LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือ นายหมอกและ น.ส.ฝน นายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินบนที่ดินในเขตห้วยขวางแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปี และให้นายสองเช่าที่ดินในเขตบางนาเพื่อ ปลูกอาคารพาณิชย์เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งนายสองตกลงว่าจะยอมให้อาคารพาณิชย์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของนายเมฆเมื่อครบกําหนดตามสัญญาเช่าหลังจากที่นายหนึ่งและนายสองใช้ประโยชน์ในที่ดิน มาแล้วเป็นเวลา 5 ปี นายเมฆป่วยหนัก นายเมฆจึงทําพินัยกรรมยกที่ดินในเขตห้วยขวางให้ นายหมอก และยกที่ดินในเขตบางนาให้ น.ส.ฝน ต่อมาอีก 6 เดือน นายเมฆอาการทรุดลง นายหนึ่ง และนายสองจึงช่วยกันพานายเมฆไปส่งที่โรงพยาบาล เพราะเห็นว่านายหมอกและ น.ส.ฝนไปทําธุระ ที่ต่างจังหวัด แต่เกิดอุบัติเหตุระหว่างทางเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทั้ง 3 คน ดังนี้ นายหมอกจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่ง และ น.ส.ฝนจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายสองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดก ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเมฆ นายหนึ่ง และนายสองได้ถึงแก่ความตาย นายหมอกจะเรียกที่ดิน คืนจากทายาทของนายหนึ่ง และ น.ส.ฝนจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายสองได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 กรณีนายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปี ตามกฎหมายเมื่อนายเมฆ เจ้าของที่ดิน และนายหนึ่งผู้รับสิทธิ (ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดิน) ถึงแก่ความตายย่อมไม่ทําให้สิทธิเหนือพื้นดินระงับสิ้นไป หน้าที่ที่จะต้องให้ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินใช้ประโยชน์เหนือที่ดินนั้นไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้นเมื่อนายเมฆและนายหนึ่งถึงแก่ความตาย หน้าที่และสิทธิดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท นายหมอก จึงต้องให้ทายาทของนายหนึ่งใช้ที่ดินนั้นต่อไปจนครบกําหนด 10 ปี จะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่งไม่ได้

2 กรณีนายเมฆให้นายสองเขาที่ดินเพื่อปลูกอาคารพาณิชย์เป็นเวลา 10 ปี เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายสองตกลงว่าจะยอมให้อาคารพาณิชย์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเมฆเมื่อครบกําหนดตาม สัญญาเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เมื่อนายเมฆผู้ให้เช่าและนายสองผู้เช่าถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ดังนั้น น.ส.ฝนจึงต้อง ให้ทายาทของนายสองเช่าที่ดินนั้นต่อไปจนครบกําหนด 10 ปี จะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายสองไม่ได้

สรุป

นายหมอกจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่งไม่ได้ และ น.ส.ฝนก็จะเรียกที่ดินคืน จากทายาทของนายสองไม่ได้เช่นเดียวกัน

 

ข้อ 2 นางลําไยเป็นหม้ายเนื่องจากสามีตาย นางลําไยมีพี่ชายร่วมบิดา 1 คน คือ นายมะม่วง และมีน้องสาวร่วมมารดาอีก 1 คน คือ นางมะปราง นางมะปรางเป็นแม่ค้าเร่นําสินค้าใส่รถไปขายยังต่างจังหวัด อยู่บ่อย ๆ จึงได้พบรักกับนายไข่และได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยถูกต้องตามกฎหมายจนมีบุตร 1 คน คือ ด.ช.ขวด พอ ด.ช.ขวดอายุได้ 10 ปี นายไข่ก็เป็นโรคตับแข็งตายเนื่องจากดื่มจัด นางมะปรางจึงเลี้ยงดูลูกตามลําพังโดยยึดอาชีพเดิม ระหว่างที่เร่ขายของตามต่างจังหวัด นางมะปราง ก็ประสบอุบัติเหตุถูกรถชนเสียชีวิต การเลี้ยงดู ด.ช.ขวดจึงเป็นภาระของนางลําไยซึ่งเป็นป้าแต่ผู้เดียว ต่อมาอีก 4 ปี นางลําไยก็ป่วยเป็นมะเร็งลําไส้ถึงแก่ความตาย ก่อนตายนางลําไยมีมรดกคือที่ดิน 2 แปลง ๆ ละ 20 ไร่ และเงินสดในธนาคารอีก 5 ล้านบาท โดยที่นางลําไยไม่ได้ทําพินัยกรรมใด ๆไว้เลย จงแบ่งมรดกของนางลําไย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนางลําไยเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และมีทรัพย์มรดกคือที่ดิน 2 แปลง ๆ ละ 20 ไร่ และเงินสดในธนาคารอีก 5 ล้านบาท โดยที่นางลําไยไม่ได้ทําพินัยกรรมใด ๆ ไว้ มรดกของ นางลําไยย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนางลําไยตามมาตรา 1620 วรรคแรก และทายาทโดยธรรมของ นางลําไยที่มีสิทธิจะได้รับมรดก ได้แก่

1 นายมะม่วง เพราะนายมะม่วงเป็นพี่ชายร่วมบิดาของนางลําไย จึงเป็นทายาทโดยธรรมที่ มีสิทธิรับมรดกของนางลําไยตามมาตรา 1629 (4)

2 นางมะปราง เพราะนางมะปรางเป็นน้องสาวร่วมมารดาของนางลําไย จึงเป็นทายาท โดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนางลําไยตามมาตรา 1629 (4)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางมะปรางได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นางมะปรางจึงไม่อาจรับมรดกได้ เพราะไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่เมื่อนางมะปราง มีบุตรคือ ด.ช.ขวต ซึ่ง ด.ช.ขวดนั้นเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนางมะปราง (ตามมาตรา 1643) ด.ช.ขวดจึง สามารถเข้ารับมรดกแทนที่นางมะปรางในการรับมรดกของนางลําไยได้ ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 1639 ได้กําหนดไว้ว่า เมื่อทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) คนใดได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดาน ก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ และตามมาตรา 1642 ก็ได้กําหนดไว้ว่าการรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับ แต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม ดังนั้น ด.ช.ขวดจึงมีสิทธิรับมรดกของนางลําไยโดยการรับมรดกแทนที่ นางมะปรางตามมาตรา 1639, 1642 และ 1643

อนึ่ง แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า เมื่อนางมะปรางถึงแก่ความตาย และแม้ว่านางลําไยจะได้ อุปการะเลี้ยงดู ด.ช.ขวดอย่างไร แต่ ด.ช.ขวดก็ไม่ใช่ผู้สืบสันดานของนางลําไย เป็นเพียงผู้สืบสันดานโดยตรงของ นางมะปรางเท่านั้น ดังนั้น ด.ช.ขวดจึงไม่อาจรับมรดกของนางลําไยในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) แต่อย่างใด

เมื่อมรดกทั้งหมดของนางลําไยตกได้เก่นายมะม่วง และ ด.ช.ขวดเพียงสองคน ดังนั้น ด.ช.ขวด และนายมะม่วงซึ่งเป็นลุง จึงได้รับมรดกของนางลําไยโดยจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กันตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนางลําไย คือที่ดิน 2 แปลง ๆ ละ 20 ไร่ และเงินสดในธนาคารอีกจํานวน 5 ล้านบาท ตกได้แก่นายมะม่วง และ ด.ช.ขวด โดยจะได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่งตามเหตุผลและหลักกฎหมาย ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 นายหนึ่งมีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ นายสองและนายสาม นายสองจดทะเบียนสมรสกับนางสวย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเอกและนายโท นายสองประสบอุบัติเหตุตาย นายเอกสละ มรดกของนายสองถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมานายสามได้ขอเงินนายหนึ่งไปเป็นทุนในการค้าขาย นายหนึ่งได้มอบเงินจํานวนหนึ่งให้นายสามตามที่ขอ โดยนายสามได้ทําหนังสือมอบไว้แก่นายหนึ่งว่า จะขอสละมรดกของนายหนึ่งทั้งหมด หลังจากนั้นนายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ นายหนึ่งมีมรดกทั้งสิ้น 600,000 บาท เมื่อจะมีการแบ่งมรดกของนายหนึ่ง นายโทอ้างว่านายเอก ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายสองในการสืบมรดกของนายหนึ่งเพราะตอนที่นายสองตาย นายบวก ได้สละมรดกของนายสอง นายเอกจึงมาปรึกษาท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมรดกว่ามรดกของ นายหนึ่งจะตกได้แก่ใคร เท่าใด ดังนี้ให้ท่านให้คําปรึกษาแก่นายเอก

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 16.30 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1645 “การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะ รับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกของบุคคลอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้มรดกของนายหนึ่ง ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคแรก และทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง ได้แก่ นายสองและนายสาม ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันตามมาตรา 1629 (3) ดังนั้น มรดกของนายหนึ่ง จํานวน 600,000 บาท จึงต้องนํามาแบ่งแก่นายสองและนายสามคนละเท่า ๆ กัน คือ คนละ 300,000 บาท ตามมาตรา 1633

กรณีของนายสอง เมื่อปรากฏว่านายสองได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก และนายสองมี สืบสันดาน และเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง คือนายเอกและนายโท นายเอกและนายโทจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่ นายสองได้ตามมาตรา 1639, 1642 และ 1643 โดยนายเอกและนายโทจะได้รับมรดกคนละเท่า ๆ กัน คือคนละ 150,000 บาท ตามมาตรา 1633 ส่วนการที่นายเอกได้สละมรดกของนายสองนั้น ย่อมไม่ตัดสิทธิของนายเอก ในการเข้ารับมรดกแทนที่นายสองในการสืบมรดกของนายหนึ่งแต่อย่างใด (ตามมาตรา 1645) ดังนั้น นายเอก จึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง ส่วนนางสวยซึ่งเป็นคู่สมรมของนายสองไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายสอง เพราะมิใช่ผู้สืบสันดานของนายสอง

สําหรับกรณีของนายสามนั้น แม้นายสามจะได้ทําหนังสือมอบไว้แก่นายหนึ่งว่าจะขอสละ มรดกของนายหนึ่งทั้งหมดนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะเป็นการสละมรดกก่อนเจ้า มรดกถึงแก่ความตาย อันเป็นการขัดต่อมาตรา 1619 ดังนั้น นายสามจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง

สรุป

มรดกของนายหนึ่งจํานวน 600,000 บาท ตกได้แก่ นายสาม 300,000 บาท และตกได้แก่ นายเอกและนายโทคนละ 150,000 บาท

 

ข้อ 4 นายไก่อยู่กินกับนางไข่มีบุตรด้วยกันคือนายเป็ด ซึ่งนายไก่อุปการะเลี้ยงดูอย่างดี ต่อมานายเป็ดอยู่กินกับนางปลามีบุตรด้วยกันคือนายห่านและนายหงส์ ซึ่งนายเป็ดได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ต่อมา นายห่านจดทะเบียนรับ ด.ช.ดอนมาเป็นบุตรบุญธรรม นายเป็ดป่วยและถึงแก่ความตาย เมื่อ นายเป็ดตายปรากฏว่านายห่านได้ทําหนังสือสละมรดกของนายเป็ดมอบแก่ผู้อํานวยการเขตบางกะปิ หลังจากนั้นนายไก่ได้ด่าว่านายหงส์ด้วยถ้อยคําหยาบคาย ด้วยความโมโหนายหงส์จึงใช้มีดปาดคอ นายไก่จนถึงแก่ความตาย นายหงส์ถูกจับ และศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดว่านายหงส์เจตนาฆ่า นายไก่ตายโดยบันดาลโทสะจึงพิพากษาลงโทษจําคุก เช่นนี้จงพิจารณา (ก) การตกทอดมรดกของนายเป็ดซึ่งมีเงินสดในธนาคารจํานวน 120,000 บาท

(ข) การตกทอดมรดกของนายไก่ซึ่งมีเงินสดในธนาคารจํานวน 240,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น ”

มาตรา 1598/27 “การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้า ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 “การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซี ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลาดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ขอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ … (3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกเทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1644 “ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก”

มาตรา 1645 “การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะ รับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกของบุคคลอื่น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

(ก) การตกทอดมรดกของนายเป็ด ซึ่งมีเงินสดในธนาคารจํานวน 120,000 บาทเมื่อนายเป็ดถึงแก่ความตาย ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก ได้แก่

1 นายห่านและนายหงส์ ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายเป็ดรับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดาน และมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และเมื่อนายห่านได้ สละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 และมาตรา 1619 นายห่านจึงเสียสิทธิรับมรดกในฐานะ ทายาทโดยธรรม แต่เมื่อนายห่านมีบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1598/27 คือ ด.ช.ดอน ดังนั้น ด.ช.ดอนจึงเป็นผู้สืบสันดาน และเข้าสืบมรดกได้ตามสิทธิของตนและชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากับ ส่วนแบ่งที่นายห่านมีสิทธิจะได้รับตามมาตรา 1615 วรรคสอง

2 นางไข่ ซึ่งเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1546 จึงเป็นทายาทโดยธรรม และมีสิทธิได้รับมรดกของนายเป็ดตามมาตรา 1629 (2) และจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตามมาตรา 1630 วรรคสอง

ส่วนนางปลาเมื่อมิได้จดทะเบียนสมรสกับนายเป็ดจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคท้าย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเป็ด

ดังนั้นมรดกของนายเป็ดคือเงินสดในธนาคารจํานวน 120,000 บาท จึงตกได้แก่ นางไข่ นายหงส์ และ ด.ช.ดอน คนละเท่า ๆ กัน คือ คนละ 40,000 บาท ตามมาตรา 1633

(ข) การตกทอดมรดกของนายไก่ซึ่งมีเงินสดในธนาคารจํานวน 240,000 บาท

เมื่อนายไก่ถึงแก่ความตาย มรดกทั้งหมดย่อมตกได้แก่นายเป็ดซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่ นายไก่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ส่วนนางไข่มิได้จดทะเบียนสมรสกับนายไก่จึง ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายไก่

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเป็ดข็งเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ได้ถึงแก่ความตายก่อน เจ้ามรดก ซึ่งตามมาตรา 1639 และ 1643 ได้กําหนดให้ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเป็ดคือนายห่านและนายหงส์ เข้ารับมรดกแทนที่นายเป็ดได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายหงส์ได้ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุกในความผิดฐาน ฆ่าเจ้ามรดกคือนายไก่ตายโดยเจตนาและเป็นคําพิพากษาถึงที่สุด จึงถือว่านายหงส์ได้ถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐาน เป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) และถือว่านายหงส์เป็นผู้มิได้มีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก ดังนั้นนายหงส์ จึงไม่อาจรับมรดกแทนที่นายเป็ดได้

ส่วนนายด่านแม้จะได้สละมรดกของนายเป็ดโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ตัดสิทธิของนายห่าน ที่จะรับมรดกแทนที่นายเป็ดในการสืบมรดกของนายไก่ตามมาตรา 1645 ดังนั้น มรดกของนายไก่จึงมีนายท่าน เข้ารับมรดกแทนที่จํานวน 240,000 บาท แต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1634

สรุป

(ก) มรดกของนายเป็นจํานวน 120,000 บาท ตกได้แก่ นางไข่ นายหงส์ และ ด.ช.ดอนคนละ 40,000 บาท

(ข) มรดกของนายไก่จํานวน 240,000 บาท ตกได้แก่นายห่านแต่เพียงผู้เดียว

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายส้มอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับ น.ส.แดง มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือนายเหลือง นายส้มได้ทําสัญญาจะขายที่ดินของตน 1 แปลงกับนายเอก และนายส้มยังให้นายโทยืมรถยนต์ของตนเป็นเวลา 5 เดือน หลังจากนั้นอีก 2 เดือน นายส้มเดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

ดังนี้ นายเหลืองต้องขายที่ดินให้นายเอกและเรียกรถยนต์คืนจากนายโทได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย ตามมาตรา 1599 วรรคแรก นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิหน้าที่และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย โดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายส้มตายทรัพย์สินของนายส้มคือที่ดิน 1 แปลง และรถยนต์ที่ให้ นายโทยืมย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทตามมาตรา 1599 วรรคแรก ส่วนการที่นายเหลืองบุตรของนายสม จะต้องขายที่ดินให้นายเอกหรือไม่และจะเรียกรถยนต์คืนจากนายโทได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีนายสมทําสัญญาจะขายที่ดินกับนายเอกก่อนที่นายส้มจะตายนั้น หน้าที่และ ความรับผิดตามสัญญาจะขายที่ดินนั้น ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้นเมื่อนายส้มตายหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นมรดกและตกทอดไปยัง ทายาทตามมาตรา 1600 และมาตรา 1599 วรรคแรก ซึ่งถ้าหากนายเหลืองเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายส้ม ผู้ตาย นายเหลืองก็จะต้องขายที่ดินให้นายเอก

 

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายส้มได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ น.ส.แดง โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีบุตรคือนายเหลือง นายเหลืองจึงเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายส้ม และเมื่อตามข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่านายส้มได้รับรองว่านายเหลืองเป็นบุตรแต่อย่างใด จึงถือว่านายเหลืองเป็นบุตรนอกกฎหมาย ที่บิดายังไม่ได้รับรองกรณีดังกล่าว นายเหลืองจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดานของนายส้มตามขนาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627

ดังนั้น เมื่อนายส้มตาย หน้าที่และความรับผิดตามสัญญาจะขายที่ดินแปลง ดังกล่าวจึงไม่ตกแก่นายเหลือง นายเหลืองจึงไม่ต้องขายที่ดินให้นายเอก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งนายเหลืองไม่มีสิทธิ ขายที่ดินให้แก่นายเอกนั่นเอง

2 กรณีนายส้มให้นายโทยืมรถยนต์เป็นเวลา 5 เดือนนั้น เป็นสัญญายืมใช้คงรูปซึ่งตาม กฎหมายสัญญายืมใช้คงรูปจะระงับไปก็ต่อเมื่อผู้ยืมตาย แต่ตามอุทาหรณ์คนที่ตายคือผู้ให้ยืมไม่ใช่ผู้ยืม สัญญายืม จึงไม่ระงับ อีกทั้งหน้าที่ของผู้ให้ยืมที่จะต้องให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมนั้นตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพ แล้วก็ไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เมื่อนายส้มตาย หน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท แสะ ทายาทจะต้องให้นายโทใช้รถยนต์คันนั้นต่อไปจนครบ 5 เดือน จะเรียกรถยนต์คืนจากนายโทไม่ได้ ดังนั้น นายเหลือง แม้จะเป็นบุตรของนายส้มก็จะเรียกรถยนต์คืนจากนายโทไม่ได้

สรุป นายเหลืองไม่ต้องขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายเอก และนายเหลืองจะเรียก รถยนต์คืนจากนายโทไม่ได้

 

ข้อ 2 นายแก่งอยู่กินกับนางส้มโดยไม่จดทะเบียนสมรส มีบุตรคือนายแก้วและนายกลิ่น ซึ่งนายแก่งได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ต่อมานายแก่งได้แยกทางกับนางส้มและไปจดทะเบียนสมรสกับนางอิ่ม มีบุตรด้วยกันคือนางเดือน ในส่วนของนายกลิ่นนั้นนายกลิ่นได้ไปอยู่กินกับนางไก่มีบุตรด้วยกันคือ นายเป็ด ซึ่งนายกลิ่นได้ให้นายเป็ดใช้นามสกุล ต่อมานายเป็ดได้จดทะเบียนรับนายเดชมาเป็น บุตรบุญธรรม ส่วนนายแก้วได้จดทะเบียนรับนางธิดามาเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งนางธิดามีบุตร คือนายนิล นายแก่งทําพินัยกรรมยกมรดกเป็นเงินสดจํานวน 400,000 บาท ให้แก่นางเดือน โดยนางเดือนนั้น ต่อมาไปมีความสัมพันธ์กับนายช้างจนนางเดือนตั้งครรภ์นายช้างก็หนีไป นางเดือนคลอดบุตรคือ นายดิน ต่อมานางเดือนป่วยถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายเป็ดและนายกลินประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย ต่อมานายแก้วและนางธิดาประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายแก่ง ป่วยและถึงแก่ความตาย เช่นนี้ จงแบ่งมรดกของนายแก่งที่มีเงินสดนอกพินัยกรรมในธนาคาร จํานวน 2,000,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1457 “การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น”

มาตรา 1536 วรรคแรก “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี”

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1604 วรรคแรก “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1631 “ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิ์ในการรับมรดกแทนที่”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตาม บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอัน ไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแก่งได้ทําพินัยกรรมยกมรดกเป็นเงินสดจํานวน 400,000 บาท ให้แก่นางเดือนนั้น เมื่อปรากฏว่านางเดือนผู้รับพินัยกรรมตายก่อนนายแก่งผู้ทําพินัยกรรม ข้อกําหนดในพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป ดังนั้นจึงต้องนําเงินจํานวน 400,000 บาท ในส่วนนี้กลับคืนสู่กองมรดกเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรม ของนายแก่งต่อไปตามมาตรา 1698 (1) และมาตรา 1699 ทําให้จํานวนเงินซึ่งเป็นมรดกของนายแก่งมีจํานวน รวมทั้งหมด 2,400,000 บาท

และเมื่อนายแก่งเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย บุคคลที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิในการรับมรดกของ นายแก่ง แยกพิจารณา

1 นางส้ม ซึ่งเป็นภริยาเก่าของนายแก่ง แต่เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอยู่ใน กับนายแก่งโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายแก่งตามมาตรา 1629 วรรคท้าย

2 นางอิ่ม ซึ่งเป็นภริยาใหม่ของนายแก่ง และได้จดทะเบียนสมรสกับนายแก่ง จึงถือเป็น ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิรับมรดกของนายแก่งในฐานะคู่สมรส ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 1457

3 นางเดือน เป็นบุตรของนายแก่งกับนางอิม จึงถือเป็นผู้สืบสันดานอันเป็นบุตรที่ชอบ ด้วยกฎหมาย เพราะเกิดในระหว่างการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1536 และมีสิทธิได้รับมรดกของนายแก่ง ในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อนางเดือนได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่านางเดือน ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่อาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604 วรรคแรก

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏว่านางเดือนมีนายดินเป็นบุตร และถือเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของมารดาเสมอตามมาตรา 1546 นายดินจึงมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนางเดือน ดังนั้นเมื่อ นางเดือนซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายดินจึงมีสิทธิเข้ารับมรดก ของนายแก่งแทนที่นางเดือนได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

4 นายแก้วและนายกลิ่น ซึ่งเป็นบุตรของนายแก่งแม้จะเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่เมื่อ นายแก่งบิดาได้ให้การรับรองแล้วโดยการแจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา จึงถือว่านายแก้วและนายกลิ่นเป็น ผู้สืบสันดาน และมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1629 (1) และมาตรา 1627 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายแก้วและนายกลินได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่านายแก้วและ นายกลิ่นไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่อาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604 วรรคแรก

แม้จะปรากฏว่านายแก้วมีบุตรบุญธรรมคือ นางธิดา และนางธิดามีบุตรคือนายนิล แต่ทั้งนางธิดาและนายนิลนั้นไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายแก้ว จึงเข้ารับมรดกแทนที่นายแก้วไม่ได้ ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

ส่วนกรณีของนายกลิ่นนั้น นายเป็ดถือเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายกลิ่น เพราะ เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายกลิ่นรับรองแล้ว (ให้ใช้นามสกุล) ตามมาตรา 1627 นายเป็ดจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่ นายกลิ่นตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 แต่เมื่อปรากฏว่านายเป็ดได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่ในสายของนายกลินต่อไปตามมาตรา 1631 และเมื่อปรากฏอีกว่านายเดช เป็นเพียงบุตรบุญธรรมของนายเป็ด ซึ่งไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเป็ด นายเดชจึงเข้ารับมรดกแทนที่ นายกลินไม่ได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

เมื่อบุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกของนายแก่งมี 2 คน คือ นางอิ่มซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วย กฎหมาย และนายดินโดยการเข้ารับมรดกแทนที่นางเดือน ดังนั้น นางอิ่มและนายดินย่อมได้รับมรดกเป็นส่วน เท่า ๆ กัน คือ คนละ 1,200,000 บาท ตามมาตรา 1634 (3) และมาตรา 1635 (1)

สรุป มรดกของนายแก่งจํานวน 2,400,000 บาท ตกแก่นางอิ่มและนายดินคนละ 1,200,000 บาท

 

ข้อ 3 นายช้างอยู่กินกับนางกวาง มีบุตรด้วยกันคือนายกันและนายเกิน ซึ่งนายช้างได้อุปการะเลี้ยงดูอย่างดีและแจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา โดยนายกันจดทะเบียนสมรสกับนางดินมีบุตรด้วยกันคือนายเด่น นายช้างได้ทําพินัยกรรมยกเงิน 20,000 บาท ให้นางกวาง ต่อมานายกันได้ข่มขู่นายช้างให้เพิ่มเติม ข้อกําหนดในพินัยกรรมโดยให้ตั้งนายกันเป็นผู้จัดการศพของนายช้างมิฉะนั้นจะทําร้ายนายช้าง นายช้างจึงเพิ่มข้อความดังกล่าวลงไปเพราะกลัวถูกนายกันทําร้าย ต่อมานายช้างป่วยและถึงแก่ความตาย โดยมีเงินสดในธนาคารทั้งหมด 240,000 บาท เช่นนี้ จงพิจารณาแบ่งมรดกของนายช้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทํา หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วน หรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทําการดังกล่าวนั้น”

มาตรา 1620 วรรคสอง “ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทําพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจําหน่ายทรัพย์ หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จําหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรม ไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1631 “ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายช้างตาย มรดกทั้งหมดของนายช้างย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม มาตรา 1599 วรรคแรก และเมื่อนายช้างได้ทําพินัยกรรมยกเงิน 20,000 บาทให้แก่นางกวาง นางกวางจึงเป็น ทายาทผู้รับพินัยกรรม และมีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมจํานวน 20,000 บาทนั้น ส่วนทรัพย์มรดกที่เหลืย อีก 220,000 บาท ซึ่งนายช้างผู้ตายไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ ก็จะต้องนําไปแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย ต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคสอง

ซึ่งทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกของนายช้างผู้ตาย ได้แก่ นายกันและนายเกินซึ่งเป็น บุตรนอกกฎหมายของนายช้าง แต่เมื่อนายช้างซึ่งเป็นบิดาได้รับรองโดยพฤตินัยแล้ว โดยได้อุปการะเลี้ยงดูและ ได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ดังนั้นนายกันและนายเกินจึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว จึงเป็น ผู้สืบสันดานและมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1) โดยจะได้รับ ส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 110,000 บาท ตามมาตรา 1633 ส่วนนางกวางมิใช่คู่สมรสของนายช้างจึงไม่มีสินรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม (มาตรา 1629 วรรคสอง)

อนึ่ง แม้ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์จะปรากฏว่า นายกันได้ขมขู่นายช้างให้เพิ่มเติมข้อกําหนดใน พินัยกรรม โดยให้ตั้งนายกันเป็นผู้จัดการศพของนายช้าง มิฉะนั้นจะทําร้ายนายช้าง ทําให้นายช้างต้องเพิ่มข้อความ ดังกล่าวลงไป ดังนี้การกระทําของนายกันแม้จะเป็นการข่มขู่นายช้างเจ้ามรดกให้แก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อกําหนด ในพินัยกรรมก็ตาม แต่ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดที่ถือไม่ได้ว่าเป็นการทําให้บุคคลใดได้ ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในทรัพย์มรดกนั้น ดังนั้นนายกันจึงไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1606 (3)

สําหรับนายเด่นซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของนายช้างเจ้ามรดกตามมาตรา 1629 (1) นั้น เมื่อเจ้ามรดก มีบุตรคือนายกัน และนายกันซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ยังมิได้ถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดก ก่อนเจ้ามรดกตาย ดังนั้นนายเด่นซึ่งเป็นผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนาย งดาม มาตรา 1631 ประกอบมาตรา 1639 และมาตรา 1643

สรุป มรดกของนายช้างจํานวน 240,000 บาท จะตกได้แก่นางกวางในฐานะผู้รับพินัยกรรม 20,000 บาท และตกได้แก่นายกันและนายเกินในฐานะทายาทโดยธรรมคนละ 110,000 บาท

 

ข้อ 4 นายหนึ่งและนางน้อยเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย นายหนึ่งมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือนายสองและนายสาม นายสองอยากมีบุตรมาก นายสองจึงจดทะเบียนรับนายสินเป็นบุตรบุญธรรม ตามกฎหมาย ต่อมานายหนึ่งโกรธนายสามที่ติดยาเสพติด นายหนึ่งจึงได้ทําหนังสือตัดนายสาม มิให้รับมรดกใด ๆ ของตนทั้งสิ้นมอบไว้แก่เพื่อนที่เป็นเจ้าพนักงานที่ดิน วันหนึ่งนายหนึ่งได้ทะเลาะ กับนายสินอย่างรุนแรง นายสินได้ใช้ปืนยิงนายหนึ่งตายต่อหน้านายสอง นายสองไปแจ้งความต่า เจ้าพนักงานตํารวจว่านายหนึ่งถูกฆ่า แต่ไม่บอกว่านายสินเป็นผู้ฆ่านายหนึ่ง นายหนึ่งมีทรัพย์มรดก ทั้งสิ้น 300,000 บาท ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายหนึ่ง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(3) ผู้ที่รู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนาแต่มิได้นําข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคน วิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง”

มาตรา 1608 “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดง เจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่หรือ ถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ ได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหนึ่งตายมีมรดก 300,000 บาท และนายหนึ่งไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายหนึ่งทั้งหมดจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคแรก และทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิ์ รับมรดกของนายหนึ่ง ได้แก่ นางน้อยซึ่งเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และนายสองกับนายสาม ซึ่งเป็นน้องชาย ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายหนึ่งตามมาตรา 1629 (3) และวรรคสอง ซึ่งโดยหลักแล้ว นางน้อยจะได้รับกึ่งหนึ่ง คือ 150,000 บาท ส่วนนายสองและนายสามจะได้รับคนละ 75,000 บาท ตามมาตรา 1635 (2) และมาตรา 1633

กรณีของนายสาม การที่นายหนึ่งได้ทําหนังสือตัดนายสามมิให้รับมรดกใด ๆ ของนายหนึ่ง ทั้งสิ้นและมอบหนังสือไว้แก่เพื่อนที่เป็นเจ้าพนักงานที่ดินนั้น ถือว่าการตัดมิให้นายสามรับมรดกของนายหนึ่ง นั้นกระทําไม่ถูกต้องตามแบบที่กําหนดไว้ในมาตรา 1608 เพราะการตัดทายาทโดยธรรมคนใดมิให้รับมรดกนั้น

จะต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งโดยการทําพินัยกรรมหรือทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น ดังนั้น เมื่อการตัดมิให้นายสามรับมรดกกระทําไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้จึงไม่มีผลตามกฎหมาย กล่าวคือ ให้ถือว่านายสามมิได้ถูกตัดมิให้รับมรดก นายสามจึงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งในฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3)

กรณีของนายสอง การที่นายสองได้รู้อยู่แล้วว่านายหนึ่งเจ้ามรดกถูกนายสินฆ่าตายโดยเจตนา แต่ได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตํารวจว่านายหนึ่งถูกฆ่า แต่ไม่บอกว่านายสินบุตรบุญธรรมของตนเป็นผู้ฆ่านายหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ย่อมถือว่านายสองรู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นําข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่ จะนําตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ ดังนั้นนายสองย่อมถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายหนึ่งในฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตามมาตรา 1606 (3) และกรณีนี้ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นการถูกกําจัดมิให้รับมรดกในฐานเป็นผู้ไม่สมควร เพราะนายสิน ให้ผู้มีบสันดานโดยตรงของนายสอง

ดังนั้น เมื่อนายหนึ่งตาย มรดกของนายหนึ่งจํานวน 300,000 บาท จึงตกได้แก่นางน้อยและ นายสามโดยจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 150,000 บาท

สรุป มรดกของนายหนึ่งจํานวน 300,000 บาท ตกได้แก่นางน้อยและนายสามคนละ 150,000 บาท

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย โดยจําเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก 5 ปี ในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นเช่นกัน และพ้นโทษคดีดังกล่าวมายังไม่เกิน 3 ปี ได้ หวนกลับมากระทําผิดคดีนี้อีกโดยไม่เข็ดหลาบ ขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 83 ประกอบมาตรา 80 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 158 (5) ทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว ฟังข้อเท็จจริง เชื่อตามพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่า จําเลยกระทําผิดจริงตามฟ้อง และจําเลยเคยต้องคําพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษและพ้นทษในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจริงตามฟ้อง

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะเพิ่มโทษจําเลย โดยคําขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ระบุอ้างบทกฎหมายที่ ขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาด้วยได้หรือไม่ และหากสามารถเพิ่มโทษจําเลยได้ ศาลจะเพิ่มเติมโทษ จําเลยได้เพียงใด เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 ผู้ใดต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก ถ้าและได้กระทําความผิดใด ๆ อีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายในเวลาห้าปีนับแต่วัน พ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจําคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นหนึ่งในสาม ของโทษที่ศาลกําหนดสําหรับความผิดครั้งหลัง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 93 ผู้ใดต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก ถ้าและได้กระทํา ความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดที่จําแนกไว้ในอนุมาตราต่อไปนี้ในอนุมาตราเดียวกันอีกในระหว่างที่ ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ราายในเวลาสามปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี ถ้าความผิดครั้งแรกเป็นความผิด ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจําคุกไม่น้อยกว่าหกเดือน หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจําคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกําหนดสําหรับความผิดครั้งหลัง

(11) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290…

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทําเช่นนั้นเป็นความผิด”

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสังเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง”

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์บรรยายฟ้องขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาแล้วนั้น แม้ตามคําฟ้อง ของโจทก็จะมิได้ระบุอ้างบทกฎหมายที่ขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาด้วยก็ตาม แต่ ป.อาญา มาตรา 92 และ 93 ซึ่ง เป็นบทกฎหมายที่เป็นบทเพิ่มโทษจําเลยฐานไม่เข็ดหลาบนั้น มิใช่มาตราในกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทํา เช่นนั้นเป็นความผิด อันจะอยู่ในบังคับเเห่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (6) ที่โจทก์จะต้องระบุอ้างในคําฟ้อง ดังนั้น

แม้คําฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จะมิได้ระบุอ้างมาตราที่ขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาด้วย แต่เมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงและเชื่อ ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าจําเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษและพ้นโทษมาแล้วหวนกลับมา กระทําความผิดคดีนี้จริงตามฟ้อง ศาลย่อมเพิ่มโทษจําเลยได้ ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าว ในฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง (คําพิพากษาฎีกาที่ 947/2520)

แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จําเลยเคยต้องคําพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก 5 ปี ในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นเช่นเดียวกับคดีนี้ และพ้นโทษคดีดังกล่าวมายังไม่เกิน 3 ปี ได้หวนกลับมากระทําผิดคดีนี้ซ้ําอีกโดยไม่เข็ดหลาบนั้น แม้จะต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่ศาลจะเพิ่มโทษจําเลยได้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อาญา มาตรา 93 เพราะจําเลยกระทําความผิดซ้ําในอนุมาตราเดียวกันตาม ป.อาญา มาตรา 93 (11) ก็ตาม แต่ตามคําขอท้ายฟ้องโจทก์คงระบุเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจําเลยตามกฎหมายโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์ ให้เพิ่มโทษตามมาตราใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จําเลยว่าโจทก์ประสงค์ให้เพิ่มโทษจําเลยเพียงหนึ่งในสาม ตาม ป.อาญา มาตรา 92 ดังนั้น ในกรณีนี้ศาลจึงเพิ่มโทษจําเลยได้เพียงหนึ่งในสามตาม ป.อาญา มาตรา 92 (คําพิพากษาฎีกาที่ 413/2549)

สรุป ศาลจะเพิ่มโทษจําเลยโดยคําขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ระบุอ้างบทกฎหมายที่ขอให้เพิ่มโทษ จําเลยมาด้วยได้ แต่จะเพิ่มโทษจําเลยได้เพียงหนึ่งในสามตาม ป.อาญา มาตรา 92

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท ในวันพิจารณา โจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การ รับสารภาพตามฟ้องโจทก์ขอสืบพยาน ศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบคํารับสารภาพของจําเลย จนเสร็จ เมื่อถึงวันนัดฟังคําพิพากษา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลยมาศาล จําเลยแถลงว่าจําเลย เพิ่งมีทนายจําเลยในวันนี้ แต่ก็ยังคงรับสารภาพตามฟ้องศาลชั้นต้นเห็นว่า จําเลยยืนยันให้การรับ สารภาพตามฟ้อง และโจทก์เพียงนําสืบประกอบคํารับสารภาพของจําเลย จึงให้ทนายจําเลยลงชื่อ รับทราบการสืบพยานโจทก์ที่ได้ดําเนินการมาแล้ว และอ่านคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษา ลงโทษจําเลยตามฟ้องให้คู่ความฟัง

ให้วินิจฉัยว่า การดําเนินกระบวนพิจารณาและคําพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคสอง “เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และ ศาลเชื่อว่าเป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้จดไว้ ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป”

มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ซึ่งมีระวางโทษจําคุก จึงเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลย ต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ จึงถือเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องถามจําเลยในวันพิจารณา ถึงเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี โดยอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคสอง ทั้งนี้เพื่อให้จําเลยได้มีโอกาสพบปะพูดคุย บรึกษากับทนายความของตนก่อนที่จําเลยจะให้การต่อศาล

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันพิจารณาเมื่อโจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นได้อ่านและ อธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ขอสืบพยาน และศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบ หารับสารภาพของจําเลยจนเสร็จ โดยมิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณา จึงเป็นการ พบารณาที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง มีผลทําให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ สืบพยานโจทก์ ตลอดจนคําพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นได้ให้ทนายจําเลยที่มาศาล ลงชื่อรับทราบการสืบพยานโจทก์ที่ได้ดําเนินการมาแล้ว ก็ไม่อาจทําให้กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบดังกล่าวกลับกลาย เป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบได้ ดังนั้น การดําเนินกระบวนการพิจารณาและคําพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การดําเนินกระบวนพิจารณาและคําพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้อาวุธปืนที่จําเลยกําลังทําความสะอาดอยู่ลั่นถูกนายสมชายเป็นเหตุให้นายสมชายถึงแก่ความตาย แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ ความว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนางสมหญิง แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนายสมชายสามีของนางสมหญิง ถึงแก่ความตาย การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และมีความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดย พลาดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 60 อีกบทหนึ่ง และไม่ปรากฏว่าจําเลยหลงต่อสู้

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสังเกิน คําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างกันมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย เมข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก็ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้อาวุธปืนที่จําเลย กําลังทําความสะอาดอยู่ลันถูกนายสมชายเป็นเหตุให้นายสมชายถึงแก่ความตาย แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทาง พิจารณาได้ความว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนางสมหญิง แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนายสมชายสามีของนางสมหญิง ถึงแก่ความตาย การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และมีความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 60 อีกบทหนึ่งนั้น ศาลจะลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 ความผิดบทแรกซึ่งเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิง

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 และมาตรา 80 นั้น แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจะได้ความเช่นนั้นก็ตาม แต่ศาลก็จะ พิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดบทนี้ไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นข้อเท็จจริง ที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในฟ้อง และมิได้มีคําขอให้ลงโทษเกี่ยวกับการกระทําต่อนางสมหญิงด้วย เนื่องจากคําฟ้อง ของโจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยกระทําต่อนายสมชายเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจําเลยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่

2 ความผิดบทหลังซึ่งเป็นความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาด

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 นั้น แม้คําฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจําเลยกระทําให้ นายสมชายถึงแก่ตายโดยประมาท และขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งแตกต่างกัน ก็ตาม แต่การต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาทนั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่ามิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือ เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ และเมื่อไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไม่เป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลย่อมมีอํานาจลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 ตามที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกิน อัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งเป็นความผิดที่ โจทก์ฟ้องไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

ศาลจะลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวล หมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 ได้ แต่จะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกําหนดไว้ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 291 ไม่ได้ ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิง ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้

 

ข้อ 4. ในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 ซึ่งมีระวางโทษสองในสามของโทษ ประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี จําเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้น พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์แล้ว ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจําเลยสมัครใจวิวาทกับผู้เสียหาย และจําเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายตบตีกับจําเลยโดยจําเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย มีเพียง เจตนาทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเท่านั้น พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ลงโทษจําคุก 2 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําเลยอุทธรณ์ว่า การที่จําเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายนั้น เป็นการกระทําเพื่อป้องกันตัว เนื่องจาก ผู้เสียหายเป็นฝ่ายเริ่มตบเด็จําเลยก่อน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิด ขอให้ศาลพิพากษา ยกฟ้อง ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า

(ก) คําพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 192 วรรคหก “ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจ เป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ขอให้ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 ซึ่งมีระวางโทษ 2 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี และศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์แล้ว ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจําเลย ไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย มีเพียงเจตนา ทําร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเท่านั้น จึงพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ลงโทษจําคุก 2 ปีนั้น คําพิพากษาของ ศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามที่โจทก์ฟ้องรวมเอาความผิดฐาน เจตนาทําร้ายผู้อื่นเป็นองค์ประกอบอยู่ในตัว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจําเลยทําร้ายผู้เสียหาย ศาลจึง สามารถพิพากษาลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายแก่กายดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก

(ข) การที่จําเลยอุทธรณ์ว่า การที่จําเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายนั้นเป็นการกระทําเพื่อป้องกันตัว เนื่องจากผู้เสียหายเป็นฝ่ายเริ่มตบที่จําเลยก่อน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นการโต้แย้ง ดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทําความผิดของจําเลย จึงเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกเกิน 3 ปี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ

แต่อย่างไรก็ดี ปรากฏว่าในศาลชั้นต้น จําเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้นจึงถือว่าอุทธรณ์ของจําเลย ดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จําเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่สามารถรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้ พิจารณาได้

สรุป

(ก) คําพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย

(ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาไม่ได้

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยโดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลากลางวันจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายเทาโดยมีเจตนาฆ่าตามที่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน หลังจากนายเทาทะเลาะวิวาท กับจําเลย จําเลยลงมือกระทําความผิดแล้วแต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผลเพราะกระสุนปืนเพียงแต่ ถูกที่ขาซ้ายของนายเทาเป็นเหตุให้นายเทาได้รับอันตรายสาหัส เหตุเกิดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 จําเลยให้การต่อสู้ว่าโจทกบรรยายฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมิได้บรรยายฟ้องว่าไตร่ตรอง ไว้ก่อนอย่างไร ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับ เวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี

วินิจฉัย

ในการฟ้องคดีอาญา นอกจากคําฟ้องต้องทําเป็นหนังสือแล้ว โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึง การกระทําทั้งหลายที่โจทก์กล่าวหาว่าจําเลยกระทําผิดด้วย กล่าวคือ จะต้องบรรยายถึงการกระทําผิดไว้ให้ชัดเจน ครบถ้วนขององค์ประกอบแห่งความผิดนั้น มิฉะนั้นแล้ว คําฟ้องของโจทก์จะกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย กฎหมาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยโดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลากลางวัน จําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายเทาโดยมีเจตนาฆ่าตามที่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน และจําเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมิได้บรรยายฟ้องว่าไตร่ตรองไว้ก่อนอย่างไรนั้น ข้อต่อสู้ของจําเลยดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะคําว่า “ไตร่ตรองไว้ก่อน” มีความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้วว่า เป็นเรื่องที่มีการเตรียมการมาล่วงหน้ามิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจมาก่อน แม้โจทก์จะมิได้ บรรยายว่าไตร่ตรองไว้ก่อนอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น คําบรรยายฟ้อง ในการกระทําความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5) แล้ว

สรุป ข้อต่อสู้ของจําเลยฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 379 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบวันหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ในวันนัดพิจารณาโจทก์ จําเลยมาศาล ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังโดยมิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความ ก่อนที่จะอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยแถลงให้การรับสารภาพตามฟ้องและไม่ติดใจ สืบพยาน โจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีเสร็จ การพิจารณาให้นัดฟังคําพิพากษา ดังนี้ การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นสําหรับจําเลย ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ความผิดตามที่พนักงานอัยการโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379 นั้น จะมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5 พันบาท หรือทั้ง จําทั้งปรับ แต่เมื่อเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุกไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ดังนั้น คดีนี้การที่ศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังโดย มิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความก่อน จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว จึงมีผลทําให้กระบวน พิจารณาของศาลชั้นต้นนับแต่นี้เป็นต้นไปจนถึงนัดฟังคําพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นสําหรับจําเลยดังกล่าวไม่ชอบด้วย กฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าในวันที่ 30 มีนาคม 2561 เวลากลางวัน จําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ร่วมกันปล้นทรัพย์รถจักรยานยนต์ของนายซึ่งไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 83 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ โดยอ้างฐานที่อยู่ ศาลพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ในวันดังกล่าว เวลากลางคืน จําเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวได้ลักเอาแฮนด์รถจักรยานยนต์ของนายซิ่งไปโดยทุจริต ส่วนจําเลยที่ 2 ช่วยรับซื้อแฮนด์ รถจักรยานยนต์ของกลางจากจําเลยที่ 1 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่จําเลยที่ 1 ได้มาโดยการกระทําผิด การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 (1) ส่วนการกระทําของจําเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 ส่วนจําเลยที่ 3 มิได้มีส่วนร่วมในการกระทําผิดแต่อย่างใด

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษ จําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เพียงใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 วางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท”

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 วางหลักว่า “ผู้ใดลักทรัพย์ (1) ในเวลากลางคืน.. ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 185 วรรคหนึ่ง “ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็น ความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยไป แต่ศาลจะสังขังจําเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสังเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมีให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก็ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทกประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เพียงใด แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีจําเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ในเวลากลางวัน แต่ ในทางพิจารณาฟังได้ว่า ในวันดังกล่าว เวลากลางคืน จําเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวได้ลักเอาแฮนด์รถจักรยานยนต์ของ ผู้เสียหายไปโดยทุจริตนั้น แม้ว่าความผิดฐานปล้นทรัพย์จะมิได้บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม แต่ความผิดฐานปล้นทรัพย์ คือความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลัง ประทุษร้าย โดยร่วมกันกระทําผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไปนั่นเอง ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมาในฟ้องแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญ อีกทั้งการที่จําเลยที่ 1 ได้ลักเอาแฮนด์ รถจักรยานยนต์มิได้ลักรถจักรยานยนต์ ข้อแตกต่างในทางพิจารณากับในคําฟ้องก็ไม่ถือว่าข้อแตกต่างนั้นเป็น ข้อสาระสําคัญ เพราะแฮนด์รถจักรยานยนต์ถือเป็นอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ การกระทําของจําเลยจึงเป็น การกระทําต่อตัวรถจักรยานยนต์ที่มุ่งประสงค์จะลักแฮนด์รถจักรยานยนต์เป็นอย่างเดียวกัน หาใช่เป็นทรัพย์ คนละชิ้นคนละอันไม่ (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 17323/2555) และเมื่อจําเลยที่ 1 มิได้หลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลจึง พิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสองประกอบวรรคสาม

แต่อย่างไรก็ตาม ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 ตามที่พิจารณาได้ความเท่านั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก และจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ฐาน ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนซึ่งเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อาญา มาตรา 335 (1) ไม่ได้ เนื่องจากข้อเท็จจริงในส่วนที่ว่า จําเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนนั้น โจทก์มิได้บรรยายหรือกล่าวมาในฟ้อง จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ ลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่งประกอบวรรคสี่

กรณีจําเลยที่ 2 ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรได้ เพราะแม้ว่าโจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่า จําเลยที่ 2 ร่วมกับจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 ปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย แต่ความผิดฐานปล้นทรัพย์รวมเอาความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ในตัว และเมื่อในทางพิจารณาปรากฏว่า จําเลยที่ 2 รับของโจร จึงถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาซึ่งแตกต่างจากที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องนั้นเป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อจําเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่จึงถือได้ว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลจึงสามารถพิพากษาลงโทษ จําเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบวรรคสาม

กรณีจําเลยที่ 3 เมื่อในทางพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริงว่า จําเลยที่ 3 มิได้มีส่วนร่วมในการ กระทําความผิดแต่อย่างใด ศาลจึงต้องทิพากษายกฟ้องโจทก์ปล่อยตัวจําเลยที่ 3 ไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185

สรุป

ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 และจะ พิพากษาลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานรับของโจร ส่วนจําเลยที่ 3 ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายโหดในข้อหาพยายามฆ่านายดีผู้เสียหาย โดยบรรยายฟ้องว่านายโหดได้ใช้อาวุธปืนตีที่ศีรษะนายที่ผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า แต่แพทย์รักษาบาดแผลได้ทัน นายดีผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายเพียงได้รับอันตรายสาหัสประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ เกินกว่า 20 วัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 (ระวางโทษสองในสาม ของโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิตหรือจําคุกตั้งแต่ 15 ปี – 20 ปี) นายโหดจําเลยให้การปฏิเสธ และนําสืบอ้างฐานที่อยู่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่านายโหดได้กระทําผิดจริง ตามฟ้อง แต่พฤติการณ์การกระทําดังกล่าว นายโหดมิได้มีเจตนาฆ่านายดีผู้เสียหาย มีแค่เพียง เจตนาทําร้ายร่างกายนายดีผู้เสียหายเท่านั้น การกระทําของนายโหดจึงเป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 297 พิพากษาลงโทษจําคุก 6 ปี โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ศาลชั้นต้นนําบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ปรับเข้ากับ พฤติการณ์การกระทําของนายโหดที่ฟังเป็นยุติแล้ว โจทก์ยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเนื่องจากพฤติการณ์ การกระทําของนายโหดที่ฟังเป็นยุติแล้ว เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง และจําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยได้ทําร้ายร่างกาย นายดิผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจริง แต่เป็นเพราะจําเลยถูกนายดีผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุไม่เป็นธรรมจึงกระทําความผิดไปโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจําเลยสถานเบา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคําพิพากษา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จําเลยอุทธรณ์ได้ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และจําเลยไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้ พิจารณาต่อไป”

มาตรา 195 วรรคหนึ่ง “ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิง ให้แสดงไว้โดย ชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่ากันแล้วแต่ในศาลชั้นต้น”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยไว้พิจารณาได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีอุทธรณ์ของโจทก์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายโหดเป็นจําเลยในข้อหาพยายามฆ่า นายดีผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แต่จําเลยให้การปฏิเสธ เมื่อศาลชั้นต้น พิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจําเลยได้กระทําผิดจริงตามฟ้อง แต่พฤติการณ์การกระทําของจําเลยดังกล่าว จําเลยมิได้มีเจตนาฆ่านายดีผู้เสียหายแต่มีเพียงเจตนาทําร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส เท่านั้น การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 297 จึงพิพากษาลงโทษจําคุก 6 ปีนั้น การที่โจทก์ ไม่เห็นพ้องด้วยเนื่องจากพฤติการณ์การกระทําของจําเลยที่ฟังเป็นยุติแล้ว เป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้องนั้น ถือเป็นการโต้แย้ง การที่ศาลชั้นต้นปรับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วว่าเข้ากับองค์ประกอบของกฎหมายในเรื่องใด หรือปัญหาการ หารือบทจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย และเมื่อโจทก์ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ดังนั้น โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจะมี คําสังรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา

กรณีอุทธรณ์ของจําเลย การที่จําเลยอุทธรณ์ว่าจําเลยได้ทําร้ายร่างกายนายดีผู้เสียหาย ได้รับอันตรายสาหัสจริง แต่เป็นเพราะจําเลยถูกนายที่ผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงได้กระทําความผิดไปโดยบันดาลโทสะตาม ป.อาญา มาตรา 72 นั้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งจําเลย มิได้ยกขึ้นกล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

ดังนั้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 และแม้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคําพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จําเลยอุทธรณ์ ก็ตาม ก็ไม่มีผลทําให้จําเลยสามารถอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ เพราะการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาอนุญาตให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรีนั้น ใช้กับกรณีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิเท่านั้น ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณา

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา แต่จะมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของ จําเลย

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้าน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเอกร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่านายโทลักเอารถยนต์ของตนไปโดยทุจริต แต่เห็นว่าพนักงานสอบสวนดําเนินคดีล่าช้าถึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายโทด้วยตนเอง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 334 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ปรากฏว่านายเอกไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลจึงมีคําพิพากษายกฟ้องของนายเอก ต่อมาคดีเรื่องเดียวกันนี้ที่นายเอกร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงาน สอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานอัยการเห็นว่าพยานหลักฐานที่ รวบรวมมาการกระทําของนายโทเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานอัยการ จึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนี้อีก ขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายธรรมผู้พิพากษาเวรรับฟ้องเมื่อตรวจคําฟ้องแล้วจะพิจารณาสั่งคําฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 161 วรรคหนึ่ง “ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง”

มาตรา 166 “ถ้าโจทก์ไม่มาตามกําหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควร ยังมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้

คดีที่ศาลได้ยกฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าโจทก์มาร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันศาลยกฟ้องนั้น โดย แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่

ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว จะฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเอกโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง การที่ศาลมีคําพิพากษา ยกฟ้องของนายเอกจึงเป็นการยกฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ซึ่งย่อมเกิดผลตามมาตรา 166 วรรคสาม คือจะฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอํานาจ พนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว

การที่นายเอกร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่านายโทลักทรัพย์และเป็นโจทก์ฟ้องนายโท ในข้อหาลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งเป็นกรณีที่นายเอกราษฎรเท่านั้น เป็นโจทก์และถูกศาลพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่ง จะไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการใน การฟ้องคดีนี้อีกก็ตาม แต่เมื่อพนักงานอัยการพิจารณาสํานวนการสอบสวนแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานที่รวบรวมมานั้น การกระทําผิดของนายโทเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว และเป็นโจทก์

ยื่นฟ้องนายโทในฐานความผิดดังกล่าว พนักงานอัยการจึงถูกตัดอํานาจฟ้องนายโทจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีก ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อนายธรรมผู้พิพากษาเวรได้รับฟ้องและตรวจคําฟ้องแล้ว ย่อมมีอํานาจตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง คือมีคําสั่งยกฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ เพราะฟ้องของ พนักงานอัยการโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป นายธรรมผู้พิพากษาเวรจะต้องมีคําสั่งยกฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลยมาศาล จําเลยแถลง ต่อศาลชั้นต้นว่าทนายจําเลยกลับไปก่อนเนื่องจากนัดพบลูกความเรื่องอื่นไว้ ศาลชั้นต้นได้อ่านและ อธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยแถลงว่าจะขอปรึกษากับทนายความก่อนโดยจะขอให้การนัดในนัดหน้า หากนัดหน้าจําเลยไม่ให้การให้ถือว่าจําเลยรับสารภาพ ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสอบถามคําให้การ จําเลยและนัดสืบพยานโจทก์ในนัดหน้า เมื่อถึงวันนัดหน้า โจทก์และจําเลยมาศาล ส่วนทนายจําเลย ไม่มาศาล จําเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่ายังไม่ได้พบกับทนายจําเลยและไม่พร้อมที่จะให้การในวันนี้ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ถือว่าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังต่อไปนี้ชอบหรือไม่

(1) ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังโดยไม่มีทนายความของจําเลยอยู่ด้วย

(2) คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ถือว่าจําเลยให้การรับสารภาพ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคสอง “เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และ ศาลเชื่อว่าเป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้จดไว้ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป”

มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

โดยหลัก ในการพิจารณาคดีอาญาที่มีอัตราโทษจําคุกนั้น ก่อนที่ศาลจะเริ่มทําการพิจารณาคดี ชาลต้องถามจําเลยก่อนว่ามีทนายความหรือไม่ ซึ่งถ้าจําเลยไม่มีและต้องการทนายความ ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้ . ฉะนั้นกระบวนพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง) ซึ่งคําว่า ก่อนเริ่มพิจารณา หมายความว่า ก่อนที่ศาลจะเริ่มพิจารณาโดยอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังและสอบถาม คําให้การจําเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคสองนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

(1) การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ นะเลากลางคืนตาม ป.อาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก เมื่อจําเลยมีทนายความแล้ว แม้ทนายจําเลยได้มาอยู่ต่อหน้าศาลในเวลาที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง ก็ไม่ทําให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น เสียไป อีกทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติให้ทนายจําเลยจะต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลด้วยในเวลาที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้อง

จําเลยฟัง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังโดยไม่มีทนายความของจําเลยอยู่ด้วย จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 173 วรรคสอง

(2) ตาม ป.วิอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ได้กําหนดไว้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านและ อธิบายฟ้องให้จําเลยฟังแล้ว ให้ศาลถามจําเลยว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คําให้การ ของจําเลยให้จดไว้ ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป ย่อมแสดงว่า การที่จําเลยจะให้การหรือไม่ให้การเป็นสิทธิของจําเลย การที่จําเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นในนัดก่อนว่าจะให้การ ในนัดหน้า แม้นัดหน้าต่อมาจําเลยแถลงว่ายังไม่ได้พบทนายจําเลยและไม่พร้อมที่จะให้การในวันนี้ ย่อมมีผลเท่ากับ จําเลยไม่ยอมให้การ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไปโดยถือว่า จําเลยให้การปฏิเสธ (คําพิพากษาฎีกาที่ 7607/2542, 7972/2554)

ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ถือว่า จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

(1) การที่ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังโดยไม่มีทนายความของจําเลยอยู่ด้วยชอบด้วยกฎหมาย

(2) คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ถือว่าจําเลยให้การรับสารภาพไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. (ก) คดีแรก โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตายโดยเจตนา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยเจตนาจะยิงนายแก้วซึ่งเป็นคู่แฝดกับนายตา แต่ใช้อาวุธปืนยิงนายตาโดยสําคัญผิดตัว เป็นเหตุให้นายตาถึงแก่ความตาย

(ข) คดีหลัง โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายเอกตายโดยเจตนา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายเอก 1 นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายเอกแต่พลาดไปถูกนายโทตาย ทั้งสองคดีดังกล่าว หากไม่ปรากฏว่าจําเลยในแต่ละคดีหลงต่อสู้ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษ จําเลยในแต่ละคดีดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือ ที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) คดีแรก การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตายโดยเจตนา แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยเจตนาจะยิงนายแก้วซึ่งเป็นคู่แฝดกับนายตา แต่ได้ใช้อาวุธปืนยิงนายตาโดยสําคัญผิดตัวเป็นเหตุให้นายตา ถึงแก่ความตายนั้น แม้ตาม ป.อาญา มาตรา 61 จําเลยจะยกเอาความสําคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดย เจตนาไม่ได้ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจําเลยฆ่านายตาตาย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสําคัญ เพราะแตกต่างกัน ในตัวบุคคลที่เป็นวัตถุแห่งการกระทํา ดังนั้น แม้จําเลยจะไม่หลงต่อสู้ ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

(ข) คดีหลัง การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายเอกตายโดยเจตนา แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลย ใช้อาวุธปืนยิงนายเอก 1 นัด กระสุนปืน ม่ถูกนายเอกแต่พลาดไปถูกนายโทตายนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทาง พิจารณาจึงฟังได้ว่า จําเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่านายเอกตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 บทหนึ่ง และผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 60 อีกบทหนึ่ง

สําหรับความผิดบทเรกฐานพยายามฆ่านายเอกนั้น ตัวบุคคลซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทําตามที่ โจทก์ฟ้องและที่พิจารณาได้ความไม่แตกต่างกัน อีกทั้งความผิดตามฟ้องฐานฆ่าผู้อื่นรวมการกระทําความผิด ฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองด้วย ดังนั้น ศาลจึงมีอํานาจที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิด ฐานพยายามฆ่านายเอกตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตามที่พิจารณาได้ความได้ (ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก)

ส่วนความผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดอีกบทหนึ่งนั้น เมื่อตัวบุคคลอันเป็นวัตถุแห่งการกระทํา ตามที่พิจารณาได้ความคือนายโทเป็นบุคคลคนละคนกับนายเอกตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ข้อเท็จจริงที่ ได้ความจากทางพิจารณาจึงแตกต่างจากฟ้องในข้อสาระสําคัญ ดังนั้น แม้จําเลยจะไม่หลงต่อสู้ ศาลก็จะพิพากษา ลงโทษจําเลยในความผิดบทนี้ไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

สรุป

(ก) คดีแรก ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตามฟ้องไม่ได้

(ข) คดีหลัง ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานพยายามฆ่านายเอกได้ แต่จะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดไม่ได้

 

ข้อ 4. นายศีลบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายบุญเป็นโจทก์ฟ้องว่านายเอกจําเลยที่ 1 และนายโทจําเลยที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าเด็กชายบุญผู้เสียหายขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจําเลยทั้งสองพยายามฆ่าเด็กชายบุญผู้เสียหาย แต่ฟังได้ว่า จําเลยที่ 2 ทําร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 โดยจําเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทําความผิดกับจําเลยที่ 2 พิพากษาจําคุกจําเลยที่ 2 มีกําหนด 7 ปี ส่วนจําเลยที่ 1 พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าจําเลยทั้งสองกระทําผิดฐานพยายามฆ่าเด็กชายบุญ ขอให้ลงโทษตามฟ้อง นายโทจําเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทําผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้เสียหาย ได้รับอันตรายสาหัสขอให้พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยทั้ง 2 กระทําความผิดฐานพยายามฆ่าเด็กชายบุญ ขอให้ลงโทษตามฟ้องโดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ สวนนายโทจําเลยที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้กระทําผิด ฐานทําร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์และจําเลยที่ 2 ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 216 วรรคหนึ่ง “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 217 ถึง 221 คู่ความมีอํานาจฎีกาคัดค้าน คําพิพากษา หรือคําสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น ให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง”

มาตรา 218 “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และ ให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษจําคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจําคุก จําเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง”

มาตรา 220 “ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์”

มาตรา 221 “ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218 219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ วิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้น เป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการ ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์และจําเลยที่ 2 ได้หรือไม่ แยก วินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลลงโทษจําเลยทั้งสองฐานพยายามฆ่า ด.ช.บุญ ผู้เสียหายตามคําฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ข้อหาความผิดนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 220 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 492/2536) ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยทั้งสอง กระทําความผิดฐานพยายามฆ่า ด.ช.บุญ ขอให้ลงโทษตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการรับฟัง พยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์จึงถูกต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 220

แต่อย่างไรก็ดีเมื่ออัยการสูงสุดได้รับรองให้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 221 ทั้งบทบัญญัติ ดังกล่าวมิได้จํากัดว่าคดีที่อัยการสูงสุดจะรับรองให้ฎีกาได้นั้นจะต้องเป็นคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เท่านั้น อัยการสูงสุดย่อมมีอํานาจรับรองให้ฎีกาในความผิดที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ได้ด้วย ดังนั้น กรณีนี้ศาลชั้นต้นจึงสามารถ รับฎีกาของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 220 ประกอบมาตรา 221

กรณีของนายโทจําเลยที่ 2 การที่นายโทจําเลยที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้กระทําผิดฐานทําร้ายร่างกาย ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสขอให้ยกฟ้องนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็น การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจําเลยที่ 2 ทําร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 พิพากษาลงโทษจําคุก 7 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนและลงโทษจําคุกจําเลยที่ 2 เกิน 5 ปี กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคสอง ซึ่ง ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ไม่ได้ห้ามจําเลย ดังนั้นนายโทจําเลยที่ 2 จึงสามารถยื่นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคสอง ศาลชั้นต้นจึงมีคําสั่ง รับฎีกาของนายโทจําเลยที่ 2 ได้

สรุป ศาลชั้นต้นสามารถมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์และจําเลยที่ 2 ได้

 

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นางดีเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยใช้อาวุธมีดฟันทําร้ายนายขาวบุตรผู้เยาว์ของตน เป็นเหตุให้นายขาวได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ศาลไต่สวน มูลฟ้องแล้วมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา จําเลยให้การปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ เมื่อสืบพยานโจทก์ เสร็จแล้ว ระหว่างสืบพยานจําเลย โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าขณะยื่นฟ้องนายขาว เพียงแต่ได้รับอันตรายสาหัส บัดนี้ปรากฎว่าถึงแก่ความตายแล้วเนื่องจากบาดแผลที่ถูกฟันทําร้าย ติดเชื้ออย่างรุนแรง จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 จําเลยรับสําเนาคําร้องแล้ว ยื่นคําร้องคัดค้านว่าคดีนี้ศาลได้สืบพยานโจทก์จนเสร็จแล้ว คงเหลือสืบพยานจําเลยเพียงปากเดียว จึงไม่มีเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องและโจทก์ขอเพิ่มเติม ฐานความผิดโดยพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนในฐานความผิดที่ขอแก้มาก่อนด้วย หากศาลจะอนุญาตให้แก้ฟ้องก็ควรจะสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ศาสพิจารณาแล้วมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ โดยมิได้มีคําสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าคําสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนใน ความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้

(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลย โดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)”

มาตรา 163 วรรคหนึ่ง “เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอํานาจยื่นคําร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง ก่อนมีคําพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้ว ให้ส่งสําเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จําเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสํานวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้”

มาตรา 164 “คําร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทําให้จําเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องก็ดี การเพิ่มเติมฐานความผิด หรือรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ก็ดีไม่ว่าจะทําเช่นนี้ในระยะใดระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทําให้จําเลย เสียเปรียบ เว้นแต่จําเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางดีเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยใช้อาวุธมีดฟันทําร้ายนายขาว บุตรผู้เยาว์ของตน เป็นเหตุให้นายขาวได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตาม ป.อาญา มาตรา 297 นั้น เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องนายขาวยังไม่ถึงแก่ความตาย แต่ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณานายขาวถึงแก่ความตาย

กรณีนี้จึงถือว่ามีเหตุอันควรที่โจทก์มีอํานาจยื่นคําร้องต่อศาลขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นขอให้ลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 290 ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง) อีกทั้งการแก้ไขฐานความผิดที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าจําเลยให้การปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ แสดงว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงถือไม่ได้ว่าจะทําให้จําเลยเสียเปรียบ ในการต่อสู้คดีอันจักต้องห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 164

และเมื่อคดีนี้เป็นคดีที่นางดีราษฎรเป็นโจทก์ มิใช่คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องอันจะต้อง อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ซึ่งห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีใดโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น มาก่อน ดังนั้น การที่นางดีโจทก์ยื่นคําร้องขอเพิ่มเติมฐานความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 297 เป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 290 แม้จะไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในฐานความผิดที่ขอแก้มาก่อน โจทก์ก็สามารถ ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้

และตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ซึ่งกําหนดให้ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนในคดีที่ราษฎร เป็นโจทก์นั้นก็เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับแก่คําฟ้องเริ่มคดีเท่านั้น แต่คําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดนั้น มิใช่คําฟ้องเริ่มคดีที่จะเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะต้องสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนแต่อย่างใด อีกทั้ง ป.วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง ก็ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า หากเข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้แล้ว ถ้าศาลเห็นสมควร จะอนุญาตหรือจะสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนได้ ซึ่งถือเป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้น การที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์ แก้ฟ้องได้โดยมิได้มีคําสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 และมาตรา 288 ซึ่งความผิดตามมาตรา 288 มีระวางโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปี ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลย มาศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังแล้ว จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นให้สืบพยานโจทก์ประกอบคํารับสารภาพของจําเลย เมื่อคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้น ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์แล้วเห็นว่า การกระทําของจําเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288

ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ตามที่พิจารณาได้ความหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ตามที่พิจารณาได้ความหรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อาญา มาตรา 72 และมาตรา 288 แม้ความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 จะมีระวางโทษตามที่กฎหมาย กําหนดให้ประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปี แต่เมื่อคําฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จําเลยกระทําโดยบันดาลโทสะตาม ป.อาญา มาตรา 72 ซึ่งศาลจะลงโทษจําเลยน้อยกว่าที่กฎหมายได้กําหนดไว้ สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้นั้น ย่อมมีผลให้ความผิดตามฟ้องของโจทก์ไม่มีอัตราโทษจําคุกอย่างต่ํา จึงมิใช่ เป็นคดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลจะต้อง ฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คดีนี้เมื่อจําเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยได้โดยไม่จําต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป

ส่วนการที่ศาลชั้นต้นให้สืบพยานโจทก์ประกอบคํารับสารภาพของจําเลยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จําเลยกระทําผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 โดยมิใช่เป็นการกระทําโดยบันดาลโทสะนั้น ศาลชั้นต้นก็จะลงโทษ จําเลยตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องแล้วว่า จําเลยกระทําความผิดโดยบันดาลโทสะ โดยศาลไม่จําต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนํามาสืบ (คําพิพากษาฎีกาที่ 11817/2556)

สรุป

ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ตามที่พิจารณา ได้ความไม่ได้

 

ข้อ 3. (ก) คดีแรก โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตายโดยเจตนา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยเจตนาจะยิงนายแก้วซึ่งเป็นคู่แฝดกับนายตา แต่ใช้อาวุธปืนยิงนายตาโดยสําคัญผิดตัว เป็นเหตุให้นายตาถึงแก่ความตาย

(ข) คดีหลัง โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายเอกตายโดยเจตนา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายเอก 1 นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายเอก แต่พลาดไปถูกนายโทตาย ทั้งสองคดีดังกล่าว หากไม่ปรากฏว่าจําเลยในแต่ละคดีหลงต่อสู้ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษ จําเลยในแต่ละคดีดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือ ที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) คดีแรก การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตายโดยเจตนา แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยเจตนาจะยิงนายแก้วซึ่งเป็นคู่แฝดกับนายตา แต่ได้ใช้อาวุธปืนยิงนายตาโดยสําคัญผิดตัวเป็นเหตุให้นายตา ถึงแก่ความตายนั้น แม้ตาม ป.อาญา มาตรา 61 จําเลยจะยกเอาความสําคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดย เจตนาไม่ได้ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจําเลยฆ่านายตาตาย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสําคัญ เพราะแตกต่างกัน ในตัวบุคคลที่เป็นวัตถุแห่งการกระทํา ดังนั้น แม้จําเลยจะไม่หลงต่อสู้ ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

(ข) คดีหลัง การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายเอกตายโดยเจตนา แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลย ใช้อาวุธปืนยิงนายเอก 1 นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายเอกแต่พลาดไปถูกนายโทตายนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทาง พิจารณาจึงฟังได้ว่า จําเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่านายเอกตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 บทหนึ่ง และผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 60 อีกบทหนึ่ง

สําหรับความผิดบทแรกฐานพยายามฆ่านายเอกนั้น ตัวบุคคลซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทําตามที่ โจทก์ฟ้องและที่พิจารณาได้ความไม่แตกต่างกัน อีกทั้งความผิดตามฟ้องฐานฆ่าผู้อื่นรวมการกระทําความผิด ฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองด้วย ดังนั้น ศาลจึงมีอํานาจที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิด ฐานพยายามฆ่านายเอกตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตามที่พิจารณาได้ความได้ (ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก)

ส่วนความผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดอีกบทหนึ่งนั้น เมื่อตัวบุคคลอันเป็นวัตถุแห่งการกระทํา ตามที่พิจารณาได้ความคือนายโทเป็นบุคคลคนละคนกับนายเอกตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ข้อเท็จจริงที่ ได้ความจากทางพิจารณาจึงแตกต่างจากฟ้องในข้อสาระสําคัญ ดังนั้น แม้จําเลยจะไม่หลงต่อสู้ ศาลก็จะพิพากษา ลงโทษจําเลยในความผิดบทนี้ไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

สรุป

(ก) คดีแรก ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตามฟ้องไม่ได้

(ข) คดีหลัง ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานพยายามฆ่านายเอกได้ แต่จะ พิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดไม่ได้

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าจําเลยได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โตโยต้าอัลติส หมายเลขทะเบียน วว 1234 กรุงเทพมหานคร จากผู้เสียหาย แม้จําเลยจะมีสิทธิ์ใช้สอยและครอบครองรถยนต์ตาม สัญญาเช่าซื้อ แต่รถยนต์คันดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย การที่จําเลยได้นํารถยนต์ คันดังกล่าวไปขายให้นายเอบุคคลภายนอก ถือได้ว่าจําเลยเบียดบังเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปเป็น ของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยทุจริตจึงขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือ ทั้งจําทั้งปรับ จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อ กับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด ตามฟ้องพิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปี จําเลยยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจําเลยไม่มีเจตนากระทําผิดตามฟ้อง จําเลยได้ทําสัญญา เช่าซื้อรถยนต์จากผู้เสียหาย ครอบครองและใช้รถยนต์นั้นโดยเปิดเผยโดยได้ชําระค่าเช่าซื้อเรื่อยมา จํานวนถึง 3 งวดติดต่อกัน ต่อมาจําเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถยนต์ให้นายเอ โดยทําความตกลง กับนายเอ ให้นายเอเป็นผู้ชําระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจําเลย ยังมิใช่การ เอารถยนต์ทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่นายเอ โดยมีข้อตกลงให้นายเอมีหน้าที่ต้องชําระค่าเช่าซื้อต่อไป จําเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถยนต์ดังกล่าว เป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต จําเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง ทั้งนี้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคําพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสิน เป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะ เหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้ พิจารณาต่อไป”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าจําเลยได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากผู้เสียหาย แล้วเบียดบังเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต โดยได้นํารถยนต์คันดังกล่าวไปขาย ให้แก่นายเอบุคคลภายนอก จึงขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานยักยอกตาม ป.อาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จําเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าจําเลยไม่ได้ กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อกับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย และศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามฟ้องพิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปีนั้น

การที่จําเลยยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จําเลยไม่มีเจตนากระทําผิดตามฟ้อง จําเลย ได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากผู้เสียหาย ครอบครองและใช้รถยนต์นั้นโดยเปิดเผยโดยได้ชําระค่าเช่าซื้อเรื่อยมา จํานวน 3 งวดติดต่อกัน ต่อมาจําเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถยนต์แก่นายเอ โดยทําความตกลงกับนายเอ ให้นายเอเป็นผู้ชําระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจําเลย ยังมิใช่การเอารถยนต์ทรัพย์สินของ ผู้ให้เช่าซื้อไปขาย แต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่นายเอ โดยมีข้อตกลงให้นายเอมีหน้าที่ต้อง ชําระค่าเช่าซื้อต่อไป จําเลยจึงไม่ได้เบียดบังเอารถยนต์ดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต จําเลยย่อม ไม่มีความผิดฐานยักยอกนั้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งแม้ว่าจะไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (1) แต่อย่างไรก็ดี ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 นั้น ได้วางหลักไว้ว่า ปัญหาข้อเท็จจริง ที่จะยกขึ้นอุทธรณ์จะต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ข้อเท็จจริงที่จําเลยได้กล่าวไว้ ในอุทธรณ์เป็นข้อเท็จจริงที่จําเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่พิจารณาซึ่งได้ลงชื่อในคําพิพากษา ในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายให้อํานาจไว้แต่อย่างใด เนื่องจากตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรีนั้น ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาจะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ก็แต่เฉพาะกรณีอุทธรณ์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ เท่านั้น ดังนั้น กรณีดังกล่าวศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป

ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณาไม่ได้

 

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทําความผิดของจําเลยว่า จําเลยออกเช็คเพื่อชําระหนี้ ตามสัญญารับสภาพหนี้ให้นายละมุดและได้แนบสําเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้องด้วย เมื่อนายละมุดได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ การบรรยายฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดกฎหมายหรือไม่ หากคําฟ้องของโจทก์ ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดและศาลมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องแล้ว โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้ มาฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ โดยบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบของความผิดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด หมายเหตุ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 “ผู้ใดออกเช็ค เพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

มาตรา 158 “ฟ้อง ต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับ เวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลย เข้าใจข้อหาได้ดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การกระทําที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 นั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งเป็นองค์ประกอบของ การกระทําความผิดมิใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนําสืบในชั้นพิจารณา

การที่โจทก์ฟ้องจําเลยโดยบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จําเลยออกเช็คเพื่อชําระหนี้ตาม สัญญารับสภาพหนี้ และแนบสําเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบ ของความผิด เพราะการรับสภาพหนี้มีได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เท่านั้น ดังนั้น คําฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5) (คําพิพากษาฎีกาที่ 307/2549)

2 การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะฟ้องโจทก์บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของ ความผิดนั้น ถือว่าศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อม ระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) หากโจทก์นําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ย่อมเป็นฟ้องซ้ํา ต้องห้ามตามกฎหมาย ดังนั้น กรณีดังกล่าวนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่โดยบรรยายฟ้องให้ถูกต้อง ได้อีก (คําพิพากษาฎีกาที่ 770/2546)

สรุป การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด และเมื่อศาลมีคําพิพากษา ให้ยกฟ้องแล้ว โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ โดยบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบของ ความผิดไม่ได้

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในขณะที่จําเลยมีอายุ 28 ปี ขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสี่ ก่อนเริ่มพิจารณาศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ จําเลย ตอบว่าไม่มี แต่จําเลยไม่ต้องการทนายความเพราะสํานึกผิดในการกระทํา ดังนี้ หากศาลพิจารณาคดีไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จําเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสี่ “ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทําโดยร่วมกระทําความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง หรือกระทํากับเด็กชายในลักษณะเดียวกันหรือได้กระทําโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 173 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จําเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี และจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักไว้ว่า ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จําเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

แต่ถ้าเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก (ไม่ว่าจะเป็นโทษจําคุกที่มีกําหนดเวลาหรือเป็นโทษจําคุก ตลอดชีวิต) ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในขณะที่จําเลยมีอายุ 29 ปี ขอให้ลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 277 วรรคสี่ ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก จึงเข้าหลักตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ที่ได้กําหนดไว้ว่า ก่อนเริ่มพิจารณาศาลต้องถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและ จําเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อศาลถามจําเลยว่ามีทนายความ หรือไม่ จําเลยตอบว่าไม่มี แต่จําเลยไม่ต้องการทนายความ

ดังนี้ศาลจึงไม่ต้องตั้งทนายความให้ และหากศาล พิจารณาคดีไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จําเลย การพิจารณาคดีของศาลย่อมชอบด้วยกฎหมาย

สรุป หากศาลพิจารณาคดีไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จําเลย การพิจารณาคดีของศาลในกรณีนี้ ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายไมโลซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทางอยู่บริเวณป้ายจอดถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 (ฟ้องถูกต้อง ตามกฎหมายทุกประการ) ทางพิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องว่า

(ก) จําเลยขับรถยนต์ชนนายไมโลซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทางอยู่บริเวณป้ายจอดถึงแก่ความตายโดยเจตนา โดยสําคัญผิดว่านายไมโลคือนายโกโก้คู่อริของจําเลยกรณีหนึ่ง

(ข) จําเลยขับรถยนต์ชนนายโกโก้ซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทางอยู่บริเวณป้ายจอดโดยสําคัญผิดว่านายโกโก้คือนายไมโล และจากทั้งสองกรณีในข้างต้น ไม่ปรากฏว่าจําเลยได้ลงต่อสู้ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย ประกอบ

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 “ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอหรือ ที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง โดยหลักให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริง ที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายไมโล ซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทาง อยู่บริเวณป้ายจอดถึงแก่ความตาย แต่ทางพิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องว่า จําเลยขับรถยนต์ชนนายไมโล ถึงแก่ความตายโดยเจตนา โดยสําคัญผิดว่านายไมโลคือนายโกโก้คู่อริของจําเลย ซึ่งตามกฎหมายจําเลยไม่อาจยกเอา ความสําคัญผิดขึ้นมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดยเจตนาต่อนายไมโลนั้น ข้อแตกต่างกันระหว่างการกระทํา โดยเจตนากับประมาทตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าข้อแตกต่างเช่นว่านี้เป็นเพียงรายละเอียดมิให้ ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ เมื่อไม่ปรากฏว่าจําเลยหลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอํานาจตามมาตรา 192 วรรคสาม ประกอบวรรคสองที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานฆ่านายไมโลตายโดยเจตนาตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ นั้นได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องฐานประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม

(ข) การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถโดยประมาทชนนายไมโลถึงแก่ความตายนั้น วัตถุแห่งการกระทํา ตามฟ้องคือนายไมโล แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณากลับได้ความว่า ผู้ตายซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทํา คือนายโกโก้จึงเป็นการแตกต่างกันในสาระสําคัญ แม้จําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลก็ต้องพิจารณายกฟ้องโจทก์เสีย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบวรรคสอง ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ แม้ข้อแตกต่างกัน ระหว่างการกระทําโดยเจตนากับประมาทนั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม จะบัญญัติมิให้ถือว่า แตกต่างกันในข้อสาระสําคัญก็ตาม

สรุป

กรณีตาม (ก) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้ แต่จะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่ กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

กรณีตาม (ข) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่านายเอจําเลยที่ 1 และนายบี จําเลยที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่านายซวยผู้เสียหาย ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ว่าไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จําเลยทั้งสองพยายามฆ่านายซวยผู้เสียหาย แต่ฟังได้ว่าจําเลยที่ 2 ทําร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับ อันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 โดยจําเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทําผิดกับ จําเลยที่ 2 ที่พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยที่ 2 มีกําหนด 6 ปี ส่วนจําเลยที่ 1 พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าจําเลยทั้งสองกระทําผิดฐานพยายามฆ่านายซวยขอให้ลงโทษตามฟ้องนายบี จําเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า ไม่ได้กระทําผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยทั้ง 2 กระทําความผิดฐานพยายามฆ่านายซวย ขอให้ลงโทษตามฟ้อง ส่วนนายบีจําเลยที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้กระทําผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้เสียหาย ได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์และจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 216 วรรคหนึ่ง “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 217 ถึง 221 คู่ความมีอํานาจฎีกาคัดค้าน คําพิพากษา หรือคําสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น ให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง”

มาตรา 218 “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และ ให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษจําคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจําคุก จําเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง”

มาตรา 220 “ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์และจําเลยที่ 2 ได้หรือไม่ แยก วินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลลงโทษจําเลยทั้งสองฐานพยายามฆ่านายซวย ผู้เสียหายตามคําฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ข้อหาความผิดนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิพากษา ยกฟ้องโจทก์คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 220 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 492/2536) ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยทั้งสอง กระทําความผิดฐานพยายามฆ่านายซวยขอให้ลงโทษตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการรับฟัง พยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์จึงถูกต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 220 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่สามารถรับฎีกาของโจทก์

กรณีของนายบีจําเลยที่ 2 การที่นายบีจําเลยที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้กระทําผิดฐานทําร้ายร่างกาย ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสขอให้ยกฟ้องนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจําเลยที่ 2 ทําร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับ อันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 พิพากษาลงโทษจําคุก 6 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและลงโทษจําคุกจําเลยที่ 2 เกิน 5 ปี กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคสอง ซึ่งห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ไม่ได้ห้ามจําเลย ดังนั้นนายจําเลยที่ 2 จึงสามารถยื่นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคสอง ศาลชั้นต้น จึงมีคําสั่งรับฎีกาของนายบีจําเลยที่ 2 ได้

สรุป ศาลชั้นต้นไม่สามารถรับฎีกาของโจทก์ แต่สามารถรับฎีกาของนายบีจําเลยที่ 2 ได้

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายดําเป็นโจทก์ฟ้องว่า นายแดงลักทรัพย์ของนายดําไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 331 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ปรากฏว่า คดีเรื่องเดียวกันนี้ พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายแดงเป็นจําเลยด้วย แต่พนักงานอัยการเห็นว่า การกระทําของนายแดงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง จึงยื่นฟ้องนายแดงจําเลยฐานฉ้อโกงตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 341 และศาลมีคําสั่งประทับฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ให้แยกวินิจฉัยตามประเด็นดังนี้

(ก) คดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยฐานลักทรัพย์ ศาลจะมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนได้หรือไม่

(ข) หากศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยแล้วเห็นว่า คดีมีมูลจึงมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา นายแดงจําเลยอุทธรณ์ว่า คดีไม่มีมูล ขอให้ยกฟ้อง โดยนายเดช ผู้พิพากษาที่นั่ง ต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อในคําสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของนายแดง ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้

(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลย โดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)

(2) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้

ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพให้ศาลประทับฟ้องไว้ พิจารณา”

มาตรา 170 วรรคหนึ่ง “คําสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คําสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้น โจทก์มีอํานาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญอัน ควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมาย ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ได้บัญญัติไว้ว่าในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ให้ศาลไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกัน ก็ให้จัดการตามอนุมาตรา (2) กล่าวคือ ศาล ไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายดําได้เป็นโจทก์ฟ้องนายแดงเป็นจําเลยฐานลักทรัพย์ แต่พนักงานอัยการฟ้องนายแดงฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นคนละข้อหากับที่ราษฎรฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ที่จะจัดการตามอนุมาตรา (2) ได้ ดังนั้นคดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยฐาน ลักทรัพย์ศาลจะต้องมีคําสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลจะมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องก่อน ไม่ได้

(ข) หากศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลย แล้วเห็นว่าคดีมีมูลจึงมีคําสั่ง ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณานั้น คําสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นายแดงจําเลยจะอุทธรณ์ว่าคดีไม่มีมูลไม่ได้ แม้ว่านายเดชผู้พิพากษาที่นั่งไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อ ในคําสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรี ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า เฉพาะคดีที่ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ เท่านั้น จึงจะเข้าเกณฑ์ที่จะให้มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ได้ ดังนั้น อุทธรณ์ของนายแดงจําเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 170 วรรคหนึ่ง

สรุป

(ก) คดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยฐานลักทรัพย์ ศาลจะมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องก่อนไม่ได้

(ข) อุทธรณ์ของนายแดงต้องห้ามตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษความผิดฐานลักทรัพย์ ตามมาตรา 334 ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท ส่วนความผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 ระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในวัน นัดพิจารณา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลยทั้งสองมาศาล ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยทั้งสอง ฟังแล้ว จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในข้อหาความผิดฐานรับของโจรและไม่ติดใจสืบพยานจําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงขอสืบพยาน เมื่อศาลที่พิจารณาและสืบพยานโจทก์และจําเลยที่ 2 เสร็จ หากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ฐาน รับของโจรตามที่จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ส่วนพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 2 กระทําผิดตามฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ได้หรือไม่ และจะพิพากษาสําหรับ จําเลยที่ 2 อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”

มาตรา 135 วรรคหนึ่ง “ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็น ความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจําเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”

วินิจฉัย กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของจําเลยที่ 1 การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐาน ลักทรัพย์หรือรับของโจรเพียงข้อหาใดข้อหาหนึ่งข้อหาเดียว ซึ่งความผิดแต่ละข้อหามิใช่ความผิดที่กฎหมายกําหนด อัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ในข้อหารับของโจร ก็ต้องถือว่าโจทก์พอใจคําสารภาพของจําเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น แม้พยานหลักฐานที่โจทก์ นํามาสืบจะฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐาน ลักทรัพย์ไม่ได้ ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรตามที่จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

กรณีของจําเลยที่ 2 การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 2 ในความผิด ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่จําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงขอสืบพยาน เมื่อศาลพิจารณาและสืบพยาน โจทก์และจําเลยที่ 2 เสร็จ เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 2 กระทําผิดตามฟ้อง กรณีต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจําเลยไป ดังนั้น ศาลจึง ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์และปล่อยจําเลยที่ 2 ไป

สรุป

ศาลจะลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ และต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยที่ 2 ไป

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์สร้อยคอทองคําของนางสาวมดแดงผู้เสียหายโดยจําเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์สร้อยคอทองคําของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยใช้กําลังประทุษร้าย ขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อาญา มาตรา 339, 83 จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ทาง พิจารณาฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวใช้มือซ้ายดึงคอเสื้อของผู้เสียหายและใช้มือขวากระชาก สร้อยคอทองคําหนักเพียงสองสลึงขาดติดมือไปอันมิใช่เป็นการกระทําโดยใช้กําลังประทุษร้ายตามที่ บรรยายมาในฟ้อง การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐาน วิ่งราวทรัพย์ แล้วจําเลยที่ 1 วิ่งไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จําเลยที่ 2 ติดเครื่องรถจักรยานยนต์ รออยู่ที่บริเวณปากซอยห่างที่เกิดเหตุประมาณ 300 เมตร พากันขับขี่หลบหนีไป จําเลยที่ 2 จึงมิใช่ เป็นตัวการร่วมกระทําผิดกับจําเลยที่ 1 แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนจําเลยที่ 1 กระทําผิดเท่านั้น โดยไม่

ปรากฏว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 หลงต่อสู้ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษา ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่ มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 339 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวใช้มือซ้ายดึงคอเสื้อของผู้เสียหาย และใช้มือขวากระชากสร้อยคอทองคําหนักเพียงสองสลึงขาดติดมือไป มิใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้าย อันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 339 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กิริยา ฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จําเลยที่ 1 ลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้าและมิได้มีคําขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 ด้วย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนั้น ศาลจะลงโทษจําเลย ที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องนั้น รวมการกระทําหลายอย่างซึ่งแต่ ละอย่างอาจเป็นความผิดได้ในตัวเอง เมื่อศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าจําเลยที่ 1 กระทําความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ซึ่งเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แม้ศาลจะลงโทษจําเลยฐานวิ่งราว ทรัพย์ไม่ได้ ศาลก็ลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก

ส่วนกรณีที่โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันกระทําความผิดกับจําเลยที่ 1 ตาม ป.อาญา มาตรา 83 นั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จําเลยที่ 1 วิ่งราวทรัพย์ของผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวแล้ววิ่งไป ขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จําเลยที่ 2 ติดเครื่องรออยู่ที่ปากซอยห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 300 เมตร พากัน ขับขี่หลบหนีไป การกระทําของจําเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น มิใช่เป็นตัวการร่วมกันกระทําความผิด กับจําเลยที่ 1 แต่ความผิดฐานเป็นตัวการตามฟ้องของโจทก์นั้น รวมการกระทําความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นความผิดได้ในตัวเอง ดังนั้น ศาลจึงลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก

สรุป ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ และพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหาทําร้ายร่างกายผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จําเลยให้การ รับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องจําเลยให้การรับสารภาพฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ ตามฟ้อง โดยไม่สืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้องพิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปี โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี เนื่องจากจําเลยได้กระทําความผิดครั้งแรกและ รู้สํานึกในความผิดแห่งตน จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่ได้กระทําผิดขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณา และลงชื่อในคําพิพากษาศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสําคัญอันควร สู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ และโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจําเลยโดยไม่รอ การลงโทษ

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้ พิจารณาต่อไป”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรบอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของจําเลย

การที่จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องนั้น จะเห็นได้ว่าอุทธรณ์ของจําเลยเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่มีผลเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ ซึ่งแตกต่างไปจาก คําให้การของจําเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง ซึ่งจําเลย ให้การรับสารภาพโดยไม่สืบพยานหลักฐานว่าจําเลยกระทําผิดตามฟ้อง ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจําเลยจึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 ดังนั้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและซึ่งลงชื่อในคําพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็ไม่มีผลให้เป็นอุทธรณ์ที่ จะรับไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรี

กรณีของโจทก์

การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจําเลยโดยไม่รอการลงโทษนั้น เป็นการอุทธรณ์ โต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ ลงโทษจําเลย ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายตาม ป.อาญา มาตรา 295 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ อันเป็นอุทธรณ์ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้น ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายแดงเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยทําร้ายร่างกายนายขาวบุตรชายของตน เป็นเหตุให้นายขาวได้รับอันตรายสาหัสจนไม่สามารถจัดการเองได้ ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว มีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้ พิจารณา ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า นายขาวถึงแก่ ความตายเพราะบาดแผลที่ถูกจําเลยทําร้ายขอให้ลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ นายขาวถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 จําเลยรับสําเนาคําร้องขอแก้ฟ้องแล้ว ยื่นคําร้องคัดค้านว่า โจทก์ขอเพิ่มเติมฐานความผิดโดยที่พนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนเพิ่มเติม มาก่อน อีกทั้งกรณีไม่มีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องได้ ขอให้ยกคําร้องขอแก้ฟ้อง ศาสพิจารณา แล้วมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ให้วินิจฉัยตาม ประเด็น ดังนี้

(ก) คําร้องคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่

(ข) ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีโดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนใน ความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสังต่อไปนี้

(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลย โดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)”

มาตรา 163 วรรคหนึ่ง “เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอํานาจยื่นคําร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง ก่อนมีคําพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้ว ให้ส่งสําเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จําเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสํานวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายแดงเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยทําร้ายร่างกายนายขาวบุตรชายของตน เป็นเหตุให้ นายขาวได้รับอันตรายสาหัสจนไม่สามารถจัดการเองได้นั้น มิใช่คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องอันจะต้องอยู่ใน บังคับแห่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ซึ่งห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีใดโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น มาก่อน ดังนั้น การที่นายแดงโจทก์ยื่นคําร้องขอเพิ่มเติมฐานความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 297 เป็นความผิด “ตาม ป.อาญา มาตรา 290 แม้จะไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนเพิ่มเติมแล้ว ก็หาเป็นการไม่ชอบด้วย กฎหมายไม่ ส่วนที่จําเลยคัดค้านว่า เป็นกรณีไม่มีเหตุอันควรนั้น การที่นายขาวถึงแก่ความตายภายหลังโจทก์ยื่นฟ้อง ถือเป็นเหตุที่โจทก์ไม่อาจรู้ได้ตั้งแต่ขณะยื่นคําฟ้อง จึงต้องถือว่ามีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ดังนั้น คําร้องคัดค้านของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้นทุกข้อ

(ข) การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คําร้องขอแก้ฟ้องโดยเพิ่มเติมฐานความผิดนั้น มิใช่คําฟ้องเริ่มคดีที่จะเข้าเกณฑ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ที่ศาลจะต้องสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน อีกทั้ง ป.วิ.อาญา มาตรา 153 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า หากเข้า หลักเกณฑ์ที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้แล้ว ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งไต่สานมูลฟ้องก่อนก็ได้ ซึ่งถือเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณามีคําสั่งดังกล่าวได้โดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นการแก้ฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์หรือราษฎรเป็นโจทก์ก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ย่อมชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง

สรุป

(ก) คําร้องคัดค้านของจําเลยฟังไม่ขึ้น

(ข) ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องโดยชอบขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) ซึ่งระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลยทั้งสอง และทนายจําเลยที่ 1 มาศาล จําเลยที่ 2 แถลงว่ายังหา ทนายความไม่ได้ และจะหาทนายความเอง ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสอบ คําให้การจําเลยทั้งสองใหม่ และนัดสืบพยานโจทก์ในวันนัดถัดไป ครั้นในวันนัดถัดมา โจทก์และ จําเลยทั้งสองมาศาล จําเลยที่ 2 แถลงว่ายังหาทนายความไม่ได้ ขอให้ศาลตั้งทนายความให้ ศาลชั้นต้น เห็นว่า จําเลยที่ 2 รับว่าจะหาทนายความเอง แต่ในนัดนี้กลับจะขอให้ศาลตั้งทนายความให้ นับว่า ไม่มีเหตุสมควร จึงไม่มีเหตุจะตั้งทนายความให้ แล้วดําเนินกระบวนพิจารณาโดยอ่านและอธิบาย ฟ้องให้จําเลยทั้งสองฟัง จําเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสองตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคสอง “เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และ ศาลเชื่อว่าเป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้จดไว้ ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป”

มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่อดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสองตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐาน ต่อไปได้หรือไม่ เห็นว่า ความผิดที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติให้ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามข้เลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลย ต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ ซึ่งคําแถลงของจําเลยที่ 2 ในวันนัดสอบคําให้การจําเลยทั้งสองในนัด ถัดมาที่ว่า จําเลยที่ 2 ยังหาทนายความไม่ได้ และขอให้ศาลตั้งทนายความให้แก่จําเลยที่ 2 ย่อมแสดงว่าจําเลยที่ 2 ไม่มีทนายความ และประสงค์ให้ศาลตั้งทนายความให้ ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะดําเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะต้องตั้งทนายความให้แก่จําเลยที่ 2 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่ตั้งทนายความให้แก่จําเลยที่ 2 จึงเป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว กระบวนพิจารณาภายหลังจากนั้นย่อม เป็นการไม่ชอบด้วย แม้จําเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นก็จะมีคําพิพากษาอย่างใดต่อไปมิได้

และคดีในส่วนของจําเลยที่ 1 นั้น เมื่อปรากฏว่า ในวันนัดพิจารณานัดแรก ทนายจําเลยที่ 1 มาศาล แสดงว่าจําเลยที่ 1 มีทนายความแล้ว แม้ในวันนัดสอบคําให้การของจําเลยที่ 1 ถัดมา ทนายจําเลยที่ 1 ไม่มาศาล ศาลก็ชอบที่จะดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่อ่าน และอธิยายฟ้องให้จําเลยที่ 1 ฟัง และสอบคําให้การของจําเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบมาตรา 172 วรรคสอง

เมื่อปรากฏว่าข้อหาในความผิดที่โจทก์ฟ้องซึ่งจําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพนั้นกฎหมายมิได้ กําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องโดยชอบ ขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ โดยร่วมกันกระทําผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อาญา มาตรา 335 (7) และจําเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดตามฟ้องโจทก์ต่อไปได้

สรุป ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ แต่จะลงโทษจําเลยที่ 2 ตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์เพียงกรรมเดียว โดยบรรยายฟ้องว่า ในวันเกิดเหตุจําเลยลักเอาโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟนของผู้เสียหายไปโดยใช้กําลังประทุษร้ายเตะต่อยผู้เสียหายล้มลง ศีรษะกระแทกพื้นแตกเย็บ 4 เข็ม เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย เพื่อสะดวกแก่การ ลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 จําเลยให้การปฏิเสธ ทางพิจารณา ฟังได้ว่า จําเลยกับผู้เสียหายเป็นนักเรียนอาชีวะคู่อริกัน วันเกิดเหตุ จําเลยกับผู้เสียหายวิวาทชกต่อยกัน จําเลยเตะต่อยผู้เสียหายล้มลง ศีรษะกระแทกพื้นแตกเย็บ 4 เข็ม แต่บาดแผลติดเชื้อเป็นเหตุให้ ผู้เสียหายหน้าเสียโฉมอย่างติดตัว เป็นความผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (4) กรรมหนึ่ง และก่อนหน้าที่จําเลยจะหลบหนีไป จําเลย เห็นโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟนของผู้เสียหายตกอยู่ข้างตัวจึงหยิบเอาไปต่อหน้าผู้เสียหาย อันเป็น ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 อีกกรรมหนึ่ง ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่ มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า การที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์เพียงกรรมเดียว โดยบรรยายฟ้องว่า ในวันเกิดเหตุจําเลยลักเอาโทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อไอโฟนของผู้เสียหายไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย ซึ่งการใช้กําลังประทุษร้ายนั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่า จําเลยเตะต่อยผู้เสียหายล้มลงศีรษะกระแทกพื้นแตกเย็บ 4 เข็ม เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าบาดแผลติดเชื้อ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหน้าเสียโฉมอย่างติดตัวเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส ตาม ป.อาญา มาตรา 297 (4) ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะอันตรายสาหัสตามที่ พิจารณาได้ความนั้น โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง ต้องห้ามมิให้พิพากษาลงโทษตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความผิดตามฟ้องฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องนั้นรวม ความผิดฐานทําร้ายร่างกายซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยทําร้ายร่างกายผู้เสียหาย กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก ที่ศาล จะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อาญา มาตรา 295 ตามที่ พิจารณาได้ความได้ (เทียบตามนัยฎีกาที่ 1450/2529 และ 6416/2534)

และแม้ทางพิจารณาฟังได้ว่า ก่อนที่จําเลยจะหลบหนีไป จําเลยเห็นโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟน ของผู้เสียหายตกอยู่ข้างตัวจึงหยิบเอาไปต่อหน้าผู้เสียหาย จะเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการ กระทําผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญามาตรา 336 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง และมีคําขอให้ลงโทษ ฐานวิ่งราวทรัพย์มาด้วย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ต้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยใน ข้อเท็จจริงนั้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น ศาลจึงลงโทษจําเลยได้เพียงฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 เท่านั้น (เทียบฎีกาที่ 11865/2554)

ดังนั้น คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์เพียงกระทงเดียว แต่เมื่อทาง พิจารณาฟังได้ว่า จําเลยทําร้ายร่างกายผู้เสียหายตาม ป.อาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่งและฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง ศาลก็มีอํานาจ พิพากษาลงโทษจําเลยทุกกรรมและทุกกระทงความผิดที่พิจารณาได้ความได้ (เทียบฎีกาที่ 108/2546)

สรุป ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยได้ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับ อันตรายแก่กายตาม ป.อาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่ง

 

ข้อ 4.พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหายักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ โจทก์ได้บรรยายฟ้อง โดยกล่าวอ้างว่าจําเลยได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โตโยต้าอัลติส หมายเลขทะเบียน วว 1234 กรุงเทพมหานคร จากผู้เสียหาย แต่จําเลยกลับนํารถยนต์คันดังกล่าวไปขายให้ ส. บุคคลภายนอก ถือได้ว่าจําเลยมีเจตนาเบียดบังเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต จึงขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 จําเลยให้ การปฏิเสธอ้างว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อกับผู้เสียหาย รถยนต์ คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย ระหว่างพิจารณาจําเลยยื่นคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง จําเลยมิได้ดําเนินการโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้แต่อย่างใด ต่อมาเมื่อเสร็จสิ้น การพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยหนักขึ้น จําเลยอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จําเลยไม่ได้กระทํา ผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อกับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณาได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่ง อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก”

มาตรา 196 “คําสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทําให้คดีเสร็จสํานวน ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้น จนกว่าจะมีคําพิพากษาหรือคําสั่งในประเด็นสําคัญและมีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณา ได้หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

อุทธรณ์ในส่วนของโจทก์

ตามข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยหนักขึ้น ถือเป็น การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกําหนดโทษจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหายักยอกตาม ป.อาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จึงต้องห้ามอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ

อุทธรณ์ในส่วนของจําเลย

ตามข้อเท็จจริง การที่จําเลยอุทธรณ์ว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อ กับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยนั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟัง พยานหลักฐานจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องอัตราโทษอย่างสูงตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามฟ้อง และลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี จําเลยจึงสามารถอุทธรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (1)

และเมื่อมีอุทธรณ์ในเนื้อหาคําพิพากษา จําเลยจึงอุทธรณ์คําสั่งยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ซึ่งเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 196 แม้จําเลยจะมิได้โต้แย้งคําสั่งระหว่างพิจารณาไว้ก็ตาม เนื่องจากการอุทธรณ์คําสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา คู่ความไม่จําต้องโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ในภายหลังอย่างเช่นในคดีแพ่ง (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226)

สรุป ศาลชั้นต้นไม่สามารถรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ แต่สามารถรับอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นของจําเลยไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (1) และสามารถรับอุทธรณ์ในส่วนของการอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมไว้ พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 196

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558 นายละมุดเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดขอนแก่นว่า เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลากลางวัน จําเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ของโจทก์ได้ยักยอกเอาน้ำมันรถยนต์ 60 ลิตร ราคา 1,800 บาท ของโจทก็ไปโดยทุจริต เหตุเกิดที่ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โจทก์รู้เรื่องจําเลยกระทําความผิด เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2558 ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 353 และให้คืนน้ำมันรถยนต์หรือใช้ราคา 1,800 บาท แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องแล้วสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้ระบุวันที่รู้เรื่องจําเลยกระทําความผิด โจทก์ จึงแก้ฟ้องโดยระบุวันที่รู้เรื่องจําเลยกระทําความผิด เป็นวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ศาลชั้นต้นไต่สวน มูลฟ้องแล้วสั่งประทับฟ้อง จําเลยให้การปฏิเสธและคัดค้านว่าคําสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์แก้ไข คําฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ คําสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับ เวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี”

มาตรา 161 วรรคหนึ่ง “ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558 ว่าจําเลยได้กระทําความผิด ฐานยักยอกในวันที่ 5 มิถุนายน 2558 โดยบรรยายในฟ้องด้วยว่า โจทก์รู้เรื่องจําเลยกระทําความผิดเมื่อต้นเดือน มิถุนายน 2558 นั้น วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทําความผิดของจําเลยไม่เป็นองค์ประกอบของความผิด และไม่เป็น รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิดตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5) ที่โจทก์จะต้องบรรยายมา ในฟ้อง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อในขั้นตรวจคําฟ้องนั้นถ้าศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ระบุวันที่รู้เรื่องจําเลยกระทําความผิดเพื่อจะได้ทราบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอํานาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้ระบุวันที่โจทก์รู้เรื่องจําเลยกระทําความผิดให้ถูกต้องได้ (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 5095/2540) ดังนั้น คําสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้อง จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบวันหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในวันนัดพิจารณาโจทก์ จําเลยมาศาล ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง โดยมิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความก่อนที่จะอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยแถลง ให้การรับสารภาพตามฟ้องและไม่ติดใจสืบพยานโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจดรายงาน กระบวนพิจารณาว่า คดีเสร็จการพิจารณาให้นัดฟังคําพิพากษา ดังนี้ การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นสําหรับจําเลยดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ความผิดตามที่พนักงานอัยการโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379 นั้น จะมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5 พันบาท หรือทั้ง จําทั้งปรับ แต่เมื่อเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุกไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ดังนั้น คดีนี้การที่ศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังโดย มิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความก่อน จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว จึงมีผลทําให้กระบวน พิจารณาของศาลชั้นต้นนับแต่นี้เป็นต้นไปจนถึงนัดฟังคําพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นสําหรับจําเลยดังกล่าวไม่ชอบด้วย กฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายชะอมขณะที่นายชะอมกําลังข้ามทางม้าลายเป็นเหตุให้นายชะอมถึงแก่ความตาย หากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า

(ก) จําเลยเจตนาฆ่านายชะอม จึงขับรถยนต์ชนนายชะอมขณะที่นายชะอมกําลังข้ามทางม้าลาย กรณีหนึ่ง

(ข) จําเลยขับรถยนต์ประมาทจริงตามฟ้อง แต่มิได้ชนนายชะอม หากแต่ชนนายแกงไก่ตาย อีกกรณีหนึ่ง

หากปรากฏว่าทั้งสองกรณีดังกล่าวจําเลยมิได้หลงต่อสู้ให้วินิจฉัยว่า ในแต่ละกรณีดังกล่าว ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม “ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและ ทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง โดยหลักให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริง ที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) กรณีโจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายชะอมถึงแก่ความตาย แต่ทางพิจารณา ฟังได้ว่าจําเลยขับรถยนต์ชนนายชะอมโดยเจตนานั้น ข้อแตกต่างกันระหว่างการกระทําโดยเจตนากับประมาท ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าข้อแตกต่างเช่นว่านี้เป็นเพียงรายละเอียด มิให้ถือว่าต่างกันใน สาระสําคัญ เมื่อไม่ปรากฏว่าจําเลยหลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอํานาจตามมาตรา 192 วรรคสามประกอบวรรคสองที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานฆ่านายชะอมตายโดยเจตนาตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษ จําเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม

(ข) กรณีโจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายชะอมถึงแก่ความตาย แต่ทางพิจารณาฟัง ได้ว่าจําเลยขับรถยนต์ประมาทจริงตามท้อง แต่มิได้ชนนายชะอม หากแต่ชนนายแกงไก่ตายนั้น เป็นข้อแตกต่าง ในตัวบุคคลอันเป็นวัตถุแห่งการกระทํา ซึ่งถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสําคัญ ดังนั้นแม้จําเลยไม่หลงต่อสู้ ศาล ก็ต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้

สรุป

กรณีตาม (ก) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้ แต่จะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่ กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

กรณีตาม (ข) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

 

ข้อ 4. นายตะขบเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนายมะขวิดซึ่งเป็นจําเลยในความผิดฐานร่วมกับพวกลักรถจักรยานยนต์ของนายตะขบไปโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งมีระวางโทษ ตามกฎหมายให้จําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ศาลชั้นต้น ไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้อง ในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเลื่อนไปนัด สืบพยานจําเลย จําเลยขอเลื่อนคดีหลายนัด นัดสุดท้ายศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและ งดสืบพยานจําเลย แล้วมีคําวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จําเลยลักทรัพย์โดยร่วมกับ พวกกระทําผิด จําเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งมีระวางโทษตาม กฎหมายให้จําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จําคุก 3 เดือน

ดังนี้ หากโจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยกระทําความผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ศาลชั้นต้นจะรับอุทธรณ์ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่ง อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ได้บัญญัติเอาไว้ว่า ถ้าเป็นคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ได้ตามมาตรา 193 ทวิ (1) (2) (3) และ (4)

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อคดีที่นายตะขบเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนายมะขวิดซึ่งเป็นจําเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 นั้น มีระวางโทษตามกฎหมายให้จําคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2 พันบาท ถึง 1 หมื่นบาท จึงเป็นคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุก เกิน 3 ปี จึงไม่อยู่ในบังคับต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ

ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีนี้ว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งมีระวางโทษตามกฎหมายให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 พันบาทนั้น จึงไม่ต้องห้ามมิให้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยได้กระทํา ความผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 และศาลชั้นต้นขอบ ที่จะรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา (คําพิพากษาฎีกาที่ 4905/2536)

สรุป ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาได้

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!