POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 “สงคราม คือ การต่อสู้ระหว่างคู่ปรปักษ์” เป็นคํากล่าวของใคร

(1) Quincy Wright

(2) Carl von Clausewitz

(3) Hans J. Morgenthau

(4) Karl Marx

(5) Kenneth Waltz

ตอบ 1 หน้า 102 นักวิชาการได้ให้ความหมายของ “สงคราม” ดังนี้

1 ควินซี ไรท์ (Quincy Wright) กล่าวว่า สงคราม คือ การต่อสู้ระหว่างคู่ปรปักษ์

2 คาร์ล วอน คลอสวิทซ์ (Cart Von Clausewitz) กล่าวไว้ในหนังสือ On War ว่า สงคราม คือ การกระทําที่รุนแรงซึ่งมุ่งบังคับให้ศัตรูกระทําตามความต้องการของตน และเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทําให้รัฐได้มาซึ่งอํานาจถ้าหากรัฐนั้นประสบความล้มเหลวในการใช้วิธีการอื่น ๆ

2 หลังสงครามใดที่เครื่องเทศกลายเป็นสินค้าที่สําคัญมากในยุโรป

(1) สงครามสามสิบปี

(2) สงครามนครรัฐกรีก

(3) สงครามโรมัน

(4) สงครามเพโลโพนีเซียน

(5) สงครามครูเสด

ตอบ 5 “หน้า 78 หลังสงครามครูเสด เครื่องเทศกลายเป็นสินค้าที่สําคัญมากในยุโรป นครรัฐอิตาลีกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและเป็นเมืองที่มั่งคั่ง เพราะเป็นสถานีต้นทางในการขนส่งนักรบและการค้าเครื่องเทศในย่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับเอเชียตะวันตก

3 ระบบความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรโบราณในยุโรปกับเอเชียแตกต่างกันอย่างไร (1) ไม่มีความแตกต่างกัน

(2) เอเชียมีระบบบรรณาการ

(3) ยุโรปมีระบบบรรณาการ

(4) ยุโรปเน้นความสัมพันธ์ข้ามทวีป

(5) เอเชียเน้นความสัมพันธ์ข้ามทวีป

ตอบ 2 หน้า 77, (คําบรรยาย) ความแตกต่างของระบบความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรโบราณในยุโรปกับเอเชีย คือ เอเชียโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับอาณาจักรจีนจะมี “ระบบบรรณาการ” (Tribute System) ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน (Unequal) และลดหลั่นกันตามลําดับชั้น (Hierarchical)

4 คําว่า “รัฐชาติ” เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาใด

(1) สนธิสัญญาสันติภาพที่แวร์ซายส์ ค.ศ. 1648

(2) สนธิสัญญาสันติภาพที่ปารีส ค.ศ. 1648

(3) สนธิสัญญาสันติภาพที่เวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648

(4) สนธิสัญญาสันติภาพเบาว์ริง ค.ศ. 1648

(5) สนธิสัญญาสันติภาพวอร์ซอว์ ค.ศ. 1648

ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) พัฒนาการของรัฐชาติสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่เวสต์ฟาเลีย (Peace at Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เพื่อยุติสงคราม 30 ปี ซึ่งส่งผลทําให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

5 การสํารวจดินแดนในช่วง ค.ศ. 1290 – ค.ศ. 1522 เมืองใดเป็นมหาอํานาจ  (1) อังกฤษ และดัชต์

(2) อิตาลี และกรีก

(3) ฝรั่งเศส และดัชต์

(4) สเปน และโปรตุเกส

(5) เยอรมนี และรัสเซีย

ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) การสํารวจดินแดนในช่วง ค.ศ. 1290 – ค.ศ. 1522 สเปนและโปรตุเกสต่างแข่งขันกันค้นหาเส้นทางเดินเรือใหม่ ๆ โดยสเปนค้นพบเส้นทางเดินเรือผ่านมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก-แปซิฟิก ส่วนโปรตุเกสค้นพบเส้นทางเดินเรือเลียบชายฝั่งแอฟริกา เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียผ่านช่องแคบมะละกา จึงทําให้สเปนและโปรตุเกสกลายเป็นมหาอํานาจในช่วงเวลาดังกล่าว

6 การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ

(1) การใช้เครื่องจักรในการผลิต

(2) การใช้หุ่นยนต์ในการผลิต

(3) การใช้นิวเคลียร์ในการผลิต

(4) การใช้สื่อในการผลิต

(5) การใช้โลหะในการผลิต

ตอบ 1 หน้า 79 – 81 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรก และผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด

1 การปฏิวัติการค้า

2 ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม

3 การแข่งขันของมหาอํานาจในยุโรปทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร

7 ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 2

(2) สงครามครูเสด

(3) การล่าอาณานิคม

(4) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

(5) สงครามเย็น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 สงครามโลกครั้งที่ 1 แบ่งเป็นกี่ฝ่าย อะไรบ้าง

(1) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มเอเชีย และกลุ่มยุโรป

(2) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มเหนือ และกลุ่มใต้

(3) สองฝ่าย ได้แก่ อเมริกา และสหภาพโซเวียต

(4) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มพันธมิตร และกลุ่มอักษะ

(5) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มพันธมิตรไตรภาคี และกลุ่มสัมพันธมิตร

ตอบ 5 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี – ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ด้าน โดยสงครามได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1918 ซึ่งกลุ่มพันธมิตรไตรภาคีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงคราม

9 ประเทศใดเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

(2) อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี

(3) เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย

(4) เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

(5) เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และออตโตมาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

10 สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะ

(1) สหภาพโซเวียตโจมตีฮาวาย

(2) ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

(3) เยอรมนีโจมตีลอนดอน

(4) อังกฤษโจมตีหาดนอร์มังดี

(5) อิตาลีโจมตีมอสโก

ตอบ 2 หน้า 86, (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้าที่สุดโดยตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากที่ญี่ปุ่น บุกโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่หมู่เกาะฮาวาย

11 ประเทศใดที่อยู่ฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) สหภาพโซเวียต

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เยอรมนี

(5) ฮังการี

ตอบ 1 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945) เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต เรา อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา

2 ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

12 ประเทศใดอยู่ฝ่ายเดียวกับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) เยอรมนี

(2) บัลแกเรีย

(3) อังกฤษ

(4) เกาหลี

(5) ญี่ปุ่น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 จุดกําเนิดของสงครามเย็นคือข้อใด

(1) Nixon Doctrine

(2) Truman Doctrine

(3) Kennedy Doctrine

(4) Bush Doctrine

(5) Johnson Doctrine

ตอบ 2 หน้า 87 – 88, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มโลกเสรีประชาธิปไตย หรือกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกาและกลุ่มโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือกลุ่มตะวันออก นําโดยสหภาพโซเวียต โดยจุดกําเนิดของสงครามเย็นเกิดจากการประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ในปี ค.ศ. 1947 ของประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman)แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรป

14 สงครามเย็นสิ้นสุดลงเพราะ

(1) สหรัฐอเมริกาชนะสงครามเวียดนาม

(2) สหรัฐอเมริกาโจมตีสหภาพโซเวียต

(3) สหรัฐอเมริกายึดครองเยอรมนี้สําเร็จ

(4) สหภาพโซเวียตล่มสลาย

(5) สหภาพโซเวียตแพ้สหรัฐอเมริกาในสงครามกัมพูชา

ตอบ 4 หน้า 90, คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง มีดังนี้

1 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ได้ประกาศใช้นโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost) ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1986 2 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตจนทําให้กลุ่มตะวันออกล่มสลายลง

3 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ประกาศยุบตัวเองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1991

4 การประกาศจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (CIS) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายโดยสิ้นเชิง และทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

15 สงครามฟอล์กแลนด์ในปี ค.ศ. 1982 จัดเป็น

(1) สงครามป้องกันตนเอง

(2) สงครามตัวแทน

(3) สงครามแบบจํากัด

(4) สงครามกลางเมือง

(5) สงครามลงมือโจมตีก่อน

ตอบ 3 หน้า 103, (คําบรรยาย) สงครามแบบจํากัด (Limited War) หมายถึง สงครามที่คู่ต่อสู้จํากัดจํานวนอาวุธ ชนิดอาวุธ จํานวนทหาร ขอบเขตของสมรภูมิ (สนามรบ) และความมุ่งหมาย ทางการเมืองหรือวัตถุประสงค์ทางทหารในการต่อสู้ ได้แก่

สงครามเกาหลี (1950 – 1953)

สงครามเวียดนาม (1964 1975)

สงครามอิรัก-อิหร่าน (1980 – 1988)

สงครามฟอล์กแลนด์ (1982)

สงครามอ่าวเปอร์เซีย (1991)

สงครามอัฟกานิสถาน (2001)

สงครามอิรัก (2003) และสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์

16 การโฆษณาชวนเชื่อ คือ

(1) Propaganda

(2) Advertisement

(3) Marketing

(4) Platform

(5) Tirade

ตอบ 1 หน้า 109 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เป็นการใช้แผนการโดยอาศัยสื่อมวลชนซึ่งกําหนดขึ้นเพื่อให้มีผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สําหรับในกิจการ ระหว่างประเทศ รัฐดําเนินการโฆษณาชวนเชื่อเนื่องจากรัฐต้องการที่จะสร้างอิทธิพลต่อ ทัศนคติหรือต่อการกระทําทางการเมืองของกลุ่มที่เป็นเป้าหมายหรือของรัฐอื่น ๆ และเพื่อบีบบังคับหรือโน้มน้าว จูงใจให้รัฐอื่น ๆ ดําเนินนโยบายตามที่รัฐตนต้องการ

17 กลุ่มก่อการร้ายใดที่ต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์

(1) IS

(2) Hezbollah

(3) IRA

(4) MNLF

(5) Hamas

ตอบ 5 หน้า 115 กลุ่มก่อการร้ายที่ต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ ได้แก่ องค์การปลดปล่อย ปาเลสไตน์ (PLO) และกลุ่มฮามาส (Hamas)

18 ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ

(1) Dialogue

(2) Negotiation

(3) Treaty

(4) Document

(5) Declaration

ตอบ 3, 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), ข้อตกลง (Agreement), กติกาสัญญา (Pact), กฎบัตร (Charter), ปฏิญญา (Declaration), สัตยาบัน (Ratification), บันทึกความเข้าใจ(Memorandum of Understanding) เป็นต้น

19 การเจรจาต่อรอง คือ

(1) Dialogue

(2) Negotiation

(3) Treaty

(4) Document

(5) Declaration

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) คือ กระบวนการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีเพื่อให้เกิดการประนีประนอม พยายามหาข้อตกลงที่ยอมรับได้ของคู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการเสนอข้อแลกเปลี่ยนซึ่งนําผลประโยชน์มาให้ทั้ง 2 ฝ่าย (Win-Win)

20 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็น

(1) กฎหมายสูงสุดของทุกรัฐ

(2) กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ

(3) กฎหมายที่ทุกรัฐเกรงใจ

(4) กฎหมายที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม

(5) กฎหมายที่ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศ

ตอบ 2 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction)จึงทําให้สังคมระหว่างรัฐมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

21 เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันคือใคร

(1) Ban Ki-moon

(2) Kofi Annan

(3) Roberto Azevedo

(4) Mukhisa Kutuyi

(5) Antonio Guterres

ตอบ 5 หน้า 167, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

22 ประเทศใดที่เป็นคอมมิวนิสต์

(1) Republic of Korea

(2) Republic of the Union of Myanmar

(3) Democratic Republic of East Timor

(4) Socialist Republic of Vietnam

(5) The Independent State of Papua New Guinea

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน มี 5 ประเทศ คือ

1 สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China)

2 ลาว (Lao People’s Democratic Republic)

3 เวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

4 คิวบา (Republic of Cuba)

5 เกาหลีเหนือ (Democratic People’s Republic of Korea)

23 ประเทศใดที่ได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย

(1) Republic of Korea

(2) Socialist Republic of Vietnam

(3) Democratic Republic of East Timor

(4) Republic of the Union of Myanmar

(5) The Independent State of Papua New Guinea

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ติมอร์-เลสเต หรือติมอร์ตะวันออก (Democratic Republic of East Timor)เป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ภายหลังจากที่โปรตุเกส เจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป โดยอินโดนีเซียได้รวมติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศ และในปี ค.ศ. 1999 ติมอร์ตะวันออกได้รับอิสรภาพจากอินโดนีเซีย โดยประกาศ เอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

24 Brexit คือ

(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

(2) อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

(3) องค์การระหว่างประเทศ

(4) ขบวนการก่อการร้าย

(5) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Brexit มาจากคํา 2 คํา คือ Britain หมายถึง อังกฤษ และ Exit หมายถึง ออก ดังนั้น Brexit จึงหมายถึง การที่อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผล อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2019

25 อดีตผู้อํานวยการองค์การการค้าโลกที่เป็นคนไทยคือใคร

(1) อานันท์ ปันยารชุน

(2) ศุภชัย พานิชภักดิ์

(3) สุรินทร์ พิศสุวรรณ

(4) ถนัด คอมันตร์

(5) แผน วรรณเมธี

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คนไทยที่มีบทบาทเด่นในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร) เคยได้รับเลือก ว่า ให้เป็นประธานสมัชชาแห่งสหประชาชาติในสมัยประชุมที่ 11 ระหว่างปี ค.ศ. 1956 – ค.ศ. 1957

2 นายพจน์ สารสิน เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคนแรกขององค์การ SEATO

3 ดร.ถนัด คอมันตร์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการผลักดันให้เกิดอาเซียนขึ้นในปี ค.ศ. 1967 จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งอาเซียน”

4 นายอานันท์ ปันยารชุน เคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปสหประชาชาติ

5 ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อํานวยการหรือเลขาธิการขององค์การการค้าโลกระหว่างปี ค.ศ. 2002 – ค.ศ. 2005

6 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการของสมาคมอาเซียนระหว่างปีค.ศ. 2008 – ค.ศ. 2012

26 กฎบัตรสหประชาชาติมีกี่มาตรา

(1) 110

(2) 109

(3) 99

(4) 108

(5) 111

ตอบ 5 หน้า 150, 227 – 285, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 19 หมวด 111 มาตรา เช่น หมวด 6 ได้มอบอํานาจให้สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ดําเนินการระงับข้อขัดแย้งที่ไม่รุนแรง, หมวด 7 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน เป็นต้น

27 ในปี ค.ศ. 2018 สหประชาชาติมีอายุเท่าไร

(1) 70

(2) 71

(3) 72

(4) 73

(5) 74

ตอบ 4 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (ปัจจุบันปี ค.ศ. 2018 มีอายุ 73 ปี) ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสหประชาชาติมีสมาชิก ทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

28 ดินแดนโลกใหม่ (New World) คือประเทศ

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) ฝรั่งเศส

(4) แอฟริกา

(5) อเมริกาใต้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ดินแดนโลกใหม่ (New World) เป็นดินแดนที่ถูกค้นพบโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งหมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา นั่นเอง

29 การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศระดับสากล เพื่อความร่วมมือด้านสันติภาพของมนุษยชาติเป็นแนวคิด ของนักปราชญ์ท่านใด

(1) คานท์

(2) ฮอบส์

(3) ล็อค

(4) มอร์เกนธอ

(5) สมิธ

ตอบ 1 หน้า 135, 137 138 แนวความคิดในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเกิดจากแนวคิดของนักคิดอุดมคติที่เสนอให้มีการจัดตั้ง องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือด้านสันติภาพและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติ ซึ่งนักคิดอุดมคติที่เสนอแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ อีรัสมสมุนดุส (Erasmus Mundus), วิลเลียม เพนน์ (William Penn), แซงต์ ปีแยร์ (Saint Pierre), เอมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) และของ ชาค รุสโซ (Jean Jacque Rousseau)

30 การแก้ไขปัญหาสันติภาพในยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศใดมีบทบาทมากที่สุด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) สหภาพโซเวียต

(5) จีน

ตอบ 3 หน้า 86, 141, (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาสันติภาพในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีบทบาทสําคัญในการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 เพื่อเป็นกลไกสําคัญในการสถาปนาสันติภาพและความมั่นคงของโลก

31 เลขาธิการคนแรกของสันนิบาตชาติคือ

(1) เจมส์ ฟาราเดย์

(2) เจมส์ ดรัมมอนด์

(3) เจมส์ มอร์แกน

(4) เจมส์ วิลเลียมสัน

(5) เจมส์ มิล

ตอบ 2 หน้า 138 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยมีเลขาธิการคนแรกคือ เซอร์เจมส์ อีริค ดรัมมอนด์และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

32 ใครเป็นผู้ให้กําเนิดหลักการกําหนดเจตจํานงของตนเอง

(1) วิลสัน

(2) วิลเลียมสัน

(3) เวลสัน

(4) วิลล์

(5) วิลเลี่ยม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการ Self-Determination หรือการกําหนดเจตจํานงของตนเอง เกิดขึ้นจากแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกาที่ต้องการ จะยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 และเสริมสร้างสันติภาพของโลก โดยหลักการนี้ได้ปรากฏครั้งแรก ในหลัก 14 ประการของประธานาธิบดีวิลสัน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงหลักการนี้ ก็ถูกนําไปใช้อ้างอิงในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ในหมวด 1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 1514 เป็นต้น

33 สหประชาชาติดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักประการ

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 4 หน้า 143 สหประชาชาติดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักการสําคัญ 4 ประการ คือ

1 หลักการว่าด้วยความเสมอภาคของสมาชิก

2 หลักการว่าด้วยการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี

3 หลักการว่าด้วยความมั่นคงร่วม

4 หลักการเคารพอํานาจอธิปไตย

34 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญกี่องค์กร

(1) 4

(2) 3

(3) 7

(4) 5

(5) 6

ตอบ 5 หน้า 143, 166 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญ 6 องค์กร คือ เ1 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ

2 คณะมนตรีความมั่นคง

3 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม

4 คณะมนตรีภาวะทรัสตี

5 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

6 สํานักงานเลขาธิการสหประชาชาติ

35 สมัชชามีองค์กรย่อยในการดําเนินงานตามประเด็นปัญหาในรูป “คณะกรรมการ” สําหรับประเด็นด้านกฎหมายเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ

(1) 7

(2) 8

(3) 6

(4) 5

(5) 4

ตอบ 3 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีองค์กรย่อยที่เรียกว่า “คณะกรรมการ” ทําหน้าที่ช่วยดําเนินงานตามประเด็นปัญหา ประกอบด้วย 6 คณะกรรมการ ดังนี้

1 คณะกรรมการที่ 1 รับผิดชอบปัญหาการเมือง และปัญหาที่คุกคามความมั่นคงและสันติภาพของโลก

2 คณะกรรมการที่ 2 รับผิดชอบปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง

3 คณะกรรมการที่ 3 รับผิดชอบปัญหาสังคมและมนุษยธรรม

4 คณะกรรมการที่ 4 รับผิดชอบปัญหาดินแดนในภาวะทรัสตีและดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง

5 คณะกรรมการที่ 5 รับผิดชอบปัญหาการบริหารงานภายในองค์การระหว่างประเทศและงบประมาณ

6 คณะกรรมการที่ 6 รับผิดชอบปัญหากฎหมาย

36 กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา ได้กําหนดว่าการลงคะแนนเสียงในสมัชชาให้ถือหลักมติส่วนใหญ่ 2 ใน 3และเสียงส่วนใหญ่ธรรมดา

(1) 16

(2) 18

(3) 19

(4) 20

(5) 25

ตอบ 2 หน้า 145 กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 18 ได้กําหนดให้การลงคะแนนเสียงในสมัชชาสหประชาชาติให้ถือหลักมติส่วนใหญ่ 2 ใน 3 และเสียงส่วนใหญ่ธรรมดา ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ นับจากจํานวนสมาชิกที่เข้าประชุมและลงคะแนนเสียงเท่านั้น โดยผู้ที่งดออกเสียงไม่มีผลต่อการนับคะแนน

37 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีสมาชิกที่ประเภท

(1) 15

(2) 5

(3) 7

(4) 11

(5) 2

ตอบ 5 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2 สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในวาระคราวละ 2 ปี

38 ในกรณีปัญหาที่กระทบสันติภาพและความมั่นคงของโลก คณะมนตรีความมั่นคงสามารถดําเนินมาตรการบังคับได้ตามหมวด..ของกฎบัตรสหประชาชาติ

(1) 8

(2) 9

(3) 10

(4) 7

(5) 11

ตอบ 4 หน้า 146, 233 235 ในกรณีเกิดปัญหาที่กระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถดําเนินมาตรการบังคับได้ตามหมวด 7 ของ กฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหมวดที่กําหนดวิธีดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน (ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ)

39 ปัจจุบันกองกําลังรักษาสันติภาพปฏิบัติการในทวีปใดมากที่สุด

(1) แอฟริกา

(2) เอเชีย

(3) ตะวันออกกลาง

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออก

ตอบ 1 หน้า 150, (คําบรรยาย) กองกําลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ เป็นกองกําลังทหารที่รัฐสมาชิกส่งไปช่วยเหลือในภารกิจขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการตัดสินใจส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจใน พื้นที่ที่มีปัญหาด้านสันติภาพตามที่รัฐสมาชิกร้องขอ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ปฏิบัติภารกิจในระยะ 6 เดือน และอาจต่อเวลาออกไปอีกได้เป็นกรณี ๆ ไป โดยในปัจจุบันกองกําลังรักษาสันติภาพปฏิบัติการในทวีปแอฟริกามากที่สุด

40 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิกที่ประเทศ

(1) 45

(2) 48

(3) 49

(4) 54

(5) 47

ตอบ 4 หน้า 154 155 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ กาล การแสดง ซึ่งเลือกโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี และทุก ๆ ปี 1 ใน 3 ของสมาชิกจะต้องจับสลากออก แต่อาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่ได้

41 ข้อใดมิใช่ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ

(1) ILO

(2) ICAO

(3) UPU

(4) WHO

(5) UNDP

ตอบ 5 หน้า 156, 169 ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นจากข้อตกลงระหว่างรัฐบาลโดยมีความรับผิดชอบในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ เป็นองค์การที่มีหน้าที่ภารกิจการทํางานที่เกี่ยวพันกับองค์การสหประชาชาติ แต่มิใช่องค์การย่อยหรือหน่วยงานในกํากับขององค์การสหประชาชาติ โดยจะทํางานร่วมกับ องค์การสหประชาชาติภายใต้การประสานงานและความรับผิดชอบของคณะมนตรีเศรษฐกิจ และสังคม เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF),สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

42 ปฏิญญาสหัสวรรษแห่งสหประชาชาติวางแนวทางการปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์กประการ

(1) 5

(2) 61

(3) 7

(4) 8

(5) 9

ตอบ 3 หน้า 156 – 157 ปฏิญญาสหัสวรรษแห่งสหประชาชาติ (The United Nation Millennium Declaration) วางแนวทางการปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ 7 ประการ ดังนี้

1 สันติภาพ ความมั่นคง การลดอาวุธ

2 การพัฒนาและแก้ไขปัญหาความยากจนให้จบสิ้น

3 การอนุรักษ์รักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

4 สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล

5 การปกป้องผู้อ่อนแอโดยการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

6 การสนองตอบความต้องการพิเศษของแอฟริกาในทุกด้าน

7 การเพิ่มประสิทธิภาพของสหประชาชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวโลกต่อสู้ความยากจน

43 กฎบัตรสหประชาชาติมีกี่มาตรา

(1) 110

(2) 111

(3) 109

(4) 108

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

44 เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาว

(1) ฝรั่งเศส

(2) อังกฤษ

(3) อิตาลี

(4) โปรตุเกส

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

45 ธนาคารโลกตั้งอยู่ที่ใด

(1) วอชิงตัน ดี.ซี.

(2) ปารีส

(3) ลอนดอน

(4) บรัสเซลส์

(5) เวียนนา

ตอบ 1 หน้า 170, (คําบรรยาย) ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นมา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูประเทศที่เสียหายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมี สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีนายจิม ยอง คิม (Jim Yong Kim) ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี เป็นประธานธนาคารโลกคนปัจจุบัน

46 สหภาพแอฟริกามีสมาชิกที่ประเทศ

(1) 45

(2) 54

(3) 48

(4) 50

(5) 49 )

ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) สหภาพแอฟริกา (African Union : AU) เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยปรับปรุงโครงสร้างมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity : OAU) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2018) มากมาย มีสมาชิกทั้งหมด 54 ประเทศ

47 สหประชาชาติกําหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนสําหรับสังคมโลกในกี่ประเด็น

(1) 17

(2) 18

(3) 16

(4) 15

(5) 14

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สหประชาชาติได้กําหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เพื่อให้สังคมโลกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในระยะเวลา 15 ปี (ค.ศ. 2015 – ค.ศ. 2030) ซึ่งประกอบด้วย 17 เป้าหมาย เช่น การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียมกัน การจัดการน้ําและสุขาภิบาล เป็นต้น

48 Sustainable Development Goals ของสหประชาชาติกําหนดเวลากปีในการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน

(1) 10

(2) 15

(3) 12

(4) 16

(5) 20

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 กําหนดเวลาตามกฎหมายที่อังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปคือปีอะไร

(1) 2018

(2) 2019

(3) 2020

(4) 2021

(5) 2022

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

50 ประธานาธิบดีอินเดียคนปัจจุบันนับถือศาสนาใด

(1) คริสต์

(2) อิสลาม

(3) ฮินดู

(4) วูดู

(5) พุทธ

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินเดียคนปัจจุบัน คือ นายราม นาถ โกวินท์ (Ram Nath Kovind) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียที่นับถือศาสนาพุทธ

51 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(1) เป็นทางการ

(2) เข้มข้นรุนแรง

(3) ห่างเหิน

(4) เป็นเอกเทศ

(5) ความร่วมมือ

ตอบ 4 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ

1 ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

2 ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง

3 ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

 

52 ข้อใดไม่ใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor)

(1) อาเซียน

(2) กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace)

(3) บริษัทซัมซุง (Samsung)

(4) กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย (ISIS)

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actor) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล, รัฐมนตรีต่างประเทศ, ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต), กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลและกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2 ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อาเซียน, องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น กลุ่มกรีนพีซ องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน, บรรษัทข้ามชาติ หรือธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCS/TNCS) เช่น บริษัท CP บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota บริษัท Samsung, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม AI Qaeda กลุ่ม PLO กลุ่มเบอร์ซาตู และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ 53 การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศใด

(1) ญี่ปุ่น – ไต้หวัน

(2) ไทย – ญี่ปุ่น

(3) สหรัฐอเมริกา – จีน

(4) ไต้หวัน – เกาหลีใต้

(5) สหรัฐอเมริกา – อินเดีย

ตอบ 3 หน้า 89 การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 ในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียต เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียต โดยการติดต่อกับสหรัฐอเมริกาด้วยการทูตปิงปอง โดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

54 ข้อใดไม่ใช่ความสัมพันธ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นข้อตกลงลายลักษณ์อักษร

(1) กติกาสัญญา

(2)สนธิสัญญา

(3) ปฏิญาณ

(4) สัตยาบัน

(5) บันทึกความเข้าใจ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

55 ในสมัยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช สหรัฐอเมริกาได้ใช้กําลังทางทหารในการโจมตี ประเทศใด

(1) อิหร่าน

(2) เกาหลีเหนือ

(3) อัฟกานิสถาน

(4) ลิเบีย

(5) ซีเรีย

ตอบ 3 หน้า 5, 7 ในสมัยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) สหรัฐอเมริกาได้ใช้กําลังทางทหารโจมตีอัฟกานิสถานในปี ค.ศ. 2001 และอิรักในปี ค.ศ. 2003

56 วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวทางใดเป็นแนวทางที่ศึกษาตามแนวทางอํานาจ (Power Approach)

(1) Marxism

(2) Democratic Peace

(3) Political Realism

(4) Classical Liberalism

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 11 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางอํานาจ (Power Approach) เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสํานัก Political Realism ในสหรัฐอเมริกา โดยแนวทางอํานาจเชื่อว่าอํานาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือ การเมืองระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศ ก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจของรัฐ ดังนั้นอํานาจจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ

57 นักวิชาการคนใดที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Approach)

(1) Karl Deutsch

(2) Adam Smith

(3) Raymond Aron

(4) Halford Mackinder

(5). Benedict Anderson

ตอบ 4 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การทําความเข้าใจการเมืองระหว่างประเทศโดยพิจารณาลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศว่ามีผลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐอย่างไร ซึ่งนักวิชาการ แนวภูมิรัฐศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ (Halford Mackinder) และคริสตอฟ (Kristof) นอกจากนี้ยังมีนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวภูมิรัฐศาสตร์อีกท่าน ได้แก่ นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman)

58 ในวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อใดไม่ใช่การศึกษาในแนวทางพฤติกรรมที่มีการใช้วิธีการ และเทคนิคทางสังคมศาสตร์

(1) การทดลอง

(2) การสร้างทฤษฎี

(3) การมุ่งดําเนินการ

(4) การสังเกต

(5) การวัด

ตอบ 3 หน้า 12 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวทางพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกต สภาพตามความเป็นจริงและด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้อง มากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้วิธีการและเทคนิคทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้ง ปัญหาและสมมุติฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ผสมผสานกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การวัด การทดลอง และการสร้างทฤษฎี

59 ข้อใดคือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น

(1) JTETA

(2) TUFTA

(3) JTEPA

(4) JTA

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) เป็นความตกลงที่ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่นแบบรอบด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการจัดทําความตกลงการค้าเสรี ซึ่งลงนามโดยอดีตนายกรัฐมนตรีไทย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007

60 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

(1) ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

(2) ความสามารถของประชากร

(3) การขยายอํานาจของประเทศ

(4) เกียรติภูมิของประเทศ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์ของชาติ ได้แก่

1 ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

2 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

3 การขยายอํานาจของประเทศ

4 เกียรติภูมิของประเทศ

61 ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (Landlocked Country) คือประเทศใด

(1) เบลารุส

(2) ลัตเวีย

(3) โซมาเลีย

(4) กัมพูชา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 34, (คําบรรยาย) ปัจจุบันประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ได้แก่ ลาว ยูกันดา มาลี ไนเจอร์ ชาด มองโกเลีย โบลิเวีย เบลารุส ปารากวัย เป็นต้น

62 ประเทศใดเป็นประธานของอาเซียนในปี ค.ศ. 2018

(1) ไทย

(2) อินโดนีเซีย

(3) ลาว

(4) เวียดนาม

(5) สิงคโปร์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประธานอาเซียน จะอยู่ในตําแหน่งคราวละ 1 ปี และจะหมุนเวียนกันในประเทศสมาชิกอาเซียนตามตัวอักษรชื่อประเทศในภาษาอังกฤษตัวแรก ซึ่งประเทศที่เป็นประธานของอาเซียนในปี ค.ศ. 2018 ก็คือ สิงคโปร์

63 องค์การที่นําชาวยิวกลับไปยังดินแดนปาเลสไตน์ได้แก่องค์การใด

(1) องค์การสหประชาชาติ

(2) องค์การไซออนส์

(3) G-20

(4) องค์การเมอโคซัว (MercOSur)

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 37 ในปี พ.ศ. 613 ชาวยิวถูกพวกโรมันขับไล่ออกจากปาเลสไตน์ ทําให้ต้องอพยพเร่ร่อนไปตามที่ต่าง ๆ ของโลกโดยไม่มีประเทศของตนเอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2460 องค์การไซออนส์ ได้นําชาวยิวกลับไปยังดินแดนปาเลสไตน์ ทําให้ชาวยิวทุกมุมโลกได้อพยพกลับไปตั้งหลักแหล่งในปาเลสไตน์อีกครั้ง

64 สงคราม 6 วัน เป็นการรบระหว่างใคร

(1) สหรัฐอเมริกา – กลุ่มประเทศอาหรับ

(2) อิรัก อิหร่าน

(3) สหรัฐอเมริกา – อิรัก

(4) อิสราเอล – กลุ่มประเทศอาหรับ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 7 – 8, 38, (คําบรรยาย) สงคราม 6 วัน เป็นการรบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มประเทศอาหรับ ระหว่างวันที่ 5 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 โดยอิสราเอลได้รับชัยชนะและได้ครอบครองดินแดน ต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศอาหรับ เช่น อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน เป็นต้น

65 ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนใดที่ไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการเป็นคนแรก

(1) บารัค โอบามา

(2) แฮรี่ ทรูแมน

(3) จอห์น เอฟ. เคนเนดี้

(4) ริชาร์ด นิกสัน

(5) ลินดอน บี. จอห์นสัน

ตอบ 4 หน้า 89, (คําบรรยาย) ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่ไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1972 การเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในครั้งนั้นได้นําไปสู่การปรับความสัมพันธ์ระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญในการเมืองโลกในยุคสงครามเย็น

66 หนังสือที่เขียนโดยใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวอํานาจเล่มสําคัญ คือ Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace เขียนโดยใคร

(1) นิโคลัส สปิคแมน

(2) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ

(3) ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์

(4) เรมอนด์ อารอน

(5) เฮนรี่ คิสซิงเจอร์

ตอบ 2 หน้า 11 หนังสือที่เขียนโดยใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวอํานาจ ได้แก่

1 Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace ของฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau).

2 Power and International Relations ของไอนิส แอล. เคลาด์ จูเนียร์ (Iris L. Cloude, JR.)

67 สหรัฐอเมริกายึดถือแนวนโยบายต่างประเทศแบบใดจึงไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ ที่ตั้งขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ดุลแห่งอํานาจ

(2) การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐนั้น

(3) โดดเดี่ยวตนเอง

(4) แบบระบบความร่วมมือ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 31, (คําบรรยาย) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกามีนโยบายต่างประเทศ แบบสันโดษหรือโดดเดี่ยวตนเองจึงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองโลก ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิก ขององค์การสันนิบาตชาติ โดยหวังจะไม่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามภูมิภาคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ ภายในทวีปอเมริกา แต่ในความจริงปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอํานาจไม่สามารถ หลีกเลี่ยงการยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองโลกได้ เพราะไม่เล่นการเมืยง แต่การเมืองกลับมาเล่นทําให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าเกี่ยวข้องในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

68 ใครไม่เคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

(1) ฮิลลารี คลินตัน

(2) เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน

(3) แมเดลิน อาลไบรต์

(4) โคลิน เพาเวล

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลตามตัวเลือกดังกล่าวล้วนเคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คนปัจจุบัน คือ นายไมค์ ปอมเปโอ ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อจากนายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2018

69 ข้อใดเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ตัวแสดงใช้ในยามที่เกิดสงคราม

(1) การกว้านซื้อสินค้า

(2) การให้ความช่วยเหลือ

(3) การทุ่มสินค้า

(4) กําแพงภาษี

(5) การงดส่งสินค้าออกไปขาย

ตอบ 1 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้าการงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา

2 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามที่เกิดสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝั่ง การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสงครามและยามสันติ ได้แก่ นโยบายทางการค้าการกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

70 ข้อใดถูกต้องสําหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก

(1) คําตัดสินของศาลโลกย่อมถือเป็นที่สุด ไม่มีอุทธรณ์ไม่มีฎีกา

(2) หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามคําชี้ขาดของศาล ศาลโลกจะเป็นผู้จัดการบังคับให้มีการดําเนินการตามผลคําตัดสิน

(3) ตั้งขึ้นครั้งแรกพร้อมการเกิดขึ้นขององค์การสหประชาชาติ

(4) มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1, 4 หน้า 42 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICU) หรือศาลโลก เป็นองค์กรตุลาการที่ทําหน้าที่ตัดสินคดีระหว่างรัฐกับรัฐ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกพร้อมกับ การเกิดขึ้นขององค์การสันนิบาตชาติ และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สําหรับการตัดสินคดีของศาลโลกในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศและประเทศคู่กรณี ได้ยินยอมนําเรื่องขึ้นศาลโลกนั้น คําตัดสินของศาลโลกย่อมถือเป็นที่สุด ไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา โดยคู่กรณีต้องปฏิบัติตามคําชี้ขาดของศาล หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคําชี้ขาด อีกฝ่ายหนึ่งต้องยอมใช้สิทธิให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการบังคับตามผลคําตัดสิน

71 การใช้เครื่องมือทางทหารที่ถูกต้องที่ได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรม ตัวแสดงในเวทีระหว่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามมาตราใดในกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ

(1) 50, 49

(2) 52, 53

(3) 51, 42

(4) 52, 41

(5) 50, 40

ตอบ 3 หน้า 99, (คําบรรยาย) ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาตินั้น การใช้เครื่องมือทางทหารที่ถูกต้อง ได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะต้องดําเนินการตามมาตรา 51 ที่กําหนดให้รัฐสมาชิกสามารถใช้กําลังป้องกันตนเองได้ หากมีการโจมตีด้วยกําลังอาวุธจากประเทศผู้รุกราน และจะต้องรายงานให้คณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทราบ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่งคงมีมติตามมาตรา 42ในการใช้กองกําลังรักษาสันติภาพเข้าช่วยเหลือประเทศที่ถูกรุกราน

72 การใช้เครื่องมือทางทหารข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การป้องปราม

(2) การป้องกัน

(3) การย้ำเจตจํานง

(4) การสาธิตอํานาจ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้เครื่องมือทางทหาร มีดังนี้

1 การป้องปราม

2 การป้องกัน

3 การสาธิตอํานาจ (Demonstration) เช่น การซ้อมรบ

4 การย้ำเจตจํานง (Assertion)

73 ข้อใดถูกต้องสําหรับองค์การสหประชาชาติ

(1) องค์การนิรโทษกรรมสากลเป็นหน่วยงานในกํากับขององค์การสหประชาชาติ (2) ชาติสมาชิกให้เงินสนับสนุน

(3) เคยมีชาวเอเชียเพียงคนเดียวที่เป็นชาวเกาหลีใต้ ดํารงตําแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

(4) สมาชิกมีส่วนร่วมส่งกองกําลังเข้าไปช่วยเหลือในภารกิจขององค์การสหประชาชาติ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2, 4 หน้า 22, 167 168, (คําบรรยาย) องค์การนิรโทษกรรมสากล เป็นองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) ที่มีบทบาทสําคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก มิใช่หน่วยงานที่อยู่ในกํากับ ขององค์การสหประชาชาติ ส่วนงบประมาณในการดําเนินงานขององค์การสหประชาชาตินั้นมาจาก ชาติสมาชิกทั้ง 193 ประเทศให้เงินสนับสนุน โดยประเทศที่ให้เงินสนับสนุนองค์การสหประชาชาติ มากที่สุดก็คือ สหรัฐอเมริกา และชาวเอเชียที่เคยดํารงตําแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ มี 2 คน คือ นายอู ถัน (u Thant) ชาวพม่า และนายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ (ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ)

74 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สาเหตุหนึ่งที่ทําให้อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนีเป็นเพราะเยอรมนี ใช้กําลังทหารยึดประเทศใด

(1) โปแลนด์

(2) ฝรั่งเศส

(3) เบลเยียม

(4) เนเธอร์แลนด์

(5) ออสเตรีย

ตอบ 1 หน้า 26, 83, 85, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 โดยจุดเริ่มต้นของสงครามเกิดจากฮิตเลอร์ ผู้นําเยอรมนี ได้ใช้กําลังทหารเข้ายึดครองโปแลนด์ ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การยึดครองโปแลนด์ของเยอรมนี้เป็นการละเมิดข้อตกลงมิวนิค ค.ศ. 1938 ที่เยอรมนีเคยตกลงว่าจะไม่รุกรานดินแดนใด ๆ อีก ทําให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้อง ประกาศสงครามกับเยอรมนีและนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด ส่วนในสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี้ เพราะเยอรมนี้ใช้กําลังทหารเข้ายึดครองเบลเยียม)

75 ตัวแสดงใดที่ไม่เกี่ยวข้องในวิกฤติการณ์คิวบาใน ค.ศ. 1962

(1) Warsaw Pact

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) สหภาพโซเวียต

(4) องค์การสหประชาชาติ

(5) คิวบา

ตอบ 1 หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบาในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบา ทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจาก คิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

76 ปัจจุบันสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (UN) มีทั้งสิ้นจํานวนกี่ประเทศ

(1) 190

(2) 193

(3) 195

(4) 198

(5) ไม่มีคําตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

77 ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติล่าสุดคือประเทศใด

(1) อับคาเซีย

(2) เซาท์ออสเซเทีย

(3) เซาท์ซูดาน

(4) ติมอร์-เลสเต

(5) มอนเตเนโกร

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

78 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

(2) การล่มสลายของยูโกสลาเวีย

(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม

(4) การปลดปล่อยอาณานิคม

(5) สงครามโลกครั้งที่ 2

ตอบ 5 หน้า 189 190 สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีดังนี้

1 การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่ง ของรัฐอธิปไตยนั้นแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม

2 การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนดการปกครองด้วยตนเอง

3 การล่มสลายของยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต

79 สาเหตุสําคัญของการลดลงของสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ มาจากสาเหตุใด

(1) การยินยอมรวมตัวกันโดยสมัครใจ

(2) การเข้ายึดครองรัฐอธิปไตยอื่นโดยการใช้กําลัง

(3) การให้ชาติต่าง ๆ กําหนดการปกครองด้วยตนเอง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 189 สาเหตุสําคัญของการลดลงของสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ คือ การที่รัฐอธิปไตยได้รวมตัวกันเป็นหน่วยการเมืองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการเห็นพ้องต้องกัน และการยินยอมรวมตัวกันโดยสมัครใจ หรือโดยการที่รัฐเข้มแข็งรัฐหนึ่งเข้าทําการยึดครองรัฐอธิปไตยอื่นโดยการใช้กําลัง ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ภายหลังการทําสงครามระหว่างกัน

80 จํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร

(1) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

(2) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ช้าลง

(3) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มไม่แน่นอน

(4) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มคงที่

(5) จํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มลดลง

ตอบ 2 หน้า 190 ในอนาคตอัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ช้าลง ทั้งนี้เพราะดินแดนในส่วนต่าง ๆ ของโลกที่เคยตกอยู่ใต้อํานาจอาณานิคมได้รับเอกราชกันเกือบหมดแล้ว

81 สิ่งสําคัญที่สุดในการกําหนดลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐแต่ละรัฐในสังคมระหว่างประเทศคืออะไร

(1) ทรัพยากรธรรมชาติ

(2) ผลประโยชน์แห่งชาติ

(3) การมีอิทธิพล

(4) อํานาจอธิปไตย

(5) ผู้นําประเทศ

ตอบ 2 หน้า 192 ผลประโยชน์แห่งชาติ เป็นสิ่งสําคัญที่สุดในการกําหนดลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐแต่ละรัฐในสังคมระหว่างประเทศ กล่าวคือ ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐเข้ากันได้ หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลักษณะความสัมพันธ์จะปรากฏออกมาในรูปของความร่วมมือกัน (Cooperation) แต่ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐขัดแย้งกันหรือไม่อาจปรับเข้าหากันได้ ลักษณะความสัมพันธ์จะปรากฏออกมาในรูปของความขัดแย้งกัน (Conflict)

82 ความไม่เท่าเทียมกันของรัฐต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศแสดงให้เห็นผ่านช่องทางใด

(1) รัฐมหาอํานาจกับรัฐเล็ก ๆ

(2) ความร่วมมือและความขัดแย้ง

(3) การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างรัฐ

(4) การแข่งขันกันระหว่างรัฐ

(5) ปัญหาระหว่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 191 ความไม่เท่าเทียมกันของรัฐต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศมักจะแสดงออกมาในลักษณะที่เรียกว่า รัฐมหาอํานาจ (Great Powers) กับรัฐเล็ก ๆ (Small Powers) ซึ่งข้อพิจารณา ที่ใช้เป็นมาตรฐานของการจัดแบ่งในลักษณะนี้ตามความเห็นของ เค. เจ. โฮลสตี (K. J. Holsti) ก็คือ ความสามารถของรัฐต่าง ๆ ที่จะสร้างพันธะกับรัฐอื่น ๆ ว่ามีขอบเขตแค่ไหน และรัฐนั้น ๆ สามารถจะปฏิบัติตามพันธะนั้น ๆ ได้แค่ไหน

83 กรณีเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมปลาย “มาจอริตี้ สโตนแมน ดักลาส” ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันวาเลนไทน์ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เกิดขึ้นในรัฐใดต่อไปนี้

(1) แคลิฟอร์เนีย

(2) ไมอามี

(3) ฟลอริดา

(4) เทกซัส

(5) เวอร์จิเนีย

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันวาเลนไทน์ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมปลาย“มาจอริตี้ สโตนแมน กลาส” ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก

84 การจัดแบ่งประเภทของรัฐตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี ใช้เกณฑ์ใดในการแบ่งประเภทของรัฐ

(1) การพัฒนาทางอุตสาหกรรม

(2) อํานาจของรัฐโดยรวม

(3) กําลังทางทหาร

(4) การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

(5) ระดับการมีอิทธิพลของรัฐต่อรัฐอื่น

ตอบ 1 หน้า 200 201 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่งประเภทของรัฐโดยใช้ “การพัฒนาทางอุตสาหกรรม” เป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม

2 ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่

3 ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่

85 “ชาติเล็ก” ในความหมายของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือชาติในข้อใด

(1) ชาติที่มีระดับเศรษฐกิจขนาดเล็ก

(2) ชาติที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ

(3) ชาติที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก

(4) ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม

(5) ชาติที่มีพลเมืองจํานวนน้อยไม่ถึง 10 ล้านคน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

86 สิ่งที่ “โจเซฟ สตาลิน” อดีตผู้นําสหภาพโซเวียตให้ความคํานึงถึงในเรื่องของอํานาจของรัฐ คือ

(1) ความอยู่ดีกินดีของประชากรในรัฐ

(2) ทรัพยากรธรรมชาติ

(3) การทหาร

(4) พื้นที่ดินแดนของรัฐ

(5) การเมืองภายในรัฐที่เข้มแข็ง

ตอบ 3 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูปของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

87 นอกจากกองทหารที่เข้มแข็งแล้ว “นิโคโล มาเคียเวลลี” ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “The Prince”ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การมีเศรษฐกิจที่ดี

(2) ประชาชนอยู่ดีกินดี

(3) การมีกฎหมายที่ดี

(4) การมีผู้ปกครองที่ดี

(5) การค้าขายกับต่างประเทศ

ตอบ 3 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดี และกองทหารที่เข้มแข็ง

88 ทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า จนกลายเป็นเหตุเกิดโศกนาฏกรรมในหลายประเทศในแอฟริกาที่เรียกว่า “Blood Diamond” คืออะไร

(1) ทองแดง

(2) สังกะสี

(3) ทับทิม

(4) เพชร

(5) ทองคํา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) Blood Diamond หมายถึง เพชรสีเลือด เป็นคําที่ใช้เรียกเพชรผิดกฎหมายที่มีการลักลอบค้าโดยกลุ่มกบฏในประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย แอลโกลา และคองโก

89 ฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการทางสันติหรือวิธีทางการทูตในการดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ

(1) เหยี่ยว

(2) นกอินทรีย์

(3) นกเขา

(4) นกพิราบ

(5) นกนางนวล

ตอบ 4 หน้า 210 การดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในกรณีความขัดแย้งในอินโดจีนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายเหยี่ยว (Hawks) ได้แก่ เสนาธิการและกระทรวงกลาโหมต้องการให้สหรัฐอเมริกาใช้กําลังทางทหาร

2 ฝ่ายนกพิราบ (Doves) ได้แก่ นักการเมืองและกระทรวงการต่างประเทศ ต้องการให้สหรัฐอเมริกาใช้วิธีการทางสันติหรือวิธีการทางการทูต

90 การที่รัฐมหาอํานาจให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ดินแดนใดดินแดนหนึ่งมากกว่าดินแดนส่วนอื่นในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรียกว่าอะไร

(1) เขตผลประโยชน์

(2) เขตแห่งความสนใจ

(3) เขตอิทธิพล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 202 การที่รัฐมหาอํานาจให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ดินแดนใดดินแดนหนึ่งมากกว่าดินแดนส่วนอื่น ในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรียกว่า เขตผลประโยชน์หรือเขตแห่ง ความสนใจ (Sphere of Interest) หรือเขตอิทธิพล (Sphere of Influence) โดยปกติ เขตผลประโยชน์นั้นจะอยู่ในดินแดนใกล้กับรัฐมหาอํานาจเอง หรืออาจเป็นดินแดนอื่นซึ่งรัฐคิดว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อผลประโยชน์ของตน

91 ประเทศกลุ่ม “BRICS” แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างอํานาจในสังคมการเมืองระหว่างประเทศอย่างไร

(1) การมีศูนย์อํานาจแห่งเดียว

(2) การมีศูนย์อํานาจหลายศูนย์

(3) การไม่มีศูนย์อํานาจ

(4) การมีสองศูนย์อํานาจแบบไม่เคร่งครัด

(5) การมีสองศูนย์อํานาจแบบเคร่งครัด

ตอบ 2 หน้า 204 205, (คําบรรยาย) การมีศูนย์อํานาจหลายศูนย์ (Multipolar Structure) คือ การที่รัฐมหาอํานาจมีบทบาทและอิทธิพลในการเมืองระหว่างประเทศไม่แตกต่างกันมากนัก โดยรัฐต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงความผูกพันและจะพยายามปรับปรุงการกระจายอํานาจ ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา เช่น ประเทศกลุ่ม “BRICS” เป็นต้น

92 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน คือ

(1) นายกษิต ภิรมย์

(2) นายดอน ปรมัตถ์วินัย

(3) นายวีรชัย พลาศรัย

(4) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

(5) นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน คือ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2015

93 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐคนปัจจุบัน คือ

(1) นายไมค์ ปอมเปโอ

(2) นายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน

(3) นายจอห์น เคร์รี

(4) พลเอกโคลิน เพาเวส

(5) นางฮิลลารี คลินตัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

94 คําว่า “ใจถึง” และ “ใจไม่ถึง” และใครที่ใจไม่ถึงต้องหลบไป เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบใด

(1) ขู่ให้กลัว

(2) การทําให้เสียหน้า

(3) การทูตเรือปืน

(4) การเอาใจ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 218 นโยบายการขู่ให้กลัว (Chickening Policy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศที่ประเทศคู่พิพาทต่างแสดงความเอาจริงเอาจังที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นว่าผลประโยชน์ที่ ขัดแย้งกันนั้นมีความสําคัญต่อผลประโยชน์สําคัญของชาติตน เพื่อที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามยอมแพ้ ในความขัดแย้งนั้น ดังนั้นการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบนี้จึงมีคําว่า “ใจถึง” และ “ใจไม่ถึง” และใครที่ใจไม่ถึงต้องหลบไป เพราะถ้าทั้งสองฝ่ายต่างใจถึงจะทําให้เกิดสงคราม เช่น การดําเนิน นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในกรณีวิกฤติการณ์คิวบาในปีค.ศ. 1962 เป็นต้น

95 นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ที่กล่าวว่า “เราไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป” คือใคร

(1) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ

(2) เค. เจ. โฮลสตี

(3) ซูซาน สเตรท

(4) โรเบิร์ต กิลพิน

(5) เคนเน็ธ วอลซ์

ตอบ 1 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า เราไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบาย ต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทางทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสําคัญด้วย

96 เพลงเค-ป๊อป รวมถึงซีรีส์เกาหลีที่วัยรุ่นไทยชื่นชอบ เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศผ่านสิ่งใด

(1) อํานาจหลัก

(2) สื่อสารสนเทศ

(3) อํานาจละมุน

(4) วัฒนธรรม

(5) ข้อมูลข่าวสาร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจละมุนหรืออํานาจอ่อนหรืออํานาจนุ่มนวล (Soft Power) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อํานาจอันชาญฉลาด” (Smart Power) เป็นอํานาจที่ทําให้เกิดการยอมรับ ปฏิบัติตามโดยสมัครใจ เต็มใจ ยินยอมพร้อมใจ ตัวอย่างการดําเนินนโยบายต่างประเทศโดยใช้อํานาจละมุน เช่น เพลงเจ-ป๊อปของญี่ปุ่น เพลงเค-ป๊อปและซีรีส์เกาหลี เป็นต้น

97 การดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในกรณีวิกฤติการณ์คิวบา เป็นการ ดําเนินนโยบายต่างประเทศอย่างไร

(1) การขู่ให้กลัว

(2) การรักษาหน้า

(3) การตีสองหน้า

(4) การทูตเรือปืน

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 218 นโยบายการรักษาหน้า (Face-Saving Policy) ของประเทศคู่กรณี เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศที่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่กรณีพิพาทนั้นเกิดความตึงเครียด จนถึงขั้นจะใช้กําลังระหว่างกัน แต่ประเทศคู่กรณีไม่ปรารถนาที่จะให้กรณีพิพาทนั้นเป็นไป ในลักษณะของความรุนแรงจึงยอมให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม โดยฝ่ายที่ได้เปรียบ จะไม่บีบบังคับฝ่ายที่ยอมด้วยความก้าวร้าว แต่จะพยายามหาทางออกในลักษณะที่ทําให้ฝ่ายที่ยอม ไม่เสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของชาติ เช่น การดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในกรณีวิกฤติการณ์คิวบาในปี ค.ศ. 1962 เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ)

98 การใช้กําลังทหารบีบบังคับประเทศที่อ่อนแอกว่า เป็นการใช้นโยบายต่างประเทศแบบใด แบบที่ฝรั่งเศสใช้กับสยามในกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 คือ

(1) การทูตเรือปืน

(2) รบและเจรจา

(4) ทําให้เสียหน้า

(5) การตีสองหน้า

ตอบ 1 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับ ให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการรังแก ชาติที่อ่อนแอกว่า เช่น กรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับให้สยาม (ไทย) ยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

99 เหตุการณ์ ร.ศ. 112 สยามยอมเสียดินแดนส่วนหนึ่งให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบใด

(1) นโยบายตีสองหน้า

(2) นโยบายโอนอ่อนผ่อนตาม

(3) นโยบายเพื่อนที่ดี

(4) นโยบายเด็กดี

(5) นโยบายเอาใจ

ตอบ 5 หน้า 216 217 นโยบายแห่งการเอาใจ (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมายของนโยบายนี้ดําเนินการ อันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการ ด้วยความหวังว่ารัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจ และยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษ ยอมรับการครอบครองซูเดเทนของเยอรมนี้ในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์แลนกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่สยามยอมเสียดินแดนส่วนหนึ่งให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้น

100 ประเทศใดเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกในฤดูหนาวในปี ค.ศ. 2018

(1) เกาหลีใต้

(2) แคนาดา

(3) จีน

(4) ญี่ปุ่น

(5) รัสเซีย

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) เกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 23 หรือเรียกว่า “พย็องชั่ง เกมส์” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018

 

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 สนธิสัญญาฉบับใดมีความเกี่ยวข้องกับกําเนิดรัฐชาติสมัยใหม่

(1) สนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome)

(2) อนุสัญญาแห่งกรุงเวียนนา (Vienna Convention)

(3) สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty)

(4) สนธิสัญญาปารีส (Paris Treaty)

(5) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

ตอบ 5 หน้า 79, (คําบรรยาย) พัฒนาการของรัฐซาติสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเสีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เพื่อยุติสงคราม 30 ปี ซึ่งส่งผลทําให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

2 ข้อใดต่อไปนี้คือลักษณะพื้นฐานในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(1) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy)

(2) ปัจเจกบุคคล (Individual)

(3) องค์รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign Power)

(4) ความเป็นเอกราช (Independence)

(5) กลไกอํานาจกลาง (Central Body)

ตอบ 1 หน้า 2, 196 – 197 ลักษณะพื้นฐานสําคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน คือ มีลักษณะเป็นอนาธิปไตย (Anarchy) ที่ปราศจากองค์กรกลางที่มีอํานาจสูงสุดที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทําให้รัฐแต่ละรัฐจะต้องยึดถือการรักษาผลประโยชน์ของตนและเสริมสร้างฐานะแห่งอํานาจเป็นหลัก

3 ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของคําว่า “อนาธิปไตย”

(1) การจับกลุ่มแบ่งขั้วของประเทศด้อยพัฒนา

(2) การมีองค์รัฏฐาธิปัตย์ทําหน้าที่ปกป้องประชาชน

(3) การปกครองในระบอบประชาธิปไตย

(4) การได้รับเอกราชของประเทศโลกที่สาม

(5) การปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติ

(1) ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเกียรติภูมิของชาติ

(2) สามารถนําไปสู่ความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็ได้

(3) การแสวงหาความกินดีอยู่ดี

(4) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของชาติ

(5) เป็นวัตถุประสงค์ที่รัฐใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ตอบ 1 หน้า 24 – 30 ผลประโยชน์ของชาติ ถือเป็นสิ่งสําคัญลําดับแรกในการที่รัฐจะใช้ในการดําเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งอาจนําไปสู่ความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็ได้ โดยปัจจัยที่เป็นตัวกําหนดผลประโยชน์ของชาติ จะประกอบด้วย

1 ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ เช่น การสร้างดุลอํานาจในสมัยรัชกาลที่ 5 จะทําให้รักษาเอกราชไว้ได้ หรือการยื่นคําขาดของสหรัฐอเมริกาให้สหภาพโซเวียตถอนจรวดขีปนาวุธออกจากคิวบา

2 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เช่น การมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศของญี่ปุ่น 3 การขยายอํานาจของประเทศ เช่น การล่าอาณานิคมของอังกฤษไปยังดินแดนต่าง ๆ

4 เกียรติภูมิของประเทศ เช่น การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลก

5 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “รัฐ”

(1) ชุมชนที่จัดตั้งทางการเมืองที่ตั้งขึ้นอย่างถาวร

(2) การเป็นอิสระและปราศจากการควบคุมของรัฐอื่นภายในเขตแดนนั้น ๆ

(3) การเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ต้องมีครบอย่างน้อย 3 องค์ประกอบขึ้นไป

(4) ห้วงอากาศเหนือพื้นดินถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ

(5) ประชากรของรัฐหนึ่ง ๆ อาจมีเชื้อชาติเดียวหรือหลายเชื้อชาติก็ได้

ตอบ 3 หน้า 20 – 21 รัฐ หมายถึง ชุมชนที่จัดตั้งทางการเมืองที่ตั้งขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองที่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีอํานาจอธิปไตยในการจัดการปกครอง เป็นอิสระ จากการควบคุมของรัฐอื่นภายในเขตแดนหนึ่ง ๆ และจะต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ จึงจะเป็นรัฐที่สมบูรณ์ได้ดังนี้

1 ประชากร ซึ่งอาจมีเชื้อชาติเดียวหรือหลายเชื้อชาติก็ได้

2 ดินแดน เช่น พื้นดิน พื้นน้ำ และห้วงอากาศ

3 รัฐบาล

4 อํานาจอธิปไตย

 

ตั้งแต่ข้อ 6 – 10 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD)

(2) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund)

(3) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)

(4) องค์การสหประชาชาติ (United Nations)

(5) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization)

 

6 องค์การใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอบ 3 หน้า 139 140, (คําบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้น ในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษา ความมั่นคงและสร้างสันติภาพ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมทั้งการป้องกันการก่อ สงครามระหว่างประเทศ และการใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีแทนการใช้การรุกราน และการทําสงคราม โดยองค์การสันนิบาตชาติได้ยุติการทํางานลงในปี ค.ศ. 1941 และ ได้สิ้นสุดสภาพการเป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 โดยโอนทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดไปให้แก่องค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน

7 ปัจจุบันคือธนาคารโลก (World Bank)

ตอบ 1 หน้า 170, 222 ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูประเทศที่เสียหายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในระยะแรกจะช่วยเหลือผ่านแผนการมาร์แชล (Marshal Plan) ตามแนวทางของสหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้คิดแผนการนี้ขึ้น

8 ในอดีตทําหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประเทศที่เสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านแผนการมาร์แชล (Marshall Plan)

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

9 ในช่วงแรกของการก่อตั้งใช้ชื่อว่า “ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า” (General Agreement on Tariffs and Trade)

ตอบ 5 หน้า 174 175, (คําบรรยาย) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนการค้าเสรีระหว่างประเทศที่เป็นธรรม ซึ่งก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 โดยมีพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย ภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้ามาเป็นสมาชิก ได้แก่ อัฟกานิสถาน (29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016) สําหรับประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกลําดับที่ 59 ของ WTO ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง

10 องค์การระหว่างประเทศที่เปรียบเสมือน “แม่” ขององค์การระหว่างประเทศทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 163, 169 องค์การสหประชาชาติ (United Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและมีความสําคัญมากที่สุดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย UN นี้ จะเปรียบเสมือน “แม่” ขององค์การระหว่างประเทศทั้งมวล เนื่องจากเป็นองค์การหลักที่มีกิจการหลากหลายด้าน และมีการก่อตั้งทบวงชํานาญการพิเศษเพื่อดําเนินงานต่าง ๆ จํานวนมาก

11 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(1) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

(2) บรรษัทข้ามชาติ (MNCs)

(3) องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch)

(4) นครวาติกัน (Vatican City)

(5) กลุ่มเบอร์ซาตู (United Front for the Independence of Pattani)

ตอบ 4 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actor) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล, รัฐมนตรีต่างประเทศ, ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต), กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลและกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2 ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประชาคมอาเซียน, องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น Greenpeace องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน, บรรษัทข้ามชาติหรือธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCS/TNCs) เช่น บริษัท CP บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม AI Qaeda กลุ่ม PLC กลุ่มเบอร์ซาตู และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 12 – 17. จงใช้ตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติดังต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) เกียรติภูมิของประเทศ

(2) การขยายอํานาจของประเทศ

(3) การรักษาสนธิสัญญาตามข้อกําหนดของมหาอํานาจ

(4) ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

(5) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

12 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

13 การรักษาเอกราชในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตัวอย่างของผลประโยชน์แห่งชาติด้านใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

14 การยื่นคําขาดของสหรัฐอเมริกาให้สหภาพโซเวียตถอนอาวุธจรวดออกจากคิวบาในวิกฤติการณ์คิวบา (Cuban Missile Crisis)

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

15 การพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศญี่ปุ่น

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

16 บทบาทของอังกฤษในการยึดครองอินเดียเป็นอาณานิคม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

17 การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของประเทศต่าง ๆ ในการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

18 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ที่มาของการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

(1) สภาพดินฟ้าอากาศ

(2) กลุ่มอิทธิพลในประเทศ

(3) ผู้มีอํานาจทางการเมือง

(4) ประชามติ

(5) ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ

ตอบ 1 หน้า 31 ที่มาของการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่

1 ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของแนวนโยบายรัฐ

2 ผู้มีอํานาจทางการเมืองของประเทศ

3 ประชามติหรือกลุ่มอิทธิพลในประเทศ

19 นโยบายต่างประเทศที่มีเหตุผลหมายถึงนโยบายที่มีลักษณะใด

(1) การนํามาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของประเทศ

(2) การนํามาซึ่งผลประโยชน์แก่ประเทศให้ได้พอประมาณ

(3) การก้าวพ้นขอบเขตความสามารถของประเทศ

(4) การทุ่มเทค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าที่มี

(5) การยอมเข้าสู่ความเสี่ยงเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ

ตอบ 1 หน้า 32 นโยบายต่างประเทศที่ดี คือนโยบายที่มีเหตุผลและจะต้องนํามาซึ่งผลประโยชน์ของประเทศตนให้ได้มากที่สุด โดยนําไปสู่สันติภาพและความมั่นคงของประเทศในที่สุด

ตั้งแต่ข้อ 20. – 25, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กําแพงภาษี (Tariff)

(2) การกีดกันทางการค้า (Boycott)

(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย (Embargo)

(4) การทุ่มสินค้า (Dumping)

(5) การปิดล้อมฝั่ง (Blockade)

 

20 เป็นตัวอย่างของเครื่องมือทางเศรษฐกิจในยามสงคราม

ตอบ 5 หน้า 57 การปิดล้อมฝั่ง (Blockade) เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในยามสงครามและมักใช้ควบคู่กับเครื่องมือทางด้านการทหาร ซึ่งวิธีการนี้จะดําเนินการโดยพยายามควบคุม ทรัพยากรที่สําคัญทางยุทธศาสตร์ เพื่อทําให้อีกฝ่ายอ่อนแอลงจากการขาดแคลนทรัพยากรที่มาจากภายนอกประเทศและต้องยอมแพ้ไปในที่สุด

21 การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้าบางชนิดหรือทั้งหมดของประเทศหนึ่ง ๆ เข้ามาในประเทศ

ตอบ 2 หน้า 53 การกีดกันทางการค้า (Boycott) คือ การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้าบางชนิดหรือทั้งหมดของประเทศที่รัฐบาลมุ่งกีดกันทางการค้าเข้าประเทศ แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่ได้ทําการค้าโดยตรง กับประเทศที่ถูกกีดกันทางการค้าก็จะบังคับให้เอกชนที่ทําการค้ากับประเทศนั้นต้องขออนุญาตในการนําเข้าสินค้า หากฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ

22 การเก็บภาษีเพื่อป้องกันสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศถูกกระทบจากการแข่งขันจากประเทศอื่น

ตอบ 1 หน้า 53 กําแพงภาษี (Tariff) หมายถึง การเก็บภาษีที่ส่งออกหรือนําเข้าประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐหรือเพื่อป้องกันสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศถูกกระทบกระเทือนจากการแข่งขันกับสินค้านําเข้าจากประเทศอื่น ๆ

23 การห้ามขายสินค้าบางประเภทหรือทั้งหมดไปยังประเทศใดประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศก็ได้

ตอบ 3 หน้า 54 การงดส่งสินค้าออกไปขาย (Embargo) เป็นการห้ามขายสินค้าบางประเภทหรือทั้งหมดไปยังประเทศ.ดประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศก็ได้ ซึ่งการงดสั่งสินค้าออกไปขายนี้ก็เพื่อสร้างความอ่อนแอให้แก่ประเทศนั้น จนทําให้ต้องหันมาขอความช่วยเหลือในที่สุด

24 ความพยายามในการควบคุมทรัพยากรเพื่อทําให้อีกฝ่ายอ่อนแอลงอันเนื่องมาจากไม่มีทรัพยากรจากนอกประเทศ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

25 การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ถูกมากเพื่อกดดันให้คู่แข่งถอนตัวออกจากตลาด

ตอบ 4 หน้า 55 การทุ่มสินค้า (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาถูกมากหรือขายในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพื่อช่วยให้สินค้าที่ตกค้างอยู่สามารถขายยังต่างประเทศได้และอาจทําให้คู่แข่งขันต้องอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด

26 ข้อใดสะท้อนลักษณะของยุคกลางในยุโรปได้อย่างชัดเจน

(1) มีอํานาจการปกครองแบบจักรวรรดิและศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม

(2) การเดินเรือเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่

(3) เหตุผลเป็นมาตรวัดของสรรพสิ่ง

(4) กษัตริย์มีอํานาจสูงสุดในการปกครองดินแดน

(5) เมืองเป็นศูนย์กลางของการค้า

ตอบ 2 หน้า 78 หลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ยุโรปก็เข้าสู่ยุคกลางหรือยุคมืด (Middle Age) โดยอํานาจของสถาบันทางศาสนามีเหนือกว่าสถาบันทางการเมือง และการปกครองจะเป็นแบบระบบศักดินา (Feudalism) ที่อํานาจตกอยู่ในมือขุนนางซึ่งในยุคนี้เองที่ยุโรปเริ่มมีการออกเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่ด้วยการเดินเรือ

27 สนธิสัญญาที่เป็นต้นกําเนิดรัฐสมัยใหม่เป็นผลจากสงครามอะไร

(1) สงครามสามสิบปี

(2) สงครามร้อยปี

(4) สงครามอังกฤษ-สเปน

(5) มหาสงคราม

ตอบ 1 หน้า 79 สงครามศาสนาเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1618 จนกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปนานถึง 30 ปี จนถูกขนานนามว่า “สงคราม 30 ปี” และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1648 ด้วยการลงนาม ในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace at Westphalia) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกําเนิดชุมชนทางการเมืองรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “รัฐ-ชาติ” (Nation-State)

28 ความขัดแย้งในเรื่องใดเป็นเหตุที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1648

(1) ทรัพยากร

(2) ศาสนา

(3) แหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร

(4) เส้นทางการค้าในแม่น้ำ

(5) มุมมองทางศิลปะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

29 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(1) ระบบการผลิตแบบยังชีพ

(2) การใช้เครื่องจักรในการผลิต

(3) เริ่มต้นที่ฝรั่งเศส

(4) ใช้แรงงานจากสัตว์เป็นพื้นฐาน

(5) ใช้เวลาในการผลิตเพิ่มขึ้น

ตอบ 2 หน้า 79 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม

30 กลุ่มพันธมิตรไตรภาคี (Triple Alliance) ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่

(1) เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี ออตโตมาน

(2) ออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศส สเปน

(3) อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส

(4) อังกฤษ รัสเซีย ออตโตมาน

(5) ฝรั่งเศส เซอร์เบีย อิตาลี

ตอบ 1 หน้า 82 83, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – 1918โดยมีสมรภูมิรบเฉพาะในยุโรป ซึ่งแตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีสมรภูมิรบอยู่ทั่วโลก โดยสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี  ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 กลุ่มสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

31 เหตุการณ์ในข้อใดเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 1 มากที่สุด

(1) เยอรมนีประกาศผนวกดินแดนสุเดนเตน

(2) การโจมตีอ่าวเพิร์ล

(3) ฝรั่งเศสรุกรานรัสเซีย

(4) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

(5) การประกาศสงครามของออสเตรีย-ฮังการีต่อเซอร์เบีย

ตอบ 5 หน้า 83 สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่ออาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี และพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ จากกาฟรีโล ปรินซิป เด็กหนุ่มชาวเซอร์เบีย ซึ่งวิกฤติการณ์ดังกล่าวนําไปสู่การประกาศสงคราม ของออสเตรีย-ฮังการีต่อเซอร์เบีย และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1

32 อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ เป็นมกุฎราชกุมารของประเทศใด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) ออตโตมาน

(4) ออสเตรีย-ฮังการี

(5) เซอร์เบีย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงจากการประชุมสันติภาพเมื่อ ค.ศ. 1919 ที่ประเทศใด

(1) อังกฤษ

(2) เยอรมนี

(3) ฝรั่งเศส

(4) อิตาลี

(5) ออสเตรีย

ตอบ 3 หน้า 85, (คําบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ก็ได้มีการจัดประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1919 โดยผลการประชุมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ตกลง ให้จัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้น เพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างรัฐ งบประมาณ ปัญหาเศรษฐกิจรวมทั้งสนธิสัญญาระหว่างรัฐ

34 ข้อใดไม่ใช่ประเทศที่อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied) ในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) สหภาพโซเวียต

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

(5) อิตาลี

ตอบ 5 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945) เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา

2 ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

35 ประเทศที่เป็นผู้ประกาศวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา คือ

(1) จีน

(2) สหภาพโซเวียต

(3) อินโดนีเซีย

(4) อินเดีย

(5) ญี่ปุ่น

ตอบ 5 หน้า 86 ญี่ปุ่นเริ่มเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยการบุกแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931 และเสนอแผนการสถาปนา “วงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” (Prosperity of the East Asia) รวมไปถึงโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ในปี ค.ศ. 1941 และยกพลขึ้นบกในไทยและมลายา ซึ่งการกระทําของญี่ปุ่นครั้งนี้ถือเป็นการเปิดสงครามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

36 ประเทศใดไม่ได้เป็นผู้ยึดครองเยอรมนีหลังจากที่เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) จีน

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) อังกฤษ

(4) สหภาพโซเวียต

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนและถูกยึดครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงครามทั้ง 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

 

ตั้งแต่ข้อ 37. – 39. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) สนธิสัญญาวอร์ซอ

(2) แผนการมาร์แชล

(3) สนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

(4) ระบบโลกแบบสองขั้วอํานาจ

(5) การทูตปิงปอง

 

37 การสร้างกลุ่มพันธมิตรทางทหารของสหภาพโซเวียต

ตอบ 1 หน้า 88 ในช่วงของสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจแก่ยุโรปเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและขัดขวางการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ โดยการจัดตั้ง องค์การความร่วมมือทางทหารเพื่อการป้องกันร่วมกันหรือสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ส่วนสหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกก็ได้ร่วมกันจัดตั้ง สภาเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจร่วมกัน (COMECON) และองค์การร่วมมือทางทหารหรือสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ขึ้น

38 การสร้างกลุ่มพันธมิตรทางทหารในยุโรปของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 การสานสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น

ตอบ 5 หน้า 89 ลักษณะการคานอํานาจของประเทศจีนในช่วงสงครามเย็น คือ การสานสัมพันธ์ติดต่อกับประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย “การทูตปิงปอง” (Pingpong Diplomacy) เนื่องจาก สหภาพโซเวียตถือเป็นภัยที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานั้น จีนจึงได้พยายามหาวิธีการคานอํานาจสหภาพโซเวียต

40 ข้อใดจับคู่ถูกต้อง

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1 – การประชุมที่เวียนนา

(2) สงครามสามสิบปี – สนธิสัญญาแวร์ซายส์

(3) สงครามเย็น – สันนิบาตชาติ

(4) สงครามโลกครั้งที่ 2 – สหประชาชาติ

(5) สงครามนโปเลียน – สนธิสัญญากรุงโรม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 41, 50,

หากข้อความใดถูกให้เลือกตอบ (1)

หากข้อความใดผิดให้เลือกตอบ (2)

 

41 นโยบายต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์แห่งชาติ ตอบ 1 หน้า 207 นโยบายต่างประเทศ หมายถึง หลักการกว้าง ๆ ซึ่งรัฐหนึ่งวางไว้เพื่อกําหนดและควบคุมการกระทําของตนในสภาพแวดล้อมของสังคมระหว่างประเทศ โดยที่นโยบายต่างประเทศ มีจุดมุ่งหมายที่จะรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ ดังนั้นนโยบายต่างประเทศ จึงเปรียบเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างอํานาจแห่งชาติกับผลประโยชน์แห่งชาติ ยิ่งรัฐมีอํานาจการต่อรองมากเท่าไหร่ก็จะนํามาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติมากเท่านั้น

42 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ เห็นว่า อาจแยกนโยบายต่างประเทศและนโยบายภายในได้อย่างชัดเจน

ตอบ 2 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ ได้เคยให้ความเห็นว่า ความเกี่ยวกันระหว่างนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐไม่สามารถแยกกันได้ เนื่องจากการดําเนินนโยบายต่างประเทศ ในปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางทหารเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนประกอบสําคัญด้วย

43 ผู้กําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐต่าง ๆ คือ รัฐบาล

ตอบ 1 หน้า 210 ในรัฐต่าง ๆ ผู้ที่มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศก็คือ รัฐบาลซึ่งเป็นผู้แสดงบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศในนามของรัฐ

44 ในกรณีที่รัฐมีการปกครองแบบรัฐสภาหรือแบบประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติมีบทบาทในการรับรองนโยบายต่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 210, (คําบรรยาย) การกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐที่มีการปกครองแบบรัฐสภาหรือประธานาธิบดีนั้น ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้มีบทบาทในการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐและฝ่ายนิติบัญญัติจะเป็นผู้ให้การรับรองโดยการลงมติไว้วางใจหรือไม่ต่อนโยบายของฝ่ายบริหาร

45 นโยบายต่างประเทศเพื่อการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมมักเป็นแนวนโยบายของรัฐขนาดเล็ก

ตอบ 2 หน้า 211 นโยบายเพื่อการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอํานาจและทรัพยากรธรรมชาติในสังคม ระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติของตน โดยประเทศที่มักจะใช้นโยบายลักษณะนี้จะเป็นประเทศมหาอํานาจนั่นเอง

46 การดําเนินการทางการทูตและการเจรจาเป็นเครื่องมือทางสันติ (Peaceful Means) ของการดําเนินนโยบายต่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 212 เครื่องมือทางสันติ (Peaceful Means) หมายถึง การดําเนินการทางการทูตและการเจรจา ซึ่งเป็นความพยายามของรัฐที่จะใช้กลอุบายความเฉลียวฉลาด รอบคอบและความชํานาญทางการทูต เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ของนโยบายต่างประเทศของรัฐ

47 มาตรการทางทหารเป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศด้วยเครื่องมือทางการใช้กําลัง (Use of Force) ตอบ 1 หน้า 214 เครื่องมือทางการใช้กําลัง (Use of Force) หมายถึง การใช้มาตรการทางทหารในการเข้าทําสงครามเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศ ซึ่งการใช้กําลังนี้จะเป็นมาตรการขั้นต่อเนื่องของวิธีการทางสันติ

48 การที่นายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์แลน ของอังกฤษ ยอมรับการครอบครองซูเดเทนโดยเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นตัวอย่างนโยบายแห่งการเอาใจ (Appeasement Policy) อย่างหนึ่ง

ตอบ 1 หน้า 216 นโยบายแห่งการเอาใจ (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมายของนโยบายนี้ดําเนินการ อันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการ ด้วยความหวังว่ารัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจ และยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษยอมรับการครอบครองซูเดเทนของเยอรมนีในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์แลน

49 นโยบายรบและเจรจา (Hit and Talk Policy) เป็นการดําเนินนโยบายการใช้กําลังที่ไม่หวังผลของการใช้กําลังดังกล่าวต่อการเจรจาที่ดําเนินอยู่

ตอบ 2 หน้า 217 นโยบายรบและเจรจา (Hit and Talk Policy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศโดยการเอาชัยชนะในสนามรบไปต่อรองบนโต๊ะเจรจา โดยหวังว่าผลของการประชุมเจรจาจะออกมาในลักษณะที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายตนมากกว่าคู่กรณี

50 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการใช้นโยบายของชาติที่อ่อนแอกว่าตอบโต้ชาติที่แข็งแกร่งกว่า

ตอบ 2 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการรังแก ชาติที่อ่อนแอกว่า เช่น ฝรั่งเศสบีบบังคับให้ไทยยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

51 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ

(1) UN

(2) ASEAN

(3) WTO

(4) NATO

(5) Coca-Cola

ตอบ 5 หน้า 135 – 136 องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (UN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC),องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น ส่วน Coca-Cola ถือเป็นบรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Cooperation : MNCS)

52 IGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmertal Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 1 หน้า 135 136 ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations : IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐหรือตัวแทนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร

2 องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : INGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

53 INGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54 สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 2001

(2) 1980

(3) 1918

(4) 1995

(5) 1941

ตอบ 4 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด ( 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

55 สมาชิกก่อตั้งสหประชาชาติมีกี่ประเทศ

(1) 4

(2) 161

(3) 51

(4) 170

(5) 15

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

56 ประเทศใดที่เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นประเทศล่าสุด

(1) ประเทศไทย

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

57 ประเทศใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ

(1) ประเทศไทย

(2) ไต้หวัน

(3) จีน

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

58 สหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมดที่ประเทศ

(1) 150

(2) 161

(3) 15

(4) 166

(5) 193

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

59 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายและหลักการของสหประชาชาติ

(1) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติ

(4) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

(5) ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทํา

ตอบ 5 หน้า 141 142, 165 – 166 จุดมุ่งหมายและหลักการที่สําคัญขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะดําเนินมาตรการร่วมกันเพื่อป้องกันการคุกคามสันติภาพโดยใช้สันติวิธี

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

 

60 ข้อใดคือตัวแสดงที่เป็นรัฐ

(1) นปช.

(2) สายการบิน Japan Airline

(3) พรรครีพับลิกัน

(4) จังหวัดลําปาง

(5) ประเทศเวียดนาม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

 

61 ข้อใดคือองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค

(1) League of Nations

(2) International Red Cross

(3) WTO

(4) UNEP

(5) ASEAN

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

62 ข้อใดไม่ใช่องค์กรของสหประชาชาติ

(1) WHO

(2) UNDP

(3) FAO

(4) GATT

(5) NATO

ตอบ 5 หน้า 168 – 169 หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก (World Court), โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ (UNEP), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), ธนาคารเพื่อการบูรณะ และพัฒนาระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและเกษตร (FAO), องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เป็นต้น

63 องค์การการค้าโลกมีพัฒนาการมาจากองค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) GATT

(2) UNDP

(3) FAO

(4) UNEP

(5) NATO

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

64 สํานักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่เมืองใด

(1) กรุงเทพ

(2) ลอนดอน

(3) ปารีส

(4) โตเกียว

(5) นิวยอร์ก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

65 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์การก่อตั้งองค์การการค้าโลก

(1) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

(4) เป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

(5) กํากับการดําเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า

ตอบ 2 หน้า 174 วัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก มีดังนี้

1 เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

2 เพื่อกํากับการดําเนินการของประเทศ สมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 (GATT 1994)

3 เพื่อยุติหรือระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

4 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

66 WTO ย่อมาจากอะไร

(1) World Transfer Organization

(2) World Together Organization

(3) World Toilet Organization

(4) World Trade Organization

(5) Women Travel Organization

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

67 ASEAN มีประเทศสมาชิกทั้งหมดที่ประเทศ

(1) 4

(2)161

(3) 51

(4) 10

(5) 15

ตอบ 4 หน้า 180 – 181, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนาม ในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) อาเซียนมีสมาชิก ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และกัมพูชา ส่วนประเทศติมอร์-เลสเตอยู่ระหว่างขอเข้าเป็นสมาชิก

68 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของ ASEAN

(1) ประเทศไทย

(2) เวียดนาม

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) สิงคโปร์

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 องค์การสันนิบาตชาติเกิดขึ้นหลังสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามเวียดนาม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 2

(4) สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา

(5) สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

70 องค์การสหประชาชาติเกิดขึ้นหลังสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามเวียดนาม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 2

(4) สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา

(5) สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

71 ASEAN เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคใด

(1) อเมริกาเหนือ

(2) อเมริกาใต้

(3) ยุโรป

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล

(1) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่งที่มีความเสมอภาคกัน

(2) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

(3) รัฐเหล่านี้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ

(4) รัฐตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

(5) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

ตอบ 5 หน้า 159 ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มี 4 ประการ ดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) นั่นคือ สมาชิกต้องมีฐานะเป็นรัฐ เทานั้น เนื่องจากรัฐสมาชิกเหล่านี้จะมีอํานาจอธิปไตย เป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและ มีความเสมอภาคกันในการออกเสียง

2 ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

3 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และ มุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

4 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมี เครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

73 NATO เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคใด

(1) อเมริกาเหนือ

(2) อเมริกาใต้

(3) ยุโรป

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 3 หน้า 222, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความมั่นคงและส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม อังกฤษ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส ตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย โครเอเชีย และแอลเบเนีย

74 เลขาธิการสหประชาชาติในปัจจุบันคือใคร

(1) Dag Hammarskjold

(2) Antonio Guterres

(3) Boutros Boutros-Ghali

(4) Kofi Annan

(5) Ban Ki-Moon

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

75 เลขาธิการสหประชาชาติในปัจจุบันมาจากประเทศใด

(1) ประเทศไทย

(2) เวียดนาม

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) สิงคโปร์

(5) โปรตุเกส

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76 AEC จะรวมตัวอย่างเป็นทางการในเดือนอะไร

(1) มกราคม

(2) พฤษภาคม

(3) สิงหาคม

(4) กันยายน

(5) ธันวาคม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2015 กลุ่มประเทศในอาเซียน (ASEAN) จะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเป็นทางการ โดยประชาคมอาเซียนนี้จะประกอบด้วย 3 เสาหลักที่สําคัญ คือ

1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)

2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)

77 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคในข้อใดต่อไปนี้ที่กําลังอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนเพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคม

(1) NATO

(2) APEC

(3) ASEAN

(4) OAS

(5) WHO

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 องค์การระหว่างประเทศที่กําลังประสบปัญหาทางด้านการเงินและหนี้สินของประเทศสมาชิกได้แก่องค์การใด

(1) OAU

(2) OAS

(3) ASEAN

(4) SEATO

(5) EU

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) กําลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเขตยูโรโซน หรือที่เรียกว่า วิกฤตการณ์ยูโรโซน ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและ หนี้สาธารณะ โดยเริ่มต้นจากการเกิดภาวะเศรษฐกิจการเงินตกต่ําในกรีซ แล้วส่งผลกระทบลุกลาม ไปถึงภาวะเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่อยู่ในเขตยูโรโซนด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน จึงทําให้เกิดความอ่อนแอต่อฐานะเศรษฐกิจการคลังในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอย่างมาก

79 เหตุผลหลักที่มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาคเมื่อแรกเริ่มเกิดจากแรงผลักดันใดในข้อต่อไปนี้

(1) เพื่อใช้เป็นเวทีเจรจา

(2) เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง

(3) เพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน

(4) เพื่อถ่วงดุลอํานาจ

(5) เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะตัวแสดงบนเวทีโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเหตุผลหลักของการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ก็คือ เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงของมนุษยชาติ

80 องค์การระหว่างประเทศที่จัดอยู่ในประเภทเพื่อความมั่นคงและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิกคือข้อใด

(1) ASEAN

(2) UNESCO

(3) FAO

(4) NATO

(5) AU

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

81 FTA หมายถึงข้อใด

(1) เขตเศรษฐกิจพิเศษ

(2) Free on Board

(3) เขตการค้าเสรี

(4) การมีภาษีอัตราเดียวกัน

(5) Free To At

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) หรือข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป หรือเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มประเทศที่ทําข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติกับประเทศนอกกลุ่ม นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านการบริการและการลงทุนด้วย

82 การเมืองระหว่างประเทศมีการศึกษาด้านใดบ้าง

(1) การค้า

(2) การทหาร

(3) การเมือง

(4) การธนาคาร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics) หรือเรียกว่าการเมืองระหว่างชาติ (Politics Among Nations) หรือการเมืองโลก (World or Global Politics) เป็นการศึกษาการเมืองและมิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การค้า การทหาร การธนาคาร โดยให้ความสําคัญกับผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ ผลประโยชน์แห่งชาติอํานาจรัฐ และบทบาทของมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

83 อะไรคือตัวอย่างของโลกาภิวัตน์

(1) แมคโดนัล

(2) ฮัลโหลคิตตี้

(3) Facebook

(4) Line

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ยุคแรกของการเกิดโลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ สมัยจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิพาเธีย และราชวงศ์ฮั่นที่สร้างเส้นทางสายไหมเพื่อติดต่อค้าขาย ส่วนโลกาภิวัตน์ ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดนทั้งด้านภูมิศาสตร์และกาลเวลาเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การเกิดโลกาภิวัตน์จะมีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การทหาร การขนส่ง การสื่อสาร เทคโนโลยี วัฒนธรรม และการพัฒนาสังคม เช่น

1 ทําให้เกิดการหลั่งไหลของสินค้าและบริการไปยังประเทศต่าง ๆ อย่างเสรี เช่น แมคโดนัล ฮัลโหลคิตตี้

2 ทําให้ผู้คนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกทั่วโลกเสมือนไร้พรมแดน

3 ภาครัฐ ภาคเอกชน และปัจเจกบุคคลสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านช่องทางการสื่อสารทางไกล หรือที่เรียกว่า โลก Social Networks หรือโลก Social Media เช่น Facebook, Line

84 เศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความสําคัญกับการเมืองด้านใด

(1) การเจรจาและการทูต

(2) เหตุผลแห่งสงคราม

(3) การล่าอาณานิคม

(4) การพัฒนาที่ยั่งยืน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความสําคัญกับการเมืองในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 การเจรจาและการทูต

2 เหตุผลแห่งสงคราม

3 การล่าอาณานิคม

4 การพัฒนาที่ยั่งยืน

85 ข้อใดคือเป้าหมายของการศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ

(1) การเมืองในประเทศ

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) เศรษฐกิจภายในประเทศ

(4) เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics Economy : IPE) เป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการเมืองกับเศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ โดยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง ระหว่างประเทศจะให้ความสําคัญกับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยครอบคลุมการศึกษา ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ หลักการค้าเสรี กลไกราคาในตลาดโลก การเจรจา ทางการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาตัวแสดงในเวทีการเมืองโลกทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐ และตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs)

86 เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศศึกษาตัวแสดงในการเมืองโลกใดบ้าง

(1) บรรษัทข้ามชาติ

(2) รัฐ

(3) องค์การระหว่างประเทศ

(4) NGOs

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ประเทศใดมีรายได้ต่อหัวของประชากรมากที่สุดในอาเซียน

(1) สิงคโปร์

(2) กัมพูชา

(3) เวียดนาม

(4) ลาว

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า

1 อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด

2 สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีความมั่นคงทางการเงินและมีรายได้

ต่อหัวประชากรมากที่สุด

3 ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกันยาวที่สุด

4 สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

88 ประเทศใดใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

(1) ไทย

(2) อินโดนีเซีย

(3) สิงคโปร์

(4) เวียดนาม

(5) ลาว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

89 ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศล่าอาณานิคม

(1) ไทย

(2) จีน

(3) ญี่ปุ่น

(4) มาเลเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้นจึงถือว่า วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย

90 ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศใดมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก

(1) รัสเซีย

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) อินเดีย

(4) อังกฤษ

(5) จีน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น อังกฤษถือเป็นประเทศมหาอํานาจทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอันดับหนึ่งของโลก ทั้งนี้เนื่องจากอังกฤษมีสถานีการค้าและอาณานิคมทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา จนได้รับสมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์ไม่ตกดิน

91 จีนแพ้สงครามให้กับประเทศใดที่ทําให้เสียเกาะฮ่องกง

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) รัสเซีย

(3) ญี่ปุ่น

(4) อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สงครามฝิ่น (The Opium War) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1830 และยุติลงเนื่องจากกองทหารอังกฤษสามารถเอาชนะกองทัพ จีนได้ ทําให้จีนต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาไม่เสมอภาคฉบับแรกกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1842 เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพนานกิง” (The Treaty of Nanking) และถูกบีบบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่า 5 แห่งเพื่อให้คนอังกฤษได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

92 ญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคใด

(1) ยุคเอโดะ

(2) ยุคเมจิ

(3) ยุคซามูไร

(4) ยุคคามากุระ

(5) ยุคเฮอัน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในยุคเมจินั้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมโดยเข้าไปจัดการกับอุตสาหกรรมหลายประเภทในลักษณะโครงการนําร่อง เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานปั่นเส้นด้าย โรงงานน้ำตาล โรงงานเบียร์ เป็นต้น รวมทั้งนําเทคโนโลยีเครื่องจักรจากประเทศยุโรปตะวันตกมาใช้ และจ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศยุโรปตะวันตกมาถ่ายทอดความรู้อีกด้วย ซึ่งหลังจากญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมได้สําเร็จแล้วก็ทยอยขยายโรงงานต่าง ๆ ให้เอกชนรับไปดําเนินงานต่อไป

93 จีนรบกับญี่ปุ่นในช่วงราชวงศ์หมิงเพื่อช่วยประเทศใด

(1) เกาหลี

(2) ไทย

(3) เวียดนาม

(4) อิรัก

(5) อิหร่าน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในช่วงราชวงศ์หมิง เกาหลีซึ่งเป็นรัฐบรรณาการของจีนถูกญี่ปุ่นรุกรานจีนจึงส่งกําลังทหารเข้าไปช่วยเกาหลีรบกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ ซึ่งสงครามในครั้งนั้นเรียกว่า สงครามอิมจิน

94 ประเทศใดเป็นพันธมิตรกับจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) ไต้หวัน

(2) เกาหลี

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

95 ติมอร์ตะวันออกได้รับอิสรภาพจากประเทศใด

(1) มาเลเซีย

(2) ออสเตรเลีย

(3) โปรตุเกส

(4) บรูไน

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ติมอร์ตะวันออก หรือติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ภายหลังจากที่โปรตุเกสเจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป โดยอินโดนีเซียได้รวม ติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศ และในปี ค.ศ. 1999 ติมอร์ตะวันออกได้รับอิสรภาพจากอินโดนีเซีย โดยประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

96 ท่าเรือทวายมีทางไปจากจังหวัดใดในประเทศไทย

(1) ตาก

(2) เชียงราย

(3) ระนอง

(4) กาญจนบุรี

(5) ราชบุรี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ญี่ปุ่นมีข้อเสนอที่จะทําเส้นทางรถไฟจากประเทศไทยไปยังท่าเรือทวายในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดกาญจนบุรีของประเทศไทย โดยท่าเรือแห่งนี้จะเป็น ศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของอาเซียนในการเชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศอาเซียนไปยังประเทศตะวันออกกลาง ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

97 จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด

(1) หนองคาย

(2) เชียงราย

(3) เชียงใหม่

(4) นครพนม

(5) อุบลราชธานี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคายซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan-Asia Railway Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน

98 ประเทศไทยส่งออกสินค้าอะไรที่ทํารายได้ให้กับประเทศมากที่สุด

(1) น้ำมัน

(2) ยางพารา

(3) อาหาร

(4) เครื่องนุ่งห่ม

(5) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) อุตสาหกรรมรถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน ถือเป็นฐานอุตสาหกรรมสําคัญและสินค้าส่งออกที่ทํารายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด โดยมีตลาดส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น

99 ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับฟิลิปปินส์และเวียดนาม

(1) ญี่ปุ่น

(2) จีน

(3) อินโดนีเซีย

(4) บรูไน

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจํานวนมหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาท หรือความขัดแย้งกับบระเทศที่อยู่ล้อมรอบซึ่งล่าสุดก็คือ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยหมู่เกาะ ที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิในการครอบครองนั้น มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)

100 ประเทศใดมีข้อเสนอที่จะทําทางรถไฟให้ไทยไปทวายครั้งล่าสุด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลีใต้

(4) เกาหลีเหนือ

(5) สิงคโปร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

 

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การก่อตั้งเกิดเป็นระบบรัฐชาติสมัยใหม่มีต้นกําเนิดจากข้อใด

(1) สนธิสัญญาปารีส

(2) สนธิสัญญาแวร์ซายส์

(3) สนธิสัญญากรุงโรม

(4) สนธิสัญญาเวียนนา

(5) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย

ตอบ 5 หน้า 11, (คําบรรยาย) พัฒนาการของรัฐชาติสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เพื่อยุติสงคราม 30 ปี ซึ่งส่งผลทําให้ เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

2 หนังสือเรื่อง Leviathan เป็นผลงานของใคร

(1) วอลแตร์

(2) จอห์น ล็อค

(3) โธมัส ฮอบส์

(4) คาร์ล มาร์กซ์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) ผลงานของนักคิดทางการเมือง มีดังนี้

1 มาเคียเวลลี (Machiavelli) เขียนหนังสือเรื่อง “The Prince”

2 โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เขียนหนังสือเรื่อง “Leviathan”

3 รุสโซ (Rousseau) เขียนหนังสือเรื่อง “Social Contract” หรือ “สัญญาประชาคม

4 คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) เขียนหนังสือเรื่อง “The Communist Manifesto”

  1. ฮันติงตัน (Hantington) เขียนหนังสือเรื่อง “The Clash of Civilization” หรือ“การปะทะทางอารยธรรม”

3 รัฐชาติใดเป็นชาติแรกที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบบกษัตริย์/เจ้า

(1) รัสเซีย

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

(5) ตุรกี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 67), (คําบรรยาย) การปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ถือเป็นเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดประเทศใหม่ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยึดมั่นในเสรีภาพและ ความเสมอภาคของบุคคล โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกานี้ถือเป็นชาติแรกที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์

4 ช่วงเวลาใดเกิดขึ้นก่อนข้ออื่น ๆ

(1) การปฏิรูปศาสนา

(2) การปฏิรูปวัฒนธรรม

(3) การฟื้นฟูการค้า

(4) อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

(5) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ตอบ 4 หน้า 10 จากโจทย์สามารถลําดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากก่อนไปหลังได้ดังนี้คืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ การปฏิรูปศาสนา การปฏิรูปวัฒนธรรมและการฟื้นฟูการค้า

5 สงครามใดไม่เกี่ยวข้องกับสงครามเย็น

(1) สงครามติมอร์

(2) สงครามเกาหลี

(3) สงครามเวียดนาม

(4) สงครามอัฟกานิสถาน

(5) สงครามนิการากัว

ตอบ 1 หน้า 71 – 75 สงครามเย็น (Cold War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากการที่มหาอํานาจ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างอ้างอุดมการณ์ทางการเมืองจนกลายเป็นสาเหตุของ ความขัดแย้งระหว่างประเทศจนก่อให้เกิดสงครามในเขตพื้นที่หรือภูมิภาคต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ อิทธิพลของ 2 ประเทศ ได้แก่ สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามโซเวียต-อัฟกานิสถานสงครามนิการากัว เป็นต้น

6 ข้อใดไม่ถูกแบ่งแยกอันเนื่องจากสงครามเย็น

(1) เบอร์ลิน

(2) เกาหลี

(3) เยอรมนี

(4) เวียดนาม

(5) ยูโกสลาเวีย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การล่มสลายของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ภายหลังที่สงครามเย็นสิ้นสุดลงเมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยการล่มสลายนี้เกิดจากสงครามกลางเมืองที่มี ลักษณะของความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวเซิร์บและชาวโครแอต ซึ่งผลจากการล่มสลายนี้ได้ทําให้เกิดประเทศต่าง ๆ เช่น โครเอเชีย สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มาซิโดเนีย

7 ผู้นําการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ คือใคร

(1) โจวเอินไหล

(2) เจียงไคเช็ค

(3) เติ้งเสี่ยวผิง

(4) เหมาเจ๋อตุง

(5) จ้าวจ่อหยาง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหมาเจ๋อตุง หรือประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนโดยสามารถยึดอํานาจจากเจียงไคเช็ค จนสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” และทําให้จีนยึดถือระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน

8 ผู้ใดเป็นผู้นําการพัฒนาจีนตามแนวทาง 4 ทันสมัย

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เติ้งเสี่ยวผิง

(3) โจวเอินไหล

(4) เจียงไคเช็ค

(5) จ้าวจ่อหยาง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เติ้งเสียวผิง เป็นผู้นํานโยบาย 4 ทันสมัย (Four Modernization) มาพัฒนาประเทศจีนให้มีความทันสมัยแบบตะวันตก โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 4 ด้าน คือ การเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการทหาร

9 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายความทันสมัยตามนโยบาย 4 ทันสมัยของจีน

(1) อุตสาหกรรม

(2) อวกาศ

(3) การเกษตร

(4) วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

(5) การทหาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

10 แนวคิดแบบปะทะทางอารยธรรมเป็นของผู้ใด

(1) คาร์ล มาร์กซ์

(2) ฮันติงตัน

(3) อดัม สมิธ

(4) ฟูกุยามา

(5) รุสโซ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

11 ข้อใดไม่พึงปรารถนาในการมีความร่วมมือระหว่างประเทศ

(1) กติกา

(2) กาฝาก

(3) ผลประโยชน์เปรียบเทียบ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 83, 89 สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรืออุปสรรคของการดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 การโกง ซึ่งเป็นผลจากความหวาดระแวงว่าผู้อื่นพยายามหาช่องทางหาประโยชน์เข้าตัวเองให้มากที่สุด จึงอาจพยายามโกงไว้ก่อน

2 ผลประโยชน์เปรียบเทียบ คือ การคํานึงถึงผลได้โดยเปรียบเทียบ (Relative Gains) กับผู้อื่นว่าได้มากหรือน้อยกว่า (ทํามากได้มาก ทําน้อยได้น้อย) แทนที่จะคํานึงเพียงแค่ ผลที่ได้รับ (Absolute Gains) จากการเข้าร่วมความร่วมมือ

3 การมีกาฝาก (Free-Riders) หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากความร่วมมือโดยไม่ต้องร่วมยินยอมรับหรือทําตามกติกาข้อผูกมัดอย่างเป็นทางการ

12 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความร่วมมือแบบระบอบ

(1) เป็นเวทีการเจรจา

(2) ไม่จําเป็นต้องมีบรรทัดฐาน

(3) มีความคาดหวังด้านพฤติกรรม

(4) ต้องมีกฎระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร

(5) พัฒนาจากธรรมเนียมปฏิบัติ

ตอบ 2 หน้า 84 การดําเนินความร่วมมือแบบระบอบนั้นจําเป็นต้องมีกฏเกณฑ์หรือบรรทัดฐานที่เป็นที่เข้าใจหรือยอมรับกัน หรือเป็นเสมือนกติกาแนวทางให้รัฐ องค์การระหว่างประเทศและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐทั้งหลายทํางานเพื่อประโยชน์ในประเด็นความสนใจร่วมกันได้

13 หนังสือเรื่อง “The Prince” เป็นผลงานของใคร

(1) มาเคียเวลลี

(2) โธมัส ฮอบส์

(3) รุสโซ

(4) จอห์น ล็อค

(5) อดัม สมิธ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

14 พัฒนาการของรัฐชาติสมัยใหม่เป็นผลงานจากข้อใด

(1) สงครามครูเสด

(2) สงคราม 30 ปี

(3) สงคราม 100 ปี

(4) การตั้งอาณาจักรรัสเซีย

(5) การตั้งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

15 ข้อใดจัดเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตย

(1) สงครามเอกราชสหรัฐกับการปฏิวัติรัสเซีย

(2) สงครามนโปเลียนกับสงครามเอกราชสหรัฐ

(3) การปฏิวัติฝรั่งเศสกับการปฏิวัติรัสเซีย

(4) สงครามเอกราชสหรัฐกับการปฏิวัติฝรั่งเศส

(5) สงครามนโปเลียนกับการปฏิวัติรัสเซีย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 67) หลังจากการประกาศเอกราชของอเมริกาในปีค.ศ. 1776 ได้เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1789 แต่การปฏิวัติใน ครั้งนี้ยังไม่ประสบความสําเร็จ เนื่องจากถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ยึดอํานาจจาก พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จนกระทั่งสงครามนโปเลียนสิ้นสุดลงในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศส จึงเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยของทั้ง 2 ประเทศ เกิดจากเหตุการณ์สงครามเอกราชของสหรัฐอเมริกา และสงครามนโปเลี่ยนของฝรั่งเศส

16 ใครที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติรัสเซีย

(1) สตาลิน

(2) มาราต์

(3) คาร์ล มาร์กซ์

(4) เลนิน

(5) ทรอตสกี้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิวัติรัสเซียเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1917 หลังจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้สละราชสมบัติจนทําให้เกิดการแย่งชิงอํานาจระหว่างรัฐบาลเฉพาะกาลและพรรคบอลเชวิค ภายใต้การนําของวลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งยึดถืออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ของคาร์ล มาร์กซ์ เป็นหลัก โดยเลนินสามารถแย่งชิงอํานาจการปกครองได้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสหภาพโซเวียต ต่อมาภายหลังเลนินเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1924 ก็ได้เกิดการแย่งชิงอํานาจกันอีกครั้งระหว่าง สตาลินกับลีออน ทรอตสกี้ แต่สุดท้ายสตาลินเป็นฝ่ายชนะจึงได้ขึ้นเป็นผู้นําและพัฒนาประเทศ

จนเป็นมหาอํานาจของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์

17 การปฏิวัติฝรั่งเศสเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) วันกายฟอว์ค

(2) วันชูมัน

(3) วันบัสตีย์

(4) บอสตันที่ปาร์ตี้

(5) 4 กรกฎาคม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) วันบัสตีย์ ถือเป็นวันชาติของฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีโดยเป็นวันที่รําลึกถึงการครบรอบการโจมตีคุกบัสตีย์ อันเป็นการแสดงสัญลักษณ์การลุกฮือของชาติสมัยใหม่ที่เป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสจนนําไปสู่การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

18 เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นหลังข้ออื่นทั้งหมด

(1) ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (The Great Depression)

(2) ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 1

(4) การปฏิวัติรัสเซีย

(5) สงครามนโปเลียน

ตอบ 1 หน้า 11 จากโจทย์สามารถลําดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากก่อนไปหลังได้ดังนี้คือ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1750) สงครามนโปเลียน (ค.ศ. 1803) สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914)การปฏิวัติรัสเซีย (ค.ศ. 1917) และยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (ค.ศ. 1930)

19 ข้อใดเป็นผลที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ธนาคารโลก

(2) องค์การการค้าโลก

(3) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

(4) สหประชาชาติ

(5) สันนิบาตชาติ

ตอบ 5 หน้า 11, 101, (คําบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคง และสร้างสันติภาพ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมทั้งการป้องกันการก่อสงครามระหว่าง ประเทศ และการใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีแทนการใช้การรุกรานและการทําสงคราม โดยองค์การสันนิบาตชาติได้ยุติการทํางานลงในปี ค.ศ. 1941 และได้สิ้นสุดสภาพการเป็น องค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 โดยโอนทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดไปให้แก่องค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน

20 ตําแหน่งกษัตริย์ของจักรวรรดิรัสเซียมีชื่อเรียกเฉพาะว่าอะไร

(1) ไกเซอร์

(2) ชาห์

(3) ซาร์

(4) ข่าน

(5) ซีซาร์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ซาร์ ( Sar, Czar) เป็นชื่อเรียกเฉพาะของตําแหน่งกษัตริย์ของจักรวรรดิรัสเซียโดยมีรากศัพท์มาจากคําว่า ซีซาร์ (Ceasar) ซึ่งเป็นชื่อตําแหน่งกษัตริย์ของจักรวรรดิโรมัน

21 ข้อใดไม่ใช่แหล่งอารยธรรมหลัก ๆ ในอดีตกาล

(1) แถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก

(2) แถบเอเชียใต้

(3) แถบเอเชียตะวันออก

(4) แถบอเมริกาเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 49 – 57) ในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์โลก ก่อนที่จะมีรัฐชาติเกิดขึ้นนั้น จะต้องทําความเข้าใจเรื่องอารยธรรมที่สําคัญของมนุษยชาติก่อน เนื่องจาก เป็นวิวัฒนาการทางการเมืองที่สําคัญของมนุษย์ที่จะพัฒนารวมตัวกันจนเป็นรัฐชาติในปัจจุบัน ซึ่งอารยธรรมหลัก ๆ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นรัฐชาตินั้น ได้แก่ อารยธรรมอินเดีย (แถบเอเชียใต้) อารยธรรมจีน (แถบเอเชียตะวันออก), อารยธรรมอียิปต์ (แถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก),อารยธรรมกรีกและโรมัน (แถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก)

  1. นักคิดใดไม่ใช่นักคิดทางการเมืองและปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างอารยธรรมตะวันออก

(1) มูฮัมหมัด

(2) อริสโตเติล

(3) ขงจื้อ

(4) พระพุทธเจ้า

(5) เหล่าจื้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักคิดทางการเมืองและปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างอารยธรรมตะวันออกเช่น มูฮัมหมัด พระพุทธเจ้า ขงจื้อ เหล่าจื้อ ส่วนนักคิดทางการเมืองและปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อ การสร้างอารยธรรมตะวันตก เช่น โสเครตีส เพลโต อริสโตเติล เป็นต้น

23 โลกาภิวัตน์ในอดีตมีความแตกต่างกับปัจจุบันในแง่ใดบ้าง

(1) ความกว้างขวาง

(2) ความรวดเร็ว

(3) ความหลากหลาย

(4) ความเข้มข้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ กระบวนการเชื่อมเป็นหนึ่งกันทางประวัติศาสตร์สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรม โดยโลกาภิวัตน์ในอดีต และปัจจุบันมีความเหมือนกันในแง่ที่ว่า เป็นกระบวนการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ฯลฯ แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่าง กับปัจจุบันในแง่ของความกว้างขวาง ความรวดเร็ว ความหลากหลาย และความเข้มข้นในการเชื่อมโยงกิจกรรมดังกล่าว ใน

24 อารยธรรมใดเคยเป็นจุดศูนย์กลางเศรษฐกิจและการเมืองกว่า 2,000 ปี ก่อนอารยธรรมตะวันตก

(1) อารยธรรมญี่ปุ่น

(2) อารยธรรมเกาหลี

(3) อารยธรรมเขมร

(4) อารยธรรมไทย

(5) อารยธรรมจีน

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 52 – 53) อารยธรรมจีน เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห โดยหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรของจีนที่เก่าแก่ที่สุด คือ ซิกิ่งหรือคัมภีร์คีตาคาถาและซูกิ่งหรือคัมภีร์ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่สุดที่ขงจื้อรวบรวมไว้

25 อารยธรรมตะวันตกทําให้โลกเปลี่ยนไปในเรื่องอะไรบ้าง

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการผลิต

(2) การเปลี่ยนแปลงทางการค้า

(3) การเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง

(4) การเปลี่ยนแปลงทางความคิด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อารยธรรมตะวันตก เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นแถบซีกโลกตะวันตกซึ่งมีมาช้านานทั้งอารยธรรมอียิปต์ และอารยธรรมกรีกโรมัน โดยมีพัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยจนเกิดความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด การปกครอง การผลิต การค้า เทคโนโลยี การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น ๆ

26 การล่าเมืองขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ส่งผลต่ออารยธรรมตะวันออกอย่างไร

(1) ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบอบการปกครองดั้งเดิม

(2) ส่งผลให้เกิดการอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่

(3) ส่งผลให้มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

(4) ส่งผลให้อารยธรรมตะวันตกรุ่งเรือง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การล่าเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ส่งผลต่ออารยธรรมตะวันออก ดังนี้

1 ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบอบการปกครองดั้งเดิม

2 ส่งผลให้เกิดการอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่

3 ส่งผลให้มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

4 ส่งผลให้อารยธรรมตะวันตกรุ่งเรือง

27 โลกาภิวัตน์ในวันนี้มีผลในด้านใดบ้าง

(1) มีการพัฒนาของประเทศในตะวันออกและส่วนอื่นของโลก

(2) เกิดการพัฒนาการเชื่อมโยงกันทางด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

(3) ทําให้เกิดระบบการค้าข้ามชาติ

(4) ทําให้เกิดความขัดแย้งทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลของโลกาภิวัตน์ในวันนี้ ได้แก่

1 มีการพัฒนาของประเทศในตะวันออกและส่วนอื่น ๆ ของโลก

2 เกิดการพัฒนาการเชื่อมโยงกันทางด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

3 ทําให้เกิดระบบการค้าข้ามชาติ

4 ทําให้เกิดความร่วมมือและความขัดแย้งทางสังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ฯลฯ

28 ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีกรอบข้อตกลงจะเป็นไปด้วยดี ควรมีลักษณะตามข้อใด

(1) จํานวนประเทศสมาชิกไม่เกิน 30 ประเทศ

(2) จํานวนประเทศสมาชิกมากที่สุดเท่าที่ทําได้

(3) จํานวนประเทศสมาชิกน้อย

(4) ต้นทุนสูง

(5) มี Hegemon

ตอบ 3 หน้า 82 – 83, (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนให้ความร่วมมือระหว่างประเทศดําเนินไปได้ด้วยดีและยั่งยืน มีดังนี้

1 ความร่วมมือที่มีกรอบข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือเป็น ลายลักษณ์อักษรชัดเจนควรมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจํานวนน้อย

2 จํานวนประเทศ ที่เข้ามาร่วมมือต้องขึ้นอยู่กับสภาพกรณีหรือธรรมชาติของปัญหาความร่วมมือนั้น

3 มีต้นทุนความร่วมมือต่ำ และผลตอบแทนไม่สูง ซึ่งหมายความว่าผลตอบแทนของความร่วมมือ ระหว่างประเทศอาจต่ำได้เนื่องจากต้นทุนต่ำนั่นเอง

4 การป้องกันไม่ให้มีกาฝาก (Free-Riders) หรือผู้ที่ได้ประโยชน์จากความร่วมมือโดยไม่ต้องร่วมยินยอมรับหรือทําตามกติกาข้อผูกมัดอย่างเป็นทางการ

29 องค์การการค้าโลก (WTO) จัดเป็นระบอบประเภทใด

(1) ระบอบแบบเป็นนัย

(2) ระบอบเพียงตัวอักษร

(3) ระบอบเต็มรูปแบบ

(4) ระบอบจากการกําหนดบังคับ

(5) ระบอบแบบไม่เป็นทางการ

ตอบ 3 หน้า 86 ระบอบเต็มรูปแบบ (Full-Blown Regime) คือ ระบอบที่มีทั้งข้อตกลงหรือกฎกติกาอย่างเป็นทางการ และมีความคาดหวังต่อการบังคับใช้การปฏิบัติตามกฎกติกานั้น เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้น

30 ความร่วมมือเป็นพันธมิตรต่างจากความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition) ตามลักษณะในข้อใด

(1) มีความเป็นทางการกว่า

(2) การสลายตัวได้

(3) เป้าหมายกว้างกว่า

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 87, (คําบรรยาย) ความร่วมมือแบบพันธมิตร (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสานของรัฐที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความร่วมมือ แบบพันธมิตรนั้นจะมีช่วงระยะเวลาที่ยาว มีความเป็นทางการมาก และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กว้างกว่าความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition)

31 ข้อใดไม่ใช่กลไกการทํางานที่เหมาะสมของความร่วมมือแบบพันธมิตร

(1) ป้องปราม

(2) ป้องกัน

(3) ชิงดึงเข้าพวก

(4) อุดมการณ์ช่วยยึดเหนี่ยว

(5) ถือคติศัตรูของศัตรูคือมิตร

ตอบ 5 หน้า 88 ความร่วมมือกันเป็นพันธมิตรเพียงเพื่อต้องการต่อต้านศัตรูคนเดียวกัน หรือถือคติว่า“ศัตรูของศัตรูคือมิตร” ถือเป็นกลไกการทํางานที่ไม่เหมาะสมในการร่วมมือแบบพันธมิตรเพราะการร่วมมือในลักษณะนี้อาจล่มสลายไปได้เมื่อหมดภัยคุกคาม

32 การเมืองโลกมีประเด็นอะไรที่ครอบคลุมบ้าง

(1) ประวัติศาสตร์

(2) สังคมวัฒนธรรม

(3) เศรษฐกิจการค้า

(4) ความมั่นคง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics) หรือเรียกว่า การเมืองระหว่างชาติ (Politics Among Nations) หรือการเมืองโลก (World or Global Politics) เป็นการศึกษาผ่านมุมมองของสํานักสัจนิยม (Realism) ซึ่งจะเน้นศึกษาการเมืองและมิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ เช่น เศรษฐกิจการค้า การทหารความมั่นคง การธนาคาร ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม โดยให้ความสําคัญกับผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ ผลประโยชน์แห่งชาติ อํานาจรัฐ และบทบาทของมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

33 เราจะใช้หน่วยวิเคราะห์อะไรในการทําความเข้าใจประวัติศาสตร์โลกก่อนที่จะมีรัฐชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(1) ศาสนา

(2) ภาษา

(3) อารยธรรม

(4) เชื้อชาติ

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

34 กระบวนการเชื่อมเป็นหนึ่งกันทางประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อใด

(1) จักรวรรดิโรมัน

(2) จักรวรรดิโมริยะ

(3) จักรวรรดิฮัน

(4) จักรวรรดิเปอร์เซีย

(5) ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

35 หลังยุคสงครามเย็นประเทศไทยไม่ได้ดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบใด

(1) Alliance

(2) Non-alignment

(3) Neutralism

(4) Neutrality

(5) Ally

ตอบ 4 หน้า 30 – 33, 37 – 38, (คําบรรยาย) นโยบายต่างประเทศที่ประเทศไทยนํามาใช้ในยุคหลังสงครามเย็น (ค.ศ. 1991 – ปัจจุบัน) ได้แก่ นโยบายพันธมิตร (Atty) นโยบายสัมพันธมิตร (Alliance) และนโยบายความเป็นกลางแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (Non-alignment or Neutralism) ส่วนนโยบายต่างประเทศที่ยังไม่เคยนํามาใช้ ก็คือ นโยบายความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ (Neutrality) และนโยบายสันโดษหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยว (Isolation)

36 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่การรุกรานทางอ้อมของรัฐ

(1) สหรัฐอเมริกากีดกันสินค้านําเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

(2) สหรัฐอเมริกาห้ามเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์

(3) สาธารณรัฐประชาชนจีนห้ามนําเข้าถ่านหินจากเกาหลีเหนือเพื่อกดดันให้เกาหลีเหนือเข้าสู่โต๊ะการเจรจาหกฝ่ายในโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 45, (คําบรรยาย) การรุกรานโดยทางอ้อม หมายถึง การกระทําที่ไม่ใช้กําลังทหารเข้าจัดการรัฐอื่นโดยตรง แต่จะใช้วิธีการอื่นที่เป็นการต่อต้านอํานาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเป็นเอกราชทางการเมือง และอิสรภาพของรัฐอื่น ได้แก่ การโค่นล้มรัฐบาล, การสนับสนุน รัฐประหาร, การโฆษณาชวนเชื่อ, การเข้าแทรกแซงทางการเมือง เช่น การใช้อํานาจเพื่อกดดันและ บีบบังคับให้รัฐอื่นปฏิบัติตามความต้องการของตน), การเข้าแทรกแซงหรือแซงชั่นทางเศรษฐกิจ (เช่น การไม่ซื้อขายสินค้า การไม่เข้าไปลงทุน ฯลฯ) และการสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ฝ่ายกบฏในรัฐอื่น

37 มาตราใดในกฎบัตรสหประชาชาติที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดการกับการรุกรานโดยตรงของรัฐ

(1) มาตรา 12

(2) มาตรา 51

(3) มาตรา 39

(4) มาตรา 41

(5) มาตรา 42

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา 12 เป็นมาตราที่กําหนดรูปแบบการทําหน้าที่ของสมัชชาในกรณีคณะมนตรีความมั่นคงกําลังปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับข้อพิพาทหรือสถานการณ์ ใด ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยคณะมนตรีความมั่นคงจะต้องแจ้งให้สมัชชาทราบทันทีที่หยุด ดําเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว ส่วนมาตรา 39 – 51 จะเป็นหมวดที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการด้านการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน

38 สงครามในอิรักในช่วงไม่กี่ปีมานี้เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

(1) ความต้องการรวมดินแดนของรัฐ

(2) ความต้องการปลดปล่อยชาติให้เป็นอิสระจากการปกครองของต่างชาติ

(3) ความต้องการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

(4) ความต้องการแบ่งแยกดินแดนของรัฐ

(5) ความต้องการสนับสนุนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติของรัฐ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) สงครามในอิรักครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2016 เป็นสงครามที่เกิดจากความต้องการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มไอเอสที่ขยายอิทธิพลมาจากซีเรีย โดยสงครามในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจาก ที่นักรบกลุ่มไอเอสยึดเมืองโมซุลของอิรัก ทําให้รัฐบาลอิรักและพันธมิตรชาติตะวันตกต้องร่วมกันปฏิบัติการปลดปล่อยเมืองโมซุลจากการยึดครองของกลุ่มไอเอส

39 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) (1) โปแลนด์

(2) โครเอเชีย

(3) ตุรกี

(4) เซอร์เบีย

(5) สโลวีเนีย

ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความมั่นคงและส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส ตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย โครเอเชีย และแอลเบเนีย

40 ข้อใดเป็นชื่อขบวนการก่อการร้ายในฟิลิปปินส์

(1) MNLF

(2) Abu Nidal

(3) Hamas

(4) ETA

(5) Hezbollah

ตอบ 1 หน้า 4, 59, (คําบรรยาย) ขบวนการ/กลุ่มก่อการร้าย (Terrorist) เป็นตัวแสดงในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีบทบาทสําคัญมากในช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งตัวอย่าง ของขบวนการก่อการร้าย ได้แก่ 1 กลุ่ม AL Qaeda ในอัฟกานิสถาน 2 กลุ่ม Abu Nidal ในอิสราเอล 3 กลุ่ม IS หรือ ISIS ในอิรักและซีเรีย 4 กลุ่ม Hezbollah ในเลบานอน 5 กลุ่ม PLO และกลุ่ม Hamas ในปาเลสไตน์ 6 กลุ่ม ETA ในสเปน 7 กลุ่ม JI ในอินโดนีเซีย 8 กลุ่ม Abu Sayyaf, กลุ่ม MNLF และกลุ่ม MILF ในฟิลิปปินส์ 9 กลุ่ม Bersatu, กลุ่ม BRN และกลุ่ม PULO ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ฯลฯ

41 สงครามในข้อเลือกข้อใดเป็นสงครามลงมือโจมตีก่อน (Preemptive War)

(1) สงครามอ่าวเปอร์เซีย

(2) สงครามอิรัก

(3) สงครามเกาหลี

(4) สงครามเวียดนาม

(5) สงครามอิรัก-อิหร่าน

ตอบ 2 หน้า 48, (คําบรรยาย) สงครามลงมือโจมตีก่อน (Preemptive War) หมายถึง สงครามที่เกิดจากรัฐหนึ่งรัฐใดได้รับแรงกดดันทางการเมืองหรือทางยุทธศาสตร์อย่างมากมายจนไม่สามารถอดทนต่อไปได้ จึงใช้กําลังเข้าโจมตีรัฐที่สร้างแรงกดดันหรือรัฐปรปักษ์นั้น ๆ ก่อน เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม ได้แก่ สงครามอิรัก (2003) เป็นต้น

42 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ประเทศกําลังพัฒนา (Developing Country)

(1) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(2) อินโดนีเซีย

(3) ลาว

(4) เวียดนาม

(5) ไทย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การแบ่งประเทศโดยพิจารณาจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สามารถแบ่งได้ดังนี้

1 ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี แคนาดาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

2 ประเทศกําลังพัฒนา เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย เป็นต้น

3 ประเทศด้อยพัฒนา เช่น กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ (พม่า) อัฟกานิสถาน เป็นต้น

43 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2017 กองทัพอิหร่านได้ซ้อมรบบริเวณช่องแคบฮอร์บุซอ่าวโอมาน ช่องแคบมันเดบและพื้นที่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย เพื่อแสดงถึงแสนยานุภาพของกองทัพอิหร่านในช่วงที่ ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกามีความตึงเครียดระหว่างกัน การซ้อมรบดังกล่าวของอิหร่าน เป็นการกระทําแบบใด

(1) สงครามเย็น (Cold War) ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา

(2) สงครามทางการเมือง

(3) สงครามจิตวิทยา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 54 – 58, 62 – 54 สงครามทางการเมือง (Political Warfare) เป็นวิธีการที่รัฐนํามาใช้เพื่อสร้างความอ่อนแอหรือสร้างแรงกดดันต่อรัฐอื่น โดยวิธีการที่มักนิยมนํามาใช้ ได้แก่ การบ่อนทําลาย การก่อวินาศกรรม การปิดกั้นเส้นทางเดินเรือ การแซงชั่น การแสดง แสนยานุภาพทางทหาร (เช่น การซ้อมรบ การสาธิตอาวุธยุทโธปกรณ์) เป็นต้น ส่วนสงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare) เป็นกิจกรรมทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางทหารของรัฐใดรัฐหนึ่ง เพื่อสร้างอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการกระทําของผู้อื่น หรือรัฐอื่น ๆ โดยเครื่องมือสําคัญที่นิยมนํามาใช้มี 2 ประเภท คือ 1 การโฆษณาชวนเชื่อ เช่น การแจกใบปลิว, การเผยแพร่ข่าวทางวิทยุและโทรทัศน์, การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย, การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบทุกข์ภัยในประเทศต่าง ๆการแสดงแสนยานุภาพทางทหาร (เช่น การซ้อมรบ การสาธิตกําลังอาวุธ) เป็นต้น

2 การก่อการร้ายระหว่างประเทศ ดังนั้นการซ้อมรบดังกล่าวของอิหร่านจึงถือเป็นการกระทําทั้งแบบสงครามทางการเมืองและสงครามทางจิตวิทยา

44 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor)

(1) Donald Trump

(2) IMF

(3) Al Qaeda

(4) PLO

(5) Greenpeace

ตอบ 1 หน้า 3 – 4, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actor) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล, รัฐมนตรีต่างประเทศ, ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต), กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุล และกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2 ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น Greenpeace, บรรษัทข้ามชาติหรือธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCs/TNCS) เช่น บริษัท CP บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม Al Qaeda กลุ่ม PLC และกลุ่มเชื้อชาติ

45 การทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2017 จัดได้ว่าเป็นการกระทําแบบใด

(1) การทําสงครามเย็น (Cold War) ระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐอเมริกา

(2) การก่อการร้ายของเกาหลีเหนือต่อสหรัฐอเมริกา

(3) การทําสงครามทางการเมืองของเกาหลีเหนือต่อสหรัฐอเมริกา

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2017 จัดเป็นการทําสงครามทางการเมืองของเกาหลีเหนือต่อสหรัฐอเมริกา เพื่อตอบโต้ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีนโยบายที่แข็งกร้าวต่อเกาหลีเหนือ (ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ)

46 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศระดับสากล

(1) WHO

(2) UNESCO

(3) IMF

(4) EU

(5) WTO

ตอบ 4 หน้า 3, 93, 96, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (LAN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU), องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การสันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น

47 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่องค์การที่ไม่ใช่รัฐบาลหรือเอ็นจีโอ (NGO)

(1) Amnesty International

(2) BBC

(3) Greenpeace

(4) The International Red Cross

(5) Human Rights Watch

ตอบ 2 หน้า 3 – 4, 94 องค์การที่ไม่ใช่รัฐบาลหรือองค์การพัฒนาเอกชน (NGO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (INGO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนโดยไม่หวังผลกําไร และเน้นอุดมการณ์ที่เห้ความสําคัญกับภาคประชาชนเป็นหลัก โดยองค์การประเภทนี้จะได้รับ เงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศ มีอาสาสมัครทํางาน มีระเบียบวาระเป็นของตนในการกําหนดทิศทางและนโยบายเพื่อมุ่งบริการสาธารณประโยชน์ เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น

48 ประเทศที่อยู่ในข้อเลือกข้อใดที่ไม่สามารถดําเนินนโยบายสันโดษหรือนโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว (Isolation)

(1) เวียดนาม

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) แทนซาเนีย

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 30 – 31, (คําบรรยาย) เงื่อนไขสําคัญที่ทําให้รัฐหนึ่งรัฐใดสามารถเลือกดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบสันโดษหรืออยู่อย่างโดดเดียว (Isolation) ได้ มีดังนี้

1 ต้องมีขีดความสามารถทางทหารในการป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากการคุกคามจากภายนอก

2 ต้องพึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจโดยไม่ต้องพึ่งพารัฐอื่น

3 ต้องมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมสําหรับป้องกันการรุกรานจากภายนอก ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ไม่สามารถดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบสันโดษหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศโลกที่สาม เช่น ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา แทนซาเนีย ฯลฯ และประเทศในยุโรปบางประเทศ เช่น กรีซ เป็นต้น

49 ในปัจจุบันประเทศใดไม่ได้ดํารงความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) ลาว

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) สวีเดน

(4) ออสเตรีย

(5) มัลต้า

ตอบ 1 หน้า 32 ประเทศที่ดํารงความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศจะดํารงความเป็นกลางอยู่ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับจากประเทศอื่น ๆ โดยประเทศอื่นนั้นจะต้องไม่ละเมิดบูรณภาพ แห่งดินแดนและยอมรับในสิทธิอื่น ๆ ของประเทศที่เป็นกลาง ความเป็นกลางจะสิ้นสุดลงเมื่อ ประเทศนั้นเข้าร่วมสงครามกับประเทศหนึ่งประเทศใดหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่เป็นคู่สงคราม หรือ เมื่อประเทศนั้นถูกประเทศอื่นละเมิดดินแดน ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ดําเนินนโยบายความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และมัลต้า

50 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่การทําสงครามจิตวิทยาของรัฐ

(1) สหรัฐอเมริกาให้เงินสามล้านบาทช่วยเหลือจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ของไทยที่เกิดปัญหาน้ำท่วม

(2) จีนไม่ซื้อถ่านหินจากเกาหลีเหนือเพื่อแซงชั่นเกาหลีเหนือจากการที่เกาหลีเหนือมีการทดลองขีปนาวุธ

(3) สหรัฐอเมริกาทําการแซงชั่นทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียเพื่อกดดันให้รัสเซียยกเลิกการสนับสนุนฝ่ายกบฏในภูมิภาคตะวันตกของยูเครน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

51 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกในรัฐโลกที่สอง (The Second World State)

(1) สโลวีเนีย

(2) ลิทัวเนีย

(3) รัสเซีย

(4) สโลวัก

(5) ฮังการี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในยุคหลังสงครามเย็นมีการแบ่งรัฐต่าง ๆ ในโลกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1 รัฐโลกที่หนึ่ง คือ รัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส สโลวีเนีย เป็นต้น

2 รัฐโลกที่สอง คือ รัฐที่กําลังจะเปลี่ยนไปเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด หรือเรียกว่า กลุ่มรัฐหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งได้แก่ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต เช่น รัสเซีย ยูเครน คาซัคสถาน ลิทัวเนีย และประเทศยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐสโลวัก สโลวาเกีย) เป็นต้น

3 กลุ่มรัฐโลกที่สาม คือ รัฐที่ไม่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครองเป็นของตนเองโดยเฉพาะแต่จะนําเอาระบบเศรษฐกิจและการปกครองของรัฐโลกที่หนึ่งและรัฐโลกที่สองมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับประเทศของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกาและลาตินอเมริกา เช่น เกาหลีเหนือ คิวบา อินเดีย ไทย กัมพูชา เป็นต้น

52 ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทําให้สงครามเย็น (Cold War) ระหว่างกลุ่มตะวันตกและ กลุ่มตะวันออกสิ้นสุดลง

(1) การจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช

(2) Perestroika

(3) Glasnost

(4) รัฐบอลติกไม่เข้าร่วมในเครือจักรภพรัฐเอกราช

(5) ประเทศในยุโรปตะวันออกเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต

ตอบ 4 หน้า 75 – 77, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สงครามเย็น (Cold War) ระหว่างกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกสิ้นสุดลง มีดังนี้

1 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต (USSR) ได้ประกาศใช้นโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost)ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1986

2 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตจนทําให้กลุ่มตะวันออกล่มสลายลง

3 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ประกาศยุบตัวเองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1991

4 การประกาศจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (CIS) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายโดยสิ้นเชิง และทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

53 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของอาเซียนบวกแปด (ASEAN + 8)

(1) ญี่ปุ่น 2

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) รัสเซีย

(4) อินเดีย

(5) ปากีสถาน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อาเซียน + 8 (ASEAN + 8) ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศและประเทศคู่เจรจาอีก 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย

54 ข้อเลือกข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมทางทหาร (Military Industrial Complex)

(1) นายทหารระดับสูง

(2) นักวิทยาศาสตร์

(3) กรรมกรในโรงงานผลิตอาวุธ

(4) นายหน้าค้าอาวุธ

(5) ประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 หน้า 53 กลุ่มอุตสาหกรรมทางทหาร (Military Industrial Complex) ได้แก่

1 เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ

2 กรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ

3 นายหน้าค้าอาวุธ

4 เจ้าหน้าที่ทางทหารระดับสูง

5 นักวิทยาศาสตร์

55 อะไรคือวัตถุประสงค์หลักของกลุ่มไอเอสในการทําสงครามกับอิรักและซีเรีย

(1) ความต้องการแบ่งแยกดินแดน

(2) ความต้องการปลดปล่อยชาติให้เป็นอิสระจากการปกครองของต่างชาติ

(3) ความต้องการรวมดินแดนจัดตั้งรัฐเอกราช

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ไอเอส (IS) หรือไอซิส (ISIS) เป็นกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงที่แยกกลุ่มมาจากอัล เคด้า หรืออัลกออิดะห์ (AH Qaeda) ซึ่งปัจจุบันไอเอสกําลังทําสงครามอยู่กับอิรักและ ซีเรีย โดยมีเป้าหมายเพื่อแบ่งแยกดินแดนบางส่วนในอิรักและซีเรีย รวมทั้งดินแดนในเลแวนท์ ซึ่งประกอบด้วยประเทศเลบานอน อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน ไซปรัส และภาคใต้ของตุรกีเพื่อจัดตั้งรัฐอิสลาม (ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ)

56 ในปัจจุบันขบวนการในข้อเลือกข้อใดยังคงใช้สงครามกองโจรต่อสู้กับรัฐต่างประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(1) SWAPO

(2) Hamas

(3) MPLA

(4) Polisario

(5) UNITA

ตอบ 4 หน้า 49, (คําบรรยาย) ปัจจุบันขบวนการโปลิซาริโอ (Polisario) ยังคงปฏิบัติการโดยใช้สงครามนอกแบบหรือสงครามกองโจรต่อสู้กับรัฐบาลโมร็อกโก เพื่อให้ดินแดนซาฮาราตะวันตกของพวกตนเป็นเอกราชจากรัฐบาลโมร็อกโก

57 ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัญหาภูมิภาคตะวันออกของยูเครนซึ่งเกิดขึ้นจากการที่กลุ่มกบฏต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากยูเครนโดยมีรัสเซียให้การสนับสนุนจนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างยูเครน และกลุ่มกบฏเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

(1) ความต้องการรวมดินแดนของยูเครน

(2) ความต้องการรวมดินแดนของรัสเซีย

(3) ความต้องการปลดปล่อยชาติให้เป็นอิสระจากกลุ่มกบฏ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สงครามระหว่างยูเครนและกลุ่มกบฏนั้นเกิดขึ้นจากรัสเซียต้องการรวมดินแดนในแคว้นโดเนตสก์และลูฮานสก็ซึ่งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของยูเครนเข้ากับรัสเซีย โดยสงครามนี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 และได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 9,000 คน

58 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของเครือจักรภพรัฐเอกราช (The Commonwealth of Independent : States : CIS)

(1) ลัตเวีย

(2) ยูเครน

(3) คาซัคสถาน

(4) จอร์เจีย

(5) เบลารุส

ตอบ 1 หน้า 76 – 77, (คําบรรยาย) เครือจักรภพรัฐเอกราช (The Commonwealth of Independent States :CIS) จัดตั้งขึ้นในดินแดนแถบยูเรเซีย (Urasia) เมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยคําประกาศแห่ง อัสมา อตา ซึ่งมีสมาชิกเป็นประเทศเกิดใหม่ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต 12 ประเทศ ได้แก่ เบลารุส ยูเครน รัสเซีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และจอร์เจีย (ส่วนอีก 3 ประเทศ คือ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก)

59 ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้เกี่ยวข้องกับข้อเลือกข้อใด

(1) G-8

(2) G-5

(3) G-77

(4) G-10

(5) G-20

ตอบ 3 หน้า 42, (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้ เป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่ม 7 (Group of 7 : G-7) ของรัฐที่ร่ำรวยหรือรัฐเหนือ (The North States) กับกลุ่ม 77 (Group of 77 : G-77) ของรัฐที่ยากจนหรือรัฐใต้ (The South States) โดยกลุ่ม 77 ได้ใช้ที่ประชุมการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD) เป็นเวที ในการต่อรองเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมทางการค้าจากกลุ่ม 7

60 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สงครามแบบจํากัด

(1) สงครามเวียดนาม

(2) สงครามในซีเรีย

(3) สงครามเกาหลี

(4) สงครามอ่าวเปอร์เซีย

(5) สงครามฟอล์กแลนด์

ตอบ 2 หน้า 48, (คําบรรยาย) สงครามแบบจํากัด (Limited War) หมายถึง สงครามที่คู่ต่อสู้จํากัดจํานวนอาวุธ ชนิดอาวุธ จํานวนทหาร ขอบเขตของสมรภูมิ (สนามรบ) และความมุ่งหมาย ทางการเมืองหรือวัตถุประสงค์ทางทหารในการต่อสู้ ได้แก่ สงครามเกาหลี (1950 – 1953) สงครามเวียดนาม (1954 1975) สงครามอิรัก-อิหร่าน (1980 1988) สงครามฟอล์กแลนด์ (1982) สงครามอ่าวเปอร์เซีย (1991) สงครามอัฟกานิสถาน (2001) สงครามอิรัก (2003)และสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์

61 อะไรคือสาเหตุสําคัญของการก่อการร้ายของขบวนการก่อการร้ายอัล เคด้า (At Qaeda)

(1) ความต้องการก่อตั้งรัฐใหม่

(2) ความต้องการล้างแค้นจักรวรรดินิยม

(3) ความต้องการล้างแค้นมหาอํานาจ

(4) ความต้องการให้ดินแดนของพวกตนมีการปกครองอย่างอิสระ

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือสาเหตุสําคัญที่ทําให้ขบวนการก่อการร้ายอัล เคด้า หรืออัลกออิดะห์ (At Qaeda) ปฏิบัติการก่อการร้ายไปทั่วโลก มี 2 ประการ คือ

1 เพื่อต้องการล้างแค้นพวกจักรวรรดินิยม และรัฐบาลของประเทศอิสลามที่เข้าข้างหรือสนับสนุนพวกจักรวรรดินิยม

2 เพื่อต้องการยุติปัญหาปาเลสไตน์โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้น

62 ประเทศใดไม่ได้เป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ

(1) รัสเซีย

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) ฝรั่งเศส

(4) สหราชอาณาจักร

(5) สหภาพยุโรป

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศที่จัดเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ (Economic Power) ในยุคหลังสงครามเย็น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แคนาดา และอิตาลี โดยประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับหนึ่งของโลก คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีนญี่ปุ่น เยอรมนี ฯลฯ (ส่วนรัสเซียเป็นมหาอํานาจทางการเมืองและการทหาร)

63 อาเซียนบวกหก (ASEAN + 6) เกี่ยวข้องกับข้อเลือกข้อใด

(1) TPP

(2) East Asia Summit

(3) RCEP

(4) JTEPA

(5) Asian Bond

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อาเซียน + 6 (ASEAN + 6) เกิดจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เพื่อจัดตั้ง เขตการค้าเสรี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา อีก 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และ นิวซีแลนด์

64 ข้อเลือกข้อใดไม่ปรากฏอยู่ในโครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศ

(1) สภาคองเกรส

(2) สํานักงานเลขาธิการ

(3) คณะมนตรี

(4) สภาบริหาร

(5) สมัชชาใหญ่

ตอบ 1 หน้า 96 – 97 โครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศ ประกอบด้วย

1 องค์กรถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร โดยมีสํานักงานตั้งอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ

2 พนักงานประจําซึ่งสังกัดสํานักงานเลขาธิการ (Secretary)

3 วัตถุประสงค์ระยะยาว ข้อตกลง รวมถึงปัญหาระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่นํามาอภิปรายในการประชุมสามัญประจําปีซึ่งถูกกําหนดให้มีขึ้นเป็นประจําอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4 สภาบริหาร (Executive Council) หรือคณะมนตรี (Council)

5 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ (Assembly)

6 เลขาธิการ เป็นผู้ดําเนินการตามแผนปฏิบัติการที่จัดทําขึ้นโดยสภาบริหาร

65 องค์กรใดในสหประชาชาติเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรใช้มาตรา 42 (มาตรการใช้กําลังอาวุธ) จัดการกับประเทศผู้รุกราน

(1) สมัชชา

(2) คณะมนตรีความมั่นคง

(3) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

(4) เลขาธิการ

(5) ศาลโลก

ตอบ 2 หน้า 44, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ กําหนดให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นผู้พิจารณาว่าการคุกคามสันติภาพและการละเมิดสันติภาพ หรือการรุกรานได้เกิดขึ้นแล้ว หรือไม่ หรือพิจารณาว่าการกระทําของรัฐหนึ่งรัฐใดเป็นการรุกรานหรือไม่ตามมาตรา 39 และ มีอํานาจในการวินิจฉัยหรืออนุมัติให้ใช้มาตรการตามมาตรา 41 (มาตรการไม่ใช้กําลังอาวุธ) และมาตรา 42 (มาตรการใช้กําลังอาวุธ คือ สงคราม) เป็นเครื่องมือจัดการลงโทษกับรัฐหรือประเทศผู้รุกรานให้หยุดพฤติกรรมการรุกรานรัฐอื่น

66 ประเทศใดถือเป็นประเทศล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ

(1) มอนเตเนโกร

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) โบลิเวีย

(4) ซูดานใต้

(5) จีน

ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ โบลิเวีย ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

67 วันใดที่ถือว่าเสมือนเป็นวันสหประชาชาติ

(1) 24 มกราคม

(2) 24 พฤษภาคม

(3) 24 กันยายน

(4) 24 ตุลาคม

(5) 24 ธันวาคม

ตอบ 4 หน้า 102, 104 องค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยการลงนามร่วมกันในกฎบัตรสหประชาชาติ ระหว่างประเทศมหาอํานาจของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน กับประเทศอื่น ๆ ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 24 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันสหประชาชาติ”

68 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับองค์การสหประชาชาติ

(1) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร

(2) กฎบัตรแอตแลนติก

(3) ปฏิญญาสหประชาชาติ

(4) ปฏิญญามอสโคว์

(5) ปฏิญญากรุงโรม

ตอบ 5 หน้า 102 – 104 ในเรื่องภูมิหลังขององค์การสหประชาชาตินั้น ได้ระบุถึงข้อตกลงและปฏิญญาสําคัญที่นําไปสู่การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติไว้ดังนี้

1 ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร (Inter-Allied Declaration)

2 กฏบัตรแอตแลนติก (Atlantic Charter)

3 ปฏิญญาสหประชาชาติ (Declaration of United Nations)

4 ปฏิญญามอสโคว์ (Moscow Declaration)

5 ข้อตกลงยัลต้า (Yalta Agreement) ฯลฯ

69 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ

(1) การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก

(3) เป็นเวทีเจรจาทางการค้าการเมืองระหว่างประเทศ

(4) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

(5) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

ตอบ 3 หน้า 104 105 จุดมุ่งหมายและหลักการที่สําคัญขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะดําเนินมาตรการร่วมกันป้องกันการคุกคามสันติภาพโดยใช้สันติวิธี

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศ ให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพความยุติธรรม และสันติภาพในโลก

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

70 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกมีสํานักงานอยู่ ณ ประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) ฝรั่งเศส

(4) เนเธอร์แลนด์

(5) สวีเดน

ตอบ 4 หน้า 107, (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice :ICU) หรือศาลโลก (World Court) เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ ในการตัดสินคดีระหว่างรัฐกับรัฐ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชา และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

71 ประเทศใดในตะวันออกกลางไม่เคยเกิดอาหรับสปริง

(1) เยเมน

(2) อียิปต์

(3) ซีเรีย

(4) ลิเบีย

(5) เลบานอน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution) หรืออาหรับสปริง (Arab Spring)เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนลุกฮือออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ครองอํานาจมาช้านาน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในประเทศแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกาทางตอนเหนือ เช่น ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย ซีเรีย เยเมน เป็นต้น

72 ประเทศใดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ซึ่งมีผลทําให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้

(1) กัมพูชา

(2) ฟิลิปปินส์

(3) เวียดนาม

(4) มาเลเซีย

(5) บรูไน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจํานวนมหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม โดยปัญหาของประเทศเหล่านี้มักเกิดจากการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะกรรมสิทธิ์ ในการครอบครอง 2 หมู่เกาะสําคัญ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) ซึ่งมีผลทําให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์

73 วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1959

(2) 1960

(3) 1961

(4) 1962

(5) 1963

ตอบ 4 หน้า 41 – 42, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบา เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบา ทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจาก คิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

74 ในปี ค.ศ. 2017 สมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (NAM) มีกี่สมาชิก

(1) 120

(2) 121

(3) 122

(4) 188

(5) 184

ตอบ 1 หน้า 36 – 37, (คําบรรยาย) ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (NAM) ก่อตั้งขึ้นโดยมีการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 120 ประเทศ เช่น อียิปต์ ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ คิวบา ปาเลสไตน์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีเหนือ อินเดีย ปากีสถาน อิรัก อิหร่าน ศรีลังกา ซิมบับเว ไทย เป็นต้น

75 องค์การระหว่างประเทศหมายถึงอะไร

(1) บริษัทที่ดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

(2) องค์การที่ใช้ระบบโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

(3) สถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่สองรัฐจัดตั้งเพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ

(4) องค์การที่จัดตั้งขึ้นมาจากการปรึกษาหารือกันระหว่างรัฐบาลของรัฐต่าง ๆ

(5) รัฐที่เป็นสมาชิกห้ามมาจากภูมิภาคเดียวกัน

ตอบ 3 หน้า 94, (คําบรรยาย) ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations : IGO) หมายถึง สถาบันที่รัฐหรือตัวแทนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร

2 องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : INGO) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

76 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล

(1) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

(2) ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง

(3) ได้รับการรับรองจากมติมหาชนในชาติสมาชิก

(4) รัฐนั้น ๆ ต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราชและอิสระ

(5) เป็นกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

ตอบ 3 หน้า 95, (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มี 4 ประการ ดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) นั่นคือ สมาชิกต้องมีฐานะเป็นรัฐเท่านั้น เนื่องจากรัฐสมาชิกเหล่านี้จะมีอํานาจอธิปไตย เป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราชและอิสระ และมีความเสมอภาคกันในการออกเสียง

2 ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

3 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

4 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

77 รายชื่อในข้อเลือกข้อใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศระดับสากล

(1) OPEC

(2) IMF

(3) World Bank

(4) EU

(5) ข้อ 1 และ 4

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

78 อาชีพใดที่ไม่ได้อยู่ในข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพในประชาคมอาเซียน

(1) แพทย์

(2) พยาบาล

(3) วิศวกร

(4) นักปกครอง

(5) นักบัญชี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ (Mutual Recognition Arrangement : MRA) ในประชาคมอาเซียน เป็นข้อตกลงเพื่ออํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ของประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรีใน 7 สาขาอาชีพ คือ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก นักสํารวจ นักบัญชี ทันตแพทย์ และแพทย์

79 คําขวัญ (Motto) ในปัจจุบันของอาเซียนคือ

(1) หนึ่งประเทศ หนึ่งผลิตภัณฑ์

(2) ร่วมมือกันพัฒนา พาอาเซียนพ้นภัย

(3) หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งชุมชน

(4) ต่างวิสัยทัศน์ แต่เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์

(5) หลายวิสัยทัศน์ หลากอัตลักษณ์ หนึ่งชุมชน

ตอบ 3 หน้า 125 126, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 ภายใต้คําขวัญคือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม (ชุมชน) (One Vision, One Identity, One Community) ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และกัมพูชา

80 อะไรคือจุดมุ่งหมายหลักของเอเปค (APEC)

(1) เพื่อร่วมเป็นตลาดเดียว

(2) มีการเคลื่อนย้ายแรงงานของประเทศสมาชิกอย่างเสรี

(3) เป็นเวทีการเจรจาการค้าระหว่างสมาชิก

(4) เน้นการรวมกลุ่มด้านการค้าแบบปิด (Trade Bloc)

(5) เป็นเวทีปรึกษาหารือเรื่องการค้าระหว่างประเทศ

ตอบ 5 หน้า 133 – 134, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) มีดังนี้

1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทาง การค้าและเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

2 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบ การค้าหลายฝ่าย หรือระบบการค้าแบบเปิด

3 เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

4 เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้าของสมาชิก แต่ไม่ใช่เวทีในการเจรจาหรือยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างสมาชิก

81 อาเซียน (ASEAN) ยังไม่ได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีกับประเทศใด

(1) อินเดีย

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) สหภาพยุโรป

(4) เกาหลีใต้

(5) ข้อ 1, 3 และ 4

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศที่อาเซียนได้เจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โครงการ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ (ส่วนการจัดตั้งและเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปนั้นอยู่ระหว่างการเจรจา)

82 เลขาธิการอาเซียน (ASEAN) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จนถึงปัจจุบันมาจากประเทศใด

(1) มาเลเซีย

(2) เวียดนาม

(3) สิงคโปร์

(4) อินโดนีเซีย

(5) กัมพูชา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สํานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเลขาธิการอาเซียนในฐานะหัวหน้าสํานักงานจะมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันมีนายเล เลือง มินห์ (Le Luong Minh) ชาวเวียดนาม เป็นเลขาธิการ โดยดํารงตําแหน่งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 สําหรับประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียน 2 ท่าน คือ นายแผน วรรณเมธี และนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

83 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้องค์การระหว่างประเทศเป็นตัวแสดงที่มีความสําคัญในยุคปัจจุบัน

(1) รัฐไม่สามารถแก้ไขตามลําพังได้เพียงรัฐเดียว

(2) รัฐต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

(3) รัฐมหาอํานาจต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์

(4) ลักษณะการพึ่งพาของรัฐเป็นแบบซับซ้อน

(5) การเติบโตของสังคมข่าวสาร

ตอบ 3 หน้า 94, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศระหว่างรัฐหรือระดับรัฐบาล ถือเป็นตัวแสดงที่สูงกว่ารัฐในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นตัวแสดงที่มีความสําคัญในยุคปัจจุบัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันมีลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างซับซ้อน จนทําให้ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบางประเด็นหรือบางกรณีไม่สามารถบรรลุผล สําเร็จหรือนําไปสู่การแก้ไขปัญหาได้โดยลําพังเพียงรัฐเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือในกรอบขององค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับสากลและระดับภูมิภาคมาช่วยในการแก้ไขปัญหา รายงานระหว่างประเทศให้สําเร็จลุล่วง

84 ข้อใดไม่ใช่หน่วยงานที่ดูแลระบอบด้านเศรษฐกิจ

(1) WTO

(2) EU

(3) World Bank

(4) NPT

(5) IMF

ตอบ 4 หน้า 84, (คําบรรยาย) ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ ได้แก่

1 ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศ มีหน่วยงานที่ดูแลคือ องค์การการค้าโลก (WTO)

2 ระบอบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ มีหน่วยงานที่ดูแลคือ องค์การอนามัยโลก (WHO)

3 ระบอบด้านอาวุธนิวเคลียร์ อยู่ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และมีหน่วยงานที่ดูแลคือ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)

4 ระบอบด้านเศรษฐกิจ มีหน่วยงานที่ดูแลคือ องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), สหภาพยุโรป (EU), การประชุม การค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD) เป็นต้น

85 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เกี่ยวกับข้อเลือกข้อใดมากที่สุด

(1) การพิทักษ์รักษาทรัพยากรระหว่างประเทศ

(2) การร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

(3) ข้อตกลงการควบคุมการล่าปลาวาฬ

(4) การรักษาเมืองเกียวโตให้เป็นมรดกโลก

(5) การแก้ปัญหามลภาวะจากจีนที่พัดไปญี่ปุ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่กําหนดให้ประเทศภาคีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ในตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูออไรคาร์บอน เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ขึ้นสู่บรรยากาศของโลก เพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน

86 ประเทศใดไม่ใช่สมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงประเภทความถาวรในปัจจุบัน (1) รัสเซีย

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) เยอรมนี

(4) สหราชอาณาจักร

(5) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 3 หน้า 106 – 107, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2 สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในวาระคราวละ 2 ปี

87 เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

(2) นายโคฟี อันนัน

(3) นายอันโตนิโอ กูแตร์เรซ

(4) นายโดนัลด์ ทรัมป์

(5) นายวลาดิเมียร์ ปูติน

ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอันโตนิโอ กูแตร์เรซ (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกส ซึ่งเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

88 ประธานธนาคารโลกคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายบัน คีมูน

(2) นายปาสกัล ลามี

(3) นายจิม ยอง คิม

(4) นายไมค์ มัวร์

(5) นายศุภชัย พานิชภักดิ์

ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ประธานธนาคารโลกคนปัจจุบัน คือ นายจิม ยอง คิม Jim Yong Kim) ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ซึ่งนับเป็นประธานธนาคารโลกคนแรกที่มาจากสาขาอาชีพการแพทย์

89 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน

(1) ประชาคมอาเซียน 2020

(2) การรวมศูนย์บริหารราชการหนึ่งเดียว

(3) ประชาคมเศรษฐกิจ

(4) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

(5) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1997 อาเซียนได้ประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ภายในปี ค.ศ. 2020 แต่ต่อมาอาเซียนได้ร่นระยะเวลาการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จเร็วขึ้นเป็นภายในปี ค.ศ. 2015

90 ข้อเลือกข้อใดมักถูกมองว่าเป็นปัญหาของกฎบัตรอาเซียน

(1) ไม่มีบทบาทด้านการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน

(2) ยึดหลักฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศสมาชิก

(3) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

(4) มีกลไกในการระงับข้อพิพาทระหว่างสมาชิก

(5) การรับประเทศติมอร์เลสเตเข้าร่วมเป็นสมาชิก

ตอบ 2 หน้า 129, (คําบรรยาย) กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน ของอาเซียน โดยประเด็นที่มักถูกมองว่าเป็นปัญหาสําคัญของกฎบัตรอาเซียน ก็คือ การยึดหลัก ฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศสมาชิกตามหลักการ “The ASEAN Way”

91 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี

(1) การประนีประนอม

(2) การเจรจา

(3) การไกล่เกลี่ย

(4) การใช้กองกําลังทางทหาร

(5) การเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ตอบ 4 หน้า 138 139, (คําบรรยาย) กระบวนการแก้ปัญหาหรือระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธีตามหมวด 6 ของสหประชาชาติ มี 6 วิธี คือ

1 การเจรจา

2 การไต่สวน

3 การไกล่เกลี่ย

4 การประนีประนอม

5 การตั้งอนุญาโตตุลาการ

6 การเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

92 ประเทศใดที่ไม่อาจกล่าวได้ว่ายึดถือความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ (Neutrality) ในปัจจุบัน

(1) ออสเตรีย

(2) สวีเดน

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) มัลต้า

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

93 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการรับรองสภาพความเป็นรัฐ

(1) การกระทําซึ่งรัฐกล่าวยืนยันสภาพหน่วยสังคมทางการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระ

(2) รัฐถือเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(3) การติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างรัฐจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐแล้ว

(4) รัฐนั้นได้เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง แต่ยังไม่อาจให้การรับรองในรูปกฎหมาย

(5) การรับรองโดยนิตินัยเป็นการรับรองต่อสภาพความถูกต้องของรัฐว่ามีผลถูกต้องตามกฎหมาย

ตอบ 2 หน้า 137 138 การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐแล้ว ซึ่งการรับรองสภาพความเป็นรัฐ คือ การกระทําซึ่งรัฐกล่าวยืนยันสภาพหน่วยสังคมทางการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระ มีความสามารถที่จะปฏิบัติพันธะและหน้าที่ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีเจตนาที่จะถือว่าหน่วยสังคมทางการเมืองนั้นเป็นสมาชิก ของสังคมระหว่างประเทศ โดยการรับรองสภาพความเป็นรัฐแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การรับรองโดยพฤตินัย หรือการรับรองตามข้อเท็จจริง เป็นการรับรองสภาพความเป็นรัฐ แบบชั่วคราว โดยรัฐต่าง ๆ ยังสงสัยในลักษณะบางประการของรัฐใหม่ จึงเพียงแต่ให้ความ ยินยอมหรือรับรองว่ารัฐนั้นได้เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง แต่ยังไม่อาจให้การรับรองในรูป กฎหมายได้

2 การรับรองโดยนิตินัย หรือการรับรองตามกฎหมาย เป็นการรับรองต่อสภาพความถูกต้องของรัฐแบบเป็นทางการและถาวรว่ามีผลถูกต้องตามกฎหมาย

94 เพราะเหตุใดองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นตัวแสดงที่สําคัญในระบบระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน

(1) เพราะรัฐต่าง ๆ ต้องการแย่งชิงให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ

(2) ต้องอาศัยความร่วมมือในกรอบขององค์การระหว่างประเทศในการเจรจาด้านต่าง ๆ

(3) ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบางกรณีนั้นสามารถแก้ไขปัญหาโดยรัฐเดียวเพียงลําพัง

(4) รัฐแต่ละรัฐต้องการประเทศที่มีอํานาจเหนือกว่ามาปกป้องคุ้มครอง

(5) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันมีลักษณะพึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างซับซ้อน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

95 องค์การระหว่างประเทศใดต่อไปนี้ไม่มีลักษณะการเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลก

(1) องค์การสหประชาชาติ

(2) สันนิบาตชาติ

(3) องค์การการค้าโลก

(4) สหภาพยุโรป

(5) องค์การอาหารและการเกษตรโลก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

96 องค์การการค้าโลก (WTO) และรัฐสมาชิก WTO มีพันธกิจร่วมส่งเสริมสนับสนุน

(1) การค้าเสรีระหว่างประเทศ

(2) การค้าระหว่างประเทศที่เป็นธรรม

(3) การค้ามนุษย์อย่างถูกกฎหมาย

(4) การตั้งกําแพงการค้าระหว่างประเทศ

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 116 – 117, (คําบรรยาย) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนการค้าเสรีระหว่างประเทศที่เป็นธรรม ซึ่งก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 โดยมีพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย ภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้ามาเป็นสมาชิก ได้แก่ อัฟกานิสถาน (29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016) สําหรับประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกลําดับที่ 59 ของ WTO ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง

97 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป

(1) การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส

(2) ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป

(3) ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป

(4) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

(5) สนธิสัญญามาสทริชท์

ตอบ 1 หน้า 123, (คําบรรยาย) สหภาพยุโรป (European Union : EU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดยสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ซึ่งเป็นการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป และ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) สหภาพยุโรปมีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ โดยประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด คือ โครเอเชีย (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013)

98 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับองค์การระหว่างประเทศระหว่างรัฐ

(1) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับสากลและภูมิภาค

(2) เป็นตัวแสดงที่สูงกว่ารัฐในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจัดตั้ง

(3) เป็นสถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐ ร่วมกันจัดตั้งขึ้น

(4) เป็นองค์การที่ภาครัฐเปิดให้บริษัทเอกชนเข้าไปมีบทบาท

(5) เป็นเครื่องมือที่ให้แก้ปัญหาในกรณีที่รัฐเดียวไม่สามารถกระทําได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 และ 83 ประกอบ

99 ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) สนธิสัญญา

(2) ข้อตกลงระหว่างประเทศ

(3) คําพิพากษาของศาลฎีกาหรือศาลสูงในประเทศสมาชิก

(4) จารีตประเพณีระหว่างประเทศ

(5) หลักกฎหมายทั่วไป

ตอบ 3 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศข้อตกลงระหว่างประเทศ และคําพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

2 ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป

100 ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อเลือกข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) ประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะนิติบุคคล

(2) กฎหมายระหว่างประเทศก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมแห่งรัฐ

(3) ได้มาจากการรวมกระบวนการทางนิติบัญญัติในชาติสมาชิก

(4) เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกัน

(5) กฎหมายระห่างประเทศไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction)

ตอบ 3 หน้า 135 – 137 กฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะดังนี้

1 เป็นเครื่องกําหนดหลักเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงทําให้ประเทศมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะนิติบุคคล

2 ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมแห่งรัฐ

3 เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกัน

4 การได้มาของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติหรืออํานาจส่วนกลางใด ๆ แต่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติและข้อตกลงต่าง ๆ ที่ได้ลงนามเห็นชอบโดยแต่ละรัฐ

5 ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้สังคมระหว่างรัฐมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย คือ ไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” เป็นยุทธศาสตร์ที่นําเสนอโดยประเทศใด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) บราซิล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” (21 Century Maritime Silk Route Economic Belt) เป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่นําเสนอโดยนายสี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ รวมถึงการค้าการลงทุนระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับประเทศในแถบภูมิภาคมหาสมุทรได้แก่ อาเซียน โอเชียเนีย แอฟริกาเหนือ แปซิฟิก รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย

2 ใครเป็นผู้เขียนคัมภีร์พิชัยสงครามของจีน

(1) ขงจื้อ

(2) หานเฟยจื่อ

(3) โจโฉ

(4) สวินจือ

(5) ซุนจือ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ซุนจือ หรือซุนวู เป็นผู้เขียนคัมภีร์พิชัยสงครามของจีนเมื่อราว 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งนับว่าเป็นคัมภีร์ยุทธศาสตร์ทางทหารที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในคัมภีร์ได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางทั้งในวงการธุรกิจและการเมืองโดยยุทธศาสตร์ที่สําคัญ เช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นต้น

3 นักปรัชญาเมธีของจีนท่านใดที่เน้นสอนเรื่องจริยธรรมและการสร้างระเบียบทางสังคม

(1) ขงจื้อ

(2) หานเฟยจื่อ

(3) โจโฉ

(4) ซุนจือ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 53, (คําบรรยาย) ขงจื้อ เป็นนักปรัชญาเมธีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีนในยุคโบราณและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองและนักบริหารที่สามารถสั่งสอนให้คนประพฤติชอบ ซึ่งหลักการของขงจื้อจะมุ่งเน้นการสอนเรื่องปรัชญามากกว่าศาสนา และเน้นการสอนเรื่อง จริยธรรมและการสร้างระเบียบทางสังคม ซึ่งผลงานชิ้นสําคัญของเขาก็คือ ตํารับขงจื้อ (The Analects of Confucius) นับว่าเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดของจีน

4 สมมุติฐานที่ว่า การปกป้องตนเองเเละความมั่นคงในระดับภูมิภาค สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับสากล เป็นแนวคิดในข้อใด

(1) แนวคิดสากลนิยม

(2) แนวคิดภูมิภาคนิยม

(3) แนวคิดศาสนานิยม

(4) แนวคิดพรรคพวกนิยม

(5) แนวคิดท้องถิ่นนิยม

ตอบ 2 หน้า 134 แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) ยึดมั่นต่อข้อสมมุติฐานที่ว่า การป้องกันตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคนั้น สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับสากล ด้วยข้อสมมุติฐานนี้เอง พวก Regionalism จึงเน้นให้ภูมิภาคต่าง ๆ ควรที่จะจัดระบบการ ป้องกันตนเองเป็นสัดเป็นส่วน เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจาก เมื่อเกิดการรุกรานขึ้นประเทศที่อยู่ภายนอกภาคพื้นหรือนอกข่ายจากการรุกรานคงไม่ประสงค์ที่จะช่วยเหลือหรือเข้ามาพัวพันกับวิกฤติการณ์นั้น ๆ

5 ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สองจากประเทศล่าอาณานิคม

(1) ไทย

(2) จีน

(3) ญี่ปุ่น

(4) มาเลเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้น ไป จึงถือว่าวันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย

6 จีนแพ้สงครามให้กับประเทศใดที่ทําให้เสียเกาะฮ่องกง

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) รัสเซีย

(3) ญี่ปุ่น

(4)อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 หน้า 54, (คําบรรยาย) สงครามฝิ่น (The Opium War) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1830 และยุติลงเนื่องจากกองทหารอังกฤษ สามารถเอาชนะกองทัพจีนได้ ทําให้จีนต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาไม่เสมอภาคฉบับแรกกับ อังกฤษในปี ค.ศ. 1842 เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพนานกิง” (The Treaty of Nanking) และถูกบีบบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่า 5 แห่งเพื่อให้คนอังกฤษได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

7 ญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคราชวงศ์ใด

(1) ยุคเอโดะ

(2) ยุคเมจิ

(3) ยุคซามูไร

(4) ยุคคามากุระ

(5) ยุคเฮอัน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในยุคเมจินั้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมโดยเข้าไปจัดการกับอุตสาหกรรมหลายประเภทในลักษณะโครงการนําร่อง เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานในเส้นด้าย โรงงานน้ำตาล โรงงานเบียร์ เป็นต้น รวมทั้งนําเทคโนโลยีเครื่องจักรจากประเทศยุโรปตะวันตกมาใช้ และ จ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศยุโรปตะวันตกมาถ่ายทอดความรู้อีกด้วย ซึ่งหลังจากญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมได้สําเร็จแล้วก็ทยอยขยายโรงงานต่าง ๆ ให้เอกชนรับไปดําเนินงานต่อไป

8 จีนรบกับญี่ปุ่นในช่วงราชวงศ์หมิงเพื่อช่วยประเทศใด

(1) เกาหลี

(2) ไทย

(3) เวียดนาม

(4) อิรัก

(5) อิหร่าน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในช่วงราชวงศ์หมิง เกาหลีซึ่งเป็นรัฐบรรณาการของจีนถูกญี่ปุ่นรุกราน จีนจึงส่งกําลังทหารเข้าไปช่วยเกาหลีรบกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ ซึ่งสงครามในครั้งนั้นเรียกว่าสงครามอิมจิน

9 สองมหาอํานาจในช่วงสงครามเย็นหมายถึงข้อใด

(1) จีน และสหภาพโซเวียต

(2) สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

(3) จีน และสหรัฐอเมริกา

(4) องค์การสันนิบาตชาติ และสหประชาชาติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 79, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 – 1991 (ตําราบางเล่มระบุว่าสงครามเย็นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1945 – 1991) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากการที่มหาอํานาจ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างอ้างอุดมการณ์ของชาติตน จนกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ และทําให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก ต้องแบ่งออกเป็น 2 ขั้วหรือ 2 ค่าย คือ ค่ายโลกเสรีประชาธิปไตยหรือค่ายตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา และค่ายโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือค่ายตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต

10 ประเทศใดที่เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นประเทศล่าสุด

(1) ไทย

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 5 หน้า 22 – 29, 33 – 34, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2016) สหประชาชาติมีสมาชิก ทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

11 ข้อใดคือเป้าหมายของการศึกษาเศรษฐศาสตร์ทางการเมืองระหว่างประเทศ

(1) การเมืองในประเทศ

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) เศรษฐกิจภายในประเทศ

(4) เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics Economy : IPE) เป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการเมืองกับเศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ โดยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง ระหว่างประเทศจะให้ความสําคัญกับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยครอบคลุมการศึกษา ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ หลักการค้าเสรี กลไกราคาในตลาดโลก การเจรจา ทางการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาตัวแสดงในเวทีการเมืองโลกทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐ และตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs)

12 เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศศึกษาตัวแสดงในการเมืองโลกใดบ้าง

(1) บรรษัทข้ามชาติ

(2) รัฐ

(3) NGOs

(4) องค์การระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 องค์การระดับภูมิภาคที่มีบทบาทริเริ่มเพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจสังคมและทางการเมืองแต่กําลังประสบปัญหาทางด้านการเงินและหนี้สินของประเทศสมาชิกได้แก่องค์การใด

(1) OAU

(2) OAS

(3) ASEAN

(4) SEATO

(5) EU

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) กําลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเขตยูโรโซน หรือที่เรียกว่า วิกฤตการณ์ยูโรโซน ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและ หนี้สาธารณะ โดยเริ่มต้นจากการเกิดภาวะเศรษฐกิจการเงินตกต่ําในกรีซ แล้วส่งผลกระทบลุกลาม ไปถึงภาวะเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่อยู่ในเขตยูโรโซนด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน จึงทําให้เกิดความอ่อนแอต่อฐานะเศรษฐกิจการคลังในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอย่างมาก

14 เหตุผลหลักที่มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาคเมื่อแรกเริ่มเกิดจากแรงผลักดันใดในข้อต่อไปนี้

(1) เพื่อใช้เป็นเวทีเจรจา

(2) เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง

(3) เพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน

(4) เพื่อถ่วงดุลอํานาจ

(5) เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะตัวแสดงบนเวทีโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเหตุผลหลักของการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค ก็คือ เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงของมนุษยชาติ

15 องค์การระหว่างประเทศที่จัดอยู่ในประเภทเพื่อความมั่นคงและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิกคือข้อใด

(1) ASEAN

(2) UNESCO

(3) FAO

(4) NATO

(5) AU

ตอบ 4 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความมั่นคงและส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม อังกฤษ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส ตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนียโครเอเชีย และแอลเบเนีย

16 ประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียนซึ่งเป็นใครต่อไปนี้

(1) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

(2) นายกษิต ภิรมย์

(3) นายธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

(4) พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ

(5) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สํานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเลขาธิการอาเซียนในฐานะหัวหน้าสํานักงานจะมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันมีนายเอ เลือง มินห์ (Le Lu’o’ng Minh) ชาวเวียดนาม เป็นเลขาธิการ สําหรับ ประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียน 2 ท่าน คือ นายแผน วรรณเมธีและนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

17 ใครคือผู้ที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน

(1) เล เลือง มินห์

(2) สุรินทร์ พิศสุวรรณ

(3) H.R. Darsono

(4) Ong Keng Yong

(5) Datuk Ali Bin Abdullah

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

18 เพลงประจําอาเซียนคือเพลงอะไร

(1) The ASEAN Unity

(2) The ASEAN Soul

(3) The ASEAN Together

(4) The ASEAN Blood

(5) The ASEAN Way

ตอบ 5 (คําบรรยาย) The ASEAN Way เป็นเพลงประจําอาเซียน ซึ่งประพันธ์ทํานองโดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ และนายสําเภา ไตรอุดม คําร้องโดยนายพยอม วลัยพัชราโดยเพลงนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพลงประจําอาเซียนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008

19 กฎหมายระหว่างประเทศมีกี่ประเภท

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public International Law)

2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law)

20 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด

(1) ลาว ไทย เวียดนาม

(2) พม่า เวียดนาม กัมพูชา

(3) สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย

(4) ญี่ปุ่น พม่า กัมพูชา

(5) มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม

ตอบ 4 หน้า 168 169, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนาม ในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) อาเซียนมีสมาชิก ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และกัมพูชา

21 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ชื่อสนามบินในประเทศอาเซียน

(1) Wattay International Airport

(2) O.R. Tambo International Airport

(3) Ninoy Aquino International Airport

(4) Changi International Airport

(5) Noi Bai International Airport

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ชื่อสนามบินในประเทศอาเซียน ได้แก่

1 Wattay International Airport ของประเทศลาว

2 Ninoy Aquino International Airport ของประเทศฟิลิปปินส์

3 Changi International Airport ของประเทศสิงคโปร์

4 Noi Bai Internat onal Airport ของประเทศเวียดนาม

ส่วน O.R. Tambo International Airport เป็นสนามบินของประเทศแอฟริกาใต้(ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

22 NATO เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคใด

(1) อเมริกาเหนือ

(2) อเมริกาใต้

(3) ยุโรป

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

23 ประเทศสมาชิกอาเซียนใดที่มีขนาดเล็กที่สุดแต่มีความมั่นคงทางการเงินมากที่สุด

(1) ลาว

(2) บรูไน

(3) ไทย

(4) มาเลเซีย

(5) สิงคโปร์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จากการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า

1 อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด

2 สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีความมั่นคงทางการเงินและมีรายได้ ต่อหัวประชากรมากที่สุด

3 ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกันยาวที่สุด

4 สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

24 ประเทศใดมีรายได้ต่อหัวของประชากรมากที่สุดในอาเซียน

(1) สิงคโปร์

(2) กัมพูชา

(3) เวียดนาม

(4) ลาว

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ประเทศใดใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

(1) ไทย

(2) อินโดนีเซีย

(3) สิงคโปร์

(4) เวียดนาม

(5) ลาว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

26 ค่าจ้างแรงงาน 300 บาท มีผลเช่นไรกับการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน

(1) แรงงานไทยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

(2) แรงงานไร้ฝีมือจากภายนอกเข้ามาน้อยลง

(3) แรงงานมีความขัดแย้งกันมากขึ้น

(4) แรงงานไร้ฝีมือในอาเซียนเข้ามาทํางานในประเทศไทยมากขึ้น

(5) ประเทศไทยต้องจ้างแรงงานไทยมากขึ้น

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลของการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ได้ทําให้แรงงานไร้ฝีมือในอาเซียนเข้ามาทํางานในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานจาก 3 ประเทศหลัก คือ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งแรงงานเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของกิจการหลายประเภท โดยเฉพาะงาน ที่มีลักษณะ 3 D คือ สกปรก (Dirty) ยากลําบาก (Difficult) และอันตราย (Dangerous) เช่น งานในเรือประมงทะเล งานก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่แรงงานไทยไม่นิยมทํา

27 สิ่งใดเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน

(1) กฎบัตรอาเซียน

(2) ปฏิญญาอาเซียน

(3) วิสัยทัศน์อาเซียน

(4) สัญลักษณ์อาเซียน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของอาเซียน โดยทําให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทํางานมากขึ้น รวมทั้งทําให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์การระหว่างรัฐบาล

  1. อาเซียน + 6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

(1) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และศรีลังกา (2) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

(3) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และรัสเซีย

(4) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีเหนือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

(5) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน บราซิล ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ ตอบ 2 (คําบรรยาย) อาเซียน + 6 (ASEAN + 6) เกิดจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เพื่อจัดตั้ง เขตการค้าเสรี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา อีก 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ)

29 BRICS เป็นการรวมกลุ่มของประเทศขั้วอํานาจใหม่ประกอบด้วยประเทศใด

(1) บังกลาเทศ รัสเซีย อินโดนีเซีย จีน แอฟริกาใต้

(2) บังกลาเทศ รัสเซีย อินเดีย จีน สิงคโปร์

(3) บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้

(4) บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน สิงคโปร์

(5) บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย จีน แอฟริกาใต้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G 7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้(South Africa)

30 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล

(1) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่งที่มีความเสมอภาคกัน

(2) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

(3) รัฐเหล่านี้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ

(4) รัฐตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

(5) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มี 4 ประการ ดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) นั่นคือ สมาชิกต้องมีฐานะเป็นรัฐ เท่านั้น เนื่องจากรัฐสมาชิกเหล่านี้จะมีอํานาจอธิปไตย เป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและมีความเสมอภาคกันในการออกเสียง

2 ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

3 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และ มุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

4 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

31 กลุ่ม BRICS มีความสําคัญอย่างไรในเวทีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ

(1) เป็นกลุ่มประเทศขนาดเล็กที่มีทรัพยากรมั่งคั่ง

(2) เป็นกลุ่มหรือเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีศักยภาพเป็นศูนย์อํานาจใหม่

(3) เป็นกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าใหญ่ที่สุดของโลก

(4) เป็นกลุ่มประเทศที่กระจัดกระจายอยู่ในทวีปต่าง ๆ ของโลกและมีทรัพยากรหลากหลาย

(5) เป็นกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่มีประชากรมากที่สุด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

32 ติมอร์ตะวันออก (ติมอร์-เลสเตในปัจจุบัน) ได้รับอิสรภาพจากประเทศใด

(1) มาเลเซีย

(2) ออสเตรเลีย

(3) โปรตุเกส

(4) บรูไน

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ติมอร์ตะวันออก หรือติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ภายหลังจากที่โปรตุเกสเจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป โดยอินโดนีเซีย ได้รวมติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศ และในปี ค.ศ. 1999 ติมอร์ตะวันออก ได้รับอิสรภาพจากอินโดนีเซีย โดยประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

33 ท่าเรือทวายอยู่ใกล้จังหวัดใดในประเทศไทย

(1) ตาก

(2) เชียงราย

(3) ระนอง

(4) กาญจนบุรี

(5) ราชบุรี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ญี่ปุ่นมีข้อเสนอที่จะทําเส้นทางรถไฟจากประเทศไทยไปยังท่าเรือทวายในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดกาญจนบุรีของประเทศไทย โดยท่าเรือแห่งนี้จะเป็น ศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของอาเซียนในการเชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศอาเซียนไปยังประเทศตะวันออกกลาง ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

34 จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด

(1) หนองคาย

(2) เชียงราย

(3) เชียงใหม่

(4) นครพนม

(5) อุบลราชธานี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคาย ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan-Asia Railway Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน

35 ประเทศไทยส่งออกสินค้าอะไรที่ทํารายได้ให้กับประเทศมากที่สุด

(1) น้ำมัน

(2) ยางพารา

(3) อาหาร

(4) เครื่องนุ่งห่ม

(5) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2016) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน ถือเป็นสินค้าส่งออกที่ทํารายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกจํานวน 699,594.4 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบียเป็นต้น

36 ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับฟิลิปปินส์และเวียดนาม

(1) ญี่ปุ่น

(2) จีน

(3) อินโดนีเซีย

(4) บรูไน

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจํานวนมหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิ์ส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาท หรือความขัดแย้งกับประเทศที่อยู่ล้อมรอบซึ่งล่าสุดก็คือ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยหมู่เกาะ ที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิ์ในการครอบครองนั้น มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly

Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)

37 ประเทศใดมีข้อเสนอที่จะทําทางรถไฟให้ไทยไปทวายครั้งล่าสุด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลีใต้

(4) เกาหลีเหนือ

(5) สิงคโปร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

38 นายกคนปัจจุบันของญี่ปุ่นต้องการจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายในด้านใด

(1) การแต่งงาน

(2) การค้า

(3) การใช้กําลังทหาร

(4) สิ่งแวดล้อม

(5) แรงงานต่างด้าว

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่น มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้กําลังทหาร โดยเสนอรัฐสภาให้มีการแก้ไขกฎหมาย จัดตั้งกระทรวงการป้องกันประเทศ เพื่อเปิดทางให้กองกําลังป้องกันตนเองมีบทบาทมากขึ้น เช่น สามารถใช้กําลังทหารได้หากประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นถูกโจมตีด้วยอาวุธ สามารถเข้าร่วม ปฏิบัติการทางทหารในต่างแดนได้โดยไม่จําเป็นต้องเข้าร่วมกับกองกําลังรักษาสันติภาพของ สหประชาชาติเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญที่สุดของญี่ปุ่น เนื่องจากตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้ถูกจํากัดสิทธิในการใช้กองกําลังป้องกันตนเอง

39 วันใดเป็นวันครบรอบ 70 ปี การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา

(1) 5 สิงหาคม 2558

(2) 6 สิงหาคม 2558

(3) 7 สิงหาคม 2558

(4) 8 สิงหาคม 2558

(5) 9 สิงหาคม 2558

ตอบ 2 หน้า 74, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการหลังสหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) จํานวน 2 ลูก โดยทิ้งลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม และลูกที่ 2 ที่เมืองนางาซากในวันที่ 9 สิงหาคม โดยในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ถือเป็นการครบรอบ 70 ปีของการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น

40 องค์การสันนิบาตชาติเกิดขึ้นหลังสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามเวียดนาม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 2

(4) สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา

(5) สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน

ตอบ 1 หน้า 33, 73, 75 – 76, (คําบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกที่มีวัตถุประสงค์หลายด้าน ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและ สร้างสันติภาพ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมทั้งการป้องกันการก่อสงครามระหว่างประเทศ และการใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีแทนการใช้การรุกรานและการทําสงคราม โดยองค์การสันนิบาตชาติได้ยุติการทํางานลงในปี ค.ศ. 1941 และได้สิ้นสุดสภาพการเป็น องค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 โดยโอนทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดไปให้แก่องค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน

41 ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของจีนชื่ออะไร

(1) เจียง เจ๋อหมิง

(2) หู จิ่นเทา

(3) สี จิ้นผิง

(4) เหวิน เจียเป่า

(5) หลี่ หยวนเฉา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

42 ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

(1) ประธานาธิบดีดูเตอร์เต

(2) ประธานาธิบดีโคราซอน อากีโน

(3) ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส

(4) ประธานาธิบดีอาโรโย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ คือ นายโรดริโก ดูเตอร์เต (Rodrigo :Duterte) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2016

43 ประเทศไทยเป็นสมาชิกของอาเซียนเมื่อไหร่

(1) 1932

(2) 1945

(3) 1967

(4) 1983

(5) 2000

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

44 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกผู้จัดตั้งอาเซียน

(1) ไทย

(2) พม่า

(3) อินโดนีเซีย

(4) ฟิลิปปินส์

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

45 สํานักงานใหญ่เลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ในประเทศใด

(1) ไทย

(2) สิงคโปร์

(3) เวียดนาม

(4) อินโดนีเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

46 ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่ม ASEAN Plus Three

(1) เกาหลีใต้

(2) มองโกเลีย

(3) ญี่ปุ่น

(4) จีน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ASEAN Plus Three หรือ ASEAN + 3 เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจากเอเชียตะวันออกอีก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค เอเชียตะวันออก และนําไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community)ในอนาคต (ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

47 ประเทศญี่ปุ่นและจีนมีข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะอะไร

(1) หมู่เกาะเซนกากุ หรือหมู่เกาะเตียวหยู

(2) หมู่เกาะไหหลํา

(3) หมู่เกาะฮาวาย

(4) หมู่เกาะสแปรทลีย์

(5) หมู่เกาะพีพี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะเซนกากุ (ในภาษาญี่ปุ่น) หรือหมู่เกาะเตียวหยู (ในภาษาจีน) ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน ในทะเลจีนตะวันออก โดยต่างฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของหมู่เกาะดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

48 ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน มีชื่อว่าอะไร

(1) จริงแท้จริง

(2) Deja Vu

(3) Kim Hyun Sun

(4) Kim Jong IL

(5) Kim Jong Un

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง อึน (Kim Jong Un) ซึ่งเป็นบุตรชายของนายคิม จอง อิล (Kim Jong II) อดีตผู้นําเกาหลีเหนือ โดยเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011

49 นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

(1) อิคคิวซัง

(2) Honda Suzuki

(3) ชินโซ อาเบะ

(4) ทาโร่ฮานามิ

(5) โตกุกาว่าอิเอยาสึ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

50 ประเทศใดบ้างถือว่าเป็นมหาอํานาจในเอเชียแปซิฟิก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) Australia

(3) รัสเซีย

(4) จีน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เอเชียแปซิฟิก เป็นภูมิภาคของโลกที่อยู่ในหรืออยู่ใกล้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสตราเลเซีย และโอเชียเนีย ซึ่งอาจรวมไปถึงเอเชียใต้ รัสเซีย และประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกด้วย โดยประเทศมหาอํานาจใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นเป็นต้น

51 ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) ASEAN

(2) UN

(3) APEC

(4) World Bank Sei

(5) African Union

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ในปัจจุบัน เช่น สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IME), องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), อาเซียน (ASEAN), การประชุมการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD),กลุ่ม 77 (G-77), กลุ่มหรือขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (NAM) เป็นต้น

52 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ

(1) UN

(2) ASEAN

(3) WTO

(4) NATO

(5) Coca-Cola

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่นสันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น

53 IGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations :IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐหรือตัวแทนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร

2 องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : ENGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

54 INGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

55 สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 2001

(2) 1980

(3) 1918

(4) 1945

(5) 1941

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

56 สมาชิกก่อตั้งสหประชาชาติมีกี่ประเทศ

(1) 4

(2) 161

(3) 51

(4) 170

(5) 15

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

57 สหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ

(1) 150

(2) 161

(3) 15

(4) 166

(5) 193

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

58 องค์การการค้าโลกมีพัฒนาการมาจากองค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) GATT

(2) UNDP

(3) FAO

(4) UNEP

(5) NATO

ตอบ 1 (คําบรรยาย) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่มีบทบาทในการสร้างกฎเกณฑ์หรือระเบียบการค้าโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 ปราม โดยมีพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้ามาเป็นสมาชิก ได้แก่ อัฟกานิสถาน (29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016)สำหรับประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกลําดับที่ 59 ของ WTO ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง

59 สํานักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่เมืองใด

(1) กรุงเทพ

(2) ลอนดอน

(3) ปารีส

(4) โตเกียว

(5) นิวยอร์ก

ตอบ 5 คําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

60 ข้อใดไม่ใช่วัตกประงค์การก่อตั้งองค์การการค้าโลก

(1) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

(4) เป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

(5) กํากับการดําเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า ตอบ 2 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก มีดังนี้

1 เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

2 เพื่อกํากับการดําเนินการของประเทศ สมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 (GATT 1994)

3 เพื่อยุติหรือระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

4 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

61 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของ ASEAN

(1) ไทย

(2) เวียดนาม

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) สิงคโปร์

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

62 สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปที่ส่งผลให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นนั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1645

(2) 1646

(3) 1647

(4) 1648

(5) 1649

ตอบ 4 หน้า 19 – 20, 49, (คําบรรยาย) วิวัฒนาการทางด้านการเมืองได้เปลี่ยนจากชนเผ่าไปสู่การเป็นรัฐชาติ (Nation-State) ภายหลังการเกิดสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปเมื่อปี ค.ศ. 1548 ซึ่งส่งผลทําให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกและนับเป็นจุดเริ่มต้นที่รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

63 สงครามใดที่จีนถูกบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ

(1) สงครามฝัน

(2) สงครามนานกิง

(3) สงครามแยงซีเกียง

(4) สงครามสายแพรไหม

(5) สงครามปักกิ่ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

64 อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำใด

(1) ลุ่มแม่น้ำไนล์

(2) ลุ่มแม่น้ำอเมซอน

(3) ลุ่มแม่น้ำแดง

(4) ลุ่มทะเลสาบแคสเปี้ยน

(5) ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

ตอบ 1 หน้า 56, (คําบรรยาย) อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ (The Nile River)โดยเชื่อกันว่าสาเหตุสําคัญที่ทําให้อียิปต์ในอดีตมีความยิ่งใหญ่นั้น ก็เนื่องมาจากมีแม่น้ำไนล์ ไหลผ่าน ซึ่งได้นําความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์มาสู่อียิปต์ ทําให้ชาวอียิปต์สามารถร่วมกันสร้างอารยธรรมและจัดตั้งเป็นประเทศขึ้นได้อย่างมั่นคง

65 การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของฝรั่งเศสจากระบอบกษัตริย์เป็นระบอบสาธารณรัฐนั้น เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) พระเจ้าหลุยส์ที่ 13

(2) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

(3) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15

(4) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16

(5) พระเจ้าหลุยส์ที่ 17

ตอบ 4 หน้า 67, (คําบรรยาย) สภาพสังคมของประเทศฝรั่งเศสหลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 สิ้นพระชนม์ลง และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นปกครองประเทศนั้น ชาวฝรั่งเศสไม่มีความเสมอภาค ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะชาวนา เนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากขุนนางเจ้าของที่นาและ การเก็บภาษี จึงทําให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นในปี ค.ศ. 1789 เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบกษัตริย์หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบสาธารณรัฐ

66 ประเทศใดที่เป็นผู้แพ้สงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

(1) เยอรมนี

(2) ฮังการี

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) รัสเซีย

ตอบ 1 หน้า 73, 76 – 78, (คําบรรยาย) เยอรมนี เป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่าให้เยอรมนีต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) ที่กําหนดให้เยอรมนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงครามจํานวนมากและต้องเสีย ดินแดนหลายแห่ง ส่วนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทําให้เยอรมนี้ต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก

67 กําแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นถูกทุบทําลายลงในปี ค.ศ. ใด

(1) 1989

(2) 1990

(3) 1991

(4) 1992

(5) 1993

ตอบ 2 หน้า 82 กําแพงเบอร์ลิน (The Berlin Wal) เป็นสัญลักษณ์สําคัญของสงครามเย็นที่สหภาพโซเวียตสร้างขึ้นในเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 1961 เพื่อใช้เป็นแนวกั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันตก และเบอร์ลินตะวันออก โดยมีความยาวประมาณ 27 ไมล์ หรือประมาณ 40 กิโลเมตร ทั้งนี้กําแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทําลายลงเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1990

68 ประธานาธิบดีคนใดของ USSR ที่มีบทบาทสําคัญในการยุติสงครามเย็น

(1) กอร์บาชอฟ

(2) ครุสซอฟ

(3) สตาลิน

(4) เลนิน

(5) อัลโดปอฟ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง มีดังนี้

1 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต (USSR)ได้ประกาศใช้นโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost)ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1986

2 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตจนทําให้กลุ่มตะวันออกล่มสลายลง

3 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ประกาศยุบตัวเองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1991

4 การประกาศจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (CIS) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายโดยสิ้นเชิง และทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

69 สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ทําให้ประเทศสยามเสียเปรียบชาติตะวันตกที่เรียกว่า “การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเกิดขึ้นในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 3

(2) รัชกาลที่ 4

(3) รัชกาลที่ 5

(4) รัชกาลที่ 6

(5) รัชกาลที่ 7

ตอบ 2 หน้า 91, (คําบรรยาย) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยประเทศสยาม (ไทย) ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าเสรีอันเป็นระเบียบใหม่ของโลกในยุคลัทธิ จักรวรรดินิยมกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1855 เรียกว่า “สนธิสัญญาเบาวาง” (Bowring Treaty) ซึ่งผลก็คือ สยามสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ก็ทําให้สยามถูกจํากัดอัตราภาษีขาเข้า และต้อง เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและคนในบังคับ สนธิสัญญาฉบับนี้ใช้บังคับนานกว่า 70 ปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อย ๆ ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

70 ชาติโปรตุเกสฝรั่งชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือที่ติดต่อกับอินเดียในยุคเปิดประเทศนั้น ได้ตั้งรกรากแห่งแรกที่เมืองใด

(1) เชนไน

(2) เดลี

(3) บอมเบย์

(4) เมืองกัว

(5) มัทราช

ตอบ 4 หน้า 51 โปรตุเกสเป็นฝรั่งหรือชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดียในปี ค.ศ. 1498 โดยตั้งรกรากแห่งแรกที่เมืองกัว (Goa) เพื่อเป็นสถานีการค้าและศูนย์กลางในการขยายกิจการการค้าต่อไปยังเมืองอื่น ๆ ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น จึงทําให้เมืองกัวของอินเดียได้รับสมญานามจากชาวยุโรปว่าเป็น “ลิสบอนตะวันออก” (Lisbon of the East)

71 หมู่เกาะใดที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้

(1) หมู่เกาะสแปรทลีย์

(2) หมู่เกาะพาราเซล

(3) หมู่เกาะสุรินทร์

(4) หมู่เกาะฮาวาย

(5) หมู่เกาะสแปรทลีย์, หมู่เกาะพาราเซล

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

72 ประเทศใดเป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank).

(1) ญี่ปุ่น

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) รัสเซีย

(5) เกาหลีใต้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เป็นสถาบันการเงินในระดับระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสนอความช่วยเหลือด้านการเงิน และแหล่งเงินทุนทางเลือกให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนําไปลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

73 ประเทศใดไม่ได้อยู่ในเอเชียตะวันออก (East Asia)

(1) สิงคโปร์

(2) ญี่ปุ่น

(3) ทิเบต

(4) เกาหลีเหนือ

(5) เกาหลีใต้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เอเชียตะวันออก (East Asia) เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย โดยประเทศที่มีพื้นที่ อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไต้หวัน มองโกเลีย และทิเบต (ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

74 Triple Alliance ในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือข้อใด

(1) ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี บัลแกเรีย

(2) ตุรกี ฮังการี เยอรมนี รัสเซีย

(3) ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย อเมริกา

(4) อิตาลี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี

(5) ออสเตรีย ฮังการี เยอรมนี ตุรกี บัลแกเรีย

ตอบ 5 หน้า 68, คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 1918 โดยมีสมรภูมิรบเฉพาะในยุโรป ซึ่งแตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีสมรภูมิรบอยู่ทั่วโลก โดยสงครามโลก ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนีออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 กลุ่มสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

75 ผู้ให้คําจํากัดความของคําว่า “สงครามเย็น” (Cold War) คือใคร

(1) เฮอร์เบิร์ต สโวป

(2) รุสเวลท์

(3) นิกสัน

(4) เคนเนดี

(5) คาร์เตอร์

ตอบ 1 หน้า 79 – 80 เฮอร์เบิร์ต ไบยาร์ด สโวป เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันที่ให้คําจํากัดความของคําว่า “สงครามเย็น” (Cold War) โดยเขาเห็นว่า สงครามเย็นหรือสงครามอุดมการณ์ เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มโลกเสรีกับกลุ่มโลกคอมมิวนิสต์เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในโลก โดยใช้การต่อสู้ทางจิตวิทยาแต่ไม่ใช้กําลังทางทหาร

76 มนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดีย คือ

(1) ปัญจาบ

(2) จัณฑาล

(3) ซิกส์

(4) ดราวิเดียน

(5) อารยัน

ตอบ 4 หน้า 50 พวกดราวิเดียนหรือมิลักขะหรือทราวิทเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุหรืออินดัส ณ มณฑลปัญจาบตะวันตก โดยสันนิษฐานกันว่า เป็นมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงปลายยุคหินใหม่ซึ่งมีเชื้อสายนิโกร ดังนั้นจึงถือว่าชนเผ่านี้ เป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดียที่ได้สร้างอารยธรรมอินเดียหรืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นอารยธรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ

77 อารยธรรมซึ่งถือว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ คืออารยธรรมอะไร

(1) จีน

(2) อินเดีย

(3) อินคา

(4) โรมัน

(5) ยุโรป

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 ASEAN + 3 คือข้อใด

(1) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย

(2) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์

(3) ASEAN + จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

(4) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา

(5) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

79 ประเทศใดใน ASEAN ที่มีประชากรมากที่สุด

(1) กัมพูชา

(2) เวียดนาม

(3) มาเลเซีย

(4) อินโดนีเซีย

(5) ไทย

ตอบ 4 คําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

80 คัมภีร์ใดของอินเดียที่มีความเก่าแก่ที่สุด

(1) คัมภีร์ปัญจาบ

(2) คัมภีร์บาลี-สันสกฤต

(3) คัมภีร์ฮารัปปา

(4) คัมภีร์ดราวิเดียน

(5) คัมภีร์ฤคเวท

ตอบ 5 หน้า 51 คัมภีร์ฤคเวท (Rigveda) ถือเป็นคัมภีร์ที่มีความเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดของอินเดีย นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นวรรณคดีชิ้นแรกของพวกอินโดอารยัน โดยจะมีเนื้อหา ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพวกอารยันในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดระเบียบแบบแผนของการเมืองการปกครอง การแบ่งชนชั้นทางสังคม เป็นต้น

81 ลัทธิทรูแมนของสหรัฐอเมริกาเป็นนโยบายที่ให้ความสําคัญในด้านใด

(1) การค้าเสรี

(2) ต่อต้านนิวเคลียร์

(3) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

(4) ต่อต้านคอมมิวนิสต์

(5) ลดจํานวนประชากร

ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) ลัทธิหรือหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ของสหรัฐอเมริกาเป็นนโยบายที่ประกาศโดยประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งการประกาศหลักการทรูแมนนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริงที่ก่อให้เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต

82 การค้าแบบเสรีเป็นแนวคิดของใคร

(1) Franklin Roosevelt

(2) Margaret Thatcher

(3) Adam Smith

(4) Joseph Stalin

(5) Woodrow Wilson

ตอบ 3 หน้า 64 อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักเศรษฐศาสตร์แนวคิดเสรีนิยมที่เสนอแนวคิด“การค้าระหว่างประเทศแบบเสรี” โดยเขาเชื่อว่า ถ้าปล่อยให้ตลาดภายในประเทศและตลาดการค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีจะทําให้ทุกประเทศได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

83 ระบบวรรณะ (Caste System) ในอินเดียเกิดจากเหตุผลข้อใดของชนเผ่าอารยัน

(1) เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี

(2) เพื่อรักษาความบริสุทธิของสายเลือด

(3) เพื่อแยกให้เห็นชัดถึงแต่ละสายเลือด

(4) เพื่อง่ายต่อการเกณฑ์แรงงาน

(5) เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง

ตอบ 2 หน้า 50 ในระยะที่พวกอินโดอารยันหรืออริยกะเริ่มอพยพรุกรานเข้ามาสู่อินเดียในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ และเกิดการต่อสู้กับพวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมนั้น พวกอินโดอารยัน บางส่วนได้มีการปะปนทางสายเลือดกับพวกดราวิเดียนและรับเอาขนบธรรมเนียมบางประการไว้ จึงเกรงว่าพวกตนจะถูกกลืนโดยพวกดราวิเดียน ดังนั้นพวกอินโดอารยันจึงได้สร้างระบบวรรณะ (Caste System) ขึ้น เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือดชนเผ่าอารยันไว้

84 อะไรเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) ฐานทัพเรือที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ถ้าโจมตี

(2) ถูกญี่ปุ่นโจมตีที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

(3) ญี่ปุ่นต้องการปิดล้อมเอเชียอาคเนย์

(4) ประธานาธิบดีถูกสังหาร

(5) เรือบรรทุกสินค้าถูกโจมตี

ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้าที่สุดโดยตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่หมู่เกาะฮาวาย

85 สนธิสัญญาอะไรที่ทําให้เยอรมนี้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ปรัสเซล

(2) เวสต์ฟาเลีย

(3) เฮลซิงกิ

(4) เจนีวา

(5) แวร์ซายส์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

86 ประเทศใดเป็นประเทศแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(1) Italy

(2) Germany

(3) United Kingdom

(4) Spain

(5) France

ตอบ 3 หน้า 61, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 จนถึงศตวรรษที่ 19 เป็นการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการผลิตในขั้นมูลฐานจากวิธีการผลิตที่ใช้มือมาเป็นการใช้เครื่องจักร ในระบบโรงงาน ซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร (United Kingdom) เป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลก

87 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกมีสํานักงานอยู่ ณ ประเทศใด

(1) เนเธอร์แลนด์

(2) ฝรั่งเศส

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สวีเดน

(5) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICU) หรือศาลโลก (World Court) เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ใน การตัดสินคดีระหว่างรัฐกับรัฐ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชาและ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

88 ระบบวรรณะในอินเดีย วรรณะใดที่มีสถานะทางสังคมสูงที่สุด

(1) วรรณะศูทร

(2) วรรณะกษัตริย์

(3) วรรณะแพศย์

(4) วรรณะไวศย์

(5) วรรณะพราหมณ์

ตอบ 5 หน้า 51, (คําบรรยาย) ระบบวรรณะในอินเดีย แบ่งออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 วรรณะพราหมณ์ ทําหน้าที่ทางศาสนา ถือว่าเป็นวรรณะที่มีสถานะทางสังคมสูงที่สุด

2 วรรณะกษัตริย์ ทําหน้าที่เป็นนักรบ

3 วรรณะแพศย์หรือวศย์ ทําหน้าที่เป็นพ่อค้า กสิกร และช่างฝีมือ

4 วรรณะศูทรหรือทัสยุ ทําหน้าที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ถือเป็นวรรณะที่มีสถานะทางสังคมต่ำที่สุด

89 “การปฏิวัติอเมริกา” ก่อให้เกิดประเทศใหม่ที่ยึดถือหลักเสรีภาพทางการเมืองเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1775

(2) 1776

(3) 1777

(4) 1778

(5) 1779

ตอบ 2 หน้า 67 การปฏิวัติเพื่อประกาศเอกราชและจัดตั้งรัฐใหม่ขึ้นเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ถือเป็นแนวคิดสําคัญในการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจาก ได้ก่อให้เกิดประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหม่ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยึดถือ หลักเสรีภาพและความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมี รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทในการใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร และมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาจะมาจากการเลือกตั้ง

90 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค

(1) ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก (2) พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย

(3) ลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

(4) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเจรจาด้านการค้าของสมาชิก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) มีดังนี้

1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจทั้งใน ระดับภูมิภาคและระดับโลก

2 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย หรือระบบ การค้าแบบเปิด

3 เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

4 เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้าของสมาชิก แต่ไม่ใช่เวทีในการเจรจาหรือยุติข้อพิพาท ทางการค้าระหว่างสมาชิก

91 วาระการดํารงตําแหน่งของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติมีกําหนดกี่ปี

(1) 3 ปี

(2) 4 ปี

(3) 5 ปี

(4) 6 ปี

(5) 7 ปี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ จะครบวาระการดํารงตําแหน่งในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2016 ส่วนเลขาธิการองค์การ สหประชาชาติคนต่อไป คือ นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกสจะเริ่มดํารงตําแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

92 ประเทศใดในยุโรปที่รัชกาลที่ 5 ไม่ได้เสด็จประพาสในรัชสมัยของพระองค์

(1) รัสเซีย

(2) ฟินแลนด์

(3) เบลเยี่ยม

(4) สเปน

(5) เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 92 93 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เสด็จประพาสประเทศในยุโรปในปี พ.ศ. 2440 เช่น รัสเซีย เบลเยียม สเปน โปรตุเกส และ เยอรมนี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกที่เสด็จประพาสยุโรปเพื่อเชื่อม สัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตกต่าง ๆ พร้อมกับนําเอาศิลปวิทยาการและความรู้ใหม่ ๆ กลับมา พัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ดังนั้นในสมัยของพระองค์ จึงได้รับการยกย่องจากชาติตะวันตกว่า ประเทศสยามได้รับการทํานุบํารุงอย่างดีที่สุดในกลุ่มประเทศแถบเอเชียอาคเนย์

93 “ระบอบศักดินา” เป็นระบอบการปกครองและเศรษฐกิจของยุโรปในสมัยกลาง ถืออะไรเป็นเครื่องวัด สถานะทางสังคมของบุคคลในยุคนั้น

(1) ตําแหน่งในราชสํานัก

(2) ตําแหน่งทางทหาร

(3) การสะสมทองคํา

(4) การถือครองที่ดิน

(5) ตําแหน่งที่กษัตริย์พระราชทานให้

ตอบ 4 หน้า 60 ระบอบศักดินา (Feudalism) เกิดขึ้นในยุโรปสมัยกลางช่วงศตวรรษที่ 9 – 18 โดยระบอบศักดินาในยุคนี้ถือเป็นระบอบการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ และระบบสังคม ที่สําคัญของยุโรป ซึ่งจะกําหนดฐานะ สิทธิ หน้าที่ และสถานะทางสังคมของบุคคลโดยถือที่ดินที่ครอบครองอยู่เป็นเกณฑ์

94 ข้อใดคือองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค

(1) League of Nations

(2) International Red Cross

(3) WTO

(4) UNEP

(5) ASEAN

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

95 ความร่วมมือระหว่างรัฐทางเศรษฐกิจนั้นมีกลุ่มรัฐที่ “ได้เปรียบ” และรัฐที่ “เสียเปรียบ” เป็นแนวคิดของ สํานักใด

(1) เสรีนิยมแบบอุดมคติ

(2) โครงสร้างนิยม

(3) เสรีนิยมใหม่

(4) สัจนิยมแบบดั้งเดิม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 17 สาระสําคัญของการศึกษาของสํานักโครงสร้างนิยม (Structuralism) มีดังนี้

1 พัฒนามาจากแนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ (Marxism) ที่โจมตีระบบทุนนิยมหรือรู้จักกันในนาม สํานักมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxism)

2 ท่ามกลางความร่วมมือระหว่างรัฐทางเศรษฐกิจนั้น มีกลุ่มรัฐที่ “ได้เปรียบ และรัฐที่ “เสียเปรียบ” เพราะความไม่เท่าเทียมกันของประเทศที่มั่งมี (The Have) กับประเทศที่ยากไร้ (The Have-Nots)

3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้ (North-South Relations)

4 ศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และ “ความด้อยพัฒนา”

96 ทักษะและสมรรถนะที่จําเป็นของนักการทูต ได้แก่

(1) มีความรู้ภาษาต่างประเทศ

(2) มีความรอบรู้

(3) มีความรอบคอบ

(4) มีความสามารถในการประสานงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 2 ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จําเป็นของนักการทูต มีดังนี้

1 มีความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยและในโลก

2 มีความรอบคอบและรอบรู้

3 มีความสามารถในการประสานงาน

4 มีความสามารถในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุและมีผล

5 มีความรู้ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ

97 งานเขียนของใครไม่ได้สะท้อนความคิดแบบสัจนิยม (Realism)

(1) ทูซีดีเดส

(2) มาเคียวเวลลี

(3) มอร์เกนธอร์

(4) รุสโซ

(5) หานเฟยจือ

ตอบ 4 หน้า 14 – 15 รุสโซ (Rousseau) เป็นนักอุดมคตินิยมที่มีแนวคิดแตกต่างจากแนวคิดสัจนิยมโดยเขาได้กล่าวไว้ในหนังสือ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) ว่า “มนุษยชาติร่วมมือกัน ในกิจการของสังคมเพราะพวกเขาตระหนักว่า อุปสรรคหรือความยากลําบากมีความยิ่งใหญ่มากกว่าทรัพยากรหรือพละกําลังของปัจเจกชนเพียงลําพัง”

98 ขอบเขตของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครอบคลุมเนื้อหาวิชา

(1) ประวัติศาสตร์การทูต

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) ภูมิภาคศึกษา

(4) กฎหมายระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ขอบเขตของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครอบคลุมเนื้อหาวิชา ดังนี้

1 ประวัติศาสตร์การทูต

2 การเมืองระหว่างประเทศ

3 กฎหมายระหว่างประเทศ

4 องค์การระหว่างประเทศ

5 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

6 ภูมิภาคศึกษา

99 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบหลังสมัยใหม่

(1) การศึกษาแบบดั้งเดิม

(2) การศึกษาโครงสร้างหน้าที่ของสังคม

(3) การศึกษาแบบแผนปฏิบัติทางการทูต

(4) การศึกษาเพื่อนําไปสู่การปลดปล่อยพันธนาการทางความคิด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีเชิงวิพากษ์เพื่อหาคําตอบว่าความมั่นคงทางทหาร หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือ ความมั่นคงทางชีวิตที่เป็นสิ่งสําคัญในการดําเนินนโยบายต่างประเทศในโลกยุคหลังสงครามเย็น ซึ่งทฤษฎีเชิงวิพากษ์นั้นมีลักษณะเด่นที่สําคัญ คือ ท้าทายโครงสร้างของอํานาจในระบบปัจจุบัน ส่งเสริมกระบวนการทางสังคมเพื่อที่จะโค่นล้มโครงสร้างที่ไม่ยุติธรรมในปัจจุบัน นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปลดปล่อยพันธนาการทางความคิดเชิงทฤษฎีและโครงสร้างทางสังคม เป็นต้น

100 คํากล่าวใดสะท้อนแนวคิดแบบสัจนิยม (Realism)

(1) น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

(2) ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร

(3) ถ้อยทีถ้อยอาศัย

(4) แกว่งเท้าหาเสี้ยน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 4 งานด้านการทูตสะท้อนแนวคิดสัจนิยม (Realism) ดังคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวรในการเมืองระหว่างประเทศ” แม้จะมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติทางการทูตในลักษณะ ของความร่วมมือ แต่รัฐทั้งหลายก็ไม่ได้มีความจริงใจต่อกันในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนักการทูตจะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามที่ชาติตนต้องการ เช่น การติดสินบน ข้าราชการสํานัก ยั่วยุให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่พวกที่ต่อต้านรัฐบาลในประเทศที่ตนไปสังกัดอยู่ เป็นต้น

101 ข้อใดเป็นลักษณะการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมัยใหม่

(1) ความเป็นวิชาเชิงปัญญา

(2) การหาคําอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุความขัดแย้ง

(3) แนวทางการศึกษาที่สําคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – ทศวรรษที่ 1980

(4) ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมัยใหม่ เป็นแนวทางการศึกษาที่สําคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – ทศวรรษที่ 1980 โดยนักวิชาการได้ใช้ แนวทางการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์เพื่อหาคําตอบว่า อะไรคือสาเหตุที่ทําให้นานาชาติ เข้าร่วมกันทําความขัดแย้งครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ความพยายามนี้ส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงในวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เข้าสู่ความเป็น “วิชาเชิงปัญญา”

102 ตามแนวคิดการสร้างทางสังคมของมนุษย์ การเมืองโลกนั้นถูกสร้างขึ้นจากอะไร (1) ความเชื่อ

(2) วาทกรรม

(3) สัญลักษณ์

(4) ภาษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 6-7 Alexander Wendt เสนอแนวคิดที่ท้าทายการอธิบายโลกในแนวทางการศึกษาแบบสมัยใหม่ โดยกล่าวว่า อํานาจทางการเมืองนั้นเป็นประดิษฐกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการสร้างทางสังคมของมนุษย์ การเมืองโลกไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อ ภาษา วาทกรรม สัญญาณ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของมนุษย์ภายในรัฐ

103 ข้อใดไม่ใช่การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

(1) กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ

(2) กฎบัตรสหประชาชาติ

(3) กฎหมายทะเล

(4) เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 9 – 10 การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ มีการศึกษาแยกย่อยดังนี้

1 แผนกคดีเมือง คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต กฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นต้น

2 แผนกคดีบุคคล คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนของรัฐ เช่น กฎหมายว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ เป็นต้น

3 แผนกคดีอาญา คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศ กฎหมายลงโทษอาชญากรสงคราม เป็นต้น

104 ระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ

(1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

(2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

(3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

(4) ประวัติศาสตร์การทูต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

105 การประชุม G 20 ในปี ค.ศ. 2016 จัดขึ้นที่เมือง

(1) หังโจว

(2) ซัวเถา

(3) เชี่ยเหมิน

(4) เซี่ยงไฮ้

(5) เทียนสิน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประชุม G 20 ในปี ค.ศ. 2016 จัดขึ้นที่เมืองหังโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนโดยมีประเด็นหลักคือ การหารือนโยบายส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน ในระยะยาวภายใต้กรอบ “Towards an Innovative, Invigorated, Interconnected and Inclusive world Economy” เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังหดตัวและซบเซาอันเนื่องมาจากผลกระทบของปัจจัยทางการเมืองและสังคมในหลายประเทศ

106 การศึกษาที่เน้นถึงนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ เป็นการศึกษาแนวทางใด

(1) แนวนโยบาย

(2) แนวประวัติศาสตร์

(3) แนวภูมิการเมือง

(4) แนวศึกษาเรื่องอํานาจ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 12 การศึกษาแนวนโยบาย (Policy Orientation) เป็นการศึกษาที่เน้นถึงนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นโยบายในการ จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพในการขจัดกรณีพิพาทและป้องกันภัยสงคราม รวมทั้งนโยบายปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศให้มีผลบังคับดีกว่าเดิม ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ มีข้อบกพร่อง คือ นักวิชาการมักมองข้ามต้นกําเนิดของพฤติกรรมของรัฐ รวมทั้งสภาพความเป็นจริงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

107 การศึกษาที่มุ่งเน้นค้นหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน การพัฒนาของชุมชนระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกัน เป็นการศึกษาแนวทางใด

(1) แนวดุลแห่งอํานาจ

(2) แนวประวัติศาสตร์

(3) แนวภูมิการเมือง

(4) แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 12 การศึกษาแนวประวัติศาสตร์ (Historical Approach) หรือแนวประเพณี (Traditional Approach) เป็นวิธีการศึกษาซึ่งเก่าแก่ที่สุด การศึกษาตามแนวนี้มุ่งเน้นค้นหาข้อเท็จจริงและ หลักฐานเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ระหว่างประเทศ การพัฒนาของชุมชน ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกัน โดยวิธีสังเกตสภาพความเป็นจริงที่ได้เกิดขึ้นจากหลักศิลาจารึก เอกสารเก่าแก่ หรือสิ่งอื่น ๆ

108 ข้อใดไม่ใช่สมมุติฐานของการศึกษาแนวทางสัจนิยม

(1) ประเทศต่าง ๆ มีความขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์

(2) การเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนอํานาจ

(3) การเมืองเป็นเรื่องของการแสดงอํานาจ

(4) นโยบายต่างประเทศกําหนดโดยความร่วมมือและมาตรฐานด้านคุณธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 สมมุติฐานของการศึกษาแนวทางสัจนิยม (Realist Approach) มีดังนี้

1 ประเทศต่าง ๆ มักจะมีความขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์

2 ผลประโยชน์ของประเทศที่แตกต่างกัน อาจนําไปสู่สงครามหรือความขัดแย้งรูปแบบอื่น ๆ

3 อํานาจของประเทศหนึ่งใดเป็นสิ่งสําคัญที่จะกําหนดผลลัพธ์ของความขัดแย้ง รวมทั้งอิทธิพลของรัฐหนึ่งรัฐใดต่อประเทศอื่น ๆ

4 การเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนอํานาจ รักษาอํานาจ หรือการแสดงอํานาจ

109 ข้อใดเป็นสาระสําคัญของการศึกษาของสํานักอุดมคตินิยม

(1) เน้นผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ

(2) เน้นการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ

(3) เน้นศึกษาองค์การระหว่างประเทศ

(4) เน้นศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 16 สาระสําคัญของการศึกษาของสํานักอุดมคตินิยม (Idealism) หรือเสรีนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Liberalism) มีดังนี้

1 เน้นให้ความสําคัญกับผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ เช่น องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ

2 เน้นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ

3 เน้นมิติความร่วมมือกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

4 เน้นศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

5 เน้นศึกษาองค์การระหว่างประเทศ

110 สํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศเกี่ยวโยงกับข้อใด

(1) แนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ใหม่

(2) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้

(3) การศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และความ “ด้อยพัฒนา”

(4) การศึกษาเรื่องนโยบายการค้าเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 17, (คําบรรยาย) การศึกษาของสํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศจะเน้นศึกษานโยบายการค้าเสรีซึ่งเป็นแนวคิดของสํานักเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Liberalism) รวมทั้งศึกษาแนวคิดโครงสร้างนิยม (Structuralism) ซึ่งเป็นแนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxism) โดยแนวคิดโครงสร้างนิยมจะเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้ (North-South Relations) และศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และความ “ด้อยพัฒนา” (ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ)

111 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission)

(1) จีน

(2) ลาว

(3) ไทย

(4) กัมพูชา

(5) เวียดนาม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) นับเป็นองค์การระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สําคัญที่สุดในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีพัฒนาการ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการประสานงานเพื่อการสํารวจลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง” จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1995 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว ไทยกัมพูชา และเวียดนาม

112 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายและหลักการของสหประชาชาติ

(1) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติ

(4) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

(5) ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทํา

ตอบ 5 หน้า 33, 35, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายและหลักการที่สําคัญขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะดําเนินมาตรการร่วมกัน – เพื่อป้องกันการคุกคามสันติภาพโดยใช้สันติวิธี

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

113 ข้อใดไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐ”

(1) เกาหลีใต้

(2) เกาหลีเหนือ

(3) ฮ่องกง

(4) สิงคโปร์

(5) นครรัฐวาติกัน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ฮ่องกง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐ” เช่นเดียวกับมาเก๊า โดยฮ่องกงถือเป็นเขตบริหารพิเศษซึ่งจะมีอิสระในการปกครองตนเอง สามารถดําเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนให้กับอังกฤษหลังจากอังกฤษคืนเอกราชให้ ฮ่องกง โดยฮ่องกงจะเป็นเขตบริหารพิเศษไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 เจนไปถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2047 หลังจากนั้นฮ่องกงจะเปลี่ยนมาใช้การปกครองแบบเมืองอื่น ๆของสาธารณรัฐประชาชนจีน

114 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสันนิบาตชาติ

(1) ก่อตั้งก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

(2) เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลก

(3) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลายด้าน

(4) ใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี

(5) มีเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

115 ข้อใดเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) สนธิสัญญา

(2) อนุสัญญา

(3) จารีตประเพณี

(4) ข้อตกลงระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศข้อตกลงระหว่างประเทศ และคําพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

2 ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป

116 ข้อใดหมายถึงรัฐที่ประกอบด้วยหลายชนชาติ

(1) แคนาดา

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 21, (คําบรรยาย) รัฐที่ประกอบด้วยหลายชนชาติ (Multi-Ethnic States) เช่น สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น เป็นรัฐที่จะต้องพยายามเปลี่ยนแปลงจิตใจพลเมืองให้มีความจงรักภักดีต่อรัฐ เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมต่อรัฐ อันจะก่อให้เกิดการเป็นรัฐที่สมบูรณ์ได้

117 ในปัจจุบันประเทศใดใช้งบประมาณทางการทหารสูงที่สุดในโลก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) รัสเซีย

(4) ฝรั่งเศส

(5) สหราชอาณาจักร

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) จากข้อมูลการจัดอันดับของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ในปี ค.ศ. 2016 พบว่า ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณทางการทหารจํานวน 5.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นงบประมาณทางการทหารที่สูงที่สุดในโลก รองลงมา ตามลําดับ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) อินเดีย ฝรั่งเศส ฯลฯ

118 ในปัจจุบันประเทศใดมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) รัสเซีย

(4) ฝรั่งเศส

(5) สหราชอาณาจักร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก คือ รัสเซีย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 17,000,000 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึง 1 ใน 8 รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน บราซิล ออสเตรเลีย อินเดีย ฯลฯ

119 ประเทศใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ

(1) ไทย

(2) ไต้หวัน

(3) จีน

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

120 ข้อใดเป็นองค์การระหว่างประเทศที่จีนมีบทบาทนําในการก่อตั้ง

(1) Asian Development Bank

(2) International Monetary Fund

(3) International Civil Aviation Organization

(4) World Tourism Organization

(5) Asian Infrastructure Investment Bank

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 นายโตเป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมได้รับเงินเดือน 40,000 บาทนายโตเห็นนายโชคประกาศขายนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ “วันเดอร์แอนด์อลิส” ที่ร้านค้าในกรุงเทพฯ ราคาเรือนละ 4,000,000 บาท นายโตอยากได้นาฬิกาเรือนดังกล่าวมาก แต่นายโตมีเงินสดเพียงจํานวน 1,000,000 บาท ดังนั้น นายโตจึงทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายโครมจํานวน 1,000,000 บาท ได้ส่งงาน ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี กําหนดชําระคืนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และนายโตได้ขอให้นายโฟตกลงร่วมลงทุนเป็นเงินจํานวน 2,000,000 บาท เพื่อซื้อนาฬิกาเรือนดังกล่าว เมื่อซื้อแล้ว จะนําไปขายต่อและนํากําไรแบ่งปันกันระหว่างนายโตกับนายโฟ นายโฟตกลงตามที่นายโตเสนอ ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 นายโตและนายโฟร่วมกันขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวได้เงิน จํานวน 6,000,000 บาท และนํากําไรแบ่งปันกันตามสัดส่วนการลงทุน ให้ท่านวินิจฉัยว่า เงินได้รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้ตามรายการดังกล่าวจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวล รัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายโต เป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมได้รับเงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาทนั้น เงินเดือนที่นายโตได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งาน ที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายโตได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายโตจึงต้องนําเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดจํานวน 480,000 บาท (40,000 x 12) มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 การที่นายโครมให้นายโตกู้ยืมเงินจํานวน 1,000,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนั้น ดอกเบี้ยที่นายโครมได้รับจํานวน 75,000 บาท (1,000,000 x 7.5) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และ เป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายโครม ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายโครมจึงต้องนําเงินได้จํานวน 75,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

3 การที่นายโตและนายโฟได้ร่วมกันลงทุนคนละ 2,000,000 บาท เพื่อซื้อนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ “วันเดอร์แอนด์อลิส” ในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวได้เงินจํานวน 6,000,000 บาทนั้น เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และเป็นเงินได้ที่ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสดซึ่งได้รับจากการประกอบกิจการในรูปแบบ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น นายโตและนายโฟจึงต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 6,000,000 บาทดังกล่าวมาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยถือว่าผู้มีเงินได้นั้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

สรุป

นายโตจะต้องนําเงินได้ซึ่งเป็นเงินเดือนจํานวน 480,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดา

นายโครมจะต้องนําดอกเบี้ยที่ได้รับจํานวน 75,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

นายโตและนายโฟต้องนําเงินได้จากการขายนาฬิกาจํานวน 6,000,000 บาท มาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยถือว่าผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

ข้อ 2 ให้ท่านวินิจฉัยว่า ตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในข้อ 1ให้ท่านพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินแต่ละรายการเป็นเงินได้ประเภทใดตามประมวลรัษฎากร เพราะเหตุใด และให้ท่านวินิจฉัยว่า นายโตและนายโฟมีสิทธิหักลดหย่อนอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก.. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม…

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจาก ที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60 000 บาท

(6) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญให้หักลดหย่อนได้ตาม (1) (ก) สําหรับผู้เป็น หุ้นส่วน แต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท”

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในข้อ

1 เงินได้พึงประเมินแต่ละรายการเป็นเงินได้ประเภทใดนั้น แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 เงินเดือนที่นายโตได้รับจากการเป็นข้าราชการกระทรวงยุติธรรมเดือนละ 40,000 บาท ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1)

2 ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินจํานวน 75,000 บาทที่นายโครมได้รับ เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก)

3 เงินได้จากการขายนาฬิกาจํานวน 6,000,000 บาทที่นายโตและนายโฟได้รับ เป็นเงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) เพราะเป็นเงินได้จากการพาณิชย์

และในการหักลดหย่อนนั้น ให้นายโตและนายโฟหักลดหย่อนได้ในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนและเป็น ผู้มีเงินได้คนละ 60,000 บาท รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) และมาตรา 47 (6)

สรุป เงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาทขึ้นายโตได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1)

ดอกเบี้ยจํานวน 75,000 บาทที่นายโครม.ด้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตาม มาตรา 40 (4) (ก)

เงินได้จํานวน 6,000,000 บาทจากการขายนาฬิกาเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) และนายโตกับนายโฟมีสิทธิหักลดหย่อนได้ 120,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อผลิต และจําหน่ายรถพลังงานไฟฟ้า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้กู้ยืมเงินจากบริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด จํานวน 10,000 ล้านบาท และได้เซ็นสัญญากัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในรอบระยะเวลาบัญชี 2562 บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เป็นจํานวน 100 ล้านบาทจากประเทศไทยไปให้บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จงวินิจฉัยว่า บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยจํานวนดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม”

มาตรา 70 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการ ตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ประเทศสหรัฐอเมริกา มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่มีเงินได้เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการให้บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด กู้ยืมเงินจํานวน 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) ที่จ่ายจากประเทศไทยนั้น บริษัท เทสล่ามอเตอร์ จํากัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง โดยให้ผู้จ่ายคือ บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด หักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่าย คือ 100 ล้านบาทในอัตราร้อยละ 15 แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น

สรุป

บริษัท เทสล่ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ณ ที่จ่าย  จากดอกเบี้ยจํานวน 100 ล้านบาทในอัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไข่เป็นนักมวยอาชีพสัญชาติไทย ได้เดินทางไปแข่งขันชกมวยสากลชิงแชมป์โลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้เดินทางไปเก็บตัวและทําการแข่งขันเป็นเวลา 4 เดือน ปรากฏว่า นายไข่ ได้รับชัยชนะและได้รับตําแหน่งแชมป์โลก จึงได้เงินรางวัลจากการแข่งขันจํานวน 5 ล้านบาท นายไข่ได้นําเงินสดจํานวน 2 ล้านบาทฝากไว้กับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนเงินรางวัล ส่วนที่เหลือนายไข่ได้นําไปซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์มูลค่า 3 ล้านบาท โดยนําติดตัวกลับเข้ามาใน ประเทศไทย และได้พํานักอยู่ในประเทศไทยตลอดปีภาษี ดังนี้ อยากทราบว่าเงินได้ดังกล่าว เป็นเงินได้ประเภทใด และนายไข่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ดังกล่าวนั้น หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือ กิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติ ในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยต่อเมื่อ ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือกิจการ ที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับ ปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไข่ได้เดินทางไปแข่งขันชกมวยชิงแชมป์โลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เงินรางวัลจากการแข่งขันจํานวน 5 ล้านบาทนั้น เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) และจะต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 5 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินได้ที่เกิดจากแหล่งเงินได้ใน ต่างประเทศ เนื่องจากเป็นเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศมาเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสามด้วย กล่าวคือจะต้องได้นําเงินได้นั้นเข้ามา ในประเทศไทยในปีภาษีและเป็นผู้ที่ได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีด้วย

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายไขได้เดินทางไปเก็บตัวและทําการแข่งขันอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 4 เดือน ย่อมถือว่านายไข่ได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษี ดังนั้น การที่นายไข่ได้นําเงินรางวัล จํานวน 3 ล้านบาทไปซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินอันเป็นเงินได้พึงประเมินอย่างหนึ่งตามมาตรา 39 และได้นํานาฬิกาดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย นายไข่จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสอง

ส่วนเงินได้ส่วนที่ฝากไว้ที่ธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาจํานวน 2 ล้านบาทนั้น เมื่อนายไข่ไม่ได้ นําเงินได้จํานวนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย นายไข่จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสอง

สรุป

เงินได้จากการแข่งขันชกมวยจํานวน 5 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) และนายไขจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ดังกล่าวจํานวน 3 ล้านบาท ส่วนเงินได้ จํานวน 2 ล้านบาทที่ฝากไว้กับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ปีภาษี 2561 นายประเสริฐมีรายได้จากการเป็นประธานกรรมการบริษัทได้รับเงินเดือนจากบริษัท อนันตา จํากัด เดือนละ 500,000 บาท เดือนมกราคมได้รับปันผลจากบริษัท 30 ล้านบาท เดือนมีนาคมถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 200,000 บาท เดือนกันยายนนายประเสริฐถูก ฆาตกรรมเสียชีวิต แต่เดือนธันวาคมบริษัทจะจ่ายโบนัสอีกจํานวน 1,000,000 บาทเป็นประจําทุกปี นายประเสริฐมีภรรยาที่เคยจดทะเบียนสมรส 3 ปีคือนางคริส มีบุตรที่เกิดในระหว่างสมรสคือ นายพิทอายุ 22 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรีที่ฮ่องกง ประเทศจีน และหลังจากนั้นได้จดทะเบียนหย่ากัน แต่อยู่กินกันฉันสามีภรรยาตลอด 25 ปี แต่นางคริสไม่ได้ทํางาน ก่อนเสียชีวิต 1 วัน นายประเสริฐ ได้ไปจดทะเบียนสมรสกับนางนิภา ซึ่งมีบุตรด้วยกันมาก่อนคือนายฉีอายุ 19 ปี ไม่เรียนหนังสือ แต่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรเอาไว้ นางนิภาป่วยเป็นลูคีเมียจึงไม่ได้ทํางาน กรณีนี้

ก รายได้ทั้งหมดของนายประเสริฐเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใดบ้าง ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข นายประเสริฐต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร ด้วยวิธีการใด

ค หากนายประเสริฐต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะนํานางคริสอดีตภรรยาที่อยู่กินกันนายพิทบุตรชาย นางนิภา นายฉีบุตรชาย มาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ก หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(4) เงินได้ที่เป็น

(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจาก ที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษี เงินได้

(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของ รัฐบาล…”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว ประกอบด้วยข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ รายได้ของนายประเสริฐ ทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือนจาก บริษัท อนันตา จํากัด เดือนละ 500,000 บาท และเงินโบนัสอีกจํานวน 1,000,000 บาทนั้น ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1) ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 เงินปันผลจากบริษัท 30 ล้านบาท ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ข) ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 เงินได้จากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล 200,000 บาท ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (11)

ข หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีปฏิบัติแทน และโดยเฉพาะในการยื่นรายการเงินได้พึงประเมินของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้ พึงประเมินของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตายเป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่ จะต้องยืนทั้งสิ้น”

กรณีตามอุทาหรณ์ ในปีภาษี 2561 นายประเสริฐจะต้องนําเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเดือน ๆ ละ 500,000 บาท โบนัสจํานวน 1,000,000 บาท และเงินปันผล 30 ล้านบาท มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เมื่อปรากฏว่านายประเสริฐได้ถึงแก่ความตายก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของนายประเสริฐแทนนายประเสริฐ โดยการคํานวณภาษีเสมือนนายประเสริฐเป็นบุคคลธรรมดาที่ยังมีชีวิตอยู่

ค หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

(2) บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้ง (1) และ (2) การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้นําบุตรตาม (1) ทั้งหมด มาหักก่อน แล้วจึงนําบุตรตาม (2) มาหัก เว้นแต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม (1) ที่มีชีวิตอยู่ รวมเป็นจํานวนตั้งแต่ สามคนขึ้นไป จะนําบุตรตาม (2) มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม (1) มีจํานวนไม่ถึงสามคน ให้นําบุตรตาม (2) มาหักได้ โดยเมื่อรวมบุตรตาม (1) แล้ว ต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

การหักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปี ภาษีหรือไม่”

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายประเสริฐต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนํานางนิภาภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสในปัจจุบันมาหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ข) ส่วนนางคริสซึ่งเป็นอดีต ภรรยา แม้จะได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาจนถึงปัจจุบันก็จะนํามาหักลดหย่อนไม่ได้

และนอกจากนั้น นายประเสริฐยังสามารถหักลดหย่อนบุตรได้อีก 2 คน ๆ ละ 30,000 บาท คือ นายพีทบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดระหว่างสมรสกับนางคริสและมีอายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรีแม้จะได้ศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศก็ตาม และนายฉีซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่บิดาจดทะเบียน รับรอง และเป็นผู้เยาว์แม้จะไม่ได้เรียนหนังสือก็ตาม ตามมาตรา 47 (1) (ค)

 

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายเงื่อนไขและผลทางกฎหมายเรื่อง “ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล”ตามประมวลรัษฎากร

ธงคําตอบ

ตามประมวลรัษฎากรได้กําหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล” ไว้ดังนี้ คือ

1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (มาตรา 66 วรรคหนึ่ง) (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่

(2.1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ กระทํากิจการในประเทศไทย หรือกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย (มาตรา 66)

(2.2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ กระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย และกิจการที่ทํานั้นเป็นกิจการประเภทการขนส่งผ่าน ประเทศต่าง ๆ (มาตรา 67)

(2.3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2, 3, 4, 5 หรือ 6 ตามมาตรา 40 (2), (3), (4), (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)

(2.4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไร ในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)

(2.5) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม (1) แล้ว ได้จําหน่ายเงินกําไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกําไร หรือถือได้ว่า เป็นเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ)

2 ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีจากฐานภาษี ดังนี้ คือ

(1) ฐานภาษีกําไรสุทธิ นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากกําไรสุทธิ คือ นิติบุคคลตาม (1) และนิติบุคคลตาม (2) ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.1) และ (2.4) ตามมาตรา 66 มาตรา 76 ทวิ ประกอบมาตรา 65

(2) ฐานภาษียอดรายรับก่อนหักรายจ่าย นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากฐานภาษีดังกล่าว ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.2) ตามมาตรา 67

(3) ฐานภาษีเงินกําไรที่จําหน่ายไปต่างประเทศ นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากฐาน ภาษีนี้ ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.5) ตามมาตรา 70 ทวิ

(4) ฐานภาษีเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย นิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากฐาน ภาษีนี้ ได้แก่ นิติบุคคลตาม (2.3) ตามมาตรา 70

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในปีภาษี 2561 นายโลนันโด้ นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกสได้เดินทางมาโชว์ตัวในประเทศไทยเป็นเวลา 15 วัน โดยได้รับเงินค่าตัวในประเทศไทยจํานวน 100 ล้านบาท ซึ่งช่วงระยะเวลาระหว่างโชว์ตัว นายโลนันโด้ได้นําเงินที่สะสมไว้จากการเป็นนักฟุตบอลอาชีพในปีก่อน ๆ ติดตัวเข้ามา เพื่อใช้จ่ายจํานวน 10 ล้านบาท ดังนี้

(1) นายโลนันโด้มีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรประเภทใด

(2) นายโลนันโด้ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทยจากเงินค่าตัวดังกล่าว และเงินที่นําติดตัวเข้ามาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในปีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่นายโลนันโด้ นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกสได้เดินทางมาโชว์ตัวในประเทศไทย เป็นเวลา 15 วัน โดยได้รับเงินค่าตัวในประเทศไทยจํานวน 100 ล้านบาทนั้น เงินได้จํานวน 100 ล้านบาทดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8) เนื่องจากเงินจากการเป็นนักกีฬาอาชีพนั้น ถือเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7)

(2) เงินได้ที่นายโลนันโด้ได้รับเป็นค่าตัวจํานวน 100 ล้านบาท ถือเป็นเงินได้เนื่องจาก หน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย จึงถือว่านายโลนันโด้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น นายโลนันโด้จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยจากเงินได้จํานวน 100 ล้านบาทดังกล่าว ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

ส่วนเงินที่นายโลนันโด้นําติดตัวเข้ามาใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาระหว่างโชว์ตัวจํานวน 10 ล้านบาทนั้น เป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศและเป็นเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีก่อน ๆ มิได้เกิดขึ้นในปีเดียวกันกับที่ นายโลนันโด้เข้ามาในประเทศไทย อีกทั้งนายโลนันโด้ก็ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษี ดังนั้น นายโลนันโด้ จึงไม่ต้องนําเงินได้จํานวน 10 ล้านบาทดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย เพราะกรณี ไม่ต้องด้วยเงื่อนไขตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

(1) นายโลนันโด้มีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8)

(2) นายโลนันโด้ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทยจากเงินค่าตัว 100 ล้านบาท

ส่วนเงินที่นําติดตัวเข้ามาจํานวน 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย

 

ข้อ 2 ในเดือนมกราคม 2561 นายทองได้มรดกรถยนต์มาจากบิดา 1 คัน นายทองไม่ต้องการใช้รถคันดังกล่าว จึงได้นําไปขายให้แก่นางเงินในราคา 750,000 บาท เมื่อขายรถได้จึงได้นําเงินไปฝากธนาคารออมสิน ประเภทเงินฝากประจําจํานวน 450,000 บาท และนําเงินที่เหลืออีก 300,000 บาท ไปลงทุนเช่า ร้านขายอาหารตามสั่ง ปรากฏว่าสิ้นปีนายทองได้รับดอกเบี้ยจํานวน 34,500 บาท และเงินได้จาก การขายอาหารตลอดทั้งปีเป็นเงิน 300,000 บาท ดังนี้อยากทราบว่า

(ก) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสิน และเงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประจําและเงินได้จากการขายรถยนต์ นายทองต้องนํามาเสียภาษีหรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ย เงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์

(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์

(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้า หรือหากําไร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายทองได้รับมรดกจากบิดาคือรถยนต์ 1 คัน และนายทองได้ขายรถยนต์ได้เงินมา 750,000 บาท แล้วนําเงินจํานวน 450,000 บาท ไปฝากธนาคารออมสินประเภทเงินฝากประจําและได้รับดอกเบี้ย จํานวน 34,500 บาทนั้น ดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) ส่วนเงินได้จากการขายอาหารตลอดทั้งปีจํานวน 300,000 บาทนั้น ถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ จึงเป็น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8)

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสินจํานวน 34,500 บาทนั้น เมื่อเป็นดอกเบี้ยจาก เงินฝากประจําไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (8) จึงต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยธนาคาร ผู้จ่ายเงินได้จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ตามมาตรา 50 (2) (ก) และนายทองผู้มีเงินได้ จะนําดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวมายื่นรวมกับเงินได้ประเภทอื่น ๆ เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีหรือไม่ก็ได้ ส่วนเงินได้ จากการขายรถยนต์จํานวน 750,000 บาทนั้น ได้รับยกเว้นภาษีไม่ต้องนํามาเสียภาษีเพราะเป็นเงินได้จากการขาย สังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามมาตรา 42 (9)

สรุป

(ก) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสินเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก)ส่วนเงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประจํานายทองต้องนํามาเสียภาษี ส่วนเงินได้จากการขายรถยนต์ นายทองไม่ต้องนํามาเสียภาษี

 

ข้อ 3 บริษัท เอสเอเอสมารีน จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศอังกฤษ มีวัตถุประสงค์กระทําธุรกิจซื้อขายสินค้าและบริการขนส่งโดยมีการกระทํากิจการ ทั้งในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 ปรากฏข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

(1) บริษัทฯ มีอาคารสํานักงานถาวรประจําอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพื่อติดต่อธุรกิจต่าง ๆ ในราชอาณาจักรไทย สํานักงานฯ มีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่าประเทศอังกฤษกับราชอาณาจักรไทย สองรายการ คือ เงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์จํานวน 100 ล้านบาท และเงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองจํานวน 90 ล้านบาท

(2) บริษัทฯ มีสํานักงานสาขาที่ประเทศรัสเซีย สํานักงานสาขาฯ ของบริษัทฯ ดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศตุรกีกับประเทศรัสเซียหนึ่งรายการ คือ ค่าโดยสารของบุคคลเพื่อ เดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานกรุงมอสโกรัสเซียจํานวน 80 ล้านบาท โดยที่ทุกครั้งในระหว่างการขนส่ง ผู้โดยสาร เครื่องบินหรืออากาศยานจะต้องลงจอดเพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักรไทยทุกครั้งก่อนที่จะบินต่อออกไปนอกราชอาณาจักรไทยเพื่อเข้าสู่ท่าอากาศยานกรุงมอสโกรัสเซีย ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 เงินได้พึงประเมินรายการดังกล่าว ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด ให้ท่านนักศึกษาใช้เพียงประมวลรัษฎากร มาตรา 66 และมาตรา 67 ในการวินิจฉัยเท่านั้น)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 66 “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในที่อื่น รวมทั้งในประเทศไทย ให้เสียภาษีในกําไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําในประเทศไทย…”

มาตรา 67 “การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ให้เสียตามอัตราที่กําหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษี เงินได้ท้ายหมวดนี้ เว้นแต่ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง กระทํากิจการขนส่ง ผ่านประเทศต่าง ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีรับขนคนโดยสาร ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดยสารค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น

(2) ในกรณีรับขนของ ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์ อื่นใดที่เรียกเก็บ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น”

วินิจฉัย

โดยหลัก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํา กิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย และกิจการที่กระทําเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ในกรณีรับขนคนโดยสาร ต้องเป็นการเรียกเก็บค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดในประเทศไทย ส่วนกรณีรับขนของ ต้องเป็น การขนของออกนอกประเทศเท่านั้นจึงจะมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

กรณีตามอุทาหรณ์ บริษัท เอสเอเอสมารีน จํากัด จะต้องนําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

1 กรณีที่บริษัทฯ มีอาคารสํานักงานถาวรประจําอยู่ในราชอาณาจักรไทย และสํานักงานฯ มีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศอังกฤษกับราชอาณาจักรไทย 2 รายการนั้น

รายการที่ 1 เงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์จํานวน 100 ล้านบาทนั้น ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการรับขนของออกจากประเทศไทย และเมื่อบริษัท เอสเอเอสมารีน จํากัด เป็นนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย โดยกระทํากิจการขนส่ง ผ่านประเทศต่าง ๆ ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 100 ล้านบาทดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลโดยเสียในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวางตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2) ประกอบมาตรา 66 วรรคสอง

รายการที่ 2 เงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองจํานวน 90 ล้านบาทนั้น แม้จะมิใช่เงินได้เนื่องจากการรับขนของออกจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2) ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทฯ เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้ง ในประเทศไทย เงินได้พึงประเมินจํานวน 90 ล้านบาทที่สํานักงานของบริษัทฯ ที่กระทํากิจการในประเทศไทยได้รับ จึงต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเสียจากกําไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 66 วรรคสอง

2 กรณีที่บริษัทฯ มีสํานักงานสาขาที่ประเทศรัสเซีย และสํานักงานสาขาฯ ของบริษัทฯ ดังกล่าวมีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศตุรกีกับประเทศรัสเซีย คือค่าโดยสารของบุคคลเพื่อเดินทางเข้าสู่ ท่าอากาศยานกรุงมอสโกรัสเซียจํานวน 80 ล้านบาทนั้น ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง เพราะไม่ใช่เงินได้พึงประเมินเนื่องจากการกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย และเงินได้พึงประเมินดังกล่าวก็มิใช่เป็นเงินได้ที่เป็นค่าโดยสารที่เรียกเก็บในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 (1) ดังนั้น เงินได้จํานวน 80 ล้านบาทดังกล่าว จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

สรุป

ในรอบระยะเวลาบัญชี 2561 เงินได้พึงประเมิน 2 รายการ คือ เงินค่าระวางขนส่งสินค้า เข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์จํานวน 100 ล้านบาท และเงินค่าระวางขนส่งสินค้าเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง จํานวน 90 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนเงินได้ที่เป็นค่าโดยสารจํานวน 80 ล้านบาท ไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 นายอาร์กู้ยืมเงินจากนายเอ 20,000,000 บาท เพื่อนําเงินไปวางมัดจําในการซื้อรถยนต์ซุปเปอร์คาร์ ยี่ห้อรัมโพนิกี้ รุ่นมาร์ธาร์ออ จากนายวีพ่อค้าในราคา 35,000,000 บาท ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวนายวีได้รับซื้อมาจากนายยอร์นนี่ในราคา 10,000,000 บาท ซึ่งนายยอร์นนี่ ได้ลักขโมยจากเจ้าของในต่างประเทศและได้ถูกลักลอบนําเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย โดยนายอาร์ ได้มอบโฉนดที่ดินเลขที่ 539589 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 80 ตารางวา ให้นายโอยึดไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าว ทั้งนี้นายโอไม่ทราบเหตุผลในการกู้ยืมดังกล่าว โดยที่นายวียังมิได้บอกเหตุผลดังกล่าวให้บุคคลใดทราบเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 นายโอได้ซื้อรถยนต์ดังกล่าวต่อจากนายอาร์ในราคา 45,000,000 บาท โดยนายโอและนายอาร์ได้ตกลงหักกลบลบหนี้กันจํานวน 20,000,000 บาท แล้ว และให้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินระงับหมดสิ้น แต่นายโอไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินเลขที่ 589589 ดังกล่าว ให้แก่นายอาร์ โดยอ้างว่า ขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกและนายอาร์ก็ไม่ติดใจเรียกเอาโฉนดที่ดินดังกล่าว คืนอีกเลย ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายอาร์ นายโอ และนายวี ได้ออกไปนอกราชอาณาจักรไทย ในช่วงเวลาดังกล่าวเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในปีภาษี 2560 เงินได้พึงประเมินรายการดังกล่าว ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินตามรายการดังกล่าว จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายอาร์กู้ยืมเงินจากนายโอ 20,000,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ยนั้น ถือว่าการที่ นายอาร์ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเป็นประโยชน์ที่นายอาร์ได้รับซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ประโยชน์ที่นายอาร์ ได้รับดังกล่าวซึ่งคิดเป็นเงินได้จํานวน 1,500,000 บาท (20,000,000 x อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี) จึงถือ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเงินได้ที่นายอาร์ได้รับแล้วตามเกณฑ์เงินสด ดังนั้น นายอาร์จึงต้องนําเงิน 1,500,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 การที่นายวีได้ขายรถยนต์ซุปเปอร์คาร์ ยี่ห้อรัมโพนิกี้ รุ่นมาร์ธาร์ออ ให้แก่นายอาร์ ในราคา 35,000,000 บาท ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวนายวีได้รับซื้อมาจากนายยอร์นนี้ในราคา 10,000,000 บาท ทําให้ นายวีได้กําไร 25,000,000 บาทนั้น เงินกําไรดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ตามหลักเกณฑ์เงินสด นายวีจะต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

3 การที่นายอาร์ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นายโอในราคา 45,000,000 บาท ทําให้ นายอาร์ได้กําไร 10,000,000 บาท เงินกําไรที่นายอาร์ได้รับจํานวน 10,000,000 บาทดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 ตามหลักเกณฑ์เงินสด นายอาร์จะต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

ส่วนการที่นายโอได้รับมอบเอกสารโฉนดที่ดิน เลขที่ 589589 จากนายอาร์เพื่อยึดถือไว้เป็น หลักประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวนั้น แม้โฉนดที่ดินจะเป็นทรัพย์สินและถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ที่นายโอได้รับเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อนายโอยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตามโฉนดที่ดินดังกล่าว นายโอจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด

สรุป

นายอาร์จะต้องนําประโยชน์ที่ได้รับคือดอกเบี้ยจํานวน 1,500,000 บาท และเงินกําไร จากการขายรถยนต์ดังกล่าวจํานวน 10,000,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นายวีจะต้องนํากําไรจากการขายรถยนต์ดังกล่าวจํานวน 25,000,000 บาท มาคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ส่วนนายโอไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ในปีภาษี 2560 นายหมื่นเป็นแพทย์แผนกกุมารเวชที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครได้รับเงินเดือน ๆ ละ 100,000 บาท โดยในช่วงเวลาเย็น นายหมื่นยังเปิดคลินิกของตนเองเพื่อ ตรวจโรคทั่วไปสําหรับเด็กโดยไม่มีเตียงคนไข้สําหรับค้างคืน มีรายได้ตลอดปีจํานวน 1,000,000 บาท และบางวันนายหมื่นได้ออกไปตรวจรักษาคนไข้ที่บ้านของคนไข้เองเป็นการส่วนตัว มีรายได้ตลอดปี จํานวน 200,000 บาท นอกจากนี้นายหมื่นยังได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ของ ธนาคารเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศไทยจํานวน 15,000 บาท นายหมื่นมีบุตรชาย 1 คน ชื่อนายพัน อายุ 17 ปี ซึ่งมิได้กําลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาแห่งใด นายพันได้รับของขวัญวันเกิดจากนางสาวผา แฟนสาว เป็นเงินสดจํานวน 31,000 บาท ให้วินิจฉัยว่าเงินได้ของนายหมื่นเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทใด ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีหรือไม่ และนายหมื่นสามารถหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่

(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจํานวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษี นั้น. (ปัจจุบันมีประกาศกรมสรรพากรฯ ฉบับที่ 55 กําหนดเพิ่มจํานวนดอกเบี้ยเป็น 20,000 บาท)

(28) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้ของนายหมื่นเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามารวม เพื่อเสียภาษีหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือนที่ได้รับจากโรงพยาบาลเดือนละ 100,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

2 รายได้จากการเปิดคลินิกของตนเองแบบไม่มีเตียงคนไข้สําหรับค้างคืนจํานวน 1,000,000 บาท และรายได้จากการออกไปตรวจรักษาคนไข้ที่บ้านของคนไข้เองจํานวน 200,000 บาท ที่รายได้ มีจํานวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความยากง่ายและปริมาณของงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ตามมาตรา 40 (6) เพราะเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ และต้องนําเงินได้ทั้ง 2 จํานวนดังกล่าวมาคํานวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 ดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์จํานวน 15,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) และเมื่อมีจํานวนไม่เกิน 20,000 บาท จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องนํามาคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (8) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับที่ 55

สําหรับการหักลดหย่อนนั้น นายหมื่นสามารถหักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้เองจํานวน 60,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) และสามารถหักลดหย่อนบุตรได้อีกจํานวน 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) เนื่องจากนายพันเป็นผู้เยาว์ และเงินได้จํานวน 31,000 บาทขึ้นายพันได้รับจากนางสาวผาแฟนสาว เป็นของขวัญวันเกิดนั้นมีจํานวนไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี และเป็นเงินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาจากบุคคล ซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เงินได้ดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (28) กรณี จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ให้หักค่าลดหย่อนบุตรตามมาตรา 47 วรรคสามตอนท้ายที่ว่า “แต่มิให้หักลดหย่อน สําหรับบุตรที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้า ลักษณะตามมาตรา 42”

สรุป

เงินได้พึงประเมินที่นายหมื่นต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ คือ เงินเดือนตาม มาตรา 40 (1) รายได้จากการเปิดคลินิกฯ และรายได้จากการออกไปตรวจรักษาที่บ้านของคนไข้ตามมาตรา 40 (6) แต่ไม่ต้องนําดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) มาคํานวณเพื่อเสียภาษี โดยนายหมื่นสามารถหักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้และบุตรได้ ตามมาตรา 47 (1) (ก) และ (ค)

 

 

ข้อ 3 บริษัท เกรท ไฟแนนซ์ กรุ๊ป จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และดําเนินกิจการด้านการเงินครบวงจรในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในรอบบัญชี ปี พ.ศ. 2560 บริษัทฯ ได้ส่งมิสเตอร์เบอร์นี่เข้ามาเป็นตัวแทนในการติดต่อ ทําสัญญา ให้คําปรึกษา และดูแลกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ ที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมดจนเกิดรายได้จากการให้คําปรึกษา จํานวน 400 ล้านบาท บริษัทฯ จะมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ เพราะเหตุใด และหากมี การส่งรายได้นั้นกลับประเทศสหรัฐอเมริกาไปยังบริษัทฯ จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร และจะชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 70 ทวิ วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจําหน่ายเงินกําไรหรือเงิน ประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกําไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย ให้เสียภาษีเงินได้ โดยหักภาษี จากจํานวนเงินที่จําหน่ายนั้นตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนําส่งอําเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันจําหน่าย”

มาตรา 71 “ในกรณีที่

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ไม่ยื่นรายการซึ่งจําเป็นต้องใช้ในการคํานวณภาษี ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ หรือมิได้ทําบัญชีหรือทําไม่ครบตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 17 หรือมาตรา 68 ทวิ หรือ ไม่นําบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทําการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขาย ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือ ยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฎเจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจประเมินโดยอาศัยเทียบเคียงกับยอด ในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้า ยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไปไม่ปรากฏให้ประเมินได้ตามที่ เห็นสมควร

มาตรา 76 ทวิ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้ หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและ ให้ถือว่า บุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้น มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือ ผลกําไรที่กล่าวแล้ว

ในกรณีที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ถ้าบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี ไม่สามารถจะคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ได้ ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษี ตามมาตรา 71 (1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีสาขาใน ประเทศไทย หากมีลักษณะตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ให้ถือว่าบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

2 มีลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในประเทศไทย

3 ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินหรือผลกําไรในประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท เกรท ไฟแนนซ์ กรุ๊ป จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศ สหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และในรอบบัญชีปี 2560 บริษัทฯ ได้ส่งนายเบอร์นี้เข้ามาเป็น ตัวแทนในการติดต่อ ทําสัญญา ให้คําปรึกษา และดูแลกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ ที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมด เป็นเหตุให้ บริษัทฯ มีรายได้จากการให้คําปรึกษาจํานวน 400 ล้านบาทนั้น ถือว่าบริษัทฯ ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง และให้นายเบอร์นี่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทฯ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีแทนบริษัทฯ ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง โดยเสียภาษีจากฐาน กําไรสุทธิตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่ถ้าหากไม่สามารถคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้เจ้าพนักงานประเมิน มีอํานาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสอง ประกอบมาตรา 71 (1)

และในกรณีที่มีการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีแล้ว หากต่อมาได้มีการจําหน่ายเงินกําไร จากรายได้ดังกล่าวกลับไปยังบริษัทฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็จะต้องเสียภาษีจากการจําหน่ายเงินกําไรตาม มาตรา 70 ทวิอีกด้วย

สรุป

บริษัท เกรท ไฟแนนซ์ กรุ๊ป จํากัด โดยนายเบอร์นี่ตัวแทนจะต้องนํารายได้จํานวน 400 ล้านบาทที่ได้รับในประเทศไทยมาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และถ้าหากมีการส่งรายได้นั้น กลับไปยังบริษัทฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะต้องเสียภาษีจากการจําหน่ายรายได้นั้นด้วย

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยสวน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายแสงเป็นคนไทย ทํางานอยู่ที่บริษัท ช็อกโกเวิลด์ จํากัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 100,000 บาท นายแสงได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวและมาเก็บค่าเช่าบ้านที่ตนปล่อยเช่า โดยนํากําไลข้อมือราคา 300,000 บาท ซึ่งนําเงินเดือนสะสมตั้งแต่ต้นปีไปซื้อติดตัวเข้ามาประเทศไทยด้วย เมื่อนายแสงเยี่ยมครอบครัวเสร็จ จึงไปเก็บค่าเช่าบ้านจํานวน 50,000 บาทแล้วรีบกลับประเทศอังกฤษในปลายเดือนมิถุนายน เพราะเกรงว่าตนจะต้องเสียภาษีตามหลักถิ่นที่อยู่ ให้วินิจฉัยว่านายแสงต้องนําจํานวนเงินได้ข้างต้น มาเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ นายแสงจะต้องนําจํานวนเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีกําไลข้อมือ ซึ่งนายแสงได้นําเงินเดือนสะสมตั้งแต่ต้นปีไปซื้อมาราคา 300,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินในความหมายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แม้เงินได้พึงประเมินดังกล่าวจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศ และนายแสงได้นําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย แต่เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่านายแสงได้อยู่ในประเทศไทยเพียง 1 เดือน ซึ่งไม่ถึง 180 วันในปีภาษี ดังนั้นนายแสงจึงไม่ต้องนํา จํานวนเงินได้ดังกล่าวนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

2 กรณีเงินค่าเช่า จํานวน 50,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากทรัพย์สินที่อยู่ ในประเทศไทย ดังนั้น นายแสงจึงต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทยตาม หลักแหล่งเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แม้นายแสงจะมิได้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันก็ตาม

สรุป

นายแสงไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากกําไลข้อมือมาคํานวณเพื่อเสียภาษี แต่จะต้อง นําเงินได้พึงประเมินจากเงินค่าเช่าจํานวน 50,000 บาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีให้กับประเทศไทย

 

ข้อ 2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 นายโอ นายเม และนายก้า ได้ตกลงร่วมกันเป็นผู้ก่อการและจะจัดตั้งบริษัท สยามบะหมี่ จํากัด ซึ่งเป็นกิจการค้าขายบะหมี่ โดยกิจการดังกล่าวได้จดทะเบียนจัดตั้ง และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กิจการฯ ดังกล่าวได้ทําสัญญาว่าจ้างนายฮาร์ดอร์ก้าให้เริ่มงานทันที โดยสัญญาได้ถูกทําขึ้นที่ประเทศมอนเตเนโกร และในขณะทําสัญญานั้นนายฮาร์ดอร์ก้ามีภูมิลําเนา อยู่ที่ประเทศมอนเตเนโกร สัญญาจ้างดังกล่าวกําหนดให้นายฮาร์ดอร์ก้าทํางานที่จังหวัดภูเก็ตในตําแหน่งผู้จัดการเป็นเวลา 10 เดือน ค่าจ้างเดือนละ 400,000 บาท ตลอดระยะเวลาการทํางานนายฮาร์ดอร์ก้านําลูกชาย อายุ 17 ปีมาอยู่ด้วย แต่ในส่วนลูกสาวอายุ 12 ปีให้อยู่กับภริยาที่ประเทศมอนเตเนโกรมิได้เข้ามา ในประเทศไทย ต่อมาเมื่อครบ 10 เดือน ตามสัญญาจ้างแล้ว กิจการค้าขายบะหมีดังกล่าวมีเงินได้พึงประเมิน 10 ล้านบาท โดยนายฮาร์ดอร์ก้ามีส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดเงินได้พึงประเมินดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 นายโอจึงร่วมเดินทางไปส่งนายฮาร์ดอร์ก้าที่ประเทศมอนเตเนโกร แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างเดินทางดังกล่าวบุคคลทั้งสองได้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ให้ท่านวินิจฉัยว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2559 ที่กิจการค้าขายบะหมี่และนายฮาร์ดอร์ก้า ได้รับจะต้องหักค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากรอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือ นอกประเทศ

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยหรือขั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์…แต่มให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

(3) ในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนตาม (1) (ข) และ (1) ให้หักได้เฉพาะสามีหรือภริยาและบุตรที่อยู่ในประเทศไทย

(4) ในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

(6) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ…ให้หักลดหย่อนได้ตาม (1) (ก) สําหรับผู้เป็นหุ้นส่วน แต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตาย เสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีปฏิบัติแทน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2559 ที่กิจการค้าขายบะหมี่และ นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับ จะต้องหักค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากรอย่างไร แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กิจการค้าขายบะหมี่ การที่นายโอ นายเม และนายก้า ได้ตกลงร่วมกันเป็นผู้ก่อการและจะจัดตั้งบริษัท สยามบะหมี จํากัด ซึ่งเป็นกิจการค้าขายบะหมี่ โดยกิจการดังกล่าวได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 นั้น ก่อนที่จะจัดตั้งเป็นบริษัท ในปี พ.ศ. 2559 เมื่อกิจการฯ นี้ประกอบกิจการ

และมีเงินได้พึงประเมิน 10 ล้านบาท เงินได้ดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการในรูปของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น จึงต้องนําเงินได้พึงประเมินจํานวน 10 ล้านบาท ไปคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยถือว่าผู้มีเงินได้นั้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

ในการหักลดหย่อนนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แต่รวมกัน ต้องไม่เกิน 120,000 บาท ดังนั้น เมื่อเงินได้พึงประเมินที่กิจการค้าขายบะหมี่ได้รับในปีภาษี 2559 เมื่อนําไปคํานวณ เพื่อเสียภาษีจึงหักลดหย่อนได้ 120,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) และมาตรา 47 (6)

2 เงินได้ที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับ การที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้ทํางานในตําแหน่งผู้จัดการที่ จังหวัดภูเก็ตเป็นเวลา 10 เดือน ค่าจ้างเดือนละ 400,000 บาทนั้น เงินได้พึงประเมินที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับทั้งหมด ถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย ดังนั้น นายฮาร์ดอร์ก้าจึงต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และแม้ว่านายฮาร์ดอร์ก้าจะได้ถึงแก่ความตาย ในระหว่างปีภาษี ก็จะต้องนําเงินได้นั้นไปคํานวณเพื่อเสียภาษีโดยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีเป็นผู้ปฏิบัติแทนตามมาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง

ในการหักลดหย่อนนั้น ให้นายฮาร์ดอร์ก้าหักลดหย่อนได้เสมือนนายฮาร์ดอร์ก้ายังมี ชีวิตอยู่ (มาตรา 74 (4)) และเมื่อนายฮาร์ดอร์ก้าได้ทํางานในประเทศไทย 10 เดือนจึงครบ 180 วัน จึงให้ถือว่า นายฮาร์ดอร์ก้าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสาม) ดังนั้น ในการหักลดหย่อนจึงหักได้ปกติตามเกณฑ์ ที่กฎหมายกําหนดไม่ต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 74 (3) กล่าวคือสามารถหักลดหย่อนในนามของผู้มีเงินได้ ได้ 60,000 บาท ภริยาหักได้ 60,000 บาท และบุตรทั้ง 2 คนหักได้คนละ 30,000 บาท ตามมาตรา 74 (1) (ก) (ข) และ (ค) (1) รวมแล้วจะหักลดหย่อนได้ 180,000 บาท

สรุป

เงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2559 ที่กิจการค้าขายบะหมี่ได้รับหักลดหย่อนได้ 120,000 บาท ส่วนเงินได้พึงประเมินที่นายฮาร์ดอร์ก้าได้รับ หักลดหย่อนได้ 180,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่นและประกอบธุรกิจอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งนายโมจิเป็นตัวแทนมาติดต่อทําสัญญาซื้อขายเครื่องจักรโรงงานให้กับ บริษัท ไทยจักรกล จํากัด ในประเทศไทย โดยการชําระราคาเครื่องจักร 10 ล้านบาท ทางบริษัท ไทยจักรกล จํากัด จะส่งเงินไปให้บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเอง กรณีนี้บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด มีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทยหรือไม่ เพราะเหตุ ใด หากมีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทยจะเสียด้วยวิธีการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี…”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับ เงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและ ให้ถือว่าบุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกําไรที่กล่าวแล้ว”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักไว้ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ประกอบกิจการในประเทศไทย และเมื่อให้ถือว่าเป็นการประกอบกิจการในประเทศไทย ดังนั้นกรณีดังกล่าวจึงเข้า หลักเกณฑ์ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ว่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ คือตามบทบัญญัติในมาตรา 65 วรรคหนึ่งนั่นเอง ซึ่งต้องเสียภาษีจากฐานกําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการหักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ ญี่ปุ่นและประกอบธุรกิจที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งนายโมจิเป็นตัวแทนมาติดต่อทําสัญญาซื้อขายเครื่องจักรโรงงาน ให้กับบริษัท ไทยจักรกล จํากัด ในประเทศไทยนั้น แม้ทางบริษัท ไทยจักรกล จํากัด จะส่งเงินไปให้บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเองก็ตาม ก็ถือว่าบริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียน จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้มีตัวแทนผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นเหตุให้ได้รับเงินได้ในประเทศไทยจํานวน 10 ล้านบาท ตามมาตรา 76 ทวิ ดังนั้น บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด จึงต้องมีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทย โดยให้นายโมจิเป็นผู้ทําหน้าที่ ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับบริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด โดยเสียภาษีจากฐานภาษี กําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้จํานวน 10 ล้านบาทดังกล่าวตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่ง

สรุป

บริษัท อาคิโนะ แมชชีน จํากัด มีภาระภาษีที่ต้องเสียให้กับประเทศไทย โดยให้นายโมจิ เป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคํานวณจากฐานภาษีกําไรสุทธิที่คํานวณได้ จากรายได้จํานวน 10 ล้านบาท ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่ง

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท สยามเคมี จํากัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยและได้ทําสัญญากับนายจอห์นโซในขณะที่นายจอห์นโซอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อจ้างนายจอห์นโซ ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ให้ทํางานที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซเลิกสัญญาเดิมและได้ทําสัญญาใหม่กับสํานักงาน สาขาของบริษัท สยามเคมี จํากัด ที่ประเทศสิงคโปร์ และตกลงให้นายจอห์นโซรับตําแหน่งผู้จัดการ ประจําสํานักงานสาขาฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยสํานักงานสาขาฯ ดังกล่าวเป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่ นายจอห์นโซทั้งหมด เดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน โดยที่สํานักงานสาขาฯ ไม่บันทึก ค่าจ้างเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ และในเวลาต่อมา นายจอห์นโซได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย เพื่อมาทํางานให้แก่สาขาฯ จนสิ้นปี พ.ศ. 2559 และนายจอห์นโซเสียชีวิตในค่ําคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2559 นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า นายจอห์นโซเป็นผู้มีสัญชาติสิงคโปร์ และมีภูมิลําเนาที่ประเทศ สิงคโปร์ และเงินค่าจ้างทุก ๆ เดือนในปี พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซได้รับโอนเงินเข้าทางบัญชีธนาคารที่ ประเทศสิงคโปร์ของนายจอห์นโซทุกเดือน และนายจอห์นโซได้ใช้จ่ายเงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ ตนทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าวเข้ามาประเทศไทยเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปีภาษี 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปีภาษี 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่บริษัท สยามเคมี จํากัด ได้จ่ายให้แก่นายจอห์นโซใน ประเทศไทยเป็นเวลา 3 เดือน เป็นเงินจํานวน 600,000 บาท และเงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่สํานักงานสาขาฯ ได้จ่ายให้แก่นายจอห์นโซในขณะที่นายจอห์นโซได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยเพื่อมาทํางานให้แก่สาขาฯ อีก 4 เดือน เป็นเงิน 800,000 บาทนั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทยและเป็น เงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น นายจอห์นโซจะต้องนําเงินได้ทั้งหมดจํานวน 1,400,000 บาท ดังกล่าว มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

2 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่สํานักงานสาขาของบริษัท สยามเคมี จํากัด ในประเทศ สิงคโปร์ จ่ายให้แก่นายจอห์นโซในขณะที่นายจอห์นโซไปรับตําแหน่งผู้จัดการประจําสํานักงานสาขาของบริษัทฯ โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายจอห์นโซในประเทศสิงคโปร์นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่ งานที่ทําในต่างประเทศ และถือเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจอห์นโซน้ําเงินเดือนที่ได้รับในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่ได้นําเงินเดือนดังกล่าวเข้ามา ในประเทศไทยเลย ดังนั้นแม้ว่านายจอห์นโซจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันก็ตาม แต่เมื่อนายจอห์นโซ ไม่ได้เอาเงินได้ดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้ นายจอห์นโซจึงไม่ต้องนําเงินได้ จํานวนดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

นายจอห์นโซจะต้องนําเงินเดือนที่ได้รับในประเทศไทยจํานวน 1,000,000 บาท มาเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีเป็นผู้ปฏิบัติแทน (มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง) ส่วนเงินเดือนที่ได้รับในต่างประเทศไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

 

ข้อ 2 ให้ท่านอธิบายหลักกฎหมายเรื่อง “สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร “อย่างน้อย 10 รายการ” โดยละเอียด

ธงคําตอบ

“สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น หมายถึง สิทธิของ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการนํารายการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้มาหักเพิ่มได้อีกหลังจาก ได้มีการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ก่อนนําเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามประมวลรัษฎากร ได้กําหนดรายการต่าง ๆ ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธินําไปหักเป็นค่า ลดหย่อนไว้หลายรายการ เช่น

1 หักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้ โดยหักได้ 60,000 บาท

2 หักลดหย่อนสําหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ไม่มีเงินได้พึงประเมิน หรือมีแต่ไม่ได้แยกคํานวณภาษี โดยหักได้ 60,000 บาท

3 หักลดหย่อนสําหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ โดยหักได้คนละ 30,000 บาท (ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ในมาตรา 47)

4 เบี้ยประกันชีวิต ที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปในปีภาษีสําหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ (รวมทั้งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้) โดยหักได้ส่วนแรก 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกําหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป

5 เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สามารถหักลดหย่อนได้ตามจํานวนที่ จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยนําจํานวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท

6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (สําหรับการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย.) ตาม จํานวนเงินที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

7 เงินสมทบทุนที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม (รวมทั้งกรณีที่สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม) โดยหักได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง

8 ค่าลดหย่อนบิดามารดา ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดานั้นต้องมี อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ..

9 เงินที่ได้จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559) โดยหักได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

10 หักลดหย่อนเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา โดยสามารถหักได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่ ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

11 หักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค โดยผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคได้ เท่าจํานวนที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และให้หักค่าลดหย่อนได้เฉพาะ

(1) เงินที่บริจาคให้แก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของรัฐ

(2) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่สถานที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

 

 

ข้อ 3 บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ไม่มีสาขาหรือกิจการใด ๆ ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 บริษัท อเมริกาฯ ได้ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้กับบริษัท ไทยอุตสาหกรรมสิ่งทอ จํากัด โดยได้ส่ง ผู้จัดการฝ่ายขายมาเซ็นสัญญากันในประเทศไทยจํานวนเงิน 700 ล้านบาท และนําฝากเข้าบัญชีไว้กับ ธนาคารในประเทศไทย จงวินิจฉัยว่า บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรในเงินจํานวนดังกล่าวอย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในเวนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวนได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ 7 ต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับ เงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและ ให้ถือว่าบุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทนหรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกําไรที่กล่าวแล้ว”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักไว้ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ประกอบกิจการในประเทศไทย และเมื่อให้ถือว่าเป็นการประกอบกิจการในประเทศไทย ดังนั้นกรณีดังกล่าวจึงเข้า หลักเกณฑ์ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ว่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ คือตามบทบัญญัติในมาตรา 65 วรรคหนึ่งนั่นเอง ซึ่งต้องเสียภาษีจากฐานกําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการหักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศ ไม่มีสาขาหรือกิจการใด ๆ ในประเทศไทย ได้ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้กับบริษัท ไทยอุตสาหกรรม สิ่งทอ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย โดยได้ส่งผู้จัดการฝ่ายขายมาเซ็นสัญญากันในประเทศไทยจํานวน เงิน 700 ล้านบาทนั้น ถือได้ว่าบริษัท อเมริกันฯ ได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากมีตัวแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทย ดังนั้น บริษัท อเมริกันฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรในจํานวนเงินดังกล่าวตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง โดยเสียภาษีจากฐานภาษีกําไรสุทธิที่คํานวณได้จากรายได้ที่ได้รับจํานวน 700 ล้านบาทดังกล่าว

สรุป

บริษัท อเมริกันเทคโนโลยี จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ในเงินจํานวน 700 ล้านบาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีจากฐานภาษีกําไรสุทธิตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!