การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ในวิชาอารยธรรมตะวันออก “ดินเดนตะวันออกกลาง” มีความสำคัญอย่างไร
(1) เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม
(2) เป็นที่ตั้งของพีระมิดและสวนลอยบาบิโลน
(3) เป็นแหล่งความเจริญเริ่มแรกของโลก
(4) เป็นแหล่งเชื่อมทวีป คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา
ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East หรือ Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง3ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของการเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมและความเจริญเริ่มแรกของโลก คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิด 3 ศาสนาหลักของโลก คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
2. “ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด
(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(2) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
(4) แอฟริกาตะวันออกกลาง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. คำว่า “B.C.” หมายถึงอะไร
(1) พุทธศักราช
(2) ก่อนสมัยพุทธกาล
(3) คริสตกาล
(4) ก่อนคริสต์ศักราช
ตอบ 4 หน้า 5, (คำบรรยาย) ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ : B.C.) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติ เช่น 245 ปีก่อน ค.ศ. (หรือ 245 B.C.) หมายถึง 245 ปีก่อนพระเยซูประสูติ
4. มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด
(1) ยุคหินเก่า
(2) ยุคหินใหม่
(3) ยุคทองแดง
(4) ยุคสำริด
ตอบ 2 หน้า 6, (คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่น้ำใหญ่เพื่อมุ่งที่จะใช้นํ้าในการทำเกษตรกรรมและดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง
5. มนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
(1) สุเมเรียน
(2) อียิปต์โบราณ
(3) เปอร์เซียโบราณ
(4) ฮิบรู
ตอบ 2 หน้า 11, 18-20 อารยธรรมอียิปต์โบราณมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์โดยชาวอียิปต์ได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ” เนื่องจากเป็นชนชาติที่มีความรอบรู้และแม่นยำทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต มีทักษะและความชำนาญในการก่อสร้าง และกษัตริย์เก่งในการรบและการปกครอง ทำให้ชาวอียิปต์ได้ทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมไว้ให้แก่โลกมากที่สุด เช่น มหาพีระมิดที่เมืองกีซา วิหารเทพเจ้าอะมอนที่คาร์นัค เป็นต้น
6. อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด
(1) อินเดียโบราณ
(2) อียิปต์โบราณ
(3) เมโสโปเตเมีย
(4) กรีกโบราณ
ตอบ 3 อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดบนดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส หรือที่เรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” ซึ่งเราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า“ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก
7. กลุ่มชนใดเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(1) สุเมเรียน
(2) อัคคาเดียน
(3) อะมอไรท์
(4) ฮิตไตท์
ตอบ 1 หน้า 21 – 22, 82 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียซึ่งเรียกว่า “ซูเมอร์” เมือประมาณ 5000 B.C. และถือเป็นผู้วางรากฐานธารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึงอารยธรรมที่เด่น ๆมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง สังคมการประกอบอาชีพ ศาสนา ศิลปะการเขียน สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์
8. จุดมุ่งหมายของการสร้างซิกกูแรตคืออะไร
(1) เป็นวิหารเทพเจ้า
(2) เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย
(3) เป็นสถานที่ศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า
(4) เป็นที่อยู่ของผู้ปกครองนครรัฐ
ตอบ 1 หน้า 23 – 24 สถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุดของชาวสุเมเรียนก็คือ มหาวิหารหอคอยหรือซิกกูแรต(Ziggurat) ที่นครรัฐเออรุค ซึ่งสร้างขึ้นด้วยอิฐ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างก็เพื่อใช้เป็นวิหารเทพเจ้า ซึ่งชั้นบนสุดของซึกกูแรตจะถูกกำหนดให้เป็นที่ประทับของเทพเจ้าและเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
9. สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด
(1) ไฮโรกลิฟิก
(2) คูนิฟอร์ม
(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน
(4) พีระมิด
ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งเป็นศิลปะการเขียนของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดยอักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวสุเมเรียนจะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้งเพื่อเก็บรักษา ข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง
10. ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด
(1) สมัยก่อนราชวงศ์
(2) สมัยราชวงศ์
(3) สมัยอาณาจักรใหม่
(4) สมัยอาณาจักรกลาง
ตอบ 2 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณจัดตั้งชาติและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตริย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็นชาวอียิปต์โบราณ มีทั้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ”ซึ่งสมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่าสมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ