การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่งโจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยได้ทําการปิดทางภาระจํายอมที่โจทก์ใช้เข้าออกจากที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานของโจทก์สู่ทางสาธารณะ ทําให้โจทก์ใช้ทางภาระจํายอมนั้นไม่ได้ โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่สามารถใช้ทางนั้นขนส่งสินค้าจากโรงงานของโจทก์ได้ คํานวณค่าเสียหาย ได้จํานวน 5 ล้านบาท ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยเปิดทางภาระจํายอมเพื่อให้โจทก์สามารถใช้เข้าออก โรงงานของตนได้ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าทางที่จําเลยปิดกั้นนั้นไม่ใช่ทางภาระจํายอม ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลมีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์ไม่พอใจในคําพิพากษา ของศาลชั้นต้น จึงต้องการยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้จําเลย เปิดทางภาระจํายอมแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปิดทางภาระจํายอม เป็น จํานวนเงิน 5 ล้านบาท ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้า ไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เห็นว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา ดังนั้น หากเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

ตามข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฟ้องศาลขอให้บังคับจําเลยเปิดทางภาระจํายอมเพื่อให้โจทก์สามารถ เข้าออกโรงงานของตนได้นั้น แม้โจทก์จะคํานวณค่าเสียหายจากการกระทําของจําเลยเป็นจํานวน 5 ล้านบาท แต่คดีที่โจทก์ฟ้องจําเลย ถือเป็นการฟ้องขอให้เปิดทางภาระจํายอม ไม่ใช่การฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคดี ไม่มีทุนทรัพย์ ดังนั้น โจทก์จึงสามารถยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้จําเลยเปิดทาง ภาระจํายอมแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปิดทางภาระจํายอมเป็นจํานวนเงิน 5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น และเป็นปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 แต่อย่างใด

สรุป โจทก์อุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์พร้อมเรียกค่าเสียหายจากจําเลยก่อนฟ้อง 60,000 บาท และอีกเดือนละ 10,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากที่ดินพิพาท จําเลยให้การว่าโจทก์ทําสัญญาจะขายที่ดินพิพาทแก่จําเลย โดยยอมให้จําเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาท ในระหว่างชําระค่าที่ดินที่เหลือและยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่กัน โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จําเลยและ เรียกค่าเสียหายตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยอยู่ในที่ดิน พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจําเลย จึงพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดิน พิพาท และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายก่อนฟ้องแก่โจทก์ 30,000 บาท และเดือนละ 5,000 บาท นับ ถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยจะออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาท จึงไม่มีสิทธิขับไล่จําเลย และโจทก์ ไม่ได้รับความเสียหาย จําเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายก่อนฟ้อง 30,000 บาทแก่โจทก์

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนด ในพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการห้ามคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ในคดีดังต่อไปนี้ คือ

1 คดีที่ราคาทรัพย์ที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

2 คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา นางกรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท จําเลยมิได้ให้การกล่าวแก้ข้อพิพาท ด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจําเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จําเลย และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายก่อนฟ้อง แก่โจทก์ 30,000 บาท และอีกเดือนละ 5,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ตกลงยินยอม ให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิ์ขับไล่จําเลย โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย จําเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย ก่อนฟ้อง 30,000 บาท แก่โจทก์ อุทธรณ์ของจําเลยจึงมีประเด็นเรื่องขับไล่กับประเด็นเรื่องค่าเสียหายก่อนฟ้องปนกัน ดังนั้น ในการพิจารณาสิทธิอุทธรณ์ของจําเลยว่าจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ จึงต้องแยกพิจารณาแต่ละประเด็น ออกจากกัน

 

1 ประเด็นเรื่องขับไล่ จําเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จําเลย ถือเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายรายเดือนจากจําเลย เดือนละ 10,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลยและกําหนดให้จําเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ในกรณีนี้ จึงต้องฟังว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ถือว่าอุทธรณ์ของจําเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ ยื่นคําฟ้องเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งเกิน 4,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ศาลชอบที่จะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นเรื่องขับไล่ไว้พิจารณาได้

2 ประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ตามอุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า จําเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย ก่อนฟ้อง 30,000 บาท แก่โจทก์ อุทธรณ์ของจําเลยส่วนนี้เป็นคําขอในคดีมีทุนทรัพย์ และมีจํานวนทุนทรัพย์ที่ พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ 30,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวเป็นการ โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยในประเด็นเรื่องขับไล่ไว้พิจารณาได้ แต่จะรับอุทธรณ์ของ จําเลยในประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้พิจารณาไม่ได้

 

ข้อ 3. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยใช้เงิน 20 ล้านบาทแก่โจทก์ฐานผิดสัญญาจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินตามที่โจทก์อ้างว่า เป็นของจําเลย ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาด นายแดงยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าที่ดิน ที่ยึดเป็นของนายแดงผู้ร้อง หาใช่ของจําเลย ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดินคืนให้นายแดง โจทก์ ยื่นคําคัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นที่ดินของนายแดงผู้ร้อง และมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดิน คืนให้นายแดง โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์อุทธรณ์ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษาศาลไต่สวน แล้วเห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการยึดและปล่อยที่ดินคืนให้นายแดง ศาลจึงมีคําสั่งให้ ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ และคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดที่ดินที่พิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษา ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่น คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่ง ห้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์ยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษานั้น ถือเป็นการร้องขอ วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เมื่อปรากฏว่าคดีนี้อยู่ในระหว่าง อุทธรณ์ ดังนั้นศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีที่อุทธรณ์ ย่อมเป็นศาลที่มีอํานาจ สั่งคําร้องของโจทก์ แม้ว่าศาลชั้นต้นจะยังมิได้ส่งสําเนาความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ก็ตาม เพราะกรณี การยื่นขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้าย มาใช้บังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์

ส่วนประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยคือ การที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดที่ดินที่พิพาทไว้ ก่อนมีคําพิพากษา ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ในการพิจารณาอนุญาตคําขอของโจทก์ที่ยื่นไว้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ศาลต้องไต่สวนแล้วเห็นว่า เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันได้รับความคุ้มครองไว้ก่อนมีคําพิพากษา เมื่อปรากฏว่า คดีนี้หากเจ้าพนักงานบังคับคดี เพิกถอนการยึดที่ดิน นายแดงก็จะสามารถโอนขายได้ ซึ่งหากต่อมาศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นที่ดินของจําเลยและ มีคําพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ย่อมเป็นการเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์จะไม่สามารถนําที่ดินออกขาย ทอดตลาดเพื่อชําระหนี้ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งให้ระงับการถอนการยึดไว้ก่อนมีคําพิพากษาย่อมเป็น การคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 คําสั่งของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสังคําร้องของโจทก์ และคําสั่งให้ระงับการถอนการยึด ที่ดินพิพาทไว้ก่อนมีคําพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ศาลแพ่งพิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ให้แก่โจทก์ และล่วงพ้นกําหนดเวลาตามคําบังคับแล้ว จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ยื่นคําขอต่อศาลชั้นต้นให้ออก หมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้จําเลยปฏิบัติตาม คําพิพากษา แต่จําเลยได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ให้แก่นายเหลืองไปในราคา 1,000,000 บาท โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลย เพื่อใช้ค่าที่ดิน 1,000,000 บาท แทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์

ให้วินิจฉัยว่า การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดี แก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลยใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

มาตรา 275 วรรคหนึ่ง “ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอให้บังคับคดี ให้ยื่นคําขอฝ่ายเดียว ต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี”

มาตรา 282 “ถ้าคําพิพากษาหรือคําสั่งใดกําหนดให้ชําระเงินจํานวนหนึ่ง ภายใต้บังคับแห่ง บทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอํานาจที่จะรวบรวมเงินให้พอชําระตามคําพิพากษาหรือ คําสั่งโดยวิธียึดหรืออายัด และขายทรัพย์สินของลูกหนี้”

มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือ ต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล ให้มีคําสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัย คือ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้น ชอบหรือไม่ เห็นว่า การที่ศาลแพ่งพิพากษาให้จําเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ให้แก่โจทก์ และโจทก์ยื่นคําขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีนั้น ถือเป็นการบังคับให้จําเลยทํานิติกรรม มิใช่การ บังคับคดีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกําหนดให้ต้องดําเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี เหมือนอย่างการบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่ง กําหนดให้ชําระเงิน หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาถูก พิพากษาให้ขับไล่หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 282 และมาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องขอให้ศาล ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 275 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี ให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัย คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ของจําเลยใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ได้หรือไม่ เห็นว่า ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 บัญญัติให้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ โดยอาศัยและตามคําบังคับที่ ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่จําเลยจะต้องชําระแก่โจทก์ตามคําพิพากษา คือ การจดทะเบียน โอนทรัพย์สินซึ่งเป็นหนี้กระทําการ และในคําพิพากษามิได้กําหนดเอาไว้ด้วยว่า หากจําเลยโอนทรัพย์สินไม่ได้ให้ ชดใช้ราคาแทน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะบังคับคดีนอกเหนือไปจากคําพิพากษาของศาลซึ่ง จะต้องมีการบังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลย เพื่อให้ใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ไม่ได้

สรุป การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าพนักงานบังคับคดี จะดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจําเลยเพื่อให้ใช้ค่าที่ดินแทนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่โจทก์ไม่ได้

Advertisement