LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคําสั่งศาล โดยเป็นผู้พิทักษ์ของนางสวยคนเสมือนไร้ความสามารถและได้รับอนุญาตจากศาลให้ทํานิติกรรมขายที่ดิน ของนางสวยแทนนางสวย จําเลยครอบครองเงินของนางสวยซึ่งได้มาจากการขายที่ดินแล้วเบียดบัง ยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของจําเลย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 และให้จําเลยคืนเงินแก่กองมรดกของนางสวย จําเลยให้การปฏิเสธ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณา ได้ความว่าขณะที่จําเลยขายที่ดินของนางสวยตามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง แล้วยักยอกเงินไปนั้น นางสวยยังมีชีวิตอยู่แต่เป็นอัมพาตเดินไม่ได้และยังไม่ได้ดําเนินคดีแก่จําเลย ต่อมานางสวยถึงแก่ความตาย ศาลมีคําสั่งตั้งนายหล่อบุตรของนางสวยเป็นผู้จัดการมรดก นายหล่อ ตรวจสอบทรัพย์สินของนางสวยทราบว่าจําเลยเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินของนางสวยไปเป็น ประโยชน์ส่วนตัว จึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่จําเลย พนักงานสอบสวน ได้ทําการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการจึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้

จงวินิจฉัยว่า พนักงานอัยการมีอํานาจ ฟ้องคดีนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(1) ร้องทุกข์”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมี คําร้องทุกข์ตามระเบียบ

วินิจฉัย

โดยหลักการแล้วพนักงานอัยการเป็นบุคคลผู้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (1) แต่ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน (ป.วิ.อาญา มาตรา 120) และถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะได้มีคําร้องทุกข์ ตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ตามคําสั่งศาล โดยเป็นผู้พิทักษ์ของนางสวยคนเสมือนไร้ความสามารถและได้รับอนุญาตจากศาลให้ทํานิติกรรม ขายที่ดินของนางสวยแทนนางสวย จําเลย ครอบครองเงินของนางสวยซึ่งได้มาจากการขายที่ดินแล้วเบียดบังยักยอก เอาเงินดังกล่าวไปเป็นของจําเลย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 และให้จําเลยคืนเงิน แก่กองมรดกของนางสวยนั้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยคือพนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่

คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า ขณะที่จําเลยขายที่ดินของนางสวยตามที่ได้รับอนุญาต จากศาลเยาวชนและครอบครัวกลางแล้วยักยอกเงินไปนั้น นางสวยยังมีชีวิตอยู่เพียงแต่เป็นอัมพาตเดินไม่ได้และ ยังไม่ได้ดําเนินคดีแก่จําเลย ต่อมานางสวยถึงแก่ความตาย ศาลมีคําสั่งตั้งนายหล่อบุตรของนางสวยเป็นผู้จัดการ มรดก และเมื่อนายหล่อตรวจสอบทรัพย์สินของนางสวยจึงทราบว่าจําเลยเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินของนางสวย ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่จําเลย เมื่อพนักงานสอบสวน ได้ทําการสอบสวนแล้วพนักงานอัยการจึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้นั้น เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า การที่จําเลยได้ทําการเบียดบังยักยอกเอาเงินจากการขายที่ดินของนางสวยไปนั้น ผู้เสียหายซึ่งมีอํานาจร้องทุกข์ ในคดีนี้คือนางสวยมิใช่นายหล่อ เพราะความผิดเกิดขึ้นในขณะที่นางสวยยังมีชีวิตอยู่ และแม้ว่านางสวยจะเป็น อัมพาตแต่ก็มิใช่กรณีที่นางสวยซึ่งเป็นผู้เสียหายถูกทําร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) อันจะทําให้นายหล่อสามารถจัดการแทนผู้เสียหายได้

ดังนั้น นายหล่อจึงไม่มีอํานาจ ร้องทุกข์แทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) และ (7) ประกอบมาตรา 5 (2)

เมื่อข้อเท็จจริงของคดีนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัว และผู้เสียหายคือนางสวยมิได้ร้องทุกข์ไว้ย่อมมีผล ทําให้พนักงานสอบสวนไม่มีอํานาจสอบสวน และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอํานาจฟ้องคดีนี้เช่นเดียวกันตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ประกอบมาตรา 120

สรุป พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องคดีนี้

 

ข้อ 2. นายเขียวฟ้องนายดําเป็นจําเลยในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 ก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง นายเขียวมีความจําเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นการด่วนและต้องรักษาตัว เป็นเวลานาน ไม่สะดวกในการดําเนินคดีจึงยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาต ต่อมา หลังจากที่นายเขียวรักษาตัวจนหายเป็นปกติแล้ว นายเขียวได้ยื่นฟ้อ นายดําเป็นจําเลยต่อศาลใหม่ ดังนี้ นายเขียวจะยื่นฟ้องนายดําต่อศาลได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 36 “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่” มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย”

วินิจฉัย

ในคดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น เมื่อได้ถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตาม กฎหมายแล้ว สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป (ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) และคดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจาก ศาลแล้วนั้น จะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่ (ป.วิ.อาญา มาตรา 36)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวฟ้องนายดําเป็นจําเลยในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ และก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง นายเขียว ได้ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง และศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้วนั้น ย่อมมีผลทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้อง ระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) และนายเขียวจะนําคดีอาญาดังกล่าวซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้วนั้น มาฟ้องอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 ดังนั้น กรณีดังกล่าวนายเขียวจะยื่นฟ้องนายดําเป็นจําเลยต่อศาลใหม่ อีกไม่ได้

สรุป

นายเขียวจะยื่นฟ้องนายดําเป็นจําเลยต่อศาลใหม่ไม่ได้

 

ข้อ 3. ศาลอาญาออกหมายจับนายดําผู้ต้องหาตามคําร้องขอของพนักงานสอบสวนในข้อหาชิงทรัพย์สร้อยคอทองคําของผู้เสียหาย ต่อมานายดําผู้ต้องหายื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนหมายจับ โดยอ้างว่าไม่ใช่คนร้ายที่ชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นไต่สวนคําร้องแล้วมีคําสั่งไม่อนุญาตให้ เพิกถอนหมายจับของนายดําและยกคําร้อง

ดังนี้ นายดําผู้ต้องหาจะอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เพิกถอนหมายจับได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 59 “ศาลจะออกคําสั่งหรือหมายจับ หมายค้น หรือหมายขัง ตามที่ศาลเห็นสมควรหรือ มีผู้ร้องขอก็ได้

ในกรณีที่ผู้ร้องขอเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ ต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสาม หรือตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตํารวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป )

ในกรณีที่จําเป็นเร่งด่วนซึ่งมีเหตุอันควรโดยผู้ร้องขอไม่อาจไปพบศาลได้ ผู้ร้องขออาจร้องขอ ต่อศาลทางโทรศัพท์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นที่เหมาะสม เพื่อขอให้ ศาลออกหมายจับหรือหมายค้นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลสอบถามจนปรากฏว่ามีเหตุที่จะออกหมายจับ หรือหมายค้นได้ตามมาตรา 59/1 และมีคําสั่งให้ออกหมายนั้นแล้ว ให้จัดส่งสําเนาหมายเช่นว่านี้ไปยังผู้ร้องขอ โดยทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กําหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

เมื่อได้มีการออกหมายตามวรรคสามแล้ว ให้ศาลดําเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอหมายมาพบศาล เพื่อสาบานตัวโดยไม่ชักช้า โดยจดบันทึกถ้อยคําของบุคคลดังกล่าวและลงลายมือชื่อของศาลผู้ออกหมายไว้ หรือ จะใช้เครื่องบันทึกเสียงก็ได้โดยจัดให้มีการถอดเสียงเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของศาลผู้ออกหมาย บันทึกที่มี การลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าวแล้ว ให้เก็บไว้ในสารบบของศาล หากความปรากฏต่อศาลในภายหลังว่าได้มี การออกหมายไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ศาลอาจมีคําสั่งให้เพิกถอน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมาย เช่นว่านั้นได้ ทั้งนี้ ศาลจะมีคําสั่งให้ผู้ร้องขอจัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามที่เห็นสมควรก็ได้”

มาตรา 68 “หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมวดนั้นขาดอายุความ หรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 59 วรรคสามและวรรคสี่ และมาตรา 68 นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ กระบวนการยุติธรรมในชั้นการขอออกหมายจับ การเพิกถอนหมายจับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายจับ ตลอดจน การแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการออกหมายจับผู้ต้องหาโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้นเป็นอํานาจ โดยเฉพาะของศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายจับเท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้องขอให้ยกเลิกหรือ เพิกถอนหมายจับ ผู้ร้องจึงอุทธรณ์หรือฎีกาอีกไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลอาญาออกหมายจับนายดําผู้ต้องหาตามคําร้องขอของพนักงานสอบสวน และต่อมานายดําผู้ต้องหายื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนหมายจับโดยอ้างว่าไม่ใช่คนร้ายที่ชิงทรัพย์ของ ผู้เสียหาย เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคําร้องแล้วจึงมีคําสั่งไม่อนุญาตให้เพิกถอนหมายจับนายดําและยกคําร้องนั้น นายดําผู้ต้องหาจะอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เพิกถอนหมายจับไม่ได้

สรุป

นายดําผู้ต้องหาจะอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เพิกถอนหมายจับไม่ได้

 

ข้อ 4. ร.ต.อ.เก่งกล้า พนักงานสอบสวนทําการสอบสวนนายถั่วลันเตาผู้ต้องหา อายุ 28 ปี ในข้อหากระทําชําเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยมีอาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสี่ โดยก่อนเริ่มถามคําให้การ ร.ต.อ.เก่งกล้าถามนายถั่วลันเตาว่ามีทนายความหรือไม่ นายถั่วลันเตา ตอบว่าไม่มีแต่ไม่ต้องการทนายความเพราะสํานึกผิดในการกระทํา ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงแจ้งข้อหาและ สิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4 วรรคหนึ่งให้ทราบ ก่อนถามคําให้การ หลังจากที่นายถั่วลันเตาได้ฟังการแจ้งสิทธิดังกล่าว นายถั่วลันเตาก็ยังยืนยัน ต่อ ร.ต.อ.เก่งกล้าว่าไม่ต้องการทนายความ ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงถามคําให้การนายถั่วลันเตาโดยที่ ไม่มีทนายความและนายถั่วลันเตายอมให้การโดยเต็มใจ ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงจดคําให้การไว้

ดังนี้ ถ้อยคําที่นายถั่วลันเตาให้ไว้ต่อ ร.ต.อ.เก่งกล้า จะสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของนายถั่วลันเตาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสี่ “ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสามได้กระทําโดยร่วมกระทําความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือ กระทํากับเด็กชายในลักษณะเดียวกันและเด็กนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทําโดยมีอาวุธปืนหรือ วัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 134/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหา มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหา ว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้”

มาตรา 134/2 “ให้นําบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวน ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี”

มาตรา 134/3 “ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้”

มาตรา 134/4 “ในการถามคําให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้ เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคําให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้

ถ้อยคําใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนกอนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะ ดําเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ของผู้นั้นไม่ได้”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา (ไม่คํานึงว่าในขณะกระทําความผิดจะมีอายุเท่าใดก็ตาม) ก่อนเริ่มถามคําให้การ ให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ กรณีนี้เป็นบทบังคับ เด็ดขาดหากผู้ต้องหาไม่มีทนายความและแม้จะไม่ต้องการก็ต้องจัดหาทนายความให้เสมอ (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง)

ในส่วนคดีที่มีอัตราโทษจําคุก (ไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี) ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหา ต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้ แต่ถ้าหากผู้ต้องหาไม่ต้องการ ไม่จําต้องจัดหาให้แต่ประการใด (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การท ร.ต.อ.เก่งกล้าพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนนายถั่วลันเตาผู้ต้องหา อายุ 28 ปี ในข้อหากระทําชําเราเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี โดยมีอาวุธปืนซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุกตลอดชีวิตนั้น ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคสอง กล่าวคือ ก่อนเริ่มถามคําให้การ ร.ต.อ.เก่งกล้า ต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความให้จัดหาทนายความให้ แต่ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า หลังจากที่ ร.ต.อ.เก่งกล้าได้ถามนายถั่วลันเตาวามีทนายความหรือไม่ นายถั่วลันเตาตอบว่าไม่มี แต่ ไม่ต้องการทนายความ ดังนี้ ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงไม่ต้องจัดหาทนายความให้นายถั่วลันเตา และเมื่อ ร.ต.อ.เก่งกล้า ได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง ให้นายถั่วลันเตาทราบก่อนถาม คําให้การแล้ว นายถั่วลันเตาก็ยอมให้การโดยเต็มใจ ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงได้จดคําให้การไว้ ดังนั้นถ้อยคําที่นายถั่วลันเตา ให้ไว้ต่อ ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของนายถั่วลันเตาได้

สรุป ถ้อยคําที่นายถั่วลันเตาให้ไว้ต่อ ร.ต.อ.เก่งกล้าสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของนายถั่วลันเตาได้

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โอโม่ขับรถด้วยความเร็วสูงล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเพื่อจะแซงรถบรรทุกเป็นเหตุให้เฉียวชนกับรถจักรยานยนต์ที่บรีสขับฝ่าสัญญาณจราจรมา ทําให้บรีสถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ พนักงานตํารวจ แจ้งข้อหาโอโม่ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 โดยยังมิได้มีผู้ใดร้องทุกข์ เมื่อสรุปสํานวนแล้วเสร็จ พนักงานอัยการได้ฟ้องข้อหาดังกล่าว ในระหว่างพิจารณาคดีแฟ้บซึ่งเป็นบิดาของบรีสทราบเรื่องจึงมายื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ พนักงานอัยการ ดังนี้พน้างานอัยการมีอํานาจฟ้องหรือไม่ และศาลจะรับคําร้องขอเป็นโจทก์ร่วม ของแฟ้บได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตาม เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนใน ความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะ มีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (1) ได้บัญญัติให้อํานาจแก่พนักงานอัยการในการฟ้องคดีอาญา ต่อศาล แต่พนักงานอัยการ ะยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน และ ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจะทําการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อได้มีคําร้องทุกข์แล้วตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 120 และมาตรา 121 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 291 นั้น ถือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึง สามารถทําการสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคําร้องทุกข์ก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีนี้โดยยัง มิได้มีผู้ใดร้องทุกข์ การสอบสวนย่อมชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการ จึงมีอํานาจฟ้องคดีนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ประกอบมาตรา 28 (1)

2 ตามกฎหมาย ผู้ที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาได้นั้น จะต้องเป็น ผู้เสียหายตามความใน ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ซึ่งอาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง หรืออาจเป็นผู้มีอํานาจจัดการแทน ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 4, 5 และ 6

ตามอุทาหรณ์ การที่โอโม่ขับรถด้วยความเร็วสูงล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเพื่อจะแซงรถบรรทุก เป็นเหตุให้เฉียวชนกับรถจักรยานยนต์ที่บรีสขับฝ่าสัญญาณจราจรมา ทําให้บริสถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุนั้น แม้จะถือว่าโอโม่ได้กระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายก็ตาม แต่ก็ถือว่าบรีสมีส่วนร่วมในการกระทํา ความผิดโดยประมาทดังกล่าวด้วยเช่นกัน บรีสจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้เสียหายที่แท้จริง ดังนั้น แม้แฟ้บ จะเป็นบิดาของบรีสและเป็นบุคคลที่มีอํานาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ก็ตาม แฟ้บก็ไม่สามารถ จัดการแทนบรีสในกรณีนี้ได้ เมื่อแฟ้บไม่สามารถจัดการแทนบรีสได้ แฟ้บจึงขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 ประกอบมาตรา 3 (2) ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อแฟ้บได้ยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ พนักงานอัยการ ศาลจึงไม่สามารถรับคําร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของแฟ้บได้

สรุป

คดีนี้พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้อง และศาลจะรับคําร้องขอเป็นโจทก์ร่วมของแฟ้บไม่ได้

 

ข้อ 2. ร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยและพันตํารวจโทไพฑูรย์ได้เสดงหมายจับให้นายณัฐวุฒิเห็นและขอเข้าทําการจับกุมนายณัฐวุฒิในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามหมายจับ ปรากฏว่านายณัฐวุฒิต่อสู้ขัดขวาง ไม่ให้จับกุมโดยใช้อาวุธปืนยิงใส่พันตํารวจโทไพฑูรย์ แต่กระสุนปืนถูกร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยเสียชีวิต พันตํารวจโทไพฑูรย์จึงใช้อาวุธปืนยิงสวนไปที่นายณัฐวุฒิและเข้าทําการจับกุมนายณัฐวุฒิได้สําเร็จ ต่อมา พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนนายณัฐวุฒิในความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการ ตามหน้าที่โดยมิได้แจ้งพนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวนดังกล่าว และมิได้มีการชันสูตรพลิกศพของร้อยตํารวจเอกอิทธิชัย เมื่อการสอบสวนเสร็จแล้วพนักงานสอบสวน ได้ทําความเห็นว่าควรสั่งฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสํานวน พนักงานอัยการได้ออก คําสั่งฟ้องและฟ้องนายณัฐวุฒิเป็นจําเลยต่อศาลขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (2)

ให้วินิจฉัยว่า คดีนี้การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 129 “ให้ทําการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่ความตายเป็นผล แห่งการกระทําผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพ ยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล”

มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง “การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่ร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยและพันตํารวจโทไพฑูรย์ได้แสดงหมายจับและขอเข้า ทําการจับกุมนายณัฐวุฒิ แต่ปรากฏว่านายณัฐวุฒิต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุมโดยใช้อาวุธปืนยิงใส่พันตํารวจโทไพฑูรย์ แต่กระสุนปืนถูกร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยเสียชีวิตนั้น ไม่ถือว่าความตายของร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยเป็นความตายที่ เกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุม ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือเป็นกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่แต่อย่างใด

ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนนายณัฐวุฒิใน ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่โดยมิได้แจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวน ในการทําสํานวนการสอบสวนดังกล่าว การสอบสวนย่อมชอบด้วยกฎหมาย เพราะกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง ที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงาน สอบสวนในการทําสํานวนสอบสวนแต่อย่างใด

2 แม้ว่าตาม ป..อาญา มาตรา 129 ได้กําหนดให้พนักงานสอบสวนทําการสอบสวน รวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทําผิดอาญาก็ตาม แต่ก็มิได้ห้ามไม่ให้พนักงาน อัยการฟ้องคดีอาญาต่อศาลในกรณีที่ไม่มีการชันสูตรพลิกศพ (คําพิพากษาฎีกาที่ 2410/2530)

ดังนั้น คดีนี้ แม้พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนโดยมิได้มีการชันสูตรพลิกศพของร้อยตํารวจเอกอิทธิชัย ก็ไม่เป็นเหตุทําให้ พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้อง คดีนี้พนักงานอัยการจึงมีอํานาจฟ้องนายณัฐวุฒิเป็นจําเลยต่อศาลขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (2) ได้

สรุป

คดีนี้การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการมีอํานาจฟ้อง

 

ข้อ 3. นายดําและนายขาวได้ทะเลาะวิวาททําร้ายซึ่งกันและกัน จึงถูกเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมและถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตํารวจภูธรฟ้าใส ระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่นั้นนายดําบีบคอนายขาวจนขาดใจตาย พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์โรงพยาบาลฟ้าใส ซึ่งเป็น โรงพยาบาลของรัฐทําการชันสูตรพลิกศพนายขาว ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใส ทําการสอบสวนดําเนินคดีนายดําฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โดยทําสํานวนสอบสวนแต่ฝ่ายเดียว แล้วส่งสํานวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องนายดําไปยังพนักงานอัยการ

ให้วินิจฉัยว่า การชันสูตรพลิกศพนายขาว และการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรฟ้าใสแต่ฝ่ายเดียว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 150 วรรคสาม “ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ตามวรรคหนึ่ง และให้นําบทบัญญัติในวรรคสอง มาใช้บังคับ”

มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง “การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายดําและนายขาวทะเลาะวิวาททําร้ายซึ่งกันและกัน จึงถูกเจ้าพนักงาน ตํารวจจับกุมและถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตํารวจภูธรฟ้าใส และระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่นั้น นายดําบีบคอนายขาว จนขาดใจตายนั้น ถือว่านายขาวถูกนายตําฆ่าตายระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตํารวจภูธรฟ้าใส และเป็นกรณี ที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ดังนั้น การชันสูตรพลิกศพนายขาว และการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสแต่ฝ่าย เดียว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีการชันสูตรพลิกศพนายขาว ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคสาม ได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การชันสูตรพลิกศพนายขาวนั้นมีเพียงพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลฟ้าใสเท่านั้นโดยไม่มีพนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอ หรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ศพนั้นอยู่ร่วมชันสูตรพลิกศพด้วย ดังนั้น การชันสูตรพลิกศพนายขาวจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคสาม

2 กรณีการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนแต่ฝ่ายเดียว ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงาน สอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสทําการ สอบสวนดําเนินคดีนายดําฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โดยทําสํานวนสอบสวนแต่ฝ่ายเดียวแล้วส่งสํานวนพร้อม ความเห็นควรสั่งฟ้องนายดําไปยังพนักงานอัยการโดยไม่แจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวน ในการทําสํานวนสอบสวนแต่อย่างใด ดังนั้น การทําสํานวนสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใส แต่มายเดียวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง

สรุป

การชันสูตรพลิกศพนายขาว และการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรฟ้าใสแต่ฝ่ายเดียวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ในขณะที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมกําลังขับรถออกตรวจท้องที่เวลา 21.00 น. ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้เห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่นายถั่วลันเตา โดยทั้งนายเทาและนายถั่วลันเตาอยู่ภายในบ้านของนายสับปะรด ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงเข้าไปทําการจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดทันที โดยที่ไม่มีหมายจับและหมายค้น ดังนี้ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมเข้าไปจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน เวองเรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้

(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากําลังกระทําลงในที่รโหฐาน”

มาตรา 96 “การค้นในที่รโหฐานต้องกระทําระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้

(2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งหรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทําการค้น ในเวลากลางคืนก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้เข้าไปจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรด ในเวลากลางคืน (เวลา 21.00 น.) นั้น ถือเป็นการจับในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจการค้นโดยมีหมายค้นหรือมีอํานาจที่กฎหมาย ให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย รวมถึงจะต้องมีอํานาจหน้าที่ที่จะเข้าไปทําการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนด้วย

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมเห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่นายถั่วลันเตานั้น การกระทําของนายเทาถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายถั่วลันเตาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และถือเป็นความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจในการจับนายเทาแม้จะไม่มีหมายจับ และเมื่อเป็นกรณีที่นายเทาได้ กระทําผิดซึ่งหน้าในบ้านของนายสับปะรดซึ่งเป็นที่รโหฐาน จึงถือว่า ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้ทําตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจในการค้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 81 ประกอบมาตรา 92 (2) แล้ว และตามข้อเท็จจริงถือเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งเนื่องจากหาก ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ไม่เข้าไปจับนายเทาในขณะนั้น นายถั่วลันเตาอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 96 (2) ที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมสามารถทําการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนได้ ดังนั้น การเข้าไปจับนายเทาในบ้าน ของนายสับปะรดในเวลากลางคืนของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมเข้าไปจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดชอบด้วยกฎหมาย

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายชะอมมีบุตรนอกสมรสชื่อนายสับปะรดอายุ 16 ปี นายเทาขับรถยนต์โดยประมาทชนนายสับปะรด นายชะอมซึ่งยืนอยู่บริเวณนั้นได้นําตัวนายสับปะรดไปส่งที่โรงพยาบาล เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์ ผู้เชียวชาญได้วินิจฉัยว่า ผลจากการที่ถูกขับรถชนเป็นเหตุให้นายสับปะรดได้รับบาดเจ็บต้องพัก รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการทุกขเวทนาไม่สามารถจะจัดการเองได้เกินกว่าหนึ่งปี หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ นายชะอมยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายเทาฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้นายสับปะรดได้รับบาดเจ็บสาหัส

ดังนี้ นายชะอมมีอํานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทําต่อผู้เยาว์ หรือ ผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(2) ผู้เสียหาย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสับปะรดถูกนายเทาขับรถยนต์โดยประมาทชนได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการทุกขเวทนาไม่สามารถจะจัดการเองได้เกินกว่าหนึ่งปีนั้น ถือว่านายสับปะรด เป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําความผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส อันถือได้ว่านายสับปะรดเป็นผู้เสียหายโดยตรงและเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4)

เมื่อนายสับปะรดมีอายุ 16 ปีซึ่งถือว่าเป็นผู้เยาว์ นายชะอมซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของนายสับปะรดจึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของนายสับปะรด นายชะอมจึงไม่สามารถจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (1) อย่างไรก็ตาม เมื่อนายชะอมเป็นบิดาตามความเป็นจริงของนายสับปะรดซึ่งถือว่า เป็นผู้บุพการี ดังนั้น เมื่อนายสับปะรดถูกนายเทากระทําจนเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ นายชะอมจึงมีอํานาจจัดการแทนนายสับปะรดผู้เสียหายในการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายเทาฐานกระทํา โดยประมาทเป็นเหตุให้นายสับปะรดได้รับอันตรายสาหัสได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ประกอบมาตรา 28 (2)

สรุป นายชะอมมีอํานาจฟ้องคดีนี้

 

ข้อ 2. นายหินเห็นนายถั่วลันเตาคู่อริยืนอยู่ที่ตลาดจึงใช้ปืนที่นําติดตัวมายิงไปที่นายถั่วลันเตา นายถั่วลันเตาหลบได้แต่กระสุนพลาดไปถูกนายคะน้า ทําให้นายคะน้าถึงแก่ความตาย หลังเกิดเหตุนางละมุด มารดาของนายคะน้าเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนและ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จ จึงทําการสรุปสํานวนพร้อมทําความเห็น ควรสั่งฟ้องส่งไปให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายหินต่อศาลฐานฆ่านายคะน้า โดยเจตนา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องคดี เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ พนักงานอัยการยื่นอุทธรณ์ ระหว่างศาลอุทธรณ์พิจารณาคดี นายถั่วลันเตายื่นฟ้องนายหินฐาน พยายามฆ่านายถั่วลันเตา

ดังนี้ นายถั่วลันเตาจะยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายหินฐานพยายามฆ่านายถั่วลันเตาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กรณีที่สิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีคําพิพากษา เสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1 จําเลยในคดีเรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน

2 การกระทําของจําเลยเป็นการกระทํากรรมเดียวกัน

3 ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหินใช้ปืนยิ่งไปที่นายถั่วลันเตา นายถั่วลันเตาหลบได้แต่กระสุน พลาดไปถูกนายคะน้าทําให้นายคะน้าถึงแก่ความตายนั้น การกระทําของนายหินถือเป็นการกระทํากรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท คือ การกระทําของนายหินต่อนายถั่วลันเตาเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายถั่วลันเตา และการกระทําของนายหินต่อนายคะน้าเป็นความผิดฐานฆ่านายคะน้าโดยเจตนา (โดยพลาด) เมื่อพนักงานอัยการ ได้ยื่นฟ้องนายหินต่อศาลฐานฆ่านายคะน้าโดยเจตนา และศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องคดี เนื่องจาก พยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือนั้น ย่อมถือว่าศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว ดังนั้น การที่นายถั่วลันเตาซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทําของนายหินจะยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายหินฐาน พยายามฆ่านายถั่วลันเตานั้นย่อมไม่อาจฟ้องได้เพราะสิทธิในการนําคดีอาญามาฟ้องได้ระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) เนื่องจากจําเลยในคดีแรกและจําเลยในคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน และการกระทําของจําเลย เป็นการกระทํากรรมเดียวกัน ซึ่งถ้าหากนายถั่วลันเตาจะฟ้องนายหินอีกก็จะเป็นฟ้องซ้ำ ซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

สรุป

นายถั่วลันเตาจะยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายหินฐานพยายามฆ่าอีกไม่ได้

 

ข้อ 3. ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมพบนายลองกองกําลังวิ่งไล่จับนายมะไฟมาตามทางสาธารณะและได้ยินนายลองกอง ความไม่ร้องตะโกนว่า “จับที จับทีมันขโมยสร้อยทอง” ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้เข้าทําการจับนายมะไฟหลังจากทําการจับ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้ค้นตัวนายมะไฟแล้วพบว่ามีสร้อยทองของนายลองกอง อยู่ในกระเป๋ากางเกงของนายมะไฟ ดังนี้ การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมค้นตัว นายมะไฟหลังจากทําการจับ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใด โดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือพบใน อาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ

อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดังระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้น เป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดังนี้

(1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดังผู้กระทําโดยมีเสียงร้องเอะอะ”

มาตรา 85 วรรคหนึ่ง “เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอํานาจค้นตัวผู้ต้องหาและ ยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมพบนายลองกองกําลังวิ่งไล่จับนายมะไฟมาตาม ทางสาธารณะ และได้ยินนายลองกองร้องตะโกนว่า “จับที จับทีมันขโมยสร้อยทอง” นั้น ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า ประเภทที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคสอง (1) เนื่องจากการที่นายลองกองร้องเอะอะว่า “จับที จับทีมันขโมยสร้อยทอง” นั้น การกระทําของนายมะไฟ คือผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุอยู่ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบกับ นายมะไฟถูกนายลองกองวิ่งไล่จับดังว่านายมะไฟได้กระทําความผิดมา ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจในการจับ นายมะไฟแม้ไม่มีหมายจับ ดังนั้น การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมในกรณีดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนการที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้ค้นตัวนายมะไฟหลังจากทําการจับชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เห็นว่า เมื่อการจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมายแล้ว ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมย่อมมีอํานาจค้นตัวนายมะไฟ ผู้ต้องหาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมค้นตัวนายมะไฟหลังจากทําการจับ จึงชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

สรุป

การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมาย และการที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมค้นตัว นายมะไฟหลังทําการจับก็ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

 

ข้อ 4. พ.ต.ต.เก่งกล้าพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนนายตะขบผู้ต้องหาอายุ 28 ปี ในข้อหาส่งเสียงทําให้เกิดเสียงหรือกระทําความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทําให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 หากก่อนเริ่มถามคําให้การ พ.ต.ต.เก่งกล้าไม่ได้สอบถามนายตะขบว่ามีทนายความหรือไม่ แต่ได้ แจ้งข้อหา และแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง ให้ทราบก่อนถามคําให้การ หลังจากที่นายตะขบได้ฟังการแจ้งสิทธิมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง นายตะขบแจ้งกับ พ.ต.ต. เก่งกล้าว่า นายตะขบไม่ต้องการให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตน

พ.ต.ต.เก่งกล้าจึงถามคําให้การนายตะขบโดยที่ไม่มีทนายความ และนายตะขบยอมให้การโดย เต็มใจ พ.ต.ต.เก่งกล้าจึงจดคําให้การไว้

ดังนี้ การที่ พ.ต.ต.เก่งกล้าไม่ได้สอบถามนายตะขบว่ามีทนายความหรือไม่ก่อนเริ่มถามคําให้การ สามารถกระทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทําให้เกิดเสียงหรือกระทําความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทําให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 134/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหา มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหา ว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้”

มาตรา 134/2 “ให้นําบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวน ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี”

มาตรา 134/3 “ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้”

มาตรา 134/4 “ในการถามคําให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคําให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้

ถ้อยคําใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่ จะดําเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของผู้นั้นไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ พ.ต.ต.เก่งกล้าพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนนายตะขบผู้ต้องหา อายุ 28 ปี ในข้อหาส่งเสียงทําให้เกิดเสียงหรือกระทําความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทําให้ประชาชนตกใจ หรือเดือดร้อนตาม ป.อาญา มาตรา 370 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทนั้น เมื่อคดีดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มี อัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี หรือคดีที่มีอัตราโทษจําคุกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เป็นคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว ดังนั้น กรณีที่ พ.ต.ต.เก่งกล้าไม่ได้สอบถามนายตะขบ ว่ามีทนายความหรือไม่ก่อนเริ่มถามคําให้การ แต่ได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อาญามาตรา 134/4 วรรคหนึ่งให้นายตะขบทราบก่อนถามคําให้การ และหลังจากที่นายตะขบได้ฟังการแจ้งสิทธิตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่งแล้ว นายตะขบได้แจ้งกับ พ.ต.ต.เก่งกล้าว่าตนไม่ต้องการให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟัง การสอบปากคําของตน และ พ.ต.ต.เก่งกล้าจึงถามคําให้การนายตะขบโดยไม่มีทนายความ และนายตะขบ ยอมให้การโดยเต็มใจ พ.ต.ต.เก่งกล้าจึงจดคําให้การไว้นั้น ถือว่าการสอบสวนของ พ.ต.ต.เก่งกล้าขอบด้วย กฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4 ประกอบมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 แม้ก่อนเริ่ม ถามคําให้การ พ.ต.ต.เก่งกล้าจะไม่ได้สอบถามนายตะขบว่ามีทนายความหรือไม่ก็ตาม

สรุป

การที่ก่อนเริ่มถามคําให้การ พ.ต.ต.เก่งกล้าไม่ได้สอบถามนายตะขบว่ามีทนายความ หรือไม่นั้น สามารถกระทําได้

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1.นายเป็ดแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่านายไก่ใช้ไม้ตีรถยนต์ของนายเป็ดได้รับความเสียหาย ขอให้มีหมายเรียกนายไก่มารับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แล้วจะไม่เอาเรื่อง พนักงานสอบสวน จึงสอบคําให้การนายเป็ดไว้ ต่อมานายไก่มาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก พนักงานสอบสวน ได้ทําการสอบสวนแจ้งข้อหาแก่นายไก่ตามกฎหมาย ฐานทําให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความหรือความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งนายไก่ให้การปฏิเสธโดย ขอให้การในชั้นศาล และยังให้การด้วยว่านายเป็ดโกงเงินผม นายเป็ดกลัวนายไก่จะแจ้งความกลับ ฐานฉ้อโกง จึงไม่มาพบพนักงานสอบสวนอีกเลย พนักงานสอบสวนสรุปสํานวนมีความเห็นควร สั่งฟ้องนายไก่ตามข้อกล่าวหาดังกล่าวส่งพนักงานอัยการพิจารณา

ให้วินิจฉัยว่า พนักงานอัยการจะฟ้องนายไก่ฐานทําให้เสียทรัพย์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมี คําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

โดยหลักการแล้วพนักงานอัยการเป็นบุคคลผู้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (1) แต่ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน (ป.วิ.อาญา มาตรา 120) และถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะได้มีคําร้องทุกข์ ตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเป็ดผู้เสียหายได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่านายไก่ใช้ไม้ ตีรถยนต์ของนายเป็ดได้รับความเสียหาย ขอให้มีหมายเรียกนายไก่มารับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น การแจ้งความ ดังกล่าวของนายเป็ดไม่ถือว่าเป็นคําร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7) เพราะการแจ้งความหรือการกล่าวหา ของนายเป็ดนั้นได้กล่าวโดยไม่มีเจตนาที่จะให้นายไก่ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ

เมื่อความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 358 เป็นความผิดอันยอมได้หรือความผิด ต่อส่วนตัว เมื่อไม่มีคําร้องทุกข์ของนายเป็ดผู้เสียหาย พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอํานาจทําการสอบสวน ดังนั้น การที่ พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนและแจ้งข้อหาแก่นายไก่ การสอบสวนดังกล่าวจึงมิชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง จึงให้ถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนในความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์มาก่อน และเมื่อถือว่ามิได้มีการสอบสวน ในความผิดนั้นมาก่อน พนักงานอัยการจึงไม่มีอํานาจฟ้องนายไก่ฐานทําให้เสียทรัพย์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120

สรุป พนักงานอัยการจะฟ้องนายไก่ฐานทําให้เสียทรัพย์ไม่ได้

 

ข้อ 2. นายดําสักรถจักรยานยนต์ของนายแดงที่จังหวัดราชบุรีและนํามาขายให้แก่นายขาวที่จังหวัดนครปฐมนายแดงได้ร้องทุกข์ต่อร้อยตํารวจเอกม่วง พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองราชบุรี หลังจากร้อยตํารวจเอกม่วงได้รับคําร้องทุกข์แล้ว ต่อมานายดําถูกดาบตํารวจฟ้าจับได้ที่จังหวัดราชบุรีและ ถูกดําเนินคดี โดยพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายดําเป็นจําเลยในความผิดฐานลักทรัพย์เวลากลางคืน อันเป็นคดีลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ต่อศาลจังหวัดราชบุรี เมื่อศาลจังหวัดราชบุรีได้พิพากษาลงโทษ นายดําจําเลยแล้ว ปรากฏว่าสิบตํารวจเอกเหลืองซึ่งเป็นตํารวจประจําสถานีตํารวจภูธรเมืองนครปฐม จับนายขาวได้ที่จังหวัดนครปฐมพร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ของนายแดงที่ถูกนายดําลักไปและได้นําตัวนายขาวไปส่งให้แก่ร้อยตํารวจเอกเขียว พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองนครปฐม

ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสอบสวนคดีของนายขาว ในความผิดฐานรับของโจร และพนักงานอัยการจะฟ้องนายขาวเป็นจําเลยในความผิดฐานรับของโจร ต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 19 “ในกรณีดังต่อไปนี้

(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทําต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่า ท้องที่หนึ่งขึ้นไป

พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอํานาจสอบสวนได้ ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

(ข) ถ้าจับตัวผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทําผิด ก่อนอยู่ในเขตอํานาจ”

มาตรา 24 “เมื่อความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันโดยเหตุหนึ่งเหตุใดเป็นต้นว่า

(1) ปรากฏว่าความผิดหลายฐานได้กระทําลงโดยผู้กระทําผิดคนเดียวกัน หรือผู้กระทําผิด หลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทําความผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้หรือรับของโจรก็ตาม

ดังนี้จะฟ้องคดีทุกเรื่อง หรือฟ้องผู้กระทําความผิดทั้งหมด.ต่อศาลซึ่งมีอํานาจชําระในฐาน ความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าไว้ก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําลักรถจักรยานยนต์ของนายแดงที่จังหวัดราชบุรีและนํามาขาย ให้แก่นายขาวที่จังหวัดนครปฐม ความผิดฐานลักทรัพย์และความผิดฐานรับของโจรในทรัพย์ชิ้นเดียวกันนั้น เป็น ความผิดต่อเนื่องตามความหมายของ ป.วิ.อาญา มาตรา 19 (3) ดังนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ที่เกี่ยวข้องมีอํานาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่งตอนท้าย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 3903/2531)

เมื่อนายแดงได้ร้องทุกข์ต่อร้อยตํารวจเอกม่วงพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองราชบุรี และร้อยตํารวจเอกม่วงได้รับคําร้องทุกข์ไว้แล้ว ร้อยตํารวจเอกม่วงพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทํา ความผิดก่อนย่อมมีอํานาจทําการสอบสวนได้และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสอบสวนคดีของนายขาว ในความผิดฐานรับของโจรตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 วรรคสอง (ข) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1126/2544)

แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเกิดที่จังหวัดราชบุรีกับความผิดฐานรับของโจรซึ่งเกิดขึ้นที่ จังหวัดนครปฐมเกิดต่างท้องที่กัน แต่ทรัพย์ที่ถูกลักกับรับของโจรนั้นเป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน คือรถจักรยานยนต์ของ นายแดงผู้เสียหาย โดยถูกลักไปจากท้องที่หนึ่งแล้วนําไปจําหนายให้แก่นายยาวผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง จึงเป็น ความผิดหลายฐานเกี่ยวพันกัน โดยมีผู้กระทําความผิดหลายคน มีทั้งที่เป็นตัวการ ลักทรัพย์ ผู้สมรู้ และรับของโจร ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 24 (1) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 2455/2550)

และตามกฎหมายความผิดฐานลักทรัพย์เวลากลางคืนมีอัตราโทษสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร ดังนั้นพนักงานอัยการจึงฟ้องนายขาวเป็นจําเลยในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลจังหวัดราชบุรีที่มีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 24 วรรคสอง (เทียบ คําพิพากษาฎีกาที่ 2455/2550)

สรุป พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองราชบุรีเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ สอบสวนคดีของนายขาวในความผิดฐานรับของโจร และพนักงานอัยการจะฟ้องนายขาวเป็นจําเลยในความผิด ฐานรับของโจรต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้

 

ข้อ 3. นายเปรมได้กระทําความผิดข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่และข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กําลังประทุษร้าย เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนคดีนี้เสร็จแล้ว พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายเปรมในข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ขอให้ลงโทษตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องคดี เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ พนักงาน อัยการยื่นอุทธรณ์ ระหว่างศาลอุทธรณ์พิจารณาคดี พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายเปรมข้อหาต่อสู้ ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กําลังประทุษร้าย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138

ดังนี้ พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายเปรมข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้ กําลังประทุษร้ายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กรณีที่สิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีคําพิพากษา เสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1 จําเลยในคดีแรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน

2 การกระทําของจําเลยเป็นการกระทําเดียวกัน

3 ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเปรมได้กระทําความผิดข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการ ตามหน้าที่และข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กําลังประทุษร้าย และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายเปรม ในข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา มาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้องคดี เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือนั้น ย่อมถือว่าศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาด ในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว ดังนั้น การที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายเบรมข้อหาต อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้ กําลังประทุษร้ายตาม ป.อาญา มาตรา 138 อีก เมื่อเหตุแห่งการยื่นฟ้องนายเปรมครั้งหลังเป็นการกระทําเดียวกันกับ เหตุที่นายเปรมถูกฟ้องในครั้งแรก และผู้ถูกฟ้องเป็นจําเลยคนเดียวกัน ดังนั้น การฟ้องของพนักงานอัยการ ครั้งหลังจึงเป็นการฟ้องซ้ํา ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษ นายเปรมข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กําลังประทุษร้ายไม่ได้ เพราะสิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4)

สรุป

พนักงานอัยการจะยื่นฟ้องให้ศาลลงโทษนายเปรมข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้ กําลังประทุษร้ายไม่ได้เพราะเป็นฟ้องซ้ํา

 

ข้อ 4. นายสับปะรดได้เชิญ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม และนายเทาให้ไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านของนายสับปะรด ขณะอยู่ในบ้านของนายสับปะรด ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจําได้ว่านายเทาเป็นคนร้ายที่ศาล ได้ออกหมายจับไว้แล้ว ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมซึ่งได้นําหมายจับนายเทาติดตัวมาด้วย ได้แจ้งนายเหาว่า ต้องถูกจับและนําหมายจับเข้าจับกุมนายเทา

ดังนี้ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 57 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้จะจับขัง จําคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีคําสั่ง หรือหมายของศาลสําหรับการนั้น

บุคคลซึ่งต้องขังหรือจําคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้จับกุม นายเทาในบ้านของนายสับปะรดนั้น ถือเป็นการจับในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจัย โดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมาย ให้ทําการจับได้โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อาญา อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจในการค้นโดยมีหมายค้น หรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 57

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจับนายเท่านั้นเป็นการจับตามหมายจับ แม้จะเป็นการจับในที่รโหฐานก็ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 81 เพราะการที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้เข้าไปในบ้าน ของนายสับปะรดซึ่งเป็นที่รโหฐานอันถือเสมือนเป็นการค้นในที่รโหฐานนั้น เป็นการเข้าไปโดยชอบ เนื่องจาก นายสับปะรดเจ้าของผู้ครอบครองที่รโหฐานเชื้อเชิญให้เข้าไป ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงไม่ต้องขอหมายค้นของศาล เพื่อเข้าไปค้นบ้านที่ตนอยู่ในบ้านโดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรด จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดชอบด้วยกฎหมาย

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายดนัยอยู่กินกับนางลดาฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันชื่อนายสกล นายกฤตย์เป็นศัตรูกับนายสกล นายกฤตย์ทําร้ายร่างกายนายสกลจนเป็นเหตุให้นายสกลถึงแก่ความตาย แต่นายกฤตย์กลัวความผิด จึงนําศพของนายสกลไปฝังไว้ที่สวนหลังบ้านเพื่อซ่อนศพ ไม่ให้เป็นหลักฐานทางคดี ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนคดีนี้ตามกระบวนการ สอบสวนจนเสร็จสิ้น ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายกฤตย์ฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 เละฐานซ่อนเร้นศพ เพื่อปิดบังการตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 199 ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดี นายดนัยได้ยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้นายดนัย เข้าร่วมเป็นโจทก์ทุกข้อหา คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้นายดนัยเข้าร่วมเป็นโจทก์ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตาม เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ผู้ที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาได้นั้น จะต้องเป็น ผู้เสียหายตามความใน ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ซึ่งอาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง หรืออาจเป็นผู้มีอํานาจจัดการแทน ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 4, 5 และ 6 ก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้นายดนัยเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน อัยการทุกข้อหานั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายดนัยขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหาทําร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 นั้น เมื่อนายดนัยเป็นบิดาของนายสกล และแม้จะเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนายดนัยอยู่กินกับนางลดาฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ก็ถือว่านายดนัยเป็นบุพการีของนายสกล ดังนั้น เมื่อนายสกลบุตรของตนซึ่งเป็นผู้เสียหายถูกทําร้ายถึงตาย นายดนัยจึงสามารถขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 3 (2), มาตรา 5 (2) และ มาตรา 30 คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้นายดนัยเข้าร่วมเป็นโจทก์กรณีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

2 การที่นายดนัยขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานซ่อนเร้นศพ เพื่อปิดบังการตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 199 นั้น ในฐานความผิดดังกล่าวถือเป็นความผิดอาญา ต่อรัฐ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่สามารถเป็นผู้เสียหายได้ ดังนั้น นายดนัยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายใน ความผิดฐานดังกล่าว จึงไม่สามารถขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 ได้ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้นายดนัยเข้าร่วมเป็นโจทก์ในกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้นายดนัยเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหา ทําร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายชอบด้วยกฎหมาย แต่คําสั่งของศาลชั้นต้นให้นายดนัยเข้าร่วม เป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานซ่อนเร้นศพเพื่อปิดบังการตายไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2.นายตะวันขับรถมาด้วยความประมาทชนรถยนต์ของนายจันทราเป็นเหตุให้นายจันทราถึงแก่ความตาย นางดวงดาวภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจันทราจึงเป็นโจทก์ฟ้องนายตะวันในความผิด ฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้นายจันทราถึงแก่ความตาย ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วสังประทับฟ้อง ไว้พิจารณา ต่อมานางดวงดาวประสบอุบัติเหตุ นายภูผาบิดาของนายจันทราเกรงว่านางดวงดาว จะไม่สามารถดําเนินคดีต่อไป จึงยื่นฟ้องนายตะวันฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย นายภูผาจะดําเนินคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (2) ผู้เสียหาย” และ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ…” วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายตะวันขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์ของนายจันทราเป็นเหตุ ให้นายจันทราถึงแก่ความตายนั้น นางดวงดาวภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจันทราย่อมมีอํานาจจัดการแทน ผู้เสียหาย โดยเป็นโจทก์ฟ้องนายตะวันในความผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้นายจันทราถึงแก่ความตายได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) มาตรา 5 (2) และมาตรา 28 (2)

เมื่อคดีที่นางดวงดาวเป็นโจทก์ฟ้องนายตะวัน ศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วและสั่งประทับฟ้อง ไว้พิจารณา ถือว่าคดีดังกล่าวนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาแล้ว ดังนั้นแม้ต่อมาจะปรากฏว่านางดวงดาวประสบ อุบัติเหตุ และนายภูผาซึ่งเป็นบิดาของนายจันทราและอยู่ในฐานะเดียวกับนางดวงดาวตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ย่อมไม่สามารถฟ้องนายตะวันในความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้อีก เพราะจะเป็นการฟ้องซ้อน และต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง (1)

สรุป

นายภูผาจะดําเนินคดีไม่ได้

 

ข้อ 3. นางสาวฤดีร้องทุกข์ต่อพันตํารวจโทเอกราชพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าถูกนายวิทยาข่มขืนกระทําชําเรา ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพันตํารวจโทเอกราชสงสัยว่านายวิทยาผู้ต้องหาเป็นผู้กระทํา ความผิดเกี่ยวกับเพศฐานข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท

ให้วินิจฉัยว่า คดีนี้ในชั้นสอบสวนพันตํารวจโทเอกราชมีอํานาจขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์และเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากร่างกายของนายวิทยาได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 131 “ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทําได้ เพื่อ ประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทําผิดและ พิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิของผู้ต้องหา”

มาตรา 131/1 “ในกรณีที่จําเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามมาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนมีอํานาจให้ทําการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ได้

ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินสามปี หากการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง จําเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขนน้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมี อํานาจให้แพทย์หรือผู้เชียวชาญดําเนินการตรวจดังกล่าวได้ แต่ต้องกระทําเพียงเท่าที่จําเป็นและสมควร…”

วินิจฉัย

ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินสามปี หากพนักงานสอบสวนจะทําการ ตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และจําเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง สารคัดหลั่ง ฯลฯ เพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริงและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบมีอํานาจให้แพทย์หรือผู้เชียวชาญดําเนินการตรวจดังกล่าวได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 131 มาตรา 131/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวฤดีร้องทุกข์ต่อพันตํารวจโทเอกราชพนักงานสอบสวน กล่าวหาว่าถูกนายวิทยาข่มขืนกระทําชําเรา ซึ่งความผิดเกี่ยวกับเพศฐานข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่นตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึง สี่แสนบาท ซึ่งมีระวางโทษจําคุกอย่างสูงเกินสามปีนั้น เมื่อพันตํารวจโทเอกราชสงสัยว่านายวิทยาผู้ต้องหาเป็น ผู้กระทําความผิดและต้องการให้แพทย์ตรวจพิสูจน์และเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากร่างกายของนายวิทยา เพราะ ประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความผิดที่นายวิทยาผู้ต้องหาถูกกล่าวหา พันตํารวจโทเอกราชย่อมมีอํานาจ ที่จะขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์และเก็บตัวอย่างสารคัดหลังจากร่างกายของนายวิทยา ซึ่งเป็นการตรวจพิสูจน์บุคคล โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของนายวิทยา ผู้ต้องหาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 131 และมาตรา 131/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

สรุป

ในชั้นสอบสวน พันตํารวจโทเอกราชมีอํานาจขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์และเก็บตัวอย่าง สารคัดหลังจากร่างกายนายวิทยาได้

 

ข้อ 4. ร.ต.อ.แดง สืบทราบว่าขณะนี้นายดําผู้ต้องหาซึ่งศาลได้ออกหมายจับในข้อหาชิงทรัพย์กําลังยืนอยู่ที่หน้าบ้านซึ่งนายดําเป็นเจ้าบ้าน ร.ต.อ.แดงจึงรีบเดินทางไปที่บ้านของนายดําโดยนําหมายจับนายดําไปด้วย เมื่อ ร.ต.อ.แดงไปถึงบ้านนายดํา เห็นนายดํายืนอยู่ที่หน้าบ้านของนายดํา นายดําเมื่อเห็น ร.ต.อ.แดง นายดําจึงรีบเดินเข้าไปในภายในบ้านของตน ร.ต.อ.แดงจึงนําหมายจับเข้าไปจับนายดํา ในบ้านหลังดังกล่าวทันทีโดยไม่มีหมายค้น ดังนี้ การที่ ร.ต.อ.แดง นําหมายจับเข้าไปจับนายดําในบ้านของนายดําทันทีโดยไม่มีหมายค้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 57 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้จะจับ ขัง จําคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีคําสั่ง หรือหมายของศาลสําหรับการนั้น

บุคคลซึ่งต้องขังหรือจําคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้

(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.แดงได้เข้าไปจับกุมนายดําในบ้านนั้นถือเป็นการจับในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้โดยไม่ต้อง มีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อาญา อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจในการค้นโดยมีหมายค้น หรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 57

ตามข้อเท็จจริง เมื่อนายดําเป็นผู้ต้องหาซึ่งศาลได้ออกหมายจับแล้ว แม้ ร.ต.อ.แดงจะไม่มี หมายค้น แต่เมื่อนายดําเป็นเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว ร.ต.อ.แดงจึงสามารถเข้าไปในบ้านหลังนี้ได้โดยไม่ต้องมี หมายค้น เนื่องจากที่รโหฐานนั้น ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับ ร.ต.อ.แดงจึงสามารถ ทําการจับนายดําในบ้านได้แม้จะไม่มีหมายค้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 81 ประกอบมาตรา 92 (5) ดังนั้น การจับ ของ ร.ต.อ.แดงจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การที่ ร.ต.อ.แดงนําหมายจับเข้าไปจับนายดําในบ้านของนายดําทันทีโดยไม่มีหมายค้นนั้น ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายหนึ่งออกเช็คชําระหนี้ให้นายสอง 100,000 บาท นายสองโอนเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้นายสาม นายสามนําเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเมื่อเช็คถึงกําหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชี มาของการ นายหนึ่งไม่พอจ่าย นายสามนำเช็คมาคืนนายสองและได้รับเงินสด 100,000 บาทจากนายสองไปแล้ว

วันรุ่งขึ้นนายสองนําเช็คดังกล่าวไปขึ้นเงินที่ธนาคารอีกครั้งหนึ่ง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วย เหตุผลเดิม นายสองจึงนําเช็คไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดีอาญานายหนึ่ง ตาม พ.ร.บ. เช็คฯ เมื่อพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ ลงโทษนายหนึ่งตาม พ.ร.บ. เช็คฯ ระหว่างศาลชั้นต้นพิจารณาคดี นายสองยื่นคําร้องต่อศาลขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล จะวินิจฉัยคดีของพนักงานอัยการ และคำร้องของนายสองว่าอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนใน ความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่ จะมีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

โดยหลัก ผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ คือ ผู้ทรงเช็ค ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน (คําพิพากษาฎีกาที่ 1035/2529) นายสามจึงเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 2 (4) มิใช่นายสอง เพราะนายสองได้โอนเช็คให้นายสามแล้ว แม้จะได้รับเช็คคืนจากนายสามในภายหลัง

สําหรับการร้องทุกข์นั้น ผู้ร้องทุกข์ต้องเป็นผู้เสียหายในความผิดที่ร้องทุกข์ เมื่อปรากฎ ข้อเท็จจริงว่านายสองไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ การแจ้งความของนายสองจึงไม่เป็นคําร้องทุกข์ตามมาตรา 2 (7) และเมื่อความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็คฯ เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อไม่มีคําร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอํานาจสอบสวนตามมาตรา 121 วรรคสอง ดังนั้นการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนดําเนินการไปจึงเป็นการสอบสวนที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นผลให้พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องตามมาตรา 120 ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง

ส่วนคําร้องของนายสองที่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง คดีของพนักงานอัยการแล้ว จึงถือว่าไม่มีคําฟ้องของพนักงานอัยการอยู่ในศาล นายสองจึงเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้ อีกทั้งกรณีนี้นายสองก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอํานาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30 อีกด้วย

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และสั่งยกคําร้องของ นายสอง

 

ข้อ 2. นายเชิดลักรถจักรยานยนต์ของนายชอบที่จังหวัดราชบุรีและนํามาขายให้แก่นายชมที่จังหวัดนครปฐม นายชอบได้ร้องทุกข์ต่อร้อยตํารวจเอกชูชาติ พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองราชบุรี หลังจากร้อยตํารวจเอกขชาติได้รับคําร้องทุกข์แล้ว 3 วัน นายเชิดถูกดาบตํารวจชาติชายจับได้ที่ จังหวัดราชบุรีและถูกดําเนินคดี โดยพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายเชิดเป็นจําเลยในความผิดฐาน ลักทรัพย์เวลากลางคืน อันเป็นคดีลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ต่อศาลจังหวัดราชบุรี เมื่อศาลจังหวัด ราชบุรีได้พิพากษาลงโทษนายเชิดจําเลยไปแล้ว ปรากฏว่าสิบตํารวจเอกชูศักดิ์ซึ่งเป็นตํารวจ ประจําสถานีตํารวจภูธรเมืองนครปฐมจับนายชมได้ที่จังหวัดนครปฐมพร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ของ นายซอบที่ถูกนายเชิดลักไปและได้นําตัวนายชมไปส่งให้แก่ร้อยตํารวจเอกชิงชัย พนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรเมืองนครปฐม

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) พนักงานสอบสวนท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีของนายชมในความผิดฐานรับของโจร

(ข) พนักงานอัยการจะฟ้องนายชมเป็นจําเลยในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 19 “ในกรณีดังต่อไปนี้

(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทําต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่า ท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอํานาจสอบสวนได้ ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

(ข) ถ้าจับตัวผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทําผิด ก่อนอยู่ในเขตอํานาจ”

มาตรา 24 “เมื่อความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันโดยเหตุหนึ่งเหตุใดเป็นต้นว่า

(1) ปรากฏว่าความผิดหลายฐานได้กระทําลงโดยผู้กระทําผิดคนเดียวกัน หรือผู้กระทําผิด หลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทําความผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้หรือรับของโจรก็ตาม

ดังนี้จะฟ้องคดีทุกเรื่อง หรือฟ้องผู้กระทําความผิดทั้งหมดต่อศาลซึ่งมีอํานาจชําระในฐาน ความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าไว้ก็ได้”

วินิจฉัย

(ก) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเชิดลักรถจักรยานยนต์ของนายชอบที่จังหวัดราชบุรีและนํามาขาย ให้แก่นายชมที่จังหวัดนครปฐม ความผิดฐานลักทรัพย์และความผิดฐานรับของโจรในทรัพย์ชิ้นเดียวกันนั้น เป็น ความผิดต่อเนื่องตามความหมายของ ป.วิ.อาญา มาตรา 19 (3) ดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่ เกี่ยวข้องมีอํานาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่งตอนท้าย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 3903/2531)

เมื่อนายชอบได้ร้องทุกข์ต่อร้อยตํารวจเอกชูชาติพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมือง ราชบุรีและร้อยตํารวจเอกชูชาติได้รับคําร้องทุกข์ไว้แล้ว ร้อยตํารวจเอกชูชาติพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ ที่พบการกระทําความผิดก่อนย่อมมีอํานาจทําการสอบสวนได้และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสอบสวนคดี ของนายชมในความผิดฐานรับของโจรตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 วรรคสอง (ข) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1126/2544)

(ข) แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเกิดที่จังหวัดราชบุรีกับความผิดฐานรับของโจรซึ่งเกิดขึ้นที่ จังหวัดนครปฐมเกิดต่างท้องที่กัน แต่ทรัพย์ที่ถูกลักกับรับของโจรนั้นเป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน คือรถจักรยานยนต์ ของนายชอบผู้เสียหาย โดยถูกลักไปจากท้องที่หนึ่งแล้วนําไปจําหน่ายให้แก่นายชมผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง จึงเป็นความผิดหลายฐานเกี่ยวพันกัน โดยมีผู้กระทําความผิดหลายคน มีทั้งที่เป็นตัวการ ลักทรัพย์ ผู้สมรู้ และ รับของโจรตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 24 (1) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 2455/2550)

และตามกฎหมายความผิดฐานลักทรัพย์เวลากลางคืนมีอัตราโทษสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร ดังนั้นพนักงานอัยการจึงฟ้องนายชมเป็นจําเลยในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลจังหวัดราชบุรีที่มีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 24 วรรคสอง (เทียบ คําพิพากษาฎีกาที่ 2455/2550)

สรุป

(ก) พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองราชบุรีเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสอบสวนคดีของนายชมในความผิดฐานรับของโจร

(ข) พนักงานอัยการสามารถฟ้องนายชมเป็นจําเลยในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้

 

ข้อ 3. นางสาวงดงามได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่านายโหดร้ายซึ่งพักอาศัยอยู่ในซอยเดียวกัน ได้กระชากเอาสร้อยคอทองคําหนัก 1 บาท ราคา 19,500 บาท ไปจากคอของนางสาวงดงามแล้ว วิ่งหลบหนีไป ต่อมาเจ้าหน้าที่ตํารวจจับนายโหดร้ายได้ และพนักงานอัยการได้มีคําสั่งฟ้องและยื่นฟ้อง นายโหดร้ายต่อศาลฐานวิ่งราวทรัพย์ พร้อมกับขอศาลมีคําสั่งให้นายโหดร้ายคืนหรือชดใช้ราคา สร้อยคอทองคําเป็นเงิน 19,500 บาท แก่นางสาวงดงามผู้เสียหาย แต่ก่อนเริ่มสืบพยาน นางสาวงดงาม ได้ยื่นคําร้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ว่าขณะที่นายโหดร้ายกระชากสร้อยได้ชกต่อยทําร้าย ร่างกายนางสาวงดงามเพื่อจะแย่งเอาสร้อยคอทองคําไปด้วย เป็นเหตุให้นางสาวงดงามได้รับบาดเจ็บ ปากแตก ขอให้นายโหดร้ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 20,000 บาท อีกทั้งขณะนี้ราคาทองคําขึ้น ขอให้ชดใช้ราคาสร้อยคอทองคําเป็นเงิน 20,500 บาท

ให้วินิจฉัยว่า นางสาวงดงามยื่นคําร้องขอให้นายโหดร้ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาล เป็นเงิน 20,000 บาท และค่าสร้อยคอทองคําเป็นเงิน 20,500 บาท ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 43 “คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทําผิดคืน เมื่อพนักงานยื่นฟ้องคดีอาญาก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย”

มารา 44/1 วรรคท้าย “คําร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคําขอประการอื่นที่มิใช่คําขอบังคับให้ จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทําความผิดของจําเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับคําฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดําเนินการตามความใน มาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 44/1 วรรคท้าย ได้บัญญัติหลักไว้ว่า คําร้องของผู้เสียหายที่ขอให้ ศาลบังคับจําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคําฟ้อง ของพนักงานอัยการ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ฟ้องขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์อีกไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการได้มีคําสั่งฟ้องคดีอาญาดังกล่าวและได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายโหดร้ายต่อศาลในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคําหนัก 1 บาท ราคา 19,500 บาท ของ นางสาวงดงามผู้เสียหายพร้อมกับขอศาลมีคําสั่งให้นายโหดร้ายจําเลยคืนหรือชดใช้ราคาสร้อยคอทองคําเป็นเงิน 19,500 บาท แก่นางสาวงดงามผู้เสียหาย ด้วยนั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนเริ่มสืบพยาน นางสาวงดงามได้ยื่นคําร้องเข้ามา ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ว่า ขณะที่นายโหดร้ายกระชากสร้อยได้ชกต่อยทําร้ายร่างกายนางสางงดงาม เพื่อจะแย่งเอาสร้อยคอทองคําไปด้วยเป็นเหตุให้นางสาวงดงามได้รับบาดเจ็บปากแตกนั้น เป็นกรณีที่นางสาวงดงาม กล่าวหาว่านายโหดร้ายจําเลยกระทําความผิดฐานชิงทรัพย์ ซึ่งแตกต่างจากคําฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ที่ฟ้อง ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คําร้องของนางสาวงดงามจึงขัดหรือแย้งกับคําฟ้องของพนักงานอัยการ ดังนั้น นางสาวงดงามจึงยื่นคําร้องขอให้นายโหดร้ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 20,000 บาท ไม่ได้

และนอกจากนั้น เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องขอให้นายโหดร้ายจําเลยคืนหรือชดใช้ราคา สร้อยคอทองคําจํานวน 19,500 บาท แก่นางสาวงดงามผู้เสียหายแล้ว แม้ขณะนี้ราคาทองคําจะขึ้นสูงกว่า ในขณะเกิดเหตุ นางสาวงดงามก็จะยื่นคําร้องเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 44/1 วรรคท้าย ดังนั้น นางสาวงดงามจะยื่นคําร้องขอให้นายโหดร้ายชดใช้ราคาสร้อยคอทองคําเป็นเงิน 20,500 บาท ไม่ได้

สรุป

นางสาวงดงาม จะยื่นคําร้องขอให้นายโหดร้ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่า รักษาพยาบาลเป็นเงิน 20,000 บาท และค่าสร้อยคอทองคําเป็นเงิน 20,500 บาท ไม่ได้

 

ข้อ 4.นางสับปะรดมีตึกแถวสองชั้น ชั้นหนึ่งของตึกแถวใช้เป็นร้านขายข้าวแกง ส่วนชั้นสองของตึกแถว นางสับปะรดและนายตะขบบุตรชายที่ชอบด้วยกฎหมายอายุ 22 ปี ใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยชั้นสอง ของตึกแถวไม่ให้บุคคลทั่วไปขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาต วันหนึ่ง พ.ต.ต.กล้าหาญได้รับรายงานจากสายลับที่มีความน่าเชื่อถือว่านายตะขบมีเมทแอมเฟตามีน ซุกซ่อนอยู่กับตัว โดยขณะนี้นายตะขบอยู่ภายในร้านขายข้าวแกงซึ่งอยู่ชั้นหนึ่งของตึกแถวของ นางสับปะรด พ.ต.ต.กล้าหาญจึงรีบไปที่ร้านขายข้าวแกงของนางสับปะรดทันที เมื่อ พ.ต.ต.กล้าหาญ ไปถึงร้านขายข้าวแกงของนางสับปะรดในช่วงเวลาที่ร้านขายข้าวแกงยังเปิดทําการขายอาหารอยู่ พ.ต.ต.กล้าหาญได้เดินเข้าไปหานายตะขบและแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตํารวจและขอตรวจค้นตัว นายตะขบ เมื่อ พ.ต.ต.กล้าหาญได้ค้นตัวนายตะขบแล้วได้พบเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่ตัวของ นายตะขบ พ.ต.ต.กล้าหาญจะเข้าทําการจับนายตะขบ นายตะขบได้วิ่งหนีขึ้นไปที่ชั้นสองของตึกแถว พ.ต.ต.กล้าหาญจึงวิ่งตามขึ้นไปจับกุมนายตะขบที่ชั้นสองของตึกแถวทันที ดังนี้ การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใด โดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้

(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทําความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้น ควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น”

มาตรา 93 “ห้ามมิให้ทําการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตํารวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทําความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทําความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสับปะรดมีตึกแถวสองชั้น โดยชั้นหนึ่งของตึกแถวใช้เป็นร้าน ขายข้าวแกง โดยขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ร้านขายข้าวแกงยังคงเปิดทําการขายอาหารอยู่จึงเป็นที่สาธารณสถาน ส่วนชั้นสองของตึกแถวใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยไม่ให้บุคคลทั่วไปขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นที่รโหฐาน

การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตํารวจและขอตรวจค้นนายตะขบในร้าน ขายอาหารขณะเปิดทําการขายอาหารซึ่งเป็นที่สาธารณสถานนั้น โดยหลักแล้วไม่สามารถทําได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ความว่า พ.ต.ต.กล้าหาญได้รับรายงานจากสายลับที่มีความน่าเชื่อถือว่านายตะขบมีเมทแอมเฟตามีน ซุกซ่อนอยู่กับตัว จึงถือว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่านายตะขบมีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดซุกซ่อนอยู่ ดังนั้น พ.ต.ต.กล้าหาญจึงมีอํานาจค้นตัวนายตะขบซึ่งอยู่ที่ร้านอาหารซึ่งเป็นที่สาธารณสถานได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 93 และเมื่อพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่ตัวของนายตะขบ ซึ่งถือเป็นความผิดซึ่งหน้า พ.ต.ต.กล้าหาญจึง มีอํานาจจับตัวนายตะขบได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

และเมื่อนายตะขบได้วิ่งหนีขึ้นไปที่ชั้นสองของตึกแถว และ พ.ต.ต.กล้าหาญได้วิ่งขึ้นไปจับกุม นายตะขบที่ชั้นสองของตึกแถวทันทีนั้น ถือว่าเป็นการจับในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้นอกจากต้องมีอํานาจ ในการจับแล้วยังต้องทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือต้องมีหมายค้นหรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นในที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมาย ซึ่งตามอุทาหรณ์ พ.ต.ต.กล้าหาญได้ทําตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 92 (3) แล้ว เนื่องจากเป็นกรณีที่นายตะขบซึ่งได้กระทําความผิด ซึ่งหน้าขณะที่ถูก พ.ต.ต.กล้าหาญไล่จับหนีเข้าไปในที่รโหฐานนั้น พ.ต.ต.กล้าหาญจึงมีอํานาจตามเข้าไปจับ นายตะขบที่ชั้นสองของตึกแถวได้ ดังนั้น การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญจึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1), มาตรา 80 วรรคหนึ่ง, มาตรา 81 และมาตรา 92 (3)

สรุป การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญชอบด้วยกฎหมาย

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายยงยุทธออกเช็คชําระหนี้ค่าสินค้าให้นายพิชัยจํานวน 100,000 บาท นายพิชัยโอนเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้นายสงคราม นายสงครามนําเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเพื่อเช็คถึงกําหนด แต่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน เพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่าย นายสงครามนําเช็คมาคืนนายพิชัย และได้รับเงินสดจาก นายพิชัยไปแล้วรุ่งขึ้นนายพิชัยนําเช็คดังกล่าวไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดีอาญา นายยงยุทธตาม พ.ร.บ. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อพนักงานสอบสวนเสร็จ พนักงานอัยการ ยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ศาลลงโทษนายยงยุทธตามความผิดดังกล่าว ระหว่างศาลชั้นต้นพิจารณาคดี นายพิชัยยื่นคําร้องต่อศาลขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยกรณีของ พนักงานอัยการ และกรณีของนายพิชัยอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมี คําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

โดยหลัก ผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ คือ ผู้ทรงเช็ค ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน (คําพิพากษาฎีกาที่ 1035/2529) ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ นายสงคราม จึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) มิใช่นายพิชัย เพราะนายพิชัยได้โอนเช็คให้แก่นายสงครามไปแล้ว แม้ในภายหลังจะได้รับเช็คคืนมาจากนายสงครามก็ตาม

สําหรับการร้องทุกข์นั้น ผู้ร้องทุกข์ต้องเป็นผู้เสียหายในความผิดที่ร้องทุกข์ ดังนั้น เมื่อนายพิชัย ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ การแจ้งความของนายพิชัยจึงไม่ เป็นการร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7) และเมื่อความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อไม่มีคําร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอํานาจสอบ วนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ดังนั้น การสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ดําเนินการไปจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผลให้พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ประกอบมาตรา 28 ศาลจึงต้องพิพากษา ยกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และเมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการแล้ว จึงถือว่าไม่มีคําฟ้องของ พนักงานอัยการอยู่ในศาล นายพิชัยซึ่งมิใช่ผู้เสียหาย จึงมิอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 30) ดังนั้น ศาลจึงต้องยกคําร้องการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของนายพิชัย

สรุป

ศาลต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และสั่งยกคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ของนายพิชัย

 

ข้อ 2. ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานทําให้เสียทรัพย์ นายผักบุ้งผู้เสียหายยื่นคําร้องต่อศาลขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลอนุญาต ระหว่างการสืบพยานโจทก์ นายผักบุ้งยื่นคําร้องต่อศาลขอถอนคําร้องที่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ พนักงานอัยการ โดยระบุเหตุผลว่า มีความคิดเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับพนักงานอัยการ หากดําเนินคดี ร่วมกันต่อไปเกรงว่าจะเกิดความเสียหายแก่คดี ศาลอนุญาต ในวันรุ่งขึ้นนายผักบุ้งยื่นคําร้องต่อศาล ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการอีกครั้ง โดยระบุเหตุผลว่าเพื่อการใช้สิทธิอุทธรณ์คดี

ดังนี้ ศาลจะอนุญาตให้นายผักบุ้งเข้าร่วมเป็นโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 36 “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่”

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นายผักบุ้งเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ ในครั้งแรกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่านายผักบุ้งเป็นผู้เสียหาย สามารถดําเนินคดีแก่ จําเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการได้ เสมือนนายผักบุ้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ดังนั้น การที่นาย ผักบุ้งได้ยื่นคําร้องต่อศาลขอถอนคําร้องที่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในระหว่างการสืบพยานโจทก์ และศาลอนุญาต จึงมีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ผู้เสียหายแล้ว และเมื่อความผิดฐานทําให้

เสียทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อมีการถอนฟ้องจึงมีผลทําให้คดีอาญาระงับไปด้วยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) และมีผลตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 คือ นายผักบุ้งจะนําคดีมาฟ้องใหม่ไม่ได้

ดังนั้น เมื่อคดีอาญาดังกล่าวระงับไปแล้ว ศาลจึงต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดีของพนักงานอัยการ และมีคําสั่งยกคําร้องการขอเข้าร่วมเป็นเจทก์กับพนักงานอัยการในครั้งหลังของนายผักบุ้งผู้เสียหาย

สรุป

ศาลจะอนุญาตให้นายผักบุ้งเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการไม่ได้

 

ข้อ 3. ร.ต.อ.กล้าหาญเห็นนายตะขบกําลังทําร้ายนายคะน้าตรงทางสาธารณะ ทําให้นายคะน้าได้รับอันตรายสาหัส ร.ต.อ.กล้าหาญจะเข้าทําการจับนายตะขบแต่นายตะขบวิ่งหนีเข้าไปในบ้านมารดาของนายตะขบ ซึ่งนายตะขบก็พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ด้วย ร.ต.อ.กล้าหาญจึงตามเข้าไปจับนายตะขบในบ้านมารดา ของนายตะขบทันที ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.กล้าหาญชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้

(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทําความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้น ควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.กล้าหาญได้เข้าไปจับกุมนายตะขบในบ้านนั้นถือเป็นการจับ ในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อาญา อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจในการค้น โดยมีหมายค้น หรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.กล้าหาญเห็นนายตะขบกําลังทําร้ายนายคะน้าตรงทางสาธารณะ ทําให้นายคะน้าได้รับอันตรายสาหัสนั้น ถือเป็นความผิดซึ่งหน้าประเภทความผิดซึ่งหน้าอย่าง แท้จริง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ร.ต.อ.กล้าหาญจึงมีอํานาจในการ จับนายตะขบแม้จะไม่มีหมายจับ และการที่นายตะขบได้วิ่งหนีเข้าไปในบ้านมารดาของนายตะขบซึ่งนายตะขบ

ก็พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ด้วย ร.ต.อ.กล้าหาญจึงตามเข้าไปจับนายตะขบในบ้านมารดาของนายตะขบทันทีนั้น ถือว่าการจับของ ร.ต.อ.กล้าหาญเป็นการจับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะ ร.ต.อ.กล้าหาญได้ทําถูกต้องตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐานตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 81 ประกอบมาตรา 92 (3) เนื่องจากเป็นกรณีที่นายตะขบซึ้งได้กระทําความผิดซึ่งหน้าขณะที่ถูก ร.ต.อ.กล้าหาญ ไล่จับได้หนีเข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในบ้านของมารดานายตะขบซึ่งเป็นที่รโหฐาน ร.ต.อ.กล้าหาญจึงมีอํานาจตามเข้าไป จับนายตะขบในบ้านมารดาของนายตะขบได้ทันที

สรุป

การจับของ ร.ต.อ.กล้าหาญชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. พ.ต.ต.ลองกองพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนนายถั่วลันเตาผู้ต้องหาอายุ 26 ปี ในข้อหากระทําชําเราแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําถึงแก่ความตายโดยก่อนเริ่มถาม คําให้การ พ.ต.ต.ลองกองถามนายถั่วลันเตาว่ามีทนายความหรือไม่ นายถั่วลันเตาตอบว่าไม่มีและ ไม่ต้องการทนายความเพราะสํานึกผิดในการกระทํา พ.ต.ต.ลองกองจึงแจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิของ ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง ให้ทราบก่อน ถามคําให้การ หลังจากที่นายถั่วลันเตาได้ฟังการแจ้งสิทธิดังกล่าวนายถั่วลันเตายังยืนยันต่อ พ.ต.ต.สองกองว่า ไม่ต้องการทนายความ พ.ต.ต.ลองกองจึงถามคําให้การนายถั่วลันเตาโดยที่ไม่มี ทนายความและนายถั่วลันเตายอมให้การโดยเต็มใจ พ.ต.ต.สองกองจึงจดคําให้การไว้ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายถั่วลันเตาในข้อหากระทําชําเราแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําถึงแก่ความตาย นายถั่วลันเตาต่อสู้ว่า พ.ต.ต.ลองกองไม่ได้จัดหาทนายความ ให้นายถั่วลันเตาจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงไม่มีอํานาจฟ้อง

ดังนี้ ข้อต่อสู้ของนายถั่วลันเตาฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 ตรี “ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 276 วรรคสาม หรือมาตรา 277 วรรคสี่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทํา (2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทําต้อง ระวางโทษประหารชีวิต”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน สิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้”

มาตรา 134/4 “ในการถามคําให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคําให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้

ถ้อยคําใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่ จะดําเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของผู้นั้นไม่ได้”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา (ไม่คํานึงว่าในขณะกระทําความผิดจะมีอายุเท่าใดก็ตาม) ก่อนเริ่มถามคําให้การให้ พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ กรณีนี้เป็นบทบังคับเด็ดขาด หากผู้ต้องหาไม่มีทนายความและแม้จะไม่ต้องการก็ต้องจัดหาทนายความให้เสมอ (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายถั่วลันเตาในข้อหากระทําชําเราแก่เด็ก อายุยังไม่เกิน 13 ปี เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตนั้น ก่อนเริ่มถาม คําให้การ พ.ต.ต.ลองกองพนักงานสอบสวนต้องถามนายถั่วลันเตาว่ามีทนายความหรือไม่ หากนายถั่วลันเตาไม่มี ทนายความ ไม่ว่านายถั่วลันเตาจะต้องการทนายความหรือไม่ก็ตามก็ต้องจัดหาทนายความให้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พ.ต.ต.ลองกองไม่จัดหาทนายความให้แก่นายถั่วลันเตาและถามคําให้การนายถั่วลันเตาโดยไม่มีทนายความ ซึ่งถือเป็น การไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การที่ พ.ต.ต.ลองกองไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายดังกล่าวถือเป็นเพียงเหตุทําให้ถ้อยคําใด ๆ ที่นายถั่วลันเตาได้ให้ไว้ต่อ พ.ต.ต.ลองกองไม่สามารถรับฟัง เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของนายถั่วลันเตาตามมาตรา 134/4 วรรคท้ายเท่านั้น หาทําให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดไม่

ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้มีการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอํานาจฟ้องคดีนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 การที่นายถั่วลันเตาต่อสู้ว่าเป็นการสอบสวนที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงไม่มีอํานาจฟ้องนั้น ข้อต่อสู้ของนายถั่วลันเตาจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้อต่อสู้ของนายถั่วลันเตาฟังไม่ขึ้น

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นางแดงจดทะเบียนตามกฎหมายรับเด็กหญิงขาวบุตรของนางเหลืองมาเป็นบุตรบุญธรรมเพราะเห็นว่าเด็กหญิงขาวกําพร้าบิดาที่เสียชีวิตไปเนื่องจากอุบัติเหตุ ปรากฏว่าขณะที่นางแดงกําลังพา เด็กหญิงขาวข้ามถนนบริเวณช่องทางข้าม (ทางม้าลาย) นายม่วงขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อ ชนเด็กหญิงขาวถึงแก่ความตาย ให้วินิจฉัยว่า ระหว่างนางแดงกับนางเหลือง บุคคลใดเป็นผู้มีอํานาจ จัดการแทนเด็กหญิงขาวผู้เสียหาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) “ผู้บุพการี” ซึ่งมีอํานาจจัดการแทนผู้เสียหายในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้นั้น หมายถึง ผู้บุพการีตามความเป็นจริง คือเป็นผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย (คําพิพากษาฎีกาที่ 1384/2516 ประชุมใหญ่)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางแดงจดทะเบียนตามกฎหมายรับเด็กหญิงขาวบุตรของนางเหลือง มาเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาเด็กหญิงขาวได้ถูกนายม่วงขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนจนเด็กหญิงขาว ถึงแก่ความตายนั้น ระหว่างนางแดงกับนางเหลืองบุคคลใดเป็นผู้มีอํานาจจัดการแทนเด็กหญิงขาวผู้เสียหายนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนางแดง

เมื่อนางแดงเป็นเพียงผู้รับบุตรบุญธรรมของเด็กหญิงขาวเท่านั้น นางแดง จึงมิใช่ผู้บุพการีตามความเป็นจริงของเด็กหญิงขาว ตามนัยของ ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ดังนั้น นางแดงจึง ไม่มีอํานาจจัดการแทนเด็กหญิงขาวผู้เสียหาย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 956/2509)

กรณีของนางเหลือง

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางเหลืองเป็นมารดาของเด็กหญิงขาว นางเหลืองจึงเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของเด็กหญิงขาว ตามนัยของ ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ดังนั้น นางเหลืองจึงมีอํานาจจัดการแทนเด็กหญิงขาวผู้เสียหายซึ่งถูกทําร้ายถึงตาย

สรุป

นางเหลืองมีอํานาจจัดการแทนเด็กหญิงขาวผู้เสียหาย ส่วนนางแดงไม่มีอํานาจจัดการ แทนเด็กหญิงขาวผู้เสียหาย

 

ข้อ 2. นายเขียวเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายแดงฐานทําร้ายร่างกายนายเขียวเป็นเหตุให้นายเขียวได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่ไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ในช่องลายมือชื่อของโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้อง ต่อมานายเขียวยื่นฟ้องนายแดงใหม่ใน ความผิดฐานเดิมและลงชื่อในช่องโจทก์ถูกต้องภายในกําหนดอายุความ ดังนี้ หากท่านเป็นศาลจะรับฟ้องของนายเขียวที่มายื่นฟ้องใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กรณีที่สิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีคําพิพากษา เสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1 จําเลยในคดีแรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน

2 การกระทําของจําเลยเป็นการกระทําเดียวกัน

3 ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่นายเขียวเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายแดงฐานทําร้ายร่างกายนายเขียว เป็นเหตุให้นายเขียวได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่ไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ใน ช่องลายมือชื่อของโจทก์ เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์ ไม่ได้ลงลายมือชื่อ เป็นกรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามแบบของคําฟ้องให้ครบถ้วน โดยศาลชั้นต้นยัง มิได้วินิจฉัยความผิดซึ่งได้ฟ้อง ดังนั้น สิทธิในการนําคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) เมื่อนายเขียวนําคดีมายื่นฟ้องนายแดงใหม่และลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ถูกต้องภายในกําหนดอายุความจึงไม่เป็น ฟ้องซ้ํา ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลก็จะรับฟ้องของนายเขียวที่มายื่นฟ้องใหม่

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลข้าพเจ้าจะรับฟ้องของนายเขียวที่มายืนฟ้องใหม่

 

ข้อ 3. ร.ต.อ.ยอดชาย เข้าสกัดจับนายเร่งรีบ ซึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าด่านตรวจถนนสายสีคิว-ปากช่องของสถานีตํารวจภูธรสีคิ้ว จนทําให้รถจักรยานยนต์ล้ม นายเร่งรีบตกจากรถจักรยานยนต์ศีรษะ ฟาดพื้นถนนหมดสติตรงด่านตรวจ ร.ต.อ.ยอดชาย และเจ้าพนักงานตํารวจสถานีตํารวจภูธรสีคิ้ว ประจําด่านตรวจ ได้ช่วยกันนํานายเร่งรีบส่งโรงพยาบาลปากช่อง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่ใกล้ ที่สุด แต่อยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรปากช่อง นายเร่งรีบถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาที่ โรงพยาบาลปากช่อง นายดุเดือดกับนางสงบบิดามารดาของนายเร่งรีบจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรปากช่องให้ดําเนินคดีกับ ร.ต.อ.ยอดชาย ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่สกัด จับนายเร่งรีบจนถึงแก่ความตาย พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรปากช่องได้ร่วมกับแพทย์ ประจําโรงพยาบาลปากช่องทําการชันสูตรพลิกศพนายเร่งรีบเพื่อจะได้ดําเนินคดีกับ ร.ต.อ.ยอดชาย ตามกฎหมาย

ให้วินิจฉัยว่า การชันสูตรพลิกศพนายเร่งรีบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรปากช่อง หรือพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรสีคิ้วมีอํานาจสอบสวนคดีนี้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 18 วรรคหนึ่ง “ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่าย ปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอําเภอ และข้าราชการตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตํารวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตํารวจตรีขึ้นไป มีอํานาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอํานาจ ของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอํานาจของตนได้”

มาตรา 150 วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า “ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทํา ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่า ขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ตามวรรคหนึ่ง และให้นํา บทบัญญัติในวรรคสองมาใช้บังคับ

เมื่อได้มีการชันสูตรพลิกศพตามวรรคสามแล้ว ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการ เข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนทําสํานวนชันสูตรพลิกศพให้เสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถ้ามีความจําเป็น ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจําเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสํานวนชันสูตรพลิกศพ

เมื่อได้รับสํานวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงานอัยการทําคําร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทําการไต่สวนและทําคําสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทําร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทําร้ายเท่าที่จะทราบได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสํานวน ถ้ามีความจําเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและ ความจําเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสํานวนชันสูตรพลิกศพ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การชันสูตรพลิกศพนายเร่งรีบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

การที่นายเร่งรีบถึงแก่ความตายนั้น เป็นกรณีที่ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ดังนั้นพนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองที่มีตําแหน่งตั้งแต่ระดับ ปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ เมื่อได้มีการชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนทําสํานวน ชันสูตรพลิกศพ จากนั้นพนักงานอัยการต้องทําคําร้องต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทําการไต่สวน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีเพียงพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรปากช่องและแพทย์ประจํา โรงพยาบาลปากช่องเท่านั้นที่ร่วมกันชันสูตรพลิกศพนายเร่งรีบ หาได้มีพนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครอง ตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปเข้าร่วมชันสูตรพลิกศพด้วยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น การชันสูตร พลิกศพนายเร่งรีบจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นที่ 2 พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรใดเป็นผู้มีอํานาจสอบสวนคดีนี้

ตามข้อเท็จจริง การที่ ร.ต.อ.ยอดชาย สกัดจับนายเร่งรีบทําให้นายเร่งรีบตกจากรถจักรยานยนต์ ศีรษะฟาดพื้นถนนหมดสติตรงด่านตรวจซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรสีคิ้วนั้น แม้นายเร่งรีบจะถึงแก่ความตาย ที่โรงพยาบาลปากช่องซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรปากช่อง แต่ก็เป็นเพียงผลที่เกิดจากการกระทําผิดในเขต ท้องที่สถานีตํารวจภูธรสีคิ้ว ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรสีคิ้ว ซึ่งความผิดได้เกิดภายในเขตอํานาจ จึงเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอํานาจสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

สรุป

การชันสูตรพลิกศพนายเร่งรีบไม่ชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรสีคิ้วเป็นผู้มีอํานาจสอบสวนคดีนี้

 

ข้อ 4. พ.ต.ต.กล้าหาญพบนางสาวสับปะรดกําลังวิ่งไล่จับนายหินมาตามทางสาธารณะ และได้ยินนางสาวสับปะรดร้องตะโกนว่า “จับที จับทีมันขโมยแหวนเพชร” พ.ต.ต.กล้าหาญได้เข้าทําการ จับนายหิน หลังจากทําการจับ พ.ต.ต.กล้าหาญได้ค้นตัวนายหินแล้วพบว่ามีแหวนเพชรของ นางสาวสับปะรดอยู่ในกระเป๋ากางเกงของนายหิน ดังนี้ การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ และการที่ พ.ต.ต.กล้าหาญค้นตัวนายหินหลังจากทําการจับ ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใด โดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 “ ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือพบใน อาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ

อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดังระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้น เป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดังนี้

(1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดังผู้กระทําโดยมีเสียงร้องเอะอะ”

มาตรา 85 วรรคหนึ่ง “เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอํานาจค้นตัวผู้ต้องหาและ ยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญพบนางสาวสับปะรดกําลังวิ่งไล่จับนายหินมาตามทาง สาธารณะ และได้ยินนางสาวสับปะรดร้องตะโกนว่า “จับที จับทีมันขโมยแหวนเพชร” นั้น ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า ประเภทที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคสอง (1) เนื่องจากการที่นางสาวสับปะรดร้องเอะอะว่า “จับที จับทีมันขโมยแหวนเพชร” นั้น การกระทําของนายหิน คือ

ความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุอยู่ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบกับ นายหินถูกนางสาวสับปะรดวิ่งไล่จับดั่งว่านายหินได้กระทําความผิดมา พ.ต.ต.กล้าหาญจึงมีอํานาจในการจับนายหิน แม้ไม่มีหมายจับ ดังนั้น การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญในกรณีดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนการที่ พ.ต.ต.กล้าหาญได้ค้นตัวนายหินหลังจากทําการจับชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เห็นว่า เมื่อการจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญชอบด้วยกฎหมายแล้ว พ.ต.ต.กล้าหาญย่อมมีอํานาจค้นตัวนายหิน ผู้ต้องหาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญค้นตัวนายหินหลังจากทําการจับ จึงชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

สรุป

การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญชอบด้วยกฎหมาย และการที่ พ.ต.ต.กล้าหาญค้นตัวนายหิน หลังทําการจับก็ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายมะระต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานลักทรัพย์ของนายผัดฉ่าผู้เสียหาย โดยการถอดอุปกรณ์ส่วนควบรถยนต์ออกเป็นอะไหล่ชิ้นส่วนต่าง ๆ และเอาไปเสียในขณะที่ รถยนต์อยู่ในความครอบครองของนายถั่วลันเตาผู้เช่า ศาลชั้นต้นมีคําสั่งประทับฟ้องในคดีที่ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนายถั่วลันเตาได้ยื่นฟ้องนายมะระ ในความผิดฐานเดียวกันอีก นายมะระให้การต่อสู้ว่านายถั่วลันเตาไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอํานาจฟ้อง และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องตนในความผิดเดียวกันไว้ก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้

ข้อต่อสู้ของนายมะระฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(2) ผู้เสียหาย” มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้อต่อสู้ของนายมะระฟังขึ้นหรือไม่ เห็นว่า ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (2) บุคคลที่จะมีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้จะต้องเป็นผู้เสียหาย ซึ่งอาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง หรืออาจเป็นผู้มีอํานาจ จัดการแทนผู้เสียหายตามที่กฎหมายกําหนด จากข้อเท็จจริงความผิดฐานลักทรัพย์นอกจากกฎหมายจะมุ่งคุ้มครอง เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแล้ว ยังให้ความคุ้มครองต่อผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์เหล่านั้นด้วย ดังนั้น แม้นายถั่วลันเตาจะไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าว แต่เมื่อนายถั่วลันเตาเป็นผู้เช่าซึ่งถือเป็น ผู้ครอบครองดูแลรักษารถยนต์ จึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) และมีอํานาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (2) ข้อต่อสู้ของนายมะระที่ว่านายถั่วลันเตาไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอํานาจฟ้องจึงฟังไม่ขึ้น

ส่วนการฟ้องซ้ํานั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

1 จําเลยในคดีแรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน

2 การกระทําของจําเลยเป็นการกระทําเดียวกัน

3 ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว

ตามข้อเท็จจริง แม้พนักงานอัยการได้ฟ้องนายมะระในความผิดฐานเดียวกันไว้ก่อนแล้ว แต่คดี อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด การที่นายถั่วลันเตานําคดีเรื่องนี้มาฟ้องอีกจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ดังนั้น คําให้การของนายมะระที่ว่าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องตนในความผิด เดียวกันไว้ก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ําจึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

สรุป ข้อต่อสู้ของนายมะระทั้งสองข้อฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายมะไฟและนายแกงไก่เป็นจําเลยในความผิดฐานร่วมกันทําร้ายร่างกายนายหน่อไม้ผู้เสียหาย ก่อนสืบพยานโจทก์นัดแรก นายหน่อไม้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้น ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นายหน่อไม้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ ระหว่างดําเนินคดี นายหน่อไม้ไม่พอใจแนวทางการดําเนินคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงได้ยืน คําร้องต่อศาลชั้นต้นขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม โดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับ ความเห็นของพนักงานอัยการโจทก์ หากโจทก์ร่วมดําเนินคดีนี้ต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่คดี ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้นายหน่อไม้ถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม ต่อมาภายหลังจากสืบพยานจําเลย เสร็จสิ้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี นายหน่อไม้ได้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ในคดีนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยระบุว่าเพื่อจะใช้สิทธิชั้นอุทธรณ์ฎีกาต่อไป ดังนี้ นายหน่อไม้จะยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 36 “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นายหน่อไม้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ได้ในครั้งแรกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่านายหน่อไม้เป็นผู้เสียหายสามารถดําเนินคดีแก่ จําเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการได้ เสมือนว่านายหน่อไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ดังนั้น การที่ นายหน่อไม้ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม ระบุว่าหากดําเนินคดีต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่คดี โดยไม่ ปรากฏว่านายหน่อไม้จะไปดําเนินการอะไรอีก ย่อมถือได้ว่านายหน่อไม้ไม่ประสงค์จะดําเนินคดีแก่จําเลยอีก ต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเด็ดขาดแล้ว

และเมื่อนายหน่อไม้ถอนฟ้องแล้ว ย่อมเกิดผลทางกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 คือ นายหน่อไม้จะนําคดีมาฟ้องใหม่ไม่ได้ เมื่อได้ความว่าฟ้องไม่ได้ การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ก็ทําไม่ได้เช่นเดียวกัน แม้จะยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาก็ตาม ดังนั้น นายหน่อไม้จะยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 (คําพิพากษาฎีกาที่ 7241/2544)

สรุป นายหน่อไม้จะยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังไม่ได้ ตามหลักเหตุผลและ กฎหมายที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3. ร.ต.อ.ละมุดได้รับรายงานจากสายลับที่มีความน่าเชื่อถือว่านายเทาซึ่งขณะนี้กําลังขายอาหารอยู่ภายในร้านอาหารของนายเทามีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่กับตัว ร.ต.อ.ละมุดจึงรีบไปที่ร้านอาหาร ของนายเทาทันที โดย ร.ต.อ.ละมุดไปถึงร้านอาหารของนายเท่าในช่วงเวลาที่ร้านอาหารยังเปิด ทําการขายอาหารอยู่ ร.ต.อ.ละมุดได้เดินเข้าไปหานายเทาและแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตํารวจ และขอตรวจค้นตัวนายเทา เมื่อ ร.ต.อ.ละมุดได้ค้นตัวนายเทาแล้วได้พบเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่ตัว ของนายเทา ร.ต.อ.ละมุดจึงทําการจับนายเทาทันทีโดยไม่มีหมายจับ ดังนี้ การตรวจค้นและการจับของ ร.ต.อ.ละมุดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใด โดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 93 “ห้ามมิให้ทําการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตํารวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทําความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทําความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การตรวจค้นและการจับของ ร.ต.อ.ละมุดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ร้านอาหารของนายเทาในช่วงเวลาที่ร้านยังเปิดทําการขายอาหารอยู่นั้นย่อมถือเป็นที่สาธารณสถาน การที่ ร.ต.อ.ละมุด แสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตํารวจและขอตรวจค้นตัวนายเทาโดยที่ไม่มีหมายค้นนั้น โดยหลักย่อมไม่สามารถทําได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ความว่า ร.ต.อ.ละมุด ได้รับรายงานจากสายลับที่มีความน่าเชื่อถือว่านายเทามีเมทแอมเฟตามีน ซุกซ่อนอยู่ จึงมีเหตุอันควรสงสัยว่านายเทามีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดซุกซ่อนอยู่ ดังนั้น ร.ต.อ.ละมุด จึงมีอํานาจ ค้นตัวนายเทาซึ่งอยู่ที่ร้านอาหารของนายเทาที่เปิดทําการอันเป็นที่สาธารณสถานได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 93

และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า พบเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่ตัวของนายเทา ซึ่งถือเป็นความผิด ซึ่งหน้า ร.ต.อ.ละมุด จึงมีอํานาจจับนายเทาได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การตรวจค้นและการจับกุมของ ร.ต.อ.ละมุด จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การตรวจค้นและการจับของ ร.ต.อ. ละมุด ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายสับปะรดร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่นายหินในความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน ระหว่างการสอบสวนนายหินทราบว่าตนถูกกล่าวหาจึงเข้าหาพนักงานสอบสวนเพื่อให้ปากคํา พนักงานสอบสวน จึงได้สอบคําให้การของนายหินไว้ในฐานะผู้ต้องหาโดยปรากฏว่า ก่อนถามคําให้การพนักงานสอบสวน ถามนายหินว่ามีทนายความหรือไม่ นายหินตอบว่ามีทนายความแล้วหลังจากที่ทนายความของ นายหินมาถึงที่ทําการของพนักงานสอบสวนและได้เข้าร่วมฟังการสอบปากคํา พนักงานสอบสวน ได้แจ้งข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถานแก่นายหิน แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง ให้ผู้ต้องหาทราบว่าผู้ต้องหา มีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการ พิจารณาคดีได้ และผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําได้

ดังนี้ พนักงานอัยการจะมีอํานาจฟ้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 134/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหา มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหา ว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้”

มาตรา 134/2 “ให้นําบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวน ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี”

มาตรา 134/3 “ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้”

มาตรา 134/4 “ในการถามคําให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคําให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้

ถ้อยคําใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่ จะดําเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของผู้นั้นไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 กําหนดไว้ว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลหากยัง มิได้ทําการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ซึ่งการสอบสวนนั้นจะต้องทําตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้ เพราะหากผิดขั้นตอนในสาระสําคัญ การสอบสวนย่อมเสียไป ส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องในที่สุด

กรณีตามอุทาหรณ์ พนักงานอัยการจะมีอํานาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง ก่อนถามคําให้การผู้ต้องหานั้น กฎหมายกําหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบว่า

(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดีได้ และ

(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้ จาก ข้อเท็จจริง แม้ว่าพนักงานสอบสวนจะมิได้แจ้งสิทธิแก่นายหินตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง (1) (2) แต่มาตรา 134/4 วรรคท้าย ถือเป็นเพียงเหตุให้คําให้การของผู้ต้องหาจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของผู้ต้องหาไม่ได้เท่านั้น หาทําให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดไม่ ดังนั้นเมื่อมีการสอบสวน ที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอํานาจฟ้องคดีนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120

สรุป พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้อง ตามหลักเหตุผลและหลักกฎหมายข้างต้น

LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นางสาวสับปะรดอายุ 19 ปี ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดีกับนายมะไฟในความผิดฐานกระทําอนาจารนางสาวสับปะรดโดยใช้กําลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 โดยบิดามารดานางสาวสับปะรดไม่ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในการร้องทุกข์

พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จจึงสรุปสํานวน พร้อมทําความเห็นควรสั่งฟ้องนายมะไฟและส่งสํานวนพร้อมความเห็นดังกล่าวไปให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนายมะไฟในความผิดฐานกระทําอนาจาร นางสาวสับปะรดซึ่งอายุกว่าสิบห้าปีโดยใช้กําลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 (การกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 เป็นความผิดอันยอมความได้) ดังนี้

พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทําต่อผู้เยาว์หรือ ผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมี คําร้องทุกข์ตามระเบียบ

มาตรา 123 วรรคหนึ่ง “ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้”

วินิจฉัย

ความผิดฐานกระทําอนาจารแก่บุคคลซึ่งมีอายุกว่า 15 ปี โดยใช้กําลังประทุษร้ายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทําการสอบสวน เว้นแต่จะได้มีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวสับปะรดอายุ 19 ปี ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงาน สอบสวนขอให้ดําเนินคดีกับนายมะไฟในความผิดฐานกระทําอนาจารนางสาวสับปะรดโดยใช้กําลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 278 นั้น นางสาวสับปะรดผู้เยาว์ย่อมมีอํานาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ แม้ บิดามารดาของนางสาวสับปะรดจะไม่ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในการร้องทุกข์ก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 วรรคหนึ่งนั้น มิได้บัญญัติว่า การร้องทุกข์ของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือบุคคลดังกล่าวจะต้องลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ของผู้เยาว์ด้วยแต่อย่างใด (คําพิพากษาฎีกาที่ 3915/2551)

เมื่อความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ และนางสาวสับปะรด ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนจึง มีอํานาจสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง และเมื่อมีการสอบสวนโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการ จึงมีอํานาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 20

สรุป

พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องคดีนี้

 

ข้อ 2. นายประมาทขับรถยนต์ชนรถยนต์ที่นางบริสุทธิ์ขับได้รับความเสียหายต้องการเสียค่าซ่อมรถเป็นเงิน 25,000 บาท พนักงานอัยการฟ้องนายประมาทฐานขับรถโดยประมาทน่าหวาดเสียวเป็นเหตุให้ ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ ศาลพิพากษาว่านายประมาทจําเลยกระทํา ความผิดตามฟ้อง คดีถึงที่สุด นางบริสุทธิ์จึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากนายประมาท เป็นค่าซ่อมรถ 25,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างที่ไม่มีรถยนต์ใช้ 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท นายประมาทต่อสู้ว่าไม่ได้ทําละเมิดขับรถยนต์ชนรถยนต์ของนางบริสุทธิ์ แต่นางบริสุทธิ์เป็นฝ่ายประมาทขับรถยนต์เฉียวชนรถยนต์ของนายประมาท นางบริสุทธิ์อ้าง คําพิพากษาในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วว่า นายประมาทเป็นฝ่ายผิด

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลในคดีแพ่งจําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญาว่านายประมาทเป็นฝ่ายผิด หรือต้องให้คู่ความนําสืบข้อเท็จจริงกันใหม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 46 “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดี ส่วนอาญา”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 46 กรณีที่ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคํา พิพากษาคดีส่วนอาญานั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้

1 ต้องเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

2 คําพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องถึงที่สุดแล้ว

3 คู่ความในคดีอาญาและคดีส่วนแพ่งต้องเป็นคู่ความเดียวกัน

4 ข้อเท็จจริงในคดีอาญาต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและได้รับการวินิจฉัยโดยชัดแจ้งแล้ว

โดยหลักแล้ว เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา ย่อมถือว่าเป็นการฟ้องแทนผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการฟ้องนายประมาทฐานขับรถโดยประมาทน่าหวาดเสียวเป็นเหตุให้ ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ นั้น เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ เป็นความผิด ต่อรัฐ รัฐเป็นผู้เสียหายจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาแทนนางบริสุทธิ์ซึ่งได้รับความ เสียหายจากการกระทําของนายประมาท ดังนั้น นางบริสุทธิ์จึงไม่ใช่คู่ความในคดีอาญา คําพิพากษาในคดีอาญา จึงไม่ผูกพันนางบริสุทธิซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่ง เมื่อนางบริสุทธิ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากนายประมาท จึงไม่ถือว่าคู่ความในคดีอาญาและคดีส่วนแพ่งเป็นคู่ความเดียวกัน ดังนั้นศาลในคดีแพ่งจึงไม่จําต้องถือข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ว่านายประมาทเป็นฝ่ายผิด ศาลจะต้องให้คู่ความนําสืบข้อเท็จจริงกันใหม่ ในคดีแพ่ง

สรุป

ศาลในคดีแพ่งไม่จําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาล จะต้องให้คู่ความในคดีแพ่งนําสืบข้อเท็จจริงกันใหม่

 

ข้อ 3. นายกล้าอายุ 16 ปี ตกเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในระหว่างทําการสอบสวนนายกล้า พันตํารวจโทไพบูลย์พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสงคมสงเคราะห์และ พนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบปากคํา และนายกล้าก็ไม่ได้ต้องการให้บุคคลดังกล่าวเข้าร่วม ในการสอบปากคําด้วย ให้วินิจฉัยว่า การสอบสวนนายกล้าผู้ต้องหาในคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง “ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย อันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ความผิดตาม กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจําคุกซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้องขอ การถามปากคํา ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวนแยกกระทําเป็นส่วนสัดในสถานที่ ที่เหมาะสมสําหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วม อยู่ด้วยในการถามปากคําเด็กนั้น และในกรณีที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่าการถามปากคําเด็กคนใด หรือคําถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นการเฉพาะตามประเด็นคําถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคําถามของ พนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร”

มาตรา 134/2 “ให้นําบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวน ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 134/2 ที่กฎหมายกําหนดว่าต้องจัดให้ มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยนั้น ใช้บังคับกับกรณีที่ พนักงานสอบสวนจะถามปากคําผู้เสียหาย หรือพยาน และการสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี และต้องเป็นคดีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้ด้วย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายกล้าอายุ 16 ปี ตกเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานแข่งรถในทางโดย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั้น จะเห็นได้ว่า แม้ ในคดีนี้นายกล้าจะเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ก็ตาม แต่ความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั้น เป็นความผิดอื่นซึ่งมิใช่ความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญา มาตรา 133 ทวิ แต่อย่างใด

ดังนั้น ในระหว่างทําการสอบสวนนายกล้า การที่พันตํารวจโทไพบูลย์พนักงานสอบสวนไม่ได้ จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบปากคํา อีกทั้งนายกล้าก็ไม่ได้ ต้องการให้บุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบปากคําด้วยนั้น จึงมิใช่การกระทําที่ขัดต่อบทบัญญัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง การสอบสวนนายกล้าผู้ต้องหาในคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย (คําพิพากษาฎีกาที่ 3432/2557)

สรุป

การสอบสวนนายกล้าผู้ต้องหาในคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายเทาคนจรจัดได้ชิงทรัพย์ของนายมะยงชิดผู้เสียหาย โดยในวันเกิดเหตุนายมะยงชิดได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้แล้ว ต่อมานายมะยงชิดได้พบนายเทานั่งอยู่ที่ท่าเรือแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากศาลจังหวัดมาก และนายเทากําลังจะหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นายมะยงชิดจึงได้แจ้งให้ ร.ต.อ.คะน้าซึ่งยืนอยู่ในบริเวณนั้นจับกุมนายเทา โดยยืนยันว่านายเทาคือคนร้ายที่ชิงทรัพย์ของ นายมะยงชิดไปและนายมะยงชิดได้ร้องทุกขไว้แล้ว ร.ต.อ.คะน้าจึงทําการจับนายเทาทันทีโดยไม่มีหมายจับ ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.คะน้าขอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจําคุก อย่างสูงเกินสามปี หรือ

(2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญาและมีเหตุอันควร เชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัว อันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี”

มาตรา 78 “ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66

(2) แต่มีความจําเป็นเร่งด่วนที่ ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมะยงชิดได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าถูกนายเทาคนจรจัด ชิงทรัพย์ ต่อมานายมะยงชิดได้พบนายเทานั่งอยู่ที่ท่าเรือแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากศาลจังหวัดมาก และนายเทากําลังจะหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นายมะยงชิดจึงได้แจ้งให้ ร.ต.อ.คะน้าซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นจับกุมนายเทา โดยยืนยันว่านายเทาคือคนร้ายที่ชิงทรัพย์ของนายมะยงชิดไป และนายมะยงชิดได้ร้องทุกข์ไว้แล้วนั้น

การที่นายมะยงชิดยืนยันต่อ ร.ต.อ.คะน้าว่านายเทาคือคนร้ายที่ชิงทรัพย์ของนายมะยงชิดไป และนายมะยงชิดได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่ามีหลักฐานตามสมควรว่านายเทาน่าจะได้กระทําความผิดอาญา และเมื่อนายเทาเป็นคนจรจัดจึงเป็นบุคคลไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 66 วรรคท้าย ให้ สันนิษฐานว่านายเทาจะหลบหนีและเนื่องจากนายเทานั่งอยู่ที่ท่าเรือแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากศาลจังหวัดมาก และนายเทากําลังจะหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาล ออกหมายจับบุคคลนั้นได้ ดังนั้น ร.ต.อ.คะน้าจึงมีอํานาจในการจับนายเทาได้โดยไม่มีหมายจับตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (3) ประกอบมาตรา 66 (2) และเมื่อ ร.ต.อ.คะน้าทําการจับกุมนายเทา การจับของ ร.ต.อ.คะน้า จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การจับของ ร.ต.อ.คะน้า ชอบด้วยกฎหมาย

WordPress Ads
error: Content is protected !!