LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายเกี่ยวกับ “หลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)” และ “หลักการพื้นฐานของการให้บริการสาธารณะ (Public Service)”

ธงคําตอบ

หลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) หมายถึง หลักการใช้อํานาจรัฐเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของปัจเจกบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และมิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของรัฐหรือผู้ดําเนินการนั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ประโยชน์สาธารณะ คือ ความต้องการของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่ตรงกัน และเป็นความต้องการที่ตรงกันของ คนจํานวนมากจนเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม มีผลทําให้ความต้องการในลักษณะดังกล่าว เป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากประโยชน์ส่วนบุคคลของปัจเจกบุคคลหรือเอกชนแต่ละคน ส่วนหลักการพื้นฐานของการให้บริการสาธารณะ (Public Service) มีดังต่อไปนี้

1 หลักความต่อเนื่องในการบริการสาธารณะ หมายถึง การจัดทําบริการสาธารณะจะต้อง มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดเวลา การกระทําใด ๆ ก็ตามที่ทําให้การบริการสาธารณะขาดความต่อเนื่องก็จะต้องห้าม

2 หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการบริการสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่เป็นบริการ สาธารณะที่ฝ่ายปกครองดําเนินการนั้น จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดความทันสมัยและให้ทันต่อ ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่อยู่เสมอ

3 หลักความเสมอภาคในการบริการสาธารณะ หมายถึง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ที่ให้บริการสาธารณะจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ ต้องให้ความเสมอภาค อย่างเท่าเทียมกันทั้งในด้านการให้บริการและการรับบุคคลเข้าทํางานในหน่วยงานของรัฐ

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชน และประเภทของกฎหมายมหาชนทั้งกฎหมายมหาชน ภายใน และกฎหมายมหาชนภายนอก

ธงคําตอบ

ความหมายของกฎหมายมหาชนนั้น ได้มีศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายมหาชนทั้งของไทยและ ต่างประเทศหลายท่าน ได้อธิบายไว้ดังนี้

ศาสตราจารย์มอริส ดูแวร์เช่ แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ได้อธิบายไว้ว่า “กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานะและอํานาจของผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง”

ศาสตราจารย์อองเดร เดอ โรมาแดร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงทางกฎหมายปกครองกล่าวถึงกฎหมาย มหาชนไว้ว่า “กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่วางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคล อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครอง และรวมตลอดถึงนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่น ๆ ในด้านองค์กร การดําเนินงาน และความสัมพันธ์ระหว่าง สาธารณบุคคลด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลและเอกชน”

ศาสตราจารย์แบร์นาร์ บราเช่ ผู้สอนกฎหมายมหาชนของมหาวิทยาลัยปารีส ได้อธิบายถึง กฎหมายมหาชนไว้ว่า “กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของอํานาจสาธารณะและฝ่ายปกครอง รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรดังกล่าวกับเอกชน”

ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้ว่า “กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กําหนด ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร”

นอกจากนี้ยังมีคําจํากัดความ “กฎหมายมหาชน” ของนักกฎหมายไทยอีกท่านหนึ่ง คือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งท่านได้กล่าวอธิบายถึงกฎหมายมหาชนไว้ว่า “กฎหมายมหาชนนั้น อาจให้บทวิเคราะห์ศัพท์ ดังนี้คือ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอันเกิดขึ้นเนื่องจากการที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้บังคับปกครองในพระราชอาณาจักร โดยรักษาความสงบเรียบร้อย ระเบียบ การเก็บภาษีอากร และการที่ประเทศแสดงตัวนอกพระราชอาณาจักร เป็นผู้ทําการเกี่ยวพันกับประเทศอื่น”

จากคําอธิบายของศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชนดังกล่าว จึงพอสรุปความหมายของกฎหมาย มหาชนได้ว่า “กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กําหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ สาธารณะและอํานาจของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

กฎหมายมหาชน สามารถจําแนกออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ กฎหมายมหาชนภายใน และกฎหมายมหาชนภายนอก

กฎหมายมหาชนภายใน เป็นกฎหมายที่กําหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ภายในรัฐเกี่ยวกับการ จัดระเบียบภายในรัฐ ประกอบด้วยสาขาย่อย ๆ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง

กฎหมายมหาชนภายนอก เป็นกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ กําหนดกฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวกับสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในฐานะอธิปัตย์ที่เท่าเทียมกัน ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาตอบคําถามดังต่อไปนี้

(1) กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับการปฏิรูป (Reform) อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน และ

(2) การปฏิรูปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีการปฏิรูปด้านใดบ้างจงอธิบาย

ธงคําตอบ

(1) คําว่า “ปฏิรูป” (Reform) หมายถึง ปรับปรุงให้สมควรหรือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่พึงประสงค์ หรือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และหมายความรวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้แตกต่างไปจากเดิม ในทิศทางที่ดีขึ้น และเกิดประโยชน์มากกว่าที่ผ่านมา เช่น ถ้าพูดถึงการปฏิรูปประเทศ ย่อมหมายถึง การปรับเปลี่ยน โครงสร้างในแต่ละด้านอันเป็นองค์ประกอบสําคัญต่อการปกครองประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง

เนื่องจากในปัจจุบันภารกิจของรัฐสมัยใหม่มีมากมาย ทั้งภารกิจด้านเศรษฐกิจ และภารกิจด้านสังคมกระแสโลกาภิวัตน์ หรือกระแสการเปลี่ยนแปลงเชิงพัฒนาของสังคมโลกโดยเฉพาะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทําให้จําเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องปรับเปลี่ยนท่าทีในการตั้งรับและปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกจึงจําเป็นจะต้องมีการกําหนดวิสัยทัศน์ในการปฏิรูประบบการเมือง การปฏิรูปการปกครอง การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูประบบราชการ และการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือในการปฏิรูปดังกล่าว ก็คือกฎหมายมหาชน ดังนั้น บทบาทที่สําคัญของกฎหมายมหาชน คือ บทบาท ในการปฏิรูปสังคมในด้านต่าง ๆ นั่นเอง

ตัวอย่าง บทบาทของกฎหมายมหาชนในการปฏิรูประบบการเมือง

เนื่องจากสภาพการเมืองในปัจจุบัน ระบบการเมืองทําให้เกิดปัญหาทางการเมืองหลายประการ เช่น มีการใช้เงินเป็นใหญ่ มีการผูกขาดทางการเมืองโดยคนจํานวนน้อย การที่คนดีมีความสามารถเข้าไปสู่ระบบ การเมืองได้ยาก การทุจริตประพฤติมิชอบ การเผด็จการโดยระบบรัฐสภา การต่อสู้เรื้อรังและความไร้เสถียรภาพ ทางการเมือง การขาดประสิทธิภาพทางการบริหารและทางนิติบัญญัติ การขาดสภาวะผู้นําทางการเมือง เป็นต้น ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว กฎหมายมหาชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย เกี่ยวกับพรรคการเมือง จึงต้องมีบทบาทในการปฏิรูประบบการเมือง โดยการกําหนดมาตรการหลักที่สําคัญ ๆ เช่น

1 การปฏิรูประบบพรรคการเมือง โดยการทําพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย และรัฐต้องให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมืองเพื่อให้พรรคการเมืองเป็นอิสระจากผู้ให้เงินอุดหนุน

2 การปฏิรูประบบเลือกตั้ง โดยการขยายฐานผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้มีจํานวนมากที่สุด เท่าที่จะมากได้ เพื่อให้การใช้เงินต้องใช้มากจนไม่น่าใช้ การปรับระบบเลือกตั้งโดยใช้ระบบผสม คือ ใช้ระบบ สัดส่วนตามบัญชีรายชื่อพรรค 100 คนทั่วประเทศ และใช้ระบบการเลือกตั้งเสียงข้างมากเซตละ 1 คน ซึ่งจะทําให้ ประชาชนมีคะแนนคนละ 2 เสียงเท่ากันทั้งประเทศ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเพิ่มโอกาสให้คนดีมีความสามารถเข้าสู่ การเมืองได้มากขึ้น และเป็นการลดการซื้อเสียง รวมทั้งให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเพื่อควบคุมการเลือกตั้ง โดยมีความเป็นอิสระ และมีอํานาจตามกฎหมาย

3 สร้างองค์กรตรวจสอบและกระบวนการสอบสวนลงโทษ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง เป็นต้น

(2) การปฏิรูปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 มี 7 ด้าน ซึ่งแต่ละด้านรัฐธรรมนูญฯ ได้กําหนดให้มีการปฏิรูป ดังนี้

1 ด้านการเมือง ได้แก่ การให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การกําหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดําเนิน กิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ การให้พรรคการเมืองดําเนินกิจกรรมโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน มีกลไกที่กําหนดให้ผู้ดํารง ตําแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อประชาชน และมีกลไกในการ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี เป็นต้น

2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ให้มีการนําเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดทําบริการสาธารณะ ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบการ บริหารงานของรัฐและแผนกําลังคนภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐรวมทั้งให้มีการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความคล่องตัว เปิดเผย ตรวจสอบได้ และมีกลไกในการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน เป็นต้น

3 ด้านกฎหมาย ได้แก่ ให้ดําเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตและระบบการดําเนินการโดยคณะกรรมการเพียง เท่าที่จําเป็น เพื่อให้การทํางานเกิดความคล่องตัว และไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจําเป็น ปฏิรูประบบการเรียนการสอนและการศึกษาอบรมวิชากฎหมายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายให้เป็นผู้มีความรู้ และยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย พัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมายของรัฐโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกฎหมายได้สะดวก และสามารถเข้าใจเนื้อหาสาระของกฎหมายได้ง่าย เป็นต้น

4 ด้านกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ให้มีการกําหนดระยะเวลาดําเนินงานในทุกขั้นตอนของ กระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ชักช้า มีกลไกการช่วยเหลือประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ มีการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่าง พนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม กําหนดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายให้ชัดเจนเพื่อมิให้คดีขาดอายุความ เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการยุติธรรม ให้มุ่งอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว เป็นต้น

5 ด้านการศึกษา ได้แก่ ดําเนินการจัดให้เด็กทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใดจะต้องได้รับ การศึกษาภาคบังคับอย่างน้อย 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ให้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อลด ความเหลื่อมล้ําในการศึกษา ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง และได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับ ความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน เป็นต้น

6 ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนําความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปรับปรุงระบบภาษีให้มีความเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมสหกรณ์และผู้ประกอบการแต่ละขนาดให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสม เป็นต้น

7 ด้านอื่น ๆ เช่น ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการจัดระบบบริหาร ทรัพยากรที่ดีและมีประสิทธิภาพ และด้านสาธารณสุข โดยให้มีการปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกเท่าเทียมกัน เป็นต้น

LAW3112 (LAW3012) กฎหมายปกครอง s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3112 (LAW 3012) กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 คณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์เงื่อนไขและจํานวนเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลง มีมติให้นายแดงเป็นผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพและได้ออกประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิและไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย และแจ้งให้ทราบ โดยวิธีจัดส่งประกาศให้นายอําเภอ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอําเภอ ที่ทําการ กํานัน ผู้ใหญ่บ้านตามลําดับ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่ามติของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นนิติกรรมทาง ปกครองประเภทใดหรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติ ท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

“คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่า จะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการ รับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

วินิจฉัย

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่คณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์เงื่อนไขและจํานวนเงินชดเชยพิเศษ แทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพจังหวัดลพบุรี มีมติให้นายแดงเป็นผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพ และได้ออกประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิและไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย และได้แจ้งให้ทราบ โดยวิธีจัดส่งประกาศให้นายอําเภอ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอําเภอ ที่ทําการกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามลําดับนั้น มติของคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของนายแดง

ในการได้รับเงินชดเชยพิเศษฯ โดยตรง และเมื่อมตินั้นได้ออกโดยการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ โดยมุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งและมีผลใช้บังคับกับบุคคลใดเป็นการเฉพาะเจาะจง

ดังนั้น มติของ คณะกรรมการฯ ดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมทางปกครองประเภทคําสั่งทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

สรุป มติของคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าว เป็นนิติกรรมทางปกครองประเภท คําสั่งทางปกครอง

 

ข้อ 2 นายเขียวร้องต่อคณะกรรมการสภาทนายความว่า นายขาวทนายความของตนยักยอกเงินคณะกรรมการสภาทนายพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีมูลจึงมีคําสั่งไม่รับคํากล่าวหาคดีมารยาททนายความ แต่เนื่องจากข้อบังคับมารยาททนายความไม่ได้กําหนดเรื่องอุทธรณ์คําสั่งไว้โดยเฉพาะ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเขียวจะฟ้องขอให้เพิกถอนคําสั่งไม่รับคํากล่าวหาคดีมารยาททนายความต่อศาลปกครองโดยตรงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 3 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกําหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ ในกฎหมาย”

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 44 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใด ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณี อุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว

คําอุทธรณ์ต้องทําเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 42 วรรคสอง “ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการ ดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลา อันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกําหนด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวร้องต่อคณะกรรมการสภาทนายความซึ่งเป็นหน่วยงานทาง ปกครองว่า นายขาวทนายความของตนยักยอกเงิน แต่คณะกรรมการสภาทนายความพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีมูล จึงมีคําสั่งไม่รับคํากล่าวหาคดีมรรยาททนายความดังกล่าวนั้น คําสั่งไม่รับคํากล่าวหาคดีมรรยาททนายความของ คณะกรรมการสภาทนายความดังกล่าวถือเป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

และด้วยเหตุที่ข้อบังคับมรรยาททนายความไม่ได้กําหนดเรื่องการอุทธรณ์คําสั่งไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวของนายเขียวจึงต้องนําเรื่องการอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 3 มาใช้บังคับ กล่าวคือ นายเขียวจะต้องอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าว โดยทําเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการสภาทนายความภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายเขียวไม่ได้อุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด แต่นายเขียวจะฟ้องขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งไม่รับคํากล่าวหาคดีมรรยาททนายความโดยตรงเลยนั้น นายเขียวไม่อาจทําได้เพราะ ต้องห้ามตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งได้ วางหลักไว้ว่า การฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น

จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้มีการดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้แล้ว คือได้มีการอุทธรณ์ คําสั่งทางปกครองนั้นแล้วนั่นเอง ดังนั้น เมื่อนายเขียวไม่ได้อุทธรณ์คําสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความไว้ ก่อนแต่อย่างใด นายเขียวจึงไม่สามารถนําคดีนั้นไปยื่นฟ้องเพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งดังกล่าวได้

สรุป นายเขียวจะฟ้องขอให้เพิกถอนถอนคําสั่งไม่รับคํากล่าวหาคดีมรรยาททนายความต่อศาลปกครองโดยตรงไม่ได้ เนื่องจากไม่มีการอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวไว้ก่อน

 

ข้อ 3 โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งทําสัญญาซื้อขายเครื่องมือจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมาปรากฏว่า โรงพยาบาลดังกล่าวได้ผิดสัญญาบางข้อเกิดขึ้น ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า บริษัทเอกชนรายนี้จะฟ้องให้ โรงพยาบาลรับผิดตามสัญญาได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง”

และตามมาตรา 3 ได้บัญญัติให้คํานิยามของ “สัญญาทางปกครอง” ไว้ว่า

“สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทํา บริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทธรณ์ การที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองได้ทําสัญญา ซื้อขายเครื่องมือจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งนั้น แม้สัญญาดังกล่าวจะเป็นสัญญาที่ทําขึ้นระหว่างหน่วยงานทาง ปกครองฝ่ายหนึ่งกับบริษัทเอกชนอีกฝ่ายหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อเป็นสัญญาที่คู่สัญญามีเจตนาที่จะผูกพันตนบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคกัน อีกทั้งวัตถุประสงค์ของสัญญานั้นก็ไม่ใช่สัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญา ที่ให้จัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาทางปกครองตามนัยของมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้น เมื่อต่อมาปรากฏว่าโรงพยาบาลดังกล่าวได้ผิดสัญญาบางข้อเกิดขึ้น ข้อพิพาท เกี่ยวกับการผิดสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) ดังนั้น ถ้าบริษัทเอกชนรายนี้จะฟ้องให้โรงพยาบาลรับผิด ตามสัญญา จึงต้องฟ้องโรงพยาบาลที่ศาลยุติธรรม จะนําคดีไปฟ้องที่ศาลปกครองไม่ได้

สรุป บริษัทเอกชนรายนี้จะต้องฟ้องโรงพยาบาลให้รับผิดตามสัญญาได้ที่ศาลยุติธรรม

 

ข้อ 4 คนงานของเทศบาลแห่งหนึ่งทําการลอกคลองและทําความสะอาดถนน ทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ นายเหลืองได้รับความเสียหายเสื้อผ้าสกปรกและต้องผิดนัดในการเจรจาธุรกิจ เนื่องจากต้องกลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้าและไปเจรจาธุรกิจสําคัญไม่ทันเกิดความเสียหาย ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเหลือง จะฟ้องเทศบาลให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)

“ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครองหรือคําสั่งอื่น หรือ จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) กรณีที่จะถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทําละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเรียกว่า “ละเมิดทางปกครอง” และจะเป็น คดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้ คือ

1 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ

2 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 กรณี ดังต่อไปนี้ คือ

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมาย

(2) การออกกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่น

(3) การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ

(4) การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่คนงานของเทศบาลแห่งหนึ่งได้ทําการลอกคลองและทําความสะอาดถนนและได้ทําโดยประมาทเป็นเหตุให้นายเหลืองได้รับความเสียหายเสื้อผ้าสกปรกและต้องผิดนัดในการเจรจาธุรกิจนั้น การกระทําของคนงานของเทศบาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการกระทําละเมิดเนื่องจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด และไม่ใช่เป็นการละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีอื่น ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่อย่างใด แต่เป็นการละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ทั่ว ๆ ไปของคนงานที่ไม่ได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณี จึงไม่ใช่การทําละเมิดทางปกครอง แต่เป็นละเมิดทางแพ่ง ดังนั้น ข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หากนายเหลืองจะฟ้องให้เทศบาลรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ในกรณีดังกล่าว นายเหลืองจะต้องฟ้องเทศบาลเป็นคดีแพ่งต่อศาลยุติธรรม

สรุป นายเหลืองจะต้องฟ้องเทศบาลให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ศาลยุติธรรม

LAW3112 (LAW3012) กฎหมายปกครอง s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3112 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายแดงเป็นพนักงานการรถไฟถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจึงตั้งคณะกรรมการ สอบสวนวินัยนายแดง เมื่อพิจารณาระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 120 ว่าด้วย การสอบสวนเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2541 แล้ว ปรากฏว่า ระเบียบดังกล่าวมิได้มีข้อกําหนดใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ถูกสอบสวนในการมีทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในกระบวนการสอบสวน นายแดงจึงมาปรึกษาท่านที่เป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงว่าตนประสงค์จะนําทนายความเข้ามาในกระบวนการสอบสวนนี้ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า นายแดง จะนําทนายความเข้ามาในกระบวนการสอบสวนทางวินัยของตนได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 3 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้

เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกําหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ํากว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน พระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กําหนดใน กฎหมาย”

มาตรา 23 “ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้

การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้บัญญัติ ให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะนําทนายความเข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้า เจ้าหน้าที่ได้นั้น ถือเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่คู่กรณีอย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิได้มีข้อกําหนดใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ถูกสอบสวนในการมีทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในกระบวนการ สอบสวน ระเบียบดังกล่าวจึงมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ดังนั้นการสอบสวนความผิดวินัยของการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงต้องนํามาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวมาใช้บังคับตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กล่าวคือ นายแดงสามารถนํา ทนายความเข้ามาในกระบวนการสอบสวนทางวินัยของตนได้

สรุป ข้าพเจ้าจะให้ความเห็นแก่นายแดงดังที่อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 ชาวบ้านที่จังหวัดอ่างทองเลี้ยงปลาในกระชังริมแม่น้ำ ต่อมาปรากฏว่าปลาที่เลี้ยงตายหมดนับแสนตัว ชาวบ้านจึงมาร้องเรียนอธิบดีกรมโรงงานให้มีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานผงชูรส ที่ตั้งใกล้บริเวณนั้น โดยอ้างว่าโรงงานผงชูรสได้ปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำทําให้น้ำบริเวณนั้นเน่าเสีย และทําให้ปลาที่เลี้ยงตายจนหมด อธิบดีกรมโรงงานเชื่อในคํากล่าวอ้างของชาวบ้านและเห็นชาวบ้านเดือดร้อนจริง จึงมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานผงชูรสทันที ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งของอธิบดีกรมโรงงานดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 30 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้อง ให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ชาวบ้านจังหวัดอ่างทองเลี้ยงปลาในกระชังริมแม่น้ำ ได้มาร้องเรียนอธิบดี กรมโรงงานให้มีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานผงชูรสที่ตั้งใกล้บริเวณนั้น โดยอ้างว่าโรงงานผงชูรสได้ปล่อยน้ำเสีย ลงในแม่น้ำทําให้น้ำในบริเวณนั้นเน่าเสีย และทําให้ปลาที่เลี้ยงตายจนหมด อธิบดีกรมโรงงานเชื่อในคํากล่าวอ้าง ของชาวบ้านและเห็นชาวบ้านเดือดร้อนจริง จึงมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานผงชูรสทันทีนั้น คําสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตดังกล่าวถือเป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ เพราะเป็นคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลคือเจ้าของโรงงานผงชูรส

และเมื่อก่อนที่อธิบดีกรมโรงงานจะออกคําสั่งทางปกครองดังกล่าว อธิบดีกรมแรงงานไม่ได้ให้ เจ้าของโรงงานผงชูรสได้มีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน ของตน คําสั่งของอธิบดีกรมโรงงานดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

สรุป คําสั่งของอธิบดีกรมโรงงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3 มหาวิทยาลัยรามทําการตระเตรียมงานรับปริญญาบัตรของนักศึกษาที่จบการศึกษา จึงได้ ทําสัญญากับนายเขียวให้ทําการตกแต่งสวนหย่อมหน้าคณะนิติศาสตร์ให้ดูสวยงาม ต่อมามีการ ผิดสัญญาบางข้อเกิดขึ้น โดยนายเขียวอ้างว่าทางมหาวิทยาลัยผิดสัญญา ขอให้ท่าน วินิจฉัยว่า นายเขียวจะฟ้องมหาวิทยาลัยให้รับผิดตามสัญญาได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใดขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง”

และตามมาตรา 3 ได้บัญญัติให้คํานิยามของ “สัญญาทางปกครอง” ไว้ว่า

“สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทําบริการ สาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองได้ทําสัญญากับ นายเขียวให้ทําการตกแต่งสวนหย่อมหน้าคณะนิติศาสตร์ให้ดูสวยงามนั้น แม้สัญญาดังกล่าวจะเป็นสัญญาที่ทําขึ้น ระหว่างหน่วยงานทางปกครองฝ่ายหนึ่งกับนายเขียวซึ่งเป็นเอกชนอีกฝ่ายหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อวัตถุประสงค์ของ สัญญานั้นไม่ใช่สัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ให้จัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างใด สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้นต่อมา เมื่อมีการผิดสัญญาบางข้อเกิดขึ้น โดยนายเขียวอ้างว่าทางมหาวิทยาลัยผิดสัญญา ข้อพิพาทเกี่ยวกับ การผิดสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองจึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) ดังนั้น ถ้านายเขียวจะฟ้องมหาวิทยาลัยให้รับผิดตามสัญญา นายเขียวจะต้องฟ้องมหาวิทยาลัยที่ศาลยุติธรรม จะนําคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้

สรุป นายเขียวจะฟ้องมหาวิทยาลัยให้รับผิดตามสัญญาได้ที่ศาลยุติธรรม

 

ข้อ 4 นายดําเป็นข้าราชการพลเรือนไปงานสังสรรค์กับเพื่อน ในระหว่างขับรถกลับบ้านถูกตํารวจจับในความผิดฐานเมาสุราในระหว่างขับรถ ศาลตัดสินโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก 10 วัน หากท่าน เป็นผู้บังคับบัญชานายดําจะดําเนินการตามกฎหมายกับนายดําได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 110 “ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือน สามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(8) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกใน ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจําคุกโดยคําสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับ จะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนไปงานสังสรรค์กับเพื่อน ในระหว่าง ขับรถกลับบ้านถูกตํารวจจับในความผิดฐานเมาสุราในระหว่างขับรถ และศาลได้ตัดสินโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้ จําคุก 10 วันนั้น ความผิดที่นายดําได้กระทําถือเป็นความผิดลหุโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 102 ดังนั้น หากข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับบัญชาของนายดํา ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งให้นายดําออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จ บํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามมาตรา 110 (8)

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับบัญชาของนายดํา ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งให้นายดําออกจากราชการ เพื่อรับบําเหน็จบํานาญตามมาตรา 110 (8)

 

LAW3112 (LAW3012) กฎหมายปกครอง 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. (ก) ธนาคารออมสินเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ประสงค์ จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท มหาชน จํากัด แห่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอให้ท่านวินิจฉัยว่าคําสั่งของธนาคารออมสินโดยนายแดงผู้อํานวยการธนาคารออมสินที่สั่งซื้อ หุ้นสามัญของบริษัท มหาชน จํากัด ดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์นั้น เป็นคําสั่งทางปกครอง หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

(ข) นายเขียวเรียนจบปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ มาสมัครรับราชการและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต่อมา ก.พ. ตรวจสอบ พบว่า ปริญญาตรีที่นายเขียวศึกษาจบมานั้น ก.พ. ไม่รับรอง ดังนั้นหากท่านเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะดําเนินการทางกฎหมายกับนายเขียวได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย

ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

วินิจฉัย

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ธนาคารออมสินซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 และเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยนายแดงผู้อํานวยการธนาคารออมสินได้มีคําสั่งให้ซื้อหุ้นสามัญ ของบริษัท มหาชน จํากัด แห่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น คําสั่งให้ซื้อหุ้นฯ ดังกล่าวเป็นเพียง การทําคําสนองรับคําเสนอขายหุ้นตามกระบวนการทําสัญญาซื้อขายตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น มิได้เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่อันจะถือว่าเป็นการทําคําสั่งทางปกครองแต่อย่างใด ดังนั้น คําสั่งของธนาคารออมสินฯ ดังกล่าว จึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

สรุป คําสั่งของธนาคารออมสินที่สั่งซื้อหุ้นสามัญของบริษัท มหาชน จํากัด ดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์นั้น ไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

(ข) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 62 วรรคสาม “ในกรณีที่ ก.พ. กําหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง

มาตรา 67 “ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใด ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 63 มาตรา 64 และมาตรา 65 หากภายหลังปรากฏว่า ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 36 หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับ ตําแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62 ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอํานาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้น….”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวเรียนจบปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในฟิลิปปินส์ มาสมัครรับราชการและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และต่อมา ก.พ. ตรวจสอบพบว่า ปริญญาตรีที่นายเขียวศึกษาจบมานั้น ก.พ. ไม่รับรอง ย่อมถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62 และเมื่อเป็นการตรวจสอบพบภายหลังจากที่ นายเขียวได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว กรณีดังกล่าวย่อมเข้าลักษณะตามบทบัญญัติมาตรา 67 กล่าวคือ นายเขียวเป็นผู้ที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญแล้ว ต่อมาภายหลังปรากฏว่านายเขียว ขาดคุณสมบัติเฉพาะตําแหน่งนั้น ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะต้องสั่งให้นายเขียวออกจากราชการทันที

แต่อย่างไรก็ตาม การสั่งให้นายเขียวออกจากราชการได้ทันทีนั้น ตามมาตรา 67 ได้บัญญัติไว้ว่า จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่นายเขียวได้ปฏิบัติไปตามอํานาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้น ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาจะเรียกเงินเดือนและ ประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้นไม่ได้

สรุป ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะต้องสั่งให้นายเขียวออกจากราชการทันทีแต่จะเรียกเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้นไม่ได้

 

ข้อ 2 ในการพิจารณาว่าคดีใดเป็นคดีปกครองมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรบ้าง และคดีที่อยู่ใน อํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

1 ในการพิจารณาว่าคดีใดเป็นคดีปกครองนั้น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ

(1) จะต้องพิจารณาถึงคู่พิพาทในคดี กล่าวคือ คู่พิพาทในคดีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย จะต้องเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามคํานิยามในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้น ถ้าคู่พิพาทในคดีเป็นบุคคลอื่นซึ่งมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ คดีนั้นก็จะมิใช่คดีปกครอง

(2) ข้อพิพาทในคดีจะต้องเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย หรืออันเนื่องมาจากการดําเนินกิจการทางปกครอง

(3) ในการพิจารณาว่าคดีใดเป็นคดีปกครองนั้น จะต้องพิจารณารายละเอียดจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ หรือกฎหมายอื่นประกอบด้วย

2 คดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอยู่ 6 ประเภท ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ดังนี้ คือ

(1) คดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎหรือคําสั่งโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือคําสั่งดังกล่าว หรือฟ้องว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการปกครองอย่างอื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้ศาลสั่งห้ามการกระทําดังกล่าว

(2) คดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด

(3) คดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําละเมิดหรือมีความ รับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย จากกฎ จากคําสั่งทางปกครอง จากการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และขอให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

(5) คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทําหรือละเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด

(6) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง

 

ข้อ 3 นายเอก (ผู้เช่า) ทําสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จํากัด (ผู้ให้เช่า) บริเวณพื้นที่ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และได้ทําการก่อสร้างอาคารลงบนพื้นที่ดินที่ได้เช่าดังกล่าว ต่อมานายกเทศบาลเมืองปากช่องมีคําสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับอนุญาต ก่อสร้างอาคาร นายเอกได้ยื่นคําขอใบอนุญาตก่อสร้างตามแบบ ข. 1 แห่งพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 โดยได้แนบสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จํากัด ประกอบ แบบ ข. ซึ่งเป็นรายการเอกสารสําคัญที่ต้องแนบประกอบด้วย แต่ในสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว มิได้ระบุว่าบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จํากัด (ผู้ให้เช่า) เป็นเจ้าของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิใด ๆ นายกเทศมนตรีเมืองปากช่องจึงมีคําสั่งปฏิเสธการอนุญาตก่อสร้างอาคารแก่นายเอก โดยให้เหตุผลว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวไม่มีเอกสารสิทธิ นายเอกเห็นว่าคําสั่งปฏิเสธดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากตนเองมีสิทธิครอบครองที่ดินตามสัญญาเช่าถูกต้อง และในบริเวณใกล้เคียงยังมีบุคคลอื่น ดําเนินการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเช่นกัน ถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ คําสั่งปฏิเสธดังกล่าวอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดเนื่องจากการกระทําโดยไม่มีอํานาจหรือคําสั่งนอกเหนืออํานาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็น สาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกเทศมนตรีเมืองปากช่องซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อํานาจตามกฎหมายควบคุมอาคารปฏิเสธการอนุญาตการก่อสร้างอาคารแก่นายเอก ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของนายเอก คําสั่งปฏิเสธการอนุญาตการก่อสร้างอาคารดังกล่าว จึงเป็นคําสั่งทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

แต่อย่างไรก็ดี การที่นายเอกยื่นคําขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามแบบ ข. 1 โดยแนบสัญญา เช่าที่ดินระหว่างนายเอกกับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จํากัด โดยมิได้ระบุว่าบริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีเอกสารสิทธินั้น นายกเทศมนตรีเมืองปากช่องก็ชอบที่จะปฏิเสธการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและเป็นแบบรายการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ส่วนกรณีที่นายเอกอ้างว่านายกเทศมนตรีเมืองปากช่องเลือกปฏิบัตินั้น นายเอกจะอ้างได้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่นายเอกผู้ถูกปฏิบัติมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ได้รับสิทธินั้น แต่ถ้ากรณีนั้นนายเอกไม่มีสิทธิตามกฎหมายแล้ว นายเอกจะอ้างว่ามีบุคคลอื่นฝ่าฝืนกฎหมายดําเนินการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเช่นกันยังไม่ถูกดําเนินการอันเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่

ดังนั้น เมื่อคําสั่งปฏิเสธการอนุญาตก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อยู่ใน อํานาจที่ศาลปกครองจะพิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

สรุป คําสั่งปฏิเสธการอนุญาตก่อสร้างอาคารดังกล่าว ไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

 

ข้อ 4 กรุงเทพมหานครได้ประกาศผลสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่การเงินและเนื่องจากกรณีนี้กฎหมายไม่ได้กําหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์โต้แย้งไว้ กรุงเทพมหานครจึงกําหนดให้ ผู้สมัครสอบซึ่งไม่ปรากฏชื่อสามารถยื่นคําขอทราบเหตุผลการไม่ผ่านคัดเลือกได้ภายใน 7 วัน วันรุ่งขึ้นนายแดงซึ่งไม่ปรากฏชื่อในประกาศฯ ได้มีหนังสือขอทราบเหตุผลฯ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือแจ้งให้ทราบในวันถัดมาว่าเนื่องจากไม่ผ่านการทดสอบความเหมาะสมกับตําแหน่ง เพราะในการตรวจสอบประวัติเคยทุจริตในการสอบระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงวันต่อมานายแดงได้ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครและผู้ว่าฯ เป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนประกาศผลสอบคัดเลือกฯ เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ประกาศให้นายแดง เป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ดังนี้หากท่านเป็นศาลปกครองจะมีคําสั่งหรือคําพิพากษาในคดีนี้อย่างไร เพราะเหตุใด ให้ยกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลในการตอบโดยชัดแจ้ง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

มาตรา 44 วรรคหนึ่ง “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดย รัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่ง ทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดเนื่องจากการกระทําโดยไม่มีอํานาจหรือนอกเหนือ อํานาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญ ที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น…..

มาตรา 42 วรรคสอง “ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไขความ เดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการดําเนินการ ตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกําหนด”

มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคําสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทําทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 (1) …”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ หากข้าพเจ้าเป็นศาลปกครองจะมีคําสั่งหรือคําพิพากษาในคดีนี้อย่างไรนั้นแยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และเป็นหน่วยงานทางปกครอง ได้ประกาศผลสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่การเงินนั้น ประกาศผลสอบคัดเลือกฯ ดังกล่าว ถือเป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ

2 การที่นายแดงซึ่งไม่ปรากฏชื่อในประกาศผลสอบฯ ได้มีหนังสือขอทราบเหตุผลการไม่ผ่าน คัดเลือกนั้น ไม่ถือว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองฯ และการที่กรุงเทพมหานครได้แจ้งให้ทราบถึงเหตุผลของการสอบไม่ผ่านการคัดเลือกของนายแดงนั้น จึงไม่อาจถือว่าเป็นการแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้นายแดงทราบ

3 การที่นายแดงจะยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครและผู้ว่าฯ เป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ ศาลเพิกถอนประกาศผลสอบคัดเลือกฯ ดังกล่าว เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 72 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ นั้น นายแดงจะต้องอุทธรณ์คําสั่ง (ประกาศ) นั้นก่อนตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ แม้ว่ากรณีนี้กฎหมายไม่ได้กําหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ โต้แย้งไว้ก็ตาม นายแดงก็จะต้องอุทธรณ์คําสั่งนั้นก่อนตามหลักเกณฑ์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ

4 เมื่อข้อเท็จจริงกรณีตามอุทาหรณ์ปรากฏว่านายแดงได้ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครและผู้ว่าฯ เป็นคดีต่อศาลปกครอง โดยมิได้ดําเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนนําคดีมาฟ้องศาลปกครองตาม มาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ (ไม่ได้อุทธรณ์คําสั่งนั้นก่อน) ดังนั้น นายแดงจึงไม่อาจนําคดี มาฟ้องต่อศาลปกครองได้ และเมื่อนายแดงได้ยื่นฟ้องกรณีนี้เป็นคดีต่อศาลปกครอง หากข้าพเจ้าเป็นศาลปกครอง ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณา

สรุป หากข้าพเจ้าเป็นศาลปกครอง ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา

LAW3112 (LAW3012) กฎหมายปกครอง 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 รัฐวิสาหกิจคืออะไร แบ่งได้เป็นกี่ประเภท จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“รัฐวิสาหกิจ” คือ นิติบุคคลที่รัฐได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับกับการกระจายอํานาจทางบริการและเป็น การบริการสาธารณะทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

และนิติบุคคลที่รับเอาการบริการสาธารณะด้าน อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมไปทําเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การประปา เป็นต้น

มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ได้บัญญัติให้คํานิยามของรัฐวิสาหกิจ ไว้ว่า “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า

(ก) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ

(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

(ค) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) และ/หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

(ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ค) และ/หรือ (ก) และ/หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

(จ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ง) และ/หรือ (ก) และ/หรือ (ข) และ/หรือ (ค) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

การแบ่งประเภทตามที่มาทางกฎหมาย

ถ้าแบ่งประเภทของรัฐวิสาหกิจตามที่มาทางกฎหมาย อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายมหาชน ซึ่งยังแยกออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ

(ก) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะหรือกฎหมายที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ (พระราชกําหนด ประกาศของคณะปฏิวัติ) เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐวิสาหกิจประเภทนี้จะได้รับมอบหมายให้มีอํานาจมหาชนในการดําเนินการใด ๆ ต่อทรัพย์สินหรือสิทธิของบุคคล เช่น เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ วางท่อ ปักเสาไฟฟ้าในที่ดินของเอกชน

(ข) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วย การจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เช่น องค์การคลังสินค้า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เช่น บริษัทการบินไทย จํากัด

2 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายเอกชน ซึ่งยังแยกออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ

(ก) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น บริษัท ขนส่ง จํากัด

(ข) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 เช่น บริษัท

3 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในส่วนราชการโดยมติคณะรัฐมนตรีและไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต

 

ข้อ 2 ก. ในการสรรหาคณบดีคณะวิทยาการจัดการของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ได้มีการดําเนินการ สรรหาเพื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาเลือกและแต่งตั้งนายแดงเป็นคณะบดีไปแล้ว ต่อมา ปรากฏว่าสภามหาวิทยาลัยดังกล่าวได้มีมติให้ดําเนินการสรรหาบุคคลผู้มีความเหมาะสมที่จะดํารงตําแหน่งคณะบดีคณะวิทยาการจัดการใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า มติของสภามหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะ เหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ข. นางสาวตุ๊กตาได้ศึกษาและจบปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้สอบแข่งขันและได้รับการบรรจุเข้าทํางานราชการในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง ความปรากฏ ในภายหลังว่าปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่นางสาวตุ๊กตาจบมานั้น ก.พ. ไม่รับรอง

ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะดําเนินการตาม กฎหมายกับนางสาวตุ๊กตาได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

วินิจฉัย

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ 1 หรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ได้มีการดําเนินการสรรหาคณบดีคณะ วิทยาการจัดการเพื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาเลือกและแต่งตั้งนายแดงเป็นคณบดีไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่า สภามหาวิทยาลัยดังกล่าวได้มีมติให้ดําเนินการสรรหาบุคคลผู้มีความเหมาะสมที่จะดํารงตําแหน่งคณบดีคณะวิทยาการจัดการใหม่อีกครั้งหนึ่งนั้น มติของสภามหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นเพียงการเตรียมการและการดําเนินการ เพื่อให้มีการสรรหาบุคคลผู้มีความเหมาะสมที่จะดํารงตําแหน่งคณบดี ๆ เท่านั้น ยังไม่มีผลในทางกฎหมายที่จะไป กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่อย่างใด ดังนั้น มติของสภามหาวิทยาลัยดังกล่าว จึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

(ข) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 62 วรรคสาม “ในกรณีที่ ก.พ. กําหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง

มาตรา 67 “ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใด ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 63 มาตรา 64 และมาตรา 65 หากภายหลังปรากฏว่า ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 36 หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะ สําหรับตําแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62 … ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 57 สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตาม อํานาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมี คําสั่งให้ออกนั้น…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวตุ๊กตาได้ศึกษาและจบปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้สอบแข่งขันและได้รับการบรรจุเข้าทํางานราชการในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง ความปรากฏในภายหลังว่าปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่นางสาวตุ๊กตาจบมานั้น ก.พ. ไม่รับรอง ย่อมถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62 และเมื่อมีการตรวจสอบพบในภายหลังจากที่นางสาวตุ๊กตาได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว กรณีดังกล่าวย่อมเข้าลักษณะตามบทบัญญัติมาตรา 67 กล่าวคือ นางสาวตุ๊กตาเป็นผู้ที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญแล้ว ต่อมาภายหลังปรากฏว่านางสาวตุ๊กตาขาดคุณสมบัติเฉพาะตําแหน่งนั้น ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะต้องสั่งให้นางสาวตุ๊กตาออกจากราชการทันที

แต่อย่างไรก็ตาม การสั่งให้นางสาวตุ๊กตาออกจากราชการได้ทันทีนั้น ตามมาตรา 67 ได้บัญญัติไว้ว่า จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่นางสาวตุ๊กตาได้ปฏิบัติไปตามอํานาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้น ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาจะเรียก เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้นไม่ได้

สรุป ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะต้องสั่งให้นางสาวตุ๊กตาออกจากราชการทันที แต่จะเรียกเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้นไม่ได้

 

ข้อ 3 การจัดองค์กรของรัฐในรูปแบบที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น องค์การมหาชน มีเหตุผล และความจําเป็นที่ไม่เหมาะกับรูปแบบของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจอย่างไร จงอธิบาย หลักการจัดองค์กรแต่ละรูปแบบพร้อมเหตุผลมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

โดยทั่วไปองค์กรที่จัดทําบริการสาธารณะนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 บริการสาธารณะที่จัดทําโดยรัฐ ซึ่งถ้าเป็นระบบราชการ ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และที่ไม่อยู่ในระบบราชการ ได้แก่ รัฐวิสาหกิจ

ในการจัดทําบริการสาธารณะโดยองค์กรในระบบราชการนั้น จะมีระเบียบ บุคลากร ที่อยู่ ภายใต้การบังคับบัญชา หรือการกํากับดูแล ทําให้การจัดทําบริการสาธารณะไม่เกิดความคล่องตัว จึงทําให้มีการ จัดตั้งองค์กรเพื่อการจัดทําบริการสาธารณะที่มีความคล่องตัวเกิดขึ้นที่เรียกกันว่ารัฐวิสาหกิจ แต่การดําเนินกิจการ ของรัฐวิสาหกิจ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาผลกําไรเป็นสําคัญ

2 บริการสาธารณะที่จัดทําโดยหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยหน่วยงานดังกล่าว ได้แก่ องค์การมหาชนนั้นเอง ซึ่งในการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐที่เรียกว่าองค์การมหาชนนั้น ก็เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคล เพื่อดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ โดยไม่แสวงหาผลกําไร ดังเช่นรัฐวิสาหกิจ แต่เน้นความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูง มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจของผู้บริหาร องค์กร อีกทั้งเป็นการเหมาะกับกิจการบางลักษณะที่มีความสําคัญสูง และมีเทคนิควิธีการเฉพาะซึ่งต้องการ ความรวดเร็วของการตัดสินใจและประสิทธิภาพของการปฏิบัติการอย่างทันท่วงที จึงไม่เหมาะกับองค์กรใน รูปแบบของส่วนราชการที่มีระเบียบบุคลากรที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา หรือรัฐวิสาหกิจที่มุ่งเน้นการดําเนินกิจการเพื่อแสวงหาผลกําไรเป็นหลัก

3 บริการสาธารณะที่จัดทําโดยเอกชน คือเอกชนเป็นผู้จัดตั้งองค์กรขึ้นมา แล้วรัฐจะมอบ อํานาจในการจัดทําบริการสาธารณะให้แก่องค์กรดังกล่าว เช่น การมอบอํานาจให้แก่องค์กรวิชาชีพ หรือการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชน เป็นต้น

 

ข้อ 4 เนื่องจากมีบุคคลซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยได้ลักลอบสวมชื่อบุคคลสัญชาติไทยเป็นจํานวนมาก อําเภอ แม่อายพิจารณาสอบสวนแล้วจึงได้มีคําสั่งให้จําหน่ายชื่อนายทองออกจากฐานข้อมูลทางทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) และบัตรประจําตัวประชาชน ทําให้นายทองซึ่งเดิมที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเคยมีบัตรประจําตัวประชาชนต้องถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนและไม่มีสัญชาติไทย รวมทั้งต้องคืนบัตรประจําตัวประชาชนให้กับทางราชการด้วย และต้องเปลี่ยนสถานะจากสัญชาติไทยไปเป็นชนกลุ่มน้อย ทั้งนี้โดยเจ้าหน้าที่เห็นว่ากรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐจึงไม่ได้เปิดโอกาสให้นายทองมีสิทธิโต้แย้งชี้แจงหรือแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด ให้ยกหลักกฎหมาย ประกอบเหตุผลในคําตอบโดยชัดแจ้ง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

มาตรา 30 “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณี มีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น

(1) เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ

(2) เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป

(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคําขอ คําให้การ หรือคําแถลง จากนั้น

(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทําได้

(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง

(6) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เจ้าหน้าที่อําเภอแม่อายซึ่งมีอํานาจตามกฎหมาย ได้มีคําสั่งให้จําหน่าย ชื่อนายทองออกจากฐานข้อมูลทางทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) และบัตรประจําตัวประชาชน ทําให้นายทองซึ่งเดิม ที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและเคยมีบัตรประจําตัวประชาชน ต้องถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านและไม่มี สัญชาติไทย รวมทั้งต้องคืนบัตรประจําตัวประชาชนให้กับทางราชการด้วย และต้องเปลี่ยนสถานะจากสัญชาติไทย ไปเป็นชนกลุ่มน้อยนั้น ย่อมมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลคือนายทองแล้ว

คําสั่งดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งทางปกครองโดยไม่เปิดโอกาสให้นายทองได้มีสิทธิโต้แย้งชี้แจงหรือแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด

คําสั่งของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว จึงเป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และการที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐนั้น กรณีดังกล่าวก็ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 30 วรรคสอง และวรรคสาม ที่จะทําให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแต่อย่างใด

สรุป คําสั่งของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3112 (LAW3012) กฎหมายปกครอง s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายแดงยื่นคําขอตั้งสถานบริการ เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมีคําสั่งอนุญาตให้นายแดงตั้งสถานบริการ โดยสําคัญผิดว่าที่ตั้งสถานบริการดังกล่าวอยู่ห่างไกลจากสถานศึกษา แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว 14199 ตั้งอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยซึ่งผิดกฎหมาย ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งสถานบริการโดยไม่ต้องแจ้งให้นายแดงได้มีโอกาสทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

มาตรา 53 วรรคสอง “คําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับ คําสั่งทางปกครอง อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กําหนดได้เฉพาะเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้

(5) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชนอันจําเป็นต้องป้องกันหรือขจัดเหตุดังกล่าว”

มาตรา 30 “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณี มีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนเป็นอย่างอื่น

ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติ

(1) เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งทางปกครองใด และคําสั่ง ทางปกครองนั้นอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งทางปกครองนั้นจะต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และต้องให้คู่กรณีได้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง และวรรคสาม

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงยื่นคําขอตั้งสถานบริการ และเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมีคําสั่งอนุญาต ให้นายแดงตั้งสถานบริการนั้น คําสั่งดังกล่าวถือเป็นคําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์ แก่นายแดงผู้รับคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 และมาตรา 53 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

และเมื่อต่อมาเจ้าหน้าที่ทราบว่าได้ออกคําสั่งให้นายแดงตั้งสถานบริการโดยสําคัญผิดว่าที่ตั้งสถานบริการดังกล่าวอยู่ห่างไกลจากสถานศึกษา แต่ตามข้อเท็จจริงแล้วตั้งอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยซึ่งผิดกฎหมาย และเจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งสถานบริการนั้น เมื่อคําสั่งถอนใบอนุญาตตั้งสถานบริการ ถือเป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของ สิทธิหรือหน้าที่ของนายแดง โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่จะต้องให้นายแดงได้มีโอกาสทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้นายแดงมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 5

แต่อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งสถานบริการของนายแดงดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วนที่จะต้องเพิกถอนคําสั่งนั้น เพราะหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชนอันจําเป็นต้องป้องกันหรือขจัดเหตุดังกล่าว กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นที่เจ้าหน้าที่สามารถออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งสถานบริการโดยไม่ต้องแจ้งให้นายแดงได้มีโอกาสทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน ของตนได้ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 53 วรรคสอง (5) ประกอบมาตรา 30 วรรคสอง (1)

สรุป เจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งสถานบริการโดยไม่ต้องแจ้งให้นายแดงได้มีโอกาสทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนได้

 

ข้อ 2 นายเขียวเป็นข้าราชการพลเรือนถูกผู้บังคับบัญชามีคําสั่งย้ายไปปฏิบัติราชการในจังหวัดนราธิวาสนายเขียวเห็นว่าตนถูกกลั่นแกล้ง จึงมาปรึกษาท่านในฐานะเป็นนักกฎหมายที่มีความรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดีว่าจะอุทธรณ์คําสั่งของผู้บังคับบัญชาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้ท่านตอบและอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 114 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตาม พ.ร.บ. นี้ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม มาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือ ถือว่าทราบคําสั่ง”

มาตรา 122 “ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด 9 การอุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวดนี้

มาตรา 123 วรรคหนึ่ง “การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนถูกผู้บังคับบัญชามีคําสั่งย้ายไปปฏิบัติ ราชการในจังหวัดนราธิวาสนั้น ถือว่าคําสั่งดังกล่าวของผู้บังคับบัญชาไม่ใช่คําสั่งลงโทษทางวินัย หรือเป็นคําสั่ง ให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ตามพระราชบัญญัตินี้แต่อย่างใด ดังนั้นนายเขียว จะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวของผู้บังคับบัญชาไม่ได้ (ตามมาตรา 114 วรรคหนึ่ง)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายเขียวมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา โดยเห็นว่าคําสั่งดังกล่าวนั้นเป็นการกลั่นแกล้งตน ดังนี้นายเขียวย่อมสามารถใช้สิทธิร้องทุกข์ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้ (ตามมาตรา 122) และเมื่อเหตุของการที่นายเขียวจะร้องทุกข์นั้น เกิดจากผู้บังคับบัญชา ดังนั้นนายเขียวจึงต้องร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับ (ตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง)

สรุป นายเขียวจะต้องไปร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับจะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ 3 นายขาวเป็นแพทย์โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งทําการผ่าตัดต้อกระจกให้คนไข้ แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของนายขาวทําให้คนไข้ตาบอด ขอให้ท่านวินิจฉัยว่าคนไข้จะฟ้องโรงพยาบาลและนายขาว ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)

“ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครองหรือคําสั่งอื่น หรือ จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) กรณีที่จะถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทําละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเรียกว่า “ละเมิดทางปกครอง” และจะเป็น คดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้ คือ

1 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ และ

2 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 กรณี ดังต่อไปนี้

คือ

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมาย

(2) การออกกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่น

(3) การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ

(4) การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวซึ่งเป็นแพทย์โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งทําการผ่าตัดต้อกระจกให้คนไข้ แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของนายขาวทําให้คนไข้ตาบอดนั้น การกระทําของนายขาวไม่ถือว่าเป็น การละเมิดเนื่องจากการใช้อํานาจตามกฎหมายหรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด และไม่ใช่เป็น การละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีอื่น ๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เป็นการละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ทั่ว ๆ ไปของแพทย์ (นายขาว) ซึ่งไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณี จึงไม่ใช่เป็นการกระทําละเมิดทางปกครอง ข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองที่จะรับไว้พิจารณา ดังนั้น หากคนไข้จะฟ้อง โรงพยาบาลและนายขาวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว จึงต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลยุติธรรม

สรุป คนไข้จะต้องฟ้องโรงพยาบาลและนายขาวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อศาลยุติธรรม

 

ข้อ 4 เพื่อเตรียมการสําหรับการรับปริญญาของมหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์จึงได้ทําสัญญา กับนายเขียว เพื่อให้มาจัดสวนหย่อมหน้าคณะนิติศาสตร์เพื่อความสวยงาม ต่อมานายเขียวผิดสัญญาไม่ทําการจัดสวนหย่อมให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลา คณะนิติศาสตร์จะฟ้องนายเขียวให้รับผิด ตามสัญญาได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง”

และตามมาตรา 3 ได้บัญญัติให้คํานิยามของ “สัญญาทางปกครอง” ไว้ว่า

“สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทําบริการ สาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่คณะนิติศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนราชการของมหาวิทยาลัยได้ทําสัญญากับนายเขียวเพื่อให้มาจัดสวนหย่อมหน้าคณะนิติศาสตร์เพื่อความสวยงามนั้น แม้เป็นสัญญาที่ทําขึ้นระหว่าง หน่วยงานทางปกครองฝ่ายหนึ่งกับนายเขียวซึ่งเป็นเอกชนอีกฝ่ายหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญานั้น ไม่ใช่สัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ให้จัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างใด สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาทางปกครองตามนัยของ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้นต่อมาเมื่อนายเขียว ผิดสัญญาไม่ทําการจัดสวนหย่อมให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลา ข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาดังกล่าว

จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองจึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) คณะนิติศาสตร์จึงต้องฟ้องให้นายเขียวรับผิดตามสัญญาที่ศาลยุติธรรม จะนําคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้

สรุป คณะนิติศาสตร์จะฟ้องนายเขียวให้รับผิดตามสัญญาได้ที่ศาลยุติธรรม

LAW3112 (LAW3012) กฎหมายปกครอง s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

1 นายแดงเป็นข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง นายเอกเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จึงมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่านายแดงกระทําผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวเป็น คําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

“การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง

วินิจฉัย

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่านายแดงกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่นั้น

แม้การออกคําสั่งดังกล่าวจะเป็นการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย แต่การออกคําสั่งดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล (นายแดง) แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการพิจารณาทางปกครองเพื่อสอบสวนว่านายแดงกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ เพื่อนําไปสู่การออกคําสั่งทางปกครองต่อไป ดังนั้น คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวจึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

สรุป คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าว ไม่เป็นคําสั่งทางปกครองตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 นายขาวมายื่นคําขออนุญาตก่อสร้างโรงงานกับนายเขียวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจตามกฎหมาย และนายเขียวได้มีคําสั่งอนุญาตให้นายขาวก่อสร้างโรงงานได้ตามคําขอแต่ในระหว่างที่นายขาว ตระเตรียมหาซื้อวัสดุก่อสร้างเพื่อทําการก่อสร้างโรงงานนั้นปรากฏว่ากฎหมายผังเมืองมีการแก้ไขและพื้นที่อันเป็นที่ตั้งโรงงานนั้น กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ห้ามมิให้ปลูกสร้างโรงงานอีกต่อไป โดยจัดให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเขียวจะเพิกถอนคําสั่งอนุญาต ให้นายขาวก่อสร้างโรงงานที่ได้ออกไปก่อนหน้านั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

มาตรา 53 วรรคสอง “คําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับ คําสั่งทางปกครอง อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคตไปถึง ขณะใดขณะหนึ่งตามที่กําหนดได้เฉพาะเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้

(4) บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมายเช่นนี้ในขณะทําคําสั่งทางปกครองแล้ว เจ้าหน้าที่คงจะไม่ทําคําสั่งทางปกครองนั้น แต่การเพิกถอนในกรณีนี้ให้กระทําได้เท่าที่ผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือยังไม่ได้รับประโยชน์ตามคําสั่งทางปกครองดังกล่าว และหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวมายื่นคําขออนุญาตก่อสร้างโรงงานกับนายเขียวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่

ที่มีอํานาจตามกฎหมาย และนายเขียวได้มีคําสั่งอนุญาตให้นายขาวก่อสร้างโรงงานได้ตามคําขอนั้น คําสั่งดังกล่าว ถือเป็นคําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่นายขาวผู้รับคําสั่งทางปกครองตามนัย มาตรา 5 และมาตรา 53 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในระหว่างที่นายขาวตระเตรียมหาซื้อวัสดุก่อสร้างเพื่อทําการก่อสร้างโรงงานนั้น ปรากฏว่ากฎหมายผังเมืองมีการแก้ไข และพื้นที่อันเป็นที่ตั้งโรงงานนั้นกฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ห้ามมิให้ ปลูกสร้างโรงงานอีกต่อไปโดยจัดให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายขาวผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคําสั่งทางปกครองดังกล่าว และหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณนั้นได้ ดังนั้นนายเขียวจึงสามารถเพิกถอนคําสั่งอนุญาตให้นายขาว ก่อสร้างโรงงานที่ออกไปก่อนหน้านั้นได้ตามมาตรา 53 วรรคสอง (4)

สรุป นายเขียวสามารถเพิกถอนคําสั่งอนุญาตให้นายขาวก่อสร้างโรงงานที่ได้ออกไปก่อนหน้านั้น ได้ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 สํานักงานประกันสังคมได้ทําสัญญากับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกันสังคม ต่อมาโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวทําผิดสัญญาขอให้ท่านวินิจฉัยว่า สํานักงานประกันสังคมจะต้องฟ้องโรงพยาบาลดังกล่าวให้รับผิดตามสัญญา ได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง”

และตามมาตรา 3 ได้บัญญัติให้คํานิยามของ “สัญญาทางปกครอง” ไว้ว่า

“สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทําบริการ สาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สํานักงานประกันสังคมได้ทําสัญญากับโรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนเพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกันสังคมนั้นเป็นสัญญาที่ทําขึ้นระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเอกชน และเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ที่เป็นการให้จัดทําบริการสาธารณะ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามนัยของมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และเมื่อต่อมาโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวทําผิดสัญญา จึงเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองขึ้นมา และเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) ซึ่งทําให้สํานักงานประกันสังคมสามารถ ฟ้องให้โรงพยาบาลเอกชนนั้นรับผิดตามสัญญาต่อศาลปกครองได้

สรุป สํานักงานประกันสังคมสามารถฟ้องโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวให้รับผิดตามสัญญาได้ที่ ศาลปกครองตามนัยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 3

 

ข้อ 4 นายเหลืองเป็นข้าราชการพลเรือนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ถูกเจ้าหน้าที่ฟ้องและศาลตัดสินให้เป็นบุคคล ล้มละลาย ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะดําเนินการ ตามกฎหมายกับนายเหลืองได้หรือไม่อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 36 ข. (6) “ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ข. ลักษณะต้องห้าม

(6) เป็นบุคคลล้มละลาย”

มาตรา 110 “ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือน สามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 28

(3) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 36 ก. (1) หรือ (3) หรือ มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) (3) (6) หรือ (7)

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเหลืองเป็นข้าราชการพลเรือนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจนถูกเจ้าหนี้ฟ้องและศาลตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น ถือว่านายเหลืองมีลักษณะต้องห้ามมิให้รับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 36 ข. (6) ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 จึงมีอํานาจสั่งให้ นายเหลืองออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้ตามมาตรา 110 (3)

สรุป ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองจะต้องสั่งให้นายเหลืองออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญ เหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามมาตรา 110 (3) ประกอบมาตรา 36 ข. (6)

LAW3103 (LAW3003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3103 (LAW 3003) ป.พ.พ.ว่าด้วยครอบครัว

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆได้ทําสัญญาหมั้นกับ น.ส.ฝน ด้วยแหวนเพชร 1 วง และเงินสดอีก 2,000,000 บาท และให้สินสอดแก่บิดามารดาของ น.ส.ฝน เป็นเงินสดจํานวน 500,000 บาท น.ส.ฝน ได้ลาออกจากงาน เพราะวางแผนจะแต่งงานและย้ายไปอยู่กับนายเมฆที่ต่างจังหวัด ต่อมา น.ส.ฝน ทราบว่านายเมฆ ได้กลับไปอยู่กินกับ น.ส.ฟ้า คนรักเก่าซึ่งได้เคยเลิกรากันไปแล้ว น.ส.ฝน จึงไม่ต้องการสมรสกับนายเมฆและได้ทําการบอกเลิกสัญญาหมั้นกับนายเมฆ แต่นายเมฆไม่ยอมอ้างว่า น.ส.ฝน ทราบอยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนทําการหมั้นว่าตนเคยอยู่กินกับ น.ส.ฟ้า มาก่อน ถ้า น.ส.ฝน ไม่ยอมสมรสด้วย จะฟ้อง น.ส.ฝน ฐานผิดสัญญาหมั้น ส่วน น.ส.ฝน ต้องการฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนายเมฆและ น.ส.ฟ้า ดังนี้ นายเมฆ และ น.ส.ฝน จะทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง “การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

มาตรา 1439 “เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิด ใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย”

มาตรา 1440 “ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้

(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น

(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทําการในฐานะ เช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร

(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทํามาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส”

มาตรา 1443 “ในกรณีมีเหตุสําคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น ทําให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นแก่ชาย”

มาตรา 1444 “ถ้าเหตุอันทําให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น เป็นเพราะการกระทําชั่วอย่างร้ายแรง ของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทําภายหลังการหมั้น คู่หมั้นผู้กระทําชั่วอย่างร้ายแรงนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน แก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

มาตรา 1445 “ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตน โดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 หรือมาตรา 1443 แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆได้ทําสัญญาหมั้นกับ น.ส.ฝน ด้วยแหวนเพชร 1 วง และเงินสด อีก 2,000,000 บาทนั้น เมื่อมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่หญิงแล้ว การหมั้นย่อมสมบูรณ์ตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง เมื่อ น.ส.ฝน ได้ลาออกจากงาน เพราะวางแผนจะแต่งงานและย้ายไปอยู่กับนายเมฆที่ต่างจังหวัด ต่อมาภายหลัง การหมั้น น.ส.ฝน ทราบว่านายเมฆได้กลับไปอยู่กินกับ น.ส.ฟ้า คนรักเก่าซึ่งได้เคยเลิกรากันไปแล้ว การที่ น.ส.ฝน ไม่ต้องการสมรสกับนายเมฆ และได้ทําการบอกเลิกสัญญาหมั้นกับนายเมฆนั้น น.ส.ฝน ย่อมสามารถทําได้ เพราะกรณีดังกล่าวถือว่ามีเหตุสําคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น ทําให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้นตามมาตรา 1443 และ เมื่อ น.ส.ฝน มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ตามกฎหมาย นายเมฆจึงไม่สามารถอ้างได้ว่า น.ส.ฝน ผิดสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1439 นายเมฆจึงไม่สามารถฟ้อง น.ส.ฝน ฐานผิดสัญญาหมั้นได้

และเมื่อเหตุสําคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นดังกล่าวนั้น เป็นเพราะการกระทําชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทําภายหลังการหมั้น ดังนั้น น.ส.ฝน จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนายเมฆได้ตามมาตรา 1444 และค่าทดแทนที่ น.ส.ฝน สามารถเรียกจากนายเมฆได้คือค่าทดแทนตามมาตรา 1440

ส่วนกรณีของ น.ส.ฟ้า ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับนายเมฆคู่หมั้นของ น.ส.ฝนนั้น เมื่อ น.ส.ฟ้า ไม่รู้ว่า นายเมฆได้หมั้นกับ น.ส.ฝนแล้ว น.ส.ฝน จึงไม่สามารถเรียกค่าทดแทนจาก น.ส.ฟ้าได้ตามมาตรา 1445

สรุป นายเมฆจะฟ้อง น.ส.ฝน ฐานผิดสัญญาหมั้นไม่ได้

น.ส.ฝน สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนายเมฆได้ แต่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก น.ส.ฟ้า ไม่ได้

 

ข้อ 2 ณ สมรภูมิแห่งหนึ่ง สิบเอกไอ่ได้รู้จักกับ น.ส.กะรัตซึ่งเป็นพยาบาลประจําหน่วย และได้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันมาตลอดในสนามรบ ทั้งสองเกิดเห็นใจและรักใคร่ชอบพอกัน และต้องการร่วมเป็นร่วมตาย จึงได้แสดงเจตนาสมรสกันต่อหน้าสิบตรีชาคริต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยสิบตรีชาคริต ได้จดแจ้งการแสดงเจตนาขอทําการสมรสของบุคคลทั้งสองไว้ อีก 1 สัปดาห์ต่อมา น.ส.กะรัต ได้เงินรางวัลจากการชนะเลิศการประกวดพยาบาลดีเด่นเป็นเงิน 50,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ได้มีการประกาศยุติการรบ สิบเอกไอ่กับ น.ส.กะรัตจึงเดินทางกลับบ้าน และเย็นวันนั้นสิบเอกไอ่ได้ซื้อสร้อยคอทองคํา 2 บาท เพื่อเป็นของขวัญที่ตนได้กลับบ้าน ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ทั้งสองคนจึงได้ไปจดทะเบียนสมรสกัน โดยแสดงหลักฐานการแสดงเจตนาจะสมรสของตนต่อนายทะเบียน

ขอให้วินิจฉัยว่า

(ก) การสมรสระหว่างสิบเอกไอ่ กับ น.ส.กะรัต มีผลหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

(ข) เงินรางวัล 50,000 บาท และสร้อยคอทองคํา 2 บาท เป็นของใคร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1460 วรรคหนึ่ง “เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทําการจดทะเบียนสมรสต่อ นายทะเบียนได้ เพราะชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ใน ภาวะการรบหรือสงคราม ถ้าชายและหญิงนั้นได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่ ณ ที่นั้นแล้ว ให้บุคคลดังกล่าวจดแจ้งการแสดงเจตนาขอทําการสมรสของชายและหญิงนั้นไว้เป็นหลักฐาน และต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจทําการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนได้ โดยแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนและให้นายทะเบียนจดแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่แสดงเจตนาขอทําการสมรส และพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ในทะเบียนสมรส ให้ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทําการสมรสต่อบุคคลดังกล่าวเป็นวัน จดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนแล้ว”

มาตรา 1474 “สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส”

วินิจฉัย

(ก) ตามอุทาหรณ์ การที่สิบเอกไอ่และ น.ส.กะรัตได้แสดงเจตนาจะสมรสกันนั้น เป็นการสมรส ที่เกิดในภาวะการรบซึ่งถือว่าเป็นการสมรสเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้

ตามนัยของมาตรา 1460 และเมื่อทั้งสองคนได้มีการแสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าสิบตรีชาคริตซึ่งเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น และสิบตรีชาคริตได้จดแจ้งการแสดงเจตนาขอทําการสมรสของบุคคลทั้งสองไว้ เป็นหลักฐาน และต่อมาทั้งสองคนได้จดทะเบียนสมรสกันภายใน 90 วันนับแต่วันที่อาจทําการจดทะเบียนต่อ นายทะเบียนได้ โดยแสดงหลักฐานการแสดงเจตนาจะสมรสของตนต่อนายทะเบียน ดังนั้น การสมรสระหว่าง สิบเอกไอ่กับ น.ส.กะรัตจึงมีผลสมบูรณ์ และให้ถือว่าการสมรสมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่ ทั้งสองคนแสดงเจตนาจะทําการสมรสกันต่อหน้าสิบตรีชาคริตตามมาตรา 1460 วรรคหนึ่ง

(ข) และเมื่อการสมรสระหว่างสิบเอกไอ่ และ น.ส.กะรัตมีผลสมบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ดังนั้น การที่ น.ส.กะรัตได้เงินรางวัลจากการชนะเลิศการประกวดพยาบาลดีเด่นเป็นเงิน 50,000 บาท หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และสิบเอกไอ่ได้ซื้อสร้อยคอทองคํา 2 บาท ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 เงินรางวัล 50,000 บาท และสร้อยคอทองคํา 2 บาท จึงเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 (1) เพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มา ระหว่างสมรส

สรุป

(ก) การสมรสระหว่างสิบเอกไอ่ และ น.ส.กะรัต มีผลสมบูรณ์ และให้ถือว่าการสมรสมีผล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

(ข) เงินรางวัล 50,000 บาท และสร้อยคอทองคํา 2 บาท เป็นสินสมรส

 

ข้อ 3 นายใหญ่คบหาดูใจกับนางสาวเล็ก ก่อนที่ทั้งสองจะไปจดทะเบียนสมรสกัน นายใหญ่กับนางสาวเล็ก ทําสัญญากันว่า เมื่อสมรสกันแล้วให้นายใหญ่มีอํานาจจัดการสินสมรสทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดย นายใหญ่ นางสาวเล็ก และพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อในสัญญานั้น วันต่อมานายใหญ่และนางสาวเล็ก ได้ไปจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่ได้จดแจ้งข้อตกลงอันเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรสและไม่ได้นําสัญญาดังกล่าวแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส หลังจากนั้นนายใหญ่ถูกปลดออกจากงาน นายใหญ่ได้นําเงินชดเชยจากการออกจากงานจํานวน 500,000 บาท ไปซื้อที่ดิน 1 แปลง โดยใส่ชื่อ นายใหญ่ในโฉนดที่ดินแต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายใหญ่แอบคบกับนางสาวน้อย นางสาวน้อยขอเงินนายใหญ่เพื่อจะลงทุนค้าขาย นายใหญ่นําที่ดินที่ซื้อไว้ไปจดทะเบียนขายฝากกับนายจิ๋วในราคา 500,000 บาท เพื่อนําเงินมาให้นางสาวน้อย นายใหญ่บอกกับนายจิ๋วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของตน โดยนางเล็กไม่ได้รู้เห็นและให้ความยินยอมในการขายฝากที่ดินนั้น ต่อมานางสาวน้อยได้บอกนางเล็ก ว่าตนมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับนายใหญ่แล้ว และนายใหญ่จะหย่ากับนางเล็กเพื่อมาสมรสกับตน ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(ก) นางเล็กจะฟ้องให้ศาลเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) นางเล็กจะเรียกค่าทดแทนจากนางสาวน้อยโดยที่นางเล็กไม่ประสงค์จะหย่ากับนายใหญ่ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1466 “สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือมิได้ทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อย สองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้”

มาตรา 1474 “สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส”

มาตรา 1476 “สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้

(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จํานอง ปลดจํานอง หรือโอนสิทธิจํานองซึ่งอสังหา ริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจํานองได้

มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง “การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอม จากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทํานิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจาก ความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทํานิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทําโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน”

มาตรา 1523 วรรคสอง “สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทํานองชู้สาวก็ได้

และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทํานองชู้สาวก็ได้”

วินิจฉัย

(ก) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายใหญ่กับนางสาวเล็กได้ทําสัญญาก่อนสมรสว่าให้นายใหญ่ มีอํานาจจัดการสินสมรสทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าทั้งสองไม่ได้จดแจ้งข้อตกลงอันเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือไม่ได้นําสัญญาก่อนสมรสดังกล่าวแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรสและได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้ สัญญาก่อนสมรสนั้นจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1466 ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สิน จึงต้อง บังคับตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การที่นายใหญ่ได้นําเงินชดเชยจากการถูกปลดออกจากงานจํานวน 500,000 บาท ซึ่งเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 (1) เพราะเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสไปซื้อที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส เมื่อนายใหญ่นําที่ดินนั้นไปขายฝาก จึงเป็นการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1476 (1) ที่สามีและภริยา ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อนางเล็กไม่ได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอมในการขายฝากที่ดินนั้น นางเล็กย่อมมีสิทธิฟ้องศาลขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายใหญ่ได้บอกนายจิ๋วว่าที่ดินนั้นเป็นของตน และนายจิ๋วไม่ทราบว่า ที่ดินนั้นเป็นสินสมรส จึงถือว่านายจิ๋วซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทําโดยสุจริต และเมื่อนายจิ๋วได้จ่ายเงินค่าที่ดิน ซึ่งถือเป็นค่าตอบแทนให้แก่นายใหญ่ จึงเข้าข้อยกเว้นของมาตรา 1480 ดังนั้น นางเล็กจึงฟ้องศาลให้เพิกถอน สัญญาขายฝากที่ดินไม่ได้

(ข) การที่นางสาวน้อยได้บอกกับนางเล็กว่าตนมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับนายใหญ่แล้ว และนายใหญ่จะหย่ากับนางเล็กเพื่อมาสมรสกับตนนั้น ถือว่านางสาวน้อยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงตนว่า มีความสัมพันธ์กับนายใหญ่ในทํานองชู้สาวแล้ว ดังนั้น นางเล็กจึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากนางสาวน้อยได้ตาม มาตรา 1523 วรรคสอง โดยที่นางเล็กไม่ต้องหย่ากับนายใหญ่แต่อย่างใด

สรุป (ก) นางเล็กจะฟ้องให้ศาลเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินไม่ได้

(ข) นางเล็กสามารถเรียกค่าทดแทนจากนางสาวน้อยโดยที่นางเล็กไม่ประสงค์จะหย่ากับนายใหญ่ได้

 

ข้อ 4 นายไก่และนางไข่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ตกลงหย่ากันโดยมีการทําเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อนายไก่และนางไข่ และมีพยานสองคนลงชื่อเป็นพยาน หลังจากนั้นนางไข่ก็ไปอยู่กิน ร่วมกันฉันสามีภริยากับนายดํา และมีบุตรด้วยกันคือเด็กชายแดง ต่อมานายไก่เกิดความหึงหวง บอกให้นางไข่กลับบ้าน นางไข่ปฏิเสธ

(ก) การทําหนังสือหย่าระหว่างนายไก่และนางไข่ มีผลในทางกฎหมายอย่างไร

(ข) นายไก่จะฟ้องนางไข่ว่ามีชู้ ยกย่องนายดําเป็นสามีอีกคนหนึ่ง โดยการฟ้องหย่าได้หรือไม่

(ค) เด็กชายแดงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของใคร นับแต่เมื่อใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1457 “การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น”

มาตรา 1501 “การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน

มาตรา 1514 “การหย่านั้นจะทําได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล

การหย่าโดยความยินยอมต้องทําเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน”

มาตรา 1515 “เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว”

มาตรา 1516 “เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้”

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่ วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี”

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายไก่และนางไข่ได้ตกลงหย่ากันโดยมีการทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย และมีพยาน 2 คนลงชื่อเป็นพยานนั้น แม้จะได้ทําถูกต้องตามมาตรา 1514 แต่เมื่อนายไก่และนางไข่ยังไม่ได้จดทะเบียนการหย่า การหย่าโดยความยินยอมระหว่างนายไก่และนางไข่จึงยังไม่สมบูรณ์ (ตามมาตรา 1515)

(ข) การที่นางไข่ได้ไปอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับนายดํานั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นางไข่มีชู้เพราะนางไข่ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไก่อยู่ ดังนั้น นายไก่ย่อมถือเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (1)

(ค) เมื่อนายไก่และนางไข่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เพราะการสมรสยังไม่สิ้นสุดลง (เนื่องจากการหย่ายังไม่สมบูรณ์) การที่นางไข่มีบุตร 1 คน คือเด็กชายแดง เด็กชายแดงย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ของนางไข่ตามมาตรา 1546 และเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไก่ เพราะเด็กชายแดงได้เกิดในขณะที่ นางไข่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายไก่ตามมาตรา 1536

สรุป (ก) การตกลงหย่าระหว่างนายไก่และนางไข่มีผลไม่สมบูรณ์

(ข) นายไก่จะฟ้องหย่านางไข่ได้

(ค) เด็กชายแดงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไก่และนางไข่นับแต่คลอดและอยู่รอดเป็นทารก

LAW3103 (LAW3003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3103 (LAW 3003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายทองมาชอบพอรักใคร่กับนางสาวแพรวได้ตกลงที่จะทําสัญญาหมั้นในวันที่ 1 กันยายน เมื่อถึงวันทําสัญญาหมั้นนายทองมาได้ส่งมอบแหวนเพชรให้แก่นางสาวแพรว แต่ไม่สามารถนํารถยนต์มามอบให้เป็นของหมั้นตามที่ตกลงกันไว้นายทองมาจึงเขียนสัญญากู้เป็นจํานวนเงิน 500,000 บาท มอบไว้ให้แทนโดยจะส่งมอบให้ภายหลัง นายทองมาและนางสาวแพรวได้อยู่กินกันฉันสามีภริยา จนนางสาวแพรวตั้งครรภ์ ครั้นอยู่กินกันถึง 7 เดือนเศษก็เกิดทะเลาะกันบ่อยครั้ง นายทองมาจึง แจ้งให้นางสาวแพรวไปทําการจดทะเบียนสมรส แต่นางสาวแพรวไม่ยินยอม นายทองมาจึงฟ้องว่านางสาวแพรวผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นทั้งหมด นางสาวแพรวก็ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ ด้วยว่าเป็นของหมั้นของตน เช่นนี้ ท่านเห็นว่าอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง “การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

มาตรา 1439 “เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิด ใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) นายทองมาจะฟ้องว่านางสาวแพรวผิดสัญญาหมั้นและให้คืนของหมั้นทั้งหมดได้หรือไม่ กรณีนี้เห็นว่า การที่นายทองมาชอบพอรักใคร่กับนางสาวแพรว จึงได้ตกลงทําสัญญาหมั้นกันโดยได้ส่งมอบ แหวนเพชรให้แก่นางสาวแพรว แต่ไม่สามารถนํารถยนต์มามอบให้เป็นของหมั้นตามที่ตกลงกันไว้ นายทองมาจึงเขียนสัญญากู้เป็นจํานวนเงิน 5 แสนบาท มอบไว้ให้แทนโดยจะส่งมอบให้ภายหลังนั้น การหมั้นระหว่างนายทองมากับนางสาวแพรวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง เนื่องจากได้มีการส่งมอบทรัพย์สิน อันเป็นของหมั้น คือ แหวนเพชรให้แก่นางสาวแพรวแล้ว ส่วนเงิน 5 แสนบาท ที่ได้ทําสัญญากู้ไว้นั้น มีเจตนาจะ ให้กันในวันข้างหน้า ไม่ได้มีการส่งมอบให้แก่กันในวันหมั้น เงิน 5 แสนบาท จึงมิใช่ของหมั้นแต่อย่างใด

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายทองมาและนางสาวแพรวได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาจนนางสาวแพรวตั้งครรภ์ และครั้นอยู่กินกันถึง 7 เดือนเศษก็เกิดทะเลาะกันบ่อยครั้งนั้น แสดงให้เห็นว่าทั้งสอง ได้ละเลยไม่นําพาต่อการจดทะเบียนสมรส ดังนั้น การที่นายทองมาได้แจ้งให้นางสาวแพรวไปทําการจดทะเบียน สมรสกัน แต่นางสาวแพรวไม่ยินยอมจดทะเบียนสมรสนั้น นางทองมาจะถือว่านางสาวแพรวผิดสัญญาหมั้น และจะฟ้องเรียกเอาแหวนเพชรซึ่งเป็นของหมั้นคืนจากนางสาวแพรวตามมาตรา 1439 ไม่ได้

(2) การที่นายทองมาทําสัญญากู้เงินมอบไว้แทนรถยนต์นั้น เมื่อเงินจํานวน 5 แสนบาท ตาม สัญญากู้นั้นไม่ถือว่าเป็นของหมั้นตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นางสาวแพรวจะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ โดยอ้างว่าเป็นของหมั้นของตนไม่ได้

สรุป

(1) นายทองมาจะฟ้องว่านางสาวแพรวผิดสัญญาหมั้นเพื่อเรียกคืนของหมั้นไม่ได้

(2) นางสาวแพรวจะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้โดยอ้างว่าเป็นของหมั้นของตนก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

 

ข้อ 2 นายนิพร อายุ 25 ปี รักกับนางสาวน้ำผึ้ง อายุ 18 ปี ซึ่งเป็นลูกน้องในบริษัท นายนิพรไม่ต้องการ ให้ใครทราบจึงทําการจดทะเบียนสมรสกับนางสาวน้ำผึ้งโดยไม่บอกให้ใครทราบแม้กระทั้งญาติพี่น้อง บิดามารดาของทั้งสองฝ่าย หนึ่งปีต่อมาบิดามารดาของนางสาวน้ำผึ้งจึงทราบก็ไม่พอใจ เพราะต้องการให้นางสาวน้ำผึ้งทําการสมรสกับนายทองแท่งซึ่งมีฐานะดี จึงต้องการฟ้องให้เพิกถอน การสมรส และเมื่อศาลเพิกถอนการสมรสแล้ว บิดามารดาจะให้ความยินยอมแก่นางสาวน้ำผึ้ง ให้จดทะเบียนสมรสกับนายทองแท่งทันที เช่นนี้

(ก) บิดามารดาของนางสาวน้ำผึ้ง จะฟ้องขอเพิกถอนการสมรสได้หรือไม่

(ข) การสมรสของนายทองแท่งกับนางสาวน้ำผึ้ง จะมีผลอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1436 “ผู้เยาว์จะทําการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้

(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา”

มาตรา 1453 “หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทําการสมรสใหม่ได้

ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน…”

มาตรา 1454 “ผู้เยาว์จะทําการสมรสให้นําความในมาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

มาตรา 1501 “การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน

มาตรา 1509 “การสมรสที่มิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวในมาตรา 1454 การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 1510 “การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะมิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวใน มาตรา 1454 เฉพาะบุคคลที่อาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 เท่านั้น ขอให้เพิกถอนการสมรสได้ สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์

การฟ้องขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้ ให้มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันทราบการสมรส”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนิพร อายุ 25 ปี รักกับนางสาวน้ำผึ้ง อายุ 18 ปี และได้ทําการจดทะเบียนสมรสกัน โดยไม่บอกให้ใครทราบแม้กระทั่งญาติพี่น้องบิดามารดาของทั้งสองฝ่ายนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่ นางสาวน้ำผึ้งซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ทําการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา การสมรสระหว่างนายนิพรกับนางสาวน้ำผึ้งจึงเป็นโมฆียะตามมาตรา 1454 ประกอบมาตรา 1436 (1) และมาตรา 1509 และกรณีดังกล่าวนั้น

(ก) ถ้าหนึ่งปีต่อมาบิดามารดาของนางสาวน้ำผึ้งทราบและไม่พอใจ จึงต้องการฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างนายนิพรและนางสาวน้ำผึ้งนั้น บิดามารดาของนางสาวน้ำผึ้งซึ่งเป็นบุคคลที่อาจให้ความยินยอม ตามมาตรา 1454 ย่อมสามารถฟ้องขอให้เพิกถอนการสมรสได้ตามมาตรา 1510 เพราะสิทธิ์เพิกถอนการสมรสยังไม่ระงับเนื่องจากนางสาวน้ำผึ้งยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ และไม่ปรากฏว่านางสาวน้ำผึ้งมีครรภ์ อีกทั้ง บิดามารดาของนางสาวน้ำผึ้งได้ใช้สิทธิฟ้องขอเพิกถอนการสมรสภายในอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสมรสดังกล่าว

(ข) เมื่อศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรสแล้ว การสมรสระหว่างนายนิพรและนางสาวน้ำผึ้ง ย่อมสิ้นสุดลงตามมาตรา 1501 และนางสาวน้ำผึ้งจะทําการสมรสใหม่ได้ก็ต่อเมื่อการสิ้นสุดการสมรสนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 310 วัน ตามมาตรา 1453 ดังนั้น การที่บิดามารดาของนางสาวน้ำผึ้งได้ยินยอมให้นางสาวน้ำผึ้ง จดทะเบียนสมรสกับนายทองแท่งทันทีนั้น ย่อมเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1453 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อการสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1453 นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโมฆะหรือโมฆียะแต่อย่างใด ดังนั้น การสมรสของนายทองแท่งกับนางสาวน้ำผึ้งจึงมีผลสมบูรณ์

สรุป

(ก) บิดามารดาของนางสาวน้ำผึ้ง สามารถฟ้องขอเพิกถอนการสมรสระหว่างนายนิพรกับ นางสาวน้ำผึ้งได้

(ข) การสมรสของนายทองแท่งกับนางสาวน้ำผึ้งมีผลสมบูรณ์

 

ข้อ 3 นายกิตติได้อยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวดวงเดือนก่อนที่นายกิตติจะมาทําการจดทะเบียนสมรส กับนางสาวพิมพ์พา ต่อมานายกิตติได้ทะเลาะเบาะแว้งกับนางสาวพิมพ์พาจึงได้แยกกันอยู่และวางแผนไว้ว่าจะหย่ากัน นายกิตติจึงได้ใช้ชีวิตอยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวดวงเดือน เมื่อนายกิตติ ได้เดินทางไปทํางานในสถานที่ต่าง ๆ นางสาวดวงเดือนได้เดินทางไปด้วย โดยพักห้องพักเดียวกัน รับประทานอาหารพร้อม ๆ กับเพื่อน ๆ ของนายกิตติตลอดเวลา นางสาวพิมพ์พาต้องการฟ้องหย่า แต่นายกิตติต่อสู้ว่านางสาวพิมพ์พาทราบมาก่อนแล้วว่า นายกิตติได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ นางสาวดวงเดือนก่อนที่จะมาจดทะเบียนสมรสกับนางสาวพิมพ์พาประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง

ถ้านางสาวพิมพ์พาไม่ต้องการฟ้องหย่านายกิตติ แต่ต้องการฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนางสาวดวงเดือน เช่นนี้ ทั้งสองกรณีท่านเห็นว่าอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 “เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้…”

มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง “เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามีหรือภริยาแล้วแต่ กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทําที่เป็นเหตุฟ้องหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็น เหตุฟ้องหย่าไม่ได้”

มาตรา 1523 วรรคสอง “สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทํานองชู้สาวก็ได้และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทํานองชู้สาวก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่นายกิตติได้อยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวดวงเดือนก่อนที่นายกิตติจะมาทําการจดทะเบียนสมรสกับนางสาวพิมพ์พา โดยที่นางสาวพิมพ์พาก็ทราบมาก่อนแล้วว่านายกิตติได้อยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวดวงเดือนก่อนที่จะมาจดทะเบียนสมรสกับตนนั้น มิได้หมายความว่าภายหลังจากการสมรสกันแล้ว

นางสาวพิมพ์พาได้ยินยอมให้นายกิตติอยู่กันฉันสามีภริยากับนางสาวดวงเดือนได้อีกแต่อย่างใด ดังนั้น การที่นายกิตติได้ทะเลาะเบาะแว้งกับนางสาวพิมพ์พาจึงได้แยกกันอยู่และวางแผนไว้ว่าจะหย่ากัน แล้วนายกิตติจึงได้ใช้ชีวิตอยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวดวงเดือนอีกนั้น นางสาวพิมพ์พาย่อมสามารถฟ้องหย่านายกิตติได้ตาม มาตรา 1516 (1) เพราะเป็นกรณีที่ถือได้ว่านายกิตติสามีได้ยกย่องผู้อื่นฉันภริยาและเป็นชู้ และร่วมประเวณีกับ ผู้อื่นเป็นอาจิณ นายกิตติจะอ้างมาตรา 1517 วรรคหนึ่งที่ว่านางสาวพิมพ์พาได้ทราบอยู่ก่อนแล้วว่า นายกิตติได้ อยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวดวงเดือนมาก่อน มาต่อสู้นางสาวพิมพ์พาไม่ได้

(2) การที่นายกิตติได้เดินทางไปทํางานในสถานที่ต่าง ๆ โดยนางสาวดวงเดือนได้เดินทางไปด้วย และได้พักห้องเดียวกัน รวมทั้งรับประทานอาหารพร้อม ๆ กับเพื่อน ๆ ของนายกิตติตลอดเวลานั้น นางสาวพิมพ์พา ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนางสาวดวงเดือนได้ แม้ว่านางสาวพิมพ์พาไม่ต้องการฟ้องหย่านายกิตติเพราะถือว่านางสาวดวงเดือนได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับนายกิตติสามีของนางสาวพิมพ์พาในทํานองชู้สาวตามมาตรา 1523 วรรคสอง

สรุป นางสาวพิมพ์พาสามารถฟ้องหย่านายกิตติได้ตามมาตรา 1516 (1) หรือถ้าไม่ต้องการ ฟ้องหย่านายกิตติก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนางสาวดวงเดือนได้ตามมาตรา 1523 วรรคสอง

 

ข้อ 4 ในปี พ.ศ. 2561 นายอํานาจได้ยกบ้านและที่ดินให้แก่นางสาวพิทยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 นายอํานาจได้จดทะเบียนสมรสกับนางสาวพิทยา และเมื่ออยู่กินฉันสามีภริยากันแล้วนายอํานาจ ยิ่งหลงรักนางสาวพิทยามากขึ้น จึงยกที่ดินเปล่าอีก 1 แปลงให้แก่นางสาวพิทยาในปี พ.ศ. 2563 โดยนางสาวพิทยาขอให้ทําสัญญาระบุไว้ว่าห้ามไม่ให้บอกล้างสัญญาที่ยกที่ดินดังกล่าวไว้ด้วย ต่อมานางสาวพิทยาได้ทําสัญญาให้นายพิชัยเช่าบ้านและที่ดินมีกําหนดเวลา 10 ปี โดยได้รับค่าเช่า เป็นจํานวนเงิน 1 ล้านบาท และได้ทําสัญญาให้นายเจริญเช่าที่ดินเปล่ามีกําหนดเวลา 20 ปี โดยได้รับค่าเช่าเป็นจํานวนเงิน 2 ล้านบาท นายอํานาจไม่พอใจนางสาวพิทยาที่นําไปให้เช่าโดย ไม่ปรึกษาสามีก่อน จึงบอกล้างการยกบ้านและที่ดิน และที่ดินเปล่า และต้องการฟ้องเพิกถอน การทําสัญญาเช่าทั้งสองสัญญาเช่า แต่นางสาวพิทยาต่อสู้ว่าได้ทําสัญญาระบุว่าห้ามไม่ให้บอกล้าง สัญญายกที่ดินดังกล่าวไว้ เช่นนี้ท่านเห็นว่าอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1469 “สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทําไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา กันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้

แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริต”

มาตรา 1471 “สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา”

มาตรา 1473 “สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่นายอํานาจได้ยกบ้านและที่ดินให้แก่นางสาวพิทยาในปี พ.ศ. 2561 ก่อนที่จะได้ จดทะเบียนสมรสกันในปี พ.ศ. 2562 นั้น ถือว่าบ้านและที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของนางสาวพิทยา เพราะเป็นทรัพย์สินที่นางสาวพิทยามีอยู่ก่อนสมรสตามมาตรา 1471 (1) และแม้ว่าบ้านและที่ดินดังกล่าว นางสาวพิทยาจะได้มาจากการยกให้โดยเสน่หาจากนายอํานาจ และเมื่อไม่ปรากฏว่านางสาวพิทยาประพฤติเนรคุณ ต่อนายอํานาจผู้ให้แต่อย่างใด ดังนั้น นายอํานาจจะเรียกถอนคืนการให้ตามมาตรา 531 ไม่ได้

การที่นางสาวพิทยาได้ทําสัญญาให้นายพิชัยเช่าบ้านและที่ดินมีกําหนด 10 ปี โดยได้รับค่าเช่า เป็นจํานวนเงิน 1 ล้านบาทนั้น นางสาวพิทยาย่อมสามารถทําสัญญาให้เช่าได้เองโดยลําพัง โดยไม่ต้องปรึกษา นายอํานาจสามี เนื่องจากเป็นการจัดการเกี่ยวกับสินส่วนตัวตามมาตรา 1473 ดังนั้น นายอํานาจจะฟ้องเพิกถอน การทําสัญญาเช่ากรณีนี้ไม่ได้

(2) การที่นายอํานาจยกที่ดินเปล่าให้แก่นางสาวพิทยาอีก 1 แปลงในปี พ.ศ. 2563 นั้น ถือว่า เป็นการทําสัญญาระหว่างสมรสตามมาตรา 1469 และมีผลทําให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของนางสาวพิทยาตามมาตรา 1471 (3) นางสาวพิทยาจึงสามารถทําสัญญาให้นายเจริญเช่าได้โดยลําพังตาม มาตรา 1473 ดังนั้น นายอํานาจจึงไม่สามารถเพิกถอนการทําสัญญาเช่ากรณีนี้ได้เช่นเดียวกัน

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อการให้ที่ดินเปล่าดังกล่าวแก่นางสาวพิทยาเป็นสัญญาระหว่างสมรส ดังนั้น นายอํานาจย่อมสามารถบอกล้างการยกที่ดินเปล่า 1 แปลงให้แก่นางสาวพิทยาได้ตามมาตรา 1469 นางสาวพิทยาจะต่อสู้ว่าได้มีการทําสัญญาระบุว่าห้ามไม่ให้บอกล้างการยกที่ดินดังกล่าวไว้ไม่ได้ เพราะข้อตกลง ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมาย (มาตรา 1469) โดยชัดแจ้ง ข้อตกลงนั้นจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 ดังนั้น นายอํานาจจึงมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวได้

สรุป นายอํานาจมีสิทธิบอกล้างการยกที่ดินเปล่าให้แก่นางสาวพิทยาได้ แต่จะบอกล้างการ ยกบ้านและที่ดินไม่ได้ และจะฟ้องเพิกถอนการทําสัญญาเช่าทั้งสองสัญญาเช่าไม่ได้ด้วย

LAW3103 (LAW3003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3003 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายชาติชายและนางสาวนิชาชอบพอรักใคร่กัน ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ว่าจะรับผิดชอบอย่างไร จึงได้ไปพบพนักงานตํารวจโดยมีบิดามารดาของนางสาวนิชาอยู่ด้วย นายชาติชายได้ยินยอมมอบเงิน 30,000 บาทให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นการขอขมา และได้ทําบันทึกต่อหน้าพนักงานตํารวจว่าจะทําการจดทะเบียนสมรสภายในสองเดือนและรับผิดชอบเลี้ยงดู นางสาวนิชาอย่างดี ถ้าไม่ทําตามสัญญาจะชดใช้ให้เป็นจํานวนเงิน 60,000 บาท ปรากฏว่าเมื่อครบ กําหนดสองเดือนตามสัญญานายชาติชายไม่ทําการจดทะเบียนสมรสด้วย นางสาวนิชาจึงต้องการ ฟ้องฐานผิดสัญญาหมั้นและให้ชดใช้เงินให้ด้วย เช่นนี้ท่านเห็นว่าอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1437 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสําคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมี พฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทําให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้” มาตรา 1439 “เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิด ใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายชาติชายและนางสาวนิชาชอบพอรักใคร่กันและได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ว่าจะรับผิดชอบอย่างไร จึงได้ไปพบพนักงานตํารวจโดยมีบิดามารดาของ นางสาวนิชาอยู่ด้วย และนายชาติชายได้ยินยอมมอบเงิน 30,000 บาทให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นการขอขมา และได้ ทําบันทึกต่อหน้าพนักงานตํารวจว่าจะทําการจดทะเบียนสมรสภายใน 2 เดือน และรับผิดชอบเลี้ยงดูนางสาวนิชา อย่างดีนั้น การมอบเงิน 30,000 บาทให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นการขอขมานั้น ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สิน ให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เงิน 30,000 บาทจึงมิใช่ของหมั้นตามนัยของมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง และเงิน 30,000 บาทดังกล่าวก็มิใช่สินสอดตามนัยของมาตรา 1437 วรรคสาม เพราะมิใช่ทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ดังนั้น การที่นายชาติชายได้มอบ เงิน 30,000 บาทให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นการขอขมานั้น จึงไม่ทําให้เกิดสัญญาหมั้นได้

เมื่อการที่นายชาติชายได้มอบเงิน 30,000 บาท ให้แก่ฝ่ายหญิงและได้ทําบันทึกต่อหน้าพนักงาน ตํารวจว่าจะทําการจดทะเบียนสมรสภายใน 2 เดือน และรับผิดชอบเลี้ยงดูนางสาวนิชาอย่างดี ถ้าไม่ทําตามสัญญา จะชดใช้ให้เป็นจํานวนเงิน 60,000 บาทนั้น มิใช่เป็นการทําสัญญาหมั้นตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น

เมื่อครบกําหนด 2 เดือนตามสัญญา การที่นายชาติชายไม่ทําการจดทะเบียนสมรสด้วย จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีที่ นายชาติชายผิดสัญญาหมั้น และเมื่อไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้น นางสาวนิชาจึงไม่สามารถฟ้องนายชาติชาย ฐานผิดสัญญาหมั้นและให้ชดใช้เงินให้ด้วยตามมาตรา 1439 ได้

สรุป นางสาวนิชาจะฟ้องนายชาติชายฐานผิดสัญญาหมั้นและให้ชดใช้เงินให้ด้วยนั้นไม่ได้

 

ข้อ 2 นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางเดือน ต่อมานายเมฆมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ น.ส.ฝน ซึ่งเป็นคนวิกลจริตและได้จดทะเบียนสมรสกัน หลังจากจดทะเบียนสมรส น.ส.ฝน ก็หายจากอาการวิกลจริต หลังจากนั้นนายเมฆและนางเดือนได้ร่วมกันจดทะเบียนรับ น.ส.น้ำ มาเป็นบุตรบุญธรรม วันหนึ่ง นายเมฆทะเลาะกับนางเดือนอย่างรุนแรง นายเมฆกับนางเดือนจึงจดทะเบียนหย่ากัน และนายเมฆ ก็ไปจดทะเบียนสมรสกับ น.ส.น้ำ

ดังนี้ การจดทะเบียนสมรสของนายเมฆกับนางเดือน น.ส.ฝน และน.ส.น้ำ มีผลในทางกฎหมาย อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1449 “การสมรสจะกระทํามิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่ง ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ”

มาตรา 1451 “ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้”

มาตรา 1452 “ชายหรือหญิงจะทําการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้”

มาตรา 1457 “การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น”

มาตรา 1495 “การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ”

มาตรา 1501 “การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1598/32 “การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางเดือนซึ่งการสมรสมีผลสมบูรณ์ตาม มาตรา 1457 ต่อมานายเมฆมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ น.ส.ฝน ซึ่งเป็นคนวิกลจริตและได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น การสมรสระหว่างนายเมฆและ น.ส.ฝน เป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1449 เพราะเป็นการสมรส ในขณะที่หญิงเป็นบุคคลวิกลจริต อีกทั้งเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 เพราะเป็นการสมรส ในขณะที่นายเมฆมีคู่สมรสอยู่แล้ว ดังนั้น การสมรสระหว่างนายเมฆและ น.ส.ฝน จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

การที่นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางเดือนและการสมรสมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 1457 นั้น

ต่อมา เมื่อนายเมฆและนางเดือนได้จดทะเบียนหย่ากัน การสมรสระหว่างนายเมฆและนางเดือนย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง ตามมาตรา 1501 และต่อมาเมื่อนายเมฆผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนสมรสกับ น.ส.น้ำ บุตรบุญธรรม แม้จะเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1451 แต่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะหรือโมฆยะแต่อย่างใด เพียงแต่มาตรา 1598/32 ได้บัญญัติแต่เพียงว่าให้การรับบุตรบุญธรรม เป็นอันยกเลิกไปเท่านั้น อีกทั้งการสมรสระหว่างนายเมฆและ น.ส.น้ำก็มิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 แต่อย่างใดด้วย ดังนั้นการสมรสระหว่างนายเมฆและน.ส.น้ำจึงมีผลสมบูรณ์

สรุป การสมรสระหว่างนายเมฆกับนางเดือนมีผลสมบูรณ์ แต่การสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว การสมรสระหว่างนายเมฆกับ น.ส.ฝน มีผลเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างนายเมฆกับ น.ส.น้ำ มีผลสมบูรณ์

 

ข้อ 3 นายเก่งและนางอ้อมเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย หลังจากสมรสนายเก่งและนางอ้อมทําสัญญา ให้นายเก่งเป็นผู้มีอํานาจในการจัดการสินสมรสทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายเก่งจับสลาก ในงานฉลองปีใหม่ของบริษัทได้รับรางวัลเป็นจักรยานเสือภูเขาราคาแพง นายเก่งให้จักรยานคันดังกล่าวแก่นางสาวเก๋เพื่อนร่วมงานของนายเก่ง โดยที่ไม่บอกนางอ้อมเพราะรู้ว่านางอ้อม ไม่ชอบนางสาวเก๋และนางอ้อมคงไม่เห็นด้วย หลังจากนั้นนายเก่งได้รับมรดกจากบิดาเป็นที่ดิน 1 แปลงในฐานะผู้รับพินัยกรรม นายเก่งได้ขายที่ดินดังกล่าวให้กับนายพงษ์ในราคาที่ต่ำกว่าราคา ที่ซื้อขายกันโดยทั่วไป โดยที่นางอ้อมไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ให้ความยินยอมแต่อย่างใด

ดังนี้ เมื่อนางอ้อมทราบเรื่องทั้งหมด นางอ้อมจะฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมให้รถจักรยานและ การขายที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1465 วรรคหนึ่ง “ถ้าสามีภริยามิได้ทําสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติในหมวดนี้

มาตรา 1471 “สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา”

มาตรา 1473 “สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ”

มาตรา 1474 “สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส”

มาตรา 1476 “สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้

(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จํานอง ปลดจํานอง หรือโอนสิทธิจํานองซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจํานองได้

(2) ก่อตั้งหรือกระทําให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจํายอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

(4) ให้กู้ยืมเงิน

(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

(6) ประนีประนอมยอมความ

(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

(8) นําทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง”

มาตรา 1476/1 วรรคหนึ่ง “สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทําสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติในมาตรา 1465 และ มาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้ การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส”

มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง “การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอม จากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทํานิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทํานิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทําโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งและนางอ้อมเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ได้ทําสัญญาระหว่าง สมรสให้นายเก่งเป็นผู้มีอํานาจในการจัดการสินสมรสทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวนั้น สัญญาระหว่างสมรสดังกล่าว ใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตรา 1476/1 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1465 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า สามีและ ภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทําสัญญา ก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1465 ดังนั้น ในการจัดการสินสมรสของนายเก่งและนางอ้อมจึงต้องบังคับ ตามบทบัญญัติในหมวดนี้

การที่นายเก่งจับสลากในงานฉลองปีใหม่ของบริษัทได้รับรางวัลเป็นจักรยานเสือภูเขาราคาแพงนั้น

รถจักรยานดังกล่าวถือเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสตามมาตรา 1474 (1) การที่ นายเก่งให้จักรยานคันดังกล่าวแก่นางสาวเก๋เพื่อนร่วมงานของนายเก่งโดยไม่บอกนางอ้อมนั้น เป็นกรณีที่นายเก่ง ได้ทํานิติกรรมตามมาตรา 1476 (5) โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น นางอ้อมจึงสามารถ ฟ้องศาลให้เพิกถอนนิติกรรมการให้รถจักรยานดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง

ส่วนการที่นายเก่งได้รับมรดกจากบิดาเป็นที่ดิน 1 แปลงในฐานะผู้รับพินัยกรรมนั้น เมื่อพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าเป็นสินสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงถือเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3) นายเก่งจึงมีอํานาจในการจัดการ สินส่วนตัวนั้นได้โดยลําพังตามมาตรา 1473 ดังนั้น เมื่อนายเก่งได้ขายที่ดินดังกล่าวให้กับนายพงษ์ แม้จะขาย ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันโดยทั่วไป และโดยที่นางอ้อมไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ให้ความยินยอมก็ตาม นางอ้อมก็จะฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินนั้นตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่งไม่ได้

สรุป นางอ้อมสามารถฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้รถจักรยานของนายเก่งได้ แต่นางอ้อมจะฟ้องให้ศาลเพิกถอนการขายที่ดินของนายเก่งไม่ได้

 

ข้อ 4 นายไก่และนางไข่อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาจนมีลูกด้วยกันหนึ่งคนคือเด็กชายเป็ด ต่อมานายไก่ไปหลงรักนางแมวเพื่อนร่วมงาน โดยนางแมวรู้ดีว่านายไก่มีภริยาโดยพฤตินัยอยู่แล้วคือนางไข่ นายไก่จึงมาตกลงกับนางไข่ว่าตนก็รักนางไข่ไม่เสื่อมคลายและจะไปจดทะเบียนสมรสกับนางไข่ ถ้านางไข่ยินยอมให้ตนไปอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับนางแมว นางไข่ก็ยินยอมตามข้อเสนอ ต่อมานางไข่เห็นว่านายไก่จะหลงรักนางแมวมากเกินไปจนลืมตนและลูก จึงมาปรึกษาท่านว่า

(1) จะฟ้องหย่านายไก่ว่ามีภริยาน้อยได้หรือไม่ และ

(2) เด็กชายเป็ดเป็นลูกชอบด้วยกฎหมายของใคร ตั้งแต่เมื่อใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1457 “การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น”

มาตรา 1516 “เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วม ประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้”

มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง “เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทําที่เป็นเหตุฟ้องหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้น จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้”

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่นายไก่และนางไข่อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาจนมีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ เด็กชายเป็ด แต่ต่อมาเมื่อนายไก่และนางไข่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือว่านายไก่และนางไข่เป็นสามีและภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1457 ดังนั้น การที่นายไก่ได้ไปอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับนางแมวนั้น ย่อมถือว่า เป็นกรณีที่นายไก่ได้อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาตามมาตรา 1516 (1) นางไข่จึงสามารถถือเป็นเหตุฟ้องหย่านายไก่ได้

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า การที่นายไก่ได้ไปอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา กับนางแมวนั้น นางไข่ได้ยินยอมหรืออนุญาตนายไก่แล้ว ดังนั้น นางไข่จึงอ้างเหตุดังกล่าวเพื่อที่จะฟ้องหย่านายไก่ไม่ได้ตามมาตรา 1517 วรรคหนึ่ง

(2) เด็กชายเปิดเป็นลูกที่เกิดก่อนที่นายไก่และนางไข่จะได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งโดยหลักแล้ว ย่อมเป็นลูกโดยชอบด้วยกฎหมายของนางไข่แต่เพียงผู้เดียวนับแต่คลอดและอยู่รอดเป็นทารกตามมาตรา 1546 แต่เมื่อต่อมานายไก่และนางไข่ได้จดทะเบียนสมรสกันย่อมถือว่าเด็กชายเป็ดเป็นลูกโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไก่ด้วยตามมาตรา 1547 นับแต่วันที่นายไก่และนางไข่จดทะเบียนสมรสกันย้อนไปนับแต่เด็กชายเปิดเกิด

สรุป

(1) นางไข่จะฟ้องหย่านายไก่ว่ามีภริยาน้อยไม่ได้

(2) เด็กชายเปิดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไข่ตั้งแต่คลอดและอยู่รอดเป็นทารกและเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไก่ เมื่อนายไก่และนางไข่ได้จดทะเบียน สมรสกัน และมีผลย้อนไปนับแต่เด็กชายเป็ดเกิด

WordPress Ads
error: Content is protected !!