การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 นายโตเป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมได้รับเงินเดือน 40,000 บาทนายโตเห็นนายโชคประกาศขายนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ “วันเดอร์แอนด์อลิส” ที่ร้านค้าในกรุงเทพฯ ราคาเรือนละ 4,000,000 บาท นายโตอยากได้นาฬิกาเรือนดังกล่าวมาก แต่นายโตมีเงินสดเพียงจํานวน 1,000,000 บาท ดังนั้น นายโตจึงทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายโครมจํานวน 1,000,000 บาท ได้ส่งงาน ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี กําหนดชําระคืนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และนายโตได้ขอให้นายโฟตกลงร่วมลงทุนเป็นเงินจํานวน 2,000,000 บาท เพื่อซื้อนาฬิกาเรือนดังกล่าว เมื่อซื้อแล้ว จะนําไปขายต่อและนํากําไรแบ่งปันกันระหว่างนายโตกับนายโฟ นายโฟตกลงตามที่นายโตเสนอ ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 นายโตและนายโฟร่วมกันขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวได้เงิน จํานวน 6,000,000 บาท และนํากําไรแบ่งปันกันตามสัดส่วนการลงทุน ให้ท่านวินิจฉัยว่า เงินได้รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้ตามรายการดังกล่าวจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวล รัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายโต เป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมได้รับเงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาทนั้น เงินเดือนที่นายโตได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งาน ที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายโตได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายโตจึงต้องนําเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดจํานวน 480,000 บาท (40,000 x 12) มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 การที่นายโครมให้นายโตกู้ยืมเงินจํานวน 1,000,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนั้น ดอกเบี้ยที่นายโครมได้รับจํานวน 75,000 บาท (1,000,000 x 7.5) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และ เป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายโครม ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายโครมจึงต้องนําเงินได้จํานวน 75,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

3 การที่นายโตและนายโฟได้ร่วมกันลงทุนคนละ 2,000,000 บาท เพื่อซื้อนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ “วันเดอร์แอนด์อลิส” ในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวได้เงินจํานวน 6,000,000 บาทนั้น เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และเป็นเงินได้ที่ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสดซึ่งได้รับจากการประกอบกิจการในรูปแบบ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น นายโตและนายโฟจึงต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 6,000,000 บาทดังกล่าวมาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยถือว่าผู้มีเงินได้นั้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

สรุป

นายโตจะต้องนําเงินได้ซึ่งเป็นเงินเดือนจํานวน 480,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดา

นายโครมจะต้องนําดอกเบี้ยที่ได้รับจํานวน 75,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

นายโตและนายโฟต้องนําเงินได้จากการขายนาฬิกาจํานวน 6,000,000 บาท มาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยถือว่าผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

ข้อ 2 ให้ท่านวินิจฉัยว่า ตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในข้อ 1ให้ท่านพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินแต่ละรายการเป็นเงินได้ประเภทใดตามประมวลรัษฎากร เพราะเหตุใด และให้ท่านวินิจฉัยว่า นายโตและนายโฟมีสิทธิหักลดหย่อนอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก.. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม…

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจาก ที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60 000 บาท

(6) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญให้หักลดหย่อนได้ตาม (1) (ก) สําหรับผู้เป็น หุ้นส่วน แต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท”

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในข้อ

1 เงินได้พึงประเมินแต่ละรายการเป็นเงินได้ประเภทใดนั้น แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 เงินเดือนที่นายโตได้รับจากการเป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมเดือนละ 40,000 บาท ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1)

2 ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินจํานวน 75,000 บาทที่นายโครมได้รับ เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก)

3 เงินได้จากการขายนาฬิกาจํานวน 6,000,000 บาทที่นายโตและนายโฟได้รับ เป็นเงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) เพราะเป็นเงินได้จากการพาณิชย์

และในการหักลดหย่อนนั้น ให้นายโตและนายโฟหักลดหย่อนได้ในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนและเป็น ผู้มีเงินได้คนละ 60,000 บาท รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) และมาตรา 47 (6)

สรุป เงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาทขึ้นายโตได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1)

ดอกเบี้ยจํานวน 75,000 บาทที่นายโครม.ด้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตาม มาตรา 40 (4) (ก)

เงินได้จํานวน 6,000,000 บาทจากการขายนาฬิกาเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) และนายโตกับนายโฟมีสิทธิหักลดหย่อนได้ 120,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อผลิต และจําหน่ายรถพลังงานไฟฟ้า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้กู้ยืมเงินจากบริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด จํานวน 10,000 ล้านบาท และได้เซ็นสัญญากัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในรอบระยะเวลาบัญชี 2562 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เป็นจํานวน 100 ล้านบาทจากประเทศไทยไปให้บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จงวินิจฉัยว่า บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยจํานวนดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม”

มาตรา 70 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการ ตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ประเทศสหรัฐอเมริกา มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่มีเงินได้เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการให้บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด กู้ยืมเงินจํานวน 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) ที่จ่ายจากประเทศไทยนั้น บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง โดยให้ผู้จ่ายคือ บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด หักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่าย คือ 100 ล้านบาทในอัตราร้อยละ 15 แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น

สรุป

บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ณ ที่จ่าย  จากดอกเบี้ยจํานวน 100 ล้านบาทในอัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง

Advertisement