HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย การสอบไล่ภาค 1/2554

การสอบไล่ภาค 1   ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา  HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

คำสั่ง      ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.              คำว่า “เสียนหลอ” ที่ปรากฏในเอกสารจีนนั้นหมายถึงอาณาจักรใด

1. ละโว้                    

2. สุพรรณภูมิ                          

3.  กรุงศรีอยุธยา                     

4. ทวารวดี

ตอบ  3      หน้า 23 ในช่วง พ.ศ. 1884-1910 จดหมายเหตุราชวงศ์หมิงของจีนได้ระบุถึงการที่หลอหูหรือละโว้ ได้รวมเสียนหรือสุพรรณภูมิเข้าไว้ในอำนาจ จีนจึงเรียกแคว้นที่รวมกันนี้ว่า “เสียนหลอ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของอาณาจักรอยุธยาในเวลาต่อมา ทั้งนี้การสร้างกรุงศรรีอยุธยาขึ้นใน พ.ศ.1893 ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเสียนหลอที่มาจากการรวมตัวของสองแคว้นดัง กล่าวนั่นเอง

2.              กษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัยคือใคร

1. พ่อขุนศรีนาวนำถม           

2. พ่อขุนผาเมือง          

3.  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์       

4. พ่อขุนรามคำแหง

ตอบ  1      หน้า 23, 25-26 ในช่วง 200 ปี ของกรุงสุโขทัย มีพระมหากษัตริย์ปกครองตามข้อสันนิษฐานของนักวิชาการดังนี้       1. พ่อขุนศรีนาวนำถม ถือเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัย  2. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  3. พ่อขุนบานเมือง  4. พ่อขุนรามคำแหง  5. พระยาไสสงคราม 6. พญาเลอไทย  7.พระยางั่วนำถม  8. พญาลิไทย  9. พระมหาธรรมราชาที่ 2 10. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย)   11. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

3.              กษัตริย์พระองค์ใดที่เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากลวจังคราช

1. พญามังราย         

2. พ่อขุนผาเมือง                    

3. พ่อขุนรามคำแหง              

4. พระเจ้าอู่ทอง

ตอบ  1      หน้า 81, 90 ตำนานของลานนากล่าวถึงต้นราชวงศ์มังรายว่า พญามังรายสืบเชื้อสายมาจากลวจังคราช ผู้มีกำเนิดจากโอปาติกกะ และเสด็จลงมาจากสวรรค์ทางบันไดเงิน นอกจากนี้พญามังรายยังได้ครอบครองเครื่องราชูปโภคที่สืบทอดมาจากจังคราช เช่น ดาบไชย หอกและมีดสะหรีกัญไชย เป็นต้น

4.              ข้อใดไม่ได้หมายถึงการปกครองแบบพ่อปกครองลูก

1. เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานจากการปกครองครอบครัว

2. เป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏในชุมชนที่ยังไม่มีระบบราชการที่เป็นแบบแผน

3. กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

4. เป็นระบบการปกครองที่รับมาจากอินเดีย

ตอบ  4      หน้า 90-91 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก (Patriarchal Monarchy) เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการปกครองครอบครัว โดยมีลักษณะสำคัญคือ กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้โดยตรงต่อกษัตริย์ จึงเป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏทั่วไปในชุมชนที่ยังไม่สามารถพัฒนาระบบ ราชการที่เป็นแบบแผนและเป็นทางการขึ้นได้

5.              ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “จักรพรรดิราช”

1. กษัตริย์แห่งจักรวาล                                                          

2. พระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง

3. กษัตริย์                                                                                 

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  3      หน้า 93 พระไตรปิฏกในส่วนสุตตันตปิฏก จักกวัติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศจะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือ จักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาลหรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดย คุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราชก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาจนเต็มเปี่ยม

6.              ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ปัจจุบันอยู่ที่ใด

1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง                 

2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

3. หอสมุดแห่งชาติ                                        

4. เนินปราสาท ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ตอบ  2      หน้า 89 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชหลักที่ 1 จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เมื่อพุทธศักราช 18356 มีขนาดกว้า 35 ซม. สูง 111 ซม. และหนา 35 ซม. เดิมอยู่ที่เนินปราสาทเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

7.              ข้อใดคืออุดมการณ์การปกครองแบบเดิมของชนชาติไทย

1. เป็นนักรบที่มีความสามารถ                             

2. ผู้นำมีอำนาจสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

3. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก                    

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4      หน้า 90-92 อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย มีลักษณะสำคัญที่สรุปได้ดังนี้                                                    

1. ผู้นำต้องเป็นนักรบที่มีความสามารถ                        

2. ผู้นำมีอำนาจสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์          

3. กษัตริย์ใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

4. กษัตริย์ต้องปกครองตามระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ 19

5. ฐานะของผู้ปกครองยังไม่แตกต่างหรืออยู่ห่างจากราษฎรมากนัก

8.              ข้อใดคือหลักธรรมที่สำคัญสำหรับผู้ปกครอง

1. อิทธิบาท 4          

2. ทศพิธราชธรรม 

3. กาลามสูตร                 

4. สังคหวัตถุ 4

ตอบ  2      หน้า 94 คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าแพร่หลายขึ้นมาถึงเขตสุโขทัยด้วย ได้กล่าวถึงหลักธรรมที่สำคัญสำหรับผู้ปกครอง หรือหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ว่าประกอบไปด้วยหลักธรรม 10 ประการ หรือเรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” และหลักธรรม 4 ประการ หรือเรียกว่า “ราชจรรยานุวัตร”

9. ไตรภูมิพระร่วงเป็นที่เชื่อกันว่าใครเป็นผู้พระราชนิพนธ์

1. พ่อขุนรามคำแหง                                              

2. พระมหาธรรมราชาลิไทย

3. พระเจ้าอู่ทอง                                                     

4. รัชกาลที่ 4

ตอบ  2      หน้า 96, 105, 584 พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นจอม ปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา พระองค์แรกของประเทศไทย เนื่องจากทรงเรียนรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉานจนสามารถพระราชนิพนธ์หนังสือที่ เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถาซึ่งถือเป็นหลัก ฐานที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัยได้เป็น อย่างดี

10.  ข้อใดคือลักษณะสถาบันกษัตริย์ของล้านนาที่แตกต่างจากสุโขทัย

1. ไม่เน้นความสูงส่งของจักรพรรดิราช                            

2. กษัตริย์ใช้หลักธรรมราชา

3. นำอุดมการณ์เทวราชมาใช้                                              

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  1      หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดั่งพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย

11.           โครงสร้างจักรวาลตามคติศาสนาพราหมณ์มีสิ่งใดเป็นศูนย์กลาง
1. ทะเลน้ำนม                         
2. เขาไกรลาส                         
3. เขาพระสุเมรุ                      
4. ป่าหิมพานต์
ตอบ  3      หน้า 99 คติทางศาสนาพราหมณ์ที่เชื่อมโยกับระบบเทวราช คือ คติที่ว่าราชธานีของโลกมนุษย์จะต้องสร้างให้เป็นรูปจำลองของจักรวาล อาณาจักรของมนุษย์จึงจะเจริญรุ่งเรืองสืบไป ทั้งนี้ โครงสร้างของจักรวาลตามคติของศาสนาพราหมณ์นั้นจะมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง และเขาพระสุเมรุจะตั้งอยู่ใจกลางของชมพูทวีปซึ่งเป็นรูปกลม
12.           ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบเทวราชา
1.       กษัตริย์ได้รับการส่งเสริมให้เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
2.       พระราชพิธีบรมราชภิเษก พราหมณ์จะเป็นผู้กระทำให้
3.       เครื่องราชูปโภคถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์                     
4.       ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 99 การปกครองแบบเทวราช หมายถึง การปกครองที่กษัตริย์ได้รับการส่งเสริมให้มีสถานะสูงส่งเป็นองค์อวตารของ เทพเจ้า ซึ่งการที่กษัตริย์จะอ้างเป็นองค์อวตารของเทพเจ้าได้นั้นจะต้องผ่านพระราช พิธีบรมราชาภิเษกที่พวกพราหมณ์เป็นผู้กระทำให้เสียก่อน และเมื่อทรงเป็นดังเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์แล้วก็จะต้องมีหลักปฏิบัติพิเศษ สำหรับพระองค์ เช่น การใช้ราชาศัพท์พระราชวังที่ประทับและเครื่องราชูปโภคของพระองค์ถือเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ
 
13.           เทวดาหรือยักษ์ที่เป็นผู้รักษาทิศทั้ง 4 เรียกว่าอะไร
1. ยกบาล                 
2. ทวารบาล                             
3. จาตุรงคบาท                        
4. จตุโลกบาล
ตอบ  4      หน้า 99, (คำบรรยาย) คติพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล (Universe หรือ Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำรวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล
 
14.           ในสมัยพระเจ้าอู่ทองมีการนำการปกครองแบบใดมาใช้
1. เทวราช                
2. ธรรมราชา                  
3. จักรพรรดิราช                     
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 119 ในสมัยพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอยุธยา ได้มีการนำการปกครองแบบเทวราชมาใช้ควบคู่กับแนวทางธรรมราชา และพระจักรพรรดิราชดังปรากฏหลักฐานจากพระนามของพระเจ้าอู่ทองในคำปรารถของ พระไอยการลักษณะเบ็ดเสร็จซึ่งมีทั้งคำว่ารามาธิบดี (เทวราชา) จักรพรรดิราชาธิราช (พระจักรพรรดิราช) และพระพุทธิเจ้าอยู่หัว (ธรรมราชา)
 
15.           พระที่นั่งอัฐทิศเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใด
1. ทิศทั้ง 4 ในจักรวาล                                           
2. ทิศทั้ง 8 ในจักรวาล
3. ศูนย์กลางจักรวาล                                              
4. ไม่มีข้อถูก
ตอบ  2      หน้า 123 แนวความคิดเกี่ยวกับพระจักรพรรดิราช ถือเป็นที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนทิศทั้ง 8 ในจักรวาล ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รวมทั้งยังเป็นที่มาของพระราชพิธีเสด็จเลียบพระนครทั้งทางชลมารคและสถลมารค ภายหลังพระราชพิธีราชาภิเษก ซึ่งเป็นการแสดงว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงครอบครองทั่วทุกทิศแล้ว
 
16.           ข้อใดหมายถึงกฎมณเฑียรบาล
1. เป็นหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และราชวงศ์
2. เป็นกฎที่เน้นแสดงความเป็นธรรมราชาของกษัตริย์
3. เป็นกฎหมายที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
4. ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย
ตอบ  1      หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงสุดดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรกที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหา กษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลัก ปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี
 
17.           คำว่า “สมเด็จหน่อพุทธางกูร” มีความหมายอย่างใด
1. กษัตริย์                                                                 
2. ผู้เป็นเชื้อสายกษัตริย์
3. ผู้เป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า                       
4. ผู้เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
ตอบ  3      หน้า 126 กฎมณเฑียรบาลได้กำหนดยศของพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ที่ประสูติจาก อัครมเหสีไว้ คือ สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า หรือสมเด็จหน่อพุทธางกูร ซึ่งมีความหมายถึงผู้เป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า
 
18.           ข้อใดคือปัจจัยการแย่งชิงอำนาจพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา
1. ไม่มีกฎหมายบัญญัติตำแหน่งรัชทายาทอย่างเด่นชัด                   
2. ความเชื่อในเรื่องบุญบารมี
3. ประชาชนยอมรับพระมหากษัตริย์ในลักษณะสถาบันมากกว่าบุคคล
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 138-140 ปัจจัยที่เป็นที่มาของการแย่งชิงอำนาจพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา คือ
1.       ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงตำแหน่งรัชทายาทอย่างแน่ชัด
2.       ความเชื่อถือเรื่องผู้มีบุญบารมี
3.       ประชาชนยอมรับพระมหากษัตริย์ในลักษณะสถาบันมากกว่าบุคคล
4.       สถานะที่สูงส่งและความมั่นคงของกษัตริย์เป็นสิ่งล่อใจให้แก่ผู้ใฝ่อำนาจ
5.       การแย่งชิงราชสมบัติไม่ใช่สิ่งยากเย็นนัก ซึ่งทำได้เพียงแค่ยึดพระราชวังก็ยึดอำนาจได้
6.        
 
19.           ในสมัยอยุธยา พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต้องกระทำปีละกี่ครั้ง
1. 1 ครั้ง                                   
2. 2 ครั้ง                                   
3. 3 ครั้ง                                   
4. กี่ครั้งก็ได้
ตอบ  2      หน้า 126, 140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยู่ในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัยดังหลักฐานจากพระ ราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะพระเชษฐ บิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูปของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองค์) โดยจะต้องกระทำปีละ 2 ครั้ง
 
20.           รายได้ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญมาจากที่ใด
1. อากรที่เก็บจากการประกอบอาชีพต่างๆ ของราษฎร  
2. ส่วยที่เก็บจากหัวเมืองต่างๆ
3. ส่วยบรรณาการจากประเทศราช
4. การค้าขาย
ตอบ  4      หน้า 143 ในบรรดาแหล่งรายได้ของพระมหากษัตริย์อยุธยา รายได้จากการค้าขายเป็นรายได้ที่สำคัญและมีจำนวนมากที่สุด ลำพังรายได้ที่มาจากอากร ส่วย และค่าธรรมเนียมต่างๆไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย เพราะอัตราที่เรียกไม่ได้สูงนัก และพระมหากษัตริย์ก็มิได้ทรงรับเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากรายได้เหล่านี้ต้องกระเส็นกระสายไปในหมู่ข้าราชการที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องและไม่มีเงินเดือนประจำ จึงได้เบียดบังบางส่วนเป็นรายได้ส่วนตัว
21.           ในสมัยอยุธยาส่วนให้ใช้นโยบายใดในการปกครองประเทศราช
1. การปกครองทางอ้อม                                        
2. การปกครองทางตรง
3. การแบ่งแยกและปกครอง
4. ผนวกประเทศราชเป็นของอยุธยา
ตอบ  1      หน้า 169-170 นโยบายของอยุธยาในการปกครองประเทศราชส่วนใหญ่จะใช้การปกครองทางอ้อม (Indirect Rule) คือ การให้เจ้านายดั้งเดิมของประเทศราชได้ปกครองตนเองต่อไปแต่ต้องส่งบรรณาการมา ให้ตามกำหนดเวลา และเกณฑ์ทัพมาช่วยอยุธยาถ้าได้รับคำสั่ง ซึ่งนับเป็นนโยบายที่ผ่อนคลายความตึงเครียดของประเทศราชได้ดีกว่า และทำให้อยุธยามีอำนาจได้ยาวนานกว่าการปกครองทางตรง
22.           กลองวินิจฉัยเภรี มีไว้เพื่ออะไร
1. ตีบอกเวลา           
2. ตีเมื่อเวลาจะทำศึก
3. ร้องทุกข์
4. ไม่มีข้อถูก
ตอบ  3      หน้า 186-187 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการรื้อฟื้นประเพณีการร้องทุกข์ของราษฎร โดยจัดตั้งกลองชื่อวินิจฉัยเภรีไว้หน้าพระราชวัง เพื่อให้ราษฎรที่มีเรื่องทุกข์ร้อนสามารถมาตีกลองร้องทุกข์และยื่นฎีกาได้ ซึ่งจะมีนายตำรวจเวรเป็นผู้ออกมารับเรื่องราวเพื่อนำขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระ มหากษัตริย์
 
23.           ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์อุดมการณ์การปกครองใดเด่นชัดที่สุด
1. ธรรมราชา           
 
2. คติความเชื่อดั้งเดิมของไทย             
 
3. เทวราชา              
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  1      หน้า 183, 187 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ลักษณะธรรมราชาเป็นอุดมการณ์การปกครองที่มีความสำคัญเด่นชัดที่สุด ในขณะที่แนวทางการปกครองแบบเทวราชาจะถูกลดความสำคัญไปโดยมีความพยายามเพิ่ม ความเป็นมนุษย์ให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น และเริ่มลดสถานะอันสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพเจ้าของพระมหากษัตริย์ลงจาก แต่ก่อน
 
24.           การปกครองในสมัยใดที่เพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น
1. ล้านา                    
 
2. สุโขทัย                 
 
3. อยุธยา     
 
4.  รัตนโกสินทร์
 
ตอบ  4      ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
 
25.           ในสมัยรัชกาลใดที่โปรดฯ ให้ยกเลิกการยิงกระสุนใส่ตาราษฎรที่เงยหน้ามองพระมหากษัตริย์
1. รัชกาลที่ 1                           
 
2. รัชกาลที่ 2                           
 
3. รัชกาลที่ 3                           
 
4. รัชกาลที่ 4
 
ตอบ  2      หน้า 188-189 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ (รัชกาลที่ 2) โปรดฯ ให้ยกเลิกการยิงกระสุนใส่ตาราษฎรที่เงยหน้าขึ้นมองพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ให้องครักษ์เงื้อง่าอาวุธห้ามมิให้ราษฎรมองพระมหากษัตริย์เท่านั้น
 
26.           พระมหากษัตริย์รัชกาลใดที่ทรงดื่มน้ำสาบานในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระองค์แรก
1. รัชกาลที่ 1                           
 
2. รัชกาลที่ 2                           
 
3. รัชกาลที่ 3                           
 
4. รัชกาลที่ 4
 
ตอบ  4      หน้า 199 รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงดื่มน้ำสาบานในพระราชพิธีถือน้ำพระ พิพัฒน์สัตยา ซึ่งแสดงว่าทรงยอมรับว่าพระมหากษัตริย์ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชน จึงควรเป็นการให้คำมั่นสัญญากันทั้งสองฝ่าย มิใช่ประชาชนมีหน้าที่ถวายสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์อยู่ฝ่ายเดียวอีกต่อ ไป
 
27.           เพราะเหตุใดจึงมีการจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา
1. เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่างๆ
 
2. ป้องกันขุนนางไม่ให้ทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
 
3. เพื่อเป็นแบบเรียนแก่ราษฎร                           
 
4. ถูกทั้ง ข้อ 1 และ 2
 
ตอบ  4      หน้า 199-200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเป็นรายสัปดาห์ที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
 
28.           พระสยามเทวิราช สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลใด
1. รัชกาลที่ 2                           
 
2. รัชกาลที่ 3                           
 
3. รัชกาลที่ 4                           
 
4. รัชกาลที่ 5
 
ตอบ  3      หน้า 202 รัชกาลที่ 4 ทรงเน้นอยู่เสมอว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบารมีสูง เทวดาจึงคอยช่วยเหลือเกื้อกูล และปาฏิหาริย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ยังทรงผนวชอยู่นั้นเป็นเพราะบารมีของพระองค์ที่จะได้ ครองราชสมบัติต่อไป ซึ่งความเชื่อดังกล่าวนี้เองทำให้ทรงสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้น
 
29.           เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นปกครองประเทศทรงปฏิรูปด้านใดก่อนเป็นอันดับแรก
1. การคลัง                  
2. ระบบบริหารราชการ
3. ระบบสังคม
4. การศึกษา
ตอบ  1      หน้า 205 เมื่อรัชกาลที่ 5  เสด็จ ขึ้นปกครองประเทศด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงเร่งปฏิรูปด้านการคลังก่อนด้านอื่นเป็นอันดับแรก จากนั้นการปฏิรูประบบบริหารราชการและระบบสังคมก็ตามมา เพื่อสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้แก่อาณาจักรไทยในช่วงที่จักรวรรดินิยมตะวัน ตกกำลังมีความรุนแรงถึงขีดสุด ซึ่งส่งผลให้อำนาจบริหารมารวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์มากขึ้น
 
30.           ในสมัยรัชกาลที่ 5 กลุ่มเสนาบดีตระกูลใดที่มีอำนาจอย่างมาก
1. ณ บางช้าง                           
2. บุนนาค
3. นิมมานเหมินทร์
4. อมาตยกุล
ตอบ  2      หน้า 214, 404 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 เมื่อพระมหากษัตริย์ยังทรงต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นเวลาที่สถาบัน กษัตริย์มีอำนาจตกต่ำลงอย่างที่สุด ในขณะที่อำนาจของขุนนางหรือเสนาบดีตระกูลบุนนาคที่มีผู้นำ คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้นกลับมีอำนาจอย่างมากจนขึ้นถึงจุด สูงสุด
31.           พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร
1. ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง                                          
 
2. ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ
 
3. ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้                 
 
4. ออกกฎหมายให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม
ตอบ  3      หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนด้วยวิธีการดังนี้
1.       ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และพยายามตัดสินความให้อย่างยุติธรรม
2.       ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรม มิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)
32.           เหตุใดลูกเจ้าลูกขุนต้องมีความรู้ดีทางศาสนา
1. เพื่อประโยชน์ในการปกครอง                                                    
 
2. ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สนับสนุนพุทธศาสนา
 
3. ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สั่งสอนศีลธรรมประชาชนด้วย 
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 272, (คำบรรยาย) ความรู้ทางศาสนาเป็นศาสตร์อีกด้านหนึ่งที่สำคัญสำหรับลูกเจ้าลูกขุนเนื่อง จากศาสนามีอิทธิพลสำคัญและมีประโยชน์ต่อแนวทางการปกครองของสุโขทัยเป็นอย่าง มาก เช่น หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร ทั้งนี้เพราะหน้าที่สำคัญของกษัตริย์และลูกเจ้าลูกขุน คือ เป็นผู้สั่งสอนประชาชนให้รู้บุญรู้ศีลธรรม และเสริมสร้างบารมีด้วยการบำรุงและสนับสนุนพุทธศาสนา
 
33.           ข้อใดถูกต้องตามกฎหมายล้านนา
1.       ลูกเจ้าลูกขุนทำผิดถูกลงโทษหนักกว่าสามัญชน
2.       ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าให้ต่ำกว่าของสามัญชน
3.       นายช้างต้องหลีกทางให้นายม้า
4.       ถูกทุกข้อ
ตอบ  1      หน้า 275 สิทธิและวิธีคานอำนาจลูกเจ้าลูกขุนล้านนามีดังนี้              1. มีสิทธิหาผลประโยชน์จากนาขุมราชการหรือนาขุมการเมือง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างแท้จริง                    2. ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าหรือตีราคาสูงกว่าของสามัญชน               3. ถ้าลูกเจ้าลูกขุนตายโดยไม่ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินต้องตกเป็นของรัฐ (ยกเว้นเจ้าขุนนั้นมีความดีความชอบทางราชการจะยึดมาเพียงครึ่งหนึ่ง) แต่ถ้าเจ้าขุนสั่งเรื่องมรดกไว้ก็ให้เป็นไปตามนั้น                       4. เมื่อทำความผิดจะถูกลงโทษปรับหนักกว่าสามัญชน แม้จะเป็นความผิดชนิดเดียวกัน ฯลฯ
 
34.           ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา
1. ทำให้รัฐได้ใช้แรงงานไพร่ได้เต็มที่                              
 
2. ทำให้ไพร่ไม่ต้องเสียภาษี
 
3. ทำให้ไพร่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว                        
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  1      หน้า 273, 283 ระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา คือ การจัดไพร่ให้สังกัดมูลนายที่เป็นลูกเจ้าลูกขุน โดยมูลนายจะต้องคอยดูแลให้ไพร่อยู่ในภูมิลำเนา คอยเกณฑ์ไพร่มาทำงานตามกำหนดเวลา ควบคุมให้ไพร่อยู่ในกฎหมาย และควบคุมเรื่องการเก็บภาษีอากรจากไพร่ซึ่งระบบไพร่ที่มีการจัดการที่ดีถือ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้รัฐสามารถดึงประโยชน์ทั้งด้านแรงงานและส่วยจากไพร่มา ใช้ได้อย่างเต็มที่
 
35.           หลักฐานใดที่แสดงว่าสุโขทัยมีทาส
1. มีหลักฐานเกี่ยวกับการหลบหนีของข้า                         
 
2. มีหลักฐานเกี่ยวกับข้าพระอาราม
 
3. มีการเลี้ยงดูเชลยศึกไว้ใช้งาน                                         
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 289-290 หลักฐานสุโขทัยได้กล่าวถึงทาสอยู่หลายแห่ง ได้แก่         1.จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวถึงการกวาดต้อนเชลยศึก “มาเลี้ยงมาขุน” โดยไม่ฆ่า และนำมาใช้งานเมื่อต้องการ             2. จารึกหลักที่ 2 กล่าวถึงการซื้อคนปล่อยที่ตลาด                                 3. จารึกหลักที่ 38 กล่าวถึงข้าหลบหนีนาย     4. จารึกหลักที่ 15 กล่าวถึงการยกข้าและลูกสาวลูกชายให้เป็นข้าพระอาราม ฯลฯ
 
36.           “เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึงสิ่งใด
1. จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยอยุธยา            
 
2. จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่สมในสมัยอยุธยา
 
3. การเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยรัตนโกสินทร์                  
 
4. การเกณฑ์ไพร่สมในสมัยรัตนโกสินทร์
 
ตอบ  1      หน้า 340 คำว่า “เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึง จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยอยุธยาโดยไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 6 เดือน แต่อาจมาทำงาน 1 เดือน ออกไปอยู่บ้าน 1 เดือนสลับกันไปได และเวลามาทำงานต้องนำข้าวปลาอาหารมาเอง เพราะทางราชการจะไม่เลี้ยงดูอย่างใดแต่ถ้าไพร่หลวงไม่ต้องการมาให้แรงงานจะ ส่งเงินมาแทนก็ได้ เรียกว่า “เงินค่าราชการ”
 
37.           “ข้อยมาเป็นข้า” สมัยล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดในสมัยอยุธยา
1. ทาสสินไถ่                           
 
2. ทาสขัดดอก                         
 
3. ทาสเชลย                             
 
4. ทาสในเรือนเบี้ย
 
ตอบ  3      หน้า 290, 351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ
1.       ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา
2.       ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา
3.       มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา
4.       ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา
5.       ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา
 
38.           ชนชั้นใดในสมัยสุโขทัยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ
1. ไพร่           
 
2. ขุนนางชั้นผู้น้อย                    
 
3. ลูกเจ้าลูกขุน          
 
4. ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
 
ตอบ  4      หน้า 274-275, 278, (คำบรรยาย) สิทธิพิเศษของลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย คือ ไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน มีไพร่อยู่ในสังกัดได้ และไม่ต้องเสียภาษี เพราะในหลักฐานสุโขทัยกล่าวเฉพาะแต่การที่ลูกเจ้าลูกขุนเป็นผู้เก็บภาษีจาก ไพร่เท่านั้น ส่วนข้าราชการระดับล่างหรือขุนนางชั้นผู้น้อยจะมีฐานะความเป็นอยู่ไม่ต่าง จากไพร่มากนัก เพียงแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานและไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ
 
39.           พบศพชายไทยนอนตายอยู่ริมแม่น้ำ พลิกศพดูพบว่าปรากฏชื่อมูลนายติดอยู่ที่ข้อมือ ถามว่าศพดังกล่าวน่าจะเป็นคนไทยสมัยใด
1. สุโขทัย                 
 
2. ล้านนา                 
 
3. อยุธยา                  
 
4. ธนบุรี
 
ตอบ  4      หน้า 392, 417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุง ธนบุรีเป็นต้นมา โดยได้กำหนดให้สักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเสียงอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันมิให้ไพร่หลวงสูญหาย หรือมิให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน
 
40.           การสักข้อมือไพร่เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
1. เพื่อความงาม           
 
2. เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี      
 
3. เพื่อรู้ชื่อมูลนาย       
 
4. เพื่อรู้จักภูมิลำเนาไพร่
 
ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

 

41.           ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของการถวายตัวเป็นขุนนาง

1. วุฒิ 4                    

2. อธิบดี 4        

3. พรหมวิหาร 4                     

4. คุณานุรูป

ตอบ  3      

42.           การถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาเมื่อมีอายุเท่าไร

1. 21 ปี                     

2. 25 ปี                     

3. 31 ปี                                     

4. 35 ปี

ตอบ  3      หน้า 316, (ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ) คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่

1.       ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี

2.       วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป

3.       คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือนชำนิชำนาญ

4.       ปัญญาวุฒิ คือ มีสติปัญญาดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ

43.           ลักษณะ การไหว้โดยการประนมมือให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ผู้หญิงถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมย่อเข่าลง ประนมมือไหว้ ถามว่าเป็นการไหว้ผู้ใด

1. ไหว้คนทั่วไป                    

2. ไหว้คนเสมอกัน                

3. ไหว้ผู้อาวุโส                       

4. ไหว้พระ

ตอบ  3      (คำ บรรยาย) การไหว้บิดามารดาหรือผู้ที่มีพระคุณและผู้มีอาวุโสอันเป็นที่เคารพยิ่ง คือ ลักษณะการไหว้โดยการยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรวดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้วผู้ชายให้ค้อมตัวลง ประนมมือไหว้ ส่วนผู้หญิงถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับย่อเข่าลงประนมมือไหว้

44.           การทำความเคารพศพแบบไทยข้อใดถูก

1. กราบ 3 ครั้งแบมือ                                            

2. กราบ 1 ครั้งแบมือ

3. กราบ 1 ครั้งไม่แบมือ                                        

4. ถวายคำนับหรือถอนสายบัว

ตอบ  3      (คำ บรรยาย) การทำความเคารพศพแบบไทยที่ถูกต้อง ให้นั่งคุกเข่าราบทั้งชายและหญิงจากนั้นจุดธูป 1 ดอก (ถ้าเป็นศพพระจุด 3 ดอก) ประนมมือยกธูปขึ้นให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วตั้งจิตขอขมาต่อศพ แล้วปักธูปลงบนที่สำหรับปักธูป จากนั้นนั่งพับเพียบหมอบกราบแบบกระพุ่มมือตั้ง 1 ครั้ง (ไม่แบมือ) พร้อมอธิษฐานให้ดวงวิญญาณศพไปสู่สุคติ แล้วลุกขึ้น ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอายุน้อยกว่าเราไม่ต้องกราบหรือไหว้ เมื่อปักธูปลงแล้วให้นิ่งสงบและอธิษฐานเท่านั้น

45.           ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้แก่เรื่องใด

1. อย่านั่งชิดผู้ใหญ่                                                               

2. ท่านสอนอย่าสอนตอบ

3. ผู้ใหญ่ต้องควบคุมอารมณ์เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้น้อย           

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4      หน้า 294 ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้กำหนดหลักปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อยไว้ คือ ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นฝ่ายมีอำนาจ ถูกกำหนดให้มีความยุติธรรม เมตตากรุณา ให้รางวัลแก่ผู้น้อยที่มีความดีความชอบ และรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองเวลาอยู่ต่อหน้าผู้น้อย ส่วนผู้น้อยถูกกำหนดให้มีความจงรักภักดี กตัญญูกตเวที และเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ ดังคำสอนให้ “อย่านั่งชิดผู้ใหญ่” และ “ท่านสอนอย่างสอนตอบ” เป็นต้น

46.           พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายเกี่ยวกับเจ้านายอย่างไร

1. ให้เจ้านายทุกพระองค์มีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง      

2. ให้เจ้านายได้ควบคุมอำนาจบริหารมากกว่าขุนนา

3. พยายามควบคุมจำนวนเจ้านายไว้ด้วย                           

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  3      หน้า 305, 313, 322-323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายคานอำนาจเจ้านาย ดังนี้

1.       ควบคุมจำนวนเจ้านาย โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านายมีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูก หลาน และเหลนเท่านั้น

2.       ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง

3.     ไม่ให้เจ้านายได้ควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมืองในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน

4.       ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านาย ฯลฯ

47.           เหตุใดเจ้านายในสมัยอยุธยาจึงได้ “ทรงกรม”

1. เพื่อให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี                                       

2. เพื่อให้จ้านายได้ปกครองไพร่หลวง

3. เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง           

4. เพื่อให้เจ้านายเป็นเจ้าเมือง

ตอบ  3      หน้า 308 การทรงกรมของเจ้านายในสมัยอยุธยา คือ การปกครองบังคับบัญชากรมซึ่งเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรฯ เป็นต้นมา เพื่อเป็นสิ่งทดแทนการที่เจ้านายเคยได้ครองเมืองในอดีต และเพื่อไม่ให้เจ้านายหมดอำนาจไปเสียทีเดียว พระมหากษัตริย์จึงทรงให้เจ้านายได้บังคับบัญชากรมและได้ปกครองไพร่สมจำนวน หนึ่ง แต่จะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับศักดินาของเจ้านาย

48.           ไพร่ในสมัยอยุธยาทำสิ่งใดไม่ได้

1. ยกมรดกให้ลูกหลาน                                                                        

2. เดินทางย้ายถิ่นอย่างเสรี

3. เข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้                    

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  2      หน้า 345, 350, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยอยุธยามีอยู่หลายประการ เช่น ไพร่มีสิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ และมีสิทธิเข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น รวมถึงมีสิทธิที่จะขายหรือยกเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานได้ ฯลฯ แต่เมื่อไพร่ต้องอยู่ในระบบไพร่ ทำให้สิทธิบางอย่างของไพร่ถูกลิดรอนไป เช่น ไพร่ถูกควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหว จึงไม่สามารถเดินทางย้ายถิ่นอย่างเสรี และต้องมาให้แรงงานตามกำหนด ฯลฯ

49.           พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงมีนโยบายเกี่ยวกับไพร่สมอย่างไร

1. เกณฑ์แรงงานไพร่สมมาใช้ทางราชการมากกว่าไพร่หลวง                     

2. พยายามลดจำนวนไพร่สม

3. พยายามเพิ่มจำนวนไพร่สม                                                                             

4. ไม่ให้ไพร่สมย้ายไปเป็นไพร่หลวง

ตอบ  2      หน้า 339 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงพยายามลดจำนวนไพร่สม เพื่อลิดรอนอำนาจของเจ้านายซึ่งเป็นมูลนายของไพร่สมส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนไพร่หลวงเพื่อความมั่นคงของพระมหากษัตริย์จึงมีการออกกฎหมาย ห้ามจดทะเบียนลูกหลานของไพร่หลวงเป็นไพร่สม แต่ไพร่สมสามารถย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ

50.           ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบทาสในสมัยอยุธยา

1. นายเงินขึ้นค่าตัวทาสไม่ได้                                              

2. นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาสได้

3. นายเงินใช้ทาสเข้าคุกแทนตัวเองไม่ได้                        

4. ไม่มีข้าพระอาราม                              

ตอบ  1      หน้า 352, 354-356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้

1. ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง                  

2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้ แต่ถ้าทาสขายขาดไปรับโทษแทนนายเงินจะมิได้ลดค่าตัวและไถ่ถอนตัวเป็นอิสระไม่ได้                              

3. ใช้ทาสไปรบแทนตนได้                

4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป          

5. ขายทาสต่อไปได้ แต่ขึ้นราคาค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้ ฯลฯ

51.           การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร
1. ใช้กำหนดบทลงโทษบุคคล                                            
2. ใช้กำหนดยศให้กับบุคคล
3. ใช้กำหนดที่ดินที่จะให้บุคคลถือครอง
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  1      หน้า 309, 359-360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่างๆ ดังนี้
1.     เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่างๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม
2.       เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด
3.       เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พลในสังกัด
4.       เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง
52.           ข้อใดที่ศักดินาของบุคคลมีการเปลี่ยนแปลง
1. เมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศ                                                  
2. เมื่อบุคคลนั้นได้ทรงกลม
3. เมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษลดยศลดตำแหน่ง
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 309, 358, (คำบรรยาย) การกำหนดให้บุคคลมีศักดินากันคนละเท่าใดนั้นจะกำหนดจากยศตำแหน่ง และความรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ ดังนั้นศักดินาของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้ เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือได้ทรงกรม และศักดินาจะมีการเปลี่ยนแปลงลดต่ำลงเมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษโดยลดยศลด ตำแหน่ง
 
53.           ในระบบศักดินาของไทย ใครคือผู้ที่มีศักดินาสูงสุดในแผ่นดิน
1. พระเจ้าแผ่นดิน                                                 
 
2. สมเด็จพระสังฆราช
 
3. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล                     
 
4. สมเด็จเจ้าพระยา
 
ตอบ  3      หน้า 309, 357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์จะได้รับพระราชทาน ศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่งโดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่
 
54.           ยศสูงสุดของขุนนางคือ “สมเด็จเจ้าพระยา” เริ่มมีครั้งแรกในสมัยใด
1. สุโขทัย                 
 
2. อยุธยา                  
 
3. ธนบุรี                   
 
4. รัตนโกสินทร์
 
ตอบ  3      หน้า 319, 405, (คำบรรยาย)  ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 4 องค์ คือ
1.       สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง) หรือรัชกาลที่ 1 ในเวลาต่อมา
2.       สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส บุนนาค)
3.       สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)
4.       สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
 
55.           ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
1. ขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์                             
 
2. ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไป
 
3. ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากเจ้าภาษีเลย                        
 
4. ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก
 
ตอบ  1      หน้า 400-404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
1.       ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์
2.       ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น
3.       คณะเสนาบดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์
4.       ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร
5.       ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ
 
56.           ไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสิทธิร้องทุกข์โดยตรงครั้งแรกในรัชกาลใด
1. รัชกาลที่ 3                           
 
2. รัชกาลที่ 4                           
 
3.รัชกาลที่ 5                            
 
4. รัชกาลที่ 6                           
 
ตอบ  2      หน้า 199, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไพร่มีสิทธิร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก โดยพระองค์ทรงอนุญาตให้ไพร่เข้าเฝ้าถวายฎีกาได้อย่างใกล้ชิด และจนเสด็จออกรับฎีกาด้วยพระองค์เองเดือนละ 4 ครั้ง ซึ่งส่งผลให้มูลนายไม่กล้าข่มเหงรังแกไพร่ดังแต่ก่อน
 
57.           การเปิดประเทศมีผลต่อไพร่อย่างไร
1. ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานมากขึ้น                                         
 
2. ไพร่เสียเงินค่าราชการมากขึ้น
 
3. ไพร่ปลูกข้าวมากขึ้น                                                         
 
4. ถูกทุกข้อ              
 
ตอบ  3      หน้า 416, 242 ภายหลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากระบบผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง มากเป็นระบบผลิตเพื่อส่งออก ทำให้ความสำคัญของไพร่ในฐานะแรงงานและผู้ส่งส่วยลดลงไปมาก แต่ไพร่จะมีบทบาทสำคัญยิ่งในด้านการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย
 
58.           ปัญหาการเมืองที่เกิดจากชาวจีนในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัยได้แก่เรื่องใด
1. ชาวจีนมักแข็งข้อต่อขุนนางไทย                                    
 
2. ชาวจีนต่อต้านชาวตะวันตก
 
3. ชาวจีนนิยมไปเป็นคนในบังคับตะวันตก                     
 
4. ชาวจีนต่อต้านระบบเจ้าภาษีนายอากร
 
ตอบ  3      หน้า 439 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ชาวจีนได้ก่อปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลไทยโดยการตั้งสมาคมลับของชาวจีน หรืออั้งยี่ขึ้นหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิดกฎหมายไทย แต่พวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้  เพราะคน จีนจำนวนมากนิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่างๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อมีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียน ไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น
 
59.           พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ. 2417 มีผลอย่างไร
1. ลูกทาสลูกไทบางส่วนได้เป็นไท                                    
 
2. ลูกทาสทุกระดับอายุได้เป็นไท
 
3.ลูกไททุกระดับอายุได้เป็นไทย                                         
 
4. มีการห้ามซื้อขายลูกไททันทีที่ประกาศ พ.ร.บ. นี้        
 
ตอบ  1      หน้า 433 ขั้นตอนแรกในการดำเนินงานเลิกทาสของรัชกาลที่ 5 คือ ทรงออก พ.ร.บ. พิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทยจุลศักราช 1236 หรือ พ.ศ. 2417 ขึ้น ซึ่งมีผลให้ลูกทาสและลูกไทยบางส่วนสามารถหาเงินมาไถ่ตนเป็นอิสระได้ง่ายขึ้น และจะเป็นอิสระได้ทีเดียวในปี พ.ศ. 2432 ดังนั้นลูกทาสและลูกไทจึงถือเป็นทาสที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นพวกแรกใน ประวัติศาสตร์
 
60.           คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะเด่นของคนไทย ถามว่าข้อใดเป็นลักษณะด้อยที่สุดของคนไทย
1. จิตใจโอบอ้อมอารี             
 
2. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่                    
 
3. อ่อนน้อมถ่อมตน               
 
4. มีระเบียบวินัย
 
ตอบ  4      (คำ บรรยาย) ลักษณะนิสัยเด่นที่เป็นจุดด้อยที่สุดของคนไทย คือ ความมีระเบียบวินัยทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวมๆ ซึ่งทำให้มีลักษณะยืดหยุ่นไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ดังนั้นคนไทยจึงมีระเบียบวินัยค่อนข้างน้อย และชอบทำอะไรตามใจตัวเอง ดังคำพังเพยที่ว่า “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”
61.           พื้นฐานทางเศรษฐกิจของสังคมไทยตั้งแต่โบราณมาคือเรื่องใด
1. การอุตสาหกรรม               
2. การเกษตรกรรม
3. การประมง
4. การค้าขาย
ตอบ  2      หน้า 469, (คำบรรยาย) อาชีพหลักของราษฎรไทย คือ การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสังคมไทยตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะการทำนาถือเป็นอาชีพหลักของราษฎรไทยมาตั้งแต่ยุคต้นๆ รองลงมาก็คือ การทำไร่ทำสวนต่างๆ
62.           เศรษฐกิจแบบหมู่บ้านเป็นอย่างไร
1.       คือการเพาะปลูกพืชสำหรับบริโภคอย่างพอเพียงสำหรับผู้คนในชุมชนต่างๆ
2.       คือการปลูกพืชสำหรับบริโภคและขายระหว่างหมู่บ้าน
3.       คือการร่วมกันลงทุนงานด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือนภายในหมู่บ้าน
4.       คือการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชนต่างๆ
ตอบ  1      หน้า 469 ลักษณะเศรษฐกิจโดยกว้างๆ ของสังคมไทย จะเริ่มต้นจากการเป็นเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านก่อน คือ การเพาะปลูกพืชสำหรับบริโภคอย่างพอเพียงของผู้คนในชุมชนต่างๆ ซึ่งพืชที่ว่านี้ก็คือข้าว ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านพ้นการก่อตั้งบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาจึงทำให้การตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของราษฎรยังคงยึดแนวง่ายๆ
 
63.           อาชีพอะไรเป็นอาชีพหลักของราษฎรไทยมาตั้งแต่ยุคต้นๆ
1. การค้าขายตามแม่น้ำลำคลอง                                          
2. การรับจ้างถางป่า
3. การทำนา                                                                             
4. การเลี้ยงสัตว์
ตอบ  3      ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
 
64.           เหตุใดเศรษฐกิจของสุโขทัยจึงจำกัดเพียงการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเอง
1. ลักษณะภูมิศาสตร์ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย                    
2. ผู้ปกครองไม่สนับสนุนการเพราะปลูก
3. ผู้ปกครองไม่สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์                            
4. สุโขทัยไม่ต้องการค้าขายกับต่างประเทศ
ตอบ  1      หน้า 482-483 เศรษฐกิจของสุโขทัย เป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองหรือเลี้ยงประชากรของอาณาจักร เนื่องจากลักษณะภูมิศาสตร์ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย จึงมีลักษณะเป็นการผลิตเพื่อบริโภคและแลกเปลี่ยนกันเองภายในมิใช่การผลิต เพื่อขาย รวมทั้งไม่มีการแข่งขันและไม่จำเป็นต้องพึ่งตลาดหรือผลิตเพื่อสนองความต้อง การของตลาด ทำให้ชาวสุโขทัยมีการดำรงชีวิตที่มั่นคงด้านเศรษฐกิจ เพราะสามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่บนพืชผักผลไม้ที่ปลูกเอง จึงเป็นลักษณะเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วัฒนธรรมชาวบ้าน” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจสุโขทัย
 
65.           ลักษณะเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วัฒนธรรมชาวบ้าน” เป็นลักษณะเฉพาะของสมัยใด
1. สุโขทัย                                                 
2. อยุธยา                  
3. ธนบุรี                   
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ
 
66.           ผู้ปกครองสุโขทัยสร้างงานด้านชลประทานอย่างไร
1. การสร้างสรีดภงส์                                             
2. การขุดสระเรียกว่าตระพัง
3. การสร้างเหมืองฝาย                                          
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 473-475 สุโขทัยจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดเพราะเป็นหนองบึงจำนวนมากและ มีปัญหาเรื่องน้ำ ดังนั้นผู้ปกครองสุโขทัยจึงได้ช่วยเหลือกสิกรในการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทาง อ้อมหลายประการ ได้แก่                
1 การช่วยเหลือทางด้านการชลประทาน เช่น การสร้างสรีดภงส์ (เขื่อนเก็บกักน้ำ ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา) การขุดสระที่เรียกว่าตระพังและสร้างเหมืองฝายเป็นทำนบกั้นน้ำ      
2 ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ราษฎรมีความวิริยะอุตสาหะหักร้างถางพง เพื่อสร้างเป็นไร่เป็นนาเป็นสวน ฯลฯ
 
67.           เหตุใดการประมงของสุโขทัยจึงจำกัดเฉพาะการประมงน้ำจืด
1. สุโขทัยไม่มีเรือใหญ่                                                         
2. สุโขทัยไม่มีเครื่องมือจับปลาน้ำลึก
3. ผู้ปกครองไม่สนับสนุนการประมงทะเล                      
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ  4      หน้า 475 แหล่งจับปลาน้ำจืดของสุโขทัยที่มีปลาอุดมสมบูรณ์ที่สุด คงได้แก่ ในแม่น้ำยมตอนใกล้แก่งหลวง ส่วนการจับปลาทะเลนั้นคงจะจับกันแต่เพยงริมฝั่งทะเลในอ่าวไทยเท่านั้นเพราะ ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีเรือใหญ่ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกไปจับปลา ในทะเลลึก นอกจากนี้เครื่องมือจับปลาน้ำลึกในสมัยนั้นก็คงยังไม่มีใช้
 
68.           สินค้าส่งออกของสุโขทัยที่ทำรายได้มากที่สุดคืออะไร
1. ผ้าไหม                                 
2. เครื่องสังคโลก                   
3. ข้าว                                       
4. อ้อย
ตอบ  2      หน้า  479, 483 สินค้าส่งออกที่สำคัญและขึ้นชื่อของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เครื่องสังคโลก” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่ใหญ่โตและรุ่งเรืองมาก จนกลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย ดังหลักฐานสมัยสุโขทัยที่ระบุว่า “คงทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว”
 
69.           “ใครจักใคร่ค้าช้าค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า…” คือนโยบายอะไรของสุโขทัย
1. ผูกขาดการค้าสัตว์อื่นๆ ยกเว้นช้างและม้า                    
2. สนับสนุนการขายช้างและม้ามากที่สุด
3. นโยบายการค้าเสรี                                                            
4. นโยบายกึ่งผูกขาด
ตอบ  3      หน้า 480 ข้อความในศิลาจารึกที่ว่า “…เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้าใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า” หมายความว่า ผู้ปกครองส่งเสริมนโยบายการค้าอย่างเสรี โดยราษฎรสามารถค้าขายสินค้าต่างๆ ได้ตามความต้องการ
 
70.           ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูก
1. สุโขทัยไม่มีเงินตราใช้                                                      
2. สุโขทัยยุคต้นๆ เก็บภาษีจกอบ
3. ชาวนาต้องเสียภาษีข้าว                                                    
4. สุโขทัยไม่เก็บภาษีเพิ่มจากเดิมที่เคยเก็บมา
ตอบ  1      หน้า 481-482, (คำบรรยาย) การเก็บภาษีและเงินตราที่ใช้ในสมัยสุโขทัยมีดังนี้    
1 สุโขทัยในยุคต้นๆ จะเก็บภาษีที่เรียกว่า “จกอบ” (ภาษีผ่านด่าน) แต่พอมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้ยกเลิกการเก็บภาษีนี้เสีย                
2 ชาวนาต้องเสียภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน  
3 ผู้ปกครองสุโขทัยมีนโยบายไม่เก็บภาษีเพิ่มจากเดิมที่เคยเก็บมาแต่โบราณ                      
4 สุโขทัยจะใช้เงินตราที่เรียกว่า “เงินพดด้วง” และเบี้ย (เปลือกหอย) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนในการซื้อขาย
71.           พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาคือข้อใด
1. การค้าขาย           
2. การอุตสาหกรรม               
3. การทำเหมืองแร่ 
4. การเกษตรกรรม
ตอบ  4      หน้า 510 พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาจะเป็นการเกษตรกรรมเช่นเดียวกับสุโขทัยแต่มีข้อ แตกต่างคือ อยุธยาเป็นอาณาจักรกว้างใหญ่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมซึ่งนำฝนมาส่วนแม่น้ำเจ้า พระยาก็นำปุ๋ยมาสู่ไร่นา ทำให้มีสภาพพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของอยุธยาดีกว่าสุโขทัย
72.           ปัจจัยอะไรช่วยให้เศรษฐกิจอยุธยาดี
1. สภาพพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์                                            
2. ราษฎรขยันทำนา
3. มีนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ทันสมัย                  
4. การค้ากับตะวันตกรุ่งเรือง
ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ
 
73.           ผู้ปกครองอยุธยาสนับสนุนการทำนาเห็นได้จากนโยบายอะไร
1. การขยายเนื้อที่เพาะปลูก                                  
2. กฎหมายป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว
3. การส่งเสริมแรงงานทำนา                               
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 346, 489-491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าวดังนี้ 
1. ขยายเนื้อที่ทำนาเพาะปลูก                               
2. คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยมีกฎหมายลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง                   
3. ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเป็นแนวทางสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น                   
4. ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก                     
5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท           
6. การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รับบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด
 
74.           ป่าไม้สมัยใดกินพื้นทีกว่าครึ่งอาณาจักร
1. สุโขทัย                                 
2. อยุธยา                  
3. ธนบุรี                   
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ  2      หน้า 495 พ่อค้าชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งบันทึกไว้ว่า ป่าไม้ของอาณาจักรอยุธยามีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลมาก กินพื้นที่กว่าครึ่งของอาณาจักร และมีสภาพหนาทึบมากจนแทบจะผ่านเข้าไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงให้ความไว้วางใจแก่ป่าของตน เพราะเปรียบได้กับเป็นกำแพงปราการป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานได้
 
75.           ในบรรดาไม้หอมต่อไปนี้ ไม้ใดราคาแพงที่สุด
1. ไม้จันทน์                             
2. ไม้ฝาง                  
3. ไม้กฤษณา                           
4.ไม้กระลำพัก
ตอบ  4      หน้า 496, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา ไม้กระลำพำเป็นไม้หอมที่ได้รับความนิยมมากกว่าไม้หอมชนิดอื่น เพราะมีกลิ่นหอมกว่า ดังนั้นจึงเป็นไม้ที่มีราคาแพงมากและหายากที่สุดเนื่องจากไม้กระลำพักเกิด แต่เฉพาะในใจกลางต้นสลัดไดป่าและต้นตาตุ่มทะเล และเป็นท่อนเล็กๆ ซึ่งมีสีดำเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อต้องการหากระลำพักจึงต้องฟันต้นไม้ชนิดที่จะเกิดกระลำพักลง หลายต้น แต่ก็ได้กระลำพักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
 
76.           เศรษฐกิจรัตนโกสินทร์มีข้อต่างไปจากสมัยก่อนๆ อย่างไร
1. เป็นลักษณะเศรษฐกิจแบบผูกขาด                                   
 2. มีการนำระบบพระคลังสินค้ามาใช้
3. มีการนำเทคโนโลยีตะวันตกมาช่วยเรื่องอาชีพของราษฎร  
 
4. มีการยึดธุรกิจต่างชาติให้เป็นของรัฐบาล
 
ตอบ  3      หน้า 515 การดำเนินชีวิตของชาวไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงเป็นแบบเดียวกับสมัย อยุธยา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 4-7 มีการพัฒนาอาชีพต่างๆ ของคนไทยกว้างขวางมากขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม คือ มีการนำหลักวิทยาการและเทคโนโลยีตะวันตกมาประยุกต์ใช้กับอาชีพของราษฎร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่งเสริมการทำนา การทำสวน การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การบำรุงรักษาสัตว์น้ำ การจัดการกับป่าไม้สักของรัฐบาล การทำเหมืองแร่ดีบุก เป็นต้น
 
77.           กษัตริย์องค์ใดส่งเสริมแรงงานทำนาโดยอนุญาตให้ไพร่ขณะมารับราชการกลับบ้านไปทำนาในหน้านาได้
1. รัชกาลที่ 1                           
2. รัชกาลที่ 2                           
3. รัชกาลที่ 3                           
4. รัชกาลที่ 4
ตอบ  4      หน้า 518 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีดังนี้
1.       ส่งเสริมแรงงานในการทำนา โดยอนุญาตให้ไพร่ขณะมารับราชการกลับบ้านไปทำนาในหน้านาได้
2.       เปิดให้ขายข้าวออกนอกประเทศ เพื่อช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีกว่าแต่ก่อน
3.       แนะนำพันธุ์ข้าวที่จะทำรายได้ให้กับชาวนา
4.       ขจัดอุปสรรคเรื่องน้ำและคดีความต่างๆ ที่จะขัดขวางการทำนา
5.       ยินดีรับความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการของชาวตะวันตก
 
78.           การขุดคลองขยายเนื้อที่เพาะปลูกเริ่มจริงจังสมัยใด
1. รัชกาลที่ 1                           
2. รัชกาลที่ 3                           
3. รัชกาลที่ 5                           
4. รัชกาลที่ 6
ตอบ  3      หน้า 519-521 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสมัยที่มีการส่งเสริมและทำนุบำรุงการทำนาปลูกข้าวอย่างจริงจังยิ่งกว่า สมัยใดๆ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมในกิจกรรมการทำนาแทบ ทุกด้าน ดังนี้   
1. การขุดคลองขยายเนื้อที่เพาะปลูก
2. การจัดหาพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพ                      
3. การจัดหาเครื่องมือทำนาที่ทันสมัย
 
79.           รัชกาลใดทรงยกเว้นชายฉกรรจ์อายุระหว่าง 25-30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร เพื่อให้ไปทำนา
1. รัชกาลที่ 1                           
2. รัชกาลที่ 3                           
3. รัชกาลที่ 5                           
4. รัชกาลที่ 6
ตอบ  4      หน้า 521-522 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้
1.       แก้ปัญหาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่มณฑลทางใต้
2.     แก้ปัญหาแรงงาน โดยยกเว้นการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ ซึ่งมีอายุระหว่าง 25-30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร แต่ให้ไปทำนาแทน
3.       แก้ปัญหาการถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ในเรื่องความไม่เที่ยงตรงของเครื่องชั่งตวงวัด
 
80.           ในรัชกาลที่ 5 กรมราชโลหะกิจและภูมิวิทยามีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องอะไร
1. การทำประมง                     
2. การทำเหมืองแร่                 
3. การป่าไม้                             
4. การค้า
ตอบ  2      หน้า 536, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งกรมราชโลหะกิจและภูมิวิทยาใน พ.ศ.2434 เพื่อให้ทำหน้าที่ควบคุมกิจการทำเหมืองแร่ของประเทศ ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตตรวจแร่ต้องขออนุญาตจากกรมดังกล่าวเพื่อให้ออก ท้องตราอนุญาตให้ จากนั้นผู้ขอจะต้องนำท้องตราไปขออนุญาตเจ้าเมืองอีกที จึงจะลงมือสำรวจแหล่งแร่ได้

 

81.           เหตุใดมนุษย์สมัยโบราณจึงนับถือธรรมชาติ
1. เพราะเกิดมาก็พบธรรมชาติรอบตัว                               
2. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีวิญญาณสิงอยู่
3. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติทำให้เกิดทุกข์สุขแก่มนุษย์     
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 570, (คำบรรยาย) ความเชื่ออันดับแรกของมนุษย์ คือ การบูชานับถือธรรมชาติทั้งนี้เพราะตั้งแต่มนุษย์เกิดมาก็ได้พบธรรมชาติรอบ ตัว เช่น ความมืด ความสว่าง ฯลฯ ซึ่งมีผลให้มนุษย์มีทุกข์หรือสุขได้ ดังนั้นมนุษย์จึงคิดว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะธรรมชาติมีพลังอำนาจที่ จะบันดาลความสุขหรือทุกข์ให้แก่ตนได้ อีกทั้งธรรมชาติเหล่านั้นยังมีวิญญาณสิงอยู่
82.           พุทธศาสนานิกายใดที่มีเรื่องไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา และเวทมนต์คาถาอาคมเข้าไปแทรกซึมอยู่มาก
1. เถรวาท                                
2. อาจาริยวาท                         
3. วัชรยาน                               
4. มหายาน
ตอบ  3      (คำ บรรยาย) พุทธสาสนานิกายวัชรยานหรือวัชรวาท เป็นพุทธศาสนาที่เกดขึ้นหลังนิกายเถรวาทและนิกายอาจาริยวาทหรือมหายาน ซึ่งจะมีเรื่องไสยศาสตร์เกี่ยวกับผีสางเทวดาและเวทมนต์-คาถาอาคมเข้ามาแทรก ซึมอยู่มาก โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพุทธศาสนาของประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังหวาดกลัวต่อภัยอันตรายซึ่งเชื่อว่ามีผีร้ายเป็นผู้ กระทำขึ้น ครั้นเมื่อมีสิ่งใดที่สามารถป้องกันภัยเหล่านั้นได้ ประชาชนก็จะยอมรับนับถือด้วยความยินดี
 
83.           พระพุทธศาสนาลัทธิกาวงศ์ถือคติอย่างหินยาน พระไตรปิฎกใช้ภาษาอะไร
1. บาลี                                      
2. มคธ                      
3. สันสกฤต                             
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ  4      หน้า 581-582, (คำบรรยาย) พระพุทธสาสนาลัทธิลังกาวงศ์นั้นจะถือคติอย่างหินยานพระไตรปิฎกจะใช้ภาษามคธ (ภาษาบาลี) ซึ่งเมื่อไทยนับถือลัทธิลังกาวงศ์ พระสงฆ์ไทยจึงเลิกศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาสันสกฤตอย่างแต่ก่อน และเปลี่ยนมาศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) นับตั้งแต่นั้นมา
 
84.           พุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างลังกาวงศ์แพร่หลายอยู่ที่เมืองใดก่อนขึ้นมาสู่สุโขทัย
1. นครศรีธรรมราช                               
2. นครปฐม                             
3. อยุธยา                  
4. เพชรบุรี
ตอบ  1      หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาลักทธิเถรวาทหรือหินยานแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรี ธรรมราชก่อน จนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์นำพระพุทธ ศาสนาลัทธิเถรวาทหรือหินยานอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมือง สุโขทัย
 
85.           ความเชื่อในศาสนาของคนไทยแต่โบราณเชื่อรวมๆ กัน ได้แก่อะไรบ้าง
1. ผีสางเทวดา                         
2. ไสยศาสตร์                          
3. พุทธศาสนา                        
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 573 ชนชาติไทยแต่โบราณจะนับถือศาสนาต่างๆ ซ้อนกันประดุจรูปเจดีย์ คือ นับถือผีสางเทวดาเปรียบเหมือนเป็นพื้นฐานของเจดีย์ ถัดขึ้นไปก็เป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และสูงสุดก็คือพระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนยอดเจดีย์ ซึ่งความเชื่อทั้ง 3 นี้จะมีการนับถือคละเคล้าปะปนกัน จนในที่สุดก็ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
 
 
86.           อิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อคนไทยสมัยโบราณคืออะไร
1. ทำลายความเชื่อถือเดิมเรื่องผีสางเทวดา
2. ลดการกระทำบางอย่างที่รุนแรงให้เบาลง
3. ทำให้คนไทยยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น
4. ทำให้คนไทยเลิกเชื่อในไสยศาสตร์และความงมงาย
ตอบ  2      หน้า 572-573, (คำบรรยาย) แม้ว่าพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นในหมู่ชนที่นับถือผีสางเทวดาก็ตามแต่พระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยทรงประกาศว่าพุทธศาสนามีขึ้นเพื่อทำลายเรื่องผีสางเทวดา ดังนั้น เมื่อคนไทยนับถือพุทธศาสนาแล้ว คติความเชื่อเดิมในเรื่องผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่ โดยมีการปรับปรุงคติผีสางเทวดาให้เข้ากันได้กับพระพุทธศาสนา และลดการกระทำหรือพิธีกรรมบางอย่างที่รุนแรงให้เบาลง เช่น เปลี่ยนการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อบูชายัญให้มีลักษณะอย่างอื่นไป
 
87.           เหตุใดพุทธสาสนาลัทธิมหายานจึงเจริญและแพร่หลาย
1. ได้รับความสนับสนุนจากพระเจ้ากนิษกะ                      
2. ได้รับความสนับสนุนจากพระเจ้าอโสกมหาราช
3. มีหลักที่เคร่งครัดกว่าลัทธิหินยานจึงเป็นที่เลื่อมใส
4. ลัทธิหินยานเสื่อมโทรมไม่เป็นที่นิยม
ตอบ  1      หน้า 576 พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญแพร่หลายและมีศาสนิกชนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์อินเดียแห่งราชวงศ์กุษาณะที่ทรงเลื่อมใสลัทธิมหายาน และโปรดฯ ให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยโดยใช้ภาษาสันสกฤตจารึกพระไตรปิฎกส่งผลให้พระพุทธ ศาสนามีพระไตรปิฎก 2 ฉบับ คือ 1. ฉบับภามคธของฝ่ายหินยาน  2. ฉบับภาษาสันสกฤตของฝ่ายมหายาน
 
88.           กษัตริย์องค์ใดโปรดฯ ให้จำลองรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฎ เมืองสิงหล ลังกา นำมาประดิษฐานยังศรีสัชนาลัย
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์        
2. พ่อขุนรามคำแห่ง
3. พญาลิไทย
4. พญาไสยลือไทย
ตอบ  3      หน้า 584-585, (คำบรรยาย) ในสมัยพญาลิไทยนิยมสร้างวัดกันมาก โดยอาคารที่สร้างได้แก่ กุฏิพระสงฆ์ วิหาร และพุทธศาลา ส่วนโบสถ์ยังไม่นิยมสร้าง นอกจากนี้พญาลิไทยยังโปรดฯ ให้สร้างปูชนียสถานที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึก และการจำลองรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฎ เมืองสิงหล ประเทศลังกา แล้วนำมาประดิษฐานยังเมืองศรีสัชนาลัย
 
 
89.           ความเลื่อมใสในพุทธศาสนาของคนไทยสมัยอยุธยาแสดงออกให้เห็นด้านใด
1.       ความสนใจอย่างลึกซึ้งในหลักปรัชญาของพุทธสาสนา
2.       การเผยแผ่หลักธรรมของพุทธสาสนาอย่างกว้างขวาง
3.       คนไทยสมัยอยุธยาไม่ยอมนับถือศาสนาอื่น
4.       การสร้างวัด การทำบุญทำงาน
ตอบ  4      หน้า 589-592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธสานาของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุงพระพุทธสาสนาด้วยการ สร้างและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น
 
90.           ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจสำคัญของกษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา
1. การสร้างวัด                                                                        
2. การบูรณปฏิสังขรณ์วัด
3. การแก้ไขระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
4. การสนับสนุนประเพณีบวชเรียน
ตอบ  3      หน้า 593-595, 605, (คำบรรยาย) พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของกษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา นอกจากจะทรงบูรณะปฎิสังขรณ์วัด สร้างวัดวาอาราม หรือสนับสนุนและบำรุงรักษาประเพณีบวชเรียนแล้ว ก็ยังทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีทางด้านพุทธสาสนาอีกด้วยทั้งนี้เพ่อให้หลักธรรม หรือเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายยิ่งขึ้น (ส่วนการแก้ไขระเบียบการปกครองคณะสงฆ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
91.           ข้อความใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา
1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่างๆ
2. เป็นธรรมเนียมที่ลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา
3. วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษา
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 590, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยามีดังนี้   
1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่างๆ          
2. วัดเป็นที่ระงับคดีวิวาทของชาวบ้าน           
3. วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการบวชเรียน ซึ่งในสมัยอยุธยาถือเป็นธรรมเนียมว่าลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา   
4. วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวิชาอาชีพอื่นๆ แก่กุลบุตร
92.           การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 สะท้อนสิ่งใด
1.       ความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนาสมัยอยุธยาตอนปลาย
2.       ความสนใจบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ 2
3.       ความคิดริเริ่มของคณะสงฆ์ไทยในการชำระพระไตรปิฎก
4.       ประชาชนเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก
ตอบ  1      หน้า 597-598 สาเหตุที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 ใน พ.ศ. 2331 เป็นเพราะนับตั้งแต่อยุธยาเสียงกรุงให้แก่พม่าครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองก็ระส่ำระสายและพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาตอนปลายเสื่อมโทรมมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการสังคายนารวบรวมพระไตรปิฎกขึ้นไว้ให้สมบูรณ์ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทอง”
 
93.           นับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่รัชกาลที่ 2 ทรงประกอบพิธีนี้ คือพิธีอะไร
1. วิสาขบูชา                            
2. มาฆบูชา
3. อาสาฬหบูชา
4. เข้าพรรษา
ตอบ  1      หน้า 599-600 รัชกาลที่ 2 ทรงมีกระราชกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาดังนี้
1. การปฏิสังขรณ์วัด                          
2. ปฏิรูปและแก้ไขการสอบพระปริยัติธรรมขึ้นใหม่     
3. การสร้างพระไตรปิฎกฉบับรดน้ำแดง              
4. การส่งสมณฑูตรไปลังกา              
5. ฟื้นฟูให้มีการประกอบพิธีวิสาขบูชา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประกอบพิธีนี้ และกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน    
6. การเรียบเรียงหนังสือโอวาทานุศาสนี    
 
94.           เหตุใดการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดในรัชกาลที่ 3 จึงรุ่งเรืองกว่าสมัยใดๆ
1.  ความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน
2.  การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรือง พ่อค้าเอกชนมีรายได้มาก
3.  ความเชื่อว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด
4.  ความ ศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรือง พ่อค้าเอกชนมีรายได้มาก และความเชื่อว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด
ตอบ  4      หน้า 601, (คำบรรยาย) สาเหตุที่การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดในสมัยรัชกาลที่ 3 เจริญรุ่งเรืองกว่าสมัยใดๆ ได้แก่
1.       ความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน
2.       เป็นสมัยที่มีความสบปราศจากสงคราม
3.       การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรือง ทำให้ประเทศมีรายได้
4.       พ่อค้าเอกชนร่ำรวมและมีรายได้มาก จึงนิยมสร้างวัด
5.       ความเชื่อที่ว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด ฯลฯ               
 
95.           มหาเถรสมาคม เริ่มมีครั้งแรกตาม พ.ร.บ. ปกครองคระสงฆ์ฉบับใด
1. ฉบับ พ.ศ. 2445                  
2. ฉบับ พ.ศ. 2484
3. ฉบับ พ.ศ. 2506
4. ฉบับ พ.ศ. 2520
ตอบ  1      หน้า 605-606 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการตรา พ.ร.บ. ปกครองคระสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้คณะสงฆ์มีระเบียบแบบแผนที่มั่นคงกว่าเดิม และทำให้พระสงฆ์เริ่มมีบทบาทปกครองตนเอง เนื่องจากได้มีการรวมตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ทั้ง 4 และพระราชาคณะเจ้าคระรองทั้ง 4 ให้เป็นมหาเถรสมาคม ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในการพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ทั่วไป
 
96.           การบวงสรวงและการบัตรพลีสังเวยเทวดาของชาวไทย ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของลัทธิในข้อใด
1. ศาสนาพุทธเถรวาท                                          
2. ศาสนาพุทธมหายาน
3. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
4. ศาสนาอิสลาม
ตอบ  3      หน้า 640 ประเพณีไทยบางประเทศมักมีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูผสมผสานอยู่ด้วย เช่น ประเพณีโกนจุกจะมีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ ส่วนประเพณีทำบุญอายุและทำขวัญนอกจากจะทำบุญตามคติทางพระพุทธศาสนาแล้ว มักมีการบวงสรวงและทำบัตรพลีสังเวยเทวดาตามลัทธิศาสนาพราหมณ์อีกด้วย
 
97.           ชนชาติแรกที่เข้ามาค้าขายและเผยแผ่สาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือชนชาติใด
1. โปรตุเกส             
2. ฮอลันดา
3. อังกฤษ
4. ฝรั่งเศส
ตอบ  1      หน้า 640 โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับไทยตั้งแต่รัชกาล สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เดินทางเข้ามาไทยมากขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชิราชที่ 4 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของตนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำการค้าขาย และเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
 
98.           ข้อความในข้อใดถูกต้อง เมื่อกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดู
1. ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูไม่มีศาสดา
2. ศาสนาฮินดูนับถือพระเจ้าองค์เดียว
3. ศาสนาพราหมณ์นิยมบวงสรวงพระศิวะ
4. คำว่า “พราหมณ์” มาจากชื่อของศาสดาในศาสนาพราหมณ์
ตอบ  1      หน้า 636 ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาแต่เป็นศาสนาในรูปของปรัชญาและเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม (Polytheisim) คือ มีการนับถือเทพเจ้าหลายองคืนอกจากนี้พิธีกรรมของศาสนาทั้ง 2 ก็จะแตกต่างกันกล่าวคือ ศาสนาพราหมณ์ (มาจากชื่อคำสอนหรือลัทธิพราหมณ์) จะนิยมการบูชาบวงสรวงต่อพระพรหมเป็นส่วนใหญ่ แต่ศาสนาฮินดูมีเทพเจ้ามากมายและมีฤทธิ์เดชต่างกัน จึงนิยมบูชาเทพเจ้าหลายองค์แยกออกไปให้เป็นที่พอพระทัยของเทพแต่ละองค์
 
99.           ประเพณีใดที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม
1. จารีตประเพณี                    
2. ขนบประเพณี
3. ธรรมเนียมประเพณี
4. วิถีประชาชน
ตอบ  1      หน้า 653-654, (คำบรรยาย) จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores) คือ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม จึงเป็นกฎที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม มีการบังคับให้ปฉิบัติตามและมีความรู้สึกรุนแรงถ้าใครฝ่าฝืน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความผิดถูก หรือความนิยมที่ยึดถือและถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยการเลียนแบบหรือสั่งสอน เช่น การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียวหรือเมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าลงไปลูกหลานต้องเลี้ยงดู พี่น้องต้องรักกันเป็นต้น
100.       ข้อใดไม่ใช่ความหายของธรรมเนียมประเพณี
1. เป็นประเพณีที่ไม่ถือผิดทางศีลธรรม                             
2. เป็นประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนวางไว้
3. เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาๆ ทั่วไป
4. เป็นแนวทางของการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชิน
ตอบ  2      หน้า 654, (คำบรรยาย) ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ ประเพณีที่ไม่ถือผิดทางศีลธรรม แต่ประพฤติกันมาตามธรรมเนียมอย่างนั้น ดังนี้จึงเป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาๆ ทั่วไปที่ไม่มีระเบียบแบบแผนวางไว้เหมือนกับขนบประเพณี และไม่มีความผิดถูกเหมือนกับจารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม แต่เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชินและไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่

 

101.       ศิลปกรรมไทยมีประโยชน์ในการศึกษาพื้นฐานวัฒนธรรมไทย เพราะเหตุใด

1.       เป็นข้อมูลสนับสนุนทางประวัติศาสตร์

2.       ทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นได้

3.       ศีลปกรรมไทยมีอัตลักษณะไม่รับอิทธิพลศิลปะสกุลช่างใด

4.       ศิลปะใช้อธิบายกำเนิดและที่มาของชนชาติไทยได้

ตอบ  2      หน้า 681, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมที่สมบูรณ์กว่าด้านอื่นๆ เพราะการแสดงออกทางศิลปกรรมของไทยแต่ละสมัยจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากศิลปะของเขมรหรือชวา ดังนั้น ศิลปกรรมจึงให้ประโยชน์ในการศึกษาพื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นๆ ได้

102.       การแบ่งยุคศิลปะ กำหนดด้วยอะไร

1. สมัยอาณาจักร                    

2.ลักษณะของศิลปะ

3. สมัยประวัติศาสตร์

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  2      หน้า 683, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมในประเทศไทยมิได้แบ่งยุคสมัยตามประวัติศาสตร์ไทยซึ่งรู้จักกันอย่าง ทั่วไป แต่การแบ่งยุคศิลปกรรมได้แบ่งย่อยออกเป็นสมัยต่างๆ โดยมีชื่อเรียกตามสมัยหรือราชวงศ์ ตลอดจนตามรูปแบบและลักษณะของศิลปะ ระยะเวลา ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่ที่ค้นพบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่โบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ

103.       ศิลปกรรมกลุ่มใดสร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

1. เทวรูป                                                                                  

2. พระพุทธรูป

3. จิตรกรรมฝาผนัง

4. ศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพ

ตอบ  4      (คำบรรยาย) งานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.     ศาสน สถาน คือ งานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา เช่น พุทธสถาน (สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ), เทวสถาน (สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) ฯลฯ

2.     ประติมากรรม รูปเคารพ คือ งานประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาในศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป ฯลฯ

 104.       หลัก ฐานทางศิลปกรรมที่แสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดน สุวรรณภูมิที่มีอายุเก่าที่สุดเท่าที่พบ เป็นงานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิงปะสมัยใดของอินเดีย

1. อมราวดี                               

2. คุปตะ

3. หลังคุปตะ

4. ปาละ-เสนะ

ตอบ  1      หน้า 684, 686, (คำบรรยาย) ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นในช่วงแรกสุดของไทยโดยงานศิลปกรรมทวารวดีส่วนใหญ่จะ แสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ ได้แก่ งานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ต่อมาก็มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะ-หลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-13) และศิลปะปาละ-เสนะ (พุทธสตวรรษที่ 14-17) ตามลำดับ

105.       ในสมัยทวารวดี นิยมใช้วัสดุใดสร้างพระพุทธรูป

1. ศิลา                                                       

2. สำริด

3. ดินเผา

4. ปูนปั้น

ตอบ  1      หน้า 686-687 พระพุทธรูปสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สลักจากศิลา ที่หล่อด้วยสำริดก็มีอยู่บ้างแต่มักมีขนาดเล็ก ซึ่งพระพุทธรูปทวารวดีโดยทั่วไปจะแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 แบบ ได้แก่

1.       แบบแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี และแบบคุปตะ-หลังคุปตะอย่างชัดเจน

2.       แบบที่สอง มีลักษระเป็นพื้นเมืองหรือเป็นลักษณะเฉพาะของทวารวดี

3.       แบบที่สาม มีอิทธิพลของศิลปะของสมัยปาปวนหรือลพบุรีตอนต้นเข้ามาปะปน

106.       ศิลปะทวารวดีเป็นงานช่างที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด

1. พุทธศาสนาเถรวาท                                          

2. พุทธศาสนามหายาน

3. พุทธสาสนาวัชรยาน

4. ศาสนาพราหมณ์

ตอบ  1      หน้า 685  ศิลปะ สมัยทวารวดีจะสะท้อนการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู แต่ศิลปะที่พบมักเป็นงานช่างที่แสดงพุทธศิลป์นิกายเถรวาท (หินยาน) มากที่สุดโดยหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือพุทธสาสนาเถรวาท คือ จารึกคาถา “เย ธัมมา” และจารึกอื่นๆ ที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้เฉพาะพุทธสาสนาเถรวาท รวมทั้งงานประติมากรรมอื่นในพุทธสาสนาเถรวาทที่พบอยู่ทั่วไป

107.       ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง

1.       สมัยสุโขทัย เป็นยุคที่การสร้างพระพุทธรูปเจริญถึงขีดสูงสุด

2.       สมัยอยุธยา เป็นยุคที่การสร้างสถาปัตยกรรมเจริญถึงขีดสูงสุด

3.       สมัยสุโขทัย ขาดหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์

4.       สมัยอยุธยา ศิลปกรรมขาดความสืบเนื่องจากสมัยอู่ทอง

ตอบ  3      หน้า 708 งานศิลปกรรมในช่วงแรกของสุโขทัย ยังคงปรากฏอิทธิพลของศิลปะขอมทั้งในงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน เช่น ศาลตาผาแดง ที่เมืองเก่าสุโขทัย รวมทั้งประติมากรรมรูปเทวดาและเทวนารีที่พบในบริเวณปราสาท จัดเป็นศิลปะขอมแบบนครวัดตอนปลาย เป็นต้น

108.       เหตุใดจึงมีการสร้างพระพิมพ์ในทุกสมัย

1. การสืบอายุพระศาสนา                                     

2. การระลึกถึงสังเชนียสถาน

3. การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4      หน้า 688, 696, 705-706 การสร้างพระพิมพ์ในแต่ละสมัยจะมีวัตถุประสงคืแตกต่างกันไปดังนี้

1. เพื่อเป็นของที่ระลึกถึงการได้ไปบูชาสังเวชนียสถาน 4 แห่งในอินเดีย

2. เพื่อเป็นที่เคารพบูชาและเผยแผ่พระพุทธสาสนา                    

3. เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา

4. เพื่อปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพ         

5. เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือของพระพุทธศาสนา

109.       ประติมากรรมในข้อใดสะท้อนถึงการนับถือศาสนาพุทธมหายานในศิลปะศรีวิชัย

1. พระคณปติ                                          

2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

3. ศิวลึงค์

4. พระวิษณุสวมหมวกแขกทรงกระบอก

ตอบ  2      หน้า 685, 694-695 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้ง สิ้นโดยเฉพาะความนิยมสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรของศิลปะศรีวิชัยมักหล่อ จากสำริด และมีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม ซึ่งที่สวยงามที่สุดแต่มีเพียงครึ่งองค์ คือ พระอวโลกิเตศวรสำริดพบที่หน้าวัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

110.       พระพิมพ์ในศิลปะศรีวิชัยมีความแตกต่างจากพระพิมพ์ในศิลปะอื่นอย่างไร

1. เป็นดินเผาผสมอัฐิธาตุ                                     

2. เป็นดินดิบผสมอัฐิธาตุ

3. เป็นปูนปั้นผสมอัฐิธาตุ

4. เป็นสำริดบรรจุอัฐิธาตุ

ตอบ  2      หน้า 696 พระพิมพ์ในศิลปะศรีวิชัยส่วนมากทำด้วยดินดิบผสมกับอัฐิธาตุของศพพระสงฆ์เถระ หรือศพบุคคล ซึ่งสันนิษฐานว่าทำตามประเพณีของศาสนาพุทธมหายาน เพื่อประสงค์ปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพเป็นที่ตั้ง มิได้ทำเพื่อสืบอายุพระศาสนา เนื่องจากอัฐินั้นได้เผาครั้งหนึ่งแล้วจึงไม่เผาอีก (ดูคำอธิบายข้อ  108. ประกอบ)

111.       ข้อใดเป็นลักษณะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัย
1. มีอิริยาบถครบทั้งสี่อิริยาบถ                             
 
2. หล่อจากสำริด มีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม
 
3. พบจำนวนน้อยกว่าพระพุทธรูป                    
 
4. ลักษณะศิลปะเป็นแบบอินเดียผสมลังกา
ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 109. ประกอบ
 
112.       ศิลปะแบบลพบุรีนิยมสร้างพระพุทธรูปปางใดมากเป็นพิเศษ
1. พระพุทธรูปปางไสยาสน์                
 
2. พระพุทธรูปปางนาคปรก
 
3. พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท           
 
4. พระพุทธรูปก่อนการตรัสรู้
ตอบ  2      หน้า 700-701, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสมัยลพบุรีที่มีความนิยมมากเป็นพิเศษ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบหรือมีขนาดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ส่วนแบบที่หล่อด้วยสำริดมักจะเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กโดยมีลักษณะเฉพาะ คือ มักสร้างเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว หรือหลายองค์อยู่เหนือฐานเดียวกัน
 
113.       ตามคติทางศาสนา ส่วนที่เป็นเรือนธาตุของเจดีย์ สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์อะไร
1. เป็นที่เคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษ               
 
2. เป็นสังเวชนียสถานซึ่งเก็บเถ้ากระดูกไว้ที่นี่
 
3. แทนองค์พระพุทธเจ้า                                      
 
4. แทนเทพเจ้าสูงสุดในศาสนา
 
ตอบ  2      หน้า 709, (คำบรรยาย) ตามคติทางศาสนาพุทธ ส่วนกลางของเจดีย์จะเรียกว่า เรือนธาตุซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือใช้สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เถ้ากระดูกหรืออัฐิธาตุของพระสงฆ์สาวก ตลอดจนใช้เป็นสังเวชนียสถานหรือเครื่องหมายแห่งสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ใน พุทธศาสนา เช่น ที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนาและปรินิพพาน
 
114.       ปราสาทในศิลปะขอม สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ประโยชน์ตามข้อใด
1. เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป                                  
 
2. เป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา
 
3. เป็นที่พักของพราหมณ์                                    
 
4. เป็นที่ประทับของกษัตริย์                 
 
ตอบ  1      หน้า 699 ปราสาทในศิลปะขอม มักสร้างขึ้นจากศิลาหรืออิฐเพื่อเป็นประธานของพุทธสถานหรือเป็นเทวาลัย โดยมีจุดประสงค์หลักในการสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เทวรูปหรือถวายบรรพบุรุษ ตลอดจนเป็นศาสนสถานประจำชุมชน
 
115.       เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสุโขทัย สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
1. เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน                      
 
2. เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม
 
3. เป็นของเล่นเด็ก                                                 
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 479, 713, (คำบรรยาย) เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสุโขทัย จะมีทั้งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จาน ชาม ขวด ตลับ ฯลฯ และที่ใช้เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา ช่อฟ้า บราลี พลสิงห์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นที่ใช้เป็นของเล่นเด็ก เช่น ตุ๊กตาสังคโลกหรือตุ๊กตาเสียกบาล รูปช้าง ทวารบาล ฯลฯ
 
116.       ศิลปะล้านนาในระยะแรก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะใดเป็นพื้นฐาน
1. ศิลปะหริภุญไชย                                               
 
2. ศิลปะพุกามในพม่า
 
3. ศิลปะสุโขทัย                                                      
 
4.ศิลปะลังกา
 
ตอบ  1      หน้า 715 ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในระยะแรกนั้น จะได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญไชยเป็นพื้นฐาน และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยพุกามเข้ามาเกี่ยว ข้อง
 
117.       ศิลปะสุโขทัยและศิลปะล้านนาเข้ามามีอิทธิพลต่อรูปแบบของพระพุทธรูปและเจดีย์ในสมัยกษัตริย์พระองค์ใดของกรุงศรีอยุธยา
1. พระบรมไตรโลกนาถ                                                       
 
2. พระเจ้าปราสาททอง
 
3. พระนารายณ์มหาราช                                                       
 
4. พระเจ้าอู่ทอง
 
ตอบ  1      หน้า 594, 715-716, 724-275 ในสมัยอยุธยาตอนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรับเอาอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยและล้านนาเข้ามาใช้ เป็นแบบอย่างในการสร้างพุทธเจดีย์และพระพุทธรูป เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์ทรงระฆังตามแบบลังกา ซึ่งนิยมสร้างกันมาก ในสมัยสุโขทัยและล้านนา ส่วนการสร้างพระพุทธรูปก็นิยมสร้างตามแบบศิลปกรรมสุโขทัยและล้านนาเช่นกัน
 
118.       เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พบมากเป็นพิเศษในสมัยใดต่อไปนี้
1. อยุธยา รัตนโกสินทร์                                        
 
2. สุโขทัย เชียงแสน
 
3. อู่ทอง สุโขทัย                                                     
 
4. อยุธยา เชียงแสน
 
ตอบ  1      หน้า 724, 730 ในสมัยอยุธยาตอนปลายจะนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมเพิ่มมุม หรือเรียกว่าเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ต่อมานิยมเพิ่มรายละเอียดต่างๆ เข้าไป โดยประดับด้วยปูนปั้นตามส่วนต่างๆ ของเจดีย์ เพิ่มบัวทรงคลุ่มรองรับทรงระฆัง และทำทรงคลุ่มเถาแทนปล้องไฉนซึ่งเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า เจดีย์ทรงเครื่อง และความนิยมในการสร้างเจดีย์แบบนี้ก็สืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 1-3
 
119.       จิตกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นิยมเขียนเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง
1. พุทธประวัติ                        
 
2. ชาดก                    
 
3. ไตรภูมิ                 
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 733 แบบแผนของจิตรกรรมไทยบนฝาผนังโบสถ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ส่วนเหนือหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม ส่วนล่างในแนวเดียวกับหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติ (ชาดก) หรือทศชาติ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพไตรภูมิด้านหน้าเขียนพุทธประวัติตอนมารวิชัย โดยภาพเชียนในช่วงนี้ใช้สีและปิดทองลงบนภาพทั้งสิ้น
 
120.       พระที่นั่งองค์ใดมีแรงบันดาลใจและแบบอย่างมาจากสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา
1. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน                                
 
2. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
 
3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท                                              
 
4. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
 
ตอบ  4      หน้า 729, (คำบรรยาย) พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมแบบประเพณีในพระบรมมหาราชวังที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างตามแบบพระที่นั่งสุริยามรินทร์ในสมัยอยุธยาโดยนับเป็นพระที่นั่ง องค์ที่ 2 ที่สร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งได้รับแบบอย่างมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในสมัยอยุธยา แต่มาถูกไฟไหม้ไปเมื่อ พ.ศ. 2332

HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         กษัตริย์สุโขทัยพระองค์ใดที่ส่งพระเถระผู้ใหญ่ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในล้านนา

(1)       พ่อขุนรามคำแหง

(2) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

(3) พระมหาธรรมราชาลิไทย

(4) พ่อขุนบานเมือง

ตอบ 3 หน้า 27105584 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย สุโขทัยมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาลนา และวรรณกรรมเป็นอย่างมาก เช่น ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จออกผนวชเป็น พระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 1905 และทรงเป็นนักปราชญ์แต่งคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถา นอกจากนี้ยังทรงส่งพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระสุมณเถระไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในอาณาจักรล้านนาด้วย

2.         ข้อใดไมใช่ชาติพันธุ์ที่เคยอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

(1)       มองโกลอยด์

(2) คอเคซอยด์

(3) ออสโตรลอยด์

(4) นิกรอยด์

ตอบ 2 หน้า 8 นักวิชาการเชื่อว่ามนุษย์ที่เคยอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้  1. มองโกลอยด์ (Mongoloid)

2.         ออสโตรลอยด์ (Australoid)      3. นิโกรลอยด์ (Nigroloid) หรือนิกรอยด์ (Nigroid)

3.         ข้อใดคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแคว้นศรีวิชัย         

(1) นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน

(2)       ใช้ช้างเป็นพาหนะ

(3) มีนิสัยดุร้าย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 15 แคว้นศรีวิชัย เจริญขึ้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ในบริเวณที่เป็น จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้า ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานั้น ทำหน้าที่เป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน จึงทำให้ รับวัฒนธรรมอินเดียเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ส่วนศาสนาฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน

4.         ข้อใดไม่ใช่แว่นแคว้นที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

(1)       หริภุญไชย       (2) โยนกเชียงแสน      (3) พะเยา        (4) ศรีจนาศะ

ตอบ 4 หน้า 14 – 1520 แว่นแคว้นที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในสมัย พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 มีดังนี้     1. แคว้นหริภุญไชย      2. แคว้นโยนกเชียงแสน

3.         แคว้นเงินยางเชียงแสน          4. แคว้นพะเยา (ส่วนแคว้นศรีจนาศะ เป็นแว่นแคว้นบริเวณ จ.นครราชสีมา จนถึงบริเวณบุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15)

5.         พ่อขุนศรีนาวนำถม มีความเกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองในฐานะอะไร

(1)       พระบิดา          (2) พระโอรส    (3) พระเชษฐา (4) สหาย

ตอบ 1 หน้า 23, (คำบรรยาย) หลักฐานสุโขทัยเท่าที่มีปรากฏ ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์แรกของ กรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซงเป็นพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมือง ผู้ปกครองเมืองราด ส่วนกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ต่อมา คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นพระสหายของพ่อขุนผาเมือง

6.         ข้อใดคือเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเยว่

(1)       ใช้ม้าเป็นพาหนะ         (2) ทำไร่เลื่อนลอย

(3)       ทำกลองมโหระทึก       (4) ปลูกข้าวนาหว่าน

ตอบ 3 หน้า 5-7 ชนชาติไทเผ่าต่าง ๆ เช่น จ้วง ฯลฯ จัดอยู่ในกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยที่จีนเรียก รวมกันว่า เยว่” ซึ่งเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเยว่ ได้แก่ การสักตามร่างกาย ทาฟันเป็นสีดำ ทำกลองมโหระทึก ปลูกข้าวนาดำ ใช้ช้างเป็นพาหนะ และอยู่บ้านใต้ถุนสูง

7.         ยุคทองของล้านนา ตรงกับสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด

(1)       พระยามังราย  (2) พระยาติโลกราช

(3) พระยากือนา          (4) พระยาสามฝั่งแกน

ตอบ 2 หน้า 32 สมัยของพระยาติโลกราช (พ.ศ. 1984 – 2030) ถือได้ว่าเป็นยุคทองของล้านนา เพราะสามารถฟื้นฟูอำนาจของล้านนาขึ้นมาได้อีกครั้งหนี้ง และเนื่องจากพระยาติโลกราชเป็น ผู้มีความสามารถในการรบและขยันรบ จึงมีนโยบายขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางเหนือขึ้นไปถึงเขตไทยใหญ่ คือ เมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางใต้ลงมาถึงเมืองแพร่และน่าน

8.         อาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาในสมัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใด

(1)       เจ้าสามพระยา            (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) พระนเรศวรมหาราช           (4) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ตอบ 2 หน้า 39161 ในสมัยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นกษัตริย์อยุธยานั้น พระองค์ได้เสด็จ มาปกครองอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2006 – 2031 เพื่อใช้เป็นฐานในการทำสงคราม กับล้านนาและคุมดินแดนหัวเมืองเหนือ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่ง ของอยุธยาได้อย่างแท้จริง

9.         พระมหากษัตริย์พระองค์ใดในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีความสามารถในงานช่างและกวีนิพนธ์

(1)       รัชกาลที่ 1       (2) รัชกาลที่ 2  (3) รัชกาลที่ 3  (4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 2 หน้า 51 – 52, (คำบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ที่ประสูติ จากกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ โดยพระองค์ทรงมีความสามารถในงานช่างและกวีนิพนธ์ จนอาจถวายพระสมญานามว่า กษัตริย์ศิลปิน

10.       ข้อใดคือผลที่ได้รับจากการปกครองแบบนครรัฐ        

(1) เจ้านายเท่านั้นที่จะเป็นเจ้าเมืองได้

(2)       เจ้าเมืองชั้นนอกมีอิสระมากจากการควบคุมของเมืองหลวง

(3)       อาณาจักรรวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้น   (4) แก้ปัญหาการกบฏของเมืองลูกหลวงได้

ตอบ 2 หน้า 104 – 105273 การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การปกครองส่วนภูมิภาค ในลักษณะที่เมืองหรือนครมีอิสระดุจเป็นรัฐของตัวเอง แว่นแคว้นจึงรวมตัวกันแต่เพียงหลวม ๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ โดยกษัตริย์คงจะยินยอมให้ลูกเจ้าลูกขุน ดังเช่นพระราชโอรสได้เป็น เจ้าเมืองชั้นนอกหรือเมืองลูกหลวงที่สำคัญ ซึ่งเจ้าเมืองเหล่านี้จะมีอำนาจเป็นอิสระมาก จากการควบคุมของเมืองหลวง ทำให้สามารถก่อกบฏขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

11.       ประเทศไทยได้เข้าร่วมการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยกษัตริย์พระองค์ใด

(1)       รัชกาลที่ 5

(2) รัชกาลที่ 6

(3) รัชกาลที่ 7

(4) รัชกาลที่ 8

ตอบ 2 หน้า 54 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกที่ได้เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ จึงทำให้พระองค์ทรงนำลัทธิชาตินิยมแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย และทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมการทำสงครามโลก ครั้งที่ 1 เพื่อหาทางแก้ไขสัญญาไม่เสมอภาคที่ไทยทำไว้กับนานาประเทศตะวันตก

12.       ข้อใดคือหลักฐานที่ใช้ศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

(1)       พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

(2)       โองการแช่งน้ำ

(3) กฎมณเฑียรบาล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 149 การศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลางภายหลังการปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและ พระไอยการตำแหนงนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เชื่อว่าได้ตราขึ้นในสมัยของพระองค์

13.       ข้อใดถูก

(1)       สุโขทัยไม่มีการปกครองแบบทหาร

(2)       การปกครองแบบทหารแก้ปัญหาประชากรมีมากเกินไปได้

(3)       อยุธยาสามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้ในบางช่วงเวลา

(4)       อยุธยาไม่มีปัญหาจากการกบฏของเมืองพระยามหานคร

ตอบ 3 หน้า 148163 – 164 ในสมัยอยุธยา เมืองหลวงสามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง(Centralization) ได้ในบางช่วงเวลา เช่น ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมัยสมเด็จพระนเรศวร แต่การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางก็มิได้มีผลอย่างถาวร เพราะ ภายหลังต่อมาเมืองในเขตชั้นนอกก็ค่อย ๆ มีอิสระจากเมืองหลวงมากขึ้น และกลับไปสู่การปกครอง แบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐอีก

14.       ข้อใดคือที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนทิศทั้ง 8ในจักรวาล

(1)       แนวความคิดเรื่องพระจักรพรรดิราชตามคติพุทธศาสนา         (2) คติทางศาสนาพราหมณ์

(3)       อิทธิพลของระบอบพ่อปกครองลูก      (4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 120123 แนวความคิดเรื่องพระจักรพรรดิราชตามคติธรรมราชาทางพุทธศาสนานั้น ถือเป็นที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นังอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนทิศทั้ง 8 ในจักรวาล ในพระราชพิธิบรมราชาภิเษก รวมทั้งยังเป็นที่มาของพระราชพิธี เสด็จเลียบพระนครทั้งทางชลมารคและสถลมารคภายหลังพระราชพิธีราชาภิเษก ซึ่งเป็น การแสดงว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงครอบครองดินแดนทั่วทุกทิศแล้ว

15.       ข้อใดคือกฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะเทวราชาของพระมหากษัตริย์อยุธยา

(1) พระราชศาสตร์      (2) กฎมณเฑียรบาล   (3) พระธรรมศาสตร์    (4) พระราชกำหนด

ตอบ 2 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรก ที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี

16.       เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์

(1)       กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท

(2)       กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหาร ถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน

(3)       เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 155 – 156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัย

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้

1.         กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน

2.         เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง

3.         กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาบนเป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร

17.       ในสมัยอยุธยา คดีศาลรับสั่งหมายถึงคดีอะไร

(1)       คดีที่พระมหากษัตริย์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน

(2)       คดีนครบาล    (3) คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ศาลตัดสิน

(4)       คดีพิพาทระหว่างคนไทยและคนต่างชาติ

ตอบ 1 หน้า 135 – 136 คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย จะเรียกว่า ความรับสั่ง” แต่ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรถวายฎีกาขึ้นมา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ กรมพระตำรวจเป็นผู้สอบสวน และพระองค์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน คดีเช่นนี้จะเรียกว่า คดีศาลรับสั่ง

18.       การแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาคเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) ต้นอยุธยา  (2) อยุธยาตอนปลาย

(3)       ต้นรัตนโกสินทร์          (4) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ 2 หน้า 157 – 158 ในสมัยอยุธยาตอนบ่ลาย ระบบบริหารราชการส่วนกลางจะเป็นการบริหารแบบแบ่งหน้าที่กันตามเขตแดนหรือภูมิภาค (Territorial Basis) ดังนี้

1.         กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้

2.         กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ

3.         กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก

19.       การปฏิรูปการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีหลักการสำคัญอย่างไร

(1) รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (2) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

(3) เสริมสร้างอำนาจให้เมืองลูกหลวงในเขตหัวเมืองชั้นใน     (4) แบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี

ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูปการปกครองและระบบบริหารราชการชองสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้

1.         แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน

2.         จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงในเขต หัวเมืองชั้นใน (แต่มิได้ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไปควบคุมโดยตรง

20.       ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ข้อใดหมายถึงเขตมณฑลราชธานี

(1) เมืองลูกหลวง        (2) เขตเมืองชั้นในที่เมืองหลวงควบคุมโดยตรง

(3) เมืองประเทศราช   (4) เขตหัวเมืองชั้นนอก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21.       การปรับปรุงระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีผลอย่างไร

(1) มีการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค

(2) มีการจัดตั้งเมืองพระยามหานคร

(3)       เมืองหลวงสามารถควบคุมส่วนภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพชั่วระยะเวลาหนึ่ง

(4)       ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมืองส่วนภูมิภาค

ตอบ 3 หน้า 162 – 164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้

1.         รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหลวงควบคุมส่วนภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แต่มีผลเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง มิได้มีผลถาวร)

2.         ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอก และจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ

3.         จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ

22.       ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

(1)       ไม่เน้นบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์

(2)       ไม่ให้ความสำคัญเรื่องบารมีของผู้ปกครอง

(3)       ลดความสำคัญของเทวราชา และทำให้สถาบันกษัตริย์มีลักษณะเป็นมนุษย์มากขึ้น

(4)       เน้นอุดมการณ์พ่อปกครองลูก

ตอบ 3 หน้า 183 – 189197 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีดังนี้

1.         การเน้นอุดมการณ์ธรรมราชา เช่น เน้นบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงธรรมและปกครองโดยธรรม รวมทั้งให้ควมสำคัญเรื่องบารมีของผู้ปกครอง

2.         การลดความสำคัญของเทวราชา และทำให้สถาบันกษัตริย์มีลักษณะเป็นมนุษย์มากขึ้น

3.         มีร่องรอยของคติความเชื่อดั้งเดิม คือ ระบบพ่อปกครองลูก แต่จะเห็นได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นไป

23.       ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย

(1) ลักษณะเทวราชามีความสำคัญมากขึ้น

(2) ลดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(3) ลดความสำคัญในเรื่องผู้นำที่มีบารมีสูง

(4) เน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก

ตอบ 4 หน้า 197202 – 204 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย มีดังนี้

1.         การเน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก 2. ความเชื่อในเรื่องบารมีของพระมหากษัตริย์ยังคง มีอยู่ 3. ความเสื่อมของลักษณะเทวราขา      4. ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์

24.       ราชกิจจานุเบกษาเริ่มพิมพ์เผยแพร่ในรัชกาลใดของสมัยรัตนโกสินทร์

(1) รัชกาลที่ 4  (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 1 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ ที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูล แก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับรษฎร

25.       ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนปฏิรูปการปกครอง สมัยรัชกาลที่ 5

(1)       กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ

(2)       กรมกองต่าง ๆ ได้รับงบประมาณมากเกินไป

(3)       เสนาบดีกรมวังและนครบาลมีรายได้มากเกินไป

(4)       กองทัพประจำการมีอำนาจมากเกินไป

ตอบ 1 หน้า 222 – 225 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ

2.         กรมกองตาง ๆ ไม่สามารถพัฒนาความชำนาญเฉพาะอย่างขึ้นได้

3.         การปฏิบัติราชการก้าวก่ายสับสน ไม่มีประสิทธิภาพ และข้าราชการทุจริตกันแพร่หลาย

4.         ไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกรมกอง และไม่มีเงินเดือนให้ข้าราชการ

26.       ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคก่อนการปฏิรูปการปกครอง

(1)       เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีอำนาจในการเก็บภาษี

(2)       หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป

(3)       ระบบมณฑลเทศาภิบาลขาดประสิทธิภาพ

(4)       เมืองประเทศราชไม่มีอำนาจปกครองตนเอง

ตอบ 2 หน้า 225 – 226 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคและเขตประเทศราช ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป ทำให้เมืองหลวงไม่สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิด

2.         เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือน ทำให้ต้องหารายได้จากการ กินเมือง

3.         ราชธานีให้เขตประเทศราชปกครองตนเอง จึงเปิดโอกาสให้มหาอำนาจเข้าแทรกแซงได้ง่าย

27.       ข้อใดคือผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก

(1) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง            (2) ระบบทาสถูกยกเลิกโดยเด็ดขาด

(3) มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2 สภา   (4) มีการปฏิรูประบบการศาลอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 227 – 228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก (พ.ศ. 2417 – 2418) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราการแผ่นดิน (State Council หรือ Council of State) และสภาองคมนตรี (Privy Council)

28.       ข้อใดถูกในสมัยรัตนโกสินทร์

(1)       มีการยกเลิกระบบเมืองประเทศราชโดยเด็ดขาดในสมัยรัชกาลที่ 5

(2)       ระบบมณฑลเทศาภิบาลสามารถแก้ปัญหาระบบนครรัฐได้

(3)       การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลไม่ได้ทำพร้อมกันทีเดียวทั้งหมด           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 56234 – 235 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบรวมศูนย์ อำนาจ โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น แต่มิได้จัดทำพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ส่งผลให้ระบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐสิ้นสุดลง และระบบเมืองประเทศราชถูกยกเลิก โดยเด็ดขาด ทำให้ประเทศไทยสามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในลักษณะ รัฐประชาชาติ (National State) ได้สำเร็จ

29.       ข้อใดคืออุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

(1)       การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง

(2)       ขุนนางในเมืองหลวงไม่ต้องการยกเลิกระบบกินเมือง

(3)       รัฐบาลไม่สามารถปราบารจลาจลตามหัวเมืองได้

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 236 – 237 อุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากจะมีปัญหาเรื่องบุคลากรและเงินที่จะใช้ในระบบราชการแบบใหม่แล้ว ยังเกิดปัญหา การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง ซึ่งได้แก่ พวกเจ้าเมืองและจ้าประเทศราชเดิม ทั้งในมณฑลอีสาน พายัพ และปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2445 แต่รัฐบาลก็สามารถ ปราบปรามลงได้สำเร็จ

30.       ข้อใดคือความแตกต่างในการปครองส่วนท้องถิ่นระหวางสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา

(1)       มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยการปกครองแบบเดิม

(2)       ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน  

(3) ผู้ใหญ่บ้านและกำนันไม่มีสิทธิเป็นกรรมการสุขาภิบาลตำบล

(4)       มีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลสมัยอยุธยา และเทศบาลในสมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 168 – 169236 การปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัตนโกสินทร์ จะมีหน่วยการปกครอง แบบเดิมเหมือนสมัยอยุธยา คือ เป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของผู้ปกครอง โดยให้ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน ส่วนนายอำเภอนั้นแต่งตั้งมาโดยมหาดไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบล ซึ่งกรรมการสุขาภิบาลตำบลจะมาจากผู้ใหญ่บ้านและกำนันที่มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง

31.       พระมหากษัตริย์สุโขทัยมิวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร

(1) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง

(2) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ

(3)       ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้

(4) ออกกฎหมายให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม 

ตอบ 3 หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนด้วยวิธีการดังนี้

1.         ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และ พยายามตัดสินความให้อย่างยุติธรรม

2.         ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรม มิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)

32.       เหตุใดลูกเจ้าลูกขุนต้องมีความรู้ดีทางศาสนา

(1) เพื่อประโยชน์ในการปกครอง

(2) ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สนับสนุนพุทธศาสนา

(3) ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สั่งสอน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 272, (คำบรรยาย) ความรู้ทางศาสนาเป็นศาสตร์อีกด้านหนึ่งที่สำคัญสำหรับลูกเจ้าลูกขุน เนื่องจากศาสนามีอิทธิพลสำคัญและมีประโยชน์ต่อแนวทางการปกครองของสุโขทัยเป็นอย่างมาก เช่น หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร ทั้งนี้เพราะหน้าที่สำคัญของกษัตริย์ และลูกเจ้าลูกขุน คือ เป็นผู้สั่งสอนประชาชนให้รู้บุญรู้ศีลธรรม และเสริมสร้างบารมีด้วยการ บำรุงและสนับสนุนพุทธศาสนา

33.       ข้อใดถูกต้องตามกฎหมายล้านนา    

(1) ลูกเจ้าลูกขุนทำผิดมีโทษหนักกว่าสามัญชน

(2)       ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าให้ต่ำกว่าสามัญชน

(3)       นายช้างต้องหลีกทางให้นายม้า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 275295 กฎหมายล้านนาได้กำหนดสิทธิและวิธีคานอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนไว้ดังนี้

1.         มีสิทธิหาผลประโยชน์จากนาขุมราขการหรือนาขุมการเมือง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น อย่างแท้จริง          2. ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าหรือตีราคาสูงกว่าของสามัญชน

3.         เมื่อทำความผิดลูกเจ้าลูกขุนจะถูกลงโทษปรับหนักกว่าสามัญชน แม้จะเป็นความผิดชนิดเดียวกัน

4.         มีกฎหมายกำหนดให้ผู้น้อยต้องหลีกทางให้แก่ผู้ใหญ่กว่าตน เช่น ให้นายม้าหลีกให้นายช้าง ผู้มียศสูงกว่าตน ฯลฯ

34.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา

(1)       ทำให้รัฐได้ใช้แรงงานไพร่ได้เต็มที่        (2) ทำให้ไพร่ไม่ต้องเสียภาษี

(3) ทำให้ไพร่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 273283 ระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา คือ การจัดไพร่ให้สังกัดมูลนายที่เป็น ลูกเจ้าลูกขุน โดยมูลนายจะต้องคอยดูแลให้ไพร่อยู่ในภูมิลำเนา คอยเกณฑ์ไพร่มาทำงาน ตามกำหนดเวลา ควบคุมให้ไพร่อยู่ในกฎหมาย และควบคุมเรื่องการเก็บภาษีอากรจากไพร่ ซึ่งระบบไพร่ที่มีการจัดการที่ดีถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้รัฐสามารถดึงประโยชน์ทั้งด้านแรงงาน และส่วยจากไพร่มาใช้ได้อย่างเต็มที่

35.       หลักฐานใดที่แสดงว่าสุโขทัยมีทาส

(1) มีหลักฐานเกี่ยวกับการหลบหนีของข้า      (2) มีหลักฐานเกี่ยวกับข้าพระอาราม

(3) มีการเลี้ยงดูเชลยศึกไว้ใช้งาน       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 289 – 290 หลักฐานสุโขทัยได้กล่าวถึงทาสอยู่หลายแห่ง ได้แก่

1.         จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวถึงการกวาดต้อนเชลยศึก มาเลี้ยงมาขุน” โดยไม่ฆ่า และนำมาใช้งานเมื่อต้องการ

2.         จารึกหลักที่ 2 กล่าวถึงการซื้อคนปล่อยที่ตลาด

3.         จารึกหลักที่ 38 กล่าวถึงข้าหลบหนีนาย

4.         จารึกหลักที่ 15 กล่าวถึงการยกข้าและลูกสาวลูกชายให้เป็นข้าพระอาราม ฯลฯ

36.       เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึงสิ่งใด

(1) จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยอยุธยา        (2) จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่สมในสมัยอยุธยา

(3) การเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยรัตนโกสินทร์   (4) การเกณฑ์ไพร่สมในสมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 340 คำว่า เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึง จำนวนวันการเกณฑ์แรงงานไพร่หลวง ในสมัยอยุธยา โดยไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 6 เดือน แต่อาจมาทำงาน 1 เดือน ออกไปอยู่บ้าน 1 เดือน สลับกันไปได้ และเวลามาทำงานต้องนำข้าวปลาอาหารมาเอง เพราะทางราชการจะไม่เลี้ยงดูอย่างใด แต่ถ้าไพร่หลวงไม่ต้องการมาใช้แรงงานจะส่งเงิน มาแทนก็ได้ เรียกว่า เงินค่าราชการ

37.       ข้อยมาเป็นข้า” สมัยล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดในสมัยอยุธยา

(1) ทาสสินไถ่  (2) ทาสขัดดอก           (3) ทาสเชลย   (4) ทาสในเรือนเบี้ย

ตอบ 3 หน้า 290351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ

1.         ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา

2.         ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา

3.         มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา

4.         ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้ ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา

5.         ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา

38.       ชนชั้นใดในสมัยสุโขทัยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ

(1)ไพร่ (2)ขุนนางชั้นผู้น้อย      (3) ลูกเจ้าลูกขุน          (4) ถูกเฉพาะข้อ2และ3

ตอบ 4 หน้า 274 – 275278, (คำบรรยาย) สิทธิพิเศษของลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย คือ ไม่ถูก เกณฑ์แรงงาน มีไพร่อยู่ในสังกัดได้ และไม่ต้องเสียภาษี เพราะในหลักฐานสุโขทัยกล่าวเฉพาะ แต่การที่ลูกเจ้าลูกขุนเป็นผู้เก็บภาษีจากไพร่เท่านั้น ส่วนข้าราชการระดับล่างหรือขุนนางชั้นผู้น้อย จะมีฐานะความเป็นอยู่ไม่ต่างจากไพร่มากมัก เพียงแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน และ ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ

39.       พบศพชายไทยนอนตายอยู่ริมแม่น้ำ พลิกศพดูพบว่าปรากฏชื่อมูลนายติดอยู่ที่ข้อมือ ถามว่าศพดังกล่าว น่าจะเป็นคนไทยสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) ล้านนา       (3) อยุธยา       (4) ต้นรัตนโกสินทร์

ตอบ 4 หน้า 392417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้ สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันมิให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือมิให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน

40.       การสักข้อมือไพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ

(1) เพื่อความงาม         (2) เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี

(3) เพื่อรู้ชื่อมูลนาย      (4) เพื่อรู้จักภูมิลำเนาไพร่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41.       ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของคนถวายตัวเป็นขุนนาง

(1) วุฒิ 4

(2) อธิบดี 4

(3) พรหมวิหาร 4

(4) คุณานุรูป

ตอบ 3 หน้า 316 คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยา มีอยู่ 9 ประการ ดังนี้

1.         วุฒิ 4 ประการ ได้แก่ ชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ และปัญญาวุฒิ

2.         อธิบดี 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาธิบดี วิริยาธิบดี จิตาธิบดี และวิมังสาธิบดี

3.         คุณานุรูป 1 ประการ หมายถึง เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะดี น่าไว้วางพระทัยแก่พระมหากษัตริย์ และน่าเคารพนับถือแก่ประชาชนทั่วไป

42.       การถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาเมื่ออายุเท่าไร

(1)21ปี

(2)25ปี

(3) 31ปี

(4) 35ปี

อบ 3 หน้า 316, (ตูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ) คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนาง ในสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้อประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่

1.ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี

2.         วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป

3.         คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือนชำนิชำนาญ

4.         ปัญญาวุฒิ คือ มีสติปัญญาตดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ

43.       ลักษณะการไหว้โดยการประนมมือให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว ผู้หญิงถอยเท้า ข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลง ประนมมือไหว้ ถามว่าเป็นการไหว้ผู้ใด

(1) ไหว้คนทั่วไป

(2) ไหว้คนเสมอกัน

(3) ไหว้ผู้อาวุโส

(4) ไหว้พระ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การไหว้บิดามารดาหรือผู้ที่มีพระคุณและผู้อาวุโสอันเป็นที่เคารพยิ่ง คือลักษณะการไหว้โดยการยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว ผู้ชายให้ค้อมตัวลง ประนมมือไหว้ ส่วนผู้หญิงถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลง ประนมมือไหว้

44.       การทำความเคารพศพแบบไทย ข้อใดถูก

(1) กราบ 3 ครั้งแบมือ (2) กราบ 1 ครั้งแบมือ

(3) กราบ 1 ครั้งไม่แบมือ         (4) ถวายคำนับหรือถอนสายบัว

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การทำความเคารพศพแบบไทยที่ถูกต้อง ให้นั่งคุกเข่าราบทั้งชายและหญิงจากนั้นจุดธูป 1 ดอก (ถ้าเป็นศพพระจุด 3 ดอก) ประนมมือยกธูปขึ้นให้ปลายนิ้วชี้อยู่หว่างคิ้ว ตั้งจิตขอขมาต่อศพ แล้วปักธูปลงบนที่สำหรับปักธูป จากนั้นนั่งพับเพียบหมอบกราบแบบกระพุ่ม มือตั้ง 1 ครั้ง (ไม่แบมือ) พร้อมอธิษฐานให้ดวงวิญญาณศพไปสู่สุคติ แล้วลุกขึ้น ถ้าเป็นศพ ของผู้ที่มีอายุน้อยกว่าไม่ต้องกราบหรือไหว้ เมื่อปักธูปลงแล้วให้นิ่งสงบและอธิษฐานเท่านั้น

45.       ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้แก่เรื่องใด

(1) อย่านั่งชิดผู้ใหญ่    (2) ท่านสอนอย่าสอนตอบ

(3) ผู้ใหญ่ต้องควบคุมอารมณ์เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้น้อย    (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 294 ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้กำหนดหลักปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อยไว้ คือ ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นฝ่ายมีอำนาจ ถูกกำหนดให้มีความยุติธรรม เมตตากรุณา ให้รางวัลแก่ผู้น้อยที่มี ความดีความชอบ และรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองเวลาอยู่ต่อหน้าผู้น้อย ส่วนผู้น้อยถูกกำหนดให้มีความจงรักภักดี กตัญญกตเวที และเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ ดังคำสอนให้ อย่านั่งชิดผู้ใหญ่” และ ทำนสอนอย่าสอนตอบ” เป็นต้น

46.       พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายเกี่ยวกับเจ้านายอย่างไร

(1) ให้เจ้านายทุกองค์มีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง         (2) ให้เจ้านายได้ควบคุมอำนาจบริหารมากกว่าขุนนาง

(3) พยายามควบคุมจำนวนเจ้านายไว้ด้วย      (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 305313322 – 323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายคานอำนาจเจ้านาย ดังนี้

1.         ควบคุมจำนวนเจ้านาย โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านายมีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูก หลาน และเหลนเท่านั้น

2.         ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง

3.         ไม่ให้เจ้านายได้ควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมือง ในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน

4.         ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านาย ฯลฯ

47.       เหตุใดเจ้านายในสมัยอยุธยาจึงได้ ทรงกรม

(1) เพื่อให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี       (2) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่หลวง

(3) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง        (4) เพื่อให้เจ้านายเป็นเจ้าเมือง

ตอบ 3 หน้า 308 การทรงกรมของเจ้านายในสมัยอยุธยา คือ การปกครองบังคับบัญชากรม ซึ่งเริ่มเกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรฯ เป็นต้นมา เพื่อเป็นสิ่งทดแทนการที่เจ้านายเคยได้ครองเมือง ในอดีต และเพื่อไม่ให้เจ้านายหมดอำนาจไปเสียทีเดียว พระมหากษัตริย์จึงทรงให้เจ้านาย ได้บังคับบัญชากรมและได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง แต่จะมีจำนวนมากน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับศักดินาของเจ้านาย

48.       ไพร่ในสมัยอยุธยาทำสิ่งใดไม่ได้

(1) ยกมรดกให้ลูกหลาน         (2) เดินทางย้ายถิ่นอย่างเสรี

(3) เข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 345350, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยอยุธยามีอยู่หลายประการ เช่น ไพร่มีสิทธิ ในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ และมีสิทธิเข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น รวมถึงมีสิทธิที่จะขาย หรือยกเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานได้ ฯลฯ แต่เมื่อไพร่ต้องอยู่ในระบบไพร่ ทำให้สิทธิบางอย่าง ของไพร่ถูกลิดรอนไป เช่น ไพร่ถูกควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหว จึงไม่สามารถเดินทางย้ายถิ่น อย่างเสรี และต้องมาให้แรงงานตามกำหนด ฯลฯ

49.       พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงมีนโยบายเกี่ยวกับไพร่สมอย่างไร

(1) เกณฑ์แรงงานไพร่สมมาใช้ทางราชการมากกว่าไพร่หลวง (2) พยายามลดจำนวนไพร่สม

(3) พยายามเพิ่มจำนวนไพร่สม           (4) ไม่ให้ไพร่สมย้ายไปเป็นไพร่หลวง

ตอบ 2 หน้า 339 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงพยายามลดจำนวนไพร่สม เพื่อลิดรอนอำนาจของเจ้านาย ซึ่งเป็นมูลนายของไพร่สมส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนไพร่หลวงเพื่อความมั่นคงของพระมหากษัตริย์ จึงมีการออกกฎหมายห้ามจดทะเบียนลูกหลานของไพร่หลวงเป็นไพร่สม แต่ไพร่สมสามารถ ย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ

50.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบทาสในสมัยอยุธยา

(1) นายเงินเพิ่มค่าตัวทาสไม่ได้           (2) นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาสได้

(3) นายเงินใช้ทาสเข้าคุกแทนตัวเองไม่ได้       (4) ไม่มีข้าพระอาราม

ตอบ 1 หน้า 352 – 354356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้

1.         ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง 2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้

3.         ใช้ทาสไปรบแทนตนได้            4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป

5.         ขายทาสต่อไปได้ แต่เพิ่มค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะ ไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้    6. ในกรณีที่เป็นข้าพระอารามหรือทาสวัดให้อยู่ใต้การดูแลของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นมูลนายที่แท้จริง ฯลฯ

51.       การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร

(1) ใช้กำหนดบทลงโทษบุคคล

(2) ใช้กำหนดยศให้กับบุคคล

(3) ใช้กำหนดที่ดินที่จะให้บุคคลถือครอง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้   1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม

2.         เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัด     4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง

52.       ข้อใดที่ศักดินาของบุคคลมีการเปลี่ยนแปลง

(1)       เมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศ

(2) เมื่อบุคคลนั้นได้ทรงกรม

(3) เมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษลดยศ ลดตำแหน่ง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 309358, (คำบรรยาย) การกำหนดให้บุคคลมีศักดินากันคนละเท่าใดนั้นจะกำหนดจากยศ ตำแหน่ง และความรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ ดังนั้นศักดินาของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือได้ทรงกรม และศักดินาจะมีการเปลี่ยนแปลง ลดต่ำลงเมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษโดยลดยศลดตำแหน่ง

53.       ในระบบศักดินาของไทย ใครคือผู้ที่มีศักดินาสูงสุดในแผ่นดิน          

(1) พระเจ้าแผ่นดิน

(2)       สมเด็จพระสังฆราช

(3) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

(4) สมเด็จเจ้าพระยา

ตอบ 3 หน้า 309357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับพระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่งโดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่

54.       ยศสูงสุดของขุนนางคือ สมเด็จเจ้าพระยา” ถามว่าในประวัติศาสตร์ไทยมีกี่องค์

(1) 2 องค์        (2) 3 องค์        (3) 4 องค์        (4) 5 องค์

ตอบ 3 หน้า 319405, (คำบรรยาย) ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนาง ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยา ในประวัติศาสตร์ไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 4 องค์ คือ

1.         สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง) หรือรัชกาลที่ 1 ในเวลาต่อมา

2.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงค์ (ดิส บุนนาค)

3.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)

4.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

55.       ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

(1) ขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์           (2) ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไป

(3)       ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากเจ้าภาษีเลย          (4) ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก

ตอบ 1 หน้า 400 – 404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่

1.         ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์

2.         ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น

3.         คณะเสนาบดีซึ่งสวนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์

4.         ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร

5.         ขุนนางตระถูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ

56.       ไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสิทธิเข้ารับราชการครั้งแรกในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 1  (2) รัชกาลที่ 2  (3) รัชกาลที่ 3  (4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 1 หน้า 408, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การถวายตัว

เป็นฃุนนาง โดยไม่มีข้อขีดคั่นในเรื่องชาติวุฒิเหมือนสมัยอยุธยา ทำให้ไพร่หรือสามัญชนมีสิทธิ เข้ารับราชการเป็นครั้งแรก แต่โอกาสที่ไพร่จะเข้าสู่ระบบขุนนางก็ยังยากอยู่ เพราะลูกหลานขุนนาง มักจะได้เป็นขุนนางต่อมานั่นเอง

57.       การเปิดประเทศมีผลต่อไพร่อย่างไร

(1) ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานมากขึ้น         (2) ไพร่เสียเงินค่าราชการมากขึ้น

(3) ไพร่ปลูกข้าวมากขึ้น           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 416424 ภายหลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากระบบผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง มาเป็นระบบผลิตเพื่อส่งออก ทำให้ความสำคัญของไพร่ในฐานะแรงงาน และผู้ส่งส่วยลดลงไปมาก แตไพร่จะมีบทบาทสำคัญยิ่งในด้านการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร เพื่อส่งออก โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย

58.       ปัญหาการเมืองที่เกิดจากชาวจีนในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ได้แก่เรื่องใด

(1) ชาวจีนมักแข็งข้อต่อขุนนางไทย     (2) ชาวจีนต่อต้านชาวตะวันตก

(3) ชาวจีนนิยมไปเป็นคนในบังคับตะวันตก    (4) ชาวจีนต่อต้านระบบเจ้าภาษีนายอากร

ตอบ 3 หน้า 439 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ชาวจีนได้ก่อปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลไทย โดยการตั้งสมาคมลับของชาวจีนหรืออั้งยี่ขึ้นมาหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิดกฎหมายไทย แตพวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้ เพราะคนจีนจำนวนมาก นิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อ มีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น

59.       การเลิกทาสในเมืองไทยไม่มีการนองเลือดเหมือนอย่างในสหรัฐอเมริกา เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบาย เลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ใช้เวลากว่า.. ปี จึงเลิกทาสได้สำเร็จ

(1)10   (2)15   (3)20   (4)30

ตอบ 4 หน้า 432 – 435516 รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการเลิกทาสด้วยความระมัดระวังยิ่ง เพราะ เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะสังคมอันสำคัญที่มีการยึดถือกันมานับตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพระองค์ ได้ใช้นโยบายทางสายกลางค่อย ๆ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้น รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้สำเร็จโดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา

60.       คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะเด่นของคนไทย ถามว่าข้อใดเป็นลักษณะด้อยที่สุดของคนไทย

(1) จิตใจโอบอ้อมอารี  (2) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่        (3) อ่อนน้อมถ่อมตน    (4) มีระเบียบวินัย

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ลักษณะนิสัยเด่นที่เป็นจุดด้อยที่สุดของคนไทย คือ ความมีระเบียบวินัย ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ซึ่งทำให้มีลักษณะยืดหยุ่น ไม่ยึดอะไร เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ดังนั้นคนไทยจึงมีระเบียบวินัยค่อนข้างน้อย และชอบทำอะไรตามใจตัวเอง ดังคำพังเพยที่ว่า ทำอะไรตามใจคือไทยแท้

61.       ระบบเศรษฐกิจของไทยมีวิวัฒนาการอย่างไร

(1) หมู่บ้านตลาดเงินตราทุนนิยม

(2) หมู่บ้านตลาดเงินตราพอเพียง

(3) พอเพียงตลาดการค้ายังชีพ

(4) พอเพียงหมู่บ้านยังชีพตลาด

ตอบ 1 หน้า 469 – 471558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้

1.         เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน

2.         เศรษฐกิจแบบตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ 3. เศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา   4. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ซึ่งเป็นระบบการผลิตเพื่อการส่งออกในปัจจุบัน

62.       พื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยเริ่มต้นจากลักษณะเศรษฐกิจแบบใด

(1) เศรษฐกิจแบบหมู่บ้าน

(2) เศรษฐกิจแบบตลาด

(3) เศรษฐกิจเงินตรา

(4) เศรษฐกิจการค้า

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัย

(1) เพาะปลูกได้ผลดี

(2) อุดมสมบูรณ์มากแต่ขาดแคลนเกษตรกร

(3) มีข้อจำกัดเรื่องผลผลิต

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 3 หน้า 474 การเกษตรกรรมใบสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผลที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะเนื้อที่การเพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงานชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา

64.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสภาพการค้าของสุโขทัย

(1) มีเสรีภาพทางการค้า          (2) การค้าไม่ค่อยรุ่งเรือง

(3) เป็นรัฐผู้นำด้านการค้าในภูมิภาคแหลมทอง          (4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 1 หน้า 480 – 481 นโยบายส่งเสริมด้านการค้าและเศรษฐกิจของผู้ปกครองสมัยสุโขทัย มีดังนี้

1.         ส่งเสริมให้มีการค้าอย่างเสรี    2. ไม่เก็บ จกอบ” หมายถึง ภาษีผ่านด่านที่เก็บจากผู้นำสินค้า สัตว์ หรือสิ่งของไปขายในที่ต่าง ๆ         3. ให้ทุนรอนแก่ผู้ไม่มีทุนรอน

4.         ส่งเสริมทักษะพิเศษ โดยการนำช่างทำเครื่องปั้นดินเผาชาวจีนเข้ามาเผยแพร่ความรู้ ให้แก่ชาวไทย  5. สร้างถนนสายสำคัญขึ้น คือ ถนนพระร่วง

65.       แหล่งรายได้ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยมาจากอะไร

(1) ภาษีข้าว     (2) ส่วย           (3) ฤชา            (4) อากร

ตอบ 1 หน้า 479. 481 – 483 แหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา ที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก” ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญ และเป็นกิจการที่ใหญ่โตรุ่งเรืองมาก คงจะทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว ส่วนแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งจะมาจากการเก็บภาษีข้าว โดยให้เก็บภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน ซึ่งแม้จะไมมากนักแต่ก็เป็นรายได้ส่วนหนึ่ง

66.       สินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัยคือข้อใด

(1) ของป่า       (2) เครื่องดินเผา          (3) ข้าว            (4) กระทง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

67.       ข้อใดอธิบายลักษณะของเศรษฐกิจแบบการตลาดของประเทศไทยได้ถูกต้องที่สุด

(1)       ผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน         (2) ผลิตเพื่อการค้าขาย

(3) ผูกพันกับการค้าทั้งภายในและภายนอก   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

68.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา

(1)       มีแหล่งเพาะปลูกมากกว่าสุโขทัย        (2) พม่าเป็นแรงงานสำคัญ

(3) ข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ          (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 488510 -511 พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาเป็นการเกษตรกรรมเช่นเดียวกับสุโขทัย แต้มีข้อแตกต่างดังนี้

1.         อยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าว

2.         อยุธยามีแหล่งเพาะปลูกที่กว้างขวางกว่า โดยเฉพาะบริเวณตอนลางของแม่นํ้าเจ้าพระยา จะใช้พื้นที่ทำนามากที่สุด

3.         อยุธยามีปัจจัยการผลิตที่เข้มแข็งเนื่องจากระบบไพร่ ทำให้มีผลผลิตจำนวนมาก

4.         รัฐบาลสมัยอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ฯลฯ

69.       ปัจจัยใดส่งผลต่อการทำการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา

(1) สภาพภูมิศาสตร์    (2) สภาพภูมิอากาศ    (3) ระบบไพร่   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70.       ข้อใดอธิบายลักษณะของเศรษฐกิจแบบเงินตราได้ถูกต้อง

(1) การแสวงหาตลาด (2) ผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน

(3) รัฐเรียกเก็บส่วยในรูปแบบเงินตรา            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

71.       แหล่งรายได้ที่สำคัญของอยุธยานอกเหนือจากการเกษตรคือ

(1) การค้าภายใน

(2) การค้าภายนอก

(3) การเก็บค่านา

(4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 500503510 แหล่งรายได้ที่สำคัญของอยุธยานอกเหนือจากการเกษตร คือ ผลกำไร จากการค้าภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการค้าสำเภา คือ การนำสินค้าบรรทุกสำเภาแล่นไปยัง ประเทศที่ทำการค้าด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศทางตะวันออกโดยเฉพาะจีน จึงนับเป็น ผลประโยชน์แผ่นดินที่ได้รับมากที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งรายได้ประเภทอื่น ๆ

72.       ปัจจัยที่ทำให้การค้าของอยุธยาเจริญรุ่งเรือง

(1) อยุธยาตั้งอยู่ติดทะเล

(2) มีสินค้าที่หลากหลาย

(3) มีสินค้าจากอเมริกาจำหน่าย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 497510, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้การค้าภายในของอยุธยาเจริญรุ่งเรือง มีดังนี้

1.         ที่ตั้งของอยุธยาเป็นเกาะมีแม่นํ้าล้อมรอบ ทำให้การคมนาคมสะดวก อยุธยาจึงเป็นศูนย์กลาง การค้าภายในที่ดีมาก และเป็น ปากนํ้าและประตูบ้านของเมืองเหนือทั้งปวง

2.         มีสินค้าที่หลากหลาย ซึ่งนอกจากจะมีสินค้าปัจจัยสี่ครบถ้วนแล้ว ยังมีสินค้าที่ใช้ประกอบ กิจการอื่น ๆ อีกมากมาย

73.       สภาพทางเศรษฐกิจสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นเช่นไร

(1) เหมือนอยุธยาทุกประการ

(2) การขยายตัวของเศรษฐกิจเงินตรา

(3) การมีเสรีทางการค้า

(4) ทุนนิยม

ตอบ 2 หน้า 557 – 558 สภาพเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะคล้ายกับสมัยอยุธยา แต่ก็มีลักษณะ หลายอย่างก่อรูปขึ้นเป็นความเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดการขยายตัว ของเศรษฐกิจเงินตราและเศรษฐกิจแบบตลาด การค้ากับต่างประเทศทั้งกับตะวันออกและ ตะวันตกขยายตัวกว้างทั้งปริมาณและสินค้าที่หลากหลาย และการเกษตรกรรมเริ่มเปลี่ยนเป็น ผลิตเพื่อส่งออก เป็นต้น

74.       การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสยามเป็นผลมาจากอะไร

(1) สนธิสัญญาบาวริ่ง   (2) สนธิสัญญาครอฟอร์ด

(3) สนธิสัญญาแวร์ซายส์        (4) สนธิสัญญาเบอร์นี่

ตอบ 1 หน้า 470547 – 548558 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 ซึ่งมีผลดังนี้

1.         ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแทนนํ้าตาล

2.         สามารถยกเลิกระบบพระคลังสินค้า และการค้าแบบผูกขาดที่ดำเนินมาทั้งแต่สมัยอยุธยา (ยกเว้นการค้าฝิ่น)

3.         ไทยเปิดการค้าอย่างเสรี ไม่มีสินค้าต้องห้ามเหมือนแต่ก่อน (ยกเว้นอาวุธยุทธภัณฑ์ ปืน และกระสุนดินดำต้องขายให้รัฐบาล) ฯลฯ

75.       ผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริ่งคือข้อใด

(1) ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ          (2) อ้อยและนํ้าตาลกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ

(3) ยกเลิกการผูกขาดการค้าฝิ่น         (4) อนุญาตให้ซื้อขายสินค้าต้องห้ามได้อย่างเสรี

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76.       สนธิสัญญาบาวริ่งยกเลิกการผูกขาดสินค้า ยกเว้นสินค้าประเภทใด

(1) ข้าว            (2) อาวุธ          (3) ชา  (4) ฝิ่น

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77.       การทำสนธิสัญญาบาวริ่งของสยามแสดงให้เห็นภาวะอะไรที่สำคัญ

(1) ระบบเศรษฐกิจไทยผูกพันกับเศรษฐกิจโลก          (2) การพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจ

(3) ทุนนิยมข้ามชาติ    (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 547 – 549558, (คำบรรยาย) การทำสนธิสัญญาบาวริ่งของไทยแสดงให้เห็นภาวะสำคัญดังนี้

1.         การพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจ ทำให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากการผลิต เพื่อเลี้ยงตนเอง มาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก

2.         การเกิดระบบทุนนิยมตะวันตก หรือทุนนิยมข้ามชาติ

3.         ระบบเศรษฐกิจไทยต้องผูกพันกับเศรษฐกิจโลกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

78.       ใครคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในระบบการผลิตเพื่อการค้าของสยาม

(1) นายทุนขุนศึก         (2) นายทุนจีน  (3) นายทุนข้ามชาติ     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 537 – 538558, (คำบรรยาย) ภายหลังสนธิสัญญาบาวริ่งเมื่อ พ.ศ. 2398 ระบบการผลิต เพื่อการค้าของไทยได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ นายทุนจีน ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจไทยมากนับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นต้นมา เช่น การได้เป็นเจ้าภาษีและนายอากร เป็นผู้ควบคุมการค้าภายใน และยังเป็นพ่อค้าทุกระดับ ในระบบเศรษฐกิจไทย

79.       การเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดเป็นผลมาจากการขยายตัวของระบบการผลิตเพื่อการค้า

(1) ว่าจ้างแรงงานเพื่อนบ้าน    (2) การยกเลิกระบบไพร่

(3) การเลิกทาส           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 419424429 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทย โดยมีการขยายตัวของระบบการผลิต เพื่อการค้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนี้ 1. รัฐต้องการเพิมผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวที่เป็นสินค้าออก จึงมีการยกเลิกระบบไพร่และทาส เพื่อเป็นแรงงานเสรีที่จะ ทำการผลิตได้เต็มเวลา 2. รัฐบาลว่าจ้างแรงงานกรรมกรจีน เป็นแรงงานชดเชยแทนแรงงาน จากไพร่และทาส เพื่อใช้ทำงานโครงการใหญ่ๆ

80.       ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์คือ

(1) อิทธิพลตะวันตก    (2) การริเริ่มของชนชั้นนำสยาม

(3) ระบบการปกครอง (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ 1. ระบบการปกครอง          2. ภาวะสงครามหมดสิ้นไป

3.         ภัยคุกคามจากตะวันตก          4. อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก

5.         การริเริ่มของชนชั้นนำสยาม เช่น การปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 ที่เน้นขยายการศึกษาให้ทั่วถึง

81.       พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมครั้งพุทธกาลเรียกว่าแบบใด

(1) เถรวาท

(2) อาจาริยวาท

(3) มหายาน

(4) วัชรยาน

ตอบ 1 หน้า 574 – 576, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมเมื่อครั้งพุทธกาล เรียกว่า พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แต่ต่อมาได้เกิดการแตกแยกขึ้นในสังฆมณฑลในอินเดิย ทำให้คณะสงฆ์แตกออกเป็น 2 คณะ (2 นิกาย) ได้แก่

1.         เถรวาท ซึ่งยึดถึอตามพระธรรมวินัยที่พระอริยสาวกได้ทำสังคายนาไว้แต่ดั้งเดิม โดยภิกษุคณะนี้จะถูกเรียกชื่อว่า หินยาน

2.         อาจาริยวาท ซึ่งยึดถือตามพระธรรมวินัยที่มีการแก้ไข โดยภิกษุคณะนี้มีชื่อว่า มหายาน

82.       พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิในสมัยใด

(1) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

(2) กุบไลข่าน

(3) พระเจ้าอโศกมหาราช

(4) พระเจ้าอชาตศัตรู

ตอบ 3 หน้า 574 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ จึงโปรดให้จัดภิกษุออกเป็น 9 คณะ โดยมีคณะที่สำคัญอยู่ 2 คณะ ได้แก่ 1. คณะที่หนึ่ง มีพระมหินทรเถระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้า นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่ลังกา 2. คณะที่สอง มีพระโสณะเถระกับพระอุตตระเถระ เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิเมื่อประมาณ พ.ศ. 300

83.       หัวหน้าพระภิกษุที่มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อ พ.ศ. 300 ชื่ออะไร

(1)       พระโมคคัลลีบุตร

(2) พระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ

(3) พระมหินทรเถระ

(4) พระติสสะเถระ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84.       คนไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งแรกได้รับพระพุทธศาสนาแบบใด

(1) เถรวาท      (2)       มหายาน          (3)       อาจาริยวาท     (4) มหานิกาย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 82.       ประกอบ

85.       การสังคายนาพระธรรมวินัยพุทธศาสนาแบบเถรวาทครั้งที่ 7 ซึ่งทำที่ลังกา จารึกด้วยภาษาใด

(1) มคธ           (2)       สันสกฤต         (3)       บาลี     (4) ขอม

ตอบ 3 หน้า 581 – 582 พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราชกษัตริย์แห่งลังกา ทรงมีพระประสงค์ให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ จึงทรงอาราธนา พระมหากัสสปะเถระให้เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 7 ของการทำสังคายนาทั้งหมดที่ผ่านมา โดยให้ใช้ภาษาบาลีในการจารึกพระไตรปิฎก

86.       พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกานำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่ใดก่อน

(1) ไชยา สุราษฎร์ธานี (2)       นครศรีธรรมราช (3)     สงขลา (4) อยุธยา

ตอบ 2 หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้ จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์ นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย

87.       ข้อความในข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์ในคณะเหนือสมัยสุโขทัย

(1) มักอยู่วัดในเมือง    (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า    (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย

ตอบ 1 หน้า 582 – 583 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนาในสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่

1.         คณะเหนือ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ซึ่งเป็นคณะเดิมที่นับถือกันอยู่ โดยจะใช้ภาษาสันสกฤต และพระสงฆ์มักอยู่วัดในเมือง

2.         คณะใต้ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นรากฐานของมหานิกายในปัจจุบัน โดยพระสงฆ์จะใช้ภาษาบาลี และมักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้ผู้คนเลื่อมใสใน พระจริยวัตรมากกว่า

88.       ข้อความในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์คณะใต้สมัยสุโขทัย

(1) มักอยู่วัดในเมือง    (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า    (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

89.       พระขะพุงผีที่กล่าวถึงในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง หมายถึงอะไร

(1) ผีบรรพบุรุษ            (2) พระที่ถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) วิญญาณกษัตริย์ต้นราชวงศ์          (4) เทพยดาที่เป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองสุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 583589 แม้คนสุโขทัยจะรับพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ความเชื่อเรื่องการนับถือผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะการนับถือ พระขะพุงผี” ซึ่งเป็นเทพยดาประจำชาติ ที่เป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองสุโขทัย ดังข้อความในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า พระขะพุงผี เทพยดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้…

90.       ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ของกษัตริย์พระองค์ใด

(1)       พระบรมไตรโลกนาถ   (2) พระมหาธรรมราชาลิไทย

(3) พ่อขุนรามคำแหง   (4) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

91.       ข้อความใดแสดงถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา

(1) การสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด

(2) พิธีกรรมต่าง ๆ มีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ

(3) การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 589 – 592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหกษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น

92.       เจดีย์สององค์ที่หน้าโบสถ์ของวัดอนุสาวรีย์ สร้างไว้เพื่อจุดประสงค์ใด

(1)       บรรจุอัฐิธาตุของบิดาและมารดาของผู้สร้างวัด

(2)       บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

(3) บรรจุอัฐิธาตุของคนในสกุล

(4) แทนองค์พระพุทธเจ้าซึ่งสำคัญที่สุด จึงตั้งอยู่หน้าโบสถ์

ตอบ 1 หน้า 592 ในสมัยอยุธยาที่มีวัดอยู่มากมายนั้น เป็นเพราะใครตั้งวงค์สกุลได้มั่นคง ก็มักจะสร้างวัดไว้ เป็นอนุสาวรีย์สำหรับบรรจุอัฐิธาตุของคนในวงค์สกุลนั้น ๆ โดยจะสร้างเจดีย์สององค์ไว้ที่หน้าโบสถ์ หรือพระอุโบสถ องค์หนึ่งสำหรับบรรจุอัฐิธาตุของบิดา อีกองค์หนึ่งบรรจุอัฐิธาตุของมารดา ส่วนบรรดาคนในวงศ์สกุลก็จะสร้างเป็นพระเจดีย์เรียงรายไว้รอบ ๆ พระอุโบสถ

93.       พระสงฆ์ทยที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ลังกา กลับมาตั้งนิกายใหม่แบบลังกาในอยุธยาเรียกว่านิกายอะไร

(1) คณะอรัญญวาสี

(2) คณะคามวาสี

(3)       คณะมหานิกาย

(4) วันรัตนวงษ์ (คณะป่าแก้ว)

ตอบ 4 หน้า 592 – 593 ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปศึกษา พระธรรมวินัยที่ลังกาอยู่หลายปี จึงกลับมายังกรุงศรีอยุธยา และได้แยกย้ายกันไปตั้งนิกายใหม่ แบบลังกา คือ นิกายวันรัตนวงษ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้ในสมัยนี้พระสงฆ์นกรุงศรีอยุธยาจึงแบ่งออก เป็น 3 คณะ คือ 1. คณะคามวาสี 2. คณะอรัญญวาสี 3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงษ์)

94.       ข้อความใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา

(1)       วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ

(2)       เป็นธรรมเนียมที่ลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา

(3)       วัดเบรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษา

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 590, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา มีดังนี้  1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ

2.         วัดเป็นที่ระงับคดีวิวาทของชาวบ้าน    3. วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการบวชเรียน ซึ่งในสมัยอยุธยาถือเป็นธรรมเนียมว่าลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา

4.         วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวิชาอาชีพอื่น ๆ แก่กุลบุตร

95.       กษัตริย์องค์ใดในสมัยอยุธยาที่ออกผนวชในขณะครองราชย์

(1) พระนครินทราธิราช            (2) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

(3) พระบรมไตรโลกนาถ         (4) พระเจ้าทรงธรรม

ตอบ 3 หน้า 593 – 594 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาดังนี้

1.         ทรงอุทิศที่พระราชวังเดิมถวายสร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า วัดพระศรีสรรเพชญ

2.         ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 ที่ออกผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์

3.         ทรงเปลี่ยนแปลงแบบอย่างการสร้างพุทธเจดีย์ให้เป็นแบบศิลปกรรมสุโขทัย เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์ทรงระฆังตามแบบลังกา ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย ฯลฯ

96.       พระบรมไตรโลกนาถอุทิศพระราชวังเดิม ถวายสร้างเป็นวัดชื่อวัดอะไร

(1) วัดพระศรีสรรเพชญ           (2) วัดพระศรีมหาธาตุ

(3) วัดราชบูรณะ         (4) วัดกษัตราธิราช

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       การเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปกรรมทางศาสนาตามแบบศิลปะสุโขทัย เช่น เปลี่ยนแบบพุทธเจดีย์เป็นทรงระฆัง เกิดขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ใด

(1) พระบรมราชาธิราช            (2) พระบรมไตรโลกนาถ

(3) พระนารายณ์มหาราช        (4) พระเจ้าปราสาททอง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98.       ประเพณีการบวชของคนไทยเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) อู่ทอง         (3) อยุธยา       (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 3 หน้า 587591594 – 596 ในสมัยอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไดัมีความเคลื่อนไหวทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญดังนี้   1. การประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงค์ในลังกา 2. การปฏิสังขรณ์วัด 3. การเกิดประเพณีการบวชของคนไทยทั่วไป (การบวชเรียนนี้แม้ว่าจะเคยมีขึ้นในสมัยสุโขทัยมาก่อน แต่ก็ยังไม่แพร่หลายจนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญเหมือนกับสมัยอยุธยา)

99.       วรรณคดีทางพุทธศาสนาเรื่องใดที่แต่งในสมัยอยุธยา แต่จบในสมัยรัตนโกสินทร์

(1) พระมาลัยคำหลวง (2) มหาชาติคำหลวง   (3) เทศน์มหาชาติ        (4) สมุทรโฆษคำฉันท์

ตอบ 4 (คำบรรยาย) สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่เริ่มแต่งตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่แต่งไม่จบ เพิ่งมาจบในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อเรื่องเป็นเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นนิยายเล่าสืบต่อกันมา ดังนั้นฉันท์เรื่องนี้ จึงนับเป็นเรื่องแรกที่นำมาบรรยายชาดก

100.    พระไตรปิฎกที่ทำการสังคายนาในสมัยรัชกาลที่ 1 เรียกว่าอะไร

(1) พระไตรปิฎกฉบับใบลาน  (2) พระไตรปิฎกฉบับทอง

(3) พระไตรปิฎกฉบับรดนํ้าแดง          (4) พระไตรปิฎกฉบับ 3 คัมภีร์

ตอบ 2 หน้า 596 – 599 พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของรัชกาลที่ 1 ได้แก่

1.         จัดระเบียบคณะสงฆ์ตามแบบครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย

2.         ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง

ซึ่งถือเป็นกิจทางศาสนาที่สำคัญยิ่ง

3.         ทรงเป็นผู้ตรากฎหมายพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก

4.         ทรงสร้างพระอารามหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศน์เทพวราราม

101.    หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิที่มีอายุเก่าที่สุดเท่าที่พบเป็นงานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะสมัยใดของอินเดีย

(1) อมราวดี

(2) คุปตะ

(3) หลังคุปตะ

(4) ปาละ-เสนะ

ตอบ 1 หน้า 684,686, (คำบรรยาย) ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นในช่วงแรกสุดของไทย โดยงานศิลปกรรมทวารวดีส่วนใหญ่จะแสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ ได้แก่ งานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพล ศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ต่อมาก็มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะ-หลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 – 13) และศิลปะปาละ-เสนะ (พุทธศตวรรษที่ 14 – 17) ตามลำดับ

102.    พระพุทธรูปแบบทวารวดีตอนปลาย มีลักษณะอิทธิพลของศิลปะใดเข้ามาปน

(1) ศิลปะอินเดียแบบปัลลวะ

(2) ศิลปะลังกา

(3) ศิลปะขอมในประเทศไทย

(4) ศิลปะชวา

ตอบ 3 หน้า 686 – 687698 พระพุทธรูปสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สลักจากศิลา ที่หล่อด้วยสำริด ก็มีอยู่บ้างแต่มักมีขนาดเล็ก ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 แบบ ได้แก่

1.         แบบแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี และแบบคุปตะ-หลังคุปตะอย่างชัดเจน

2.         แบบที่สอง มีลักษณะเป็นพื้นเมืองหรือเป็นลักษณะเฉพาะของทวารวดี

3.         แบบที่สาม เป็นพระพุทธรูปทวารวดีตอนปลาย มีอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยบาปวน หรือศิลปะลพบุรีตอนต้น (ซึ่งเรียกว่า ศิลปะขอมในประเทศไทย) เข้ามาปะปน

103.    ศิลปะทวารวดีเป็นงานช่างที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด

(1) พุทธศาสนาเถรวาท

(2) พุทธศาสนามหายาน

(3) พุทธศาสนาวัชรยาน

(4) ศาสนาพราหมณ์

ตอบ 1 หน้า 685 ศิลปะสมัยทวารวดีจะสะท้อนการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนามหายาบ และศาสนาฮินดู แต่ศิลปะที่พบมักเป็นงานช่างที่แสดงพุทธศิลป์นิกายเถรวาท (หินยาน) มากที่สุด โดยหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท คือ จารึกคาถา เย ธัมมา” และจารึกอื่น ๆ ที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้เฉพาะพุทธศาสนาเถรวาท รวมทั้งงานประติมากรรมอื่นในพุทธศาสนาเถรวาท ที่พบอยู่ทั่วไป

104.    ธรรมจักรและกวางหมอบที่พบในศิลปะทวารวดี สร้างขึ้นในความหมายใด

(1)       พระพุทธองค์ทรงประทานปฐมเทศนา ณ อิสิปตนมฤคทายวัน

(2)       พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

(3)       พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โปรดเวไนยสัตว์

(4)       พระพุทธองค์ทรงแสดงสัจธรรมถึงวัฏสงสารเหมือนการหมุนของวงล้อ

ตอบ 1 หน้า 689 ศิลาสลักรูปธรรมจักรในศิลปะทวารวดี คงมีความหมายถึงพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เนื่องจากมักพบพร้อมกับกวางหมอบ อันหมายถึง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ทั้งนี้การที่แสดงภาพเป็นธรรมจักรก็เนื่องด้วยพระสูตรที่ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร หรือพระสูตรแห่งการหมุนธรรมจักรนั่นเอง

105.    เทวรูปรุ่นเก่าส่วนใหญ่พบในภูมิภาคใดของประเทศไทย

(1) ภาคตะวันออกและภาคกลาง        (2) ภาคตะวันออกและภาคใต้

(3) ภาคใต้และภาคกลาง        (4) ภาคตะวันตกและภาคใต้

ตอบ 2 หน้า 683691, (คำบรรยาย) ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า หรือวัตถุรุ่นเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา โดยเทวรูป รุ่นเก่าส่วนใหญ่มักพบในภาคใต้ของไทยแถบเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางภาคตะวันออก แถบดงศรีมหาโพธ จ.ปราจีนบุรี นอกจากนี้ที่เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ก็พบด้วยเช่นกัน

106.    เทวรูปพระนารายณ์ สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาใด

(1) พราหมณ์สมัยโบราณ        (2) ฮินดู ไศวนิกาย

(3) ฮินดู ไวษณพนิกาย            (4) พุทธหินยาน

ตอบ 3 หน้า 691 – 692 เทวรูปพระนารายณ์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า มักสร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่) เช่น เทวรูปพระนารายณ์ 4 กร ศิลา (2 กรหลังหักหายไป) พบที่เขาศรีวิชัย อ.พุมพิน จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13

107.    ศิลปะศรีวิชัย ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด

(1) พราหมณ์สมัยโบราณ        (2) พุทธศาสนามหายาน

(3) พุทธศาสนาหินยาน           (4) ฮินดู

ตอบ 2 หน้า 694 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยโบราณวัตถุ ไม่ว่าจะสลักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสำริดจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับของที่พบในเกาะชวาภาคกลาง เป็นอย่างมาก

108.    พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์ที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงปลายของศิลปะศรีวิชัย มีส่วนของทรงระฆังป้อมเตี้ย ซึ่งเป็นลักษณะที่แสดงถึงการรับอิทธิพลของศิลปะใด

(1) ศิลปะจาม  (2) ศิลปะชวา

(3) ศิลปะอินเดียภาคตะวันตก            (4) ศิลปะลังกา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในสมัยศิลปะศรีวิชัยตอนปลาย พุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ได้เผยแผ่เข้ามา เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18 แทนที่พุทธศาสนามหายาน ดังจะเห็นได้จากพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีส่วนบนของเจดีย์เป็นทรงระฆังป้อมเตี้ย มีบัลลังก์ สี่เหลี่ยมต่อยอดแหลม อันเป็นลักษณะที่แสดงถึงการรับอิทธิพลของศิลปะลังกา

109.    ตามคติทางศาสนา ส่วนที่เป็นเรือนธาตุของเจดีย์ สร้างขึ้นด้วยจุดประสงศ์อะไร

(1)       เป็นที่เคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษซึ่งเก็บเถ้ากระดูกไว้ที่นี่

(2)       เป็นสังเวชนียสถาน    (3) แทนองค์พระพุทธเจ้า

(4)       แทนเทพเจ้าสูงสุดในศาสนา

ตอบ 2 หน้า 709, (คำบรรยาย) ตามคติทางศาสนาพุทธ ส่วนกลางของเจดีย์จะเรียกว่า เรือนธาตุ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือใช้สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า เถ้ากระดูกหรืออัฐิธาตุของพระสงฆ์สาวก ตลอดจนใช้เป็นสังเวชนียสถานหรือ เครื่องหมายแห่งสถานที่อันศักดิสิทธิ์ในพุทธศาสนาเช่น ที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และปรินิพพาน

110.    ศิลปะล้านนาในระยะแรกได้รับอิทธิพลจากศิลปะใดเป็นพื้นฐาน

(1) หริภุญไชย (2) พุกามในพม่า         (3) สุโขทัย       (4) ลังกา

ตอบ 1 หน้า 715 ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในระยะแรกนั้น จะได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญไชย เป็นพื้นฐาน และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยพุกามเข้ามาเกี่ยวข้อง

111.    ประติมากรรมศิลปะลพบุรีหรือศิลปะขอมในประเทศไทย สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาอะไร

(1) ศาสนาฮินดูไศวนิกาย และไวษณพนิกาย

(2) ศาสนาพุทธหินยาน และมหายาน

(3)       ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธหินยาน

(4) ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน

ตอบ 4 หน้า 698 – 699 ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18)มักพบในท้องที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดย โบราณวัตถุในศิลปะขอมในประเทศไทยนิยมสลักจากศิลาหรือหล่อด้วยสำริด และมักสร้างขึ้น ตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธมหายานและศาสนาฮินดู

112.    พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่ แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะใด

(1) พุกาม

(2) หริภุญไชย

(3) สุโขทัย

(4) ลพบุรี

ตอบ 3 หน้า 712716 พระพุทธรูปเชียงแสนสายที่สอง จะแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย จึงนิยมเรียกว่า แบบเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่” ซึ่งจะมีพุทธลักษณะที่ต่างไป จากแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง แต่จะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่สมัยสุโขทัย คือ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเพรียว พระรัศมีรูปเปลวไฟ ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี (สะดือ)

113.    พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีลักษณะเด่นที่ต่างจากเชียงแสนสิงห์สองในข้อใด

(1) พระพักตร์กลม พระองค์อวบ

(2) สังฆาฏิปลายเป็นแฉกเขี้ยวตะขาบอยู่เหนือพระถัน

(3) พระพักตร์รูปไข่ มีไรพระศก

(4) สังฆาฏิปลายตัดอยู่เหนือพระถัน

ตอบ 1 หน้า 716, (ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ) พระพุทธรูปเชียงแสนสายแรก หรือเรียกว่า “ แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ” จะได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียในยุคปาละชัดเจน โดยผ่านมา ทางพุกาม มีพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระวรกายอวบอ้วน พระรัศมี เป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกกลม ขมวดพระเกศาใหญ่ ไม่มีไรพระศก ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน (เต้านม) เช่น พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ พบที่วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

114.    ศิลปะแบบใดที่นิยมสร้างพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง

(1) ศิลปะศรีวิชัย         (2) ศิลปะลพบุรี           (3) ศิลปะอู่ทอง           (4) ศิลปะอยุธยา

ตอบ 2 หน้า 700 – 701, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสมัยศิลปะลพบุรีที่นิยมมากเป็นพิเศษ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง มีสีพระพักตร์ค่อนข้างถมึงทึง ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม

115.    พระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปในศิลปะแบบใด

(1) ศิลปะลังกา           (2) ศิลปะล้านนา         (3) ศิลปะสุโขทัย         (4) ศิลปะล้านช้าง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จัดเป็นพระพุทธรูป ในศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่ ซึ่งสร้างด้วยแก้วหรือหินสีเขียวมรกตเนื้อเดียว ทั้งองค์ โดยตามตำนานกล่าวว่าได้ค้นพบพระแก้วมรกตในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงรายเมื่อราว พ.ศ. 1979 และต่อมาได้ตกไปอยู่เมืองลำปาง เชียงใหม่ และประเทศลาว จนกระทั่งรัชกาลที่ 1 เสด็จยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้เมื่อ พ.ศ. 2321 จึงอัญเชิญกลับมายังประเทศไทย

116.    พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก จัดเป็นพระพุทธรูปในศิลปะแบบใด

(1) ศิลปะสุโขทัย         (2) ศิลปะลพบุรี           (3) ศิลปะอู่ทอง           (4) ศิลปะอยุธยา

ตอบ 1 หน้า 712, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยหมวดพระพุทธชินราช เกิดขึ้นในสมัย พญาลิไทยย้ายเมืองหลวงจากสุโขทัยมายังพิษณุโลก เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 20 จึงจัดเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลกโดยมีลักษณะทั่วไปคล้ายแบบหมวดใหญ่ แต่ต่างกันคือ มีพระพักตร์และพระวรกายอวบอ้วนกว่า มีนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกับทุกนิ้ว ซึ่งสะท้อนถึง คติลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ เช่น พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

117.    รูปแบบเจดีย์ในข้อใดที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์สุโขทัย

(1) ทรงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์        (2) ทรงระฆัง   (3) ทรงปราสาทยอด   (4) ทรงแปดเหลี่ยม

ตอบ 1 หน้า 710, (คำบรรยาย) เจดีย์ประธานในสมัยสุโขทัยมีรูปแบบเฉพาะอยู่ 3 แบบ คือ

1.         เจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆัง หรือทรงปราสาทห้ายอด

2.         เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม หรือทรงยอดพุ่มข้าวบิณท์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย

3.         เจดีย์ทรงระฆัง หรือทรงกลมแบบลังกา

118.    พระพุทธรูอู่ทองรุ่น 1 มีลักษณะเด่นที่พระพักตร์เหลี่ยม พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม มีไรพระศก พระขนงต่อกัน เป็นปีกกา และสังฆาฏิใหญ่ปลายตัด แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะใด

(1) ทวารวดี      (2) สุโขทัย

(3) ลพบุรี         (4) ทวารวดีและลพบุรี

ตอบ 4 หน้า 719 – 720 พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะทวารวดีที่มีศิลปะขอม (ลพบุรี) เข้ามาผสม มีลักษณะเด่นคือ มีสังฆาฏิใหญ่ปลายตัด และพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ตามแบบทวารวดี แต่มีพระพักตร์เหลี่ยม มีไรพระศก และพระขนงต่อกันเป็นปีกกาตามแบบขอม มักพบมากในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ขัยนาท มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18

119.    พระพุทธรูปยืนในศิลปะสุโขทัย นิยมสร้างปางอะไร

(1) ปางมารวิชัย           (2) ปางประทานอภัย

(3) ปางลีลา     (4) ปางเปิดโลก

ตอบ 3 หน้า 712 พระพุทธรูปยืนในศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ลอยตัวที่มีความงดงามไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน และถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย ซึ่งน่าจะมีที่มาจากภาพพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

120.    พระพุทธรูปคันธารราฐในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเด่นชัดในข้อใด

(1) ส่วนสัดสมจริงคล้ายคนสามัญ      (2) เลียนแบบต้นแบบเดิมในศิลปะลังกา

(3) รักษาลักษณะมหาบุรุษในศิลปะอินเดีย    (4) ผสมผสานศิลปะแบบไทยกับตะวันตก

ตอบ 1 หน้า 732, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระพุทธรูปที่สร้างกลับมามีพระเกตุมาลาเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้นิยมสร้างพระพุทธรูปแนวสมจริง ตามแบบตะวันตก และมีส่วนสัดที่สมจริงคล้ายคนธรรมดาสามัญมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูปยืนปางคันธารราฐ (ปางขอฝน) ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5

HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมอินเดียที่รัฐโบราณในประเทศไทยรับเข้ามา

(1)       ตัวอักษรปัลลวะ

(2) ภาษาบาลี

(3) ศิลปกรรม

(4) ศาสนาคริสต์

ตอบ 4 หน้า 11 -13 วัฒนธรรมอินเดียที่รัฐโบราณในประเทศไทยรับเข้ามาได้แก่

1.         ด้านศาสนา เช่น ศาสนาพุทธและพราหมณ์

2.         ด้านภาษาและวรรณคดี เช่น ตัวอักษรปัลลวะ อักษรเทวนาศรี ภาษาบาลี-สันสกฤต ฯลฯ

3.         ด้านการปกครอง เช่น ระบบเทวราชา และกฎหมายธรรมศาสตร์

4.         ด้านศิลปกรรม เช่น รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม

2.         ข้อใดคือลักษณะสำคัญซองแคว้นศรีวิชัย

(1)       นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน

(2) ใช้กลองมโหระทึก

(3) ทาฟันสีดำ

(4) นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ตอบ 1 หน้า 15 แคว้นศรีวิชัย เจริญขึ้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ในบริเวณที่เป็น จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้า ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานั้น ทำหน้าที่เป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน จึงทำให้ รับวัฒนธรรมอินเดียเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ส่วนศาสนาฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน

3.         แคว้นเสียม” คือชื่อที่จีนใช้เรียกแว่นแคว้นใด

(1)       ละโว้

(2)       สุพรรณภูมิ

(3)       เชลียง

(4) ทวารวดี

ตอบ 2 หน้า 18 แคว้นสุพรรณภูมิ หรือที่จีนเรียกว่า แคว้นเสียม” ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่นํ้า เจ้าพระยาในบริเวณที่เป็นแคว้นนครชัยศรีแต่เดิม โดยมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี เมืองแพรกศรีราชา (สรรคบุรี) เพชรบุรี และราชบุรี

4.         แคว้นเงินยางเชียงแสน สถาปนาขึ้นโดยราวงศ์ใด

(1)       ลาวจก (2)       ศรีนาวนำถม    (3)       พระร่วง            (4) อู่ทอง

ตอบ 1 หน้า 20 แคว้นเงินยางเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยาง สถาปนาขึ้นโดยราชวงศ์ลาวจกในพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งในสมัยของพระยาเจื๋อง ขอบข่ายของแคว้นเงินยางได้ขยายขึ้นไป ถึงสิบสองปันนา หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ต่อมาลูกหลานของพระยาเจื๋องได้ปกครอง อีก 4 – 5 คน ก็ถึงสมัยของพระยามังราย

5.         พระนามเดิมของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คือข้อใด

(1)       พ่อขุนรามคำแหง         (2)       พ่อขุนบางกลางหาว    (3) พ่อขุนผาเมือง        (4) พ่อขุนศรีนาวนำถม

ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) หลักฐานสุโขทัยเท่าที่มีปรากฏ ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองศ์แรกของกรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมือง ผู้ปกครองเมืองราด ส่วนกษัตริย์สุโขทัยพระองศ์ต่อมา คือ พ่อขุนครีอินทราทิตย์ หรือมีพ6ระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นพระสหายของพ่อขุนผาเมือง

6.         แว่นแคว้นใดต่อไปนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลังกามากที่สุด

(1)       ล้านนา (2) นครศรีธรรมราช (3) สุโขทัย           (4) อยุธยา

ตอบ 2 หน้า 25 แคว้นศรีธรรมราช หรือนครศรีธรรมราช พัฒนาไปจากแคว้นศรีวิชัย ภายหลังที่ แคว้นศรีวิชัยเสื่อมอำนาจไปแล้ว โดยแคว้นศรีธรรมราชจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลังกา มากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากการที่พุทธศาสนาเถรวาทจากลังกาเข้ามามีอิทธิพลแทนที่พุทธศาสนามหายานของศรีวิชัย

7.         สมัยกษัตริย์พระองค์ใดของสุโขทัยที่มีความรุ่งเรืองทั้งทางศาสนาและวรรณกรรม

(1)       พ่อขุนรามคำแหง         (2) พ่อขุนศรีนาวนำถม            (3) พระมหาธรรมราชาลิไทย (4) พระยางั่วนำถม

ตอบ 3 หน้า 27105584 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย สุโขทัยมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา และวรรณกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากทรงเป็นกษัตริย์ไทยที่ได้รับยกย่องว่าเป็นจอมปราชญ์ ในทางพระพุทธศาสนาพระองค์แรกของไทย นอกจากนี้ยังทรงแต่งคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา และทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระสุมณเถระไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในอาณาจักรล้านนา

8.         สมัยใดถือว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านนา

(1) พระยามังราย        (2) พระยากือนา          (3) พระยาติโลกราช    (4) พระยาสามฝั่งแกน

ตอบ 3 หน้า 32 สมัยของพระยาติโลกราช (พ.ศ. 1984 – 2030) ถือได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านนา เพราะสามารถฟื้นฟูอำนาจของล้านนาขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ พระยาติโลกราชยังเป็นผู้มีความสามารถในการรบและขยันรบ จึงมีนโยบายขยายอำนาจ ออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางเหนือขึ้นไปถึงเขตไทยใหญ่ คือ เมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางใต้ ลงมาถึงเมืองแพร่และน่าน

9.         ข้อใดหมายถึง มหาชนสมมุติ”       

(1) กษัตริย์เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า

(2)       กษัตริย์ คือ บุคคลที่มีคุณธรรมที่ได้รับการเลือกสรรจากประชาชน

(3)       กษัตริย์ คือ ผู้สืบเชื้อสายจากพระพุทธเจ้า     (4) กษัตริย์เป็นผู้ที่สามารถขยายอำนาจทั้ง 8 ทิศ

ตอบ 2 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น รวมทั้งได้รับการยอมรับ และเลือกสรรจากประชาชน จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ

10.       ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบนครรัฐ

(1) เมืองหลวงสามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้อย่างแท้จริง (2) การรวมศูนย์อำนาจมีประสิทธิภาพ

(3) เมืองลูกหลวงก่อการกบฏหลายครั้งในช่วงต้นอยุธยา       (4) เมืองส่วนภูมิภาคไม่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ

ตอบ 3 หน้า 104 7- 105160, (คำบรรยาย) การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การที่เมือง หรือนครต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคมีอิสระดุจเป็นรัฐของตัวเอง แว่นแคว้นจึงรวมตัวกันแต่เพียงหลวม ๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ ส่งผลให้การรวมศูนย์อำนาจไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเมืองหลวง ไม่สามารถควบคุมเมืองส่วนภูมิภาคได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อโอกาสอำนวย เจ้าเมืองชั้นนอก (เมืองลูกหลวง) อาจแยกตัวเป็นอิสระ หรือเข้ามาแย่งชิงอำนาจที่เมืองหลวง เช่น กรณีที่พญาลิไทย เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยมาชิงราชย์ที่สุโขทัย หรือการที่เมืองลูกหลวงก่อกบฏหลายครั้งในล้านนา และอยุธยาตอนต้น 

11.       ข้อใดที่แสดงว่าสุโขทัยมีการปกครองแบบนครรัฐ

(1)       เจ้านายที่เมืองศรีสัชนาลัยมาชิงราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้

(2)       สุโขทัยมีนโยบายกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

(3)       ไม่มีการกบฏในสมัยสุโขทัย  

(4) สุโขทัยถูกอยุธยาผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.       จตุโลกบาล หมายถึงอะไรในคติพราหมณ์

(1) เทวดาหรีอยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาล

(2) พระมหากษัตริย์

(3) ไศเลนทร์ หรือราชาแห่งภูเขา

(4) พระจักรพรรดิราช

ตอบ 1 หน้า 99, (คำบรรยาย) ในคติพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล (Universe or Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำ รวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล

13.       ข้อใดถูกในสมัยสุโขทัย

(1)       ไม่ปรากฏอิทธิพลลัทธิเทวราชาในสมัยสุโขทัย

(2)       สุโขทัยนำลัทธิเทวราชาเต็มรูปแบบมาใช้

(3)       สุโขทัยนำลัทธิเทวราชามาใช้ในยามที่อาณาจักรแตกแยก หรือมีการแย่งชิงอำนาจ

(4)       ลัทธิเทวราชามีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย

ตอบ 3 หน้า 100 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คงมีการนำคติบางอย่าง ของลัทธิเทวราชามาใช้ แต่อาจใช้ไม่เต็มรูปแบบหรือตลอดเวลา เช่น อาจนำลัทธิเทวราชามาใช้ ในยามที่อาณาจักรแตกแยกและต้องรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ หรือใช้ในยามที่มีการทำรัฐประหาร แย่งชิงอำนาจกษัตริย์พระองค์ก่อน

14.       ในช่วงแรกของสุโขทัย ผู้ช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์คือใคร

(1) กรมพระราชวังบวรฯ หรือวังหน้า    (2) จตุสดมภ์

(3) ลูกเจ้าลูกขุน          (4) ประชาชนชาวกรุงสุโขทัย

ตอบ 3 หน้า 101 ในช่วงแรกของสุโขทัยนั้น ผู้ช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ (พ่อขุน) หรือข้าราชการ ได้แก่ บรรดาเชื้อพระวงค์ที่เป็นญาติใกล้ชิดเป็นส่วนใหญ่ และอีกส่วนหนึ่ง คงเป็นบริวารที่ไม่ใช่ญาติ โดยเรียกข้าราชการเหล่านี้รวมๆ กันไปว่า ลูกเจ้าลูกขุน” ทั้งนี้ เพราะยังไม่มีการแยกกลุ่มบุคคลอย่างชัดเจนว่าเป็นเจ้านายหรือขุนนางเหมือนในสมัยอยุธยา

15.       ระบบจตุสดมภ์ถูกยกเลิกไปในรัชกาลใด

(1) พระเพทราชา         (2) พระเจ้ากรุงธนบุรี

(3) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  (4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ 4 หน้า 147, (คำบรรยาย) อยุธยามีการจัดแบ่งส่วนราชการในระยะแรกเริ่มเป็นแบบจตุสดมภ์ (หลักทั้ง 4) คือ มีกรมสำคัญอยู่ 4 กรม ได้แก่ กรมเวียงหรือกรมเมือง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา แต่ต่อมาระบบจตุสดมภ์ซึ่งถือเป็นระบบการปกครองที่มีอายุยืนยาวที่สุดก็ได้ถูกยกเลิกอย่าง เป็นทางการในสมัยปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยทรงจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ 

16.       พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาทรงควบคุมอำนาจเจ้านายอย่างไร

(1)       ไม่ให้เจ้านายมีไพร่ในสังกัด     (2) ให้ขุนนางกำกับราชการแทนเจ้านาย

(3)       เมื่อเจ้านายตาย ทรัพย์สมบัติทั้งหมดต้องถูกริบราชบาตร

(4)       ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายทุกชั่วคน และไม่ให้เจ้านายดำรงตำแหน่งสำคัญทางราชการ

ตอบ 4 หน้า 141313 – 314 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงควบคุมอำนาจของเจ้านาย ดังนี้

1.         กำหนดความสูงศักดิ์ของเจ้านายให้มีอยู่เพียง 3 ชั่วอายุคน และลดความสูงศักดิ์ของ เจ้านายลงทุกชั่วอายุคน            2. ไม่ให้เจ้านายดำรงตำแหน่งสำคัญทางราชการ เช่น ตำแหน่งเสนาบดี และเจ้าเมือง 3. ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านายไม่ให้มีมากเกินไป 4. ออกกฎหมายควบคุมการเคลื่อนไหวของเจ้านาย ฯลฯ

17.       ข้อใดคือนโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(1) แบ่งงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน (2) แบ่งการปกครองออกเป็นภูมิภาค

(3) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง            (4) จัดตั้งเมืองลูกหลวงในเขตเมืองชั้นใน

ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้

1.         แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน

2.         จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง (แต่มิได้ยกเลิก เด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานีซึ่งเมืองหลวงเข้าไปควบคุมโดยตรง

18.       เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์

(1)       กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท

(2)       เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมด

(3)       กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน      

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 155 – 156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้

1.         กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน

2.         เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง

3.         กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาน เป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร

19.       การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะแบบใด

(1) แบ่งงานตามหน้าที่โดยเคร่งครัด    (2) ยกเลิกกรมสำคัญ 6 กรม

(3) แบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาค (4) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

ตอบ 3 หน้า 157 – 158 การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ระบบแบ่งงานตามหน้าที่เฉพาะอย่าง (Functional Basis) ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนสลายไป กลายเป็นระบบแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นส่วนภูมิภาค (Territorial Basis) แทน ดังนี้

1.         กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้

2.         กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ

3.         กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก

20.       ข้อใดคือผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองในส่วนกลาง

(1)       เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกัน       (2) กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง

(3) กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้น     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 158 – 159 ผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองส่วนกลางในสมัยอยุธยา ตอนปลาย มีดังนี้

1. เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกับกรมที่เคยรับผิดชอบงานเฉพาะบางกรมเป็นเหตุให้กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง

2. กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้นทุกที

3. การจัดให้กรมเล็กขึ้นสังกัดกรมใหญ่สับสนกันมากขึ้น

21 เขตมณฑลราชธานี จัดตั้งขึ้นในรัชกาลใด 

(1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

(2)       สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) สมเด็จพระนเรศวร

(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

22.       การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีลักษณะอย่างไร

(1)       มีการจัดตั้งเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร

(2)       มีการแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ

(3)       มีการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค   

(4) มีการจัดตั้งเขตมณฑลราชธานี

ตอบ 2 หน้า 162 – 164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้       1. รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหลวงควบคุมเขตภูมิภาคได้มั่นคงขึ้น (แต่มิได้มีผลถาวร)       2. ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอก และจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ

3.         จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ

23.       ธรรมศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร    

(1) เป็นกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา

(2)       เป็นแม่บทของพระราชบัญญ้ติ          

(3) เป็นหลักการของระบบเทวราชา

(4)       เป็นแนวทางปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

ตอบ 2 หน้า 134 – 135 กฎหมายที่ใช้ตัดสินคดีในสมัยอยุธยา ได้แก่

1.         พระธรรมศาสตร์ ถือเป็นกฎหมาย-หลักอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด ต่อมาได้มีการดัดแปลง ตามคติของพุทธศาสนา และเรียกว่า ธรรมสัตถัม

2.         พระราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดและพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้ตราขึ้นโดยใช้พระธรรมศาสตร์เป็นแม่บท จะใช้เมื่อมีกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ ในพระธรรมศาสตร์ จึงต้องอาศัยพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เป็นทางตัดสินแทน

24.       ข้อใดที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยึดอุดมการณ์ธรรมราชา

(1) การตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม   (2) การสังคายนาพระไตรปิฎก

(3)       การลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎร      (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 183 – 186 พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทรงยึดอุดมการณ์ธรรมราชา เป็นหลักสำคัญที่สุด โดยมีแนวทางดังนี้       1. ทรงตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม ซึ่งมิได้เกี่ยวกับราชการบ้านเมืองโดยตรงแต่อย่างใด 2. ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยการสังคายนา พระไตรปิฎก ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและพระพุทธรูปจำนวนมาก 3. ทรงปกป้องคุ้มครอง ประชาชน โดยการลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎร และดูแลมิให้มูลนายข่มเหงรังแกราษฎร ฯลฯ

25.       การบริหารราชการแผ่นดินสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีลักษณะแบบใด

(1) มีการแบ่งงานตามลักษณะงานโดยไม่เคร่งครัด (2) มีการแบ่งงานออกเป็นภูมิภาค

(3)       มีการแบ่งงานตามลักษณะงานโดยเคร่งครัด  (4) มีการแบ่งออกเป็นมณฑลต่าง ๆ

ตอบ 2 หน้า 158194 – 195 โครงสร้างระบบบริหารราขการแผ่นดินทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยังเป็นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ จัดระบบบริหารราชการแผ่นดิน แบบแบ่งงานออกเป็นเขตแดนหรือภูมิภาค (Territorial Basis) เพียงแต่จะมีการเพิ่มจำนวน หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกรมกองไปบ้าง (ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ)

26.       ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงใช้มาตรการใดในการควบคุมอำนาจเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอก

(1) ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมือง (2) ให้กรมการเมืองรับเงินเดือนจากเมืองหลวง

(3) ให้เจ้านายไปกำกับราชการหัวเมืองชั้นนอก           (4) ยกเลิกระบบกินเมือง

ตอบ 1 หน้า 195 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นไป ได้มีการใช้นโยบายแบ่งแยก ความจงรักภักดีออกเป็นสองทาง (Dual Allegiance) กล่าวคือ ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็น ผู้แต่งตั้งกรมการเมืองตำแหน่งต่าง ๆ แทนที่จะให้เจ้าเมืองเป็นผู้แต่งตั้งดังแต่ก่อน เพื่อให้เมืองหลวง มีอำนาจควบคุมเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอกได้มากขึ้น เพราะกรมการเมืองย่อมเกิดความภักดีต่อขุนนางในเมืองหลวงซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งตนด้วย มิใช่ภักดีต่อเจ้าเมืองเพียงคนเดียว

27.       การเปิดประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 มีผลต่อการปกครองในแง่ใด

(1) ไทยเริ่มพัฒนาประเทศไปตามแบบตะวันตก         (2) ระบบไพร่ทวีความสำคัญขึ้น

(3) ระบบพระคลังสินค้าทวีความสำคัญขึ้น     (4) ชาวตะวันตกเดินทางมาไทยน้อยลง

ตอบ1 หน้า 53 – 55196 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ซึ่งเริ่มตั้งแต่การทำสัญญาเปิดประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นไปนั้น ได้ส่งผลให้ไทยเริ่มพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้าน การปกครอง นโยบายต่างประเทศ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก โดยใช้วิชาการความรู้และแนวความคิดทางตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับแนวทางของสังคมไทย เพื่อป้องกันการคุกคามของมหาอำนาจทางตะวันตกที่เข้ามายึดครองดินแดนในเอเชียเป็นอาณานิคม

28.       ข้อใดคืออุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผ่นดินในช่วงแรกของรัชกาลที่ 5 ต้องหยุดชะงัก

(1) การขัดขวางจากพวกอนุรักษนิยม  (2) การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก

(3) การขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 227 – 229 อุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผ่นดินในระยะแรกของรัชกาลที่ 5ต้องหยุดชะงักลง ได้แก่

1.         การขัดขวางจากฝ่ายอนุรักษนิยมทั้งในลักษณะของการดื้อแพ่งและการต่อต้านด้วยกำลังอาวุธ

2.         การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก

3.         การขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม โดยเฉพาะบรรดาสมาชิกสภาที่ปรึกษา ราชการแผ่นดิน ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการแสดงความคิดเห็น และยังเกรงกลัวต่ออิทธิพลของ ฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่

29.       ข้อใดคือผลงานเด่นของการปฏิรูปช่วงที่ 2 ของรัชกาลที่ 5

(1) การตั้งกรมสำคัญ 6 กรม   (2) การพื้นฟูการปกครองแบบนครรัฐ

13) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง (4) การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์

ตอบ 3 หน้า 229 – 231 ผลงานเด่นของการปฏิรูปในระยะที่สองของรัชกาลที่ 5 คือ การออกประกาศ พระบรมราชโองการจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง โดยเพิ่มจากเดิม 6 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งการจัดตั้งกระทรวงในครั้งนี้จะเห็นได้ถึงการสูญอำนาจ ของขุนนางตระกูลบุนนาค และการขึ้นมามีอำนาจของฝ่ายเจ้านายที่ได้เป็นเสนาบดีถึง 10 กระทรวง

30.       ผลสำเร็จในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดจากข้อใด

(1) การใช้ระบบ กินเมือง”   (2) การเพิ่มอำนาจให้เมืองประเทศราช

(3) การจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาล           (4) การฟื้นฟูระบบเมืองลูกหลวง

ตอบ 3 หน้า 56234 – 235 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปรวมอำนาจ เข้าสู่ศูนย์กลาง โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น เพื่อให้เมืองหลวงสามารถควบคุม อาณาจักรและประเทศราชได้อย่างทั่วถึง ทำให้ประเทศไทยสามารถผนวกดินแดนในเขตชั้นนอก และเขตประเทศราชให้เป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกับส่วนกลางในลักษณะรัฐประชาชาติ (National State) ได้สำเร็จ

31.       ในสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ล้านนา อยุธยา ธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นใด

(1) เจ้านาย

(2) ขุนนาง

(3) ไพร่

(4) ข้าหรือทาส

ตอบ 3 หน้า 270 – 271283336 – 337416, (คำบรรยาย) ในสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ล้านนา อยุธยา ธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นไพร่หรือสามัญชน ซึ่งถือเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุด แต่จำนวนไพร่ที่มีก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการแรงงานของรัฐ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม ดังนั้นรัฐจึงต้องมีระบบควบคุมแรงงานที่มีประสิทธิภาพ เรียกว่า ระบบไพร่” เพื่อให้รัฐได้ใช้แรงงานไพร่ได้อย่างเต็มที่

32.       ในสังคมไทยสมัยใดที่พระสงฆ์นั่งร่วมพิจารณาคดีกับเจ้าพนักงานของรัฐ

(1) สุโขทัย

(2)       ล้านนา

(3) อยุธยา

(4)       ธนบุรี

ตอบ 2 หน้า 280 ในสมัยล้านนา พระสงฆ์จะทำหน้าที่นั่งพิจารณาตัดสินคดีความร่วมกับเจ้าหน้าที่ ของบ้านเมืองหรือเจ้าพนักงานของรัฐโดยอาศัยอิงกับหลักเกณฑ์ในชาดกหรือวินัยสงฆ์ที่เข้ากันได้ ซึ่งบทบาทหน้าที่ดังกล่าวนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยพญากือน (พ.ศ. 1898 – 1928)

33.       ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ได้มรดกมาก” เป็นกฎหมายสมัยใด

(1) สุโขทัย

(2)ล้านนา

(3) อยุธยา

(4)       ต้นรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 295, (คำบรรยาย) สังคมสมัยล้านนามีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ว่า เมื่อพ่อแม่ตายไปให้จัดมรดกแก่ลูกที่แสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ได้มากกว่าคนอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อตอบแทนความดีและให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นด้วย ดังข้อความในกฎหมายมังรายศาสตร์ ของล้านนาที่ว่า ผิลูกหลานมีอยู่หลายคน ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ก็ให้มรดกมาก…

34.       เบื้องหัวนอน” ที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัย หมายถึงทิศใด

(1) ตะวันออก  (2)       ตะวันตก          (3) ทิศเหนือ     (4)       ทิศใต้

ตอบ 4 หน้า 589, (คำบรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวถึงทิศทั้ง 4 ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างจากปัจจุบัน กล่าวคือ เบื้องตีนนอน (ทิศเหนือ),เบื้องหัวนอน (ทิศใต้)เบื้องตะวันออก (ทิศตะวันออก) และเบื้องตะวันตก (ทิศตะวันตก)

35.       บริเวณเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย” ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนสมัยสุโขทัยนั้น ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำใด

(1) เจ้าพระยา  (2) ปิง  (3) ยม (4) น่าน

ตอบ 3 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) บริเวณเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่นํ้ายม ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง โดยมีศูนย์กลางของชุมชนเมื่อแรกตั้งอยู่ที่เมืองเก่า สุโขทัย บริเวณวัดพระพายหลวง หลังจากนั้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงย้ายศูนย์กลางของ ราชธานีมาอยู่ในตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน บริเวณวัดมหาธาตุ

36.       ศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้แก่วัดใด

(1) วัดพระพายหลวง   (2) วัดศรีสวาย (3) วัตศรีชุม     (4) วัดมหาธาตุ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37.       ด้วยเหตุใดทรัพย์สินของเจ้าขุนจะได้รับการตีราคาสูงกว่าทรัพย์สินของไพร่ในสมัยล้านนา

(1) เพี่อให้เจ้าขุนมีฐานะสูงกว่าไพร่     (2) เพื่อให้เจ้าขุนมีอำนาจเหนือไพร่

(3) เพื่อให้เจ้าขุนสามารถปกครองไพร่ได้         (4) เพื่อให้เจ้าขุนเป็นที่เคารพยำเกรงไม่ถูกลบหลู่ง่าย ๆ

ตอบ 4 หน้า 275, (คำบรรยาย) สิทธิประการหนึ่งของเจ้าขุนในสมัยล้านนา คือ ทรัพย์สินของเจ้าขุน จะได้รับการตีราคาไว้สูงกว่าทรัพย์สินของไพร่หรือสามัญชน ถึงแม้ว่าจะเป็นทรัพย์สินชนิดเดียวกัน ดังนั้นใครที่ไปลักขโมยของเจ้าขุนจึงต้องจ่ายค่าปรับมากกว่าขโมยของสามัญชน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ เจ้าขุนเป็นที่เคารพยำเกรงไม่ถูกลบหลู่ง่าย ๆ เจ้าขุนจะได้ทำงานสะดวกขึ้น

38.       พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร

(1) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง         (2) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ

(3) ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้  (4) มีกฎหมายบังคับให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม

ตอบ 3 หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุน ดังนี้

1.         ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และ พยายามตัดสินคดีความให้อย่างยุติธรรม 2. ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรม มิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)

39.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา

(1)       ทำให้รัฐได้ใช้แรงงานไพร่ได้เต็มที่       (2) ทำให้ไพร่ไม่ต้องเสียภาษี

(3) ทำให้ไพร่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

40.       มูลนายมีหน้าที่ต่อไพร่อย่างไร           

(1) เกณฑ์ไพร่ออกรบถ้ามีข้าศึก

(2)       ควบคุมไพร่ให้อยู่ในภูมิลำเนา           

(3) คุ้มครองไพร่ไม่ให้ถูกรังแก (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 273 หน้าที่สำคัญของมูลนายที่มีต่อไพร่ ได้แก่ 1. ควบคุมไพร่ให้อยู่ในภูมิลำเนา

2.         เกณฑ์ไพร่มาทำงานตามกำหนดเวลา 3. ควบคุมไพร่ให้อยู่ในกฎหมาย

4.         ควบคุมเรื่องการเก็บภาษีอากรจากไพร่           5. คุ้มครองไพร่ไม่ให้ถูกรังแก หรือไม่ให้ถูกข้าศึกกวาดต้อนเอาไป            6. เกณฑ์ไพร่ออกรบถ้ามีข้าศึก ฯลฯ

41.       ความเชื่อที่ว่ามีเทวดารักษาสถานที่หรือสิ่งของต่าง ๆ อยู่ เช่น เทวดาประจำเมือง เรียกว่า เสื้อเมือง” เทวดาประจำนา เรียกว่า เสื้อนา” เกิดขึ้นในสังคมใด

(1) สุโขทัย

(2) ล้านนา

(3) ธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์ตอนต้น

ตอบ 2 (คำบรรยาย) สังคมล้านนามีความเชื่อว่า มีเทวดารักษาสถานที่หรือสิ่งของต่าง ๆ อยู่เช่น เทวดาประจำเมือง เรียกว่า เสื้อเมืองเทวดาประจำบ้าน เรียกว่า เสื้อเรือน” และ เทวดาประจำนา เรียกว่า เสื้อนา” ฯลฯ โดยจะมีประเพณีสร้างศาลให้เป็นที่สิงสถิตของเทวดา และมีการบวงสรวงต่าง ๆ

42.       กฎหมายล้านนาที่กำหนดให้นายม้าหลีกทางให้นายช้าง แสดงถึงสิ่งใด

(1) ความสำนึกต่อส่วนรวม

(2) การปกครองแบบทหาร

(3)       ม้าตัวเล็กวิ่งเร็วกว่าช้าง

(4) ความสำนึกในฐานะสูงต่ำของบุคคล

ตอบ 4 หน้า 295, (คำบรรยาย) กฎหมายล้านนาได้กำหนดให้ผู้น้อยต้องหลีกทางให้แก่ผู้ใหญ่กว่าตน ซึ่งแสดงถึงความสำนึกในฐานะสูงต่ำของบุคคล ดังปรากฏในมังรายศาสตร์ตอนหนึ่งว่า มาตรา 1 ในการเดิน นั่ง หรือนอนก็ดี ให้นายม้าหลีกให้นายช้างผู้มียศสูงกว่าตน…

43.       เจ้านายในสมัยอยุธยามีหน้าที่อย่างไร

(1) เป็นเสนาบดี

(2) บังคับบัญชาไพร่สม

(3) บังคับบัญชาไพร่หลวง

(4) เป็นเจ้าเมืองในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ตอบ 2 หน้า 308 ในสมัยแรกของอยุธยา เจ้านายมีหน้าที่ปกครองเมือง ต่อมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีนโยบายไม่ให้เจ้านายออกไปปกครองเมืองอีก แต่ให้ปกครอง กรมย่อย ๆ ที่ไม่ใช่กรมใหญ่เทียบเท่ากระทรวงแทน เรียกว่า การทรงกรม” ทำให้เจ้านาย ได้บังคับบัญชากรมและได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนื่ง ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับศักดินาของเจ้านาย

44.       ยศขุนนางสูงสุดในสมัยอยุธยาคือ เจ้าพระยา” ถามว่ามีศักดินากี่ไร่

(1) 5,000ไร่     (2) 10,000ไร่   (3) 30,000ไร่   (4) 100,000ไร่

ตอบ 2 หน้า 319 – 320405, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ขุนนางจะมียศเจ้าพระยา เพิ่มเข้ามาเป็นยศสูงสุดของขุนนาง ซึ่งส่วนใหญ่จะดำรงตำแหน่งเอกอัครมหาเสนาบดี มีศักดินา 10,000 ไร่ ต่อมาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ขุนนางจะมียศเพิ่มขึ้นเป็นยศสูงสุด คือ สมเด็จเจ้าพระยา มีศักดินา 30,000 ไร่ ซึ่งถือเป็นยศของขุนนางที่มีศักดินาสูงสุด ในประวัติศาสตร์ไทย

45.       ข้อใดมิใช่คุณสมบัติในการถวายตัวเป็นขุนนาง

(1) วุฒิ 4         (2) พรหมวหาร 4         (3) อธิบดี 4     (4) คุณานุรูป

ตอบ 2 หน้า 316 คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยา มีอยู่ 9 ประการ ดังนี้

1.         วุฒิ 4 ประการ ได้แก่ ชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ และปัญญาวุฒิ

2.         อธิบดี 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาธิบดี วิริยาธิบดี จิตาธิบดี และวิมังสาธิบดี

3.         คุณานุรูป 1 ประการ หมายถึง เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะดี น่าไว้วางพระทัยแก่พระมหากษัตริย์ และน่าเคารพนับถือแก่ประชาชนทั่วไป

46.       การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร

(1) ใช้กำหนดบทลงโทษของบุคคล     (2) ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล

(3) ใช้กำหนดไพร่ในสังกัดของบุคคล  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 309359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคม และกำหนดระเบียบใบการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม

2.         เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัดของบุคคลที่เป็นมูลนาย      4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง

47.       กรมใดมีหน้าที่ดูแลชาวจีนในสมัยอยุธยา

(1) กรมท่าซ้าย            (2) กรมท่าขวา (3) กรมพระคลัง          (4) กรมลูกขุน

ตอบ 1 หน้า 151364504 ในสมัยอยุธยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลชาวต่างขาติ คือ กรมท่า ซึ่งขึ้นกับ กรมพระคลัง แบ่งออกเป็น 1. กรมท่าซ้าย มีหลวงโชฎึกราชเศรษฐีเป็นเจ้ากรม ทำหน้าที่ดูแลชาวจีน ญี่ปุ่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส และโปรตุเกส 2. กรมท่าขวา มีพระยาจุฬาราชมนตรี เป็นเจ้ากรม ทำหน้าที่ดูแลชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ชาวอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ เตอร์ก มลายู ฯลฯ

48.       เหตุใดเจ้านายในสมัยอยุธยาจึงได้ ทรงกรม

(1) เพื่อให้เจ้านายเป็นเจ้าเมือง           (2) เพื่อให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี

(3) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่หลวงจำนวนหนึ่ง (4) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

49.       ไพร่ในสมัยอยุธยาทำสิ่งใดไม่ได้

(1) ยกมรดกให้ลูกหลาน         (2) เดินทางย้ายถิ่นเสรี

(3) เข้าหาผลประโยขน์จากที่ดินที่หักร้างถางพงไว้ (4) ถูกทุกข้อ

อบ 2 หน้า 345350, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยอยุธยามีอยู่หลายประการ เช่น ไพร่มีสิทธิ ในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ และมีสิทธิเข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น รวมถึงมีสิทธิที่จะขาย หรือยกเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานได้ ฯลฯ แต่เมื่อไพร่ต้องอยู่ในระบบไพร่ ทำให้สิทธิบางอย่าง ของไพร่ถูกลิดรอนไป เช่น ไพร่ถูกควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหว จึงไม่สามารถเดินทางย้ายถิ่น อย่างเสรี และต้องมาให้แรงงานตามกำหนด ฯลฯ

50.       แต่เดิมผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางต้องเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี ครั้นสมัยรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็นว่ามาจากเชื้อสายไหนก็ได้ แต่ต้องมีความประพฤติดี มีความรู้ความสามารถ ก็เข้าถวายตัว เป็นขุนนางได้ ถามว่าเริ่มในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 1  (2) รัชกาลที่ 2  (3) รัชกาลที่ 3  (4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 1 หน้า 316408, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การถวายตัวเป็นขุนนางให้มาจากเชื้อสายไหนก็ได้ โดยไม่มีข้อขีดคั่นเรื่องชาติวุฒิ คือ ต้องเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก อัครมหาเสนาบดี เหมือนดังเช่นในสมัยอยุธยาอีก ทำให้ไพร่หรือสามัญชนที่มีความประพฤติดี มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสเข้าถวายตัวเป็นขุนนางได้ แต่ไพร่ก็เข้ามาสู่ระบบขุนนางได้ยาก เพราะลูกหลานของขุนนางก็มักจะได้เป็นขุนนางต่อมานั่นเอง

51.       ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

(1) ขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์

(2) ขุนนางตระกูลบุนบาคหมดบทบาทไป

(3) ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากเจ้าภาษีเลย

(4) ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก

ตอบ 1 หน้า 400 – 404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่

1.         ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์

2.         ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น

3.         คณะเสนานดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์

4.         ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร

5.         ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ

52.       การยกเลิกตำแหน่งวังหน้า โดยแต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชอยู่ในตำแหน่งรัชทายาท เริ่มเกิดขึ้นในรัชกาลใด

(1)       รัชกาลที่ 3

(2) รัชกาลที่ 4

(3) รัชกาลที่ 5

(4) รัชกาลที่ 6

ตอบ 3 หน้า 395, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5ได้โปรดให้มีการยกเลิกตำแหน่งวังหน้าโดยสถาปนาตำแหน่งองค์รัชทายาทหรือตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชขึ้นมาแทนที่ ทำให้การสืบราชสมบัติของไทยถูกกำหนดเป็นแบบแผนตามกฎหมาย และมีกฎเกณฑ์ ที่แน่นอนในการสืบสันตติวงศ์

53.       ยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทย คือ ยศ สมเด็จเจ้าพระยา” ถามว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใด ในประวัติศาสตร์ที่ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

(1) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ

(2) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์

(3) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ

(4) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

ตอบ 4 หน้า 405, (คำบรรยาย) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จเจ้าพระยาองศ์ที่ 4 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยตามประวัติท่านผู้นี้ เป็นบุตรชายชองสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส บุนนาค หรือสมเด็จองค์ใหญ่)ต่อมาได้รับราชการเป็นสมุหกลาโหมใบสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 5

54.       ทาสในสังคมไทยถูกยกเลิกไปในรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้ทรงใช้เวลากว่ากี่ปี จึงดำเนินการเลิกทาสได้แล้วเสร็จ โดยไม่เสียเลือดเนื้อ

(1) 10 ปี          (2) 20 ปี          (3) 30 ปี          (4) 40 ปี

ตอบ 3 หน้า 433, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินการเลิกทาสจนสำเร็จ โดยพระองค์ ทรงใช้นโยบายทางสายกลาง คือ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้นตอน มิใช่รวบรัดเลิกทาสทั้งหมด ในคราวเดียวกัน รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้อย่างเด็ดขาด โดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา

55.       เฉกอะหมัด กุมมี (Sheikh Ahmad Gomi) ต้นตระกูล บุนนาค” เข้ามาในไทยในปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ถามว่าเป็นชาวอะไร

(1) อินเดีย       (2) เปอร์เซีย    (3) กรีก            (4) ชวา

ตอบ 2 หน้า 368, (คำบรรยาย) เฉกอะหมัด กุมมี (Sheikh Ahmad Gomi) เป็นชาวเปอร์เซียที่มาจากอิหร่าน และเป็นต้นตระกูล บุนนาค” ได้เข้ามาในประเทศไทยช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร และเข้ารับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเป็น พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี” เจ้ากรมท่าขวา ต่อมาได้เลือนยศเป็นถึง เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี” ในตำแหน่งสมุหนายก

56.       อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้คนจีนที่เรียกว่า พวกอั้งยี่ ลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทย

(1) มีพวกมาก  (2) มีฐานะทางการเงินดี

(3) เป็นคนในบังคับต่างชาติ   (4) มีขุนนางหนุนหลัง

ตอบ 3 หน้า 439 ในสมัยรัชกาลที่ 5 สมาคมลับของชาวจีนหรืออั้งยี่ได้เกิดขึ้นหลายกลุ่ม และมีกิจกรรม หลายด้านที่ทำผิดกฎหมายไทย แต่พวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้ เพราะคนจีนจำนวนมากได้ไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะอังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อมีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น

57.       การไหว้แบบไทยโดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก ผู้หญิงให้ย่อเข่าลงให้ต่ำ โดยถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับประนมมือไหว้ ถามว่าลักษณะการไหว้ดังกล่าวเป็นการไหว้ผู้ใด

(1) ไหว้พระ      (2) ไหว้ผู้อาวุโส            (3) ไหว้คนทั่วไป           (4) ไหว้เจ้านาย

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้วปลายนิ้วชี้จรดตีนผมหรือจรดส่วนบนของหน้าผาก ผู้ชายให้ค้อมตัวลงและประนมมือไหว้ ส่วนผู้หญิงให้ย่อเข่าลงให้ต่ำ โดยถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับประนมมือไหว้

58.       เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ฝรั่งคนหนึ่งชื่อ นิโกลส์ แชรแวส เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่าอาขีพที่อัตคัดที่สุดในราชอาณาจักรสยาม คือ อาชีพ

(1) ช่างตัดเสื้อ (2) ช่างตัดผม  (3) ช่างทอง ,  (4)       ช่างไม้

ตอบ 1 (คำบรรยาย) นิโกลาส์ แชรแวส เป็นชาวฝรั่งเศสที่ติดตามคณะทูตเข้ามาในไทยเมื่อ พ.ศ. 2228 หรือตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โดยเขาได้เขียนหนังสือมีชื่อไทยว่า ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม” ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า อาชีพที่อัตคัดที่สุด ในราชอาณาจักรสยาม คือ อาชีพช่างตัดเสื้อ เพราะพลเมืองสามัญเขาไม่สวมเสื้อกัน…

59.       ในรัชกาลใดที่โปรดให้ขุนนางสวมเสื้อเข้าเฝ้า

(1) รัชกาลที่ 3  (2) รัชกาลที่ 4  (3) รัชกาลที่ 5  (4)รัชกาลที่6

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2395 รัชกาลที่ 4 ทรงสั่งให้ยกเลิกการเข้าเฝ้าแบบตัวเปล่าไม่สวมเสื้อ ตามแบบราชประเพณีโบราณ โดยพระองค์มีพระราชดำรัสให้เจ้านายและขุนนางสวมเสื้อ เวลาเข้าเฝ้าเป็นครั้งแรก ตามแบบอารยธรรมตะวันตก

60.       รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ 5 โดยถือเอาปีตั้งกรุงเทพมหานครฯ เป็นร.ศ. 1 แต่ศักราชดังกล่าวถูกยกเลิกไปในรัชกาลที่ 6 ถามว่าถ้า ร.ศ. ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2556)จะตรงกับ ร.ศ. ใด

(1) ร.ศ. 230    (2) ร.ศ. 231    (3) ร.ศ. 232    (4) ร.ศ. 233

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราช โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพมหานครฯ พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 ดังนั้นรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จึงเกิดภายหลัง พุทธศักราช (พ.ศ.) 2,324 ปี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยกเลิกศักราชดังกล่าว และเปลี่ยนให้ ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เพียงอย่างเดียวมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นหาก ร.ศ. ยังคงใช้อยู่ พ.ศ. 2556 จะตรงกับ ร.ศ. 232 (2556 – 2324 = 232) *ดูพจนาบุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า 943

61.       ระบบเศรษฐกิจไทยปัจจุบันสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด

(1) การเกษตร

(2) อุตสาหกรรม

(3) การค้าส่งออก

(4) เศรษฐกิจยังชีพ

ตอบ 3 หน้า 469 – 471558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้ 1. เริ่มต้นมาจาก เศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน 2. เศรษฐกิจ แบบตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ

3.         เศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา        4. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบการผลิตเพื่อการค้าส่งออกในปัจจุบัน

62.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการกสิกรรมสมัยสุโขทัย

(1) พื้นที่เพาะปลูกด้านเกษตรมีจำนวนมาก

(2) พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด

(3) มีนํ้าพอเพียงต่อการทำเกษตรกรรม

(4) ข้าวเป็นสินค้าออกสำคัญ

ตอบ 2 หน้า 473 – 474 การกสิกรรมในสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผล ที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงาบชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็น เหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา

63.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานสมัยสุโขทัย

(1) ท่อปู่พระญาร่วง

(2) ตริภังค์

(3) สรีดภงส์

(4) ตระพัง

ตอบ 2 หน้า 474 ผู้ปกครองสุโขทัยได้ช่วยเหลือด้านระบบชลประทาน ดังนี้

1.         การสร้างสรีดภงส์ คือ เขื่อนเก็บกักนํ้า ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักนํ้าไว้ภายในหุบเขา

2.         การขุดสระที่เรียกว่า ตระพัง” 3. แห่ง คือ ตระพังทอง ตระพังเงิน และตระพังสอ

3.         การสร้างเหมืองฝาย ดังหลักฐานที่กล่าวถึงการพบท่อระบายนํ้าเพื่อนำนํ้าเข้านาที่มีชื่อว่า ท่อปู่พระญาร่วง

64.       การบริโภคข้าวในสมัยสุโขทัย ข้อใดถูกต้อง

(1) อยุธยาซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด            (2) จีนซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด

(3) ลังกาซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด  (4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

65.       ข้อใดคือลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

(1) การตลาด   . (2) การค้าเสรี            (3) ยังชีพ         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 287480 ลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นแบบการค้าเสรี โดยผู้ปกครองได้ส่งเสริม ให้ราษฎรสามารถค้าขายสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างเสรีตามความต้องการ ดังข้อความในศิลาจารึก ที่ว่า ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า…

66.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

(1) มีธนบัตรใช้ในการแลกเปลี่ยน       (2) ใช้ระบบทองคำในการแลกเปลี่ยน

(3) ใช้เงินในการซื้อขายสินค้า (4) ยังไม่มีระบบเงินตรา

ตอบ 3 หน้า 482 ในสมัยสุโขทัย เงินตราที่ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนในการซื้อขายสินค้า มีดังนี้

1.         เงินพดด้วง ซึ่งสันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น โดยนำแร่เงินมาจาก ต่างประเทศ แล้วเอามาหล่อหลอมทำเป็นเงินตรา 2. เบี้ย (เปลือกหอย) นำมาจาก ชาวต่างประเทศที่เที่ยวเสาะหาตามชายทะเลแล้วเอามาขายในเมืองไทย

67.       ปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพของคนสมัยอยุธยา คือข้อใด

(1) ที่ดิน           (2) สินทรัพย์    (3) เงินทุน        (4) ตลาด

ตอบ 1 หน้า 487 – 488 ปัจจัยพี้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพของคนสมัยอยุธยา ได้แก่

1.         กรรมสิทธิ์ที่ดิน 2. แรงงานไพร่และทาส

68.       ราษฎรที่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินต้องปฏิบัติอย่างไร

(1) ให้เข้าไปใช้ที่ดินได้ทันที     (2) แจ้งเรื่องต่อกษัตริย์

(3) แจ้งเรื่องต่อผู้ใหญ่บ้าน      (4) แจ้งเรื่องต่อกรมนาเจ้าสัด

ตอบ4 หน้า 488 – 489 การจับจองที่ดินทำนาในสมัยอยุธยานั้น ราษฎรที่ต้องการใช้ประโยชน์จาก ที่ดินต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการ คือ ผู้ใดปรารถนาที่จะ โก่นซ่าง เลิกรั้ง ทำนา” จะต้อง ไปแจ้งเรื่องแก่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ซึ่งได้แก่ กรมนาเจ้าสัด เพื่อไปตรวจสอบว่ามีนามากน้อยเพียงใด

69.       ข้อใดไม่ใช่นโยบายของผู้ปกครองที่สนับสนุนการทำนาในสมัยอยุธยา

(1) ขยายพื้นที่การทำนา          (2) การป้องกันภัยที่จะเกิดกับต้นข้าว เช่น การออกกฎหมาย

(3) มีพิธีกรรมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ (4) รับประกันราคาข้าว

ตอบ 4 หน้า 489 – 491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ดังนี้

1.         ขยายพื้นที่ทำนาเพาะปลูก

2.         คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยมีกฎหมายลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง

3.         ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ

4.         ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก        5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท

6.         การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด

70.       พืชไร่พืชสวนชนิดใดที่กฎหมายสมัยอยุธยาระบุให้ความคุ้มครองมากที่สุด

(1) มะม่วงมหาชนก     (2) ทุเรียน        (3) แก้วมังกร   (4) หมาก

ตอบ 2 หน้า 493, (คำบรรยาย) ทุเรียน เป็นพืชมีผลที่กฎหมายสมัยอยุธยาให้ความคุ้มครองมากที่สุด และถือว่ามีคุณค่าทางกฎหมายสูงกว่าพืชมีผลชนิดอื่น ๆ เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดค่าปรับแก่ ผู้ที่ลักตัดต้นทุเรียนไว้ด้วยอัตราที่สูงที่สุด คือ ถ้าลักตัดต้นใหญ่มีผล ปรับต้นละ 200,000 เบี้ย และถ้าลักตัดต้นใหญ่แต่โกร๋น ปรับต้นละ 100,000 เบี้ย เป็นต้น

71.       เกี่ยวกับ สัตว์มีคุณ” ข้อใดผิด

(1) ได้แก่ นกยูง ช้าง ม้า ควาย

(2) ตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้

(3) ซื้อขายได้

(4) กฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย

ตอบ 1 หน้า 493 – 494, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา สัตว์ที่มีความสำคัญจนถึงกับระบุไว้ใน กฎหมายว่าเป็น สัตว์มีคุณ” ได้แก่ ช้าง ม้า โค และกระบือ ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้

1.         มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์มีคุณหลายมาตรา และมีกฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย

2.         ค่าตัวของสัตว์มีคุณตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้

3.         นิยมเลี้ยงโคและกระบือตัวผู้ไว้ไถนา ส่วนแม่โคนั้นสามารถซื้อขายได้ ฯล

72.       ข้อใดกล่าวถึง การจับสัตว์นํ้า” ในสมัยอยุธยาได้ถูกต้องที่สุด

(1) สามารถจับได้ตลอดทั้งปี เพราะมีแหล่งนํ้ามาก

(2) ห้ามจับในวันเฉลิมพระชนม์ฯ

(3) ห้ามจับในวันพระ

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 3 หน้า 494 – 495 การจับสัตว์นํ้าในสมัยอยุธยา ได้มีประกาศของทางการที่กำหนดวันและเวลาที่ห้ามจับปลา แต่ก็เป็นนโยบายของกษัตริย์บางรัชกาล หาได้ยึดเป็นหลักปฎิษัติทุกรัชกาลไม่ เช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีประกาศห้ามทำประมงในวันพระ 8ค่ำ และ 15ค่ำ ทั้งในเขตเมืองและนอกเขต

73.       พระคลังสินค้า” ไม่ได้ทำหน้าที่ใด

(1) รวบรวมสินค้าที่หายากและมีน้อยทั้งหมด

(2) ดำเนินการค้าผูกขาด

(3) กำหนดประเภทของสินค้าต้องห้าม

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 504 – 505 ในระยะที่อยุธยามีชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายกับไทย ทำให้ทางราชการไทย ต้องตั้ง กรมพระคลังสินค้า” ซึ่งขึ้นกับกรมพระคลัง เพื่อทำหน้าที่ดังนี้ 1. ดำเนินการค้า แบบผูกขาด  2. รวบรวมสินค้าพื้นเมืองที่หายากและมีน้อยทั้งหมด       3. กำหนดประเภทของสินค้าต้องห้าม ซึ่งต้องซื้อขายกับกรมพระคลังสินค้าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ฯลฯ

74.       การอนุญาตให้ไพร่กลับไปทำนาเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2  (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 518 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีดังนี้

1. ทรงส่งเสริมแรงงานในการทำนา โดยอนุญาตให้ไพร่หลวงขณะมารับราชการลากลับบ้าน ไปทำนาของตนในหน้านาได้        2. ทรงเปิดให้ขายข้าวออกนอกประเทศ เพื่อช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีกว่าแต่ก่อน 3. ทรงแนะนำพันธุ์ข้าวที่จะทำรายได้ให้กับชาวนา 4.ทรงขจัดอุปสรรคเรื่องนํ้าและแก้ปัญหาคดีความต่าง ๆ ที่จะขัดขวางการทำนา

5.         ทรงยินดีรับความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการของชาวตะวันตก

75.       ข้อใดไม่ใช่นโยบายส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 5

(1) การอนุญาตให้ไพร่กลับไปทำนา    (2) ขุดคลองขยายพื้นที่เพาะปลูก

(3) จัดหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ (4) นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใข้ในการปลูกข้าว

ตอบ 1 หน้า 519 – 521 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         การขุดคลองขยายพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้มากขึ้น

2.         การจัดหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ 3. การจัดหาเครื่องมือทำนาที่ทันสมัย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการปลูกข้าว          (ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ)

76.       คลองใดไม่ได้ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5

(1) คลองรังสิต            (2) คลองแสนแสบ      (3) คลองประเวศบุรีรมย์ (4) คลองทวีวัฒนา

ตอบ 2 หน้า 519 – 520, (คำบรรยาย) การขุดคลองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีทั้งที่รัฐบาลขุดเอง เช่น คลองนครเนื่องเขตร์ (พ.ศ. 2419) คลองประเวคบุรีรมย์และคลองทวีวัฒนา (พ.ศ. 2421) ฯลฯ และคลองที่พระราชทานพระบรมราชาบุญาตให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามขุด เช่น คลองรังสิตประยูรศกดิ์(พ.ศ. 2433) ฯลฯ รวมทั้งคลองที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เอกชนขุดเป็นราย ๆ ไป เช่น คลองหลวงแพ่ง (พ.ศ. 2431) คลองบางพลีใหญ่ (พ.ศ. 2441) ฯลฯ

77.       องค์กรหรือหน่วยงานใดมีบทบาทในการขุดคลองสมัยรัชกาลที่ 5      

(1) กรมพระคลังข้างที่

(2)       บริษัทคูโบต้า   (3) บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม         (4) บริษัทขุดคลองสยาม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78.       ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำนาสมัยรัชกาลที่ 6

(1)       ขยายการถือครองที่ดินกว้างขวางขึ้น  (2) ให้ชายฉกรรจ์ไม่ต้องรับราชการทหาร

(3)       ออก พ.ร.บ. ชั่งตวงวัด  (4) ใช้ระบบชักกันโฮในการชั่งตวงวัด

ตอบ 4 หน้า 521 – 522 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้

1.         ขยายการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่มณฑลภาคใต้

2.         แก้ปัญหาแรงงาน โดยให้ชายฉกรรจ์อายุ 25 – 30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร

3.         แก้ปัญหาพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบในเรื่องความไม่เที่ยงตรงของเครื่องชั่งตวงวัดโดยการออก พ.ร.บ. ชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 และให้ใช้มาตราเมตริกซ์แบบสากลแทน ฯลฯ

79.       พืชที่ส่งออกมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือพืชชนิดใด

(1) ข้าว            (2) หมาก         (3) อ้อย           (4) พริกไทย

ตอบ 3 หน้า 523 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อ้อยเป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุด และผู้ปกครองก็ให้ การสนับสนุนมากที่สุด เพราะนํ้าตาลที่ทำจากอ้อยได้ทำกำไรงามให้กับประเทศ จนได้ชื่อว่า เป็นพืชส่งออกมากที่สุดและเป็นสินค้าออกอันดับ 1 ของไทย ดังปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 3 และต้นรัชกาลที่ 4 ไทยส่งนํ้าตาลออกเฉลี่ยปีละ 50,000 – 90,000 หาบ

80.       ตลาดค้าโคที่สำคัญของสยาม คือข้อใด

(1) จีน  (2) ญี่ปุ่น         (3) อินเดีย       (4) สิงคโปร์

ตอบ 4 หน้า 526 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการส่งโคกระบือไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งตลาดสินค้าโค ที่สำคัญ คือ สิงคโปร์โดยมีการส่งโคกระบือเป็นสินค้าออกใน ร.ศ. 116 เป็นจำนวน 4,891 ตัว และใน ร.ศ. 117 ส่งไปขายมากกว่าคือ 14,310 ตัว

81.       วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์ เริ่มจากความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) การนับถือเทพเจ้าองค์เดียว

(2) การนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ

(3) การนับถือธรรมชาติ

(4) การนับถือเทพเจ้าหลายองค์

ตอบ 3 หน้า 570 – 571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. การบูชานับถือธรรมชาติ      2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม

3.         การบูชาบรรพบุรุษ       4. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์

5.         การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของเทพเจ้าแต่ละองค์ให้ต่างกัน

6.         การนับถือพระเจ้าองค์เดียว    7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทธศาสนาเป็นศสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก

82.       เหตุใดลัทธิมหายานในอินเดียจึงรุ่งเรือง

(1) ลัทธิเถรวาทเสื่อมไปจากอินเดีย

(2) ได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้ากนิษกะ

(3) หลักคำสอนคล้ายกับลัทธิเถรวาท

(4) ได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศก

ตอบ 2 หน้า 576 ระพุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญรุ่งเรืองในอินเดีย และมีศาสนิกชนเพิ่มขึ้น เป็นลำดับ เนื่องจากได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์อินเดียแห่งราชวงศ์กุษาณะที่ทรงเลื่อมใสลัทธิมหายาน และโปรดให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยโดยใช้ภาษา สันสกฤตจารึกพระไตรปิฎก ส่งผลให้พระพุทธศาสนามีพระไตรปิฎก 2 ฉบับ คือ 1. ฉบับภาษามคธของฝ่ายหินยาน 2. ฉบับภาษาสันสกฤตชองฝ่ายมหายาน

83.       เหตุใดพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา

(1) เพราะการเดินทางสะดวก

(2) เพราะลังกาเป็นศูนย์กลางของลัทธิมหายาน

(3) กษัตริย์ลังกาบำรุงพุทธศาลนาจนรุ่งเรือง

(4) กษัตริย์ลังกาส่งทูตมาเชิญพระสงฆ์ไทย

ตอบ 3 หน้า 581 – 582 ในพุทธศตวรรษที่ 17 พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช กษัตริย์ลังกาทรงทำสังคายนาครั้งที่ 7 เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์รุ่งเรือง ส่งผลให้พระสงฆ์ไทย สมัยสุโขทัย มอญ และเขมรต่างพากับเดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยตามลัทธิเถรวาทอย่าง ลังกาวงศ์ที่ลังกาอย่างแพร่หลาย

84.       วัดป่ามะม่วงเป็นวัดที่สร้างในเขตใด

(1) พาราณสี    (2) อัมพวนาราม          (3) คามวาสี     (4) อรัญญวาสี

ตอบ 4 หน้า 585 การสร้างวัดในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยส่วนใหญ่เป็นวัดเล็ก และแบ่ง การสร้างออกเป็น 2 เขต คือ       1. เขตคามวาสี คือ วัดที่สร้างอยู่ในหมู่บ้านหรือในเมือง

2. เขตอรัญญวาสี คือ วัดที่ปลูกสร้างไว้ในป่า เช่น วัดป่ามะม่วง วัดอรัญญิก เป็นต้น

85.       ลัทธิมหายานเจริญอยู่ในสุโขทัย เห็นได้จากอะไร

(1) ลัทธิเถรวาทหมดสิ้นไปจากสุโขทัย            (2) พุทธเจดีย์ต่าง ๆ สร้างตามคติมหายาน

(3) ใช้ภาษาสันสกฤตในพระธรรม       (4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 576581, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนลัทธิมหายานคงจะเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลาย และเจริญอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งของสมัยสุโขทัย ทั้งนี้เพราะพุทธเจดีย์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น สร้างตามคติมหายานแทบทั้งสิ้น และพระธรรมก็ใช้อรรถภาษาสันสกฤตจนแพร่หลาย

86.       สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระอุบาลิกับพระอริยมุนีไปลังกาเพื่ออะไร

(1) สร้างวัดไทยในลังกา          (2) อัญเชิญพระศรีรัตนมหาธาตุจากลังกา

(3) ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวลังกา       (4) ไปรับพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกที่อยุธยา

ตอบ 3 หน้า 595 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้าเกียรติคิริราชสิงหะแห่งลังกาทรงเห็นว่าพระพุทธศาสนาลังกาสิ้นสมณวงษ์ จึงทรงแต่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์เข้ามาเฝ้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพื่อทูลขอพระมหาเถระกับคณะสงฆ์ไทย คือ พระอุบาลีกับ พระอริยมุนีและพระสงฆ์อีก 12 รูป เดินทางไปยังประเทศลังกา เพื่อไปให้การบรรพชาอุปสมบท แก่ชาวสิงหล (ลังกา)

87.       การสร้างวัดอนุสาวริย์มีจุดมุ่งหมายอะไร

(1) เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของวงศ์ตระกูล (2) เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

(3) เป็นที่บรรจุทั้งพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุ       (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 587, (คำบรรยาย) ในสมัยสุโขทัยได้มีการสร้างวัดอนุสาวรีย์ขึ้นมากมาย ทั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงฃนาดใหญ่ตามกำลังของผู้สร้าง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นที่บรรจุอัฐธาตุของวงศ์ตระกูล ดังจะเห็นได้จากวัดในเขตเมืองสวรรคโลกที่ปรากฏว่ามีวัดอนุสาวรีย์อยู่หลายวัด

88.       กษัตริย์ที่ทรงออกผนวชขณะครองราชย์ คือข้อใด

(1) พระมหาธรรมราชาลิไทย   (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ        (4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 4 หน้า 584. 594 พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จออกผนวช เป็นพระภิกษุขณะครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1905 ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็น กษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 2 ที่ออกผนวชขณะครองราชย์ โดยทรงประกอบพระราชพิธีอุปสมบท ณ วัดจุฬามณี เมื่อ พ.ศ. 2008

89.       กษัตริย์องค์ใดทรงตรา กฎหมายพระสงฆ์” เป็นองค์แรก

(1) รัชกาลที่ 1  (2)       รัชกาลที่ 2       (3) รัชกาลที่ 3  (4)       รัชกาลที่ 4

ตอบ 1 หน้า 185 – 186598 รัชกาลที่ 1 ทรงตรากฎหมายสำหรับพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เพื่อใช้บังคับลงโทษพระภิกษุสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรที่ไม่ประพฤติ อยู่ในพระธรรมวินัยอันดี เนื่องจากในระยะนั้นมีพระสงฆ์จำนวนไม่น้อยที่มีความประพฤติ เสื่อมเสียต่าง ๆ จึงทรงประณามพระสงฆ์เหล่านั้นว่าเป็น มหาโจรปล้นทำลายพระศาสนา

90.       รัชกาลที่ 2 ทรงพื้นฟูการประกอบพิธีใดเป็นครั้งแรก

(1) พิธีฉัตรมงคล         (2)       พิธีวิสาขบูชา   (3) พิธีมาฆบูชา           (4)       พิธีอาสาฬหบูชา

ตอบ 2 หน้า 599 – 600 รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ดังนี้ 1. การปฏิสังขรณ์วัด       2. การปฏิรูปการสอบพระปริยัติธรรม

3.         การสร้างพระไตรปิฎกฉบับรดนํ้าแดง 4. การส่งสมณทูตไปลังกา

5.         การพื้นฟูการประกอบพิธีวิสาขบูชาเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์

6.         การเรียบเรียงหนังสือโอวาทานุศาสนี

91.       ข้อใดไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความเป็นธรรมราชาของรัชกาลที่ 3

(1) การแจกหรือขายข้าวในราคาต่ำ

(2) กรสร้างและบำรุงวัด

(3) การเก็บภาษีในท้องที่ข้าวยากหมากแพง

(4) การสร้างเก๋งโรงทานเพื่อแจกทาน

ตอบ 3 หน้า 95601 ในสมัยรัชกาลที่ 3 กษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมราชา คือ การที่ผู้นำทำนุบำรุง ศาสนาและสมณชีพราหมณ์ รักษาศีล อบรมสั่งสอนศีลธรรมให้แก่ประชาชน และเอาใจใส่ ทำนุบำรุงประชาชนมิให้มีการกดขี่ข่มเหงจนได้รับความเดือดร้อน ซึ่งปรากฎหลักฐานหลายแห่ง เช่น การสร้างและบำรุงวัด การสร้างเก๋งโรงทานเพื่อแจกทาน การงดเก็บภาษีจากราษฎร ในท้องที่ข้าวยากหมากแพง และการแจกจ่ายหรือจำหน่ายข้าวในราคาตํ่า

92.       ทรงมีคุณลักษณะเหมาะสมในการเป็นผู้นำปฏิรูปพระศาสนา” หมายถึงใคร

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 2

(3) รัชกาลที่ 3

(4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 4 หน้า 602 – 603 เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมา)ทรงมีคุณลักษณะเหมาะสม หลายประการในการเป็นผู้นำปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ทรงเป็นเจ้านายที่มี ความฉลาดรอบรู้ ได้ทรงศึกษาภาษาลาติน ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังทรงรอบรู้ เกี่ยวกับศาสนาคริสต์เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะทรงเป็นเจ้านาย จึงทรงมั่นพระทัยว่าจะได้รับ การสนับสบุนในงานปฏิรูปยิ่งกว่าผู้ใด

93.       ตามพระราชบัญญัติ ร.ศ. 121 กำหนดให้ใครเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์เรื่องศาสนา

(1) สมเด็จพระสังฆราช

(2) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ

(3) มหาเถรสมาคม

(4) เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติ

ตอบ 3 หน้า 606 พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 4 ได้รวมตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ทั้ง4และพระราชาคณะเจ้าคณะรองทั้ง 4ให้เป็น มหาเถรสมาคม” ที่กษัตริย์ ทรงปรึกษาในการพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ทั่วไป โดยพระเถระทั้ง 8 ตำแหน่งนี้ จะประชุมกันเป็นมหาเถรสมาคมพิจารณาตัดสินการพระศาสนาถือเป็นเด็ดขาด

94.       การเกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เป็นเพราะคนไม่รู้จักใช้หลักอะไร

(1) สมชีวิตา     (2)       อารักขสัมปทา (3)       อุฏฐานสัมปทา            (4) นิรามิสสุข

ตอบ 1 หน้า 622 – 623 หลักสมชีวิต 1 คือ การเลี้ยงชีพให้พอดีแก่กำลังทรัพย์ ไม่ให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้ใช้จ่ายตามควรแก่กำลัง ซึ่งตรงกับหลักเศรษฐกิจเรื่องบริโภคกรรม (Consumption) ที่ว่า ถ้ามีการบริโภคน้อยเกินไปก็จะเกิดภาวะเงินฝืด สินค้าขายไม่ได้ แต่ถ้ามีการบริโภค มากเกินไปก็อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง ประชาชนเดือดร้อน

95.       สังฆสภา” ของคณะสงฆ์เทียบได้กับหน่วยงานใดของคณะรัฐบาล

(1) สภาผู้แทนราษฎร  (2)       คณะรัฐมนตรี  (3)       นายกรัฐมนตรี (4) ฝ่ายตุลาการ

ตอบ 1 หน้า 617 เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างของคณะสงฆ์และคณะรัฐบาลตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 จะประกอบด้วย   1. สมเด็จพระสังฆราช เทียบได้กับนายกรัฐมนตรี

2. สังฆสภา เทียบได้กับสภาผู้แทนราษฎร 3. คณะวินัยธร เทียบได้กับฝ่ายตุลาการ

4.         สังฆมนตรี เทียบได้กับคณะรัฐมนตรี

96.       ประเพณีใดสะท้อนคติความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาของคนไทย

(1) แห่นางแมว            (2)       บุญบั้งไฟ         (3) การสร้างศาลพระภูมิ         (4)       ถกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 640653, (คำบรรยาย) ความเชื่อถือเดิมของคนไทยเกี่ยวกับผีสางเทวดาได้มีอิทธิพล ต่อประเพณีบางอย่าง เช่น แห่นางแมว และบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝนจากผีสางเทวดา ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์จะได้อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ประเพณีการสร้างศาลพระภูมิ เมื่อปลูกเรือนใหม่ก็สะท้อนถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และผีสางเทวดาควบคู่กัน

97.       ประเพณีที่มีระเบียบแบบแผน เรียกว่าอะไร

(1) จารีตประเพณี       (2)       วิถีประชาชน    (3) ขนบประเพณี        (4)ธรรมเนียมประเพณี

ตอบ 3 หน้า 653 – 654 ประเพณีโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1.         จารีตประเพณี หมายถึง ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม ซึ่งมีค่าแก่สังคมโดยส่วนรวม

2.         ขนบประเพณี หรือระเบียบประเพณี หมายถึง ประเพณีที่มีระเบียบแบบแผน ซึ่งอาจจะ

กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้

3. ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่มีผิดถูกดีชั่ว และไม่มีระเบียบแบบแผน หรือเป็นประเพณีที่มีผู้กำหนดขึ้น และเป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น การพูดจา มารยาทในสังคม การแสดงความเคารพ ฯลฯ

98.       ข้อห้ามที่ว่า เผาผีวันศุกร์ ตัดจุกวันอังคาร แต่งงานวันพฤหัสบดี” ตรงกับข้อใด

(1) ความเชื่อตามประเพณี      (2) ความเชื่อเพราะเคยชิน

(3) ความเชื่อที่ล้าสมัย (4) ความเชื่อที่มีเหตุผล

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ความเชื่อบางอย่างนั้นในบางครั้งก็หาเหตุผลไม่ได้ แต่เป็นความเชื่อกันมาตาม ประเพณี เช่น คำพูดติดปากบทหนึ่งซึ่งเป็นข้อห้ามไม่ให้ทำคือ เผาผีวันศุกร์ ตัดจุกวันอังคาร แต่งงานวันพฤหัสบดี

99.       ประเพณีใดสะท้อนอิทธิพลตะวันตก 

(1) การทำบุญวันขึ้นปีใหม่

(2)       วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม (3) วันสงกรานต์ (4) การทอดกฐิน

ตอบ 2 หน้า 653655662 การที่คนไทยมีการติดต่อสมาคมกับชนชาติอื่น ๆ อยู่เป็นประจำ ทำให้ประเพณีไทยมีอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมกลมกลืนอยู่ไม่น้อย เช่น ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ตามหลักสากลนิยม การเป่าเทียนและ ตัดขนมเค้กในวันเกิด การส่งการ์ดอวยพร ฯล

100.    ประเพณีใดเกี่ยวข้องกับศีลธรรม

(1) จารีตประเพณี       (2) วิถีประชาชน          (3) ขนบประเพณี        (4) ธรรมเนียมประเพณี

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ

101.    ข้อใดไม่ตรงกับศิลปกรรมแบบทวารวดี

(1) ศาลนสถานทรงปราสาทยอด

(2) พระพุทธรูปมักสลักจากศิลา

(3)       พุทธศิลประยะแรกแสดงการรับอิทธิพลศิลปะคุปตะ

(4) นิยมสร้างภาพสลักเกี่ยวกับพุทธประวัติ

ตอบ 1 หน้า 686 – 689710715 สถาปัตยกรรมแบบทวารวดีมีอยู่น้อยมาก เพราะได้เสื่อมชำรุดไปตามเวลาที่ผ่านไปกว่าพันปี เหลือแต่ซากฐานที่ก่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง โดยสถาปัตยกรรม ที่เหลืออยู่ ได้แก่ วัดถํ้า ซึ่งเป็นการดัดแปลงถ้ำธรรมชาติให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา (ส่วนศาสนสถานทรงปราสาทยอดมักพบในศิลปะสมัยสุโขทัย และสมัยล้านนาหรือเชียงแสน ในขณะที่ตัวเลือกข้ออื่นเป็นศิลปกรรมแบบทวารวดีทั้งหมด)

102.    สิ่งใดใช้ในการศึกษาลักษณะศิลปะแบบช่างคุปตะในศิลาสลักรูปธรรมจักร

(1) ขนาดของวงธรรมจักร

(2) ลวดลาย

(3) เรื่องพระพุทธประวัติ

(4) การจารึกคาถา เย ธัมมา

ตอบ 2 หน้า 689, (คำบรรยาย) ศิลาสลักรูปธรรมจักรที่พบในศิลปะสมัยทวารวดี จะมีลวดลายเครื่องประดับ คล้ายคลึงกับฝีมือของช่างคุปตะ จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าศิลาสลักรูปธรรมจักรเหล่านี้คงจะเป็น ฝีมือของช่างทวารวดีทีทำขึ้น เพื่อเลียนแบบวัตถุที่สมณทูตครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชนำเข้ามา

103.    บริเวณใดค้นพบเทวรูปศิลาศิลปะร่วมสมัยกับทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 14

(1) เชียงแสน

(2) ปราจีนบุรี

(3)       สิงห์บุรี

(4) สุพรรณบุรี

ตอบ 2 หน้า 683691, (คำบรรยาย) ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า หรือวัตถุรุ่นเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา โดยเทวรูป ศิลารุ่นเก่าส่วนใหญ่มักพบในภาคใต้ของไทยแถบเขต จ.สุราษฎร์ธานี และทางภาคตะวันออก แถบดงศรีมหาโพธ จ.ปราจีนบุรี นอกจากนี้ที่เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ก็พบด้วยเช่นกัน

104.    การพบศิวลึงค์หลายองค์ในภาคใต้ของไทย แสดงถึงการนับถือศาสนาใด

(1) พราหมณ์   (2) ฮินดู           (3)       ฮินดู ไศวนิกาย            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 636691 ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย (นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นใหญ่)จะกราบไหว้บูชารูปพระศิวะ ซึ่งนิยมสร้างในรูปสัญลักษณ์เป็นศิวลึงค์ โดยจะพบทั้งในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น เอกามุขลึงค์ พบที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11-12

105.    พระโพธิสัตว์ที่เป็นที่นิยมนับถือในช่วงศิลปะศรีวิชัย คือข้อใด

(1) วัชรปาณี    (2) ศรีอารยเมตไตรย   (3)       มัญชุศรี           (4) อวโลกิเตศวร

ตอบ 4 หน้า 685694 – 695 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) จะสร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนา มหายานทั้งสิ้นโดยเฉพาะความนิยมสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ประจำกัลป์ปัจจุบัน และเป็นที่นิยมนับถือมาก เช่น ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวรสัมฤทธิ์ (สำริด) พบที่หน้าวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานิ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 15

106.    พระพุทธรูปนาคปรกองค์สำคัญพบที่วัดเวียง อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี แสดงปางอะไร

(1) สมาธิ         (2) มารวิชัย     (3) ปฐมเทศนา            (4) ประทานพร

ตอบ 2 หน้า 695 ประติมากรรมศรีวิชัยในระยะหลังเป็นสมัยอิทธิพลศิลปะขอม ซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปด้วย เช่น พระพุทธรูป,นาคปรกสัมฤทธิ์ (สำริด) พบที่วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งแสดงพระหัตถ์ทำปางมารวิชัยแปลกจากทั่วไปที่นิยมทำปางสมาธิ

107.    โบราณวัตถุสมัยลพบุรี มักสร้างขึ้นในศาสนาใดมากที่สุด

(1) มหายาน    (2) หินยาน      (3) พราหมณ์   (4) ฮินดู

ตอบ 1 หน้า 699, (คำบรรยาย) โบราณวัตถุในศิลปะขอมในประเทศไทย หรือศิลปะสมัยลพบุรีนิยมสลักจากศิลาหรือหล่อด้วยสัมฤทธิ์ (สำริด) และสร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธ มหายานมากที่สุด รองลงมาคือ ศาสนาฮินดู

108.    ปางใดเป็นพุทธศิลป์ที่นิยมสร้างในสมัยศิลปะลพบุรี

(1) ปางมารวิชัย           (2) ปางมารวิชัยนาคปรก (3) ปางสมาธิ          (4) ปางสมาธินาคปรก

ตอบ 4 หน้า 701, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยศิลปะลพบุรี คือ พระพุทธรูปปางสมาธิ นาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งขัดสมาธิราบ และมัก จะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็น พระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม

109.    สถาปัตยกรรมในศิลปะแบบลพบุรี มีลักษณะเด่นคืออะไร

(1) สร้างจากศิลาหรืออิฐ         (2) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นพุทธสถาน

(3) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นเทวสถาน            (4) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นพุทธสถานและเทวสถาน

ตอบ 4 หน้า 699 สถาปัตยกรรมสำคัญในศิลปะแบบลพบุรี ได้แก่ ปราสาท ซึ่งสร้างขึ้นจากศิลาหรืออิฐ เพื่อเป็นประธานของพุทธสถานและเทวสถาน (เทวาลัย) โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เทวรูป หรือถวายบรรพบุรุษ ตลอดจนเป็นศาสนสถานประจำชุมชน

110.    สถาปัตยกรรมใดที่ปรากฏในเขตวัฒนธรรมสุโขทัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

(1) วัดพระพายหลวง   (2) วัตกำแพงแลง        (3) วัดตระพังเงิน         (4) วัดตระพังทอง

ตอบ 1 หน้า 708 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 ได้ปรากฏสถาปัตยกรรมแบบขอมในเขตวัฒนธรรมสุโขทัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เช่น ศาลตาผาแดงที่เมืองเก่าสุโขทัย นอกจากนี้พื้นที่นอกกำแพงเมืองเก่าสุโขทัยยังพบปราสาทแบบขอมที่วัดพระพายหลวง ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง และวัดศรีสวายที่มีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยา

111.    ที่เวียงกาหลง และสันกำแพง พบศิลปกรรมเชียงแสนที่คล้ายคลึงสุโขทัยคืออะไร

(1) เจดีย์ทรงปราสาท

(2) เครื่องถ้วยชามสังคโลก

(3) พระพุทธรูปทรงเครื่อง

(4) เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม

ตอบ 2 หน้า 717 แหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามสังคโลกในสมัยศิลปะล้านนาหรือเชียงแสน ได้แก่เตาสันกำแพง จ.เชียงใหม่ และเตาเวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึง กับเครื่องถ้วยของสุโขทัย แต่ต่างกันที่คุณภาพ ความแกร่งของเนื้อดิน และการเคลือบสีน้ำตาล หรือสีเขียวนวลกับนํ้าตาล ส่วนลวดลายบนเครื่องถ้วยมักวาดเป็นรูปปลาคู่ หรือลายพืชนํ้า

112.    พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้มมณฑปวัดตระพังทองหลางที่สวยงามยิ่งของสุโขทัย คือข้อใด

(1) พระพุทธรูปปางลีลา

(2) พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก

(3) พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระพุทธรูปปางลีลาปูนปั้นอยู่ในซุ้มมณฑปวัดตระพังทองหลาง นอกเมืองสุโขทัยเก่าเป็นรูปพระพุทธองค์ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เสด็จดำเนินด้วยทิพยลีลา ทรวดทรงของ พระพุทธรูปแบบอุดมคติองค์นี้ดูมีชีวิตจิตใจ เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปองค์นี้แล้วย่อมจะเกิด ความสะเทือนใจอยางลึกซึ้งและคงทนอยู่ตลอดกาล

113.    การแสดงออกของพุทธศิลป์สุโขทัยคืออะไร

(1) ความหลุดพ้น

(2) ความเป็นอุดมคติ

(3) การตรัสรู้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การแสดงออกของพุทธศิลป์สุโขทัย คือ ศิลปินจะสร้างพระพุทธรูปตามอุดมคติ และความศรัทธาเชื่อมั่นในพระธรรมของพระองค์ ซึ่งเป็นลักษณะแบบไทยโดยเฉพาะ ทั้งนี้ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยจะแสดงถึงการตรัสรู้และความหลุดพ้นไปจากโลกนี้ สีพระพักตร์แสดง ความลึกซึ้งทางจิตใจอย่างน่าพิศวง และส่วนลสัดให้ความรู้สึกตรึงใจน่าเลื่อมใสที่สุด

114.    วัดใดเป็นตัวอย่างศิลปะก่อนอยุธยาได้

(1) วัตพนัญเชิง           (2) วัดใหญ่ชัยมงคล    (3) วัดราชบูรณะ         (4) วัดพุทไธสวรรย์

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วัดพนัญเชิง จ.อยุธยา ถือเป็นตัวอย่างของศิลปะสมัยก่อนอยุธยา เพราะปรากฏ หลักฐานว่าสร้างก่อนกรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี (ก่อน พ.ศ. 1893) โดยมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระเจ้าพนัญเชิง (หลวงพ่อโต) เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ (สำริด) ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะ ของพระพุทธรูปอู่ทองแบบที่ 2

115.    ข้อใดคือมหาปราสาทสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(1) พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (2) พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์

(3) พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท   (4) พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยา ได้โปรดให้สร้างวังขึ้นใหม่ซึ่งประกอบด้วยพระมหาปราสาท ได้แก่ พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ และพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท รวมทั้งตำหนักใหญ่น้อยจำนวนมาก

116.    ภาพเทพชุมนุมที่งดงามสมัยอยุธยาตอนปลาย มีตัวอย่างให้ศึกษาได้ที่ใด

(1) วัดใหญ่ชัยมงคล    (2) วัดใหญ่สุวรรณาราม

(3) วัดมหาธาตุ            (4) วัดราชบูรณะ

ตอบ 2 หน้า 727, (คำบรรยาย) จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่งดงามที่สุดภาพหนึ่ง คือ ภาพเทพชุมนุมและภาพยักษ์ที่ผนังพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม ซึ่งหน้าตาของยักษ์และเทวดา ตลอดจนเครื่องอาภรณ์ที่ประดับวาดได้สวยงามมาก

117.    ชามเบญจรงค์สมัยอยุธยา สีพื้นข้างในเป็นสีอะไร

(1) ขาว            (2)เหลือง         (3)แดง (4)เขียว

ตอบ 4 หน้า 727, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยานิยมสั่งเครื่องถ้วยชามจากจีน โดยส่งลายไทย ออกไปเป็นแบบ และเขียนบนเครื่องถ้วย เรียกว่า “เครื่องเบญจรงค์” ซึ่งเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ในสมัยอยุธยามักจะมีสีพื้นข้างในเป็นสีเขียว มีทั้งลายเทพนมนรสิงห์ เทพนมยักษ์ และลายหน้าสิงห์

118.    เรื่องใดไม่ปรากฏอยู่ในสมุดภาพไตรภูมิ

(1) สวรรค์        (2)       นรก     (3)       ทศชาดก          (4)       พระเจ้าห้าร้อยชาติ

ตอบ 4 หน้า 726, (คำบรรยาย) จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนกลางอาจศึกษาได้จากภาพเขียนในสมุดข่อยซึ่งรู้จักกันในนาม สมุดภาพเรื่องไตรภูมิ” มีความหนาประมาณ 100 หน้า และวาดขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 22 – 23 ส่วนมากเป็นเรื่องในไตรภูมิมีทั้งภาพนรกและสวรรค์ นอกจากนี้ ยังมีภาพพุทธประวัติ (ชาดก) และเรื่องทศชาติ (ทศชาดก) ทั้ง 13 กัณฑ์ฯลฯ

119.    วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา เป็นศิลปะแบบใด

(1) แบบจีน      (2)       แบบโกธิก        (3)       แบบนีโอคลาสสิก        (4)       แบบญี่ปุ่น

ตอบ 2 หน้า 730 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสร้างวัดไว้น้อยแห่ง แต่บางแห่งแสดงถึงศิลปกรรมตะวันตก เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ อ.บางปะอิน จ.อยุธยา สร้างเลียนแบบศิลปะโกธิกในยุโรป และวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ สร้างด้วยหินอ่อนจากอิตาลี ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง วัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก

120.    รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปขึ้นใหม่ให้มีลักษณะคล้ายสามัญชน คือข้อใด

(1) จีวรบางแนบเนื้อ    (2)       ขัดสมาธิราบ    (3)       ไม่มีพระเกตุมาลา        (4)มีขนาดใหญ่

ตอบ 3 หน้า 732, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปขึ้นใหม่ เพื่อให้มีลักษณะคล้ายสามัญชนยิ่งขึ้น คือ ไม่มีพระเกตุมาลาหรืออุษณีษะ จีวรเป็นริ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร และรายละเอียดของพระวรกายเป็นไปตามสรีระของมนุษย์ ตามปกติ จึงจัดเป็นพระพุทธรูปแบบสมจริง เช่น พระพุทธนิรันตรายที่โปรดให้สร้างขึ้น แต่ไม่เป็นที่นิยมกันนัก

HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนระดับหมู่บ้านพัฒนาเป็นชุมชนเมือง

(1)       มีการเพาะปลูกข้าว

(2) การค้าขายระหว่างชุมชน

(3) มีแหล่งนํ้าที่เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค

(4) การนับถือพุทธศาสนา

ตอบ 4 หน้า 8-9 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนระดับหมู่บ้านพัฒนาเป็นชุมชนเมืองได้ มีดังนี้

1.         มีแหล่งเพาะปลูกข้าว  2. มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค

3. มีการค้าขายระหว่างชุมชน

2.         ข้อใดกล่าวถึงแคว้นศรีวิชัยได้ถูกต้อง

(1)       ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท

(2)       อาณาเขตของศรีวิชัยครอบคลุมคาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตรา

(3)       ประชากรส่วนใหญ่เป็นพวกนิกรอยด์

(4)       เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 2 หน้า 15 ลักษณะสำคัญของแคว้นศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 12 – 18) มีดังนี้ 1. เจริญขึ้นที่ จ.สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ต่อมามีอาณาเขตครอบคลุมไปตลอดคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา 2. ประชากรส่วนใหญ่เป็นพวกมาลาโยโพลีเนเชียน 3. นับถือพุทธศาสนา นิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศาสนาฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน 4. เป็นศูนย์กลางทางการค้า ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้โดยเป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน

3.         ข้อใดไม่ใช่แว่นแคว้นโบราณที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย   

(1) แคว้นเชลียง

(2)       แคว้นหริภุญไชย          (3) แคว้นหิรัญนครเงินยาง      (4) แคว้นโยนกเชียงแสน

ตอบ 1 หน้า 14182024 แว่นแคว้นโบราณที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 มีดังนี้       1. แคว้นหริภุญไชย      2. แคว้นโยนกเชียงแสน 3. แคว้นเงินยางเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยาง 4. แคว้นพะเยา (ส่วนแคว้นเชลียง เจริญขึ้นมาในเขตลุ่มน้ำยมราวพุทธศตวรรษที่ 17 บริเวณ จ.สุโขทัยในเขตภาคกลางตอนบน)

4.         ราชวงศ์กษัตริย์ที่ปกครองแคว้นศรีธรรมราชคือราชวงศ์ใด

(1)       ปัทมวงศ์          (2) มังราย        (3)       ศรีนาวนำถม    (4)       สิงหนวัติ

ตอบ 1 หน้า 25 แคว้นศรีธรรมราช หรือนครศรีธรรมราช พัฒนาไปจากแคว้นศรีวิชัยภายหลังที่แคว้นศรีวิชัยเสื่อมอำนาจไปแล้ว โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์ปัทมวงศ์หรือปทุมวงศ์ เข้ามามีอำนาจ และปกครองแคว้นศรีธรรมราชในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ทั้งนี้แคว้นศรีธรรมราชจะมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลังกามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากการที่พุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา เข้ามามีอิทธิพลแทนที่พุทธศาสนามหายานของศรีวิชัย

5.         ยุคทองของแคว้นล้านนาตรงกับสมัยกษัตริย์องค์ใด

(1)       พระยากือนา    (2) พระยาติโลกราช    (3)       พระยาแก้ว      (4)       พระยางำเมือง

ตอบ 2 หน้า 32 สมัยของพระยาติโลกราช (พ.ศ. 198*1 – 2030) ถือได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักร ล้านนา เพราะสามารถฟื้นฟูอำนาจของล้านนาขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้พระยาติโลกราชยังเป็นผู้มีความสามารถในการรบและขยับรบ จึงมีนโยบายขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางเหนือขึ้นไปถึงเขตไทยใหญ่ คือ เมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางใต้ลงมาถึงเมืองแพร่และน่าน

6.         ข้อใดไม่ใช่อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย

(1)       ผู้นำต้องเป็นนักรบที่มีความสามารถ   (2) ผู้นำมีความสัมพันธ์กับอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์

(3)       ผู้นำต้องปกครองตามระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้น

(4)       ผู้นำใช้แนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการนับถือเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

ตอบ 4 หน้า 90 – 92 อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย มีลักษณะสำคัญที่สรุปได้ดังนี้

1.         กษัตริย์หรือผู้นำต้องเป็นนักรบที่มีความสามารถ 2. กษัตริย์หรือผู้นำมีความสัมพันธ์กับ อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3. กษัตริย์หรือผู้นำใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก 4. กษัตริย์หรือ ผู้นำต้องปกครองตามระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมในสมัยพุทธศตวรรษที่ 19

5. ฐานะของผู้ปกครองยังไม่แตกต่างหรืออยู่ห่างจากราษฎรมากนัก

7.         ข้อใดกล่าวถึง มหาชนสมมุติ” ได้ถูกต้องที่สุด

(1)       เป็นมนุษย์ที่ได้รับการสรรเสริญจากคนทั่วไปให้เป็นเทพเจ้า

(2)       หลักการมหาชนสมมุติปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท

(3)       เป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเลือกสรรจากประชาชนให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น

(4)       เป็นผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาดเพราะเป็นเทพเจ้าอวตารลงมา

ตอบ 3 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ใน

พระไตรปิฏก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเลือกสรรจากประชาชน ให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ

8.         ข้อใดไม่ใช่ความแตกต่างของสถาบันกษัตริย์ล้านนากับสุโขทัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20

(1)       การเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช       (2) การใช้คำราชาศัพท์

(3) การอ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ (4) การเน้นความสำคัญของหลักทศพิธราชธรรม

ตอบ 4 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจาก สถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาท ของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้คำราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย ส่วนหลักการของธรรมราชาอื่นๆ เช่น การเน้นความสำคัญของหลักทศพิธราชธรรม การทำสงครามธรรมยุทธ ฯลฯ ทางล้านนาก็ใช้คล้ายคลึงกับสุโขทัย

9.         เทวดาหรือยักษ์ที่ทำหน้าที่รักษาทิศทั้ง 4 ในจักรวาล

(1)       จตุมหาราชิกา  (2) จตุโลกบาล            (3) จตุรงคบาท            (4) จตุคาม

ตอบ 2 หน้า 99, (คำบรรยาย) ในคติพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล (Universe or Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำ รวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล

10.       คติการปกครองที่กษัตริย์อ้างว่าเป็นพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าคือคติใด

(1)       พุทธราชา         (2) ธรรมราช    (3) เทวราช       (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 95 – 96 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ได้เพิ่มความสูงส่ง ของคติการปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมราชขึ้นไปอีก โดยใช้วิธีการหนึ่งคือ กษัตริย์แสดง บทบาทในฐานะพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้า ดังหลักฐานในจารึกสุโขทัยหลักที่ 4 ที่กล่าวถึง การเสด็จออกผนวชของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย และทรงตั้งปณิธานจะเป็นพระพุทธเจ้า พาสรรพสัตว์ข้ามวัฏสงสาร

11.       ข้อใดคือการปกครองแบบทหาร

(1)       การปกครองแบบเผด็จการ

(2)       การปกครองที่ข้าราชการทุกคนต้องออกไปรบเมื่อมีสงคราม

(3)       การปกครองที่ข้าราชการและประชาชนต้องออกไปรบเมื่อมีสงคราม

(4)       ทหารเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและขึ้นมาเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง

ตอบ 3 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชน ทุกคนต้องออกไปรบได้ยามมีศึกลงคราม ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยมีรากฐานมาจากประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็น ทหารประจำการและพลเรือนได้

12.       ข้อใดไม่ใช่เมืองประเทศราชของสุโขทัยที่ระบุไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1

(1) เวียงจันทน์ (2) นครศรีธรรมราช (3) เมาะตะมะ     (4) เชียงใหม่

ตอบ 4 หน้า 106 ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ได้ระบุเขตเมืองประเทศราชของสุโขทัยในสมัย พ่อขุนรามคำแหงไว้ดังนี้

1.         ทิศตะวันออก ได้แก่ บริเวณฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง คือ เขตเวียงจันทน์ และเวียงคำ

2.         ทิศใต้ ได้แก่ เขตเมืองแพรก (ชัยนาท)สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรีไปจนถึง นครศรีธรรมราชและฝั่งทะเลสมุทร

3.         ทิศตะวันตก ได้แก่ เขตหัวเมืองมอญ คือ หงสาวดี เมาะตะมะ และตะนาวศรี

4.         ทิศเหนือ ได้แก่ เขตเมืองแพร่ น่าน และชะวา (หลวงพระบาง)

13.       แนวความคิดเรื่องมณฑล มาจากระบบความคืดเรื่องใด

(1) ศูนย์กลางของจักรวาล      (2) พันนา         (3) พุทธราชา

(4)       อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย

ตอบ 1 หน้า 107 แนวความคิดเรื่องมณฑล มาจากความคิดเรื่องโครงสร้างของจักรวาลตามคติของ ศาสนาพราหมณ์และพุทธ ซึ่งเน้นในเรื่องศูนย์กลางของจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ และองค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ล้อมรอบตั้งแต่ใกล้จนห่างออกไปเป็นลำดับ ต่อมาแนวความคิดเรื่องมณฑลได้ถูก นำไปใช้ในการจัดระเทียบของราชธานีและศาสนสถาน รวมทั้งใช้วางรูปแบบความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองศูนย์กลางและเมืองบริวารด้วย

14.       ศูนย์กลางอำนาจของเขมรในบริเวณลุมแม่น้ำเจ้าพระยาคือที่ใด

(1) ละโว้          (2) สุพรรณภูมิ (3) อยุธยา       (4) ราชบุรี

ตอบ 1 หน้า 15117 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของเขมร ได้แผ่เข้ามาในเขตลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นระยะ ๆ โดยมีศูนย์กลางอำนาจของเขมรอยู่ที่เมืองละโว้ หรือลพบุรี ซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เป็นที่มั่นสำคัญกว่าเมืองทั้งหลายในเขตภาคตะวันออกของ ลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา และมีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ในทำนองสมาพันธรัฐในนามของ กัมโพช

15.       การที่ชื่อกษัตริย์อยุธยามีคำว่า จักรพรรดิราช” ต่อท้ายชื่อ แสดงให้เห็นคติการปกครองแบบใด

(1)       พุทธราชา         (2) ธรรมราชา  (3) เทวราชา

(4) อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย

ตอบ 2 หน้า 120 หลักฐานที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงให้ความสำคัญต่อคติการปกครอง แบบธรรมราชา เช่น การประกาศว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมหาชนสมมุติและเป็นพระโพธิสัตว์ ในกฎหมายธรรมศาสตร์ นอกจากนี้พระนามของพระมหากษัตริย์อยุธยามักจะปรากฏมีคำว่า ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ธรรมมิกราช หรือจักรพรรดิราช” ต่อท้ายชื่อเสมอ

16.       ข้อใดหมายถึงกฎมณเฑียรบาล

(1) กฎหมายที่ใช้ลงโทษผู้กระทำความผิดทั่วไป          (2) กฎหมายที่ใช้ลงโทษพระสงฆ์ที่ทำผิด

(3)       กฎที่กำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต่างกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถึอเป็นเอกสารฉบับแรก ที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร โดยมีจุดมุงหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์ แสะพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี

17.       ข้อใดไม่ใช่เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์

(1)       พระแสงขรรค์ชัยศรี (2) พระมหาพิชัยมงกุฎ (3) ฉลองพระบาทเชิงงอน (4) พระที่นั่งอัฐทิศ

ตอบ 4 หน้า 123 – 125127, (คำบรรยาย) เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หมายถึง เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงพระบารมี ประกอบด้วย ของ 5 สิ่ง ได้แก่

1.         พระมหาพิชัยมงกุฎ คือ สัญลักษณ์ของการเป็นองศ์ประมุขของแผ่นดิน

2.         พระแสงขรรค์ชัยศรี คือ สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ

3. ธารพระกรชัยพฤกษ์ คือ สัญลักษณ์แห่งพระปัญญาอันยิ่งใหญ่   

4. พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี คือ สัญลักษณ์แห่งการบันดาลความอยู่เย็นเป็นสุข ปัดเป่าผองภัยและความทุกข์ร้อนของประชาชนให้หมคสิ้นไป

5.         ฉลองพระบาทเชิงงอน คือ สัญลักษณ์แห่งการทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพในทุกหนทุกแห่ง (ส่วนพระที่นั่งอัฐทิศ เป็นสัญลักษณ์แทนทิศทั้ง 8 ในจักรวาล ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)

18.       พระเชษฐบิดร เป็นสัญลักษณ์ของข้อใด       

(1) เทพเจ้า

(2)       พระรัตนตรัย   (3) พระพุทธเจ้า           (4) พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว

ตอบ 4 หน้า 126140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยู่ในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัย ดังหลักฐานจากพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะ พระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูบของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และถือว่า เป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองศ์) โดยจะต้องกระทำปีละ 2 ครั้ง

19.       กรมธรรมการและกรมสังฆการี ทำหน้าที่อะไร

(1) จัดเก็บภาษีประชาชน        (2) ดูแลความเรียบร้อยของคณะสงฆ์

(3)       พิจารณาคดีความ        (4) ประกอบพิธีกรรมในราชสำนัก

ตอบ 2 หน้า 137151 – 152 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งองค์กรทางราชการในสังกัด กรมวัง ได้แก่ กรมธรรมการและกรมสังฆการี เป็นผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยของ คณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร เป็นผู้เสนอชื่อพระเถระผู้ใหญ่เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่พิจารณาคดีที่พระสงฆ์เป็นคู่ความ อยู่ด้วย

20.       ข้อใดไม่ใช่วิธีการเสริมสร้างอำนาจและความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์สมัยอยุธยา

(1)       การใช้พิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่สถาบันกษัตริย์

(2)       การกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์

(3)       การสร้างความใกล้ชิดกับประชาชน

(4)       การหาวิธีต่าง ๆ เพื่อลิดรอนอำนาจของเจ้านายและขุนนาง

ตอบ 3 หน้า 140 วิธีการเสริมสร้างอำนาจและความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์ในสมัยอยุธยา มีดังนี้

1.         การใช้พิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่สถาบันกษัตริย์

2.         การกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นอันมาก เพื่อป้องกันความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์

3.         การกำหนดวิธีการต่าง ๆ เพื่อลิดรอนและคานอำนาจของเจ้านายและขุนนาง

21.       ข้อไดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าสำเภาหลวงของกษัตริย์อยุธยาประสบความสำเร็จ

(1) ผลเก็บเกี่ยวที่ได้จากนาหลวง

(2) ระบบส่วย

(3) การค้าผูกขาด

(4) การค้าในระบบบรรณาการกับจีน

ตอบ 1 หน้า 144 – 145 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าสำเภาหลวงของพระมหากษัตริย์อยุธยา ประสบความสำเร็จและได้กำไรงดงาม มีดังนี้

1.         ระบบส่วย หรือสินค้าต่าง ๆ ที่รัฐเก็บจากราษฎรแทนแรงงานโดยไม่ต้องจ่ายราคา

2.         การค้าผูกขาด โดยทรงกระทำผ่านองค์กรของรัฐ คือ พระคลังสินค้า

3.         การค้าในระบบบรรณาการกับจีน

22.       ส่วนใหญ่อยุธยาใช้นโยบายใดในการปกครองประเทศราช

(1) การปกครองทางตรง          (2) การแบ่งแยกและปกครอง

(3) การปกครองทางอ้อม         (4) ผนวกประเทศราชเป็นดินแดนของอยุธยาโดยตรง

ตอบ 3 หน้า 169 – 170 นโยบายของอยุธยาในการปกครองประเทศราชส่วนใหญ่จะใช้การปกครอง ทางอ้อม (Indirect Rule) คือ การให้เจ้านายดั้งเดิมของประเทศราชได้ปกครองตนเองต่อไป แตต้องส่งบรรณาการมาให้ตามกำหนดเวลา และเกณฑ์ทัพมาช่วยอยุธยาถ้าได้รับคำสั่ง ซึ่งนับเป็นนโยนายที่ผ่อนคลายความตึงเครียดของประเทศราชได้ดีกว่า และทำให้อยุธยา มีอำนาจได้ยาวนานกว่าการปกครองทางตรง

23.       ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์คติการปกครองแบบใดที่เด่นชัดที่สุด

(1) ธรรมราชา  (2) เทวราชา     (3) คติความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทย           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 183187 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ลักษณะธรรมราชาเป็นอุดมการณ์หรือคติการปกครอง ที่มีความสำคัญเด่นชัดที่สุด ในขณะที่แนวทางการปกครองแบบเทวราชาจะถูกลดความสำคัญลงไป โดยมีความพยายามเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น และเริ่มลดสถานะ อันสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพเจ้าของพระมหากษัตริย์ลงจากแต่ก่อน

24.       ในสมัยรัตนโกสินทร์ การนำกลองวินิจฉัยเภรีตั้งไว้หน้าพระราชรัง เพื่อให้ราษฎรมาตีกลองยื่นฎีกามีขึ้นในรัชกาลใด

(1)       รัชกาลที่ 1       (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 2 หน้า 186 – 187 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการรื้อฟื้นประเพณีการร้องทุกข์ของราษฎรไทยโดยจัดตั้งกลองชื่อ วินิจฉัยเภรี” ตั้งไว้หน้าพระราชรัง เพื่อให้ราษฎรที่มีเรื่องทุกข์ร้อนสามารถ มาตีกลองร้องทุกข์และยื่นฎีกาได้ ซึ่งจะมีนายตำรวจเวรเป็นผู้ออกมารับเรื่องราว เพื่อนำขึ้น กราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์

25.       หนังสือราชกิจจานุเบกษาคืออะไร     

(1) พจนานุกรม

(2)       หนังสือพิมพ์รายวัน     (3) หนังสือประมวลกฎหมาย

(4)       หนังสือราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์เพื่อให้ข้อมูลราชการแก่ประชาชน

ตอบ 4 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ ที่เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ ปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร

26.       จิตสำนึกเกี่ยวกับ ‘‘รัฐชาติ” ได้ก่อตัวขึ้นมาในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 4  (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 2 หน้า 207 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย พระมหากษัตริย์ยังทรงทำหน้าที่เป็นผู้นำในการ ปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับหน้าที่ของประชาชนที่ต้องมีต่อชาติ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อรัฐชาติ (National State) ได้ก่อตัวขึ้น แต่ยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในหมู่ข้าราชการ เช่น พวกข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาล

27.       ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5

(1)       เพื่อรักษาเอกราชของประเทศ

(2)       เพื่อสร้างความเจริญและส่งเสริมความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น

(3)       เพื่อลร้างเสริมบารมีตามแนวทางของคติธรรมราชา

(4)       เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ตอบ 3 หน้า 226 – 227 สาเหตุของการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         เพื่อรักษาเอกราชของประเทศ 2. เพื่อสร้างความเจริญและส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ของประชาชน 3. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

28.       ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบมณฑลเทศาภิบาล

(1)       ไทยได้แนวทางมาจากการปกครองของอังกฤษในพม่าและมลายู

(2)       เป็นการบริหารระบบรวมศูนย์อำนาจที่เมืองหลวง

(3)       ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นคนในท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง

(4)       มีการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลตามความพร้อมในแต่ละภูมิภาค

ตอบ 3 หน้า 234-236 ลักษณะสำคัญของระบบมณฑลเทศาภิบาล มีดังนี้ 1. เป็นการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจ เพื่อให้เมืองหลวงควบคุมอาณาบริเวณทั้งหมดของอาณาจักรและเขต ประเทศราชได้อย่างทั่วถึง 2. ไทยได้แนวทางมาจากการปกครองของอังกฤษในพม่าและมลายู

3.         ข้าหลวงเทคาภิบาลเป็นคนในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในกรุงเทพฯ ที่ได้รับแต่งตั้งโดยตรง ออกไปจากเมืองหลวง 4. มีการจัดทั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลตามความพร้อมในแต่ละภูมิภาค มิได้จัดทีเดียวทั่วประเทศฯลฯ

29.       คณะราษภร” ที่ยึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มใด (1) ข้าราชการทหาร (2) ข้าราชการพลเรือน

(3)       ประชาชน        (4) ข้าราชการทหารและพลเรือน

ตอบ 4 หน้า 238241 การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศไทยได้สิ้นสุดลงในวันทื่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อคณะบุคคลที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร” อันประกอบด้วย ข้าราชการทหารและพลเรือนเป็นส่วนใหญ่ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์ และทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

30.       คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันใด

(1) 10 ธันวาคม 2475

(2) 24 มิถุนายน 2475

(3)       10 มิถุนายน    2475  

(4)       20 มิถุนายน    2475

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31.       บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัย ได้แก่ ภูมิภาคใดของประเทศไทยในปัจจุบัน

(1)       ภาคใต้ตอนบน

(2) ภาคกลางตอนบน

(3)ภาคเหนือตอนบน

(4)ภาคอีสานตอนบน

ตอบ 2 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในเขตภาคกลางตอนบน ของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บบที่ราบลุ่มแม่นํ้ายม ซึ่งอยู่ ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง และมีศูนย์กลางของชุมชนเมื่อแรกตั้งอยู่ที่เมืองเก่าสุโขทัย บริเวณวัดพระพายหลวง หลังจากนั้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงย้ายศูนย์กลางของราชธานี มาอยู่ในตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน บริเวณวัดมหาธาตุ

32.       เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด

(1) ปิง  (2) ยม (3)       น่าน     (4)       เจ้าพระยา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33.       เจ้านายพระองค์ใดที่กระทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อครั้งมีพระชนมายุ 19 พรรษา

(1) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์          (2) พ่อขุนผาเมือง        (3) พ่อขุนรามคำแหง   (4) พระองค์ดำ

ตอบ 3 หน้า 90,(คำบรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้มีการยกย่อง พ่อขุนรามคำแหงที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อครั้งมีพระชนมายุ 19 พรรษา และหลังจากชัยชนะครั้งนั้นพระองค์ก็ได้รับบำเหน็จรางวัล โดยได้รับพระราชทาน อิสริยยศเป็นพระรามคำแหง

34.       หนังสือไตรภูมิพระร่วงปลูกฝังความเชื่อเรื่อง ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก” หนังสือนี้เป็นพระราชนิพนธ์ ของกษัตริย์พระองค์ใด

(1) พ่อขุนรามคำแหง   (2) พระมหาธรรมราชาลิไทย   (3) พญามังราย (4) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ตอบ 2 หน้า 96105584 พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นจอมปราชญ์ในทาง พระพุทธศาสนาพระองค์แรกของประเทศไทย เนื่องจากพระองค์ทรงเรียนรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน จนสามารถพระราชนิพนธ์หนังสือที่เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงหรือ ไตรภูมิกถา ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ได้เป็นอย่างดี

35.       สังคมไทยสมัยใดที่มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด    

(1) สุโขทัย-ล้านนา

(2)       สุโขทัย-อยุธยา (3) ล้านนา-อยุธยา     (4) สุโขทัย-ต้นรัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 270, (คำบรรยาย) สังคมไทยสมัยสุโขทัยและล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 จะมี ลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีลักษณะผสมของสังคมหมู่บ้านที่ยังมีหลักความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ กับสังคมเมืองที่พยายามวางแบบแผนกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกอย่างเป็น ทางการมากขึ้น ดังนั้นเมืองสำคัญในแคว้นสุโขทัยและล้านนาจึงล้วนมีวิวัฒนาการไปจาก หมู่บ้านที่ขยายตัว หรือจากการรวมกลุ่มของหมู่บ้านทั้งสิ้น

36.       “…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส…” ถามว่าเบื้องหัวนอนคือทิศใด

(1)       ทิศตะวันออก   (2)       ทิศตะวันตก     (3) ทิศเหนือ     (4)       ทิศใต้

ตอบ 4 หน้า 589, (คำบรรยาย) ในศิลาจาริกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหงได้กลาวถึงทิศทั้ง 4 ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างจากปัจจุบัน กล่าวคือ เบื้องตีนนอน (ทิศเหนือ),เบื้องหัวนอน (ทิศใต้)เบื้องตะวันออก (ทิศตะวันออก) และเบื้องตะวันตก (ทิศตะวันตก)

37.       ในศิลาจาริกหลักที่ 1 มีข้อความว่า “…เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้…” ถามว่ามหาศักราช 1205 ตรงกับ พ.ศ. ใด

(1) 1626         (2)       1726   (3) 1826         (4)       1926

ตอบ 3 หน้า 105272, (คำบรรยาย) ในศิลาจาริกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีหลักฐานที่แสดงถึงความรู้ทางศาสนาและอักษรศาสตร์ของพ่อขุนรามคำแหงว่า พระองค์ทรงเป็น ผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ได้สำเร็จ ดังข้อความที่ว่า “…เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้… (มหาศักราชเกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี ดังนั้นถ้าเทียบมหาศักราช 1205 เป็นพุทธศักราช จะเท่ากับพุทธศักราช หรือ พ.ศ. 1826)

38.       ไพร่ในข้อใดที่มีสถานะต่ำที่สุดในสังคม

(1) ไพร่ฟ้าหน้าใส        (2) ไพร่ฟ้าหน้าปก       (3) ไพร่ฟ้าข้าไท           (4) ไพร่ไท

ตอบ 3 หน้า 271289 – 290, (คำบรรยาย) ในสมัยสุโขทัย คำว่า ไพร่” มีความหมายถึง สามัญชน โดยทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ส่วนสร้อยที่ต่อท้ายคำว่าไพร่จะมีความหมายเฉพาะตัว ที่บ่งบอกถึงลักษณะของไพร่ที่แตกต่างกันไป เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส/ไพร่ไท (ประชาชนทั่วไป)ไพรฟ้าหน้าปก (ประชาชนที่มีทุกข์ร้อน)ไพรฟ้าข้าไท (ทาส ซึ่งมีสถานะตํ่าสฺดในสังคม) เป็นต้น

39.       ไพร่ชั้นดีในสมัยล้านนามีหลายอาชีพที่ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่ในข้อใดที่ถูกเกณฑ์แรงงาน

(1) ช่างทอง     (2) ช่างเงิน      (3) พ่อค้า         (4) ชาวสวน

ตอบ 4 หน้า 283 เอกสารทั้งของสุโขทัยและล้านนาได้จัดแบ่งไพร่ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1.         ไพรชั้นดี คือ ไพร่ที่มีความรู้ความสามารถหรือมีฐานะดี เช่น ช่างฝีมือ (ช่างทอง ช่างเงิน ฯลฯ) พ่อค้า และเศรษฐี ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่สามัญ แต่อาจต้อง เสียเงินหรือส่วยเป็นการชดเชย

2.         ไพร่สามัญ คือ สามัญชนส่วนใหญ่ที่ทำมาหากินด้วยการทำไร่ไถนา ไม่มีความรู้ความสามารถ พิเศษอันใด จึงต้องมาให้แรงงานตามกำหนด เช่น ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ฯลฯ

40.       ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ได้มรดกมาก” เป็นข้อความในกฎหมายไทยไนสมัยใด

(1)       ล้านนา (2) สุโขทัย       (3) อยุธยา       (4) ธนบุรี

ตอบ 1 หน้า 295, (คำบรรยาย) สังคมสมัยล้านนามีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความกตัญญต่อผู้ใหญ่ว่า เมื่อพ่อแม่ตายไปให้จัดมรดกแก่ลูกที่แสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ได้มากกว่าคนอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อตอบแทนความดีและให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นด้วย ดังข้อความในกฎหมายมังรายศาสตร์ ของล้านนาที่ว่า ผิลูกหลานมีอยู่หลายคน ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ก็ให้มรดกมาก…

41.       กษัตริย์สมัยสุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร

(1) ออกกฎหมายให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม

(2) ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้

(3)       ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ

(4) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง

ตอบ 2 หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุน ดังนี้

1.         ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และ พยายามตัดสินคดีความให้อย่างยุติธรรม          2. ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรมมิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)

42.       ข้อยมาเป็นข้า” ในสมัยล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดในสมัยอยุธยา

(1) ทาสเชลย   (2) ทาสในเรือนเบี้ย     (3) ทาสสินไถ่  (4) ทาสขัดดอก

ตอบ 1 หน้า 290351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ

1.         ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา

2.         ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา

3.         มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา

4.         ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา

5.         ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา

43.       ข้อใดมิใช่มรดกด้านอารยธรรมของไทยในสมัยสุโขทัย

(1) ไตรภูมิพระร่วง       (2) มังรายศาสตร์        (3) เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (4) พระพุทธรูปปางลีลา

ตอบ 2 หน้า 710712, (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 34. และ 40. ประกอบ) หนังสือมังรายศาสตร์ หรือวินิจฉัยมังราย คือ กฎหมายต่าง ๆ ของพระยามังรายในสมัยล้านนาที่มีผู้คัดลอกรวบรวมไว้ สืบเนื่องมาเป็นเวลานาน ซึ่งเท่าที่ทราบในปัจจุบันมีสำนวนต่าง ๆ คัดลอกไว้อยู่ประมาณ 4 ฉบับด้วยกัน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นมรดกด้านอารยธรรมของไทยในสมัยสุโขทัย)

44.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับไพร่สุโขทัย

(1) ไมต้องเสียจกอบ    (2) ไม่ต้องเสียอากรค่านา

(3) ฟ้องร้องมูลนายไม่ได้         (4) ยกมรดกให้ลูกหลานไม่ได้

ตอบ 1 หน้า 285287 – 288 ไพร่สุโขทัยมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในการดำเนินชีวิตหลายด้าน ดังนี้ 1. สิทธิในการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องมูลนายต่อพระมหากษัตริย์ได้ด้วยตนเองโดยตรง

2.         สิทธิในการศาล           3. สิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้     4. สิทธิในการยกมรดกให้แก่ลูกหลาน 5. สิทธิในการค้าขายสินค้าได้ทุกชนิดอย่างเสรี   6. สิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีผ่านด่าน หรือไม่ต้องเสียจกอบ แต่ก็ต้องเสียภาษีชนิดอื่น เช่น ภาษีข้าว หรืออากรค่านา 7. สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ฯลฯ

45.       ผู้ใดมีศักดินาสูงสุดในสมัยอยุธยา

(1)       วังหน้า            (2) พระเจ้าแผ่นดิน      (3) เจ้าพระยาโกษาธิบดี (4) เจ้าพระยากลาโหม

ตอบ 1 หน้า 309357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับพระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่

46.       ขุนนางอยุธยาไม่มีสิทธิทำสิ่งใด        

(1) เป็นเสนาบดี

(2)       เป็นเจ้าเมือง   (3) ไปมาหาสู่กันอย่างเสรี       (4) เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน

ตอบ 3 หน้า 329 – 332 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงคานอำนาจขุนนาง ดังนี้

1.         กำหนดให้ความเป็นขุนนางอยู่ในพระราชอำนาจของกษัตริย์

2.         กำหนดโครงสร้างของระบบราชการให้มีลักษณะลิดรอนอำนาจขุนนางมิให้รวมตัวกันได้

3.         ตรากฎหมายควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของขุนนางไว้อย่างเข้มงวด 4. ควบคุมการเคลื่อนไหว ของขุนนาง มิให้ขุนนางไปมาหาสู่กันเอง หรือไปติดต่อกับเจ้านายอย่างเสรี ฯลฯ

47.       เจ้าพระยาโกษาธิบดี เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมใด

(1) มหาดไทย  (2) กลาโหม     (3) คลัง           (4) นา

ตอบ 3 หน้า 150 – 152319 – 320, (คำบรรยาย) หน้าที่ในตำแหน่งของกรมกองต่างๆ จะมียศ และราชทินนามกำกับไว้โดยเฉพาะ ดังนี้       1. เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมมหาดไทย      2. เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมกลาโหม   3. เจ้าพระยาพระคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดีเป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมพระคลังหรือโกษาธิบดี

4.         พระยาพลเทพราชเสนาบดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมนาหรือเกษตราธิการ ฯลฯ

48.       เข้า 10 วัน ออก 10 วัน’’ เป็นการเกณฑ์แรงงานไพร่ในสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) ล้านนา       (3) อยุธยา       (4) ธนบุรี

ตอบ 2 หน้า 284 เอกสารของล้านนาได้ระบุถึงการเกณฑ์แรงงานไพร่ในสมัยล้านนาว่า รัฐบาลจะเกณฑ์ แรงงานไพร่ 10 วัน และปล่อยไปทำไร่นาของตนได้ 10 วัน สลับกันไป เรียกว่า เข้า 10 วัน ออก 10วัน” รวมแล้วจะเท่ากับถูกเกณฑ์แรงงาน6 เดือนใน 1 ปีซึ่งเท่ากับเวลาที่ไพร่ของ อาณาจักรอยุธยาถูกเกณฑ์เช่นกัน

49.       กษัตริย์อยุธยามีนโยบายเกี่ยวกับเจ้านายอย่างไร

(1) ให้เจ้านายทุกพระองค์มีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง (2) ให้เจ้านายได้ควบคุมอำนาจบริหารมากกว่าขุนนาง

(3)       ให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี      (4) พยายามควบคุมจำนวนของเจ้านายไว้ด้วย

ตอบ 4 หน้า 305313322 – 323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายคานอำนาจเจ้านาย ดังนี้

1.         ควบคุมจำนวนเจ้านาย โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านายมีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูกหลาน และเหลนเท่านั้น 2. ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง  3. ไม่ให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดีควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมืองในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน  4.ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านาย ฯลฯ

50.       การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร

(1)       ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล      (2) ใช้กำหนดบทลงโทษบุคคลที่มีความผิด

(3) ใช้กำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 309359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม

2.         เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัดของบุคคลที่เป็นมูลนาย 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง

51.       คุณสมบัติประการหนึ่งของการถวายตัวเป็นขุนนางสมัยอยุธยา ผู้ถวายตัวต้องมีอายุตั้งแต่กี่ปีขึ้นไป

(1)       20 ปี

(2) 24 ปี

(3) 30 ปี

(4) 31 ปี

ตอบ 4 หน้า 316 คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้องประกอบ ด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่ 1. ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี

2.         วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป 3. คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือน ชำนิชำนาญ 4. ปัญญาวุฒิ คือ มีสติบีญญาดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ

52.       การสักข้อมือไพร่เกิดผลอย่างไร        

(1) เกิดกบฏไพร่

(2)       ไพร่สมเพิ่มมากขึ้น      (3) ไพร่หนีไปอยู่ป่าได้มากขึ้น  (4) ไพร่หลวงไม่สูญหายอย่างแต่ก่อน

ตอบ 4 หน้า 392417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้ สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันไม่ให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือไม่ให้ไพรหลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายอย่างแต่ก่อน

53.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับทาสในสมัยอยุธยา

(1) นายเงินขึ้นค่าตัวทาสไม่ได้ (2) นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาส

(3)นายเงินไม่มีสิทธิลงโทษทาส           (4) นายเงินไม่มีสิทธิส่งทาสไปรบแทนตน

ตอบ 1 หน้า 352 – 354356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้

1.         ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง 2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้

3.         ใช้ทาสไปรบแทนตนได้           4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป

5.         ขายทาสต่อไปได้ แต่ขึ้นค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะไม่ยอมรับคำตัวทาสไม่ได้    6. ในกรณีที่เป็นข้าพระอารามหรือทาสวัดให้อยู่ภายใต้

การดูแลของพระสงฆ๎ ซึ่งเป็นมูลนายที่แท้จริง ฯลฯ

54.       สกุลยศ หม่อมราชวงศ์” และ หม่อมหลวง” เพิ่งมีขึ้นในรัชกาลใด

(1)       สมเด็จพระนเรศวร       (2) สมเด็จพระนารายณ์ (3) สมเด็จพระเจ้าตากสิน (4) สมเด็จพระจอมเกล้าฯ

ตอบ 4 หน้า 306 – 307, (คำบรรยาย) สกุลยศ หมายถึง ยศที่ได้จากการถือกำเนิด ซึ่งการกำหนด สกุลยศของเจ้านายในสมัยอยุธยาตอนปลายจะแบ่งเป็นยศเจ้าฟ้า พระองศ์เจ้า และหม่อมเจ้า ตามลำดับ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้เพิ่มสกุลยศ ของเจ้านายขึ้นอีก 2 ชั้น คือ หม่อมราชวงศ์ (ม.ร.ว.) และหม่อมหลวง (ม.ล.) แต่ผู้ที่มียศทั้งสองนี้ ไม่ถือเป็นชนชั้นเจ้านาย เป็นแต่เพียงผู้สืบเชื้อสายเจ้านายเท่านั้น

55.       ตำแหน่งวังหน้าที่มีสถานะเสมือนหนึ่งพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 ในสมัยรัตนโกสินทร์เกิดขึ้นในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 2  (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 212395 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงแต่งตั้ง พระอนุชา คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ (วังหน้า) และขณะเดียวกันทรงยกฐานะของกรมพระราชวังบวรฯ ให้มีสถานะและพระยศเสมือนหนึ่งเป็น พระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 โดยพระราชทานยศและพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

56.       ขุนนางตระกูลใดมีอิทธิพลสูงสุดในต้นรัตนโกสินทร์

(1) อมาตยกุล  (2) บุนนาค      (3) บุญยรัตนพันธ์       (4) ติณสูลานนท์

ตอบ 2 หน้า 404 – 407 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ขุนนางตระกูลบุนนาค มีอิทธิพลสูงสุด และมีอำนาจโดดเด่นเหนือขุนนางตระกูลอื่น เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้

1.         ความเป็นญาติและความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระราชวงศ์จักรี

2.         การได้ควบคุมกรมสำคัญที่ได้รับผลประโยชน์สูงในยุคที่การค้าขายขยายตัว

3.         การได้รับผลประโยชน์อย่างมากจากระบบเจ้าภาษีนายอากร

4.         ความสามารถเฉพาะตัวของขุนนางตระกูลบุนนาค

57.       เหตุใดไพร่จึงถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์

(1)       มีกรรมกรชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานไทยมากขึ้น

(2)       การคุกคามและการเผยแพร่แนวคิดของมหาอำนาจตะวันตก

(3)       กษัตริย์เน้นอุดมการณ์ปกครองแบบธรรมราชา         

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 416 – 424, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งมีการยกเลิกระบบไพร่อย่างสิ้นเชิงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         กษัตริย์เน้นอุดมการณ์ปกครองแบบธรรมราชา

2.         การคุกคามและการเผยแพร่แนวคิดของมหาอำนาจตะวันตก

3.         การเปลี่ยนแปลงลักษณะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้รัฐต้องการให้ไพร่ใช้เวลาปลูกข้าวมากขึ้น

4.         มีกรรมกรชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น

5.         ภาวะการทำสงครามและการถูกรุกรานโดยอาณาจักรใกล้เคียงกับไทยหมดไป

58.       พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 มีผลให้ระบบไพร่ถูกยกเลิกเด็ดขาด ทั้งนี้ชายฉกรรจ์ทุกคนเมื่ออายุ ครบ …ปี จะต้องมาเกณฑ์ทหารรับราชการในกองประจำการ มีกำหนด …ปี จากนั้นแล้วจะปลดปล่อย ให้อยู่ในกองหนุน

(1) 182         (2) 202         (3) 212         (4) 252

ตอบ 1 หน้า 427 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการออก พ.ร.บ. เกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 ขึ้นในปี พ.ศ. 2448 ซึ่งได้กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปี ยกเว้นคนจีนและคนป่าคนดอย ต้องเข้ามา เกณฑ์ทหารรับราชการในกองทัพมีกำหนด 2 ปี จากนั้นจึงจะได้รับการปลดปล่อยให้อยู่ในกองหนุน ขั้นที่ 1 อีก 5 ปี และกองหนุนขั้นที่ 2 อีก 10 ปี จึงจะปลดประจำการและไม่ต้องเสียค่าราชการ ไปอีกตลอดชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้จึงนับเป็นก้าวสุดท้ายที่จะยกเลิกระบบไพร่โดยสิ้นเชิง

59.       เหตุเกิดในเมืองไทยภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง 10 ปี ชาวอาหรับจดทะเบียนเป็นคนในบังคับสเปนและทำผิดกฎหมายไทย ถามว่าศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดี

(1) ศาลไทย     (2) ศาลอิรัก     (3) ศาลสเปน  (4) ได้ทั้ง 3 ศาล

ตอบ 3 หน้า 439547 – 548, (คำบรรยาย) ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปีพ.ศ. 2398 ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (เสียเอกราชด้านการศาล) คือ คนต่างชาติ และคนในบังคับของต่างชาติเมื่อมีเรื่องกับคนไทยก็ดี หรือมีเรื่องในหมู่พวกตัวเองก็ดี จะต้อง ขึ้นศาลกงสุลของชาติตนหรือชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้ศาลไทยไม่สามารถเอาผิดกับ คนต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยและทำผิดกฎหมายไทยได้ ซึ่งต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2399 – 2442 ก็มีประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามาทำสัญญา ในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายประเทศ

60.       การเลิกทาสโดยไม่เสียเลือดเนื้อเหมือนในประเทศสหรัฐอเมริกา ถามว่ารัชกาลที่ 5 ทรงใช้เวลากว่ากี่ปีจึงแล้วเสร็จ

(1)10ปี            (2)       15ปี     (3)20ปี            (4) 30ปี

ตอบ 4 หน้า 433516, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินการเลิกทาสจนสำเร็จ โดยพระองค์ ทรงใช้นโยบายทางสายกลาง คือ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้นตอน มิใช่รวบรัดเลิกทาสทั้งหมด ในคราวเดียวกัน รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้อย่างเด็ดขาด โดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา

61.       การทำการเกษตรกรรมของสุโขทัยอาศัยแหล่งนํ้าจากแม่นํ้าใด

(1) แม่น้ำปิง

(2)       แม่น้ำเจ้าพระยา

(3)       แม่น้ำวัง

(4) แม่น้ำยม

ตอบ 4 หน้า 24474, (คำบรรยาย) อาณาจักรสุโขทัยจะมีแม่นํ้ายมไหลผ่าน ดังนั้นการทำการเกษตรกรรมของสุโขทัยจึงอาศัยแหล่งนํ้าจากแม่น้ำยมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานกันว่า เขตที่ทำการเพาะปลูกได้ของสุโขทัย ได้แก่ ริมลำน้ำซึ่งเป็นสาขาไหลลงสู่แม่นํ้ายม คือ แถบพรานกระต่าย อีกแห่งหนึ่งคงจะเป็นรอบ ๆ เมืองสุโขทัย เฉพาะบริเวณสองข้างของลำน้ำสายเล็กๆ ที่ไหลมาจากภูเขาทางทิศตะวันตกลงไปสู่แม่นํ้ายม

62.       เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากที่ดินสมัยสุโขทัยข้อใดถูกต้อง

(1)       ผู้ปกครองให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่ผู้ที่ขยันหมั่นเพียร

(2)       ผู้จะเข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้น ๆ มีสถานะเป็นผู้เช่าที่ดินเท่านั้น

(3)       ราษฎรสามารถจับจองที่ดินเป็นของตนเองได้ตามอัธยาศัย  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 475 ผู้ปกครองสุโขทัยได้ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่ผู้ที่ขยันหมั่นเพียร มีความวิริยะอุตสาหะ หักร้างถางพง เพื่อสร้างเป็นไร่เป็นนาเป็นสวน แม้บิดาตายไปบุตรก็ยังมีสิทธิได้รับต่อ หรือแม้พี่ชายตายน้องก็ได้รับต่อมา เท่ากับว่าราษฎรชาวสุโขทัยมีสิทธิในทรัพย์สินที่ปลูกสร้างนั้น อย่างสมบูรณ์ ใครปลูกสร้างสิ่งใดไว้ก็ได้สิทธิครอบครองเป็นเจ้าของสิ่งนั้น

63.       การจับสัตว์นํ้าของสุโขทัยอาศัยแหล่งในการจับสัตว์น้ำบริเวณดมากที่สุด

(1)       อ่าวไทย           (2) แม่นํ้ายม    (3) แม่นํ้าเจ้าพระยา    (4) ตระพัง

ตอบ 2 หน้า 475, (คำบรรยาย) แหล่งจับปลานํ้าจืดของสุโขทัยที่มีปลาอุดมสมบูรณ์ที่สุด ได้แก่ในแม่นํ้ายมตอนใกล้แก่งหลวง เพราะปรากฏว่ามีราษฎรจากเมืองต่าง ๆ พากับมาจับปลากัน มากมายจนถึงปัจจุบัน ส่วนการจับปลาทะเลนั้นคงจะจับกันแต่เพียงริมฝั่งทะเลในอ่าวไทยเท่านั้น เพราะในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีเรือใหญ่ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกไปจับปลา ในทะเลลึก นอกจากนี้เครื่องมือจับปลาน้ำลึกในสมัยนั้นก็คงยังไม่มีใช้

64.       แร่ดีบุกที่นำมาใช้ในสมัยสุโขทัยมาจากที่ใด

(1) พังงา          (2) ภูเก็ต         (3) ระนอง        (4) เชียงใหม่

ตอบ 4 หน้า 476, (คำบรรยาย) แหล่งแร่ดีบุกที่นำมาใช้ในสมัยสุโขทัย คงจะได้มาจากอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และแถวแคว้นอัสสัมทางตอนเหนือของพม่า หรือแถบเมืองท่าแขก ตรงกันข้ามกับจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน

65.       ข้อใดถูกเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจทางด้านตลาดสมัยสุโขทัย

(1) รายได้หลักมาจากการค้าข้าว        (2) รายได้หลักมาจากการค้าภายใน

(3) รายได้หลักมาจากการค้าภายนอก            (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 479481 – 483 แหล่งที่มาของรายได้หลักที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา ที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก” ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญ และเป็นกิจการที่ใหญ่โตรุ่งเรืองมาก คงจะทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว ส่วนแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกอยางหนึ่งจะมาจากการเก็บภาษีข้าว โดยให้เก็บภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน ซึ่งแม้จะไม่มากนักแต่ก็เป็นรายได้ส่วนหนึ่ง

66.       ชาติใดไม่ใช่ลูกค้าของอาณาจักรสุโขทัย

(1) แอฟริกาตะวันออก (2) โปรตุเกส   (3) หมู่เกาะอินโดนีเซีย (4) ฟิลิปปินส์

ตอบ 2 หน้า 479 ลูกค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า สังคโลก” ของอาณาจักรสุโขทัยมีอยู่ 2 พวก คือ อินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์พวกหนึ่ง และชาวอินเดียกับตะวันออกใกล้อีกพวกหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีลูกค้ารายเล็ก ๆ เช่น ญี่ปุ่น และแอฟริกาตะวันออก เป็นต้น

67.       ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญทางด้านเศรษฐกิจสมัยอยุธยาที่มีความแตกต่างจากสมัยสุโขทัย

(1) กรรมสิทธิ์ที่ดิน       (2) แรงงานไพร่ ทาส    (3) การค้าผูกขาด        (4) ประเภทของสินค้า

ตอบ 4 หน้า 487 – 488 องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญทางด้านเศรษฐกิจสมัยอยุธยาที่มีความแตกต่างจากสมัยสุโขทัย คือ ระบบการปกครองได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของราษฎรไทย ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ 1. กรรมสิทธิ์ที่ดิน 2. การค้าแบบผูกขาด 3. แรงงานไพร่ ทาส

68.       รัฐสมัยอยุธยาช่วยเหลือไพร่ในการปลูกข้าวอย่างไร

(1) การรับจำนำราคาข้าว        (2) การรับประกันราคาข้าว

(3) การจัดหาตลาด     (4) ออกกฎหมายคุ้มครองแก่ต้นข้าว

ตอบ 4 หน้า 489 – 491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ดังนี้

1.         ขยายพื้นที่ทำนาเพาะปลูก

2.         คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยการออกกฎหมายคุ้มครองแก่ต้นข้าว และลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง

3.         ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ

4.         ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก        5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท

6.         การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด

69.       ข้อใดไม่ไชพิธีที่สร้างขึ้นสำหรับการทำการเกษตรกรรม

(1)       พิธีโล้ชิงช้า       (2) พิธีไล่นํ้า     (3) พิธีพืชมงคล           (4) พิธีลอยพระประทีป

ตอบ 1 หน้า 491 – 492660 – 661 พิธีกรรมที่สร้างขึ้นสำหรับการทำการเกษตรกรรม มีดังนี้

1.         พิธีเผาข้าวหรือพิธีธานยเทาะห์ เป็นพระราชพิธีเสี่ยงทายในเดือนสาม

2.         พิธีพืชมงคลและพิธีจรดพระนังคัล เป็นพิธีที่นิยมกระทำด้วยกันในเดือนห้าและหก

3.         พิธีพรุณศาสตร์ หรือพิธีขอฝน เป็นพิธีจรในเดือนเก้า

4.         พิธีไล่น้ำหรือไล่เรือ เป็นพิธีจรในเดือนอ้ายเพื่อให้นํ้าลดลงเร็ว ๆ

5.         พิธีลอยกระทง หรือลอยพระประทีป เป็นพิธีในเดือนสิบเอ็ดและสิบสองเพื่อขอบคุณ พระแม่คงคาที่ประทานนํ้ามาให้เพาะปลูกอย่างอุดมสมบูรณ์ ฯลฯ

(ส่วนพิธีโล้ชิงช้า ทำขึ้นเพื่อรับเสด็จพระอิศวรตามคติทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู)

70.       พืชไร่พืชสวนชนิดใดที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสมัยอยุธยา

(1)       ลองกอง           (2) ทุเรียน        (3) อ้อย           (4) ลางสาด

ตอบ 1 หน้า 493 พืชที่กฎหมายสมัยอยุธยาให้ความคุ้มครอง หมายถึง พืชที่มีบทลงโทษไว้แก่ผู้ทำลาย ลักตัด ถอน ไม่ว่าจะเป็นต้นเล็ก ต้นใหญ่ หรือโกร๋น ในอัตราค่าปรับที่แตกต่างกันไป ซึ่งพืชที่มีกฎหมายคุ้มครองที่พบในสมัยอยุธยา ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลางสาด มะพร้าว กล้วย อ้อย พริกไทย หมากและพลู

71.       ข้อใดไม่ใช่แร่ที่ขุดพบในสมัยอยุธยา

(1)       ทองคำ

(2) ยูเรเนียม

(3) ดีบุก

(4) เหล็ก

ตอบ 2 หน้า 496 อาณาจักรอยุธยามีแร่ธาตุนานาชนิด ซึ่งแร่ธาตุที่ขุดพบและปรากฏหลักฐานว่า ชาวไทยรู้จักนำมาทำประโยชน์ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก ทองคำ ทองแดง อำพัน ไข่มุก และพลอย

72.       ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกำนันตลาดในสมัยอยุธยา       

(1) ห้ามการขายสินค้าเกินราคา

(2)       เก็บหัวเบี้ย      (3) ตรวจการใช้เงินปลอมในตลาด      (4) เป็นเจ้าของตลาด

ตอบ 4 หน้า 498 – 499 กำนันตลาดและนายตลาดหรือเจ้าตลาดในสมัยอยุธยามีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการค้าขายดังนี้ 1. ควบคุมไม่ให้ลูกตลาดขายสินค้าเกินราคาควบคุมที่เรียกว่า ถนนตระหลาด”   2. สอดส่องดูแลไม่ให้ลูกตลาดเอาสินค้าต้องห้ามไปซื้อขายต่างเมือง   3.เก็บหัวเบี้ยในตลาดตามพิกัดที่ระบุไว้ในกฎหมาย 4. ในกรณีที่ชาวตลาดทะเลาะวิวาท และมีการฟ้องร้องกัน กฎหมายระบุว่าต้องไปสืบพยานจากกำนันตลาด 5. นายตลาดหรือ เจ้าตลาดจะทำหน้าที่ฝนตราเงิน เพื่อตรวจการใช้เงินทองแดงซึ่งเป็นเงินปลอมที่เอามาซื้อขาย

73.       สินค้าที่อยุธยาไม่ได้นำไปจำหน่ายที่จีนคือ

(1) นกแก้วห้าสี            (2) นอแรด       (3) ผ้าไหม       (4) พริกไทย

ตอบ 3 หน้า 500 สินค้าที่ไทยนำไปจำหน่ายยังเมืองจีนในสมัยอยุธยา ได้แก่ 1. พวกของป่า เช่น ไม้ฝาง ไม้หอมต่าง ๆ 2. เครื่องเทศ เช่น กระวาน กานพลู พริกไทย 3. สัตว์ที่หายาก เช่น นกยูง นกแก้วห้าสี            4. ผลิตผลจากสัตว์ป่า เช่น งาช้าง นอระมาด (นฤมาตหรือนอแรด) หนังสัตว์ ฯลฯ

74.       ข้อใดถูก

(1)       การส่งเสริมการปลูกข้าว รัฐไทยสมัยรัชกาลที่ 5 มีนโยบายให้ใช้แต่ข้าวพันธุ์ไทยเท่านั้น

(2)       ข้าวพันธุ์คาโรไลนา คือ ข้าวพันธุ์ดีที่รัฐส่งเสริมให้ชาวนาเอาไปปลูก

(3)       รัฐสยามสมัยรัตนโกสินทร์ไม่ส่งเสริมการส่งออกข้าว

(4)       ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่งทำให้ข้าวถูกผูกขาดโดยผู้ปกครองสยาม

ตอบ 2 หน้า.519521 รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของข้าวที่กลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ จึงทรงส่งเสริมการทำนาปลูกข้าวประการหนึ่ง คือ คัดหาพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพ และคัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว นอกจากนี้รัฐบาลยังได้คัดซื้อพันธุ์ข้าวคาโรไลนาเข้ามาแจกจ่าย ให้ราษฎรไปเพาะปลูก เพราะข้าวพันธุ์นี้ปลูกที่อเมริกา มีจำหน่ายอยู่ในยุโรป จัดเป็นข้าวลำดับที่ 1 ที่เกรดดีที่สุด.

75.       การแก้ไขปัญหาการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 ข้อใดผิด

(1)       การแก้ไขปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน (2) การผ่อนผันให้เว้นการเกณฑ์ทหารที่มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี

(3)       การแก้ไขปัญหาพ่อค้าคนกลาง           (4) การกีดกันคนจีนออกจากระบบเศรษฐกิจของสยาม

ตอบ 4 หน้า 521 – 522 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้

1.         แก้ปัญหาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่มณฑลทางใต้

2.         แก้ปัญหาแรงงาน โดยการผ่อนผันหรือยกเว้นภารเกณฑ์ชายฉกรรจ์ ซึ่งมีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร แตให้ไปทำนาแทน

3.         แก้ปัญหาการถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ในเรื่องความไม่เที่ยงตรงของเครื่องชั่งตวงวัด

76.       การเดินสวนทุกปีเกิดขึ้นเมื่อใด

(1) รัชกาลที่ 1  (2) รัชกาลที่ 2  (3) รัชกาลที่ 3  (4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 4 หน้า 522 ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้มีการเดินสวนทุกปีทุกคราวที่เก็บอากรสวน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปจากธรรมเนียมเดิมที่เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ 3 ปี จึงให้เดินสวน (รวมทั้งเดินนาด้วย) ทั้งนี้เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงต้องการทราบข้อมูลให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง หากทิ้งไว้นาน จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชาวสวนได้

77.       ตลาดค้าโคที่สำคัญของสยามสมัยรัตนโกสินทร์คือที่ใด

(1) อินเดีย       (2) อังกฤษ      (3) สิงคโปร์     (4) ญี่ปุ่น

ตอบ 3 หน้า 526 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการส่งโคกระบือไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งตลาดสินค้าโค ที่สำคัญของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สิงคโปร์ โดยมีการส่งโคกระบือเป็นสินค้าออกใน ร.ศ. 116 เป็นจำนวน 4,891 ตัว และใน ร.ศ. 117 ส่งไปขายมากกว่าคือ 14,310 ตัว

78.       สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาด้านการเลี้ยงไหม ถามว่าเป็นคนชาติใด

(1) ญี่ปุ่น         (2) จีน  (3) อินเดีย       (4) เขมร

ตอบ 1 หน้า 526 ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลได้ว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ได้แก่ นายโตยามะ (Mr. Toyama) ซึ่งเข้ามาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2444 เพื่อให้มาช่วยดูแล การเลี้ยงไหมให้มีคุณภาพดีทัดเทียมกับต่างประเทศ เนื่องจากขณะนั้นประเทศญี่ปุ่น กำลังประสบความสำเร็จในการผลิตไหมออกขายตลาดโลก

79.       กองบำรุงรักษาสัตว์นํ้าสังกัดหน่วยงานใด

(1)       กรมประมง      (2) กระทรวงเกษตราธิการ

(3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์         (4) กรมปศฺสัตว์

ตอบ 2 หน้า 527 – 528 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงเกษตราธิการได้ตั้งกองบำรุงรักษาสัตว์น้ำขึ้น และได้จ้างผู้ชำนาญพิเศษเรื่องสัตว์นํ้า คือ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ (Dr.Hugh McCormic Smith) ชาวอเมริกันมาช่วยงาน หลังจากนั้นจึงได้จัดตั้งกรมรักษาสัตว์นํ้าขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่บำรุงรักษาและเพาะพันธุ์สัตว์นํ้า โดยมี ดร.ฮิว เป็นเจ้ากรมตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2469

80.       มิสเตอร์ เอช. สเลด เข้ามาทำหน้าที่อะไรในสยาม

(1) ประมง       (2) ป่าไม้          (3) วิศวกรรมชลประทาน (4) การเลี้ยงไหม

ตอบ 2 หน้า 531 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นโดยให้อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมิสเตอร์ เอช. สเลด (Mr. H. Slade) เป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรก ตั้งแต่ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2439 จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2447 ท่านผู้นี้จึงกราบบังคมทูลลาออก

81.       ก่อนที่มนุษย์นับถือผีสางเทวดานั้น มีพื้นฐานความเชื่อในเรื่องใดมาก่อน

(1) นับถือวิญญาณ

(2) นับถือเทพเจ้า

(3) นับถือธรรมชาติ

(4) นับถือศาสนา

ตอบ 3 หน้า 570 – 571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1.การบูชานับถือธรรมชาติ            2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม 3. การบูชาบรรพบุรุษ4.          การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ 5. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของเทพเจ้า แต่ละองค์ให้ต่างกัน           6. การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก

82.       ในสุโขทัยมีการจารึกถึงการนับถือ พระขะพุงผี” หมายถึงความเชื่อในเรื่องใด

(1) นับถือบรรพบุรุษ    (2) นับถือไสยศาสตร์   (3) นับถือผี      (4) นับถือศาสนา

ตอบ 3 หน้า 583 – 584 ในศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการจารึกถึงพระขะพุงผิ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุด ในเมืองสุโขทัย เพราะเป็นผู้ที่สามารถทำให้บ้านเมืองล่มจมและเจริญได้ แสดงให้เห็นชัดถึง อิทธิพลความเชื่อถือเดิมในคติการนับถือผีสางเทวดาว่าฝังรากอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าจะนับถือ พระพุทธศาสนาแล้วก็ตาม

83.       ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยมีศาสนาใดที่เข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนา จนก่อให้เกิดพิธีกรรม ในศาสนา

(1) ศาสนาฮินดู            (2) ศาสนาคริสต์          (3) ศาสนาเชน (4) ศาสนาอิสลาม

ตอบ 1 หน้า 584(คำบรรยาย) ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรือง มาก แต่กษัตริย์ก็มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่น ตรงกันข้ามกลับทรงอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ ที่ประชาชน นับถือร่วมกับศาสนาพุทธ เช่น ศาสนาฮินดู ซึ่งจะเห็นได้จากพิธีกรรมต่าง ๆ มักจะเอาศาสนาฮินดู เข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี

84.       หลักฐานในข้อใดที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสุโขทัย

(1) ไตรภูมิพระร่วง       (2) พงศาวดาร (3) พระไตรปิฎก          (4) ศิลาจารึก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ

85.       ข้อความในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์คณะใต้สมัยสุโขทัย

(1) มักอยู่วัดในเมือง    (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า    (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย

ตอบ 1 หน้า 582 – 583 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนาในสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่

1.         คณะเหนือ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ซึ่งเป็นคณะเดิมที่นับถือกันอยู่ โดยจะใช้ภาษาสันสกฤต และพระสงฆ์มักอยู่วัดในเมือง

2.         คณะใต้ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นรากฐานของมหานิกายในปัจจุบัน โดยพระสงฆ์จะใช้ภาษาบาลี และมักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้ผู้คนเลื่อมใสใน พระจริยวัตรมากกว่า

86.       ข้อความในข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์ในคณะเหนือสมัยสุโขทัย

(1) มักอยู่วัดในเมือง    (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า    (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ

87.       การแบ่งพระสงฆ์เป็นสามคณะ คือ คณะคามวาสี คณะอรัญวาสี และคณะป่าแก้ว เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) สมัยสุโขทัย            (2) สมัยอยุธยา           (3) สมัยธนบุรี  (4) สมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 592 – 593, (คำบรรยาย) ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระอินทรราชา)ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปป่ระเทศลังกาเพื่ออุปสมบทบวชแปลงเป็นนิกายวันรัตนวงศ์ ในสำนักพระวันรัตน์มหาเถระ และเมื่อกลับมายังกรุงศรีอยุธยาก็ได้จัดตั้งนิกายลังกาวงศ์ขึ้นอีก นิกายหนึ่ง เรียกว่า วันรัตนวงศ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้พระสงฆ์ในสมัยอยุธยาแบ่งออกเป็น 3 คณะ ได้แก่      1. คณะคามวาสี          2. คณะอรัญวาสี 3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงศ์)

88.       วรรณกรรมเรื่องใดแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา

(1) ไตรภูมิพระร่วง       (2) มหาชาติคำหลวง   (3) ไตรภูมิโลกวินิจฉัย (4) ปฐมสมโพธิ์

ตอบ 2 หน้า 594, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา ประการหนึ่ง คือ เกิดวรรณคดีทางพุทธศาสนาขึ้นหลายเรือง เช่น เรื่องมหาชาติคำหลวง กาพย์มหาชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง และปุณโณวาทคำฉันท์ เป็นต้น

89.       ข้อความใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา

(1)       วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ

(2)       เป็นธรรมเนียมที่ลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา

(3)       วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษา          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 590, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา มีดังนี้

1.         วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ

2.         วัดเป็นที่ระงับคดีวิวาทของชาวบ้าน

3.         วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการบวชเรียน ซึ่งในสมัยอยุธยา ถือเป็นธรรมเนียมว่าลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา

4.         วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวิชาอาชีพอื่น ๆ แก่กุลบุตร

90.       ข้อความใดแสดงถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา

(1) การสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด      (2) พิธีกรรมต่างๆ มีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ

(3) การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 589 – 592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น

91.       การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 สะท้อนสิ่งใด

(1)       ความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนาสมัยอยุธยาตอนปลาย

(2)       ความสนใจบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ 2

(3)       ความคิดริเริ่มของคณะสงฆ์ไทยในการชำระพระไตรปิฎก

(4)       ประชาชนเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก

ตอบ 1 หน้า 597 – 598 สาเหตุที่รัชกาลที่ 1โปรดฯให้สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 ในพ.ศ. 2331 เป็นเพราะนับตั้งแต่อยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองกระส่ำระสาย และพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาตอนปลายเสื่อมโทรมมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการ สังคายนารวบรวมพระไตรปิฎกขึ้นไว้ให้สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง

92.       บุคคลในข้อใดเป็นผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์นิกายใหมที่เรียกว่า ธรรมยุตินิกาย

(1) เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (2) กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

(3) เจ้าฟ้ามงกุฎ          (4) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตอบ 3 หน้า 602 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมา) ทรงเป็นผู้นำในการ ปฏิรูปการพระพุทธศาสนา ซึ่งการปฏิรูปที่สำคัญ คือ การจัดตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ที่เรียกว่า ธรรมยุตินิกาย” ซึ่งเป็นคณะที่ปฏิบัติตามพระวินัยเคร่งครัดมาก ดังนั้นจึงนับเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

93.       เหตุใดจึงมีการปรับปรุงและสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันสงฆ์ในรัชกาลที่ 5

(1)       เป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองกำลังถูกคุกคามจากประเทศตะวันตก

(2)       เป็นระยะที่เกิดความเชื่อใหม่ ๆ ที่ท้าทายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

(3)       เพื่อต่อต้านอิทธิพลตะวันตก เพราะสถาบันสงฆ์กับสถาบันการเมืองเกือบเป็นสถาบันเดียวกัน

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 616-618 รัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงและสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันสงฆ์ โดยโปรดฯ ให้ตรา พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ขึ้น เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้

1.         เป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองกำลังถูกคุกคามจากประเทศตะวันตก (โดยเฉพาะฝรั่งเศส)

2.         เป็นระยะที่เกิดความเชื่อใหม่ ๆ ที่ท้าทายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

3.         เพื่อต่อต้านอิทธิพลตะวันตก เพราะสถาบันสงฆ์กับสถาบันการเมืองเกือบเป็นสถาบันเดียวกัน

94.       ข้อใดไม่ถูก

(1)       ความเชื่อเรื่องกรรมช่วยลดปัญหาสังคมได้

(2)       เมตตา คือ ควานหวังดีต่อผู้อื่น

(3)       หลักพรหมวิหารสี่เป็นบ่อเกิดของความช่วยเหลือกัน

(4)       หลักสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ ให้คนไปนิพพาน

ตอบ 4 หน้า 628 พระพุทธศาสนาไม่ได้มีหลักการอย่างเดียว คือ จะให้คนไปนิพพาน ปล่อยให้สังคมมนุษย์รกร้าง แต่พระพุทธศาสนาได้วางหลักช่วยสังคมอย่างสมบูรณ์ เช่น ถ้าอยู่ในโลก ก็จะช่วยให้อยู่ในโลกอย่างสงบสุข แต่ถ้าจะบรรลุโลกุตตระก็ทรงช่วยแบบโลกุตตระ

95.       จุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาสังคมของพระพุทธศาสนาคืออะไร

(1) การแก้ใจของแต่ละคนให้เกิดความสงบ    (2) การให้ทุกคนบรรลุถึงโลกุตตระ

(3) กรให้ทุกคนปลีกตัวออกจากสังคม          (4) การตัดจากกิเลสทั้งปวงซึ่งนำไปสู่นิพพาน

ตอบ 1 หน้า 629 จุดมุ่งหมายสำคัญในการแก้ป้ญหาสังคมของพระพุทธศาสนา คือ การแก้ใจ ของแต่ละคนให้เกิดความสงบ โดยมีหลักวิธีง่าย ๆ ในการแก้ใจตนเองอยู่ 2 วิธี ได้แก่

1.         การสอนให้เชื่อเรื่องกรรมช่วยแก้ปัญหาสังคมได้

2.         การสอนให้พึ่งตนเอง เป็นการวางรากฐานจิตใจไม่ให้อ่อนแอคอยคิดแต่จะพึ่งผู้อื่น

96.       ข้อใดชี้ให้เห็นว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับความสุขของฆราวาส

(1)       พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขเป็นโลกียสุขและโลกุตตระสุข

(2)       พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสามิสสุขและอามิสสุข

(3)       พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องนิพพานเท่านั้น         (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 619 พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โลกียสุข เป็นความสุข ของปุถุชนหรือฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งเป็นสุขที่พัวพันกับทรัพย์สมบัติและวัตถุต่าง ๆ ตลอดจน อารมณ์ 2. โลกุตตระสุข เป็นความสุขของผู้สิ้นกิเลสและสำเร็จอรหัตผลแล้ว จึงเป็นสุข ที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่พัวพันกับวัตถุหรืออารมณ์ใด ๆ

97.       พิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้ทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ขึ้นต่างหากเรียกว่าอะไร

(1) แรกนาขวัญ           (2) พิรุณศาสตร์           (3) พืชมงคล    (4) ทำขวัญเมล็ดพืช

ตอบ 3 หน้า 640668 พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล แต่เดิมมีเพียงพิธีพราหมณ์อย่างเดียว เรียกว่า พิธีจรดพระนังคัล” เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ แต่ก่อนทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ตามคติพระพุทธศาสนาขึ้นอีก เรียกว่า พิธีพืชมงคล” คือ การทำขวัญพืช ซึ่งทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร โดยพิธีทั้งสองนี้จะทำพร้อมกัน ในคืนเดียววันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

98.       ข้อใดจัดเป็นประเพณีส่วนรวม

(1) โกนจุก       (2) วันมาฆบูชา           (3) การเผาศพ (4) ทำบุญเลี้ยงพระขึ้นบ้านใหม่

ตอบ 2 หน้า 655658 ประเพณีส่วนรวม คือ ประเพณีที่ประชาชนทั่วไปนิยมปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งมักจะ มีงานรื่นเริงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ประเพณีทำบุญวันขึ้นปีใหม่ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ต่าง ๆ เช่น เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลสารทประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาฃบูซา วันมาฆบูชา วับอาสาฬหบูซา เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประเพณีส่วนบุคคล หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต)

99.       ประเพณีใดที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม

(1) จารีตประเพณี       (2) ขนบประเพณี        (3) ธรรมเนียมประเพณี (4) วิถีประชาชน

ตอบ 1 หน้า 653 – 654, (คำบรรยาย) จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores) คือ ประเพณีที่เกี่ยวข้อง กับศีลธรรม จึงเป็นกฎที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม มีการบังคับให้ปฏิบัติตามและ มีความรู้สึกรุนแรงถ้าใครฝ่าฝืน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความผิดถูก หรือความนิยมที่ยึดถือและ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยการเลียนแบบหรือสั่งสอน เช่น การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว หรือ เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าลงไปลูกหลานต้องเลี้ยงดู พี่น้องต้องรักกัน เป็นต้น

100.    ข้อใดไม่ใช่ความหมายของธรรมเนียมประเพณี

(1) เป็นประเพณีที่ไม่ถือผิดทางศีลธรรม         (2) เป็นประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนวางไว้

(3) เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ๆ ทั่วไป           (4) เป็นแนวทางของการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชิน

ตอบ 2 หน้า 654, (คำบรรยาย) ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ ประเพณีที่ไม่ถือผิดทาง ศีลธรรมแต่ประพฤติกันมาตามธรรมเนียมอย่างนั้น ดังนั้นจึงเป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาๆ ทั่วไปที่ไม่มีระเบียบแบบแผนวางไว้เหมือนกับขนบประเพณี และไม่มีความผิดถูกเหมือนกับ จารีตบระเพณีหรือกฎศีลธรรม แต่เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชินและไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่

101.    ศิลปะในประเทศไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากข้อใด

(1) ธรรมชาติ

(2) วิถีชีวิต

(3) ความเชื่อและศรัทธาในศาสนา

(4) คัมภีร์

ตอบ 3 หน้า 683 ศิลปกรรมในประเทศไทยในยุคประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นงานช่างในศาสนา ซึ่งมักจะสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นงานช่างในศาสนาจึงเป็นการแสดงออกของงานศิลปะที่มีคุณค่า มีความหมาย ต่อวิถีชีวิต และแนวความคิดของคนในอดีตมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน

102.    ศิลปกรรมกลุ่มใดสร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

(1) เทวรูป        (2) พระพุทธรูป

(3) จิตรกรรมฝาผนัง    (4) ศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) งาบศิลปกรรมที่สร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.         ศาสนสถาน คือ งานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา เช่น พุทธสถาน (สร้างขึ้น เนื่องในศาสนาพุทธ)เทวสถาน (สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) ฯลฯ

2.         ประติมากรรมรูปเคารพ คือ งานประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาในศาสนา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูป พระโพธสัตว์ เทวรูป ฯลฯ

103.    ข้อความใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับงานศิลปะที่พบในประเทศไทย

(1)       กษัตริย์มีอิทธิพลต่องานศิลปะ

(2)       ศาสนาทำให้เกิดศิลปะอันเนื่องด้วยศาสนา

(3)       ลักษณะรูปแบบศิลปะอินเดียเป็นพื้นฐานให้แก่ศิลปะในประเทศไทย

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 585683685, (คำบรรยาย) ลักษณะของงานศิลปะที่พบในประเทศไทย มีดังนี้

1.         กษัตริย์มีอิทธิพลต่องานศิลปะ เนื่องจากทรงเป็นผู้นำในการก่อสร้างและบำรุงศาสนสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างวัด

2.         ศาสนาพุทธทำให้เกิดศิลปกรรมที่เป็นงานช่างอันเนื่องด้วยศาสนา เช่น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ภาพเขียนที่ผนังโบสถ์ พระพุทธรูปสลักจากศิลา ฯลฯ

3.         ลักษณะรูปแบบศิลปะอินเดียเป็นพื้นฐานสำคัญให้แก่ศิลปะในประเทศไทย เช่น ศิลปะทวารวดี ส่วนใหญ่รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ เป็นต้น

104.    ศิลปกรรมในข้อใดเป็นงานช่างอันเนื่องด้วยศาสนา

(1) เจดีย์          (2) ภาพเขียนที่ผนังโบสถ์

(3) พระพุทธรูปสลักจากศิลา  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 103. ประกอบ

105.    พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ จัดเป็นประติมากรรมประเภทใด

(1) นูนตํ่า         (2) นูนสูง         (3) ลอยตัว       (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 682 งานประติมากรรมแบบลอยตัว (Round Relief) เป็นการปั้น สลัก หรือหล่อ ที่สามารถมองเห็นและสัมผัส ชื่นชมความงามได้ทุกด้านหรือรอบด้าน เช่น พระพุทธรูป และ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ เป็นต้น

106.    ศิลปะทวารวดีมีอายุสมัยอยู่ในช่วงใด

(1) พุทธศตวรรษที่ 8-10          (2) พุทธศตวรรษที่ 12 – 16

(3) พุทธศตวรรษที่ 16 – 18      (4) พุทธศตวรรษที่ 17 – 19

ตอบ 2 หน้า 683 ศิลปะในประเทศไทยยุคก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 มีดังนี้

1.         ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16)

2.         ศิลปะแบบเทวรูปรุนเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14)

3.         ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18)

4.         ศิลปะขอมในประเทศไทย หรือศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18)

5.         ศิลปะหริภุญไชย (พุทธศตวรรษที่ 17 – 19)

107.    ข้อใดเป็นศิลปวัตถุสมัยทวารวดีที่หมายถึง การแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

(1) ธรรมจักร และกวางหมอบ (2) พระพุทธรูปปางแสดงธรรม

(3) พระพุทธรูปที่มีพระสาวกกำลังพนมมือ     (4) พระพุทธรูปประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์

ตอบ 1 หน้า 689 ศิลาสลักรูปธรรมจักรในศิลปะทวารวดีคงมีความหมายถึง พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เนื่องจากมักพบพร้อมกับกวางหมอบ อันหมายถึง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ทั้งนี้การที่แสดงภาพเป็นธรรมจักรก็เนื่องด้วยพระสูตรที่ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร หรือพระสูตรแห่งการหมุนธรรมจักรนั่นเอง

108.    เทพผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูที่เรียกว่า ตรีมูรติ” ได้แก่เทพในข้อใด

(1) พระศิวะ พระอุมา พระนารายณ์    (2) พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ

(3) พระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร     (4) พระอิศวร พระวิษณุ พระพิฆเณศวร์

ตอบ 2 หน้า 691 ศาสนาฮินดูจะนับถือตรีมูรติ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดหรือเทพผู้เป็นใหญ่ 3 องค์ได้แก่ 1. พระศิวะหรือพระอิศวร เป็นผู้ทำลายโลก 2. พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นผู้รักษาโลก    3.พระพรหม เป็นผู้สร้างโลก

109.    ศิลปะแบบศรีวิชัย เป็นศิลปกรรมที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อในศาสนาใด

(1) พุทธมหายาน         (2) พุทธเถรวาท           (3) ฮินดู           (4) พราหมณ์

ตอบ 1 หน้า 694 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยโบราณวัตถุ ไม่ว่าจะสลักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสำริดจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับของที่พบในเกาะชวาภาคกลาง เป็นอย่างมาก

110.    ศิลปะขอมในประเทศไทย สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในข้อใด

(1) ศาสนาพุทธมหายาน         (2) ศาสนาพุทธเถรวาท

(3) ศาสนาพุทธมหายาน + ศาสนาฮินดู          (4) ศาสนาพุทธเถรวาท + ศาลนาฮินดู

ตอบ 3 หน้า 698 – 699 ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18)มักพบในท้องที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยโบราณวัตถุในศิลปะขอมในประเทศไทยนิยมสลักจากศิลาหรือหล่อด้วยสำริด และมักสร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธมหายานมากที่สุด รองลงมาคือ ศาสนาฮินดู

111.    สถาปัตยกรรมในข้อใดเป็นศิลปะขอมในประเทศไทย

(1) พระปรางค์สามยอด ลพบุรี

(2) ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา

(3) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทพนมรุ้ง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 699 – 700, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมสมัยศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมในประเทศไทย ไม่ได้พบแต่ในเขตเมืองละโว้ (ลพบุรี) เท่านั้น แต่กลับพบใบบริเวณเมืองต่าง ๆ ในลุ่มแม่นํ้า เจ้าพระยาด้วย เช่น ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ปราสาทหินพมาย จ.นครราชสีมา,ปราสาทหินพนมรุ้ง และทับหลังสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ จ.บุรีรัมย์ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรีพระปรางค์สามยอดและพระปรางค์แขก จ.ลพบุรีปราสาทบ้านระแงงที่ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ฯลฯ

112.    ศิลปกรรมหริภุญไชยแท้จริง ได้รับอิทธิพลจากศิลปะใดเป็นพื้นฐาน

(1) ศิลปะทวารวดี        (2) ศิลปะขอมในประเทศไทย

(3) ศิลปะพุกาม           (4) ศิลปะในข้อ 12 และ 3

ตอบ 4 หน้า 703 ศิลปกรรมหริภุญไชยแท้จริงจะมีความเกี่ยวข้องและได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะทวารวดีทางภาคกลาง ศิลปะขอมในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ศิลปะของพุกามเป็นพื้นฐาน

113.    ศิลปะล้านนาในช่วงแรก มีพื้นฐานจากศิลปะในข้อใด

(1) ศิลปะหริภุญไฃย   (2) ศิลปะเชียงแสน     (3) ศิลปะพุกาม           (4) ศิลปะลพบุรี

ตอบ 1 หน้า 715 ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในช่วงแรกนั้น ได้รับอิทธิพลหรือมีพื้นฐานมาจาก ศิลปะหริภุญไชย และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยพุกาม เข้ามาเกี่ยวข้อง

114.    อาคารห้องสี่เหลี่ยมที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป มีหลังคาทรงกรวยสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น มีพื้นที่ภายใน เข้าไปสักการะพระพุทธรูปได้ เรียกอาคารที่มีลักษณะเช่นนี้ว่าอะไร

(1) ทรงปราสาทยอด   (2) ปราสาทขอม          (3) พุ่มข้าวบิณฑ์         (4) มณฑป

ตอบ 4 หน้า 711 มณฑป หมายถึง อาคารที่มีพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อเป็นห้องเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนหลังคาเป็นทรงกรวยสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นลดหลั่นขึ้นไป ส่วนความหมายดั้งเดิมของมณฑป คือ การแสดงความเป็นปราสาท พื้นที่ภายในมีเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เข้าไปสักการบูชาพระพุทธรูป หรือสำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ประกอบพิธีกรรมได้

115.    ข้อใดไม่ใช่กลุ่มพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

(1) พระพุทธรูปสกุลช่างเชลียง           (2) พระพุทธรูปหมวดเบ็ดเตล็ดหรือวัดตะกวน

(3) พระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลก      (4) พระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร

ตอบ 1 หน้า 711 – 713 นักวิชาการได้แบ่งลักษณะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็น 4 หมวด ดังนี้ 1. พระพุทธรูปหมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน 2. พระพุทธรูปหมวดใหญ่

3.         พระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราช หรือพระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลก

4.         พระพุทธรูปหมวดกำแพงเพชร หรือพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร

116.    วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททองถ่ายแบบอย่างสถาปัตยกรรมในข้อใดมาสร้างในกรุงศรีอยุธยา

(1) สถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย            (2) สถาปัตยกรรมแบบล้านนา

(3) สถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย            (4) สถาปัตยกรรมแบบขอม

ตอบ 4 หน้า 724, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงปราบปราม กัมพูขาที่แข็งเมืองได้ จึงมีการถ่ายแบบอย่างปรางค์และสถาปัตยกรรมแบบขอมมาสร้างใน กรุงศรีอยุธยาเป็นการเฉลิมพระเกียรติ คือ วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก นอกเกาะเมืองอยุธยา และสร้างขึ้นตามคติจักรวาลตามแบบปราสาทหินที่นครวัด แต่มีการ ดัดแปลงบางส่วนทางด้านทรวดทรงให้เป็นลักษณะนิยมแบบไทย

117.    ในสมัยรัชกาลใดที่มีการแก้ไขพุทธลักษณะของพระพุทธรูปให้สมจริงคล้ายคนสามัญ ไม่มีพระเกตุมาลา และมีจีบริ้วของจีวรเป็นไปตามธรรมชาติของผ้า

(1) รัชกาลที่ 2  (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 732 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงคิดแก้ไขพุทธลักษณะของพระพุทธรูปให้สมจริงคล้ายมนุษย์- สามัญ คือ ไม่มีอุษณีษะหรือเกตุมาลา พระวรกายเป็นไปตามสรีระของมนุษย์ปกติ จีบริ้วของจีวร เป็นไปตามธรรมชาติของผ้า และประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ซึ่งจัดว่าเป็นพระพุทธรูปแบบสมจริง เช่น พระพุทธนิรันตราย ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นแต่ไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก เป็นต้น

118.    เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ เป็นตัวอย่างเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 4 เจดีย์นี้เป็นรูปแบบใด (1) เจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา   (2) เจดีย์แบบเพิ่มมุม

(3) เจดีย์ทรงปราสาทยอด       (4) เจดีย์ทรงเครื่อง

ตอบ 1 หน้า 605724730 – 731 เจดีย์พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ที่มักเรียกกันวา ทรงกลมแบบลังกา” ดังจะเห็นได้จากพระรัตนเจดีย์ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และเจดีย์ภูเขาทองที่วัดสระเกศเป็นตัวอย่างเจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม เพิ่มมุม ซึ่งทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เป็นต้น

119.    โบสถ์และวิหารที่ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 2  (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 2 หน้า 601729, (คำบรรยาย) รัชกาลที่ 3 (หรือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เมื่อยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์) ทรงนิยมศิลปะจีน ทำให้วัดที่พระองค์ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของ ศิลปะจีน คือ โบสถ์และวิหารไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ส่วนหน้าบันหรือหน้าจั่วไม่ใช้ไม้ แต่ก่อด้วยอิฐถือปูน และใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับ เช่น พระอุโบสถที่วัดราชโอรส วัดเทพธิดาราม และวัดราชนัดดาราม ฯลฯ

120.    พระอุโบสถวัดราชโอรสที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรม ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะในข้อใด

(1) ศิลปะตะวันตก      (2) ศิลปะอยุธยาตอนปลาย

(3) ศิลปะจีน    (4) ศิลปะสุโขทัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 119. ประกอบ

HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

คำสั่ง ให้นักศึกษาเสือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ข้อใดคือความหมายของผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจของชุมชนไทในบริเวณภาคใต้ของจีน

(1)       ผู้นำที่เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า

(2)       ผู้นำที่อ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ

(3)       ผู้นำที่เป็นพระจักรพรรดิราช  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 80-81 ลักษณะผู้นำของชุมชนไทในบริเวณภาคใต้ของจีนประการหนึ่ง คือ ผู้นำจะ อ้างที่มาจากสวรรค์ และยังอ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ เช่น สามารถติดต่อกับวิญญาณของอดีตผู้นำคนก่อนๆ ได้ ซึ่งนักวิชาการจะเรียกผู้นำในลักษณะนี้ว่า ผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจ” (Big Men or Men of Prowess) และเมื่อผู้นำนี้ตายไปก็จะได้รับการนับถือบูชาว่าเป็นบรรพบุรุษคนหนึ่งด้วย

2.         หลักการเรื่องผู้นำที่เป็นมหาชนสมมุติ ปรากฏในหลักฐานใด

(1)       ไตรภูมิพระร่วง (2) พระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร

(3) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่   (4) ศิลาจารึกหลักที่ 1

ตอบ 2 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเสือกสรรจากประชาชน ให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ

3.         พระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน มีคุณสมบัติอย่างไร

(1)       มีพระบรมเดชานุภาพจากชัยชนะในสงคราม  (2) มีพระราชฐานะต่ำกว่า มหาชนสมมุติ

(3) ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีเต็มเปี่ยม          (4) มีคุณสมบัติตรงตามศาสนาพราหมณ์กำหนด

ตอบ 3 หน้า 93 พระตรปิฎกในส่วนสุตตันตปิฎก จักกวัติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาล หรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราช ก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาเต็มเปี่ยม

4.         ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 มีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ

(1)       ไม่เน้นความสูงส่งของจักรพรรดิราช    (2) ไม่อ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์

(3) ไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาท ของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้คำราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย ส่วนหลักการของธรรมราชาอื่นๆนั้น ทางล้านนาก็ใช้คล้ายคลึงกับสุโขทัย เช่น การเน้นความสำคัญของหลักทศพิธราชธรรม การทำสงครามธรรมยุทธ ฯลฯ

5.         จตุโลกบาล หมายถึงอะไรในทัศนคติของพราหมณ์

(1)       เทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาล   (2) พระมหากษัตริย์

(3) ไศเลนทร์ หรือราชาแห่งภูเขา         (4) พระจักรพรรดิราช

ตอบ 1 หน้า 99, (คำบรรยาย) ในทัศนคติของศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล(Universe or Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำ รวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล

6.         ข้อใดถูกในสมัยสุโขทัย

(1)       ไม่ปรากฏอิทธิพลลัทธิเทวราชาในสมัยสุโขทัย            (2) สุโขทัยนำลัทธิเทวราชาเต็มรูปแบบมาใช้

(3)       สุโขทัยนำลัทธิเทวราชามาใช้ในยามที่อาณาจักรแตกแยก หรือมีการแย่งชิงอำนาจ

(4)       ลัทธิเทวราชามีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย

ตอบ 3 หน้า 100 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คงมีการนำคติบางอย่าง ของลัทธิเทวราชามาใช้ แต่อาจใช้ไม่เต็มรูปแบบหรือตลอดเวลา เช่น อาจนำลัทธิเทวราชามาใช้ ในยามที่อาณาจักรแตกแยกและต้องรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ หรือใช้ในยามที่มีการทำรัฐประหาร แย่งชิงอำนาจกษัตริย์พระองค์ก่อน

7.         ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบทหาร

(1)       ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึก

(2)       ใช้การปกครองแบบเข้มงวดและเด็ดขาด

(3)       ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องเป็นทหารทั้งในยามสงบและสงคราม

(4)       สมุหกลาโหมมีอำนาจสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึกสงคราม ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยมีรากฐานมาจากประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็น ทหารประจำการและพลเรือนได้

8.         ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบนครรัฐ

(1)       เมืองต่าง ๆ มีลักษณะเป็นอิสระดุจเป็นรัฐหนึ่ง ๆ        (2) แว่นแคว้นมีการรามตัวอย่างหลวม ๆ

(3) การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่มีประสิทธิภาพ  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 104 – 105160273, (คำบรรยาย) การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การปกครอง ส่วนภูมิภาคในลักษณะที่เมืองหรือนครต่าง ๆ มีอิสระดุจเป็นรัฐหนึ่ง ๆ แว่นแคว้นจึงรวมตัวกัน แต่เพียงหลวม ๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ ส่งผลให้การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเมืองหลวงไม่สามารถควบคุมเมืองส่วนภูมิภาคหรือเมืองลูกหลวงได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงเกิดปัญหาการก่อกบฏของเจ้าเมืองลูกหลวงทั้งในสุโขทัย ล้านนา และอยุธยาตอนต้น

9.         ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของกฎมณเฑียรบาล

(1)       เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน     (2) เป็นหมวดหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง

(3)       เพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

(4)       เป็นการจัดทำเนียบศักดินา

ตอบ 3 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรก ที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี

10.       ข้อใดหมายถึง จตุสดมภ์

(1)       สมุหกลาโหม สมุหนายก พระคลัง เจ้ากรมลูกขุน

(2)       ตำแหน่งเวียง รัง คลัง นา

(3)       เจ้ากรมช้าง เจ้ากรมม้า สุรัสวดี เจ้ากรมลูกขุน

(4)       รังหน้า เจ้าฟ้า พระองศ์เจ้า หม่อมเจ้า

ตอบ 2 หน้า 147 – 148, (คำบรรยาย) อยุธยามีการจัดแบ่งส่วนราชการในระยะแรกเริ่มเป็นแบบ จตุสดมภ์ (หลักทั้ง 4) คือ มีตำแหน่งและกรมกองสำคัญอยู่ 4 กรม ได้แก่ กรมเวียงหรือกรมเมือง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา แต่ต่อมาระบบจตุสดมภ์ซึ่งถือเป็นระบบการปกครองที่มีอายุ ยืนยาวที่สุดก็ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในสมัยปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยทรงจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง ตามแบบอารยประเทศ

11.       พระราชพิธีใดที่ข้าราชการต้องทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย

(1)       พระราชพิธีบรมราชาภิเษก      (2) พระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา

(3) พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ       (4) พระราชพิธี ฟันนํ้า

ตอบ 2 หน้า 126140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยูในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัย ดังหลักฐานจากพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะหรือ ทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูปของสมเด็จพระเจาอู่ทอง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองค์)โดยจะต้องกระทำ ปีละ 2 ครั้ง

12.       ข้อใดถูก

(1)       ราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ

(2)       ราชศาสตร์ยกเลิกไม่ได้

(3)       ธรรมศาสตร์เป็นสาขาคดีของราชศาสตร์

(4)       กฎหมายธรรมศาสตร์สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 134 – 135 กฎหมายที่ใช้ตัดสินคดีในสมัยอยุธยา ได้แก่ พระธรรมศาสตร์และพระราชศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1.         พระธรรมศาสตร์เป็นกฎหมายหลักอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด และยกเลิกไม่ได้

2.         พระธรรมศาสตร์ไม่สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด

3.         พระราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นสาขาคดีของพระธรรมศาสตร์

4.         กษัตริย์ทรงเป็นผู้ตราพระราชศาสตร์ เพื่อใช้ในกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ในพระธรรมศาสตร์

5.         พระราชศาสตร์อาจถูกยกเลิกโดยกษัตริย์ในรัชกาลต่อ ๆ ไปได้ ฯลฯ

13.       ข้อใดหมายถึง คดีศาลรับสั่ง’’

(1)       คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบให้กรมลูกขุนเป็นผู้ตัดสิน

(2)       คดีความที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา

(3)       คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน

(4)       คดีพิพาทระหว่างคนไทยและคนต่างซาติ

ตอบ 3 หน้า 135 – 136 คดีที่พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย จะเรียกว่า ความรับสั่ง” แต่ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรถวายฎีกาขึ้นมา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ กรมพระตำรวจเป็นผู้สอบสวน และพระองค์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน คดีเช่นนี้ จะเรียกว่า คดีศาลรับสั่ง

14.       ข้อใดคือสาระสำคัญของพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

(1) การกำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการ         (2) การกำหนดศักดินาให้ข้าราชการกรมกองต่าง ๆ

(3) การกำหนดลำดับขั้นและพระยศเจ้านาย  (4) วิวัฒนาการระบบราชการ

ตอบ 2 หน้า 149 การศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลางภายหลังการปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและ พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เชื่อว่าได้ตราขึ้นในสมัยของพระองค์ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดศักดินาให้แก่ข้าราชการในกรมกองต่าง ๆ จึงให้ความรู้ ในด้านลักษณะการจัดแบ่งกรมกองต่าง ๆ และสายการบังคับบัญชาในสมัยนั้น

15.       การศึกษาพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองให้ความรู้ด้านใดบ้าง

(1) การปฏิรูปกฎหมาย           (2) เนื้อที่นาทั่วราชอาณาจักร

(3)       กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์

(4)       ลักษณะการจัดแบ่งกรมกองต่าง ๆ และสายการบังคับบัญชา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16.       ข้อใดคือนโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(1) แบ่งงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน     (2) แบ่งการปกครองออกเป็นภูมิภาค

(3) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง            (4) จัดตั้งเมืองลูกหลวงในเขตเมืองชั้นใน

ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูประบบบริหารราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้

1.         แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน

2.         จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสูศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง (แต่มิได้ ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไป ควบคุมโดยตรง

17.       เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์

(1)       กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท

(2)       เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมด

(3)       กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 155-156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้

1.         กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน

2.         เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง

3.         กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาน เป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร

18.       การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะแบบใด

(1) แบ่งงานตามหน้าที่โดยเคร่งครัด    (2) ยกเลิกกรมสำคัญ 6 กรม

(3) แบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาค (4) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

ตอบ 3 หน้า 157 – 158 การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ระบบแบ่งงานตามหน้าที่เฉพาะอย่าง (Functional Basis) ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน สลายไป กลายเป็นระบบแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นส่วนภูมิภาคหรือเขตแดน (Territorial Basis) แทน ดังนี้

1.         กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้

2.         กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ

3.         กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก

19.       ข้อใดคือผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองในส่วนกลางปลายสมัยอยุธยา

(1) เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกัน   (2) กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง

(3) กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้น (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 158 – 159 ผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองส่วนกลางในสมัยอยุธยา ตอนปลาย มีดังนี้

1. เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกับกรมที่เคยรับผิดชอบงานเฉพาะบางกรมเป็นเหตุให้กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง

2. กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้นทุกที

3. การจัดให้กรมเล็กขึ้นสังกัดกรมใหญ่สับสนกันมากขึ้น

20.       เขตมณฑลราชธานี จัดตั้งขึ้นในรัชกาลใด

(1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1   (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) สมเด็จพระนเรศวร (4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

21.       การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมีลักษณะอย่างไร

(1)       มีการจัดตั้งเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร

(2)       มีการแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ

(3)       มีการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค    (4) มีการจัดตั้งเขตมณฑลราชธานี

ตอบ 2 หน้า 162 – 164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้       1. รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหลวงควบคุมเขตภูมิภาคได้มั่นคงขึ้น (แต่มิได้มีผลถาวร)       2. ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอก และจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ

3.         จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ

22.       ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงใช้มาตรการใดในการควบคุมอำนาจเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอก

(1)       ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมือง (2) ให้กรมการเมืองรับเงินเดือนจากเมืองหลวง

(3) ให้เจ้านายไปกำกับราชการหัวเมืองชั้นนอก           (4) ยกเลิกระบบกินเมือง

ตอบ 1 หน้า 195 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นไป ได้มีการใช้นโยบายแบ่งแยก ความจงรักภักดีออกเป็นสองทาง (Dual Allegiance) กล่าวคือ ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็น ผู้แต่งตั้งกรมการเมืองตำแหน่งต่าง ๆ แทนที่จะให้เจ้าเมืองเป็นผู้แต่งตั้งดังแต่ก่อน เพื่อให้เมืองหลวงมีอำนาจควบคุมเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอกได้มากขึ้น เพราะกรมการเมืองย่อม เกิดความภักดีต่อขุนนางในเมืองหลวงซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งตนด้วย มิใช่ภักดีต่อเจ้าเมืองเพียงคนเดียว

23.       ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย

(1)       ลักษณะเทวราชามีความสำคัญมากขึ้น           (2) ลดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(3) ลดความสำคัญในเรื่องผู้นำที่มีบารมีสูง     (4) เน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก

ตอบ 4 หน้า 197202 – 204 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย มีดังนี้   1. การเน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก 2.ความเชื่อในเรื่องบารมีของพระมหากษัตริย์ยังคงมีอยู่

3.         ความเสื่อมของลักษณะเทวราชา        4. ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์

24.       ราชกิจจานุเบกษาเริ่มพิมพ์เผยแพร่ในรัชกาลใดของสมัยรัตนโกสินทร์

(1)       รัชกาลที่ 4       (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 1 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ ที่เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปิดหนทาง ที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร

25.       ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนปฏิรูปการปกครอง สมัยรัชกาลที่ 5

(1)       กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ

(2)       กรมกองต่าง ๆ ได้รับงบประมาณมากเกินไป

(3)       เสนาบดีกรมวังและนครบาลมีรายได้มากเกินไป (4) กองทัพประจำการมีอำนาจมากเกินไป

ตอบ 1 หน้า 222 – 225 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ

2.         กรมกองต่าง ๆ ไม่สามารถพัฒนาความชำนาญเฉพาะอย่างขึ้นได้

3.         การปฏิบัติราชการก้าวก่ายสับสน ไม่มีประสิทธิภาพ และข้าราชการทุจริตกันแพร่หลาย

4.         ไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกรมกอง และไม่มีเงินเดือนให้ข้าราชการ

26.       ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ก่อนการปฏิรูปการปกครอง

(1)       เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีอำนาจในการเก็บภาษี

(2)       หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป

(3)       ระบบมณทลเทศาภิบาลขาดประสิทธิภาพ    (4) เมืองประเทศราชไม่มีอำนาจปกครองตนเอง

ตอบ 2 หน้า 225 – 226 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคและเขตประเทคราช ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป ทำให้เมืองหลวงไม่สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิด

2.         เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือน ทำให้ต้องหารายได้จากการ กินเมือง

3.         ราชธานีให้เขตประเทศราชปกครองตนเอง จึงเปิดโอกาสให้มหาอำนาจเข้าแทรกแซงได้ง่าย

27.       ข้อใดคือผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก

(1) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง            (2) ระบบทาสถูกยกเลิกโดยเด็ดขาด

(3) มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2 สภา   (4) มีการปฏิรูประบบศาลอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 227 – 228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก (พ.ศ. 2417 – 2418) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่

1.         สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (State Council or Council of State)

2.         สภาองคมนตรี (Privy Council)

28.       ข้อใดถูกในสมัยรัตนโกสินทร์

(1)       มีการยกเลิกระบบเมืองประเทศราชโดยเด็ดขาดในสมัยรัชกาลที่ 5

(2)       ระบบมณฑลเทศาภิบาลสามารถแก้ไขปัญหาระบบนครรัฐได้

(3)       การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลไม่ได้ทำพร้อมกับทีเดียวทั้งหมด           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 56234 – 235 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบรวมศูนย์อำนาจ โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น แต่มิได้จัดทำพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ส่งผลให้ระบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐสิ้นสุดลง และระบบเมืองประเทศราชถูก ยกเลิกโดยเด็ดขาด ทำให้ประเทศไทยสามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในลักษณะรัฐประชาชาติ (National State) ได้สำเร็จ

29.       ข้อใดคืออุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

(1)       การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง

(2)       ขุนนางในเมืองหลวงไม่ต้องการยกเลิกระบบกินเมือง

(3)       รัฐบาลไม่สามารถปราบการจลาจลตามหัวเมืองได้    (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 236 – 237 อุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาสที่ 5 นอกจากจะมีปัญหาเรื่องบุคลากรและเงินที่จะใช้ในระบบราชการแบบใหม่แล้ว ยังเกิดปัญหา การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง ซึ่งได้แก่ พวกเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชเดิม ทั้งในมณฑลอีสาน พายัพ และปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2445 แต่รัฐบาลก็สามารถ ปราบปรามลงได้สำเร็จ

30.       ข้อใดคือความแตกต่างในการปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์

(1)       มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยการปกครองแบบเดิม

(2)       ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน

(3)       ผู้ใหญ่บ้านและกำนันไม่มีสิทธิเป็นกรรมการสุขาภิบาลตำบล

(4)       มีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลสมัยอยุธยา และเทศบาลในสมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 168 – 169236 การปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์จะมีหน่วย การปกครองเหมือนกัน คือ เป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์จะมีการ เปลี่ยนแปลงที่มาของผู้ปกครอง โดยให้ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกัน เลือกกำนัน ส่วนนายอำเภอนั้นแต่งตั้งมาโดยมหาดไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบล ซึ่งกรรมการสุขาภิบาลตำบลจะมาจากผู้ใหญ่บ้านและกำนันที่มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง

31.       สังคมไทยมีลักษณะอย่างไร

(1)       เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น แต่เป็นชนชั้นไม่ถาวร

(2)       เป็นสังคมที่อยู่ในระบบผู้อุปถัมภ์-บริวาร

(3)       เป็นสังคมที่มีการปลูกฝังความสำนึกในสถานะของตนเองและผู้อื่นในสังคม           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 361 – 362 สังคมไทยมีลักษณะสำคัญของชนชั้น ดังนี้

1.         เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น แต่เป็นชนชั้นไม่ถาวร มีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

2.         เป็นสังคมที่อยู่ในระบบผู้อุปถัมภ์-บริวาร ซึ่งชนชั้นต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และต้องพึ่งพาอาศัยกัน

3.         เป็นสังคมที่มีฐานะและความเป็นอยู่คาบเกี่ยวกัน จนแบ่งแยกชนชั้นไม่ได้ชัดเจน

4.         เป็นสังคมที่มีการปลูกฝังความสำนึกในสถานะสูงตํ่าของตนเองและผู้อื่นในสังคมอย่างเด่นชัด

32.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย

(1) ไม่ต้องออกรบ        (2) ทำหน้าที่เป็นมูลนาย

(3) ต้องเสียภาษีมากกว่าไพร่  (4) ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการกบฏของลูกเจ้าลูกขุน

ตอบ 2 หน้า 272 – 275 บทบาทหน้าที่และสิทธิของลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย มีดังนี้

1.         ช่วยบริหารราชการสำคัญตาง ๆ          2. ปกครองมืองสำคัญในฐานะเจ้าเมืองลูกหลวงทำให้ปรากฎหลักฐานการก่อกบฏของลูกเจ้าลูกขุนทั้งในสุโขทัยและล้านนา

3.         ทำหน้าที่เป็นมูลนายควบคุมไพร่        4. ช่วยพระมหากษัตริย์ออกรบในยามสงคราม

5.         ได้สิทธิพิเศษเหนือไพร่ คือ ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไม่ต้องเสียภาษีและมีไพร่ในสังกัดได้ฯลฯ

33.       ข้อใดมิใช่สิทธิของไพร่ในสมัยสุโขทัย

(1) ร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง        (2) ไม่ต้องเสียจกอบ

(3) มีสิทธิแสดงความคิดเห็นเรื่องของบ้านเมือง          (4) ไม่ต้องเสียภาษี

ตอบ 4 หน้า 285287 – 288, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้

1.         สิทธิในการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องมูลนายต่อพระมหากษัตริย์ได้ด้วยตนเองโดยตรง

2.         สิทธิในการศาล          3. สิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้

4.         สิทธิในการยกมรดกให้แก่ลูกหลาน    5. สิทธิในการค้าขายสินค้าได้ทุกชนิดอย่างเสรี

6.         สิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีผ่านด่านหรือไม่ต้องเสียจกอบ แตก็ต้องเสียภาษีชนิดอื่น เช่นภาษีข้าว  

7. สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

8. สิทธิแสดงความคิดเห็นเรื่องของบ้านเมืองและการปกครองอาณาจักร ฯลฯ

34.       ระบบไพร่มีประโยชน์ต่อรัฐอย่างไร

(1) รัฐได้เกณฑ์แรงงานจากไพร่           (2) รัฐได้เก็บภาษีจากไพร่

(3) รัฐสามารถควบคุมไพร่ให้อยู่ในกฎหมาย   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 273283, (คำบรรยาย) ประโยชน์ของระบบไพร่ต่อรัฐ มีดังนี้

1.         เพื่อให้รัฐสามารถเกณฑ์แรงงานจากไพร่มาใช้ในเวลาจำเป็นทั้งยามสงบและยามสงคราม

2.         เพื่อให้รัฐควบคุมไพร่ให้อยู่ในกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

3.         เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และให้รัฐได้เก็บภาษีอากรจากไพร่หรือสามัญชน

4.         เพื่อผลประโยชน์ของไพร่ในการได้รับความคุ้มครองจากมูลนาย

35.       ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทาสสมัยล้านนา

(1)       พ่อแม่ขายลูกเป็นข้าได้            (2) มีข้าชนิด ทาสในเรือนเบี้ย” ของสมัยอยุธยา

(3) ล้านนามีการนำ ข้อยมาเป็นข้า” (4) มีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับวิธีที่ข้าจะได้เป็นอิสระ

ตอบ 4 หน้า 293 หลักฐานในสมัยล้านนาไม่ได้กล่าวถึงโอกาสที่ข้าหรือทาสจะเป็นอิสระไว้เลย ยกเว้นในกรณีเดียวที่เจ้าขุนมูลนายมาเป็นชู้กับภรรยาของข้า ข้าผู้เป็นสามีจะได้รับอิสระ นอกจากนี้ยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการไถ่ถอนตัวเป็นอิสระของข้าทั้งในสุโขทัยและล้านนา จึงเป็นไปได้ว่าการไถ่ถอนตัวคงมีน้อยมาก หรือไม่มีเลยก็ได้

36.       ในกฎหมายล้านนา การทำผิดในเรื่องเดียวกันแต่ได้รับโทษไม่เท่ากับ ต่อไปนี้ใครรับโทษหนักที่สุด

(1) นายตีน      (2) นายช้าง     (3) นายม้า       (4) กว้าน

ตอบ 2 หน้า 275 ในสมัยล้านนา ลูกเจ้าลูกขุนเมื่อทำผิดจะถูกปรับมากกว่าสามัญชนแม้จะเป็นความผิด อย่างเดียวกัน โดยผู้มีตำแหน่งสูงขึ้นเท่าใดก็จะถูกปรับมากขึ้นตามลำดับ ดังกฎหมายมังรายศาสตร์ ที่ว่า “…นายตีนกินนาหรือกว้านมักเมียท่านให้ไหม 330 เงิน…นายม้ามักเมียท่านให้ไหม 550 เงิน…นายช้างมักเมียท่านให้ไหม 1,100 เงิน…” ฯลฯ

37.       กษัตริย์อยุธยามีนโยบายต่อเจ้านายอย่างไร

(1) ให้เจ้านายบังคับบัญชาไพร่หลวง  (2) ให้เจ้านายเท่านั้นเป็นเสนาบดี

(3) มีมาตรการเพิ่มจำนวนเจ้านายให้มากขึ้น   (4) เจ้านายจะถูกลดความสูงศักดิ์ลงทุกชั่วคน

ตอบ 4 หน้า 141305308313322 – 323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายลิดรอนอำนาจ เจ้านาย ดังนี้ 1. ควบคุมจำนวนเจ้านายไม่ให้มากเกินไป โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านาย มีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูก หลาน และเหลนเท่านั้น 2. ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านาย ลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกลาวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง 3. ไม่ให้เจ้านายได้เป็น เสนาบดีควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมืองในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน 4. ยกเลิกการให้เจ้านายบังคับบัญชาไพร่หลวง แต่ให้ทรงกรม หรือปกครองกรมและบังคับบัญชาไพร่สมแทน 5. ควบคุมจำนวนไพร่สมไม่ให้มากเกินไป ฯลฯ

38.       กษัตริย์อยุธยาทรงมีมาตรการลิดรอนอำนาจของเจ้านายอย่างไร

(1) ยุบเมืองลูกหลวง   (2) ยกเลิกการให้เจ้านายทรงกรม

(3) ยกเลิกการให้เจ้านายบังคับบัญชาไพร่หลวง        (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39.       การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร

(1) ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล (2) ใช้กำหนดบทลงโทษของบุคคล

(3) ใช้กำหนดไพร่ในสังกัดของบุคคล  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 309359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม

2.         เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัดของบุคคลที่เป็นมูลนาย 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธ์และสิทธิพิเศษบางอย่างให้แก่บุคคล

40.       กฎหมายศักดินาเริ่มปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในรัชกาลใด        

(1) พระเจ้าอู่ทอง

(2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ          (3) พระนเรศวร            (4) พระเจ้าตากสิน

ตอบ 2 หน้า 357 – 358 กฎหมายศักดินาอาจเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะปรากฏหลักฐานในกฎหมายลักษณะโจร (จารึกหลักที่ 38) ซึ่งเชื่อว่าทำขึ้นในปี พ.ศ. 1940 แต่มาเริ่มปรากฏ เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อทรงตรา พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองในปี พ.ศ. 1998

41.       ไพร่ชนิดใดมีจำนวนมากที่สุดในสมัยอยุธยา

(1)       ไพรหลวง        (2) ไพร่สม       (3) ไพร่ส่วย     (4) ไพร่อุทิศ

ตอบ 1 หน้า 339 – 341353. (คำบรรยาย) ประเภทของไพรในสมัยอยุธยา มีดังนี้

1.         ไพรสม คือ ไพร่ส่วนตัวของมูลนาย (ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเจ้านาย) มีหน้าที่รับใช้มูลนาย เป็นการส่วนตัว จึงมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายและทำงานน้อยกว่าไพร่หลวง

2.         ไพร่หลวง คือ ไพรที่สังกัดกับพระมหากษัตริย์หรือไพร่ของทางราชการ ซึ่งได้มาจากสามัญชน ทั้งหมดที่เหลืออยู่จากการเป็นไพร่สม จึงเป็นไพร่ที่มีจำนวนมากที่สุดและทำงานหนักที่สุด

3.         ไพร่ส่วย คือ ไพร่ที่ไม่ต้องมาให้แรงงาน แต่ส่งสินค้าหรือส่วยมาแทน (ส่วนไพร่อุทิศหรือ ข้าพระอารามก็คือ ทาสวัดส่วนใหญ่ในสมัยอยุธยา)

42.       ไพร่อยุธยาไม่มีสิทธิทำสิ่งใด  

(1) เข้าเวร

(2)       เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์          (3) ออกรบ       (4) ขายตัวเป็นทาส

ตอบ 2 หน้า 128140, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยาได้กำหนดให้ชนชั้นเจ้านาย ขุนนาง และพระสังฆราชมีสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ได้ แต่จะต้องเข้าเฝ้าตามหมายกำหนดเวลาที่ กำหนดไว้ไนกฎมณเฑียรบาล ส่วนชนชั้นไพร่นั้นไม่มีสิทธิเข้าเฝ้าและมองดูพระมหากษัตริย์ แต่พระมหากษัตริย์จะทรงทราบความเป็นอยู่ของไพร่โดยผ่านเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่

43.       การสักข้อมือไพร่เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี เริ่มทำครั้งแรกในสมัยใด   

(1) พระนเรศวร

(2)       พระนารายณ์   (3) พระเจ้าตากสิน      (4) พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ตอบ 3 หน้า 392417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มทำขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันไม่ให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือไม่ให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายอย่างแต่ก่อน

44.       ข้อความที่สักบนข้อมือไพร่คือเรื่องใด

(1) ชื่อไพร่และชื่อมูลนาย

(2)       ชื่อมูลนายและชื่อกรม (3) ชื่อไพร่และชื่อเมือง            (4) ชื่อมูลนายและชื่อเมือง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45.       ข้อใดถูกต้อง

(1)       ผู้หญิงต้องขึ้นทะเบียนไพร่     (2) พระสงฆ์ไม่ต้องขึ้นทะเบียนไพร่

(3)       ผู้หญิงถูกเกณฑ์แรงงานเช่นเดียวกับชาย       (4) ทาสไมมีศักดินาประจำตัว

ตอบ 1 หน้า 341 – 342, (คำบรรยาย) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนไพร่ในสมัยอยุธยา มีดังนี้

1.         ไพร่ที่มีอายุตั้งแต่ 9 ขวบขึ้นไปต้องมาขึ้นทะเบียน แต่ไพร่จะถูกเกณฑ์แรงงานเมื่ออยู่ในวัยฉกรรจ์ (ผู้ที่แต่งงานแล้ว) คือ อายุประมาณตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

2.         ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนกับมูลนายที่มิภูมิลำเนาเดียวกับตน แต่ต่อมาภายหลังไพร่ขึ้นสังกัด กับมูลนายที่อยู่ต่างภูมิลำเนากันได้

3.         ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนสังกัดหมวดหมู่เดียวกับพ่อแม่ญาติพี่น้องของตน

4.         ผู้หญิงและพระสงฆ์ก็จะต้องมาขึ้นทะเบียนไพร่ แม้ว่าจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน นอกจาก เวลาที่จำเป็นจริงๆ ฯลฯ

46.       นายเงินสมัยอยุธยาไม่มีสิทธิเหนือตัวทาสอย่างไร     

(1) ขึ้นค่าตัวทาสได้

(2)       ลงโทษทาสได้ (3) ใช้ทาสเข้าคุกแทนตนเองได้           (4) ใช้ทาสไปรบแทนตนเองได้

ตอน 1 หน้า 352354 – 356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือตัวทาสดังนี้

1.         ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง 2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนเองได้

3.         ใช้ทาสไปรบแทนตนเองได้       4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป

5.         ขายทาสต่อไปได้ แต่ขึ้นค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ไต้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงิน จะไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้ ฯลฯ

47.       กรมใดมีหน้าที่ดูแลชาวมุสลิมในสมัยอยุธยา

(1) กรมท่าขวา (2) กรมท่าซ้าย            (3) กรมสัสดี    (4) กรมพระคลัง

ตอบ 1 หน้า 151364504 ในสมัยอยุธยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลชาวต่างชาติ คือ กรมท่า ซึ่งขึ้นกับกรมพระคลัง แบ่งออกเป็น

1.         กรมท่าซ้าย มีหลวงโชฎึกราชเศรษฐีเป็นเจ้ากรม ทำหน้าที่ดูแลชาวจีน ญี่ปุ่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส และโปรตุเกส

2.         กรมท่าขวา มีพระยาจุฬาราชมนตรีเป็นเจ้ากรม ทำหน้าที่ดูแลชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ชาวอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ เตอร์ก มลายู ฯลฯ

48.       ท่านคิดว่าสิ่งใดเป็นตัวกำหนดการดำเนินวิถีชีวิตของคนสมัยอยุธยาได้ชัดเจนที่สุด

(1) ลัทธิเทวราชา         (2) หลักธรรมราชา       (3) ระบบผูกขาด         (4) ระบบศักดินาและระบบไพร่

ตอบ 4 หน้า 336 – 337357, (คำบรรยาย) สิ่งที่เป็นตัวกำหนดการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ในสมัยอยุธยาที่ชัดเจนที่สุด ได้แก่

1.         ระบบศักดินา เป็นการจัดระเบียบสังคมของอยุธยาที่สำคัญยิ่ง และมีผลต่อวิถีชีวิตของบุคคล ในสังคม (ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ)

2.         ระบบไพร่ เป็นระบบการควบคุมแรงงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดการดำเนินชีวิต ของคนในสมัยอยุธยา (ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ)

49.       เจ้าพระยาจักรี เป็นราชทินนามของกรมใด

(1) มหาดไทย  (2) กลาโหม     (3) นครบาล    (4) คลัง

ตอบ 1 หน้า 150 – 152319 – 320, (คำบรรยาย) หน้าที่ในตำแหน่งของกรมกองต่าง ๆ จะมียศ และราชทินนามกำกับไว้โดยเฉพาะ ดังนี้

1.         เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมมหาดไทย

2.         เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมกลาโหม

3.         เจ้าพระยาพระคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมพระคลัง หรือโกษาธิบดี

4.         พระยาพลเทพราชเสนาบดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมนาหรือเกษตราธิการ ฯลฯ

50.       ยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ คือยศใด

(1)       กรมสมเด็จพระ            (2) กรมพระ     (3) สมเด็จเจ้าพระยา   (4) เจ้าพระยา

ตอบ 3 หน้า 319405, (คำบรรยาย) ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยาจะมีอยู่ทั้งหมด 4 พระองค์ คือ

1.         สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง) หรือรัชกาลที่ 1 ในเวลาต่อมา

2.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดีส บุนนาค)

3.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)

4.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

51.       บุคคลใดต่อไปนี้มีศักดินาสูงสุดสมัยอยุธยา

(1)       เจ้าพระยากลาโหม      (2) วังหน้า       (3) วังหลัง       (4) พระมหากษัตริย์

ตอบ 2 หน้า 309357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับ พระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในสมัยอยุธยา คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาตํ่าสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่

52.       ตัวอย่างของขุนนางที่เลื่อนฐานะขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สำเร็จในประวัติศาสตร์ คือใคร

(1)       พระเจ้าปราสาททอง (2) พระมหาจักรพรรดิ    (3) พระบรมไตรโลกนาถ (4) พระเอกาทศรถ

ตอบ 1 หน้า 44324 ตัวอย่างของขุนนางที่เลื่อนฐานะขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สำเร็จในประวัติศาสตร์ คือ ออกญาหรือพระยาศรีวรวงศ์ ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นขุนนางสมัยอยุธยาที่กำจัดยุวกษัตริย์ถึง 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเชษฐาธิราช และสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ รวมถึงเจ้านายชั้นสูงอีกจำนวนหนึ่ง ก่อนได้ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในเวลาต่อมา

53.       ตำแหน่งวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือใคร

(1)       กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท     (2) กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์

(3)       กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ    (4) กรมขุนอิศเรศรังสรรค์

ตอบ 1 หน้า 394 ตำแหน่งวังหน้าที่มีอำนาจและความสามารถมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือรัชกาลที่ 1) ที่มีความขัดแย้งกับกษัตริย์ ถึงขนาดนำปืนขึ้นประจำป้อมและหันปากกระบอกปืน เข้าหากัน แต่เรื่องร้ายก็ยุติลงได้เพราะพระพี่นางทั้งสองพระองค์เข้าห้ามปราม และ กรมพระราชวังบวรฯ สิ้นพระชนม์ไปก่อนในปี พ.ศ. 2446

54.       ตำแหน่ง สมเด็จเจ้าพระยา” ในประวัติศาสตร์ไทยมีกี่พระองค์

(1) 2 พระองค์  (2) 3 พระองค์  (3) 4 พระองค์  (4) พระองค์เดียว

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 50. บระกอบ

55.       มหาอำนาจตะวันตกชาติใดได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเป็นชาติแรกในราชอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์

(1) อังกฤษ      (2) ฝรั่งเศส      (3) ดัตช์           (4) โปรตุเกส

ตอบ 1 หน้า 439547 – 548, (คำบรรยาย) ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (เสียเอกราชด้านการศาล) ให้กับ ประเทศอังกฤษเป็นชาติแรก คือ คนต่างชาติและคนในบังคับของต่างชาติเมื่อมีเรื่องกับคนไทยก็ดี หรือมีเรื่องในหมู่พวกตัวเองก็ดี จะต้องขึ้นศาลกงสุลของชาติตนหรือชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้ศาลไทยไม่สามารถเอาผิดกับคนต่างชาติที่อยูในเมืองไทยและทำผิดกฎหมายไทยได้ ซึ่งต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2399 – 2442 ก็มีประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามาทำสัญญาในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายประเทศ

56.       ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

(1) ขุนนางได้เลือกสรรกษัตริย์ (2) ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร

(3)       ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดอำนาจลง  (4) ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก

ตอบ 1 หน้า 400 – 404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่

1.         ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์

2.         ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น

3.         คณะเสนาบดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์

4.         ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร

5.         ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ

57.       การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อขุนนางอยางไร

(1)       ขุนนางได้เป็นเสนาบดีมากกว่าเจ้านาย

(2)       ขุนนางไม่ได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลอีกต่อไป

(3)       ขุนนางตระกูลบุนนาคเสื่อมอิทธิพลลง

(4)       ขุนนางได้เก็บเงินจากเจ้าภาษีไว้เป็นสมบัติส่วนตัวมากกว่าแต่ก่อน

ตอบ 3 หน้า 398411 – 412 การปฏิรูประบบราชการและการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อขุนนาง ดังนี้

1.         คณะเสนาบดีรุนเก่าที่มีตระกูลบุนนาคเป็นผู้นำเสื่อมอิทธิพลลง โดยเสนาบดีหรือข้าหลวงเทศาภิบาลรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านาย แต่ถ้าเป็นขุนนางก็จะเป็นขุนนาง ตระกูลอื่น เช่น ตระกูลอมาตยกุล และกัลยาณมิตร

2.         ข้าราชการมีเงินเดือน และการใช้เงินส่วนของรัฐเพื่อกิจการส่วนตัวนับเป็นของต้องห้าม

3.         มีการเปิดรับสามัญชนที่มีการศึกษาดีเข้าสู่ระบบราชการ ฯลฯ

58.       ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการปฏิรูประบบไพร่อย่างไร

(1) ยกเลิกการสักข้อมือไพร่     (2) ห้ามไพร่เปลี่ยนมูลนาย

(3)       ยกเลิกการเกณฑ์แรงงานไพร่สม         (4) ไพร่หลวงต้องเข้าเดือนออกสามเดือน

ตอบ 4 หน้า 186417 – 419, (คำบรรยาย) ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 2มีการปฏิรูประบบไพร่ ดังนี้            1. มีการสักข้อมือไพร่เช่นเดียวกับสมัยรัชกาลที่ 1

2.         ลดเวลาการเกณฑ์แรงงานไพร่หลวงลงเหลือปีละ 3 เดือน เรียกว่า เข้าเดือนออกสามเดือน

3.         ไพร่สมก็ถูกเกณฑ์แรงงานโดยให้มาเข้าเวรปีละ 1 เดือน

4.         ให้ไพร่เปลี่ยนมูลนายได้ แต่ต้องเป็นมูลนายในหัวเมืองเดียวกับไพร่ ฯลฯ

59.       ปัญหาการเมืองที่เกิดจากชาวจีนในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ได้แก่เรื่องใด

(1)       ชาวจีนมักแข็งข้อต่อขุนนาง     (2) ชาวจีนต่อต้านชาวตะวันตก

(3)       ชาวจีนนิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษ     (4) ชาวจีนต่อต้านระบบเจ้าภาษีนายอากร

ตอบ 3 หน้า 439 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ชาวจีนได้ก่อปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลไทย โดยการตั้งสมาคมลับของชาวจีนหรีออั้งยี่ขึ้นมาหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิด กฎหมายไทย แต่พวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้ เพราะคนจีนจำนวนมาก นิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อ มีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น (ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ)

60.       การเลิกทาสในเมืองไทยไม่มีการนองเลือดอย่างในสหรัฐอเมริกา เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการยกเลิก อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ใช้เวลากว่ากี่ปี จึงเลิกทาสได้สำเร็จ

(1) 10 ปี          (2) 15 ปี          (3) 20 ปี          (4) 30 ปี

ตอบ 4 หน้า 433,516,(คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินการเลิกทาสจนสำเร็จ โดยพระองค์ ทรงใช้นโยบายทางสายกลาง คือ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้นตอน มิใช่รวบรัดเลิกทาสทั้งหมด ในคราวเดียวกัน รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้อย่างเด็ดขาด โดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา

61.       ข้อใดคือลักษณะการทำการเกษตรกรรมสมัยสุโขทัย

(1)       การปลูกพืชไร่ขนาดใหญ่         (2) การทำการเกษตรเพื่อการส่งออก

(3) พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด       (4) ข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ

ตอบ 3 หน้า 474 การทำการเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผลที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงานชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา

62.       เมืองใดที่มีความสำคัญในแง่การค้าช้างสมัยสุโขทัย

(1)       เมืองสุรินทร์     (2) เมืองราด    (3) เมืองกำแพงเพชร   (4) เมืองสุโขทัย

ตอบ2 หน้า 475 – 476 การค้าช้างในสมัยสุโขทัยคงจะเป็นการค้าที่ใหญ่โต ดังหลักฐานในศิลาจาริกสุโขทัยว่า เมืองกว้างช้างหลาย” หมายถึง ถ้าต้องการช้างมาใช้งานหรือจับมาขาย ก็สามารถจับมาได้โดยเสรี ไม่ต้องเสียภาษีอากร และทางรัฐมิได้หวงห้าม ซึ่งเมืองสำคัญที่คุมกิจกรรมการค้าช้าง คือ เมืองราด สงไปขายยังเมืองตอนใต้ของสุโขทัย เช่น อโยธยา สุพรรณภูมิ และเมืองทางชายทะเลตะวันออก

63.       ตลาดปสาน” สัมพันธ์กับข้อใด

(1) ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน    (2) ลานกิจกรรมในสมัยสุโขทัย

(3) ตลาดใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัย      (4) ตลาดขนาดใหญ่ของเมืองปสาน

ตอบ 1 หน้า 477 ในศิลาจารึกมีคำว่า ตลาดปสาน” ซึ่งนักศึกษาวิชาการทางประวัติศาสตร์หลายท่าน มีความเห็นว่าตลาดปสาน หมายถึง ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ ในย่านชุมนุมชน เพราะมีบ้านเล็กบ้านใหญ่อยู่ในบริเวณเดียวกัน

64.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย

(1) สีที่นิยมมากที่สุด คือ สีเขียวไข่กา  (2) เครื่องสังคโลกและมีลวดลายแบบไทยเท่านั้น

(3) จาน ชาม เป็นภาชนะที่นิยมมากที่สุด        (4) สุโขทัยรับอิทธิพลมาจากจีน

ตอบ 2 หน้า 479 ลักษณะของเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย มีดังนี้

1.         เป็นสินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัย

2. มีสีที่นิยมและขึ้นชื่อลือชามากที่สุด คือ สีเขียวไข่กา

3.         ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งรูปทรงและกรรมวิธีแบบอย่าง

4.         ภาชนะที่นิยมและพบมากที่สุด คือ จานและชาม 5. มีรูปแบบและลวดลายแบบจีน แทบทั้งสิ้น ส่วนที่เป็นของไทย ได้แก่ รูปเทพนม ยักษ์ นาคปักษ์ พลสิงห์ ฯลฯ

65.       ข้อใดอธิบายลักษณะของ ไหเมาะตะมะ” ได้ถูกต้อง

(1) สีเขียวไข่กา            (2) มักใช้บรรจุอาหารแห้ง

(3) สีน้ำตาลไหม้          (4) พบว่าเป็นที่นิยมของพ่อค้าทางเกวียน

ตอบ 3 หน้า 479 เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยที่เอามาขายได้อย่างดีที่เมาะตะมะ มักเป็นพวกไหขนาดใหญ่ เคลือบสีนํ้าตาลไหม้สำหรับใส่น้ำ นํ้ามัน นํ้าตาล หรือบรรจุของอื่น ๆ จะเป็นที่นิยมของ นักเดินเรือมาก จึงมีการซื้อขายกันแพร่หลายจนคนเรียกกันติดปากว่า ไหเมาะตะมะ

66.       ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าภาษีที่รัฐเรียกเก็บในสมัยสุโขทัย คือข้อใด

(1)       จกอบ (2) อากร          (3) ฤชา            (4) ส่วย

ตอบ 1 หน้า 480 – 482, (คำบรรยาย) ตามหลักฐานในสมัยสุโขทัย พบว่า ภาษีที่รัฐเรียกเก็บ มีเพียง 2 ชนิด ได้แก่ 1. จกอบ คือ ภาษีที่เก็บจากสินค้าผ่านด่าน ซึ่งเชื่อกันว่าก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง รัฐบาลจะตั้งด่านเก็บภาษีนี้ แต่พอมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้ยกเลิก ภาษีนี้เสีย 2. ภาษีข้าว โดยให้เก็บภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน แต่ถ้าผู้ใดผลิตข้าวไม่ได้ก็ไม่ให้เก็บเลย นอกจากนี้ผู้ปกครองยังไม่ให้เพิ่มอัตราภาษีจากที่เคยเก็บกันมา แต่โบราณซึ่งถือว่าชอบธรรมแล้ว

67.       ข้อใดอธิบายถึงระบบเศรษฐกิจสมัยอยุธยาได้ถูกต้อง          

(1) ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

(2)       ระบบเศรษฐกิจการตลาด       (3) ระบบเศรษฐกิจเสรี            (4) ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ

ตอบ 2 หน้า 469 – 471558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้

1.         เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน

2.         ระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ           3. ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา

4.         ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการค้าส่งออกในปัจจุบัน

68.       ข้อใดแสดงถึงการสนับสนุนของรัฐด้านการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา

(1)       การขยายพื้นที่การทำนา          (2) การให้ความคุ้มครองแก่ต้นข้าว

(3)       พิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจต่อเกษตรกร           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 489 – 491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนด้านเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำบาปลูกข้าว ดังนี้ 1. ขยายพื้นที่การทำนาเพาะปลูก 2. คุ้มครองป้องกัน ภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยการออกกฎหมายคุ้มครองแก่ต้นข้าว และลงโทษผู้ทำลาย ต้นข้าวอย่างรุนแรง 3. ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เพื่อสร้าง ขวัญและกำลังใจ 4. ส่งเสริมแรงงานในภารเพาะปลูก 5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท 5.การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด

69.       ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ สัตว์มีคุณ” สมัยอยุธยา

(1) เป็นสัตว์ที่ได้รับพระราชทาน          (2) ช้าง ม้า วัว และควาย

(3) เจ้าของต้องทำการล้อมคอกสัตว์ประเภทนี้            (4) กฎหมายให้การคุ้มครอง

ตอบ 1 หน้า 493 – 494, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา สัตว์ที่มีความสำคัญจนถึงกับระบุไว้ในกฎหมายว่าเป็น สัตว์มีคุณ” ได้แก่ ช้าง ม้า โค (วัว) และกระบือ (ควาย) ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้

1.         มีกฎหมายให้การคุ้มครองสัตว์มีคุณ และมีกฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย

2.         ค่าตัวของสัตว์มีคุณตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้

3.         เจ้าของสัตว์ต้องล้อมรั้วทำคอกขังไว้ หรือไม่ก็ต้องผูกเชือกใส่ปลอกไว้

4.         นิยมเลี้ยงโคและกระบือตัวผู้ไว้ไถนา ส่วนแม่โคนั้นสามารถซื้อขายได้ ฯลฯ

70.       การขุดแร่ในสมัยอยุธยา พบว่าแร่ชนิดใดที่รัฐสามารถหาได้ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้ราชธานีมากที่สุด

(1) ทองคำ       (2) เหล็ก          (3) ดีบุก           (4) ไข่มุก

ตอบ 2 หน้า 496 แหล่งแร่เหล็กของไทยในสมัยอยุธยาจะอยู่ที่หัวเมืองเหนือ ได้แก่ แถบเมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งถือเป็นแหล่งแร่ที่รัฐสามารถ หาได้ในพื้นทีที่อยู่ใกล้ราชธานี (อยุธยา) มากที่สุด โดยเมืองกำแพงเพชรเป็นที่รู้จักกันดีว่า มีแร่เหล็กกล้าอันเป็นเหล็กเนื้อดีวิเศษ” ส่วนแร่เหล็กหางกุ้ง เหล็กล่มเลย และเหล็กน้ำพี้ มีหลักฐานว่าได้บรรทุกเรือหางเหยี่ยวจากเพชรบูรณ์มาขายที่พระนครศรีอยุธยา

71.       ข้อใดม่ใช่คุณลักษณะของตลาดสมัยคยุธยา

(1)       เป็นสถานที่ให้ความคุ้มครองผู้รับซื้อของโจรโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นของโจร

(2)       คุ้มครองการกรรโชกทรัพย์      (3) เป็นสถานที่นำนักโทษไปขออาหารรับประทาน

(4) เป็นที่พักแรมจากการเดินทาง

ตอบ 4 หน้า 497 ตลาดสมัยอยุธยานอกจากเป็นแหล่งขายสินค้านานาชนิดแล้ว ยังมีคุณสมบัติพิเศษ ด้านต่าง ๆ คือ 1. เป็นสถานที่ให้ความคุ้มครองผู้รับซื้อของโจรโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นของโจร

2.         เป็นสถานที่คุ้มครองจากการรีดไถ และการกรรโชกทรัพย์พ่อค้าแม่ค้าจากพวกตามเสด็จ

3.         เป็นสถานที่ลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายการค้าขาย เช่น การขายสินค้าเกินราคาควบคุม การซื้อขายสินค้าต้องห้าม ฯลฯ 4. เป็นสถานที่ที่นักโทษไปขออาหารรับประทานเพื่อยังชีพ

72.       อยุธยาเริ่มทำการค้ากับต่างชาติในสมัยใด    

(1) พระเจ้าอู่ทอง

(2)       สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (3) สมเด็จพระรามาธีบดีที่ 2      (4) สมเด็จพระนารายณ์

ตอบ 1 หน้า 499 ประเทศไทยดำเนินการค้ากับต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และดำเนินเรื่อยมา จนถึงสมัยอยุธยาเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยการค้าส่วนใหญ่ ในระยะแรกจะเป็นการค้ากับประเทศทางตะวันออก ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น ส่วนการค้ากับ ประเทศยุโรปตะวันตกจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

73.       สินค้าที่อยุธยานำไปจำหน่ายกับจีน คือสินค้าใด

(1) ดีบุก           (2) เครื่องสังคโลก       (3) สินค้าป่า    (4) ผ้าไหม

ตอบ 3 หน้า 500 สินค้าที่ไทยนำไปจำหน่ายยังเมืองจีนในสมัยอยุธยา ได้แก่

1.         พวกสินค้าป่า เช่น ไม้ฝาง ไม้หอมต่าง ๆ

2.         เครื่องเทศ เช่น กระวาน กานพลู พริกไทย      3. สัตว์ที่หายาก เช่น นกยูง นกแก้วห้าสี

4.         ผลิตผลจากสัตว์ป่า เช่น งาช้าง นอระมาด (นฤมาตหรือนอแรด) หนังสัตว์ ฯลฯ

74.       พืชไร่ชนิดใดมีความสำคัญมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

(1) อ้อย           (2) ปอ (3) พริก           (4) มันสำปะหลัง

ตอบ 1 หน้า 523 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อ้อยเป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด และผู้ปกครอง ก็ให้การสนับสนุนมากที่สุด เพราะนํ้าตาลที่ทำจากอ้อยได้ทำกำไรงามให้กับประเทศ จนได้ชื่อว่า เป็นพืชส่งออกมากที่สุดและเป็นสินค้าออกอันดับ 1 ของไทย ดังปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 3 และต้นรัชกาลที่ 4 ไทยส่งนํ้าตาลออกเฉลี่ยปีละ 50,000 – 90,000 หาบ

75.       การบำรุงการเลี้ยงสัตว์นํ้าในสมัยรัชกาลที่ 6 ขึ้นอยู่ในการดูแลของหน่วยงานใด

(1) กรมประมง            (2) อำเภอ (3) กระทรวงเกษตราธิการ (4) สภาเผยแพร่พานิชย์

ตอบ 3 หน้า 527 – 528 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงเกษตราธิการได้ตั้งกองบำรุงรักษาสัตว์นํ้าขึ้น และได้จ้างผู้ชำนาญพิเศษเรื่องสัตว์นํ้า คือ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ (Dr.Hugh Mc.Cormic Smith) ชาวอเมริกันมาช่วยงาน หลังจากนั้นจึงได้จัดตั้งกรมรักษาสัตว์นํ้าขึ้นในกระทรวง เกษตราธิการ มีหน้าที่บำรุงรักษาและเพาะพันธุสัตว์น้ำ โดยมี ดร.ฮิว เป็นเจ้ากรมตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2469

76.       ข้อใดไม่ใช่ประเภทของการทำเหมืองแร่ในสมัยรัตนโกสินทร์

(1) ทำเหมือง   (2) เหมืองแล่น (3) เหมืองคล้า (4) เหมืองใหญ่

ตอบ 1 หน้า 534 การทำเหมืองแร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

1.         เหมืองแล่น 2. เหมืองคล้า        3. เหมืองใหญ่ (ส่วนคำว่า ทำเหมือง” เป็นคำเรียกการขุดแร่ดีบุก แล้วเรียกบริเวณที่ขุดแร่ว่า เหมือง”)

77.       อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ชาวจีนสามารถควบคุมเศรษฐกิจไทยไว้ได้

(1) ชาวจีนมีสิทธิในการประกอบอาชีพ            (2) ชาวจีนสามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ

(3)       ชาวจีนไม่อยู่ในระบบไพร่         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 538 สาเหตุที่ชาวจีนสามารถควบคุมเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไว้ได้ เมื่อ พิจารณาในด้านการเมืองการปกครองอาจวิเคราะห์ได้ ดังนี้ 1. รัฐบาลไทยไม่กีดกันผู้อพยพชาวจีน 2. ชาวจีนที่อยู่ในประเทศมีสิทธิเท่าราษฎรไทย เช่น มีสิทธิในการประกอบอาชีพ และสามารถเดินทางทั่วพระราชอาณาจักรได้ (ถือเป็นอภิสิทธิ์เหนือพ่อค้าต่างชาติตะวันตก)

3.         ชาวจีนไม่อยู่ในระบบไพร่ จึงมีเวลาประกอบอาชีพส่วนตัวได้ตลอดเวลา

78.       ลักษณะการค้าขายในภาคเหนือมักพบสัตว์ประเภทใดเป็นพาหนะขนส่งสินค้า

(1)       วัวชน   (2) วัวต่าง        (3) วัวแล่น       (4) ม้า

ตอบ 2 หน้า 539 – 540 ลักษณะการค้าขายในชุมชนภาคเหนือสมัยรัตนโกสินทร์ คือ การค้าขาย ด้วยพาหนะวัวต่าง ซึ่งเป็นพาหนะขนส่งสินค้าที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ และท่าอิฐ แต่เมื่อรัฐบาลไทยได้ดำเนินการพัฒนาการคมนาคมทางบก ก็ส่งผลกระทบให้พ่อค้าวัวต่างต้องเลิก อาชีพไป เพราะมีรถยนต์เข้ามาขนส่งสินค้าและสิ่งของแทนวัวต่าง

79.       ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตั้งหน่วยงานใดขึ้นเพื่อรวบรวมรายได้เข้าสู่ศูนย์กลาง

(1) หอรัษฎากรพิพัฒน์ (2) เจ้าภาษีนายอากร (3) กรมพระคลังสินค้า            (4) กรมท่าซ้าย

ตอบ 1 หน้า 228555 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการคลังในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อควบคุมกรมกองต่าง ๆ ให้ส่งภาษีตามกำหนด และเป็นหน่วยงาน ที่รวบรวมภาษีรายได้ที่เคยกระจัดกระจายเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ พระคลังหลวง

2.         ตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ และตราพระราชบัญญัติเจ้าภาษีนายอากรขึ้น ในปี พ.ศ. 2416

80.       ผลจากสนธิสัญญาบาวริ่งประการหนึ่ง คือ การยกเลิกการผูกขาดสินค้าทุกประเภท ยกเว้นสินค้าใด

(1)       ข้าว     (2) ดีบุก           (3) ฝิ่น (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 470547 – 548558 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งมีผลดังนี้

1.         ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแทนนํ้าตาล         2. สามารถยกเลิกระบบพระคลังสินค้าและการผูกขาดสินค้าทุกประเภทที่ดำเนินมาตั้งแต่สมัยอยุธยา (ยกเว้นการค้าฝิ่น)

3.         ไทยเปิดการค้าอย่างเสรี ไม่มีสินค้าต้องห้ามเหมือนแต่ก่อน (ยกเว้นอาวุธยุทธภัณฑ์ ปืน และกระสุนดินดำต้องขายให้รัฐบาล) ฯลฯ

81.       วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์ เริ่มจากความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใด        

(1) การนับถือเทพเจ้าองค์เดียว

(2)       การนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ           (3) การนับถือธรรมชาติ           (4) การนับถือเทพเจ้าหลายองค์

ตอบ 3 หน้า 570 – 571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอนดังนี้

1. การบูชานับถือธรรมชาติ      2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม

3.         การบูชาบรรพบุรุษ       4. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์

5.         การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของเทพเจ้าแต่ละองค์ให้ต่างกัน

6.         การนับถือพระเจ้าองค์เดียว    7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก

82.       ความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเป็นลักษณะใด        

(1) การนับถือและบูชาเทพเจ้า

(2)       การนับถือผีสางเทวดา (3) การนับถือผู้ปกครอง          (4) การนับถือตนเองเป็นใหญ่

ตอบ 2 หน้า 572 ชนชาติไทยมีความเชื่อถือดั้งเดิมไม่ต่างไปจากชนชาติอื่นๆ คือ การเริ่มนับถือธรรมชาติที่อยู่แวดล้อมก่อน และต่อมาก็เชื่อและนับถือผีสางเทวดาเพราะคิดว่าในธรรมชาติ แต่ละอย่างมีวิญญาณสิ่งอยู่ ดังนั้นการนับถือผีสางเทวดาจึงเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทย ที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจยากที่จะลบเลือน เพราะแม้ภายหลังที่คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ความเชื่อในผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่

83.       หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นการรับพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิช่วงระยะแรก คือข้อใด

(1)       พระพุทธรูป     (2) สถูป-เจดีย์ (3) ธรรมจักรศิลา         (4) สถูปและธรรมจักรศิลา

ตอบ 4 หน้า 574 – 575 หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นการรับพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ช่วงระยะแรก ได้แก่ กวางและธรรมจักรศิลา ซึ่งในโบราณวัตถุเหล่านี้มีคาถาที่เหมือนกับคาถา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นอกจากนั้นโบราณสถานที่พบอีกหลายแห่งก็สร้างตามคติเก่า สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้แก่ พระสถูปพระปฐมเจดีย์องค์เดิม และพระแท่นต่าง ๆ

84.       ในสมัยสุโขทัยรับพุทธศาสนาลังกาวงค์เข้ามาในช่วงเวลาของกษัตริย์พระองค์ใด

(1) พ่อขุนผาเมือง        (2) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

(3)       พ่อขุนรามคำแหง         (4) พระมหาธรรมราชาที่ 1

ตอบ 3 หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้ จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์ นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย

85.       พระสงฆ์ที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกาต้องปฏิบัติในเรื่องใด

(1)       ต้องบวชใหม่เป็นพระสงฆ์ในสายลังกาวงศ์ก่อนศึกษาพระธรรม

(2)       ต้องศึกษาภาษาบาลีมาก่อน

(3)       ต้องไม่เคยบวชในนิกายใดมาก่อน

(4)       ต้องเป็นชาวสิงหลเท่านั้น และไม่เคยบวชมาก่อน

ตอบ 1 หน้า 582 พระสงฆ์ต่างชาติที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา จะต้องอุปสมบทหรือบวชใหม่ แปลงเป็นพระสงฆ์ในนิกายลังกาวงศ์ก่อนที่จะศึกษาพระธรรม นอกจากนี้พระสงฆ์ต่างชาติ ยังต้องศึกษาและเรียนรู้ภาษาบาลีจนเชี่ยวชาญ และใช้เวลาศึกษาพระธรรมวินัยในลังกา เป็นเวลานานหลายปี จึงจะเดินทางกลับโดยนำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ ไปเผยแผ่และประดิษฐานในประเทศของตนได้

86.       ต้นเค้าของมหานิกายในสมัยสุโขทัยเกิดขึ้นอย่างไร

(1)       คณะสงฆ์ทั้งคณะเหนือและคณะใต้รวมกัน

(2)       คณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทแบ่งแยกจากคณะสงฆ์ฝ่ายมหายาน

(3)       คณะสงฆ์คามวาสีรวมกับคณะสงฆ์อรัญวาสี

(4)       คณะสงฆ์อรัญวาสีมีความน่าเลื่อมใสน้อยกว่าคณะสงฆ์คามวาสี

ตอบ 1 หน้า 582 – 583 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนาในสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่ คณะเหนือ ซึ่งเป็นพระสงฆ์เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และคณะใต้ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์ ที่เข้ามาใหม่ และมีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใสกว่าพระสงฆ์เดิม ทำให้การบวชเรียนในลัทธิลังกาวงศ์ เป็นที่นิยมแพร่หลายมากกว่า ประกอบกับจำนวนพระสงฆ์เดิมค่อย ๆ ลดน้อยลง จึงเกิดการรวมกัน ของคณะสงฆ์ทั้งคณะเหนือและคณะใต้ จนกลายเป็นต้นเค้าของพระสงฆ์คณะมหานิกายในปัจจุบัน

87.       ความเลื่อมใสในพุทธศาสนาของคนไทยสมัยอยุธยา ปรากฏในรูปแบบใด

(1) การประกอบพิธีทางพุทธศาสนา   (2) การทำบุญ ทำทาน

(3)       การสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด            (4) มีปรากฏทั้งในข้อ 12 และ 3

ตอบ 4 หน้า 589 – 592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การประกอบพิธีทางพุทธศาสนา การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองคํประกอบ เป็นต้น

88.       มหาธาตุวิทยาลัย” จัดตั้งขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 1  (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 5  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 3 หน้า 607 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งสถานศึกษาทางพระพุทธศาสนาขึ้น 2 แห่ง ได้แก่

1.         มหาธาตุวิทยาลัย สร้างขึ้นที่วัดมหาธาตุในปี พ.ศ. 2432 ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 2. มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2436

89.       ข้อใดชี้ให้เห็นว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับความสุขของฆราวาส

(1)       พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขเป็นโลกียสุขและโลกุตตระสุข

(2)       พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสามิสสุขและอามิสสุข

(3)       พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องนิพพานเท่านั้น         (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 619 พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โลกียสุข เป็นความสุข ของปุถุชนหรือฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งเป็นสุขที่พัวพันกับทรัพย์สมบัติและวัตถุต่าง ๆ ตลอดจน อารมณ์      2. โลกุตตระสุข เป็นความสุขของผู้สิ้นกิเลสและสำเร็จอรหัตผลแล้ว จึงเป็นสุขที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่พัวพันกับวัตถุหรืออารมณ์ใด ๆ

90.       หลักธรรมในการแก้ปัญหาสังคม มีข้อปฏิบัติสำหรับปรับปรุงตนเองในเรื่องใด

(1) การให้ทุกคนบรรลุถึงโลกุตตระ     (2) การตัดจากกิเลสทั้งปวงซึ่งนำไปสู่นิพพาน

(3)       การให้ทุกคนปลีกตัวออกจากสังคม    (4) การแก้จิตใจของแต่ละคนให้เกิดความสงบ

ตอบ 4 หน้า 628 – 629 จุดมุ่งหมายสำคัญในการแก้ปัญหาสังคมของพระพุทธศาสนา มีข้อปฏิบัติ สำหรับปรับปรุงตบเอง คือ การแก้จิตใจของแต่ละคนให้เกิดความสงบ โดยมีหลักวิธีง่าย ๆ ในการแก้จิตใจตนเองอยู่ 2 วิธี ได้แก่ 1. การสอนให้เชื่อเรื่องกรรมช่วยแก้ปัญหาสังคมได้

2.         การสอนให้พึ่งตนเอง เป็นการวางรากฐานจิตใจไม่ให้อ่อนแอคอยคิดแต่จะพึ่งผู้อื่น

91.       ศาสนาพราหมณ์เกิดจากคติความเชื่อในเรื่องใด

(1) ธรรมชาติ   (2)วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (3) การเกิด การตาย   (4) ทั้ง 3 ข้อรวมกัน

ตรบ 4 หน้า 635, (คำบรรยาย) ศาสนาพราหมณ์เกิดจากการที่มนุษย์มีความกลัวธรรมชาติซึ่งอยู่ แวดล้อม โดยมนุษย์มีความเชื่อว่าธรรมชาติมีวิญญาณศักดิสิทธิ์แฝงอยู่ จึงบันดาลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง ความมืด ความสว่าง การเกิด การตาย เป็นต้น

92.       ข้อใดไม่ถูกต้องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พราหมณ์มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

(1)       พราหมณ์เป็นผู้ติดต่อกับเทพเจ้าและผู้ประกอบพิธีกรรม

(2)       พราหมณ์เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ในคัมภีร์ไตรเวท

(3)       พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพาณิชยกรรม

(4)       พราหมณ์เป็นวรรณะที่กำเนิดมาจากปากของพระพรหม

ตอบ 3 หน้า 636 – 639, (คำบรรยาย) ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พราหมณ์มีหน้าที่และความสำคัญ ดังนี้

1.         พราหมณ์เป็นวรรณะที่กำเนิดมาจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพรหม และถือเป็น วรรณะสูงสุดของอินเดีย

2.         พราหมณ์เป็นผู้ติดต่อกับเทพเจ้า และทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์

3.         พราหมณ์เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ในคัมภีร์พระเวทหรือไตรเวท ฯลฯ

(ส่วนวรรณะแพศย์ เช่น พวกพ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ ฯลฯ จะทำหน้าที่ทางด้านกสิกรรม และพาณิชยกรรม)

93.       ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยด้านการปกครองในรูปแบบใด

(1) เทวราชา     (2)       ปิตุลาธิปไตย   (3)       ธรรมราชา        (4)       ประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 639 – 640 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยด้านการปกครองในสมัย อยุธยา คือ กษัตริย์ทรงใช้หลักการแบบเทวราชาของเขมร ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง มาเป็นหลักในการปกครอง เพราะการขยายตัวของอาณาจักร การมีประชากรจำนวนมากและ กระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจเด็ดขาดและศักดิ์สิทธิ์ของเทวราชามาปกครองอาณาจักร

94.       ประเพณีที่มีอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ คือประเพณีใด

(1) การเผาศพ (2)การแต่งงาน            (3)ทำบุญขึ้นบ้านใหม่  (4)แห่นางแมว

ตอบ 1 หน้า 640 ประเพณีไทยที่มีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ประเพณีโกนจุก ประเพณีทำบุญอายุและทำขวัญ พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล ประเพณีการเผาศพ การสร้างศาลพระภูมิ ทำขวัญนาค การรดน้ำสังข์ ตลอดจนพิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นต้น

95.       ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ชนชาติสุดท้ายที่เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก คือชาติใด

(1) ฮอลันดา    (2)       อังกฤษ            (3)       โปรตุเกส         (4)       ฝรั่งเศส

ตอบ 4 หน้า 641 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ฝรั่งเศสเป็นชาวตะวันตกชาติสุดท้ายที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยสมัยอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์ในการเข้ามาเพื่อฟื้นฟูการเผยแผ่ คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเสื่อมโทรมลงภายหลังการเสื่อมอิทธิพลของโปรตุเกส ในภูมิภาคนี้

96.       คณะสอนศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เริ่มเข้ามาสอนศาสนาอย่างชัดเจนในสมัยใด

(1) สมัยรัตนโกสินทร์   (2) สมัยธนบุรี

(3) สมัยอยุธยาตอนต้น           (4) สมัยสมเด็จพระนเรศวร

ตอบ 1 หน้า 643645 ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 3 คณะสอนศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์คณะแรกได้เดินทางมาถึงประเทศไทยในปี พ.ศ. 2371 และได้รับอนุญาต จากรัฐบาลไทยให้เผยแผ่และสอนศาสนาให้กับคนไทย มอญ และจีน แต่ขณะนั้นมีการระบาด ของโรคไข้จับสั่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ คณะสอนศาสนาจึงช่วยรักษาโรคและแจกยา พร้อมกับเผยแผ่คำสอนของศาสนาไปด้วย

97.       สมัยใดที่คณะสังฆราชและบาทหลวงไม่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ จึงถูกสั่งให้ออกไปจาก พระราชอาณาจักร

(1) ธนบุรี         (2) อยุธยา       (3) รัตนโกสินทร์          (4) สุโขทัย

ตอบ 1 หน้า 643 ในตอนปลายรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้มีความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้นแต่คณะสังฆราชและบาทหลวงศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกไม่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการของพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงทรงสั่งให้พระสังฆราชและบาทหลวงออกไปจากพระราชอาณาจักร เท่ากับว่าการทำงานของคณะเผยแผ่ศาสนาเหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จนัก ในการเปลี่ยนศาสนาของคนไทย

98.       อิทธิพลของศาสนาอิสลามมีต่อวัฒนธรรมไทยในด้านใดบ้าง

(1) ด้านอาหาร

(2)       ด้านภาษาและการแต่งกาย     (3) การค้า        (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 647 – 649 อิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อวัฒนธรรมไทยมีอยู่หลายด้าน ดังนี้

1. ด้านการเมืองและเศรษฐกิจการค้า 2. ด้านศิลปะ โดยเฉพาะรูปแบบของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ  3.ด้านอาหารและของหวานของไทย  4. ด้านภาษา 5. ด้านการแต่งกาย

6.         ด้านดนตรีและนาฏศิลป์

99.       ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นการแสดงความเชื่อในเรื่องใด

(1)       ผีสาง   (2) เทวดา        (3) เทพเจ้า      (4) วิญญาณบรรพบุรุษ

ตอบ 2 หน้า 653, (คำบรรยาย) ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีของทางภาคอีสาน ซึ่งเป็นการอ้อนวอน ขอฝนจากเทวดาบนสรวงสวรรค์ที่เรียกว่า พญาแถน” เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล พืชพันธ์ จะได้อุดมสมบูรณ์ โดยมักจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถนในช่วงเดือน 6 ซึ่งเป็นฤดูกาลทำนา

100.    พระราชพิธีพืชมงคล จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด

(1)       เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว

(2)       เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ ให้ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์

(3)       เป็นการแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ด้านการเกษตร

(4)       เป็นการแสดงถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์

ตอบ 2 หน้า 640668 พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล เดิมมีเพียงพิธีพราหมณ์อย่างเดียว เรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัล” เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ แต่ก่อนทำที่ทุ่งส้มป่อย นอกพระนคร ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ตามคติพระพุทธศาสนาขึ้นอีก เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล” คือ การทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ ให้ปราศจากโรคภัยและให้ อุดมสมบูรณ์ ซึ่งทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร โดยพิธีทั้งสองนี้จะทำพร้อมกันในคืนเดียว วันเดียวกัน จังได้เรียกชื่อติดกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

101.    การศึกษาศิลปกรรมไทยให้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องใดเป็นพิเศษ

(1) ศาสนา       (2) ราชสำนัก   (3) เศรษฐกิจ   (4) การเมือง

ตอบ 1 หน้า 681683 การศึกษาศิลปกรรมไทยจะให้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องศาสนาเป็นพิเศษ เพราะศิลปกรรมไทยในยุคประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเป็นงานช่างในศาสนา ซึ่งมักจะสร้างขึ้น ตามความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นงานช่างในศาสนา จึงเป็นการแสดงออกของงานศิลปะที่มีคุณค่า มีความหมายต่อวิถีชีวิต และนำแนวความคิด ของคนในอดีตมาสู่คนรุ่นปัจจุบันได้

102.    ลักษณะศิลปะแบบอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนยุคใด

(1) ทวารวดี      (2) ลพบุรี         (3) ศรีวิชัย       (4) สุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 711 – 712, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic Arts) คือ ศิลปะที่มีความรู้สึกสูงกว่าธรรมชาติทั่วไปและหนักไปทางทิพย์สวรรค์ เป็นศิลปะที่มีแบบอย่าง แห่งความคิดคำนึงโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะศิลปะแบบอุดมคติของชนชาติไทยนี้จะเห็นได้ชัดเจน ที่สุดในศิลปะยุคสุโขทัย โดยเฉพาะประติมากรรมพระพุทธรูปที่เจริญถึงขั้นสูงสุดและแสดง ความเป็นไทยแท้ได้มากกว่าสมัยใด ๆ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของประติมากรรมไทย

103.    สิ่งใดใช้ในการศึกษาลักษณะศิลปะแบบช่างคุปตะในศิลาสลักรูปธรรมจักร

(1) ขนาดของวงธรรมจักร

(2)       ลวดลายประดับ         (3) เรื่องพระพุทธประวัติ          (4) การจารึกคาถา เย ธัมมา

ตอบ 2 หน้า 689, (คำบรรยาย) ศิลาสลักรูปธรรมจักรที่พบในศิลปะสมัยทวารวดี จะมีลวดลายเครื่องประดับคล้ายคลึงกับฝีมือของช่างคุปตะ จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าศิลาสลักรูปธรรมจักร เหล่านี้คงจะเป็นฝีเมือของช่างทวารวดีที่ทำขึ้น เพื่อเลียนแบบวัตถุที่สมณทูตในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราชนำเข้ามา

104.    บริเวณใดค้นพบเทวรูปศิลาศิลปะร่วมสมัยกับทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 14

(1) เชียงแสน   (2) ปราจีนบุรี   (3) สิงห์บุรี       (4) สุพรรณบุรี

ตอบ 2 หน้า 683691, (คำบรรยาย) ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า หรือวัตถุรุ่นเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14)สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา โดยเทวรูป ศิลารุ่นเก่าส่วนใหญ่มักพบในภาคใต้ของไทยแถบเขต จ.สุราษฎร์ธานี และทางภาคตะวันออก แถบดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี นอกจากนี้ที่เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ก็พบด้วยเช่นกัน

105.    วัฒนธรรมทวารวดีที่กระจายหลายแห่งในเขตภูมิภาคของประเทศไทยสะท้อนความเชื่อใด

(1) ลัทธิบูชาบรรพบุรุษและผี  (2) พุทธศาสนาหินยานแบบเถรวาท

(3)       พุทธศาสนาหินยาน มหายาน และฮินดู           (4) พุทธศาสนามหายานแบบอาจาริยวาท

ตอบ 3 หน้า 684 – 685 วัฒนธรรมทวารวดีที่กระจายหลายแห่งในเขตภูมิภาคของประเทศไทยสะท้อนความเชื่อในการนับถือศาสนา ดังนี้

1.         พุทธศาสนาหินยาน (เถรวาท) ดังหลักฐานการพบจารึกคาถา เย ธัมมา และจารึกภาษาบาลี โดยศิลปกรรมที่พบส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นในศาสนานี้มากที่สุด

2.         พุทธศาสนามหายาน (อาจาริยวาท) ดังหลักฐานการพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์ในพื้นที่ต่าง ๆ

3.         ศาสนาฮินดู ดังหลักฐานการพบศิวลึงค์ และประติมากรรมพระวิษณุเป็นจำนวนมาก

106.    ข้อใดคือประติมากรรมสัญลักษณ์ของศิลปกรรมทวารวดี

(1) ธรรมจักร    (2) ใบเสมาหิน (3) พนัสบดี     (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ

ตอบ 4 หน้า 687 – 689, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสัญลักษณ์ของศิลปกรรมทวารวดี มีดังนี้

1.         ธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาในทวารวดีภาคกลาง หมายถึง พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

2.         ใบเสมาหิน เป็นสัญลักษณ์ของพุทธคาสนาในทวารวดีภาคอีสาน มักสลักเป็นรูปสถูปและ ภาพเล่าเรื่องชาดกหรือพุทธประวัติ

3.         พนัสบดี เป็นสัตว์พาหนะของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มักพบเป็นหน้าสัตว์ที่รองรับ พระพุทธเจ้าประทับยืนหรือนั่ง เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าพุทธศาสนามีอำนาจยิ่งใหญ่กว่า ศาสนาพราหมณ์

107.    ศิลปกรรมศรีวิชัยส่วนใหญ่ร้างขึ้นเพื่อสนองศรัทธาในศาสนาใด

(1) ศาสนาฮินดู            (2) พุทธศาสนาหินยาน

(3)       พุทธศาสนามหายาน   (4) พุทธศาสนาหินยาน และศาสนาฮินดู

ตอบ 3 หน้า 694 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นเพื่อสนองศรัทธาในพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยโบราณวัตถุไม่ว่าจะสลักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสัมฤทธิ์ (สำริด) จะมีลักษณะคล้ายคลึง กับของที่พบในเกาะชวาภาคกลางเป็นอย่างมาก

108.    ข้อใดต่อไปนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานศิลปกรรมชั้นยอดของศิลปกรรมศรีวิชัย

(1) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งองค์ พบที่อำเภอไชยา         (2) พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา

(3) พระพิมพ์ดินดิบลักษณะงดงาม     (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ

ตอบ 4 หน้า 694 – 696, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมศรีวิชัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานศิลปกรรมชั้นยอด มีดังนี้

1.         พระบรมธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกับบรรดาเจดีย์ในเกาะชวามาก

2.         พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสัมฤทธิ์ (สำริด) ครึ่งองค์ พบที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นประติมากรรมที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

3.         พระพิมพ์ดิบดิบ ถือเป็นศิลปกรรมที่งดงามอีกอย่างหนึ่งของศิลปะสมัยศรีวิชัย

109.    การพบศิวลึงค์หลายองค์ในภาคใต้ของไทย แสดงถึงความเชื่อเรื่องใด

(1) พราหมณ์   (2) ฮินดู           (3) ฮินดู ไศวนิกาย       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 636691 ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย (นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นใหญ่)จะกราบไหว้บูชารูปพระศิวะ ซึ่งนิยมสร้างในรูปสัญลักษณ์เป็นศิวลึงค์ โดยจะพบทั้งในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น เอกามุขลึงค์ พบที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11-12

110.    ข้อใดคือสถานที่ที่ปรากฏสถาปัตยกรรมแบบลพบุรี

(1) วัดกำแพงแลง เพชรบุรี      (2) ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี

(3) วัตพระพายหลวง สุโขทัย   (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ

ตอบ 4 หน้า 699 – 700708, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมสมัยศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมใน ประเทศไทยไม่ได้พบแต่ในเขตเมืองละโว้ (ลพบุรี) เท่านั้น แต่กลับพบในบริเวณเมืองต่าง ๆ ในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาด้วย เช่น ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมาปราสาทหินพนมรุ้ง และทับหลังสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ จ.บุรีรัมย์ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรีพระปรางค์สามยอดและพระปรางค์แขก จ.ลพบุรีปราสาทแบบขอมที่วัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรีวัดพระพายหลวง วัดศรีสวาย และศาลตาผาแตง จ.สุโขทัย (แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย) 

111.    ศิลปกรรมแหล่งใดแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

(1) วัดศรีชุม     (2) วัดพระเชตุพนฯ      (3) วัดพระมหาธาตุ     (4) วัดพระพายหลวง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ

112.    สถาปัตยกรรมเชียงแสนที่เป็นลักษณะร่วมกับสถาปัตยกรรมสุโขทัย คือข้อใด

(1) เจดีย์ทรงเหลี่ยม    (2) เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา

(3) วิหาร 7 ยอด           (4) เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม

ตอบ 2 หน้า 710715 – 716, (คำบรรยาย) เจดีย์ทรงระฆัง หรือเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาหรือเชียงแสนที่เป็นลักษณะร่วมกับสถาปัตยกรรมสุโขทัย โดยมีต้นแบบมาจากลังกา แต่ล้านนารับรูปแบบเจดีย์ทรงนี้มาจาก 2 ทาง คือ รับผ่านมาทางพุกาม และรับมาจากสุโขทัย ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนบางส่วนจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา ซึ่งที่นับว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน

113.    พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปกรรมสุโขทัย สื่อความหมายถึงตอนใดในพุทธประวัติ

(1) การแสดงปฐมเทศนา         (2) การตรัสรู้

(3) การเสด็จลงจากดาวดึงส์   (4) การประกาศพระธรรมคำสั่งสอน

ตอบ 3 หน้า 712 พระพุทธรูปยืนในศิลปกรรมสุโขทัยหมวดใหญ่ มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ลอยตัวที่มีความงดงามไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน และถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย ซึ่งน่าจะมีที่มาจากภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

114.    ปางใดเป็นพุทธศิลป์ที่นิยมสร้างในสมัยศิลปะลพบุรี

(1) ปางมารวิชัย           (2) ปางมารวิชัยนาคปรก         (3) ปางสมาธิ  (4) ปางสมาธินาคปรก

ตอบ 4 หน้า 701, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยศิลปะลพบุรี คือ พระพุทธรูปปางสมาธิ นาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งขัดสมาธิราบ และมัก จะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็น พระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่องซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม

115.    สถาปัตยกรรมในศิลปะแบบลพบุรี มีลักษณะเด่นคืออะไร

(1) สร้างจากศิลาหรืออิฐ         (2) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นพุทธสถาน

(3) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นเทวสถาน            (4) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นพุทธสถานและเทวสถาน

ตอบ 4 หน้า 699 สถาปัตยกรรมสำคัญใบศิลปะแบบลพบุรี ได้แก่ ปราสาท ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มักสร้างขึ้นจากศิลาหรืออิฐ เพื่อเป็นประธานของพุทธสถานและเทวสถาน (เทวาลัย) โดยมี จุดประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เทวรูป หรือถวายบรรพบุรุษ ตลอดจน เป็นศาสนสถานประจำชุมชน

116.    ลักษณะสถาปัตยกรรมที่สมัยอยุธยาเป็นต้นแบบให้แก่สมัยรัตนโกสินทร์ ยกเว้นข้อใด (1) โบสถ์วิหารมีประตูแต่ไม่นิยมมีหน้าต่าง    (2) หลังคาลดหลั่นเป็นชั้น ๆ

(3) จำหลักตกแต่งหน้าบัน และมีช่อฟ้าใบระกา          (4) สร้างพระอารามหลวงในเขตพระราชฐาน

ตอบ 1 หน้า 599723729, (คำบรรยาย) ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบประเพณีที่สมัยอยุธยา เป็นต้นแบบให้แก่สมัยรัตนโกสินทร์ มีดังนี้ 1. โบสถ์วิหารมีฐานอ่อนโค้ง มีประตูและนิยม เจาะช่องหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีบานหน้าต่างเปิด-ปิด 2. หลังคาลดหลั่นเป็นชั้น ๆ นิยมใช้เครื่องไม้จำหลักตกแต่งหน้าบัน และประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์

3.         นิยมสร้างพระอารามหลวงในเขตพระราซฐาน เช่น วัดพระศรีสรรเพชญในสมัยอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

117.    จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่เจริญสูงสุดและพัฒนาการสู่สมัยรัตนโกสินทร์ คือข้อใด

(1) ลายกำมะลอ         (2) เทพชุมนุม  (3) ทศชาติ       (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ

ตอบ 4 หน้า 727733, (คำบรรยาย) จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่เจริญสูงสุดและพัฒนาการมาสู่ สมัยรัตนโกสินทร์ คือ ลายกำมะลอ หรือภาพทิวทัศน์ตามแบบจีน ซึ่งได้ให้อิทธิพลต่อจิตรกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ภาพเทพชุมนุม ภาพพุทธประวัติหรือทศชาติ และภาพไตรภูมิ ยังให้แบบแผนการเขียนภาพบนฝาผนังโบสถ์ในจิตรกรรมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-3 อีกด้วย

118.    วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา เป็นศิลปะแบบใด

(1) แบบจีน      (2) แบบโกธิก  (3) แบบนีโอคลาสสิก  (4) แบบญี่ปุ่น

ตอบ 2 หน้า 730 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสร้างวัดไว้น้อยแห่ง แต่บางแห่งแสดงถึงศิลปกรรมตะวันตก เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ อ.บางปะอิน จ.อยุธยา สร้างเลียนแบบศิลปะโกธิกในยุโรป และ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ สร้างด้วยหินออนจากอิตาลี ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง วัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก

119.    สถาปัตยกรรมตามแบบแผนประเพณีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตรงกับข้อใด

(1)       พระปรางค์วัดระฆังและพระเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ วัดพระเชตุพนฯ

(2)       พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม

(3)       โบสถ์วิหารวัดราชโอรส และวัดเทพธิดา

(4)       เจดีย์รูปเรือสำเภา วัดยานนาวา

ตอบ 1 หน้า 724730, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมตามแบบแผนประเพณีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 – 3) จะนิยมสร้างพระปรางค์ และพระเจดีย์ไม้สิบสองหรือพระเจดีย์ทรงเครื่องตามแบบ สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งที่สำคัญคือ พระปรางค์วัดระฆัง และพระเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือเป็นพระปรางค์ที่มีรูปแบบ รุดหน้าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของกรุงรัตนโกสินทร์

120.    รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปขึ้นใหม่ให้มีลักษณะคล้ายสามัญชน คือข้อใด

(1) จีวรบางแนบเนื้อ    (2) ขัดสมาธิราบ          (3) ไม่มีพระเกตุมาลา  (4) มีขนาดใหญ่

ตอบ 3 หน้า 732, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปขึ้นใหม่ เพื่อให้ มีลักษณะคล้ายสามัญชนยิ่งขึ้น คือ ไม่มีพระเกตุมาลาหรืออุษณีษะ จีวรเป็นริ้วตามธรรมชาติ ของผ้า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร และรายละเอียดของพระวรกายเป็นไปตามสรีระของมนุษย์ ตามปกติ จึงจัดเป็นพระพุทธรูปแบบสมจริง เช่น พระพุทธนิรันตรายที่โปรดให้สร้างขึ้น แต่ไม่เป็นที่นิยมกันนัก

HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ถํ้าตาด้วง อยู่จังหวัดอะไร

(1)       ราชบุรี  (2) อุทัยธานี    (3) กาญจนบุรี (4) อุดรธานี

ตอบ 3 หน้า 7 ถํ้าตาด้วง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นถํ้าที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นภาพเขียนสี ซึ่งแสดงขบวนแห่กลองมโหระทึก มีอายุประมาณ 2,000 – 2,500 ปี

2.         ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดีคืออะไร         

(1) นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท

(2)       ใช้ภาษาสันสกฤต       (3) รับวัฒนธรรมเขมร  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 13-14 ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี คือ การนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรับผ่านมาจากมอญ แต่พุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์ก็เป็น ที่ยอมรับด้วยแต่ไม่มากนัก โดยภาษาที่ใช้มีทั้งภาษามอญ สันสกฤต และบาลี ลักษณะตัวอักษร เป็นแบบอินเดียใต้ ทั้งนี้วัฒนธรรมทวารวดียังปรากฏอยู่ทั้งในเขตภาคเหนือ ภาคใต้ และ ภาคอีสานตอนบนของไทย ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าอิทธิพลของเขมรทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรม ยังมาไม่ถึงแว่นแคว้นบริเวณนี้

3.         ภาพสลักกองกำลัง เสียมกุก” ปรากฏอยู่ที่ใด

(1)       ปราสาทบายน ประเทศกัมพูชา          (2) ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา

(3)       วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประเทศไทย           (4) วัดพระศรีสรรเพชญ ประเทศไทย

ตอบ 2 หน้า 17 ภาพสลักนูนตํ่าที่ระเบียงปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา เป็นภาพที่แสดงกองทัพ สยกุก” หรือเสียมกุก ซึ่งเป็นกองกำลังส่วนหนึ่งในกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 – 1693) แห่งกัมพูชา ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าพวกทหารเสียมเหล่านี้ถูกเกณฑ์ ไปจากบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา

4.         กษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัยคือใคร    

(1) พ่อขุนผาเมือง

(2)       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์   (3) พ่อขุนศรีนาวนำถม            (4) พ่อขุนรามคำแหง

ตอบ 3 หน้า 23, (คำบรรยาย) หลักฐานสุโขทัยเท่าที่มีปรากฏ ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมือง ผู้ปกครองเมืองราด ส่วนกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ต่อมา คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือมีพระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นพระสหายของพ่อขุนผาเมือง

5.         ราชวงศ์ลาวจก สถาปนาอาณาจักรใด           

(1) หริภุญไชย

(2)       หิรัญนครเงินยาง         (3) นครศรีธรรมราช     (4) ทวารวดี

ตอบ 2 หน้า 20 แคว้นเงินยางเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยาง สถาปนาขึ้นโดยราชวงศ์ลาวจกในพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งในสมัยของพระยาเจื๋อง ขอบข่ายของแคว้นเงินยางได้ขยายขึ้นไป ถึงสิบสองปันนา หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ ต่อมาลูกหลานของพระยาเจื๋องได้ปกครอง อีก 4 – 5 คน ก็ถึงสมัยของพระยามังราย

6.         ข้อใดคือความหมายของผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจของชุมชนไทในบริเวณภาคใต้ของจีน

(1)       ผู้นำที่เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า

(2)       ผู้นำที่อ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ

(3)       ผู้นำที่เป็นพระจักรพรรดิราช   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 80-81 ลักษณะผู้นำของชุมชนไทใบบริเวณภาคใต้ของจีนประการหนึ่ง คือ ผู้นำจะ อ้างที่มาจากสวรรค์ และยังอ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ เช่น สามารถติดต่อกับวิญญาณของอดีตผู้นำคนก่อนๆ ได้ ซึ่งนักวิชาการจะเรียกผู้นำในลักษณะนี้ว่า ผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจ” (Bi§ Men or Men of Prowess) และเมื่อผู้นำนี้ตายไปก็จะได้รับ การนับถือบูชาว่าเป็นบรรพบุรุษคนหนึ่งด้วย

7.         หลักการเรื่องผู้นำที่เป็นมหาชนสมมุติ ปรากฏในหลักฐานใด

(1)       ไตรภูมิพระร่วง (2) พระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร

(3)       ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่         (4) ศิลาจารึกหลักที่ 1

ตอบ 2 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธคาสนาที่ปรากฏอยูในพระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเลือกสรรจากประชาชน ให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ

8.         พระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน มีคุณสมบัติอย่างไร

(1)       มีพระบรมเดชานุภาพจากชัยชนะในสงคราม  (2) มีพระราชฐานะต่ำกว่า มหาชนสมมุติ

(3)       ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีจนเต็มเปี่ยม           (4) มีคุณสมบัติตรงตามศาสนาพราหมณ์กำหนด

ตอบ 3 หน้า 93 พระไตรปิฎกในส่วนสุตตันตปิฎก จักกวัติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาล หรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราช ก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาเต็มเปี่ยม

9.         ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 มีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ

(1)       ไม่เน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช         (2) ไม่อ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์

(3) ไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่าง จากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการ อ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้คำราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย ส่วนหลักการของธรรมราชาอื่น ๆ นั้น ทางล้านนาก็ใช้คล้ายคลึงกับสุโขทัย เช่น การเน้นความสำคัญของหลักทคพิธราชธรรม การทำสงครามธรรมยุทธ ฯลฯ

10.       ข้อใดถูกเกี่ยวกับสมัยสุโขทัย

(1)       ไม่ปรากฏอิทธิพลลัทธิเทวราชาในสมัยสุโขทัย

(2)       สุโขทัยนำลัทธิเทวราชาเต็มรูปแบบมาใช้

(3)       สุโขทัยนำลัทธิเทวราชามาใช้ในยามที่อาณาจักรแตกแยก หรือมีการแย่งชิงอำนาจ

(4)       ลัทธิเทวราชามีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย

ตอบ2 หน้า 100 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คงมีการนำคติบางอย่าง ของลัทธิเทวราชามาใช้ แต่อาจใช้ไม่เต็มรูปแบบหรือตลอดเวลา เช่น อาจนำลัทธิเทวราชามาใช้ ในยามที่อาณาจักรแตกแยกและต้องรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ หรือใช้ในยามที่มีการทำรัฐประหาร แย่งชิงอำนาจกษัตริย์พระองค์ก่อน

11.       ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบทหาร

(1)       ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึก

(2)       ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องเป็นทหารทั้งในยามสงบและสงคราม

(3)       สมุหกลาโหมมีอำนาจสูงสุด  

(4) ใช้การปกครองแบบเข้มงวดและเด็ดขาด

ตอบ 1 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึกสงคราม ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยมีรากฐานมาจากประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็น ทหารประจำการและพลเรือนได้

12.       ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของกฎมณเฑียรบาล    

(1) เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

(2)       เป็นการจัดทำเนียบศักดินา   

(3) เป็นหมวดหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง

(4)       เพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

ตอบ 4 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรกที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงค์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี

13.       พระราชพิธีใดที่ข้าราชการต้องทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย

(1)       พระราชพิธีบรมราชาภิเษก      (2) พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

(3)       พระราชพีธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ            (4) พระราชพิธิฟันนา

ตอบ 2 หน้กํ 126140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยู่ในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัย ดังหลักฐานจากพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะ หรือทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูปของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองค์)โดยจะต้องกระทำปีละ 2 ครั้ง

14.       ข้อใดถูกต้อง

(1)       พระราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ

(2)       ราชศาสตร์ยกเลิกไม่ได้           (3) ธรรมศาสตร์เป็นหมวดหนึ่งของราชศาสตร์

(4)       กฎหมายธรรมศาสตร์สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด

ตอบ1 หน้า 134 – 135 กฎหมายที่ใช้ตัดสินคดีในสมัยอยุธยา ได้แก่ พระธรรมศาสตร์และพระราชศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1.         พระธรรมศาสตร์เป็นกฎหมายหลักอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด และยกเลิกไม่ได้

2.         พระธรรมศาสตร์ไม่สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด

3.         พระราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นสาขาคดีของพระธรรมศาสตร์

4.         กษัตริย์ทรงเป็นผู้ตราพระราชศาสตร์ เพื่อใช้ในกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ในพระธรรมศาสตร์

5.         พระราชศาสตร์อาจถูกยกเลิกโดยกษัตริย์ในรัชกาลต่อ ๆ ไปได้ ฯลฯ

15.       ข้อใดคือนโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(1) แบ่งงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน     (2) แบ่งการปกครองออกเป็นภูมิภาค

(3)       กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง      (4) จัดตั้งเมืองลูกหลวงในเขตเมืองชั้นใน

ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูประบบบริหารราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้

1.         แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน

2.         จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง (แต่มิได้ ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไป ควบคุมโดยตรง

16.       เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์

(1)       กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท

(2)       เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมด

(3)       กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน      

(4) ถูกทุกข้อ ตอบ 4 หน้า 155 – 156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัยมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้

1.         กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน

2.         เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง

3.         กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาน เป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร

17.       การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะแบบใด

(1) แบ่งงานตามหน้าที่โดยเคร่งครัด    (2) ยกเลิกกรมสำคัญ 6 กรม

(3) แบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาค (4) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

ตอบ 3 หน้า 157 – 158 การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ระบบแบ่งงานตามหน้าที่เฉพาะอย่าง (Functional Basis) ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน สลายไป กลายเป็นระบบแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นส่วนภูมิภาคหรือเขตแดน (Territorial Basis) แทน ดังนี้

1.         กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้

2.         กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ

3.         กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก

18.       เขตมณฑลราชธานี จัดตั้งขึ้นในรัชกาลใด

(1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1   (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) สมเด็จพระนเรศวร (4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

19.       ข้อใดไม่ใช่แนวทางการปกครองแบบธรรมราชา

(1)       กษัตริย์ต้องเป็นผู้บวงสรวงผีบรรพบุรุษ

(2)       ผู้น้ำที่ดีควรเป็นมหาชนสมมุติ

(3)       กษัตริย์ต้องปกครองตามหลักธรรมสำหรับพผู้ปกครอง

(4)       กษัตริย์ต้องบำรุงประชาชนให้อยู่ดีกินดี

ตอบ 1 หน้า 92 – 95 แนวทางการปกครองแบบธรรมราชา ซึ่งเป็นอุดมการณ์การปกครอง ตามหลักพุทธศาสนา มีดังนี้

1.         ผู้นำที่ดีควรเป็นมหาชนสมมุติ (ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

2.         ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศจะได้รับยกย่องเป็นพระจักรพรรดิราชหริอจักรวาทิน (ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ)

3.         ผู้นำหรือกษัตริย์ต้องปกครองตามหลักธรรมสำหรับผู้ปกครอง และต้องเอาใจใส่ทำนุบำรุง ประชาชนให้อยู่ดีกินดี มิให้ถูกกดขี่ข่มเหง ฯลฯ

20.       ข้อใดที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยึดอุดมการณ์ธรรมราชา

(1)       การตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม         (2) การสังคายนาพระไตรปิฎก

(3) การลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎร (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 183 – 186 พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทรงยึดอุดมการณ์ธรรมราชา เป็นหลักสำคัญที่สุด โดยมีแนวทางดังนี้

1.         ทรงตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม ซึ่งมิได้เกียวกับราชกรบ้านเมืองโดยตรงแต่อย่างใด

2.         ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยการสังคายนาพระไตรปิฎก ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและ พระพุทธรูปจำนวนมาก

3.         ทรงปกป้องคุ้มครองประชาชน โดยการลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎร และดูแลมิให้มูลนาย ข่มเหงรังแกราษฎร ฯลฯ

21.       ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย

(1) ลักษณะเทวราชามีความสำคัญมากขึ้น     (2) ลดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(3) ลดความสำคัญในเรื่องผู้นำที่มีบารมีสูง     (4) เน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก

ตอบ 4 หน้า 197202 – 204 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย มีดังนี้

1.         การเน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก

2.         ความเชื่อในเรื่องบารมีของพระมหากษัตริย์ยังคงมีอยู่

3.         ความเสื่อมของลักษณะเทวราชา

4.         ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์

22.       ราชกิจจานุเบกษามีการพิมพ์เผยแพร่ในสมัยรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 4  (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 1 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ ปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร

23.       ข้อใดคือผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก

(1) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง            (2) ระบบทาสถูกยกเลิกโดยเด็ดขาด

(3) มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2 สภา   (4) มีการปฏิรูประบบการศาลอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 227 – 228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก (พ.ศ. 2417 – 2418) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่

1.         สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (State Council or Council of State)

2.         สภาองคมนตรี (Privy Council)

24.       เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง ทรงปฏิรูปประเทศด้านใดเป็นอันดับแรก

(1) การคลัง     (2) การปกครอง          (3) การบริหารราชการ (4) สังคม

ตอบ 1 หน้า 205 เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นปกครองประเทศด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงเร่งปฏิรูปประเทศ ด้านการคลังก่อนด้านอื่นเป็นอันดับแรก จากนั้นการปฏิรูประบบบริหารราชการและระบบสังคม ก็ตามมา เพื่อสร้างควมมั่นคงเข้มแข็งให้แก่อาณาจักรไทยในช่วงที่จักรวรรดินิยมตะวันตก กำลังมีความรุนแรงถึงขีดสุด ซึ่งส่งผลให้อำนาจบริหารมารวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์มากขึ้น

25.       ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบมณฑลเทศาภิบาล

(1) จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5            (2) เป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

(3)       ได้รับแนวทางจากการปกครองของฝรั่งเศสที่ปกครองอินโดจีน

(4)       เป็นระบบที่เมืองหลวงสามารถควบคุมบริเวณทั้งหมดของอาณาจักรและประเทศราชได้อย่างทั่วถึง

ตอบ 3 หน้า 56234 – 236 ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะดังนี้

1.         เป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบรวมศูนย์อำนาจ เพื่อให้เมืองหลวงควบคุมบริเวณ ทั้งหมดของอาณาจักรและเขตประเทศราชได้อย่างทั่วถึง

2.         ได้รับแนวทางจากการปกครองของอังกฤษในพม่าและมลายู

3.         ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นคนในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในกรุงเทพฯ ที่ได้รับแต่งตั้งโดยตรง ออกไปจากเมืองหลวง

4.         ระบบมณฑลเทศาภิบาลจัดตั้งตามความพร้อมในแต่ละภูมิภาค มิได้จัดทีเดียวทั่วประเทศ

5.         ผลสำเร็จในการปฏิรูปทำให้ประเทศไทยสามารถผนวกดินแดนในเขตชั้นนอกและเขต ประเทศราชให้เป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกับส่วนกลางในลักษณะรัฐประชาชาติ (National state) ได้สำเร็จ

26.       ข้อใดคืออุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผ่นดินในช่วงแรกของรัชกาลที่ 5 ต้องหยุดชะงัก

(1) การขัดขวางจากพวกอนุรักษนิยม  (2) การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก

(3) การขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 227 – 229 อุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผนดินในระยะแรกของรัชกาลที่ 5 ต้องหยุดชะงักลง ได้แก่

1.         การขัดขวางจากฝ่ายอนุรักษนิยมทั้งในลักษณะของการดื้อแพ่งและการต่อต้านด้วยกำลังอาวุธ

2.         การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก

3.         การขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม โดยเฉพาะบรรดาสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการแสดงความคิดเห็น และยังเกรงกลัวต่ออิทธิพลของฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่

27.       ผลสำเร็จในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดจากข้อใด

(1)       การใช้ระบบ กินเมือง”       (2) การเพิ่มอำนาจให้เมืองประเทศราช

(3) การจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาล           (4) การฟื้นฟูระบบเมืองลูกหลวง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

28.       ช่องทางที่สำคัญที่สุดในการเผยแพร่อุดมการณ์ตะวันตกเข้าสู่คนไทยคือข้อใด

(1) การขยายตัวทางการศึกษาแผนใหม่          (2) การจัดทำราชกิจจานุเบกษา

(3) การจัดทำหนังสือพิมพ์       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 239 – 240 ช่องทางที่สำคัญที่สุดในการเผยแพร่อุดมการณ์ตะวันตกเข้าสู่คนไทย คือ การขยายตัวทางการศึกษาแผนใหม่ ซึ่งเริ่มอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะเมื่อผู้มีการศึกษาดี และมีสำนึกทางการเมืองสูงเข้าสู่ระบบราชการแล้ว บุคคลเหล่านี้ก็ต้องการพัฒนาประเทศ ให้เจริญตามแบบตะวันตก จึงพยายามล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื่องจากเชื่อมั่นว่า ระบอบประชาธิปไตยจะนำมาซึ่งความเจริญของประเทศ

29.       ข้อใดคือยุคทองของหนังสือพิมพ์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย

(1) สมัยรัชกาลที่ 4      (2) สมัยรัชกาลที่ 5      (3) สมัยรัชกาลที่ 6      (4) สมัยรัชกาลที่ 7

ตอบ 3 หน้า 240 หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ ดร.บรัดเลย์ได้จัดพิมพ์ หนังสือพิมพ์ “Bangkok Recorder” ขึ้นในปี พ.ศ. 2387 หลังจากนั้นในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ซึ่งเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็มีผู้จัดทำหนังสือพิมพ์เรื่อยมาจนถึงยุคทองของหนังสือพิมพ์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทำให้ข่าวสารทางการเมืองเริ่มเป็นที่น่าสนใจของประชาชนมากขึ้น

30.       ขบถผู้มีบุญ คือ การต่อต้านอำนาจส่วนกลาง เกิดขึ้นในมณฑลใด

(1) พายัพ        (2) อีสาน         (3)       ภูเก็ต   (4)       ปัตตานี

ตอบ 2 หน้า 236 – 237 การปฏิรูปส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับปัญหาการต่อต้าน อำนาจส่วนกลางจากฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง ซึ่งได้แก่ พวกเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชเดิม โดยการต่อต้านจะเกิดขึ้นทั้งในมณฑลอีสาน พายัพ และปัตตานี ดังนี้

1.         ในมณฑลอีสานเกิด ขบถผีบุญ หรือขบถผู้มีบุญ” ขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2444

2.         ในมณฑลพายัพหรือภาคเหนือเกิด ขบถเงี้ยวเมืองแพร่” ขึ้นในปี พ.ศ. 2445

3.         ในมณฑลปัตตานีเกิด ขบถพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง” ขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2444

31.       เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด

(1) เจ้าพระยา  (2) ปิง  (3)       ยม       (4)       น่าน

ตอบ 3 หน้า 23 – 24. (คำบรรยาย) บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บบที่ราบลุ่มแม่น้ำยม ซึ่งอยู่ ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง และมีศูนย์กลางของชุมชนเมื่อแรกตั้งอยู่ที่เมืองเก่าสุโขทัย บริเวณวัดพระพายหลวง หลังจากนั้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงย้ายศูนย์กลางของราชธานี มาอยู่ในตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน บริเวณวัดมหาธาตุ

32.       ชุมชนแห่งแรกของสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดใด

(1) วัดพระพายหลวง   (2) วัดมหาธาตุ            (3)       วัดศรีสวาย      (4)       วัดศรีชุม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33.       เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์…” ถามว่าเบื้องหัวนอนในศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้ หมายถึงทิศใด

(1)       ทิศตะวันออก   (2) ทิศตะวันตก           (3) ทิศเหนือ     (4) ทิศใต้

ตอบ 4 หน้า 589, (คำบรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้กล่าวถึงทิศทั้ง 4 ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างจากปัจจฺบัน กล่าวคือ เบื้องต้นนอน (ทิศเหนือ)เบื้องหัวนอน (ทิศใต้)เบื้องตะวันออก (ทิศตะวันออก) และเบื้องตะวันตก (ทิศตะวันตก)

34.       ผู้ปกครองที่อธรรม เบียดเบียนประชาชน กินสินบนจากลูกความ ตายไปต้องตกนรก หรือเกิดเป็นเปรต ได้รับความทรมานอย่างมาก” เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารใด

(1) ไตรภูมิพระร่วง       (2) มังรายศาสตร์        (3) มหาชาติคำหลวง   (4) กฎหมายตราสามดวง

ตอบ 1 หน้า 277 หนังสือเรื่องไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย ได้มีการปลูกฝังความเชื่อว่าลูกเจ้าลูกขุนที่เป็นขุนธรรมย่อมมีผลให้ ดินฟ้าอากาศเป็นปกติตามฤดูกาล และย่อมเป็นที่รักของเทวดา ส่วนผู้ปกครองที่อธรรม เบียดเบียนประชาชน กินสินบนจากลูกความ ตายไปต้องตกนรก หรือเกิดเป็นเปรต ได้รับความทรมานอย่างมาก

35.       ข้อใดถูกต้องในอาณาจักรสุโขทัย

(1) ไพร่มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มอื่น         (2) ไพร่มีจำนวนมากเกินความต้องการของรัฐ

(3) ประชากรมีจำนวนจำกัด    (4) ไม่มีทาสวัด

ตอบ 3 หน้า 270 – 271281289 – 290293, (คำบรรยาย) สังคมไทยสมัยอาณาจักรสุโขทัย และล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 จะมีลักษณะคล้ยคลึงกันมากที่สุด ดังนี้

1.         จำนวนของประชากรมีจำกัด   2. มีการแบ่งลักษณะชนชั้นแบบไม่ถาวร

3.         ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชั้นไพร่หรือสามัญชน ซึ่งถือเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุด แต่ก็ยังมีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการแรงงานของรัฐ

4.         เป็นสังคมที่มีข้าหรือทาส ซึ่งจัดเป็นชนชั้นตํ่าสุดของสังคม ได้แก่ ทาสเชลย ทาสวัดหรือ ข้าพระอาราม ฯลฯ

5.         มีการจัดระเบียบและควบคุมสังคมด้วยการกำหนดความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์-บริวาร (Patron-client Relationship) ฯลฯ

36.       พระราชนิพนธ์ของพญาลิไทยเรื่องไตรภูมิพระร่วง สะท้อนให้เห็นความสามารถของลูกเจ้าลูกขุนในด้านใด

(1) ด้านการปกครองและสงคราม       (2) ด้านการปกครองและอักษรศาสตร์

(3) ด้านการปกครองและด้านศาสนา  (4) ด้านอักษรศาสตร์และด้านศาสนา

ตอบ 4 หน้า 96105272584, (คำบรรยาย) หนังสือเรื่องไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไทย (พญาลิไทย) ได้สะท้อนให้เห็นความสามารถของลูกเจ้าลูกขุนในด้าน อักษรศาสตร์และด้านศาสนา เพราะพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ถือเป็นผลงานสำคัญทางอักษรศาสตร์ และยังมีเนื้อหาเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาโดยตรง จึงถือเป็นหลักฐานที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัยได้เป็นอย่างดี

37.       หน้าที่ในการสร้างป้อม กำแพงเมือง คูเมือง บ่อนํ้า อ่างเก็บนํ้า เป็นหน้าที่ของชนกลุ่มใด

(1) ลูกเจ้าลูกขุน          (2) ขุนนางชั้นผู้น้อย     (3) ไพร่            (4) ทาส

ตอบ 3 หน้า 283 – 285, (คำบรรยาย) ไพร่ในสมัยสุโขทัยมีหน้าที่ให้แรงงานกับรัฐทั้งในด้านการสงคราม และการก่อสร้างนานาประการ เช่น ป้อม กำแพงเมือง คูเมือง บ่อนา อ่างเก็บน้ำ วัดวาอาราม ถนนหนทางต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากนี้ยังต้องให้แรงงานในด้านการเพาะปลูก และการทำอุตสาหกรรม แต่แรงงานก็มีอยู่อย่างจำกัด

38.       ในศิลาจารึกสุโขทัยมีข้อความเกี่ยวกับไพร่อยู่หลายคำ ถามว่าไพร่ในข้อใดหมายถึงทาส

(1) ไพร่ฟ้าหน้าใส        (2) ไพร่ฟ้าหน้าปก       (3) ไพร่ไท        (4) ไพร่ฟ้าข้าไท

ตอบ 4 หน้า 271289 – 290, (คำบรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัย คำว่า ไพร่” หมายถึง สามัญชน โดยทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ส่วนสร้อยที่ต่อท้ายคำว่าไพร่จะมีความหมายเฉพาะตัว ที่บ่งบอกถึงลักษณะของไพร่ที่แตกต่างกันไป เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส/ไพร่ไท (ประชาชนทั่วไป),ไพร่ฟ้าหน้าปก (ประชาชนที่มีทุกข์ร้อน)ไพร่ฟ้าข้าไท (ทาส ซึ่งมีสถานะตํ่าสุดในสังคม) เป็นต้น

39.       เข้า 10 วัน ออก 10 วัน” เป็นการเกณฑ์แรงงานในสมัยใด

(1)       สุโขทัย            (2) ล้านนา       (3) อยุธยา       (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 284 เอกสารของล้านนาได้ระบุถึงการเกณฑ์แรงงานไพรในสมัยล้านนาว่า รัฐบาลจะเกณฑ์แรงงานไพร่ 10 วัน และปล่อยไปทำไร่นาของตนได้ 10 วัน สลับกันไป เรียกว่า เข้า 10 วัน ออก 10วัน” รวมแล้วจะเท่ากับถูกเกณฑ์แรงงาน6 เดือนใน 1 ปีซึ่งเท่ากับเวลาที่ไพร่ของ อาณาจักรอยุธยาถูกเกณฑ์เช่นกัน

40.       สังคมสมัยใดที่มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด           

(1) สุโขทัย-ล้านนา

(2)       สุโขทัย-อยุธยา           (3) ล้านนา-อยุธยา      (4) สุโขทัย-รัตนโกสินทร์ตอนต้น

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

41.       ขุนนางในสมัยอยุธยาไม่มีสิทธิทำสิ่งใด         

(1) เป็นเจ้าเมือง

(2)       เป็นเสนาบดี   (3) เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์     (4) ไปมาหาสู่กันอย่างเสรี

ตอบ 4 หน้า 310323 – 324326329332 พระมหากษัตริย์ทรงคานอำนาจขุนนางสมัยอยุธยา ดังนี้

1.         กำหนดให้ความเป็นขุนนางอยู่ในพระราชอำนาจของกษัตริย์

2.         กำหนดโครงสร้างของระบบราชการให้มีลักษณะลิดรอนอำนาจขุนนางมิให้รวมตัวกันได้

3.         ตรากฎหมายควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของขุนนางไว้อย่างเข้มงวด

4.         ควบคุมการเคลื่อนไหวของขุนนาง มิให้ขุนนางไปมาหาสู่กันเอง หรือไปติดต่อกับเจ้านาย อย่างเสรี ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสิทธิของขุนนางในสมัยอยุธยา)

42.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับขุนนางสมัยอยุธยา

(1) รายได้สำคัญของขุนนาง คือ เงินเดือน       (2) ขุนนางยกยศให้เป็นมรดกของลูกได้

(3)       เจ้านายทุกองค์มีศักดินาสูงกว่าขุนนาง          (4) ขุนนางมีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป ตอบ 4 หน้า 314322328 ข้อสังเกตเกี่ยวกับความสูงศักดิของขุนนางในสมัยอยุธยา มีดังนี้

1.         ขุนนางต้องมีศักดินาตั้งแต่400ไร่ขึ้นไปส่วนข้าราชการที่มีศักดินาต่ำกว่400ไร่ จะเป็นเพียงขุนหมื่น

2.         ยศ ราชทินนาม ตำแหน่ง และศักดินา มิใช่ของสืบตระกูลจะยกเป็นมรดกต่อไปให้ลูกหลานมิได้

3.         ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเจ้านายเป็นกลุ่มที่มีความสูงศักดิ์หรือมีศักดินาสูงกว่าขุนนาง

4.         ขุนนางสมัยอยุธยาไม่มีเงินเดือน แต่มีรายได้หลักจากการกินตำแหน่งและกินเมือง ฯลฯ

43.       การเป็นเจ้านายในสมัยอยุธยากำหนดไว้กี่ชั่วคน

(1) 2 ชั่วคน      (2) 3 ชั่วคน      (3) 4 ชั่วคน      (4) ตลอดชีพ

ตอบ 2 หน้า 141305308313 – 314 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงควบคุมอำนาจของเจ้านาย ดังนี้

1.         กำหนดความสูงศักดิ์ของเจ้านายให้มีอยู่เพียง 3 ชั่วอายุคน และลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลง ทุกชั่วอายุคน

2.         ลิดรอนอำนาจเจ้านายไม่ให้มีมากเกินไป เช่น ไม่ให้เจ้านายดำรงตำแหน่งเสนาบดี และเจ้าเมือง

3.         ให้เจ้านายอยู่ในเมืองหลวงและปกครองกรมย่อย ๆ

4.         ให้เจ้านายเป็นมูลนายบังคับบัญขาไพร่สม แต่มีการควบคุมจำนวนไพร่สมไม่ให้มีมากเกินไป

5.         ออกกฎหมายควบคุมการเคลื่อนไหวของเจ้านาย ฯลฯ

44.       กษัตริย์อยุธยาทรงควบคุมอำนาจเจ้านายอย่างไร

(1) ไม่ยอมให้เจ้านายได้ปกครองกรม  (2) ไม่ยอมให้เจ้านายเป็นมูลนายของไพร่

(3)       ไม่ยอมให้เจ้านายอยู่ในเมืองหลวง      (4) ไม่ยอมให้เจ้านายมีอำนาจมากเกินไป

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45.       เจ้าพระยาจักรี เป็นยศและราชทินนามประจำกรมใด

(1) มหาดไทย  (2)       กลาโหม           (3)       คลัง     (4)       นครบาล

ตอบ 1 หน้า 150 – 152319 – 320, (คำบรรยาย) หน้าที่ในตำแหน่งของกรมกองต่าง ๆ จะมียศ และราชทินนามกำกับไว้โดยเฉพาะ ดังนี้

1.         เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมมหาดไทย

2.         เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมกลาโหม

3.         เจ้าพระยาพระคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมพระคลัง หรือโกษาธิบดี

4.         พระยายมราชอินทราธิบดีฯ เป็นยศและราชเทินนามของขุนนางกรมเวียงหรือนครบาล ฯลฯ

46.       ไพร่หลวงไม่มีสิทธิทำสิ่งใด

(1) ยกมรดกให้ลูก       (2)แต่งงานกับไพร่สม  (3)       ย้ายไปเป็นไพร่สม       (4)ถวายฎีกา

ตอบ 3 หน้า 339342345 กษัตริย์อยุธยาทรงมีนโยบายลดจำนวนไพร่สม เพื่อลิดรอนอำนาจของ เจ้านายที่เป็นมูลนายของไพร่สมส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนไพร่หลวงเพื่อความมั่นคงของกษัตริย์ จึงมีการออกกฎหมายห้ามจดทะเบียนลูกหลานของไพร่หลวงย้ายไปเป็นไพร่สม ส่วนไพร่สม สามารถย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ แต่เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ของไพร่สมที่สุขสบายกว่า จึงส่งผลให้ไพร่หลวงนิยมหนีไปเป็นไพร่สม ทำให้การควบคุมจำนวนไพร่สมไม่ได้ผลนัก (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสิทธิของไพร่หลวงในสมัยอยุธยา)

47.       ผู้ใดมีศักดินาสูงสุดในสมัยอยุธยา

(1) พระเจ้าแผ่นดิน      (2)       วังหน้า (3)       เจ้าพระยากลาโหม      (4)       เจ้าพระยาจักรี

ตอบ 2 หน้า 309357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับ พระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหนง โดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในสมัยอยุธยา คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่

48.       การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร

(1)       ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล      (2) ใช้กำหนดบทลงโทษของบุคคล

(3) ใช้กำหนดไพร่ในสังกัดของบุคคล  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 309359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและ กำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้  

1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม

2.         เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด    3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พลในสังกัดของบุคคลที่เป็นมูลนาย 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่างให้แก่บุคคล

49.       ทาสในสมัยอยุธยามีกี่ชนิด

(1)       3 ชนิด  (2) 4 ชนิด        (3) 5 ชนิด        (4) 7 ชนิด

ตอบ 4 หน้า351 พระไอยการทาสในกฎหมายตราสามดวงได้กล่าวถึงทาสในสมัยอยุธยาไว้7ชนิด ได้แก่

1.         ทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์ (แบ่งย่อยออกได้เป็นทาสสินไถ่ประเภทขายขาด และขายฝาก)

2.         ลูกทาสเกิดในเรือนเบี้ย (เด็กที่เกิดจากทาส)  3. ทาสที่ได้แต่บิดามารดา

4.         ทาสที่มีผู้ยกให้            5. ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากโทษปรับ

6.         ทาสที่ได้เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง      7. ทาสเชลย

50.       ข้อยมาเป็นข้า” เป็นทาสชนิดหนึ่งของล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดของสมัยอยุธยา

(1)       ทาสสินไถ      (2) ทาสในเรือนเบี้ย    (3) ทาสเชลย   (4) ทาสที่ได้มาจากการช่วยให้พ้นโทษ

ตอบ 3 หน้า 290351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ 1. ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา      2. ลูกช้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา

3.         มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา

4.         ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา

5.         ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา

51.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับไพร่สม

(1)       กษัตริย์มีนโยบายลดจำนวนไพร่สม    (2) กษัตริย์มีนโยบายเพิ่มจำนวนไพร่สม

(3) มีสภาพความเป็นอยู่ลำบากกว่าไพร่หลวง            (4) นิยมหนีไปเป็นไพร่หลวง

ตอบ1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

52.       การสักข้อมือไพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ      

(1) เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี

(2)       เพื่อรู้ชื่อมูลนาย           (3) เพื่อรู้จำนวนไพร่     (4) เพื่อรู้ภูมิลำเนาไพร่

ตอบ 1 หน้า 392417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มทำขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้ สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันไม่ให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือไม่ให้ไพรหลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายอย่างแต่ก่อน

53.       เหตุใดไพร่จึงถูกเกณฑ์แรงงานลดลงในสมัยรัตนโกสินทร์

(1)       มีแรงงานชาวจีนเข้ามามาก     (2) การเน้นการปกครองแบบธรรมราขา

(3)       รัฐต้องการให้ไพร่มีเวลาปลูกข้าวมากขึ้น        (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 416 – 424, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานลดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งมีการยกเลิกระบบไพร่อย่างสิ้นเชิงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้ 1. กษัตริย์เน้นอุดมการณ์ ปกครองแบบธรรมราชา    2. การคุกคามและการเผยแพร่แนวคิดของมหาอำนาจตะวันตก

3.         การเปลี่ยนแปลงลักษณะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้รัฐต้องการให้ไพร่มีเวลาปลูกข้าวมากขึ้น

4.         มีกรรมกรชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น

5.         ภาวการณ์ทำสงครามและการถูกรุกรานโดยอาณาจักรใกล้เคียงกับไทยหมดไป

54.       สมเด็จเจ้าพระยา” เป็นยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทย ถามว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใด มีอำนาจมากที่สุด

(1)       สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ     (2) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์

(3) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ         (4) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

ตอบ 4 หน้า 405, (คำบรรยาย) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ที่ 4 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยตามประวัติท่านผู้นี้ เป็นบุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส บุนนาค หรือสมเด็จองค์ใหญ่) ต่อมาได้รับราชการเป็นสมุหกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงถือเป็นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ที่มีอำนาจมากที่สุด

55.       ข้อใดถูกต้องในสมัยรัตนโกสินทร์      

(1) คณะเสนาบดีได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์

(2)       ขุนนางไม่นิยมส่งลูกหลานหญิงเข้ารับราชการฝ่ายใน

(3)       ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากระบบภาษีนายอากรเลย

(4)       ตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยากระจายไปให้แก่ขุนนางหลายตระกูล

ตอบ 1 หน้า 400 – 405 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่

1.         ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์ โดยนิยมส่งลูกหลานหญิงเข้ารับราชการฝ่ายใน ทำให้ขุนนางและพระราชวงศ์เกี่ยวดองเป็นญาติกัน

2.         คณะเสนาบดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์

3.         ขุนนางได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร

4.         ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุด โดยขุนนางตระกูลนี้ได้ดำรงยศสมเด็จเจ้าพระยา ทุกองค์ ซึ่งไม่มีขุนนางตระกูลอื่นใดได้ดำรงยศอันสูงสุดนี้เลย ฯลา

56.       ในสมัยรัชกาลใดที่เปิดโอกาสให้ไพร่ได้เข้าถวายตัวเป็นขุนนางเป็นครั้งแรก เนื่องมาจากปัญหาขาดแคลนขุนนาง

(1)       รัชกาลที่ 1       (2) รัชกาลที่ 2  (3) รัชกาลที่ 3  (4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 1 หน้า 316408, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การถวายตัวเป็น ขุนนางให้มาจากเชื้อสายไหนก็ได้ โดยไม่มีข้อขีดคั่นเรื่องชาติวุฒิ คือ ต้องเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก อัครมหาเสนาบดีเหมือนดังเช่นในสมัยอยุธยาอีก ทำให้ไพร่หรือสามัญชนที่มีความประพฤติดี มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสเข้าถวายตัวเป็นขุนนางได้เป็นครั้งแรก เนื่องจากในสมัยนี้ เกิดปัญหาขาดแคลนขุนนาง แต่ไพร่ก็เข้ามาสู่ระบบขุนนางได้ยาก เพราะลูกหลานของขุนนาง ก็มักจะได้เป็นขุนนางต่อมานั่นเอง

57.       การปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดผลอย่างไรต่อขุนนาง

(1) ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น          (2) ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไปอย่างมาก

(3) ขุนนางมีรายได้หลักจากการ กินตำแหน่ง”       (4) ขุนนางไม่ได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล

ตอบ 2 หน้า 398411 – 412 การปฏิรูประบบราชการและการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อ ขุนนาง ดังนี้ 1. คณะเสนาบดีรุนเก่าที่มีขุนนางตระกูลบุนนาคเป็นผู้นำเสื่อมอิทธิพลลงและ หมดบทบาทไปอย่างมาก โดยเสนาบดีหรือข้าหลวงเทศาภิบาลรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านาย แต่ถ้าเป็นขุนนางก็จะเป็นขุนนางตระกูลอื่น เช่น ตระกูลอมาตยกุล และกัลยาณมิตร

2.         ข้าราชการมีเงินเดือน และการใช้เงินส่วนของรัฐเพื่อกิจการส่วนตัวนับเป็นของต้องห้าม

3.         มีการเปิดรับสามัญชนที่มีการศึกษาดีเข้าสู่ระบบราชการ ฯลฯ

58.       พ่อแม่หรือสามีจะขายลูกและภรรยาให้เป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอมจะกระทำไม่ได้ ถามว่า เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกในรัชกาลใด

(1)       รัชกาลที่ 2       (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่4   (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 199 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงช่วยยกฐานะสตรีและเด็ก โดยการเริ่มประกาศใช้กฎหมาย ห้ามบิดามารดาและสามีขายบุตรและภรรยาลงเป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่สมัครใจ แต่ในกรณีที่บุตรและภรรยายอมให้ขาย การกำหนดค่าตัวต้องเป็นราคาที่เจ้าตัวยินยอมพร้อมใจด้วย

59.       เวลาหนึ่ง ข้าราชการเข้าเฝ้าที่โรงแสงพร้อมกัน ครั้งนั้นยังไม่มีธรรมเนียมที่จะสวมเสื้อเข้าเฝ้า จึงดำรัสว่า คนที่ไม่สวมเสื้อเหมือนเปลือยกาย ร่างกายจะเป็นกลากเกลื้อนก็ดี หรือเหงื่อออกมาก็ดี โสโครกนัก…” ตั้งแต่นั้นมาโปรดให้ขุนนางสวมเสื้อเข้าเฝ้า ถามว่าคือรัชกาลใด

(1)       รัชกาลที่3        (2) รัชกาลที่ 4  (3) รัชกาลที่     5          (4) รัชกาลที่ 6

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2395 รัชกาลที่ 4 ทรงสั่งให้ยกเลิกการเข้าเผ้าแบบตัวเปล่าไม่สวมเสื้อ ตามแบบราชประเพณีโบราณ โดยพระองค์มีพระราชดำรัสให้เจ้านายและขุนนางสวมเสื้อ เวลาเข้าเฝ้าเป็นครั้งแรกตามแบบอารยธรรมตะวันตก ดังหลักฐานจากข้อความใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ข้างต้น

60.       เหตุเกิดในเมืองไทยภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่งในรัชกาลที่ 4 กล่าวคือ คนจีนจดทะเบียนเป็นคน ในบังคับอังกฤษ ทำผิดกฎหมายไทย ถามว่าศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดี

(1) ศาลไทย     (2) ศาลจีน       (3) ศาลอังกฤษ           (4) ได้ทั้ง 3 ศาล

ตอบ 3 หน้า 439547 – 548, (คำบรรยาย) ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2398 ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (เสียเอกราชด้านการศาล) ให้กับประเทศอังกฤษเป็นชาติแรก คือ คนต่างชาติและคนในบังคับของต่างชาติเมื่อมีเรื่องกับคนไทยก็ดี หรือมีเรื่องในหมู่พวกตัวเองก็ดี จะต้องขึ้นศาลกงสุลของชาติตนหรือชาติ ที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้ศาลไทยไม่สามารถเอาผิดกับคนต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยและ ทำผิดกฎหมายไทยได้ ซึ่งต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2399 – 2442 ก็มีประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามาทำสัญญาในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายประเทศ

61.       ระบบเศรษฐกิจไทยปัจจุบันสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด

(1) การเกษตร (2) อุตสาหกรรม          (3) การค้าส่งออก        (4) เศรษฐกิจยังชีพ

ตอบ 3 หน้า 469 – 471558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้

1.         เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน

2.         เศรษฐกิจแบบตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ

3.         เศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังจะเห็นได้จากการที่ รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา

4.         เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบการผลิตเพื่อการค้าส่งออกในปัจจุบัน

62.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการกสิกรรมสมัยสุโขทัย

(1) พื้นที่เพาะปลูกด้านเกษตรมีจำนวนมาก    (2) พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด

(3) มีนํ้าพอเพียงต่อการทำเกษตรกรรม           (4) ข้าวเป็นสินค้าออกสำคัญ

ตอบ 2 หน้า 473 – 474 การกสิกรรมในสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผล ที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงานชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา

63.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานสมัยสุโขทัย

(1) ท่อปู่พระญาร่วง     (2) ตริภังค์(3) สรีดภงส์           (4) ตระพัง

ตอบ 2 หน้า 474 ผู้ปกครองสุโขทัยได้ช่วยเหลือด้านระบบชลประทาน ดังนี้ 1. การสร้างสริดภงส์ คือ เขื่อนเก็บกักนํ้า ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักนํ้าไว้ภายในหุบเขา          2. การขุดสระที่เรียกว่าตระพัง” 3 แห่ง คือ ตระพังทอง ตระพังเงิน และตระพังสอ        3. การสร้างเหมืองฝายดังหลักฐานที่กล่าวถึงการพบท่อระบายน้ำเพื่อนำนํ้าเข้ามาที่มีชื่อว่า ท่อปู่พระญาร่วง

64.       การบริโภคข้าวในสมัยสุโขทัย ข้อใดถูกต้อง

(1) อยุธยาซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด            (2) จีนซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด

(3) ลังกาซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด  (4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

65.       ข้อใดคือลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

(1) การตลาด   (2) การค้าเสรี  (3) ยังชีพ         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 287480 ลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นแบบการค้าเสรี โดยผู้ปกครองได้ส่งเสริม ให้ราษฎรสามารถค้าขายสินค้าต่างๆ ได้อย่างเสรีตามความต้องการ ดังข้อความในศิลาจาริก ที่ว่า ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใครค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า…

66.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

(1) มีธนบัตรใช้ในการแลกเปลี่ยน       (2) ใช้ระบบทองคำในการแลกเปลี่ยน

(3) ใช้เงินในการซื้อขายสินค้า (4) ยังไม่มีระบบเงินตรา

ตอบ3 หน้า 482 ในสมัยสุโขทัย เงินตราที่ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนในการซื้อขายสินค้า มีดังนี้

1.         เงินพดด้วง ซึ่งสันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น โดยนำแร่เงินมาจาก ต่างประเทศ แล้วเอามาหล่อหลอมทำเป็นเงินตรา        2. เบี้ย (เปลือกหอย) นำมาจากาวต่างประเทศที่เที่ยวเสาะหาตามชายทะเลแล้วเอามาขายในเมืองไทย

67.       ปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพของคนสมัยอยุธยา คือข้อใด

(1) ที่ดิน           (2) สินทรัพย์    (3) เงินทุน        (4) ตลาด

ตอบ 1 หน้า 487 – 488 ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพของคนสมัยอยุธยา ได้แก่ 1. กรรมสิทธิ์ที่ดิน 2. แรงงานไพร่และทาส

68.       ราษฎรที่ต้องการใช้ประโยซนัจากที่ดินต้องปฏิบัติอย่างไร    

(1) ให้เข้าไปใช้ที่ดินได้ทันที

(2)       แจ้งเรื่องต่อกษัตริย์     (3) แจ้งเรืองต่อผู้ใหญ่บ้าน      (4) แจ้งเรื่องต่อกรมนาเจ้าสัด

ตอบ 4 หน้า 488 – 489 การจับจองที่ดินทำนาในสมัยอยุธยานั้น ราษฎรที่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการ คือ ผู้ใดปรารถนาที่จะ โก่นซ่าง เลิกรั้ง ทำนา” จะต้อง ไปแจ้งเรื่องแก่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ซึ่งได้แก่ กรมนาเจ้าสัด เพื่อไปตรวจสอบว่ามีนามากน้อยเพียงใด

69.       ช้อใดไม่ใช่นโยบายของผู้ปกครองที่สนับสนุนการทำนาในสมัยอยุธยา

(1)       ขยายพื้นที่การทำนา    (2) การป้องกันภัยที่จะเกิดกับต้นข้าว เช่น การออกกฎหมาย

(3)       มีพิธีกรรมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ (4) รับประกันราคาข้าว

ตอบ 4 หน้า 489 – 491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ดังนี้

1.         ขยายพื้นที่ทำนาเพาะปลูก

2.         คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยมีกฎหมายลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง

3.         ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ

4.         ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก

5.         ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท

6.         การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด

70.       พืชไร่พืชสวนชนิดใดที่กฎหมายสมัยอยุธยาระบุให้ความคุ้มครองมากที่สุด

(1) มะม่วงมหาชนก     (2) ทุเรียน        (3) แก้วมังกร   (4) หมาก

ตอบ 2 หน้า 493, (คำบรรยาย) ทุเรียน เป็นพืชมีผลที่กฎหมายสมัยอยุธยาให้ความคุ้มครองมากที่สุด และถือว่ามีคุณค่าทางกฎหมายสูงกว่าพืชมีผลชนิดอื่น ๆ เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดค่าปรับ แก่ผู้ที่ลักตัดต้นทุเรียนไว้ด้วยอัตราที่สูงที่สุด คือ ถ้าลักตัดต้นใหญ่มีผล ปรับต้นละ 200,000 เบี้ย และถ้าลักตัดต้นใหญ่แต่โกร๋น ปรับต้นละ 100,000 เบี้ย เป็นต้น

71.       เกี่ยวกับ สัตว์มีคุณ” ข้อใดผิด

(1) ได้แก่ นกยูง ช้าง ม้า ควาย            (2) ตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้

(3) ซื้อขายได้   (4) กฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย

ตอบ 1 หน้า 493 – 494, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา สัตว์ที่มีความสำคัญจนถึงกับระบุไว้ในกฎหมาย ว่าเป็น สัตว์มีคุณ” ได้แก่ ช้าง ม้า โค และกระบือ ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้

1.         มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์มีคุณหลายมาตรา และมีกฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย

2.         ค่าตัวของสัตว์มีคุณตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้

3.         นิยมเลี้ยงโคและกระบือตัวผู้ไว้ไถนา ส่วนแม่โคนั้นสามารถซื้อขายได้ ฯลฯ

72.       ข้อใดกล่าวถึง การจับสัตว์นํ้า” ในสมัยอยุธยาได้ถูกต้องที่สุด

(1) สามารถจับได้ตลอดทั้งปี เพราะมีแหล่งน้ำมาก     (2) ห้ามจับในวันเฉลิมพระชนม์ฯ

(3) ห้ามจับในวันพระ   (4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 3 หน้า 494 – 495 การจับสัตว์นํ้าในสมัยอยุธยา ได้มีประกาศของทางการที่กำหนดวันและเวลาที่ห้ามจับปลา แต่ก็เป็นนโยบายของกษัตริย์บางรัชกาล หาได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติทุกรัชกาลไม่ เช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีประกาศห้ามทำประมงในวันพระ 8 คํ่า และ 15 ค่ำ ทั้งในเขตเมืองและนอกเขต

73.       พระคลังสินค้า” ไม่ได้ทำหน้าที่ใด

(1)       รวบรวมสินค้าที่หายากและมีน้อยทั้งหมด       (2) ดำเนินการค้าผูกขาด

(3) กำหนดประเภทของสินค้าต้องห้าม           (4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 504 – 505 ในระยะที่อยุธยามีชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายกับไทย ทำให้ทางราชการไทย ต้องตั้ง กรมพระคลังสินค้า” ซึ่งขึ้นกับกรมพระคลัง เพื่อทำหน้าที่ดังนี้ 1. ดำเนินการค้า แบบผูกขาด  2. รวบรวมสินค้าพื้นเมืองที่หายากและมีน้อยทั้งหมด       3. กำหนดประเภท

ของสินค้าต้องห้าม ซึ่งต้องซื้อขายกับกรมพระคลังสินค้าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ฯลฯ

74.       การอนุญาตให้ไพร่กลับไปทำนาเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2  (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 518 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีดังนี้

1.         ทรงส่งเสริมแรงงานในการทำนา โดยอนุญาตให้ไพร่หลวงขณะมารับราชการลากลับบ้าน ไปทำนาของตนในหน้านาได้

2.         ทรงเปิดให้ขายข้าวออกนอกประเทศ เพื่อช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีกว่าแต่ก่อน

3.         ทรงแนะนำพันธ์ข้าวที่จะทำรายได้ให้กับชาวนา

4.         ทรงขจัดอุปสรรคเรื่องน้ำและแก้ปัญหาคดีความต่างๆ ที่จะขัดขวางการทำนา

5.         ทรงยินดีรับความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการของชาวตะวันตก

75.       ข้อใดไม่ใช่นโยบายส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 5

(1)       การอนุญาตให้ไพร่กลับไปทำนา         (2) ขุดคลองขยายพื้นที่เพาะปลูก

(3) จัดหาพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพ (4) นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการปลูกข้าว

ตอบ 1 หน้า 519 – 521 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         การขุดคลองขยายพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิมผลผลิตข้าวให้มากขึ้น

2.         การจัดหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ           3. การจัดหาเครื่องมือทำนาที่ทันสมัย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการปลูกข้าว (ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ)

76.       คลองใดไม่ได้ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5    

(1) คลองรังสิต

(2)       คลองแสนแสบ           (3) คลองประเวศบุรีรมย์         (4) คลองทวีวัฒนา

ตอบ 2 หน้า 519 – 520, (คำบรรยาย) การขุดคลองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีทั้งที่รัฐบาลขุดเอง เช่นคลองนครเนื่องเขตร์ (พ.ศ. 2419) คลองประเวศบุรีรมย์และคลองทวีวัฒนา (พ.ศ. 2421) ฯลฯ และคลองที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม” ขุดขึ้น เช่น คลองรังสิตประยูรศักดิ (พ.ศ. 2433) ฯลฯ รวมทั้งคลองที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ เอกชนขุดเป็นรายๆ ไป เช่น คลองหลวงแพ่ง (พ.ศ. 2431) คลองบางพลีใหญ่ (พ.ศ. 2441) ฯลฯ

77.       องค์กรหรือหน่วยงานใดมีบทบาทในการขุดคลองสมัยรัชกาลที่ 5     

(1) กรมพระคลังข้างที่

(2)       บริษัทคูโบต้า  (3) บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม         (4) บริษัทขุดคลองสยาม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78.       ข้อไดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำนาสมัยรัชกาลที่ 6

(1) ขยายการถือครองที่ดินกว้างขวางขึ้น         (2) ให้ชายฉกรรจ์ไม่ต้องรับราชการทหาร

(3)       ออก พ.ร.บ. ชั่งตวงวัด (4) ใช้ระบบชักกันโฮในการชั่งตวงวัด

ตอบ 4 หน้า 521 – 522 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้

1.         ขยายการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่มณฑลภาคใต้

2.         แก้ปัญหาแรงงาน โดยให้ชายฉกรรจ์อายุ 25 – 30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร

3.         แก้ปัญหาพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบในเรื่องความไมเที่ยงตรงของเครื่องชั่งตวงวัด

โดยการออก พ.ร.บ. ชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 และให้ใช้มาตราเมตริกซ์แบบสากลแทน ฯลฯ

79.       พืชที่ส่งออกมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือพืซชนิดใด

(1) ข้าว            (2) หมาก         (3) อ้อย           (4) พริกไทย

ตอบ 3 หน้า 523 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อ้อยเป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุด และผู้ปกครองก็ให้ การสนับสนุนมากที่สุด เพราะน้ำตาลที่ทำจากอ้อยได้ทำกำไรงามให้กับประเทศ จนได้ชื่อว่า เป็นพืชส่งออกมากที่สุดและเป็นสินค้าออกอันดับ 1 ของไทย ดังปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 และต้นรัชกาลที่ 4 ไทยส่งนํ้าตาลออกเฉลี่ยปีละ 50,000 – 90,000 หาบ

80.       ตลาดค้าโคที่สำคัญของสยาม คือที่ใด

(1) จีน  (2) ญี่ปุ่น         (3) อินเดีย       (4) สิงคโปร์

ตอบ 4 หน้า 526 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการส่งโคกระบือไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งตลาดสินค้าโค ที่สำคัญ คือ สิงคโปร์โดยมีการส่งโคกระบือเป็นสินค้าออกใน ร.ศ. 116 เป็นจำนวน 4,891 ตัว และใน ร.ศ. 117 ส่งไปขายมากกว่าคือ 14,310 ตัว

81.       ข้อใดเป็นความเชื่ออันดับแรกของมนุษย์และวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายด้านความเชื่อของมนุษย์

(1)       การบูชาธรรมชาติ –» ละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล

(2)       การบูชาบรรพบุรุษ –» การนับถือเทพเจ์า

(3)       การบูชาเทพเจ้า –การประกอบพิธีกรรม    

(4) การบูชาธรรมชาติ –การประกอบพิธีกรรม

ตอบ 1 หน้า 570 – 571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1. การบูชานับถือธรรมชาติ          2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม 3. การบูชาบรรพบุรุษ4.          การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ 5. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของ

เทพเจ้าแต่ละองค์ให้ต่างกัน    6. การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก

82.       พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิในสมัยใด           

(1) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

(2)       กุบไลข่าน        (3) พระเจ้าอโศกมหาราช        (4) พระเจ้าอชาตศัตรู

ตอบ 3 หน้า 574 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ จึงโปรดให้จัดภิกษุออกเป็น 9 คณะ โดยมีคณะที่สำคัญอยู่ 2 คณะ ได้แก่     

1. คณะที่หนึ่ง มีพระมหินทรเถระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่ลังกา           

2. คณะที่สอง มีพระโสณะเถระกับพระอุดตระเถระ เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิเมื่อประมาณ พ.ศ. 300

83.       คัมภีร์ฤคเวทและคัมภีร์สามเวท เป็นคัมภีร์เนื่องในศาสนาใด

(1) ศาสนาพุทธ           (2) ศาสนาพราหมณ์ (3) ศาสนาคริสต์            (4) ศาสนาอิสลาม

ตอบ 2 หน้า 571 คำสาธยายร่ายมนต์อ้อนวอนขอให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองตน ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวทและสามเวทของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นบทสวดแสดงพิธีการต่าง ๆ

84.       ก่อนที่มนุษย์นับถือผีสางเทวดานั้น มีพื้นฐานความเชื่อในเรื่องใดมาก่อน

(1) นับถือวิญญาณ     (2)นับถือเทพเจ้า         (3) นับถือธรรมชาติ     (4)นับถือศาสดา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

85.       ในสุโขทัยมีการจารึกถึงการนับถือ พระขะพุงผี” หมายถึงความเชื่อในเรื่องใด

(1) นับถือบรรพบุรุษ    (2)       นับถือไสยศาสตร์        (3) นับถือผี      (4)นับถือศาสนา

ตอบ 3 หน้า 583 – 584 ในศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการจารึกถึงพระขะพุงผี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุดในเมืองสุโขทัย เพราะเป็นผู้ที่สามารถทำให้บ้านเมืองล่มจมและเจริญได้ แสดงให้เห็นชัด ถึงอิทธิพลความเชื่อถือเดิมในคติการนับถือผีสางเทวดาว่าฝังรากอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าจะนับถือ พระพุทธศาสนาแล้วก็ตาม

86.       หลักฐานในข้อใดที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสุโขทัย

(1) ไตรภูมิพระร่วง       (2)       พงศาวดาร       (3) พระไตรปิฎก          (4)       ศิลาจารึก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

87.       ก่อนที่สุโขทัยจะรับเอาพระพุทธศาสนามหายานเข้ามา ได้มีการนับถือลัทธิใด

(1) ลัทธิตันตระ            (2)       ลัทธิหินยาน     (3) ลัทธิวัชรยาน          (4)       ลัทธิเชน

ตอบ 2 หน้า 576581 – 582, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัยเมื่อแรกตั้งคงจะ มีทั้งลัทธิเถรวาทหรือหินยาน และลัทธิมหายานปะปนกัน ดังนั้นคนไทยสมัยสุโขทัยที่นับถือพระพุทธศาสนาจึงมีอยู่ 2 พวก คือ

1.         พวกที่นับถือลัทธิหินยานซึ่งมีอยู่ก่อน

2.         พวกที่นับถือลัทธิมหายานที่แพรหลายเข้าสู่สุโขทัยในภายหลัง โดยมาจากกัมพูชา (ขอมหรือเขมร) เผยแผ่เข้าสู่กรุงสุโขทัยทางหนึ่ง และมาจากกรุงศรีวิชัยในเกาะสุมาตรา เผยแผ่มาทางเมืองนครศรีธรรมราชเข้าสู่กรุงสุโขทัยอีกทางหนึง

88.       ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยมีศาสนาใดที่เข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนา จนก่อให้เกิดพิธีกรรม ในศาสนา

(1) ศาสนาฮินดู            (2) ศาสนาคริสต์          (3) ศาสนาเชน (4) ศาสนาอิสลาม

ตอบ1 หน้า 584, (คำบรรยาย) ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองมาก แต่กษัตริย์ก็มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่น ตรงกันข้ามกลับทรงอุปถัมภ์ศาสนา ต่าง ๆ ที่ประชาชนนับถือร่วมกับศาสนาพุทธ เช่น ศาสนาฮินดู ซึ่งจะเห็นได้จากพิธีกรรม ต่าง ๆ มักจะเอาศาสนาฮินดูเข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี

89.       พระสงฆ์ที่ชอบอยู่สันโดษ ไม่เข้ามาอยู่ในเมือง ได้แก่พระสงฆ์ในพวกใด

(1) คามวาสี     (2) อรัญวาสี    (3) ลังกาวงศ์   (4) คันถธุระ

ตอบ 2 หน้า 584 – 585 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยได้แบ่งคณะสงฆ์ออกเป็น 2 ผ่าย ดังนี้

1.         คณะคามวาสี หรือฝ่ายคันถธุระ คือ พระสงฆ์ที่เรียนรู้ภาษาบาลี ศึกษาพระไตรปิฎก แล้วนำไปเทศนาสั่งสอนประชาชน มักอยู่ตามวัดในเมืองหรือในหมู่บ้าน

2.         คณะอรัญวาสี หรือฝ่ายวิปัสนาธุระ คือ พระสงฆ์ที่ยึดถือการธุดงค์ท่องไปตามป่า ยึดมั่น การบำเพ็ญภาวนาหาความสงบ มักชอบอยู่สันโดษตามวัดในป่าเขา ไม่เข้ามาอยู่ในเมือง

90.       พระพุทธศาสนามหายานแพร่หลายเข้าสู่สุโขทัยโดยทางใด

(1)       จากอินเดียสู่ลังกาแล้วเข้าสู่กรุงสุโขทัย           (2) จากอาณาจักรทมิฬสู่กรุงสุโขทัย

(3)       จากเส้นทางสายไหม   (4) จากขอมเผยแผ่เข้าสู่กรุงสุโขทัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

91.       คัมภีร์พระไตรปิฎกในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ใช้ภาษาใดในการบันทึก

(1)       ภาษาสันสกฤต           (2) ภาษามอญโบราณ (3) ภาษาบาลี  (4) ภาษาขอม

ตอบ 3 หน้า 581 – 582, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จะถือคติอย่างหินยาน และ คัมภีร์พระไตรปิฎกจะใช้ภาษามคธ (ภาษาบาลี) ซึ่งเมื่อไทยนับถือลัทธิลังกาวงศ์ พระสงฆ์ไทย จึงเลิกศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาสันสกฤตอย่างแต่ก่อน และเปลี่ยนมาศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) นับตั้งแต่นั้นมา

92.       บุคคลในข้อใดเป็นผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ที่เรียกว่า ธรรมยุตินิกาย

(1) เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์

(2)       กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์     (3) เจ้าฟ้ามงกุฎ          (4) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตอบ 3 หน้า 602 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมา) ทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปการพระพุทธศาสนา ซึ่งการปฏิรูปที่สำคัญ คือ การจัดตั้งคณะสงฆ์นิกายใหมที่เรียกว่า ธรรมยุตินิกาย” ซึ่งเป็นคณะทีปฏิบัติตามพระวินัยเคร่งครัดมาก ดังนั้นจึงนับเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

93.       วรรณกรรมเรื่องใดแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา

(1) ไตรภูมิพระร่วง       (2) มหาชาติคำหลวง   (3) ไตรภูมิโลกวินิจฉัย (4) ปฐมสมโพธิ์

ตอบ 2 หน้า 594, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา ประการหนึ่ง คือ เกิดวรรณคดีทางพุทธศาสนาขึ้นหลายเรื่อง เช่น เรื่องมหาชาติคำหลวง กาพย์มหาชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง และ ปุณโณวาทคำฉันท์ เป็นต้น

94.       การทำสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยรัตนโกสินทร์ กระทำขึ้นในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 1  (2) รัชกาลที่ 4  (3) รัชกาลที่ 5  (4) รัชกาลที่ 9

ตอบ 1 หน้า 597 – 598 ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในปี พ.ศ. 2331 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 9 เพราะนับตั้งแต่อยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2310 บ้านเมืองก็ระส่ำระสาย และพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาตอนปลายเสื่อมโทรมมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการสังคายนารวบรวมพระไตรปิฎกขึ้นไว้ให้สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง

95.       การแบ่งพระสงฆ์เป็นสามคณะ คือ คณะคามวาสี คณะอรัญวาสี และคณะป่าแก้ว เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) สมัยสุโขทัย            (2) สมัยอยุธยา           (3) สมัยธนบุรี  (4) สมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 592 – 593, (คำบรรยาย) ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระอินทรราชา)ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปประเทศลังกาเพื่ออุปสมบทบวชแปลงเป็นนิกายวันรัตนวงศ์ ในสำนักพระวันรัตนิมหาเถระ และเมื่อกลับมายังกรุงศรีอยุธยาก็ได้จัดตั้งนิกายลังกาวงศ์ขึ้มอีกนิกายหนึ่ง เรียกว่า วันรัตนวงศ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้พระสงฆ์ในสมัยอยุธยาแบ่งออกเป็น 3 คณะ ได้แก่ 1. คณะคามวาสี   2. คณะอรัญวาสี         3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงศ์)

96.       พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มครั้งแรกในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 3  (2) รัชกาลที่ 4  (3) รัชกาลที่ 5  (4) รัชกาลที่ 6

ตอบ 2 หน้า 669 พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มปรากฏครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะกษัตริย์ทรงเห็นว่า วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัย ซึ่งประเทศที่มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองย่อมถือว่าเป็น วันนักขัตฤกษ์มงคล จึงทรงเห็นสมควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคล แก่ราชสมบัติ และจัดการพระราชกุศลที่พระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล

97.       พิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้ทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ขึ้นต่างหากเรียกว่าอะไร

(1) แรกนาขวัญ           (2) พิรุณศาสตร์           (3) พืชมงคล    (4) ทำขวัญเมล็ดพืช

ตอบ 3 หน้า 640668 พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล แต่เดิมมีเพียงพิธีพราหมณ์อย่างเดียว เรียกว่า พิธีจรดพระนังคัล” เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ แต่ก่อนทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร ต่อมา รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ตามคติพระพุทธศาสนาขึ้นอีก เรียกว่า พิธีพืชมงคล” คือ การทำขวัญพืช ซึ่งทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร โดยพิธีทั้งสองนี้จะทำพร้อมกันในคืนเดียว วันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

98.       วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย เริ่มมีขึ้นในสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) อยุธยา       (3) ธนบุรี         (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 662 วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึง พ.ศ. 2483 แต่ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนใหม่โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติกัน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยน วันขึ้นปีใหม่ แต่ประชาชนก็ยังยึดถือว่าวันสงกรานต์มีความสำคัญ

99.       ข้อใดจัดเป็นประเพณีส่วนรวม

(1) โกนจุก       (2) วันมาฆบูชา           (3) การเผาศพ (4) ทำบุญเลี้ยงพระขึ้นบ้านใหม่

ตอบ 2 หน้า 655658 ประเพณีสวนรวม คือ ประเพณีที่ประชาชนทั่วไปนิยมปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งมักจะ มีงานรื่นเริงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ประเพณีทำบุญวันขึ้นปีใหม่ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ต่าง ๆ เช่น เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลสารทประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประเพณีส่วนบุคคล หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต อาจเรียกว่าประเพณีครอบครัวก็ได้)

100.    ศาสนาใดมีอิทธิพลต่อศิลปกรรมไทยน้อยที่สุด

(1) ศาสนาพุทธ           (2) ศาสนาพราหมณ์    (3) ศาสนาฮินดู            (4) ศาสนาคริสต์

ตอบ 4 หน้า 683685691, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเกิดจากแรงบันดาลใจของศาสนาพุทธมากที่สุด จึงปรากฏศิลปกรรมทางพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทและมหายานอยู่อย่างมากมาย รองลงมาคือ ศิลปกรรมเนื่องในศาสนาพราหมณ์และฮินดู เพราะปรากฏว่ามีการสร้างเทวรูปพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ฯลฯ ตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย (ส่วนศาสนาคริสต์มีอิทธิพล ต่อศิลปกรรมไทยน้อยที่สุด)

101.    ศิลปกรรมไทยมีประโยชน์ในการศึกษาพื้นฐานวัฒนธรรมไทย เพราะเหตุใด

(1)       เป็นข้อมูลสนับสนุนทางประวัติศาสตร์

(2)       ทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นได้

(3)       ศิลปกรรมไทยมีอัตลักษณ์ไม่รับรับอิทธิพลศิลปะสกุลช่างใด ๆ

(4)       ศิลปะใช้อธิบายกำเนิดและที่มาของชนชาติไทยได้

ตอบ 2 หน้า 681, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมที่สมบูรณ์กว่าด้านอื่น ๆ เพราะการแสดงออกทางศิลปกรรมของไทยแต่ละสมัยจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็น ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากศิลปะของเขมรหรือชวา ดังนั้นศิลปกรรมไทยจึงให้ประโยชน์ในการศึกษา พื้นฐานวัฒนธรรมไทย เนื่องจากทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นๆ ได้

102.    ลักษณะศิลปะแบบอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนในยุคใด

(1) ทวารวดี      (2) ลพบุรี         (3) ศรีวิชัย       (4) สุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 711 – 712, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic Arts) คือ ศิลปะที่มีความรู้สึกสูงกว่าธรรมชาติทั่วไปและหนักไปทางทิพย์สวรรค์ เป็นศิลปะที่มีแบบอย่าง แห่งความคิดคำนึงโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะศิลปะแบบอุดมคติของชนชาติไทยนี้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในศิลปะยุคสุโขทัย โดยเฉพาะประติมากรรมพระพุทธรูปที่เจริญถึงขั้นสูงสุดและ แสดงความเป็นไทยแท้ได้มากกว่าสมัยใด ๆ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของประติมากรรมไทย

103.    การแบ่งยุคศิลปะ กำหนดด้วยอะไร

(1) สมัยอาณาจักร      (2) ลักษณะของศิลปะ            (3) สมัยประวัติศาสตร์            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 683, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมในประเทศไทยมิได้แบ่งยุคสมัยตามประวัติศาสตร์ไทยที่รู้จัก กันอย่างทั่วไป แต่การแบ่งยุคศิลปกรรมได้แบ่งย่อยออกเป็นสมัยต่าง ๆ โดยมีชื่อเรียกตามสมัย หรือราชวงศ์ ตลอดจนแบ่งตามรูปแบบและลักษณะของศิลปะ ระยะเวลา ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่ ที่ค้นพบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่โบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ

104.    เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พบในศิลปะใดต่อไปนี้มากเป็นพิเศษ

(1) อยุธยารัตนโกสินทร์        (2)       สุโขทัย,เชียงแสน

(3)อู่ทองสุโขทัย        (4)       อยุธยาเชียงแสน

ตอบ 1 หน้า 724730 ในสมัยอยุธยาตอนปลายจะนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมเพิ่มมุม หรือเรียกว่า เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ต่อมานิยมเพิ่มรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไป โดยประดับด้วยปูนปั้นตาม ส่วนต่าง ๆ ของเจดีย์ เพิ่มบัวทรงคลุ่มรองรับทรงระฆัง และทำทรงคลุ่มเถาแทนปล้องไฉน ซึ่งเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า เจดีย์ทรงเครื่อง และความนิยมในการสร้างเจดีย์แบบนี้ก็สืบเนื่องมาถึง สมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 1-3

105.    จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง

(1) พุทธประวัติ            (2)ชาดก          (3)ไตรภูมิ        (4)ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 733 แบบแผนของจิตรกรรมไทยบนฝาผนังโบสถ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 – 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ส่วนเหนือหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม ส่วนล่างในแนวเดียวกับหน้าต่าง เขียนภาพพุทธประวัติ (ชาดก) หรือทศชาติ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพไตรภูมิ ด้านหน้า เขียนพุทธประวัติตอนมารวิชัย โดยภาพเขียนในช่วงนี้ใช้สีและปิดทองลงบนภาพทั้งสิ้น

106.    พระที่นั่งองค์ใดมีแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา

(1) พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน    (2) พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

(3)       พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท       (4) พระที่นังดุสิตมหาปราสาท

ตอบ 4 หน้า 729, (คำบรรยาย) พระที่นังดุสิตมหาปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมแบบประเพณีในพระบรมมหาราชวังที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างตามแบบพระที่นั่งสุริยามรินทร์ในสมัยอยุธยา โดยนับเป็นพระที่นั่งองค์ที่ 2 ที่สร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งได้รับ แบบอย่างมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในสมัยอยุธยา แต่มาถูกไฟไหม้ไปเมื่อ พ.ศ. 2332

107.    หากจะศึกษาสถาปัตยกรรมอยุธยาในยุคกลางจะไปศึกษาที่วัดใด

(1) วัดราชบูรณะ         (2) วัดพระราม (3) วัดพระศรีสรรเพชญ (4) วัดไชยวัฒนาราม

ตอบ 3 หน้า 724 เจดีย์ที่เป็นหลักของพระอารามในสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง มักจะสร้าง เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา หรือที่เรียกกันว่าเจดีย์ทรงระฆังตามแบบของสุโขทัย เช่น พระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ ในวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งสร้างใน พ.ศ. 2035 ตรงกับรัชสมัย พระรามาธิบดีที่ 2

108.    พุทธศิลป์อู่ทองมีลักษณะที่สังเกตได้จากข้อใด         

(1) มักสลักจากศิลา    (2) มีไรพระศก

(3) ขมวดพระเกศามีขนาดใหญ่          (4) นิยมสร้างพระพุทธรูปหลายองค์บนฐานเดียวกัน

ตอบ 2 หน้า 720, (คำบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยอู่ทองควรสังเกตจากพระพักตร์ ที่ประดับด้วยไรพระศก (เส้นขอบหน้าผาก) และมีขมวดพระเกศาหรือเส้นพระศกที่เล็กแบบ หนามขนุน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เหมือนกันของพุทธศิลป์แบบอู่ทองทุกรุ่น

109.    เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสุโขทัยใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

(1) เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน        (2) เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม

(3) เป็นของเล่นเด็ก     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ.4 หน้า 479713,(คำบรรยาย) เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสมัยสุโขทัยจะมีทั้งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จาน ชาม ขวด ตลับ ฯลฯ และที่ใช้เป็นเครื่องประดับ สถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา ช่อฟ้า บราลี พลสิงห์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นที่ใช้เป็นของเล่นเด็ก เช่น ตุ๊กตาสังคโลกหรือตุ๊กตาเสียกบาล รูปช้าง ทวารบาล ฯลฯ

110.    พระพุทธรูปเอกลักษณ์พิเศษของสุโขทัยอยู่ในอิริยาบถใด

(1) นั่ง  (2) นอน           (3) ยืน (4) เดิน

ตอบ 4 หน้า 712, (คำบรรยาย) ในสมัยสุโขทัยศิลปินนิยมสร้างพระพุทธรูปครบทั้ง 4 อิริยาบถได้ เป็นครั้งแรก คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน แต่ที่เด่นจนถือเป็นเอกลักษณ์พิเศษของสุโขทัย คือ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหล่อหรือสลัก แม้แต่พระพิมพ์ก็นิยมทำพระพุทธรูปปางลีลา (เดิน) เสียเป็นส่วนมาก ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลานี้นับว่ามีลักษณะงดงามและเป็นฝีมือช่างที่วิเศษที่สุด จนถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย

111.    ยุคใดต่อไปนี้ไม่มีตัวอย่างศิลปกรรมอิทธิพลศาสนาพุทธมหายานให้ศึกษาได้ในขณะนี้

(1) ทวารวดี      (2) ศรีวิชัย       (3) ลพบุรี         (4) เชียงแสน

ตอบ 4 หน้า 685694699715, (คำบรรยาย) ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในช่วงแรกนั้นได้รับ อิทธิพลหรือมีพื้นฐานมาจากศิลปะหริภุญไชย และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพล ของศิลปะพม่าสมัยพุกามเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งศิลปกรรมล้านนาหรือเชียงแสนมักจะสะท้อน อิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท (หินยาน) แบบลังกาวงค์เป็นส่วนใหญ่ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น ปรากฏตัวอย่างศิลปกรรมอิทธิพลศาสนาพุทธมหายาน)

112.    ในภาพจำหลักลายเส้นที่วัดศรีชุม สุโขทัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) ไตรภูมิ       (2) ชาดก         (3) รัตนตรัยมหายาน   (4) พระอดีตพุทธเจ้า

ตอบ 2 หนา 713, (คำบรรยาย) จิตรกรรมเรื่องชาดกสมัยที่เก่าที่สุด ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นเค้าของจิตรกรรมฝาผนังไทย คือ จิตรกรรมสมัยสุโขทัย โดยได้มีการค้นพบภาพจำหลักลายเส้นบนแผ่นหิน ที่วัดศรีชุม จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกเรื่องพระเจ้าห้าร้อยชาติ จารไว้บนหินชนวนกรุที่เพดานวัด ทั้งนี้ภาพดังกล่าวเป็นภาพชาดก 550 เรื่อง แต่นำมาเขียน เพียง 100 เรื่อง โดยมีจารึกสรุปตามชื่อเรื่อง

113.    พระพุทธรูปแสดงการบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธรูปที่แสดงปางใด

(1) ปางสมาธิ  (2) ปางลีลา     (3) ปางมารวิชัย           (4) ปางประทานพร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) พระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางตรัสรู้ เป็นปางของพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้ หรือบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลักษณะของพระพุทธองค์จะประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นโพธิ์ พระหัตถ์ขวาคว่ำลงบนพระชงฆ์ขวา นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงยังแผ่นดิน ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่ เหนือพระเพลา

114.    ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง

(1)       สมัยสุโขทัย เป็นยุคที่การสร้างพระพุทธรูปเจริญถึงขีดสูงสุด

(2)       สมัยอยุธยา เป็นยุคที่การสร้างสถาปัตยกรรมเจริญถึงขีดสูงสุด

(3)       สมัยสุโขทัย ขาดหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์

(4)       สมัยอยุธยา ศิลปกรรมขาดความสืบเนื่องจากสมัยอู่ทอง

ตอบ 3 หน้า 708 งานศิลปกรรมในช่วงแรกของสุโขทัย ยังคงปรากฏอิทธิพลของศิลปะขอมทั้งในงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และคาสนาพุทธผ่ายมหายาน เช่น ศาลตาผาแดงที่เมืองเก่าสุโขทัย รวมทั้งประติมากรรมรูปเทวดา และเทวนารีที่พบในบริเวณปราสาท จัดเป็นศิลปะขอมแบบนครวัดตอนปลายต่อบายน เป็นต้น

115.    รูปแบบประติมากรรมที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในสมัยลพบุรี คืออะไร

(1) พระพุทธรูปปางไสยาสน์   (2) พระพุทธรูปปางนาคปรก

(3) พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท          (4) พระพุทธรูปก่อนการตรัสรู้

ตอบ 2 หน้า 700 – 701, (คำบรรยาย) รูปแบบประติมากรรมสมัยศิลปะลพบุรีที่ได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ คิอ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง มีสีพระพักตร์ ค่อนข้างถมึงทึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม

116.    อะไรเป็นเหตุที่ทำให้มีการสร้างพระพิมพ์ในทุกสมัย

(1) การสืบอายุพระศาสนา      (2) การระลึกถึงสังเวชนียสถาน

(3) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 688696705 – 706 การสร้างพระพิมพ์ในแต่ละสมัยจะมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ดังนี้

1.         เพื่อเป็นของที่ระลึกถึงการได้ไปบูชาสังเวชนียสถาน 4 แห่งในอินเดีย

2.         เพื่อเป็นที่เคารพบูชา และเผยแผ่พระพุทธศาสนา      3. เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา

4.         เพื่อปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพ 5. เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา

117.    ข้อใดเป็นการอธิบายลักษณะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมัยศรีวิชัย

(1) มีอิริยาบถครบทั้งสี่อิริยาบถ          (2) หล่อจากสำริด มีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม

(3) พบจำนวนน้อยกว่าพระพุทธรูป     (4) ลักษณะศิลปะเป็นแบบอินเดียผสมลังกา

ตอบ 2 หน้า 685694 – 695 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) จะสร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยเฉพาะความนิยมสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ประจำกัลป์ปัจจุบันและเป็นที่นิยมนับถือมาก ทั้งนี้ลักษณะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรของศิลปะศรีวิชัย มักหล่อจากสำริด และมีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม ซึ่งที่สวยงามที่สุดแต่มีเพียงครึ่งองค์ คือ ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวรสัมฤทธิ์ (สำริด) พบที่หน้าวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 15

118.    ลักษณะในข้อใดปรากฏ ณ พระบรมธาตุไชยา

(1) มีประตูทางเข้าทั้งหมดรวม 3 ด้าน (2) มีเจดีย์จำลองเล็ก ๆ ประดับบนหลังคาแต่ละมุม

(3) ใช้ศิลาแลงกับอิฐขนาดใหญ่ในการสร้าง   (4) มีพระพุทธรูปประจำทุกด้าน ด้านละ 3 องค์

ตอบ 2 หน้า 694 – 695, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมที่สำคัญของศิลปะศรีวิชัย คือ พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีรูปแบบลักษณะคล้ายคลึงกับบรรดาเจดีย์ในเกาะชวามาก กล่าวคือ เป็นเจดีย์ก่ออิฐทรงเหลี่ยมจัตุรมุขย่อมุม โดยมุขด้านหน้าเปิดให้มีทางเข้าได้ แต่อีก 3 ด้านจะทึบทั้งหมด องค์เจดีย์มักทำเป็นมณฑปเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งมีทั้งหมด 180 องค์ ส่วนบนมีเจดีย์จำลององค์เล็ก ๆ ประดับไว้บนหลังคาแต่ละมุม และเรือนยอดมียอดบริวาร และยอดประธานรวมกันได้ 5 ยอด จึงเรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด

119.    ศิลปะใดสะท้อนถึงการนับถือคาสนาพุทธมหายานมากเป็นพิเศษในสมัยศิลปะศรีวิชัย

(1) พระคณปติ            (2)       พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

(3) ศิวลึงค์       (4)       พระวิษณุสวมหมวกแขกทรงกระบอก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ

120.    พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยองค์ใหญ่ศิลปะชั้นเยี่ยม แสดงปางอะไร

(!) มารวิชัย      (2)       สมาธิ

(3) มารวิชัยนาคปรก   (4)       สมาธินาคปรก

ตอบ 3 หน้า 695, (คำบรรยาย) ประติมากรรมศรีวิชัยในระยะหลังเป็นสมัยอิทธิพลศิลปะขอมซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปด้วย โดยพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สำคัญและนับเป็นศิลปะ ชั้นเยี่ยม ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรกสัมฤทธิ์ (สำริด) พบที่วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งแสดงพระหัตถ์ทำปางมารวิชัยแปลกจากทั่วไปที่นิยมทำปางสมาธิ

HIS1002 อารยธรรมตะวันออก การสอบไล่ภาค1 ปีการศึกษา2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก

ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.     มนุษย์เริ่มมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งในสมัยใด

(1)   สมัยหิน    

(2) สมัยหินใหม่

(3) สมัยหินเก่า 

(4) สมัยเหล็ก

ตอบ 2 หน้า 6268(คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ (มีอายุราว 6,000 – 4,000 ปี) เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มทำการเกษตรกรรมคือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เริ่มมีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแล้วอยู่รวมกันเป็นชุมชน เริ่มรู้จักการทำเครื่องจักสาน ภาชนะดินเผา และเครื่องมือหินขัดขึ้นใช้ มิการแบ่งงานกันทำ เริ่มมีการปกครองแบบพ่อกับลูก มีการติดต่อกันระหวางชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมทั้งมีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าและโลกหน้าซึ่งเป็นที่มาของศาสนา ดังนั้นยุคหินใหม่จึงเป็นยุคของการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

2.     ข้อใดคือแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลก

(1) ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา     

(2) ลุ่มแม่นํ้าโขง      

(3) ลุ่มแม่น้ำท่าจีน   

(4) ลุ่มแม่นํ้าไนล์

ตอบ 4 หน้า 765 (เล่มเก่า) แหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลกเกิดขึ้นในเอเชียหรือซีกโลกตะวันออกเมื่อประมาณ 3500 B.Cบริเวณลุ่มแม่นํ้าสำคัญ 4 แห่ง ดังนี้

1.     ลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีส ในอิรัก  

2. ลุ่มแม่นํ้าไนล์ ในอียิปต์

3.     ลุ่มแม่น้ำสินธุ ในอินเดีย    

4. ลุ่มแม่นํ้าฮวงโห ในจีน

3.     พีระมิดถูกสร้างขึ้นในสมัยใดของอารยธรรมอียิปต์โบราณ

(1) สมัยราชวงศ์       

(2) สมัยต้นราชวงศ์  

(3) สมัยจักรวรรดิ    

(4) สมัยอาณาจักรเก่า

ตอบ 4 ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 ในสมัยอาณาจักรเก่า

ของอียิปต์โบราณ ถือว่าเป็นยุคที่มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมสูงมาก โดยผลงานเด่นคือการสร้างพีระมิด ซึ่งพบว่ามีการสร้างพีระมิดมากถึง 20 องศ์ จนเป็นผลให้สมัยอาณาจักรเก่าถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สมัยพีระมิด” (The Pyramid Age)

4.     หลักฐานที่ถูกค้นพบในสมัยหลังชิ้นใดที่ทำให้นักวิชาการศึกษาอารยธรรมอียิปต์โบราณได้

(1) ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี   

(2) จารึกโรเซตตา

(3) บัญญัติสิบประการ      

(4) อักษรคูนิฟอร์ม

ตอบ 2 หน้า 18 จารึกโรเซตตา (The Rosetta Stoneเป็นแผ่นหินที่ถูกค้นพบในปี A.D1799 โดยนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ชอง ฟรองซัว ของโปลิออง (Jean Francois Champollion)

ได้ใช้เวลา 14 ปี ในการศึกษาจนสามารถถอดข้อความในแผนจารึกซึ่งใช้ทั้งอักษรไฮโรกลิฟิกอักษรไฮราติก และอักษรกรีกโบราณได้สำเร็จ ทำให้นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ได้รู้ความเป็นไปทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมอียิปต์โบราณ จนทำให้จารึกโรเซตตาถูกเรียกว่า “กุญแจสู่อียิปต์ศาสตร์” (A Key to Egyptology)

5.     ข้อใดคือเทพสูงสุดของอียิปต์โบราณ  

(1) เทพอะตัน

(2)   ไม่มีเพราะนับถือศาสนาอิลลาม  

(3) อัลเลาะห์    

(4) อะฮูรา มาสดา

ตอบ 1 หน้า 15 – 1775 (เล่มเก่า) ในเรื่องศาสนาของอียิปต์โบราณมี 3 ประเด็นสำคัญ คือ

1. ชาวอียิปต์โบราณยึดมั่นในเทพเจ้าหลายองค์

2. เป็นกลุ่มชนแรกที่เชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง ซึ่งจากความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือคัมภีร์ผู้ตาย และพีระมิดซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของกษัตริย์

3. เป็นผู้นำในการปฏิรูปศาสนา โดยเฉพาะในสมัยฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิรูปศาสนาคนแรกของอียิปต์โบราณและของโลก ซึ่งหลักของการปฏิรูปศาสนา คือการยึดมั่นในเทพเจ้าอะตัน (Atonหรือสุริยเทพเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว

6.     ข้อใดคือชื่อตัวอักษรของอารยธรรมอียิปต์โบราณ

(1)   Hieratic   

(2) Ziggurat     

(3) Cuneiform

(4) Papyrus

ตอบ 1 หน้า 17 – 18 เมื่อประมาณ 3000 B.Cชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์ตัวอักษรรูปภาพไฮโรกลิฟิก(Hieroglyphicsขึ้น โดยเริ่มแรกนั้นจะมีประมาณ 700 ตัว ซึ่งผู้ที่สามารถเขียนและอ่านได้ คือ พระและอาลักษณ์ ต่อมาจึงมีการปรับปรุงตัวอักษรรูปภาพเพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้นและให้มีจำนวนน้อยลง ทำให้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรไฮราติก (Hieraticขึ้นในปี 1100 B.Cและพัฒนามาเป็นตัวอักษรเดโมติก (Demoticซึ่งมีจำนวนตัวอักษรเพียง 24 ตัวในปี 700 B.C.

7.     การสร้างพีระมิดสัมพันธ์กับเรื่องใด

(1) การแพทย์  

(2) ศาสนา       

(3) คณิตศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8.     ข้อใดถูกต้องที่สุด

(1)   อารยธรรมอียิปต์โบราณมีอายุเก่าแก่ที่สุดของอารยธรรมมนุษย์

(2)   อารยธรรมอียิปต์โบราณเจริญเติบโตมาจากการค้าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(3)   อียิปต์อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่เหล็กซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างชาติ

(4)   อียิปต์สามารถรวมชาติได้ก่อนดินแดนอื่น

ตอบ 4 หน้า9,11,20 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่นำการสร้างความมั่นคงทางการเมือง นั่นคือ ในสมัยราชวงศ์ ชาวอียิปต์สามารถรวมดินแดนเพื่อจัดตั้งชาติได้สำเร็จก่อนดินแดนอื่นและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี

9.     ข้อใดสัมพันธ์กับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(1) เจริญมาจากพื้นที่ทะเลทราย

(2) การเข้ามาแหล่งทรัพยากรของหลายกลุ่มชน

(3)   อารยธรรมที่มืพัฒนาการโดยกลุ่มคนชนชาติเดียว

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 2 อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก ซึ่งลักษณะของอารยธรรมเมโสโปเตเมียมีดังนี้

1. เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสละยูเฟรติสที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีประโยขน้ต่อการทำเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง

2. ประชากรในเมโสโปเตเมียเป็นกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ จึงทำให้มีการทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา

3. ไม่มีภูเขาและทะเลทรายเป็นปราการทางธรรมชาติ จึงทำให้มีต่างชาติเข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรอยู่ตลอดเวลา

10.   สุเมเรียนเป็นกล่มคนเชื้อชาติใด

(1)   เซมิติก     

(2) อาหรับ      

(3) มองโกลอยด์       

(4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 21 – 2282 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย ทั้งนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดแต่มีการสันนิษฐานวาน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียซึ่งเรียกว่า “ซูเมอร์” เมื่อประมาณ 5000 B.Cจากนั้นจึงรวมตัวกัน เป็นนครรัฐ (CityStatesเช่น Uruk, Ur, Eridu ฯลฯ โดยแต่ละนครรัฐจะปกครองตนเอง มีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน และมีการแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกันอยู่บ่อยครั้ง

11.   ข้อใดคือเซมิติกกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งมั่นยังดินแดนเมโสโปเตเมีย

(1)   สุเมเรียน  

(2) อัคคาเดียน 

(3) บาบิโลเนียน       

(4) อะมอไรท์

ตอบ 2 หน้า 24 – 25 อัคคาเดียนเป็นเซมิติกกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทในดินแดนเมโสโปเตเมียโดยได้อพยพมาจากคาบสมุทรอาระเบียแล้วเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนอัคคัดบริเวณตอนกลางของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 3000 B.Cต่อมาในปี 2371 B.Cซาร์กอนแห่งอัคคัดซึ่งทรงรบชนะสุเมเรียน ได้รวมดินแดนซูเมอร์เข้ากับอัคคัดและจัดตั้งจักรวรรดิอัคคาเดียน ซึ่งเป็นจักรวรรดิแรกของโลกขึ้นมา โดยมีกรุงอัคคัดเป็นเมืองหลวง

12.   มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของอะมอไรท์คือข้อใด

(1)   ด้านกฎหมาย    

(2) ด้านศาสนา 

(3) การชลประทาน  

(4) ด้านอักษรศาสตร์

ตอบ 1 หน้า 25 – 26 อะมอไรท์หรือบานิโลเนียนเป็นกลุ่มชนที่รับ สืบทอด และส่งต่ออารยธรรมสุเมเรียน-อัคคาเดียนในทุกด้าน ซึ่งมรดกทางอารยธรรมที่สำคัญที่อะมอไรท์โห่ไว้แก่โลกคือ

ด้านการปกครองและกฎหมาย ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด และมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์ม

13.   อัสซีเรียนสามารถขยายอำนาจเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณได้โดยอาศัยอะไร

(1)   การพัฒนาและใช้แร่เหล็ก

(2) การชลประทาน

(3) ความสามารถของกษัตริย์    

(4) การค้า

ตอบ 3 หน้า 29 – 31 อัสซีเรียนเป็นกลุ่มชนที่เก่งในการรบ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมโสโปเตเมียสมัยโบราณและเป็นโรมันแห่งเอเชีย ซึ่งปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้อัสซีเรียนสามารถขยายอำนาจจนเป็นจักรวรรดิที่มีความมั่นคงเกือบ 300 ปีและยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกโบราณมี 3 ประการ คือ

1. กษัตริย์เก่งในการรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกษัตริย์อัสซูร์บานิปาลซึ่งทรงมีความสามารถทั้งในการรบและการปกครอง

2. ทหารมีวินัยและได้รับการฝึกเป็นอย่างดี

3. มีอาวุธที่ทำจากเหล็ก

14.   ข้อใดไม่สัมพันธ์กับอารยธรรมของแคลเดียน     

(1) สวนลอยที่บาบิโลน

(2) กำแพงอิชตา      

(3) การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง 

(4) อัสซูร์บานิปาล

ตอบ 4 หน้า 3293 (เล่มเก่า) มรดกทางอารยธรรมที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก มีดังนี้

1.     มีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่สำคัญ ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชตา

2.     มีการกำหนดให้ดวงดาวสำคัญ 7 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

15.   ข้อใดสัมพันธ์กับพวกฮิตไตท์

(1)   เซมิติก     

(2) เมโโปเตเมีย     

(3) อนาโตเลีย  

(4) เป็นพวกพ่อค้า

ตอบ 3 หน้า 35 – 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตะวันออกของเอเชียไมเนอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเนีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเนอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น“นักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอธ์สมัยโบราณ” ซึ่งปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้ฮิตไตท์มีชัยชนะเหนือข้าศึกในการสู้รบ ได้แก่

1.     เป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถในการถลุงแร่เหล็ก และนำเหล็กมาทำอาวุธและรถศึกเทียมม้าฝีเท้าดีเพื่อใช้ในสงคราม

2.     ทหารฮิตไตท์ได้รับการฝึกจนมีความชำนาญในการใช้อาวุธ อีกทั้งรอบรู้ยุทธวิธีในการรบและยึดมั่นในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ทำให้กองทัพมีความแข็งแกร่ง

16.   สิ่งใดที่ทำให้ฮิตไตท์มีชัยเหนือข้าศึกในการสู้รบ

(1)   มีกองกำลังที่มากกว่า 

(2) มีเวทมนตร์

(3)   ความสามารถในการถลุงแร่เหล็ก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17.   ข้อใดคืออารยธรรมที่โดดเด่นของพวกฟินิเชียน

(1)   ด้านการสงคราม       

(2) ด้านการปกครอง

(3) ด้านการค้าขาย   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 39 – 40 อารยธรรมที่โดดเด่นของฟินิเชียนมี 2 ด้าน คือ

1.     ด้านการค้าขาย นั่นคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการสำรวจเส้นทางเดินเรือเพื่อการค้า การจัดตั้ง นิคมการค้า และการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตกควบคู่ไปกับการค้าขายทางเรือ

2.     ด้านภาษา นั่นคือ เป็นผู้ประดิษฐ์พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว อันเป็นรากฐานของพยัญชนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรปใช้ในปัจจุบัน

18.   มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวฮิบรูซึ่งได้สร้างไว้ให้แก่โลกคือข้อใด

(1)   ศาสนา     

(2) หลักนิติศาสตร์    

(3) การค้า

(4) การถลุงแร่เหล็ก

ตอบ 1 หน้า 45 – 46 มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญที่ฮิบรูหรือยิวให้ไว้แก่โลก ได้แก่

1.     ศาสนายูดาห์ (Judahเป็นศาสนาแรกของสังคมฮิบรูที่เกิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลางและเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก โดยเกิดขึ้นในขณะที่ฮิบรูอยูภายใต้การปกครองของเปอร์เซียโบราณ

2.     วรรณกรรม ได้แก่ พระคัมภีร์เก่าหรือคัมภีร์ฮิบรู ซึ่งมีคุณค่าทั้งทางด้านศาสนาและประวัติศาสตร์ ทั้งนี้แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรูในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประทศอิสราเอล

19.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพวกอราเมียน

(1)   ความสามารถด้านการค้าทางทะเล      

(2) เป็นผู้เผยแผ่คริสต์ศาสนา

(3) ความสามารถด้านการค้าทางบก   

(4) สร้างพยัญชนะสมบูรณ์ขึ้นเป็นกลุ่มแรก

ตอบ 3 หน้า 46 – 47 อราเมียนเป็นเซมิติกกลุ่มที่สามที่อพยพจากเมโโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ซีเรีย ทั้งนี้อราเมียนจะมีความลามารถในด้านการค้าทางบก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิกหรือภาษาอราเมอิก (Aramaic)เพื่อประโยชน์ในการทำการค้าขาย

20.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอาณาจักรลีเดีย

(1)   ตั้งมั่นอยู่ที่ดินแดนเมโสโปเตเมีย

(2) มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล

(3) นำเงินเหรียญเป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 47 – 48 ลีเดียนเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่เข้ามาตั้งมั่นในดินแดนลีเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตะวันตกตอนกลางของเอเชียไมเนอร์ โดยชาวลีเดียนจะเก่งในการรบและการค้าขายมีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองซาร์ดีส ซึ่งมรด ความเจริญที่ลีเดียนให้แก่โลก ก็คือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการผลิตเงินเหรียญที่ทำจากทองคำเพื่อนำมาใช้เป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน จนทำให้เกิดความมั่งคั่งจากการทำการค้า เป็นผลให้ลีเดียนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ”

21.   ข้อใดคือระบบการปกครองจักรวรรดิของเปอร์เซียโบราณ

(1)   Democracy      

(2) Aristocracy

(3) The Satrapy System  

(4) The Therapy System

ตอบ 3 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองมาจากอัสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่ 2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius Iซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณโดยหลักในการปกครองจักรวรรดิของดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่ง ก็คือ เน้นกระจายการปกครอง จากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2 วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคและการปกครองระบบเขต (The Satrapy Systemที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและพื้นที่ด้วยการปฏิบัติจริง

22.   จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเจริญถึงขีดสุดในสมัยใด

(1)   Cyrus II    

(2) Darius I      

(3) Cambyses 

(4) Xersis I

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.   ศาสนาโซโรแอสเตอร์มีลักษณะตรงกับข้อใด

(1)   เอกเทวนิยม     

(2) อเทวนิยม   

(3) นับถือเทพเจ้าหลายองค์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1.     มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheistic) นั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดาเพียงองค์เดียว    

2. คิด พูด และทำความดี

3.     ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

 24.  ศาสนาในดินแดนตะวันออกกลางใดต่อไปนี้ถือกำเนิดขึ้นแรกสุด

(1) Zoroaster  

(2)   Judah      

(3)   Christ       

(4)   Buddhism

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 18.  ประกอบ

25.   คริสต์ศาสนาถือกำเนิดขึ้นในสังคมฮิบรูขณะอยู่ภายใต้การปกครองของใคร

(1) ยิว     

(2)   เปอร์เซีย  

(3)   ออตโตมาน      

(4)   โรมัน

ตอบ 4 หน้า 44 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สองของสังคมฮิบรูซึ่งถือกำเนิดขึ้นในขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน โดยโรมันได้กดขี่ข่มเหงและลิดรอนเสรีภาพทางศาสนาของชาวยิว รวมทั้งมีการปราบปรามยิวอย่างโหดเหี้ยมทารุณ จนกระทั่งในศฅวรรษที่ 1 A.Dยิวหวาดกลัวการทำลายล้างของโรมัน เป็นผลให้ยิวส่วนใหญ่อพยพออกจากปาเลสไตน์เข้ามาอาศัยอยู่ในอียิปต์และยุโรป

26.   หลักแห่งศาสนาอิสลามที่สำคัญคือ

(1) ความรัก     

(2)   ปัจจัย 4    

(3)   ศรัทธา 6  

(4)   บัญญัติ 10

ตอบ 3 หลักสำคัญประการหนึ่งแห่งศาสนาอิสลามคือ ศรัทธา 6 ประการ ซึ่งถือว่าเป็นศีลทางใจของมุสลิม ประกอบด้วย 

1. ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวคือ อัลเลาะห์เจ้า     

2. ศรัทธาในทูตสวรรค์กาเบรียล

3. ศรัทธาในองค์มูฮัมหมัด

4.     ศรัทธาในคัมภีร์กุรอาน     

5. ศรัทธาในวันพิพากษา   

6. ศรัทธาในความเป็นไปทั้งหลายเกิดจากการกำหนดของพระผู้เป็นเจ้า

27.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “The Hijira Era

(1)   สมัยประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญของอารยธรรมอิสลาม

(2)   ปีแห่งการเดินทางของมูฮัมหมัดจากเมดินามาเมกกะ

(3)   ปีแห่งการเดินทางของมูฮัมหมัดจากเมกกะมาเมดินา   

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 3 หน้า 65 – 66 ศักราชมุสลิมหรือศักราชฮิจิรา (The Hijira Eraได้เริ่มต้นขึ้นในปี 622 ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการเดินทางขององค์มูฮัมหมัดจากเมืองเมกกะมายังเมืองเมดินา และสามารถวางรากฐานของศาสนาอิสลามและสังคมมุสลิมได้อย่างมั่นคงที่เมดินา

28.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับออตโตมาน เติร์ก

(1) เริ่มมีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11  

(2) มีอีกชื่อเรียกคือ “เซลจุก เติร์ก”

(3) เป็นสาขาหนึ่งของพวกอารยัน      

(4) เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

ตอบ 4 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเซียไมเนอร์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad II) ได้นำกองกำลังมุสลิมยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำการปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออกและโลกตะวันตภได้เป็นอย่างดี

29.   ออตโตมาน เติร์ก สามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปลได้ในสมัยใด

(1) Muhammad II   

(2) Ismail

(3) Sultan Sulaiman

(4) Mustafa

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30.   จักรวรรดิออตโตมานสิ้นสุดลงเมื่อใด

(1) ผลจาก The Treaty of Sevres of 1919       

(2) การปฏิจัติโดยกลุ่ม Young Turk

(3) สุลต่าน Abdul Hamid I สละราชฯ

(4) ผลจาก The Balkan War

ตอบ 1 หน้า 83140 (เล่มเก่า) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กลุ่มยังเติร์กได้นำกองกำลังของจักรวรรดิออตโตมานเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยหวังว่าถ้าเป็นฝ่ายชนะจะทำให้ออตโตมานได้ดินแดนที่สูญเสียไปให้แก่อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียกลับคืนมา ผลของสงครามปรากฎว่ามหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ดินแดนของจักรวรรดิออตโตมานต้องถูกนำเข้าสู่ระบบดินแดนในอาณัติ (The Mandate Systemโดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นชาติผู้นำฝ่ายส้มพันธมิตรเข้าดูแลรักษาความสงบตามข้อกำหนดแห่ง The Treaty of Sevres of 1919 จึงนับได้ว่าปี 1919 จักรวรรดิออตโตมานได้สิ้นสุดอำนาจลงโดยสิ้นเชิง

31.   พื้นที่ส่วนใดของจีนเป็นทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่

(1) ภาคตะวันตก      

(2) ภาคตะวันออก    

(3) ภาคใต้       

(4) ภาคกลาง

ตอบ 1 หน้า 97 – 98 จีนตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย และมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9.6 ล้านตร.กม. ซึ่งพื้นที่ประมาณ 2ใน 3ของประเทศที่อยู่ทางภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะปกคลุมด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง ส่วนพื้นที่อีกประมาณ 11.4% ของประเทศจะเป็นทะเลทราย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคตะวันตก เช่น ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายตากลีมากัน เป็นต้น

32.   ศาสนาพุทธเข้าสู่จีนในสมัยใด

(1) จิ๋น     

(2) ฮั่น    

(3) สุ้ง     

(4) ถัง

ตอบ 2 (HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 278 – 279) ความเจริญที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีดังนี้

1.     มีระบบการสอบแข่งขันเข้ารับราชการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ตำราของขงจื๊อเป็นแนวทาง

2.     เป็นสมัยแรกที่ศาสนาพุทธเผยแผ่จากอินเดียเข้าสู่จีน

3.     เกิดผลงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของนักจดบันทึกเหตุการณ์ในราชสำนักจีน 2 ตระกูล คือ “เฉอซี” หรือบันทึกของนักประวัติศาสตร์ ผลงานของตระกูลซือมา และ “ฮั่นชู”หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตอนต้น ผลงานของตระกูลปัน ฯลฯ

33.   ราขวงศ์ใดที่ปกครองจีนต่อจากราชวงศ์จิ๋น

(1) แมนจู

(2) สุย     

(3) มองโกล     

(4) ฮั่น

ตอบ 4 หน้า 169 – 170 (เล่มเก่า)(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 278) หลังจากราชวงศ์จิ๋นเสื่อมลง อันเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิจิ๋นซี ฮ่องเต้ หลิวปัง สามัญชนคนแรกในประวัติศาสตร์จีนได้รวบรวมสมัครพรรคพวกก่อการกบฏที่เรียกว่า “กบฏชาวนา” ขึ้น และสามารถล้มล้างราชวงศ์จิ๋นได้สำเร็จ จากนั้นเขาจึงตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า “ราชวงศ์ฮั่น” ขึ้นปกครองแผ่นดินจีน และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ โดยทรงพระนามว่า “ฮั่นเกาสู” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น

34.   ผลงานใดที่เป็นจุดเด่นของจีนในสมัยราชวงศ์จิ๋น

(1)   การรวบรวมแผ่นดินที่แตกแยกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน

(2)   การขยายดินแดนได้กว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์จีน

(3)   การเปิดประเทศต้อนรับชาวต่างชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

 ตอบ 1 หน้า 109167 – 169 (เล่มเก่า) ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิงใหญ่แห่งราชวงศ์จิ๋น มีดังนี้   

1. ทรงรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน (China)

2. ทรงปกครองจักรวรรดิด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และทรงเป็นประมุขผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงองศ์เดียว

3.     ประกาศให้นำตัวอักษรจีนมาใช้เขียนในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ

4.     ทรงต่อเดิมและเชื่อมกำแพงเมืองที่มีอยู่เข้าด้วยกับเป็นกำแพงเมืองจีน ฯลฯ

35.   แม่นํ้าสายใดที่เชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกัน

(1) แม่น้ำแยงซี

(2) แม่น้ำฮวงโห      

(3) แม่นํ้าชี      

(4) คลองใหญ่

ตอบ 2 หน้า 97 – 99146 (เล่มเก่า)149 – 150 (เล่มเก่า) แม่น้ำฮวงโหหรือแม่นํ้าเหลืองเป็นแม่นํ้าที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกันนอกจากนี้ยังเป็นแม่นํ้าที่มีความสำคัญต่อประวัติคาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่น้ำที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่นํ้าไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีนในยุคหินใหม่ประมาณ 4000 B.Cมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากการขุดค้นพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผา (ลีและเสียน) และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำมาจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจีนในยุคก่อนประวัติศาสตร์

36.   แม่น้ำเหลืองมีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์จีน

(1)   เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีน

(2)   เป็นแม่นํ้าที่นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่สองข้างฝั่งที่แม่น้ำไหลผ่าน

(3)   มีการขุดพบภาชนะและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37.   การแบ่งชนชั้นของจีนโดยอาศัยเชื้อชาติเป็นตัวกำหนดเกิดขึ้นในสมัยใด

(1)   ถัง  

(2) เซีย    

(3) ชาง    

(4) ชิง

ตอบ 4 หน้า 111(คำบรรยาย) สังคมจีนเป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นซึ่งเป็นไปตามแนวคิดฃองขงจื๊อโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 5 ชนชั้นโดยอาศัยอาชีพเป็นเกณฑ์ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ของจีนซึ่งเป็นชาวต่างชาติ คือ ราชวงศ์มองโกล (ราชวงศ์หยวน) และราชวงศ์แมนจู (ราชวงศ์ชิง) จะมีเพียง 4 ชนขั้นโดยอาศัยเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง และมักกำหนดให้ผู้ที่มีเชื้อชาติของตนเป็นชนชั้นสูง

38.   ตระกูลซือมา และตระกูลปัน มีหน้าที่ใดในราชสำนักจีนโบราณ(1) นักสำรวจ

(2) นักการทหาร      

(3) นักจดบันทึกเหตุการณ์ในราชสำนัก      

(4) นักโหราศาสตร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

39.   ในสมัยล่าอาณานิคม เมืองท่าใดที่ราชสำนักจีนอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายได้

(1) นิงโป 

(2) มาเก๊า

(3) ฟูเจา  

(4) ปักกิ่ง

ตอบ 2 หน้า 112(คำบรรยาย) ในสมัยล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ประเทศจีน (สมัยราชวงศ์หมิง)ในขณะนั้นได้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายขึ้นโดยทั่วไป เมื่อดัตช์และโปรตุเกสเข้ามาช่วยจีนปราบกบฏและพวกโจรสลัด ทำให้ราชสำนักจีนตอบแทนทั้ง 2 ชาติด้วยการอนุญาตให้เข้ามาตั้งสถานีการค้าได้ โดยให้โปรตุเกสมาตั้งที่มาเก๊า ส่วนดัตช์ให้มาตั้งที่เอหมึง ต่อมาอังกฤษได้เดินทางเข้ามายังจีน

เพื่อเรียกร้องให้จีนเปิดประเทศ แม้จีนจะปฏิเสธ แต่ก็อนุญาตให้อังกฤษเข้ามาตังสถานีการค้าได้ที่เมืองแคนตอน

40.   ใครคือบิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่

(1)   เติ้งเสี่ยวผิง       

(2) โจวเอินไหล

(3) ซุนยัดเซ็น  

(4) จูเต้

ตอบ 1 หน้า 115(คำบรรยาย) เติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้ปกครองจีนรุ่นใหม่ทีได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาแห่งประเทคจีนยุคใหม่” เนื่องจากเขาได้นำคำขวัญที่ว่า “แมวขาวแมวดำไม่สำคัญขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน” มาใช้เป็นนโยบายในการลร้างความกินดีอยู่ดี รวมทั้งใช้นโยบาย 4 ทันสมัยเพื่อพัฒนาประเทคให้ทันสมัยทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาคาสตร์และเทคโนโลยีและการป้องกันประเทศ ส่งผลให้จีนกลายเป็นชาติที่มีการพัฒนด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก

41.   คำสั่งสอนในลัทธิเต๋าให้ปฏิบัติตนไปตามธรรมชาติ ส่วนขงจื๊อสอนว่าอย่างไร

(1) ให้ยึดถือตามคำสั่งสอนของบิดามารดา  

(2) ให้เชื่อฟังบรรพบุรุษ

(3)   ให้ดูอดีตเป็นตัวอย่าง 

(4) ให้เชื่อเรื่องลี้ลับที่มีอยู่ในธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 106 – 107160 (เล่มเก่า) แนวคิดของขงจื๊อจะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมในโลกนี้มากกว่าชีวิตในโลกหน้า รวมทั้งเน้นให้มนุษย์รู้จักหน้าที่และฐานะของตนเองในสังคมเพราะถ้าสมาชิกในสังคมรู้จักหน้าที่ของเขาเองแล้ว สังคมก็จะเป็นสุขได้โดยสังคมที่ดีนั้นทุกคนจะต้องยึดถือตามหลักอาวุโสและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น บุตรจะต้องยึดถือตามคำสั่งสอน

ของบิดามารดา ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ ฯลฯ นอกจากนี้ขงจื๊อยังเห็นว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตได้ด้วย

42.   สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 มีเป้าหมายที่สำคัญด้านใด

(1) การเมือง    

(2) การทหาร   

(3) การต่างประเทศ  

(4) การศึกษา

ตอบ 1 หน้า 113,(คำบรรยาย) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1(ค.ศ. 1894 – 1895)เป็นสงครามระหว่างราชวงศ์แมนจูของจีนกับจักรพรรดิเมจิแห่งณี่ป่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นต้องการครอบครองคาบสมุทรเกาหลีซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของญี่ปุ่นในด้านความมั่นคง อีกทั้งญี่ปุ่นต้องการเข้าไปขยายอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจในจีน โดยผลของสงครามปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นซึ่งจีนเคยดูถูกว่าเป็นชาติที่ด้อยอารยธรรม และทำให้จีนต้องสูญเสียเกาหลีไปในที่สุด

43.   ทฤษฎีแห่งสวรรค์ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว มีแนวคิดที่สำคัญอย่างไร

(1)   องค์จักรพรรดิมีฐานะเป็นบุตรแห่งสวรรค์

(2)   ผู้ให้กำเนิดอารยธรรมจีน ได้แก่ เทพเจ้าฮ่วงตี่

(3)   เมื่อโลกมีดวงอาทิตย์ดวงเดียว แผ่นดินจีนก็ต้องมีจักรพรรดิองค์เดียว

(4)   บุรุษเพศคือช้างเท้าหน้า สตรีเพศคือช้างเท้าหลัง

ตอบ 1 หน้า 102 ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกได้เกิดแนวคิดทางการเมืองที่ยอดเยี่ยม นั่นคือ ทฤษฎีแห่งสวรรค์ โดยกษัตริย์โจวถือว่าตนนั้นเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิที่สวรรค์ส่งลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อ

ปกครองโลกเรียกว่า “ อาณัติแห่งสวรรค์ ”

44.   ในสมัยสาธารณรัฐ เจียงไคเช็คคือผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ส่วนเมาเซตุงคือใคร

(1) ตัวแทนของรัสเซียที่ส่งมาดูแลผลประโยชน์ในจีน  

(2) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน

(3) นักศึกษาวิชาทหารที่กำลังศึกษาอยูในญี่ปุ่น   

(4) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลี

 ตอบ 2 หน้า 113 – 114(คำบรรยาย) เมาเซตุง เป็นหนึ่งในปัญญาชนจีนที่ร่วมกันจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นในปี ค.ศ. 1921 เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการปฏิรูปประเทศจีนในสมัยสาธารณรัฐต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ร่วมกับซุนยัดเซ็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นในปี ค.ศ. 1923 แต่หลังจากที่ซุนยัดเซ็นถึงแก่อสัญกรรม พรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของเจียงไคเช็คไม่ศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์ จึงได้เกิดความขัดแย้งกันจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ จนกระทั่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะ ทำให้เจียงไคเช็คต้องหลบหนีไปตั้งประเทศสาธารณรัฐจีนขึ้นใหม่ที่เกาะไต้หวัน

45.   จีนสูญเสียเกาะฮ่องกงไปให้อังกฤษตามสนธิสัญญาฉบับใด

(1) ฮ่องกง

(2) เซี่ยงไฮ้      

(3) นานกิง       

(4) ปักกิ่ง

ตอบ 3 หน้า 112 – 113216 – 217 (เล่มเก่า) สงครามฝิ่น เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษ ซึ่งหลังจากที่จีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในปี ค.ศ. 1842 ทำให้จีนต้องลงนามใบสนธิสัญญาทีไม่เสมอภาคฉบับแรกกับขาติตะวันตก เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nanking) ซึ่งผลก็คือ จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่าอีก 5 แห่ง ได้แก่ แคนตอน เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตสัมปทานอยู่ในความดูแลของอังกฤษ อีกทั้งต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตหรือสิทธิทางการศาล ต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่จีนทำลายไป ต้องสูญเสียสิทธิในการกำหนดอัตราภาษี และต้องยอมรับเงื่อนไขของความเป็นมิตรที่ดีของต่างชาติ

46.   เกาะฮอกไกโดในอดีตมีความสำคัญด้านใด

(1) อารยธรรม 

(2) การท่องเที่ยว      

(3) การทหาร   

(4) การรักษาสิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 หน้า 121(คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่     

1. เกาะฮอกไกโด เป็นเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นศูนย์กลางอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น

2.     เกาะฮอนชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด มีพื้นที่ราบมากที่สุดของประเทศ และถือว่าเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และ การปกครองของญี่ปุ่น       

3. เกาะชิโกกุ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็ที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและชายฝั่งทะเล    

4. เกาะคิวชิว เป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการติดต่อกับชาวยุโรป โดยมีท่าเรือที่สำคัญอยู่ที่เมืองนางาซากิ

47.   นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่นมีชื่อว่าอะไร

(1) นายอาเบะ  

(2) นายไคฟู    

(3) นายซูซูกิ    

(4) นายโนดะ

ตอบ 4 (จากข่าว) นายโยซิฮิโกะ โนดะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 54 และคนปัจจุบันของญี่ปุ่น ซึ่งสังกัดพรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (DPJโดยเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา จนกระทั่งประกาศยุบสภาในวันที่ 16 พฤศจิกายนพ.ศ. 2555 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ผลการเลือกตั้งของญี่ปุ่นในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า นายชินโซะ อาเบะ ผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDPได้ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของญี่ปุ่น)

48.   ใครคือผู้ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่น

(1) ยามาโมโต  

(2) อิเคดะ

(3) เทนโน       

(4) ฟูจิวารา

 ตอบ 3 หน้า 125 จากหนังสือโคจิกิและหนังสือนิฮอง โชกิ ได้กล่าวถึงเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นในลักษณะของเทพนิยายว่า แผ่นดินญี่ปุ่นสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า มีศูนย์กลางอยู่บนที่ราบยามาโตทางตอนกลางของเกาะฮอนชู ผู้ปกครองซึ่งได้แก่องค์จักรพรรดิและประชาชนล้วนสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าทั้งสิ้น โดยจักรพรรดิพระองค์แรกซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นทรงมีพระนามว่า “จิมมู เทนโน” เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์หรือเทพีอะมาเตระสึ โดยขึ้นครองราชย์เมื่อประมาณปี 660 B.C.

49.   ชนกลุ่มใดที่เชื่อว่าเป็นผู้อพยพเข้าไปตั้งรกรากในญี่ปุ่นเป็นพวกแรก

(1) ชาวไอนุ     

(2) ชาวมองโกเลีย    

(3) ชาวตะวันออกกลาง     

(4) ชาวจีน

ตอบ 1 หน้า 123(คำบรรยาย) ในช่วงประมาณ 20,000 – 10,000 B.Cพวกไอบุซึ่งเป็นบรรพบุรุษกลุ่มแรกของญี่ปุ่น ได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่บนเกาะฮอกไกโดทางภาคเหนือของญี่ปุ่น โดยเป็นพวกที่มีเชื้อสายคอเคซอยด์มากกว่ามองโกลอยด์ ดังนั้นจึงมีลักษณะคล้ายชาวยุโรป มากกว่าชาวเอเฃีย นั่นคือ เป็นคนผิวขาว หน้าแบน ตาสีฟ้า ขนดก และมีรูปร่างไม่สูงนัก ปัจจุบันพวกไอนุจะอาศัยอยู่มากบนเกาะฮอกไกโดและเกาะคูริล

50.   โชกุนตระกูลโตกูกาวาได้รับการยอมรับจากชาวญี่ป่นในด้านใดมากที่สุด

(1) ความเจริญด้านการศึกษา    

(2) ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ

(3) ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 131 – 133(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 308 – 309311313317 – 318) ในสมัยโชกุนตระกูลโตกูกาวา เป็นสมัยที่ระบอบศักดินาเจริญสูงสุด และเป็นยุคที่ญี่ปุ่นเกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองอย่างทีไม่เคยประสบมาก่อน ซึ่งส่งผลต่อความเจริญของญี่ปุ่นดังนี้

1.     ทำให้เกิดความเจริญทางด้านการปกครอง เนื่องจากมีการแบ่งชนชั้นในสังคมอย่างตายตัว มีการจัดแบ่งชนชั้นของขุนนาง รวมทั้งมีการนำวิธีการควบคุมทางสังคมที่เรียกว่า“ระบบซันกิน โกไต” มาใช้ ทำให้โชกุนปกครองญี่ปุ่นได้ยาวนานถึง 300 ปี

2.     ทำให้เกิดความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และทำให้ชนชั้นพ่อค้ากลายเป็นชนชั้นที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

3.     ทำให้เกิดความเจริญทางด้านการศึกษา เนื่องจากความสงบในระเทศทำให้ซามูไรใช้เวลาว่างในการศึกษาหาความรู้ อีกทั้งโชกุนต้องการส่งเสริมให้คนมีการศึกษาตามหลักปรัชญาของขงจื๊อ ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีการศึกษาที่ดีขึ้น

51.   ญี่ปุ่นปิดประเทศในปี 1637 มาจากสาเหตุด้านใด

(1)   การก้าวก่ายกิจการภายในประเทศโดยองค์กรศาสนาของชาวต่างชาติ

(2)   ความปลอดภัยของประเทศจากการคุกคามจากฝรั่งเศส

(3)   เพื่อเตรียมพร้อมในการจัดระเบียบด้านการเดินเรือของประเทศใหม่    

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 132291 – 293 (เล่มเก่า) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โชกุนตระกูลโตกูกาวาเกรงว่า องค์กรศาสนาของชาวต่างชาติในนามคณะมิชชันนารีที่เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่นจะเข้ามก้าวก่ายกิจการภายในประเทศ จนทำให้ประเทศแตกแยกกันและทำให้อำนาจของพระองค์ลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้องค์โชกุนจึงได้ประกาศปิดประเทศเพื่อเลิกติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1637 – 1854 ยกเว้นจีนในฐานะของมิตรเก่าและดัตช์ที่ญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นชาติที่ไม่ชอบก้าวก่ายการเมืองภายในขององค์โชกุน ซึ่งทั้ง 2 ชาติจะได้รับอนุญาตให้เข้ามาค้าขายได้เป็นครั้งคราว

52.   โจมอนและยาโยอิเป็นภาซนะเครื่องปั้นดินเผา ส่วนทูมูลิคืออะไร

(1)   เป็นภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเช่นกัน

(2)   เป็นเครื่องประดับอันมีค่าขององค์จักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์ในกรุงเกียวโต

(3)   สุสานของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิที่ได้รับอิทธิพลมาจากเกาหลี

(4)   กองกำลังหลักของกองทัพญี่ปุ่นที่ประจำการตามชายแดนในสมัยโชกุนตระกูลมินาโมโต

ตอบ 3 หน้า 124- 125 หลักฐานทางด้านโบราณคดีของญี่ปุ่นในสมัยโบราณมี 3วัฒนธรรมที่สำคัญ ได้แก่

1.     วัฒนธรรมโจมอน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก ซึ่งพบมากทางภาคตะวันออกและภาคเหนือของประเทศ

2.     วัฒนธรรมยาโยอิ เป็นวัฒนธรรมที่พบมากที่เกาะคิวชิว ซึ่งหลักฐานที่สำคัญ เช่น เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ การนำเหล็กและทองสัมฤทธิ์จากจีนมาหล่อเป็นดาบ ฯลฯ

3.     วัฒนธรรมทูมูลิ เป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ โดยเริ่มปรากฏครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

53.   หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป้าหมายของประเทศจากการพัฒนาการทหารไป่สู่ด้านใด

(1) ด้านการศึกษา    

(2) ดำเนินการผูกมิตรด้วยการคืนดินแดนที่ยึดมาได้ระหว่างสงคราม

(3) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสำคัญ      

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 135 – 136 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมุ่งขยายอำนจทางการทหารเป็นหลักแต่หลังจากพายแพ้อย่างย่อยยับในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนไปพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากสหรัฐอเมริกา ประกอบกับความสามารถของชาวญี่ปุ่นเองที่เป็นทั้งนักคิดและนักประดิษฐ์ การมีทำเลที่ตั้งที่หมาะสม การที่ญี่ปุ่นไม่นิยมสงครามเหมือนแต่กอน รวมทั้งนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีการวางแผนไว้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ญี่ปุ่นฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่ง

ของโลก (G8) ในปัจจุบัน

54.   ศาสนาพุทธนิกายเซนและลัทธิบูชิโดเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยใด

(1) สมัยนาราและเฮอิอัน  

(2) สมัยจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น

(3) สมัยโชกุนเรืองอำนาจ 

(4) ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20

ตอบ 3 หน้า 129 – 131 ญี่ปุ่นในสมัยศักดินายุคแรกหรือสมัยโชกุนเรืองอำนาจได้มีความเจริญทีสำคัญดังนี้

1. เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับการค้าขายและอุตสาหกรรม

2. ศาสนาพุทธนิกายเซนแพร่หลายเข้าสู่ญี่ปุ่น ซึ่งหลักคำสอนของนิกายนี้ตรงกับความต้องการของพวกซามูไร

3.     เกิดชนชั้นนักรบหรือพวกซามูไรขึ้นในสังคม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการดำรงชีวิตของตนที่เรียกว่า “ลัทธิบูชิโด”       

4. เกิดความเจริญทางด้านศิลปะ การละคร และวรรณคดี

55.   ข้อใดถูกที่สุด

(1)   ศาสนาพุทธเข้าสู่จีนก่อนที่ชาวญี่ป่นจะรับนับถือลัทธิชินโต

(2)   ชาวญี่ปุ่นโบราณมีความส้มพันธ์ใกล้ชิดกับเกาหลีมาก่อนจีน

(3)   รัฐคายาที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองเป็นเวลานานถึง 500 ปี ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก

(4)   การปฏิรูปไทกาเป็นการนำคำสั่งสอนของขงจื๊อมาใช้

ตอบ 4 หน้า 127 – 128(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 316) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผู้ปกครองญี่ปุ่นเกิดความประทับใจในรูปแบบการปกครองของจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประกอบกับได้รับอิทธิพล

จากลัทธิขงจื๊อ ทำให้ญี่ปุ่นปฏิรูปการปกครองตามแบบจีน ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่ ธรรมนูญการปกครองบ้านเมือง 17ข้อในปี ค.ศ. 604โดยเจ้าชายโชโทกุ และการปฏิรูปไทกาในปี ค.ศ.645โดย เจ้าชายนากาโนะ โอเยะ ซึ่งมีสาระสำคัญคล้ายกันคือ ให้องค์จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน การรวมอำนาจไว้ที่รัฐบาลกลาง การสอบแข่งขันเข้ารับราชการโดยใช้ตำราของขงจื๊อ และการแบ่งชนชั้นในสังคมตามแนวคิดในลัทธิขงจื๊อ

56.   จักรพรรดิจิมมู เทนโน สืบเชื้อสายมาจากเทพองศ์ใด

(1) เทพเจ้าผู้สร้างโลก       

(2) เทพเจ้าแห่งจักรวาล

(3) เทพเจ้าแห่งดวงอทิตย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57.   เกาหลีแตกแยกออกเป็น 2 ประเทศ หลังสงครามใด

(1) สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1   

(2) สงครามโลกครั้งที่ 2

(3) สงครามเกาหลี    

(4) สงครามจีน-เกาหลี ครั้งที่ 1

ตอบ 2 หน้า 144162 ในปี ค.ศ. 1910 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20) เกาหลี ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นจนถึงปี ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงได้รับเอกราชและตกอยู่ภายใต้การดูแลร่วมของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาที่พยายามให้มีการจัดตั้งรัฐบาลเกาหลีที่มีอำนาจเต็มขึ้น แต่ด้วยแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกัน เกาหลีจึงแตกแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ เกาหลีเหนือ (นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์) และเกาหลีใต้ (นิยมลัทธิประชาธิปไตย) ตรงเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือซึ่งเป็นเขตปลอดทหาร

58.   ปัจจัยด้านใดที่ทำให้เกาหลีเป็นชาติที่อ่อนแอในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้วยกัน

(1) ด้านการต่างประเทศ

(2) ด้านภูมิศาสตร์    

(3) ด้านการศึกษา    

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 141144(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 330) ด้วยเหตุที่สภาพทางภูมิศาสตร์ของเกาหลีเป็นคาบสมุทรที่ล้อมรอบไปด้วยประเทศมหาอำนาจ 3 ชาติ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย รวมทั้งอาณาจักรโบราณของชนเผ่าเร่ร่อนทางภาคเหนือ ตลอดจนความสำคัญทางจุดยุทธศาสตร์ ทำให้เกาหลีต้องตกเป็นสมรภูมิรบหลายครั้ง แม้เกาหลีจะพยายามหลีกเลี่ยงสงครามด้วยการใช้นโยบายแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวและยึดมั่นในสันติภาพจนได้รับสมญานามว่า “รัฐฤๅษี” แต่เกาหลีก็ไม่เคยพบกับความสงบ ถ้าไม่ตกเป็นอาณานิคม ก็ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยไป ส่งผลให้เกาหลีกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้วยกัน

59.   คิม จองอึน คือใคร

(1) ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ 

(2) นายกรัฐมนตริของเกาหลีใต้

(3) ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ   

(4) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลี

ตอบ 3 (คำบรรยาย) คิม จองอึน เป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งหลังจากที่นายคิม จองอิล ผู้เป็นบิดาถึงแก่อสัญกรรม โดยคิม จองอึน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลีอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เขาได้เป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ ๆ หลายอย่งในเกาหลีเหนือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่ประเทศ รวมทั้งมุ่งพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ

60.   ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกาหลีตกเป็นอาณานิคมของใคร

(1) จีน     

(2) ญี่ปุ่น 

(3) สหรัฐอเมริกา     

(4) อังกฤษ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

61.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มีหลายชาติพันธุ์ 

(2) ดินแดนแห่งเครื่องทศ

(3) ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียมากที่สุด 

(4) อยู่ติดมหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 4 หน้า 255270 – 271273 – 275323 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) หมายถึง ดินแดนในเอเชียตะวันออกส่วนที่อยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นแหลมอินโดจีนและดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกนอกจากนี้ยังเป็นดินแดนที่มีประชากรหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เป็นแหล่งที่มาของเครื่องเทศโดยเฉพาะในหมู่เกาะต่าง ๆ รวมทั้งเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน จึงเป็นแหล่งรับวัฒนธรรมจากทั้ง 2 ประเทศ โดยดินแดนต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเวียดนามเพียงประเทศเดียวที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน

62.   แม่นํ้าสายใดยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) แม่นํ้าโขง   

(2)   แม่นํ้าเจ้าพระยา

(3)   แม่นํ้าอิระวดี    

(4) แม่นํ้าแดง

ตอบ 1 หน้า 256 – 257542 (เล่มเก่า) แม่น้ำโขง ถือว่าเป็นแม่นํ้าสายที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านหลายประเทศ ได้แก่ จีน ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย

63.   แม่นํ้าสำคัญของประเทศลาว คือแม่น้ำสายใด

(1) แม่นํ้าโขง   

(2)   แม่น้ำแดง

(3)   แม่นํ้าดำ  

(4) แม่นํ้าสาละวิน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 62.  ประกอบ

64.   ภาษาใดจัดอยู่ในกลุ่ม AustroAsiatic

(1) ภาษาพม่า  

(2)   ภาษาไทย 

(3)   ภาษาจีน  

(4) ภาษามอญ

ตอบ 4 หน้า 259 ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามภาษาพูดได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล SinoTibetan ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาทิเบต-พม่า ภาษากะเหรี่ยง และภาษาแม้ว-เย้า

2.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล TaiKadai ได้แก่ ภาษาไทหรือไต และกาษากะได สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันก็จัดอยู่ในตระกูลนี้ด้วย

3.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล AustroAsiatic ได้แก่ ภาษามอญ-เขมร ภาษาเวียด-มวง และภาษาเซนอย-เซมัง

4.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล Austronesian หรือ MalayoPolynesian ได้แก่ ภาษาจาม และภาษามาเลย์

65.   ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาใด

(1) SinoTibetan

(2) TaiKadai  

(3) AustroAsiatic

(4) Malayo-Polynesian

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

66.   ประชากรกลุ่มมองโกลอยด์เหนือมีลักษณะทางกายภาพแบบใด

(1) ตัวเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก  

(2)   ตัวสูง ผิวขาว ผมหยิก

(3) ตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง ผมเหยียดตรง      

(4)   ตัวสูง ผิวดำ ผมหยิก

ตอบ 3 หน้า 543 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.     ออสตราลอยด์ (Australoidเป็นประชากรเชื้อสายอินโดนีเซีย-มาเลเซียที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะตัวเตี้ย ผิวดำ และผมหยิก

2.     มองโกลอยด์ (Mongoloidเป็นกลุ่มชนมองโกลอยด์เหนือที่อพยพมาจากตอนเหนือของจีนแล้วเข้ามาอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคนี้ เช่น ชาวไทย ลาว พม่า ฯลฯ ส่วนใหญ่จะตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง และผมเหยียดตรง

67.   ทะเลอันดามันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรใด

(1) มหาสมุทรอินเดีย

(2)   มหาสมุทรแปซิฟิก

(3) มหาสมุทรอาร์กติก     

(4)   มหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 1 หน้า 541 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเป็นกำแพงที่แบ่งเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน โดยทางฝั่งตะวันตก ได้แก่ ทะเลอันดามันของไทย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางฝั่งตะวันออก ได้แก่ อ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก

68.   วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน เป็นวัฒนธรรมหินเก่าที่อยู่ในประเทศใด

(1) พม่า  

(2) ลาว   

(3) เวียดนาม   

(4) ไทย

ตอบ 4 หน้า 266 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว วัฒนธรรมหินเก่าใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ที่พบก่อ ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแทมปาเนียน ในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย

69.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึงมนุษย์ชวา

(1) ค้นพบโดย อูยีน ดูบัว ศัลยแพทย์ชาวฮอลันดา

(2) ยืนสองขา

(3) ความจุสมองเท่ามนุษย์ในปัจจุบัน 

(4) เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 266 – 267548 (เล่มเก่า) ในปี ค.ศ. 1891 อูยีน ดูบัว (Eugene Duboisศัลยแพทย์าวออลันดา ได้ค้นพบซากฟอลซิลของมนุษย์โฮโม อีเรคตัส (Homo erectusหรือมนุษย์ชวาบริเวณเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียเป็นครั้งแรกโดยนักมานุษยวิทยาได้จัดมนุษย์ชวาที่ขุดพบนี้ว่าเป็นมนุษย์วานร (Pithecanthropusซึ่งเป็นบรรพบุรุษเริมแรกของมนุษย์ โดยสามารถยืนสองขาได้ แต่มีขนาดของสมองเล็กกว่ามนุษย์ในปัจจุบัน และมีชีวีตอยู่ในยุคน้ำแข็งตอนต้น

70.   ข้อใดคือวัฒนธรรมยุคหินใหม่

(1) เพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์     

(2) เคลื่อนย้ายตามฤดูกาล

(3) อาศัยอยู่ตามถํ้า   

(4) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

71.   ข้อใดไมใช่วัฒนธรรมของอินเดียที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) พระพุทธศาสนา 

(2) ศาสนาคริสต์      

(3)   ภาษาสันสกฤต  

(4) ภาษาบาลี

ตอบ 2 หน้า 273 – 274 วัฒนธรรมอินเดียที่แพร่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ระบบเหรียญกษาปณ์ ระบบตราประทับ เทคนิคการใช้อิฐหรือหินเพื่อใช้ก่อสร้างศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศิลปกรรมต่าง ๆ รูปแบบของเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ และอุปกรณ์กีฬาบางประเภท ระบบการปกครอง ศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ รวมทั้งภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และรูปแบบตัวอักษร

72.   อิทธิพลจีนส่งผลแก่วัฒนธรรมของชาติใดมากที่สุด

(1) ฟิลิปปินส์   

(2) เวียดนาม   

(3)   กัมพูชา    

(4) มาเลเซีย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

73.   ตามความเชื่อของชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์อยู่ในฐานะใด

(1) เจ้าแห่งแม่นํ้า     

(2) เจ้าแห่งป่าไม้     

(3)   เจ้าแห่งภูเขา    

(4) เจ้าแห่งสุวรรณภูมิ

ตอบ 3 หน้า 279 – 281568 (เล่มเก่า) จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักร ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าทีสำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้องประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทั้งนี้คำว่า “ฟูนัน” เป็นการเรียกตามแบบจีน หากเป็นภาษาเขมรจะเรียกร่า บนัมหรือพนม” แปลว่า ภูเขา และชาวฟูนันจะเรียกประมุขว่า “กรุง บบัม” แปลว่า กษัตริย์แห่งภูเขา เนื่องจากชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์จะอยู่ในฐานะเจ้าแห่งภูเขา (Kings of the Mountainsหรือไศลราชา

74.   เมืองหลวงของฟูนันคือเมืองใด

(1) เมืองออกแก้ว     

(2) เมืองวยาธปุระ    

(3) เมืองนครปฐม    

(4) เมืองบิญดิ่น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75.   กษัตริย์องค์ใดของเขมรที่เป็นผู้สร้างปราสาทนครวัด

(1) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 

(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2

(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7    

(4) พระเจ้าอีศานวรมัน

ตอบ 1 หน้า 286 ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้ขยายอาณาเขตออกไปด้วยการทำสงครามและเข้ายึดอาณาจักรจามปา ทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ และได้สร้าง ปราสาทนครวัดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของสถาปัตยกรรมเขมรและเป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจของพระองค์ที่เมืองพระนคร

76.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค 

(2) สะเทิม

(3) เมาะตะมะ  

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294. 299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่างด้านตะวันออกของแม่นํ้าอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้งเมืองหลวง อยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศพม่า ต่อมาเมื่อมอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

77.   ตามบันทึกของจีน ชาวจามมีลักษณะอย่างไร

(1) ผิวขาว ผมเหยียดตรง  

(2) ตาลึก ผมดำ

(3) ตาโต ผิวขาว      

(4) ตัวใหญ่ ผมเหยียดตรง

ตอบ 2 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีนหรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือบริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก

78.   สถาปัตยกรรมที่สำคัญของราชวงศ์สัญไชยแห่งชวา คือข้อใด

(1) ปราสาทนครวัด  

(2) บุโรพุทโธ  

(3) ปรันบานัน 

(4) อานันทะเจดีย์

ตอบ 3 หน้า 313(คำบรรยาย) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในอาณาจักรชวาภาคกลาง กล่าวคือ ราชวงศ์สัญชัยสามารถแยกตัวออกจากอำนาจของราชวงศ์ไศเลนทร์ได้สำเร็จ และสามารถยึดอาณาจักรชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์กลับคืนมาได้ เมื่อราชวงศ์สัญชัยขึ้นมามีอำนาจ ทำให้ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง และสร้างศาสนสถานที่สวยงามไม่แพ้บุโรพุทโธ ได้แก่ เทวาลัยปรัมบานัน ซึ่งใช้เป็นสุสานบรรจุพระศพของกษัตริย์และสมาชิกในพระราชวงศ์

79.   ข้อใดกล่าวถึงอาณาจักรทวารวดีไม่ถูกต้อง

(1) ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย

(2) นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท

(3) ศูนย์กลางอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย

(4) ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมไปไกลจนถึงเขมร

ตอบ 4 หน้า 301 – 303 ทวารวดีเป็นอาณาจักรแรกที่มีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาในเขตภาคกลางของประเทศไทย รวมทั้งเป็นอาณาจักรที่มีการติดต่อและรับวัฒนธรรมจากอินเดียโดยชาวทวารวดีส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่ก็พบว่ามีบางกลุ่มที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งลัทธิไศวนิกายและลัทธิไวษณพนิกาย ต่อมาเมื่อเขมรเข้าสู่สมัยเมืองพระนคร ทวารวดีก็ถูกเขมรเข้าครอบงำทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

80.   ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส   

(2) การสำรวจดินแดนใหม่

(3) การค้า

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

1. เอเชียตะวันออกเฉียงต้มีชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง

2.ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ       

3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์

4.ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่

5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ

6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้ ทั้งนี้โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคนี้ ตามมาด้วยสเปน ดัตช์ และอังกฤษ

81.   ชาวยุโรปชาติใดเดินทางเข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติแรก

(1) สเปน 

(2) โปรตุเกส   

(3) ดัตช์   

(4) อังกฤษ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82.   ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์     

(2)   ปีนัง 

(3)   มะละกา    

(4)   พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลักจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้วในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlementโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะปีนัง

83.   ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในด้านการเลิกทาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส   

(2)   สเปน       

(3)   ดัตช์ 

(4)   ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 330 หลังจากที่สเปนได้เข้าปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สเปนได้ออกกฎหมายห้ามการมีทาสจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2132 จึงได้ยกเลิกทาสทั่วไปในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการลดอำนาจของกลุ่มเจ้านายชนพื้นเมือง ดังนั้นจึงถือว่าสเปนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านการเลิกทาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

84.   ดัตช์ได้ใช้นโยบายใดเพื่อปรับปรุงสวัสดิการคนพื้นเมืองในบังคับให้ดีขึ้น

(1)   Culture System        

(2)   Encomienda   

(3)   Ethical Policy  

(4)   ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 หน้า 334 ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ดัตช์ได้มีการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจบนเกาะชวาของอินโดนีเซีย เรียกว่า “Ethical Policy” ซึ่งเป็นนโยบายที่จัดการบริการสวัสดิการสาธารณะให้มากขึ้น โดยดัตช์ได้นำเงินมาบำรุงการศึกษา สาธารณสุข การเกษตร และการคมนาคม ซึ่งต่อมาชาวอินโดนีเซียที่มีการศึกษาไม่พอใจที่ไม่มีสิทธิในการปกครองประเทศ ระบบนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นประการหนึ่งที่ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมในอินโดนีเซีย

85.   ข้อใดต่อไปนี้ไมได้หมายถึง เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน

(1) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส

(2)   เป็นผู้เดินทางมาถึงฟิลิปปินส์     

(3) เป็นผู้เดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก

(4)   เป็นผู้ทำให้ชาวสเปนถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์

ตอบ 1 หน้า 328 – 329600 (เล่มเก่า) เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่สามารถเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยในปี พ.ศ. 2055 แมกเจลแลนได้เดินทางมาถึงหมู่เกาะวิสายะของฟิลิปปินส์ตามคำสั่งของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ที่ให้ค้นหาเส้นทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศและยึดดินแดนที่ค้นพบ ต่อมาเขาได้เดินทางมาถึงเกาะลิมาซาวาและเกาะเซบูโดยได้ผูกมิตรกับหัวหน้าเกาะทั้งสอง และที่เกาะเซบูเขาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในหมู่เกาะทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ ส่งผลให้แมกเจลแลนและชาวสเปนจำนวนมากถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์

86.   ข้อใดหมายถึงสนธิสัญญาซารากอสสา

(1)   สนธิสัญญาที่กำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของโปรตุเกสกับสเปน

(2)   สนธิสัญญาที่ให้สเปนกับโปรตุเกสออกสำรวจดินแดนต่าง ๆ คนละเส้นทางกัน

(3)   สนธิสัญญาที่โปรตุเกสทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

(4)   สนธิสัญญาที่ดัตช์ทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ตอบ 1 หน้า 328 ด้วยเหตุที่ทั่งสเปนและโปรตุเกสต่างก็ต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ในปี พ.ศ. 2072 สเปนและโปรตุเกสได้ทำ “สนธิสัญญาซารากอสสา” ระหว่างกัน โดยมีการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อกำหนดเขตผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ชัดเจน

 

ตั้งแต่ข้อ 87. – 90. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา     

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3)   ระบบโปโล       

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

87.   ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมีองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.     ระบบโปโล (Polo Systemเป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.     ระบบวันดาลา (Vandala Systemเป็นระบบบังคับซื้อสินค้ โดยบังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

88.   ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomiendaคือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ในฟิลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส”(Encomiendorosเรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

89.   ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาตํ่า

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

90.   ระบบที่จัดสรรพื้นที่สำหรับปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ

ตอบ 2 หน้า 334 ในพุทธศตวรรษที่ 24 ดัตช์ได้นำระบบวัฒนธรรม (Culture Systemหรือระบบการเพาะปลูก (Cultivation Systemมาใช้แสวงหากำไรในเกาะชวา โดยผู้ที่เสนอระบบนี้คือ โยฮานเนส วาน เดน บอสช์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ โดยระบบนี้เป็นการสนับสนุนให้ทุกหมู่บ้านจัดสรรพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ เช่น อ้อย กาแฟ คราม ฯลฯ เพื่อจ่ายเป็นภาษีให้แก่รัฐบาลอาณานิคม จากนั้นรัฐก็จะนำสินค้าดังกล่าวไปขายในยุโรป

91.   กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลมีกี่ประเทศ

(1) หนึ่งประเทศ       

(2) สองประเทศ

(3) สามประเทศ

(4) สี่ประเทศ

ตอบ 2 หน้า 171(คำบรรยาย) ภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asiaคือ ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างเอเชียตะวันตกเฉียงใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา และมัลดีฟส์ ซึ่งประเทศที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเลมี 2 ประเทศคือ เนปาล และภูฏาน ส่วนประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะมี 2 ประเทศคือ ศรีลังกา และมัลดิฟส์

92.   กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีลักษณะเป็นเกาะมีกี่ประเทศ

(1) หนึ่งประเทศ       

(2) สองประเทศ

(3) สามประเทศ

(4) สี่ประเทศ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93.   เมื่อเปรียบเทียบความเจริญของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลกพบว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีความเจริญสูงสุดด้านใด

(1)ด้านการชลประทาน     

(2) ด้านการแพทย์    

(3) ด้านสุขาภิบาล    

(4)   ด้านเกษตรกรรม

ตอบ 3 หน้า 183 – 186188(คำบรรยาย) ความเจริญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ มีดังนี้

1.     เป็นสังคมเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกโบราณ

2. เป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบและทำท่อระบายน้ำทิ้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเจริญสูงสุดด้านสุขาภิบาลและด้านสาธารณสุข

3. รู้จักทอผ้าฝ้ายเพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม

4.     มีการทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้จากทองแดง ทองคำ เงิน สำริด หรือหินมีค่าโดยไม่พบวัตถุใดที่ทำด้วยเหล็ก ฯลฯ

94.   ผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีผิวพรรณเหมือนใครมากที่สุด

(1) แอนนา วินทัวร์  

(2)   วีเจย์ ซิงห์ 

(3) มาเรีย ซาราโปวา

(4)   โรเจอร์ เฟเดอเรอร์

ตอบ 2 หน้า 174183188 อารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุเป็บอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลกโดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ทั้งนี้ชนชาติที่เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุคือ พวกทราวิฑหรือดราวิเดียน (Dravidiansซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมของอินเดีย โดยพวกทราวิฑจะมีผิวดำ ตัวเล็ก และจมูกกว้าง หรือที่รู้จักกันในชื่อ“ทัสยุหรือมิลักขะ” ปัจจุบันอาศัยอยู่ทางตอบใต้ของอินเดียและเกาะศรีลังกา ซึ่งตัวอย่างของผู้ที่มีผิวพรรณเหมือนพวกทราวิฑ ได้แก่ วิเจย์ ซิงห์ เป็นต้น

95.   มรดกด้านอารยธรรมของลุ่มแม่นํ้าสินธุที่ตกทอดมายังอินเดียรุ่นหลังได้แก่เรื่องใด

(1) ตัวอักษร    

(2) ศาสนา       

(3) ระบบวรรณะ      

(4) การปกครอง

ตอบ 2 หน้า 183186 – 188 มรดกด้านอารยธรรมของลุ่มแม่นํ้าสินธุที่ตกทอดถึงอินเดียรุ่นหลังที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความเชื่อทางศาสนา เช่น การนับถือเจ้าแม่หรือมหามาตา การบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ การบูชาวัวตัวผู้ การบูชาต้นโพธิ์และต้นไทร เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าชาวฮินดูสมัยใหม่เป็นหนี้ชาวสินธุอยู่มาก

96.   ถ้าจัดนักรบซามูไรของญี่ปุนโบราณเข้ามาอยูใบระบบวรรณะของอินเดียโบราณ ควรจัดไว้ในวรรณะใด

(1) พราหมณ์   

(2) กษัตริย์      

(3) แพศย์

(4) ศูทร

ตอบ 2 หน้า 195 – 196 ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.     วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.     วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบและตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สีแดง

3.     วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.     วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นตํ่าสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกรและข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

97.   การจัดคนเข้าอยู่ในหลักอาศรม 4 ของอินเดียโบราณเพื่อวัตถุประสงค์ใด

(1) กำหนดหน้าที่     

(2) กำหนดอาชีพ     

(3) กำหนดภูมิลำเนา

(4) กำหนดศาสนา

ตอบ 1 หน้า 199 หลักอาศรม 4 ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แบ่งชีวิตคนออกเป็น 4 วัยเพื่อให้คนในแต่ละอาศรมทำหน้าที่ให้เหมาะกับวัย ดังนี้

1.     พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา

2.     คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์(อายุ 26-50 ปี)เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงานมีครอบครัว (ปัจจุบันไทเกอร์วูดส์อดีตนักกอล์ฟมือหนี่งของโลกมีอายุ 37 ปีดังนั้นจึงจัดอยู่ในกลุ่มนี้)

3.     วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.     สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติโดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

98.   ถ้าจัดไทเกอร์ วูดส์ อดีตนักกอถ์ฟมือหนึ่งของโลกเข้าอยู่ในหลักอาศรม 4 ควรจัดไว้ไนอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม

(2)   คฤหัสถาศรม    

(3)   วานปรัสถาศรม

(4)   สันยัสตาศรม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 97.  ประกอบ

99.   ภาษาใดของอินเดียในปัจจุบันที่มีผู้พูดได้มากที่สุด

(1) อูรดู   

(2)   ฮินดี

(3)   เบงกาลี    

(4)   บาลี

ตอบ 2 หน้า 175 – 176(คำบรรยาย) อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านภาษาโดยมีภาษาพูดกว่า 200 ภาษา และหากนับรวมภาษาถิ่นด้วยจะมีราว 800 ภาษา ทั้งนี้ภาษาต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในอินเดียปัจจุบันจะเป็นภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต เช่น ภาษาฮินดี อูรดู เบงกาลี คุชราตี ฯลฯ โดยภาษาที่คนอินเดียพูดและใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือภาษาฮินดี รองลงมาได้แก่ภาษาอรดู และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาราชการทีใช้สอนในมหาวิทยาลัย

100. ศาสนาสิกข์เกิดจากการนำเอาหลักคำสอนของศาสนาคู่ใดมาผสมผสานกัน

(1)   ฮินดู/พุทธ

(2)   ฮินดู/อิสลาม     

(3)   เชน/พุทธ 

(4)   คู่อื่น

ตอบ 2 หน้า 222 ศาสนาสิกข์ เป็นศาสนาใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์มุสลิมเติร์ก โดยมีศาสดาองค์แรกคือ คุรุนานัก ซึ่งหลักการของศาสนาสิกข์คือ ต้องการผสมผสานคาสนาฮินดูกับศาสนาอิสลามเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความกลมเกลียวให้เกิดขึ้นในสังคม โดยคำสอนสำคัญจะเน้นเรื่องพระเจ้าองค์เดียว และปฏิเสธการถือชั้นวรรณะ

101. คำสอนเรื่องใดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธ

(1) ระบบวรรณะ

(2) พรหมลิขิต 

(3) กฎแห่งกรรม      

(4) แม่น้ำคงคาศักดิ์สิทธิ์ล้างบาปได้

ตอบ 3 หน้า 203 – 207 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาลำดับที่ 3 ที่เกิดขึ้นในอินเดีย โดยเป็นศาสนาที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะสอนด้วยหลักเหตุและผลที่สามารถทดสอบความจริงได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม นั่นคือ สิ่งที่ทำให้มนุษย์สุขหรือทุกข์หรือทำให้คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน เป็นผลมาจากการกระทำหรือความประพฤติของเราเอง ซึ่งเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่ใช่ผลของกรรมเก่า (ส่วนความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในเรื่องระบบวรรณะ พระเจ้าสร้างโลก พรหมลิขิต การฆ่าสัตว์บูชายัญ การสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า และการล้างบาปในแม่นำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ)

102. พุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่ออกบอกประเทศอินเดียครั้งแรกในสมัยใด

(1) พระเจ้าจันทรคุปต์      

(2) พระเจ้าพิมพิสาร

(3) พระเจ้ามิลินท์     

(4พระเจ้าอโศก

ตอบ 4 หน้า 214 – 217 พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญดังนี้     

1. ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราชา

2. ทรงเป็นนักปฏิบัติธรรม 

3. ทรงเปลี่ยนจากนโยบายการขยายอำนาจโดยการรุกรานมาเป็นนโยบายสันติภาพ โดยส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พุทธศาสนารวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก

4.     ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกของพุทธศาสนา จนทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคนี้ เช่น โปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทบพระธรรมคำสอน มีการสร้างสถูปเจดีย์และวิหารจำนวน 84,000 แห่ง เป็นต้น

103. พระธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอนของพุทธศาสนา เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในราชวงศ์ใด

(1) โมริยะ/เมารยะ   

(2) คุปตะ 

(3) อินโด-แบคเทรีย 

(4) โมกุล

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 102. ประกอบ

104. กวีเอกแห่งราชวงศ์คุปตะที่ได้รับสมญานามว่า “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” ได้แก่ผู้ใด

(1) พราหมณ์จารนักย์      

(2) พราหมณ์วิษณุศรมัน  

(3) กาลิทาส     

(4) พระนาคเสน

ตอบ 3 หน้า 219 – 221 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” เพราะมีความเจริญด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้

1.     ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต โดยกวีเอกในสมัยนี้ ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยมีผลงานเด่นที่รู้จักไปทั่วโลกคือบทละครเรื่องศกุนตลา

2.     มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยตักศิลา นาลันทา ฯลฯ

3.     อารยภัททะ นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของยุคนี้ได้ประดิษฐ์ตัวเลขอารบิกและระบบทศนิยมขึ้นเป็นคนแรกของโลก

4.     เกิดผลงานชิ้นเอกด้านจิตรกรรมหรือภาพเขียนสี นั่นคือ จิตรกรรมบนฝาผนังถํ้าอชันตาถํ้าที่ 1 โดยเฉพาะรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี เป็นต้น

105. จิตรกรรมฝาผนังที่ถํ้าอชันตา โดยเฉพาะรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี เป็นผลงานชิ้นเอกของอินเดียในราชวงศ์ใด

(1) โมริยะ/เมารยะ   

(2) คุปตะ 

(3) กุษาณ

(4) อินโด-แบคเทรีย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 104. ประกอบ

106. พระจักรพรรดิพระองค์ใดได้ชื่อว่าเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่จักรวรรดิโมกุล

(1) พระเจ้าบาบูร์     

(2) พระเจ้าชาห์เจฮาน      

(3) พระเจ้าโอรังเซ็บ

(4) พระเจ้าอักบาร์

ตอบ 4 หน้า 224 – 225(คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ในสมัยจักรวรรดิโมกุล โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดและมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญของพระองค์มีดังนี้ 

1. ทรงยกย่องและผูกมิตรกับพวกฮินดูมากกว่าสมัยอื่นๆ

2. ทรงมีขันติธรรมในศาสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศ เนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข    

3. ทรงยกเลิกการเก็บภาษีจิสยา (Jizya)

4.     ทรงลดภาษีให้พ่อค้าเพื่อสนับสนุนการค้า เป็นต้น

 107.       ท่านคิดว่าคุณธรรมข้อใดที่องค์ประมุขอินเดียควรนำมาใช้ในการปกครองเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง

(1) เมตตาธรรม

(2) ยุติธรรม     

(3) สามัคคีธรรม      

(4) ขันติธรรมในศาสนา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 106. ประกอบ

108. ท่านคิดว่าการแทรกแซงของอังกฤษในเรื่องใดที่เปีนสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

(1) ด้านการปกครอง

(2) ด้านการต่างประเทศ    

(3) ด้านเศรษฐกิจ     

(4) ด้านสังคม

ตอบ 4 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นชนวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857ซึ่งการแทรกแซงดังกล่าวมีดังนี้

1.     ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เรียกว่า “Doctrine of Lapse” ทำให้ประเพณีในการสืบราชสมบัติของเจ้าผู้ครองนครเปลี่ยนไป

2.     ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีโฉนดมาแสดงก็ให้ยึดเป็นของอังกฤษ

3.     ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตตี (Sutteeออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและประเพณี ฆ่าคนบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

4.     สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาวมาให้ทหารซีปอยใช้ โดยได้นำนํ้ามันหมูและไขวัวมาใช้เป็นนํ้ามันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอยทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน

109. ข้าหลวงใหญ่ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกบฏซีปอยได้แก่ผู้ใด

(1) Lord Bentinck   

(2) Lord Dalhousie

(3) Lord Curzon      

(4) Lord Walesley

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

110. เมืองกัวเป็นเมืองที่สะท้อนอิทธิพลของมหาอำนาจชาติใด

(1) โปรตุเกส   

(2) ดัตซ์  

(3) อังกฤษ      

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 (HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 129133) ใบสมัยราชวงศ์โมกุล โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามาค้าขายในอินเดียแถบขายฝั่งทะเลตะวันตกนับจกบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ศาลนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทั้งนี้ศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสจะอยู่ที่เมืองกัว (Goaโดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองกัวและนับถือศาสนาคริสต์จะถูกเรียกว่า “ชาวกวน”

111. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของเนาโรชิ

(1) เป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิชาตินิยม

(2) เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์

(3)   เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมผู้รับใช้แห่งอินเดีย 

(4) เป็นคนแรกที่สอบเข้าทำงานใน I.C.Sได้

ตอบ 1 หน้า 238(คำบรรยาย) เนาโรชิ (Naorojiเป็นบุคคลแรกที่เรืยกร้องสิทธิ์ให้ชาวอินเดียโดยชี้ให้เห็นว่าอังกฤษเอารัดเอาเปรียบอินเดีย อังกฤษควรเลิกตักตวงผลประโยชน์จากอินเดีย อังกฤษควรรับคนอินเดียเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐให้มากขึ้น รวมทั้งเรียกร้องให้ชาวอินเดียมีบทบาทในเรื่องกฎหมายและภาษีให้มากกว่านี้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาได้รับสมญานามว่าเป็น “มหาบุรุษผู้อาวุโสของอินเดีย” (The Grand Old Man of Indiaและเป็น “บิดาแห่งนักชาตินิยมอินเดีย” เนื่องจากเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิชาตินิยมในอินเดีย

112. MorleyMinto Reforms of 1909 มีความสำคัญที่สุดต่อชาวอินเดียในเรื่องใด

(1)   อังกฤษให้ผู้พิพากษาชาวพื้นเมืองมีสิทธ์พิพากษาคดีที่คู่ความเป็นชาวยุโรปในตำบลได้

(2)   ชาวอินเดียมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในหน่วยงานของรัฐ

(3)   อังกฤษให้สิทธิ์หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้

(4)   อังกฤษให้สิทธิ์ชาวอินเดียมีผู้แทนอย่างน้อย 1 คนในสภาทั้งระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง

ตอบ 4 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์-มินโต (MorleyMinto Reformsซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้สิทธิ์ชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอินเดียที่กรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่น คือ สภาบรหารประจำแคว้นแต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นการปูพี้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

113. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของ “อินเดียของอังกฤษ” (The British India)

(1)   รัฐที่อังกฤษปกครองโดยตรง

(2)   รัฐที่อังกฤษปกครองโดยอ้อม

(3)   รัฐใหญ่ที่มีความสำคัญด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

(4)   รัฐส่วนใหญ่ของอินเดีย มีเนื้อที่ประมาณ 2/3 ของประเทศ

ตอบ 2 หน้า 234 – 235(คำบรรยาย) หลังจากที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียในปี ค.ศ. 1858 แล้วอังกฤษได้ดำเนินการปกครองอินเดียทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้

1.     ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยตรง เรียกว่า “อินเดียของอังกฤษ” (British Indiaมีเนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศ ส่วนมากเป็นรัฐหรือมณฑลที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลรวม 11 รัฐ และเป็นรัฐใหญ่ที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

2.     ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยอ้อม เรียกว่า “รัฐอิสระ” (Indian Statesมีเกือบ 600 รัฐครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ มีการปกครองที่ขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครรัฐหรือสุลต่าน โดยอังกฤษจะคุมเฉพาะด้านต่างประเทศ การทหาร และการคลัง

114. นักชาตินิยมคนใดที่ชาวอินเดียไม่ว่านับถือศาสนาใดไว้วางใจมากที่สุด

(1) เนห์รู 

(2) มหาตมะ คานธี   

(3) เนาโรชิ      

(4) โกขะเล

ตอบ 2 หน้า 241(คำบรรยาย) มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhiเป็นนักต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดองอินเดียที่สามารถดึงมวลชนทั่วประเทศเข้ามาร่วมในขบวนการชาตินิยมได้สำเร็จ โดยคานธีถือว่าเป็นรัฐบุรุษที่มีความสามารถเป็นเยี่ยมไนการรวมผู้นำฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งผู้นำหัวสมัยใหม่ ผู้นำที่ยึดนโยบายสายกลาง ผู้นำที่เป็นพวกอนุรักษนิยม และผู้นำชาวมุสลิม จนทำให้ท่านได้รับการยกย่องจากชาวอินเดียว่าเป็น “บาบูจี” หรือผู้เป็นที่เคารพรัก

115. ข้อใดเป็นหัวใจของการต่อสู้ของขบวนการสัตยาเคราะห์

(1)   การต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(2)   การต่อสู้โดยใช้พลังธรรมะ ถ้าไม่สำเร็จจึงค่อยใช้กำลัง

(3)   การดื้อแพ่งโดยไม่ให้ความร่วมมือทุกรูปแบบ

(4)   การต่อสู้โดยไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง

 ตอบ 4 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี เป็นนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ที่เรียกว่า “การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่

1. สัตยะ คือ ความจริง      

2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง 

3. การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟังและไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง เช่น การประท้วงด้วยการอดอาหารการเดินขบวนประท้วง ฯลฯ

116. ใครคือบิดาแห่งประเทศปากีสถาน

(1) เนห์รู 

(2) มหาตมะ คานธี   

(3) อาลี จินนาห์

(4) โกขะเล

ตอบ 3 หน้า 241, 244 – 245(คำบรรยาย) มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Muhammad Ali Jinnah)ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิม เป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดียควบคู่ไปกับการต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิม โดยการประชุมสันนิบาตมุสลิมทีละโฮร์ในปี ค.ศ. 1940 จินนาห์ได้เสนอข้อมติเพื่อขอแยกมุสลิมออกจากฮินดูมาตั้งประเทศปากีสถาน จนกระทั่งเมื่ออินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 อินเดียได้แยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดียและปากีสถาน ทำให้จินนาห์ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งประเทศปากีสถาน”

117. พ.ร.บ. ฉบับใดที่ชาวอินเดียถือว่าลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียที่สุด

(1) Arms Act   

(2) Universitees Act

(3) Rowlatt Act        

(4) MontaguChelmford Reforms

ตอบ 3 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า “กฎหมายโรว์แลตต์” (Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลมีอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดร้ายต่อรัฐบาลได้ทันที โดยไม่มีการสอบสวนหรือขึ้นศาล ซึ่งนักชาตินิยมมองว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นสาเหตุให้คานธี ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการประท้วงอังกฤษเสียเอง

118. ตามคติความเชื่อในระบบวรรณะของอินเดียโบราณ สีเหลืองเป็นสีประจำวรรณะใด

(1) พราหมณ์   

(2)   กษัตริย์    

(3)   แพศย์      

(4)   ศูทร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

119. ท่านคิดว่าด้วยลักษณะภูมิศาสตร์แบบใดที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับอารยธรรมจากอินเดีย

(1) ที่ตั้ง   

(2) รูปร่าง

(3)   ขนาด       

(4)   ภูมิประเทศ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

120. สาธุ! พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถ้าลูกช้างสอบได้จะบูมรามคำแหงถวาย 10 จบ… ถามว่าการกระทำดังกล่าวแสดงถึงอิทธิพลของศาสนาใดมากที่สุด

(1) พุทธ  

(2)   เชน 

(3)   ฮินดู

(4)   อิสลาม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ

HIS1002 อารยธรรมตะวันออก การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         มนุษย์สมัยโบราณเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้าตั้งมั่นใกล้แหล่งนํ้าเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสำคัญ

(1) การคมนาคม        

(2) การปกครอง         

(3) การเกษตรกรรม    

(4) การค้าขาย

ตอบ 3 หน้า 5-6, (คำบรรยาย) ความเจริญของมนุษย์สมัยโบราณเริ่มมีขึ้นในยุคหิน โดยในยุคหินเก่านั้น มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในถํ้า และเริ่มรู้จักการใช้ไฟปรุงอาหารให้สุก ให้ความอบอุ่น และให้แสงสว่าง ต่อมาในยุคหินใหม่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แทนการเร่ร่อน และล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้าย ที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่นั้าใหญ่เพื่อมุ่งที่จะใช้นํ้าในการทำเกษตรกรรม และดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้น อย่างจริงจัง

2.         มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด

(1) ยุคหินเก่า 

(2) ยุคหินใหม่

(3) ยุคทองแดง           

(4) ยุคสำริด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด

(1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย  

(2) อารยธรรมอียิปต์โบราณ

(3) อารยธรรมอินเดียโบราณ  

(4) อารยธรรมกรีกโบราณ

ตอบ 1 หน้า 2181 (เล่มเก่า) อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดบนดินแดนระหว่างแม่นํ้าไทกริส และยูเฟรตีส หรือที่เรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” ซึ่งหมายถึง ดินแดนระหว่างแม่นํ้าสองสาย นอกจากนี้เราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว”(Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก

4.         “ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด

(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   

(2) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้     

(4) ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้

ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East or Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ในปัจจุบันคือพื้นที่นับจากอัฟกานิสถานไปทางตะวันตกถึงชายฝั่งตะวันออกของ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คาบสมุทรอนาโตเลีย คาบสมุทรอาระเบีย และอียิปต์ โดยตะวันออกกลาง เป็นแหล่งกำเนิดของ 2 อารยธรรมเริ่มแรกของโลกคือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย และอารยธรรม อียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของ 3 ศาสนาหลักของโลกคือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

5.         อักษรภาพของอารยธรรมอียิปต์โบราณมีชื่อเรียกว่าอะไร

(1) เดโมติก    

(2) ไฮราติก     

(3) ไฮโรกลิฟิก

(4) เดโมกลิฟิก

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 ชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์ “ตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphics) ขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.C. ซึ่งแต่เดิมนั้นตัวอักษรนี้มีประมาณ 700 ตัว ต่อมาพระและอาลักษณ์ ได้ปรับปรุงตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิกเพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น และให้มีจำนวนน้อยลงด้วยการประดิษฐ์ ตัวอักษรไฮราติก (Hieratic) ขึ้นในปี 1100 B.C. และพัฒนามาเป็นตัวอักษรเดโมติก (Demotic) ซึ่งมีจำนวนตัวอักษรเพียง 24 ตัว ในปี 700 B.C.

6.         จงยึดมั่นในพระเจ้าอะตันเพียงองค์เดียว เป็นหลักปรัชญาศาสนาของใคร

(1) โมเสส       

(2) อะเมนโฮเต็ปที่ 4

(3) กษัตริย์ซาร์กอนแห่งอัคคัด

(4) ศาสดาโซโรแอสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 17 ฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 หรืออัคนาตัน ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิรูปศาสนาคนแรกของอียิปต์โบราณและคนแรกของโลก ซึ่งหลักปรัขญาของการปฏิรูปศาสนาของพระองค์คือ จงยึดมั่นในเทพเจ้าอะตัน (Aton) หรือสุริยเทพเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว

7.         ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด

(1) สมัยจักรวรรดิ       

(2) สมัยอาณาจักรใหม่          

(3) สมัยราชวงศ์         

(4) สมัยอาณาจักรกลาง

ตอบ 3 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณจัดตั้งชาติ และรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตรีย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็นชาวอียิปต์โบราณ มีทั้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ” ซึ่งสมัยราชวงศ์ แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่า สมัยอาณาจักรกลาง และ สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

8.         พีระมิดคือสุสานหินยอดแหลม เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย ถามว่าพีระมิดเริ่มสร้างเมื่อไร

(1) สมัยก่อนราชวงศ์  

(2) สมัยจักรวรรดิ       

(3) สมัยราชวงศ์         

(4) สมัยอาณาจักรเก่า

ตอบ 4 หน้า 9 – 1018 – 1968 – 69 (เล่มเก่า) ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 ในสมัยอาณาจักรเก่า ของอียิปต์โบราณ เป็นยุคที่มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมสูงมาก โดยมีการสร้างพีระมิด ซึ่งเป็นสุสานหินยอดแหลมเพื่อเก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้พบว่า มีการสร้างพีระมิดมากถึง 20 องศ์ จนเป็นผลให้สมัยอาณาจักรเก่าถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สมัยพีระมิด” (The Pyramid Age)

9. ใครคือฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องศ์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ

(1) เมนตูโฮเต็ปที่ 1    

(2) รามเซสที่ 2           

(3) เซติที่ 4     

(4) ทัสโมสที่ 3

ตอบ 2 หน้า 13 รามเซสที่ 2 เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 19 แห่งสมัยอาณาจักรใหม่ โดยทรงเก่งในการรบ มีชัยชนะเหนือฮิตไตท์ และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องศ์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ” (The Last of the Great Pharaoh) ซึ่งผลงานชิ้นสุดท้ายของพระองค์คือ ปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส โดยโมเสสเป็นผู้นำฮิบรูมุ่งเดินทางกลับปาเลสไตน์

10.       มรดกความเจริญที่อะมอไรท์ให้แก่โลกคือด้านใด

(1) การปกครอง         

(2) ศาสนา      

(3) สถาปัตยกรรม      

(4) ภาษา

ตอบ 1 หน้า 25 – 26 อะมอไรท์หรือบาบิโลเนียนเป็นกลุ่มชนที่รับ สืบทอด และส่งต่ออารยธรรมสุเมเรียน-อัคคาเดียนในทุกด้าน โดยมรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่อะมอไรท์ให้ไว้ แก่โลกคือ ด้านการปกครอง ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด และมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์ม เป็นฉบับแรกของโลก

11.       สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลนเป็นผลงานสถาปัตยกรรมเด่นของกลุ่มชนใด

(1) แคลเดียน 

(2) อัสซีเรียน  

(3) แคสไซท์    

(4) อราเมียน

ตอบ 1 หน้า 3293 (เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก ได้แก่

1.         ด้านสถาปัตยกรรม ที่เด่น ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

2.         ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

12.       เอกสารใดที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้รู้เรื่องราวของฮิบรูสมัยโบราณ

(1) คัมภีร์เก่า  

(2) คัมภีร์ใหม่ 

(3) บัญญัติสิบประการ          

(4) คัมภีร์อะเวสต้า

ตอบ 1 หน้า 4045100 (เล่มเก่า) วรรณกรรมที่สำคัญของฮิบรูหรือยิวคือ พระคัมภีร์เก่าหรือคัมภีร์ฮิบรู (The Old Testament or The Hebrew Bibleซึ่งเรื่องราวที่ถูกบันทึกลงในคัมภีร์เก่าได้ทำให้ นักประวัติศาสตร์รู้ว่าชาวฮิบรูโบราณเป็นชนเผ่าเซมิติกที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของ เมโสโปเตเมีย โดยประชาชนส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเร่ร่อนเพื่อหาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

13.       ขณะจัดตั้งศาสนายูดาห์ ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มชนใด

(1) กรีก          

(2) โรมัน         

(3) ออตโตมาน เติร์ก  

(4) เปอร์เซียโบราณ

ตอบ 4 หน้า 4245 ศาสนายูดาห์เป็นศาสนาแรกของสังคมฮิบรูที่เกิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลาง และเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก โดยถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 6 B.Cขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซียโบราณ ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้ก็คือ ยึดมั่นในยะโฮวาเจ้า เพียงองค์เดียว ทำแต่ความดี ละเว้นการทำความชั่ว และเชื่อว่าวันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

14.       การสาบสูญของชนสิบเผ่าฮิบรู เป็นการกระทำของกลุ่มชนใด

(1) อัสซีเรียน  

(2) ฮิตไตท์      

(3) แคสไซท์    

(4) โรมัน

ตอบ 1 หน้า 42 – 43 อาณาจักรอิสราเอล เป็นอาณาจักรฮิบรูโบราณที่ยู่ทางตอนเหนือของปาเลสไตน์ โดยมีกรุงซามาเรียเป็นเมืองหลวง ประชาชนคือฮิบรู 10 ตระกูล (เผ่า) ที่สืบเชื้อสายมาจากจาคอบ ต่อมาในปี 721 B.Cกองกำลังทหารอัสซีเรียนภายใต้การนำของซาร์กอนที่ 2 ได้บุกยึดอาณาจักรนี้สำเร็จ และได้กวาดต้อนฮิบรู 10 ตระกูลไปเป็นทาสเชลยที่เมโสโปเตเมีย นับตั้งแต่นั้นฮิบรู 10 ตระกูล ก็หายสาบสูญไปจากประวัติศาสตร์โลก เหตุการณ์ในครั้งนี้รู้จักกันในนาม “การสาบสูญของชน 10 ตระกูล” (The Ten Lost Tribes)

15.       สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด

(1) ไฮโรกลิฟิก

(2) คูนิฟอร์ม   

(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 23(คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiformซึ่งเป็นศิลปะการเขียนของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดย อักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวสุเมเรียน จะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง เพื่อเก็บรักษา ข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง

16.       กลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง คือกลุ่มชนใด

(1) ดราวิเดียน

(2) ฟินิเชียน   

(3) อียิปต์โบราณ       

(4) ฮิบรู

ตอบ 3 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายไปดวงวิญญาณจะคงอยู่ และจะเกิดใหม่ ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือ คัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดเพื่อใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์

17.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฟินิเชียน ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร

(1) ซีเรีย         

(2) เลบานอน 

(3) จอร์แดน    

(4) อิสราเอล

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 อารยธรรมฟินิเชียนมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนฟินิเชียบนชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินิเชียนได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐาน อารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตก ได้เป็นอย่างดีควบคู่ไปกับการค้าขายทางเรือ

18.       กลุ่มชนใดวางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(1) ฮิบรู          

(2) ฟินิเชียน   

(3) อราเมียน  

(4) สุเมเรียน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19.       ใครคือผู้นำในการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(1) ไซรัสที่ 2   

(2) ดาริอุสที่ 1

(3) นาโบนิคัสที่ 3       

(4) โครอีซุสที่ 4

ตอบ 1 หน้า 51 ไซรัสที่ 2 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ของเปอร์เซีย ซึ่งทรงเก่งในการรบและการขยายดินแดน โดยในปี 550 B.Cเมื่อไซรัสที่ 2 มีชัยชนะเหนือเมดีสแล้ว พระองค์ได้รวมมีเดียเข้ากับเปอร์เซีย และเรียกดินแดนนี้ว่า “เปอร์เซีย” จากนั้นทรงนำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณขึ้น โดยกำหนดให้ซูซาเป็นเมืองหลวง

20.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1) อราเมียน  

(2) เซลจุก เติร์ก         

(3) ออตโตมาน เติร์ก  

(4) ฟินิเชียน

ตอบ 1 หน้า 46 – 47 อารยธรรมอราเมียนมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนซีเรียบนชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศซีเรียในปัจจุบัน) ทั้งนี้อราเมียนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดน ลุ่มแม่น้ำไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิก เพื่อประโยชน์ในการค้าขายทางบก

21.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1) พินิเชียน   

(2) ออตโตมาน เติร์ก  

(3) อราเมียน  

(4) ฮิตไตท์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

22.       ศูนย์กลางของจักรวรรดิลิเดียนคือดินแดนใด

(1) เอเชียไมเนอร์        

(2) เมโสโปเตเมีย       

(3) ปาเลสไตน์

(4) คาบสมุทรอาระเบีย

ตอบ 1 หน้า 47 – 48 ในปี 680 B.Cชาวลิเดียนได้ร่วมกันจัดตั้งอาณาจักรลิเดียนขึ้นที่บริเวณ ดินแดนลิเดียในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ซึ่งลิเดียนจะเก่งในการรบและการค้าขาย จึงทำให้พื้นที่ของอาณาจักรขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิลิเดียนโดยมีกรุงซาร์ดีสเป็นเมืองศูนย์กลาง ทั้งการปกครองและการค้าขาย ซึ่งมรดกความเจริญที่ลิเดียนให้ไว้แก่โลกก็คือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำ การผลิตเงินเหรียญทองคำเพื่อนำมาใช้เป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน และจากความมั่งคั่ง ทางการค้าเป็นผลให้ลิเดียนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ”

23.       กษัตริย์เปอร์เซียโบราณรับเอารูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจากกลุ่มชนใด

(1) อิยิปต์โบราณ       

(2) อัสซีเรียน  

(3) ฮิบรู          

(4) โรมัน

ตอบ 2 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจากอัสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius Iซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ โดยหลักในการปกครองจักรวรรดิซองดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่งก็คือ เน้นกระจายการปกครอง จากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2 วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค และการปกครองระบบเขต (The Satrapy Systemที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและพื้นที่ ด้วยการปฏิบัติจริง

24.       ถนนสายยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเชื่อมดินแดนเปอร์เซียกับดินแดนใด

(1) ปาเลสไตน์

(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย

(3) คาบสมุทรบอลข่าน          

(4) เมโสโปเตเมีย

ตอบ 2 หน้า 5257 ในสมัยดาริอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ ทรงให้มีการสร้างถนนหลวง (The Royal Road or The Royal Post Road or The Kings Highwayหรือถนนสายยุทธศาสตร์ ที่เชื่อมจากเมืองหลวงซูซาในจักรวรรดิเปอร์เซียไปสู่เอเชียไมเนอร์บนคาบสมุทรอนาโตเลีย โดยมีปลายทางสิ้นสุดที่อีเพซุสซึ่งเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งถนนหลวงสายนี้จะใช้ประโยชน์ เพื่อการคมนาคม การค้าขาย การเคลื่อนกองกำลังทหาร และการสื่อสารส่งข่าวในทุกพื้นที่ของจักรวรรดิ

25.       หลักของศาสนาโซโรแอสเตอร์กำหนดไว้อย่างไร

(1) วิญญาณเป็นอมตะ          

(2) วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

(3) รักและเมตตาเพื่อนมนุษย์

(4) ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว

ตอบ 2 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheisticนั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดา เพียงองค์เดียว           

2. คิด พูด และทำความดี

3. ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว     

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

26.       ข้อใดถูก

(1)       ศาสนาโซโรแอสเตอร์คือศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(2)       อะมอไรท์นำการสร้างจักรวรรดิแรกของโลก

(3)       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิตไตท์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเลบานอน

(4)       อับราฮัมคือผู้นำฮิบรูอพยพจากดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์มุ่งกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27.       ยุคทองของอารยธรรมอิสลามอยู่ในช่วงเวลาใด

(1) ราชวงศ์อุมัยยัด    

(2) ออตโตมาน เติร์ก

(3) ราชวงศ์อับบาสิต  

(4) กาหลิบสี่องศ์

ตอบ 3 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอาระเบีย (ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในช่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกาหลิบฮารัน เอล-ราชิด นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง

28.       ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม

(1) อาบู บากร์

(2) โอธมาน    

(3) อาลี          

(4) มูวียะ

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์ โดยมีเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบ ทั้ง 4 องค์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ได้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองค์แรกของ จักรวรรดิมุสลิม) โอมาร์ โอธมาน และอาลี

29.       ออตโตมาน เติร์ก คือใคร

(1)       เติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

(2)       เติร์กผู้นำกองกำลังมุสลิมในสงครามครูเสด

(3)       เติร์กผู้ขับไล่ไบแซนไทน์ออกจากคาบสมุทรอนาโตเลีย

(4)       เติร์กผู้นำการบริหารจักรวรรดิมุสลิมในสมัยราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 1 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเชียไมเนอร์ในช่วง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad IIได้นำกองกำลังมุสลิม ยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครอง พี้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำการปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออก และโลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

30.       ทำไมมุสลิมไม่พอใจในคำประกาศบัลฟอร์ปี 1917

(1)       ยิวประกาศจัดตั้งประเทศอิสราเอล

(2)       อังกฤษสนับสนุนการจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนอาหรับ

(3)       ออตโตมาน เติร์ก ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง

(4)       สหรัฐอเมริกาประกาศให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่อิสราเอล

ตอบ2 หน้า 140 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 กลุ่มยังเติร์กได้นำกองกำลังจักรวรรดิออตโตมานเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะหรือฝ่ายมหาอำนาจกลาง แต่ชาวอาหรับหรือชาวมุสลิม ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมานในปาเลสไตน์ได้ร่วมมือกับอังกฤษซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากอังกฤษสัญญาว่าจะสนับสนุนชาวอาหรับให้หลุดพ้นจากอำนาจของออตโตมาน และก่อตั้งชาติอาหรับเมื่อสิ้นสุดสงคราม ต่อมาในปี ค.ศ. 1917 อังกฤษก็ได้ออกคำประกาศบัลฟอร์ (The Balfour Declarationเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนอาหรับ (ปาเลสไตน์)ซึ่งคำประกาศนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก

31.       ประเทศใดในอดีตได้รับการขนานนามว่าเป็น “ยักษใหญ่แห่งเอเชีย”

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น        

(3) เกาหลีเหนือ          

(4) เกาหลีใต้

ตอบ 1 หน้า 97 นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา จีนถือเป็นประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาค เอเชียตะวันออก ทั้งทางด้านการทหาร เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย อาทิเช่น ลัทธิขงจื๊อ เรื่องราวของจิ๋นซี ฮ่องเต้ เมาเซตุง อาหารจีน ประเพณีการไหว้เจ้า ฯลฯ ซึ่งจากความยิ่งใหญ่ดังกล่าวทำให้มีผู้ขนานนามจีนว่าเป็น “ยักษใหญ่แห่งเอเชีย” หรือ “พญามังกร”

32.       แม่นํ้าใดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

(1) แม่นํ้าเจ้าพระยา   

(2) แม่นํ้าโขง  

(3) แม่นํ้ายูเฟรติส       

(4) แม่นํ้าเหลือง

ตอบ 4 หน้า 97146 (เล่มเก่า) แม่นํ้าฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองที่ไหลผ่านจีนถือว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญ สายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นแม่นํ้าที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่น้ำที่สร้างความ อุดมสมบูรณ์ให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่นํ้าไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีน

33.       จีนประดิษฐ์ปฏิทินขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในสมัยใด

(1) จักรพรรดิหยู่         

(2) จักรพรรดิเหยา      

(3) จักรพรรดิจิ๋น         

(4) จักรพรรดิถังเกาจง

ตอบ 2 หน้า 98 – 100 จักรพรรดิเหยาและจักรพรรดิชุน เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 และ 5 ในรัชสมัยของ กษัตริย์ฮวงตี่ของจีน ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมและมีแนวคิดประชาธิปไตย จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “กษัตริย์นักประชาธิปไตย” โดยความเจริญที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่ มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน และมีฐานะเป็นเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีการจัดระบอบการปกครองที่เข้มแข็ง และรู้จักประดิษฐ์ปฏิทินขึ้นใช้เป็นครั้งแรก

34.       ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลี เป็นความเจริญในสมัยใดของจีน

(1) ยุคหินเก่า 

(2) ยุคหินกลาง          

(3) ยุคหินใหม่

(4) ยุคสำริด

ตอบ 3 หน้า 99150 (เล่มเก่า) จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบบริเวณตอนกลางของจีนแถบลุ่มแม่นํ้าเหลือง ทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่เชื่อว่า ความเจริญของจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ น่าจะเกิดขึ้นในยุคหินใหม่หรือเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งหลักฐานสำคัญที่แสดง ให้เห็นถึงความเจริญเริ่มแรกซองจีน ได้แก่ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน

35.       ชาวจีนโบราณนิยมนำกระดูกจากสัตว์ชนิดใดมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายโชคชะตา

(1) กระดองเต่า          

(2) กระดูกวัว  

(3) กระดูกเสือ

(4) กระดูกแรด

ตอบ 1 หน้า 100 ชาวจีนโบราณมีความเชื่อในเรื่องการทำนายโชคชะตา โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลชั้นสูง ที่นิยมการทำนายโชคชะตาด้วยกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่หรือกระดองเต่า ซึ่งวิธีการก็คือ บันทึก ข้อความที่ต้องการลงบนวัตถุดังกล่าวแล้วนำไปเผาไฟ โดยความร้อนจะทำให้เกิดรอยแตก ถ้าปลายรอยแตกชี้ไปที่ข้อความใด ข้อความนั้นก็คือคำทำนาย

36.       ราชวงศ์ใดเป็นผู้นำเรื่อง “อาณัติแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก

(1) ราชวงศ์เฉีย          

(2) ราชวงศ์โจว           

(3) ราชวงศ์ถัง

(4) ราชวงศ์ฮั่น

ตอบ 2 หน้า 102 ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ผู้ปกครองจีนได้นำแนวคิดทางการเมืองที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเรียกว่า “ทฤษฏีแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก โดยกษัตริย์โจวจะถือว่า ตนเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องศ์จักรพรรดิที่สวรรค์ส่งลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลกเรียกว่า “อาณัติแห่งสวรรค์”

37.       “บันทึกความทรงจำของสานุศิษย์ 4 เล่ม” เชื่อว่าเป็นคำสั่งสอนในลัทธิใดของจีน

(1) เต๋า

(2) ขงจื๊อ        

(3) ขงจื๊อใหม่  

(4) นิติธรรมนิยม

ตอบ 2 หน้า 105 – 106160 (เล่มเก่า) ขงจื๊อ เป็นนักปรัชญาคนสำคัญซองจีนในยุคโจวตะวันออก ซึ่งหสักคำสอนของขงจื๊อจะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมในโลกนี้มากกว่าชีวิต ในโลกหน้า รวมทั้งเน้นให้มนุษย์รู้จักหน้าที่และฐานะของตนเองในสังคม ทั้งนี้คัมภีร์สำคัญที่ ได้รวบรวมคำสอนของลัทธิขงจื๊อเอาไว้มี 2 ชุด ได้แก่ ตำรามีค่า 5 เล่มของขงจื๊อ และบันทึก ความทรงจำของสานุศิษย์ 4 เล่ม

38.       ราชวงศ์ใดที่บังคับให้ชาวจีนโกนผมส่วนหน้าและไว้ผมเปียตามความนิยมของชนเผ่าตน

(1) ราชวงศ์จีน

(2) ราชวงศ์ถัง

(3) ราชวงศ์หยวน       

(4) ราชวงศ์ชิง

ตอบ 4 หน้า 111-112 ในสมัยที่ราชวงศ์ชิงหรือราชวงศ์แมนจูปกครองจีนได้มีการนำกฎเกณฑ์ ทางสังคมเข้ามาใช้ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันความปลอดภัยและต้องการรักษาเอกลักษณ์ ของชาวแมนจู ที่สำคัญ ได้แก่   

1. บังคับให้ใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาของทางราชการ

2. บังคับให้ชาวจีนแต่งกายแบบชาวแมนจู    

3. ห้ามชาวจีนแต่งงานกับชาวแมนจู

4. บังคับให้ชาวจีนโกนผมส่วนหน้าประมาณครึ่งศีรษะและไว้ผมเปีย

5. ห้ามชาวแมนจูค้าขาย

6. ชาวจีนจะเข้ารับราชการต้องผ่านการสอบไล่ ส่วนชาวแมนจูได้รับสิทธิพิเศษโดยไม่ต้องสอบ

39.       เมื่อเดินทางมาค้าขายกับจีน พ่อค้าชาวอังกฤษได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีการค้าที่เมืองท่าใด

(1) มาเก๊า       

(2) ฮ่องกง      

(3) แคนตอน   

(4) เอหมึง

ตอบ 3 หน้า 112(คำบรรยาย) ในสมัยล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ประเทศจีน (ปลายสมัยราชวงศ์หมิง ถึงต้นราชวงศ์แมนจู) ในขณะนั้นได้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายขึ้นโดยทั่วไป เมื่อดัตช์และโปรตุเกส เข้ามาช่วยจีนปราบกบฏและพวกโจรสลัด ทำให้ราชสำนักจีนตอบแทนทั้ง 2 ชาติด้วยการอนุญาต ให้เข้ามาตั้งสถานีการค้าได้ โดยให้โปรตุเกสมาตั้งที่มาเก๊า ส่วนดัตช์ให้มาตั้งที่เอหมึง ต่อมา อังกฤษได้เดินทางเข้ามายังจีนเพื่อเรียกร้องให้จีนเปิดประเทศ แม้จีนจะปฏิเสธ แต่ก็อนุญาตให้ พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาตั้งสถานีการค้าได้ที่เมืองแคนตอน

40.       สงครามใดที่ทำให้จีนต้องตกเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตก

(1) สงครามเทียนสิน  

(2) สงครามเรือแอร์โรว์           

(3) สงครามฝิ่น           

(4) กบฏนักมวย

ตอบ 3 หน้า 112 – 113216 – 217 (เล่มเก่า) สงครามฝิ่น เป็นสงครามระหว่างจีนกันอังกฤษ ที่งหลังจาก ที่จีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในปี ค.ค. 1842 ทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคฉบับแรก กับอังกฤษ เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nankingซึ่งผลก็คือ จีนต้องยกเกาะฮ่องกง ให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่าอีก 5แห่ง ได้แก่ แคนตอน เอหมึงฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ให้เป็น เขตสัมปทานอยู่ในความดูแลของอังกฤษ อีกทั้งต้องสูญเสียสิทธิใบการปกครองหรืออำนาจอธิปไตย จนตกเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตก ต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตหรือ สิทธิทางการศาล ต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่จีนทำลายไป ต้องสูญเสียสิทธิในการกำหนดอัตราภาษี และต้องยอมรับเงื่อนไขของความเป็นมิตรที่ดีของต่างชาติ

41.       ตราบเท่าที่แผ่นดินจีนมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว จีนก็ต้องมีจักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในสมัยใด        

(1) ราชวงค์โจว

(2) สมัยจักรพรรดิ 5 พระองค์ 

(3) สมัยสามก๊ก          

(4) ราชวงค์จิ๋น

ตอหน้า 109 ในสมัยราชวงศ์จิ๋นจะถือว่าองค์จักรพรรดิเป็นประมุขสูงสุดในการปกครอง ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวความคิดของจิ๋นซี ฮ่องเต้ ที่ว่า “ตราบเท่าที่แผ่นดินจีนมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว จีนก็ต้องมีจักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว ”

42. “ระบบนาบ่อ ระบบนาเฉลี่ย ระบบ 3 หัวหน้า” เน้นในการแก้ปัญหาทางด้านใด

(1) เพื่อจัดหาอาชีพให้ชาวจีน 

(2) เพื่อปฏิรูปการจัดเก็บภาษี

(3) เพื่อการปฏิรูประบบชลประทาน   

(4) เพื่อป้องกันการบุกรุกป่าสงวน

ตอบ 2 หน้า109-111 วิธีการที่รัฐบาลจีนนำมาใช้เพื่อปฏิรูปการจัดเก็บภาษีในอดีตมีดังนี้

1.ระบบนาบ่อในสมัยราชวงศ์โจว       

2. ระบบนาเฉลี่ยและระบบ 3 หัวหน้าในสมัยราชวงศ์ถัง

3. ระบบภาษีคู่และระบบเก็บรวบยอดในสมัยราชวงศ์หมิง

43. นายซุนยัดเซ็น มีผลงาน

(1) การทหาร  

(2) การแพทย์ 

(3) การเมือง   

(4) การศึกษา

ตอบ 3 หน้า 113219 – 220 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ซุนยัดเซ็นเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นทางด้าน การเมืองในประเทศจีน โดยในปี ค.ศ. 1912 ซุนยัดเซ็นได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจราชวงศ์แมนจู โดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐที่เมืองนานกิงเป็นผลสำเร็จภายใต้การร่วมมือของหยวนซือไข ทำให้จักรพรรดิปูยีซึ่งเป็นจักรพรรดิ องศ์สุดท้ายของราชวงศ์แมนจูสละราชสมบัติในปีเดียวกัน จากนั้นหยวนซือไขก็ได้รับการแต่งทั้ง ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐจีน จีนจึงก้าวเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐ อย่างสมบูรณ์นับตั้งแต่นั้น

44.       ชื่อใดเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของจีนแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบัน

(1) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน    

(2) สาธารณรัฐจีน

(3) สาธารณรัฐประชาชนจีน  

(4) ราชอาณาจักรจีน

ตอบ 3 (ข่าว) จีนแผ่นดินใหญ่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ซึ่งมีการปกครอง แบบลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทา เป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเหวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน

45.       ใครคือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในปี 1949

(1) เจียงไคเช็ค

(2) เมาเซตุง   

(3) เติ้งเสี่ยวผิง

(4) โจวเอินไหล

ตอบ 2 หน้า 114(คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในจีน โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนนำโดยเมาเซตุงกับพรรคก๊กมินตั๋ง หรือพรรคจีนคณะชาติ (พรรคชาตินิยม) นำโดยเจียงไคเช็ค สงครามในครั้งนี้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งผลปรากฏว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นฝ่ายชนะ

46.       ในจำนวนเกาะที่ใหญ่ที่สุด 4 เกาะของญี่ปุ่น เกาะใดเจริญมากที่สุด

(1) ฮอกไกโด  

(2) ฮอนชู        

(3) ริวกิว         

(4) ชิโกกุ

ตอบ 2 หน้า 121(คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่  

1. เกาะฮอกไกโดเป็นเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นศูนย์กลางอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น

2. เกาะฮอนชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด มีพื้นที่ราบมากที่สุดของประเทศ และเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองของญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นเกาะที่มีความเจริญมากที่สุด  

3. เกาะชิโกกุเป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและชายฝั่งทะเล

4. เกาะคิวชิว เป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการติดต่อกับชาวยุโรป โดยมีท่าเรือ ที่สำคัญอยู่ที่เมืองนางาซากิ

47.       บรรพบุรุษของญี่ปุ่นนักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเชื่อว่าอพยพมาจากทางภาคใดของทวีปเอเชียมากที่สุด

(1) ภาคเหนือ 

(2) ภาคใต้      

(3) ภาคตะวันตก        

(4) ภาคตะวันออก

ตอบ 3 (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 301304)(คำบรรยาย) นักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เชื่อว่า บรรพบุรุษของญี่ปุ่นอพยพมาจากทางภาคตะวันตกของทวีปเอเชียมากที่สุด โดยเข้ามา ตั้งรกรากอยู่ในหมู่เกาะทางภาคเหนือ จากนั้นจึงขยายตัวลงสู่ภาคใต้ และมาตั้งอาณาจักรแรก ทางภาคตะวันออกของเกาะฮอนชู ต่อมาได้ขยายอิทธิพลไปทั่วหมู่เกาะน้อยใหญ่ที่สำคัญ 4 เกาะ ด้วยกัน คือ เกาะฮอกไกโด เกาะฮอนชู เกาะชิโกกุ และเกาะคิวชู (เกาะคิวชิว)

48.       โจมอน ยาโยอิ และทูมูลิ คืออะไร

(1) เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของพวกไอนุ

(2) ความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณ

(3) ความรู้ที่ชาวญี่ปุ่นรับมาจากเกาหลี โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร         

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 124 – 125 หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่น ในสมัยโบราณ ได้แก่

1. วัฒนธรรมโจมอน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก ซึ่งพบมากทางภาคตะวันออก และภาคเหนือของญี่ปุ่น

2. วัฒนธรรมยาโยอิ เป็นวัฒนธรรมที่พบมากบนเกาะคิวชิว ซึ่งหลักฐานที่สำคัญ เช่น เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ การนำเหล็กและทองสำริดจากจีนมาหล่อเป็นดาบ ฯลฯ

3.         วัฒนธรรมทูมูลิ เป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ โดยเริ่มปรากฏครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

49.       หนังสือโคจิกิ และนิฮอง โชกิ ให้ความรู้ในเรื่องใดของชาวญี่ปุ่นโบราณมากที่สุด

(1) บันทึกการสู้รบครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวญี่ปุ่นเหนือทุ่งราบเซกิกาฮารา

(2) การเดินทางของชาวตะวันตกเข้าสู่เกาะฮอกไกโดในสมัยล่าอาณานิคม

(3) ชัยชนะของขุนนางตระกูลมินาโมโตที่มีต่อขุนนางตระกูลฟูจิวารา

(4) ประวัติศาสตร์การก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นโดยเชื้อสายของเทพเจ้าอะมาเตระสึ

ตอบ 4 หน้า 125 จากหนังสือโคจิกิและหนังสือนิฮอง โชกิ ได้กล่าวถึงเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นโบราณ ในลักษณะของเทพนิยายว่า แผ่นดินญี่ปุ่นสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า มีศูนย์กลางอยู่บนที่ราบยามาโต ทางตอนกลางของเกาะฮอนชู องค์จักรพรรดิและประชาชนล้วนสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าทั้งสิ้น โดยจักรพรรดิพระองค์แรกซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นทรงมีพระนามว่า “จิมมู เทนโน” เป็น ผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์หรือเทพีอะมาเตระสึ ซึ่งขึ้นครองราชย์เมื่อประมาณปี 660 B.C.

50.       ข้อใดคือความเจริญที่ญี่ปุ่นรับมาจากจีน

(1) ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

(2) อุตสาหกรรมการต่อเรือเดินสมุทรด้วยเหล็กกล้า

(3) การนับถือความบริสุทธิ์ในธรรมชาติ         

(4) สถาปัตยกรรมการก่อสร้างแห่งเมืองนารา

ตอบ 4 หน้า 126 – 129 ความเจริญที่สำคัญที่ญี่ปุ่นโบราณรับมาจากจีน ได้แก่

1. ตัวอักษรจีน

2. รูปแบบการปกครองในสมัยราชวงศ์ถังของจีน      

3. ศาสนาพุทธ

4. สถาปัตยกรรม โดยมีการสร้างบ้านเมืองเพื่อรองรับหน่วยงานปกครองต่างๆ เช่น ปราสาทราชวัง สถานที่ราชการ ฯลฯ มีการจำลองรูปแบบตึกรามบ้านช่องจากจีน และมีการก่อสร้างเมืองสำคัญ ที่สวยงาม เช่น เมืองหลวงแห่งนครนารา เมืองหลวงเกียวโตแห่งยุคเฮอิอัน เป็นต้น

51.       ผู้นำท่านใดไม่มีบทบาทเลยในการปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบอย่างจีนในคริสต์ศตวรรษ ที่ 6 ของญี่ปุ่น

(1) เจ้าชายโชโทกุ       

(2) องค์จักรพรรดิเทนจิ

(3) ฟูจิวารา โนะ คามาทาริ    

(4) ผู้นำกลุ่มนักรบซามูไรที่เดินทางกลับมาจากจีน

ตอบ 4 หน้า 127 – 128(คำบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผู้ปกครองญี่ปุ่นเกิดความประทับใจ ในรูปแบบการปกครองของจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ ทำให้ญี่ปุ่นปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบจีน ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่

1. ธรรมนูญการปกครองบ้านเมือง 17ข้อในปีค.ศ.604 เป็นผลงานของเจ้าชายโชโทกุ

2. การปฏิรูปไทกะในปี ค.ศ. 645 เป็นผลงานของเจ้าชายนากาโนะ โอเยะ หรือจักรพรรดิเทนจิ และฟูจิวารา โนะ คามาทาริ

52.       ข้อใดไม่ใช่หลักการที่นักรบซามูไรต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน “ลัทธิบูชิโด”

(1) ให้การยกย่องต่อสตรีเพศ 

(2) จงรักภักดีต่อเจ้านายแม้ตัวตายก็ต้องยอม

(3) เสียชีพอย่าเสียสัตย์         

(4) แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ

ตอบ 4 หน้า 130 ลัทธิบูชิโดในสมัยศักดินาเป็นหลักปฏิบัติตนในการดารงชีวิตของชนชั้นนักรบ หรือพวกซามูไร ซึ่งประกอบด้วย การยกย่องให้เกียรติสตรี การหยิ่งในเกียรติของตนเอง (เสียชีพอย่าเสียสัตย์) ความกล้าหาญ ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น

53.       การจัดแบ่งชนชั้นผู้นำในญี่ปุ่นเป็น โตซามา ฟูได และชิมปัน เกิดขึ้นในสมัยใด

(1)       เมื่อจิมมู เทนโน ประกาศรวมแผ่นดินญี่ปุ่นที่แตกแยกขึ้นเป็นหนึ่งเดียวกันในปี ค.ศ. 660

(2)       เมื่อผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นหันไปรับวัฒนธรรมความเจริญจากจีนในปี ค.ศ. 500

(3)       เมื่อผู้นำตระกูลโตกูกาวาได้อำนาจเหนือแผ่นดินญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1602

(4)       เมื่อถูกเปิดประเทศโดยสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1858

ตอบ 3 หนำ 131(คำบรรยาย) ในสมัยศักดินา เมื่อโชกุนตระกูลโตกูกาวาขึ้นมามีอำนาจเหนือแผ่นดินญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1602 ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นผู้นำซึ่งเป็นชนชั้นขุนนางหรือเจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้นชิมปัน ฟูได และโตซามา ซึ่งส่วนใหญ่มักถูกส่งไป ปกครองตามท้องถิ่นที่ห่างไกลจากเมืองหลวง

54.       ในสมัยปิดประเทศ ญี่ปุ่นขับไล่ชาวต่างชาติออกจากประเทศ ยกเว้นชาติใด

(1) จีนซึ่งเป็นชาติเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์มาช้านาน

(2) ดัตช์ที่ผู้ปกครองญี่ปุ่นเห็นว่าไม่เคยแทรกแซงกิจการภายในของตน

(3) ถูกเฉพาะข้อ 1      

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หนำ 132291 – 293 (เล่มเก่า) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โชกุนตระกูลโตกูกาวา เกรงว่าองค์กรศาสนาของชาวต่างชาติในนามคณะมิชชันนารีที่เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น จะเข้ามาก้าวก่ายกิจการภายใบประเทศ จนทำให้ประเทศแตกแยกกันและทำให้อำนาจของ พระองค์ลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้องค์โชกุนจึงได้ประกาศปิดประเทศและขับไล่ชาวต่างซาติออกไป โดยไม่ติดต่อค้าขายกับชาติใดๆ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1637 – 1854 ยกเว้นจีนในฐานะของมิตรเก่า หรือชาติเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์มาช้านาน และดัตช์ที่ญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นชาติที่ไม่เคยแทรกแซงการเมืองและกิจการภายในขององค์โชกุน ซึ่งทั้ง 2 ชาติจะได้รับอนุญาตให้เข้ามาค้าขายได้ เป็นครั้งคราว

55.       เหตุใดที่ทำให้ชาวตะวันตกในระยะแรก ๆ ไม่สนใจติดต่อกับญี่ปุ่นมากเท่าที่มีกับจีน

(1) ทรัพยากรของญี่ปุ่นมีน้อยกว่า      

(2) เส้นทางเดินเรือไปญี่ปุ่นลำบากมีเกาะแก่งทั่วไป

(3) กิตติศัพท์ว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่โหดร้าย ป่าเถื่อน และทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 133 ในระยะแรก ๆ ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตกไม่สนใจติดต่อกับญี่ปุ่น มากเท่าที่มีกับจีน เพราะญี่ปุ่นไม่เจริญเท่าจีน สินค้าก็มีจำกัดและไม่น่าสนใจ ทรัพยากรธรรมชาติ ก็ไม่อุดมสมบูรณ์และมีน้อยกว่า เกาะแก่งทั่วไปที่มีอยู่มากมายยังทำให้เส้นทางการเดินเรือไปญี่ปุ่น ยากลำบาก ประกอบกับกิตติศัพท์ของชาวญี่ปุ่นที่ว่าเป็นชาติที่โหดร้าย และป่าเถื่อนด้วย

56.       ผู้นำรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มทำการปฏิรูปประเทศในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังเหตุการณ์ใด

(1) การยอมรับในความอ่อนแอของตนหลังถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดประเทศ

(2) เมื่อโชกุนตระกูลโตกูกาวายอมลงจากอำนาจหลังปกครองมานานกว่า 200 ปี

(3) เมื่อมีการอัญเชิญองค์จักรพรรดิจากเมืองเกียวโตมาประทับที่เมืองเอโดะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หนำ 113(คำบรรยาย) ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ต่อกองเรือของสหรัฐอเมริกาที่เดินทางเข้ามาบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ จนทำให้ญี่ปุ่นยอมรับในความอ่อนแอในระบอบโชกุนของตน และเลื่อมใสในเทคโนโลยีของตะวันตกมากกว่าจีน ประกอบกับโชกุนตระกูลโตกูกาวาซึ่งปกครองญี่ปุ่นมานานกว่า 200 ปี (ค.ศ. 1602 – 1867) ยอมลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1868 จากนั้นได้อัญเชิญ องค์จักรพรรดิจากเมืองเกียวโตมาประทับที่เมืองเอโดะเพื่อให้กลับคืบสู่อำนาจตามเดิม ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้นำรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นตื่นตัวที่จะเริ่มทำการปฏิรูปประเทศในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ยุคเมจิ”

57.       ญี่ปุ่นรุกรานจีนในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 มาจากสาเหตุใดเป็นสำคัญ

(1)       ญี่ปุ่นต้องการทดลองศักยภาพทางทหารที่ตนรับมาใหม่จากตะวันตก

(2)       ญี่ปุ่นต้องการเกาหลีเป็นฐานในการรุกรานเอเชียในอนาคต

(3)       ญี่ปุ่นต้องการยุติข้อขัดแย้งภายในประเทศด้วยการดึงความสนใจออกนอกประเทศ

(4)       ญี่ปุ่นต้องการสั่งสอนเกาหลี และเตือนจีนไม่ให้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของตน

ตอบ 2 หน้า 113(คำบรรยาย) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894 – 1895) เป็นสงครามระหว่าง ราชวงศ์แมนจูของจีนกับจักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นต้องการครอบครอง คาบสมุทรเกาหลีเพื่อเป็นฐานในการรุกรานเอเชียในอนาคต อีกทั้งยังต้องการเข้าไปขยายอิทธิพล ทางการเมืองและเศรษฐกิจในจีน โดยผลของสงครามปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น ซึ่งจีนเคยดูถูกว่าเป็นชาติที่ด้อยอารยธรรม และทำให้จีนต้องสูญเสียเกาหลีไปในที่สุด

58.       เครื่องปั้นดินเผาลายฟันหวีเป็นความเจริญในสมัยโบราณของชาติใด

(1) จีน

(2) เกาหลี      

(3) ญี่ปุ่น        

(4) มองโกเลีย

ตอบ 2 หน้า 145 – 146 ความเจริญทางวัฒนธรรมของเกาหลีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ

1. วัฒนธรรมจุลมุนหรือจุลจีมุน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาลายฟันหวี ซึ่งพบมากทางภาคตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี        

2. วัฒนธรรมมูมุน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่พบมากทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลีซึ่งเป็นดินแดนที่ชนเผ่าฮั่นอาศัยอยู่

59.       ความเจริญของเกาหลีโบราณส่วนใหญ่นำมาจากชาติใด

(1) สหรัฐอเมริกา        

(2) อังกฤษ     

(3) จีน

(4) ชาวเกาหลีพัฒนาขึ้นมาเอง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เกาหลีโบราณได้รับแบบอย่างความเจริญส่วนใหญ่มาจากจีน เช่น รูปแบบการปกครองที่ทำให้รัฐบาลกลางเข้มแข็งขึ้น การบริหารราชการ การสอบไล่เพื่อเข้ารับราชการ ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อ เป็นต้น

60.       ผู้นำญี่ปุ่นคนปัจจุบันคือใคร

(1) อาเบะ       

(2) ฮาโตยามา

(3) ซูซูกิ          

(4) โนบุ

ตอบ 1 (ข่าว) ผลการเลือกตั้งของญี่ปุ่นในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า นายชินโซะ อาเบะ ผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDPได้ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนปัจจุบันของญี่ปุ่น

61. ธงชาติของสาธารณรัฐอินเดียมี 3 แถบ จากบนมาล่างคือ แถบสีส้ม แถบสีขาว และแถบสีเขียว ถามว่าตรงกลางผืนธงแถบสีขาวมีสัญลักษณ์รูปอะไรปรากฏอยู่

(1) รูปพระอาทิตย์      

(2) รูปมังกร    

(3) รูปพระจันทร์เสี้ยว 

(4) รูปพระธรรมจักร

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ธงชาติของสาธารณรัฐอินเดียประกอบด้วยแถบสี 3 แถบ คือ แถบบนสีส้ม แถบล่างสีเขียว ส่วนแถบกลางสีขาวจะมืรูปพระธรรมจักรอยู่ตรงกลาง ซึ่งพระธรรมจักร ดังกล่าวก็คือสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธนั่นเอง

62.       ศาสนาใดมีผู้นับถือมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้

(1) พุทธ          

(2) สิกข์          

(3) ฮินดู          

(4) อิสลาม

ตอบ 3 หน้า 175 ภูมิภาคเอเชียใต้หรืออนุทวีปอินเดียได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่ประชากรมีความหลากหลาย ในการนับถือศาสนา โดยคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละเรียงตามลำดับจากมากไปนัอยได้ดังนี้

1. พราหมณ์-ฮินดู 83.5%      

2. อิสลาม 10.7%

3. คริสต์ 2.4%

4. สิกข์ 1.8%

5. เชน พุทธ โซโรแอสเตอร์และอื่น ๆ 1.6%

63.       แหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้ ปัจจุบันเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศใด

(1) ปากีสถาน

(2) อินเดีย      

(3) เนปาล      

(4) บังกลาเทศ

ตอบ 1 หน้า 183 – 184188 อารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้ และของโลก โดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ หรืออินดัสในประเทศปากีสถานปัจจุบันทั้งนี้ได้มีการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปา โดยพบว่าสิ่งก่อสร้างของทั้ง 2 เมืองนั้นส่วนใหญ่ทำมาจากอิฐเผาไฟ ที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ชาวสินธุยังเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบ และทำท่อระบายนํ้าโสโครก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีความเจริญสูงสุด ด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในบริเวณอื่น

64.       สิ่งก่อสร้างที่เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปาที่ขุดพบบริเวณลุ่มแม่นํ้าสินธุนั้น ส่วนใหญ่ใช้วัสดุอะไร ในการก่อสร้าง

(1) ศิลาแลง   

(2) อิฐ 

(3) ไม้ 

(4) หินแกรนิต

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65.       นักวิชาการจัดให้แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสิบธุมีความเจริญสูงสุดด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรม เริ่มแรกในบริเวณอื่น ถามว่าด้วยเหตุใด

(1) ชาวสินธุส่วนใหญ่สร้างบ่อนํ้าไว้ในบ้าน    

(2) ชาวสินธุรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรใช้

(3) ชาวสินธุรู้จักนำโลหะมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้   

(4) ชาวสินธุรู้จักทำท่อระบายนํ้าโสโครก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

66.       สัตว์ชนิดใดที่ชาวอารยันยุคพระเวทใช้เป็นหน่วยวัดความมั่งคั่ง

(1) วัวตัวเมีย  

(2) ควายตัวเมีย         

(3) แพะตัวเมีย

(4) แกะตัวเมีย

ตอบ 1 หน้า 193 ในยุคพระเวท สัตว์ที่ชาวอารยันให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ วัวตัวเมีย ซึ่งถือว่า เป็นหน่วยวัดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อีกทั้งวัวตัวเมียยังให้แรงงาน ให้นม-เนย และลูกด้วย

67.       การบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดใดที่ชาวฮินดูถือว่าบาปมหันต์

(1) วัว 

(2) ม้า 

(3) นกยูง        

(4) ช้าง

ตอบ 1 หน้า 187 ชาวสิบธุที่เป็นฮินดูจะบูชาวัวตัวผู้ เพราะถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นพาหนะของพระศิวะ ซึ่งถ้าใครรับประทานเนื้อวัวจะถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์ นอกจากนี้ยังมีการบูชาต้นโพธิ์และต้นไทร มีการบูชาไฟ พระอาทิตย์ งู หรือพญานาคด้วย

68.       ถ้าจัดพ่อค้าส้มตำ-ไก่ย่าง เข้าอยู่ใบระบบวรรณะ จะจัดไว้ในวรรณะใด

(1) พราหมณ์  

(2) กษัตริย์     

(3) แพศย์       

(4) ศูทร

ตอบ 3 หน้า 195 – 196 ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติ จากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.         วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.         วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สีแดง

3.         วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.         วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกร และข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

69.       “จัณฑาล’’ เป็นพวกนอกวรรณะ เป็นชนชั้นตํ่าสุดที่สังคมรังเกียจ ถามว่าเป็นลูกที่เกิดจากการแต่งงานระหว่างพ่อกับแม่ในวรรณะใด

(1) พราหมณ์-ศูทร      

(2) ศูทร-พราหมณ์      

(3) กษัตริย์-ศูทร         

(4) คู่อื่น

ตอบ 2 การที่สามีวรรณะศูทรแต่งงานกับภรรยาวรรณะพราหมณ์ บุตรที่เกิดมาจะเรียกว่า “จัณฑาล”

70.       “วัยรุ่นเป็นวัยเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงเส้นทางเอดส์” เป็นคำขวัญชนะเลิศจากการประกวดรางวัลในโครงการ ป้องกันโรคเอดส์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงประจำปี 2535 จากคำขวัญดังกล่าว ถามว่าวัยรุ่นตามคติฮินดู คือคนในอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม   

(2) คฤหัสถาศรม        

(3) วานปรัสถาศรม    

(4) สันยัสตาศรม

ตอบ 1 หน้า 199 หลักอาศรม 4 ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แบ่งชีวิตคนออกเป็น 4 วัย เพื่อให้คนในแต่ละอาศรมทำหน้าที่ให้เหมาะกับวัย ดังนี้

1.         พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา (วัยรุ่นจะมีอายุ ระหว่าง 13 – 19 ปี ดังนั้นจึงจัดอยู่ในกลุ่มนี้)

2.         คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 ปี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงาน มีครอบครัว

3.         วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.         สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติ โดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

71.       การบริโภคแบบมังสวิรัติเป็นแนวปฏิบัติสอดคล้องกับผู้นับถือศาสนาใดมากที่สุด

(1) พุทธ          

(2) เชน           

(3) สิกข์          

(4) ฮินดู

ตอบ 2 หน้า 202 มหาพรต 5 คือ ข้อปฏิบัติพื้นฐานของนักบวชในศาสนาเชน เช่น นักบวชต้องดำรงชีพ แบบอหิงสา นั่นคือ ต้องไม่ทำอันตรายสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นักบวชต้องฉันอาหารแบบมังสวิรัติ และฉันมื้อเดียว นักบวชต้องถือศีลอดโดยทรมานตนด้วยการอดอาหาร ถ้าปฏิบัติเคร่งครัดก็ให้ อดอาหารจนตาย เป็นต้น

72.       สมัยใดที่อินเดียนิยมเจาะภูเขาเป็นลูก ๆ ให้เป็นถํ้าเพื่อสร้างเทวสถานและพุทธสถาน

(1) สมัยพุทธกาล       

(2) สมัยมหากาพย์     

(3) สมัยราชวงศ์เมารยะ         

(4) สมัยราชวงศ์คุปตะ

ตอบ 4 หน้า 219221 – 222 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” โดยมีความเจริญประการหนึ่งทางด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมที่เด่น ๆ คือ การเจาะภูเขา เป็นลูก ๆ ให้เป็นถํ้าเพื่อสร้างสังฆารามหรือเทวสถานและพุทธสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือถ้ำอชันตา ซึ่งภาพเขียนสีรูปพระโพธิสัตว์บปัทมปาณีบนฝาผนังถํ้าที่ 1 ถือว่าเป็นจิตรกรรมชิ้นเอกของยุค

73. “จะต้องปกครองโดยธรรม จะต้องบริหารโดยธรรม จะทำให้ประชาชนชื่นชอบโดยธรรม และจะคุ้มครองประชาชนโดยธรรม ” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับบุคคลในข้อใดที่สุด

(1) พระเจ้าจันทรคุปต์

(2) พระเจ้าอโศก        

(3) พระเจ้ากนิษกะ    

(4) พระเจ้าอักบาร์

ตอบ 2 หน้า 214 – 217 พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญดังนี้

1.         ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูก และทรงเป็นธรรมราชา ดังคำกล่าวใน ศิลาจารึกพิเศษแห่งกลิงคะฉบับที่ 1 ว่า “…จะต้องปกครองโดยธรรม จะต้องบริหารโดยธรรม จะทำให้ประชาชนชื่นชอบโดยธรรม และจะคุ้มครองประชาชนโดยธรรม”

2.         ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนารวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอก ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก

3.         โปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน เช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพพระธรรมจักรและมีกวางหมอบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันหรือป่ากวางแห่งกรุงราชคฤห์ เป็นต้น

74. “เรื่องบางเรื่องบอกแต่ภรรยา เรื่องบางเรื่องนั้นหนาบอกสหาย เรื่องบางเรื่องบอกเฉพาะเจ้าลูกชาย เรื่องบางเรื่องไม่อาจบอกทุกผู้คน” (จากนิทานปัญจตันตระ) ถามว่าเป็นมรดกด้านอารยธรรมสมัยใด

(1) ราชวงศ์เมารยะ    

(2) ราชวงศ์คุปตะ       

(3) ราชวงศ์กุษาณะ   

(4) ราชวงศ์โมกุล

ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ในสมัยราชวงศ์คุปตะมีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงมากชิ้นหนึ่งคือ นิทานปัญจตันตระ(หลักคำสอน 5 ประการ) ซึ่งแต่งเป็นร้อยแก้วผสมกับคติพจน์ในแบบร้อยกรองที่สอดแทรก เล่ห์เหลี่ยมและกลอุบายต่าง ๆ เพื่อเตือนใจผู้อ่าน โดยมีสาระสำคัญ เช่น การจะบอกเรื่องราว ใด ๆ กับใคร ต้องดูให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะบอกหรือปรึกษา ดังภาษิตที่ว่า “เรื่องบางเรื่อง บอกแต่ภรรยา เรื่องบางเรื่องนั้นหนาบอกสหาย เรื่องบางเรื่องบอกเฉพาะเจ้าลูกชาย เรื่องบางเรื่องไม่อาจบอกทุกผู้คน” เป็นต้น

75.       พระธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นสัญลักษณ์แทนปางปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ป่ากวาง) ถามว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

(1) พระเจ้าพิมพิสาร   

(2) พระเจ้าอชาติศัตรู 

(3) พระเจ้าอโศก        

(4) พระเจ้ามิลินท์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

76.       “เป็นหยาดนํ้าตาบนใบหน้าอันงดงามแห่งนิรันดรกาล” (A drop of tear on the beautiful face of eternityเป็นวาทะของรพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนวรรณกรรมรางวัลโนเบลที่มีต่อสิ่งใด

(1) ปราสาททัชมาฮาล

(2) ป้อมแดง

(3) สุวรรณวิหาร         

(4) อนุสาวรีย์มหาตมะ คานธี

ตอบ 1 หน้า 226 ปราสาททัชมาฮาลสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชาห์เจฮาน เพื่อใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของพระมเหสีมุมทัช โดยทัชมาฮาลจะสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ประดับประดาด้วยอัญมณีที่ประมาณค่าไม่ได้ เป็นศิลปะฮินดูผสมมุสลิม และจัดเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามจนนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ในปัจจุบันทัชมาฮาลได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ รพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนวรรณกรรมรางวัลโนเบล ได้ให้คำจำกัดความของปราสาทแห่งนี้ว่า “เป็นหยาดนํ้าตาบนใบหน้าอันงดงามแห่งนิรันดรกาล” (A drop of tear on the beautiful face of eternity)

77.       ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของศาสนาเชน

(1) อหิงสาเป็นหัวใจคำสอน   

(2) ปฏิเสธการฆ่าสัตว์บูชายัญ

(3) เชื่อในเรื่องพระเจ้า

(4) มีหลักคำสอนคล้ายคลึงกับพุทธศาสนา

ตอบ 3 หน้า 202 – 203205 – 207 ศาสนาพุทธและศาสนาเชนจะมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด โดยเฉพาะหลักอนุพรต 5 ของเชนจะเหมือนกับศีล 5 ของพุทธ นอกจากนี้ทั้ง 2 ศาสนา ยังมีทัศนะที่ขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เหมือนกันคือ ปฏิเสธเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิสิทธิ์ และที่สำคัญก็คือ ปฏิเสธเรื่องการฆ่าสัตว์บูชายัญ ซึ่งตรงกับหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของศาสนาเชนคือ การไม่เบียดเบียน (หลักอหิงสา) เป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง

78.       คุณสมบัติที่สำคัญของพระเจ้าอักบาร์ในเรื่องใดที่ทำให้พระองค์ทรงปกครองอินเดียได้อย่างสงบสุข

(1) ทรงเป็นธรรมราชา

(2) ทรงมีขันติธรรมในศาสนา

(3) ทรงใช้อุดมการณ์แบบพ่อปกครองลูก      

(4) ทรงแบ่งการปกครองอาณาจักรออกเป็นมณฑล

ตอบ 2 หน้า 224 – 225(คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยจักรวรรดิโมกุลแห่งอินเดีย โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด และมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของพระองค์ก็คือ ทรงมีขันติธรรม ในศาสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศ เนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

79.       มหาอำนาจตะวันตกชาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลในอินเดีย สามารถแย่งตลาดการค้าจากพ่อค้าอาหรับได้สำเร็จ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้แก่ชาติใด

(1) ดัตช์          

(2) ฝรั่งเศส     

(3) โปรตุเกส  

(4) อังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 231(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 129133387) โปรตุเกสเป็นมหาอำนาจตะวันตกชาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลสูงสุดในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยได้เดินเรือเข้ามาค้าขายในอินเดียแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จนสามารถแย่งตลาดการค้ามาจากพ่อค้าอาหรับที่มีอิทธิพล อยู่ในดินแดนนี้ได้สำเร็จ ทั้งนี้ศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสจะอยู่ที่เมืองกัว (Goa)

80.       อังกฤษถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านสังคมของอินเดียภายหลังเหตุการณ์ใด

(1) ยึดเมืองกัลกัตตา  

(2) กบฏซีปอย

(3) แบ่งแคว้นเบงกอล

(4) ออก พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย

ตอบ 2 หน้า 234447 – 448 (เล่มเก่า) ภายหลังเหตุการณ์กบฏซีปอย รัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินนโยบาย ปกครองอินเดียเป็นแบบอนุรักษนิยม โดยถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านลังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย แต่จะปฏิบัติกิจกรรมทางสังคมเฉพาะในกลุ่มของคนอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำให้องค์ประมุขของอังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียแทนบริษัท อินเดียตะวันออกตามพระราชบัญญัติ The Better Government of India 1858 อีกด้วย

81.       ข้อใดจัดเป็นเหตุปัจจุบันทันด่วนที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

(1) ออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้

(2) The Doctrine of Lapse

(3) ออกกฎหมายยกเลิกการฆ่าคนบูชายัญ

(4) อังกฤษนำปืนชนิดใหม่ (Enfield Rifleมาให้ทหารซีปอยใช้

ตอบ 4 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นชนวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857 ซึ่งการแทรกแซงดังกล่าวมีดังนี้

1.         ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เรียกว่า “The Doctrine of Lapse” ทำให้ประเพณี ในการสืบราชสมบัติของเจ้าผู้ครองนครเปลี่ยนไป

2.         ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีโฉนดมาแสดงก็ให้ยึด เป็นของอังกฤษ

3.         ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตติ (Suttee),ออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและประเพณี ฆ่าคนบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

4.         สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาว (Enfield Rifleมาให้ทหารซีปอยใช้ โดยได้นำนํ้ามันหมูและไขวัวมาใช้เป็นนํ้ามันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอย ทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สืกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน

82.       นักชาตินิยมคนใดที่หัวรุนแรงที่สุด และไม่ยอมรับการปฏิรูปใด ๆ ในแนวทางของอังกฤษ แต่กลับฟื้นฟู ขนบธรรมเนียมโบราณของอินเดียขึ้นมาใหม่ เพื่อปลุกจิตสำนึกชาตินิยม

(1) Tilak    

(2) Nehru 

(3) Jinnah

(4) Benerjee

ตอบ 1 หน้า 239(คำบรรยาย) พาล คงคาธาร ติลัก (Bal Gangadhar Tilakเป็นนักชาตินิยมหัวรุนแรง ที่สุดของอินเดีย โดยเขาจะไม่ยอมรับการปฏิรูปใด ๆ ในแนวทางของอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็น ผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดชาตินิยมของอินเดียมาเป็นขบวนการประชาชนโดยยึตคติว่า “การปกครองตนเองเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน และประชาชนต้องการปกครองตนเอง” รวมทั้งเป็นผู้ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณของอินเดียขึ้นมาใหม่ เพื่อปลุกจิตสำนึกชาตินิยมในหมู่ชาวอินเดีย ทั้งนี้ติลักได้รับสมญานามจากชาวอินเดียว่า “โลกมานยะ” แต่ชาวอังกฤษ กลับตั้งฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งความยุ่งยากในประวัติศาสตร์อินเดีย”

83.       ใครได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดสันนิบาตมุสลิม

(1) Ranade        

(2) Gokhale       

(3) Jinnah

(4) Sir Syed Ahmed Khan

ตอบ 4 หน้า 241 เซอร์ไซยิด อาหมัด ข่าน (Sir Syed Ahmed Khanเป็นมุสลิมคนแรกที่ลุกขึ้นมา ปฏิรูปการศึกษาด้านสังคมและศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เขาได้เรียกร้องให้ชาวมุสลิมร่วมมือกัน ก่อตั้งพรรคมุสลิมของตนขึ้นและเป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1906 ชื่อว่า “สันนิบาตมุสลิม” (Muslim Leagueโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิมโดยเฉพาะ

84.       ข้อใดเป็นหัวใจของการต่อสู้ของขบวนการสัตยาเคราะห์

(1)       การต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(2)       การดื้อแพ่งโดยไม่ให้ความร่วมมือ

(3)       การต่อสู้โดยใช้พลังธรรมะ ถ้าไม่สำเร็จจึงค่อยใช้กำลัง

(4)       การต่อสู้โดยไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง

ตอบ 4 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี เป็นนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้ วิธีการต่อสู้ทีเรียกว่า “การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้ โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่

1.         สัตยะ คือ ความจริง

2.         อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง

3.         การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟัง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง

85.       สาเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นแรงกระตุ้นให้การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของชาวอินเดียรุนแรงยิ่งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเรื่องใด        

(1) การปฏิวัติฝรั่งเศส

(2) การปฏิวัติรัสเซีย   

(3) ญี่ปุ่นรบชนะรัสเซีย

(4) คำแถลงการณ์ของประธานาธิบดีวิลสันแห่งสหรัฐอเมริกา เรื่องให้ประชาชนมีสิทธิเลือกรัฐบาลปกครองตนเอง

ตอบ 4 หน้า 243495 – 496 (เล่มเก่า) คำแถลงการณ์ของประธานาธิบดีวิลสันแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1917 โดยเฉพาะประเด็นที่ 14 เรื่องที่ให้ประชาชนมือัตตาวินิจฉัยหรือมีสิทธิเลือกรัฐบาล ขึ้นมาปกครองตนเองนั้น ได้กลายมาเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นแรงกระตุ้นให้การเรียกร้องสิทธิ ในการปกครองตนเองของชาวอินเดียรุนแรงยิ่งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในขณะนั้น รัฐบาลอังกฤษยังลังเลที่จะตระหนักถึงคำเรียกร้องของอินเดีย

86.       ทำไมชาวอินเดียจึงชอบ The MorleyMinto Reforms

(1)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้สิทธิเลือกรัฐบาลตนเอง

(2)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภา

(3)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานของรัฐ

(4)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ตอบ 2 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์-มินโต (The MorleyMinto Reformsซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก ด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อินเดียที่กรุงลอนดอน โดยซาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษ ในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้นแต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

87.       ทำไมชาวอินเดียจึงไม่ชอบ The Rowlatt Act

(1)       อังกฤษห้ามชาวอินเดียมีอาวุธในครอบครอง

(2)       อังกฤษห้ามชาวอินเดียออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่น

(3)       อังกฤษยกเลิกอำนาจของผู้พิพากษาชาวพื้นเมืองที่มีสิทธิพิพากษาคดีคู่ความที่เป็นชาวยุโรปในตำบลได้

(4)       อังกฤษให้สิทธิเจ้าหน้าที่จับกุมคุมขังผู้คิดล้มล้างรัฐบาลโดยไม่ต้องดำเนินการตามขบวนการยุติธรรม

ตอบ 4 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า “กฎหมายโรว์แลตต์” (The Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ มีสิทธิอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงลัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดล้มล้างรัฐบาลได้ทันที โดยไม่ต้องดำเนินการสอบสวนหรือขึ้นศาลตามขบวนการยุติธรรม ซึ่งนักชาตินิยมมองว่า เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นสาเหตุให้คานธีลุกขึ้นมา เป็นผู้นำในการประท้วงอังกฤษเสียเอง

88.       ท่านคิดว่าชาวปากีสถานกับชาวบังกลาเทศมีเรื่องใดเหมือนกันที่สุด

(1) ผิวพรรณ   

(2) ภาษา        

(3) ศาสนา      

(4) คิลปวัฒนธรรม

ตอบ 3 (คำบรรยาย) จากการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของชาวปากีสถาน (ปากีสถานตะวันตก) กับชาวบังกลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก) พบว่า ชาวปากีสถาน กับชาวบังกลาเทศจะมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องเชื้อชาติ วิถีชีวิต ผิวพรรณ ภาษา และศิลปวัฒนธรรม แต่มีสิ่งที่เหมือนกันเพียงเรื่องเดียวคือ คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมซึ่งนับถือ ศาสนาอิสลาม

89.       มรดกอารยธรรมอินเดียเรื่องใดที่ทำให้ชาวอินเดียยิ่งใหญ่กว่าจีน ทั้งนี้เพราะจีนรับอารยธรรมด้านดังกล่าว ไปจากอินเดีย

(1) ศาสนา      

(2) ตัวเลขอารบิก       

(3) ระบบเศรษฐกิจ    

(4) รูปแบบการปกครอง

ตอบ 1 หน้า 174(คำบรรยาย) อินเดียโบราณได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ 4 ศาสนาสำคัญของโลก คือ พราหมณ์-ฮินดู เชน พุทธ และสิกข์ ซึ่งจากมรดกอารยธรรมในด้านศาสนานี้เองที่ทำให้ ชาวอินเดียยิ่งใหญ่กว่าจีน ทั้งนี้เพราะจีนรับอารยธรรมด้านดังกล่าวไปจากอินเดียนั่นเอง

90. “สาธุ! เจ้าพ่อ ช่วยให้ลูกเรียนจบรามด้วยเถิด ถ้าจบเมื่อใดลูกจะนำพิซซ่า 1 ชุด กับไวน์ 1 ขวด มาถวายเจ้าพ่อ” จากข้อความดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาใดมากที่สุด

(1) พุทธ          

(2) พราหมณ์  

(3) เชน           

(4) สิกข์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

91.       ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเป็นที่อยู่ของชนกลุ่มใด

(1) พม่า          

(2) ลาว           

(3) กัมพูชา     

(4) เวียดนาม

ตอบ 4 หน้า 257 พื้นที่ราบลุ่มแม่นํ้าผืนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 3 เขต ดังนี้

1.         ที่ราบลุ่มแม่นํ้าอิระวดีและสาละวิน ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมอญและพม่า

2.         ที่ราบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง เป็นที่ราบลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของคนไทย ลาว และกัมพูชา (เขมร)

3.         ที่ราบลุ่มแม่นํ้าแดง เป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มตระกูลไทหรือชนชาติไทยในปัจจุบัน ชาวจีน และชาวเวียดนาม

92.       ข้อใดคือประเทศที่เกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) สิงคโปร์    

(2) บรูไน         

(3) ติมอร์ตะวันออก    

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 หน้า 256 สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต (Democratic Republic of TimorLesteหรือติมอร์ตะวันออก เป็นประเทศที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเคยเป็น อาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไป จึงถูกผนวก เข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ติมอร์เลสเต จึงได้แยกตัวเป็นอิสระและได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

93.       วัฒนธรรมอันยาเธียนเป็นวัฒนธรรมยุคหินเก่าในประเทศใด

(1) พม่า          

(2) ไทย           

(3) มาเลเซีย   

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 หน้า 266 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว วัฒนธรรมหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแทมปาเนียน ในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย

94.       ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำ     

(2) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

(3) มีการเลี้ยงสัตว์     

(4) มีบรรพบุรุษมนุษย์อาศัยอยู่

ตอบ 3 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะสังคมเป็นแบบสังคมนายพรานและยังคงเป็นทาสของธรรมชาติอยู่ นั่นคือ มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ ไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน มักอาศัยอยู่ตามถํ้า เพิงผา หรือที่ราบริมแม่นํ้า มีการนำหินกรวดแม่นํ้ามาทำเป็นเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งเจ้าของเครื่องมือหินกะเทาะเหล่านี้ก็คือ กลุ่มบรรพบุรุษของมนุษย์นั่นเอง

95.       ข้อใดคือโบราณวัตถุสำคัญของวัฒนธรรมดองซอน

(1) ภาชนะดินเผาสามขา       

(2) กลองมโหระทึก

(3) ภาชนะดินเผาลายเขียนสี 

(4) เครื่องประดับทำจากกระดูกสัตว์

ตอบ 2 หน้า 270(คำบรรยาย) วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในยุคเหล็กหรือยุคโลหะ ได้แก่

1.         วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยมีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างที่ทำจากสำริดและเหล็ก เซช่น มีดสั้น ดาบ ขวาน เครื่องประดับ และที่เด่นที่สุดก็คือ กลองมโหระทึกสำริด

2.         วัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีการขุดค้นพบภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ซึ่งมีอายุราว 2,300 – 1,800 ปี

96.       บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่ในจังหวัดใด

(1) กาญจนบุรี

(2) อุบลราชธานี         

(3) อำนาจเจริญ         

(4) อุดรธานี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       ข้อใดไม่ใช่สินค้าที่ชาวอินเดียต้องการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) เครื่องเทศ 

(2) ทองคำ      

(3) ไม้หอม      

(4) นํ้าหอม

ตอบ 4 หน้า 271 – 272 สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชาวอินเดียต้องการเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ต้องการสินค้าจากภูมิภาคนี้ อันได้แก่ ทองคำ เครื่องเทศ ไม้หอม และยางไม้หอม โดยเฉพาะทองคำนั้นชาวอินเดียมีความต้องการมากที่สุด

98.       “เย่ห์” เป็นชื่อที่จีนเรียกชนกลุ่มใด

(1) เวียดนาม  

(2) ลาว           

(3) ไทย           

(4) กัมพูชา

ตอบ 1 หน้า 274 – 275289 หลังจากที่จีนสมัยราชวงศ์จิ๋นเข้าปกครองเวียดนามบริเวณแม่นํ้าแดง และแม่นํ้าดำในตังเกี๋ยและอันนัมตอนเหนือ จีนได้ให้ชาวเวียดนามหรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เย่ห์” ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมาจีนก็เรียกอาณาจักรของชาวเวียดนามนี้ว่า “นานเย่ห์หรือนามเวียด” (Nam Viet)

99.       ชาวเขมรโบราณเชื่อว่าบรรพบุรุษของพวกเขาคือใคร

(1) พญานาค  

(2) สิงห์          

(3) พระศิวะ    

(4) ฤษี

ตอบ 1 หน้า 280 ตามตำนานของชาวกัมพูชากล่าวว่า หลังจากพราหมณ์ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางโสมาซึ่งเป็นธิดาของพญานาคแล้ว พญานาคซึ่งเป็นพ่อจึงช่วยดื่มนํ้าทะเลจนเหือดแห้งเพื่อสร้างอาณาจักรให้แก่บุตรเขย และตั้งซื่ออาณาจักรนี้ว่า “กัมโพ” ดังนั้นชาวเขมรโบราณจึงเชื่อว่าพญานาคเป็นบรรพบุรุษของพวกเขานั่นเอง

100.    ข้อใดต่อไปนี้เก่าแก่ที่สุด

(1) เจนละ      

(2) ฟูนัน         

(3) ทวารวดี    

(4) จามปา

ตอบ 2 หน้า 279 – 281 จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยพราหมณ์ ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

101.    ข้อใดคือความสำคัญของเมืองออกแก้ว

(1) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจามปา       

(2) เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

(3) เป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรฟูนัน     

(4) เป็นแหล่งผลิตเหล็กที่สำคัญ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 100. ประกอบ

102.    ยุคเมืองพระนครของเขมรโบราณเริ่มต้นขึ้นในสมัยกษัตริย์พระองค์ใด

(1) พระเจ้าชัยวรมันที่ 1

(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2

(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 5

(4) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ตอบ 2 หน้า 285 เขมรโบราณยุคเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าชายเขมร ที่เสด็จกลับมาจากชวา โดยทรงรวบรวมเจนละบกและเจนละนํ้าเข้าด้วยกันได้สำเร็จ และทรงให้ชื่อใหม่ว่า “อาณาจักรกัมพูชา ” จากนั้นจึงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งอาณาจักรกัมพูชา ในสมัยนี้ถือว่าเป็นยุคที่เขมรโบราณรุ่งเรืองที่สุด และมีการสร้างราชธานี ขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ อินทรปุระ หริหราลัย อมเรนทรปุระ และมเหนทรบรรพต

103.    ปราสาทบายนสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด

(1) เป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวง     

(2) เป็นพุทธสถาน

(3) เป็นที่พักคนเดินทาง         

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 286573 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ปราสาทบายนสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายนคือ บนยอดของปรางค์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศโดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวงหรือนครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณกลางมืองพระนศร

104.    “ลินยี่” หมายถึงอาณาจักรใด

(1) พุกาม       

(2) ชวา           

(3) จามปา      

(4) เวียดนาม

ตอบ 3 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีน หรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก

105.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค        

(2) สะเทิม      

(3) เมาะตะมะ

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่างด้านตะวันออกของแม่นํ้าอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้ง เมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อ มอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ที่ เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

106.    ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอาณาจักรพุกาม

(1) รับพุทธศาสนามาจากอินเดียโดยตรง       

(2) กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

(3) เป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า           

(4) ที่ตั้งอาณาจักรมีความอุดมสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของลุ่มแม่น้ำอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดของพม่า กษัตริย์องค์สำคัญของอาณาจักรพุกาม คือ พระเจ้าอโนรธา ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองและความยิ่งใหญ่ให้กับอาณาจักรพุกาม อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พม่า โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้าง สิทธิธรรมทางพุทธศาสนาในการโจมตีและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ซึ่งดินแดนสำคัญที่เข้าไป ยึดครองก็คือ เมืองสะเทิม

107.    โบราณสถานสมัยทวารวดีส่วนใหญ่ใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง

(1) อิฐ 

(2) หินทราย   

(3) ศิลาแลง   

(4) ปูน

ตอบ 1 หน้า 302 โบราณสถานส่วนใหญ่ในสมัยทวารวดีจะใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง อาจมีการใช้ศิลาแลงบ้างแต่ไม่พบการใช้หินในการก่อสร้าง สำหรับอิฐที่ใช้นั้นเป็นอิฐเผาอย่างดีที่ไส้สุกตลอด เนื้ออิฐแข็ง มีขนาดใหญ่ มีส่วนผสมของแกลบข้าวเหนียวปลูก และมีการตกแต่ง โดยใช้ปูนปั้นประดับ

108.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพ่อขุนรามคำแหง

(1) พระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์          

(2) เป็นโอรสของพ่อขุนบางกลางหาว

(3) เคยปกครองที่เมืองศรีสัชนาลัย    

(4) เป็นพระสหายกับพระยามังราย

ตอบ 1 หน้า 303 พ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งมีพระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงได้ขึ้นปกครอง เมืองศรีสัชนาลัยสืบต่อจากพระเชษฐานามว่าพ่อขุนบานเมือง จากนั้นก็เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรสุโขทัยและพัฒนาฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองทุกด้านจนมีความมั่นคง และสงบสุข ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระสหาย 2 องค์ คือ พระยามังราย เจ้าเมืองเชียงราย และพระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา

109.    ข้อใดกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาถูกต้อง

(1) วัดที่สำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยาคือ วัดราชบูรณะ         

(2) มีราชวงศ์ปกครอง 6 ราชวงศ์

(3) ไม่สามารถผนวกสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาได้สำเร็จ

(4) เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาค

ตอบ 4 หน้า 305 – 307 กรุงศรีอยุธยาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของไทยในปี พ.ศ. 1893 ต่อมาในปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรอยุธยาสามารถผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาได้สำเร็จ และตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคทองของศิลปะและวิทยาการ โดยมีการสร้างวัดทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ วัดพระศรีสรรเพชญ จนกระทั่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง กรุงศรีอยุธยาก็มีความมั่งคั่งสมบูรณ์ และเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้อาณาจักรอยุธยามีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง

110.    คชมาดา เป็นเสนาบดีคนสำคัญของอาณาจักรใด

(1) ศรีวิชัย      

(2) สิงหะส่าหรี

(3) มัชปาหิต   

(4) เคดีรี

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 มัชปาหิตเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจและความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย โดยผู้ที่มีความสามารถและมีส่วนสำคัญในการขยายอำนาจของมัชปาหิตก็คือ มหาเสนาบดีคนสำคัญชื่อ คชมาดา (Gajah Madaซึ่งได้ดำเนินนโยบายแผ่อำนาจออกไปยัง เกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย และจัดตั้งสหพันธรัฐอินโดนีเซียขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่คชมาดา เสียชีวิต อาณาจักรมัชปาหิตก็เสื่อมลงตามลำดับ

111.    ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส

(2) การปฏิวัติอุตสาหกรรม     

(3) การค้า      

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรป เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

1.         เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง

2.         ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

3.         ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปสู่พวกนอกศาสนา

4.         ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทร เพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่

5.         ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ

6.         ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้

112.    ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์    

(2) ปีนัง          

(3) มะละกา   

(4) พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlementโดยมีศูนย์กลาง อยู่ที่เกาะปีนัง

113.    ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส  

(2) สเปน        

(3) ดัตช์          

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 329(คำบรรยาย) สเปนถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในฟิลิปปินส์ ซึ่งสเปน จะเน้นให้คนพื้นเมืองกลับใจมานับถือศาสนาคริสต์เอง โดยไม่ได้ใช้วิธีบังคับข่มขู่ วิธีนี้ทำให้มีชาวพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาคริสต์กันมากถึง 92% ของประชากรทั้งประเทศ

114.    ดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองจาการ์ตาเป็นชื่อใด

(1) ปัตตาเวีย  

(2) มะตะรัม   

(3) บันทัม       

(4) มะละกา

ตอบ 1 หน้า 611 (เล่มเก่า) เมื่อดัตช์หรือฮอลันดาได้เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองในหมู่เกาะอินโดนีเชีย ในช่วงเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติในบันทัม ทำให้ดัตช์มีอำนาจในบันทัม และขับไล่พ่อค้าชาวอังกฤษที่ค้าขายอยู่ในบันทัมไปอยู่ที่จาการ์ตา (Jakartaซึ่งต่อมาดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ เป็น “ปัตตาเวีย” (Batavia)

115.    ข้อใดคือเมืองหลวงของฟิลิปปินส์

(1) มะละกา   

(2) มะละแหม่ง          

(3) มะนิลา     

(4) โมลุกกะ

ตอบ 3 หน้า 329 สเปนสามารถยึดฟิลิปปินส์ได้สำเร็จในครั้งที่ 5 นำโดยเลกัซปีในปี พ.ศ. 2108 โดยกองกำลังทหารของเลกัซปีได้ขึ้นบกที่หมู่เกาะวิสายะและตั้งมั่นอยู่ที่เกาะเซบู ซึ่งเป็น ศูนย์กลางของการขยายอาณาเขตออกไปยังเกาะต่าง ๆ และในปี พ.ศ. 2114 เลกัซปีก็ยึด มะนิลาได้และประกาศให้มะนิลาเป็นเมืองหลวงของฟิลิปปินส์จนถึงปัจจุบัน

116.    บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ตั้งอยู่บนเกาะใด

(1) เกาะสุมาตรา        

(2) เกาะบอร์เนียว      

(3) เกาะชวา   

(4) เกาะสุลาเวสี

ตอบ 3 หน้า 331 ในปี พ.ศ. 2145 ดัตช์ได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company : v.o.c.) ขึ้นที่บันทัมบนเกาะชวา เพื่อระดมทุนจากกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มาสร้างกองเรือพาณิชย์และกองเรือคุ้มกันขนาดใหญ่ ทำให้บริษัทสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนแถบนี้ ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัว อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกมีกำไรมหาศาล และทำให้บันทัมกลายเป็น ศูนย์กลางการค้าในบริเวณนี้

ตั้งแต่ข้อ 117. – 120. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา      

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3) ระบบโปโล

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

117.    ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมืองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถ แสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.         ระบบโปโล (Polo Systemเป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.         ระบบวันดาลา (Vandala Systemเป็นระบบบังคับซื้อสินค้า โดยบังคับให้ชาวพื้นเมือง ขายสินค้าให้สเปนในราคาตํ่า

118.    ระบบที่จัดสรรพื้นที่สำหรับปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ

ตอบ 2 หน้า 334 ในพุทธศตวรรษที่ 24 ดัตฃ์ได้นำระบบวัฒนธรรม (Culture Systemหรือระบบ การเพาะปลูก (Cultivation Systemมาใช้แสวงหากำไรในเกาะชวา โดยผู้ที่เสนอระบบนี้คือ โยฮานเนส วาน เดน บอสซ์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ โดยระบบนี้เป็นการสนับสนุน ให้ทุกหมู่บ้านจัดสรรพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ เช่น อ้อย กาแฟ คราม ฯลฯ เพื่อจ่ายเป็นภาษีให้แก่รัฐบาลอาณานิคม จากนั้นรัฐก็จะนำสินค้าดังกล่าว ไปขายในยุโรป

119.    ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ

120.    ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomiendaคือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ในฟิลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Encomiendorosเรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.    ในวิชาอารยธรรมตะวันออก “ดินแดนตะวันออกกลาง” มีความสำคัญอย่างไร

(1)   เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม

(2)   เป็นที่ตั้งของพีระมิดและสวนลอยบาบิโลน

(3)   เป็นแหล่งความเจริญเริ่มแรกของโลก

(4)   เป็นแหล่งเชื่อมทวีปทั้ง 3 คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา

ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East หรือ Near Eastคือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของการเป็นแหล่งกำเนิด อารยธรรมและความเจริญเริ่มแรกของโลก คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรม อียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของ 3 ศาสนาหลักของโลก คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

2.    ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด

(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(2) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ 

(4) ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.    มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด

(1) ยุคหินเก่า  

(2) ยุคหินใหม่  

(3) ยุคทองแดง 

(4) ยุคสำริด

ตอบ 2 หน้า 6(คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็น หลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่นํ้าใหญ่ เพื่อมุ่งที่จะใข้น้ำในการทำเกษตรกรรมและดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้ อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง

4.    มนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด

(1) สุเมเรียน    

(2) อียิปต์โบราณ    

(3) เปอร์เซียโบราณ 

(4) ฮิบรู

ตอบ 2 หน้า 1118-20 อารยธรรมอียิปต์โบราณมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์ โดยชาวอียิปต์ได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ” เนื่องจาก เป็นชนชาติที่มีความรอบรู้และแม่นยำทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต มีทักษะและ ความขำนาญในการก่อสร้าง และกษัตริย์เก่งในการรบและการปกครอง ทำให้ชาวอียิปต์ ได้ทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมไว้ให้แก่โลกมากที่สุด เช่น มหาพีระมิดที่เมืองกีซา วิหารเทพเจ้าอะมอนที่คาร์นัค เป็นต้น

5.    มนุษย์สมัยโบราณเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้าตั้งมั่นใกล้แหล่งนํ้าเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสำคัญ

(1)   การคมนาคม   

(2)   การปกครอง    

(3)   การเกษตรกรรม

(4)   การค้า,ขาย

ตอบ 3     ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6.    อารยธรรมของมนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดได้ทิ้งร่องรอยความเจริญไว้มากที่สุด

(1)   สุเมเรียน  

(2)   อียิปต์โบราณ  

(3)   เปอร์เซียโบราณ

(4)   ฮิบรู

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7.    อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่บริเวณใด 

(1) แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส

(2) แม่นํ้าไนล์  

(3) เมืองอเล็กซานเดรีย    

(4) แม่นํ้าสินธุ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

8.    ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด

(1)   สมัยก่อนราชวงศ์     

(2)   สมัยอาณาจักรเก่า   

(3)   สมัยอาณาจักรใหม่   

(4)   สมัยราชวงศ์

ตอบ 4 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณจัดตั้งชาติและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตริย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็นชาวอียิปต์โบราณ มีทิ้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ”ซึ่งสมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่า สมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

9. อียิปต์โบราณเริ่มสร้างพีระมิดในสมัยใด  

(1) สมัยราชวงศ์

(2) สมัยอาณาจักรเก่า     

(3) สมัยอาณาจักรกลาง   

(4) สมัยจักรวรรดิ

ตอบ 2 หน้า 9 – 1018 – 1968 – 69 (เล่มเก่า) ในช่วงราชวงศ์ที่ 3 – 6 (2665 – 2200 B.C.) ในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิบต์โบราณ เป็นยุคที่มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมสูงมาก โดยมีการสร้างพีระมิดซึ่งเป็นสุสานหินยอดแหลมเพื่อเก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้พบว่ามีการสร้างพีระมิดมากถึง 20 องค์ จบเป็นผลให้สมัยอาณาจักรเก่า ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สมัยพีระมิด” (The Pyramid Age)

10.  ตัวอักษรภาพของอียิปต์โบราณมีชื่อเรียกว่าอะไร

(1)   ไฮโรกลิฟิก     

(2) เดโมติก     

(3) ไฮราดิก    

(4) เดโมติก

ตอบ 1 หน้า 17 – 18 ชาวอียิปต์โบราณได้เริ่มประดิษฐ์ “ตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphicsขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.Cซึ่งแต่เดิมนั้นตัวอักษรนี้มีประมาณ 700 ตัว ต่อมาพระและอาลักษณ์ได้ปรับปรุงตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิกเพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น และให้มีจำนวนน้อยลง ด้วยการประดิษฐ์ตัวอักษรไฮราติก (Hieraticขึ้นในปี 1100 B.Cและพัฒนามาเป็นตัวอักษร เดโมติก (Demoticซึ่งมีจำนวนตัวอักษรเพียง 24 ตัว ในปี 700 B.C.

11.  จุดมุ่งหมายในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 คืออะไร

(1)   โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของชาวอียิปต์โบราณ    

(2) คัมภีร์มรณะคือเอกสารยืนยันความดีของผู้ตาย

(3) เชื่อในเทพเจ้าอะตันเพียงพระองค์เดียว  

(4) เชื่อในวันพิพากษาโลกและเชื่อว่าโลกหน้ามีจริง

ตอบ 3 หน้า 17 ฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 หรืออัคนาตัน ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิรูปศาสนาคนแรกของอียิปต์โบราณและคนแรกชองโลก ซึ่งหลักปรัชญาอันเป็นจุดมุ่งหมายในการปฏิรูปศาสนาของพระองค์คือ จงยึดมั่นในเทพเจ้าอะตัน (Atonหรือสุริยเทพเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว

12.  ข้อใดถูก

(1)   อียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง

(2)   โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์โบราณ

(3)   ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการชลประทานในสมัยอาณาจักรกลาง

(4)   โรมันคือชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ปกครองดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์

ตอบ 1 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายไปดวงวิญญาณจะคงอยู่ และจะเกิดใหม่ ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือ คัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดเพื่อใช้เป็นทื่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์

13.  กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ”

(1)   สุเมเรียน  

(2)   อียิปต์โบราณ  

(3) ฮิตไตท์     

(4)   กรีกโบราณ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

14.  พีระมิดคือสุสานหินยอดแหลม เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย ถามว่าพีระมิดเริ่มสร้างเมื่อไร

(1) สมัยก่อนราชวงศ์

(2)   สมัยจักรวรรดิ  

(3) สมัยราชวงศ์

(4)   สมัยอาณาจักรเก่า

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

15.  ใครคือฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ

(1) เมนตูโฮเต็ปที่ 1  

(2)   รามเซสที่ 2     

(3) ทัสโมสที่ 3 

(4)   เซติที่ 4

ตอบ 2 หน้า 13 รามเซสที่ 2 เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 19 แห่งสมัยอาณาจักรใหม่ โดยทรงเก่งในการรบ มีชัยชนะเหนือฮิตไตท์ และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ” (The Last of the Great Pharaohซึ่งผลงานชิ้นสุดท้ายของพระองค์คือ ปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส โดยโมเสสเป็นผู้นำฮิบรูมุ่งเดินทางกลับปาเลสไตน์

16.  อักษรภาพเริ่มแรกของอียิปต์โบราณมีชื่อเรียกว่าอะไร

(1)   ไฮราติก  

(2)   เดโมติก   

(3)ไฮโรกลิฟิก 

(4)   เดโมกลิฟิก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

17. จงยึดมั่นในพระเจ้าอะตันเพียงองค์เดียว เป็นหลักปรัชญาศาสนาของใคร 

(1) โมเสส

(2) อะเมนโฮเต็ปที่ 4 

(3) กษัตริย์ซาร์กอนแห่งอัคคัด  

(4) โซโรแอสเตอร์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

18.  กลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง คือกลุ่มชนใด

(1) ดราวิเดียน 

(2) ฟินิเชียน    

(3) อียิปต์โบราณ    

(4)   ฮิบรู

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

19. อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด    

(1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(2) อารยธรรมอียิปต์โบราณ     

(3) อารยธรรมอินเดียโบราณ    

(4) อารยธรรมกรีกโบราณ

ตอบ 1 หน้า 2181 (เล่มเก่า) อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดในดินแดนระหว่างแม่นํ้าไทกริสและยูเฟรตีส หรือที่เรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” ซึ่งเราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ดินแดน พระจันทร์เสี้ยว’ (Fertile Crescentปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก

20.  กลุ่มชนใดเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(1) ฮิตไตท์     

(2) อัคคาเดียน 

(3) อะมอไรท์   

(4) สุเมเรียน

ตอบ 4 หน้า 21 – 2282 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมโสใปเตเมียซึ่งเรียกว่า “ซูเมอร์” เมื่อประมาณ 5000 B.Cและถือเป็นผู้วางรากฐาน อารยธรรมเมใสโปเตเมีย ซึ่งอารยธรรมที่เด่น ๆมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง สังคม การประกอบอาชีพ ศาสนา ศิลปะการเขียน สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์

21.  จุดมุ่งหมายของการสร้างซิกกูแรตคืออะไร

(1) เป็นวิหารเทพเจ้า 

(2) เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย

(3) เป็นสถานที่ศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า   

(4) เป็นที่อยู่ของผู้ปกครองนครรัฐ

ตอบ 1 หน้า 23 – 24 สถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุดของชาวสุเมเรียนก็คือ มหาวิหารหอคอยหรือซิกกูแรต (Zigguratที่นครรัฐเออรุค ซึ่งสร้างขึ้นด้วยอิฐ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างก็คือ ใข้เป็นวิหารเทพเจ้า ซึ่งขึ้นบนสุดของซิกกูแรตจะถูกกำหนดให้เป็นที่ประทับของเทพเจ้าและเป็นศาสนสถาน สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

22. สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด 

(1) ไฮโรกลิฟิก

(2) คูนิฟอร์ม   

(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน    

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 23(คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiformซึ่งเป็นศิลปะการเขียนของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดย อักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวสุเมเรียน จะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง เพื่อเก็บรักษาข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง

23.  มรดกความเจริญที่แคลเดียนให้แก่โลกคือด้านใด

(1)   การปกครอง    

(2) สถาปัตยกรรม    

(3)   ศาสนา    

(4) ภาษา

ตอบ 2 หน้า 3293 (เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก ได้แก่

1.    ด้านสถาปัตยกรรมที่เด่น ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้น ในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

2. ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันดต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

24.  มรดกความเจริญที่อะมอไรท์ให้แก่โลกคือด้านใด

(1) การปกครอง

(2) ศาสนา      

(3) สถาปัตยกรรม    

(4) ภาษา

ตอบ 1 หน้า 25 – 26 อะมอไรท์หรือบาบิโลเนียนเป็นกลุ่มชนที่รับ สืบทอด และส่งต่ออารยธรรม สุเมเรียน-อัคคาเดียนในทุกด้าน โดยมรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่อะมอไรท์ให้ไว้ แก่โลกคือ ด้านการปกครอง ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabiซึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด และมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์ม เป็นฉบับแรกของโลก

25.  แหล่งกำเนิดอารยธรรมฟินิเชียน ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร

(1)   ซีเรีย

(2)   เลบานอน 

(3) จอร์แดน    

(4)   อิสราเอล

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 อารยธรรมฟินิเชียนมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนฟินิเชียบนชายฝั่งตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินิเชียนได้ชื่อว่าเนิบผู้วางรากฐาน อารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตก ได้เป็นอย่างดีควบคู่ไปกับการค้าขายทางเรือ

26.  กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ”

(1)   อัสซีเรียน 

(2)   ฮิตไตท์   

(3) ฟินิเชียน    

(4)   ออตโตมาน เติร์ก

ตอบ 2 หน้า 35 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตะวันออกของเอเชียไมเนอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์ เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเนอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักรบผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ” ซึ่งการรบของฮิตไตท์มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขยายดินแดนและ อำนาจ แสวงหาเส้นทางการค้า และแสวงหาแร่เหล็กเพื่อนำมาทำของใช้และอาวุธ

27.  ข้อใดถูก

(1)   มรดกความเจริญทื่อราเมียนให้แก่โลกคือการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(2)   สุเมเรียนนำการวางรากฐานอารยธรรมในดินแดนเอเชียไมเนอร์

(3)   พยัญชนะที่ยุโรปใช้กันในปัจจุบันมีรากฐานมาจากพยัญชนะฟินิเชียน

(4)   มรดกความเจริญที่ฮิบรูให้แก่โลกคือด้านสถาปัตยกรรม

ตอบ 3 หน้า 40 มรดกความเจริญเด่นที่ฟินิเชียนให้ไว้แก่โลกคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการประดิษฐ์ พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว ต่อมาเมื่อกรีกรับและนำพยัญชนะฟินิเชียนไปใช้ในยุโรป กรีกได้พัฒนาและเพิ่มพยัญชนะจาก 22 ตัวเป็น 26 ตัว ดังนั้นพยัญชนะฟินิเชียนจึงเป็น รากฐานของพยัญชนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรบใช้ในปัจจุบัน

28.  แหล่งกำเนิดอารยธรรมอิสลามคือดินแดนใด

(1)   ตะวันออกกลาง

(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย

(3) คาบสมุทรอาระเบีย

(4) คาบสมุทรบอลข่าน

ตอบ 3 หน้า 6372 – 75 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอาระเบีย (ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในช่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกาหลิบฮารัน เอล-ราชิด นั้น ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง

29.  ยุคทองของอารยธรรมอิสลามคือช่วงเวลาใด

(1)   ออตโตมาน เติร์ก

(2) ราชวงศ์อุมัยยัด  

(3)   เซลจุก เติร์ก    

(4)   ราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30.  ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม

(1)   อาบู บากร์

(2) โอธมาน    

(3)   อาลี 

(4)   มูวียะ

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์ โดยมีเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบ ทั้ง 4 องค์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ได้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองค์แรกของ จักรวรรดิมุสลิม) โอมาร์ โอธมาน และอาลี

31. ประเทศจีนตั้งอยู่ในภูมิภาคใด     

(1) เอเชียตะวันออก

(2) เอเชียใต้    

(3) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(4) เอเชียกลาง

ตอบ 1 หน้า 97 จีนเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศที่อยู่ทางภาคตะวันตกและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะปกคลุมด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง เช่น ภูเขาหิมาลัย ภูเขาคุนลุ้น ที่ราบสูงทิเบต ฯลฯ ส่วนพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้เป็นที่ราบ ที่ลาดเอียงไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

32.  พื้นที่ราบของจีนมีมากทางส่วนใดของประเทศ

(1) ภาคเหนือ  

(2) ภาคตะวันตก     

(3) ภาคตะวันออกเฉียงใต้

(4) ภาคตะวันออก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33.  เครื่องปั้นดินเผาลีและเสียนเกิดขึ้นในสมัยใดของจีน

(1) 4,000 ปีก่อนคริสตกาล      

(2) 3,000 – 2,000 ปีก่อนคริสตกาล

(3) 2,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล 

(4) 1,000 ปีก่อนคริสตกาล

ตอบ 1 หน้า 99150 (เล่มเก่า) จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบบริเวณตอนกลางของจีนแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง ทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่เชื่อว่า ความเจริญของจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ น่าจะเกิดขึ้นในยุคหินใหม่หรือเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งหลักฐานสำคัญที่แสดง ให้เห็นถึงความเจริญเริ่มแรกของจีน ได้แก่ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน

34.  ข้อใดเป็นความเจริญที่เกิดขึ้นในจีนสมัยราชวงศ์โจว

(1)   ความเป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตยของกษัตริย์เหยากับกษัตริย์ชุน

(2)   แนวคิดที่ว่าด้วย “อาณัติแห่งสวรรค์”

(3)   ตัวอักษรจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

(4)   ลัทธิขงจื๊อใหม่ของนักปรัชญาที่ชื่อชูสี

ตอบ 2 หน้า 102 ความเจริญเด่นที่เกิดขึ้นในจีนสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกคือ ผู้ปกครองได้นำแนวคิด ทางการเมืองที่ยอดเยี่ยมซึ่งเรียกว่า “ทฤษฎีแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็น ครั้งแรก โดยกษัตริย์โจวจะถือว่าตนเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิ ที่สวรรค์ส่งลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลกเรียกว่า “อาณัติแห่งสวรรค์”

35.  จีนโบราณยุคใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองทางด้านปรัชญา

(1) ราชวงศ์เซีย

(2) ราชวงศ์ชาง

(3) ราชวงศ์โจว

(4) ราชวงศ์จิ๋น

ตอบ 3 จีนในสมัยราชวงศ์ โจวตะวันออกแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ

1. ยุคฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ (722 – 481 B.C.) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองทางด้านปรัชญา” โดยนักปรัชญาที่สำคัญในยุคนี้มี 3 ท่าน ได้แก่ ขงจื๊อ เล่าสือ และโมจื๊อ

2. ยุคแห่งความแตกแยก (403 – 221 B.C.) เป็นยุคที่บ้านเมืองเกิดสงครามจนถึงขั้นที่เรียกว่า “ภาวะจลาจลหรือเลียดก๊ก” ซึ่งทำให้เกิด การเสนอข้อคิดเห็นทางปรัชญาขึ้นมากมาย โดยนักปรัชญาที่สำคัญในยุคนี้มี 3 ท่าน ได้แก่ เม่งจื๊อ ซุนจื๊อ และฮั่นไฝสือแห่งสำนักฝาเจี่ยหรือนิติธรรมนิยม

36.  ข้อใดไม่ใช่ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้

(1)   เป็นผู้นำลัทธิขงจื๊อมาใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ

(2)   เป็นผู้นำแนวคิดหลักของลัทธิฝาเจี่ยมาใช้ในการรวมแผ่นดินที่แตกแยกเข้าด้วยกัน

(3) เป็นผู้สร้างกำแพงเมืองจีน    

(4) ประกาศให้ใช้ตัวอักษรแบบเดียวกันทั้งประเทศ

ตอบ 1 ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่ง

ราชวงค์จิ๋น มีดังนี้

1. ทรงนำแนวคิดหลักของสำนักฝาเจี่ยมาใช้ในการรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน (China)

2.    ทรงปกครองจักรวรรดิด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และทรงเป็นประมุขผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงองค์เดียว     

3. ประกาศให้นำตัวอักษรจีนมาใช้เขียนในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ 4. ทรงต่อเติมและเชื่อมกำแพงเมืองที่มีอยู่เข้าด้วยกันเป็นกำแพงเมืองจีน ฯลฯ

37.  ข้อใดเป็นรายได้หลักของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(1) กำไรจากการออกพันธบัตรเงินกู้  

(2) ผลผลิตจากสินค้าด้านเกษตรกรรม

(3)   ภาษีที่เก็บจากธุรกิจค้าฝิ่นของชาวจีน 

(4) รายได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตอบ 2 หน้า 109(คำบรรยาย) เศรษฐกิจของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก โดยเน้นไปที่การใช้ประโยชน์บนที่ดินและการทำเกษตรกรรม ซึ่งรายได้หลักของ รัฐบาลจีนในสมัยนี้จะมาจากการขายผลผลิตสินค้าด้านเกษตรกรรม การเก็บภาษที่ดิน ภาษีรัชชูปการ และภาษีจากการผูกขาดสินค้าบางชนิด ได้แก่ เกลือ เหล็ก เหล้า และใบชา

38.  การพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นทำให้จีนต้องสูญเสียดินแดนใดให้กับอังกฤษ

(1) ปักกิ่ง 

(2) เทียนสิน    

(3) นานกิง      

(4) ฮ่องกง

ตอบ 4 หน้า 112 – 113216 – 217 (เล่มเก่า) ผลของสงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1842 ปรากฏวาจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคฉบับแรกกับอังกฤษ เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nankingซึ่งส่งผลทำให้จีนต้องยกเกาะฮ่องกง ให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่าอีก 5 แห่ง ได้แก่ แคนดอน เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตสัมปทานอยู่ในความดูแลของอังกฤษ อีกทั้งต้องสูญเสียสิทธิในการปกครองหรือ อำนาจอธิปไตยจนตกเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตก ต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอก อาณาเขตหรือสิทธิทางการศาล ต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่จีนทำลายไป ต้องสูญเสียสิทธิในการกำหนด อัตราภาษี และต้องยอมรับเงื่อนไขของความเป็นมิตรที่ดีของต่างชาติ

39.  ราชวงศ์ใดที่ไม่ใช่ชาวฮั่นที่มาปกครองจีน

(1) ราชวงศ์จิ๋น 

(2) ราชวงศ์หยวน    

(3) ราชวงศ์ถัง  

(4) ราชวงศ์สุย

ตอบ 2 หน้า (เล่มเก่า) 194207209(คำบรรยาย) ในประวัติศาสตร์ของจีนเกือบทุกราชวงศ์จะอยู่ภายใต้การปกครองของชาวฮั่นหรือชาวจีนแท้ๆ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ที่จีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นหรือเป็นชาวต่างชาติ นั่นคือ ราชวงศ์หยวนหรือราชวงศ์มองโกล ซึ่งนับเป็นราชวงศ์ต่างชาติราชวงศ์แรกที่เข้ามาปกครองจีน และราขวงศ์ชิงหรือราชวงศ์แมนจู

40. ชาติตะวันตกเดินทางสู่จีนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อจุดประสงค์ใด 

(1) ค้าขายและเผยแผ่ศาสนา

(2)   สำรวจดินแดนเพื่อนำไปสร้างแผนที่   

(3) เพื่อล่าอาณานิคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาติตะวันตกเริ่มเดินทาง เข้ามาในเอเชียมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1514 ได้มีชาวตะวันตกชาติแรกเดินทางเข้ามาติดต่อ ค้าขายกับจีนคือ พ่อค้าชาวโปรตุเกส ตามมาด้วยฮอลันดา (ดัตช์) อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยมี วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางเข้ามาก็เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์และต้องการติดต่อค้าขายกับจีน

41.  ข้อใดเป็นไปตามลำดับของการจัดชนชั้นของจีนโบราณ

(1)   นักปกครอง ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า ผู้ไม่มีอาชีพ

(2)   นักปกครอง ช่างฝีมือ ชาวไร่ชาวนา พ่อค้า ผู้ไม่มีอาชีพ

(3)   นักปกครอง พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ ผู้ไม่มีอาชีพ

(4)   นักปกครอง ช่างฝีมือ พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ผู้ไม่มีอาชีพ

ตอบ 1 หน้า 111(คำบรรยาย) สังคมจีนโบราณส่วนใหญ่จะมีการแบ่งชนชั้นตามเกณฑ์อาชีพออกเป็น 5 ชนชั้นตามแนวคิดของขงจื๊อ ได้แก่

1. ผู้ปกครอง (นักปกครอง) ถือว่าเป็นชนชั้นสูงสุด และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ดี”

2. ชาวไร่ชาวนา

3. ช่างฝีมือ

4. พ่อค้า ถือว่าเป็น อาชีพที่ตํ่าต้อย

5. บุคคลผู้ไม่มีอาชีพหรือมีอาชีพแต่ผิดกฎหมาย เช่น พวกอาชญากร ฯลฯ

42.  มาตรการทางสังคมใดที่ผู้ปกครองแมนจูบังคับให้ชาวจีนทุกคนต้องปฏิบัติ

(1)   ชาวจีนไม่ต้องสอบเข้ารับราชการตามแบบอย่างจีนโบราณ

(2)   ชาวจีนไม่อาจเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

(3) ชาวจีนต้องแต่งกายและโกนศีรษะตามแบบยย่างชาวแมนจู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 111-112 ผู้ปกครองในสมัยราชวงศ์ชิงหรือราชวงศ์แมนจูได้นำมาตรการทางสังคมเข้ามาใช้ โดยบังคับให้ชาวจีนทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันความปลอดภัยและรักษาเอกลักษณ์ของชาวแมนจู ที่สำคัญ ได้แก่     

1. ชาวจีนต้องใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาของทางราชการ

2. ชาวจีนต้องแต่งกายแบบชาวแมนจู 

3. ห้ามชาวจีนแต่งงานกับชาวแมนจู

4. ชาวจีนต้องโกนผมส่วนหน้าประมาณครึ่งศีรษะและไว้ผมเปียแบบชาวแมนจู

5. ชาวจีนที่จะเข้ารับราชการต้องผ่านการสอบไล่ตามแบบอย่างจีนโบราณ ส่วนชาวแมนจู ได้รับสิทธิพิเศษโดยไม่ต้องสอบ

43.  ใครคือบิดาแห่งนักปฏิวัติ

(1) จิ๋นซี ฮ่องเต้

(2) ซุนยัดเซ็น  

(3) เมาเซตุง    

(4) เติ้งเสี่ยวผิง

ตอบ 2 หน้า 113219 – 220 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ซุนยัดเซ็นเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นทางด้านการเมืองในประเทศจีน โดยในปี ค.ศ. 1912ซุนยัดเซ็นได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจราชวงศ์แมนจู โดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราขย์ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐที่เมืองนานกิงเป็นผลสำเร็จภายใต้การร่วมมือของหยวนซือไข จนกระทั่งนำพาจีนก้าวเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐอย่างสมบูรณ์ จึงทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนักปฏิวัติจีนสมัยใหม่ นับตั้งแต่นั้น

44.  พรรคคอมมิวนิสต์จีนจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อใด

(1) ปี 1912    

(2) ปี 1921    

(3) ปี 1945    

(4) ปี 1949

ตอบ 2 หน้า 114(คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1921 ป้ญญาชนจีน 13 คน (รวมถึงเมาเซตุง) ได้ร่วมกัน จัดตั้งพรรคคอมมิวนิลต์จีนขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการปฏิรูปประเทศจีน ในสมัยสาธารณรัฐ ซึ่งแนวทางดังกล่าวก็คือ การสร้างรัฐสังคมนิยมของจีนด้วยการปฏิรูปประเทศ ให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของลัทธิมาร์กซ์ (Marxism)เลนิน (Leninismและเมา (Maoismนั่นเอง

45.  ใครคือผู้นำประเทศจีนคนปัจจุบัน

(1) นายหู จิ่นเทา     

(2) นายหลี ต้าเจ้า    

(3) นายสี จิ้นผิง

(4) นายหู เหยาบาง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) นายสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด (ประธานาธิบดี) แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนคนปัจจุบัน โดยเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสี จิ้นผิง ถือว่าเป็นหัวหน้าของคณะผู้นำจีนรุ่นที่ 5 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของจีนคือ หลี่ เค่อเฉียง

46.  เกาะฮอกไกโดตั้งอยู่ทางภาคใดของญี่ปุ่น

(1) ภาคเหนือ  

(2) ภาคใต้      

(3) ภาคตะวันตก     

(4) ภาคตะวันออก

ตอบ 1 หน้า 121(คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่

1.    เกาะฮอกไกโด เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นแหล่งกำเนิด อารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น

2.    เกาะฮอนขู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ และถือว่ามีความเจริญมากที่สุด โดยเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองของญี่ปุ่น

3.    เกาะชิโกกุ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและขายฝั่งทะเล

4.    เกาะคิวชิว เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น และเป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมาก จากการติดต่อกับชาวยุโรป

47.  แหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่นอยู่บนเกาะใด

(1) เกาะฮอกไกโด   

(2) เกาะฮอนชู 

(3) เกาะชิโทกุ  

(4) เกาะกิวชู

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48.  จิมมู เทนโน คือใคร

(1)   ผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นขึ้นเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล

(2)   หลานชายของนินิงิผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพีแห่งดวงอาทิตย์

(3) ผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งตามตำนานความเชื่อของชาวญี่ปุ่นโบราณ(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หนังสือโคจิกิและหนังสือนิฮอง โชกิ เป็นงานบันทึกทาง ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นโบราณ โดยกล่าวถึงเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นในลักษณะเทพนิยายว่า แผ่นดินญี่ปุ่นสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า มีศูนย์กลางอยู่บนที่ราบยามาโตทางตอนกลางของเกาะฮอนชู องค์จักรพรรดิและประชาชนล้วนสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าทั้งสิ้น โดยจักรพรรดิพระองค์แรก ตามตำนานความเชื่อของชาวญี่ปุ่นทรงมีพระนามว่า “จิมมู เทนโน” ซึ่งเป็นหลานชายของนินิงิผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์หรือเทพีอะมาเตระสึ โดยขึ้นครองราชย์และก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นขึ้นเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล

49.  หนังสือ “โคจิกิ” และ “นิฮอง โชกิ” เป็นผลงานประเภทใด

(1)   บันทึกทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นโบราณ

(2)   บันทึกการผจญภัยของบรรดาเหล่าซามูไรในสมัยโชกุนเรืองอำนาจ

(3)   เป็นบันทึกบทเพลงจองผู้คนในราชสำนัก

(4)   ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50.  ชาวไอนุ คือใคร

(1)   เป็นบรรพบุรุษรุ่นแรกที่เดินทางมาตั้งรกรากในญี่ปุ่น

(2)   เป็นผู้นำอารยธรรมจีนมาเผยแพร่ในญี่ปุ่น

(3)   เป็นศาสดาแห่งลัทธิชินโต

(4)   เป็นนักรบผู้เก่งกล้าแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออก

ตอบ 1 หน้า 123(คำบรรยาย) พวกไอนุ ถือว่าเป็นบรรพบุรุษกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่บนเกาะฮอกไกโดทางภาคเหนือของญี่ปุ่นในช่วงประมาณ 20,000 – 10,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นพวกที่มีเชื้อสายคอเคซอยด์มากกว่ามองโกลอยด์ ดังนั้นจึงมีลักษณะคล้ายชาวยุโรป มากกว่าชาวเอเชีย นั่นคือ เป็นคนผิวขาว หน้าแบน ตาสีฟ้า ขนดก และมีรูปร่างไม่สูงนัก ปัจจุบันพวกไอนุจะอาศัยอยู่มากบนเกาะฮอกไกโดและเกาะคูริล

51.  วัฒนธรรมทูมูลิ ญี่ปุ่นรับมาจากใคร

(1) จีน    

(2) มองโกเลีย  

(3) เกาหลี

(4) ไต้หวัน

ตอบ 3 หน้า 124 – 125 วัฒนธรรมทูมูลิหรือวัฒนธรรมหลุมฝังศพ เป็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณอย่างหนึ่งที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็น สุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญจองประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ ทั้งนี้จะมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น รูปตุ๊กตาดินเผาหรือตัวฮานีวา อาวุธของนักรบ และเครื่องประดับต่าง ๆ ฝังรวมลงไปในหลุมฝังศพด้วย โดยเริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

52.  ลัทธิชินโตของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากใคร

(1) จากธรรมชาติอันงดงามของญี่ปุ่นเอง    

(2) จากจีนโดยผ่านมาทางเกาหลี

(3) จากรัสเซียโดยผ่านมาทางจีน      

(4) จากอินเดียโดยผ่านมาทางจีน

ตอบ 1 หน้า 126(คำบรรยาย) ลัทธิชินโต เป็นลัทธิดั้งเดิมของญี่ปุ่นโบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากธรรมชาติอันงดงามและสิ่งแวดล้อมที่นำรื่นรมย์ของญี่ปุ่นเอง โดยเน้นการควบคุมธรรมชาติ มากกว่าความหวาดกลัว และเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีวิญญาณ ดังนั้นจึงมีการนับถือธรรมชาติ โดยไม่มีเกณฑ์ใด ๆ แน่นอน ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่นได้สถาปนา “ลัทธิชินโตของรัฐ” ขึ้น ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นที่เน้นความเป็นชาตินิยม และการนับถือองค์จักรพรรดิ ว่ามีฐานะเป็นเทพ

53.  ญี่ปุ่นในสมัยโชกุนเรืองอำนาจ โชกุนตระกูลใดสร้างความเจริญให้กับประเทศมากที่สุด

(1) ตระกูลมินาโมโต 

(2) ตระกูลอาชิกากา

(3) ตระกูลโตกูกาวา 

(4) ตระกูลแห่งที่ราบยามาโต

ตอบ 3 หน้า 131(คำบรรยาย) ญี่ปุ่นในสมัยศักดินาหรือสมัยโชกุนเรืองอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้การนำของโชกุนตระกูลโตกูกาวานั้น นับเป็นสมัยที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเจริญทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นสมัยที่ชาวญี่ปุ่นให้การยอมรับว่าเกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองมากที่สุด อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน จนอาจกล่าวได้ว่า “ความเจริญเติบโตของญี่ปุ่นในสมัยใหม่ต่างก็มีรากฐานมาจากความเจริญที่เกิดขึ้นในสมัยนี้เกือบทั้งนั้น”

54. พรรคการเมืองใดที่มีอำนาจบริหารประเทศญี่ปุ่นอยู่ในปัจจุบัน

(1) พรรคการเมืองใหม่

(2) พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคประชาชนรุ่นใหม

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายชินโซะ อาเบะ หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ได้รับการแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)

55.  ใครคือนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนปัจจุบัน

(1) นายซูซูกิ   

(2) นายคัง

(3) นายฟูจิมูริ  

(4) นายอาเบะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56.  คำว่า “ถังจิ๋ว” หมายถึงประเทศใด

(1) เกาหลี

(2) ไต้หวัน      

(3) จีน    

(4) ญี่ปุ่น

ตอบ 1เกาหลีโบราณมีการปกครองที่เรียกว่า“สมัย 3 อาณาจักร” (Three Kingdomsซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวเกาหลีแท้ๆ ประกอบด้วย อาณาจักรโคคูเรียวหรือโคกูรยอ (มีอิทธิพลมากที่สุด) อาณาจักรปักเจ และอาณาจักรซิลลา ซึ่งได้ชื่อว่า “ถังจิ๋วหรือถังน้อย” (Little Tangเนื่องจากได้รับเอาแบบอย่างความเจริญมาจากจีนในสมัยราขวงศ์ถัง

57.  ทำไมเกาหลีในอดีตจึงเป็นประเทศที่อ่อนแอในกลุ่มเอเชียตะวันออก

(1)   สถานที่ตั้งไม่ปลอดภัยเพราะอยู่ท่ามกลางประเทศมหาอำนาจ

(2)   คนเกาหลีมีนิสัยชอบชักศึกเข้าบ้าน

(3) คบเกาหลียากจนเพราะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 141(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 330) ด้วยเหตุที่เกาหลีมีสภาพทางภูมิศาสตร์ หรือสถานที่ตั้งที่ไม่ปลอดภัยเนื่องจากอยู่ท่ามกลางประเทศมหาอำนาจ 3 ชาติ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย รวมทั้งอาณาจักรโบราณของชนเผ่าเร่ร่อนทางภาคเหนือ ตลอดจนความสำคัญทางจุดยุทธศาสตร์ ทำให้เกาหลีต้องตกเป็นสมรภูมิรบหลายครั้ง แม้เกาหลีจะพยายามหลีกเลี่ยงสงครามด้วยการใช้นโยบายแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวและยึดมั่นในสันติภาพจนได้รับสมญานาม ร้า “รัฐฤๅษี” แต่เกาหลีก็ไม่เคยพบกับความสงบ ถ้าไม่ตกเป็นอาณานิคม ก็ต้องสูญเสีย อำนาจอธิปไตยไป ส่งผลให้เกาหลีในอดีตกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออกด้วยกัน

58.  หลังสงครามใดที่เกาหลีแตกออกเป็น 2 ประเทศจนถึงปัจจุบัน

(1) สงครามฝิ่น 

(2) สงครามปราบกบฏนักมวย

(3) สงครามระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นปี 1910

(4) สงครามระหว่างเกาหลีด้วยกันในปี 1950

ตอบ 3 หน้า 144162 สงครามระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ค. 1910 – 1945 ต่อมา เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงได้รับเอกราชและตกอยู่ภายใต้การดูแลร่วมของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ซึ่งพยายามให้มีการจัดตั้งรัฐบาลเกาหลีที่มีอำนาจเต็มขึ้น แต่ด้วยแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกัน เกาหลีจึงแตกแยกออกเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ (นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์) และเกาหลีใต้ (นิยมลัทธิประชาธิปไตย) ตรงเส้นขนาน ที่ 38 องศาเหนือซึ่งเป็นเขตปลอดทหาร

59. เกาหลีในสมัย 3 อาณาจักร ประกอบด้วยอาณาจักรใดบ้าง

(1) โคกูรยอ ปักเจ ซิลลา

(2) โคเรียว ยี โชซอน

(3) ปักเจ โชซอน โคกูรยอ

(4) ซิลลา คายา มิมานา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

60.  คิม จองอึน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งใดในเกาหลีเหนือ

(1) นายกรัฐมนตรี    

(2) ประธานรัฐสภา

(3) ผู้นำสูงสุดของประเทศ 

(4) ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) คิม จองอึน เป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลีอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เขาได้เป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ ๆ หลายอย่างในเกาหลีเหนือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่ประเทศ รวมทั้งมุ่งพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ ของประเทศเป็นสำคัญ

61.  แหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด

(1) สินธุ  

(2) คงคา 

(3) พรหมบุตร  

(4) ยมุนา

ตอบ 1 หน้า 183 – 184188 อารยธรรมลุ่มม้ำสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลก โดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ หรืออินดัสในประเทศปากีสถานปัจจุบัน ทั้งนี้ได้มีการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปา โดยพบว่าสิ่งก่อสร้างของทั้ง 2 เมืองนั้นส่วนใหญ่ทำมาจากอิฐเผาไฟ ที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ชาวสินธุยังเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบ และทำท่อระบายนํ้าโสโครก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุมีความเจริญสูงสุด ด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในบริเวณอื่นของโลก

62.  มรดกอารยธรรมในข้อใดมีอายุน้อยที่สุด

(1) พีระมิด

(2) ปราสาทนครวัด  

(3) ปราสาททัชมาฮาล     

(4) อักษรคูนิฟอร์ม

ตอบ 3 หน้า 226(คำบรรยาย) ปราสาททัชมาฮาล เป็นมรดกทางอารยธรรมของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย โดยสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ช่วงปี ค.ศ. 1630 – 1652) ในสมัยพระเจ้าซาห์เจฮาน เพื่อใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของพระมเหสีมุมทัช ซึ่งทัชมาฮาลจะสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ประดับประดาด้วยอัญมณีที่ประมาณค่าไม่ได้ เป็นศิลปะฮินดูผสมมุสลิม และจัดเป็น สถาปัตยกรรมที่มีความงดงามจนนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ในปัจจุบันทัชมาฮาล ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ รพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนวรรณกรรมรางวัลโนเบล ได้ให้คำจำกัดความของปราสาทแห่งนี้ว่า “เป็นหยาดนํ้าตาบนใบหน้าอันงดงามแห่งนิรันดรกาล” (ดูคำอธิบายข้อ 9. และ 22. ประกอบ)

63.  ประเทศใดในเอเชียใต้ที่มีเสันพรมแดนติดต่อกับประเทศอัฟกานิสถาน

(1) อินเดีย

(2) เนปาล

(3) บังกลาเทศ 

(4) ปากีสถาน

ตอบ 4 หน้า 171173 ปากีสถานเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้โดยมีอาณาเขตหรือ เส้นพรมแดนทางทิศเหนือติดกับจีน ทางทิศตะวันตกติดกับอิหร่านและอัฟกานิสถาน ทางทิศตะวันออกติดกับอินเดีย และทางทิศใต้ติดกับทะเลอาหรับ

64.  อารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้มีความเจริญสูงสุดด้านใด เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกบริเวณอื่นของโลก

(1) ด้านสถาปัตยกรรม     

(2) ด้านสุขาภิบาล   

(3) ด้านชลประทาน  

(4) ด้านการแพทย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65.  จากหลักฐานด้านโบราณคดีที่พบในบริเวณแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้ ทำให้เชื่อว่ามีการบูชาเทพเจ้าองค์ใด

(1) พระอินทร์   

(2) พระอัคนี    

(3) พระศิวะ     

(4) พระพรหม

ตอบ 3 หน้า 186 – 187,356 (เล่มเก่า)(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 83) ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าสินธุอันเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้นั้น ได้มีการขุดพบดวงตราที่มีการแกะสลักเป็นรูปพระศิวะนั่งขัดสมาธิอยู่บนบัลลังก์ และมีสัตว์อยู่ล้อมรอบ (ปางปศุบดี) นอกจากนี้ยังพบหินสลักเป็นรูปศิวลึงค์ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่ง ในไศวนิกายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงทำให้เชื่อกันว่าชาวสินธุมีการเคารพบูชาพระศิวะ และได้กลายเป็นมรดกทางศาสนาให้ชาวฮินดูนับถือมาจนถึงปัจจุบัน

66.  สัตว์ชนิดใดถือเป็นหน่วยวัดความมั่งคั่งของพวกอารยันสมัยพระเวท

(1) ช้าง   

(2)   ม้า  

(3)   ควาย      

(4)   วัว

ตอบ 4 หน้า 193 ในสมัยพระเวท สัตว์ที่ชาวอารยันให้ความสำคัญมากทื่สุดก็คือ วัวตัวเมีย ซึ่งถือว่า เป็นหน่วยวัดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อีกทั้งวัวตัวเมียยังให้แรงงาน ให้นม-เนย และลูกด้วย

67.  ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ คนในวรรณะใดที่พระเจ้าสร้างจากพระพาหา

(1) พราหมณ์   

(2)   กษัตริย์   

(3)   แพศย์     

(4)   ศูทร

ตอบ 2 หน้า 195 – 196(คำบรรยาย) ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อชองศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระเจ้า (พระพรหม) เป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ล่วน ได้แก่

1.    วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์

2.    วรรณะกษัตริย์(สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และตำรวจ

3.    วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ

4.    วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกร และข้าหรือทาส

68. ขงจื๊อกล่าวว่า ‘สังคมจะสงบสุข ถ้าทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่” หลักปฏิบัติตามหน้าที่ของฮินดูประกาศชัดเจน ในเรื่องใด

(1) พิธีบูชายัญ

(2) ระบบวรรณะ

(3) หลักอาศรม 4    

(4) การบวงสรวงเซ่นไหวั

ตอบ 3 หน้า 199(คำบรรยาย) ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น หลักอาศรม 4 หมายถึง ธรรมหรือหลักการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามวัยหรือตามขั้นตอนของชีวิต ซึ่งประกอบด้วย

1.    พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา

2.    คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 ปี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงานมีครอบครัว

3. วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.    สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติ โดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

69.  ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของศาสนาเชน

(1) อหิงสาเป็นหัวใจคำสอน

(2) การอดอาหารตายเป็นการปฏิบัติขั้นสูงสุด

(3)   ปฏิเสธการฆ่าสัตว์บูชายัญ

(4) เชื่อในเรื่องพระเจ้า

ตอบ 4 หน้า 202 – 203205 – 207 ศาสนาเชนมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกับศาสนาพุทธมากที่สุด โดยมีลักษณะคำสอนเป็นแบบอเทวนิยมซึ่งขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหลายเรื่อง เช่น ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ ปฏิเสธการฆ่าสัตว์บูชายัญ ฯลฯ ทั้งนี้เชนจะเน้นหัวใจคำสอนในเรื่องการไม่เบียดเบียน (หลักอหิงสา)เป็นคุณธรรมอย่างยิ่งทั้งในระดับคฤหัสถ์ทั่วไปและระดับนักบวช โดยเฉพาะนักบวชนั้น ต้องฉันอาหารแบบมังสวิรัติและฉันมื้อเดียว และต้องถือศีลอดโดยทรมานตนด้วยการอดอาหาร ถ้าปฏิบัติขั้นสูงสุดก็ให้อดอาหารจนตาย

70.  ศาสนาใดที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสูงสุดในเอเชียใต้

(1) ฮินดู  

(2) อิสลาม      

(3) สิกข์  

(4) คริสต์

ตอบ 1 หน้า 175 ภูมิภาคเอเชียใต้หรืออนุทวีปอินเดียได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่ประชากรมีความหลากหลาย ในการนับถือศาสนา โดยคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้

1.    พราหมณ์-ฮินดู 83.5%    

2. อิสลาม 10.7%    

3. คริสต์ 2.4% 

4. สิกข์ 1.8%

5. เชน พุทธ โซโรแอสเตอร์และอื่น ๆ 1.6%

71.  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้อำนาจปกครองแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราชา ถามว่า ทรงดำเนินการเหมือนกับกษัตริย์พระองค์ใดของอินเดีย

(1) พระเจ้าพิมพิสาร 

(2) พระเจ้าจันทรคุปต์

(3) พระเจ้าอโศก     

(4) พระเจ้ากนิษกะ

ตอบ 3 หน้า 214 – 215(คำบรรยาย) พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัยของไทย ทรงใข้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูก และทรงเป็นธรรมราชา ซึ่งจะเหมือนกับการปกครองในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงค์เมารยะหรือโมริยะของอินเดีย

72.  สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือสวนลุมพินีวัน ถามว่าปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศใด

(1) อินเดีย

(2) เนปาล

(3) ปากีสถาน  

(4) ศรีลังกา

ตอบ 1 หน้า 203(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 104) ศาสดาของศาสนาพุทธคือ พระพุทธเจ้าหรือสิทธัตถะ ซึ่งทรงประสูติเมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ขึ้น 15 คํ่า ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ สวนลุมพินีวัน บริเวณกรุงกบิลพัสดุ ในประเทศอินเดียปัจจุบัน จากนั้นเมื่อพระชนมายุได้ 29 ปี ได้ทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรม โดยทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ฝั่งแม่นํ้าเนรัญชราเป็นเวลา 6 ปี และได้ตรัสรู้ ใต้ต้นโพธิ์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ใช้เวลา 45 ปี ในการเผยแผ่ศาสนาไปยังเมืองต่างๆ

73.  สุวรรณวิหารหรือวิหารทองคำในแคว้นปัญจาบ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด

(1) สิกข์  

(2) เชน   

(3) พุทธ  

(4) ฮินดู

ตอบ 1 (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 129131) ศาสนาสิกข์เกิดขึ้นในแคว้นปัญจาบเมื่อปี ค.ศ. 1440 ซึ่งผู้ที่ก่อตั้งคือ ท่านกะบีร์ โดยมีเป้าหมายที่จะรวมเอาศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม เข้าด้วยกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ สำหรับผู้ที่ประกาศศาสนานี้อย่างจริงจังคือ คุรุนานัก โดยศูนย์กลางของศาสนาสิกข์อยู่ที่สุวรรณวิหารหรือวิหารทองคำ เมืองอมฤตสาร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน

74.  พุทธศาสนาเจริญสูงสุดจนถึงขั้นส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่นอกชมพูทวีปครั้งแรก เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ใด

(1) เมารยะ      

(2) คุปตะ 

(3) กุษาณะ     

(4) โมกุล

ตอบ 1 หน้า 213 – 217 ในสมัยราชวงศ์เมารยะแห่งอินเดียภายใต้การนำของพระเจ้าอโศกมหาราขนั้น ถือเป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยพระองศ์ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนา รวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอกประเทศอินเดีย (ชมพูทวีป) เป็นครั้งแรก รวมทั้งยังโปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน เช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพพระธรรมจักรและมีกวางหมอบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงโปรด ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันหรือป่ากวางแห่งกรุงราชคฤห์ เป็นต้น

75.  บทละครเรื่องศกุนตลา เป็นผลงานในราชวงศ์ใด

(1) เมารยะ

(2) คุปตะ 

(3)   กุษาณะ   

(4)   โมกุล

ตอบ 2 หน้า 219 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” และเป็น “ยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต” โดยกวีเอกในสมัยนี้ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยผลงานเด่นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ บทละครเรื่องศกุนตลา

76.  พระธรรมจักรและกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์หมายถึงปางปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า ถามว่าสัญลักษณ์ ดังกล่าวเริ่มมีครั้งแรกในรัชกาลใด

(1) พระเจ้าจันทรคุปต์

(2) พระเจ้าพินทุสาร 

(3)   พระเจ้าอโศก   

(4)   พระเจ้ามิลินท์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77.  จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่สุดท้ายของอินเดียก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 องค์ประมุข นับถือศาสนาใด

(1) ฮินดู  

(2)   สิกข์

(3)   อิสลาม    

(4)   พุทธ

ตอบ 3 หน้า 213224 – 225 จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในประวัติศาสตร์มี 3 อาณาจักร ได้แก่ จักรวรรดิเมารยะ จักรวรรดิคุปตะ และจักรวรรดิโมกุล ซึ่งจักรวรรดิโมกุลถือว่าเป็นจักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่อินเดียจะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเป็นกลุ่มชนมุสสิมเชื้อสายมองโกลที่นับถือศาสนาอิสลาม มีองค์ประมุขหรือจักรพรรดิมุสลิมปกครอง 6 พระองศ์ ซึ่งองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าโอรังเซ็บ

78. กษัตริย์พระองค์ใดที่เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อมของจักรวรรดิโมกุล

(1) พระเจ้าอักบาร์    

(2) พระเจ้าหุบายัน   

(3) พระเจ้าจาหันกีร์  

(4) พระเจ้าโอรังเซ็บ

ตอบ 4 หน้า 225 – 226 พระเจ้าโอรังเซ็บเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโมกุลที่มีพระทัยแคบที่สุดในเรื่องศาสนา โดยทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดอย่างมาก ทรงขาดขันติธรรมในศาสนา และบังคับให้คนปฎิบัติตามกฎของศาสนาอิสลาม จนเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐต่าง ๆ แยกตัว เป็นอิสระส่งผลให้อาณาจักรที่เคยมั่นคงแตกแยกและค่อย ๆ เสื่อมลงในที่สุด

79.  ศาสนาสิกข์เกิดจากการนำเอาหลักคำสอนบางประการของศาสนาฮินดูกับศาสนาอะไรมาผสมกัน

(1) พุทธ  

(2)   คริสต์     

(3)   อิสลาม    

(4)   เชน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

80.  “คนพาลทำความชั่ว แม้จะไปสู่แม่นํ้าแห่งใดก็ไม่บริสุทธิ์ขึ้นมาได้” ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธความเชื่อในเรื่องใดของศาสนาพราหมณ์

(1) การบูชายัญ

(2)   ระบบวรรณะ    

(3)   การล้างบาป    

(4)   พระเจ้า

ตอบ 3 หน้า 205 – 207, (ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ) พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธความเชื่อของศาสนา พราหมณ์-ฮินดูเหมือนกับศาสนาเชนเรื่องหนึ่ง คือ การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเห็นได้จากคำกล่าวที่ว่า “คนพาลทำความชั่ว แม้จะไปสู่แม่นํ้าแห่งใดก็ไม่บริสุทธิ์ขึ้นมาได้”

81.  ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจคู่ใดแข่งขันกันสร้างอิทธิพลในอินเดีย

(1) อังกฤษ-ฝรั่งเศส  

(2)   อังกฤษ-ดัตช์   

(3)   โปรตุเกส-ดัตช์ 

(4)   ฝรั่งเศส-ดัตช์

ตอบ 1 หน้า 231(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 134) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษและฝรั่งเศส ได้ทำสงคราม 7 ปี (ค.ศ. 1756 – 1763) เพื่อแข่งขันกันสร้างอิทธิพลในอินเดีย ผลปรากฏว่า อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นทั้งสองประเทศได้ยุติสงครามลงด้วยสนธิสัญญาปารีสในปี ค.ศ. 1763 ส่งผลสำคัญทำให้อังกฤษแสวงหาอำนาจทางการค้าและการเมืองในอินเดียเพียงชาติเดียว จนสามารถครอบครองอินเดียได้ทั้งประเทศโดยสมบูรณ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

82.  พิธีสุตตีหรือสตี (Suttee or Sateeเป็นพิธีเกี่ยวกับอะไร

(1) ฆ่าคนบูชายัญ    

(2) การแต่งงานในวัยเด็ก

(3) ฆ่าเด็กทารกแรกเกิด   

(4) หญิงม่ายเผาตัวตายทั้งเป็นพร้อมศพสามี

ตอบ 4 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นชนวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857 ซึ่งการแทรกแซง ดังกล่าวมีดังนี้

1.    ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เรียกว่า “The Doctrine of Lapse

2.    ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน

3.    ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตตีหรือสตี (Suttee or Sateeที่หญิงม่ายต้องเผาตัวตายทั้งเป็นพร้อมศพสามีออกกฎหมายให้หญิงม่าย แต่งงานใหม่ได้ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและบระเพณีฆ่าคนบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

4.    สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาว (Enfield Rifleมาให้ทหารซีปอยใช้ โดยได้นำนํ้ามันหมูและไขวัวมาใข้เป็นน้ำมันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอย ทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน

83.  ข้อใดคือเหตุปัจจุบันทันด่วนที่ทำให้เกิดกบฏซีปอยขึ้น

(1) The Doctrine of Lapse  

(2) การออกกฎหมายยกเลิกการฆ่าคนบูชายัญ

(3)   การออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน   

(4) การที่อังกฤษนำปืนชนิดใหม่มาให้ทหารซีปอยใช้

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84.  นโยบายของอังกฤษภายหลังกบฏซีปอยคือการไม่เข้าแทรกแซงอินเดยในด้านใด

(1) ด้านการศึกษา   

(2) ด้านสาธารณสุข

(3) ด้านคมนาคม     

(4) ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี

ตอบ 4 หน้า 234447 – 448 (เล่มเก่า) ภายหลังเหตุการณ์กบฏซีปอย รัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินนโยบาย ปกครองอินเดียเป็นแบบอนุรักษนิยม โดยถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย แต่จะปฏิบัติกิจกรรมทางสังคมเฉพาะในกลุ่มของคนอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำให้องค์ประมุขของอังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียแทนบริษัท อินเดียตะวันออกตามพระราชบัญญัติ The Better Government of India 1858 อีกด้วย

85.  อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอย

(1) ทหารอังกฤษมีความชำนาญในการรบมากกว่า     

(2) ทหารอังกฤษมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

(3) ระบบสื่อสารของอังกฤษมีประสิทธิภาพสูงกว่า

(4) ชาวอินเดียแตกความสามัคคี

ตอบ 4 หน้า 234 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอยได้ มีดังนี้

1. ผู้นำทัพและทหารอังกฤษ มีประสบการณ์และความชำนาญในการรบมากกว่า และมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

2. อังกฤษมีระบบและเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งก็คือ เครื่องโทรเลขที่ช่วยให้สามารถส่งข่าวได้อย่างรวดเร็ว 3. ผู้ปกครองหลายรัฐเข้าร่วมกับอังกฤษ เพื่อปราบกบฏซีปอย อันแสดงให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีในหมู่ชาวอินเดียเอง ซึ่งถือเป็น สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้อังกฤษเอาชนะกบฏซีปอยได้สำเร็จ

86.  “อินเดียของอังกฤษ” (British Indiaหมายถึงบริเวณใด

(1)   ดินแดนตะวันตกของอินเดียทั้งหมดซึ่งเป็นฐานทัพเรือที่สำคัญ

(2)   ดินแดนที่อังกฤษซื้อมาจากดัตช์ เพราะดัตช์ถอนตัวไปตั้งที่อินโดนีเซีย

(3)   ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเมืองชายทะเล

(4) ดินแดนที่อังกฤษใช้เจ้าผู้ครองนครปกครองกันเอง อังกฤษคุมเฉพาะบางด้าน

ตอบ 3 หน้า 234 – 235(คำบรรยาย) หลังจากที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียในปี ค.ค. 1858 แล้ว อังกฤษได้ดำเนินการปกครองอินเดียทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้

1. ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยตรง เรียกว่า “อินเดียของอังกฤษ” (British Indiaมีเนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศ ส่วนมากเป็นรัฐหรือมณฑลที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลรวม 11 รัฐ และเป็นรัฐใหญ่ที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

2.    ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยอ้อม เรียกว่า “รัฐอิสระ” (Indian Statesมีเกือบ 600 รัฐ ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณฺ 1 ใน 3 ของประเทศ มีการปกครองที่ขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครรัฐ หรือสุลต่าน โดยอังกฤษจะคุมเฉพาะด้านต่างประเทศ การทหาร และการคลัง

87.  ด้วยเหตุใดชาวอินเดียจึงชื่นชอบ The MorleyMinto Reforms

(1) ชาวอินเดียได้สิทธิเข้าไปนั่งในสภา

(2) ชาวอินเดียได้สิทธิมีอาวุธในครอบครอง

(3) ชาวอินเดียมีสิทธิออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่น

(4) หญิงม่ายชาวอินเดียได้สิทธิแต่งงานใหม่

ตอบ 1 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ค. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์-มินโต (The MorleyMinto Reformsซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก ด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอินเดียทกรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษ ในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้น แต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

88.  วิธีการต่อสู้โดยยึดหลักอหิงสาหรือการต่อสู้โดยขบวนการสัตยาเคราะห์ เป็นแนวทางการตอสู้ของ นักชาตินิยมคนใด

(1) เนห์รู  

(2) คานธี 

(3) อาลี จินนาห์

(4) ติลัก

ตอบ 2 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี เป็นนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ที่เรียกว่า “การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดย สันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วย หลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่  

1. สัตยะ คือ ความจริง

2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง

3.    การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟัง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง

89.  ท่านคิดว่าชาวปากีสถานกับชาวบังกลาเทศมีเรื่องใดเหมือนกันที่สุด

(1) เชื้อชาติ    

(2)   ผิวพรรณ 

(3)   ภาษา      

(4)   ศาสนา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) จากการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของชาวปากีสถาน (ปากีสถานตะวันตก) กับชาวบังกลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก) พบว่า ชาวปากีสถานกับชาวบังกลาเทศจะมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องเชื้อชาติ วิถีชีวิต ผิวพรรณ ภาษา และ ศิลปวัฒนธรรม แต่มีสิ่งที่เหมือนกันเพียงเรื่องเดียวคือ คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมซึ่งนับถือ ศาสนาอิสลาม

90. “สาธุ! เจ้าพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าลูกช้างสอบ HIS 1002 ได้ จะนำพวงมาลัยยาว 20 เมตรมาถวาย”

ถามว่าการกระทำดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลของศาสนาใดที่สุด

(1) พราหมณ์   

(2)   พุทธ

(3)   เชน 

(4)   อิสลาม

ตอบ 1 หน้า 202 – 203205 – 206(คำบรรยาย) ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีลักษณะคำสอนเป็นแบบเทวนิยม คือ เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ การฆ่าสัตว์บูชายัญ และการสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า ซึ่งการกระทำที่สะท้อนถึงอิทธิพลของศาสนานี้ เช่น “สาธุ! เจ้าพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าลูกช้างสอบ HIS 1002 ได้ จะนำพวงมาลัยยาว 20 เมตรมาถวาย” เป็นต้น

91.  คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เริ่มมีใช้เมื่อใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1    

(2)   สงครามโลกครั้งที่ 2 

(3)   สงครามนโปเลียน    

(4)   สงครามอินโดจีน

ตอบ 2 หน้า 255 คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (South East Asiaเป็นคำใหม่ที่เพิ่งเริ่มมีใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้ง “กองบัญชาการด้าน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ขึ้นมา เพื่อประสานงานการทำสงครามโลกกับญี่ปุ่นในภูมิภาคนี้

92.  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ระหว่างมหาสมุทรใด

(1) มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก

(2) มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอาร์กติก

(3) มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก

(4) มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 1 หน้า 255541 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งแบ่งมหาสมุทรอินเดีย (ฝั่งทะเล อันดามันของไทย) และมหาสมุทรแปซิฟิก (ฝั่งอ่าวไทยและทะเลจีนใต้) ออกจากกัน โดยมีช่องแคบ เล็ก ๆ 4 แห่งเป็นทางเชื่อมระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา (เชื่อมระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา) ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์

93. ช่องแคบใดอยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา 

(1) ช่องแคบแมกแจนแลบ

(2) ช่องแคบมาคัสซาร์     

(3) ช่องแคบมะละกา 

(4) ช่องแคบซุนดา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94.  เทือกเขาใดที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศพม่า อินเดีย และบังกลาเทศ

(1) อารกันโยมา

(2) ตะนาวศรี   

(3) หิมาลัย      

(4) เปกูโยมา

ตอบ 1 หน้า 256542 (เล่มเก่า) เทือกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีแนวต่อจากเทือกเขาหิมาลัย และเทือกเขาต่าง ๆ ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยในจีน ซึ่งเทือกเขาที่สำคัญ เช่น เทือกเขาอารกันโยมาซึ่งทอดตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศพม่า และกั้นเขตแดนระหว่างพม่า กับอินเดียและบังกลาเทศเทือกเขาเปกูโยมาในพม่าเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นระหว่างพม่า กับไทยไปถึงมลายูเทือกเขาคาร์ดามันในกัมพูชาและลาว และเทือกเขาอันนาไมท์ซึ่งแยกพื้นที่ ของเวียดนามออกจากพื้นที่ของลาวและกัมพูชา

95. ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มภาษาพูดตระกูลใด   

(1) ทิเบโต-ไชนีส

(2) ออสโตร-เอเชียติก     

(3) มาลาโย-โพลีเนเชียน  

(4) ไท-กะได

ตอบ 4 หน้า 259(คำบรรยาย) ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามภาษาพูด ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.    กลุ่มพูดภาษาตระกูลทิเบโต-ไชนีส (SinoTibetanได้แก่ ภาษาจีน ภาษาทิเบต-พม่า ภาษากะเหรี่ยง และภาษาแมว-เย้า

2.    กลุ่มพูดภาษาตระกูลไท-กะได (TaiKadaiได้แก่ ภาษาไทหรือไต และภาษากะได สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันก็จัดอยู่ในตระกูลนี้ด้วย

3.    กลุ่มพูดภาษาตระกูล ออสโตร-เอเชียติก (AustroAsiaticได้แก่ ภาษามอญ-เขมร ภาษาเวียด-มวง และภาษาเซนอย-เซมัง

4.    กล่มพูดภาษาตระกูลออสโตรเนเชียนหรือมาลาโย-โพลีเนเชียน (Austronesian หรือ MalayoPolynesianได้แก่ ภาษาจาม และภาษามาเลย์

96.  ข้อใดคือลักษณะเด่นของวัฒนธรรมดองซอน

(1) สร้างบ้านไม้

(2) มีการใช้เหล็ก     

(3) มีการทำกลองมโหระทึก

(4) มีการปลูกข้าว

ตอบ 3 หน้า 270(คำบรรยาย) วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในยุคเหล็กหรือยุคโลหะ ได้แก่

1. วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยมีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างที่ทำจากสำริดแสะเหล็ก เช่น มีดสั้น ดาบ ขวาน เครื่องประดับ และที่เด่นที่สุดก็คือ กลองมโหระทึกสำริด

2. วัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีการขุดด้นพบ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ซึ่งมีอายุราว 2,300 – 1,800 ปี

97.  วัฒนธรรมแทมปาเนียนจัดเป็นวัฒนธรรมที่อยู่ในยุคใด

(1) ยุคหินเก่า  

(2) ยุคหินกลาง

(3) ยุคหินใหม่  

(4) ยุคเหล็ก

ตอบ 1 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 500,000 — 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งวัฒนธรรมหินเก่าในภูมิภาคนี้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตามสถานที่ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแทมปาเนียนในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย

98.  ยุคใดจัดว่าเป็นการปฏิวัติเกษตรกรรมของมนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ยุคหินเก่า  

(2)   ยุคหินกลาง     

(3)   ยุคหินใหม่

(4) ยุคสำริด

ตอบ 3 หน้า 268(คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 6,000 – 4,000 ปี มาแล้ว ซึ่งเป็นยุคของการปฏิวัติเกษตรกรรม โดยมนุษย์จะเริ่มทำการเกษตรกรรมซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบใหม่คือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการปลูกข้าวและผลไม้หลาย ๆ ชนิด นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เริ่มมีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแล้วอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักการทำเครื่องจักสาน ภาชนะดินเผา และเครื่องมือหินขัดขึ้นใช้ มีการแบ่งงานกันทำ และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ดังนั้นยุคหินใหม่จึงเป็นยุคของ การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

99.  การปลูกข้าวปรากฎขึ้นในช่วงยุคใด

(1) ยุคหินเก่า  

(2)   ยุคหินกลาง     

(3)   ยุคหินใหม่

(4) ยุคสำริด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. “สุวรรณภูมิ” หมายถึงบริเวณใด

(1) พม่า  

(2) ไทย   

(3) มาเลเซีย

(4) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 4 หน้า 271 – 272 เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้า นักเดินเรือ และนักแสวงโชคชาวจีน อินเดีย เปอร์เซีย กรีก และโรมัน ดังนั้นจึงมีเอกสารโบราณของ กลุ่มประเทศเหล่านี้กล่าวถึงดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเรียกว่า “ ดินแดนสุวรรณภูมิ”หรือดินแดนแห่งทองคำ

101. ข้อใดไม่ใช่หลักฐานจากอินเดียที่แสดงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ศัมภีร์อรรถศาสตร์      

(2) คัมภีร์ปุราณะ     

(3) หนังสือเรื่อง Geographia

(4) ชาดก

ตอบ 3 หน้า 272 – 273558 – 559 (เล่มเก่า) หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีดังนี้   

1. หลักฐานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ จารึกเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและแหลมมลายู

2. หลักฐานจากโรมัน ได้แก่ หนังสือเรื่องภูมิศาสตร์ (Geographiaของปโทเลมี      

3. หลักฐานจากอินเดีย ได้แก่ มหากาพย์รามายณะคัมภีร์อรรถศาสตร์ ชาดก คัมภีร์ปุราณะ นิเทสสะ และจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช

4.    หลักฐานของจีน ได้แก่ บันทึกการเดินทางของราชทูตจีน

102. อิทธิพลจีนส่งผลแก่วัฒนธรรมของชาติใดมากที่สุด

(1) ฟิลิปปินส์   

(2) เวียดนาม   

(3) กัมพูชา     

(4) มาเลเซีย

ตอบ 2 หน้า 275(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 368 – 369) เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนโดยตรง ซึ่งวัฒนธรรมที่จีนนำมาให้ เวียดนาม ได้แก่

1. การปกครองแบบโอรสสวรรค์หรืออาณัติสวรรค์

2. ระเบียบการบริหาร ราชการและระบบการสอบไล่เข้ารับราชการหรือการสอบจอหงวนตามลัทธิขงจื๊อ

3.    ลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธนิกายมหายาน

4. วรรณคดีและอักษรศาสตร์

5.    วัฒนธรรมความเป็นอยู่และประเพณี เช่น การแต่งกาย การกิน การแต่งงาน การทำศพ เป็นต้น

103. ตามความเชื่อของชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์อยู่ในฐานะใด

(1) เจ้าแห่งแม่น้ำ     

(2) เจ้าแห่งป่าไม้      

(3) เจ้าแห่งภูเขา      

(4) เจ้าแห่งสุวรรณภูมิ

ตอบ 3 หน้า 279 – 281568 (เล่มเก่า) จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักร ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยมี เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักร อยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทั้งนี้คำว่า “ฟูนัน” เป็นการเรียกตามแบบจีน หากมาจากภาษาเขมรจะเรียกว่า “บนัมหรือพนม” แปลว่า ภูเขา และชาวฟูนันจะเรียกประมุขว่า “กุรุง บนัม” แปลว่า กษัตริย์แห่งภูเขา เนื่องจากชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์จะอยู่ในฐานะเจ้าแห่งภูเขา (Kings of the Mountainsหรือไศลราชา

104. เมืองหลวงของฟูนันคือเมืองใด

(1) เมืองออกแก้ว     

(2) เมืองวยาธปุระ    

(3) เมืองนครปฐม     

(4) เมืองบิญดิ่น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 103. ประกอบ

105. กษัตริย์องค์ใดของเขมรที่เป็นผู้สร้างปราสาทบายน

(1) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2

(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2

(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

(4) พระเจ้าอีศานวรมัน

ตอบ 3 หน้า 286573 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) เขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้มีการสร้างปราสาทบายนขึ้นโดยรับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายน คือ บนยอดของปรางค์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศโดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมือง พระนครหลวงหรือนครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณ กลางเมืองพระนคร

106. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค 

(2) สะเทิม

(3) เมาะตะมะ   

(4) ตองอู

ตอบ 4 หน้า 292 – 294299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่างด้านตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อมอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

107. ตามบันทึกของจีน ชาวจามมีลักษณะอย่างไร     

(1) ผิวขาว ผมเหยียดตรง

(2) ตาลึก ผมดำ      

(3) ตาโต ผิวขาว     

(4) ตัวใหญ่ ผมเหยียดตรง

ตอบ 2 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีน หรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก

108. ข้อใดกล่าวถึงอาณาจักรพุกามไม่ถูกต้อง   

(1) พุกามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากมอญ

(2) กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา

(3) พุกามล่มลลายลงเพราะถูกมอญโจมตี

(4)   พุทธศาสนานิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพุกามอย่างมาก

ตอบ 3 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของลุ่มแม่น้ำอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดของพม่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้างสิทธิธรรมทางศาสนาในการโจมตี และยึดครองดินแดนด่าง ๆ และทรงสร้างพุกามให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งนี้อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเนื่องจากถูกกองทัพมองโกลของ กุบไลข่านเข้าโจมตีในปี พ.ศ. 1821 กอปรกับมีความอ่อนแอภายในอาณาจักร

109. ลถาปัตยกรรมที่สำคัญของราชวงศ์ไคเลนทร์ คือข้อใด

(1) ปราสาทนครวัด  

(2) บุโรพุทโธ  

(3) ปรัมบานัน  

(4) อานันทะเจดีย์

ตอบ 2 หน้า 313(คำบรรยาย) ราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสมัยที่อาณาจักรชวาภาคกลางมีความเจริญรุ่งเรือง โดยดูได้จากงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงและกลายเป็นหลักฐาน สำคัญทางโบราณคดีเกี่ยวกับราชวงศ์ไศเลนทร์คือ บุโรพุทโธ (Borobudurซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ภาคกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นเจดีย์หินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งเป็นเจดีย์ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ลัทธิสิวพุทธ และความเชื่อในเรื่องจักรวาล

110. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส  

(2) การสำรวจดินแดนใหม่

(3) การค้า

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทาง เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มืชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง

2. ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปสู่ พวกนอกศาสนา

4. ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจใน การเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่

5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ

6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการ แสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้

111. ชาวยุโรปชาติใดเดินทางเข้ามาถถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติแรก

(1) สเปน 

(2) โปรตุเกส   

(3) ดัตช์  

(4) อังกฤษ

ตอบ 2 หน้า 324 – 326592 – 594 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทาง เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสสามารถทำสงครามยึดเมือง มะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศได้สำเร็จเป็นแห่งแรก ซึ่งหลังจากที่ยึดมะละกาได้แล้ว ก็ได้แต่งตั้งผู้ปกครองมะละกาที่เรียกว่า “กะปิตัน” (Kapitanจากนั้นโปรตุเกสได้ปกครองมะละกา แบบทหาร (Fortress System)สร้างป้อมอา ฟาโมซา (A Famosaและสร้างโบสถ์เซนต์พอลขึ้นเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ รวมทั้งส่งคนออกสำรวจหมู่เกาะเครื่องเทศเพื่อต้องการผูกขาดการค้า เครื่องเทศใน Tern ate, Tidore และ Banda อีกด้วย

112. ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์     

(2)   ปีนัง

(3)   มะละกา   

(4) พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlement)โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะปีนัง

113. ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในด้านการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส   

(2)   สเปน

(3)   ดัตช์

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 331(คำบรรยาย) ดัตช์หรือฮอลันดาถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จทางด้าน การค้ามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปี พ.ศ. 2173 ดัตช์ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่บันทัมบนเกาะชวา ต่อมาในปี พ.ศ. 2145 ก็ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการค้าเครื่องเทศที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้บันทัมกลายเป็นศูนย์กลางการค้าในบริเวณนี้

114. ดัตช์ได้ใช้นโยบายใดเพื่อปรับปรุงสวัสดิการคนพื้นเมืองในบังคับให้ดีขึ้น

(1)   Culture System    

(2)   Encomienda 

(3) Ethical Policy  

(4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 หน้า 334 ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ดัตช์ได้มีการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจบนเกาะชวา โดยใช้นโยบายที่เรียกว่า “Ethical Policy” ซึ่งเป็นนโยบายที่จัดการบริการสวัสดิการสาธารณะ ให้ดีมากขึ้น เช่น การศึกษา สาธารณสุข การเกษตร และการคมนาคม ซึ่งต่อมาชาวอินโดนีเซีย ที่มีการศึกษาไม่พอใจที่ไม่มีสิทธิในการปกครองประเทศ ระบบนี้จึงถือเป็นแรงกระตุ้น ประการหนึ่งที่ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมในอินโดนีเซีย

115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถืง เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน  

(1) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส

(2) เป็นผู้เดินทางมาถึงฟิลิปปินส์

(3) เป็นผู้เดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก

(4)   เป็นผู้ทำให้ชาวสเปนถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์

ตอบ 1 หน้า 328 – 329600 (เล่มเก่า) เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่สามารถเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยในปี พ.ค. 2055 แมกเจลแลนได้เดินทางมาถึงหมู่เกาะ วิสายะของฟิลิปปินส์ตามคำสั่งของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ที่ให้ค้นหาเส้นทางมายังหมู่เกาะ เครื่องเทศและยึดดินแดนที่ค้นพบ ต่อมาเขาได้เดินทางมาถึงเกาะลิมาซาวาและเกาะเซบู โดย ได้ผูกมิตรกับหัวหน้าเกาะทั้งสอง และที่เกาะเซบูเขาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในหมู่เกาะทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ ส่งผลให้แมกเจลแลนและชาวสเปนจำนวนมากถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์

116. ข้อใดหมายถึงสนธิสัญญาซารากอสสา

(1)   สนธิสัญญาที่กำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของโปรตุเกสกับสเปน

(2)   สนธิสัญญาที่ให้สเปนกับโปรตุเกสออกสำรวจดินแดนต่าง ๆ คนละเส้นทางกัน

(3)   สนธิสัญญาที่โปรตุเกสทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

(4)   สนธิสัญญาที่ดัตช์ทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ตอบ 1 หน้า 328 ด้วยเหตุที่ทั้งสเปนและโปรตุเกสต่างก็ต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ในปี พ.ศ. 2072 สเปนและโปรตุเกสได้ทำ “สนธิสัญญาซารากอสสา” ระหว่างกัน โดยมีการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ชัดเจน

117. ข้อใดคือระบบ Encomienda

(1)   การแบ่งที่ดินออกเป็นเขต ๆ โดยมีหัวหน้ารับผิดชอบ

(2)   ทุกหมู่บ้านต้องปลูกพืชที่รัฐบาลกำหนดในจำนวนที่รัฐบาลต้องการ

(3)   เจ้าอาณานิคมบังคับให้ชาวพื้นเมืองเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นแบบตะวันตก

(4)   เจ้าอาณานิคมส่งคนจากรัฐบาลกลางมาปกครอง

ตอบ 3 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomiendaคือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปน นำมาใช้ในฟิลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Enccmiendorosเรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ชนพื้นเมืองที่เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นแบบตะวันตกโดยหันมา นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

118. บารังโกเป็นหน่วยการปกครองของชนพื้นเมืองใด

(1) อินโดนีเซีย 

(2) พม่า  

(3) มาเลเซีย    

(4) ฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 329 – 330 แต่เดิมนั้นฟิลิปปินส์มีการปกครองในรูปแบบของเผ่าต่าง ๆ เป็นลักษณะ การปกครองแบบหมู่บ้าน เรียกว่า “บารังไก” (Barangayโดยมีดาตูเป็นผู้ปกครอง แต่หลังจากที่สเปนเข้ามาปกครองแล้ว สเปนได้จัดการปกครองระดับหมู่บ้าน โดยให้อยู่ภายใต้การปกครองของคาเบซาซึ่งเป็นผู้นำของบารังไก ส่วนในระดับที่สูงกว่าหมู่บ้านก็ใด้จัดตั้งหน่วยการปกครอง ที่เรียกว่า “ปรินซิปาเลีย” (Principaliaขึ้น ซึ่งเป็นการนำเอาหมู่บ้านหลาย ๆ แห่งมารวมกัน ภายใต้การปกครองของผู้นำคนเดียวกัน

119. ข้อใดใม่ใช่อาณาจักรที่ตั้งอยู่บนเกาะชวา

(1) ไคเลนทร์   

(2) มัชปาหิต   

(3) เจนละ

(4) เคดีรี

ตอบ 3 หน้า 313 – 315 อาณาจักรที่ตั้งอยู่บนเกาะชวา ได้แก่     

1. อาณาจักรไศเลนทร์

2. อาณาจักรสัญชัย 

3. อาณาจักรจังกาล่าทางตะวันออก

4. อาณาจักรเคดีรีทางตะวันตก  

5. อาณาจักรสิงหะส่าหรี   

6. อาณาจักรมัชปาหิต

120. ป้อมอา ฟาโมซา ในมะละกาสร้างขึ้นโดยคนกลุ่มใด    

(1) คนพื้นเมืองของมะละกา

(2) ชาวโปรตุเกส     

(3) พ่อค้าอินเดีย     

(4) ชาวอังกฤษ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 111. ประกอบ

HIS1002 อารยธรรมตะวันออก การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1002 อารยธรรมตะวันออก

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ในวิชาอารยธรรมตะวันออก ดินแดนตะวันออกกลาง” มีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม 

(2) เป็นที่ตั้งของพีระมิดและสวนลอยบานิโลน

(3) เป็นแหล่งความเจริญเริ่มแรกของโลก        

(4) เป็นแหล่งเชื่อมทวีป คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา

ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East หรือ Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง3 ทวีป ได้แก่ทวีปเอเชียแอฟริกาและยุโรป โดยเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของการเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมและ ความเจริญเริ่มแรกของโลก คือ อารยธรวมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็น แหล่งกำเนิด 3 ศาสนาหลักของโลก คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

2.         ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด          

(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(2) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้    

(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้     

(4) แอฟริกาตะวันออกกลาง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         คำว่า “B.C.” หมายถึงอะไร

(1) พุทธศักราช            (2)       ก่อนสมัยพุทธกาล       (3)       คริสตกาล        (4) ก่อนคริสต์ศักราช

ตอบ 4 หน้า 5, (คำบรรยาย) ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ : B.C.) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติ เช่น 245 ปีก่อน ค.ศ. (หรือ 245 B.C.) หมายถึง 245 ปีก่อนพระเยซูประสูติ

4.         มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด

(1) ยุคหินเก่า   (2)       ยุคหินใหม่       (3)       ยุคทองแดง      (4) ยุคสำริด

ตอบ 2 หน้า 6, (คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่น้ำใหญ่ เพื่อมุ่งที่จะใช้น้ำในการทำเกษตรกรรมและดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้ อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง

5.         มนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด

(1) สุเมเรียน    (2)       อียิปต์โบราณ  (3)       เปอร์เซียโบราณ          (4) ฮิบรู

ตอบ 2. หน้า 1118-20 อารยธรรมอียิปต์โบราณมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ โดยชาวอียิปต์ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิงใหญ่ของโลกโบราณ” เนื่องจาก เป็นชนชาติที่มีความรอบรู้และแม่นยำทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต มีทักษะและ ความชำนาญในการก่อสร้าง และกษัตริย์เก่งในการรบและการปกครอง ทำให้ชาวอียิปต์ ได้ทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมไว้ให้แก่โลกมากที่สุด เช่น มหาพีระมิดที่เมืองกีชา วิหารเทพเจ้าอะมอนที่คาร์นัค เป็นต้น

6.      อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด

(1) อินเดียโบราณ      (2) อียิปต์โบราณ       (3)     เมใสโปเตเมีย  (4)     กรีกโบราณ

ตอบ 3 หน้า 21, 81 (เล่มเก่า) อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสอง อารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดบนดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกรีสและ ยูเฟรตีส หรีอที่เรียกว่า เมโสโปเตเมีย” ซึ่งเราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของ ประเทศอิรัก

7.      กลุ่มชนใดเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(1) สุเมเรียน  

(2) อัคคาเตียน           

(3)     อะมอไรท์         

(4)     ฮิตไตท์

ตอบ 1 หน้า 21 – 22, 82 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ ของเมโสโปเตเมียซึ่งเรียกว่า ซูเมอร์” เมื่อประมาณ 5000 B.C. และถือเป็นผู้วางรากฐาน อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งอารยธรรมที่เด่น ๆมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง สังคม การประกอบอาชีพ ศาสนา ศิลปะการเขียน สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์

8.      จุดมุ่งหมายของการสร้างซิกกูแรตคืออะไร

(1)    เป็นวิหารเทพเจ้า        (2) เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย

(3) เป็นสถานที่ศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า     (4) เป็นที่อยู่ของผู้ปกครองนครรัฐ

ตอบ 1 หน้า 23 – 24 สถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุด1ของชาวสุเมเรียนก็คือ มหาวิหารหอคอยหรือซิกกูแรต (Ziggurat) ที่ นครรัฐเออรุค ซึ่งสร้างขึ้นด้วยอิฐ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างก็เพื่อใช้เป็น วิหารเทพเจ้า ซึ่งขั้นบนสุดของซิกกูแรตจะถูกกำหนดให้เป็นที่ประทับของเทพเจ้าและเป็น ศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

9.      สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด        

(1) ไฮโรกลิฟิก

(2)    คูนิฟอร์ม        

(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน           

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งเป็นศิลปะการเขียน ของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดย อักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งาวสุเมเรียน จะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง เพื่อเก็บรักษา ข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง

10.    ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด

(1) สมัยก่อนราชวงศ์         (2) สมัยราชวงศ์ (3) สมัยอาณาจักรใหม่          (4) สมัยอาณาจักรเก่า

ตอบ 2 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณ จัดตั้งชาติและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตริย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็น ชาวอียิปต์โบราณ มีทั้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ซึ่งสมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่า สมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

11.       ข้อใดถูก

(1)       อียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกทีเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง

(2)       โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์โบราณ

(3)       ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการชลประทานในสมัยอาณาจักรกลาง

(4)       โรมันคือชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์

ตอบ 1 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายไปดวงวิญญาณจะคงอยู่ และจะเกิดใหม่ ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือ คัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์

12.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ

(1)       สุเมเรียน

(2)       อียิปต์โบราณ

(3)       ฮิตไตท์

(4) กรีกโบราณ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

13.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียโมเนอร์สมัยโบราณ

(1) อัสซีเรียน   

(2)       ฮิตไตท์             

(3)       ฟินิเชียน          

(4) ออตโตมาน เติร์ก

ตอบ 2 หน้า 35 – 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ ทางตะวันออกของเอเชียไมเบอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเบอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่า เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ” ซึ่งการรบของฮิตไตท์มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขยายดินแดน และอำนาจ แสวงหาเส้นทางการค้าและแสวงหาแร่เหล็กเพื่อนำมาทำของใช้และอาวุธ

14.       กลุ่มชนใดวางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(1) ฮิบรู

(2)       ฟินิเชียน

(3)       อราเมียน

(4) สุเมเรียน

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 ฟินิเชียนเป็นเซมิทกลุ่มแรกที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดน ฟินีเชียบนซายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินีเชียน ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรม โลกตะวันออกสู่โลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

15.       ข้อใดถูก

(1)       มรดกความเจริญที่อราเมียนให้แก่โลกคือการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(2)       สุเมเรียนนำการวางรากฐานอารยธรรมในดินแดนเอเขียไมเนอร์

(3)       พยัญชนะที่ยุโรปใช้กันในปัจจุบันมีรากฐานมาจากพยัญชนะพินีเชียน

(4)       มรดกความเจริญที่ฮิบรูให้แกโลกคือด้านสถาปัตยกรรม

ตอบ 3 หน้า 40 มรดกความเจริญเด่นที่ฟินีเชียนให้ไว้แก่โลกคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการประดิษฐ์ พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว ต่อมาเมื่อกรีกรับและนำพยัญชนะฟินีเชียนไปใช้ในยุโรป กรีกได้พัฒนาและเพิ่มพยัญชนะจาก 22 ตัวเป็น 26 ตัว ดังนั้นพยัญชนะะฟินิเซียนจึงเป็นรากฐาน ของพยัญชนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรปใช้ในปัจจุบัน

16.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรู ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร

(1) อิสราเอล

(2)       อิรัก

(3)       อิหร่าน

(4)       ตุรกี

ตอบ 1 หน้า 4046 ฮิบรูหรือยิวเป็นเซมิทกลุ่มที่สองที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนปาเลสไตน์บริเวณตอนใต้สุดของขายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรูเป็นที่ตั้งของประเทศอิสราเอล

17.       ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นขณะฮิบรูอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มชนใด

(1) เปอร์เซียโบราณ

(2)       กรีก

(3)       โรมัน

(4)       มุสลิม

ตอบ 3 หน้า 4459 – 61 ศาลนาคริสต์เนินศาสนาที่สองที่เกิดขึ้นในสังคมฮิบรูหรือยิวในดินแดน ปาเลสไตน์ (ประเทศอิสราเอลในนิจจุบัน) ขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ทั้งนี้ นักศาสนศาสตร์เรียกศาสนาคริสต์ว่า บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaism) เพราะคัมภีร์เก่าของศาสนายูดาห์เป็นคำสอนพื้นฐานซึ่งนำไปสู่การเกิดศาสนาคริสต์

18.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1) อราเมียน

(2)       เซลจุก เติร์ก

(3)       ออตโตมาน เติร์ก

(4)       ฟินิเชียน

ตอบ 1 หน้า 46 – 47 อราเมียนเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนซีเรีย บริเวณตอนเหนือของชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศซีเรียในปัจจุบัน) ทั้งนี้ อราเมียนได้รับการยกย่องว่า เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิกเพื่อประโยชน์ในการค้าขายทางบก

19.       ศูนย์กลางของจักรวรรดิลิเดียนคือดินแดนใด

(1) เอเชียไมเนอร์         

(2)       เมโสโปเตเมีย  

(3)       ปาเลสไตน์       

(4) คาบสมุทรอาระเบีย

ตอบ 1 หน้า 47 – 48 ในปี 680 B.C. ชาวลิเดียนได้ร่วมกับจัดตั้งอาณาจักรลิเดียนขึ้นในดินแดน ลิเดียบริเวณทางตะวันตกตอนกลางของเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ซึ่งลิเดียน จะเก่งในการรบและการค้าขาย จึงทำให้พื้นที่ของอาณาจักรขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิลิเดียน โดยมีกรุงซาร์ดีสเป็นเมืองศูนย์กลางทั้งการปกครองและการค้าขาย

20.       ใครคือผู้นำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(1) ดาริอุสที่ 1

(2)       ไซรัสที่ 2

(3)       นาโบนิคัสที่     3

(4) โครอีซุสที่ 4

ตอบ 2 หน้า 51 ไซรัสที่ 2 เนินกษัตริย์องค์ที่ 4 ของเปอร์เซีย ซึ่งทรงเก่งในการรบและการขยายดินแดน โดยในปี 550 B.C. เมื่อไซรัสที่ 2 มีชัยชนะเหนือเมดีสแล้ว พระองค์ได้รวมมีเดียเข้ากับเปอร์เซีย และเรียกดินแดนนี้ว่า “ เปอร์เซีย ” จากนั้นทรงนำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณขึ้น โดยกำหนดให้ซูซาเป็นเมืองหลวง

21.       ผู้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองมาจากกลุ่มชนใด

(1) ฮิตไตท์

(2)       อัสซีเรียน

(3)       ออตโตมาน เติร์ก

(4) มุสลิม

ตอบ 2 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจาก อิสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่ 2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius I) ซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ โดยหลักในการปกครองจักรวรรดิของดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่งก็คือ เน้นกระจายการปกครอง จากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของ ภูมิภาค และการปกครองระบบเขต (The Satrapy System) ที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและ พื้นที่ด้วยการปฏิบัติจริง

22.    หลักการปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณคืออะไร

(1)    การเข้าถึงประชาชนและพื้นที่

(2) จักรวรรดิคือแผ่นดินและประชาชน

(3) ประชาชนคือผู้รับใช้กษัตริย์

(4) บูชาในบรรพบุรุษและสุริยเทพ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.    ถนนสายยุทธศาสตร์ของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเชื่อมดินแดนเปอร์เซียกับดินแดนใด

(1) เมโสโปเตเมีย

(2) คาบสมุทรบอลข่าน

(3) คาบสมุทรอนาโตเลีย

(4) ปาเลสไตน์

ตอบ 3 หน้า 52, 57 ในสมัยดาริอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ ทรงให้มีการสร้างถนนหลวง (The Royal Road or The Royal Post Road or The King’s Highway) หรือถนนสายยุทธศาสตร์ ที่เชื่อมจากเมืองหลวงซูซาในจักรวรรดิเปอร์เซียไปสู่เอเชียไมเนอร์บนคาบสมุทรอนาโตเลียโดยมี ปลายทางสิ้นสุดที่อีเพซุสซึ่งเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งถนนหลวงสายนี้จะใช้ประโยชน์เพื่อการคมนาคม การค้าขาย การเคลื่อนกองกำลังทหาร และการสื่อสารส่งข้าวในทุกพื้นที่ของ จักรวรรดิ

24.    ข้อใดถูก

(1)    ศาสนาโซโรแอสเตอร์คือศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(2)    อะมอไรท์นำการสร้างจักรวรรดิแรกของโลก

(3)    แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิตไตท์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเลบานอน

(4)    อับราอัมคือผู้นำฮิบรูอพยพจากดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์มุ่งกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์

ตอบ 1 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของ

จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนซองศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheistic) นั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดา เพียงองค์เดียว    

2. คิด พูด และทำความดี

3. ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

25.    “บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaism) หมายถึงอะไร

(1) นางมาเรีย            

(2) อิสราเอล  

(3) ศาสนาคริสต์        

(4) กรุงเยรูซาเล็ม

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

26.    แหล่งกำเนิดอารยธรรมอิสลามคือดินแดนใด

(1) ตะวันออกกลาง   

(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย 

(3) คาบสมุทรอาระเบีย 

(4) คาบสมุทรบอลข่าน

ตอบ 3 หน้า 63, 72 – 75 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ใบคาบสมุทรอาระเบีย (ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในช่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครอง ของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกหลิบฮารัน เอลราชิด นั้น ได้รับการยกย่องว่าเป็น ยุคทองของารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง

27.       ยุคทองของอารยธรรมอิสลามคือช่วงเวลาใด

(1)       ออตโตมาน เติร์ก

(2) ราชวงศ์อุมัยยัค

(3)       เซลจุก เติร์ก

(4)       ราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28.       ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม

(1) อาบู บากร์

(2) โอธมาน

(3) อาลี

(4)       มูวียะ

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์ โดยมเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบ ทั้ง 4 องศ์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ได้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองศ์แรกของ จักรวรรดิมุสลิม) โอมาร์ โอธมาน และอาลี

29.       มรดกความเจริญที่แคลเดียนให้แก่โลกคือด้านใด

(1)       การปกครอง

(2) สถาปัตยกรรม

(3)       ศาสนา

(4)       ภาษา

ตอบ 2 หน้า 32,93(เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลกได้แก่

1.         ด้านสถาปัตยกรรม ที่เด่นได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้น ในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

2.         ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

30.       ออตโตมาน เติร์ก คือใคร       

(1) เติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

(2) เติร์กผู้นำกองกำลังมุสลิมในสงครามครูเสด         

(3) เติร์กผู้ขับไล่ไบแซนไทน์ออกจากคาบสมุทรอนาโตเลีย

(4) เติร์กผู้นำการบริหารจักรวรรดิมุสลิมในสมัยราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 1 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเชียไมเนอร์ในช่วง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad II) ได้ นำกองกำลังมุสลิม ยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำ การปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออก และโลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

31.       พื้นที่ทางภาคตะวันตกส่วนใหญ่ของจีนมีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ           

(2) เต็มไปด้วยพื้นน้ำ

(3) เป็นช่องแคบติดกับประเทศอินเดีย            

(4) เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์

ตอบ 1 หน้า 97 จีนเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่หรือประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศที่อยู่ทางภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นพื้นที่ที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ โดยปกคลุมด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง เช่น ภูเขาหิมาลัย ภูเขาคุนลุ้น ที่ราบสูงทิเบต ๆลๆ ส่วนพื้นที่ทาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้จะเป็นที่ราบที่ลาดเอียงไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

32.       กำแพงเมืองจีนเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์สมัยใด

(1) ราชวงศ์โจว

(2) ราชวงศ์จีน

(3) ราชวงศ์หมิง

(4) ราชวงศ์หยวน

ตอบ 2 หน้า 102109167 – 169 (เล่มเก่า) ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งราชวงศ์จิ๋น มีดังนี้ 1. ทรงนำแนวคิดหลักของสำนักฝาเจี่ยมาใช้ในการรวบรวมแผ่นดินจีน ที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน (China) 2. ทรงปกครองจักรวรรดิด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และทรงเป็นประมุขผู้มีอำนาจ เด็ดขาดเพียงองศ์เดียว 3. ประกาศให้นำตัวอักษรจีนมาใช้เขียนในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ 4. ทรงต่อเติมและเชื่อมกำแพงเมืองที่มีอยู่ก่อนแล้วเข้าด้วยกันเป็นกำแพงเมืองจีบที่สมบูรณ์ ฯลฯ

33.       แม่น้ำเหลืองมีความสำคัญในด้านใดมากที่สุด          

(1) แหล่งกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน

(2) ศูนย์กลางวัฒนธรรมเริ่มแรกของจีน         

(3) เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ เช่น เมืองซีอาน

(4) ชาวยุโรปใช้ลำน้ำนี้เป็นเส้นทางลำเลียงกองกำลังเข้ายึดครองจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 16

ตอบ 2 หน้า 97 – 99146 (เล่มเก่า)149 – 150 (เล่มเก่า) แม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อประรัตศาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่น้ำที่สร้างความ อุดมสมบูรณ์ให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่น้ำไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดหรือศูนย์กลางวัฒนธรรม เริ่มแรกของจีนในยุคหินใหม่ประมาณ 4000 B.C. มาแล้ว ดังจะเห็นได้จากการขุดค้นพบ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำมาจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจีนในยุคก่อนประวัติศาสตร์

34.       รายได้หลักของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้มาจากแหล่งใด

(1)       การค้ากับต่างประเทศ

(2) รายได้จากการเก็บภาษีที่ดิน

(3)       รายได้จากภาษีผ่านทาง

(4) ภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต

ตอบ 2 หน้า 109, (คำบรรยาย) เศรษฐกิจของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะขึ้นอยู่กับการเกษตร เป็นหลัก โดยเน้นไปที่การใช้ประโยชน์บนที่ดินและการทำเกษตรกรรม ซึ่งรายได้หลักของ รัฐบาลจีนในสมัยนี้จะมาจากการขายผลผลิตสินค้าด้านเกษตรกรรม การเก็บภาษีที่ดิน ภาษีรัชชูปการ และภาษีจากการผูกขาดสินค้าบางชนิด ได้แก่ เกลือ เหล็ก เหล้า และใบชา

35.       ผู้ใดไม่ใช่นักประวัติศาสตร์จีนโบราณ

(1) ซือมา เชียง

(2) ปาน กู

(3) ขงจื๊อ

(4) ลี ลีซาน

ตอบ 4 หน้า 105 – 108172 (เล่มเก่า)174 – 175 (เล่มเก่า) นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของ จีนโบราณ ได้แก่ 1. ซือมา เขียง ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนแรก ของจีน โดยผลงานเด่นของเขาคือ บันทึกของนักประวัติศาสตร์ 2. บุคคลในตระกูลปาน ได้แก่ ปาน เปียวปาน กู และปาน เจา ซึ่งได้นำผลงานของซือมา เชียง มาเขียนเพิ่มเติม เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น 3. ขงจื๊อ โดยผลงานเด่นของเขาคือ ตำรามีค่า 5 เล่ม หรือคัมภีร์ทั้ง 5 (The Five Classics) ฯลฯ

36.       มรดกที่ราชวงศ์โจวเหลือไว้ให้แก่โลกปัจจุบันคืออะไร

(1)       แนวคิดทางด้านการปกครองที่ว่าจักรพรรดิสืบเชื้อสายมาจากสวรรค์

(2)       เส้นทางเดินเรือเชื่อมภาคเหนือกับภาคใต้ที่เรียกว่า คลองใหญ่

(3)       กระบวนการยุติธรรมที่ก้าวหน้ากว่าชาติตะวันตกในสมัยเดียวกัน

(4)       การจัดกองทัพโดยใช้ ระบอบกองธง” ตามแบบอย่างของชาวฮั่นโบราณ

ตอบ หน้า 102, (คำบรรยาย) มรดกความเจริญที่สำคัญที่จีนสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกให้ไว้แก่โลก ปัจจุบัน คือ แนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองที่ยอดเยี่ยมซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีแห่งสวรรค์” โดยกษัตริย์จะถือว่าตนเป็น โอรสหรือบุตรแหงสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิที่สืบเชื้อสาย มาจากสวรรค์ให้ลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลก เรียกว่า อาณัติแห่งสวรรค์

37.       นักปรัชญาจีนโบราณท่านใดที่มีอิทธิพลแนวคิดเหนือจิ๋นซี ฮ่องเต้ ทางด้านการเมืองมากที่สุด

(1) ขงจื๊อ          

(2) ลีสือ           

(3) ซุนจื๊อ         

(4) โมจื๊อ

ตอบ 2 หน้า 164 (เล่มเก่า)167, (คำบรรยาย) ประเทศจีนสามารถรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ อีกครั้งด้วยความสามารถของจินซี ฮ่องเต้ ผู้นำแห่งอาณาจักรจิ๋น จากนั้นทรงสถาปนาราชวงศ์แรก ขึ้นปกครองจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยอาศัยหลักการของสำนักฝาเจี่ยหรือลัทธินิติธรรม เป็นเครื่องมือในการปกครองภายใต้คำปรึกษาของเสนาบดีลีสือ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าลีสือเป็น นักปรัชญาจีนโบราณที่มีแนวคิดทางด้านการเมืองเหนือกว่าจิ๋นซี ฮ่องเต้ เป็นอย่างมาก

38.       ฝิ่นเป็นสาเหตุของความขัดแย้งใครกับใคร

(1) จีนกับญี่ปุ่น

(2) จีนกับสหรัฐอเมริกา

(3)       จีนกับอังกฤษ

(4)       จีบกับรัสเซีย

ตอบ 3 หน้า 112, (คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1699 ผู้ปกครองจีนได้อนุญาตให้ อังกฤษเข้ามาค้าขายได้ที่เมืองแคนตอน แต่ต้องปฏิบัติตามระบบการค้าที่เมืองแคนตอนของ รัฐบาลจีน ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ทำให้อังกฤษเสียเปรียบมากที่สุด ต่อมาอังกฤษจึงแก้ปัญหานี้ด้วย การนำฝิ่นเข้ามาขายในจีน ทำให้จีนต้องปราบปรามอย่างหนัก จนนำไปสู่การทำสงคราม ระหว่างจีนกับอังกฤษขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1839 – 1842 เรียกว่า สงครามฝิ่น” ซึ่งผลปรากฏว่า จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

39.       สังคมจีนแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ชนชั้นในสมัยใด

(1) หยวน

(2) หมิง

(3)       สมัยสาธารณรัฐ

(4)       สมัยคอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 111, (คำบรรยาย) สังคมจีนเป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของขงจื๊อ โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 5 ชนชั้นโดยอาศัยอาชีพเป็นเกณฑ์ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ของจีน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ คือ ราชวงศ์มองโกล (ราชวงศ์หยวน) และราชวงศ์แมนจู (ราชวงศ์ชิง)จะมีเพียง 4 ชนชั้นโดยอาศัยเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง และมักกำหนดให้ผู้ที่มีเชื้อชาติ ของตนเป็นชนชั้นสูง

40.       ใบสมัยราชวงศ์หมิง คนป่าเถื่อน” หมายถึงชนกลุ่มใด

(1) ชาวตะวันตก

(2) ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(3) ชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือของจีน

(4) ชาวญี่ปุ่น

ตอบ 1 หน้า 204 (เล่มเก่า)215229, (คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์หมิงช่วงปี ค.ศ. 1514 ได้เริ่ม มีพ่อค้าชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายด้วย รวมทั้งได้นำความรู้หรือเทคนิคใหม่ ๆ เข้ามาเผยแพร่ ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวโปรตุเกสไม่ได้รับการต้อนรับมากนัก เนื่องจากชาวจีน มีความคิดว่าตนนั้นเป็นประเทศที่มีความเจริญมากที่สุด จนมองดูชาวตะวันตกชาติต่าง ๆ ว่าเป็น คนป่าเถื่อน” ดังนั้นชาวจีนจึงไม่ยอมรับความเจริญของคนป่าเถื่อนมาใช้ในประเทศของตน

41.ที่เรียกว่า ชาวฮั่น” หมายถึงผู้ใด

(1) ชาวจีนโพ้นทะเล

(2) ชาวจีนที่อาศัยอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่

(3) ชาวจีนไต้หวัน

(4) ชาวจีนที่อพยพไปตั้งรกรากบนคาบสมุทรเกาหลี

ตอบ 2 หน้า 194 (เล่มเก่า)207209, (คำบรรยาย) ในประวัติศาสตร์ของจีนเกือบทุกราชวงศ์จะอยู่ ภายใต้การปกครองของชาวฮั่นหรือชาวจีนแท้ ๆ ทีอาศัยอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ ที่จีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นหรือเป็นชาวต่างซาติ นั่นคือ ราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกล ซึ่งนับเป็นราชวงศ์ต่างชาติราชวงศ์แรกที่เข้ามาปกครองจีน และราชวงศ์ชิง หรือราชวงศ์แมนจู

42.       ก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะมีอำนาจเหนือแผ่นดินจีน พรรคใดปกครองประเทศจีนอยู่

(1) พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า

(2) พรรคบอลเชวิค 28

(3) พรรคก๊กมินตั๋ง

(4) พรรคสมานฉันท์

ตอบ 3 หน้า 113 – 114, (คำบรรยาย) จีนในสมัยสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1912 – 1949) ตกอยู่ภายใต้ การปกครองซองพรรคก๊กมินตั๋ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 ปัญญาชนจีน 13 คน (รวมถึงเมาเซตุง) ได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นอย่างเป็นทางการ จากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ร่วมกับ ซุนยัดเซ็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นในปี ค.ศ. 1923 แต่หลังจากที่ซุนยัดเซ็น ถึงแก่อสัญกรรม พรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของเจียงไคเช็คไม่ศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์ จึงได้เกิดความขัดแย้งกันจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อจนกระทั้งสิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะและก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือแผ่นดินจีนนับตั้งแต่นั้น

43.       สงครามใดที่ทำให้จีนต้องเสียอำนาจเหนือเกาหลีไปให้แก่ญี่ปุ่น

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1           

(2) สงครามโลกครั้งที่ 2

(3) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1  

(4) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2

ตอบ 3 หน้า 113, (คำบรรยาย) สงครามจีน-ญี่ปุนครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894 – 1895) เป็นสงครามระหว่าง ราชวงศ์แมนจูของจีนกับจักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นต้องการครอบครอง คาบสมุทรเกาหลีเพื่อเป็นฐานในการรุกรานเอเชียในอนาคต อีกทั้งยังต้องการเข้าไปขยายอิทธิพล ทางการเมืองและเศรษฐกิจในจีน โดยผลของสงครามปราฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น ซึ่งจีนเคยดูถูกว่าเป็นซาติที่ด้อยอารยธรรม และทำให้จีนต้องสูญเสียอำนาจเหนือดินแดนเกาหลี ไปให้แก่ญี่ปุ่นในที่สุด

44.       นายสี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งใดในรัฐบาลอย่างเป็นทางการของจีนปัจจุบัน

(1) ประธานสูงสุดของประเทศ

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) ประธานสมัชชาแห่งซาติ

(4) ประธานาธิบดี

ตอบ 4 (คำบรรยาย) นายสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด (ประธานาธิบดี) แห่งสาธารณรัฐประชาขนจีนคนปัจจุบัน โดยเริ่มดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสี จิ้นผิง ถือวาเป็นหัวหน้าของคณะผู้นำจีนรุ่นที่ 5 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ของจีนคือ หลี่ เค่อเฉียง

45.       ใครคือผู้นำคำกล่าวที่ว่า แมวขาวแมวดำไม่สำคัญขอให้จับหนูได้ก็พอ

(1) เมาเซตุง

(2) โจวเอินไหล

(3) ซุนยัดเซ็น

(4) เติ้งเสี่ยวผิง

ตอบ 4 หน้า 115, (คำบรรยาย) เติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้ปกครองจีนรุ่นใหม่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่” เนื่องจากเขาได้นำคำขวัญที่ว่า แมวขาวแมวดำไม่สำคัญขอให้ จับหนูได้ก็พอ” มาใช้เป็นนโยบายในการสร้างความกินดีอยู่ดี รวมทั้งใช้นโยบาย 4 ทันสมัย เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ ส่งผลให้จีนกลายเป็นชาติที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก

46.       วัฒนธรรมทูมูลิ ญี่ปุ่นรับมาจากชาติใด

(1)  รัสเซีย

(2) จีน

(3) มองโกเลีย

(4) เกาหลี

ตอบ 4 หน้า 125 วัฒนธรรมทูมูลิหรือวัฒนธรรมหลุมฝังศพ เป็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณอย่างหนึ่งที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสาน หรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ ทั้งนี้จะมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น รูปตุ๊กตาดินเผาหรือตัวฮานีวา อาวุธของนักรบ และ เครื่องประดับต่าง ๆ ฝังรวมลงไปในหลุมฝังศพด้วย โดยเริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

47.       สถาปัตยกรรมที่เมืองนาราและเฮอิอัน ญี่ปุ่นนำแบบอย่างมาจากชาติใด

(1) อิตาลี

(2) กรีก-โรมัน

(3) จีน

(4) เกาหลี

ตอบ 3 หน้า 126 – 129 ความเจริญที่สำคัญที่ญี่ปุ่นโบราณรับมาจากจีน ได้แก่

1. ตัวอักษรจีน 2. รูปแบบการปกครองใบสมัยราชวงศ์ถังของจีน 3. ศาสนาพุทธ 4. สถาปัตยกรรม โดยมีการสร้างบ้านเมืองเพื่อรองรับหน่วยงานปกครองต่าง ๆ เช่น ปราสาทราชวัง สถานที่ราชการ ๆลๆ มีการจำลองรูปแบบตึกรามบ้านช่องจากจีน และ มีการก่อสร้างเมืองสำคัญที่สวยงาม เช่น เมืองหลวงแห่งนครนารา เมืองหลวงเกียวโต แห่งยุคเฮอิอัน เป็นต้น

48.       นอกจากศาสนาพุทธแล้วที่รับมาจากจีน ลัทธิชินโตญี่ปุ่นรับมาจากใคร

(1)       จากนักบวชชาวจีนที่เดินทางเข้ามาแสวงบุญในญี่ปุ่นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5

(2)       เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นเอง ไม่ได้รับมาจากใคร

(3)       นักบวชจากลังกาเป็นผู้นำเข้ามา สายหนึ่งที่ญี่ปุ่น อีกสายหนึ่งที่จีน

(4)       เป็นผลงานของพระภิกษุนาม ถังซำจั๋ง” ที่นำมาจากอินเดีย

ตอบ 2 หน้า 126, (คำบรรยาย) ลัทธิชินโต เป็นลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ป่นโบราณที่ไม่ได้รับมา จากใคร แต่ได้รับอิทธิพลมาจากธรรมชาติอันงดงามและสิ่งแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์ของชาวญี่ปุ่นเอง โดยเน้นการควบคุมธรรมชาติมากกว่าความหวาดกลัว และเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีวิญญาณ ดังนั้นจึงมีการนับถือธรรมชาติโดยไม่มีเกณฑ์ใด ๆ แน่นอน ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้สถาปนา ลัทธิชินโตของรัฐ” ขึ้น ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นที่เน้นความเป็นชาตินิยม และการนับถือองค์จักรพรรดิว่ามีฐานะเป็นเทพ

49.       จากเอกสารโบราณของญี่ปุ่น กล่าวว่าผู้รวมอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นหนึ่งเดียวคือใคร

(1) เทพีแห่งดวงอาทิตย์นามว่า ระมาเตระสึ    

(2) จักรพรรดิจิมมู เทนโน

(3) จักรพรรดินี นินโทกุ            

(4) โชกุน อิเอยาสิ

ตอบ 2 หน้า 125250 (เล่มเก่า) ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นโบราณนั้น จักรพรรดิจิมมู เทนโน ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของญี่ปุ่น และเป็นหลานชายของนินิงิผู้สืบเชื้อสายมาจาก เทพีแห่งดวงอาทิตย์นามว่าอะมาเตระสึ ได้อพยพจากตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะคิวชูไปยังฝั่งตะวันออกของบริเวณยามาโตในที่ราบคิงกิบนเกาะฮอนชูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ ที่ตรงนี้เองที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เละก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นขึ้นเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล

50.       ญี่ปุ่นในสมัยโชกุน โชกุนตระกูลใดสร้างความเจริญให้กับประเทศมากที่สุด

(1)       อาชิกากา

(2) มินาโมโต

(3) โตกูกาวา

(4) สัตโซฮิโต

ตอบ 3 หน้า 131 – 132, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 302308311) ญี่ปุ่นในสมัยศักดินา มีความเจริญสูงสุดภายใต้การนำของโชกุนตระกูลโตกูกาวา ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความสงบเรียบร้อย ในสังคมอันเกิดจากมาตรการทางสังคม เช่น นโยบาย การเข้าเวร” ที่ขุนนางหรือผู้นำนครรัฐ ต่าง ๆ ต้องเดินทางมาแสดงความจงรักภักดีต่อองค์โชกุนที่เมืองเอโดะในทุก ๆ ปี ระบบซันกิน โกไต และการทหารของโตกูกาวาทำให้การค้าขายเจริญเติบโตอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดระบบนายทุนขนาดย่อมและเกิดเมืองใหญ่ ๆ ขึ้นหลายแห่ง เช่น เอโดะ โอซากา และเกียวโต ซึ่งก็เจริญขึ้นอย่างมาก จนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในด้านต่าง ๆ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ความเจริญเติบโตของญี่ปุ่นในสมัยใหม่ต่างก็มีรากฐานมาจากความเจริญ ที่เกิดขึ้นในสมัยนี้เกือบทั้งนั้น

51.       เมืองใหญ่ ๆ เช่นโอซากา เอโดะ เจริญขึ้นอย่างมากในญี่ปุ่นในสมัยศักดินามาจากสาเหตุใด

(1)       นโยบายเปิดประเทศต้อนรับความเจริญจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา

(2)       นโยบายสร้างความมั่นคงทางการเมืองของโชกุนตระกูลต่าง ๆ

(3)       นโยบาย การเข้าเวร” ที่ผู้นำนครรัฐต่าง ๆ ต้องเดินทางมาแสดงความจงรักภักดีต่อองค์โชกุน

(4)       นโยบายปฏิรูปที่ดินและแจกจ่ายให้แก่ชาวนา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52.       บทละครโน” กับ บทละครกาบูกิ” แตกต่างกันอย่างไร

(1)       บทละครโนเป็นที่นิยมในกลุ่มชนชั้นสูง บทละครกาบูกิเป็นที่นิยมของชนชั้นต่ำ

(2)       บทละครโนจัดแสดงในชนบท ส่วนบทละครกาบูกิจัดแสดงในเมืองหลวง

(3)       บทละครโนเกิดขึ้นก่อนบทละครกาบูกิ

(4)       ทั้งบทละครโนและบทละครกาบูกิเป็นที่ต้องห้ามในสมัยโตกูกาวา

ตอบ 1 หน้า 131298 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) การละครของญี่ปุ่นในสมัยศักดินายุคแรกมี 2 แบบ คือ

1.         ละครโน เป็นบทละครร้องหรือละครรำที่มีท่ารำอย่างเลิศและขึงขัง ไม่มียิ้มแย้ม ซึ่งเป็น

ที่นิยมกันในกลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง ได้แก่ โชกุน พวกไดเมียว และนักรบหรือซามูไร

2.         ละครกาบูกิ เป็นบทละครแบบใหม่ที่มีความครึกครื้นสนุกสนาน ซึ่งเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ชนชั้นกลาง ได้แก่ พวกพ่อค้า และชนชั้นต่ำภายในเมือง

53.       จีนถูกอังกฤษเปิดประเทศ ส่วนญี่ปุ่นถูกชาติใดบังคับให้เปิดประเทศ

(1) รัสเซีย

(2) อังกฤษ

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 133 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วงหลังสงครามฝิ่น ชาติตะวันตกต้องการติดต่อกับญี่ปุ่น มากขึ้น เริ่มจากรัสเซียและอังกฤษที่เดินทางเข้ามาขอเปิดประเทศ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่ง มาจบลงที่สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ส่งบายพลเรือเปอร์รีพร้อมเรือปืนเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1853 ต่อมาญี่ปุ่นได้ยอมลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับสหรัฐอเมริกา จากนั้นญี่ปุ่นก็ลงนามเปิดประเทศกับชาติตะวันตกอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น

54.       พรรคการเมืองใดที่ปกครองประเทศมากครั้งที่สุด หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1)พรรคความหวังใหม่

(2) พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคปฏิรูปประเทศ

ตอบ 3 หน้า 343 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) พรรคการเมืองที่มีความสำคัญยิ่งของญี่ปุ่นภายหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลที่ปกครอง ประเทศญี่ปุ่นมานานที่สุด (ประมาณ 54 ปี) แต่ในที่สุดก็ต้องหมดอำนาจลงเนื่องจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (DPJ) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จนกระทั่งผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ที่ผ่านมาปรากฏว่า นายชินโซะ อาเบะ หัวหน้าพรรค LDP ได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง โดยเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนปัจจุบัน

55.       นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายชินโซะ อาเบะ   

(2) นายโคอิซูมิ          

(3) นายอิชิกาวา          

(4) บายซูซูกิ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56.       ทำไมประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เกาหลีจึงเป็นประเทศที่อ่อนแอที่สุด

(1)       มีเขตแดนติดกับมหาอำนาจ เช่น จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย

(2)       ชาวเกาหลีไม่มีความสามัคคีกัน เช่น เหนือกับใต้

(3)       ชาวเกาหลีผูกพันกับจีนมากเกินไป จนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ    

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 141, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 330) ด้วยเหตุที่เกาหลีมีสภาพทางภูมิศาสตร์ หรือสถานที่ตั้งที่ไม่ปลอดภัยเนื่องจากมีเขตแดนติดกับประเทศมหาอำนาจ 3 ชาติ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย รวมทั้งอาณาจักรโบราณของชนเผ่าเร่ร่อนทางภาคเหนือ ตลอดจนความสำคัญ ทางจุดยุทธศาสตร์ ทำให้เกาหลีต้องตกเป็นสมรภูมิรบหลายครั้ง และไม่เคยพบกับความสงบเลย ถ้าไม่ตกเป็นอาณานิคม ก็ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยไป ส่งผลให้เกาหลีในอดีตกลายเป็น ประเทศที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกด้วยกัน

57.       ข้อใดไม่ได้รวมอยู่ในยุค 3 อาณาจักร

(1) โชซอน

(2) ปักเจ

(3) โคกูรยอ

(4) ซิลลา

ตอบ 1 หน้า 147, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 328) เกาหลีโบราณมีการปกครองที่เรียกว่า ยุค 3 อาณาจักร” (Three Kingdoms) ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวเกาหลีแท้ ๆ ประกอบด้วย อาณาจักรโคคูเรียวหรือโคกูรยอ (มีอิทธิพลมากที่สุด) อาณาจักรปักเจ และอาณาจักรซิลลา ซึ่งได้ชื่อว่า ถังจิ๋วหรือถังน้อย” (Little Tang) เนื่องจากได้รับเอาแบบอย่างความเจริญมาจาก จีนในสมัยราชวงศ์ถัง

58.       ข้อใดไม่ใช่ความเจริญที่เกาหลีรับไปจากจีน

(1)       ลัทธิขงจื๊อ

(2) ศาสนาพุทธ

(3) ระบบการสอบไล่

(4) ตัวอักษรฮันกูล

ตอบ 4 หน้า 155 – 156, (คำบรรยาย) เกาหลีโบราณได้รับแบบอย่างความเจริญส่วนใหญ่มาจากจีน เช่น รูปแบบการปกครองที่ทำให้รัฐบาลกลางเข้มแข็งขึ้น การบริหารราชการ ระบบการสอบไล่ เพื่อเข้ารับราชการ ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อ เป็นต้น

59.       ยางบัน จุงอิน ยางมิน และชอนมิน คืออะไร

(1)       ชนชั้นจากสูงไปสู่ต่ำในสังคมของเกาหลีโบราณ

(2)       ชนชั้นจากต่ำสุดไปสูงสุดในสังคมสมัยใหม่ของเกาหลี

(3)       ระดับการศึกษาของเกาหลีจากสูงสุดถึงระดับล่างสุด

(4)       ระดับการศึกษาของเกาหลีจากระดับปฐมวัยจนถึงระดับสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 157 สังคมเกาหลีโบราณใบสมัยราชวงศ์ที่มีการกำหนดหน้าที่ของคนในสังคมอย่างละเอียด โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น คือ

1.         ชนชั้นยางบัน เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุด

2.         ชนชั้นจุงอิน เป็นชนชั้นกลาง ได้แก่ ข้าราชการในระดับรับนโยบายมาปฏิบัติ

3.         ชนชั้นยางมิน เป็นชนชั้นสามัญชนซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มช่างฝีมือ ช่างประดิษฐ์ ช่างก่อสร้าง และชาวไร่ชาวนา

4.         ซนชั้นชอนมิน เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ได้แก่ พวกทาสที่สังกัดรัฐบาลและเอกชน รวมทั้ง นักแสดง สตรีที่ขายบริการ นักไสยศาสตร์ และพ่อค้าขายเนื้อสัตว์

60.       นายคิม จอง-อึน เป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ส่วนของเกาหลีใต้คือใคร

(1) นางปาร์ค กึน-เฮ

(2) นายปัก จุง-ฮี

(3) นายปาร์ค ปอง-จู

(4) นายบัก ฮอน-เซ

ตอบ1 (คำบรรยาย) ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง-อึน โดยเริ่มดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ส่วนประธานาธิบดีของเกาหลีใต้คนปัจจุบันก็คือ นางปาร์ค กึน-เฮ โดยเริ่มดำรงตำแหนงเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

61.       ในบรรดาภาษาต่าง ๆ ของเอเชียใต้ ภาษาใดที่คนพูดได้มากที่สุด

(1) ฮินดี           

(2) อูรดู            

(3) เบงกาลี     

(4) ปัญจาบี

ตอบ 1 หน้า 175 – 176, (คำบรรยาย) อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านภาษา โดยมี ภาษาพูดกว่า 200 ภาษา และหากนับรวมภาษาถิ่นด้วยจะมีราว 800 ภาษา ทั้งนี้ภาษาต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ใบอินเดียปัจจุบันจะเป็นภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต เช่น ภาษาฮินดี อูรดู เบงกาลี คุชราติ ๆลฯ โดยภาษาที่คนอินเดียพูดและใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ภาษาฮินดี รองลงมา ได้แก่ ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาราชการที่ใช้สอบในมหาวิทยาลัย

62.       คำสอนของศาสนาพราหมณ์ในเรื่องใดที่ขัดแย้งกับหัวใจคำสอนของศาสนาเชนที่สุด

(1) พรหมลิขิต

(2) ระบบวรรณะ

(3) การล้างบาป

(4) การฆ่าสัตว์บูชายัญ

ตอบ 4 หน้า 202 – 203 ศาสนาเชนมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกับศาสนาพุทธมากที่สุด โดยมีลักษณะ คำสอนเป็นแบบอเทวนิยมซึ่งขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหลายเรื่อง เช่น ไม่เชื่อในเรื่อง พระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การล้างบาปในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ การฆ่าสัตว์บูชายัญ ๆลฯ ทั้งนี้การฆ่าสัตว์บูชายัญนั้นถือว่าเป็นคำสอนที่ขัดแย้งอย่างรุนแรง เนื่องจากหลักคำสอนอันเป็น หัวใจของศาสนาเชนคือ การไม่เบียดเบียน (หลักอหิงสา) ซึ่งเป็นคุณธรรมอย่างยิ่งทั้งในระดับ คฤหัสถ์ทั่วไปและระดับนักบวช

63.       องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดสากลของโลก ถามว่าวันดังกล่าวทำให้ระลึกถึง พระพุทธเจ้าที่สอนให้เชื่อในเรื่องใดมากที่สุด

(1) อริยสัจ 4

(2) ไตรลักษณ์

(3)       เหตุผล

(4)       พระเจ้า

ตอบ 1 (คำบรรยาย)    วันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และถือว่าเป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปัจจัยสำคัญในการแสวงหาความรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือการช้หลักเหตุผลเป็นพื้นฐาน โดยหลักธรรมที่สำคัญซึ่งพระองค์ทรงรู้แจ้ง ได้แก่ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

64.       คนในวรรณะใดที่ศาสนาพราหมณ์สอนว่า เกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม

(1) พราหมณ์

(2) กษัตริย์

(3) แพศย์

(4) ศูทร

ตอบ 1 หน้า 195 – 196 (คำบรรยาย) ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตาม คติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระเจ้า (พระพรหม) เป็นผู้สร้าง โดยทรง สร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.         วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.         วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และ ตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สิแดง

3.         วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.         วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกร และข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

65.       ศาสนาใดมีอายุน้อยที่สุด

(1) เชน

(2) สิกข์

(3) คริสต์

(4) อิสลาม

ตอบ 2 หน้า 201203, (คำบรรยาย) อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 4 ศาสนา เรียงตามลำดับ ได้ดังนี้   

1. ศาสนาพราหมณ์ (1,250 – 850 ปีก่อนคริสตกาล)

2.         ศาสนาเชน (540 – 468 ปีก่อนคริสตกาล)

3.         คาสนาพุทธ (536 – 483 ปีก่อนคริสตกาล)

4.         ศาสนาสิกข์ (ค.ศ. 1440)

66.       สีเหลือง เป็นสีประจำวรรณะใด

(1) พราหมณ์

(2) กษัตริย์

(3) แพศย์

(4) ศูทร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

67. อะไรคือจุดมุ่งหมายสามัญในการจัดคนเข้าอยู่ในหลักอาศรม 4

(1) เพื่อกำหนดอาชีพ                        

(2) เพื่อกำหนดถิ่นที่อยู่อาศัย

(3) เพื่อกำหนดฐานะทางลังคม           

(4) เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ

ตอบ 4 หน้า 199, (คำบรรยาย) ตามคำสอนของคาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น หลักอาศรม 4 หมายถึง ธรรมหรือหลักการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามวัยหรือตามขั้นตอนของชีวิต โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดขอบของคนในแต่ละอาศรมให้เหมาะกับวัย ซึ่งประกอบด้วย

1.         พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา

2.         คฤหัสถ์ถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 ปี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงาน มีครอบครัว

3.         วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.         สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติ โดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

68. ถ้าจัดกำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เข้าอยู่ใบหลักอาศรม 4 ควรจัดไว้ในอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม

(2) คฤหัสถาศรม

(3) วานปรัสถาศรม

(4) สันยัสตาศรม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69. พวกทราวิฑ (Dravidians) มีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์อารยธรรมเอเชียใต้

(1) เป็นพวกแรกที่รุกรานอินเดีย

(2) เป็นผู้สร้างอารยธรรมยุคพระเวท

(3) เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

(4) เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล

ตอบ 3 หน้า 174183188 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลก โดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเห็นได้จากการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโร และฮารัปปา ทั้งนี้ชนชาติที่เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็คือ พวกทราวิฑหรือดราวิเดียน (Dravidians) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมของอินเดีย โดยพวกทราวิฑจะมีผิวดำ ตัวเล็ก และจมูกกว้าง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘’ทัสยุหรือมิลักขะ ” ปัจจุบันอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของอินเดียและเกาะศรีลังกา

70.เมืองใดเป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้

(1) ฮารัปปา

(2) กัลกัตตา

(3) พาราณสี

(4) ตักศิลา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

71. พระธรรมจักรแทนพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ถามว่าเริ่มเกิดครั้งแรกในราชวงศ์ใด

(1) คุปตะ

(2) เมารยะ

(3) กุษาณะ

(4) โมกุล

ตอบ 2 หน้า 214 – 217 ในสมัยราชวงศ์เมารยะแห่งอินเดียภายใต้การนำของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น ถือเป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยพระองศ์ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนา รวม 9 สายไปทั่วอินเดียและออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก เช่น ทรงส่งพระโสณะและ พระอุตตรเถระไปบังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้น รวมทั้งยังโปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้น เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน เช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพ พระธรรมจักรและมีกวางหมอบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือสวนกวางแห่งกรุงราชคฤห์ เป็นต้น

72.สัตว์ที่ชาวฮินดูนับถือเป็นสัตว์ศักดิสิทธิ์มาแต่โบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่สัตว์ชนิดใด

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) นกยู

(4) วัว

ตอบ 4 หน้า 187 ชาวฮินดูมีการนับถือบูชาวัวตัวผู้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพราะถือว่าเป็นสัตว์ศักดิสิทธิ์และเป็นพาหนะของพระศิวะ ซึ่งถ้าใครรับประทานเนื้อวัวจะถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์

73.พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้อำนาจปกครองแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราชา ซึ่งอุดมการณ์การปกครองดังกล่าวเหมือนกับกษัตริย์พระองค์ใด

(1) พระเจ้าอักบาร์       

(2) พระเจ้ากนิษกะ      

(3) พระเจ้าอโศก         

(4) พระเจ้ามิลินท์

ตอบ 3 หน้า 214 – 215, (คำ บรรยาย) พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัยของไทย ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราซา ซึ่งจะเหมือนกับการปกครองในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะหรือ โมริยะของอินเดีย

74.       บทละครเรื่องศกุนตลา เป็นมรดกด้านวรรณกรรมของอินเดียที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงแปล เป็นภาษาไทย ถามว่าเป็นผลงานในสมัยใด         

(1) ราชวงศ์เมารยะ/โมริยะ

(2) ราชวงศ์คุปตะ        (3) ราชวงศ์อินโด-แบกเทรีย    (4) ราชวงศ์โมกุล

ตอบ 2 หน้า 219 – 222 ใบสมัยราชวงศ์คุปตะได้ข้อว่าเป็น ยุคทองของอินเดียโบราณ” เพราะมี ความเจริญด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ มากมาย ตังนี้

1.         เป็น ยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต‘’ โดยกวีเอกในสมัยนี้ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่อง ว่าเป็น เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยผลงานเด่นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ บทละครเรื่องศกุนตลา ซึ่งเป็นวรรณกรรมอินเดียที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาแปลเป็น ภาษาไทย

2.         มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ที่เด่น ๆ คือ การเจาะภูเขาเป็นลูก ๆ ให้เป็นถ้ำเพื่อสร้างสังฆารามหรือเทวสถานและพุทธสถาน ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ถ้ำอชันตา ซึ่งภาพเขียนสีรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีบนฝาผนังถ้ำที่ 1 ถือว่าเป็นจิตรกรรมชิ้นเอกของยุค

75.       กษัตริย์พระองค์ใดทรงมีขันติธรรมในศาสนา

(1) พระเจ้าบาบูร์         (2)พระเจ้าอักบาร์        (3)พระเจ้าจาหันกีร์      (4) พระเจ้าโอรังเซป

ตอบ 2 หน้า 224 – 225, (คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยจักรวรรดิโมกุลแห่งอินเดีย โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด และมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของพระองศ์ก็คือ ทรงมีขันติธรรม ในศาสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศ เนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

76.       กษัตริย์พระองค์ใดโปรดให้ส่งสมณทูตมายังดินแดนสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก

(1) พระเจ้าพิมพิสาร (2) พระเจ้ามีลินท์           (3)พระเจ้าอโศก          (4) พระเจ้ากนิษกะ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

77.       ภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำอชันตา เป็นรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี เป็นผลงานสมัยราชวงศ์ใด

(1) เมารยะ      (2)คุปตะ         (3)อินโด-แบกเทรีย      (4) โมกุล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

78.       เมืองกัวเป็นศูนย์กลางการปกครองและวัฒนธรรมของชนชาติใดในอินเดีย

(1) ดัตซ์           (2) อังกฤษ     (3) ฝรั่งเศส      (4) โปรตุเกส

ตอบ 4 (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 129133), (คำบรรยาย) โปรตุเกสเป็นมหาอำนาจตะวันตก ชาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลสูงสุดในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยได้เดินเรือเข้ามาค้าขาย ในอินเดียแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จนสามารถแย่งตลาดการค้ามาจากพ่อค้าอาหรับที่มีอิทธิพล อยู่ในดินแดนนี้ได้สำเร็จ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกัว (Goa) ซึงเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการค้า คาสนาคริสต์ การปกครอง และวัฒนธรรมของโปรตุเกส

79.       ผู้นำคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจของอังกฤษในอินเดียได้แก่ใคร

(1) ลอร์ด เบนทิงค์       

(2) ลอร์ด ดัลฮูซี           

(3) โรเบิร์ต ไคลพ์         

(4) ฟรังซัว ดูเปลส์

ตอบ 3 หน้า 232, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 134 – 135), (คำบรรยาย) โรเบิร์ต ไคลพ์ (Robert Clive) เป็นผู้นำคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจของอังกฤษในอินเดีย โดยสามารถนำทหารเข้ามาบุกยึดที่มั่นที่ Pondicherry ของฝรั่งเศสได้ในปี ค.ศ. 1761 และได้ เข้ายึดเมืองกัลกัตตาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอังกฤษในอินเดียได้สำเร็จ จากนั้นอังกฤษก็ แสวงหาอำนาจทางการค้าและการเมืองในอินเดียเพียงชาติเดียว จนสามารถครอบครองอินเดียได้ ทั้งประเทศโดยสมบูรณ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

80.       อะไรคือสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอยพ่ายแพ้อังกฤษเมือเทียบกับศึกซูลูในแอฟริกา

(1) อังกถษมีความชำนาญในการรบมากกว่า

(2) อังกฤษมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

(3) อังกฤษมีระบบการสื่อสารที่ทันสมัยกว่า

(4) ความแตกสามัคคีในหมู่ชาวอินเดีย

ตอบ 4 หน้า 234 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอยได้ มีดังนี้

1. ผู้นำทัพและทหารอังกฤษ มีประสบการณ์และความชำนาญในการรบมากกว่า และมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

2.         อังกฤษมีระบบและเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งก็คือ เครื่องโทรเลขที่ช่วยให้สามารถส่งข่าวได้อย่างรวดเร็ว

3.         ผู้ปกครองหลายรัฐเข้าร่วมกับอังกฤษเพื่อปราบกบฏซีปอย อันแสดงให้เห็นถึง

การแตกความสามัคคีในหมู่ชาวอินเดียเอง ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอย พ่ายแพ้อังกฤษเมื่อเทียบกับศึกซูลูในแอพ่ริกาใต้

81.       มหาตมะ คานธี ผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านใดที่สุด

(1) อักษรศาสตร์

(2) เศรษฐศาสตร์

(3) นิติศาสตร์

(4) รัฐศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน นิติศาสตร์ และเป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ทีเรียกว่า การต่อด้านเงียบ” หรือ ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่ 1. สัตยะ คือ ความจริง 2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือ วิธีรุนแรง     3. การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟ้ง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง

82.       นักชาตินิยมคนใดที่ได้รับสมญานามว่า “The Grand Old Man of India”

(1) Naoroji

(2) Nehru

(3) Tilak

(4) Gokhale

ตอบ 1 หน้า 238, (คำบรรยาย) เนาโรชิ (Naoroji) เป็นบุคคลแรกที่เรียกร้องสิทธิให้ชาวอินเดียโดยชี้ให้เห็นว่าอังกฤษเอารัดเอาเปรียบอินเดีย อังกฤษควรเลิกตักตวงผลประโยชน์จากอินเดีย อังกฤษควรรับคนอินเดียเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐให้มากขึ้น รวมทั้งเรียกร้องให้ชาวอินเดีย มีบทบาทใบเรื่องกฎหมายและภาษีให้มากกว่านี้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาได้รับสมญานามว่าเป็น มหาบุรุษผู้อาวุโสของอินเดีย” (The Grand Old Man of India) และเป็น บิดาแห่ง นักชาตินิยมอินเดีย” เนื่องจากเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิชาตินิยมในอินเดีย

83.    กฎหมายฉบับใดที่ทำให้มหาตมะ คานธี ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการต่อด้านอังกฤษ

(1)    Morley-Minto Reforms  

(2) Rowlatt Act

(3) Arms Act    

(4) Universities Act

ตอบ 2 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครอง ตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า กฎหมายโรว์แลตต์” (Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ มีสิทธิอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดล้มล้างรัฐบาลได้ทันที โดยไม่ต้องดำเนินการสอบสวนหรือขึ้นศาลตามขบวนการยุติธรรม ซึ่งนักชาตินิยมมองว่า เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นเหตุให้มหาตมะ คานธี ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการประท้วงต่อต้านอังกฤษเสียเอง

84.    ภายหลังกบฏซีปอย อังกฤษถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่เข้าแทรกแซงอินเดียในเรื่องใด

(1) ด้านการปกครอง

(2) ด้านการคลัง

(3) ด้านการทหาร

(4) ด้านสังคม

ตอบ 4 หน้า 234, 447 – 448 (เล่มเก่า) ภายหลังเหตุการณ์กบฏซีบ่อย รัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินนโยบาย ปกครองอินเดียเป็นแบบอนุรักษนิยม โดยถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย แต่จะปฏิบัติกิจกรรมทางสังคมเฉพาะในกลุ่มของ คนอังกฤษเท่านั้น ทั้งนี้เพราะชาวอินเดียไม่ชอบให้ใครมาเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของพวกเขา

85.    “อหิงสา” เป็นคุณสมบัติการต่อสู้ที่สอดคล้องกับผู้นำคนใดมากที่สุด

(1) Jinnah                

(2) Nehru    

(3) Gandhi        

(4) Tilak

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

86.    ข้อใดเป็นหัวใจของการต่อสู้แบบขบวนการสัตยาเคราะห์

(1)    การต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(2)    การดื้อแพ่งโดยไมให้ความร่วมมือทุกรูปแบบ

(3)    การต่อสู้โดยใช้พลังธรรมะ ถ้าไม่สำเร็จจึงค่อยใช้กำลัง

(4)    การต่อสู้โดยไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

87.    ประโยชน์สูงสุดของ “Morley-Minto Reforms” คือเรื่องใด

(1) ปูพื้นฐานการปฏิรูปด้านการศึกษา

(2) ปูพื้นฐานการปฏิรูปด้านคมนาคม

(3) ปูพื้นฐานการปกครองใบระบอบประชาธิปไตย

(4) ปูพื้นฐานใบการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 3 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอรีเลย์-มินโต (Morley- Minto Reforms) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก ด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อินเดียที่กรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษ ในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้น แต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในเรื่องการปูพื้นฐาน การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

88.       ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ได้แก่ใคร

(1) มหาตมะ คานธี

(2) เนห์รู

(3) โกขะเล

(4) เนาโรชิ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียคือ เยาวห์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ส่วนประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียคือ ดร.ราเซนทรี ประสาท (Dr. Rajendra Prasad) รัฐบุรุษอาวุโสของอินเดีย

89.       ท่านใดได้สมญานามว่าเป็น บิดาแห่งประเทศปากีสถาน

(1) เนห์รู

(2) ติลัก

(3) บาเนอร์จี

(4) อาลี จินนาห์

ตอบ 4 หน้า 241. 244 – 245. (คำบรรยาย) มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Muhammad Ali linnah) ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิม เป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดียควบคู่ไป กับการต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิม โดยการประชุมสันนิบาตมุสลิมทีละโฮร์ในปี ค.ศ. 1940 จินนาห์ได้เสนอข้อมติเพื่อขอแยกมุสลิมออกจากฮินดูมาตั้งประเทศปากีสถาน จนกระทั่งเมื่อ อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 อินเดียได้แยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดีย และปากีสถาน ทำให้จินนาห์ได้รับสมญานามว่าเป็น บิดาแห่งประเทศปากีสถาน‘’

90.       เทพเจ้าองค์ใดเป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค ประทานความสำเร็จให้กับมนุษย์ ตามคติฮินดู

(1) พระพรหม

(2) พระวิษณุ

(3) พระศิวะ

(4) พระพิฆเนศ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระพิฆเนศ (มีพระเศียรเป็นช้าง) เป็นเทพเจ้าฮินดูที่เป็นพระโอรสองพระศิวะ และพระนางอุมาเทวี เป็นเทพเจ้าแห่งสติปัญญาและศิลปะ เป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรคต่าง ๆ และประทานความสำเร็จให้แก่มนุษย์ อีกทั้งยังเป็นเทพเจ้าที่คนไทยเคารพนับถือมาก จนถูกสร้างเป็นเทวรูปมากที่สุดในเมืองไทยปัจจุบัน

91.       ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเป็นที่อยู่ของชนกลุ่มใด

(1) พม่า         

(2) ลาว         

(3) กัมพูขา         

(4) เวียดนาม

ตอบ 4 หน้า 257 พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำผืนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 3 เขต ดังนี้

1.         ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีและสาละวิน ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมอญและพม่า

2.         ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง เป็นที่ราบลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของคนไทย ลาว และกัมพูชา (เขมร)

3.         ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง เป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มตระกูลไทหรือชนชาติไทยในปัจจุบัน ชาวจีน และชาวเวียดนาม

92.       ข้อใดคือประเทศเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) สิงคโปร์

(2) บรูไน

(3) ติมอร์ตะวันออก

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 หน้า 256 สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต (Democratic Republic of Timor-Leste) หรือติมอว์ตะวันออก เป็นประเทศที่พึงเกิดขึ้นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเคยเป็น อาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไป จึงถูกผนวก เข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ติมอร์เลสเต จึงได้แยกตัวเป็นอิสระและได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

93.       วัฒนธรรมอันยาเธียนเป็นวัฒนธรรมยุคหินเก่าในประเทศใด

(1) พม่า

(2) ไทย

(3) มาเลเซีย

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งวัฒนธรรมหินเก่าในภูมิภาคนี้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแเมปาเนียนในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย

94.       ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำ

(2) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

(3) มีการเลี้ยงสัตว์

(4) มีบรรพบุรุษมนุษย์อาศัยอยู่

ตอบ 3 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะสังคมเป็นแบบสังคมนายพรานและ ยังคงเป็นทาสของธรรมชาติอยู่ นั่นคือ มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ ไม่มีการ ตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน มักอาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา หรือที่ราบริมแม่น้ำ มีการนำหินกรวดแม่น้ำมา ทำเป็นเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งเจ้าของเครื่องมือหินกะเทาะเหล่านี้ก็คือ กลุ่มบรรพบุรุษของ มนุษย์นั่นเอง

95.ข้อใดคือโบราณวัตถุสำคัญของวัฒนธรรมดองซอน

(1) ภาชนะดินเผาสามขา

(2) กลองมโหระทึก

(3) ภาชนะดินเผาลายเขียนสี

(4) เครื่องประดับทำจากกระดูกสัตว์

ตอบ 2 หน้า 270, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในยุคเหล็กหรือยุคโลหะ ได้แก่

1.         วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยมีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างที่ทำจากสำริดและเหล็ก เช่น มีดสั้น ดาบ ขวาน เครื่องประดับ และที่เด่นที่สุดก็คือ กลองมโหระทึกสำริด

2.         วัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีการขุดค้นพบ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ซึ่งมีอายุราว 2,300 – 1,800 ปี

96.       บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีอยู่ที่จังหวัดใด

(1) กาญจนบุรี

(2) อุบลราชธานี

(3) อำนาจเจริญ

(4) อุดรธานี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       ข้อใดไม่ใช่สินค้าที่ชาวอินเดียต้องการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) เครื่องเทศ          

(2) ทองคำ           

(3) ไม้หอม       

(4) น้ำหอม

ตอบ 4 หน้า 271 สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชาวอินเดียต้องการเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับดินแดน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ต้องการสินค้าจากภูมิภาคนี้ อันได้แก่ ทองคำ เครื่องเทศ ไม้หอม และยางไม้หอม โดยเฉพาะทองคำนั้นชาวอินเดียมีความต้องการมากที่สุด

98. “เย่ห์” เป็นชื่อที่จีนเรียกชนกลุ่มใด

(1) เวียดนาม

(2) ลาว

(3) ไทย

(4) กัมพูชา

ตอบ 1 หน้า 274 – 275, 289 หลังจากที่จีนสมัยราชวงศ์จิ๋นเข้าปกครองเวียดนามบริเวณแม่น้ำแดง และแม่น้ำดำในตังเกี๋ยและอันนัมตอนเหนือ จีนได้ให้ชาวเวียดนามหรือที่ชาวจีนเรียกว่า เย่ห์” ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมาจีนก็เรียกอาณาจักรของชาวเวียดนามนี้ว่า นานเย่ห์หรือนามเวียด” (Nam Viet)

99. ชาวเขมรโบราณเชื่อว่าบรรพบุรุษของพวกเขาคือใคร

(1) พญานาค

(2) สิงห์

(3) พระศิวะ

(4) ฤาษี

ตอบ 1 หน้า 280 ตามตำนานของชาวกัมพูซากล่าวว่า หลังจากพราหมณ์ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางโสมาซึ่งเป็นธิดาของพญานาคแล้ว พญานาคซึ่งเป็นพ่อจึงช่วย ดื่มน้ำทะเลจบเหือดแห้งเพื่อสร้างอาณาจักรให้แก่บุตรเขย และตั้งซื่ออาณาจักรนี้ว่ากัมโพช” ดังนั้นชาวเขมรโบราณจึงเชื่อว่าพญานาคเป็นบรรพบุรุษของพวกเขานั่นเอง

100. ข้อใดต่อไปนี้เก่าแก่ที่สุด

(1) เจนละ

(2) ฟูนัน

(3) ทวารวดี

(4) จามปา

ตอบ 2 หน้า 279 – 281 จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยพราหมณ์ ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

101. ข้อใดคือความสำคัญของเมืองออกแก้ว

(1) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจามปา

(2) เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

(3) เป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรฟูนัน

(4) เป็นแหล่งผลิตเหล็กที่สำคัญ

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 100. ประกอบ

102. ยุคเมืองพระนครของเขมรโบราณเริ่มด้นขึ้นในสมัยกษัตริย์พระองศ์ใด

(1)    ชัยวรมันที่ 1

(2) ชัยวรมันที่ 2

(3) ชัยวรมันที่ 5

(4) ชัยวรมันที่ 7

ตอบ 2 หน้า 285 เขมรโบราณยุคเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็น

เจ้าชายเขมรที่เสด็จกลับมาจากชวา โดยทรงรวบรวมเจนละบกและเจนละน้ำเข้าด้วยกันได้สำเร็จ และทรงให้ชื่อใหม่ว่า อาณาจักรกัมพูซา” จากนั้นจึงสถาปนาพระองศ์ขึ้นเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งอาณาจักรกัมพูชา ในสมัยนี้ถือว่าเป็นยุคที่เขมรโบราณรุ่งเรืองที่สุด และมีการสร้างราชธานี ขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ อินทรปุระ หริหราลัย อมเรนทรปุระ และมเหนทรบรรพต

103. ปราสาทบายนสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด     

(1) เป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวง

(2)    เป็นพุทธสถาน           

(3) เป็นที่พักคนเดินทาง

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 286, 573 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) ปราสาทบายนสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายนคือ บนยอด ของปรางศ์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผันพระพักตร์ ออกไปทั้งสี่ทิศ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวงหรือ นครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณกลางเมืองพระนคร

104.    ลินยี่” หมายถึงอาณาจักรใด

(1) พุกาม

(2) ชวา

(3) จามปา

(4) เวียดนาม

ตอบ 3 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรอลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีน หรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นลันโด่ง ผมดำและหยิก

105.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค

(2) สะเทิม

(3) เมาะตะมะ

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่าง

ด้านตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้ง เมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อ มอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

106.    ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอาณาจักรพุกาม

(1) รับพุทธศาสนามาจากอินเดียโดยตรง

(2) กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

(3) เป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า

(4) ที่ตั้งอาณาจักรมีความอุดมสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของลุ่มแม่น้ำอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดของพม่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้างสิทธิธรรมทางศาสนาในการโจมตี และยึดครองดินแดนต่าง ๆ และทรงสร้างพุกามให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งนี้อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเนื่องจากถูกกองทัพมองโกลของ กุบไลข่านเข้าโจมตีในปี พ.ศ. 1821 กอปรกับมีความอ่อนแอภายในอาณาจักร

107.    โบราณสถานสมัยทวารวดีส่วนใหญ่ใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง

(1) อิฐ

(2) หินทราย

(3) ศิลาแลง

(4) ปูน

ตอบ 1 หน้า 302 โบราณสถานส่วนใหญ่ในสมัยทวารวดีจะใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง อาจมี การใช้ศิลาแลงบ้างแต่ไม่พบการใช้หินในการก่อสร้าง สำหรับอิฐที่ใช้นั้นเป็นอิฐเผาอย่างดี ที่ไส้สุกตลอด เนื้ออิฐแข็ง มีขนาดใหญ่ มีส่วนผสมของแกลบข้าวเหนียวปลูก และมีการตกแต่ง โดยใช้ปูนปั้นประดับ

108.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพ่อขุนรามคำแหง

(1) พระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์

(2) เป็นโอรสของพ่อขุนบางกลางหาว

(3) เคยปกครองที่เมืองศรีสัชนาลัย

(4) เป็นพระสหายกับพระยามังราย

ตอบ 1 หน้า 303 พ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งมีพระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงได้ขึ้นปกครอง เมืองศรีสัชนาลัยสืบต่อจากพระเชษฐานามว่าพ่อขุนบานเมือง จากนั้นก็เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรสุโขทัยและพัฒนาฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองทุกด้านจนมีความมั่นคง และสงบสุข ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระสหาย 2 องค์ คือ พระยามังราย เจ้าเมืองเชียงราย และ พระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา

109.    ข้อใดกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาถูกต้อง

(1)       วัดที่สำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยาคือ วัดราชบูรณะ

(2)       มีราชวงศ์ปกครอง 6 ราชวงศ์

(3)       ไม่สามารถผนวกสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาได้สำเร็จ

(4)       เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาค

ตอบ 4 หน้า 305 – 307 กรุงศรีอยุธยาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของไทยในปี พ.ศ. 1893 ต่อมาในปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรอยุธยาสามารถผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของอยุธยาได้สำเร็จ และตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคทองของ ศิลปะและวิทยาการ โดยมีการสร้างวัดทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ วัดพระศรีสรรเพชญ จนกระทั่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง กรุงศรีอยุธยาก็มีความมั่งคั่งสมบูรณ์ และเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้อาณาจักรอยุธยามีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองศ์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง

110.    คชมาดา เป็นเสนาบติคนสำคัญของอาณาจักรใด

(1) ศรีวิชัย

(2) สิงหะส่าหรี

(3) มัชปาหิต

(4) เคดีรี

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 มัชปาหิตเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจและความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์ ของอินโดนีเซีย โดยผู้ที่มีความสามารถและมีส่วนสำคัญในการขยายอำนาจของมัชปาหิตก็คือ มหาเสนาบดีคนสำคัญซื่อ คชมาดา (Gajah Mada) ซึ่งได้ดำเนินนโยบายแผ่อำนาจออกไปยัง เกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย และจัดตั้งสหพันธรัฐอินโดนีเซียขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่คชมาดา เสียชีวิต อาณาจักรมัชปาหิตก็เสื่อมลงตามลำดับ

111.    ข้อใดไมใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส

(2) การปฏิวัติอุตสาหกรรม

(3) การค้า

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรป

เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้ 1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชื่อเสียงในเรื่อง ความมั่งคั่ง 2. ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ 3. ต้องการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์ไปสู่พวกนอกศาสนา 4. ชาวยุโรปมีความสามรถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้ เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่ 5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ 6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้

112.    ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์

(2) ปีนัง

(3) มะละกา

(4) พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlement)โดยมีศูนย์กลาง อยู่ที่เกาะปีนัง

113.    ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส

(2) สเปน

(3) ดัตช์

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 329, (คำบรรยาย) สเปนถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในฟิลิปปินส์ ซึ่งสเปนจะเน้นให้คนพื้นเมืองกลับใจมานับถือศาสนาคริสต์เอง โดยไม่ได้ใช้วิธีบังคับข่มขู่ วิธีนี้ทำให้มีชาวพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาคริสต์กับมากถึง 92% ซองประชากรทั้งประเทศ

114.    ดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองจาการ์ตาเป็นชื่อใด

(1) ปัตตาเวีย

(2) มะตะรัม

(3) บันทัม

(4) มะละกา

ตอบ 1 หน้า611(เล่มเก่า) เมื่อดัตช์หรือฮอลันดาได้เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในช่วงเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติในบันทัม ทำให้ดัตช์มีอำนาจในบันทัม และขับไล่พ่อค้า ชาวอังกฤษที่ค้าขายอยู่ในบันทัมไปอยู่ที่จาการ์ตา (Jakarta) ซึ่งต่อมาดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ เป็น ตตาเวีย” (Batavia)

115.    ข้อใดคือเมืองหลวงของฟิลิปปินส์

(1) มะละกา    

(2) เกาะบอร์เนียว       

(3) มะนิลา       

(4) เกาะสุลาเวสี

ตอบ 3 หน้า 329 สเปนสามารถยึดฟิลิปปินส์ได้สำเร็จในครั้งที่ 5 นำโดยเลกัซปีในปี พ.ศ. 2108 โดยกองกำลังทหารของเลกัซปีได้ขึ้นบกที่หมู่เกาะวิสายะและตั้งมั่นอยู่ที่เกาะเซบู ซึ่งเป็น ศูนย์กลางของการขยายอาณาเขตออกไปยังเกาะต่าง ๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2114 เลกัซปี ก็ยึดมะนิลาได้ และประกาศให้มะนิลาเป็นเมืองหลวงของฟิสิปปีนส์จนถึงปัจจุบัน

116.    บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ตั้งอยู่บนเกาะใด

(1) เกาะสุมาตรา

(2) เกาะบอร์เนียว

(3) เกาะชวา

(4) เกาะสุลาเวสี

ตอบ 3 หน้า 331 ในปี พ.ศ. 2145 ดัตช์ได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company ะ v.o.c.) ขึ้นที่บันทัมบนเกาะชวา เพื่อระดมทุนจากกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มาสร้างกองเรือพาณิชย์และกองเรือคุ้มกันขนาดใหญ่ ทำให้บริษัทสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนแถบนี้ ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัว อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกมีกำไรมหาศาล และทำให้บันทัมกลายเป็นศูนย์กลาง การค้าในบริเวณนี้

ตั้งแต่ข้อ 117. – 120.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3) ระบบโปโล

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

117.    ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมืองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถ แสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.         ระบบโปโล (Polo System) เป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.         ระบบวันดาลา (Vandala System) เป็นระบบบังคับซื้อสินค้า โดยบังคับให้ชาวพื้นเมือง ขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

118. ระบบที่จัดสรรพื้นที่สำหรับปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ

ตอบ 2 หน้า 334 ในพุทธศตวรรษที่ 24 ดัตช์ได้นำระบบวัฒนธรรม (Culture System) หรือระบบ การเพาะปลูก (Cultivation System) มาใช้แสวงหากำไรในเกาะชวา โดยผู้ที่เสนอระบบนี้คือ โยฮานเนส วาน เดน บอสช์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ โดยระบบนี้เป็นการสนับสนุน ให้ทุกหมู่บ้านจัดสรรพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ เช่น อ้อย กาแฟ คราม ฯลฯ เพื่อจ่ายเป็นภาษีให้แก่รัฐบาลอาณานิคม จากนั้นรัฐก็จะนำสินค้าดังกล่าว ไปขายในยุโรป

119. ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ

120. ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomienda) คือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ ในฟิลิปปินส์โดยให้ผู้มีสิทธิถือครองที่ดินที่เรียกว่า เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Encomiendoros) เรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้ จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

WordPress Ads
error: Content is protected !!