การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายโทผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายตรีเป็นโจทก์ ฟ้องนายจัตวาข้อหาทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (มีอัตราโทษจําคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี) นายโทไต่สวนพยานโจทก์แล้วเห็นว่า คดีของโจทก์ไม่มีมูล เห็นควรพิพากษา ยกฟ้อง จึงจะไปปรึกษากับนายพิเศษ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก แต่นายพิเศษไม่อยู่เนื่องจาก ไปราชการที่ต่างจังหวัด นายโทจึงนําสํานวนไปปรึกษากับนายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากที่มี อาวุโสสูงสุด นายเอกตรวจสํานวนแล้วเห็นด้วยกับนายโทจึงลงชื่อในคําพิพากษาร่วมกับนายโทให้ ยกฟ้อง

ให้ท่านวินิจฉัยว่า การไต่สวนมูลฟ้องของนายโทและการทําคําพิพากษาของนายโทและ นายเอกชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 9 วรรคสอง “เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็น ผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับ ในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้นมีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทําการแทนในตําแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอํานาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่ คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยคือ การไต่สวนมูลฟ้องของนายโทชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 25 (3) กําหนดให้ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจ ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญาที่อยู่ในอํานาจศาลนั้นได้ ดังนั้น คดีอาญาทั้งปวงจึงอยู่ในอํานาจของ ผู้พิพากษาคนเดียวที่จะไต่สวนมูลฟ้อง ดังนั้นการที่นายโทผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายตรี เป็นโจทก์ฟ้องนายจัตวาข้อหาทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อาญา มาตรา 297 เพียงคนเดียว จึงเป็นการปฏิบัติโดยถูกต้องและชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (คําพิพากษาฎีกาที่ 1752 – 1753/2557)

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยคือ การทําคําพิพากษาของนายโทและนายเอกชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เห็นว่า การที่นายโทไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีไม่มีมูลควรพิพากษายกฟ้องนั้น เนื่องจากคดีนี้มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษ ตามมาตรา 25 (5) นายโทจึงไม่มีอํานาจทําคําพิพากษายกฟ้องเพียงคนเดียวได้ กรณีถือว่ามีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ตามมาตรา 31 (1) ที่เกิดขึ้นระหว่างการทําคําพิพากษาตามมาตรา 29 นายโทจึงต้องนําสํานวนไปให้ นายพิเศษผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อร่วมกับนายโท แต่เนื่องจากนายพิเศษไปราชการ ต่างจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ นายเอกผู้พิพากษาศาลจังหวัดตากที่มีอาวุโสสูงสุดจึงเป็นผู้ทําการแทนนายพิเศษ ตามมาตรา 9 วรรคสอง ดังนั้น นายเอกจึงมีอํานาจลงลายมือชื่อในคําพิพากษาร่วมกับนายโทหลังจากตรวจสํานวน แล้วได้ คําพิพากษาดังกล่าวจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

การไต่สวนมูลฟ้องของนายโทและการทําคําพิพากษาของนายโทและนายเอกชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายอเนกและ น.ส.อารี เป็นบุตรของนายอํา เมื่อนายอําถึงแก่ความตาย น.ส.อารีได้แอบลักลอบนําเอาโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีและเป็นทรัพย์มรดกของนายอํา ซึ่งมีราคาจํานวน 233,000 บาท ไปจดทะเบียนขายให้แก่นายอํานาจ และในวันเดียวกันนายอํานาจได้นําเอาที่ดิน แปลงพิพาทดังกล่าวไปจดทะเบียนจํานองกับนายอนันต์ เมื่อนายอเนกทราบเรื่องจึงไปยื่นฟ้อง น.ส.อารี ต่อศาลแขวงสุพรรณบุรี ขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน ระหว่าง น.ส.อารีกับนายอํานาจ กับขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนจํานอง ระหว่างนายอํานาจกับนายอนันต์ด้วย และให้จดทะเบียนโอนที่ดินคืนแก่กองมรดกของนายอํา หาก น.ส.อารีไม่ดําเนินการให้ถือเอาคําพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา

ดังนี้ หากนักศึกษาเป็น ผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีที่มีอํานาจ จะรับคดีเรื่องดังกล่าวนี้ไว้พิจารณาในศาลแขวงสุพรรณบุรี หรือไม่ ขอให้นักศึกษาอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17)

ในกรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอเนกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายและการจดทะเบียนจํานองในที่ดินพิพาทที่อ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของนายอํา โดยมีคําขอบังคับท้ายฟ้องให้เพิกถอน และให้โอนคืนตามลําดับนั้น ก็เพื่อเรียกร้องให้ได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาท ของนายอําผู้ตาย รวมทั้งประโยชน์แก่นายอเนกด้วย คดีของนายอเนกจึงเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคํานวณราคาเป็นเงินได้และมีทุนทรัพย์ตามจํานวนราคาที่ดินพิพาท จํานวน 233,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงสุพรรณบุรีตามมาตรา 25 (4) ประกอบ มาตรา 17 ดังนั้น หากข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรี จะรับคดีเรื่องดังกล่าวนี้ไว้พิจารณาพิพากษา ในศาลแขวงสุพรรณบุรีต่อไป (ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 13349/2557)

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงสุพรรณบุรีที่มีอํานาจจะรับคดีเรื่องดังกล่าวนี้ไว้ พิจารณาในศาลแขวงสุพรรณบุรีต่อไป

 

ข้อ 3. นายเก่งผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท แล้วเห็นควรพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยหนึ่งปี แต่จําเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงเหลือจําคุกหกเดือน จําเลยในคดีนี้เคยถูก ศาลพิพากษาลงโทษจําคุกสามเดือนในคดีอื่นมาแล้ว โดยศาลในคดีเดิมได้รอการลงโทษจําคุกของ จําเลยมีกําหนดระยะเวลาหนึ่งปี ต่อมาจําเลยได้กระทําความผิดในคดีนี้ภายในระยะเวลาที่ถูกรอ การลงโทษ ดังนั้น นายเก่งจึงพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยบวกโทษที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังเป็นจําคุกจําเลยเก้าเดือน

ดังนี้ การพิจารณาพิพากษาดังกล่าวชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 “เมื่อปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคําแถลง ของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกําหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทําความผิดอัน มิใช่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุกสําหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกําหนดโทษที่รอการกําหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอ การลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดิ หลัง แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17 ศาลแขวงย่อมมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งผู้พิพากษาศาลแขวงได้พิจารณาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ซึ่งมี อัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 พันบาท แล้วเห็นควรพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี แต่จําเลย ให้การรับสารภาพซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงเหลือจําคุก 6 เดือน ดังนี้ นายเก่ง ย่อมมีอํานาจกระทําได้ตามมาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17

ส่วนประเด็นที่ว่า การที่นายเก่งพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยบวกโทษที่รอไว้ในคดีก่อน เข้ากับโทษในคดีหลังเป็นจําคุกจําเลยเก้าเดือน จะถือว่าเป็นอํานาจของศาลแขวงหรือไม่ เห็นว่า การบวกโทษที่ รอการลงโทษไว้เป็นการนําเอาโทษที่ศาลในคดีก่อนพิพากษาว่าจําเลยกระทําความผิดและกําหนดโทษที่จะลงแก่ จําเลยไว้ แต่ให้รอการลงโทษที่กําหนดไว้นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด เมื่อจําเลยมากระทําผิดขึ้นอีกภายใน ระยะเวลาที่ศาลกําหนดไว้ และคดีนั้นอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ศาลแขวงก็ต้องนําเอาโทษที่ศาลในคดีก่อน กําหนดและให้รอการลงโทษไว้มาบวกกับโทษในคดีหลังตาม ป.อาญา มาตรา 58 ซึ่งบัญญัติบังคับและให้อํานาจไว้ แม้โทษนั้นจะให้จําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียว ย่อมมีอํานาจพิพากษาคดีนั้นได้ ไม่ถือว่าเป็นอํานาจ ดังนั้น การพิจารณาพิพากษาดังกล่าวจึงชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 (5) ประกอบ ป.อาญา มาตรา 58

สรุป การพิจารณาพิพากษาดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement