การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โอโม่ขับรถด้วยความเร็วสูงล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเพื่อจะแซงรถบรรทุกเป็นเหตุให้เฉียวชนกับรถจักรยานยนต์ที่บรีสขับฝ่าสัญญาณจราจรมา ทําให้บรีสถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ พนักงานตํารวจ แจ้งข้อหาโอโม่ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 โดยยังมิได้มีผู้ใดร้องทุกข์ เมื่อสรุปสํานวนแล้วเสร็จ พนักงานอัยการได้ฟ้องข้อหาดังกล่าว ในระหว่างพิจารณาคดีแฟ้บซึ่งเป็นบิดาของบรีสทราบเรื่องจึงมายื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ พนักงานอัยการ ดังนี้พน้างานอัยการมีอํานาจฟ้องหรือไม่ และศาลจะรับคําร้องขอเป็นโจทก์ร่วม ของแฟ้บได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตาม เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนใน ความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะ มีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (1) ได้บัญญัติให้อํานาจแก่พนักงานอัยการในการฟ้องคดีอาญา ต่อศาล แต่พนักงานอัยการ ะยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน และ ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจะทําการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อได้มีคําร้องทุกข์แล้วตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 120 และมาตรา 121 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 291 นั้น ถือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึง สามารถทําการสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคําร้องทุกข์ก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีนี้โดยยัง มิได้มีผู้ใดร้องทุกข์ การสอบสวนย่อมชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการ จึงมีอํานาจฟ้องคดีนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ประกอบมาตรา 28 (1)

2 ตามกฎหมาย ผู้ที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาได้นั้น จะต้องเป็น ผู้เสียหายตามความใน ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ซึ่งอาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง หรืออาจเป็นผู้มีอํานาจจัดการแทน ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 4, 5 และ 6

ตามอุทาหรณ์ การที่โอโม่ขับรถด้วยความเร็วสูงล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเพื่อจะแซงรถบรรทุก เป็นเหตุให้เฉียวชนกับรถจักรยานยนต์ที่บรีสขับฝ่าสัญญาณจราจรมา ทําให้บริสถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุนั้น แม้จะถือว่าโอโม่ได้กระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายก็ตาม แต่ก็ถือว่าบรีสมีส่วนร่วมในการกระทํา ความผิดโดยประมาทดังกล่าวด้วยเช่นกัน บรีสจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้เสียหายที่แท้จริง ดังนั้น แม้แฟ้บ จะเป็นบิดาของบรีสและเป็นบุคคลที่มีอํานาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ก็ตาม แฟ้บก็ไม่สามารถ จัดการแทนบรีสในกรณีนี้ได้ เมื่อแฟ้บไม่สามารถจัดการแทนบรีสได้ แฟ้บจึงขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 ประกอบมาตรา 3 (2) ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อแฟ้บได้ยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ พนักงานอัยการ ศาลจึงไม่สามารถรับคําร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของแฟ้บได้

สรุป

คดีนี้พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้อง และศาลจะรับคําร้องขอเป็นโจทก์ร่วมของแฟ้บไม่ได้

 

ข้อ 2. ร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยและพันตํารวจโทไพฑูรย์ได้เสดงหมายจับให้นายณัฐวุฒิเห็นและขอเข้าทําการจับกุมนายณัฐวุฒิในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามหมายจับ ปรากฏว่านายณัฐวุฒิต่อสู้ขัดขวาง ไม่ให้จับกุมโดยใช้อาวุธปืนยิงใส่พันตํารวจโทไพฑูรย์ แต่กระสุนปืนถูกร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยเสียชีวิต พันตํารวจโทไพฑูรย์จึงใช้อาวุธปืนยิงสวนไปที่นายณัฐวุฒิและเข้าทําการจับกุมนายณัฐวุฒิได้สําเร็จ ต่อมา พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนนายณัฐวุฒิในความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการ ตามหน้าที่โดยมิได้แจ้งพนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวนดังกล่าว และมิได้มีการชันสูตรพลิกศพของร้อยตํารวจเอกอิทธิชัย เมื่อการสอบสวนเสร็จแล้วพนักงานสอบสวน ได้ทําความเห็นว่าควรสั่งฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสํานวน พนักงานอัยการได้ออก คําสั่งฟ้องและฟ้องนายณัฐวุฒิเป็นจําเลยต่อศาลขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (2)

ให้วินิจฉัยว่า คดีนี้การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 129 “ให้ทําการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่ความตายเป็นผล แห่งการกระทําผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพ ยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล”

มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง “การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่ร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยและพันตํารวจโทไพฑูรย์ได้แสดงหมายจับและขอเข้า ทําการจับกุมนายณัฐวุฒิ แต่ปรากฏว่านายณัฐวุฒิต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุมโดยใช้อาวุธปืนยิงใส่พันตํารวจโทไพฑูรย์ แต่กระสุนปืนถูกร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยเสียชีวิตนั้น ไม่ถือว่าความตายของร้อยตํารวจเอกอิทธิชัยเป็นความตายที่ เกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุม ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือเป็นกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่แต่อย่างใด

ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนนายณัฐวุฒิใน ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่โดยมิได้แจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวน ในการทําสํานวนการสอบสวนดังกล่าว การสอบสวนย่อมชอบด้วยกฎหมาย เพราะกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง ที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงาน สอบสวนในการทําสํานวนสอบสวนแต่อย่างใด

2 แม้ว่าตาม ป..อาญา มาตรา 129 ได้กําหนดให้พนักงานสอบสวนทําการสอบสวน รวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทําผิดอาญาก็ตาม แต่ก็มิได้ห้ามไม่ให้พนักงาน อัยการฟ้องคดีอาญาต่อศาลในกรณีที่ไม่มีการชันสูตรพลิกศพ (คําพิพากษาฎีกาที่ 2410/2530)

ดังนั้น คดีนี้ แม้พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนโดยมิได้มีการชันสูตรพลิกศพของร้อยตํารวจเอกอิทธิชัย ก็ไม่เป็นเหตุทําให้ พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้อง คดีนี้พนักงานอัยการจึงมีอํานาจฟ้องนายณัฐวุฒิเป็นจําเลยต่อศาลขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (2) ได้

สรุป

คดีนี้การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการมีอํานาจฟ้อง

 

ข้อ 3. นายดําและนายขาวได้ทะเลาะวิวาททําร้ายซึ่งกันและกัน จึงถูกเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมและถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตํารวจภูธรฟ้าใส ระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่นั้นนายดําบีบคอนายขาวจนขาดใจตาย พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์โรงพยาบาลฟ้าใส ซึ่งเป็น โรงพยาบาลของรัฐทําการชันสูตรพลิกศพนายขาว ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใส ทําการสอบสวนดําเนินคดีนายดําฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โดยทําสํานวนสอบสวนแต่ฝ่ายเดียว แล้วส่งสํานวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องนายดําไปยังพนักงานอัยการ

ให้วินิจฉัยว่า การชันสูตรพลิกศพนายขาว และการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรฟ้าใสแต่ฝ่ายเดียว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 150 วรรคสาม “ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ตามวรรคหนึ่ง และให้นําบทบัญญัติในวรรคสอง มาใช้บังคับ”

มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง “การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายดําและนายขาวทะเลาะวิวาททําร้ายซึ่งกันและกัน จึงถูกเจ้าพนักงาน ตํารวจจับกุมและถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตํารวจภูธรฟ้าใส และระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่นั้น นายดําบีบคอนายขาว จนขาดใจตายนั้น ถือว่านายขาวถูกนายตําฆ่าตายระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตํารวจภูธรฟ้าใส และเป็นกรณี ที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ดังนั้น การชันสูตรพลิกศพนายขาว และการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสแต่ฝ่าย เดียว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีการชันสูตรพลิกศพนายขาว ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคสาม ได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การชันสูตรพลิกศพนายขาวนั้นมีเพียงพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลฟ้าใสเท่านั้นโดยไม่มีพนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอ หรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ศพนั้นอยู่ร่วมชันสูตรพลิกศพด้วย ดังนั้น การชันสูตรพลิกศพนายขาวจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคสาม

2 กรณีการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนแต่ฝ่ายเดียว ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงาน สอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใสทําการ สอบสวนดําเนินคดีนายดําฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โดยทําสํานวนสอบสวนแต่ฝ่ายเดียวแล้วส่งสํานวนพร้อม ความเห็นควรสั่งฟ้องนายดําไปยังพนักงานอัยการโดยไม่แจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวน ในการทําสํานวนสอบสวนแต่อย่างใด ดังนั้น การทําสํานวนสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรฟ้าใส แต่มายเดียวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง

สรุป

การชันสูตรพลิกศพนายขาว และการทําสํานวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรฟ้าใสแต่ฝ่ายเดียวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ในขณะที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมกําลังขับรถออกตรวจท้องที่เวลา 21.00 น. ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้เห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่นายถั่วลันเตา โดยทั้งนายเทาและนายถั่วลันเตาอยู่ภายในบ้านของนายสับปะรด ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงเข้าไปทําการจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดทันที โดยที่ไม่มีหมายจับและหมายค้น ดังนี้ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมเข้าไปจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน เวองเรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้

(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากําลังกระทําลงในที่รโหฐาน”

มาตรา 96 “การค้นในที่รโหฐานต้องกระทําระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้

(2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งหรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทําการค้น ในเวลากลางคืนก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้เข้าไปจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรด ในเวลากลางคืน (เวลา 21.00 น.) นั้น ถือเป็นการจับในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจการค้นโดยมีหมายค้นหรือมีอํานาจที่กฎหมาย ให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย รวมถึงจะต้องมีอํานาจหน้าที่ที่จะเข้าไปทําการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนด้วย

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมเห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่นายถั่วลันเตานั้น การกระทําของนายเทาถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายถั่วลันเตาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และถือเป็นความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจในการจับนายเทาแม้จะไม่มีหมายจับ และเมื่อเป็นกรณีที่นายเทาได้ กระทําผิดซึ่งหน้าในบ้านของนายสับปะรดซึ่งเป็นที่รโหฐาน จึงถือว่า ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมได้ทําตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจในการค้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 81 ประกอบมาตรา 92 (2) แล้ว และตามข้อเท็จจริงถือเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งเนื่องจากหาก ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ไม่เข้าไปจับนายเทาในขณะนั้น นายถั่วลันเตาอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 96 (2) ที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมสามารถทําการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนได้ ดังนั้น การเข้าไปจับนายเทาในบ้าน ของนายสับปะรดในเวลากลางคืนของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมเข้าไปจับนายเทาในบ้านของนายสับปะรดชอบด้วยกฎหมาย

Advertisement