LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเอก (มีภูมิลําเนาที่จังหวัดอ่างทอง) สั่งซื้อสินค้าจากนายโท (มีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดชลบุรี) โดยทําคําสั่งซื้อเป็นจดหมายส่งไปยังนายโทที่จังหวัดชลบุรี เมื่อนายโทได้รับคําสั่งซื้อทางจดหมายแล้ว ก็ได้ส่งสินค้าไปให้นายเอกที่จังหวัดอ่างทอง ปรากฏว่านายเอกได้รับสินค้าไปแล้วแต่ไม่ยอมชําระค่าสินค้า นายโทจึงยื่นฟ้องนายเอกต่อศาลจังหวัดชลบุรี จะสามารถทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคคล ต้องฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่ มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตามมาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดีเกิด” หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันจะทําให้เกิดอํานาจฟ้อง ซึ่งในกรณีของสัญญานั้น สถานที่ที่มูลคดีเกิดคือสถานที่ที่สัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างนายเอกกับนายโทเป็นสัญญาระหว่างบุคคล ซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง สัญญาจะเกิดก็ต่อเมื่อคําสนองกลับมาถึงผู้เสนอ ซึ่งจากข้อเท็จจริง นายเอกทําคําเสนอ ไปยังนายโท แม้นายโทจะไม่ได้ทําคําสนองตอบกลับมา แต่นายโทก็ได้ส่งสินค้าไปให้นายเอกที่จังหวัดอ่างทอง ซึ่งถือเป็นคําสนองโดยปริยาย ดังนั้น เมื่อสินค้าถูกส่งมายังจังหวัดอ่างทองถือว่าสัญญาเกิดที่จังหวัดอ่างทอง มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่จังหวัดอ่างทอง ประกอบกับจําเลยคือนายเอกก็มีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง นายโทจึงสามารถ ยื่นฟ้องนายเอกได้ที่ศาลจังหวัดอ่างทองเท่านั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) จะไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดชลบุรีไม่ได้

สรุป

นายโทจะยื่นฟ้องนายเอกต่อศาลจังหวัดชลบุรีไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ยื่นคําฟ้องว่า จําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 ชนโจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ จําเลยที่ 1 ยื่นคําให้การยอมรับ แต่จําเลยที่ 2 ยื่นคําให้การว่าคดีนี้ขาดอายุความแล้ว ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําให้การของจําเลยที่ 2 จะมีผลถึงจําเลยที่ 1 หรือไม่ และหากศาลเห็นว่าคดีนี้ ขาดอายุความแล้ว สามารถยกฟ้องจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ทั้งสองคนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วม หรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคล เหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ

(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ใช้ถึงคู่ความ ร่วมคนอื่นด้วย”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 (1) การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เป็นคู่ความในคดีเดียวกัน โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมนั้น หากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี และมูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แล้ว บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดยหรือ ทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ถือว่าได้ทําโดยหรือทําต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่ คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันโดยเป็นหนี้ที่ไม่อาจ แบ่งแยกจากกันได้นั้น แม้จําเลยที่ 1 จะยื่นคําให้การยอมรับ แต่จําเลยที่ 2 ยื่นคําให้การว่าคดีนี้ขาดอายุความแล้ว คําให้การของจําเลยที่ 2 ย่อมมีผลถึงจําเลยที่ 1 ด้วย เพราะถือเป็นกระบวนการพิจารณาซึ่งได้ทําโดย คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย อีกทั้งเป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งได้กระทําไปโดยไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ แต่อย่างใด

ดังนั้น หากศาลเห็นว่าคดีนี้ขาดอายุความแล้ว แม้จําเลยที่ 1 จะมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ ก็ตาม ศาลก็สามารถยกฟ้องจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ได้

สรุป

คําให้การของจําเลยที่ 2 จะมีผลถึงจําเลยที่ 1 ด้วย และถ้าศาลเห็นว่าคดีนี้ขาดอายุความ แล้ว ศาลสามารถยกฟ้องจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยรับผิดในกรณีละเมิด ศาลชั้นต้นสั่งคําฟ้องว่า “รับคําฟ้องหมายส่งสําเนาให้จําเลย ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง” ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานส่งหมายไม่ได้จึงแจ้งต่อศาลถึงการส่งหมายไม่ได้ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลของการส่งหมายให้โจทก์ทราบ แต่มีคําสั่งว่า “รอโจทก์แถลงภายใน 7 วัน” เมื่อโจทก์ไม่มาแถลงภายใน 7 วัน ศาลชั้นต้นจึงมีคําสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จําหน่ายคดีออกจาก สารบบความ ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งทิ้งฟ้องดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 70 “บรรดาคําฟ้อง หมายเรียกและหมายอื่น ๆ คําสั่ง คําบังคับของศาลนั้น ให้ เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง

คําฟ้องนั้น ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ส่วนการนําส่งนั้นโจทก์จะนําส่งหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ศาลจะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนําส่ง…”

มาตรา 174 “ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ

(2) โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว”

วินิจฉัย

กรณีที่จะถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 174 (2) จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ศาลกําหนดเวลาให้ดําเนินคดี

2 ศาลได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว

3 โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกําหนด

ตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งคําฟ้องว่า “รับคําฟ้องหมายส่งสําเนาให้จําเลย ถ้าส่งไม่ได้ ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง” และข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าพนักงาน ส่งหมายไม่ได้จึงแจ้งต่อศาลถึงการส่งหมายไม่ได้ และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลของการส่งหมายให้โจทก์ทราบ แต่มี คําสั่งว่า “รอโจทก์แถลงภายใน 7 วัน” นั้น เป็นกรณีที่ศาลมิได้สั่งให้โจทก์มีหน้าที่นําส่งหมายตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 70 โจทก์จึงไม่ทราบผลของการส่งหมาย ซึ่งหากเจ้าพนักงานศาลส่งหมายไม่ได้ ต้องมีการแจ้งผลของการ ส่งหมายไม่ได้ให้โจทก์ทราบก่อน ประกอบกับ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 174 (2) ได้กําหนดว่า การที่ศาลจะสั่งว่าโจทก์ ได้ทิ้งฟ้องนั้น ศาลต้องส่งคําสั่งให้โจทก์ทราบโดยชอบเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผล ของการส่งหมายให้โจทก์ทราบโดยชอบเสียก่อนแต่อย่างใด แต่มีเพียงคําสั่งว่า “รอโจทก์แถลงภายใน 7 วัน” เท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่มาแถลงภายใน 7 วัน ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จําหน่ายคดีออกจาก สารบบความไม่ได้ เมื่อคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคําสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จําหน่ายคดีออกจากสารบบความ คําสั่งทิ้งฟ้อง ดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 174 (2)

สรุป

คําสั่งทิ้งฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. โจทก์ยื่นฟ้องว่าจําเลยละเมิดโจทก์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จําเลยยื่นคําให้การและฟ้องแย้งว่าจําเลยไม่ได้ละเมิด แต่โจทก์ต่างหากที่ละเมิดจําเลย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่มา ยื่นคําให้การแก้ฟ้องแย้งภายใน 15 วัน จึงขาดนัดยื่นคําให้การแก้ฟ้องแย้งและจําเลยก็มิได้มายื่นคําขอ ต่อศาลให้ศาลพิพากษาให้ตนชนะคดีโดยขาดนัดภายใน 15 วันนับแต่วันขาดนัด ศาลจึงมีคําสั่งจําหน่ายคดีทั้งหมด (ทั้งที่โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยฟ้องแย้ง) ออกไปจากสารบบความ

ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งจําหน่ายคดีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 198 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ถ้าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ให้โจทก์มีคําขอต่อศาล ภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กําหนดให้จําเลยยื่นคําให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาด ให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด

ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคําขอต่อศาลภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีนั้น เสียจากสารบบความ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ในคดีฟ้องแย้ง การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยละเมิดโจทก์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จําเลยยื่นคําให้การ และฟ้องแย้งว่าจําเลยไม่ได้ละเมิดแต่โจทก์ต่างหากที่ละเมิดจําเลยนั้น ในคดีฟ้องแย้งย่อมถือว่าโจทก์ในฟ้องเดิม เป็นจําเลยในคดีฟ้องแย้ง ดังนั้นโจทก์จึงต้องยื่นคําให้การภายใน 15 วัน ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 178 เมื่อโจทก์ ไม่มายื่นคําให้การแก้ฟ้องแย้งภายใน 15 วัน จึงถือว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคําให้การในคดีฟ้องแย้ง

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ (จําเลยในคดีฟ้องแย้ง) ขาดนัดยื่นคําให้การ จําเลยซึ่งมีสถานะเป็นโจทก์ในคดีฟ้องแย้งต้องยื่นคําขอภายใน 15 วัน เพื่อให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาด ให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจําเลย (โจทก์ในคดีฟ้องแย้ง) มิได้มายื่นคําขอต่อศาล ให้ศาลพิพากษาให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดภายใน 15 วันนับแต่วันขาดนัด การที่ศาลได้มีคําสั่งจําหน่ายคดี ฟ้องแย้ง คําสั่งจําหน่ายคดีดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง

ในคดีฟ้องเดิม เมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องจําเลย และจําเลยได้ยื่นคําให้การโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ดังนั้น ศาลจึงไม่มีอํานาจสั่งจําหน่ายคดี การที่ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดี ฟ้องเดิม คําสั่งจําหน่ายคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งจําหน่ายคดีฟ้องแย้งชอบด้วยกฎหมาย แต่คําสั่งจําหน่ายคดีฟ้องเดิมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายรวยทําสัญญาซื้อบ้านหลังหนึ่งในอําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จากนางสาวบราลี ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยสั่งจ่ายเช็คจํานวนเงิน 3,000,000 บาท และมอบเช็คแก่ นางสาวบราลีที่หวัดอุดรธานี (อยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดอุดรธานี) และว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจํากัด ยอดเยี่ยมวิศวกรรม ให้ก่อสร้างบ้านพักอาศัยรวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท โดยทําสัญญาว่าจ้าง ณ ที่ทําการของห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมที่อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น (อยู่ในเขตอํานาจ ของศาลจังหวัดพล) ต่อมาห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมทําสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง ตามสัญญาจ้างดังกล่าวให้แก่นายศรัณย์ โดยทําสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องกันที่อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (อยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดขอนแก่น) ซึ่งเป็นภูมิลําเนาของนายศรัณย์ นายศรัณย์และห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง ให้นายรวยทราบแล้ว เมื่อห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมได้ก่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว นายศรัณย์ มีหนังสือถึงนายรวยขอรับเงินค่าก่อสร้าง นายรวยปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงิน แก่นายศรัณย์ ส่วนนางสาวบราลี เมื่อเช็คถึงกําหนดชําระได้นําเช็คไปเบิกเงินที่ธนาคารตามเช็ค สาขาอําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดเชียงใหม่) แต่ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค

ดังนี้

นางสาวบราลีจะฟ้องนายรวยให้ชําระเงินตามเช็คได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด

นายศรัณย์จะยื่นฟ้องนาย รวยให้ชําระเงินได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายนั้น การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคลต้องเสนอคําฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดี” ก็หมายถึง ต้นเหตุ อันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันทําให้เกิดอํานาจฟ้องนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 นางสาวบราลีจะฟ้องนายรวยให้ชําระเงินตามเช็คได้ที่ศาลใด

การที่นายรวยได้ทําสัญญาซื้อบ้านหลังหนึ่งในอําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จาก นางสาวบราลีซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยสั่งจ่ายเช็คจํานวน 3,000,000 บาท และมอบเช็คแก่ นางสาวบราลีที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อเช็คถึงกําหนดชําระ นางสาวบราลีได้นําเช็คไปเบิกเงินที่ธนาคารตามเช็ค สาขาอําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น

กรณีดังกล่าว เป็นเรื่องที่โจทก์จะฟ้องจําเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้ชําระเงินตามเช็คแก่โจทก์ ซึ่งความรับผิดของจําเลยเกิดขึ้นเมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้นสถานที่ตั้งของธนาคารที่ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ย่อมถือว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิด เมื่อธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คตั้งอยู่ ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวบราลีจึงฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากนายรวยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

ประเด็นที่ 2 นายศรัณย์ จะยื่นฟ้องนายรวยให้ชําระเงินได้ที่ศาลใด

การที่นายรวยว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมให้ก่อสร้างบ้านพักอาศัยรวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท โดยทําสัญญาว่าจ้าง ณ ที่ทําการของห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมที่อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น และต่อมาห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมทําสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างดังกล่าว ให้แก่นายศรัณย์ โดยทําสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องกันที่อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นนั้น

กรณีที่มีการทําสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวนั้น ถือว่านายศรัณย์เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิ เรียกร้องค่าก่อสร้างของห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรม ในอันที่จะบังคับชําระหนี้ตามมูลหนี้เดิมจาก นายรวยแทนห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรมเท่านั้น เมื่อสัญญาที่เป็นมูลหนี้ให้เกิดการโอนสิทธิเรียกร้อง เกิดขึ้น ณ ที่ทําการของห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรม และนายรวยปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าก่อสร้างแก่นายศรัณย์ จึงถือว่ามูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันทําให้นายศรัณย์มีอํานาจฟ้องเกิดขึ้น ณ ที่ทําการของ ห้างหุ้นส่วนจํากัดยอดเยี่ยมวิศวกรรม ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดพล ดังนั้น นายศรัณย์จึงฟ้องนายรวย ให้ชําระเงินได้ที่ศาลจังหวัดพล ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

สรุป

นางสาวบราลีจะฟ้องนายรวยให้ชําระเงินตามเช็คได้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่

นายศรัณย์จะยื่นฟ้องนายรวยให้ชําระเงินได้ที่ศาลจังหวัดพล

 

ข้อ 2. วันที่ 11 มกราคม 2559 นายสิงห์เป็นโจทก์ฟ้องนายศรเป็นจําเลย ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่นายศรและบริวารออกจากที่ดินพิพาทของนายสิงห์ ต่อมานายสิงห์และนายศรทําสัญญาประนีประนอม ยอมความกันโดยนายศรรับว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของนายสิงห์และยอมชําระค่าเสียหายแก่นายสิงห์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ในชั้นบังคับคดี นายเสื่อยื่นคําร้องขอเข้ามา ในคดีนี้อ้างว่านายเสือไม่ใช่บริวารของนายศร นายศรเป็นตัวแทนของตนกับพวกในการทําสัญญาเช่า ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดากับนายสิงห์ เพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร แต่นายสิงห์และนายศรสมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทําสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ ศาลออกหมายบังคับคดีทําการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง นายเสือมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559 ระหว่างพิจารณาคดีแรก นายเสือเป็นโจทก์ ฟ้องนายสิงห์และนายศรเป็นจําเลย อ้างว่านายศรทําสัญญาเช่ากับนายสิงห์ในฐานะเป็นตัวแทน ของนายเสือกับพวก ขอให้ศาลพิพากษาเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่าที่ดินจากนายศรเป็นนายเสือกับพวก ให้นายสิงห์จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ผู้ร้องกับพวกมีกําหนด 5 ปี ศาลชั้นต้นจะสั่งคําร้องขอของ นายเสืออย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจําเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น”

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นและ…”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย การฟ้องซ้อนมีบัญญัติไว้ในมาตรา 173 วรรคสอง (1) ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้

1 คดีเดิมอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา

2 คู่ความทั้งสองฝ่ายในคดีเดิมและคดีหลังจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน

3 คดีเดิมกับคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกัน

4 ห้ามโจทก์ฟ้อง

5 ในศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสิงห์เป็นโจทก์ฟ้องนายศรเป็นจําเลย ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่ นายศรและบริวารออกจากที่ดินพิพาทของนายสิงห์ ต่อมานายสิงห์และนายศรทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยนายศรรับว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของนายสิงห์ และยอมชําระค่าเสียหายแก่นายสิงห์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ในชั้นบังคับคดี นายเสือยื่นคําร้องขอเข้ามาในคดีนี้โดยอ้างว่า นายเสือไม่ใช่บริวารของนายศร นายศรเป็นตัวแทน ของตนกับพวกในการทําสัญญาเช่าซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดากับนายสิงห์เพื่อประกอบ กิจการร้านอาหาร แต่นายสิงห์และนายศรสมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทําสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ ศาลออกหมายบังคับคดีทําการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ในการบังคับคดีตามคําพิพากษาตามยอมในคดีนี้ ย่อมกระทบต่อสิทธิของนายเสือที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของนายศร ดังนั้น นายเสือจึงมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่อง

ด้วยการบังคับตามคําพิพากษาที่จะยื่นคําร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (1) ส่วนในคดีหลังนั้น แม้นายเสือจะมีสิทธิยื่นคําร้องสอด แต่ก่อนยื่นคําร้องสอดคือ ในวันที่ 18 มกราคม 2559 ระหว่างพิจารณาคดีแรก นายเสือฟ้องนายสิงห์และนายศรเป็นจําเลยโดยอ้างว่านายศรทําสัญญาเช่า กับนายสิงห์ในฐานะเป็นตัวแทนของนายเสือกับพวก ขอให้ศาลพิพากษาเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่าที่ดินจากนายศร เป็นนายเสือกับพวกและให้นายสิงห์จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้นายเสือกับพวกมีกําหนด 5 ปีนั้น จะเห็นได้ว่า ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีนี้กับที่อ้างในคําร้องสอดมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จําเลยเป็นตัวแทนนายเสือกับพวกทําสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ ดังนั้นคําร้องสอดซึ่ง ถือเป็นคําฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 ของนายเสือจึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งไม่รับคําร้องหรือยกคําร้องของนายเสือ

สรุป

กรณีแรก นายเสือมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้

กรณีหลัง ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับคําร้องหรือยกคําร้องขอของนายเสือ

 

ข้อ 3. คดีแรกนายหนึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสองเป็นจําเลยว่าขับรถด้วยความประมาทชนตนได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาให้นายสองรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย นายสองยื่นคําให้การว่าตนไม่ได้ประมาทแต่ไม่ได้ฟ้องแย้ง ต่อมาระหว่างที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น นายสองเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายหนึ่งเป็นจําเลยอีกคดีหนึ่งโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกันกับคดีแรกว่านายหนึ่งเป็นฝ่ายขับรถด้วยความประมาทชนตนได้รับความเสียหายขอให้ศาลพิพากษาให้นายหนึ่งรับผิดชดใช้ ค่าเสียหาย นายหนึ่งจึงยื่นคําให้การว่าความประมาทไม่ได้เกิดจากตนขอให้ศาลยกฟ้อง โดยมิได้ มีการฟ้องแย้ง ซึ่งศาลในคดีที่นายสองได้ยื่นฟ้องภายหลังนี้ได้รับฟ้องของนายสองไว้พิจารณาและ มีการพิจารณาพิพากษาเสร็จสิ้นก่อนคดีแรก โดยมีคําพิพากษาว่าความประมาทเกิดจากนายหนึ่ง ให้นายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายแก่นายสอง นายหนึ่งจึงอุทธรณ์คําพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ ภายหลังจากที่ศาลในคดีหลังพิพากษาและนายหนึ่งได้อุทธรณ์แล้ว ศาลในคดีแรกที่นายหนึ่งได้ยื่นฟ้องไว้ จึงมีคําพิพากษาต่อมาว่าความประมาทเกิดจากนายสองให้นายสองชดใช้ค่าเสียหายแก่นายหนึ่ง ให้ท่านวินิจฉัยว่าการที่ศาลรับฟ้องในคดีหลังที่นายสองเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายหนึ่งไว้พิจารณาพิพากษานั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่ศาลในคดีแรกที่นายหนึ่งยื่นฟ้องนายสองมีคําพิพากษานั้น จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 144 “เมื่อศาลใดมีคําพิพากษา หรือคําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วนั้น…”

มาตรา 148 “คดีที่ได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้อง ฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน…”

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ…”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น กรณีที่จะถือว่าเป็นการดําเนินกระบวน พิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 144 หรือกรณีที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 หรือกรณี ที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) นั้น จะมีองค์ประกอบที่สําคัญ คือ เป็นกรณีที่ คู่ความเดิมได้นํามูลความแห่งคดีเดิมมาฟ้องร้องบังคับคดีกันอีกครั้งหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีแรก การที่ศาลรับฟ้องในคดีหลังที่นายสองเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายหนึ่งไว้พิจารณา พิพากษานั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

คดีแรกนายหนึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสองเป็นจําเลยว่าขับรถด้วยความประมาทชนตนได้รับ ความเสียหาย และนายสองยื่นคําให้การว่าตนไม่ได้ประมาทแต่ไม่ได้ฟ้องแย้ง ต่อมาระหว่างที่คดีแรกอยู่ในระหว่าง พิจารณาของศาลชั้นต้น นายสองได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายหนึ่งเป็นจําเลยอีกคดีหนึ่งโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกันกับ คดีแรกว่านายหนึ่งเป็นฝ่ายขับรถด้วยความประมาทชนตนได้รับความเสียหาย และนายหนึ่งได้ยื่นคําให้การว่า ความประมาทไม่ได้เกิดจากตนโดยมิได้มีการฟ้องแย้ง การที่ศาลในคดีที่นายสองได้ยื่นฟ้องภายหลังได้รับฟ้องของ นายสองไว้พิจารณาพิพากษานั้นถือว่าชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เพราะโจทก์ในคดีแรก (คือนายหนึ่ง) กับโจทก์ใน คดีหลัง (คือนายสอง) เป็นคนละคนกัน ดังนั้นการฟ้องในคดีหลังจึงไม่เป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบกับในขณะยื่นฟ้องคดีหลัง คดีแรกยังไม่มีคําพิพากษาจึงไม่ถือว่าเป็นการดําเนิน กระบวนพิจารณาซ้ําตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 144 และไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148

กรณีหลัง การที่ศาลในคดีแรกที่นายหนึ่งยื่นฟ้องนายสองมีคําพิพากษานั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

การที่ศาลในคดีหลังได้พิพากษาไปแล้วว่าความประมาทเกิดจากนายหนึ่งให้นายหนึ่งชดใช้ ค่าเสียหายแก่นายสองและนายหนึ่งได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว ต่อมาในภายหลังศาลในคดีแรกที่นายหนึ่งได้ยื่นฟ้องไว้จึง มีคําพิพากษาว่าความประมาทเกิดจากนายสองให้นายสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายหนึ่งนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อศาล ในคดีหลังได้มีคําพิพากษาแล้ว ศาลในคดีแรกจึงต้องห้ามในการพิพากษาในประเด็นเดิมที่มีการพิพากษา ไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลในคดีแรกมีคําพิพากษาภายหลังจากที่ศาลในคดีหลังได้พิพากษาไปแล้ว จึงเป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 144 คําพิพากษาของศาลในคดีแรกจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

สรุป

การที่ศาลรับฟ้องในคดีหลังที่นายสองเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายหนึ่งไว้พิจารณาพิพากษานั้น ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการที่ศาลในคดีแรกที่นายหนึ่งยื่นฟ้องนายสองมีคําพิพากษานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. คดีแพ่งเรื่องหนึ่งโจทก์ฟ้องจําเลยว่าบุกรุกที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลพิเคราะห์คําฟ้องโจทก์แล้วมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงสั่งให้โจทก์นําพยานเข้าสืบ ในวันสืบพยานโจทก์ โจทก์และจําเลยไม่มาศาล ศาลจึงสั่งจําหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนี้ชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 198 ทวิ วรรคสี่และวรรคห้า “ถ้าจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การไม่มาศาลในวัน สืบพยานตามมาตรานี้ มิให้ถือว่าจําเลยนั้นขาดนัดพิจารณา

ถ้าโจทก์ไม่นําพยานหลักฐานมาสืบตามความในมาตรานี้ภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด ให้ถือว่า คดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์”

มาตรา 200 วรรคหนึ่ง “ภายใต้บังคับมาตรา 198 ทวิ และมาตรา 198 ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา”

มาตรา 202 “ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ เว้นแต่จําเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดําเนินการพิจารณาดีต่อไปก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสิน คดีนั้นไปฝ่ายเดียว”

มาตรา 204 “ถ้าจําเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยว่าบุกรุกที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลพิเคราะห์ คําฟ้องโจทก์แล้วมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงสั่งให้โจทก์นําพยานเข้าสืบ ในวันสืบพยานโจทก์ โจทก์และจําเลย ไม่มาศาลนั้น ย่อมเกิดผลดังนี้คือ

กรณีของจําเลย การที่จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การไม่มาศาลในวันสืบพยาน มิให้ถือว่าจําเลย ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสี่ ซึ่งกรณีเช่นนี้ ศาลจะถือว่าจําเลยขาดนัดพิจารณา แล้วสั่งให้ พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 204 ไม่ได้

กรณีของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานของตนเอง ถือว่าโจทก์ไม่นําพยานหลักฐาน มาสืบภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด กรณีเช่นนี้ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคห้า ศาลจะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้วมีคําสั่งจําหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 202 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องคู่ความขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 202 นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 198 ทวิ (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 200 วรรคหนึ่ง)

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์และจําเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์นั้น ศาลจะต้อง สั่งว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลและให้ยกฟ้องของโจทก์ จะสั่งจําหน่ายคดีเสียจากสารบบความไม่ได้

สรุป การที่ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีเสียจากสารบบความ เป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. สหายและมิตรรัก ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง กรรชัยเป็นจําเลย โดยอ้างว่ากรรชัยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่สหายขับมาและมีมิตรรักนั่งมาในรถยนต์นั้นด้วย ทําให้รถยนต์ของสหายเสียหาย และมิตรรักได้รับบาดเจ็บ ขอให้ศาลพิพากษาให้กรรชัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรรชัยให้การต่อสู้ว่ากรรชัยไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาท สหายต่างหากที่ขับรถยนต์ตัดหน้ารถยนต์ที่กรรชัยขับมาห้ามล้อไม่ทันจึงชนรถยนต์ของสหาย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่ากรรชัยไม่ประมาทจึงพิพากษายกฟ้อง มิตรรักคนเดียวยื่นฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษากลับคําพิพากษาศาลชั้นต้นให้กรรชัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ คําพิพากษาศาลอุทธรณ์จะมีผลถึงสหายด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วม หรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อสหายและมิตรรักต่างได้รับความเสียหายจากการกระทําละเมิดของกรรชัย ย่อมถือว่าสหายและมิตรรักมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงเข้าเป็นคู่ความร่วมกันได้ โดยเป็นโจทก์ร่วมฟ้องกรรชัยเป็นจําเลยได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 ที่วางหลักไว้ว่าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจ เป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ ร่วมกันในมูลความแห่งคดี

แต่อย่างไรก็ตาม แม้สหายและมิตรรักสามารถเป็นโจทก์ร่วมได้ แต่ระหว่างสหายและมิตรรักนั้น ถือว่ามูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันได้ เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น กรรชัยจะต้อง รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แต่ละคนตามความเสียหายที่พิสูจน์ได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และมิตรรักคนเดียวยื่นฟ้องอุทธรณ์ กระบวนการพิจารณาที่กระทําโดยมิตรรักคู่ความร่วมคนหนึ่งจึงไม่ถือว่า ทําแทนคู่ความร่วมคนอื่น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กลับคําพิพากษาศาลชั้นต้นให้กรรชัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงไม่มีผลถึงสหายด้วยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 (1)

สรุป

คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้กรรชัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยกลับคําพิพากษา ศาลชั้นต้นไม่มีผลถึงสหายด้วย

 

 

ข้อ 2. นายนนมีภูมิลําเนาที่จังหวัดตราดทําสัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือให้กับนายบอสซึ่งมีภูมิลําเนาที่จังหวัดตราดเช่นกัน โดยมีการทําสัญญากันที่จังหวัดตราด และตกลงจะส่งมอบโทรศัพท์กันที่ จังหวัดระยอง เมื่อถึงวันส่งมอบ นายนนได้นําโทรศัพท์มือถือไปส่งให้นายบอสที่จังหวัดระยอง นายบอสจึงได้ออกเช็คชําระค่าโทรศัพท์กันที่จังหวัดระยอง ปรากฏว่าเช็คที่นายบอสออกถูกธนาคาร ปฏิเสธที่จังหวัดระยอง ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(1) หากนายนนฟ้องนายบอสให้รับผิดตามสัญญาซื้อขายเพียงอย่างเดียวที่จังหวัดระยองจะสามารถฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) หากเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นว่า นายนนต้องการฟ้องนายบอสให้รับผิดตามเช็คเพียงอย่างเดียว จะสามารถฟ้องที่จังหวัดระยองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(3) หากเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นว่า นายนนต้องการฟ้องนายบอสให้รับผิดทั้งตามสัญญาซื้อขายและตามเช็คในคดีเดียวกันที่จังหวัดระยองจะสามารถฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

มาตรา 5 “คําฟ้องหรือคําร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น เพราะภูมิลําเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหา หลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่ง เช่นว่านั้นก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่นายนนได้ทําสัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือให้กับนายบอสซึ่งมีภูมิลําเนาที่ จังหวัดตราด โดยได้ทําสัญญากันที่จังหวัดตราดนั้น เมื่อจังหวัดตราดเป็นสถานที่ที่ทําสัญญา จึงเป็นสถานที่ที่เกิดการโต้แย้งสิทธิขึ้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่จังหวัดตราด อีกทั้งนายบอสจําเลยก็มีภูมิลําเนาที่จังหวัดตราด ดังนั้น ถ้านายนนจะฟ้องนายบอสให้รับผิดตามสัญญาซื้อขายเพียงอย่างเดียว จึงต้องฟ้องที่จังหวัดตราดเท่านั้น จะฟ้อง ที่จังหวัดระยองไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

(2) การที่นายนนจะฟ้องนายบอสให้รับผิดตามเช็คเพียงอย่างเดียวนั้น เมื่อการฟ้องใน ความผิดเกี่ยวกับเช็คนั้น ถือว่าสถานที่ออกเช็คเป็นต้นเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ ดังนั้น นายนนจึงสามารถฟ้องนายบอส ต่อศาลจังหวัดระยองได้ เพราะมูลคดีเกิดขึ้นที่จังหวัดระยองตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5 ได้วางหลักไว้ว่า คําฟ้องซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือ กว่านั้น เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดี โจทก์จะเสนอคําฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ดังนั้นตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เมื่อนายนนต้องการฟ้องนายบอสให้รับผิดทั้งตามสัญญาซื้อขายและตามเช็คในคดีเดียวกัน และเมื่อมูลคดีเกิดขึ้น ทั้งที่จังหวัดตราดและจังหวัดระยอง นายนนจึงสามารถฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้

สรุป

(1) ถ้านายนนจะฟ้องให้นายบอสรับผิดตามสัญญาซื้อขายเพียงอย่างเดียวต้องฟ้องที่ จังหวัดตราด จะฟ้องที่จังหวัดระยองไม่ได้

(2) ถ้านายนนต้องการฟ้องนายบอสให้รับผิดตามเช็คเพียงอย่างเดียวสามารถฟ้องที่ จังหวัดระยองได้

(3) ถ้านายนนต้องการฟ้องนายบอสให้รับผิดทั้งตามสัญญาซื้อขายและตามเช็คในคดีเดียวกัน สามารถฟ้องที่จังหวัดระยองได้

 

ข้อ 3. นายพละยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งว่าตนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์บนที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1234 ของนางส้มส้ม ศาลพิจารณาแล้วมีคําสั่งให้นายพละได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ คดีถึงที่สุด ต่อมาภายหลังคดีถึงที่สุด นางส้มส้มเพิ่งทราบว่าศาลสั่งให้นายพละได้กรรมสิทธิ์จึงนําคดีมาฟ้อง ต่อศาลโดยนางส้มส้มยื่นฟ้องขับไล่นายพละออกไปจากที่ดินเลขที่ 1234 อ้างว่านายพละไม่ได้ กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เพราะนายพละอยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิของนางส้มส้ม ให้ท่านวินิจฉัยว่า นางส้มส้มสามารถยื่นฟ้องนายพละในคดีหลังนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 144 “เมื่อศาลใดมีคําพิพากษา หรือคําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วนั้น”

มาตรา 148 “คดีที่ได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน..”

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ ”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น กรณีที่จะถือว่าเป็นการดําเนินกระบวน พิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 144 หรือกรณีที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 หรือ กรณีที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) นั้น จะมีองค์ประกอบที่สําคัญ คือ เป็นกรณีที่คู่ความเดิมได้นํามูลความแห่งคดีเดิมมาฟ้องร้องบังคับคดีกันอีกครั้งหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ คดีเรกที่นายพละยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งว่าตนได้กรรมสิทธิ์โดยการ ครอบครองปรปักษ์บนที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1234 ของนางส้มส้ม และศาลได้มีคําสั่งให้นายพละได้กรรมสิทธิ์โดย การครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการยื่นคําร้องขอแบบคดีไม่มีข้อพิพาท คู่ความในคดีจึงมีฝ่ายเดียว โดยนางส้มส้ม มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนแต่อย่างใด

ดังนั้น เมื่อนางส้มส้มจะนําคดีมาฟ้องนายพละเป็นคดีใหม่ โดยที่นางส้มส้มไม่เคยเป็นคู่ความ ในคดีมาก่อน จึงมิใช่กรณีที่คู่ความเดิมนํามูลความแห่งคดีเดิมมาฟ้องร้องบังคับคดีกันอีกครั้งหนึ่ง จึงไม่เป็น การฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ํา หรือการดําเนินกระบวนพิจารณาซ้ําแต่อย่างใด ดังนั้นนางส้มส้มจึงสามารถยื่นฟ้องนายพละ ในคดีหลังนี้ได้

สรุป นางส้มส้มสามารถยื่นฟ้องนายพละในคดีหลังนี้ได้

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 ทําสัญญากู้ยืมเงิน และจําเลยที่ 2 ทําสัญญาค้ำประกันหนี้รายนี้ จําเลยทั้งสองผิดนัดชําระหนี้ขอบังคับให้จําเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จําเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคําให้การ จําเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือปลอม โจทก์ยื่นคําขอให้ศาล วินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจําเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลพิเคราะห์คําฟ้องโจทก์ แล้วมีมูล และไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลสั่งให้โจทก์ส่งเอกสารสัญญากู้ต่อศาลแทนการสืบพยาน แล้ว รอการพิพากษาชี้ขาดคดี ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 2 ศาลสั่งให้สืบพยานโจทก์จําเลย ในวัน สืบพยาน โจทก์และจําเลยที่ 1 ไม่มีผู้ใดมาศาล มาแต่จําเลยที่ 2 จําเลยที่ 2 แถลงต่อศาลขอให้ศาล ดําเนินการพิจารณาคดีต่อไป ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลชั้นต้นจะมีคําพิพากษาหรือมีคําสั่งคดีนี้อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 198 ทวิ วรรคห้า “ถ้าโจทก์ไม่นําพยานหลักฐานมาสืบตามความในมาตรานี้ภายใน ระยะเวลาที่ศาลกําหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์”

มาตรา 198 ตรี วรรคแรก “ในคดีที่จําเลยบางคนขาดนัดยื่นคําให้การ ให้ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การนั้นไปก่อนและดําเนินการ พิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ยื่นคําให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยก จากกันมิได้ ให้ศาลรอการพิพากษาหรือมีคําสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดําเนินการพิจารณา สําหรับจําเลยที่ยื่นคําให้การเสร็จสิ้นแล้วก็ให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีสําหรับจําเลยทุกคน”

มาตรา 200 วรรคแรก “ภายใต้บังคับมาตรา 198 ทวิ และมาตรา 198 ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา”

มาตรา 202 “ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ เว้นแต่จําเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดําเนินการพิจารณาคดีต่อไป ก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์ฟ้องผู้กู้เป็นจําเลยที่ 1 และผู้ค้ำประกันเป็นจําเลยที่ 2 ให้ร่วมกัน รับผิดในหนี้กู้ยืม มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจําเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคําให้การ และศาลได้พิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 1 โดยสั่งให้โจทก์ส่งเอกสารสัญญากู้ต่อศาลแทนการสืบพยาน แล้วรอการพิพากษาชี้ขาด ซึ่งเป็นไปตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ตรี วรรคแรก

สําหรับคดีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 2 ยื่นคําให้การ ศาลสั่งสืบพยานโจทก์จําเลย ครั้นถึงวันสืบพยานโจทก์ไม่มาศาลและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี กรณีนี้ให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 200 วรรคแรก และจําเลยที่ 2 ได้แถลงต่อศาลให้ศาลดําเนินการพิจารณาคดีต่อไป กรณีเช่นนี้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในส่วนของจําเลยที่ 2 ไปฝ่ายเดียวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 202 แล้วจึง มีคําพิพากษารวมทั้งสองคดีในคําพิพากษาเดียวกันตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ตรี วรรคแรก หรือแยกคําพิพากษา ก็ได้ โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์สําหรับจําเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่มาศาล ถือว่าโจทก์ไม่ส่งเอกสาร คดีโจทก์ไม่มีมูล ให้ศาลพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคห้า และพิพากษาคดีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 2 ตามที่ศาลได้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลชั้นต้นจะมีคําพิพากษาหรือคําสั่งตามที่กล่าวข้างต้น

LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายกระทิงมีบ้านอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ได้ทําสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารออมสินสาขาพิจิตรที่จังหวัด พิจิตร เมื่อธนาคารออมสินสาขาพิจิตรอนุมัติเงินกู้แล้วก็โอนเงินเข้าสมุดบัญชีเงินฝากของนายกระทิงสาขาพิษณุโลก นายกระทิงจึงไปเบิกถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มที่จังหวัดพิษณุโลก ภายหลังเมื่อถึงกําหนดเวลาชําระเงินกู้นายกระทิงไม่ยอมชําระเงินกู้และได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ปีแล้ว หากท่านเป็นทนายความของธนาคารออมสิน ท่านจะยื่นฟ้องนายกระทิงที่ศาลใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการเสนอคําฟ้อง

(1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ศาลแพ่ง เป็นศาลที่มีเขตอํานาจ

(2) ในกรณีที่จําเลยไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร

(ก) ถ้าจําเลยเคยมีภูมิลําเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกําหนดสองปีก่อนวันที่ มีการเสนอคําฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลําเนาของจําเลย

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายนั้น การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคลต้องเสนอคําฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดี” ก็หมายถึง ต้นเหตุ อันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันทําให้เกิดอํานาจฟ้องนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกระทิงได้ทําสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารออมสินสาขาพิจิตรที่ จังหวัดพิจิตร และได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ปีแล้วนั้น ย่อมถือว่าขณะนี้นายกระทิงมิได้มีภูมิลําเนาอยู่ ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านายกระทิงเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทยมาก่อน คือเคยมี ภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยมาก่อน ภายใน 2 ปีก่อนวันที่จะมีการเสนอคําฟ้อง ดังนั้น จึงสามารถยื่นฟ้องนายกระทิง ต่อศาลจังหวัดสุโขทัยที่นายกระทิงเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 3 (2) (ก)

และกรณีสัญญากู้ยืมเงินนั้น มูลเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดขึ้นที่สถานที่ที่มีการทํา สัญญากัน เมื่อปรากฏว่า นายกระทิงได้ทําสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารออมสินสาขาพิจิตรที่จังหวัดพิจิตร ย่อมถือว่า มูลคดีนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดพิจิตร ดังนั้น จึงสามารถยื่นฟ้องนายกระทิงต่อศาลจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลได้อีกศาลหนึ่งตามมาตรา 4 (1) ส่วนการที่ธนาคารจะโอนเงินไปที่ใดแล้วจะไปเบิกที่ใดนั้นไม่ใช่สาระสําคัญ ของสัญญา การที่นายกระทิงไปถอนเงินที่พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกจึงไม่ใช่สถานที่ที่มูลคดีเกิด ดังนั้นจึงไม่สามารถ ยื่นฟ้องนายกระทิงที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกได้

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นทนายความของธนาคารออมสิน ข้าพเจ้าจะยื่นฟ้องนายกระทิงที่ศาล จังหวัดสุโขทัย หรือศาลจังหวัดพิจิตรก็ได้ แต่จะฟ้องนายกระทิงต่อศาลจังหวัดพิษณุโลกไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ยื่นฟ้องว่าจําเลยทําสัญญาขายที่ดินให้โจทก์แล้วผิดสัญญาขอให้ขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดินคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ต่อมานางขวัญใจต้องการจะยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อขอเป็นจําเลยร่วม เนื่องจากว่า “นางขวัญใจเป็นภริยาของจําเลย แต่จําเลยได้นําที่ดินสินสมรสแปลงดังกล่าวที่ตน ร่วมครอบครองอยู่ไปขายโดยที่ตนไม่ได้รับความยินยอม” กรณีนี้นางขวัญใจจะสามารถยื่นคําร้อง สอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และต่อมาหากจําเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา นางขวัญใจจะสามารถขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 42 “ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคําขอเข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอฝ่ายเดียว คําขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกําหนด หนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ

ถ้าไม่มีคําขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลา ที่กําหนดไว้ ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ”

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจําเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น นอกจาก

(2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคําร้อง ขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจําต้องผูกพันตนโดยคําพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย

การร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (1) ผู้ร้องสอดจะต้อง มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดี กล่าวคือ เมื่อศาลมีคําพิพากษาแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของตน จึงต้องร้องสอด เข้ามาเพื่อยังให้ได้รับคํารับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ หรือเป็นกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียในการ บังคับคดีและถูกโต้แย้งสิทธิ ก็สามารถร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้ ส่วนการร้องสอดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) ผู้ร้องสอดก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้นเช่นกัน ซึ่งหมายถึง จะต้องเป็นผู้ที่ถูก กระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคําพิพากษาคดีนั้นโดยตรงหรือผลของคดีตามกฎหมายจะมีผลไปถึงตนด้วยนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยได้นําที่ดินอันเป็นสินสมรสไปขาย โดยที่นางขวัญใจภริยา จําเลยไม่ได้ให้ความยินยอมในการขายที่ดินนั้น การฟ้องของโจทก์ย่อมไม่กระทบสิทธิของนางขวัญใจ เพราะสิทธิของนางขวัญใจมีอยู่อย่างไรย่อมมีอยู่อย่างนั้น นางขวัญใจจึงไม่มีความจําเป็นและไม่ได้มีส่วนได้เสียในคดี จึงไม่อาจยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (1) และ (2)

แต่หากจําเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา นางขวัญใจซึ่งถือเป็นทายาทของจําเลย ย่อมสามารถขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 โดยยื่นคําขอภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ จําเลยถึงแก่ความตาย

สรุป

นางขวัญใจไม่สามารถยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีได้ แต่ต่อมาหากจําเลยถึงแก่ความตาย ในระหว่างพิจารณา นางขวัญใจสามารถขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดิน จําเลยยื่นคําให้การว่าที่ดินเป็นของจําเลยขอให้ศาลยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดิน คดีอยู่ระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดจึงยื่นคําร้องสอด เข้ามาว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ขอให้ขับไล่โจทก์และจําเลยออกไปจากที่ดิน ภายหลังโจทก์มาขอถอนฟ้องจําเลย ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตโดยไม่แจ้งจําเลยและผู้ร้องสอดก่อนที่จะสั่ง แล้วมีคําพิพากษาให้จําเลยชนะคดีขับไล่โจทก์และผู้ร้องสอดออกไปจากที่ดิน หากผู้ร้องสอดยื่นอุทธรณ์ต่อสู้ว่าการที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยไม่แจ้งผู้ร้องสอด ก่อนเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบ อีกทั้งในฟ้องแย้งของจําเลยไม่มีคําขอให้ขับไล่ผู้ร้องสอด การที่ศาลพิพากษาขับไล่ผู้ร้องสอดจึงเกินคําขอ ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 142 “คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคําฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทําคําสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคําฟ้อง”

มาตรา 145 วรรคแรก “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา และการพิจารณาใหม่ คําพิพากษาหรือคําสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา หรือมีคําสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคําสั่งจนถึงวันที่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี”

มาตรา 175 “ก่อนจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์อาจถอนคําฟ้องได้โดยยื่นคําบอกกล่าวเป็น หนังสือต่อศาล ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาต ให้โจทก์ถอนคําฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่

(1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจําเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ผู้ร้องสอดยื่นคําร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีนั้น เมื่อศาลมีคําพิพากษา ผู้ร้องสอดย่อมต้องผูกพันตามคําพิพากษาของศาลด้วย เพราะถือว่าผู้ร้องสอดเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณา ของศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ดังนั้นการที่ศาลพิพากษาไปถึงผู้ร้องสอดจึงไม่เป็นคําพิพากษาที่เกิน คําขอแต่อย่างใด (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142) การที่ผู้ร้องสอดต่อสู้ว่าในฟ้องแย้งของจําเลยไม่มีคําขอให้ขับไล่ผู้ร้องสอด การที่ศาลพิพากษาขับไล่ผู้ร้องสอดจึงเกินคําขอนั้น ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดกรณีนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ส่วนการถอนฟ้องนั้น หากเป็นกรณีที่จําเลยยื่นคําให้การแล้ว ศาลต้องถามจําเลยและผู้ร้องสอด ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง แต่หากศาลจะไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ศาลก็ไม่จําต้องถามจําเลยหรือ ผู้ร้องสอดก่อนแต่อย่างใดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดที่ว่าการที่ศาล มีคําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยไม่แจ้งผู้ร้องสอดก่อนเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบนั้น ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดกรณีนี้ จึงฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

สรุป ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดฟังไม่ขึ้นทั้ง 2 กรณี

 

ข้อ 4. โจทก์ยื่นคําฟ้องว่า “จําเลยชื่อนายทรงกร ได้ทําสัญญาเช่าเครื่องบินโจทก์ 2 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 แต่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 จําเลยผิดนัดไม่ชําระค่าเช่า โจทก์จึงขอยกเลิกสัญญาและขอให้จําเลยชดใช้ค่าเช่า 4 เดือน เดือนละ 1 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย” ต่อมาก่อนวันชี้สองสถานโจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า “นอกจากค่าเช่าที่ค้างแล้ว โจทก์ขอเรียกค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์อาจจะให้บุคคลอื่นเช่าเครื่องบิน ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ทั้งสิ้น 10 ล้านบาท” และภายหลัง วันชี้สองสถานไปแล้ว โจทก์ได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอีกครั้งหนึ่งขอแก้ชื่อจําเลยจาก “ทรงกร” มาเป็น “ทรงกรด” เนื่องจากพิมพ์ตกหล่น

ให้ท่านวินิจฉัยว่า โจทก์จะสามารถขอแก้ไข เพิ่มเติมคําฟ้องในสองกรณีดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 179 “โจทก์หรือจําเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ใน คําฟ้องหรือคําให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้

การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้

(1) เพิ่ม หรือลด จํานวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ

(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคําฟ้อง เพิ่มเติม หรือเสนอคําฟ้อง เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษาหรือ คําสั่ง หรือ

(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการ พิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้”

มาตรา 180 “การแก้ไขคําฟ้องหรือคําให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทําเป็นคําร้อง ยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุ อันสมควรที่ไม่อาจยื่นคําร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า “นอกจากค่าเช่าที่ค้างแล้ว โจทก์ขอเรียกค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์อาจจะให้บุคคลอื่นเช่าเครื่องบินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2558 ทั้งสิ้น 10 ล้านบาท” นั้น ถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอเพิ่มค่าขาดประโยชน์ ซึ่งอาจ เรียกได้แต่ต้น และเป็นการตั้งทุนทรัพย์ขึ้นมาใหม่ การขอเพิ่มเติมดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสาม

ส่วนการที่โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องอีกครั้งหนึ่ง โดยขอแก้ชื่อจําเลยจาก “ทรงกร” มาเป็น “ทรงกรด” นั้น ถือเป็นการแก้ไขฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสอง (2) และแม้จะขอแก้ไข ภายหลังวันชี้สองสถานแต่ก็เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180 โจทก์จึงสามารถขอ แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องในเรื่องนี้ได้

สรุป

โจทก์ไม่สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอเรียกค่าขาดประโยชน์ในกรณีแรกได้ แต่โจทก์ สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องแก้ชื่อจําเลยในกรณีที่สองได้

 

LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายอาทิตย์เป็นคนจังหวัดลพบุรี ทําหนังสือสั่งซื้อไม้แปรรูปจากนายเกสรที่จังหวัดแพร่โดยการส่งไปทางไปรษณีย์ เมื่อนายเกสรได้รับคําสั่งซื้อไม้แปรรูปแล้วที่จังหวัดแพร่ก็ตกลงและส่งไม้แปรรูปไปให้ นายอาทิตย์ที่จังหวัดลพบุรี นายอาทิตย์ก็ได้รับไม้ไปเรียบร้อยแล้วที่จังหวัดลพบุรี ปรากฏว่า เมื่อถึงกําหนดชําระราคาไม้นายอาทิตย์ไม่ยอมจ่าย นายเกสรจึงฟ้องนายอาทิตย์เป็นคดีแพ่งต่อ ศาลจังหวัดแพร่ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดแพร่มีอํานาจพิจารณาคดีระหว่างนายเกสรกับนายอาทิตย์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

การติดตามการฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคคล ต้องฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่ มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตามมาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดีเกิด” หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันจะทําให้เกิดอํานาจฟ้อง ซึ่งในกรณีของสัญญานั้น สถานที่ที่มูลคดีเกิดคือสถานที่ที่สัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อสัญญาซื้อขายไม้แปรรูประหว่างนายอาทิตย์กับนายเกสร เป็นสัญญา ระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างกันโดยระยะทาง สัญญาจะเกิดก็ต่อเมื่อคําสนองกลับมาถึงผู้เสนอ ซึ่งจากข้อเท็จจริง นายอาทิตย์ทําคําเสนอไปยังนายเกสร แม้นายเกสรจะไม่ได้ทําคําสนองตอบกลับมา แต่นายเกสรก็ได้ส่งของคือ ไม้แปรรูปกลับมาให้นายอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นคําสนองโดยปริยาย ดังนั้น เมื่อไม้แปรรูปถูกส่งกลับมายังจังหวัดลพบุรี มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่จังหวัดลพบุรี อีกทั้งจําเลยคือนายอาทิตย์ก็มีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดลพบุรี นายเกสรจึง สามารถฟ้องนายอาทิตย์ได้ต่อศาลจังหวัดลพบุรีเท่านั้น ไม่สามารถฟ้องต่อศาลจังหวัดแพร่ได้ เพราะศาลจังหวัดแพร่ ไม่มีอํานาจพิจารณาคดีนี้

สรุป ศาลจังหวัดแพร่ไม่มีอํานาจพิจารณาคดีระหว่างนายเกสรกับนายอาทิตย์

 

ข้อ 2. นายชุมแสงขับรถชนนายเรย์โดยประมาท นายเรย์จึงฟ้องนายชุมแสงเป็นคดีแพ่งคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ต่อมาบริษัท ประกัน จํากัด ยื่นคําร้องสอดขอเข้ามาเป็นจําเลยร่วมอ้างว่า หากนายชุมแสงแพ้ ตนอาจถูกนายชุมแสงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตนได้ เพราะตนรับประกันภัยรถยนต์ของนายชุมแสงอยู่ ให้ท่านวินิจฉัยว่า บริษัท ประกัน จํากัด จะสามารถยื่นคําร้องสอดขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคําร้องขอ ต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจําต้องผูกพันตนโดยคําพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย”

(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี  (ก) ตามคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทําเป็นคําร้อง แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหาก ศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี…”

วินิจฉัย

การร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) ผู้ร้องสอดจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น ซึ่งหมายถึง จะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดย คําพิพากษาคดีนั้นโดยตรงหรือผลของคดีตามกฎหมายจะมีผลไปถึงตนด้วยนั่นเอง ส่วนการร้องสอดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) กฎหมายให้สิทธิแก่คู่ความที่จะขอต่อศาลให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีได้ โดยอาศัยเหตุว่า ตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณา ให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่บริษัท ประกัน จํากัด ยื่นคําร้องสอดขอเข้ามาเป็นจําเลยร่วม โดยอ้างว่าหากนายชุมแสงแพ้ตนอาจถูกนายชุมแสงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตนได้ เพราะตนรับประกันภัยรถยนต์ของนายชุมแสง อยู่นั้น ถือเป็นการร้องสอดว่าตนอาจถูกฟ้องเพื่อไล่เบี้ย หากศาลพิจารณาให้นายชุมแสงแพ้คดี ซึ่งกรณีนี้ จะต้องเป็นไปตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) คือจะต้องให้ศาลออกหมายเรียกบริษัท ประกัน จํากัด เข้าไปในคดี บริษัทฯ จะสมัครใจยื่นคําร้องสอดเข้ามาเองโดยอาศัย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) หาได้ไม่ อีกทั้งบริษัทฯ ก็มิได้มี ส่วนได้เสียในอันที่จะใช้สิทธิร้องสอดได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) ดังนั้น บริษัท ประกัน จํากัด จึงไม่สามารถ ยื่นคําร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้

สรุป

บริษัท ประกัน จํากัด ไม่สามารถยื่นคําร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ ตามเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 ถึงจําเลยที่ 3 ได้ร่วมกันทําสัญญากู้เงินโจทก์ไปเป็นเงิน 500,000 บาท เมื่อครบกําหนดตามสัญญาโจทก์ทวงถามแล้ว แต่จําเลยทั้งสามไม่ยอมชําระ จึงขอให้ศาลบังคับให้ จําเลยทั้งสามชําระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จ ในชั้นยื่นคําให้การ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จําเลยที่ 1 ยื่นคําให้การรับสารภาพตามฟ้อง จําเลยที่ 2 มิได้ยื่นคําให้การภายใน กําหนด โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ส่วนจําเลยที่ 3 ยื่นคําให้การตัดฟ้องโจทก์ว่าคดีของ โจทก์ขาดอายุความ ขอให้ศาลยกฟ้อง ดังนี้

(1) ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า จําเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคําให้การหรือไม่ การที่จําเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นคําให้การถือว่าเป็นการกระทําแทนจําเลยที่ 2 หรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) โจทก์จะต้องดําเนินกระบวนการพิจารณาสําหรับจําเลยที่ 2 ต่อไปอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วม หรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคล เหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ

(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ใช้ถึงคู่ความ ร่วมคนอื่นด้วย”

มาตรา 177 วรรคแรก “เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคําฟ้องให้จําเลยแล้ว ให้จําเลยทําคําให้การ เป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน”

มาตรา 197 วรรคแรก “เมื่อจําเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคําให้การแล้ว จําเลยมิได้ยื่นคําให้การ ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคําสั่งศาล ให้ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ”

มาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง ถ้าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ให้โจทก์มีคําขอต่อศาล ภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กําหนดให้จําเลยยื่นคําให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาด ให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด

ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคําขอต่อศาลภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีนั้น เสียจากสารบบความ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(1) ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคแรก เมื่อจําเลยได้รับหมายเรียกจากศาลให้ยื่นคําให้การ แล้วจําเลยย่อมมีหน้าที่ยื่นคําให้การภายใน 15 วัน ดังนั้นการที่จําเลยที่ 2 มิได้ยื่นคําให้การภายในกําหนดโดยมิได้รับ อนุญาตจากศาล ย่อมถือว่าจําเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคําให้การตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก และการที่จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 ยื่นคําให้การ ก็ถือเป็นการกระทําเฉพาะตัว แม้ว่าจําเลยทั้งสามจะเป็นจําเลยร่วมกันตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 ก็ไม่ถือว่าเป็นการทําแทนจําเลยที่ 2 แต่อย่างใด เพราะจําเลยทุกคนมีหน้าที่ต้องยื่นคําให้การตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคแรก มิฉะนั้นจะมีผลเป็นการขาดนัดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก

(2) เมื่อจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ โจทก์จะต้องยื่นคําร้องขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ ระยะเวลาที่กําหนดให้จําเลยยื่นคําให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยจําเลย ขาดนัดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคแรก จึงจะชอบด้วยกฎหมาย เพราะหากโจทก์ไม่ยื่นคําขอต่อศาลภายใน ระยะเวลาดังกล่าว ศาลจะมีคําสั่งจําหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง

สรุป

(1) จําเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคําให้การ และการที่จําเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นคําให้การ ไม่ถือว่าเป็นการกระทําแทนจําเลยที่ 2

(2) โจทก์จะต้องยื่นคําร้องขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่ระยะเวลาที่กําหนดให้ จําเลยยื่นคําให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยจําเลยขาดนัด

 

ข้อ 4. จากข้อเท็จจริงในข้อ 3.

ศาลวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีสําหรับจําเลยที่ 2 เพราะเหตุขาดนัดโดยไม่รอการวินิจฉัยกับจําเลยอื่น ๆ จะชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่

(2) คําให้การรับสารภาพของจําเลยที่ 1 จะมีผลผูกพันคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

และถ้าศาลฟังว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจริงตามข้อต่อสู้ของจําเลยที่ 3 ศาลจะยกฟ้องจําเลยที่ 3 จะมีผลถึงจําเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วม หรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคล เหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ”

มาตรา 198 ตรี วรรคแรก “ในคดีที่จําเลยบางคนขาดนัดยื่นคําให้การ ให้ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การนั้นไปก่อนและดําเนินการ พิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ยื่นคําให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกัน มิได้ให้ศาลรอการพิพากษาหรือมีคําสั่งขี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดําเนินการพิจารณาสําหรับ จําเลยที่ยื่นคําให้การเสร็จสิ้นแล้วก็ให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีสําหรับจําเลยทุกคน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(1) ตามกฎหมาย ในคดีที่มีจําเลยหลายคน หากจําเลยบางคนขาดนัดยื่นคําให้การ และ มูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ศาลจะต้องรอการวินิจฉัยสําหรับจําเลยที่ขาดนัด ยื่นคําให้การไว้ก่อน เพื่อรวมการวินิจฉัยสําหรับจําเลยทุกคน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ตรี วรรคแรก)

จากข้อเท็จจริง การที่ศาลวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีสําหรับจําเลยที่ 2 เพราะเหตุขาดนัด ยื่นคําให้การโดยไม่รอการวินิจฉัยกับจําเลยอื่น ๆ กระบวนการพิจารณาของศาลย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคดีนี้มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกกันชําระมิได้ ศาลจึงต้องรอการวินิจฉัยสําหรับจําเลยที่ 2 ไว้ก่อน เพื่อรวมการวินิจฉัยสําหรับจําเลยทุกคนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ตรี

(2) ในเรื่องของจําเลยร่วมนั้น หากเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แล้ว บรรดา กระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดยหรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้น กฎหมายให้ถือว่าได้ทําโดยหรือทําต่อคู่ความร่วม คนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 (1))

จากข้อเท็จจริง คําให้การรับสารภาพตามฟ้องของจําเลยที่ 1 ย่อมไม่มีผลถึงจําเลยที่ 2 และ 3 ด้วย เพราะถือเป็นกระบวนการพิจารณาที่เป็นการเสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 (1)

ส่วนคําให้การของจําเลยที่ 3 ที่ยกอายุความขึ้นตัดฟ้องโจทก์ เมื่อศาลฟังว่าคดีโจทก์ ขาดอายุความจะยกฟ้องจําเลยที่ 3 ย่อมมีผลถึงจําเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย เพราะถือเป็นกระบวนการพิจารณา ซึ่งทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งและไม่เป็นการเสื่อมเสียถึงคู่ความคนอื่นแต่อย่างใดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 (1)

สรุป

(1) การที่ศาลวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีสําหรับจําเลยที่ 2 เพราะเหตุขาดนัดโดยไม่รอ การวินิจฉัยกับจําเลยอื่น ๆ ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

(2) คําให้การรับสารภาพของจําเลยที่ 1 ไม่มีผลผูกพันจําเลยที่ 2 และที่ 3 และถ้า ศาลฟังว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จะยกฟ้องจําเลยที่ 3 ย่อมมีผลถึงจําเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย

 

LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อเอกชัย มีที่ดินอยู่ก่อนอุปสมบทตั้งอยู่ที่จังหวัดแพร่ แต่ภายหลังอุปสมบทแล้วพระภิกษุเอกชัยก็ได้ย้ายจากจังหวัดแพร่มาจําวัดที่วัดป่าในจังหวัดหนองคายเป็นเวลา 20 ปี จึงมรณภาพ นายเอกชนทายาทโดยธรรมของพระภิกษุเอกชัยซึ่งในปัจจุบันนายเอกชนอาศัยอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ต้องการที่จะยื่นคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุเอกชัย ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเอกชนจะสามารถมายื่นคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุเอกชัยได้ ในเขตอํานาจศาลจังหวัดใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 จัตวา “คําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลําเนาอยู่ใน เขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย

ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 จัตวา ได้กําหนดให้ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลในขณะ ถึงแก่ความตายเท่านั้น เป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เว้นแต่ในกรณีที่เจ้ามรดก ไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร จึงให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลนั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พระภิกษุเอกชัยได้ย้ายจากจังหวัดแพร่มาจําวัดที่วัดป่าในจังหวัด หนองคายเป็นเวลา 20 ปี แล้วจึงมรณภาพนั้น นายเอกชนจะต้องยื่นคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุเอกชัย ต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลขณะถึงแก่ความตาย ซึ่งก็คือศาลจังหวัดหนองคายเท่านั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 จัตวา นายเอกชนจะไปยื่นต่อศาลจังหวัดแพร่ที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ หรือยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นภูมิลําเนาของนายเอกชนไม่ได้

สรุป

นายเอกชนสามารถยื่นคําร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุเอกชัยได้ในเขตอํานาจ ศาลจังหวัดหนองคาย

 

ข้อ 2. นางสาวเต้ยทําสัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมโรงสีข้าวจากนายต้าโดยตกลงจะผ่อนชําระกันเป็นเวลา 12 เดือน เริ่มชําระเงินงวดแรกในวันทําสัญญา คือวันที่ 1 มกราคม 2557 และจะชําระกันเสร็จสิ้น พร้อมโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ซึ่งนางสาวเต้ยได้เข้าครอบครองที่ดินพร้อมโรงสี และเริ่มดําเนินกิจการโรงสีต่อจากนายต้าตั้งแต่วันทําสัญญาคือวันที่ 1 มกราคม 2557 ต่อมาเมื่อ นางสาวเต้ยชําระเงินไปเพียง 3 เดือน ในวันที่ 21 มีนาคม 2557 นางสาวขนมปังคู่อริของนางสาวเต้ย ได้มาวางเพลิงเผาโรงสีเพื่อแก้แค้นนางสาวเต้ย นางสาวเต้ยผู้เช่าซื้อโรงสีจึงเป็นโจทก์ยื่นคําฟ้อง นางสาวขนมปัง ให้นางสาวขนมปังรับผิดใช้ค่าเสียหาย นางสาวขนมปังยื่นคําให้การต่อสู้ว่าที่ดิน และโรงสีนี้ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายต้าผู้ให้เช่าซื้ออยู่ เพราะยังผ่อนชําระกันไม่ครบ 12 เดือน นายต้าเท่านั้นที่มีอํานาจฟ้อง นางสาวเต้ยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสี นางสาวเต้ยจึง ไม่มีอํานาจฟ้อง ให้ท่านวินิจฉัยว่า นางสาวเต้ยมีอํานาจฟ้องนางสาวขนมปังหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 55 “เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอํานาจได้ ตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นางสาวเต้ยมีอํานาจฟ้องนางสาวขนมปังหรือไม่ เห็นว่าในการนําคดีเสนอต่อศาลนั้นมิใช่บุคคลใด ๆ จะทําได้เสมอไป ผู้ที่จะนําคดีเสนอต่อศาลได้ จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา 55 แล้วได้กําหนดให้บุคคล มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลได้ 2 กรณี กล่าวคือ

1 กรณีที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งก็ให้ เสนอเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยทําเป็นคําฟ้องยืนต่อศาลตามมาตรา 55 และมาตรา 172

2 กรณีที่ต้องใช้สิทธิทางศาล ในกรณีเป็นเรื่องที่ต้องใช้สิทธิทางศาลเพราะเหตุว่า มีความจําเป็นเกิดขึ้นจากกฎหมายบัญญัติไว้ตามกฎหมายสารบัญญัติ ให้เสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทําเป็น คําร้องยื่นต่อศาลตามมาตรา 55 และมาตรา 188 (1)

ตามข้อเท็จจริง แม้นางสาวเต้ยจะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสีข้าว เนื่องจาก ยังผ่อนชําระเงินไม่ครบก็ตาม แต่นางสาวเต้ยก็ได้จ่ายค่าเช่าซื้อบางส่วนและได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดิน และโรงสีแล้ว เมื่อนางสาวขนมปังมาวางเพลิงเผาโรงสีข้าว ย่อมทําให้นางสาวเต้ยขาดประโยชน์ในการใช้สอย จึงถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของนางสาวเต้ย ดังนั้น นางสาวเต้ยจึงมีอํานาจฟ้องนางสาวขนมปังตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55

สรุป นางสาวเต้ยมีอํานาจฟ้องนางสาวขนมปัง

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถโจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 560,000 บาท ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จําเลยมิได้ยื่นคําให้การภายในกําหนด โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้ตนเป็น ฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลเห็นว่าควรสืบพยานต่อไปตามมาตรา 198 ทวิ จึงกําหนดให้ โจทก์นําพยานเข้าสืบ ถึงวันนัดโจทก์ไม่มา ศาลจึงมีคําสั่งจําหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความเพราะโจทก์ขาดนัด ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับคําสั่งศาลหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย “ถ้าโจทก์ไม่นําพยานหลักฐานมาสืบตามความในมาตรานี้ภายใน ระยะเวลาที่ศาลกําหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์”

มาตรา 200 วรรคแรก “ภายใต้บังคับมาตรา 198 ทวิ และมาตรา 198 ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา”

มาตรา 202 “ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ เว้นแต่จําเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดําเนินการพิจารณาคดีต่อไป ก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ การที่ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า เมื่อได้ความว่าในวันนัดสืบพยานของโจทก์ โจทก์ไม่มาศาล กรณีเช่นนี้การที่โจทก์ ไม่มาศาลตามกําหนดนัดในวันสืบพยานของตนเอง ย่อมถือว่าโจทก์ไม่นําพยานหลักฐานมาสืบภายในระยะเวลาที่ ศาลกําหนด กฎหมายให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และศาลต้องยกฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย กรณีนี้จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องคู่ความขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 202 ประกอบมาตรา 200 วรรคแรก จะต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 198 ทวิ ด้วย ดังนั้น การที่ศาลมีคําสั่ง จําหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับคําสั่งศาลที่ให้จําหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ

 

ข้อ 4. คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จําเลย ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่จําเลยและบริวาร ชั้นบังคับคดีนายเอกได้ยื่นคําร้องว่าตนไม่ใช่บริวารของจําเลย ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่านายเอกเป็นบริวารและให้ขับไล่ คดีอยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องนายเอกเป็นจําเลยขอให้ขับไล่นายเอกเป็นคดีหลังอีก ดังนี้ ฟ้องคดีหลังของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 148 “คดีที่ได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้อง ฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน”

วินิจฉัย

การฟ้องซ้ำมีบัญญัติไว้ในมาตรา 148 ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้

1 คดีนั้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งแล้ว

2 คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นจะต้องถึงที่สุด

3 ห้ามคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก

4 ห้ามเฉพาะประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปแล้ว

5 ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปแล้วโดยอาศัยเหตุใด ก็ห้ามฟ้องเฉพาะอ้างเหตุนั้นอีก

 

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่ศาลชั้นต้นในคดีเดิมมีคําสั่งว่านายเอกเป็นบริวารและให้ขับไล่นั้น ย่อมเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยในประเด็นอันเป็นเนื้อหาแห่งคดีแล้วว่านายเอกเป็นบริวารของจําเลยและจะต้อง ถูกขับไล่ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องนายเอกเป็นจําเลยขอให้ขับไล่นายเอกเป็นคดีหลังอีก จึงเป็นการฟ้องในประเด็น ที่ศาลได้วินิจฉัยไปแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านายเอกมิได้เป็นคู่ความในคดีเดิม และคดีเดิมยังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น ฟ้องคดีหลังของโจทก์จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 อันจะทําให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำแต่อย่างใด

สรุป

ฟ้องคดีหลังของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

 

LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 S/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. เอกเป็นโจทก์ฟ้องบริษัท ไทยรุ่งเรือง จํากัด เป็นจําเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญากู้และเดชเป็นจําเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จําเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคําให้การ ส่วนจําเลยที่ 2 ให้การว่า หนี้ตามสัญญากู้ระงับแล้ว จําเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันขอให้ยกฟ้อง ระหว่าง พิจารณาของศาลชั้นต้น

(1) เดชจําเลยที่ 2 ยื่นคําร้องว่าจําเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคําให้การไม่เข้ามาต่อสู้คดีทั้งที่หนี้ตามสัญญากู้ ระงับแล้วทําให้จําเลยที่ 2 ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจําเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินและหนี้สินของจําเลยที่ 1 ขอเข้ามาต่อสู้คดีแทนจําเลยที่ 1

(2) เอื้อ ยื่นคําร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในคดีเนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นของจําเลยที่ 1 มีความจําเป็น เพื่อยังให้รับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจําเลยที่ 1 จึงร้องสอดเข้ามา เป็นคู่ความในคดีด้วย

ดังนี้ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของเดชจําเลยที่ 2 และเอื้อหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจําเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของเดชจําเลยที่ 2 และเอื้อหรือไม่นั้นเห็นว่า

1 กรณีคําร้องของเดช

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความ อาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า การร้องสอดเข้ามาในคดีนั้นไม่ว่า จะด้วยความสมัครใจหรือด้วยถูกหมายเรียกเข้ามาในคดี ผู้ร้องสอดจะต้องเป็นบุคคลภายนอกคดีเท่านั้น

ตามข้อเท็จจริง คดีนี้เอกเป็นโจทก์ฟ้องบริษัท ไทยรุ่งเรือง จํากัด เป็นจําเลยที่ 1 และ ฟ้องเดชเป็นจําเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ําประกันตามลําดับ เดชจึงอยู่ในฐานะคู่ความในคดีอยู่แล้ว ดังนั้นเดชจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกคดี ไม่อาจร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีแทนจําเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 วรรคแรก ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของเดชจําเลยที่ 2 ไม่ได้

2 กรณีคําร้องของเอื้อ

ตามข้อเท็จจริง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้อันเป็นกรณีที่ โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากเอื้อผู้ร้อง สิทธิของเอื้อผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจําเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น เอื้อจึงไม่มีเหตุจําเป็นที่จะต้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือ บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เอื้อจึงร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (1) ไม่ได้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของเอื้อไม่ได้

สรุป

ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของเดชและเอื้อไม่ได้

 

ข้อ 2. วิชัย คนไทยมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี กับปรีชาคนไทยมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดนครปฐมได้เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา วิชัยและปรีชาพบกับแดงชาวกัมพูชามีภูมิลําเนาอยู่ใน ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นเพื่อนกับปรีชา วิชัยได้ตกลงซื้อพลอยทับทิมจากแดงโดยมีปรีชาค้ำประกัน การซื้อขาย เมื่อกลับเข้ามาในประเทศไทยวิชัยนําพลอยทับทิมที่ซื้อมาจากแดงให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบปรากฏว่าเป็นของปลอม ดังนี้วิชัยจะฟ้องแดงกับปรีชาให้ร่วมกันรับผิดฐานผิดสัญญาได้หรือไม่ และจะเสนอคําฟ้องต่อศาลเดียวกันได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

มาตรา 4 ตรี “คําฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ ซึ่งจําเลยมิได้มีภูมิลําเนา อยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลําเนาอยู่ใน ราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล

คําฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจําเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่า จะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคําฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้”

มาตรา 5 “คําฟ้องหรือคําร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น เพราะภูมิลําเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหา หลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่ง เช่นว่านั้นก็ได้”

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วม หรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคล เหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์

ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยมีว่า วิชัยจะฟ้องแดงกับปรีชาให้ร่วมกันรับผิด ฐานผิดสัญญาได้หรือไม่ เห็นว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็น คู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี

คําว่า “ประโยชน์ร่วมกัน” หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือมูลเหตุแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกัน เช่น การเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน การเป็นลูกหนี้ร่วมกัน บุคคลที่กระทําละเมิดร่วมกัน หรือบุคคลซึ่งถูกละเมิดด้วยการละเมิด อันเดียวกัน เป็นต้น และต้องเป็นประโยชน์ร่วมกันตามกฎหมาย และต้องเป็นการกระทําต่อเนื่องกัน อันเดียวกัน กระทบกระเทือนถึงกันและกัน

ตามข้อเท็จจริง การที่วิชัยตกลงซื้อพลอยทับทิมจากแดงโดยมีปรีชาค้ำประกันการซื้อขายนั้น วิชัยย่อมสามารถฟ้องแดงและปรีชาให้ร่วมกันรับผิดฐานผิดสัญญาได้ เพราะลูกหนี้กับผู้ค้ำประกันถือว่ามี ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า วิชัยจะเสนอคําฟ้องต่อศาลเดียวกันได้หรือไม่ สามารถ พิจารณาได้ดังนี้

กรณีของปรีชา ตามกฎหมายนั้น การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคคลจะต้องเสนอคําฟ้องต่อศาลที จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) จากข้อเท็จจริง การที่ปรีชาได้ทําสัญญาค้ำประกันการซื้อขายที่ประเทศกัมพูชา ย่อมถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าปรีชามีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดนครปฐม วิชัยจึงต้องฟ้องปรีชาให้รับผิดฐานผิดสัญญาต่อ ศาลจังหวัดนครปฐมที่ปรีชามีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

กรณีของแดง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ตรีนั้น การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคคลซึ่งจําเลยมิได้มี ภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลําเนา อยู่ในราชอาณาจักรให้ฟ้องต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล จากข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าแดง มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศกัมพูชา และมูลคดีตามสัญญาซื้อขายก็เกิดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา ดังนี้ วิชัยซึ่งมีสัญชาติไทย จึงต้องฟ้องแดงให้รับผิดฐานผิดสัญญาต่อศาลแพ่งหรือศาลที่จังหวัดสุพรรณบุรีอันเป็นศาลที่โจทก์มีภูมิลําเนาอยู่ ในเขตศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ตรี

และเมื่อปรากฏว่ามูลคดีของปรีชาและแดงมีความเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ วิชัยประสงค์จะฟ้อง ปรีชาให้รับผิดในมูลคดีค้ําประกันการซื้อขาย และฟ้องแดงให้รับผิดตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งในกรณีดังกล่าว หาก แดงไม่นําพลอยทับทิมปลอมมาขายปรีชาในฐานะผู้ค้ําประกันการซื้อขายก็จะไม่ต้องถูกฟ้อง ดังนั้น เมื่อมูลความ แห่งคดีมีความเกี่ยวข้องกัน วิชัยจึงสามารถฟ้องปรีซาและแดงต่อศาลที่จังหวัดสุพรรณบุรี ศาลที่จังหวัดนครปฐม หรือศาลแพ่งศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5

สรุป

วิชัยจะฟ้องแดงกับปรีชาให้ร่วมกันรับผิดฐานผิดสัญญาได้ และสามารถเสนอคําฟ้อง ต่อศาลเดียวกันได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ําเข้ามาในที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลพิพากษาให้จําเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำ จําเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจําเลยปลูกสร้างอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยสุจริตขอให้โจทก์จดทะเบียนเป็นภาระจํายอม ดังนี้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฟ้องแย้ง แต่ไม่ได้เป็นของจําเลยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 177 วรรคสาม “จําเลยจะฟ้องแย้งมาในคําให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จําเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก”

มาตรา 179 วรรคท้าย “แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้อง เพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิมต่อศาลแล้วเป็นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกัน พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้”

วินิจฉัย

การที่จําเลยจะฟ้องแย้งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์สําคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่

2 ต้องมีฟ้องเดิม

3 ฟ้องแย้งนั้นต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม และจะต้องไม่เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ําเข้ามาในที่ดิน ที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลพิพากษาให้จําเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำ และจําเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จําเลยปลูกสร้างอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยสุจริตขอให้โจทก์จดทะเบียนเป็นภาระจํายอมนั้น ย่อมถือว่าฟ้องแย้งกับ ฟ้องเดิมเกี่ยวข้องกันพอที่จะสามารถพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย เนื่องจากเป็นการฟ้องเกี่ยวกับอาคารในส่วนที่รุกล้ําเหมือนกัน ดังนั้น เมื่อเป็นฟ้องแย้งที่ ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงต้องสังรับฟ้องแย้งของจําเลย

สรุป

ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฟ้องแย้งของจําเลย

 

ข้อ 4. โจทก์จําเลยพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง ศาลสั่งอนุญาต จําเลยอุทธรณ์คําสั่งอนุญาต ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ ฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันกับที่ถอนฟ้องไปแล้วหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาตให้โจทก์ ถอนฟ้องคดีก่อนถึงที่สุด ดังนี้ศาลชั้นต้นจะสั่งคําฟ้องของโจทก์อย่างไรจึงชอบด้วยกฎหมาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และ ผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น”

วินิจฉัย

การที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1 คดีเดิมอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา

2 คู่ความทั้งสองฝ่ายในคดีเดิมและคดีหลังจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน

3 คดีเดิมกับคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกัน

4 ห้ามโจทก์ฟ้อง

5 ในศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และต่อมาโจทก์ยื่นคําร้อง ขอถอนฟ้องจําเลยและศาลสั่งอนุญาต จําเลยจึงอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตดังกล่าวนั้น ย่อมถือว่าคดีดังกล่าวยังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ กล่าวคือ คําสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น การที่โจทก์ ฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและคดีถึงที่สุดก็ไม่ทําให้ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งยกคําฟ้องโจทก์

สรุป

ศาลชั้นต้นต้องสั่งยกคําฟ้องของโจทก์เพราะเป็นฟ้องซ้อน

 

LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. บริษัท ยานยนต์ จํากัด ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกให้ประกอบการขนส่งด้วยรถยนต์โดยสารในเส้นทางจากจังหวัดอ่างทองถึงจังหวัดสุพรรณบุรีแต่ผู้เดียว นายโชติกับพวกได้นํา รถยนต์โดยสารมารับส่งคนโดยสารทับเส้นทางดังกล่าว เจ้าพนักงานตํารวจท้องที่ได้จับกุมนายโชติ กับพวกมาเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยตัวไป นายโชติกับพวกรวมทั้งลูกจ้างจํานวนหลายสิบคนจึงมา ประท้วงที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานตํารวจแห่งชาติเห็นว่าจะมีปัญหาในเรื่องมวลชนจึง มีคําสั่งให้เจ้าพนักงานตํารวจท้องที่ผ่อนผันการจับกุม นายโชติกับพวกจึงกลับไปและนํารถยนต์โดยสาร รับส่งคนโดยสารเช่นเดิมอีก บริษัท ยานยนต์ จํากัด จึงร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตํารวจท้องที่ขอให้ จับกุมแต่เจ้าพนักงานตํารวจท้องที่ไม่จับกุมอ้างว่ามีคําสั่งของสํานักงานตํารวจแห่งชาติให้ผ่อนผัน การจับกุม บริษัท ยานยนต์ จํากัด จึงฟ้องสํานักงานตํารวจแห่งชาติต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีว่าคําสั่ง ดังกล่าวผิดต่อกฎหมาย ทําให้โจทก์เสียหายขาดรายได้จากการนี้ ขอให้ศาลเพิกถอนคําสั่งดังกล่าว จําเลยให้การต่อสู้ว่า จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีไม่มีอํานาจพิจารณา คดีนี้ และการที่จําเลยมีคําสั่งดังกล่าวเป็นดุลพินิจของจําเลยที่สั่งแก่เจ้าพนักงานตํารวจไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้อง ดังนี้ท่านเห็นว่าข้อต่อสู้ของจําเลยฟังได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นใน เขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

มาตรา 55 “เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือ บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคติของตนต่อศาลส่วนแห่งที่มีเขตอํานาจได้ ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้”

วินิจฉัย

การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคคล ต้องฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่ มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตามมาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดีเกิด” หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันจะทําให้เกิดอํานาจฟ้อง

ตามอุทาหรณ์ เห็นได้ว่า ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทําของจําเลยนั้นเกิดขึ้นใน เขตจังหวัดอ่างทองและจังหวัดสุพรรณบุรี จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอํานาจของศาลจังหวัดอ่างทองและศาล จังหวัดสุพรรณบุรี ดังนั้นโจทก์จึงยื่นฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีหรือศาลจังหวัดอ่างทองก็ได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 9 (1) ข้อต่อสู้ของจําเลยที่ว่าศาลจังหวัดสุพรรณบุรีไม่มีอํานาจพิจารณาคดีนี้จึงรับฟังไม่ได้

และตามคําฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าคําสั่งของจําเลยมิชอบด้วยกฎหมายทําให้โจทก์เสียหาย เพราะการที่จําเลยมีคําสั่งผ่อนผันการจับกุมนายโชติกับพวกที่นํารถโดยสารมาวิ่งทับเส้นทางของโจทก์อันเป็นการ กระทําที่ผิดกฎหมาย และทําให้โจทก์ผู้ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกแต่ผู้เดียวต้องขาดรายได้ เป็นการสั่ง ที่มีผลให้เจ้าพนักงานตํารวจซึ่งมีหน้าที่จับกุมนายโชติกับพวกละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และก่อให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในอันที่จะระงับความเสียหายในการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตํารวจท้องที่ ดังนั้นโจทก์จึงมีอํานาจฟ้องขอให้เพิกถอนคําสั่งของจําเลยได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ข้อต่อสู้ของจําเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้อง จึงรับฟังไม่ได้ สรุป ข้อต่อสู้ทั้งหมดของจําเลยรับฟังไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 2 ว่าขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทําละเมิดในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 กับให้จําเลยที่ 3 ซึ่งเป็น ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จําเลยที่ 1 ขับให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จําเลยที่ 1 มี ภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดนครปฐม จําเลยที่ 2 มีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร เหตุละเมิดเกิดที่จังหวัด สระบุรี โดยโจทก์เสนอคําฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ซึ่งเป็นศาลที่จําเลยที่ 3 มีภูมิลําเนา หลังจากศาลมีคําสั่งรับคําฟ้องแล้ว โจทก์ขอถอนฟ้องจําเลยที่ 3 ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้จําหน่ายคดีเฉพาะจําเลยที่ 3 จากสารบบความ

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะมีอํานาจพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีสําหรับจําเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อไปได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาล ไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

มาตรา 5 “คําฟ้องหรือคําร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ภูมิลําเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อหา ก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้”

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วม หรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคล เหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ”

มาตรา 176 “การทิ้งคําฟ้องหรือถอนคําฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคําฟ้องนั้น รวมทั้ง กระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคําฟ้อง และกระทําให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่ง มิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคําฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้วอาจยืนใหม่ได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมาย ว่าด้วยอายุความ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 2 ว่าขับรถยนต์ โดยประมาทชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทําละเมิดในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 และให้ จําเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จําเลยที่ 1 ขับให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น ถือว่า เป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นโจทก์จึงสามารถฟ้องจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 เป็น จําเลยร่วมกันได้ เพราะจําเลยทั้งสามคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59

โดยปกติการฟ้องคดีนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) โจทก์จะต้องฟ้องจําเลยต่อศาลที่จําเลย มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้น แต่ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5 ได้บัญญัติไว้ว่า คําฟ้องซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลําเนาของบุคคล หรือเพราะสถานที่ที่เกิด มูลคดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันโจทก์จะเสนอคําฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งก็ได้

ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า จําเลยทั้งสามมีภูมิลําเนาต่างกัน กล่าวคือ จําเลยที่ 1 มีภูมิลําเนาอยู่ที่ จังหวัดนครปฐม จําเลยที่ 2 มีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนจําเลยที่ 3 มีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพฯ การที่ โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสามยังศาลเดียวกันคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ซึ่งเป็นศาลที่จําเลยที่ 3 มีภูมิลําเนา โจทก์ย่อม สามารถฟ้องได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5 และแม้ว่าต่อมาโจทก็ได้ถอนฟ้องจําเลยที่ 3 และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง และให้จําหน่ายคดีเฉพาะจําเลยที่ 3 ออกจากสารบบความ ซึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 176 ให้ถือเสมือนหนึ่งมิได้มี การยื่นฟ้องเลยนั้น ก็มีผลเฉพาะจําเลยที่ 3 เท่านั้น จะไม่มีผลไปถึงจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 (1) ดังนั้น ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงมีอํานาจพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีสําหรับจําเลยที่ 1 และจําเลย ที่ 2 ต่อไปได้

สรุป

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มีอํานาจพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีสําหรับจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ต่อไปได้

 

ข้อ 3. นายแจ้งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 123 เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายทองให้ออกไปจากที่ดินนายทองจําเลยให้การต่อสู้ว่า ได้ครอบครองที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายแล้วขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา นายดอนยื่นคําร้องสอดว่าผู้ร้องได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทร่วมกับนายทอง จําเลยตลอดมา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายร่วมกับจําเลย ขอเข้าเป็นจําเลยร่วม โดยนายดอน ยื่นคําให้การและฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยร่วมโดยการ ครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า นายดอนจําเลยร่วมจะมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคําร้องขอ ต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจําต้องผูกพันตนโดยคําพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย”

มาตรา 58 วรรคสอง “ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุมาตรา (2) แห่งมาตราก่อนใช้ สิทธิอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจําเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอดเสียค่าฤชาธรรมเนียม อันเกิดแต่การที่ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจําเลยเดิม ผู้ร้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 58 วรรคสอง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม และ จะใช้สิทธิขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจําเลยเดิมไม่ได้

ตามอุทาหรณ์ การที่นายแจ้งเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายทองให้ออกไปจากที่ดิน นายทองจําเลย ให้การต่อสู้ว่า ได้ครอบครองที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายแล้วขอให้ยกฟ้องนั้น ในระหว่างพิจารณาการที่ นายดอนยื่นคําร้องสอดว่าผู้ร้องได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทร่วมกับนายทองจําเลยตลอดมา และฟ้องแย้งขอให้ ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยร่วมโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เห็นได้ว่า นายดอน ได้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) คือเข้าเป็นคู่ความร่วมด้วยความสมัครใจ จึงต้องห้ามมิให้ ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นจําเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 58 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อคําให้การและฟ้องแย้งของจําเลยที่อ้างสิทธิเกี่ยวกับสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาท เป็นการยกสิทธิขึ้นมาใหม่นอกเหนือจากคําให้การเดิมของจําเลยซึ่งตนเข้ามาเป็นจําเลยร่วม จึงต้องห้าม ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) และมาตรา 58 วรรคสอง นายดอนจําเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์

สรุป นายดอนไม่มีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์

 

ข้อ 4. โจทก์ตกลงให้จําเลยที่ 1 เช่าที่ดินโดยมีจําเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในสัญญาเช่า มีข้อตกลงกันว่าถ้าผู้เช่าผิดสัญญาให้สิทธิผู้ให้เช่าเข้ายึดถือครอบครองที่ดินที่เช่าได้ทันที ต่อมาโจทก์ฟ้องจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 อ้างว่าจําเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่า และโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จําเลยทั้งสอง ชําระค่าเช่าที่ดินและค่าเสียหายแก่โจทก์ จําเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์เข้ารื้อถอน ต้นมะพร้าวของจําเลยที่ 1 ออกจากที่ดินที่เช่าเป็นการละเมิดต่อจําเลยที่ 1 ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าต้นมะพร้าวแก่จําเลยที่ 1 ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า เป็นฟ้องแย้งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 177 วรรคสาม “จําเลยจะฟ้องแย้งมาในคําให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จําเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก”

มาตรา 179 วรรคท้าย “แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้อง เพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกัน พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้”

วินิจฉัย

การที่จําเลยจะฟ้องแย้งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์สําคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่

2 ต้องมีฟ้องเดิม

3 ฟ้องแย้งนั้นต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม

ตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจําเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่า และโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จําเลยทั้งสองชําระค่าเช่าที่ดินและค่าเสียหายแก่โจทก์ และจําเลยที่ 1 ให้การและ ฟ้องแย้งว่า โจทก์เข้ารื้อถอนต้นมะพร้าวของจําเลยที่ 1 ออกจากที่ดินที่เช่าเป็นการละเมิดต่อจําเลยที่ 1 ขอให้บังคับ โจทก์ชดใช้ค่าต้นมะพร้าวแก่จําเลยที่ 1 นั้น จะเห็นว่าฟ้องแย้งของจําเลยที่ 1 เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงใน สัญญาเช่าที่ให้สิทธิโจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินที่เช่าได้ทันทีเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ดังนั้นฟ้องแย้งของจําเลยที่ 1 จึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งของจําเลยที่ 1 จึงเป็น ฟ้องแย้งที่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

ฟ้องแย้งของจําเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คำแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายหมอก นายเมฆให้นายชายยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 5 เดือน และให้นางหญิงยืมข้าวสารจํานวน 50 กระสอบ เป็นเวลา 4 เดือน หลังจาก ทําสัญญายืมกับนายชายและนางหญิงแล้วเป็นเวลา 1 เดือน นายเมฆ นายชาย และนางหญิง เดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ดังนี้ สิทธิตามสัญญายืมเป็นมรดกของนายเมฆ นายชาย และนางหญิงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดย สภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดก ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไป ยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิตามสัญญายืมเป็นมรดกของนายเมฆ นายชาย และนางหญิงหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 สัญญายืมระหว่างนายเมฆและนายชาย

การที่นายเมฆให้นายชายยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 5 เดือนนั้น เป็นสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งตาม กฎหมายสัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเมื่อผู้ยืมตาย (ป.พ.พ. มาตรา 648) แต่จะไม่ระงับไปในกรณีที่ผู้ให้ยืมตาย ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากทําสัญญายืมกับนายชายแล้วเป็นเวลา 1 เดือน นายเมฆผู้ให้ยืม และนายชาย ถึงแก่ความตาย เช่นนี้

1.1 กรณีนายเมฆผู้ให้ยืมถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมซึ่งตามกฎหมาย ไม่อว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้ให้ยืม) จึงไม่ระงับไปด้วย ดังนั้น สิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปของนายเมฆ เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

1.2 กรณีนายชายผู้ยมถึงแก่ความตาย ย่อมมีผลทําให้สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืม ซึ่งตาม กฎหมายถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้ยืม) จึงต้องระงับไปด้วย ดังนั้น สิทธิตามสัญญายืมที่นายชายได้รับ จึงไม่เป็นมรดก

2 สัญญายืมระหว่างนายเมฆและนางหญิง

การที่นายเมฆให้นางหญิงยืมข้าวสารจํานวน 50 กระสอบ เป็นเวลา 4 เดือนนั้น เป็นสัญญายืมใช้ สิ้นเปลือง ซึ่งตามกฎหมายสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง เป็นสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกัน ให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 650) โดยจะต้องคืนเมื่อครบกําหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ให้ยืม และผู้ยืม สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากนางหญิงได้ยืมข้าวสารจากนายเมฆไปได้ 1 เดือน นายเมฆและนางหญิงถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ ตามสัญญายืมของนายเมฆและนางหญิงจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

สรุป

สิทธิตามสัญญายืมเป็นมรดกของนายเมฆ สิทธิตามสัญญายืมรถยนต์ไม่เป็นมรดกของ นายชาย และสิทธิตามสัญญายืมข้าวสารซึ่งเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นมรดกของนางหญิง

 

ข้อ 2 นายเก่งอยู่กินกับนางมณีมีบุตรคือนายดํา ซึ่งนายเก่งได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา นายดําได้ไปบวชที่วัดเทพลีลาโดยในขณะบวชนั้น นางมณีได้โอนที่ดินโดยจดทะเบียนและทําเป็นหนังสือ ให้แก่พระภิกษุดํา 3 ไร่ มูลค่า 1,500,000 บาท ต่อมาพระภิกษุดําได้ทําสัญญาให้นายแดงเช่าที่นา ของตนโดยชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 20,000 บาท ต่อมานางมณีป่วยตาย นายเก่งจึงไปอยู่กินกับ นางแก้วมีบุตรคือนายกระทิง ซึ่งนายเก่งให้นายกระทิงใช้นามสกุล โดยนายกระทิงจดทะเบียนสมรส กับนางรดามีบุตรคือนางฤดี ซึ่งต่อมานางฤติอยู่กินกับนายมงคลจนตั้งครรภ์มีบุตรคือ ด.ญ.มีนา อีกทั้งนางฤดีได้จดทะเบียนรับ ด.ช.ดํารง มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่นายมงคล แยกทางกับนางฤดี หลังจากนั้นนายกระทิงป่วยและถึงแก่ความตาย ต่อมานางฤดีประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย เมื่อนายกระทิงและนางฤดีตายแล้ว ต่อมาพระภิกษุดําให้นายแดงเช่าที่นาได้ 5 เดือน พระภิกษุดําเกิดป่วยและถึงแก่มรณภาพ เช่นนี้จงพิจารณาการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก ของพระภิกษุดําซึ่งมีเงินสดในธนาคารก่อนที่จะบวชอยู่ 240,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่ วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1623 “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จําหน่ายไปใน ระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม”

มาตรา 1624 “ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็น สมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจําหน่ายโดยประการใด นามกฎหมายก็ได้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตาม บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(3) ถ้าในขั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องพิจารณาประการแรกคือ เมื่อพระภิกษุดําถึงแก่มรณภาพนั้น ทรัพย์มรดกของพระภิกษุดํามีอะไรบ้าง กรณีนี้เห็นว่า การที่พระภิกษุดําเจ้ามรดกได้ไปบวชที่วัดเทพลีลานั้น ก่อนบวชพระภิกษุดํามีเงินฝากในธนาคาร 240,000 บาท ซึ่งเงินฝากจํานวน 240,000 บาทนี้ ย่อมถือว่าเป็นมรดก ที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุดําตามมาตรา 1624

ส่วนที่ดินจํานวน 3 ไร่ มูลค่า 1,500,000 บาท ที่นางมณีได้จดทะเบียนโอนให้แก่พระภิกษุดํา และค่าเช่าที่นาเดือนละ 20,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน รวมเป็นค่าเช่า 100,000 บาท ที่พระภิกษุดําได้รับ ก่อนที่จะถึงแก่มรณภาพนั้น ถือเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุดําได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ ดังนั้น เมื่อพระภิกษุดํา ได้ถึงแก่มรณภาพที่ดินและค่าเช่าที่ดินดังกล่าวจึงตกแก่วัดเทพลีลาซึ่งเป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุดํา ไม่ตกแก่ ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุดําตามมาตรา 1623

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ ทรัพย์มรดกของพระภิกษุดําจึงมีเฉพาะเงินฝากในธนาคาร 240,000 บาท เท่านั้น ซึ่งมรดกดังกล่าวจะตกทอดแก่บุคคลใดบ้าง แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 นายเก่ง ซึ่งเป็นบิดาของพระภิกษุดํา แต่เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของพระภิกษุดํา เพราะขณะที่พระภิกษุดําเกิดนั้น นายเก่งกับนางมณีเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายเก่ง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของพระภิกษุดํา เพราะตามมาตรา 1629 (2) ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้น จะต้อง เป็นบิดาและมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

2 นางมณี ซึ่งเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของพระภิกษุดํา เพราะบุคคลที่เกิดจาก หญิงที่มิได้สมรสกับชาย กฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นตามมาตรา 1546 นางมณีจึง มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) แต่เมื่อในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น นางมณีไม่มี สภาพบุคคลอยู่ในเวลานั้น เพราะได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ดังนั้น นางมณีจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของพระภิกษุดํา ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

3 นายกระทิง เป็นบุตรที่เกิดจากนายเก่งและนางแก้ว จึงเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกัน กับพระภิกษุดําและเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) ประกอบมาตรา 1627 แต่การที่นายกระทิงตาย ก่อนเจ้ามรดก นายกระทิงจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น นายกระทิงจึงไม่มี สิทธิรับมรดกของพระภิกษุดําตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่นายกระทิงตามมาตรา 1639

การที่นายกระทิงได้จดทะเบียนสมรสกับนางรดาและมีบุตรคือนางฤดี นางฤดีจึงเป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายกระทิงตามมาตรา 1536 ประกอบมาตรา 1643 แต่เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านางฤดีได้ถึงแก่ความตายก่อนพระภิกษุดําด้วย จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่ นางฤดีต่อไปตามมาตรา 1639 และเมื่อปรากฏว่านางฤดีมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายคือ ด.ญ.มีนา และเป็น ผู้สืบสันดานโดยตรงของนางฤดีตามมาตรา 1536 ประกอบมาตรา 1643 ดังนั้น ด.ญ.มีนาจึงเข้ารับมรดกแทนที่ นางฤดีในการรับมรดกของพระภิกษุดําได้ ส่วน ด.ช.ดํารงซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนางฤดีนั้น จะเข้ารับมรดก แทนที่นางฤดีไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนางฤดี จึงต้องห้ามมิให้รับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1643

ดังนั้น ทรัพย์มรดกของพระภิกษุดํา คือเงินฝากในธนาคารจํานวน 240,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ญ.มีนาแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1634 (3)

สรุป

ที่ดินและค่าเช่าที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุดําได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น จะตกได้แก่วัดเทพลีลาที่เป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุดํา ส่วนเงินสดในธนาคารจํานวน 240,000 บาท ซึ่งเป็น ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จะตกได้แก่ ด.ญ.มีนาเพียงคนเดียว

 

ข้อ 3 นายเอกและนางอ้นเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย นายเอกมีน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ นายโทและนายตรี นายโทจดทะเบียนสมรสกับนางทอง มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายแทน นายโทโกรธนายเอกที่ดุด่านายโทว่าไม่ทํามาหากิน นายโทเอาปืนมายิงนายเอก นายเอกบาดเจ็บสาหัส ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายเดือน นายโทต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านายเอก ส่วนนายตรีอยู่กินกับนางสาวแตนแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ต่อ นายตรีให้การอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.ต่อมาตั้งแต่เกิด ต่อมานายเอกประสบอุบัติเหตุตาย นายเอก ไม่ได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับใคร นายเอกมีทรัพย์มรดก 600,000 บาท หลังจากนั้น นายตรีตั้งใจจะอุปสมบทตลอดชีวิต นายตรีไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับมรดกของนายเอก นายตรีได้ทํา หนังสือสละมรดกของนายเอกมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางกะปิ ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายเอก

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง ต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดก ให้กับใคร มรดกของนายเอกจํานวน 600,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนายเอกตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้แก่นางอ้นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง และนายโทกับ นายตรีซึ่งเป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายเอกตามมาตรา 1629 (3) โดยนางอ้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง คือ 300,000 บาท ส่วนอีกถึงหนึ่งตกได้แก่นายโทและนายตรีคนละ 150,000 บาท ตามมาตรา 1635 (2)

การที่นายโทต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านายเอก นายโทจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดก จนายเอกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) แต่เมื่อเป็นการถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ดังนั้น เมื่อนายโทมีบุตรคือนายแทน และนายแทนเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายโท นายแทนจึงสามารถเข้ารับมรดก แทนที่นายโทได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 โดยมีสิทธิรับมรดกของนายเอกจํานวน 150,000 บาท แทนที่นายโท

ส่วนกรณีนายตรีนั้น เมื่อนายตรีได้ทําหนังสือสละมรดกของนายเอกมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขต บางกะปี ซึ่งเป็นการสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 ด.ช.ต่อ ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย ซึ่งบิดา คือนายตรีได้รับรองแล้วโดยพฤติการณ์โดยนายตรีได้ให้การอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.ต่อมาตั้งแต่เกิด ดังนั้น ด.ช.ต่อ จึงเป็นผู้สืบสันดานของนายตรีตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และมีสิทธิสืบมรดกของนาย อก ในส่วนที่นายตรีได้สละมรดก คือ 150,000 บาท ตามมาตรา 1615 วรรคสอง

สรุป

มรดกของนายเอกจํานวน 600,000 บาท ตกได้แก่นางอ้น 300,000 บาท นายแทน 150,000 บาท และ ด.ช.ต่อ 150,000 บาท

 

ข้อ 4 นายสิงห์จดทะเบียนสมรสกับนางสวย มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวแจ่ม ต่อมานายสิงห์ไปได้นางเดือนเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง เมื่อนางเดือนตั้งครรภ์ นายสิงห์พาไปตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาล จนทราบว่าเป็นบุตรชายจึงตั้งชื่อไว้ล่วงหน้าว่าเด็กชายหมอก แล้วเตรียมต่อเติมห้องพักสําหรับบุตร ทั้งยังบอกกล่าวแก่นายยิ้ม นางแย้มบิดามารดาของตนตลอดจนญาติมิตรเพื่อนฝูงว่าจะมีบุตรชาย สืบสกุลแล้ว ต่อมานายสิงห์ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายพร้อมนายยิ้มและนางแย้ม โดยมี ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท 1,000,000 บาท นางสาวแจ่มทําปลอมพินัยกรรมของนายสิงห์ขึ้น โดยระบุข้อความว่านายสิงห์ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตนให้แก่นางสวยกับนางสาวแจ่มเท่านั้น หลังจากนั้น 3 เดือน นางเดือนคลอดบุตรคือ เด็กชายหมอก ให้วินิจฉัยว่า ทรัพย์มรดกของนายสิงห์ตกทอดแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้นเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(5) ผู้ที่ปลอม ทําลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด”

มาตรา 1607 “การถูกกําจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูก กําจัดสืบมรดกต่อไปเสมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายสิงห์ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ว่าจะยกทรัพย์มรดก ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกของนายสิงห์จํานวน 1,000,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนายสิงห์ตาม มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ส่วนพินัยกรรมที่นางสาวแจ่มทําขึ้นนั้นเมื่อเป็นพินัยกรรมปลอมจึงไม่มีผลใช้บังคับ

สําหรับทายาทโดยธรรมของนายสิงห์ที่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ ได้แก่

1 นางสวย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสิงห์ จึงเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะ คู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2 เด็กชายหมอก ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสิงห์เพราะเกิดจากนางเดือนซึ่งมิได้ จดทะเบียนสมรสกับนายสิงห์ แต่เมื่อนายสิงห์บิดาได้รับรองแล้วโดยขณะนางเดือนตั้งครรภ์ นายสิงห์ได้พาไป ตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาลและเมื่อทราบว่าเป็นบุตรชายจึงตั้งชื่อไว้ล่วงหน้าว่าเด็กชายหมอก อีกทั้งยังแสดงออกต่อ บุคคลทั่วไปว่าเด็กในครรภ์ของนางเดือนเป็นบุตรของตนอันเป็นการรับรองโดยพฤติการณ์ตั้งแต่เด็กชายหมอก ยังอยู่ในครรภ์มารดา ดังนั้น จึงถือว่าเด็กชายหมอกเป็นผู้สืบสันดาน และเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของ นายสิงห์ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และแม้ว่าขณะที่เด็กชายหมอกเกิด นายสิงห์ได้ถึงแก่ความตาย แล้วก็ตาม แต่เมื่อเด็กชายหมอกได้เกิดมาแล้วรอดอยู่ภายใน 310 วันนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซึ่งตาม มาตรา 1604 วรรคสอง ให้ถือว่าเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงเป็นทายาท ที่มีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

ส่วนบุคคลที่ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ ได้แก่

1 นางสาวแจ่ม ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสิงห์และเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (1) นั้น เมื่อนางสาวแจ่มได้ทําปลอมพินัยกรรมของนายสิงห์ขึ้นทั้งฉบับ นางสาวแจ่มจึงถูกกําจัด มให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (5) และเมื่อนางสาวแจ่มไม่มีผู้สืบสันดาน ดังนั้น กรณีของ นางสาวแจ่มจึงไม่มีผู้สืบสันดานที่จะสืบมรดกต่อไปตามมาตรา 1607

2 นายยิ้มและนางแย้ม ซึ่งเป็นบิดามารดาของนายสิงห์ เมื่อได้ถึงแก่ความตายพร้อมนายสิงห์ จึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

3 นางเดือน ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายสิงห์ จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรม และไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ตามมาตรา 1629 วรรคสอง

ดังนั้น เมื่อนายสิงห์มีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกอยู่ 2 คน คือ นางสวยและเด็กชายหมอก ทั้ง 2 คน จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กัน คือคนละ 500,000 บาท ตามมาตรา 1633 ประกอบมาตรา 1635 (1)

สรุป

มรดกทั้งหมดของนายสิงห์ตกได้แก่ นางสวยและเด็กชายหมอกคนละ 500,000 บาท

LAW3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายดลอยู่กินกับนางปราง โดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันคือ นายดินและนายดุล ซึ่งนายดลได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ต่อมานายชิดเพื่อนสนิทนางปรางได้มาจดทะเบียนรับนายดิน ไปเป็นบุตรบุญธรรมของตนเอง นายดินนั้นเป็นเจ้าของบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง บุพเพอาละวาด ซึ่งสํานักพิมพ์ตกลงให้ค่าลิขสิทธิ์ปีละ 500,000 บาท เป็นเวลาเจ็ดปี นอกจากนี้นายดินยังมีที่ดิน เนื้อที่ 1 ไร่ ซึ่งนายดินได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้นายแดงไป ต่อมานายดินถึงแก่ความตายโดยยังมี เงินสดในธนาคารอีก 1,200,000 บาท และหลังจากนายดินได้รับค่าลิขสิทธิ์ในบทประพันธ์มาได้ 2 ปี เช่นนี้จงแบ่งมรดกของนายดิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะ ทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น”

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในสําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น อนที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ จะเห็นได้ว่ามรดกของนายดินผู้ตายตามมาตรา 1600 ซึ่งจะตกทอดแก่ ผู้เป็นทายาทนั้น ได้แก่

1 สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นสิทธิที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตายและมิใช่เป็นการ เฉพาะตัวของผู้ตาย ดังนั้น เงินตอบแทนค่าลิขสิทธิ์อีก 5 ปี ๆ ละ 500,000 บาท จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

2 สิทธิอาศัยของนายแดง ซึ่งนายดินได้จดทะเบียนให้นายแดงได้อยู่อาศัยในที่ดิน ซึ่ง หน้าที่ที่จะต้องผูกพันต่อการจดทะเบียนสิทธิอาศัยให้แก่นายแดงนั้นไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย ดังนั้น จึงเป็น มรดกตกทอดแก่ทายาท

3 เงินสดในธนาคาร 1,200,000 บาท

4 ที่ดิน 1 แปลงเนื้อที่ 1 ไร่

ส่วนบุคคลใดบ้างที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิในการรับมรดกดังกล่าวของนายดินนั้น แยกพิจารณา ได้ดังนี้

1 นายดุล ซึ่งเป็นบิดาของนายดินนั้น เมื่อนายดลมิได้จดทะเบียนสมรสกับนางปราง นายดลจึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายดิน และแม้ว่านายดลจะได้รับรองว่านายดินเป็นบุตรโดยได้แจ้งเกิด ในสูติบัตรว่าเป็นบิดาตามมาตรา 1627 ก็ตาม นายดลก็มิใช่ทายาทโดยธรรมตามนัยของมาตรา 1629 (2) ดังนั้น นายดลจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดิน

2 นางปราง ซึ่งเป็นมารดาของนายดินนั้น ถือเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) จึงมีสิทธิรับมรดกของนายดิน ทั้งนี้เพราะนางปรางแม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกับนายดล แต่ก็ถือว่าเป็นมารดา ที่ชอบด้วยกฎหมายของนายดินตามมาตรา 1546

3 นายชิด ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมของนายดินนั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ของนายดิน เพราะต้องห้ามตามมาตรา 1598/29 ที่กําหนดว่า การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดก ของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม

4 นายดุล ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายดินและเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) นั้น เมื่อนายดินมีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา 1629 (2) คือนางปราง น เยดุลจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดินตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น มรดกของนายดินทั้งหมดจึงตกได้แก่นางปรางแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายดิน ซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนจากลิขสิทธิ์อีก 5 ปี ที่ดิน 1 แปลงเนื้อที่ 1 ไร่ หน้าที่ที่ต้องให้นายแดงมีสิทธิอาศัยในที่ดินแปลงดังกล่าว และเงินสด 1,200,000 บาท ตกได้แก่นางปรางแต่เพียง ผู้เดียว

 

 

ข้อ 2 นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางฟ้า มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายหมอกและ น.ส.ฝน นายหมอกจดทะเบียนสมรสกับนางเดือน แต่ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกันจึงร่วมกันจดทะเบียนรับ ด.ญ.ดาว มาเป็น บุตรบุญธรรม ต่อมานายเมฆแอบไปมีความสัมพันธ์กับ น.ส.น้ำ มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ลม ซึ่งนายเมฆเลี้ยงดู ด.ช.ลม อย่างดี หลังจากนั้นนายหมอกเดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิต พอนายเมฆทราบข่าวก็หัวใจวายตายในเวลาต่อมา นายเมฆมีมรดกเป็นเงินสดจํานวน 3 ล้านบาท จงแบ่งมรดกของนายเมฆ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ขอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ 1 หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเมฆถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายเมฆ คือเงินสด 3 ล้านบาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม และทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิรับมรดกของนายเมฆ ได้แก่ นายหมอก และ น.ส.ฝน บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ด.ช.ลม ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายเมฆบิดาได้รับรองแล้ว (นายเมฆเลี้ยงดู ด.ช.ลม เป็นอย่างดี) ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และนางฟ้าซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย โดยนางฟ้าจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ส่วน น.ส.น้ำ ไม่มีสิทธิรับมรดก ของนายเมฆเพราะมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมของนายเมฆตามนัยมาตรา 1629 วรรคท้าย

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายหมอกได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นายหมอกจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น นายหมอกจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของ นายเมฆตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และนางเดือนภริยาของนายหมอกกับ ด.ญ.ดาว ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของ นายหมอกจะเข้ารับมรดกแทนที่นายหมอกก็ไม่ได้ เพราะทั้งสองมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายหมอกตาม มาตรา 1639 และมาตรา 1643

ดังนั้น มรดกของนายเมฆ คือเงินสดจํานวน 3 ล้านบาท จึงตกได้แก่ น.ส.ฝน ด.ช.ลม และ นางฟ้า โดยทั้งสามจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 1 ล้านบาท ตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายเมฆจํานวน 3 ล้านบาท จะตกได้แก่ น.ส.ฝน ด.ช.ลม และนางฟ้า โดยทั้งสามจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ล้านบาท

 

 

ข้อ 3 นายแดงจดทะเบียนสมรสกับนางเหลือง มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายส้มและนายแสด นายสมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับ น.ส.ขาว มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ญ.ชมพู โดยนายส้มเสีย 19 ด.ญ.ชมพูอย่างดี นายแสดติดการพนันอย่างหนัก นายแดงจึงทําพินัยกรรมตัดนายแสดไม่ให้รับมรดก ของตนมอบไว้กับนางเหลือง หลังจากนั้นนายแสดเลิกเล่นการพนันได้ นายแดงจึงทําหนังสือ ถอนการตัดนายแสดมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายส้มป่วยและถึงแก่ความตาย พอนายแดง ทราบข่าวก็หัวใจวายตาย นายแดงมีมรดกเป็นเงินสดจํานวน 6 ล้านบาท จงแบ่งมรดกของนายแดง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิ์ได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1608 วรรคหนึ่ง “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้ แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 1609 “การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้ ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทําโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหาสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายแดงถึงแก่ความตาย มรดกซึ่งเป็นเงินสดจํานวน 6 ล้านบาท ของนายแดงย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม และบุคคลที่มีสิทธิรับมรดกของนายแดงได้แก่บุคคลใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นางเหลือง ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแดง มีสิทธิรับมรดกของนายแดง บฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย

2 นายส้ม ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายแดง โดยหลักแล้วย่อมมีสิทธิรับมรดก ของนายแดงในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อปรากฏว่า นายส้มได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ดังนั้น นายส้มจึงไม่อาจรับมรดกของนายเเดงได้ เพราะนายส้มไม่มีสถานภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายส้มมีบุตรคือ ด.ญ.ชมพู ซึ่งแม้ ด.ญ.ชมพู จะเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายส้ม แต่เมื่อนายส้มได้รับรองว่า ด.ญ.ชมพูเป็นบุตรโดยการเลี้ยงดู ด.ญ.ชมพู เป็นอย่างดีตามมาตรา 1627 อีกทั้ง ด.ญ.ชมพูเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายส้ม ดังนั้น ด.ญ.ชมพูจึงมีสิทธิ์ รับมรดกแทนที่นายสมในการรับมรดกของนายแดงได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

3 นายแสด ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายแดงนั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายแดงในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ทั้งนี้เพราะนายแดงเจ้ามรดกได้ทําพินัยกรรมตัดมิให้นายแสดรับมรดก โดยถูกต้องตามมาตรา 1608 แล้ว และแม้ว่าภายหลังนายแดงจะได้ทําหนังสือถอนการตัดมิให้รับมรดกนั้นมอบไว้แก่

พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การถอนดังกล่าวกระทําไม่ถูกต้องตามมาตรา 1609 คือไม่ได้ถอนโดยพินัยกรรม ดังนั้น จึงยังถือว่านายแสดถูกตัดมิให้รับมรดกเช่นเดิม

ส่วน น.ส.ขาว ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายแดงจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายแดง

ดังนั้น มรดกของนายแดงซึ่งเป็นเงินสดจึงตกได้แก่ ด.ญ.ชมพูซึ่งเข้ารับมรดกแทนที่นายส้ม และนางเหลืองคู่สมรสของเจ้ามรดก โดยนางเหลืองจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้น ด.ญ.ชมพูและนางเหลืองจึงได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กันคือคนละ 3 ล้านบาท ตามมาตรา 1633

สรุป

มรดกของนายแดงตกได้แก่นางเหลืองและ ด.ญ.ชมพู คนละ 3 ล้านบาท

 

ข้อ 4 นางเกดมีบุตรชาย 3 คน คือ นายพัน นายหมื่นและนายแสน นายพันอยู่กินกันกับนางสาวพลอยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวเพ็ญ นางสาวเพ็ญใช้นามสกุลของ มารดาตั้งแต่เกิดโดยนายพันให้การอุปการะนางสาวเพ็ญมาโดยตลอด นางเกดล้มป่วยเป็นโรคมะเร็ง นายหมื่นดูแลปรนนิบัตินางเกดเป็นอย่างดี นางเกดจึงทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตน ให้กับนายหมื่นแต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายพันประสบอุบัติเหตุตาย หลังจากนั้นนางเกดถึงแก่ความตาย นางเกดมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 300,000 บาท นายหมื่นไม่อยากรับมรดกของนางเกดแต่เพียงผู้เดียว นายหมื่นจึงได้สละมรดกของนางเกดในฐานะผู้รับพินัยกรรมโดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ

ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนางเกด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1608 วรรคท้าย “แต่เมื่อบุคคลใดได้ทําพินัยกรรมจําหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1618 “ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้ หรือ ผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ สวนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป (3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ เมื่อนางเกดเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์มรดกคือเงินจํานวน 300,000 บาท ซึ่งนางเกดได้ทําพินัยกรรมยกให้แก่นายหมื่นเพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยหลักแล้วเงินจํานวน 300,000 บาท ย่อม ตกได้แก่นายหมีนในฐานะผู้รับพินัยกรรม ส่วนนายพันและนายแสนซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งไม่ได้รับประโยชน์จาก พินัยกรรมถือว่าเป็นการถูกตัดมิให้รับมรดกโดยปริยายตามมาตรา 1608 วรรคท้าย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายหมื่น ได้ทําหนังสือสละมรดกของนางเกดในฐานะผู้รับพินัยกรรมมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ถือว่าเป็นการสละมรดก โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น ข้อกําหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงตกไป จึงต้องนําเงินมรดก ทั้งหมดจํานวน 300,000 บาท ไปแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1698 (3), 1699 ประกอบ มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง

สําหรับทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนางเกด ได้แก่ นายพัน นายหมื่น และนายแสน ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1618 โดยนายหมื่นแม้จะสละมรดกในฐานะผู้รับ พินัยกรรม แต่ก็ยังคงมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมอยู่ และเมื่อทั้ง 3 คน เป็นทายาทโดยธรรมใน ลําดับเดียวกัน จึงมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ คนละ 100,000 บาท ตามมาตรา 1633

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายพันได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายพันจึงไม่อาจ รับมรดกของนางเกด และเมื่อนายพันมีบุตรคือนางสาวเพ็ญซึ่งนายพันได้ให้การรับรองโดยให้การอุปการะมาโดยตลอด และเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ดังนั้น นางสาวเพ็ญจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายพันในการรับมรดกของนางเกด ตามมาตรา 1627 มาตรา 1639 และมาตรา 1643

ดังนั้น มรดกทั้งหมดของนางเกดคือเงินสด 300,000 บาท จึงตกได้แก่ นายหมื่น นายแสน และนางสาวเพ็ญในฐานะผู้รับมรดกแทนที่นายพัน คนละ 100,000 บาท

สรุป

มรดกของนางเกด 300,000 บาท ตกได้แก่ นางสาวเพ็ญ นายหมื่น และนายแสน คนละ 100,000 บาท

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!