LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2549

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  ก. กู้เงิน ข.  หนึ่งล้านบาท  มีกำหนดเวลาสามปี  โดยมี  ค.  เป็นผู้ค้ำประกัน  หนี้เงินกู้ครบกำหนดแล้วแต่  ก.  ยังไม่ได้ชำระหนี้  ข.  ต่อมา  ค.  ผู้ค้ำประกันตาย  อยากทราบว่า  ข.  จะเรียกให้  ง.  ทายาทของ  ค.  ชำระหนี้ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  203  วรรคสอง  ถ้าได้กำหนดเวลาไว้  แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่  แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้

มาตรา  204  วรรคสอง  ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน  และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้  ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย  วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้  ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว

มาตรา  686  ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด  ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น

มาตรา  1599  วรรคแรก  เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

มาตรา  1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ  เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

วินิจฉัย

ก.      กู้เงิน ข.  หนึ่งล้านบาท  มีกำหนดเวลา  3  ปี  โดยมี  ค.  เป็นผู้ค้ำประกัน  กรณีนี้จึงต้องเป็นไปตามมาตรา  203  วรรคสอง  กล่าวคือ  สัญญากู้เงินมีกำหนดระยะเวลาในการใช้คืน  คือ  3  ปี  ซึ่งบทสันนิษฐานมีว่าในกรณีที่มีการกำหนดเวลาไว้  แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย  เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นไม่ได้  แต่ลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้

แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนี้เงินกู้ครบกำหนดแล้ว  แต่  ก.  ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้  ข.  ต่อมา  ค.  ผู้ค้ำประกันตาย  จะเห็นว่า  เมื่อสัญญาเงินกู้มีกำหนดเวลาชำระตามมาตรา  203  วรรคสอง  เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญาดังกล่าว  ถือว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด  ตามมาตรา  204  วรรคสอง  อันจะส่งผลให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้  กล่าวคือสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น  เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้  จึงเกิดความรับผิดตามกฎหมายของผู้ค้ำประกันแล้ว  ข.  จึงมีสิทธิเรียกให้  ค.  ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้  แต่ปรากฏว่า  ค.  ตายก่อน  จึงมีปัญหาว่า  ข.  เจ้าหนี้จะเรียกให้ทายาทของผู้ค้ำประกันรับผิดได้หรือไม่  เห็นว่า  เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า  มรดก  ตามมาตรา  1600  ที่ได้กำหนดว่ากองมรดกของผู้ตาย  ได้แก่  ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆซึ่งไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย  เมื่อการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของผู้ค้ำประกันเป็นหน้าที่และความรับผิดของผู้ตาย  ซึ่งไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวแล้วจึงถือว่าเป็นมรดก  ตามมาตรา  1600  ด้วย  ดังนั้นเมื่อผู้ค้ำประกันตายภายหลังจากที่ลูกหนี้ผิดนัดหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน  จึงตกแก่ทายาทของผู้ค้ำประกันทันทีที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา  1599  ซึ่งทายาทจะอ้างว่ามิใช่เป็นหนี้ของตนมิได้  เพราะผู้รับมรดกย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิด(หนี้)  ของผู้ตายเจ้ามรดกด้วย  อย่างไรก็ตามทายาทก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน

สรุป  ข.  เจ้าหนี้  สามารถเรียกให้  ง.  ทายาทของ  ค.  ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน  ก.  ได้

 

ข้อ  2  หลังจากสนธิ์ผู้บิดาถึงแก่กรรม  สิทธิชัยบุตรของสนธิ์จัดการศพของบิดาเสร็จแล้ว  สัญผู้เป็นปู่ได้ถึงแก่ความตายโดยกะทันหันอีกคนหนึ่ง  หลังจากจัดงานศพให้ปู่แล้ว  สิทธิชัยร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของปู่  สมนึกน้องของสนธิ์  ซึ่งเป็นอาของสิทธิชัยคัดค้านว่า  สิทธิชัยไม่ใช่ทายาทของสัญบิดา  ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก  ขอให้ยกคำร้อง  ข้อคัดค้านของสมนึกฟังขึ้นหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1713  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป  หรืออยู่นอกราชอาณาเขต  หรือเป็นผู้เยาว์

(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ  หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ  หรือในการแบ่งปันมรดก

(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการไว้ไม่มีผลบังคับด้วยประการใดๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น  ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม  ก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมและถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์  และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก  แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา  1713  จะเห็นได้ว่าทายาทสามารถมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้  ซึ่งทายาทตามนัยมาตรา  1713 หมายความรวมทั้งทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดก  สำหรับทายาทโดยธรรมนั้นย่อมหมายถึงทายาทในลำดับแรกๆ  ที่ยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ในลำดับหนึ่งๆที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  ทายาทในลำดับถัดไปที่ไม่มีสิทธิรับมรดก  ก็ไม่สามารถมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า  สนธิ์เป็นบุตรของสัญ  จึงถือว่าสนธิ์เป็นผู้สืบสันดานซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของสัญ  ตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งได้ตายก่อนเจ้ามรดก  แต่สนธิ์มีบุตรคือ  สิทธิชัย  จึงถือว่าสิทธิชัยเป็นทายาทโดยธรรมของวนธิ์  กล่าวคือ  เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของสนธิ์จึงเข้ารับมรดกแทนที่บิดาในมรดกของสัญซึ่งเป็นปู่ได้ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1642  และมาตรา  1643

เมื่อสิทธิชัยมีสิทธิรับมรดกของสัญในฐานะผู้รับมรดกแทนที่  ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้  ข้ออ้างของสมนึกที่ว่าสิทธิชัยไม่ใช่ทายาทของสัญ  ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก  จึงฟังไม่ขึ้น (ฎ. 616/2547)

สรุป  ข้อคัดค้านของสมนึกฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ  3  พระภิกษุเผือกได้บรรพชาหน้าไฟเป็นสามเณรในวันเผาศพมารดา  ต่อมาเกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุใช้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์คลอดมา  เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรมแล้วพระภิกษุเผือกมอบอำนาจให้ผันน้องชายไปโอนสวนยางพารา  25 ไร่  ที่ได้รับมรดกจากมารดา  และอีก  37  ไร่  ที่ได้รับมรดกจากบิดาเป็นของตน  นอกจากนั้นระหว่างอยู่ในสมณเพศ  พระภิกษุเผือกยังมีทรัพย์สินอื่นจากกิจนิมนต์  และเงินฝากในธนาคารอีก  1,500,000  บาท  แยกฝากธนาคาร  3  บัญชี  บัญชีละ  500,000  บาท  พระภิกษุเผือกได้ทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ  ยกทรัพย์สินทั้งหมดที่อยู่ในกุฏิของตนให้ผันน้องชาย  และลงลายมือชื่อ  แต่เขียนเพิ่มเติมด้านล่างว่า  ทั้งนี้ให้รวมทั้งสมุดเงินฝากต่างๆด้วย  ซึ่งส่วนนี้ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้

ผันถึงแก่กรรมก่อนพระภิกษุเผือก  ทิ้งนวลนภาภรรยาให้เป็นม่าย  แต่ไม่มีลูกด้วยกัน  เมื่อพระภิกษุเผือกนำสมุดเงินฝากทั้ง  3  เล่ม  ฝากไว้ที่เจ้าอาวาสนั้นตกได้แก่ใคร  นวลนภาจะเข้ารับมรดกแทนที่ผันได้หรือไม่  เพราะเหตุใด 

ธงคำตอบ

มาตรา  1623  ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น  เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ  ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น  เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

มาตรา  1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่  และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น  หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1657  พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้  กล่าวคือ  ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด  วัน  เดือน  ปี  และลายมือชื่อของตน

การขูดลบ  ตก  เติม  หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเองและลงลายมือชื่อกำกับไว้

บทบัญญัติมาตรา  9  แห่งประมวลกฎหมายนี้  มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้

มาตรา  1698  ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น  ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

มาตรา  1753  ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก  เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม  หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติตามมาตรา  1624  ที่กำหนดว่า  ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่”  เห็นว่า  พระภิกษุ  ตามนัยของบทบัญญัติใน  ป.พ.พ.  ได้แก่พระภิกษุที่ได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  ไม่หมายความรวมถึงสามเณร  แม่ชี  นักพรต  หรือนักบวชในศาสนาอื่นด้วย  เช่นนี้สวนยางพารา  25  ไร่ที่พระภิกษุเผือกได้รับมรดกจากมารดาขณะเป็นสามเณร (มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้ามรดกตาย)  แม้จะได้จดทะเบียนโอนกันภายหลังอุปสมบทเป้นพระภิกษุแล้ว  ก็ยังถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามมาตรา  1624  ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด  ต้องนำมรดกส่วนนี้แบ่งแก่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุเผือกต่อไป

เมื่อข้อเท็จจริงปรากกว่านายผันน้องชายซึ่งเป็นญาติคนที่เหลืออยู่เพียงคนเดียว  และเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  3  เสียชีวิตไปก่อนพระภิกษุเผือกเจ้ามรดก  ข้อกำหนดในพินัยกรรมจึงตกไป  เพราะผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรมตามมาตรา  1698(1)  แม้ส่วนของพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อจะไม่สมบูรณ์ตามมาตรา  1657  ก็ตาม  เมื่อพระภิกษุเผือกไม่มีทายาทอื่นอีก  อีกทั้งนางนวลนภาภรรยาของนายผันซึ่งเป็นน้องสะใภ้ของพระภิกษุเผือก  ก็มิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุตามมาตรา  1629  ด้วย

และนางนวลนภาจะเข้ารับมรดกแทนที่นายผันสามีตามมาตรา  1639  ก็ไม่ได้  เพราะการรับมรดกแทนที่ใช้บังคับในระหว่างผู้สืบสันดานโดยตรงและเป็นทายาทโดยธรรมเท่านั้น  ไม่มีบทบัญญัติใดให้ภรรยารับมรดกแทนที่สามีได้  ดังนั้นสวนยางพารา  25  ไร่  จึงตกทอดแก่แผ่นดินตามมาตรา  1753 (ฎ. 1191/2482 648/2497)

เมื่อพินัยกรรมเป็นอันตกไปตามมาตรา  1698(1)  จึงต้องนำไปแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1699  ประกอบมาตรา  1620  วรรคแรก  แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินในพินัยกรรมทั้งหมด  รวมทั้งสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร  และที่ดินที่ได้รับมรดกจากบิดา  ล้วนแต่เป็นทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น  จึงตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาตามมาตรา  1623

สรุป  สวนยางพารา  25  ไร่  ตกทอดแก่แผ่นดิน  ทรัพย์สินตามพินัยกรรม  บัญชีเงินฝากธนาคารและที่ดินอีก  37  ไร่  ตกเป็นสมบัติของวัด

 

ข้อ  4  สงบกับอำภามีบุตรด้วยกันคนหนึ่งพึ่งหย่ากันเมื่อปี  2543  เพราะอำภาทราบว่าสงบแอบไปมีคนอื่นจนมีบุตรด้วยกันชื่อ  อาภัสรา ซึ่งสงบได้ส่งเสียให้เล่าเรียน  หลังจากหย่าก็ยังไม่ได้แบ่งสมบัติกันปี  2546  สงบถึงแก่ความตาย  อำภาร้องต่อศาลขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของสงบ  อาภัสราคัดค้านอ้างว่าอำภาไม่ใช่ทายาทของสงบ  คำคัดค้านฟังขึ้นหรือไม่  เพราะเหตุใด    

ธงคำตอบ

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1713  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป  หรืออยู่นอกราชอาณาเขต  หรือเป็นผู้เยาว์

(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ  หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ  หรือในการแบ่งปันมรดก

(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการไว้ไม่มีผลบังคับด้วยประการใดๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น  ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม  ก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมและถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์  และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก  แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา  1713  ดังกล่าว  ได้กำหนดถึงตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้  3  ประเภท  คือ  ทายาท  ผู้มีส่วนได้เสีย  หรือพนักงานอัยการ

สำหรับกรณีทายาทนั้น  หมายความถึงทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก  ซึ่งนอกจากจะร้องขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว  ยังมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกได้

ส่วนผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้  หมายถึง  บุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในกองมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยประการแรก  คือ  อาภัสรา  จะมีสิทธิร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกได้หรือไม่  เห็นว่า  เมื่อสงบมีบุตรที่เกิดจากตนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาเด็ก  อาภัสราจึงเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสงบ  โดยหลักแล้วไม่มีสิทธิรับมรดก  แต่นายสงบมีพฤติการณ์รับรองอาภัสรา  โดยส่งเสียให้เล่าเรียน  จึงถือว่าอาภัสราเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามนัยมาตรา  1627  มีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา  1629(1)  จึงมีสิทธิรับมรดกของบิดา  เมื่อมีสิทธิในการรับมรดกของเจ้ามรดกจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก  รวมทั้งคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกได้

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อมาคือ  อำภาจะร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกของนายสงบได้หรือไม่  เห็นว่า  เมื่ออำภาได้หย่าขาดจากนายสงบแล้ว  จึงไม่มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายตามนัยมาตรา  1629  วรรคท้าย  จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสงบ  แต่แม้อำภาจะไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะร้องขอต่อศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก  แต่อำภาเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย  กล่าวคือยังมิได้มีการแบ่งทรัพย์สิน (สินสมรส)  ระหว่างสามีภริยาเมื่อหย่ากันแล้วตามมาตรา  1533  จึงยังมีสิทธิร้องขอต่อศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้  ดังนั้นคำคัดค้านของอาภัสราจึงฟังไม่ขึ้น  (ฎ. 30/2549)

สรุป  อำภาย่อมร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้  ตามมาตรา  1713  ข้อคัดค้านของอาภัสราฟังไม่ขึ้น

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2550

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  นายหนึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแดงซึ่งเป็นเจ้ามรดก  นายแดงมีน้องสาวร่วมมารดาเดียวกันหนึ่งคนคือนางสาวดำ นอกจากนี้นายแดงยังได้จดทะเบียนรับนายสองมาเป็นบุตรบุญธรรมอีกคนหนึ่ง  ต่อมานายหนึ่งได้นางสาวเขียวมาเป็นภริยาโดยมิชอบด้วยกฎหมายจนตั้งครรภ์ได้  4  เดือน  โดยที่ไม่มีใครทราบ  นายสองได้รับเด็กชายขาวมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย  วันหนึ่งนายแดงได้ให้นายหนึ่งและนายสองเดินทางไปติดต่อธุรกิจที่จังหวัดภูเก็ต  เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินระเบิดทำให้ทั้งคู่เสียชีวิต  นายแดงทราบข่าวก็หัวใจวายตายทันที  นายแดงตายลงมีมรดก  10  ล้านบาท  ต่อมานางเขียวได้คลอดบุตรออกมาชื่อเด็กชายเหลือง  ภายใน  310  วันนับแต่วันที่นายหนึ่งถึงแก่ความตาย  จงแบ่งมรดกของนายแดง

ธงคำตอบ

มาตรา  1604  วรรคท้าย  เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้นเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

มาตรา  1630  วรรคสองแต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี  และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

นายแดงเจ้ามรดกมีนายหนึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  และมีนายสองเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งทั้ง  2  คน  เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  1 กล่าวคือเป็นผู้สืบสันดาน  ตามมาตรา  1627  ประกอบมาตรา  1629(1)  และได้ถึงแก่ความตายก่อนนายแดงเจ้ามรดก  โดยนายหนึ่งมีนางสาวเขียวเป็นภริยาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  แม้นางสาวเขียวจะคลอดเด็กชายเหลืองออกมาภายใน  310  วันนับแต่วันที่นายหนึ่งตายก็ตามก็ไม่สามารถทำให้เด็กชายเหลืองมีสิทธิรับมรดกแทนที่ของนายหนึ่งได้  ตามมาตรา  1639  เพราะในระหว่างที่นางสาวเขียวตั้งครรภ์นั้น  มิได้มีพฤติการณ์ในการรับรองทารกในครรภ์ของนางสาวเขียวว่าเป็นบุตรของนายหนึ่ง  ทั้งยังไม่มีใครทราบว่านางสาวเขียวตั้งครรภ์  ดังนั้น  เด็กชายเหลืองซึ่งเกิดมาโดยไม่มีสถานะเป็นผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกแทนที่ของนายหนึ่งได้ตามมาตรา  1604  วรรคท้าย  ประกอบมาตรา  1627  และมาตรา  1639

กรณีที่นายสองรับเด็กชายขาวมาเป็นบุตรบุญธรรม  แม้จะโดยชอบด้วยกฎหมาย  และเป็นผู้สืบสันดานของนายสอง  ตามมาตรา  1627  แต่ก็ไม่ทำให้เด็กชายขาวรับมรดกแทนที่ของนายสองได้  เพราะมิใช่ผู้สืบสันดานสืบสายโลหิตโดยตรง  ตามมาตรา  1643  ประกอบมาตรา  1639

ส่วนกรณีที่นายแดงมีนางสาวดำเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันนั้นถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  4  ตามมาตรา  1629(4)  จึงมีสิทธิรับมรดกของนายแดงทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว  ตามมาตรา  1629(4)  ประกอบมาตรา  1630  วรรคท้าย  และมาตรา  1633

สรุป  นางสาวดำมีสิทธิรับมรดกของนายแดง  10  ล้านบาทแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ  2  นายโตมีบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย  ชื่อนายเอก  ต่อมานายเอกได้จดทะเบียนสมรสกับนางแต๋วแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน  นายเอกและนางแต๋วจึงได้ไปจดทะเบียนรับนายดำเป็นบุตรบุญธรรม  ปรากฏว่านายเอกได้ถูกรถยนต์ชนตายในขณะเดินทางไปพบนายโต  หลังจากนั้นนายโตก็ป่วยด้วยโรคมะเร็งและถึงแก่ความตาย  นายโตมีมรดกจำนวน  4  ล้านบาท  จงแบ่งมรดกของนายโต

ธงคำตอบ

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา  1753  ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก  เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม  หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

วินิจฉัย

นายเอกเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย  จึงเป็นผู้สืบสันดานของนายโตโดยเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  1  ตามมาตรา  1627  ประกอบมาตรา  1629(1)  เมื่อนายเอกตาย  ต่อมานายโตตายมีมรดกจำนวน  4  ล้านบาท  นายดำบุตรบุญธรรมของนายเอกซึ่งไม่ถือว่านายดำเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงที่สืบสายดลหิตของนายเอก  ดังนั้นนายดำจึงเข้ารับมรดกแทนที่นายเอกในส่วนของนายโตไม่ได้  ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1642  และมาตรา  1643

ส่วนกรณีของนางแต๋ว  ภริยาของนายเอกนั้น  ถือเป็นบุตรสะใภ้ของนายโต  จึงไม่ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมของนายโต  ฉะนั้นเมื่อนายโตไม่มีทายาทโดยธรรมและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  มรดกของนายโตจำนวน  4  ล้านบาทจึงตกทอดแก่แผ่นดิน  ตามมาตรา  1753

สรุป  มรดกของนายโตจำนวน  4  ล้านบาท  จึงตกทอดแก่แผ่นดิน

 

ข้อ  3  นายอำนวยเป็นบุตรที่เกิดจากการอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสระหว่างนายอมรและนางสาวนงค์  โดยนายอมรให้นายอำนวยใช้นามสกุลของนายอมร  ต่อมานางอัมพรมารดาของนายอมรบังคับให้นายอมรจดทะเบียนสมรสกับนางอรพรรณ  เมื่อนายอมรแต่งงานจดทะเบียนสมรสกับนางอรพรรณได้  2  เดือน  จึงทราบว่านางสาวนงค์ตั้งครรภ์ได้  5  เดือนแล้ว  ซึ่งต่อมาคลอดและชื่อเด็กหญิงนุช  แต่นายอมรก็ไม่สามารถกลับไปอุปการะเลี้ยงดูนางสาวนงค์และลูกๆได้อีกเพราะถูกนางอัมพรกีดกันเมื่ออยู่กันมาได้  5  ปี  นายอมรและนางอรพรรณไม่มีบุตรด้วยกัน  นงอรพรรณจึงจดทะเบียนรับนางสาวอ่อนมาเป็นบุตรบุญธรรม  โดยได้รับความยินยอมจากนายอมร  วันที่  16  กันยายน  2550  นางอัมพรและนายอมรเดินทางไปเยี่ยมนายศุกร์ซึ่งเป็นอดีตสามีของนางอัมพรและเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายอมรที่จังหวัดภูเก็ต  โดยสายการบิน  หนึ่ง  สอง  สาม  ปรากฏว่าเครื่องบินลำดังกล่าวประสบอุบัติเหตุ  เป็นเหตุให้นายอมรถึงแก่ความตาย  ณ  ที่เกิดเหตุ  และนางอัมพรได้รับบาดเจ็บสาหัส  ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล  และนางอัมพรก็ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาที่โรงพยาบาล  ให้นักศึกษาแบ่งทรัพย์สินและสิทธิหน้าที่ต่างๆ  ของนางอัมพรเหล่านี้ว่าตกทอดเป็นมรดกแก่ใครบ้างหรือไม่  เพราะเหตุใด

1)    สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ใบหน้าเสียโฉม  เนื่องจากเครื่องบินตกในครั้งนี้

2)    สิทธิในเงินฝากในบัญชีเงินฝากที่มีต่อธนาคารกรุงเทพ  จำนวน  5  ล้านบาท

ธงคำตอบ

มาตรา  1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ  เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1753  ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก  เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม  หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

วินิจฉัย

มาตรา  1600  ทรัพย์มรดก  ได้แก่  ทรัพย์สิน  สิทธิ  หน้าที่และความรับผิดของเจ้ามรดกเว้นแต่โดยสภาพ  หรือตามกฎหมาย  เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้  ดังนั้น  สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ใบหน้าเสียโฉม  เป็นค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงิน  ซึ่งตามมาตรา  446  บัญญัติให้เป็นการเฉพาะตัวของผู้ถูกกระทำละเมิดโดยแท้  สิทธิดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นมรดกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนางอัมพรเจ้ามรดก  ตามมาตรา  1600

ส่วนเงินฝากในธนาคาร  5  ล้านบาท  ตกได้แก่  ทายาทโดยธรรมของนางอัมพร  ดังนี้

นางอัมพรตายโดยมีนายอมรเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย  นายอมรจึงมีฐานะเป็นผู้สืบสันดาน  ของนางอัมพรตามมาตรา  1629(1)  แต่ปรากฏว่า  นายอมรทายาทตามมาตรา  1629(1)  ถึงแก่ความตายก่อนนางอัมพรเจ้ามรดก  โดยมีนายอำนวยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่เกิดจากการอยู่กินกับ  น.ส.นงค์  โดยนายอมรให้ใช้นามสกุล  นายอำนวยจึงเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายอมร  มีสิทธิรับมรดกของนางอัมพรแทนที่นายอมรได้ ตามมาตรา  1627 ,  1639  และ  1643  ส่วนเด็กหญิงนุช  แม้เป็นยุตรนอกกฎหมายของนายอมร  แต่นายอมรไม่ได้ให้การรับรองโดยพฤติการณ์  ด.ญ.นุชจึงไม่มีฐานะเป็นผู้สืบสันดานของนายอมร  จึงไม่อาจรับมรดกแทนที่นายอมรได้  ดังนั้นมรดกทั้งหมด  5  ล้านบาท  จึงตกได้แก่นายอำนวยโดยการรับมรดกแทนที่นายอมร  ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643

กรณีนางอรพรรณ  ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายอมร  ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่  เพราะนางอรพรรณไม่มีฐานะเป็นผู้สืบสันดานของนายอมร  ตามมาตรา  1639  ส่วนนางสาวอ่อน  เป็นบุตรบุญธรรมของนางอรพรรณ  เป็นผู้สืบสันดานของนางอรพรรณ  ตามมาตรา  1627 แต่นางสาวอ่อนไม่ใช่ผู้สืบสันดานของนายอมรและมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายอมร  ดังนั้นนางสาวอ่อนจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายอมรได้

ส่วนนายศุกร์  อดีตสามีของนางอัมพร  มิใช่เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่นางอัมพรถึงแก่ความตาย  ดังนั้น  นายศุกร์จึงมิใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะที่เป็นคู่สมรสของนางอัมพร  ตามมาตรา  1629  วรรคท้าย

สรุป 

1)    สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายที่ใบหน้าเสียโฉม  ไม่ใช่มรดกของนางอัมพร  ตามมาตรา  446  ประกอบมาตรา  1600

2)    เงินฝากในธนาคาร  5 ล้านบาท  ตกได้แก่  นายอำนวย  โดยการรับมรดกแทนที่ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643

 

ข้อ  4  นายเพชรและนางพลอยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  นายเพชรมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  2  คน  คือนายเงินและนายทอง  นายเงินจดทะเบียนสมรสกับนางทับทิมแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน  ทั้งคู่จึงไปขอ  ด.ญ.ไพลิน  จากสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้ามาเป็นบุตรบุญธรรมโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย  ต่อมานายเพชรทำพินัยกรรมยกรถยนต์  1  คัน  ราคา  300,000  บาท  ให้กับนายทอง  หลังจากนั้นนายเพชรประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกถึงแก่ความตาย  มีมรดกคือรถยนต์  1  คัน  ตามที่ได้ระบุในพินัยกรรม  และเงินสด 1,200,000  บาท  นายทองได้เอาเงินมรดกจำนวน  400,000  บาท  ไปเป็นของตนโดยฉ้อฉล  ต่อมานายเงินสละมรดกของนายเพชรโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อำนวยการเขตบางซื่อ  ดังนี้  จงแบ่งมรดกของนายเพชร 

ธงคำตอบ

มาตรา  1605  ทายาทคนใดยักย้าย  หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น  ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย  แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม  ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง  ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น

มาตรา  1612  การสละมรดกนั้น  ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา  1615  การที่ทายาทสละมรดกนั้น  มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก  ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตนและชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ  แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดาผู้ปกครอง  หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี  ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1635  ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629 (3)  และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา  1629 (1)  แต่มีทายาทตามมาตรา  1629 (2)  แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

วินิจฉัย

การที่นายเพชรทำพินัยกรรมยกรถยนต์  1  คัน  ราคา  300,000  บาท  ให้กับนายทองนั้น  รถยนต์เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งอย่างที่นายเพชรเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่นายทองผู้รับพินัยกรรม  รถยนต์จึงตกแก่นายทองโดยผลของกฎหมาย  โดยเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา  1605  วรรคสอง

ส่วนเงินมรดก  1,200,000  บาท  ที่นายเพชรไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม  ซึ่งทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดก  คือนายเงินและนายทองในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันตามมาตรา  1629(3)  และนางพลอยในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629  วรรคท้าย  โดยนายเงินและนายทองได้รับมรดกกึ่งหนึ่งคือได้คนละ  300,000  บาท  และนางพลอยได้กึ่งหนึ่ง  คือ  600,000  บาท  ตามมาตรา  1635(2)  แต่นายทองได้เอาเงินมรดกจำนวน  400,000  บาท  ไปเป็นของตนโดยฉ้อฉล  ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้  นายทองจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายเพชรในฐานะทายาทโดยธรรมเลยตามมาตรา  1605  วรรคแรก  ดังนั้น  เงินสด  300,000  บาท  จึงต้องนำไปแบ่งแก่นายเงินและนางพลอยโดยได้อีกคนละ  150,000  บาท  ตามมาตรา  1635(2)

เมื่อนายเงินสละมรดกของนายเพชรโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อำนวยการเขตบางซื่อ  เป็นการสละมรดกที่ทำถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา  1612  มีผลทำให้  ด.ญ.ไพลินบุตรบุญธรรมซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา  1627  ประกอบมาตรา  1629(1)  มีสิทธิสืบมรดกตามมาตรา  1615  วรรคสองได้

สรุป  นายทองได้รับรถยนต์  1  คัน  ราคา  300,000  บาท  ตามพินัยกรรม  ด.ญ.ไพลินได้รับเงินสด  450,000  บาท  และนางพลอยได้รับเงินสด  750,000  บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 2/2550

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  นายดำมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  คือนายเอก  นายโท  และนายตรี  นายเอกมี  ด.ญ.ขาว  เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  นายโทมีบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย  1  คน  คือ  ด.ญ.เขียว  ส่วนนายตรีได้สมรสกับ  น.ส.จัตวาโดยชอบด้วยกฎหมาย  มีบุตรชาย  1  คน คือ  ด.ช.แดง  แต่ปรากฏว่าได้ตกน้ำตายตั้งแต่อายุได้  2  ขวบ  นายดำได้ทำพินัยกรรมยกมรดกของตนซึ่งเป็นเงินสด  4  ล้านบาท   ให้แก่นายตรีเพียงคนเดียว  แต่เขาก็โชคไม่ดีเพราะประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อน  นายดำเสียใจมาก  และป่วยเป็นโรคหัวใจจนเสียชีวิตในที่สุด ก่อนนายดำตายนายเอกได้ทำพินัยกรรมปลอมว่านายดำยกทรัพย์มรดกให้แก่ตนสามในสี่ส่วน  หลังจากนายดำตายแล้ว  นายโทได้ไปบวชอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่บิดาที่วัดเทพลีลา  และยังไม่ยอมสึก  จากนั้นเขาก็ได้ทำการสละมรดกที่เขาจะได้รับโดยทำการสละไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย  จงวินิจฉัยว่า  มรดกของนายดำจะตกทอดแก่ใครบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  1606  บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร  คือ

(5) ผู้ที่ปลอม  ทำลาย  หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

มาตรา  1615  การที่ทายาทสละมรดกนั้น  มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก  ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตนและชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ  แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดาผู้ปกครอง  หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี  ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

มาตรา  1630  ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี  และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา  1698  ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น  ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

มาตรา  1699  ถ้าพินัยกรรม  หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ  ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

นายดำได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นายตรีคนเดียว  แต่นายตรีผู้รับพินัยกรรมได้ตายก่อนนายดำผู้ทำพินัยกรรมจึงทำให้พินัยกรรมนั้นตกไปตามมาตรา  1698(1)  ประกอบมาตรา  1699  จัตวาซึ่งเป็นภริยาของนายตรี  และเป็นเพียงสะใภ้ของนายดำ  จึงไม่ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมของนายดำ  และไม่สามารถรับมรดกแทนที่นายตรีได้เพราะเป็นภริยา  เนื่องจากผู้ที่จะรับมรดกแทนที่ได้นั้นต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1642  และ  1643  ส่วน  ด.ช.แดง  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายตรีก็เสียชีวิตไปแล้วจึงไม่มีสภาพของการเป็นทายาทอยู่  (มาตรา  1604  วรรคแรกตอนต้น)

นายเอกได้ปลอมพินัยกรรมก่อนนายดำเจ้ามรดกจะเสียชีวิต  จึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกทั้งหมดฐานเป็นผู้ไม่สมควร  ตามมาตรา 1606(5)  และเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ดังนั้นบุตรของนายเอกคอ  ด.ญ.ขาว  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงจึงเข้ารับมรดกแทนที่นายเอกบิดาได้ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1642  และ  1643

นายโทได้สละมรดกทั้งหมดโดยชอบด้วยกฎหมายและบวชเป็นพระแล้ว  ดังนั้นการสละมรดกของเขาจึงทำให้นายโทไม่มีสถานะของการเป็นทายาท  ด.ญ.เขียว  ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายโทและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1627  จึงเข้าสืบมรดกของนายโทได้แม้จะไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงก็ตามและ  ด.ญ.เขียว  มีสิทธิได้รับมรดกเท่ากับส่วนที่นายโทจะพึงได้รับตามมาตรา  1615 วรรคสอง

ดังนั้น  โดยสรุปมรดกของนายดำจึงแบ่งเป็น  2  ส่วนเท่าๆกัน  โดย  ด.ญ.ขาว   และ  ด.ญ.เขียว  ได้รับคนละ  2  ล้านบาท  ตามมาตรา 1630

สรุป  มรดกของนายดำจะตกทอดแก่  ด.ญ.ขาว  และ  ด.ญ.เขียว  คนละ  2  ล้านบาท

 

ข้อ  2  นายไสวและนางสดใส  เป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและทั้งสองไม่มีบุตรด้วยกัน  ด้วยเหตุนี้จึงไปขอเด็กชายโตจากญาติมาเลี้ยงดูเยี่ยงบุตรและให้การศึกษา  แต่ไม่ได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม  ซึ่งนายไสวยังมีน้าชายอยู่คนหนึ่งชื่อนายดำ  และนายดำมีบุตรชอบด้วยกฎหมายชื่อนายแดง  นอกจากนี้ยังมีอาอีกหนึ่งคนชื่อ  นางตุ้ย  ปรากฏว่า  นายดำได้ตายก่อนนายไสว  หลังจากนั้นนายไสวตายมีมรดกจำนวน  6  ล้านบาท  จงแบ่งมรดกของนายไสว

ธงคำตอบ

มาตรา  1599  เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท  ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(6) ลุง  ป้า  น้า  อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1635  ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(3) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629 (4) หรือ (6)  และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่  หรือมีทายาทตามมาตรา  1629 (5) แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่  มีสิทธิได้รับมรดกสองส่วนในสาม

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

เมื่อนายไสวถึงแก่ความตาย  มรดกของนายไสวย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา  1599 นางสดใสเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายจึงถือเป็นทายาทของนายไสวตามมาตรา  1629  วรรคท้าย  และมีสิทธิได้รับมรดกของนายไสวสองในสามส่วนเท่ากับ  4  ล้านบาท  ตามมาตรา  1635(3)  ส่วนเด็กชายโตไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายไสว  เพราะไม่ได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม  จึงไม่ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา  1627

นายดำและนางตุ้ย  เป็นน้าและอาของนายไสว  ถือเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(6)  มีสิทธิได้รับมรดกของนายไสว  เพราะนายไสวไม่มีทายาทในลำดับก่อนตามกฎหมาย  นายดำและนางตุ้ยมีสิทธิได้รับมรดกของนายไสวจำนวนหนึ่งในสามเท่ากับ  2  ล้านบาท  โดยทั้งสองได้รับส่วนแบ่งเท่าๆกันคนละ  1  ล้านบาท  ตามมาตรา  1633  ปรากฏว่า  นายดำได้ตายก่อนนายไสว  และมีบุตรชอบด้วยกฎหมาย  1  คน  คือ  นายแดง  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงตามมาตรา  1629(1)  จึงเข้ารับมรดกแทนที่นายดำได้ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1642  และมาตรา  1643

สรุป  มรดกของนายไสวจำนวน  6  ล้านบาท  ตกทอดได้แก่

1       นางสดใส จำนวน  4  ล้านบาท

2       นางตุ้ย  จำนวน  1  ล้านบาท

3       นายแดง  จำนวน  1  ล้านบาท

 

ข้อ  3  นายสมบัติอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับนางสาวสมส่วน  มีบุตร  2  คน  ชื่อนายสมชายและนางสาวสมหญิง  โดยนายสมบัติให้การอุปการะส่งเงินให้นางสาวสมส่วน  เพื่อเลี้ยงดูบุตรทั้งสองจนโต  เนื่องจากว่านางสมรมารดาของนายสมบัติไม่ชอบนางสาวสมส่วน  จึงได้ให้นายสมบัติจดทะเบียนสมรสกับนางสมทรง  โดยนางสมทรงไม่ทราบว่านายสมบัติมีครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว  เมื่อนางสมทรงตั้งครรภ์ได้  5  เดือน  นายสมบัติแอบไปจดทะเบียนรับเด็กชายสมควรเป็นบุตรบุญธรรม  เพราะว่านายสมบัติต้องการมีบุตรชาย  ต่อมานางสมทรงคลอดบุตรชื่อเด็กหญิงสมพิศ  แต่นางสมทรงได้ถึงแก่ความตายเพราะตกเลือดมาก  ด้วยความเสียใจนายสมบัติจึงออกบวชที่วัดป่าอนงค์คาราม  เมื่อพระสมบัติออกธุดงค์ก็ถูกช้างตกมันเหยียบถึงแก่มรณภาพ  เมื่อนางสมรทราบข่าวก็หัวใจวายถึงแก่ความตาย  จงแบ่งมรดกของนางสมรมูลค่า  12  ล้านบาท

ธงคำตอบ

มาตรา  1598/25  ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม  ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน  ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

มาตรา  1598/27  การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย  แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1634  ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่งๆ  ตามบทบัญญัติในลักษณะ  2  หมวด  4  นั้น  ให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

นางสมรเจ้ามรดกมีบุตรชื่อนายสมบัติ  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน  เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629 (1)  แต่นายสมบัติถึงแก่ความตายก่อนนางสมรเจ้ามรดก  โดยนายสมบัติมีผู้สืบสันดานคือนายสมชาย  น.ส.สมหญิง  และ  ด.ญ.สมพิศ  ซึ่งเป็นบุตร  โดยนายสมชายและ  น.ส.สมหญิง  เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เกิดจากการที่นายสมบัติอยู่กินกับ  น.ส.สมส่วน ซึ่งนายสมบัติได้รับรองโดยพฤติการณ์ด้วยการอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองจึงมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานของนายสมบัติ  ตามมาตรา  1627  ส่วน  ด.ญ.สมพิศ  เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมบัติกับนางสมทรง  คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสมบัติ  ดังนั้น  นายสมชาย  น.ส.สมหญิง  และ  ด.ญ.สมพิศ  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายสมบัติจึงมีสิทธิรับมรดกของนางสมร  แทนที่นายสมบัติได้  ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643  เมื่อนางสมรมีมรดก  12  บ้านบาท  ทั้งสามคน  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่าๆกันคนละ  4  ล้านบาท  ตามมาตรา  1634 (2)

ส่วน  ด.ช.สมควร  ที่นายสมบัติแอบไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม  โดยที่นายสมบัติไม่ได้รับความยินยอมจากนางสมทรงคู่สมรสก่อน  เป็นการฝ่าฝืน  มาตรา  1598/25  และมาตรา  1598/27  จึงไม่มีผลเป็นการรับบุตรบุญธรรม  ด.ช.สมควร  จึงมิใช่บุตรบุญธรรมของนายสมบัติตามกฎหมาย  (อีกทั้งถ้าหากแม้ว่า  ด.ช.สมควรจะเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมบัติ  ทำให้ ด.ช.สมควรมีฐานะเป็นผู้สืบสันดาน  แต่ก็ไม่อาจรับมรดกแทนที่นายสมบัติได้  เพราะการรับมรดกแทนที่จะมีได้ก็แต่โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงเท่านั้น  ตามมาตรา  1643)

สรุป  มรดก  12  ล้านบาท  ตกได้แก่  นายสมชาย  น.ส.สมหญิง  และ  ด.ญ.สมพิศ  คนละ  4  ล้านบาท  โดยการรับมรดกแทนที่ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643  และ  1634 (2)

 

ข้อ  4  นายเทพอยู่กินกันฉันสามีภริยากับนางทอนโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  มีบุตรด้วยกัน  1  คน  คือ  นายพงษ์  โดยนายเทพให้นายพงษ์ใช้นามสกุลตนและได้อุปการะเลี้ยงดูนายพงษ์ตั้งแต่เกิด  ต่อมานางพงษ์มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายชื่อนางพิณ  มีบุตร  1  คน  คือ  นางสาวศรี  นายพงษ์และนางพิณอยากมีบุตรชายมาก  ทั้งสองจึงไปจดทะเบียนรับนายต่อเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย  นายต่อจดทะเบียนสมรสกับนางตู่  มีบุตร  1  คนคือ  ด.ญ.แต๋ว  นายต่อล้มป่วยและถึงแก่ความตายในที่สุด  หลังจากนั้นนายพงษ์ถึงแก่ความตาย นายพงษ์มีทรัพย์มรดกเป็นเงินสดทั้งสิ้น  120,000  บาท  นางสาวศรีได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนเองโดยทุจริต  40,000  บาท  ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่ามรดกของนายพงษ์จะตกได้แก่ใคร  เท่าใด  

ธงคำตอบ

มาตรา  1605  ทายาทคนใดยักย้าย  หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น  ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย  แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้  ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1630  ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี  และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1635  ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

เมื่อนายพงษ์ถึงแก่ความตาย  มรดกของนายพงษ์คือ  เงินสด  120,000  บาท  ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม  คือ  นางพิณในฐานะคู่สมรสตามมาตรา  1629  วรรคท้าย  และนางสาวศรีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายกับนายต่อบุตรบุญธรรมในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา  1627 ประกอบมาตรา  1629 (1)  และนางทอนมาดา  ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  2  ตามมาตรา  1629 (2)  มีสิทธิได้รับมรดกเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา  1630  วรรคสอง  โดยการแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามมาตรา  1635 (1)  ประกอบกับมาตรา  1630  วรรคสอง  โดยทุกคนได้รับส่วนแบ่งเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร  คือได้รับคนละ  30,000  บาท  ส่วนนายเทพแม้มีพฤติการณ์รับรองนางพงษ์ว่าเป็นบุตรของตนโดยให้นายพงษ์ใช้นามสกุลและได้อุปการะเลี้ยงดูนายพงษ์ตั้งแต่เกิดก็ตาม  แต่นายเทพไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายพงษ์  นายเทพจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายพงษ์ได้

แต่นายต่อถึงแก่ความตายก่อนนายพงษ์  ด.ญ.แต๋ว  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายต่อจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ในส่วนที่นายต่อจะได้รับได้ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643

ส่วนนางสาวศรีได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนเองโดยทุจริตจำนวน  40,000  บาท  เป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับ นางสาวศรีจึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามมาตรา  1605  วรรคแรก

สรุป  ทรัพย์มรดกของนายพงษ์คือเงินสด  120,000  บาท  จะตกได้แก่  นางพิณ  ด.ญ.แต๋ว  และนางทอน  คนละ  40,000  บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2550

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  นายหนึ่งและนางสองอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  มีบุตรชายสองคนคือ  นายสามและนายสี่  โดยบุตรชายทั้งสองคนได้ใช้นามสกุลของนายหนึ่งบิดา  นายหนึ่งรู้สึกเบื่อหน่ายต่อชีวิตในทางโลกจึงได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ  และจำพรราอยู่ที่วัดดอนหวาย  ก่อนบวชนายหนึ่งมีเงินสดในธนาคารอยู่สองแสนบาท  ในระหว่างบวชเป็นพระภิกษุพระหนึ่งได้รับบริจาคเงินที่ญาติโยมนำมาถวายเป็นเงินสด  2  ล้านบาท  และพระพุทธรูปทองคำ  1  องค์  ราคา  3  แสนบาท  ขณะบวชอยู่พระหนึ่งได้นำเงิน  2  ล้านบาทไปซื้อที่ดินไว้  1  แปลงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่นางสองภริยา  ต่อมาพระภิกษุหนึ่งถึงแก่มรณภาพ  จงวินิจฉัยว่ามรดกของพระหนึ่งจะตกทอดแก่ใครบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  1623  ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น  เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ  ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น  เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

มาตรา  1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่  และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น  หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1646  บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง  หรือในการต่างๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้

วินิจฉัย

ในกรณีที่พระภิกษุเป็นเจ้ามรดก  มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุตามกฎหมาย  ดังนี้

1       ถ้าพระภิกษุมีทรัพย์สินอยู่ก่อนที่จะอุปสมบทเป็นสมณเพศ  แม้จะมรณภาพลงในขณะที่ยังเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม  ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด  ตามมาตรา  1624

2       ถ้าพระภิกษุมีหรือได้ทรัพย์สินมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ  เมื่อพระภิกษุนั้นมรณภาพขณะบวชเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินของพระภิกษุนั้นจะตกเป็นสมบัติของวัด  ตามมาตรา  1623  เว้นแต่

(ก)  จำหน่ายไปในระหว่างที่มีชีวิตอยู่

(ข)  ทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นในระหว่างที่เป็นพระภิกษุ

กรณีตามอุทาหรณ์มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุหนึ่งที่ถึงแก่มรณภาพดังนี้

1       เงินสดในธนาคาร  2  แสนบาท

ข้อเท็จจริงมีว่าเงินสดในธนาคาร  2  แสนบาท  เป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุหนึ่งมีอยู่ก่อนบวชเป็นพระภิกษุ  เมื่อพระภิกษุหนึ่งมรณภาพ  ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1624

ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกในเงินจำนวนนี้  ได้แก่  นายสามและนายสี่  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรองแล้วโดยพฤตินัย  ตามมาตรา  1627  ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1629(1)  โดยได้รับส่วนแบ่งคนละ  1  แสนบาท  ตามมาตรา  1633  เพราะเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน  ส่วนนางสองเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  จึงไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะคู่สมรส  ตามมาตรา  1629  วรรคท้าย

2       ที่ดิน  1  แปลงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ข้อเท็จจริงได้ความว่า  พระภิกษุหนึ่งนำเงินบริจาคที่ญาติโยมนำมาถวายไปซื้อที่ดินไว้  1  แปลงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ซึ่งโดยหลักแล้วทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอุปสมบท  ย่อมตกเป็นสมบัติของวัดแต่ต่อมาพระภิกษุหนึ่งได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่นางสองภริยา  ตามมาตรา  1646  ถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายทรัพย์ไปโดยพินัยกรรม  เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย  มาตรา  1623  จึงไม่ตกเป็นสมบัติของวัดดอนหวาย  เมื่อพระภิกษุถึงแก่มรณภาพ  พินัยกรรมมีผลบังคับตามกฎหมาย  ที่ดินดังกล่าวจึงตกได้แก่นางสองผู้รับพินัยกรรม

3       พระพุทธรูปทองคำ  1  องค์  ราคา  3  แสนบาท

ข้อเท็จจริงมีว่าพระพุทธรูปทองคำนี้  พระภิกษุหนึ่งได้มาในระหว่างอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม  ย่อมตกเป็นสมบัติของวัดดอนหวาย  ซึ่งเป็นวัดภูมิลำเนาของพระภิกษุหนึ่ง  ตามมาตรา  1623

สรุป 

1       เงินสดในธนาคาร  2  แสนบาท  ตกทอดแก่  นายสามและนายสี่

2       ที่ดิน  1  แปลง  ที่จังหวัดพระนครสรีอยุธยา  ตกทอดแก่  นางสอง

3       พระพุทธรูปทองคำ  ตกเป็นสมบัติของวัดดอนหวาย

 

ข้อ  2  นายดำและนางแดงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเหลืองและนางขาว  นายดำมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายคือนางเขียว  นายเหลืองได้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกเสียชีวิต  ต่อมานายดำซึ่งได้เฝ้าดูแลบิดาได้ติดเชื้อโรคนี้ด้วย  และตายลงในเวลาต่อมา  นายดำตายลงเขามีเงินสดอยู่ในธนาคาร  5  แสนบาท  พอนายแดงน้องชายทราบเข้าจึงขอมีส่วนในการรับมรดกของนายดำด้วย  ในฐานะที่ตนเป็นผู้สืบสันดานของนายเหลืองซึ่งถือว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายดำอยู่  โดยจะรับมรดกแทนที่นายเหลืองบิดาของตน  แต่นางเขียวภริยานายดำไม่ยอมแบ่งให้  จงวินิจฉัยว่าใครจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกในเงิน  5  แสนบาทของนายดำบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  1599  เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท  ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา  1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ  เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่  ย่า  ตา  ยาย

(6) ลุง  ป้า  น้า  อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1635  ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629 (3)  และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา  1629 (1)  แต่มีทายาทตามมาตรา  1629 (2)  แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1641  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629(2)  หรือ  (5)  ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น  ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

วินิจฉัย

เงินสดในธนาคารเป็นทรัพย์สินที่นายดำมีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย  ย่อมเป็นมรดกตามมาตรา  1600  ตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา  1599  โดยทายาทโดยธรรมตามกฎหมายของนายดำซึ่งมีสิทธิในกองมรดกของนายดำ  ได้แก่

1       นายเหลือง  บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1629 (2)

2       นางขาว  มารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1629 (2)

3       นายแดง  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  ตามมาตรา  1629 (3)

4       นางเขียว  คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1629 วรรคท้าย

โดยหลักแล้ว  เมื่อนายดำเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  เงินสดในธนาคาร  5  แสนบาท  อันเป็นมรดกย่อมตกทอดแก่นายเหลือง  นางขาวและนางเขียว  ตามมาตรา  1629 (2)  และวรรคท้าย  ประกอบมาตรา  1635 (1)  โดยนางเขียวคู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง  คือ  2.5  แสนบาท  ส่วนนายเหลืองและนางขาวได้รับมรดกคนละ  1.25  แสนบาท  ส่วนนายแดงซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่  3  ตามมาตรา  1629 (3)  ซึ่งอยู่ในลำดับถัดมาไม่มีสิทธิรับมรดก

แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเหลืองบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629 (2)  ถึงแก่ความตายก่อนนายดำเจ้ามรดก  กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา  1641  ที่ว่าถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกัน  ตามมาตรา  1629 (2)  ยังมีชีวิตอยู่  ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น  ดังนั้นเงินมรดกในส่วนของนายเหลืองอีก  1.25  แสนบาท  จึงตกเป็นของนางขาวมารดาแต่เพียงผู้เดียว

ส่วนประเด็นที่นายแดง  ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629 (3)  มาอ้างสิทธิในการรับมรดกแทนที่นายเหลืองบิดานั้น  เห็นว่า  การรับมรดกแทนที่  มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา  1639  กล่าวคือ  การรับมรดกแทนที่กันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะผู้สืบสันดานของทายาทตามมาตรา  1629 (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  เท่านั้น  ผู้สืบสันดานของทายาทตามมาตรา  1629  (2)  และ  (5)  จะรับมรดกแทนที่กันไม่ได้ ทั้งนี้ตามที่มาตรา  1641  ตอนท้ายบัญญัติห้ามไว้  ดังนั้นนายแดงพี่น้องร่วมบิดามารดากับนายดำ  ซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (3)  และเป็นผู้สืบสันดานของนายเหลืองทายาทตามมาตรา  1629 (2)  จึงไม่อาจรับมรดกแทนที่นายเหลืองบิดาได้  ตามมาตรา  1641

สรุป  เงินสดในธนาคาร  5  แสนบาท  ตกทอดเป็นมรดกแก่นางขาวและนางเขียว  คนละ  2.5  แสนบาท 

 

ข้อ  3  นายเงินเป็นบุตรบุญธรรมของนายทองโดยชอบด้วยกฎหมาย  และในขณะเดียวกันเขาก็ยังเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเพ็ชรและนางทองแดงด้วย  ต่อมานางสาวตะกั่วสาวข้างบ้านได้ตั้งครรภ์ขึ้นมาโดยไม่ปรากฏบิดา  จึงมาขอให้นายเงินรับเป็นบิดาของเด็กให้  โดยทั้งคู่ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  นายเงินได้ดูแลนางตะกั่วเป็นอย่างดีได้พาไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลจนกระทั่งคลอดเด็กชายนาคออกมา  นายเงินก็ใช้ชื่อตนเป็นบิดา  และอุปการะเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษา  ต่อมาอีกห้าปี  หลังเด็กชายนาคคลอด  นายเงินก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต  ก่อนตายเขามีเงินสดอยู่ในธนาคาร  4 แสนบาท  และมีรถยนต์อยู่  1  คัน  ราคา  8  แสนบาท  จงแบ่งมรดกของนายเงิน

ธงคำตอบ

มาตรา  1598/27  การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย  แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

มาตรา  1598/28  บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น  แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา  ในกรณีเช่นนี้  ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว

ในนำบทบัญญัติในลักษณะ  2  หมวด  2  แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา  1598/29  การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการณ์รับบุตรบุญธรรมนั้น

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

วินิจฉัย

เงินสดในธนาคาร  4  แสนบาท  และรถยนต์  1  คัน  ราคา  8  แสนบาท  เป็นทรัพย์สินที่นายเงินเจ้ามรดกมีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย  โดยมิได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ  จึงเป็นมรดกตามมาตรา  1600  ตกทอดแก่ทายาทของนายเงินเจ้ามรดกตามมาตรา 1599

นายเงินเป็นบุตรบุญธรรมของนายทองโดยชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1598/27  มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายทอง  ตามมาตรา  1598/28  มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานของนายทอง  ตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1627  แต่อย่างไรก็ตามผลทางกฎหมายในการรับบุตรบุญธรรมนั้น  ทำให้ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะเป็นบิดามารดาได้  ตามมาตรา  1598/29  ดังนั้นนายทองผู้รับบุตรบุญธรรมจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเงินบุตรบุญธรรม

นางสาวตะกั่วนั้น  แม้จะได้อยู่กินกับนายเงินฉันสามีภริยา  แต่ก็มิได้จดทะเบียนสมรส  จึงเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา  1629  วรรคท้าย

ส่วนเด็กชายนาค  เป็นบุตรบุญธรรมของนางสาวตะกั่วซึ่งได้ตั้งครรภ์โดยไม่ปรากฏบิดา  แม้นายเงินจะรับเป็นบิดาให้เด็ก  ตลอดจนให้การรับรองโดยพฤตินัย  คือ  ให้ใช้ชื่อตนเป็นบิดาและอุปการะเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาก็ไม่ทำให้เด็กชายนาคเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วโดยพฤตินัย  ตามมาตรา  1627  อันจะทำให้มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา  1629(1)  เพราะการรับรองบุตรตามมาตรา  1627  นั้นหมายความเฉพาะบุตรที่สืบสายโลหิตเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน  และผู้รับรองต้องเป็นบิดาตามความเป็นจริงได้  ถ้าผู้รับรองไม่ใช่บิดาตามความเป็นจริงแล้ว  ถึงแม้จะมีพฤติการณ์ที่เป็นการรับรองบุตรก็ตาม  ก็ไม่เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว  (ฎ. 4791/2542)  ดังนั้นเด็กชายนาคจึงไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดาน  ตามมาตรา  1629(1)

อย่างไรก็ดี  เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายเงินเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเพ็ชรและนางทองแดง  ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629(2)  ทั้งสองคนจึงมีสิทธิรับมรดกของนายเงิน  โดยได้รับส่วนแบ่งในเงินสดที่อยู่ในธนาคารคนละ  2  แสนบาท  และส่วนแบ่งในราคารถยนต์คนละ  4  แสนบาท  ตามมาตรา  1633  รวมเป็นมรดกตกทอดคนละ  6  แสนบาท

สรุป  มรดกของนายเงินตกทอดแก่นายเพ็ชรและนางทองแดงคนละ  6  แสนบาท

 

ข้อ  4  นายเอรับนายบีมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย  ต่อมานายเอได้จดทะเบียนสมรสกับนางดีทั้งคู่มีบุตรสาว  1  คน  คือ  นางสาวอี  และบุตรชายหนึ่งคนคือนายซี  ต่อมานายเอประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต  นางดีจึงรับภาระดูแลนายบี  นางสาวอีและนายซีตามลำพัง  ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมกันนายบีและนางสาวอีจึงเกิดความรักขึ้น  และได้แอบไปจดทะเบียนสมรสและอยู่กินกันฉันสามีภริยาจนมีบุตรสาว  1  คน  คือเด็กหญิงเค  จากการกระทำของทั้งสองคนดังกล่าว  ทำให้นางดีโกรธและเสียใจมาก  จึงได้ตัดนางอีบุตรสาวไม่ให้รับมรดก  โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้กับนายอำเภอพระประแดง  จากนั้นไม่นานนางดีก็เป็นโรคหัวใจวายตาย  ก่อนตายนางดีมีเงินสดอยู่ในธนาคาร  2  ล้านบาท  รถยนต์  1  คัน  ราคา  8  แสนบาท  และบ้านพร้อมที่ดินราคา  2  ล้านบาท  จงวินิจฉัยว่า  มรดกของนางดี  จะตกทอดแก่ใคร

ธงคำตอบ

มาตรา  1598/27  การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย  แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

มาตรา  1608  เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน

แต่เมื่อบุคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว  ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก

มาตรา  1620  วรรคแรก  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้  แต่ไม่มีผลบังคับได้  ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

วินิจฉัย

เงินสดในธนาคาร  2  ล้านบาท  รถยนต์  1  คัน  ราคา  8  แสนบาท  และบ้านพร้อมที่ดินราคา  2  ล้านบาท  เป็นทรัพย์สินที่นางดีมีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย  ย่อมเป็นมรดก  ตามมาตรา  1600  ตกทอดแก่ทายาทของนางดี  ตามมาตรา  1599

การที่นายเอรับนายบีมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1598/27  นั้น  ได้กระทำก่อนจดทะเบียนสมรสกับนางดี  ดังนั้นนายบีจึงเป็นเพียงบุตรบุญธรรมของนายเอแต่เพียงคนเดียว  และไม่ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมของนางดีตามมาตรา  1627  ประกอบมาตรา  1629(1)

โดยหลักแล้วเมื่อเหลืองตายลง  มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทั้งสองคน  คือ  นางสาวอีและนายซี  คนละส่วนเท่าๆกัน  ตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1633  ส่วนนายบีไม่มีสิทธิรับมรดกของนางดีเพราะไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนางดี

การที่นางดีตัดนางสาวอีบุตรสาวไม่ให้รับมรดกโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้กับนายอำเภอพระประแดง  ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้น  เป็นการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก  ถือเป็นการตัดโดยชัดแจ้งตามมาตรา  1608  ซึ่งเป็นการตัดตลอดทั้งสาย  มีผลทางกฎหมายต่อผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก  คือ  แม้ทายาทผู้ถูกตัดนั้นจะมีผู้สืบสันดาน  ผู้สืบสันดานนั้นก็ไม่อาจรับมรดกแทนที่  ตามมาตรา  1639  หรือสืบมรดกตามมาตรา  1607  ได้  ทั้งมีผลทำให้นางสาวอีผู้ถูกตัดหมดสภาพการเป็นทายาทด้วย  ดังนั้นเด็กหญิงเคจึงรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกของนางสาวอีมารดาไม่ได้  (ฎ. 178/2520)

ดังนั้น  มรดกของนางดีทั้งหมดจึงตกทอดไปยังทายาทที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวคือ  นายซี  ตามมาตรา  1620  วรรคแรก  ประกอบมาตรา  1629 (1)  และมาตรา  1633

สรุป  มรดกของนางดีตกทอดแก่นายซีแต่เพียงผู้เดียว

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2551

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  นายเอกและนางโท  อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส  และมีนายแดงเป็นบุตรที่นายเอกยอมให้ใช้ชื่อนามสกุลและส่งเสียเล่าเรียน  ต่อมานางโทถึงแก่ความตาย  นายเอกจึงไปได้นางจัตวา  หญิงม่ายเป็นภริยาใหม่และจดทะเบียนสมรสถูกต้อง  ซึ่งนางจัตวามีบุตรอันเกิดจากสามีเดิมหนึ่งคนคือเด็กหญิงแต๋ว  โดยนายเอกได้จดทะเบียนรับเด็กหญิงแต๋วเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายหลังจากนั้น  นายแดงได้ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนตายและมีมรดกจำนวน  400,000  บาท  จงแบ่งมรดกของนายแดง

ธงคำตอบ

มาตรา  1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย  ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น 

มาตรา  1599  เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท  ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา  1604  วรรคแรก  บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา  15  แห่งประมวลกฎหมายนี้  ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(2)  บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

มาตรา  1753  ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก  เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม  หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

วินิจฉัย

เมื่อนายแดงถึงแก่ความตายตามมาตรา  1599  มรดกของนายแดงจำนวน  400,000  บาท จะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องในการแบ่งมรดก ดังนี้

1       นายเอก  เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย  แม้จะยอมให้นายแดงใช้ชื่อสกุลและส่งเสียเล่าเรียน  ก็ไม่มีผลทำให้นายเอกเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  2  ได้  จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายแดงในฐานะทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1627   และมาตรา  1629(2)

2       นางโท  แม้เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย  แต่ก็เสียชีวิตก่อนนายแดง  จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดก  ตามมาตรา  1546  มาตรา  1604  วรรคแรก  และมาตรา  1629(2)  เพราะจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น

3       นางจัตวา  มีฐานะเป็นแม่เลี้ยง  จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิได้รับมรดกของนายแดง

4       เด็กหญิงแต๋ว  เป็นบุตรบุญธรรมของนายเอก  และไม่เป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องทั้งในลำดับที่  3  หรือลำดับที่  4  ตามมาตรา  1629  จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม

ดังนั้น  มรดกจำนวน  400,000  บาท  ของนายแดง  จึงตกทอดแก่แผ่นดินตามมาตรา  1753  เพราะเป็นมรดกที่ไม่มีผู้รับ

สรุป  มรดกของนายแดงตกแก่แผ่นดิน

 

ข้อ  2  นายหนึ่งจดทะเบียนสมรสกับนางสองมีบุตรด้วยกันคือ  นายบี  ต่อมานายหนึ่งจดทะเบียนหย่ากับนางสองด้วยเหตุผลทางธุรกิจ  แต่นายหนึ่งและนางสองยังคงอยู่กินกัน  และหลังจากนั้นมีบุตรด้วยกันอีกคือนายเอฟและนายเอ็ม  โดยนายหนึ่งได้ให้นายเอฟและนายเอ็มใช้นามสกุล  ในส่วนของนายบีนั้น  นายบีอยู่กินกับนางจันทร์โดยมิได้จดทะเบียนและมีบุตรด้วยกันคือเด็กชายเสาร์  ซึ่งนายบีได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าตนเป็นบิดา  ต่อมานายเอ็มได้ทำพินัยกรรมยกเงิน  40,000  บาท  ให้นายบี  หลังจากนั้นนายบีและนางสองเดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายทั้งคู่  หลังจากนั้นนายเอ็มล้มป่วยและถึงแก่ความตาย  เช่นนี้  จงแบ่งมรดกของนายเอ็มซึ่งยังมีเงินสดนอกพินัยกรรมอีกจำนวน  200,000  บาท

ธงคำตอบ

มาตรา  1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย  ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น 

มาตรา  1604  วรรคแรก  บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา  15  แห่งประมวลกฎหมายนี้  ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

มาตรา  1620  วรรคแรก  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้  แต่ไม่มีผลบังคับได้  ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(2)  ผู้สืบสันดาน

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา  1698  ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น  ย่อมตกไป

1       เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

มาตรา  1699  ถ้าพินัยกรรม  หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ  ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตามพินัยกรรมนั้น  นายบีทายาทผู้รับพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก  ตามมาตรา  1698  และ  1620  ให้ปันทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้นกลับสู่กองมรดกและตามมาตรา  1642  ไม่ให้ผู้สืบสันดานโดยตรงเข้ารับมรดกแทนที่ในส่วนนี้ได้  ดังนี้  เงิน  40,000  บาท  จึงตกกลับสู่กองมรดก

นอกจากนี้  นายเอ็มเจ้ามรดกเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายหนึ่งรับรองโดยการให้ใช้นามสกุลเท่านั้น  นายหนึ่งจึงเป็นบิดานอกกฎหมาย  ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม  อันเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา  1629(2)  ได้  ส่วนกรณีนางสอง  นางสองเป็นมารดาของนายเอ็มเจ้ามรดก  จึงเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา  1546  จึงเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(2)  แต่ปรากฏว่านางสองทายาทโดยธรรมในลำดับที่สองนี้ได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก  จึงไม่มีสิทธิการเป็นทายาท  ตามมาตรา  1604  วรรคแรก  และต้องห้ามมิให้มีการเข้ารับมรดกแทนที่นางสอง  ตามมาตรา  1639  และ  1641

เช่นนี้  จะเห็นได้ว่านายเอ็มเจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  (ฎ. 4828/2529)  อันถือเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(3) คือ  นายบีและนายเอฟ  และไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนหน้าที่ยังมีชีวิตจะมีสิทธิรับมรดกได้  นายบีและนายเอฟจึงเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิเข้ารับมรดก  โดยมีสิทธิได้รับมรดกคนละส่วนเท่าๆกัน  ตามมาตรา  1633  แต่ปรากฏว่าในกรณีนายบีนั้น  นายบีเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(3)  ที่ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดก  จึงให้มีการเข้ารับมรดกแทนที่ได้ตามมาตรา  1639  โดยเด็กชายเสาร์บุตรนอกกฎหมายที่นายบีบิดารับรองแล้ว  จึงถือเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงอันจะมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายบีเพื่อรับมรดกของนายเอ็มได้  ตามมาตรา  1639  และมาตรา  1643

ดังนี้  นายเอฟและเด็กชายเสาร์  ได้รับมรดก  โดยได้รับส่วนแบ่งมรดก  240,000  บาท  ไปคนละ  120,000  บาท  มาตรา  1633

สรุป  มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมลำดับที่  3  คือ  นายบีและนายเอฟ  เพราะนางสองทายาทโดยธรรมในลำดับสองถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก  แต่นายบีตายก่อนเจ้ามรดกทำให้เด็กชายเสาร์ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายบีเข้ารับมรดกแทนที่นายบีได้

 

ข้อ  3  นายหนึ่งและนายสองเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอและนางบี  ทั้งคู่ไม่มีบุตรสาวจึงได้ไปขอนางสาวซีมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย  นางสาวซีมีสามีที่อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  มีบุตรสาวชื่อเด็กหญิงทอง  นายหนึ่งทำตัวเป็นนักเลงการพนันและชอบเที่ยวเตร่ไม่รู้จักทำมาหากินจนนายเอบิดาไม่พอใจ  เขาจึงได้ทำพินัยกรรมตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดกใดๆของตนทั้งสิ้น  พอนางบีมารดาทราบจึงได้ว่ากล่าวตักเตือนให้นายหนึ่งเลิกพฤติกรรมต่างๆที่ไม่ดีเสีย  ต่อมานายหนึ่งก็ประพฤติตนเป็นคนดีได้  นายเอจึงได้ทำหนังสือถอนการตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดกของตนมอบไว้แก่นายอำเภอเมืองสุโขทัย  หลังจากนั้นไม่นานนางสาวซีก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต  นายเอเสียใจมากจึงล้มป่วยลงเป็นโรคหัวใจวายตายในเวลาต่อมา  นายเอตายลงมีเงินสดฝากอยู่ในธนาคาร  120,000  บาท  (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท)  จงวินิจฉัยว่า  มรดกของนายเอจะตกทอดให้แก่ใครบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  1608  เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

มาตรา  1609  การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้  ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม  จะถอนเสียก็ได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น  แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่  การถอนการตัดจะทำโดยพินัยกรรมหรือโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี  และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1635  ถ้าลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

นายเอตายลงโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  มรดกของนายเอจึงตกแก่ทายาทโดยธรรมของเขา  ซึ่งได้แก่  นายหนึ่ง  และนายสอง  บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  และนางสาวซีบุตรบุญธรรม  ทั้ง  3  คน  เป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1627  และนางบีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1629  วรรคท้าย

การที่นายเอได้ทำพินัยกรรมตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดกใดๆ  ของตนทั้งสิ้น  โดยทำเป็นพินัยกรรมนั้น  จึงทำให้นายหนึ่งถูกตัดมิให้รับมรดกโดยชัดแจ้ง  ตามมาตรา  1608(1)  แต่การที่นายเอถอนการตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดก  โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่นายอำเภอเมืองสุโขทัยนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย  เพราะว่าถ้าเจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรม  การถอนการตัดดังกล่าวจะต้องถอนโดยพินัยกรรมเท่านั้น  ตามมาตรา  1609  ดังนั้นนายหนึ่งจึงยังคงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกของนายเออยู่

ส่วนการที่นางสาวซีตายก่อนนายเอเจ้ามรดกนั้น  ส่งผลให้  ด.ญ.ทองผู้สืบสันดานโดยตรงของนางสาวซีมีสิทธิรับมรดกแทนที่นางสาวซีมารดาได้  ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643

ดังนั้น  มรดกของนายเอจำนวน  120,000  บาท  จึงตกทอดแก่นายสอง  ด.ญ.ทอง  และนางบีคนละส่วนเท่าๆกัน  โดยได้รับส่วนแบ่งคนละ  40,000  บาท  ตามมาตรา  1629  ประกอบมาตรา  1635(1)  และมาตรา  1630(1)

สรุป  มรดกของนายเอตกทอดแก่นายสอง  ด.ญ.ทอง  และนางบี  คนละ  40,000  บาท

 

ข้อ  4  นายใหญ่และนางหญิงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  นายใหญ่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  คือ  นายเล็ก  นายเล็กจดทะเบียนสมรสกับนางหลิน  มีบุตรด้วยกัน  2  คน  คือ  นายเอกและนายโท  นายเล็กถึงแก่ความตายด้วยโรคมะเร็ง  นายเอกสละมรดกของนายเล็กโดยทำถูกต้องตามกฎหมาย  ต่อมานายใหญ่ทำพินัยกรรมยกบ้านที่อาศัยอยู่ราคา  900,000  บาท  ให้กับนางหญิง  ส่วนทรัพย์สินอื่นๆนายใหญ่ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ใคร  นางหญิงได้เอาพินัยกรรมของนายใหญ่มาปลอมเป็นว่า  นายใหญ่ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้กับนางหญิง  หลังจากนั้นนายใหญ่ถึงแก่ความตาย  นายใหญ่มีทรัพย์มรดกคือบ้าน  1  หลัง  ราคา  900,000  บาท  ตามพินัยกรรมและมีทรัพย์นอกพินัยกรรม  คือ  เงินสด  500,000  บาท  ดังนี้ให้แบ่งมรดกของนายใหญ่

ธงคำตอบ

มาตรา  1606  บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร  คือ

(5) ผู้ที่ปลอม  ทำลาย  หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา  1645  การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น  ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกของบุคคลอื่น

วินิจฉัย

การที่นางหญิงปลอมพินัยกรรมของนายใหญ่  นางหญิงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกในฐานะเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา  1606(5)  ซึ่งนางหญิงไม่มีสิทธิรับมรดกใดๆ  ทั้งสิ้นของนายใหญ่เลย  ถึงแม้นายใหญ่จะทำพินัยกรรมยกบ้านให้กับนางหญิงก็ตาม

ทรัพย์มรดกของนายใหญ่คือ  บ้าน  1  หลัง  ราคา  900,000  บาท  ตามพินัยกรรม  และเงินสด  500,000  บาท  จึงตกได้แก่นายเล็กน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน  ตามมาตรา  1629(3)  แต่นายเล็กตายก่อนนายใหญ่เจ้ามรดก  นายเอกและนายโทในฐานะผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเล็ก  จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายเล็กในมรดกของนายใหญ่  ตามมาตรา  1639  ประกอบกับมาตรา  1643  โดยได้รับส่วนแบ่งคนละเท่าๆกัน  ตามมาตรา  1633  คือได้คนละ  700,000  บาท  โดยการที่นายเอกสละมรดกของนายเล็ก  ไม่ตัดสิทธิของนายเอกที่จะรับมรดกแทนที่นายเล็กในการสืบมรดกของนายใหญ่  ตามมาตรา  1645  นายเอกจึงมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่

ส่วนนางหลินภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเล็กไม่มีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่แทนที่นายเล็กเพราะการรับมรดกแทนที่กันจะมีได้เฉพาะผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่บิดามารดาเท่านั้น  ตามมาตรา  1639 และมาตรา  1642  คู่สมรสไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่

สรุป  ทรัพย์มรดกของนายใหญ่ตกได้แก่นายเอกและนายโท  คนละ  700,000  บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 2/2551

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  นายดำกับนางแดงเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  มีบุตรชายหนึ่งคน  คือ  นายเอ  โดยนายดำได้เลี้ยงดูนายเอเป็นอย่างดี  และให้ใช้นามสกุลของตน  พร้อมกับส่งเสียให้ได้เรียนหนังสือจนกลายเป็นนักเขียนนามปากกาทอง  นายเอมีนางบีเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีบุตรหนึ่งคนคือ  เด็กหญิงเค  นายเอได้ไปทำสัญญาเช่าบ้านของนายเขียวอยู่อาศัย  โดยการเช่าได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเวลา  3  ปี  และได้นำครอบครัวไปอาศัยอยู่ด้วย  เนื่องจากนายเอเป็นนักเขียน  จึงได้มีสำนักพิมพ์ดอกเห็ด  มาติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์นวนิยาย  เรื่อง  สะใภ้ลูกทุ่งจากนายเอ  โดยสำนักพิมพ์ดอกเห็ดตกลงให้ค่าตอบแทนปีละ  6  หมื่นบาท  ต่อมานายเอตายลงเพราะตรากตรำทำงานหนักเกินไป

จงวินิจฉัยว่า  สิทธิตามสัญญาเช่าบ้านและสิทธิในลิขสิทธิ์ของนายเอจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทอย่างไรหรือไม่  ถ้าเป็นมรดก  ทายาทแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งหรือได้รับสิทธิอย่างไรบ้าง  โดยใช้หลักกฎหมายประกอบการวินิจฉัย

ธงคำตอบ

มาตรา  138  ทรัพย์สิน  หมายความรวมทั้งทรัพย์  และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

มาตรา  1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย  ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา  1599  เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท  ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา  1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ  เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1630  ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี  และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1635  ถ้าลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

วินิจฉัย

สิทธิตามสัญญาเช่าบ้านของนายเอ  ซึ่งเป็นผู้เช่านั้น  ตามกฎหมายถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า  ตามมาตรา  544  สิทธิตามสัญญาเช่าย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าตายไม่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท  (ฎ. 1008/2537)

ส่วนสิทธิในลิขสิทธิ์  ได้ค่าตอบแทนปีละ  6  หมื่นบาท  ถือว่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินอย่างหนึ่งทั้งกฎหมายก็บัญญัติให้สิทธิดังกล่าวนี้โอนให้แก่กันได้โดยทางมรดก จึงถือเป็นมรดก  ตามนัยบทบัญญัติมาตรา  1600  ประกอบมาตรา  138  ตกทอดแก่ทายาทของนายเอ  ตามมาตรา  1599  ดังนี้คือ

1       เด็กหญิงเค  ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายเอ  มีฐานะเป็นผู้สืบสันดาน  ตามมาตรา  1629(1)  จึงมีสิทธิรับมรดก

2       นางแดงเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอ  เพราะมารดาย่อมเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ  ตามมาตรา  1546  จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629(2)  แม้นางแดงจะเป็นทายาทในลำดับถัดลงไป  แต่ทางกฎหมายก็บัญญัติให้บิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิรับมรดกโดยได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร  ตามมาตรา  1630  วรรคสอง

ส่วนนายดำเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอ  เพราะนายดำกับนางแดงมิได้จดทะเบียนสมรสกัน  จึงไม่มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629(2)  แม้นายดำจะรับรองว่านายเอเป็นบุตรโดยพฤติการณ์ด้วยการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี  ให้ใช้นามสกุลและส่งเสียให้ได้เรียนหนังสือ  ตามมาตรา  1627  แต่ผลของการรับรองดังกล่าว  กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีสิทธิรับมรดกของบิดาเท่านั้น  หาได้บัญญัติให้ถือว่าบิดาที่รับรองนั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายไม่

 (ฎ. 525/2510)  นายดำจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเอ

3       นางบี  ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส  ตามมาตรา  1629  วรรคท้าย  โดยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร 

ดังนั้นสิทธิในลิขสิทธิ์ได้ค่าตอบแทนปีละ  6  หมื่นบาท  เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทั้ง  3  คน  คือ  เด็กหญิงเค  นางแดง  และนางบี  โดยได้รับคนละ  2  หมื่นบาทต่อปี  ตามมาตรา  1633

สรุป  สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นมรดก  และเด็กหญิงเค  นางแดง  และนางบี  มีสิทธิได้รับมรดกคนละ  2  หมื่นบาท

 

ข้อ  2  นายดอกอยู่กินกับนางศรีโดยมิได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกันคือนายฉิ่งและนายฉันท์  ซึ่งนายดอกได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา  โดยนายฉันท์นั้นได้จดทะเบียนรับนายปรีชามาเป็นบุตรบุญธรรม  ต่อมานายดอกได้เลิกกับนางศรีและไปจดทะเบียนสมรสกับนางศิลป์  มีบุตรด้วยกันคือ  นางแย้ม  โดยนางแย้มมีบุตรคือนายยล  ต่อมานายฉิ่งได้ทำพินัยกรรมยกเงิน  50,000  บาท  ให้แก่นายฉันท์  หลังจากนั้นนางศรีและนายฉันท์ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย  ต่อมานางแย้มป่วยและถึงแก่ความตาย  หลังจากนั้นนายฉิ่งเกิดหัวใจวายตาย เช่นนี้จงพิจารณาแบ่งมรดกของนายฉิ่งซึ่งยังมีทรัพย์นอกพินัยกรรมเป็นเงินสด  70,000  บาท

ธงคำตอบ

มาตรา  1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย  ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา  1604  วรรคแรก  บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา  15  แห่งประมวลกฎหมายนี้  ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

มาตรา  1620  วรรคแรก  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้  แต่ไม่มีผลบังคับได้  ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

มาตรา  1634  ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่งๆ  ตามบทบัญญัติในลักษณะ  2  หมวด  4  นั้น  ให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว  ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1641  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629(2)  หรือ  (5)  ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น  ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา  1698  ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น  ย่อมตกไป

(1)  เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

มาตรา  1699  ถ้าพินัยกรรม  หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ  ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

จะเห็นได้ว่า  นายดอนอยู่กินกับนางศรีโดยมิได้จดทะเบียนสมรส  แม้นายดอนจะได้มีพฤติการณ์รับรองนายฉิ่งและนายฉันท์ว่าเป็นบุตรด้วยการแจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา  แต่ผลของการรับรองเช่นนั้นก็หาทำให้นายดอนเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่  (ฎ. 525/2510)  เมื่อนายดอนมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายฉิ่งเจ้ามรดก  จึงไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629(2)

ส่วนในกรณีของนางศรีนั้น  แม้นางศรีจะเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1546  แต่เมื่อนางศรีได้ถึงแก่ความตายก่อนนายฉิ่งเจ้ามรดก  นางศรีจึงหมดสิทธิในการเป็นทายาท  ตามมาตรา  1604  วรรคแรก  เพราะบุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  และในกรณีนี้ก็ไม่อาจมีการรับมรดกแทนที่นางศรีได้ตามมาตรา  1641  เพราะนางศรีเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(2)  จึงต้องพิจารณาทายาทโดยธรรมในลำดับถัดไป  ซึ่งจะเห็นได้ว่านายฉิ่งมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  คือ  นายฉันท์  ซึ่งนายฉันท์นั้นได้จดทะเบียนรับนายปรีชาเป็นบุตรบุญธรรม  ดังนี้แม้นายฉันท์จะเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่  3  ตามมาตรา  1629(3)  และเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรม  แต่เมื่อปรากฏว่านายฉันท์ได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกพินัยกรรมที่นายฉิ่งยกเงิน  50,000 บาท  ให้แก่นายฉันท์ย่อมตกไป  ตามมาตรา  1698(1)  จึงต้องแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมของนายฉิ่งต่อไปตามมาตรา  1620  วรรคแรกและมาตรา  1699  และในกรณีนี้นายฉันท์เป็นทายาทผู้รับพินัยกรรม  มิใช่ทายาทโดยธรรม  นายปรีชาจึงไม่อาจรับมรดกแทนที่ในส่วนของพินัยกรรมยกเงิน  50,000  บาทนี้ได้  ตามมาตรา  1642

สำหรับกองมรดกของนายฉิ่งเมื่อรวมเงินสดนอกพินัยกรรมอีก  70,000  บาท  จึงมีทรัพย์มรดกรวมทั้งสิ้น  120,000  บาท  ที่จะแบ่งแก่ทายาทโดยธรรม

นายฉันท์เป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่  3  ตามมาตรา  1629(3)  แต่ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกย่อมหมดสิทธิเป็นทายาทตามมาตรา  1604  วรรคแรก  จึงต้องพิจารณาเรื่องการรับมรดกแทนที่  โดยการรับมรดกแทนที่มีได้แต่เฉพาะผู้สืบสันดานโดยตรง  เมื่อนายปรีชาเป็นบุตรบุญธรรม  จึงมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงหรือผู้สืบสันดานในทางสายโลหิตโดยแท้จริง  อันจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่  ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643  ได้

(ฎ. 773/2528 (ประชุมใหญ่))  จึงต้องพิจารณาทายาทโดยธรรมในลำดับต่อไป  กล่าวคือ  นางแย้มซึ่งเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกัน  ถือเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  4  ตามมาตรา  1629(4)  แต่เมื่อถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกย่อมหมดสิทธิการเป็นทายาทตามมาตรา  1604  วรรคแรก  จึงต้องพิจารณาเรื่องการรับมรดกแทนที่  เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางแย้มมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา  1546 คือ  นายยล  ดังนั้นนายยลจึงเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนางแย้ม  มีสิทธิรับมรดกแทนที่นางแย้มได้  ตามมาตรา  1639 ประกอบมาตรา  1643  โดยได้รับส่วนแบ่งมรดกทั้งหมด  120,000  บาท  ไปแต่เพียงผู้เดียว  ตามมาตรา  1634(3)

สรุป  มรดกของนายฉิ่งตกทอดแก่นายยล  บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนางแย้มโดยการรับมรดกแทนที่

 

ข้อ  3  นายเอกมีบุตรชอบด้วยกฎหมายสองคน  คือ  นายโท  และนายตรี  โดยนายตรีได้จดทะเบียนรับเด็กชายโตเป็นบุตรบุญธรรม  นายเอกมีเงินจำนวน  20  ล้านบาท  และที่ดินจำนวน  3  แปลง  นายเอกได้ทำพินัยกรรมยกเงินจำนวน  20  ล้านบาท  ให้กับนายโท  และที่ดินจำนวน  3  แปลง  ให้กับนายตรีก่อนนายเอกตาย  ปรากฏว่า  นายตรีได้ลอบเอาพินัยกรรมของนายเอกมาปลอมเป็นว่านายเอกยกเงินจำนวน  10  ล้านบาท  และที่ดินทั้ง  3  แปลงให้กับตน  ต่อมานายเอกตายและไม่มีทายาทอื่นอีกขอให้ท่านแบ่งมรดกของนายเอก

ธงคำตอบ

มาตรา  1605  ทายาทคนใดยักย้าย  หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น  ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย  แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม  ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง  ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น

มาตรา  1606  บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร  คือ

(5) ผู้ที่ปลอม  ทำลาย  หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

เมื่อนายเอกตาย  นายโทและนายตรีซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของนายเอกในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา  1629(1)  โดยได้รับส่วนแบ่งคนละเท่าๆกัน

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายตรีได้ปลอมพินัยกรรมของนายเอกเกี่ยวกับทรัพย์มรดก  จึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกในฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา  1606(5)  ซึ่งมีผลให้นายตรีถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลย  แม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมยกที่ดินจำนวน  3  แปลง  อันเป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างให้นายตรีก็ตาม  กรณีนี้จะนำบทบัญญัติมาตรา  1605  วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้  เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะการถูกกำจัดเพราะเหตุยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก  ตามมาตรา  1605  วรรคแรกเท่านั้น  อีกทั้งเด็กชายโตซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมก็มิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง  จึงไม่สามารถรับมรดกแทนที่ได้  ตามมาตรา  1639  มาตรา  1642  และมาตรา  1643  แม้นายตรีจะถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตายก็ตาม  ดังนั้นทรัพย์มรดกของนายเอกทั้งหมดจึงตกทอดได้แก่นายโททั้งตามพินัยกรรมและในฐานะทายาทโดยธรรม

สรุป  นายโทได้รับมรดกทั้งหมด  คือ  เงินจำนวน  20  ล้านบาท  และที่ดินจำนวน  3  แปลง

 

ข้อ  4  นายเอกและนางแพรเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  มีบุตรด้วยกัน  1  คน  คือนายใหญ่  นายเอกมีน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือนายโท  ต่อมานายเอกและนางแพรได้จดทะเบียนรับนายเล็กหลานชายของนางแพรมาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย  นายเล็กจดทะเบียนสมรสกับนางลิน  ทั้งสองมีบุตรสาวด้วยกัน  1  คน  คือ  ด.ญ.แก้ว  นายเอกขับรถไปต่างจังหวัดกับนายเล็ก  รถยนต์เสียหลักนายเล็กถึงแก่ความตาย  ส่วนนายเอกได้รับบาดเจ็บสาหัส  ในระหว่างที่นายเอกรักษาตัวที่โรงพยาบาล  นายใหญ่หลอกลวงให้นายเอกลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นายใหญ่  ต่อมานายเอกถึงแก่ความตาย  นายเอกมีทรัพย์มรดกทั้งหมด  300,000  บาท  ดังนี้  ให้ท่านแบ่งมรดกของนายเอก

ธงคำตอบ

มาตรา  1606  บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร  คือ

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ  หรือเพิกถอน  หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้น

มาตรา  1620  วรรคแรก  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้  แต่ไม่มีผลบังคับได้  ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1)  ผู้สืบสันดาน

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1630  ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

มาตรา  1635  ถ้าลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา  1699  ถ้าพินัยกรรม  หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ  ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

การที่นายใหญ่หลอกลวงให้นายเอกลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นายใหญ่นั้น  นายใหญ่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายเอกฐานเป็นผู้ไม่สมควร  ตามมาตรา  1606(4)  นายใหญ่จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเอกเลย  จึงต้องนำทรัพย์มรดกไปแบ่งให้กับทายาทโดยธรรมของนายเอกตามมาตรา  1699  ประกอบมาตรา  1620  วรรคแรก

ทายาทโดยธรรมของนายเอกที่มีสิทธิรับมรดก  คือ  นางแพร  คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา  1629  วรรคท้าย  และนายเล็กบุตรบุญธรรม  ตามมาตรา  1627  ประกอบมาตรา  1629(1)  ส่วนนายโทเป็นทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629(3)  ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับถัดลงมา  นายโทจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเอก  ตามมาตรา  1630  วรรคแรก

อย่างไรก็ตาม  เมื่อนายเล็กตายก่อนนายเอกเจ้ามรดก  ย่อมหมดสิทธิการเป็นทายาทตามมาตรา  1604  วรรคแรก  แต่นายเล็กมีบุตรชอบด้วยกฎหมาย  คือ  ด.ญ.แก้ว  ซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเล็ก  ด.ญ.แก้วจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายเล็กได้ตามมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1643  (ฎ. 290/2494)

เมื่อมีผู้รับมรดกแทนที่ทายาท  ตามมาตรา  1629(1)  คู่สมรสจึงมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร  ดังนั้นนางแพร และ  ด.ญ.แก้ว  จะได้รับมรดกคนละเท่าๆกัน  คือ  คนละ  150,000  บาทตามมาตรา  1635(1)

สรุป  มรดกของนายเอก  300,000  บาท  ตกทอดแก่นางแพรและ  ด.ญ.แก้ว  คนละ  150,000  บาท   

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2551

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  นายดำกับนางแดงเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  บุตรชายคนหนึ่ง  คือ  นายเอ  โดยนายดำได้เลี้ยงดูนายเอเป็นอย่างดี  และให้ใช้นามสกุลของตน  พร้อมกับส่งเสียให้ได้เรียนหนังสือจนกลายเป็นนักเขียนนามปากกาทอง  นายเอมีนางบีเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรหนึ่งคนคือ  เด็กหญิงเค  นายเอได้ไปทำสัญญาเช่าบ้านของนายเขียวอยู่อาศัย  โดยการเช่าได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเวลา  3  ปี  และได้นำครอบครัวไปอาศัยอยู่ด้วย  เนื่องจากนายเอเป็นนักเขียน  จึงได้มีสำนักพิมพ์ดอกท้อ  มาติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์นวนิยาย  เรื่อง  สะใภ้ผู้ดีจากนายเอ  โดยสำนักพิมพ์ดอกท้อตกลงให้ค่าตอบแทนปีละ  6  หมื่นบาท  ต่อมานายเอตายลงเพราะตรากตรำทำงานหนักเกินไป

จงวินิจฉัยว่า  สิทธิตามสัญญาเช่าบ้านและสิทธิในลิขสิทธิ์ของนายเอจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทอย่างไรหรือไม่  ถ้าเป็นมรดก  ทายาทแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งหรือได้รับสิทธิอย่างไรบ้าง  โดยใช้หลักกฎหมายประกอบการวินิจฉัย

ธงคำตอบ

มาตรา  138  ทรัพย์สิน  หมายความรวมทั้งทรัพย์  และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

มาตรา  1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย  ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา  1599  เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท  ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา  1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ  เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1630  ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี  และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1635  ถ้าลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

วินิจฉัย

เมื่อเจ้ามรดกตายลง  มรดกที่จะตกแก่ทายาท  ตามมาตรา  1600  ได้แก่ทรัพย์สิน  สิทธิ  หน้าที่  และความรับผิดต่างๆ  ซึ่งมิใช่เป็นการเฉพาะตัวโดยสภาพหรือโดยกฎหมาย  สิทธิตามสัญญาเช่าบ้านของนายเอ  ซึ่งเป็นผู้เช่านั้น  ตามกฎหมายถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า  ตามมาตรา  544  สิทธิตามสัญญาเช่าย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าตาย  ไม่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท  (ฎ. 1008/2537)

ส่วนสิทธิในลิขสิทธิ์  ได้ค่าตอบแทนปีละ  6  หมื่นบาท  ถือว่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินอย่างหนึ่งทั้งกฎหมายก็บัญญัติให้สิทธิดังกล่าวนี้โอนให้แก่กันได้โดยทางมรดกไม่เป็นการเฉพาะตัว  จึงถือเป็นมรดก  ตามนัยบทบัญญัติมาตรา  1600  ประกอบมาตรา  138  ตกทอดแก่ทายาทของนายเอ  ตามมาตรา  1599  ดังนี้คือ

1       เด็กหญิงเค  ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายเอ  มีฐานะเป็นผู้สืบสันดาน  ตามมาตรา  1629(1)  จึงมีสิทธิรับมรดก

2       นางแดงเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอ  เพราะมารดาย่อมเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ  ตามมาตรา  1546  จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629(2)  แม้นางแดงจะเป็นทายาทในลำดับถัดลงไป  แต่ทางกฎหมายก็บัญญัติให้บิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิรับมรดกโดยได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร  ตามมาตรา  1630  วรรคสอง

ส่วนนายดำเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอ  เพราะนายดำกับนางแดงมิได้จดทะเบียนสมรสกัน  จึงไม่มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1629(2)  แม้นายดำจะรับรองว่านายเอเป็นบุตรโดยพฤติการณ์ด้วยการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี  ให้ใช้นามสกุลและส่งเสียให้ได้เรียนหนังสือ  ตามมาตรา  1627  แต่ผลของการรับรองดังกล่าว  กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีสิทธิรับมรดกของบิดาเท่านั้น  หาได้บัญญัติให้ถือว่าบิดาที่รับรองนั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายไม่  (ฎ. 525/2510)  นายดำจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเอ

3       นางบี  ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส  ตามมาตรา  1629  วรรคท้าย  โดยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร  ตามมาตรา  1635(1)

ดังนั้น  สิทธิในลิบสิทธิ์ได้ค่าตอบแทนปีละ  6  หมื่นบาท  เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทั้ง  3  คน  คือเด็กหญิงเค  นางแดง  และนางบี  โดยได้รับคนละ  2  หมื่นบาทต่อปี  ตามมาตรา  1633  ส่วนสิทธิตามสัญญาเช่าบ้านไม่เป็นมรดก

สรุป  สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นมรดก  และเด็กหญิงเค  นางแดง  และนางบี  มีสิทธิได้รับมรดกคนละ  2  หมื่นบาทต่อปี  ส่วนสิทธิตามสัญญาเช่าบ้านไม่เป็นมรดก

 

ข้อ  2  เอกกับโทเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย  มีบุตรด้วยกัน  3 คน  คือ  หนึ่ง  สอง  และสาม  ต่อมาเอกกับโทเดินทางไปต่างจังหวัดประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตลงทั้งคู่  ตรีซึ่งเป็นน้องสาวของโทและเป็นน้าจึงได้นำสามไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย หนึ่งไปบวชเป็นสามเณรอยู่วัดท่าเตียนก่อนบวชหนึ่งได้เช่าซื้อรถยนต์ไว้  1  คัน  ราคา  5  แสนบาท  กับบริษัทโตโยต้า  สาขาบางเขน โดยชำระราคาค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว  แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนเนื่องจากไม่มีเวลา  หลังจากบวชแล้วจึงได้ไปจดทะเบียนโอนใส่ชื่อตน  ต่อมามีญาติโยมนำเงินมาถวายอีก  1  แสนบาท  พออายุได้  25  ปี  สามเณรหนึ่งจึงได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่วัดนี้เรื่อยมา  และมีญาติโยมศรัทธาถวายสิ่งของหลายอย่างได้แก่  โทรทัศน์สี  1  เครื่อง  ราคา 5  หมื่นบาท  โทรศัพท์มือถือ  1  เครื่อง  ราคา  2  หมื่นบาท  เงินสดอีกจำนวน  5  หมื่นบาท  ซึ่งทรัพย์สินทุกอย่างพระหนึ่งได้นำมาเก็บรวบรวมไว้ที่วัดท่าเตียนทั้งหมด  ต่อมาพระหนึ่งได้มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน  โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมใดๆไว้เลย  จงวินิจฉัยว่า  ทรัพย์สินของพระหนึ่งจะตกทอดแก่ใครบ้าง 

ธงคำตอบ

มาตรา  1598/28  บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น  แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา  ในกรณีเช่นนี้  ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว

ในนำบทบัญญัติในลักษณะ  2  หมวด  2  แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา  1623  ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น  เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น  เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

มาตรา  1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่  และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น  หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

มาตรา  1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) ลุง  ป้า  น้า  อา

มาตรา  1630  วรรคแรก  ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียวทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

วินิจฉัย

ในขณะมรณภาพ  พระภิกษุหนึ่งเจ้ามรดกมีน้องชาย  2  คน  และน้า  1  คน  ทั้งหมดถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุหนึ่ง  ตามมาตรา  1629(3)  และ  (6)  สามนั้นแม้ตรีซึ่งเป็นน้าจะนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  แต่ก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา  ตามมาตรา  1598/28  จึงมีสิทธิรับมรดกได้  กรณีนี้เฉพาะสองและสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่  3 ตามมาตรา  1629(3)  เท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดกของพระภิกษุหนึ่ง  เพราะเป็นทายาทในลำดับก่อน  ส่วนตรีซึ่งเป็นน้าสาว  เป็นทายาทในลำดับถัดลงไป  ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของพระภิกษุหนึ่งเลย  ตามมาตรา  1630  วรรคแรก

สำหรับในเรื่องมรดกของพระภิกษุ  จากบทบัญญัติตามมาตรา  1624  ที่กำหนดว่า  ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติวัดไม่…เห็นว่า  พรภิกษุ  ตามนัยของบทบัญญัติใน  ป.พ.พ.  ได้แก่พระภิกษุที่ได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  ไม่หมายความรวมถึงสามเณร  แม่ชี  นักพรต  หรือนักบวชในศาสนาอื่นด้วย

ดังนั้น  แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า  ก่อนบวชหนึ่งได้เช่าซื้อรถยนต์ไว้  1  คัน  ราคา  5  แสนบาท  โดยชำระเงินครบถ้วนแล้ว  แม้จะได้โอนใส่ชื่อทางทะเบียนในขณะที่บวชเป็นสามเณรก็ตาม  ก็ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  รวมทั้งเงินสด  1  แสนบาทที่มีผู้นำมาถวายในขณะนั้นด้วย  จึงตกทอดเป็นมรดกแก่สองและสาม  ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุหนึ่ง  ตามมาตรา  1624  ประกอบมาตรา  1629(3)  ซึ่งทั้งสองคนมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่าๆกัน  ตามมาตรา  1633

ส่วนโทรทัศน์สี  โทรศัพท์มือถือ  และเงินสดอีก  5  หมื่นบาท  ซึ่งญาติโยมนำมาถวายให้แก่พระภิกษุหนึ่งในขณะที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว  เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอุปสมบท  จึงต้องตกเป็นสมบัติของวัดท่าเตียน  ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุหนึ่งในขณะที่ถึงแก่มรณภาพ  เพราะไม่ได้มีการจำหน่ายไปในระหว่างที่มีชีวิตอยู่  ตามมาตรา  1623

สรุป  รถยนต์ราคา  5  แสนบาทและเงินสด  1  แสนบาท  ตกทอดแก่สองและสาม  คนละเท่าๆกัน  คือคนละ  3  แสนบาท  ส่วนโทรทัศน์สี โทรศัพท์มือถือ  และเงินสดอีก  5  หมื่นบาทที่ได้มาขณะอุปสมบทเป็นพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัดท่าเตียน

 

ข้อ  3  นายเก่งรับนายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย  ในขณะที่เขาเองก็ยังมีบุตรสาวที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่  2  คน  คือ  น.ส.เอ  และ  น.ส.บี  แต่ทั้งสองมีคนมีความประพฤติไม่ดี  และชอบเที่ยวเตร่กลางคืนโดยไม่ยอมฟังคำว่ากล่าวตักเตือนจากบิดา  นายเก่งจึงได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตนจำนวน  3  ล้านบาทให้แก่นายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว  นายหนึ่งมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายคือนายสอง  มีบุตรด้วยกัน  1  คน  คือ  ด.ญ.จอย  ต่อมานายเก่งป่วยเป็นโรคหัวใจวายตาย  หลังจากนายเก่งตายลง  นายหนึ่งเสียใจมากและไม่อยากรับมรดกแต่เพียงคนเดียว  เขาจึงได้สละมรดกตามพินัยกรรมโดยทำเป็นหนังสือและมอบไว้กับผู้อำนวยการเขตพระโขนง  กรุงเทพฯ  จงวินิจฉัยว่ามรดกของนายเก่งจำนวน  3  ล้านบาท  จะตกทอดแก่ใครบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  1608  เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

แต่เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว  ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก

มาตรา  1612  การสละมรดกนั้น  ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา  1615  วรรคแรก  การที่ทายาทสละมรดกนั้น  มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดก

มาตรา  1617  ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก  ผู้นั้นรวมตลอดทั้งผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น

มาตรา  1618  ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้  หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก  ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้นๆ  แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป

มาตรา  1620  วรรคแรก  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้  แต่ไม่มีผลบังคับได้  ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1698  ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น  ย่อมตกไป

(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม

มาตรา  1699  ถ้าพินัยกรรม  หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ  ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

นายเก่งเจ้ามรดกตายลง  โดยได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว  ย่อมถือว่า  น.ส.เอ  และ  น.ส.บี  ถูกตัดมิให้รับมรดกโดยปริยาย  ตามมาตรา  1608  วรรคสอง  แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายหนึ่งได้สละมรดกตามพินัยกรรมหลังเจ้ามรดกตาย  โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่  ตามมาตรา  1612  จึงเป็นการสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย  ด.ญ.จอย  แม้จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหนึ่งอันถือว่าเป็นผู้สืบสันดานก็จะเข้าสืบมรดกที่นายหนึ่งได้สละแล้วไม่ได้ตามมาตรา  1617

อนึ่งการสละมรดกของนายหนึ่งกรณีนี้เป็นเหตุให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปและทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้นกลับคืนสู่กองมรดกเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกต่อไป  ตามมาตรา  1698(3)  มาตรา  1699  มาตรา  1620  วรรคแรก  และมาตรา  1615  วรรคแรก  ประกอบมาตรา  1618  ดังนั้น  ทรัพย์ตามพินัยกรรมจำนวน  3  ล้านบาท  จึงต้องแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมของนายเก่งต่อไป

น.ส.เอ  และ  น.ส.บี  แม้จะถูกตัดมิให้รับมรดกโดยปริยายตามพินัยกรรม  แต่เมื่อพินัยกรรมตกเป็นอันไร้ผล  เนื่องจากผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม  ตามมาตรา  1698(3)  ทั้งสองคนจึงยังมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมอยู่

ส่วนนายหนึ่ง  แม้จะได้สละมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรม  แต่ก็ยังมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้  ตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1627

สำหรับนางสองนั้นเป็นบุตรสะใภ้ของนายหนึ่ง  มิใช่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายของนายหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา  1629  จึงไม่มีสิทธิรับมรดกใดๆเลย

ดังนั้น  มรดกของนายเก่งจำนวน  3  ล้านบาท  จึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม  คือนายหนึ่ง  น.ส.เอ  และ  น.ส.บี  คนละ  1  ล้านบาท ตามมาตรา  1629(1)  และมาตรา  1633

สรุป  มรดกของนายเก่งจำนวน  3  ล้านบาท  ตกทอดได้แก่  นายหนึ่ง  น.ส.เอ  และ  น.ส.บี  คนละ  1  ล้านบาท  ตามมาตรา  1629(1)  และมาตรา  1633

 

ข้อ  4  นายหนึ่งและนายสองเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอและนางบี  ทั้งคู่ไม่มีบุตรสาวจึงได้ไปขอนางสาวดีมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย  นางสาวดีมีสามีที่อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรสาวชื่อเด็กหญิงทอง  นายหนึ่งทำตัวเป็นนักเลงการพนันและชอบเที่ยวเตร่ไม่รู้จักทำมาหากินจนนายเอบิดาไม่พอใจ  เขาจึงได้ทำพินัยกรรมตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดกใดๆของตนทั้งสิ้น  พอนางบีมารดาทราบจึงได้ว่ากล่าวตักเตือนให้นายหนึ่งเลิกพฤติกรรมต่างๆที่ไม่ดีเสีย  ต่อมานายหนึ่งก็ประพฤติตนเป็นคนดี  นายเอจึงได้ทำหนังสือถอนการตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดกของตน  มอบไว้แก่ผู้อำนวยการเขตจตุจักร  กรุงเทพฯ  หลังจากนั้นไม่นานนางสาวดีก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตนายเอเสียใจมากจึงล้มป่วยลงเป็นโรคหัวใจวายตายในเวลาต่อมา  นายเอตายลงมีเงินสดฝากอยู่ในธนาคาร  120,000  บาท  (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท)  จงวินิจฉัยว่า  มรดกของนายเอจะตกทอดแก่ใครบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  1608  เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

มาตรา  1609  การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้  ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม  จะถอนเสียก็ได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น  แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่  การถอนการตัดจะทำโดยพินัยกรรมหรือโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี  และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1635  ถ้าลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

นายเอตายลงโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  เงินสดที่ฝากอยู่ในธนาคารจำนวน  120,000  บาท  ย่อมเป็นมรดกตามมาตรา  1600  โดยหลักแล้วย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม  ตามมาตรา  1599  ซึ่งได้แก่

1       นายหนึ่ง  และนายสอง  ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดาน  ตามมาตรา  1629(1)

2       นางสาวดีบุตรบุญธรรม  ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1627

3       นางบีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  1629  วรรคท้าย

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า  นายเอได้ทำพินัยกรรมตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดกใดๆ  ของตนทั้งสิ้นโดยทำเป็นพินัยกรรมนั้น  จึงทำให้นายหนึ่งถูกตัดมิให้รับมรดกโดยชัดแจ้ง  ตามมาตรา  1608(1)  แม้ต่อมานายเอจะถอนการตัดนายหนึ่งมิให้รับมรดก  โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อำนวยการเขตจตุจักร  กรุงเทพฯ  นั้นก็ไม่มีผลตามกฎหมาย  เพราะว่าถ้าเจ้ามรดกตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรม  การถอนการตัดดังกล่าวจะต้องถอนโดยพินัยกรรมเท่านั้น  จะถอนโดยการทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้  ทั้งนี้ตามบทบัญญัติมาตรา  1609  ดังนั้นนายหนึ่งจึงยังคงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกของนายเออยู่เช่นเดิม

ส่วนนางสาวดีนั้นได้ถึงแก่ความตายก่อนนายเอเจ้ามรดก  ย่อมไม่อาจรับมรดกของนายเอได้  (มาตรา  1604)  แต่เมื่อนางสาวดีเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่  1  ตามมาตรา  1629(1)  และมี  ด.ญ.ทอง  เป็นผู้สืบสันดานที่สืบสายโลหิตโดยตรง  ดังนั้น  ด.ญ.ทอง  ผู้สืบสันดานโดยตรงของนางสาวดีจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นางสาวดีมารดาได้ตามมาตรา  1639  และมาตรา  1642  ประกอบมาตรา  1643

ดังนั้น  มรดกของนายเอจำนวน  120,000  บาท  จึงตกทอดแก่นายสอง  ด.ญ.ทอง  และนางบี  คนละส่วนเท่าๆกัน  โดยได้รับส่วนแบ่งคนละ  40,000  บาท  ตามมาตรา  1629  และมาตรา  1633  ประกอบมาตรา  1635(1)

สรุป  มรดกของนายเอตกทอดแก่นายสอง  ด.ญ.ทอง  และนางบี  คนละ  40,000  บาท 

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2552

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  นายจันทร์อยู่กินกับนางมีนาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกันคือนางเดือนและนางดาว  ซึ่งนายจันทร์ให้การอุปการะเลี้ยงดูอย่างดี  ต่อมานางเดือนอยู่กินกับนายธันวาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกันคือ  นายผจญ  ต่อมานางเดือนและนายธันวาแยกทางกันและนางเดือนไม่ยอมคืนดีด้วย  ต่อมานางเดือนทำพินัยกรรมยกเงินสด  200,000  บาท  ให้นางดาว  ทำให้นายผจญไม่พอใจที่นางเดือนไม่ยอมคืนดีกับนายธันวาและยังทำพินัยกรรมยกเงินให้นางดาว  นายผจญจึงลงมือฆ่านางเดือน  นายผจญถูกจับและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกนายผจญฐานเจตนาฆ่านางเดือน  หลังจากนั้นนางมีนาถึงแก่ความตายโดยมีเงินสดในธนาคารอีก  300,000  บาท  เช่นนี้  จงแบ่งมรดกของนางมีนา

ธงคำตอบ

มาตรา  1457  การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น

มาตรา  1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย  ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา  1606  บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร  คือ

(1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ  หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา  1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้น  ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

นางมีนามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายคือ  นางเดือนและนางดาวตามมาตรา  1546  ส่วนนางจันทร์อยู่กินกับนางมีนาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามมาตรา  1457  จึงเป็นคู่สมรสที่มิชอบด้วยกฎหมาย  ไม่มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา  1629  วรรคท้าย  ดังนั้น  ผู้มีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของนางมีนาคือ  นางเดือนและนางดาวซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายอันถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของนางมีนาเจ้ามรดกตามมาตรา  1629(1)  และมาตรา  1546  และเมื่อเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันจึงชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกเท่ากัน  คือ  คนละ  150,000  บาทตามมาตรา  1633

แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อนางเดือนทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(1)  นั้นได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดก  โดยหลักแล้วในกรณีเช่นนี้บทบัญญัติมาตรา  1639  ประกอบมาตรา  1642  และมาตรา  1643  ให้สิทธิผู้สืบสันดานโดยตรงของบุคคลดังกล่าวเข้ารับมรดกแทนที่กันได้  แต่ถ้าไม่มีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ได้จนหมดสาย  ดังนั้นเมื่อนางเดือนได้ถึงแก่ความตายก่อนนางมีนาเจ้ามรดก  โดยหลักแล้วนายผจญบุตรชอบด้วยกฎหมายของนางเดือนตามมาตรา  1546  ซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง  ย่อมมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นางเดือนเพื่อรับมรดกของนางมีนาได้

แต่เมื่อกรณีนี้นายผจญซึ่งจะเป็นผู้เข้ารับมรดกแทนที่นางเดือนเพื่อรับมรดกของนางมีนาได้เจตนาฆ่านางเดือนมารดา  ซึ่งต่อมาถูกจับและศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกฐานเจตนาฆ่านางเดือนแล้ว  เช่นนี้  การกระทำของนายผจญจึงเป็นการฆ่าผู้มีสิทธิรับมรดกก่อนตนให้ถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  จึงต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา  1606(1)  และไม่มีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดกตามมาตรา  1644  ย่อมทำให้นายผจญเสียสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นางเดือนเพื่อรับมรดกของนางมีนา  ดังนั้นผู้มีสิทธิรับมรดกของนางมีนาจึงมีเพียงคนเดียวคือนางดาวตามมาตรา  1633  โดยมีสิทธิได้รับมรดก  300,000  บาท  แต่เพียงผู้เดียว

สรุป  มรดกทั้งหมด  300,000  บาท  ของนางมีนาตกทอดแก่นางดาวแต่เพียงผู้เดียว  เนื่องจากนายผจญผู้สืบสันดานโดยตรงของนางเดือนต้องด้วยเหตุเสียสิทธิรับมรดกตามมาตรา  1606(1)  จึงมิอาจเข้ารับมรดกแทนที่ได้

 

ข้อ  2  นายอาทิตย์มีบุตรชอบด้วยกฎหมายสามคน  คือ  นายจันทร์  นายอังคาร  และนายพุธ  ปรากฏว่านายอาทิตย์ได้ทำพินัยกรรมมีข้อความว่า  ตัดเงินให้นายจันทร์ได้รับเพียง  1  ล้านบาท  ส่วนที่เหลือให้นายอังคารและนายพุธคนละส่วนเท่าๆกัน  ต่อมานายอังคารรถยนต์คว่ำตาย  หลังจากนั้นอีกสองเดือนนายอาทิตย์ตายโดยมีมรดกจำนวน  13  ล้านบาท  จงแบ่งมรดกของนายอาทิตย์

ธงคำตอบ

มาตรา  1608  เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

มาตรา  1620  วรรคแรก  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้  แต่ไม่มีผลบังคับได้  ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

มาตรา  1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1698  ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น  ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

มาตรา  1699  ถ้าพินัยกรรม  หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ  ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

นายจันทร์  นายอังคารและนายพุธเป็นผู้สืบสันดานของนายอาทิตย์จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(1)  ที่มีสิทธิรับมรดกของนายอาทิตย์  เมื่อเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน  การได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกจึงชอบที่จะได้รับการแบ่งมรดกนั้นในจำนวนเท่ากันตามมาตรา  1633

สำกรับการที่นายอาทิตย์ได้ทำพินัยกรรมมีข้อความว่า  ตัดเงินให้นายจันทร์  1  ล้านบาท  ส่วนที่เหลือให้นายอังคารและพุธคนละเท่าๆกัน  เช่นนี้แม้จะได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา  1608(1)  คือได้แสดงเจตนาตัดไว้โดยพินัยกรรมก็ตาม  ก็ไม่ทำให้นายจันทร์เสียสิทธิในการรับมรดกเนื่องจากการตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องเป็นการตัดมิให้ได้รับมรดกใดๆเลย  กรณีนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการตัดนายจันทร์มิให้รับมรดก  นายจันทร์จึงยังมีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมจำนวน  1  ล้านบาท  และยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกที่อยู่นอกพินัยกรรมด้วย

ส่วนนายอังคารและนายพุธย่อมมีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมคนละ  6  ล้านบาท  อย่างไรก็ตาม  เมื่อปรากฏว่านายอังคารถึงแก่ความตายก่อนนายอาทิตย์เจ้ามรดก  ดังนั้นมรดกตามพินัยกรรมในส่วนของนายอังคารจำนวน  6  ล้านบาท  จึงเป็นอันตกไปและกลับคืนสู่กองมรดกเป็นทรัพย์สินนอกพินัยกรรมเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมต่อไปตามมาตรา  1698(1)  ประกอบมาตรา  1699  และมาตรา  1620  วรรคแรก  ซึ่งนายจันทร์และนายพุธนั้น  ต่างมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่  1  ตามมาตรา  1629(1)  จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากันคือ  คนละ  3  ล้านบาทตามมาตรา  1633

สรุป  มรดกของนายอาทิตย์จำนวน  13  ล้านบาทตกทอดแก่นายจันทร์ในฐานะผู้รับพินัยกรรม  1  ล้านบาท  และในฐานะทายาทโดยธรรมอีก  3  ล้านบาทรวมเป็นเงิน  4  ล้านบาท  ส่วนนายพุธได้รับในฐานะผู้รับพินัยกรรม  6 ล้านบาทและในฐานะทายาทโดยธรรมอีก  3  ล้านบาทรวมเป็นเงิน  9  ล้านบาท

 

ข้อ  3  นายหนึ่ง  นายสองและนายสาม  เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอกกับนางโท  ซึ่งทั้งคู่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย  นายเอกได้ไปขอนางสาวส้มจีนมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยความยินยอมของนางโทแล้ว  ต่อมานายสองได้แอบไปมีความสัมพันธ์กับนางสาวส้มจีนจนมีบุตรด้วยกัน  1  คนคือ  ด.ช.เค  นายเอกเสียใจมากจนเป็นโรคหัวใจวายตาย  นายเอกตายลงมีมรดก  5  ล้านบาท  หลังจากนายเอกตายได้  1  เดือน  นางสาวส้มจีนก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต  หลังจากนั้นอีก  1  ปี  นายหนึ่งเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตจึงได้ทำหนังสือสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย  และไปบวชอยู่ที่วัดเทพลีลา  จงวินิจฉัยว่ามรดกของนายเอกจะตกทอดแก่ใครบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย  ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา  1599  เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท  ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา  1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ  เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

มาตรา  1612  การสละมรดกนั้น  ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา  1615  วรรคแรก  การที่ทายาทสละมรดกนั้น  มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

มาตรา  1618  ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้  หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก  ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้นๆ  แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ  ที่ระบุไว้ในมาตรา  1629  นั้น  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดนธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา  1635  ถ้าลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

วินิจฉัย

เมื่อนายเอกถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมใดๆไว้  มรดกทั้งหมดของนายเอกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1599 ประกอบมาตรา  1600

สำหรับทายาทโดยธรรมของนายเอกได้แก่  นางโทซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา  1629 วรรคท้าย  และนายหนึ่ง  นายสองและนายสามบุตรชอบด้วยกฎหมายของเอก  อยู่ในฐานะผู้สืบสันดาน  จึงมีสิทธิรับมรดกตามมาตรา  1629(1)  ส่วนนางสาวส้มจีนซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย  กฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  จึงมีสิทธิรับมรดกตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1627  สำหรับการแบ่งมรดกนั้น  เมื่อปรากฏว่านายเอกมีทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่  กรณีเช่นนี้นางโทคู่สมรสมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร  ดังนั้นทั้ง  5  คนจะได้รับมรดกในเงิน  5  ล้านบาทในส่วนที่เท่าๆกัน  คือ  ได้รับคนละ  1  ล้านบาทตามมาตรา  1635(1)  ประกอบมาตรา  1633

อนึ่งการที่นางสาวส้มจีนบุตรบุญธรรมประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายภายหลังที่นายเอกบิดาบุญธรรมถึงแก่ความตายไปแล้ว  1  เดือนนั้น มรดกของนางสาวส้มจีนจำนวน  1  ล้านบาทจึงตกทอดแก่  ด.ช.เค  บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1546  (กรณีมิใช่เรื่องการรับมรดกแทนที่ตามมาตรา  1639  เพราะนางสาวส้มจีนถึงแก่ความตายภายหลังเจ้ามรดก)

ส่วนการที่นายหนึ่งสละมรดกภายหลังจากที่นายเอกบิดาถึงแก่ความตายไปแล้ว  1  ปีนั้น  ตามกฎหมายถือว่าการสละมรดกของนายหนึ่งมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่เวลาที่นายเอกเจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา  1615  วรรคแรก  ดังนั้นมรดกในส่วนนี้จึงกลับคืนสู้กองมรดกและแบ่งปันให้กับทายาทโดยธรรมอื่นของนายเอกต่อไปตามมาตรา  1618  ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกคือ  นางโท  นายสอง  นายสามและนางสาวส้มจีน

ในส่วนของนางสาวส้มจีนก็จะตกทอดแก่  ด.ช.เค  บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา  1629(1)  ประกอบมาตรา  1546  ดังนั้นมรดกในส่วนของนายหนึ่งที่สละมรดกนั้นจึงตกได้แก่  นางโท  นายสอง  นายสามและ  ด.ช.เค  คนละ  2  แสนห้าหมื่นบาทในส่วนที่เท่าๆกันตามมาตรา  1633

สรุป  มรดก  5  ล้านบาทจึงตกทอดได้แก่นางโท  นายสอง  นายสามและ  ด.ช.เค  คนละ  1  ล้าน  2  แสน  5  หมื่นบาท

 

ข้อ  4  นายก้องและนางนิ่มเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  มีบุตรด้วยกัน  2  คน  คือ  นายโตและนายเล็ก  นายโตจดทะเบียนสมรสกับนางอ้วน  มีบุตร  1  คน  คือ  ด.ญ. ต่อ  ต่อมานายก้องละทิ้งนางนิ่มและไปอยู่กินกับนางวัน  มีบุตรด้วยกัน  1  คนชื่อ  ด.ช. เก่ง  โดยนายก้องให้การอุปการะเลี้ยงดู  ด.ช. เก่ง  ตั้งแต่เกิด  แต่นายก้องไม่ได้จดทะเบียนรับ  ด.ช. เก่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด  นายก้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดจำนวน  600,000  บาท  ให้นางวันแต่เพียงผู้เดียว  หลังจากนั้นนายโตประสบอุบัติเหตุถูกรถชนตาย  ต่อมานายก้องตาย  นางวันซึ่งมีฐานะร่ำรวยอยู่แล้วได้สละมรดกของนายก้องโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อำนวยการเขตบางซื่อ  ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดกของนายก้อง 

ธงคำตอบ

มาตรา  1612  การสละมรดกนั้น  ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา  1617  ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก  ผู้นั้นรวมตลอดทั้งผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น

มาตรา  1618  ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้  หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก  ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้นๆ  แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป

มาตรา  1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น  ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่งมาตรา  1630  วรรคสอง  แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้  คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา  1635

มาตรา  1635  ถ้าลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น  ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา  1629(1)  ซึ่งมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา  1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา  1629  (1)  (3)  (4)  หรือ  (6)  ถึงแก่ความตาย  หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน  ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่  และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆสืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา  1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง  ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

การที่นางวันผู้รับพินัยกรรมสละมรดกของนายก้อง  โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อำนวยการเขตบางซื่อซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการรับหนังสือสละมรดกนั้น  เป็นการสละมรดกที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วตามมาตรา  1612  บุตรของนางวันคือ  ด.ช.เก่ง  จึงไม่มีสิทธิสืบมรดกตามพินัยกรรมตามมาตรา  1617  จึงต้องนำทรัพย์มรดกนั้นไปแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายก้องตามมาตรา  1618

ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายก้อง  คือ  ผู้สืบสันดานของนายก้อง  ซึ่งได้แก่นายโตและนายเล็กที่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  และ  ด.ช.เก่ง  ที่แม้จะไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายก้องแต่  ด.ช.เก่งถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายก้องบิดารับรองแล้วโดยพฤติการณ์ที่นายก้องให้การอุปการะเลี้ยงดู  ด.ช.เก่งตั้งแต่เกิด  ด.ช.เก่งจึงเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา  1627  ประกอบมาตรา  1629(1) ส่วนนางนิ่มที่ยังเป็นคู่สมรสของนายก้องอยู่ก็มีสิทธิรับมรดกของนายก้องตามมาตรา  1629  วรรคท้าย  โดยนายโต  นายเล็ก  ด.ช.เก่งและนางนิ่มจะได้รับมรดกคนละเท่าๆกัน  คือได้รับคนละ  150,000  บาทตามมาตรา  1635(1)

ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า  นายโตตายก่อนนายก้องเจ้ามรดก  ด.ญ.ต่อ  บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายโตซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายโต  ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ตามสิทธิที่นายโตจะได้รับตามมาตรา  1639  ส่วนนางอ้วนภริยาของนายโตไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายโตสามีแต่อย่างใด  เพราะการรับมรดกแทนที่จำกัดเฉพาะให้ผู้สืบสันดานของผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้นตามมาตรา  1643 (ฎ. 5189/2539)

สรุป  มรดกของนายก้อง  600,000  บาท  ตกได้แก่  นายเล็ก  ด.ช.เก่ง  ด.ญ.ต่อ  และนางนิ่ม  โดยได้รับคนละ  150,000  บาท

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 1/2546

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2546

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  คดีอาญาเรื่องหนึ่ง  นายสมบูรณ์ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องว่านางสมศรีกล่าววาจาหมิ่นประมาทตนขอให้ศาลลงโทษนางสมศรีในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  326  ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง  วินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล  พิพากษายกฟ้อง  นายสมบูรณ์อุทธรณ์  ถ้าปรากฏว่า

(ก)  ศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกระบวนการไต่สวนมูลฟ้อง  จึงพิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนมูลฟ้องใหม่แล้วพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี  กรณีหนึ่ง

(ข)  ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีมูล  จึงสั่งประทับรับฟ้อง  อีกกรณีหนึ่ง

ในแต่ละกรณีดังกล่าว  นางสมศรีจะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  165  วรรคสาม  ในคดีราษฎรเป็นโจทก์  ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลยให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป  กับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำเลยทราบ  จำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องโดยตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้  หรือจำเลยจะไม่มา  แต่ตั้งทนายมาซักค้านพยานโจทก์ก็ได้  ห้ามมิให้ศาลถามคำให้การจำเลย  และก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น

มาตรา  170  วรรคแรก  คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด  แต่คำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้นโจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา

วินิจฉัย

(ก)  โดยหลักแล้ว  ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา  ผู้ถูกฟ้องจะยังไม่มีฐานะเป็นจำเลยจนกว่าศาลจะสั่งประทับฟ้อง

นายสมบูรณ์  ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานางสมศรี  ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่าคดีไม่มีมูล  พิพากษายกฟ้องในกรณีนี้  เมื่อศาลยังไม่ประทับฟ้องนางสมศรีจึงไม่ถือว่าอยู่ในฐานะเป็นจำเลย  จึงยังไม่เป็นคู่ความในคดี  เมื่อนายสมบูรณ์ยื่นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี  นางสมศรีซึ่งยังไม่มีฐานะเป็นคู่ความจึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้  ตามมาตรา  165  วรรคสาม  (ฎ. 3711/2530  ฎ. 3877/2528)

(ข)  เมื่อนายสมบูรณ์ยื่นอุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วสั่งว่าคดีมีมูลประทับฟ้อง  ในกรณีนี้แม้ได้ความว่า  นางสมศรีผู้ถูกฟ้องจะมีฐานะเป็นจำเลยแล้วก็ตาม  แต่คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งว่าคดีมีมูลนั้นเด็ดขาดแล้ว  นางสมศรีจึงฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ได้  ตามมาตรา  170  วรรคแรก  (ฎ. 1895/2519)

สรุป

(ก)  นางสมศรีจะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ได้

(ข)  นางสมศรีจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ได้

 

ข้อ  2  พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล  ขอให้ลงโทษในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง  แต่ในวันโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ไม่มีตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมกับคำฟ้อง  เพราะเหตุว่า

(ก)  ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้  จำเลยถูกศาลออกหมายขังไว้ในระหว่างการสอบสวนคดีนี้  แต่จำเลยได้หลบหนีไปจากที่คุมขังก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง

(ข)  จำเลยถูกศาลออกหมายขังไว้ในคดีเรื่องอื่น  แต่จำเลยได้หลบหนีไปจากที่คุมขังก่อนที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้

ทั้ง  2  กรณีดังกล่าว  ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า  ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาดำเนินการต่อไปหรือไม่  เพราะเหตุใด  จึงจะเป็นการชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยกระบวนพิจารณาความ

ธงคำตอบ

มาตรา  165  วรรคแรก  ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์  ในวันไต่สวนมูลฟ้องให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาล  ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป  เมื่อศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริงแล้ว  ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่  จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง  คำให้การของจำเลยให้จดไว้  ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้  และดำเนินการต่อไป

วินิจฉัย

ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์  โดยหลักแล้วในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องพนักงานอัยการต้องนำตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมกับคำฟ้องด้วย  เว้นแต่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น  จำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้ว  กรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจะยื่นฟ้องโดยไม่จำต้องนำจำเลยมาศาลก็ได้

(ก)  ก่อนอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีเรื่องนี้ศาลชั้นต้นได้ออกหมายขังไว้ในระหว่างการสอบสวนคดีเรื่องเดียวกันนี้  แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในขณะนั้นได้หลบหนีไปก่อนที่อัยการจะยื่นฟ้องในกรณีนี้ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้อยู่ในอำนาจศาลในคดีนี้แล้ว  ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินการต่อไป  จึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณา  ตามมาตรา  165  วรรคแรก  (ฎ. 1735/2514 (ประชุมใหญ่))

(ข)  ก่อนอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้  จำเลยได้ต้องขังตามอำนาจศาลในคดีเรื่องอื่นแล้วหลบหนีไป  กรณีเช่นนี้  ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้อยู่ในอำนาจศาลในคดีที่อัยการโจทก์ยื่นฟ้อง  อัยการโจทก์จะมาฟ้องจำเลยในคดีอีกเรื่องหนึ่งในคดีนี้โดยไม่มีตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมกับคำฟ้องนั้นไม่ได้  ดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา  จึงจะเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณา  ตามมาตรา  165  วรรคแรก  (ฎ. 766/2504)

สรุป 

(ก)  ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับฟ้องไว้ดำเนินการต่อไป

(ข)  ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา

 

ข้อ  3  คดีอาญาเรื่องหนึ่ง  พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่านายแดงจำเลยกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์  ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  336  ซึ่งกำหนดระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท  นายแดงจำเลยให้การรับสารภาพ  ศาลสั่งให้โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย  ในการพิจารณาและสืบพยานได้ความว่าการกระทำของนายแดงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์  ตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  334  ซึ่งกำหนดระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท  เช่นนี้  ศาลพึงพิพากษาคดีนี้อย่างไรจึงจะชอบด้วยวิธีพิจารณา

ธงคำตอบ

มาตรา  192  วรรคหก  ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง  แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง  ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้

วินิจฉัย

พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า  นายแดงจำเลยกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์  นายแดงจำเลยให้การรับสารภาพ  ศาลสั่งให้โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย  ในการพิจารณาและสืบพยานได้ความว่า  การกระทำของนายแดงจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ประกอบด้วยการลักทรัพย์โดยใช้กริยาฉกฉวยเอาซึ่งหน้า  ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์จึงรวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ด้วย  เมื่อศาลฟังว่าไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์  เพราะจำเลยไม่ได้ใช้กริยาฉกฉวยเอาซึ่งหน้าคงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์  ศาลก็มีอำนาจลงโทษฐานลักทรัพย์ได้  ตามมาตรา  192  วรรคหก  ดังนั้น  ศาลพึงพิพากษาลงโทษนายแดงจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์  (ฎ. 191/2532  ฎ. 7953/2540)

สรุป  ศาลพึงพิพากษาลงโทษนายแดงจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์

 

ข้อ  4  พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย (ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาท)  จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องพร้อมทั้งมีคำขอให้ศาลลงโทษสถานเบา  และขอให้ศาลรอการลงโทษจำคุกด้วย  ทั้งโจทก์และจำเลยต่างแถลงไม่ขอสืบพยาน

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า  จำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์  ลงโทษจำคุก  4  ปี  จำเลยรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง  คงให้ลงโทษจำคุกจำเลย  2  ปี

ดังนี้  จำเลยจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่า  จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  15  วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ  ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  225  วรรคแรก  ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์  และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น  ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

วินิจฉัย

การอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง  แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะมิได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น  เหมือนกับการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา  195  วรรคสอง  ที่ว่าข้อกฎหมายที่อุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นก็ตาม  แต่อย่างไรก็ดี  กรณีนี้ต้องนำ  ป.วิ.พ.  มาตรา  225  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  เป็นผลให้ปัญหาข้อเท็จจริงที่จะอุทธรณ์ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นด้วย  (ฎ. 900/2509 (ประชุมใหญ่) ฎ. 1609/2535)

เมื่อได้ความว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องในศาลชั้นต้นพร้อมทั้งขอให้ศาลลงโทษสถานเบา  และขอให้รอการลงโทษจำคุก  เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยจะมาอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ไม่ได้  เพราะข้อเท็จจริงเรื่องนี้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นมาก่อนจึงต้องห้ามตาม  ป.วิ.พ.  มาตรา  225  ประกอบมาตรา  15

สรุป  จึงเลยจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ไม่ได้

LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 2/2546

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2546

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW3008 (LA 308),(LW 309) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน

ข้อ  1  พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่านายเหลืองกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  358  ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้  ในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีนางชมพูซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ไปปรึกษาทนายความ  ทนายความมีความเห็นว่าการกระทำของนายเหลืองเป็นการลักทรัพย์  นางชมพูจึงแต่งตั้งทนายความฟ้องนายเหลืองในความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  334  ศาลตรวจคำฟ้องของนางชมพูแล้วเห็นว่าถูกต้องตามกฎหมาย  ศาลจึงสั่งไต่สวนมูลฟ้อง  ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ในการไต่สวนมูลฟ้องนั้น  นางชมพูและทนายความของนางชมพูไม่ไปศาล  ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง  ดังนี้

(ก)  ถ้านางชมพูประสงค์จะขอให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่นางชมพูต้องดำเนินการอย่างไร

(ข)  สำหรับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่านายเหลืองกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้น  พนักงานอัยการจะดำเนินคดีต่อไปได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  166  ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด  ให้ศาลยกฟ้องเสีย  แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้  จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้

ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว  ถ้าโจทก์มาร้องภายในสิบห้าวัน  นับแต่วันศาลยกฟ้องนั้นโดยแสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่

ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว  จะฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้  แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์  ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก  เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว

วินิจฉัย

(ก)  นางชมพูเป็นโจทก์ฟ้องนายเหลืองในความผิดฐานลักทรัพย์แต่ในวันสืบพยานโจทก์  ในการไต่สวนมูลฟ้องนางชมพูและทนายความของนางขาวไม่ไปศาล  ศาลจึงพิพากษายกฟ้องในกรณีเช่นนี้  หากนางชมพูต้องการให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่  นางชมพูอาจกระทำโดย

1       ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่ศาลยกฟ้อง  และ

2       แสดงให้ศาลเห็นว่าตนและทนายความของตนมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถมาศาลได้  ตามกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้อง

เมื่อนางชมพูปฏิบัติครบหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ถ้าศาลเห็นว่าการที่นางชมพูและทนายความขาดนัดไต่สวนมูลฟ้อง  เนื่องจากมีเหตุสมควร  ศาลก็จะยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่  ตามมาตรา  165  วรรคสอง

(ข)  โดยหลักแล้ว  คดีที่ศาลยกฟ้อง  เนื่องจากโจทก์ขาดนัดไต่สวนมูลฟ้องนั้น  ตามมาตรา  165  วรรคสาม  ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า  จะฟ้องจำเลยในเรื่องเดี่ยวกันอีกไม่ได้  ซึ่งหมายความว่า  สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับนั่นเอง  (ฎ. 816/2523)  แต่มีข้อยกเว้นว่าสิทธิฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการยังไม่ระงับ  ถ้าคดีที่ศาลยกฟ้อง  เนื่องจากโจทก์ขาดนัดไต่สวนมูลฟ้องนั้นเป็นคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์  และคดีที่พนักงานอัยการจะฟ้องอีกหรือได้ฟ้องไว้แล้วนั้น  มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว  (ความผิดอันยอมความได้)

สำหรับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์  พนักงานอัยการจะดำเนินคดีต่อไปได้หรือไม่  เห็นว่า  คดีที่พนักงานอัยการได้ฟ้องไว้แล้วนั้น  เป็นคดีที่ฟ้องในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์  ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้  เมื่อได้ความว่าศาลยกฟ้อง  เนื่องจากโจทก์ขาดนัดไต่สวนมูลฟ้อง  จึงส่งผลให้จะฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้  ซึ่งหมายความถึง  สิทธินำคดีอาญาของพนักงานอัยการมาฟ้องย่อมระงับตามไปด้วย  อีกทั้งในกรณีนี้ก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้น  ตามมาตรา  166  วรรคสาม  เนื่องจากเป็นความผิดต่อส่วนตัว  ดังนั้นพนักงานอัยการจึงไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปได้

สรุป 

(ก)  หากนางชมพูต้องการให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่  นางชมพูสามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น

(ข)  สำหรับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์  พนักงานอัยการไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปได้

 

ข้อ  2  คดีอาญาเรื่องหนึ่ง  ผู้เสียหายได้ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย  ในวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์  อัยการโจทก์ขาดนัดคงมาแต่โจทก์ร่วม  โดยโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ  หากศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งในกรณี  ดังนี้

(ก)  ศาลยกฟ้องโจทก์  เพราะเหตุโจทก์ขาดนัด  หรือ

(ข)  ศาลยกฟ้องโจทก์  เพราะเหตุโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย  ดังนี้

ขอให้วินิจฉัยว่า  การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ทั้ง  2  กรณีดังกล่าวชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายวิธีพิจารณาความหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  166  ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด  ให้ศาลยกฟ้องเสีย  แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้  จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้

มาตรา  185  วรรคแรก  ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ดี  การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี  คดีขาดอายุความแล้วก็ดี  มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี  ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป  แต่ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้

วินิจฉัย

(ก)  การที่ศาลยกฟ้องโจทก์  เพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เห็นว่า  คดีนี้ผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ  แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์  พนักงานอัยการโจทก์จะขาดนัดไม่มาศาลก็ตาม  แต่เมื่อได้ความว่า  โจทก์ร่วมมาศาลในวันนัดแล้ว  จึงเท่ากับว่ายังมีโจทก์มาศาลกรณีเช่นนี้  ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขาดนัด  ตามมาตรา  166  วรรคแรก  แต่อย่างใด  ดังนั้นการที่ศาลยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุขาดนัดจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังกล่าว (ฎ. 1519/2497)

(ข)  การที่ศาลยกฟ้องโจทก์  เพราะเหตุที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เห็นว่า  คดีนี้ศาลนัดสืบพยานโจทก์  แม้ได้ความว่า  ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมจะมาศาลตามนัดก็ตาม  แต่เมื่อได้ความว่า  ในวันสืบพยานโจทก์  โจทก์ไม่มีพยานมาสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย  เช่นนี้  การที่ศาลยกฟ้องโจทก์โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย  จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย  ตามมาตรา  185  วรรคแรกแล้ว  (ฎ. 1382/2492)

สรุป 

(ก)  การที่ศาลยกฟ้องโจทก์  เพราะเหตุขาดนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(ข)  การที่ศาลยกฟ้องโจทก์  เพราะเหตุที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ  3  คดีอาญาเรื่องหนึ่ง  พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่านายพิชิตกับพวกที่ยังหลบหนีได้ร่วมกันทำร้ายร่างกาย  นายสมบัติจนได้รับอันตรายสาหัส  เหตุเกิดเมื่อวันที่  15  มกราคม  พ.ศ. 2547  เวลากลางคืนก่อนเที่ยง  ที่แขวงคลองจั่น  เขตบางกะปิ  กรุงเทพมหานคร  ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  297  (ฟ้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย)  นายพิชิตจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้อง  ศาลสั่งให้โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย

ในการพิจารณาคดีได้ความว่า  ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์อ้างในฟ้อง  นายพิชิตจำเลยกับพวกมิได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายนายสมบัติ  แต่ได้เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป  และปรากฏว่าในการชุลมุนต่อสู้นั้น  นายสมบัติซึ่งมิได้ร่วมชุลมุนต่อสู้ด้วยได้รับอันตรายสาหัสอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  299

เช่นนี้  ศาลพึงพิพากษาหรือสั่งอย่างไร  จึงจะชอบด้วยวิธีพิจารณาความอาญา

ธงคำตอบ

มาตรา  192  วรรคสอง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง  ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น  เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้  ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

วินิจฉัย

ตามมาตรา  192  วรรคสอง  ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า  ถ้าศาลเห็นว่า  ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง  โดยหลักให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น  เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ในกรณีเช่นนี้  ศาลจะลงโทษจำเลย  ตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้

ศาลพึงพิพากษาหรือสั่งอย่างไร  เห็นว่า  พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่านายพิชิตกับพวกที่ยังหลบหนีร่วมกันกระทำความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัสตาม  ป.อ.  มาตรา  297  แต่ในการพิจารณาคดีได้ความว่า  นายพิชิตกับพวกกระทำความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป  เป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับอันตรายสาหัส  ตาม  ป.อ.  มาตรา  299

ความผิดสองฐานดังกล่าวนี้  เมื่อนำองค์ประกอบความผิดมาพิจารณาเทียบกัน  จะเห็นได้ว่าแตกต่างกันมาก  ไม่อาจเกลื่อนกลืนกันได้เลย ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณาและข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ  กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้น  ตามมาตรา  192  วรรคสอง  ถึงแม้นายพิชิตจำเลยให้การรับสารภาพาลก็ต้องยกฟ้อง  จะลงโทษตามมาตรา  299  ก็ไม่ได้  เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษ  (ฎ. 2299/2518  ฎ. 1923/2521  ฎ. 48/2528)

สรุป  ศาลพึงพิพากษายกฟ้อง

 

ข้อ  4  นายช้างเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายเสือฐานทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัส  (ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี)  ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่าคดีไม่มีมูล  ยกฟ้อง  นายช้างอุทธรณ์ 

ให้นักศึกษาตอบคำถามแต่ละกรณีดังต่อไปนี้

(ก)  ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วสั่งว่า  คดีมีมูล  ประทับฟ้อง  กรณีนี้นายเสือจะฎีกาว่าคดีไม่มีมูลได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

(ข)  ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว  พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น  กรณีนี้นายช้างจะฎีกาว่าคดีมีมูลได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

 ธงคำตอบ

มาตรา  170  วรรคแรก  คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด  แต่คำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้นโจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา

มาตรา  220  ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์

วินิจฉัย

(ก)  เมื่อนายช้างยื่นอุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์พิจารราแล้วสั่งว่าคดีมีมูลประทับฟ้อง  ในกรณีนี้  แม้ได้ความว่านายเสือผู้ถูกฟ้องจะมีฐานะเป็นจำเลยแล้วก็ตาม  แต่คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งว่าคดีมีมูลนั้นเด็ดขาดแล้ว  นายเสือจึงฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ได้  ตามมาตรา  170  วรรคแรก            (ฎ. 1895/2519)

(ข)  โดยหลักแล้ว  ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์  ทั้งนี้  ไม่ว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายก็ต้องห้ามฎีกาทั้งสิ้น  และเป็นการห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย  (ฎ. 492/2536  ฎ. 5381/2536)

การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว  เห็นว่า  คดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง  ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน  จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์  ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย  แม้จะเป็นการพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม  คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกา  ดังนั้น  เมื่อนายช้างฎีกาว่า  คดีมีมูลอันถือว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  ในกรณีนี้นายช้างจึงไม่สามารถฎีกาว่าคดีมีมูลได้ต้องห้าม  ตามมาตรา  220 (ฎ.3534/2541)

สรุป

(ก)  นายเสือฎีกาว่าคดีไม่มีมูลไม่ได้

(ข)  นายช้างฎีกาว่าคดีมีมูลไม่ได้

WordPress Ads
error: Content is protected !!