LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 1/2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายขาวเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรก ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ได้ 4 ปาก เสร็จแล้วทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ยังคงเหลือพยาน อีก 1 ปากคือ นายแดงซึ่งโจทก์ยังติดตามตัวนายแดงมาไม่ได้ ขอเลื่อนคดีไปคราวหน้า หากนัดหน้าโจทก์ ไม่สามารถติดตามตัวนายแดงมาเบิกความต่อศาลได้ ก็ให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบนายแดงอีก ศาล อนุญาตให้เลื่อนคดีไปไต่สวนมูลฟ้องต่อไปในนัดหน้า ครั้งถึงวันนัด ทนายโจทก์ไม่สามารถติดตาม ตัวนายแดงมาศาลได้ ฝ่ายโจทก์จึงไม่มีใครมาศาลเลย ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ดังนี้

(ก) โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง มิใช่นัดแรก ศาลยกฟ้องโจทก์ไม่ได้

(ข) ทนายโจทก์แถลงไว้ในนัดก่อนแล้วว่า หากนัดหน้าโจทก์ไม่สามารถติดตามตัวนายแดงมาเบิกความต่อศาลได้ ก็ให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบนายแดง แม้โจทก์ไม่มาศาลตามนัด ศาลก็ชอบที่จะดําเนินคดีต่อไปได้ คําพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(ค) คดีนี้ในการไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก โจทก์ได้นําพยานเข้าสืบไป 4 ปาก พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวมีมูลพอที่ศาลจะประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาได้ คําพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้ง 3 ข้อฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 166 “ถ้าโจทก์ไม่มาตามกําหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควร จึงมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้

คดีที่ศาลได้ยกฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าโจทก์มาร้องภายในสิบห้าวัน นับแต่วันศาลยกฟ้องนั้น โดยแสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่

ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว จะฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 166 วรรคแรก ได้กําหนดหน้าที่ของโจทก์ไว้ว่า ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์จะต้องมาศาลตามกําหนดนัด มิฉะนั้นก็ให้ศาลยกฟ้องเสีย เว้นแต่จะมีเหตุสมควร ศาลจึงจะเลื่อนคดีไปก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์ทั้ง 3 ข้อฟังขึ้นหรือไม่ วินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง หลังจากศาลไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ในนัดแรกไปบ้างแล้วนั้น ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคแรกได้ เพราะโจทก์ ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อศาลคือ นําพยานเข้าไต่สวนมูลฟ้องอีก หากโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานอีกก็ต้องแถลงให้ศาล ทราบเป็นกิจจะลักษณะ และเรื่องการไม่มาศาลตามกําหนดนัดเช่นนี้ ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงจะนําหลักเรื่องโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 200 และมาตรา 202 มาอนุโลม ใช้บังคับหาได้ไม่ ดังนั้น แม้เป็นกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในนัดที่สองมิใช่นัดแรก ศาลก็ยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อาญ มาตรา 166 วรรคแรกได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 227/2527)

(ข) วันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง แม้จะมิใช่นัดแรก โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นําพยานเข้าเสืบ ตามกําหนดนัด หากโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานอีกโจทก์ก็ต้องแถลงให้ศาลทราบอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพื่อจะได้ ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ทนายโจทก์แถลงไว้ในนัดก่อนว่า หากนัดหน้าไม่สามารถติดตามตัวนายเดงบา เบิกความได้ ก็ให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบนายแดงอีก หาได้หมายถึงกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลด้วยไม่ เมื่อโจทก์ไม่มาศาล ตามกําหนดนัด ศาลชั้นต้นย่อมชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคแรก (คําพิพากษาฎีกา ที่ 5564/2534

(ค) การที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่ไต่สวนมูลฟ้องไปแล้วจะพอฟังว่าคดีมีมูล หรือไม่ ต้องเป็นกรณีที่โจทก์มาศาลตามกําหนดนัดแล้ว แต่ไม่ติดใจนําพยานเข้าไต่สวนมูลฟ้องต่อไป เมื่อโจทก์ ไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง แม้จะมิใช่วันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรก ศาลก็ต้องยกฟ้องของโจทก์ เสียตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคแรก โดยไม่ต้องวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่สืบไปแล้วในนัดก่อนรวม 4 ปาก ว่าเพียงพอที่จะฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่ (คําพิพากษาฎีกาที่ 121/2538 และ 1726/2534)

สรุป อุทธรณ์ของโจทก์ทั้ง 3 ขอฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหาความผิดฐานไม่ยื่นรายการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 35 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ในวันนัดพิจารณาโจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้น ดําเนินกระบวนพิจารณาไปโดยอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจําเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคําพิพากษา

(ก) ความปรากฏว่า จําเลยไม่มีทนายความ และศาลชั้นต้นก็มิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความก่อนอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง

(ข) ศาลชั้นต้นเรียกสํานวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาประกอบการวินิจฉัยลับหลังจําเลยโดยมิได้แจ้งให้จําเลยทราบ

(ค) ความปรากฏตามฟ้องว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความ แต่เนื่องจากจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ทั้งมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีจะต้องลงโทษจําเลยไปตามคํารับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

ให้วินิจฉัยในแต่ละกรณีตาม (ก) (ข) และ (ค) ว่า การพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคสอง “เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาล เชื่อว่าเป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้จดไว้ ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป”

มาตรา 173 วรรคแรกและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จําเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุกก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี และจําเลยต้องการทนายก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

มาตรา 175 “เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ถ้าเห็นสมควรศาลมีอํานาจเรียกสํานวนการสอบสวน จากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้”

มาตรา 176 วรรคแรก “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”

มาตรา 185 วรรคแรก “ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็น ความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจําเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การพิจารณาของศาลชั้นต้นในกรณีตาม (ก) (ข) และ (ค) ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เห็นว่า

กรณีตาม (ก) พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจําเลยในความผิดฐานไม่ยื่นรายการเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 35 ซึ่งมีระวางโทษปรับเพียงสถานเดียว มิใช่คดีที่มีโทษประหารชีวิต หรือคดีที่มีโทษ จําคุก อันจะตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคแรก และวรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่าก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ดังนี้ แม้จําเลยจะไม่มีทนายความและศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจําเลยในเรื่อง ทนายความก่อนอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังก็ตาม ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายการพิจารณาของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย

กรณีตาม (ข) การเรียกสํานวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาประกอบการวินิจฉัย ของศาลชั้นต้น เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เป็นอํานาจของศาลชั้นต้นที่จะกระทําได้โดยชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 175 ทั้งมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล ซึ่งต้องทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคแรก แม้ศาลชั้นต้นเรียกสํานวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาประกอบการวินิจฉัยลับหลัง จําเลยโดยมิได้แจ้งให้จําเลยทราบ ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย การพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย

กรณีตาม (ค) โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 35 ซึ่งมีระวางโทษ ตามที่กฎหมายกําหนดให้ปรับไม่เกินสองพันบาท เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจําเลยไม่ติดใจ สืบพยาน ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก เมื่อความปรากฏตามฟ้องของโจทก์ว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความ แม้จําเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยมิได้ให้ การต่อสู้เรื่องอายุความก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอํานาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ และปล่อยจําเลยไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคแรก เนื่องจากมาตรา 176 วรรคแรก มิได้บัญญัติบังคับให้ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจําเลยไป ตามคํารับสารภาพแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีจะต้องลงโทษจําเลยไปตามคํารับสารภาพ จึงเป็นการ ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว

สรุป

(ก) การพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย

(ข) การพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย

(ค) การพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายแมวโดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนถูกนายแมวตาย ขอให้ลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 288 หากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง ดังนี้

(ก) จําเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะฆ่านายหมาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่กลับใช้อาวุธปืนยิงนายแมวตายโดยสําคัญผิดตัวว่า นายแมวคือนายหมา อันเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 289(4), 61กรณีหนึ่ง

(ข) จําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายแมว โดยเจตนาฆ่า แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนายหมาตาย อันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายแมวตาม ป.อาญา มาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และผิดฐานฆ่านายหมาตายโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 288, 60 อีกบทหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง ให้วินิจฉัยว่า ทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้น หากปรากฏว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะพิพากษาลงโทษ จําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคแรก วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช้ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) โจทก์ฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายแมวโดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนถูกนายแมวตาย แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณากลับได้ความว่า จําเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะฆ่านายหมาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่กลับใช้อาวุธปืนยิงนายแมวตายโดยสําคัญผิดตัว ซึ่งจําเลยจะยกเอาความสําคัญผิดมาข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทํา โดยเจตนาหาได้ไม่ จําเลยจึงมีความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 289(4), 61 นั้น แม้ทางพิจารณาจะแตกต่างกับฟ้อ ในเรื่องเจตนาโดยสําคัญผิดตัว แต่ก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสําคัญ เมื่อจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจําเลยฐานฆ่านายแมวตาม ป.อาญา มาตรา 288, 61 ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจําเลย ฆ่านายแมวตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อาญา มาตรา 289(4) นั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ จึงลงโทษจําเลย ในเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289(4) ไม่ได้ เพราะเป็นคําขอและโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคแรก

(ข) โจทก์ฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงฆ่านายแมวตายโดยเจตนา ขอให้ลงโทษตาม ป.อาญา มาตรา 288 แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณากลับได้ความว่า จําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายแมวโดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนพลาดไปถูกนายหมาตายอันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายแมวตาม ป.อาญา มาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และมีความผิดฐานฆ่านายหมาตายโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 288, 60 อีกบทหนึ่ง ปัญหาว่าศาลจะพิพากษา ลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด ขอแยกตอบดังนี้

สําหรับบทความผิดฐานพยายามฆ่านายแมวตาม ป.อาญา มาตรา 238, 80 นั้น เป็นความผิด ที่รวมอยู่ในความผิดฐานฆ่านายแมวตายตาม ป.อาญา มาตรา 288 ตามฟ้องซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ดังนั้น ศาลย่อมมีอํานาจตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคแรก ที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายแมว ตาม ป.อาญา มาตรา 288, 80 ซึ่งเป็นบทเบากว่าที่พิจารณาได้ความได้

ส่วนบทความผิดฐานฆ่านายหมาตายโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 288, 60 นั้น แม้การ แตกต่างระหว่างเจตนาประสงค์ต่อผลตาม ป.อาญา มาตรา 59 วรรคสอง กับเจตนาโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 60 จะมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสําคัญและจําเลยมิได้หลงต่อสู้ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแมวตาย แต่ทางพิจารณากลับฟังได้ความว่าจําเลยฆ่านายหมาตาย วัตถุแห่งการกระทําจึงเป็นบุคคลคนละคนกัน ต้องถือว่า แตกต่างกันในข้อสาระสําคัญและข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาว่าจําเลยฆ่านายหมาตายนั้น ก็เป็นเรื่อง นอกฟ้องนอกความประสงค์ให้ลงโทษจําเลย ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจําเลยในบทความผิดฐานฆ่านายหมาตาย โดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 288, 60 ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคแรกและวรรคสี่

สรุป

(ก) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานฆ่านายแมวตายตาม ป.อาญา มาตรา 288, 61 ได้ แต่จะพิพากษาลงโทษจําเลยในเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289(4) ไม่ได้

(ข) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายแมวตาม ป.อาญา มาตรา 288, 80 ได้ แต่จะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายหมาตายโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 238, 60 ไม่ได้

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ลงโทษจําคุก 6 เดือน โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ให้มีกําหนด 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยให้หนักขึ้นส่วนจําเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ลงโทษจําคุก 3 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ดังนี้ จําเลยจะฎีกาขอให้ศาลยกฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 218 “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และ ให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษจําคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจําคุก จําเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง”

มาตรา 219 “ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สีหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจําเลยไม่เกินกําหนดที่ว่ามานี้ ห้ามมิให้คู่ความฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จําเลยในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจําเลย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยฎีกาขอให้ศาลยกฟ้องถือเป็นการฎีกาในปัญหาที่สืบเนื่องจากการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจําคุกจําเลย 3 เดือน ฎีกาของจําเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ลงโทษจําคุก 6 เดือน โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 1 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจําเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ลงโทษจําคุก 3 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ เปลี่ยนโทษจําคุกที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษมาเป็นโทษจําคุก จึงถือว่าเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 แต่ก็ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219 ต่อไป

เมื่อพิจารณาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219 แล้วได้ความว่า การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่าง พิพากษาลงโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219 ห้ามคู่ความฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่มีข้อยกเว้นให้จําเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก และเพิ่มเติมโทษจําเลยด้วย

ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย แต่ก็มีเงื่อนไขให้รอการ ลงโทษจําคุก ซึ่งเป็นคุณแก่จําเลยมากกว่าคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจําเลย 3 เดือน กรณีถือว่าคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจําเลย

เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก และเพิ่มเติมโทษจําเลยด้วย จําเลยจึงฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219

สรุป จําเลยจะฎีกาขอให้ศาลยกฟ้องได้

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดสุโขทัยว่าจําเลยเช่าตึกแถวจากโจทก์ จําเลยผิดสัญญาไม่ชําระค่าเช่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท จําเลยให้การรับตามฟ้อง แต่ขอผ่อนผันอยู่อาศัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง นายเอกและนายโทซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาล จังหวัดสุโขทัยเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ได้พิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกจาก ตึกแถวพิพาท ภายหลังออกหมายบังคับคดีแล้ว นายโทย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น ต่อมาแดงยื่น คําร้องว่า ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจําเลย แต่ผู้ร้องเข้าครอบครองตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตาม สัญญาโอนสิทธิการเช่าระหว่างผู้ร้องกับจําเลย วันดังกล่าวนายเอกลาป่วย นายตรีซึ่งเป็นผู้พิพากษา ประจําศาลในศาลจังหวัดสุโขทัยจึงมีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ นัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้อง

ให้ท่านวินิจฉัยว่า การที่นายตรีมีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ และนัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้องชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้

(2) ออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคําร้องหรือคําขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง

(2) ไต่สวนและมีคําสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

ผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจตาม (3) (4) หรือ (5)”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้อง ไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวงตามมาตรา 26 แต่อย่างก็ดีผู้พิพากษาคนหนึ่ง ย่อมมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และผู้พิพากษาคนเดียวย่อมมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 25

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกและนายโทซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยเป็นองค์คณะ ได้พิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท และภายหลังออกหมายบังคับคดีแล้ว ต่อมาแดงได้ ยื่นคําร้องว่า ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจําเลย แต่ผู้ร้องเข้าครอบครองตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิ การเช่าระหว่างผู้ร้องกับจําเลยนั้น แม้คําร้องของแดงจะมีข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีซึ่งไม่อยู่ในอํานาจของผู้พิพากษา คนเดียวตามมาตรา 25 ก็ตาม แต่การที่นายตรีซึ่งเป็นผู้พิพากษาประจําศาลในศาลจังหวัดสุโขทัยได้มีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ และนัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้องนั้น ถือเป็นการออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาด ข้อพิพาทแห่งคดีตามมาตรา 24 (2) ดังนั้น คําสั่งของนายตรีดังกล่าวจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

การที่นายตรีมีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ และนัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้องดังกล่าว ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2 พีทต้องการยื่นคําร้องขอจัดตั้งเป็นผู้จัดการมรดกประเสริฐผู้เป็นบิดา อันมีหุ้นบริษัท อนันตา จํากัด จํานวนร้อยละ 25 ถือเป็นเงินทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท เงินในบัญชีธนาคาร 200 ล้านบาท บ้าน ราคา 10 ล้านบาท และรถยนต์ 1 คัน ราคา 200,000 บาท ต้องยื่นคําร้องขอจัดตั้งผู้จัดการมรดก ที่ศาลใด ระหว่างศาลแพ่งหรือศาลแขวงพระนครเหนือ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคหนึ่ง “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 คดีแพ่งที่ศาลแขวง “ผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาท และคดีมีข้อพิพาทนั้นจะต้องเป็น เที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท หรือเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พีทต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งตนเป็น ผู้จัดการมรดกของประเสริฐเจ้ามรดกนั้น ถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่อยู่ในอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 ดังนั้น พีทจะต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ที่ศาลแพ่ง จะนําไปยื่นที่ศาลแขวงพระนครเหนือไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ แต่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษา ของศาลแพ่ง (ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง)

สรุป

พีทต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลแพ่ง เพราะเป็นคดีที่ไม่มี ข้อพิพาทจึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ

 

ข้อ 3 พนักงานอัยการฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดตากข้อหาวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 วรรคแรก (มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท) นายมกรา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก จ่ายสํานวนให้นายกุมภาและนายมีนาซึ่งเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลจังหวัดตากทั้ง 2 คนเป็นองค์คณะพิจารณา ระหว่างการพิจารณานายมกราและนายกุมภา เดินทางไปต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการหรือนั่งพิจารณาคดีได้ นายเมษาผู้พิพากษาที่มีอาวุโส สูงสุดในศาลจังหวัดตากจึงมอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจําศาลจังหวัดตากเข้าเป็น องค์คณะแทนนายกุมภา หลังจากนั้นนายมีนาและนางสาวพฤษภาได้ร่วมกันพิจารณาคดีจนเสร็จ แล้วมีคําพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้จําคุกจําเลยมีกําหนด 4 ปี

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 9 “ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละหนึ่งคน

เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อ ผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน

ในกรณีที่ไม่มีผู้ทําการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็น ผู้ทําการแทนก็ได้

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลจะเป็นผู้ทําการแทนในตําแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้น ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดตากเป็นคดีอาญา ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ ไม่เกิน 1 แสนบาท จึงต้องมีผู้พิพากษา 2 คน เป็นองค์คณะตามมาตรา 26

การที่นายมกราผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตากได้จ่ายสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายกุมภา และนายมนาซึ่งเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดตากทั้ง 2 คนเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณานายกุมภาเดินทางไปต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการหรือนั่งพิจารณาคดีได้ จึงถือเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 ดังนั้นจึงต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคือนายมกรา หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นตามที่นายมกรามอบหมายนั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปตามมาตรา 28 (3)

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายมกราได้เดินทางไปต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ในกรณีนี้ตามมาตรา 9 วรรคสอง จะต้องให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ดังนั้นการที่ นายเมษาซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัดตากได้มอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจํา ศาลจังหวัดตากเข้าเป็นองค์คณะแทนนายกุมภา ซึ่งแม้ว่านางสาวพฤษภาจะเป็นผู้พิพากษาประจําศาลจังหวัดตาก ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะกับนายมีนาผู้พิพากษาอาวุโสนั้น ย่อมถือว่าเป็นองค์คณะโดยชอบตามมาตรา 26 ซึ่ง กําหนดว่าต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกิน 1 คน ดังนั้น การที่นายเมษา มอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจําศาลเป็นองค์คณะร่วมกับนายมีนาผู้พิพากษาอาวุโสจึงชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

และเมื่อนายมีนาและนางสาวพฤษภาได้ร่วมกันพิจารณาคดีจนเสร็จแล้วมีคําพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้จําคุกจําเลยมีกําหนด 4 ปีนั้น การทําคําพิพากษาของนายมีนาและนางสาวพฤษภา ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26

สรุป

การที่นายเมษามอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจําศาลเป็นองค์คณะ ร่วมกับนายมีนา การพิจารณาและการทําคําพิพากษาของนายมีนาและนางสาวพฤษภาชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลเพ่งว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านพิพาทราคา 300,000 บาท ซึ่งตั้งอยู่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในเขตของศาลแพ่งและศาลแขวงพระนครเหนือ จําเลยบุกรุกเข้า ครอบครองบ้านพิพาท โจทก์แจ้งให้ออกไปแล้วแต่จําเลยเพิกเฉย ขอให้ศาลพิพากษาว่าบ้านพิพาท เป็นของโจทก์และขับไล่จําเลยออกจากบ้านพิพาท นายเอกผู้พิพากษาศาลแพ่งมีคําสั่งรับฟ้อง จําเลยให้การว่าบ้านพิพาทเป็นของจําเลย จําเลยมิได้บุกรุกบ้านโจทก์ นายเอกมีคําสั่งรับคําให้การ และนายเอกเป็นองค์คณะคนเดียวนั่งพิจารณาคดีจนเสร็จสิ้น แต่ก่อนทําคําพิพากษานายเอกเห็นว่า คดีอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ นายเอกจึงมีคําสั่งโอนคดีไปยัง ศาลแขวงพระนครเหนือ จงวินิจฉัยว่า

(ก) คําสั่งรับฟ้องของนายเอกชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) คําสั่งโอนคดีของนายเอกชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคหนึ่ง “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 19/1 วรรคสอง “ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่งอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงก็ให้ศาลนั้นพิจารณา พิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้

(2) ออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลแพ่งว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านพิพาทราคา 300,000 บาท จําเลยบุกรุกเข้าครอบครองบ้านพิพาท โจทก์แจ้งให้ออกไปแล้วแต่จําเลยเพิกเฉย ขอให้ศาลพิพากษาว่าบ้านพิพาท เป็นของโจทก์และขับไล่จําเลยออกจากบ้านพิพาท และนายเอกผู้พิพากษาคนเดียวของศาลแพ่งมีคําสั่งรับฟ้องนั้น คําสั่งรับฟ้องดังกล่าวของนายเอกชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตามมาตรา 24 (2) เพราะเป็นคําสั่งซึ่งมิใช่ เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

(ข) การที่โจทก์ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลแพ่ง เมื่อคดีนี้เริ่มต้นโดยเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การนําคดีนี้ไปยื่นต่อศาลแพ่ง และศาลแข่งได้รับฟ้องไว้จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแพ่ง มิได้อยู่ในอํานาจของศาลแขวงพระนครเหนือตามมาตรา 17 ประกอบ มาตรา 25 (4) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจําเลยได้ยื่นคําให้การเข้าไปในคดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจําเลย จําเลยมิได้บุกรุกบ้านโจทก์ คดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท ทําให้จากคดีไม่มีทุนทรัพย์กลายเป็นคดีที่มี ทุนทรัพย์ และเมื่อทุนทรัพย์มีราคา 300,000 บาท กรณีนี้จึงถือว่าเป็นกรณีตามมาตรา 19/1 วรรคสอง กล่าวคือ ในขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่งอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนั้น เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงพระนครเหนือก็ตาม ก็ยังคงให้ศาลแพ่งพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป จะโอนคดีไปยังศาลแขวงพระนครเหนือไม่ได้ ดังนั้น การที่นายเอกมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงพระนครเหนือ คําสั่งดังกล่าวของนายเอกจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

(ก) คําสั่งรับฟ้องของนายเอกชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

(ข) คําสั่งโอนคดีของนายเอกไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2 โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีอาญาอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ที่ศาลจังหวัดมีนบุรี (ไม่มีศาลแขวงอยู่ในเขตอํานาจ) นายกรุงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมีนบุรีได้จ่ายสํานวนให้ นายแทนไทผู้พิพากษาศาลจังหวัดมีนบุรีและนายพุทธธรรมผู้พิพากษาประจําศาลจังหวัดมีนบุรี เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา หากปรากฏว่า

(ก) ในวันไต่สวนมูลฟ้องนายพุทธธรรมลําพังคนเดียวมาไต่สวนมูลฟ้องและเห็นว่าคดีมีมูลจึงมีคําสั่งประทับรับฟ้อง กับ

(ข) ในวันไต่สวนมูลฟ้องนายแทนไทเพียงลําพังคนเดียวมาไต่สวนมูลฟ้องและเห็นว่าคดีไม่มีมูลจึงมีคําพิพากษายกฟ้อง

คําสั่งและคําพิพากษาดังกล่าวข้างต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ภายใต้บังคับมาตรา 19/1 ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและ คดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ เพราะผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจตาม (3) (4) หรือ (5)”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) แต่ เนื่องจากศาลจังหวัดมีนบุรีไม่มีศาลแขวงอยู่ในเขตอํานาจ โจทก์จึงนําคดีดังกล่าวมาฟ้องที่ศาลจังหวัดมีนบุรีนั้น โจทก์ย่อมสามารถทําได้ตามมาตรา 18 และแม้ว่าศาลจังหวัดจะต้องมีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน ตามมาตรา 26 แต่มาตรา 26 อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 25 ดังนั้น ผู้พิพากษาเพียงลําพังคนเดียวจึงมีอํานาจในการ ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญาได้ตามมาตรา 25 (3)

ส่วนคําสั่งประทับรับฟ้องของนายพุทธธรรมและคําพิพากษายกฟ้องของนายแทนไทชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) ในวันไต่สวนมูลฟ้องนายพุทธธรรมผู้พิพากษาประจําศาลจังหวัดมีนบุรีลําพังคนเดียว มาไต่สวนมูลฟ้องและเห็นว่าคดีมีมูลจึงมีคําสั่งประทับรับฟ้องนั้น คําสั่งดังกล่าวของนายพุทธธรรมย่อมไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เนื่องจากนายพุทธธรรมเป็นเพียงผู้พิพากษาประจําศาล จึงไม่มีอํานาจไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา เพียงลําพังคนเดียวตามมาตรา 25 (3) และมาตรา 25 วรรคสอง

(ข) ในวันไต่สวนมูลฟ้องนายแทนไทเพียงลําพังคนเดียวมาไต่สวนมูลฟ้องและเห็นว่าคดีไม่มีมูล จึงมีคําพิพากษายกฟ้องนั้น คําพิพากษาดังกล่าวของนายแทนไทผู้พิพากษาศาลจังหวัดมีนบุรีย่อมชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคดีนี้มีอัตราโทษจําคุกและโทษปรับไม่เกินอํานาจของผู้พิพากษาคนเดียว ดังนั้น นายแทนไทจึงมีอํานาจ ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งเพียงลําพังคนเดียวได้ตามมาตรา 25 (3) และมาตรา 25 (5)

สรุป

(ก) คําสั่งประทับรับฟ้องของนายพุทธธรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(ข) คําพิพากษาของนายแทนไทชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3 ในศาลฎีกานายวิจารณ์ประธานศาลฎีกา ได้จ่ายสํานวนคดีแพ่งให้กับนายวิจัย นายวิจักษณ์และนายวิษณุ ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีแพ่งคดีหนึ่ง ทั้งสามได้พิจารณาคดี จนกระทั่งเสร็จสิ้นและอยู่ในระหว่างทําคําพิพากษา นายวิจัยป่วยหนักต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงทําให้นายวิจักษณ์กับนายวิษณุไม่สามารถทําคําพิพากษาได้ จึงได้นําเอาคดีนี้ไปปรึกษานายวิจารณ์ ประธานศาลฎีกา แต่นายวิจารณ์ได้เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศพร้อมกับรองประธานศาลฎีกา อันดับที่ 1 ถึง 3 เหลือรองประธานศาลฎีกาอันดับที่ 4 ถึง 6 ทั้งสองจึงตัดสินใจนําเอาสํานวนคดี ดังกล่าวไปปรึกษารองประธานศาลฎีกาอันดับที่ 6 รองประธานศาลฎีกาอันดับที่ 6 จึงตรวจสํานวน และลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมกับนายวิษณุกับนายวิจักษณ์ คําพิพากษาดังกล่าวชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้นมีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว ๆ มากมาย (1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกาหรือรองประธานศาลฎีกา”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายวิจารณ์ประธานศาลฎีกา ได้จ่ายสํานวนคดีแพ่งให้กับนายวิจัย นายวิจักษณ์และนายวิษณุ ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีแพ่งคดีหนึ่ง และเมื่อทั้งสามได้ พิจารณาคดีจนกระทั่งเสร็จสิ้นและอยู่ในระหว่างทําคําพิพากษา นายวิจัยป่วยหนักต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้น ถือว่านายวิจัยไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้ และถือว่าเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 ดังนั้น นายวิจักษณ์และนายวิษณจึงต้องนําสํานวนคดีนั้นไปให้ประธานศาลฎีกาหรือ รองประธานศาลฎีกาตรวจและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาตามมาตรา 29 (1)

การที่นายวิจักษณ์กับนายวิษณุนำสํานวนคดีนั้นไปปรึกษานายวิจารณ์ประธานศาลฎีกา แต่นายวิจารณ์ได้เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศพร้อมกับรองประธานศาลฎีกาอันดับที่ 1 ถึง 3 เหลือแต่รองประธาน ศาลฎีกาอันดับที่ 4 ถึง 6 ทั้งสองจึงตัดสินใจนําเอาสํานวนคดีดังกล่าวไปปรึกษารองประธานศาลฎีกาอันดับที่ 6 และ รองประธานศาลฎีกาอันดับที่ 6 ได้ตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมกับนายวิจักษณ์และนายวิษณุนั้น คําพิพากษาดังกล่าวย่อมชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 29 (1) เพราะการนําสํานวนคดีไปให้รองประธานศาลฎีกา ตรวจสํานวนเละลงลายมือชื่อทําคําพิพากษานั้นจะไม่คํานึงถึงความอาวุโสของรองประธานศาลฎีกาแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะเป็นรองประธานศาลฎีกาอันดับที่ 6 ก็สามารถตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมได้

สรุป คําพิพากษาดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายเอกฟ้องขับไล่นายโทผู้เช่าออกจากบ้านเช่าของตน ซึ่งนายโทไม่ชําระค่าเช่าเป็นเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 120,000 บาท ที่ศาลจังหวัดนครปฐม นายบุญใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครปฐม ได้จ่ายสํานวนให้นายบุญช่วยและนายบุญมีผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครปฐมเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษาคดี นายบุญช่วยแต่เพียงผู้เดียวได้ประทับรับฟ้องคดีนี้และออกคําสั่งให้ส่งหมายเรียกและ สําเนาคําฟ้องให้แก่จําเลย ปรากฏว่าก่อนวันนัดชี้สองสถานนายบุญมีเห็นว่าคดีนี้มีการเรียกค่าเช่า มาด้วย และค่าเช่านั้นเพียงแค่ 120,000 บาท จึงปรึกษากับนายบุญช่วยทําการออกคําสั่งโอนคดีนี้ กลับไปยังศาลแขวง ดังนี้

ก การออกคําสั่งให้ “ส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้แก่จําเลย” ที่กระทําโดยนายบุญช่วยแต่เพียงผู้เดียวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ข ความเห็นขององค์คณะผู้พิพากษาทั้งสองคนนี้ที่ให้มีการโอนคดีนี้กลับไปยังศาลแขวงชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ภายใต้บังคับมาตรา 19/1 ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและ คดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 19/1 วรรคหนึ่ง “บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือ ศาลจังหวัด ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลดังกล่าวที่จะยอมรับพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้น หรือมีคําสั่งโอนคดี ไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจก็ได้ และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด หากศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดได้มีคําสั่งรับฟ้องคดีเช่นว่านั้นไว้แล้ว ให้ศาลดังกล่าว พิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป”

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้

(2) ออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกฟ้องขับไล่นายโทผู้เช่าออกจากบ้านเช่าของตน ซึ่งนายโท ไม่ชําระค่าเช่าเป็นเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 120,000 บาทนั้น เป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจ คํานวณเป็นราคาเงินได้ ถือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดนครปฐม ตามมาตรา 18 ไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงตามมาตรา 17 และมาตรา 25 (4)

ก. การที่นายบุญใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครปฐมได้จ่ายสํานวนให้นายบุญช่วย และนายบุญมีผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครปฐมเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี และนายบุญช่วยแต่เพียงผู้เดียว ได้ประทับรับฟ้องคดีนี้และออกคําสั่งให้ส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้แก่จําเลยนั้น การออกคําสั่งดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการออกคําสั่งที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจที่จะทําได้ตามมาตรา 24 (2) เนื่องจาก เป็นคําสั่งที่มิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีหรือทําให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลแต่อย่างใด

ข. การที่นายบุญมีเห็นว่าคดีนี้มีการเรียกค่าเช่ามาด้วย และค่าเช่านั้นเพียงแค่ 120,000 บาท จึงปรึกษากับนายบุญช่วยทําการออกคําสั่งโอนคดีนี้กลับไปยังศาลแขวงนั้น คําสั่งโอนคดีดังกล่าวย่อมไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เพราะคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้จะมีการเรียกค่าเช่ามาด้วยก็ตาม แต่คําขอหลักเป็นการฟ้องขับไล่ จึงไม่มีการเรียกร้องกรรมสิทธิ์ให้กลับมาเป็นของผู้เรียกร้อง จึงมิใช่คดีมีทุนทรัพย์ 120,000 บาท แต่อย่างใด คดีนี้จึงอยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตามมาตรา 18 อีกทั้งถ้าจะมีการโอนคดีกลับไปยัง ศาลแขวงตามมาตรา 19/1 วรรคหนึ่งนั้น จะต้องปรากฏว่าเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของ ศาลแขวงนั้น แต่ได้นําไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดและศาลจังหวัดต้องไม่เด้ประทับรับฟ้องตั้งแต่แรกด้วย แต่อย่างไรก็ดี เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดในการพิจารณาพิพากษาคดีแล้วจึงไม่อาจโอนคดีไปยังศาลแขวงได้ จึงไม่จําต้องพิจารณาว่าการโอนคดีดังกล่าวชอบหรือไม่ชอบตามมาตรา 19/1 วรรคหนึ่ง

สรุป

ก. การออกคําสั่งให้ส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้แก่จําเลยที่กระทําโดยนายบุญช่วยแต่เพียงผู้เดียวชอบด้วยกฎหมาย

ข. ความเห็นขององค์คณะผู้พิพากษาทั้งสองที่ให้มีการโอนคดีนี้กลับไปยังศาลแขวงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายสมควรเป็นโจทก์ฟ้องนายระทม ข้อหาโกงเจ้าหนี้ต่อศาลจังหวัดสุโขทัย ศาลมีคําพิพากษาว่านายระทมมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 349 แต่ให้รอการกําหนดโทษไว้ มีกําหนดสองปี คดีถึงที่สุด ต่อมาอีกหนึ่งปี นายระทมไปลักทรัพย์ของนายชะเอมในจังหวัดตาก พนักงานอัยการได้ฟ้องนายระทมที่ศาลจังหวัดตากในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 และ ขอให้ศาลกําหนดโทษนายระทมในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ นายระทมให้การรับสารภาพ นายชวลิต ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากเจ้าของสํานวนพิจารณาแล้วจึงมีคําพิพากษาให้จําคุกนายระทม ข้อหาลักทรัพย์มีกําหนด 1 ปี และให้กําหนดโทษนายระทมข้อหาโกงเจ้าหนี้ให้จําคุก 1 ปี นายระทม ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจําคุกข้อหาละ 6 เดือน เมื่อนําโทษในคดีก่อนบวกกับโทษ ในคดีนี้แล้ว คงจําคุกนายระทมรวม 12 เดือน ท่านเห็นว่าคําพิพากษาของนายชวลิตชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด (ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคหนึ่ง “เมื่อปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตาม คําแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกําหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทําความผิด อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุกสําหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกําหนดโทษที่รอการกําหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอ การลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน เป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีเพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง (มาตรา 26) แต่อย่างไรก็ดี ผู้พิพากษาคนเดียว มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าวไม่ได้ (มาตรา 25 (5)

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายระทมในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 ต่อศาลจังหวัดตากซึ่งเป็นศาลชั้นต้นตามมาตรา 26 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 25 ด้วย ดังนั้น เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท จึงอยู่ในอํานาจของผู้พิพากษา คนเดียวในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ การพิจารณาของนายชวลิตจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตาม มาตรา 25 (5)

และการที่นายชวลิตพิพากษาลงโทษจําคุกนายระทมข้อหาลักทรัพย์มีกําหนด 1 ปี และ ให้กําหนดโทษนายระดุมข้อหาโกงเจ้าหนี้โดยให้จําคุก 1 ปี นายระทมให้การรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจําคุกข้อหาละ 6 เดือนนั้น คําพิพากษาของนายชวลิตย่อมชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตามมาตรา 25 (5) เพราะโทษสุทธิแต่ละข้อหาที่ลงโทษนายระทมนั้นไม่เกิน 6 เดือน ส่วนการที่นายชวลิตได้นําโทษในคดีก่อน มาบวกเข้ากับโทษในคดีหลังรวมเป็นโทษจําคุก 12 เดือนนั้น เป็นการปฏิบัติตาม ป.อาญา มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ที่บังคับให้ศาลในคดีหลังต้องกําหนดโทษในคดีก่อนมาบวกกับโทษในคดีหลังเท่านั้น

สรุป

คําพิพากษาของนายชวลิตชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 3. นายดีเป็นโจทก์ฟ้องนายโกงในคดีแพ่งซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์สามแสนบาทต่อศาลจังหวัดอ่างทอง(จังหวัดอ่างทองไม่มีศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ) นายเก่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดอ่างทองได้เป็นองค์คณะ พิจารณาคดีดังกล่าว ต่อมาในทางพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริงว่าทุนทรัพย์ที่ฟ้องมีราคาถึงห้าแสนบาท นายยิ่งศักดิ์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอ่างทองจึงได้ให้นายตรีผู้พิพากษาประจําศาลในศาล จังหวัดอ่างทองเป็นองค์คณะร่วมพิจารณาคดีด้วยจนเสร็จ และได้ร่วมกันทําคําพิพากษาให้นายโกง ชดใช้เงินให้นายดีจํานวนห้าแสนบาท การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้น ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่า ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดีเป็นโจทก์ฟ้องนายโกงในคดีแพ่งซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์ สามแสนบาทต่อศาลจังหวัดอ่างทองนั้น เมื่อเป็นคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท และในจังหวัดอ่างทองไม่มีศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ คดีดังกล่าวจึงอยู่ในอํานาจการพิจารณาของ ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นตามมาตรา 25 (4)

แต่อย่างไรก็ดีเมื่อในทางพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริงว่าทุนทรัพย์ที่ฟ้องมีราคาถึงห้าแสนบาท ซึ่งเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียวตามมาตรา 25 (4) แต่ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวตามมาตรา 26 กรณีนี้จึงถือว่าเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามมาตรา 28 ประกอบมาตรา 31 (4) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจึงมีอํานาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้น ของศาลนั้นเข้าร่วมเป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามมาตรา 28 (3) ดังนั้น การที่นายยิ่งศักดิ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอ่างทองได้มอบหมายให้นายตรีผู้พิพากษาประจําศาลในศาลจังหวัดอ่างทอง เป็นองค์คณะร่วมพิจารณาคดีด้วยจนเสร็จ และได้ร่วมกันทําคําพิพากษาให้นายโกงชดใช้เงินให้นายดีจํานวน ห้าแสนบาท การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 270,000 บาท ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีต่อมาจําเลยให้การโต้แย้งในเรื่องกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลจังหวัดอุดรธานีเห็นวาคดีดังกล่าวอยู่ในอํานาจของศาลแขวงอุดรธานี จึงมีคําสั่งโอนคดีไปยัง ศาลแขวงอุดรธานี คําสั่งโอนคดีดังกล่าวของศาลจังหวัดอุดรธานีชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ภายใต้บังคับมาตรา 19/1 ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและ คดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 19/1 วรรคสอง “ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องคดีนั้น เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงก็ให้ศาลนั้น พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 270,000 บาท ต่อศาลจังหวัดอุดรธานี ซึ่งโดยหลักแล้วการฟ้องขับไล่นั้นเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อัน ไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ คําฟ้องเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจําเลยให้การโต้แย้งว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย คดีดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจ คํานวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ โดยทุนทรัพย์ในคดีนี้คือ 270,000 บาท ทําให้คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ใน อํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงอุดรธานีตามมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17

อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้นั้น คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตามมาตรา 18 และแม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนี้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์และเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงก็ตาม ตามมาตรา 19/1 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติให้ ศาลจังหวัดพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวนั้นต่อไป ดังนั้น ศาลจังหวัดอุดรธานีจึงต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ต่อไป จะโอนคดีไปยังศาลแขวงอุดรธานีไม่ได้ การที่ศาลจังหวัดอุดรธานี้มีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงอุดรธานีนั้น คําสั่งโอนคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งโอนคดีดังกล่าวของศาลจังหวัดอุดรธานีไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หมายเหตุ มาตรา 18 และมาตรา 19/1 ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมใหม่ โดย พ.ร.บ. แก้ไข เพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558

 

ข้อ 2. นายกานต์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตากมอบหมายให้นายธันวาผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดตากไต่สวนมูลฟ้องคดีที่ผู้เสียหายฟ้องนายมกราเป็นจําเลยข้อหาหมิ่นประมาทโดยการ โฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 (มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท) นายธันวาได้ไต่สวนพยานโจทก์เสร็จแล้วเห็นว่า

ก) คดีโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องโจทก์ หรือ

ข) คดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง เช่นนี้ นายธันวามีอํานาจทําคําสั่งตามข้อ ก) หรือมีคําพิพากษาตามข้อ ข) ได้หรือไม่ หรือจะต้องดําเนินการใดจึงจะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่ คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ก) ตามมาตรา 25 (3) ผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญาได้ ดังนั้น การที่นายกานต์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตากได้มอบหมายให้นายธันวาผู้พิพากษาอาวุโสในศาล จังหวัดตากไต่สวนมูลฟ้องคดีที่ผู้เสียหายฟ้องนายมกราเป็นจําเลยในคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตาม ป.อาญา มาตรา 328 และเมื่อนายรันวาได้ไต่สวนมูลฟ้องจากพยานโจทก์เสร็จแล้วเห็นว่าคดีโจทก์มีมูลนั้น นายธันวาย่อมมีอํานาจออกคําสั่งให้ประทับฟ้องคดีของผู้เสียหายได้ ตามมาตรา 25 (3)

ข) การที่นายธันวาได้ไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้แล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลและจะพิพากษาให้ ยกฟ้องนั้น แม้ว่าคดีดังกล่าวจะมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีก็ตาม แต่คดีนี้มีโทษปรับ 200,000 บาท ซึ่งเกินกว่า 60,000 บาท กรณีนี้จึงเกินกว่าอํานาจผู้พิพากษาคนเดียวที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 (5) ดังนั้น นายธันวาจึงไม่มี อํานาจพิพากษาให้ยกฟ้องได้เพียงคนเดียว และกรณีดังกล่าวนี้ถือได้ว่ามีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา 31 (1) ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทําคําพิพากษาตามมาตรา 29 ทําให้นายธันวาไม่อาจทําคําพิพากษาในคดีนี้ได้ ดังนั้น นายธันวาจึงต้องนําสํานวนคดีนี้ไปให้นายกานต์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตรวจสํานวนและลงรายมือชื่อร่วม ในคําพิพากษาด้วย คําพิพากษาจึงจะชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 26 ประกอบมาตรา 29 (3) และมาตรา 31 (1)

สรุป

ก) นายธันวามีอํานาจออกคําสั่งให้ประทับฟ้องคดีของโจทก์ได้

ข) นายธันวาเพียงคนเดียวจะพิพากษายกฟ้องคดีของโจทก์ไม่ได้ จะต้องนําสํานวนคดีนี้ ไปให้นายกานต์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตรวจสํานวนและลงรายมือชื่อทําคําพิพากษาด้วย

 

ข้อ 3. ศุขวงศ์เป็นโจทก์ฟ้องหน่อเมืองต่อศาลจังหวัดน่านข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี นางแม้นเมืองผู้พิพากษา หัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวนคดีดังกล่าวให้นางเขียนคําและนายอินทรผู้พิพากษาศาลจังหวัดเป็น องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว ระหว่างพิจารณานางเขียนคําต้องพักรักษาตัวจากการผ่าตัด เป็นเวลา 1 เดือน นายอินทรจึงไปปรึกษานางแม้นเมืองผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แต่นางแม้นเมือง ได้เดินทางไปอบรมที่สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ นายอินทรจึงนําคดีไปให้นายแสนอินทะ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดน่านทําการพิจารณาคดีนี้ต่อไปจนกระทั่งพิพากษา เพราะเห็นว่า นายแสนอินทะมีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัดน่าน ในกรณีนี้ คําพิพากษาดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 “ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละหนึ่งคนเมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อ ผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน

ในกรณีที่ไม่มีผู้ทําการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็น ผู้ทําการแทนก็ได้

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลจะเป็นผู้ทําการแทนในตําแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้น ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อคดีที่ศุขวงศ์เป็นโจทก์ฟ้องหน่อเมืองต่อศาลจังหวัดน่านเป็นคดีอาญา ข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ตาม ป.อาญา มาตรา 290 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี จึงต้องมี ผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะตามมาตรา 26

การที่นางแม้นเมืองผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นางเขียนคําและ นายอินทรผู้พิพากษาศาลจังหวัดเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณา นางเขียนคําต้องพักรักษาตัวจากการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน จึงถือเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตาม มาตรา 30 กล่าวคือ เป็นกรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาคดีนั้นได้ ดังนั้นจึงต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคือนางแม้นเมือง หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นตามที่นางแม้นเมือง มอบหมายนั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปตามมาตรา 28 (3)

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางแม้นเมืองได้เดินทางไปอบรมไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ในกรณีนี้ ตามมาตรา 9 วรรคสอง จะต้องให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ดังนั้นเมื่อนายอินทร ได้นําเอาคดีดังกล่าวไปให้นายแสนอินทะผู้พิพากษาอาวุโสในศาลนั้นทําการพิจารณาคดีนี้ต่อไปจนกระทั้งพิพากษา การกระทําของนายอินทรถือเป็นกรณีต้องห้ามตามมาตรา 9 วรรคท้าย ที่ห้ามผู้พิพากษาอาวุโสทําการแทน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล คําพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

คําพิพากษาดังกล่าว ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี (จังหวัดอุทัยธานีไม่มีศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ) ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 2 ครั้ง ซึ่งความผิดฐานยักยอกมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท มีนายเก่งและนายกล้าซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา เมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้นลง นายเก่งย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น นายกล้าจึงพิพากษาลงโทษจําคุก จําเลยกระทงละ 6 เดือน รวมเป็นโทษจําคุก 1 ปี การทําคําพิพากษาของนายกล้าชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึงกรณี ที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือ ไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน เป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีเพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง (มาตรา 26) แต่อย่างไรก็ดี ผู้พิพากษาคนเดียว มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าวไม่ได้ (มาตรา 25 (5)

 

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 2 ครั้งนั้น แม้จะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือความผิดหลายกระทง แต่เมื่อความผิดแต่ละกระทง เป็นความผิดที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ดังนี้ ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลนั้น ย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ แม้ว่าเมื่อรวมความผิดแต่ละกรรม หรือแต่ละกระทงแล้วอัตราโทษจะเกินอํานาจของผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม

การที่นายเก่งและนายกล้าซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดได้ร่วมกันเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษาคดีดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วทั้งสองก็ต้องร่วมกันทําคําพิพากษา แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าก่อนทํา คําพิพากษานั้น นายเก่งได้ย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น ดังนี้ นายกล้าซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีดังกล่าว มาตั้งแต่ต้นย่อมมีอํานาจตามมาตรา 25 (5) คือมีอํานาจพิพากษาลงโทษจําเลยได้ แต่จะพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย แต่ละกระทงเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาทไม่ได้ ดังนั้นการที่นายกล้าได้พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยกระทงละ 6 เดือน แม้จะรวมโทษจําคุกทั้ง 2 กระทงเป็น 1 ปีก็ตาม คําพิพากษาของนายกล้าก็ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

และตามข้อเท็จจริงนั้น การที่นายเก่งได้ย้ายไปรับราชการยังศาลอื่นนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ตามมาตรา 30 และถือว่ามีเหตุจําเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีตามมาตรา 29 ก็ตาม แต่เมื่อกรณีที่นายกล้าได้พิพากษา ให้ลงโทษจําคุกจําเลยกระทงละ 6 เดือนนั้น เป็นอํานาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่สามารถทําคําพิพากษาได้ ดังนั้น ในการทําคําพิพากษาของนายกล้าดังกล่าวจึงไม่จําต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลลงลายมือชื่อทํา คําพิพากษาแต่อย่างใด

สรุป

การทําคําพิพากษาของนายกล้าชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. จงอธิบายการโอนคดีตามมาตรา 19/1 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19/1 ได้บัญญัติไว้ว่า

“บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัด ให้อยู่ใน ดุลพินิจของศาลดังกล่าวที่จะยอมรับพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นหรือมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มี เขตอํานาจก็ได้ และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด หากศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดได้มีคําสั่งรับฟ้องคดีเช่นว่านั้นไว้แล้ว ให้ศาลดังกล่าว พิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป

ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง ก็ให้ศาลนั้นพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”

ตามบทบัญญัติมาตรา 19/1 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการโอนคดีไปยังศาลแขวง ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1 คดีนั้นเกิดขึ้นในเขตศาลแขวง

2 คดีนั้นอยู่ในอํานาจของศาลแขวง (ตามมาตรา 25 (4) (5) ประกอบมาตรา 17)

3 โจทก์นําคดีนั้นไปยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญาศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัด

4 ศาลดังกล่าว (ศาลที่โจทก์นําคดีไปยื่นฟ้องตาม 3) ย่อมสามารถใช้ดุลพินิจได้ 2 ประการกล่าวคือ

(1) ยอมรับคดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องนั้นไว้พิจารณา หรือ

(2) มีคําสั่งโอนคดีดังกล่าวไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ

ตัวอย่างเช่น นาย ก. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาย ข. เป็นจําเลยต่อศาลจังหวัดแห่งหนึ่งในความผิด ซึ่งอยู่ในอํานาจการพิจารณาของศาลแขวง (ตามมาตรา 25 (4) (5) ประกอบมาตรา 17) เมื่อศาลจังหวัดได้ไต่สวนแล้ว เห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ดังนี้ ศาลจังหวัดอาจใช้ดุลพินิจยอมรับคดีดังกล่าว ไว้พิจารณาก็ได้ หรือศาลจังหวัดอาจมีคําสั่งให้โอนคดีดังกล่าวไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจเพื่อให้ศาลแขวงนั้น พิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไปก็ได้ (โดยศาลจังหวัดจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น เช่น มีคําสั่งไม่รับฟ้อง หรือสั่งยกฟ้อง หรือสั่งจําหน่ายคดีไม่ได้)

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ศาลดังกล่าว (ศาลที่โจทก์นําคดี ไปยื่นฟ้อง) จะมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจไม่ได้ ศาลดังกล่าวจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป

1 เมื่อโจทก์นําคดีนั้นไปยื่นต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดนั้น ปรากฏว่าศาลดังกล่าวได้มีคําสั่งรับฟ้องคดีเช่นว่านั้น ไว้แล้ว (มาตรา 19/1 วรรคหนึ่งตอนท้าย) หรือ

2 ในขณะที่ยื่นฟ้องปรากฏว่าคดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดอยู่แล้ว แต่ต่อมามีพฤติการณ์ เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง (มาตรา 19/1 วรรคสอง)

 

ข้อ 3. ศาลจังหวัดมีนายประธานเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ได้จ่ายสํานวนคดีให้แก่นายหนึ่ง นายสองผู้พิพากษาศาลจังหวัดเป็นองค์คณะพิจารณาคดีอาญาคดีหนึ่งในความผิดซึ่งมีอัตราโทษจําคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นายหนึ่ง นายสอง ได้พิจารณาคดีจนเสร็จ และขณะกําลังทําคําพิพากษานายหนึ่งได้ล้มป่วยกะทันหันต้อง พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล นายสองจึงนําสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายประธานเพื่อตรวจสํานวน และลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา แต่นายประธานไปราชการอีกจังหวัดหนึ่ง จึงได้นําเอาคดีดังกล่าว ไปปรึกษานายประยุทธ์ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดรองลงมาจากนายประธานในศาลจังหวัดแห่งนั้น คําพิพากษาดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 วรรคสอง “เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้า ศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น เป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้นมีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งและนายสอง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเป็นองค์คณะพิจารณา คดีอาญาคดีหนึ่งในความผิดซึ่งมีอัตราโทษจําคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ และเมื่อนายหนึ่ง นายสอง ได้พิจารณาคดีจนเสร็จและขณะกําลังทําคําพิพากษา นายหนึ่งได้ล้มป่วย กะทันหันต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้น ถือว่านายหนึ่งผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทํา คําพิพากษาในคดีนั้นได้ ซึ่งเป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 และเมื่อได้เกิดขึ้นในระหว่างการทํา คําพิพากษา จึงต้องให้นายประธานซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นผู้ตรวจสํานวน และลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา ตามมาตรา 29 (3)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายประธานได้ไปราชการอีกจังหวัดหนึ่งจึงไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ดังนั้น จึงต้องให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทนตามมาตรา 9 วรรคสอง กล่าวคือ เมื่อนายประธานไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จึงต้องให้ นายประยุทธ์ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดรองลงมาจากนายประธานเป็นผู้ทําการแทน ดังนั้น นายประยุทธ์จึงมีอํานาจ ตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาในคดีดังกล่าวได้ตามมาตรา 29 (3) ประกอบมาตรา 29 วรรคสอง และเมื่อนายสองได้นําสํานวนคดีดังกล่าว ไปปรึกษานายประยุทธ์ และให้นายประยุทธ์ตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อ ทําคําพิพากษาร่วมกับนายสอง คําพิพากษาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําพิพากษาดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. พนักงานอัยการฟ้องนายเสาร์เป็นจําเลยต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี ข้อหาฆ่าผู้อื่นอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 (มีอัตราโทษจําคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึงจําคุกตลอดชีวิตหรือ ประหารชีวิต) โดยมีนายจันทร์และนายอังคารผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดเพชรบุรีทั้งสองคน เป็นองค์คณะ ระหว่างพิจารณาคดีนายจันทร์ป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล นายอาทิตย์ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบุรีมอบหมายให้นายพุธผู้พิพากษาประจําศาลจังหวัดเพชรบุรีเป็นองค์คณะ แทนนายจันทร์ ต่อมานายเสาร์หลบหนีไม่มาศาล นายพุธจึงออกหมายจับนายเสาร์และเจ้าพนักงาน จับกุมนายเสาร์มาพิจารณาคดีต่อศาลได้ หลังจากพิจารณาคดีเสร็จ นายอังคารและนายพุธ มีคําพิพากษาว่านายเสาร์มีความผิดตามฟ้อง ให้จําคุกมีกําหนดยี่สิบปี

ให้วินิจฉัยว่า การที่นายอาทิตย์ให้นายพุธเป็นองค์คณะร่วมกับนายอังคาร การที่นายพุธออกหมายจับ นายเสาร์ และการทําคําพิพากษาของนายอังคารและนายพุธชอบด้วยกฎหมายพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้

(1) ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้น ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณี ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายจันทร์และนายอังคาร ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดเป็นองค์คณะในการ พิจารณาคดีนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาคดีนายจันทร์ป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ถือว่าเป็นกรณี ที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาคดีได้ ซึ่งถือ เป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 28 (3) ที่นายอาทิตย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมีอํานาจมอบหมายให้นายพุธผู้พิพากษาประจําศาลของศาลนั้นเป็นองค์คณะนั่งพิจารณา คดีนั้นแทนนายจันทร์ได้

ดังนั้น การที่นายอาทิตย์ให้นายพุธเป็นองค์คณะร่วมกับนายอังคารจึงชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

2 ตามมาตรา 24 (1) ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจออกหมายจับซึ่งเป็นหมายอาญาชนิดหนึ่งได้ ดังนั้น เมื่อนายพุธผู้พิพากษาประจําศาลถือว่าเป็นผู้พิพากษาตามนัยของมาตรา 24 นายพุธจึงมีอํานาจออกหมายจับ นายเสาร์ได้ตามกฎหมาย

3 การที่นายเสาร์ถูกฟ้องข้อหาฆ่าผู้อื่นอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นั้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคนเป็น องค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวตามมาตรา 26 ดังนั้น การที่นายอังคารผู้พิพากษาอาวุโส และนายพุธผู้พิพากษาประจําศาลได้ร่วมกันพิจารณาและพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวโดยให้จําคุกนายเสาร์มีกําหนด 20 ปีนั้น จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

การที่นายอาทิตย์ให้นายพุธเป็นองค์คณะร่วมกับนายอังคาร การที่นายพุธออกหมายจับ นายเสาร์ และการทําคําพิพากษาของนายอังคารและนายพุธชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายปราโมทย์เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประดิษฐ์เป็นจําเลยต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 กล่าวหาว่านายประดิษฐ์ มีพฤติกรรมฉ้อโกงหลอกลวงซื้อสินค้าโจทก์ไปเป็นเงิน จํานวน 5 ล้านบาท แล้วสั่งจ่ายเช็คธนาคารกรุงเทพ จํากัด สาขาสุรินทร์ เพื่อชําระหนี้ค่าซื้อสินค้า จํานวน 5 ฉบับ ๆ ละ 1 ล้านบาท เมื่อเช็คถึงกําหนดนายปราโมทย์นําเช็คทั้ง 5 ฉบับเข้าธนาคาร เพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 5 ฉบับ โดยนายประดิษฐ์มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ศาลจังหวัดสุรินทร์มีคําสั่งในคําฟ้องว่า “นัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นําส่งหมายนัด” ครั้นถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุรินทร์เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอํานาจของ ศาลจังหวัดสุรินทร์ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแขวงสุรินทร์ จึงให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่ง ให้โอนคดีไปยังศาลแขวงสุรินทร์ ขอให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า คําสั่งของผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุรินทร์ ชอบด้วยกฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูง ไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 19/1 วรรคหนึ่ง “บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือ ศาลจังหวัด ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลดังกล่าวที่จะยอมรับพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้น หรือมีคําสั่งโอนคดี ไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจก็ได้ และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด หากศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดได้มีคําสั่งรับฟ้องคดีเช่นว่านั้นไว้แล้ว ให้ศาลดังกล่าว พิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปราโมทย์เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประดิษฐ์เป็นจําเลยต่อศาล จังหวัดสุรินทร์ ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อาญา มาตรา 352 และความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทนั้น ถือว่าเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจการพิจารณาของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) โดยหลักแล้ว นายปราโมทย์จะต้องนําคดีดังกล่าวไปฟ้องยังศาลแขวงมิใช่ศาลจังหวัดสุรินทร์

การที่นายปราโมทย์ได้นําคดีดังกล่าวไปฟ้องยังศาลจังหวัดสุรินทร์ และการที่ผู้พิพากษาศาล จังหวัดสุรินทร์มีคําสั่งในคําฟ้องว่า “นัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นําส่งหมายนัด” นั้น กรณีเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่า ศาลจังหวัดสุรินทร์ได้ใช้ดุลพินิจรับฟ้องคดีเช่นว่านั้นไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ผู้พิพากษาศาล จังหวัดสุรินทร์เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดสุรินทร์ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแขวงสุรินทร์ จึงให้ งดไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงสุรินทร์เพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป คําสั่งของผู้พิพากษา ศาลจังหวัดสุรินทร์จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) และมาตรา 19/1 วรรคหนึ่ง

สรุป คําสั่งของผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 3. นายเขียวบุตรชายคนเดียวของนายดําผู้ตาย ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายดําต่อศาลแขวงธนบุรี เนื่องจากนายดํามีที่ดินจํานวนห้าสิบตารางวา ซึ่งมีราคาสามแสนบาทถ้วน ตามราคาประเมินของ กรมที่ดินในขณะนั้น ศาลแขวงธนบุรีสั่งไม่รับคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายเขียว ท่านเห็นว่า คําสั่งของศาลแขวงดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคหนึ่ง “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 คดีแพ่งที่ศาลแขวง โดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาท และคดีมีข้อพิพาทนั้นจะต้องเป็น คดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท หรือเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งตนเป็น ผู้จัดการมรดกของนายดําเจ้ามรดกนั้น ถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีของศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 นายเขียวจะต้อง นําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ที่ศาลแพ่งธนบุรี จะนําไปยื่นที่ศาลแขวงธนบุรีไม่ได้ เพราะคดี ดังกล่าวอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่นายเขียวได้ยื่นคําร้องคดีดังกล่าวต่อศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงธนบุรีมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของนายเขียวนั้น คําสั่งของศาลแขวงธนบุรีจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป คําสั่งของศาลแขวงธนบุรีดังกล่าวขอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายโทผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายตรีเป็นโจทก์ ฟ้องนายจัตวาข้อหาทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (มีอัตราโทษจําคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี) นายโทไต่สวนพยานโจทก์แล้วเห็นว่า คดีของโจทก์ไม่มีมูล เห็นควรพิพากษา ยกฟ้อง จึงจะไปปรึกษากับนายพิเศษ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก แต่นายพิเศษไม่อยู่เนื่องจาก ไปราชการที่ต่างจังหวัด นายโทจึงนําสํานวนไปปรึกษากับนายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากที่มี อาวุโสสูงสุด นายเอกตรวจสํานวนแล้วเห็นด้วยกับนายโทจึงลงชื่อในคําพิพากษาร่วมกับนายโทให้ ยกฟ้อง

ให้ท่านวินิจฉัยว่า การไต่สวนมูลฟ้องของนายโทและการทําคําพิพากษาของนายโทและ นายเอกชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 วรรคสอง “เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็น ผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้นมีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่ คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยคือ การไต่สวนมูลฟ้องของนายโทชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 25 (3) กําหนดให้ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจ ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญาที่อยู่ในอํานาจศาลนั้นได้ ดังนั้น คดีอาญาทั้งปวงจึงอยู่ในอํานาจของ ผู้พิพากษาคนเดียวที่จะไต่สวนมูลฟ้อง ดังนั้นการที่นายโทผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายตรี เป็นโจทก์ฟ้องนายจัตวาข้อหาทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อาญา มาตรา 297 เพียงคนเดียว จึงเป็นการปฏิบัติโดยถูกต้องและชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (คําพิพากษาฎีกาที่ 1752 – 1753/2557)

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยคือ การทําคําพิพากษาของนายโทและนายเอกชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เห็นว่า การที่นายโทไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีไม่มีมูลควรพิพากษายกฟ้องนั้น เนื่องจากคดีนี้มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษ ตามมาตรา 25 (5) นายโทจึงไม่มีอํานาจทําคําพิพากษายกฟ้องเพียงคนเดียวได้ กรณีถือว่ามีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ตามมาตรา 31 (1) ที่เกิดขึ้นระหว่างการทําคําพิพากษาตามมาตรา 29 นายโทจึงต้องนําสํานวนไปให้ นายพิเศษผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อร่วมกับนายโท แต่เนื่องจากนายพิเศษไปราชการ ต่างจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากที่มีอาวุโสสูงสุดจึงเป็นผู้ทําการแทนนายพิเศษ ตามมาตรา 9 วรรคสอง ดังนั้น นายเอกจึงมีอํานาจลงลายมือชื่อในคําพิพากษาร่วมกับนายโทหลังจากตรวจสํานวน แล้วได้ คําพิพากษาดังกล่าวจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

การไต่สวนมูลฟ้องของนายโทและการทําคําพิพากษาของนายโทและนายเอกชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายอเนกและ น.ส.อารี เป็นบุตรของนายอํา เมื่อนายอําถึงแก่ความตาย น.ส.อารีได้แอบลักลอบนําเอาโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีและเป็นทรัพย์มรดกของนายอํา ซึ่งมีราคาจํานวน 233,000 บาท ไปจดทะเบียนขายให้แก่นายอํานาจ และในวันเดียวกันนายอํานาจได้นําเอาที่ดิน แปลงพิพาทดังกล่าวไปจดทะเบียนจํานองกับนายอนันต์ เมื่อนายอเนกทราบเรื่องจึงไปยื่นฟ้อง น.ส.อารี ต่อศาลแขวงสุพรรณบุรี ขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน ระหว่าง น.ส.อารีกับนายอํานาจ กับขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนจํานอง ระหว่างนายอํานาจกับนายอนันต์ด้วย และให้จดทะเบียนโอนที่ดินคืนแก่กองมรดกของนายอํา หาก น.ส.อารีไม่ดําเนินการให้ถือเอาคําพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา

ดังนี้ หากนักศึกษาเป็น ผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีที่มีอํานาจ จะรับคดีเรื่องดังกล่าวนี้ไว้พิจารณาในศาลแขวงสุพรรณบุรี หรือไม่ ขอให้นักศึกษาอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17)

ในกรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอเนกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายและการจดทะเบียนจํานองในที่ดินพิพาทที่อ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของนายอํา โดยมีคําขอบังคับท้ายฟ้องให้เพิกถอน และให้โอนคืนตามลําดับนั้น ก็เพื่อเรียกร้องให้ได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาท ของนายอําผู้ตาย รวมทั้งประโยชน์แก่นายอเนกด้วย คดีของนายอเนกจึงเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคํานวณราคาเป็นเงินได้และมีทุนทรัพย์ตามจํานวนราคาที่ดินพิพาท จํานวน 233,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงสุพรรณบุรีตามมาตรา 25 (4) ประกอบ มาตรา 17 ดังนั้น หากข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรี จะรับคดีเรื่องดังกล่าวนี้ไว้พิจารณาพิพากษา ในศาลแขวงสุพรรณบุรีต่อไป (ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 13349/2557)

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีที่มีอํานาจจะรับคดีเรื่องดังกล่าวนี้ไว้ พิจารณาในศาลแขวงสุพรรณบุรีต่อไป

 

ข้อ 3. นายเก่งผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท แล้วเห็นควรพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยหนึ่งปี แต่จําเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงเหลือจําคุกหกเดือน จําเลยในคดีนี้เคยถูก ศาลพิพากษาลงโทษจําคุกสามเดือนในคดีอื่นมาแล้ว โดยศาลในคดีเดิมได้รอการลงโทษจําคุกของ จําเลยมีกําหนดระยะเวลาหนึ่งปี ต่อมาจําเลยได้กระทําความผิดในคดีนี้ภายในระยะเวลาที่ถูกรอ การลงโทษ ดังนั้น นายเก่งจึงพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยบวกโทษที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังเป็นจําคุกจําเลยเก้าเดือน

ดังนี้ การพิจารณาพิพากษาดังกล่าวชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 “เมื่อปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคําแถลง ของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกําหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทําความผิดอัน มิใช่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุกสําหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกําหนดโทษที่รอการกําหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอ การลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดิ หลัง แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17 ศาลแขวงย่อมมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ซึ่งมี อัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 พันบาท แล้วเห็นควรพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี แต่จําเลย ให้การรับสารภาพซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงเหลือจําคุก 6 เดือน ดังนี้ นายเก่ง ย่อมมีอํานาจกระทําได้ตามมาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17

ส่วนประเด็นที่ว่า การที่นายเก่งพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยบวกโทษที่รอไว้ในคดีก่อน เข้ากับโทษในคดีหลังเป็นจําคุกจําเลยเก้าเดือน จะถือว่าเป็นอํานาจของศาลแขวงหรือไม่ เห็นว่า การบวกโทษที่ รอการลงโทษไว้เป็นการนําเอาโทษที่ศาลในคดีก่อนพิพากษาว่าจําเลยกระทําความผิดและกําหนดโทษที่จะลงแก่ จําเลยไว้ แต่ให้รอการลงโทษที่กําหนดไว้นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด เมื่อจําเลยมากระทําผิดขึ้นอีกภายใน ระยะเวลาที่ศาลกําหนดไว้ และคดีนั้นอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ศาลแขวงก็ต้องนําเอาโทษที่ศาลในคดีก่อน กําหนดและให้รอการลงโทษไว้มาบวกกับโทษในคดีหลังตาม ป.อาญา มาตรา 58 ซึ่งบัญญัติบังคับและให้อํานาจไว้ แม้โทษนั้นจะให้จําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียว ย่อมมีอํานาจพิพากษาคดีนั้นได้ ไม่ถือว่าเป็นอํานาจ ดังนั้น การพิจารณาพิพากษาดังกล่าวจึงชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 (5) ประกอบ ป.อาญา มาตรา 58

สรุป การพิจารณาพิพากษาดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 270,000 บาท ต่อศาลจังหวัดราชบุรี ต่อมาจําเลยให้การโต้แย้งในเรื่องกรรมสิทธิ์ ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลจังหวัดราชบุรีเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในอํานาจศาลแขวงราชบุรีจึงมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรี คําสั่งโอนคดีดังกล่าวของศาลจังหวัดราชบุรีชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ภายใต้บังคับมาตรา 19/1 ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและ คดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 19/1 วรรคสอง “ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องคดีนั้น เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงก็ให้ศาลนั้น พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา  270,000 บาท ต่อศาลจังหวัดราชบุรี ซึ่งโดยหลักแล้วการฟ้องขับไล่นั้นเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจ คํานวณเป็นราคาเงินได้ คําฟ้องเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจําเลยให้การโต้แย้งว่ากรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย คดีดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็น ราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ โดยทุนทรัพย์ในคดีนี้คือ 270,000 บาท ทําให้คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณา พิพากษาของศาลแขวงราชบุรีตามมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17

อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้นั้น คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตามมาตรา 18 และแม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนี้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์และเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงก็ตาม ตามมาตรา 19/1 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติให้ ศาลจังหวัดพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวนั้นต่อไป ดังนั้น ศาลจังหวัดราชบุรีจึงต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ต่อไป จะโอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีไม่ได้ การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีนั้น คําสั่งโอนคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งโอนคดีดังกล่าวของศาลจังหวัดราชบุรีไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หมายเหตุ มาตรา 18 และมาตรา 19/1 ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมใหม่ โดย พ.ร.บ. แก้ไข เพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558

 

ข้อ 2. กรณีต่อไปนี้

ก. นายอรรถผู้ให้เช่าต้องการยื่นฟ้องขับไล่นายวันชัยผู้เช่าออกจากคอนโดมิเนียมและเรียกค่าเช่าที่ค้างชําระจํานวน 200,000 บาท

ข. นายอรรถผู้ให้เช่าต้องการยื่นฟ้องเรียกค่าเช่าคอนโดมิเนียมจํานวน 200,000 บาท จากนายวันชัยผู้เช่า ศาลแขวงมีเขตอํานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองกรณีดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้

ก การที่นายอรรถผู้ให้เช่าต้องการยื่นฟ้องขับไล่นายวันชัยผู้เช่าออกจากคอนโดมิเนียม และเรียกค่าเช่าที่ค้างชําระจํานวน 200,000 บาทนั้น การฟ้องขับไล่ถือว่าเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคํานวณเป็นตัวเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้ว่าจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชําระมาด้วยก็ตาม ดังนั้น นายอรรถจึงไม่สามารถยื่นฟ้องขับไล่นายวันชัยที่ศาลแขวง เพราะศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีแพ่ง ที่มีทุนทรัพย์หรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาทเท่านั้นตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

ข การที่นายอรรถผู้ให้เช่าต้องการยื่นฟ้องเรียกค่าเช่าคอนโดมิเนียมจากนายวันชัยผู้เช่า จํานวน 200,000 บาทนั้น เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอากรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สินให้กลับมาเป็นของตน จึงถือว่า เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และเมื่อจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท นายอรรถจึงสามารถยื่นฟ้องที่ศาลแขวงได้ เพราะคดีนี้อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

สรุป

ก ศาลแขวงไม่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

ข ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

 

ข้อ 3. นายสิงห์กระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกายให้นายหมีได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 มีอัตราโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และมารดานายหมี ได้ยื่นฟ้องคดีที่ศาลจังหวัด นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีนี้ไม่มีมูล เห็นสมควรยกฟ้อง โดยทราบว่าคดีนี้เกินขอบอํานาจตน จึงนําเอาคดีนี้ไปให้นายโทผู้พิพากษา อาวุโสอันเป็นผู้พิพากษาเพียงคนเดียวที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อใน คําพิพากษา ด้วยเหตุว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดและผู้พิพากษานายอื่นในศาลจังหวัดนั้นไปราชการที่ศาลสูง กรณีนี้นายเอกกระทําโดยชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ “เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาที่ มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่ มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน

ในกรณีที่ไม่มีผู้ทําการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็น ผู้ทําการแทนก็ได้

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลจะเป็นผู้ทําการแทนในตําแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้”

 

มาตรา 18 “ภายใต้บังคับมาตรา 19/1 ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและ คดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้นมีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่ คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และมารดานายหมีได้ ยื่นฟ้องคดีที่ศาลจังหวัด ดังนั้นจึงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะตามมาตรา 18 และมาตรา 26 เพียงแต่การไต่สวนมูลฟ้องนั้นนายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดสามารถทําโดยลําพังคนเดียวได้ตามมาตรา 25 (3) เพราะมาตรา 26 อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 25

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายเอกได้ไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกเกินกว่าอัตราโทษ ตามมาตรา 25 (5) และต้องการพิพากษายกฟ้อง กรณีจึงเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31 (1) ดังนั้น จึงต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทําการตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมกับนายเอก ตามมาตรา 29 (3)

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปราชการที่ศาลสูงพร้อมกับผู้พิพากษา ศาลชั้นต้นนายอื่น ดังนั้นจึงต้องให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน และหาก ไม่มีก็ต้องให้ประธานศาลฎีกาสั่งให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งมาทําการแทนตามมาตรา 9 วรรคสองและวรรคสาม แต่ห้ามผู้พิพากษาอาวุโสมาทําการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตามมาตรา 9 วรรคสี่

ดังนั้น การที่นายเอาได้ไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้และเห็นสมควรยกฟ้อง ได้นําคดีนี้ไปให้นายโท ผู้พิพากษาอาวุโสตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อในคําพิพากษา จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 29 (3) และมาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 9

สรุป

การกระทําของนายเอกไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมายเหตุ – มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5)

พ.ศ. 2558 – มาตรา 29 (3) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555

 

LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นางสาวริ้วทองยื่นฟ้องขับไล่นางสาวเกล้ามาศที่ศาลแพ่งโดยขอให้นางสาวเกล้ามาศออกจากที่ดินราคาประเมินจํานวน 200,000 บาท ที่นางสาวเกล้ามาศเข้ามาบุกรุกตนมาเป็นเวลานานกว่า 8 เดือนแล้ว ศาลแพ่งรับฟ้องและนําส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้กับนางสาวเกล้ามาศ นางสาวเกล้ามาศยื่นคําให้การเข้าไปในคดีและต่อสู้ว่าตนมีสิทธิอยู่ในที่ดิน เพราะซื้อที่ดินมาจากพี่ชายของนางสาวริ้วทอง พร้อมอ้างหนังสือสัญญาซื้อขายและโฉนดที่ดินที่มีชื่อนางสาวเกล้ามาศผู้รับโอน นายสมรักษ์และ นายภูผาผู้พิพากษาศาลแพงได้นั่งพิจารณาคดีนี้ เห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอํานาจศาลแพ่งและองค์คณะตน เพราะเป็นคดีมีทุนทรัพย์และอยู่ในอํานาจของศาลแขวงพระนครเหนือ จึงมีคําสั่งโอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงพระนครเหนือ กรณีนี้ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคหนึ่ง “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 19/1 วรรคสอง “ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง…อยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงก็ให้ศาลนั้นพิจารณา พิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17) จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งแล้วแต่กรณี

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวริ้วทองยื่นฟ้องขับไล่นางสาวเกล้ามาศที่ศาลแพ่ง โดยขอให้ นางสาวเกล้ามาศออกจากที่ดินราคาประเมินจํานวน 200,000 บาท ที่นางสาวเกล้ามาศเข้ามาบุกรุกตนมาเป็น เวลานานกว่า 8 เดือนแล้วนั้น ถือว่าคดีนี้เริ่มต้นโดยเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ดังนั้น การนําคดีนี้ไปยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง และศาลแพ่งได้รับฟ้องไว้จึงชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนางสาวเกล้ามาศจําเลยได้ยื่นคําให้การเข้าไปในคดี และต่อสู้ว่าตนมีสิทธิ อยู่ในที่ดิน เพราะซื้อที่ดินมาจากพี่ชายของนางสาวริ้วทอง คดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทําให้ จากคดีไม่มีทุนทรัพย์กลายเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์จึงต้องมีการตรวจสอบราคาที่ดิน เมื่อปรากฏว่าราคาที่ดินประเมินมีมูลค่า 200,000 บาท จึงถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งเป็นคดี ที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีนี้ได้มีการ ยื่นฟ้องที่ศาลแพ่งและศาลแพ่งได้รับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว แต่ต่อมามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนี้เป็นคดี ที่อยู่ในอํานาจศาลแขวง จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 19/1 วรรคสอง ซึ่งได้บัญญัติให้ศาลแพ่งพิจารณาคดีนี้ต่อไป จนพิพากษาจะมีคําสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงอีกไม่ได้ ดังนั้น การที่นายสมรักษ์และนายภูผาผู้พิพากษาศาลแพ่ง เห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง เพราะเป็นคดีมีทุนทรัพย์และอยู่ในอํานาจของศาลแขวงพระนครเหนือ จึงมีคําสั่ง โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงพระนครเหนือนั้น คําสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 19/1 วรรคสอง

สรุป

คําสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงพระนครเหนือของนายสมรักษ์และนายภูผาผู้พิพากษา ศาลแพ่งกรณีนี้ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมายเหตุ ปัจจุบัน ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 ให้ยกเลิกมาตรา 16 วรรคสี่ ที่ว่า

“ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจ ของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

โดยให้เพิ่มมาตรา 19/1 ขึ้นมาใช้บังคับแทน ดังนี้

“บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัด ให้อยู่ใน ดุลพินิจของศาลดังกล่าวที่จะยอมรับพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นหรือมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวง ที่มีเขตอํานาจก็ได้ และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด หากศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดได้มีคําสั่งรับฟ้องคดีเช่นว่านั้นไว้แล้ว ให้ศาลดังกล่าว พิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป

ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง ก็ให้ศาลนั้นพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”

ดังนั้น แนวข้อสอบเก่าที่ข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 16 วรรคสี่ (วรรคท้าย) ที่ให้ ศาลจังหวัดมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจนั้น ขอให้เปลี่ยนมาใช้บทบัญญัติมาตรา 19/1 แทนนะครับ

 

ข้อ 2. นายเก่งฟ้องนายก้องต่อศาลจังหวัดตากขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ซึ่งระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ปรากฏว่านายใหญ่ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัดตากจ่ายสํานวนให้นายโอผู้พิพากษาประจําศาลและนายธรรมผู้พิพากษาอาวุโสเป็นองค์คณะโดยให้นายธรรมเป็นเจ้าของสํานวน เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก โจทก์ขอเลื่อนคดี ไม่เจอ เพราะว่าพยานโจทก์ป่วย นายโอสั่งอนุญาตให้เลื่อน ครั้นถึงวัดนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง นายธรรมได้ไต่สวนมูลฟ้องคนเดียวเป็นองค์คณะ เสร็จแล้วมีความเห็นว่าคดีไม่มีมูลต้องยกฟ้อง นายธรรมจึงปรึกษานายโอ นายโอกลับมีความเห็นว่าคดีมีมูลต้องประทับฟ้อง บุคคลทั้งสองเห็นว่าความเห็นขัดแย้งกันจนหาเสียงข้างมากไม่ได้จึงปรึกษากับนายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก นายใหญ่ มีความเห็นว่าคดีมีมูล บุคคลทั้งสามจึงร่วมกันทําคําสั่งให้ประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาพิพากษาการสั่ง เลื่อนคดีของนายโอและการสั่งประทับฟ้องของนายโอ นายธรรม และนายใหญ่ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้

(2) ออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา แสดงอา การบริหาร เขต

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

ผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจตาม (3) (4) หรือ (5)”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 “ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคําพิพากษา หรือคําสั่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงศาลยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้นหรือเจ้าของสํานวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไป จะ หาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นแย้งเป็นผลร้ายแก่จําเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมี ความเห็นเป็นผลร้ายแก่จําเลยน้อยกว่า”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งฟ้องนายก้องต่อศาลจังหวัดตากขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาทนั้น เมื่อโทษจําคุกซึ่งกฎหมายได้กําหนดไว้นั้นมีอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 (5) จึงต้องให้ผู้พิพากษา อย่างน้อยสองคนเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวตามมาตรา 26

ในกรณีที่ถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก โจทก์ขอเลื่อนคดีเพราะว่าพยานโจทก์ป่วย และนายโอ ผู้พิพากษาคนเดียวสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีได้นั้น เมื่อคําสั่งเลื่อนคดีไม่ใช่คําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี นายโอผู้พิพากษาคนเดียวแม้เป็นผู้พิพากษาประจําศาลก็มีอํานาจออกคําสั่งได้ตามมาตรา 24 (2)

ส่วนการไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง การที่นายธรรมผู้พิพากษาอาวุโสได้ไต่สวนมูลฟ้องคนเดียว เป็นองค์คณะเสร็จแล้ว และมีความเห็นว่าคดีไม่มีมูลต้องยกฟ้องนั้น นายธรรมมีอํานาจที่จะกระทําได้ตามมาตรา 25 (3) ประกอบกับมาตรา 25 วรรคท้าย ก็ไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสกระทําการเช่นนั้นแต่อย่างใด

การที่นายธรรมเห็นว่าคดีไม่มีมูลต้องยกฟ้อง แต่นายโอเห็นว่าคดีมีมูลต้องประทับฟ้องนั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายโอไม่ได้นั่งพิจารณาทําการไต่สวนมูลฟ้องด้วย จึงไม่อาจมีความเห็นที่ต้องให้ผู้พิพากษาซึ่งมี ความเห็นเป็นผลร้ายแก่จําเลยมาก ยอมเห็นด้วยกับผู้พิพากษาที่มีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จําเลยน้อยกว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง อันเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทําคําพิพากษา ตามมาตรา 31 (1) ที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจะตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาได้ตามมาตรา 29 (3)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายโอไม่ได้นั่งพิจารณาทําการไต่สวนมูลฟ้องในคดีนี้ นายโอจึงไม่มี อํานาจปรึกษาคดีนี้ ดังนั้น การที่นายโอ นายธรรม และนายใหญ่ ได้ปรึกษากันแล้วร่วมกันทําคําสั่งว่าคดีมีมูลให้ ประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษานั้น คําสั่งประทับฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การสั่งเลื่อนคดีของนายโอชอบด้วยกฎหมาย แต่การสั่งประทับฟ้องของนายโอ นายธรรม และนายใหญ่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. นายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงจ่ายสํานวนคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานยักยอกทรัพย์มีราคาสูงถึง 10 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 คดีมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ให้แก่ นายวิรัชผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา ต่อมานายวิรัชสืบพยานโจทก์ไปจนจบ และมีคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปี จําเลยยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้องจริง แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา ลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปี และในคําพิพากษามีเพียงนายวิรัชลงชื่อเป็นองค์คณะคนเดียว จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ศาลอุทธรณ์จึงมีคําพิพากษาให้ศาลชั้นต้น ไปทําคําพิพากษาใหม่โดยไม่ต้องทําการสืบพยาน” แต่ปรากฏว่าในวันที่อ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ นายวิรัชไม่อยู่ เพราะได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ แล้วจะกลับมารับราชการที่เดิม นายวิโรจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงจึงนําสํานวนดังกล่าวไปมอบหมายให้นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงอีก คนหนึ่งเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่ และนายวิรุฬมีคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปี เท่าเดิม โดยมีนายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงลงชื่อเป็นองค์คณะด้วย

ให้นักศึกษา อธิบายว่า คําพิพากษาที่นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่โดยมี นายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงลงชื่อเป็นองค์คณะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กําหนด ไว้ในมาตรา 30 แล้ว ให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษา ลงโทษจําคุกเกินกว่าหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อปรากฏว่าในวันที่อ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น นายวิรัชผู้พิพากษา เจ้าของสํานวนเดิมที่เคยนั่งพิจารณาคดีไม่อยู่เพราะได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ กรณีนี้จึงถือว่าเป็นเรื่อง เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษา ในคดีนั้นต่อไปได้ในศาลแขวงตามมาตรา 29 ดังนั้น ผู้พิพากษาที่จะมีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาหลังจาก ได้ตรวจสํานวนคดีในศาลแขวงแห่งนั้นคือนายวิโรจน์ซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตามมาตรา 29 (3) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายวิโรจน์จะพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปีเท่าเดิม ซึ่งเป็น การลงโทษจําคุกเกินกว่า 6 เดือน จึงถือว่าเป็นเรื่องเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31 (2) ดังนั้น จึงต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคหรือรองอธิบดีผู้พิพากษาภาคเท่านั้นลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะทําคําพิพากษา ตามมาตรา 29 (3) จะนําสํานวนไปมอบหมายให้นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่ โดยมีนายวิโรจน์ลงชื่อเป็นองค์คณะไม่ได้

สรุป

คําพิพากษาที่นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่ โดยมี นายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงลงชื่อเป็นองค์คณะนั้นไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

WordPress Ads
error: Content is protected !!