LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้าน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 สิเรียมเกิดในประเทศไทยก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337/2515 ใช้บังคับ จากบิดานายทหารสัญชาติอเมริกัน ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามข้อตกลงระหว่าง รัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกา และบิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย ให้ท่าน วินิจฉัยว่า สิเรียมได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร โดยยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสังเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สิเรียมเกิดในประเทศไทยก่อนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337/2515 ใช้บังคับ จากบิดานายทหารสัญชาติอเมริกัน ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น โดยหลักสิเรียมย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตาม มาตรา 7(3) แห่ง พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว สิเรียมจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2) เพราะสิเรียมเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่เกิดบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งเตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ย่อมมีผลทําให้สิเรียมกลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ที่กําหนดให้บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรย่อมได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด และตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ยังได้บัญญัติให้นําบทบัญญัติมาตรา 7 (1) มาใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น สิเรียมจึงได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดจากมารดาซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยถือว่าสิเรียมได้รับสัญชาติไทยย้อนหลังไปตั้งแต่สิเรียมเกิด

สรุป

สิเรียมจะได้รับสัญชาติไทย

 

 

ข้อ 2 นายสอาดคนสัญชาติไทยทําสัญญาซื้อโต๊ะมุกวัตถุโบราณ 1 โต๊ะ จากนายเฮงคนสัญชาติจีน โดยทําสัญญาที่ประเทศจีน และขณะทําสัญญาโต๊ะฯ นั้นก็อยู่ที่ประเทศจีน นายสอาดและนายเฮง กําหนดไว้ในสัญญาชัดแจ้งว่าหากมีข้อพิพาทหรือปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฯ ฉบับนี้ให้ใช้ กฎหมายไทยบังคับ กฎหมายขัดกันฯ ของจีนกําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของ ประเทศที่สัญญาทําขึ้น และกฎหมายแพ่งของจีนกําหนดว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ปรากฏว่าการซื้อขายรายนี้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายสอาดผิดสัญญาโดยไม่ยอมชําระราคาและรับมอบ โต๊ะฯ นั้น นายเฮงจึงฟ้องนายสอาดต่อศาลไทยเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญา นายสอาดยกข้อต่อสู้ต่อศาลไทยว่า สัญญาเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตน(นายสอาด) จึงไม่ผูกพันหรือต้องรับผิดตามสัญญา ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมาย ประกอบด้วยว่า หากท่านเป็นศาลไทยควรพิจารณาและวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายรายนี้เป็นโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง “นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมาย อื่นใดแห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้น ได้ทําขึ้น”

มาตรา 13 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็น สาระสําคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่ง คู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น

สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลแห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสอาดคนสัญชาติไทยทําสัญญาที่จีนซื้อโต๊ะมุกวัตถุโบราณ 1 โต๊ะ จากนายเฮงคนสัญชาติจีน และขณะทําสัญญาโต๊ะฯ นั้นก็อยู่ที่ประเทศจีน โดยนายสอาดกับนายเฮงได้ตกลงกันไว้ว่า หากกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย และสัญญาซื้อขายฉบับนี้ได้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ดังนี้ ถ้าพิจารณาตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกัน แห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ที่ว่า ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศ ที่นิติกรรมนั้นได้ทําขึ้น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายของจีนได้กําหนดว่าแบบของสัญญา ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น และตามกฎหมายภายในของจีนก็กําหนดว่า การซื้อขาย วัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาซื้อขายโต๊ะมุก ฉบับนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นสัญญาที่ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 วรรคท้าย ได้กําหนดไว้ว่า สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลของสัญญา เมื่อกรณีตาม ข้อเท็จจริง กฎหมายที่ใช้บังคับแก่ผลของสัญญาได้แก่ กฎหมายไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง และตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น สัญญาซื้อขายโต๊ะมุกระหว่างนายสอาดกับนายเฮง จึงมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นศาลไทยจะพิจารณาและวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายรายนี้ไม่เป็นโมฆะ

 

 

ข้อ 3 เรือบรรทุกน้ำมันของประเทศฝรั่งเศสถูกกลุ่มบุคคลพร้อมอาวุธปืนนั่งเรือเข้าปล้นน้ำมัน และได้ลักพาตัวลูกเรือชาวฝรั่งเศส 3 คนเตะลูกเรือชาวไทย 2 คน เรียกค่าไถ่ เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดห่างจากชายฝั่งประเทศอินเดียประมาณ 100 ไมล์ทะเล การกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 (Geneva Convention on High Sea 1958) มาตรา 15 ได้ให้ความหมายของคําว่า “การโจรสลัด” ว่าต้องประกอบด้วยการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1 การกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็น การปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทํา

(ก) ในทะเลหลวง ต่อเรือหรืออากาศยานอีกลําหนึ่ง หรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือหรืออากาศยานเช่นว่านั้น

(ข) ต่อเรือ อากาศยาน บุคคลหรือทรัพย์สินในที่ที่อยู่ภายนอกอํานาจของรัฐใด

2 การกระทําใดอันเป็นการเข้าร่วมด้วยใจสมัครในการดําเนินการของเรือ

3 การกระทําอันเป็นการยุยงหรืออํานวยความสะดวกโดยเจตนาต่อการกระทําที่ได้ กล่าวไว้ในวรรคแรก หรืออนุวรรคสอง ของมาตรานี้

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่กลุ่มบุคคลพร้อมอาวุธปืนนั่งเรือเข้าปล้นน้ำมันบนเรือบรรทุกน้ำมันของ ประเทศฝรั่งเศสในเขตทะเลหลวง และได้ลักพาตัวลูกเรือชาวฝรั่งเศส 3 คน และลูกเรือชาวไทย 2 คน เพื่อเรียกค่าไถ่นั้น การกระทําดังกล่าวถือเป็นการกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทํา อันเป็นการปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทํา ในทะเลหลวง ต่อเรือหรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือ จึงถือว่าการกระทําดังกล่าว เป็นความผิดฐานโจรสลัด ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 มาตรา 15

สรุป

การกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ฐานโจรสลัด

 

 

ข้อ 4 จงอธิบายว่าการแปลงสัญชาติภายหลังการกระทําความผิดของผู้ที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นมีผลอย่างไรบ้างในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ธงคําตอบ

ในกรณีที่ผู้ที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ได้กระทําความผิดในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนี ไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง และต่อมาได้แปลงสัญชาติเป็นพลเมืองของประเทศที่ตนหลบหนีไปอยู่ ต่อมาประเทศ ที่ความผิดได้กระทําขึ้นมีคําร้องขอให้ประเทศที่ผู้ที่ถูกร้องขอได้แปลงสัญชาติส่งตัวบุคคลผู้นั้น ประเทศผู้รับคําขอ จะพิจารณาส่งตัวผู้นั้นหรือไม่ ต้องดูผลของการแปลงสัญชาติของผู้กระทําความผิดภายหลังการกระทําความผิดนั้น โดยแยกออกเป็น 2 ประการ คือ

1 ตามหลักสากลทั่วไป เป็นที่ยอมรับกันว่า “การแปลงสัญชาติไม่มีผลย้อนหลัง” ซึ่ง หมายความว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะใช้สิทธิอันเกิดจากการแปลงสัญชาติประการใดนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับสิทธิ ดังกล่าวนั้น ตั้งแต่วันที่มีประกาศรับการแปลงสัญชาติเป็นต้นไป

ดังนั้น เมื่อประเทศที่ความผิดได้กระทําขึ้นได้ร้องขอ ประเทศผู้รับคําขอสามารถพิจารณา ได้ตามปกติว่าจะส่งตัวผู้นั้นให้หรือไม่ เพราะถือว่าเป็นการขอคนที่มีสัญชาติของประเทศอื่น

2 ข้อยกเว้น ถ้าเป็นประเทศเยอรมันและประเทศเบลเยียมจะไม่ได้ยึดถือหลักสากลทั่วไป แต่ถือหลักว่า “การแปลงสัญชาติย่อมมีผลย้อนหลัง” คือจะมีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ได้กระทําความผิดนั่นเอง ดังนั้น ถ้าบุคคลที่ถูกร้องขอนั้นได้แปลงสัญชาติเป็นพลเมืองของประเทศเยอรมันหรือประเทศเบลเยียม เมื่อมีการ ร้องขอให้ส่งตัวผู้นั้น ประเทศทั้งสองอาจปฏิเสธไม่ส่งตัวผู้นั้นให้แก่ประเทศที่ร้องขอก็ได้ เพราะถือว่าเป็นการขอ คนที่มีสัญชาติของประเทศตน

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นางสมใจเกิดที่จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นญวนอพยพซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต่อมานางสมใจได้อยู่กิน ฉันสามีภริยากับนายสมัยคนสัญชาติไทยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และเกิดบุตรชาย 1 คนก่อน ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วย ว่านางสมใจและบุตรชาย 1 คนนั้นได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นางสมใจและบุตรชายได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนางสมใจ

จากข้อเท็จจริง นางสมใจเกิดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และเกิดก่อนวันที่ประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักนางสมใจ ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว นางสมใจจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) เพราะบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

กรณีบุตรชายของนางสมใจ

จากข้อเท็จจริง บุตรชายของนางสมใจเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักบุตรชายของนางสมใจย่อมได้ สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

และเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ย่อมมีผลทําให้บุตรชายของ นางสมใจได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10 เพราะเกิดโดยมารดามีสัญชาติไทย (ขณะเกิดนางสมใจเป็นผู้มีสัญชาติไทย) แม้ว่านางสมใจจะถูกถอนสัญชาติไทยใน ภายหลังก็ตาม

สรุป

นางสมใจจะได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7 (3) แต่จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1.(3) ส่วนบุตรชายของนางสมใจจะได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10

 

ข้อ 2 นายโฮคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ได้สละสัญชาติเกาหลี และได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต่อมานายโฮถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 โดยในขณะเดียวกันนั้นเองเกิดคดีขึ้นสู่ศาลไทย และประเด็นข้อพิพาทมีว่านายโฮมีความสามารถ ทํานิติกรรมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะจํานวน 10 เครื่องจากนายวันชัยที่กรุงเทพฯ หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัย พร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักในการ พิจารณาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทฯ ที่ว่านี้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคสาม “สําหรับบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ”

มาตรา 10 วรรคหนึ่ง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักใน การพิจารณาและวินิจฉัย เห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่ว่า นายโฮจะมีความสามารถทํานิติกรรมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ จากนายวันชัยที่กรุงเทพฯ ได้หรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่องความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายโฮคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้สละสัญชาติเกาหลีและได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งในขณะเกิดข้อพิพาทที่ว่านี้นายโฮได้ตกเป็น บุคคลไร้สัญชาติ เพราะนายโฮได้ถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ดังนี้ การจะนํากฎหมาย ประเทศใดมาปรับแก่ข้อพิพาทดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม ซึ่งมีหลักคือ

1 ถ้าปรากฏภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับหรือ

2 ถ้าไม่ปรากฏภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายโฮบุคคลไร้สัญชาติและไม่ปรากฏว่ามีภูมิลําเนาอยู่ที่ใด กรณี เช่นนี้จึงต้องใช้กฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นกฎหมายทนายโฮมีถิ่นที่อยู่บังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม

ผลจึงเป็นว่า ศาลไทยจึงควรนํากฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณา และวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายโฮที่ว่านี้

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายโฮ

 

ข้อ 3 นายปิแอร์คนสัญชาติฝรั่งเศสได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินในประเทศไทย ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าการ กระทําของนายปิแอร์เป็นความผิดตามกฎหมายใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปิแอร์คนสัญชาติฝรั่งเศสได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งใน ประเทศฝรั่งเศส และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินที่ประเทศไทยนั้น การกระทําของนายปิแอร์ดังกล่าวถือเป็น ความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึง การกระทําความผิด โดยบุคคลที่แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่ในการทํางาน เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ และสมุห์บัญชี เป็นต้น

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดถึงการขโมยหรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตั๋วเงิน ไม่ว่าจะเป็นตัวแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายปิแอร์ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ (International Fraud) ที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

 

ข้อ 4 ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือไม่นั้นไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติหรือกําหนดไว้ จึงอยาก ทราบว่าการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวข้างต้น มีแนวปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ ไว้บ้างหรือไม่ อย่างไร ให้ท่านอธิบายโดย ชัดเจนและครบถ้วน

ธงคําตอบ

ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมือง หรือไม่นั้น มีแนวปฏิบัติหรือหลักการของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ ดังนี้

(1) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีหลักกฎหมายภายใน เกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรง ก็จะนําหลักกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ตัวอย่างเช่น หลัก กฎหมายของประเทศฝรั่งเศสที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองจะต้องเป็นการกระทําที่กระทบต่อ ธรรมนูญการปกครองและรัฐบาลโดยมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างหลักการปกครองของประเทศใน หลักใหญ่ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ) หรือหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษที่มีหลักว่า การจะเป็น ความผิดทางการเมืองได้นั้น จะต้องเป็นการกระทําความผิดในขณะที่ไม่มีความสงบทางการเมือง ระหว่าง คณะบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับระบบการปกครอง ตามที่ฝ่ายตนต้องการ เป็นต้น

(2) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่มีหลักกฎหมายภายใน เกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษาของศาลแห่งประเทศนั้นเป็นหลัก

พิจารณา ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัย คําพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นหลักพิจารณา เพราะตามหลักกฎหมายไทยในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สุดทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังเช่น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดี นายพลท้าวมาทิ้งระเบิดที่นครเวียงจันทน์เพื่อทําการ ดอํานาจในประเทศลาว แต่ไม่สําเร็จ จึงหนีเข้ามาใน เมืองไทยโดยขอลี้ภัยทางการเมือง แต่ทางฝ่ายรัฐบาลสาวๆอเห้รัฐบาลไทยส่งตัวนายพลท้าวมาและพรรคพวก กลับไปดําเนินคดี แต่ศาลไทยปฏิเสธไม่ยอมส่งตัวให้ โดยถือว่านายพลท้าวมาและพรรคพวกเป็นผู้ต้องหาทาง การเมือง เป็นต้น

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ศรีนวลเกิดที่จังหวัดสกลนคร ก่อน ปว. 337 ใช้บังคับจากบิดาสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นผู้อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่ศรีนวลเกิดนั้นบิดากับมารดาไม่ได้ เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย บิดาเพิ่งมาจดทะเบียนสมรสกับมารดาหลังจาก ปว. 337 ใช้บังคับแล้ว และก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติฉบับที่ 2 ใช้บังคับ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศรีนวล ได้หรือเสียสัญชาติไทย อย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่งมิได้สมรส กับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

มาตรา 11 “บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรี มีคําสั่งอันมีผลให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศรีนวลเกิดในประเทศไทยก่อนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ใช้ บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) จากบิดาเป็นคนสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นผู้อพยพ เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น โดยหลักศรีนวลย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม หลักดินแดนตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว ศรีนวลจะถูกถอนสัญชาติไทยตาม ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 เพราะมารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย (เพราะในขณะศรีนวลเกิด บิดามารดาไม่ได้เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย) และแม้ว่าต่อมาบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง ที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้ว ก็ไม่ทําให้ศรีนวลซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยไปแล้วจะได้สัญชาติไทย กลับคืนมาอีก เพราะประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายพิเศษ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3120/2528)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 อีกทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่าบิดาของศรีนวลก็ไม่ใช่คนต่างด้าว อันจะทําให้ศรีนวลไม่ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 11 ดังนั้น ศรีนวลจึงกลับได้สัญชาติไทย โดยการเกิดตามหลักดินแดน

และเมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1557 ได้มีการแก้ไขใหม่ โดยบัญญัติให้กรณีที่บิดามารดาได้จดทะเบียน สมรสกันในภายหลังนั้น ผลของการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่เด็กเกิด (ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551) ตามมาตรา 1547 และมาตรา 1557 ดังนั้นจากผลของ ป.พ.พ. ที่ได้มีการแก้ไขใหม่ ทําให้ศรีนวลกลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) เพราะเกิด โดยบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มีสัญชาติไทย

สรุป

ศรีนวลจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) และ (3)

 

ข้อ 2 นายทอมคนสัญชาติออสเตรเลียทําสัญญาเช่ารถยนต์ที่จังหวัดภูเก็ตจากนายสมยศคนสัญชาติไทยขณะที่ทําสัญญานั้นนายทอมมีอายุ 19 ปีบริบูรณ์ และมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ให้นักศึกษา วินิจฉัยว่าหากมีประเด็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไทย นายทอมมีความสามารถทําสัญญานี้หรือไม่ อย่างไร หากตามกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งประเทศออสเตรเลียบัญญัติว่าความสามารถในการทํานิติกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งประเทศที่นิติกรรมได้ทําขึ้น และกฎหมายประเทศสิงคโปร์บัญญัติให้ บุคคลจะบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 18 ปีบริบูรณ์

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 4 “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ และตามกฎหมายต่างประเทศนั้นกฎหมาย ที่จะใช้บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศสยามบังคับ มิใช่กฎเกณฑ์แห่ง กฎหมายสยามว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย”

มาตรา 10 วรรคหนึ่ง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า นายทอมมีความสามารถในการทําสัญญาเช่า รถยนต์จากนายสมยศหรือไม่ กรณีนี้เห็นว่า การที่นายทอมคนสัญชาติออสเตรเลียได้ทําสัญญาเช่ารถยนต์ที่จังหวัด ภูเก็ตจากนายสมยศคนสัญชาติไทยในขณะที่นายทอมมีอายุ 19 ปีบริบูรณ์ และมีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น เมื่อตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่า ความสามารถและความไร้ความสามารถ ของบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของนายทอม และตามกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งประเทศออสเตรเลีย ได้บัญญัติว่าความสามารถในการทํานิติกรรมให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งประเทศที่นิติกรรมได้ทําขึ้น กรณีนี้จึงเท่ากับ ว่ากฎหมายของประเทศออสเตรเลียได้ย้อนส่งกลับมาให้กฎหมายไทยซึ่งเป็นประเทศที่นิติกรรมได้ทําขึ้นใช้ บังคับเกี่ยวกับความสามารถของนายทอม ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทย (ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วย การขัดกันฯ มาตรา 4) ซึ่งกฎหมายภายในของประเทศไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 นั้นเอง

เมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ได้บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมพ้นภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น เมื่อนายทอมมีอายุเพียง 19 ปี และยังไม่บรรลุนิติภาวะ นายทอมจึงไม่มี ความสามารถในการทําสัญญาเช่ารถยนต์จากนายสมยศ

สรุป

นายทอมไม่มีความสามารถในการทําสัญญาดังกล่าว

 

ข้อ 3 นายบิ๊กคนสัญชาติแคนาดาได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศแคนาดา และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินในประเทศไทย ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า การกระทําของนายบิ๊กเป็นความผิดตามกฎหมายฐานใดบ้างหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายบิ๊กคนสัญชาติแคนาดาได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศ แคนาดา และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินที่ประเทศไทยนั้น การกระทําของนายบิ๊กดังกล่าวถือเป็นความผิด ฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึง การกระทําความผิดโดยบุคคลที่ แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่ในการทํางาน เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ และสมุห์บัญชี เป็นต้น

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดถึงการขโมยหรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นตัวแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายบิ๊กถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ (International Fraud) ที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

 

ข้อ 4 จงอธิบายเจตนารมณ์และผลทางกฎหมายของ Attentat Clause

ธงคําตอบ

อธิบาย

โดยเหตุที่มีความผิดบางประเภทซึ่งมีลักษณะทางการเมือง แต่หลายประเทศกําหนดไว้ไม่ให้ ถือว่าเป็นความผิดทางการเมือง ข้อกําหนดหรือบทบัญญัติในเรื่องนี้เรียกว่า Attentat Clause ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า “บทบัญญัติเกี่ยวกับการประทุษร้าย” ซึ่งประเทศเบลเยียมนํามาใช้เป็นประเทศแรก โดยบัญญัติไว้ในกฎหมายภายใน ของตนเมื่อ ค.ศ. 1865 หลังจากที่ศาลเบลเยียมปฏิเสธไม่ส่งตัวผู้กระทําความผิดฐานพยายามปลงพระชนม์ พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ไปให้ฝรั่งเศสในคดี Jacquin ค.ศ. 1854

กล่าวคือ ข้อกําหนดหรือบทบัญญัติ Attentat Clause นี้ เป็นกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 แห่งกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเบลเยียม ค.ศ. 1833 ซึ่งเป็นกฎหมายเดิม โดยเพิ่มข้อความลงไป อีกวรรค (clause) หนึ่ง ซึ่งมีข้อความดังนี้ “การประทุษร้ายต่อบุคคลผู้เป็นประมุขของรัฐบาลต่างประเทศหรือ บุคคลซึ่งอยู่ในเครือญาติหรือราชสกุลของประมุขนั้น ไม่ให้ถือว่าการกระทํานั้นเป็นการกระทําผิดทางการเมือง หรือเป็นการกระทําผิดเกี่ยวเนื่องกับการเมือง หากปรากฏว่าเป็นการประทุษร้ายที่เป็นความผิดฐานฆ่าคนตาย โดยเจตนา หรือลอบฆาตกรรม หรือเป็นการฆาตกรรมด้วยพยายามมาดหมายหรือด้วยการวางยาพิษ”

สําหรับเจตนารมณ์ทางกฎหมายของ Attentat Clause นี้มุ่งหมายที่จะไม่ให้ถือว่าความ ฐานประทุษร้ายต่อชีวิตที่กระทําต่อประมุขของประเทศหรือบุคคลในครอบครัวประมุขของประเทศเป็นความ ทางการเมือง

ส่วนผลของ Attentat Clause นั้นทําให้ความหมายของคดีการเมืองแคบลง กล่าวคือ เมื่อมีฆาตกรรมเข้าในลักษณะนี้แล้วย่อมส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันได้

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายดอกดุยและน้อง ๆ อีกห้าคนเกิดในประเทศไทยก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ใช้บังคับ จากบิดานายหรู หรูท ซึ่งเป็นคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองและมีใบสําคัญประจําตัว คนต่างด้าวชอบด้วยกฎหมาย บิดาได้จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เมื่อประกาศ ของคณะปฏิวัติใช้บังคับ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีมีคําสั่งให้ถอนสัญชาติไทยของนายดอกดุย กับพวก ให้ท่านวินิจฉัยว่าคําสั่งถอนสัญชาติไทยดังกล่าวขอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดอกคู่ยและน้อง ๆ อีก 5 คน เกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2515 คือก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับนั้น นายดอกดุยและน้อง ๆ อีก 5 คน ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด เพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3)

และต่อมาเมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับนายดอกดุยและน้อง ๆ อีก 5 คน ก็จะไม่ถูกถอนสัญชาติไทย เพราะแม้นายด็อกดุยและน้องทั้ง 5 คน จะเกิดโดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ก็ตาม แต่ในขณะที่เกิดนั้นบิดาของนายดอกดุยและน้องทั้ง 5 คน เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและได้เข้ามาอยู่ ในราชอาณาจักรไทยโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้มีคําสั่งให้ถอนสัญชาติไทยของ นายดอกดุยกับพวกนั้น คําสั่งถอนสัญชาติไทยดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งถอนสัญชาติไทยของนายต๊อกดุยกับพวกของผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2 นายจังเกิดจากบิดามารดาเป็นคนสัญชาติจีน แต่เกิดและมีภูมิลําเนาในประเทศเวียดนาม ตามกฎหมายจีนบุคคลย่อมได้สัญชาติจีนหากเกิดจากบิดาเป็นจีนไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกประเทศจีน และตามกฎหมายเวียดนามบุคคลย่อมได้สัญชาติเวียดนามหากเกิดในประเทศเวียดนาม กฎหมายจีน ยังกําหนดไว้อีกว่าบุคคลบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถที่จะทํานิติกรรมสัญญาใด ๆ ได้เมื่ออายุ ครบ 19 ปีบริบูรณ์ แต่กฎหมายเวียดนามต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะที่ นายจังมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์มจํานวน 10 เครื่อง จากนายกล้า คนสัญชาติไทยที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นนายจังและนายกล้ามีคดีขึ้นสู่ศาลไทยโดยประเด็นข้อพิพาท มีว่านายจังมีความสามารถทําสัญญาฯ ที่ว่านี้หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมาย ประกอบด้วยว่า ศาลไทยควรวินิจฉัยอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคสอง “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติ ขึ้นไป อันได้รับมาคราวเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีภูมิลําเนาอยู่บังคับ ถ้าบุคคลนั้น มีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศอื่นนอกจากประเทศซึ่งตนมีสัญชาติสังกัดอยู่ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาในเวลายื่นฟ้องบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ ในกรณีใด ๆ ที่มี การขัดกันในเรื่องสัญชาติของบุคคล ถ้าสัญชาติหนึ่งสัญชาติใดซึ่งขัดกันนั้นเป็นสัญชาติไทย กฎหมายสัญชาติซึ่ง จะใช้บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม”

มาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคล ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น

แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติ คนต่างด้าวนั้นย่อมจะ ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมนั้น ได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและ กฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และ บรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เห็นว่า ปัญหาข้อพิพาทที่ว่า นายจังมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์มจากนายกล้าคนสัญชาติไทยได้หรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่อง ความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจังมีทั้งสัญชาติจีนและเวียดนามซึ่งได้รับมาในคราวเดียวกัน (ได้รับมาพร้อมกัน) กรณีเช่นนี้ กฎหมายสัญชาติที่ใช้บังคับ คือ กฎหมายสัญชาติของประเทศที่นายจังมีภูมิลําเนาอยู่ อันได้แก่ กฎหมายเวียดนาม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสอง ซึ่งเมื่อพิจารณาตาม กฎหมายเวียดนามแล้ว นายจังย่อมไม่มีความสามารถทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกฎหมายเวียดนาม กําหนดว่า บุคคลจะบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถที่จะทํานิติกรรมใด ๆ ได้เมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เมื่อในขณะทํานิติกรรมนายจังมีอายุเพียง 20 ปี จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

 

แต่อย่างไรก็ดี แม้นายจังจะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายสัญชาติ แต่อาจถือได้ว่านายจังคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไข ดังนี้คือ

1) คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2) ตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้น ถือว่า บุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตามข้อ 1) 3) แต่ตามกฎหมายไทย ถือว่า คนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1) ได้

ดังนั้น การที่นายจังได้ทํานิติกรรมในประเทศไทย ซึ่งนิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ใช่ นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมายสัญชาติของนายจัง (เวียดนาม) ก็ถือว่า นายจังไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัด แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยแล้ว นายจังมีความสามารถ ทํานิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้ เพราะถือว่านายจังบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้น ศาลไทยจึงควร วินิจฉัยว่านายจังมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง

สรุป

ศาลไทยควรวินิจฉัยว่านายจังมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์ม ดังกล่าวได้

 

ข้อ 3 เรือสินค้าสัญชาติไทยซึ่งออกเกินทางจากประเทศฝรั่งเศสกลับมายังประเทศไทย ถูกกลุ่มบุคคลจากเรืออีกลําซึ่งมีอาวุธบุกปล้น โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้จับตัวลูกเรือทั้งหมดขังไว้และเรียกค่าไถ่ โดยเหตุดังกล่าวเกิดในบริเวณทะเลหลวง ภายหลังลูกเรือทั้งหมดของเรือสินค้าปลอดภัยและได้รับ การปล่อยตัวแล้ว ดังนี้การกระทําของกลุ่มบุคคลดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมาระหว่างประเทศ ฐานใดหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 (Geneva Convention on High Sea 1958) มาตรา 15 ได้ให้ความหมายของคําว่า “การโจรสลัด” ว่าต้องประกอบด้วยการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1 การกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็นการปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของ เรือเอกชนมุ่งกระทํา

(ก) ในทะเลหลวง ต่อเรือหรืออากาศยานอีกลําหนึ่ง หรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือหรืออากาศยานเช่นว่านั้น

(ข) ต่อเรือ อากาศยาน บุคคลหรือทรัพย์สินในที่ที่อยู่ภายนอกอํานาจของรัฐใด

2 การกระทําใดอันเป็นการเข้าร่วมด้วยใจสมัครในการดําเนินการของเรือ

3 การกระทําอันเป็นการยุยงหรืออํานวยความสะดวกโดยเจตนาต่อการกระทําที่ได้กล่าวไว้ในวรรคแรก หรืออนุวรรคสอง ของมาตรานี้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่กลุ่มบุคคลจากเรืออีกลําหนึ่งซึ่งมีอาวุธบุกปล้นเรือสินค้าสัญชาติไทย ซึ่งออกเดินทางจากประเทศฝรั่งเศสกลับมายังประเทศไทย โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้จับตัวลูกเรือทั้งหมดขังไว้และ เรียกค่าไถ่ โดยเหตุดังกล่าวเกิดในบริเวณทะเลหลวงนั้น แม้ภายหลังลูกเรือทั้งหมดของเรือสินค้าปลอดภัยและได้รับ การปล่อยตัวแล้วก็ตาม การกระทําดังกล่าวถือเป็นการกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็นการปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือ เอกชนมุ่งกระทําในทะเลหลวง ต่อเรือหรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือ จึงถือว่าการกระทําดังกล่าว เป็นความผิด ฐานโจรสลัด ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 มาตรา 15

สรุป

การกระทําของบุคคลดังกล่าว ถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานโจรสลัด

 

ข้อ 4 จงบอกเหตุผลที่รัฐควรร่วมมือกันส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาอย่างน้อย 3 ประการ

ธงคําตอบ

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ การที่รัฐซึ่งบุคคลนั้นไปปรากฏตัวอยู่ส่งมอบตัวผู้ต้องหาหรือผู้ซึ่ง ต้องคําพิพากษาให้ลงโทษแล้วไปยังรัฐซึ่งผู้นั้นต้องหาว่าได้กระทําความผิดอาญา หรือถูกพิพากษาให้ลงโทษทางอาญา แล้ว ในดินแดนของรัฐที่ขอให้ส่งตัว

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อประเทศหนึ่งร้องขอแล้วประเทศที่รับคําขอก็ควรจะส่งตัวให้ตามคําขอ ซึ่ง เหตุผลสําคัญที่รัฐผู้รับคําขอควรร่วมมือในการไม่ปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้ตามคําขอของรัฐผู้ร้องขอ คือ

1 เพื่อร่วมมือกันระหว่างประเทศในการปราบปรามและป้องกันการกระทําความผิดทางอาญาเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์ร่วม (Common Goal) คือความสงบสุขของประชากรโลก

2 เพื่อเป็นการยืนยันหลักการที่ว่าผู้กระทําผิดต้องได้รับการลงโทษ

3 เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้กระทําความผิดอาศัยการหลบหนีเพื่อมิให้ถูกลงโทษได้อีกต่อไป

อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลักการทั่วไปดังกล่าว ก็ยังมีข้อยกเว้นให้ผู้กระทําผิดดังกล่าวไม่ต้องถูกส่งตัว อยู่ 3 ประการ คือ

1 ลักษณะแห่งความผิด เช่น เป็นความผิดทางการเมือง ความผิดต่อกฎหมายพิเศษความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เป็นต้น

2 สัญชาติของผู้กระทําความผิด

3 ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําความผิด เช่น บุคคลในคณะทูต บุคคลที่สั่งให้ปล่อยตัวแล้ว เป็นต้น

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นางดําเกิดที่จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นญวนอพยพซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต่อมานางดําได้อยู่กินฉัน สามีภริยากับนายม่วงคนสัญชาติไทยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และเกิดบุตรชาย 1 คนก่อนประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า นางดําและบุตรชาย 1 คนนั้นได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นางดําและบุตรชายได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนางดํา

จากข้อเท็จจริง นางดําเกิดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ซึ่ง เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และเกิดก่อนวันที่ประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักนางดํา ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว นางดําจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) เพราะบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

 

กรณีบุตรชายของนางดํา

จากข้อเท็จจริง บุตรชายของนางดําเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักบุตรชายของนางดําย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

และเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ย่อมมีผลทําให้บุตรชายของ นางดําได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10 เพราะเกิดโดยมารดามีสัญชาติไทย (ขณะเกิดนางดําเป็นผู้มีสัญชาติไทย) แม้ว่านางดําจะถูกถอนสัญชาติไทยใน ภายหลังก็ตาม

สรุป

นางดําจะได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7 (3) แต่จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ส่วนบุตรชายของนางดําจะได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10

 

ข้อ 2 นายสมเดชคนสัญชาติไทยได้ทําสัญญาซื้อเครื่องถ่ายเอกสารจํานวน 10 เครื่องจากนายโทนี่คนสัญชาติอังกฤษที่มีภูมิลําเนาตามกฎหมายอยู่กรุงเทพฯ โดยสัญญานี้ทําที่สิงคโปร์ และขณะทําสัญญา เครื่องถ่ายเอกสารทั้งหมดนี้ก็อยู่ที่สิงคโปร์ นายสมเดชและนายโทนี่ไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่ข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาฉบับนี้ เมื่อ ซื้อขายกันแล้วปรากฏว่าสวิตช์ตัวควบคุมของเครื่องถ่ายเอกสารทั้ง 10 เครื่องนี้อยู่ในสภาพชํารุด ใช้การไม่ได้ นายสมเดชจึงขอเปลี่ยน แต่นายโทนี้ไม่ยอมเปลี่ยนให้โดยโต้แย้งว่าตนในฐานะผู้ขาย ไม่จําต้องรับผิดในกรณีการชํารุดที่ว่านี้ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า หากศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ของสัญญาฉบับนี้ไว้พิจารณา ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่านี้ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 13 วรรคหนึ่ง “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญหรือ ผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ ถ้า คู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฏหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มี สัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว การจะพิจารณาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สาระสําคัญหรือผลของ สัญญานั้น กรณีเป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ซึ่งอาจแยกพิจารณาเป็น กรณีตามลําดับได้ดังนี้

1 กรณีที่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นํากฎหมายของประเทศใดมาใช้บังคับ ก็ให้นํากฎหมายของประเทศนั้นมาใช้บังคับ

2 กรณีที่ไม่อาจทราบเจตนาโดยชัดแจ้งหรือปริยายของคู่สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่สัญญา

(ก) ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของคู่สัญญามาใช้บังคับ

(ข) ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้นมาใช้บังคับ

กรณีตามอุทาหรณ์

ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่า นายโทนี่ (ผู้ขาย) จะต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องในทรัพย์สิน (เครื่องถ่ายเอกสาร) ที่ซื้อขายกันเพียงใดหรือไม่ อันเป็นปัญหาในเรื่องผลของสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดย ปริยายว่าให้นํากฎหมายประเทศใดมาใช้บังคับแก่ผลของสัญญา จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายได้ว่าคู่สัญญาจะให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ข้อพิพาทนี้ และเมื่อทั้งนายสมเดชและนายโทนี่ คู่สัญญาก็ไม่ได้มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่ กฎหมายประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็น กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาฉบับนี้ได้ทําขึ้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น หากได้ความว่าศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยจึงควรนํากฎหมาย ประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าว

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 ในการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือไม่ของศาลประเทศฝรั่งเศสในฐานะประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้รับคําขอ อยากทราบว่าศาลประเทศฝรั่งเศสมีหลักพิจารณาประเด็นแห่งคดีฯ ที่ว่านี้อย่างไร หรือไม่ ให้ท่านอธิบายโดยชัดเจนและครบถ้วน

ธงคําตอบ

ศาลประเทศฝรั่งเศสมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองไว้ เพื่อวินิจฉัยประเด็น แห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือไม่ โดยมีหลักสําคัญว่า กฎหมายของประเทศฝรั่งเศสนั้นจะไม่คํานึงถึง มูลเหตุจูงใจในการกระทําความผิด แต่ จะถือสาระสําคัญของการกระทําเป็นสําคัญ ซึ่งถ้าเป็นการกระทําที่ กระทบต่อธรรมนูญการปกครองและรัฐบาล โดยมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนหรือล้มล้างการปกครองประเทศในหลักใหญ่ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ) แล้ว ให้ถือว่าการกระทํานั้นเป็นความผิดทางการเมือง ซึ่งจะแตกต่างกับ ศาลประเทศชิลี ซึ่งจะพิจารณามูลเหตุจูงใจในการกระทําผิดเป็นสําคัญ โดยดูว่ามูลเหตุจูงใจในการก่อคดีเป็น เรื่องของการเมืองหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องของการเมืองก็จะถือเป็นความผิดทางการเมือง

 

ข้อ 4 จงอธิบายหลักเกณฑ์และสาระสําคัญพอสรุปได้ของความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Crimes) พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบด้วย

ธงคําตอบ

หลักเกณฑ์และสาระสําคัญของความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Crimes) มีว่า “ประเทศภาคีแห่งข้อตกลงระหว่างประเทศฯ ทุกประเทศ ย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาความผิด ดังกล่าวนี้ โดยใช้กฎหมายอาญาของประเทศนั้นได้ หากปรากฏตัวผู้กระทําผิดในดินแดนหรือราชอาณาจักรของ ประเทศนั้น โดยไม่ต้องคํานึงว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศเจ้าของท้องที่เกิดเหตุหรือประเทศผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม”

ตัวอย่างของความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ การฉ้อโกงระหว่างประเทศ การกระทํา ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเงินตรา การค้าทาสและการค้าหญิง การกระทําความผิดเกี่ยวกับสลัดอากาศ เป็นต้น

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ก เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ใช้บังคับ จากบิดาเป็นคนสัญชาติจีนอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาเป็นคนสัญชาติไทย บิดามารดาได้ จดทะเบียนสมรส ณ สํานักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2489 ให้ท่าน วินิจฉัยว่า ก. ได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร ยกข้อกฎหมายประกอบคําตอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง” พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ก. เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลัก ก. ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม หลักดินแดนตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว ก. จะถูกถอนสัญชาติไทยตาม ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1. (3) เพราะ ก. เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว และ ในขณะที่เกิดบิดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ย่อมมีผลทําให้ ก. กลับมาได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10 เพราะเกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และตามมาตรา 10 ได้บัญญัติให้มาตรา 7 (1) มีผลใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อน วันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้นจึงถือว่า ก. ได้สัญชาติไทยตามหลักสายโลหิตของ มารดาตั้งแต่เกิด

สรุป

ก ได้สัญชาติไทยตามหลักสายโลหิต ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10

 

ข้อ 2 นายทอมคนสัญชาตินิวซีแลนด์มีภูมิลําเนาตามกฎหมายอยู่ที่กรุงเทพฯ ทําสัญญาซื้อเครื่องกรองน้ำจํานวน 10 เครื่อง จากนายเจมส์คนสัญชาติเดียวกัน โดยไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ใช้กฎหมายของ ประเทศใดบังคับแก่ข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาฉบับนี้ สัญญานี้ทําที่ญี่ปุ่นและขณะทําสัญญา เครื่องกรองน้ำทั้งหมดนี้ก็อยู่ที่ญี่ปุ่น เมื่อซื้อขายกันแล้วปรากฏว่าภายหลังที่นายทอมนําเครื่องกรองน้ำ ทั้งหมดไปใช้ได้เพียง 3 วัน เครื่องกรองน้ำฯ ที่ว่านี้เกิดชํารุดใช้การไม่ได้ นายทอมจึงขอเปลี่ยน แต่นายเจมส์ไม่ยอมเปลี่ยนให้โดยอ้างว่า ตนในฐานะผู้ขายไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องใน พฤติการณ์เช่นนี้ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า หากข้อพิพาทที่ว่านี้เป็นคดีในศาลไทย ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทฯ ที่ว่านี้เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 13 วรรคหนึ่ง “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญหรือ ผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญา ไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว การจะพิจารณาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สาระสําคัญหรือผลของ สัญญานั้น กรณีเป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ซึ่งอาจแยกพิจารณาเป็น กรณีตามลําดับได้ดังนี้

1 กรณีที่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นํากฎหมายของประเทศใด มาใช้บังคับ ก็ให้นํากฎหมายของประเทศนั้นมาใช้บังคับ

2 กรณีที่ไม่อาจทราบเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายของคู่สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายที่ จะใช้บังคับแก่สัญญา

(ก) ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ให้ใช้กฏหมายสัญชาติของคู่สัญญามาใช้บังคับ (ข) ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้นมาใช้บังคับ

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่า นายเจมส์ (ผู้ขาย) จะต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องในทรัพย์สิน (เครื่องกรองน้ำ) ที่ซื้อขายกันเพียงใดหรือไม่ อันเป็นปัญหาในเรื่องผลของสัญญา แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือ โดยปริยายว่าให้นํากฎหมายประเทศใดมาใช้บังคับแก่ผลของสัญญา จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายได้ว่าคู่สัญญาจะให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ข้อพิพาทนี้ และเมื่อทั้งนายทอมและนายเจมส์ซึ่ง เป็นคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่ศาลไทยควรจะนําขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่านี้จึงได้แก่ กฎหมาย ของประเทศนิวซีแลนด์ เพราะเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่สัญญา ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายของประเทศนิวซีแลนด์ขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทดังกล่าว

 

ข้อ 3 ขณะที่เครื่องบินจดทะเบียนประเทศแคนาดากําลังแล่นอยู่ที่ทางขึ้นลงของเครื่องบิน (Runway) เพื่อเตรียมนําเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทยเพื่อไปยังประเทศแคนาดา นายวู คนสัญชาติเกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้โดยสารที่อยู่ในเครื่องบินลํานั้น บอกว่าตนมีระเบิดและจะทําการระเบิด เครื่องบินหากนักบินไม่นําเครื่องไปลงที่ประเทศเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามลูกเรือช่วยกันจับนายวทําให้ ไม่มีการระเบิดแต่อย่างใด จากกรณีดังกล่าว การกระทําของนายวผิดตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วย การขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 มาตรา 1 บัญญัติว่า ความผิดฐานสลัดอากาศ หมายถึงบุคคลที่อยู่ในเครื่องบินลํานั้นกระทําการอันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัยของ อากาศยาน โดยใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อจะยึดอากาศยาน หรือขัดขวางการควบคุมบังคับบัญชาของอากาศยาน ให้เปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทางการบินตามความต้องการของตน ทั้งนี้รวมถึงการพยายามกระทําความผิด

ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทําของนายวถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศ เนื่องจากการ เรียกร้องให้นักบินเปลี่ยนทิศทางบิน โดยบังคับให้นักบินนําเครื่องบินไปยังประเทศเกาหลีใต้เป็นการกระทํา อันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัยของอากาศยาน ซึ่งถือเป็นการใช้กําลังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ เครื่องบินเปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทางการบินตามที่ตนต้องการ แม้ว่านายวูจะถูกจับตัวได้และไม่มี การระเบิดแต่อย่างใด การกระทําดังกล่าวก็ถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามมาตรา 1 แห่งอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1970 ซึ่งรวมถึงการพยายามกระทําความผิดด้วย

สรุป

การกระทําของนายวูถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการ ขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970

 

ข้อ 4 จงบอกลักษณะความผิดที่ไม่นิยมส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาโดยถูกต้องและครบถ้วน

ธงคําตอบ

ลักษณะของความผิดที่ไม่นิยมส่งผู้ร้ายข้ามแดน แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่

1 ความผิดทางการเมือง

2 ความผิดต่อกฎหมายพิเศษ หรือบทบัญญัติอันมีลักษณะพิเศษทางการปกครอง

3 ความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์

4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

5 ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายทหาร

6 ความผิดฐานหลบหนีราชการทหาร

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นาวสาวมุ่ย หวูทิ กับพวกโจทก์เกิดที่จังหวัดอุดรธานีก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2515 จากบิดา นายหวู คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองมีใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรส ในประเทศไทยกับมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เกิดโจทก์กับน้องอีกห้าคนในประเทศไทยก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337/2515 ใช้บังคับ เมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337/2515 ใช้บังคับแล้วผู้ว่าราชการ จังหวัดอุดรธานีได้ใส่ชื่อโจทก์และน้องทั้งห้าคนลงในทะเบียนบ้านผู้อพยพ อ้างว่าโจทก์และน้องถูก ถอนสัญชาติไทย การกระทําของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวมุ่ย หวูทิ กับน้องอีก 5 คน ได้เกิดที่จังหวัดอุดรธานีก่อน วันที่ 14 ธันวาคม 2515 คือก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับนั้น นางสาวมุ่ยและน้องทั้ง 5 คน ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด เพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3)

และต่อมาเมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ นางสาวมุ่ยและน้องทั้ง 5 คน ก็จะไม่ถูกถอนสัญชาติไทย เพราะแม้นางสาวมุยและน้องทั้ง 5 คน จะเกิดโดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวก็ตาม แต่ในขณะที่เกิดนั้นบิดาของนางสาวมุยและน้องทั้ง 5 คน เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและได้เข้ามาอยู่ใน ราชอาณาจักรไทยโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้ใส่ชื่อนางสาวมุ่ยโจทก์และน้องทั้ง 5 คน ลงในทะเบียนบ้านผู้อพยพโดยอ้างว่านางสาวมุ่ยโจทก์และน้องถูกถอนสัญชาตินั้น การกระทําของผู้ว่าราชการจังหวัด ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การกระทําของผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2 นายสมหวังคนสัญชาติไทยทําสัญญาที่พม่าซื้อโถลายครามอันเป็นวัตถุโบราณจํานวน 10 ใบ จากนายหม่องคนสัญชาติพม่า และขณะทําสัญญาโถลายครามฯ ก็อยู่ที่พม่า นายสมหวังและนายหม่อง ตกลงกันว่าหากเกิดกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย กฎหมายขัดกันฯ ของพม่ากําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้นทําขึ้น และ กฎหมายภายในของพม่ากําหนดว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการซื้อขายโถลายครามฯ ที่ว่านี้ทําเป็น หนังสือ แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายสมหวังผิดสัญญาไม่ยอมชําระราคาและ รับมอบโถลายครามฯ นายหม่องจึงฟ้องนายสมหวังต่อศาลไทยเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจาก การผิดสัญญา นายสมหวังยกข้อต่อสู้ว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตนจึงไม่ผูกพันหรือรับผิดตามสัญญา ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า สัญญาซื้อโถลายครามฯ ที่ว่านี้เป็นโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 9 วรรคแรก “นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นใด แห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้น ได้ทําขึ้น”

มาตรา 13 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็น สาระสําคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่ง คู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น

สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผล แห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมหวังคนสัญชาติไทยทําสัญญาที่พม่าซื้อโถลายครามอันเป็น วัตถุโบราณจํานวน 10 ใบ จากนายหม่องคนสัญชาติพม่า และขณะทําสัญญาโถลายครามฯ ก็อยู่ที่พม่า โดยนายสมหวัง กับนายหม่องได้ตกลงกันไว้ว่า หากกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย และ สัญญาซื้อขายฉบับนี้ได้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ดังนี้ ถ้าพิจารณาตามมาตรา 9 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ที่ว่า ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรม ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้นได้ทําขึ้น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ของพม่าได้กําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น และตามกฎหมายภายใน ของพม่าก็กําหนดว่า การซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น เป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาซื้อขายโถลายครามฯ ฉบับนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นสัญญาที่ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 วรรคท้าย ได้กําหนดไว้ว่า สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลของสัญญา เมื่อกรณีตาม ข้อเท็จจริง กฎหมายที่ใช้บังคับแก่ผลของสัญญาได้แก่ กฎหมายไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีตามมาตรา 13 วรรคแรก และตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น สัญญาซื้อขายโถลายครามฯ ระหว่างนายสมหวังกับ นายหม่องจึงมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ

สรุป

สัญญาซื้อขายโถลายครามฯ ระหว่างนายสมหวังกับนายหม่องมีผลสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ

 

ข้อ 3 นายฮัสซันคนสัญชาติตรุก็ได้วางระเบิดเครื่องบินของประเทศเกาหลีใต้ขณะที่กําลังจอดอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อเตรียมจะบินจากประเทศไทยไปยังประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวางระเบิดเสร็จแล้วนายฮัสซัน ได้หนีกลับไปยังประเทศตุรกี และเครื่องบินลําดังกล่าวได้ระเบิดขณะที่กําลังบินอยู่เหนือทะเลหลวง การกระทําของนายฮัสซันผิดกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970

มาตรา 1 ได้บัญญัติ ถึงลักษณะของการจี้เครื่องบินอันเป็นการกระทําความผิดฐานสลัดอากาศว่า เป็นการกระทําโดย

(1) บุคคลที่อยู่ในเครื่องบินนั้น

(2) การกระทํานั้นเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้กระทําต่อเครื่องบินลํานั้นเอง

(3) การกระทํานั้นเกิดในขณะที่เครื่องบินกําลังบินอยู่

ทั้งนี้หมายความรวมถึงการพยายามกระทําความผิดด้วยการจี้เครื่องบินจึงเป็นการกระทําจาก ผู้ที่อยู่ในเครื่องบินซึ่งกําลังบิน (on board an aircraft in flight) หรือที่เราเรียกว่าเป็นการกระทําภายในนั่นเอง

ดังนั้นการกระทําภายนอก เช่น การโจมตีด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน หรือก่อวินาศกรรมแก่ เครื่องบินที่จอดอยู่ในสนามบิน ย่อมไม่ใช่การจี้เครื่องบินตามอนุสัญญากรุงเฮกฯ

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การกระทําของนายฮัสซันคนสัญชาติตุรกี เป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ เห็นว่า การวางระเบิดเครื่องบินโดยนายฮัสซันนั้นได้กระทํา ในขณะที่เครื่องบินยังจอดอยู่ที่สนามบิน การกระทําดังกล่าวจึงไม่อยู่ในความหมายของการกระทําภายในของ ความผิดฐานจี้เครื่องบิน ตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 เพราะเป็น การกระทําภายนอก ไม่ใช่การกระทําของผู้ที่อยู่ในเครื่องบินซึ่งกําลังบินอยู่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออนุสัญญากรุงมอนทรีลว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความ ปลอดภัยแห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971 ซึ่งใช้บังคับในเวลาต่อมา ได้บัญญัติให้คลุมถึงการกระทําทุกชนิดที่กระทบ ต่อความปลอดภัยของการบินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการกระทําภายนอกด้วย ดังนั้นการกระทําของนายฮัสซัน จึงเป็นความผิดฐานสลัดอากาศ ตามอนุสัญญากรุงมอนทรีลว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความปลอดภัย แห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971

สรุป

การกระทําของนายฮัสซันเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานสลัดอากาศ ตามอนุสัญญากรุงมอนทรีว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความปลอดภัยแห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971

 

ข้อ 4 ตามกฎหมายระหว่างประเทศในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและหลักทั่วไปในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตาม พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 นั้น ได้กําหนด “ความผิด” ที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนไว้อย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

หลักเกณฑ์ทั่วไปของ “ความผิด” ในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ได้แก่

1 จะต้องเป็นความผิดทางอาญา หรือเป็นคดีอาญาที่มีมูลที่สามารถนําตัวผู้ต้องหาขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้

2 ความผิดนั้นต้องเป็นคดีที่ยังไม่ขาดอายุความ

3 จะต้องเป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอาญาของทั้งสองประเทศ คือประเทศที่มีคําขอและประเทศที่ถูกขอให้ส่งตัว

4 จะต้องเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นความผิดที่ได้กําหนดไว้ในหมวดเดียวกันหรือเรียกชื่อความผิดเป็นอย่างเดียวกันของทั้งสองประเทศหรือไม่

5 จะต้องไม่ใช่ความผิดทางการเมือง หรือความผิดบางประเภทที่ประเทศต่าง ๆ มักจะไม่นิยมส่งผู้ร้ายข้ามแดน

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นางสมศรีเกิดที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นญวนอพยพซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต่อมานางสมศรีได้อยู่กิน ฉันสามีภริยากับนายสรศักดิ์คนสัญชาติไทยโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและเกิดบุตรชาย 1 คน ในประเทศไทยก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยก หลักกฎหมายประกอบด้วยว่านางสมศรีและบุตรชายได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นางสมศรีและบุตรชายได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้ กรณีของนางสมศรี

จากข้อเท็จจริง นางสมศรีเกิดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และเกิดก่อนวันที่ประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักนางสมศรี ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว นางสมศรีจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1.(3) เพราะบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

กรณีบุตรชายของนางสมศรี

จากข้อเท็จจริง บุตรชายของนางสมศรีเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักบุตรชายของนางสมศรี ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

และเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ย่อมมีผลทําให้บุตรของนางสมศรี ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10 เพราะเกิดโดยมารดามีสัญชาติไทย (ขณะเกิดนางสมศรีเป็นผู้มีสัญชาติไทย) แม้ว่านางสมศรีจะถูกถอนสัญชาติไทย ในภายหลังก็ตาม

สรุป

นางสมศรีจะได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7 (3) แต่จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1.(3) ส่วนบุตรของนางสมศรีจะได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10

 

ข้อ 2 มีนาหญิงสัญชาติมาเลเซียสมรสกับนายเลียวชายสัญชาติฟิลิปปินส์ กฎหมายสัญชาติมาเลเซียกําหนดว่าหญิงมาเลเซียซึ่งสมรสกับคนต่างด้าวจะไม่เสียสัญชาติมาเลเซียจนกว่าหญิงนั้นจะแสดงความจํานง สละสัญชาติมาเลเซีย และกฎหมายสัญชาติฟิลิปปินส์กําหนดว่าหญิงต่างด้าวสมรสกับชายฟิลิปปินส์ ย่อมได้สัญชาติฟิลิปปินส์ ส่วนกฎหมายภายในมาเลเซียกําหนดว่า บุคคลมีความสามารถจะทํานิติกรรม สัญญาใด ๆ ได้เมื่อมีอายุครบ 19 ปีบริบูรณ์ แต่ตามกฎหมายในฟิลิปปินส์ต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีนายังไม่ได้แสดงความจํานงสละสัญชาติมาเลเซีย ในขณะที่มีนามีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อทํานิติกรรมซื้อเครื่องกลั่นน้ํามันปาล์มจํานวน 10 เครื่อง จาก นายโชค คนสัญชาติไทย หลังจากนั้นมีนากับนายโชคมีคดีขึ้นสู่ศาลไทย โดยประเด็นข้อพิพาทมีว่า มีนา มีความสามารถทํานิติกรรมฯ ที่ว่านี้หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคแรก “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติ ขึ้นไปอันได้รับมาเป็นลําดับ ให้ใช้กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับครั้งสุดท้ายบังคับ”

มาตรา 10 วรรคแรกและวรรคสอง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อม เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น

แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้นย่อมจะ ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมนั้น ได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและ กฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุ นิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เห็นว่า ปัญหาข้อพิพาทที่ว่ามีนา จะทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ํามันปาล์มจากนายโชคคนสัญชาติไทยได้หรือไม่นั้น ถือเป็นกรณีพิพาทกันเรื่อง ความสามารถของบุคคลซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการ ขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีนามีทั้งสัญชาติมาเลเซียและสัญชาติฟิลิปปินส์อันได้รับมาเป็น ลําดับ (ไม่พร้อมกัน) กรณีเช่นนี้ กฎหมายสัญชาติที่จะใช้บังคับ คือ กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับมาครั้งสุดท้าย อันได้แก่กฎหมายฟิลิปปินส์ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคแรก ซึ่งเมื่อพิจารณาตาม กฎหมายฟิลิปปินส์แล้ว มีนาย่อมไม่มีความสามารถทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกฎหมายฟิลิปปินส์ กําหนดว่า บุคคลมีความสามารถจะทํานิติกรรมใด ๆ ได้ต่อเมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เมื่อในขณะทํานิติกรรมมนา มีอายุเพียง 20 ปี จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี แม้มีนาจะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายสัญชาติ แต่อาจถือได้ว่ามีนาคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง ดังนี้คือ

1) คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2) ตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตาม ข้อ 1)

3) แต่กฎหมายไทยถือว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1) ได้

ดังนั้น การที่มีนาได้ทํานิติกรรมในประเทศไทย ซึ่งนิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ใช่นิติกรรม ตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมายสัญชาติของมีนา (ฟิลิปปินส์) ก็ถือว่ามีนาเป็นบุคคล ผู้ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัด แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยแล้ว มีนามีความสามารถทํา นิติกรรมซื้อขายดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ เพราะถือว่ามีนาบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้น ศาลไทยจึงควรวินิจฉัยว่ามีนามีความสามารถทําสัญญาที่ว่านี้ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง

สรุป

ศาลไทยควรวินิจฉัยว่ามีนามีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันปาล์มดังกล่าวได้

 

ข้อ 3 ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือไม่นั้น ไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติหรือกําหนดไว้ ด้วยเหตุนี้ จึงอยากทราบว่าการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวข้างต้น มีแนวปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับ การนี้ไว้บ้างหรือไม่ อย่างไร ให้ท่านอธิบายโดยละเอียดชัดเจนและครบถ้วน

ธงคําตอบ

ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมือง หรือไม่นั้น มีแนวปฏิบัติหรือหลักการของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ ดังนี้

(1) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีหลักกฎหมายภายในเกี่ยวกับ ความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรง ก็จะนําหลักกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ตัวอย่างเช่น หลักกฎหมายของประเทศ ฝรั่งเศสที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองจะต้องเป็นการกระทําที่กระทบต่อธรรมนูญการปกครองและ รัฐบาลโดยมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างหลักการปกครองของประเทศในหลักใหญ่ (นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ) หรือหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองได้นั้น จะต้องเป็น การกระทําความผิดในขณะที่ไม่มีความสงบทางการเมือง ระหว่างคณะบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยต่างฝ่าย ต่างพยายามที่จะบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับระบบการปกครองตามที่ฝ่ายตนต้องการ เป็นต้น

(2) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่มีหลักกฎหมายภายในเกี่ยวกับ ความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษาของศาลแห่งประเทศนั้นเป็นหลักพิจารณา ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์เป็นหลักพิจารณา เพราะตามหลักกฎหมายไทยในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ถือเป็นที่สุดทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังเช่น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนายพลท้าวมาทิ้งระเบิด ที่นครเวียงจันทน์เพื่อทําการยึดอํานาจในประเทศลาว แต่ไม่สําเร็จ จึงหนีเข้ามาในเมืองไทยโดยขอลี้ภัยทางการเมือง แต่ทางฝ่ายรัฐบาลลาวขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวนายพลท้าวมาและพรรคพวกกลับไปดําเนินคดี แต่ศาลไทยปฏิเสธ ไม่ยอมส่งตัวให้ โดยถือว่านายพลท้าวมาและพรรคพวกเป็นผู้ต้องหาทางการเมือง เป็นต้น

 

ข้อ 4 นายปิแอร์คนสัญชาติฝรั่งเศสได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวนั้นมาขึ้นเงินในประเทศไทย การกระทําความผิดของนายปิแอร์ถือว่าเป็นความผิดตาม กฎหมายระหว่างประเทศฐานใดบ้างหรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วย

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปิแอร์คนสัญชาติฝรั่งเศสได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งใน ประเทศฝรั่งเศส และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินที่ประเทศไทยนั้น การกระทําของนายปิแอร์ดังกล่าวถือเป็น ความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึง การกระทําความผิด โดยบุคคลที่แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่ในการทํางาน เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ และสมุห์บัญชี เป็นต้น

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดถึงการขโมยหรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตั๋วเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายปิแอร์ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ (International Fraud) ที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ประเสริฐคนสัญชาติไทย มีภูมิลําเนาอยู่ที่อําเภอเบตง จังหวัดยะลา ประเสริฐได้เดินทางไปทํางานอยู่ที่ร้านต้มยํากุ้งในประเทศมาเลเซีย และได้อยู่กินกันฉันสามีภริยากับนางแสนคําคนสัญชาติลาว โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรในประเทศมาเลเซียห้าคนก่อน ป.ว.337 ใช้บังคับ ต่อมาประเสริฐ พาครอบครัวกลับมาอยู่ประเทศไทย บุตรทั้งห้าคนขอมีสัญชาติไทย อ้างว่าพวกตนเกิดโดยบิดา เป็นผู้มีสัญชาติไทย อยากทราบว่าบุตรทั้งห้าคนได้สัญชาติไทยตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด ถ้าจะให้บุตรมีสัญชาติไทย ท่านจะแนะนําอย่างไร ยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

มาตรา 7 วรรคสอง “คําว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรส กับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม”

ป.พ.พ. มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บุตรทั้งห้าคนของประเสริฐเกิดในประเทศมาเลเซีย โดยมีมารดาคือ นางแสนคําเป็นผู้มีสัญชาติลาว และบิดาคือประเสริฐเป็นผู้มีสัญชาติไทยนั้น บุตรทั้งห้าคนย่อมไม่ได้สัญชาติไทย โดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ทั้งนี้เพราะบิดาและมารดานั้นมิได้เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ประเสริฐจึงเป็น บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิตตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) นั้น บิดาต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะที่บุตรเกิด หรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. สัญชาติฯ และประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนั้นให้นําไปใช้กับผู้ที่เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนั้นใช้บังคับด้วย ดังนั้นหากบุตรทั้งห้าคนของประเสริฐต้องการมีสัญชาติไทย สามารถทําได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธี ดังนี้คือ

1 ให้ดําเนินการพิสูจน์ตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวงว่าประเสริฐเป็นบิดาของ บุตรผู้ร้องทั้ง 5 คนตามสายโลหิตจริงตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสอง ซึ่งจะต้อง ดําเนินการพิสูจน์กับบุตรทุกคน เมื่อพิสูจน์ได้แล้วว่าบุตรทั้ง 5 คนเป็นบุตรของประเสริฐจริง บุตรนั้นก็จะกลับได้ สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิตตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ทั้งนี้แม้ประเสริฐจะมิได้ จดทะเบียนสมรสกับนางแสนคําและมิได้จดทะเบียนรับรองบุตรเหล่านั้นก็ตาม หรือ

2 ให้ประเสริฐจดทะเบียนสมรสกับนางแสนคําหรือจดทะเบียนรับรองบุตรผู้ร้องทั้ง 5 คน ว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือขอให้ศาลพิพากษาว่าบุตรเหล่านั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ทั้งนี้เนื่องจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1557 ที่แก้ไขใหม่นั้นได้กําหนดให้ “การเป็นบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลย้อนหลังไปนับแต่วันที่เด็กเกิด” ซึ่งผลของการเป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายดังกล่าว ย่อมทําให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่เดิมนั้นกลายเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย เมื่อเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงทําให้บุตรผู้ร้องทั้ง 5 คน กลับได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(1) เช่นกัน

สรุป

บุตรทั้งห้าคนไม่ได้สัญชาติไทยตามที่กล่าวอ้าง และถ้าจะให้บุตรมีสัญชาติไทย ข้าพเจ้า จะให้คําแนะนําว่าให้ดําเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่อธิบายไว้ข้างต้น

 

ข้อ 2 นายกังเกิดจากบิดามารดาซึ่งเป็นคนสัญชาติจีน แต่เกิดและมีภูมิลําเนาในประเทศสิงคโปร์ตามกฎหมายจีนบุคคลย่อมได้สัญชาติจีนหากเกิดจากบิดาเป็นจีนไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกประเทศจีน และตามกฎหมายสิงคโปร์ บุคคลย่อมได้สัญชาติสิงคโปร์หากเกิดในประเทศสิงคโปร์ กฎหมายจีนยังกําหนด ไว้อีกว่าบุคคลบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถที่จะทํานิติกรรมสัญญาใด ๆ ได้เมื่ออายุครบ 19 ปี บริบูรณ์ แต่กฎหมายสิงคโปร์ต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ในขณะที่นายกังมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ทํานิติกรรมซื้อเครื่องแยกเมล็ดข้าวจํานวน 10 เครื่องจากนายก้อง คนสัญชาติไทยที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นนายกังกับนายก้องมีคดีขึ้นสู่ศาลไทยโดยประเด็นข้อพิพาทมีว่านายกังมีความสามารถ ทํานิติกรรมฯ ที่ว่านี้หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าศาลไทยควร วินิจฉัยอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคสอง “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติ ขึ้นไป อันได้รับมาคราวเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีภูมิลําเนาอยู่บังคับ ถ้าบุคคลนั้นมี ภูมิลําเนาอยู่ในประเทศอื่นนอกจากประเทศซึ่งตนมีสัญชาติสังกัดอยู่ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาในเวลายื่นฟ้องบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ ในกรณีใด ๆ ที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของบุคคล ถ้าสัญชาติหนึ่งสัญชาติใดซึ่งขัดกันนั้นเป็นสัญชาติไทย กฎหมายสัญชาติซึ่งจะใช้ บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม”

มาตรา 10 วรรคแรกและวรรคสอง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคล ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น

แต่ถ้าคนต่างด้าวทํานิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติ คนต่างด้าวนั้นย่อมจะ ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดสําหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมนั้น ได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและ กฎหมายมรดก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุ นิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรวินิจฉัยข้อพิพาทที่ว่านี้อย่างไร เห็นว่า ปัญหาข้อพิพาทที่ว่า นายกังมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องแยกเมล็ดข้าวจากนายก้องคนสัญชาติไทยได้หรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่อง ความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการ ขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายกังมีทั้งสัญชาติจีนและสิงคโปร์ซึ่งได้รับมาในคราวเดียวกัน (ได้รับมาพร้อมกัน) กรณีเช่นนี้ กฎหมายสัญชาติที่ใช้บังคับ คือ กฎหมายสัญชาติของประเทศที่นายกังมีภูมิลําเนาอยู่ อันได้แก่ กฎหมายสิงคโปร์ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสอง ซึ่งเมื่อพิจารณาตาม กฎหมายสิงคโปร์แล้ว นายกังย่อมไม่มีความสามารถทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกฎหมายสิงคโปร์ กําหนดว่า บุคคลจะบรรลุนิติภาวะและมีความสามารถที่จะทํานิติกรรมใด ๆ ได้เมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เมื่อ ในขณะทํานิติกรรมนายทั้งมีอายุเพียง 20 ปี จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี แม้นายกังจะไร้ความสามารถในการทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายสัญชาติ แต่ อาจถือได้ว่านายกังคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมดังกล่าวตามกฎหมายไทยได้ หากเข้าหลักเกณฑ์หรือ เงื่อนไข ดังนี้คือ

1) คนต่างด้าวนั้นได้ทํานิติกรรมขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมิใช่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

2) ตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัดในการทํานิติกรรมตามข้อ 1)

3) แต่ตามกฎหมายไทยถือว่าคนต่างด้าวนั้นมีความสามารถทํานิติกรรมตามข้อ 1) ได้

ดังนั้น การที่นายกังได้ทํานิติกรรมในประเทศไทย ซึ่งนิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ใช่นิติกรรม ตามกฎหมายครอบครัวหรือกฎหมายมรดก และตามกฎหมายสัญชาติของนายกัง (สิงคโปร์) ก็ถือว่านายกัง ไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจํากัด แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยแล้ว นายกังมีความสามารถทํานิติกรรม ซื้อขายดังกล่าวได้ เพราะถือว่านายกังบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ดังนั้น ศาลไทยจึงควรวินิจฉัยว่า นายกังมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคสอง

สรุป

ศาลไทยควรวินิจฉัยว่านายกังมีความสามารถทําสัญญาซื้อเครื่องแยกเมล็ดข้าวดังกล่าวได้

 

ข้อ 3. ขณะที่เครื่องบินจดทะเบียนประเทศสหรัฐอเมริกากําลังบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา นายสมานคนสัญชาติไทยซึ่งเป็นผู้โดยสารที่อยู่ในเครื่องบินลํานั้นได้ใช้อาวุธปืน จี้ผู้โดยสารคนสัญชาติแคนาดา 5 คนไว้เป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้นักบินนําเครื่องไปยังประเทศคิวบา อย่างไรก็ตามนักบินได้นําเครื่องบินลงจอดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตามกําหนดการเดิม และ นายสมานถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวไว้ได้ ทั้งนี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด จากกรณี ดังกล่าว การกระทําของนายสมานผิดตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยาน โดยมิชอบ ค.ศ. 1970 หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970

มาตรา 1 บัญญัติว่า ความผิดฐานสลัดอากาศ หมายถึงบุคคลที่อยู่ในเครื่องบินลํานั้นกระทําการอันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัยของ อากาศยาน โดยใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อจะยึดอากาศยาน หรือขัดขวางการควบคุมบังคับบัญชาของอากาศยาน ให้เปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทางการบินตามความต้องการของตน ทั้งนี้รวมถึงการพยายามกระทําความผิด

ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทําของนายสมานถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศ เนื่องจาก การเรียกร้องให้นักบินเปลี่ยนทิศทาง และนําเครื่องบินโดยบังคับให้นักบินนําเครื่องไปยังประเทศคิวบาเป็นการ กระทําอันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัยของอากาศยาน ซึ่งถือเป็นการใช้กําลังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ เครื่องบินเปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทางการบินตามที่ตนต้องการ แม้ว่านายสมานจะถูกจับตัวได้ และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต การกระทําดังกล่าวก็ถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามมาตรา 1 แห่ง อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1970 ซึ่งรวมถึงการพยายามกระทําความผิดด้วย

สรุป

การกระทําของนายสมาน ถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญากรุงเฮกว่า ด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970

 

ข้อ 4 จงอธิบายหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีการเมืองของประเทศอังกฤษมาโดยครบถ้วน

ธงคําตอบ

อธิบาย

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีการเมืองของประเทศอังกฤษนั้น จะต้องประกอบไปด้วย องค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1 ความผิดต้องได้กระทําในขณะที่ไม่มีความสงบในทางการเมือง เช่น เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร ฯลฯ

2 ต้องมีความขัดแย้งระหว่างพรรคหรือกลุ่มตั้งแต่สองพรรคหรือสองกลุ่มขึ้นไป

3 แต่ละพรรคหรือกลุ่มต้องการให้อีกพรรคหรือกลุ่มยอมรับระบบการปกครองของตน

เมื่อครบองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศอังกฤษจะถือว่าความผิดนั้น เป็นการกระทําความผิดทางการเมืองซึ่งห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน ดังนั้น หากมีคําร้องขอให้ประเทศอังกฤษส่ง ผู้ร้ายข้ามแดน และมีการต่อสู้ว่าความผิดที่ผู้ถูกขอให้ส่งข้ามแดนได้กระทําลงไปนั้น เป็นความผิดทางการเมือง ประเทศอังกฤษจะใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการพิจารณาคดี

ฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าลําพังการกระทําของพวก ก่อการร้าย (Terrorists) ที่เพียงแต่ก่อความไม่สงบต่อการปกครองของรัฐก็ดี หรือการกระทําของพวกอนาคิสต์ (Anarchist) ซึ่งยึดถือลัทธิที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลไม่ว่าในแบบใดก็ดีจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการเมืองเพราะ ผู้กระทําไม่ได้มุ่งหมายที่จะให้มีการปกครองไม่ว่าในรูปแบบใดเลย

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จากข้อเท็จจริงต่อไปนี้ ให้ท่านวินิจฉัยโดยใช้หลักกฎหมายทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง

ก เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ใช้บังคับ จากบิดาคนสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ขณะที่ ก เกิด บิดากับมารดาไม่ได้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย บิดาเพิ่งมาจดทะเบียน สมรสกับมารดาหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ให้ท่านวินิจฉัยว่า ก ได้ หรือเสียสัญชาติไทยอย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 ทวิ วรรคแรก “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่งมิได้สมรส กับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

มาตรา 11 “บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรี มีคําสั่งอันมีผลให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

มาตรา 7 วรรคสอง “คําว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรส กับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์

ก ได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า ก เกิดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2508 จากบิดาเป็นคนสัญชาติไทย ส่วนมารดาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและเกิดก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลัก ก. ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตาม มาตรา 7 (3)

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว ก จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 เพราะมารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย (เพราะในขณะ ก เกิด บิดามารดา ไม่ได้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย) และแม้ว่าต่อมาบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง (ปี พ.ศ. 2518) ทําให้บิดาเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่ทําให้ ก ซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยไปแล้วจะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาอีก เพราะประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายพิเศษ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3120/2528)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 อีกทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่าบิดาของ ก ไม่ใช่คนต่างด้าว อันจะทําให้ ก ไม่ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ทวิ วรรคแรก ประกอบมาตรา 11 ดังนั้น ก จึงกลับได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม หลักดินแดน

อีกทั้งเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) หาก ก พิสูจน์ได้ว่าเป็นบุตรที่แท้จริงของบิดา ก ก็จะกลับมาได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตามหลักสายโลหิตตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1)

และเมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1557 ได้มีการแก้ไขใหม่ โดยบัญญัติให้กรณีที่บิดามารดาได้จดทะเบียน สมรสกันในภายหลังนั้น ผลของการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่เด็กเกิด (ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551) ตามมาตรา 1547 และมาตรา 1557 ดังนั้นจากผลของ ป.พ.พ. ที่ได้มีการแก้ไขใหม่ ทําให้ ก. กลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) เพราะเกิด โดยบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มีสัญชาติไทย

สรุป

ก จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) และ (3)

 

ข้อ 2 นายสนธยาทําสัญญาซื้อวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งจากนายบุญมีคนสัญชาติลาว โดยสัญญาที่ว่านี้ทําที่ประเทศลาว และขณะทําสัญญาวัตถุโบราณนี้ก็อยู่ที่ประเทศลาว นายสนธยากับนายบุญมีกําหนดไว้ ในสัญญาชัดแจ้งว่าหากมีข้อพิพาทเรื่องผลของสัญญาให้ใช้กฎหมายไทยบังคับ กฎหมายขัดกัน แห่งกฎหมายของประเทศลาวกําหนดว่า สัญญาต้องทําถูกต้องตามแบบกฎหมายของประเทศที่ สัญญาทําขึ้น และกฎหมายแพ่งของประเทศลาวกําหนดให้การซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการซื้อขายรายนี้ทําเป็น หนังสือแต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายสนธยาไม่ยอมชําระราคาและไม่ยอมรับ มอบวัตถุโบราณ นายบุญมีจึงมาฟ้องต่อศาลไทยเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย นายสนธยายกข้อต่อสู้ ต่อศาลไทยว่าสัญญาเป็นโมฆะ เพราะมีได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตนจึงไม่ต้องรับผิดชอบ ในกรณีนี้ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ข้อต่อสู้ของนายสนธยาฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 9 วรรคแรก “นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นใด แห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้น ได้ทําขึ้น”

มาตรา 13 วรรคแรกและวรรคท้าย “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็น สาระสําคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยังทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่ง คู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น

สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผล แห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสนธยาทําสัญญาซื้อขายวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งจากนายบุญมี คนสัญชาติลาว และขณะทําสัญญาวัตถุโบราณนี้ก็อยู่ที่ประเทศลาว โดยนายสนธยากับนายบุญมีได้ตกลงกันไว้ว่า หากกรณีมีข้อพิพาทหรือปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย และสัญญาซื้อขาย ฉบับนี้ได้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ดังนี้ ถ้าพิจารณาตามมาตรา 9 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ที่ว่า ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตาม กฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้นได้ทําขึ้น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายของลาวได้ กําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น และตามกฎหมายภายในของลาว ก็กําหนดว่า การซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาซื้อขายวัตถุโบราณฉบับนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นสัญญาที่ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 วรรคท้าย ได้กําหนด ไว้ว่า สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลของสัญญาเมื่อ กรณีตามข้อเท็จจริง กฎหมายที่ใช้บังคับแก่ผลของสัญญาได้แก่ กฎหมายไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี ตามมาตรา 13 วรรคแรก และตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าการซื้อขายวัตถุโบราณ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น สัญญาซื้อขายวัตถุโบราณระหว่างนายสนธยา กับนายบุญมีจึงมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ ข้อต่อสู้ของนายสนธยาจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป

ข้อต่อสู้ของนายสนธยาฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 3 ตามที่เคยมีข่าวว่า เรือบรรทุกน้ำมันสัญชาติไทยซึ่งออกเดินทางจากประเทศสิงคโปร์กลับมายังประเทศไทย ถูกกลุ่มบุคคลจากเรืออีกลํายิ่งมีอาวุธบุกปล้น โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้จับตัวลูกเรือ ทั้งหมดขังไว้ในห้องเครื่องยนต์ และนําอุปกรณ์มาสูบถ่ายน้ำมันไปยังเรืออีกลําที่เตรียมไว้ โดยเหตุ ดังกล่าวเกิดนอกชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศมาเลเซีย ภายหลังลูกเรือทั้งหมดของเรือบรรทุกน้ำมันปลอดภัยและได้รับการปล่อยตัวแล้ว

ดังนี้ การกระทําของกลุ่มบุคคลดังกล่าวถือเป็นความผิด ตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 (Geneva Convention on High Sea 1958)

มาตรา 15 ได้ให้ความหมายของคําว่า “การโจรสลัด” ว่าต้องประกอบด้วยการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1 การกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็น การปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทํา

(ก) ในทะเลหลวง ต่อเรือหรืออากาศยานอีกลําหนึ่ง หรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือหรืออากาศยานเช่นว่านั้น

(ข) ต่อเรือ อากาศยาน บุคคลหรือทรัพย์สินในที่ที่อยู่ภายนอกอํานาจของรัฐใด

2 การกระทําใดอันเป็นการเข้าร่วมด้วยใจสมัครในการดําเนินการของเรือ

3 การกระทําอันเป็นการยุยงหรืออํานวยความสะดวกโดยเจตนาต่อการกระทําที่ได้ กล่าวไว้ในวรรคแรก หรืออนวรรคสอง ของมาตรานี้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่กลุ่มบุคคลจากเรืออีก ซึ่งมีอาวุธบุกปล้นเรือบรรทุกน้ำมัน สัญชาติไทย โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้จับตัวลูกเรือทั้งหมดขังไว้ในห้องเครื่องยนต์ และนําอุปกรณ์มาสูบถ่ายน้ํามัน ไปยังเรืออีกลําที่เตรียมไว้นั้น การกระทําดังกล่าวถือเป็นการกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็นการปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของ เรือเอกชนมุ่งกระทําในทะเลหลวง ต่อเรือหรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือ จึงถือว่าการกระทําดังกล่าว เป็น ความผิดฐานโจรสลัด ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 มาตรา 15

สรุป

การกระทําของกลุ่มบุคคลดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ฐานโจรสลัด

 

ข้อ 4 กฎหมายระหว่างประเทศในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และ พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 นั้น มีวัตถุที่ประสงค์เพื่ออะไร และตามกฎหมายดังกล่าวมีกรณีใดบ้างที่เป็นข้อยกเว้น “ห้าม” ส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ธงคําตอบ

คําว่า “ผู้ร้าย” หมายถึง บุคคลผู้กระทําผิดอาญา ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะผู้ต้องหาหรือจําเลย หรือผู้ซึ่งต้องคําพิพากษาให้ลงโทษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้กระทําผิดอาญาในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนีข้ามแดนไปอยู่ อีกประเทศหนึ่ง ประเทศที่ความผิดได้กระทําลงร้องขอให้ประเทศที่ผู้ร้ายหลบหนีไปอยู่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อ นํามาพิจารณาลงโทษ

ดังนั้น คําว่า “ส่งผู้ร้ายข้ามแดน” จึงหมายถึง การที่ประเทศซึ่งผู้ร้ายไปปรากฏตัวอยู่ ส่งมอบตัว ผู้ร้ายนั้นไปยังประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวนั่นเอง

สําหรับวัตถุประสงค์ของกฎหมายระหว่างประเทศในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและ พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 นั้น ได้แก่

1 พยายามให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดอาญาและ อาชญากรรมต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของประชาชนโลกทั้งปวง

2 เพื่อให้เป็นไปตามหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาที่ว่า ผู้กระทําผิดอาญาจะต้องได้รับโทษ เพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

3 เพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทําผิดอาศัยการหลบหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้ตนรอดพ้น จากการถูกลงโทษ

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อรัฐหนึ่งร้องขอแล้ว รัฐที่รับคําขอก็ควรจะส่งตัวให้ตามคําขอ อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลักทั่วไปดังกล่าว ก็ยังมีกรณีที่ถือเป็นข้อยกเว้นที่ห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน ได้แก่

1 ลักษณะของความผิด กล่าวคือ หากเป็นความผิดในลักษณะต่อไปนี้ กฎหมายระหว่าง ประเทศห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น เป็นความผิดทางการเมือง ความผิดต่อกฎหมายพิเศษ ความผิดต่อกฎหมาย การพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เพราะความผิดเหล่านี้มิได้ก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อันจะถือเป็นภัย ร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติแต่อย่างใด และยังมีหลักสากลกําหนดไว้อีกว่า หากเป็นความผิดเหล่านี้ห้ามส่งผู้ร้าย ข้ามแดน

2 ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําผิด มีอยู่ 4 ประการ

1) บุคคลที่ถูกสั่งให้ปล่อยตัวแล้ว กล่าวคือ ถ้าบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวนั้นถูกศาลใด ศาลหนึ่งพิจารณาในความผิดที่ขอให้ส่งตัวมาแล้ว และศาลได้พิพากษายกฟ้องปล่อยตัวไปแล้ว หรือศาลได้ พิพากษาลงโทษและผู้นั้นได้รับโทษแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน

2) มีโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว ถ้าความผิดที่ขอให้ส่งตัวนั้น เป็นความผิดที่มี โทษหนักคือโทษประหารชีวิตสถานเดียว กฎหมายระหว่างประเทศห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพราะถือหลัก มนุษยธรรมว่า รัฐไม่ควรยอมเป็นเครื่องมือช่วยรัฐอื่นโดยส่งคนที่เข้ามาอยู่ในรัฐตนไปให้รัฐอื่นประหารชีวิตเสีย

3) ความผิดที่ขัดกับหลักศีลธรรมของรัฐที่รับคําขออย่างร้ายแรง เช่น การค้าทาส เป็นต้น

4) บุคคลในคณะทูต ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ให้เอกสิทธิ์และความ คุ้มกันทางการทูต ในการที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาในประเทศที่ไปประจําอยู่

ส่วนเรื่อง สัญชาติของผู้กระทําผิด หากผู้กระทําผิดมีสัญชาติของประเทศผู้รับคําขอ โดย หลักแล้วรัฐมีสิทธิไม่ส่งคนสัญชาติตนไปให้รัฐอื่นพิจารณาลงโทษ แต่ไม่ใช่ห้ามส่งข้ามแดนเสียทีเดียว เพราะ อาจจะอยู่ในดุลพินิจหรือมีข้อยกเว้นตามสนธิสัญญา หรือในความผิดที่เป็นภัยร้ายแรง เป็นต้น

WordPress Ads
error: Content is protected !!