การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. นักปรัชญาชาวเยอรมันผู้เสนอทฤษฎีว่าโลกและดาวเคราะห์ถือกำเนิดมาจากการรวมตัวของกลุ่มผงและก๊าซที่เคลื่อนไหวในจักรวาลคือ
(1)อิมมานูเอล คานท์
(2) เคปเลอร์
(3) โคเปอร์นิคัส
(4) ฟรอยด์
ตอบ 1 หน้า 1, 7 (H) ในปี ค.ศ. 1775 อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ได้เสนอทฤษฎีการกำเนิดของโลกว่า โลกและดาวเคราะห์ถือกำเนิดมาจากกลุ่มเมฆ กลุ่มผงและ กลุ่มก๊าซที่เคลื่อนไหวในจักรวาล ซึ่งได้ถูกกระแสลมหมุนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
2. ความสำคัญของยุคนํ้าแข็งคือการกำเนิดของ
(1)สัตว์เซลล์เดียว
(2) มนุษย์
(3) วาฬ
(4) ไดโนเสาร์
ตอบ 2 หน้า 2, 8 (H) ยุคที่ธารน้ำแข็งแผ่เข้ามาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลกนั้น เรียกว่า ‘’ยุคนํ้าแข็ง” (Pleistocene) ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นประมาณเกือบ 1 ล้านปีมาแล้ว และสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว ยุคนี้นับว่ามีความสำคัญต่อเรื่องราวของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงระยะเวลาที่นํ้าแข็งละลายได้ปรากฏร่องรอยของสิ่งมีชีวิตคือ “มนุษย์” ขึ้นเป็นครั้งแรก
3. ยูเรเชียคือแหล่งกำเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชียบริเวณที่ติดต่อกับทวีป
(1) แอฟริกา
(2) อเมริกา
(3) ยุโรป
(4) ออสเตรเลีย
ตอบ 3 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ในทวีปเอเชีย และแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับทวีปยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐาน ในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา
4. มนุษย์ Homo sapiens ผู้เป็นบรรพบุรุษของพวกผิวขาวในปัจจุบันคือ
(1) Neanderthal
(2) Cro-Magnon
(3) Grimaldi
(4) Chancelade
ตอบ 2 หน้า 11-12, 38, 10 (H) Homo sapiens หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรก ในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ และมีหน้าตาคล้าย มนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น จนถือเป็นบรรพบุรุษชองมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1.โครมันยอง (Cro-Magnon) คือ คนผิวขาว
2. กริมัลดี (Grimaldi) คือ คนผิวดำ
3. ชานเซอเลด (Chancelade) คือ คนผิวเหลือง หรือผิวสีนํ้าตาล
5. ความสำคัญของยุคหินกลางคือ
(1) การเลี้ยงสัตว์
(2) การเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก
(3) การตั้งถิ่นฐาน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 8 – 15, 38 – 39, 9 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคหินแรก เป็นยุค ลองผิดลองถูกของมนุษย์
2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้
3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข
4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจาก ชุมชนเร่ร่อน เป็นชุมชนรกราก หรือเป็นยฺคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก
6. ประวัติศาลตร์ยุคโบราณสิ้นสุดลงเมื่อ
(1) จักรวรรดิโรมันตะวันออกถูกทำลาย
(2) จักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลาย
(3) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(4) การค้นพบโลกใหม่
ตอบ 2 หน้า 3 (H), 54 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลาย เนื่องจากถูกพวกอนารยชนยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุด ยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของพวกโรมันต้อง เปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย ภายใต้การเข้ามามีอำนาจของพวกอนารยชนในยุโรปตะวันตก ทำให้มีการแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรมความเจริญต่าง ๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา
7. ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาว์วิน กล่าวไว้ว่า สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจาก
(1) พระเจ้าเป็นผู้สร้าง
(2) สัตว์เซลล์เดียวในทะเล
(3) การถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่
(4) เชื้อแบคทีเรีย
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลล์ ดาร์วิน นักชาติพันธุวิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืซและสัตว์ที่มี ชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตนก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุไปในที่สุด
8. ประวัติศาสตร์คือการเรียนรู้เรื่องราวของ
(1) มนุษย์
(2) สัตว์
(3) เครื่องมือเครื่องใช้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 20, 37, 12 (H) ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชาติพันธุ์มนุษย์ในอดีต ซึ่งน่าจะมีความหมายเป็น 2 นัย คือ
1. การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกำเนิดมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน
2. ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ
9. หนังสือตำราอารยธรรมตะวันตกจัดเป็น
(1) เอกสารชั้นหนึ ง
(2) หลักฐานรอง
(3) การตรวจสอบภายนอก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 21, 12 (H), (คำบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ
2. หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม เช่น ตำราอารยธรรมตะวันตก ฯลฯ
10. ข้อใดไม่จัดอยู่ในความหมายของคำว่า วัฒนธรรม
(1) การกิน
(2) ภาษา
(3) การทำผิดกฎหมาย
(4) ศิลปะ
ตอบ 3 หน้า 21 – 22, 12 (H), (คำบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง ความดีงามหรือความเจริญก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมจนก่อให้เกิดความรู้ ความเชื่อ ภาษา ศิลปกรรม ศิลปะ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม มารยาททางสังคม ความสามารถอื่น ๆ ตลอดจนความเคยชินต่าง ๆ แบบเดียวกัน ถือได้ว่ามนุษย์มีวัฒนธรรมเดียวกัน ซึ่งเราสามารถ แยกแยะความแตกต่างของแต่ละวัฒนธรรมได้จากงานศิลปะ ภาษา และพฤติกรรม
11. ทฤษฎีโนแมดทางอารยธรรมเน้นในเรื่อง
(1) สภาพภูมิศาสตร์
(2) การเสื่อมของการใช้ดิน
(3) ผู้ชนะรับเอาวัฒนธรรมที่สูงกว่าของผู้แพ้มาปรับปรุงใช้
(4) ความพยายามเอาชนะธรรมชาติ
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีโบแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (พวกโนแมดเป็น พวกเร่ร่อนตามทะเลทรายที่สามารถรบชนะพวกที่มีอารยธรรมสูงกว่า) เช่น ในกรณีที่พวกเซไมท์ เข้ายึดครองดินแดนของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับปรุงใช้ เป็นต้น
12. อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมียจัดอยู่ในกลุ่มอารยธรรม
(1) ตะวันออก
(2) ตะวันตก
(3) สากล
(4) โลก
ตอบ 4 หน้า 31, 14 (H), 17 (H) ขอบเขตของอารยธรรมในยุคโบราณ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. อารยธรรมตะวันออก มีแม่แบบคือ อารยธรรมจีน-อินเดีย
2. อารยธรรมตะวันตก มีแม่แบบคือ อารยธรรมกรีก-โรมัน
3. อารยธรรมโลก มีแม่แบบคือ อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย
13. โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักหลอมใช้คือ
(1) ทองแดง
(2) ดีบุก
(3) ทองบรอนซ์
(4) เหล็ก
ตอบ 1 หน้า 33 – 34, 14 (H) การเรียนรู้การใช้โลหะของมนุษย์ในอารยธรรมสมัยแรกนั้น มนุษย์ได้รู้จัก วิธีการหลอมทองแดง แล้วนำทองแดงนั้นมาเป็นอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งเป็นเครื่องประดับ ต่อมาจึงเริ่มเรียนรู้การนำทองแดงมาผสมกับดีบุกกลายเป็นทองบรอนซ์ ต่อจากนั้นก็เริ่มรู้จัก การหลอมเหล็กขึ้นใช้ ซึ่งเหล็กได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายอำนาจของมนุษย์ในเวลาต่อมา
14. ความสำคัญของแม่นํ้าไนล์ต่อการสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์คือ
(1) ช่วยป้องกันการรุกรานจากข้าศึก
(2) ช่วยทำให้อียิปต์อุดมสมบูรณ์ด้านเกษตรกรรม
(3) เป็นแหล่งผลิตแร่เหล็ก
(4) เป็นแหล่งประมงที่สำคัญ
ตอบ 2 หน้า 46, 17(H) แม่นํ้าไนล์คือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ ทั้งนี้เพราะสภาพที่ตั้ง ของอียิปต์จะเป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง มีภูมิประเทศแวดล้อมไปด้วยทะแลหราย และมีฝนตกเฉพาะบริเวณเดลต้า แต่อียิปต์ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ จึงช่วยทำให้อียิปต์ มีความอุดมสมบรณ์ด้านเกษตรกรรม และความมั่งคั่งจนสามารถสร้างสมอารยธรรมอันยิ่งใหญ ของโลกในยุคโบราณ
15. บริเวณจุดอ่อนของอียิปต์ที่ศัตรูจะเข้ารุกรานได้โดยง่ายคือบริเวณ
(1) ช่องแคบสุเอซ
(2) แม่น้ำไนล์
(3) เดลด้า
(4) ทะเลทราย
ตอบ 1 หน้า 47 – 48, 56, 18 (H), 20 (H) บริเวณเดียวที่เป็นจุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ ที่ทำให้พวกฮิคโซสสามารถเข้ามารุกรานและยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตกบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรทีส ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้ จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัตศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์
16. การสร้างปฏิทินของอียิปต์เป็นผลมาจาก
(1) การดูดวงอาทิตย์
(2) การดูดวงจันทร์
(3) การทำชลประทาน
(4) การทำพีระมิด
ตอบ 3 หน้า 63, 22 (H), (คำบรรยาย) การสร้างปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ในปี 4241 B.C.เป็นผลมาจากการที่ฟาโรห์ได้ส่งคนไปสังเกตการขึ้นลงของระดับนํ้าในแม่นํ้าไนล์แล้วจดเป็นสถิติ เพื่อการทำชลประทาน ซึ่งปฏิทินสุริยคติจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำเกษตรกรรม เพราะทำให้ทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และทำให้รู้สภาวะการขึ้นลงของ แม่น้ำไนล์ได้อย่างแม่นยำ
17. สมัยราชวงศ์ของอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อ
(1) มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก
(2) มีการรวมอียิปต์สูงกับอียิปต์ตํ่าเข้าด้วยกัน
(3) ชาวอียิปต์เลิกเร่ร่อนและหันมาตั้งถิ่นฐาน
(4) พวกพระและขุนนางหมดอำนาจ
ตอบ 2 หน้า 53, 19 (H) สมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิดของอียิปต์ (3000 – 2400 B.C.) เริ่มต้นขึ้น เมื่อฟาโรห์เมเนส (Menes) ทรงรวมอียิปต์สูงกับอียิปต์ตํ่าเข้าด้วยกัน และสร้างเมืองใหม่คือ เมืองเมมฟิส (Memphis) ขึ้นเป็นเมืองหลวง แล้วเริ่มรวมนครรัฐต่าง ๆ ของอียิปต์เข้าด้วยกัน ซึ่งกินเวลาตลอดสมัยราชวงศ์ที่ 1 คือประมาณ2700 B.C. จึงเป็นสมัยเริ่มต้นราชวงศ์อย่างแท้จริง
18. คำว่า ฟาโรห์ มีความหมายถึง
(1) กษัตริย์
(2) ขุนนาง
(3) พระ
(4) พระราชวัง
ตอบ 4 หน้า 19 – 20 (H) คำว่า “ฟาโรห์” มีความหมายถึง พระราชวังหรือเรือนหลวง (Great House/ Royal House) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวอียิปต์ใช้เรียกกษัตริย์ผู้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์จนกระทั่งไม่กล้า เอ่ยถึงพระนามของกษัตริย์ จึงเรียกที่อยู่ของกษัตริย์แทน
19. สิ่งก่อสร้างที่นิยมสร้างในสมัยอาณาจักรเก่าคือ
(1) เขื่อน
(2) พีระมิด
(3) วิหาร
(4) พระราชวัง
ตอบ 2 หน้า 53 – 54, 19 (H), (คำบรรยาย) ความสำคัญในสมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิดของอียิปต์ (3000 – 2400 B.C.) มีดังนี้
1. ศิลปะสำคัญที่นิยมสร้าง คือ การสร้างพีระมิด เพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์ว่า เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนำความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์ เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. มีการปกครองเป็นแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) โดยมีฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุด และมีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re/Ra) ทรงทำหน้าที่ เป็นทั้งหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพระ โดยมีนโยบายคือ รักษาสันติภาพไม่รุกรานใคร ซึ่งนับเป็นจุดอ่อนของฟาโรห์คือไม่มีกองทัพของพระองค์เอง ต้องอาศัยการเกณฑ์ทหาร มาจากพวกขุนนางที่ปกครองจังหวัดต่าง ๆ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟาโรห์สูญเสียอำนาจ ให้กับเหล่าขุนนาง และทำให้สมัยอาณาจักรเก่าเสื่อมลงในที่สุด
20. สมัยอาณาจักรเก่าฟาโรห์หมดอำนาจเพราะพวก
(1) ขุนนาง
(2) พระ
(3) ฮิคโซส
(4) กรีก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ
21. สมัยขุนนางฟาโรห์มีบทบาทสำคัญทางด้าน
(1) การปกครอง
(2) ศาสนา
(3) การทำชลประทาน
(4) วรรณคดี
ตอบ 2 หน้า 55, 20 (H) สมัยฟิวดัลของอียิปต์ (2200 – 2000 B.C.) เป็นสมัยที่พวกขุนนางหรือ ผู้ว่าราชการมณฑลต่าง ๆ (Nomarchs) เข้ายึดอำนาจจากฟาโรห์มาเป็นของตนเอง ทำให้ ฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ที่ 7 และ 8 มีฐานะเป็นเพียงฟาโรห์หุ่นเชิด โดยจะมีบทบาทสำคัญ ทางด้านศาสนา ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของพวกพระ จนกระทั่งในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ที่ 11 แห่งราขวงศ์ทีบีส (Thebes) ซึ่งสามารถขับไล่ขุนนางและเข้ายึดอำนาจได้สำเร็จ ทำให้อียิปต์ รวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง
22. สมัยประชาธิปไตยของอียิปต์จัดอยู่ในสมัย
(1) อาณาจักรเก่า
(2) ขุนบาง
(3) อาณาจักรกลาง
(4) อาณาจักรใหม่
ตอบ 3 หน้า 55 – 56, 20 (H) สมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์ (2000 – 1730 B.C.) เป็นสมัยที่ ฟาโรห์ทรงยึดอำนาจคืนมาจากพวกขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน พระองศ์ จึงทรงตอบแทนประชาชนด้วยการอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการได้ ซึ่งถือว่าเป็นสมัย เริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ ต่อมาในปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูกรุกราน เป็นครั้งแรกโดยพวกฮิคโซส (Hyksos) ผ่านทางบริเวณช่องแคบสุเอซ ซึ่งพากฮิคโซสรู้จัก การใช้ม้าและรถศึกในการทำสงคราม จึงทำให้สามารถยึดครองอียิปต์ต่ำบริเวณเดลต้า ได้สำเร็จเป็นเวลานานถึง 150 ปี
23. ปัจจัยที่ทำให้พวกฮิคโซสยึดครองอียิปต์ตํ่าได้สำเร็จคือ
(1) การใช้ม้าและรถศึก
(2) การเข้าโจมตีอียิปต์ผ่านทางทะเลทราย
(3) ได้รับความช่วยเหลือจากพวกขุนนาง
(4) เก่งในการทำชลประทาน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ
24. จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 คือ
(1) ทำให้ศาสนาบริสุทธิ์
(2) เปลี่ยนมานับถือเทพเจ้าองค์เดียว
(3) ลดอำนาจพวกพระ
(4) ต้องการย้ายเมืองหลวง
ตอบ 3 หน้า 58, 21 (H) ฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ของอียิปต์ ทรงปฏิรูปศาสนาโดยทรงให้ยกเลิกการนับถือเทพเจ้าองค์อื่นๆ ทั้งหมด แล้วให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตน เพียงองค์เดียวเท่านั้น รวมทั้งทรงย้ายเมืองหลวงจากทีบีส (Tebes) ไปอยู่ที่เทล เอล อามาร์นา (Tell el Amana) ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อผลทางการเมือง คือ เป็นการ ลดอำนาจของพวกพระอามอนที่ร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย และ ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
25. การทำมัมมี่ของอียิปต์มีจุดประสงค์เพื่อ
(1) การกลับมาเกิดใหม่
(2) การรักษาศพไมให้เน่าเปื่อย
(3) เอาไว้บูชา
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, 22 (H) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตหลังความตาย เป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธี เก็บรักษาศพไมให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์ โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร
26. อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นในทวีป
(1) เอเชีย
(2) แอฟริกา
(3) ออสเตรเลีย
(4) ยุโรป
ตอบ 1 หน้า 65 – 66, 22 (H) คำว่า “เมโสโปเตเมีย” เป็นภาษากรีก แปลว่า “ดินแดนระหว่างแม่นํ้า 2 สาย” (Land between Rivers) คือ แม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรทีส โดยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้ชื่อว่าเป็นอารยธรรมเกษตรกรรม ทั้งนี้จะครอบคลุมบริเวณตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียไปจนถึงซีเรีย และปาเลสไตน์ ซึ่งเราสามารถเรียกบริเวณนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) หรือดินแดนเอเชียตะวันตก (ประเทศอิรักในปัจจุบัน)
27. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของพวกสุเมเรียน
(1) ปฏิทินแบบสุริยคติ
(2) ตัวอักษรคูนิฟอร์ม
(3) การนับหน่วย 60
(4) กฎหมายสนองตอบ
ตอบ 1 หน้า 68 – 71, 23 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้
1. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม โดยใช้เหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วจึงนำไปตากให้แห้ง เมี่อประมาณ 3500 B.C.
2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. มีการนับหน่วย 60, 10 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกาและการคำนวณทางเรขาคณิตในปัจจุบัน
5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นต้น
28. ผลงานที่สำคัญของพระเจ้าฮัมมูราบีคือ
(1) ศาสนา
(2) กฎหมาย
(3) ห้องสมุด
(4) การหลอมเหล็ก
ตอบ 2 หน้า 73 – 74, 24 (H) พระเจ้าฮัมมูราบี แห่งจักรวรรดิบาบิโลเนียหรือบาบิโลนเก่า ทรงมีผลงานที่สำคัญคือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) โดยจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม ลงบนแผ่นหินไดโดไรท์สีดำซึ่งสูง 8 ฟุต ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์ อักษรฉบับแรกของโลก ทั้งนี้ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีจะอาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของสุเมเรียน
29. ความสำคัญของพวกฮิตไทต์คือ
(1) ศาสนา
(2) กฎหมาย
(3) ห้องสมุด
(4) การหลอมเหล็ก
ตอบ 4 หน้า 78 – 79, 25 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิตไทต์ มีดังนี้
1. มีการหลอมเหล็กใช้เป็นชาติแรก รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ
2. ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ของชาวสุเมเรียนและตัวอักษร เฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ของอียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อมาได้ส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน
3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือการลงโทษพอเข็ดหลาบ แทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ
4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน
30. ผลงานของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสซีเรียคือ
(1) ศาสนา
(2) กฎหมาย
(3) ห้องสมุด
(4) การหลอมเหล็ก
ตอบ 3 หน้า 82, 26 (H) ผลงานสำคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสซีเรีย คือ ทรงสร้างหอสมุด ที่กรุงนิเนอเวห์ โดยทรงให้มีการรวบรวมแผ่นดินเหนียวประมาณ 22,000 แผ่นเข้าด้วยกัน ซึ่งนับเป็นห้องสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตก และเป็นที่มาของการสร้างห้องสมุดในปัจจุบัน โดยแผ่นดินเหนียวนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกเพลงสวดสำหรับพิธีทางศาสนาของพวกสุเมเรียน นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างโลกครั้งใหญ่ ตำราไวยากรณ์และตำราแพทย์
31. ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่คือ
(1) ดาราศาสตร์
(2) สวนลอย
(3) กฎหมาย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 82 – 84, 26 (H) ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือพวกบาบิโลนใหม่ มีดังนี้
1. มีการสร้าง “สวนลอยแห่งนครบาบิโลน” ขึ้นในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งชาวกรีกนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
2. มีความเจริญทางด้านโหราศาสตร์ นั่นคือ ชาวแคลเดียนเป็นผู้ริเริ่มการเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
3. มีความเจริญทางด้านดาราคาสตร์ นั่นคือ สามารถคำนวณหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์ หมุนรอบโลก รวมทั้งเวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้อย่างแม่นยำ
32. ความสำคัญของพวกฟินิเชียนคือ
(1) พ่อค้าทางบก
(2) พ่อค้าทางทะเล
(3) ดาราศาสตร์
(4) การชลประทาน
ตอบ 2 หน้า 84 – 85, 27 (H) ความสำคัญของพวกพินิเชียน มีดังนี้
1. เป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียนในศตวรรษที่ 11 B.C. เป็นนักต่อเรือ นักเดินเรือ และนักล่าอาณานิคม
2. เป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุง โดยลอกเลียนแบบอย่างการปกครองจากอียิปต์และ บาบิโลเนียผ่านทางการค้า
3. รับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์และตัวอักษรคูนิฟอร์ม ของสุเมเรียนมาดัดแปลงเป็นของตน เพื่อการจดบันทึกทางการค้า ต่อมาตัวอักษรดังกล่าว ก็ถูกถ่ายทอดให้แก่พวกกรีกและพวกโรมัน
33. คัมภีร์ของพวกฮิบรูคือ
(1) The Holy Bible
(2) The Old Testament
(3) The New Testament
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 หน้า 90, 104, 4, (H), 30 (H) พระคัมภีร์ไบเบิล (The Holy Bible) ประกอบด้วยคัมภีร์ 2 เล่ม คือ
1. พระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพวกฮิบรูหรือพวกยิวที่นับถือ ศาลนายิว โดยพระคัมภีร์เก่าจะเป็นเรื่องราวตั้งแต่บทปฐมกาล (Genesis) คือ การที่พระเจ้า ทรงสร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาในจักรวาล รวมทั้งมนุษย์และสัตวโลก ตลอดจนเรื่องราวที่เป็น ประวัติศาสตร์ของชาวยิว
2. พระคัมภีร์ใหม่ (The New Testament) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ประวัติของพระเยซูของคริสต์ศาสนา พร้อมทั้งคำสั่งสอนของพระองค์ ทั้งนี้พวกคริสเตียน จะต้องอ่านทั้งพระคัมภีร์เก่าและพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งรวมกันเป็นพระคัมภีร์ไบเบิล ส่วนพวกฮิบรู หรือพวกยิวจะอ่านพระคัมภีร์เก่าเพียงเล่มเดียว
34. ผลงานของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดียคือ
(1) การทำเหรียญ
(2) กฎหมาย
(3) สวนลอย
(4) การทำชลประทาน
ตอบ 1 หน้า 92 – 93, 30 (H), (คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้
1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรทีสและ หมู่เกาะอีเจียน
2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรม ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดย พระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.
35. ศาสนาของพวกเปอร์เซียคือ
(1) ฮินดู
(2) โซโรแอสเตอร์
(3) จูดาอิสซึม
(4) ออร์ธอดอกซ์
ตอบ 2 หน้า 96 – 98, 31 (H) ลักษณะที่สำคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ของเปอร์เซีย มีดังนี้
1. เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวศาสนาแรกของเอเชียตะวันตก โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา
2. มีลักษณะเป็นทวิเทพ คือ พระเจ้าองค์เดียวเป็นพระเจ้าทั้งความดีและความชั่ว ซึ่งพระเจ้าแห่งความดีคือ พระอาหุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง และความดี ส่วนพระเจ้าแห่งความชั่ว คือ อหริมัน เป็นเทพเจ้าแห่งความมืดและความชั่วร้าย
3. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก
4. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น
36. กรีกโบราณปกครองแบบนครรัฐเพราะปัญหาทางด้าน
(1) ภูมิศาสตร์
(2) การปกครอง
(3) เศรษฐกิจ
(4) การทำสงครามกับเพื่อนบ้าน
ตอบ 1 หน้า 110, 112 – 113, 38 (H) สาเหตุที่ทำให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ เนื่องจาก
1. ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติด ชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดนที่ แบ่งแยกชาวกรีกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน
2. ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ
37. สิ่งที่ทำให้ชาวกรีกสามารถรวมตัวกันได้คือ
(1) กิฬาโอลิมปิก
(2) การทำสงคราม
(3) การค้า
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 110, 117, 38 (H), (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ชาวกรีกหรือชาวเฮลเลนส์สามารถรวมตัวกันได้ มีดังนี้
1. มีภาษาพูดเดียวกัน ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกว่า “พวกป่าเถื่อน” (Barbarians)
2. รู้สึกว่าพวกตนคือ พวกเฮลเลนส์ (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ว่า “เฮลลัส” (Hellas) ซึ่งนับถือศาสนาเดียวกัน
3. มีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนครรัฐต่าง ๆ จะหยุดทำสงครามแล้วมาแข่งขันกีฬาร่วมกัน
4. เมื่อมีการทำสงคราม โดยนครรัฐต่าง ๆ ก็จะมารวมกันเป็นสมาพันธรัฐ เมื่อเสร็จศึกสงครามจากภายนอก กรีกก็จะแตกแยกกันอีกและต่างก็ดำเนินการปกครองตนเองไปโดยลำพัง
38. พวกทรราชกรีกมีอาชีพเดิมคือ
(1) ทาส
(2) ขุนนาง
(3) พ่อค้า
(4) พระ
ตอบ 3 หน้า 116 – 117, 40 (H) ทรราชกรีก (Tyrants) คือ ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง ไม่ใช่ด้วยการสืบสายโลหิต ส่วนใหญ่ทรราชจะมาจากพ่อค้าที่อ้างว่าจะปกป้องคนจนจาก พวกขุนนางและข้าราชการ เน้นการปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยช่วยส่งเสริมการค้าและเคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไข ปัญหาได้ดี ต่อมาเมื่อมีการสืบทอดสายโลหิต พวกทรราชคนต่อมาหลงอำนาจและปกครอง แบบกดขี่ จึงถูกประชาชนร่วมมือกันขับไล่ออกจากอำนาจ
39. นครรัฐสปาร์ตาปกครองแบบเผด็จการทหารเพราะมีปัญหาเรื่อง
(1) การค้า
(2) ภาษา
(3) ทาส
(4) ศาสนา
ตอบ 3 หน้า 118 – 121, 40 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้นครรัฐสปาร์ตาต้องปกครองแบบ เผด็จการทหารหรือแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีดังนี้
1. ชาวสปาร์ตาสืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน ขึ้งเป็นพวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพ เข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก
2. มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในหุบเขา และไม่ติดชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
3. ชาวสปาร์ตาแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการทำสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทำให้มีจำนวน ทาสและเชลยศึกมากกว่าชาวสปาร์ตาแท้ ๆ จึงต้องมีการควบคุมพวกทาสแบบเผด็จการทหาร
40. นครรัฐเอเธนส์เป็นแม่แบบของการปกครองในระบอบ
(1) ทหาร
(2) ประชาธิปไตย
(3) กษัตริย์
(4) สาธารณรัฐ
ตอบ 2 หน้า 127, 130, 40 (H), 43 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.)นครรัฐเอเธนส์ได้พัฒนาการปกครองใบระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยของเพริคลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุด จนทำให้สมัยนี้ได้ชื่อว่า เป็น “ยุคทองของเอเธนส์” และทำให้นครรัฐเอเธนส์กลายเป็น “บรมครูของนครรัฐกรีกหรือ ชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นนครรัฐเอเธนส์จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดและแม่แบบของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก
41. ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาแพทย์ศาสตร์คือ
(1) พิทากอรัส
(2) ฮิปโปเครติส
(3) เฮโรโดตัส
(4) ทาลิส
ตอบ 2 หน้า 136, 44 (H) ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของวิชา แพทย์ศาสตร์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะ พระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ และ การควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณ ของแพทย์ในปัจจุบันที่เรียกว่า “Hippocratic Oath”
42. การวิ่งมาราธอนมีกำเนิดมาจากวีรกรรมของนครรัฐ
(1) สปาร์ตา
(2) เอเธนส์
(3) คอรินทร์
(4) มาซิโดเนีย
ตอบ 2 หน้า 143, 46 (H) สงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอน เป็นการทำสงครามระหว่างนครรัฐเอเธนล์กับเปอร์เซีย แต่พระเจ้าดาริอุสแห่งเปอร์เซียต้องมาพ่ายแพ้ที่สมรภูมิมาราธอน ในปี 490 B.C. สงครามในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดวีรบุรุษชาวเอเธนส์ชื่อ “เฟดิปปิดิส” (Phedippides) ซึ่งใช้เวลาวิ่งจากเอเธนส์ไปสปาร์ตา 2 วัน 2 คืน เพื่อขอกำลังทหารมาช่วยเอเธนส์ แล้ววิ่งกลับมาเอเธนส์และได้เข้าร่วมรบที่ทุ่งมาราธอนด้วย ซึ่งเอเธนส์ก็รบชนะได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือ จากสปาร์ตา เฟดิปปิดิสวิ่งกลับเอเธนล์เพื่อแจ้งข่าวถึงชัยชนะของเอเธนล์แล้วล้มลงขาดใจตาย จบกลายมาเป็นตำนานให้เกิดการแข่งขันวิ่งมาราธอนเป็นระยะทาง 26 ไมล์ เมื่อมีการฟื้นฟู กีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1896
43. สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการรุกรานอินเดียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชคือ
(1) การปกครองแบบประชาธิปไตย
(2) การปกครองแบบเผด็จการทหาร
(3) การปั้นพระพุทธรูป
(4) การเผยแผ่คริสต์ศาสนา
ตอบ 3 หน้า 152, 47 (H) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก ได้ยกกองทัพ ขยายอำนาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในปี 323 B.C. ส่งผลให้ชาวอินเดีย ในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั้นคือ ศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบบกรีก (Greco Buddhist Arts) ซึ่งจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้น จะมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก
44. อารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอารยธรรม
(1) เฮลเลนิก
(2) ละติน
(3) เฮลเลนิสติก
(4) แอสเท็ค
ตอบ 2 หน้า 158, 47 – 48 (H), (คำบรรยาย) อารยธรรมโรมันเป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณ 2000 – 1000 B.C. โดยหนึ่งในบรรดา พวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า ที่ราบละติอุม (Plain of Latium) โดยพวกละตินกลุ่มนี้ได้สร้างกรุงโรม (Rome) ขึ้นบนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์เมื่อปี 753 B.C. และทำให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรมัน” หรืออารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อารยธรรมละติน นั่นเอง
45. พวกอีทรัสกันปกครองพวกโรมันด้วยการปกครองในระบอบ
(1) กษัตริย์
(2) สาธารณรัฐ
(3) ประชาธิปไตย
(4) เผด็จการทหาร
ตอบ 1 หน้า 158 – 159, 48 – 49 (H) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสกัน (Etruscan) ซึ่งเป็นกลุ่ม ทหารรับจ้างจากเอเชียน้อยได้เข้ายึดครองภาคเหนือและภาคตะวันตกของแหลมอิตาลี รวมทั้ง เข้ายึดครองกรุงโรมและทำการปกครองพวกโรมันด้วยการปกครองในระบอบกษัตริย์อย่างกดขี่ ต่อมาในปี 509 B.C. ได้ถูกพวกแพทริเชียน (Patricians) ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงชาวโรมันขับไล่ ออกจากกรุงโรมและตั้งคณะรัฐบาลของตนเอง เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ มาเป็นระบอบสาธารณรัฐและดำรงอยู่ต่อมานานถึงประมาณ 500 ปี
46. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมันคือกฎหมาย
(1) ดราโค
(2)โซลอน
(3) ฮัมมูราบี
(4) 12โต๊ะ
ตอบ 4 หน้า 161, 49 (H) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน หลังจากที่พวกพลีเบียนได้รวมตัวกันเรียกร้อง สิทธิในการปกครองจากพวกแพทริเชียนในปี 466 B.C. แล้ว พวกพลีเบียนยังได้เรียกร้องให้ มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนำไปติด ที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรโดยทั่วไปทราบ เรียกว่า “กฎหมาย 12โต๊ะ” ซึ่งถือว่าเป็น กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน โดยประกาศใช้เมื่อปี 450 B.C.
47. คำว่า Crossing the Rubicon เป็นสำนวนมีความหมายถึง
(1) การไปตายเอาดาบหน้า
(2) การข้ามแม่นํ้ารูบิคอง
(3) ชัยชนะที่ได้มาแต่เสียหายเป็นอย่างมาก
(4) ข้ามไปสู่สวรรค์
ตอบ 1 หน้า 166, 50 (H) ในปี 49 B.C. จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้นำกองทัพข้ามแม่น้ำรูบิคอง (Rubicon) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างอิตาลีกับซิซัลไปน์โกล เข้าไปในกรุงโรมเพื่อทำสงคราม แย่งชิงอำนาจกับปอมเปย์ (Pompey) ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดสำนวนภาษาอังกฤษว่า “Crossing the Rubicon” ซึ่งมีความหมายว่า “การไปตายเอาดาบหน้า หรือการตกลงใจที่ เด็ดเดี่ยว” และทำให้ซีซาร์ได้เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวในสาธารณรัฐโรมัน
48. ปฏิทินสุริยคติทีจูเลียส ซีซาร์ นำมาประกาศใช้ได้มาจากประเทศ
(1) อิรัก
(2) อิหร่าน
(3) อียิปต์
(4) กรีซ
ตอบ 3 หน้า 52, 50 – 51 (H), (คำบรรยาย) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติ ของอียิปต์มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ปฏิทินจึงถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก โดยมีชื่อว่า Julian Calendar ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อ เดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar ส่วนชื่อเดือนสิงหาคม (August) จะมาจากชื่อของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 (Augustus I) ซึ่งปกครองจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.
49. จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันคือ
(1) จูเลียส ซีซาร์
(2)ออกุสตุสที่ 1
(3) เนโร
(4) เวสปาเชียน
ตอบ 2 หน้า 168 – 169, 51 (H) หลังจากที่จูเลียส ซีซาร์ ถูกบรูตัสและสมาซีกสภาซีเนทรุมสังหาร จนสิ้นพระชนม์แล้ว กรุงโรมก็เกิดความวุ่นวายเพราะมีการแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน ในที่สุด ออคเตเวียน หลานชายและมีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของซีซาร์ได้รับชัยชนะ และได้สถาปนา ตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันโดยทรงมีพระนามใหม่ว่า “ออกุสตุสที่ 1” (Augustus I หรือ Augustus Caesar) พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.
50. จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์จูเลียนผู้เผากรุงโรมในปี ค.ศ. 64 คือ
(1) เวสปาเชียน
(2) ติตุส
(3) เนโร
(4) คอนสแตนติน
ตอบ 3 หน้า 170, 52 (H) 40 ปีหลังจากที่จักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันสิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 14 จักรพรรดิโรมันก็ล้วนเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ของจูเลียส ซีซาร์ทั้งสิ้น จึงเรียกราชวงศ์นี้ว่า “ราชวงศ์จูเลียน” (Julian Dynasty) จนถึงสมัยจักรพรรดิเนโร (Nero) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์จูเลียนผู้เผากรุงโรมในปี ค.ศ. 64 เนื่องจากทรงมีสติวิปลาส ทำให้ความเกลียดชังพระองค์แผ่กระจายไปในวงกว้าง จนเนโรต้องตัดสินพระทัยปลงพระชนม์ พระองค์เองในปี ค.ศ. 68 ซึ่งการสิ้นพระชนม์ชองเนโรก็เทำกับเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์จูเลียน
51. กลุ่มชนพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์คือ
(1) กรีก
(2) โรมัน
(3) อียิปต์
(4) สุเมเรียน
ตอบ 2 หน้า 176, 178 – 179, 52 (H) วิศวกรชาวโรมันถือว่าเป็นพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น การสร้างถนน การสร้างสะพาน การทำท่อส่งนํ้า การก่อสร้างแอมพิเธียเตอร์ การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เป็นต้น ทั้งนี้การก่อสร้างของโรมันส่วนใหญ่ได้รับแบบอย่างมาจากกรีก
52. Persecution คือยุคที่พวกโรมันปราบปรามพวก……..เป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี
(1) กรีก
(2) อียิปต์
(3) สเปน
(4) คริสเตียน
ตอบ 4 หน้า 184, 54 (H) ยุค Persecution คือ ยุคที่พวกโรมันทำการปราบปรามพวกคริสเตียน เป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี เนื่องจากพวกโรมันไม่ยอมรับศาสนาคริสต์ที่มีหลักการโต้แย้งกับ การปกครองของพวกโรมัน โดยพวกโรมันเชื่อว่าหน้าที่เบื้องต้นก็คือหน้าที่บฏิบัติต่อรัฐ การเคารพสักการะซีซาร์ถือว่าเป็นอธิปไตยสูงสุดที่ปรากฏในร่างของมนุษย์ย่อมไม่ขัดต่อหลักการ ของศาสนาใด แต่พวกครีสเตียนในขณะนั้นเชื่อว่าหน้าที่เบื้องต้นของมนุษย์ก็คือหน้าที่ต่อพระเจ้า รัฐเป็นเรื่องทางโลก ส่วนพระเจ้าเป็นเรื่องของจิตใจ ดังนั้นรัฐจึงรองลงมาจากพระเจ้า ทัศนคติ ของพวกคริสเตียนดังกล่าวนี้ พวกโรมันถือว่าเป็นการคิดกบฏต่อซีซาร์ ต่ออาณาจักรโรมัน และต่อชาวโรมันเป็นส่วนรวม
53. อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาถูกค้นพบโดยพวก
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) สเปน
(4) ดัตช์
ตอบ 3 หน้า 188 – 189, 351, 55 (H) อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาหรืออารยธรรมเก่าในโลกใหม่ ถูกค้นพบโดยโคลัมบัส (Columbus) นักเดินเรือชาวสเปนในปี ค.ศ. 1492 แต่ต่อมาอารยธรรม เหล่านี้ก็ถูกทำลายโดยพวกสเปนเช่นเดียวกัน นั่นคือ คอร์เตส (Cortes) ได้เข้าทำลายอารยธรรม ของพวกแอสเท็คในเม็กซิโกระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1521 และปิซาโร (Pizarro) ได้เข้าทำลาย อารยธรรมของพวกอินคาในเปรูในปี ค.ศ. 1532
54. สถาบันที่ไม่ค่อยมีบทบาทใบยุคกลางตอนต้นคือ
(1) การศึกษา
(2) ศาสนจักร
(3) กษัตริย์
(4) อนารยชน
ตอบ 1 หน้า 208 – 209, 59 (H), (คำบรรยาย) ลักษณะเด่นของยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 500 – 1000) คือ
1. มีอนารยชนกลุ่มต่างๆ เข้ามารุกรานยุโรปตะวันตก
2. เปลี่ยนจากสังคมเมืองที่เจริญมาตั้งแต่กรีก-โรมัน เป็นสังคมปิดแบบชนบท โดยส่วนใหญ่ จะเป็นชาวนาชาวไร่ที่ยากจน เพระถูกกดขี่จากชนกลุ่มน้อย ซึ่งได้แก่ กษัตริย์ พระ และขุนนาง
3. เป็นยุคมืด (Dark Age) ของอารยธรรมกรีก-โรมัน เพราะมีเพียงพวกพระที่ยังคงศึกษา อารยธรรมกรีก-โรมัน ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ
4. คริสต์ศาสนาเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุด โดยมีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คน ในสมัยนั้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ขาดความปลอดภัย และขาดความรู้ จึงหันเข้าหา ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว
5. สถาบันที่มีบทบาทเด่นในการผสมผสานและพัฒนาในยุคกลางตอนต้น คือ พวกอนารยชน คริสต์ศาสนา และระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
55. ประเทศสเปนเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกอนารยชนเยอรมันเผ่า
(1) แองเกิลส์
(2) แซกซัน
(3) ลอมบาร์ด
(4) วิสิกอธ
ตอบ 4 หน้า 206, 211, 60 (H), 73 (H), (คำบรรยาย) พวกอนารยชนเยอรมันตะวันออก (East Germans) หรือพวกกอธ (Goths) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิสิกอธ (Visigoths หรือ West Goths) ได้เข้ายึดครองกรุงโรมในปี ค.ค. 476 และได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและปกครองประเทศสเปนเป็น ระยะเวลาร่วม 300 ปี
2. ออสโตรกอธ (Ostrogoths หรือ East Goths) ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐาน ในประเทศอิตาลี จนถึงในปี ค.ศ. 554 จึงถูกจักรพรรดิจัลติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยึดแหลมอิตาลีกลับไปรวมเป็นดินแดนจักรวรรดิโรมันตะวันออก
56. ในยุคกลางตอนต้นสังคมของยุโรปตะวันตกมีลักษณะเป็นสังคม
(1) เมือง
(2) ชนบท
(3) ของพวกพ่อค้า
(4) อุตสาหกรรม
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ
57. จักรพรรดิผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 ในปี ค.ศ. 800 เพื่อสถาปนาจักรวรรดิโรมัน ขึ้นมาใหม่คือ
(1) ชาร์ล มาร์แตล
(2) ชาร์เลอมาญ
(3) เปแปง
(4) โคลวิส
ตอบ 2 หน้า 218 – 220, 63 (H) ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) เป็นกษัตริย์ชาวแฟรงก์ที่ทรงอานุภาพ มากที่สุดของราชวงศ์คาโรแลงเจียน และถือว่าทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดิ ทั้งนี้เพราะ ในปี ค.ศ. 800 พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 เพื่อสถาปนาให้ทรงเป็น จักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ผลงานที่สำคัญของพระองค์คือ สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทรงส่งเสริมการศึกษา กำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญ และกำหนดมาตราวัด
58. ประเทศที่มีจุดกำเนิดมาจากการทำสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 คือ
(1) เยอรมนี
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 220 – 221, 64 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกำเนิดของประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ ออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. หลุยส์เตอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี
2. ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ไต้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิ ปัจจุบันคือ ประเทศฝรั่งเศส
3. โลแซร์ (Lothair) ได้ครอบครองดิบแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาคือ แคว้นลอแรน
59. จุดกำเนิดของการปกครองในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในศตวรรษที่ 10 คือประเทศ
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) เยอรมนี
(4) สเปน
ตอบ 2 หน้า 222, 64 (H) ภายหลังการแบ่งแยกจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญตามสนธิสัญญาแวร์ดังได้สิ้นสุดลงแล้ว ยุโรปได้ถูกรุกรานอีกครั้งโดยพวกแมกยาร์ (Magyars) จาก เอเชีย, พวกมอสเล็ม (Moslems) จากแอพ่ริกาเหนือ และพวกนอร์สแมน (Norsemen) หรือ ที่รู้จักกันในนามพวกไวกิ้ง (Vikings) จากสแกนดิเนเวีย ซึ่งผลของการรุกรานระลอกใหม่ทำให้ บรรดากษัตริย์และเจ้าผู้ปกครองนครเล็ก ๆ ไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้อยู่ใต้การปกครองได้ จึงเกิดระบบการเมืองการปกครองใหม่ คือ ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) หรือ ระบอบฟิวดัล ซึ่งเริ่มต้นขึ้นทางภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 10 ต่อมาก็ได้แพร่หลายไปทั่วดินแดนยุโรปตะวันตก
60. สาเหตุที่คริสต์ศาสนากลายเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในยุคกลางเพราะประชาชนส่วนใหญ่
(1) ยากจน
(2) ขาดความปลอดภัย
(3) ไม่รู้หนังสือ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ
61. การบัพพาชนียกรรมคือ
(1) การขับบุคคลใดบุคคลหนึ่งออกจากการเป็นคริสเตียน
(2) การลงโทษทางศาสนา
(3) การออกบวช
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 232, 240, 321, 66 (H), (คำบรรยาย) มาตรการสำคัญที่ศาสนจักรใช้ลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางศาสนา มีดังนี้
1. การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น กษัตริย์ ขุนนาง หรือนักคิดคนสำคัญ ออกจากการเป็นคริสเตียนหรือ เป็นพวกนอกรีต (Heretic) โดยไม่ให้ศาสนิกชนอื่นเข้ามาคบหาด้วย
2. การอินเทอดิค (Interdict) คือ การประกาศว่าดินแดนใดดินแดนหนึ่งเป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา และบางกรณีอาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษ ที่รุนแรงที่สุด
62. สาเหตุที่ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อม เพราะ
(1) สงครามครูเสด
(2) ความเจริญทางการค้า
(3) การเกิดโรคระบาด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 237, 66 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล เสื่อมลง มีตังนี้
1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก กษัตริย์จึงมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. ความเจริญทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของแมเนอร์ลดความสำคัญลง
3. ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้อัศวินสวมเกราะและป้อมปราการหมดความหมาย
4. การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค (Black Death) ทำให้ประชากรลดลง พวกทาสติดที่ดินจึงหางานทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
63. มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรมคือ
(1) เซนต์ไมเคิล
(2) เซนต์ปีเตอร์
(3) เซนต์ปอล
(4) เซนต์เจมส์
ตอบ 2 หน้า 185, 238, 53 – 54 (H) เซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) เป็นหนึ่งในบรรดาอัครสาวกของ พระเยซูคนแรกที่ได้นำเอาคำสั่งสอนของพระเยซูออกไปเผยแผ่ยังกรุงโรม แต่ได้ถูกทำร้ายจน เสียชีวิต ต่อมาเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ทรงอนุญาตให้ศาสนาคริสต์เผยแผ่ ในจักรวรรดิโรมันได้อย่างเสรี และในสมัยจักรพรรดิเธโอโดซิอุส (Theodosius) ก็ทรงประกาศ ให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิโรมัน ทำให้กรุงโรมกลายเป็นศูนย์กลาง ของคริสต์ศาสนา และในเวลาต่อมามหาวิหารในกรุงโรมจึงได้ชื่อ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็น มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม
64. ตำแหน่งสงฆ์ผู้ที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสันตะปาปาคือ
(1) Priest
(2) Bishop
(3) Archbishop
(4) Cardinal
ตอบ 4 หน้า 240 – 241, 67 – 68 (H), (คำบรรยาย) ตำแหน่งของพระในโครงสร้างของศาสนจักร สามารถเรียงลำดับจากระดับต่ำสุดไปหาสูงที่สุด ได้แก่ พระ (Priest), บิชอป (Bishop),อาร์ชบิชอป (Archbishop), คาร์ดินัล (Cardinal) ซึ่งแต่งตั้งโดยสันตะปาปา โดยทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาของสันตะปาปา และสันตะปาปา (Pope) ซึ่งเป็นหัวหน้าสูงสุดของศาสนจักร เมื่อสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ลง พระที่อยู่ในกลุ่ม Cardinal จะเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับเลือกให้ เป็นสันตะปาปาองค์ใหม่โดยผ่านที่ประชุมของคณะคาร์ดินัล (College of Cardinals) หรือ พระราชาคณะ
65. จักรพรรดิผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ในปี ค.ศ. 962 เหมือนกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับคือ
(1) เฟรเดอริก บาร์บารอสซา
(2) ออตโตที่ 1
(3) เฮนรีที่ 4
(4) เปแปง
ตอบ 2 หน้า 246 – 247, 69 (H) ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออตโตที่ 1 (Otto I) แห่งแซกโซนี ได้รับการ สวมมงกุฎจากลับตะปาปาจอห์นที่ 12 ให้ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับ โดย จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จะประกอบไปด้วยดินแดนเยอรมนีและ อิตาลี ซึ่งทำให้พระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ใบยุโรปในฐานะพระจักรพรรดิผู้ปกครองเยอรมนี และ ยังได้ตำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งอิตาลีอีกด้วย
66. สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปากับจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุคกลางคือ
(1) สันตะปาปาเป็นผู้สวมมงกุฎให้จักรพรรดิ
(2) แย่งกันแต่งตั้งพระในตำแหน่งสูง ๆ
(3) จักรพรรดิขยายอำนาจเข้าไปในแหลมอิตาลี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 243, 250 – 251, 68 – 69 (H) ในศตวรรษที่ 11 ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างสันตะปาปา เกรเกอรีที่ 7 กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีสาเหตุมาจากการ แย่งกันแต่งตั้งพระในตำแหน่งสูง ๆ ซึ่งสันตะปาปาเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ แต่ในที่สุดสันตะปาปา และจักรพรรดิก็สามารถทำความตกลงกันได้ด้วยข้อตกลงแห่งเมืองเวิร์มในปี ค.ศ. 1122 ซึ่งทั้ง สันตะปาปาและจักรพรรดิต่างก็มีสิทธิเห็นชอบหรือไม่ชอบในตำแหน่งพระราชาคณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง เลือกมาได้ ซึ่งนับว่าเป็นชัยชนะของสันตะปาปาที่จะได้มีสิทธิร่วมในการเลือกตั้งและแต่งตั้ง พระราชาคณะด้วย ซึ่งในอดีตจักรพรรดิจะเป็นผู้มีสิทธิในการแต่งตั้งพระราชาคณะโดยไม่ต้องผ่าน ความเห็นชอบจากสันตะปาปา
67. โบสถ์ใหญ่ในกรุงคอนสแตนติโนเปิลสร้างในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนคือ
(1) เซนต์โซเฟีย
(2) เซนต์เจมส์
(3) เซนต์ปอล
(4) เซนต์เบเบดิก
ตอบ 1 หน้า 252 – 253, 323, 70 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีดังนี้
1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี
2. สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529 ซึ่งได้กลายเป็นแบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
3. สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537
68. ในยุคกลางสเปนตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวก
(1) โรมัน
(2) ฝรั่งเศส
(3) มัวร์
(4) ลอมบาร์ด
ตอน.3 หน้า 267, 73 (H) ในปี ค.ศ. 711 พวกมัวร์ (Moors) หรือมอสเล็มจากแอฟริกาเหนือซึ่งนับถือ ศาสนาอิสลามได้เข้ายึดครองสเปนและนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 718 – 1492 เป็นระยะเวลากว่า 700ปี เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconquista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์สเปน 2 พระองค์ คือ พระเจัาเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอรากอน และพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล ได้ทำสงครามจนสามารถขับไล่พวกมัวร์ ออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย และยึดครองอาณาจักรกรานาดาได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 ทำให้ การปกครองโดยมุสลิมในสเปนสิ้นสุดลง
69. ในปี ค.ศ. 1066 วิลเลียมแห่งนอร์มังดี ขุนนางชาว สามารถยกกองทัพไปตีอังกฤษได้สำเร็จ
(1) ดัตช์
(2) เยอรมัน
(3) ฝรั่งเศส
(4) สเปน
ตอบ 3 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H) ในปี ค.ศ. 1066 วิลเลียมแห่งนอร์มังดี ขุนนางชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีฐานะเป็นข้าของกษัตริย์ฝรั่งเศส ได้ยกกองทัพเข้ารุกรานอังกฤษและรบชนะกษัตริย์ฮาโรลด์ กอดวินสัน ได้สำเร็จ ซึ่งสงครามในครั้งนี้ทำให้มีผลสำคัญติดตามมาคือ ทำให้กษัตริย์อังกฤษ มี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของ กษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไปถือครองและเก็บเกี่ยวผลประโยขบ์จากที่ดินในฝรั่งเศส ซึ่งจากสถานภาพ ดังกล่าวได้กลายมาเป็นขนวนของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
70. สงครามครูเสดคือสงครามที่พวกคริสเตียนยกกองทัพไปตีเมีอง กลับคืนจากพวกมุสลิม
(1) เบธเลเฮม
(2)เยรูซาเล็ม
(3) คอนสแตนติโนเปิล
(4) ลิสบอน
ตอบ 2 หน้า 279 – 285, 76 – 77 (H) สงครามครูเสด (ค.ศ. 1095 – 1291) ในยุคกลาง ถือเป็น สงครามมหายุทธ์ที่กินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่าง ศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมหรือมอสเล็ม เพื่อแย่งกันเข้าครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงครามพวกคริสเตียนก็ไม่สามารถ ยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมุสลิมได้ จึงถือว่าเป็น “ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะได้ทำให้เกิดผลดีและความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่างๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่นๆ เป็นอันมาก
71. สงครามครูเสดทำให้การปกครองในระบบ……สิ้นสุดลง
(1) กษัตริย์
(2) ศักดินาสวามีภักดิ์
(3) สาธารณรัฐ
(4) ประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 284 – 285, 77 (H) ผลของสงครามครูเสด มีดังนี้
1. ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัลเสื่อมลง เพราะพวกขุนนางได้ตายไปเป็นจำนวนมาก
2. เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการค้าในดินแดนยุโรปตะวันตก
3. มีการเปิดเส้นทางการค้าเพื่อนำเอาความเจริญและสินค้าจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตก
4. กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น ในขณะที่ขุนนางเสื่อมอำนาจและยากจนลง
5. เมืองต่าง ๆ เริ่มขยายขึ้น เพราะการค้าขยายตัว
6. อำนาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น เป็นต้น
72. ผู้มีสิทธิเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประกาศทองในปี ค.ศ. 1356 คือ
(1) คณะผู้เลือกตั้ง 7 คน
(2) สันตะปาปา
(3) กษัตริย์อังกฤษ
(4) ขุนนางฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 292 – 293, 78 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bult) ในปี ค.ศ. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้น ในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (7Electors) เป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิ ของสันตะปาปาออกจากการเลือกตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับ การเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ
73. สงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) เป็นสงครามที่ฝรั่งเศสทำกับ
(1) สเปน
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ฮอลันดา
ตอบ 2 หน้า 296 – 297, 79 (H) สงครามร้อยปี (The Hundred Years’ War : ค.ศ. 1337 – 1453) เป็นสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส โดยมีสาเหตุปัจจุบันเนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในฐานะที่ ทรงเป็นทายาทของฟิลิปที่ 4 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลงโดยไม่มี รัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอม ดังนั้นพระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศสใน ปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดำเนินมาจนชาวฝรั่งเศสสามารถรวมตัวกันขับไล่อังกฤษออกจาก ดินแดนฝรั่งเศสได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453
74. ผลของสงครามร้อยปี ทำให้เกิดความรู้สึก
(1) ชาตินิยม
(2) ท้องถิ่นนิยม
(3) รักประชาธิปไตย
(4) ศรัทธาทางศาสนาเพิ่มขึ้น
ตอบ 1 หน้า 299, 79 (H) ผลของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส มีดังนี้
1. เป็นการสิ้นสุดระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัลทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะ พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก และยังส่งผลให้กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น
2. ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นทั้ง 2 ชาติ จนกษัตริย์ของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถรวมตัว เป็นรัฐชาติ (Nation-state) ได้สำเร็จ
3. อังกฤษได้เลิกใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ
75. สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (ค.ศ. 1305 – 1377) สันตะปาปาย้ายมาประทับที่ประเทศ
(1) อิตาลี
(2) อังกฤษ
(3) ฝรั่งเศส
(4) เยอรมนี
ตอบ 3 หน้า 301 – 302, 80 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับ พวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงบานิโลนในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาชาวฝรั่งเศสได้ย้าย ที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศส องค์ต่อ ๆ มาก็พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้ส่งผลให้สันตะปาปาตกอยู่ ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป
76. ระบอบการปกครองที่มาแทนที่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในตอนปลายยุคกลางคือ
(1) สาธารณรัฐ
(2) กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
(3) คณาธิปไตย
(4) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตอบ 4 หน้า 332 – 333, 86 (H) หลังจากที่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัลได้เลื่อมลง ในตอนปลายยุคกลางช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 รูปแบบการปกครองระบอบใหม่ที่เข้ามาแทนที่คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) ซึ่งเป็นระบอบที่กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการ ปกครองแผ่นดิน และอำนาจที่เฟื่องฟูมากคือ อำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (Divine Rights of King) โดยกษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งมาปกครองมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึง ไม่มีสิทธิปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง เพราะถ้าคิดล้มล้างกษัตริย์ก็จะถือว่าเป็นความผิดบาป
77. กษัตริย์สเปนผู้สามารถขับไล่พวกมัวร์ออกจากคาบสมุทรไอบีเรียได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 คือ
(1) ชาร์ลที่ 5
(2) ฟิลิปที่ 2
(3) ฮวน คาร์ลอส
(4) เฟอร์ดินานด์และอิซาเบลลา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ
78. ระบอบเศรษฐกิจที่ประเทศแม่ใช้กับอาณานิคมในตอนต้นยุคใหม่คือ
(1) พาณิชย์ชาตินิยม
(2) เสรีนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) คอมมิวนิสต์
ตอบ 1 หน้า 339 – 340, 88 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิพาณิขย์ชาตินิยม (Mercantilism) เป็นระบบ การค้าที่รัฐบาลแห่งชาติและกษัตริย์จะเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด โดยพวกนายทุนจะได้รับ การส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล ส่วนกษัตริย์จะสะสมโลหะมีค่าเพื่อหาเงินมาขยายกองทัพ และสะสมอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอื่บ นอกจากนี้ยังผูกขาดการค้าโดยบังคับให้ ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เท่านั้น เน้นการพึงพาเศรษฐกิจจากชาติอื่นๆ ให้น้อยที่สุด และส่งเสริมการมีอาณานิคม ทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าและเกิดกรณีพิพาทในกลุ่ม ประเทศอาณานิคมจนเกิดสงครามขึ้นบ่อยครั้งในระหว่างปี ค.ศ. 1650 – 1815
79. ประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการค้าทาสในยุคใหม่คือ
(1) ดัตช์
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) โปรตุเกส
ตอบ 4 หน้า 342 – 343, 89 (H) ระบบการค้าทาสได้สูญสิ้นจากอารยธรรมยุโรปไปตั้งแต่ในยุคกลาง ประมาณปี ค.ศ. 1000 แต่พอมาถึงในยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่ที่มีการขยายอิทธิพลทางการค้าของ ประเทศในยุโรป ได้เกิดโฉมหน้าเศร้าในประวัติศาสตร์ขึ้นมาอีกก็คือ เกิดการฟื้นฟูการค้าทาส ซึ่งผู้ที่ริเริมเป็นประเทศแรก คือ โปรตุเกส และต่อมาประเทศอื่น ๆ เช่น อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส ก็พลอยถือปฏิบัติด้วย
80. สาเหตุที่ทำให้ประเทศในยุโรปตะวันตกค้นหาเส้นทางเดินเรือมาสู่ทวีปเอเชียในศตวรรษที่ 15 คือ
(1) ความต้องการเครื่องเทศ
(2) กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
(3) เพื่อล้มการผูกขาดทางการค้าของพวกอิตาลี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 350 – 351, 89 – 90 (H) สาเหตุที่ก่อให้เกิดการสำรวจทางทะเลของประเทศในยุโรปตะวันตกมาสู่ทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 คือ
1. แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ ยุคกลางที่กองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชียไปเผยแพร่ในยุโรป
2. กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1453 ทำให้เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียถูกตัดขาด
3. มีความต้องการสินค้าจากเอเชียหรือ ภาคตะวันออก เช่น เครื่องเทศ ผ้าไหม พรม และเครื่องแก้ว
4. ต้องการล้มการผูกขาดของ พวกพ่อค้าชาวอิตาลีที่มั่งคั่งจากการค้า เช่น เวนิส เจนัว
5. มีการปรับปรุงเส้นทางเดินเรือ มีการประดิษฐ์เรือขนาดใหญ่ เข็มทิศ และมีการทำแผนที่ที่มีความแน่นอนมากขึ้น
81. บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรกคือ
(1) แมกเจลแลน
(2) บัลบัว
(3) วาสโก ดา กามา
(4) โคลัมบัส
ตอบ 1 หน้า 351, 90 (H), (คำบรรยาย) แมกเจลแลน & เดลคาโน เป็นนักสำรวจทางเรือชาวสเปน กลุ่มแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือเดินทางรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรกในระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย
82. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการคือการฟื้นฟูอารยธรรม
(1) กรีก-โรมัน
(2) อียิปต์
(3) เมโสโปเตเมีย
(4) ยุคกลาง
ตอบ 1 หน้า 355 – 358, 92 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) ซึ่งคำว่า “Renaissance” แปลตามศัพท์ได้ว่า “การเกิดใหม่” (Rebirth) ซึ่งก็จะหมายถึงการเกิดใหม่ ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน (Greco-Roman) ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสำคัญของมนุษย์ ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลก ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
83. แหล่งกำเนิดของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการอยู่ที่เมือง
(1) ฟลอเรนซ์
(2) ลอนดอน
(3) ปารีส
(4) อัมสเตอร์ดัม
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ
84. ปรัชญาในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเน้นในเรื่อง
(1) ศาสนา
(2) วัตถุนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) มนุษยนิยม
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ
85. จุดมุ่งหมายในการเขียน The Prince โดยมาเคียเวลลี ในปี ค.ศ. 1513 คือการรวม …….. เข้าด้วยกัน
(1) อิตาลี
(2)เยอรมนี
(3) อังกฤษ
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 333 – 334, 362, 94 (H) นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) เป็นนักเขียนผู้ทรง อิทธิพลมากที่สุดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการโดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Princeในปี ค.ศ. 1513 ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐในทุกวิถีทางที่จำเป็นโดยวิธีการ ที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จและได้มาซึ่งอำนาจจะเป็นไปตามทัศนะหนึ่งที่ว่า “The end justifies the means” หรือการทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรมและ วิธีการที่ถูกต้อง ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของเขาก็คือ ต้องการรวมอิตาลีให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน
86. ผลงานชิ้นสำคัญของลีโอนาร์โด ดา วินซี คือ
(1) The Last Judgement
(2) Mona Lisa
(3) Romeo and Juliet
(4) Utopia
ตอบ 2 หน้า 363 – 364, 94 (H) ลีโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo da Vinci) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสากลมนุษย์ (Universal Man) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยดา วินซี ถือว่าเป็นผู้ที่มี ความสามารถรอบตัว โดยเป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร ทั้งนี้ ผลงานด้านจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ The Last Supper และ Mona Lisa ซึ่งนับเป็นตัวอย่างอันดีของศิลปะที่เชิดชูความสำคัญของสตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
87. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในดินแดนเยอรมนีได้ก่อให้เกิดผลงานสำคัญทางด้าน
(1) จิตรกรรม
(2) ประติมากรรม
(3) ปรัชญา
(4) การพิมพ์
ตอบ 4 หน้า 359,372,3 (H), 96 (H) การฟื้นนฟูศิลปวิทยาการในดินแดนเยอรมนีได้ก่อให้เกิดผลงาน สำคัญทางด้านการพิมพ์ โดยบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องว่าประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของชาวยุโรป ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1445 คือ โจฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ช่างทองชาวเยอรมัน ซึ่งการพิมพ์นี้มีผลต่อการปฏิวัติอารยธรรมยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก เพราะทำให้การแพร่ขยาย ศิลปวิทยาการทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นทำให้หนังสือหาอ่านได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการศึกษา ทางด้านศาสนา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา
88. นิกายที่ใม่จัดอยู่ในกลุ่มโปรเตสแตนต์คือ
(1) ลูเธอรันนิสม์
(2) ฟรานซิสกัน
(3) เพรสไบทีเรียน
(4) คาลวินิสม์
ตอบ 2 หน้า 383, 386, 97 (H), 101 (H) การปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนเยอรมนี(อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) ในตอนต้นศตวรรษที่ 16 โดยกลุ่มนักมนุษยนิยมที่ไม่พอใจต่อ บทบาทของศาสนจักร มีผลทำให้เกิดความแตกแยกทางศาสนา และเป็นการสิ้นสุดของสภาพ ศาสนาสากล นั่นคือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะวันตกอีกต่อไป เพราะประชาชนสามารถเปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีหลากหลายนิกาย เช่น นิกาย- ลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism), นิกายคาลวินิสม์หรือนิกายคาลแวงในฝรั่งเศส (Calvinism/ Huguenots), นิกายเพรสไบทีเรียนในสกอตแลนด์ (Presbyterian), นิกายแองกลิคันหรือ นิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England) เป็นต้น
89. การปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดน
(1) เยอรมนี
(2) อิตาลี
(3) อังกฤษ
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ
90. สาเหตุปัจจุบันที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปศาสนาคือ
(1) สันตะปาปาเสื่อมอำนาจ
(2) การขายใบไถ่บาป
(3) พระประพฤติผิดศีลธรรม
(4) การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป
ตอบ 2 หน้า 378 – 379, 98 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์ เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัด ในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529
91. การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะ
(1) ต้องการทำให้ศาสนาเกิดความบริสุทธิ์
(2) กษัตริย์ต้องการอภิเษกสมรสใหม่
(3) กษัตริย์ต้องการยึดที่ดินของวัด
(4) ต้องการตัดอิทธิพลของสันตะปาปา
ตอบ 2 หน้า 383, 99 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII) แห่งอังกฤษทรงไม่พอพระทัยที่สันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาดจาก พระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน (Ann Bolynn) จึงทรงตั้ง สังฆราซแห่งแคนเทอเบอรี่ขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภา ออกกฎหมายที่เรียกวา “The Act of Supremacy” ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Pope” ซึ่งส่งผล ทำให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็น “นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)
92. เมื่อเกิดสงครามศาสนาระหว่างพวกโปรเตสแตนต์กับพวกคาทอลิก ประเทศผู้นำของพวกคาทอลิกคือ
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) สเปน
(4) ดัตช์
ตอบ 3 หน้า 390 – 391, 101 (H) สงคราม30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 – 1648)เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในดินแดนเยอรมนีหรืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์กับพวกคาทอลิกโดยมีอังกฤษกับฝรั่งเศส เป็นผู้นำและเข้าช่วยเหลือพวกโปรเตสแตนต์ สเปนเป็นผู้นำและเข้าช่วยเหลือพวกคาทอลิก ในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็น มหาอำนาจในยุโรปแทนทสเปน ขณะที่ดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี
93. พระราชวังแวร์ซายส์ในฝรั่งเศสสร้างในสมัยพระเจ้า
(1) นโปเลียน
(2) เฮนรีที่ 4
(3) ฟรานซิสที่ 1
(4) หลุยส์ที่ 14
ตอบ 4 หน้า 409, 106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทำตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่า ๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอำนาจใหม่ ทำให้พระราชวังแวร์ซายส์ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองศ์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสำคัญ ของพระองศ์มาอาศัยอยู่ ทำให้พระองศ์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด
94. การปฏิวัติอันรุ่งเรืองในอังกฤษปี ค.ศ. 1688 มีผลตามมาคือ
(1) อังกฤษเป็นผู้นำทางการเกษตร
(2) การปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
(3) อังกฤษเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก
(4) นิกายอังกฤษสามารถเผยแพร่ได้อย่างเสรี
ตอบ 2 หน้า 417, 108.(H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรือง (The Glorious Revolution) ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้
1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่ การปกครองในระบอบรัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)
2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด
3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น
4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม จัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใดต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน
95. ผลของสงคราม 7 ปี (ค.ศ. 1756 – 1763) ทำให้ฝรั่งเศสสูญเสีย……ให้แก่อังกฤษ
(1) คาเล่ส์
(2) แคนาดา
(3) ยิบรอลต้า
(4) ไอร์แลนด์
ตอบ 2 หน้า 419 – 421, 109 (H) ความสำคัญของสงคราม 7 ปี (ค.ศ. 1756 – 1763) คือ
1. เป็นสงครามที่ทำกันทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย
2. เป็นการเปลี่ยนทิศทางการทูต คือ ศัตรูกลับกลายเป็นมิตร และมิตรกลายเป็นศัตรู โดยปรัสเซยเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ เพื่อรบกับออสเตรียซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส
3. ผลของสงคราม คือ ปรัสเซียได้ครอบครองไซลีเซียของออสเตรีย และจากสนธิสัญญาปารีส ปี ค.ศ. 1763 ทำให้อังกฤษได้ครอบครองแคนาดาของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจาก การแสวงหาผลประโยชน์ในอินเดีย ทำให้อินเดียต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในเวลาต่อมา
96. ประเทศที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการแบ่งโปแลนด์คือ
(1) รัสเซีย
(2) ออสเตรีย
(3) ปรัสเซีย
(4) สเปน
ตอบ 4 หน้า 427, 109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเชียได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์ เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเชียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่2ในปี ค.ศ. 1793ทำให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็ร่วมกัน แบ่งโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป นับตั้งแต่นั้น
97. นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ผู้เสนอทฤษฎีว่าดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาลคือ
(1) ปโทเลมี
(2) ไทโซ บราเฮ
(3) โจฮันน์ เคปเลอร์
(4) โคเปอร์นิคัส
ตอบ 4 หน้า 434, 110 (H) นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus) นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ เป็นผู้เสนอทฤษฎีว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกเป็นบริวารดวงหนึ่ง
98. นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบกฎแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นชาว
(1) เยอรมัน
(2) อังกฤษ
(3) ฝรั่งเศส
(4) สเปน
ตอบ 2 หน้า 437 – 439, 111 (H) เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ “กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ “กฎการดึงดูดของโลก” ซึ่งปรากฏในผลงานเรื่อง “Principia” ในปี ค.ศ. 1687 นอกจากนี้นิวตันยังอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจร รอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ที่ยํ้าว่า หลักการของวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การคำนวณ และการทดลอง
99. สาเหตุสำคัญที่นำมาสู่การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776 คือ
(1) ปัญหาเรื่องการเก็บภาษี
(2) ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส
(3) การถูกบังคับให้ซื้อสินค้าจากอังกฤษ
(4) ไม่พอใจที่อังกฤษเข้ายึดครองแคนาดา
ตอบ 1 หน้า 453 – 454, 113 (H), (คำบรรยาย) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพระหว่าง อังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งในนิวอิงแลนด์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะอังกฤษพยายาม บังคับให้อาณานิคมอเมริกันต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามนโยบายพาณิชย์ชาตินิยม แต่ชาวอาณานิคม ต่อต้านไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีผู้แทนของตนในรัฐสภาของอังกฤษ และต่อต้านไม่ยอม ซื้อสินค้าของอังกฤษ โดยความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776ในที่สุด
100. นักปรัชญาทางการเมืองผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกันคือ
(1) โทมัส ฮอบส์
(2) มองเตสกิเออร์
(3) โวลแตร์
(4) จอห์น ล็อค และรุสโซ
ตอบ 4 หน้า 454,113 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติอเมริกันในปีค.ศ.1776 ได้รับอิทธิพลจากนักปรัขญา ทางการเมือง 2 ท่านคือ จอห์น ล็อค และรุสโซ โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏใน คำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของรัฐอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดี คนแรก คือ จอร์จ วอชิงตัน
101. สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ
(1) ปัญหาทางด้านการคลัง
(2) กษัตริย์ปกครองแบบกดขี่
(3) อิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4) ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ตอบ 1 หน้า 460 – 461, 114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่สำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ ปัญหาทางด้านการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีเงินเพียงพอที่จะ ใช้จ่ายในการบริหารประเทศ จึงทรงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกันหาวิธีแก้ไขปัญหาการคลัง แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนที่ประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของ ฝรั่งเศส จนทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในที่สุดภายใต้การนำของพวกชนชั้นกลาง ซึ่งผลของการปฏิวัติทำให้ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐในปี ค.ศ. 1792
102. การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เกิดขึ้นภายใต้การนำของพวก
(1) ชนชั้นกลาง
(2) พระ
(3) ขุนนาง
(4) ชาวนา
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ
103. นโปเลียนหมดอำนาจเพราะทำสงครามกับ
(1) ปรัสเซีย
(2) ออสเตรีย
(3) รัสเซีย
(4) โปแลนด์
ตอบ 3 หน้า 470, 117 (H) ในปี ค.ศ. 1810 รัสเซียได้ยกเลิกการเข้าร่วมกับฝรั่งเศลในการปิดล้อม อังกฤษทางเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดเมืองทำรับเรืออังกฤษ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงเกณฑ์ทหาร ทั้งหมดประมาณ 6 แสนคนบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และกองทัพของรัลเซีย จนต้องถอยทัพกลับมาเหลือทหารเพียงประมาณ 2 หมื่นคน โดยการ ทำสงครามกับรัสเซียในครั้งนี้ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจจนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา
104. ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว ยุโรปก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวก
(1) เสรีนิยม
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ชาตินิยม
ตอบ 2 หน้า 471 – 473, 118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว ประเทศ ในยุโรปส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำการต่อต้านการปฏิวัติของพวกเสรีนิยมหรือระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของ คองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า “ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ศ. 1815 – 1848)
105. ประเทศผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ
(1) อังกฤษ
(2) เบลเยียม
(3) ฝรั่งเศส
(4) สเปน
ตอบ 1 หน้า 495 – 496, 562, 123 (H) ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม ใบระหว่างปีค.ศ.1760- 1830 โดยเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ หลังจากนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงได้แพร่ขยายไป ในประเทศต่าง ๆ บนภาคพื้นยุโรป สหรัฐอเมริกา และในทวีปเอเชีย
106. ปรัชญาที่ต่อต้านพวกนายทุนเอาเปรียบพวกกรรมกรคือ
(1) เสรีนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) อนุรักษนิยม
(4) ชาตินิยม
ตอบ 2 หน้า 500 – 501, 124 (H) ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้น 2 ชนชั้น คือ นายทุนหรือชนชั้นกลางกับกรรมกร ซึ่งนายทุนจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีอิทธิพลทางการเมือง ส่วนกรรมกรในโรงงานซึ่งรวมไปถึงผู้หญิงและเด็กที่อายุเพียง 10 ขวบ หรือน้อยกว่านั้นจะเป็นผู้เสียเปรียบอย่างแท้จริง จากความไม่พอใจในสภาพอันแร้นแค้นของ กรรมกรทั้งหญิงและเด็กได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่จะปฏิรูปสังคมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่ ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบชองนายทุน และเจ้าของที่ดินต่อคนงาน
107. ประเทศผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ
(1) เนเปิลส์
(2) ซาร์ดิเนีย
(3) เวนิส
(4) เจนัว
ตอบ 2 หน้า 512 – 513, 126 (H) ประเทศผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ อาณาจักรปิเอดมอนต์เ- ซาร์ดิเนิย โดยมี เคานต์ คามิลโล ดิ คาวัวร์ เป็นนายกรัฐมนตรีของซาร์ดิเนียในปี ค.ศ. 1852 ซึ่งคาร์วัวร์เชื่อว่าการรวมชาติจะกระทำได้โดยการปราบออสเตรียก่อน จากนั้นจึงดึงประเทศ มหาอำนาจเข้ามาช่วย พร้อมกับดำเนินการทางการทูตไปด้วย ดังนั้นคาวัวร์จึงนำซาร์ดิเนีย เข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งทำให้คาวัวร์สามารถขอความช่วยเหลือจาก จักรพรรตินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศสให้มาช่วยรบกับออสเตรียได้ ซึ่งมีผลทำให้ซาร์ดิเนีย ต้องยกเมืองนีซและแคว้นซาวอยให้แก่ฝรั่งเศสเป็นการตอบแทน
108. ผู้นำกองทัพอาสาสมัครเสื้อแดงผู้มีบทบาทสำคัญในการรวมอิตาลีคือ
(1) คาวัวร์
(2) ออร์ซินี
(3) การิบัลดี
(4) มาสสินี
ตอบ 3 หน้า 515, 126(H) การิบัลดี (Garibaldi) วีรบุรุษในการรวมชาติของชาวอิตาลีไม่พอใจที่ รัฐบาลไต้ยกเมืองนีซให้แก่ฝรั่งเศส จึงรวบรวมอาสาสมัครใส่เสื้อสีแดง (Red Shirts) ลงเรือไป ยึดซิซิลีและเนเปิลส์ แล้วเดินทัพม่งสู่กรุงโรมซึ่งเป็นที่อยู่ของสันตะปาปาและได้รับการคุ้มครอง จากกองทหารฝรั่งเศส คาวัวร์กลัวว่ากองทัพของการิบัลดีจะปะทะกับกองทัพทหารฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพันธมิตรของตนเอง จึงได้ส่งพระเจ้าวิคเตอร์ เอมมานูเอลที่ 2 ไปเจรจา การิบัลดีจึงยกดินแดนที่ได้มาให้พระองค์ ซึ่งพระองค์ได้นำเอาไปรวมกับดินแดนของพระองค์ทางตอนเหนือ จึงทำให้การรวมอิตาลีประสบความสำเร็จในปี ค.ค. 1860 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จสมบูรณ์
109. ประเทศผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันคือ
(1) ออสเตรีย
(2) ปรัสเชีย
(3) แซกโซนี
(4) สวาเบีย
ตอบ 2 หน้า 418 – 421, 515, 517 – 519, 128 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ปรัสเซียไต้กลายมาเป็นประเทศผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันได้สำเร็จ โดยมี ปัจจัยสำคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. ปรัสเซียไม่มีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย เพราะผู้ปกครอง ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา จึงมีชาวต่างชาติเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นจำนวนมาก
2. มีการจัดตั้งสหภาพศุลกากรซึ่งเป็นการประกาศอิทธิพลของปรัสเซีย
3. การมีผู้นำที่เข้มแข็ง คือ ปิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ซึ่งได้ประกาศใช้นโยบาย “เลือดและเหล็ก”ในการบริหารประเทศและการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน
110. ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยังคงรักษาเอกราชเอาไว้ได้ตลอดสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือ
(1) ซูดาน
(2) คองโก
(3) ไนจีเรีย
(4) เอธิโอเปีย
ตอบ 4 หน้า 523, 130 – 131 (H) จักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือ ยุคที่ประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้ ออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชียในระหว่างปี ค.ศ. 1871 – 1914 โดยมี อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดาเป็นผู้นำ ทำให้ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียต้องตกไปเป็น อาณานิคมจำนวนมาก โดยในทวีปแอฟริกาเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราชเอาไว้ได้เพียง 2 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย และไลบีเรีย ส่วนในทวีปเอเชียเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราช เอาไว้ได้ คือ จีน ญี่ปุ่น และไทย
111. สหรัฐอเมริกาซื้อดินแดนอลาสก้ามาจากประเทศ
(1) อังกฤษ
(2) รัลเซีย
(3) ฝรั่งเศส
(4) ดัตช์
ตอบ 2 หน้า 526 ในปี ค.ศ. 1867 รัชสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช รัสเซียได้ขายดินแดน อลาสก้าให้สหรัฐอเมริกาไปในราคา 7,200,000 ดอลลาร์
112. ประเทศมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นผู้นำในการเปิดประเทศญี่ปุ่นในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) ฝรั่งเศส
(4) ดัตช์
ตอบ 2 หน้า 131 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1853 นายพลเพอร์รี่ของสหรัฐอเมริกาได้ยื่นสาส์น ให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อให้ญี่ปุ่นพิจารณาเปิดประเทศ แต่ญี่ปุ่นไม่ยอม ต่อมาในปี ค.ศ. 1854 ญี่ปุ่นจึงยอมเปิดประเทศเนื่องจากเห็นตัวอย่างจากสงครามฝิ่นที่จีนต้องพ่ายแพ้ให้แก่อังกฤษ โดยหลังจากที่ญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศรับเอาอารยธรรมตะวันตกแล้ว ได้กลายมาเป็นประเทศ จักรวรรดินิยมในเวลาต่อมา จนสามารถยึดดินแดนของจีน เกาหลี และไต้หวัน มาเป็นของญี่ปุ่นได้
113. ประเทศที่ดำเนินนโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยวในศตวรรษที่ 19 คือ
(1) อังกฤษ
(2) เยอรมนี
(3) ตุรกี
(4) เซอร์เบีย
ตอบ 1 หน้า 530 – 531 ในศตวรรษที่ 19 ช่วงก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น เป็นช่วงที่อังกฤษ ดำเนินนโยบายโดดเดี่ยว (Splendid Isolation) จนเมื่อเห็นว่าเยอรมนีมีท่าที่ต้องการแข่งขัน กำลังนาวีกับอังกฤษ ทำให้อังกฤษตัดสินใจยกเลิกนโยบายโดดเดี่ยว และหันไปทำสัญญาเป็น พันธมิตรกับฝรั่งเศสและรัสเซีย จนในที่สุดได้กลายเป็นกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ซึ่งประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย โดยถือว่าเป็นการยุตินโยบายโดดเดี่ยวฝรั่งเศส ของบิสมาร์กโดยเด็ดขาด
114. ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ
(1) เยอรมนี
(2) อิตาลี
(3) บัลแกเรีย
(4) ออสเตรีย-ฮังการี
ตอบ 2 หน้า 535, 134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอำนาจ ในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ
ต่อมาก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย
115. รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ
(1) เกิดการปฏิวัติ
(2) กษัตริย์สิ้นพระชนม์
(3) มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
(4) อิทธิพลของพวกเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 537, 136 (H) ภายหลังจากการล้มระบอบซาร์ลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 รัสเซีย ก็มีรัฐบาลชั่วคราวของนายเคอเรนสกี้ขึ้นมาปกครองแทน แต่ก็ยังไม่ยอมถอนตัวออกจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาให้ทำสงครามต่อไป มิฉะนั้นจะไม่ให้ รัสเซียกู้ยืมเงิน แต่ทหารรัสเซียไม่มีกำลังใจในการรบ อีกทั้งความไม่พร้อมในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และชาวรัสเซียโดยทั่วไปเริ่มเบื่อหน่ายการบริหารงานของนายเคอเรนสกี้ ดังนั้นจึงเป็นการเปิด โอกาสให้พรรคบอลเชวิคของเลนินทำการปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ซึ่งส่งผลทำให้รัสเซียต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และรัสเซียต้อง ถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1
116. ลัทธิที่เกิดขึ้นภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติเพื่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์คือ
(1) ฟาสซิสต์
(2) บาซ์
(3) เสรีนิยม
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 541 – 543, 137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้เกิดขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า “ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งแบ่งออกเนิน 2 แบบ มีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่
1. ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย
2. ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการ ฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุสโสลินี เกิดขึ้นในอิตาลี และขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า “ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประชาธิปไตย
117. นโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ภายใต้การดำเนินการ ของประเทศ
(1) อังกฤษ
(2) สเปน
(3) อิตาลี
(4) เยอรมนี
ตอบ 1 หน้า 545 – 546, 549, (คำบรรยาย) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายเบวิลล์ แชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้พยายามเจรจาสันติภาพกับฮิตเลอร์ คือ ข้อตกลงมิวนิค (Munich Agreement) ปี ค.ศ. 1938 อันเป็นการดำเนินการตามหลักการของนโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 นโยบายนี้ต้องล้มเหลวเพราะแทนที่ฮิตเลอร์ จะเข้ายึดครองเพียงแค่แคว้นซูเดเทนของเซคโกสโลวะเกีย แต่ฮิตเลอร์ได้เข้ายึดครอง เชคโกสโลวะเกียทั้งประเทศ
118. สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีบุก
(1) เชคโกสโลวะเกีย
(2) ออสเตรีย
(3) เบลเยียม
(4) โปแลนด์
ตอบ 4 หน้า 550, 138 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การที่กองทัพเยอรมนี เริ่มบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เนื่องจากฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้โปแลนด์ยอมคืน ฉนวนโปแลนด์และเมืองดานซิกให้เยอรมนี แต่โปแลนด์ไม่ยินยอมและหันไปฝักใฝ่อังกฤษและ ฝรังเศส ซึ่งเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์ ฝ่ายอังกฤษได้ยื่นคำขาดให้เยอรมนียุติการบุกนั้น แต่เยอรมนีไม่ยอมปฏิบัติตาม อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 จนทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในที่สุด
119. ฮิตเลอร์เริ่มเป็นฝ่ายตั้งรับภายหลังจากการทำสงครามกับประเทศ
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) รัสเซีย
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ได้ละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน (Non-Aggression Pact) หรือสนธิสัญญานาซี-โซเวียต ที่ทำไว้กับโซเวียตรัสเซียในปี ค.ศ. 1939 ด้วยการนำกองทัพเยอรมันบุกโจมตีโซเวียตรัสเซียโดยใข้ยุทธการบาร์บารอสซา ดังนั้นเมื่อเกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น โซเวียตรัสเซียจึงเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำสงครามกับฝ่ายอักษะ ซึ่งประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น โดยสงครามในยุโรปยุติลงหลังจากที่โซเวียตรัสเซียยึดกรุงเบอร์ลินได้สำเร็จ เยอรมนี เป็นฝ่ายแพ้สงครามและฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายในปี ค.ศ. 1945
120. ประเทศในยุโรปที่ถูกแบ่งในสมัยสงครามเย็นคือ
(1) เชคโกสโลวะเกีย
(2) เยอรมนี
(3) ฮังการี
(4) โปแลนด์
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในสมัยสงครามเย็นเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เยอรมนีตะรับตกกับ เยอรมนีตะวันออก โดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสได้สถาปนาเยอรมนีตะวันตกซึ่งเป็น เขตยึดครองของตนเป็นประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อใช้เป็นเขตต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตจึงตอบโต้ด้วยการตั้งให้เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย- เยอรมนี และในปี ค.ศ. 1960 โซเวียตได้สร้างกำแพงเบอร์ลินปิดล้อมเยอรมนีตะวันออกเอาไว้ เพื่อสกัดกั้นการอพยพของชาวเยอรมันตะวันออกเข้าสู่เยอรมนีตะวันตก