การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานเข้ายึดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 19 วรรคสาม มีหลักว่า ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดมาไว้นั้น ยังมิให้สั่งจําหน่ายหรือขายทอดตลาดจนกว่าศาลจะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายเสียก่อน ในขณะนั้นเอง ได้มี ก. มาขอเช่าที่ดินที่ยึดไว้เป็นเวลา 6 เดือน ราคาเดือนละ 5,000 บาท เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทําหนังสือให้เช่าไป ต่อมา ก. ไม่จ่ายค่าเช่าเลยทั้งหกเดือน เป็นเงิน 30,000 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก. ผู้เช่ารายนี้เคยค้างค่าเช่าที่ดินแปลงนี้ก่อนที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จะยึดมาไว้ในกองทรัพย์สินคดีล้มละลายที่ ก. เคยเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวมาก่อน

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจให้เช่าที่ดินแก่ ก. ผู้มาขอเช่าหรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจะทวงค่าเช่าที่ค้างชําระจาก ก. ที่เคยเช่ากับลูกหนี้มาก่อนหรือไม่ เพราะเหตุใด

(3) ค่าเช่าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่าให้ ก. ไปใหม่ แล้วยังไม่ชําระค่าเช่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทําประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 22 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอํานาจ ดังต่อไปนี้

(1) จัดการและจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทําการที่จําเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้”

มาตรา 119 วรรคแรก “เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชําระเงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชําระเงินหรือ ส่งมอบทรัพย์สินตามจํานวนที่ได้แจ้งไปและให้แจ้งไปด้วยว่าถ้าจะปฏิเสธ ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็น หนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันได้รับแจ้งความ มิฉะนั้น จะถือว่าเป็น หนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจํานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด”

วินิจฉัย

โดยหลักในคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ย่อมมีผลทําให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินหรือกิจการของตน (ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 24) โดยอํานาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งการดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ย่อมตกเป็นอํานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้คือ

(1) เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอํานาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม มาตรา 22 ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอํานาจให้เช่าที่ดินแก่ ก. ผู้มาขอเช่าได้ตามมาตรา 22(1)

(2) ในกรณีที่ลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องมาแต่ก่อนที่จะถูกยึดทรัพย์ ซึ่งกรณีนี้หมายถึงการที่ลูกหนี้ มีสิทธิที่จะทวงค่าเช่าที่ค้างชําระจาก ก. ที่เคยเช่าที่ดินกับลูกหนี้มาก่อน ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถ ทําหนังสือทวงถามไปยัง ก. เพื่อเรียกเอาค่าเช่าที่ค้างชําระแก่ลูกหนี้ได้ตามมาตรา 119 วรรคแรก

(3) ค่าเช่าที่ค้างใหม่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่ากับ ก. ผู้เช่าเป็นเงิน 30,000 บาท นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมสามารถฟ้องเรียกเอาจากนาย ก. ได้ ตามเขตอํานาจศาลที่ที่ดินตั้งอยู่ตาม มาตรา 22(3) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1998/2538)

สรุป

(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจให้เช่าที่ดินแก่ ก. ผู้มาขอเช่าได้

(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจะทวงค่าเช่าที่ค้างชําระจาก ก. ที่เคยเช่ากับลูกหนี้มาก่อนได้

(3) ค่าเช่าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่าใหม่กับ ก. และ ก. ยังไม่ชําระค่าเช่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถฟ้องเรียกเอาจาก ก. ได้

 

ข้อ 2 การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วหรือยัง ขั้นตอนต่าง ๆจะเป็นเช่นไร ให้ท่านตอบมาพอสังเขป

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจน ความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตาม กฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มี เงื่อนไข

มาตรา 46 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพันเจ้าหนี้ ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัด เจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไปขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาสพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

อธิบาย

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้นได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในชั้นแรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ โดยมติพิเศษ และเมื่อผ่านชั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้นไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 42 ซึ่งจะ ต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีความประพฤติ เป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว

และเมื่อได้ความว่าอย่างไร ศาลอาจสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นขอบกับมติพิเศษนั้นก็ได้ ถ้าศาล ได้มีคําสั่งเห็นชอบ การประนอมหนี้นั้นก็จะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ทุกคน แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตาม ตามมาตรา 56

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้สั่งเห็นชอบด้วย แล้วนั้น จะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจาก ล้มละลายได้ (เช่น หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น) เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้

และถ้าศาลสั่งไม่เห็นชอบ ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 ซึ่งถ้าลูกหนี้ มีความประสงค์จะขอประนอมหนี้ใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 ต่อไปได้

 

ข้อ 3 หลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้มีประกันไม่ขอรับชําระหนี้ มีว่าอย่างไร ประโยชน์สูงสุดของมาตรานี้มีว่าอย่างไร

และทําไม เจ้าหนี้ประเภทนี้จึงไม่ขอรับชําระหนี้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา”

มาตรา 95 “เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชําระหนี้ แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 100 “ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ย ภายหลังวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชําระได้”

อธิบาย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 95 ได้กําหนดหลักเกณฑ์การไม่ขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ มีประกันไว้ดังนี้ คือ

1 เป็นเจ้าหนี้มีประกัน คือ เป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานองจํานํา หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา

2 มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน

3 เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ คือก่อนเวลาที่ศาลชั้นต้นอ่านคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์

4 ไม่ขอรับชําระหนี้

5 ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินนั้น

ประโยชน์สูงสุดของมาตรา 95 กรณีที่เจ้าหนี้มีประกันไม่ขอรับชําระหนี้นั้นจะอยู่ที่มาตรา 100 กล่าวคือ หากมีการนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันออกขายทอดตลาดโดยเจ้าหนี้มิได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ เจ้าหนี้ มีประกันย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น (คําพิพากษาฎีกาที่ 725/2495) แต่ถ้า เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ไว้ จะคิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นตามมาตรา 100

และการที่เจ้าหนี้มีประกันไม่ขอรับชําระหนี้นั้น เป็นเพราะทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมีมูลค่า มากกว่าจํานวนหนี้นั่นเอง ซึ่งเมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมได้รับชําระหนี้ เต็มจํานวน รวมทั้งสามารถคิดดอกเบี้ยได้อีกจนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น และถ้ามีเงินเหลืออยู่อีก เงินที่เหลือ นั้นก็ยังตีเข้ากองทรัพย์สินในคดีล้มละลายได้อีก

Advertisement