การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายช้างได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดของนายเสือ โดยสงบ เปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงได้ยื่นคําร้องต่อศาลจังหวัดชลบุรี ขอให้ศาลจังหวัดชลบุรีไต่สวนแล้ว มีคําสั่งแสดงว่านายช้างได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นายนิติ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชลบุรีแต่เพียงผู้เดียวได้ตรวจคําร้องและสอบถาม นายช้างแล้วได้ความว่าที่ดินแปลงนี้มีราคาสามแสนบาท นายนิติจึงสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงชลบุรีที่มีเขตอํานาจ การสั่งโอนคดีของนายนิติชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 16 วรรคท้าย “ในกรณีที่มีการยืนฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงิน ที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับ มาตรา 17)

กรณีตามอุทาหรณ์ การร้องขอให้ศาลมีคําสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครอง ปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น เป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นตัวเงินได้ ซึ่งเป็น คดีไม่มีข้อพิพาท ดังนั้น แม้ที่ดินดังกล่าวจะมีราคา 300,000 บาท คดีแพ่งเรื่องนี้ก็ไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง (ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) คดีนี้จึงอยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตามมาตรา 18 กรณีจึงไม่ต้องตามมาตรา 16 วรรคท้าย ที่ศาลจังหวัดจะมีคําสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวง ดังนั้น การที่นายนิติสั่งโอนคดีดังกล่าวไปยังศาลแขวงชลบุรีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคดีไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงชลบุรี แต่อยู่ใน อํานาจของศาลจังหวัดชลบุรี

สรุป การสั่งโอนคดีของนายนิติ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. เขียวเป็นโจทก์ฟ้องนายเหลืองต่อศาลจังหวัดข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี นายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวน คดีดังกล่าวให้นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดไต่สวนมูลฟ้อง นายเอกได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดี ดังกล่าวไม่มีมูลควรพิพากษายกฟ้อง จึงนําสํานวนคดีไปปรึกษากับนายใหญ่ นายใหญ่จึงมอบหมายให้ นายเด่นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดนั้น ตรวจสํานวนการไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อ ทําคําพิพากษายกฟ้องร่วมกับนายเอก ท่านเห็นว่าการกระทําดังกล่าวทั้งหมดชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้ หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กําหนด ไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่ คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”

มาตรา 32 “ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีในแต่ละศาลแล้วแต่กรณี รับผิดชอบ ในการจ่ายสํานวนคดีให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาในศาลหรือในแผนกคดีนั้น โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ “กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เขียวเป็นโจทก์ฟ้องนายเหลืองต่อศาลจังหวัดในคดีอาญาในข้อหา ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 และนายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้จ่ายสํานวนคดี ดังกล่าวให้นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดไต่สวนมูลฟ้องนั้น นายใหญ่ย่อมมีอํานาจจ่ายสํานวนคดีได้ตามมาตรา 32 ประกอบมาตรา 25 (3) และนายเอกย่อมมีอํานาจไต่สวนมูลฟ้องได้ตามมาตรา 25 (3)

เมื่อนายเอกผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล ควรพิพากษา ยกฟ้อง แต่คดีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนานั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนด คือจําคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี ซึ่งถือว่าเป็นอัตราโทษตามมาตรา 25 (5) คือ มีอัตราโทษจําคุกเกินกว่า 3 ปี จึงไม่อยู่ในอํานาจของผู้พิพากษา ศาลชั้นต้นคนเดียว นายเอกผู้พิพากษาที่ทําการไต่สวนมูลฟ้องจะพิพากษายกฟ้องไม่ได้ กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 31 (1) ถือได้ว่ามีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดี ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็น องค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ดังนั้นจึงต้องมีผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะ และผู้พิพากษาที่จะเป็นองค์คณะมีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษานั้น ได้แก่ ผู้พิพากษาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 (3) คือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้ทําการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรืออธิบดี ผู้พิพากษาภาคตามมาตรา 29 วรรคท้าย

ดังนั้นในกรณีนี้นายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาเป็น องค์คณะร่วมกับนายเอกเท่านั้น จะมอบหมายให้ผู้ใดทําคําพิพากษาแทนไม่ได้ การที่นายใหญ่มอบหมายให้นายเด่น ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดนั้นตรวจสํานวนการไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษายกฟ้องร่วมกับ นายเอก จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 29 (3)

สรุป การที่นายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจ่ายสํานวนคดีนี้ให้นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัด ไต่สวนมูลฟ้อง และการที่นายเอกได้ทําการไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย

แต่การที่นายใหญ่มอบหมายให้นายเด่น ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดตรวจสํานวนการไต่สวน มูลฟ้อง และลงลายมือชื่อทําคําพิพากษายกฟ้องร่วมกับนายเอกไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. กะรัตให้สายน้ำผึ้งกู้ยืมเงินจํานวน 2 ครั้ง โดยทําหนังสือสัญญากู้ 2 ฉบับ ๆ ละ 200,000 บาท เมื่อครบกําหนดสายน้ำผึ้งบิดพลิ้วไม่ยอมชําระ อีกทั้งยังยืมสร้อยเพชรราคา 200,000 บาทของกะรัตไปใส่ ออกงานและไม่ยอมคืน กะรัตจึงตั้งใจจะฟ้องเรียกคืนเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับ และเรียกคืนสร้อยเพชรจาก สายน้ำผึ้ง ดังนั้นการฟ้องคดีเรียกคืนเงินกู้และเรียกคืนสร้อยเพชรคืนจากสายน้ำผึ้งของกะรัตนั้น สามารถฟ้องร้องเป็นคดีเดียวกันได้หรือไม่ อย่างไร และกะรัตจะฟ้องเรียกเงินกู้ และสร้อยเพชร คืนจากสายน้ำผึ้งได้ที่ศาลจังหวัดหรือศาลแขวง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 18 “ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17) จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งแล้วแต่กรณี

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่กะรัตจะฟ้องเรียกคืนเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับ และเรียกคืนสร้อยเพชรจาก สายน้ำผึ้งนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 คดีฟ้องเรียกคืนเงินกู้ เป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณราคาเป็นเงินได้ หรือที่เรียกว่า คดีมีทุนทรัพย์ และการทําสัญญาเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับกับจําเลยรายเดียวกันสามารถรวมทุนทรัพย์ฟ้อง เป็นคดีเดียวกันได้ ดังนั้นเมื่อรวมสัญญาเงินกู้ทั้ง 2 ฉบับจึงมีทุนทรัพย์ 400,000 บาท จึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง แต่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) และมาตรา 18 ดังนั้น กะรัตจึงต้องฟ้องคดีนี้ ที่ศาลจังหวัด จะฟ้องคดีนี้ที่ศาลแขวงไม่ได้

2 คดีฟ้องเรียกคืนสร้อยเพชรเป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณราคา เป็นเงินได้ หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ ดังนั้นคดีนี้จึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงแต่อยู่ในอํานาจของศาลจังหวัดตาม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) และมาตรา 18 กะรัตจึงต้องฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัด จะฟ้องคดีนี้ที่ศาลแขวงไม่ได้

สรุป ทั้งคดีฟ้องเรียกคืนเงินกู้และคดีฟ้องเรียกสร้อยเพชรคืน กะรัตจะต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด และต้องแยกฟ้องเป็นคนละคดีจะฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันไม่ได้ เพราะเป็นคดีที่เกิดจากสัญญาคนละฉบับ

 

Advertisement