การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

Advertisement

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย โดยจําเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก 5 ปี ในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นเช่นกัน และพ้นโทษคดีดังกล่าวมายังไม่เกิน 3 ปี ได้ หวนกลับมากระทําผิดคดีนี้อีกโดยไม่เข็ดหลาบ ขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 83 ประกอบมาตรา 80 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 158 (5) ทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว ฟังข้อเท็จจริง เชื่อตามพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่า จําเลยกระทําผิดจริงตามฟ้อง และจําเลยเคยต้องคําพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษและพ้นทษในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจริงตามฟ้อง

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะเพิ่มโทษจําเลย โดยคําขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ระบุอ้างบทกฎหมายที่ ขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาด้วยได้หรือไม่ และหากสามารถเพิ่มโทษจําเลยได้ ศาลจะเพิ่มเติมโทษ จําเลยได้เพียงใด เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 ผู้ใดต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก ถ้าและได้กระทําความผิดใด ๆ อีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายในเวลาห้าปีนับแต่วัน พ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจําคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นหนึ่งในสาม ของโทษที่ศาลกําหนดสําหรับความผิดครั้งหลัง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 93 ผู้ใดต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก ถ้าและได้กระทํา ความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดที่จําแนกไว้ในอนุมาตราต่อไปนี้ในอนุมาตราเดียวกันอีกในระหว่างที่ ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ราายในเวลาสามปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี ถ้าความผิดครั้งแรกเป็นความผิด ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจําคุกไม่น้อยกว่าหกเดือน หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจําคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกําหนดสําหรับความผิดครั้งหลัง

(11) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290…

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทําเช่นนั้นเป็นความผิด”

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสังเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง”

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์บรรยายฟ้องขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาแล้วนั้น แม้ตามคําฟ้อง ของโจทก็จะมิได้ระบุอ้างบทกฎหมายที่ขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาด้วยก็ตาม แต่ ป.อาญา มาตรา 92 และ 93 ซึ่ง เป็นบทกฎหมายที่เป็นบทเพิ่มโทษจําเลยฐานไม่เข็ดหลาบนั้น มิใช่มาตราในกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทํา เช่นนั้นเป็นความผิด อันจะอยู่ในบังคับเเห่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (6) ที่โจทก์จะต้องระบุอ้างในคําฟ้อง ดังนั้น

แม้คําฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จะมิได้ระบุอ้างมาตราที่ขอให้เพิ่มโทษจําเลยมาด้วย แต่เมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงและเชื่อ ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าจําเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษและพ้นโทษมาแล้วหวนกลับมา กระทําความผิดคดีนี้จริงตามฟ้อง ศาลย่อมเพิ่มโทษจําเลยได้ ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าว ในฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง (คําพิพากษาฎีกาที่ 947/2520)

แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จําเลยเคยต้องคําพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก 5 ปี ในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นเช่นเดียวกับคดีนี้ และพ้นโทษคดีดังกล่าวมายังไม่เกิน 3 ปี ได้หวนกลับมากระทําผิดคดีนี้ซ้ําอีกโดยไม่เข็ดหลาบนั้น แม้จะต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่ศาลจะเพิ่มโทษจําเลยได้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อาญา มาตรา 93 เพราะจําเลยกระทําความผิดซ้ําในอนุมาตราเดียวกันตาม ป.อาญา มาตรา 93 (11) ก็ตาม แต่ตามคําขอท้ายฟ้องโจทก์คงระบุเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจําเลยตามกฎหมายโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์ ให้เพิ่มโทษตามมาตราใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จําเลยว่าโจทก์ประสงค์ให้เพิ่มโทษจําเลยเพียงหนึ่งในสาม ตาม ป.อาญา มาตรา 92 ดังนั้น ในกรณีนี้ศาลจึงเพิ่มโทษจําเลยได้เพียงหนึ่งในสามตาม ป.อาญา มาตรา 92 (คําพิพากษาฎีกาที่ 413/2549)

สรุป ศาลจะเพิ่มโทษจําเลยโดยคําขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ระบุอ้างบทกฎหมายที่ขอให้เพิ่มโทษ จําเลยมาด้วยได้ แต่จะเพิ่มโทษจําเลยได้เพียงหนึ่งในสามตาม ป.อาญา มาตรา 92

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท ในวันพิจารณา โจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การ รับสารภาพตามฟ้องโจทก์ขอสืบพยาน ศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบคํารับสารภาพของจําเลย จนเสร็จ เมื่อถึงวันนัดฟังคําพิพากษา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลยมาศาล จําเลยแถลงว่าจําเลย เพิ่งมีทนายจําเลยในวันนี้ แต่ก็ยังคงรับสารภาพตามฟ้องศาลชั้นต้นเห็นว่า จําเลยยืนยันให้การรับ สารภาพตามฟ้อง และโจทก์เพียงนําสืบประกอบคํารับสารภาพของจําเลย จึงให้ทนายจําเลยลงชื่อ รับทราบการสืบพยานโจทก์ที่ได้ดําเนินการมาแล้ว และอ่านคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษา ลงโทษจําเลยตามฟ้องให้คู่ความฟัง

ให้วินิจฉัยว่า การดําเนินกระบวนพิจารณาและคําพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคสอง “เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และ ศาลเชื่อว่าเป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้จดไว้ ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป”

มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ซึ่งมีระวางโทษจําคุก จึงเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลย ต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ จึงถือเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องถามจําเลยในวันพิจารณา ถึงเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี โดยอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคสอง ทั้งนี้เพื่อให้จําเลยได้มีโอกาสพบปะพูดคุย บรึกษากับทนายความของตนก่อนที่จําเลยจะให้การต่อศาล

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันพิจารณาเมื่อโจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นได้อ่านและ อธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ขอสืบพยาน และศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบ หารับสารภาพของจําเลยจนเสร็จ โดยมิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณา จึงเป็นการ พบารณาที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง มีผลทําให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ สืบพยานโจทก์ ตลอดจนคําพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นได้ให้ทนายจําเลยที่มาศาล ลงชื่อรับทราบการสืบพยานโจทก์ที่ได้ดําเนินการมาแล้ว ก็ไม่อาจทําให้กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบดังกล่าวกลับกลาย เป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบได้ ดังนั้น การดําเนินกระบวนการพิจารณาและคําพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การดําเนินกระบวนพิจารณาและคําพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้อาวุธปืนที่จําเลยกําลังทําความสะอาดอยู่ลั่นถูกนายสมชายเป็นเหตุให้นายสมชายถึงแก่ความตาย แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ ความว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนางสมหญิง แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนายสมชายสามีของนางสมหญิง ถึงแก่ความตาย การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และมีความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดย พลาดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 60 อีกบทหนึ่ง และไม่ปรากฏว่าจําเลยหลงต่อสู้

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสังเกิน คําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างกันมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย เมข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก็ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้อาวุธปืนที่จําเลย กําลังทําความสะอาดอยู่ลันถูกนายสมชายเป็นเหตุให้นายสมชายถึงแก่ความตาย แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทาง พิจารณาได้ความว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนางสมหญิง แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนายสมชายสามีของนางสมหญิง ถึงแก่ความตาย การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และมีความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 60 อีกบทหนึ่งนั้น ศาลจะลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 ความผิดบทแรกซึ่งเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิง

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 และมาตรา 80 นั้น แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจะได้ความเช่นนั้นก็ตาม แต่ศาลก็จะ พิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดบทนี้ไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นข้อเท็จจริง ที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในฟ้อง และมิได้มีคําขอให้ลงโทษเกี่ยวกับการกระทําต่อนางสมหญิงด้วย เนื่องจากคําฟ้อง ของโจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยกระทําต่อนายสมชายเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจําเลยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่

2 ความผิดบทหลังซึ่งเป็นความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาด

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 นั้น แม้คําฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจําเลยกระทําให้ นายสมชายถึงแก่ตายโดยประมาท และขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งแตกต่างกัน ก็ตาม แต่การต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาทนั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่ามิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือ เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ และเมื่อไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไม่เป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลย่อมมีอํานาจลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 ตามที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกิน อัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งเป็นความผิดที่ โจทก์ฟ้องไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

ศาลจะลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายสมชายตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวล หมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 ได้ แต่จะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกําหนดไว้ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 291 ไม่ได้ ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่านางสมหญิง ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้

 

ข้อ 4. ในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 ซึ่งมีระวางโทษสองในสามของโทษ ประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี จําเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้น พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์แล้ว ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจําเลยสมัครใจวิวาทกับผู้เสียหาย และจําเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายตบตีกับจําเลยโดยจําเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย มีเพียง เจตนาทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเท่านั้น พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ลงโทษจําคุก 2 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําเลยอุทธรณ์ว่า การที่จําเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายนั้น เป็นการกระทําเพื่อป้องกันตัว เนื่องจาก ผู้เสียหายเป็นฝ่ายเริ่มตบเด็จําเลยก่อน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิด ขอให้ศาลพิพากษา ยกฟ้อง ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า

(ก) คําพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 192 วรรคหก “ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจ เป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ขอให้ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 ซึ่งมีระวางโทษ 2 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี และศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์แล้ว ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจําเลย ไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย มีเพียงเจตนา ทําร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเท่านั้น จึงพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ลงโทษจําคุก 2 ปีนั้น คําพิพากษาของ ศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามที่โจทก์ฟ้องรวมเอาความผิดฐาน เจตนาทําร้ายผู้อื่นเป็นองค์ประกอบอยู่ในตัว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจําเลยทําร้ายผู้เสียหาย ศาลจึง สามารถพิพากษาลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายแก่กายดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก

(ข) การที่จําเลยอุทธรณ์ว่า การที่จําเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายนั้นเป็นการกระทําเพื่อป้องกันตัว เนื่องจากผู้เสียหายเป็นฝ่ายเริ่มตบที่จําเลยก่อน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นการโต้แย้ง ดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทําความผิดของจําเลย จึงเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกเกิน 3 ปี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ

แต่อย่างไรก็ดี ปรากฏว่าในศาลชั้นต้น จําเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้นจึงถือว่าอุทธรณ์ของจําเลย ดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จําเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่สามารถรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้ พิจารณาได้

สรุป

(ก) คําพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย

(ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาไม่ได้

Advertisement