การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้ ก. ผิดนัดชําระหนี้ ข. จึงฟ้อง ก. บังคับชําระหนี้โดยนําที่ดินขายทอดตลาดได้เงินสุทธิ 600,000 บาท หนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท ข. จะนําเงิน 400,000 บาทที่ขาดอยู่นั้นไปฟ้อง ก. เป็นคดีล้มละลายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง จากโจทย์ข้างต้น ถ้าการจํานอง ก. ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้กับ ข. เมื่อขายทอดตลาดหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้องลูกหนี้เป็นคดี ล้มละลายได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด และถ้านําคดีไปฟ้องล้มละลายแล้วจะกลายเป็นเรื่องฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำหรือไม่ ตามหลักกฎหมายใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา”

มาตรา 9 “เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็น จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และ

(3) หนี้นั้นอาจกําหนดจํานวนได้แน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือใน อนาคตก็ตาม”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และ

(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจํานวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่ สําหรับลูกหนี้ซึ่งเป็น บุคคลธรรมดาเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 733 “ถ้าเอาทรัพย์จํานองหลุด และราคา ทรัพย์สินนั้นมีประมาณตํากว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจํานวนสุทธิน้อยกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจํานวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 10(1) การที่เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือ จะขอรับชําระหนี้ได้นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน

 

และสําหรับเจ้าหนี้มีประกันในกรณีเป็นผู้รับจํานองนั้น ถ้าจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายหรือจะ ขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น จะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มี “สัญญาพิเศษ” นอกเหนือจาก ป.พ.พ. มาตรา 733 กล่าวคือจะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มีสัญญาพิเศษนอกเหนือมาตรา 733 กับผู้จํานองว่า ถ้าบังคับจํานองได้เงิน ไม่พอชําระหนี้ ผู้จํานองยอมให้บังคับจํานองบังคับชําระหนี้เอากับทรัพย์สินอื่นได้อีก (ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับ กันได้ตามกฎหมาย)

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

กรณีแรก การที่ ก. กู้เงิน ข. โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้นั้น ถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มี ประกันตามนัยมาตรา 6 แต่เมื่อในการกู้เงินครั้งนี้ ก. ไม่ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือ ไม่ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ขาดไว้กับ ข. ดังนี้ เมื่อมีการบังคับขายทอดตลาดที่ดินแล้วหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท หนี้ดังกล่าวนี้ ก. ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิด ดังนั้น ข. จึงไม่สามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไปฟ้อง ก. เป็นคดีล้มละลายได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 10(1) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้บังคับ ชําระหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ของลูกหนี้ที่เป็นหลักประกัน

กรณีที่สอง เมื่อการกู้เงินดังกล่าว ก. ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือ ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย จึงถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้ บังคับชําระหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามมาตรา 10(1) ดังนั้น เมื่อมีการบังคับขายทอดตลาดที่ดิน แล้วหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท ข. ย่อมสามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายอีกได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 10(1) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 733 และไม่เป็นฟ้องซ้อนฟ้องซ้ําตามฎีกาที่ 91/2507

แต่อย่างไรก็ดี การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกันนั้น จะต้องอยู่ภายใต้บังคับ ของมาตรา 9(2) และมาตรา 10(2) ด้วย กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา ลูกหนี้จะต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ เมื่อ ข. ได้ฟ้องบังคับเอาที่ดิน ออกขายทอดตลาด และหนี้ยังขาดอยู่ 400,000 บาท นั้น ถ้าหาก ข. จะฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลาย ข. จะต้อง นํามูลหนี้ไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทด้วย จึงจะสามารถฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ ล้มละลายได้

สรุป

กรณีแรก ข. จะนําเงิน 400,000 บาทที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้อง ก. เป็นคดีล้มละลายไม่ได้

กรณีที่สอง ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่นั้นไปฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้อีก และ ไม่เป็นเรื่องฟ้องซ้อนฟ้องซ้ำ แต่กรณีนี้ ข. จะต้องนํามูลหนี้ไปรวมกับเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เพื่อให้มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่า หนึ่งล้านบาทด้วย จึงจะสามารถฟ้องให้ ก. ลูกหนี้ล้มละลายได้

 

ข้อ 2 ห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง ซึ่งมีนายชาย ชาตรี เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จํากัดความรับผิดได้ถูกธนาคาร ก. ฟ้องเป็นคดีล้มละลายเนื่องจากไม่ชําระหนี้เงินกู้จํานวน 5 ล้านบาท โดยธนาคาร ก. ฟ้องห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง เป็นจําเลยที่ 1 และนายชาย ชาตรี เป็นจําเลยที่ 2 ขอให้ศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์จําเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในการพิจารณาคดีธนาคาร ก. นําสืบได้ว่า ได้มีการส่งหนังสือทวงถามไปยังห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง จําเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วันแล้ว และพบว่าจําเลยที่ 1 ได้หยุดประกอบการมานานกว่า 1 ปีแล้ว ส่วนนายชาย ชาตรี ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจําเลยที่ 1 นําสืบว่า แม้จําเลยที่ 1 จะมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน แต่ในฐานะส่วนตัวของตน จําเลยที่ 2 ยังมี ทรัพย์สินที่เป็นที่ดินอันพอจะขายเพื่อนําเงินมาชําระหนี้จํานวน 5 ล้านบาทให้แก่ธนาคาร ก. ได้ แต่ขณะนี้ยังขายไม่ได้เพราะยังไม่มีผู้สนใจซื้อ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องในส่วนของจําเลยที่ 2

เช่นนี้ หากท่านเป็นศาลจะพิจารณาสั่งคดีนี้ในส่วนของจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 8 “ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้มีหนี้สิน ล้นพ้นตัว

(9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชําระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมี ระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชําระหนี้”

มาตรา 9 “เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ

(3) หนี้นั้นอาจกําหนดจํานวนได้แน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือใน อนาคตก็ตาม”

มาตรา 14 “ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคําฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอา ความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ ลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริง หรือลูกหนี้นําสืบได้ว่าอาจชําระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง”

มาตรา 89 “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วน จํากัดแล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคําขอโดยทําเป็นคําร้อง ให้บุคคลซึ่งนําสืบได้ว่า เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ หากข้าพเจ้าเป็นศาลจะพิจารณาสั่งคดีนี้ในส่วนของจําเลยที่ 1 และ จําเลยที่ 2 ดังนี้

กรณีของจําเลยที่ 1 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในการพิจารณาคดีนั้น ธนาคาร ก. นําสืบได้ว่า ได้มีการส่งหนังสือทวงถามไปยังห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง จําเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วันแล้ว จําเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานในมาตรา 8(9) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจําเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล และมีหนี้อันอาจกําหนดจํานวนได้แน่นอน 5 ล้านบาท ศาลย่อมมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจําเลยที่ 1 คือ ห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่างได้ตามมาตรา 14 ประกอบมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย

กรณีของจําเลยที่ 2 เมื่อจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจํากัดต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จําเลยที่ 2 คือ นายชาย ชาตรี ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จํากัดความรับผิด และ ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077(2), 1080 ได้กําหนดไว้ว่า หุ้นส่วนประเภทไม่จํากัด จะต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างโดยไม่จํากัดจํานวน ดังนั้น เมื่อธนาคาร ก. เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ร้องขอให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จําเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็น บุคคลล้มละลาย จําเลยที่ 2 จึงต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามจําเลยที่ 1 ไปด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย ดังนั้น จําเลยที่ 2 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชําระหนี้ของจําเลยที่ 1 หรือ มิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ และกรณีไม่ใช่เหตุที่ไม่สมควรให้จําเลยที่ 2 ล้มละลายตามมาตรา 14 ศาลจึงต้อง มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจําเลยที่ 2 ตามห้างหุ้นส่วนจํากัด สหการช่าง จําเลยที่ 1 ไปด้วย (ตามนัยคําพิพากษา ฎีกาที่ 2645/2538 และ 2778/2552)

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาสจะมีคําสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ตาม หลักกฎหมายและเหตุผลที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

 

 

ข้อ 3 เจ้าหนี้ยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอและนัดไต่สวนคําร้องขอในวันที่ 1 เมษายน 2550 เมื่อถึงวันนัดไต่สวน ศาลมีคําสั่งให้เลื่อนการไต่สวนไปในวันที่ 10 เมษายน 2550 ลูกหนี้ประสงค์จะยืนคําคัดค้านคําร้องขอดังกล่าว และมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คําปรึกษาแก่ลูกหนี้ประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/9 “เมื่อศาลสั่งรับคําร้องขอแล้ว ให้ดําเนินการไต่สวนเป็นการด่วน และให้ศาล ประกาศคําสั่งรับคําร้องขอและวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ไม่น้อยกว่า สองครั้งห่างกันไม่เกินเจ็ดวันกับให้ส่งสําเนาคําร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ และแก่นายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทหรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนายทะเบียนจะได้จดแจ้งคําสั่งศาลไว้ในทะเบียนและให้ส่ง ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 90/4(6) แล้วแต่กรณีด้วย ทั้งนี้ให้ส่งก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ถ้าเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอ ให้ผู้ร้องขอนําส่งสําเนาคําร้องขอให้ลูกหนี้ทราบก่อนวันนัดไต่สวน ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้ลูกหนี้ยืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ รายชื่อและที่อยู่โดยชัดแจ้ง ของเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อศาลก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรก

ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคําคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่ เป็นการคัดค้านผู้ทําแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทําแผนด้วยหรือไม่ก็ได้ การเสนอชื่อผู้ทําแผน ต้องเสนอหนังสือยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทําแผนด้วย

ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ให้ผู้ร้องขอนําส่งสําเนาคําร้องขอแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ด้วย”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/9 วรรคสามนั้น ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การยื่นคําคัดค้าน คําร้องขอฟื้นฟูกิจการเอาไว้ โดยกําหนดให้ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคําคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่า สามวัน

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ลูกหนี้จะยื่นคําคัดค้านคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ได้นั้น ลูกหนี้ จะต้องยื่นคําคัดค้านต่อศาลเสียก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวันตามหลักกฎหมายข้างต้น เมื่อ ปรากฏว่าศาลนัดไต่สวนคําร้องขอเป็นนัดแรกในวันที่ 1 เมษายน 2550 ลูกหนี้จึงต้องยื่นคําคัดค้านเสียก่อนที่จะ ถึงวันที่ 1 เมษายน 2550 ไม่น้อยกว่าสามวัน ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าศาลได้มีคําสั่งให้เลื่อนการไต่สวนไปในวันที่ 10 เมษายน 2550 ก็ต้องถือว่าวันนัดไต่สวนนัดแรกคือวันที่ 1 เมษายน 2550 ดังนั้นเมื่อได้ล่วงเลยเวลาดังกล่าว มาแล้ว ลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคําคัดค้านคําร้องขอดังกล่าวได้

สรุป

เมื่อลูกหนี้มาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คําปรึกษาแก่ลูกหนี้ดังกล่าวข้างต้น

Advertisement