร์ เอมมานูเอลที่ 2 ไปเจรจา การิบัลดีจึงยกดินแดนที่ได้มาให้พระองค์ ซึ่งพระองค์ได้นำเอาไปรวมกับดินแดนของพระองค์ทางตอนเหนือ จึงทำให้การรวมอิตาลีประสบความสำเร็จในปี ค.ค. 1860 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จสมบูรณ์

109.    ประเทศผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันคือ

(1) ออสเตรีย  

(2) ปรัสเชีย    

(3) แซกโซนี    

(4) สวาเบีย

ตอบ 2 หน้า 418 – 421515517 – 519128 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ปรัสเซียไต้กลายมาเป็นประเทศผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันได้สำเร็จ โดยมี ปัจจัยสำคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้

1. ปรัสเซียไม่มีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย เพราะผู้ปกครอง ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา จึงมีชาวต่างชาติเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นจำนวนมาก

2. มีการจัดตั้งสหภาพศุลกากรซึ่งเป็นการประกาศอิทธิพลของปรัสเซีย

3. การมีผู้นำที่เข้มแข็ง คือ ปิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ซึ่งได้ประกาศใช้นโยบาย เลือดและเหล็กในการบริหารประเทศและการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน

110.    ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยังคงรักษาเอกราชเอาไว้ได้ตลอดสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือ

(1) ซูดาน        

(2) คองโก       

(3) ไนจีเรีย      

(4) เอธิโอเปีย

ตอบ 4 หน้า 523130 – 131 (H) จักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือ ยุคที่ประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้ ออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชียในระหว่างปี ค.ศ. 1871 – 1914 โดยมี อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดาเป็นผู้นำ ทำให้ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียต้องตกไปเป็น อาณานิคมจำนวนมาก โดยในทวีปแอฟริกาเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราชเอาไว้ได้เพียง 2 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย และไลบีเรีย ส่วนในทวีปเอเชียเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราช เอาไว้ได้ คือ จีน ญี่ปุ่น และไทย

111.    สหรัฐอเมริกาซื้อดินแดนอลาสก้ามาจากประเทศ

(1) อังกฤษ     

(2) รัลเซีย       

(3) ฝรั่งเศส     

(4) ดัตช์

ตอบ 2 หน้า 526 ในปี ค.ศ. 1867 รัชสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช รัสเซียได้ขายดินแดน อลาสก้าให้สหรัฐอเมริกาไปในราคา 7,200,000 ดอลลาร์

112.    ประเทศมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นผู้นำในการเปิดประเทศญี่ปุ่นในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ

(1) อังกฤษ     

(2) สหรัฐอเมริกา        

(3) ฝรั่งเศส     

(4) ดัตช์

ตอบ 2 หน้า 131 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1853 นายพลเพอร์รี่ของสหรัฐอเมริกาได้ยื่นสาส์น ให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อให้ญี่ปุ่นพิจารณาเปิดประเทศ แต่ญี่ปุ่นม่ยอม ต่อมาในปี ค.ศ. 1854 ญี่ปุ่นจึงยอมเปิดประเทศเนื่องจากเห็นตัวอย่างจากสงครามฝิ่นที่จีนต้องพ่ายแพ้ให้แก่อังกฤษ โดยหลังจากที่ญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศรับเอาอารยธรรมตะวันตกแล้ว ได้กลายมาเป็นประเทศ จักรวรรดินิยมในเวลาต่อมา จนสามารถยึดดินแดนของจีน เกาหลี และไต้หวัน มาเป็นของญี่ปุ่นได้

113.    ประเทศที่ดำเนินนโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยวในศตวรรษที่ 19 คือ

(1) อังกฤษ     

(2) เยอรมนี     

(3) ตุรกี           

(4) เซอร์เบีย

ตอบ 1 หน้า 530 – 531 ในศตวรรษที่ 19 ช่วงก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น เป็นช่วงที่อังกฤษ ดำเนินนโยบายโดดเดี่ยว (Splendid Isolation) จนเมื่อเห็นว่าเยอรมนีมีท่าที่ต้องการแข่งขัน กำลังนาวีกับอังกฤษ ทำให้อังกฤษตัดสินใจยกเลิกนโยบายโดดเดี่ยว และหันไปทำสัญญาเป็น พันธมิตรกับฝรั่งเศสและรัสเซีย จนในที่สุดได้กลายเป็นกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ซึ่งประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย โดยถือว่าเป็นการยุตินโยบายโดดเดี่ยวฝรั่งเศส ของบิสมาร์กโดยเด็ดขาด

114.    ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ

(1) เยอรมนี     

(2) อิตาลี        

(3) บัลแกเรีย  

(4) ออสเตรีย-ฮังการี

ตอบ 2 หน้า 535134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอำนาจ ในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1.         ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย

2.         ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ

ต่อมาก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย

115.    รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ

(1) เกิดการปฏิวัติ       

(2) กษัตริย์สิ้นพระชนม์

(3) มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ           

(4) อิทธิพลของพวกเสรีนิยม

ตอบ 1 หน้า 537136 (H) ภายหลังจากการล้มระบอบซาร์ลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 รัสเซีย ก็มีรัฐบาลชั่วคราวของนายเคอเรนสกี้ขึ้นมาปกครองแทน แต่ก็ยังไม่ยอมถอนตัวออกจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาให้ทำสงครามต่อไป มิฉะนั้นจะไม่ให้ รัสเซียกู้ยืมเงิน แต่ทหารรัสเซียไม่มีกำลังใจในการรบ อีกทั้งความไม่พร้อมในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และชาวรัสเซียโดยทั่วไปเริ่มเบื่อหน่ายการบริหารงานของนายเคอเรนสกี้ ดังนั้นจึงเป็นการเปิด โอกาสให้พรรคบอลเชวิคของเลนินทำการปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ซึ่งส่งผลทำให้รัสเซียต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และรัสเซียต้อง ถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1

116.    ลัทธิที่เกิดขึ้นภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติเพื่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์คือ

(1) ฟาสซิสต์   

(2) บาซ์          

(3) เสรีนิยม    

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 541 – 543137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้เกิดขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งแบ่งออกเนิน 2 แบบ มีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่

1. ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย

2. ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการ ฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุสโสลินี เกิดขึ้นในอิตาลี และขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประชาธิปไตย

117.    นโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ภายใต้การดำเนินการ ของประเทศ

(1) อังกฤษ     

(2) สเปน        

(3) อิตาลี        

(4) เยอรมนี

ตอบ 1 หน้า 545 – 546549, (คำบรรยาย) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายเบวิลล์ แชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้พยายามเจรจาสันติภาพกับฮิตเลอร์ คือ ข้อตกลงมิวนิค (Munich Agreement) ปี ค.ศ. 1938 อันเป็นการดำเนินการตามหลักการของนโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 นโยบายนี้ต้องล้มเหลวเพราะแทนที่ฮิตเลอร์ จะเข้ายึดครองเพียงแค่แคว้นซูเดเทนของเซคโกสโลวะเกีย แต่ฮิตเลอร์ได้เข้ายึดครอง เชคโกสโลวะเกียทั้งประเทศ

118.    สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีบุก

(1) เชคโกสโลวะเกีย  

(2) ออสเตรีย  

(3) เบลเยียม  

(4) โปแลนด์

ตอบ 4 หน้า 550138 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การที่กองทัพเยอรมนี เริ่มบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เนื่องจากฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้โปแลนด์ยอมคืน ฉนวนโปแลนด์และเมืองดานซิกให้เยอรมนี แต่โปแลนด์ไม่ยินยอมและหันไปฝักใฝ่อังกฤษและ ฝรังเศส ซึ่งเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์ ฝ่ายอังกฤษได้ยื่นคำขาดให้เยอรมนียุติการบุกนั้น แต่เยอรมนีไม่ยอมปฏิบัติตาม อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 จนทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในที่สุด

119.    ฮิตเลอร์เริ่มเป็นฝ่ายตั้งรับภายหลังจากการทำสงครามกับประเทศ

(1) อังกฤษ     

(2) สหรัฐอเมริกา        

(3) รัสเซีย       

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ได้ละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน (Non-Aggression Pact) หรือสนธิสัญญานาซี-โซเวียต ที่ทำไว้กับโซเวียตรัสเซียในปี ค.ศ. 1939 ด้วยการนำกองทัพเยอรมันบุกโจมตีโซเวียตรัสเซียโดยใข้ยุทธการบาร์บารอสซา ดังนั้นเมื่อเกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น โซเวียตรัสเซียจึงเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำสงครามกับฝ่ายอักษะ ซึ่งประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น โดยสงครามในยุโรปยุติลงหลังจากที่โซเวียตรัสเซียยึดกรุงเบอร์ลินได้สำเร็จ เยอรมนี เป็นฝ่ายแพ้สงครามและฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายในปี ค.ศ. 1945

120.    ประเทศในยุโรปที่ถูกแบ่งในสมัยสงครามเย็นคือ

(1) เชคโกสโลวะเกีย  

(2) เยอรมนี     

(3) ฮังการี       

(4) โปแลนด์

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในสมัยสงครามเย็นเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เยอรมนีตะรับตกกับ เยอรมนีตะวันออก โดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสได้สถาปนาเยอรมนีตะวันตกซึ่งเป็น เขตยึดครองของตนเป็นประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อใช้เป็นเขตต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตจึงตอบโต้ด้วยการตั้งให้เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย- เยอรมนี และในปี ค.ศ. 1960 โซเวียตได้สร้างกำแพงเบอร์ลินปิดล้อมเยอรมนีตะวันออกเอาไว้ เพื่อสกัดกั้นการอพยพของชาวเยอรมันตะวันออกเข้าสู่เยอรมนีตะวันตก

ENS3403 ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ แนวข้อสอบชุดที่ 3

แนวข้อสอบชุดที่3

Part 1 : Write out the sentence in complete form. Change the verb form where necessary.

1.      buses / plentiful / public / and / cheap / be / Bangkok / in.

2.      milder / food / generally / than / in / is / enjoyed / Chiang Mai / in the central plains.

3.      airport / they / will / shuttle bus / take / to / the / domestic.

4.      some / tourist / like / bargaining / not.

5.      learn / of / her / from / mother / basketry / art / she.

6.      their / take / off / must / entering / chapel / visitors / the / shoes / before.

7.      tourists / themselves / enjoy / Bangkok / in.

8.      airport / suburb / the / a / of / Bangkok / in / be.

9.      meters / in / drivers / Bangkok / taxi / use.

10.    hilltribes / wickerwork / produce / Thailand / Northern.

Answer

1.      buses / plentiful / public / and / cheap / be / Bangkok / in.

Public buses are cheap and plentiful in Bangkok.

2.      milder / food / generally / than / in / is / enjoyed / Chiang Mai / in the central plains.

Food is generally enjoyed in Chiang Mai milder than in the central plains.

3.      airport / they / will / shuttle bus / take / to / the / domestic.

They will take the shuttle bus to the domestic airport.

4.      some / tourist / like / bargaining / not.

Some tourist don’t like bargaining.

5.      learn / of / her / from / mother / basketry / art / she.

She learns the art of basketry from her mother.

6.      their / take / off / must / entering / chapel / visitors / the / shoes / before.

The visitors must take off their shoes before entering the chapel.

7.      tourists / themselves / enjoy / Bangkok / in.

Tourists enjoy themselves in Bangkok.

8.      airport / suburb / the / a / of / Bangkok / in / be.

The airport is in the suburb of Bangkok.

9.      meters / in / drivers / Bangkok / taxi / use.

Taxi drivers in Bangkok use meters.

10.    hilltribes / wickerwork / produce / Thailand / Northern.

Northen Thailand hilltribes produce wickerwork.

 

II.      Complete the dialogue.

Agent :……………………………..                               

Nelson : Could you tell me if there’s the bus directs to Chiang Mai around 7 o’clock?

Agent :……………………………..                               

Nelson : Well. I’d like to know what time does that bus reach Chiang Mai.

Agent :…………………………….                    

Nelson : How much for the ticket?

Agent : …………………………..                                    

Nelson : Can I buy the ticket on the bus?

Agent :…………………………….                    

Nelson : I see, thank you.

Answer

Agent : Good morning. Nakorn Chai Air. Can I help you?

Nelson : Could you tell me if there’s the bus directs to Chiang Mai around 7 o’clock?

Agent : Certainly. There is an express bus directs to Chiang Mai at that time.

Nelson : Well. I’d like to know what time does that bus reach Chiang Mai.

Agent : It gets there around 7.30 a.m. tomorrow.

Nelson : How much for the ticket?

Agent : It’s 750 baht for each trip.

Nelson : Can I buy the ticket on the bus?

Agent : Sorry, sir. You can get it only in the station.

Nelson : I see, thank you.

III.     Construct a conversation by giving useful information about famous beaches in Pattaya to a visitor.

Peter : Hi, John. What can I do for you today?

John : Hi, Peter. I want to spend a few days on interesting and famous beaches near Bangkok. Where should I go?

Peter : You should go to Pattaya. It’s about two hours drive from Bangkok.

John : Is it a beautiful beach?

Peter : Yes, it’s a nice place.

John : What should I see and do there?

Peter : You should go to Pattaya and Jomtien Beaches. They’re popular among most tourists who love water sports such as windsurfing, water skiing and scuba diving.

John : Is there anything else?

Peter : Yes, “Koh Lan” or “Lan Island” It’s the largest of Pattaya’s offshore islands.

John : That’s interesting. How can I get to Pattaya?

Peter : Take an air-conditioned bus at the Eastern Bus terminal. It’s usually called “Ekkamai”

John : Thanks for your practical suggestion.

Peter : You’re welcome

IV.    Construct a conversation by talking about Thai handicrafts

Thai Basketry

Thai basket weaving is an ancient art in Thailand. The art of Thai basketry can be traced as far back as the Sukhothai Period, some 800 years ago. There are a number of old paintings showing villagers using containers made from bamboo, rattan and a few old other natural materials found in abundance in Thailand. In the olden day, these basketry items were simple in production and design, benefiting the uses of the time. Nowadays, the production process and designs have been developed and become more sophisticated and more attractive. Thai basketry is usually made from bamboo, rattan. Woven products in Thailand include not only baskets but also some furnishing items, food containers, fish traps and many things used in everyday life. The popularity of Thai basketry items is growing rapidly not only in the domestic market but abroad as well. Our major markets are the United States, Japan, Germany, Italy and England.

ENS3403 ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ แนวข้อสอบชุดที่ 2

แนวข้อสอบชุดที่ 2

Part I : Answer the following questions. (20 marks)

1.      ………………established the capital at Thonburi.

2.      Thailand’s important exports are…………………

3.      …………sent Buddhist missionaries to Southeast Asia.

4.      The normal check-out time of a hotel is……………

5.      Thailand’s neighbors are         ………………….

6.      ………………..is also the finest example of modern Thai architecture.

7.      The American currency is………………………

8.      A Garuda is…………………

9.      The Marble Temple is built of……………………..

10.    Some of the best things to buy in Thailand are……………

Answer

1.      Phray Taksin established the capital at Thonburi.

2.      Thailand’s important exports are rice, Thai rubber and tin.

3.      Emperor Asoka sent Buddhist missionaries to Southeast Asia.

4.      The normal check-out time of a hotel is 12,00 noon.

5.      Thailand’s neighbors are Myanmar, Loas, Cambodia and Malaysia.

6.      The Marble Temple/Wat Benchamabophit is also the finest example of modern Thai architecture.

7.      The American currency is dollar.

8.      A Garuda is a figure half-bird, half-man.

9.      The Marble Temple is built of white Italian marble from Carrara. Italy.

10.    Some of the best things to buy in Thailand are Thai silk, bronzeware and wood.

Part II : Use the following words and expressions to write a complete sentence (20 marks)

1.      natural resources =

2.      check-in =

3.      free of charge =

4.      precious stone =

5.      recommend =

Answer

1.      natural resources

= Thailand has many natural resources such as mountains, forests and wild animals.

2.      check-in

= You have to check-in at the airport an hour before departure’s time.

3.      free of charge

= It is free of charge for Thai people to visit Wat Prakaew.

4.      precious stone

= A diamond and a ruby are the precious stones.

5.      recommend

= I’d like to recommend you to visit Chiang Mai once. 

Part III : Peter wants to go shopping at the Weekend Market, he asks Danai. his tour guide. Construct a conversation between Sarah and Danai. (20 marks)

Danai : Good morning, Peter. Would you like some help?

Peter : Good morning, Mmm, Danai. I’d like to go shopping in Bangkok.

Do you have any suggestion/idea where I can go shopping?

Danai : Yes. I recommend, “Chatuchak” is very popular among both Thai and foreign tourists.

Peter : What is it famous for?

Danai : It is the largest open air market in Bangkok. That’s why, it’s regarded as the shopper’s paradise in Thailand.

Peter : What kinds of things can I get there?

Danai : Many goods such as woodwork, bronzeware, glassware, ready-to- wear clothes, Thai silk and many kinds of handicrafts for being souvenirs to take back your hometown.

Peter : What’s the best way to get there?

Danai : It’s easy to get there, especially by the new Skytrain or take a taxi, it’s not far from here.

Peter : Anything else about there?

Danai : Anyway, when you buy things, you can ask for lower prices.

Bargaining is a common practice there.

Peter : That sounds interesting. Thank you for your information.

Danai : With pleasure. Enjoy your shopping there.

Part IV : Mr. Moore is cashing his travel’s check at the hotel.

Construct a conversation between Mr. Moore and cashier.

(20 marks)

Cashier : Good morning. Mr. Moore.

What can I do for you today?

Mr.Moore : Yes, Can I cash my traveler’s checks here?

/I would like to cash my traveler’s check?

/ Could you cash traveler’s checks for me?

Cashier : Of course. How many checks would you like to cash? Mr.Moore : Just two—twenty dollars each.

And what is today’s rate for US dollars. / a US dollar.)

/What’s the rate of exchange?

Cashier : Today’s rate is 31 baht to a dollar.

You wanna cash 40 dollars, don’t your?

Mr.Moore : That’s right.

Cashier : That will come 1,240 baht. Please sign your name at the back of the checks

Mr.Moore : Okay.

Cashier : Here’s your money, Sir.

Mr.Moore : Thanks a lot.

Cashier : Any time. Enjoy your pleasant stay in Thailand

Part V : Write a descriptive paragraph (6-8 sentences) about Royal Folk Art and Craft Center. (20 marks)

Bangsai Royal Folk Arts and Crafts Center

(ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร)

Bangsai Royal Folk Arts and Crafts Center, located at Bangsai in Ayuthaya, 70 kilometers from Bangkok. It is another major Thai handcraft center which was established in 1980 under the royal patronage of Her Majesty the Queen. Covering an area of about 1,000 rai, visitors are free to walk around several workshops in the complex and watch the trainees and skilled craftsmen at work. It is the place where villagers from all over Thailand come to receive special training in the art of Thai handicrafts. Besides, some of the best buys are Yanlipao basketry, miniature clay dolls, artificial flowers, handwoven silk, bronzeware, rattan basketry, wood work, glass ware and ready-to-ware clothes. 

WordPress Ads
error: Content is protected !!