LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายสรศักดิ์เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2516 ที่กรุงเทพฯ จากนางสมใจมารดาผู้มีสัญชาติไทย ส่วนบิดาเป็นที่ปรึกษาสัญชาตินอร์เวย์ในโครงการการเกษตรระหว่างไทยกับนอร์เวย์เป็นเวลา 2 ปี แล้วก็เดินทาง กลับไป ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าสรศักดิ์จะได้สัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ยอมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ แล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายสรศักดิ์จะได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า การที่นายสรศักดิ์เกิดที่ กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการเกิดในราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ทําให้นายสรศักดิ์ได้รับสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) ทั้งนี้เพราะนายสรศักดิ์ได้เกิดในราชอาณาจักรไทย ในขณะที่ประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่เกิดบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 ประกอบกับข้อ 1 (2)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ย่อมมีผลทําให้นายสรศักดิ์กลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ที่กําหนดให้บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรย่อมได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด และตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ยังได้บัญญัติให้นําบทบัญญัติมาตรา 7 (1)

มาใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น นายสรศักดิ์จึงได้รับ สัญชาติไทย เพราะเกิดจากนางสมใจมารดาซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยถือว่านายสรศักดิ์ได้รับสัญชาติไทยย้อนหลัง ไปตั้งแต่นายสรศักดิ์เกิด

สรุป

นายสรศักดิ์จะได้รับสัญชาติไทย

 

ข้อ 2 ลานาหญิงสัญชาติบรูไนสมรสกับกิมชายสัญชาติเกาหลี กฎหมายสัญชาติบรูไนกําหนดว่าหญิงบรูไนสมรสกับคนต่างชาติจะไม่เสียสัญชาติบรูไน จนกว่าหญิงนั้นจะแสดงความจํานงสละสัญชาติบรูไน และกฎหมายสัญชาติเกาหลีกําหนดว่าหญิงต่างด้าวซึ่งสมรสกับชายเกาหลีย่อมได้สัญชาติเกาหลี โดยการสมรส ส่วนกฎหมายภายในบรูไนกําหนดว่าบุคคลมีความสามารถจะทํานิติกรรมสัญญาใด ๆ ได้เมื่อมีอายุครบ 19 ปีบริบูรณ์ แต่กฎหมายภายในเกาหลีต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่าลานายังไม่ได้แสดงความจํานงสละสัญชาติบรูไน และในขณะที่ลานามีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อทํานิติกรรมซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์มจํานวน 10 เครื่อง จากนายเก่ง คนสัญชาติไทย หลังจากนั้นลานากับนายเก่งมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไทยโดยประเด็นข้อพิพาทมีว่า ลานา มีความสามารถทํานิติกรรมที่ว่านี้หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคแรก “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติ ขึ้นไปอันได้รับมาเป็นลําดับ ให้ใช้กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับครั้งสุดท้ายบังคับ”

มาตรา 10 วรรคแรกและวรรคสอง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อม เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น

แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้นย่อมจะ ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมนั้น ได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและ กฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุ นิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เห็นว่า ปัญหาข้อพิพาทที่ว่าลานา จะทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ํามันปาล์มจากนายเก่งคนสัญชาติไทยได้หรือไม่นั้น ถือเป็นกรณีพิพาทกันเรื่อง ความสามารถของบุคคลซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการ ขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลานามีทั้งสัญชาติบรูไนและสัญชาติเกาหลีอันได้รับมาเป็นลําดับ (ไม่พร้อมกัน) กรณีเช่นนี้ กฎหมายสัญชาติที่จะใช้บังคับ คือ กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับมาครั้งสุดท้ายอันได้แก่ กฎหมายเกาหลีตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคแรก ซึ่งเมื่อพิจารณาตามกฎหมายเกาหลี แล้ว ลานาย่อมไม่มีความสามารถทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกฎหมายเกาหลีกําหนดว่า บุคคล มีความสามารถจะทํานิติกรรมใด ๆ ได้ต่อเมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เมื่อในขณะทํานิติกรรมลานามีอายุเพียง 20 ปี จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี แม้ลานาจะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายสัญชาติ แต่อาจถือได้ว่าลานาคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง ดังนี้คือ

1) คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2) ตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตาม ข้อ 1)

3) แต่กฎหมายไทยถือว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1) ได้

ดังนั้น การที่ลานาได้ทํานิติกรรมในประเทศไทย ซึ่งนิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ใช่นิติกรรม ตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมายสัญชาติของลานา (เกาหลี) ก็ถือว่าลานาเป็นบุคคล ผู้ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัด แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยแล้ว ลานามีความสามารถ ทํานิติกรรมซื้อขายดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ เพราะถือว่าลานาบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้นศาลไทยจึงควรวินิจฉัยว่าลานามีความสามารถทําสัญญาที่ว่านี้ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง

สรุป

ศาลไทยควรวินิจฉัยว่าลานามีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์ม ดังกล่าวได้

 

ข้อ 3 อนุสัญญาโตเกียวว่าด้วยการกระทําความผิดบนอากาศยาน ค.ศ. 1963 อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 และอนุสัญญามอนทรีลว่าด้วยการขจัดการกระทํา โดยมิชอบด้วยความปลอดภัยแห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971 นั้น มีข้อบกพร่องที่สําคัญอยู่หรือไม่อย่างไร ให้ท่านตอบมา

ธงคําตอบ

อธิบาย

ในปัจจุบัน มีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจี้เครื่องบินและการก่อวินาศกรรม อยู่ 3 ฉบับด้วยกัน คือ

1 อนุสัญญาโตเกียวว่าด้วยการกระทําความผิดบนอากาศยาน ค.ศ. 1963 (The Tokyo Convention of Offences Committed on board Aircraft of 1963)

2 อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 (The Hague Convention for the Suppression of Unlawful Seizure of Aircraft 1970)

3 อนุสัญญามอลทรีล ว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความปลอดภัยแห่งการบิน พลเรือน ค.ศ. 1971 (The Montreal Convention for the Suppression of Unlawful Acts Against the Safety of Civil Aviation 1972)

อนุสัญญา 2 ฉบับแรกนั้นเกี่ยวข้องกับการจี้เครื่องบินโดยเฉพาะ ส่วนอนุสัญญาหลังกว้าง ครอบคลุมถึงการกระทําทุกชนิดที่กระทบต่อความปลอดภัยของการบินระหว่างประเทศ

อนุสัญญาทั้ง 3 ฉบับนี้ แม้จะได้กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับความผิด เขตอํานาจศาล และสร้างพันธะให้แก่รัฐภาคีในอันที่ต้องลงโทษผู้กระทําความผิด แต่อย่างไรก็ตาม ก็มิได้หามาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะลงโทษรัฐภาคีที่ทําการละเมิดพันธะที่กําหนดไว้ กรณีนี้จึงถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่สําคัญของอนุสัญญา ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว

 

ข้อ 4 จงอธิบายหลักเกณฑ์และสาระสําคัญของความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Crimes) พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบด้วย

ธงคําตอบ

หลักเกณฑ์และสาระสําคัญของความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Crimes) มีว่า “ประเทศภาคีแห่งข้อตกลงระหว่างประเทศฯ ทุกประเทศย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาความผิด ดังกล่าวนี้ โดยใช้กฎหมายอาญาของประเทศนั้นได้ หากปรากฏตัวผู้กระทําผิดในดินแดนหรือราชอาณาจักรของ ประเทศนั้น โดยไม่ต้องคํานึงว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศเจ้าของท้องที่เกิดเหตุหรือประเทศผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม”

ตัวอย่างของความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ การฉ้อโกงระหว่างประเทศ การกระทํา ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเงินตรา การค้าทาสและการค้าหญิง การกระทําความผิดเกี่ยวกับสลัดอากาศ เป็นต้น

 

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นางสาววิไลพรกับน้อง ๆ อีก 4 คน ผู้ร้องเกิดในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมารดานางพรพรรณเป็นผู้มีสัญชาติลาว ส่วนบิดานายพรเทพผู้มีสัญชาติไทย บิดากับมารดา มิได้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย ผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือไม่ เพราะเหตุใด หรือถ้าหาก ผู้ร้องและมารดาจะได้สัญชาติไทย อาจจะได้สัญชาติไทยในกรณีใดบ้าง อธิบาย โดยยกหลักกฎหมาย ประกอบคําตอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ยอมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 9 “หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทยถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

มาตรา 7 วรรคสอง “คําว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรส กับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ผู้ร้องคือนางสาววิไลพรกับน้อง ๆ อีก 4 คน เกิดในประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีมารดาคือนางพรพรรณเป็นผู้มีสัญชาติลาว และบิดาคือนายพรเทพเป็นผู้มี สัญชาติไทยนั้น ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ทั้งนี้เพราะบิดาและมารดานั้นมิได้เป็น สามีภริยากันตามกฎหมาย นายพรเทพจึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลัก สายโลหิตตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) นั้น บิดาต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ บุตรเกิด หรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และกรณีนี้บุตรทั้ง 5 คน ซึ่งเป็นผู้ร้องก็ไม่ได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดน เพราะไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3)

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. สัญชาติฯ และประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนั้นให้นําไปใช้กับผู้ที่เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนั้นใช้บังคับด้วย ดังนั้นหากผู้ร้อง คือ นางสาววิไลพรกับน้อง ๆ อีก 4 คน ต้องการมีสัญชาติไทย สามารถทําได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธี ดังนี้คือ

1 ให้ดําเนินการพิสูจน์ตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวงว่านายพรเทพเป็นบิดา ของบุตรผู้ร้องทั้ง 5 คนตามสายโลหิตจริงตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสอง ซึ่งจะต้อง ดําเนินการพิสูจน์กับบุตรทุกคน เมื่อพิสูจน์ได้แล้วว่าบุตรทั้ง 5 คนเป็นบุตรของนายพรเทพจริง บุตรนั้นก็จะกลับได้ สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิตตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ทั้งนี้ แม้นายพรเทพ จะมิได้จดทะเบียนสมรสกับนางพรพรรณและมิได้จดทะเบียนรับรองบุตรเหล่านั้นก็ตาม หรือ

2 ให้นายพรเทพจดทะเบียนสมรสกับนางพรพรรณหรือจดทะเบียนรับรองบุตรผู้ร้อง ทั้ง 5 คน ว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือขอให้ศาลพิพากษาว่าบุตรเหล่านั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ทั้งนี้เนื่องจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1557 ที่แก้ไขใหม่นั้นได้กําหนดให้ “การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลย้อนหลังไปนับแต่วันที่เด็กเกิด” ซึ่งผลของการเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว ย่อมทําให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่เดิมนั้นกลายเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วย เมื่อเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงทําให้บุตรผู้ร้องทั้ง 5 คน กลับได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) เช่นกัน

สําหรับนางพรพรรณมารดาของบุตรผู้ร้อง ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ก็ให้ทําการสมรสกับ นายพรเทพ และให้ยื่นคําขอมีสัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง (พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 9)

สรุป

ผู้ร้องไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าหากผู้ร้องและมารดามีความประสงค์จะได้สัญชาติไทย ก็จะต้อง ดําเนินการตามที่กฎหมายกําหนดไว้ ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 ศาลไทยกําลังพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งซึ่งมีประเด็นว่านายราชัคคนสัญชาติมาเลเซีย อายุ 20 ปีบริบูรณ์มีภูมิลําเนาตามกฎหมายอยู่ที่กรุงเทพฯ มีความสามารถทํานิติกรรมเกี่ยวกับธุรกิจธรรมดาทั่วไป ฉบับหนึ่งซึ่งทําขึ้นในประเทศเกาหลีหรือไม่ กฎหมายภายในของมาเลเซียกําหนดว่าบุคคลมีความ สามารถทํานิติกรรมสัญญาเมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ส่วนกฎหมายภายในของเกาหลีต้องมีอายุครบ 22 ปีบริบูรณ์ และกฎหมายขัดกันของมาเลเซียกําหนดว่าความสามารถของบุคคลให้เป็นไปตาม กฎหมายของประเทศที่บุคคลนั้นมีภูมิลําเนา ส่วนกฎหมายขัดกันของเกาหลีให้เป็นไปตามกฎหมาย ของประเทศแห่งถิ่นที่นิติกรรมสัญญาทําขึ้นให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยจะพิจารณาว่านายราซัคมีความสามารถทํานิติกรรมที่ว่านี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 4 “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ และตามกฎหมายต่างประเทศนั้นกฎหมาย ที่จะใช้บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศสยามบังคับ มิใช่กฏเกณฑ์แห่ง กฎหมายสยามว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย”

มาตรา 10 วรรคแรก “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยจะพิจารณาว่านายราชัคมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ หรือไม่นั้น เห็นว่าตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก กําหนดให้ ความสามารถของบุคคลเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น เมื่อปรากฏว่านายราซัคมีสัญชาติมาเลเซีย กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่กฎหมายมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม กฎหมายมาเลเซียย่อมหมายรวมถึงกฎหมายขัดกัน ของมาเลเซียด้วย ดังนั้น เมื่อกฎหมายขัดกันของมาเลเซียกําหนดว่าความสามารถของบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมาย ของประเทศที่บุคคลนั้นมีภูมิลําเนา ซึ่งตามปัญหาได้แก่ ประเทศไทย จึงเป็นกรณีที่กฎหมายต่างประเทศย้อนส่งกลับ มาให้ใช้กฎหมายไทย โดยนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 ดังนั้นกฎหมายที่จะต้องใช้บังคับ ในที่นี้จึงได้แก่ กฎหมายไทย และเป็นกฎหมายภายในของไทยมิใช่กฎหมายขัดกัน

และเมื่อปรากฏว่ากฎหมายภายในของไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 กําหนดให้บุคคลผู้มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะสามารถทํานิติกรรมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เมื่อ นายราชัคมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ศาลไทยจึงมีคําพิพากษาว่า นายราซัคมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้

สรุป

ศาลไทยจะพิจารณาว่านายราซัคมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้

 

ข้อ 3 บริษัท เอเชียโน่ เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศฟิลิปปินส์ได้มาตั้งสาขาที่ประเทศไทย โดยมีนายเฟอร์นานเดสคนสัญชาติฟิลิปปินส์เป็นผู้จัดการประจําสํานักงานที่ประเทศไทย นายเฟอร์นานเดส ได้แก้ไขบัญชีของบริษัทสาขาในประเทศไทยและนํารายได้บางส่วนของบริษัทฯ โอนเข้าบัญชีของ ตนเองที่ธนาคารในประเทศฟิลิปปินส์ การกระทําของนายเฟอร์นานเดสถือว่าเป็นความผิดตาม กฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

การที่นายเฟอร์นานเดส ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาได้ทําการแก้ไขบัญชีของบริษัทสาขาในประเทศไทย และนํารายได้บางส่วนของบริษัทฯ โอนเข้าบัญชีของตนที่ธนาคารในประเทศฟิลิปปินส์ การกระทําของนายเฟอร์นานเดส ดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึงการกระทํา ความผิดโดยบุคคลที่แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่การงานและใช้ตําแหน่งหน้าที่การงานของตนมาเป็น ประโยชน์ในการประกอบความผิด

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดการขโมย หรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นตัวแลกเงิน ตัวสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า

หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายเฟอร์นานเดส ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

 

ข้อ 4 ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศและพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 ให้ท่านอธิบายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้

ธงคําตอบ

ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศและพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนไว้ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นความผิดทางอาญาหรือความผิดที่จะถูกลงโทษทางอาญาในเขตของประเทศที่ร้องขอ และเป็นคดีอาญาที่มีมูลที่จะนําตัวผู้กระทําความผิดขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้

2 ต้องเป็นคดีที่ยังไม่ขาดอายุความ หรือคดีที่ศาลของประเทศใดได้พิจารณาและพิพากษาให้ปล่อยตัว หรือได้รับโทษในความผิดที่ร้องขอให้ส่งข้ามแดนนั้นแล้ว

3 จะต้องเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาของทั้งสองประเทศ คือประเทศที่มีคําขอและประเทศที่ถูกขอให้ส่งตัว

4 จะต้องเป็นความผิดซึ่งกฎหมายกําหนดโทษจําคุกไม่ต่ำกว่า 1 ปี

5 จะต้องไม่ใช่ความผิดทางการเมือง เพราะมีหลักว่าห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีการเมืองและต้องไม่ใช่ความผิดบางประเภท ซึ่งประเทศต่าง ๆ มักจะไม่ยอมให้มีการส่งผู้ร้าย ข้ามแดน เช่น ความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เป็นต้น

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ดุษฎีเกิดในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2508 จากบิดาคนสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง บิดามารดาไม่ได้เป็น สามีภริยาตามกฎหมาย บิดาเพิ่งมาจดทะเบียนสมรสกับมารดา เมื่อ 20 ธันวาคม 2518 ให้ท่านวินิจฉัยว่า ดุษฎีได้หรือเสียสัญชาติไทยอย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ทวิ วรรคแรก “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่งมิได้สมรส กับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

มาตรา 11 “บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรี มีคําสั่งอันมีผลให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ดุษฎีได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า ดุษฎีเกิดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2508 จากบิดาเป็นคนสัญชาติไทย สวนมารดาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและเกิดก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักดุษฎีย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว ดุษฎีจะถูกถอนสัญชาติไทยตาม ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1. เพราะมารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย (เพราะในขณะดุษฎีเกิด บิดามารดาไม่ได้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย) และแม้ว่าต่อมาบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง (ปี พ.ศ. 2518) ทําให้บิดาเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่ทําให้คุษฎีซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยไปแล้วจะได้สัญชาติไทย กลับคืนมาอีก เพราะประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายพิเศษ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3120/2528)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 อีกทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่าบิดาของนายดุษฎีไม่ใช่คนต่างด้าว อันจะทําให้คุษฎีไม่ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ทวิ วรรคแรก ประกอบมาตรา 11 ดังนั้น ดุษฎีจึงกลับได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตามหลักดินแดน

และเมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1557 ได้มีการแก้ไขใหม่ โดยบัญญัติให้กรณีที่บิดามารดาได้จดทะเบียน สมรสกันในภายหลังนั้น ผลของการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่เด็กเกิด (ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551) ตามมาตรา 1547 และมาตรา 1557 ดังนั้นจากผลของ ป.พ.พ. ที่ได้มีการแก้ไขใหม่ ทําให้ดุษฎีกลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) เพราะเกิด โดยบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มีสัญชาติไทย

สรุป

ดุษฎีจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) และ (3)

 

ข้อ 2 นายเจียงเกิดจากบิดามารดาซึ่งเป็นคนสัญชาติจีน แต่เกิดและมีภูมิลําเนาในประเทศเวียดนามตามกฎหมายจีนบุคคลย่อมได้สัญชาติจีนหากเกิดจากบิดาเป็นจีนไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกประเทศจีน และตามกฎหมายเวียดนามบุคคลย่อมได้สัญชาติเวียดนามหากเกิดในประเทศเวียดนาม กฎหมายจีน ยังกําหนดไว้อีกว่า บุคคลบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถจะทํานิติกรรมสัญญาใด ๆ ได้เมื่ออายุ ครบ 19 ปีบริบูรณ์ แต่กฎหมายเวียดนามต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะที่ นายเจียงมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ํามันปาล์ม จํานวน 10 เครื่องจาก นายเกิดผลคนสัญชาติไทยที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นนายเจียงและนายเกิดผลมีคดีขึ้นสู่ศาลไทย โดยประเด็นข้อพิพาทมีว่านายเจียงมีความสามารถทําสัญญาที่ว่านี้หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยควรวินิจฉัยอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคสอง “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติ ขึ้นไป อันได้รับมาคราวเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีภูมิลําเนาอยู่บังคับ ถ้าบุคคลนั้นมี ภูมิลําเนาอยู่ในประเทศอื่นนอกจากประเทศซึ่งตนมีสัญชาติสังกัดอยู่ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาในเวลายืนฟ้องบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ ในกรณีใด ๆ ที่มีการ ขัดกันในเรื่องสัญชาติของบุคคล ถ้าสัญชาติหนึ่งสัญชาติใดซึ่งขัดกันนั้นเป็นสัญชาติไทย กฎหมายสัญชาติซึ่งจะใช้ บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม”

มาตรา 10 วรรคแรกและวรรคสอง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อม เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น

แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติ คนต่างด้าวนั้นย่อมจะ ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมนั้น ได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและ กฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุ นิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เห็นว่า ปัญหาข้อพิพาทที่ว่า นายเจียงมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ํามันปาล์มจากนายเกิดผลคนสัญชาติไทยได้หรือไม่นั้น ถือเป็น เรื่องความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วย การขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายเจียงมีทั้งสัญชาติจีนและเวียดนามซึ่งได้รับมาในคราว เดียวกัน (ได้รับมาพร้อมกัน) กรณีเช่นนี้ กฎหมายสัญชาติที่ใช้บังคับ คือ กฎหมายสัญชาติของประเทศที่นายเจียง มีภูมิลําเนาอยู่ อันได้แก่ กฎหมายเวียดนามตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสอง ซึ่ง เมื่อพิจารณาตามกฎหมายเวียดนามแล้ว นายเจียงย่อมไม่มีความสามารถทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ เนื่องจาก ตามกฎหมายเวียดนามกําหนดว่า บุคคลจะบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถที่จะทํานิติกรรมใด ๆ ได้เมื่อมีอายุ ครบ 21 ปีบริบูรณ์ เมื่อในขณะทํานิติกรรมนายเจียงมีอายุเพียง 20 ปี จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี แม้นายเจียงจะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายสัญชาติ แต่อาจถือได้ว่านายเจียงคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไข ดังนี้คือ

1) คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2) ตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตามข้อ 1)

3) แต่ตามกฎหมายไทยถือว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1) ได้

 

ดังนั้น การที่นายเจียงได้ทํานิติกรรมในประเทศไทย ซึ่งนิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ใช่นิติกรรม ตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมายสัญชาติของนายเจียง (เวียดนาม) ก็ถือว่านายเจียง ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัด แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยแล้ว นายเจียงมีความสามารถทํา นิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้ เพราะถือว่านายเจียงบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้น ศาลไทยจึงควร วินิจฉัยว่านายเจียงมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง

สรุป

ศาลไทยควรวินิจฉัยว่านายเจียงมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์ม ดังกล่าวได้

 

ข้อ 3 นายโรมาโนคนสัญชาติอิตาลีได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศอิตาลี และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินในประเทศไทย การกระทําของนายโรมาโนถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายโรมาโนคนสัญชาติอิตาลีได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งในอิตาลี และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินที่ประเทศไทยนั้น การกระทําของนายโรมาโนดังกล่าวถือเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึง การกระทําความผิดโดยบุคคลที่แต่งตัว สะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่ในการทํางาน เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ และสมุห์บัญชี เป็นต้น

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดถึงการขโมยหรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายโรมาโนถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

 

ข้อ 4 ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ให้ท่านอธิบายตอบคําถามต่อไปนี้

ก ผู้ร้ายข้ามแดน หมายความว่าอย่างไร

ข วัตถุที่ประสงค์ของกฎหมายนี้

ค อุปสรรคของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ธงคําตอบ

ก คําว่า “ผู้ร้ายข้ามแดน” หมายถึง บุคคลผู้กระทําผิดอาญา ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะผู้ต้องหาหรือ จําเลย หรือผู้ซึ่งต้องคําพิพากษาให้ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้กระทําผิดอาญาในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนีข้ามแดน ไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง ประเทศที่ความผิดได้กระทําลงร้องขอให้ประเทศที่ผู้ร้ายหลบหนีไปอยู่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อนํามาพิจารณาโทษ

ดังนั้น “การส่งผู้ร้ายข้ามแดน” คือการที่ประเทศซึ่งผู้ร้ายไปปรากฏตัวอยู่ได้ส่งมอบตัวผู้ร้ายนั้น ไปยังประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวนั่นเอง

ข วัตถุประสงค์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน มีอยู่ 3 ประการ คือ

1 เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดอาญาและอาชญากรรมต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของประชาชนโลกทั้งปวง

2 เพื่อให้เป็นไปตามหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาที่ว่า ผู้กระทําผิดอาญาจะต้องได้รับโทษ

เพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

3 เพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทําผิดอาศัยการหลบหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้ตนรอดพ้นจากการถูกลงโทษ

ค อุปสรรคของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน มีหลายประเภท อาทิเช่น

– กฎหมายขาดสภาพบังคับ

– ประเทศผู้ร้องขอหรือประเทศที่ความผิดได้กระทําลงละเลยไม่พยายามที่จะนําตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ

– ขาดความร่วมมือจากประเทศผู้รับคําขอ ซึ่งนอกจากจะไม่ร่วมมือป้องกันปราบปราม

อาชญากรรมแล้ว บางครั้งยังมีการกระทําที่ปกป้องหรือการสนับสนุนผู้ร้ายอีกด้วย

– ผู้ร้ายกระทําทุกวิถีทางทั้งชอบธรรมและไม่ชอบธรรม เพื่อไม่ต้องรับโทษ ฯลฯ

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายสุรพลเกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2516 จากนางบุญมารดาผู้มีสัญชาติไทย ส่วนบิดาเป็นวิศวกรการเกษตรสัญชาติอิสราเอลในโครงการการเกษตรระหว่างประเทศไทยกับอิสราเอลเป็นเวลา 2 ปี แล้วเดินทางกลับไป ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า นายสุรพลได้ สัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ แล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายสุรพลจะได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า การที่นายสุรพลเกิดที่จังหวัด บุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการเกิดในราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ทําให้นายสุรพลได้รับสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ทั้งนี้เพราะนายสุรพลได้เกิดในราชอาณาจักรไทย ในขณะที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่ เกิดบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 ประกอบกับข้อ 1(2)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ย่อมมีผลทําให้นายสุรพลกลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) ที่กําหนดให้บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรย่อมได้

สัญชาติไทยโดยการเกิด และตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ยังได้บัญญัติให้นําบทบัญญัติมาตรา 7(1) มาใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น นายสุรพลจึงได้รับ สัญชาติไทย เพราะเกิดจากนางบุญมารดาซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยถือว่านายสุรพลได้รับสัญชาติไทยย้อนหลัง ไปตั้งแต่นายสุรพลเกิด

สรุป

นายสุรพลจะได้รับสัญชาติไทย

 

ข้อ 2 นายสิทธิชัยคนสัญชาติไทยได้ทําสัญญาซื้อเครื่องถ่ายเอกสารจํานวน 10 เครื่องจากนายปีเตอร์คนสัญชาติอังกฤษที่มีภูมิลําเนาตามกฎหมายอยู่กรุงเทพฯ โดยทําสัญญาฉบับนี้ที่สิงคโปร์ และขณะทําสัญญาเครื่องถ่ายเอกสารทั้งหมดนี้ก็อยู่ที่สิงคโปร์ นายสิทธิชัยและนายปีเตอร์ไม่ได้แสดงเจตนาไว้ โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่ข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาฉบับนี้ เมื่อซื้อขายกันแล้วปรากฏว่าสวิตช์ตัวควบคุมของเครื่องถ่ายเอกสารทั้ง 10 เครื่องนี้อยู่ในสภาพชํารุด ใช้การไม่ได้ นายสิทธิชัยจึงขอเปลี่ยน แต่นายปีเตอร์ไม่ยอมเปลี่ยนให้โดยโต้แย้งว่าตนในฐานะ ผู้ขายไม่จําต้องรับผิดในกรณีการชํารุดที่ว่านี้ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า หากศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ของสัญญาฉบับนี้ไว้พิจารณา ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่านี้ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 13 วรรคแรก “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญหรือ ผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ ถ้า คู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มี สัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว การจะพิจารณาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สาระสําคัญหรือผลของ สัญญานั้น กรณีเป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคแรก ซึ่งอาจแยกพิจารณาเป็น กรณีตามลําดับได้ดังนี้

1 กรณีที่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นํากฎหมายของประเทศใด มาใช้บังคับ ก็ให้นํากฎหมายของประเทศนั้นมาใช้บังคับ

2 กรณีที่ไม่อาจทราบเจตนาโดยชัดแจ้งหรือปริยายของคู่สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายที่จะใช้ บังคับแก่สัญญา

(ก) ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของคู่สัญญามาใช้บังคับ

(ข) ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้น ได้ทําขึ้นมาใช้บังคับ

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่า นายปีเตอร์ (ผู้ขาย) จะต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องในทรัพย์สิน (เครื่องถ่ายเอกสาร) ที่ซื้อขายกันเพียงใด หรือไม่อันเป็นปัญหาในเรื่องผลของสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือ โดยปริยายว่าให้นํากฎหมายประเทศใดมาใช้บังคับแก่ผลของสัญญา จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายได้ว่าคู่สัญญาจะให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ข้อพิพาทนี้ และเมื่อทั้งนายสิทธิชัยและนายปีเตอร์ คู่สัญญาก็ไม่ได้มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่ กฎหมายประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็น กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาฉบับนี้ได้ทําขึ้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคแรก

ดังนั้น หากได้ความว่าศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยจึงควรนํากฎหมาย ประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าว

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 3 ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือไม่นั้น ไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติหรือกําหนดไว้แต่ประการใด จึงให้ท่านอธิบายว่าการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวข้างต้นในปัจจุบันนี้ มีแนวปฏิบัติหรือหลักการ ของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ไว้บ้างหรือไม่ อย่างไร ให้ท่านอธิบายโดยละเอียดชัดเจนและครบถ้วน

ธงคําตอบ

ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมือง หรือไม่นั้น มีแนวปฏิบัติหรือหลักการของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ ดังนี้

(1) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีหลักกฎหมายภายในเกี่ยวกับ ความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรงก็จะนําหลักกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ตัวอย่างเช่น หลักกฎหมายของประเทศ ฝรั่งเศสที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองจะต้องเป็นการกระทําที่กระทบต่อธรรมนูญการปกครอง และรัฐบาลโดยมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างหลักการปกครองของประเทศในหลักใหญ่ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ) หรือหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองได้นั้น จะต้องเป็นการ กระทําความผิดในขณะที่ไม่มีความสงบทางการเมือง ระหว่างคณะบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยต่างฝ่ายต่าง พยายามที่จะบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับระบบการปกครองตามที่ฝ่ายตนต้องการ เป็นต้น

(2) ในกรณีที่ศาลทีวินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่มีหลักกฎหมายภายในเกี่ยวกับ ความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษาของศาลแห่งประเทศนั้นเป็นหลักพิจารณา ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์เป็นหลักพิจารณา เพราะตามหลักกฎหมายไทยในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ถือเป็นที่สุดทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังเช่น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนายพลท้าวมาทิ้งระเบิด ที่นครเวียงจันทน์เพื่อทําการยึดอํานาจในประเทศลาว แต่ไม่สําเร็จ จึงหนีเข้ามาในเมืองไทยโดยขอลี้ภัยทางการเมือง แต่ทางฝ่ายรัฐบาลลาวขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวนายพลท้าวมาและพรรคพวกกลับไปดําเนินคดี แต่ศาลไทยปฏิเสธ ไม่ยอมส่งตัวให้ โดยถือว่านายพลท้าวมาและพรรคพวกเป็นผู้ต้องหาทางการเมือง เป็นต้น

 

ข้อ 4 บริษัท ลักกี้เทรดดิ้ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศนอร์เวย์ได้มาตั้งสาขาที่ประเทศไทย โดยมีนายโธมัสคนสัญชาตินอร์เวย์เป็นพนักงานประจําสํานักงานที่ประเทศไทย นายโธมัสได้ปลอมแปลง บัญชีของบริษัทฯ เพื่อบริษัทฯ จะได้เสียภาษีน้อยลง ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมาย ประกอบด้วยว่า การกระทําของนายโธมัสถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายโธมัสคนสัญชาตินอร์เวย์ซึ่งเป็นพนักงานประจําสํานักงานที่ ประเทศไทยได้ปลอมแปลงบัญชีของบริษัทฯ สาขาที่ประเทศไทยเพื่อบริษัทฯ จะได้เสียภาษีน้อยลงนั้น การกระทํา ของนายโธมัสดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่ง หมายถึงการกระทําความผิดโดยบุคคลที่แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่การงานและใช้ตําแหน่งหน้าที่การงาน ของตนมาเป็นประโยชน์ในการประกอบความผิด

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดถึงการขโมยหรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตั๋วเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายโธมัสถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2555

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นางมะนาว แซ่หรู เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2512 จากบิดามารดาเป็นญวนอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มีใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว) นางมะนาวได้อยู่กินกับนายกู๋ แซ่โง โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรในประเทศไทยห้าคน สองคนแรกเกิดก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับ คนที่สาม สี่ เกิดเมื่อประกาศ ของคณะปฏิวัติใช้บังคับแล้ว แต่ก่อน พ.ร.บ. สัญชาติ ฉบับที่ 2 ใช้บังคับ ส่วนคนที่ห้าเกิดเมื่อ พ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่ 2 ใช้บังคับแล้วมะนาวและบุตรทั้งห้าคนได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

มาตรา 10 บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ มะนาวและบุตรทั้ง 5 คน จะได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่นั้น วินิจฉัยได้ดังนี้

1 มะนาว ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2512 จากบิดาและมารดาซึ่งเป็น คนต่างด้าวแต่ได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนี้ย่อมถือว่ามะนาวเป็น ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย และจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3)

และต่อมาเมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) มะนาวก็ไม่ถูกถอนสัญชาติไทย เพราะแม้ว่ามะนาวจะได้เกิดโดยบิดาและมารดาเป็นญวนอพยพ แต่ในขณะที่เกิดนั้น บิดาและมารดาของมะนาวได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ดังนั้น มะนาวจึงยังคง มีสัญชาติไทย

2 บุตร 2 คน รก ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้ บังคับย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3)

และแม้ต่อมาประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะมีผลใช้บังคับ บุตร 2 คนแรกของ มะนาวก็ไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามข้อ 1(3) เพราะบุตร 2 คนแรกนั้นมีมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และนาย บิดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวก็มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย (ฎีกาที่ 2450/2526) ดังนั้นบุตร 2 คนแรกจึงยังคงมี สัญชาติไทย

3 บุตรคนที่ 3 และ 4 แม้จะเกิดภายหลังวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับ แล้วก็ย่อมได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) เช่นกัน เพราะไม่เข้า ข้อยกเว้น ตามข้อ 2 และข้อ 1(3) เนื่องจากมีมะนาวมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และนายคู่บิดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว ก็มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย (ฎีกาที่ 1746/2532)

อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) บุตรทั้ง 4 คนกลับได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) ที่กําหนดให้บุคคลผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือ นอกราชอาณาจักร ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ทั้งนี้โดยผลของมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวที่ได้กําหนดให้นํา บทบัญญัติมาตรา 7(1) มาใช้บังคับย้อนหลังกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น บุตรทั้ง 4 คนจึงได้รับสัญชาติไทยตามหลักสายโลหิต โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่เกิด เพราะมารดา คือ มะนาวเป็นผู้มีสัญชาติไทย

4 สําหรับบุตรคนที่ 5 เกิดเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ ฉบับที่ 2 ใช้บังคับ โดยมะนาวมารดา เป็นผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) และ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 7 ทวิ วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เกิดในราชอาณาจักร โดยบิดาและมารดาเป็น คนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย…”

สรุป

มะนาวได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3)บุตร 4 คน ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) โดยผลของมาตรา 10 ซึ่งให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่เกิด บุตรคนที่ 5 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1)

 

ข้อ 2 นายโฮคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ได้สละสัญชาติเกาหลี และได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต่อมานายโฮถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 โดยในขณะเดียวกันนั้นเองเกิดคดีขึ้นสู่ศาลไทย และประเด็นข้อพิพาทมีว่านายโฮมีความสามารถ ทํานิติกรรมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ จํานวน 10 เครื่องจากนายวิชัยที่กรุงเทพฯ หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัย พร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่านี้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคสาม “สําหรับบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ”

มาตรา 10 วรรคแรก “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักใน การพิจารณาและวินิจฉัย เห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่ว่า นายโฮจะมีความสามารถทํานิติกรรมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ จากนายวิชัยที่กรุงเทพฯ ได้หรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่องความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายโฮคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้สละสัญชาติเกาหลีและได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งในขณะเกิดข้อพิพาทที่ว่านี้นายโฮได้ตกเป็น บุคคลไร้สัญชาติ เพราะนายโฮได้ถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ดังนี้ การจะนํากฎหมาย ประเทศใดมาปรับแก่ข้อพิพาทดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม ซึ่งมีหลักคือ

1 ถ้าปรากฏภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับ หรือ

2 ถ้าไม่ปรากฎภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายโฮบุคคลไร้สัญชาติและไม่ปรากฏว่ามีภูมิลําเนาอยู่ที่ใด กรณี เช่นนี้จึงต้องใช้กฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นกฎหมายที่นายโฮมีถิ่นที่อยู่บังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม

ผลจึงเป็นว่า ศาลไทยจึงควรนํากฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณา และวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายโฮที่ว่านี้

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายโฮ

 

ข้อ 3 เรือสินค้าสัญชาติเนเธอร์แลนด์ถูกกลุ่มบุคคลพร้อมอาวุธปืนนั่งเรือเร็วเข้าปล้น และได้ลักพาตัวลูกเรือชาวเนเธอร์แลนด์ 5 คน และลูกเรือชาวไทย 3 คน เรียกค่าไถ่ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในทะเลหลวง

การกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 (Geneva Convention on High Sea 1958)

มาตรา 15 ได้ให้ความหมายของคําว่า “การโจรสลัด” ว่าต้องประกอบด้วยการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1 การกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็น การปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทํา

(ก) ในทะเลหลวง ต่อเรือหรืออากาศยานอีกลําหนึ่ง หรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือหรืออากาศยานเช่นว่านั้น

(ข) ต่อเรือ อากาศยาน บุคคลหรือทรัพย์สินในที่ที่อยู่ภายนอกอํานาจของรัฐใด

2 การกระทําใดอันเป็นการเข้าร่วมด้วยใจสมัครในการดําเนินการของเรือ

3 การกระทําอันเป็นการยุยงหรืออํานวยความสะดวกโดยเจตนาต่อการกระทําที่ได้ กล่าวไว้ในวรรคแรก หรืออนวรรคสอง ของมาตรานี้

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่กลุ่มบุคคลพร้อมอาวุธปืนนั่งเรือเร็วเข้าปล้นเรือสินค้าสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ในเขตทะเลหลวง และได้ลักพาตัวลูกเรือชาวเนเธอร์แลนด์ 5 คน และลูกเรือชาวไทย 3 คน เพื่อเรียกค่าไถ่นั้น การกระทําดังกล่าวถือเป็นการกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็น การปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทําใน ทะเลหลวง ต่อเรือหรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือ จึงถือว่าการกระทําดังกล่าว เป็นความผิดฐานโจรสลัด ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 มาตรา 15

สรุป

การกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ฐานโจรสลัด

 

ข้อ 4 การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อมีการร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากรัฐผู้ร้องขอ รัฐผู้รับคําขอไม่ควรปฏิเสธที่จะร่วมมือโดยการส่งผู้ร้าย ข้ามแดนกลับไปให้ตามคําขอนั้น อยากทราบว่ามีเหตุผลใดบ้างที่รัฐผู้รับคําขอควรจะร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้ตามคําขอ

จงบอกเหตุผลเหล่านั้นมาโดยครบถ้วน

ธงคําตอบ

อธิบาย

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ การที่รัฐซึ่งบุคคลนั้นไปปรากฏตัวอยู่ส่งมอบตัวผู้ต้องหาหรือผู้ซึ่ง ต้องคําพิพากษาให้ลงโทษแล้วไปยังรัฐซึ่งผู้นั้นต้องหาว่าได้กระทําความผิดอาญา หรือถูกพิพากษาให้ลงโทษทาง อาญาแล้ว ในดินแดนของรัฐที่ขอให้ส่งตัว

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อประเทศหนึ่งร้องขอแล้วประเทศที่รับคําขอก็ควรจะส่งตัวให้ตามคําขอ ซึ่งเหตุผลสําคัญที่รัฐผู้รับคําขอควรร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้ตามคําขอของรัฐผู้ร้องขอ คือ

1 เพื่อร่วมมือกันระหว่างประเทศในการปราบปรามและป้องกันการกระทําความผิดทางอาญาเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์ร่วม (Common Goal) คือความสงบสุขของประชากรโลก

2 เพื่อเป็นการยืนยันหลักการที่ว่าผู้กระทําผิดต้องได้รับการลงโทษ

3 เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้กระทําความผิดอาศัยการหลบหนีเพื่อมิให้ถูกลงโทษได้อีกต่อไป

อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลักการทั่วไปดังกล่าว ก็ยังมีข้อยกเว้นให้ผู้กระทําผิดดังกล่าวไม่ต้องถูกส่งตัว อยู่ 3 ประการ คือ

1 ลักษณะแห่งความผิด เช่น เป็นความผิดทางการเมือง ความผิดต่อกฎหมายพิเศษ ความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เป็นต้น

2 สัญชาติของผู้กระทําความผิด เช่น เป็นคนในสัญชาติของรัฐผู้รับคําขอ เป็นต้น

3 ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําความผิด เช่น เป็นบุคคลในคณะทูต บุคคลที่สั่งให้ปล่อยตัวแล้ว เป็นต้น

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ปรานีหรือนอม แซ่ผ่าน เป็นบุตรนายยิน นางเกียว แซ่ผ่าน ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยได้รับอนุญาต (มีใบต่างด้าว) ปรานีเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2490 ปรานีได้อยู่กินกันฉันสามีภริยากับนายกู้ แซ่โง ญวนอพยพโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสเกิดบุตรใน ประเทศไทยสองคนก่อนวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เจ้าหน้าที่กิจการญวนอพยพได้ใส่ชื่อนาย ปรานี และบุตรทั้งสองคนเป็นญวนอพยพ การใส่ชื่อดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456

มาตรา 3 “บุคคลเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเป็นคนไทย คือ

(3) บุคคลผู้ได้กําเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม” พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(1) บุคคลผู้ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

(3) บุคคลผู้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีการใส่ชื่อนายกู้เป็นคนญวนอพยพ ตามข้อเท็จจริง นายกู้ แซโง เป็นคนญวนอพยพ อยู่แล้ว ดังนั้น การใส่ชื่อนายกู้เป็นคนญวนอพยพจึงถูกต้อง

2 กรณีการใส่ชื่อปรานีเป็นคนญวนอพยพ ตามข้อเท็จจริง ปรานีเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2490 ปรานี้จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 343) และปรานี้จะไม่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515)เพราะบิดามารดาของปรานี คือ นายยิน และนางเกียว แซ่ผ่าน เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยชอบด้วยกฎหมาย (มีใบต่างด้าว) ดังนั้น การใส่ชื่อปรานี้เป็นคนญวนอพยพจึงไม่ถูกต้อง

3 กรณีการใส่ชื่อบุตรทั้งสองคนเป็นญวนอพยพ ตามข้อเท็จจริง การที่บุตรทั้งสองคน เกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 บุตรทั้งสองคนย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ 1.ศ. 2508 มาตรา 7(3) และเมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) บุตรทั้งสองจะไม่ถูกถอนสัญชาติไทย เพราะบิดาเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนมารดามีสัญชาติไทย (คําพิพากษาฎีกาที่ 1746/2532) และเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผล ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) บุตรทั้งสองคนจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 10 เพราะเกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ดังนั้น การใส่ชื่อบุตรทั้งสองคนเป็นญวนอพยพจึงไม่ถูกต้อง

สรุป

การที่เจ้าหน้าที่กิจการญวนอพยพได้ใส่ชื่อนายกู๋ ปรานี และบุตรทั้งสองคนเป็นญวนอพยพนั้น การใส่ชื่อนายกู๋ถูกต้อง แต่การใส่ชื่อปรานี และบุตรทั้งสองว่าเป็นคนญวนอพยพไม่ถูกต้อง

 

ข้อ 2 ศาลไทยกําลังพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งซึ่งมีประเด็นว่านายอับดุลห์คนสัญชาติบรูไน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ มีภูมิลําเนาตามกฎหมายอยู่ที่กรุงเทพฯ มีความสามารถทําสัญญาธุรกิจการค้าธรรมดาทั่วไปฉบับหนึ่ง ซึ่งทําขึ้นในประเทศเกาหลีหรือไม่ กฎหมายภายในของบรูไนกําหนดว่าบุคคลมีความสามารถทําสัญญา เมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ส่วนกฎหมายภายในของเกาหลีต้องมีอายุครบ 22 ปีบริบูรณ์ และ กฎหมายขัดกันของบรูไนกําหนดว่าความสามารถของบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ บุคคลนั้นมีภูมิลําเนา ส่วนกฎหมายขัดกันของเกาหลีให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศแห่งถิ่น ที่สัญญาทําขึ้น ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมยังยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าศาลไทยจะพิจารณาว่า นายอับดุลห์มีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2431

มาตรา 4 “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ และตามกฎหมายต่างประเทศนั้นกฎหมาย ที่จะใช้บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศสยามบังคับ มิใช่กฎเกณฑ์แห่ง กฎหมายสยามว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย”

มาตรา 10 วรรคแรก “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยจะพิจารณาว่านายอับดุลห์มีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ หรือไม่นั้น เห็นว่าตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก กําหนดให้ ความสามารถของบุคคลเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น เมื่อปรากฏว่านายอับดุลห์มีสัญชาติบรูไน

กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่กฎหมายบรูไน อย่างไรก็ตาม กฎหมายบรูไนย่อมหมายรวมถึงกฎหมายขัดกันของบรูไนด้วย ดังนั้น เมื่อกฎหมายขัดกันของบรูไนกําหนดว่าความสามารถของบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายของ ประเทศที่บุคคลนั้นมีภูมิลําเนา ซึ่งตามปัญหาได้แก่ ประเทศไทย จึงเป็นกรณีที่กฎหมายต่างประเทศย้อนส่งกลับมา ให้ใช้กฎหมายไทย โดยนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 ดังนั้นกฎหมายที่จะต้องใช้บังคับในที่นี้ จึงได้แก่ กฎหมายไทย และเป็นกฎหมายภายในของไทยมิใช่กฎหมายขัดกัน

และเมื่อปรากฏว่ากฎหมายภายในของไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 กําหนดให้บุคคลผู้มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะสามารถทํานิติกรรมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เมื่อ นายอับดุลห์มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ศาลไทยจึงมีคําพิพากษาว่า นายอับดุลห์มีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้

สรุป

ศาลไทยจะพิจารณาว่านายอับดุลห์มีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้

 

ข้อ 3 บริษัท เอเอเทรดดิ้ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศออสเตรเลียได้มาตั้งสาขาที่ประเทศไทยโดยมีนายสก็อตคนสัญชาติออสเตรเลียเป็นพนักงานประจําสํานักงานที่ประเทศไทย นายสก็อตได้ปลอมแปลง บัญชีของบริษัทฯ สาขาที่ประเทศไทยเพื่อบริษัทฯ จะได้เสียภาษีน้อยลง การกระทําของนายสก็อตถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสก็อตคนสัญชาติออสเตรเลียซึ่งเป็นพนักงานประจําสํานักงาน ที่ประเทศไทยได้ปลอมแปลงบัญชีของบริษัทฯ สาขาที่ประเทศไทยเพื่อบริษัทฯ จะได้เสียภาษีน้อยลงนั้น การ กระทําของนายสก็อตดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึงการกระทําความผิดโดยบุคคลที่แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่การงานและใช้ตําแหน่งหน้าที่ การงานของตนมาเป็นประโยชน์ในการประกอบความผิด

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดถึงการขโมยหรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายสก็อต ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

 

ข้อ 4 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ให้ท่านอธิบาย

ก ส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ข วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้

ค หลักทั่วไปในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ธงคําตอบ

ก คําว่า “ผู้ร้าย” หมายถึง บุคคลผู้กระทําผิดอาญา ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะผู้ต้องหาหรือจําเลย หรือ ผู้ซึ่งต้องคําพิพากษาให้ลงโทษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้กระทําผิดอาญาในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนีข้ามแดนไปอยู่ อีกประเทศหนึ่ง ประเทศที่ความผิดได้กระทําลงร้องขอให้ประเทศที่ผู้ร้ายหลบหนีไปอยู่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนํามา พิจารณาลงโทษ

ดังนั้น คําว่า “ส่งผู้ร้ายข้ามแดน” จึงหมายถึง การที่ประเทศซึ่งผู้ร้ายไปปรากฏตัวอยู่ ส่งมอบ ตัวผู้ร้ายนั้นไปยังประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวนั่นเอง

ข วัตถุประสงค์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีอยู่ 3 ประการ คือ

1 เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดอาญาและอาชญากรรมต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของประชาชนโลกทั้งปวง

2 เพื่อให้เป็นไปตามหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาที่ว่า ผู้กระทําผิดอาญาจะต้องได้รับโทษเพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

3 เพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทําผิดอาศัยการหลบหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้ตนรอดพ้นจากการถูกลงโทษ

ค หลักทั่วไปของการขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนมี 9 ข้อ คือ

1 บุคคลที่ถูกขอให้ส่งตัวเป็นผู้กระทําผิดทางอาญา หรือถูกลงโทษในทางอาญาในเขตของประเทศที่ร้องขอ หรือเป็นคดีอาญาที่มีมูลที่จะนําตัวผู้ต้องหาขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้

2 ต้องไม่ใช่คดีที่ขาดอายุความ หรือคดีที่ศาลของประเทศใด ได้พิจารณาและพิพากษาให้ปล่อยหรือได้รับโทษในความผิดที่ร้องขอให้ส่งข้ามแดนได้

3 บุคคลที่ถูกขอให้ส่งตัวจะเป็นคนสัญชาติใดก็ได้ อาจจะเป็นพลเมืองของประเทศที่ร้องขอหรือประเทศที่ถูกขอหรือประเทศที่สามก็ได้

4 ความผิดซึ่งบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวได้กระทําไปนั้น ต้องเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาของทั้งสองประเทศ คือประเทศที่มีคําขอและประเทศที่ถูกขอให้ส่งตัว

5 ต้องเป็นความผิดซึ่งกฎหมายกําหนดโทษจําคุกไม่ต่ำกว่า 1 ปี

6 บุคคลที่ถูกขอตัวได้ปรากฏตัวอยู่ในประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัว

7 ประเทศเจ้าของที่เกิดเหตุ เป็นผู้ดําเนินการร้องขอให้ส่งตัวโดยปฏิบัติตามพิธีการต่าง ๆครบถ้วนดังที่กําหนดไว้ในสนธิสัญญา หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

8 ผู้ที่ถูกส่งตัวไปนั้น จะต้องถูกฟ้องเฉพาะในความผิดที่ระบุมาในคําขอให้ส่งตัวเท่านั้นหรืออย่างน้อยที่สุด จะต้องเป็นความผิดที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาระหว่างกัน

9 ต้องไม่ใช่ความผิดบางประเภทที่ไม่นิยมส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น คดีการเมือง เพราะมีหลักห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีการเมือง

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2554

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายพิเชษฐ์เกิดที่จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อปี พ.ศ. 2516 จากนางไพรมารดาผู้มีสัญชาติไทย ส่วนบิดาสัญชาตินอร์เวย์เป็นวิศวกรการประมง ผู้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาการประมงระหว่างไทย กับนอร์เวย์เป็นเวลา 2 ปี แล้วก็เดินทางกลับไป ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า นายพิเชษฐ์ควรได้สัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายพิเชษฐ์ควรได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า การที่นายพิเชษฐ์เกิดที่ จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการเกิดในราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ทําให้นายพิเชษฐ์ได้รับสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ทั้งนี้เพราะนายพิเชษฐ์ได้เกิดในราชอาณาจักรไทย ในขณะที่ ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยบิดาเป็น คนต่างด้าว และในขณะที่เกิดบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 ประกอบกับข้อ 1(2)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ย่อมมีผลทําให้นายพิเชษฐ์กลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) ที่กําหนดให้บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรย่อมได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด และตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ยังได้บัญญัติให้นําบทบัญญัติมาตรา 7(1)มาใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น นายพิเชษฐ์จึงได้รับ สัญชาติไทย เพราะเกิดจากนางไพรมารดาซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยถือว่านายพิเชษฐ์ได้รับสัญชาติไทยย้อนหลังไป ตั้งแต่นายพิเชษฐ์เกิด

สรุป

นายพิเชษฐ์ควรได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) ประกอบกับมาตรา 10 โดยมีผลย้อนหลังไปนับตั้งแต่นายพิเชษฐ์เกิด

 

ข้อ 2 นายจังเกิดจากบิดามารดาซึ่งเป็นคนสัญชาติจีน แต่เกิดและมีภูมิลําเนาในประเทศเวียดนาม ตามกฎหมายจีนบุคคลย่อมได้สัญชาติจีนหากเกิดจากบิดาเป็นจีนไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกประเทศจีน และตามกฎหมายเวียดนามบุคคลย่อมได้สัญชาติเวียดนามหากเกิดในประเทศเวียดนาม กฎหมาย ภายในจีนยังกําหนดว่าบุคคลบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถที่จะทํานิติกรรมสัญญาใด ๆ ได้เมื่อ อายุครบ 19 ปีบริบูรณ์ แต่กฎหมายเวียดนามต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่นายจังมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ํามันปาล์ม จํานวน 10 เครื่อง จากนายโชคคนสัญชาติไทยที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้น นายจังและนายโชคมีคดีขึ้นสู่ศาลไทย โดยประเด็นข้อพิพาทมีว่า นายจังมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าศาลไทยควรวินิจฉัยอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคสอง “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติ ขึ้นไป อันได้รับมาคราวเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีภูมิลําเนาอยู่บังคับ ถ้าบุคคลนั้น มีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศอื่นนอกจากประเทศซึ่งตนมีสัญชาติสังกัดอยู่ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาในเวลายื่นฟ้องบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ ในกรณีใด ๆ ที่มีการ ขัดกันในเรื่องสัญชาติของบุคคล ถ้าสัญชาติหนึ่งสัญชาติใดซึ่งขัดกันนั้นเป็นสัญชาติไทย กฎหมายสัญชาติซึ่งจะใช้ บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม”

มาตรา 10 วรรคแรกและวรรคสอง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคล ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น

แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติ คนต่างด้าวนั้นย่อมจะ ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมนั้น ได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและ กฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุ นิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เห็นว่า ปัญหาข้อพิพาทที่ว่า นายจังมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ํามันปาล์มจากนายโชคคนสัญชาติไทยได้หรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่องความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจังมีทั้งสัญชาติจีนและเวียดนามซึ่งได้รับมาในคราวเดียวกัน (ได้รับมาพร้อมกัน) กรณีเช่นนี้ กฎหมายสัญชาติที่ใช้บังคับ คือ กฎหมายสัญชาติของประเทศที่นายจังมีภูมิลําเนาอยู่ อันได้แก่ กฎหมายเวียดนามตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสอง ซึ่งเมื่อพิจารณาตาม กฎหมายเวียดนามแล้ว นายจังย่อมไม่มีความสามารถทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกฎหมายเวียดนาม กําหนดว่า บุคคลจะบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถที่จะทํานิติกรรมใด ๆ ได้เมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เมื่อ ในขณะทํานิติกรรมนายจังมีอายุเพียง 20 ปี จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี แม้นายจังจะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายสัญชาติ แต่อาจถือได้ว่านายจังคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไข ดังนี้คือ

1) คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2) ตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตาม ข้อ 1)

3) แต่ตามกฎหมายไทยถือว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1) ได้

ดังนั้น การที่นายจังได้ทํานิติกรรมในประเทศไทย ซึ่งนิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ใช่นิติกรรม ตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมายสัญชาติของนายจัง (เวียดนาม) ก็ถือว่านายจัง ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัด แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยแล้ว นายจังมีความสามารถทํา นิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้ เพราะถือว่านายจังบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้น ศาลไทยจึงควร วินิจฉัยว่านายจังมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง

สรุป

ศาลไทยควรวินิจฉัยว่านายจังมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์มดังกล่าวได้

 

ข้อ 3 ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเด็นแห่งคดี ว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือไม่นั้น ไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติหรือกําหนดไว้ ด้วยเหตุนี้ จึงอยากทราบว่าการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวข้างต้น มีแนวปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ไว้บ้างหรือไม่อย่างไร ให้ท่านอธิบายโดยละเอียด ชัดเจน และครบถ้วน

ธงคําตอบ

ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมือง หรือไม่นั้น มีแนวปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ ดังนี้

(1) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิด ทางการเมืองไว้โดยตรง ก็จะนําหลักกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ตัวอย่างเช่น หลักกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองจะต้องเป็นการกระทําที่กระทบต่อธรรมนูญการปกครองและรัฐบาล

โดยมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างหลักการปกครองของประเทศในหลักใหญ่ (นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ) หรือหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองได้นั้น จะต้องเป็น การกระทําความผิดในขณะที่ไม่มีความสงบทางการเมือง ระหว่างคณะบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยต่างฝ่าย ต่างพยายามที่จะบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับระบบการปกครองตามที่ฝ่ายตนต้องการ เป็นต้น

(2) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิด ทางการเมืองไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษาของศาลแห่งประเทศนั้นเป็นหลักพิจารณา ตัวอย่างเช่น ประเทศไทย ไม่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นหลักพิจารณา เพราะตามหลักกฎหมายไทยในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สุดทั้งในปัญหา ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังเช่น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนายพลท้าวมาทิ้งระเบิดที่นครเวียงจันทน์เพื่อ ทําการยึดอํานาจในประเทศลาว แต่ไม่สําเร็จ จึงหนีเข้ามาในเมืองไทยโดยขอลี้ภัยทางการเมือง แต่ทางฝ่ายรัฐบาลลาว ขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวนายพลท้าวมาและพรรคพวกกลับไปดําเนินคดี แต่ศาลไทยปฏิเสธไม่ยอมส่งตัวให้ โดยถือว่า นายพลท้าวมาและพรรคพวกเป็นผู้ต้องหาทางการเมือง เป็นต้น

 

ข้อ 4 ประเทศภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 ใดบ้างที่อาจร้องขอต่อรัฐภาคีอื่น ๆ ที่ผู้กระทําผิดปรากฏตัว ให้ทําการส่งตัวผู้กระทําผิดนั้นให้แก่ตนได้ ให้ท่านกล่าวมาโดยครบถ้วน

ธงคําตอบ

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 เป็นอนุสัญญา ระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการจี้เครื่องบินอันถือเป็นการกระทําความผิดฐานสลัดอากาศ ซึ่งประเทศภาคีอนุสัญญา กรุงเฮกฯ ที่มีเขตอํานาจศาลเหนือความผิดในเรื่องนี้ และอาจร้องขอต่อรัฐภาคีอื่น ๆ ที่ผู้กระทําผิดปรากฏตัว ให้ทําการส่งตัวผู้กระทําผิดนั้นให้แก่ตน ได้แก่

1 รัฐที่เครื่องบินนั้นจดทะเบียน หมายความว่า การกระทําผิดเกิดขึ้นบนเครื่องบินที่ จดทะเบียนโดยรัฐใด รัฐนั้นย่อมมีเขตอํานาจศาลเหนือความผิดนั้น

2 รัฐที่เครื่องบินนั้นแล่นลง หมายความว่า เครื่องบินที่เกิดการกระทําผิดนั้นแล่นลงที่รัฐใด รัฐนั้นย่อมมีเขตอํานาจศาลเหนือความผิดนั้น ไม่ว่าเครื่องบินลํานั้นจะจดทะเบียนโดยรัฐใดก็ตาม

3 รัฐผู้เช่าเครื่องบินนั้น หมายความว่า กรณีที่เกิดการกระทําผิดบนเครื่องบินที่รัฐเช่า มาจากรัฐอื่น รัฐผู้เช่าย่อมมีเขตอํานาจศาลเหนือความผิดนั้น

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2554

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ลัดดาวัลย์เกิดที่จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2508 จากบิดาคนสัญชาติไทยส่วนมารดาเป็นคนสัญชาติญวน ที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่เกิดนั้นบิดามารดายังมิได้จดทะเบียนสมรส บิดามารดาเพิ่งมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นเวลาที่ลัดดาวัลย์มีอายุได้ 17 ปีเศษแล้ว ให้ท่านวินิจฉัยว่า ลัดดาวัลย์จะได้หรือเสียสัญชาติไทยอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1. ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ลัดดาวัลย์ได้หรือเสียสัญชาติไทยอย่างไรหรือไม่ เห็นว่า ลัดดาวัลย์ เกิดที่จังหวัดสกลนครเมื่อปี พ.ศ. 2508 จากบิดาเป็นคนสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและเกิดก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักลัดดาวัลย์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลัก ดินแดนตามมาตรา 7(3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว ลัดดาวัลย์จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 เพราะมารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย (เพราะในขณะลัดดาวัลย์เกิด บิดามารดาไม่ได้ เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย) และแม้ว่าต่อมาบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง (ปี พ.ศ. 2525)

ทำให้บิดาเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่ทําให้ลัดดาวัลย์ซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยไปแล้ว จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาอีก เพราะประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายพิเศษ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3120/2528)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1557 ได้มีการแก้ไขใหม่ โดยบัญญัติให้กรณีที่บิดามารดา ได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังนั้น ผลของการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาให้มีผลย้อนหลังนับแต่ วันที่เด็กเกิด (ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551) ตามมาตรา 1547 และมาตรา 1557 ดังนั้น จากผลของ ป.พ.พ. ที่ได้มีการแก้ไขใหม่ ทําให้ลัดดาวัลย์กลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(1) เพราะเกิดโดยบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มีสัญชาติไทย

สรุป

ลัดดาวัลย์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7(1) เพราะเกิดโดยบิดา ชอบด้วยกฎหมายมีสัญชาติไทย

 

ข้อ 2 อินทิราหญิงสัญชาติอินเดีย สมรสกับคิมชายสัญชาติเกาหลี กฎหมายสัญชาติอินเดีย กําหนดว่า หญิงอินเดียสมรสกับคนต่างชาติจะไม่เสียสัญชาติอินเดียจนกว่าหญิงนั้นจะแสดงความจํานง สละสัญชาติอินเดีย และกฎหมายสัญชาติเกาหลีกําหนดว่า หญิงต่างชาติซึ่งสมรสกับชายเกาหลี ย่อมได้สัญชาติเกาหลีโดยการสมรส กฎหมายภายในอินเดียกําหนดว่าบุคคลมีความสามารถจะทํานิติกรรมสัญญาใด ๆ ได้เมื่อมีอายุครบ 19 ปีบริบูรณ์ แต่กฎหมายภายในเกาหลีต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ อินทิรายังไม่ได้แสดงความจํานงสละสัญชาติอินเดีย และในขณะที่อินทิรามีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อทําสัญญาซื้อเครื่องปั่นด้ายจํานวน 80 เครื่องจากนายสาธิต คนสัญชาติไทย หลังจากนั้นอินทิรากับนายสาธิตมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไทย โดยประเด็นข้อพิพาท มีว่าอินทิรามีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมาย ประกอบด้วยว่าศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคแรก “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่ สองสัญชาติขึ้นไปอันได้รับมาเป็นลําดับ ให้ใช้กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับครั้งสุดท้ายบังคับ”

มาตรา 10 วรรคแรกและวรรคสอง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อม เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น

แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้นย่อมจะไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมนั้น ได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและ กฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุ นิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เห็นว่า ปัญหาข้อพิพาทที่ว่า อินทิราจะทําสัญญาซื้อเครื่องปั่นด้ายจากนายสาธิตคนสัญชาติไทยได้หรือไม่นั้น ถือเป็นกรณีพิพาทกันเรื่องความสามารถ ของบุคคลซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อินทิรามีทั้งสัญชาติอินเดียและสัญชาติเกาหลีอันได้รับมาเป็นลําดับ (ไม่พร้อมกัน) กรณีเช่นนี้ กฎหมายสัญชาติที่จะใช้บังคับ คือ กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับมาครั้งสุดท้าย อันได้แก่กฎหมายเกาหลีตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคแรก ซึ่งเมื่อพิจารณาตาม กฎหมายเกาหลีแล้ว อินทิราย่อมไม่มีความสามารถทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกฎหมายเกาหลี กําหนดว่า บุคคลมีความสามารถจะทํานิติกรรมใด ๆ ได้ต่อเมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เมื่อในขณะทํานิติกรรม อินทิรามีอายุเพียง 20 ปี จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี แม้อินทิราจะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายสัญชาติ แต่อาจถือได้ว่าอินทิราคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมดังกล่าวยามกฎหมายไทยได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง ดังนี้คือ

1) คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2) ตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตาม ข้อ 1)

3) แต่กฎหมายไทยถือว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1) ได้

ดังนั้น การที่อินทิราได้ทํานิติกรรมในประเทศไทย ซึ่งนิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ใช่ นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมายสัญชาติของอินทิรา (เกาหลี) ก็ถือว่าอินทรา เป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัด แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยแล้ว อินทิรามี ความสามารถทํานิติกรรมซื้อขายดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ เพราะถือว่าอินทราบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้น ศาลไทยจึงควรวินิจฉัยว่าอินทิรามีความสามารถทําสัญญาที่ว่านี้ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง

สรุป

ศาลไทยควรวินิจฉัยว่าอินทิรามีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องปั่นด้ายดังกล่าวได้

 

ข้อ 3. นายโฮเซ่คนสัญชาติเม็กซิกัน ได้วางระเบิดเครื่องบินของประเทศจาไมก้า ขณะที่กําลังจอดอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อเตรียมจะบินจากประเทศไทยไปยังประเทศจาไมก้า เมื่อวางระเบิดเสร็จแล้ว นายโฮเซได้หนีกลับไปยังประเทศเม็กซิโก และเครื่องบินลําดังกล่าวได้ระเบิดขณะที่กําลังบินอยู่เหนือ ทะเลหลวง การกระทําของนายโฮเซ่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 มาตรา 1 ได้บัญญัติ ถึงลักษณะของการจี้เครื่องบินอันเป็นการกระทําความผิดฐานสลัดอากาศว่า เป็นการกระทําโดย

(1) บุคคลที่อยู่ในเครื่องบินนั้น

(2) การกระทํานั้นเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้กระทําต่อเครื่องบินลํานั้นเอง

(3) การกระทํานั้นเกิดในขณะที่เครื่องบินกําลังบินอยู่

ทั้งนี้หมายความรวมถึงการพยายามกระทําความผิดด้าย การจี้เครื่องบินจึงเป็นการกระทําจาก ผู้ที่อยู่ในเครื่องบินซึ่งกําลังบิน (on board an aircraft in flight) หรือที่เราเรียกว่าเป็นการกระทําภายในนั่นเอง

ดังนั้นการกระทําภายนอก เช่น การโจมตีด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน หรือก่อวินาศกรรมแก่ เครื่องบินที่จอดอยู่ในสนามบิน ย่อมไม่ใช่การจี้เครื่องบินตามอนุสัญญากรุงเฮกฯ

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การกระทําของนายโฮเซ่คนสัญชาติเม็กซิกัน เป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ เห็นว่า การวางระเบิดเครื่องบินโดยนายโฮเซ่นั้นได้กระทํา ในขณะที่เครื่องบินยังจอดอยู่ที่สนามบิน การกระทําดังกล่าวจึงไม่อยู่ในความหมายของการกระทําภายในของ ความผิดฐานเครื่องบิน ตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 เพราะ เป็นการกระทําภายนอก ไม่ใช่การกระทําของผู้ที่อยู่ในเครื่องบินซึ่งกําลังบินอยู่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออนุสัญญากรุงมอนทรีลว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความ ปลอดภัยแห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971 ซึ่งใช้บังคับในเวลาต่อมา ได้บัญญัติให้คลุมถึงการกระทําทุกชนิดที่กระทบ ต่อความปลอดภัยของการบินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการกระทําภายนอกด้วย ดังนั้นการกระทําของนายโฮเซ่ จึงเป็นความผิดฐานสลัดอากาศ ตามอนุสัญญากรุงมอนทรีลว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความปลอดภัย แห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971

สรุป

การกระทําของนายโฮเซ่เป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญากรุงมอนทรีลว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความปลอดภัยแห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971

 

ข้อ 4 นาย HANZ พร้อมกับเพื่อน ๆ ได้วางระเบิดสถานีรถไฟในประเทศเยอรมัน โดยมีข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวล้วนมีสัญชาติเยอรมันและมักก่อเหตุวุ่นวายเสมอ และผลจากการวางระเบิดครั้งนี้ ทําให้มีประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตจํานวนมาก หลังก่อเหตุนาย HANZ จึงได้หนีไปที่ประเทศอังกฤษ รัฐบาลเยอรมันจึงได้ทําเรื่องร้องขอให้รัฐบาลอังกฤษส่งตัวนาย HANZ กลับมารับโทษ แต่ระหว่าง การพิจารณา นาย HANZ ได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นว่าการกระทําของเขาเป็นความผิดทางการเมือง จึงส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนไม่ได้

อยากทราบว่ารัฐบาลอังกฤษจะตัดสินใจอย่างไรและเพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

หลักในการพิจารณาว่าคดีใดเป็นคดีการเมืองของประเทศอังกฤษนั้น จะใช้หลักในการพิจารณาที่ว่า การกระทําที่จะถือว่าเป็นคดีการเมืองนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นการกระทําในขณะไม่มีความสงบทางการเมือง

2 มีความขัดแย้งระหว่างพรรคหรือกลุ่มหรือคณะบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป และ

3 ต่างฝ่ายต่างพยายามให้อีกฝ่ายยอมรับรูปแบบการปกครองตามที่ฝ่ายตนต้องการ

เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศอังกฤษจะถือว่าความผิดนั้น เป็นการกระทําความผิดทางการเมืองซึ่งห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ตามอุทาหรณ์ เมื่อพิจารณาถึงการกระทําของนาย HANZ กับเพื่อน ๆ ที่ได้วางระเบิดสถานีรถไฟ รวมทั้งมักจะก่อเหตุวุ่นวายเสมอ แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นการกระทําที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะถือว่าเป็นคดีการเมืองตามหลัก ของประเทศอังกฤษแต่อย่างใดเลย เช่น ไม่ได้กระทําโดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการปกครองในรูปแบบใด ๆ เลย เป็นต้น และเมื่อการกระทําของนาย HANZ ไม่เป็นความผิดทางการเมือง รัฐบาลอังกฤษก็สามารถตัดสินใจส่งตัวนาย HANZ ให้กับรัฐบาลเยอรมันตามที่รัฐบาลเยอรมันร้องขอได้

สรุป

รัฐบาลอังกฤษจะตัดสินใจส่งตัวนาย HANZ ให้กับรัฐบาลเยอรมันตามคําร้องขอ

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2554

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ทัศนีเกิดที่จังหวัดมุกดาหารเมื่อปี พ.ศ. 2510 จากบิดาเป็นคนสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในขณะที่เกิด บิดามารดาไม่ได้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย บิดามารดาเพิ่งมาจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อปี พ.ศ. 2530 อยากทราบว่า ทัศนีได้หรือเสียสัญชาติอย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย (3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ทัศนีได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า ทัศนีเกิดที่จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2510 จากบิดาเป็นคนสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และเกิดก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผล ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักทัศนีย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดน ตามมาตรา 7(3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว ทัศนีจะถูกถอนสัญชาติไทยตาม ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 เพราะมารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย (เพราะในขณะทัศนีเกิด บิดามารดา ไม่ได้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย) และแม้ว่าต่อมาบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง (ปี พ.ศ. 2530) ทําให้บิดาเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่ทําให้ทัศนีซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยไปแล้ว จะได้สัญชาติไทยกลับคืน มาอีก เพราะประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายพิเศษ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3120/2528)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1557 ได้มีการแก้ไขใหม่ โดยบัญญัติให้กรณีที่บิดามารดา ได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังนั้น ผลของการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาให้มีผลย้อนหลังนับแต่ วันที่เด็กเกิด (ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551) ตามมาตรา 1547 และมาตรา 1557 ดังนั้น จากผลของ ป.พ.พ. ที่ได้มีการแก้ไขใหม่ ทําให้ทัศนี้กลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(1) เพราะเกิดโดยบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มีสัญชาติไทย

สรุป

ทัศนีได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7(1) เพราะเกิดโดยบิดาชอบด้วย กฎหมายมีสัญชาติไทย

 

ข้อ 2 จงอธิบาย

(ก) ขั้นตอนแห่งการพิจารณาปัญหาว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย โดยการใช้กฎหมายต่างประเทศของศาลไทย จะต้องนําเรื่องใดมาพิจารณาก่อนเรื่องอื่นใด

(ข) หลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่จะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ถ้ามิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจแก่ศาลให้ใช้กฎหมายภายในประเทศสยาม” หมายความว่าอย่างไร

ธงคําตอบ

(ก) ขั้นตอนแห่งการพิจารณาปัญหาว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย โดยการใช้กฎหมายต่างประเทศ ของศาลไทยนั้น จะต้องนําเรื่องเขตอํานาจศาลตามหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาพิจารณาก่อน เรื่องอื่นใด เพราะกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ย่อมอยู่ภายใต้บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอํานาจศาลตาม มาตรา 2 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2477 และมาตรา 3 มาตรา 4 ทวิ มาตรา 4 ตรี มาตรา 4 จัตวา มาตรา 4 เบญจ มาตรา 4 ฉ และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 เช่นเดียวกับคดีธรรมดาทั่วไป ด้วยเหตุนี้ศาลหรือผู้ฟ้องคดี จะต้องพิจารณาในชั้นแรกให้ได้ความเสียก่อนว่า ปัญหาว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น อยู่ใน อํานาจของศาลนั้นที่จะรับไว้พิจารณาหรือไม่

(ข) หลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่จะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ถ้ามิได้พิสูจน์ กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจแก่ศาลให้ใช้กฎหมายภายในประเทศสยาม” นั้น หมายความว่า ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใด ที่จะพึงได้รับประโยชน์จากการใช้กฎหมายต่างประเทศ คู่กรณีฝ่ายนั้นย่อมมีหน้าที่นําสืบพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจแก่ ศาลว่ากฎหมายต่างประเทศในเรื่องนั้น ๆ มีอยู่อย่างไรเท่านั้น หากพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจแก่ศาลไม่ได้ ศาลไทย ก็จะใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศไทยบังคับ

 

 

ข้อ 3 เรือประมง “เอเอ ฟิชเชอรี่” ของบริษัทในประเทศไทย ถูกเรือไม่ทราบสัญชาติใช้อาวุธโจมตี และลูกเรือจากเรือลําดังกล่าวได้บุกยึดเรือประมง “เอเอ ฟิชเชอรี่” ในเขตทะเลหลวง รวมทั้งจับ ลูกเรือประมงชาวไทยของเรือประมง “เอเอ ฟิชเชอรี่” ทั้งหมด 80 คน เป็นตัวประกันและเรียกค่าไถ่ ดังนี้ การกระทําของเรือไม่ทราบสัญชาติดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใด หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 (Geneva Convention on High Sea 1958) มาตรา 15 ได้ให้ความหมายของคําว่า “การโจรสลัด” ว่าต้องประกอบด้วยการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1 การกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็นการปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสาร ของเรือเอกชนมุ่งกระทํา

(ก) ในทะเลหลวง ต่อเรือหรืออากาศยานอีกลําหนึ่ง หรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือหรืออากาศยานเช่นว่านั้น

(ข) ต่อเรือ อากาศยาน บุคคลหรือทรัพย์สินในที่ที่อยู่ภายนอกอํานาจของรัฐใด

2 การกระทําใดอันเป็นการเข้าร่วมด้วยใจสมัครในการดําเนินการของเรือ

3 การกระทําอันเป็นการยุยงหรืออํานวยความสะดวกโดยเจตนาต่อการกระทําที่ได้กล่าวไว้ในวรรคแรก หรืออนวรรคสองของมาตรานี้

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่เรือสินค้าไม่ทราบสัญชาติได้ใช้อาวุธโจมตี และได้บุกยึดเรือประมง “เอเอ ฟิชเชอรี่” ในเขตทะเลหลวง รวมทั้งจับลูกเรือประมงชาวไทยของเรือประมง “เอเอ ฟิชเชอรี่” ทั้งหมด 80 คน เป็นตัวประกันและเรียกค่าไถ่ ถือเป็นการกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมายโดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทํา อันเป็นการปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทํา ในทะเลหลวงต่อเรือ หรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือ จึงถือเป็นความผิดฐานโจรสลัด ตามอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 มาตรา 15

สรุป

การกระทําของเรือไม่ทราบสัญชาติดังกล่าว เป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานโจรสลัด

 

ข้อ 4 การส่งผู้ร้ายข้ามแดนหมายความว่าอย่างไร หลักเกณฑ์ทั่วไปของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ว่า “ต้องไม่ใช่คดีที่ขาดอายุความ” นั้น มีเหตุผลอะไร และเป็นอายุความของประเทศใดบ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

คําว่า “ผู้ร้ายข้ามแดน” หมายถึง บุคคลผู้กระทําผิดอาญา ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะผู้ต้องหา หรือจําเลย หรือผู้ซึ่งต้องคําพิพากษาให้ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้กระทําผิดอาญาในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนี ข้ามแดนไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง ประเทศที่ความผิดได้กระทําลงร้องขอให้ประเทศที่ผู้ร้ายหลบหนีไปอยู่ส่งผู้ร้าย ข้ามแดนเพื่อนํามาพิจารณาโทษ

ดังนั้น “การส่งผู้ร้ายข้ามแดน” คือการที่ประเทศซึ่งผู้ร้ายไปปรากฏตัวอยู่ได้ส่งมอบตัว ผู้ร้ายนั้นไปยังประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวนั่นเอง

หลักเกณฑ์ทั่วไปของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ว่า “ต้องไม่ใช่คดีที่ขาดอายุความ” นั้น เป็นเพราะว่า ถ้าคดีที่ผู้ร้ายหรือบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทําความผิดทางอาญานั้นได้ขาดอายุความแล้ว โดยหลักทั่วไปสิทธิ ในการนําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป คือจะนําตัวผู้ร้ายหรือบุคคลนั้นมาฟ้องเป็นคดีต่อศาลอีกไม่ได้นั่นเอง ซึ่ง ตามกฎหมายของไทยก็ได้บัญญัติไว้เช่นเดียวกันโดยได้บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญา มาตรา 39(6) ว่า “สิทธินําคดีอาญา มาฟ้องย่อมระงับ เมื่อคดีขาดอายุความ”

สําหรับที่ว่าต้องไม่ใช่คดีที่ขาดอายุความ และเป็นอายุความของประเทศใดนั้น ตามหลักเกณฑ์ ทั่วไปของการให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ไม่ได้กําหนดให้แจ้งชัดลงไปว่าให้ใช้อายุความตามกฎหมายอาญาแห่งประเทศ ผู้ร้องขอหรือประเทศผู้รับคําขอ แต่อย่างไรก็ดี ตามธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศนั้น ถ้าเป็นการขาดอายุความ ของประเทศผู้ร้องขอ ประเทศนั้นก็ไม่อาจร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนเด้ หรือถ้าเป็นการขาดอายุความของประเทศ ผู้รับคําขอ ประเทศผู้รับคําขอก็มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้เช่นเดียวกัน เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น แต่ก็ต้องไม่ขาดอายุความของประเทศผู้ร้องขอด้วย

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2553

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายสืบไทย เกิดที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ. 2516 จากนางบุญมารดาผู้มีสัญชาติไทย ส่วนบิดาเป็นวิศวกรเครื่องบินขับไล่สัญชาติอเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการทางทหารระหว่าง ประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี แล้วก็เดินทางกลับไปสหรัฐอเมริกา ให้ท่านวินิจฉัย พร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่านายสืบไทยควรได้สัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7

(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

 

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ แล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสังเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายสืบไทยควรได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า การที่นายสืบไทย เกิดที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการเกิดในราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ทําให้นายสืบไทยได้รับ สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ทั้งนี้เพราะนายสืบไทยได้เกิดในราชอาณาจักรไทย ในขณะที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่เกิดบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 ประกอบกับข้อ 1(2)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ย่อมมีผลทําให้นายสืบไทยกลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) ที่กําหนดให้บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือ นอกราชอาณาจักรย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด และตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ยังได้

บัญญัติให้นําบทบัญญัติมาตรา 7(1) มาใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้ บังคับด้วย ดังนั้น นายสืบไทยจึงได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดจากนางบุญมารดาซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยถือว่า นายสืบไทยได้รับสัญชาติไทยย้อนหลังไปตั้งแต่นายสืบไทยเกิด

สรุป

นายสืบไทยควรได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7(1) ประกอบกับมาตรา 10 โดยมีผลย้อนหลังไปนับตั้งแต่ นายสืบไทยเกิด

 

ข้อ 2 นายกิมคนสัญชาติเกาหลีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องการจะทําสัญญาฉบับหนึ่งในกรุงเทพฯ คือ สัญญาขายโต๊ะทองคํา ให้แก่นายลีคนสัญชาติเดียวกันซึ่งมีภูมิลําเนาตามกฎหมายอยู่ที่กรุงเทพฯ กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายของเกาหลีกําหนดว่าความสามารถของบุคคลให้เป็นไป ตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น และกฎหมายแพ่งของเกาหลีกําหนดว่าบุคคลย่อมบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ต่อมานายกิมมาปรึกษากับท่านว่า ตนจะมีความสามารถทําสัญญาฉบับดังกล่าวนี้หรือไม่ ท่านจะให้คําปรึกษาพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายแก่นายกิมอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 10 วรรคสอง “แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมาย สัญชาติคนต่างด้าวนั้นย่อมจะไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้น มีความสามารถทํานิติกรรมนั้นได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรม ตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุ นิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ สัญญาขายโต๊ะทองคําระหว่างนายกิมกับนายลีที่จะทําขึ้นในกรุงเทพฯ นั้น ถือเป็นกรณีที่คนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศไทย ดังนั้น จึงต้องนํา พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง มาเป็นหลักในการพิจารณาความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าว

ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 นั้น ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า คนต่างด้าวที่ทํานิติกรรมในประเทศไทย (สยาม) แม้จะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรม ตามกฎหมายสัญชาติของตน แต่อาจถือได้ว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามกฎหมายไทยได้ หากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ

1 คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2 ตามกฎหมายสัญชาติของคนต่างด้าวนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตามข้อ 1

3 แต่กฎหมายไทยถือว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1 ได้

ดังนั้น การที่นายกิมคนสัญชาติเกาหลีต้องการทํานิติกรรมในประเทศไทย คือ สัญญาขาย โต๊ะทองคํา ซึ่งสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมาย สัญชาติของนายกิม (เกาหลี) ก็ถือว่านายกิมเป็นบุคคลไร้ความสามารถเนื่องจากอายุเพียง 20 ปี ไม่ครบ 21 ปีบริบูรณ์ นั้น เมื่อปรากฏว่าตามกฎหมายไทย นายกิมสามารถทํานิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้ เพราะถือว่า นายกิมบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้น นายกิมจึงมีความสามารถทําสัญญาฉบับดังกล่าวนี้ได้ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง และสัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์

สรุป

ข้าพเจ้าจะให้คําปรึกษาพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายแก่นายกิมดังที่ได้อธิบายไปแล้วดังกล่าว ข้างต้น

 

ข้อ 3 เครื่องบินโดยสารของสายการบินจดทะเบียนประเทศสวีเดนเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังประเทศอังฤษได้ถูกชาวซีเรีย 2 คน อ้างว่าตนมีระเบิดนําติดตัวขึ้นมา และได้จับคนสัญชาติไทย เป็นตัวประกันเพื่อเรียกร้องให้นักบินเปลี่ยนทิศทางนําเครื่องบินไปร่อนลงที่ประเทศอิหร่าน ต่อมา นักบินนําเครื่องบินร่อนลงจอดที่ประเทศเกาหลีใต้โดยอ้างว่าจําเป็นต้องเติมน้ำมันเชื้อเพลิง ชาวซีเรีย ทั้ง 2 คน ได้ปล่อยตัวผู้โดยสารที่เป็นตัวประกันรวมถึงเจ้าหน้าที่ประจําเครื่องทั้งหมด และยอมจํานน ต่อเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัย พร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าในกรณีดังกล่าวนี้ประเทศใดบ้าง มีเขตอํานาจศาลตามอนุสัญญากรุงโตเกียวว่าด้วยการกระทําความผิดบนอากาศยาน ค.ศ. 1963

ธงคําตอบ

เขตอํานาจศาลในการพิจารณาคดีความผิดฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญาโตเกียวว่าด้วย การกระทําความผิดบนอากาศยาน ค.ศ. 1963 มีบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ซึ่งได้บัญญัติให้อํานาจรัฐซึ่งเครื่องบินนั้น ทําการจดทะเบียน (The state of registration of the aircraft) หรือรัฐเจ้าของสัญชาติ เจ้าของธงของ เครื่องบินนั้น มีอํานาจพิจารณาการกระทําความผิดที่เกิดขึ้นบนเครื่องบินของตนได้

นอกจากนี้มาตรา 4 ยังบัญญัติให้อํานาจแก่รัฐอื่น ๆ ซึ่งมิใช่รัฐที่เครื่องบินนั้นทําการจดทะเบียน มีอํานาจพิจารณาความผิดฐานสลัดอากาศด้วย ได้แก่

1 ในกรณีที่ความผิดนั้นมีผลบนดินแดนแห่งรัฐใด รัฐนั้นมีอํานาจพิจารณา

2 รัฐซึ่งผู้กระทําความผิดนั้นมีสัญชาติหรือมีถิ่นที่อยู่เป็นการถาวร หรือหากเป็นเรื่องที่ความผิดนั้นกระทําต่อคนสัญชาติ หรือผู้ที่มีถิ่นที่อยู่เป็นการถาวรในรัฐใด รัฐนั้น ๆก็มีอํานาจพิจารณา

3 ในกรณีที่ความผิดกระทบต่อความมั่นคงของรัฐใด รัฐนั้นมีอํานาจพิจารณา

ดังนั้น กรณีตามปัญหาดังกล่าวประเทศที่มีเขตอํานาจศาลตามอนุสัญญากรุงโตเกียวว่าด้วย การกระทําความผิดบนอากาศยาน ค.ศ. 1963 ในการพิจารณาความผิดที่เกิดขึ้น ได้แก่

1 ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นประเทศที่เครื่องบินนั้นจดทะเบียน (ตามมาตรา 3)

2 ประเทศซีเรีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผู้กระทําความผิดมีสัญชาติ (ตามมาตรา 4)

3 ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเจ้าของสัญชาติของผู้เสียหาย (ตามมาตรา 4)

 

ข้อ 4 ในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ให้ท่านอธิบายฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําความผิดโดยละเอียดครบถ้วน

ธงคําตอบ

ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําความผิดในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น หมายถึง เหตุ ยกเว้นไม่ให้ส่งตัวผู้กระทําผิด หรือผู้ถูกร้องขอให้ส่งตัวมีอยู่ 4 ประการ ดังนี้ คือ

1 บุคคลที่ถูกสั่งให้ปล่อยตัวแล้ว กล่าวคือ ถ้าบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวนั้นถูกศาลใดศาลหนึ่ง พิจารณาในความผิดที่ขอให้ส่งตัวมาแล้ว และศาลได้พิพากษายกฟ้องปล่อยตัวไปแล้ว หรือศาลได้พิพากษาลงโทษ และผู้นั้นได้รับโทษแล้ว ประเทศผู้รับคําขอ ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการส่งตัวได้โดยอาศัยหลักกฎหมาย ที่ว่า บุคคลคนเดียวกันย่อมจะไม่ต้องถูกพิจารณาในความผิดนั้นเป็นสองซ้ํา ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญา ของไทยมาตรา 10 และมาตรา 11 ซึ่งได้บัญญัติยืนยันหลักนี้ไว้

2 มีโทษประหารชีวิตเพียงประการเดียว กล่าวคือ ตามหลักทั่ว ๆ ไปถือกันว่า ถ้าความผิด ที่ขอให้ส่งตัวนั้นเป็นความผิดที่มีแต่โทษหนักสถานเดียว คือ ประหารชีวิตแล้ว ประเทศที่รับคําขอชอบที่จะปฏิเสธ การส่งตัวนั้นได้เพราะถือหลักมนุษยธรรมว่า ประเทศไม่ควรยอมเป็นเครื่องมือช่วยประเทศอื่นโดยส่งคนที่เข้ามา อยู่ในประเทศตนไปให้ประเทศอื่นประหารชีวิตเสีย นอกจากนั้นยังละเมิดหรือฝ่าฝืนหลักศาสนาต่าง ๆ และยังเป็น การกระทบกระเทือนต่อจิตใจของบุคคล ตัวอย่างเช่น สนธิสัญญาระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1850 ซึ่งระบุไว้ชัดแจ้งว่า สเปนจะยอมส่งคนข้ามแดนให้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่าความผิดที่จะพิจารณาลงโทษแก่บุคคลนั้น ไม่เป็นความผิดที่มีโทษหนักถึงประหารชีวิต

3 ความผิดที่ขัดกับหลักศีลธรรมของประเทศที่รับคําขออย่างร้ายแรง กล่าวคือ เป็น ความผิดที่นานาประเทศไม่ให้การยอมรับ เพราะขัดกับหลักศีลธรรมอย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่น ประเทศ ก (รับรองการมีทาสและมีบทบัญญัติกฎหมายลงโทษทาสผู้กระทําความผิด) ได้ร้องขอให้ประเทศ ข (ซึ่งมีหลักกฎหมาย บัญญัติว่า การค้าทาสและมีทาสเป็นความผิดเพราะขัดต่อหลักศีลธรรมและสิทธิเสรีภาพของมนุษย์) ส่งตัว ช (ทาส) ผู้กระทําผิด ดังนี้ ประเทศ ข ย่อมปฏิเสธการส่งตัว ช ให้แก่ประเทศ ก ได้

4 บุคคลในคณะทูต กล่าวคือ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศได้ให้หลักเอกสิทธิ์และ ความคุ้มกัน (Privilege and Immunity) ทางการทูต ในการที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาในประเทศที่ไปประจําอยู่ ฉะนั้นถ้าเกิดปัญหาว่า บุคคลในคณะทูตผู้หนึ่งไปกระทําผิดอาญาในประเทศที่ตนไปประจําอยู่ แล้วหลบหนีไปอยู่ ในประเทศที่สาม ประเทศเจ้าของท้องที่เกิดเหตุ (ประเทศที่ผู้กระทําความผิดไปประจําอยู่) จะขอให้ประเทศที่สาม ส่งตัวให้ไม่ได้ เพราะแม้บุคคลนั้นยังอยู่ในประเทศนั้นโดยไม่ได้หลบรนี้ไปประเทศที่สาม ศาลแห่งประเทศนั้น (ประเทศที่ผู้กระทําผิดไปประจําอยู่) ก็ยังไม่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอยู่แล้ว เพราะหลักเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ทางการทูตดังกล่าวข้างต้น

WordPress Ads
error: Content is protected !!