POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” เป็นยุทธศาสตร์ที่นําเสนอโดยประเทศใด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) บราซิล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” (21 Century Maritime Silk Route Economic Belt) เป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่นําเสนอโดยนายสี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ รวมถึงการค้าการลงทุนระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับประเทศในแถบภูมิภาคมหาสมุทรได้แก่ อาเซียน โอเชียเนีย แอฟริกาเหนือ แปซิฟิก รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย

2 ใครเป็นผู้เขียนคัมภีร์พิชัยสงครามของจีน

(1) ขงจื้อ

(2) หานเฟยจื่อ

(3) โจโฉ

(4) สวินจือ

(5) ซุนจือ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ซุนจือ หรือซุนวู เป็นผู้เขียนคัมภีร์พิชัยสงครามของจีนเมื่อราว 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งนับว่าเป็นคัมภีร์ยุทธศาสตร์ทางทหารที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในคัมภีร์ได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางทั้งในวงการธุรกิจและการเมืองโดยยุทธศาสตร์ที่สําคัญ เช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นต้น

3 นักปรัชญาเมธีของจีนท่านใดที่เน้นสอนเรื่องจริยธรรมและการสร้างระเบียบทางสังคม

(1) ขงจื้อ

(2) หานเฟยจื่อ

(3) โจโฉ

(4) ซุนจือ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 53, (คําบรรยาย) ขงจื้อ เป็นนักปรัชญาเมธีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีนในยุคโบราณและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองและนักบริหารที่สามารถสั่งสอนให้คนประพฤติชอบ ซึ่งหลักการของขงจื้อจะมุ่งเน้นการสอนเรื่องปรัชญามากกว่าศาสนา และเน้นการสอนเรื่อง จริยธรรมและการสร้างระเบียบทางสังคม ซึ่งผลงานชิ้นสําคัญของเขาก็คือ ตํารับขงจื้อ (The Analects of Confucius) นับว่าเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดของจีน

4 สมมุติฐานที่ว่า การปกป้องตนเองเเละความมั่นคงในระดับภูมิภาค สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับสากล เป็นแนวคิดในข้อใด

(1) แนวคิดสากลนิยม

(2) แนวคิดภูมิภาคนิยม

(3) แนวคิดศาสนานิยม

(4) แนวคิดพรรคพวกนิยม

(5) แนวคิดท้องถิ่นนิยม

ตอบ 2 หน้า 134 แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) ยึดมั่นต่อข้อสมมุติฐานที่ว่า การป้องกันตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคนั้น สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับสากล ด้วยข้อสมมุติฐานนี้เอง พวก Regionalism จึงเน้นให้ภูมิภาคต่าง ๆ ควรที่จะจัดระบบการ ป้องกันตนเองเป็นสัดเป็นส่วน เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจาก เมื่อเกิดการรุกรานขึ้นประเทศที่อยู่ภายนอกภาคพื้นหรือนอกข่ายจากการรุกรานคงไม่ประสงค์ที่จะช่วยเหลือหรือเข้ามาพัวพันกับวิกฤติการณ์นั้น ๆ

5 ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สองจากประเทศล่าอาณานิคม

(1) ไทย

(2) จีน

(3) ญี่ปุ่น

(4) มาเลเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้น ไป จึงถือว่าวันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย

6 จีนแพ้สงครามให้กับประเทศใดที่ทําให้เสียเกาะฮ่องกง

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) รัสเซีย

(3) ญี่ปุ่น

(4)อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 หน้า 54, (คําบรรยาย) สงครามฝิ่น (The Opium War) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1830 และยุติลงเนื่องจากกองทหารอังกฤษ สามารถเอาชนะกองทัพจีนได้ ทําให้จีนต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาไม่เสมอภาคฉบับแรกกับ อังกฤษในปี ค.ศ. 1842 เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพนานกิง” (The Treaty of Nanking) และถูกบีบบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่า 5 แห่งเพื่อให้คนอังกฤษได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

7 ญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคราชวงศ์ใด

(1) ยุคเอโดะ

(2) ยุคเมจิ

(3) ยุคซามูไร

(4) ยุคคามากุระ

(5) ยุคเฮอัน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในยุคเมจินั้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมโดยเข้าไปจัดการกับอุตสาหกรรมหลายประเภทในลักษณะโครงการนําร่อง เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานในเส้นด้าย โรงงานน้ำตาล โรงงานเบียร์ เป็นต้น รวมทั้งนําเทคโนโลยีเครื่องจักรจากประเทศยุโรปตะวันตกมาใช้ และ จ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศยุโรปตะวันตกมาถ่ายทอดความรู้อีกด้วย ซึ่งหลังจากญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมได้สําเร็จแล้วก็ทยอยขยายโรงงานต่าง ๆ ให้เอกชนรับไปดําเนินงานต่อไป

8 จีนรบกับญี่ปุ่นในช่วงราชวงศ์หมิงเพื่อช่วยประเทศใด

(1) เกาหลี

(2) ไทย

(3) เวียดนาม

(4) อิรัก

(5) อิหร่าน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในช่วงราชวงศ์หมิง เกาหลีซึ่งเป็นรัฐบรรณาการของจีนถูกญี่ปุ่นรุกราน จีนจึงส่งกําลังทหารเข้าไปช่วยเกาหลีรบกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ ซึ่งสงครามในครั้งนั้นเรียกว่าสงครามอิมจิน

9 สองมหาอํานาจในช่วงสงครามเย็นหมายถึงข้อใด

(1) จีน และสหภาพโซเวียต

(2) สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

(3) จีน และสหรัฐอเมริกา

(4) องค์การสันนิบาตชาติ และสหประชาชาติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 79, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 – 1991 (ตําราบางเล่มระบุว่าสงครามเย็นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1945 – 1991) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากการที่มหาอํานาจ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างอ้างอุดมการณ์ของชาติตน จนกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ และทําให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก ต้องแบ่งออกเป็น 2 ขั้วหรือ 2 ค่าย คือ ค่ายโลกเสรีประชาธิปไตยหรือค่ายตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา และค่ายโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือค่ายตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต

10 ประเทศใดที่เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นประเทศล่าสุด

(1) ไทย

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 5 หน้า 22 – 29, 33 – 34, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2016) สหประชาชาติมีสมาชิก ทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

11 ข้อใดคือเป้าหมายของการศึกษาเศรษฐศาสตร์ทางการเมืองระหว่างประเทศ

(1) การเมืองในประเทศ

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) เศรษฐกิจภายในประเทศ

(4) เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics Economy : IPE) เป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการเมืองกับเศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ โดยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง ระหว่างประเทศจะให้ความสําคัญกับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยครอบคลุมการศึกษา ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ หลักการค้าเสรี กลไกราคาในตลาดโลก การเจรจา ทางการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาตัวแสดงในเวทีการเมืองโลกทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐ และตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs)

12 เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศศึกษาตัวแสดงในการเมืองโลกใดบ้าง

(1) บรรษัทข้ามชาติ

(2) รัฐ

(3) NGOs

(4) องค์การระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 องค์การระดับภูมิภาคที่มีบทบาทริเริ่มเพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจสังคมและทางการเมืองแต่กําลังประสบปัญหาทางด้านการเงินและหนี้สินของประเทศสมาชิกได้แก่องค์การใด

(1) OAU

(2) OAS

(3) ASEAN

(4) SEATO

(5) EU

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) กําลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเขตยูโรโซน หรือที่เรียกว่า วิกฤตการณ์ยูโรโซน ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและ หนี้สาธารณะ โดยเริ่มต้นจากการเกิดภาวะเศรษฐกิจการเงินตกต่ําในกรีซ แล้วส่งผลกระทบลุกลาม ไปถึงภาวะเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่อยู่ในเขตยูโรโซนด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน จึงทําให้เกิดความอ่อนแอต่อฐานะเศรษฐกิจการคลังในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอย่างมาก

14 เหตุผลหลักที่มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาคเมื่อแรกเริ่มเกิดจากแรงผลักดันใดในข้อต่อไปนี้

(1) เพื่อใช้เป็นเวทีเจรจา

(2) เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง

(3) เพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน

(4) เพื่อถ่วงดุลอํานาจ

(5) เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะตัวแสดงบนเวทีโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเหตุผลหลักของการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค ก็คือ เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงของมนุษยชาติ

15 องค์การระหว่างประเทศที่จัดอยู่ในประเภทเพื่อความมั่นคงและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิกคือข้อใด

(1) ASEAN

(2) UNESCO

(3) FAO

(4) NATO

(5) AU

ตอบ 4 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความมั่นคงและส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม อังกฤษ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส ตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนียโครเอเชีย และแอลเบเนีย

16 ประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียนซึ่งเป็นใครต่อไปนี้

(1) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

(2) นายกษิต ภิรมย์

(3) นายธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

(4) พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ

(5) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สํานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเลขาธิการอาเซียนในฐานะหัวหน้าสํานักงานจะมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันมีนายเอ เลือง มินห์ (Le Lu’o’ng Minh) ชาวเวียดนาม เป็นเลขาธิการ สําหรับ ประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียน 2 ท่าน คือ นายแผน วรรณเมธีและนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

17 ใครคือผู้ที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน

(1) เล เลือง มินห์

(2) สุรินทร์ พิศสุวรรณ

(3) H.R. Darsono

(4) Ong Keng Yong

(5) Datuk Ali Bin Abdullah

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

18 เพลงประจําอาเซียนคือเพลงอะไร

(1) The ASEAN Unity

(2) The ASEAN Soul

(3) The ASEAN Together

(4) The ASEAN Blood

(5) The ASEAN Way

ตอบ 5 (คําบรรยาย) The ASEAN Way เป็นเพลงประจําอาเซียน ซึ่งประพันธ์ทํานองโดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ และนายสําเภา ไตรอุดม คําร้องโดยนายพยอม วลัยพัชราโดยเพลงนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพลงประจําอาเซียนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008

19 กฎหมายระหว่างประเทศมีกี่ประเภท

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public International Law)

2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law)

20 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด

(1) ลาว ไทย เวียดนาม

(2) พม่า เวียดนาม กัมพูชา

(3) สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย

(4) ญี่ปุ่น พม่า กัมพูชา

(5) มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม

ตอบ 4 หน้า 168 169, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนาม ในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) อาเซียนมีสมาชิก ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และกัมพูชา

21 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ชื่อสนามบินในประเทศอาเซียน

(1) Wattay International Airport

(2) O.R. Tambo International Airport

(3) Ninoy Aquino International Airport

(4) Changi International Airport

(5) Noi Bai International Airport

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ชื่อสนามบินในประเทศอาเซียน ได้แก่

1 Wattay International Airport ของประเทศลาว

2 Ninoy Aquino International Airport ของประเทศฟิลิปปินส์

3 Changi International Airport ของประเทศสิงคโปร์

4 Noi Bai Internat onal Airport ของประเทศเวียดนาม

ส่วน O.R. Tambo International Airport เป็นสนามบินของประเทศแอฟริกาใต้(ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

22 NATO เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคใด

(1) อเมริกาเหนือ

(2) อเมริกาใต้

(3) ยุโรป

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

23 ประเทศสมาชิกอาเซียนใดที่มีขนาดเล็กที่สุดแต่มีความมั่นคงทางการเงินมากที่สุด

(1) ลาว

(2) บรูไน

(3) ไทย

(4) มาเลเซีย

(5) สิงคโปร์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จากการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า

1 อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด

2 สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีความมั่นคงทางการเงินและมีรายได้ ต่อหัวประชากรมากที่สุด

3 ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกันยาวที่สุด

4 สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

24 ประเทศใดมีรายได้ต่อหัวของประชากรมากที่สุดในอาเซียน

(1) สิงคโปร์

(2) กัมพูชา

(3) เวียดนาม

(4) ลาว

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ประเทศใดใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

(1) ไทย

(2) อินโดนีเซีย

(3) สิงคโปร์

(4) เวียดนาม

(5) ลาว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

26 ค่าจ้างแรงงาน 300 บาท มีผลเช่นไรกับการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน

(1) แรงงานไทยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

(2) แรงงานไร้ฝีมือจากภายนอกเข้ามาน้อยลง

(3) แรงงานมีความขัดแย้งกันมากขึ้น

(4) แรงงานไร้ฝีมือในอาเซียนเข้ามาทํางานในประเทศไทยมากขึ้น

(5) ประเทศไทยต้องจ้างแรงงานไทยมากขึ้น

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลของการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ได้ทําให้แรงงานไร้ฝีมือในอาเซียนเข้ามาทํางานในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานจาก 3 ประเทศหลัก คือ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งแรงงานเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของกิจการหลายประเภท โดยเฉพาะงาน ที่มีลักษณะ 3 D คือ สกปรก (Dirty) ยากลําบาก (Difficult) และอันตราย (Dangerous) เช่น งานในเรือประมงทะเล งานก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่แรงงานไทยไม่นิยมทํา

27 สิ่งใดเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน

(1) กฎบัตรอาเซียน

(2) ปฏิญญาอาเซียน

(3) วิสัยทัศน์อาเซียน

(4) สัญลักษณ์อาเซียน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของอาเซียน โดยทําให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทํางานมากขึ้น รวมทั้งทําให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์การระหว่างรัฐบาล

  1. อาเซียน + 6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

(1) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และศรีลังกา (2) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

(3) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และรัสเซีย

(4) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีเหนือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

(5) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน บราซิล ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ ตอบ 2 (คําบรรยาย) อาเซียน + 6 (ASEAN + 6) เกิดจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เพื่อจัดตั้ง เขตการค้าเสรี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา อีก 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ)

29 BRICS เป็นการรวมกลุ่มของประเทศขั้วอํานาจใหม่ประกอบด้วยประเทศใด

(1) บังกลาเทศ รัสเซีย อินโดนีเซีย จีน แอฟริกาใต้

(2) บังกลาเทศ รัสเซีย อินเดีย จีน สิงคโปร์

(3) บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้

(4) บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน สิงคโปร์

(5) บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย จีน แอฟริกาใต้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G 7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้(South Africa)

30 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล

(1) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่งที่มีความเสมอภาคกัน

(2) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

(3) รัฐเหล่านี้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ

(4) รัฐตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

(5) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มี 4 ประการ ดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) นั่นคือ สมาชิกต้องมีฐานะเป็นรัฐ เท่านั้น เนื่องจากรัฐสมาชิกเหล่านี้จะมีอํานาจอธิปไตย เป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและมีความเสมอภาคกันในการออกเสียง

2 ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

3 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และ มุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

4 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

31 กลุ่ม BRICS มีความสําคัญอย่างไรในเวทีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ

(1) เป็นกลุ่มประเทศขนาดเล็กที่มีทรัพยากรมั่งคั่ง

(2) เป็นกลุ่มหรือเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีศักยภาพเป็นศูนย์อํานาจใหม่

(3) เป็นกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าใหญ่ที่สุดของโลก

(4) เป็นกลุ่มประเทศที่กระจัดกระจายอยู่ในทวีปต่าง ๆ ของโลกและมีทรัพยากรหลากหลาย

(5) เป็นกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่มีประชากรมากที่สุด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

32 ติมอร์ตะวันออก (ติมอร์-เลสเตในปัจจุบัน) ได้รับอิสรภาพจากประเทศใด

(1) มาเลเซีย

(2) ออสเตรเลีย

(3) โปรตุเกส

(4) บรูไน

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ติมอร์ตะวันออก หรือติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ภายหลังจากที่โปรตุเกสเจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป โดยอินโดนีเซีย ได้รวมติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศ และในปี ค.ศ. 1999 ติมอร์ตะวันออก ได้รับอิสรภาพจากอินโดนีเซีย โดยประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

33 ท่าเรือทวายอยู่ใกล้จังหวัดใดในประเทศไทย

(1) ตาก

(2) เชียงราย

(3) ระนอง

(4) กาญจนบุรี

(5) ราชบุรี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ญี่ปุ่นมีข้อเสนอที่จะทําเส้นทางรถไฟจากประเทศไทยไปยังท่าเรือทวายในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดกาญจนบุรีของประเทศไทย โดยท่าเรือแห่งนี้จะเป็น ศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของอาเซียนในการเชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศอาเซียนไปยังประเทศตะวันออกกลาง ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

34 จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด

(1) หนองคาย

(2) เชียงราย

(3) เชียงใหม่

(4) นครพนม

(5) อุบลราชธานี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคาย ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan-Asia Railway Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน

35 ประเทศไทยส่งออกสินค้าอะไรที่ทํารายได้ให้กับประเทศมากที่สุด

(1) น้ำมัน

(2) ยางพารา

(3) อาหาร

(4) เครื่องนุ่งห่ม

(5) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2016) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน ถือเป็นสินค้าส่งออกที่ทํารายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกจํานวน 699,594.4 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบียเป็นต้น

36 ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับฟิลิปปินส์และเวียดนาม

(1) ญี่ปุ่น

(2) จีน

(3) อินโดนีเซีย

(4) บรูไน

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจํานวนมหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิ์ส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาท หรือความขัดแย้งกับประเทศที่อยู่ล้อมรอบซึ่งล่าสุดก็คือ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยหมู่เกาะ ที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิ์ในการครอบครองนั้น มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly

Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)

37 ประเทศใดมีข้อเสนอที่จะทําทางรถไฟให้ไทยไปทวายครั้งล่าสุด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลีใต้

(4) เกาหลีเหนือ

(5) สิงคโปร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

38 นายกคนปัจจุบันของญี่ปุ่นต้องการจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายในด้านใด

(1) การแต่งงาน

(2) การค้า

(3) การใช้กําลังทหาร

(4) สิ่งแวดล้อม

(5) แรงงานต่างด้าว

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่น มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้กําลังทหาร โดยเสนอรัฐสภาให้มีการแก้ไขกฎหมาย จัดตั้งกระทรวงการป้องกันประเทศ เพื่อเปิดทางให้กองกําลังป้องกันตนเองมีบทบาทมากขึ้น เช่น สามารถใช้กําลังทหารได้หากประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นถูกโจมตีด้วยอาวุธ สามารถเข้าร่วม ปฏิบัติการทางทหารในต่างแดนได้โดยไม่จําเป็นต้องเข้าร่วมกับกองกําลังรักษาสันติภาพของ สหประชาชาติเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญที่สุดของญี่ปุ่น เนื่องจากตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้ถูกจํากัดสิทธิในการใช้กองกําลังป้องกันตนเอง

39 วันใดเป็นวันครบรอบ 70 ปี การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา

(1) 5 สิงหาคม 2558

(2) 6 สิงหาคม 2558

(3) 7 สิงหาคม 2558

(4) 8 สิงหาคม 2558

(5) 9 สิงหาคม 2558

ตอบ 2 หน้า 74, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการหลังสหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) จํานวน 2 ลูก โดยทิ้งลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม และลูกที่ 2 ที่เมืองนางาซากในวันที่ 9 สิงหาคม โดยในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ถือเป็นการครบรอบ 70 ปีของการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น

40 องค์การสันนิบาตชาติเกิดขึ้นหลังสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามเวียดนาม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 2

(4) สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา

(5) สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน

ตอบ 1 หน้า 33, 73, 75 – 76, (คําบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกที่มีวัตถุประสงค์หลายด้าน ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและ สร้างสันติภาพ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมทั้งการป้องกันการก่อสงครามระหว่างประเทศ และการใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีแทนการใช้การรุกรานและการทําสงคราม โดยองค์การสันนิบาตชาติได้ยุติการทํางานลงในปี ค.ศ. 1941 และได้สิ้นสุดสภาพการเป็น องค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 โดยโอนทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดไปให้แก่องค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน

41 ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของจีนชื่ออะไร

(1) เจียง เจ๋อหมิง

(2) หู จิ่นเทา

(3) สี จิ้นผิง

(4) เหวิน เจียเป่า

(5) หลี่ หยวนเฉา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

42 ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

(1) ประธานาธิบดีดูเตอร์เต

(2) ประธานาธิบดีโคราซอน อากีโน

(3) ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส

(4) ประธานาธิบดีอาโรโย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ คือ นายโรดริโก ดูเตอร์เต (Rodrigo :Duterte) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2016

43 ประเทศไทยเป็นสมาชิกของอาเซียนเมื่อไหร่

(1) 1932

(2) 1945

(3) 1967

(4) 1983

(5) 2000

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

44 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกผู้จัดตั้งอาเซียน

(1) ไทย

(2) พม่า

(3) อินโดนีเซีย

(4) ฟิลิปปินส์

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

45 สํานักงานใหญ่เลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ในประเทศใด

(1) ไทย

(2) สิงคโปร์

(3) เวียดนาม

(4) อินโดนีเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

46 ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่ม ASEAN Plus Three

(1) เกาหลีใต้

(2) มองโกเลีย

(3) ญี่ปุ่น

(4) จีน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ASEAN Plus Three หรือ ASEAN + 3 เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจากเอเชียตะวันออกอีก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค เอเชียตะวันออก และนําไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community)ในอนาคต (ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

47 ประเทศญี่ปุ่นและจีนมีข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะอะไร

(1) หมู่เกาะเซนกากุ หรือหมู่เกาะเตียวหยู

(2) หมู่เกาะไหหลํา

(3) หมู่เกาะฮาวาย

(4) หมู่เกาะสแปรทลีย์

(5) หมู่เกาะพีพี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะเซนกากุ (ในภาษาญี่ปุ่น) หรือหมู่เกาะเตียวหยู (ในภาษาจีน) ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน ในทะเลจีนตะวันออก โดยต่างฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของหมู่เกาะดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

48 ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน มีชื่อว่าอะไร

(1) จริงแท้จริง

(2) Deja Vu

(3) Kim Hyun Sun

(4) Kim Jong IL

(5) Kim Jong Un

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง อึน (Kim Jong Un) ซึ่งเป็นบุตรชายของนายคิม จอง อิล (Kim Jong II) อดีตผู้นําเกาหลีเหนือ โดยเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011

49 นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

(1) อิคคิวซัง

(2) Honda Suzuki

(3) ชินโซ อาเบะ

(4) ทาโร่ฮานามิ

(5) โตกุกาว่าอิเอยาสึ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

50 ประเทศใดบ้างถือว่าเป็นมหาอํานาจในเอเชียแปซิฟิก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) Australia

(3) รัสเซีย

(4) จีน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เอเชียแปซิฟิก เป็นภูมิภาคของโลกที่อยู่ในหรืออยู่ใกล้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสตราเลเซีย และโอเชียเนีย ซึ่งอาจรวมไปถึงเอเชียใต้ รัสเซีย และประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกด้วย โดยประเทศมหาอํานาจใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นเป็นต้น

51 ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) ASEAN

(2) UN

(3) APEC

(4) World Bank Sei

(5) African Union

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ในปัจจุบัน เช่น สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IME), องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), อาเซียน (ASEAN), การประชุมการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD),กลุ่ม 77 (G-77), กลุ่มหรือขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (NAM) เป็นต้น

52 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ

(1) UN

(2) ASEAN

(3) WTO

(4) NATO

(5) Coca-Cola

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่นสันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น

53 IGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations :IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐหรือตัวแทนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร

2 องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : ENGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

54 INGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

55 สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 2001

(2) 1980

(3) 1918

(4) 1945

(5) 1941

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

56 สมาชิกก่อตั้งสหประชาชาติมีกี่ประเทศ

(1) 4

(2) 161

(3) 51

(4) 170

(5) 15

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

57 สหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ

(1) 150

(2) 161

(3) 15

(4) 166

(5) 193

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

58 องค์การการค้าโลกมีพัฒนาการมาจากองค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) GATT

(2) UNDP

(3) FAO

(4) UNEP

(5) NATO

ตอบ 1 (คําบรรยาย) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่มีบทบาทในการสร้างกฎเกณฑ์หรือระเบียบการค้าโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 ปราม โดยมีพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้ามาเป็นสมาชิก ได้แก่ อัฟกานิสถาน (29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016)สำหรับประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกลําดับที่ 59 ของ WTO ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง

59 สํานักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่เมืองใด

(1) กรุงเทพ

(2) ลอนดอน

(3) ปารีส

(4) โตเกียว

(5) นิวยอร์ก

ตอบ 5 คําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

60 ข้อใดไม่ใช่วัตกประงค์การก่อตั้งองค์การการค้าโลก

(1) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

(4) เป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

(5) กํากับการดําเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า ตอบ 2 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก มีดังนี้

1 เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

2 เพื่อกํากับการดําเนินการของประเทศ สมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 (GATT 1994)

3 เพื่อยุติหรือระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

4 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

61 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของ ASEAN

(1) ไทย

(2) เวียดนาม

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) สิงคโปร์

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

62 สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปที่ส่งผลให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นนั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1645

(2) 1646

(3) 1647

(4) 1648

(5) 1649

ตอบ 4 หน้า 19 – 20, 49, (คําบรรยาย) วิวัฒนาการทางด้านการเมืองได้เปลี่ยนจากชนเผ่าไปสู่การเป็นรัฐชาติ (Nation-State) ภายหลังการเกิดสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปเมื่อปี ค.ศ. 1548 ซึ่งส่งผลทําให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกและนับเป็นจุดเริ่มต้นที่รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

63 สงครามใดที่จีนถูกบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ

(1) สงครามฝัน

(2) สงครามนานกิง

(3) สงครามแยงซีเกียง

(4) สงครามสายแพรไหม

(5) สงครามปักกิ่ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

64 อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำใด

(1) ลุ่มแม่น้ำไนล์

(2) ลุ่มแม่น้ำอเมซอน

(3) ลุ่มแม่น้ำแดง

(4) ลุ่มทะเลสาบแคสเปี้ยน

(5) ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

ตอบ 1 หน้า 56, (คําบรรยาย) อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ (The Nile River)โดยเชื่อกันว่าสาเหตุสําคัญที่ทําให้อียิปต์ในอดีตมีความยิ่งใหญ่นั้น ก็เนื่องมาจากมีแม่น้ำไนล์ ไหลผ่าน ซึ่งได้นําความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์มาสู่อียิปต์ ทําให้ชาวอียิปต์สามารถร่วมกันสร้างอารยธรรมและจัดตั้งเป็นประเทศขึ้นได้อย่างมั่นคง

65 การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของฝรั่งเศสจากระบอบกษัตริย์เป็นระบอบสาธารณรัฐนั้น เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) พระเจ้าหลุยส์ที่ 13

(2) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

(3) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15

(4) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16

(5) พระเจ้าหลุยส์ที่ 17

ตอบ 4 หน้า 67, (คําบรรยาย) สภาพสังคมของประเทศฝรั่งเศสหลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 สิ้นพระชนม์ลง และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นปกครองประเทศนั้น ชาวฝรั่งเศสไม่มีความเสมอภาค ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะชาวนา เนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากขุนนางเจ้าของที่นาและ การเก็บภาษี จึงทําให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นในปี ค.ศ. 1789 เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบกษัตริย์หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบสาธารณรัฐ

66 ประเทศใดที่เป็นผู้แพ้สงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

(1) เยอรมนี

(2) ฮังการี

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) รัสเซีย

ตอบ 1 หน้า 73, 76 – 78, (คําบรรยาย) เยอรมนี เป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่าให้เยอรมนีต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) ที่กําหนดให้เยอรมนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงครามจํานวนมากและต้องเสีย ดินแดนหลายแห่ง ส่วนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทําให้เยอรมนี้ต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก

67 กําแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นถูกทุบทําลายลงในปี ค.ศ. ใด

(1) 1989

(2) 1990

(3) 1991

(4) 1992

(5) 1993

ตอบ 2 หน้า 82 กําแพงเบอร์ลิน (The Berlin Wal) เป็นสัญลักษณ์สําคัญของสงครามเย็นที่สหภาพโซเวียตสร้างขึ้นในเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 1961 เพื่อใช้เป็นแนวกั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันตก และเบอร์ลินตะวันออก โดยมีความยาวประมาณ 27 ไมล์ หรือประมาณ 40 กิโลเมตร ทั้งนี้กําแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทําลายลงเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1990

68 ประธานาธิบดีคนใดของ USSR ที่มีบทบาทสําคัญในการยุติสงครามเย็น

(1) กอร์บาชอฟ

(2) ครุสซอฟ

(3) สตาลิน

(4) เลนิน

(5) อัลโดปอฟ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง มีดังนี้

1 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต (USSR)ได้ประกาศใช้นโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost)ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1986

2 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตจนทําให้กลุ่มตะวันออกล่มสลายลง

3 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ประกาศยุบตัวเองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1991

4 การประกาศจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (CIS) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายโดยสิ้นเชิง และทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

69 สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ทําให้ประเทศสยามเสียเปรียบชาติตะวันตกที่เรียกว่า “การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเกิดขึ้นในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 3

(2) รัชกาลที่ 4

(3) รัชกาลที่ 5

(4) รัชกาลที่ 6

(5) รัชกาลที่ 7

ตอบ 2 หน้า 91, (คําบรรยาย) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยประเทศสยาม (ไทย) ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าเสรีอันเป็นระเบียบใหม่ของโลกในยุคลัทธิ จักรวรรดินิยมกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1855 เรียกว่า “สนธิสัญญาเบาวาง” (Bowring Treaty) ซึ่งผลก็คือ สยามสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ก็ทําให้สยามถูกจํากัดอัตราภาษีขาเข้า และต้อง เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและคนในบังคับ สนธิสัญญาฉบับนี้ใช้บังคับนานกว่า 70 ปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อย ๆ ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

70 ชาติโปรตุเกสฝรั่งชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือที่ติดต่อกับอินเดียในยุคเปิดประเทศนั้น ได้ตั้งรกรากแห่งแรกที่เมืองใด

(1) เชนไน

(2) เดลี

(3) บอมเบย์

(4) เมืองกัว

(5) มัทราช

ตอบ 4 หน้า 51 โปรตุเกสเป็นฝรั่งหรือชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดียในปี ค.ศ. 1498 โดยตั้งรกรากแห่งแรกที่เมืองกัว (Goa) เพื่อเป็นสถานีการค้าและศูนย์กลางในการขยายกิจการการค้าต่อไปยังเมืองอื่น ๆ ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น จึงทําให้เมืองกัวของอินเดียได้รับสมญานามจากชาวยุโรปว่าเป็น “ลิสบอนตะวันออก” (Lisbon of the East)

71 หมู่เกาะใดที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้

(1) หมู่เกาะสแปรทลีย์

(2) หมู่เกาะพาราเซล

(3) หมู่เกาะสุรินทร์

(4) หมู่เกาะฮาวาย

(5) หมู่เกาะสแปรทลีย์, หมู่เกาะพาราเซล

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

72 ประเทศใดเป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank).

(1) ญี่ปุ่น

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) รัสเซีย

(5) เกาหลีใต้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เป็นสถาบันการเงินในระดับระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสนอความช่วยเหลือด้านการเงิน และแหล่งเงินทุนทางเลือกให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนําไปลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

73 ประเทศใดไม่ได้อยู่ในเอเชียตะวันออก (East Asia)

(1) สิงคโปร์

(2) ญี่ปุ่น

(3) ทิเบต

(4) เกาหลีเหนือ

(5) เกาหลีใต้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เอเชียตะวันออก (East Asia) เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย โดยประเทศที่มีพื้นที่ อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไต้หวัน มองโกเลีย และทิเบต (ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

74 Triple Alliance ในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือข้อใด

(1) ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี บัลแกเรีย

(2) ตุรกี ฮังการี เยอรมนี รัสเซีย

(3) ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย อเมริกา

(4) อิตาลี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี

(5) ออสเตรีย ฮังการี เยอรมนี ตุรกี บัลแกเรีย

ตอบ 5 หน้า 68, คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 1918 โดยมีสมรภูมิรบเฉพาะในยุโรป ซึ่งแตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีสมรภูมิรบอยู่ทั่วโลก โดยสงครามโลก ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนีออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 กลุ่มสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

75 ผู้ให้คําจํากัดความของคําว่า “สงครามเย็น” (Cold War) คือใคร

(1) เฮอร์เบิร์ต สโวป

(2) รุสเวลท์

(3) นิกสัน

(4) เคนเนดี

(5) คาร์เตอร์

ตอบ 1 หน้า 79 – 80 เฮอร์เบิร์ต ไบยาร์ด สโวป เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันที่ให้คําจํากัดความของคําว่า “สงครามเย็น” (Cold War) โดยเขาเห็นว่า สงครามเย็นหรือสงครามอุดมการณ์ เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มโลกเสรีกับกลุ่มโลกคอมมิวนิสต์เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในโลก โดยใช้การต่อสู้ทางจิตวิทยาแต่ไม่ใช้กําลังทางทหาร

76 มนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดีย คือ

(1) ปัญจาบ

(2) จัณฑาล

(3) ซิกส์

(4) ดราวิเดียน

(5) อารยัน

ตอบ 4 หน้า 50 พวกดราวิเดียนหรือมิลักขะหรือทราวิทเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุหรืออินดัส ณ มณฑลปัญจาบตะวันตก โดยสันนิษฐานกันว่า เป็นมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงปลายยุคหินใหม่ซึ่งมีเชื้อสายนิโกร ดังนั้นจึงถือว่าชนเผ่านี้ เป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดียที่ได้สร้างอารยธรรมอินเดียหรืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นอารยธรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ

77 อารยธรรมซึ่งถือว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ คืออารยธรรมอะไร

(1) จีน

(2) อินเดีย

(3) อินคา

(4) โรมัน

(5) ยุโรป

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 ASEAN + 3 คือข้อใด

(1) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย

(2) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์

(3) ASEAN + จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

(4) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา

(5) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

79 ประเทศใดใน ASEAN ที่มีประชากรมากที่สุด

(1) กัมพูชา

(2) เวียดนาม

(3) มาเลเซีย

(4) อินโดนีเซีย

(5) ไทย

ตอบ 4 คําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

80 คัมภีร์ใดของอินเดียที่มีความเก่าแก่ที่สุด

(1) คัมภีร์ปัญจาบ

(2) คัมภีร์บาลี-สันสกฤต

(3) คัมภีร์ฮารัปปา

(4) คัมภีร์ดราวิเดียน

(5) คัมภีร์ฤคเวท

ตอบ 5 หน้า 51 คัมภีร์ฤคเวท (Rigveda) ถือเป็นคัมภีร์ที่มีความเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดของอินเดีย นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นวรรณคดีชิ้นแรกของพวกอินโดอารยัน โดยจะมีเนื้อหา ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพวกอารยันในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดระเบียบแบบแผนของการเมืองการปกครอง การแบ่งชนชั้นทางสังคม เป็นต้น

81 ลัทธิทรูแมนของสหรัฐอเมริกาเป็นนโยบายที่ให้ความสําคัญในด้านใด

(1) การค้าเสรี

(2) ต่อต้านนิวเคลียร์

(3) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

(4) ต่อต้านคอมมิวนิสต์

(5) ลดจํานวนประชากร

ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) ลัทธิหรือหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ของสหรัฐอเมริกาเป็นนโยบายที่ประกาศโดยประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งการประกาศหลักการทรูแมนนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริงที่ก่อให้เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต

82 การค้าแบบเสรีเป็นแนวคิดของใคร

(1) Franklin Roosevelt

(2) Margaret Thatcher

(3) Adam Smith

(4) Joseph Stalin

(5) Woodrow Wilson

ตอบ 3 หน้า 64 อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักเศรษฐศาสตร์แนวคิดเสรีนิยมที่เสนอแนวคิด“การค้าระหว่างประเทศแบบเสรี” โดยเขาเชื่อว่า ถ้าปล่อยให้ตลาดภายในประเทศและตลาดการค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีจะทําให้ทุกประเทศได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

83 ระบบวรรณะ (Caste System) ในอินเดียเกิดจากเหตุผลข้อใดของชนเผ่าอารยัน

(1) เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี

(2) เพื่อรักษาความบริสุทธิของสายเลือด

(3) เพื่อแยกให้เห็นชัดถึงแต่ละสายเลือด

(4) เพื่อง่ายต่อการเกณฑ์แรงงาน

(5) เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง

ตอบ 2 หน้า 50 ในระยะที่พวกอินโดอารยันหรืออริยกะเริ่มอพยพรุกรานเข้ามาสู่อินเดียในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ และเกิดการต่อสู้กับพวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมนั้น พวกอินโดอารยัน บางส่วนได้มีการปะปนทางสายเลือดกับพวกดราวิเดียนและรับเอาขนบธรรมเนียมบางประการไว้ จึงเกรงว่าพวกตนจะถูกกลืนโดยพวกดราวิเดียน ดังนั้นพวกอินโดอารยันจึงได้สร้างระบบวรรณะ (Caste System) ขึ้น เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือดชนเผ่าอารยันไว้

84 อะไรเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) ฐานทัพเรือที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ถ้าโจมตี

(2) ถูกญี่ปุ่นโจมตีที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

(3) ญี่ปุ่นต้องการปิดล้อมเอเชียอาคเนย์

(4) ประธานาธิบดีถูกสังหาร

(5) เรือบรรทุกสินค้าถูกโจมตี

ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้าที่สุดโดยตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่หมู่เกาะฮาวาย

85 สนธิสัญญาอะไรที่ทําให้เยอรมนี้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ปรัสเซล

(2) เวสต์ฟาเลีย

(3) เฮลซิงกิ

(4) เจนีวา

(5) แวร์ซายส์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

86 ประเทศใดเป็นประเทศแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(1) Italy

(2) Germany

(3) United Kingdom

(4) Spain

(5) France

ตอบ 3 หน้า 61, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 จนถึงศตวรรษที่ 19 เป็นการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการผลิตในขั้นมูลฐานจากวิธีการผลิตที่ใช้มือมาเป็นการใช้เครื่องจักร ในระบบโรงงาน ซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร (United Kingdom) เป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลก

87 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกมีสํานักงานอยู่ ณ ประเทศใด

(1) เนเธอร์แลนด์

(2) ฝรั่งเศส

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สวีเดน

(5) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICU) หรือศาลโลก (World Court) เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ใน การตัดสินคดีระหว่างรัฐกับรัฐ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชาและ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

88 ระบบวรรณะในอินเดีย วรรณะใดที่มีสถานะทางสังคมสูงที่สุด

(1) วรรณะศูทร

(2) วรรณะกษัตริย์

(3) วรรณะแพศย์

(4) วรรณะไวศย์

(5) วรรณะพราหมณ์

ตอบ 5 หน้า 51, (คําบรรยาย) ระบบวรรณะในอินเดีย แบ่งออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 วรรณะพราหมณ์ ทําหน้าที่ทางศาสนา ถือว่าเป็นวรรณะที่มีสถานะทางสังคมสูงที่สุด

2 วรรณะกษัตริย์ ทําหน้าที่เป็นนักรบ

3 วรรณะแพศย์หรือวศย์ ทําหน้าที่เป็นพ่อค้า กสิกร และช่างฝีมือ

4 วรรณะศูทรหรือทัสยุ ทําหน้าที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ถือเป็นวรรณะที่มีสถานะทางสังคมต่ำที่สุด

89 “การปฏิวัติอเมริกา” ก่อให้เกิดประเทศใหม่ที่ยึดถือหลักเสรีภาพทางการเมืองเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1775

(2) 1776

(3) 1777

(4) 1778

(5) 1779

ตอบ 2 หน้า 67 การปฏิวัติเพื่อประกาศเอกราชและจัดตั้งรัฐใหม่ขึ้นเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ถือเป็นแนวคิดสําคัญในการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจาก ได้ก่อให้เกิดประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหม่ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยึดถือ หลักเสรีภาพและความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมี รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทในการใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร และมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาจะมาจากการเลือกตั้ง

90 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค

(1) ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก (2) พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย

(3) ลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

(4) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเจรจาด้านการค้าของสมาชิก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) มีดังนี้

1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจทั้งใน ระดับภูมิภาคและระดับโลก

2 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย หรือระบบ การค้าแบบเปิด

3 เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

4 เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้าของสมาชิก แต่ไม่ใช่เวทีในการเจรจาหรือยุติข้อพิพาท ทางการค้าระหว่างสมาชิก

91 วาระการดํารงตําแหน่งของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติมีกําหนดกี่ปี

(1) 3 ปี

(2) 4 ปี

(3) 5 ปี

(4) 6 ปี

(5) 7 ปี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ จะครบวาระการดํารงตําแหน่งในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2016 ส่วนเลขาธิการองค์การ สหประชาชาติคนต่อไป คือ นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกสจะเริ่มดํารงตําแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

92 ประเทศใดในยุโรปที่รัชกาลที่ 5 ไม่ได้เสด็จประพาสในรัชสมัยของพระองค์

(1) รัสเซีย

(2) ฟินแลนด์

(3) เบลเยี่ยม

(4) สเปน

(5) เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 92 93 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เสด็จประพาสประเทศในยุโรปในปี พ.ศ. 2440 เช่น รัสเซีย เบลเยียม สเปน โปรตุเกส และ เยอรมนี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกที่เสด็จประพาสยุโรปเพื่อเชื่อม สัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตกต่าง ๆ พร้อมกับนําเอาศิลปวิทยาการและความรู้ใหม่ ๆ กลับมา พัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ดังนั้นในสมัยของพระองค์ จึงได้รับการยกย่องจากชาติตะวันตกว่า ประเทศสยามได้รับการทํานุบํารุงอย่างดีที่สุดในกลุ่มประเทศแถบเอเชียอาคเนย์

93 “ระบอบศักดินา” เป็นระบอบการปกครองและเศรษฐกิจของยุโรปในสมัยกลาง ถืออะไรเป็นเครื่องวัด สถานะทางสังคมของบุคคลในยุคนั้น

(1) ตําแหน่งในราชสํานัก

(2) ตําแหน่งทางทหาร

(3) การสะสมทองคํา

(4) การถือครองที่ดิน

(5) ตําแหน่งที่กษัตริย์พระราชทานให้

ตอบ 4 หน้า 60 ระบอบศักดินา (Feudalism) เกิดขึ้นในยุโรปสมัยกลางช่วงศตวรรษที่ 9 – 18 โดยระบอบศักดินาในยุคนี้ถือเป็นระบอบการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ และระบบสังคม ที่สําคัญของยุโรป ซึ่งจะกําหนดฐานะ สิทธิ หน้าที่ และสถานะทางสังคมของบุคคลโดยถือที่ดินที่ครอบครองอยู่เป็นเกณฑ์

94 ข้อใดคือองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค

(1) League of Nations

(2) International Red Cross

(3) WTO

(4) UNEP

(5) ASEAN

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

95 ความร่วมมือระหว่างรัฐทางเศรษฐกิจนั้นมีกลุ่มรัฐที่ “ได้เปรียบ” และรัฐที่ “เสียเปรียบ” เป็นแนวคิดของ สํานักใด

(1) เสรีนิยมแบบอุดมคติ

(2) โครงสร้างนิยม

(3) เสรีนิยมใหม่

(4) สัจนิยมแบบดั้งเดิม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 17 สาระสําคัญของการศึกษาของสํานักโครงสร้างนิยม (Structuralism) มีดังนี้

1 พัฒนามาจากแนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ (Marxism) ที่โจมตีระบบทุนนิยมหรือรู้จักกันในนาม สํานักมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxism)

2 ท่ามกลางความร่วมมือระหว่างรัฐทางเศรษฐกิจนั้น มีกลุ่มรัฐที่ “ได้เปรียบ และรัฐที่ “เสียเปรียบ” เพราะความไม่เท่าเทียมกันของประเทศที่มั่งมี (The Have) กับประเทศที่ยากไร้ (The Have-Nots)

3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้ (North-South Relations)

4 ศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และ “ความด้อยพัฒนา”

96 ทักษะและสมรรถนะที่จําเป็นของนักการทูต ได้แก่

(1) มีความรู้ภาษาต่างประเทศ

(2) มีความรอบรู้

(3) มีความรอบคอบ

(4) มีความสามารถในการประสานงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 2 ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จําเป็นของนักการทูต มีดังนี้

1 มีความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยและในโลก

2 มีความรอบคอบและรอบรู้

3 มีความสามารถในการประสานงาน

4 มีความสามารถในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุและมีผล

5 มีความรู้ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ

97 งานเขียนของใครไม่ได้สะท้อนความคิดแบบสัจนิยม (Realism)

(1) ทูซีดีเดส

(2) มาเคียวเวลลี

(3) มอร์เกนธอร์

(4) รุสโซ

(5) หานเฟยจือ

ตอบ 4 หน้า 14 – 15 รุสโซ (Rousseau) เป็นนักอุดมคตินิยมที่มีแนวคิดแตกต่างจากแนวคิดสัจนิยมโดยเขาได้กล่าวไว้ในหนังสือ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) ว่า “มนุษยชาติร่วมมือกัน ในกิจการของสังคมเพราะพวกเขาตระหนักว่า อุปสรรคหรือความยากลําบากมีความยิ่งใหญ่มากกว่าทรัพยากรหรือพละกําลังของปัจเจกชนเพียงลําพัง”

98 ขอบเขตของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครอบคลุมเนื้อหาวิชา

(1) ประวัติศาสตร์การทูต

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) ภูมิภาคศึกษา

(4) กฎหมายระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ขอบเขตของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครอบคลุมเนื้อหาวิชา ดังนี้

1 ประวัติศาสตร์การทูต

2 การเมืองระหว่างประเทศ

3 กฎหมายระหว่างประเทศ

4 องค์การระหว่างประเทศ

5 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

6 ภูมิภาคศึกษา

99 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบหลังสมัยใหม่

(1) การศึกษาแบบดั้งเดิม

(2) การศึกษาโครงสร้างหน้าที่ของสังคม

(3) การศึกษาแบบแผนปฏิบัติทางการทูต

(4) การศึกษาเพื่อนําไปสู่การปลดปล่อยพันธนาการทางความคิด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีเชิงวิพากษ์เพื่อหาคําตอบว่าความมั่นคงทางทหาร หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือ ความมั่นคงทางชีวิตที่เป็นสิ่งสําคัญในการดําเนินนโยบายต่างประเทศในโลกยุคหลังสงครามเย็น ซึ่งทฤษฎีเชิงวิพากษ์นั้นมีลักษณะเด่นที่สําคัญ คือ ท้าทายโครงสร้างของอํานาจในระบบปัจจุบัน ส่งเสริมกระบวนการทางสังคมเพื่อที่จะโค่นล้มโครงสร้างที่ไม่ยุติธรรมในปัจจุบัน นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปลดปล่อยพันธนาการทางความคิดเชิงทฤษฎีและโครงสร้างทางสังคม เป็นต้น

100 คํากล่าวใดสะท้อนแนวคิดแบบสัจนิยม (Realism)

(1) น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

(2) ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร

(3) ถ้อยทีถ้อยอาศัย

(4) แกว่งเท้าหาเสี้ยน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 4 งานด้านการทูตสะท้อนแนวคิดสัจนิยม (Realism) ดังคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวรในการเมืองระหว่างประเทศ” แม้จะมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติทางการทูตในลักษณะ ของความร่วมมือ แต่รัฐทั้งหลายก็ไม่ได้มีความจริงใจต่อกันในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนักการทูตจะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามที่ชาติตนต้องการ เช่น การติดสินบน ข้าราชการสํานัก ยั่วยุให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่พวกที่ต่อต้านรัฐบาลในประเทศที่ตนไปสังกัดอยู่ เป็นต้น

101 ข้อใดเป็นลักษณะการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมัยใหม่

(1) ความเป็นวิชาเชิงปัญญา

(2) การหาคําอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุความขัดแย้ง

(3) แนวทางการศึกษาที่สําคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – ทศวรรษที่ 1980

(4) ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมัยใหม่ เป็นแนวทางการศึกษาที่สําคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – ทศวรรษที่ 1980 โดยนักวิชาการได้ใช้ แนวทางการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์เพื่อหาคําตอบว่า อะไรคือสาเหตุที่ทําให้นานาชาติ เข้าร่วมกันทําความขัดแย้งครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ความพยายามนี้ส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงในวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เข้าสู่ความเป็น “วิชาเชิงปัญญา”

102 ตามแนวคิดการสร้างทางสังคมของมนุษย์ การเมืองโลกนั้นถูกสร้างขึ้นจากอะไร (1) ความเชื่อ

(2) วาทกรรม

(3) สัญลักษณ์

(4) ภาษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 6-7 Alexander Wendt เสนอแนวคิดที่ท้าทายการอธิบายโลกในแนวทางการศึกษาแบบสมัยใหม่ โดยกล่าวว่า อํานาจทางการเมืองนั้นเป็นประดิษฐกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการสร้างทางสังคมของมนุษย์ การเมืองโลกไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อ ภาษา วาทกรรม สัญญาณ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของมนุษย์ภายในรัฐ

103 ข้อใดไม่ใช่การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

(1) กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ

(2) กฎบัตรสหประชาชาติ

(3) กฎหมายทะเล

(4) เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 9 – 10 การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ มีการศึกษาแยกย่อยดังนี้

1 แผนกคดีเมือง คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต กฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นต้น

2 แผนกคดีบุคคล คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนของรัฐ เช่น กฎหมายว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ เป็นต้น

3 แผนกคดีอาญา คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศ กฎหมายลงโทษอาชญากรสงคราม เป็นต้น

104 ระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ

(1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

(2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

(3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

(4) ประวัติศาสตร์การทูต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

105 การประชุม G 20 ในปี ค.ศ. 2016 จัดขึ้นที่เมือง

(1) หังโจว

(2) ซัวเถา

(3) เชี่ยเหมิน

(4) เซี่ยงไฮ้

(5) เทียนสิน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประชุม G 20 ในปี ค.ศ. 2016 จัดขึ้นที่เมืองหังโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนโดยมีประเด็นหลักคือ การหารือนโยบายส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน ในระยะยาวภายใต้กรอบ “Towards an Innovative, Invigorated, Interconnected and Inclusive world Economy” เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังหดตัวและซบเซาอันเนื่องมาจากผลกระทบของปัจจัยทางการเมืองและสังคมในหลายประเทศ

106 การศึกษาที่เน้นถึงนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ เป็นการศึกษาแนวทางใด

(1) แนวนโยบาย

(2) แนวประวัติศาสตร์

(3) แนวภูมิการเมือง

(4) แนวศึกษาเรื่องอํานาจ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 12 การศึกษาแนวนโยบาย (Policy Orientation) เป็นการศึกษาที่เน้นถึงนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นโยบายในการ จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพในการขจัดกรณีพิพาทและป้องกันภัยสงคราม รวมทั้งนโยบายปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศให้มีผลบังคับดีกว่าเดิม ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ มีข้อบกพร่อง คือ นักวิชาการมักมองข้ามต้นกําเนิดของพฤติกรรมของรัฐ รวมทั้งสภาพความเป็นจริงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

107 การศึกษาที่มุ่งเน้นค้นหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน การพัฒนาของชุมชนระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกัน เป็นการศึกษาแนวทางใด

(1) แนวดุลแห่งอํานาจ

(2) แนวประวัติศาสตร์

(3) แนวภูมิการเมือง

(4) แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 12 การศึกษาแนวประวัติศาสตร์ (Historical Approach) หรือแนวประเพณี (Traditional Approach) เป็นวิธีการศึกษาซึ่งเก่าแก่ที่สุด การศึกษาตามแนวนี้มุ่งเน้นค้นหาข้อเท็จจริงและ หลักฐานเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ระหว่างประเทศ การพัฒนาของชุมชน ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกัน โดยวิธีสังเกตสภาพความเป็นจริงที่ได้เกิดขึ้นจากหลักศิลาจารึก เอกสารเก่าแก่ หรือสิ่งอื่น ๆ

108 ข้อใดไม่ใช่สมมุติฐานของการศึกษาแนวทางสัจนิยม

(1) ประเทศต่าง ๆ มีความขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์

(2) การเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนอํานาจ

(3) การเมืองเป็นเรื่องของการแสดงอํานาจ

(4) นโยบายต่างประเทศกําหนดโดยความร่วมมือและมาตรฐานด้านคุณธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 สมมุติฐานของการศึกษาแนวทางสัจนิยม (Realist Approach) มีดังนี้

1 ประเทศต่าง ๆ มักจะมีความขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์

2 ผลประโยชน์ของประเทศที่แตกต่างกัน อาจนําไปสู่สงครามหรือความขัดแย้งรูปแบบอื่น ๆ

3 อํานาจของประเทศหนึ่งใดเป็นสิ่งสําคัญที่จะกําหนดผลลัพธ์ของความขัดแย้ง รวมทั้งอิทธิพลของรัฐหนึ่งรัฐใดต่อประเทศอื่น ๆ

4 การเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนอํานาจ รักษาอํานาจ หรือการแสดงอํานาจ

109 ข้อใดเป็นสาระสําคัญของการศึกษาของสํานักอุดมคตินิยม

(1) เน้นผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ

(2) เน้นการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ

(3) เน้นศึกษาองค์การระหว่างประเทศ

(4) เน้นศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 16 สาระสําคัญของการศึกษาของสํานักอุดมคตินิยม (Idealism) หรือเสรีนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Liberalism) มีดังนี้

1 เน้นให้ความสําคัญกับผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ เช่น องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ

2 เน้นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ

3 เน้นมิติความร่วมมือกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

4 เน้นศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

5 เน้นศึกษาองค์การระหว่างประเทศ

110 สํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศเกี่ยวโยงกับข้อใด

(1) แนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ใหม่

(2) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้

(3) การศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และความ “ด้อยพัฒนา”

(4) การศึกษาเรื่องนโยบายการค้าเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 17, (คําบรรยาย) การศึกษาของสํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศจะเน้นศึกษานโยบายการค้าเสรีซึ่งเป็นแนวคิดของสํานักเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Liberalism) รวมทั้งศึกษาแนวคิดโครงสร้างนิยม (Structuralism) ซึ่งเป็นแนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxism) โดยแนวคิดโครงสร้างนิยมจะเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้ (North-South Relations) และศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และความ “ด้อยพัฒนา” (ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ)

111 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission)

(1) จีน

(2) ลาว

(3) ไทย

(4) กัมพูชา

(5) เวียดนาม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) นับเป็นองค์การระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สําคัญที่สุดในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีพัฒนาการ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการประสานงานเพื่อการสํารวจลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง” จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1995 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว ไทยกัมพูชา และเวียดนาม

112 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายและหลักการของสหประชาชาติ

(1) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติ

(4) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

(5) ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทํา

ตอบ 5 หน้า 33, 35, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายและหลักการที่สําคัญขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะดําเนินมาตรการร่วมกัน – เพื่อป้องกันการคุกคามสันติภาพโดยใช้สันติวิธี

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

113 ข้อใดไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐ”

(1) เกาหลีใต้

(2) เกาหลีเหนือ

(3) ฮ่องกง

(4) สิงคโปร์

(5) นครรัฐวาติกัน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ฮ่องกง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐ” เช่นเดียวกับมาเก๊า โดยฮ่องกงถือเป็นเขตบริหารพิเศษซึ่งจะมีอิสระในการปกครองตนเอง สามารถดําเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนให้กับอังกฤษหลังจากอังกฤษคืนเอกราชให้ ฮ่องกง โดยฮ่องกงจะเป็นเขตบริหารพิเศษไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 เจนไปถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2047 หลังจากนั้นฮ่องกงจะเปลี่ยนมาใช้การปกครองแบบเมืองอื่น ๆของสาธารณรัฐประชาชนจีน

114 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสันนิบาตชาติ

(1) ก่อตั้งก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

(2) เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลก

(3) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลายด้าน

(4) ใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี

(5) มีเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

115 ข้อใดเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) สนธิสัญญา

(2) อนุสัญญา

(3) จารีตประเพณี

(4) ข้อตกลงระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศข้อตกลงระหว่างประเทศ และคําพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

2 ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป

116 ข้อใดหมายถึงรัฐที่ประกอบด้วยหลายชนชาติ

(1) แคนาดา

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 21, (คําบรรยาย) รัฐที่ประกอบด้วยหลายชนชาติ (Multi-Ethnic States) เช่น สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น เป็นรัฐที่จะต้องพยายามเปลี่ยนแปลงจิตใจพลเมืองให้มีความจงรักภักดีต่อรัฐ เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมต่อรัฐ อันจะก่อให้เกิดการเป็นรัฐที่สมบูรณ์ได้

117 ในปัจจุบันประเทศใดใช้งบประมาณทางการทหารสูงที่สุดในโลก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) รัสเซีย

(4) ฝรั่งเศส

(5) สหราชอาณาจักร

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) จากข้อมูลการจัดอันดับของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ในปี ค.ศ. 2016 พบว่า ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณทางการทหารจํานวน 5.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นงบประมาณทางการทหารที่สูงที่สุดในโลก รองลงมา ตามลําดับ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) อินเดีย ฝรั่งเศส ฯลฯ

118 ในปัจจุบันประเทศใดมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) รัสเซีย

(4) ฝรั่งเศส

(5) สหราชอาณาจักร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก คือ รัสเซีย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 17,000,000 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึง 1 ใน 8 รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน บราซิล ออสเตรเลีย อินเดีย ฯลฯ

119 ประเทศใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ

(1) ไทย

(2) ไต้หวัน

(3) จีน

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

120 ข้อใดเป็นองค์การระหว่างประเทศที่จีนมีบทบาทนําในการก่อตั้ง

(1) Asian Development Bank

(2) International Monetary Fund

(3) International Civil Aviation Organization

(4) World Tourism Organization

(5) Asian Infrastructure Investment Bank

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 นายโตเป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมได้รับเงินเดือน 40,000 บาทนายโตเห็นนายโชคประกาศขายนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ “วันเดอร์แอนด์อลิส” ที่ร้านค้าในกรุงเทพฯ ราคาเรือนละ 4,000,000 บาท นายโตอยากได้นาฬิกาเรือนดังกล่าวมาก แต่นายโตมีเงินสดเพียงจํานวน 1,000,000 บาท ดังนั้น นายโตจึงทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายโครมจํานวน 1,000,000 บาท ได้ส่งงาน ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี กําหนดชําระคืนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และนายโตได้ขอให้นายโฟตกลงร่วมลงทุนเป็นเงินจํานวน 2,000,000 บาท เพื่อซื้อนาฬิกาเรือนดังกล่าว เมื่อซื้อแล้ว จะนําไปขายต่อและนํากําไรแบ่งปันกันระหว่างนายโตกับนายโฟ นายโฟตกลงตามที่นายโตเสนอ ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 นายโตและนายโฟร่วมกันขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวได้เงิน จํานวน 6,000,000 บาท และนํากําไรแบ่งปันกันตามสัดส่วนการลงทุน ให้ท่านวินิจฉัยว่า เงินได้รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้ตามรายการดังกล่าวจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวล รัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายโต เป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมได้รับเงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาทนั้น เงินเดือนที่นายโตได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งาน ที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายโตได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายโตจึงต้องนําเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดจํานวน 480,000 บาท (40,000 x 12) มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 การที่นายโครมให้นายโตกู้ยืมเงินจํานวน 1,000,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนั้น ดอกเบี้ยที่นายโครมได้รับจํานวน 75,000 บาท (1,000,000 x 7.5) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และ เป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายโครม ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายโครมจึงต้องนําเงินได้จํานวน 75,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

3 การที่นายโตและนายโฟได้ร่วมกันลงทุนคนละ 2,000,000 บาท เพื่อซื้อนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ “วันเดอร์แอนด์อลิส” ในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวได้เงินจํานวน 6,000,000 บาทนั้น เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และเป็นเงินได้ที่ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสดซึ่งได้รับจากการประกอบกิจการในรูปแบบ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น นายโตและนายโฟจึงต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 6,000,000 บาทดังกล่าวมาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยถือว่าผู้มีเงินได้นั้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

สรุป

นายโตจะต้องนําเงินได้ซึ่งเป็นเงินเดือนจํานวน 480,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดา

นายโครมจะต้องนําดอกเบี้ยที่ได้รับจํานวน 75,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

นายโตและนายโฟต้องนําเงินได้จากการขายนาฬิกาจํานวน 6,000,000 บาท มาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยถือว่าผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

ข้อ 2 ให้ท่านวินิจฉัยว่า ตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในข้อ 1ให้ท่านพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินแต่ละรายการเป็นเงินได้ประเภทใดตามประมวลรัษฎากร เพราะเหตุใด และให้ท่านวินิจฉัยว่า นายโตและนายโฟมีสิทธิหักลดหย่อนอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก.. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม…

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจาก ที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60 000 บาท

(6) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญให้หักลดหย่อนได้ตาม (1) (ก) สําหรับผู้เป็น หุ้นส่วน แต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท”

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในข้อ

1 เงินได้พึงประเมินแต่ละรายการเป็นเงินได้ประเภทใดนั้น แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 เงินเดือนที่นายโตได้รับจากการเป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมเดือนละ 40,000 บาท ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1)

2 ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินจํานวน 75,000 บาทที่นายโครมได้รับ เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก)

3 เงินได้จากการขายนาฬิกาจํานวน 6,000,000 บาทที่นายโตและนายโฟได้รับ เป็นเงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) เพราะเป็นเงินได้จากการพาณิชย์

และในการหักลดหย่อนนั้น ให้นายโตและนายโฟหักลดหย่อนได้ในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนและเป็น ผู้มีเงินได้คนละ 60,000 บาท รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) และมาตรา 47 (6)

สรุป เงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาทขึ้นายโตได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1)

ดอกเบี้ยจํานวน 75,000 บาทที่นายโครม.ด้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตาม มาตรา 40 (4) (ก)

เงินได้จํานวน 6,000,000 บาทจากการขายนาฬิกาเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) และนายโตกับนายโฟมีสิทธิหักลดหย่อนได้ 120,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อผลิต และจําหน่ายรถพลังงานไฟฟ้า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้กู้ยืมเงินจากบริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด จํานวน 10,000 ล้านบาท และได้เซ็นสัญญากัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในรอบระยะเวลาบัญชี 2562 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เป็นจํานวน 100 ล้านบาทจากประเทศไทยไปให้บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จงวินิจฉัยว่า บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยจํานวนดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม”

มาตรา 70 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการ ตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ประเทศสหรัฐอเมริกา มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่มีเงินได้เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการให้บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด กู้ยืมเงินจํานวน 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) ที่จ่ายจากประเทศไทยนั้น บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง โดยให้ผู้จ่ายคือ บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด หักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่าย คือ 100 ล้านบาทในอัตราร้อยละ 15 แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น

สรุป

บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ณ ที่จ่าย  จากดอกเบี้ยจํานวน 100 ล้านบาทในอัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไข่เป็นนักมวยอาชีพสัญชาติไทย ได้เดินทางไปแข่งขันชกมวยสากลชิงแชมป์โลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้เดินทางไปเก็บตัวและทําการแข่งขันเป็นเวลา 4 เดือน ปรากฏว่า นายไข่ ได้รับชัยชนะและได้รับตําแหน่งแชมป์โลก จึงได้เงินรางวัลจากการแข่งขันจํานวน 5 ล้านบาท นายไข่ได้นําเงินสดจํานวน 2 ล้านบาทฝากไว้กับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนเงินรางวัล ส่วนที่เหลือนายไข่ได้นําไปซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์มูลค่า 3 ล้านบาท โดยนําติดตัวกลับเข้ามาใน ประเทศไทย และได้พํานักอยู่ในประเทศไทยตลอดปีภาษี ดังนี้ อยากทราบว่าเงินได้ดังกล่าว เป็นเงินได้ประเภทใด และนายไข่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ดังกล่าวนั้น หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือ กิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติ ในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยต่อเมื่อ ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือกิจการ ที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับ ปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไข่ได้เดินทางไปแข่งขันชกมวยชิงแชมป์โลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เงินรางวัลจากการแข่งขันจํานวน 5 ล้านบาทนั้น เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) และจะต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 5 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินได้ที่เกิดจากแหล่งเงินได้ใน ต่างประเทศ เนื่องจากเป็นเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศมาเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสามด้วย กล่าวคือจะต้องได้นําเงินได้นั้นเข้ามา ในประเทศไทยในปีภาษีและเป็นผู้ที่ได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีด้วย

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายไขได้เดินทางไปเก็บตัวและทําการแข่งขันอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 4 เดือน ย่อมถือว่านายไข่ได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษี ดังนั้น การที่นายไข่ได้นําเงินรางวัล จํานวน 3 ล้านบาทไปซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินอันเป็นเงินได้พึงประเมินอย่างหนึ่งตามมาตรา 39 และได้นํานาฬิกาดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย นายไข่จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสอง

ส่วนเงินได้ส่วนที่ฝากไว้ที่ธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาจํานวน 2 ล้านบาทนั้น เมื่อนายไข่ไม่ได้ นําเงินได้จํานวนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย นายไข่จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสอง

สรุป

เงินได้จากการแข่งขันชกมวยจํานวน 5 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) และนายไขจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ดังกล่าวจํานวน 3 ล้านบาท ส่วนเงินได้ จํานวน 2 ล้านบาทที่ฝากไว้กับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ปีภาษี 2561 นายประเสริฐมีรายได้จากการเป็นประธานกรรมการบริษัทได้รับเงินเดือนจากบริษัท อนันตา จํากัด เดือนละ 500,000 บาท เดือนมกราคมได้รับปันผลจากบริษัท 30 ล้านบาท เดือนมีนาคมถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 200,000 บาท เดือนกันยายนนายประเสริฐถูก ฆาตกรรมเสียชีวิต แต่เดือนธันวาคมบริษัทจะจ่ายโบนัสอีกจํานวน 1,000,000 บาทเป็นประจําทุกปี นายประเสริฐมีภรรยาที่เคยจดทะเบียนสมรส 3 ปีคือนางคริส มีบุตรที่เกิดในระหว่างสมรสคือ นายพิทอายุ 22 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรีที่ฮ่องกง ประเทศจีน และหลังจากนั้นได้จดทะเบียนหย่ากัน แต่อยู่กินกันฉันสามีภรรยาตลอด 25 ปี แต่นางคริสไม่ได้ทํางาน ก่อนเสียชีวิต 1 วัน นายประเสริฐ ได้ไปจดทะเบียนสมรสกับนางนิภา ซึ่งมีบุตรด้วยกันมาก่อนคือนายฉีอายุ 19 ปี ไม่เรียนหนังสือ แต่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรเอาไว้ นางนิภาป่วยเป็นลูคีเมียจึงไม่ได้ทํางาน กรณีนี้

ก รายได้ทั้งหมดของนายประเสริฐเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใดบ้าง ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข นายประเสริฐต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร ด้วยวิธีการใด

ค หากนายประเสริฐต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะนํานางคริสอดีตภรรยาที่อยู่กินกันนายพิทบุตรชาย นางนิภา นายฉีบุตรชาย มาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ก หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(4) เงินได้ที่เป็น

(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจาก ที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษี เงินได้

(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของ รัฐบาล…”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว ประกอบด้วยข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ รายได้ของนายประเสริฐ ทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือนจาก บริษัท อนันตา จํากัด เดือนละ 500,000 บาท และเงินโบนัสอีกจํานวน 1,000,000 บาทนั้น ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1) ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 เงินปันผลจากบริษัท 30 ล้านบาท ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ข) ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 เงินได้จากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล 200,000 บาท ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (11)

ข หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีปฏิบัติแทน และโดยเฉพาะในการยื่นรายการเงินได้พึงประเมินของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้ พึงประเมินของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตายเป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่ จะต้องยืนทั้งสิ้น”

กรณีตามอุทาหรณ์ ในปีภาษี 2561 นายประเสริฐจะต้องนําเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเดือน ๆ ละ 500,000 บาท โบนัสจํานวน 1,000,000 บาท และเงินปันผล 30 ล้านบาท มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เมื่อปรากฏว่านายประเสริฐได้ถึงแก่ความตายก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของนายประเสริฐแทนนายประเสริฐ โดยการคํานวณภาษีเสมือนนายประเสริฐเป็นบุคคลธรรมดาที่ยังมีชีวิตอยู่

ค หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

(2) บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้ง (1) และ (2) การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้นําบุตรตาม (1) ทั้งหมด มาหักก่อน แล้วจึงนําบุตรตาม (2) มาหัก เว้นแต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม (1) ที่มีชีวิตอยู่ รวมเป็นจํานวนตั้งแต่ สามคนขึ้นไป จะนําบุตรตาม (2) มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม (1) มีจํานวนไม่ถึงสามคน ให้นําบุตรตาม (2) มาหักได้ โดยเมื่อรวมบุตรตาม (1) แล้ว ต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

การหักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปี ภาษีหรือไม่”

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายประเสริฐต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนํานางนิภาภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสในปัจจุบันมาหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ข) ส่วนนางคริสซึ่งเป็นอดีต ภรรยา แม้จะได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาจนถึงปัจจุบันก็จะนํามาหักลดหย่อนไม่ได้

และนอกจากนั้น นายประเสริฐยังสามารถหักลดหย่อนบุตรได้อีก 2 คน ๆ ละ 30,000 บาท คือ นายพีทบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดระหว่างสมรสกับนางคริสและมีอายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรีแม้จะได้ศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศก็ตาม และนายฉีซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่บิดาจดทะเบียน รับรอง และเป็นผู้เยาว์แม้จะไม่ได้เรียนหนังสือก็ตาม ตามมาตรา 47 (1) (ค)

 

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายเงื่อนไขและผลทางกฎหมายเรื่อง “ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล”ตามประมวลรัษฎากร

ธงคําตอบ

ตามประมวลรัษฎากรได้กําหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล” ไว้ดังนี้ คือ

1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (มาตรา 66 วรรคหนึ่ง) (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่

(2.1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ กระทํากิจการในประเทศไทย หรือกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย (มาตรา 66)

(2.2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ กระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย และกิจการที่ทํานั้นเป็นกิจการประเภทการขนส่งผ่าน ประเทศต่าง ๆ (มาตรา 67)

(2.3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2, 3, 4, 5 หรือ 6 ตามมาตรา 40 (2), (3), (4), (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)

(2.4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไร ในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)

(2.5) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม (1) แล้ว ได้จําหน่ายเงินกําไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกําไร หรือถือได้ว่า เป็นเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ)

2 ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีจากฐานภาษี ดังนี้ คือ

(1) ฐานภาษีกําไรสุทธิ นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากกําไรสุทธิ คือ นิติบุคคลตาม (1) และนิติบุคคลตาม (2) ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.1) และ (2.4) ตามมาตรา 66 มาตรา 76 ทวิ ประกอบมาตรา 65

(2) ฐานภาษียอดรายรับก่อนหักรายจ่าย นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากฐานภาษีดังกล่าว ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.2) ตามมาตรา 67

(3) ฐานภาษีเงินกําไรที่จําหน่ายไปต่างประเทศ นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากฐาน ภาษีนี้ ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.5) ตามมาตรา 70 ทวิ

(4) ฐานภาษีเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากฐาน ภาษีนี้ ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.3) ตามมาตรา 70

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในปีภาษี 2561 นายโลนันโด้ นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกสได้เดินทางมาโชว์ตัวในประเทศไทยเป็นเวลา 15 วัน โดยได้รับเงินค่าตัวในประเทศไทยจํานวน 100 ล้านบาท ซึ่งช่วงระยะเวลาระหว่างโชว์ตัว นายโลนันโด้ได้นําเงินที่สะสมไว้จากการเป็นนักฟุตบอลอาชีพในปีก่อน ๆ ติดตัวเข้ามา เพื่อใช้จ่ายจํานวน 10 ล้านบาท ดังนี้

(1) นายโลนันโด้มีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรประเภทใด

(2) นายโลนันโด้ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทยจากเงินค่าตัวดังกล่าว และเงินที่นําติดตัวเข้ามาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในปีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่นายโลนันโด้ นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกสได้เดินทางมาโชว์ตัวในประเทศไทย เป็นเวลา 15 วัน โดยได้รับเงินค่าตัวในประเทศไทยจํานวน 100 ล้านบาทนั้น เงินได้จํานวน 100 ล้านบาทดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8) เนื่องจากเงินจากการเป็นนักกีฬาอาชีพนั้น ถือเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7)

(2) เงินได้ที่นายโลนันโด้ได้รับเป็นค่าตัวจํานวน 100 ล้านบาท ถือเป็นเงินได้เนื่องจาก หน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย จึงถือว่านายโลนันโด้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น นายโลนันโด้จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยจากเงินได้จํานวน 100 ล้านบาทดังกล่าว ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

ส่วนเงินที่นายโลนันโด้นําติดตัวเข้ามาใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาระหว่างโชว์ตัวจํานวน 10 ล้านบาทนั้น เป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศและเป็นเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีก่อน ๆ มิได้เกิดขึ้นในปีเดียวกันกับที่ นายโลนันโด้เข้ามาในประเทศไทย อีกทั้งนายโลนันโด้ก็ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษี ดังนั้น นายโลนันโด้ จึงไม่ต้องนําเงินได้จํานวน 10 ล้านบาทดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย เพราะกรณี ไม่ต้องด้วยเงื่อนไขตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

(1) นายโลนันโด้มีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8)

(2) นายโลนันโด้ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทยจากเงินค่าตัว 100 ล้านบาท

ส่วนเงินที่นําติดตัวเข้ามาจํานวน 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย

 

ข้อ 2 ในเดือนมกราคม 2561 นายทองได้มรดกรถยนต์มาจากบิดา 1 คัน นายทองไม่ต้องการใช้รถคันดังกล่าว จึงได้นําไปขายให้แก่นางเงินในราคา 750,000 บาท เมื่อขายรถได้จึงได้นําเงินไปฝากธนาคารออมสิน ประเภทเงินฝากประจําจํานวน 450,000 บาท และนําเงินที่เหลืออีก 300,000 บาท ไปลงทุนเช่า ร้านขายอาหารตามสั่ง ปรากฏว่าสิ้นปีนายทองได้รับดอกเบี้ยจํานวน 34,500 บาท และเงินได้จาก การขายอาหารตลอดทั้งปีเป็นเงิน 300,000 บาท ดังนี้อยากทราบว่า

(ก) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสิน และเงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประจําและเงินได้จากการขายรถยนต์ นายทองต้องนํามาเสียภาษีหรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ย เงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์

(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์

(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้า หรือหากําไร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายทองได้รับมรดกจากบิดาคือรถยนต์ 1 คัน และนายทองได้ขายรถยนต์ได้เงินมา 750,000 บาท แล้วนําเงินจํานวน 450,000 บาท ไปฝากธนาคารออมสินประเภทเงินฝากประจําและได้รับดอกเบี้ย จํานวน 34,500 บาทนั้น ดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) ส่วนเงินได้จากการขายอาหารตลอดทั้งปีจํานวน 300,000 บาทนั้น ถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ จึงเป็น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8)

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสินจํานวน 34,500 บาทนั้น เมื่อเป็นดอกเบี้ยจาก เงินฝากประจําไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (8) จึงต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยธนาคาร ผู้จ่ายเงินได้จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ตามมาตรา 50 (2) (ก) และนายทองผู้มีเงินได้ จะนําดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวมายื่นรวมกับเงินได้ประเภทอื่น ๆ เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีหรือไม่ก็ได้ ส่วนเงินได้ จากการขายรถยนต์จํานวน 750,000 บาทนั้น ได้รับยกเว้นภาษีไม่ต้องนํามาเสียภาษีเพราะเป็นเงินได้จากการขาย สังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามมาตรา 42 (9)

สรุป

(ก) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสินเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก)ส่วนเงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประจํานายทองต้องนํามาเสียภาษี ส่วนเงินได้จากการขายรถยนต์ นายทองไม่ต้องนํามาเสียภาษี

 

ข้อ 3 บริษัท เอสเอเอสมารีน จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศอังกฤษ มีวัตถุประสงค์กระทําธุรกิจซื้อขายสินค้าและบริการขนส่งโดยมีการกระทํากิจการ ทั้งในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 ปรากฏข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

(1) บริษัทฯ มีอาคารสํานักงานถาวรประจําอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพื่อติดต่อธุรกิจต่าง ๆ ในราชอาณาจักรไทย สํานักงานฯ มีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่าประเทศอังกฤษกับราชอาณาจักรไทย สองรายการ คือ เงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์จํานวน 100 ล้านบาท และเงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองจํานวน 90 ล้านบาท

(2) บริษัทฯ มีสํานักงานสาขาที่ประเทศรัสเซีย สํานักงานสาขาฯ ของบริษัทฯ ดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศตุรกีกับประเทศรัสเซียหนึ่งรายการ คือ ค่าโดยสารของบุคคลเพื่อ เดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานกรุงมอสโกรัสเซียจํานวน 80 ล้านบาท โดยที่ทุกครั้งในระหว่างการขนส่ง ผู้โดยสาร เครื่องบินหรืออากาศยานจะต้องลงจอดเพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักรไทยทุกครั้งก่อนที่จะบินต่อออกไปนอกราชอาณาจักรไทยเพื่อเข้าสู่ท่าอากาศยานกรุงมอสโกรัสเซีย ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 เงินได้พึงประเมินรายการดังกล่าว ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด ให้ท่านนักศึกษาใช้เพียงประมวลรัษฎากร มาตรา 66 และมาตรา 67 ในการวินิจฉัยเท่านั้น)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 66 “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในที่อื่น รวมทั้งในประเทศไทย ให้เสียภาษีในกําไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําในประเทศไทย…”

มาตรา 67 “การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ให้เสียตามอัตราที่กําหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษี เงินได้ท้ายหมวดนี้ เว้นแต่ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง กระทํากิจการขนส่ง ผ่านประเทศต่าง ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีรับขนคนโดยสาร ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดยสารค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น

(2) ในกรณีรับขนของ ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์ อื่นใดที่เรียกเก็บ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น”

วินิจฉัย

โดยหลัก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํา กิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย และกิจการที่กระทําเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ในกรณีรับขนคนโดยสาร ต้องเป็นการเรียกเก็บค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดในประเทศไทย ส่วนกรณีรับขนของ ต้องเป็น การขนของออกนอกประเทศเท่านั้นจึงจะมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

กรณีตามอุทาหรณ์ บริษัท เอสเอเอสมารีน จํากัด จะต้องนําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

1 กรณีที่บริษัทฯ มีอาคารสํานักงานถาวรประจําอยู่ในราชอาณาจักรไทย และสํานักงานฯ มีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศอังกฤษกับราชอาณาจักรไทย 2 รายการนั้น

รายการที่ 1 เงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์จํานวน 100 ล้านบาทนั้น ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการรับขนของออกจากประเทศไทย และเมื่อบริษัท เอสเอเอสมารีน จํากัด เป็นนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย โดยกระทํากิจการขนส่ง ผ่านประเทศต่าง ๆ ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 100 ล้านบาทดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลโดยเสียในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวางตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2) ประกอบมาตรา 66 วรรคสอง

รายการที่ 2 เงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองจํานวน 90 ล้านบาทนั้น แม้จะมิใช่เงินได้เนื่องจากการรับขนของออกจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2) ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทฯ เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้ง ในประเทศไทย เงินได้พึงประเมินจํานวน 90 ล้านบาทที่สํานักงานของบริษัทฯ ที่กระทํากิจการในประเทศไทยได้รับ จึงต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเสียจากกําไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 66 วรรคสอง

2 กรณีที่บริษัทฯ มีสํานักงานสาขาที่ประเทศรัสเซีย และสํานักงานสาขาฯ ของบริษัทฯ ดังกล่าวมีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศตุรกีกับประเทศรัสเซีย คือค่าโดยสารของบุคคลเพื่อเดินทางเข้าสู่ ท่าอากาศยานกรุงมอสโกรัสเซียจํานวน 80 ล้านบาทนั้น ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง เพราะไม่ใช่เงินได้พึงประเมินเนื่องจากการกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย และเงินได้พึงประเมินดังกล่าวก็มิใช่เป็นเงินได้ที่เป็นค่าโดยสารที่เรียกเก็บในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 (1) ดังนั้น เงินได้จํานวน 80 ล้านบาทดังกล่าว จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

สรุป

ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 เงินได้พึงประเมิน 2 รายการ คือ เงินค่าระวางขนส่งสินค้า เข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์จํานวน 100 ล้านบาท และเงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง จํานวน 90 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนเงินได้ที่เป็นค่าโดยสารจํานวน 80 ล้านบาท ไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 นายอาร์กู้ยืมเงินจากนายเอ 20,000,000 บาท เพื่อนําเงินไปวางมัดจําในการซื้อรถยนต์ซุปเปอร์คาร์ ยี่ห้อรัมโพนิกี้ รุ่นมาร์ธาร์ออ จากนายวีพ่อค้าในราคา 35,000,000 บาท ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวนายวีได้รับซื้อมาจากนายยอร์นนี่ในราคา 10,000,000 บาท ซึ่งนายยอร์นนี่ ได้ลักขโมยจากเจ้าของในต่างประเทศและได้ถูกลักลอบนําเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย โดยนายอาร์ ได้มอบโฉนดที่ดินเลขที่ 539589 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 80 ตารางวา ให้นายโอยึดไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าว ทั้งนี้นายโอไม่ทราบเหตุผลในการกู้ยืมดังกล่าว โดยที่นายวียังมิได้บอกเหตุผลดังกล่าวให้บุคคลใดทราบเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 นายโอได้ซื้อรถยนต์ดังกล่าวต่อจากนายอาร์ในราคา 45,000,000 บาท โดยนายโอและนายอาร์ได้ตกลงหักกลบลบหนี้กันจํานวน 20,000,000 บาท แล้ว และให้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินระงับหมดสิ้น แต่นายโอไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินเลขที่ 589589 ดังกล่าว ให้แก่นายอาร์ โดยอ้างว่า ขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกและนายอาร์ก็ไม่ติดใจเรียกเอาโฉนดที่ดินดังกล่าว คืนอีกเลย ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายอาร์ นายโอ และนายวี ได้ออกไปนอกราชอาณาจักรไทย ในช่วงเวลาดังกล่าวเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในปีภาษี 2560 เงินได้พึงประเมินรายการดังกล่าว ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินตามรายการดังกล่าว จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายอาร์กู้ยืมเงินจากนายโอ 20,000,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ยนั้น ถือว่าการที่ นายอาร์ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเป็นประโยชน์ที่นายอาร์ได้รับซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ประโยชน์ที่นายอาร์ ได้รับดังกล่าวซึ่งคิดเป็นเงินได้จํานวน 1,500,000 บาท (20,000,000 x อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี) จึงถือ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายอาร์ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายอาร์จึงต้องนําเงิน 1,500,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 การที่นายวีได้ขายรถยนต์ซุปเปอร์คาร์ ยี่ห้อรัมโพนิกี้ รุ่นมาร์ธาร์ออ ให้แก่นายอาร์ ในราคา 35,000,000 บาท ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวนายวีได้รับซื้อมาจากนายยอร์นนี้ในราคา 10,000,000 บาท ทําให้ นายวีได้กําไร 25,000,000 บาทนั้น เงินกําไรดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ตามหลักเกณฑ์เงินสด นายวีจะต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

3 การที่นายอาร์ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นายโอในราคา 45,000,000 บาท ทําให้ นายอาร์ได้กําไร 10,000,000 บาท เงินกําไรที่นายอาร์ได้รับจํานวน 10,000,000 บาทดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 ตามหลักเกณฑ์เงินสด นายอาร์จะต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

ส่วนการที่นายโอได้รับมอบเอกสารโฉนดที่ดิน เลขที่ 589589 จากนายอาร์เพื่อยึดถือไว้เป็น หลักประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวนั้น แม้โฉนดที่ดินจะเป็นทรัพย์สินและถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ที่นายโอได้รับเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อนายโอยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตามโฉนดที่ดินดังกล่าว นายโอจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด

สรุป

นายอาร์จะต้องนําประโยชน์ที่ได้รับคือดอกเบี้ยจํานวน 1,500,000 บาท และเงินกําไร จากการขายรถยนต์ดังกล่าวจํานวน 10,000,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นายวีจะต้องนํากําไรจากการขายรถยนต์ดังกล่าวจํานวน 25,000,000 บาท มาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ส่วนนายโอไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ในปีภาษี 2560 นายหมื่นเป็นแพทย์แผนกกุมารเวชที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครได้รับเงินเดือน ๆ ละ 100,000 บาท โดยในช่วงเวลาเย็น นายหมื่นยังเปิดคลินิกของตนเองเพื่อ ตรวจโรคทั่วไปสําหรับเด็กโดยไม่มีเตียงคนไข้สําหรับค้างคืน มีรายได้ตลอดปีจํานวน 1,000,000 บาท และบางวันนายหมื่นได้ออกไปตรวจรักษาคนไข้ที่บ้านของคนไข้เองเป็นการส่วนตัว มีรายได้ตลอดปี จํานวน 200,000 บาท นอกจากนี้นายหมื่นยังได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ของ ธนาคารเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศไทยจํานวน 15,000 บาท นายหมื่นมีบุตรชาย 1 คน ชื่อนายพัน อายุ 17 ปี ซึ่งมิได้กําลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาแห่งใด นายพันได้รับของขวัญวันเกิดจากนางสาวผา แฟนสาว เป็นเงินสดจํานวน 31,000 บาท ให้วินิจฉัยว่าเงินได้ของนายหมื่นเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทใด ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีหรือไม่ และนายหมื่นสามารถหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่

(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจํานวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษี นั้น. (ปัจจุบันมีประกาศกรมสรรพากรฯ ฉบับที่ 55 กําหนดเพิ่มจํานวนดอกเบี้ยเป็น 20,000 บาท)

(28) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้ของนายหมื่นเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามารวม เพื่อเสียภาษีหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือนที่ได้รับจากโรงพยาบาลเดือนละ 100,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

2 รายได้จากการเปิดคลินิกของตนเองแบบไม่มีเตียงคนไข้สําหรับค้างคืนจํานวน 1,000,000 บาท และรายได้จากการออกไปตรวจรักษาคนไข้ที่บ้านของคนไข้เองจํานวน 200,000 บาท ที่รายได้ มีจํานวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความยากง่ายและปริมาณของงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ตามมาตรา 40 (6) เพราะเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ และต้องนําเงินได้ทั้ง 2 จํานวนดังกล่าวมาคํานวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 ดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์จํานวน 15,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) และเมื่อมีจํานวนไม่เกิน 20,000 บาท จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องนํามาคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (8) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับที่ 55

สําหรับการหักลดหย่อนนั้น นายหมื่นสามารถหักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้เองจํานวน 60,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) และสามารถหักลดหย่อนบุตรได้อีกจํานวน 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) เนื่องจากนายพันเป็นผู้เยาว์ และเงินได้จํานวน 31,000 บาทขึ้นายพันได้รับจากนางสาวผาแฟนสาว เป็นของขวัญวันเกิดนั้นมีจํานวนไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี และเป็นเงินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาจากบุคคล ซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เงินได้ดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (28) กรณี จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ให้หักค่าลดหย่อนบุตรตามมาตรา 47 วรรคสามตอนท้ายที่ว่า “แต่มิให้หักลดหย่อน สําหรับบุตรที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้า ลักษณะตามมาตรา 42”

สรุป

เงินได้พึงประเมินที่นายหมื่นต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ คือ เงินเดือนตาม มาตรา 40 (1) รายได้จากการเปิดคลินิกฯ และรายได้จากการออกไปตรวจรักษาที่บ้านของคนไข้ตามมาตรา 40 (6) แต่ไม่ต้องนําดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) มาคํานวณเพื่อเสียภาษี โดยนายหมื่นสามารถหักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้และบุตรได้ ตามมาตรา 47 (1) (ก) และ (ค)

 

 

ข้อ 3 บริษัท เกรท ไฟแนนซ์ กรุ๊ป จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และดําเนินกิจการด้านการเงินครบวงจรในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในรอบบัญชี ปี พ.ศ. 2560 บริษัทฯ ได้ส่งมิสเตอร์เบอร์นี่เข้ามาเป็นตัวแทนในการติดต่อ ทําสัญญา ให้คําปรึกษา และดูแลกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ ที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมดจนเกิดรายได้จากการให้คําปรึกษา จํานวน 400 ล้านบาท บริษัทฯ จะมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ เพราะเหตุใด และหากมี การส่งรายได้นั้นกลับประเทศสหรัฐอเมริกาไปยังบริษัทฯ จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร และจะชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 70 ทวิ วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจําหน่ายเงินกําไรหรือเงิน ประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกําไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย ให้เสียภาษีเงินได้ โดยหักภาษี จากจํานวนเงินที่จําหน่ายนั้นตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนําส่งอําเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันจําหน่าย”

มาตรา 71 “ในกรณีที่

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ไม่ยื่นรายการซึ่งจําเป็นต้องใช้ในการคํานวณภาษี ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ หรือมิได้ทําบัญชีหรือทําไม่ครบตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 17 หรือมาตรา 68 ทวิ หรือ ไม่นําบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทําการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขาย ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือ ยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฎเจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจประเมินโดยอาศัยเทียบเคียงกับยอด ในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้า ยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไปไม่ปรากฏให้ประเมินได้ตามที่ เห็นสมควร

มาตรา 76 ทวิ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้ หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและ ให้ถือว่า บุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้น มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือ ผลกําไรที่กล่าวแล้ว

ในกรณีที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ถ้าบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี ไม่สามารถจะคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ได้ ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษี ตามมาตรา 71 (1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีสาขาใน ประเทศไทย หากมีลักษณะตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ให้ถือว่าบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

2 มีลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในประเทศไทย

3 ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินหรือผลกําไรในประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท เกรท ไฟแนนซ์ กรุ๊ป จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศ สหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และในรอบบัญชีปี 2560 บริษัทฯ ได้ส่งนายเบอร์นี้เข้ามาเป็น ตัวแทนในการติดต่อ ทําสัญญา ให้คําปรึกษา และดูแลกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ ที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมด เป็นเหตุให้ บริษัทฯ มีรายได้จากการให้คําปรึกษาจํานวน 400 ล้านบาทนั้น ถือว่าบริษัทฯ ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง และให้นายเบอร์นี่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทฯ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีแทนบริษัทฯ ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง โดยเสียภาษีจากฐาน กําไรสุทธิตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่ถ้าหากไม่สามารถคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้เจ้าพนักงานประเมิน มีอํานาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสอง ประกอบมาตรา 71 (1)

และในกรณีที่มีการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีแล้ว หากต่อมาได้มีการจําหน่ายเงินกําไร จากรายได้ดังกล่าวกลับไปยังบริษัทฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็จะต้องเสียภาษีจากการจําหน่ายเงินกําไรตาม มาตรา 70 ทวิอีกด้วย

สรุป

บริษัท เกรท ไฟแนนซ์ กรุ๊ป จํากัด โดยนายเบอร์นี่ตัวแทนจะต้องนํารายได้จํานวน 400 ล้านบาทที่ได้รับในประเทศไทยมาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และถ้าหากมีการส่งรายได้นั้น กลับไปยังบริษัทฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะต้องเสียภาษีจากการจําหน่ายรายได้นั้นด้วย

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยสวน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายแสงเป็นคนไทย ทํางานอยู่ที่บริษัท ช็อกโกเวิลด์ จํากัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 100,000 บาท นายแสงได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวและมาเก็บค่าเช่าบ้านที่ตนปล่อยเช่า โดยนํากําไลข้อมือราคา 300,000 บาท ซึ่งนําเงินเดือนสะสมตั้งแต่ต้นปีไปซื้อติดตัวเข้ามาประเทศไทยด้วย เมื่อนายแสงเยี่ยมครอบครัวเสร็จ จึงไปเก็บค่าเช่าบ้านจํานวน 50,000 บาทแล้วรีบกลับประเทศอังกฤษในปลายเดือนมิถุนายน เพราะเกรงว่าตนจะต้องเสียภาษีตามหลักถิ่นที่อยู่ ให้วินิจฉัยว่านายแสงต้องนําจํานวนเงินได้ข้างต้น มาเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ นายแสงจะต้องนําจํานวนเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีกําไลข้อมือ ซึ่งนายแสงได้นําเงินเดือนสะสมตั้งแต่ต้นปีไปซื้อมาราคา 300,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินในความหมายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แม้เงินได้พึงประเมินดังกล่าวจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศ และนายแสงได้นําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย แต่เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่านายแสงได้อยู่ในประเทศไทยเพียง 1 เดือน ซึ่งไม่ถึง 180 วันในปีภาษี ดังนั้นนายแสงจึงไม่ต้องนํา จํานวนเงินได้ดังกล่าวนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

2 กรณีเงินค่าเช่า จํานวน 50,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากทรัพย์สินที่อยู่ ในประเทศไทย ดังนั้น นายแสงจึงต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทยตาม หลักแหล่งเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แม้นายแสงจะมิได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันก็ตาม

สรุป

นายแสงไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากกําไลข้อมือมาคํานวณเพื่อเสียภาษี แต่จะต้อง นําเงินได้พึงประเมินจากเงินค่าเช่าจํานวน 50,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีให้กับประเทศไทย

 

ข้อ 2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 นายโอ นายเม และนายก้า ได้ตกลงร่วมกันเป็นผู้ก่อการและจะจัดตั้งบริษัท สยามบะหมี่ จํากัด ซึ่งเป็นกิจการค้าขายบะหมี่ โดยกิจการดังกล่าวได้จดทะเบียนจัดตั้ง และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กิจการฯ ดังกล่าวได้ทําสัญญาว่าจ้างนายฮาร์ดอร์ก้าให้เริ่มงานทันที โดยสัญญาได้ถูกทําขึ้นที่ประเทศมอนเตเนโกร และในขณะทําสัญญานั้นนายฮาร์ดอร์ก้ามีภูมิลําเนา อยู่ที่ประเทศมอนเตเนโกร สัญญาจ้างดังกล่าวกําหนดให้นายฮาร์ดอร์ก้าทํางานที่จังหวัดภูเก็ตในตําแหน่งผู้จัดการเป็นเวลา 10 เดือน ค่าจ้างเดือนละ 400,000 บาท ตลอดระยะเวลาการทํางานนายฮาร์ดอร์ก้านําลูกชาย อายุ 17 ปีมาอยู่ด้วย แต่ในส่วนลูกสาวอายุ 12 ปีให้อยู่กับภริยาที่ประเทศมอนเตเนโกรมิได้เข้ามา ในประเทศไทย ต่อมาเมื่อครบ 10 เดือน ตามสัญญาจ้างแล้ว กิจการค้าขายบะหมีดังกล่าวมีเงินได้พึงประเมิน 10 ล้านบาท โดยนายฮาร์ดอร์ก้ามีส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดเงินได้พึงประเมินดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 นายโอจึงร่วมเดินทางไปส่งนายฮาร์ดอร์ก้าที่ประเทศมอนเตเนโกร แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างเดินทางดังกล่าวบุคคลทั้งสองได้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ให้ท่านวินิจฉัยว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2559 ที่กิจการค้าขายบะหมี่และนายฮาร์ดอร์ก้า ได้รับจะต้องหักค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากรอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือ นอกประเทศ

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยหรือขั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์…แต่มให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

(3) ในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนตาม (1) (ข) และ (1) ให้หักได้เฉพาะสามีหรือภริยาและบุตรที่อยู่ในประเทศไทย

(4) ในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

(6) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ…ให้หักลดหย่อนได้ตาม (1) (ก) สําหรับผู้เป็นหุ้นส่วน แต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตาย เสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีปฏิบัติแทน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2559 ที่กิจการค้าขายบะหมี่และ นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับ จะต้องหักค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากรอย่างไร แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กิจการค้าขายบะหมี่ การที่นายโอ นายเม และนายก้า ได้ตกลงร่วมกันเป็นผู้ก่อการและจะจัดตั้งบริษัท สยามบะหมี จํากัด ซึ่งเป็นกิจการค้าขายบะหมี่ โดยกิจการดังกล่าวได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 นั้น ก่อนที่จะจัดตั้งเป็นบริษัท ในปี พ.ศ. 2559 เมื่อกิจการฯ นี้ประกอบกิจการ

และมีเงินได้พึงประเมิน 10 ล้านบาท เงินได้ดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการในรูปของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น จึงต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 10 ล้านบาท ไปคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยถือว่าผู้มีเงินได้นั้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

ในการหักลดหย่อนนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แต่รวมกัน ต้องไม่เกิน 120,000 บาท ดังนั้น เมื่อเงินได้พึงประเมินที่กิจการค้าขายบะหมี่ได้รับในปีภาษี 2559 เมื่อนําไปคํานวณ เพื่อเสียภาษีจึงหักลดหย่อนได้ 120,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) และมาตรา 47 (6)

2 เงินได้ที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับ การที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้ทํางานในตําแหน่งผู้จัดการที่ จังหวัดภูเก็ตเป็นเวลา 10 เดือน ค่าจ้างเดือนละ 400,000 บาทนั้น เงินได้พึงประเมินที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับทั้งหมด ถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย ดังนั้น นายฮาร์ดอร์ก้าจึงต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และแม้ว่านายฮาร์ดอร์ก้าจะได้ถึงแก่ความตาย ในระหว่างปีภาษี ก็จะต้องนําเงินได้นั้นไปคํานวณเพื่อเสียภาษีโดยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีเป็นผู้ปฏิบัติแทนตามมาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง

ในการหักลดหย่อนนั้น ให้นายฮาร์ดอร์ก้าหักลดหย่อนได้เสมือนนายฮาร์ดอร์ก้ายังมี ชีวิตอยู่ (มาตรา 74 (4)) และเมื่อนายฮาร์ดอร์ก้าได้ทํางานในประเทศไทย 10 เดือนจึงครบ 180 วัน จึงให้ถือว่า นายฮาร์ดอร์ก้าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสาม) ดังนั้น ในการหักลดหย่อนจึงหักได้ปกติตามเกณฑ์ ที่กฎหมายกําหนดไม่ต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 74 (3) กล่าวคือสามารถหักลดหย่อนในนามของผู้มีเงินได้ ได้ 60,000 บาท ภริยาหักได้ 60,000 บาท และบุตรทั้ง 2 คนหักได้คนละ 30,000 บาท ตามมาตรา 74 (1) (ก) (ข) และ (ค) (1) รวมแล้วจะหักลดหย่อนได้ 180,000 บาท

สรุป

เงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2559 ที่กิจการค้าขายบะหมี่ได้รับหักลดหย่อนได้ 120,000 บาท ส่วนเงินได้พึงประเมินที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับ หักลดหย่อนได้ 180,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่นและประกอบธุรกิจอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งนายโมจิเป็นตัวแทนมาติดต่อทําสัญญาซื้อขายเครื่องจักรโรงงานให้กับ บริษัท ไทยจักรกล จํากัด ในประเทศไทย โดยการชําระราคาเครื่องจักร 10 ล้านบาท ทางบริษัท ไทยจักรกล จํากัด จะส่งเงินไปให้บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเอง กรณีนี้บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด มีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทยหรือไม่ เพราะเหตุ ใด หากมีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทยจะเสียด้วยวิธีการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี…”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับ เงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและ ให้ถือว่าบุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกําไรที่กล่าวแล้ว”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักไว้ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ประกอบกิจการในประเทศไทย และเมื่อให้ถือว่าเป็นการประกอบกิจการในประเทศไทย ดังนั้นกรณีดังกล่าวจึงเข้า หลักเกณฑ์ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ว่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ คือตามบทบัญญัติในมาตรา 65 วรรคหนึ่งนั่นเอง ซึ่งต้องเสียภาษีจากฐานกําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการหักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ ญี่ปุ่นและประกอบธุรกิจที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งนายโมจิเป็นตัวแทนมาติดต่อทําสัญญาซื้อขายเครื่องจักรโรงงาน ให้กับบริษัท ไทยจักรกล จํากัด ในประเทศไทยนั้น แม้ทางบริษัท ไทยจักรกล จํากัด จะส่งเงินไปให้บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเองก็ตาม ก็ถือว่าบริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียน จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้มีตัวแทนผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นเหตุให้ได้รับเงินได้ในประเทศไทยจํานวน 10 ล้านบาท ตามมาตรา 76 ทวิ ดังนั้น บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด จึงต้องมีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทย โดยให้นายโมจิเป็นผู้ทําหน้าที่ ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับบริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด โดยเสียภาษีจากฐานภาษี กําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้จํานวน 10 ล้านบาทดังกล่าวตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่ง

สรุป

บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด มีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทย โดยให้นายโมจิ เป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคํานวณจากฐานภาษีกําไรสุทธิที่คํานวณได้ จากรายได้จํานวน 10 ล้านบาท ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่ง

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท สยามเคมี จํากัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยและได้ทําสัญญากับนายจอห์นโซในขณะที่นายจอห์นโซอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อจ้างนายจอห์นโซ ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ให้ทํางานที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซเลิกสัญญาเดิมและได้ทําสัญญาใหม่กับสํานักงาน สาขาของบริษัท สยามเคมี จํากัด ที่ประเทศสิงคโปร์ และตกลงให้นายจอห์นโซรับตําแหน่งผู้จัดการ ประจําสํานักงานสาขาฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยสํานักงานสาขาฯ ดังกล่าวเป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่ นายจอห์นโซทั้งหมด เดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน โดยที่สํานักงานสาขาฯ ไม่บันทึก ค่าจ้างเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ และในเวลาต่อมา นายจอห์นโซได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย เพื่อมาทํางานให้แก่สาขาฯ จนสิ้นปี พ.ศ. 2559 และนายจอห์นโซเสียชีวิตในค่ําคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2559 นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า นายจอห์นโซเป็นผู้มีสัญชาติสิงคโปร์ และมีภูมิลําเนาที่ประเทศ สิงคโปร์ และเงินค่าจ้างทุก ๆ เดือนในปี พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซได้รับโอนเงินเข้าทางบัญชีธนาคารที่ ประเทศสิงคโปร์ของนายจอห์นโซทุกเดือน และนายจอห์นโซได้ใช้จ่ายเงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ ตนทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าวเข้ามาประเทศไทยเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปีภาษี 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปีภาษี 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่บริษัท สยามเคมี จํากัด ได้จ่ายให้แก่นายจอห์นโซใน ประเทศไทยเป็นเวลา 3 เดือน เป็นเงินจํานวน 600,000 บาท และเงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่สํานักงานสาขาฯ ได้จ่ายให้แก่นายจอห์นโซในขณะที่นายจอห์นโซได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยเพื่อมาทํางานให้แก่สาขาฯ อีก 4 เดือน เป็นเงิน 800,000 บาทนั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทยและเป็น เงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น นายจอห์นโซจะต้องนําเงินได้ทั้งหมดจํานวน 1,400,000 บาท ดังกล่าว มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

2 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่สํานักงานสาขาของบริษัท สยามเคมี จํากัด ในประเทศ สิงคโปร์ จ่ายให้แก่นายจอห์นโซในขณะที่นายจอห์นโซไปรับตําแหน่งผู้จัดการประจําสํานักงานสาขาของบริษัทฯ โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายจอห์นโซในประเทศสิงคโปร์นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่ งานที่ทําในต่างประเทศ และถือเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจอห์นโซน้ําเงินเดือนที่ได้รับในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่ได้นําเงินเดือนดังกล่าวเข้ามา ในประเทศไทยเลย ดังนั้นแม้ว่านายจอห์นโซจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันก็ตาม แต่เมื่อนายจอห์นโซ ไม่ได้เอาเงินได้ดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้ นายจอห์นโซจึงไม่ต้องนําเงินได้ จํานวนดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

นายจอห์นโซจะต้องนําเงินเดือนที่ได้รับในประเทศไทยจํานวน 1,000,000 บาท มาเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีเป็นผู้ปฏิบัติแทน (มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง) ส่วนเงินเดือนที่ได้รับในต่างประเทศไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

 

ข้อ 2 ให้ท่านอธิบายหลักกฎหมายเรื่อง “สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร “อย่างน้อย 10 รายการ” โดยละเอียด

ธงคําตอบ

“สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น หมายถึง สิทธิของ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการนํารายการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้มาหักเพิ่มได้อีกหลังจาก ได้มีการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ก่อนนําเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามประมวลรัษฎากร ได้กําหนดรายการต่าง ๆ ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธินําไปหักเป็นค่า ลดหย่อนไว้หลายรายการ เช่น

1 หักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้ โดยหักได้ 60,000 บาท

2 หักลดหย่อนสําหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ไม่มีเงินได้พึงประเมิน หรือมีแต่ไม่ได้แยกคํานวณภาษี โดยหักได้ 60,000 บาท

3 หักลดหย่อนสําหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ โดยหักได้คนละ 30,000 บาท (ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ในมาตรา 47)

4 เบี้ยประกันชีวิต ที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปในปีภาษีสําหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ (รวมทั้งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้) โดยหักได้ส่วนแรก 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกําหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป

5 เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สามารถหักลดหย่อนได้ตามจํานวนที่ จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยนําจํานวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท

6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (สําหรับการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย.) ตาม จํานวนเงินที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

7 เงินสมทบทุนที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม (รวมทั้งกรณีที่สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม) โดยหักได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง

8 ค่าลดหย่อนบิดามารดา ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดานั้นต้องมี อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ..

9 เงินที่ได้จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559) โดยหักได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

10 หักลดหย่อนเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา โดยสามารถหักได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่ ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

11 หักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค โดยผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคได้ เท่าจํานวนที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และให้หักค่าลดหย่อนได้เฉพาะ

(1) เงินที่บริจาคให้แก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของรัฐ

(2) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่สถานที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

 

 

ข้อ 3 บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ไม่มีสาขาหรือกิจการใด ๆ ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 บริษัท อเมริกาฯ ได้ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้กับบริษัท ไทยอุตสาหกรรมสิ่งทอ จํากัด โดยได้ส่ง ผู้จัดการฝ่ายขายมาเซ็นสัญญากันในประเทศไทยจํานวนเงิน 700 ล้านบาท และนําฝากเข้าบัญชีไว้กับ ธนาคารในประเทศไทย จงวินิจฉัยว่า บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรในเงินจํานวนดังกล่าวอย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในเวนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวนได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ 7 ต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับ เงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและ ให้ถือว่าบุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทนหรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกําไรที่กล่าวแล้ว”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักไว้ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ประกอบกิจการในประเทศไทย และเมื่อให้ถือว่าเป็นการประกอบกิจการในประเทศไทย ดังนั้นกรณีดังกล่าวจึงเข้า หลักเกณฑ์ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ว่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ คือตามบทบัญญัติในมาตรา 65 วรรคหนึ่งนั่นเอง ซึ่งต้องเสียภาษีจากฐานกําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการหักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศ ไม่มีสาขาหรือกิจการใด ๆ ในประเทศไทย ได้ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้กับบริษัท ไทยอุตสาหกรรม สิ่งทอ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย โดยได้ส่งผู้จัดการฝ่ายขายมาเซ็นสัญญากันในประเทศไทยจํานวน เงิน 700 ล้านบาทนั้น ถือได้ว่าบริษัท อเมริกันฯ ได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากมีตัวแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทย ดังนั้น บริษัท อเมริกันฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรในจํานวนเงินดังกล่าวตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง โดยเสียภาษีจากฐานภาษีกําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้ที่ได้รับจํานวน 700 ล้านบาทดังกล่าว

สรุป

บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ในเงินจํานวน 700 ล้านบาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีจากฐานภาษีกําไรสุทธิตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท ยางสยาม จํากัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยและได้ทําสัญญาว่าจ้างนายจอห์นโซในขณะที่อยู่ในประเทศไทย ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซได้ทําสัญญาจ้างฉบับใหม่กับสํานักงานสาขาของ บริษัท ยางสยาม จํากัด ที่ประเทศสิงคโปร์ และตกลงให้นายจอห์นโซรับตําแหน่งผู้จัดการประจํา สํานักงานสาขาฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยสํานักงานสาขาฯ ดังกล่าวเป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่นาย จอห์นโซทั้งหมด เดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน โดยที่สํานักงานสาขาฯ ไม่บันทึกค่าจ้าง เป็นรายจ่ายของบริษัทฯ และเดือนต่อมา นายจอห์นโซได้เดินทางกลับเข้ามาทํางานให้แก่บริษัทฯ ในประเทศไทยจนสิ้นปี พ.ศ. 2559 และนายจอห์นโซเสียชีวิตในค่ําคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2559 นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า นายจอห์นโซเป็นผู้มีสัญชาติสิงคโปร์ และมีภูมิลําเนาที่ประเทศ สิงคโปร์ และเงินค่าจ้างทุก ๆ เดือนในปี พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซได้รับโอนเงินเข้าทางบัญชีธนาคารที่ ประเทศสิงคโปร์ของนายเอห์นโซทุกเดือน และนายจอห์นโซได้ใช้จ่ายเงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ ตนทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าวเข้ามาประเทศไทยเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปีภาษี 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

มาตรา 56 วรรคหนึ่ง “ให้บุคคลทุกคนเว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา พร้อมทั้ง ข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง”

มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตาย เสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีปฏิบัติแทน…”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปี พ.ศ. 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็น เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่า นายจอห์นโซจะเป็นคนสัญชาติสิงคโปร์ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และไม่ได้นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทยเลยก็ตาม

2 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะ ถึงแม้ว่านายจอห์นโซจะอยู่ในประเทศครบ 180 วัน ในปีภาษี 2559 แต่นายจอห์นโซได้ใช้เงินเดือนส่วนที่ได้รับ ในขณะที่ตนทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างเข้าประเทศไทยเลย จึงไม่เข้า เงื่อนไขมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ใช่กรณีตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง เพราะกรณีนี้เป็น เงินได้จากกิจการของนายจ้างนอกประเทศไทย เนื่องจากนายจอห์นโซรับตําแหน่งงานประจําที่ประเทศสิงคโปร์ และเนื่องจากสํานักงานสาขาในประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่นายจอห์นโซทั้งหมด โดยไม่บันทึกค่าจ้าง เป็นรายจ่ายของบริษัท ยางสยาม จํากัด ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยเลย

3 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่า นายจอห์นโซจะเป็นคนสัญชาติสิงคโปร์ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และไม่ได้นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทยเลยก็ตาม

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจอห์นโซซึ่งเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินได้ถึงแก่ความตายในค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ก่อนที่นายจอห์นโซจะได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง คือ ก่อนที่จะได้ยื่น รายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา ดังนั้น จึงให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก หรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีแทนนายจอห์นโซตาม มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง

สรุป รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปี พ.ศ. 2559 ที่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา คือ ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 และที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวม 7 เดือน โดยให้ เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีแทนนายจอห์นโซ ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

 

ข้อ 2 ปีภาษี 2560 นางหนูนาเป็นแม่ม่าย มีบุตรคือเด็กชายช้าง อายุ 10 ขวบ และเด็กหญิงร้อง อายุ 8 ขวบ ทั้งสองศึกษาอยู่ชั้นประถมที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย นางหนูนาเปิดร้านขายส่งเครื่องสําอางที่ประตูน้ำ มีรายได้ต่อเดือน ๆ ละ 2 ล้านบาท และเป็นเจ้าของเพจดังจึงมีเงินได้จากการรับรีวิวสินค้าผ่าน เฟซบุ๊กร้าน ครั้งละ 50,000 บาท เดือนมกราคมที่ผ่านมา นางหนูนาถูกสลากออมสินได้รับรางวัล มูลค่า 10 ล้านบาท จึงนําฝากธนาคารออมสินแบบฝากเผื่อเรียกจะได้ดอกเบี้ย 100,000 บาทต่อปี ปีภาษีนี้ นางหนูนาจึงรับอุปการะเด็กหญิงชมพูอายุ 4 ขวบ มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยจดทะเบียน รับบุตรบุญธรรมถูกต้อง และเดือนกุมภาพันธ์ เด็กชายข้างและเด็กหญิงร้องได้เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับ นมผงยี่ห้อหนึ่งได้ค่าตอบแทนคนละ 200,000 บาท และได้ทําการบริจาคเงินจํานวน 100,000 บาท ให้กับบ้านพักคนชราบางแค กรณีดังกล่าวข้างต้น ปีภาษี 2560 นี้ ก. นางหนูนามีเงินได้พึงประเมินประเภทใดบ้าง และต้องนํามาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข นางหนูนาจะสามารถหักลดหย่อนตนเอง บุตรและบุตรบุญธรรมทั้ง 3 คน รวมถึงหักลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่ง งานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรืองานที่รับทําให้นั้นจะเป็นการประจํา หรือชั่วคราว

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาล เฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก

(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสิน ของรัฐบาล…”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

(2) บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคนในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้ง (1) และ (2) การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้นําบุตรตาม (1) ทั้งหมด มาหักก่อน แล้วจึงนําบุตรตาม (2) มาหัก เว้นแต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม (1) ที่มีชีวิตอยู่ รวมเป็นจํานวนตั้งแต่ สามคนขึ้นไป จะนําบุตรตาม (2) มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม (1) มีจํานวนไม่ถึงสามคน ให้นําบุตรตาม (2) มาหักได้ โดยเมื่อรวมบุตรตาม (1) แล้ว ต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์…แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

การหักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ ตลอดปีภาษีหรือไม่

(7) เมื่อได้หักลดหย่อนตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แล้วเหลือเท่าใด ให้หักลดหย่อนได้อีก สําหรับเงินบริจาคดังต่อไปนี้ โดยให้หักได้เท่าจํานวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือนั้น

(ข) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล…”

วินิจฉัย

ก นางหนูนามีเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 เงินได้จากการเปิดร้ายขายส่งเครื่องสําอางเดือนละ 2 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) เพราะเป็นเงินได้จากการธุรกิจ ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 เงินได้จากการรับรีวิวสินค้าผ่านเฟซบุ๊กร้านครั้งละ 50,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40 (2) เพราะเป็นเงินได้จากการรับทํางานให้ ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา

3 เงินได้จากการถูกสลากออมสิน 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) ไม่ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีตาม มาตรา 42 (11)

4 เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสินแบบฝากเผื่อเรียกจํานวน 100,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) ไม่ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (8) (ก)

ข นางหนูนาสามารถหักลดหย่อนได้ดังนี้ คือ

1 นางหนูนาหักลดหย่อนในฐานะผู้มีเงินได้ 50,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก)

2 เด็กหญิงชมพูในฐานะบุตรบุญธรรม 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) (2)

ส่วนเด็กชายช้างและเด็กหญิงซ้องแม้จะเป็นบุตรผู้เยาว์และเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของนางหนูนา ก็ไม่สามารถนํามาหักลดหย่อนได้ เพราะบุตรทั้งสองมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วถึง 30,000 บาท (คนละ 200,000 บาท) โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

3 เงินบริจาคจํานวน 100,000 บาท ที่บริจาคให้แก่บ้านพักคนชราบางแค สามารถนํามา หักลดหย่อนได้ตามมาตรา 47 (7) (ข) โดยหักได้เท่าจํานวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือ

สรุป

ก เงินได้พึงประเมินของนางหนูนา คือ เงินได้จากการเปิดร้านขายเครื่องสําอาง และเงินได้จากการรับรีวิวสินค้าต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนเงินรางวัลสลากออมสินและ ดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวไม่ต้องนํามาคํานวณภาษี

ข นางหนูนาสามารถหักลดหย่อนตนเองและบุตรเพียง 1 คน คือหักได้เฉพาะ เด็กหญิงชมพูเท่านั้น และยังสามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ด้วย

หมายเหตุ บทบัญญัติตามมาตรา 47 ดังกล่าวข้างต้น เป็นบทบัญญัติที่ได้มีการแก้ไข เพิ่มเติมใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

 

ข้อ 3 บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด เป็นบริษัทผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2559 ตั้งอยู่ในประเทศไทยเพียง 180 วันก็ได้ไปสร้างสํานักงานและ โรงงานผลิตในประเทศโอมาน โดยมีเงินได้จากการจําหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “Siam” ในประเทศต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟริการวม 5,000 ล้านบาท ซึ่งได้ส่งเงินจํานวนดังกล่าวเข้ามาฝากใน ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 จงวินิจฉัยว่า บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรในเงินจํานวนดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2559 บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด จะตั้งอยู่ในประเทศไทยเพียง 180 วัน และได้ไปสร้างสํานักงานและโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศโอมานก็ตาม แต่เมื่อบริษัท สยามยานยนต์ จํากัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังนั้น บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด จึงต้องนําเงินได้จากการจําหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “Siam” ในประเทศต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และ แอฟริกา รวมทั้งหมด 5,000 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ประเทศไทย

สรุป

บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด ต้องนําเงินได้จากการจําหน่ายรถยนต์ทั้งหมดจํานวน 5,000 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายโอลิ้งเป็นคนสัญชาติอังกฤษ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559นายโอลิ้งได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย ในการเดินทางมาครั้งนี้นายโอลิ้งได้นําเงินที่เก็บสะสมได้ ของปี พ.ศ. 2558 เนื่องจากการทํางานที่ประเทศอังกฤษเข้ามาด้วย จํานวน 5 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท ยางสยาม จํากัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทย และได้ทํา สัญญาว่าจ้างนายโอลิ้งในขณะที่อยู่ในประเทศไทย ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ทําสัญญาจ้างใหม่นายโอลิ้งรับตําแหน่งผู้ตรวจการ ดําเนินงานประจําสํานักงานสาขาในประเทศสิงคโปร์ โดยสํานักงานสาขาดังกล่าวเป็นผู้ชําระค่าจ้าง ให้แก่นายโอลิ้งทั้งหมดโดยไม่บันทึกค่าจ้างเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ และส่งนายโอลิ้งไปประจําสาขาฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 5 เดือน ต่อมานายโอลิ้งได้เดินทางกลับมาทํางานให้แก่บริษัทฯ ใน ประเทศไทยจนสิ้นปี พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ เงินค่าจ้างทุก ๆ เดือน ในปี พ.ศ. 2559 นายโอลิ้งจะได้รับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายโอลิ้ง ในประเทศสิงคโปร์ทุกเดือน อย่างไรก็ตามนายโอลิ้งได้ใช้เงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ตนทํางาน อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างเข้าประเทศไทยเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า เงินได้รายการดังกล่าวนายโอลิ้งต้องยื่นแบบแสดงรายการชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปี พ.ศ. 2560 ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ เงินได้รายการต่าง ๆ ดังกล่าวของนายโอลิ้งต้องยื่นแบบแสดงรายการชําระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปี พ.ศ. 2560 ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินจํานวน 5 ล้านบาท นายโอลิ้งไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะถึงแม้ว่านายโอลิ้งจะอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ในปีภาษี 2559 และได้นําเงินได้จํานวน 5 ล้านบาท ที่ได้จากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกับที่ อยู่ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามเงินได้ที่นําเข้ามานั้นมิใช่เป็นเงินได้ที่ได้รับในปีเดียวกับที่อยู่ในประเทศไทย แต่เป็นเงินสะสมที่ได้รับในปี พ.ศ. 2558 จึงไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

2 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่านายโอลิ้ง เป็นคนสัญชาติอังกฤษ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศอังกฤษก็ตาม

3 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะ ถึงแม้ว่านายโอลิ้งจะอยู่ในประเทศครบ 180 วัน ในปีภาษี 2559 แต่นายโอลิ้งได้ใช้เงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ตน ทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างเข้าประเทศไทยเลย จึงไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ใช่กรณีตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง เพราะกรณีนี้เป็นเงินได้จากกิจการของ นายจ้างนอกประเทศไทย เนื่องจากนายโอลิ้งรับตําแหน่งงานประจําที่ประเทศสิงคโปร์ และเนื่องจากสํานักงานสาขา ในประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่นายโอลิ้งทั้งหมด โดยไม่บันทึกค่าจ้างเป็นรายจ่ายของบริษัท ยางสยาม จํากัด ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยเลย

4 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่านายโอลิ้ง เป็นคนสัญชาติอังกฤษ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศอังกฤษก็ตาม

สรุป เงินได้ที่นายโอลิ้งจะต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปี พ.ศ. 2560 คือ ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 และที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

ส่วนเงินจํานวน 5 ล้านบาท และค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 นายรักไทยพ่อหม้าย เป็นที่ปรึกษากฎหมาย ภาษีอิสระ มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือนางสาวน้ำฟ้า อายุ 22 ปี เรียนอยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในชั้นปีสุดท้าย และนายเพียงดินอายุ 16 ปี เรียนโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปีภาษี 2559 นี้ นายรักไทยมีรายได้จากปันผล ของการลงทุนในหุ้น 10 ล้านบาท จากการรับวางแผนภาษีให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติคนหนึ่ง ได้รับค่าปรึกษาจํานวน 10 ล้านบาท มีคอนโดมิเนียมให้เช่าจํานวน 10 ห้อง ได้ค่าเช่าตกเดือนละ 200,000 บาท และเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานายรักไทยได้รับมรดกเป็นรถยนต์โบราณหนึ่งคัน ราคาหนึ่งล้านบาท จากพินัยกรรมของลุงของนายรักไทยซึ่งเสียชีวิตมูลค่า 10 ล้านบาท เดือนเมษายน นางสาวน้ําฟ้าได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดร้องเพลงจากรายการโทรทัศน์แห่งหนึ่งจํานวน 50,000 บาท และนายเพียงดินได้รับว่าจ้างให้เป็นนายแบบโฆษณาได้รับค่าจ้างเป็นนายแบบครั้งนี้ จํานวน 10,000 บาท อยากทราบว่าปีภาษี 2559 นี้ นายรักไทยได้รับเงินพึงประเมินประเภทใดบ้าง และต้องนําเงินได้พึงประเมินทั้งหมดคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด และหากจะหักลดหย่อนบุตรทั้งสองของนายรักไทยจะสามารถทําได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วน…

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทาง การค้าหรือหากําไร”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนสําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วย กฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย… คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและยังศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัย หรือชั้นอุดมศึกษาหรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ อันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ใน สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชนหรือโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินที่นายรักไทยได้รับในปีภาษี 2559 เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทใด และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 รายได้จากปันผลของการลงทุนในหุ้น 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ข) และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 รายได้จากการรับวางแผนภาษีให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติโดยได้รับค่าปรึกษาจํานวน 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ตามมาตรา 40 (6) เพราะเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ และต้อง นํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 รายได้จากการให้เช่าคอนโดมิเนียม จํานวน 10 ห้อง ตกเดือนละ 200,000 บาท เป็น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40 (5) เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน และต้องนํามา เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

4 รายได้จากการรับมรดกเป็นรถยนต์โบราณหนึ่งคันราคา 1 ล้านบาท จากพินัยกรรม ของลุงของนายรักไทยซึ่งเสียชีวิตมูลค่า 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) แต่ ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (9)

และเมื่อนายรักไทยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี นายรักไทยจะนําบุตรทั้งสองมาหัก ลดหย่อนได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีของนางสาวน้ําฟ้า แม้จะมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในปีภาษีนั้น นางสาวน้ําฟ้าได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดร้องเพลง 50,000 บาท ซึ่งถือว่า มีเงินได้พึงประเมินเกิน 15,000 บาท และเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 ดังนั้น นายรักไทยจะนําบุตรคนนี้มาหักลดหย่อนไม่ได้

2 กรณีของนายเพียงดิน ซึ่งเป็นผู้เยาว์มีอายุ 16 ปีนั้น นายรักไทยสามารถนําบุตรคนนี้ มาหักลดหย่อนได้ 17,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) และ (ฉ) และแม้นายเพียงดินจะมีเงินได้พึงประเมินและเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 ก็ตาม แต่เป็นเงินได้ที่มีจํานวนเพียง 10,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 15,000 บาท แต่อย่างใด

สรุป รายได้ที่นายรักไทยได้รับในปีภาษี 2559 เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามา เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่เป็นไปตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

ส่วนการหักลดหย่อนบุตรนั้น นายรักไทยสามารถนํานายเพียงดินมาหักลดหย่อนได้ เพียงคนเดียว โดยหักได้จํานวน 17,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทจํากัด ค.ศ. 2006 ของประเทศสหราชอาณาจักร (โดยไม่ต้องคํานึงถึงสนธิสัญญาภาษีซ้อน) ในปี พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ส่งฟิล์มภาพยนตร์ทางพัสดุไปรษณีย์ทางอากาศมาให้บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ซึ่งเป็นบริษัท จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย เช่าฉายในประเทศไทย โดยบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ได้ส่งค่าเช่าฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวไปให้บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด ที่ประเทศ สหราชอาณาจักร คิดเป็นเงินไทยจํานวน 10 ล้านบาท และปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 2559 บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด มีกําไรสุทธิที่ได้รับจากการประกอบกิจการฉายภาพยนตร์ในประเทศไทย จํานวน 5 ล้านบาท ทั้งนี้อยากทราบว่าบริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด และบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัดมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชําระอย่างไร

ธงตําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 70 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการ ตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ประเทศสหราชอาณาจักร มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่มีเงินได้จากค่าเช่าฟิล์มภาพยนตร์ที่บริษัทฯ ได้ ส่งมาให้บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ในประเทศไทยเช่าฉายในประเทศไทย และได้รับเงินค่าเช่า ซึ่งถือเป็นเงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40 (5) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ดังนั้น บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง โดยให้ผู้จ่ายคือบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด หักภาษีเงินได้พึงประเมินที่จ่ายคือ 10 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่น แบบแสดงรายการภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น

ส่วนบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เมื่อบริษัทฯ มีกําไรสุทธิ ที่ได้รับจากการประกอบกิจการฉายภาพยนตร์ในประเทศไทยจํานวน 5 ล้านบาท บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด จึง ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยเสียจากฐานกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทฯ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง

สรุป บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง และบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท ยางสยาม จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทย บริษัทฯได้ทําสัญญาว่าจ้างนายไกรซึ่งมีสัญชาติไทยในตําแหน่งเป็นผู้ตรวจงานของบริษัทฯ เงินเดือน 200,000 บาท นายไกรเป็นคนเชื้อสายไทย สัญชาติสิงคโปร์และมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี โดยตลอด ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ส่งนายไกรไปตรวจงาน ณ สาขาของ บริษัทฯ ในประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 180 วัน จึงเดินทางกลับ ทั้งนี้สํานักงานสาขาดังกล่าวได้ทํา หน้าที่ชําระเงินค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ให้แก่นายไกรโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายไกร ในประเทศสิงคโปร์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไกรนําเงินเดือนที่ได้รับในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่นําเงินเดือนเข้าประเทศไทยเลย และในขณะเดียวกันนายไกรได้ทําสัญญาว่าจ้างนางฟาโอร่าซึ่งมีสัญชาติมาเลเซียและมีทะเบียนบ้าน อยู่ที่ประเทศมาเลเซียให้ทําหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 2 เดือน โดยนายไกรได้ชําระเงินค่าจ้างเดือนละ 190,000 บาท ให้แก่นางฟาโอร่าโดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารของนางฟาโอร่าที่ประเทศไทย ให้ท่านวินิจฉัยว่า ปีภาษี 2559 เงินได้รายการดังกล่าว ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของนายไกร เงินเดือนของนายไกรที่ได้รับทั้งในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่บริษัท ยางสยาม จํากัด จ่ายให้แก่นายไกรในประเทศไทย เป็นเวลา 6 เดือน จํานวน 1,200,000 บาท นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น นายไกรจะต้องนําเงินได้จํานวน 1,200,000 บาท ดังกล่าว มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง

2 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่สํานักงานสาขาของบริษัท ยางสยาม จํากัด ใน ประเทศสิงคโปร์ จ่ายให้แก่นายไกรในขณะที่นายไกรไปตรวจงาน ณ สาขาของบริษัทฯ โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารของนายไกรในประเทศสิงคโปร์นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศ และถือเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไกรน้ําเงินเดือนที่ได้รับ ในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่ได้นําเงินเดือนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยเลย ดังนั้นแม้ว่า นายไกรจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันก็ตาม แต่เมื่อนายไกรไม่ได้เอาเงินได้ดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทย ในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้ นายไกรจึงไม่ต้องนําเงินได้จํานวนดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

กรณีของนางฟาโอร่า การที่นายไกรได้ทําสัญญาว่าจ้างนางฟาโอร่าซึ่งมีสัญชาติมาเลเซียและ มีทะเบียนบ้านอยู่ที่ประเทศมาเลเซียให้ทําหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 2 เดือน ค่าจ้างเดือนละ 190,000 บาท โดยนายไกรได้ชําระเงินให้แก่นางฟาโอร่าโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนางฟาโอร่า ที่ประเทศไทยนั้น เงินได้ที่นางฟาโอร่าได้รับจากนายไกรดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทํา ในต่างประเทศ และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ์แม้จะถือได้ว่า นางฟาโอร่าได้นําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่เมื่อนางฟาโอร่ามิใช่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คือไม่ได้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีครบ 180 วัน นางฟาโอร่าจึงไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป นายไกรจะต้องนําเงินเดือนที่ได้รับในประเทศไทยจํานวน 1,200,000 บาท มาเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนเงินเดือนที่ได้รับในต่างประเทศไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นางฟาโอร่าไม่ต้องนําเงินเดือนที่ได้รับจํานวน 380,000 บาท มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ให้ท่านอธิบายหลักกฎหมายเรื่อง “สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรอย่างน้อย 11 รายการ พร้อมยกตัวอย่างโดยละเอียด

ธงคําตอบ

“สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น หมายถึง สิทธิของ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการนํารายการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้มาหักเพิ่มได้อีกหลังจาก ได้มีการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ก่อนนําเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามประมวลรัษฎากร ได้กําหนดรายการต่าง ๆ ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธินําไปหักเป็นค่า ลดหย่อนไว้หลายรายการ เช่น

1 หักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้ โดยหักได้ 30,000 บาท

2 หักลดหย่อนสําหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ไม่มีเงินได้พึงประเมิน หรือมีแต่ไม่ได้แยกคํานวณภาษี โดยหักได้ 30,000 บาท

3 หักลดหย่อนสําหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ โดยหักได้คนละ 15,000 บาท (ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ในมาตรา 47) รวมทั้งมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่กําลังศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

4 เบี้ยประกันชีวิต ที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปในปีภาษีสําหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ (รวมทั้งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้) โดยหักได้ส่วนแรก 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกําหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป

5 เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สามารถหักลดหย่อนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยน้ํา จํานวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท

6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (สําหรับการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย….) ตาม จํานวนเงินที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

7 เงินสมทบทุนที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งกรณีที่สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม) โดยหักได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง

8 ค่าลดหย่อนบิดามารดา ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดานั้นต้องมี อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ

9 เงินที่ได้จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559) โดยหักได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

10 หักลดหย่อนเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา โดยสามารถหักได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่ ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

11 หักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค โดยผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคได้ เท่าจํานวนที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และให้หักค่าลดหย่อนได้เฉพาะ

(1) เงินที่บริจาคให้แก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของรัฐ

(2) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่สถานที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

 

ข้อ 3 บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าอาหารทะเลภายในประเทศอเมริกาและประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้จัดตั้งนิติบุคคลใหม่ชื่อ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ซึ่งมีสํานักงาน ขนาดใหญ่ที่จังหวัดภูเก็ต ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด ได้ส่งลูกจ้าง ผู้ทําการแทน ผู้ทําการติดต่อ ไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว เพื่อทําสัญญาซื้อขายอาหารทะเลเป็นเหตุ ให้ได้รับเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และมีสิทธิได้รับเงินอีก 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระแล้ว ในปี พ.ศ. 2560 แต่ยังมิได้รับชําระเงิน 250 ล้านบาท ดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ. 2560 และ มีรายจ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จํานวน 50 ล้านบาท และ มีรายจ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลจากประเทศไทยไปยังประเทศลาว จํานวน 60 ล้านบาท ให้แก่ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 เงินได้รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี..

การคํานวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นํารายได้ที่เกิดขึ้นใน รอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชําระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น…”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ เเยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีของบริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด

การที่บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีรายได้จากการส่งลูกจ้าง ผู้ทําการแทน ผู้ทําการติดต่อไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว เพื่อทําสัญญาซื้อขายอาหารทะเล โดยได้รับเป็นเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และมีสิทธิได้รับเงินอีก 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระแล้วในปี พ.ศ. 2560 นั้น แม้ว่าบริษัทฯ จะยังมิได้รับชําระเงิน 250 ล้านบาท ดังกล่าวจนกระทั่งสิ้น ปี พ.ศ. 2560 ก็ตาม บริษัทฯ ก็จะต้องนํารายได้ที่ยังไม่ได้รับชําระจํานวน 250 ล้านบาท มารวมกับรายได้ที่ ได้รับชําระเป็นเงินสดแล้วจํานวน 150 ล้านบาท รวมเป็นเงินจํานวน 400 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ตามหลักของการคํานวณรายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิ

2 กรณีของบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด

การที่บริษัท มาร์คดีลยเอส จํากัด ได้จัดตั้งนิติบุคคลใหม่ชื่อ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ซึ่งมีสํานักงานขนาดใหญ่ที่จังหวัดภูเก็ตนั้น ย่อมไม่ถือว่าบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นบริษัท เดียวกันกับ บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เพราะบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่แยก ออกมาจากบริษัทเดิม มิใช่สาขาของบริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด แต่อย่างใด

และเมื่อถือว่าบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นนิติบุคคลที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ตาม กฎหมายไทยการที่ บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด ได้จ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จํานวน 50 ล้านบาท และค่าขนส่งอาหารทะเลจากประเทศไทยไปยังประเทศลาวจํานวน 60 ล้านบาท ให้แก่บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ย่อมถือว่าเงินจํานวน 110 ล้านบาทดังกล่าว เป็นรายได้ของบริษัท มาร์คยูเอสโก จํากัด ดังนั้น บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด จึงต้องนํารายได้จํานวน 110 ล้านบาทดังกล่าว มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่ง

สรุป

บริษัท มาร์คติลยูเอส จํากัด จะต้องนํารายได้จํานวน 400 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ต้องนํารายได้จํานวน 110 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

WordPress Ads
error: Content is protected !!