การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3010 กฎหมายล้มละลาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน จํานวน 3 ข้อ

ข้อ 1 ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้ การจํานอง ข. ได้ให้ ก. ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ได้ เมื่อ ก. ผิดนัดชําระหนี้ ข. จึงฟ้องบังคับชําระหนี้ บังคับ ที่ดินขายทอดตลาดได้เงินสุทธิ 800,000 บาท หนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท และ ก. ไม่มีทรัพย์อื่น ให้ยึดอีก ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข. จะนํามูลหนี้ที่เหลือ 200,000 บาท ไปฟ้องลูกหนี้คนเดียวกันนี้ ให้ล้มละลายได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด อีกกรณีหนึ่ง ถ้า ช. ไม่นํา 200,000 บาท ไปฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย แต่นํามูลหนี้ 200,000 บาท ไปขอรับชําระหนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และประโยชน์สูงสุดของ ข. มีอะไรบ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา”

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และ

(3) หนี้นั้นอาจกําหนดจํานวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลัน หรือ ในอนาคตก็ตาม”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และ

(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจํานวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สําหรับลูกหนีซึ่งเป็น บุคคลธรรมดาเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท”

มาตรา 96 วรรคแรกและวรรคท้าย “เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) เมื่อยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายแล้ว ขอรับชําระหนี้ได้เต็มจํานวน

(2) เมื่อได้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ ยังขาดอยู่

(3) เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่

(4) เมื่อตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจไถ่ถอนทรัพย์สินตามราคานั้นได้ถ้าเห็นว่าราคานั้นไม่สมควร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจขายทรัพย์สินนั้นตามวิธีการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ตกลงกัน ถ้าไม่ตกลงกัน จะขายทอดตลาดก็ได้แต่ต้องไม่ให้เสียหายแก่เจ้าหนี้นั้นและเจ้าหนี้หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอํานาจเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดได้ เมื่อขายได้เงินจํานวนสุทธิเท่าใดให้ถือว่าเป็นราคาที่เจ้าหนี้ได้ตีมาในคําขอ

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่ตามกฎหมายลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่า ราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 “ถ้าเอาทรัพย์จํานองหลุด และราคา ทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ํากว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจํานวนสุทธิน้อยกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจํานวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดในเงินนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยได้นําที่ดินของตนจํานองไว้เป็น ประกันหนี้นั้น ถือได้ว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 6 และเมื่อการจํานองนั้น ก. และ ข. ได้มีสัญญาพิเศษ นอกเหนือมาตรา 733 กล่าวคือ ข. ได้ให้ ก. ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย ดังนั้น ถือว่า ข. เจ้าหนี้ มีประกันย่อมมีสิทธิฟ้อง ก. ลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ เพราะไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 10(1) คือ มิได้เป็น ผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน

แต่อย่างไรก็ดี การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกันนั้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับ ของมาตรา 9(2) และมาตรา 10(2) ด้วย กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา ลูกหนี้จะต้องเป็นหนีเจ้าหนี้ ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท ดังนั้นตามอุทาหรณ์ เมื่อ ก. ผิดนัดชําระหนี้ และ ข. ได้ฟ้องบังคับเอาที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิ 800,000 บาท และหนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาทนั้น ถ้าหาก ข. จะฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลาย ข. จะต้องนํามูลหนี้นั้นไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทด้วย จึงจะสามารถฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลายได้

อีกกรณีหนึ่ง ถ้า ข. เจ้าหนี้มีประกันไม่นหนี้ 200,000 บาท ไปฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลาย แต่จะนํามูลหนี้ 200,000 บาท ไปขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น ข. สามารถทําได้ตามมาตรา 96 วรรคแรก (3) เพราะเป็นการขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่หลังจากขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาด ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ประกอบกับมาตรา 96 วรรคท้าย

สรุป

ข. สามารถนํามูลหนี้ที่เหลือจากการบังคับคดีแพ่งไปฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้ แต่จะต้อง นํามูลหนี้นั้นไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือจะนํามูลหนี้ดังกล่าวไปขอ รับชําระหนี้ในคดีล้มละลายก็ได้

 

ข้อ 2 การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วหรือยัง ขั้นตอนต่าง ๆ ต่อไปจะทําประการใดบ้าง จึงจะผูกมัด และเมื่อมติพิเศษส่งมายังศาล ศาลจะต้องทําประการใดบ้าง (ให้ท่านอธิบายให้ครบถ้วน)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจน ความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพรองอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข”

มาตรา 46 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพันเจ้าหนี้ ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัดเจ้าหนี้ ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไปขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

อธิบาย

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้น ได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในชั้นเเรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ โดยมติพิเศษ และเมื่อผ่านชั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้นไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 12 ซึ่งจะต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีความ ประพฤติเป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว

และเมื่อได้ความว่าอย่างไร ศาลอาจสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับมติพิเศษนั้นก็ได้ ถ้าศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบ การประนอมหนี้นั้นก็จะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ทุกคนแม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตามตามมาตรา 56

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้สั่งเห็นชอบด้วย แล้วนั้น จะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจาก ล้มละลายได้ (เช่น หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น) เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้

และถ้าศาลสั่งไม่เห็นชอบ ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 ซึ่งถ้าลูกหนี้ มีความประสงค์จะขอประนอมหนี้ใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 ต่อไปได้

 

ข้อ 3 วิธีทําคําขอประนอมหนี้จะต้องทําอย่างไร

– คําขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 45 “เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทําความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอชําระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น ให้ทําคําขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเจ็ดวัน นับแต่วัน ยื่นคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดให้

คําขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้ หรือวิธีจัดกิจการหรือทรัพย์สิน และรายละเอียดแห่งหลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน ถ้ามี

ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคําขอนั้น หรือไม่”

อธิบาย

การประนอมหนี้ คือ การที่ลูกหนี้ขอทําความตกลงในเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ โดยวิธีขอชําระหนี้ แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ลงมติพิเศษตกลงยอมรับคําขอประนอมหนี้นั้น และศาล ได้พิจารณาและมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ลูกหนี้ไม่ต้องล้มละลาย และคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นอัน ยกเลิกไปในตัว

ตามบทบัญญัติมาตรา 45 ได้กําหนดวิธีทําคําขอประนอมหนี้ก่อนลูกหนี้ล้มละลายไว้ดังนี้

1 ลูกหนี้ต้องขอตกลงเจรจาชําระหนี้กับเจ้าหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น เช่น ขอชําระหนี้เพียงร้อยละ 25 แล้วให้หนี้ทั้งหมดระงับไป หรือขอมอบที่ดินให้เจ้าหนี้เพื่อนําไปขายแบ่งกันเอง เป็นต้น

2 ต้องทําคําขอประนอมหนี้เป็นหนังสือ กล่าวคือ จะขอด้วยวาจาไม่ได้นั่นเอง

3 คําขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้

(1) ข้อเสนอว่าจะขอใช้หนี้ให้เจ้าหนี้เพียงบางส่วนเป็นจํานวนเท่าใด และภายในกําหนดเวลาเท่าใด

(2) กิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้จะทําอย่างไร เช่น เมื่อประนอมหนี้แล้วลูกหนี้ขอรับทรัพย์ที่ถูกยึดไว้คืนไป เป็นต้น

(3) มีข้อความว่าลูกหนี้จะใช้หนี้ประเภทใดก่อนและหลังให้ถูกต้องตามลําดับในมาตรา 130

(4) ข้อความว่าลูกหนี้มีใครเป็นผู้ค้ำประกัน และมีหลักทรัพย์อย่างใดเป็นประกันบ้าง

4 ยื่นคําขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนด 7 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ยื่นคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดให้

5 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องรีบเสนอคําขอประนอมหนี้ให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกตามมาตรา 31 พิจารณาโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เจ้าหนี้ลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคําขอประนอมหนี้นั้นหรือไม่

หลักเกณฑ์ของการขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ มีดังนี้

1 ลูกหนี้จะขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิของลูกหนี้

2 ถ้าลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้ ศาลจะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย (มาตรา 61)

3 แต่ถ้าลูกหนี้ขอประนอมหนี้และที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ลงมติพิเศษตกลงยอมรับคําขอประนอมหนี้นั้น และศาลก็มีคําสั่งเห็นชอบด้วย จะส่งผลให้คําสั่งของศาลที่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดตกไปโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าศาลมีคําสั่งไม่เห็นชอบกับคําขอประนอมหนี้ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อไปตามมาตรา 61

4 และถ้าลูกหนี้ทําการประนอมหนี้ได้เป็นผลสําเร็จ กล่าวคือ ได้ชําระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในการประนอมหนี้ ลูกหนี้จะไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย

5 แต่ถ้าลูกหนี้ทําการประนอมหนี้ไม่เป็นผลสําเร็จ อาจจะเป็นเพราะลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการประนอมหนี้ หรือเหตุอย่างอื่นตามมาตรา 60 ศาลจะสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้ และสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย

6 การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีได้เพียงครั้งเดียว

 

Advertisement