CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2260 (MCS 2201) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. สมมติวันพรุ่งนี้ คณะสื่อสารมวลชนเตรียมจัดงานไหว้ครู ประจําปีการศึกษา 2560 พร้อมทั้งจัด
นิทรรศการเพื่อนําเสนอผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดในระดับชาติและ นานาชาติ เช่น หนังสั้น ภาพถ่าย หนังสือพิมพ์นักศึกษาฉบับออนไลน์ เป็นต้น ในงานมีกิจกรรม การเสวนากับศิษย์เก่าที่ประสบความสําเร็จในวงการสื่อมวลชน อาทิ นักข่าว ช่างภาพ ผู้กํากับ ภาพยนตร์ นักแสดง ฯลฯ ให้นักศึกษาวางแผนการทําข่าวดังกล่าว โดยให้ระบุแหล่งข่าวและ ประเด็นเนื้อหาที่จะรายงานสําหรับข่าวก่อนงาน และข่าวหลังงาน (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
การวางแผนการทําข่าวดังกล่าว มีดังนี้

– สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงานดังกล่าว เช่น กําหนดการจัดงานเป็นอย่างไร ใครเป็น เจ้าภาพจัดงาน ใครเป็นประธานในพิธีไหว้ครู สถานที่จัดงานคือที่ไหน วันที่-เวลาใน การจัดงานเมื่อไร ฯลฯ
– ศึกษาประวัติของแหล่งข่าว เช่น ชื่อ-นามสกุลของแหล่งข่าว ตําแหน่งหน้าที่การงาน นักศึกษาที่ได้รับรางวัลมีกี่คน ใครบ้าง และพิธีกร/วิทยากรในงานเสวนาเป็นใคร มีความสําคัญอย่างไร มีประสบการณ์ความรู้ในอาชีพอะไรบ้าง ฯลฯ
– เตรียมตั้งคําถามที่จะสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้า
– ลงพื้นที่ทําข่าว หากมีผู้สื่อข่าวในทีมหลายคนอาจแบ่งไปทําข่าวในกิจกรรมต่าง ๆ ตามเวลาในกําหนดการจัดงาน
– สัมภาษณ์แหล่งข่าวต่าง ๆ โดยต้องฟังและจับประเด็นสําคัญให้ได้
– เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว โดยอาจหาข้อมูลเสริมจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ มาใช้
ประกอบการเขียนข่าวดังกล่าว

แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น มีดังนี้
– คณบดีคณะสื่อสารมวลชน บรรดาอาจารย์ในงานไหว้ครู และตัวแทนนักศึกษาที่ได้ จัดพานมาไหว้ครู
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคําแหง
– นักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดผลงานต่าง ๆ
– ศิษย์เก่าที่มาเป็นวิทยากร และพิธีกรในงานเสวนา
– ผู้เข้าชมงาน และผู้ฟังในงานเสวนา
– เว็บไซต์และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
– เอกสารการจัดงานและหมายกําหนดการต่าง ๆ

ประเด็นเนื้อหาที่จะรายงาน แบ่งออกเป็น

1. ข่าวก่อนงาน ได้แก่
– เจ้าภาพจัดงานไหว้ครูเป็นใคร จัดที่ไหน วันที่ เวลาใด
– มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานอย่างไร
– กําหนดการจัดงาน กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานเริ่มเวลาใดบ้าง
– ศิษย์เก่าที่เป็นวิทยากรและพิธีกรในงานเสวนามีใครบ้าง
– ข้อมูลเสริมจากเว็บไซต์เกี่ยวกับตัววิทยากร หน้าที่การงานในปัจจุบัน

2. ข่าวหลังงาน ได้แก่
– บรรยากาศภายในงานไหว้ครูเป็นอย่างไร มีผู้มาร่วมงานคึกคักหรือไม่
– ความรู้สึกของอาจารย์และนักศึกษาที่มาไหว้ครู
– ความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดผลงานต่าง ๆ
– สาระสําคัญของคําพูดวิทยากรในงานเสวนาแต่ละคน โดยอาจหยิบยกข้อความ ที่เด่น ๆ มานําเสนอในลักษณะการอ้างคําพูดโดยตรง
– ความรู้สึกของผู้มาร่วมงาน
– ข้อมูลเสริมจาก Facebook ของคณะสื่อสารมวลชนเกี่ยวกับรูปภาพบรรยากาศ
ภายในงาน

ข้อ 2. จากเหตุการณ์ฝนตกหนักหลายชั่วโมง ทําให้น้ําท่วมขัง เกิดอุบัติเหตุ และการจราจรติดขัดใน กรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงบ่ายวานนี้ ต่อเนื่องถึงเช้าวันนี้
2.1 ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวจะรายงานเหตุการณ์นี้ในแง่มุมหรือประเด็นใดบ้าง เพื่อให้
ครอบคลุมสถานการณ์รอบด้าน
2.2 หาข้อมูลประกอบการเขียนข่าวดังกล่าวได้จากแหล่งข้อมูลใดบ้าง
2.3 ข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อมของข่าวหรือไม่ ถ้าควรมีน่าจะนําเสนอเนื้อหาใดบ้างในส่วนเชื่อมนั้น

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 83 – 91), (คําบรรยาย)
2.1 ประเด็นหรือแง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์นี้

– ฝนตกหนักทําให้มีพื้นที่ถูกน้ําท่วมขังจํานวนกี่จุด บนถนนสายใดบ้าง และเกิดอุบัติเหตุ ที่ไหน ระบุพิกัดให้ชัดเจน
– การระบายน้ำของ กทม. เป็นอย่างไร จุดไหนที่มีน้ําแห้งแล้วบ้าง อุโมงค์ระบายน้ำ ทํางานได้ดีแค่ไหน มีอุปสรรคและการแก้ปัญหาอย่างไร
– สภาพการจราจรเป็นอย่างไร ถนนสายไหนมีรถจอดเสียและน้ำท่วมสูง ควรเตือนให้ ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทาง

– สัมภาษณ์ผู้ว่าฯ กทม. เกี่ยวกับการลงพื้นที่ดูแลเรื่องการระบายน้ำ
– ความรู้สึกของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– รายงานเรื่องสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาและการเตือนภัยเกี่ยวกับพายุที่อาจ
ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

2.2 แหล่งข้อมูลที่นํามาประกอบการเขียนข่าวดังกล่าว
– ผู้ว่าฯ กทม.
– สํานักการระบายน้ำ กทม.
– ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ําท่วม กทม.
– เจ้าหน้าที่ กทม. ที่ทําหน้าที่ระบายน้ำและเก็บขยะ
– เจ้าหน้าที่จราจร
– ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– กรมอุตุนิยมวิทยา
– เว็บไซต์หรือ Facebook ของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้
– เพจชื่อดังหรือสื่อออนไลน์ที่แจ้งปัญหาน้ําท่วม พร้อมรูปภาพประกอบ

2.3 การเขียนข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อม โดยควรนําเสนอข้อมูลในส่วนเชื่อม ดังนี้
– อาจระบุคุณลักษณะของบุคคลในข่าว ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ยศหรือตําแหน่ง ฯลฯ และ คุณลักษณะของสถานที่ที่เป็นข่าว ได้แก่ บริเวณที่มีน้ําท่วมขังอยู่บนถนน/ซอยใดบ้าง อยู่ใกล้สถานที่สําคัญอะไร ฯลฯ
– อาจให้ภูมิหลังหรือความเป็นมาของเหตุการณ์ว่า จากกรณีเกิดฝนตกหนักทั่วพื้นที่ของ กทม. ตั้งแต่ช่วงเวลาใด ต่อเนื่องถึงช่วงเวลาไหน ของวันที่เท่าไหร่ โดยมีปริมาณ น้ำฝนสูงสุดวัดได้กี่มิลลิเมตร และพื้นที่ใดฝนตกหนักที่สุด

ข้อ 3. ถ้าทีมนักศึกษาภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวด อาหารและขนมประเภทเบเกอรี่ในเวทีการประกวดระดับนานาชาติ นักศึกษาจะรายงานข่าวนี้ อย่างไรบ้าง จงระบุแหล่งข่าว และคําถาม (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น และคําถาม

– ทีมนักศึกษาที่ชนะเลิศ : คําถาม เบเกอรี่ประเภทใดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จุดเด่นที่ ทําให้ชนะ/วัตถุดิบใดเป็นตัวชูโรง ได้รับรางวัลชนะเลิศจากผู้เข้าแข่งขันจํานวนกี่ทีม ใช้เวลาในการฝึกฝนทํากี่เดือน/ปี เคยได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดอื่นหรือไม่ และ ความรู้สึกที่ได้เป็นผู้ชนะ

– อาจารย์ที่ปรึกษา/คณบดีคณะคหกรรมศาสตร์ : คําถาม การให้คําแนะนําปรึกษาแก่ นักศึกษาในเรื่องใดบ้าง ใครเป็นผู้คิดค้นสูตรเบเกอรี เส้นทางการส่งเข้าประกวด และ การต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคต เช่น การจัดวางจําหน่ายเป็นสินค้า และช่องทางการ จัดจําหน่าย เป็นต้น
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนั้น : คําถาม การให้ความสนับสนุนคณะคหกรรมศาสตร์ใน อนาคต และความรู้สึกที่นักศึกษาได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
– ผู้จัดการประกวดระดับนานาชาติ : คําถาม เหตุผลที่ให้รางวัลชนะเลิศ และความเห็น ของคณะกรรมการท่านต่าง ๆ
– เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของเวทีการประกวดดังกล่าว เงินรางวัลที่ได้รับ และ สถิติย้อนหลังว่ามีทีมของมหาวิทยาลัยใดในไทยที่เคยได้รับรางวัลมาแล้วบ้าง
– เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น Facebook ของคณะคหกรรมศาสตร์ เพื่อหา รูปภาพของนักศึกษาที่ชนะเลิศ คณะอาจารย์ที่ปรึกษา และหน้าตาของเบเกอรีที่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ

ข้อ 4. สมมติเกิดอุบัติเหตุรถชนกันบริเวณถนนรามคําแหง ให้นักศึกษาคิดประเด็นข่าวที่ควรรายงานและ ระบุแหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว เพื่อให้สามารถรายงานข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วน
รอบด้าน

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 147 – 149), (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงาน มีดังนี้

– เกิดเหตุรถอะไรชนกัน มีคู่กรณีจํานวนกี่คัน รถชนกันบริเวณถนนรามคําแหงในช่วง ซอยอะไร ขาเข้าหรือขาออก ใกล้สถานที่สําคัญอะไรบ้าง ระบุพิกัดลงไปให้ชัดเจน
– มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตหรือไม่ ถ้ามีจํานวนกี่คน ชื่อ-นามสกุลอะไร อายุเท่าไหร่ อาการ ของผู้บาดเจ็บเป็นอย่างไร กู้ภัยนําส่งโรงพยาบาลไหน
– สภาพความเสียหายในที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร รถเกิดไฟลุกไหม้หรือไม่ และสามารถ เคลื่อนย้ายรถออกจากพื้นที่ได้เองหรือต้องใช้รถยก
– สัมภาษณ์คู่กรณีเกี่ยวกับลําดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จราจร และชาวบ้านที่ เห็นเหตุการณ์ในละแวกนั้น
– การดําเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตํารวจ การตรวจดูกล้องวงจรปิด กล้องหน้ารถ เพื่อยืนยันว่า ใครถูกใครผิด ผิดด้วยข้อหาอะไร และมีโทษเป็นอย่างไร
– การชดใช้ความเสียหายต่อผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตจากประกันภัยรถยนต์
– สภาพการจราจรบนถนนรามคําแหงภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ รถติดไปจนถึงแยกไหน ถนน/ซอยอะไร ต้องปิดการจราจรหรือไม่ พร้อมทั้งบอกเส้นทางหลีกเลี่ยง

แหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว

– คู่กรณีจากอุบัติเหตุรถชนกัน
– เจ้าหน้าที่จราจร
– อาสากู้ภัยต่าง ๆ
– แพทย์/โรงพยาบาล
– ประกันภัยรถยนต์
– ผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้ใช้รถใช้ถนนในละแวกนั้น
– ข้อมูลเสริมจากกล้องวงจรปิด กล้องหน้ารถ
– คลิปภาพเหตุการณ์ในมุมต่าง ๆ ที่มีผู้ถ่ายเอาไว้ได้และเอามาลงใน Facebook หรือ
เพจชื่อดัง

ข้อ 5. ให้นักศึกษาคิดประเด็นข่าว ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา ข่าวการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย หรืออาจเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย อย่างละ 1 ข่าว (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 159, 165 – 166, 182),
(คําบรรยาย)
ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหรืออาจเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย

1. ข่าวเศรษฐกิจ คือ ข่าวมหาวิทยาลัยรามคําแหงขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าบํารุง มหาวิทยาลัย สําหรับนักศึกษาใหม่ตั้งแต่ภาค 1/2560 แต่ค่าหน่วยกิตยัง 25 บาท
เหมือนเดิม

2. ข่าวกีฬา ได้แก่ ข่าวการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยมีมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็น
เจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว

3. ข่าวการเมือง ได้แก่ ข่าวมหาวิทยาลัยรามคําแหงจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภานักศึกษา (ส.ม.ร.) และคณะกรรมการองค์การนักศึกษา (อ.ศ.ม.ร.)

ข้อ 6. เหตุใดสื่อมวลชนจึงรายงานข่าวการรับน้องของสถาบันการศึกษาที่มีการแสดงพฤติกรรม
ไม่เหมาะสมเป็นประจําทุกปี รวมทั้งรายงานอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากเกิดเหตุ
อธิบายโดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับคุณค่าเชิงข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 2 – 6), (คําบรรยาย)

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานเป็นข่าวในสื่อมวลชนไทย เนื่องจากมีคุณค่าเชิงข่าว (News Values) ดังนี้

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น สงสารและรู้สึก เห็นอกเห็นใจรุ่นน้องที่เป็นผู้ถูกกระทํา หรือรู้สึกโกรธและเกลียดรุ่นพี่ที่ไม่มีวุฒิภาวะและไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดกิจกรรมการรับน้องในทางที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้หากรุ่นน้องที่ถูกกระทําเป็นเพศทางเลือกหรือ เพศที่สามก็ยังเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในเรื่องเพศอีกด้วย

2. ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นความใกล้ชิดทาง กายระหว่างผู้อ่านกับตัวเหตุการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นความใกล้ชิดทางใจ หากผู้อ่านเป็นนักศึกษาที่กําลังศึกษาอยู่
หรือเคยจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เป็นข่าว

3. ความโดดเด่น ดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาที่เป็นข่าว รวมทั้งความดังของสถานที่ที่ทํากิจกรรมรับน้อง หากสถานที่นั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนทั่วไปรู้จัก

4. ความขัดแย้ง/การเผชิญหน้า คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งทางกายและ ความคิด นอกจากนี้ยังมีการเผชิญหน้าระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง มีการบังคับให้ทํากิจกรรมรับน้องที่ไม่เหมาะสม และมีการกระทําทางวาจาที่ไม่สุภาพต่าง ๆ เพื่อให้รุ่นน้องได้รับความอับอายหากไม่ปฏิบัติตามที่รุ่นพี่สั่ง 5. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 7. จากข้อมูลต่อไปนี้ ให้นักศึกษาเขียนหัวข่าวและเนื้อข่าวสําหรับหนังสือพิมพ์ หากนักศึกษาเห็นว่า ข้อมูลที่กําหนดให้ยังไม่สมบูรณ์ นักศึกษาสามารถสมมติข้อมูลเพิ่มเติมและแหล่งข่าวที่จําเป็นได้ตามสมควร

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ภาค 2 ปีการศึกษา 2560 ที่ส่วนกลาง (ม.ร. หัวหมาก) ระหว่างวันที่ 11 – 14 พฤศจิกายน 2560 (ทุกวัน) พร้อมเปิดรับ สมัครทางอินเทอร์เน็ตที่ www.iregis2.ru.ac.th ตั้งแต่บัดนี้ – 14 พฤศจิกายน 2560 รวมทั้ง เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในระบบ Pre-degree เพื่อสะสมหน่วยกิต ล่วงหน้า โดยสามารถนําหน่วยกิตมาเทียบโอนได้เมื่อจบ ม.6 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ปรับ การเรียนการสอน เพื่อขยายการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจมากขึ้น โดยมีแนวทางต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ และผู้ที่จบอนุปริญญาขึ้นไปได้พัฒนาศักยภาพ และเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น รวมถึงให้โอกาสนักศึกษาเก่า ม.ร. ที่เคยสมัครเรียนแต่ยังไม่จบ สามารถนําหน่วยกิตที่เคยสอบผ่านมาเทียบโอนเพื่อต่อยอดความรู้จนสําเร็จปริญญาตรีด้วย ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรับสมัคร อาคาร สวป. ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคําแหง โทร 02-310-8614-24 หรือ www.ru.ac.th, Facebook : PR Ramkhamhaeng University

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118), (คําบรรยาย)

หัวข่าว

ม.ร. เปิดรับ นศ. ใหม่ภาค 2/2560

ไอเดียสุดชิค “เรียนไม่จบเทียบโอนได้

เนื้อข่าว (ข้อมูลเพิ่มเติม คือ ข้อมูลที่ขีดเส้นใต้)

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ภาค 2 ปีการศึกษา 2560 เฉพาะส่วนกลาง (ม.ร. หัวหมาก) โดยมีคณะที่เปิดสอน 13 คณะ ได้แก่ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สื่อสารมวลชน วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ทัศนมาตรศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ และเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าศึกษาในระบบ Pre-degree เพื่อสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า โดยสามารถนําหน่วยกิตมาเทียบโอนได้เมื่อจบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ทางมหาวิทยาลัยยังได้ปรับการเรียนการสอน เพื่อขยายการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่ สนใจมากขึ้น โดยมีหลายแนวทางเพื่ออํานวยความสะดวกให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ และผู้ที่จบอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไปได้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น รวมถึงให้โอกาสนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่เคยสมัครเรียนแต่ยังไม่จบ สามารถนําหน่วยกิตที่เคยสอบผ่านมาเทียบโอน เพื่อต่อยอดความรู้จนสําเร็จ ปริญญาตรีด้วย

ผู้สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองระหว่างวันที่ 11 – 14 พฤศจิกายน 2560 (ทุกวัน) ตั้งแต่ เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช หรือสมัครทางอินเทอร์เน็ตที่ www.iregis2.ru.ac.th ตั้งแต่บัดนี้ – 14 พฤศจิกายน 2560 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายรับสมัคร อาคาร สวป. ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคําแหง โทร 02-310-8614-24 หรือ www.ru.ac.th, Facebook : PR Ramkhamhaeng University

CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2260 (MCS 2201) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 9 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปทําข่าวสถานการณ์โรฮีนจาในพื้นที่ภาคใต้ จงวางแผนการทําข่าวดังกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะรายงานสถานการณ์นี้ในแง่มุมหรือประเด็นใดบ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

จากการรายงานสถานการณ์ดังกล่าว ผู้สื่อข่าวต้องวางแผนการทําข่าว ดังนี้

– ผู้สื่อข่าวต้องลงไปยังพื้นที่ภาคใต้ที่มีการพบหลุมศพชาวโรฮีนจา
– สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อคิดหาแหล่งข่าวที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องนี้ได้ และเตรียมตั้งคําถามไว้ก่อนล่วงหน้า
– สัมภาษณ์แหล่งข่าว เช่น เจ้าหน้าที่ทหารและตํารวจที่เข้าตรวจสอบพื้นที่, ชาวโรฮีนจา ที่ลักลอบเข้ามาในไทย, องค์กรทางศาสนาอิสลามของไทยที่ให้ความช่วยเหลือชาวโรฮีนจา เป็นต้น
– ฟังและจับประเด็นสําคัญจากการสัมภาษณ์ให้ได้
– ตั้งคําถามในประเด็นที่อยากรู้เพิ่มเติม
– เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว

ประเด็นแง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว มีดังนี้

– มีการพบหลุมศพของชาวโรฮีนจาที่ไหน จังหวัดอะไร เมื่อเวลา วันที่เท่าใด และใคร
เป็นผู้พบ
– จากการตรวจสอบพื้นที่ของเจ้าหน้าที่พบอะไรบ้าง เช่น หลุมศพมีกี่หลุม ชาวโรฮีนจา ที่ลักลอบเข้ามามีกี่คน มีผู้บาดเจ็บหรือไม่ และมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร
– เจ้าหน้าที่และองค์กรทางศาสนาอิสลามให้การช่วยเหลือชาวโรฮีนจาที่ลักลอบเข้ามา อย่างไร และนําตัวไปไว้ที่ไหน
– การสืบสวนของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับนายหน้าที่ลักลอบนําชาวโรฮีนจาเข้ามา และประเทศ
ที่ชาวโรฮีนจาต้องการจะไป
– การดําเนินคดีและมาตรการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งการส่งตัวชาวโรฮีนจากลับไปยังประเทศต้นทาง
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับประวัติชาวโรฮีนจา มีความเป็นมาอย่างไร มีปัญหาอะไรกับประเทศ ต้นทางถึงต้องอพยพไปยังประเทศที่ 3

ข้อ 2.
2.1 การรายงานข่าวกีฬามีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการรายงานข่าวอื่น ๆ อย่างไร จงอธิบาย
2.2 ยกตัวอย่างประเด็นที่ควรรายงานในข่าวกีฬา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการแข่งขัน และไม่เกี่ยวข้อง
กับการแข่งขันโดยตรง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 183 – 185), (คําบรรยาย)

2.1 ลักษณะพิเศษของการรายงานข่าวกีฬาที่แตกต่างจากการรายงานข่าวอื่น ๆ มีดังนี้

1. ข่าวกีฬามีลักษณะเป็นวงจรเช่นเดียวกับการจัดการแข่งขัน กล่าวคือ การแข่งขันกีฬา รายการต่าง ๆ จะจัดขึ้นตามระยะเวลาที่กําหนดหรือตามฤดูกาล ทําให้ข่าวกีฬามักจะวนเวียนอยู่กับข้อมูลเดิม จนอาจทําให้ข่าวขาดความน่าสนใจไป ในขณะที่ผู้อ่านต้องการความแปลกใหม่อยู่ตลอด ดังนั้นการรายงานข่าว กีฬาจึงต้องพยายามหาข้อมูลใหม่ ๆ หรือเป็นความเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทีม นักกีฬาในแต่ละ ทีม และนักกีฬาที่เป็นดาราในทีม

2. ข่าวกีฬาใช้ถ้อยคําที่มีสีสันชวนติดตาม กล่าวคือ ข่าวกีฬาเป็นการรายงานข้อเท็จจริง ของผลการแข่งขัน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเกมที่มีลีลาการเคลื่อนไหวที่ตื่นเต้น เร้าใจ ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงค่อนข้างมี สีสันหรือใช้ถ้อยคําหวือหวา อาจมีการใช้สํานวนอุปมาอุปไมย การให้สมญานาม วลีใหม่ ๆ การบรรยายให้ถึงลูก ถึงคน ซึ่งจะไม่สามารถนําไปใช้ในการรายงานข่าวอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้การเขียนข่าวกีฬายังมีการใช้คําฟุ่มเฟือย มากกว่าการเขียนข่าวทั่วไป เพื่อให้เห็นภาพพจน์และรู้สึกตื่นเต้นเร้าไปไปกับกีฬาประเภทต่าง ๆ

3. ข่าวกีฬาเป็นการรายงานข่าวในเชิงวิเคราะห์ทํานายผลการแข่งขัน กล่าวคือ ผู้สื่อข่าว กีฬาสามารถแสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์ทํานายผลการแข่งขันว่าทีมใดน่าจะเป็นผู้ชนะ โดยนําข้อมูลทุกด้าน ที่มี รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ที่มีชื่อเสียงหรือผู้เชี่ยวชาญในกีฬานั้น ๆ มาสนับสนุนการวิเคราะห์ของตน ซึ่งจะ แตกต่างจากข่าวประเภทอื่น ๆ ๆ

2.2 ประเด็นที่ควรรายงานในข่าวกีฬา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการแข่งขัน และไม่เกี่ยวข้องกับ
การแข่งขันโดยตรง มีดังนี้

1. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแข่งขัน ได้แก่
– มีการแข่งขันอะไร ที่ไหน วันที่ เวลาใด
– ผู้เล่นแต่ละทีมประกอบด้วยใครบ้าง แต่ละคนมีตําแหน่งการเล่นสําคัญอย่างไร
– ผลงานสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา
– รายละเอียดของการแข่งขันตั้งแต่ต้นจนจบ
– ผลการแข่งขันใครชนะใครแพ้ ผู้เล่นดีเด่นมีใครบ้าง
– ความคิดเห็นที่มีต่อการแข่งขันทั้งของนักกีฬาดาวเด่นและผู้จัดการทีม
– การเตรียมตัวแข่งขันในนัดต่อไป
2. ประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันโดยตรง ได้แก่
– การซื้อขายตัวนักกีฬา
– การย้ายทีมของนักกีฬาและโค้ช
– การฝึกซ้อม การเตรียมทีม

– การคัดเลือกตัวนักกีฬา
– การบาดเจ็บของผู้เล่นระหว่างฝึกซ้อม
– ความเคลื่อนไหวของบุคคลหรือองค์กรในแวดวงกีฬา
– เรื่องส่วนตัวของนักกีฬาคนดัง

ข้อ 3. ในการเขียนข่าวดาราชายชื่อดังขับรถชนคนตาย ควรระบุถึงคุณลักษณะ/คุณสมบัติ (Identification) อะไรบ้างในข่าว ยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 119 – 122), (คําบรรยาย)

คุณลักษณะที่ต้องระบุในการเขียนข่าวดาราชายชื่อดังขับรถชนคนตาย มีดังนี้

1. คุณลักษณะของบุคคล ได้แก่

– ชื่อ-นามสกุลของดาราชายที่ก่อเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– อายุของดาราชายที่ก่อเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี)
– อาชีพของผู้ก่อเหตุเป็นดาราหรือนักแสดงสังกัดช่องไหน รวมทั้งอาชีพของ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี) – ยศหรือตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– เกียรติภูมิหรือชื่อเสียงของดาราชายที่ก่อเหตุ มีผลงานการแสดงเรื่องอะไรบ้าง เรื่องใดทําให้มีชื่อเสียง และมีประชาชนรู้จักมากที่สุด
– ที่อยู่ของดาราชายที่ก่อเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (ถ้ามี)
– ชื่อเล่น หรือชื่อที่ใช้ในวงการการแสดงของดาราชายที่ก่อเหตุ

2. คุณลักษณะของสถานที่ ได้แก่ เหตุการณ์รถชนเกิดขึ้นที่ไหน ซึ่งต้องระบุคุณลักษณะ โดยการบอกที่ตั้ง เลขที่ ซอย ถนน ตําบล อําเภอ และจังหวัด หากสถานที่นั้นอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหรือ สถานที่ที่เป็นทีรู้จักกันดีก็ต้องระบุลงไปด้วย

3. คุณลักษณะของเหตุการณ์ ได้แก่ ลําดับเหตุการณ์รถชนตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุดาราชาย อยู่ที่ไหน ขับรถมาจากไหนเพื่อจะไปที่ใด เวลาที่เกิดเหตุรถชน จากนั้นเหตุการณ์ดําเนินไปอย่างไร จบลงอย่างไร และผลที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์จบลงแล้ว มีสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จํานวนผู้เสียชีวิตและ ผู้บาดเจ็บ คําพูดของผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้บาดเจ็บ และการดําเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตํารวจ

ข้อ 4. ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวอาจารย์และกลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง คิดค้นครีมกันแดดประสิทธิภาพสูงจากว่านหางจระเข้และใบบัวบกสําเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย

4.1 อยากทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวใด และควรนําเสนอประเด็นใดบ้าง

4.2 การเขียนข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อมหรือไม่ ถ้าควรมี ควรนําเสนอข้อมูลใดในส่วนเชื่อมดังกล่าว
ไม่ต้องเขียนข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 83 – 91, 178 – 181), (คําบรรยาย)

4.1 แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น และประเด็นที่ควรนําเสนอ มีดังนี้

1. การรายงานข่าวข้างต้นสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวต่อไปนี้ อาจารย์ที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยดังกล่าว

– กลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกันคิดค้นครีมกันแดด
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนั้นที่สนับสนุนการวิจัย
– กลุ่มอาสาสมัครที่ทดลองใช้ครีมกันแดด
– กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– สํานักงานวิจัยแห่งชาติ
– สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
– สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.)
– กรมทรัพย์สินทางปัญญา
– เว็บไซต์ข้อมูลสรรพคุณของว่านหางจระเข้และใบบัวบก

2. ประเด็นที่ควรนําเสนอในข่าวข้างต้น ได้แก่

– มีการคิดค้นอะไร ใครเป็นผู้คิดค้น เมื่อวันที่เท่าใด ที่ไหน
– สาเหตุที่มีการคิดค้นขึ้นมา และใช้เวลาค้นคว้าวิจัยกี่ปี
– ส่วนประกอบในครีมกันแดดมีอะไรโดดเด่น และมีสรรพคุณอะไรบ้าง
– ประสิทธิภาพของครีมกันแดดดังกล่าว มีความแตกต่างจากครีมกันแดดในท้องตลาดอย่างไร
– การทดลองใช้กับกลุ่มอาสาสมัครได้ผลเป็นอย่างไร
– การรับรองจากหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของภาครัฐ การจดสิทธิบัตร และ แผนการผลิตออกสู่ท้องตลาดในอนาคต

4.2 การเขียนข่าวข้างต้นควรมีส่วนเชื่อม โดยควรนําเสนอข้อมูลในส่วนเชื่อม ดังนี้

– อาจระบุคุณลักษณะของบุคคลในข่าว ได้แก่ อาจารย์และกลุ่มนักศึกษาที่คิดค้น โดย บอกชื่อ-นามสกุล ตําแหน่งทางวิชาการ ชั้นปีที่นักศึกษากําลังศึกษาอยู่ ชื่อคณะ และ ชื่อมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักบุคคลในข่าวมากขึ้น

– อาจให้ภูมิหลังหรือความเป็นมาว่าอาจารย์และกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เคยคิดค้นผลิตภัณฑ์อะไรมาก่อนหน้านี้หรือไม่ หรือเคยมีชื่อเสียงจากการประดิษฐ์คิดค้นอะไรมาก่อน

– ให้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับว่านหางจระเข้และใบบัวบก ทั้งเรื่องสรรพคุณและประโยชน์ใน การบํารุงผิว

ข้อ 5. การรายงานข่าวมรณกรรมของเจ้าอาวาสวัดที่มีชื่อเสียง ควรนําเสนอประเด็นอะไรบ้าง และ เหตุการณ์ดังกล่าวมีคุณค่าเชิงข่าวอย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 2 – 6, 131 – 132) (คําบรรยาย)

ประเด็นที่ควรรายงานในข่าวมรณกรรมของเจ้าอาวาสวัดที่มีชื่อเสียง มีดังนี้

– เจ้าอาวาสชื่ออะไร เป็นเจ้าอาวาสวัดไหน ได้มรณภาพลงแล้วเมื่ออายุเท่าใด โดยต้อง ระบุเวลา วันที่ และสถานที่มรณภาพด้วยว่าคือที่ไหน (เช่น ที่โรงพยาบาล หรือที่วัด)
– สาเหตุที่มรณภาพ เช่น ระบบอวัยวะภายในล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น ฯลฯ
– เหตุการณ์ก่อนหน้าเจ้าอาวาสมีอาการอย่างไร เคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหรือไม่
– เหตุการณ์ตื่นเต้นในขณะที่เจ้าอาวาสใกล้จะมรณภาพ ลางร้าย หรือลางสังหรณ์ก่อนที่
จะมรณภาพ
– ประวัติของเจ้าอาวาส เช่น เดิมชื่อว่าอะไร เกิดเมื่อไหร่ มีภูมิลําเนาเดิมอยู่ที่ไหน บิดา-มารดาชื่ออะไร บรรพชาและอุปสมบทที่วัดใดเมื่ออายุกี่ปี โดยต้องบอกด้วยว่า ท่านโด่งดังมีชื่อเสียงและได้รับความนับถือในด้านไหน และได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่
สังคมไทยอย่างไรบ้าง
– รายละเอียดของพิธีศพ เช่น พิธีสวดอภิธรรมจัดที่ไหน ใช้เวลากี่วัน ผู้ใดเป็นเจ้าภาพใน การสวดอภิธรรม กําหนดการบรรจุศพ และกําหนดการฌาปนกิจ

เหตุการณ์ดังกล่าวมีคุณค่าเชิงข่าว (News Values) ดังนี้

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น โศกเศร้าเสียใจที่ ต้องสูญเสียปูชนียบุคคลที่สร้างคุณงามความดีให้กับพระพุทธศาสนา เป็นต้น

2. ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นความใกล้ชิดทาง กายระหว่างผู้อ่านกับตัวเหตุการณ์ และยังเป็นความใกล้ชิดระหว่างผู้อ่านกับตัวบุคคล (เจ้าอาวาส) ซึ่งเป็นที่ เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

3. ความโดดเด่นดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

4. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 6. จากหลักการเกี่ยวกับการรายงานข่าวตามวาระโอกาส

6.1 จงคิดประเด็นข่าวที่ควรรายงานในช่วงวันแรงงานแห่งชาติ ยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย
3 ประเด็น

6.2 แต่ละประเด็นในข้อ 6.1 มีแหล่งข่าวอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

6.1 ประเด็นข่าวที่ควรรายงานในช่วงวันแรงงานแห่งชาติ มีดังนี้
1. ประยุทธ์รับ 11 ข้อเรียกร้องแรงงาน ขอขึ้นค่าแรงเป็น 360 บาท
2. นักวิชาการมองกฎหมายเพื่อคุณภาพ ชีวิตแรงงานกับค่าจ้างขั้นต่ําที่เหมาะสม
3. แรงงานไทยกระอัก นักวิชาการแฉหนี้ท่วม 94%

6.2 แหล่งข่าวในแต่ละประเด็นข้างต้น
1. ประยุทธ์รับ 11 ข้อเรียกร้องแรงงาน ขอขึ้นค่าแรงเป็น 360 บาท
– พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
– คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยที่ยื่นข้อเรียกร้อง
– คณะกรรมการค่าจ้างแรงงาน
– เว็บไซต์ของกรมจัดหางานที่รับผิดชอบเรื่องแรงงาน
– เว็บไซต์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำแต่ละประเทศใน AEC
– เว็บไซต์ข้อมูลเปรียบเทียบอัตราว่างงานในต่างประเทศ

2. นักวิชาการมองกฎหมายเพื่อคุณภาพ ชีวิตแรงงานกับค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสม
– นักวิชาการแต่ละคนที่มาร่วมเสวนา โดยเลือกคนที่มีความโดดเด่น
– เว็บไซต์ข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยแรงงานเอกชนในแต่ละปี ปัจจุบันเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
– เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

3. แรงงานไทยกระอัก นักวิชาการแฉหนี้ท่วม 94%
– นักวิชาการที่ให้ข้อมูล
– ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
– เอกสารผลสํารวจสถานภาพแรงงานไทย
– เอกสารเกี่ยวกับตัวเลขหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทย

ข้อ 7. จากข้อมูลต่อไปนี้ จงเขียนเนื้อข่าวและหัวข่าว สําหรับหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์

สื่อออนไลน์ชั้นนํา 17 แห่งของไทย ได้แก่ 1. บริษัท ไทยเดย์ ดอทคอม จํากัด (www.manager.co.th) 3. บริษัท เดลินิวส์เว็บ จํากัด (www.dailynews.co.th)
2. บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จํากัด (www.thairath.co.th) 4. บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) (www.matichon.co.th, www.khaosod.co.th, www.prachachat.net) 5. บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) (www. bangkokpost.co.th, www.posttoday.com, www.student-weekly.com) 6. บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) (www.nationmultimedia.com, www.komchadluek.com, www.bangkokbiznews.com) 7. บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จํากัด (มหาชน) (www.siamsport.co.th, www.siamdara.com, www.siamsporttv.com, www.sbt.co.th) 8. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (www.thannews.th.com) 9. หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ (www.siamrath.co.th) 10. หนังสือพิมพ์ดาราเดลี่ (www.daradaily.com) 11. หนังสือพิมพ์แนวหน้า (www.naewna.com) 12. หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ (www.chiangmainews.co.th) 13. องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (www.thaipbs.or.th) 14. บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) (www.mcot.net) 15. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (www.banmuang.co.th) 16. สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ (www.springnewstv.tv) และ 17. บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดแคสติ้ง จํากัด (www.pptvthailand.com) ได้รวมตัวกันจัดตั้ง “สมาคมผู้ผลิตข่าว ออนไลน์ – Society of Online News Providers (SONP) ขึ้น เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 ที่สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมประกาศเจตนารมณ์ มุ่งมั่น ส่งเสริม และสนับสนุนสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของ ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนการที่ประชาชนรับรู้ข่าวสารออนไลน์ผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่ผ่านกระบวนการทางวารสารศาสตร์จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตข่าวแต่ละรายโดยตรง และร่วมกันหยุดยั้งผู้ประกอบการเว็บไซต์เชิงธุรกิจในการนําเนื้อหาข่าวและภาพข่าวไปใช้โดยพลการ ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ผลิตโดยเว็บไซต์สมาชิก

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนผ่านแบบก้าวกระโดดของกระบวนการข่าวสารในปัจจุบันบนโลกออนไลน์ และโซเชียลมีเดียถือว่ามีบทบาทอย่างมาก เมื่อรวมกับเทคโนโลยีความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์มือถือ ช่องทาง การนําเสนอและรับข่าวสารในปัจจุบันที่หลากหลายขึ้น แต่ยังขาดบุคลากรด้านนี้อีกเป็นจํานวนมาก ดังนั้นสมาคมผู้ผลิตข่าว ออนไลน์ได้เล็งเห็นความสําคัญของการเสริมสร้างความรู้ให้กับนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างผู้ผลิตข่าวรุ่นใหม่ ให้มีคุณภาพ และมีความเข้าใจบทบาทภารกิจที่แท้จริงของผู้ผลิตข่าวออนไลน์มากขึ้น จึงได้เชิญชวนน้อง ๆ นิสิตนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ในระดับอุดมศึกษาสาขานิเทศศาสตร์, วารสารศาสตร์, ประชาสัมพันธ์, สื่อสารการตลาด และออกแบบ สื่อดิจิทัล ร่วมเข้าค่ายโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ “Young Digital News Providers Camp 2015” ผู้เข้าอบรมจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์และทักษะด้านต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรที่มี ประสบการณ์ตรงจากองค์กรผู้ผลิตข่าวออนไลน์ รับจํานวนจํากัดเพียง 45 คนเท่านั้น ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่นี่ http://www.somp.or.th/wpcontent/uploads/2015/05/YDJC-forweb02.pdf รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 พ.ค. 2558

การอบรมจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 – วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จังหวัดปทุมธานี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยได้รับการสนับสนุนหลักจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือดีแทค, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสนับสนุนร่วมโดยบริษัท จีเอเบิล จํากัด, บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จํากัด สํานักงานใหญ่

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118, 151), (คําบรรยาย)

หัวข่าว
SONP จัดอบรมฟรี! ผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์
เนื้อข่าว

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) จัดอบรมฟรี โครงการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ รุ่นที่ 1 ติวเข้มนิสิตนักศึกษาให้เป็นผู้สื่อข่าวที่มีคุณภาพ

ผู้ที่จะสมัครเข้าอบรมต้องเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ในระดับอุดมศึกษา สาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารการตลาด และออกแบบสื่อดิจิทัล ร่วมเข้าค่ายโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ “Young Digital News Providers Camp 2015” ในวันศุกร์ที่ 26 – วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จังหวัดปทุมธานี โดยจะรับจํานวนจํากัดเพียง 45 คนเท่านั้น ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 พ.ค. 2558 หรือดาวน์โหลด ใบสมัครได้ที่นี่ http://www.sonp.or.th/wp-content/uploads/2015/05/YDJC-forweb02.pdf

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (Society of Online News Providers : SONP) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยเกิดจากการรวมตัวกันของสื่อออนไลน์ ชั้นนํา 17 แห่งของไทย ได้แก่ บริษัท ไทยเดย์ ดอทคอม จํากัด (www.manager.co.th) บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จํากัด (www.thairath.co.th) บริษัท เดลินิวส์เว็บ จํากัด (www.dailynews.co.th) บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) (www.matichon.co.th, www.khaosod.co.th, www.prachachat.net) บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) (www.bangkokpost.co.th, www.posttoday.com, www.student-weekly.com) บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) (www.nationmultimedia.com, www.komchadluek.com, www. bangkokbiznews.com) บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จํากัด (มหาชน) (www.siamsport.co.th, www.siamdara. com, www.siamsporttv.com, www.sbt.co.th) หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (www.thannews.th.com) หนังสือพิมพ์สยามรัฐ (www.siamrath.co.th) หนังสือพิมพ์ดาราเดลี่ (www.daradaily.com) หนังสือพิมพ์แนวหน้า (www.naewna.com) หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ (www.chiangmainews.co.th) องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (www.thaipbs.or.th) บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) (www.mcot.net) หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (www.banmuang.co.th) สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ (www.springnewstv.tv) และ บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดแคสติ้ง จํากัด (www.pptvthailand.com)

ข้อ 8. จากบทความในเฟซบุ๊กของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา นักคิดนักเขียนชื่อดัง เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา จงเขียนเนื้อข่าวและหัวข่าว สําหรับหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์

“พวกเราตั้งทีมอาสากู้ภัยตอนน้ำท่วมใต้ปี 54 ตามด้วยวิกฤติมหาอุทกภัยภาคกลาง ทําทุกอย่างทุกวันตลอด สามเดือน ขบวนการกู้โลก Trekker Volunteers (นักเดินป่าอาสากู้ภัยไทยแลนด์) เห็นมากับตาว่า 1. ของบริจาคล้นเกิน และไปไม่ถึงพื้นที่ รถ/เรือเข้าไปไม่ได้ ต.ย.ตอนถนนสะพานข้ามแม่น้ําตาปีที่สุราษฎร์ขาด ขบวนรถส่งของลงใต้ก็ติดแหง็ก ไปหลายวัน ยังไงก็ไม่ทันการ พวกเราจึงโอนเงินบริจาคที่รวบรวมมาให้ทีมกู้ภัยในพื้นที่ไปซื้อน้ําดื่มที่หาดใหญ่ไปช่วยคนนบพิตํา (นครศรีฯ) เป็นอันดับแรก ของถึงผู้ประสบภัยทันเวลา ไม่ต้องยุ่งกับการขนส่งจากกรุงเทพฯ ด้วย….. แล้วนี่ไกลถึงเนปาล ขนส่งต้องใช้เครื่องบินเท่านั้น ใครจะหอบขึ้นเครื่องไปเองก็ได้แค่คนละ 20 – 30 กก. เลิกคิดได้เลย 2. บะหมี่สําเร็จรูป เยอะมากจนผู้ประสบภัยงงว่าส่งมาทําไม ไฟจะต้มน้ําก็ไม่มี ฝืดคอกินไม่ลงด้วย…. ข้าวกล่องของสด บูดเสียเป็นกองพะเนิน เพราะแพ็คไม่เป็น ขนไปแจกไม่ทัน และยังสร้างภาระให้อาสาสมัครที่มาช่วยลําเลียงมาก ๆ (ต้องดม เสียเวลาคัดทิ้ง) คนทํางานอยากได้เชือก เรือ เครื่องมือแพทย์พื้นฐาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ก็ไม่ค่อยมีใครบริจาคมา มีแต่ที่ไปกองอยู่ตาม หน่วยงานรัฐซึ่งทีมอาสาคนนอกจะเข้าไปขอมาใช้งานก็ยุ่งยากลําบากเหลือทน 3. คนบริจาคถือโอกาสโละเสื้อผ้าเก่าเยอะเกิน จนเป็นภาระหน่วยงานที่รับบริจาค (ที่ดอนเมืองตอนน้ําท่วมกรุง ยังมีภาพภูเขาเสื้อผ้าสูงเกือบชนเพดานที่ทําการท่าอากาศยาน แล้วในที่สุดของทั้งหมดที่คัดแยกขนส่งไม่ทันก็ต้องจมหายไปกับน้ํา) สําหรับกรณีนี้ขอบอกว่าเนปาลมีเสื้อผ้าสิ่งทอขายตามตลาด เหลือล้น ราคาถูกกว่าบ้านเราด้วย ย่านทาเมลทั้งสายถนนขายแต่เสื้อผ้า outdoor คนไทยชอบไปหอบเสื้อ North Face ตัวละสองสามร้อยมาเป็นโหล ๆ แท้รึเปล่าไม่รู้ แต่คุณภาพใช้ได้เลย…. นี่ตัวอย่างให้เห็นภาพ ไม่ต้องคิดเลยนะเรื่องบริจาคเสื้อผ้า ให้คนเนปาล 4. การเดินทางไปช่วยด้วยตนเอง ถ้าทําอะไรไม่ค่อยเป็นก็จะกลายเป็นภาระคนอื่นเปล่า ๆ และอาจเจ็บป่วย ซะเองด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขาดน้ําดื่ม ไฟฟ้าสําหรับหุงต้ม และห้องสุขา เนปาลยามนี้คงต้องการแพทย์และทีมกู้ภัย มือโปรที่มีอุปกรณ์ติดไปด้วยมากที่สุด (เพิ่งไปมาเมื่อเดือนก่อน เห็นการขุดถนนขนหินด้วยแรงคนล้วน ๆ ในกาฐมาณฑุแล้ว ฟันธงได้เลยว่าเครื่องมือรื้อตัดขุดเจาะจะต้องมีน้อยมากเมื่อเทียบกับชาวจิตอาสามามือเปล่าที่แห่กันเข้าไป)… ขอร้องเลย อย่าไปถ้าทําได้แค่ช่วยยกเศษซากทีละชิ้น เขามีแรงคนช่วยกันเองอยู่แล้ว แต่ต้องการเครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญการกอบกู้ภัย พิบัติจ๊ะ ดูนี่ซะก่อน… แค่สองวันเริ่มมีคําเตือนแล้วว่า อย่ารีบเข้าไปโดยไม่ประสานกับหน่วยงานใดในพื้นที่ ขนาดทีมแพทย์ที่ บุกไปกันเองยังหาซื้ออาหารมาเลี้ยงตัวไม่ได้ แล้วจะมีปัญญาไปช่วยใคร…. 5. การบริจาคเงินทางหน่วยงานต่าง ๆ เราต้อง ตรวจสอบว่าจะเอาเงินไปช่วยแค่ไหนอย่างไร (เรื่องมันยาว… ไม่ขอเล่าตรงนี้ดีกว่า) ขอเสนอให้เลือกองค์กรที่ส่ง จนท. เข้าไป ปฏิบัติงานจริงและทันการณ์ มิฉะนั้นเงินของท่านจะกลายเป็นถนนห่วย ๆ ห้องสุขาแบบราดไม่ลงในอีกสามเดือนข้างหน้า (ผลจากการเปิดประมูลงานให้พวกรับเหมาก่อสร้างไปทําแทน) แล้วชาวบ้านก็ไม่ได้ใช้ แถมยังติดป้ายบริจาคคิดเป็นมูลค่า แพงกว่าให้เงินเขาไปสร้างกันเองทั้งสองสามเท่าให้เจ็บใจกันอีก…. ตอนเกิดวาตภัยซัดถล่มย่างกุ้ง เนื่องจากอยู่ใกล้ ๆ มีเพื่อน รวบรวมเงินแลกเป็นเงินจ๊าดพม่าหอบไปซื้อหาข้าวของแถวนั้นแจกจ่ายเองกับมือเลย เพราะตอนนั้นเมียนมาร์ยังไม่ค่อยเปิดรับชาติตะวันตก และกระแสข่าวสับสนจนไม่รู้ว่าหน่วยงานไหนสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้จริงบ้าง

อนึ่งมีผู้แนะนําว่า…. cr@Mattana Kettrarad “ดังนั้นดีที่สุดคือ ให้เป็นเงินกับองค์กรที่เชื่อถือได้เท่านั้น ให้ โดยตรงเลยไม่ต้องผ่านใคร จะบริจาคแค่ครั้งนี้หรือบริจาคช่วยระยะยาวด้วยก็มี เช่น Red Cross -http://bit.ly/1JJsm1 Global Giving http://bit.ly/1E3DCO The U.N. World Food Program – http://bit.ly/1bF5x9y CARE – http://bit.ly/1HMaWsX DOCTORS WITHOUT BORDERS – http://bit.ly/1DadR2F Oxfam – http://bit.ly/1zZeobH

ลองใช้ charitynavigator.org เช็กดูก็ได้ค่ะว่าองค์กรไหนน่าเชื่อถือบ้าง

พวกเลขบัญชีอ้างว่าของกาชาดบ้างอะไรบ้างที่ส่งกันทาง LINE ให้ตรวจเช็กดี ๆ กับ Website หรือ fb
องค์กร หรือโทรไปถามให้แน่ใจนะคะ พวกเรามีบทเรียนมาหลายครั้งแล้ว”

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118), (คําบรรยาย)

หัวข่าว
จิระนันท์นักเขียนชื่อดังแนะ ช่วยเนปาลบริจาคเงินดีที่สุด
เนื้อข่าว

จากบทความในเฟซบุ๊กของนางจิระนันท์ พิตรปรีชา นักคิดนักเขียนชื่อดังเมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา ระบุวิธีการส่งความช่วยเหลือไปยังเนปาลว่า ควรคํานึงถึงสภาพความขาดแคลนและวิธีการขนส่งสิ่งของไปยัง เนปาล โดยไม่ควรบริจาคอาหารสดหรืออาหารสําเร็จรูปที่จําเป็นต้องปรุงเพิ่มเติม เนื่องจากการขนส่งสิ่งของไปเนปาล ทําได้เฉพาะทางเครื่องบินเท่านั้น ทําให้ไม่สามารถส่งอาหารเหล่านั้นได้ทันเวลา เกิดความเสียหายและสูญเปล่า และไม่ควรบริจาคเสื้อผ้าเก่า เนื่องจากเนปาลมีเสื้อผ้าสิ่งทอส่งออกและมีราคาถูกกว่าประเทศไทย

หากต้องการบริจาคสิ่งของควรศึกษาหรือประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ก่อนว่าต้องการ
สิ่งใดบ้าง เช่น เต็นท์กับผ้าห่ม เครื่องมือแพทย์พื้นฐาน ที่สําคัญคือ ไม่ควรเดินทางไปช่วยด้วยตนเอง หากไม่ใช่ ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง เช่น แพทย์ ทีมกู้ภัยที่มีเครื่องมือพร้อม และหากมีความเชี่ยวชาญควร ประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ก่อนการเดินทาง

“ดังนั้นดีที่สุดคือ ให้เป็นเงินกับองค์กรที่เชื่อถือได้เท่านั้น ให้โดยตรงเลยไม่ต้องผ่านใคร จะบริจาค แค่ครั้งนี้หรือบริจาคช่วยระยะยาวด้วยก็มี เช่น Red Cross – http://bit.ly/1JkmT1 GlobalGiving – http://bit.ly/ 1E3DCCO The U.N. World Food Program – http://bit.ly/1bF5x9y CARE – http://bit.ly/1HMaWsX DOCTORS WITHOUT BORDERS – http://bit.ly/1DqdR2F Oxfam – http://bit.ly/1zZeobH ลองใช้ charitynavigator.org เช็กดูก็ได้ค่ะว่าองค์กรไหนน่าเชื่อถือบ้าง พวกเลขบัญชีอ้างว่าของกาชาดบ้างอะไรบ้างที่ส่งกัน ทาง LINE ให้ตรวจเช็กดี ๆ กับ Website หรือ fb องค์กร หรือโทรไปถามให้แน่ใจนะคะ พวกเรามีบทเรียนมา หลายครั้งแล้ว”

ข้อ 9. จากข้อมูลต่อไปนี้ จงเขียนข่าวสําหรับรายงานผ่านทวิตเตอร์ ความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 มีโครงการรณรงค์ป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคไข้เลือดออก ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง จัดที่ห้องศักดิ์ ผาสุกนิรันต์ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช และบริเวณรอบ มหาวิทยาลัย

ข้อมูลจากอาจารย์สมหมาย สุระชัย “จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2557 ซึ่งข้อมูลจากระบบ เฝ้าระวังโรค สํานักระบาดวิทยา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 พบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกสะสมเป็นจํานวน 40,778 คน มีอัตราผู้ป่วย 62.33 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 41 คน และมีการรายงานผู้ป่วยมากขึ้น นอกจากนี้สํานักงานเขตบางกะปิ ยังพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในกลุ่มนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและบริเวณรอบมหาวิทยาลัยรามคําแหง กองกิจการนักศึกษาได้ร่วมกับเขตบางกะปิ และศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก จัดโครงการรณรงค์ ป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคไข้เลือดออกในมหาวิทยาลัยรามคําแหง ชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และร่วมเดินรณรงค์ ตามจุดต่าง ๆ เพื่อติดตามกําจัดยุงลาย ตรวจสอบ และควบคุม เป็นการไม่ให้ยุงลายกระจายเชื้อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป”

ข้อมูลจากผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ “ขอขอบคุณสํานักงานเขตบางกะปิ และ ศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก ที่ได้เข้ามาให้ความรู้และให้แนวทางในการกําจัดยุงลาย อันเป็นต้นเหตุของโรค ไข้เลือดออก ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วงปรับปรุงภูมิทัศน์ ซุ้มนักศึกษาโดยรอบให้ดีขึ้น รามคําแหงจะเร่งสร้าง ความตระหนักและระมัดระวัง กําจัดเหตุของโรคติดต่ออย่างจริงจังมากขึ้น มีการให้ข้อมูลถึงแหล่งและสาเหตุของโรคแก่ บุคลากรและนักศึกษา เพื่อที่จะช่วยกันคนละไม้คนละมือในการลดปัญหาและกําจัดยุงลายให้หมดไป เป็นการสร้างความมั่นใจ ในสุขอนามัยแก่บุคลากร นักศึกษา และสังคมใกล้เคียงของรามคําแหงต่อไป”

จากนั้นมีการบรรยายเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดย ร.ท.หญิงทศพร ศรีบริกิจ
รักษาการผู้อํานวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก มีรายละเอียดดังนี้

“การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกทั้งสาเหตุการเกิดโรค ที่มา การแพร่เชื้อ และการป้องกัน ทั้งนี้ต้องอยู่บนแนวทางสร้างการตระหนักด้วยตนเอง โดยเขตเป็นผู้ให้คําแนะนํา และหน่วยงานต้องหมั่นตรวจตราเพิ่มเติม เพราะเมื่อเป็นโรคไข้เลือดออกมีโอกาสเสียชีวิต ประเทศไทยมีผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วจํานวนมาก

โรคไข้เลือดออกหรือไข้เดงกี่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะ เมื่อยุงกัดผู้ป่วยที่มีเชื้อ ไข้เลือดออกและเมื่อไปกัดคนอื่นจะแพร่เชื้อในระยะติดต่อ 2 – 7 วัน แม้แต่ยุงปกติที่มากัดผู้ป่วยจะเป็นพาหะรับเชื้อไวรัสนี้ ต่อไปด้วย ยุงลายเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ําสะอาดโดยเฉพาะน้ําฝน ลําตัวยุงเป็นปล้องสีขาว แต่ละสายพันธุ์นําโรคไม่เหมือนกัน ยุงก้นปล่องนําเชื้อไข้มาลาเรีย ยุงรําคาญไข้สมองอักเสบ ชิคุนกุนย่าเกิดจากยุงลายเช่นกัน

ยุงลายแบ่งเป็นยุงลายบ้านที่เรามักโดนกัดเป็นเชื้อไข้เดงกี่ ส่วนยุงลายสวนอยู่ตามสวนยางพารา นําเชื้อชิคุนกุนย่า ยุงเสือนําโรคเท้าช้างมักพบในกลุ่มชาวพม่า ดังนั้นหากพอเห็นคนงานจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะพม่าขอให้ช่วยแจ้งทางสาธารณสุข เพื่อที่ให้ทานยาติดต่อกัน 6 เดือน ต้องมีการป้องกันในกลุ่มคนงานชาวพม่า

ยุงลายมีชีวิตเป็นปีสามารถทนกับภาวะแห้งแล้งได้ดี ตามธรรมชาติเกาะอยู่ตามขอบบ่อ ขอบอ่าง การขัดล้างภาชนะเปลี่ยนถ่ายทุก 7 วัน สามารถป้องกันการเกิดยุงลายโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ขอให้เตรียมรับมือ เพราะเป็น ช่วงยุงลายวางไข่ในน้ํานิ่งสะอาด โครงการฯ นี้จึงเป็นการแนะนําและนําสํารวจพื้นที่เพื่อสํารวจแหล่งลูกน้ํายุงลาย เพื่ออธิบายให้เจ้าหน้าที่และนักศึกษาได้เข้าใจวงจรชีวิตยุง อย่างไรก็ตามการพ่นรมควันกําจัดได้เฉพาะยุงตัวแก่ แต่ไม่สามารถ ทําลายตัวโม่งได้ ต้องพ่นซ้ําภายใน 7 วัน เพื่อกําจัดตัวโม่งที่กลายเป็นยุง ทั้งนี้ยุงลายมี 4 สายพันธุ์ ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรค ไข้เลือดออกแล้วสามารถเสี่ยงกับการติดเชื้ออีกได้อีก 3 สายพันธุ์ อาการของโรคคือ ฟักตัว 5 – 8 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีเลือดออกเป็นจุดตามร่างกาย มีไข้สูง ตับโต มีการล้มเหลวของกระแสโลหิต การดูแลต้องดื่มน้ํา เช็ดตัว ทานยาลดไข้ ห้ามทานแอสไพริน ทานได้เพียงพาราเซตามอลเท่านั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย สร้างความตระหนักให้กับทุกฝ่าย
อย่างจริงจัง”

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ม.ราม – ศูนย์บริการสาธารณสุข 35 จัดรณรงค์ป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคไข้เลือดออก รอบรั้ว ม.ราม http://www.ru.ac.th/

 

CDM2302 MCS2260 MCS2201 หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2201 (MCS 2260) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 8 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวการเสวนาเรื่อง “สื่อมวลชนกับสันติภาพใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, เบื้องหลังการทํางานของสื่อมวลชนในพื้นที่สถานการณ์รุนแรง” ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา จงวางแผนการทําข่าวดังกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะรายงาน เหตุการณ์นี้ในแง่มุม/ประเด็นใดบ้าง

แนวคําตอบ หน้า 127 – 128, (คําบรรยาย)

จากข่าวการเสวนาเรื่องดังกล่าว ผู้สื่อข่าวต้องวางแผนการทําข่าว ดังนี้
-ผู้สื่อข่าวจะต้องไปฟังการเสวนาในวัน-เวลาที่จัดงาน และต้องรู้ว่าหัวข้อที่เสวนาคือ อะไร จัดการเสวนาที่ไหน หน่วยงานใดจัด
-สืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่เสวนาและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมตั้งคําถามล่วงหน้า นอกจากนี้ยังต้องศึกษาเกี่ยวกับตัววิทยากรว่ามีใครบ้าง แต่ละคนมีความสําคัญ อย่างไร มีประสบการณ์ความรู้ และตําแหน่งหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการ เสวนาอย่างไร
-ฟังและจับประเด็นสําคัญของคําพูดวิทยากรแต่ละคนให้ได้
-ตั้งคําถามในประเด็นที่จะเพิ่มเติมภายหลังจากการฟัง
-สัมภาษณ์ผู้เข้าฟัง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักศึกษากลุ่มภาคใต้ที่มาฟัง ผู้จัดงาน (คณบดีคณะสื่อสารมวลชน) และวิทยากร เพื่อเก็บข้อมูลและสาระสําคัญเพิ่มเติม
-เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว

ประเด็นแง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว มีดังนี้

– หน่วยงานใดจัดเสวนา เรื่องอะไร จัดที่ไหน วัน-เวลาใด
-มีวัตถุประสงค์ในการจัดอย่างไร
-ใครบ้างเป็นวิทยากร มีความสําคัญอย่างไร เช่น มีประสบการณ์ความรู้ ตําแหน่ง หน้าที่การงาน และมีชื่อเสียงอย่างไร
-ผู้มาฟังเป็นกลุ่มใด มีจํานวนมากน้อยเพียงใด และมีบุคคลที่มีชื่อเสียงมาฟังด้วย หรือไม่
-สาระสําคัญของคําพูดวิทยากรแต่ละคน โดยอาจหยิบยกข้อความเด่น ๆ มานําเสนอ ในลักษณะการอ้างคําพูดโดยตรง
-สัมภาษณ์ผู้เข้าฟัง ผู้จัดงาน และวิทยากรในประเด็นที่ผู้อ่านยังไม่เคยรู้มาก่อน

ข้อ 2. สมมุติวันนี้จะมีการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่างทีมสุพรรณบุรี เอฟซี กับทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวกีฬาที่ได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวการแข่งขันดังกล่าว มีประเด็นข่าว
อะไรบ้างที่ควรรายงานทั้งก่อนและหลังเกม และจงอธิบายว่าประเด็นข่าวดังกล่าวจะหาข้อมูลได้
จากแหล่งข่าวใด

แนวคําตอบ หน้า 184 – 186, (คําบรรยาย)
ประเด็นข่าวที่ควรรายงานทั้งก่อนและหลังเกม แบ่งออกเป็น

1. ประเด็นข่าวก่อนการแข่งขัน ได้แก่ ความสําคัญของการแข่งขัน ผลงานสถิติการแข่งขัน ที่ผ่านมา ระบบการเล่นที่ผ่านมาของแต่ละทีม สภาพความพร้อมของผู้เล่น วิเคราะห์วิจารณ์การเล่นที่อาจจะมี การเปลี่ยนแปลง แผนการเล่นของแต่ละทีม สภาพอากาศที่จะมีผลกระทบต่อการเล่น สภาพแวดล้อมด้านอื่น (เช่น ผู้ชม กองเชียร์) ความคิดเห็นของผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญ และผลการแข่งขันที่คาดว่าจะเป็น

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังอาจเพิ่มเติมประเด็นสําคัญในด้านอื่น ๆ เช่น แต่ละทีมมีการ ปรับปรุงแผนการเล่นอย่างไร ถ้าทีมแพ้จะเกิดผลอย่างไร มีการเตรียมทีมอย่างไร และประสบปัญหาด้านใดหรือไม่
เป็นต้น

2. ประเด็นข่าวหลังการแข่งขัน ได้แก่ ผลการแข่งขันใครเป็นผู้ชนะด้วยสกอร์เท่าไหร่ รายงานรายละเอียดของการแข่งขันตั้งแต่ต้นจนจบ เปรียบเทียบการเล่นของแต่ละทีม ผู้เล่นดีเด่นมีใครบ้าง และ ขาดใครที่จะทําให้ทีมเกิดปัญหา ผู้เข้าชมการแข่งขันมีมากน้อยเพียงใด สภาพอากาศระหว่างการแข่งขัน และ คะแนนรวมสถิติต่าง ๆ หรือการทําลายสถิติ

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังสามารถใช้การสัมภาษณ์ผู้เล่น ผู้จัดการทีมทั้งทีมแพ้และทีมชนะ
เช่น สาเหตุที่ผลการแข่งขันเป็นเช่นนั้น และการเตรียมตัวแข่งขันในนัดต่อไป เป็นต้น

แหล่งข่าวที่ควรสัมภาษณ์ในประเด็นข่าวดังกล่าว มีดังนี้
– ผู้จัดการทีมทั้งทีมแพ้และทีมชนะ
– ผู้เล่นดาวเด่นของแต่ละทีม
– ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาฟุตบอล
– บุคคลที่มีชื่อเสียงหรือดารานักแสดงที่มาร่วมชมการแข่งขัน
– ผู้ชม/กองเชียร์ของแต่ละทีม

ข้อ 3. ในการเขียนข่าวผู้ก่อการร้ายวางระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทําให้มีผู้เสียชีวิต ควรระบุถึง คุณลักษณะ/คุณสมบัติ (Identification) อะไรบ้างในข่าว ยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ ไม่ต้อง
เขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ หน้า 119 – 122 (คําบรรยาย)

คุณลักษณะที่ต้องระบุในการเขียนข่าวผู้ก่อการร้ายวางระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีดังนี้

1. คุณลักษณะของบุคคล ได้แก่
– ชื่อ-นามสกุลของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– อายุของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นเด็ก
– อาชีพของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ
– ยศหรือตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– ที่อยู่ของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ

2. คุณลักษณะของสถานที่ ได้แก่ สถานที่ที่ถูกวางระเบิดคือที่ไหน ซึ่งต้องระบุคุณลักษณะ โดยการบอกที่ตั้ง เลขที่ ซอย ถนน ตําบล อําเภอ และจังหวัด หากสถานที่นั้นอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหรือ สถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ต้องระบุลงไปด้วย

3. คุณลักษณะของเหตุการณ์ ได้แก่ ลําดับเหตุการณ์ที่เกิดระเบิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ เวลาที่เกิดเหตุ จากนั้นเหตุการณ์ดําเนินไปอย่างไร จบลงอย่างไร และผลที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์จบลงแล้ว มีสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จํานวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ คําพูดของผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้บาดเจ็บ และผู้รอดชีวิต รวมทั้งข้อสันนิษฐานจากเจ้าหน้าที่ตํารวจเกี่ยวกับสาเหตุที่เกิดระเบิด ผู้ก่อเหตุ หลักฐานที่พบ เป็นต้น

ข้อ 4. ในการรายงานข่าวตํารวจจับผู้ต้องหาฆ่านักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ มีหลายประเด็นที่ผู้สื่อข่าวต้อง รายงานให้ผู้อ่านได้รับทราบ อยากทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวใดบ้าง และควรนําเสนอ ประเด็นใดในหัวข่าว ความนํา และส่วนเชื่อมของข่าว ไม่ต้องเขียนข่าว

แนวคําตอบ หน้า 29, 63 – 83, 167 – 173, (คําบรรยาย)

แหล่งข่าวที่ควรสัมภาษณ์ในประเด็นข่าวดังกล่าว มีดังนี้
– นายกรัฐมนตรี
– ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ
– ตํารวจท้องที่ และตํารวจที่รับผิดชอบคดีนี้โดยตรง
– เพื่อนผู้ตายที่มาเที่ยวเกาะเต่าด้วยกัน
– นักท่องเที่ยวและชาวบ้านที่เคยเห็นผู้ตายก่อนเกิดเหตุ
– เจ้าของบ้านพัก/รีสอร์ตที่ผู้ตายพักอยู่ก่อนเกิดเหตุ
– เจ้าของบาร์ที่ผู้ตายไปเที่ยวและมีเหตุทะเลาะวิวาทก่อนเกิดเหตุ
– โรงพยาบาล/แพทย์ที่ตรวจดีเอ็นเอผู้ต้องสงสัยทั้งหมดบนเกาะ
– เจ้าหน้าที่นิติเวชที่ชันสูตรพลิกศพ
– กล้องวงจรปิดที่มีภาพผู้ต้องสงสัย
– สํานักข่าวต่างประเทศที่นําเสนอคดีนี้

ประเด็นที่ควรนําเสนอในข่าวดังกล่าว มีดังนี้

– หัวข่าวหรือพาดหัวข่าว (Headline) คือ ส่วนบนสุดของข่าว ซึ่งเป็นประเด็นสําคัญที่สุด และน่าสนใจสําหรับผู้อ่าน ได้แก่ การจับผู้ต้องหาฆ่านักท่องเที่ยวชาวอังกฤษได้ โดยต้องระบุว่าเป็นใคร เป็นคนไทย หรือคนต่างด้าวชาติใด และจับกุมได้ทั้งหมดกี่คน

– ความนําหรือวรรคนํา (Lead) คือ ย่อหน้าแรกของข่าว ซึ่งเป็นการสรุปประเด็นสําคัญ ของข่าว ได้แก่ ตํารวจจับกุมผู้ต้องหาได้ที่ไหน อย่างไร ผู้ต้องหามีกี่คน เป็นคนชาติใด มีอาชีพอะไรบนเกาะ และ มีมูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุอย่างไร

– ส่วนเชื่อม (Neck or Bridge) คือ การอธิบายความเดิมหรือให้ภูมิหลังความเป็นมา ของข่าวที่เคยนําเสนอไปแล้ว ได้แก่ สืบเนื่องจากเหตุฆาตกรรมใคร โดยต้องระบุชื่อบุคคลที่เสียชีวิต อายุ เป็น นักท่องเที่ยวชาติใด สถานที่เสียชีวิต และวัน-เวลาที่เสียชีวิต

ข้อ 5. ตามหลักการที่ศึกษา สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสอีโบล่า ได้รับการรายงานเป็นข่าวใน สื่อมวลชนไทย เพราะมีคุณค่าเชิงข่าวในด้านใดบ้าง

แนวคําตอบ หน้า 2 – 6, (คําบรรยาย)

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานเป็นข่าวในสื่อมวลชนไทย เนื่องจากมีคุณค่าเชิงข่าว (News Values) ดังนี้

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ตกใจและหวาดกลัว ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออาจรู้สึกเห็นอกเห็นใจ สงสารผู้ที่ติดเชื้อและเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบล่า

2. ความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร ผลกระทบ คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร ในแง่การเป็นอุทาหรณ์สอนใจ บอกให้คนระวังภัย และรู้จักป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคร้าย นอกจากนี้ยังเป็นเหตุการณ์ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจํานวนมาก ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่า ทําให้มีผู้คนติดเชื้อและเสียชีวิตไปเป็นจํานวนมาก

3. ความเปลี่ยนแปลง/ความก้าวหน้า คือ เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติที่เคยเป็น นอกจากนี้ยังเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การแพทย์ ซึ่งจะต้องมีการคิดค้นวิจัยตัวยารักษาโรค เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคอีโบล่าที่กําลัง
ลุกลามไปทั่วทวีปแอฟริกาตะวันตก

4. ความโดดเด่น ดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของตัวเชื้อไวรัสอีโบล่าที่ได้คร่าชีวิตของผู้คนไปเป็นจํานวนมาก และยังไม่มีวัคซีนรักษา นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับองค์การที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO), สหประชาชาติ (UN) เป็นต้น

5. ความไม่คาดคิด เงื่อนงํา/ฉงนสนเท่ห์ คือ เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และยังเป็น เหตุการณ์ที่มีเงื่อนงําว่าจะจบลงอย่างไร การควบคุมโรคระบาดและการคิดค้นวัคซีนรักษาจะสําเร็จหรือไม่ จึงเป็น เรื่องที่ทําให้ผู้อ่านเกิดความฉงนสนเท่ห์ ทําให้ต้องติดตามเรื่องราวต่อไป

6. ความขัดแย้ง/การเผชิญหน้า คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งทางกายและความคิด นอกจากนี้ยังมีการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนที่ต้องการเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะทําให้การควบคุมโรคระบาดยากลําบากยิ่งขึ้น

7. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 6. การรายงานข่าวอดีตนักการเมืองเสียชีวิตกับข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตายประชดแฟน ประเด็นที่รายงาน เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร และควรรายงานในประเด็นใดบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ หน้า 131 – 147, (คําบรรยาย)

การรายงานข่าวอดีตนักการเมืองเสียชีวิตกับข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตายประชดแฟน จะมีประเด็นที่
รายงานแตกต่างกัน ดังนี้

ข่าวอดีตนักการเมืองเสียชีวิต ควรรายงานในประเด็นต่อไปนี้

– ผู้ตายเป็นใคร เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ อาชีพ ยศหรือตําแหน่งสูงสุดในปัจจุบัน ฯลฯ
– สาเหตุการเสียชีวิต เช่น ป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจวาย ฯลฯ
– สถานที่เสียชีวิต/วันที่-เวลาที่เสียชีวิต เช่น เป็นการป่วยและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ที่บ้าน
ในวันที่-เวลาใด
– เหตุการณ์ตื่นเต้นในขณะที่ผู้ตายใกล้จะเสียชีวิต ลางร้าย หรือลางสังหรณ์ก่อนเสียชีวิต
– ผลงานของผู้ตาย เคยทําอะไรมาบ้าง เช่น เป็น ส.ส. พรรคอะไร เคยดํารงตําแหน่งใด มาบ้าง หรือมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอะไรบ้าง
– ประวัติส่วนตัว ความเป็นมา เช่น ผู้ตายมีบิดา-มารดา สามี-ภรรยา บุตร-ธิดา หรือญาติ พี่น้องที่เป็นคนดัง นอกจากนี้ผู้ตายมีประวัติการศึกษาจบชั้นมัธยม ปริญญาตรี/โท/เอก หรือปริญญากิตติมศักดิ์อะไรมาบ้าง
– รายละเอียดของพิธีศพ เช่น พิธีสวดพระอภิธรรมจัดที่ใด ใช้เวลากี่วัน ผู้ใดเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรม กําหนดการบรรจุศพ และกําหนดการฌาปนกิจ

ข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตายประชดแฟน ควรรายงานในประเด็นต่อไปนี้
– ผู้ตายเป็นใคร เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ อาชีพ ที่อยู่ ฯลฯ
– วิธีการฆ่าตัวตาย เช่น กระโดดน้ําตาย กระโดดตึกตาย หรือยิงตัวตาย ฯลฯ
– วันที่-เวลาที่เสียชีวิต และสถานที่ที่เสียชีวิต เช่น ฆ่าตัวตายเมื่อวันที่-เวลาใด และที่ไหน
– สภาพศพที่พบเป็นอย่างไร เช่น กระโดดตึกลงมาคอหัก แขนหัก ขาหัก ฯลฯ
– พยานแวดล้อม หรือหลักฐานที่พบ เช่น พบอาวุธปืนที่ใช้ฆ่าตัวตาย หรือบุคคลที่เห็น เหตุการณ์ บุคคลที่อยู่กับผู้ตายเป็นคนสุดท้าย ฯลฯ
– ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตํารวจเกี่ยวกับสาเหตุของการฆ่าตัวตาย เช่น ฆ่าตัวตาย
ประชดแฟนที่มาบอกเลิก ฯลฯ

ข้อ 7. ควรใช้รูปแบบการเขียนข่าวแบบใด และจัดลําดับประเด็นข่าวก่อน-หลังอย่างไรสําหรับข่าวต่อไปนี้
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
7.1 ข่าวไฟไหม้ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง
7.2 ข่าวผลการแข่งขันกีฬาฟุตบอลต่างประเทศเมื่อคืนที่ผ่านมา

แนวคําตอบ หน้า 38 – 40, (คําบรรยาย)

7.1 ข่าวไฟไหม้ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง

1. รูปแบบการเขียนข่าว คือ แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) ชนิดถือความสําคัญ เป็นหลัก (Significant Details) ซึ่งเป็นการรายงานข่าวในลักษณะสรุปย่อข้อเท็จจริงสําคัญ ๆ เป็นความนําของข่าว ไปก่อน แล้วจึงตามด้วยเนื้อข่าวที่เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่มีความสําคัญและน่าสนใจลดหลั่นกันลงไป
เริ่มจากรายละเอียดที่สําคัญมากที่สุดในย่อหน้าแรก ไปจนถึงย่อหน้าสุดท้ายที่เป็นรายละเอียดสําคัญน้อยที่สุด จึงเหมาะกับเหตุการณ์ที่มีเนื้อหาง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน เช่น ข่าวไฟไหม้ เป็นต้น

2. ประเด็นข่าวที่ควรรายงานตามลําดับก่อน-หลัง มีดังนี้
– เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ห้างสรรพสินค้าอะไร วัน-เวลาที่เกิดเหตุ
– รายละเอียดของเหตุการณ์ไฟไหม้ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลัง เกิดเหตุ ต้นเพลิงเกิดขึ้นที่ไหน ลุกลามไปอย่างไร
– ความโกลาหลและการหนีเอาตัวรอดของผู้คน
– การควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง อุปสรรคในการเข้าไปช่วยเหลือ
ผู้คนในห้างสรรพสินค้า และความยากลําบากในการดับเพลิง
– สภาพความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
– รายชื่อผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ อาการ และการรักษา
– ความเห็นหรือข้อสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่ตํารวจเกี่ยวกับสาเหตุของไฟไหม้
หรือการพบวัตถุหลักฐานในที่เกิดเหตุ
– คําสัมภาษณ์ของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือผู้ที่รู้เห็นการลุกลามของต้นเพลิง
– แนวทางการป้องกันเหตุไฟไหม้จากเจ้าของห้างสรรพสินค้า และการช่วยเหลือ เยียวยาผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว
– ข้อมูลเสริม ประวัติสถานที่เกิดเหตุ เช่น ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้เคยมีเหตุไฟไหม้ มาก่อนหรือไม่ ฯลฯ

7.2 ข่าวผลการแข่งขันกีฬาฟุตบอลต่างประเทศเมื่อคืนที่ผ่านมา

1. รูปแบบการเขียนข่าว คือ แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) ชนิดถือเวลาที่เกิดเหตุการณ์เป็นหลัก (Chronological Details) จะเริ่มต้นด้วยความนําที่สรุปย่อเหตุการณ์และผลลัพธ์ทั้งหมด ตามด้วยเนื้อข่าวที่เป็นรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเล่าตามลําดับเวลาที่เกิดเหตุการณ์ อาจมีข้อเท็จจริง เสริมในตอนท้าย จึงเหมาะกับเหตุการณ์ระทึกใจ เหตุการณ์ที่ข้อมูลข่าวมีความต่อเนื่องกันตลอด และเหตุการณ์ที่มี เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น ข่าวการแข่งขันกีฬาฟุตบอล เป็นต้น

2. ประเด็นข่าวที่ควรรายงานตามลําดับก่อน-หลัง มีดังนี้

– มีการแข่งขันฟุตบอลรายการอะไร ระหว่างทีมใดแข่งกับทีมใด แข่งที่ไหน วัน- เวลาใด และใครแพ้ ใครชนะที่สกอร์เท่าใด
– บรรยากาศในการแข่งขันเป็นอย่างไร มีผู้ชมมาเชียร์คึกคักหรือไม่ และผู้เล่นที่ สําคัญของทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งประกอบด้วยใครบ้าง
– ลําดับการแข่งขันที่เกิดขึ้น โดยเล่าตามลําดับเวลาตั้งแต่เริ่มเปิดเกมจนจบเกม ครึ่งแรกครึ่งหลัง ใครเป็นผู้ทําประตูได้ในนาทีที่เท่าใด มีจุดโทษ และมีการต่อเวลาหรือไม่
– ภายหลังจบเกมผลการแข่งขันเป็นอย่างไร ผู้เล่นดีเด่นมีใครบ้าง ขาดใครทําให้ทีม
เกิดปัญหา และแต่ละทีมมีโปรแกรมต้องแข่งกับทีมใดต่อไป
– ความคิดเห็นของผู้จัดการทีมทั้ง 2 ทีม โค้ช และนักเตะดาวเด่นภายหลังจบเกม
– ข้อมูลเสริม เช่น สถิติที่ทั้งสองทีมเคยเจอกันมาก่อน ทีมใดแพ้-ชนะรวมทั้งหมด กี่ครั้ง และสรุปตารางคะแนนรวมของแต่ละทีม

ข้อ 8. จากข้อมูลสมมุติต่อไปนี้ จงเขียนเนื้อข่าว และหัวข่าว

ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีส่วนในการดําเนินชีวิตประจําวันอย่างมาก และสามารถตอบสนอง การใช้งานได้หลากหลาย เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้มากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และสื่อออนไลน์ ที่เป็นช่องทางสําคัญในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของกลุ่มคนในยุคปัจจุบัน ทําให้สื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางการสื่อสารที่สําคัญในการทําการตลาดกับลูกค้า รวมถึงวงการค้าปลีกต่างให้ความสําคัญกับการทําการสื่อสาร ผ่านช่องทางดิจิทัลเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้เล็งเห็นและเข้าใจในพฤติกรรมการรับข้อมูล ข่าวสารที่เปลี่ยนไปของกลุ่มลูกค้า จึงมีการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดอย่างไม่หยุดนิ่ง และตามเทรนด์ ดิจิทัลของโลกตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, Mobile Application ฯลฯ และ ล่าสุดได้นําเทคโนโลยี Beacon Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบดิจิทัลใหม่ล่าสุดมาใช้ในการ สื่อสารกับลูกค้า โดยนําร่องเริ่มใช้ระบบที่เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิเป็นแห่งแรก เพื่อเตรียมความพร้อมของระบบ และให้ความรู้กับลูกค้าก่อน ให้รู้จักคุ้นเคยกับระบบ Beacon Technology ก่อนขยายสู่เดอะมอลล์สาขาอื่น ๆ ดิเอ็มโพเรียม และพารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ต่อไป

สําหรับ Beacon Technology เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สัญญาณ Bluetooth 4.0 Low Energy ในการตรวจสอบ ตําแหน่งของผู้ใช้งานภายในอาคาร โดยจะทํางานควบคู่กันระหว่างตัวกระจายสัญญาณที่ติดอยู่ในจุดต่าง ๆ ของ ห้างสรรพสินค้า และมีโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้เป็นตัวรับสัญญาณ โดยมีระยะทางในการส่งสัญญาณ ในแต่ละจุดได้ไกลถึง 10 เมตร

โดยจากพื้นฐานร ในระบบ Beacon Technology ดังกล่าว ทําให้เดอะมอลล์นํามาปรับใช้ในการผสมกลยุทธ์ ทางการตลาดในการสื่อสารกับลูกค้าผ่านทาง The Mall Group Application บนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ต่าง ๆ ที่เข้ามาช้อปปิ้งที่เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยส่งข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลร้านค้า โปรโมชั่น กิจกรรม สิทธิพิเศษ และอื่น ๆ อีกมากมายให้ลูกค้าในแบบ Real-time ซึ่งสามารถส่งให้ลูกค้าที่เป็นเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่ม เลือกส่งข้อมูลตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละคน โดยลูกค้าสามารถเปิดรับสิทธิพิเศษผ่าน Beacon ได้อย่างง่ายดาย เพียงเมื่อมาช้อปปิ้งที่เดอะมอลล์ บางกะปิ แล้วเปิด Bluetooth และ The Mall Group Application พร้อมกับ

Log In ด้วยบัตร M-Card เพียงเท่านี้สิทธิพิเศษต่าง ๆ จะถูกส่งเป็นข้อความ Push Notification สู่หน้าจอ สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ทั้งนี้สิทธิพิเศษและส่วนลดจากร้านค้าต่าง ๆ อาทิ Pizza Hut, Starbucks, Sukishi, Swensen’s, Fuji และอื่น ๆ อีกมากมายจะถูกส่งไปยังลูกค้าตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม เป็นต้นไป

นอกจากระบบ Beacon Technology แล้ว เดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังได้เพิ่มฟังก์ชัน M-Card Application เข้าไปในตู้ Digital Directory เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการรองรับสมาชิกลูกค้าบัตร M Card ทุกประเภท โดยลูกค้าสามารถรูดการ์ดเพื่อดูคะแนนสะสม หรือแลกคะแนนเพื่อรับสิทธิพิเศษผ่านตู้ Digital Directory ได้อย่าง สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันสามารถสัมผัส Digital Directory ได้แล้วที่เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ งามวงศ์วาน และบางแค และจะพัฒนาระบบเดียวกันนี้ไปยังพารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ภายในเดือนกันยายนนี้ และสามารถ ติดตามข่าวสารอัพเดท ออนไลน์ ไลฟ์สไตล์ทุกเทรนด์ของ The Mall Group ได้ที่ www.themallgroup.com และทางช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ Facebook, Instagram, Twitter, Pinterest, Mobile Application*******

แนวคําตอบ หน้า 29 – 31, 91 – 118, 151, (คําบรรยาย)

หัวข่าว

เดอะมอลล์ กรุ๊ป ส่ง Beacon Technology
เพิ่มช่องทางสื่อสารกับลูกค้ายุคดิจิทัล

เนื้อข่าว

เดอะมอลล์ กรุ๊ป เปิดเผยถึงเทคโนโลยีล่าสุดที่จะนํามาใช้สื่อสารกับลูกค้าว่า บีคอน เทคโนโลยี (Beacon Technology) จะนําร่องเริ่มใช้ระบบที่เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิเป็นแห่งแรก โดยใช้ส่งข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลร้านค้า โปรโมชั่น กิจกรรม สิทธิพิเศษ ฯลฯ ให้กับลูกค้าที่มาช้อปปิ้งที่เดอะมอลล์ในแบบเรียลไทม์ ซึ่งลูกค้า จะต้องเปิดบลูทูธ และเดอะมอลล์ กรุ๊ป แอปพลิเคชั่น พร้อมกับล็อกอินด้วยบัตรเอ็มการ์ด ก็จะได้รับข้อความผ่านทาง หน้าจอสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ทั้งนี้สิทธิพิเศษและส่วนลดจากร้านค้าต่าง ๆ จะถูกส่งไปยังลูกค้าตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม เป็นต้นไป

สําหรับบีคอน เทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สัญญาณบลูทูธ 4.0 โลว์ เอ็นเนอร์ยี ในการ ตรวจสอบตําแหน่งของผู้ใช้งานภายในอาคาร โดยจะทํางานควบคู่กันระหว่างตัวกระจายสัญญาณที่ติดอยู่ในจุดต่าง ๆของห้างสรรพสินค้า และมีโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้เป็นตัวรับสัญญาณ โดยมีระยะทางในการส่งสัญญาณ ในแต่ละจุดได้ไกลถึง 10 เมตร

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2303 (MCS 1350) วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 กิจกรรมทางวาทวิทยาครอบคลุมการสื่อสารเกือบทั้งหมด
(1) ภายในบุคคล
(2) ในสังคมโลก
(3) กิจกรรมในชีวิตประจําวัน
(4) ความรับผิดชอบ
(5) การผลิตสื่อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาทวิทยาได้ขยายขอบเขตออกไปมากมาย ทั้งการใช้เสียงพูดสื่อสารโดยตรง การเป็นพื้นฐานของการแสดง การนําเสนอผลงาน การสื่อสาร องค์การ การเจรจาต่อรองผลประโยชน์ และกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจําวัน

2. วาทวิทยามักไม่พิจารณาให้ความสําคัญกับ เป็นเกณฑ์สําคัญ
(1) วิถีบุคคล
(2) บริบททางสังคม
(3) บุคลิกภาพ
(4) สาระนําเสนอ
(5) สัญชาตญาณ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) วาทวิทยามีลักษณะของความเป็นศาสตร์ (Science) เพราะเป็นวิชาที่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีรองรับ และมีลักษณะเป็นศิลป์ (Art) เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด ซึ่งสามารถเรียนรู้ พัฒนา และฝึกฝนกันได้ ดังนั้นวาทวิทยาจึงไม่ให้ความสําคัญกับสัญชาตญาณ คือ ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิด ทําให้มีความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน

3.เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ
(1) เสียง
(2) สัญลักษณ์
(3) เจตนารมณ์
(4) ความต้องการ
(5) รูปลักษณ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ คําพูดหรือเสียงพูด
ซึ่งเนื้อหาในการพูดก็พัฒนามาจากความคิดและการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ทั้งนี้การพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจากความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

4 Content ในทางวาทวิทยา คือ
(1) ปฏิสัมพันธ์
(2) ความคิด
(3) สาร
(4) ความเชื่อมโยง
(5) ความหมาย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5. การพูดตามอัธยาศัย มีอะไรเป็นตัวกําหนด
(1) อํานาจหน้าที่
(2) สติปัญญา
(3) จิตใจ
(4) ความสัมพันธ์
(5) ความสามารถ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการพูดในขั้น พื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และ ปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วมและมีลักษณะของการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัด ประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับระดับของความสัมพันธ์ หรือสภาวะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของกันและกัน

6 การพูดกับบุคคลเป็นกลุ่มในองค์กรเพื่อหวังผล มีข้อควรพิจารณาจาก
(1) การนัดหมาย
(2) กําหนดการ
(3) เสรีภาพ
(4) วัตถุประสงค์
(5) โครงสร้างกลุ่มชน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดในกลุ่ม หรือการพูดกับบุคคลเป็นกลุ่ม มีดังนี้
1. ปริมาณของผู้สื่อสารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ส่วนจํานวนสูงสุดยากที่จะกําหนดขึ้นอยู่กับโอกาส สถานที่ และความสะดวก
2. เนื้อหาของการสื่อสารมักจะมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีประเด็นร่วมในการปรึกษาหารือ แก้ปัญหา หรือถกเถียง
3. หลายกรณีเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ระหว่างกันและกัน

7. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของกิจกรรมพูดผ่านสื่อสาธารณะ
(1) การกําหนดผู้ส่งสาร
(2) มาตรฐานสื่อ
(3) ระยะเวลาถ่ายทอด
(4) เสรีภาพในเนื้อหา
(5) วิธีการใช้สื่อและช่องทาง
ตอบ 1(คําบรรยาย) การพูดผ่านสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการอาศัยสื่อการ ถ่ายทอดหลักของสังคม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสังคม เพื่อถ่ายทอดสาระการสื่อสารของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องมีการ กําหนดกระบวนการนําเสนอ และตัวผู้พูดที่ทําหน้าที่โดยตรง ได้แก่ พิธีกร ผู้ดําเนินรายการ ผู้ประกาศข่าว สื่อมวลชน หรือเป็นผู้รับเชิญให้พูดเป็นกรณี ๆ ไป ฯลฯ

8. จํานวนผู้ฟังกําหนดอะไรในการเตรียมการของผู้พูดต่อสาธารณชน
(1) คําปฏิสันถาร
(2) วิธีปรากฏตัว
(3) กล่าวนํา
(4) การแต่งกาย
(5) การเลือกสถานที่/ช่องทางนําเสนอ
ตอบ 5(คําบรรยาย) การวิเคราะห์จํานวนหรือขนาดของผู้ชม ผู้ฟังกลุ่มเป้าหมาย จะทําให้ผู้พูดรู้ว่า กลุ่มผู้ฟังมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีพื้นที่/สถานที่เพียงพอหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะจํานวน หรือขนาดของผู้ฟังกับสถานที่จะมีความสัมพันธ์กัน และยังทําให้ผู้พูดสามารถเตรียมวิธีการพูด รูปแบบของการพูด และช่องทางนําเสนอ/อุปกรณ์เครื่องมือประกอบการพูดที่เหมาะสมได้ด้วย

9 ข้อเสียของการพูดที่จะทําให้เกิดผลต่อเนื่องด้านอื่น ๆ ตามมา คือ
(1) คําพูดเชื่อถือไม่ได้
(2) ขาดการเตรียมการ
(3) พูดแล้วแก้ไขไม่ได้
(4) มีสื่ออื่นมาทดแทนแล้ว
(5) มีค่าใช้จ่ายสูง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อเสียของการพูดที่จะทําให้เกิดผลต่อเนื่องด้านอื่น ๆ ตามมา คือ พูดไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ ดังนั้นผู้พูดจึงต้องไตร่ตรองก่อนที่จะพูด หรือคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดก่อนคิด เพราะ หากพูดโดยไม่ยั้งคิด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูดในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็น นายคําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

10. พื้นฐานมารยาทและข้อปฏิบัติในการพูดมาจาก
(1) ความผูกพัน
(2) สถานะทางสังคม
(3) ปฏิสัมพันธ์ที่ควรมี
(4) การพัฒนาความคิด
(5) การคาดเดาการกระทํา
ตอบ 4(คําบรรยาย) พื้นฐานมารยาทและข้อปฏิบัติในการพูดมาจากการพัฒนาความคิด คือ การรู้จัก คิดให้ดีและรอบคอบก่อนพูด ซึ่งการเป็นผู้มีความคิดรอบคอบ ถือเป็นจุดกําเนิดของการรักษา จรรยาบรรณวิชาชีพการพูด และเป็นมารยาทในการพูดที่วิชาวาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด

11. ข้อใดเป็นเจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยา
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยาหรือการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ ตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา พฤติกรรม หรืออากัปกิริยาท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหา สาระที่จะพูด น้ําเสียงและสําเนียง

12. ข้อใดใช้แทนเสียงและคําพูดที่สามารถทําความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ง่ายที่สุด
(1) ท่าทาง
(2) พื้นที่
(3) ระยะห่าง
(4) สีสัน
(5) เวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ใช้มากที่สุด คือ ท่าทางประกอบ ถือเป็น สิ่งที่ใช้แทนเสียงและคําพูด ซึ่งสามารถทําความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ง่ายที่สุด ซึ่งผู้พูด ควรจะแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและสาระการนําเสนอ รวมทั้ง ต้องสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม

13. ข้อใดเป็นอวัจนภาษาที่มีความซับซ้อนในการแปลความหมายและความเข้าใจ
(1) ท่าทาง
(2) ระยะห่าง
(3) สีที่เลือกใช้
(4) กลิ่น
(5) การเปลี่ยนตําแหน่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ถือว่ามีความซับซ้อนในการแปลความหมาย และความเข้าใจ คือ กลิ่น เพราะว่ากลิ่นไม่มีลักษณะที่ตายตัว กลิ่น ๆ หนึ่งอาจจะเป็นกลิ่นหอม ของคนหนึ่ง แต่อาจไม่ใช่กลิ่นหอมของอีกคน แม้คนเหล่านั้นจะอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันก็ตาม อย่างไรก็ตามก็มีกลิ่นบางกลิ่นที่มีลักษณะสากลที่บ่งบอกได้เหมือน ๆ กัน ในทุกวัฒนธรรม เช่น กลิ่นของเน่า กลิ่นรองเท้า หรือกลิ่นปาก เป็นต้น

14 ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “อัตลักษณ์”
(1) หายากในคนอื่น
(2) ทุกคนก็มี
(3) เป็นไปได้ทุกคน
(4) คุณค่าของคน
(5) ผลรวมลักษณะแต่ละบุคคล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลรวมของตัวตน ผลรวมลักษณะแต่ละบุคคล ความเป็นตัวตนที่แท้ หรือส่วนประกอบที่รวมเป็นตัวบุคคลคนหนึ่ง

15. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการนําเสนอสาระความรู้
(1) พูดให้มีเหตุผล
(2) พูดให้ได้คิด
(3) พูดให้ได้สนุก
(4) พูดให้ได้รู้ตัว

(5) พูดให้ได้รู้ทัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการนําเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิด กระตุ้นให้เกิด สติปัญญา โดยการเร่งเร้าให้บุคคลใช้และพัฒนาเนื้อหาสาระที่ได้รับจากการนําเสนอไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับผู้ฟัง ผู้ชม

16. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่า “สัญลักษณ์”
(1) เฉด
(2) อีโก้
(3) ไอคอน
(4) ลค
(5) ดราม่า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ กระทําได้ดังนี้
1. ใช้สื่อแพร่ภาพและเสียง
2. ใช้สัญลักษณ์และไอคอนแทนความหมาย
3. กระบวนการทางกิจกรรม
4. พยาน (บุคคลพยาน วัตถุพยาน)

17. อมเสียงในทางวาทวิทยา คือ
(1) พูดไม่ได้ยิน
(2) พูดอ้อมแอ้ม
(3) พูดกวนใจ
(4) พูดไม่คิด
(5) พูดไม่ระวัง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อมเสียงในทางวาทวิทยา คือ การพูดอ้อมแอ้ม พูดไม่เต็มปาก ไม่ชัดถ้อยชัดคํา

18. การจะดําเนินกิจกรรมทางวาทวิทยา อะไรคือสิ่งที่สําคัญที่สุดที่ต้องตอบคําถามตัวเอง
(1) ระดับความรู้
(2) ความพร้อมที่จะทํา
(3) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(4) ข้อได้เปรียบ – เสียเปรียบ
(5) พรสวรรค์ที่มี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การจะดําเนินกิจกรรมทางวาทวิทยานั้น สิ่งที่สําคัญที่สุดที่ต้องตอบคําถามตัวเอง คือ ความพร้อมที่จะทํา ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของผู้พูดในด้านบุคลิกภาพและเนื้อหาที่จะพูด การใช้ภาษา น้ําเสียง ความถนัดและทักษะของผู้พูด รวมทั้งความเชี่ยวชาญในเรื่องที่จะพูด

19. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของเสียงผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) จังหวะถี่ – ห่าง
(4) ความรู้มาก – น้อย
(5) ราบรื่น – ติดขัด
ตอบ 4(คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของเสียงผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. เสียงราบรื่น – ติดขัด
4. การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
5. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

20. ข้อใดเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทําอันดับแรกเมื่อตกลงใจที่จะพูด
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น
(4) ร่างเนื้อหาการพูด
(5) สํารวจเส้นทางการเดินทาง
ตอบ 2(คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือ ความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

21. หากต้องพูดเนื้อหาที่กําลังเป็นที่ถกเถียงในสังคม ต้องให้ความสําคัญกับแนวคิดใด
(1) ละเอียด
(2) ข้อมูลที่สมดุล
(3) เป็นกันเอง
(4) มีหลักการรองรับ
(5) ผู้ส่งสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการพูดเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีความสําคัญ เสี่ยงต่อการกระทําที่ทําให้เกิดประเด็นขัดแย้ง เป็นที่ถกเถียง หรือเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดในสังคม คือ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี และความหลากหลายในข้อมูลที่ใช้ ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาส ให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย พูดและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

22. ข้อใดไม่เป็นการพูด
(1) อุทานดัง ๆ
(2) บ่นถึงแฟน
(3) ว่ากล่าวตักเตือน
(4) วิจารณ์รัฐบาล
(5) นั่งนินทาลุงท้ายซอย
ตอบ 1(คําบรรยาย) วาทวิทยา (Speech Communication) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น วาทนิเทศ วาทศาสตร์ วาทศิลป์ ฯลฯ แต่เดิมเน้นการสื่อสารด้วยเสียงและกิริยาท่าทางประกอบ ปัจจุบัน เน้นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นํา การชักจูงใจ และความบันเทิงเป็นหลัก ทั้งนี้กระบวนการ พูดในทางวาทวิทยาจะต้องมีการกําหนดเป้าหมายการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง การวางแผน การปรับ รูปแบบการนําเสนอ ดําเนินการตามแผนการพูด และตรวจสอบปฏิกิริยาของผู้ฟัง – ผู้ชม

23. ข้อใดเกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านการวางตัวทางวาทวิทยา
(1) รู้จักกาลเทศะ
(2) รู้จักใช้เวลาเท่าที่มี
(3) บริหารผู้ร่วมงานให้ได้
(4) ติดตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
(5) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าภาพ
ตอบ 1(คําบรรยาย) การวางตัวอย่างเหมาะสมในทางวาทวิทยา มีพื้นฐานมาจากการรู้จักกาลเทศะ คือ ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งคําว่า “กาละ” หมายถึง เหมาะสมกับเวลา จังหวะ และโอกาส ส่วนคําว่า “เทศะ” หมายถึง เหมาะสมกับสถานที่

24. ช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นคําพูด คือ
(1) สิ่งพิมพ์ – ภาพและเสียง
(2) ใบหน้า – ท่าทาง
(3) บุคคล – สื่อ
(4) เครื่องมือ – อุปกรณ์
(5) สติปัญญา – อารมณ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

25. แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือก……
(1) สื่อ
(2) เวลา
(3) เรียนรู้
(4) วิธีแสดงออก
(5) วิถีชีวิต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือกวิธี แสดงออกหรือวิธีนําเสนอที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท
และแบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

26. กระบวนการการพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น พิจารณาจาก
(1) ผลลัพธ์ที่ได้
(2) กระบวนการนําเสนอ
(3) การประมวลเนื้อหา
(4) ความคิดสร้างสรรค์เนื้อหา
(5) วิธีการสืบค้นข้อมูล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบที่สําคัญ อยู่ทั้งหมด 3 สิ่ง ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2. การวิเคราะห์ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางวาทวิทยา และ การวิเคราะห์สถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูด การประมวลเนื้อหาเรื่องราวเพื่อออกแบบหัวข้อ และจัดระเบียบการนําเสนอสาระข่าวสาร/เนื้อหาในการพูด

27.Content Design ในทางวาทวิทยา หมายถึง
(1) รู้จักแหล่งข้อมูล
(2) การออกแบบเนื้อหา
(3) การรับรู้ข้อมูลทีดี
(4) การปรับตัวเข้าหากัน
(5) ช่องทางการเผยแพร่
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Content Design ในทางวาทวิทยา หมายถึง การออกแบบเนื้อหาสาระในการ
นําเสนอ ประกอบด้วย
1. ข้อมูล/เนื้อหาพื้นฐาน
2. ประเด็นสําคัญ
3. ข้อมูลสนับสนุน
4. ส่วนการชักชวน โน้มน้าวจิตใจ
5. การให้ข้อมูลเพิ่มเติม/หมายเหตุ

28. การรับรู้จากข้อมูลข่าวสารเป็นกระบวนการสําคัญของ
(1) การเข้าถึงจิตใจ
(2) การศึกษา
(3) มิตรภาพ
(4) การรักษาสมดุล
(5) การถ่ายทอดข้อมูล

ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดทําให้เกิดการรับรู้ และเรียนรู้จากข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถือเป็นกระบวนการสําคัญของการศึกษา

29. ความเชื่อ หมายถึง
(1) การใส่ใจข้อมูล
(2) การนึกถึงข้อมูล
(3) การจดจําข้อมูล
(4) การรู้จักข้อมูล
(5) การยืนยันข้อมูล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเชื่อในข้อมูล หมายถึง การยืนยันข้อมูล หรือยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น ความจริงหรือมีการดํารงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน

30. โครงสร้างทางวาทวิทยากําหนด……..ในการนําาเสนอ
(1) ข้อมูล
(2) แนวคิด
(3) ลําดับ
(4) วิธีการ
(5) บุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) โครงสร้างทางวาทวิทยา หรือโครงสร้างเนื้อหาการพูด คือ แบบแผนซึ่งมีการ กําหนดไว้ถึงกระบวนการ และลําดับขั้นตอนในการนําเสนอ เพื่อให้ผู้พูดได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ ในการพูดตามลําดับก่อน – หลัง ซึ่งผู้ฟัง – ผู้ชมสามารถติดตามได้อย่างไม่สับสน เป็นไปตาม ธรรมเนียมปฏิบัติ มีความเป็นสากลเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

31. การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง — ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคัดเลือก
(2) การสังเคราะห์
(3) การเพาะบ่ม
(4) การคัดตัวเลือก
(5) การกําหนดคุณค่า
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญใน 2 ด้าน ดังนี้
1. การรับรู้ความหมาย
2. การกําหนดคุณค่าหรือการให้ความหมาย

32. ความเร่งรีบในการนําเสนอจะเกิดผลร้ายด้านใดต่อเนื้อหาการนําเสนอ
(1) การเร้าอารมณ์
(2) การสร้างอารมณ์ร่วม
(3) ความผิดพลาด
(4) ภาพลักษณ์หน่วยงาน
(5) ความคุ้นเคย
ตอบ 3(คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ผู้พูดควรเตรียมตัวให้สดชื่นสําหรับงานที่รออยู่ข้างหน้า แต่สิ่งที่ไม่ควรทําอย่างยิ่ง คือ การทําอะไรเร่งรีบอย่างไม่มีการวางแผน เพราะจะทําให้เกิด ความผิดพลาดต่อเนื้อหาการนําเสนอได้ โดยควรเตรียมการดังต่อไปนี้
1. เตรียมต้นฉบับและสิ่งจําเป็นต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะหยิบจับติดตัวได้ทันที
2. หากมีเวลาให้ฝึกทดสอบการออกเสียง ทดสอบลีลาท่าทางและจัดระเบียบร่างกายกับเวที
เท่าที่พอมีเวลา
3. ตรวจดูบันทึกย่อที่ทําเอาไว้

33. ประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจากการ……..เป็นสมมุติฐานสําคัญ
(1) ค้นคว้าที่ดี
(2) มีข้อมูลที่ไว้ใจได้
(3) เตรียมสารที่ดี
(4) ชูประเด็นในเนื้อหา
(5) การคุ้นเคยกับผู้ฟัง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจากสมมุติฐาน
ที่สําคัญ ดังนี้
1. ผู้พูดมีการเตรียมตัวที่ดี
2. ผู้พูดมีการเตรียมสารเป็นอย่างดี

34. เหตุใดจึงไม่สามารถปฏิเสธการดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นเพื่อ……..
(1) สุขภาพที่ดี
(2) การติดต่อที่ดี
(3) สติปัญญาที่ดี
(4) การรับรู้ที่ดี
(5) จบการนําเสนอที่ดี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งกาย คุณภาพของน้ําเสียง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้ที่ดีนั่นเอง

35. อะไรไม่ใช่ความเป็นตัวตน
(1) สติปัญญา
(2) ทักษะความถนัด
(3) บุคคลที่อ้างอิง
(4) น้ำเสียง
(5) ความสามารถพิเศษ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

36. ในทางการสื่อสารมวลชน กรอบอ้างอิงมักมีความสัมพันธ์กับ
(1) แหล่งข่าว
(2) ภูมิลําเนา
(3) ประวัติส่วนตัว
(4) ความสามารถแฝง
(5) ระดับสติปัญญา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อสาร ผู้พูด (Speaker) จะมีฐานะเป็นผู้ส่งสาร (Sender) เสมอ เพราะเป็นผู้ใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อเตรียมสารและถ่ายทอดไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้ส่งสาร นําเสนอหรือพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายนําสาระข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ หรือ ยึดถือเป็นกรอบอ้างอิง (ประสบการณ์ที่เด่นชัดและใช้เป็นแบบอย่าง) เราจะเรียกผู้ส่งสารว่า “แหล่งข่าวสาร” (Scurce or News Source) โดยเฉพาะในการสื่อสารมวลชน

37. ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด พิจารณาเบื้องต้นจาก……ในการนําเสนอ
(1) ความไพเราะ
(2) ความราบเรียบ
(3) ยาก – ง่าย
(4) ลําดับขั้นตอน
(5) การค้นคว้าข้อมูล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด จะพิจารณาเบื้องต้นจากลําดับขั้นตอน ในการนําเสนอที่เป็นระบบ โดยมีการดําเนินเรื่องที่ดีถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ มีบทนํา เนื้อเรื่อง และบทสรุป

38. การใช้โทนเสียงสูง – ต่ำในการพูด เป็นการสื่อสารที่เน้น
(1) วิธีการ
(2) อารมณ์
(3) จัดการความคิด
(4) จัดลําดับข้อมูล
(5) ปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

39. การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณาจาก
(1) การแต่งตัว
(2) การจัดเวที
(3) การเปลี่ยนตําแหน่ง
(4) เป้าหมายสายตา
(5) รูปแบบการพูด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณา จากวิธีการแสดงออก เช่น ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความหรือ ให้ความสําคัญกับสิ่งที่พูด ซึ่งหากเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้พูดต้องการเน้นเป็นพิเศษ ควรใช้รูปแบบ การพูดในลักษณะตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก เพื่อให้เรื่องที่พูดมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น

40. การจัดลําดับข้อมูลให้ไม่สับสน อาศัยอะไรเป็นเครื่องกําหนดหรือแนวทางเบื้องต้น
(1) ข่าวสารทางสื่อมวลชน
(2) ความรู้ของผู้ชม – ผู้ฟัง
(3) ลําดับเวลาก่อน – หลัง
(4) วัตถุประสงค์หน่วยงาน
(5) แนวความคิดตามทฤษฎีที่กําหนดไว้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

41. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับคําว่า “สังเคราะห์” ที่สุด
(1) ละเอียด
(2) รอบคอบ
(3) ตรงประเด็น
(4) สร้างสรรค์
(5) ทําโดยอิสระ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การสังเคราะห์ หมายถึง การสรุปตามแนวคิดของตน ซึ่งจะมีความหมายไป ในทางรวมเข้าด้วยกัน โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น ส่วนขั้นตอน ของวิธีคิดเชิงสังเคราะห์จะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่า เราต้องการที่จะ สร้างสรรค์สิ่งใดขึ้น เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อให้ทําหน้าที่อะไร

42. ข้อใดไม่ใช่การ “วิเคราะห์”
(1) แจกแจง
(2) ลงลึกในรายละเอียด
(3) เข้าถึงโครงสร้าง
(4) รู้บทบาทและหน้าที่
(5) สร้างนวัตกรรม
ตอบ 5(คําบรรยาย) การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะ แจกแจง จําแนกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทําความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ลงลึกในรายละเอียด/เข้าถึงโครงสร้าง
3. การนําเสนอข้อมูลที่หลากหลาย
2. การประมวลสาระอย่างรอบคอบ
4. วิเคราะห์ตามบทบาทและหน้าที่ของตน

43. ในการตรวจสอบตนเองของผู้พูด ข้อใดคือข้อพิจารณาสําคัญ
(1) ทําอะไรเป็นบ้าง
(2) นัดหมายเวลาไหน
(3) มีความพร้อมเพียงใด
(4) ต้องใช้เวลานานเท่าใด
(5) ใครที่ต้องติดต่อประสานงานด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

44. ข้อใดคือทักษะที่จําเป็นและสําคัญของผู้พูด ซึ่งต้องมีการนําเสนอเรื่องราวที่เป็นปัญหาทางสังคมที่ซับซ้อน
(1) ด้านภาษาต่างประเทศ
(2) ด้านการเงิน — การคลัง
(3) ด้านระดมเครือข่าย
(4) ด้านการบริหารงานบุคคล
(5) ด้านการบูรณาการความรู้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ทักษะที่จําเป็นและสําคัญของผู้พูด ซึ่งต้องมีการนําเสนอเรื่องราวที่เป็นปัญหา ทางสังคมที่ซับซ้อน คือ ทักษะด้านการระดมเครือข่ายจากทุกภาคส่วน เพื่อรวมพลังในการ ขับเคลื่อนประเด็นปัญหาทางสังคมที่ซับซ้อนให้นําไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

45. ข้อใดเป็นความสามารถด้านการใช้เสียงที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์
(1) ความชัดถ้อยคํา
(2) ความดังกังวาน
(3) ออกเสียงชัดเจน
(4) ลูกเล่นและชั้นเชิงนําเสนอ
(5) ลําดับข้อมูลที่ฟังง่าย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “เอกลักษณ์” (Uniqueness) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความโดดเด่น สภาวะที่ไม่มีผู้ใดเหมือน ซึ่งหาได้ยากในคนอื่น เช่น การใช้ลูกเล่นและชั้นเชิงนําเสนอในน้ำเสียง เพื่อบอกคนฟังว่าจุดไหนที่เน้น จุดไหนที่สําคัญ เป็นต้น

46. ข้อใดเป็นความน่าเชื่อถือของผู้พูดในลําดับแรก
(1) การวางตัว
(2) มารยาทสังคม
(3) รสนิยมการแต่งกาย
(4) ความตรงเวลา
(5) วิธีการเลือกคําปฏิสันถาร
ตอบ 1(คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูด ประกอบด้วย
1. การวางตัว มารยาทพื้นฐานทางสังคม ความตรงเวลา
2. หน้าที่ ความเกี่ยวข้อง ประสบการณ์
3. การเลือกเครื่องแต่งกาย ฯลฯ

47. คําว่า “ประเด็นที่น่าสนใจ” หมายถึง
(1) ใคร ๆ ก็รู้
(2) เรื่องลับเฉพาะ
(3) สาระที่มีผลกระทบ
(4) สิ่งประทับใจ
(5) ข่าวสารที่มีอยู่
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “ประเด็นที่น่าสนใจ” หมายถึง สาระที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ หรือ มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม

48. อะไรเกิดขึ้นก่อนใน Speech Communication
(1) อารัมภบท
(2) อุทาน
(3) ทักทาย
(4) เกริ่น
(5) แนะนําตัว
ตอบ 3(คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech Communication) มี มีขั้นตอนดังนี้
1. การกล่าวทักทายหรือมีปฏิสันถาร เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. การเข้าสู่เรื่อง คํานําหรือความนํา
3. ประเด็น/สาระในการนําเสนอ
4. ข้อมูล ความรู้ ประเด็นจูงใจ การให้คุณค่าเนื้อหา
5. การสรุป การปิดท้ายเรื่อง คําลงท้าย
6. คําเชื้อเชิญ การเชิญชวน

49. สิ่งเร้าที่นอกเหนือจากตัวผู้พูดและผู้ฟัง คือ
(1) ความคิด
(2) ความพร้อม
(3) ประสบการณ์
(4) ความรู้
(5) สิ่งแวดล้อม
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของการพูด คือ สถานการณ์หรือสิ่งที่จะส่งผลต่อการพูด จัดเป็น สิ่งเร้าในการพูดที่นอกเหนือจากผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ระบบสังคมวัฒนธรรม เช่น ศาสนา จารีตประเพณี แนวทางปฏิบัติของครอบครัว ฯลฯ
2. กฎระเบียบ อํานาจหน้าที่ เช่น กฎหมาย ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ฯลฯ
3. กระแสสาธารณมติ
4. นโยบาย แผนงาน และโครงการ

50. เนื้อหาในทางวาทวิทยา ให้ความสําคัญกับ
(1) รูปแบบ – ขั้นตอน
(2) ความน่าสนใจ – เป้าหมายการสื่อสาร
(3) ความจํา – ข้อมูล
(4) สาระ – วิธีการ
(5) ความจํา – แนวคิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) ในทางวาทวิทยา หมายถึง ข่าวสารหรือ ข้อมูลที่มีการตระเตรียมไว้เพื่อการนําเสนอ ถือเป็นสาระหลักของการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นการ เตรียมให้กับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ โดยสาระหรือเนื้อหาเหล่านี้จะพิจารณาจากความน่าสนใจ ในการนําเสนอ และการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายการสื่อสาร

51. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดในการสร้างหัวเรื่อง
(1) น่าสนใจ
(2) ประเด็นการนําเสนอ
(3) มีความชักจูงใจ
(4) บอกเรื่องราวจนครบถ้วน
(5) ท้าทายให้คิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง มีลักษณะดังนี้
1. เป็นภาพรวมหลัก แนวคิดหลัก ประเด็นการนําเสนอ หรือทิศทางในการนําเสนอ
2. สัน กระชับ มีความหมายในตัวเอง
3. อาจมีส่วนขยายชื่อเรื่องที่ชวนติดตาม
4. มีความน่าสนใจ หรือสอดคล้องกับความต้องการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
5. มีความชักจูงใจ หรือท้าทายให้คิด หากมีลักษณะเชิงคําถาม ต้องมีการคลี่คลายในเนื้อเรื่อง

52. ประสบการณ์ที่เด่นชัดและใช้เป็นแบบอย่าง คือ
(1) ข้อมูล
(2) กรอบอ้างอิง
(3) แนวคิดหลัก
(4) ทักษะที่พัฒนาแล้ว
(5) อิทธิพลทางความคิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

53. ข้อใดเป็นลําดับต่อจากหัวเรื่อง
(1) คํานํา
(2) ความนํา
(3) การปฏิสันถาร
(4) ประเด็นหลัก
(5) ข้อมูลสนับสนุน
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ) โครงสร้างของเนื้อหาการพูด ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง
2. การกล่าวทักทาย หรือมีปฏิสันถาร
3. การเข้าสู่เรื่อง คํานําหรือความนํา
4. เนื้อหาสาระในการนําเสนอ
5. ส่วนจบความ/ท่อนท้ายเนื้อหา

54. คําทักทาย ทําหน้าที่
(1) ให้ความสําคัญผู้ฟัง
(2) บอกกําาหนดการ
(3) เตือนว่าถึงเวลาพูดแล้ว
(4) สร้างความคุ้นเคย
(5) แสดงว่าผู้พูดเป็นใคร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

55. ข้อใดไม่ควรกล่าวในการปฏิสันถารที่เป็นทางการ
(1) ผู้มีเกียรติทั้งหลาย
(2) สมาชิกทุกท่าน
(3) สมาชิก ณ ที่ประชุมแห่งนี้
(4) ท่านทั้งหลาย และท่านประธาน
(5) เพื่อนเหล่าทหารหาญผู้ร่วมสมรภูมิ
ตอบ 5 หน้า 34 คําปฏิสันถาร หรือการกล่าวทักทาย แบ่งออกเป็น
1. ชนิดที่เป็นพิธีการ จะไม่นิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามา เช่น คําว่า “เคารพนับถือ/ ที่รัก” ฯลฯ โดยมักใช้ในงานรัฐพิธีและงานศาสนพิธีต่าง ๆ
2. ชนิดที่ไม่เป็นพิธีการ จะนิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามาด้วยเพื่อแสดงความเป็นกันเอง เช่น สวัสดีพี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย, เพื่อนเหล่าทหารหาญผู้ร่วมสมรภูมิ ฯลฯ โดยมักใช้ ในงานที่ไม่เป็นทางการมากนัก

56. ข้อใดเป็นการกล่าวคํานําที่ไม่ควรกระทํา
(1) เล่านิทานขําขัน
(2) ยกภาษิตเปรียบเปรย
(3) เสนอข่าวที่เพิ่งเกิด
(4) บทสวดเพื่อสิริมงคล
(5) เล่าเรื่องที่เคยเสียมารยาทของตนเอง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดของการมีคํานําหรือบทนํา ได้แก่
1. มีความชัดเจนในเนื้อหาและมีความน่าสนใจในประเด็นที่คัดสรรมาแล้ว ต้องไม่สั้นหรือ ยาวเยิ่นเย้อ และต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่จะพูดในลําดับถัดไป
2. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างอารมณ์ร่วม สร้างความสนใจ หรือชักจูงใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้อยากรู้ หรือจุดประกายให้ผู้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ
3. ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญที่จะพูด โดยรวบรวมประเด็นสําคัญขึ้นมานําเสนอก่อน (แต่ไม่ใช่การย่อสาระสําคัญของการพูดทั้งหมด)
4. ไม่นิยมย่อความเรื่องราวที่จะพูดโดยรวม มาเป็นคํานํา
5. ไม่นําบทสวด คําทางศาสนา/ความเชื่อ มาเป็นคํานํา
6. มีความเหมาะสมกับกาลเทศะ และไม่ก้าวล่วงต่อสถานะของบุคคลต่าง ๆ ในพิธีการ ฯลฯ

57. บทนํา ทําหน้าที่
(1) เพิ่มคุณค่า
(2) ส่งเสริมความเข้าใจ
(3) สร้างลีลาการนําเสนอ
(4) ชักจูงใจให้ติดตาม
(5) เร่งเร้าให้ตัดสินใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. ภาพทางความคิด ซึ่งสามารถคิดตาม เข้าใจ และเข้าถึงความรู้สึกด้านต่าง ๆ เรียกว่า
(1) ภาพพจน์
(2) ภาพลักษณ์
(3) ภาพติดตา
(4) ภาพประทับใจ
(5) ภาพอุปมา
ตอบ 1(คําบรรยาย) ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคําพูด ซึ่งผู้ที่พูดเก่งต้องสามารถพูดแล้วทําให้ ผู้ฟังเห็นภาพทางความคิด ซึ่งสามารถคิดตาม เข้าใจ และเข้าถึงความรู้สึกด้านต่าง ๆ ได้

59. ร่องรอยการกระทําที่ปรากฏและรับรู้ได้ที่ผู้พูดนํามาเสนอ
(1) รูปธรรม
(2) หลักฐาน
(3) ตัวตน
(4) คํากล่าวอ้าง
(5) ข่าวสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะพูด หมายถึง ร่องรอยการกระทําที่ปรากฏและ รับรู้ได้ที่ผู้พูดนํามาเสนอ เช่น บุคคล และวัตถุพยานต่าง ๆ

60. ข้อใดคือเครื่องมือประกอบการนําเสนอที่ต้องใช้เสมอ
(1) ดิน ฟ้า อากาศ
(2) ผู้ร่วมสนทนา
(3) ผู้ชม – ผู้ฟังทั้งหมด
(4) กลุ่มเป้าหมายบางคน
(5) อวัจนภาษา
ตอบ 5(คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรือเครื่องมือทางการ สื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น ตลอดจนอะไรก็ตามที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ การถ่ายทอด และการส่งต่อสาระข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความรู้หรือความเข้าใจ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

61. เหตุใดจึงมีข้อแนะนําว่า ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอ
ต่อที่สาธารณชน
(1) ส่งผลต่อค่านิยมที่ตั้งไว้
(2) เป็นการดูถูกตนเอง
(3) สื่ออื่นจะนําไปเผยแพร่ต่อเนื่อง
(4) เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
(5) จะสร้างความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก
ตอบ 3(คําบรรยาย) ผลจากการพูด (Impact) ประการหนึ่ง คือ การพูดนั้นอาจสร้างความเสียหาย ต่อตัวผู้พูดได้ ดังนั้นผู้พูดจึงไม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการพูดของตน เช่น ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อสาธารณชนเพราะสื่ออื่นอาจนําไปเผยแพร่ต่อเนื่องในทางเสียหายได้

62. พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ จะปรากฏเป็น…..
(1) ความสามารถ
(2) ศักยภาพ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) ความคิด
ตอบ 3(คําบรรยาย) นิสัย หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ หรือพฤติกรรม เคยชิน ซึ่งเกิดจากการกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อย ๆ จนติด

63. คําว่า “กาลเทศะ” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) สุภาพเรียบร้อย
(4) มีมาตรฐาน
(5) ยอมรับได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

64. ข้อใดไม่ได้อยู่ในกระบวนการทางวาทวิทยา
(1) ข่าวในช่องทางสาธารณะ
(2) การวางแผน
(4) ตรวจสอบปฏิกิริยาผู้ชม
(3) วิเคราะห์ผู้ฟัง
(5) การปรับรูปแบบการนําเสนอ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

65. จํานวน ปริมาณของกลุ่มเป้าหมายจะสัมพันธ์กับการเลือก……..เป็นอันดับแรก
(1) พิธีกร
(2) ผู้ดําเนินรายการ
(3) สถานที่
(4) เวที
(5) ฉากหลัง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

66. ปกติแล้วในเนื้อเรื่องจะเริ่มด้วย
(1) การกล่าวถึงบรรยากาศในงาน
(2) ขอบคุณผู้ฟัง
(3) นําเสนอข้อมูลโดยละเอียด
(4) ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
(5) การปูพื้นฐานความรู้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง คือ สาระข้อมูลหลักในการนําเสนอ ซึ่งโดยปกติแล้ว ในเนื้อเรื่องจะเริ่มต้นด้วยการปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะพูดให้กับผู้ฟัง – ผู้ชม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ก่อนที่จะนําเสนอสาระเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนโดยละเอียดในลําดับถัดไป

67. เนื้อหาการนําเสนอทางวาทวิทยาที่เล็งผลทางพฤติกรรม พิจารณาจาก
(1) เหตุ – ผล
(2) จํานวนครั้ง
(3) ลําดับ – ปริมาณ
(4) ประเด็นจูงใจ
(5) ศัพท์สํานวนที่กินใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจ หมายถึง การนําเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม การกระทํา ความเชื่อ หรือทัศนคติ โดยต้องอาศัยหลักการที่สําคัญ คือ การสร้าง ประเด็นจูงใจหรืออิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออก ซึ่งตัวอย่างของการพูดเพื่อ ชักจูงใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า, การรณรงค์ การเชิญชวน หรือการขอความร่วมมือใน เรื่องต่าง ๆ, การพูดแนะนําให้เปลี่ยนพฤติกรรม ฯลฯ

68. ข้อใดเป็นข้อมูลระดับปฐมภูมิหรือขั้นต้น
(1) ฉันสอบผ่านแล้ว
(2) เพื่อนสนิทฉันเล่ามา
(3) ข่าวช่องนี้มีแต่คําโกหก
(4) ดีเจเล่าข่าวเช้า
(5) เขาเล่าว่าพญานาคมีจริง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเภทของข้อมูล แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลปฐมภูมิหรือขั้นต้น (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งกําเนิดข้อมูลโดยตรง เช่น ฉันสอบผ่านแล้ว, ประสบการณ์ของผู้รอดตาย เป็นต้น
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้รวบรวมขึ้นเอง แต่นําเอามาจาก หน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ทําการเก็บรวบรวมไว้แล้ว

69. ข้อพิจารณาสําคัญของข้อมูลแวดล้อมในทางวาทวิทยา คือ
(1) นํามากล่าวอ้างได้
(2) พูดถึงกันอยู่เสมอ
(3) มีความหมายหลากหลาย
(4) มีอยู่จริงสามารถรับรู้ได้
(5) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาแล้ว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อมูลแวดล้อม คือ สิ่งที่เกิดขึ้น สภาพที่เป็นไปซึ่งมีอยู่หรือเป็นไปในขณะนั้น ทั้งที่เป็นรูปธรรม (มีอยู่จริง สามารถรับรู้ได้) หรือนามธรรม (ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่รู้เห็น รับรู้ และสัมผัสได้)

70. การจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวถึง ผู้พูดจะต้องมีแนวคิดในการรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดเป็นสําคัญ
(1) เปิดกว้าง
(2) เน้นที่มติสาธารณะ
(3) ดูทิศทางจากกระแสข่าวที่น่าเชื่อถือ
(4) ทําโดยปราศจากอคติ
(5) ได้มีการวิพากษ์ข้อมูล

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อสังเกตในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. รวบรวมโดยใจเป็นกลางโดยปราศจากอคติ
2. รวบรวมให้ครอบคลุมและครบถ้วน
3. รวมรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ
4. รวบรวมให้ตรงประเด็น
5. รวบรวมจากหลายแหล่ง

71. ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับ
(1) วิธีการนําเสนอ
(2) เอกสารที่มี
(3) ความรู้ที่ใช้ประกอบ
(4) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(5) ที่มาของข้อมูลที่จะใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72. การฝึกซ้อมพูดของผู้พูด เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียม
(1) คําพูด – อุปกรณ์
(2) อุปกรณ์ – เวที
(3) อุปกรณ์ – ทีมงาน
(4) บุคลิกภาพ – เนื้อหา
(5) บทบาท – วิธีนําเสนอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียมตนเองในด้านบุคลิกภาพ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่นในตัวผู้พูด
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการพูด
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ช่วยตรวจตราสิ่งจําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น หาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ

73. ข้อใดเป็นผลพึงปรารถนาที่สําคัญที่สุดในการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างประสบการณ์ที่ดี
(2) นําไปปรึกษาทีมงาน
(3) ตรวจสอบทีมงาน
(4) เผยแพร่สู่สื่อมวลชน
(5) ลดค่าใช้จ่ายในภารกิจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อร่างต้นฉบับบทพูดเสร็จแล้ว
(1) ทําสําเนาเอาไว้
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) นําไปทดลองซ้อม
(4) นําเสนอแนวทางของตนเอง
(5) ค้นคว้าเพิ่มเติม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. นําไปปรึกษาทีมงาน และตรวจทานแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม หากผู้พูดพบว่ามีสิ่งที่ไม่เหมาะสมในเนื้อหาที่ร่างเอาไว้ ให้กําจัด
สิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกัน
ความผิดพลาด ฯลฯ

75. การจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ จะต้องผ่านขั้นตอนใดก่อน
(1) รวบรวมข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจงบประมาณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

76. เมื่อนําเสนอเนื้อหาที่เตรียมมาทั้งหมดแล้ว สิ่งที่ไม่ควรทํา คือ
(1) ขอบคุณผู้ฟัง
(2) กล่าวสดุดีผู้จัดงาน
(3) วิจารณ์ตนเองต่อผู้ฟัง
(4) เดินลงจากเวที
(5) จับมือกับวิทยากรร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อผู้พูดนําเสนอเนื้อหาที่เตรียมมาทั้งหมดแล้ว ในบางสถานการณ์อาจมีการ กล่าวสดุดี กล่าวคํารําลึก หรือกล่าวไว้อาลัย รวมทั้งการใช้ถ้อยคําเพื่อการจรรโลงใจบางอย่าง หลังจากนั้นให้ผู้พูดทําความเคารพผู้ฟังโดยก้มศีรษะพร้อมกับพูดว่า “ขอบคุณ/สวัสดี” เท่ากับ เป็นการบอกผู้ฟังว่าผู้พูดพูดจบแล้ว จากนั้นให้จับมือกับวิทยากรร่วม แล้วเดินลงจากเวทีอย่าง สง่างาม โดยไม่ต้องวิจารณ์ตนเองต่อผู้ฟัง หรือพูดขออภัยในความบกพร่องใด ๆ ทั้งสิ้น

77. การตอบรับพิธีการพูดต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ…….เป็นอันดับแรก
(1) เจ้าภาพ
(2) รูปแบบพิธีการ
(3) วัน – เวลา สถานที่
(4) บทพูด
(5) เส้นทางและการจราจร
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการยืนยันกําหนดการพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ วัน – เวลา และสถานที่ที่จะไปพูดให้แน่ใจก่อนเป็นลําดับแรก

78. เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ
(1) ไปพบกับเจ้าภาพ
(2) ติดต่อผู้ประสานงาน
(3) ไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ทําตัวให้มีพลังและพร้อมที่จะพูด
(5) ชวนผู้ฟังสนทนา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ ติดต่อผู้ประสานงานตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ เพื่อให้ช่วยอํานวยความสะดวกในการขึ้นเวทีพูด

79. ข้อใดให้กระทําควบคู่กับการทดสอบการออกเสียงเสมอ
(1) ทําความคุ้นเคยกับผู้ประสานงาน
(2) เชิญประธานในงานมาร่วมชม
(3) ฝึกแสดงการทําความเคารพ
(4) ฝึกการใช้อุปกรณ์ในห้องควบคุม
(5) ทดสอบท่าทางและจัดระเบียบร่างกาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

80. การนิยามสิ่งที่พูด หมายถึง
(1) การให้ความหมาย
(2) การปรับเนื้อหา
(3) การให้ความเห็น
(4) การทดสอบความรู้
(5) การทําความรู้จัก
ตอบ 1(คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยามสิ่งที่พูด
หรือการให้คําจํากัดความก่อนเสมอ หมายถึง การอธิบายหรือให้ความหมายของศัพท์และ ประเด็นหลักด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

81. การดําเนินเนื้อหาที่ดี ควรจะ
(1) ความยากง่ายสลับกัน
(2) พูดเร็ว – ช้าเป็นช่วง ๆ
(3) พูดให้น่าตื่นเต้นเร้าอารมณ์
(4) คาดเดายากในการนําเสนอ
(5) มีลําดับและขั้นตอนน่าติดตาม
ตอบ 5(คําบรรยาย) การดําเนินเนื้อหาที่ดีในการพูด ควรจะมีลําดับและขั้นตอนน่าติดตาม ซึ่งลําดับ ขั้นตอนการนําเสนอสาระข้อมูลในการพูดที่มีประสิทธิผล มีดังนี้
1. ให้ความรู้/ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
2. เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง
3. โน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง

82. การเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง คือ
(1) คําทักทาย
(2) การปฏิสันถาร
(3) การไว้อาลัย
(4) อารัมภบท
(5) หัวข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 48. และ 53. ประกอบ) คํานําหรือบทนํา มีลักษณะดังนี้
1. เป็นส่วนนําเข้าสู่เนื้อหาในการนําเสนอ หรือเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง
2. ทําหน้าที่ชักจูงใจ โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย หรือปูพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อนําเข้าสู่
การนําเสนอในลําดับต่อไป
3. อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น คํานํา บทนํา ความนํา วรรคนํา อารัมภบท เกริ่น และส่วนเข้าสู่เนื้อหา เป็นต้น

83. ช่วงกล่าวสรุป มักทําหน้าที่ใดในแนวคิดด้านการสื่อสาร
(1) กําหนดวัตถุประสงค์
(2) บอกกระบวนการ
(3) นําเสนอความสําเร็จ
(4) โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย
(5) สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สรุปหรือส่วนจบเรื่อง คือ ความคิดรวบยอดของเรื่อง ซึ่งเป็นผลรวมของ โครงสร้างการพูดทั้งหมด โดยการกล่าวสรุปหรือการจบเรื่องที่ดีจะต้องเป็นส่วนที่สร้าง ความประทับใจ และมีการขมวดประเด็นหรือนําเสนอผลสําเร็จของการพูด

84. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการเกริ่น
(1) ปูพื้นฐานข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) บอกความแตกต่างที่เกิดขึ้น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. และ 82. ประกอบ

85. เมื่อถึงลําดับการพูดนําเสนอในลําดับของตนเองแล้ว ไม่ต้องกระทําสิ่งใด
(1) ทักทายผู้ชมก่อน
(2) ปฏิสันถารตามที่เตรียมมา
(3) ทําความเคารพประธาน
(4) ชวนผู้ร่วมเวทีสนทนาคุย
(5) ประสานสายตากับผู้ชม
ตอบ 4(คําบรรยาย) เมื่อถึงลําดับการพูดนําเสนอในลําดับของตนเองแล้ว ผู้พูดควรทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด และเริ่มทักทายผู้ชมก่อนด้วยคําปฏิสันถาร ตามที่เตรียมมา โดยต้องยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสและอย่าลืมประสานสายตากับผู้ชม แล้วจึงกล่าวตามโครงสร้างของการพูดตามลําดับขั้นตอน

86. การยิ้มกับผู้ฟัง – ผู้ชม มีเป้าหมายสําคัญเพื่อ
(1) รักษามารยาท
(2) ตรวจสอบความพร้อม
(3) สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี
(4) กลบเกลื่อนความผิดพลาดที่มี
(5) ให้เกียรติเจ้าภาพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตร ระหว่างกัน ซึ่งกฎง่าย ๆ ที่ผู้พูดควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก คือ การยิ้มแย้มดีกว่าบึ้งตึง เพื่อให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด

87. หากนักศึกษาได้รับเชิญเป็นพิธีกรในงานประชุมโดยไม่รู้ว่าจะแต่งกายอย่างไร จะต้องทําอย่างไร
(1) แต่งสากลนิยม
(2) แต่งชุดไทย
(3) แต่งตามรสนิยมตนเอง
(4) แต่งโดยตรวจสอบกับเจ้าภาพ
(5) แต่งโดยตรวจสอบจากผู้ร่วมงานคนอื่น

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งกายของผู้พูดเมื่อได้รับเชิญให้ไปพูดในโอกาสต่าง ๆ นั้น นับว่าสําคัญ อย่างมาก ซึ่งผู้พูดจะสามารถทราบได้ว่าตนควรแต่งกายแบบใดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะ ของงาน โดยการตรวจสอบกับตัวเจ้าภาพเอง หรืออาจพิจารณาจากบัตรเชิญของเจ้าภาพ เช่น โปรดแต่งกายสุภาพ หรือแต่งกายตามสากลนิยม ฯลฯ

88. ข้อใดส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) ประสบการณ์ของผู้ฟังส่วนใหญ่
(2) งบประมาณที่มี
(3) ทัศนคติของผู้พูด
(4) สถานการณ์จากข่าวปัจจุบัน
(5) รสนิยมกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 1(คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น หัวข้อเรื่องที่จะพูดนั้นตรงกับประสบการณ์ของ
ผู้ฟังส่วนใหญ่หรือไม่ ฯลฯ

89. ตามหลักการทางวาทวิทยา วิธีปฏิสันถารจะเกี่ยวข้องกับ
(1) รูปแบบพิธีการ
(2) ความสนใจโดยรวม
(3) ปริมาณผู้รับสาร
(4) ลําดับขั้นตอนของเนื้อหา
(5) คําถามที่น่าสนใจที่เกิดขึ้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

90. ข้อใดไม่ใช่ความบันเทิง
(1) ตลก
(2) เฮฮา
(3) ขําขัน
(4) อัดแน่นด้วยสาระ
(5) โศกเศร้า
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการพูดที่ใช้สิ่งเร้าเป็นปัจจัยสําคัญในการ ส่งเสริมกระบวนการสื่อสารด้วยเสียงและสําเนียงเพื่อเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก เพื่อกระตุ้นการรับรู้ สร้างความน่าสนใจ และสร้างความรู้สึกร่วม โดยต้องคํานึงถึง
1. การไม่พูดมุกตลกเฮฮา ขําขัน นานเกินไป เพราะจะทําให้ไม่ได้สาระอื่น ๆ
2. หลีกเลี่ยงการพูดไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับงาน
3. การไม่ละเลยต่อประเด็น สาระสําคัญ หรือเป้าหมายทางการสื่อสาร

91. เหตุที่ผู้พูดไม่ควรนําเสนอสาระเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนในช่วงเริ่มต้นของการพูด มาจากสาเหตุ
(1) ผู้ฟัง – ผู้ชมไม่มีความรู้
(2) การสร้างภาพพจน์ตามได้ยาก
(4) ไม่ประทับใจในการนําเสนอ
(3) ยังไม่มีการแจกเอกสารประกอบ
(5) ขัดต่อหลักจรรยาบรรณทางวาทวิทยา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58. และ 66. ประกอบ

92. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้พูดประสบปัญหาในการใช้เครื่องเสียงและอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณภาพขึ้นจอ
(1) แทรกบทตลก
(2) หยุดการพูดสักครู่
(3) ขออภัยผู้ฟัง
(4) ชวนคุยเปลี่ยนบรรยากาศ
(5) ตําหนิเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่ไม่ควรกระทําเมื่อผู้พูดประสบปัญหาในการใช้เครื่องเสียงและอุปกรณ์ ในการส่งสัญญาณภาพบนจอ คือ ตําหนิเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เนื่องจากจะทําให้ผู้ฟังเกิด ทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้พูด

93. คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก………ระหว่างกัน
(1) การเสนอข้อมูล
(2) การเคารพอาวุโส
(3) ปฏิสัมพันธ์ร่วม
(4) ยอมรับความสามารถ
(5) การแลกเปลี่ยนข้อมูล
ตอบ 3(คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือความรู้สึกร่วม และเข้ากันได้ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

94. การวิเคราะห์และสร้างเนื้อหาเพื่อการนําเสนอ ต้องผ่านกระบวนการ……ก่อนเสมอ
(1) การเลือกประเด็น
(2) วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
(3) ตรวจสอบข้อมูล
(4) การตรวจสอบความเป็นไปได้
(5) สร้างจุดเด่นในการนําเสนอ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเป็นนักพูดที่ดีจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัจจัยทางการสื่อสารในกระบวนการพูด
เรียงตามลําดับดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ตนเอง (ตัวผู้พูด) และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
2. วิเคราะห์ผู้ชม ผู้ฟัง และกลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์เนื้อหาและสาระการพูด
4. วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม

95. ข้อใดไม่เข้าพวกหากพิจารณาการพูดตามวัตถุประสงค์
(1) บอกกล่าว
(2) เล่าเรื่อง
(3) อบรม
(4) อธิบาย
(5) ชี้แจง
ตอบ 3(คําบรรยาย) การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นขั้นตอนแรกของการพูดเมื่อพิจารณาถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลัก โดยจะบอกข้อมูลข่าวสารเพื่อให้รับรู้ รับทราบ หรือ สร้างปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร จึงเป็นการพูดในรูปแบบที่ทําข้อมูลสารนิเทศให้เป็นข้อมูล สารสนเทศเพื่อการสื่อสาร โดยมีลักษณะสําคัญ ดังนี้
1. บอกกล่าว เล่าเรื่องราว บรรยาย หรืออธิบายให้ฟัง
2. ประกาศให้ทราบ ชี้แจง แจ้งความให้รู้ทั่วกัน
3. เป็นการรายงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

96. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการพูดเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีความสําคัญ เสี่ยงต่อการกระทําที่ทําให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดในสังคม คือ
(1) แหล่งอ้างอิงที่เป็นสากล
(2) ความสมดุลและหลากหลายในข้อมูลที่ใช้
(3) หลักนิติวิทยาศาสตร์
(4) หลักทางศาสนา
(5) อิทธิพลจากสาธารณมติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

97. ข้อความใดที่สามารถใช้จบเรื่องราวที่พูด
(1) บอกว่าสาระที่นําเสนอไม่มีแล้ว
(2) รวบรวมสาระการพูดทวนอีกครั้ง
(3) นําเสนอประเด็นสําคัญเพิ่มเติมจากเนื้อหา
(4) ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
(5) ชื่นชมเพื่อนสนิทในห้องประชุม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

98. หากต้องมีการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหลังพูดจบ จะให้ความสําคัญกับ……..มากที่สุด
(1) แนวคิดของงาน
(2) ลําดับพิธีการ
(3) ความอาวุโส
(4) เวลาที่เหลือ
(5) มุมกล้อง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันมักมีการเชิญถ่ายภาพเป็นที่ระลึกภายหลังการพูดจบลง ซึ่งจะต้อง คิดและจัดการรองรับไว้ทั้งวิธีการ จุดถ่ายภาพ มุมกล้อง และลําดับของสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ อย่าให้เกิดความชุลมุนวุ่นวายขึ้นมาได้

99. วาทวิทยา ให้ความสําคัญกับอะไรมากที่สุด
(1) ความมีรสนิยม
(2) ความโดดเด่น
(3) มารยาทสังคม
(4) รูปแบบแปลกใหม่
(5) สีสันการนําเสนอ
ตอบ 3(คําบรรยาย) วิชาการพูด (วาทวิทยา) มีจุดมุ่งหมายโดยทั่วไป ดังนี้
1. สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย
2. ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี
3. สามารถประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลแบบต่าง ๆ
4. ปลูกฝังการเป็นผู้มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักใช้เหตุผล
5. สามารถสื่อสารกับสมาชิกสังคมได้อย่างถูกกาลเทศะตามมารยาทพื้นฐานของสังคม

100 เรื่องใดไม่ควรนํามาพูด
(1) สภาพบ้านเมือง
(3) สถาบันที่จบมา
(2) วิจารณ์เชื้อชาติ
(4) แรงบันดาลใจ
(5) ความชอบ – ไม่ชอบส่วนตัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรระมัดระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ ชาติกําเนิด และศาสนา เพราะกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน
มีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา 2/2564

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2303 (MCS 1350) วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 5. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ผู้พูด
(2) เนื้อหา
(3) ผู้ฟัง – ผู้ชม
(4) ช่องทาง
(5) ผลกระทบ

1 เพื่อหา Feedback ในกระบวนการสื่อสาร
ตอบ 5(คําบรรยาย) ผลจากการพูด (Impact) หรือผลกระทบ คือ การแสดงออก ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) ในกระบวนการสื่อสาร หรือผลที่เกิดขึ้นมาจากการนําเสนอเรื่องราวเนื้อหา รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์การแสดงออกทั้งในระหว่างการพูด และหลังจากการพูด

2 คือ สาระหลักของการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) ในทางวาทวิทยา หมายถึง ข่าวสารหรือ ข้อมูลที่มีการตระเตรียมไว้เพื่อการนําเสนอ ถือเป็นสาระหลักของการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นการ เตรียมให้กับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ โดยสาระหรือเนื้อหาเหล่านี้จะพิจารณาจากความน่าสนใจ ในการนําเสนอ และการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายการสื่อสาร

3. เป็น Sender เสมอ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อสาร ผู้พูด (Speaker) จะมีฐานะเป็นผู้ส่งสาร (Sender) เสมอ เพราะเป็นผู้ใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อเตรียมสารและถ่ายทอดไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้ส่งสาร นําเสนอหรือพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายนําสาระข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ หรือ ยึดถือเป็นกรอบอ้างอิง เราจะเรียกผู้ส่งสารว่า “แหล่งข่าวสาร” (Source or News Source) โดยเฉพาะในการสื่อสารมวลชน

4. โดยอนุโลม คือ เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรือเครื่องมือทางการ สื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น ตลอดจนอะไรก็ตามที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ การถ่ายทอด และการส่งต่อสาระข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความรู้หรือความเข้าใจ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

5 พิจารณาจากความเหมาะสม กาลเทศะ สถานะ และตัวบุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผู้ฟัง – ผู้ชม (Listener or Audience) จะมีฐานะเป็นผู้รับสาร (Receiver) และมักเป็นกลุ่มเป้าหมายของการพูดเสมอ โดยจะมีลักษณะสังคมประชากร สภาพการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่นําเสนอ ประสบการณ์ ความสนใจ และความคิดที่เห็นต่างกันไปตาม กาลเวลา ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องทําการวิเคราะห์ผู้รับสารทุกครั้งก่อนการเตรียมสาร โดยพิจารณา จากความเหมาะสม กาลเทศะ สถานะ และตัวบุคคล

ข้อ 6. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) รับรู้
(2) เรียนรู้
(3) มีความรู้สึก
(4) ชักจูงใจ
(5) โดยบันทึกย่อ

6.ข้อใดไม่ใช่การแบ่งตามวัตถุประสงค์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการพูด ได้แก่
1. การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูล ถือเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนในการสื่อสารปกติ
2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือให้เรียนรู้ เป็นการให้ข้อมูล + กระบวนการทางปัญญา
3. การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการเข้าถึงอารมณ์และมีความรู้สึก
4. การพูดเพื่อชักจูงใจ เป็นการโน้มน้าวใจให้เกิดพฤติกรรมตามที่กําหนด ซึ่งจําเป็นต้อง
สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ

7. เป็นการเข้าถึงความบันเทิง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

8. ข้อใดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนในการสื่อสารปกติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

9.จําเป็นต้องสร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

10. ข้อมูล + กระบวนการทางปัญญา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

ข้อ 11. – 15. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หัวเรื่อง
(2) ประเด็น
(3) คํานํา
(4) เนื้อเรื่อง
(5) โครงสร้าง

11. แนวคิดหลักในการนําเสนอ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง มีลักษณะดังนี้
1. เป็นภาพรวมหลัก แนวคิดหลัก หรือทิศทางในการนําเสนอ
2. สัน กระชับ มีความหมายในตัวเอง
3. อาจมีส่วนขยายชื่อเรื่องที่ชวนติดตาม
4. มีความน่าสนใจ หรือสอดคล้องกับความต้องการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย หากมีลักษณะ เชิงคําถาม ต้องมีการคลี่คลายในเนื้อเรื่อง

12. ปกติจะมีความยาวมากที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง คือ สาระข้อมูลหลักในการที่ผู้พูดหรือผู้นําเสนอถ่ายทอด ไปยังผู้ฟัง – ผู้ชม (กลุ่มเป้าหมาย) ซึ่งปกติจะมีความยาวมากที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ทั้งนี้ การจะสร้างสาระเนื้อหาขึ้นมาได้ ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเตรียมสาร ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยทางการสื่อสาร
2. การค้นคว้าข้อมูล
3. การประมวลเนื้อเรื่องและแนวคิด
4. การจัดทําร่างเนื้อหาเบื้องต้น

13. แบบแผนที่กําหนดเอาไว้เป็นสากล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงสร้างของเนื้อหาการพูด คือ แบบแผนซึ่งมีการกําหนดไว้ถึงกระบวนการ และขั้นตอนในการนําเสนอ เพื่อให้ผู้พูดได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพูดตามลําดับก่อน – หลัง ซึ่งผู้ฟัง – ผู้ชมสามารถติดตามได้อย่างไม่สับสน เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ มีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

14. เกริ่น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คํานําหรือบทนํา มีลักษณะดังนี้
1.เป็นส่วนน่าเข้าสู่เนื้อหาในการนําเสนอ หรือเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง
2. ทําหน้าที่ชักจูงใจ โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย หรือปูพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อนําเข้าสู่การ
นําเสนอในลําดับต่อไป
3. อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น คํานํา บทนํา ความนํา วรรคนํา อารัมภบท เกริ่น และ ส่วนเข้าสู่เนื้อหา เป็นต้น

15. จะนําเสนอได้ดีก็ต่อเมื่อมีข้อมูลสนับสนุน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเด็นหลักหรือประเด็นสําคัญในเนื้อหาของการนําเสนอนั้น จะนําเสนอได้ดี ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลสนับสนุนประเด็นในแต่ละด้านตามแนวคิดหรือวิธีการของผู้พูด

16. วาทวิทยาในบริบทของการสื่อสารมวลชน เน้นที่
(1) การนําเสนอที่น่าประทับใจ
(2) การสื่อสารที่มีแบบแผน
(3) การพูดที่มีเสน่ห์
(4) การใช้สื่อบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) การใช้คําพูดให้เป็นประโยชน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของกิจกรรมทางวาทวิทยาในบริบทของ การสื่อสารมวลชน จะเน้นที่การนําเสนอที่น่าประทับใจใน 2 สิ่งด้วยกัน ได้แก่
1. วาจา
2. ตัวตน

17. เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ
(1) คําพูด
(2) สัญลักษณ์
(3) เจตนารมณ์
(4) ความต้องการ
(5) รูปพรรณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ คําพูด ซึ่งเนื้อหาในการพูดนั้นก็พัฒนามาจากความคิดและการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ทั้งนี้ การพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจากความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

18. เนื้อหาในการพูดพัฒนามาจาก
(1) สํานึก
(2) ความคิด
(3) ความน่าจะเป็น
(4) ความต้องการ
(5) ความสําคัญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19. การสื่อสารตามอัธยาศัย ขึ้นอยู่กับ
(1) ระดับความคุ้นเคย
(2) ระดับความสามารถ
(3) ระดับจิตใจ
(4) ระดับของความสัมพันธ์
(5) ระดับสติปัญญา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการพูดในขั้น พื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และ ปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วมและมีลักษณะของการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัด ประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับระดับของความสัมพันธ์ หรือสภาวะปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลของกันและกัน

20. การสื่อสารในระดับชุมชน หรือบุคคลจํานวนมาก มีลักษณะเด่นที่
(1) ความเป็นประชาธิปไตย
(2) ความเป็นอิสรเสรีในการสื่อสาร
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) มีผู้นํา – ผู้ตาม และแบบแผนที่กําหนด
(5) อาศัยการโน้มน้าวใจอย่างสูง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดในที่ชุมชน (Communication in Public) มีดังนี้
1. เป็นการพูดหน้าที่ประชุมชน ซึ่งผู้พูดต้องมีพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ หรือกรอบอ้างอิง เกี่ยวกับเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี
2. ผู้พูดมักมีคุณสมบัติเป็นผู้นํา ส่วนผู้ฟังมีสภาพเป็นผู้ตาม
3. สาระการสื่อสารมักจะเป็นเรื่องที่มีการตระเตรียม โดยมีเป้าหมายการสื่อสารที่แน่ชัดและ
เป็นแบบแผนที่กําหนด รวมทั้งมีกระบวนการสื่อสารเป็นขั้นตอนตามแผนงาน
4. เป็นการพูดต่อหน้าผู้ฟังจํานวนมาก ซึ่งอาจทําให้ผู้พูดเกิดอาการประหม่าและตื่นเต้น ดังนั้น ผู้พูดจึงควรตั้งสติกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อการพูดที่ดีขึ้นในครั้งต่อไป
5. อาจมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น ใช้โปรแกรม PowerPoint ใช้สไลด์ หรือใช้โมเดล ประกอบการนําเสนอ ฯลฯ

21. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของกิจกรรมพูดทางสื่อสารมวลชน
(1) มีคนจํานวนมากพูด
(2) อาศัยสื่อออนไลน์
(3) ไม่มีกําหนดเวลา
(4) รูปแบบเนื้อหา
(5) มีการกําหนดผู้พูดหรือกระบวนการนําเสนอ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดผ่านสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการอาศัยสื่อการ ถ่ายทอดหลักของสังคม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสังคม เพื่อถ่ายทอดสาระการสื่อสารของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องมีการ กําหนดกระบวนการนําเสนอ และตัวผู้พูดที่ทําหน้าที่โดยตรง ได้แก่ พิธีกร ผู้ดําเนินรายการ ผู้ประกาศข่าว สื่อมวลชน หรือเป็นผู้รับเชิญให้พูดเป็นกรณี ๆ ไป ฯลฯ

22. การพูดเพื่อปลูกฝังความดีงามให้เกิดแก่จิตใจ หมายถึง การพูด
(1) ประโลมใจ
(2) ประเทืองใจ
(3) จรรโลงใจ
(4) ชําระจิตใจ
(5) สะใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อจรรโลงใจ มีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีงาม สูงส่ง ซึ่งผู้พูด จะชี้ให้เห็นถึงอุดมคติ แนวทางในการดําเนินชีวิต การสร้างสรรค์คุณงามความดี ความประณีต งดงาม คุณค่าอันน่านิยม ตลอดจนความสนุกสนานเบิกบานใจ

23. ข้อใดคือจุดกําเนิดของการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพการพูด
(1) เป็นผู้หมั่นศึกษา
(2) เป็นผู้เคารพความอาวุโส
(3) เป็นผู้มีปัญญา
(4) เป็นผู้มีความสงบเรียบร้อย
(5) เป็นผู้มีความคิดรอบคอบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเป็นผู้มีความคิดรอบคอบ ถือเป็นจุดกําเนิดของการรักษาจรรยาบรรณ วิชาชีพการพูด เพราะหากพูดโดยไม่ยั้งคิด และขาดความรอบคอบในการไตร่ตรองเนื้อหา ก่อนที่จะพูด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูดในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนาย คําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

24. ความมีสมดุลในการสื่อสารทางวาทวิทยา จะเกิดควบคู่กับแนวคิดใด
(1) เอกภาพทางความคิด
(2) มิตรภาพระหว่างกัน
(3) การมีปฏิสัมพันธ์กัน
(4) การมีส่วนร่วมทางสังคม
(5) หลักวาจาธิปไตย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความมีสมดุลในการสื่อสารทางวาทวิทยา คือ การเปิดโอกาสให้มีการสื่อสาร ระหว่างกันอย่างสมดุล โดยผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ฝ่ายเดียว เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางสังคม

25. ข้อใดเป็นเจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยา
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยาหรือการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ ตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา พฤติกรรม หรืออากัปกิริยาท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหา สาระที่จะพูด น้ำเสียงและสำเนียง

26. การถ่ายทอดสารของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย ………“ระหว่างบุคคล” และ “สื่อมวลชน
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ปฏิสัมพันธ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

27. ข้อใดพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
(1) ผู้พูด
(2) ผู้ฟัง
(3) ผู้ชม
(4) เสียง
(5) ท่าที
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งเสียงพูดที่มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณา
จากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

28. ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “เอกลักษณ์”
(1) หายากในคนอื่น
(2) ทุกคนก็มี
(3) เป็นไปได้ทุกคน
(4) คุณค่าที่มี
(5) คนที่น่าเลื่อมใส
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คําว่า “เอกลักษณ์” (Uniqueness) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความโดดเด่น หรือสภาวะที่ไม่มีผู้ใดเหมือน หาได้ยากในคนอื่น เช่น การใช้ลูกเล่นในน้ําเสียง เพื่อบอกคนฟังว่า จุดไหนที่เน้น จุดไหนที่สําคัญ เป็นต้น

29. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี
(1) ใช้เหตุผลในการนําเสนอ
(2) ข้อมูลที่ใช้ต้องเป็นความจริง
(3) คิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) สามารถพูดได้ทุกเรื่อง
(5) ต้องมีความรู้เท่าทันคนอื่น
ตอบ 3(คําบรรยาย) หลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี คือ การรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนพูด ถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดมารยาทในการพูด และเป็นมารยาทของนักพูดที่ดีข้อแรกที่วิช วาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ)

30. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย ภาษา ……
(1) ที่ใช้ถ้อยคํา – ที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ที่ใช้ถ้อยคํา – ท่าทาง
(3) ทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) หนังสือ – ท่าหาง
(5) อักษร – สัญลักษณ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย
เวลา กลิ่น ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร และวัสดุภาษาอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจกันได้

31. อวัจนภาษาที่ใช้มากที่สุด คือ
(1) เสียงในลําคอ
(2) ท่าทางประกอบ
(3) การเปลี่ยนตําแหน่ง
(4) การชี้นิ้ว
(5) อุทาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ใช้มากที่สุด คือ ท่าทางประกอบ ซึ่งผู้พูด ควรจะแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและสาระการนําเสนอ รวมทั้ง ต้องสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม ซึ่งการแสดง ท่าทางประกอบต้องมีชีวิตจิตใจ ไม่ซ้ําซากจําเจ และอย่าทําให้เป็นระบบจนผู้ฟังคุ้นเคยหรือเดาทางออก โดยควรทําให้เห็นเด่นชัด และมีความหลากหลาย

32. เสียงในเชิงวาทวิทยาไม่สามารถสื่อสารถึง …… ได้อย่างสมบูรณ์
(1) เนื้อหา
(2) ข้อมูล
(3) สาระ
(4) ความรู้สึก
(5) ความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและสําเนียง โต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงจะเป็นเพียงการเปล่งวาจาหรือเนื้อหาออกมา ส่วนสําเนียง
ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถสื่อสารถึงอารมณ์และจะบอกถึงอากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ความรู้สึกได้โดยตรงอย่างสมบูรณ์ หากไม่มีสําเนียงมาช่วย

33. ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน คือ
(1) ขึ้นอยู่กับสุขภาพกาย
(2) ต้องอาศัยท่าทางประกอบ
(3) เสื่อมสลายไปได้ทันที
(4) ต้องใช้จักษุภาษา
(5) ต้องอาศัยพรสวรรค์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสาร มวลชน คือ เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน เพราะเสียงเมื่อพูดไปแล้วก็จบไปเลย หากผู้ฟัง ไม่มีโอกาสฟังซ้ําก็จะทําให้หลงลืม จึงไม่อาจนํามาเป็นหลักฐานได้

34. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
(4) พื้นฐานความรู้มาก – น้อย
(5) การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. การใช้จังหวะถี – ห่าง
4. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

35. ข้อใดเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ

(4) กระทําโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ คือ การพูดให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการจะให้คนฟังได้รับทราบ

36. ข้อใดไม่เป็นการพูดในทางวาทวิทยา
(1) เจรจา
(2) ปรึกษา
(3) ว่าความ
(4) อุทาน
(5) โต้วาที ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วาทวิทยา (Speech Communication) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น วาทนิเทศ วาทศาสตร์ วาทศิลป์ ฯลฯ แต่เดิมเน้นการสื่อสารด้วยเสียงและกิริยาท่าทางประกอบ ปัจจุบัน เน้นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นํา การชักจูงใจ และความบันเทิงเป็นหลัก ทั้งนี้การพูดในทาง วาทวิทยาจะต้องมีกระบวนการคิด การกําหนดเป้าหมายการพูด การวางแผน และดําเนินการ ตามแผนการพูดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การเจรจาต่อรองผลประโยชน์, การนําเสนอผลงาน การสื่อสารองค์การ, การปรึกษาหารือ, การว่าความ, การโต้วาที ฯลฯ

37. เหตุใดกิจกรรมด้านวาทวิทยาจึงเป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพ
(1) รู้จักการแต่งกาย
(2) รู้จักการวางตัว
(3) รู้จักการใช้เวลา
(4) รู้จังหวะ
(5) รู้จักบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของงานวาทวิทยาประการหนึ่ง ได้แก่ การสร้างสรรค์และส่งเสริม การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี คือ รู้จักการวางตัวและสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสม

38. ช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นคําพูด คือ
(1) สิ่งพิมพ์ – ภาพและเสียง
(2) ใบหน้า – ท่าทาง
(3) บุคคล – สื่อ
(4) เครื่องมือ – อุปกรณ์
(5) สติปัญญา – อารมณ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

39. แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือก
(1) สื่อ
(2) เวลา
(3) เรียนรู้
(4) วิธีแสดงออก
(5) วิถีชีวิต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือกวิธี แสดงออกหรือวิธีนําเสนอที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท
และแบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

40. ข้อใดไม่ใช่การวิเคราะห์
(1) แจกแจง
(2) มีรายละเอียด
(3) ทําโดยผู้เชี่ยวชาญ
(4) ประมวลสาระอย่างรอบคอบ
(5) เสนอข้อมูลที่หลากหลาย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ มีลักษณะดังนี้
1. การแยกแยะแจกแจงรายละเอียด
2. การประมวลสาระอย่างรอบคอบ
3. การนําเสนอข้อมูลที่หลากหลาย

41. การพูดเป็นการสลายอารมณ์และความรู้สึกระหว่างผู้รับสารได้ เนื่องจาก
(1) เป็นการให้เกียรติแก่กัน
(2) เป็นการสร้างสรรค์เนื้อหาร่วมกัน
(3) เป็นการรับรู้ข้อมูลพร้อม ๆ กัน
(4) เป็นการรู้จักตัวตนที่ลึกซึ้ง
(5) เป็นช่องทางของการมีปฏิสัมพันธ์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดเป็นกระบวนการ สร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกระหว่างผู้รับสารได้ เนื่องจากการพูดเป็นการสร้างสรรค์
เนื้อหาร่วมกัน ทําให้สามารถเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ฟังได้โดยตรง

42. การเรียนรู้จากข้อมูลข่าวสาร เป็นกระบวนการสําคัญของ
(1) การเข้าถึงจิตใจ
(2) การศึกษา
(3) มิตรภาพ
(4) การรักษาสมดุล
(5) การบรรลุความสําเร็จ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดทําให้เกิดการเรียนรู้ จากข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถือเป็นกระบวนการสําคัญของการศึกษา

43. ความเชื่อ หมายถึง
(1) การใส่ใจข้อมูล
(2) การนึกถึงข้อมูล
(3) การจดจําข้อมูล
(4) การให้ความสําคัญแก่ข้อมูล
(5) การยืนยันข้อมูล
ตอบ 5(คําบรรยาย) ความเชื่อในข้อมูล หมายถึง การยืนยันข้อมูล หรือยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น ความจริงหรือมีการดํารงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน

44. การรายงานข่าวสารคดีเชิงลึก อาศัยกระบวนใดด้านวาทวิทยา
(1) สืบค้น
(2) สืบชะตา
(3) สืบเสาะ
(4) สืบสาน
(5) สืบสวน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สืบค้น หมายถึง ค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องจนกว่า จะได้ผล เช่น สืบค้นหาความจริงของเหตุการณ์ เป็นต้น

45. การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคัดสรร
(2) การสังเคราะห์
(3) การเพาะบ่ม
(4) การคัดตัวเลือก
(5) การกําหนดความหมาย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญใน 2 ด้าน ดังนี้
1. การรับรู้ความหมาย
2. การกําหนดความหมาย

46. แนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น เนื้อหาข่าวสารที่น่าสนใจเกิดจากข้อมูลกลุ่มใด
(1) ประโยชน์ – การเร่งรัด
(2) การเร่งรัด – ความพอใจ
(3) ความพอใจ – ความต้องการ
(4) ความต้องการ – ภาพลักษณ์
(5) ภาพลักษณ์ – ความคุ้นเคย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามแนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น เนื้อหาข่าวสารที่น่าสนใจ พิจารณาจาก
1. ความสนใจ
2. ความพึงพอใจ
3. ความต้องการ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ

 

47. การสร้างประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจาก…….เป็นสมมุติฐาน
(1) การศึกษาที่ดี
(2) การหาข้อมูลที่ดี
(3) การเตรียมตัวที่ดี
(4) ความขยันที่มากพอ
(5) ความคุ้นเคยกับข้อมูล
ตอบ 3(คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานของความมีประสิทธิผลในกิจกรรมด้านวาทวิทยา คือ ผู้พูดต้อง มีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมาก่อนเวลาพูดเพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็นเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคย และไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพูด

48. เหตุใดจึงไม่สามารถปฏิเสธการดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นก็เพื่อ
(1) สุขภาพที่ดี
(2) ความสัมพันธ์ที่ดี
(3) สติปัญญาที่ดี
(4) การรับรู้ที่ดี
(5) โอกาสที่ดี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งกาย คุณภาพของน้ําเสียง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้ที่ดีนั่นเอง

49. การพูดเป็นการแสดง
(1) ปัญญา – ความสามารถ
(2) ความคิด – บุคลิกภาพ
(3) การจัดการ – ความสมดุล
(4) สัดส่วน – แนวโน้ม
(5) ตัวตน – วาจา
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

50. ตัวตนของผู้พูด ประกอบด้วย
(1) อัตลักษณ์ – พฤติกรรม
(2) ภูมิหลัง – การศึกษา
(3) ภูมิลําเนา – ครอบครัว
(4) ประวัติส่วนตัว – ความสามารถ
(5) วัตถุประสงค์ – ความสําเร็จ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

51. ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด พิจารณาเบื้องต้นจาก……….ในการนําเสนอ
(1) ความไพเราะ
(2) ความราบเรียบ
(3) คําอ่าน
(4) ลําดับขั้นตอน
(5) การค้นคว้าข้อมูล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด จะพิจารณาเบื้องต้นจากลําดับขั้นตอน ในการนําเสนอที่เป็นระบบ โดยมีการดําเนินเรื่องที่ดีถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ มีบทนํา เนื้อเรื่อง และบทสรุป

52. การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณาจาก
(1) บุคลิกภาพ
(2) การจัดเวที
(3) วิธีการแสดงออก
(4) สายตา
(5) สื่อที่ใช้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณา จากวิธีการแสดงออก เช่น ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความหรือ ให้ความสําคัญกับสิ่งที่พูด ซึ่งหากเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้พูดต้องการเน้นเป็นพิเศษ ควรใช้หลักการ ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก

53. การจัดลําดับข้อมูลให้น่าสนใจ อาศัยอะไรเป็นเครื่องกําหนด
(1) รสนิยมของผู้พูด
(2) ความรู้ของผู้ชม – ผู้ฟัง
(3) สื่อที่มีอยู่
(4) บรรยากาศแวดล้อม
(5) แนวความคิดในการนําเสนอ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดลําดับข้อมูลให้น่าสนใจ มักพิจารณาจากสื่อ (Media) ที่มีอยู่ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูล เพื่อถ่ายทอดไปให้ผู้รับสารเข้าใจได้ ซึ่งอาจมีความหมายรวมถึงสาร สิ่งเร้า โสตทัศนูปกรณ์ในการนําเสนอให้น่าสนใจ ตลอดจนบุคคลที่เชิญมาอภิปรายร่วม

54. เหตุใดผู้พูดจึงต้องระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ
(1) สื่อปัจจุบันมีค่าใช้จ่าย
(2) ผู้ฟังอาจไม่มีการศึกษามากพอ
(3) ผู้ชมมีสติปัญญาสูงกว่าอยู่แล้ว
(4) ไม่รู้ว่าผู้ชม – ผู้ฟังชอบอะไรกันแน่
(5) กลุ่มเป้าหมายปัจจุบันมีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน
ตอบ 5(คําบรรยาย) ผู้พูดควรระมัดระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ ชาติกําเนิด และศาสนา เพราะกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน มีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน

55. เหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อ
(1) จะได้ข้อมูลที่สนับสนุนตนเอง
(2) ป้องกันความผิดพลาด
(3) เพื่อให้ไม่ได้รับการขัดขวาง
(4) เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตรระหว่างกัน
(5) สร้างความคุ้นเคยกับคนคุ้นเคย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตร ระหว่างกัน ซึ่งกฎง่าย ๆ ที่ผู้พูดควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก คือ การยิ้มแย้มดีกว่าทิ้งตึง เพื่อให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด

56. การตรวจสอบตนเองของผู้พูด หลังจากที่ได้มีการเตรียมตัวดีแล้ว ข้อใดคือข้อพิจารณาสําคัญ
(1) พูดนานเท่าใด
(2) นัดหมายเวลาไหน
(3) ตนเองพร้อมหรือเปล่า
(4) ต้องแก้ร่างบทพูดตรงไหน
(5) สุขภาพตนเองเป็นอย่างไร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การตรวจสอบตนเองของผู้พูด หลังจากที่ได้มีการเตรียมตัวดีแล้ว สิ่งที่ผู้พูดต้อง พิจารณาเป็นสําคัญ คือ การเตรียมสุขภาพของตนเอง โดยควรระวังอย่าให้เป็นหวัด เพราะจะ เป็นอุปสรรคต่อการพูดมาก แม้จะเตรียมตัวมาดีแล้วก็ตาม

57. ข้อใดคือทักษะที่จําเป็นของผู้พูด ซึ่งต้องพูดร่วมกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย
(1) การใช้งานบุคคล
(2) การมีมนุษยสัมพันธ์
(3) การจัดการความรู้
(4) การใช้เส้นทาง
(5) การประสานงานกับช่างเทคนิค
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทักษะที่จําเป็นของผู้พูด เมื่อต้องพูดร่วมกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย คือ จะต้องเป็น ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ซึ่งเป็นผลมาจากการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคลทุกคน หรือไม่ทําลายบรรยากาศการพูดคุย จนสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น

58. ข้อใดเป็นความสามารถด้านการใช้เสียงที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์
(1) ความชัดถ้อยชัดคํา
(2) เสียงดังฟังชัด
(3) ออกเสียงชัดเจน
(4) ลูกเล่นในการนําเสนอ
(5) การลําดับข้อมูลที่ฟังง่าย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

59. ข้อใดเป็นความน่าเชื่อถือของผู้พูดในลําดับท้าย ๆ
(1) การวางตัว
(2) มารยาทสังคม
(3) การเลือกเครื่องแต่งกาย
(4) ความตรงเวลา
(5) การเลือก Application ในการนําเสนอ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูด ประกอบด้วย
1. การวางตัว มารยาทพื้นฐานทางสังคม ความตรงเวลา
2. หน้าที่ ความเกี่ยวข้อง ประสบการณ์
3. การเลือกเครื่องแต่งกาย ฯลฯ

60. คําว่า Speech หมายถึง
(1) เนื้อหาการสนทนาทั่วไป
(2) เนื้อหาการพูดที่เฉพาะเจาะจง
(3) เนื้อหาการสื่อสารทางวาจาที่มีการเตรียมการ
(4) บทประพันธ์ที่นําไปพูด
(5) การนําเสนอที่มีแบบแผน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

61. ข้อใดไม่ได้อยู่ในโครงสร้างเนื้อหาการพูด
(1) คํากล่าวทักทาย
(2) ประเด็นการนําเสนอ
(3) หลักฐานการชักจูงใจ
(4) บทสรุปเรื่องราว
(5) แนวทางในการใช้สื่อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงสร้างสาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) มีดังนี้
1. การกล่าวทักทายหรือมีปฏิสันถาร เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. การเข้าสู่เรื่อง คํานํา หรือความนํา
3. ประเด็น/สาระในการนําเสนอ
4. ข้อมูล ความรู้ ประเด็นจูงใจ การให้คุณค่าเนื้อหา
5. การสรุป การปิดท้ายเรื่อง คําลงท้าย
6. คําเชื้อเชิญ การเชิญชวน

62. เนื้อหาในการพูด ถูกพัฒนามาจาก
(1) สํานึก
(2) ความพร้อม
(3) ความคิด
(4) ความจํา
(5) สิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

63. เนื้อหาในทางวาทวิทยา ให้ความสําคัญกับ
(1) รูปแบบ – ขั้นตอน
(2) ความน่าสนใจ – เป้าหมายการสื่อสาร
(3) ความจํา – ข้อมูล
(4) แนวคิด – การตอบสนอง
(5) สิ่งประทับใจ – สาระที่ได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

64. อะไรเกิดขึ้นก่อนใน Speech Communication
(1) อารัมภบท
(2) อุทาน
(3) ทักทาย
(4) เกริ่น
(5) แนะนําตัว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65. ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องทําการประเมินผลการพูด ถือว่ามีลักษณะใด
(1) มีศรัทธา
(2) มีความนับถือ
(3) มีองค์ประกอบ
(4) มีอิทธิพล
(5) มีบริบท
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้ฟัง ผู้ชม ถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้พูด เพราะผู้ฟัง – ผู้ชมมีหน้าที่ประเมินผล การพูดในครั้งนั้น ๆ เพื่อให้ผู้พูดได้ทราบประสิทธิผลของการพูด ผู้พูดจะได้ปรับปรุงตน เนื้อหา วิธีการ และปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่จะมีต่อผู้ชม ผู้ฟังในครั้งต่อไป

66. ในการประชุมของหน่วยงาน ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะให้กับบุคคลทั่วไป บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วม ประชุม แต่รับฟัง – รับชมการถ่ายทอด ถือเป็นบุคคล…….
(1) เปิดเผย
(2) นอกองค์กร
(3) ตามพันธกรณี
(4) ไม่ได้รับเชิญ
(5) สัญจรภายนอก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการประชุมของหน่วยงาน ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะให้กับบุคคลทั่วไป บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมประชุม แต่รับฟัง – รับชมการถ่ายทอด ถือเป็นบุคคลนอกองค์กร คือ บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานที่จัดประชุม อาจจะเป็นประชาชนทั่วไปที่สนใจก็ได้

67. การพบปะชี้แจงโครงการสาธารณะที่จะได้รับหรือสูญเสียประโยชน์บางประการ ผู้จัดการประชุมต้อง
พิจารณาถึงกลุ่มเป้าหมายใดเป็นสําคัญ
(1) ภายใน – ภายนอกชุมชน
(2) เบื้องหน้า – เบื้องหลัง
(3) รู้จัก – ไม่รู้จัก

(4) ได้รับผลกระทบ – ไม่ได้รับผลกระทบ
(5) ควบคุมได้ – ควบคุมไม่ได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในกรณีที่มีการพบปะชี้แจงโครงการสาธารณะที่จะได้รับหรือสูญเสียผลประโยชน์ บางประการ กลุ่มเป้าหมายที่ผู้จัดการประชุมต้องคํานึงถึงเป็นสําคัญ คือ
1. กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการสาธารณะ
2. กลุ่มผู้ไม่ได้รับผลกระทบจากโครงการสาธารณะ

68. สิ่งใดคือเครื่องมือของผู้พูด
(1) เครื่องเสียง
(2) คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรม
(3) แสงและการจัดฉาก
(4) เครื่องบันทึกเสียง
(5) อุปกรณ์ทุกอย่างที่ผู้พูดต้องการใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

69. การใช้อวัจนภาษา ทําเพื่อ
(1) เพิ่มคุณค่า
(2) เข้าถึงการสร้างความเข้าใจ
(3) สร้างลีลาการนําเสนอ
(4) เพิ่มความสนุกสนาน
(5) เร่งเร้าให้ตัดสินใจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

70. วัตถุพยานในการพูด หมายถึง
(1) สิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหลาย
(2) สิ่งที่จับต้องได้
(3) สิ่งที่มีตัวตน
(4) สิ่งที่กล่าวอ้างขึ้นมา
(5) สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่มีร่องรอย
ตอบ 5 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) วัตถุพยานในการพูด หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ สามารถสัมผัสรับรู้ได้ หรือร่องรอยการกระทํา

71. ข้อใดเป็นแนวทางหลักในการใช้เครื่องมือประกอบการพูด
(1) ต้องมีทุกครั้ง
(2) จะมีหรือไม่ก็ได้
(3) มีตามความจําเป็น
(4) ใช้ของที่ทันสมัยเสมอ
(5) นํามาเผื่อไว้ก่อน
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) แนวทางหลักในการใช้เครื่องมือ (Channel) ประกอบการพูด ได้แก่
1. ใช้ตามความจําเป็น
2. ใช้ตามลักษณะงานและคุณสมบัติที่มี
3. ใช้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผล
4. ใช้ตามวัตถุประสงค์
5. ใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

72. เหตุใดจึงมีข้อแนะนําว่า ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อ
สาธารณชน
(1) ผู้ชม – ผู้ฟังมักไม่สนใจ
(2) เป็นการดูถูกตนเอง
(3) อาจมีการเผยแพร่ต่อในทางเสียหาย
(4) เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
(5) จะสร้างความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) ผลจากการพูด (Impact) ประการหนึ่ง คือ การพูดนั้นอาจสร้างความเสียหายต่อตัวผู้พูดได้ ดังนั้นผู้พูดจึงไม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการพูดของตน เช่น ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมา กล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อสาธารณชน เพราะอาจมีการเผยแพร่ต่อในทางเสียหายได้

73. พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ จะปรากฏเป็น
(1) ความสามารถ
(2) ศักยภาพ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) ความคิด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นิสัย หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ หรือพฤติกรรม เคยชิน ซึ่งเกิดจากการกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อย ๆ จนติด

74. คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) ได้ผล
(4) มีมาตรฐาน
(5) ครบครัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ ความเหมาะสมทั้งในเรื่องของ บุคลิกลักษณะในการแต่งกาย การปรากฏตัว การเตรียมเนื้อหา คําปฏิสันถาร ฯลฯ ซึ่งจะต้อง มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจ้าภาพและลักษณะของงาน

75. การจะทราบประสิทธิผลของการพูด อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคะเน
(2) การรู้แจ้ง
(3) การแสดงผล
(4) การประเมินผล
(5) การทํานาย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

76. กระดาษต้นฉบับประกอบการพูด ควรมีลักษณะใด
(1) มีสีสันสดใส
(2) ใหญ่จนเห็นผู้ชมได้ชัด
(3) ไม่บดบังทัศนวิสัย
(4) เล็กที่สุดเท่าที่ทําได้
(5) ไม่ควรมีเส้นบรรทัด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4. ไม่บดบังทัศนวิสัย
5. มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี ฯลฯ

77. การรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ผู้รวบรวมทําได้โดย
(1) รับรู้ – เข้าใจ
(2) วิเคราะห์ – สังเคราะห์
(3) ส่วนร่วม – ไม่มีส่วนร่วม
(4) ติดตาม – สังเกต
(5) บันทึกด้วยตนเอง – บันทึกโดยอุปกรณ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ มีวิธีรับรู้ข้อมูลอยู่ 2 วิธี ได้แก่
1. มีส่วนร่วมในกิจกรรม
2. ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรม

78. ข้อใดมิใช่การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงประจักษ์
(1) อ่านมาจาก IG
(2) คุยกับคุณป้าขายข้าวแกง
(3) แข่งปิงปองกับเพื่อนซี้
(4) กําลังติดฝนบนทางด่วน
(5) ลงทะเบียนยืนยันตัวตนเข้าสอบด้วยตนเอง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ สิ่งที่ผู้รับข้อมูลเข้าไปมีส่วนร่วม รู้เห็น รับรู้ หรือสัมผัส
กับข้อมูลนั้นด้วยตัวเองโดยตรง

79. ข้อพิจารณาสําคัญของข้อมูลแวดล้อมในทางวาทวิทยา คือ
(1) นํามากล่าวอ้างได้
(2) พูดถึงกันอยู่เสมอ
(3) มีความหมายในตัวเอง
(4) มีอยู่จริงสามารถรับรู้ได้
(5) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาแล้ว
ตอบ 4(คําบรรยาย) ข้อมูลแวดล้อม คือ สิ่งที่เกิดขึ้น สภาพที่เป็นไปซึ่งมีอยู่หรือเป็นไปในขณะนั้น ทั้งที่เป็นรูปธรรม (มีอยู่จริง สามารถรับรู้ได้) หรือนามธรรม (ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่รู้เห็น รับรู้ และสัมผัสได้)

80. การจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวถึง ผู้พูดจะต้องมีแนวคิดในการรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดเป็นสําคัญ
(1) เปิดกว้าง
(2) เน้นที่มติสาธารณะ
(3) พิจารณาจากกระแสข่าวที่น่าเชื่อถือ
(4) ทําโดยปราศจากอคติ
(5) มีการวิพากษ์ข้อมูลและวิธีได้มา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อสังเกตในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. รวบรวมโดยใจเป็นกลางโดยปราศจากอคติ
2. รวบรวมให้ครอบคลุมและครบถ้วน
3. รวมรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ
4. รวบรวมให้ตรงประเด็น
5. รวบรวมจากหลายแหล่ง

81. ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับ
(1) วิธีการนําเสนอ
(2) เอกสารที่มี
(3) ความรู้ที่ใช้ประกอบ
(4) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(5) ที่มาของข้อมูลที่จะใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82. การฝึกซ้อมพูดของผู้พูด เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียม
(1) คําพูด – อุปกรณ์
(2) อุปกรณ์ – เวที
(3) อุปกรณ์ – ทีมงาน
(4) บุคลิกภาพ – เนื้อหา
(5) บทบาท – การนําเสนอ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียมตนเองในด้านบุคลิกภาพ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่น
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ช่วยตรวจตราสิ่งจําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น หาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ

83. ข้อใดเป็นผลอันพึงปรารถนาที่สําคัญที่สุดจากการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างประสบการณ์ที่ดี
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) ตรวจสอบทีมงาน
(4) แสวงหาแนวทางของตนเอง
(5) ลดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84. หากผู้พูดพบว่า มีสิ่งที่ไม่เหมาะสมในเนื้อหาที่ร่างไว้ ควรทําอย่างไร
(1) นําไปพูดโดยบอกกับผู้ฟังว่าเป็นสิ่งไม่ดี
(2) นําไปปรึกษาทีมงาน
(3) ตัดทิ้งไม่ต้องนําไปเสนอ
(4) เก็บเป็นข้อมูลสําหรับพูดครั้งต่อไป
(5) ทําเป็นสําเนาแจกจ่ายกับทีมงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

85. การจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ จะต้องผ่านขั้นตอนสําคัญใดก่อน
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) วางแผนซ้อมบทกับเพื่อนสนิท
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือ ความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

86. เหตุใดงานด้านวาทวิทยาจึงต้องมีการจัดทําโครงร่าง (Outline)
(1) ทําให้ดูทันสมัย
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น
(3) ทําให้น่าติดตาม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(5) ทําให้มีเอกภาพ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่างหรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

87. การยืนยันกําหนดการพูด ต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ
(1) เจ้าภาพ
(2) รูปแบบพิธีการ
(3) วัน – เวลา สถานที่
(4) บทพูด
(5) เส้นทางและการจราจร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการยืนยันกําหนดการพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ วัน – เวลา และสถานที่ที่จะไปพูดให้แน่ใจก่อนเป็นลําดับแรก

88. เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ
(1) ไปพบกับเจ้าภาพ
(2) ติดต่อผู้ประสานงาน
(3) ไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ทําตัวให้สดชื่นมีพลัง
(5) ชวนผู้ฟังสนทนา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ ติดต่อผู้ประสานงานตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ เพื่อให้ช่วยอํานวยความสะดวกในการขึ้นเวทีพูด

89. ข้อใดให้กระทําควบคู่กับการทดสอบการออกเสียงเสมอ
(1) ทําความคุ้นเคยกับผู้ประสานงาน
(2) เชิญประธานในงานมาร่วมชม
(3) ฝึกแสดงการทําความเคารพ
(4) ฝึกการใช้อุปกรณ์ในห้องควบคุม
(5) ทดสอบลีลาท่าทางกับเวทีเท่าที่พอมีเวลา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ผู้พูดควรเตรียมตัวให้สดชื่นสําหรับงานที่รออยู่ข้างหน้า แต่สิ่งที่ไม่ควรทําอย่างยิ่ง คือ การทําอะไรเร่งรีบอย่างไม่มีการวางแผน โดยควรเตรียมการ ดังต่อไปนี้
1. เตรียมต้นฉบับและสิ่งจําเป็นต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะหยิบจับติดตัวได้ทันที
2. หากมีเวลาให้ฝึกทดสอบการออกเสียง ทดสอบลีลาท่าทางกับเวทีเท่าที่พอมีเวลา
3. ตรวจดูบันทึกย่อที่ทําเอาไว้

90. เหตุใดในการพูดแต่ละครั้งจะต้องมีการปฏิสันถาร
(1) เพื่อสร้างความสนใจ
(2) เพื่อการปรับตัว
(3) เพื่อให้ความเห็น
(4) เพื่อให้คําจํากัดความ
(5) สร้างความคุ้นเคย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

91. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคยก่อน
(5) พูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา ดังนี้ บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดัง
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้eเสียงที่ชัดเจน

92. การเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง คือ
(1) ทักทาย
(2) การปฏิสันถาร
(3) การแสดงความเคารพ
(4) ความนํา
(5) การนําเสนอข้อมูลเบื้องต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. และ 61. ประกอบ

93. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการมีคํานํา
(1) เปรียบเทียบข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ

ตอบ 1 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ) แนวคิดของการมีคํานํา ได้แก่
1. คํานํา บทนําต้องมีความชัดเจนในเนื้อหาและความน่าสนใจในประเด็นที่คัดสรรมาแล้ว ต้องไม่สั้นหรือยาวเยิ่นเย้อ และต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่จะพูดในลําดับถัดไป
2. คํานําเป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างอารมณ์ร่วม หรือสร้างความสนใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้อยากรู้ หรือจุดประกายให้ผู้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ
3. คํานําต้องชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญที่จะพูด โดยรวบรวมประเด็นสําคัญขึ้นมานําเสนอก่อน (แต่ไม่ใช่การย่อสาระสําคัญของการพูดทั้งหมด)
4. ไม่นิยมย่อความเรื่องราวที่จะพูดโดยรวมมาเป็นคํานํา
5. ไม่นําบทสวด คําทางศาสนา/ความเชื่อมาเป็นคํานํา
6. คํานําต้องมีความเหมาะสมกับกาลเทศะ และไม่ก้าวล่วงต่อสถานะของบุคคลต่าง ๆ
ในพิธีการ ฯลฯ

94. คํานําทําหน้าที่ใดในแนวคิดด้านการสื่อสาร
(1) กําหนดวัตถุประสงค์
(2) บอกกระบวนการ
(3) นําเสนอความสําเร็จ
(4) โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย
(5) สร้างอิทธิพลการนําเสนอ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

95. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่อาจละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟัง
(2) ทดสอบไมโครโฟน
(3) เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ชวนผู้ร่วมสนทนาคุย
(5) ประสานสายตากับคนรู้จัก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

96. สิ่งใดไม่ควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูด
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) หาที่นั่งและนั่งโดยเร็ว
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) ตรวจสอบบันทึกย่อที่เตรียมมา
(5) มองไปยังผู้ชม – ผู้ฟัง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูด คือ ไม่ควรทดสอบไมโครโฟน โดยการใช้ มือเคาะหรือเป่าลมใส่ไมโครโฟน และไม่ควรพูดว่า “ฮัลโหล ๆ” หรือกระแอมกระไอก่อนพูด

97. อะไรคือสิ่งที่เรียกว่า “กาลเทศะ” ในการพูด
(1) การวางตัวอย่างเหมาะสม
(2) การรู้จักรูปแบบของงาน
(3) มีเจ้าภาพที่แน่ชัด
(4) ดําเนินการได้ตามกําหนด
(5) การรับรู้แนวทางปฏิบัติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวางตัวอย่างเหมาะสม มีพื้นฐานมาจากการรู้จักกาลเทศะ คือ ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งคําว่า “กาละ” หมายถึง เหมาะสมกับเวลา จังหวะ และโอกาส ส่วนคําว่า “เทศะ” หมายถึง เหมาะสมกับสถานที่

98. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการ……….เสมอ
(1) เปรียบเทียบข้อแตกต่าง
(2) ตั้งสมมุติฐานให้กับผู้ฟัง
(3) แสดงความเห็น
(4) คําจํากัดความ
(5) ตั้งคําถามที่น่าสนใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยามหรือการให้
คําจํากัดความก่อนเสมอ หมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลักด้วยการ สร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

99. การพูดต่อสาธารณชนที่เสร็จสิ้นลงตามเนื้อหาที่เตรียมมา มักต้องมีการเผื่อเวลาสําหรับ
(1) วิจารณ์ผู้พูด
(2) นําเสนอประวัติผู้พูด
(3) ตอบข้อสงสัยบางประการ
(4) แนะนําตัวผู้ดําเนินรายการ
(5) กล่าวสดุดีตัวผู้ชม – ผู้ฟังบางคน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการพูดต่อสาธารณชนที่เสร็จสิ้นลงตามเนื้อหาที่เตรียมมานั้น ผู้พูดควรต้อง
เผื่อเวลาสําหรับการตอบข้อสงสัยบางประการ เพราะหากในเนื้อหามีคําถามมาตั้งแต่ต้นก็ควร เฉลยปมปัญหา หรือชี้แนวทางของการตอบ อย่าปล่อยให้ค้างคาใจ นอกจากนี้อาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังได้ซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ตามสมควร

100. สิ่งใดมักอยู่ในช่วงท้ายที่นอกเหนือจากการสรุปเนื้อหา
(1) ปฏิสันถาร
(2) คําอธิบายหัวข้อเรื่อง
(3) การกล่าวเชิญชวน
(4) ข้อมูลสําคัญของกิจกรรม
(5) ประวัติองค์กร/หน่วยงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่มักอยู่ในท่อนท้ายเนื้อหาที่นอกเหนือจากการสรุปเนื้อหา ได้แก่
1. ในบางกรณีจะมีการกล่าวทิ้งท้ายถึงการแสดงความเคารพ การกล่าวเชิญชวน หรือ
การแสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใดตามมา
2. ในบางสถานการณ์อาจมีการกล่าวสดุดี กล่าวคํารําลึก หรือไว้อาลัย รวมทั้งการใช้ ถ้อยคําเพื่อการจรรโลงใจบางอย่าง

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1350 (MCS 1300) หลักการพูดเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. หลักการพื้นฐานของความมีประสิทธิผลในกิจกรรมด้านวาทวิทยา คือ
(1) ภาพลักษณ์ที่ดี
(2) ความรู้ที่ดี
(3) การเตรียมตัวที่ดี
(4) ความคล่องตัวที่ดี
(5) ท่าทางที่ดี (คําบรรยาย)
ตอบ 3 หลักการพื้นฐานของความมีประสิทธิผลในกิจกรรมด้านวาทวิทยา คือ ผู้พูดต้องมีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมาก่อนเวลาพูดเพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็นเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคย และไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพูด

2. คําพูดที่เหมาะสมถูกพัฒนามาจาก
(1) ภาพพจน์
(2) ความรู้
(3) ความรู้สึก
(4) สัญชาตญาณ
(5) ความคิด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาหรือข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมในการพูดนั้น มีพื้นฐานมาจากความคิด
และการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ซึ่งการพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจาก ความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

3. แลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงประสบการณ์ หรือมีสัมพันธ์ร่วมกับเหตุการณ์นั้น ๆ คือ
(1) โต้วาที
(2) โต้คารม
(3) สนทนา
(4) ปรึกษาหารือ
(5) สดุดี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสนทนา คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นกันในเชิงประสบการณ์ หรือมีสัมพันธ์ร่วมกับเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งข้อมูลความคิดเห็นที่แลกเปลี่ยนกันอาจจะขัดแย้ง หรือคล้อยตามกันก็ได้

4. คําปฏิสันถารมีเพื่อ
(1) สวัสดี
(2) สร้างความคุ้นเคย
(3) บอกตัวตน
(4) เล่าเรื่อง
(5) เน้นย้ำ
ตอบ 2 หน้า 34 – 40, (คําบรรยาย) โครงสร้างของการพูด หรือลําดับของการพูดก่อน – หลัง ในการ พูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย
1. คําปฏิสันถาร หมายถึง คําทักทายผู้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. คํานํา หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง เป็นการเกริ่น อารัมภบท เป็นบทนําหรือความนําเข้าสู่เนื้อหา
3. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลหลักของการนําเสนอ หรือกลวิธีนําเสนอ
4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง
5. คําลงท้าย หมายถึง ข้อความกล่าวทิ้งท้าย เพื่อความประทับใจ (ในส่วนของสรุปและคําลงท้ายอาจสลับที่กันได้ ซึ่งมักทําเฉพาะในกรณีที่ ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญพอสมควร)

5. คําปฏิสันถาร เรียกอีกอย่างว่า
(1) คําทาบทาม
(2) คําอุทาน
(3) คําอุปมา
(4) คําทักทาย
(5) คําบอกเล่า
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6 กระบวนการนําเสนอเรื่องราวให้ผู้ฟัง – ผู้ชม เห็นจริงตามผู้พูด เรียกว่า
(1) การสร้างจินตนาการ
(2) การสร้างภาพพจน์
(3) การสร้างภาพลักษณ์
(4) การสร้างคติพจน์

(5) การสร้างมายาคติ

ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ตน (การวิเคราะห์ตัวผู้พูดหรือตัวผู้ส่งสาร) ถือเป็นปัจจัย การสื่อสารแบบวาทวิทยาที่ต้องวิเคราะห์เป็นอันดับแรก ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งสําคัญ 2 อย่าง ได้แก่
1. ภาพลักษณ์ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวตนของผู้พูดจากประสบการณ์ จากสิ่งที่ได้รับรู้ หรือจาก สิ่งที่เห็น จนสามารถประเมินค่าและเชื่อถือว่าผู้พูดเป็นเช่นนั้น
2. ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคําพูด ซึ่งเป็นกระบวนการนําเสนอเรื่องราวให้ผู้ฟัง – ผู้ชม เห็นจริงตามผู้พูด หรือมีอารมณ์ร่วมในเรื่องที่พูด ซึ่งผู้พูดที่เก่งจะต้องสามารถพูดแล้วทําให้ ผู้ฟังเห็นภาพตามได้

7. การวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารในการพูดแต่ละครั้งอาศัยหลักการ
(1) ลงลึกในรายละเอียดของสถานการณ์
(2) รับผิดชอบให้ได้มากที่สุด
(3) ความคุ้มค่า
(4) ดูดีมีราคา
(5) สร้างความสบายใจให้ทุกฝ่าย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารในการพูดแต่ละครั้ง จะอาศัยหลักการลงลึกใน รายละเอียดของสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไปพูด เพราะสถานการณ์การพูดจะบ่งบอกว่า เนื้อหาที่นําไปพูดนั้นเหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็จะต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด

8. ประสิทธิผลในการพูดแต่ละครั้งทราบได้จาก
(1) จํานวนผู้เข้าชม – เข้าฟัง
(2) ผลการประเมิน
(3) คําชมและเสียงปรบมือ
(4) สื่อมวลชน
(5) คํากล่าวของสปอนเซอร์
ตอบ 3 หน้า 7, (คําบรรยาย) ประสิทธิผลในการพูดแต่ละครั้งจะทราบได้จากการแสดงออกของผู้ฟัง ที่เรียกว่า “ปฏิกิริยาตอบกลับ” (Feedback) เช่น การให้คําชมและเสียงปรบมือ การพยักหน้า การทําหน้ายุ่ง คิ้วขมวด ฯลฯ ซึ่งการแสดงออกของผู้ฟังดังกล่าวจะทําให้ผู้พูดรู้ว่า การพูดของ ตนประสบความสําเร็จหรือไม่โดยตรง

ข้อ 9. – 14. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) บุคลิกภาพ
(2) เสียง
(3) การประมวลเรื่อง
(4) ช่องทาง
(5) ท่าทาง

9 การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย ……. ที่เป็น “บุคคล” และ “สื่อ”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

10. การออกแบบหัวข้อ และจัดระเบียบการนําเสนอข่าวสาร
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบ ที่สําคัญอยู่ทั้งหมด 3 สิ่ง ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2. การวิเคราะห์ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางวาทวิทยา และการวิเคราะห์ สถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูด และประมวลเนื้อหาเรื่องราวเพื่อออกแบบหัวข้อ และจัดระเบียบการนําเสนอ สาระข่าวสาร/เนื้อหาในการพูด

11. พิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งเสียงพูดที่มีประสิทธิภาพ
จะต้องพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

12. ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของการพบปะ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของ การพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ คือ ตัวตนของผู้พูด ซึ่งได้แก่ บุคลิกภาพทั้งหมดที่ปรากฏออกมา ซึ่งจะพิจารณาจากความน่าเชื่อถือและอวัจนภาษาที่สอดคล้องกับสาระการนําเสนอ

13. เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย เวลา กลิ่น ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร และวัสดุภาษาอื่น ๆ ที่สามารถสื่อความเข้าใจกันได้

14. พิจารณาจากความน่าเชื่อถือและอวัจนภาษาที่สอดคล้องกับสาระการนําเสนอ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

15. กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางวาทวิทยา หมายถึง
(1) ท่าทาง
(2) ผู้ชม ผู้ฟัง
(3) สาระ
(4) ข้อมูล
(5) ประเด็น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

16. ข้อใดสนับสนุนแนวคิดที่ว่าการพูดสร้างบุคคลเป็นผู้มีวิจารณญาณที่ดี
(1) การรู้จักใช้เหตุผลในการนําาเสนอ
(2) สาระที่พูดต้องพิสูจน์ได้เสมอ
(3) การคิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) ผู้พูดต้องปรับตัวตามสถานการณ์
(5) การพูดต้องอาศัยความมีสติปัญญา ฉลาด และรอบรู้
ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของวิชาการพูดประการหนึ่ง คือ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนเป็น ผู้มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักใช้เหตุผลในการนําเสนอ รู้จักคิดรู้จักโต้แย้ง และรู้จักใช้ข้ออ้างอิง ที่มีหลักฐานในการพูด

17. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย
(1) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาท่าทาง
(3) ภาษาทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) ภาษาหนังสือ – ภาษาท่าทาง
(5) ภาษาพูด – ภาษาท่าทาง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

18 ข้อใดไม่ได้หมายถึงการใช้ภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารร่วมกับวัจนภาษา
(1) นางสาวลีลาวดีชักสีหน้างอนแฟนหนุ่ม เพราะผิดนัดเป็นประจํา
(2) คุณตาปลื้มขยิบตาให้หลานชายเป็นนัยว่า เพื่อนหญิงของเขานิสัยดีเป็นที่ถูกใจ
(3) บ่ายนี้ร้อนจัดจนลูกจ้างในร้านพากันปาดเหงื่อ แต่ก็ขยันทํางานต่อจนหมดกะ
(4) ลูกสาวคนเล็กชวนคุณพ่อไปทําบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลฉลองปีใหม่
(5) สาวน้อยตัวอิจฉาหว่านเสน่ห์ให้พระเอกโดยหวังรวบรัดครอบครองมรดก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ (ข้อความในตัวเลือกข้อ 4 ใช้แต่ภาษาพูดเพียงอย่างเดียว)

19. ข้อใดมิได้หมายถึง คํานํา
(1) ความน่า
(2) บทนํา
(3) หัวตอน
(4) เกริ่น
(5) อารัมภบท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

20. ข้อใดเป็นกระบวนการที่ต้องดําเนินการเป็นอันดับแรกในการพูดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมทุกประเภท
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) จัดหาทีมงาน
(4) ร่างเนื้อหา
(5) วิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน
เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

21. สาระเนื้อหาการพูดของนักศึกษาในภารกิจการนําเสนอรายงาน ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ
(4) เตรียมโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญเมื่อต้องนําเสนอรายงาน คือ เนื้อหาสาระการพูดต้องตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการให้คนฟังได้รับทราบ

22. กระบวนการพูดที่มีประสิทธิผลนั้น ประกอบด้วย
(1) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงตน – พัฒนาบุคลิกภาพ
(2) วิเคราะห์ผู้ฟัง – นําเสนอแนวคิด – ออกแบบการพูด
(3) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงบุคลิกภาพ – ประมวลเนื้อหา
(4) วิเคราะห์ตนเอง – สร้างสรรค์เนื้อหา – นําเสนอบนเวที
(5) วิเคราะห์เนื้อหา – สรุปประเด็น – นําเสนอบนเวที
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

23. หากเพื่อนของนักศึกษาจะไปพูดกับชาวบ้านในฐานะนักสื่อสารองค์กรของหน่วยงานที่ไม่แสวงหากําไร
ตัวนักศึกษาจะแนะนําหลักการเลือกเรื่องที่จะพูดอย่างไร
(1) ผู้พูดสนใจ – ผู้ฟังสนใจด้วย
(2) ผู้พูดมีความรู้ – ผู้ฟังสนใจ
(3) เรื่องที่ทันสมัย – ผู้ฟังน่าจะชอบ
(4) เรื่องดีมีสาระ – ผู้พูดอยากนําเสนอ
(5) ดูท้าทายความสามารถ – ผู้ฟังยังไม่คุ้น
ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) ในการเลือกเรื่องไปพูดนั้น ผู้พูดต้องพยายามเลือกเรื่องที่ทั้งผู้พูดและ ผู้ฟังสนใจเป็นอันดับแรก ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้พูดถนัด มีความรู้ และสามารถหาข้อมูลมานําเสนอได้ ก็จะทําให้พูดได้ดี และถ้าเรื่องนั้นผู้ฟังสนใจด้วยก็ดูเหมือนว่าผู้พูดได้ประสบความสําเร็จขั้นต้น ในการเรียกความสนใจจากผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่สนใจ การพูดนั้นก็จะล้มเหลว

24. ก่อนจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ อะไรคือสิ่งที่ต้องทําทุกครั้ง
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) จัดหาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจเส้นทางของสถานที่จัดงาน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

25. โครงร่าง (Outline) มีประโยชน์ต่อการเตรียมเรื่องพูดอย่างไร
(1) ทําให้มีรสนิยม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์
(5) ทําให้มีเอกภาพ
(3) ทําให้น่าติดตาม
ตอบ 5 หน้า 31 – 32, (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่า เรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

26. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่สามารถละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟังก่อน
(2) สร้างความตื่นเต้นเร้าใจผู้ฟัง
(3) กล่าวอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
(4) สรุปเนื้อเรื่อง
(5) กล่าวสวัสดี
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

27. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคย
(5) พูดให้ชัดและช้ากว่าปกติเล็กน้อย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้ําเสียงที่ชัดเจน

28. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจาก ……. เสมอ
(1) การเปรียบเทียบ
(2) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
(3) ความคิดเห็น
(4) การนิยามหรือให้คําจํากัดความ
(5) ประเด็นคําถาม
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยาม หรือให้คําจํากัดความก่อนเสมอ ซึ่งหมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลัก ด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

29. สิ่งใดควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูดเป็นอันดับแรก
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยนําเสนอ
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) พูดขออภัยในความผิดพลาดของตัวเอง
(5) กล่าวขอบคุณเจ้าภาพ
ตอบ 3 หน้า 52 – 53, (คําบรรยาย) ข้อแนะนําเกี่ยวกับการขึ้นเวทีพูด มีดังนี้
1. พิธีกรกล่าวแนะนําและเชิญผู้พูดขึ้นพูด
2. ผู้พูดเดินไปทําความเคารพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด
3. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้องทําความเคารพ
หรือทักทายใครอีกแล้ว

4. เข้าที่พูดในลักษณะที่สง่างาม และผู้พูดควรยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสเป็นอันดับแรก เพราะกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ของการพูด คือ ยิ้มแย้มดีกว่าบึ้งตึง
5. หลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด ไม่ควรทดสอบเสียงโดยใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล ๆ”6. ในขณะที่พูด เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจด้วยการปรบมือ หรือแสดงความไม่พอใจด้วยการ โห่ร้องขึ้นมา ผู้พูดควรหยุดพูดก่อนชั่วคราว จนเมื่อเสียงของผู้ฟังซาลงจึงเริ่มพูดต่อไป ฯลฯ

30. เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจอย่างมาก ผู้พูดควรปฏิบัติอย่างไร
(1) หยุดกิจกรรมของตนเองสักครู่
(2) กล่าวทักทายอีกครั้ง
(3) พูดเร้าอารมณ์เพิ่มมากขึ้น
(4) กล่าวขอบคุณอย่างจริงใจ
(5) ทําความเคารพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. อะไรคือ “ความเป็นทางการ” ในการพูด
(1) การรู้จักกาลเทศะ
(2) เข้ากับงานสังคมได้
(3) มีเจ้าภาพที่แน่นอน
(4) การพูดให้ประทับใจประธานในพิธี
(5) การปฏิบัติตามแบบแผนที่กําหนดไว้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นทางการในการพูด คือ การรู้จักกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) ทั้งนี้ เพราะการพูดที่ดี หมายถึง การใช้ถ้อยคํา น้ำเสียง รวมทั้งอากัปกิริยาอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท แบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

32. ข้อใดที่ทําให้ความตื่นเต้นและประหม่าเวทีลดน้อยลงได้ตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ออกซิเจน
(2) อาหารและเครื่องดื่ม
(3) อุณหภูมิห้องที่เหมาะสม
(4) ความเป็นมิตรของเจ้าภาพ
(5) สิ่งอํานวยความสะดวกที่พร้อมใช้
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) วิธีแก้ความตื่นเวที ซึ่งสามารถทําให้อาการตื่นเต้นประหม่า บรรเทาลงไปได้ มีดังนี้
1. หายใจเข้าปอดลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจช้า ๆ 4 – 5 ครั้ง เพราะออกซิเจนจะช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง ทําให้ลดความตื่นเต้นลงไปได้
2. เมื่อเริ่มพูดอย่าพูดเร็ว ให้พูดช้า ๆ ยิ้มแย้ม และประสานสายตากับผู้ฟัง
3. พยายามคิดว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และผู้ฟังก็อยากฟังเราพูด
4. หลีกเลี่ยงการแต่งกายที่ตึง รัด และเป็นอุปสรรคต่อการพูด
5. ทําตัวตามสบาย อ่านหนังสือพิมพ์ หรือฟังเพลงที่ชอบก่อนขึ้นพูด ฯลฯ

33. ผู้พูดไม่สามารถสร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟังได้ด้วย
(1) การสร้างมาตรฐานรสนิยมดี
(2) การระวังตัวและรักษามารยาทอย่างดี
(3) การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
(4) การใช้ถ้อยคําและท่าทางที่เหมาะสม
(5) แสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพที่สร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ดังนี้
1. การมีบุคลิกลักษณะท่าทางและรสนิยมที่ดี สุภาพ มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
2. การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
3. การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
4. การใช้ถ้อยคําและแสดงท่าทางที่เหมาะสม
5. การแสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด ฯลฯ

34. เมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องดําเนินการต่อไป คือ
(1) เก็บไว้ในที่มิดชิด
(2) จัดวางไว้ที่ซึ่งประธานจะต้องขึ้นพูด
(3) ส่งต่อไปให้เจ้าภาพ
(4) เข้าเล่มให้เรียบร้อย
(5) ทําสําเนา
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

35. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการฟังเพื่อวิเคราะห์
(1) แยกแยะประเด็นและสาระ
(2) มีจรรยาบรรณ
(3) มีความสํารวมขณะฟัง
(4) จดจําเนื้อหาสําคัญให้ได้
(5) มีเหตุผลพร้อมที่จะโต้แย้งได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการฟัง มีดังนี้
1. ฟังเพื่อรับรู้เนื้อหาสาระและข้อมูล
2. ฟังเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
3. ฟังเพื่อเข้าถึงทัศนคติ ความคิดเห็น
4. ฟังเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน
5. ฟังเพื่อวิเคราะห์ (แยกแยะประเด็นและสาระสําคัญ) ประเมินผล และวิจารณ์

36. หากต้องพูดเรื่อง “พระคุณของบูรพมหากษัตริย์ไทย” นักศึกษาควรใช้แนวคิดใดเป็นหลักในการดําเนินเรื่อง
(1) การระลึกถึงคุณงามความดี
(2) ความเมตตากรุณา
(3) การประเมินผลงาน
(4) โอนอ่อนผ่อนตาม
(5) การป้องกันความเสี่ยง
ตอบ 1(คําบรรยาย) แนวคิดในการดําเนินเรื่องมีอยู่หลายวิธี ซึ่งนักพูดจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม กับหัวเรื่องที่จะพูด ได้แก่
1. การระลึกถึงคุณงามความดี
2. การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
3. การท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
4. การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฯลฯ

37. ข้อใดไม่ส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) กระแสสาธารณมติ
(2) แผนงานที่ต้องดําเนินการ
(3) แผนหน่วยงาน
(4) ความต้องการของเจ้าภาพ
(5) สุขภาพของเจ้าภาพในงาน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

38. การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นการพูดเพื่อกระตุ้นทางใด
(1) ร่างกาย
(2) จิตใจ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) พื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 96, (คําบรรยาย) การพูดกระตุ้นทางสังคม ผู้พูดจะต้องพูดให้ได้ผลออกมาในรูปที่ว่า ผู้ฟังเป็นคนที่กว้างขวาง มีเกียรติ เป็นที่รู้จักในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่ตามกระแสสังคม เช่น การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นต้น

39. ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูดคืออะไร
(1) มาตรฐานสังคมและทักษะการนําเสนอ
(2) ถ้อยคําที่มีน้ําหนัก น่าเชื่อถือ
(3) ความมีชีวิตชีวาและท่าทางของผู้พูด
(4) น้ำเสียง ท่าทาง และคําพูด
(5) พยาน หลักฐาน และข้อมูล

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพูดแบบชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจ คือ ผู้พูดจะต้อง ยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริง พยาน หลักฐาน ข้อมูล และข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูด และเห็นด้วยจนเกิดการตัดสินใจในที่สุด

40. ข้อใดคือ ความมีอัตลักษณ์ของผู้ถ่ายทอดข้อมูล
(1) เร้าอารมณ์
(2) น่าสนใจ
(3) น่าค้นหา
(4) ตัวตนที่แท้
(5) มีอิทธิพล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ (Identity) คือ ผลรวมของตัวตน ความเป็นตัวตนที่แท้ หรือ ส่วนประกอบที่รวมเป็นตัวบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างของอัตลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ได้แก่ บัตรประชาชน

41. คําว่า “ถูกกาลเทศะ” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เป็นจริง
(2) เหมาะสม
(3) มีผลลัพธ์
(4) มีมาตรฐาน
(5) ยอมรับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

42. ช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจในทางวาทวิทยา คือ
(1) โสตประสาท
(2) เครื่องมือ
(3) ภาวะจิตใจ
(4) สื่อ
(5) การกระทํา
ตอบ 2 หน้า 7, (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ อันจะส่งผลต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก เข้าแทรกแซงกระบวนการคิดและความเชื่อ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

43. การวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารเริ่มจากการวิเคราะห์ เป็นอันดับแรก
(1) ตัวผู้เกี่ยวข้อง
(2) ตัวผู้มีอิทธิพล
(3) ตัวผู้เป็นแหล่งข่าว
(4) ตัวผู้มีผลได้ – เสีย
(5) ตัวผู้ส่งสาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

44. คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก
(1) ความเป็นจริงและมีความเหมาะสม
(2) มีความเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผล
(4) มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
(3) การสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้
(5) ยอมรับในบทบาทหน้าที่ไม่ก้าวก่ายกันและกัน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้ ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

45. ข้อใดเป็นข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถใช้ประโยชน์ได้
(1) ประสบการณ์ของผู้รอดตาย
(2) บทความของ บก. คนดัง
(3) ต้นฉบับนักเขียน
(4) บทประพันธ์สมัย ร.6
(5) คําบอกเล่าของเหล่าไทยมุง
ตอบ 1(คําบรรยาย) ข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี คือ ประสบการณ์ของผู้รอดตาย ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง จึงทําให้การพูดนั้นน่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนําเสนอ

46. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์
(1) ใช้วาทศิลป์ชั้นสูง
(2) มีสมดุล ติเพื่อก่อ
(3) ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
(4) มองรายละเอียดที่คาดไม่ถึง
(5) พิจารณาผลกระทบตามลําดับ

ตอบ 2 หน้า 169 – 171, (คําบรรยาย) หัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ คือ มีความสมดุลในการ วิจารณ์ ซึ่งจะต้องพูดทั้งติและชมอย่างมีเหตุผล หากเป็นการติก็ต้องติเพื่อก่อ โดยเสนอแนะว่า ควรจะแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดบ้าง

47. บทบาทของการพูดที่สามารถสร้างและสลายความรู้สึกของบุคคล เกิดขึ้นจาก
(1) การรับรู้ข้อมูล
(2) การมีปฏิสัมพันธ์
(3) การสร้างสมาธิและปัญญา
(4) การเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก
(5) การให้สติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) มีดังนี้
1. เป็นการสื่อสารสองทางในการสื่อสารระหว่างบุคคล ทําให้สามารถเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับ ได้ทันที ซึ่งทําให้การพูดแตกต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ
2. เป็นเครื่องมือเข้าสมาคม เชื่อมต่อสมาชิกสังคมทุกระดับ
3. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเชื่อ ทัศนคติ
4. เป็นกระบวนการสร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกของบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงอารมณ์
และความรู้สึกของผู้ฟังได้โดยตรง
5. ทําให้เกิดการถ่ายทอดแบบแผนวัฒนธรรม ประเพณี กฎระเบียบ และข้อปฏิบัติทางสังคม ไปยังคนรุ่นต่อไป เพื่อการคงอยู่ของประเพณีและวัฒนธรรม ฯลฯ

48. การคงอยู่ของประเพณีและวัฒนธรรม อาศัยบทบาทใดในเชิงวาทวิทยา
(1) สั่งสอนเรียนรู้
(2) ถ่ายทอดแบบแผน
(3) สร้างมาตรฐานใหม่
(4) เลียนแบบพฤติกรรมกันเอง
(5) จดจําสิ่งที่เห็นเป็นประสบการณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49. การพูดเป็นการสื่อสาร
(1) ด้วยบุคคล
(2) ภายในบุคคล
(3) ระหว่างบุคคล
(4) ระหว่างมวลชน
(5) โดยใช้ประชาชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

50. ข้อใดแสดงให้เห็นว่า วาทวิทยาเป็นเครื่องมือของสังคม
(1) วารีขอ ID LINE จากเดชา
(2) สุพจน์ฟังเพลงจากสมาร์ตโฟน
(3) สมพรซ้อมบทละครที่จะแสดงพรุ่งนี้
(4) พลอยคุยกับตัวเองที่หน้ากระจก
(5) จารุณีเพิ่ม App. เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของดาราคนโปรด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

51. การกล่าวอุปมาอุปไมยและเปรียบเทียบ มักใช้กับการพูดชนิดใด
(1) รายงาน
(2) วิจารณ์
(3) เล่าเรื่อง
(4) อภิปราย
(5) เสวนา
ตอบ 3 หน้า 217 การเล่าเรื่องเป็นการสอน ถ่ายทอดความรู้ หรือนําเสนอข้อมูลในเชิงอุปมาอุปไมย และเปรียบเทียบ รวมทั้งยังเป็นการสอนในแง่ความคิดต่าง ๆ ในด้านปรัชญาและคติธรรม

52. หากคุณครูระเบียบต้องการจะให้ข้อมูล นศ. ในแบบ Edutainment เขาควรทําอย่างไร
(1) จัดทําหัวข้อวิจัย
(2) เล่านิทานสนุก ๆ
(3) จัดการพบปะผู้ปกครอง
(4) ให้ไปค้นคว้าในห้องสมุด
(5) จัดการประชุมวิชาการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Edutainment มาจากคําว่า Education + Entertainment หมายถึง การได้รับสาระความรู้ด้วยรูปแบบของความบันเทิง เพราะการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสื่อในกลุ่มของ Edutainment ได้แก่
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ ดีวีดี อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
2. สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น เกมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ
3. สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น การเล่านิทานสนุก ๆ

53. หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถในปัจจุบันเป็นอย่างไร
(1) เชิดชูคนเก่ง
(2) ทุกคนมีแต่ได้
(3) สัมพันธ์แนบแน่น
(4) ละลายพฤติกรรม
(5) หนทางสู่ชัยชนะ
ตอบ 1 หน้า 448, (คําบรรยาย) หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถใน ปัจจุบันนั้น ผู้พูดควรพูดให้สั้นที่สุด (ไม่ควรพูดเกิน 15 นาที) โดยควรกล่าวยกย่องเชิดชูคนเก่ง ที่ได้รับรางวัลแต่พอสมควร และควรจดจําข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น ชื่อ – นามสกุล และผลงาน ของผู้ได้รับรางวัลให้แม่นยํา

54. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่
(1) ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย
(2) ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี
(3) หลักฐานที่ชัดเจนพอ
(4) หลักการที่ควรปฏิบัติ
(5) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายพูดและแสดง ความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้ เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

55. ข้อใดเป็นการดําเนินงานลําดับแรก เมื่อนักศึกษารับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่ตกลงกัน
(1) กําหนดแนวคิดในการนําเสนอ
(2) จองที่พักและยานพาหนะล่วงหน้า
(3) หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันที
(4) เตรียมหาผู้ร่วมงานหรือผู้ช่วย
(5) ซ้อมบทพูดที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเมื่อนักพูดรับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ มีดังนี้
1. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันทีเมื่อรู้ว่าจะต้องพูด
2. เริ่มหาข้อมูลจากความทรงจําที่มีอยู่
3. ดูจากข้อมูลที่มีอยู่ ขาดหายไปหรือที่ต้องการใช้
4. หาเพิ่มเติมในสิ่งที่ยัง
5. พิจารณาเป้าหมายและวัตถุประสงค์การพูดด้วย

56. การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสําคัญในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) รู้ซึ้งถึงข้อมูลเชิงลึก
(2) ทบทวนเหตุการณ์
(3) ทําให้ความจริงถูกเปิดเผย
(4) ทําให้มีการจัดระเบียบข่าวสาร
(5) สร้างความเป็นธรรมให้สังคม
ตอบ 1 หน้า 33, 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวนการพูดคุยโดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสําคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรงผ่าน บุคคลที่มีตําแหน่งหน้าที่สัมพันธ์กับคําถาม ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคล ที่มีความเฉพาะเจาะจงตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และสถานการณ์ในขณะนั้น

57. ในกระบวนการสัมภาษณ์มีบุคคล 2 ฝ่าย คือ
(1) ผู้พูด – ผู้ให้ความเห็น
(2) ผู้สัมภาษณ์ – ผู้ให้สัมภาษณ์
(3) ผู้นําสัมภาษณ์ – ผู้ถูกสัมภาษณ์
(4) ผู้กล่าวสัมภาษณ์ – ผู้ให้ข้อมูล
(5) สื่อมวลชน – แหล่งข่าว
ตอบ 2 หน้า 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่ง จะเป็นผู้ซักถาม เรียกว่า “ผู้สัมภาษณ์” และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตอบ เรียกว่า “ผู้ให้สัมภาษณ์

58. การวิเคราะห์ หมายถึง
(1) ละเอียด
(2) รอบคอบ
(3) ตรงประเด็น
(4) แจกแจงรายละเอียด
(5) มีความสมดุล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ หมายถึง การแยกแยะแจกแจงรายละเอียดของสิ่งที่จะพิจารณา ออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทําความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง

59. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้สื่อข่าวทําการสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์กับผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอม
ตอบคําถามให้ตรงประเด็น
(1) แทรกบทตลกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจนกว่าจะยอมตอบ
(2) ให้ตอบอย่างตรงคําถามและทวนคําถามซ้ําอีก
(3) เปลี่ยนคําถามใหม่ แล้วขออภัยผู้ชมทางโทรทัศน์แทนแขกรับเชิญ
(4) แนะนําคําตอบเป็นทางเลือกสลับกับการพูดคุยกับผู้ชม
(5) ต่อโทรศัพท์ถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม
ตอบ 5 หน้า 264, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้สื่อข่าวไม่ควรกระทําเมื่อจะต้องสัมภาษณ์ผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอมตอบคําถามให้ตรงประเด็นทางสถานีโทรทัศน์ คือ การต่อโทรศัพท์ไปถึงบุคคลที่มี ความเกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม เพราะการให้ผู้อื่นมาทําหน้าที่สัมภาษณ์แทนตนเอง แสดงให้เห็นว่าผู้สื่อข่าวไม่มีความสามารถเพียงพอ ดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงควรมีความอดทน ที่จะซักถามต่อไป โดยแก้ไขสถานการณ์ตามตัวเลือกที่เหลือข้างต้น

60. ในการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน บุคคลใดสมควรเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ในลําดับแรก
(1) ผู้นําองค์กร
(2) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ
(3) ผู้ที่สังคมให้ความสนใจ
(4) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น
(5) ผู้ทําหน้าที่สื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) ในงานด้าน สื่อสารมวลชน สามารถเรียงตามลําดับความสําคัญของบุคคลได้ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้รู้ (ถือว่ามีความสําคัญที่สุด)
2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็น หรืออยู่ในเหตุการณ์
3. เป็นผู้นํา ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสําคัญ
4. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์
5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ
6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง

61. การหาข้อมูลสําหรับผู้พูดเพื่อให้ได้ประเด็นที่โดดเด่นต่างจากการนําเสนอที่มีมาก่อน ควรจะเป็นข้อใด
(1) จากอินเทอร์เน็ต
(2) ปราชญ์ชุมชน
(3) หนังสือพิมพ์รายวัน
(4) บทบรรณาธิการสัปดาห์วิจารณ์
(5) เอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2 หน้า 32 – 33, (คําบรรยาย) การค้นคว้าเพื่อรวบรวมเนื้อหาที่จะพูดวิธีหนึ่ง คือ การหาข้อมูล จากบุคคล เช่น ปราชญ์ชุมชนหรือปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งมีความรู้ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ และการทดลองปฏิบัติจริง ก็จะทําให้ผู้พูดได้ประเด็นที่โดดเด่นต่างจากการนําเสนอที่มีมาก่อน

62. ในการบรรยายพิเศษ ทําไมจึงต้องมีการแนะนําผู้บรรยาย
(1) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูด
(2) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ฟัง
(3) เพื่อฆ่าเวลา
(4) เพื่อยกย่องในเกียรติประวัติที่ทํามา
(5) เพื่อสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
ตอบ 1 หน้า 310, 444 จุดมุ่งหมายในการแนะนําองค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูดว่าเป็นใคร ทําอะไร และมีความสําคัญอย่างไร
2. เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด ฯลฯ

63. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แนะนําวิทยากรที่จะมาแสดงปาฐกถา ท่านจะถามหาข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากรจากใครที่จะได้ตรงเป้าหมายที่สุด
(1) ประธาน
(2) สื่อมวลชน
(3) ผู้เชิญ
(4) เจ้าภาพ
(5) วิทยากร
ตอบ 5 หน้า 311, (คําบรรยาย) ถ้าผู้แนะนําไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร (องค์ปาฐก) ที่จะมาแสดงปาฐกถา ก็ควรติดต่อวิทยากรหรือถามจากเลขานุการในทีมงานวิทยากรว่า จะให้ตนแนะนําอย่างไร โดยต้องติดต่อกันก่อนวันแนะนําจริง

64. ข้อใดคือต้นฉบับที่มีลักษณะพึงประสงค์ต่อการใช้งานจริง
(1) สวยงามมีคุณค่า
(2) โดดเด่นดูเตะตา
(3) ไม่มีร่องรอยแก้ไข
(4) ได้รับการรับรองแล้ว
(5) มีสาระเนื้อหาพอดีกับเวลาที่มี
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4. มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี
5. อ่านง่ายทั้งแบบอักษรและขนาดตัวพิมพ์ ฯลฯ

65. ในการบรรยายพิเศษที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรนั้น ผู้พูดควรพูดอย่างไรเพื่อให้เรื่องที่พูดนั้น
เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
(1) แทรกบทตลกตลอดเวลา
(2) พูดเรื่องปัญหาส่วนตัวของคนสนิท
(3) พาดพิงถึงบุคคลอื่นอย่างสนุกสนาน
(4) ระบายความน้อยเนื้อต่ำใจของตนเอง
(5) เล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นแปลก ๆ ของตนเอง
ตอบ 5 หน้า 308 – 309, (คําบรรยาย) ในการแสดงปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษนั้น ผู้พูดควรพูด ในเรื่องที่น่าสนใจสําหรับผู้ฟัง หรือเรื่องที่ให้ความรู้ และควรเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ยกเว้นเรื่องที่เป็นความลับหรือเรื่องส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ผู้พูดอาจแทรก บทตลกได้เท่าที่จําเป็น หรือเล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง หรืออาจชักชวนผู้ฟัง ให้ร่วมตอบคําถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงดึงประเด็นเข้าสู่สาระหลักที่จะพูดต่อไป

66. เมื่อกล่าวขอบคุณผู้บรรยายพิเศษเสร็จสิ้น ควรทําอะไรต่อไป
(1) เชิญชวนให้มาพูดอีก
(2) เชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้ผู้บรรยาย
(3) สรุปเนื้อหาสาระอีกรอบ
(4) สรุปเนื้อหาและวิจารณ์วิทยากรทันที
(5) เชิญชวนถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก
ตอบ 2 หน้า 312 หลังจากที่องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ได้จบการพูดลงแล้ว พิธีกรจะต้องลุกขึ้นไปกล่าวขอบคุณเป็นข้อความสั้น ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะกล่าวขอบคุณ และเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ด้วยก็ได้

67. ข้อใดหมายถึง การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา
(1) การสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง
(2) การแสวงหาความรู้ให้มากพอ
(3) การริเริ่มแนวคิดเพื่อการนําเสนอ
(4) การปรับปรุงบุคลิกภาพ
(5) รู้จักการขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา หมายถึง การปรับปรุงบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนําเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้สายตา การใช้ภาษา น้ําเสียง การยืน การแต่งกาย กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนกับเครื่องมือที่ใช้ สื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตนเองเพื่อให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมาย เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

68. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูด สิ่งที่ไม่ควรกระทํา คือ
(1) เดินตัวตรง ยิ้มให้กับผู้ชม ผู้ฟังตามสมควร
(2) เดินอกผายไหล่ผึ้ง ทําความเคารพประธาน ทักทายคนรู้จัก
(3) เดินตรงไปยังที่นั่งของตน สํารวจว่าตรงกับชื่อตัวเองหรือไม่ แล้วรีบนั่งลงไป
(4) เดินไปตามลําดับที่พิธีกรประกาศชื่อ ไม่ทักทายประธานในพิธี
(5) อยู่ ณ ที่พักของตนเอง และรอจนกว่าพิธีกรประกาศจึงเข้าประจําตําแหน่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

69. ในการประชุมร่วมกันนั้น หากมีผู้ที่ต้องการพูดเพิ่มเติม ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสําคัญมาก แต่ลําดับ การพูดของตนผ่านไปแล้ว เขาควรทําอย่างไร
(1) พูดแทรกเมื่อมีจังหวะแล้วจึงขออภัย
(2) ให้ทุกคนพูดจบแล้วจึงพูดเพิ่มเติม
(3) ขออนุญาตจากประธานก่อนแล้วจึงพูด
(4) ให้ผู้ดําเนินการสรุปจบก่อนแล้วจึงพูด
(5) ขออภัยและขออนุญาตสมาชิกในที่ประชุม จากนั้นจึงกล่าวถึงประเด็นของตน
ตอบ 3 หน้า 206 มารยาทของผู้เข้าร่วมประชุมประการหนึ่ง คือ เมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องที่สําคัญ หรือต้องการพูดคัดค้าน ควรให้สัญญาณหรือขออนุญาตจากประธานก่อน แสดงความคิดเห็น เช่น ยกมือขึ้นเพื่อเป็นการขออนุญาต เมื่อประธานอนุญาตจึงเริ่มพูดได้

70. ความประหม่าของผู้พูด เป็นปัญหาการพูดในกลุ่มใด
(1) ภาษา
(2) อารมณ์
(3) สาระ
(4) การพัฒนาตน
(5) การปรับตัว
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาที่เกิดกับการพูดด้านบุคลิกและการปรับตัวทั่วไป ได้แก่
1. แต่งกายไม่เหมาะสมกับผู้ฟังหรือสถานที่
2. การเดินไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
3. ความประหม่าของผู้พูดที่จะต้องปรากฏกาย
4. เกรงว่าจะควบคุมกิริยาท่าทาง มารยาท การวางตัวไม่ได้ ฯลฯ

71. ประโยชน์ของการพูดในแง่มุมของการส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตย คือข้อใด
(1) เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
(2) เพื่อเผยแพร่นโยบาย
(3) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น
(4) เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ
(5) เพื่อเป็นเวทีในการประกาศเจตนารมณ์ของตนเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตยจะพิจารณาจากความสมดุลในการ สื่อสาร โดยประโยชน์ของการพูดในแง่มุมนี้ คือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น เพราะสังคมประชาธิปไตยนั้นต้องการความคิดเห็นของสมาชิกเป็นสําคัญ

72. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของนักพูด
(1) กระตุ้นเตือนสังคม
(2) บอกวิธีรักษาโรคภัยให้ผู้ป่วย
(3) สร้างสรรค์สุนทรียะทางภาษา
(4) จูงใจให้เกิดการซื้อขาย
(5) ให้ความรู้ด้วยสาระความบันเทิง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้าที่ของนักพูด มีดังนี้
1. บอกกล่าวเรื่องราว
2. ให้ความรู้
3. สอดส่องดูแลและเตือนภัยสังคม
4. สร้างความจรรโลงใจ
5. โน้มน้าวใจให้เกิดการกระทํา

73. การพูดแบบใดที่ส่งเสริมให้รู้จักพูดชักจูงใจให้คนฟังคล้อยตามความคิดเห็นของตน
(1) รายงาน
(2) อภิปราย
(3) โต้วาที
(4) วิจารณ์
(5) เสวนา
ตอบ 3 หน้า 403 การโต้วาที คือ การโต้แย้งด้วยการใช้คําพูดที่ประกอบด้วยเหตุผลและใช้วาทศิลป์ หักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อมุ่งให้ได้รับชัยชนะ ซึ่งการโต้วาที่ถือเป็นการพูดแบบชักจูงใจ ให้คนฟังคล้อยตามความคิดเห็นของตน และเป็นการอภิปรายที่ต้องมีการโต้แย้งกันด้วยเหตุผล เพื่อตัดสินว่าจะรับหลักการหรือนโยบายนั้นหรือไม่

74. ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ
(1) มาตรงเวลาทุกครั้ง
(2) ทําการซ้อมอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้ชม
(3) ทําทุกอย่างเองเพื่อความสมบูรณ์แบบ
(4) ทําตัวให้โดดเด่นน่าภูมิใจ
(5) มาก่อนเวลาเพื่อสํารวจจุดบกพร่อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

75. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจสอบประสบการณ์และปัญหาที่พบเป็นประจํา มีผลอย่างไรต่อ
การเตรียมข้อมูลในการพูดแต่ละครั้ง
(1) เพื่อสร้างศัพท์ที่มีความซับซ้อน
(2) เพื่อเลือกหัวข้อที่จะพูด
(3) เพื่อทราบแนวโน้มการตัดสินใจ
(4) เพื่อสร้างความประทับใจ
(5) เพื่อกําหนดสาระตามความคาดหวังของผู้ฟัง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจสอบประสบการณ์และปัญหาที่พบเป็น ประจําจะช่วยให้ผู้พูดสามารถกําหนดสาระเรื่องราวที่ตอบสนองต่อปัญหาและความคาดหวัง ของผู้ฟังโดยตรง ดังนั้นการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในการพูดแต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งที่นักพูดถือว่า เป็นเรื่องจําเป็นและขาดไม่ได้ เพราะการพูดจะไม่ประสบความสําเร็จหากไม่รู้จักผู้ฟังดีพอ

76. โฆษกหรือพิธีกรที่ดี ไม่ควรมีการกระทําเช่นไร
(1) หลีกเลี่ยงการพูดถ้อยคําที่ซ้ำซาก
(2) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
(3) เลือกใส่เสื้อผ้าที่ดูสง่างามมีราศี
(4) พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด
(5) ทําตัวให้กลมกลืนและเป็นธรรมชาติกับงานได้ในทุกกาลเทศะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้ดําเนินรายการ โฆษก และพิธีกรที่ดีไม่ควรกระทํา คือ พูดได้ทุกประเด็น เท่าที่ต้องการพูด เพราะจะทําให้การพูดครั้งนั้นออกนอกเรื่องหรือนอกประเด็นสําคัญที่ต้องการ จะพูด และทําให้เนื้อหาการพูดยาวเกินเวลาที่กําหนดอีกด้วย

77. การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้องเริ่มด้วย
(1) การแนะนําเจ้าภาพ
(2) คําปฏิสันถาร
(3) บทประทับใจ
(4) การกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ
(5) คําชื่นชมในโอกาสนั้น ๆ
ตอบ 2 หน้า 445 การกล่าวต้อนรับ เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้ที่มาเยี่ยม เป็นการแนะนํา ผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาใหม่ให้รู้จักสถานที่นั้น ๆ ดีขึ้น โดยการกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้อง เริ่มต้นด้วยการกล่าวคําปฏิสันถารก่อนเสมอ

78. การซ้อมการพูดของบุคคลสําคัญกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ
ลักษณะใดบ้าง
(1) ด้านบุคลิกภาพ – เฉพาะสาขา
(2) เฉพาะสาขา – จากหน่วยงาน
(3) จากหน่วยงาน – สื่อมวลชน
(4) สื่อมวลชน – บุคลิกภาพ
(5) จากหน่วยงาน – จากตัวแทนฝ่ายเจ้าภาพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การฝึกซ้อมพูดกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับการพูดโดยตรงจะมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านบุคลิกภาพและวิธีการนําเสนอ
2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชานั้น ๆ

79. น้ําเสียงที่เป็นระดับเดียวกันโดยตลอดสร้างปัญหาให้แก่ผู้ฟังด้านใดมากที่สุด
(1) ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ผู้พูดถ่ายทอด
(2) ทําให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก
(3) หมดศรัทธา ไม่น่าเชื่อถือในตัวผู้พูด
(4) สร้างความสงสัยในเนื้อหา
(5) เบื่อหน่าย ละเลยการติดตามประเด็น
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) หลักการใช้เสียงพูดที่ดีข้อหนึ่ง คือ ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ําเสียง เนื่อย ๆ หรือน้ําเสียงที่เป็นระดับเดียวกัน (ไม่มีเสียงสูง – ต่ํา) โดยตลอด เพราะจะทําให้ผู้พูด ๆ พูดโดยขาดความมีชีวิตชีวา และผู้ฟังก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รําคาญ จนอาจไม่สนใจหรือละเลย การติดตามประเด็น

80. เมื่อเข้า ณ ที่พูดแล้ว ผู้พูดควรจะ ……. เป็นอันดับแรก
(1) ยิ้ม
(2) ดื่มน้ำ
(3) ตรวจเอกสาร
(4) ทดสอบเสียง
(5) นั่งเฉย ๆ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

81. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดเกิดจาก ……… มากที่สุด
(1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
(2) ความตั้งใจที่มีมากจนเกินไป
(3) การเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
(4) อุปกรณ์บกพร่องไม่สามารถใช้งานได้
(5) การประสานงานจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่น่าประทับใจ
ตอบ 3หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนส่งผลให้เกิด ความประหม่าตื่นเต้นบนเวที มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. การไม่เตรียมตัวมาอย่างดีพอ ซึ่งปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
2. การไม่ซักซ้อมอย่างเพียงพอ
3. การไม่ใส่ใจต่อบุคลิกภาพของตนเองเมื่อต้องปรากฏตัว ให้เหมาะสมกับลักษณะพิธีการ สถานที่ และเจ้าภาพ เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ ฯลฯ

82. ข้อใดถูกต้องตามหลักการของวาทวิทยา
(1) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ พะเยา แพร่ บึงกาฬ ขอนแก่น ราชบุรี และตรัง
(2) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ ตรัง แพร่ บึงกาฬ ขอนแก่น ราชบุรี และพะเยา
(3) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ บึงกาฬ ขอนแก่น ตรัง แพร่ ราชบุรี และพะเยา
(4) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ พะเยา แพร่ บึงกาฬ ขอนแก่น ตรัง และราชบุรี
(5) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ ขอนแก่น ราชบุรี พะเยา ตรัง บึงกาฬ และแพร่
ตอบ 1 หน้า 36 การดําเนินเรื่องด้วยการกล่าวถึงสถานที่ (Place) จากสิ่งใกล้ตัวไปไกลตัว จากเหนือ ไปสู่ใต้ จากตะวันออกไปตะวันตก ซึ่งจะเหมาะสําหรับการสอนวิชาภูมิศาสตร์ การอธิบายที่ตั้ง ของเมืองหรือของสถานที่ใดที่หนึ่ง

83. การกล่าวคําไว้อาลัยที่ดีควรพูดอย่างไร
(1) พูดถึงทรัพย์สินที่เขามีก่อนตาย
(2) พูดถึงผลงานที่เขาทําไว้ก่อนตาย
(3) พูดถึงความประพฤติที่ไม่ดีก่อนตาย
(4) พูดถึงความน่าสมเพชของเขาก่อนตาย
(5) พูดถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในช่วงบั้นปลายชีวิต
ตอบ 2หน้า 452 การกล่าวคําไว้อาลัย เป็นการพูดถึงคุณงามความดีของผู้เสียชีวิต ซึ่งหลักเกณฑ์ ในการกล่าวคําไว้อาลัยที่ดี มีดังนี้
1. คําปฏิสันถาร
2. พูดถึงชีวประวัติของผู้เสียชีวิตอย่างสั้น ๆ
3. พูดถึงผลงานของผู้เสียชีวิต
4. พูดถึงสาเหตุที่ทําให้เขาต้องเสียชีวิต
5. พูดถึงความอาลัยของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง
6. แสดงความหวังว่าเขาจากไปอยู่ในสถานที่ดีและมีสุข

84. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด
(1) เวลาในการพูด
(2) ความน่าสนใจของข้อมูล
(3) พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
(4) ความถนัดของคนพูด
(5) ข่าวสารที่เผยแพร่ใน Social Media
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด มีดังนี้
1. เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
2. ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
4. แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของผู้พูด

85. การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดพิจารณาจาก
(1) ระบบสังคมวัฒนธรรมของผู้พูด
(2) ความยาว – สั้นของสาระการนําเสนอ
(3) ผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร
(4) ข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นประจํา
(5) ข้อมูลสํารองที่มีอยู่
ตอบ 3 หน้า 24 (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ ปัจจัยการสื่อสาร ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้ฟังหรือผู้ชม โดยพิจารณาจากสภาพสังคมประชากร ประสบการณ์ กรอบอ้างอิง ทัศนคติ ระบบสังคมและวัฒนธรรมของผู้ฟัง

86. การที่ “สายตาเป็นสิ่งที่บอกเป้าหมายเชิงกายภาพของการสื่อสาร” มีพื้นฐานจากสิ่งใด
(1) แววตาและน้ำตา
(2) การเลี้ยวหมุนศีรษะ
(3) การกะพริบและการหลับตา
(4) แนวระดับการมอง
(5) รูปลักษณะของดวงตา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการใช้สายตา (Eye Contact) มีดังนี้
1. สายตาเป็นสิ่งสะท้อนบุคลิกภาพ
2. สายตาเป็นสิ่งเร้าที่จะสร้างอารมณ์ความรู้สึก
3. สายตาเป็นตัวประสานความรู้สึกร่วมระหว่างบุคคล
4. สายตาสามารถบอกเป้าหมายเชิงกายภาพของการสื่อสารได้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการตัดกัน อย่างชัดเจนระหว่างตาดํากับตาขาว ทําให้มนุษย์รู้ทิศทางการมอง หรือมีแนวระดับการมองได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น

87. ส่วนสรุปของเรื่องราวที่พูดทําหน้าที่
(1) ทําตามข้อตกลงไว้กับเจ้าภาพ
(2) แสดงความสามารถของผู้พูด
(3) สร้างความประทับใจ
(4) เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
(5) ตอบคําถามที่กล่าวไว้ในตอนคํานํา

ตอบ 3 หน้า 38, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) สรุปหรือส่วนจบเรื่อง คือ ความคิด รวบยอดของเรื่อง ซึ่งเป็นผลรวมของโครงสร้างการพูดทั้งหมด โดยสรุปหรือการจบเรื่องที่ดี ต้องเป็นส่วนที่สร้างความประทับใจ และมีการขมวดประเด็นหรือแสดงผลสําเร็จของการพูด

88. เรื่องสําคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ อาศัยหลักการใดในการพูด
(1) ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก
(2) ย้ำคิดย้ำทํา
(3) สั่งสอนให้รู้สํานึก
(4) บอกใบ้ให้ทายใจ
(5) ต่อเติมส่วนที่ขาดหาย
ตอบ 1(คําบรรยาย) ผู้พูดควรกล่าวหรือตอกย้ำในเรื่องสําคัญที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้เรื่อง ที่พูดนั้นมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น แต่ต้อง ระวังไม่ไปตอกย้ําจนเกิดความซ้ำซาก หรือย้ำคิดย้ำทํามากจนเกินไป เพราะอาจทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย และเรื่องที่เน้นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่สําคัญไป

89. ข่าวหลังละครช่วงดึก เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดโดยการท่องจํา
(2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) การพูดแบบมีบทโดยไม่เตรียมตัว
ตอบ 2 หน้า 90 การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดที่อ่านจากโน้ตที่ได้เตรียมไว้โดยไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเลย จึงเป็นการอ่านมากกว่าการพูด มักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ เช่น การอ่านข่าว การอ่านบทความ การอ่านรายงาน เปิดกิจการ สุนทรพจน์ของบุคคลสําคัญ การกล่าวคําปราศรัยเนื่องในโอกาสต่าง ๆ คําแถลงการณ์ของรัฐบาล/คณะปฏิวัติ ฯลฯ

90. การพากย์กีฬาแข่งขันฟุตบอลซึ่งเป็นการถ่ายทอดสด เป็นการพูดลักษณะใด
(1) การพูดโดยการท่องจํา
(2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) การพูดแบบมีการกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า
ตอบ 3หน้า 89, (คําบรรยาย) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่น การพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาว, การกล่าวทักทายเมื่อเผอิญได้พบกัน, การตอบ ปัญหาบางประการ ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ ไม่ต้องรีบตอบ และประสานสายตากับผู้ฟังเสมอ
2. ใช้ปัญญาวิเคราะห์ หรือใช้ปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด
3. พยายามนึกถึงโครงสร้างของการพูด
4. ฝึกซ้อมตอบคําถามในใจในเรื่องที่เตรียมได้
5. พูดหรือตอบคําถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น มีความหมายชัดเจน ถ้าหากไม่แน่ใจในประเด็น คําถามก็อาจจะขอให้ผู้ถามทวนคําถามเพื่อความแน่นอน หรือนัดหมายให้กลับมาถามใหม่ อีกครั้ง หากไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้

91. นอกจากการเตรียมตัวไม่พร้อมแล้ว ความตื่นเต้นในเวทีมักจะเกิดจาก
(1) ห้องประชุมที่ใหญ่ – เล็กเกินไป
(2) มุมมองของผู้ร่วมสนทนาที่ต่างกัน
(3) การเลือกเครื่องแต่งกายผิดกาลเทศะ
(4) ค่าตอบแทนการพูดที่มากเกินจริง
(5) อุปกรณ์ไม่พร้อมหรืออยู่ในสภาพชํารุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

92. ข้อใดแสดงออกถึงความสมดุลในกระบวนการพูด
(1) พูดเสนอความสามารถของตนเองหลังจากที่คนอื่นอภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้ว
(2) เปิดช่องทางให้แสดงความเห็น มีการสนทนาโต้ตอบตรงไปตรงมา
(3) กล่าวตามยถากรรมปล่อยวางทุกสิ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นกลางทางความคิด
(4) ใช้วาจาอ่อนหวานโน้มน้าวใจ โดยไม่เร่งเร้าหรือแสดงอาการกดดัน
(5) นําเสนอข้อเท็จจริงพร้อมไปกับข่าวลือ หรือข้อความอันเป็นเท็จด้วยตนเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความสมดุลในกระบวนการพูด หมายถึง การเปิดช่องทางให้คู่สื่อสารร่วมแสดง ความคิดเห็นหรือเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันและกัน โดยมีการสนทนาโต้ตอบอย่างตรงไปตรงมา จนเกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร

93. ข้อใดแตกต่างจากการพูดข้ออื่น หากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์
(1) โฆษณาสินค้าออนไลน์
(2) หาเสียงเลือกตั้ง
(3) ขายสมุนไพรพื้นบ้าน
(4) พูดเชิญชวนบริจาคโลหิต
(5) สอนชาวบ้านตามแนวทฤษฎีใหม่
ตอบ 5 หน้า 92 – 95, (คําบรรยาย) การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการพูด ได้แก่
1. การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น การรายงานข่าว การประกาศแจ้งความ ฯลฯ
2. การพูดเพื่อให้ความรู้ (ให้เรียนรู้) หรือเล่าข้อเท็จจริง เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การพูด แนะนําวิธีการใช้ยาหรือสมุนไพร การสอนให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ ฯลฯ
3. การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เช่น การพูดในโอกาสพบปะสังสรรค์ หรือในงานรื่นเริง ฯลฯ
4. การพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวจิตใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า การพูดหาเสียงเลือกตั้ง การพูดเชิญชวนให้บริจาคโลหิต ฯลฯ

94. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
(1) การพูดจากการอ่านต้นฉบับ
(2) การพูดอย่างกะทันหัน
(3) การพูดปาฐกถา
(4) การพูดโดยไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
(5) การพูดโดยอาศัยบันทึกย่อ
ตอบ 3หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) การพูดที่แบ่งตามวิธีการสื่อสาร หรือวิธีการพูด ได้แก่
1. การพูดอย่างกะทันหัน หรือไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
2. การพูดด้วยการอ่านจากต้นฉบับ
3. การพูดโดยอาศัยการท่องจํา
4. การพูดโดยอาศัยบันทึกย่อ หรือบันทึกเฉพาะหัวเรื่อง

95. พัฒนาการของระดับการให้ข้อมูลข่าวสารในการพูดที่พิจารณาถึงเป้าหมายเป็นสําคัญ คือ
(1) รับรู้ – เรียนรู้ – บันเทิง – จูงใจ
(2) เรียนรู้ – รับรู้ – จูงใจ – บันเทิง
(3) บันเทิง – จูงใจ – รับรู้ – เรียนรู้
(4) จูงใจ – บันเทิง – รับรู้ – เรียนรู้
(5) บันเทิง – เรียนรู้ – จูงใจ – รับรู้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

96. ในกรณีที่ถูกซักถามด้วยคําตอบที่ไม่ได้มีการเตรียมมา และไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้
วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ
(1) นัดหมายให้กลับมาถามใหม่
(2) ขอโทษที่ทําให้ผิดหวัง
(3) ต่อว่าว่าทําให้เสียภาพลักษณ์
(4) ย้อนถามว่าคุณรู้มาจากไหน
(5) อยู่เฉย ๆ รอจนกว่าผู้ถามไม่สนใจแล้วเดินออกไปเอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

97. ผลของการชักจูงใจจะมีมาก – น้อย ขึ้นอยู่กับระดับของ
(1) ความเป็นกันเอง
(2) ประเด็นสําคัญการสื่อสาร
(3) กลวิธีสร้างภาพทางความคิด
(4) อิทธิพลต่อจิตใจตามความคาดหวัง
(5) ข้อกําหนดที่สมเหตุสมผล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลของการชักจูงใจจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
1 การสร้างความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ ความเชื่อใจ และความเชื่อความเป็นไปให้กับผู้รับสาร
2 การมีอิทธิพลต่อจิตใจตามความคาดหวัง

98. การเรียงลําดับเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานของการนําเสนอเหตุการณ์เพื่อให้ผู้ฟังได้ติดตามสาระโดยไม่สับสน คือ
(1) การจัดเรียงตามเหตุผล
(2) การจัดเรียงตามความถนัดของผู้พูด
(3) การจัดเรียงตามลําดับเหตุการณ์
(4) การจัดเรียงตามความสําคัญของข้อมูล
(5) การจัดเรียงตามองค์ประกอบการสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 36, (คําบรรยาย) การจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับเวลาหรือลําดับเหตุการณ์ เช่น การลําดับ วัน เดือน ปี ถือเป็นวิธีการดําเนินเรื่องที่ง่ายต่อการนําเสนอและทําให้สับสนน้อยที่สุด

99. คําปฏิสันถารไม่ได้มีขึ้นมาเพื่อ
(1) สร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง
(2) เป็นการแจ้งเตือนว่าถึงเวลาที่จะต้องรับฟังการพูดครั้งนี้แล้ว
(3) การทักทายให้เกียรติผู้ฟัง และแสดงถึงระดับหรือสถานะของกิจกรรมนั้น
(4) บอกกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าภาพ ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ร่วมงาน
(5) ใครเป็นบุคคลที่ทําให้กิจกรรมครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
ตอบ 5 หน้า 34 – 35, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) การกล่าวคําปฏิสันถารที่ดี มีดังนี้
1. เป็นการทักทายให้เกียรติผู้ฟัง และแสดงถึงระดับหรือสถานะของกิจกรรมนั้น
2. เป็นส่วนแรกของการเริ่มต้นเนื้อหาการพูด จึงเป็นเสมือนการแจ้งเตือนว่าถึงเวลาที่จะต้อง รับฟังการพูดครั้งนี้แล้ว
3. เป็นการบอกกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าภาพ ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ร่วมงาน
4. ช่วยสร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ฯลฯ

100. ข้อใดไม่เป็นลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี
(1) มีเนื้อหาเร้าใจเพื่อกระตุ้นผู้ฟังในแบบพาชมเหตุการณ์สําคัญ
(2) สรุปสิ่งที่จะพูดเอาไว้ให้หมด เพื่อช่วงเนื้อหาจะได้กล่าวแค่รายละเอียด
(3) โยงเข้าสู่ข่าวที่เพิ่งเกิด ปลุกเร้าว่ามันเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากเข้าไปทุกที
(4) เสนอแนวความคิดรวบยอดของเรื่อง และท้าทายให้คิดตาม
(5) การปูพื้นฐานความคิดเพื่อให้สามารถเข้าถึงสถานการณ์ที่กําลังจะกล่าวต่อไป
ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) ลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี ได้แก่
1. คํานําควรเป็นการเกริ่นด้วยเนื้อหาที่เร้าใจ
2. เป็นคํานําที่ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ หรือ เสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง (แต่ไม่ใช่การสรุปสิ่งที่พูดเอาไว้ทั้งหมด)
3. เป็นบทนําที่ปูพื้น เหตุการณ์เอาไว้ก่อน หรือโยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
4. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างความสนใจ ให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึก หรือสร้างอารมณ์ร่วม ฯลฯ

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1350 (MCS 1300) หลักการพูดเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Communication in group
(4) Communication in public
(5) Mass Communication

1.การประมวลความคิดให้ออกมาเป็นเรื่องราวเนื้อหา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นการสื่อสาร กับตนเอง คือ เมื่อคนคิดหรือพูดกับตัวเองก็จะทําการประมวลความคิดให้ออกมาเป็นเรื่องราว เนื้อหา โดยตัวเราจะเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ดังนั้นการสื่อสารภายในตัวบุคคลจึงเป็นการ สื่อสารของบุคคลคนเดียว ซึ่งถือว่ามีปฏิสัมพันธ์จํานวนน้อยที่สุดในการสื่อสารเชิงวาทวิทยา

2. ตั้งสติกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อการพูดที่ดีขึ้นในครั้งต่อไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดในที่ชุมชน (Communication in public) มีดังนี้
1. เป็นการพูดหน้าที่ประชุมชน ซึ่งผู้พูดต้องมีพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ หรือกรอบอ้างอิง เกี่ยวกับเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี
2. ผู้พูดมักมีคุณสมบัติเป็นผู้นํา ส่วนผู้ฟังมีสภาพเป็นผู้ตาม
3. สาระการสื่อสารมักจะเป็นเรื่องที่มีการตระเตรียม โดยมีเป้าหมายการสื่อสารที่แน่ชัดและ เป็นแบบแผน รวมทั้งมีกระบวนการสื่อสารเป็นขั้นตอนตามแผนงาน
4. เป็นการพูดต่อหน้า ผู้ฟังจํานวนมาก ซึ่งอาจทําให้ผู้พูดเกิดอาการประหม่าและตื่นเต้น ดังนั้น ผู้พูดจึงควรตั้งสติกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อการพูดที่ดีขึ้นในครั้งต่อไป
5. อาจมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น ใช้โปรแกรม PowerPoint ใช้สไลด์ หรือใช้โมเดล ประกอบการนําเสนอ ฯลฯ

3. มีปฏิสัมพันธ์จํานวนน้อยที่สุดในการสื่อสารเชิงวาทวิทยา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

4 สื่อสารระหว่างกันและกันอย่างไม่เป็นทางการมีดังนี้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) มีดังนี้
1. เป็นการสื่อสารระหว่างกันและกันอย่างไม่เป็นทางการ
2. เป็นการพูดขั้นพื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วม
3. เป็นการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัดประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับสภาวะ ปฏิสัมพันธ์ของกันและกัน
4. มีความจําเพาะในสาระที่สื่อสาร รู้เรื่องกันเองในวงแคบ ฯลฯ

5. เริ่มมีบทบาทหน้าที่และความเป็นผู้นําเข้ามาเกี่ยวข้อง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

6 ขับเคลื่อนการสื่อสารระหว่างกันและกันด้วยประเด็นปัญหา หรือความรู้สึกร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดในกลุ่ม (Communication in group) เป็นการสื่อสารของกลุ่มบุคคล จํานวนหนึ่งตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งขับเคลื่อนการสื่อสารระหว่างกันและกันด้วยประเด็นปัญหา หรือความรู้สึกร่วมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ หรือถกเถียง และ ตัดสินใจร่วมกัน เช่น อาจารย์นัดนักศึกษาที่มีปัญหาในวิชาพื้นฐานมาสอบถามความเข้าใจที่มี
ต่อบทเรียน เป็นต้น

7 มีความจําเพาะในสาระที่สื่อสาร รู้เรื่องกันเองในวงแคบ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

8 ผู้ส่งสารต้องได้รับมอบหมายหน้าที่หรือมีการคัดเลือก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดผ่านสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการอาศัยสื่อการ ถ่ายทอดหลักของสังคม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสังคม เพื่อถ่ายทอดสาระการสื่อสารของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งผู้ส่งสารต้องได้รับมอบหมายหน้าที่หรือมีการคัดเลือกให้ทําหน้าที่โดยตรง เช่น ผู้ประกาศข่าว พิธีกร ฯลฯ โดยจะมีข้อกําหนดทางวิชาชีพหรือจรรยาบรรณเข้ามากดดันในการสื่อสาร

9 มีข้อกําหนดทางวิชาชีพหรือจรรยาบรรณเข้ามากดดันในการสื่อสาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

10. อาจารย์นัดนักศึกษาที่มีปัญหาในวิชาพื้นฐานมาสอบถามความเข้าใจที่มีต่อบทเรียน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

11. นักพูดมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
(1) วาทกรรม
(2) วาทกร
(3) วาทศิลปิน
(4) วาทการ
(5) วาทนิเทศ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักพูด มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “วาทกร” จะเปรียบเสมือนนักแสดงใน แต่ละโอกาสหรือแต่ละเวที เพราะการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ การแสดงตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา หรืออากัปกิริยา ท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหาสาระที่จะพูด น้ําเสียงและ สําเนียง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องเนื้อหา และบุคลิกภาพไปพร้อม ๆ กัน

12. ข้อใดตรงกับความหมายของ Speech Communication หรือวาทวิทยาที่สุด
(1) วาทกรรม
(2) วาทนิพนธ์
(3) วาทศิลป์
(4) วาทวิพากษ์
(5) วาทนิเทศ
ตอบ 2 หน้า 5 – 6. (คําบรรยาย) วาทวิทยา (Speech Communication) หรือวาทนิพนธ์ เป็นวิชา ที่ศึกษาเกี่ยวกับการพูดและการใช้บุคคลในการนําเสนอ จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยการใช้ประโยชน์ จากการสื่อสารของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับทราบความหมาย ความรู้ ความรู้สึก ความต้องการ ตลอดจนเจตนารมณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยการพูด อากัปกิริยา หรือการ แสดงออกใด ๆ ก็ตาม เพื่อสื่อความหมายนั้น ๆ

13. ผู้ปฏิบัติทําหน้าที่ด้าน Speech Communication ข้อใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการรักษาและส่งเสริม
ภาพลักษณ์หน่วยงานหรือองค์กร
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) ผู้ประกาศข่าว
(3) พิธีกร
(4) ประชาสัมพันธ์
(5) นักจัดรายการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ที่ทําหน้าที่หลักในการสื่อสารองค์กร โดยจะต้อง รับผิดชอบในการรักษา ส่งเสริม และนําเสนอภาพลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อให้ กิจกรรมบรรลุเป้าหมาย และให้ประชาชนเกิดจินตภาพที่ดีต่อองค์กร

14 งานด้าน Speech Communication ข้อใดที่ต้องทําหน้าที่เกี่ยวกับการรายงานลําดับขั้นตอนในกิจกรรม ที่กําลังดําเนินอยู่
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) ผู้ประกาศข่าว
(3) พิธีกร
(4) ประชาสัมพันธ์
(5) นักจัดรายการ
ตอบ 3 หน้า 444, (คําบรรยาย) หน้าที่ของพิธีกรจะคล้ายคลึงกับหน้าที่ของโฆษก ต่างกันที่ว่าหน้าที่ ของพิธีกรนั้นมักใช้ในกิจกรรมที่มีความเป็นพิธีการอย่างสูง ซึ่งมีผู้รับเชิญให้พูดมากกว่า 1 คน ขึ้นไป จึงมักพบเห็นในการประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมที่มีการนําเสนอ โดยพิธีกรทําหน้าที่ รวบรวมว่ามีผู้พูดกี่คน กล่าวแนะนําผู้พูดเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ความสามารถ เรื่องที่จะพูดตลอดจนรายงานลําดับขั้นตอนในกิจกรรมที่กําลังดําเนินอยู่

15. ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งใดจะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของการพบเห็นเป็นส่วนใหญ่
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของ การพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ คือ ตัวตนของผู้พูด ซึ่งได้แก่ บุคลิกภาพทั้งหมดที่ปรากฏออกมา

16. การถ่ายทอดคําพูดของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย “ระหว่างบุคคล” และ “สื่อมวลชน”
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษ
(4) ช่องทาง
(5) ช่องว่าง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

17. ข้อใดพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ภาพลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งเสียงพูดที่มีประสิทธิภาพ จะต้องพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

18 ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “เอกลักษณ์”
(1) ความโดดเด่น
(2) ความน่านิยม
(3) ผลรวมของตัวตน
(4) คุณค่าของบุคคล
(5) ลักษณะที่น่าเลื่อมใส
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คําว่า “เอกลักษณ์” (Uniqueness) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความโดดเด่น หรือสภาวะที่ไม่มีผู้ใดเหมือน

19. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี
(1) การรู้จักใช้เหตุผลในการนําเสนอ
(2) สาระที่พูดต้องพิสูจน์ความจริงได้
(3) ต้องคิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) ผู้พูดต้องปรับตัวตามสถานการณ์
(5) การพูดต้องอาศัยความมีสติปัญญา ฉลาด และรอบรู้

ตอบ 3 หน้า 65, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี คือ ต้องคิดให้รอบคอบ ก่อนพูด ซึ่งเป็นมารยาทในการพูดที่วิชาวาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด เพราะถ้าหากพูด โดยไม่ยั้งคิด และขาดความรอบคอบในการไตร่ตรองเนื้อหาก่อนจะพูด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูด ในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนายคําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

20. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย
(1) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาท่าทาง
(3) ภาษาทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) ภาษาหนังสือ – ภาษาท่าทาง
(5) ภาษาพูด – ภาษาท่าทาง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย เวลา กลิ่น ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร และวัสดุภาษาอื่น ๆ ที่สามารถสื่อความเข้าใจกันได้

21. เสียงในเชิงวาทวิทยาไม่สามารถสื่อสารถึง …….. ได้โดยตรง
(1) เนื้อหา
(2) ข้อมูล
(3) สาระ
(4) ความรู้สึก
(5) ความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและสําเนียง โต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงจะเป็นเพียงการเปล่งวาจาหรือเนื้อหาออกมา ส่วนสําเนียง
จะบอกถึงอากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถสื่อสารถึงอารมณ์และ
ความรู้สึกได้โดยตรง หากไม่มีสําเนียงมาช่วย

22. ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน คือ
(1) ขึ้นอยู่กับสุขภาพกายและใจ
(2) ต้องอาศัยท่าทางประกอบจึงจะเข้าใจตรงกัน
(3) เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน
(4) ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ฟังและสภาพแวดล้อม
(5) เป็นไปตามพรสวรรค์และความสามารถของแต่ละบุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย)ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน คือ เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน เพราะเสียงเมื่อพูดไปแล้วก็จบไปเลย หากผู้ฟัง ไม่มีโอกาสฟังซ้ําก็จะทําให้หลงลืม จึงไม่อาจนํามาเป็นหลักฐานได้

23. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
(4) พื้นฐานความรู้มาก – น้อย
(5) การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. การใช้จังหวะถี่ – ช่าง
4. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

24. ข้อใดเป็นกระบวนการที่ต้องกระทําเป็นอันดับแรกในการพูดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมทุกประเภท
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) ค้นคว้าข้อมูลทันที
(4) ร่างเนื้อหาการพูด
(5) วิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

25. ข้อใดเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ
(4) เตรียมโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2(คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ คือ การพูดให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการจะให้คนฟังได้รับทราบ

26. กระบวนการพูดที่มีประสิทธิผลนั้น ประกอบด้วย
(1) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงตน – พัฒนาบุคลิกภาพ
(2) วิเคราะห์ผู้ฟัง – นําเสนอแนวคิด – ออกแบบการพูด
(3) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงบุคลิกภาพ – ประมวลเนื้อหา
(4) วิเคราะห์ตนเอง – สร้างสรรค์เนื้อหา – นําเสนอบนเวที
(5) วิเคราะห์เนื้อหา – สรุปประเด็น – นําเสนอบนเวที
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบ ที่สําคัญอยู่ทั้งหมด 3 สิ่ง ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2. การวิเคราะห์ผู้ฟังกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูด และประมวลเนื้อหาเรื่องราวเพื่อออกแบบสาระข่าวสาร/เนื้อหาในการพูด

27. แนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น สิ่งเร้าที่น่าสนใจเกิดจากข้อมูลกลุ่มใด
(1) ประโยชน์ – การเร่งรัด
(2) การเร่งรัด – ความพอใจ
(3) ความพอใจ – ความต้องการ
(4) ความต้องการ ภาพลักษณ์
(5) ภาพลักษณ์ – ความคุ้นเคย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งเร้าที่น่าสนใจ ซึ่งเกิดจากตัวผู้ชม ผู้ฟังนั้น ถือเป็นสิ่งเร้าของตนเอง
โดยพิจารณาจาก
1. ความสนใจ
2. ความพึงพอใจ
3. ความต้องการ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ
5. ลักษณะของกลุ่ม

28 ก่อนจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ อะไรคือสิ่งที่ต้องทําทุกครั้ง
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจงบประมาณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

29. โครงร่าง (Outline) มีประโยชน์ต่อการเตรียมเรื่องพูดอย่างไร
(1) ทําให้มีรสนิยม
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์
(3) ทําให้น่าติดตาม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(5) ทําให้มีเอกภาพ
ตอบ 5 หน้า 31 – 32, (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด

3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

30. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่สามารถละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารผู้ชม ผู้ฟังก่อน
(2) สร้างความตื่นเต้นเร้าใจผู้ฟัง
(4) สรุปเนื้อเรื่อง
(3) กล่าวอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
(5) กล่าวสวัสดี
ตอบ 1 หน้า 34 – 40, (คําบรรยาย) โครงสร้างของการพูด หรือลําดับของการพูดก่อน – หลัง ในการพูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย
1. คําปฏิสันถาร หมายถึง คําทักทายผู้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. คํานํา หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง เป็นการเกริ่น อารัมภบท หรือเป็นบทนําเข้าสู่เนื้อหา
3. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลหลักของการนําเสนอ หรือกลวิธีนําเสนอ
4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง
5. คําลงท้าย หมายถึง ข้อความกล่าวทิ้งท้ายเพื่อความประทับใจ
(ในส่วนของสรุปและคําลงท้ายอาจสลับที่กันได้ ซึ่งจะทําเฉพาะในกรณีที่ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญ
พอสมควร)

31. เหตุใดในการพูดแต่ละครั้งจะต้องมีการกล่าวทักทาย
(1) เพื่อสร้างความสนใจ
(2) เพื่อปรับสถานการณ์
(3) เพื่อให้ความเห็น
(4) เพื่อให้คําจํากัดความ
(5) สร้างความคุ้นเคย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการมี “คํานํา”
(1) เปรียบเทียบข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ
ตอบ 1 หน้า 35, (คําบรรยาย) ลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี ได้แก่
1. เป็นการเกริ่นด้วยเนื้อหาที่เร้าใจ
2. เป็นคํานําที่ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ หรือเสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง (แต่ไม่ใช่การสรุปสิ่งที่พูดเอาไว้ทั้งหมด)
3. เป็นบทนําที่ปูพื้นเหตุการณ์เอาไว้ก่อน หรือโยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
4. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างความสนใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึก หรือสร้างอารมณ์ร่วม ฯลฯ

33. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการ……..เสมอ
(1) เปรียบเทียบ
(2) สมมุติ
(3) ความเห็น
(4) นิยาม
(5) ตั้งคําถามสําคัญ
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยาม หรือให้คําจํากัดความก่อนเสมอ ซึ่งหมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลัก ด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

34. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคยก่อน
(5) พูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้ําเสียงที่ชัดเจน

35. สิ่งใดควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูดเป็นอันดับแรก
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยนําเสนอ
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) พูดขออภัยในความผิดพลาดของตัวเอง
(5) กล่าวขอบคุณเจ้าภาพ
ตอบ 3 หน้า 52 – 53, (คําบรรยาย) ข้อแนะนําเกี่ยวกับการขึ้นเวทีพูด มีดังนี้
1. พิธีกรกล่าวแนะนําและเชิญผู้พูดขึ้นพูด
2. ผู้พูดเดินไปทําความเคารพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด
3. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้องทําความเคารพ
หรือทักทายใครอีกแล้ว
4. เข้าที่พูดในลักษณะที่สง่างาม และผู้พูดควรยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสเป็นอันดับแรก เพราะกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ของการพูด คือ ยิ้มแย้มดีกว่าทิ้งตึง
5. หลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด ไม่ควรทดสอบเสียงโดยใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล ๆ
6. ในขณะที่พูด เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจด้วยการปรบมือ หรือแสดงความไม่พอใจด้วยการ โห่ร้องขึ้นมา ผู้พูดควรหยุดพูดก่อนชั่วคราว จนเมื่อเสียงของผู้ฟังซาลงจึงเริ่มพูดต่อไป ฯลฯ

36. อะไรคือ “ความเป็นทางการ” ในการพูด
(1) การรู้จักกาลเทศะ
(2) เข้ากับงานสังคมได้
(3) มีเจ้าภาพที่แน่นอน
(4) การพูดตามกําหนดการในพิธี
(5) การปฏิบัติตามแบบแผนที่กําหนดไว้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นทางการในการพูด คือ การรู้จักกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) ทั้งนี้ เพราะการพูดที่ดี หมายถึง การใช้ถ้อยคํา น้ําเสียง รวมทั้งอากัปกิริยาอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท แบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

37. ข้อใดไม่ใช่ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างความประทับใจ
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) สํารวจตนเอง
(4) พัฒนาแนวทางของตนเอง
(5) หาเครื่องมือที่เหมาะสม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการสํารวจและพัฒนาแนวทางของตนเองในด้านบุคลิกภาพ รวมทั้งยังเป็นการ
เตรียมความพร้อมทางด้านเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่น
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ทําให้สามารถตรวจตราสิ่งที่จําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น การหาอุปกรณ์เครื่องมือ
ที่มีความเหมาะสม ฯลฯ

38. นักพูดหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการไม่ควรกระทําการในข้อใด เพราะถือว่าเสี่ยงอย่างยิ่ง
(1) การสร้างศัพท์และคําสแลงขึ้นใหม่
(2) การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
(3) การสํารวม อากัปกิริยาตามสถานะ
(4) การใช้ถ้อยคําและท่าทางที่เหมาะสม
(5) แสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพที่สร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ดังนี้
1. การมีบุคลิกลักษณะท่าทางและรสนิยมที่ดี สุภาพ มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
2. การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
3. การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
4. การใช้ถ้อยคําและแสดงท่าทางที่เหมาะสม
5. การแสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด ฯลฯ

39. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการฟังเพื่อวิเคราะห์
(1) แยกแยะประเด็นและสาระ
(2) มีจรรยาบรรณ
(3) มีความสํารวมขณะฟัง
(4) จดจําเนื้อหาสําคัญให้ได้
(5) มีเหตุผลพร้อมที่จะโต้แย้งได้
ตอบ 1(คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการฟัง มีดังนี้
1. ฟังเพื่อรับรู้เนื้อหาสาระและข้อมูล
2. ฟังเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
3. ฟังเพื่อเข้าถึงทัศนคติ ความคิดเห็น
4. ฟังเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน
5. ฟังเพื่อวิเคราะห์ (แยกแยะประเด็นและสาระสําคัญ) ประเมินผล และวิจารณ์

40. หากต้องพูดให้ความรู้เรื่อง “การตั้งรับภัยธรรมชาติในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู” นักศึกษาควรใช้แนวคิดใด ในการดําเนินเรื่องจึงจะเหมาะสมที่สุด
(1) การสร้างคุณงามความดี
(2) การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
(3) ท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
(4) โอนอ่อนผ่อนตาม
(5) การป้องกันความเสี่ยง
ตอบ 5(คําบรรยาย) แนวคิดในการดําเนินเรื่องมีอยู่หลายวิธี ซึ่งนักพูดจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม กับหัวเรื่องที่จะพูด ได้แก่
1. การสร้างคุณงามความดีในวิชาชีพของตน
2. การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
3. การท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
4. การป้องกันความเสียงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฯลฯ

41. เมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อย สิ่งที่ต้องดําเนินการเพื่อป้องกันความผิดพลาด คือ
(1) เก็บไว้ในที่มิดชิดลับตา
(2) จัดวางไว้ที่ผู้พูดจะต้องขึ้นพูด
(3) ส่งต่อไปให้พิธีกร
(4) เข้าเล่มให้เรียบร้อย
(5) ทําสําเนา
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และยังช่วย ป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

42. ข้อใดไม่ส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) กระแสสาธารณมติ
(2) แผนงานที่ต้องดําเนินการ
(3) แผนหน่วยงาน
(4) ความต้องการของเจ้าภาพ
(5) สุขภาพของตัวผู้พูดเอง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการ ของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

43. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ไม่ถูกต้องตามหลักวาทวิทยา
(1) ผอ. ของผมแน่จริง ๆ ทํางานได้สมบูรณ์แบบอย่างที่สุด
(2) ผมไม่อาจนิ่งนอนใจได้มีแผนงานที่ต้องรีบดําเนินการ
(3) ขออภัยที่ต้องทํากับคุณแบบนี้ ผมได้รับคําสั่งมาครับ
(4) เจ้าภาพงานนี้มีรสนิยม ดูจากงานแต่งลูกสาวคนเล็กเมื่อวันก่อน
(5) ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีนะ โรคภัยและอุบัติเหตุไม่ควรมองข้าม
ตอบ 1 หน้า 6. (คําบรรยาย) ตามหลักวาทวิทยา Speech หมายถึง สาระหรือเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง ที่จะพูด ซึ่งต้องมีการเตรียมและบรรลุประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เนื่องจาก Speech เป็นกระบวนการพูดอย่างเป็นทางการที่จะต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) โดยมีการ เตรียมตัวในการพูดอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ มีการลําดับและการดําเนินเรื่องที่ดี ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ (ส่วน Speaking หมายถึง การพูดหรือการสนทนาในชีวิตประจําวันทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่ได้มีการเตรียมเนื้อหาหรือไม่มีเหตุผลประกอบการพูดมากนัก)

44. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ไม่ถูกต้องตามหลักวาทวิทยา
(1) น้อง ๆ ทั้งหลาย การสื่อสารของพวกคุณมีปัญหาทั้งการพูดและการเขียน
(2) เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างก็ดี รู้จักชั่งน้ำหนักบ้างว่าอะไรควรหรือไม่ควร
(3) ดู ๆ ไปแล้ว ญาติพี่น้องของคุณมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับใครได้หมด
(4) อย่าทําตัวเป็นพวกเตี้ยอุ้มค่อมเลย จะพากันไปไม่รอดเสียเปล่า
(5) เหตุเพราะผมนอนตื่นสาย จึงไปสัมภาษณ์เพื่อขอรับทุนไม่ทัน เสียดายจริง !
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45. ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจคืออะไร
(1) มาตรฐานสังคมและทักษะการนําเสนอ (3) ความมีชีวิตชีวาและท่าทางของผู้พูด
(5) พยาน หลักฐาน และข้อมูล
(2) ถ้อยคําที่มีน้ําหนัก น่าเชื่อถือ
(4) น้ำเสียง ท่าทาง และการพูด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพูดแบบชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจ คือ ผู้พูดจะต้อง ยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริง พยาน หลักฐาน ข้อมูล และข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูด และเห็นด้วยจนเกิดการตัดสินใจในที่สุด

46.การชมว่า นศ. มีแนวคิดเพื่อกิจกรรมสาธารณกุศล เป็นการพูดเพื่อเป็นแรงกระตุ้นทางใด
(1) ร่างกาย
(2) จิตใจ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) พื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 96 การพูดกระตุ้นทางจิตใจ เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องพูดให้ผู้ฟังมีความรู้สึกภาคภูมิใจ
มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีเกียรติ มีความสามารถ มีความอดทน มีจิตสาธารณะ และเสียสละ
เพื่อส่วนรวม ฯลฯ

47. คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) ได้ผล
(4) มีมาตรฐาน
(5) ครบครัน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ ความเหมาะสมทั้งในเรื่องของ บุคลิกลักษณะในการแต่งกาย การปรากฏตัว การเตรียมเนื้อหา คําปฏิสันถาร ฯลฯ ซึ่งจะต้อง
มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจ้าภาพและลักษณะของงาน

48. ข้อใดไม่เป็นองค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ
(1) ผลตอบแทน
(2) แรงจูงใจ
(3) ความต้องการ
(4) จุดอ่อน
(5) อิทธิพลทางใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ มีดังนี้
1. ผลตอบแทนที่ได้
2. แรงจูงใจเพื่อใช้กระตุ้นการกระทํา
3. ความต้องการหรือความปรารถนาที่มีอยู่เดิม
4. อิทธิพลทางใจหรือแนวทางตัดสินใจในการเลือกแนวทางการกระทํา

49. ช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจในทางวาทวิทยา คือ
(1) โสตประสาท
(2) เครื่องมือ
(3) ภาวะจิตใจ
(4) ลือ
(5) การกระทํา
ตอบ 2 หน้า 7 (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ อันจะส่งผลต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก เข้าแทรกแซงกระบวนการคิดและความเชื่อ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

50 คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก
(1) ความเป็นจริงและมีความเหมาะสม
(2) มีความเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผล
(3) การสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้
(4) มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
(5) แสดงบทบาทตามอํานาจหน้าที่ของกันและกัน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้ ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

51. ข้อใดเป็นข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถใช้ประโยชน์ได้
(1) ประสบการณ์จมน้ำ
(2) คําพูดของนักข่าว
(3) ต้นฉบับของนักเขียน
(4) บทประพันธ์สมัย ร.1
(5) คําบอกเล่าของเหล่าไทยมุง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี คือ ประสบการณ์ของผู้รอดตาย ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง จึงทําให้การพูดนั้นน่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนําเสนอ

52. การสื่อสารระหว่างกันและกันผ่านกระบวนการพูดนั้น สิ่งใดเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดหากจะดําเนินการให้
ตลอดรอดฝั่ง
(1) ประเด็นสื่อสารที่ชัดเจน
(2) ความรู้สึกของตนเอง
(3) ภูมิปัญญาที่มี
(4) เนื้อหาที่ตรงไปตรงมา
(5) บอกถึงผลกระทบที่จะตามมา
ตอบ 1(คําบรรยาย) ประเด็นในการพูดที่ต้องการประสิทธิผลนั้น มักจะประกอบไปด้วยสาระที่ ควรพิจารณาดังต่อไปนี้
1. พิจารณาจากการเข้าถึงความสนใจของผู้ฟัง
2. พิจารณาจุดมุ่งหมายของการสื่อสารว่าต้องการให้ผู้ฟังได้รับอะไรจากการพูดบ้าง เช่น ได้รับความรู้ ได้รับความบันเทิง หรือได้ตระหนักถึงอะไร ฯลฯ
3. คุม ประเด็นการสื่อสารเอาไว้ให้ชัดเจน อย่าให้ออกนอกลู่นอกทาง ทั้งนี้เพื่อให้การพูด สามารถดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง
4. รักษาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและเนื้อหา

53. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์
(1) ใช้วาทศิลป์ชั้นสูง
(2) มีสมดุล ติเพื่อก่อ
(3) ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
(4) มองรายละเอียดที่คาดไม่ถึง
(5) พิจารณาผลกระทบตามลําดับ
ตอบ 2 หน้า 169 – 171, (คําบรรยาย) หัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ คือ มีความสมดุลในการ วิจารณ์ ซึ่งจะต้องพูดทั้งติและชมอย่างมีเหตุผล หากเป็นการตีก็ต้องติเพื่อก่อ โดยเสนอแนะว่าควรจะแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดบ้าง

54. เนื้อหาการสื่อสารด้วยวาจาที่ดีตามลักษณะกลุ่มเป้าหมายพิจารณาจาก………เป็นอันดับแรก
(1) ความลื่นไหล
(2) ความไพเราะ
(3) ความหนัก – เบา
(4) ความเหมาะสม
(5) ความชอบพอกัน
ตอบ 4(คําบรรยาย) เนื้อหาการสื่อสารด้วยวาจาที่ดีตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมายจะพิจารณาจาก ความเหมาะสมเป็นอันดับแรก เพราะการพูดชนิดเดียวกันอาจเหมาะสมสําหรับชนกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมสําหรับชนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ผู้ฟังหรือศึกษาถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อม เพื่อจะได้จัดเตรียมเนื้อหาการพูดได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม

55 บทบาทของการพูดที่สามารถสร้างและสลายความรู้สึกของบุคคล เกิดขึ้นจาก
(1) การรับรู้ข้อมูล
(2) การสื่อสารสองทาง
(3) การสร้างสมาธิและปัญญา
(4) การเข้าถึงอารมณ์
(5) การเร่งเร้าปฏิกิริยา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด สามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
1. เป็นการสื่อสารสองทางในการสื่อสารระหว่างบุคคล ทําให้สามารถเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับ ได้ทันที ซึ่งทําให้การพูดมีความแตกต่างจากการสื่อสารแบบอื่น ๆ
2. เป็นเครื่องมือเข้าสมาคม เชื่อมต่อสมาชิกสังคมทุกระดับ
3. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเชื่อ และทัศนคติ
4. เป็นกระบวนการสร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกของบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงอารมณ์ ของผู้ฟังได้โดยตรง
5. ทําให้เกิดการถ่ายทอดแบบแผนวัฒนธรรม ประเพณี กฎระเบียบและข้อปฏิบัติทางสังคมไปยังคนรุ่นต่อไป เพื่อการคงอยู่ของประเพณีและวัฒนธรรม ฯลฯ

56. ภาพลักษณ์ของการนําเสนอ เกิดจาก
(1) เหตุผล
(2) ความสนใจ
(3) ตัวตน
(4) ผลลัพธ์
(5) ทรัพย์สิน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภาพลักษณ์ของการนําเสนอ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวตนของผู้พูดจากสิ่งที่รับรู้ จากประสบการณ์ หรือจากสิ่งที่เห็นและประเมินค่า

57. ความเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในทางวาทวิทยา พิจารณาจาก
(1) หลักการ – วิธีการ
(2) ความรู้ – ความสามารถ
(3) ทักษะ การเรียนรู้
(4) ผลงาน – ความเข้าใจ
(5) ทฤษฎี – ประสบการณ์
ตอบ 1หน้า 3. (คําบรรยาย) การพูดเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ คือ วิชาการพูดมีลักษณะของ ความเป็น “ศาสตร์” (Science) เพราะเป็นวิชาที่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีรองรับ และ มีลักษณะเป็น “ศิลป์” (Art) เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด หรือสร้างสุนทรียะในวิธีการนําเสนอ

58. ข้อใดเป็นการสื่อสารสองทางโดยอาศัยกิจกรรมทางวาทวิทยาที่หวังผลได้สูงสุด
(1) เสนอหัวข้อวิจัย
(2) เล่านิทานสนุก ๆ
(3) จัดการพบปะผู้นํา นศ.
(4) ให้ไปค้นคว้าในห้องสมุด
(5) จัดตลาดนัดชุมชน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสื่อสารสองทาง หมายถึง การสื่อสารที่มีการโต้ตอบกันไปมาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ส่งสาร (ผู้พูด) และผู้รับสาร (ผู้ฟัง) ซึ่งสามารถเข้าถึงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างกัน ได้ทันที ทั้งนี้การสื่อสารสองทางโดยอาศัยกิจกรรมทางวาทวิทยาที่หวังผลได้สูงสุด คือ การจัด ตลาดนัดชุมชน

59. หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถในปัจจุบันเป็นอย่างไร
(1) เชิดชูคนเก่ง
(2) ทุกคนมีแต่ได้
(3) สัมพันธ์แนบแน่น
(4) ละลายพฤติกรรม
(5) หนทางสู่ชัยชนะ
ตอบ 1 หน้า 448, (คําบรรยาย) หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถใน ปัจจุบันนั้น ผู้พูดควรพูดให้สั้นที่สุด (ไม่ควรพูดเกิน 15 นาที) โดยควรกล่าวยกย่องเชิดชูคนเก่ง ที่ได้รับรางวัลแต่พอสมควร และควรจดจําข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น ชื่อ – นามสกุล และผลงาน ของผู้ได้รับรางวัลให้แม่นยํา

60. ข้อใดเป็นการดําเนินงานลําดับแรก เมื่อนักศึกษารับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ
(1) กําหนดแนวคิดในการนําเสนอ
(2) จองที่พักและยานพาหนะล่วงหน้า
(3) หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันที
(4) เตรียมหาผู้ร่วมงานหรือผู้ช่วย
(5) ซ้อมบทพูดที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า
ตอบ 3(คําบรรยาย) ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเมื่อนักพูดรับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ มีดังนี้
1. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันทีเมื่อรู้ว่าจะต้องพูด
2. เริ่มหาข้อมูลจากความทรงจําที่มีอยู่
3. ดูจากข้อมูลที่มีอยู่
4. หาเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดหายไปหรือที่ต้องการใช้
5. พิจารณาเป้าหมายและวัตถุประสงค์การพูดด้วย

61. การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสําคัญในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก
(2) ทบทวนเหตุการณ์
(3) เปิดเผยความจริง
(4) จัดระเบียบข่าวสารให้ราบรื่น
(5) สร้างความเป็นธรรมให้สังคม
ตอบ 1 หน้า 33, 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวนการพูดคุย โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสําคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรงผ่าน บุคคลที่มีตําแหน่งหน้าที่สัมพันธ์กับคําถาม ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคล ที่มีความเฉพาะเจาะจงตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และสถานการณ์ในขณะนั้น

62. การสัมภาษณ์อาศัยหลักการใดในการสื่อสาร
(1) ค้นหา – จับผิด
(2) ติดตาม – ตรวจสอบ
(3) สํารวจ – สื่อสารสองทาง
(4) ประเมินผล – หาความชัดเจน
(5) แสวงหาคําตอบ – พิสูจน์สมมุติฐาน
ตอบ 3 หน้า 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่ง จะเป็นผู้ซักถาม เรียกว่า “ผู้สัมภาษณ์” และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตอบ เรียกว่า “ผู้ให้สัมภาษณ์ ทั้งนี้การสัมภาษณ์จะอาศัยหลักการในการสื่อสาร คือ การสํารวจความคิดเห็น ทัศนคติ เพื่อให้ ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยอาศัยการสื่อสารสองทาง

63. การกําหนดแนวคิดในการนําเสนอ ส่งผลอย่างไร
(1) ได้คํานําที่ประทับใจ
(2) มีทิศทางการนําเสนอ
(3) ได้ประเด็นที่ชัดเจน
(4) ได้เนื้อหาตามต้องการ
(5) ตอบคําถามจากผู้ชม – ผู้ฟังได้
ตอบ 3(คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดหรือกรอบความคิดในการนําเสนอจะส่งผลให้ได้ประเด็น
ที่ชัดเจน ซึ่งความชัดเจนในประเด็นการพูดเกิดขึ้นจากสาระหรือเนื้อหาที่มีการตระเตรียมไว้ เป็นอย่างดี โดยกําหนดประเด็นหลักและข้อมูลสนับสนุนที่สอดคล้องกัน

64. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้สื่อข่าวทําการสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์กับผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอม
ตอบคําถามให้ตรงประเด็น
(1) แทรกบทตลกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจนกว่าจะยอมตอบ
(2) ให้ตอบอย่างตรงคําถามและทวนคําถามซ้ําอีก
(3) เปลี่ยนคําถามใหม่ แล้วขออภัยผู้ชมทางโทรทัศน์แทนแขกรับเชิญ
(4) แนะนําคําตอบเป็นทางเลือกสลับกับการพูดคุยกับผู้ชม
(5) ต่อโทรศัพท์ถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม
ตอบ 5 หน้า 264, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้สื่อข่าวไม่ควรกระทําเมื่อจะต้องสัมภาษณ์ผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอมตอบคําถามให้ตรงประเด็นทางสถานีโทรทัศน์ คือ การต่อโทรศัพท์ไปถึงบุคคลที่มี ความเกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม เพราะการให้ผู้อื่นมาทําหน้าที่สัมภาษณ์แทน ตนเอง แสดงให้เห็นว่าผู้สื่อข่าวไม่มีความสามารถเพียงพอ ดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงควรมีความอดทน ที่จะซักถามต่อไป โดยแก้ไขสถานการณ์ตามตัวเลือกที่เหลือข้างต้น

65. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่
(1) ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หลายหลาย
(2) ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี
(3) หลักฐานที่ชัดเจนพอ
(4) หลักการที่ควรปฏิบัติ
(5) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2(คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายพูดและแสดง ความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้ เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

66. ในการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน บุคคลใดสมควรเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ในลําดับแรก
(1) ผู้นําองค์กร
(3) ผู้ที่สังคมให้ความสนใจ
(2) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ
(4) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น
(5) ผู้ทําหน้าที่สื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) ในงานด้าน สื่อสารมวลชน สามารถเรียงตามลําดับความสําคัญของบุคคลได้ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้รู้ (ถือว่ามีความสําคัญที่สุด)
2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็น หรืออยู่ในเหตุการณ์
3. เป็นผู้นํา ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสําคัญ
4. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์
5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ
6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง

67. ข้อใดไม่เข้าพวก
(1) คํานํา
(2) บทนํา
(3) เกริ่น
(4) อารัมภบท
(5) ปฏิสันถาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

68. การจัดปฐมนิเทศ นศ. สาขาสื่อสารมวลชน ไม่ควรเลือกใครเป็นวิทยากร
(1) ศิษย์เก่าในวงการ
(2) ผอ. สํานักข่าวไทย
(3) คณบดีคณะสื่อสารมวลชน
(4) คนดังในสื่อออนไลน์
(5) ออร์แกไนเซอร์ที่มีผลงานโดดเด่น
ตอบ 4(คําบรรยาย) การเลือกวิทยากรมาพูดในการจัดงานปฐมนิเทศข้างต้น ควรเลือกผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และประสบความสําเร็จในการทํางานทางด้านสื่อสารมวลชน หรืออาจเป็นผู้ที่ มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย จึงจะมีความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จัด

69. ในการบรรยายพิเศษ ทําไมจึงต้องมีการแนะนําผู้บรรยาย
(1) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูด
(2) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ฟัง
(3) เพื่อฆ่าเวลา
(4) เพื่อยกย่องในเกียรติประวัติที่ทํามา
(5) เพื่อสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
ตอบ 1 หน้า 310, 444 จุดมุ่งหมายในการแนะนําองค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูดว่าเป็นใคร ทําอะไร และมีความสําคัญอย่างไร
2. เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด ฯลฯ

70. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แนะนําวิทยากรที่จะมาแสดงปาฐกถา ท่านจะถามหาข้อมูลเกี่ยวกับ
วิทยากรจากใครที่จะได้ตรงเป้าหมายที่สุด
(1) ประธานจัดงาน
(2) สื่อมวลชนที่คุ้นเคย
(3) คนวงการเดียวกันกับวิทยากร
(4) เลขานุการคณะกรรมการจัดงาน
(5) เลขานุการในทีมงาน
ตอบ 5 หน้า 311, (คําบรรยาย) ถ้าผู้แนะนําไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร (องค์ปาฐก) ที่จะมาแสดงปาฐกถา ก็ควรติดต่อวิทยากรหรือถามจากเลขานุการในทีมงานวิทยากรว่า จะให้ตนแนะนําอย่างไร โดยต้องติดต่อกันก่อนวันแนะนําจริง

71. ข้อใดคือต้นฉบับที่พึงประสงค์หากพิจารณาจากประสิทธิผลการใช้งาน
(1) สวยงามมีคุณค่า
(2) โดดเด่นดูเตะตา
(3) ไม่มีร่องรอยแก้ไข
(4) ได้รับการรับรองแล้ว
(5) มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาที่มี
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4. มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี
5. อ่านง่ายทั้งแบบอักษรและขนาดตัวพิมพ์ ฯลฯ

72. เมื่อกล่าวขอบคุณผู้บรรยายพิเศษเสร็จสิ้น ควรทําอะไรต่อไป
(1) เชิญชวนให้มาพูดอีก
(2) เชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้ผู้บรรยาย
(3) สรุปเนื้อหาสาระอีกรอบ
(4) สรุปเนื้อหาและวิจารณ์วิทยากรทันที
(5) เชิญชวนถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก

ตอบ 2 หน้า 312 หลังจากที่องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ได้จบการพูดลงแล้ว พิธีกรจะต้องลุกขึ้นไปกล่าวขอบคุณเป็นข้อความสั้น ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะกล่าวขอบคุณ และเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ด้วยก็ได้

73. ในการบรรยายพิเศษที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรนั้น ผู้บรรยายไม่ควรใช้วิธีการใดเพื่อให้เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
(1) แทรกบทตลกในบางจังหวะ
(2) พูดเรื่องที่ผู้ฟังไม่น่าจะเคยรู้มาก่อน
(3) ชวนสุภาพสตรีให้ร่วมตอบคําถาม
(4) ระบายความน้อยเนื้อต่ำใจของตนเอง
(5) เล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง
ตอบ 4 หน้า 308 – 309, (คําบรรยาย) ในการแสดงปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษนั้น ผู้พูดควรพูด ในเรื่องที่น่าสนใจสําหรับผู้ฟัง หรือเรื่องที่ให้ความรู้ และควรเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ยกเว้นเรื่องที่เป็นความลับหรือเรื่องส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ผู้พูดอาจแทรก บทตลกได้เท่าที่จําเป็น หรือเล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง หรืออาจชักชวนผู้ฟัง ให้ร่วมตอบคําถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงดึงประเด็นเข้าสู่สาระหลักที่จะพูดต่อไป

74. ข้อใดหมายถึง การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา
(1) การสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง
(2) การแสวงหาความรู้ให้มากพอ
(3) การริเริ่มแนวคิดเพื่อการนําเสนอ
(4) การปรับปรุงบุคลิกภาพ
(5) รู้จักการขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ๆ
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา หมายถึง
การปรับปรุงบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนําเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้สายตา การใช้ภาษา น้ำเสียง การยืน การแต่งกาย กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนกับเครื่องมือที่ใช้ ซึ่ สื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตนเองเพื่อให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมาย เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

75. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูด สิ่งที่ไม่ควรกระทํา คือ
(1) เดินตัวตรง ยิ้มให้กับผู้ชม ผู้ฟังตามสมควร
(2) เดินอกผายไหล่ผึ้ง ทําความเคารพประธาน ทักทายคนรู้จัก
(3) เดินตรงไปยังที่นั่งของตน สํารวจว่าตรงกับชื่อตัวเองหรือไม่ แล้วรีบนั่งลงไป
(4) เดินไปตามลําดับที่พิธีกรประกาศชื่อ ไม่ทักทายประธานในพิธี
(5) อยู่ ณ ที่พักของตนเอง และรอจนกว่าพิธีกรประกาศจึงเข้าประจําตําแหน่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

76. ประโยชน์ของการพูดในแง่มุมของการส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตย คือข้อใด
(1) เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
(2) เพื่อเผยแพร่นโยบาย
(3) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม
(4) เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ
(5) เพื่อเป็นเวทีในการประกาศเจตนารมณ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตยจะพิจารณาจากความสมดุลในการสื่อสาร โดยประโยชน์ของการพูดในแง่มุมนี้ คือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น เพราะสังคมประชาธิปไตยนั้นต้องการความคิดเห็นของสมาชิกเป็นสําคัญ

77. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของนักพูด
(1) เตือนภัยสังคม
(2) บอกวิธีรักษาโรคให้ผู้ป่วย
(3) สร้างสรรค์ภาษาตามสมัย
(4) โน้มน้าวใจให้เกิดการซื้อ – ขาย
(5) ให้ความรู้ด้วยสาระบันเทิง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้าที่ของนักพูด มีดังนี้
1. บอกกล่าวเรื่องราว
2. ให้ความรู้
3. สอดส่องดูแลและเตือนภัยสังคม
4. สร้างความจรรโลงใจ
5. โน้มน้าวใจให้เกิดการกระทํา

78. ความชัดเจนในประเด็นการพูด เกิดขึ้นจาก
(1) เสียง
(2) อาการ
(3) สาระ
(4) หลักการ
(5) ความรู้จริง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

79. นักพูดที่ต้องใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการนําเสนอเป็นหลัก ควรปฏิบัติตนอย่างไร
(1) มาให้ตรงเวลาทุกครั้ง
(2) ทําการซ้อมอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้ชม
(3) ทําทุกอย่างเองเพื่อความสมบูรณ์แบบ
(4) ใช้ซอฟต์แวร์ทํา CG ที่ทันสมัยที่สุด
(5) มาก่อนเวลามากขึ้นเพื่อสํารวจสิ่งที่อาจบกพร่องของอุปกรณ์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) วินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ คือ ต้องไปถึงสถานที่ที่จะพูด ก่อนเวลา หรือเผื่อเวลาไว้นานพอสมควรสําหรับการไปถึง เพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็นเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง

80. การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้องเริ่มด้วย
(1) การแนะนําเจ้าภาพ
(2) คําปฏิสันถาร
(3) บทประทับใจ
(4) การกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ
(5) คําชื่นชมในโอกาสนั้น ๆ
ตอบ 2 หน้า 445 การกล่าวต้อนรับ เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้ที่มาเยี่ยม เป็นการ แนะนําผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาใหม่ให้รู้จักสถานที่นั้น ๆ ดีขึ้น โดยการกล่าวต้อนรับอย่างเป็น พิธีการจะต้องเริ่มต้นด้วยการกล่าวคําปฏิสันถารก่อนเสมอ

81. ผลของการชักจูงใจจะมีมาก – น้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับของ
(1) ความเชื่อมั่น
(2) ความเชื่อถือ
(3) ความเชื่อมือ
(4) ความเชื่อใจ
(5) เชื่อความเป็นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลของการชักจูงใจจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ความเชื่อมัน
2. ความเชื่อถือ
3. ความเชื่อใจ
4. การเชื่อความเป็นไป

82. การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านกลุ่มสังคมและประสบการณ์เฉพาะเรื่อง มีผลอย่างไรต่อการเตรียมข้อมูล
ในการพูดแต่ละครั้ง
(1) เพื่อสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นําเสนอ
(2) เพื่อเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม
(3) เพื่อต้องการทราบแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้ – เสียของผู้ฟัง
(4) เพื่อกําหนดวาระการรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา
(5) เพื่อสร้างความรู้สึกและความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านกลุ่มสังคมและประสบการณ์เฉพาะเรื่อง จะมีผลต่อการ เตรียมข้อมูลในการพูด คือ ทําให้ผู้พูดสามารถสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนหรือความลึก ของข้อมูลที่นําเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับประสบการณ์เฉพาะเรื่องของผู้รับสารในกลุ่มสังคมนั้น

83. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการตัดสินใจที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์การพูดด้านผลกระทบที่จะเกิด
ในกระบวนการสื่อสารแต่ละครั้ง
(1) ดําเนินการต่อโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
(2) ดําเนินการต่อไปโดยปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วน
(3) ยังต้องดําเนินการต่อไป แต่ปรับปรุงสาระสําคัญเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกได้
(4) เปลี่ยนคนพูดโดยคงสาระหรือเนื้อหาตามที่เตรียมไว้แต่เดิมทุกประการ
(5) ผู้พูดยกเลิกการพูดครั้งนั้นไปเลย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวทางการตัดสินใจที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์การพูดด้านผลกระทบ ที่จะเกิดในกระบวนการสื่อสารแต่ละครั้ง มีดังนี้
1 ดําเนินการต่อโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเลย ทุกอย่างคงเดิม
2. ดําเนินการต่อไปโดยปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
3. เปลี่ยนประเด็นสําคัญ แต่ยังจะพูดต่อไปเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกได้
4. ยกเลิกการพูดครั้งนั้นไปเลย

84. ข้อใดหมายถึง การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา
(1) การสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง
(2) การแสวงหาความรู้ให้มากพอ
(3) การริเริ่มแนวคิดเพื่อการนําเสนอ
(4) การปรับปรุงบุคลิกภาพ
(5) รู้จักการขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

85. ผู้ดําเนินรายการที่ดี ไม่ควรกระทําการเช่นไร
(1) หลีกเลี่ยงการพูดถ้อยคําที่ซ้ำซาก
(2) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
(3) เลือกใส่เสื้อผ้าที่ดูสง่างามมีราศี
(4) พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด
(5) ทําตัวให้กลมกลืนและเป็นธรรมชาติกับงานได้ในทุกกาลเทศะ
ตอน 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้ดําเนินรายการที่ดีไม่ควรกระทํา คือ พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด เพราะจะทําให้การพูดครั้งนั้นออกนอกเรื่องหรือนอกประเด็นสําคัญที่ต้องการจะพูด และทําให้เนื้อหาการพูดยาวเกินเวลาที่กําหนดอีกด้วย

86. เมื่อเข้า ณ ที่พูดแล้ว ผู้พูดไม่ควรทําอะไรต่อหน้าผู้ฟัง
(1) ยิ้ม
(2) ดื่มน้ำ
(3) ดูบันทึกย่อ
(4) ทดสอบเสียง
(5) นั่งสงบ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

87. การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะสาขา เป็นการระวังป้องกัน
ข้อผิดพลาดด้านใด
(1) อารมณ์และความรู้สึกที่อาจไม่สมจริง
(2) กิริยาท่าทางที่ไม่เป็นไปตามบทบาทที่เตรียมมา
(3) การที่อาจจะต้องตอบคําถามสื่อมวลชนอย่างกะทันหัน
(4) เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร
(5) เนื้อหาที่คนนอกวงการอาจไม่รู้ความหมาย หรือทําให้เข้าใจง่ายขึ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะ สาขา เป็นการระวังป้องกันข้อผิดพลาดในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีศัพท์เฉพาะสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งคนนอกวงการอาจไม่รู้ความหมาย หรือทําให้เข้าใจง่ายขึ้น

88. น้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกันโดยตลอดสร้างปัญหาให้แก่ผู้ฟังด้านใดมากที่สุด
(1) ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ผู้พูดถ่ายทอด
(2) ทําให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก
(3) หมดศรัทธา ไม่น่าเชื่อถือในตัวผู้พูด
(4) สร้างความสงสัยในเนื้อหา
(5) เบื่อหน่าย ละเลยการติดตามประเด็น
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) หลักการใช้เสียงพูดที่ดีข้อหนึ่ง คือ ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ําเสียง เนื่อย ๆ หรือน้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกัน (ไม่มีเสียงสูง – ต่ำ) โดยตลอด เพราะจะทําให้ผู้พูด พูดโดยขาดความมีชีวิตชีวา และผู้ฟังก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รําคาญ จนอาจไม่สนใจหรือละเลยการติดตามประเด็น

89. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดเกิดจาก………มากที่สุด
(1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
(2) ความตั้งใจที่มีมากจนเกินไป
(3) การเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
(4) อุปกรณ์บกพร่องไม่สามารถใช้งานได้
(5) การประสานงานจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องไม่น่าประทับใจ
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนก่อให้เกิด ความประหม่าตื่นเต้นบนเวที มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. การไม่เตรียมตัวมาอย่างดีพอ ซึ่งปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่ เกิดจากการเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
2. การไม่ซักซ้อมอย่างเพียงพอ
3. การไม่ใส่ใจต่อบุคลิกภาพของตนเองเมื่อต้องปรากฏตัวให้เหมาะสมกับลักษณะพิธีการ สถานที่ และเจ้าภาพ เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ ฯลฯ

90. การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดยังไม่จําเป็น ต้องพิจารณาจาก……โดยตรง
(1) ระบบสังคมวัฒนธรรมของผู้ฟัง
(2) สถานการณ์บ้านเมืองล่าสุด
(3) การแบ่งหัวข้อเป็นประเด็นต่าง ๆ
(4) ประเด็นหลักและข้อมูลสนับสนุน
(5) เวลาที่เจ้าภาพให้กับการพูดครั้งนั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการประมวลความคิดนั้น ผู้พูดจะต้องเข้าใจในสถานการณ์การพูดแต่ละครั้ง หรือเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองล่าสุดเสียก่อน จึงจะสามารถกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดที่แน่ชัดได้

91. ข้อใดไม่เป็นลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี
(1) มีเนื้อหาเร้าใจ
(2) รวบรวมสิ่งที่จะพูดเอาไว้ให้หมด
(3) โยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
(4) เสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง
(5) ปูพื้นเหตุการณ์เอาไว้ก่อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

92. ข้อใดไม่ควรกระทํา หากผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความเห็น
(1) เลือกชื่อคนที่คุ้นเคยก่อน
(2) ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป
(3) เลือกคนที่ยกมือก่อน
(4) ใช้ปากกาชี้ระบุตัวคน
(5) ให้ประธานในงานนั้นช่วยเลือก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทําหากต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น คือ ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป เพราะการเอามือออกไปด้านหน้าตัวเอง หรือใช้มือชี้หน้าผู้ฟัง เป็นการ แสดงถึงความมีอํานาจเหนือผู้ฟัง

93. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด
(1) เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
(2) ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
(3) พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
(4) แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของคนพูด
(5) ข่าวสารที่แพร่กระจายใน Social Media
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด มีดังนี้
1. เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
2. ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
4. แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของผู้พูด

94. เรื่องสําคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ อาศัยหลักการใดในการพูด
(1) ดอกยาแต่ไม่ชาซาก
(2) ย้ำคิดย้ำทํา
(3) สั่งสอนให้รู้สํานึก
(4) บอกใบ้ให้ทายใจ
(5) ต่อเติมส่วนที่ขาดหาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรกล่าวหรือตอกย้ำในเรื่องสําคัญที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้ เรื่องที่พูดนั้นมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ไปตอกย้ำจนเกิดความซ้ำซาก หรือย้ําคิดย้ําทําจนมากเกินไป เพราะจะทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย และเรื่องที่เน้นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่สําคัญไป

95. ข้อใดเป็นแนวปฏิบัติหากต้องเตรียมเครื่องดื่มให้กับผู้บรรยายที่ไม่มีการกําหนดไว้
(1) ใช้น้ำแร่เย็นที่ซื้อหาได้สะดวก
(2) ใช้น้ำอุ่น
(3) ใช้น้ำชาร้อน
(4) ใช้น้ำสะอาดตามอุณหภูมิห้อง
(5) ใช้น้ำผลไม้ตามฤดูกาล
ตอบ 4(คําบรรยาย) แนวปฏิบัติของผู้ประสานงานหากต้องเตรียมเครื่องดื่มให้กับผู้บรรยายที่ไม่มีการกําหนดไว้ คือ ควรจัดเตรียมน้ำสะอาดตามอุณหภูมิห้อง เพื่อช่วยรักษาน้ำเสียงให้แจ่มใสกังวานชัดเจน

96. การวิเคราะห์ถึงจํานวนผู้ชม ผู้ฟัง มีผลต่อ…….โดยตรง
(1) การกําหนดวัตถุประสงค์
(2) การจัดทําวาทนิพนธ์
(3) สถานที่และอุปกรณ์
(4) การประมวลผลข้อมูล
(5) การแต่งกายให้ถูกต้องตามกาลเท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์จํานวนหรือขนาดของผู้ชม ผู้ฟัง จะทําให้ผู้พูดรู้ว่ากลุ่มผู้ฟังนั้น มีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีพื้นที่และสถานที่เพียงพอหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับ สถานที่มีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ยังทําให้ผู้พูดสามารถเตรียมวิธีการพูด รูปแบบในการพูดและอุปกรณ์เครื่องมือประกอบการพูดที่เหมาะสมได้อีกด้วย

97. การพูดเพื่อความจรรโลงใจ มีเป้าหมายอย่างไร
(1) สร้างอารมณ์ร่วม
(2) สร้างแรงผลักดันในหน้าที่
(3) ให้กําลังใจ
(4) ได้ความร่วมมือ
(5) ก่อให้เกิดการสํานึกในคุณงามความดี
ตอบ 5(คําบรรยาย) การพูดเพื่อจรรโลงใจ มีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีงาม สูงส่ง โดยผู้พูด จะชี้ให้เห็นถึงอุดมคติ แนวทางในการดําเนินชีวิต การสร้างสรรค์คุณงามความดี ความประณีต งดงาม คุณค่าอันน่านิยม ตลอดจนความสนุกสนานเบิกบานใจ

98. นอกจากการเตรียมตัวไม่พร้อมแล้ว ความตื่นเต้นในเวทีมักจะเกิดจาก
(1) ขนาดห้องประชุม
(2) ขาดการประสานงาน
(3) แต่งกายผิดกาลเทศะ
(4) ค่าตอบแทนการพูดที่มากเกินจริง
(5) อุปกรณ์ไม่พร้อมหรืออยู่ในสภาพชํารุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

99. ข้อใดแสดงออกถึงความสมดุลในกระบวนการพูด
(1) พูดเสนอความสามารถของตนเองหลังจากที่คนอื่นอภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้ว
(2) เปิดช่องทางให้แสดงความเห็น มีการสนทนาโต้ตอบตรงไปตรงมา
(3) กล่าวตามยถากรรมปล่อยวางทุกสิ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นกลางทางความคิด
(4) ใช้วาจาอ่อนหวานโน้มน้าวใจ โดยไม่เร่งเร้าหรือแสดงอาการกดดัน
(5) นําเสนอข้อเท็จจริงพร้อมไปกับข่าวลือ หรือข้อความอันเป็นเท็จด้วยตนเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ) ความสมดุลในกระบวนการพูด หมายถึงการเปิดช่องทางให้คู่สื่อสารร่วมแสดงความคิดเห็นหรือเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันและกันโดยมีการสนทนาโต้ตอบอย่างตรงไปตรงมา จนเกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร

100. การพูดเป็นการสื่อสารที่เน้นการแสดงออกอย่างน้อย 2 ด้าน คือ
(1) บุคคล – ตัวตน
(2) ตัวตน – วาจา
(3) วาจา – ภาษา
(4) ภาษา – ทักษะ
(5) ทักษะ — แนวคิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1350 (MCS 1300) หลักการพูดเบื้องต้น
ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สุนทรพจน์
(2) ปฏิสันถาร
(3) คํานํา
(4) เนื้อหา
(5) สรุป

1. ข้อใดต่างจากข้ออื่นทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 34 โครงสร้างของการพูด หรือลําดับของการพูดก่อน – หลัง ในการพูดตามปกตินั้นประกอบด้วย 1. คําปฏิสันถาร
2. คํานํา
3. เนื้อหา
4. สรุป
5. คําลงท้าย
(ส่วนของสรุปและคําลงท้ายอาจสลับที่กันได้ ซึ่งใช้ในกรณีที่ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญพอสมควร)

2.เป็นผลรวมของข้ออื่น
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) สรุปหรือส่วนจบเรื่อง หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง ซึ่งเป็น ผลรวมของโครงสร้างการพูดทั้งหมด โดยการสรุปหรือการจบเรื่องที่ดีจะต้องเป็นส่วนที่สร้าง ความประทับใจ และมีการขมวดประเด็นหรือแสดงผลสําเร็จของการพูด

3. เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อมูลดิบ
ตอบ 4 หน้า 36, (คําบรรยาย) เนื้อหา หมายถึง เนื้อเรื่องที่เป็นสาระในการสื่อสาร ข้อมูลหลักของ การนําเสนอ หรือกลวิธีการนําเสนอที่เน้นโครงสร้างและลําดับขั้นตอนในการถ่ายทอดข่าวสาร ดังนั้นเนื้อหาจึงมีปริมาณชุดข้อความมากที่สุด และเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อมูลดิบ

4 สร้างความคุ้นเคยโดยเริ่มต้นการมีปฏิสัมพันธ์
ตอบ 2 หน้า 34, (คําบรรยาย) คําปฏิสันถาร หมายถึง คําทักทายผู้ฟัง เพื่อที่จะสร้างความคุ้นเคย โดยเริ่มต้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติที่นิยมกัน ดังนี้
1. การทักทายในการเริ่มพูดโดยปกติแล้ว ควรกล่าวไม่เกิน 3 กลุ่มผู้ฟัง
2. คําปฏิสันถารมีทั้งแบบเป็นพิธีการ ไม่เป็นพิธีการ และกึ่งพิธีการ
3. ควรเริ่มต้นจากการทักประธานในพิธี หรือผู้ที่มีศักดิ์และตําแหน่งสูงสุดในการรับฟังก่อน แล้วจึงทักผู้ที่มีตําแหน่งรองลงไปจากใหญ่ไปเล็ก แต่ถ้ามีพระภิกษุ นักบวช และผู้ทรงศีล
ต้องทักก่อนเป็นลําดับแรก
4. เวลาทักใครแล้วต้องหันหน้าไปหาด้วย ฯลฯ

5. อารัมภบทอยู่ในกลุ่มนี้
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) คํานํา หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง เป็นการเกริ่น อารัมภบท หรือเป็น บทนําเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งลักษณะการกล่าวคํานําที่ดี ได้แก่
1. เป็นการเกริ่นด้วยเนื้อหาที่เร้าใจ
2. เป็นคํานําที่ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ หรือเสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง (แต่ไม่ใช่การสรุป สิ่งที่พูดเอาไว้ทั้งหมด)
3. เป็นบทนําที่ปูพื้นเหตุการณ์เอาไว้ก่อน หรือโยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
4. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ และสร้างความสนใจให้ติดตามเนื้อหา โดยอาศัยข้อมูลที่กระตุ้น ความรู้สึกหรือสร้างอารมณ์ร่วมในประเด็นหรือชุดข้อความที่น่าสนใจ ฯลฯ

6 เป็นการสื่อสารกระบวนการที่เน้นโครงสร้างและลําดับขั้นตอนในการถ่ายทอดข่าวสาร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

7. สื่อสารโดยอาศัยข้อมูลที่เป็นความรู้สึกร่วมในประเด็นหรือชุดข้อความที่น่าสนใจ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8. มีปริมาณชุดข้อความมากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

9.ไม่จําเป็นต้องมาวิพากษ์ตนเองอีกต่อไปแล้ว
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) ข้อบกพร่องของการสรุป คือ หลีกเลี่ยงการจบแบบยุติเอาดื้อ ๆ อย่าจบเพราะหมดเวลา อย่าขอโทษ ขออภัยที่ต้องจบหรือหาที่ลงไม่ได้ นอกจากนี้ผู้พูด ไม่ควรวิพากษ์ตนเองหรือถ่อมตัวว่า ตนไม่มีความรู้ในเรื่องที่พูด มาพูดเพราะเหตุจําเป็น เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง และยังแสดงถึงความไม่มั่นใจในตัวผู้พูดอีกด้วย

10. สร้างความประทับใจในตัวผู้ส่งสาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

11. การถ่ายทอดข่าวสารของผู้พูดจะอาศัย “ระหว่างบุคคล” และ “สื่อมวลชน”
(1) เสียง
(2) สําเนียง
(3) ท่าทาง
(4) ช่องทาง
(5) ระยะห่าง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

12. ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูดจะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของการพบปะ
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) อารมณ์
(4) ท่าที
(5) การประสานสายตา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของ การพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ คือ ตัวตนของผู้พูด ซึ่งได้แก่ บุคลิกภาพทั้งหมดที่ปรากฏออกมา

13 การออกแบบสาระข่าวสาร หมายถึง
(1) สร้างประโยค
(2) ประมวลเรื่องราว
(3) เลือกคําพูด
(4) ติดตามข่าวสาร
(5) ตีความข้อมูล
ตอบ 2 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบ ที่สําคัญอยู่ทั้งหมด 3 สิ่ง ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2. การวิเคราะห์ผู้ฟังกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูด และประมวลเนื้อหาเรื่องราวเพื่อออกแบบสาระข่าวสาร/เนื้อหาในการพูด

14. พิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
(1) ช่องทาง
(2) เสียง
(3) นิสัย
(4) อุปกรณ์
(5) ภูมิหลัง
ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งการที่จะใช้เสียงพูดให้ มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

15. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า การสื่อสารที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(1) การเลือกเวลา
(2) รูปแบบโต๊ะประชุม
(3) สีของแผ่นพับ
(4) ตัวอย่างเนื้อหาที่ได้จากข่าวหนังสือพิมพ์
(5) อักษร RU ที่ปกเสื้อวิทยากร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย เวลา กลิ่น ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร และวัสดุภาษาอื่น ๆ ที่สามารถสื่อความเข้าใจกันได้

16. พิจารณาจากความน่าเชื่อถือและเป็นอวัจนภาษาที่สอดคล้องกับสาระการนําเสนอ
(1) สติ
(2) เสียง
(3) ปฏิสัมพันธ์
(4) ความรู้
(5) ท่าทาง
ตอบ 5 หน้า 18, (คําบรรยาย) หลักการแสดงกิริยาท่าทางในการพูด ได้แก่
1. เป็นการเรียกความสนใจจากผู้ฟัง สร้างประสิทธิภาพการสื่อสาร
2. จําไว้ว่าคนเราสนใจภาพเคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่ง
3. แสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความ หรือให้ความสําคัญกับสิ่งที่พูด เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากเป็นเรื่องสําคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษควรใช้หลักการ ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก
4. กิริยาท่าทางต้องสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและสาระการนําเสนอ
5. สุภาพเรียบร้อย เหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม
6. การแสดงท่าทางประกอบต้องมีชีวิตจิตใจ ไม่ซ้ำซากจําเจ และอย่าทําเป็นระบบจนผู้ฟัง คุ้นเคยหรือเดาทางออก โดยควรทําให้เห็นเด่นชัด และมีความหลากหลาย

17. ข้อใดสนับสนุนแนวคิดที่ว่าการพูดสร้างบุคคลเป็นผู้มีวิจารณญาณที่ดี
(1) การรู้จักใช้เหตุผลในการนําเสนอ
(2) สาระที่พูดต้องพิสูจน์ความจริงได้
(3) ต้องคิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) ผู้พูดต้องปรับตัวตามสถานการณ์
(5) การพูดต้องอาศัยความมีสติปัญญา ฉลาด และรอบรู้
ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของวิชาการพูดประการหนึ่ง คือ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนเป็น ผู้มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักใช้เหตุผลในการนําเสนอ รู้จักคิดรู้จักโต้แย้ง และรู้จักใช้ข้ออ้างอิงที่มีหลักฐานในการพูด

18. เสียงในเชิงวาทวิทยาใช้สื่อสารถึง…….โดยตรง
(1) เนื้อหา
(2) อารมณ์
(3) บริบท
(4) สภาวะ
(5) ความคิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและ สําเนียงโต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงจะเป็นเพียงการเปล่งวาจาหรือเนื้อหาออกมา ส่วนสําเนียงจะบอกถึงอากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถสื่อสารถึงอารมณ์ความรู้สึกได้โดยตรง หากไม่มีสําเนียงมาช่วย

19. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย
(1) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาท่าทาง
(3) ภาษาทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) ภาษาหนังสือ – ภาษาท่าทาง(5) ภาษาพูด – ภาษาท่าทาง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

20 ข้อใดไม่ได้หมายถึงการใช้ภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารร่วมกับวัจนภาษา
(1) นางสาวลีลาวดีชักสีหน้างอนแฟนหนุ่ม เพราะผิดนัดเป็นประจํา
(2) คุณตาปลื้มขยิบตาให้หลานชายเป็นนัยว่า เพื่อนหญิงของเขานิสัยดีเป็นที่ถูกใจ
(3) บ่ายนี้ร้อนจัดจนลูกจ้างในร้านพากันปาดเหงื่อ แต่ก็ขยันทํางานต่อจนหมดกะ
(4) หลานสาวชวนคุณปู่ไปทําบุญตักบาตรครบรอบวันเกิดเป็นที่น่าชื่นใจ
(5) สาวน้อยตัวอิจฉาหว่านเสน่ห์ให้พระเอกโดยหวังรวบรัดครอบครองมรดก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. และ 16. ประกอบ
(ข้อความในตัวเลือกข้อ 4 ใช้แต่ภาษาพูด ซึ่งเป็นวัจนภาษาเพียงอย่างเดียว)

21. การพูดที่ดูมีกาลเทศะตามเนื้อหา เกิดจาก
(1) สภาพแวดล้อม
(2) การเลี้ยงดูทีดี
(3) การวิเคราะห์ผู้รับสาร
(4) พื้นฐานความรู้
(5) ความเข้าอกเข้าใจกันและกัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพูดที่ดูมีกาลเทศะตามเนื้อหา เกิดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือ สถานการณ์ที่จะไปพูด ได้แก่ เวลา สถานที่ โอกาส และเจ้าภาพหรือธรรมชาติของหน่วยงาน ที่เชิญไปพูด เพราะสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์การพูดจะบ่งบอกว่าเนื้อหาที่จะนําไปพูด เหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็จะต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วน ส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด

22. ข้อใดเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ
(4) ไพเราะ
(5) เป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ คือ การพูดให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการจะให้คนฟังได้รับทราบ

23. ข้อใดคือสิ่งที่ต้องทําเป็นอันดับแรกในการพูดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมทุกอย่าง
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) ค้นคว้าข้อมูลทันที
(4) ร่างเนื้อหา
(5) วิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร
ตอบ 2(คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดจะต้องประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือ ความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

24. กระบวนการพูดที่มีประสิทธิผลนั้น ประกอบด้วย
(1) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงตน – พัฒนาบุคลิกภาพ
(2) วิเคราะห์ผู้ฟัง – นําเสนอแนวคิด – ออกแบบการพูด
(3) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงบุคลิกภาพ – ประมวลเนื้อหา
(4) วิเคราะห์ตนเอง – สร้างสรรค์เนื้อหา – นําเสนอบนเวที
(5) วิเคราะห์เนื้อหา – สรุปประเด็น – นําเสนอบนเวที
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

25. หากเพื่อนของนักศึกษาจะไปพูดกับประชาชนในฐานะนักสื่อสารองค์กรของหน่วยงานที่ไม่แสวงหากําไร ตัวนักศึกษาจะแนะนําวิธีเลือกเรื่องที่จะพูดอย่างไร
(1) ผู้พูดสนใจ – ผู้ฟังสนใจด้วย
(2) ผู้พูดมีความรู้ – ผู้ฟังสนใจ
(3) เรื่องที่ทันสมัย – ผู้ฟังน่าจะชอบ
(4) เรื่องดีมีสาระ – ผู้พูดอยากนําเสนอ
(5) ดูท้าทายความสามารถ – ผู้ฟังยังไม่คุ้น
ตอบ 1 หน้า 23 (คําบรรยาย) ในการเลือกเรื่องไปพูดนั้น ผู้พูดต้องพยายามเลือกเรื่องที่ทั้งผู้พูดและ ผู้ฟังสนใจเป็นอันดับแรก ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้พูดถนัด มีความรู้ และสามารถหาข้อมูลมานําเสนอได้ ก็จะทําให้พูดได้ดี และถ้าเรื่องนั้นผู้ฟังสนใจด้วยก็ดูเหมือนว่าผู้พูดได้ประสบความสําเร็จขั้นต้น ในการเรียกความสนใจจากผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่สนใจ การพูดนั้นก็จะล้มเหลว

26. โครงร่าง (Outline) มีประโยชน์ต่อการเตรียมเรื่องพูดอย่างไร
(1) ทําให้มีรสนิยม
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์
(3) ทําให้น่าติดตาม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(5) ทําให้มีเอกภาพ
ตอบ 5หน้า 31 – 32, (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

27. ก่อนจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ อะไรคือสิ่งที่ต้องทําทุกครั้ง
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจงบประมาณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

28. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่สามารถละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟังก่อน
(2) สร้างความตื่นเต้นเร้าใจผู้ฟัง
(3) กล่าวอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
(4) สรุปเนื้อเรื่อง
(5) กล่าวสวัสดี
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

29. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจาก
(1) การเปรียบเทียบ
(2) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
(3) ความเห็น
(4) การนิยามหรือให้คําจํากัดความเสมอ
(5) ประเด็นคําถามสําคัญ
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยาม หรือให้คําจํากัดความก่อนเสมอ ซึ่งหมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลัก ด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

30. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคยก่อน
(5) พูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้ําเสียงที่ชัดเจน

31. สิ่งใดควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูดเป็นอันดับแรก
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยนําเสนอ
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) พูดขออภัยในความผิดพลาดของตัวเอง
(5) กล่าวขอบคุณเจ้าภาพ
ตอบ 3หน้า 52 – 53, (คําบรรยาย) ข้อแนะนําเกี่ยวกับการขึ้นเวทีพูด มีดังนี้
1. พิธีกรกล่าวแนะนําและเชิญผู้พูดขึ้นพูด
2. ผู้พูดเดินไปทําความเคารพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด
3. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้องทําความเคารพ
หรือทักทายใครอีกแล้ว
4. เข้าที่พูดในลักษณะที่สง่างาม และผู้พูดควรยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสเป็นอันดับแรก เพราะกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ของการพูด คือ ยิ้มแย้มดีกว่าทิ้งตึง
5. หลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด ไม่ควรทดสอบเสียงโดยใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล 6. ในขณะที่พูด เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจด้วยการปรบมือ หรือแสดงความไม่พอใจด้วยการ โห่ร้องขึ้นมา ผู้พูดควรหยุดพูดก่อนชั่วคราว จนเมื่อเสียงของผู้ฟังซาลงจึงเริ่มพูดต่อไป ฯลฯ

32 เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจอย่างมาก ผู้พูดควรปฏิบัติอย่างไร
(1) หยุดพูดสักครู่
(2) ทักทายอีกครั้ง
(3) พูดเร้าอารมณ์เพิ่มมากขึ้น
(4) กล่าวขอบคุณอย่างจริงใจ
(5) ทําความเคารพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33. อะไรคือ “ความเป็นทางการ” ในการพูด
(1) การรู้จักกาลเทศะ
(2) เข้ากับงานสังคมได้
(3) มีเจ้าภาพที่แน่นอน
(4) การพูดตามกําหนดการในพิธี
(5) การปฏิบัติตามแบบแผนที่กําหนดไว้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นทางการในการพูด คือ การรู้จักกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) ทั้งนี้ เพราะการพูดที่ดี หมายถึง การใช้ถ้อยคํา น้ําเสียง รวมทั้งอากัปกิริยาอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท แบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

34. ข้อใดที่ทําให้ความตื่นเต้นและประหม่าเวทีลดน้อยลงได้ตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ออกซิเจน
(2) อาหารและเครื่องดื่ม
(3) อุณหภูมิห้องที่เหมาะสม
(4) การต้อนรับของเจ้าภาพ
(5) เครื่องมือที่ทันสมัย
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) วิธีแก้ความตื่นเวที ซึ่งสามารถทําให้อาการตื่นเต้นประหม่า
บรรเทาลงไปได้ มีดังนี้
1. หายใจเข้าปอดลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจช้า ๆ 4 – 5 ครั้ง เพราะออกซิเจนจะช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง ทําให้ลดความตื่นเต้นลงไปได้
2. เมื่อเริ่มพูดอย่าพูดเร็ว ให้พูดช้า ๆ ยิ้มแย้ม และประสานสายตากับผู้ฟัง
3. พยายามคิดว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และผู้ฟังก็อยากฟังเราพูด

4. หลีกเลี่ยงการแต่งกายที่ตึง รัด และเป็นอุปสรรคต่อการพูด
5. ทําตัวตามสบาย อ่านหนังสือพิมพ์ หรือฟังเพลงที่ชอบก่อนขึ้นพูด ฯลฯ

35. ผู้พูดไม่สามารถสร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟังได้ด้วย
(1) การสร้างมาตรฐานจริยธรรม
(2) การระวังตัวและรักษามารยาทอย่างดี
(3) การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
(4) การใช้ถ้อยคําและท่าทางที่เหมาะสม
(5) แสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพที่สร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ดังนี้
1. การมีบุคลิกลักษณะท่าทางและรสนิยมที่ดี สุภาพ มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
2. การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
3. การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
4. การใช้ถ้อยคําและแสดงท่าทางที่เหมาะสม
5. การแสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด ฯลฯ

36. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการฟังเพื่อวิเคราะห์
(1) แยกแยะประเด็นและสาระ
(2) มีจรรยาบรรณ
(3) มีความสํารวมขณะฟัง
(4) จดจําเนื้อหาสําคัญให้ได้
(5) มีเหตุผลพร้อมที่จะโต้แย้งได้
ตอบ 1(คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการฟัง มีดังนี้
1. ฟังเพื่อรับรู้เนื้อหาสาระและข้อมูล
2. ฟังเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
3. ฟังเพื่อเข้าถึงทัศนคติ ความคิดเห็น
4. ฟังเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน
5. ฟังเพื่อวิเคราะห์ (แยกแยะประเด็นและสาระสําคัญ) ประเมินผล และวิจารณ์

37. เมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องดําเนินการต่อไป คือ
(1) เก็บไว้ในที่มิดชิด
(2) จัดวางไว้ที่ผู้พูดจะต้องขึ้นพูด
(3) ส่งต่อไปให้พิธีกร
(4) เข้าเล่มให้เรียบร้อย
(5) ทําสําเนา
ตอบ 5หน้า 40, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

38. หากต้องพูดให้ความรู้หัวเรื่อง “ภัยพิบัติเกิดขึ้นได้ทุกนาที : ทุกชีวีอย่าประมาท” นักศึกษาจะใช้แนวคิดใดในการดําเนินเรื่อง
(1) การระลึกถึงคุณงามความดี
(2) ความเมตตากรุณา
(3) ท้าทายสังคม
(4) โอนอ่อนผ่อนตาม
(5) การป้องกันความเสี่ยง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แนวคิดในการดําเนินเรื่องมีอยู่หลายวิธี ซึ่งนักพูดจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
กับหัวเรื่องที่จะพูด ได้แก่
1. การสร้างคุณงามความดีในวิชาชีพของตน
2. การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
3. การท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
4. การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฯลฯ

39. ข้อใดไม่ส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) กระแสสาธารณมติ
(2) แผนงานที่ต้องดําเนินการ
(3) แผนหน่วยงาน
(4) ความต้องการของเจ้าภาพ
(5) สุขภาพของตัวผู้พูดเอง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

40. ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูดในเบื้องต้นคืออะไร
(1) มาตรฐานสังคมและทักษะการนําเสนอ
(2) ถ้อยคําที่มีน้ำหนัก มีการอ้างอิง
(3) ความมีชีวิตชีวาและท่าทางของผู้พูด
(5) พยาน หลักฐาน และข้อมูล
(4) น้ำเสียง ท่าทาง และคําพูด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพูดแบบชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจ คือ ผู้พูดจะต้อง ยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริง พยาน หลักฐาน ข้อมูล และข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูด และเห็นด้วยจนเกิดการตัดสินใจในที่สุด

41. ข้อใดไม่เป็นองค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ
(1) ผลตอบแทนที่ได้
(2) แรงจูงใจเพื่อใช้กระตุ้นการกระทํา
(3) ความต้องการหรือความปรารถนาที่มีอยู่เดิม
(4) จุดอ่อนที่ผู้ฟังแสดงออกมา
(5) แนวทางตัดสินใจในการเลือกแนวทางการกระทํา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ มีดังนี้
1. ผลตอบแทนที่ได้
2. แรงจูงใจเพื่อใช้กระตุ้นการกระทํา
3. ความต้องการหรือความปรารถนาที่มีอยู่เดิม
4. อิทธิพลทางใจหรือแนวทางตัดสินใจในการเลือกแนวทางการกระทํา

42. ช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจในทางวาทวิทยา คือ
(1) โสตประสาท
(2) เครื่องมือ
(3) ภาวะจิตใจ
(4) สื่อ
(5) การกระทํา
ตอบ 2 หน้า 7 (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรืออะไรก็ตาม
ที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ อันจะส่งผลต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก เข้าแทรกแซงกระบวนการคิดและความเชื่อ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

43.“ภาพพจน์” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ

(1) เห็นชอบ
(2) เห็นตาม
(3) เห็นดี
(4) เห็นได้
(5) เห็นถูก
ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ตน (การวิเคราะห์ตัวผู้พูดเอง) ในการสื่อสารแบบ วาทวิทยาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่สําคัญ 2 อย่าง ได้แก่
1 ภาพลักษณ์ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวตนของผู้พูดจากประสบการณ์ จากสิ่งที่ได้รับรู้ หรือจากสิ่งที่เห็น จนสามารถประเมินค่าและเชื่อถือว่าผู้พูดเป็นเช่นนั้น
2. ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคําพูด หรือมีอารมณ์ร่วมในเรื่องที่พูด ซึ่งผู้พูดที่เก่ง จะต้องสามารถพูด แล้วทําให้ผู้ฟังเห็นภาพตามได้

44. คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก
(1) ความเป็นจริงและมีความเหมาะสม
(2) มีความเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผล
(3) การสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้
(4) มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
(5) ยอมรับในบทบาทหน้าที่และขอบเขตของกันและกัน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้
ของคู่สื่อสารเพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุด
ในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

45. ข้อใดเป็นข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถใช้ประโยชน์ได้
(1) ประสบการณ์ของผู้รอดตาย
(2) บทความของ บก. คนดัง
(3) ต้นฉบับนักเขียน
(4) บทประพันธ์สมัย ร.1
(5) คําบอกเล่าของเหล่าไทยมุง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี คือ ประสบการณ์ของผู้รอดตาย ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง จึงทําให้การพูดนั้นน่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนําเสนอ

46. การสื่อสารระหว่างกันและกันผ่านกระบวนการพูดนั้น สิ่งใดเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดหากจะดําเนินการ
ให้ตลอดรอดฝั่ง
(1) ตัวตนที่ชัดเจน
(2) การรักษาบรรยากาศการสื่อสาร
(3) ความรู้ที่ได้
(4) เนื้อหาที่ตรงไปตรงมา
(5) บอกถึงผลกระทบที่ชัดเจน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

47. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์
(1) ใช้วาทศิลป์ชั้นสูง
(2) มีสมดุล ติเพื่อก่อ
(3) ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
(4) มองรายละเอียดที่คาดไม่ถึง
(5) พิจารณาผลกระทบตามลําดับ
ตอบ 2 หน้า 169 – 171, (คําบรรยาย) หัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ คือ มีความสมดุลในการ วิจารณ์ ซึ่งจะต้องพูดทั้งติและชมอย่างมีเหตุผล หากเป็นการติก็ต้องติเพื่อก่อ โดยเสนอแนะว่า ควรจะแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดบ้าง

48. การพูดเป็นการสื่อสาร
(1) ด้วยบุคคล
(2) ภายในบุคคล
(3) ระหว่างบุคคล
(4) ระหว่างมวลชน
(5) โดยใช้ประชาชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด มีดังนี้
1. เป็นการสื่อสารสองทางในการสื่อสารระหว่างบุคคล ทําให้สามารถเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับ ได้ทันที ซึ่งทําให้การพูดแตกต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ
2. เป็นเครื่องมือเข้าสมาคม เชื่อมต่อสมาชิกสังคมทุกระดับ
3. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเชื่อ ทัศนคติ
4. เป็นกระบวนการสร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกของบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงอารมณ์
ของผู้ฟังได้โดยตรง
5. ทําให้เกิดการถ่ายทอดแบบแผนวัฒนธรรม ประเพณี กฎระเบียบ และข้อปฏิบัติทางสังคม ไปยังคนรุ่นต่อไป เพื่อการคงอยู่ของประเพณีและวัฒนธรรม ฯลฯ

49 บทบาทของการพูดที่สามารถสร้างและสลายความรู้สึกของบุคคล เกิดขึ้นจาก
(1) การรับรู้ข้อมูล
(2) การสื่อสารโดยตรง
(3) การสร้างสมาธิและปัญญา
(4) การเข้าถึงอารมณ์
(5) การเร่งเร้าปฏิกิริยา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. การคงอยู่ของประเพณีและวัฒนธรรม อาศัยกลไกใดในเชิงวาทวิทยา
(1) สั่งสอนเรียนรู้
(2) ถ่ายทอดแบบแผน
(3) สร้างมาตรฐานใหม่
(4) เลียนแบบพฤติกรรมกันเอง
(5) จดจําสิ่งที่เห็นเป็นประสบการณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

51. ความเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” พิจารณาจาก
(1) หลักการ – วิธีการ
(2) ความรู้ – ความสามารถ
(3) ทักษะ – การเรียนรู้
(4) ผลงาน – ความเข้าใจ
(5) ทฤษฎี – ประสบการณ์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) การพูดเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ คือ วิชาการพูดมีลักษณะของ ความเป็น “ศาสตร์” (Science) เพราะเป็นวิชาที่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีรองรับ และ มีลักษณะเป็น “ศิลป์” (Art) เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด หรือสร้างสุนทรียะใน วิธีการนําเสนอ

52. การกล่าวอุปมาอุปไมยและเปรียบเทียบ มักใช้กับการพูดชนิดใด
(1) รายงาน
(2) วิจารณ์
(3) เล่าเรื่อง
(4) อภิปราย
(5) เสวนา
ตอบ 3 หน้า 217 การเล่าเรื่องเป็นการสอน ถ่ายทอดความรู้ หรือนําเสนอข้อมูลในเชิงอุปมาอุปไมย และเปรียบเทียบ รวมทั้งยังเป็นการสอนในแง่ความคิดต่าง ๆ ในด้านปรัชญาและคติธรรม

53. การพูดในระดับ “ระหว่างบุคคล” มีลักษณะการสื่อสารแบบ
(1) น่าสนใจ
(2) ไต่ถามทุกข์ – สุข
(3) เป็นไปตามอัธยาศัย
(4) จากใจถึงใจ
(5) ให้แง่คิดดี ๆ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดระหว่างบุคคล เป็นการพูดขั้นพื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วม และมีลักษณะของการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัดประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับ สภาวะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของกันและกัน

54. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการนําเสนอเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่
(1) ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย
(2) ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี
(3) หลักฐานที่ชัดเจนพอ
(4) หลักการที่ควรปฏิบัติ
(5) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายพูดและแสดง ความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้ เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

55. หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถในปัจจุบันเป็นอย่างไร
(1) เชิดชูคนเก่ง
(2) ทุกคนมีแต่ได้
(3) สัมพันธ์แนบแน่น
(4) ละลายพฤติกรรม
(5) หนทางสู่ชัยชนะ
ตอบ 1หน้า 448, (คําบรรยาย) หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถในปัจจุบันนั้น ผู้พูดควรพูดให้สั้นที่สุด (ไม่ควรพูดเกิน 15 นาที) โดยควรกล่าวยกย่องเชิดชูคนเก่ง ที่ได้รับรางวัลแต่พอสมควร และควรจดจําข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น ชื่อ – นามสกุล และผลงาน ของผู้ได้รับรางวัลให้แม่นยํา

56. ข้อใดเป็นการดําเนินงานลําดับแรก เมื่อนักศึกษารับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ
(1) กําหนดแนวคิดในการนําเสนอ
(2) จองที่พักและยานพาหนะล่วงหน้า
(3) หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันที
(4) เตรียมหาผู้ร่วมงานหรือผู้ช่วย
(5) ซ้อมบทพูดที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า
ตอบ 3(คําบรรยาย) ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เมื่อนักพูดรับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ มีดังนี้
1. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันทีเมื่อรู้ว่าจะต้องพูด
2. เริ่มหาข้อมูลจากความทรงจําที่มีอยู่
3. ดูจากข้อมูลที่มีอยู่
4. หาเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดหายไปหรือที่ต้องการใช้
5. พิจารณาเป้าหมาย และวัตถุประสงค์การพูดด้วย

57. การสรุปเรื่องราวทําหน้าที่ในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) ให้รู้ซึ้งถึงข้อมูลเชิงลึก
(2) รวมความเนื้อหา
(3) เปิดเผยความเป็นจริง
(4) ทําให้มีการจัดระเบียบข่าวสาร
(5) สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ตอบ 2 หน้า 38 – 40, (คําบรรยาย) เทคนิคการสรุปการพูดหรือจบการนําเสนอ มีดังนี้
1. การรวมความเนื้อหา หรือทวนแนวคิดสําคัญ (การสรุปไม่ใช่การย่อความ)
2.การทิ้งประเด็น หรือนําเสนอกรอบความคิดใหม่ให้พิจารณา
3. การตั้งคําถามกับผู้ฟัง (ทิ้งคําถาม)
4. การให้การบ้าน หรือฝากหลักการกลับไปคิดต่อ
5. การกล่าวคําคม สุภาษิต หรือคําพังเพย ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่กล่าวมา
6. การชักชวน
7. การเรียกร้อง
8. การเฉลยปมปัญหา
9. การยกอุทาหรณ์
10. การยอมรับ/ปฏิเสธสมมุติฐาน

58. ข้อใดไม่ใช่การสรุปที่ควรจะเป็น
(1) เฉลยปัญหาคาใจ
(2) ให้หลักการไปคิดต่อ
(3) ยอมรับ/ปฏิเสธสมมุติฐาน
(4) ยกอุทาหรณ์เตือนใจ
(5) ไม่มีอะไรจะพูดซ้ำเพราะหมดเวลาแล้ว
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

59. การยกสุภาษิตหรือคําพังเพยในการจบการนําเสนอ มีข้อพึงระวังที่สําคัญ คือ
(1) ถูกแบบแผนฉันทลักษณ์
(2) สอดคล้องกับสิ่งที่กล่าวมา
(3) ความทันสมัยทันเหตุการณ์
(4) มีหลักฐานอ้างอิง
(5) สื่อมวลชนนําเสนอเป็นข่าวดังอยู่ประจํา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

60. เนื้อหาการนําเสนอที่ผู้ฟังให้ความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง มักมาจาก
(1) การตอบสนองต่อปัญหาและความคาดหวัง
(2) มีพลังและแรงผลักดันทางสังคม
(3) มีรสนิยมตามระดับชนชั้น
(4) เป็นนวัตกรรมที่แปลกใหม่
(5) มีเหตุผลกินใจไร้ที่ติ
ตอบ 1(คําบรรยาย) เนื้อหาการนําเสนอที่ผู้ฟังให้ความสนใจ คือ เรื่องราวที่ตอบสนองต่อปัญหาและ ความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ดังนั้นการวิเคราะห์ผู้ฟังหรือผู้ชมในการพูดแต่ละครั้ง จึงเป็นสิ่งที่นักพูดถือว่าเป็นเรื่องจําเป็นและขาดไม่ได้ เพราะการพูดจะไม่ประสบความสําเร็จหากไม่รู้จักผู้ฟังดีพอ

61. ในการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน บุคคลใดสมควรเป็นผู้ให้ข้อมูลสําคัญในลําดับแรก
(1) ผู้นําองค์กร
(2) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ
(3) ผู้ที่สังคมให้ความสนใจ
(4) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น
(5) ผู้ทําหน้าที่สื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) เรียงตามลําดับ
ความสําคัญของบุคคลได้ ดังนี้ หรืออยู่ในเหตุการณ์
1. เป็นผู้รู้ (สําคัญที่สุด)
2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็น
3. เป็นผู้นํา ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสําคัญ
4. เป็นผู้มีประสบการณ์
5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ
6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง

62. นักประพันธ์บทภาพยนตร์ซึ่งเพิ่งรับรางวัลระดับโลก ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย หลังจากที่ประกาศ
ผลการตัดสินมาแล้ว และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ นักศึกษารู้หรือไม่ว่าเป็นการสัมภาษณ์แบบใด
(1) One By One Interview
(2) Press Conference
(3) Press Interview
(4) Sport Conference
(5) Interview Meeting
ตอบ 2 หน้า 257 การเปิดให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์รวม (Press Conference) คือ การที่บุคคลสําคัญ เปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวของสื่อมวลชนต่าง ๆ ทําการสัมภาษณ์รวม เพื่อซักถามข้อข้องใจอย่างเป็นพิธีการ

63. ในการบรรยายพิเศษ ทําไมจึงต้องมีการแนะนําผู้บรรยาย
(1) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูด
(2) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ฟัง
(3) เพื่อฆ่าเวลา
(4) เพื่อยกย่องในเกียรติประวัติที่ทํามา
(5) เพื่อสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
ตอบ 1 หน้า 310, 444 จุดมุ่งหมายในการแนะนําองค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูดว่าเป็นใคร ทําอะไร และมีความสําคัญอย่างไร
2. เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด ฯลฯ

64. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แนะนําวิทยากรที่จะมาแสดงปาฐกถา ท่านจะถามหาข้อมูลเกี่ยวกับ
วิทยากรจากใครที่จะได้ตรงเป้าหมายที่สุด
(1) ประธาน
(2) สื่อมวลชน
(3) ผู้เชิญ
(4) เจ้าภาพ
(5) วิทยากร
ตอบ 5 หน้า 311, (คําบรรยาย) ถ้าผู้แนะนําไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร (องค์ปาฐก) ที่จะมาแสดงปาฐกถา ก็ควรติดต่อวิทยากรหรือถามจากเลขานุการในทีมงานวิทยากรว่า จะให้ตนแนะนําอย่างไร โดยต้องติดต่อกันก่อนวันแนะนําจริง

65. ข้อใดคือต้นฉบับที่พึงประสงค์
(1) สวยงามมีคุณค่า
(2) โดดเด่นดูเตะตา
(3) ไม่มีร่องรอยแก้ไข
(4) ได้รับการรับรองแล้ว
(5) มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาที่มี
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4. มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี
5. อ่านง่ายทั้งแบบอักษรและขนาดตัวพิมพ์ ฯลฯ

66. เมื่อกล่าวขอบคุณผู้บรรยายพิเศษเสร็จสิ้น ควรทําอะไรต่อไป
(1) เชิญชวนให้มาพูดอีก
(2) เชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้ผู้บรรยาย
(3) สรุปเนื้อหาสาระอีกรอบ
(4) สรุปเนื้อหาและวิจารณ์วิทยากรทันที
(5) เชิญชวนถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก
ตอบ 2 หน้า 312 หลังจากที่องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ได้จบการพูดลงแล้ว พิธีกรจะต้องลุกขึ้นไปกล่าวขอบคุณเป็นข้อความสั้น ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะกล่าวขอบคุณ และเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ด้วยก็ได้

67. ในการบรรยายพิเศษที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรนั้น ผู้พูดควรพูดอย่างไรเพื่อให้เรื่องที่พูดนั้น
เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
(1) แทรกบทตลกตลอดเวลา
(2) พูดเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน
(3) พาดพิงถึงบุคคลอื่นอย่างสนุกสนาน
(4) ระบายความน้อยเนื้อต่ำใจของตนเอง
(5) เล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, (คําบรรยาย) ในการแสดงปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษนั้น ผู้พูดควรพูด เรื่องที่น่าสนใจสําหรับผู้ฟัง หรือเรื่องที่ให้ความรู้ และควรจะเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ยกเว้นเรื่องที่เป็นความลับหรือเรื่องส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ผู้พูดอาจแทรก บทตลกได้เท่าที่จําเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจ จากนั้น จึงดึงประเด็นเข้าสู่สาระหลักที่จะพูดต่อไป

68. ข้อใดหมายถึง การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา
(1) การสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง
(2) การแสวงหาความรู้ให้มากพอ
(3) การริเริ่มแนวคิดเพื่อการนําเสนอ
(4) การปรับปรุงบุคลิกภาพ
(5) รู้จักการขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา หมายถึง การปรับปรุงบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนําเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้สายตา การใช้ภาษา น้ําเสียง การยืน การแต่งกาย กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนกับเครื่องมือที่ใช้ สื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตนเองเพื่อให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมาย เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

69. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูด สิ่งที่ไม่ควรกระทํา คือ
(1) เดินตัวตรง ยิ้มให้กับผู้ชม ผู้ฟังตามสมควร
(2) เดินอกผายไหล่ผึ้ง ทําความเคารพประธาน ทักทายคนรู้จัก
(3) เดินตรงไปยังที่นั่งของตน สํารวจว่าตรงกับชื่อตัวเองหรือไม่ แล้วรีบนั่งลงไป
(4) เดินไปตามลําดับที่พิธีกรประกาศชื่อ ไม่ทักทายประธานในพิธี
(5) อยู่ ณ ที่พักของตนเอง และรอจนกว่าพิธีกรประกาศจึงเข้าประจําตําแหน่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

70 ในการประชุมร่วมกันนั้น หากมีผู้ที่ต้องการพูดเพิ่มเติม ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสําคัญมาก แต่ลําดับ
การพูดของตนผ่านไปแล้ว เขาควรทําอย่างไร
(1) พูดแทรกเมื่อมีจังหวะแล้วจึงขออภัย
(2) ให้ทุกคนพูดจบแล้วจึงพูดเพิ่มเติม
(3) ขออนุญาตจากประธานก่อนแล้วจึงพูด
(4) ให้ผู้ดําเนินการสรุปจบก่อนแล้วจึงพูด
(5) ขออภัยและขออนุญาตสมาชิกในที่ประชุมจากนั้นจึงกล่าวถึงประเด็นของตน

ตอบ 3 หน้า 206 มารยาทของผู้เข้าร่วมประชุมประการหนึ่ง คือ เมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องที่สําคัญ หรือต้องการพูดคัดค้าน ควรให้สัญญาณหรือขออนุญาตจากประธานก่อน แสดงความคิดเห็น เช่น ยกมือขึ้นเพื่อเป็นการขออนุญาต เมื่อประธานอนุญาตจึงเริ่มพูดได้

71. ประโยชน์ของการพูดในแง่มุมของการส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตย คือข้อใด
(1) เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
(2) เพื่อเผยแพร่นโยบาย
(3) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น
(4) เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ
(5) เพื่อเป็นเวทีในการประกาศเจตนารมณ์ของตนเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตยจะพิจารณาจากความสมดุลในการ สื่อสาร โดยประโยชน์ของการพูดในแง่มุมนี้ คือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น เพราะสังคมประชาธิปไตยนั้นต้องการความคิดเห็นของสมาชิกเป็นสําคัญ

72. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของนักพูด
(1) กระตุ้นเตือนสังคม
(2) บอกวิธีรักษาโรคภัยให้ผู้ป่วย
(3) สร้างสรรค์สุนทรียะทางภาษา
(4) จูงใจให้เกิดการซื้อขาย
(5) ให้ความรู้ด้วยสาระความบันเทิง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้าที่ของนักพูด มีดังนี้
1. บอกกล่าวเรื่องราว
2. ให้ความรู้
3. สอดส่องดูแลและเตือนภัยสังคม
4. สร้างความจรรโลงใจ
5. โน้มน้าวใจให้เกิดการกระทํา

73. ความประหม่าของผู้พูด เป็นปัญหาการพูดในกลุ่มใด
(1) ภาษา
(2) แนวคิด
(3) สาระ
(4) การพัฒนาตน
(5) การปรับตัว
ตอบ 5(คําบรรยาย) ปัญหาที่เกิดกับการพูดด้านบุคลิกและการปรับตัวทั่วไป ได้แก่
1. แต่งกายไม่เหมาะสมกับผู้ฟังหรือสถานที่
2. การเดินไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
3. ความประหม่าของผู้พูดที่จะต้องปรากฏกาย
4. เกรงว่าจะควบคุมกิริยาท่าทาง มารยาท การวางตัวไม่ได้ ฯลฯ

74. ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ
(1) มาตรงเวลาทุกครั้ง
(2) ทําการซ้อมอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้ชม
(3) ทําทุกอย่างเองเพื่อความสมบูรณ์แบบ
(4) ทําตัวให้โดดเด่นน่าภูมิใจ
(5) มาก่อนเวลาเพื่อสํารวจจุดบกพร่อง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) วินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ คือ ต้องไปถึงสถานที่ที่จะพูด ก่อนเวลา หรือเผื่อเวลาไว้นานพอสมควรสําหรับการไปถึง เพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็น เวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง

75 การพูดแบบใดที่ส่งเสริมให้รู้จักพูดชักจูงใจให้คนฟังคล้อยตามความคิดเห็นของตน
(1) รายงาน
(2) อภิปราย
(3) โต้วาที
(4) วิจารณ์
(5) เสวนา
ตอบ 3 หน้า 403 การโต้วาที คือ การโต้แย้งด้วยการใช้คําพูดที่ประกอบด้วยเหตุผลและใช้วาทศิลป์ หักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อมุ่งให้ได้รับชัยชนะ ซึ่งการโต้วาทีถือเป็นการพูดแบบชักจูงใจ ให้คนฟังคล้อยตามความคิดเห็นของตน และเป็นการอภิปรายที่ต้องมีการโต้แย้งกันด้วยเหตุผล เพื่อตัดสินว่าจะรับหลักการหรือนโยบายนั้นหรือไม่

76. การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติ มีผลอย่างไรต่อการเตรียมข้อมูล ในการพูดแต่ละครั้ง
(1) เพื่อสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นําเสนอ
(2) เพื่อเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม
(3) เพื่อต้องการทราบแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้ – เสีย ของผู้ฟัง
(4) เพื่อกําหนดวาระรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา
(5) เพื่อสร้างความรู้สึกและความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ฟัง ผู้ชม เพื่อตรวจสอบความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติ จะทําให้ผู้พูดทราบถึงแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้ – เสีย ของผู้ฟัง เพื่อให้ ผู้พูดสามารถเตรียมข้อมูลในการพูดแต่ละครั้งได้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ฟังเชื่อและยึดถือ ไม่ไป ขัดแย้งหรือดูถูกความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติที่ผู้ฟังมีอยู่แต่เดิม

77. ผู้ดําเนินรายการที่ดี ไม่ควรมีบุคลิกแบบใด
(1) หลีกเลี่ยงการพูดถ้อยคําที่ซ้ำซาก
(2) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
(3) เลือกใส่เสื้อผ้าที่ดูสง่างามมีราศี
(4) พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด
(5) ทําตัวให้กลมกลืนและเป็นธรรมชาติกับงานได้ในทุกกาลเทศะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้ดําเนินรายการที่ดีไม่ควรกระทํา คือ พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด เพราะทําให้การพูดครั้งนั้นออกนอกเรื่องหรือนอกประเด็นสําคัญที่ต้องการจะพูด และทําให้เนื้อหาการพูดยาวเกินเวลาที่กําหนดอีกด้วย

78. การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้องเริ่มด้วย
(1) การแนะนําเจ้าภาพ
(2) คําปฏิสันถาร
(3) บทประทับใจ
(4) การกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ
(5) คําชื่นชมในโอกาสนั้น ๆ
ตอบ 2 หน้า 445 การกล่าวต้อนรับ เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้ที่มาเยี่ยม เป็นการ แนะนําผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาใหม่ให้รู้จักสถานที่นั้น ๆ ดีขึ้น โดยการกล่าวต้อนรับอย่างเป็น พิธีการจะต้องเริ่มต้นด้วยการกล่าวคําปฏิสันถารก่อนเสมอ

79. การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เป็นการระวังด้านใด
(1) อารมณ์
(2) ท่าทาง
(3) สื่อมวลชน
(4) องค์กร
(5) เนื้อหา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะ สาขา เป็นการระวังป้องกันข้อผิดพลาดในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีศัพท์เฉพาะสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งคนนอกวงการอาจไม่รู้ความหมาย หรือทําให้เข้าใจง่ายขึ้น

80. น้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกันโดยตลอดสร้างปัญหาให้แก่ผู้ฟังด้านใดมากที่สุด
(1) ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ผู้พูดถ่ายทอด
(2) ทําให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก
(3) หมดศรัทธา ไม่น่าเชื่อถือในตัวผู้พูด
(4) สร้างความสงสัยในเนื้อหา
(5) เบื่อหน่าย ละเลยการติดตามประเด็น
ตอบ 5หน้า 14, (คําบรรยาย) หลักการใช้เสียงพูดที่ดีข้อหนึ่ง คือ ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียง เนื่อย ๆ หรือน้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกัน (ไม่มีเสียงสูง – ต่ำ) โดยตลอด เพราะจะทําให้ผู้พูด พูดโดยขาดความมีชีวิตชีวา และผู้ฟังก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รําคาญ จนอาจไม่สนใจหรือละเลย การติดตามประเด็น

81. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดเกิดจาก ……. มากที่สุด
(1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
(2) ความตั้งใจที่มีมากจนเกินไป
(3) การเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
(4) อุปกรณ์บกพร่องไม่สามารถใช้งานได้
(5) การประสานงานจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่น่าประทับใจ
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนก่อให้เกิด ความประหม่าตื่นเต้นบนเวที มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. การไม่เตรียมตัวมาอย่างดีพอ ซึ่งปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
2. การไม่ซักซ้อมอย่างเพียงพอ
3. การไม่ใส่ใจต่อบุคลิกภาพของตนเองเมื่อต้องปรากฏตัว ให้เหมาะสมกับลักษณะพิธีการ สถานที่ และเจ้าภาพ เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ ฯลฯ

82. เมื่อเข้า ณ ที่พูดแล้ว ผู้พูดไม่ควรทําอะไรต่อหน้าผู้ฟัง
(1) ยิ้ม
(2) ดื่มน้ำ
(3) ดูบันทึกย่อ
(4) ทดสอบเสียง
(5) นั่งเฉย ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

83. โดยปกติแล้วกระดาษบันทึกบทพูดมีขนาดเท่าไร
(1) ขนาด 20 คูณ 29.3 เซนติเมตร
(2) ขนาด 21 คูณ 29.7 เซนติเมตร
(3) ขนาด 21 คูณ 30 เซนติเมตร
(4) ขนาด 21 คูณ 30.9 เซนติเมตร
(5) ขนาด 21 คูณ 31.79 เซนติเมตร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วกระดาษบันทึกบทพูดที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐาน A4 คือ
ขนาด 21 x 29.7 เซนติเมตร หรือ 210 x 297 มิลลิเมตร

84. การนําเสนอเนื้อหาสาระการพูดด้วยวิธีการต่าง ๆ มีข้อควรระวังที่เหมือนกัน คือ
(1) จัดทําเนื้อหาให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าภาพ
(2) กล่าวสรรเสริญและขอบคุณแขกผู้มีเกียรติทุกครั้งที่มีโอกาส
(3) สร้างความประทับใจที่มีต่อคณะกรรมการจัดงานหรือผู้เกี่ยวข้อง
(4) พูดอย่างเป็นธรรมชาติให้เหมือนการสนทนาตามปกติ
(5) กล่าวขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยให้ตนเองประสบความสําเร็จครั้งนี้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

85. การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดพิจารณาจาก
(1) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร
(2) ความยาว – สั้น ในการนําเสนอ
(3) การแบ่งหัวข้อเป็นประเด็นต่าง ๆ
(4) ประเด็นหลักและข้อมูลสนับสนุน
(5) เวลาที่เจ้าภาพให้กับการพูดครั้งนั้น
ตอบ 1 หน้า 24, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดพิจารณาจากผลการวิเคราะห์
ปัจจัยการสื่อสาร ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้ฟังหรือผู้ชม โดยพิจารณาจากสภาพสังคมประชากร ประสบการณ์ กรอบอ้างอิง ทัศนคติ ระบบสังคมและวัฒนธรรมของผู้ฟัง

86. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด
(1) เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
(2) ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
(3) พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
(4) แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของคนพูด
(5) ข่าวสารที่แพร่กระจายใน Social Media

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด มีดังนี้
1. เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
2. ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบ ในระดับที่ต่างกัน
4. แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของผู้พูด

87. ข้อใดไม่ควรกระทํา หากผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความเห็น
(1) เลือกชื่อคนที่คุ้นเคยก่อน
(2) ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป
(3) เลือกคนที่ยกมือก่อน
(4) ใช้ปากกาชี้ระบุคน
(5) ให้ประธานช่วยเลือก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทําหากต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น คือ ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป เพราะการเอามือออกไปด้านหน้าตัวเอง หรือใช้มือชี้หน้าผู้ฟัง เป็นการ แสดงถึงความมีอํานาจเหนือผู้ฟัง

88. เรื่องสําคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ อาศัยหลักการใดในการพูด
(1) ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก
(2) ย้ำคิดย้ำทํา
(3) สั่งสอนให้รู้สํานึก
(4) บอกใบ้ให้ทายใจ
(5) ต่อเติมส่วนที่ขาดหาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

89. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติสําคัญของผู้มีความสง่างามในการนําเสนอเรื่องราวบนเวที
(1) ทําตามที่ตกลงไว้กับเจ้าภาพ
(2) มาก่อนเวลาเพื่อทดสอบคิว
(3) รู้จักกาลเทศะและสถานะการแสดงออก
(4) เอาใจใส่ผู้ชม – ผู้ฟัง
(5) ทําอย่างไรก็ได้ตามที่คุ้นเคย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติสําคัญของผู้มีความสง่างามในการนําเสนอเรื่องราวบนเวที คือ รู้จัก กาลเทศะและสถานะการแสดงออกที่เหมาะสมกับเวลา สถานที่ วาระโอกาส เจ้าภาพ และแบบธรรมเนียมของแต่ละสังคม

90 การพากย์กีฬาแข่งขันฟุตบอลซึ่งเป็นการถ่ายทอดสด เป็นการพูดลักษณะใด
(1) ท่องจํา
(2) อ่านจากต้นฉบับ
(3) พูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) พูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) พูดโดยกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า
ตอบ 3 หน้า 89, (คําบรรยาย) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่น การพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาว, การกล่าวทักทายเมื่อเผอิญได้พบกัน, การตอบ ปัญหาบางประการ ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ ไม่ต้องรีบตอบ และประสานสายตากับผู้ฟังเสมอ
2. ใช้ปัญญาวิเคราะห์ หรือใช้ปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด
3. พยายามนึกถึงโครงสร้างของการพูด
4. ฝึกซ้อมตอบคําถามในใจในเรื่องที่เตรียมได้
5. พูดหรือตอบคําถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น มีความหมายชัดเจน หากไม่แน่ใจในประเด็น คําถามก็อาจขอให้ผู้ถามทวนคําถามเพื่อความแน่นอน หรือนัดหมายให้กลับมาถามใหม่อีกครั้งหากไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้

91 ข่าวหลังละครช่วงดึก เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดโดยการท่องจํา
(2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) การพูดแบบมีบทโดยไม่เตรียมตัว

ตอบ 2 หน้า 90 การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดที่อ่านจากโน้ตที่ได้เตรียมไว้โดยไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเลย จึงเป็นการอ่านมากกว่าการพูด มักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ เช่น การอ่านข่าว การอ่านบทความ การอ่านรายงาน เปิดกิจการ สุนทรพจน์ของบุคคลสําคัญ การกล่าวคําปราศรัยเนื่องในโอกาสต่าง ๆ คําแถลงการณ์ของรัฐบาล/คณะปฏิวัติ ฯลฯ

92. นอกจากการเตรียมตัวไม่พร้อมแล้ว ความตื่นเต้นในเวทีมักจะเกิดจาก
(1) ขนาดห้องประชุม
(2) ขาดการประสานงาน
(3) แต่งกายผิดกาลเทศะ
(4) ค่าตอบแทนการพูดที่มากเกินจริง
(5) อุปกรณ์ไม่พร้อมหรืออยู่ในสภาพชํารุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

93. ข้อใดแสดงออกถึงความสมดุลในกระบวนการพูด
(1) พูดเสนอความสามารถของตนเองหลังจากที่คนอื่นอภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้ว
(2) เปิดช่องทางให้แสดงความเห็น มีการสนทนาโต้ตอบตรงไปตรงมา
(3) กล่าวตามยถากรรมปล่อยวางทุกสิ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นกลางทางความคิด
(4) ใช้วาจาอ่อนหวานโน้มน้าวใจ โดยไม่เร่งเร้าหรือแสดงอาการกดดัน
(5) นําเสนอข้อเท็จจริงพร้อมไปกับข่าวลือด้วยตนเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ) ความสมดุลในกระบวนการพูด หมายถึง การเปิดช่องทางให้คู่สื่อสารร่วมแสดงความคิดเห็นหรือเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันและกันโดยมีการสนทนาโต้ตอบอย่างตรงไปตรงมา จนเกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร

94. ข้อใดแตกต่างจากการพูดในข้ออื่นหากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์
(1) การรายงานข่าวของผู้สื่อข่าวภาคสนาม
(2) รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
(3) เชิญชวนนําหมา – แมว มาฉีดวัคซีน
(4) ขอความร่วมมือร่วมบริจาคโลหิต
(5) แนะนําชาวบ้านให้หันมาปลูกพืชไร่นาแบบผสมผสาน
ตอบ 1 หน้า 94 – 96, (คําบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจ เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิด การเปลี่ยนพฤติกรรม การกระทํา ความเชื่อ หรือทัศนคติ โดยต้องอาศัยหลักการที่สําคัญ คือ การสร้างเกณฑ์ทางใจหรืออิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออกซึ่งตัวอย่างของการ พูดเพื่อชักจูงใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า, การรณรงค์ การเชิญชวน หรือการขอความร่วมมือ ในเรื่องต่าง ๆ, การพูดแนะนําให้เปลี่ยนพฤติกรรม ฯลฯ

95. หากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์ ข้อใดไม่เข้าพวก
(1) อภิปรายปัญหาสังคมโดยผู้เชี่ยวชาญจากด้านพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(2) เสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการอิสระ
(3) ตั้งวงสนทนาระหว่างผู้มีส่วนได้ – เสีย ในกิจการท่องเที่ยว
(4) การแสดงปาฐกถาโดยเมธีวิจัยอาวุโส ซึ่งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ
(5) ประชุมโต๊ะกลมโดยเชิญเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้างานมาให้ความคิดเห็น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ และปรึกษาหารือ ระหว่างกัน เช่น การอภิปราย การเสวนา การสัมมนา การสนทนา การประชุมโต๊ะกลม ฯลฯ

96. การพูดเป็นการสื่อสารที่เน้นการแสดงออกอย่างน้อย 2 ด้าน คือ
(1) บุคคล – ตัวตน
(2) ตัวตน – วาจา
(3) วาจา – ภาษา
(4) ภาษา – ทักษะ
(5) ทักษะ – แนวคิด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพูดเป็นการแสดงออกใน 2 ส่วน คือ การแสดงตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดง ตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา หรืออากัปกิริยาท่าทางใน ระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหาสาระที่จะพูด น้ําเสียงและสําเนียง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องเนื้อหาและบุคลิกภาพไปพร้อม ๆ กัน

97. ในกรณีที่ถูกซักถามด้วยคําตอบที่ไม่ได้มีการเตรียมมา และไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้อย่างแน่นอน
วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ
(1) นัดกลับมาถามใหม่
(2) ขอโทษที่ทําให้ผิดหวัง
(3) แก้ตัวว่าไม่พร้อม
(4) ย้อนถามว่ารู้มาจากไหน
(5) อยู่เฉย ๆ แล้วชวนสนทนาเรื่องอื่นไปก่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

98. แนวทางของการพูดในกิจกรรมขององค์กรสื่อมวลชนขึ้นอยู่กับ
(1) ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนตัวของหน่วยปฏิบัติการ
(2) ทําตามกําหนดการที่มีอยู่
(3) มีการกําหนดหน้าที่ผู้พูดหรือมีการเลือกผู้พูดอย่างชัดเจน
(4) ลักษณะผู้นํา – ผู้ตาม ในหน่วยงานของสื่อ
(5) ผลกระทบตามกระแสสังคม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวทางการพูดในกิจกรรมขององค์กรสื่อมวลชน มักจะขึ้นอยู่กับการเลือกผู้พูด อย่างชัดเจน หรือการกําหนดให้ผู้พูดเป็นบุคคลที่ทําหน้าที่โดยตรง เช่น ผู้ประกาศข่าว พิธีกร ผู้ดําเนินรายการ สื่อมวลชน หรือเป็นผู้รับเชิญให้พูดเป็นกรณี ๆ ไป

99. ข้อใดผิด
(1) นมัสการพระคุณเจ้า ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการทุกท่าน
(2) ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการที่เคารพ บุคลากรทั้งหลาย
(3) ท่านอธิการบดี ลูกศิษย์คณะต่าง ๆ ที่มารวมกัน ณ ที่นี้ และคณาจารย์ทุกท่าน
(4) สัมมนาสมาชิกผู้ร่วมอุดมการณ์ทุกท่านในห้องประชุมแห่งนี้
(5) ผู้มีเกียรติทุกท่าน รวมทั้งน้อง ๆ ที่น่ารัก ซึ่งมาร่วมงานกับพวกเราในวันนี้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

100. คําว่า “สติ” ในกิจกรรมทางวาทวิทยา หมายถึง
(1) การเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับได้ทันทีด้วยความเป็นมืออาชีพ
(2) มีการใช้ทักษะของบุคคลเพื่อตอบโต้หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วง
(3) การใช้สื่อและช่องทางการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประสิทธิผล
(4) สามารถดําเนินการได้เพียงลําพังด้วยความรู้ที่มีอยู่ไม่ต้องพึ่งพาใคร
(5) การคิดด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบและสังเคราะห์บทโต้ตอบที่เหมาะสม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “สติ” ในกิจกรรมทางวาทวิทยา หมายถึง การใช้ทักษะของบุคคลหรือ ใช้ปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด เพื่อตอบโต้หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) นักพูด
(2) พิธีกร
(3) โฆษก
(4) นักประชาสัมพันธ์
(5) นักวิจารณ์

1 ทําหน้าที่หลักในการสื่อสารองค์กร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ที่ทําหน้าที่หลักในการสื่อสารองค์กร โดยเน้นการ นําเสนอภาพลักษณ์เพื่อให้กิจกรรมขององค์กรบรรลุผลตามเป้าหมาย และให้ประชาชนเกิดจินตภาพที่ดีต่อองค์กร

2 แนวคิดในการทํางานต่างจากข้ออื่น
ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) นักวิจารณ์ เป็นผู้ที่มีแนวคิดในการทํางานต่างจากการพูดชนิดอื่น เพราะนักวิจารณ์จะต้องพูดทั้งติและชมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและถูกหลักการ วิจารณ์เพื่อเสนอแนะสิ่งที่ดีกว่า ดังนั้นจึงเป็นการพูดที่ต้องใช้หลักทางตรรกวิทยาหรือใช้หลักทาง เหตุผลมาประกอบ โดยไม่เอาอารมณ์ของผู้พูดเข้ามาเกี่ยวข้อง

3 เรียกอย่างเป็นทางการว่า “วาทกร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักพูด หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า “วาทกร” จะเปรียบเสมือนนักแสดงใน แต่ละโอกาสหรือแต่ละเวที เพราะการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ การแสดงตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา หรืออากัปกิริยา ท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหาสาระที่จะพูด น้ำเสียงและ สําเนียง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องเนื้อหาและบุคลิกภาพไปพร้อม ๆ กัน

4 เน้นการนําเสนอภาพลักษณ์เพื่อให้กิจกรรมบรรลุเป้าหมาย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

5. ทําหน้าที่ควบคุมกระบวนการทํางานด้วยการสื่อสารที่เป็นคําพูด
ตอบ 3 หน้า 443, (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของโฆษก ได้แก่
1. เป็นตัวกลางติดต่อสื่อความหมายระหว่างผู้รับเชิญ (โดยปกติมีเพียง 1 คน) กับผู้ฟังหรือผู้ชม
2. ควบคุมกระบวนการทํางานด้วยการสื่อสารที่เป็นคําพูด
3. รายงานข้อมูลสําคัญและขั้นตอนต่าง ๆ ภายในงาน รวมทั้งกล่าวแนะนําผู้รับเชิญ และ กล่าวแทนผู้ฟังหรือผู้ชม ฯลฯ

6 เปรียบเสมือนนักแสดงในแต่ละโอกาสหรือแต่ละเวที
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

7 ทําหน้าที่รายงานข้อมูลสําคัญ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8.วางหลักการเพื่อเสนอแนะสิ่งที่ดีกว่า
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

9. พบเห็นในการประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมที่มีการนําเสนอ
ตอบ 2 หน้า 444, (คําบรรยาย) หน้าที่ของพิธีกรจะคล้ายคลึงกับหน้าที่ของโฆษก ต่างกันที่ว่าหน้าที่ ของพิธีกรนั้นมักใช้ในกิจกรรมที่มีความเป็นพิธีการอย่างสูง ซึ่งมีผู้รับเชิญให้พูดมากกว่า 1 คน ขึ้นไป จึงมักพบเห็นในการประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมที่มีการนําเสนอ

10. มักใช้ในกิจกรรมที่มีความเป็นพิธีการอย่างสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย …….“ระหว่างบุคคล” และ “สื่อมวลชน”
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ช่องว่าง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

12. ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งใดจะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของการพบเห็นเป็นส่วนใหญ่
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของ การพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ คือ ตัวตนของผู้พูด ซึ่งได้แก่ บุคลิกภาพทั้งหมดที่ปรากฏออกมา

13. ข้อใดพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ภาพลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งการที่จะใช้เสียงพูดให้ มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

14. ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “อัตลักษณ์”
(1) ความโดดเด่น
(2) ความน่านิยม
(3) ผลรวมของตัวตน
(4) คุณค่าของบุคคล
(5) ลักษณะที่น่าเลื่อมใส
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ (Identity) คือ ผลรวมของตัวตน ความเป็นตัวตน หรือส่วนประกอบ ที่รวมเป็นตัวบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างของอัตลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ได้แก่ บัตรประชาชน

15. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี
(1) การรู้จักใช้เหตุผลในการนําเสนอ
(2) สาระที่พูดต้องพิสูจน์ความจริงได้
(3) ต้องคิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) ผู้พูดต้องปรับตัวตามสถานการณ์
(5) การพูดต้องอาศัยความมีสติปัญญา ฉลาด และรอบรู้
ตอบ 3 หน้า 65, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี คือ ต้องคิดให้รอบคอบ ก่อนพูด ซึ่งเป็นมารยาทในการพูดที่วิชาวาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด เพราะถ้าหากพูด โดยไม่ยั้งคิด และขาดความรอบคอบในการไตร่ตรองเนื้อหาก่อนที่จะพูด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูด ในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนายคําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

16. เสียงในเชิงวาทวิทยาไม่สามารถสื่อสารถึง……………………..
(1) เนื้อหา
(2) ข้อมูล
(3) สาระ
(4) ความรู้สึก
(5) ความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและสําเนียง โต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงจะเป็นเพียงการเปล่งวาจาออกมา ส่วนสําเนียงจะบอกถึง อากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถสื่อสารถึงอารมณ์ความรู้สึกได้โดยตรง หากไม่มีสําเนียงมาช่วย

17. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย
(1) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาท่าทาง
(3) ภาษาทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) ภาษาหนังสือ – ภาษาท่าทาง
(5) ภาษาพูด – ภาษาท่าทาง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า ฯลฯ

18. ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน คือ
(1) ขึ้นอยู่กับสุขภาพกายและใจ
(2) ต้องอาศัยท่าทางประกอบจึงจะเข้าใจตรงกัน
(3) เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน
(4) ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ฟังและสภาพแวดล้อม
(5) เป็นไปตามพรสวรรค์และความสามารถของแต่ละบุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน
คือ เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน เพราะเสียงเมื่อพูดไปแล้วก็จบไปเลย หากผู้ฟังไม่มีโอกาส ฟังซ้ําก็จะทําให้หลงลืม จึงไม่อาจนํามาเป็นหลักฐานได้

19. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
(4) พื้นฐานความรู้มาก – น้อย
(5) การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง
ตอบ 4(คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
4. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

20. ข้อใดเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ
(4) เตรียมโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ คือ การพูดให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการจะให้คนฟังได้รับทราบ

21. ข้อใดเป็นกระบวนการที่ต้องกระทําเป็นอันดับแรกในการพูดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมทุกประเภท
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) ค้นคว้าข้อมูลทันที
(4) ร่างเนื้อหาการพูด
(5) วิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดจะต้องประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

22 กระบวนการพูดที่มีประสิทธิผลนั้น ประกอบด้วย
(1) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงตน – พัฒนาบุคลิกภาพ
(2) วิเคราะห์ผู้ฟัง – นําเสนอแนวคิด – ออกแบบการพูด
(3) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงบุคลิกภาพ – ประมวลเนื้อหา
(4) วิเคราะห์ตนเอง – สร้างสรรค์เนื้อหา – นําเสนอบนเวที
(5) วิเคราะห์เนื้อหา – สรุปประเด็น – นําเสนอบนเวที
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบสําคัญ 3 สิ่ง ดังนี้
1 การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2 การวิเคราะห์ผู้ฟังกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูดและประมวลเนื้อหาเพื่อออกแบบสาระเนื้อหาในการพูด

23. แนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น สิ่งเร้าที่น่าสนใจเกิดจากข้อมูลกลุ่มใด
(1) ประโยชน์ – การเร่งรัด
(2) การเร่งรัด – ความพอใจ
(3) ความพอใจ – ความต้องการ
(4) ความต้องการ – ภาพลักษณ์
(5) ภาพลักษณ์ — ความคุ้นเคย
ตอบ 3(คําบรรยาย) สิ่งเร้าที่น่าสนใจ ซึ่งเกิดจากตัวผู้ชม ผู้ฟังนั้น ถือเป็นสิ่งเร้าของตนเอง
โดยพิจารณาจาก
1. ความสนใจ
2. ความพึงพอใจ
3. ความต้องการ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ
5. ลักษณะของกลุ่ม

24. โครงร่าง (Outline) มีประโยชน์ต่อการเตรียมเรื่องพูดอย่างไร
(1) ทําให้มีรสนิยม
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์
(3) ทําให้น่าติดตาม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(5) ทําให้มีเอกภาพ
ตอบ 5 หน้า 31 – 32, (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่า เรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

25. ก่อนจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ อะไรคือสิ่งที่ต้องทําทุกครั้ง
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจงบประมาณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

26. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่สามารถละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟังก่อน
(3) กล่าวอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
(2) สร้างความตื่นเต้นเร้าใจผู้ฟัง
(4) สรุปเนื้อเรื่อง
(5) กล่าวสวัสดี
ตอบ 1 หน้า 34 – 40, (คําบรรยาย) โครงสร้างของการพูด หรือลําดับของการพูดก่อน – หลัง ในการพูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย
1 คําปฏิสันถาร หมายถึง คําทักทายผู้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. คํานํา หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง เป็นการเกริ่น อารัมภบท หรือเป็นบทนําเข้าสู่เนื้อหา
3. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลหลักของการนําเสนอ หรือกลวิธีนําเสนอ
4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง
5. คําลงท้าย หมายถึง ข้อความกล่าวทิ้งท้ายเพื่อความประทับใจ
(ในส่วนของสรุปและคําลงท้ายอาจสลับที่กันได้ ซึ่งจะทําเฉพาะในกรณีที่ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญ
พอสมควร)

27. เหตุใดในการพูดแต่ละครั้งจะต้องมีการปฏิสันถาร
(1) เพื่อสร้างความสนใจ
(2) เพื่อปรับสถานการณ์
(3) เพื่อให้ความเห็น
(4) เพื่อให้คําจํากัดความ
(5) สร้างความคุ้นเคย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการมี “คํานํา”
(1) เปรียบเทียบข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ
ตอบ 1หน้า 35, (คําบรรยาย) ลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี ได้แก่
1. เป็นการเกริ่นด้วยเนื้อหาที่เร้าใจ
2. เป็นคํานําที่ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ หรือเสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง (แต่ไม่ใช่การสรุปสิ่งที่พูดเอาไว้ทั้งหมด)
3. เป็นบทนําที่ปูพื้นเหตุการณ์เอาไว้ก่อน หรือโยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
4. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างความสนใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกหรือสร้างอารมณ์ร่วม ฯลฯ

29. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจาก ….. เสมอ
(1) การเปรียบเทียบ
(2) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
(3) ความเห็น
(4) การนิยาม หรือให้คําจํากัดความ
(5) ประเด็นคําถามสําคัญ
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยาม หรือให้คําจํากัดความก่อนเสมอ ซึ่งหมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลัก ด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

30. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคยก่อน
(5) พูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้ําเสียงที่ชัดเจน

31. สิ่งใดควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูดเป็นอันดับแรก
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยนําเสนอ
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) พูดขออภัยในความผิดพลาดของตัวเอง
(5) กล่าวขอบคุณเจ้าภาพ
ตอบ 3หน้า 52 – 53, (คําบรรยาย) ข้อแนะนําเกี่ยวกับการขึ้นเวทีพูด มีดังนี้
1. พิธีกรกล่าวแนะนําและเชิญผู้พูดขึ้นพูด
2. ผู้พูดเดินไปทําความเคารพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด
3. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้องทําความเคารพหรือทักทายใครอีกแล้ว
4. เข้าที่พูดในลักษณะที่สง่างาม และผู้พูดควรยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสเป็นอันดับแรก เพราะกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ของการพูด คือ ยิ้มแย้มดีกว่าทิ้งตึง
5. หลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด ไม่ควรทดสอบเสียงโดยใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล ๆ” ฯลฯ

32. อะไรคือ “ความเป็นทางการ” ในการพูด
(1) การรู้จักกาลเทศะ
(2) เข้ากับงานสังคมได้
(3) มีเจ้าภาพที่แน่นอน
(4) การพูดตามกําหนดการในพิธี
(5) การปฏิบัติตามแบบแผนที่กําหนดไว้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นทางการในการพูด คือ การรู้จักกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) ทั้งนี้ เพราะการพูดที่ดี หมายถึง การใช้ถ้อยคํา น้ําเสียง รวมทั้งอากัปกิริยาอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท แบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

33 ข้อใดไม่ใช่ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างรสนิยมที่ดี
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) สํารวจตนเอง
(4) พัฒนาแนวทางของตนเอง
(5) หาเครื่องมือที่เหมาะสม
ตอบ 1(คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการสํารวจ และพัฒนาแนวทางของตนเองในด้านบุคลิกภาพ รวมทั้งเตรียมความพร้อมของเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่น
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ทําให้สามารถตรวจตรา สิ่งที่จําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น การหาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ

34. ผู้พูดไม่สามารถสร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟังได้ด้วย
(1) การสร้างศัพท์และคําสแลงขึ้นใหม่
(2) การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
(3) การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
(4) การใช้ถ้อยคําและท่าทางที่เหมาะสม
(5) แสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพที่สร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ดังนี้
1. การมีบุคลิกลักษณะท่าทางและรสนิยมที่ดี สุภาพ มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
2. การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
3. การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
4. การใช้ถ้อยคําและแสดงท่าทางที่เหมาะสม
5. การแสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด ฯลฯ

35. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการฟังเพื่อวิเคราะห์
(1) แยกแยะประเด็นและสาระ
(2) มีจรรยาบรรณ
(3) มีความสํารวมขณะฟัง
(4) จดจําเนื้อหาสําคัญให้ได้
(5) มีเหตุผลพร้อมที่จะโต้แย้งได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการฟัง มีดังนี้
1. ฟังเพื่อรับรู้เนื้อหาสาระและข้อมูล
2. ฟังเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
3. ฟังเพื่อเข้าถึงทัศนคติ ความคิดเห็น
4. ฟังเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน
5. ฟังเพื่อวิเคราะห์ (แยกแยะประเด็นและสาระสําคัญ) ประเมินผล และวิจารณ์

36. เมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อย สิ่งที่ต้องดําเนินการเพื่อป้องกันความผิดพลาด คือ
(1) เก็บไว้ในที่มิดชิดลับตา
(2) จัดวางไว้ที่ผู้พูดจะต้องขึ้นพูด
(3) ส่งต่อไปให้พิธีกร
(4) เข้าเล่มให้เรียบร้อย
(5) ทําสําเนา
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย1ชุด เพื่อให้ ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

37. หากต้องพูดให้ความรู้เรื่อง “การสร้างวินัยในวิชาชีพเพื่อความเข้มแข็งที่ยั่งยืน” นักศึกษาไม่ควรใช้
แนวคิดใดในการดําเนินเรื่อง
(1) การสร้างคุณงามความดี
(2) การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
(3) ท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
(4) โอนอ่อนผ่อนตาม
(5) การป้องกันความเสี่ยง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดในการดําเนินเรื่องหากต้องพูดให้ความรู้เรื่องดังกล่าว ได้แก่
1. การสร้างคุณงามความดีในวิชาชีพของตน
2. การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
3. การท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
4. การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

38. ข้อใดไม่ส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) กระแสสาธารณมติ
(2) แผนงานที่ต้องดําเนินการ
(3) แผนหน่วยงาน
(4) ความต้องการของเจ้าภาพ
(5) สุขภาพของตัวผู้พูดเอง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

39. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ไม่ถูกต้องตามหลักวาทวิทยา
(1) ผอ. ของผมแน่จริง ๆ ทํางานได้สมบูรณ์แบบอย่างที่สุด
(2) ผมไม่อาจนิ่งนอนใจได้มีแผนงานที่ต้องรีบดําเนินการ
(3) ขออภัยที่ต้องทํากับคุณแบบนี้ ผมได้รับคําสั่งมาครับ
(4) เจ้าภาพงานนี้มีรสนิยม ดูจากงานแต่งลูกสาวคนเล็กเมื่อวันก่อน
(5) ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีนะ โรคภัยและอุบัติเหตุไม่ควรมองข้าม
ตอบ 1 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตามหลักว่าทวิทยา Speech หมายถึง สาระหรือเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องที่พูด ซึ่งต้องมีการเตรียมและบรรลุประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เพราะ Speech เป็นกระบวนการพูดอย่างเป็นทางการที่จะต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) โดยมีการเตรียมตัว พูดอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ มีการลําดับและการดําเนินเรื่องที่ดี ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ (ส่วน Speaking หมายถึง การพูดหรือการสนทนาในชีวิตประจําวันทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่ได้มีการเตรียมเนื้อหาหรือไม่มีเหตุผลประกอบการพูดมากนัก)

40. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ไม่ถูกต้องตามหลักวาทวิทยา
(1) น้อง ๆ ทั้งหลาย การสื่อสารของพวกคุณมีปัญหาทั้งการพูดและการเขียน
(2) เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างก็ดี รู้จักชั่งน้ําหนักบ้างว่าอะไรควรหรือไม่ควร
(3) ดู ๆ ไปแล้ว ญาติพี่น้องของคุณมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับใครได้หมด
(4) อย่าทําตัวเป็นพวกเตี้ยอุ้มค่อมเลย จะพากันไปไม่รอดเสียเปล่า
(5) เหตุเพราะผมนอนตื่นสาย จึงไปสัมภาษณ์เพื่อขอรับทุนไม่ทัน เสียดายจริง !
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นการพูดเพื่อเป็นแรงกระตุ้นทางใด
(1) ร่างกาย
(2) จิตใจ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) พื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 96, (คําบรรยาย) การพูดกระตุ้นทางสังคม ผู้พูดจะต้องพูดให้ได้ผลออกมาในรูปที่ว่า ผู้ฟังเป็นคนที่กว้างขวาง มีเกียรติ เป็นที่รู้จักในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่ตามกระแสสังคม เช่น การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นต้น

42. ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจคืออะไร
(1) มาตรฐานสังคมและทักษะการนําเสนอ
(2) ถ้อยคําที่มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ
(3) ความมีชีวิตชีวาและท่าทางของผู้พูด
(4) น้ำเสียง ท่าทาง และคําพูด
(5) พยาน หลักฐาน และข้อมูล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจ คือ ผู้พูดจะต้อง ยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริง พยาน หลักฐาน ข้อมูลและข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือและเห็นด้วยจนเกิดการตัดสินใจในที่สุด

43. ข้อใดไม่เป็นองค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ
(1) ผลตอบแทน
(2) แรงจูงใจ
(3) ความต้องการ
(4) จุดอ่อน
(5) อิทธิพลทางใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ มีดังนี้
1. ผลตอบแทน
2. แรงจูงใจ
3. ความต้องการ
4. อิทธิพลทางใจ

44. ช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจในทางวาทวิทยา คือ
(1) โสตประสาท
(2) เครื่องมือ
(3) ภาวะจิตใจ
(4) สื่อ
(5) การกระทํา
ตอบ 2 หน้า 7, (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้พูดใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ อันจะส่งผลต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก เข้าแทรกแซงกระบวนการคิดและความเชื่อ แบ่งออกเป็น
1 อวัจนภาษา
2 โสตทัศนูปกรณ์
3 บุคคลและวัตถุพยาน

45.คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) ได้ผล
(4) มีมาตรฐาน
(5) ครบครัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ ความเหมาะสม ทั้งในเรื่อง ของบุคลิกลักษณะในการแต่งกาย การปรากฏตัว การเตรียมเนื้อหา คําปฏิสันถาร ฯลฯ ซึ่งต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจ้าภาพและลักษณะของงาน

46 คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก
(1) ความเป็นจริงและมีความเหมาะสม
(2) มีความเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผล
(3) การสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้
(4) มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
(5) แสดงบทบาทหน้าที่และอํานาจของกันและกัน
ตอบ 3(คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้ ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุด
ในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

47. ข้อใดเป็นข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถใช้ประโยชน์ได้
(1) ประสบการณ์ของผู้รอดตาย
(2) บทความของ บก. คนดัง
(3) ต้นฉบับนักเขียน
(4) บทประพันธ์สมัย ร.1
(5) คําบอกเล่าของเหล่าไทยมุง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี คือ ประสบการณ์ของผู้รอดตาย ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง จึงทําให้การพูดนั้นน่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนําเสนอ

48 การสื่อสารระหว่างกันและกันผ่านกระบวนการพูดนั้น สิ่งใดเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดหากจะดําเนินการ
ให้ตลอดรอดฝั่ง
(1) ตัวตนที่ชัดเจน
(2) การรักษาความรู้สึกร่วม
(3) ความรู้ที่ได้
(4) เนื้อหาที่ตรงไปตรงมา
(5) บอกถึงผลกระทบที่ชัดเจน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

49. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์
(1) ใช้วาทศิลป์ชั้นสูง
(2) มีสมดุล ติเพื่อก่อ
(3) ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
(4) มองรายละเอียดที่คาดไม่ถึง
(5) พิจารณาผลกระทบตามลําดับ
ตอบ 2หน้า 169 – 171, (คําบรรยาย) หัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ คือ มีความสมดุลในการ วิจารณ์ ซึ่งต้องพูดทั้งติและชมอย่างมีเหตุผล หากเป็นการติก็ต้องติเพื่อก่อ โดยเสนอแนะว่าควรจะแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดบ้าง

50. การพูดเป็นการสื่อส
(1) ด้วยบุคคล
(2) ภายในบุคคล
(3) ระหว่างบุคคล
(4) ระหว่างสาธารณชน
(5) โดยใช้ประชาชน
ตอบ 3(คําบรรยาย) บทบาทของการพูด มีดังนี้
1 เป็นการสื่อสารสองทางในการสื่อสารระหว่างบุคคล ทําให้สามารถเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับ ได้ทันที ซึ่งทําให้การพูดแตกต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ
2. เป็นเครื่องมือเข้าสมาคม เชื่อมต่อสมาชิกสังคมทุกระดับ
3. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเชื่อ ทัศนคติ
4. เป็นกระบวนการสร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกของบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงอารมณ์ ของผู้ฟังได้โดยตรง ฯลฯ

51. บทบาทของการพูดที่สามารถสร้างและสลายความรู้สึกของบุคคล เกิดขึ้นจาก
(1) การรับรู้ข้อมูล
(2) การสื่อสารสองทาง
(3) การสร้างสมาธิและปัญญา
(4) การเข้าถึงอารมณ์
(5) การเร่งเร้าปฏิกิริยา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52. ความเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในทางวาทวิทยา พิจารณาจาก
(1) หลักการ – วิธีการ
(2) ความรู้ – ความสามารถ
(3) ทักษะ – การเรียนรู้
(4) ผลงาน – ความเข้าใจ
(5) ทฤษฎี – ประสบการณ์
ตอบ 1หน้า 3, (คําบรรยาย) การพูดเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ คือ วิชาการพูดมีลักษณะของ ความเป็น “ศาสตร์” (Science) เพราะเป็นวิชาที่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีรองรับ และ มีลักษณะเป็น “ศิลป์” (Art) เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด หรือสร้างสุนทรียะในวิธีการนําเสนอ

53. ภาพลักษณ์ของการนําเสนอ เกิดจาก
(1) เหตุผล
(2) ความสนใจ
(3) ตัวตน
(4) ผลลัพธ์
(5) ทรัพย์สิน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภาพลักษณ์ของการนําเสนอ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวตนของผู้พูดจาก ประสบการณ์ จากสิ่งที่รับรู้ หรือจากสิ่งที่เห็นและประเมินค่า

54. ข้อใดเป็นการสื่อสารสองทางโดยอาศัยกิจกรรมทางวาทวิทยาที่หวังผลได้สูงสุด
(1) เสนอหัวข้อวิจัย
(2) เล่านิทานสนุก ๆ
(3) จัดการพบปะผู้ปกครอง
(4) ให้ไปค้นคว้าในห้องสมุด
(5) จัดตลาดนัดชุมชน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสื่อสารสองทาง หมายถึง การสื่อสารที่มีการโต้ตอบกันไปมาระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) และผู้รับสาร (ผู้ฟัง) ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายสามารถเข้าถึงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างกันได้ทันที ทั้งนี้ การสื่อสารสองทางโดยอาศัยกิจกรรมทางวาทวิทยาที่หวังผลได้สูงสุด คือ การจัดตลาดนัดชุมชน

55. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่
(1) ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย
(2) ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี
(3) หลักฐานที่ชัดเจนพอ
(4) หลักการที่ควรปฏิบัติ
(5) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายพูดและแสดง ความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้ เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

56 หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถในปัจจุบันเป็นอย่างไร
(1) เชิดชูคนเก่ง
(2) ทุกคนมีแต่ได้
(3) สัมพันธ์แนบแน่น
(4) ละลายพฤติกรรม
(5) หนทางสู่ชัยชนะ
ตอบ 1หน้า 448, (คําบรรยาย) หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถใน ปัจจุบันนั้น ผู้พูดควรพูดให้สั้นที่สุด (ไม่ควรพูดเกิน 15 นาที) โดยควรกล่าวยกย่องเชิดชูคนเก่ง ที่ได้รับรางวัลแต่พอสมควร และควรจดจําข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น ชื่อ – นามสกุล และผลงาน ของผู้ได้รับรางวัลให้แม่นยํา

57. ข้อใดเป็นการดําเนินงานลําดับแรก เมื่อนักศึกษารับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ
(1) กําหนดแนวคิดในการนําเสนอ
(2) จองที่พักและยานพาหนะล่วงหน้า
(3) หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันที
(4) เตรียมหาผู้ร่วมงานหรือผู้ช่วย
(5) ซ้อมบทพูดที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า
ตอบ 3(คําบรรยาย) ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เมื่อนักพูดรับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ มีดังนี้
1. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันทีเมื่อรู้ว่าจะต้องพูด
2. เริ่มหาข้อมูลจากความทรงจําที่มีอยู่
3. ดูจากข้อมูลที่มีอยู่
4. หาเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดหายไปหรือที่ต้องการใช้
5. พิจารณาเป้าหมายและวัตถุประสงค์การพูดด้วย

58. การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสําคัญในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก
(2) ทบทวนเหตุการณ์
(3) เปิดเผยความจริง
(4) จัดระเบียบข่าวสารให้ราบรื่น
(5) สร้างความเป็นธรรมให้สังคม
ตอบ 1 หน้า 33, 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวนการพูดคุย โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสําคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรงผ่าน บุคคลที่มีตําแหน่งหน้าที่สัมพันธ์กับคําถาม ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคล ที่มีความเฉพาะเจาะจงตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และสถานการณ์ขณะนั้น

59. โครงสร้างของคําถามในการสัมภาษณ์มีอะไรบ้าง
(1) แบบตรง – แบบโดยอ้อม
(2) แบบถามนํา – แบบถามต่อเนื่อง
(3) แบบยอมรับ – แบบปฏิเสธ
(4) แบบแน่นอน – แบบไม่แน่นอน
(5) แบบถามนํา – แบบปลายเปิด
ตอบ 4(คําบรรยาย) ชนิดของการสัมภาษณ์แบ่งโดยการนําเสนอข้อมูลมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
1. การสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างคําถามแบบแน่นอน
2. การสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างคําถามแบบไม่แน่นอน
3. การสัมภาษณ์แบบผสม

60. ในกระบวนการสัมภาษณ์มีบุคคล 2 ฝ่าย คือ
(1) ผู้พูด – ผู้ให้ความเห็น
(2) ผู้สัมภาษณ์ – ผู้ให้สัมภาษณ์
(3) ผู้นําสัมภาษณ์ – ผู้ถูกสัมภาษณ์
(4) ผู้กล่าวสัมภาษณ์ – ผู้ให้ข้อมูล
(5) สื่อมวลชน – แหล่งข่าว
ตอบ 2 หน้า 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ซักถาม เรียกว่า “ผู้สัมภาษณ์” และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตอบ เรียกว่า “ผู้ให้สัมภาษณ์

61 ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้สื่อข่าวทําการสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์กับผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอม
ตอบคําถามให้ตรงประเด็น
(1) แทรกบทตลกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจนกว่าจะยอมตอบ
(2) ให้ตอบอย่างตรงคําถามและทวนคําถามซ้ําอีก
(3) เปลี่ยนคําถามใหม่ แล้วขออภัยผู้ชมทางโทรทัศน์แทนแขกรับเชิญ
(4) แนะนําคําตอบเป็นทางเลือกสลับกับการพูดคุยกับผู้ชม
(5) ต่อโทรศัพท์ถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม
ตอบ 5 หน้า 264, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้สื่อข่าวไม่ควรกระทําเมื่อต้องสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์กับ ผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอมตอบคําถามให้ตรงประเด็น คือ การต่อโทรศัพท์ถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม เพราะการให้ผู้อื่นมาทําหน้าที่สัมภาษณ์แทนตนเอง แสดงให้ เห็นว่าผู้สื่อข่าวไม่มีความสามารถเพียงพอ ดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงควรมีความอดทนที่จะซักถามต่อไป โดยแก้ไขสถานการณ์ตามตัวเลือกที่เหลือข้างต้น

62 ในการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน บุคคลใดสมควรเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ในลําดับแรก
(1) ผู้นําองค์กร
(2) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ
(3) ผู้ที่สังคมให้ความสนใจ
(4) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น
(5) ผู้ทําหน้าที่สื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) เรียงตามลําดับ
ความสําคัญของบุคคลได้ ดังนี้
1 เป็นผู้รู้ (สําคัญที่สุด)
2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์
3. เป็นผู้นํา ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสําคัญ
4. เป็นผู้มีประสบการณ์
5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ
6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง

63. ข้อใดไม่เข้าพวก
(1) คํานํา
(2) บทนํา
(3) เกริ่น
(4) อารัมภบท
(5) ปฏิสันถาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

64. การจัดปฐมนิเทศ นศ. สาขาสื่อสารมวลชน ไม่ควรเลือกใครเป็นวิทยากร
(1) ศิษย์เก่าในวงการ
(2) ผอ. สํานักข่าวไทย
(3) คณบดีคณะสื่อสารมวลชน
(4) คนดังในสื่อออนไลน์
(5) ออร์แกไนเซอร์ที่มีผลงานโดดเด่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเลือกวิทยากรมาพูดในการจัดงานปฐมนิเทศข้างต้น ควรเลือกผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และประสบความสําเร็จในการทํางานด้านสื่อสารมวลชน หรืออาจเป็นผู้ที่ มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย จึงจะมีความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จัด

65. ในการบรรยายพิเศษ ทําไมจึงต้องมีการแนะนําผู้บรรยาย
(1) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูด
(2) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ฟัง
(3) เพื่อฆ่าเวลา
(5) เพื่อสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
(4) เพื่อยกย่องในเกียรติประวัติที่ทํามา
ตอบ 1 หน้า 310, 444 จุดมุ่งหมายในการแนะนําองค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูดว่าเป็นใคร ทําอะไร และมีความสําคัญอย่างไร
2. เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด ฯลฯ

66. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แนะนําวิทยากรที่จะมาแสดงปาฐกถา ท่านจะถามหาข้อมูลเกี่ยวกับ
วิทยากรจากใครที่จะได้ตรงเป้าหมายที่สุด
(1) ประธานจัดงาน
(2) สื่อมวลชนที่คุ้นเคย
(3) คนวงการเดียวกันกับวิทยากร
(4) เลขานุการคณะกรรมการจัดงาน
(5) เลขานุการในทีมงานวิทยากร
ตอบ 5 หน้า 311, (คําบรรยาย) ถ้าผู้แนะนําไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร (องค์ปาฐก) ที่จะมาแสดงปาฐกถา ก็ควรติดต่อวิทยากรหรือถามจากเลขานุการในทีมงานวิทยากรว่าจะให้ตนแนะนําอย่างไร โดยต้องติดต่อกันก่อนวันแนะนําจริง

67 ข้อใดคือต้นฉบับที่พึงประสงค์หากพิจารณาจากประสิทธิผลการใช้งาน
(1) สวยงามมีคุณค่า
(2) โดดเด่นดูเตะตา
(3) ไม่มีร่องรอยแก้ไข
(4) ได้รับการรับรองแล้ว
(5) มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาที่มี
ตอบ 5หน้า 40, (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1 ใช้ภาษาที่สุภาพ
2 มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3 ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4 มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี
5. อ่านง่ายทั้งแบบอักษรและขนาดตัวพิมพ์ ฯลฯ

68. เมื่อกล่าวขอบคุณผู้บรรยายพิเศษเสร็จสิ้น ควรทําอะไรต่อไป
(1) เชิญชวนให้มาพูดอีก
(2) เชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้ผู้บรรยาย
(3) สรุปเนื้อหาสาระอีกรอบ
(4) สรุปเนื้อหาและวิจารณ์วิทยากรทันที
(5) เชิญชวนถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก
ตอบ 2 หน้า 312 หลังจากที่องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ได้จบการพูดลงแล้ว พิธีกรจะต้องลุกขึ้นไปกล่าวขอบคุณเป็นข้อความสั้น ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะกล่าวขอบคุณ และเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ด้วยก็ได้

69. ในการบรรยายพิเศษที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรนั้น ผู้บรรยายไม่ควรใช้วิธีการอย่างไรเพื่อให้
เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
(1) แทรกบทตลกในบางจังหวะ
(2) พูดเรื่องที่ผู้ฟังไม่น่าจะเคยรู้มาก่อน
(3) ชวนสุภาพสตรีให้ร่วมตอบคําถาม
(4) ระบายความน้อยเนื้อต่ําใจของตนเอง
(5) เล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง

ตอบ 4 หน้า 308 – 309, (คําบรรยาย) ในการแสดงปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษนั้น ผู้พูดควรพูดใน เรื่องที่น่าสนใจสําหรับผู้ฟัง หรือเรื่องที่ให้ความรู้ และควรจะเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ยกเว้นเรื่องที่เป็นความลับหรือเรื่องส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ผู้พูดอาจแทรก บทตลกได้เท่าที่จําเป็น หรือเล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง หรือชักชวนให้ผู้ฟัง ร่วมตอบคําถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจ จากนั้นจึงดึงประเด็นเข้าสู่สาระหลักที่จะพูดต่อไป

70. ข้อใดหมายถึง การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา
(1) การสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง
(2) การแสวงหาความรู้ให้มากพอ
(3) การริเริ่มแนวคิดเพื่อการนําเสนอ
(4) การปรับปรุงบุคลิกภาพ
(5) รู้จักการขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพัฒนาตนในการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา หมายถึง การปรับปรุง บุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนําเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้ภาษา น้ําเสียง การยืน การแต่งกาย การใช้สายตา กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือสื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตัวให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมายเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ

71. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูด สิ่งที่ไม่ควรกระทํา คือ
(1) เดินตัวตรง ยิ้มให้กับผู้ชม ผู้ฟังตามสมควร
(2) เดินอกผายไหล่ผึ้ง ทําความเคารพประธาน ทักทายคนรู้จัก
(3) เดินตรงไปยังที่นั่งของตน สํารวจว่าตรงกับชื่อตัวเองหรือไม่ แล้วรีบนั่งลงไป
(4) เดินไปตามลําดับที่พิธีกรประกาศชื่อ ไม่ทักทายประธานในพิธี
(5) อยู่ ณ ที่พักของตนเอง และรอจนกว่าพิธีกรประกาศจึงเข้าประจําตําแหน่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

72. ประโยชน์ของการพูดในแง่มุมของการส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตย คือข้อใด
(1) เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
(2) เพื่อเผยแพร่นโยบาย
(3) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น
(4) เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ
(5) เพื่อเป็นเวทีในการประกาศเจตนารมณ์ของตนเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตยจะพิจารณาจากความสมดุลในการสื่อสาร โดยประโยชน์ของการพูดในแง่มุมนี้ คือ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น เพราะสังคม ประชาธิปไตยนั้นต้องการความคิดเห็นของสมาชิกเป็นสําคัญ

73. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของนักพูด
(1) เตือนภัยสังคม
(2) บอกวิธีรักษาโรคให้ผู้ป่วย
(3) สร้างสรรค์ภาษาตามสมัย
(4) โน้มน้าวใจให้เกิดการซื้อ – ขาย
(5) ให้ความรู้ด้วยสาระบันเทิง
ตอบ 3(คําบรรยาย) หน้าที่ของนักพูด มีดังนี้
1. บอกกล่าวเรื่องราว
2. ให้ความรู้
3. สอดส่องดูแลและเตือนภัยสังคม
4. สร้างความจรรโลงใจ
5. โน้มน้าวใจให้เกิดการกระทํา

74. ความประหม่าของผู้พูด เป็นปัญหาการพูดในกลุ่มใด
(1) ภาษา
(2) แนวคิด
(3) สาระ
(4) การพัฒนาตน
(5) การปรับตัว

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาที่เกิดกับการพูดด้านบุคลิกและการปรับตัวทั่วไป ได้แก่
1. แต่งกายไม่เหมาะสมกับผู้ฟังหรือสถานที่
2. การเดินไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
3. ความประหม่าของผู้พูดที่จะต้องปรากฏกาย
4. เกรงว่าจะควบคุมกิริยาท่าทาง มารยาท การวางตัวไม่ได้ ฯลฯ

75. ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ
(1) มาตรงเวลาทุกครั้ง
(2) ทําการซ้อมอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้ชม
(3) ทําทุกอย่างเองเพื่อความสมบูรณ์แบบ
(4) ทําตัวให้โดดเด่นน่าภูมิใจ
(5) มาก่อนเวลาเพื่อสํารวจจุดบกพร่อง
ตอบ 5(คําบรรยาย) วินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ คือ ต้องไปถึงสถานที่ที่จะพูด ก่อนเวลา หรือเผื่อเวลาไว้นานพอสมควรสําหรับการไปถึง เพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็น เวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง

76. การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้องเริ่มด้วย
(1) การแนะนําเจ้าภาพ
(2) คําปฏิสันถาร
(3) บทประทับใจ
(4) การกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ
(5) คําชื่นชมในโอกาสนั้น ๆ
ตอบ 2 หน้า 445 การกล่าวต้อนรับ เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้ที่มาเยี่ยม เป็นการ แนะนําผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาใหม่ให้รู้จักสถานที่นั้น ๆ ดีขึ้น โดยการกล่าวต้อนรับอย่างเป็น พิธีการจะต้องเริ่มต้นด้วยการกล่าวคําปฏิสันถารก่อนเสมอ

77. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการตัดสินใจที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์การพูดด้านผลกระทบที่จะเกิด
ในกระบวนการสื่อสารแต่ละครั้ง
(1) ดําเนินการต่อโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
(2) ดําเนินการต่อไปโดยปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วน
(3) ยังต้องดําเนินการต่อไป แต่ปรับปรุงสาระสําคัญเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกได้
(4) เปลี่ยนคนพูดโดยคงสาระหรือเนื้อหาตามที่เตรียมไว้แต่เดิมทุกประการ
(5) ผู้พูดยกเลิกการพูดครั้งนั้นไปเลย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวทางการตัดสินใจที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์การพูดด้านผลกระทบ ที่จะเกิดในกระบวนการสื่อสารแต่ละครั้ง มีดังนี้
1. ดําเนินการต่อโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเลย ทุกอย่างคงเดิม
2. ดําเนินการต่อไปโดยปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
3. เปลี่ยนประเด็นสําคัญ แต่ยังจะพูดต่อไปเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกได้ 4. ยกเลิกการพูดครั้งนั้นไปเลย

78. การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านกลุ่มสังคมและประสบการณ์เฉพาะเรื่อง มีผลอย่างไรต่อการเตรียมข้อมูล
ในการพูดแต่ละครั้ง
(1) เพื่อสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นําเสนอ
(2) เพื่อเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม
(3) เพื่อต้องการทราบแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้ – เสียของผู้ฟัง
(4) เพื่อกําหนดวาระการรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา
(5) เพื่อสร้างความรู้สึกและความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านกลุ่มสังคมและประสบการณ์เฉพาะเรื่อง จะมีผลต่อการ เตรียมข้อมูลในการพูด คือ ทําให้ผู้พูดสามารถสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนหรือความลึก ของข้อมูลที่นําเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับประสบการณ์เฉพาะเรื่องของผู้รับสารในกลุ่มสังคมนั้น ๆ

79. ผู้ดําเนินรายการที่ดี ไม่ควรกระทําการเช่นไร
(1) หลีกเลี่ยงการพูดถ้อยคําที่ซ้ำซาก
(2) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
(3) เลือกใส่เสื้อผ้าที่ดูสง่างามมีราศี
(4) พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด
(5) ทําตัวให้กลมกลืนและเป็นธรรมชาติกับงานได้ในทุกกาลเทศะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้ดําเนินรายการที่ดีไม่ควรกระทํา คือ พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด เพราะจะทําให้การพูดครั้งนั้นออกนอกเรื่องหรือนอกประเด็นสําคัญที่ต้องการจะพูด และทําให้เนื้อหาการพูดยาวเกินเวลาที่กําหนดอีกด้วย

80. การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะสาขา เป็นการระวังป้องกัน
ข้อผิดพลาดด้านใด
(1) อารมณ์และความรู้สึกที่อาจไม่สมจริง
(2) กิริยาท่าทางที่ไม่เป็นไปตามบทบาทที่เตรียมมา
(3) การที่อาจจะต้องตอบคําถามสื่อมวลชนอย่างกะทันหัน
(4) เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร
(5) เนื้อหาที่คนนอกวงการอาจไม่รู้ความหมาย หรือทําให้เข้าใจง่ายขึ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะ สาขา เป็นการระวังป้องกันข้อผิดพลาดในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีศัพท์เฉพาะสาขาวิชานั้น น ๆ ซึ่งคนนอกวงการอาจไม่รู้ความหมาย หรือทําให้เข้าใจง่ายขึ้น

81. เมื่อเข้า ณ ที่พูดแล้ว ผู้พูดไม่ควรทําอะไรต่อหน้าผู้ฟัง
(1) ยิ้ม
(2) ดื่มน้ำ
(3) ดูบันทึกย่อ
(4) ทดสอบเสียง
(5) นั่งสงบ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

82. น้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกันโดยตลอดสร้างปัญหาให้แก่ผู้ฟังด้านใดมากที่สุด
(1) ไม่เข้าใจเนื้อหาทีผู้พูดถ่ายทอด
(2) ทําให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก
(3) หมดศรัทธา ไม่น่าเชื่อถือในตัวผู้พูด
(4) สร้างความสงสัยในเนื้อหา
(5) เบื่อหน่าย ละเลยการติดตามประเด็น
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) หลักการใช้เสียงพูดที่ดีข้อหนึ่ง คือ ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ําเสียง เนื่อย ๆ หรือน้ําเสียงที่เป็นระดับเดียวกัน (ไม่มีเสียงสูง – ต่ํา) โดยตลอด เพราะจะทําให้ผู้พูด พูดโดยขาดความมีชีวิตชีวา และผู้ฟังก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รําคาญ จนอาจไม่สนใจหรือละเลย การติดตามประเด็น

83. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดเกิดจาก
(1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
(2) ความตั้งใจที่มีมากจนเกินไป
(3) การเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
(4) อุปกรณ์บกพร่องไม่สามารถใช้งานได้
(5) การประสานงานจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่น่าประทับใจมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนก่อให้เกิด ความประหม่าตื่นเต้นบนเวที มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้

1. การไม่เตรียมตัวมาอย่างดีพอ ซึ่งปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่ เกิดจากการเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
2. การไม่ซักซ้อมอย่างเพียงพอ
3. การไม่ใส่ใจต่อบุคลิกภาพของตนเองเมื่อต้องปรากฏตัวให้เหมาะสมกับลักษณะพิธีการ สถานที่ และเจ้าภาพ เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ ฯลฯ

84. การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดยังไม่จําเป็น พิจารณาจาก……..โดยตรง
(1) ระบบสังคมวัฒนธรรมของผู้ฟัง
(2) สถานการณ์บ้านเมืองล่าสุด
(3) การแบ่งหัวข้อเป็นประเด็นต่าง ๆ
(4) ประเด็นหลักและข้อมูลสนับสนุน
(5) เวลาที่เจ้าภาพให้กับการพูดครั้งนั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการประมวลความคิดนั้น ผู้พูดต้องเข้าใจในสถานการณ์การพูดแต่ละครั้ง หรือเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองล่าสุดเสียก่อน จึงจะสามารถกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดที่แน่ชัดได้

85. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด
(1) เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
(2) ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
(3) พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
(4) แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของคนพูด
(5) ข่าวสารที่แพร่กระจายใน Social Media
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด มีดังนี้
1. เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
2. ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
4. แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของผู้พูด

86. ข้อใดไม่ควรกระทํา หากผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความเห็น
(1) เลือกชื่อคนที่คุ้นเคยก่อน
(2) ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป
(3) เลือกคนที่ยกมือก่อน
(4) ใช้ปากกาชี้ระบุคน
(5) ให้ประธานในงานนั้นช่วยเลือก
ตอบ 2(คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทําหากต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น คือ ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป เพราะการเอามือออกไปด้านหน้าตัวเอง หรือใช้มือชี้หน้าผู้ฟัง เป็นการ แสดงถึงความมีอํานาจเหนือผู้ฟัง

87. เรื่องสําคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ อาศัยหลักการใดในการพูด
(1) ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก
(2) ย้ำคิดย้ำทํา
(3) สั่งสอนให้รู้สํานึก
(4) บอกใบ้ให้ทายใจ
(5) ต่อเติมส่วนที่ขาดหาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรกล่าวหรือตอกย้ําในเรื่องสําคัญที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้เรื่องที่พูดนั้นมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ไปตอกย้ำจนเกิดความซ้ำซาก หรือย้ำคิดย้ำทําจนมากเกินไป เพราะจะทําให้ ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย และเรื่องที่เน้นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่สําคัญไป

88. ข้อใดเป็นแนวปฏิบัติหากต้องเตรียมเครื่องดื่มให้กับผู้บรรยายที่ไม่มีการกําหนดไว้
(1) ใช้น้ำแร่เย็นที่ซื้อหาได้สะดวก
(2) ใช้น้ำอุ่น
(3) ใช้น้ำชาร้อน
(4) ใช้น้ำสะอาดตามอุณหภูมิห้อง
(5) ใช้น้ำผลไม้ตามฤดูกาล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวปฏิบัติของผู้ประสานงานหากต้องเตรียมเครื่องดื่มให้กับผู้บรรยายที่ไม่มี การกําหนดไว้ คือ ควรจัดเตรียมน้ำสะอาดตามอุณหภูมิห้อง เพื่อช่วยรักษาน้ําเสียงให้แจ่มใสกังวานชัดเจน

89. การพากย์กีฬาแข่งขันฟุตบอลซึ่งเป็นการถ่ายทอดสด เป็นการพูดลักษณะใด
(1) ท่องจํา
(2) อ่านจากต้นฉบับ
(3) พูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) พูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) พูดโดยกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า
ตอบ 3 หน้า 89, (คําบรรยาย) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่น การพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาว, การกล่าวทักทายเมื่อเผอิญได้พบกัน, การตอบ ปัญหาบางประการ ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ ไม่ต้องรีบตอบ และประสานสายตากับผู้ฟังเสมอ
2. ใช้ปัญญาวิเคราะห์ หรือใช้ปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด
3. พยายามนึกถึงโครงสร้างของการพูด
4. ฝึกซ้อมตอบคําถามในใจในเรื่องที่เตรียมได้
5. พูดหรือตอบคําถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น และมีความหมายชัดเจน หากไม่แน่ใจใน ประเด็นคําถามก็อาจขอให้ผู้ถามทวนคําถามเพื่อความแน่นอน หรือนัดหมายให้กลับมา ถามใหม่อีกครั้ง หากไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้

90. การวิเคราะห์ถึงจํานวนผู้ชม – ผู้ฟัง มีผลต่อ……..โดยตรง
(1) การกําหนดวัตถุประสงค์
(2) การจัดทําวาทนิพนธ์
(3) สถานที่และอุปกรณ์
(4) การประมวลผลข้อมูล
(5) การแต่งกายให้ถูกต้องตามกาลเทศะตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์จํานวนหรือขนาดของผู้ชม ผู้ฟังจะทําให้ผู้พูดรู้ว่ากลุ่มผู้ฟังนั้น ๆ มีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีพื้นที่และสถานที่เพียงพอหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับ สถานที่มีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ยังทําให้ผู้พูดสามารถเตรียมวิธีการพูด รูปแบบการพูดและอุปกรณ์เครื่องมือประกอบการพูดที่เหมาะสมได้อีกด้วย

91 นอกจากการเตรียมตัวไม่พร้อมแล้ว ความตื่นเต้นในเวทีมักจะเกิดจาก
(1) ขนาดห้องประชุม
(2) ขาดการประสานงาน
(3) แต่งกายผิดกาลเทศะ
(4) ค่าตอบแทนการพูดที่มากเกินจริง
(5) อุปกรณ์ไม่พร้อมหรืออยู่ในสภาพชํารุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ

92. ข้อใดแสดงออกถึงความสมดุลในกระบวนการพูด
(1) พูดเสนอความสามารถของตนเองหลังจากที่คนอื่นอภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้ว
(2) เปิดช่องทางให้แสดงความเห็น มีการสนทนาโต้ตอบตรงไปตรงมา
(3) กล่าวตามยถากรรมปล่อยวางทุกสิ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นกลางทางความคิด
(4) ใช้วาจาอ่อนหวานโน้มน้าวใจ โดยไม่เร่งเร้าหรือแสดงอาการกดดัน
(5) นําเสนอข้อเท็จจริงพร้อมไปกับข่าวลือ หรือข้อความอันเป็นเท็จด้วยตนเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ) ความสมดุลในกระบวนการพูด คือ การเปิด ช่องทางให้คู่สื่อสารแสดงความคิดเห็นหรือเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันและกัน โดยมีการสนทนา โต้ตอบอย่างตรงไปตรงมา จนเกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร

93. ข้อใดแตกต่างจากการพูดในข้ออื่นหากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์
(1) โฆษณาเพื่อขายสินค้า
(2) หาเสียงเลือกตั้ง
(3) รณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่น
(4) เชิญชวนบริจาคอวัยวะ
(5) สอนชาวบ้านให้พึ่งพาตนเอง
ตอบ 5 หน้า 93 – 96, (คําบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจ เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิด การเปลี่ยนพฤติกรรม การกระทํา ความเชื่อ หรือทัศนคติ โดยต้องอาศัยหลักการที่สําคัญ คือ การสร้างเกณฑ์ทางใจหรืออิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออก ซึ่งตัวอย่างของการ พูดชักจูงใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า, การหาเสียงเลือกตั้ง, การรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่น การเชิญชวนบริจาคอวัยวะ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 5 เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้)

94. การพูดเป็นการสื่อสารที่เน้นการแสดงออกอย่างน้อย 2 ด้าน คือ
(1) บุคคล – ตัวตน
(2) ตัวตน – วาจา
(3) วาจา – ภาษา
(4) ภาษา – ทักษะ
(5) ทักษะ – แนวคิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

95. ในกรณีที่ถูกซักถามด้วยคําตอบที่ไม่ได้มีการเตรียมมา และไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ
(1) นัดกลับมาถามใหม่
(2) ขอโทษที่ทําให้ผิดหวัง
(3) แก้ตัวว่าไม่พร้อม
(4) ย้อนถามว่ารู้มาจากไหน
(5) อยู่เฉย ๆ แล้วชวนสนทนาเรื่องอื่นไปก่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

96. หากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์ ข้อใดไม่เข้าพวก
(1) อภิปราย
(2) เสวนา
(3) สนทนา
(4) ให้โอวาท
(5) ประชุมโต๊ะกลม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ และปรึกษาหารือ ระหว่างกัน เช่น การอภิปราย การเสวนา การสัมมนา การสนทนา การประชุมโต๊ะกลม ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 4 เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้

97. หลักการสําคัญของการพูดเพื่อชักจูงใจ คือ
(1) สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออก
(2) ทําตามหลักการหรือวิธีการที่ถูกต้องจึงจะได้ผล
(3) เร่งเร้าตัดสินใจโดยสร้างข้อจํากัดด้านเวลา
(4) สื่อสารด้วยข้อมูลที่ดีให้มีการตีความหมายในเชิงบวก
(5) ทําให้หลงเชื่อคล้อยตามกระแสสังคม ชิงความเป็นผู้นําในแวดวง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

98. ผลของการชักจูงใจจะมีมาก – น้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับของ
(1) ความเชื่อมั่น
(2) ความเชื่อถือ
(3) ความเชื่อมือ
(4) ความเชื่อใจ
(5) เชื่อความเป็นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลของการชักจูงใจจะมีระดับมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ความเชื่อมั่น
2. ความเชื่อถือ
3. ความเชื่อใจ
4. การเชื่อความเป็นไป

99. ข้อใดไม่เป็นลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี
(1) มีเนื้อหาเร้าใจ
(2) สรุปสิ่งที่พูดเอาไว้ให้หมด
(3) โยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
(4) เสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง
(5) ปูพื้นเหตุการณ์เอาไว้ก่อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

100. การพูดต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ ที่
(1) การเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับทันที
(2) มีการใช้ทักษะของบุคคล
(3) ปราศจากสื่อและช่องทางอื่น
(4) สามารถดําเนินการได้เพียงลําพัง
(5) ให้ความสําคัญกับมนุษย์ในฐานะผู้สื่อสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

CDM2402 MCS2150 MCS2100 การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา CDM2402 MCS2150 MCS2100 การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 คําว่า PR ย่อมาจากคําใด
(1) Public Retention
(2) Publish Relations
(3) Public Relations
(4) Publish Retention
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) คําว่า PR ย่อมาจากคําว่า “Public Relations” ซึ่งสามารถแยก ความหมายได้ดังนี้
1 Public หมายถึง กลุ่มคน ประชาชน สาธารณชน หรือผู้มีส่วนได้เสีย
2 Relations หมายถึง ความสัมพันธ์ หรือความเกี่ยวข้องผูกพัน

2 การประชาสัมพันธ์มุ่งเน้นการสื่อสารในระดับใด
(1) การสื่อสารระดับสาธารณะ (Public Communication)
(2) การสื่อสารระดับมวลชน (Mass Communication)
(3) การสื่อสารระดับกลุ่ม (Group Communication)
(4) การสื่อสารระดับภายใน (Intra – Communication)
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D1), (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ สื่อสารในระดับอื่น ๆ ได้ แต่การประชาสัมพันธ์จะมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารในระดับสาธารณะ (Public Communication) มากที่สุด คือ การสื่อสารกับคนจํานวนมากที่เป็นกลุ่มภาคส่วน ต่าง ๆ แต่ยังเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่เห็นหน้าค่าตากัน (Face – to – Face) มากกว่าจะเป็นแบบการสื่อสารที่ผ่านตัวกลาง

3 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการประชาสัมพันธ์
(1) มีจุดมุ่งหมายเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจอันดี
(2) การสื่อสารข่าวสารกับกลุ่มประชาชน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นในขณะเดียวกัน
(3) การสื่อสารนําเสนอข้อมูลผ่านการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว
(4) มุ่งหวังให้เกิดการยอมรับ และมีรูปแบบเป็นการสื่อสารสองทาง
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารความคิดเห็น ข่าวสาร และ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไปสู่กลุ่มประชาชน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในขณะเดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างหน่วยงาน (Organization) กับกลุ่มประชาชน (Public) เพื่อหวังผลในความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชน รวมทั้งชื่อเสียงที่ดี (Good Reputation) และภาพลักษณ์ที่ดี (Good Image) ของหน่วยงาน ตลอดจนให้เกิดการยอมรับการดําเนินงานของสถาบัน โดยมีรูปแบบเป็นการสื่อสารสองทาง

4 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของการประชาสัมพันธ์
(1) เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
(2) มีจุดหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
(3) มีการวางแผน และมีการประเมินผล
(4) ต้องการให้เกิดอิทธิพลทางความคิด ทัศนคติ

ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D3) คุณลักษณะของการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เป็นการทํางานที่มีจุดหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
2 เป็นการทํางานที่ต้องการให้เกิดอิทธิพลทางความคิดและทัศนคติ
3 เป็นการทํางานที่มีการวางแผนอย่างรัดกุม และมีการประเมินผล
4 เป็นการสื่อสารแบบสองทาง และเป็นการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจ
5 เป็นการทํางานที่ทําต่อเนื่อง และหวังผลระยะยาว

5 การประชาสัมพันธ์มุ่งเน้นการสร้าง/ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใด
(1) สร้างการรับรู้ข้อมูลการดําเนินงานขององค์กรให้กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
(2) สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในตัวองค์กรแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
(3) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์มุ่งสร้าง/ก่อ (Create) ให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1 สร้างการรับรู้ เพื่อสื่อสารถึงนโยบาย วัตถุประสงค์ การดําเนินงาน และประเภทของ การดําเนินงานขององค์กรให้กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
2 สร้างความเข้าใจ เพื่อสื่อสารให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปฏิบัติการได้ทราบถึงประชามติ
หรือความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อหน่วยงาน
3 สร้างการยอมรับ เพื่อให้ประชาชนยอมรับหรือเกิดทัศนคติเชิงบวกกับสินค้า/ผลิตภัณฑ์ องค์กร และบริการ รวมทั้งมีส่วนเพิ่มพูนปริมาณการขายทางอ้อมด้วย 4. สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในตัวองค์กรแก่ผู้มีส่วนได้เสีย

6 การประชาสัมพันธ์สามารถช่วยป้องกันปัญหาในด้านใดได้บ้าง
(1) ป้องกันการเข้าใจผิด หรือข่าวลือที่จะกระทบต่อองค์กร ด้วยการควบคุมข้อมูลข่าวสาร
(2) ป้องกันการเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์กร ด้วยการพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดี
(3) ป้องกันการโจมตีชื่อเสียง หรือการลดความน่าเชื่อถือ ด้วยการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์ช่วยเสริม/ป้องกัน (Prevent) ปัญหาดังนี้
1 ป้องกันปัญหายุ่งยากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน
2 ป้องกันการเข้าใจผิด หรือข่าวลือที่จะกระทบการปฏิบัติงาน ด้วยการควบคุมข้อมูลข่าวสาร
3 ป้องกันการเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์กร ด้วยการพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดี
4 ป้องกันการโจมตีชื่อเสียง หรือการลดความน่าเชื่อถือ (Discredit) ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสาร จากองค์กรอย่างต่อเนื่อง
5 ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้แก่องค์กร

7 การประชาสัมพันธ์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ยกเว้นข้อใด
(1) แก้ไขความเข้าใจที่ผิดที่เกิดขึ้นกับองค์กร
(2) แก้ไขภาพลักษณ์ที่เป็นลบให้เป็นกลาง หรือกลายเป็นบวก
(3) แก้ไขผลกระทบจากภาวะวิกฤติ ด้วยการอธิบายและให้ข้อมูล
(4) แก้ไขการแทรกแซงผลประโยชน์ผ่านการควบคุมสื่อมวลชน
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์ช่วยซ่อม/แก้ไข (Adjust) ปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
1 แก้ไขความเข้าใจที่ผิดที่เกิดขึ้นกับองค์กร รวมไปถึงขจัดปัญหาความยุ่งยากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการสื่อสารข้อมูล

2 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายและให้ข้อมูลเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ ซึ่งช่วยลดผลกระทบทั้ง
ทางตรงและทางอ้อมแก่องค์กร
3 แก้ไขภาพลักษณ์ที่เป็นลบให้เป็นกลาง หรือกลายเป็นบวก

8 ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ตามแนวคิดของ Thomas Harris
(1) เป็นสื่อกลางในการตรวจสอบการดําเนินงานของภาครัฐ
(2) สร้างความสนใจแก่ผู้รับสาร
(3) แนะนําสินค้าใหม่ หรือตัวองค์กรแก่ผู้รับสาร
(4) โน้มน้าวผู้มีอิทธิพล (Influencer) ผู้มีอํานาจในการตัดสินใจผ่านการให้ข้อมูล
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D1) บทบาทหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ (New Role of PR) ตามแนวคิดของ Thomas L. Harris (1998) มีดังนี้
1 สร้างความสนใจแก่ผู้รับสาร (สร้างความสนใจแก่ตลาดก่อนที่จะใช้โฆษณา) เช่น ก่อนที่ Apple จะเปิดตัว iPhone หรือ iOS เขาใช้การแจ้งข้อมูลผ่านการ PR (ผ่านงาน WWDC หรือกิจกรรมพิเศษ) จากนั้นจึงมีการปล่อยตัวสินค้าอย่างเปิดทางการในภายหลัง เป็นต้น
2 ช่วยเพิ่ม ROI (ผลตอบแทนทางธุรกิจ) เนื่องจาก PR ในปัจจุบันจะช่วยสร้างผลลัพธ์ทาง การตลาดมากขึ้น จึงมีบทบาทในการช่วยสร้างกําไร และลดค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาด โดยรวมได้ (ลดการใช้สื่อโฆษณาที่ถี่และเยอะแบบแต่ก่อน)
3 สร้างกระแส คือ เมื่อไม่มีข่าวเกี่ยวกับตัวสินค้าก็จะใช้เทคนิคการสร้างความสงสัยให้แก่ ประชาชน/สื่อมวลชน
4 การแนะนําสินค้าใหม่ บริการ หรือตัวองค์กรแก่ผู้รับสาร (โดยไม่พึ่งการโฆษณามากนัก) คือ การใช้ PR เป็นสื่อนําในการเปิดตัวสินค้า/บริการ ทําให้ในช่วงหลังเรามักเห็นการทํา PR Event ต่าง ๆ ก่อนการโฆษณาในภายหลัง เช่น Grand Opening, แถลงข่าวเปิดตัว สินค้า, การร่วมงาน Expo/Road Show เป็นต้น
5 โน้มน้าวผู้มีอิทธิพล (Influencer) หรือผู้มีอํานาจในการตัดสินใจ (Decision Maker) คือ การให้ข้อมูลของ PR จะช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้ที่มีบทบาทสําคัญ เช่น ช่วยผลักดันนโยบาย หรือช่วยให้ผู้ที่มีอิทธิพลสนับสนุนกิจกรรมขององค์กร เป็นต้น

9 กระบวนการทางการประชาสัมพันธ์แบบ RACE ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
(1) Research, Advertising, Communication, Evaluation
(2) Research, Advance Planning, Communication, Evaluation
(3) Result, Advance Planning, Community, End Result
(4) Result, Advertising, Community, End Result
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D1) กระบวนการทางการประชาสัมพันธ์แบบ RACE ประกอบด้วย
1 Research คือ การตรวจสอบ/วิเคราะห์สภาพการณ์ ปัญหา และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2 Advance Planning คือ การวางแผนและตัดสินใจเพื่อกําหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และวิธีการดําเนินงาน
3 Communication คือ การสื่อสารตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือ เทคนิค และกลยุทธ์ทางการสื่อสารที่วางไว้
4 Evaluation คือ การตรวจสอบวัดผลว่างานประชาสัมพันธ์ที่ทําไปให้ผลดีมากน้อยเพียงใด

10. ข้อใดต่อไปนี้นับเป็นวัตถุประสงค์ของการทําการประชาสัมพันธ์
(1) ก่อ – กัน – แก้
(2) สร้าง – ซ่อม – เสริม
(3) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) วัตถุประสงค์ของการทําการประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1 ก่อสร้าง (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ)
2 ก้น/เสริม (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ)
3 แก้ไข ซ่อม (ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

11 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญของการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) เพื่อควบคุมปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อมภายนอกที่กระทบกับงาน
(2) เพื่อลดความเสียหายจากการทํางานซ้ำซ้อน
(3) เพื่อลดความไม่แน่นอน และเพื่อคาดคะเนการเปลี่ยนแปลง
(4) เพื่อให้รู้ทิศทางในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์และควบคุมมาตรฐาน
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D3) ความสําคัญของการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เพื่อให้รู้ทิศทางในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
2 เพื่อลดความไม่แน่นอน และเพื่อคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
3 เพื่อลดความเสียหายจากการทํางานซ้ําซ้อน
4 เพื่อควบคุมมาตรฐานในการดําเนินงาน

12 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) เวลา และสถานการณ์
(2) ต้นทุน และงบประมาณ
(3) ระดับความสําคัญ
(4) โครงสร้างของหน่วยงาน
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D3) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เวลา (บริหารจัดการได้ แต่ควบคุมไม่ได้)
2 สถานการณ์ (ตึงเครียด/สบาย ๆ /บีบคั้น)
3 ต้นทุน และงบประมาณ (ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน)
4 ระดับความสําคัญ ได้แก่ ปัจจัยภายนอก (สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถกําหนด/ ควบคุมได้ที่อยู่ภายนอกองค์กร) และปัจจัยภายใน (สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราสามารถ กําหนด/ควบคุมได้ที่อยู่ภายในองค์กร)

13 ปัจจัยภายนอก หมายถึงข้อใด
(1) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราสามารถกําหนด/ควบคุมได้
(2) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถกําหนด/ควบคุมได้
(3) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างชัดเจน
(4) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14 ปัจจัยภายใน หมายถึงข้อใด
(1) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราสามารถกําหนด/ควบคุมได้
(2) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถกําหนด/ควบคุมได้
(3) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างชัดเจน
(4) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

ข้อ 15. – 20. จงเลือกจับคู่วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับรูปแบบของ แผนประชาสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากตัวเลือกวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
(1) ก่อ/สร้าง
(2) ป้องกัน
(3) แก้ไข/ซ่อม
(4) เสริม

15. แผนประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นให้เกิดการยอมรับในการทํางานขององค์กร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

16. แผนประชาสัมพันธ์เพื่อควบคุม/เป็นแนวทางในการให้ข้อมูลเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินวิกฤติ ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

17. แผนประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นให้เกิดความน่าเชื่อถือแก่องค์กร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

18. แผนประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นให้เกิดทัศนคติเชิงบวกกับสินค้าและบริการขององค์กร ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

19. แผนประชาสัมพันธ์ปรับความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับองค์กร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

20. แผนประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงแก่องค์กร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

ข้อ 21. – 25. จงเลือกจับคู่บทบาทของการประชาสัมพันธ์ตามแนวคิดของ New Role of PR (Thomas L. Harris, 1998) ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์/กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) สร้างความสนใจ/กระแส
(2) เพิ่มผลตอบแทนทางธุรกิจ
(3) แนะนําสินค้า/บริการ/องค์กร
(4) โน้มน้าวใจ/สร้างการยอมรับ

21. การแจ้งข้อมูลรายละเอียดแก่ผู้รับสารผ่านการประชาสัมพันธ์/ผ่านกิจกรรมพิเศษ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

22. การใช้การประชาสัมพันธ์สร้างความสงสัยให้แก่ประชาชน สื่อมวลชน เมื่อไม่มีข่าวเกี่ยวกับตัวสินค้า
หรือองค์กร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

23. การใช้การประชาสัมพันธ์เป็นสื่อนําในการเปิดตัวสินค้า/บริการ ก่อนการโฆษณาในภายหลัง ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

24. การให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้มีบทบาทสําคัญ เช่น ช่วยในการผลักดันนโยบาย หรือช่วยให้ผู้ที่ มีอิทธิพลสนับสนุนกิจกรรมขององค์กร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

25. การสร้างผลลัพธ์ทางการตลาดผ่านการประชาสัมพันธ์ในการช่วยสร้างกําไร และลดค่าใช้จ่าย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

26 ข้อใดไม่ใช่กลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายใน (Internal Public) ในการประชาสัมพันธ์
(1) ผู้บริหารขององค์กร
(2) พนักงาน/เจ้าหน้าที่
(3) หน่วยงานราชการ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D3) กลุ่มเป้าหมายหรือประชาชนเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 กลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายใน (Internal Public) คือ กลุ่มที่ใกล้ชิดมีความเกี่ยวข้องกับ การดําเนินงานขององค์กรโดยตรง หรือมีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียร่วมกับองค์กร เช่น ผู้บริหารขององค์กร, พนักงาน/เจ้าหน้าที่ ฯลฯ
2 กลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายนอก (External Public) คือ กลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกองค์กร ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อการทํางานขององค์กร เช่น นักลงทุน, ลูกค้า, ผู้ถือหุ้น, หน่วยงานราชการ, ชุมชน, สื่อมวลชน ฯลฯ

27 ข้อใดคือกลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายนอก (External Public) ในการประชาสัมพันธ์
(1) ผู้บริหารขององค์กร
(2) พนักงาน/เจ้าหน้าที่
(3) หน่วยงานราชการ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28 ข้อใดไม่ใช่ความหมายหรือนิยามของผู้ประกอบวิชาชีพนักประชาสัมพันธ์
(1) ผู้สร้างความนิยม ทัศนคติที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
(2) ผู้ที่ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานและสร้างความสัมพันธ์อันดี
(3) ผู้ที่ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาด้านการวางแผนการสื่อสารและให้ข้อมูล
(4) ผู้ที่ทําหน้าที่ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ลูกค้า และนําเสนอสิทธิประโยชน์
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D2) นิยามอาชีพผู้ปฏิบัติงานนักประชาสัมพันธ์/เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer) ทําหน้าที่เป็นผู้สร้างความนิยม ทัศนคติที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ ที่ดีขององค์กร รวมไปถึงส่งเสริมงานบริการหรือสินค้าขององค์กรต่อสาธารณชนหรือประชาชนให้คําปรึกษาด้านการวางแผนการสื่อสารและให้ข้อมูล ตลอดจนติดต่อประสานงานและสร้าง ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า พนักงานขององค์กร ผู้ขายหรือผู้จัดส่งสินค้าให้องค์กร นักลงทุน ผู้ถือหุ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐ สาธารณชนหรือชุมชนทั่วไป

29 ข้อใดไม่นับว่าเป็นหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์
(1) วิชชุตาทําการตรวจสอบและรวบรวมข่าวสารที่มีผลกระทบต่อองค์กร
(2) อาลีทําการออกแบบสื่อโฆษณาและจัดเตรียมข้อมูลทางการขาย
(3) อนุรักษ์ทําหน้าที่ประสานงานและจัดส่งข้อมูลขององค์กรแก่สื่อมวลชน
(4) สุดารัตน์ทําหน้าที่ร่างคําแถลงการณ์ให้แก่ผู้บริหาร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D2) หน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 ศึกษางาน กิจกรรม หรือสินค้าขององค์กร ตลอดจนศึกษานโยบาย วัตถุประสงค์ และ เป้าหมายที่ต้องการทําการประชาสัมพันธ์
2 วิเคราะห์และวางแผนงานโครงการ เพื่อดําเนินงานประชาสัมพันธ์
3 คัดเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับงาน หรือผลิตภัณฑ์ที่จะประชาสัมพันธ์
4 ประสานงานและจัดส่งข้อมูลขององค์กรให้แก่สื่อมวลชน
5 จัดทําข่าวสารหรือจัดเตรียมการแถลงข่าวของผู้บริหารองค์กร และร่างสุนทรพจน์ คําปราศรัย หรือคําแถลงการณ์ให้แก่ผู้บริหาร
6 จัดเก็บข่าวขององค์กร ตรวจสอบและรวบรวมข่าวสารที่มีผลกระทบต่อองค์กร ฯลฯ

30 ทักษะใดเกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์น้อยที่สุด
(1) การเสาะแสวงหา เข้าถึงแหล่งข่าวที่รวดเร็วฉับไว
(2) การวิเคราะห์และวางแผน
(3) ไหวพริบและความฉลาดทางอารมณ์
(4) ทักษะการสื่อสาร
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D2), (ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ) นักประชาสัมพันธ์ที่ดีควรมีคุณสมบัติ
5 ประการ ดังนี้
1. มีบุคลิกภาพที่เพียบพร้อม
2. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับบริษัทในทุกเรื่อง 3. มีทักษะการสื่อสารด้วยการพูดที่ดี
4. มีใจรักงานบริการอย่างแท้จริง
5. มีไหวพริบและความฉลาดทางอารมณ์เป็นเลิศ

ข้อ 31. – 34. จงเลือกจับคู่ความหมายของประเภทงานประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยพิจารณาจาก
ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) สื่อมวลชนสัมพันธ์
(2) การรณรงค์
(3) การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
(4) การประชาสัมพันธ์องค์กร

31. มุ่งสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงาน สู่สายตาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D4) การประชาสัมพันธ์องค์กร (Corporate Public Relations) คือ การประชาสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรให้ประจักษ์ต่อสายตาของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการประชาสัมพันธ์จุดยืนขององค์กรให้สาธารณชนได้รับรู้อีกด้วย ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 1. เน้นสื่อสารถึงภาพลักษณ์ เรื่องราวดี ๆ 3. เน้นความใส่ใจต่อสังคม ผู้มีส่วนได้เสีย
2. เน้นวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้ายั่งยืน

32. เน้นให้ข้อมูลเพื่อโน้มน้าวใจและใช้ความน่าเชื่อถือในการจูงใจลูกค้า
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D4) การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด (Marketing Public Relations : MPR) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ลูกค้าซื้อสินค้า โดยเน้นให้ข้อมูลเพื่อชักจูงและใช้ความน่าเชื่อถือ ในการจูงใจลูกค้า นอกจากนี้ยังหมายถึงวัตถุประสงค์อื่น ๆ “ที่นอกเหนือไปจากการทําให้รู้จัก เชื่อใจ เข้าใจ ให้ความรู้ โน้มน้าว ปฏิบัติตาม หรือซื้อ” ในลักษณะหวังผลประโยชน์ทางอ้อม เช่น การเชิญนักข่าวมาทานอาหาร เพื่อให้กลับไปแนะนําร้าน, การเชิญนักข่าวมาทดสอบรถ รุ่นใหม่ หรือการเชิญผู้มีชื่อเสียงมาร่วมงาน, การถ่ายทอดแฟชั่นโชว์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

33. มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และตระหนักต่อปัญหา เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่าง ๆ ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D4) การรณรงค์ (Campaigns) คือ การประชาสัมพันธ์ที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่าง ๆ (โดยเฉพาะต่อโครงสร้างเชิงสังคม) ซึ่งจะมุ่งเน้นการ สร้างการรับรู้และตระหนักต่อปัญหา จากนั้นจึงทําการโน้มน้าวใจและกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมาย กระทําบางอย่าง ยอมรับ หรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

34. สร้างความสัมพันธ์กับสื่อในรูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร โดยการเชิญมาทําข่าว/ทําข่าวแจก
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D4) สื่อมวลชนสัมพันธ์ (Media Relations) ทําหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ กับสื่อในรูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร โดยใช้วิธีการเชิญมาทําข่าว จัดทําข่าวแจกแก่สื่อ จัดให้ สื่อเข้ามาสัมภาษณ์ผู้บริหาร จัดให้ผู้เชี่ยวชาญตอบคําถามสื่อมวลชน หรือการจัดกิจกรรมเพื่อ เชื่อมสัมพันธ์กับสื่อมวลชน

35. ข้อใดคือความหมายของ Press Release
(1) การนําสื่อมวลชนเข้าชมกิจการของหน่วยงาน เพื่อนําเสนอข้อมูลสู่สาธารณชน
(2) บทความที่เขียนขึ้น และภาพที่ส่งไปให้สื่อมวลชน เพื่อให้นําไปใช้เผยแพร่ต่อ
(3) การให้ถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการขององค์กรแก่สาธารณชน
(4) การตอบคําถามสื่อมวลชนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเป็นการให้ข้อมูลผ่านข้อคําถาม
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D4) ข่าวแจก (Press & Photo Release) เป็นบทความและภาพที่ ฝ่าย PR เขียนขึ้นและส่งไปให้สื่อมวลชน เพื่อให้นําไปใช้เผยแพร่ต่อ โดยข่าวที่ส่งออกไปนี้ อาจเกี่ยวเนื่องกับองค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่, การได้รับรางวัลต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่องค์กรทํา

36 ข้อใดตรงกับคําว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (CSR)
(1) Corporate Social Responsibility
(2) Canvas Social Responsibility
(3) Creative Social Responsibility
(4) Copper Social Responsibility
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D5) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) มีที่มาจากโลกาภิวัตน์ (Globalization) และการตลาดหนึ่งเดียว จนส่งผลให้เกิด CSR เป็นการประชาสัมพันธ์แนวใหม่ที่มีต้นกําเนิดมาจากยุโรป ซึ่งเป็นมากกว่าการประชาสัมพันธ์ ตนเอง มากกว่าการกุศล โดยมีเป้าหมายมากกว่าการสร้างภาพลักษณ์ (เน้นสร้างความยั่งยืน)

37. ข้อใดเป็นที่มาของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
(1) โลกาภิวัตน์ (Globalization)
(2) การตลาดหนึ่งเดียว
(3) การประชาสัมพันธ์แนวใหม่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) CSR เป็นรูปแบบการส่งเสริมจากภายในองค์กรเท่านั้น
(2) CSR เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กรที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคม
(3) CSR เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กรที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมในระดับย่อย
(4) CSR เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กรที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมในระดับโดยรวม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D5) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กร ที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับย่อยและระดับสังคมโดยรวม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า และชุมชน เช่น ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องสิทธิมนุษยชน ฯลฯ โดยส่งเสริมจากภายใน องค์กรไปสู่ภายนอกองค์กร ในลักษณะที่เป็นไปตามกฎหมาย และตรงตามความต้องการของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสําคัญ

39. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) CSR ไม่ต่างจากการประชาสัมพันธ์
(2) CSR ไม่เน้นการสื่อสารความสําเร็จขององค์กร
(3) CSR เป็นการจัดการความรู้ของสังคม
(4) CSR เป็นความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กร
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D5) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นความไว้วางใจของประชาชน
ที่มีต่อองค์กร ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ต้องใช้ระยะเวลาในการสั่งสม
2. เกิดขึ้นจากพฤติกรรมองค์กร
3. เกิดขึ้นจากการกระทําของบุคลากรในองค์กร

40. ข้อใดเป็นความสําคัญของการทํา CSR
(1) เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
(2) เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ จากภาคสังคม ๆ
(3) เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนและกลุ่มรักษาประโยชน์สาธารณะ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D5) ความสําคัญของการทํา CSR มีดังนี้
1. ช่วยให้องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานภาครัฐเห็นแรงบันดาลใจด้านต่าง ๆ จากภาคสังคม
2. เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ จากภาคสังคม
3. เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนและกลุ่มรักษาประโยชน์สาธารณะ
4. เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน และเกิดผลตอบแทนอย่างคุ้มค่ากับทั้งสองฝ่าย

41. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) CSR เป็นการทํากิจกรรมเพื่อสังคม
(2) CSR เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจ
(3) การสื่อสารไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินโครงการ CSR
(4) CSR ช่วยให้องค์กรเห็นโอกาสจากความต้องการของชุมชน
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D6) ความสําคัญของการสื่อสารในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการดําเนิน โครงการ CSR มีดังนี้
1. การทํากิจกรรมต่าง ๆ ของ CSR เป็นการดําเนินงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับชุมชน
2. ต้องใช้การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3. การสื่อสารที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีหรือทักษะใหม่ ๆ
4. การสื่อสารช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการ
5. การสื่อสารช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ
6. การสื่อสารส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
7. การสื่อสารจะส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามมา

ข้อ 42 – 48, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การตลาดสังคมองค์กร
(2) การตลาดเหตุสัมพันธ์
(3) การให้เพื่อสังคมขององค์กร
(4) การอาสาชุมชน

42. พนักงานเป็นผู้คัดเลือกกิจกรรมแล้วนําเสนอเพื่อรับการสนับสนุนจากองค์กร
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D5) การอาสาชุมชน (Community Volunteering) คือ การสนับสนุน/ จูงใจพนักงาน คู่ค้า และสมาชิกให้มาร่วมสละเวลาแรงงานในการทํางานให้แก่ชุมชนที่องค์กร ตั้งอยู่ เพื่อตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางสังคมที่องค์กรให้ความสนใจหรือห่วงใย ผ่านการดําเนินการเองหรือร่วมมือกับองค์กรอื่นก็ได้ หรือพนักงานเป็นผู้คัดเลือกกิจกรรมแล้วนําเสนอ เพื่อรับการสนับสนุนจากองค์กร

43. การนําการรณรงค์ไปปฏิบัติ “เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D5) การตลาดสังคมองค์กร (Corporate Social Marketing) มีลักษณะดังนี้
1. สนับสนุนการพัฒนาหรือนําการรณรงค์ไปปฏิบัติ “เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. การปรับปรุงด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือความอยู่ดีของชุมชน
3. มุ่งแก้ไขปัญหาสังคม
4. เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

44. มุ่งแก้ไขปัญหาสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45. การผูกมัดในการให้หรือบริจาคจากจํานวนร้อยละของรายได้ คิดจากยอดขายสินค้า
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D5) การตลาดเหตุสัมพันธ์ (Cause – related Marketing) หมายถึง การผูกมัดในการให้หรือบริจาคจากจํานวนร้อยละของรายได้ คิดจากยอดขายสินค้า/บริการ เพื่อสนับสนุนแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะมีการประกาศอย่าง มีระยะเวลาแน่นอนกับสินค้าที่ร่วมรายการ และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือการกุศล ผ่านทางการซื้อสินค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้จะเน้นเรื่องการ ตระหนักเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคม การสนับสนุนด้านทรัพยากร เพื่อให้รับรู้ประเด็นปัญหา

46. เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือการกุศล ผ่านการซื้อสินค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47. เพิ่มการตระหนักเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48. สนับสนุน/จูงใจพนักงาน คู่ค้า สมาชิกให้มาร่วมสละเวลาแรงงานในการทํางานให้แก่ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

49. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของการสื่อสาร
(1) ความไม่เป็นพลวัตร
(2) การที่ไม่สามารถเพิกถอนได้
(3) การกระทําล่วงหน้าเชิงป้องกัน
(4) ปฏิสัมพันธ์
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) คุณลักษณะของการสื่อสาร มีดังนี้
1. ความเป็นพลวัตร
2. การที่ไม่สามารถเพิกถอนได้
3. การกระทําล่วงหน้าเชิงป้องกัน
4. ปฏิสัมพันธ์
5. บริบท

ข้อ 50 – 55. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ถูก
(2) ผิด

50. การทํากิจกรรมต่าง ๆ ของ CSR เป็นการดําเนินงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับชุมชน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

51. การสื่อสารที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีหรือทักษะใหม่ ๆ ในการจัดกิจกรรม CSR ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
52. การสื่อสารเกิดจากความว่างเปล่า
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6), (ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ) คุณลักษณะของการสื่อสารข้อหนึ่ง คือ บริบท เนื่องจากการสื่อสารไม่ได้เกิดจากความว่างเปล่า โดยการสนทนาในที่ประชุม หรือ การสนทนากับลูกค้าทางโทรศัพท์ ก็จะแวดล้อมไปด้วยผู้ร่วมประชุมหรือผู้ร่วมสนทนา ดังนั้น บรรยากาศจึงมีผลกระทบต่อปฏิกิริยาของคนที่มีต่อข่าวสาร เช่น ความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นจาก การโต้เถียง ความกระตือรือร้น หรือการไม่ให้ความสนใจ

53. การสื่อสารมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นตามมาได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

54. บรรยากาศมีผลกระทบต่อปฏิกิริยาของคนที่มีต่อข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

55. การจัดกิจกรรม CSR ไม่จําเป็นต้องใช้การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

ข้อ 56. – 60. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(2) การสื่อสารด้วยคําพูดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(3) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบส่วนตัว
(4) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบไม่ใช่ส่วนตัว

56. สื่อหนังสือพิมพ์
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบไม่ใช่ส่วนตัว มีลักษณะดังนี้
1. ความเข้มข้นของข่าวสารน้อยที่สุด
2. ไม่ทราบว่าผู้รับจะเป็นใคร
3. ไม่สามารถสื่อสารในเรื่องที่ลึกซึ้งได้
4. ใช้ถ้อยคําทั่วไปในการสื่อสาร
5. มีข้อดี คือ สามารถส่งไปยังผู้รับสารหลายรายและคาดหวังการตอบกลับที่น้อย
เช่น สื่อหนังสือพิมพ์, รายงานต่าง ๆ ฯลฯ

57. การส่งข่าวสารภายในองค์กรผ่านอีเมล
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบส่วนตัว มีลักษณะดังนี้
1. มีความเข้มข้นของข่าวสารต่ํากว่าการสื่อสารด้วยวาจา
2. ส่งตรงไปยังบุคคลที่ต้องการได้รูปแบบของจดหมายส่วนตัวและอีเมล
3. แน่ใจได้ว่าผู้รับข่าวสารจะได้อ่าน ซึ่งอยู่ใน
4. เหมาะสําหรับข่าวสารที่มีความซับซ้อน
5. มีข้อจํากัด คือ ไม่สามารถส่งกลับไปยังผู้ส่งสารได้

58. ผู้บริหารสนทนาทางโทรศัพท์กับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารด้วยคําพูดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะดังนี้
1. มีความเข้มข้นของข่าวสารมากเป็นอันดับสอง
2. การสนทนาทางโทรศัพท์จะทําให้มีความเข้มข้นของข่าวสารด้วยโทนเสียง
3. เน้นเสียงของผู้ส่งสารและการตอบกลับอย่างรวดเร็ว
4. ไม่สามารถให้ภาพและส่วนที่ไม่ใช้เสียงได้

59. ผู้บริหารระดับสูงลงไปหาข้อเท็จจริงภาคสนาม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face – to – Face Communication) มีลักษณะดังนี้
1. เป็นการสื่อสารที่มีความเข้มข้นของข่าวสารสูงสุด
2. สามารถโต้ตอบซักถามได้ทันที
3. ใช้ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง
4. ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การสื่อสารสะดวกสบายขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ช่วยร่นระยะเวลา และทําได้ง่าย
5. การสื่อสารแบบเผชิญหน้าสามารถใช้เป็นเทคนิคในการ “จัดการโดยการเดินไปรอบ ๆ”
6. ผู้บริหารระดับสูงลงไปหาข้อเท็จจริงภาคสนาม หรือการไปเยี่ยมลูกค้าต่างจังหวัด ทําให้ทราบข้อมูลที่ไม่อยู่ในรายงานที่ได้รับได้

60. เอมิลี่เขียนจดหมายหาแฟนหนุ่มที่อเมริกาบอกว่า ตนเองสบายดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

ข้อ 61. – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ถูก
(2) ผิด

61. กลยุทธ์การสื่อสารในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรทําหน้าที่ส่งข้อมูล
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารองค์กรในบริบทของความรับผิดชอบ ต่อสังคม (CSR) ต้องระมัดระวังใน 3 ปัจจัย ดังนี้
1. องค์กรผู้ทําหน้าที่ส่งข้อมูล
2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือกลุ่มคนที่รับสาร
3. สาร/ภาพลักษณ์ที่ส่งออกไป

62. การกําหนดกลยุทธ์ระดับองค์กรไม่จําเป็นต้องกําหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6), (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ) องค์กรผู้ทําหน้าที่ส่งข้อมูล มีขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้
1. ต้องกําหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร ได้แก่ การกําหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร (องค์กรต้องการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทําอะไร)
2. การตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรที่ต้องใช้ ได้แก่ เงิน เวลา และคน
3. ต้องตอบคําถามให้ได้ว่า ภาพลักษณ์ขององค์กรด้านใดที่มีความน่าเชื่อถือในสายตา ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

63. การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมใช้ทั้งการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มีดังนี้
1. สามารถสื่อสารได้ทั้งแบบเป็นทางการ ซึ่งทําในนามขององค์กร และแบบไม่เป็นทางการ ทําส่วนตัว/ปกปิดแหล่งข่าว/ไม่ทราบแหล่งข่าว
2. การสื่อสารภายนอกองค์กรที่มุ่งไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ชุมชน และการสื่อสารภายใน องค์กรที่มุ่งสู่พนักงานในองค์กร เพื่อเกิดการรับรู้ ภูมิใจ ระดมส่งเสริมอาสาสมัคร

64. การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมไม่จําเป็นต้องกําหนดกลุ่มผู้รับข่าวสาร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จะต้อง กําหนดกลุ่มผู้รับข่าวสารว่า ควรจะสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มไหน ประเด็นอะไร และ ระดับในการสื่อสารจะต้องส่งสารอยู่ในระดับใด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ

65. การได้มาซึ่งหน้าข่าวที่ดี เป็นตัวชี้วัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การได้มาซึ่งหน้าข่าวที่ดี จะเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อ สังคม (CSR) ขององค์กร เพื่อต่อยอดด้านการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร และเพื่อต่อยอดทาง การตลาด ทั้งนี้เพราะ “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์” แต่ถ้าหากกิจกรรมขององค์กรมีความคิด สร้างสรรค์ สื่อต่าง ๆ ก็ยินดีลงข่าวให้ฟรีเหมือนกัน

ข้อ 66 – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) วางแผน (Plan)
(2) ปฏิบัติ (Do)
(3) ตรวจสอบ (Check)
(4) ดําเนินการ (Act)

66. วางแผนปรับปรุงแผนงาน
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D7) วงจร PDCA เป็นขั้นตอนการตรวจสอบ “การเผชิญปัญหา” ไปสู่ “การแก้ปัญหา” แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1. วางแผน (Plan) คือ วางแผนปรับปรุงแผนงาน โดยค้นหาว่าสิ่งใดทําให้เกิดความผิดพลาด จึงเป็นขั้นตอนการกําหนดปัญหา และหาแนวคิดสําหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ
2. ปฏิบัติ (Do) คือ การแก้ปัญหาตามที่เราได้เลือกไว้ในระดับเล็ก ๆ หรือระดับทดลองตามที่ กําหนดไว้ในการวางแผน โดยมีการตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติว่า ได้ดําเนินไปในทิศทาง ที่ถูกต้องตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่
3. ตรวจสอบ (Check) คือ การตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระดับเล็ก/ระดับทดลอง ว่าได้ผลหรือไม่ เพื่อทําให้ทราบว่าการปฏิบัติในขั้นตอนที่สองสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่
ต้องการหรือไม่
4. ดําเนินการ (Act) คือ การนําเอาวิธีการที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปดําเนินการในระยะที่ใหญ่ กว่าระดับทดลอง เป็นการนําไปใช้ในงานประจํา โดยนําแนวทางหรือการปฏิบัติที่สําเร็จนั้น มาจัดทําให้เป็นมาตรฐานหรือมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

67. การหาแนวคิดสําหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68. การแก้ปัญหาตามที่เราเลือกไว้ในระดับเล็ก ๆ หรือระดับทดลองตามที่กําหนดไว้ในการวางแผน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

69. การตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระดับเล็กหรือระดับทดลองว่าได้ผลหรือไม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

70. นําแนวทางหรือการปฏิบัติที่สําเร็จนั้นมาจัดทําให้เป็นมาตรฐานหรือมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

ข้อ 71 – 75. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่าสื่อในข้อต่าง ๆ เหล่านี้ คือ สื่อประเภทใด
(1) Owned Media
(2) Paid Media
(3) Earned Media
(4) Shared Media

71. จารุวัฒน์เห็นสื่อโฆษณาขึ้นบนเว็บไซต์ข่าวที่กําลังอ่าน
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D9) Paid Media คือ สื่อที่ต้องจ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือสื่อ ออฟไลน์ ถ้าต้องการใช้เงินเพื่อซื้อพื้นที่โฆษณาให้คิดว่าเป็น Paid Media ได้เลย ดังนั้นสื่อแบบ ชําระเงินจึงมีบทบาทสําคัญในการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ทําให้กลุ่มเป้าหมายพบเห็นเนื้อหา โฆษณาที่ต้องการได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้คนมาติดตามหรือค้นหา ส่วนใหญ่จะปรากฏ/แทรกหรือขัดจังหวะในขณะที่กลุ่มเป้าหมายกําลังรับชม หรือกําลังอ่านเนื้อหาที่พวกเขาสนใจ เช่น สื่อโฆษณาที่แทรกบนเว็บไซต์ข่าว, ป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่, จอ LED ขนาดใหญ่, สติ๊กเกอร์ เพื่อการโฆษณาบนรถบัสแบบติดเต็มทั้งคันและติดครึ่งคัน ฯลฯ

72. ยุทธพงศ์อ่านกระทู้รีวิวโรงแรมที่พักย่านหัวหินจากเว็บบอร์ด โดยที่ผู้ตั้งกระทู้ไม่ได้เป็นบุคคลมีชื่อเสียง ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D9) Earned Media คือ สื่อที่ผู้อื่นสร้างให้หรือสื่อที่ได้มาจากการพูดถึง หรือบอกต่อ ซึ่งจะแตกต่างจาก Paid Media และ Owned Media เพราะเป็นสื่อที่ไม่สามารถ ซื้อหรือว่าจ้าง ไม่สามารถควบคุมสื่อชนิดนี้ได้ เพราะส่วนใหญ่สื่อที่ผู้อื่นสร้างให้เป็นผลลัพธ์ที่ มาจากการทดลองใช้สินค้าหรือบริการ หรือภายหลังจากที่ได้รับเนื้อหาคุณภาพที่เกี่ยวข้องและ เป็นประโยชน์ ผู้ชม/ผู้สนใจจึงยินดีที่จะรีวิว เผยแพร่ แชร์เนื้อหา หรือบอกต่อ

73. สรุจเห็นป้ายโฆษณา LED จอใหญ่ ขณะขับรถในถนนทางพิเศษบูรพาวิถี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

74 วรันทรอัปโหลดภาพถ่ายอาหารลง Instagram พร้อมเขียนคําอธิบายว่า “อร่อยมาก ๆ”
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

75. พิชัยสร้างเว็บไซต์ของร้านค้าตนเอง โดยในเว็บไซต์มีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมราคา
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D9) Owned Media คือ สื่อที่แบรนด์หรือองค์กรเป็นเจ้าของ หมายถึง สินทรัพย์ทางการตลาดที่องค์กรเป็นเจ้าของ เช่น เว็บไซต์, บัญชีในโซเชียลมีเดีย, สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ฯลฯ ทั้งนี้การใช้สื่อ Owned Media หมายความว่า เราสามารถควบคุมได้ ตั้งแต่รูปลักษณ์และสีสันไปจนถึงรูปแบบเนื้อหา, ความถี่ของการอัปเดต, วิธีการเผยแพร่ และวิธีการประชาสัมพันธ์

76. ในการเลือกใช้เครื่องมือหรือสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ จําเป็นต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบใดบ้าง
(1) กลุ่มเป้าหมาย
(2) งบประมาณ
(3) วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4PDF (MCS 2150 : D9) การเลือกเครื่องมือหรือสื่อที่จะใช้ในการประชาสัมพันธ์ในกรณีใด ก็ตาม ต้องมีการกําหนดวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวกําหนดเครื่องมือ หรือสื่อที่จะใช้ ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสาร ตัวข่าวสารเอง องค์ประกอบด้านเวลา และ งบประมาณขององค์กร โดยปกติในการประชาสัมพันธ์มักจะใช้สื่อมากกว่าหนึ่งอย่าง

77. ข้อต่อไปนี้คือ สื่อที่สามารถควบคุมได้ (Controlted Media) ยกเว้นข้อใด
(1) ป้ายบิลบอร์ด
(2) ผู้ใช้งานทั่วไปรีวิวในเว็บบอร์ด
(3) โฆษณาในโทรทัศน์
(4) การแต่งตั้งพรีเซ็นเตอร์ขององค์กร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D9) สื่อที่สามารถควบคุมได้ (Controlled Media) คือ สื่อที่แบรนด์ หรือองค์กรสามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ การผลิต และวิธีการ เผยแพร่ไปสู่สาธารณชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น กระดานป้าย (Billboard) ซึ่งองค์กรสามารถ ควบคุมเนื้อหาและรูปร่างลักษณะได้อย่างเต็มที่, เว็บไซต์ขององค์กร, โฆษณาในโทรทัศน์, โฆษณาบนจอ LED ทั่วเมือง, การแต่งตั้งพรีเซ็นเตอร์ขององค์กร, การลงทุนจ้างผู้มีอิทธิพล ทางความคิด ฯลฯ (ส่วนผู้ใช้งานทั่วไปรีวิวในเว็บบอร์ด จัดเป็นสื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้) (ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ)

78. ข้อใดต่อไปนี้คือ สื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Uncontrolled Media)
(1) ข่าววิทยุ โทรทัศน์
(2) เว็บไซต์ขององค์กร
(3) โฆษณาบนจอ LED ทั่วเมือง
(4) การลงทุนจ้างผู้มีอิทธิพลทางความคิด
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D9) สื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Uncontrolled Media) คือ สื่อที่องค์กร หรือแบรนด์ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากองค์กรไม่ใช่เจ้าของสื่อเหล่านี้ ดังนั้นจึงไม่สามารถ บังคับให้สื่อเหล่านี้เสนอข่าวสารตามที่องค์กรต้องการได้ ซึ่งลักษณะของสื่อแบบนี้จะเป็นสื่อที่ สามารถเข้าถึงสาธารณชนจํานวนมากได้ หรือเรียกว่า “สื่อมวลชน” (Mass Media) เช่น ข่าว ในวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์, การที่ผู้ใช้สินค้าหรือบริการรีวิว เผยแพร่ แซร์เนื้อหา หรือ บอกต่อถึงคุณภาพและความประทับใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

79. ข้อต่อไปนี้คือ สื่อนอกบ้าน (Out of Home Media) ยกเว้นข้อใด
(1) สติ๊กเกอร์แปะรอบขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส
(2) ป้ายโฆษณาที่ท่าเรือคลองแสนแสบ
(3) ภาพยนตร์โฆษณาที่เปิดดูผ่านเฟซบุ๊กขณะอยู่นอกบ้าน
(4) จอดิจิทัลในศูนย์การค้าชั้นนํา
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D9) ตัวอย่างสื่อนอกบ้าน (Out of Home Media : OOH) ได้แก่
1. ป้ายโฆษณา (Billboard) ขนาดใหญ่
2. จอ LED ขนาดใหญ่
3. สติ๊กเกอร์บนรถไฟฟ้า BTS ทั้งคัน, โปสเตอร์ในขบวนรถไฟฟ้า BTS, ที่จับในขบวนรถ และสื่อบน LED ในขบวน
4. จอดิจิทัลในศูนย์การค้าชั้นนํา ฯลฯ

80. ข้อใดสําคัญที่สุดในการทํา Search Engine Optimization (SEO)
(1) คําสําคัญ (Keyword)
(2) ความยาวของบทความ
(3) รูปภาพที่ประกอบบทความ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D9) Search Engine Optimization (SEO) คือ วิธีการปรับแต่งเว็บไซต์ การปรับปรุงเนื้อหา และการเพิ่ม Backlink ซึ่งเป็นลิงค์ที่มีคุณภาพมายังเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ บน Search Result Page (หน้าแสดงผลการค้นหา) เมื่อกรอกคําสําคัญ หรือ Keyword (ถือเป็นสิ่งสําคัญที่สุดในการทํา SEO) ที่ต้องการผ่าน Search Engine ต่าง ๆ เช่น Google, Yahoo, Bing เป็นต้น โดยเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในระยะยาว

81. ข้อต่อไปนี้คือ บทบาทของการประชาสัมพันธ์ ยกเว้นข้อใด
(1) สื่อมวลชนสัมพันธ์
(2) ชุมชนสัมพันธ์
(3) การจัดการประเด็นและภาวะวิกฤติ
(4) การโฆษณา
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D10) บทบาทของการประชาสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1. การเป็นที่ปรึกษา (Counseling)
2. การวิจัย (Research)
3. สื่อมวลชนสัมพันธ์และผู้มีอิทธิพล (Media and Influencers Relations)
4. การเผยแพร่ (Publicity)
5. ชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations)
6. พนักงานหรือสมาชิกสัมพันธ์(Employee/Member Relations)
7. การสื่อสารกิจการสาธารณะ (Public Affairs)
8. การจัดการประเด็นและภาวะวิกฤติ (Issues and Crisis Management) ฯลฯ

82. ข้อใดต่อไปนี้คือ บทบาทของการประชาสัมพันธ์ในแง่ของการเป็นที่ปรึกษา (Counseling)
(1) ผังโครงสร้างองค์กรมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ขึ้นตรงกับผู้บริหาร
(2) นักประชาสัมพันธ์สามารถเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสร้างสื่อได้
(3) การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์จําเป็นต้องปรึกษานักประชาสัมพันธ์เสมอ
(4) นักประชาสัมพันธ์เป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D10) การเป็นที่ปรึกษา (Counseling) หมายถึง บทบาทในการเป็น ที่ปรึกษาให้ผู้บริหารในการตัดสินใจและกําหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น การกําหนดนโยบาย การตลาด การสร้างภาพลักษณ์สินค้าหรือบริการ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การขยายฐาน การผลิต การแถลงผลประกอบการ ฯลฯ ซึ่งบทบาทในด้านนี้จะทําได้ดีหากผังโครงสร้าง องค์กรมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ขึ้นตรงกับผู้บริหาร และนักประชาสัมพันธ์สามารถเข้าร่วมใน การประชุมผู้บริหารระดับสูง หรือเป็นคณะกรรมการบริหารของหน่วยงาน

83. การออกแบบเนื้อหาสารให้มีประสิทธิภาพ ควรคํานึงถึงเรื่องใดมากที่สุด
(1) การออกแบบเนื้อหาสารให้ตรงกับความต้องการของคนทั่วไป
(2) การออกแบบเนื้อหาสารให้ตรงกับที่หน่วยงานภาครัฐกําหนด
(3) การสื่อสารเนื้อหาสารที่ตรงกับความคิดส่วนลึกในใจของผู้รับสาร
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D10) การออกแบบเนื้อหาสารให้มีประสิทธิภาพ ควรคํานึงถึงเรื่องการ สื่อสารเนื้อหาสารที่ตรงกับความคิดส่วนลึกในใจของผู้รับสาร (Consumer Insight) ทั้งนี้เพื่อ ประสิทธิผลในการสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าองค์กรนั้น ๆ เข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างดี

84. การทําวิจัยเพื่อค้นหาความคิดส่วนลึกที่อยู่ในใจของผู้บริโภค (Consumer Insight) มีทั้งหมดกี่ขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน
(2) 3 ขั้นตอน
(3) 4 ขั้นตอน
(4) 5 ขั้นตอน
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D10) การทําวิจัยเพื่อค้นหาความคิดส่วนลึกที่อยู่ในใจของผู้บริโภค (Consumer Insight) มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การตั้งคําถามหรือประเด็นที่ต้องการทราบจากผู้บริโภค
2. การค้นหาข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
3. การค้นหาข้อมูลปฐมภูมิจากการทําวิจัย
4. การแปลผลเพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

85. การเขียนเอกสารสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ (Creative Brief) แบ่งเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) ใคร คือ ผู้บริโภคหรือผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย
(2) ความต้องการให้ผู้รับสารรู้สึกอย่างไรต่อเนื้อหาสาร
(3) แก่นของความคิดในการสื่อสาร
(4) ความสามารถในการสื่อสารของผู้รับสาร
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D10) รูปแบบการเขียนเอกสารสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ (Creative Brief) แบ่งออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. ใคร คือ ผู้บริโภค/ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย ๆ
2. ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรหรือแบรนด์อย่างไร
3. ความต้องการให้ผู้รับสารรับรู้หรือรู้สึกอย่างไรต่อเนื้อหาสารและตราสินค้าของบริษัท 4. แก่นของความคิดในการสื่อสาร

86. ข้อใดคือเป้าหมายสูงสุดของการทํา Customer Journey
(1) การรับรู้ (Awareness)
(2) การเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจ (Evaluation)
(3) การใช้สินค้าหรือบริการ (Purchase)
(4) ความภักดีต่อแบรนด์หรือองค์กร (Loyalty) PDF (MCS 2150 : D10) Customer Journey คือ การเดินตอบ 4 ทางของลูกค้า จะบอกเล่าถึง ประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่การรับรู้ถึงตัวตนของแบรนด์หรือองค์กรครั้งแรก สู่กระบวนการ ซื้อขายหรือการใช้บริการ การทดลองใช้งาน จนกระทั่งเกิดความภักดีต่อแบรนด์หรือองค์กร (Loyalty) ซึ่งถือเป้าหมายสูงสุดของการทํา Customer Journey ในระยะยาว ทั้งหมดนี้คือ เรื่องของปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ลูกค้าหรือผู้รับบริการมีต่อแบรนด์หรือองค์กร

87. การออกแบบสารที่มีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาถึงองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) ความเหมาะสมตรงประเด็น
(2) จดจําได้ง่าย
(3) มีความน่าเชื่อถือ
(4) ถูกทุกข้อฃ

ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D11) Patrick Jackson (2000) ซึ่งเป็นบรรณาธิการของวารสาร PR Reporter ได้แนะนําการออกแบบสารประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพว่า ควรพิจารณาถึง องค์ประกอบต่อไปนี้
1. ความเหมาะสมตรงประเด็น (Appropriate)
2. มีความน่าเชื่อถือ (Meaningful)
3. จดจําได้ง่าย (Memorable)
4. เข้าใจได้ทันที (Understandable)
5. มีความน่าเชื่อถือ (Believable)

88. ข้อใดเป็นตัวอย่างการใช้ตัวย่อของชื่อองค์กร โดยเป็นการทําให้เป็นชื่อที่ผู้รับสารเรียกอย่างติดปาก คุ้นหู
(1) MERCEDES
(2) UNESCO
(3) KONAMI
(4) PANASONIC
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D11) ตัวอย่างของการใช้สัญลักษณ์ สโลแกน และตัวย่อของชื่อองค์กร (Symbols, Slogans, Acronyms) โดยเป็นการทําให้เป็นชื่อที่ผู้รับสารเรียกอย่างติดปากและ คุ้นหู ได้แก่ 1. AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome)
2. UNESCO (United Nations, Educational, Scientific and Cultural Organization) 3. NOW (National Organization for Women) ฯลฯ

89.อัตลักษณ์องค์กร หรือ CI มีความหมายภาษาอังกฤษ ตรงกับข้อใด
(1) Corporate Internet
(2) Community Integration
(3) Corporate Identity
(4) Connection Interrupt
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D11) อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity : CI) จะเกี่ยวข้องกับ การออกแบบการสื่อสารขององค์กร ดังต่อไปนี้
1. การใช้คู่สีใดสีหนึ่งเป็นประจํา
2. การใช้ฟอนต์ตัวอักษรแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ อย่าใช้ฟอนต์หลายตระกูล
3. การเน้นให้เกิดภาพจําภาพลักษณ์ขององค์กร โดยการใช้ซ้ํา ๆ ฯลฯ

90. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการออกแบบการสื่อสารที่เป็นการสื่อสารอัตลักษณ์องค์กร
(1) ในการออกแบบการสื่อสารขององค์กรใช้คู่สีใดคู่สีหนึ่งเป็นประจํา
(2) ในการออกแบบการสื่อสารมีการใช้ฟอนต์ตัวอักษรแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ
(3) ในการออกแบบการสื่อสารมีการเน้นให้เกิดภาพจําภาพลักษณ์ขององค์กร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

91. การเล่าเรื่อง (Storytelling) ถูกนํามาใช้ในการสื่อสารเนื้อหาในด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์
(2) การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร
(3) การรักษาความสดใหม่ของสินค้า
(4) การเขียนบทความทางเว็บไซต์
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D11) การเล่าเรื่อง (Storytelling) ถือเป็นรูปแบบการเล่าเรื่องแบบหนึ่ง ที่ใช้กระบวนการเล่าเหมือนกับนิทาน หรือเรื่องราวของนิยาย เรื่องเล่าต่าง ๆ ร้อยต่อกัน และ สร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้รับสารสนใจ ให้ความตั้งใจ และจดจําเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมา มักถูกนํามา ใช้ในการสื่อสารเนื้อหาในด้านต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, การเขียนบทความ ทางเว็บไซต์, การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร ฯลฯ

92. ข้อต่อไปนี้คือกลยุทธ์การสื่อสารที่สําคัญที่สุด
(1) เป้าหมายในการสื่อสาร
(2) ช่องทางในการสื่อสาร
(3) การวิเคราะห์และวิจัยกลุ่มเป้าหมาย
(4) บูรณาการทุกข้อร่วมกัน

ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D11) กลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategy) ที่สําคัญที่สุด
จะต้องบูรณาการทุกข้อร่วมกัน ได้แก่
1. เป้าหมายในการสื่อสาร
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
3. การวิเคราะห์คู่แข่ง
4. การวิจัยและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
5. ส่วนลึกในใจผู้บริโภค
6. ช่องทางในการสื่อสาร
7. เป้าหมายของธุรกิจ/เป้าหมายขององค์กร

93. เป้าหมายที่สําคัญที่สุดของการสร้างสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ
(1) การปฏิบัติตามสาร
(2) การจดจําสาร
(3) การสร้างความน่าเชื่อถือ
(4) การสร้างความสนใจต่อสาร
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D11) เป้าหมายที่สําคัญที่สุดของการสร้างสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ การปฏิบัติตามสาร ซึ่งการที่ผู้รับสารจะปฏิบัติตามสารที่เราส่งออกไปจะมีขั้นตอน ดังนี้
1. Awareness (รับรู้)
2. Interest (สนใจ)
3. Evaluation (ประเมิน)
4. Trail (ทดลอง)
5. Adoption (ยอมรับ)

94. การวัดการประชาสัมพันธ์จากผลการสื่อสารในระดับใด คือ ระดับที่เป็นเป้าหมายสูงสุด
(1) การจดจําเนื้อหา
(2) การยอมรับว่าเป็นความรู้
(3) การเปลี่ยนทัศนคติ
(4) การเปลี่ยนพฤติกรรม
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D12) การวัดการประชาสัมพันธ์จากผลการสื่อสารแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. การเผยแพร่และการสื่อสาร
2. การจดจําเนื้อหา
3. การยอมรับว่าเป็นความรู้
4. การเริ่มก่อตัว หรือการเปลี่ยนทัศนคติ
5. การเกิด/เปลี่ยนพฤติกรรม (เป็นระดับที่เป็นเป้าหมายสูงสุด)

95. จากการทําแคมเปญรณรงค์ “แกว่งแขวน” ผ่านโครงการลดพุง ลดโรค ของ สสส. หากผู้รับสารสามารถ จดจําภาพและสามารถปฏิบัติตามในโฆษณาได้ แต่ไม่ได้นํามาถือปฏิบัติ ถือเป็นผลการสื่อสารในระดับใด
(1) การจดจําเนื้อหา
(2) การเปลี่ยนทัศนคติ
(3) การยอมรับว่าเป็นความรู้
(4) การเกิดพฤติกรรม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D12), (ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ) ขั้นการจดจําเนื้อหา (Retention of Message) คือ การวัดผลที่เกิดจากการที่ผู้ที่ได้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาร และจดจําเนื้อหาได้ แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะแสดงความคิดหรือเปลี่ยนพฤติกรรมอะไร ดังนั้นจึงเป็นการวัดในระดับที่สูงขึ้นมาอีก เพื่อบอกว่าผู้อ่านเข้าใจข่าวสารที่เผยแพร่ในสื่อมากน้อยเพียงใด

96. การวัดการประชาสัมพันธ์ตามกระบวนการดําเนินงานแบ่งเป็นระดับ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับเตรียมงาน
(2) ระดับปฏิบัติงาน
(3) ระดับผลกระทบ
(4) ระดับประเมินผล
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D12) การวัดการประชาสัมพันธ์ตามกระบวนการดําเนินงาน สามารถ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับเตรียมงาน (Preparation)
2. ระดับปฏิบัติงาน (Implementation)
3. ระดับผลกระทบ (Impact)

ข้อ 97. – 100, การประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานประชาสัมพันธ์ดังที่กล่าว คือ คุณลักษณะของมิติใด ให้ใช้คําตอบจากตัวเลือกดังต่อไปนี้
(1) มิติด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์
(2) มิติด้านผลประโยชน์ของความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย
(3) มิติด้านพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
(4) มิติด้านผลประโยชน์ขององค์กร

97. เป็นความสําเร็จขั้นต้นของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่มีคุณลักษณะด้านปริมาณ และคุณภาพของ
การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์
เป็นความสําเร็จขั้นต้นของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่มีคุณลักษณะด้านปริมาณ และ คุณภาพของการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ โดยมีตัวชี้วัด 3 ประการ ได้แก่
1. ปริมาณและคุณภาพของงานที่ปฏิบัติ
2. ความคุ้มค่าในการลงทุนที่ใช้ไปในการปฏิบัติงาน
3. การบรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน

98. เป็นผลของการสื่อสารที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายหลังจากที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ ออกไป และข่าวสารนั้นก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้ความรู้ที่เขามีต่อองค์กร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านผลประโยชน์ของความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผลของ การสื่อสารที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายหลังจากที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ ออกไป และข่าวสารนั้นก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้ความรู้ที่เขามีต่อองค์กร จากความรู้นี้ได้ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันพฤติกรรมของเขาที่มีต่อองค์กร และความสําเร็จที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพ

99. เป็นผลจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่เกิดจากการที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ออกไปแล้วข่าวสารนั้นได้ก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งมีระดับมากเพียงพอที่จะผลักดันให้เกิด
พฤติกรรมที่มีต่อองค์กร
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผลมาจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่เกิดจากการที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ออกไป จากนั้นข่าวสารที่ก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งมีระดับมากเพียงพอที่จะผลักดันให้ เกิดพฤติกรรมที่มีต่อองค์กร โดยมีตัวชี้วัดความสําเร็จ 2 ประการ ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย
2. พฤติกรรมที่กลุ่มเป้าหมายแสดงออกเป็นไปตามที่องค์กรต้องการ

100. เป็นความสําเร็จที่เกิดจากการสนับสนุนของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ความสําเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการประชาสัมพันธ์โดยตรง แต่การปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่ประสบความสําเร็จจะช่วยสนับสนุนให้เกิด ผลด้านนี้ขึ้น
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านผลประโยชน์ขององค์กร เป็นความสําเร็จที่เกิดขึ้นจากการ สนับสนุนของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ความสําเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการประชาสัมพันธ์โดยตรง แต่การปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่ประสบความสําเร็จจะช่วยสนับสนุนให้เกิดผลทาง ด้านนี้ขึ้น นอกจากนี้ผลประโยชน์ขององค์กรยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอีกว่า การประชาสัมพันธ์มีคุณค่าและมีความสําคัญต่อองค์กร

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!