LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเอกมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายโท นายเอกให้สิทธิเก็บกินในที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี นอกจากนี้นายเอกยังให้นางหญิงเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 456 เพื่อปลูก อาคารพาณิชย์เป็นเวลา 10 ปี โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อครบกําหนด 10 ปี นางหญิงต้องยอมให้ อาคารพาณิชย์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเอก หลังจากที่นายเอกทําสัญญากับคนทั้งสองแล้ว เป็นเวลา 5 ปี นายชายและนางหญิงก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับจากนายเอกเป็นมรดกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับจากนายเอกเป็นมรดกหรือไม่ วินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายเอกให้สิทธิเก็บกินแก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี

สิทธิเก็บกิน เป็นทรัพยสิทธิที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครอง ใช้และถือเอาประโยชน์ใน อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นโดยต้องเสียค่าเช่าหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเมื่อผู้ทรงสิทธิเก็บกิน (ผู้รับสิทธิ) ถึงแก่ความตาย สิทธิเก็บกินย่อมระงับสิ้นไป ดังนั้น การที่นายเอกให้สิทธิเก็บกินในที่ดินแก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี เมื่อสิทธิเก็บกิน ตามกฎหมายถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้รับสิทธิ) โดยแท้ เมื่อนายชายผู้รับสิทธิถึงแก่ความตาย สิทธิเก็บกินจึงระงับสิ้นไปไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้รับสิทธิ

2 การที่นายเอกให้นางหญิงเช่าที่ดินเพื่อปลูกอาคารพาณิชย์เป็นเวลา 10 ปี

การที่นายเอกให้นางหญิงเช่าที่ดินเพื่อปลูกอาคารพาณิชย์ดังกล่าวนั้น เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่านางหญิงตกลงว่าจะยอมให้อาคารพาณิชย์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเอกเมื่อครบกําหนดตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ดังนั้น สิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เมื่อนางหญิงถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของนางหญิง

สรุป

สิทธิเก็บกินที่นายชายได้รับจากนายเอกไม่เป็นมรดก แต่สิทธิตามสัญญาเช่าที่นางหญิง ได้รับจากนายเอกเป็นมรดก

 

 

ข้อ 2 นายตูนมีภริยาชอบด้วยกฎหมายชื่อนางก้อย มีบุตร 3 คน คือ นายเอก นายโทและนายตรี นายเอก มีบุตรชอบด้วยกฎหมายชื่อนายหนึ่ง นายโทมีบุตรบุญธรรมซึ่งบรรลุนิติภาวะและได้จดทะเบียน ตามกฎหมายชื่อนางสาวสอง ต่อมานายตูนไปได้นางจิตเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง นายตรีทราบเรื่อง จึงใช้อาวุธปืนยิงนางจิตถึงแก่ความตาย ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจําคุก นายตูนทําพินัยกรรม ที่ชอบด้วยกฎหมายระบุยกทรัพย์สินของตนทั้งหมดให้แก่นายเอกแต่ผู้เดียว หลังจากนั้น 2 เดือน นายเอกประสบเหตุถึงเก่ความตาย ต่อมานายตูนถึงแก่ความตายโดยมีทรัพย์มรดกเป็นเงิน 400,000 บาท หลังเสร็จพิธีศพนายตูน นายโททําหนังสือมอบแก่ผู้อํานวยการเขตบางรักขอสละมรดก ของบิดาทั้งหมดโดยขอรับเพียงเงินประกันชีวิตที่นายตูนทําไว้กับบริษัท ซื่อตรงประกันชีวิต จํากัด ซึ่งระบุให้ นายโทเป็นผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 200,000 บาท

ให้วินิจฉัยว่า ทายาทโดยธรรมของนายตูนได้แก่ผู้ใด และทรัพย์มรดกของนายตูนตกทอดแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 “การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายตูนถึงแก่ความตาย ทายาทโดยธรรมของนายตูน ได้แก่

1 นางก้อย ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายตูน ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคสอง

2 นายเอก นายโท และนายตรี ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายตูน เป็นทายาท โดยธรรมของนายตนในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

การที่นายตูนทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้นายเอก แต่นายเอกผู้รับพินัยกรรม ตายก่อนนายตูนผู้ทําพินัยกรรม นายเอกจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจึงไม่อาจรับมรดก ตามพินัยกรรมได้ (ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง) ดังนั้น ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้นย่อมตกไปตามมาตรา 1698 (1) ทรัพย์มรดกทั้งหมดซึ่งเป็นเงินสดจํานวน 400,000 บาท จึงต้องนํากลับเข้าสู่กองมรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรม ต่อไปตามมาตรา 1699

กรณีของนายเอกนั้น เมื่อนายเอกตายก่อนเจ้ามรดกแต่นายเอกมีบุตรชอบด้วยกฎหมายอ นายหนึ่งซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง นายหนึ่งจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายเอกในการรับมรดกของนายตน ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

ส่วนนายโทนั้น หลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายนายโทได้แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก ผู้อํานวยการเขตซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าขอสละมรดกของบิดาทั้งหมด แม้จะขอรับเพียงเงินประกันชีวิต 200,000 บาท แต่เมื่อเงินประกันชีวิตดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดกของนายตูนเนื่องจากไม่ใช่ทรัพย์สินที่เจ้ามรดก มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย การสละมรดกของนายโทจึงสมบูรณ์ตามมาตรา 1612 นายโทจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดก ของนายตูน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายโทมีนางสาวสองเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามมาตรา 1627 ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน ดังนั้น เมื่อนายโทสละมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม นางสาวสองจึงมีสิทธิสืบมรดกได้ และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่นายโทจะได้รับตามมาตรา 1615 วรรคสอง

สําหรับนายตรีนั้น แม้นายตรีจะต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกฐานฆ่านางจิตตาย โดยเจตนา นายตรีก็ไม่ถูกจํากัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1606 (1) เพราะมิได้ฆ่าเจ้ามรดก หรือผู้มีสิทธิได้รับ มรดกก่อนตน เนื่องจากนางจิตเป็นภริยานอกกฎหมายของนายตูนซึ่งไม่มีสิทธิรับมรดกของนายตูนแต่อย่างใด

ดังนั้น มรดกของนายตูนจํานวน 400,000 บาท จึงตกได้แก่นางก้อยในฐานะคู่สมรส นายหนึ่ง ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่นายเอก นางสาวสองในฐานะผู้สืบมรดกนายโท และนายตรี โดยนางก้อยคู่สมรสมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) นางก้อย นายหนึ่ง นางสาวสอง และนายตรี จึงได้รับส่วนแบ่งในมรดกของนายตูนเท่า ๆ กัน คือจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 100,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป

ทายาทโดยธรรมของนายตูนได้แก่ นางก้อย นายเอก นายโท และนายตรี

ทรัพย์มรดกของนายตูนตกได้แก่นางก้อย นายหนึ่ง นางสาวสอง และนายตรีคนละ 100,000 บาท

 

ข้อ 3 นางสมศรีจดทะเบียนสมรสกับนายชาติ โดยนายชาติจดทะเบียนรับนายเอมาเป็นบุตรบุญธรรมเพราะเป็นลูกเพื่อนสนิท โดยนางสมศรีให้ความยินยอมและชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายเออยู่กินกับ นางแดงมีบุตรด้วยกัน คือ นายเขียว ซึ่งนายเอแจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา อีกทั้งนายสมชาติ ได้อยู่กินกับนางสมมลโดยมีบุตรด้วยกัน คือ นายสมศักดิ์ซึ่งนายสมชาติให้ใช้นามสกุล ต่อมา นายสมศักดิ์จดทะเบียนรับนายอุดมมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งนายอุดมมีบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ นายวิชัย หลังจากนั้น นายสมชาติและนางสมศรีจดทะเบียนหย่ากัน ต่อมานางสมศรีกลับไปจดทะเบียนสมรสกับนายเอเมื่อเลิกรากับนางแดงมีบุตรด้วยกัน คือ ด.ญ.แบล หลังจากนั้นนายเอประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ต่อมานายสมศักดิ์ป่วยและถึงแก่ความตาย ต่อมานายอุดมป่วยและถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายสมชาติถึงแก่ความตายโดยมีพินัยกรรม ยกมรดกเป็นเงิน 100,000 บาทให้นายเอและมีเงินสดนอกพินัยกรรมอีก 800,000 บาท เช่นนี้ จงแบ่งมรดกของนายสมชาติ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1598/27 “การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635”

 

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตาม บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือ ได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมชาติทําพินัยกรรมยกมรดกเป็นเงิน 100,000 บาทให้แก่นายเอ แต่นายเอผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม ข้อกําหนดตามพินัยกรรมจึงตกไป ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม จึงต้องนํากลับคืนกองมรดกเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620, 1698 (1) และมาตรา 1699 โดยจะไม่มีการรับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1642 ดังนั้น เมื่อรวมกับทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมอีก 800,000 บาท กองมรดกของนายสมชาติที่จะนําไปแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมจึงมีจํานวนรวมทั้งหมดเป็นเงิน 900,000 บาท

สําหรับบุคคลที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสมชาตินั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นางสมศรี ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสมชาติ เพราะแม้ว่าเดิมนางสมศรีจะเป็นภริยา ของนายสมชาติ แต่ต่อมาได้จดทะเบียนหย่ากับนายสมชาติแล้ว นางสมศรีจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคสอง

2 นางสมมล เป็นเพียงภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายสมชาติ จึงไม่มีสิทธิรับมรดก ของนายสมชาติ เพราะไม่ใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง

3 นายเอ ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีสิทธิรับมรดกของนายสมชาติ ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1598/27, 1627 และมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเอได้ถึงแก่ ความตายก่อนเจ้ามรดก นายเอจึงไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดาถึงแก่ความตาย นายเอจึงไม่อาจรับมรดกได้ ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายเอมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายคือ ด.ญ.เบล และบุตรนอกกฎหมาย ที่นายเอได้รับรองแล้วคือ นายเขียว และเมื่อ ด.ญ.แบลและนายเขียวเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเอ ดังนั้น ด.ญ.เบลและนายเขียวจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายเอได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

4 นายสมศักดิ์ เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง โดยหลักย่อมมีสิทธิรับมรดกของ นายสมชาติในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อนายสมศักดิ์ได้ถึงแก่ความตาย ก่อนเจ้ามรดกจึงไม่อาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และแม้นายสมศักดิ์จะมีบุตรบุญธรรมคือนายอุดม แต่นายอุดมมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายสมศักดิ์ นายอุดมจึงเข้ารับมรดกแทนที่นายสมศักดิไม่ได้ต้องห้าม ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 ดังนั้น แม้นายวิชัยจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายอุดม นายวิชัย การเข้ารับมรดกแทนที่นายอุดมในการรับมรดกแทนที่นายสมศักดิ์ได้

ดังนั้น มรดกทั้งหมดของนายสมชาติจํานวน 900,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ญ.เบลและนายเขียว โดยการเข้ารับมรดกแทนที่นายเอ โดยทั้งสองจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กันคือคนละ 450,000 บาทตามมาตรา 1634 (2)

สรุป

มรดกของนายสมชาติทั้งหมดตกได้แก่ ด.ญ.เบลและนายเขียวคนละ 450,000 บาท

 

ข้อ 4 นายหนึ่งและนางน้อยเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย นายหนึ่งมีน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ นายสองและนายสาม นายหนึ่งมีลุงที่ดูแลนายหนึ่งตั้งแต่เล็กชื่อนายคม ต่อมานายสอง จดทะเบียนสมรสกับนางสาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายสันต์ วันหนึ่งนายหนึ่งและนายสอง ทะเลาะกันอย่างรุนแรง นายสองเอาปืนมายิงนายหนึ่ง นายหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส นายสอง ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านายหนึ่ง หลังจากนั้นนายสามขอเงินนายหนึ่งไปลงทุน ค้าขาย นายหนึ่งได้ให้เงินนายสามไปจํานวนหนึ่ง โดยให้นายสามทําหนังสือสัญญาไว้ว่า ถ้านายหนึ่ง ถึงแก่ความตายนายสามจะไม่ขอรับมรดกใด ๆ ทั้งสิ้นของนายหนึ่ง ต่อมานายหนึ่งหัวใจวายตาย โดยไม่ได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับใคร นายหนึ่งมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 300,000 บาท ดังนี้ ให้ท่านแบ่งมรดกของนายหนึ่ง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย 1 แต่กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ผู้ตายเลย”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629

(3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629(2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น  มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหนึ่งเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกทั้งหมด ของนายหนึ่งจํานวน 300,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งทายาทโดยธรรม ของนายหนึ่ง ได้แก่ นางน้อยคู่สมรส ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง นายสองและนายสาม ซึ่งเป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันตามมาตรา 1629 (3) ส่วนนายคมซึ่งเป็นลุงและเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (6) นั้น จะไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งผู้ตายเลยตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง เนื่องจาก นายหนึ่งมีทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (3) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงมีผลให้ทายาทในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิใน ทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

การที่นายสองต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านายหนึ่งเจ้ามรดก นายสองจึงถูกกําจัด มีให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) แต่เมื่อเป็นการถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ดังนั้น เมื่อนายสองมีนายสันต์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง นายสันต์จึงมีสิทธิ รับมรดกแทนที่นายสองในการรับมรดกของนายหนึ่งได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

ส่วนการที่นายสามได้ทําหนังสือสัญญาไว้ว่า ถ้านายหนึ่งถึงแก่ความตายนายสามจะไม่ขอรับ มรดกใด ๆ ทั้งสิ้นของนายหนึ่งนั้น ถือเป็นการสละสิทธิอันจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกของนายหนึ่งที่ยัง มีชีวิตอยู่ในเวลานั้น ย่อมเป็นการแสดงเจตนาที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1619 การสละมรดกของนายสาม จึงไม่มีผลตามกฎหมาย ดังนั้น นายสามจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง

เมื่อทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งได้แก่ นางน้อยซึ่งเป็นคู่สมรส นายสันต์ ที่เข้ามารับมรดกแทนที่นายสองและนายสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (3) ดังนั้น นางน้อยจึง มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งคือ 150,000 บาท ตามมาตรา 1635 (2) ส่วนที่เหลืออีกถึงหนึ่งคือ 150,000 บาท จึงนํามาแบ่งแก่นายสันต์และนายสาม คนละ 75,000 บาท

สรุป

ทรัพย์มรดกของนายหนึ่งจํานวน 300,000 บาท ตกได้แก่นางน้อยจํานวน 150,000 บาท และตกได้แก่นายสันต์กับนายสามคนละ 75,000 บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเอมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือ นายบีและนายซี นายเอให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปี และทําสัญญาจะขายที่ดินกับนายสอง ต่อมานายหนึ่งและนายเอเดินทางไปต่างจังหวัด และประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ดังนี้นายปีและนายซีจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่ง และต้องขายที่ดินให้แก่นายสองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดก ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีนายเอให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปี

สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทรัพยสิทธิที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินให้สิทธิแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสิทธิ์เป็นเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น โดยจะเสียค่าเช่าหรือไม่ก็ได้ ซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินนั้น ถ้าไม่ได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ย่อมสามารถโอนกันได้และรับมรดกกันได้ ดังนั้น ไม่ว่าผู้ให้สิทธิหรือผู้รับสิทธิตาย สิทธิเหนือพื้นดินไม่ระงับและจะตกทอดแก่ทายาท

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเอได้ให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปีนั้น เมื่อ สิทธิเหนือพื้นดินตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้น เมื่อนายเอผู้ให้สิทธิและนายหนึ่ง ผู้รับสิทธิถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินต่อไปนั้น ย่อมไม่ระงับแต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท นายบีและนายซีทายาทของนายเอจึงไม่สามารถเรียกที่ดินคืนจาก ทายาทของนายหนึ่ง จะต้องให้ทายาทของนายหนึ่งใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินนั้นต่อไปจนครบ 10 ปี

2 กรณีนายเอทําสัญญาจะขายที่ดินกับนายสอง

การที่นายเอทําสัญญาจะขายที่ดินกับนายสองก่อนที่นายเอจะถึงแก่ความตายนั้น สัญญาจะขายที่ดิน ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

เมื่อนายเอถึงแก่ความตาย หน้าที่และความรับผิดตามสัญญาจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นมรดกและ ตกทอดไปยังทายาทตามมาตรา 1600 นายบีและนายซีจึงต้องขายที่ดินให้แก่นายสอง

สรุป

นายบีและนายซีจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่งไม่ได้ และนายบีและนายซี จะต้องขายที่ดินให้แก่นายสอง

 

ข้อ 2 นายดินจดทะเบียนสมรสกับนางเดือนมีบุตรคือ นายดํา นายเดชและนายดล ในส่วนของนายเดชได้จดทะเบียนสมรสกับนางแดง ส่วนนายดลได้จดทะเบียนรับนายชายมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบ ด้วยกฎหมาย นายดินและนางเดือนได้ถึงแก่ความตายแล้วด้วยโรคชรา ต่อมานางแดงได้ตั้งครรภ์ขึ้น ในขณะที่นางแดงตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน นายเดชประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายพร้อมกับนายดล หลังจากนายเดชและนายดลตายได้ 1 เดือน นายดํากลับป่วยและถึงแก่ความตาย ต่อมาหลังจาก นายดําตายได้ 2 เดือน นางแดงได้คลอดบุตรคือ ด.ช.ลีออง

ดังนี้จงพิจารณาการตกทอดมรดก ของนายดําที่มีเงินสดในธนาคารจํานวน 1,200,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคย เป็นสามี แล้วแต่กรณี”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ …

(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่

ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1644 “ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายดําเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายดํามีทรัพย์มรดกคือเงินสดใน ธนาคารจํานวน 1,200,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายดําจะตกทอดแก่บุคคลใดนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นายดินและนางเดือน ซึ่งเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายดําในฐานะ ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) นั้น ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนนายดําแล้วจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดํา เพราะทั้งสองไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

2 นายเดชและนายดล ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกและเป็นทายาท โดยธรรมตามมาตรา 1629 (3) นั้น เมื่อปรากฏว่านายดําเจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) และ (2) โดยหลักแล้วมรดกของนายดําย่อมตกได้แก่นายเดชและนายดล แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายเดชและนายดล ได้ถึงแก่ความตายก่อนนายดํา นายเดชและนายดลจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดํา เพราะทั้งสองไม่มีสภาพบุคคล ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง ส่วนกรณีที่นายเดชและนายดลมีบุตรคือ ด.ช.คืออง และนายชายนั้น ด.ช.ลีอองและนายชายจะเข้ามารับมรดกแทนที่นายเดชและนายดลได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของ ด.ช.ลีออง ในขณะที่นายเดชถึงแก่ความตายนั้น นายเดชมีบุตรซึ่งเป็น 1997 ในครรภ์มารดาอยู่ และเมื่อนางแดงภริยาของนายเดชได้คลอด ด.ช.ลีอองภายใน 310 วันนับแต่วันที่นายเดช “แก่ความตาย ด.ช.สีอองจึงเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่นายดําเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เมื่อคลอด ออกมาแล้วรอดอยู่จึงถือว่ามีสภาพบุคคลและเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเดชตามมาตรา 1536 วรรคหนึ่ง จึงมีความสามารถในการรับมรดกแทนที่นายเดชตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 เพราะเป็นผู้มีสิทธิบริบูรณ์ ในการรับมรดกตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่งและมาตรา 1644

กรณีของนายชาย การที่นายชายเป็นบุตรบุญธรรมของนายดล แม้จะถือว่านายชาย เป็นผู้สืบสันดานของนายดลตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ก็ตาม แต่เมื่อนายชายไม่ใช่ผู้สืบสันดาน โดยตรงของนายดล ดังนั้น นายชายจึงไม่สามารถเข้ารับมรดกของนายดําแทนที่นายดลได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 และเมื่อมีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่เพียงคนเดียวคือ ด.ช.ลืออง ดังนั้นมรดกทั้งหมด แบ5 จํานวน 1,200,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ช.สีอองเพียงคนเดียวตามมาตรา 1634 (3)

สรุป

มรดกทั้งหมด ของนายดําจํานวน 1,200,000 บาท ตกได้แก่ ด.ช.ลีอองแต่เพียงคนเดียว

 

ข้อ 3 นายใหญ่จดทะเบียนสมรสกับนางน้อยแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน นายใหญ่จึงจดทะเบียนรับนางพิมเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย นางพิมอยู่กินฉันสามีภริยากับนายเลิศมีบุตรชื่อนายจิ๋ว ต่อมานายใหญ่ได้นางสวยเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง มีบุตรชื่อเด็กหญิงงาม นายใหญ่รับเด็กหญิงงาม มาอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียเล่าเรียนและให้ใช้นามสกุล นางพิมโกรธที่บิดาบุญธรรมของตนไปมีภริยาใหม่ และมีบุตรด้วยกันจึงใช้อาวุธปืนยิงนายใหญ่โดยเจตนาฆ่า แต่กระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสําคัญ นายใหญ่ ไม่ถึงแก่ความตาย ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจําคุกนางพิมฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ส่วนนางน้อยทําหนังสือให้ไว้แก่นายใหญ่ว่าตนเลี้ยงดูนางพิมไม่ดี หากนายใหญ่ถึงแก่ความตาย ตนขอสละสิทธิไม่รับทรัพย์มรดกของนายใหญ่ทั้งสิ้น หลังจากนั้น 1 ปี นายใหญ่ประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย โดยมีทรัพย์มรดกเป็นเงินสด 300,000 บาท บิดามารดานายใหญ่ถึงแก่ความตาย ไปก่อนแล้ว

ให้วินิจฉัยว่า ทรัพย์มรดกของนายใหญ่ตกได้แก่ผู้ใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย ลูกกาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายใหญ่ถึงแก่ความตาย มรดกของนายใหญ่คือเงินสดจํานวน 300,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิรับมรดกและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ ได้แก่

1 นางน้อย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายใหญ่จึงเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะ คู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

ส่วนกรณีที่นางน้อยได้ทําหนังสือให้ไว้กับนายใหญ่โดยระบุว่าหากนายใหญ่ถึงแก่ความตาย ตนขอสละสิทธิไม่รับทรัพย์มรดกของนายใหญ่ทั้งสิ้นนั้น ถือเป็นการสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึง ไม่มีผลเป็นการสละมรดกที่ชอบด้วยมาตรา 1619 ดังนั้น นางน้อยจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ตามส่วนของตน

2 นางพิม ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายใหญ่และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของนายใหญ่ เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโดยหลักแล้วนางพิมย่อมมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ในฐานะผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อปรากฏว่า นางพิมใช้อาวุธปืนยิงนายใหญ่โดยเจตนาฆ่า แต่ กระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสําคัญ นายใหญ่จึงไม่ถึงแก่ความตาย ละศาลได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจําคุกนางพิม ฐานพยายามฆ่านายใหญ่เจ้ามรดกโดยเจตนา นางพิมจึงถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายใหญ่ฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตามมาตรา 1606 (1)

แต่เมื่อนางพิมซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ได้ถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดก ตาย และนางพิมมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายจิ๋ว ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนางพิม ดังนั้น นายจิ๋วจึงมีสิทธิ เข้ารับมรดกของนายใหญ่แทนที่นางพิมได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

3 เด็กหญิงงาม ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายใหญ่เพราะเกิดจากนางสวยซึ่งมิได้ จดทะเบียนสมรสกับนายใหญ่ แต่เมื่อนายใหญ่รับเด็กหญิงงามมาอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียเล่าเรียนและให้ใช้นามสกุล จึงถือว่าเด็กหญิงงามเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ดังนั้น เด็กหญิงงามจึงมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627

ส่วนนางสวยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายใหญ่ นางสวยจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 วรรคสอง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่

เมื่อบุคคลซึ่งมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่มี 3 คน คือ นางน้อย นายจิ๋วในฐานะผู้รับมรดก แทนที่นางพิม และเด็กหญิงงาม ดังนั้นทั้ง 3 คน จึงมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนแบ่งเท่า ๆ กันตามมาตรา 1633 คือ จะได้รับส่วนแบ่งคนละ 100,000 บาท

สรุป ทรัพย์มรดกของนายใหญ่จํานวน 300,000 บาท จะตกได้แก่นางน้อย นายจิ๋ว และ เด็กหญิงงามคนละ 100,000 บาท

 

 

ข้อ 4 นายเงินและนางเพชรเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตร 2 คน คือ นายใหญ่และนายเล็ก นายใหญ่จดทะเบียนสมรสกับนางหญิงแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ทั้งสองจึงไปจดทะเบียนรับนายยอด มาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต่อมานายเงินทําพินัยกรรมยกบ้าน 1 หลัง ราคา 900,000 บาท ให้กับนายเล็ก หลังจากนั้นนายเงินถึงแก่ความตาย นายเงินมีมรดกคือบ้าน 1 หลัง ตามที่ได้ระบุไว้ใน พินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท ซึ่งนายเงินไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้กับใคร นายเล็กได้เอา เงินมรดกจํานวน 400,000 บาท ไปเป็นของตนโดยทุจริต นายใหญ่ไม่อยากทะเลาะกับนายเล็ก เกี่ยวกับมรดกของนายเงิน นายใหญ่จึงทําหนังสือสละมรดกของนายเงินมอบไว้แก่ผู้อํานวยการ เขตบางรัก ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายเงิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มีให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเงินเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายเงินมีมรดกคือ บ้าน 1 หลัง ตามที่ ระบุไว้ในพินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายเงินจะตกได้แก่ใครบ้าง แยกพิจารณาได้ดังนี้คือ

กรณีเงินสด 600,000 บาท ที่นายเงินมีได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ของนายเงิน ซึ่งได้แก่

1 นายใหญ่และนายเล็ก ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

2 นางเพชร ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้นนายใหญ่ นายเล็ก และ นางเพชร จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน คือคนละ 200,000 บาท ตามมาตรา 1633

สําหรับนายเล็กนั้น เมื่อเจ้ามรดกตายได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนโดยทุจริตจํานวน 400,000 บาท ถือเป็นการยกย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้นนายเล็กจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายเงิน ในฐานะทายาทโดยธรรมเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง และเงินมรดกที่นายเล็กถูกกําจัดมิให้ได้รับจํานวน 200,000 บาทนั้น จะต้องนําคืนกองมรดาแล้วนําไปแบ่งให้แก่นายใหญ่และนางเพชรคนละ 100,000 บาท ดังนั้น นายใหญ่และนางเพชรจะได้รับมรดกของนายเงินคนละ 300,000 บาท

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายใหญ่ได้ทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายเงินมอบไว้แก่ ผู้อํานวยการเขตบางรัก ซึ่งเป็นการสละมรดกที่ได้ทําถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น นายยอดซึ่งเป็น บุตรบุญธรรม และมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิสืบมรดก ได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนที่นายใหญ่ผู้สละมรดกจะได้รับคือ 300,000 บาท ตามมาตรา 15155 วรรคสอง

สําหรับบ้าน 1 หลังราคา 900,000 บาท ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นายเงิน ทําพินัยกรรมยกให้กับนายเล็กโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคสอง คือ บ้านจะตกได้แก่นายเล็ก ในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยนายเล็กจะไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกในส่วนนี้

สรุป

มรดกของนายเงินที่เป็นเงินสด 600,000 บาท ตกได้แก่นางเพชรและนายยอดคนละ 300,000 บาท ส่วนบ้าน 1 หลัง ราคา 900,000 บาท ตกได้แก่นายเล็กตามพินัยกรรม

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายหมอก นายเมฆให้นายชายยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 8 เดือน นอกจากนี้ นายเมฆได้ทําสัญญาซื้อขายที่ดินกับนางหญิง ซึ่งที่ดินแปลงนี้มีราคา 2 ล้านบาท ผ่อนชําระทั้งหมด 8 งวด หลังจากทําสัญญาแล้วเป็นเวลา 2 เดือน นายชายและนางหญิงประสบ อุบัติเหตุเสียชีวิต ดังนี้ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับเป็นมรดกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดก ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ์ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับเป็นมรดกหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 สิทธิตามสัญญายืม

การที่นายเมฆให้นายชายยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 8 เดือนนั้น เป็นสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งตามกฎหมายสัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเมื่อผู้ยืมตาย (ป.พ.พ. มาตรา 648) ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากทําสัญญาแล้วเป็นเวลา 2 เดือน นายชายผู้ยืมได้ถึงแก่ความตาย สัญญายืมใช้คงรูประหว่างนายเมฆกับนายชาย จึงต้องระงับไป และมีผลทําให้สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมของผู้ยืมซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นการเฉพาะตัว ของผู้ตาย (ผู้ยืม) จึงต้องระงับไปด้วย ดังนั้น สิทธิที่นายชายผู้ยืมได้รับจึงไม่เป็นมรดก

2 สิทธิตามสัญญาซื้อขาย

การที่นายเมฆได้ทําสัญญาซื้อขายที่ดินกับนางหญิง ซึ่งที่ดินแปลงนี้มีราคา 2 ล้านบาท และตกลงผ่อนชําระกันทั้งหมด 8 งวดนั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้น เมื่อนางหญิงได้ถึงแก่ความตายภายหลังจากที่ทําสัญญาแล้ว เป็นเวลา 2 เดือน สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายจึงไม่ระงับลงแต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของคู่สัญญา ดังนั้น สิทธิที่นางหญิงได้รับตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นมรดก

สรุป

สิทธิตามสัญญายืมที่นายชายได้รับไม่เป็นมรดก แต่สิทธิตามสัญญาซื้อขายที่นางหญิง ได้รับเป็นมรดก

 

ข้อ 2 นายมั่นคงจดทะเบียนสมรสกับนางเดือนมีบุตรคือนายดิน และนายมั่นคงไปมีความสัมพันธ์กับนางดอกไม้จนมีบุตรคือนายแสงซึ่งนายมั่นคงได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ส่วนนายดินนั้น อยู่กินกับนางมกรามีบุตรคือนายดงซึ่งนายดินให้ใช้นามสกุล ส่วนนายดงนั้นต่อมาได้จดทะเบียนรับ นายดิบมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ นายแสงได้จดทะเบียนรับนายสิงห์ มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายสิงห์มีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายคือนายสรรค์ ต่อมานายดินและนายดงป่วยและถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายแสงและนายสิงห์ประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย ต่อมานายมั่นคงป่วยและถึงแก่ความตาย ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายมั่นคงที่มีเงินสด 3,600,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1457 “การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น”

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคย เป็นสามี แล้วแต่กรณี”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(4) ถ้าไม่มีทายาทดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดก ทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายมั่นคงถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายมั่นคง จํานวน 3,600,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิรับมรดก ของนายมันคง ได้แก่

1 นางเดือน เพราะนางเดือนเป็นภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายมั่นคงเจ้ามรดก จึง มีสิทธิรับมรดกของนายมั่นคงในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1457 ส่วนนางดอกไม้ มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายมั่นคงจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายมั่นคง

2 นายดิน เพราะเมื่อนายดินเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายมั่นคงตามมาตรา 1536 วรรคหนึ่ง จึงมีสิทธิรับมรดกของนายมั่นคงในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

3 นายแสง เพราะแม้นายแสงจะเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายมั่นคงเนื่องจากนายมั่นคง มิได้จดทะเบียนสมรสกับนางดอกไม้ แต่เมื่อนายมั่นคงบิดาได้รับรองแล้วโดยได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ดังนั้นนายแสงจึงมีสิทธิรับมรดกของนายมั่นคงในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายดินและนายแสงได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ดังนั้นทั้งนายดินและนายแสงจึงไม่อาจรับมรดกของนายมั่นคงได้ เพราะทั้งสองไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปคือ จะมีบุคคลใดสามารถเข้ารับ มรดกแทนที่ของทั้งสองคนได้หรือไม่ ซึ่งการรับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 นั้น ผู้ที่จะรับ มรดกแทนที่ในกรณีที่ทายาทตามมาตรา 1629 (1) ได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกนั้น จะต้องเป็นผู้สืบสันดาน โดยตรงของทายาทดังกล่าวนั้นด้วย

กรณีของนายดิน เมื่อนายดินถึงแก่ความตายแล้ว นายดงซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงตาม มาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายดินได้ แต่เมื่อปรากฏว่านายดงได้ถึงแก่ ความตายก่อนเจ้ามรดกเช่นเดียวกัน กรณีนี้แม้นายดงจะมีผู้สืบสันดานคือนายดิบ แต่เมื่อนายดิบไม่ใช่ ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายดง ดังนั้น นายดิบจึงไม่อาจเข้ารับมรดกแทนที่นายดงได้

ส่วนกรณีของนายแสงนั้น เมื่อนายแสงมีบุตรบุญธรรมคือนายสิงห์ซึ่งมิใช่ผู้สืบสันดาน โดยตรงของนายแสง ดังนั้น นายสิงห์จะเข้ารับมรดกแทนที่นายแสงไม่ได้ และเมื่อนายสิงห์ไม่อาจรับมรดกแทนที่ นายแสงได้ จึงไม่ต้องพิจารณาต่อว่า นายสรรค์ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสิงห์จะเข้ารับมรดก 66 6.นนายสิงห์ได้หรือไม่

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายมั่นคงถึงแก่ความตายจึงมีทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิรับ มรดกของนายมั่นคงเพียงคนเดียว คือ นางเดือนซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย มรดกของนายมั่นคงทั้งหมด จํานวน 3,600,000 บาท จึงตกได้แก่นางเดือนแต่เพียงผู้เดียว

สรุป มรดกของนายมั่นคงจํานวน 3,600,000 บาท ตกได้แก่นางเดือนแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 3 นายสืบอยู่กินกับนางอรไม่มีบุตรด้วยกัน นายสืบมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันคือนายส่ง ต่อมานายสืบได้จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมายรับนางสาวสมหญิงซึ่งเป็นบุตรของเพื่อนสนิทนายสืบ ที่ถึงแก่ความตายมาเป็นบุตรบุญธรรมของนายสืบ ต่อมานายสืบกลับลักลอบมีความสัมพันธ์กับ นางสาวสมหญิงและนายสืบได้จดทะเบียนสมรสกับนางสาวสมหญิง นายส่งเมื่อทราบเรื่องก็ไม่พอใจ นางสาวสมหญิงอย่างมาก จึงไปดักยิงนาวสาวสมหญิงจนถึงแก่ความตาย นายส่งถูกจับและศาล มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกนายส่งเพราะเจตนาฆ่านางสาวสมหญิง นายส่งมีคู่สมรสที่ชอบ ด้วยกฎหมายคือนางสุพรและมีบุตรคือ ด.ช.ลักษณ์ ต่อมานายสืบตรอมใจและป่วยถึงแก่ความตาย ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายสืบที่มีเงินฝากในธนาคาร 10 ล้านบาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1451 “ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้” มาตรา 1457 “การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น”

มาตรา 1598/32 “การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายสืบเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกทั้งหมด คือเงินฝากในธนาคาร 10 ล้านบาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งบุคคลใดบ้าง ที่มีสิทธิรับมรดกของนายสืบในฐานะทายาทโดยธรรมนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีนางสมหญิง การที่นายสืบได้จดทะเบียนรับนางสมหญิงเป็นบุตรบุญธรรม แต่ต่อมา ภายหลังได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น แม้ตามมาตรา 1451 จะได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรม ก็ตาม แต่ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1451 ดังกล่าว ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่อย่างใด เพียงแต่มาตรา 1598/32 ได้บัญญัติแต่เพียงว่าให้การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกไปเท่านั้น ดังนั้น กรณีของนางสมหญิงนั้น ย่อมถือว่านางสมหญิงเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง มิใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านางสมหญิงได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นางสมหญิง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกเพราะถือว่านางสมหญิงไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

2 กรณีนางอร การที่นางอรได้อยู่กินกับนายสืบโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส นางอรจึง มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสืบตามมาตรา 1457 นางอรจึงมิได้เป็นทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคสอง ดังนั้น นางอรจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสืบ

3 กรณีนายส่ง เมื่อนายส่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามรดาเดียวกันกับนายสืบ นายส่งจึงเป็น ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (3) ที่มีสิทธิรับมรดกของนายสืบ และแม้ว่านายส่งจะฆ่านางสมหญิงโดยเจตนาและ ศาลได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกก็ตาม ก็ไม่ทําให้นายส่งถูกกําจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1606 (1) เพราะนายส่งมิได้ฆ่าผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตน แต่เป็นการฆ่าผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับตนเท่านั้น ดังนั้น นายส่ง จึงมีสิทธิรับมรดกของนายสืบ

และเมื่อนายส่งมิได้ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดไม่ให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ดังนั้น บุตรของนายส่งคือ ด.ช.ลักษณ์ จึงไม่อาจรับมรดกแทนที่นายส่งตามมาตรา 1639 และเมื่อทายาทโดยธรรมที่มี สิทธิรับมรดกของนายสืบมีเพียงคนเดียวคือนายส่ง ดังนั้น นายส่งจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายสืบทั้งหมดจํานวน 10 ล้านบาท แต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายสืบจํานวน 10 ล้านบาท ตกได้แก่นายส่งเพียงคนเดียว

 

ข้อ 4 นายดําและนางขาวเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเอกและนายโท นายเอกจดทะเบียนสมรสกับนางอุ้มแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ทั้งสองจึงไปรับ ด.ญ.อ้อนมาเป็นบุตรบุญธรรม โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย นายดําได้ทําพินัยกรรมยกบ้าน 1 หลัง ราคา 1,200,000 บาท ให้กับนายโท แต่ทรัพย์มรดกอื่น ๆ นายดําไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้กับใคร ต่อมานายดําถึงแก่ ความตาย นายดํามีทรัพย์มรดกคือบ้าน 1 หลัง ราคา 1,200,000 บาท ตามพินัยกรรม และเงินสด 900,000 บาท นายเอกทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายดํา โดยมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขต บางกะปิ ส่วนนายโทได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนเองโดยทุจริตจํานวน 600,000 บาท ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดกของนายดํา

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มีให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายดําเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายดํามีมรดกคือ บ้าน 1 หลัง ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม และเงินสด 900,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายดําจะตกได้แก่ใครบ้าง แยกพิจารณา ได้ดังนี้คือ

กรณีเงินสด 900,000 บาท ที่นายดํามิได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ของนายดํา ซึ่งได้แก่

1 นายเอกและนายโท ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

2 นางขาว ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนทายาทชันบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้นนายเอก นายโท และนางขาว จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน คือคนละ 300,000 บาท ตามมาตรา 1633

สําหรับนายโทนั้น เมื่อเจ้ามรดกตายได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนโดยทุจริตจํานวน 600,000 บาท ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้นนายโทจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดก ของนายดําในฐานะทายาทโดยธรรมเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง และเงินมรดกที่นายโทถูกกําจัดมิให้ได้รับ จํานวน 300,000 บาทนั้น จะต้องนําคืนกองมรดกแล้วนําไปแบ่งให้แก่นายเอกและนางขาวคนละ 150,000 บาท ดังนั้น นายเอกและนางขาวจะได้รับมรดกของนายดําคนละ 450,000 บาท

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายเอกได้ทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายดํามอบไว้แก่ ผู้อํานวยการเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นการสละมรดกที่ได้ทําถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น ด.ญ.อ้อน ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม และมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิสืบมรดก ได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนที่นายเอกผู้สละมรดกจะได้รับคือ 450,000 บาท ตามมาตรา 1615 วรรคสอง

สําหรับบ้าน 1 หลังราคา 1,200,000 บาท ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นายดํา ทําพินัยกรรมยกให้กับนายโทโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคสอง คือ บ้านจะตกได้แก่นายโท ในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยนายโทจะไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกในส่วนนี้

สรุป

มรดกของนายดําที่เป็นเงินสด 900,000 บาท ตกได้แก่นางขาวและด.ญ.อ้อน คนละ 450,000 บาท ส่วนบ้าน 1 หลัง ราคา 1,200,000 บาท ตกได้แก่นายโทตามพินัยกรรม

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายหมอก นายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี และนายเมฆให้สิทธิอาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 456 แก่นางหญิงเป็นเวลา 10 ปี หลังจากให้สิทธิแก่คนทั้งสองแล้วเป็นเวลา 5 ปี นายชายและนางหญิง ก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ดังนี้ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับเป็นมรดกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับเป็นมรดกหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีนายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี

ตามกฎหมายเมื่อนายชายผู้รับสิทธิ (ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดิน) ถึงแก่ความตาย ย่อมไม่ ทําให้สิทธิเหนือพื้นดินระงับสิ้นไป หน้าที่ที่จะต้องให้ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินในที่ดินนั้น ไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยเท้ ดังนั้นเมื่อนายชายถึงแก่ความตาย สิทธิดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอด แก่ทายาทนายเมฆจึงต้องให้ทายาทของนายชายใช้ที่ดินนั้นต่อไปจนครบกําหนด 10 ปีตามสัญญา

2 กรณีนายเมฆให้สิทธิอาศัยในที่ดินแก่นางหญิงเป็นเวลา 10 ปี

ตามกฎหมายสิทธิอาศัยนั้นจะโอนกันไม่ได้แม้โดยทางมรดก ดังนั้น สิทธิอาศัยถือว่า เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้รับสิทธิ) โดยแท้ จึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท เมื่อนางหญิงผู้รับสิทธิถึงแก่ ความตายทายาทของนางหญิงจึงต้องคืนที่ดินนั้นให้แก่นายเมฆ

สรุป สิทธิเหนือพื้นดินที่นายชายได้รับเป็นมรดก แต่สิทธิอาศัยที่นางหญิงได้รับไม่เป็นมรดก

 

ข้อ 2 นายสิงโตจดทะเบียนสมรสกับนางสวยมีบุตรคือนายช้าง นายเสือ และนายยีราฟ ต่อมานางสวยป่วยตาย นายช้างจดทะเบียนสมรสกับนางนกแต่ไม่มีบุตร นายเสือจดทะเบียนสมรสกับนางแสง มีบุตรคือนายจิ๋ว ส่วนนายยีราฟอยู่กินกับนางเดือนมีบุตรคือนางแจ๋วซึ่งนายยีราฟแจ้งเกิดในสูติบัตร ว่าเป็นบิดา ต่อมานายเสือประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย นายช้างได้จดทะเบียนรับนายจิ๋วมาเป็น บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมานายสิงโตทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ นายยีราฟ แต่ต่อมานายยีราฟและนายช้างประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายสิงโตป่วย และถึงแก่ความตายโดยมีเงินสดในธนาคาร 3,000,000 บาท ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายสิงโต

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็น สามี แล้วแต่กรณี

มาตรา 1598/28 “บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับ บุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กําเนิดมา…”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกสําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตาม บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสิงโตได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกคือเงินสดในธนาคาร 3,000,000 บาท ให้แก่นายยีราฟนั้น เมื่อปรากฏว่านายยีราฟผู้รับพินัยกรรมตายก่อนนายสิงโตผู้ทําพินัยกรรม ข้อกําหนดในพินัยกรรมนั้นย่อมตกไป ดังนั้น จึงต้องนําเงิน 3,000,000 บาท ดังกล่าวกลับคืนสู่กองมรดกเพื่อแบ่งปัน ให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายสิงโตต่อไปตามมาตรา 1698 (1), 1699 และมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง และกรณีดังกล่าวนี้ นางแจ่วซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายยีราฟได้รับรองแล้วและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายยีราฟ ตาม มาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1) จะเข้ามารับมรดกแทนที่ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 1642 ซึ่งกําหนด ไว้ว่า การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรมเท่านั้น

ในส่วนของทายาทโดยธรรมของนายสิงโตนั้น บุตรทั้ง 3 คน ได้แก่ นายช้าง นายเสือ และ นายยีราฟ ต่างก็เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสิงโตเจ้ามรดกตามมาตรา 1536 วรรคหนึ่ง จึงเป็นทายาทโดยธรรม ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ที่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงโต แต่เมื่อปรากฏว่า นายช้าง นายเสือ นายยีราฟ รวมทั้งนางสวยภริยาของนายสิงโตได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาท ของนายสิงโต เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 ซึ่งได้ กําหนดไว้ว่า ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้น มีผู้สืบสันดานและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ก็ให้ผู้สืบสันดานคนนั้นเข้ารับมรดกแทนที่ได้ ซึ่งกรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีนายจิ๋ว แม้นายจิ๋วจะเป็นบุตรบุญธรรมของนายช้างแต่ไม่อาจเข้ารับมรดกแทนที่นายช้างได้ เพราะมิใช่สืบสันดานโดยตรงของนายช้างตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 แต่เมื่อนายจิ๋วเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของนายเสือ แม้ต่อมาจะเป็นบุตรบุญธรรมของนายช้างก็ตาม ย่อมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้ กําเนิดมา ดังนั้น นายจิ๋วจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายเสือเพื่อรับมรดกของนายสิงโตได้ตามมาตรา 1598/28, 1629 (1) และมาตรา 1639

กรณีนางแจ๋ว แม้นางแจ๋วจะรับมรดกแทนที่ในพินัยกรรมไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 1642 แต่ในส่วนที่นางแจ๋วเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายยีราฟรับรองแล้ว นางแจ๋วจึงเป็นทายาทในฐานะผู้สืบสันดาน โดยตรงของนายยีราฟตามมาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1) ดังนั้น นางแจ๋วจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายยีราฟ เพื่อรับมรดกของนายสิงโตได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

และเมื่อมีผู้รับมรดกแทนที่นายเสือและนายยีราฟเพื่อรับมรดกของนายสิงโต 2 คน ดังนั้น นายจิวและนางแจ่ว จึงได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของนายสิงโตเท่า ๆ กัน คือ คนละ 1,500,000 บาท ตามมาตรา 1634 (2)

สรุป

มรดกของนายสิงโตจํานวน 3,000,000 บา! ตกได้แก่นายจิ๋วและนางแจ๋วคนละ 1,500,000 บาท

 

ข้อ 3 นายเด่นมีภริยาชอบด้วยกฎหมายชื่อนางเดือน มีบุตรคือนางสาวดาว และนายเด่นยังจดทะเบียนรับนายโชคเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย นายโชคมีบุตรชอบด้วยกฎหมายชื่อนายลาภ ต่อมานายโชคประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้น 1 ปี นายเด่นถึงแก่ความตายโดยมี ทรัพย์มรดกเป็นเงิน 300,000 บาท นายเด่นมิได้ทําพินัยกรรมไว้ บิดามารดาถึงแก่ความตาย ไปก่อนแล้ว หลังเสร็จพิธีศพนางสาวดาวเบียดบังเอาเงินอันเป็นทรัพย์มรดกของนายเด่นไปเป็น ของตนเอง 200,000 บาท ให้วินิจฉัยพร้อมให้เหตุผลประกอบว่า ทรัพย์มรดกของนายเด่นตกทอดแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยกย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะกิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง  แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเด่นถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายเด่น คือเงิน 300,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิ รับมรดกของนายเด่น ได้แก่ นางสาวดาวบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) นายโชคซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1) และนางเดือนซึ่งเป็น ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย ซึ่งทั้งสามคนจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 100,000 บาท ตามมาตรา 1633 ประกอบมาตรา 1635 (1)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นางสาวดาวได้ยักย้ายเบียดบังเอาทรัพย์มรดกมา เป็นของตน 200,000 บาท ซึ่งมีจํานวนมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้น นางสาวดาวจึงถูกกําจัดมิให้รับมรดกเลย ตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง ทรัพย์มรดกในส่วนของนางสาวดาวจึงต้องนํามาแบ่งให้แก่ทายาทที่เหลือตามส่วน ซึ่งได้แก่นายโชคและนางเดือนคนละส่วนคืออีกคนละ 50,000 บาท ทําให้นายโชคและนางเดือนจะได้รับส่วนแบ่ง มรดกของนายเด่นคนละ 150,000 บาท

แต่เมื่อนายโชคได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่านายโชคไม่มีสภาพบุคคลในขณะที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายโชคจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเด่น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายโชคมีบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายคือนายลาภ ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ดังนั้นนายลาภจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายโชคเพื่อรับมรดก ของนายเด่นตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

สรุป ทรัพย์มรดกของนายเด่นจํานวน 300,000 บาท ตกทอดแก่นายลาภและนางเดือนคนละ 150,000 บาท

 

ข้อ 4 นายก้องและนางขิมเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายขาว นายก้องมีน้องชายร่วมบิดารมารดาเดียวกัน คือนายเก่ง ต่อมานายก้องและนางขิมได้จดทะเบียนรับนายดํา หลานชายของนางขิมมาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย นายดําจดทะเบียนสมรสกับนางใจ ทั้งสองมี บุตรสาวด้วยกัน 1 คน คือ ด.ญ.ด้วง นายก้องขับรถไปต่างจังหวัดกับนายดํา รถยนต์ประสบอุบัติเหตุ ชนกับเสาไฟฟ้า นายดําถึงแก่ความตาย ส่วนนายก้องได้รับบาดเจ็บสาหัส ในระหว่างที่นายก้อง รักษาตัวที่โรงพยาบาล นายขาวหลอกลวงให้นายก้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์มรดก ทั้งหมดให้แก่นายขาว ต่อมานายก้องถึงแก่ความตาย นายก้องมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 150,000 บาท ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายก้อง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทํา หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วน หรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทําการดังกล่าวนั้น”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ผู้ตายเลย”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวได้หลอกลวงให้นายก้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ยก ทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นายขาวนั้น ถือเป็นการฉ้อฉลให้เจ้ามรดกทําพินัยกรรมซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ดังนั้น แม้ว่านายขาวจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ก็ตาม นายขาวก็ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายก้องฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (4) และมีผลทําให้ นายขาวไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายก้องเลย

และเมื่อพินัยกรรมดังกล่าวเป็นอันไร้ผลไม่มีผลบังคับ จึงต้องนําทรัพย์มรดกของนายก้องทั้งหมด จํานวน 150,000 บาท ไปแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายก้องตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของนายก้องในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่

1 นางขิม ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายก้องในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2 นายดํา ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมและมีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตารมาตร 17 ประกอบมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายดําได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก และนายดํามีบุตร ชอบด้วยกฎหมายคือ ด.ญ.ด้วง ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายดํา ดังนั้น ด.ญ.ด้วง จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ของนายดําเพื่อรับมรดกของนายก้องได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

ส่วนนายเก่ง ซึ่งเป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันของนายก้องและเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) นั้น เมื่อเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลําดับก่อน ๆ นายเก่งซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลําดับ ถัดลงไปจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น มรดกของนายก้อง จึงตกได้แก่ นางพิม และ ด.ญ.ด้วง ซึ่งรับมรดกแทนที่นายดําเพียง สองคน และแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ คนละ 75,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายก้อง 150,000 บาท ตกได้แก่นางขิมและ ด.ญ.ด้วง คนละ 75,000 บาท

 

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 นายเอกมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายโท นายเอกให้สิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี นอกจากนี้นายเอกยังให้นางหญิงเช่าอพาร์ทเมนต์ 1 ห้อง เป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่นายเอกให้สิทธิแก่คนทั้งสองแล้วเป็นเวลา 1 ปี นายเอกและนางหญิงเดินทาง ไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ดังนี้ สิทธิเหนือพื้นดินและสิทธิตามสัญญาเช่าเป็นมรดกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิเหนือพื้นดินและสิทธิตามสัญญาเช่าเป็นมรดกหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 กรณีสิทธิเหนือพื้นดิน การที่นายเอกให้สิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่ นายชายเป็นเวลา 10 ปี และหลังจากนั้นอีก 1 ปี นายเอกได้ถึงแก่ความตายนั้น ตามกฎหมายเมื่อนายเอกเจ้าของที่ดิน ถึงแก่ความตาย ย่อมไม่ทําให้สิทธิเหนือพื้นดินระงับสิ้นไป หน้าที่ที่จะต้องให้ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินใช้ประโยชน์ เหนือพื้นดินต่อไปนั้นไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้น เมื่อนายเอกถึงแก่ความตาย หน้าที่และ สิทธิดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กล่าวคือ นายโททายาทของนายเอกจะต้องให้นายชายใช้ประโยชน์ เหนือพื้นดินนั้นต่อไปจนครบ 10 ปี

2 กรณีสิทธิตามสัญญาเช่า การที่นายเอกให้นางหญิงเช่าอพาร์ทเมนต์ 1 ห้อง เป็นเวลา 2 ปี และหลังจากนั้นอีก 1 ปี นางหญิงผู้เช่าถึงแก่ความตายนั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าย่อมระงับสิ้นไป เพราะสิทธิตามสัญญาเช่านั้นผู้ให้เช่าได้คํานึงถึงคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของผู้เช่า สิทธิตามสัญญาเช่าโดย สภาพจึงเป็นการเฉพาะตัวของผู้เช่าโดยแท้ ดังนั้น สิทธิตามสัญญาเช่าจึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

สรุป

สิทธิเหนือพื้นดินเป็นมรดก แต่สิทธิตามสัญญาเช่าไม่เป็นมรดก

 

ข้อ 2 นายหนึ่งจดทะเบียนสมรสกับนางศรีมีบุตรคือ นายสอง ต่อมานางศรีป่วยตาย นายสองอยู่กินกับนางเดือนมีบุตรคือนายเอและนายบี ซึ่งนายสองให้ใช้นามสกุล นายเอจดทะเบียนสมรสกับนางส้ม มีบุตรคือนายซี ส่วนนายบีได้อยู่กินกับนางแดงมีบุตรคือนายดํา ซึ่งนายบีได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่า เป็นบิดา ต่อมานายดําจดทะเบียนสมรสกับนางเกตแต่ไม่มีบุตร นายดําจึงจดทะเบียนรับนายธงมา เป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นนายสองป่วยถึงแก่ความตาย นายเอทําหนังสือ สละมรดกของนายสองมอบแก่ผู้อํานวยการเขตบางกะปิ ต่อมานายที่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายดําป่วยและถึงแก่ความตาย ต่อมาไม่นานนายหนึ่งประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ดังนี้จงแบ่งมรดกของนายหนึ่งซึ่งมีเงินฝากในธนาคาร 240,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคราง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1645 “การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะ รับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกของบุคคลอื่น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกทั้งหมดจํานวน 240,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งนั้น โดยหลักแล้วคือนางศรีภริยาในฐานะคู่สมรสและนายสองซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1629 (1) และวรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางศรีและนายสองได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ดังนั้นนางศรีและ นายสองจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายสองซึ่งจะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ถึงแก่ความตาย ก่อนเจ้ามรดก และนายสองมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายเอและนายบี ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย (เพราะนายสองกับ นางเดือนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน) ที่นายสองบิดาได้รับรองแล้ว (นายสองให้ใช้นามสกุล) ตามมาตรา 1627 ดังนั้น นายเอและนายบีย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายสองเพื่อรับมรดกของนายหนึ่งได้ตามมาตรา 1639 และ 1643

และตามมาตรา 1639 ตอนท้ายได้บัญญัติว่าในการรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้มีการรับมรดก แทนที่กันเป็นราย ๆ สืบต่อกันไปจนหมดสาย แต่ผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกแทนที่ผู้สืบสันดานคนก่อนนั้น จะต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงด้วยตามมาตรา 1643 ดังนั้น เมื่อนายสองถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกนายเอ และนายบีรวมทั้งผู้สืบสันดานของนายบีจะรับมรดกแทนที่นายลองได้เพียงใด หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายเอ เมื่อนายเอเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายสอง นายเอย่อมมีสิทธิรับมรดก แทนที่นายสองได้ตามมาตรา 1639 และ 1643 และแม้จะปรากฏว่านายเอได้สละมรดกของนายสองโดยถูกต้อง ตามมาตรา 1612 แล้วก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิของนายเอที่จะรับมรดกแทนที่นายสองในการสืบมรดกของนายหนึ่ง ตามมาตรา 1645 ดังนั้น นายเอจึงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งโดยการรับมรดกแทนที่นายสองได้ ส่วนนายซี ซึ่งเป็นบุตรของนายเอจะเข้ามารับมรดกแทนที่นายเอไม่ได้ เพราะนายเอยังมิได้ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด

กรณีของนายบี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายปีได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกเช่นเดียวกับ นายสอง นายบีจึงไม่อาจรับมรดกแทนที่นายสองได้ และแม้นายบีจะมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายดําซึ่งเป็นบุตร นอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว (นายบีได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา) ตามมาตรา 1627 แต่นายดําก็ได้ถึงแก่ ความตายก่อนเจ้ามรดกเช่นเดียวกับนายบีและนายสอง ดังนั้น นายดําจะเข้ามารับมรดกแทนที่นายบีไม่ได้ เช่นเดียวกัน จึงเหลือเฉพาะนายธงซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของนายดํา แต่เมื่อปรากฏว่านายธงเป็นเพียงบุตรบุญธรรม ของนายดํามิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายดํา นายธงจึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกแทนที่นายดําตามมาตรา 1639 และ 1643 ดังนั้น มรดกของนายสอง (ที่จะได้รับจากนายหนึ่ง) ในส่วนที่จะตกได้แก่นายบีนั้น จึงไม่มีผู้ใดที่จะมีสิทธิ รับมรดกแทนที่ได้ จึงมีผลทําให้มรดกทั้งหมดของนายหนึ่งจํานวน 240,000 บาท ตกได้แก่นายเอแต่เพียงผู้เดียว

สรุป

มรดกทั้งหมดของนายหนึ่งจํานวน 240,000 บาท ตกได้แก่นายเอแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 3 นายนิดจดทะเบียนสมรสกับนางหน่อย มีบุตรชื่อนายใหญ่ หลังจากนั้นนายนิดไปอยู่กินฉันสามีภริยากับนางสวยมีบุตรชื่อเด็กชายจิ๋ว นายนิดอุปการะเลี้ยงดูและให้เด็กชายจิ๋วใช้นามสกุลตลอดมา ต่อมานายใหญ่โกรธที่นายนิดใบมีภริยาใหม่จึงใช้อาวุธปืนยิงนายนิดถึงแก่ความตาย นางหน่อยเห็นเหตุการณ์ แต่ไม่แจ้งผู้ใดเพราะเกรงว่านายใหญ่จะถูกจับ แต่ที่สุดนายใหญ่ถูกจับกุมและดําเนินคดีจนศาล มีคําพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจําคุกฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ขณะถึงแก่ความตาย นายนิดมีทรัพย์มรดก เป็นเงินสด 3,000,000 บาท และไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใด ให้วินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกของนายนิดตกทอดแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

(3) ผู้ที่รู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนาแต่มิได้นําข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะ เอาตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มีให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริต ไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “สําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายนิดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกทั้งหมดของ นายนิดจํานวน 3,000,000 บาท ย่อมตาทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิ และไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายนิด แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 นายใหญ่ ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายนิดและเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) นั้น เมื่อปรากฏว่า นายใหญ่ใช้อาวุธปืนยิงนายนิดเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จนถูกศาลพิพากษา ถึงที่สุดลงโทษจําคุกฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา นายใหญ่จึงเป็นบุคคลที่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตามมาตรา 1606 (1) ดังนั้น นายใหญ่จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายนิด

2 นางหน่อย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายนิด และเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 วรรคสองนั้น การที่นางหน่อยเห็นเหตุการณ์ในขณะที่นายใหญ่ใช้อาวุธปืนยิงนายนิดถึงแก่ความตาย แต่มิได้นําความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ แต่เมื่อผู้ที่ฆ่าเจ้ามรดกนั้นเป็น ผู้สืบสันดานโดยตรงของนางหน่อย จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1606 (3) ตอนท้าย ที่นางหน่อยจะไม่ถูกกําจัดมิให้ รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ดังนั้น นางหน่อยจึงมีสิทธิรับมรดกของนายนิด และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า ตนเป็นทายาทชันบุตรตามมาตรา 1635 (1)

3 เด็กชายจิ๋ว ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายนิดเพราะเกิดจากนางสวยซึ่งมิได้ จดทะเบียนสมรสกับนายนิด แต่เมื่อนายนิดได้รับรองโดยการอุปการะเลี้ยงดูและให้เด็กชายจิ๋วใช้นามสกุลตลอดมา ดังนั้นเด็กชายจิ๋วจึงมีสิทธิรับมรดกของนายนิดในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627

4 นางสวย เมื่อนางสวยเป็นภริยาของนายนิดแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายนิด นางสวย จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง ดังนั้น นางสวยจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายนิด

เมื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกของนายนิดมี 2 คน ได้แก่ เด็กชายจิ๋วในฐานะผู้สืบสันดาน และ นางหน่อยในฐานะคู่สมรสซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกชั้นเดียวกับเด็กชายจิ๋ว ดังนั้นทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนแบ่ง เท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1633 คือจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 1,500,000 บาท

สรุป

ทรัพย์มรดกของนายนิดจะตกได้แก่ นางหน่อยและเด็กชายจิ๋วคนละ 1,500,000 บาท

 

ข้อ 4 นายเพชรและนางพลอยเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตร 2 คน คือ นายนิลและนางไพลินต่อมานายเพชรไปหลงรักนางสาวนก นายเพชรทิ้งนางพลอยแล้วไปอยู่กินกับนางสาวนกโดยไม่ได้ จดทะเบียนหย่ากับนางพลอย นายนิลอยู่กินกับนางทับทิมฉันสามีภริยา โดยทั้งสองคนตกลงกันว่า จะไม่จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวมรกต นายนิลไม่ได้จดทะเบียนรับ นางสาวมรกตเป็นบุตร แต่นายนิลส่งเสียเลี้ยงดูนางสาวมรกตเป็นอย่างดี จนกระทั่งจบการศึกษา ระดับปริญญาตรี ส่วนนางไพลินมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายชื่อนายพงษ์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ ด.ญ.พิณ วันหนึ่งนายเพชรและนางไพลินประสบอุบัติเหตุถูกรถชน นางไพลินถึงแก่ความตายในที่ เกิดเหตุ ส่วนนายเพชรถึงแก่ความตายภายหลังที่โรงพยาบาล นายเพชรมีทรัพย์มรดกทั้งหมด 150,000 บาท นายนิลไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของนายเพชร นายนิลจึงทําหนังสือสละมรดก ของนายเพชรมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ดังนี้จงแบ่งมรดกของนายเพชร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 “การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเพชรถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายเพชร ทั้งหมดจํานวน 150,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิและ ไม่มีสิทธิในการรับมรดกของนายเพชร แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 นางพลอย เมื่อนางพลอยเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเพชร แม้นายเพชร จะทิ้งนางพลอยแล้วไปอยู่กินกับนางสาวนก แต่เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับนางพลอย จึงถือว่านางพลอยยัง เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเพชร ดังนั้น นางพลอยจึงมีสิทธิรับมรดกของนายเพชรในฐานะคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคสอง ส่วนนางสาวนกซึ่งมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเพชรจึงมิใช่ทายาทโดยธรรม และไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเพชร

2 นายนิล เมื่อนายนิลเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเพชร นายนิลย่อมมีสิทธิ รับมรดกของนายเพชรในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่นายเพชรถึง แก่ความตาย นายนิลได้ทําหนังสือสละมรดกของนายเพชรมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ซึ่งถือเป็นการสละมรดก โดยถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น นายนิลจึงเสียสิทธิในการรับมรดกของนายเพชร กล่าวคือ จะรับมรดกของนายเพชรในฐานะผู้สืบสันดานอีกไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายนิลได้สละมรดกนั้นเป็นการสละมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม เมื่อนายนิลมีผู้สืบสันดานคือนางสาวมรกตซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว (นายนิลได้ส่งเสียเลี้ยงดู เป็นอย่างดี) ตามมาตรา 1627 ดังนั้น นางสาวมรกตย่อมสามารถสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะ ได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่นายนิลจะได้รับตามมาตรา 1615 วรรคสอง

3 นางไพลิน ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเพชร และเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (1) นั้น เมื่อได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นางไพลินจึงไม่อาจรับมรดกของนายเพชรได้ เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านางไพลินมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือ ด.ญ.พิณ ดังนั้น ด.ญ.พิณจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นางไพลินได้ตามมาตรา 1639 และ 1643

เมื่อบุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายเพชรมีทั้งหมด 3 คน คือ นางพลอยซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก เสมือนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) นางสาวมรกต และ ด.ญ.พิณ และเมื่อทั้ง 3 คนเป็นทายาทโดยธรรม ในลําดับเดียวกันตามมาตรา 1629 (1) ดังนั้นทั้ง 3 คน จึงต้องได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1633 คือ ทั้ง 3 คน จะได้รับส่วนแบ่งในมรดกของนายเพชรคนละ 50,000 บาท

สรุป

มรดกของนายเพชรจํานวน 150,000 บาท ตกได้แก่ นางพลอย นางสาวมรกต และ ด.ญ.พิณ คนละ 50,000 บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายหนึ่งอยู่กินกับนางสองโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันคือ นายสาม ซึ่งนายหนึ่งได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา นอกจากนี้นายสุพจน์ได้จดทะเบียนรับนายสามไปเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมา นายสามได้ทําสัญญาเช่าอาคารจากนายดินโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยตกลงว่ามีค่าเช่า 10,000 บาท และระบุว่าบรรดาสิ่งที่ผู้เช่าได้นํามาตกแต่งในสถานที่เช่า ถ้ามีลักษณะติดตรึงตรากับอาคารแล้ว ผู้เช่าจะรื้อถอนไปมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า การปลูกสร้างหรือ ดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่ากระทําขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้เช่าทั้งสิ้น โดยมีระยะเวลาการเช่า 20 ปี นอกจากนี้นายสามได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากนายเขียว กําหนดชําระค่างวด งวดละ 10,000 บาท จํานวน 20 งวด ปรากฏว่าหลังจากนายสามทําสัญญาเช่าอาคารมาได้ 5 ปี และชําระค่างวดมาได้ 10 งวด นายสามป่วยและถึงแก่ความตายเช่นนี้ จงพิจารณาการตกทอดของมรดกของนายสาม

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรฃอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1598/27 “การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน”

มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะ ทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น”

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมี ผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ จะเห็นได้ว่ามรดกของนายสามซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทนั้น ได้แก่

1 สิทธิตามสัญญาเช่าอาคารจากนายดิน เพราะเมื่อในสัญญาเช่ามีข้อตกลงกันว่า การ ปลูกสร้างหรือดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่ากระทําขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้เช่าทั้งสิ้น โดยมีระยะเวลาการเช่า 20 ปีนั้น สัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เมื่อนายสามผู้เช่าถึงแก่ ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

2 สิทธิการเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากนายเขียว เพราะตามกฎหมายในเรื่องสัญญาเช่าซื้อนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย สัญญาเช่าซื้อย่อมไม่ระงับสิ้นไป เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อตาม กฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้น เมื่อนายสามผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

ส่วนบุคคลใดบ้างที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิในการรับมรดกดังกล่าวของนายสามนั้น แยกพิจารณา ได้ดังนี้

1 นายหนึ่ง ซึ่งเป็นบิดาของนายสามนั้น เมื่อนายหนึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับนางสอง นายหนึ่งจึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายสาม และแม้ว่านายหนึ่งจะได้รับรองว่านายสามเป็นบุตรโดย ได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดาตามมาตรา 1627 ก็ตาม นายหนึ่งก็มิใช่ทายาทโดยธรรมตามนัยของมาตรา 1629 (2) ดังนั้น นายหนึ่งจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสาม

2 นางสอง ซึ่งเป็นมารดาของนายสามนั้น ถือเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) จึงมีสิทธิรับมรดกของนายสาม ทั้งนี้เพราะนางสองแม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกับนายหนึ่ง แต่ก็ถือว่าเป็นมารดา ที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสามตามมาตรา 1546

3 นายสุพจน์ ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมของนายสามนั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาท โดยธรรมของนายสาม เพราะต้องห้ามตามมาตรา 1598/29 ที่กําหนดว่า การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิ รับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม

ดังนั้น มรดกของนายสามดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด จึงตกได้แก่นางสองแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1630 วรรคสอง และมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายสามคือ สิทธิตามสัญญาเช่าอาคารจากนายดิน และสิทธิการเป็นผู้เช่า ซื้อรถยนต์จากนายเขียวตกได้แก่นางสองแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 2 นายมะม่วงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับนางสาวมังคุดมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายขนุนและนายฝรั่ง นายขนุนจดทะเบียนสมรสกับนางลิ้นจี่ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน จึงร่วมกันจดทะเบียนรับนายมะพร้าว มาเป็นบุตรบุญธรรม โดยนายมะพร้าวมี ด.ช.มะนาวเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายมะพร้าวนํามา อุปการะเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนนายฝรั่งจดทะเบียนรับ ด.ช.ระบําเป็นบุตรบุญธรรมและมี ด.ญ.สละ เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายฝรั่งให้ใช้นามสกุล ต่อมานายมะพร้าวและนายฝรั่งเดินทางไป ต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต พอนายขนุนทราบข่าวก็เสียใจมาก หัวใจวายถึงแก่ความตาย นายขนุนมีมรดกเป็นเงินสดจํานวน 1 ล้าน 2 แสนบาท จงแบ่งมรดกของนายขนุน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1598/25 “ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับ ความยินยอมจากคู่สมรสก่อน…”

มาตรา 1598/27 “การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มีให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายขนุนถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกทั้งหมด จํานวน 1 ล้าน 2 แสนบาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิและ ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายขนุน แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 นายมะม่วง ซึ่งเป็นบิดาของนายขนุน เมื่อนายมะม่วงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ นางสาวมังคุด นายมะม่วงจึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายขนุน ดังนั้นนายมะม่วงจึงมิใช่ทายาทโดยธรรม ตามนัยของมาตรา 1629 (2) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายขนุน

2 นางสาวมังคุด เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายขนุน ดังนั้น นางสาวมังคุด จึงเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) และมีสิทธิได้รับมรดกของนายขนุน

3 นางลิ้นจี่ เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายขนุน จึงเป็นทายาทโดยธรรมใน ฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง นางลิ้นจี่จึงมีสิทธิรับมรดกของนายขนุน

4 นายมะพร้าว เป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของนายขนุนตามมาตรา 1598/25 และมาตรา 1598/27 โดยหลักแล้วย่อมมีสิทธิรับมรดกของนายขนุนในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อปรากฏว่านายมะพร้าวได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นายมะพร้าวจึงไม่มีสิทธิ รับมรดกของนายขนุน เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายมะพร้าวมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือ ด.ช.มะนาว ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายมะพร้าวบิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์แล้ว เมื่อนายมะพร้าวถึงแก่ ความตายก่อนเจ้ามรดก ด.ช.มะนาวจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายมะพร้าวได้ตามมาตรา 1639, 1642 และ มาตรา 1643

5 นายฝรั่ง เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายขนุนเจ้ามรดก จึงเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) แต่นายฝรั่งจะรับมรดกของนายขนุนไม่ได้ เพราะเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก ตามมาตรา 1629 (1) และ (2) อยู่แล้ว ดังนั้น นายฝรั่งซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลําดับถัดลงไปจึงไม่มีสิทธิรับมรดก ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และมีผลทําให้ ด.ช.ระกํา และ ด.ญ.สละ ไม่อาจรับมรดกแทนที่นายฝรั่งได้แม้ ด.ญ.สละ จะเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายฝรั่งก็ตาม

ดังนั้น มรดกจํานวน 1 ล้าน 2 แสนบาท ของนายขนุนจึงตกได้แก่ นางสาวมังคุดมารดา นางลิ้นจี่ ภริยา และ ด.ช.มะนาว ซึ่งเข้ารับมรดกแทนที่นายมะพร้าว โดยทั้งสามคนจะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กัน คือ คนละ 4 แสนบาท ตามมาตรา 1630 วรรคสอง , 1635 (1) และมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายขนุนจํานวน 1 ล้าน 2 แสนบาท ตกได้แก่ นางสาวมังคุด นางลิ้นจี่ และ ด.ช.มะนาว คนละ 4 แสนบาท

 

ข้อ 3 นายวิหคอยู่กินกับนางสมศรีโดยไม่จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกันคือ นายไกร นายเกรียง และนายกล ซึ่งนายวิหคได้ให้ใช้นามสกุล นายไกรจดทะเบียนสมรสกับนางมีนา มีบุตรคือ นายมกรา นายเกรียง จดทะเบียนรับนายกรุงมาเป็นบุตรบุญธรรม นายวิหคได้ทําพินัยกรรมยกเงินมรดกทั้งหมด 300,000 บาท ให้แก่นายกลแต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายกลกลับถึงแก่ความตายก่อนนายวิหค หลังจากนั้นนายวิหคป่วยและถึงแก่ความตาย เมื่อนายวิหคตายปรากฏว่า นายไกรได้ปลอม พินัยกรรมของนายวิหคขึ้นทันทีโดยกําหนดให้ตนได้รับมรดกหนึ่งในสามส่วน อีกทั้งปรากฏว่า หลังจากนายวิหคตายนั้น นายเกรียงได้ทําหนังสือสละมรดกของนายวิหคและมอบหนังสือนั้นแก่ ผู้อํานวยการเขตบางกะปิ เช่นนี้จงพิจารณาแบ่งมรดกของนายวิหคที่มีเงินสดตามพินัยกรรม 300,000 บาทนั้น

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1598/27 “การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ (5) ผู้ที่ปลอม ทําลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด”

มาตรา 1607 “การถูกกําจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูก กําจัดสืบมรดกต่อไปเสมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว…”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาท คนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนาม ของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายวิหคได้ทําพินัยกรรมยกเงินมรดกทั้งหมด 300,000 บาท ให้แก่ นายกลนั้น เมื่อปรากฏว่า นายกลผู้รับพินัยกรรมตายก่อนนายวิหคผู้ทําพินัยกรรม ข้อกําหนดในพินัยกรรมนั้นย่อม ตกไป ดังนั้น จึงต้องนําเงินจํานวน 300,000 บาท ในส่วนนี้กลับคืนสู่กองมรดกเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรม ของนายวิหคต่อไปตามมาตรา 1698 (1) และมาตรา 1699

ในส่วนของทายาทโดยธรรมนั้น บุตรทั้ง 3 คนของนายวิหค ได้แก่ นายไกร นายเกรียง และ นายกล ต่างก็เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายวิหคเจ้ามรดกได้รับรองโดยพฤติการณ์แล้ว ทั้ง 3 คน จึงเป็นทายาท โดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อปรากฏว่านายกลได้ถึงแก่ ความตายก่อนเจ้ามรดก นายกลจึงไม่มีสิทธิรับมรดกเพราะนายกสไมมีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง ส่วนนางสมศรีเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายวิหค จึงมิใช่ทายาทโดยธรรมใน ฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกเช่นเดียวกัน ดังนั้น มรดกจํานวน 300,000 บาท ของนายวิหคจึงตกได้แก่ นายไกร และนายเกรียง คนละ 150,000 บาท ตามมาตรา 1633

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านายไกรได้ปลอมพินัยกรรมของนายวิหค ย่อมทําให้นายไกรถูก กําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (5) ซึ่งเป็นการถูกกําจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกตาย เมื่อนายไกรมีผู้สืบสันดานคือนายมกราซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายมกราจึงมีสิทธิสืบมรดกของ นายวิหคเหมือนหนึ่งว่านายไกรนั้นตายแล้วตามมาตรา 1607 ดังนั้น นายมกราจึงได้รับมรดกของนายวิหค โดย การสืบมรดกของนายไกรจํานวน 150,000 บาท

ส่วนนายเกรียงนั้น เมื่อได้ทําการสละมรดกของนายวิหคโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 นายเกรียงจึงเสียสิทธิในการรับมรดก แต่เมื่อตามมาตรา 1615 วรรคสอง ได้กําหนดว่า เมื่อทายาทโดยธรรมคนใด สละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่านายเกรียงมีผู้สืบสันดาน

คือ นายกรุงที่เป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1598/27 นายกรุงจึงได้รับมรดกของนายวิหค โดยการสืบมรดกในส่วนที่นายเกรียงจะได้รับคือ 150,000 บาท

สรุป

มรดกของนายวิหคตกได้แก่ นายมกรา และนายกรุงคนละ 150,000 บาท

 

ข้อ 4 นางพิณมีบุตร 3 คน คือ นายหนึ่ง นายสอง และนายสาม นายสามมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือนางสร้อยมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.สิน นางพิณป่วยหนักรักษาตัวที่โรงพยาบาล นายหนึ่งเห็นว่า ตนเองเป็นบุตรชายคนโต นายหนึ่งจึงอยากเป็นผู้จัดการมรดกของนางพิณ นายหนึ่งได้ฉ้อฉลให้ นางพิณทําพินัยกรรมตั้งนายหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนางพิณ ต่อมานางพิณเห็นว่านายสองดูแลตน ในระหว่างที่ป่วยแต่เพียงผู้เดียว นางพิณจึงทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตนให้กับนายสอง หลังจากนั้นนางพิณถึงแก่ความตาย นางพิณมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 300,000 บาท นายสองไม่อยาก รับมรดกของนางพิณแต่เพียงผู้เดียว นายสองจึงได้สละมรดกของนางพิณในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางรัก ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดกของนางพิณ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทํา หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วน หรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทําการดังกล่าวนั้น”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1617 “ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก ผู้นั้นรวมตลอดทั้งผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะ รับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น”

มาตรา 1618 “ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้ หรือ ผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนเบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ เมื่อนางพิณเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์มรดกคือเงินจํานวน 300,000 บาท ซึ่งนางพิณได้ทําพินัยกรรมยกให้แก่นายสองเพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยหลักแล้วเงินจํานวน 300,000 บาท ย่อมตกได้แก่ นายสองในฐานะผู้รับพินัยกรรม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายสองได้ทําหนังสือสละมรดกของนางพิณในฐานะผู้รับ พินัยกรรมมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางรัก ถือว่าเป็นการสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น ข้อกําหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงตกไป จึงต้องนําเงินมรดกทั้งหมดจํานวน 300,000 บาท ไปแบ่งปันให้แก่ ทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1698 (3), 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง โดย ด.ช.สินในฐานะ ผู้สืบสันดานของนายสองไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่นายสองได้สละแล้วนั้นตามมาตรา 1617

สําหรับทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนางพิณ ได้แก่ นายหนึ่ง นายสอง และนายสาม ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1618 โดยนายสองแม้จะสละมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรม แต่ก็ยังคงมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมอยู่ และเมื่อทั้ง 3 คน เป็นทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกัน จึงมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ คนละ 100,000 บาท ตามมาตรา 1633

ส่วนการที่นายหนึ่งได้ฉ้อฉลให้นางพิณทําพินัยกรรมตั้งนายหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนางพิณนั้น นายหนึ่งไม่ได้ฉ้อฉลให้นางพิณทําพินัยกรรมซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกแต่อย่างใด ดังนั้น นายหนึ่งจึงไม่ถูกกําจัดมิให้ รับมรดกตามมาตรา 1606 (4) นายหนึ่งจึงยังมีสิทธิในการรับมรดกของนางพิณ

สรุป มรดกของนางพิณจํานวน 300,000 บาท ตกได้แก่นายหนึ่ง นายสอง และนายสาม คนละ 100,000 บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายหมอก นายเมฆให้นายชายยืมกระบือจํานวน 2 ตัวไปใช้เป็นเวลา 8 เดือน นอกจากนี้นายเมฆให้นางหญิงยืมข้าวสารจํานวน 4 กระสอบไปใช้เป็นเวลา 8 เดือนเช่นเดียวกัน หลังจากให้คนทั้งสองยืมแล้วเป็นเวลา 3 เดือน นายชายและนางหญิงก็ประสบ อุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ดังนี้ นายเมฆจะเรียกทรัพย์สินคืนจากทายาทของนายชายและทายาท ของนางหญิงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเมฆจะเรียกทรัพย์สินคืนจากทายาทของนายชายและทายาทของ นางหญิงได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีนายเมฆให้นายชายยืมกระบือ

การที่นายเมฆให้นายชายยืมกระบือจํานวน 2 ตัว ไปใช้เป็นเวลา 8 เดือนนั้น เป็น สัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งตามกฎหมาย สัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเมื่อผู้ยืมตาย (ป.พ.พ. มาตรา 648) ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายชายผู้ยืมได้ถึงแก่ความตาย สัญญายืมระหว่างนายเมฆกับนายชายจึงต้องระงับไป แม้ว่าจะยังไม่ครบกําหนด 8 เดือนก็ตาม เมื่อสิทธิในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมโดยกฎหมายถือว่าเป็นการ เฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้ยืม) จึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทของผู้ยืม นายเมฆจึงสามารถเรียกกระบือ จํานวน 2 ตัว คืนจากทายาทของนายชายได้

2 กรณีนายเมฆให้นางหญิงยืมข้าวสาร

การที่นายเมฆให้นางหญิงยืมข้าวสารจํานวน 4 กระสอบไปใช้เป็นเวลา 8 เดือนนั้น เป็น สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ซึ่งตามกฎหมายสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง เป็นสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิด ใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกําหนดให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 650) โดยจะต้องคืนเมื่อครบกําหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของ ผู้ให้ยืมและผู้ยืม สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทได้ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าหลังจากนางหญิงได้ยืมข้าวสารจากนายเมฆไปได้ 3 เดือน นางหญิงถึงแก่ความตายสิทธิและหน้าที่ ตามสัญญายืมของนางหญิงย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทของนางหญิง ดังนั้น นายเมฆจึงไม่สามารถ เรียกข้าวสารคืนจากทายาทของนางหญิงก่อนครบกําหนด 3 เดือน

สรุป

นายเมฆสามารถเรียกกระบือทั้ง 2 ตัว คืนจากทายาทของนายซายได้ แต่จะเรียก ข้าวสารจํานวน 1 กระสอบ คืนจากทายาทของนางหญิงก่อนครบกําหนด 8 เดือนไม่ได้

 

ข้อ 2 นายหนึ่งอยู่กินกับนางกันยามีบุตรคือนายสองและนายสาม ซึ่งนายหนึ่งได้อุปการะเลี้ยงดูอย่างดีนายสองได้จดทะเบียนสมรสกับนางเดือน ส่วนนายสามได้จดทะเบียนรับ ด.ช.สิงโตมาเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมานายสองประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายสามป่วยและถึงแก่ความตาย จากนั้นนายหนึ่งป่วยและถึงแก่ความตายโดยพบว่าหลังจากนายหนึ่งตายได้ 30 วัน นางเดือน ภรรยานายสองได้ตั้งครรภ์แล้วมีอายุครรภ์ 2 เดือน และต่อมาอีก 7 เดือนได้คลอดคือ ด.ช.ยิ่ง เช่นนี้ จงพิจารณาแบ่งมรดกของนายหนึ่งที่มีเงินสด 120,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่ วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น เบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตาม บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ เสืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบสาน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1644 “ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของนายหนึ่งคือเงินสด 120,000 บาท ย่อมตกได้แก่นายสองและนายสาม เพราะแม้ว่านายสองและนายสามจะเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายหนึ่ง แต่ การที่นายหนึ่งได้อุปการะเลี้ยงดูนายสองและนายสามอย่างดีนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายหนึ่งบิดาได้ให้การรับรอง แก่บุตรนอกกฎหมายแล้ว ดังนั้นนายสองและนายสามจึงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งในฐานะผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ส่วนนางกันยาเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายหนึ่ง จึงไม่ใช่ทายาท โดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายสองและนายสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) ได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกจึงไม่อาจรับมรดกได้ จึงต้องพิจารณาว่าทายาทโดยธรรมผู้นั้น มีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 หรือไม่

กรณีของนายสองนั้น มี ด.ช.ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายสอง และเป็นบุตรที่ชอบ ด้วยกฎหมายของนายสอง เพราะเป็นบุตรที่เกิดกับนางเดือนภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสองภายใน 310 วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงตามมาตรา 1536 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ด.ช.ยิ่งจึงมีสิทธิบริบูรณ์ในการเข้ารับมรดก แทนที่นายสองเพื่อรับมรดกของนายหนึ่งตามมาตรา 1639, 1643 และ 1644

ส่วนกรณีของนายสามนั้น การที่นายสามได้จดทะเบียนรับ ด.ช.สิงโตเป็นบุตรบุญธรรม ด.ช.สิงโต จึงมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายสาม จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายสาม

ดังนั้น มรดกของนายหนึ่งคือเงินสดจํานวน 120,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ช.ถึงแต่เพียงผู้เดียว ตามมาตรา 1630 (3)

สรุป มรดกของนายหนึ่งตกได้แก่ ด.ช.ยิ่งซึ่งเข้ารับมรดกแทนที่นายสองแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 3 นายหนึ่งและนางน้อยเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย นายหนึ่งมีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ นางสาวสองและนายสาม นายหนึ่งมีป้าที่เลี้ยงดูนายหนึ่งมาตั้งแต่เด็ก ชื่อ นางไก่ นางสาวสอง อยู่กินกันฉันสามีภริยากับนายกรโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน วันหนึ่งนายสามมาขอเงินนายหนึ่ง เพื่อจะเอาไปลงทุนค้าขาย นายหนึ่งได้ให้เงินนายสามไป 200,000 บาท โดยนายสามทําสัญญากับ นายหนึ่งว่าเมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตาย นายสามจะขอสละมรดกทั้งหมดของนายหนึ่ง หลังจากนั้น นายหนึ่งได้ทําพินัยกรรมยกบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ให้กับนางสาวสอง ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ นายหนึ่งไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้ใคร ต่อมานายหนึ่งได้กล่าวหานายกรว่านายกรอยู่กินกับนางสาวสอง เพราะหวังทรัพย์สมบัติของนางสาวสอง นายกรโกรธนายหนึ่งมาก นายกรได้ใช้ปืนยิงนายหนึ่งตาย ต่อหน้านางสาวสอง นางสาวสองไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจว่านายหนึ่งถูกฆ่า แต่ไม่บอกว่านายกร เป็นผู้ฆ่านายหนึ่งเพราะนางสาวสองไม่อยากให้นายกรต้องรับโทษทางอาญา นายหนึ่งมีทรัพย์มรดก ทั้งสิ้นคือบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ตามพินัยกรรมและเงินสด 600,000 บาท ดังนี้ จงแบ่ง มรดกของนายหนึ่ง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐา เป็นผู้ไม่สมควร คือ

(3) ผู้ที่รู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนาแต่มิได้นําข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่ จะเอาตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคน วิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ผู้ตายเลย”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสามได้ทําสัญญากับนายหนึ่งว่าเมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตาย นายสามจะขอสละมรดกทั้งหมดของนายหนึ่งนั้น สัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นการสละมรดก เพราะการสละมรดก จะกระทําได้ต่อเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเท่านั้น ดังนั้นการแสดงเจตนาสละมรดกดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืน บทบัญญัติมาตรา 1619 อีกทั้งการสละมรดกนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทําเป็น

สัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 1612 เท่านั้น ดังนั้น นายสามจึงยังคงมีสิทธิได้รับมรดกของนายหนึ่ง ในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (3)

ส่วนกรณีของนางสาวสองนั้น เมื่อนางสาวสองรู้ว่า นายหนึ่งถูกนายกรฆ่าตายโดยเจตนา แต่ มิได้นําความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทําความผิดมาลงโทษ และกรณีที่นางสาวสองไปแจ้งความ ต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจว่านายหนึ่งถูกฆ่า แต่ไม่บอกว่านายกรเป็นผู้ฆ่านั้น กรณีนี้ไม่เข้าข้อยกเว้นการถูกกําจัดมิให้รับ มรดกของนายหนึ่ง เพราะนายกรมิใช่สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสาวสอง ดังนั้น นางสาวสองจึงถูกกําจัด มิให้รับมรดกของนายหนึ่งตามมาตรา 1606 (3) และเมื่อนางสาวสองถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายหนึ่ง นางสาวสอง จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกคือบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ที่นายหนึ่งทําพินัยกรรมยกให้แก่นางสาวสองด้วย ดังนั้นบ้าน 1 หลังราคา 300,000 บาท จึงต้องนําไปรวมกับเงินสด 600,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์นอกพินัยกรรม เพื่อนําไปแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายหนึ่งต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อนายหนึ่งตาย มรดกของนายหนึ่งรวมทั้งหมด 900,000 บาท จึงตกได้แก่ทายาท โดยธรรม ซึ่งได้แก่นายสามในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันตามมาตรา 1629 (3) และนางน้อยภริยาที่ชอบ ด้วยกฎหมายของนายหนึ่งในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย โดยนางน้อยมีสิทธิได้รับมรดกถึงหนึ่งคือ 450,000 บาท และนายสามจะได้รับ 450,000 บาท ตามมาตรา 1635 (2) ส่วนนางไก่ซึ่งเป็นป้าของนายหนึ่ง และเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1529 (6) ซึ่งเป็นทายาทในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง

สรุป

มรดกของนายหนึ่งตกได้แก่นายสามและนางน้อยคนละ 450,000 บาท

 

ข้อ 4 นายเสือจดทะเบียนสมรสกับนางสวย มีบุตร 2 คน ชื่อ นายหนึ่งและนายสอง นายหนึ่งมีบุตรชอบด้วยกฎหมายชื่อนางมุก ส่วนนายสองจดทะเบียนรับนางเพชรเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมานายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุ นายเสือเสียใจมากจึงทําพินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย ระบุยกแหวนเพชรประจําตระกูล 1 วง ราคา 500,000 บาท ให้นางมุก โดยมิได้กล่าวถึงทรัพย์สินอื่น หลังจากนั้นนายเสือถึงแก่ความตาย โดยมีทรัพย์มรดกเป็นแหวนเพชรประจําตระกูล 1 วง กับเงิน 6,000,000 บาท นางมุกนําแหวนเพชรไปซ่อนเพื่อจะเอาไว้เป็นของตนแต่ผู้เดียว ส่วนนายสองทํา หนังสือมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตแสดงเจตนาว่าไม่ประสงค์จะรับมรดกของนายเสือ ขอสละมรดกทั้งหมด

ให้วินิจฉัยว่า ทรัพย์มรดกของนายเสือตกได้แก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 “การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1620 วรรคสอง “ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทําพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจําหน่ายทรัพย์ หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จําหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรม ไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 16.30 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา1635

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเสือทําพินัยกรรมระบุยกแหวนเพชรประจําตระกูล 1 วง ราคา 500,000 บาท ให้แก่นางมุกนั้น นางมุกในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงมีสิทธิได้รับแหวนดังกล่าว และแม้ว่านางมุกจะ นําแหวนเพชรวงนั้นไปซ่อนเพื่อจะเอาไว้เป็นของตนแต่ผู้เดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้ถูกกําจัดมิให้ได้รับมรดกฐานยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง เพราะนางมุกเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ ซึ่งตาม

มาตรา 1605 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ว่ามิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างในวันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น

ดังนั้น ทรัพย์มรดกของนายเสือ คือเงิน 6,000,000 บาท ซึ่งนายเสือมิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมว่า จะยกให้แก่ผู้ใด จึงต้องนํามาแบ่งปันให้เก่ทายาทโดยธรรมของนายเสือต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคสอง ซึ่งผู้ที่ มีสิทธิได้รับมรดกของนายเสือได้แก่ นางสวยภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และนายหนึ่งกับนายสองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) โดยทั้ง 3 คน จะได้รับ ส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ 2,000,000 บาท ตามมาตรา 1633 และมาตรา 1635 (1)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายหนึ่งได้ถึงแก่ความตายก่อนนายเสือเจ้ามรดก และนายหนึ่งมีนางมุกเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง นางมุกจึงเข้ารับมรดกแทนที่นายหนึ่งเฉพาะส่วนที่นายหนึ่งจะ ได้รับคืน 2,000,000 บาท ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

ส่วนนายสองนั้น เมื่อได้ทําหนังสือมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตโดยระบุว่าไม่ขอรับทรัพย์มรดกของนายเสือ จึงเป็นการสละมรดกที่ถูกต้องตามมาตรา 1612 นายสองจึงไม่มีสิทธิรับมรดกในส่วนของตน แต่เมื่อ นายสองมีนางเพชรซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม และตามมาตรา 1627 ให้ถือว่าบุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดาน สัน นางเพชรจึงสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่นายสองจะได้รับคือ 2,000,000 บาท ตามมาตรา 1615 วรรคสอง

ดังนั้น มรดกของนายเสือจํานวน 6,000,000 บาท จึงตกได้แก่ นางสวย นางมุก และนางเพชร คนละ 2,000,000 บาท

สรุป ทรัพย์มรดกของนายเสือที่เป็นแหวนเพชร 1 วง ราคา 500,000 บาท ตกได้แก่นางมุก ส่วนเงิน 6,000,000 บาท ตกได้แก่ นางสวย นางมุก และนางเพชร คนละ 2,000,000 บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือ น.ส.ดาว และ น.ส.เดือน นายเมฆให้นางเนปจูนเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 30,000 บาท แบ่งชําระจํานวน 10 งวด งวดละ 3,000 บาท นอกจากนี้นายเมฆ ยังให้นายพลูโตเช่าที่ดินเพื่อทํานา จํานวน 2 ไร่ คิดค่าเช่าที่ดินเดือนละ 4,000 บาท ระยะเวลา ในการเช่าที่ดิน 2 ปี หลังจากนายเมฆทําสัญญากับนางเนปจูนและนายพลูโตแล้วเป็นเวลา 6 เดือน นางเนปจูนและนายพลูโตก็ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ดังนี้ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ และสิทธิตามสัญญาเช่าที่ดินเป็นมรดกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ และสิทธิตามสัญญาเช่าที่ดินเป็น มรดกหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ตามกฎหมายในเรื่องสัญญาเช่าซื้อนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่ ความตาย สัญญาเช่าซื้อย่อมไม่ระงับสิ้นไป เพราะสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นตามกฎหมายหรือว่าโดย อภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อแต่อย่างใด สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นการตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากนางเนปจูนเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปได้ 6 เดือน ก็ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของนางเนปจูนจึงเป็นมรดก ตกทอดแก่ทายาท

2 สิทธิตามสัญญาเช่าที่ดิน เมื่อนายพลูโตผู้เช่าถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตาม สัญญาเช่าที่ดินย่อมระงับสิ้นไป เพราะสิทธิตามสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าได้คํานึงถึงคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของผู้เช่า จึงเป็นการเฉพาะตัวของผู้เช่าโดยแท้ ดังนั้น สิทธิตามสัญญาเช่าของนายพลูโตจึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

สรุป

สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เป็นมรดก แต่สิทธิตามสัญญาเช่าที่ดินไม่เป็นมรดก

 

ข้อ 2 นายดอนอยู่กินกับนางศรีโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันคือ นายเก่ง และนายก้อน โดยนายดอนได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา โดยนายก้อนนั้นได้จดทะเบียนรับนายเต่ามาเป็น บุตรบุญธรรมของตน ส่วนนายเต่าจดทะเบียนสมรสกับนางเดือนมีบุตรชื่อนางดาว หลังจากนั้น นายดอนจดทะเบียนรับนายเอกมาเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งนายเอกจดทะเบียนสมรสกับนางหญิงและ มีบุตรคือนายชาย ต่อมานายดอนเลิกกับนางศรีและได้ไปจดทะเบียนสมรสกับนางยินดีมีบุตร ด้วยกันคือนายหยิ่ง หลังจากนั้นนายเก่งได้ทําพินัยกรรมยกเงินสดให้นายก้อน 100,000 บาท หลังจากนั้นนางศรี นายก้อน และนายเอกประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ต่อมานายเก่งหัวใจวายตาย จากนั้นนายเต่าป่วยตาย เช่นนี้ จงพิจารณาแบ่งมรดกของนายเก่งที่ยังมีเงินสดนอกพินัยกรรมอีก 20,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้า ผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งได้ทําพินัยกรรมยกเงินสดจํานวน 100,000 บาท ให้แก่นายก้อน นั้น เมื่อปรากฏว่า นายก้อนผู้รับพินัยกรรมตายก่อนนายเก่งผู้ทําพินัยกรรม ข้อกําหนดในพินัยกรรมนั้นย่อมตกไป ดังนั้น จึงต้องนําเงินจํานวน 100,000 บาท ในส่วนนี้กลับคืนสู่กองมรดกเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมของ นายเก่งต่อไปตามมาตรา 1698 (1) และมาตรา 1699 ทําให้จํานวนเงินซึ่งเป็นมรดกของนายเก่งมีจํานวนรวมทั้งหมด 120,000 บาท

และเมื่อนายเก่งเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย บุคคลที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเก่ง แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นายดอน ซึ่งเป็นบิดาของนายเก่ง แต่เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายเก่ง เพราะขณะที่นายเก่งเกิด นายดอนกับนางศรีเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายดอนจึงไม่มีสิทธิ รับมรดกของนายเก่ง เพราะตามมาตรา 1629 (2) ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้นจะต้องเป็นบิดาและมารดา ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

2 นางศรี ซึ่งเป็นมารดาของนายเก่ง และเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอง เพราะตามมาตรา 1546 บุคคลที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น นางศรีจึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) แต่เมื่อปรากฏว่านางศรีถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่านางศรีไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงมิอาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604

3 นายเอก ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายดอน มิใช่พี่น้องร่วมกับนายเก่ง จึงมิใช่ทายาท โดยธรรมและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเก่ง

4 นายก้อน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายเก่ง และมีฐานะเป็นทายาท โดยธรรมตามมาตรา 1629 (3) แต่เมื่อปรากฏว่านายก้อนถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่านายก้อนไม่มี สภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงมิอาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604

และแม้ว่านายก้อนจะได้จดทะเบียนรับนายเต่ามาเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อนายเต่มิใช่ ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายก้อน ดังนั้น นายเต๋จึงไม่สามารถเข้ารับมรดกแทนที่นายก้อนตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 ได้

5 นายหยิ่ง ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันกับนายเก่ง จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (4) เมื่อปรากฏว่าไม่มีทายาทอันดับก่อนหน้านายหยิ่งได้รับมรดกรวมถึงไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ ดังนั้น มรดกของนายเก่งคือเงินสดจํานวน 120,000 บาท จึงตกได้แก่นายหยิงแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายเก่ง คือ เงินสดจํานวน 120,000 บาท ตกได้แก่นายหยิ่งแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 3 นายโชคกับนางช่วยเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย มีบุตร 2 คน คือนายลาภ และนายยศ บิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว นายลาภมีนางแดงเป็นภริยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร 1 คน คือ เด็กหญิงสวย ซึ่งนายลาภให้ใช้นามสกุลและส่งเสียเลี้ยงดูให้การศึกษาตลอดมา นายยศมีความประพฤติ ไม่ดี นายโชคจึงประกาศด้วยวาจาต่อญาติทุกคนว่าขอตัดนายยศมิให้รับมรดกของตน ต่อมานายลาภใช้อาวุธปืนยิงนายโชคโดยเจตนาฆ่าเนื่องจากไม่พอใจที่ขอเงินแล้วนายโชคปฏิเสธ แต่นายโชค ไม่ถึงแก่ความตาย ศาลพิพากษาลงโทษจําคุกนายลาภในความผิดฐานพยายามฆ่านายโชค คดีถึงที่สุด แล้ว ต่อมาอีก 5 ปี นายโชคป่วยและถึงแก่ความตาย โดยมีทรัพย์มรดกเป็นเงิน 3,000,000 บาท ให้วินิจฉัยว่า ทรัพย์มรดกของนายโชคตกแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1608 “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดง เจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา1635

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายโชคเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกถือเงินสดจํานวน 3,000,000 บาท มรดกของนายโชคจะตกทอดแก่บุคคลใดบ้าง แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 นางช่วย ซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนายโชค จึงถือเป็นทายาทโดยธรรมใน ฐานะคู่สมรส และมีสิทธิได้รับมรดกของนายโชคตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่ง ว่าตนเป็นทายาทชันบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2 นายลาภ ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายโชค จึงถือเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) แต่เมื่อปรากฎว่า นายลาภใช้อาวุธปืนยิงนายโชคจนถูกศาลพิพากษาลงโทษจําคุกนายลาภใน ความผิดฐานพยายามฆ่านายโชค นายลาภจึงเป็นบุคคลที่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) ดังนั้น นายลาภจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายโชค

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายลาภถูกกําจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1606 (1) อันเป็นการ ถูกกําจัดก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เด็กหญิงสวยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายลาภรับรองแล้วและเป็น ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายลาภ จึงเข้ารับมรดกแทนที่นายลาภได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

3 นายยศ ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายโชค จึงถือเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) และมีสิทธิรับมรดกของนายโชค แม้นายโชคจะประกาศตัดมิให้นายยศได้รับมรดก แต่นายโชค พูดด้วยวาจามิได้แสดงเจตนาชัดแจ้งโดยพินัยกรรม หรือโดยทําเป็นหนังสือมอบไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การตัด มิให้นายยศรับมรดกจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 1608 ไม่มีผลเป็นการตัดมิให้รับมรดก

ดังนั้น ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายโชค ก็คือ นางช่วย เด็กหญิงสวย และนายยศ ทรัพย์มรดกของนายโชคจึงตกได้แก่ทายาทดังกล่าวคนละ 1,000,000 บาท เท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1635 (1) ประกอบมาตรา 1633

สรุป

ทรัพย์มรดกของนายโชคตกได้แก่ นางช่วย เด็กหญิงสวย และนายยศ คนละ 1,000,000 บาท

ข้อ 4 นางชลมีมารดาชื่อนางฉลวย นางชลมีบุตรชาย 1 คน คือนายใหญ่ นางชลรักนายเล็กหลานชายมาก นางชลจึงจดทะเบียนรับนายเล็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต่อมานายเล็กจดทะเบียนสมรสกับ นางลินมีบุตร 1 คน ชื่อ ด.ช.หล้า นายเล็กประสบอุบัติเหตุตาย นางชลทําพินัยกรรมยกตึกแถวที่นางชล อาศัยอยู่ราคา 1,000,000 บาท ให้กับนายใหญ่ หลังจากนั้นนางชลถึงแก่ความตาย นางชลมีทรัพย์ มรดกคือตึกแถวราคา 1,000,000 บาท ตามที่ระบุในพินัยกรรมและมีทรัพย์นอกพินัยกรรมคือเงินสด 600,000 บาท นายใหญ่อยากได้ทรัพย์มรดกของนางชลทั้งหมด นายใหญ่จึงทําพินัยกรรมปลอมว่า นางชลทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นายใหญ่แต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดกของนางชล

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(5) ผู้ที่ปลอม ทําลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น เสืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทน ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนางชลเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์มรดกคือ ตึกแถวตามพินัยกรรม ราคา 1,000,000 บาท และเงินสดนอกพินัยกรรมจํานวน 600,000 บาท โดยหลักแล้วตึกแถวราคา 1,000,000 บาท ย่อมตกได้แก่นายใหญ่ในฐานะผู้รับพินัยกรรม แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านายใหญ่ได้ทําพินัยกรรมปลอมว่า นางซลได้ยกทรัพย์มรดกให้แก่ตนแต่เพียงผู้เดียว นายใหญ่จึงถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ มาตรา 1606 (5) มีผลทําให้นายใหญ่ไม่มีสิทธิรับมรดกของนางชลเลย

ดังนั้น มรดกของนางชลจึงตกแก่ทายาทโดยธรรม คือ นายเล็กซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของ นางชลตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และนางฉลวยซึ่งเป็นมารดาของนางชลตามมาตรา 1629 (2) ประกอบมาตรา 1630 แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายเล็กตายก่อนเจ้ามรดก ด.ช.หล้า ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ของนายเล็กจึงเข้ารับมรดกแทนที่ในส่วนที่นายเล็กจะได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 ฉะนั้น ทรัพย์มรดกของนางชลคือตึกแถวราคา 1,000,000 บาท และเงินสดจํานวน 600,000 บาท จึงตกได้แก่นางฉลาย! และ ด.ช.หล้า คนละเท่า ๆ กัน คือ คนละ 800,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป

ทรัพย์มรดกของนางชล คือ ตึกแถวราคา 1,000,000 บาท และเงินสดจํานวน 600,000 บาท ตกได้แก่นางฉลวยและ ด.ช.หล้า คนละ 800,000 บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายแดนจดทะเบียนสมรสกับนางแดงมีบุตรคือนายดิน ต่อมานายเขียวซึ่งเป็นเพื่อนนายแดนได้มาจดทะเบียนรับนายดินไปเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมานายดินจดทะเบียนรับนายสิงโตมาเป็นบุตรบุญธรรม หลังจากนั้นนายดินได้เข้าแย่งการครอบครองที่ดินมีโฉนดของนายเขื่อนจํานวน 1 ไร่ โดยปรากฏ หลังจากนายดินเข้าแย่งการครอบครองที่ดินของนายเขื่อนได้ 7 ปี นายดินป่วยและถึงแก่ความตาย เช่นนี้ยังปรากฏอีกว่าก่อนนายดินตายได้แต่งหนังสือและมีโรงพิมพ์นําไปจัดพิมพ์ โดยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ให้นายดินเดือนละ 60,000 บาท ดังนี้ จงพิจารณาการตกทอดมรดกของนายดิน ซึ่งยังมีเงินสดใน ธนาคารอีก 120,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1598/27 “การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน”

มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะ ทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น”

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มีให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมี ผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ์ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยคือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดใด ของนายดินที่จะเป็นมรดกตามมาตรา 1600 และตกทอดแก่ทายาท เห็นว่า การที่นายดินได้เข้าแย่งสิทธิการ ครอบครองที่ดินมีโฉนดของนายเขื่อนเป็นเวลา 7 ปีนั้น ย่อมถือว่านายดินได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว (แต่ ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์) และสิทธิการครอบครองเช่นว่านี้ก็มิใช่สิทธิที่เป็นการเฉพาะตัวของนายดินผู้ตายโดยแท้แต่ อย่างใด (มาตรา 1385) ผู้เป็นทายาทของนายดินจึงเข้าสืบสิทธิการครอบครองเช่นนั้นต่อไปจนครบกําหนด ระยะเวลาตามกฎหมายจนได้ปรปักษ์ในที่ดินดังกล่าวได้ ส่วนค่าลิขสิทธิ์หนังสือของนายดินนั้นก็มิใช่การ เฉพาะตัวของนายดินโดยแท้เช่นกัน สิทธิดังกล่าวจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของนายดิน รวมถึงเงินสดใน ธนาคารจํานวน 120,000 บาทด้วย

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการต่อมา มีว่า บุคคลที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดิน มีผู้ใดบ้าง ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นายสิงโต ซึ่งนายดินได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม ย่อมถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน และมีสิทธิได้รับมรดกของนายดินเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1629 (1) และมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1598/27

2 นายแดน ซึ่งเป็นบิดาของนายดินและเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายดิน เพราะ ขณะที่นายดินเกิด นายแดนกับนางแดงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย นายแดนจึงมีสิทธิได้รับมรดก ของนายดินตามมาตรา 1629 (2) โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง

3 นางแดง ซึ่งเป็นมารดาของนายดิน และเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย นางแดงจึงมีฐานะ เป็นทายาทโดยธรรม และมีสิทธิรับมรดกของนายดินตามมาตรา 1629 (2) โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตน เป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง เช่นเดียวกับนายแดน

4 นายเขียว ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมของนายดิน ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดิน “ราะต้องห้ามตามมาตรา 1598/29 ที่กําหนดว่า การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม ในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุแห่งการรับบุตรบุญธรรมนั้นแต่อย่างใด

ดังนั้น เมื่อนายดินเจ้ามรดกตายลง มรดกทั้งหมดของนายดิน คือ สิทธิครอบครองที่ดินของ นายเขื่อน ค่าลิขสิทธิ์เดือนละ 600,000 บาท และเงินสดในธนาคารจํานวน 120,000 บาท จึงต้องนํามาแบ่งเป็น 3 ส่วน เท่า ๆ กัน ให้แก่นายสิงโต นายแดน และนางแดง ตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายดิน จะตกทอดแก่นายสิงโต นายแดน และนางแดง ดังนี้คือ

1 มีสิทธิครอบครองที่ดินที่ได้แย่งการครอบครองมาเท่า ๆ กัน

2 ได้รับค่าลิขสิทธิ์คนละ 20,000 บาทต่อเดือน

3 ได้รับเงินสดในธนาคารคนละ 40,000 บาท

 

ข้อ 2 นายเมฆและ น.ส.ฟ้า อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายหมอก และ น.ส.เดือน ซึ่งนายเมฆให้คนทั้งสองใช้นามสกุลของตน นายหมอกจดทะเบียนสมรสกับนางดาว มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ น.ส.ฝน ซึ่ง น.ส.ฝนได้จดทะเบียนรับ ด.ญ.เนปจูนมาเป็นบุตรบุญธรรม ส่วน น.ส.เดือน มี ด.ช.พลูโตเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมา น.ส.ฝน และ น.ส.เดือนเดินทางไปต่างจังหวัด และประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต พอนายหมอกทราบข่าวก็หัวใจวายตายในเวลาต่อมา นายหมอกมีมรดก เป็นเงินสดในธนาคารจํานวน 4,000,000 บาท จงแบ่งมรดกของนายหมอก

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1604 วรรคแรก “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629

(3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่หรือ ถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ ได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้า ผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหมอกตายลงโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ เงินสดในธนาคารจํานวน 4,000,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคแรก ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิรับ มรดกของนายหมอก แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นายเมฆ ซึ่งเป็นบิดาของนายหมอก แต่เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะขณะที่นายหมอกเกิด นายเมฆกับ น.ส.ฟ้าเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายเมฆจึงไม่ มีสิทธิรับมรดกของนายหมอก เพราะตามมาตรา 1629 (2) ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้นจะต้องเป็น บิดาและมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

2 น.ส.ฟ้า ซึ่งเป็นมารดาของนายหมอก และเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะตามมาตรา 1546 บุคคลที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น น.ส.ฟ้า จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) และมีสิทธิรับมรดกของนายหมอก โดยจะ ได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง

3 น.ส.ฝน ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะเกิดขณะที่นายหมอก กับนางดาวจดทะเบียนสมรสกัน ดังนั้น น.ส.ฝนจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายหมอกในฐานะทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) แต่เมื่อ น.ส.ฝนถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่า น.ส.ฝน ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่อาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604 วรรคแรก

และแม้ว่า น.ส.ฝนจะได้จดทะเบียนรับ ด.ญ.เนปจูนมาเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อ ด.ญ.เนปจูนมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ น.ส.ฝน ดังนั้น ด.ญ.เนปจูนจึงไม่สามารถเข้ารับมรดกแทนที่ น.ส.ฝน ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 ได้

4 น.ส.เดือน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับนายหมอก และมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) แต่เมื่อปรากฏว่านายหมอกเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลําดับก่อนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ น.ส.เดือน ซึ่งถือเป็นทายาทโดยธรรมลําดับถัดลงไป จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1630

5 นางดาว ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะได้จดทะเบียนสมรสกัน ถูกต้องตามกฎหมาย จึงถือเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และมีสิทธิได้รับมรดก ของนายหมอกกิ่งหนึ่งตามมาตรา 1635 (2)

ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายหมอกมีเพียง 2 คนคือ น.ส.ฟ้า ซึ่งเป็นมารดาของนายหมอก และนางดาวซึ่งเป็นคู่สมรสของนายหมอก มรดกของนายหมอกคือเงินสดในธนาคาร จํานวน 4,000,000 บาท จึงตกได้แก่ น.ส.ฟ้า และนางดาวคนละกึ่งหนึ่ง คือ คนละ 2,000,000 บาท ตามมาตรา 1629 (2) และวรรคสอง ประกอบมาตรา 1635 (2)

สรุป

มรดกของนายหมอก คือ เงินสดในธนาคารจํานวน 4,000,000 บาท จะตกได้แก่ น.ส.ฟ้า และนางดาวคนละ 2,000,000 บาท

 

ข้อ 3 นายชัยและนางชอบเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายขาวและนายดํานายขาวจดทะเบียนสมรสกับนางเขียวแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน นายขาวและนางเขียวจึงได้ไปรับนายไก่ มาเป็นบุตรบุญธรรม โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย นายชัยได้ทําพินัยกรรมยกบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ให้กับนายดํา แต่ทรัพย์มรดกอื่น ๆ นายชัยไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้กับใคร ต่อมา นายชัยถึงแก่ความตาย นายชัยมีทรัพย์มรดกคือบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ตามพินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท นายขาวทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายชัย โดยมอบไว้แก่ ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ส่วนนายดําได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนเองโดยทุจริตจํานวน 500,000 บาท

ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดกของนายชัย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายชัยเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายชัยมีมรดกคือ บ้าน 1 หลัง ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายชัยจะตกได้แก่ใครบ้าง แยกพิจารณา ได้ดังนี้คือ

กรณีเงินสด 600,000 บาท ที่นายชัยมิได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ของนายชัย ซึ่งได้แก่

1 นายขาวและนายดํา ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

2 นางชอบ ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้นนายขาว นายดํา และนางชอบ จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน คือคนละ 200,000 บาท ตามมาตรา 1633

สําหรับนายดํานั้น เมื่อเจ้ามรดกตายได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนโดยทุจริตจํานวน 500,000 บาท ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้น นายดําจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายชัยใน ฐานะทายาทโดยธรรมเลยตามมาตรา 1605 วรรคแรก และเป็นมรดกที่นายดําถูกกําจัดมิให้ได้รับจํานวน 200,000 บาท นั้น จะต้องนําคืนกองมรดกแล้วนําไปแบ่งให้แก่นายขาวและนางชอบคนละ 100,000 บาท ดังนั้น บายขาย นางชอบจะได้รับมรดกของนายชัยคนละ 300,000 บาท

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายขาวได้ทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายขับมอบไว้แต่ ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ซึ่งเป็นการสละมรดกที่ได้ทําถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น นายเก่ซึ่งเป็น บุตรบุญธรรม และมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิสืบมรดกได้ตามสิบ, ของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนที่นายขาวผู้สละมรดกจะได้รับคือ 300,000 บาท ตามมาตรา 1615 วรรคสอง

สําหรับบ้าน 1 หลังราคา 300,000 บาท ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นาย ทําพินัยกรรมยกให้กับนายดําโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคสอง คือ บ้านจะตกได้แก่นายดํา ในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยนายดําจะไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกในส่วนนี้

สรุป

มรดกของนายชัยที่เป็นเงินสด 600,000 บาท ตกได้แก่นางชอบและนายไก่คนละ 300,000 บาท ส่วนบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ตกได้แก่นายดําตามพินัยกรรม

 

ข้อ 4 นางแก้วมีมารดาชื่อนางเกด นางแก้วอยู่กินกันฉันสามีภริยากับนายชาติโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ นายใหญ่กับนายเล็ก นายใหญ่จดทะเบียนสมรสกับนางยุ้ย มีบุตร 1 คน ชื่อ ด.ช.น้อย นายใหญ่และนางยุ้ยได้จดทะเบียนรับ ด.ญ.ก้อยมาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย หลังจากนั้นนายใหญ่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ต่อมานางแก้วถึงแก่ความตาย นางแก้วมีทรัพย์มรดกคือ เงินสด 900,000 บาท นายเล็กได้ทําพินัยกรรมปลอมว่า นางแก้วทําพินัยกรรม ทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นายเล็กแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้จงแบ่งมรดกของนางแก้ว

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคแรก “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(5) ผู้ที่ปลอม ทําลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด”

มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอัน ไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเล็กได้ปลอมพินัยกรรมว่า นางแก้วทําพินัยกรรมยกทรัพย์ มรดกทั้งหมดให้นายเล็กแต่เพียงผู้เดียวนั้น นายเล็กย่อมถูกกําจัดมิให้ได้รับมรดกทั้งหมดของนางแก้วฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (5) ดังนั้นจึงต้องนําทรัพย์มรดกคือ เงินสด 900,000 บาท ไปแบ่งให้แก่ทายาท โดยธรรมของนางแก้วต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคแรก

ตามข้อเท็จจริง ทายาทโดยธรรมของนางแก้วตามมาตรา 1629 ที่มีสิทธิได้รับมรดกดังกล่าว ของนางแก้ว แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 นางเกด เป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนางแก้ว และเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) จึงมีสิทธิได้รับมรดก และจะได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 “รรคสอง

2 นายใหญ่ เป็นบุตรของนางแก้ว ซึ่งถือเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิได้รับมรดกของนางแก้ว แต่เมื่อปรากฏว่านายใหญ่ได้ถึงแก่ความตายก่อนนางแก้ว เจ้ามรดก ย่อมถือว่านายใหญ่ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และไม่อาจรับมรดกได้ตาม มาตรา 1604 วรรคแรก

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏว่านายใหญ่มีบุตรคือ ด.ช.น้อย ซึ่งถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ของนายใหญ่ ด.ช.น้อยจึงมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายใหญ่ ดังนั้น เมื่อนายใหญ่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ด.ช.น้อยจึงมีสิทธิรับมรดกของนางแก้วแทนที่นายใหญ่ได้ ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 ส่วน ด.ญ.ก้อย แม้จะเป็นบุตรบุญธรรมของนายใหญ่ แต่ไม่ใช่ผู้สืบสันดาน โดยตรงของนายใหญ่ ด.ญ.ก้อยจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายใหญ่

และในส่วนของนายชาตินั้น เมื่อนายชาติมิได้ทําการจดทะเบียนสมรสกับนางแก้ว จึงมิใช่สามี ที่ชอบด้วยกฎหมาย นายชาติจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมและไม่มีสิทธิรับมรดกของนางแก้ว

เมื่อบุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกของนางแก้ว มี 2 คน คือ นางเกดมารดา และ ด.ช.น้อย ซึ่งเข้ารับ มรดกแทนที่นายใหญ่ ดังนั้น มรดกของนางแก้วคือ เงินสดจํานวน 900,000 บาท จึงตกได้แก่ นางเกด และ ด.ช.น้อย คนละเท่า ๆ กัน คือคนละ 450,000 บาท ตามมาตรา 1629 (1) (2) ประกอบมาตรา 1630 วรรคสอง และมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนางแก้ว คือ เงินสด 900,000 บาท ตกทอดแก่นางเกดและ ด.ช.น้อย คนละ 450,000 บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเอกมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือนายโท นายเอกให้นายหล่อยืมรถยนต์เป็นเวลา 5 เดือนและให้นางสวยยืมข้าวสารจํานวน 10 กระสอบเป็นเวลา 5 เดือนเช่นเดียวกัน หลังจากให้คนทั้งสอง ยืมทรัพย์สินแล้วเป็นเวลา 2 เดือน นายเอกและนายหล่อเดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิต ดังนี้ นายโทจะเรียกรถยนต์และข้าวสารคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ นายโทจะเรียกรถยนต์และข้าวสารคืนได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีนายเอกให้นายหล่อยืมรถยนต์เป็นเวลา 5 เดือน

การที่นายเอกให้นายหล่อยืมรถยนต์นั้น เป็นสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งตามกฎหมาย สัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเมื่อผู้ยืมตาย (ป.พ.พ. มาตรา 648) ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายหล่อผู้ยืม ได้ถึงแก่ความตาย สัญญายืมรถยนต์ระหว่างนายเอกกับนายหล่อจึงต้องระงับไปแม้ว่าจะยังไม่ครบกําหนด 5 เดือน ก็ตาม สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมโดยกฎหมายถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้ยืม) จึงไม่เป็นมรดก ตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทของผู้ยืม นายโทบุตรของนายเอกจึงสามารถเรียกรถยนต์คืนจากทายาทของนายหล่อได้

2 กรณีนายเอกให้นางสวยยืมข้าวสารจํานวน 10 กระสอบ เป็นเวลา 5 เดือน

การที่นายเอกให้นางสวยยืมข้าวสารจํานวน 10 กระสอบนั้น เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ซึ่งตามกฎหมายสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง เป็นสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณ มีกําหนดให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สิน ซึ่งให้ยืมนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 650) โดยจะต้องคืนเมื่อครบกําหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ตาม สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ให้ยืมและผู้ยืม สิทธิและหน้าที่ ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทได้ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากนายเอก ให้นางสวยยืมข้าวสารไปได้ 2 เดือน นายเอกได้ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาของนายเอกย่อมเป็น มรดกตกทอดแก่นายโทผู้เป็นทายาท นายโทจึงไม่สามารถเรียกข้าวสารคืนจากนางสวยก่อนครบกําหนดเวลา 5 เดือน

สรุป

นายโทเรียกรถยนต์คืนจากทายาทของนายหล่อได้ แต่จะเรียกข้าวสารคืนจากนางสวย ก่อนครบกําหนดเวลา 5 เดือนไม่ได้

 

ข้อ 2 นายหนึ่งอยู่กินกับนางสองโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรคือนายเอและนายบี ซึ่งนายหนึ่งให้ใช้นามสกุล ต่อมานายเอไปอยู่กินกับนางมกรา มีบุตรด้วยกันคือนายไก่ซึ่งนายเอได้อุปการะเลี้ยงดูอย่างดี ต่อมานายหนึ่งได้ไปจดทะเบียนรับนายด้วงมาเป็นบุตรบุญธรรม โดยนายด้วงมีบุตรชอบด้วย กฎหมายคือนายดิน หลังจากนั้นนายบีได้จดทะเบียนรับเด็กชายเพชรมาเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมา นายหนึ่งทําพินัยกรรมยกเงิน 90,000 บาท ให้นายด้วง หลังจากนั้น นายด้วงป่วยถึงแก่ความตาย ต่อมานายเอและนายบีประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายหนึ่งถึงแก่ความตาย เช่นนี้จงแบ่งมรดกของนายหนึ่งที่มีเงินสดนอกพินัยกรรมอีก 120,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคแรก “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งได้ทําพินัยกรรมยกเงิน 90,000 บาท ให้นายด้วงนั้น เมื่อ นายด้วงได้ตายก่อนเจ้ามรดก เงิน 90,000 บาท จึงกลับคืนสู่กองมรดกของนายหนึ่งเพื่อแบ่งแก่ทายาทโดยธรรม ต่อไปตามมาตรา 1698 (1), 1699 ประกอบมาตรา 1520 วรรคแรก 25ละกรณีนี้นายดินซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วย กฎหมายของนายด้วงไม่สามารถรับมรดกแทนที่นายด้วงได้ เพราะนายด้วงเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมและถึงแก่ ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงไม่มีการรับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1642

ดังนั้น เมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตายมรดกของนายหนึ่งจึงได้แก่ เงินตามพินัยกรรม 90,000 บาท และเงินสดนอกพินัยกรรมอีก 120,000 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 210,000 บาท ซึ่งมรดกทั้งหมดของ นายหนึ่งดังกล่าว ปกติย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนายหนึ่ง คือ นายเอ นายบี บุตรนอกกฎหมายที่นายหนึ่งได้รับรองแล้ว (ให้ใช้นามสกุล) และนายด้วงซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ส่วนบางสองซึ่ง เป็นภริยาของนายหนึ่ง แต่เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอยู่กินกับนายหนึ่งโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง เพราะมิใช่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคท้าย

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเอ นายปี และนายด้วงได้ถึงแก่ความตายก่อน นายหนึ่งเจ้ามรดก จึงถือว่านายเอ นายปี และนายด้วง ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ถึงไม่อาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604 วรรคแรก และเมื่อนายเอมีบุตรคือนายไก่ซึ่งแม้จะเป็นบุตรนอกกฎหมาย ของนายเอแต่นายเอก็ได้อุปการะเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนนายด้วงมีบุตรชอบด้วยกฎหมายคือนายดิน ทั้งนายไก่และ นายดินต่างก็เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเอและนายด้วง ดังนั้นนายไก่และนายดินจึงมีสิทธิเข้ารับมรดก ของนายหนึ่งแทนที่นายเอและนายด้วงตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 ส่วนเด็กชายเพชรเป็นบุตร บุญธรรมของนายบีจึงมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายบี จึงไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกของนายหนึ่งแทนที่นายบี ตามมาตรา 1643

ดังนั้น มรดกทั้งหมดของนายหนึ่งจํานวน 210,000 บาท จึงตกได้แก่นายไก่และนายดิน โดยทั้งสองจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 105,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายหนึ่งตกได้แก่นายไก่และนายดินคนละ 105,000 บาท

 

ข้อ 3 นายดํากับนางแดงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย นายดํามีนายขาวและนายเขียวเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน นายเขียวมีบุตรชอบด้วยกฎหมายคือเด็กชายเอก นายดําได้ทําพินัยกรรม ยกบ้านราคา 1,000,000 บาท ให้นางแดงและนายขาว และยกรถยนต์ราคา 500,000 บาท ให้นายเขียว หลังจากนั้นนายดําหัวใจวายตาย วันหนึ่งนางแดงและนายขาวทะเลาะกัน นายขาวใช้ปืนยิงนางแดง แต่นางแดงไม่ตาย นายขาวถูกดําเนินคดีอาญาโดยมีคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านางแดง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 หลังจากนายดําตายนายเขียวได้เอาเงิน ในกองมรดกซึ่งเป็นเงินนอกพินัยกรรมที่มีอยู่ทั้งหมดจํานวน 600,000 บาท ไปเป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวโดยทุจริต จงแบ่งมรดกของนายดํา

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยกย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มีให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่างในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทําหรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1607 “การถูกกําจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ ถูกกําจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว…”

มาตรา 1620 “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทําพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจําหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียง บางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จําหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629

(3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายดําเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของนายดําคือบ้านราคา 1,000,000 บาท ย่อมตกได้แก่นางแดงและนายขาว และรถยนต์ราคา 500,000 บาท ย่อมตกได้แก่นายเขียวตาม พินัยกรรม ส่วนเงินที่มีอยู่ทั้งหมด 600,000 บาท ซึ่งนายดําไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1620 วรรคสอง และทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกจํานวน 600,000 บาท ของนายดํา ได้แก่

1 นางแดง ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายดํา ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และมีสิทธิได้รับมรดกกิ่งหนึ่งตามมาตรา 1635 (2) คือจะได้รับเงิน 300,000 บาท

2 นายขาวและนายเขียว พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของนายดํา ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) และมีสิทธิได้รับมรดกอีกกึ่งหนึ่งคือ 300,000 บาท โดยนายขาวและนายเขียวจะได้รับส่วนแบ่ง คนละ 150,000 บาท ตามมาตรา 1633

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า

1 การที่นายขาวต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านางแดงนั้น นายขาวไม่ได้ พยายามฆ่าเจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนแต่อย่างใด เพราะนายขาวและนางแดงต่างก็เป็นผู้มีสิทธิ รับมรดกของนายดําในชั้นเดียวกันหรือได้รับมรดกร่วมกัน ดังนั้นนายขาวจึงไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายดํา ฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1)

2 การที่นายเขียวได้เอาเงินในกองมรดกซึ่งเป็นเงินนอกพินัยกรรมทั้งหมดจํานวน 600,000 บาท ไปเป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวโดยทุจริตนั้น การกระทําของนายเขียวถือว่าเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดก มากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับ นายเขียวจึงต้องถูกกําจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคแรก โดยเป็นการ ถูกกําจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกตาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายเขียวมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ เด็กชายเอก เด็กชายเอกจึงมีสิทธิสืบมรดกของนายดําเหมือนหนึ่งว่านายเขียวนั้นตายแล้วตามมาตรา 1607 (ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 478/2539) ดังนั้น เด็กชายเอกจึงได้รับมรดกของนายดําโดยการสืบมรดกของนายเขียว จํานวน 150,000 บาท

แต่สําหรับรถยนต์ราคา 500,000 บาทนั้น ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นายดําได้ทํา พินัยกรรมยกให้กับนายเขียวโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นของมาตรา 1605 วรรคสอง ดังนั้นนายเขียวจึงยังคงได้รับ มรดกตามพินัยกรรมคือรถยนต์ราคา 500,000 บาท

สรุป

มรดกของนายดําจะตกได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ คือ

1 บ้านราคา 1,000,000 บาท ตกได้แก่นางแดงและนายขาวตามพินัยกรรม

2 รถยนต์ราคา 500,000 บาท ตกได้แก่นายเขียวตามพินัยกรรม

3 เงินนอกพินัยกรรมจํานวน 600,000 บาท ตกได้แก่นางแดง 300,000 บาท และตกได้แก่นายขาวและเด็กชายเอกคนละ 150,000 บาท

 

ข้อ 4 นางพินอยู่กินกับนายโชคโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายเอก นายโท และนายตรี นายเอกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายชื่อนางหนู มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.น้อย นายเอก และนางหนูได้ไปจดทะเบียนรับ ด.ญ.นา มาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย นางพิณทําพินัยกรรม ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตนให้กับนายตรีลูกชายคนเล็กที่นางพิณรักมากแต่เพียงผู้เดียว ต่อมา นายเอกประสบอุบัติเหตุตาย หลังจากนั้นนางพิณถึงแก่ความตาย นางพิณมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 900,000 บาท นายตรีไม่อยากรับมรดกของนางพิณแต่เพียงผู้เดียว นายตรีจึงได้สละมรดกของนางพิณ ในฐานะผู้รับพินัยกรรมโดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตดุสิต ดังนี้ ให้ท่านแบ่งมรดก ของนางพิณ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น”

มาตรา 1604 วรรคแรก “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1615 วรรคแรก “การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย”

มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงที่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ เมื่อนางพิณเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์มรดกคือเงินจํานวน 900,000 บาท ซึ่งนางพิณได้ทําพินัยกรรมยกให้แก่นายตรีเพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยหลักแล้วเงินจํานวน 900,000 บาท ย่อมตกได้แก่ นายตรีในฐานะผู้รับพินัยกรรม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายตรีได้ทําหนังสือสละมรดกของนางพิณในฐานะผู้รับพินัยกรรม มอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตดุสิตนั้น ถือว่าเป็นการสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น ข้อกําหนด ในพินัยกรรมดังกล่าวจึงตกไป จึงต้องนําเงินมรดกทั้งหมดจํานวน 900,000 บาท ไปแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรม ของผู้ตายตามมาตรา 1698 (3), 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคแรก และมาตรา 1615 วรรคแรก

สําหรับทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนางพิณ ได้แก่ นายเอก นายโท และนายตรี บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1546 โดยจะได้รับส่วนแบ่ง เท่า ๆ กัน คือ คนละ 300,000 บาท ตามมาตรา 1633 ส่วนนายโชคเป็นสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนางพิณ

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายเอกได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่านายเอกไม่มี สภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายเอกจึงไม่อาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604 วรรคแรก แต่ อย่างไรก็ตาม เมื่อนายเอกมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง คือ ด.ช.น้อย ดังนั้น ด.ช.น้อยมีสิทธิเข้ารับมรดกของนางพิณแทนที่นายเอกได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 ส่วนนางหนูภริยาของ นายเอก และ ด.ญ.นา ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายเอกไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายเอก เพราะทั้งสองมิใช่ สันดานโดยตรงของนายเอก

ดังนั้น มรดกของนางพิณทั้งหมด 900,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ช.น้อย นายโท และนายตรี (คนละ 300,000 บาท

สรุป มรดกของนางพิณตกได้แก่ ด.ช.น้อย นายโท และนายตรีคนละ 300,000 บาท

WordPress Ads
error: Content is protected !!