การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. (ก) การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสามและสี่ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมีความแตกต่างกันอย่างไร
(ข) นายเอกนําเอาคดีอาญาคดีหนึ่งเกิดเหตุที่เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร (เขตลาดพร้าวอยู่ในเขตอํานาจของศาลอาญาและศาลแขวงพระนครเหนือ) ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทไปยื่นฟ้องที่ศาลอาญา กรณีนี้ศาลอาญาจะมีคําสั่งอย่างไรกับคดีนี้ของนายเอก
ธงคําตอบ
(ก) การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสามและวรรคสี่ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มีความ แตกต่างกันอย่างไรนั้น เห็นว่า
มาตรา 16 วรรคสาม บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา และ คดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา ศาลแพ่งหรือศาลอาญาแล้วแต่กรณี อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้ พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอํานาจ”
หลักเกณฑ์การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสาม คือ
1 ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา
2 คดีนั้นได้เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา
3 ศาลแพ่งหรือศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโอนคดี ไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอํานาจ
ส่วนมาตรา 16 วรรคสี่ บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้น ในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”
หลักเกณฑ์การโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสี่ คือ
1 ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด
2 คดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวง
3 ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ
จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าตามมาตรา 16 วรรคสามและวรรคสี่ จะแตกต่างกัน ตรงที่ว่ามาตรา 16 วรรคสาม เป็นกรณีที่คดีเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา แต่ได้ฟ้องคดีนั้นต่อศาลแพ่ง หรือศาลอาญา ดังนี้ ศาลแพ่งหรือศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ หรือมีคําสั่งโอนคดีไปยัง ศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอํานาจได้ แต่ในส่วนของมาตรา 16 วรรคสี่นั้น เป็นกรณีที่คดีเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและ อยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวง แต่มีการนําคดีนั้นยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด ดังนี้ ศาลจังหวัดจะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้ พิจารณาพิพากษาไม่ได้ จะต้องมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
(ข) หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา 16 วรรคท้าย “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขต ของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”
มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”
มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับเม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”
วินิจฉัย
ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีอาญาที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5)
กรณีตามอุทาหรณ์ คดีอาญาที่นายเอกนําไปฟ้องนั้น มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี และ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท จึงอยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) เมื่อปรากฏ ข้อเท็จจริงว่านายเอกได้นําคดีไปยื่นฟ้องที่ศาลอาญา ดังนั้น ศาลอาญาซึ่งมีอํานาจเทียบเท่าศาลจังหวัดจึงต้องโอนคดี กลับไปยังศาลที่คดีอยู่ในเขตอํานาจตามมาตรา 16 วรรคท้าย ซึ่งก็คือศาลแขวงพระนครเหนือนั่นเอง
สรุป ศาลอาญาจะต้องมีคําสั่งโอนคดีอาญาของนายเอกไปยังศาลแขวงพระนครเหนือ