LAW3010  กฎหมายล้มละลาย 1/2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010  กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องทําประการใด

ในคดีล้มละลาย หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จําเลยขอยื่นคําให้การ ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะอนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2433

มาตรา 13 “เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และ ให้ออกหมายเรียกและส่งสําเนาคําฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน”

อธิบาย (กรณีแรก)

จากบทบัญญัติมาตรา 13 จะเห็นได้ว่า เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้ว ขั้นตอน ต่อไปศาลจะต้องปฏิบัติ ดังนี้

1 ศาลจะต้องกําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน ซึ่งหมายถึง

(1) นัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งโดยหลักแล้ว ศาลจะต้องนัดสืบพยานโจทก์ก่อนเสมอ เพราะ โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างว่าจําเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) นัดสืบพยานจําเลย

(3) นัดสืบทั้งโจทก์ จําเลย ในวันเดียวกัน

2 ส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้จําเลยทราบไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนั่งพิจารณา

วินิจฉัย (กรณีหลัง)

ในคดีล้มละลายนั้น เมื่อจําเลยได้รับหมายเรียกแล้ว จําเลยจะมายื่นคําให้การหรือไม่ก็ได้ การที่ จําเลยไม่ยื่นคําให้การไม่ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ เพราะการดําเนินกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายนั้น กฎหมายไม่ได้กําหนดวันยื่นคําให้การเหมือนคดีแพ่งธรรมดา แต่ถ้าจําเลยต้องการจะยื่นคําให้การจะต้องยื่นก่อน ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จตามมาตรา 13 ประกอบคําพิพากษาฎีกาที่ 597/2523

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่จําเลยขอยื่นคําให้การนั้น เป็นการยื่นคําให้การหลังจากสืบพยานโจทก์ เสร็จแล้ว ดังนั้นถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การด้วยเหตุผลดังกล่าวตามมาตรา 13 ประกอบคําพิพากษาฎีกาที่ 597/2523

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การ

 

ข้อ 2 นาย ก. เป็นหนี้ธนาคาร สินสยาม จํากัด จํานวน 10 ล้านบาท ต่อมาไม่ชําระเงินตามสัญญากู้จึงถูกธนาคาร สินสยาม จํากัด ฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต่อมาก่อนประชุมเจ้าหนี้ นาย ก. ได้ยื่นคําขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยเสนอเงื่อนไขขอชําระหนี้ร้อยละ 50 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเรียกประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาคําขอประนอมหนี้ดังกล่าว ก่อนวัน ประชุมเจ้าหนี้ นาย ก. ได้ขอร้อง นาย ข. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่รายหนึ่งให้ช่วยสนับสนุน โดยมีเงื่อนไข จะชําระหนี้ให้นาย ข. เพิ่มอีกร้อยละ 10 นาย ข. ตกลงรับข้อเสนอของนาย ก. ในวันประชุมเจ้าหนี้ นาย ก. ได้ยื่นขอแก้ไขคําขอประนอมหนี้ที่ได้ยินไว้เดิมโดยขอแก้ไขเงื่อนไขการชําระหนี้ให้แก่เฉพาะ นาย ข. อีกร้อยละ 10 ตามที่ตกลงไว้กับนาย ข. เช่นนี้ หากท่านเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะพิจารณาคําขอแก้ไขคําขอประนอมหนี้ของนาย ก. อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 45 วรรคแรก “เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทําความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอชําระหนี้ แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่นให้ทําคําขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้กําหนดให้”

มาตรา 47 “ลูกหนี้อาจขอแก้ไขคําขอประนอมหนี้ในเวลาประชุมเจ้าหนี้หรือในเวลาที่ศาล พิจารณาได้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลเห็นว่าการแก้ไขนั้นจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้โดยทั่วไป”

วินิจฉัย

กรณีตาม ได้กําหนดให้ลูกหนี้ยื่นคําขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนด 7 วัน นับแต่วัน ยื่นคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดให้ และภายหลังจากยื่นคําขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวแล้ว ลูกหนี้อาจขอแก้ไขคําขอประนอมหนี้ ของตนในเวลาประชุมเจ้าหนี้ได้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการแก้ไขนั้นจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้โดยทั่วไป (ตามมาตรา 47)

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่นาย ก. ได้ยื่นคําขอแก้ไขคําขอประนอมหนี้เดิมของตนที่ได้ยินไว้ โดยขอแก้ไขเพิ่มจํานวนเงินที่จะชําระแก่นาย ข. อีกร้อยละ 10 นั้น แม้ตามมาตรา 47 นาย ก. จะมีสิทธิขอแก้ไขคําขอ ประนอมหนี้ในเวลาประชุมเจ้าหนี้ได้ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยอมให้แก้ไขคําขอประนอมหนี้ได้ ก็ต่อเมื่อ การแก้ไขนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้โดยทั่วไปเท่านั้น การที่นาย ก. ขอแก้ไขคําขอประนอมหนี้โดยเพิ่ม จํานวนเงินที่จะชําระแก่นาย ข. เพียงผู้เดียว จึงเป็นการทําให้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ เสียเปรียบและไม่เป็นประโยชน์แก่ เจ้าหนี้โดยทั่วไปทุกราย ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจอนุญาตให้นาย ก. แก้ไขคําขอประนอมหนี้ได้

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่อนุญาตให้นาย ก. แก้ไขคําขอประนอมหนี้ ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 ในการพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เรื่องหนึ่ง ภายหลังจากศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว แต่ศาลยังไม่อาจมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนฟื้นฟูกิจการได้ เนื่องจากศาลเห็นว่าบุคคลที่ผู้ร้องขอ เสนอมาไม่สมควรเป็นผู้ทําแผน และมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อ พิจารณาเลือกผู้ทําแผนในระหว่างที่ศาลยังไม่อาจมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนได้นี้ ศาลมีคําสั่งตั้งผู้บริหารของ ลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว ผู้ร้องขอซึ่งเป็นเจ้าหนี้โต้แย้งว่าเมื่อศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ แล้ว ผู้บริหารของลูกหนี้ไม่มีอํานาจบริหารกิจการของลูกหนี้ต่อไป ในระหว่างที่ศาลยังไม่อาจตั้ง ผู้ทําแผนได้จะต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารกิจการของลูกหนี้แทนผู้บริหารของ ลูกหนี้ชั่วคราว ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของผู้ร้องขอรับฟังได้หรือไม่ ประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/20 วรรคแรก “ในกรณีที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทําแผน ให้อํานาจ ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดลง ให้ศาลมีคําสั่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือ หลายคนหรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว มีอํานาจหน้าที่จัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปภายใต้ การกํากับดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จนกว่าจะมีการตั้งผู้ทําแผน ในระหว่างที่ไม่สามารถมีคําสั่งตั้งผู้บริหาร ชั่วคราวได้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ตามมาตรา 90/20 บัญญัติให้ศาลมีอํานาจมีคําสั่งแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนหรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว มีอํานาจหน้าที่จัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป ในกรณีที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทําแผน ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นกรณีที่ศาลยังไม่อาจมีคําสั่ง ตั้งผู้ทําแผนได้ ศาลจึงมีอํานาจมีคําสั่งตั้งผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว ให้มีอํานาจหน้าที่บริหารกิจการ ของลูกหนี้ต่อไปได้ เว้นแต่ศาลไม่สามารถมีคําสั่งตั้งผู้บริหารชั่วคราวได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจะมีอํานาจบริหาร กิจการของลูกหนี้ชั่วคราว ดังนั้น คําสั่งศาลที่ตั้งผู้บริหารลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวจึงชอบแล้ว ข้อโต้แย้งของ ผู้ร้องขอจึงไม่อาจรับฟังได้

สรุป

ข้อโต้แย้งของผู้ร้องขอไม่อาจรับฟังได้

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย S/2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วหรือยังขั้นตอนจะเป็นเช่นไรให้ท่านอธิบายมาพอสังเขป กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง ในระหว่างศาลไต่สวนโดยเปิดเผย ปรากฏว่าลูกหนี้ได้ซุกซ่อนทรัพย์สินนั้นไว้ ศาลจึง ยึดทรัพย์สินนั้นเจ้าหนี้จึงร้องต่อศาลว่า ที่ยอมรับในชั้นประชุมเจ้าหนี้ว่ายอมรับให้ลูกหนี้ประนอมหนี้ ที่ 50% นั้นเพราะไม่ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอยู่อีก จึงขอคัดค้านว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยเกินไป

ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความ ประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข”

มาตรา 46 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพัน เจ้าหนี้ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 52 “ในการที่ศาลจะมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่นั้น ให้ศาลพิจารณา รายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ถ้ามี

เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้แล้วมีอํานาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติ ยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม”

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัด เจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไปขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

มาตรา 63 วรรคแรก “เมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะเสนอคําขอประนอมหนี้ ก็ได้ ในกรณีนี้ให้นําบทบัญญัติในส่วนที่ 6 ว่าด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าลูกหนี้ ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ ขอประนอมหนี้ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล

อธิบาย (กรณีแรก)

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้น ได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในขั้นแรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้โดย มติพิเศษ และเมื่อผ่านชั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้นไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่งดังนั้น การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 42 ซึ่งจะ ต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีความประพฤติ เป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว

และเมื่อได้ความว่าอย่างไร ศาลอาจสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับมติพิเศษนั้นก็ได้ ถ้าศาล ได้มีคําสั่งเห็นชอบ การประนอมหนี้นั้นก็จะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ทุกคน แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตาม ตามมาตรา 56

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้สั่งเห็นชอบด้วย แล้วนั้น จะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจาก ล้มละลายได้ (เช่น หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น) เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้

และถ้าศาลสั่งไม่เห็นชอบ ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 วรรคแรก ซึ่งถ้าลูกหนี้ มีความประสงค์จะขอประนอมหนี้ใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 วรรคแรก ต่อไปได้

วินิจฉัย (กรณีหลัง)

ในการไต่สวนโดยเปิดเผยตามมาตรา 42 นั้น ในการที่ศาลจะมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ หรือไม่นั้น ให้ศาลพิจารณารายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ถ้ามี และในขณะที่ศาล ไต่สวน ถ้าได้ความจริงว่าลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นอีก เจ้าหนี้ก็มีสิทธิคัดค้านได้ว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยไป ถึงแม้ว่าจะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม (มาตรา 52)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคําขอประนอมหนี้ที่ร้อยละ 50 เพราะไม่ทราบ ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอื่นอยู่อีกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความในระหว่างศาลไต่สวนโดยเปิดเผยว่าลูกหนี้ได้ซุกซ่อน ทรัพย์สินนั้นไว้ ดังนี้ เจ้าหนี้ย่อมสามารถคัดค้านได้ โดยอ้างว่าไม่ทราบว่าขณะนั้นลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นอยู่อีก และเมื่อมีเจ้าหนี้คัดค้าน ศาลจะต้องรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้ตามมาตรา 52 วรรคท้าย

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้

 

ข้อ 2 เมื่อศาลประทับรับฟ้องในคดีล้มละลายไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องทําประการใด

ในคดีล้มละลาย เมื่อศาสส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้ลูกหนี้ทราบแล้ว ลูกหนี้ไม่มายื่นคําให้การ ศาลจึงสั่งว่าลูกหนี้ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้คำสั่งของศาล ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 13 “เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสําเนาคําฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน”

อธิบาย (กรณีแรก)

จากบทบัญญัติมาตรา 13 จะเห็นได้ว่า เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้ว ขั้นตอน ต่อไปศาลจะ

(1) นัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งโดยหลักแล้ว ศาลจะต้องนัดสืบพยานโจทก์ก่อนเสมอ เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างว่าจําเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) นัดสืบพยานจําเลย

(3) นัดสืบทั้งโจทก์ จําเลย ในวันเดียวกัน

 

วินิจฉัย (กรณีหลัง)

จําเลยไม่ยื่นคําให้การไม่ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ เพราะการดําเนินกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายนั้น กฎหมายไม่ได้กําหนดวันยื่นคําให้การเหมือนคดีแพ่งธรรมดา แต่ถ้าจําเลยต้องการจะยื่นคําให้การจะต้องยืนก่อน ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จตามมาตรา 13 ประกอบคําพิพากษาฎีกาที่ 597/2523

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่ศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้ลูกหนี้ทราบแล้ว แต่ลูกหนี้ ไม่มายื่นคําให้การ ศาลจึงสั่งว่าลูกหนี้ขาดนัดยื่นคําให้การนั้น จึงเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบตามมาตรา 13 แต่การที่ศาลสังว่า จําเลยขาดนัดพิจารณาเป็นคําสั่งที่ชอบแล้ว เมื่อจําเลยไม่มาในวันนัดพิจารณา

สรุป

คําสั่งของศาลที่ว่าลูกหนี้ขาดนัดยื่นคําให้การไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคําสั่งของศาล ที่ว่าจําเลยขาดพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3 เจ้าหนี้ไม่มีประกันขอรับชําระหนี้ มีหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร และหนี้ประเภทใดบ้างซึ่งไม่อาจนําไปขอรับชำระได้ เขียนตอบมา 5 ประเภท และเพราะเหตุใดจึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 94 “เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่

(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้ บังคับคดีไม่ได้

(2) หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้”

อธิบาย

ตามบทบัญญัติมาตรา 94 วรรคแรก ได้กําหนดหลักเกณฑ์ที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันจะขอรับชําระหนี้ ไว้ดังนี้ คือ

1 เป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน คือ เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือมีสิทธิบังคับได้ทํานองเดียวกับผู้จํานํา หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เจ้าหนี้สามัญนั่นเอง

2 มีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งหมายความถึงทั้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะเมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว กฎหมายห้ามลูกหนี้กระทําการ ใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน

3 มาขอรับชําระหนี้ ภายในกําหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91)

4 หนี้ยังไม่ถึงกําหนดชําระ ก็มาขอรับชําระหนี้ได้ แต่หากสิทธิเรียกร้องยังไม่เกิดขึ้น จะนํามาขอรับชําระหนี้ไม่ได้

5 หนี้มีเงื่อนไข ก็นํามาขอรับชําระหนี้ได้

6 ถ้าไม่มาขอรับชําระหนี้ภายในกําหนด หนี้นั้นเป็นศูนย์ หมายความว่า ถ้าเจ้าหนี้ไม่มา ยื่นขอรับชําระหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชําระหนี้นั้น

7 ดอกเบี้ยหรือค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้จะนํามาขอรับชําระหนี้นั้น คิดได้ ถึงวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้น (พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 100)

และหนี้ซึ่งไม่อาจนําไปขอรับชําระหนี้ได้นั้น ตามมาตรา 94(1) และ (2) ได้กําหนดไว้ดังนี้ คือ

1 หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้ บังคับคดีไม่ได้ (มาตรา 94(1) เช่น หนี้ขาดอายุความ หนี้การพนัน หักกลบลบหนี้ หนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หนี้ตามเช็คที่เจ้าหนี้ไม่นําสืบถึงที่มาของมูลหนี้ เป็นต้น

2 หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้ (มาตรา 94(2)

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย 2/2555

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 การประนอมหนี้ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วหรือยัง ขั้นตอนจะเป็นเช่นไร กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคําขอประนอมหนี้ที่ร้อยละ 50 ส่งมติพิเศษมาให้ศาลพิจารณา ศาลสั่งไต่สวนโดยเปิดเผยได้ความว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินซ่อนอยู่อีกจึงคัดค้านว่า ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ ร้อยละ 50 นั้นน้อยไป และที่ยอมรับในที่ประชุมเจ้าหนี้เพราะไม่ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอื่นอีก

ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้หรือไม่ และศาลจะสั่งอย่างไรต่อไป

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย  ตาม ม.ร.บ. ล้มละลาย .ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความ ประพฤติของลูกหนว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข”

มาตรา 46 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพัน เจ้าหนี้ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 52 ในการที่ศาลจะมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่นั้น ให้ศาลพิจารณา รายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ถ้ามี

เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้แล้วมีอํานาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติ ยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม”

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัด เจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไปขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

มาตรา 63 วรรคแรก “เมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะเสนอคําขอประนอมหนี้ ก็ได้ ในกรณีนี้ให้นําบทบัญญัติในส่วนที่ 6 ว่าด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้า ลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่ วันที่ขอประนอมหนี้ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล

 

อธิบาย (กรณีแรก)

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้น ได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในชั้นแรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ โดยมติพิเศษ และเมื่อผ่านขั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้นไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 42 ซึ่งจะ ต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีความประพฤติ เป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว

และเมื่อได้ความว่าอย่างไร ศาลอาจสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับมติพิเศษนั้นก็ได้ ถ้าศาล ได้มีคําสั่งเห็นชอบ การประนอมหนี้นั้นก็จะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ทุกคน แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตาม ตามมาตรา 56

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้สั่งเห็นชอบด้วย แล้วนั้น จะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจาก ล้มละลายได้ (เช่น หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น) เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้

และถ้าศาลสั่งไม่เห็นชอบ ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 วรรคแรก ซึ่งถ้าลูกหนี้ มีความประสงค์จะขอประนอมหนี้ใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 วรรคแรก ต่อไปได้

วินิจฉัย (กรณีหลัง)

ในการไต่สวนโดยเปิดเผยตามมาตรา 42 นั้น ในการที่ศาลจะมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ หรือไม่นั้น ให้ศาลพิจารณารายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ถ้ามี และในขณะ ที่ศาลไต่สวน ถ้าได้ความจริงว่าลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นอีก เจ้าหนี้ก็มีสิทธิคัดค้านได้ว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยไป ถึงแม้ว่าจะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม (มาตรา 52)

ตามอุทาหรณ์ การที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคําขอประนอมหนี้ที่ร้อยละ 50 และได้ส่งมติพิเศษ มาให้ศาลพิจารณาและศาลได้สั่งไต่สวนโดยเปิดเผยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่น ๆ อีก และการที่ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ร้อยละ 50 นั้นน้อยไป ดังนี้เจ้าหนี้ย่อมสามารถคัดค้านได้โดยอ้างว่าไม่ทราบว่า ขณะนั้นลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นอยู่อีก และเมื่อมีเจ้าหนี้คัดค้านศาลจะต้องรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้ตามมาตรา 52 และศาลจะต้องสั่งไม่เห็นชอบกับมติพิเศษและสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 วรรคแรก และให้หมายเหตุว่า ถ้าลูกหนี้ยังจะขอประนอมหนี้ก็ให้ขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 วรรคแรก

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้ และจะสั่งไม่เห็นชอบกับมติพิเศษ และสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย

 

ข้อ 2 บริษัท สินสยาม จํากัด ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจําปี 2552 ขาดไป 3 ล้านบาท เจ้าพนักงานประเมินภาษีจึงมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเพิ่มเติมดังกล่าวมายังบริษัท สินสยาม จํากัด ให้ชําระภาษีเพิ่มเติม ปรากฏว่าบริษัท สินสยาม จํากัด ไม่ยอมชําระหนี้ อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งตามประมวลรัษฎากรให้ยึดที่ดินและสํานักงานจํานวน 1 แปลง และอายัดเงินสดในธนาคาร อีกจํานวน 1 ล้านบาท ของบริษัท สินสยาม จํากัด ไว้เพื่อชําระหนี้ ธนาคารได้ส่งเงินอายัดไว้ต่อ กรมสรรพากรตามหมายอายัด และกรมสรรพากรได้ส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว ระหว่างที่มีการ ประกาศขายทอดตลาด ธนาคารไทย จํากัด ได้ฟ้องบริษัท สินสยาม จํากัด เป็นคดีล้มละลายและ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีหนังสือให้กรมสรรพากรส่งมอบที่ดิน ที่ยึดไว้และเงินสดจํานวน 1 ล้านบาท เพื่อเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ กรมสรรพากรยื่นคําคัดค้าน ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ที่ดินของบริษัท สินสยาม จํากัด นั้นกรมสรรพากรได้ยึดไว้ตามประมวล รัษฎากรแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอํานาจสั่งให้ส่งมอบที่ดินและเงินสดจํานวน 1 ล้านบาท

หากท่านเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะพิจารณาคําคัดค้านของกรมสรรพากรอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 19 วรรคแรก “คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้ถือเสมือนว่าเป็นหมายของศาล ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เข้ายึด ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครอง ของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย

มาตรา 109 “ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้

(1) ทรัพย์สินทั้งหลายอันลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย รวมทั้งสิทธิเรียกร้อง เหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่น

(2) ทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายจนถึงเวลาปลดจาก ล้มละลาย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดย่อมถือเป็นหมายของศาลเพื่อให้อํานาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ อันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 19 วรรคแรก

และทรัพย์สินของลูกหนี้อันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109(1) และ (2) ได้แก่ทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจากนั้นจนถึงเวลาที่ปลดจากล้มละลาย ดังนั้น ในส่วนของที่ดินที่กรมสรรพากรยึดไว้นั้น เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีมาก่อนวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และยัง ไม่มีการจดทะเบียนโอนไปยังบุคคลอื่นเนื่องจากยังไม่มีการขายทอดตลาด กรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงยังเป็นของ บริษัท สินสยาม จํากัด ลูกหนี้ จึงถือเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อม มีอํานาจยึดได้ตามมาตรา 19 วรรคแรก ประกอบมาตรา 109 ดังนั้นกรณีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องแจ้งยืนยัน ให้กรมสรรพากรส่งมอบที่ดินที่ยึดไว้มาเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้

ส่วนเงินสดจํานวน 1 ล้านบาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ แม้จะเป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีมาก่อน วันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อกรมสรรพากรได้ส่งมอบเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว ลูกหนี้จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ใน เงินดังกล่าวในวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จะยึดหรืออายัดได้ ดังนั้นกรณีเงินสดจํานวน 1 ล้านบาท เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องแจ้งยืนยัน เห็นชอบตามคําคัดค้านของกรมสรรพากรและยกเลิกคําสั่งให้ส่งเงินสดจํานวน 1 ล้านบาทดังกล่าว

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ข้าพเจ้าต้องแจ้งยืนยันให้กรมสรรพากรส่งมอบ ที่ดินที่ยึดไว้มาเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ และเห็นชอบตามคําคัดค้านของกรมสรรพากรโดยยกเลิกคําสั่งให้ส่ง เงินสดจํานวน 1 ล้านบาท

 

ข้อ 3 คดีฟื้นฟูกิจการเรื่องหนึ่ง ในการพิจารณาตั้งผู้ทําแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ปรากฏว่าเจ้าหนี้ผู้ร้องขอเสนอนายเชียวเป็นผู้ทําแผน ส่วนลูกหนี้เสนอนายชาญเป็นผู้ทําแผน ศาลล้มละลายกลางพิจารณา แล้วเห็นว่านายชาญที่ลูกหนี้เสนอมีคุณสมบัติเป็นผู้ทําแผน จึงมีคําสั่งตั้งนายชาญเป็นผู้ทําแผน

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลดังกล่าวขอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/17 วรรคแรก “ในการพิจารณาตั้งผู้ทําแผน ถ้าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้คัดค้านไม่ได้ เสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทําแผนด้วย เมื่อศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลจะมีคําสั่งตั้งบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทําแผน ก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอไม่สมควรเป็นผู้ทําแผนก็ดี หรือลูกหนี้ เจ้าหนี้ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่น เป็นผู้ทําแผนด้วยก็ดี ให้ศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุดเพื่อ พิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทําแผน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า

คําสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ตั้งนายชาญ เป็นผู้ทําแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/17 วรรคแรก ได้กําหนด หลักเกณฑ์การตั้งผู้ทําแผนไว้ดังนี้คือ

1 กรณีลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้คัดค้านไม่ได้เสนอบุคคลอื่นมาเป็นผู้ทําแผน ศาลอาจมีคําสั่งตั้ง บุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทําแผนก็ได้

2 กรณีที่ศาลเห็นว่าบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอไม่สมควรเป็นผู้ทําแผน หรือลูกหนี้เจ้าหนี้ ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทําแผนด้วย ให้ศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทําแผน ศาลจะมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนไปเลยทีเดียวไม่ได้

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าหนี้ผู้ร้องขอเสนอนายเขียวเป็นผู้ทําแผน และลูกหนี้เสนอนายชาญ เป็นผู้ทําแผนด้วย ศาลจึงต้องมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหมดโดยเร็วที่สุด เพื่อ พิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทําแผน ทั้งนี้ตามมาตรา 90/17 วรรคแรก ศาลจะมีคําสั่งตั้งนายเชียว หรือนายชาญเป็นผู้ทําแผนในทันทีหาได้ไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งตั้งนายชาญเป็นผู้ทําแผนในทันที ก่อนมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ คําสั่งของศาลดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ตั้งนายชาญเป็นผู้ทําแผน โดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอน ของมาตรา 90/17 วรรคแรกนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย 1/2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้ ก. ผิดนัดชําระหนี้ ข. จึงฟ้อง ก. บังคับชําระหนี้โดยนําที่ดินขายทอดตลาดได้เงินสุทธิ 600,000 บาท หนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท ข. จะนําเงิน 400,000 บาทที่ขาดอยู่นั้นไปฟ้อง ก. เป็นคดีล้มละลายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง จากโจทย์ข้างต้น ถ้าการจํานอง ก. ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้กับ ข. เมื่อขายทอดตลาดหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้องลูกหนี้เป็นคดี ล้มละลายได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด และถ้านําคดีไปฟ้องล้มละลายแล้วจะกลายเป็นเรื่องฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำหรือไม่ ตามหลักกฎหมายใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา”

มาตรา 9 “เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็น จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และ

(3) หนี้นั้นอาจกําหนดจํานวนได้แน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือใน อนาคตก็ตาม”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และ

(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจํานวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่ สําหรับลูกหนี้ซึ่งเป็น บุคคลธรรมดาเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 733 “ถ้าเอาทรัพย์จํานองหลุด และราคา ทรัพย์สินนั้นมีประมาณตํากว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจํานวนสุทธิน้อยกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจํานวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 10(1) การที่เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือ จะขอรับชําระหนี้ได้นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน

 

และสําหรับเจ้าหนี้มีประกันในกรณีเป็นผู้รับจํานองนั้น ถ้าจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายหรือจะ ขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น จะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มี “สัญญาพิเศษ” นอกเหนือจาก ป.พ.พ. มาตรา 733 กล่าวคือจะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มีสัญญาพิเศษนอกเหนือมาตรา 733 กับผู้จํานองว่า ถ้าบังคับจํานองได้เงิน ไม่พอชําระหนี้ ผู้จํานองยอมให้บังคับจํานองบังคับชําระหนี้เอากับทรัพย์สินอื่นได้อีก (ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับ กันได้ตามกฎหมาย)

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

กรณีแรก การที่ ก. กู้เงิน ข. โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้นั้น ถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มี ประกันตามนัยมาตรา 6 แต่เมื่อในการกู้เงินครั้งนี้ ก. ไม่ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือ ไม่ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ขาดไว้กับ ข. ดังนี้ เมื่อมีการบังคับขายทอดตลาดที่ดินแล้วหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท หนี้ดังกล่าวนี้ ก. ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิด ดังนั้น ข. จึงไม่สามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไปฟ้อง ก. เป็นคดีล้มละลายได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 10(1) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้บังคับ ชําระหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ของลูกหนี้ที่เป็นหลักประกัน

กรณีที่สอง เมื่อการกู้เงินดังกล่าว ก. ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือ ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย จึงถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้ บังคับชําระหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามมาตรา 10(1) ดังนั้น เมื่อมีการบังคับขายทอดตลาดที่ดิน แล้วหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท ข. ย่อมสามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายอีกได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 10(1) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 733 และไม่เป็นฟ้องซ้อนฟ้องซ้ําตามฎีกาที่ 91/2507

แต่อย่างไรก็ดี การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกันนั้น จะต้องอยู่ภายใต้บังคับ ของมาตรา 9(2) และมาตรา 10(2) ด้วย กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา ลูกหนี้จะต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ เมื่อ ข. ได้ฟ้องบังคับเอาที่ดิน ออกขายทอดตลาด และหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท นั้น ถ้าหาก ข. จะฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลาย ข. จะต้อง นํามูลหนี้ไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทด้วย จึงจะสามารถฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ ล้มละลายได้

สรุป

กรณีแรก ข. จะนําเงิน 400,000 บาทที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้อง ก. เป็นคดีล้มละลายไม่ได้

กรณีที่สอง ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้อีก และ ไม่เป็นเรื่องฟ้องซ้อนฟ้องซ้ำ แต่กรณีนี้ ข. จะต้องนํามูลหนี้ไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่า หนึ่งล้านบาทด้วย จึงจะสามารถฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลายได้

 

ข้อ 2 ห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง ซึ่งมีนายชาย ชาตรี เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จํากัดความรับผิดได้ถูกธนาคาร ก. ฟ้องเป็นคดีล้มละลายเนื่องจากไม่ชําระหนี้เงินกู้จํานวน 5 ล้านบาท โดยธนาคาร ก. ฟ้องห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง เป็นจําเลยที่ 1 และนายชาย ชาตรี เป็นจําเลยที่ 2 ขอให้ศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์จําเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในการพิจารณาคดีธนาคาร ก. นําสืบได้ว่า ได้มีการส่งหนังสือทวงถามไปยังห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง จําเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วันแล้ว และพบว่าจําเลยที่ 1 ได้หยุดประกอบการมานานกว่า 1 ปีแล้ว ส่วนนายชาย ชาตรี ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจําเลยที่ 1 นําสืบว่า แม้จําเลยที่ 1 จะมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน แต่ในฐานะส่วนตัวของตน จําเลยที่ 2 ยังมี ทรัพย์สินที่เป็นที่ดินอันพอจะขายเพื่อนําเงินมาชําระหนี้จํานวน 5 ล้านบาทให้แก่ธนาคาร ก. ได้ แต่ขณะนี้ยังขายไม่ได้เพราะยังไม่มีผู้สนใจซื้อ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องในส่วนของจําเลยที่ 2

เช่นนี้ หากท่านเป็นศาลจะพิจารณาสั่งคดีนี้ในส่วนของจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 8 “ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้มีหนี้สิน ล้นพ้นตัว

(9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชําระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมี ระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชําระหนี้”

มาตรา 9 “เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ

(3) หนี้นั้นอาจกําหนดจํานวนได้แน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือใน อนาคตก็ตาม”

มาตรา 14 “ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคําฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอา ความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ ลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริง หรือลูกหนี้นําสืบได้ว่าอาจชําระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง”

มาตรา 89 “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วน จํากัดแล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคําขอโดยทําเป็นคําร้อง ให้บุคคลซึ่งนําสืบได้ว่า เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ หากข้าพเจ้าเป็นศาลจะพิจารณาสั่งคดีนี้ในส่วนของจําเลยที่ 1 และ จําเลยที่ 2 ดังนี้

กรณีของจําเลยที่ 1 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในการพิจารณาคดีนั้น ธนาคาร ก. นําสืบได้ว่า ได้มีการส่งหนังสือทวงถามไปยังห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง จําเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วันแล้ว จําเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานในมาตรา 8(9) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจําเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล และมีหนี้อันอาจกําหนดจํานวนได้แน่นอน 5 ล้านบาท ศาลย่อมมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจําเลยที่ 1 คือ ห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่างได้ตามมาตรา 14 ประกอบมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย

กรณีของจําเลยที่ 2 เมื่อจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจํากัดต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จําเลยที่ 2 คือ นายชาย ชาตรี ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จํากัดความรับผิด และ ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077(2), 1080 ได้กําหนดไว้ว่า หุ้นส่วนประเภทไม่จํากัด จะต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างโดยไม่จํากัดจํานวน ดังนั้น เมื่อธนาคาร ก. เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ร้องขอให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จําเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็น บุคคลล้มละลาย จําเลยที่ 2 จึงต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามจําเลยที่ 1 ไปด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย ดังนั้น จําเลยที่ 2 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชําระหนี้ของจําเลยที่ 1 หรือ มิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ และกรณีไม่ใช่เหตุที่ไม่สมควรให้จําเลยที่ 2 ล้มละลายตามมาตรา 14 ศาลจึงต้อง มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจําเลยที่ 2 ตามห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง จําเลยที่ 1 ไปด้วย (ตามนัยคําพิพากษา ฎีกาที่ 2645/2538 และ 2778/2552)

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาสจะมีคําสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ตาม หลักกฎหมายและเหตุผลที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

 

 

ข้อ 3 เจ้าหนี้ยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอและนัดไต่สวนคําร้องขอในวันที่ 1 เมษายน 2550 เมื่อถึงวันนัดไต่สวน ศาลมีคําสั่งให้เลื่อนการไต่สวนไปในวันที่ 10 เมษายน 2550 ลูกหนี้ประสงค์จะยืนคําคัดค้านคําร้องขอดังกล่าว และมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คําปรึกษาแก่ลูกหนี้ประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/9 “เมื่อศาลสั่งรับคําร้องขอแล้ว ให้ดําเนินการไต่สวนเป็นการด่วน และให้ศาล ประกาศคําสั่งรับคําร้องขอและวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ไม่น้อยกว่า สองครั้งห่างกันไม่เกินเจ็ดวันกับให้ส่งสําเนาคําร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ และแก่นายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทหรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนายทะเบียนจะได้จดแจ้งคําสั่งศาลไว้ในทะเบียนและให้ส่ง ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 90/4(6) แล้วแต่กรณีด้วย ทั้งนี้ให้ส่งก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ถ้าเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอ ให้ผู้ร้องขอนําส่งสําเนาคําร้องขอให้ลูกหนี้ทราบก่อนวันนัดไต่สวน ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้ลูกหนี้ยืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ รายชื่อและที่อยู่โดยชัดแจ้ง ของเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อศาลก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรก

ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคําคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่ เป็นการคัดค้านผู้ทําแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทําแผนด้วยหรือไม่ก็ได้ การเสนอชื่อผู้ทําแผน ต้องเสนอหนังสือยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทําแผนด้วย

ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ให้ผู้ร้องขอนําส่งสําเนาคําร้องขอแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ด้วย”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/9 วรรคสามนั้น ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การยื่นคําคัดค้าน คําร้องขอฟื้นฟูกิจการเอาไว้ โดยกําหนดให้ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคําคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่า สามวัน

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ลูกหนี้จะยื่นคําคัดค้านคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ได้นั้น ลูกหนี้ จะต้องยื่นคําคัดค้านต่อศาลเสียก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวันตามหลักกฎหมายข้างต้น เมื่อ ปรากฏว่าศาลนัดไต่สวนคําร้องขอเป็นนัดแรกในวันที่ 1 เมษายน 2550 ลูกหนี้จึงต้องยื่นคําคัดค้านเสียก่อนที่จะ ถึงวันที่ 1 เมษายน 2550 ไม่น้อยกว่าสามวัน ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าศาลได้มีคําสั่งให้เลื่อนการไต่สวนไปในวันที่ 10 เมษายน 2550 ก็ต้องถือว่าวันนัดไต่สวนนัดแรกคือวันที่ 1 เมษายน 2550 ดังนั้นเมื่อได้ล่วงเลยเวลาดังกล่าว มาแล้ว ลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคําคัดค้านคําร้องขอดังกล่าวได้

สรุป

เมื่อลูกหนี้มาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คําปรึกษาแก่ลูกหนี้ดังกล่าวข้างต้น

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย S/2554

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานเข้ายึดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 19 วรรคสาม มีหลักว่า ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดมาไว้นั้น ยังมิให้สั่งจําหน่ายหรือขายทอดตลาดจนกว่าศาลจะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายเสียก่อน ในขณะนั้นเอง ได้มี ก. มาขอเช่าที่ดินที่ยึดไว้เป็นเวลา 6 เดือน ราคาเดือนละ 5,000 บาท เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทําหนังสือให้เช่าไป ต่อมา ก. ไม่จ่ายค่าเช่าเลยทั้งหกเดือน เป็นเงิน 30,000 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก. ผู้เช่ารายนี้เคยค้างค่าเช่าที่ดินแปลงนี้ก่อนที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จะยึดมาไว้ในกองทรัพย์สินคดีล้มละลายที่ ก. เคยเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวมาก่อน

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจให้เช่าที่ดินแก่ ก. ผู้มาขอเช่าหรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจะทวงค่าเช่าที่ค้างชําระจาก ก. ที่เคยเช่ากับลูกหนี้มาก่อนหรือไม่ เพราะเหตุใด

(3) ค่าเช่าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่าให้ ก. ไปใหม่ แล้วยังไม่ชําระค่าเช่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทําประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 22 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอํานาจ ดังต่อไปนี้

(1) จัดการและจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทําการที่จําเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้”

มาตรา 119 วรรคแรก “เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชําระเงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชําระเงินหรือ ส่งมอบทรัพย์สินตามจํานวนที่ได้แจ้งไปและให้แจ้งไปด้วยว่าถ้าจะปฏิเสธ ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็น หนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันได้รับแจ้งความ มิฉะนั้น จะถือว่าเป็น หนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจํานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด”

วินิจฉัย

โดยหลักในคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ย่อมมีผลทําให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินหรือกิจการของตน (ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 24) โดยอํานาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งการดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ย่อมตกเป็นอํานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้คือ

(1) เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอํานาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม มาตรา 22 ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอํานาจให้เช่าที่ดินแก่ ก. ผู้มาขอเช่าได้ตามมาตรา 22(1)

(2) ในกรณีที่ลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องมาแต่ก่อนที่จะถูกยึดทรัพย์ ซึ่งกรณีนี้หมายถึงการที่ลูกหนี้ มีสิทธิที่จะทวงค่าเช่าที่ค้างชําระจาก ก. ที่เคยเช่าที่ดินกับลูกหนี้มาก่อน ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถ ทําหนังสือทวงถามไปยัง ก. เพื่อเรียกเอาค่าเช่าที่ค้างชําระแก่ลูกหนี้ได้ตามมาตรา 119 วรรคแรก

(3) ค่าเช่าที่ค้างใหม่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่ากับ ก. ผู้เช่าเป็นเงิน 30,000 บาท นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมสามารถฟ้องเรียกเอาจากนาย ก. ได้ ตามเขตอํานาจศาลที่ที่ดินตั้งอยู่ตาม มาตรา 22(3) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1998/2538)

สรุป

(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจให้เช่าที่ดินแก่ ก. ผู้มาขอเช่าได้

(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจะทวงค่าเช่าที่ค้างชําระจาก ก. ที่เคยเช่ากับลูกหนี้มาก่อนได้

(3) ค่าเช่าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่าใหม่กับ ก. และ ก. ยังไม่ชําระค่าเช่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถฟ้องเรียกเอาจาก ก. ได้

 

ข้อ 2 การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วหรือยัง ขั้นตอนต่าง ๆจะเป็นเช่นไร ให้ท่านตอบมาพอสังเขป

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจน ความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตาม กฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มี เงื่อนไข

มาตรา 46 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพันเจ้าหนี้ ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัด เจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไปขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาสพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

อธิบาย

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้นได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในชั้นแรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ โดยมติพิเศษ และเมื่อผ่านชั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้นไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 42 ซึ่งจะ ต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีความประพฤติ เป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว

และเมื่อได้ความว่าอย่างไร ศาลอาจสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นขอบกับมติพิเศษนั้นก็ได้ ถ้าศาล ได้มีคําสั่งเห็นชอบ การประนอมหนี้นั้นก็จะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ทุกคน แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตาม ตามมาตรา 56

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้สั่งเห็นชอบด้วย แล้วนั้น จะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจาก ล้มละลายได้ (เช่น หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น) เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้

และถ้าศาลสั่งไม่เห็นชอบ ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 ซึ่งถ้าลูกหนี้ มีความประสงค์จะขอประนอมหนี้ใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 ต่อไปได้

 

ข้อ 3 หลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้มีประกันไม่ขอรับชําระหนี้ มีว่าอย่างไร ประโยชน์สูงสุดของมาตรานี้มีว่าอย่างไร

และทําไม เจ้าหนี้ประเภทนี้จึงไม่ขอรับชําระหนี้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา”

มาตรา 95 “เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชําระหนี้ แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 100 “ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ย ภายหลังวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชําระได้”

อธิบาย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 95 ได้กําหนดหลักเกณฑ์การไม่ขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ มีประกันไว้ดังนี้ คือ

1 เป็นเจ้าหนี้มีประกัน คือ เป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานองจํานํา หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา

2 มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน

3 เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ คือก่อนเวลาที่ศาลชั้นต้นอ่านคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์

4 ไม่ขอรับชําระหนี้

5 ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินนั้น

ประโยชน์สูงสุดของมาตรา 95 กรณีที่เจ้าหนี้มีประกันไม่ขอรับชําระหนี้นั้นจะอยู่ที่มาตรา 100 กล่าวคือ หากมีการนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันออกขายทอดตลาดโดยเจ้าหนี้มิได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ เจ้าหนี้ มีประกันย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น (คําพิพากษาฎีกาที่ 725/2495) แต่ถ้า เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ไว้ จะคิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นตามมาตรา 100

และการที่เจ้าหนี้มีประกันไม่ขอรับชําระหนี้นั้น เป็นเพราะทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมีมูลค่า มากกว่าจํานวนหนี้นั่นเอง ซึ่งเมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมได้รับชําระหนี้ เต็มจํานวน รวมทั้งสามารถคิดดอกเบี้ยได้อีกจนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น และถ้ามีเงินเหลืออยู่อีก เงินที่เหลือ นั้นก็ยังตีเข้ากองทรัพย์สินในคดีล้มละลายได้อีก

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย 2/2554

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน จํานวน 3 ข้อ

ข้อ 1 ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ลูกหนี้ได้ทําคําขอประนอมหนี้ร้อยละ 50 ที่ประชุมเจ้านี้ยอมรับโดยมติพิเศษ และมติพิเศษนั้นได้ส่งมายังศาลเพื่อพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ศาลสั่งไต่สวนโดยเปิดเผย โดยถามเจ้าหนี้ว่าพอใจในการประนอมหนี้ของลูกหนี้เท่านี้จริงหรือ ลูกหนี้มีทรัพย์สินเท่านี้หรือ มีเจ้าหนี้ท่านใดจะเพิ่มเติมหรือไม่ เจ้าหนี้คนหนึ่งยกมือขออนุญาต ต่อศาลว่า ข้าพเจ้าไม่ยอมรับมติพิเศษที่ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ร้อยละ 50 แล้ว ที่ข้าพเจ้ายอมรับ ครั้งแรกที่ประชุมเจ้าหนี้ เพราะว่าข้าพเจ้าไม่ทราบจริง ๆ ว่า ลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ซ่อนไว้อีก

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในเมื่อเจ้าหนี้เสียงข้างมากยอมรับในมติพิเศษแล้ว จะมาคัดค้านว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยไปได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจน ความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข”

มาตรา 45 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพัน เจ้าหนี้ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 50 “ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นรายงานเกี่ยวกับการประนอมหนี้ กิจการ ทรัพย์สิน และความประพฤติของลูกหนี้ต่อศาลไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันที่ศาลนั่งพิจารณา”

มาตรา 52 “ในการที่ศาลจะมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่นั้น ให้ศาลพิจารณา รายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ถ้ามี

เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้แล้วมีอํานาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติ ยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการ ประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้น ได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในชั้นแรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษ และเมื่อผ่านชั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้น ไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น

การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 42 ซึ่งจะต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มี ความประพฤติเป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว และในขณะที่ศาลไต่สวน ถ้าได้ความจริงว่าลูกหนี้ยังมี ทรัพย์สินอื่นอีก เจ้าหนี้ก็มีสิทธิคัดค้านได้ว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยไป ถึงแม้ว่าจะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม (มาตรา 50 ประกอบมาตรา 52)

ดังนั้นตามอุทาหรณ์ ในขณะที่ศาลไต่สวนคดีล้มละลายเรื่องดังกล่าว การที่เจ้าหนี้คนหนึ่ง ยกมือขออนุญาตต่อศาล คัดค้านไม่ยอมรับมติพิเศษที่ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ร้อยละ 50 แล้ว ทั้งที่เจ้าหนี้คนนี้ เคยออกเสียงลงมติยอมรับในที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก และเจ้าหนี้เสียงข้างมากก็ยอมรับในมติพิเศษแล้ว ดังนี้ เจ้าหนี้ คนดังกล่าวก็มีสิทธิคัดค้านได้ว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยไปเพราะในขณะที่ตนยอมรับตามคําขอประนอมหนี้นั้น ตนไม่ทราบว่าลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นซ่อนอยู่อีก

สรุป เจ้าหนี้คนดังกล่าวมีสิทธิคัดค้านว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยไปได้

 

ข้อ 2 บริษัท สิริ จํากัด ได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ธนาคาร ก. ฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าตรวจสอบหนี้สินและทรัพย์สินของบริษัท สิริ จํากัด พบว่า นายเฉย เป็นหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท สิริ จํากัด อยู่จํานวน 14 งวด เป็นเงิน 3 แสนบาท จึงมี หนังสือทวงถามไปยังนายเฉย ให้ชําระหนี้ดังกล่าวโดยนายเฉยได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 นายเฉยใช้เวลาตรวจสอบหลักฐานพบว่า เป็นหนี้ค่าเช่าซื้ออยู่เพียง 12 งวด เป็นเงิน 250,000 บาท จึงมีหนังสือแจ้งปฏิเสธไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การปฏิเสธไม่มีหลักฐานยืนยันและแจ้งปฏิเสธเลยกําหนด จึงมีหนังสือยืนยันให้นายเฉย ชําระหนี้ตามที่แจ้งจํานวน 3 แสนบาท นายเฉยจึงยื่นคําร้องต่อศาลให้ สังยกเลิกคําสั่งและหนังสือยืนยันของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากท่านเป็นศาลจะสังคําร้อง ของนายเฉย อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 119 วรรคแรก “เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชําระเงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชําระเงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินตามจํานวนที่ได้แจ้งไปและให้แจ้งไปด้วยว่าถ้าจะปฏิเสธ ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธ เป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันได้รับแจ้งความ มิฉะนั้น จะถือว่า เป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจํานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด”

วินิจฉัย

เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอํานาจในการทวงถาม ให้บุคคลซึ่งพบว่าเป็นหนี้ต่อลูกหนี้นั้นชําระหนี้ได้โดยการมีหนังสือทวงถามไปยังบุคคลนั้น และถ้าบุคคลที่ได้รับ หนังสือทวงถามพบว่าตนมิได้เป็นหนี้ตามหนังสือทวงถามต้องตอบปฏิเสธไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ มิฉะนั้นถือว่าเป็นหนี้ตามจํานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามมาตรา 119 วรรคแรก

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเฉยได้รับหนังสือทวงถามการเป็นหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท สิริ จํากัด ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นจํานวนเงิน 3 แสนบาท แต่นายเฉยมิได้ตอบปฏิเสธไปยังเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จึงต้องถือว่านายเฉยเป็นหนี้ตามหนังสือทวงถามคือ 3 แสนบาท แม้ว่าจะมีหลักฐานว่าเป็นหนี้เพียง 2.5 แสนบาทก็ตาม ดังนั้นศาลจึงไม่มีอํานาจลดหนี้ได้ตามนัยของมาตรา 119 วรรคแรก ต้องสั่งยกคําร้องของนายเฉย เพราะถือว่านายเนยเป็นหนี้ตามจํานวนในหนังสือทวงถามของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เป็นการเด็ดขาดแล้ว

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งยกคําร้องของนายเฉยด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 กรณีที่ลูกหนี้ที่ประสงค์จะยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะต้องบรรยายคําร้องขออย่างไรบ้าง

ธงคําตอบ

ในกรณีที่ลูกหนี้ประสงค์จะยื่นคําร้องขอเพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้จะต้อง บรรยายคําร้องขอตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/6 โดยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง

(1) ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้

(2) รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่รวมกันเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท

(3) เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ

(4) ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทําแผน

(5) หนังสือยินยอมของผู้ทําแผน

(6) บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ รายชื่อและที่อยู่โดยชัดแจ้ง ของเจ้าหนี้ทั้งหลายมาพร้อมคําร้องขอ

 

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย 1/2554

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน จํานวน 3 ข้อ

ข้อ 1 ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้ ในการจํานอง ก. มิได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ขาดไว้ เมื่อ ก. ผิดนัดชําระหนี้ ข. จึงฟ้องบังคับขายทอดตลาดที่ดิน ที่จํานองได้เงินสุทธิ 800,000 บาท หนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท ดังนี้ ข. จะนํามูลหนี้ที่ขาดอยู่ ไปขอรับชําระหนี้ที่ยังขาดอยู่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง ถ้าการกู้เงินครั้งนี้ จากโจทย์ ข้างต้น ก. ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ 200,000 บาท ไม่ขอรับชําระหนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิ์ที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานำ”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และ

มาตรา 96 วรรคแรกและวรรคท้าย “เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(3) เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่ตามกฎหมายลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่า ราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 “ถ้าเอาทรัพย์จํานองหลุด และราคา ทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจํานวนสุทธิน้อยกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจํานวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดในเงินนั้น”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ การที่เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือจะขอรับชําระหนี้ ได้นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และถ้าเป็นการขอรับชําระหนี้ก็จะต้องเป็นเจ้าหนี้ประเภทที่ “อาจขอรับชําระหนี้ได้” กล่าวคือ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันยังคงต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน (มาตรา 10(1) และมาตรา 96 วรรคท้าย)

และสําหรับเจ้าหนี้มีประกันในกรณีเป็นผู้รับจํานองนั้น ถ้าจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายหรือจะขอ รับชําระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น จะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มี “สัญญาพิเศษ” นอกเหนือจาก ป.พ.พ. มาตรา 733 กล่าวคือจะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มีสัญญาพิเศษนอกเหนือมาตรา 733 กับผู้จํานองว่า ถ้าบังคับจํานองได้เงิน ไม่พอชําระหนี้ ผู้จํานองยอมให้บังคับจํานองบังคับชําระหนี้เอากับทรัพย์สินอื่นได้อีก (ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับ กันได้ตามกฎหมาย)

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

กรณีแรก การที่ ก. กู้เงิน ข. โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้นั้น ถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้ มีประกันตามนัยมาตรา 6 แต่เมื่อในการกู้เงินครั้งนี้ ก. ไม่ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือไม่ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ขาดไว้กับ ข. ดังนี้ เมื่อมีการบังคับขายทอดตลาดที่ดินแล้วหนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท หนี้ดังกล่าวนี้ ก. ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิด ดังนั้น ข. จึงไม่สามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไปขอรับ ชําระหนี้ในคดีล้มละลายได้อีก เพราะเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 10(1)

กรณีที่สอง เมื่อการกู้เงินดังกล่าว ก. ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย จึงถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มิได้เป็นผู้ต้องห้าม มิให้บังคับการชําระหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามมาตรา 10(1) ดังนั้นเมื่อมีการบังคับขายทอด ตลาดที่ดินแล้วหนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท ข. ย่อมสามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ 200,000 บาทนั้นไปขอรับ ชําระหนี้ในคดีล้มละลายได้อีกตามมาตรา 96 วรรคแรก (3) ประกอบมาตรา 96 วรรคท้าย

สรุป กรณีแรก ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไปขอรับชําระหนี้ที่ยังขาดอยู่ไม่ได้

กรณีที่สอง ข. สามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ 200,000 บาทไปขอรับชําระหนี้ได้

 

ข้อ 2 นายมีได้ทำสัญญากู้เงินจากธนาคาร ก. จำนวน 3 ล้านบาท โดยมีนายมาเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ในสัญญากู้ดังกล่าว ต่อมานายมีได้ชําระหนี้ไปเพียง 1 ล้านบาท ก็ถูกนายรวยซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาอีก 1 เดือนหลังจากศาลมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ธนาคาร ก. จึงได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ที่เหลืออีก 2 ล้านบาทต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และต่อมาอีก 15 วัน หลังจากธนาคารยื่นคําขอรับชําระหนี้ นายมาได้ทราบว่า นายมีถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด จึงมายื่นคําขอรับชําระหนี้ที่อาจไล่เบี้ยจากนายมี หากถูกธนาคาร ก. ฟ้องให้รับผิดแทนนายมี ตามสัญญาค้ำประกันต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อส่งให้ศาลพิจารณาต่อไป หากท่านเป็นศาล จะสั่งคําขอรับชําระหนี้ของธนาคาร ก. และคําขอรับชําระหนี้ของนายมาอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 91 วรรคแรก “เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกําหนดเวลาให้อีกได้ ไม่เกินสองเดือน”

มาตรา 101 “ถ้าลูกหนี้ร่วมบางคนถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ร่วมคนอื่นอาจยื่นคําขอรับชําระหนี้ สําหรับจํานวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชําระหนี้ไว้เต็มจํานวนแล้ว

บทบัญญัติในวรรคก่อนให้ใช้บังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วม หรือบุคคลที่อยู่ใน ลักษณะเดียวกันนี้โดยอนุโลม”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคแรก เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณา คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายมีลูกหนี้แล้ว การที่ธนาคาร ก. เจ้าหนี้ ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือว่าได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ภายใน กําหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคแรก ดังนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะสังรับคําขอรับชําระหนี้ของธนาคาร ก.

สําหรับนายมาซึ่งเป็นผู้ค้ําประกันนั้น มาตรา 101 ได้ให้สิทธิในการยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้ ซึ่งอาจไล่เบียจากลูกหนี้ในภายหน้าได้ ภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคแรก เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิ์ ขอรับชําระหนี้ไว้เต็มจํานวนแล้ว และแม้ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณนายมาผู้ค้ําประกันได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ดังกล่าว

ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคแรก แต่เมื่อปรากฏว่า ธนาคาร ก เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเต็มจํานวน 2 ล้านบาทแล้ว นายมาจึงหมดสิทธิยื่นคําขอรับชําระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายดังกล่าว เพราะเข้า ข้อยกเว้นตามมาตรา 101 วรรคแรกตอนท้าย ดังนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งไม่รับคําขอรับชําระหนี้ของนายมา

สรุป  ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งรับคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก  แต่จะสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของนายมา

 

ข้อ 3 ธนาคารสยามฟ้องบริษัท เอ จํากัด ซึ่งยืมเงินจากธนาคารสยามกับแสงซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการยืมขอให้ศาลแพ่งบังคับให้บริษัท เอ จํากัด และแสงร่วมกันชําระเงินยืมดังกล่าว ในระหว่างที่ศาล พิจารณาคดีนั้น บริษัท เอ จํากัด ยื่นคําร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งฟื้นฟูกิจการของ บริษัท เอ จํากัด เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งรับคําร้องขอไว้พิจารณา บริษัท เอ จํากัด และ แสงยื่นคําขอให้ศาลแพ่งงดการพิจารณาคดีที่ถูกธนาคารสยามฟ้อง เนื่องจากศาลล้มละลายกลาง มีคําสั่งรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท เอ จํากัด ไว้พิจารณาแล้ว ธนาคารสยามยืนคําคัดค้าน ว่าศาลจะงดการพิจารณาคดีดังกล่าวไม่ได้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าศาลแพ่งจะมีคําสั่งประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/12 “ภายใต้บังคับของมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคําสั่ง รับคําร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกําหนดระยะเวลาดําเนินการตามแผน หรือวันที่ดําเนินการเป็นผลสําเร็จ ตามแผน หรือวันที่ศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอหรือจําหน่ายคดีหรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟู กิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ตามความในหมวดนี้

(4) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือเสนอข้อพิพาทที่ ลูกหนี้อาจต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคําสั่งเห็นชอบด้วยแผน และห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการฟ้องคดีหรือเสนอข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้เว้นแต่ศาลที่รับคําร้องขอจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 90/12(4) นั้นกําหนดว่า เมื่อศาลรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณา จนถึงครบกําหนดระยะเวลาดําเนินการตามแผน ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือถ้าฟ้องคดีไว้แล้ว ก็ให้งดการพิจารณาไว้ ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแผน ทั้งนี้เป็นการห้ามฟ้องเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการหรือลูกหนี้ที่ยื่นคําขอร้องขอฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ส่วนจําเลยอื่นแม้จะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในคดีแพ่งด้วย แต่เมื่อมิใช่ผู้ร่วมร้องขอหรือเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟู กิจการด้วย ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 90/12(4) ด้วย เจ้าหนี้จึงฟ้องให้ลูกหนี้อื่นให้รับผิดทางแพ่งต่อไปได้

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลแพ่งจะมีคําสั่งประการใด เห็นว่า การที่ ธนาคารสยามฟ้องบริษัท เอ จํากัด ให้ชําระเงินกู้ยืมซึ่งเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัท เอ จํากัด เมื่อบริษัท เอ จํากัด ยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของตน และศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอไว้พิจารณาแล้ว ศาลในคดีแพ่ง ดังกล่าวต้องงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้สําหรับบริษัท เอ จํากัด ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/1244)

ส่วนการพิจารณาคดีในส่วนของแสงนั้น แม้แสงจะถูกธนาคารสยามฟ้องให้รับผิดร่วมกับ บริษัท เอ จํากัด ในฐานะผู้ค้ําประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของบริษัท เอ จํากัด แสงก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 90/12(4) เช่นเดียวกับบริษัท เอ จํากัด เพราะแสงมิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดี ฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ศาลจึงต้องพิจารณาคดีในส่วนของแสงต่อไป (ฎ. 3403/2545 (ประชุมใหญ่))

สรุป ศาลแพ่งจะมีคําสั่งให้งดการพิจารณาคดีแพ่งเฉพาะบริษัท เอ จํากัด และยกคําขอของแสง

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย S/2553

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน จํานวน 3 ข้อ

ข้อ 1 ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้ การจํานอง ข. ได้ให้ ก. ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ได้ เมื่อ ก. ผิดนัดชําระหนี้ ข. จึงฟ้องบังคับชําระหนี้ บังคับ ที่ดินขายทอดตลาดได้เงินสุทธิ 800,000 บาท หนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท และ ก. ไม่มีทรัพย์อื่น ให้ยึดอีก ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข. จะนํามูลหนี้ที่เหลือ 200,000 บาท ไปฟ้องลูกหนี้คนเดียวกันนี้ ให้ล้มละลายได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด อีกกรณีหนึ่ง ถ้า ช. ไม่นํา 200,000 บาท ไปฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย แต่นํามูลหนี้ 200,000 บาท ไปขอรับชําระหนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และประโยชน์สูงสุดของ ข. มีอะไรบ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา”

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และ

(3) หนี้นั้นอาจกําหนดจํานวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลัน หรือ ในอนาคตก็ตาม”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และ

(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจํานวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สําหรับลูกหนีซึ่งเป็น บุคคลธรรมดาเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท”

มาตรา 96 วรรคแรกและวรรคท้าย “เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) เมื่อยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายแล้ว ขอรับชําระหนี้ได้เต็มจํานวน

(2) เมื่อได้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ ยังขาดอยู่

(3) เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่

(4) เมื่อตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจไถ่ถอนทรัพย์สินตามราคานั้นได้ถ้าเห็นว่าราคานั้นไม่สมควร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจขายทรัพย์สินนั้นตามวิธีการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ตกลงกัน ถ้าไม่ตกลงกัน จะขายทอดตลาดก็ได้แต่ต้องไม่ให้เสียหายแก่เจ้าหนี้นั้นและเจ้าหนี้หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอํานาจเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดได้ เมื่อขายได้เงินจํานวนสุทธิเท่าใดให้ถือว่าเป็นราคาที่เจ้าหนี้ได้ตีมาในคําขอ

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่ตามกฎหมายลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่า ราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 “ถ้าเอาทรัพย์จํานองหลุด และราคา ทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ํากว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจํานวนสุทธิน้อยกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจํานวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดในเงินนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยได้นําที่ดินของตนจํานองไว้เป็น ประกันหนี้นั้น ถือได้ว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 6 และเมื่อการจํานองนั้น ก. และ ข. ได้มีสัญญาพิเศษ นอกเหนือมาตรา 733 กล่าวคือ ข. ได้ให้ ก. ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย ดังนั้น ถือว่า ข. เจ้าหนี้ มีประกันย่อมมีสิทธิฟ้อง ก. ลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ เพราะไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 10(1) คือ มิได้เป็น ผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน

แต่อย่างไรก็ดี การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกันนั้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับ ของมาตรา 9(2) และมาตรา 10(2) ด้วย กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา ลูกหนี้จะต้องเป็นหนีเจ้าหนี้ ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท ดังนั้นตามอุทาหรณ์ เมื่อ ก. ผิดนัดชําระหนี้ และ ข. ได้ฟ้องบังคับเอาที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิ 800,000 บาท และหนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาทนั้น ถ้าหาก ข. จะฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลาย ข. จะต้องนํามูลหนี้นั้นไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทด้วย จึงจะสามารถฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลายได้

อีกกรณีหนึ่ง ถ้า ข. เจ้าหนี้มีประกันไม่นหนี้ 200,000 บาท ไปฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลาย แต่จะนํามูลหนี้ 200,000 บาท ไปขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น ข. สามารถทําได้ตามมาตรา 96 วรรคแรก (3) เพราะเป็นการขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่หลังจากขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาด ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ประกอบกับมาตรา 96 วรรคท้าย

สรุป

ข. สามารถนํามูลหนี้ที่เหลือจากการบังคับคดีแพ่งไปฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้ แต่จะต้อง นํามูลหนี้นั้นไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือจะนํามูลหนี้ดังกล่าวไปขอ รับชําระหนี้ในคดีล้มละลายก็ได้

 

ข้อ 2 การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วหรือยัง ขั้นตอนต่าง ๆ ต่อไปจะทําประการใดบ้าง จึงจะผูกมัด และเมื่อมติพิเศษส่งมายังศาล ศาลจะต้องทําประการใดบ้าง (ให้ท่านอธิบายให้ครบถ้วน)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจน ความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพรองอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข”

มาตรา 46 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพันเจ้าหนี้ ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัดเจ้าหนี้ ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไปขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

อธิบาย

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้น ได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในชั้นเเรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ โดยมติพิเศษ และเมื่อผ่านชั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้นไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 12 ซึ่งจะต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีความ ประพฤติเป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว

และเมื่อได้ความว่าอย่างไร ศาลอาจสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับมติพิเศษนั้นก็ได้ ถ้าศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบ การประนอมหนี้นั้นก็จะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ทุกคนแม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตามตามมาตรา 56

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้สั่งเห็นชอบด้วย แล้วนั้น จะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจาก ล้มละลายได้ (เช่น หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น) เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้

และถ้าศาลสั่งไม่เห็นชอบ ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 ซึ่งถ้าลูกหนี้ มีความประสงค์จะขอประนอมหนี้ใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 ต่อไปได้

 

ข้อ 3 วิธีทําคําขอประนอมหนี้จะต้องทําอย่างไร

– คําขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 45 “เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทําความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอชําระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น ให้ทําคําขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเจ็ดวัน นับแต่วัน ยื่นคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดให้

คําขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้ หรือวิธีจัดกิจการหรือทรัพย์สิน และรายละเอียดแห่งหลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน ถ้ามี

ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคําขอนั้น หรือไม่”

อธิบาย

การประนอมหนี้ คือ การที่ลูกหนี้ขอทําความตกลงในเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ โดยวิธีขอชําระหนี้ แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ลงมติพิเศษตกลงยอมรับคําขอประนอมหนี้นั้น และศาล ได้พิจารณาและมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ลูกหนี้ไม่ต้องล้มละลาย และคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นอัน ยกเลิกไปในตัว

ตามบทบัญญัติมาตรา 45 ได้กําหนดวิธีทําคําขอประนอมหนี้ก่อนลูกหนี้ล้มละลายไว้ดังนี้

1 ลูกหนี้ต้องขอตกลงเจรจาชําระหนี้กับเจ้าหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น เช่น ขอชําระหนี้เพียงร้อยละ 25 แล้วให้หนี้ทั้งหมดระงับไป หรือขอมอบที่ดินให้เจ้าหนี้เพื่อนําไปขายแบ่งกันเอง เป็นต้น

2 ต้องทําคําขอประนอมหนี้เป็นหนังสือ กล่าวคือ จะขอด้วยวาจาไม่ได้นั่นเอง

3 คําขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้

(1) ข้อเสนอว่าจะขอใช้หนี้ให้เจ้าหนี้เพียงบางส่วนเป็นจํานวนเท่าใด และภายในกําหนดเวลาเท่าใด

(2) กิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้จะทําอย่างไร เช่น เมื่อประนอมหนี้แล้วลูกหนี้ขอรับทรัพย์ที่ถูกยึดไว้คืนไป เป็นต้น

(3) มีข้อความว่าลูกหนี้จะใช้หนี้ประเภทใดก่อนและหลังให้ถูกต้องตามลําดับในมาตรา 130

(4) ข้อความว่าลูกหนี้มีใครเป็นผู้ค้ำประกัน และมีหลักทรัพย์อย่างใดเป็นประกันบ้าง

4 ยื่นคําขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนด 7 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ยื่นคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดให้

5 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องรีบเสนอคําขอประนอมหนี้ให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกตามมาตรา 31 พิจารณาโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เจ้าหนี้ลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคําขอประนอมหนี้นั้นหรือไม่

หลักเกณฑ์ของการขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ มีดังนี้

1 ลูกหนี้จะขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิของลูกหนี้

2 ถ้าลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้ ศาลจะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย (มาตรา 61)

3 แต่ถ้าลูกหนี้ขอประนอมหนี้และที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ลงมติพิเศษตกลงยอมรับคําขอประนอมหนี้นั้น และศาลก็มีคําสั่งเห็นชอบด้วย จะส่งผลให้คําสั่งของศาลที่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดตกไปโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าศาลมีคําสั่งไม่เห็นชอบกับคําขอประนอมหนี้ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อไปตามมาตรา 61

4 และถ้าลูกหนี้ทําการประนอมหนี้ได้เป็นผลสําเร็จ กล่าวคือ ได้ชําระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในการประนอมหนี้ ลูกหนี้จะไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย

5 แต่ถ้าลูกหนี้ทําการประนอมหนี้ไม่เป็นผลสําเร็จ อาจจะเป็นเพราะลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการประนอมหนี้ หรือเหตุอย่างอื่นตามมาตรา 60 ศาลจะสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้ และสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย

6 การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีได้เพียงครั้งเดียว

 

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย 2/2553

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยสวน จํานวน 3 ข้อ

ข้อ 1 ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปศาลจะต้องดําเนินการอย่างไรต่อไป

ในคดีล้มละลายศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้จําเลยทราบ แต่จําเลยไม่มายื่นคําให้การ และไม่มาในวันนัดพิจารณา ศาลจึงสั่งว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การและขาดนัดพิจารณา คําสั่ง ของศาลชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

ในคดีล้มละลาย ศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องเกินกว่า 7 วัน เป็นการส่งที่ชอบด้วย กระบวนการพิจารณาแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด

ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จําเลยได้มายื่นคําร้องขออนุญาตยื่นคําให้การ

ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะอนุญาตหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปศาลจะต้องดําเนินการตาม มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักไว้ว่า

“เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออก หมายเรียกและส่งสําเนาคําฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว ศาลจะต้องดําเนินการดังต่อไปนี้

1 ศาลจะต้องกําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน ซึ่งกําหนดวันนั่งพิจารณาหมายความว่า

(1) นัดสืบพยานโจทก์

(2) นัดสืบพยานจําเลย หรือ

(3) นัดสืบทั้งพยานโจทก์และพยานจําเลยในวันเดียวกัน

2 ส่งสายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้จําเลยทราบไม่น้อยกว่า 7 วัน ดังนั้น เมื่อศาล ส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้จําเลยทราบเกินกว่า 7 วัน จึงเป็นการส่งที่ชอบด้วยกระบวนการพิจารณาแล้ว ตามหลักของมาตรา 13

ซึ่งในคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้จําเลยทราบแล้ว จําเลยจะ มายื่นคําให้การหรือไม่ก็ได้ถือเป็นสิทธิของจําเลย ดังนั้น การที่จําเลยไม่มายื่นคําให้การและศาลสั่งว่าจําเลยขาด นัดยื่นคําให้การจึงเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามจําเลยอาจขาดนัดพิจารณาได้ ถ้าจําเลยไม่มาในวันนัด พิจารณา ดังนั้น เมื่อจําเลยไม่มาในวันนัดพิจารณา การที่ศาลสั่งว่าจําเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นคําสั่งที่ชอบแล้ว ตามหลักมาตรา 13

ส่วนประเด็นที่ว่า ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จําเลยได้มายื่นคําร้อง ขออนุญาตยื่นคําให้การนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การ เพราะถ้าจําเลยประสงค์จะยื่น คําให้การจะต้องยื่นก่อนวันนั่งพิจารณา ตามคําพิพากษาฎีกาที่ 597/2523

หมายเหตุ ฎีกาที่ 59712523 การดําเนินกระบวนพิจารณาคดีฟ้องให้ล้มละลายนั้น กฎหมาย ไม่ได้กําหนดวันยื่นคําให้การเหมือนคดีแห่งกรรมตา ฉะนั้นจําเลยจะยื่นคําให้การหรือไม่อื่นก็ได้ และหากจําเลย ประสงค์จะยื่นคําให้การ ก็มีโอกาสยืนได้ถึง 7 วันเป็นอย่างน้อยก่อนวันนั่งพิจารณา แต่คดีนี้ปรากฏว่าจําเลย ไม่มาศาลในวันนั่งพิจารณาและไม่ยื่นคําให้การ ทั้งนี้ได้ร้องขอเลื่อนหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลก่อนลงมือ สืบพยาน เพิ่งจะมาศาลภายหลังเมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ฉะนั้นที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การ จึงชอบแล้ว

 

ข้อ 2 นายแสนสุข ถูกธนาคารเอก ฟ้องคดีล้มละลาย และศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าจัดการทรัพย์สินของนายแสนสุข เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า นางสวยเจ้าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 3 แสนบาทได้มาอ้อนวอน นายแสนสุขว่าเดือดร้อนเงิน ขอให้ชําระหนี้แก่ตนก่อน นายแสนสุขเกรงใจนางสวย จึงมอบแหวนเพชรที่มีอยู่ให้แก่นางสวยไป เป็นการชําระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การชําระหนี้ดังกล่าวทําให้เจ้าหนี้อื่น ๆ เสียเปรียบ จึงยื่นฟ้องนางสวย ขอให้ส่งมอบแหวนเพชรคืนเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ ดังนี้

1 หากท่านเป็นศาลจะสั่งอย่างไร เพราะเหตุใด

2 หากศาลสั่งเพิกถอนการโอนแล้ว นางสวย จะยืนขอรับชําระหนี้จํานวน 3 แสนบาทได้หรือไม่

และต้องยื่นภายในระยะเวลาใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 22 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ขอ) มีอํานาจดังต่อไปนี้

(1) จัดการและจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทําการที่จําเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้”

มาตรา 24 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้ทําตามคําสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 91 วรรคแรก “เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนีอยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกําหนดเวลาให้อีกได้ ไม่เกินสองเดือน”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ

วินิจฉัย

โดยหลักในคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อลูกหนี้แล้ว ย่อมมีผลทําให้ ลูกหนี้หมดสิทธิกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 24 โดย อํานาจในการจัดการทรัพย์สินจะไปตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 22 ดังนั้น การกระทําใดที่ลูกหนี้กระทําไปโดยฝ่าฝืนมาตรา 24 ย่อมถือเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแสนสุขลูกหนี้มอบแหวนเพชรชําระหนี้ให้แก่นางสวยเจ้าหนี้ ภายหลังจากถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น ถือเป็นการกระทําที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 24 นิติกรรม การโอนแหวนเพชรดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่มีผลให้หนี้ระงับแต่อย่างใด ดังนั้น

1 ศาลต้องสั่งเพิกถอนการโอนและให้นางสวยส่งมอบแหวนเพชรคืนแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะการโอนแหวนเพชรเพื่อชําระหนี้ดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แหวนเพชรจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของนายแสนสุขลูกหนี้

2 นางสวยเจ้าหนี้อาจยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกําหนด เวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 91 วรรคแรก เพราะ เมื่อการชําระหนี้ตกเป็นโมฆะ หนี้เงินกู้จํานวน 3 แสนบาท จึงยังไม่ระงับ แต่นางสวยไม่อาจขอรับชําระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 92 ได้ เพราะการชําระหนี้ดังกล่าวไม่ใช่การชําระหนี้ที่ทําให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 115 ซึ่งเป็นกรณีที่การชําระหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่อย่างใด (ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 3169/2531)

สรุป

1 หากข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะสั่งเพิกถอนการโอนและให้นางสวยส่งมอบแหวนเพชร คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

2 นางสวยอาจยื่นคําขอรับชําระหนี้จํานวน 3 แสนบาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ โดยต้องยื่นภายในกําหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

 

ข้อ 3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เรื่องหนึ่ง ภายหลังจากศาลมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนแล้ว นาย ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึง การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก. แล้ว เห็นว่าหนี้ที่นาย ก. มาขอรับชําระหนี้เป็นหนี้ที่นาย ก. ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อนาย ก. ได้รู้ถึง การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก.

ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/27 วรรคแรก “เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่หน ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/27 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการ ฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระทร์มีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่

1 เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือ

2 เป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นาย ก. เจ้าหนี้ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ แม้หนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามที่ นาย ก. จะขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 90/27 วรรคแรก ดังนั้น คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หมายเหตุ หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 94(2) ไม่ได้เท่านั้น มิได้เป็นข้อยกเว้นที่ เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 วรรคแรกด้วยแต่อย่างใด

LAW3010 กฎหมายล้มละลาย 1/2553

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน จํานวน 3 ข้อ

ข้อ 1 ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 19 ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยจะขอชําระหนี้เพียงร้อยละ 50 ศาลอนุญาตตามคําขอของลูกหนี้ให้ลูกหนี้เข้าประนอมหนี้ ได้ แต่ปรากฏว่าลูกหนี้ผิดนัดไม่สามารถประนอมหนี้ได้สําเร็จ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะสั่งประการใด กับลูกหนี้ และการสั่งนั้นใช้หลักเกณฑ์ใดในการสั่ง ในการที่ศาลสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น อยากทราบว่าลูกหนี้จะเริ่มต้นล้มละลายตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งในคดีนี้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และศาลสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายด้วย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “พิทักษ์ทรัพย์” หมายความว่า พิทักษ์ทรัพย์สินไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว”

มาตรา 45 วรรคแรก “เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทําความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอชําระหนี้ แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น ให้ทําคําขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนด เจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดให้”

มาตรา 60 วรรคแรก “ถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ดี หรือ ปรากฎแก่ศาลโดยมีพยานหลักฐานว่าการประนอมหนี้นั้นไม่อาจดําเนินไปได้โดยปราศจากอยุติธรรม หรือจะเป็นการ เนินช้าเกินสมควรก็ดี หรือการที่ศาลได้มีคําสั่งเห็นชอบด้วยนั้นเป็นเพราะถูกหลอกลวงทุจริตก็ดี เมื่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานหรือเจ้าหนี้คนใดมีคําขอโดยทําเป็นคําร้อง ศาลมีอํานาจยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการใดที่ได้กระทําไปแล้วตามข้อประนอมหนี้นั้น”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่าเจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไป ขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

มาตรา 62 “การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์”

วินิจฉัย

ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 19 วรรคแรก และลูกหนี้ต้องการ ขอประนอมหนี้ในช่วงนี้ ซึ่งเป็นการขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยประสงค์จะทําความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอชําระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่นตามมาตรา 45 วรรคแรก และเมื่อลูกหนี้ขอประนอมหนี้เข้ามา และศาลสั่งอนุญาตให้ลูกหนี้เข้าประนอมหนี้ได้ ลูกหนี้ย่อมมีโอกาสเข้าไปจัดการทรัพย์สินของตน เพื่อชําระหนี้ ให้กับเจ้าหนี้ตามที่ขอประนอมหนี้ไว้ได้ ซึ่งกรณีนี้คือการขอชําระหนี้ร้อยละ 50

และเมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ ปรากฏว่าลูกหนี้กระทําการประนอมหนี้ไม่เป็นผลสําเร็จ จึงถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ตามมาตรา 60 วรรคแรก ศาลต้องสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย ตามมาตรา 61 วรรคแรก

และเมื่อศาลสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย การล้มละลายของลูกหนี้ให้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมี คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 62 ประกอบกับมาตรา 6 กล่าวคือ

1 ถ้าศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว การล้มละลายก็จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว

2 ถ้าศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (โดยไม่มีการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว) การล้มละลาย ก็จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

ดังนั้นเมื่อในคดีดังกล่าว ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

จึงถือว่าในคดีนี้ลูกหนี้จะเริ่มต้นล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว

สรุป

ข้าพเจ้าเป็นศาล จะสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ และสิ่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย และให้ถือว่าลูหนี้เริ่มต้นล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว

 

ข้อ 2 นายดี เป็นหนี้ธนาคาร ก. จํานวน 5 ล้านบาท ไม่มีเงินชําระหนี้ จึงถูกธนาคาร ก. ฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายดี ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินและบ้านของนายดีมูลค่า 4 ล้านบาท เข้าไว้ในกองทรัพย์สิน ของลูกหนี้ เพื่อชําระหนี้แก่เจ้าหนี้คือธนาคาร ก. ซึ่งได้ยื่นขอรับชําระหนี้ไว้จํานวน 5 ล้านบาท และศาลอนุญาตตามคําขอรับชําระหนี้แล้ว และต่อมาศาลพิพากษาให้นายดีเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงนําที่ดินและบ้านของนายดีออกขายทอดตลาดได้เงินจํานวน 3 ล้านบาท และแบ่งชําระแก่เจ้าหนี้คือธนาคาร ก. แล้ว นายดีเห็นว่าเจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้เกินร้อยละห้าสิบแล้ว จึงยื่นคําร้องขอปลดจากล้มละลาย ระหว่างที่ศาลนัดพิจารณาคําร้องขอปลดจากล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พบโฉนดที่ดินของนายดีอีกหนึ่งแปลงที่นายดีมีมาแต่ก่อนถูกฟ้องคดีซ่อนไว้ ที่ทํางาน และมีผู้พบและนําส่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยึดไว้ ในกองทรัพย์สินแต่ยังมิได้ทันขายทอดตลาด ต่อมาศาลได้นัดไต่สวนคําร้องขอปลดจากล้มละลายของ นายดี และมีคําสั่งให้ปลดจากล้มละลาย หลังจากนั้นนายดีเห็นว่าเมื่อถูกปลดจากล้มละลายแล้ว ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้ทั้งปวงจึงขอให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดที่ดินฉบับหลังที่ยังไม่ได้ ขายทอดตลาด เจ้าพนักงานปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเป็นทรัพย์ที่ยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดและ นําเงินมาแบ่งชําระหนี้แก่ธนาคาร ก. ต่อไปจนครบ นายดีจึงยื่นคําร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดที่ดินดังกล่าว หากท่านเป็นศาลจะสังคําร้องของนายดี อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 19 วรรคแรก “คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้ถือเสมือนว่าเป็นหมายของศาล ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เข้ายึด ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครอง ของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย”

มาตรา 79 “บุคคลล้มละลายซึ่งได้ปลดจากล้มละลายนั้น ยังมีหน้าที่ช่วยในการจําหน่าย และแบ่งทรัพย์สินของตน ซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการ

ถ้าบุคคลล้มละลายละเลยไม่ช่วย ศาลมีอํานาจเพิกถอนคําสั่งปลดจากล้มละลาย…”

มาตรา 109 “ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่ เจ้าหนี้ได้

(1) ทรัพย์สินทั้งหลายอันลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย รวมทั้งสิทธิเรียกร้อง เหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่น”

วินิจฉัย

ในคดีล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอํานาจ ตามมาตรา 19 ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้อันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ซึ่งตามมาตรา 109 ได้บัญญัติ ไว้ว่า ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายแก่เจ้าหนี้นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้น แห่งการล้มละลาย ซึ่งได้แก่ วันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ จนถึงเวลาปลดจากล้มละลาย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงและบ้านเป็นทรัพย์สินที่นายดีมีมาก่อนถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงถือเป็นทรัพย์อันอาจแบ่งได้แก่เจ้าหนี้ตามมาตรา 109(1) และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมมีสิทธิยึดไว้ได้ตามมาตรา 19 แม้ว่าต่อมานายดีได้ยื่นคําร้องขอปลดจากล้มละลาย และศาลมีคําสั่งให้ปลดนายดี จากล้มละลายก็ตาม ผลแห่งคําสั่งปลดจากล้มละลายที่ให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง หมายถึง ลูกหนี้จะหลุดพ้น จากหนี้ที่เจ้าหนี้มิได้ยื่นขอรับชําระหนี้ไว้เท่านั้น ทรัพย์สินที่ถูกยึดและรวบรวมไว้อยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก่อนเวลาปลดจากล้มละลายนั้น ยังเป็นทรัพย์ที่อาจแบ่งได้แก่เจ้าหนี้ ในคดีล้มละลายสําหรับหนี้ที่ได้ยื่นขอรับ ชําระหนี้ไว้แล้ว และลูกหนี้ยังมีหน้าที่ต้องช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจําหน่ายทรัพย์สินของตนตามมาตรา 79 วรรคแรก หากลูกหนี้ไม่ยอมช่วยเหลืออาจถูกศาลสั่งเพิกถอนการปลดจากล้มละลายได้ตามมาตรา 79 วรรคสอง

ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังมีอํานาจนําโฉนดที่ดินที่พบฉบับหลังนั้นมาขายทอด ตลาดเพื่อนําเงินมาแบ่งให้แก่ธนาคาร ก. สําหรับหนี้ที่ค้างชําระอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงต้องมีคําสั่งยกคําร้อง ของนายดี

สรุป หากข้าพเจ้าเป็นศาล จะสั่งยกคําร้องของนายดี ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เรื่องหนึ่ง ภายหลังจากศาลมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนแล้ว นาย ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึง การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก. แล้ว เห็นว่าหนี้ที่นาย ก. มาขอรับชําระหนี้เป็นหนี้ที่นาย ก. ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อนาย ก. ได้รู้ถึง การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก.

ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/27 วรรคแรก “เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่หนี้ ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/27 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการ ฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือ มีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่

1 เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือ

2 เป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นาย ก. เจ้าหนี้ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ แม้หนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามที่ นาย ก. จะขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 90/27 วรรคแรก ดังนั้น คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หมายเหตุ หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 94(2) ไม่ได้เท่านั้น มิได้เป็นข้อยกเว้นที่ เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 วรรคแรกด้วยแต่อย่างใด

WordPress Ads
error: Content is protected !!