LAW4006กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2553

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 หนังสือของกระทรวงมหาดไทยที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่า “ผู้เกิด นอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่น และบิดามิได้สมรสกับมารดา ย่อมได้สัญชาติไทย” นั้น ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด ยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบ ให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

มาตรา 7 วรรคสอง “คําว่าบิดาตาม (1) ให้ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้ จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับหนังสือของกระทรวงมหาดไทยหรือไม่นั้น เห็นว่า การได้สัญชาติไทยดังกล่าวถือเป็นการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ถึงแม้ว่าการได้สัญชาติไทย โดยการเกิดตามหลักสายโลหิตทางบิดาตาม พ.ร.บ. สัญชาติ มาตรา 7(1) เดิมนั้น ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยมาตลอดว่า คําว่า “บิดา” หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะต้องเป็นบิดาที่สมรสกับมารดาหรือบิดาที่ได้จดทะเบียน ว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรแล้วก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสอง ที่ได้มีการแก้ไขใหม่นั้น ให้ความหมายของคําว่า “บิดา” ว่าให้หมายความรวมถึงบิดาตามความ เป็นจริงด้วย แม้จะต้องไปพิสูจน์ว่าเป็นบิดาที่แท้จริงก็ตาม

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นด้วยกับหนังสือของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคล ที่ว่า “ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่น และบิดามิได้สมรสกับมารดา ย่อมได้สัญชาติไทย”

สรุป

ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับหนังสือของกระทรวงมหาดไทยตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 นายสุนัย คนสัญชาติไทยทําสัญญาซื้อโต๊ะประดับมุกอันเป็นวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งจากนายฮอนด้าคนสัญชาติญี่ปุ่น และขณะทําสัญญาโต๊ะฯ ที่ว่านี้ก็อยู่ที่ญี่ปุ่น โดยนายสุนัยและนายฮอนด้าตกลงกัน ไว้ว่าหากกรณีมีข้อพิพาทหรือปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย กฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นกําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้น ทําขึ้นและกฎหมายภายในของญี่ปุ่นกําหนดว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ปรากฏว่าการซื้อขายตามสัญญาฉบับนี้คงทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายสุนัยผิดสัญญาไม่ยอมชําระราคา และรับมอบโต๊ะฯ ที่ว่านี้ นายฮอนด้าจึงฟ้องนายสุนัยต่อศาลไทยเรียกค่าเสียหายเพราะผิดสัญญา นายสุนัยต่อสู้ว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตนจึงไม่ผูกพันหรือ ต้องรับผิดตามสัญญา ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า หากท่านเป็นศาลไทย

ท่านควรพิจารณาว่าสัญญาซื้อขายฉบับนี้เป็นโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 9 วรรคแรก “นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมาย อื่นใดแห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้น ได้ทำขึ้น”

มาตรา 13 วรรคแรกและวรรคท้าย “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็น สาระสําคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่ง คู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น

สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผล แห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสุนัยคนสัญชาติไทยทําสัญญาซื้อโต๊ะประดับมุกอันเป็นวัตถุโบราณ ชิ้นหนึ่งจากนายฮอนด้าคนสัญชาติญี่ปุ่น และขณะทําสัญญาโต๊ะฯ ที่ว่านี้ก็อยู่ที่ญี่ปุ่น โดยนายสุนัยกับนายฮอนด้า เด้ตกลงกันไว้ว่า หากกรณีมีข้อพิพาทหรือปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย และ สัญญาซื้อขายฉบับนี้ได้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ดังนี้ ถ้าพิจารณาตามมาตรา 9 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ที่ว่า ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรม ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้นได้ทําขึ้น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ของญี่ปุ่นได้กําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น และตามกฎหมาย ภายในของญี่ปุ่นก็กําหนดว่า การซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น เป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาซื้อขายโต๊ะฯ ฉบับนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นสัญญาที่ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 วรรคท้าย ได้ กําหนดไว้ว่า สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลของ สัญญาเมื่อกรณีตามข้อเท็จจริง กฎหมายที่ใช้บังคับแก่ผลของสัญญาได้แก่ กฎหมายไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีตามมาตรา 13 วรรคแรก และตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าการซื้อขาย วัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น สัญญาซื้อขายโต๊ะฯ ระหว่างนายสุนัย กับนายฮอนด้าจึงมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ ข้อต่อสู้ของนายสุนัยจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นศาลไทย ข้าพเจ้าจะพิจารณาว่าสัญญาซื้อขายฉบับนี้มีผลสมบูรณ์ ไม่ตก เป็นโมฆะ

 

ข้อ 3 เครื่องบินสายการบินฝรั่งเศสขณะที่กําลังบินจากประเทศฝรั่งเศสมายังประเทศไทย นายราห์มานคนสัญชาติบังคลาเทศได้ใช้มีดปอกผลไม้จี้ผู้โดยสารที่นั่งติดกันบนเครื่องบิน โดยขู่ว่าหากกัปตัน ไม่นําเครื่องบินลงจอดที่ประเทศบังคลาเทศจะทําร้ายผู้โดยสารคนดังกล่าว อย่างไรก็ตามกัปตัน ได้นําเครื่องลงจอดที่ประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวนายราห์มานไว้ได้ ทั้งนี้ไม่มีได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด การกระทําของนายราห์มานผิดกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 มาตรา 1 ให้นิยาม ของคําว่า สลัดอากาศ หมายถึงบุคคลที่อยู่ในเครื่องบินลํานั้นกระทําการอันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัยของอากาศยาน โดยใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อจะยึดอากาศยาน หรือขัดขวางการควบคุมบังคับบัญชาของอากาศยาน ให้เปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทางการบินตามความต้องการของตน ทั้งนี้ รวมถึงการพยายามกระทําความผิด

ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทําของนายราห์มานถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่าง ประเทศฐานใดหรือไม่อย่างไรนั้น เห็นว่า การที่นายราห์มานซึ่งอยู่ในเครื่องบินลํานั้นใช้มีดปอกผลไม้จี้ผู้โดยสาร และขู่บังคับให้นักบินเปลี่ยนทิศทางการบิน โดยบังคับให้กัปตันนําเครื่องไปลงจอดที่ประเทศบังคลาเทศนั้น ถือว่า เป็นการกระทําการอันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัยของอากาศยาน โดยใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อจะยึด อากาศยานหรือขัดขวางการควบคุมบังคับบัญชาของอากาศยานเพื่อให้เปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทาง การบินตามที่ตนต้องการ ดังนั้น การกระทําของนายราห์มานจึงเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญากรุงเฮก ว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ คศ. 1970 มาตรา 1 แม้ว่านายราห์มานจะถูกจับตัวได้และไม่มี ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ตาม เพราะความผิดดังกล่าวรวมถึงการพยายามกระทําความผิดด้วย

สรุป

การกระทําของนายราห์มาน ถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญากรุงเฮก ว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 มาตรา 1

 

ข้อ 4 จงบอกข้ออ้างหรือเหตุผลที่รัฐสามารถยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ส่งคนสัญชาติของตนให้ตามคําร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาโดยครบถ้วนและถูกต้อง

ธงคําตอบ

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ การที่รัฐซึ่งบุคคลนั้นไปปรากฏตัวอยู่ส่งมอบตัวผู้ต้องหา หรือ ผู้ซึ่งต้องคําพิพากษาให้ลงโทษแล้วไปยังรัฐซึ่งผู้นั้นต้องหาว่าได้กระทําความผิดอาญา หรือถูกพิพากษาให้ลงโทษ ทางอาญาแล้ว ในดินแดนของรัฐที่ขอให้ส่งตัว

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อรัฐหนึ่งร้องขอแล้ว รัฐที่รับคําขอก็ควรจะส่งตัวให้ตามคําขอ อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลักทั่วไปดังกล่าว ก็ยังมีข้ออ้างหรือเหตุผลที่รัฐสามารถยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ส่งคนสัญชาติของตน ให้ตามคําร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ ซึ่งมีอยู่ 3 กรณีคือ

1 ลักษณะของความผิด กล่าวคือ หากเป็นความผิดในลักษณะต่อไปนี้ รัฐนั้นก็สามารถ ยกเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ส่งคนสัญชาติของตนได้ เช่น เป็นความผิดทางการเมือง ความผิดต่อกฎหมายพิเศษ ความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เพราะความผิดเหล่านี้มิได้ก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อันจะถือเป็นภัยร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติแต่อย่างใด และยังมีหลักสากลกําหนดไว้อีกว่า หากเป็นความผิดเหล่านี้ ห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน

2 สัญชาติของผู้กระทําผิด โดยใช้หลักที่ว่าคนสัญชาติของรัฐใด ก็ควรใช้กฎหมายของ รัฐนั้นลงโทษ ถ้ามีการส่งตัวไปให้รัฐอื่นลงโทษ ก็เท่ากับว่าเป็นการยอมลดหรือสละอํานาจอธิปไตยของรัฐผู้รับคําขอ

3 ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําผิด มีอยู่ 4 ประการ

1) บุคคลที่ถูกสั่งให้ปล่อยตัวแล้ว กล่าวคือ ถ้าบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวนั้นถูกศาลใด ศาลหนึ่งพิจารณาในความผิดที่ขอให้ส่งตัวมาแล้ว และศาลได้พิพากษายกฟ้องปล่อยตัวไปแล้ว หรือศาลได้พิพากษา ลงโทษและผู้นั้นได้รับโทษแล้ว รัฐผู้รับคําขอย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการส่งตัวได้

2) มีโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว ถ้าความผิดที่ขอให้ส่งตัวนั้น เป็นความผิดที่มี โทษหนักคือโทษประหารชีวิตสถานเดียว รัฐที่รับคําขอชอบที่จะปฏิเสธการส่งตัวนั้นได้ เพราะถือหลักมนุษยธรรมว่า รัฐไม่ควรยอมเป็นเครื่องมือช่วยรัฐอื่นโดยส่งคนที่เข้ามาอยู่ในรัฐตนไปให้รัฐอื่นประหารชีวิตเสีย

3) ความผิดที่ขัดกับหลักศีลธรรมของรัฐที่รับคําขออย่างร้ายแรง เช่น การค้าทาส รัฐที่รับคําขอย่อมปฏิเสธที่จะส่งตัวทาสไปให้รัฐที่มีคําขอได้

4) บุคคลในคณะทูต ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ให้เอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูต ในการที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาในประเทศที่ไปประจําอยู่

LAW2002 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2002 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จันทร์กู้เงินอังคารไปหนึ่งแสนบาท กําหนดชําระคืนให้ในวันที่ 20 มกราคม 2562 ครั้นถึงวันที่ 10 มกราคม 2562 อังคารได้แจ้งไปยังจันทร์ว่ากําหนดชําระหนี้ในวันที่ 20 มกราคม 2562 นั้น อังคาร ไม่สามารถรับชําระหนี้ได้ เพราะไม่อยู่จะไปต่างประเทศ ปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่ 20 มกราคม 2562 อังคารไม่อยู่บ้านจริง ๆ เพราะไปต่างประเทศ แต่จันทร์เองก็ไม่ได้ไปขอปฏิบัติการชําระหนี้ให้แก่อังคารแต่ประการใด ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ใครตกเป็นผู้ผิดนัด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 204 “ถ้าหนี้ถึงกําหนดชําระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คําเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชําระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว

ถ้าได้กําหนดเวลาชําระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชําระหนี้ตามกําหนดไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน การชําระหนี้ ซึ่งได้กําหนดเวลาลงไว้อาจคํานวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว”

มาตรา 207 “ถ้าลูกหนี้ อปฏิบัติการชําระหนี้ และเจ้าหนี้ไม่รับชําระหนี้นั้นโดยปราศจากมูลเหตุ อันจะอ้างกฎหมายได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด”

มาตรา 208 วรรคสอง “แต่ถ้าเจ้าหนี้ได้แสดงแก่ลูกหนี้ว่า จะไม่รับชําระหนี้ดี หรือเพื่อที่จะชําระหนี้จําเป็นที่เจ้าหนี้จะต้องกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ดี ลูกหนี้จะบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ว่า ได้เตรียมการ ที่จะชําระหนี้ไว้พร้อมเสร็จแล้ว ให้เจ้าหนี้รับชําระหนี้นั้น เท่านี้ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ในกรณีเช่นนี้ ท่านว่า คําบอกกล่าวของลูกหนี้นั้นก็เสมอกับคําขอปฏิบัติการชําระหนี้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จันทร์กู้เงินอังคารไปหนึ่งแสนบาท กําหนดชําระคืนให้ในวันที่ 20 มกราคม 2562 ครั้นถึงวันที่ 10 มกราคม 2562 อังคารได้แจ้งไปยังจันทร์ลูกหนี้ว่ากําหนดชําระหนี้ในวันที่ 20 มกราคม 2562 นั้น อังคารไม่สามารถรับชําระหนี้ได้เพราะไม่อยู่จะไปต่างประเทศ กรณีเช่นนี้หากถึงวันที่ 20 มกราคม 2562 จันทร์ได้ขอปฏิบัติการชําระหนี้แต่อังคารไม่รับชําระหนี้เพราะไปต่างประเทศ ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ ไม่รับชําระหนี้โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ อังคารเจ้าหนี้ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่ 20 มกราคม 2562 อังคารไม่อยู่บ้านจริง ๆ เพราะไปต่างประเทศ แต่จันทร์เองก็ไม่ได้ไปขอปฏิบัติการชําระหนี้ให้แก่อังคารแต่ประการใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย หลักเกณฑ์ตามมาตรา 207 ดังนั้น จะถือว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ได้

และเมื่อหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าว เป็นหนี้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และเมื่อถึงกําหนด คือวันที่ 20 มกราคม 2562 จันทร์ลูกหนี้มิได้ขอปฏิบัติการชําระหนี้ กรณีนี้จึงถือว่าจันทร์ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด ตามมาตรา 204 วรรคสอง

สรุป จากข้อเท็จจริงดังกล่าวถือว่าจันทร์ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด

 

 

ข้อ 2.พุธเช่าบ้านของพฤหัส ต่อมาปรากฏว่าศุกร์ละเมิดจุดไฟเผาบ้านหลังดังกล่าว ไฟไหม้บ้านหมดทั้งหลัง บานหลังนี้มีราคาหนึ่งล้านบาท พุธจึงได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งหมดคือราคาบ้าน ให้แก่ พฤหัสไปเป็นเงินหนึ่งล้านบาท ซึ่งพฤหัสก็รับไว้นี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า พุธจะเรียกร้องให้ศุกร์ผู้ทําละเมิดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหายจํานวนหนึ่งล้านบาทนั้นให้แก่ตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 226 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้ มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง”

มาตรา 227 “เมื่อเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเต็มตามราคาทรัพย์หรือสิทธิ ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นแล้ว ท่านว่าลูกหย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ อันเกี่ยวกับทรัพย์หรือสิทธิ นั้น ๆ ด้วยอํานาจกฎหมาย”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย การรับช่วงสิทธิ คือ การที่สิทธิเรียกร้องเปลี่ยนมือจากเจ้าหนี้คนเดิมไปยังเจ้าหนี้คนใหม่ โดยผลของกฎหมาย ทําให้เจ้าหนี้คนใหม่เข้ามามีสิทธิแทนเจ้าหนี้คนเดิม ซึ่งตามมาตรา 227 ได้วางหลักเกณฑ์ของ การรับช่วงสิทธิไว้ดังนี้

1 ผู้ที่จะเข้ารับช่วงสิทธิมีได้เฉพาะลูกหนี้เท่านั้น

2 ต้องมีหนี้ที่มีลูกหนี้จะต้องชําระก่อน

3 ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้มีการชําระหนี้กัน สงผลให้มีการเข้ารับช่วงสิทธิกัน

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พุธเช่าบ้านของพฤหัส ต่อมาปรากฏว่าศุกร์ได้ละเมิดจุดไฟเผาบ้าน หลังดังกล่าว ทําให้ไฟไหม้บ้านหมดทั้งหลังโดยบ้านหลังนี้มีราคา 1 ล้านบาทนั้น ถือว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ พฤหัสโดยการกระทําของศุกร์ และความเสียหายดังกล่าวพุธซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าธรรมดาไม่มีหน้าที่ใด ๆ ที่จะต้อง รับผิดชอบในความเสียหายต่อพฤหัสผู้ให้เช่า ดังนั้น พุธจึงมิใช่ลูกหนี้ตามนัยของมาตรา 227 การที่พุธได้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งหมดคือราคาบ้านให้แก่พฤหัสไปเป็นเงิน 1 ล้านบาท จึงไม่ก่อให้เกิด การรับช่วงสิทธิใด ๆ เพราะกรณีไม่ต้องบทบัญญัติมาตรา 227 พุธจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ศุกร์ผู้ทําละเมิดรับผิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจํานวน 1 ล้านบาทให้แก่ตนได้

สรุป พุธจะเรียกร้องให้ศุกร์ผู้ทําละเมิดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจํานวน 1 ล้านบาทให้แก่ตนไม่ได้

 

 

ข้อ 3. จันทร์ (ผู้จะซื้อ) ตกลงทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหนึ่งแปลงกับอังคาร (ผู้จะขาย) ในราคาหนึ่งล้านบาทเพื่อใช้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัย หลังทําสัญญาเสร็จปรากฏว่าอังคารกลับเอาที่ดิน แปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่พุธเสียในราคาสองล้านบาท โดยพุธรู้อยู่แล้วว่าอังคาร ได้ทําสัญญาจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวไว้แก่จันทร์ ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอังคารมีทรัพย์อื่นอีกมากมาย ประมาณห้าล้านบาทและพร้อมที่จะยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จันทร์ถ้าจันทร์เรียกร้องมา ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าจันทร์สามารถใช้มาตรการในการควบคุมกองทรัพย์สินของอังคารในเรื่องใด ได้บ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 237 “เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทําลง ทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทํานิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หาก กรณีเป็นการทําให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิใน ทรัพย์สิน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จันทร์ (ผู้จะซื้อ) ตกลงทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหนึ่งแปลงกับอังคาร (ผู้จะขาย) ในราคาหนึ่งล้านบาทเพื่อใช้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัย และหลังทําสัญญาเสร็จปรากฏว่าอังคารกลับเอา ที่ดินแปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่พุธในราคาสองล้านบาท โดยพุธก็รู้อยู่แล้วว่าอังคารได้ทําสัญญา จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวไว้แก่จันทร์นั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจันทร์และอังคารเป็นสัญญา จะซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ซึ่งถือเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง และการที่อังคารลูกหนี้ ได้โอนทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นไปทําให้จันทร์เจ้าหนี้ไม่อาจรับโอนทรัพย์นั้นได้ ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่ทําให้ เจ้าหนี้เสียเปรียบแล้ว แม้จะปรากฏว่าอังคารจะมีทรัพย์อื่นอีกมากมายประมาณห้าล้านบาทและพร้อมที่จะยอม ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จันทร์เจ้าหนี้ได้ก็ตาม จันทร์เจ้าหนี้ก็สามารถที่จะใช้มาตรการในการควบคุมกองทรัพย์สิน ของอังคารลูกหนี้โดยการฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างอังคารกับพุธตามมาตรา 237 ได้

สรุป

จันทร์สามารถใช้มาตรการในการควบคุมกองทรัพย์สินของอังคารในเรื่องการเพิกถอน การฉ้อฉลตามมาตรา 237 ได้ โดยการห้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างอังคารกับพุธ

 

 

ข้อ 4. นายเอกตกลงว่าจ้างนายโทและนางสาวตรีนักเต้นลีลาศมาแสดงการเต้นลีลาศคู่ (ชาย-หญิง) ในงานวันเกิดของนายเอกในวันที่ 10 เมษายน 2562 ปรากฏว่าในวันที่ 5 มกราคม 2562 เกิดอุบัติเหตุ ไฟไหม้อาคารที่นายโทพาอาศัยอยู่และนายโทถูกไฟไหม้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนตาบอดทั้งสองข้าง เป็นเหตุให้นายโทไม่สามารถแสดงการเต้นลีลาศได้อีกต่อไป เมื่อถึงกําหนดนัดการแสดงนายโท และนางสาวตรีจึงไม่ได้มาทําการแสดงตามสัญญาว่าจ้าง ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายโทและนางสาวตรีต้องรับผิดต่อนายเอกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 219 “ถ้าการชําระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดวันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชําระหนี้นั้น

ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถชําระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่า เป็นพฤติการณ์ที่ทําให้การชําระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น”

มาตรา 295 “ข้อความ จริงอื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 292 ถึง 294 นั้น เมื่อเป็นเรื่อง ท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับ สภาพแห่งหนี้นั้นเอง

ความที่ว่ามานี้ เมื่อจะกล่าวโดยเฉพาะก็คือว่าให้ใช้แก่การให้คําบอกกล่าวการผิดนัด การที่หยิบยก อ้างความผิด การชําระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่ง กําหนดอายุความหรือการที่อายุความ สะดุดหยุดลง และการที่สิทธิเรียกร้องเกลือนกลืนกันไปกับหนี้สิน

มาตรา 301 “ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชําระมิได้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิด เช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกตกลงจ้างนายโทและนางสาวตรีนักเต้นลีลาศมาแสดงการเต้น ลีลาศคู่ (ชาย-หญิง) เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งชําระมิได้โดยวัตถุประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญา เนื่องจากเป็นหนี้กระทําการตามสัญญาที่ต้องทําเป็นคู่ ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 301 ได้วางหลักให้บุคคลเหล่านั้น ต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน ดังนั้น นายโทและนางสาวตรีจึงอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมของนายเอก

ต่อมาการที่นายโทถูกไฟไหม้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนตาบอดทั้งสองข้างเป็นเหตุให้นายโทไม่สามารถ แสดงการเต้นลีลาศได้อีกต่อไปนั้น เป็นารณีที่ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถชําระหนี้ได้ภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้น ซึ่งตามมาตรา 219 วรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทําให้การชําระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยอันส่งผลให้ลูกหนี้ หลุดพ้นจากการชําระหนี้ ดังนั้น นายโท จึงไม่ต้องรับผิดต่อนายเอกตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง

และแม้ว่าการชําระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้น จะเป็นเหตุส่วนตัว กล่าวคือ เป็นข้อความจริงที่ท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ตามนัย มาตรา 295 วรรคสองก็ตาม แต่เมื่อหนี้นายโทและนางสาวตรีต้องชําระแก่นายเอก เป็นหนี้อันจะแบ่งชําระมิได้ จึงเป็นกรณีที่ขัดกับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง ส่งผลให้เหตุส่วนตัวที่เกิดขึ้นกับนายโทส่งผลไปยังนางสาวตรีลูกหนี้ร่วม อีกคนหนึ่งด้วย นางสาวตรีจึงสามารถอ้างเหตุที่การชําระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยที่เกิดขึ้นกับนายโทเพื่อให้ตนเอง หลุดพ้นจากความรับผิดตอนายเอกได้เช่นเดียวกัน ตามนัยมาตรา 295 วรรคหนึ่ง

สรุป

จากเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้น นายโทและนางสาวตรีจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดต่อนายเอก

LAW3016 กฎหมายปกครอง S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. อํานาจบังคับบัญชาและอํานาจกํากับดูแลมีสาระสําคัญและความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

อํานาจบังคับบัญชา คือ อํานาจที่หัวหน้าหน่วยงานใช้ปกครองผู้ใช้บังคับบัญชา เช่น การที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อํานาจบังคับบัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในราชการส่วนภูมิภาค เช่น นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น อํานาจบังคับบัญชาเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใด ๆ ก็ได้ตามที่ตนเห็นว่า เหมาะสม สามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอนคําสั่ง หรือการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ เว้นแต่จะมี กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ อํานาจบังคับบัญชาแม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาก็สามารถ ใช้อํานาจตามหลักกฎหมายทั่วไป

อํานาจกํากับดูแล ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจกํากับดูแลกับองค์กรที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล จึงเป็นอํานาจ ที่มีเงื่อนไข คือจะใช้ได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกําหนด เพื่อเป็น หลักประกันความเป็นอิสระขององค์กรภายใต้การกํากับดูแล

และในการกํากับดูแลนั้น องค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจกํากับดูแลไม่มีอํานาจสั่งการให้องค์กร ภายใต้การกํากับดูแลปฏิบัติการตามที่ตนเห็นสมควร องค์กรภายใต้การกํากับดูแลมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย องค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจกํากับดูแลจึงเพียงแต่กํากับดูแลให้องค์กรภายใต้การกํากับดูแลปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง ตามกฎหมายเท่านั้น

ซึ่งอํานาจบังคับบัญชามีความแตกต่างจากอํานาจกํากับดูแลตรงที่ว่า อํานาจบังคับบัญชาเป็น อํานาจตามหลักกฎหมายทั่วไปซึ่งเป็นอํานาจไม่มีเงื่อนไข โดยผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมได้ทั้งความชอบด้วย กฎหมายและดุลพินิจของผู้ใต้บังคับบัญชา ส่วนอํานาจกํากับดูแลเป็นอํานาจที่มีเงื่อนไข กล่าวคือต้องมีกฎหมาย บัญญัติอย่างชัดเจนว่าองค์กรกํากับมีอํานาจกํากับดูแลองค์กรที่อยู่ภายใต้กํากับเหนือการกระทําและตัวบุคคลใด ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรที่อยู่ภายใต้กํากับดูแลปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมดุลพินิจได้

 

ข้อ 2. จงอธิบายความหมายและความแตกต่างของการกระทําทางปกครองประเภท “กฎ” กับ “คําสั่งทางปกครอง” มาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

“การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอัน ที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลไม่ว่าจะเป็น การถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

ส่วน “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ

สําหรับ “กฎ” นั้น จะมีลักษณะที่สําคัญ 2 ประการ คือ

1 บุคคลที่อยู่ภายใต้กฎจะถูกนิยามไว้เป็นประเภท และไม่สามารถที่จะทราบจํานวนที่แน่นอนได้

2 บุคคลที่ถูกนิยามไว้ภายใต้กฎนั้น กฎจะกําหนดให้บุคคลนั้นกระทําการ หรือห้ามมิให้กระทําการ หรือได้รับอนุญาตให้กระทําการ หรือมีสิทธิที่จะกระทําซ้ำ ๆ ทําให้กฏมีผลบังคับกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน หรือในอนาคตที่ไม่แน่นอน

จากความหมายและลักษณะที่สําคัญของ “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” จะมีลักษณะที่เหมือนกัน คือต่างก็เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย ของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือ มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล แต่มีข้อแตกต่างกันดังนี้ คือ

1 กฎนั้นจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ ส่วนคําสั่งทางปกครองจะมีผลบังคับโดยเฉพาะเจาะจงตัวบุคคล หรือข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่อง

2 คําสั่งทางปกครองจะมีลักษณะเป็นคําสั่งบังคับฝ่ายเดียวที่เจ้าหน้าที่อาจออกคําสั่งโดยวาจา หรือเป็นหนังสือก็ได้ ส่วนกฎนั้นเป็นกฎหมายลําดับรองที่มีกระบวนการบัญญัติซับซ้อนคล้ายกับกระบวนการ ออกกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การตราพระราชกฤษฎีกา การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่ง โดยสภาพแล้วไม่อาจออกกฏด้วยวาจาได้เลย

3 ในกรณีที่จะนําข้อพิพาทเกี่ยวกับการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองนั้น ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองจะต้องได้ดําเนินการแก้ไขความเดือดร้อนก่อนที่จะ นําคดีไปฟ้องศาลปกครอง เช่น ต้องมีการอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้นก่อนหรือมีการร้องทุกข์ก่อน ส่วนกฎนั้น สามารถนําคดีไปฟ้องศาลปกครองได้เลย เนื่องจากการฟ้องศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนกฏนั้น ไม่มีกฎหมาย กําหนดขั้นตอนและวิธีการในการแก้ไขความเดือดร้อนไว้แต่อย่างใด

 

ข้อ 3. นายแดงเป็นคู่กรณีที่ได้รับผลกระทบสิทธิจากคําสั่งทางปกครอง ดังนี้ เจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจพิจารณาทางปกครองต้องดําเนินการอย่างไรบ้างต่อนายแดง มีหลักและข้อยกเว้นอย่างไร จงอธิบายตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ธงคําตอบ

การที่นายแดงเป็นคู่กรณีได้รับผลกระทบสิทธิจากคําสั่งทางปกครอง โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่มี อํานาจพิจารณาทางปกครองจะต้องให้นายแดงซึ่งเป็นคู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และ ต้องให้นายแดงคู่กรณีได้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งได้บัญญัติว่า

“ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะ ได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน”

แต่อย่างไรก็ตาม หลักดังกล่าวมีข้อยกเว้นว่า เจ้าหน้าที่อาจเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ หากเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง (เป็นข้อยกเว้นที่ไม่เด็ดขาด) ได้แก่

(1) เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ

(2) เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฏกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้อง ล่าช้าออกไป

(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคําขอ คําให้การ หรือคําแถลง

(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทําได้

(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง

(6) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

และถ้าหากเข้าข้อยกเว้นตามวรรคสาม กล่าวคือ ถ้าการให้โอกาสแก่คู่กรณีที่จะได้ทราบข้อเท็จจริง อย่างเพียงพอและให้คู่กรณีได้มีโอกาส โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนตามวรรคหนึ่งนั้น จะก่อให้เกิด ผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ ดังนี้ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสดังกล่าวแก่คู่กรณี (ซึ่งเป็น ข้อยกเว้นเด็ดขาด)

 

ข้อ 4. ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 วางหลักไว้ว่า เมื่อเจ้าพนักงานจราจรใช้เครื่องบังคับล้อรถยนต์ว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ปรากฏว่า นายหนึ่งจอดรถยนต์ในที่ห้ามจอดและจอดกีดขวางทางจราจร เจ้าพนักงานจราจรจึงใช้เครื่องบังคับล้อ รถยนต์ของนายหนึ่งและได้ออกใบสั่งให้นายหนึ่งไปชําระค่าปรับ ดังนี้ การใช้เครื่องบังคับล้อรถยนต์ ก็ดี ใบสั่งก็ดี เป็นการกระทําทางปกครองใดบ้าง จงอธิบาย

ธงคําตอบ

“การกระทําทางปกครอง” หมายถึง การกระทําขององค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง หรือผลิตผลของการใช้อํานาจรัฐตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเสมอพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกําหนด เป็นต้น

การกระทําทางปกครอง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1 “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ

2 “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

3 “การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น” ได้แก่ การกระทําทางปกครองทั้งหลายที่ไม่ใช่ การออกกฎ หรือการออกคําสั่งทางปกครอง ซึ่งมักจะเรียกกันว่า “ปฏิบัติการทางปกครอง”

4 “สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้ จัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

กรณีตามปัญหา การที่นายหนึ่งได้จอดรถยนต์ในที่ห้ามจอดและจอดกีดขวางทางจราจร เจ้าพนักงาน จราจรจึงใช้เครื่องบังคับล้อรถยนต์ของนายหนึ่งและได้ออกใบสั่งให้นายหนึ่งไปชําระค่าปรับนั้น

กรณีการใช้เครื่องบังคับล้อรถยนต์ แม้จะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การกระทําดังกล่าวเป็นการกระทําที่ไม่ได้เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล จึงไม่ใช่การกระทําทาง ปกครองในลักษณะที่เป็นกฎหรือคําสั่งทางปกครอง แต่เป็นการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่นที่เรียกกันว่า ปฏิบัติการทางปกครอง

ส่วนกรณีของใบสั่งนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําทางปกครองประเภทคําสั่งทางปกครอง เพราะไม่ได้ เป็นการใช้อํานาจทางปกครองหรือกิจการทางปกครองแต่อย่างใด และไม่ใช่การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น แต่เป็นการใช้อํานาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

สรุป

การใช้เครื่องบังคับล้อรถยนต์ เป็นการกระทําทางปกครองประเภทปฏิบัติการทางปกครอง ส่วนใบสั่งไม่ถือว่าเป็นการกระทําทางปกครองประเภทใด ๆ

 

LAW4002 การว่าความ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4002 การว่าความและการจัดทําเอกสารทางกฎหมาย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 นายปฐม อัศวรุ่งเรืองพาณิชย์ คนดังแห่งชุมแสงได้นําพระเครื่องสมเด็จ ซึ่งเป็นมรดกหายากจากนางย้อยมารดาราคา 10,000,000 บาทให้กับนายอาทิตย์ ท่าพระจันทร์ เช่า (ขาย) เซียนพระ ชื่อดังที่มาพบที่บ้าน โดยทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คือวันที่ 15 มกราคม 2562 และ 31 มกราคม 2562 งวดละ 5,000,000 บาท และส่งมอบพระเครื่องดังกล่าวให้กับนายอาทิตย์ในวันทําสัญญาทันที

เมื่อการซื้อขายพระรู้ถึงหูชาวบ้านเป็นข่าวดังว่านายปฐมได้รับเงินเป็นล้าน ๆ จากการให้เช่า (ขาย) – พระเครื่อง นางสาวชะม้อย ชัยศรี ทราบข่าว ในวันที่ 20 มกราคม 2562 เวลา 15.00 นาฬิกา นางสาวชะม้อย ได้นําเอา น.ส. 3 ก. ของนางพิไล ใจงาม และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของนางพิไลที่เลอะเลือนมองเห็น ไม่ชัดเจนมาแสดงต่อนายปฐมเพื่อทําสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 500,000 บาท ทําให้นายปฐมหลงเชื่อว่าเป็น น.ส.3 ก. และสําเนาบัตรประชาชนของนางพิไลญาติห่าง ๆ ที่ตําบลคะมัง จริง จึงได้ให้เงินยืมไปโดยทําสัญญากู้ ที่บ้านเลขที่ 8 ถนนชุมแสง ตําบลชุมแสง อําเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2562 อันเป็น วันครบกําหนดชําระค่าพระเครื่องงวดสุดท้าย แต่นายอาทิตย์เงียบหายไปติดต่อไม่ได้ นายปฐมจึงได้มาพบท่าน เพื่อให้ดําเนินคดีแพ่งกับนายอาทิตย์ทันที ท่านจึงได้ส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังนายอาทิตย์เรียกให้ชําระราคา พระเครื่องที่เหลือ โดยให้เวลา 15 วัน แต่นายอาทิตย์ก็เพิกเฉย นายปฐมจึงให้ท่านฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าพระเครื่อง ที่เหลือทันที และวันที่ 1 มีนาคม 2562 นางพิไลได้มาเยี่ยมนายปฐมที่บ้าน นายปฐมตกใจเป็นอันมากเพราะนางพิไล คนที่มากู้ยืมเงินเป็นคนละคนกับนางพิมลญาติตนคนนี้ จึงทราบชัดเจนว่าตนถูกหลอกลวงโดยนางสาวชะม้อย ที่แสดงตนเป็นนางพิไล และไปแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตํารวจภูธรอําเภอชุมแสงในข้อหาฉ้อโกงทันที แต่ต้องการ ให้ท่านดําเนินการฟ้องคดีอาญาให้กับตน ท่านจึงทําการฟ้องคดีอาญาอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และมาตรา 342 ทันที

หมายเหตุ

ประมวลกฎหมายอาญา มาเดรา 341 “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษ”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 “ถ้าในการกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทํา (1) แสดงตน เป็นคนอื่น ผู้กระทําต้องระวางโทษ…”

ดังนี้ ให้ท่านร่างเอกสารทางกฎหมายดังต่อไปนี้

1 ในฐานะทนายความและตัวแทนผู้รับมอบอํานาจให้ท่านร่างหนังสือบอกกล่าวทวงถาม นายอาทิตย์ตามข้อมูลข้างต้น

2 ในฐานะทนายความและตัวแทนผู้รับมอบอํานาจให้ท่านร่างคําฟ้องและคําขอท้ายฟ้องคดีแพ่ง โดยไม่คํานึงถึงแบบพิมพ์ศาล

3 ในฐานะทนายความให้ท่านร่างคําฟ้องคดีอาญาให้กับนายปฐมโดยไม่คํานึงถึงแบบพิมพ์ศาล

 

ธงคําตอบ

1 หนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ทําที่สํานักงานกฎหมาย……………………….

เลขที่………………

วันที่ 13 พฤษภาคม 2562

เรื่อง ขอให้ชําระหนี้

เรียน นายอาทิตย์ ท่าพระจันทร์ ผู้ซื้อ (ผู้เช่าพระ)

ตามที่ท่านได้ทําสัญญาการเช่าพระเครื่องสมเด็จ (ซื้อขาย) จากนายปฐม อัศวรุ่งเรืองพาณิชย์ ผู้ขาย (ผู้ให้เช่าพระ) ในราคา 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) โดยมีการตกลงแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คือวันที่ 15 มกราคม 2562 และวันที่ 31 มกราคม 2562 งวดละ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) และได้มีการส่งมอบ พระเครื่องดังกล่าวให้กับท่านแล้วในวันทําสัญญา ตามสัญญาฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2562 นั้น

แต่เมื่อถึงวันที่ 31 มกราคม 2562 อันเป็นวันครบกําหนดชําระค่าพระเครื่องงวดสุดท้าย ปรากฏว่า ท่านไม่ชําระเงินอีก 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) ตามที่ตกลงกันไว้

โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอํานาจจากนายปฐม อัศวรุ่งเรืองพาณิชย์ ผู้ขาย (ผู้ให้เช่าพระ) จึงขอบอกกล่าวมายังท่าน ขอให้ท่านนําเงินจํานวนดังกล่าวมาชําระแก่นายปฐม อัศวรุ่งเรืองพาณิชย์ ผู้ขาย (ผู้ให้เช่าพระ) หรือข้าพเจ้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ หากท่านไม่ดําเนินการดังกล่าว ข้างต้น ข้าพเจ้าจําเป็นต้องดําเนินการทางคดีกับท่านต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

ลงชื่อ……………………

(……..ชื่อนักศึกษา……….)

ทนายความผู้รับมอบอํานาจ

 

ธงคําตอบ

2 คําฟ้องคดีแพ่งและคําขอท้ายฟ้อง

 

ข้อ 1 โจทก์ในคดีนี้ได้มอบอํานาจให้……….(ชื่อนักศึกษา)…….. เป็นผู้ฟ้องและดําเนินคดีแทนโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอํานาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1

ข้อ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 โจทก์ได้นําพระเครื่องสมเด็จราคา 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) ให้กับจําเลยเซียนพระชื่อดังที่มาพบที่บ้านเช่า (ขาย) โดยทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งจ่าย เป็น 2 งวด คือวันที่ 15 มกราคม 2562 และวันที่ 31 มกราคม 2562 งวดละ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) และโจทก์ได้ส่งมอบพระเครื่องดังกล่าวให้กับจําเลยในวันทําสัญญาทันที รายละเอียดปรากฏตามสัญญาเช่าพระ (ซื้อขาย) ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2562 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2

ข้อ 3 ครั้นเมื่อถึงวันที่ 21 มกราคม 2562 อันเป็นวันครบกําหนดชําระค่าพระเครื่องงวดสุดท้าย อีก 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) แต่จําเลยเงียบหายไปติดต่อไม่ได้

ข้อ 4 ทนายความได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับไปยังจําเลย เรียกให้จําเลยชําระราคาพระเครื่องที่เหลือภายใน 15 วัน แต่จําเลยกลับเพิกเฉย รายละเอียดปรากฏตามสําเนา หนังสือบอกกล่าวทวงถามและไปรษณีย์ตอบรับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 และ 4

โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะจกลงกับจําเลยได้จึงขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง ขอให้ศาลบังคับจําเลยชําระ ค่าพระเครื่องที่เหลือทั้งหมดจํานวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) แก่โจทก์

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

 

คําขอท้ายฟ้อง

1 ขอให้จําเลยชําระค่าพระเครื่องที่เหลือทั้งหมดจํานวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) แก่โจทก์

2 ขอให้จําเลยชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้าน บาทถ้วน) นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจําเลยจะชําระแกโจทก์เสร็จสิ้น

3 ขอให้จําเลยชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ธงคําตอบ

3 คําฟ้องคดีอาญา

 

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562 เวลากลางวัน จําเลยโดยทุจริตได้แสดงตนเป็นนางพิไล ใจงาม โดยนําเอา น.ส. 3 ก. และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนที่เลอะเลือนมองเห็นไม่ชัดมาแสดงต่อโจทก์ เพื่อทํา สัญญากู้ยืมเงินโจทก์จํานวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ทําให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็น น.ส. 3 ก. และสําเนา บัตรประชาชนของนางพิไล ใจงาม ญาติห่าง ๆ จริง ซึ่งถือเป็นความเท็จ โจทก์จึงได้ให้เงินจํานวนดังกล่าวแก่จําเลย ยืมไป รายละเอียดปรากฏตามสัญญากู้ฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2562 ท้ายฟ้อง

เหตุเกิดที่ ตําบลชุมแสง อําเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ข้อ 2 การกระทําของจําเลยทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายดังกล่าวมาแล้วตามความข้างต้น โจทก็ไม่มีทางอื่นใดจะบังคับเอากับจําเลยได้ จึงต้องนําคดีมาสู่ศาล ขอศาลโปรดออกหมายเรียกจําเลยมาไต่สวน มูลฟ้อง เพื่อพิจารณาพิพากษาลงโทษจําเลยต่อไป

อนึ่ง ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวนแล้ว แต่เพื่อต้องการให้คดี เสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว จึงนําคดีนี้มาฟ้องด้วยตนเอง

LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเจริญ (นายจ้าง) ได้ทําสัญญาจ้างนายสาครเป็นลูกจ้างดูแลด้านสถานที่ และนางสาวเดือนเป็นลูกจ้างดูแลด้านการเงินตั้งแต่เดือนมกราคม โดยตกลงจ่ายสินจ้างเดือนละ 15,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือน และให้วางหลักประกันความเสียหายในการทํางานเป็นจํานวนเงินคนละ 40,000 บาท ในสัญญามีข้อตกลงว่า “นายจ้างจะคืนเงินประกันความเสียหายในวันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้าง ลาออกครึ่งหนึ่งและในวันสิ้นเดือนถัดไปอีกครั้งหนึ่ง” จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ท่านเห็นว่าอย่างไร ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 9 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตามมาตรา 10 วรรคสอง ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี

ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อ พ้นกําหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกํา หนดคืนหรือจ่าย ให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของ เงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน การทํางานหรือหลักประกันความเสียหายในการทํางาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่น หรือการค้ําประกันด้วยบุคคล จากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทํานั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของ นายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกัน จากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จํานวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทําสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหาย ที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทํา เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสั้นอายุ ให้นายจ้างคืนหลักประกัน พร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเล็กจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่ สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี”

ตามประมวลกฎหมายแทงและพาณิชย์

มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเจริญ (นายจ้าง) ได้ทําสัญญาจ้างนายสาครเป็นลูกจ้างดูแลสถานที่ และนางสาวเดือนเป็นลูกจ้างดูแลด้านการเงินตั้งแต่เดือนมกราคม โดยตกลงจายสินจ้างเดือนละ 15,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือน และให้วางหลักประกันความเสียหายในการทํางานเป็นจํานวนเงินคนละ 40,000 บาท และ ในสัญญามีข้อตกลงว่า “นายจ้างจะคืนเงินประกันความเสียหายในวันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออกครึ่งหนึ่ง และในวันสิ้นเดือนถัดไปอีกครึ่งหนึ่ง” นั้น ถูกต้องหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายสาคร การที่นายเจริญทําสัญญาจ้างนายสาครเป็นลูกจ้างดูแลสถานที่นั้น ถือว่า ไม่ใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ทํานั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของ นายจ้างซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ (ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง) นายเจริญจึงไม่สามารถเรียกให้ นายสาครวางเงินประกันความเสียหายในการทํางานได้ ดังนั้น การที่นายเจริญเรียกให้นายสาครวางเงินประกัน ความเสียหายในการทํางานเป็นจํานวนเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง

กรณีของนางสาวเดือน การที่นายเจริญได้ทําสัญญาจ้างนางสาวเดือนเป็นลูกจ้างดูแลด้านการเงิน ซึ่งงานที่นายเจริญให้นางสาวเดือนทํานั้น ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทํานั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ดังนั้น นายเจริญเรียกให้นางสาวเดือน วางเงินประกันความเสียหายในการทํางานได้ (ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง) แต่นายเจริญสามารถเรียกได้เพียงตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศกระทรวง คือเรียกได้ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างโดยเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งเท่ากับ 30,000 บาทเท่านั้น ( 5,000 x 60) ดังนั้น การที่นายเจริญเรียกให้นางสาวเดือนวางเงินประกันความเสียหาย ในการทํางานเป็นจํานวนเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง

และการที่ในสัญญามีข้อตกลงว่า นายจ้างจะคืนเงินประกันความเสียหายในวันที่นายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกครึ่งหนึ่งและในวันสิ้นเดือนถัดไปอีกครั้งหนึ่งนั้นก็ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เพราะเป็นข้อตกลงที่ ขัดกับมาตรา 10 วรรคสอง ที่กําหนดให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกแล้วแต่กรณี ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน การเขียนข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้นนายเจริญจะต้องคืนเงิน ประกันการทํางานให้ภายใน 7 วันนับแต่วันเลิกจ้างหรือลาออก ถ้าไม่คืนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้นายเจริญ นายจ้างเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด (ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง) และถ้านายเจริญจงใจไม่คืน หรือไม่จ่ายเงินตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร นายเจริญจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน (ตามมาตรา 9 วรรคสอง)

สรุป

การทําสัญญาจ้างของนายเจริญนายจ้างโดยให้ลูกจ้างวางหลักประกันความเสียหายและ ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตามเหตุผลและหลักกฎหมายข้างต้น

 

ข้อ 2. นายพิชัย (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายอนุชิตซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันได้รับค่าจ้างวันละ 336 บาท (เฉลี่ยชั่วโมงละ 42 บาท) ทํางานที่สํานักงานใหญ่หัวหมาก ทํางานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ให้เดินทางไปทํางานที่จังหวัดเลย โดยออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในวันเสาร์ตั้งแต่ 09.00 น. ถึงจังหวัดเลยเวลา 19.00 น. และทํางานในวันอาทิตย์ตั้งแต่ 13.00 น. ถึง 20.00 น. เช่นนี้ นายอนุชิตจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอะไรบ้าง ตามมาตราใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 56 “ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานสําหรับวันหยุด ดังต่อไปนี้

(1) วันหยุดประจําสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน โดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 62 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทํางานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราดังต่อไปนี้

(2) สําหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า สองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทําหรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้าง ต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

มาตรา 63 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานสวงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทํา หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 71 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทํางานในท้องที่อื่น นอกจากท้องที่สําหรับ การทํางานปกติ ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 ในระหว่างเดินทาง แต่สําหรับการเดินทางในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามมาตรา 56 (1) สําหรับการเดินทางนั้น”

มาตรา 73 “ให้ลูกจ้างออกค่าใช้จ่ายสําหรับการเดินทางตามมาตรา 71 และมาตรา 72”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอนุชิตลูกจ้งรายวันได้รับค่าจ้างวันละ 336 บาท (เฉลี่ยชั่วโมงละ 42 บาท) ทํางานที่กรุงเทพฯ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ต่อมานายพิชัย (นายจ้าง) มีค่าสั่งให้นายอนุชิตเดินทางไปทํางานที่จังหวัดเลยนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทํางานใน ท้องที่อื่นตามมาตรา 71 และเมื่อนายอนุชิตเป็นลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามมาตรา 56 (1) ซึ่งตามมาตรา 71 ได้กําหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสําหรับการเดินทางในวันหยุดเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานให้แก่ ลูกจ้าง ดังนั้น ในวันเสาร์นายอนุชิตจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้าง 336 บาท สําหรับการเดินทางดังกล่าว แต่นายอนุชิต ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดในช่วงเวลา 17.00 น. ถึง 19.00 น. ตามมาตรา 63 สําหรับการเดินทาง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 แต่จะได้รับค่าใช้จ่ายสําหรับการเดินทางตามมาตรา 73

ส่วนการที่นายจ้างให้นายอนุชิตทํางานในวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ถึง 20.00 น. นั้น ถือเป็น กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุดตามมาตรา 28 (วันหยุดประจําสัปดาห์) ดังนั้น นายอนุชิตจึงมีสิทธิได้รับ ค่าจ้างทํางานในวันหยุด ดังนี้คือ

1 ค่าทํางานในวันหยุดตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึง 17.00 น. รวม 4 ชั่วโมง ตามมาตรา 62 (2) ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน ซึ่งนายอนุชิต จะได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 336 บาท (42 x 2 x 4)

2 ค่าทํางานล่วงเวลาในวันหยุดตั้งแต่เวลา 17.00 น. ถึง 20.00 น. รวม 3 ชั่วโมง ตามมาตรา 63 ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้เป็น 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน ซึ่งนายอนุชิตจะได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 378 บาท (42 x 3 x 3)

สรุป

นายอนุชิตจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนสําหรับการเดินทางในวันเสาร์เป็นเงิน 336 บาท และ ค่าใช้จ่ายสําหรับการเดินทาง ส่วนวันอาทิตย์จะได้รับค่าจ้างเป็นค่าทํางานในวันอาทิตย์เป็นเงิน 719 บาท (336 + 378)

 

ข้อ 3. นายวันชัย (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายสมัย (เป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้าง 12,000 บาทต่อเดือน) ขับรถยนต์ไปส่งสินค้าให้ลูกค้าที่จังหวัดเชียงราย ในระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ตกเขาทําให้นายสมัย บาดเจ็บสาหัสต้องรักษาตัวนานถึงหกเดือนแต่ก็กลายเป็นคนทุพพลภาพ เช่นนี้ นายสมัยจะมีสิทธิ อย่างไรบ้าง ตามกฎหมายใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคําสั่งของนายจ้าง”

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาล พื้นที่ตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายคารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตาม ความจําเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง

ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้ทราบ

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานภายหลังการประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานของลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละเจ็ดสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานได้ไม่ว่าลูกจ้างจะ สูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานได้ไปจนตลอดระยะเวลา ที่ไม่สามารถทํางานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(3) ร้อยละเจ็ดสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภท ของการทุพพลภาพเเละตามระยะเวลาที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าปี

ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่สุด และไม่มากกว่าค่าทดแทน รายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายวันชัย (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายสมัย (ลูกจ้าง) ขับรถยนต์ไปส่งสินค้า ให้ลูกค้าที่จังหวัดเชียงราย และในระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ตกเขาทําให้นายสมัยบาดเจ็บสาหัสต้องรักษาตัว นานถึง 6 เดือนแต่ก็กลายเป็นคนทุพพลภาพนั้น ย่อมถือว่านายสมัยประสบอันตรายเนื่องจากการทํางานให้แก่ นายจ้างตามมาตรา 5 แล้ว นายสมัยจึงได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 (ซึ่งมีการปรับ แก้ไขใหม่ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป) และกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานที่ให้นายจ้างจ่าย ดังนั้น นายวันชัย (นายข้าง) จะต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ นายสมัย ดังนี้คือ

1 ค่ารักษาพยาบาล ตามมาตรา 13 โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่นายสมัย เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ดังนี้

(1) ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท

(2) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตาม (1) ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 100,000 บาท

(3) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่ขายตาม (2) ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมค่ารักษาพยาบาลตาม (1) และ (2) แล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาท

(4) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตาม (3) สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้าง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้นตามความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ โดยเมื่อรวมกับ ค่ารักษาพยาบาลตาม (1) (2) และ (3) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

(5) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตาม (4) สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้าง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตาม (1) (2) (3) และ (4) แล้วต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ตามมาตรา 15 โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทํางานให้แก่นายสมัยเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ดังนี้

(1) ค่าใช้จ่ายในทางกายภาพบําบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบําบัด ไม่เกินวันละ 100 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 24,000 บาท

(2) ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบําบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทํางานไม่เกิน 40,000 บาท

(3) ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูหน่วยละไม่เกินตามที่กระทรวงการคลังกําหนด แต่รวมแล้วไม่เกิน 160,000 บาท

(4) ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานด้านอาชีพฯ ไม่เกิน 24,000 บาท รวมค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานที่นายจ้างจะต้องจ่ายไม่เกิน 248,000 บาท

3 ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทํางานได้ ตามมาตรา 18 (1) เมื่อนายสมัยไม่สามารถทํางานได้ เพราะประสบอันตรายบาดเจ็บสาหัสต้องรักษาตัว 6 เดือน และกลายเป็นคนทุพพลภาพนั้น นายจ้างจะต้องจ่าย ค่าทดแทนให้แก่นายสมัยในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายสมัยไม่สามารถ ทํางานได้ เมื่อนายสมัยได้รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท ร้อยละ 70 ของ 12,000 บาท คือ 8,400 บาท ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนให้นายสมัยเป็นเงิน 8,400 x 6) 50, 100 บาท

4 ค่าทดแทนในกรณีทุพพลภาพ ตามมาตรา 18 (3) เมื่อนายสมัยกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่นายสมัยในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือนคือ 8,400 บาทให้แก่นายสมัย ทุกเดือนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี

สรุป

นายสมัยจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้

1 ค่ารักษาพยาบาลรวมแล้วไม่เกิน 1,000,000 บาท

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานจํานวนไม่เกิน 248,000 บาท

3 ค่าทดแทน ในกรณีไม่สามารถทํางานได้เป็นเงิน 50 400 บาท

4 ค่าทดแทน นกรณีทุพพลภาพเดือนละ 8,400 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี

 

ข้อ 4. ในสถานประกอบการแห่งหนึ่งมีลูกจ้าง 100 คน ถ้าหากว่ามีลูกจ้างจํานวนหนึ่งมีความต้องการให้มีการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จํานวน 4 ข้อ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์นั้น มีกระบวนการขั้นตอนที่จะต้องดําเนินการอย่างไรจนสามารถแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นั้นได้ให้อธิบายตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นว่าต้องมีลูกจ้างจํานวนเท่าใด และกฎหมาย กําหนดให้ทําอย่างไรจนสามารถตกลงกันได้แล้วเสร็จ

ธงคําตอบ

กรณีที่ในสถานประกอบการนั้นมีลูกจ้าง 100 คน ถ้าหากมีลูกจ้างจํานวนหนึ่งมีความต้องการ ให้มีการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จํานวน 4 ข้อ จะต้องดําเนินการตามกระบวนการขั้นตอนตามที่ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ตั้งแต่การแจ้งข้อเรียกร้องของลูกจ้างจนถึงมีการจัดทําข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างดังต่อไปนี้ คือ

ขั้นตอนการแจ้งข้อเรียกร้องของลูกจ้าง

1 ฝ่ายลูกจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องนั้นไปยังฝ่ายนายจ้าง โดยทําเป็นหนังสือแจ้งไปยัง ฝ่ายนายจ้าง (มาตรา 13 วรรคหนึ่ง) และข้อเรียกร้องดังกล่าวจะต้อง

(1) มีรายชื่อ และ

(2) มีลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในจํานวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 ของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น คือต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 15 คน (มาตรา 13 วรรคสาม)

2 ในกรณีที่ลูกจ้างได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาไว้แล้ว ให้ระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วม ในการเจรจามีจํานวนไม่เกิน 7 คน พร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย ถ้าลูกจ้างยังมิได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วม ในการเจรจา ให้ลูกจ้างเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาและระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจามีกําหนด ไม่เกิน 7 คน โดยมิชักช้า (มาตรา 13 วรรคสาม)

ขั้นตอนการเจรจา

เมื่อนายจ้างได้รับข้อเรียกร้องแล้ว ต้องแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนเป็นหนังสือให้ฝ่ายลูกจ้างทราบ โดยมีชักช้า และให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่นายจ้างได้รับข้อเรียกร้อง (มาตรา 16)

การทําข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและการจดทะเบียนข้อตกลง

1 ให้นายจ้างและลูกจ้างทําข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ตกลงร่วมกันเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี

2 ให้นายจ้างติดประกาศข้อตกลงดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยภายใน 3 วัน นับแต่ที่ตกลงกัน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

3 ให้นายจ้างนําข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างไปจดทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ตกลงกัน (มาตรา 18)

ผลผูกพันของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

1 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้าง และลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง ตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาทุกคน มาตรา 19 วรรคหนึ่ง)

2 เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทําสัญญาจ้างแรงงาน กับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า (มาตรา 20)

LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. บริษัท อนัตตา จํากัด โดย ประธานบริษัทฯ ได้รับรายงานจากผู้จัดการส่วนบุคคลว่า มีพนักงานบริษัท 2 คน มีปัญหาในการปฏิบัติงาน โดยพนักงานทั้ง 2 คน ทํางานมา 20 ปีกับบริษัท อนัตตา จํากัด ให้ท่านวินิจฉัยว่า ทั้ง 2 คนนั้น บริษัท อนัตตา จํากัด จะเลิกจ้างโดยต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ก) นายสมชายลูกจ้างเล่นหมากรุกระหว่างทํางานทางบริษัท อนัตตา จํากัด ได้ออกหนังสือเตือนนายสมชายไม่ลงนามรับทราบหนังสือเตือน

(ข) นายสมหวังลูกจ้างเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายนายสมหวัง บริษัท อนัตตา จํากัด มีหนังสือเตือนให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่แต่น่ายสมหวังไม่สามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(5) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสามร้อยวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณ เป็นหน่วย”

มาตรา 119 วรรคหนึ่ง “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จําเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุ อันสมควร

(6) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทํา โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 ได้กําหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างด้วย เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง เว้นแต่ถ้าเข้าข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 วรรคหนึ่ง นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างได้

กรณีตามอุทาหรณ์ บริษัท อนัตตา จํากัด จะเลิกจ้างนายสมชายและนายสมหวังโดยต้องจ่าย ค่าชดเชยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

(ก) การที่นายสมชายลูกจ้างของบริษัทฯ เล่นหมากรุกระหว่างทํางานและบริษัทฯ ได้ออกหนังสือเตือน แต่นายสมชายไม่ยอมลงนามรับทราบหนังสือเตือนนั้น แม้ว่าการกระทําของนายสมชายจะเป็นการฝ่าฝืนคําสั่ง และระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน แต่ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคําสั่งและระเบียบข้อบังคับอันเป็น กรณีร้ายแรง ดังนั้น ถ้าบริษัทฯ จะเลิกจ้างนายสมชาย บริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายสมชายตาม มาตรา 118 (5) แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3999/2524)

(ข) การที่นายสมหวังลูกจ้างของบริษัทฯ มีอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายนั้น มิใช่การกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคําสั่งของนายจ้าง และมิใช่การกระทําโดยประการอื่นใดที่จะ เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างตามมาตรา 119 วรรคหนึ่ง และแม้ว่าบริษัทฯ มีหนังสือเตือนให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่แต่นายสมหวังไม่สามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นตามมาตรา 119 (4) ดังนั้น ถ้าบริษัทฯ จะเลิกจ้างนายสมหวัง บริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ นายสมหวังตามมาตรา 118 (5)

สรุป

ถ้าบริษัท อนัตตา จํากัด จะเลิกจ้างนายสมชายและนายสมหวัง บริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างทั้ง 2 คน ตามมาตรา 118 (5)

 

ข้อ 2. นายพีระได้ทําสัญญาจ้างนายอนุชิตเป็นลูกจ้างไม่มีกําหนดระยะเวลา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนมีข้อตกลงว่าจะจ่ายสินจ้างให้เดือนละ 15,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือน และนายจ้างจะบอกเลิก สัญญาเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ในช่วงของการทดสอบ การทํางาน เมื่อการทํางานเป็นที่พอใจก็จะบรรจุให้เป็นลูกจ้างประจํา นายอนุชิตก็ได้ยินยอม ทําข้อตกลงด้วยโดยได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานเรียบร้อย เมื่อนายอนุชิตทํางานมาได้ถึงสิ้นเดือน กันยายน นายพีระประเมินการทํางานของนายอนุชิตแล้วไม่เป็นที่น่าพอใจจึงบอกเลิกสัญญาจ้างทันที นายอนุชิตต่อสู้ว่าไม่ถูกต้องแต่นายพีระอ้างว่าได้ทําตามสัญญา ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ท่านเห็นว่า เป็นอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร”

มาตรา 17 วรรคสองและวรรคสาม “ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกําหนดระยะเวลา นายจ้างหรือ ลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึง กําหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จําต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน

การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจํานวนที่จะต้องจ่ายจนถึง เวลาเลิกสัญญาตามกําหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้”

มาตรา 30 วรรคหนึ่ง “ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจําปี ได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทํางาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กําหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือ กําหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน”

มาตรา 67 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่าย ค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจําปีที่ลูกจ้าง พึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30”

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(1) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสามสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพีระได้ทําสัญญาจ้างนายอนุชิตเป็นลูกจ้างไม่มีกําหนดระยะเวลา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนโดยตกลงว่าจะจ่ายสินจ้างให้เดือนละ 15,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือนนั้น ถือว่านายอนุชิต เป็นลูกจ้างของนายพีระแล้วนับแต่วันที่ได้ทําสัญญาจ้างตามนัยของมาตรา 5

การที่นายพีระได้ทําสัญญาจ้างนายอนุชิตเป็นลูกจ้างไม่มีกําหนดระยะเวลา และมีข้อตกลงว่า นายจ้างจะบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ในช่วงของ การทดสอบการทํางานนั้น ย่อมถือว่าเป็นการทําข้อตกลงที่ขัดกับมาตรา 17 วรรคสอง และมาตรา 118 ซึ่งเป็น กฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

เมื่อนายอนุชิตทํางานมาได้ถึงสิ้นเดือนกันยายน นายพีระประเมินการทํางานของนายอนุชิตแล้ว ไม่เป็นที่น่าพอใจจึงบอกเลิกสัญญาจ้างทันทีโดยกล่าวอ้างว่าได้ทําข้อตกลงไว้แล้วนั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะตาม มาตรา 17 วรรคสอง ได้กําหนดไว้ว่า นายพีระจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะ ถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า คือนายพีระสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ในวันที่ 31 ตุลาคม หรือจะจ่ายสินจ้างให้แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ นายพีระก็ได้ตามมาตรา 17 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า นายอนุชิตได้ทํางานตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม นายอนุชิตย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 (1) คือได้รับค่าชดเชย 30 วัน เป็นจํานวนเงิน 15,000 บาท

ส่วนค่าจ้างของลูกจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีตามที่กําหนดไว้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่งนั้น เมื่อนายอนุชิตยังทํางานไม่ครบ 1 ปี นายอนุชิตจึงยังไม่มีสิทธิได้รับเนื่องจากนายอนุชิตยังไม่มีวันหยุดพักผ่อน ประจําปี (ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง)

สรุป

การที่นายพีระบอกเลิกสัญญาจ้างทันทีโดยอ้างว่าได้ทําตามข้อตกลงในสัญญานั้นไม่ถูกต้อง นายอนุชิตมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 15,000 บาท แต่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี

 

ข้อ 3. สามารถเป็นลูกจ้างของบริษัท มวยไทยเจริญ จํากัด โดยบริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตอุปกรณ์กีฬาเกี่ยวกับกีฬามวยไทยทุกชนิด สามารถทํางานกับบริษัทฯ อยู่ในตําแหน่งเช็คสต๊อกสินค้า จัดเตรียม สินค้าพร้อมส่งตามคําสั่งของลูกค้า และหากจําเป็นนายจ้างจะให้สามารถไปส่งสินค้าแทนพนักงาน ส่งสินค้าของบริษัทฯ ได้ และถือให้เป็นส่วนหนึ่งของภาระงานของสามารถ วันเกิดเหตุสามารถ ได้รับมอบหมายให้ไปส่งสินค้าให้เยาวเรศซึ่งเป็นลูกค้าสําคัญของบริษัทฯ สามารถนําสินค้าไปส่ง ให้กับลูกค้าเรียบร้อย ขณะอยู่ในระหว่างเดินทางกลับบริษัทฯ เกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยรถยนต์ที่สามารถ ขับขี่ไปชนกับรถยนต์ที่กําลังวิ่งทางตรง และสามารถได้รับบาดเจ็บถูกนําตัวส่งโรงพยาบาล สามารถ ได้รับสิทธิตามกฎหมายเงินทดแทนเป็นค่ารักษาพยานาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพการทํางาน และ ค่าทดแทนฯ แต่นายจ้างแสดงเจตนาเข้ารับสิทธิดังกล่าวจากกองทุนเงินทดแทนในนามของสามารถ โดยนายจ้างอ้างว่า สามารถมีภาระในการชดใช้ค่าเสียหายให้กับนายจ้างกรณีซ่อมรถยนต์คันเกิดเหตุ ต้องคืนนายจ้างกรณีนายจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณีเพราะผลของการเกิดเหตุมาจากการที่สามารถเป็นผู้กระทําละเมิดและถือเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย และนายจ้างยังอ้างว่า สามารถได้ทําบันทึกข้อตกลงให้นายจ้างมีสิทธิในเงินทดแทนเพื่อเป็นการหักกลบลบหนี้กันกับส่วนที่ สามารถต้องชดใช้ให้กับนายจ้างแล้ว ดังนี้ การแสดงเจตนาของนายจ้างและข้ออ้างของนายจ้าง ในการเข้าใช้สิทธิในเงินทดแทนรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 23 “ห้ามมิให้นายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใด ๆ และเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สามารถเป็นลูกจ้างของบริษัท มวยไทยเจริญ จํากัด ได้รับมอบหมายให้ไป ส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯ และเมื่อส่งสินค้าให้กับลูกค้าเรียบร้อยแล้ว ขณะอยู่ในระหว่างเดินทางกลับบริษัทฯ เกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยรถยนต์ที่สามารถขับขี่ไปชนกับรถยนต์ที่กําลังวิ่งทางตรงและสามารถได้รับบาดเจ็บถูกนําตัว ส่งโรงพยาบาลนั้น ถือเป็นกรณีที่สามารถประสบอันตรายจากการทํางาน และเมื่อปรากฏว่าสามารถได้รับสิทธิใน เงินทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพการทํางานและค่าทดแทนฯ ตามกฎหมายเงินทดแทนแล้ว

ประเด็นการวินิจฉัยมีว่า การที่สามารถกระทําละเมิดโดยเป็นผู้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทําให้เกิดความเสียหาย แก่นายจ้างโดยนายจ้างต้องร่วมรับผิดในทางการที่จ้างกับคู่กรณีและต้องซ่อมแซมรถยนต์คันที่สามารถขับขี่ไป ก่อให้เกิดความเสียหายด้วยนั้น นายจ้างจะนําสิทธิในเงินทดแทนที่สามารถได้รับมาหักกับค่าเสียหายที่สามารถ จะต้องชดใช้กับนายจ้าง โดยการให้นายจ้างเข้ารับสิทธิในเงินทดแทนแทนสามารถ โดยสามารถทําบันทึกข้อตกลง ให้นายจ้างมีสิทธิตามข้อกล่าวอ้างของนายจ้างได้หรือไม่

เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ แล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมาย ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในเงินทดแทนของลูกจ้างไว้ โดยบัญญัติห้ามมิให้นายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใด ๆ ดังนั้น การแสดงเจตนาของนายจ้างและข้ออ้างเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงที่ทํากันระหว่างนายจ้างกับสามารถที่ว่า ให้นายจ้างมีสิทธิในเงินทดแทนเพื่อเป็นการหักกลบลบหนี้กันกับส่วนที่สามารถต้องชดใช้ให้กับนายจ้างจึงรับฟังไม่ได้ เพราะกฎหมายให้สิทธิในเงินทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทํางานและถือเป็นสิทธิที่ กฎหมายคุ้มครองให้แก่ลูกจ้างโดยเฉพาะ

สรุป

การแสดงเจตนาของนายจ้างและข้ออ้างของนายจ้างในการเข้าใช้สิทธิในเงินทดแทนรับฟังไม่ได้

 

ข้อ 4. นายเอกและนายตรีเป็นลูกจ้างที่เข้าร่วมในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ในระหว่างการเจรจาอยู่นั้นนายเอกไม่ได้มาทํางานตั้งแต่วันอังคารถึงวันศุกร์ นายจ้าง มีคําสั่งเลิกจ้างนายเอกทันที และย้ายนายตรีไปทํางานที่จังหวัดระยองโดยไม่บอกกล่าวก่อน นายเอก และนายตรีกล่าวอ้างว่านายจ้างไม่สามารถทําได้เพราะอยู่ในระหว่างการเจรจาตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ เช่นนี้ ท่านเห็นว่าอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 31 วรรคหนึ่ง “เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้น ยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพ แรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าว และตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จําเป็นต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งนั้นต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าว ดําเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง

(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไข เพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไปแล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างเจรจากัน กฎหมายห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องโดยไม่สุจริต โดยมีเจตนา เพื่อที่จะกลั่นแกล้งลูกจ้างดังกล่าวให้ออกจากงานไป เพราะถือเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง

แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 31 วรรคหนึ่งนี้ ก็มีข้อยกเว้นที่ให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ แม้ว่า จะอยู่ในขั้นตอนของการเรียกร้องดังกล่าวข้างต้นก็ตาม หากลูกจ้างดังกล่าวได้กระทําผิดต่อนายจ้างในกรณีต่าง ๆ ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง (1) – (4)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายเอก แม้ว่านายเอกจะเป็นลูกจ้างที่เข้าร่วมในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจาก็ตาม แต่การที่นายเอกไม่ได้มาทํางาน ตั้งแต่วันอังคารถึงวันศุกร์นั้น ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทํางานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 (4) ดังนั้น นายจ้างจึงมีคําสั่งเลิกจ้างนายเอกได้ทันที และนายเอกจะกล่าวอ้างว่า นายจ้างไม่สามารถทําได้ เพราะอยู่ในระหว่างการเจรจาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ไม่ได้

กรณีของนายตรี การที่นายตรีเป็นลูกจ้างที่เข้าร่วมในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเมื่อข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจาตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของนายตรี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายจ้างได้มี คําสั่งโยกย้ายหน้าที่การงานของนายตรีโดยให้นายตรีย้ายไปทํางานที่จังหวัดระยองโดยไม่บอกกล่าว และโดย ไม่ปรากฏว่านายตรีได้กระทําการใด ๆ ตามมาตรา 31 (1) – (4) แต่อย่างใดนั้น การกระทําของนายจ้างย่อมถือว่า เป็นการกระทําที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นายตรีจึงสามารถกล่าวอ้างได้ว่านายจ้าง ไม่สามารถทําได้ เพราะอยู่ในระหว่างการเจรจาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์

สรุป

การที่นายจ้างมีคําสั่งเลิกจ้างนายเอก นายเอกจะกล่าวอ้างว่านายจ้างไม่สามารถทําได้ เพราะอยู่ในระหว่างการเจรจาตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ไม่ได้ ส่วนการที่นายจ้างมีคําสั่งย้ายสถานที่ทํางาน ของนายตรี นายตรีสามารถกล่าวอ้างได้ว่านายจ้างไม่สามารถทําได้เพราะอยู่ในระหว่างการเจรจาตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายทนงลูกจ้างรายวัน ได้รับค่าจ้างวันละ 336 บาท (42 บาทต่อชั่วโมง) ทํางานที่กรุงเทพฯ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ต่อมานายพิภพ (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายทนง เดินทางไปทํางานที่จังหวัดน่าน โดยให้เดินทางในวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 07.30 น. ถึงจุดหมายปลายทาง เวลา 20.30 น. และให้ทํางานวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึง 21.00 น. เช่นนี้ นายทนงจะมีสิทธิ อะไรบ้าง เป็นจํานวนเงินเท่าใด ตามกฎหมายมาตราใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 56 “ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานสําหรับวันหยุด ดังต่อไปนี้

(1) วันหยุดประจําสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน โดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 62 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือ มาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทํางานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราดังต่อไปนี้

(2) สําหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า สองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทําหรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 63 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทํา หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 71 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทํางานในท้องที่อื่น นอกจากท้องที่สําหรับ การทํางานปกติ ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 ในระหว่างเดินทาง แต่สําหรับการเดินทางในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามมาตรา 56 (1) สําหรับการเดินทางนั้น”

มาตรา 72 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทํางานในท้องที่อื่น นอกจากท้องที่สําหรับการทํางานปกติ ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 ในระหว่างเดินทาง แต่สําหรับการเดินทางในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามมาตรา 56 (1) ด้วย เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่นายทนงลูกจ้างรายวันได้รับค่าจ้างวันละ 336 บาท (เฉลี่ยชั่วโมงละ 42 บาท) ทํางานที่กรุงเทพฯ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ต่อมานายพิภพ (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายทนงเดินทางไปทํางานที่จังหวัดน่านนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทํางานใน ท้องที่อื่นตามมาตรา 71 และเมื่อนายทนงเป็นลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามมาตรา 56 (1) ซึ่งตามมาตรา 71 ได้กําหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสําหรับการเดินทางในวันหยุดเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานให้แก่ ลูกจ้าง ดังนั้น ในวันเสาร์นายทนงจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้าง 336 บาท สําหรับการเดินทางดังกล่าว แต่นายทนงไม่มี สิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 สําหรับการเดินทางตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72

ส่วนการที่นายจ้างให้นายทนงทํางานในวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึง 21.00 น. นั้น ถือเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุดตามมาตรา 28 (วันหยุดประจําสัปดาห์) ดังนั้น นายทนงจึงมีสิทธิ ได้รับค่าจ้างทํางานในวันหยุด ดังนี้คือ

1 ค่าทํางานในวันหยุดตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึง 17.00 น. รวม 4 ชั่วโมง ตามมาตรา 62 (2) ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน ซึ่งนายทนงจะได้รับ ค่าจ้างเป็นเงิน 336 บาท (42 x 2 x 4)

2 ค่าทํางานล่วงเวลาในวันหยุดตั้งแต่เวลา 17.00 น. ถึง 21.00 น. รวม 4 ชั่วโมง ตาม มาตรา 63 ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้เป็น 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน ซึ่งนายทนงจะได้รับค่าจ้าง เป็นเงิน 500 บาท (42 x 3 x 4)

สรุป

นายทนงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสําหรับการเดินทางในวันเสาร์เป็นเงิน 336 บาท และ จะได้รับค่าจ้างเป็นค่าทํางานในวันอาทิตย์อีกเป็นเงิน 840 บาท (336 + 504)

 

ข้อ 2. นายสุรเดชเป็นหัวหน้าควบคุมงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ทํางานมาแล้ว 7 ปี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 40,000 บาท ต่อมานายภักดี (นายจ้าง) ต้องการปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต จึงได้นํา เครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้ จึงได้บอกกล่าวแก่นายสุรเดชในวันจ่ายสินจ้างคือวันที่ 31 มีนาคม ว่าจะบอกเลิกสัญญาจ้างและได้บอกเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 30 เมษายน และจ่ายค่าชดเชยให้ เป็นจํานวนเงิน 280,000 บาท แต่นายสุรเดชเห็นว่าไม่ถูกต้อง เช่นนี้ ท่านเห็นว่าอย่างไร จะมีสิทธิ ได้รับอะไรบ้าง เป็นจํานวนเงินเท่าใด เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 67 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจําปีที่ลูกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30”

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

(4) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทําใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทํางานต่อไปและ ไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดของสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้าง ไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไป”

มาตรา 121 “ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจําหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนําเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจํานวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นํามาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้าง แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้าง ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างไม่เจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าที่กําหนด ตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทํางานหกสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วยด้วย

ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่า นายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย”

มาตรา 122 “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 121 และลูกจ้างนั้นทํางานติดต่อกัน เกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สิบห้าวันต่อการทํางานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทํางานครบหนึ่งปี สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้าง อัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทํางานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าชดเชยพิเศษกรณีระยะเวลาทํางานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของ ระยะเวลาทํางานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทํางานครบหนึ่งปี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายภักดี (นายจ้าง) จะเลิกจ้างนายสุรเดชลูกจ้างเพราะเหตุที่ นายจ้างปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต อันเนื่องมาจากการนําเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้นั้น ถือเป็น การเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ได้กําหนดให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้างให้ ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง (มาตรา 121 วรรคหนึ่ง) ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้าง ที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน (มาตรา 121 วรรคสอง)

และในกรณีที่ลูกจ้างได้ทํางานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้น จากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทํางานครบหนึ่งปี (มาตรา 122 วรรคหนึ่ง)

ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ เมื่อนายสุรเดชลูกจ้างได้ทํางานมาแล้ว 7 ปี โดยได้รับค่าจ้าง เดือนละ 40,000 บาท เมื่อนายจ้างได้บอกกล่าวแก่นายสุรเดชว่าจะเลิกจ้างในวันที่ 31 มีนาคม และให้มีผลเป็น การเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นการแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน โดยจ่ายค่าชดเชยให้นายสุรเดช 280,000 บาทนั้น นายสุรเดชสามารถต่อสู้ได้ว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะนายสุรเดชมีสิทธิได้รับค่าชดเชยดังนี้ คือ

1 ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 121 เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวันเป็นเงิน 80,000 บาท

2 ค่าชดเชยในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างตามมาตรา 118 (4) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน (8 เดือน) เป็นเงิน 320,000 บาท

3 ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 122 เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทํางาน ครบหนึ่งปี (ทํางานปีที่ 7 = 15 วัน) เป็นเงิน 20,000 บาท

ซึ่งรวมทั้งหมดนายสุรเดชจะต้องได้รับค่าชดเชยเป็นเงินทั้งสิ้น 420,000 บาท

และนอกจากนั้น นายสุรเดชยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างด้วย

สรุป

การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างและจ่ายค่าชดเชยให้ 280,000 บาท นายสุรเดช สามารถต่อสู้ได้ว่าไม่ถูกต้อง เพราะนายสุรเดชมีสิทธิได้รับค่าชดเชยทั้งหมดเป็นเงิน 420,000 บาท รวมทั้งมีสิทธิ ได้รับค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีด้วยตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3. นายพนมและนายเทวาเป็นเพื่อนกันมีหน้าที่ขับรถยนต์ไปส่งสินค้า ทั้งสองได้รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท นายพิมล (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายพนมขับรถยนต์ไปส่งสินค้าที่จังหวัดปราจีนบุรี นายเทวาเห็นว่าเป็นเส้นทางกลับบ้านจึงนั่งไปด้วยโดยจะคอยบอกเส้นทางเดินทางให้ แต่ในระหว่างทาง เกิดรถยนต์ชนต้นไม้ข้างทางอย่างแรงทําให้ทั้งสองคนได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อรักษาตัวได้ 4 เดือน ก็กลายเป็นคนทุพพลภาพ เช่นนี้ ทั้งสองคนจะมีสิทธิอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคําสั่งของนายจ้าง”

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง

ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้ทราบ”

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานภายหลัง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานของลูกจ้างตามความจําเป็น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานติดต่อกันได้ เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทํางานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทํางานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(3) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภท ของการทุพพลภาพและตามระยะเวลาที่จะต้องจ่ายตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกําหนด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าปี

ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่ำสุด และไม่มากกว่า ค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกําหนด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายพนมและนายเทวาจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนอย่างไรบ้างหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายพนม

การที่นายพนมซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ขับรถยนต์ไปส่งสินค้า ได้รับคําสั่งจากนายจ้างให้ขับรถยนต์ ไปส่งสินค้าที่จังหวัดปราจีนบุรี แต่ในระหว่างทางเกิดรถยนต์ชนต้นไม้ข้างทางอย่างแรงทําให้นายพนม (รวมทั้ง นายเทวา) ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องพักรักษาตัวถึง 4 เดือน และต่อมาได้กลายเป็นคนทุพพลภาพนั้น ย่อมถือว่า นายพนมประสบอันตรายเนื่องจากการทํางานให้แก่นายจ้างตามมาตรา 5 ดังนั้น นายพนมจึงได้รับการคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่นายพนม ดังนี้

1 ค่ารักษาพยาบาล ตามมาตรา 13 โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ นายพนมเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งในกรณีนี้ถือว่านายพนม ประสบอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรง จึงต้องได้รับค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น 50,000 บาท และในกรณีบาดเจ็บ รุนแรงอีกไม่เกิน 100,000 บาท รวมกันแล้วไม่เกิน 150,000 บาท (ตามกฎกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับอัตรา ค่ารักษาพยาบาลฯ พ.ศ. 2558 ข้อ 2. และข้อ 3.)

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ตามมาตรา 15 โดยนายจ้างต้องจ่ายตามความจําเป็น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ในกรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพใน การทํางานให้แก่นายพนมเป็นจํานวนเงินไม่เกิน 20,000 บาท (ตามกฎกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับอัตราการจ่าย ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานฯ พ.ศ. 2558 ข้อ 4. (1)

3 ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทํางานได้ ตามมาตรา 18 (1) เมื่อนายพนมไม่สามารถ ทํางานได้ 4 เดือน ซึ่งถือว่าติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายพนมไม่สามารถทํางานได้ เมื่อนายพนมได้รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท ร้อยละ 60 ของเงิน 12,000 บาท จึงเท่ากับ 7,200 บาท (ซึ่งไม่เกินค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานฯ ประกาศกําหนดคือ 12,000 บาท) ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่นายพนมเดือนละ 7,200 บาท เป็นเวลา 4 เดือน เป็นเงิน 28,800 บาท

4 ค่าทดแทนในกรณีทุพพลภาพ ตามมาตรา 18 (3) เมื่อนายพนมกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน ซึ่งก็คือ 7,200 บาท ให้แก่นายพนมทุกเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี

กรณีของนายเทวา

แม้นายเทวาจะเป็นลูกจ้างเช่นเดียวกับนายพนม และเมื่อเกิดรถยนต์ชนต้นไม้ข้างทางอย่างแรง ทําให้นายเทวาได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องรักษาตัวถึง 4 เดือน และต่อมาได้กลายเป็นคนทุพพลภาพก็ตาม แต่นายเทวา ได้นั่งรถไปกับนายพนมเพื่อจะกลับบ้านเท่านั้น มิใช่กรณีที่นายจ้างสั่งให้ไป จึงไม่ถือว่านายเทวาประสบอันตราย เนื่องจากการทํางานให้แก่นายจ้างตามมาตรา 5 ดังนั้น นายเทวาจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนใด ๆ จากนายจ้าง

สรุป

นายพนมจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้

1 ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 150,000 บาท

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานจํานวนไม่เกิน 20,000 บาท

3 ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทํางานได้เดือนละ 7,200 บาท เป็นเงิน 28,800 บาท

4 ค่าทดแทนในกรณีทุพพลภาพเดือนละ 7,200 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี ส่วนนายเทว่าไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนใด ๆ จากนายจ้าง

 

ข้อ 4 ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ในกรณีที่ต้องการเรียกร้องให้มีการกําหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถ้าหากว่า “ลูกจ้าง” กับ “สหภาพแรงงาน” ต้องการแจ้งข้อเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ “ลูกจ้าง” กับ “สหภาพแรงงาน”

จะต้องทําอย่างไรตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 13 และมาตรา 15 จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 13 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม “การเรียกร้องให้มีการกําหนดข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างหรือลูกจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้อง เป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ

ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น…”

 

มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานอาจแจ้งข้อเรียกร้อง ตามมาตรา 13 ต่ออีกฝ่ายหนึ่งแทนนายจ้างหรือลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้ จํานวนสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างต้องมีจํานวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนลูกจ้างทั้งหมด

ในกรณีที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นไม่จําต้องมีรายชื่อและ ลายมือชื่อของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง”

ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่ต้องการเรียกร้องให้มีการกําหนด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ถ้าหากว่า “ลูกจ้าง” กับ “สหภาพแรงงาน” ต้องการแจ้งข้อเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ “ลูกจ้าง” กับ “สหภาพแรงงาน” จะต้อง ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้คือ

กรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง

1 ฝ่ายลูกจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องนั้นไปยังฝ่ายนายจ้าง โดยทําเป็นหนังสือแจ้งไปยัง ฝ่ายนายจ้าง (มาตรา 13 วรรคหนึ่ง) และข้อเรียกร้องดังกล่าวจะต้อง

(1) มีรายชื่อ และ

(2) มีลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในจํานวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 ของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น (มาตรา 13 วรรคสาม)

2 ในกรณีที่ลูกจ้างได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาไว้แล้ว ให้ระบุชื่อผู้แทน ผู้เข้าร่วมในการเจรจามีจํานวนไม่เกิน 7 คน พร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย ถ้าลูกจ้างยังมิได้เลือกตั้งผู้แทน เป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา ให้ลูกจ้างเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาและระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการ เจรจามีกําหนดไม่เกิน 7 คน โดยมิชักช้า (มาตรา 13 วรรคสาม)

กรณีที่สหภาพแรงงานเป็นฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง

1 สหภาพแรงงานนั้นจะต้องมีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของลูกจ้างทั้งหมด (มาตรา 15 วรรคหนึ่ง)

2 ให้สหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องที่ลูกจ้างทําไว้ตามมาตรา 13 วรรคหนึ่งต่อนายจ้าง โดยข้อเรียกร้องนั้นไม่จําต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น (มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง)

LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายนครเป็นลูกจ้างบริษัท ออลนิว จํากัด ข้อบังคับการทํางานของบริษัทฯ ในเรื่องการเกษียณอายุโดยให้ลูกจ้างเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี เมื่อครบ 60 ปีก็อยู่ที่บริษัท ออลนิว จํากัด นายจ้าง จะให้ลูกจ้างเกษียณอายุหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัท ออลนิว จํากัด นายนครเมื่ออายุครบ 60 ปี จึงขอเกษียณอายุไม่ทํางานต่อไป บริษัท ออลนิว จํากัด จึงแจ้ง อนุญาต แต่ไม่จ่ายค่าชดเชย เพราะอ้างว่านายนครขอพ้นจากการเป็นลูกจ้างเอง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่บริษัท ออลนิว จํากัด เลิกจ้าง นายนครจึงไปปรึกษาพนักงานตรวจแรงงาน โดยนายนครทํางานกับบริษัทฯ นายจ้างถึง 15 ปี พนักงานตรวจแรงงานจึงออกคําสั่งให้บริษัท ออลนิว จํากัด จ่ายค่าชดเชยไม่น้อย กว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนี้ คําสั่งดังกล่าวถูกต้อง หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 118 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

(5) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสามร้อยวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทําใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทํางานต่อไปและ ไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดของสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้าง ไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไป”

มาตรา 118/1 วรรคหนึ่ง “การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่ นายจ้างกําหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนครซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ออลนิว จํากัด ขอเกษียณอายุ ไม่ทํางานต่อไปเมื่อมีอายุครบ 60 ปีนั้น แม้ข้อบังคับการทํางานของบริษัทฯ จะได้กําหนดไว้ว่า เมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปี นายจ้างจะให้ลูกจ้างเกษียณอายุหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทฯ ก็ตาม แต่ตามมาตรา 118/1 ให้ถือว่า การขอเกษียณอายุของนายนครดังกล่าวเป็นกรณีการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง คือเป็นกรณีที่นายจ้าง ไม่ให้ลูกจ้างทํางานตอไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ หาใช่เป็นเรื่องที่ลูกจ้างขอลาออกในกรณีปกติไม่ ดังนั้น บริษัทฯ จึง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายนครลูกจ้างตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง และเมื่อนายนครลูกจ้างทํางานติดต่อกันครบ 10 ปี ขึ้นไป บริษัท ออลนิว จํากัด จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายนครไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน ตามมาตรา 118 (5) การที่พนักงานตรวจแรงงานออกคําสั่งให้บริษัท ออลนิว จํากัด จ่ายค่าชดเชยให้นายนครไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 (5) นั้น คําสั่งดังกล่าวจึงถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป

คําสั่งดังกล่าวของพนักงานตรวจแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายรื่นเริงเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างเดือนละ 14,400 บาท (เฉลี่ยวันละ 480 บาท) และนายอาสาเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างวันละ 320 บาท ทํางานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ในวันจันทร์และวันอังคารนายจ้างให้ลูกจ้างทั้งสองเลิกงานเร็วกว่าปกติ คือเวลา 16.00 น. แต่ นายจ้างมีคําสั่งให้นายรื่นเริงและนายอาสาทํางานในวันพุธไปถึงเวลา 18.00 น. เช่นนี้ นายรื่นเริง และนายอาสาจะเรียกร้องค่าตอบแทนระหว่างเวลา 17.00 น. ถึง 18.00 น. ได้หรือไม่ เรียกว่า ค่าอะไร เป็นจํานวนเงินเท่าใด เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 23 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ให้นายจ้างประกาศเวลาทํางานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกําหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทํางานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทํางานของแต่ละประเภทงาน ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทํางานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นําเวลาทํางานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทํางานในวันทํางานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทํางานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่ งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กําหนดในกฎกระทรวงต้องมีเวลาทํางาน ปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทํางานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง

ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นําเวลาทํางานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทํางาน ในวันทํางานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมง ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทําเป็นสําหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้ในชั่วโมงที่ทําเกิน สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายรื่นเริงและนายอาสาลูกจ้างทํางานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. และนายจ้างได้มีคําสั่งให้ลูกจ้างทั้งสองเลิกงานเร็วกว่าปกติคือเวลา 16.00 น. ในวันจันทร์และวันอังคาร โดยให้ไปทํางานในวันพุธจนถึงเวลา 18.00 น. นั้น ย่อมสามารถทําได้ตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ซึ่งกําหนดว่า ในกรณีที่เวลาทํางานวันใดน้อยกว่า 8 ชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นํา เวลาทํางานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทํางานในวันทํางานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมง และเมื่อ รวมเวลาทํางานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง

ส่วนการที่นายรื่นเริงและนายอาสาจะเรียกร้องค่าตอบแทนระหว่างเวลา 17.00 น. ถึง 18.00 น. ได้หรือไม่นั้น เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา 23 วรรคสองแล้ว จะเห็นได้ว่า เมื่อนายอาสาเป็นลูกจ้างรายวัน ซึ่งได้รับค่าจ้างวันละ 320 บาท เฉลี่ยชั่วโมงละ 40 บาท นายอาสาจึงสามารถเรียกร้องค่าตอบแทนระหว่างเวลา 17.00 น. ถึง 18.00 น. ได้ โดยจะได้รับไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของค่าจ้างต่อชั่วโมง ดังนั้น นายอาสาจะได้รับ ค่าตอบแทนเป็นเงิน 60 บาท ส่วนนายรื่นเริงซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนนั้น จะไม่ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวเพราะ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 23 วรรคสอง ซึ่งกําหนดให้จ่ายค่าตอบแทนกรณีดังกล่าวให้แต่เฉพาะลูกจ้างรายวันหรือ รายชั่วโมงเท่านั้น

สรุป

นายอาสาสามารถเรียกร้องค่าตอบแทนระหว่างเวลา 17.00 น. ถึง 18.00 น. ของ การทํางานในวันพุธได้ ซึ่งเรียกว่า “ค่าตอบแทน” เป็นจํานวนเงิน 60 บาท ส่วนนายรื่นเริงไม่สามารถเรียก ค่าตอบแทนดังกล่าวได้

 

ข้อ 3. มังกรเป็นลูกจ้างรายเดือนของบริษัท แม็คก้าโฮม จํากัด ได้รับค่าจ้างเดือนละ 16,000 บาท ทํางานในตําแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทฯ นายจ้างได้มอบหมายให้มังกรทํางานมากขึ้น บาบูซึ่งเป็น ลูกน้องของมังกรทําเงินขาดหายไปจํานวนหนึ่งซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของมังกร ทําให้มังกร มีความเครียดประกอบกับมังกรต้องทํางานหนักทั้งสัปดาห์และทํางานล่วงเวลาด้วย วันเกิดเหตุ มังกรมีอาการหน้ามืด ล้มลงขณะทํางาน มังกรถูกนําตัวส่งโรงพยาบาล ระหว่างทางได้เสียชีวิต เนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตกก่อนถึงโรงพยาบาล ทายาทของมังกร ได้แก่ สมพรมารดา ขวัญจิต ภริยา (จดทะเบียน) กิมจิบุตรชายอายุ 16 ปี ทํางานร้านขายของชํา ได้เรียกร้องให้นายจ้างจ่ายเงิน ค่าทดแทน แต่นายจ้างปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่ามังกรไม่ได้ตายด้วยโรคจากการทํางานจึงไม่มีสิทธิ ในเงินทดแทน ดังนี้ ให้พิจารณาว่า

ก. ข้ออ้างของนายจ้างที่ว่ามังกรไม่ได้ตายด้วยโรคจากการทํางานจึงไม่มีสิทธิในเงินทดแทน ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข. ทายาทของมังกรจะมีสิทธิในเงินทดแทนหรือไม่ อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“เจ็บป่วย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตาม ลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทํางาน”

มาตรา 16 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้นายจ้าง จ่ายค่าทําศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างเป็นจํานวนหนึ่งร้อยเท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน”

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(4) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย มีกําหนดแปดปี

ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่ำสุด และไม่มากกว่า ค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกําหนด”

มาตรา 20 วรรคหนึ่ง “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง

(1) บิดามารดา

(2) สามีหรือภริยา

(3) บุตรมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่เมื่อมีอายุครบสิบแปดปีและยังศึกษาอยู่ในระดับที่ ไม่สูงกว่าปริญญาตรี ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่”

มาตรา 21 วรรคหนึ่ง “ให้ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ได้รับส่วนแบ่งในเงินทดแทนเท่ากัน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ก ข้ออ้างของนายจ้างที่ว่ามังกรไม่ได้ตายด้วยโรคจากการทํางานจึงไม่มีสิทธิในเงินทดแทนฟังขึ้น หรือไม่ เห็นว่า การที่มังกรเป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเดือนละ 16,000 บาท นายจ้างได้มอบหมายให้มังกร ทํางานมากขึ้น ลูกน้องของมังกรทําเงินหายและมังกรซึ่งทํางานหนักตลอดทั้งสัปดาห์และทํางานล่วงเวลาด้วย ทําให้วันเกิดเหตุมังกรมีอาการหน้ามืด ล้มลงขณะทํางานและถูกนําตัวส่งโรงพยาบาล แต่ระหว่างทางได้เสียชีวิต เนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตกก่อนถึงโรงพยาบาลนั้น การที่มังกรถึงแก่ความตายถือเป็นการตายด้วยโรคจาก การทํางานตามนัยของคําว่า “เจ็บป่วย” ตามมาตรา 5 เนื่องจากการตายของมังกรเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการที่ นายจ้างมอบหมายงานให้ลูกจ้างมีความรับผิดชอบมากขึ้น ประกอบกับมังกรมีความเครียดเพราะลูกน้องที่อยู่ใน ความรับผิดชอบทําเงินหายไปจํานวนหนึ่ง และตลอดสัปดาห์ก็ทํางานล่วงเวลาเป็นการตรากตรําทํางานจนเป็นผล ทําให้ไม่ได้พักผ่อน ดังนั้น ข้ออ้างของนายจ้างที่ว่ามังกรไม่ได้ตายด้วยโรคจากการทํางานจึงไม่มีสิทธิในเงินทดแทน จึงฟังไม่ขึ้น (เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 5121/2537)

ข ทายาทของมังกรจะมีสิทธิในเงินทดแทนหรือไม่ เห็นว่า เมื่อมังกรได้ถึงแก่ความตายด้วยโรค จากการทํางาน ทายาทของมังกรย่อมมีสิทธิในเงินทดแทน โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าทําศพให้แก่ผู้จัดการศพของ มังกรลูกจ้างตามมาตรา 16 โดยต้องจ่ายเป็นเงินจํานวน 31,000 บาท (100 คูณด้วยอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ซึ่งปัจจุบันคือ 310 บาท) และนายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ซึ่งได้แก่ สมพร ขวัญจิต และกิมจิ ในอัตราตามที่กําหนดไว้ตามมาตรา 18 (4) ประกอบวรรคสีอีกเป็นจํานวนเงิน 9,600 บาท (ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนคือ 9,500 บาท ซึ่งไม่เกินค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานฯ ประกาศกําหนด คือ 12,000 บาท) เป็นระยะเวลา 8 ปี โดยสมพร ขวัญจิต และกิมจิ จะได้รับส่วนแบ่งในเงินทดแทน เท่า ๆ กันตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง คือคนละ 3,200 บาท

สรุป

ก ข้ออ้างของนายจ้างที่ว่ามังกรไม่ได้ตายด้วยโรคจากการทํางานจึงไม่มีสิทธิในเงินทดแทน ฟังไม่ขึ้น ทายาทของมังกรมีสิทธิในเงินทดแทน คือค่าทําศพจํานวน 31,000 บาท และ ค่าทดแทนเป็นรายเดือน ๆ ละ 9,600 บาท โดยทั้งสามคนจะได้รับคนละ 3,200 บาท

 

ข้อ 4. ลูกจ้างบริษัท กาโตว์กราฟฟิค จํากัด รวมตัวกันแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ขั้นตอนอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ให้นักศึกษาอธิบายว่า

ก กรณีขั้นตอนอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานนายจ้างจะปิดงานได้หรือไม่

ข หากนายจ้างเลิกจ้างจักร ซึ่งเป็นแกนนําในการแจ้งข้อเรียกร้องในขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน จักรจะได้รับการคุ้มครองตากฎหมายแรงงานสัมพันธ์หรือไม่ และหากจักรใช้สิทธิฟ้องร้องนายจ้างทันที่จะกระทําได้หรือไม่ ให้อธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 22 “เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งตามมาตรา 21 แล้ว ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดําเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง และฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันภายใน กําหนดห้าวันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง

ถ้าได้มีการตกลงกันภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้นํามาตรา 18 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าข้อพิพาทแรงงานนั้น เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ตามมาตรา 26 หรือนายจ้างจะปิดงาน หรือลูกจ้างจะนัดหยุดงานโดยไม่ขัดต่อมาตรา 39 ก็ได้ ทั้งนี้ภายใต้บังคับ มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 หรือมาตรา 36”

มาตรา 31 “เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว

มาตรา 34 “ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) เมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 13 หรือได้แจ้งข้อเรียกร้องแล้ว แต่ข้อพิพาทแรงงานนั้นยังไม่เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตามมาตรา 22 วรรคสาม

ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงาน โดยมิได้แจ้ง เป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน และอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับแจ้ง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

ก. ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ มาตรา 34 (1) ได้กําหนดถึงการใช้สิทธิและข้อห้ามในการปิดงาน ของนายจ้างเอาไว้ โดยห้ามมิให้นายจ้างปิดงานในกรณีที่สถานประกอบการนั้นไม่เคยมีข้อตกลงหรือคําชี้ขาดใด ๆ มาก่อนเลย และยังมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 หรือกรณีที่มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว แต่ข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ยหรืออยู่ในระหว่างการวินิจฉัยหรือการชี้ขาดข้อพิพาท แรงงานของผู้มีอํานาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งข้อพิพาทแรงงานนั้นยังไม่เป็นข้อพิพาทแรงงาน ที่ตกลงกันไม่ได้ตามมาตรา 22 วรรคสาม

ดังนั้นจากข้อเท็จจริง การที่ลูกจ้างบริษัท กาโตว์กราฟฟิค จํากัด ได้รวมตัวกันแจ้งข้อเรียกร้องต่อ นายจ้าง และขั้นตอนอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 22 วรรคหนึ่งนั้น นายจ้างจะปิดงานไม่ได้ เพราะหากพนักงานประนอมข้อพิพาทไกล่เกลี่ยสําเร็จภายในกําหนด 5 วัน นับแต่วันที่ พนักงานประนอมข้อพิพาทได้รับหนังสือแจ้ง ก็ไปจัดทําข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 18 หากไกล่เกลี่ย ไม่สําเร็จเกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างจึงจะปิดงานเพื่อเป็นการกดดันลูกจ้างให้ถอนข้อเรียกร้องได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและลูกจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับแจ้งตามมาตรา 34

ข หากนายจ้างเลิกจ้างจักร ซึ่งเป็นแกนนําในการแจ้งข้อเรียกร้องในขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทแรงงาน จักรจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และหากจักรใช้สิทธิฟ้องร้องนายจ้างทันที ย่อมสามารถกระทําได้ตามมาตรา 31 ที่ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในช่วงที่มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 และข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29

สรุป

ก กรณีขั้นตอนอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานนายจ้างจะปิดงานไม่ได้

ข หากนายจ้างเลิกจ้างจักร ซึ่งเป็นแกนนําในการแจ้งข้อเรียกร้องในขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน จักรจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน สัมพันธ์ และหากจักรใช้สิทธิฟ้องร้องนายจ้างทันทีย่อมสามารถกระทําได้

LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. บริษัท รามคําแหง จํากัด ได้ตกลงจ้างนางสาวสุดสวยมาทํางานตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดโดยกําหนดให้ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 1 แสนบาท แต่ให้ทดลองงานมีกําหนด 6 เดือน เมื่อนางสาวสุดสวย เข้ามาทํางานแล้วปรากฏว่าคณะกรรมการของบริษัท รามคําแหง จํากัด ประเมินแล้วเห็นว่ายังไม่เหมาะ กับตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดจึงให้นางสาวสุดสวยพ้นจากการเป็นพนักงานในตําแหน่งดังกล่าว เมื่อครบทดลองงาน 6 เดือน โดยให้เหตุผลว่าไม่ผ่านการทดลองงาน นางสาวสุดสวยจึงโต้แย้งว่า ต้องจ่ายค่าชดเชยให้นางสาวสุดสวย แต่ทางบริษัท รามคําแหง จํากัด อ้างว่าเป็นลูกจ้างทดลองงานไม่มีสิทธิได้รับและทํางานมาแค่ 6 เดือนเท่านั้น ให้ท่านวินิจฉัยประเด็นการจ่ายค่าชดเชย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(1) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสามสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทําใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทํางานต่อไปและ ไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดของสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้าง ไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไป”

วินิจฉัย

สัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนดเวลา เป็นสัญญาที่นายจ้างตกลงรับลูกจ้าง เข้าทํางานโดยมีเงื่อนไขให้ทดลองงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง ถ้าปฏิบัติงานได้ดีเป็นที่พอใจ นายจ้างก็จะให้ลูกจ้าง ทํางานต่อไป แต่ถ้าไม่พอใจนายจ้างก็บอกเลิกสัญญาจ้างช่วงระยะเวลาทดลองงานได้

ตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท รามคําแหง จํากัด ได้ตกลงจ้างนางสาวสุดสวยมาทํางานตําแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายการตลาดโดยกําหนดให้ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 1 แสนบาท แต่ให้ทดลองงานมีกําหนด 6 เดือนนั้น ถือเป็น สัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนดเวลา และเมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการของบริษัท รามคําแหง จํากัด ได้ประเมินแล้วเห็นว่า นางสาวสุดสวยยังไม่เหมาะสมกับตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดจึงให้นางสาวสุดสวยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนตําแหน่งดังกล่าวเมื่อครบกําหนดทดลองงาน 6 เดือน โดยให้เหตุผลว่าไม่ผ่านการทดลองงานนั้น ย่อมถือเป็น การเลิกจ้างตามนัยของมาตรา 118 วรรคสอง (คําพิพากษาฎีกาที่ 1120/2544) และเมื่อนางสาวสุดสวยได้ทํางาน ติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ดังนั้น นางสาวสุดสวยจึงมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามมาตรา 118 (1) คือจะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน เป็นเงิน 1 แสนบาท

สรุป

บริษัท รามคําแหง จํากัด ต้องจ่ายเงินชดเชยให้นางสาวสุดสวยตามมาตรา 118 (1) ประกอบมาตรา 118 วรรคสอง เป็นเงิน 1 แสนบาท

 

ข้อ 2 นายมานะทํางานเป็นลูกจ้างในโรงงานผลิตสินค้ามาเป็นเวลา 8 ปี 3 เดือนแล้ว ได้รับค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท ต่อมาค่าใช้จ่ายในการจ้างลูกจ้างของโรงงานมีจํานวนมากขึ้นจนเป็นปัญหาในการบริหาร กิจการของนายจ้าง นายจ้างจึงทําการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ทันสมัยโดยนําเครื่องจักรมาใช้ ในกระบวนการผลิตเป็นเหตุให้ลดจํานวนลูกจ้างลงส่วนหนึ่ง การทํางานของนายมานะเป็นส่วนหนึ่ง ในกระบวนการผลิตที่มีการนําเครื่องจักรมาใช้แทน นายจ้างจึงบอกกล่าวแก่นายมานะในวันที่ 31 สิงหาคม ให้ทราบว่าจะเลิกจ้างในวันที่ 30 กันยายน และจะจ่ายค่าชดเชยให้ 240,000 บาท เช่นนี้ นายมานะจะต่อสู้ว่าไม่ถูกต้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

(4) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 121 “ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจําหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนําเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจํานวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นํามาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้าง แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้าง ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าที่กําหนด ตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทํางานหกสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วยด้วย

ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่า นายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย”

มาตรา 122 “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 121 และลูกจ้างนั้นทํางานติดต่อกัน เกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สิบห้าวันต่อการทํางานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทํางานครบหนึ่งปี สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้าง อัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทํางานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าชดเชยพิเศษกรณีระยะเวลาทํางานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทํางานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทํางานครบหนึ่งปี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจ้างจะเลิกจ้างนายมานะลูกจ้างนั้น ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 ได้กําหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างด้วย และในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยนําเครื่องจักรมาใช้นั้น ให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผล ของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงานและลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง (มาตรา 121 วรรคหนึ่ง) ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือ แจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน (มาตรา 121 วรรคสอง)

และในกรณีที่ลูกจ้างได้ทํางานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้น จากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทํางานครบหนึ่งปี (มาตรา 122 วรรคหนึ่ง) และในกรณีที่ระยะเวลาทํางานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทํางานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทํางานครบหนึ่งปี (มาตรา 122 วรรคสอง)

ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ เมื่อนายมานะลูกจ้างได้ทํางานมาแล้ว 8 ปี 3 เดือน โดยได้รับค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท เมื่อนายจ้างได้บอกกล่าวแก่นายมานะว่าจะเลิกจ้างในวันที่ 31 สิงหาคม และให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 30 กันยายน ซึ่งเป็นการแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน โดยจ่ายค่าชดเชย ให้นายมานะ 240,000 บาทนั้น นายมานะสามารถต่อสู้ได้ว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะนายมานะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ดังนี้ คือ

1 ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 121 เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวันเป็นเงิน 60,000 บาท

2 ค่าชดเชยในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างตามมาตรา 118 (4) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน (8 เดือน) เป็นเงิน 240,000 บาท

3 ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 122 เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทํางาน ครบหนึ่งปี (ทํางานปีที่ 7 – 15 วัน และปีที่ 8 = 15 วัน รวม 30 วัน) เป็นเงิน 30,000 บาท

ซึ่งรวมทั้งหมดนายมานะจะต้องได้รับค่าชดเชยเป็นเงินทั้งสิ้น 330,000 บาท

สรุป

การที่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ 240,000 บาท นายมานะสามารถต่อสู้ว่าไม่ถูกต้องได้ เพราะนายมานะควรจะได้รับค่าชดเชยทั้งหมดเป็นเงิน 330,000 บาท ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 นายจารึกทํางานเป็นลูกจ้างรายวันของบริษัท บางพลีวัสดุ จํากัด ได้ค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 400 บาท มีหน้าที่เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าเพื่อนําส่งบริษัท นายจารึกทํางานจันทร์ถึงเสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น. แต่ไม่เคร่งครัดต่อการลงเวลาทํางานในแต่ละวันของนายจารึก วันเกิดเหตุนายจารึก มีนัดหมายเก็บเงินค่าสินค้านอกสถานที่ทํางาน นายจารึกเดินทางไปพบลูกค้า ณ สถานที่และเวลา ที่นัดหมายไว้ ก่อนกลับเข้ามาบันทึกบัตรลงเวลาปฏิบัติงาน ระหว่างการเดินทางไปพบลูกค้า นายจารึกประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ ต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1 เดือนแล้วกลับไปทํางานได้ แต่ต้องทํากายภาพบําบัดหลังการรักษาอย่างต่อเนื่องอีก 2 เดือน นายจารึกได้เบิกเงินทดแทน แต่นายจ้างปฏิเสธการจ่ายอ้างว่านายจารึกเดินทางไปพบลูกค้านอกเวลางานก่อนที่จะเข้ามาบันทึก บัตรลงเวลาทํางาน และเป็นการประสบอุบัติเหตุนอกสถานที่ทํางาน นายจ้างจึงไม่จ่ายเงินทดแทนให้ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่านายจารึกประสบอันตรายจากการทํางานหรือไม่ ข้ออ้างของนายจ้างฟังขึ้น หรือไม่ นายจารึกจะมีสิทธิในเงินทดแทนหรือไม่ อย่างไร ให้อธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคําสั่งของนายจ้าง”

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง

ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้ทราบ”

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานภายหลังการ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานของลูกจ้างตามความจําเป็นตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานติดต่อกันได้ เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทํางานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทํางานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่ำสุด และไม่มากกว่า ค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกําหนด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจารึกทํางานเป็นลูกจ้างรายวันของบริษัท บางพลีวัสดุ จํากัด ได้ค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 400 บาท มีหน้าที่เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าเพื่อนําส่งบริษัท โดยทํางานจันทร์ถึงเสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น. แต่ไม่เคร่งครัดตอการลงเวลาทํางานในแต่ละวันของนายจารึก และวันเกิดเหตุนายจารึก มีนัดหมายเก็บเงินค่าสินค้านอกสถานที่ทํางาน นายจารึกเดินทางไปพบลูกค้า ณ สถานที่และเวลาที่นัดหมายไว้ ก่อนกลับเข้ามาบันทึกบัตรลงเวลาปฏิบัติงาน ระหว่างการเดินทางไปพบลูกค้านายจารึกประสบอุบัติเหตุได้รับ บาดเจ็บนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายจารึกประสบอันตรายจากการทํางานให้แก่นายจ้างตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ดังนั้น นายจารึกจึงได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ และนายจ้างจะต้อง จ่ายเงินทดแทนให้แก่นายจารึก การที่นายจ้างปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโดยอ้างว่านายจารึกเดินทางไปพบลูกค้า นอกเวลางานก่อนที่จะเข้ามาบันทึกบัตรลงเวลาทํางาน และเป็นการประสบอุบัติเหตุนอกสถานที่ทํางานนั้น ข้ออ้าง ของนายจ้างฟังไม่ขึ้น และนายจารึกมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้ คือ

1 ค่ารักษาพยาบาล ตามมาตรา 13 โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ นายจารึกเท่าที่จ่ายจริงตามความเป็นจริง แต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งในกรณีนี้นายจ้างจะต้อง จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่นายจารึกไม่เกิน 50,000 บาท (ตามกฎกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลฯ พ.ศ. 2558 ข้อ 2)

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ตามมาตรา 15 โดยนายจ้างต้องจ่ายตามความจําเป็น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ในกรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพใน การทํางานให้แก่นายจารึกเป็นจํานวนเงินไม่เกิน 24,000 บาท (ตามกฎกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับอัตราการจ่าย ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานฯ พ.ศ. 2558 ข้อ 4 (1)

3 ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทํางานได้ ตามมาตรา 18 (1) เมื่อนายจารึกไม่สามารถ ทํางานได้ 1 เดือนซึ่งถือว่าติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายจารึกไม่สามารถทํางานได้ เมื่อนายจารึกได้ค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 400 บาท 1 เดือนจึง คํานวณเป็นเงินได้ = 400 x 26 = 10,400 บาท ร้อยละ 60 ของ 10,400 บาท จึงเท่ากับ 6,240 บาท (ซึ่งไม่เกิน ค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานฯ ประกาศกําหนดคือ 12,000 บาท) ดังนั้น นายจ้างจึงต้อง จ่ายค่าทดแทนให้แก่นายจารึกเป็นเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 6,240 บาท

สรุป นายจารึกประสบอันตรายจากการทํางาน ข้ออ้างของนายจ้างฟังไม่ขึ้น และนายจารึก จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้

1 ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 50,000 บาท

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานไม่เกิน 24,000 บาท

3 ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทํางานได้ 1 เดือน เป็นเงิน 6,240 บาท

 

ข้อ 4 บริษัท เอเอ อินเตอร์ จํากัด ผู้ผลิตอุปกรณ์กําจัดขยะ มีลูกจ้างในสถานประกอบการ 300 คน ลูกจ้างส่วนหนึ่งของบริษัท เอเอฯ ต้องการแจ้งข้อเรียกร้องขอปรับสวัสดิการ พีระพลเป็นแกนนํา ในการเรียกร้องขอให้สหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องให้ เมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้ว นายจ้าง สงสัยว่าจํานวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จึงยื่นคําร้องให้ พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดําเนินการตรวจสอบให้ ในระหว่างนี้นายจ้างได้เลิกจ้างพีระพล พีระพลจึงยื่นคําร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหานายจ้างว่ากระทําการอันไม่เป็นธรรม ผลการตรวจสอบของพนักงานประนอมข้อพิพาทปรากฏว่าจํานวนสมาชิกของลูกจ้างไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ดังนี้ ให้อธิบายว่า กฎหมายกําหนดกรณีสหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องรวมถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับจํานวนสมาชิกลูกจ้างกรณีสหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องไว้อย่างไร และให้ วินิจฉัยว่าพีระพลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 15 “สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานอาจแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ต่ออีก ฝ่ายหนึ่งแทนนายจ้างหรือลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้ จํานวนสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจํานวนลูกจ้างทั้งหมด

ในกรณีที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นไม่จําต้องมีรายชื่อและ ลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง

ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าสหภาพแรงงานนั้นจะมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเป็นสมาชิก ครบจํานวนที่ได้ระบุไว้ในวรรคหนึ่งหรือไม่ นายจ้าง สมาคมนายจ้าง หรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้อง อาจยื่นคําร้อง โดยทําเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตรวจรับรอง เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับ คําร้อง ดังกล่าวแล้ว ให้ดําเนินการตรวจหลักฐานทั้งปวงว่า สหภาพแรงงานนั้นมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เป็นสมาชิก หรือไม่ ถ้ามี ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานออกหนังสือรับรอง มอบให้ผู้ยื่นคําร้องเป็นหลักฐาน ถ้าไม่มีให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ…”

มาตรา 31 วรรคหนึ่ง “เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้าง เลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กฎหมายกําหนดกรณีสหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องรวมถึงข้อกําหนดเกี่ยวกับจํานวน สมาชิกลูกจ้างกรณีสหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องไว้ดังนี้ คือ

การที่สหภาพแรงงานจะแจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้จะต้องดําเนินการ ตามมาตรา 15 กล่าวคือ

(1) จะต้องสํารวจจํานวนสมาชิกของสหภาพแรงงานก่อนว่ามีลูกจ้างของบริษัทฯ เป็นสมาชิกอยู่จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนลูกจ้างทั้งหมด เมื่อบริษัทฯ มีลูกจ้าง 300 คน ดังนั้นจึงต้อง มีลูกจ้างไม่น้อยกว่า 60 คน เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน

(2) เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวตาม (1) แล้ว ให้สหภาพแรงงาน แจ้งข้อเรียกร้องที่ ลูกจ้างทําไว้ตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง ต่อนายจ้างได้โดยไม่ต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้องนั้น

(3) ในกรณีที่นายจ้างสงสัยว่าสหภาพแรงงานนั้นจะมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เป็นสมาชิกครบจํานวนตาม (1) หรือไม่ นายจ้างสามารถยื่นคําร้องโดยทําเป็นหนังสือต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเพื่อให้ทําการตรวจสอบได้

(4) เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับคําร้องตาม (3) แล้ว ให้ดําเนินการ ตรวจหลักฐานแล้วออกหนังสือรับรองหรือแจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ

2 พีระพลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์หรือไม่

จากข้อเท็จจริง การที่พระพลเป็นแกนนําในการเรียกร้องขอให้สหภาพแรงงานแจ้ง ข้อเรียกร้องให้ และเมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้ว นายจ้างสงสัยว่าจํานวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จึงยื่นคําร้องให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดําเนินการตรวจสอบให้ ซึ่งใน ระหว่างนี้นายจ้างได้เลิกจ้างพีระพล และพีระพลได้ยื่นคําร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหานายจ้างว่า กระทําการอันไม่เป็นธรรมนั้น เมื่อผลการตรวจสอบของพนักงานประนอมข้อพิพาทปรากฏว่าจํานวนสมาชิกของ ลูกจ้างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กรณีดังกล่าวพีระพลจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ที่กําหนดว่า เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่าง การเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงาน ของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือถ้าเป็นกรณีที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิก ก็จะต้องมีลูกจ้างซึ่งเป็น สมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของลูกจ้างทั้งหมดด้วย

สรุป

กฎหมายกําหนดกรณีสหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องรวมถึงข้อกําหนดเกี่ยวกับจํานวน สมาชิกลูกจ้างไว้ตามมาตรา 15 ดังกล่าวข้างต้น และพระพลจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ตึกสํานักงานของบริษัททรุดตัว นายจ้างจึงให้ผู้รับเหมาทําการซ่อมแซมใช้เวลาสามเดือน (ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม) ปรากฏว่านายอนุชิตเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาท ทํางานมาแล้ว 2 ปี 10 เดือน นับถึงเดือนกุมภาพันธ์) และนายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงความจําเป็น ที่จะต้องหยุดกิจการทั้งหมดลงชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน ในระหว่าง 3 เดือนนั้น นายอนุชิตได้ไป ทํางานกับบุคคลอื่นเพื่อหารายได้ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้

(ก) ในระหว่าง 3 เดือนนี้ นายจ้างจะต้องให้เงินแก่นายอนุชิตหรือไม่ เป็นจํานวนเงินเท่าใดเพราะเหตุใด

(ข) ถ้าหากว่านายจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาจ้างนายอนุชิต จะต้องให้ค่าชดเชยเป็นจํานวนเงินเท่าใด หรือไม่ เพราะเหตุใด

จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 19 “เพื่อประโยชน์ในการคํานวณระยะเวลาการทํางานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นับวันหยุด วันลา วันที่นายจ้างอนุญาตให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง และวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงาน เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง รวมเป็นระยะเวลาการทํางานของลูกจ้างด้วย”

มาตรา 75 “ในกรณีที่นายจ้างมีความจําเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สําคัญอันมีผลกระทบต่อ การประกอบกิจการของนายจ้างจนทําให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า ของค่าจ้างในวันทํางานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทํางาน

ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่ม หยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทําการ”

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(3) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 119 “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้……”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่ตึกสํานักงานของบริษัททรุดตัว นายจ้างจึงให้ผู้รับเหมามาทําการซ่อมแซมและต้องหยุดกิจการเป็นเวลา 3 เดือนนั้น ถือเป็นความจําเป็นอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทําให้ นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 75 ดังนั้นในระหว่าง 3 เดือน ดังกล่าว นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้แก่นายอนุชิตลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทํางานที่ ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทํางาน เมื่อนายอนุชิตได้รับค่าจ้าง เดือนละ 20,000 บาท ร้อยละ 75 จึงเท่ากับ 15,000 บาท ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินให้แก่นายอนุชิต เป็นเงินทั้งสิ้น 45,000 บาท

(ข) การที่นายอนุชิตได้ไปทํางานกับบุคคลอื่นเพื่อหารายได้นั้น ไม่ถือว่านายอนุชิตได้กระทําผิด อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 119 ดังนั้น ถ้านายจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาจ้างนายอนุชิตจึงต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่นายอนุชิตตามมาตรา 118 และเมื่อนายอนุชิตได้ทํางานมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี 10 เดือน บวกกับวันที่นายจ้าง สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างอีก 3 เดือน (ตามมาตรา 19) เท่ากับถือว่านายอนุชิตได้ทํางาน มาแล้วเป็นเวลา 3 ปี 1 เดือน ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายอนุชิตไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 6 เดือน) เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 120,000 บาท (ตามมาตรา 118 (3) และคําพิพากษาฎีกาที่ 7675/2548)

สรุป

(ก) นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้แก่นายอนุชิตเป็นเงิน 45,000 บาท

(ข) ถ้านายจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาจ้างนายอนุชิต นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่นายอนุชิตเป็นเงิน 120,000 บาท

 

ข้อ 2. นายสุชาติเป็นหัวหน้าพนักงานที่โรงแรมสบายสบาย ได้รับค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาท (เฉลี่ย 100 บาทต่อชั่วโมง) ทํางานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. (พักเที่ยง 1 ชั่วโมง) นายจ้างให้เลื่อนวันหยุดประจําสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคมไปหยุดช่วงปลายเดือนเป็นเวลา 4 วัน ติดต่อกัน (สามารถทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด)

แต่เนื่องจากยังมีนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก นายจ้างจึงขอให้นายสุชาติมาทํางานในช่วงวันหยุดประจําสัปดาห์ 4 วันของนายสุชาติ โดยให้มา ทํางานตั้งแต่เวลา 08.00 ถึง 17.00 น. เช่นนี้ นายสุชาติจะได้รับค่าตอบแทนอย่างไร เป็นจํานวนเงินเท่าใด เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 28 วรรคสอง “ในกรณีที่ลูกจ้างทํางานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจําสัปดาห์ และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน”

มาตรา 62 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือ มาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทํางานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ดังต่อไปนี้

(1) สําหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า หนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทําหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้าง ต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายสุชาติเป็นหัวหน้าพนักงานที่โรงแรมสบายสบาย ถือว่านายสุชาติเป็นลูกจ้าง ที่ทํางานในโรงแรมตามมาตรา 28 วรรคสอง นายจ้างและลูกจ้างจึงสามารถตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุด ประจําสัปดาห์ และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน ดังนั้น การที่นายจ้างให้ เลื่อนวันหยุดประจําสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคมไปหยุดช่วงปลายเดือนเป็นเวลา 4 วันติดต่อกันจึงสามารถทําได้

2 เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก นายจ้างจึงขอให้นายสุชาติมาทํางานในช่วง วันหยุดประจําสัปดาห์ 4 วันของนายสุชาติ โดยเริ่มทํางานตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. นั้น เป็นกรณีที่นายจ้าง ให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุด ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทําสําหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ตามมาตรา 62 (1) เมื่อนายสุชาติได้รับค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาท (เฉลี่ยวันละ 800 บาท และชั่วโมงละ 100 บาท) นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดให้นายสุชาติ 800 บาทต่อวัน และเมื่อนายสุชาติทํางานในวันหยุดประจําสัปดาห์ 4 วัน จึงมีสิทธิได้รับค่าทํางานในวันหยุด เป็นเงินรวมทั้งสิ้นจํานวน 3,200 บาท

สรุป

นายจ้างสามารถให้เลื่อนวันหยุดประจําสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคมไปหยุดช่วงปลายเดือน เป็นเวลา 4 วันได้ และเมื่อนายสุชาติมาทํางานในช่วงวันหยุดประจําสัปดาห์ 4 วัน นายสุชาติจะได้รับค่าทํางาน ในวันหยุด เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 3,200 บาท

 

ข้อ 3. นายสาธิตเป็นลูกจ้างแผนกทําอาหารได้รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท นายจ้างให้นายสาธิตทํางานตอนเย็นตั้งแต่ 18.00 ถึง 23.00 น. นายสาธิตได้เดินทางกลับไปบอกภริยาและเดินทางมาทํางาน ตามที่นายจ้างสั่ง ในระหว่างเดินทางเห็นว่ายังขาดเครื่องปรุงอาหารบางอย่างจึงได้แวะซื้อเพื่อ นํามาใช้ในการปรุงอาหารให้แก่คนทํางานตอนดึก แต่เกิดอุบัติเหตุขับรถชนต้นไม้ได้รับบาดเจ็บ ระหว่างเดินทางต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งเดือน เช่นนี้ นายสาธิตจะมีสิทธิอะไรบ้างเพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคําสั่งของนายจ้าง”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 5 กรณีที่จะถือว่าลูกจ้างประสบอันตราย จะต้องเป็นกรณี ที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย หรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจาก

1 การทํางานให้แก่นายจ้าง หรือ

2 การทํางานเพื่อป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือ

3 การทํางานตามคําสั่งของนายจ้าง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสาธิตได้เดินทางกลับไปบอกภริยาและเดินทางมาทํางานตามที่ นายจ้างสั่ง ในระหว่างเดินทางได้แวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่ต้องนํามาใช้ในการปรุงอาหารให้แก่คนทํางาน ตอนดึก แต่เกิดอุบัติเหตุขับรถชนต้นไม้ได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางนั้น ถือว่าอุบัติเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นใน ระหว่างเดินทางก่อนถึงเวลาปฏิบัติงานยังไม่ได้ลงมือทํางานให้แก่นายจ้าง และการที่นายสาธิตได้เดินทางกลับบ้าน ไปบอกภริยาเพื่อให้ภริยาทราบว่าจะต้องทํางานในวันเกิดเหตุนั้นถือเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับงานที่จะต้องทํา และ การที่นายสาธิตตั้งใจจะแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทางมาใช้ ในการทํางานด้วยนั้น ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้มีคําสั่งให้กระทําเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่า นายสาธิตได้กระทําการเอง ไม่ได้กระทําตามคําสั่งของนายจ้าง จะถือว่านายสาธิตได้รับอันตรายเนื่องจากการทํางานตามคําสั่งของนายจ้าง หรือเนื่องจากทํางานให้แก่นายจ้างไม่ได้ ดังนั้น กรณีของนายสาธิตจึงไม่ถือว่าเป็นการ “ประสบอันตราย” ตามความหมายของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 (คําพิพากษาฎีกาที่ 3/2543) นายสาธิต จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง

สรุป

นายสาธิตไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนใด ๆ จากนายจ้าง

 

ข้อ 4. ในสถานประกอบการแห่งหนึ่งได้มี “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” กําหนดให้ ลูกจ้างที่ทํางานครบ 6 เดือน มีสิทธิได้รับค่ารถและค่าครองชีพ แต่ต่อมานายจ้างได้แก้ไขระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ การทํางานจากเดิมที่กําหนดไว้ 6 เดือน เป็น 1 ปี ลูกจ้างเห็นว่านายจ้างกระทําการดังกล่าวไม่ถูกต้องเช่นนี้ ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“สภาพการจ้าง” หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน กําหนดวันและเวลาทํางาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางาน

“ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” หมายความว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือ ระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง”

มาตรา 20 “เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทําสัญญา จ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่สถานประกอบกิจการดังกล่าวได้มี “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” กําหนดให้ลูกจ้างที่ทํางานครบ 6 เดือน มีสิทธิได้รับค่ารถและค่าครองชีพ แต่ต่อมาภายหลัง นายจ้างได้แก้ไขระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานจากเดิมที่กําหนดไว้ 6 เดือน เป็น 1 ปีนั้น เมื่อนายจ้างได้แก้ไขระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ การทํางานจากเดิมที่กําหนดไว้ 6 เดือน เป็น 1 ปี ย่อมทําให้สิทธิของลูกจ้างซึ่งจะได้รับสิทธิเปลี่ยนจากได้รับเมื่อ พ้นเวลา 6 เดือน เป็น 1 ปี ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นการขัดแย้งกับ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลใช้บังคับตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 การแก้ไข ดังกล่าวจึงไม่มีผล จะต้องถือตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม เนื่องจากเป็นการแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 (คําพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543) ดังนั้น การที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการดังกล่าวเห็นว่านายจ้างได้กระทําการดังกล่าวไม่ถูกต้องนั้น ความเห็นของลูกจ้างจึงถูกต้อง

สรุป

การที่ลูกจ้างเห็นว่านายจ้างกระทําการดังกล่าวไม่ถูกต้องนั้น ความเห็นของลูกจ้าง ถูกต้อง

WordPress Ads
error: Content is protected !!