การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1350 (MCS 1300) หลักการพูดเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. หลักการพื้นฐานของความมีประสิทธิผลในกิจกรรมด้านวาทวิทยา คือ
(1) ภาพลักษณ์ที่ดี
(2) ความรู้ที่ดี
(3) การเตรียมตัวที่ดี
(4) ความคล่องตัวที่ดี
(5) ท่าทางที่ดี (คําบรรยาย)
ตอบ 3 หลักการพื้นฐานของความมีประสิทธิผลในกิจกรรมด้านวาทวิทยา คือ ผู้พูดต้องมีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมาก่อนเวลาพูดเพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็นเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคย และไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพูด

Advertisement

2. คําพูดที่เหมาะสมถูกพัฒนามาจาก
(1) ภาพพจน์
(2) ความรู้
(3) ความรู้สึก
(4) สัญชาตญาณ
(5) ความคิด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาหรือข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมในการพูดนั้น มีพื้นฐานมาจากความคิด
และการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ซึ่งการพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจาก ความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

3. แลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงประสบการณ์ หรือมีสัมพันธ์ร่วมกับเหตุการณ์นั้น ๆ คือ
(1) โต้วาที
(2) โต้คารม
(3) สนทนา
(4) ปรึกษาหารือ
(5) สดุดี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสนทนา คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นกันในเชิงประสบการณ์ หรือมีสัมพันธ์ร่วมกับเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งข้อมูลความคิดเห็นที่แลกเปลี่ยนกันอาจจะขัดแย้ง หรือคล้อยตามกันก็ได้

4. คําปฏิสันถารมีเพื่อ
(1) สวัสดี
(2) สร้างความคุ้นเคย
(3) บอกตัวตน
(4) เล่าเรื่อง
(5) เน้นย้ำ
ตอบ 2 หน้า 34 – 40, (คําบรรยาย) โครงสร้างของการพูด หรือลําดับของการพูดก่อน – หลัง ในการ พูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย
1. คําปฏิสันถาร หมายถึง คําทักทายผู้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. คํานํา หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง เป็นการเกริ่น อารัมภบท เป็นบทนําหรือความนําเข้าสู่เนื้อหา
3. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลหลักของการนําเสนอ หรือกลวิธีนําเสนอ
4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง
5. คําลงท้าย หมายถึง ข้อความกล่าวทิ้งท้าย เพื่อความประทับใจ (ในส่วนของสรุปและคําลงท้ายอาจสลับที่กันได้ ซึ่งมักทําเฉพาะในกรณีที่ ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญพอสมควร)

5. คําปฏิสันถาร เรียกอีกอย่างว่า
(1) คําทาบทาม
(2) คําอุทาน
(3) คําอุปมา
(4) คําทักทาย
(5) คําบอกเล่า
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6 กระบวนการนําเสนอเรื่องราวให้ผู้ฟัง – ผู้ชม เห็นจริงตามผู้พูด เรียกว่า
(1) การสร้างจินตนาการ
(2) การสร้างภาพพจน์
(3) การสร้างภาพลักษณ์
(4) การสร้างคติพจน์

(5) การสร้างมายาคติ

ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ตน (การวิเคราะห์ตัวผู้พูดหรือตัวผู้ส่งสาร) ถือเป็นปัจจัย การสื่อสารแบบวาทวิทยาที่ต้องวิเคราะห์เป็นอันดับแรก ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งสําคัญ 2 อย่าง ได้แก่
1. ภาพลักษณ์ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวตนของผู้พูดจากประสบการณ์ จากสิ่งที่ได้รับรู้ หรือจาก สิ่งที่เห็น จนสามารถประเมินค่าและเชื่อถือว่าผู้พูดเป็นเช่นนั้น
2. ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคําพูด ซึ่งเป็นกระบวนการนําเสนอเรื่องราวให้ผู้ฟัง – ผู้ชม เห็นจริงตามผู้พูด หรือมีอารมณ์ร่วมในเรื่องที่พูด ซึ่งผู้พูดที่เก่งจะต้องสามารถพูดแล้วทําให้ ผู้ฟังเห็นภาพตามได้

7. การวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารในการพูดแต่ละครั้งอาศัยหลักการ
(1) ลงลึกในรายละเอียดของสถานการณ์
(2) รับผิดชอบให้ได้มากที่สุด
(3) ความคุ้มค่า
(4) ดูดีมีราคา
(5) สร้างความสบายใจให้ทุกฝ่าย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารในการพูดแต่ละครั้ง จะอาศัยหลักการลงลึกใน รายละเอียดของสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไปพูด เพราะสถานการณ์การพูดจะบ่งบอกว่า เนื้อหาที่นําไปพูดนั้นเหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็จะต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด

8. ประสิทธิผลในการพูดแต่ละครั้งทราบได้จาก
(1) จํานวนผู้เข้าชม – เข้าฟัง
(2) ผลการประเมิน
(3) คําชมและเสียงปรบมือ
(4) สื่อมวลชน
(5) คํากล่าวของสปอนเซอร์
ตอบ 3 หน้า 7, (คําบรรยาย) ประสิทธิผลในการพูดแต่ละครั้งจะทราบได้จากการแสดงออกของผู้ฟัง ที่เรียกว่า “ปฏิกิริยาตอบกลับ” (Feedback) เช่น การให้คําชมและเสียงปรบมือ การพยักหน้า การทําหน้ายุ่ง คิ้วขมวด ฯลฯ ซึ่งการแสดงออกของผู้ฟังดังกล่าวจะทําให้ผู้พูดรู้ว่า การพูดของ ตนประสบความสําเร็จหรือไม่โดยตรง

ข้อ 9. – 14. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) บุคลิกภาพ
(2) เสียง
(3) การประมวลเรื่อง
(4) ช่องทาง
(5) ท่าทาง

9 การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย ……. ที่เป็น “บุคคล” และ “สื่อ”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

10. การออกแบบหัวข้อ และจัดระเบียบการนําเสนอข่าวสาร
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบ ที่สําคัญอยู่ทั้งหมด 3 สิ่ง ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2. การวิเคราะห์ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางวาทวิทยา และการวิเคราะห์ สถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูด และประมวลเนื้อหาเรื่องราวเพื่อออกแบบหัวข้อ และจัดระเบียบการนําเสนอ สาระข่าวสาร/เนื้อหาในการพูด

11. พิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งเสียงพูดที่มีประสิทธิภาพ
จะต้องพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

12. ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของการพบปะ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของ การพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ คือ ตัวตนของผู้พูด ซึ่งได้แก่ บุคลิกภาพทั้งหมดที่ปรากฏออกมา ซึ่งจะพิจารณาจากความน่าเชื่อถือและอวัจนภาษาที่สอดคล้องกับสาระการนําเสนอ

13. เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย เวลา กลิ่น ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร และวัสดุภาษาอื่น ๆ ที่สามารถสื่อความเข้าใจกันได้

14. พิจารณาจากความน่าเชื่อถือและอวัจนภาษาที่สอดคล้องกับสาระการนําเสนอ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

15. กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางวาทวิทยา หมายถึง
(1) ท่าทาง
(2) ผู้ชม ผู้ฟัง
(3) สาระ
(4) ข้อมูล
(5) ประเด็น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

16. ข้อใดสนับสนุนแนวคิดที่ว่าการพูดสร้างบุคคลเป็นผู้มีวิจารณญาณที่ดี
(1) การรู้จักใช้เหตุผลในการนําาเสนอ
(2) สาระที่พูดต้องพิสูจน์ได้เสมอ
(3) การคิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) ผู้พูดต้องปรับตัวตามสถานการณ์
(5) การพูดต้องอาศัยความมีสติปัญญา ฉลาด และรอบรู้
ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของวิชาการพูดประการหนึ่ง คือ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนเป็น ผู้มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักใช้เหตุผลในการนําเสนอ รู้จักคิดรู้จักโต้แย้ง และรู้จักใช้ข้ออ้างอิง ที่มีหลักฐานในการพูด

17. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย
(1) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาท่าทาง
(3) ภาษาทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) ภาษาหนังสือ – ภาษาท่าทาง
(5) ภาษาพูด – ภาษาท่าทาง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

18 ข้อใดไม่ได้หมายถึงการใช้ภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารร่วมกับวัจนภาษา
(1) นางสาวลีลาวดีชักสีหน้างอนแฟนหนุ่ม เพราะผิดนัดเป็นประจํา
(2) คุณตาปลื้มขยิบตาให้หลานชายเป็นนัยว่า เพื่อนหญิงของเขานิสัยดีเป็นที่ถูกใจ
(3) บ่ายนี้ร้อนจัดจนลูกจ้างในร้านพากันปาดเหงื่อ แต่ก็ขยันทํางานต่อจนหมดกะ
(4) ลูกสาวคนเล็กชวนคุณพ่อไปทําบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลฉลองปีใหม่
(5) สาวน้อยตัวอิจฉาหว่านเสน่ห์ให้พระเอกโดยหวังรวบรัดครอบครองมรดก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ (ข้อความในตัวเลือกข้อ 4 ใช้แต่ภาษาพูดเพียงอย่างเดียว)

19. ข้อใดมิได้หมายถึง คํานํา
(1) ความน่า
(2) บทนํา
(3) หัวตอน
(4) เกริ่น
(5) อารัมภบท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

20. ข้อใดเป็นกระบวนการที่ต้องดําเนินการเป็นอันดับแรกในการพูดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมทุกประเภท
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) จัดหาทีมงาน
(4) ร่างเนื้อหา
(5) วิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน
เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

21. สาระเนื้อหาการพูดของนักศึกษาในภารกิจการนําเสนอรายงาน ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ
(4) เตรียมโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญเมื่อต้องนําเสนอรายงาน คือ เนื้อหาสาระการพูดต้องตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการให้คนฟังได้รับทราบ

22. กระบวนการพูดที่มีประสิทธิผลนั้น ประกอบด้วย
(1) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงตน – พัฒนาบุคลิกภาพ
(2) วิเคราะห์ผู้ฟัง – นําเสนอแนวคิด – ออกแบบการพูด
(3) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงบุคลิกภาพ – ประมวลเนื้อหา
(4) วิเคราะห์ตนเอง – สร้างสรรค์เนื้อหา – นําเสนอบนเวที
(5) วิเคราะห์เนื้อหา – สรุปประเด็น – นําเสนอบนเวที
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

23. หากเพื่อนของนักศึกษาจะไปพูดกับชาวบ้านในฐานะนักสื่อสารองค์กรของหน่วยงานที่ไม่แสวงหากําไร
ตัวนักศึกษาจะแนะนําหลักการเลือกเรื่องที่จะพูดอย่างไร
(1) ผู้พูดสนใจ – ผู้ฟังสนใจด้วย
(2) ผู้พูดมีความรู้ – ผู้ฟังสนใจ
(3) เรื่องที่ทันสมัย – ผู้ฟังน่าจะชอบ
(4) เรื่องดีมีสาระ – ผู้พูดอยากนําเสนอ
(5) ดูท้าทายความสามารถ – ผู้ฟังยังไม่คุ้น
ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) ในการเลือกเรื่องไปพูดนั้น ผู้พูดต้องพยายามเลือกเรื่องที่ทั้งผู้พูดและ ผู้ฟังสนใจเป็นอันดับแรก ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้พูดถนัด มีความรู้ และสามารถหาข้อมูลมานําเสนอได้ ก็จะทําให้พูดได้ดี และถ้าเรื่องนั้นผู้ฟังสนใจด้วยก็ดูเหมือนว่าผู้พูดได้ประสบความสําเร็จขั้นต้น ในการเรียกความสนใจจากผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่สนใจ การพูดนั้นก็จะล้มเหลว

24. ก่อนจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ อะไรคือสิ่งที่ต้องทําทุกครั้ง
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) จัดหาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจเส้นทางของสถานที่จัดงาน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

25. โครงร่าง (Outline) มีประโยชน์ต่อการเตรียมเรื่องพูดอย่างไร
(1) ทําให้มีรสนิยม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์
(5) ทําให้มีเอกภาพ
(3) ทําให้น่าติดตาม
ตอบ 5 หน้า 31 – 32, (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่า เรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

26. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่สามารถละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟังก่อน
(2) สร้างความตื่นเต้นเร้าใจผู้ฟัง
(3) กล่าวอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
(4) สรุปเนื้อเรื่อง
(5) กล่าวสวัสดี
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

27. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคย
(5) พูดให้ชัดและช้ากว่าปกติเล็กน้อย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้ําเสียงที่ชัดเจน

28. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจาก ……. เสมอ
(1) การเปรียบเทียบ
(2) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
(3) ความคิดเห็น
(4) การนิยามหรือให้คําจํากัดความ
(5) ประเด็นคําถาม
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยาม หรือให้คําจํากัดความก่อนเสมอ ซึ่งหมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลัก ด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

29. สิ่งใดควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูดเป็นอันดับแรก
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยนําเสนอ
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) พูดขออภัยในความผิดพลาดของตัวเอง
(5) กล่าวขอบคุณเจ้าภาพ
ตอบ 3 หน้า 52 – 53, (คําบรรยาย) ข้อแนะนําเกี่ยวกับการขึ้นเวทีพูด มีดังนี้
1. พิธีกรกล่าวแนะนําและเชิญผู้พูดขึ้นพูด
2. ผู้พูดเดินไปทําความเคารพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด
3. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้องทําความเคารพ
หรือทักทายใครอีกแล้ว

4. เข้าที่พูดในลักษณะที่สง่างาม และผู้พูดควรยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสเป็นอันดับแรก เพราะกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ของการพูด คือ ยิ้มแย้มดีกว่าบึ้งตึง
5. หลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด ไม่ควรทดสอบเสียงโดยใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล ๆ”6. ในขณะที่พูด เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจด้วยการปรบมือ หรือแสดงความไม่พอใจด้วยการ โห่ร้องขึ้นมา ผู้พูดควรหยุดพูดก่อนชั่วคราว จนเมื่อเสียงของผู้ฟังซาลงจึงเริ่มพูดต่อไป ฯลฯ

30. เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจอย่างมาก ผู้พูดควรปฏิบัติอย่างไร
(1) หยุดกิจกรรมของตนเองสักครู่
(2) กล่าวทักทายอีกครั้ง
(3) พูดเร้าอารมณ์เพิ่มมากขึ้น
(4) กล่าวขอบคุณอย่างจริงใจ
(5) ทําความเคารพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. อะไรคือ “ความเป็นทางการ” ในการพูด
(1) การรู้จักกาลเทศะ
(2) เข้ากับงานสังคมได้
(3) มีเจ้าภาพที่แน่นอน
(4) การพูดให้ประทับใจประธานในพิธี
(5) การปฏิบัติตามแบบแผนที่กําหนดไว้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นทางการในการพูด คือ การรู้จักกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) ทั้งนี้ เพราะการพูดที่ดี หมายถึง การใช้ถ้อยคํา น้ำเสียง รวมทั้งอากัปกิริยาอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท แบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

32. ข้อใดที่ทําให้ความตื่นเต้นและประหม่าเวทีลดน้อยลงได้ตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ออกซิเจน
(2) อาหารและเครื่องดื่ม
(3) อุณหภูมิห้องที่เหมาะสม
(4) ความเป็นมิตรของเจ้าภาพ
(5) สิ่งอํานวยความสะดวกที่พร้อมใช้
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) วิธีแก้ความตื่นเวที ซึ่งสามารถทําให้อาการตื่นเต้นประหม่า บรรเทาลงไปได้ มีดังนี้
1. หายใจเข้าปอดลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจช้า ๆ 4 – 5 ครั้ง เพราะออกซิเจนจะช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง ทําให้ลดความตื่นเต้นลงไปได้
2. เมื่อเริ่มพูดอย่าพูดเร็ว ให้พูดช้า ๆ ยิ้มแย้ม และประสานสายตากับผู้ฟัง
3. พยายามคิดว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และผู้ฟังก็อยากฟังเราพูด
4. หลีกเลี่ยงการแต่งกายที่ตึง รัด และเป็นอุปสรรคต่อการพูด
5. ทําตัวตามสบาย อ่านหนังสือพิมพ์ หรือฟังเพลงที่ชอบก่อนขึ้นพูด ฯลฯ

33. ผู้พูดไม่สามารถสร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟังได้ด้วย
(1) การสร้างมาตรฐานรสนิยมดี
(2) การระวังตัวและรักษามารยาทอย่างดี
(3) การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
(4) การใช้ถ้อยคําและท่าทางที่เหมาะสม
(5) แสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพที่สร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ดังนี้
1. การมีบุคลิกลักษณะท่าทางและรสนิยมที่ดี สุภาพ มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
2. การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
3. การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
4. การใช้ถ้อยคําและแสดงท่าทางที่เหมาะสม
5. การแสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด ฯลฯ

34. เมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องดําเนินการต่อไป คือ
(1) เก็บไว้ในที่มิดชิด
(2) จัดวางไว้ที่ซึ่งประธานจะต้องขึ้นพูด
(3) ส่งต่อไปให้เจ้าภาพ
(4) เข้าเล่มให้เรียบร้อย
(5) ทําสําเนา
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

35. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการฟังเพื่อวิเคราะห์
(1) แยกแยะประเด็นและสาระ
(2) มีจรรยาบรรณ
(3) มีความสํารวมขณะฟัง
(4) จดจําเนื้อหาสําคัญให้ได้
(5) มีเหตุผลพร้อมที่จะโต้แย้งได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการฟัง มีดังนี้
1. ฟังเพื่อรับรู้เนื้อหาสาระและข้อมูล
2. ฟังเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
3. ฟังเพื่อเข้าถึงทัศนคติ ความคิดเห็น
4. ฟังเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน
5. ฟังเพื่อวิเคราะห์ (แยกแยะประเด็นและสาระสําคัญ) ประเมินผล และวิจารณ์

36. หากต้องพูดเรื่อง “พระคุณของบูรพมหากษัตริย์ไทย” นักศึกษาควรใช้แนวคิดใดเป็นหลักในการดําเนินเรื่อง
(1) การระลึกถึงคุณงามความดี
(2) ความเมตตากรุณา
(3) การประเมินผลงาน
(4) โอนอ่อนผ่อนตาม
(5) การป้องกันความเสี่ยง
ตอบ 1(คําบรรยาย) แนวคิดในการดําเนินเรื่องมีอยู่หลายวิธี ซึ่งนักพูดจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม กับหัวเรื่องที่จะพูด ได้แก่
1. การระลึกถึงคุณงามความดี
2. การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
3. การท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
4. การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฯลฯ

37. ข้อใดไม่ส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) กระแสสาธารณมติ
(2) แผนงานที่ต้องดําเนินการ
(3) แผนหน่วยงาน
(4) ความต้องการของเจ้าภาพ
(5) สุขภาพของเจ้าภาพในงาน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

38. การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นการพูดเพื่อกระตุ้นทางใด
(1) ร่างกาย
(2) จิตใจ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) พื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 96, (คําบรรยาย) การพูดกระตุ้นทางสังคม ผู้พูดจะต้องพูดให้ได้ผลออกมาในรูปที่ว่า ผู้ฟังเป็นคนที่กว้างขวาง มีเกียรติ เป็นที่รู้จักในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่ตามกระแสสังคม เช่น การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นต้น

39. ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูดคืออะไร
(1) มาตรฐานสังคมและทักษะการนําเสนอ
(2) ถ้อยคําที่มีน้ําหนัก น่าเชื่อถือ
(3) ความมีชีวิตชีวาและท่าทางของผู้พูด
(4) น้ำเสียง ท่าทาง และคําพูด
(5) พยาน หลักฐาน และข้อมูล

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพูดแบบชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจ คือ ผู้พูดจะต้อง ยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริง พยาน หลักฐาน ข้อมูล และข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูด และเห็นด้วยจนเกิดการตัดสินใจในที่สุด

40. ข้อใดคือ ความมีอัตลักษณ์ของผู้ถ่ายทอดข้อมูล
(1) เร้าอารมณ์
(2) น่าสนใจ
(3) น่าค้นหา
(4) ตัวตนที่แท้
(5) มีอิทธิพล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ (Identity) คือ ผลรวมของตัวตน ความเป็นตัวตนที่แท้ หรือ ส่วนประกอบที่รวมเป็นตัวบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างของอัตลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ได้แก่ บัตรประชาชน

41. คําว่า “ถูกกาลเทศะ” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เป็นจริง
(2) เหมาะสม
(3) มีผลลัพธ์
(4) มีมาตรฐาน
(5) ยอมรับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

42. ช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจในทางวาทวิทยา คือ
(1) โสตประสาท
(2) เครื่องมือ
(3) ภาวะจิตใจ
(4) สื่อ
(5) การกระทํา
ตอบ 2 หน้า 7, (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ อันจะส่งผลต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก เข้าแทรกแซงกระบวนการคิดและความเชื่อ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

43. การวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารเริ่มจากการวิเคราะห์ เป็นอันดับแรก
(1) ตัวผู้เกี่ยวข้อง
(2) ตัวผู้มีอิทธิพล
(3) ตัวผู้เป็นแหล่งข่าว
(4) ตัวผู้มีผลได้ – เสีย
(5) ตัวผู้ส่งสาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

44. คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก
(1) ความเป็นจริงและมีความเหมาะสม
(2) มีความเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผล
(4) มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
(3) การสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้
(5) ยอมรับในบทบาทหน้าที่ไม่ก้าวก่ายกันและกัน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้ ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

45. ข้อใดเป็นข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถใช้ประโยชน์ได้
(1) ประสบการณ์ของผู้รอดตาย
(2) บทความของ บก. คนดัง
(3) ต้นฉบับนักเขียน
(4) บทประพันธ์สมัย ร.6
(5) คําบอกเล่าของเหล่าไทยมุง
ตอบ 1(คําบรรยาย) ข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี คือ ประสบการณ์ของผู้รอดตาย ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง จึงทําให้การพูดนั้นน่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนําเสนอ

46. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์
(1) ใช้วาทศิลป์ชั้นสูง
(2) มีสมดุล ติเพื่อก่อ
(3) ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
(4) มองรายละเอียดที่คาดไม่ถึง
(5) พิจารณาผลกระทบตามลําดับ

ตอบ 2 หน้า 169 – 171, (คําบรรยาย) หัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ คือ มีความสมดุลในการ วิจารณ์ ซึ่งจะต้องพูดทั้งติและชมอย่างมีเหตุผล หากเป็นการติก็ต้องติเพื่อก่อ โดยเสนอแนะว่า ควรจะแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดบ้าง

47. บทบาทของการพูดที่สามารถสร้างและสลายความรู้สึกของบุคคล เกิดขึ้นจาก
(1) การรับรู้ข้อมูล
(2) การมีปฏิสัมพันธ์
(3) การสร้างสมาธิและปัญญา
(4) การเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก
(5) การให้สติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) มีดังนี้
1. เป็นการสื่อสารสองทางในการสื่อสารระหว่างบุคคล ทําให้สามารถเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับ ได้ทันที ซึ่งทําให้การพูดแตกต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ
2. เป็นเครื่องมือเข้าสมาคม เชื่อมต่อสมาชิกสังคมทุกระดับ
3. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเชื่อ ทัศนคติ
4. เป็นกระบวนการสร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกของบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงอารมณ์
และความรู้สึกของผู้ฟังได้โดยตรง
5. ทําให้เกิดการถ่ายทอดแบบแผนวัฒนธรรม ประเพณี กฎระเบียบ และข้อปฏิบัติทางสังคม ไปยังคนรุ่นต่อไป เพื่อการคงอยู่ของประเพณีและวัฒนธรรม ฯลฯ

48. การคงอยู่ของประเพณีและวัฒนธรรม อาศัยบทบาทใดในเชิงวาทวิทยา
(1) สั่งสอนเรียนรู้
(2) ถ่ายทอดแบบแผน
(3) สร้างมาตรฐานใหม่
(4) เลียนแบบพฤติกรรมกันเอง
(5) จดจําสิ่งที่เห็นเป็นประสบการณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49. การพูดเป็นการสื่อสาร
(1) ด้วยบุคคล
(2) ภายในบุคคล
(3) ระหว่างบุคคล
(4) ระหว่างมวลชน
(5) โดยใช้ประชาชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

50. ข้อใดแสดงให้เห็นว่า วาทวิทยาเป็นเครื่องมือของสังคม
(1) วารีขอ ID LINE จากเดชา
(2) สุพจน์ฟังเพลงจากสมาร์ตโฟน
(3) สมพรซ้อมบทละครที่จะแสดงพรุ่งนี้
(4) พลอยคุยกับตัวเองที่หน้ากระจก
(5) จารุณีเพิ่ม App. เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของดาราคนโปรด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

51. การกล่าวอุปมาอุปไมยและเปรียบเทียบ มักใช้กับการพูดชนิดใด
(1) รายงาน
(2) วิจารณ์
(3) เล่าเรื่อง
(4) อภิปราย
(5) เสวนา
ตอบ 3 หน้า 217 การเล่าเรื่องเป็นการสอน ถ่ายทอดความรู้ หรือนําเสนอข้อมูลในเชิงอุปมาอุปไมย และเปรียบเทียบ รวมทั้งยังเป็นการสอนในแง่ความคิดต่าง ๆ ในด้านปรัชญาและคติธรรม

52. หากคุณครูระเบียบต้องการจะให้ข้อมูล นศ. ในแบบ Edutainment เขาควรทําอย่างไร
(1) จัดทําหัวข้อวิจัย
(2) เล่านิทานสนุก ๆ
(3) จัดการพบปะผู้ปกครอง
(4) ให้ไปค้นคว้าในห้องสมุด
(5) จัดการประชุมวิชาการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Edutainment มาจากคําว่า Education + Entertainment หมายถึง การได้รับสาระความรู้ด้วยรูปแบบของความบันเทิง เพราะการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสื่อในกลุ่มของ Edutainment ได้แก่
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ ดีวีดี อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
2. สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น เกมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ
3. สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น การเล่านิทานสนุก ๆ

53. หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถในปัจจุบันเป็นอย่างไร
(1) เชิดชูคนเก่ง
(2) ทุกคนมีแต่ได้
(3) สัมพันธ์แนบแน่น
(4) ละลายพฤติกรรม
(5) หนทางสู่ชัยชนะ
ตอบ 1 หน้า 448, (คําบรรยาย) หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถใน ปัจจุบันนั้น ผู้พูดควรพูดให้สั้นที่สุด (ไม่ควรพูดเกิน 15 นาที) โดยควรกล่าวยกย่องเชิดชูคนเก่ง ที่ได้รับรางวัลแต่พอสมควร และควรจดจําข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น ชื่อ – นามสกุล และผลงาน ของผู้ได้รับรางวัลให้แม่นยํา

54. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่
(1) ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย
(2) ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี
(3) หลักฐานที่ชัดเจนพอ
(4) หลักการที่ควรปฏิบัติ
(5) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายพูดและแสดง ความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้ เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

55. ข้อใดเป็นการดําเนินงานลําดับแรก เมื่อนักศึกษารับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่ตกลงกัน
(1) กําหนดแนวคิดในการนําเสนอ
(2) จองที่พักและยานพาหนะล่วงหน้า
(3) หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันที
(4) เตรียมหาผู้ร่วมงานหรือผู้ช่วย
(5) ซ้อมบทพูดที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเมื่อนักพูดรับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ มีดังนี้
1. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันทีเมื่อรู้ว่าจะต้องพูด
2. เริ่มหาข้อมูลจากความทรงจําที่มีอยู่
3. ดูจากข้อมูลที่มีอยู่ ขาดหายไปหรือที่ต้องการใช้
4. หาเพิ่มเติมในสิ่งที่ยัง
5. พิจารณาเป้าหมายและวัตถุประสงค์การพูดด้วย

56. การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสําคัญในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) รู้ซึ้งถึงข้อมูลเชิงลึก
(2) ทบทวนเหตุการณ์
(3) ทําให้ความจริงถูกเปิดเผย
(4) ทําให้มีการจัดระเบียบข่าวสาร
(5) สร้างความเป็นธรรมให้สังคม
ตอบ 1 หน้า 33, 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวนการพูดคุยโดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสําคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรงผ่าน บุคคลที่มีตําแหน่งหน้าที่สัมพันธ์กับคําถาม ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคล ที่มีความเฉพาะเจาะจงตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และสถานการณ์ในขณะนั้น

57. ในกระบวนการสัมภาษณ์มีบุคคล 2 ฝ่าย คือ
(1) ผู้พูด – ผู้ให้ความเห็น
(2) ผู้สัมภาษณ์ – ผู้ให้สัมภาษณ์
(3) ผู้นําสัมภาษณ์ – ผู้ถูกสัมภาษณ์
(4) ผู้กล่าวสัมภาษณ์ – ผู้ให้ข้อมูล
(5) สื่อมวลชน – แหล่งข่าว
ตอบ 2 หน้า 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่ง จะเป็นผู้ซักถาม เรียกว่า “ผู้สัมภาษณ์” และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตอบ เรียกว่า “ผู้ให้สัมภาษณ์

58. การวิเคราะห์ หมายถึง
(1) ละเอียด
(2) รอบคอบ
(3) ตรงประเด็น
(4) แจกแจงรายละเอียด
(5) มีความสมดุล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ หมายถึง การแยกแยะแจกแจงรายละเอียดของสิ่งที่จะพิจารณา ออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทําความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง

59. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้สื่อข่าวทําการสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์กับผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอม
ตอบคําถามให้ตรงประเด็น
(1) แทรกบทตลกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจนกว่าจะยอมตอบ
(2) ให้ตอบอย่างตรงคําถามและทวนคําถามซ้ําอีก
(3) เปลี่ยนคําถามใหม่ แล้วขออภัยผู้ชมทางโทรทัศน์แทนแขกรับเชิญ
(4) แนะนําคําตอบเป็นทางเลือกสลับกับการพูดคุยกับผู้ชม
(5) ต่อโทรศัพท์ถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม
ตอบ 5 หน้า 264, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้สื่อข่าวไม่ควรกระทําเมื่อจะต้องสัมภาษณ์ผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอมตอบคําถามให้ตรงประเด็นทางสถานีโทรทัศน์ คือ การต่อโทรศัพท์ไปถึงบุคคลที่มี ความเกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม เพราะการให้ผู้อื่นมาทําหน้าที่สัมภาษณ์แทนตนเอง แสดงให้เห็นว่าผู้สื่อข่าวไม่มีความสามารถเพียงพอ ดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงควรมีความอดทน ที่จะซักถามต่อไป โดยแก้ไขสถานการณ์ตามตัวเลือกที่เหลือข้างต้น

60. ในการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน บุคคลใดสมควรเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ในลําดับแรก
(1) ผู้นําองค์กร
(2) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ
(3) ผู้ที่สังคมให้ความสนใจ
(4) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น
(5) ผู้ทําหน้าที่สื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) ในงานด้าน สื่อสารมวลชน สามารถเรียงตามลําดับความสําคัญของบุคคลได้ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้รู้ (ถือว่ามีความสําคัญที่สุด)
2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็น หรืออยู่ในเหตุการณ์
3. เป็นผู้นํา ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสําคัญ
4. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์
5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ
6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง

61. การหาข้อมูลสําหรับผู้พูดเพื่อให้ได้ประเด็นที่โดดเด่นต่างจากการนําเสนอที่มีมาก่อน ควรจะเป็นข้อใด
(1) จากอินเทอร์เน็ต
(2) ปราชญ์ชุมชน
(3) หนังสือพิมพ์รายวัน
(4) บทบรรณาธิการสัปดาห์วิจารณ์
(5) เอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2 หน้า 32 – 33, (คําบรรยาย) การค้นคว้าเพื่อรวบรวมเนื้อหาที่จะพูดวิธีหนึ่ง คือ การหาข้อมูล จากบุคคล เช่น ปราชญ์ชุมชนหรือปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งมีความรู้ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ และการทดลองปฏิบัติจริง ก็จะทําให้ผู้พูดได้ประเด็นที่โดดเด่นต่างจากการนําเสนอที่มีมาก่อน

62. ในการบรรยายพิเศษ ทําไมจึงต้องมีการแนะนําผู้บรรยาย
(1) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูด
(2) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ฟัง
(3) เพื่อฆ่าเวลา
(4) เพื่อยกย่องในเกียรติประวัติที่ทํามา
(5) เพื่อสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
ตอบ 1 หน้า 310, 444 จุดมุ่งหมายในการแนะนําองค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูดว่าเป็นใคร ทําอะไร และมีความสําคัญอย่างไร
2. เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด ฯลฯ

63. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แนะนําวิทยากรที่จะมาแสดงปาฐกถา ท่านจะถามหาข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากรจากใครที่จะได้ตรงเป้าหมายที่สุด
(1) ประธาน
(2) สื่อมวลชน
(3) ผู้เชิญ
(4) เจ้าภาพ
(5) วิทยากร
ตอบ 5 หน้า 311, (คําบรรยาย) ถ้าผู้แนะนําไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร (องค์ปาฐก) ที่จะมาแสดงปาฐกถา ก็ควรติดต่อวิทยากรหรือถามจากเลขานุการในทีมงานวิทยากรว่า จะให้ตนแนะนําอย่างไร โดยต้องติดต่อกันก่อนวันแนะนําจริง

64. ข้อใดคือต้นฉบับที่มีลักษณะพึงประสงค์ต่อการใช้งานจริง
(1) สวยงามมีคุณค่า
(2) โดดเด่นดูเตะตา
(3) ไม่มีร่องรอยแก้ไข
(4) ได้รับการรับรองแล้ว
(5) มีสาระเนื้อหาพอดีกับเวลาที่มี
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4. มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี
5. อ่านง่ายทั้งแบบอักษรและขนาดตัวพิมพ์ ฯลฯ

65. ในการบรรยายพิเศษที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรนั้น ผู้พูดควรพูดอย่างไรเพื่อให้เรื่องที่พูดนั้น
เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
(1) แทรกบทตลกตลอดเวลา
(2) พูดเรื่องปัญหาส่วนตัวของคนสนิท
(3) พาดพิงถึงบุคคลอื่นอย่างสนุกสนาน
(4) ระบายความน้อยเนื้อต่ำใจของตนเอง
(5) เล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นแปลก ๆ ของตนเอง
ตอบ 5 หน้า 308 – 309, (คําบรรยาย) ในการแสดงปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษนั้น ผู้พูดควรพูด ในเรื่องที่น่าสนใจสําหรับผู้ฟัง หรือเรื่องที่ให้ความรู้ และควรเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ยกเว้นเรื่องที่เป็นความลับหรือเรื่องส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ผู้พูดอาจแทรก บทตลกได้เท่าที่จําเป็น หรือเล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง หรืออาจชักชวนผู้ฟัง ให้ร่วมตอบคําถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงดึงประเด็นเข้าสู่สาระหลักที่จะพูดต่อไป

66. เมื่อกล่าวขอบคุณผู้บรรยายพิเศษเสร็จสิ้น ควรทําอะไรต่อไป
(1) เชิญชวนให้มาพูดอีก
(2) เชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้ผู้บรรยาย
(3) สรุปเนื้อหาสาระอีกรอบ
(4) สรุปเนื้อหาและวิจารณ์วิทยากรทันที
(5) เชิญชวนถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก
ตอบ 2 หน้า 312 หลังจากที่องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ได้จบการพูดลงแล้ว พิธีกรจะต้องลุกขึ้นไปกล่าวขอบคุณเป็นข้อความสั้น ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะกล่าวขอบคุณ และเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ด้วยก็ได้

67. ข้อใดหมายถึง การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา
(1) การสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง
(2) การแสวงหาความรู้ให้มากพอ
(3) การริเริ่มแนวคิดเพื่อการนําเสนอ
(4) การปรับปรุงบุคลิกภาพ
(5) รู้จักการขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา หมายถึง การปรับปรุงบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนําเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้สายตา การใช้ภาษา น้ําเสียง การยืน การแต่งกาย กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนกับเครื่องมือที่ใช้ สื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตนเองเพื่อให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมาย เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

68. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูด สิ่งที่ไม่ควรกระทํา คือ
(1) เดินตัวตรง ยิ้มให้กับผู้ชม ผู้ฟังตามสมควร
(2) เดินอกผายไหล่ผึ้ง ทําความเคารพประธาน ทักทายคนรู้จัก
(3) เดินตรงไปยังที่นั่งของตน สํารวจว่าตรงกับชื่อตัวเองหรือไม่ แล้วรีบนั่งลงไป
(4) เดินไปตามลําดับที่พิธีกรประกาศชื่อ ไม่ทักทายประธานในพิธี
(5) อยู่ ณ ที่พักของตนเอง และรอจนกว่าพิธีกรประกาศจึงเข้าประจําตําแหน่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

69. ในการประชุมร่วมกันนั้น หากมีผู้ที่ต้องการพูดเพิ่มเติม ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสําคัญมาก แต่ลําดับ การพูดของตนผ่านไปแล้ว เขาควรทําอย่างไร
(1) พูดแทรกเมื่อมีจังหวะแล้วจึงขออภัย
(2) ให้ทุกคนพูดจบแล้วจึงพูดเพิ่มเติม
(3) ขออนุญาตจากประธานก่อนแล้วจึงพูด
(4) ให้ผู้ดําเนินการสรุปจบก่อนแล้วจึงพูด
(5) ขออภัยและขออนุญาตสมาชิกในที่ประชุม จากนั้นจึงกล่าวถึงประเด็นของตน
ตอบ 3 หน้า 206 มารยาทของผู้เข้าร่วมประชุมประการหนึ่ง คือ เมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องที่สําคัญ หรือต้องการพูดคัดค้าน ควรให้สัญญาณหรือขออนุญาตจากประธานก่อน แสดงความคิดเห็น เช่น ยกมือขึ้นเพื่อเป็นการขออนุญาต เมื่อประธานอนุญาตจึงเริ่มพูดได้

70. ความประหม่าของผู้พูด เป็นปัญหาการพูดในกลุ่มใด
(1) ภาษา
(2) อารมณ์
(3) สาระ
(4) การพัฒนาตน
(5) การปรับตัว
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาที่เกิดกับการพูดด้านบุคลิกและการปรับตัวทั่วไป ได้แก่
1. แต่งกายไม่เหมาะสมกับผู้ฟังหรือสถานที่
2. การเดินไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
3. ความประหม่าของผู้พูดที่จะต้องปรากฏกาย
4. เกรงว่าจะควบคุมกิริยาท่าทาง มารยาท การวางตัวไม่ได้ ฯลฯ

71. ประโยชน์ของการพูดในแง่มุมของการส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตย คือข้อใด
(1) เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
(2) เพื่อเผยแพร่นโยบาย
(3) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น
(4) เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ
(5) เพื่อเป็นเวทีในการประกาศเจตนารมณ์ของตนเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตยจะพิจารณาจากความสมดุลในการ สื่อสาร โดยประโยชน์ของการพูดในแง่มุมนี้ คือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น เพราะสังคมประชาธิปไตยนั้นต้องการความคิดเห็นของสมาชิกเป็นสําคัญ

72. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของนักพูด
(1) กระตุ้นเตือนสังคม
(2) บอกวิธีรักษาโรคภัยให้ผู้ป่วย
(3) สร้างสรรค์สุนทรียะทางภาษา
(4) จูงใจให้เกิดการซื้อขาย
(5) ให้ความรู้ด้วยสาระความบันเทิง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้าที่ของนักพูด มีดังนี้
1. บอกกล่าวเรื่องราว
2. ให้ความรู้
3. สอดส่องดูแลและเตือนภัยสังคม
4. สร้างความจรรโลงใจ
5. โน้มน้าวใจให้เกิดการกระทํา

73. การพูดแบบใดที่ส่งเสริมให้รู้จักพูดชักจูงใจให้คนฟังคล้อยตามความคิดเห็นของตน
(1) รายงาน
(2) อภิปราย
(3) โต้วาที
(4) วิจารณ์
(5) เสวนา
ตอบ 3 หน้า 403 การโต้วาที คือ การโต้แย้งด้วยการใช้คําพูดที่ประกอบด้วยเหตุผลและใช้วาทศิลป์ หักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อมุ่งให้ได้รับชัยชนะ ซึ่งการโต้วาที่ถือเป็นการพูดแบบชักจูงใจ ให้คนฟังคล้อยตามความคิดเห็นของตน และเป็นการอภิปรายที่ต้องมีการโต้แย้งกันด้วยเหตุผล เพื่อตัดสินว่าจะรับหลักการหรือนโยบายนั้นหรือไม่

74. ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ
(1) มาตรงเวลาทุกครั้ง
(2) ทําการซ้อมอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้ชม
(3) ทําทุกอย่างเองเพื่อความสมบูรณ์แบบ
(4) ทําตัวให้โดดเด่นน่าภูมิใจ
(5) มาก่อนเวลาเพื่อสํารวจจุดบกพร่อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

75. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจสอบประสบการณ์และปัญหาที่พบเป็นประจํา มีผลอย่างไรต่อ
การเตรียมข้อมูลในการพูดแต่ละครั้ง
(1) เพื่อสร้างศัพท์ที่มีความซับซ้อน
(2) เพื่อเลือกหัวข้อที่จะพูด
(3) เพื่อทราบแนวโน้มการตัดสินใจ
(4) เพื่อสร้างความประทับใจ
(5) เพื่อกําหนดสาระตามความคาดหวังของผู้ฟัง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจสอบประสบการณ์และปัญหาที่พบเป็น ประจําจะช่วยให้ผู้พูดสามารถกําหนดสาระเรื่องราวที่ตอบสนองต่อปัญหาและความคาดหวัง ของผู้ฟังโดยตรง ดังนั้นการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในการพูดแต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งที่นักพูดถือว่า เป็นเรื่องจําเป็นและขาดไม่ได้ เพราะการพูดจะไม่ประสบความสําเร็จหากไม่รู้จักผู้ฟังดีพอ

76. โฆษกหรือพิธีกรที่ดี ไม่ควรมีการกระทําเช่นไร
(1) หลีกเลี่ยงการพูดถ้อยคําที่ซ้ำซาก
(2) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
(3) เลือกใส่เสื้อผ้าที่ดูสง่างามมีราศี
(4) พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด
(5) ทําตัวให้กลมกลืนและเป็นธรรมชาติกับงานได้ในทุกกาลเทศะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้ดําเนินรายการ โฆษก และพิธีกรที่ดีไม่ควรกระทํา คือ พูดได้ทุกประเด็น เท่าที่ต้องการพูด เพราะจะทําให้การพูดครั้งนั้นออกนอกเรื่องหรือนอกประเด็นสําคัญที่ต้องการ จะพูด และทําให้เนื้อหาการพูดยาวเกินเวลาที่กําหนดอีกด้วย

77. การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้องเริ่มด้วย
(1) การแนะนําเจ้าภาพ
(2) คําปฏิสันถาร
(3) บทประทับใจ
(4) การกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ
(5) คําชื่นชมในโอกาสนั้น ๆ
ตอบ 2 หน้า 445 การกล่าวต้อนรับ เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้ที่มาเยี่ยม เป็นการแนะนํา ผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาใหม่ให้รู้จักสถานที่นั้น ๆ ดีขึ้น โดยการกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้อง เริ่มต้นด้วยการกล่าวคําปฏิสันถารก่อนเสมอ

78. การซ้อมการพูดของบุคคลสําคัญกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ
ลักษณะใดบ้าง
(1) ด้านบุคลิกภาพ – เฉพาะสาขา
(2) เฉพาะสาขา – จากหน่วยงาน
(3) จากหน่วยงาน – สื่อมวลชน
(4) สื่อมวลชน – บุคลิกภาพ
(5) จากหน่วยงาน – จากตัวแทนฝ่ายเจ้าภาพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การฝึกซ้อมพูดกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับการพูดโดยตรงจะมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านบุคลิกภาพและวิธีการนําเสนอ
2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชานั้น ๆ

79. น้ําเสียงที่เป็นระดับเดียวกันโดยตลอดสร้างปัญหาให้แก่ผู้ฟังด้านใดมากที่สุด
(1) ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ผู้พูดถ่ายทอด
(2) ทําให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก
(3) หมดศรัทธา ไม่น่าเชื่อถือในตัวผู้พูด
(4) สร้างความสงสัยในเนื้อหา
(5) เบื่อหน่าย ละเลยการติดตามประเด็น
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) หลักการใช้เสียงพูดที่ดีข้อหนึ่ง คือ ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ําเสียง เนื่อย ๆ หรือน้ําเสียงที่เป็นระดับเดียวกัน (ไม่มีเสียงสูง – ต่ํา) โดยตลอด เพราะจะทําให้ผู้พูด ๆ พูดโดยขาดความมีชีวิตชีวา และผู้ฟังก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รําคาญ จนอาจไม่สนใจหรือละเลย การติดตามประเด็น

80. เมื่อเข้า ณ ที่พูดแล้ว ผู้พูดควรจะ ……. เป็นอันดับแรก
(1) ยิ้ม
(2) ดื่มน้ำ
(3) ตรวจเอกสาร
(4) ทดสอบเสียง
(5) นั่งเฉย ๆ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

81. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดเกิดจาก ……… มากที่สุด
(1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
(2) ความตั้งใจที่มีมากจนเกินไป
(3) การเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
(4) อุปกรณ์บกพร่องไม่สามารถใช้งานได้
(5) การประสานงานจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่น่าประทับใจ
ตอบ 3หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนส่งผลให้เกิด ความประหม่าตื่นเต้นบนเวที มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. การไม่เตรียมตัวมาอย่างดีพอ ซึ่งปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
2. การไม่ซักซ้อมอย่างเพียงพอ
3. การไม่ใส่ใจต่อบุคลิกภาพของตนเองเมื่อต้องปรากฏตัว ให้เหมาะสมกับลักษณะพิธีการ สถานที่ และเจ้าภาพ เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ ฯลฯ

82. ข้อใดถูกต้องตามหลักการของวาทวิทยา
(1) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ พะเยา แพร่ บึงกาฬ ขอนแก่น ราชบุรี และตรัง
(2) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ ตรัง แพร่ บึงกาฬ ขอนแก่น ราชบุรี และพะเยา
(3) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ บึงกาฬ ขอนแก่น ตรัง แพร่ ราชบุรี และพะเยา
(4) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ พะเยา แพร่ บึงกาฬ ขอนแก่น ตรัง และราชบุรี
(5) พื้นที่ตามเป้าหมายโครงการ คือ ขอนแก่น ราชบุรี พะเยา ตรัง บึงกาฬ และแพร่
ตอบ 1 หน้า 36 การดําเนินเรื่องด้วยการกล่าวถึงสถานที่ (Place) จากสิ่งใกล้ตัวไปไกลตัว จากเหนือ ไปสู่ใต้ จากตะวันออกไปตะวันตก ซึ่งจะเหมาะสําหรับการสอนวิชาภูมิศาสตร์ การอธิบายที่ตั้ง ของเมืองหรือของสถานที่ใดที่หนึ่ง

83. การกล่าวคําไว้อาลัยที่ดีควรพูดอย่างไร
(1) พูดถึงทรัพย์สินที่เขามีก่อนตาย
(2) พูดถึงผลงานที่เขาทําไว้ก่อนตาย
(3) พูดถึงความประพฤติที่ไม่ดีก่อนตาย
(4) พูดถึงความน่าสมเพชของเขาก่อนตาย
(5) พูดถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในช่วงบั้นปลายชีวิต
ตอบ 2หน้า 452 การกล่าวคําไว้อาลัย เป็นการพูดถึงคุณงามความดีของผู้เสียชีวิต ซึ่งหลักเกณฑ์ ในการกล่าวคําไว้อาลัยที่ดี มีดังนี้
1. คําปฏิสันถาร
2. พูดถึงชีวประวัติของผู้เสียชีวิตอย่างสั้น ๆ
3. พูดถึงผลงานของผู้เสียชีวิต
4. พูดถึงสาเหตุที่ทําให้เขาต้องเสียชีวิต
5. พูดถึงความอาลัยของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง
6. แสดงความหวังว่าเขาจากไปอยู่ในสถานที่ดีและมีสุข

84. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด
(1) เวลาในการพูด
(2) ความน่าสนใจของข้อมูล
(3) พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
(4) ความถนัดของคนพูด
(5) ข่าวสารที่เผยแพร่ใน Social Media
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด มีดังนี้
1. เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
2. ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
4. แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของผู้พูด

85. การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดพิจารณาจาก
(1) ระบบสังคมวัฒนธรรมของผู้พูด
(2) ความยาว – สั้นของสาระการนําเสนอ
(3) ผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร
(4) ข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นประจํา
(5) ข้อมูลสํารองที่มีอยู่
ตอบ 3 หน้า 24 (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ ปัจจัยการสื่อสาร ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้ฟังหรือผู้ชม โดยพิจารณาจากสภาพสังคมประชากร ประสบการณ์ กรอบอ้างอิง ทัศนคติ ระบบสังคมและวัฒนธรรมของผู้ฟัง

86. การที่ “สายตาเป็นสิ่งที่บอกเป้าหมายเชิงกายภาพของการสื่อสาร” มีพื้นฐานจากสิ่งใด
(1) แววตาและน้ำตา
(2) การเลี้ยวหมุนศีรษะ
(3) การกะพริบและการหลับตา
(4) แนวระดับการมอง
(5) รูปลักษณะของดวงตา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการใช้สายตา (Eye Contact) มีดังนี้
1. สายตาเป็นสิ่งสะท้อนบุคลิกภาพ
2. สายตาเป็นสิ่งเร้าที่จะสร้างอารมณ์ความรู้สึก
3. สายตาเป็นตัวประสานความรู้สึกร่วมระหว่างบุคคล
4. สายตาสามารถบอกเป้าหมายเชิงกายภาพของการสื่อสารได้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการตัดกัน อย่างชัดเจนระหว่างตาดํากับตาขาว ทําให้มนุษย์รู้ทิศทางการมอง หรือมีแนวระดับการมองได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น

87. ส่วนสรุปของเรื่องราวที่พูดทําหน้าที่
(1) ทําตามข้อตกลงไว้กับเจ้าภาพ
(2) แสดงความสามารถของผู้พูด
(3) สร้างความประทับใจ
(4) เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
(5) ตอบคําถามที่กล่าวไว้ในตอนคํานํา

ตอบ 3 หน้า 38, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) สรุปหรือส่วนจบเรื่อง คือ ความคิด รวบยอดของเรื่อง ซึ่งเป็นผลรวมของโครงสร้างการพูดทั้งหมด โดยสรุปหรือการจบเรื่องที่ดี ต้องเป็นส่วนที่สร้างความประทับใจ และมีการขมวดประเด็นหรือแสดงผลสําเร็จของการพูด

88. เรื่องสําคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ อาศัยหลักการใดในการพูด
(1) ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก
(2) ย้ำคิดย้ำทํา
(3) สั่งสอนให้รู้สํานึก
(4) บอกใบ้ให้ทายใจ
(5) ต่อเติมส่วนที่ขาดหาย
ตอบ 1(คําบรรยาย) ผู้พูดควรกล่าวหรือตอกย้ำในเรื่องสําคัญที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้เรื่อง ที่พูดนั้นมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น แต่ต้อง ระวังไม่ไปตอกย้ําจนเกิดความซ้ำซาก หรือย้ำคิดย้ำทํามากจนเกินไป เพราะอาจทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย และเรื่องที่เน้นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่สําคัญไป

89. ข่าวหลังละครช่วงดึก เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดโดยการท่องจํา
(2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) การพูดแบบมีบทโดยไม่เตรียมตัว
ตอบ 2 หน้า 90 การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดที่อ่านจากโน้ตที่ได้เตรียมไว้โดยไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเลย จึงเป็นการอ่านมากกว่าการพูด มักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ เช่น การอ่านข่าว การอ่านบทความ การอ่านรายงาน เปิดกิจการ สุนทรพจน์ของบุคคลสําคัญ การกล่าวคําปราศรัยเนื่องในโอกาสต่าง ๆ คําแถลงการณ์ของรัฐบาล/คณะปฏิวัติ ฯลฯ

90. การพากย์กีฬาแข่งขันฟุตบอลซึ่งเป็นการถ่ายทอดสด เป็นการพูดลักษณะใด
(1) การพูดโดยการท่องจํา
(2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) การพูดแบบมีการกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า
ตอบ 3หน้า 89, (คําบรรยาย) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่น การพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาว, การกล่าวทักทายเมื่อเผอิญได้พบกัน, การตอบ ปัญหาบางประการ ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ ไม่ต้องรีบตอบ และประสานสายตากับผู้ฟังเสมอ
2. ใช้ปัญญาวิเคราะห์ หรือใช้ปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด
3. พยายามนึกถึงโครงสร้างของการพูด
4. ฝึกซ้อมตอบคําถามในใจในเรื่องที่เตรียมได้
5. พูดหรือตอบคําถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น มีความหมายชัดเจน ถ้าหากไม่แน่ใจในประเด็น คําถามก็อาจจะขอให้ผู้ถามทวนคําถามเพื่อความแน่นอน หรือนัดหมายให้กลับมาถามใหม่ อีกครั้ง หากไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้

91. นอกจากการเตรียมตัวไม่พร้อมแล้ว ความตื่นเต้นในเวทีมักจะเกิดจาก
(1) ห้องประชุมที่ใหญ่ – เล็กเกินไป
(2) มุมมองของผู้ร่วมสนทนาที่ต่างกัน
(3) การเลือกเครื่องแต่งกายผิดกาลเทศะ
(4) ค่าตอบแทนการพูดที่มากเกินจริง
(5) อุปกรณ์ไม่พร้อมหรืออยู่ในสภาพชํารุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

92. ข้อใดแสดงออกถึงความสมดุลในกระบวนการพูด
(1) พูดเสนอความสามารถของตนเองหลังจากที่คนอื่นอภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้ว
(2) เปิดช่องทางให้แสดงความเห็น มีการสนทนาโต้ตอบตรงไปตรงมา
(3) กล่าวตามยถากรรมปล่อยวางทุกสิ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นกลางทางความคิด
(4) ใช้วาจาอ่อนหวานโน้มน้าวใจ โดยไม่เร่งเร้าหรือแสดงอาการกดดัน
(5) นําเสนอข้อเท็จจริงพร้อมไปกับข่าวลือ หรือข้อความอันเป็นเท็จด้วยตนเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความสมดุลในกระบวนการพูด หมายถึง การเปิดช่องทางให้คู่สื่อสารร่วมแสดง ความคิดเห็นหรือเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันและกัน โดยมีการสนทนาโต้ตอบอย่างตรงไปตรงมา จนเกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร

93. ข้อใดแตกต่างจากการพูดข้ออื่น หากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์
(1) โฆษณาสินค้าออนไลน์
(2) หาเสียงเลือกตั้ง
(3) ขายสมุนไพรพื้นบ้าน
(4) พูดเชิญชวนบริจาคโลหิต
(5) สอนชาวบ้านตามแนวทฤษฎีใหม่
ตอบ 5 หน้า 92 – 95, (คําบรรยาย) การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการพูด ได้แก่
1. การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น การรายงานข่าว การประกาศแจ้งความ ฯลฯ
2. การพูดเพื่อให้ความรู้ (ให้เรียนรู้) หรือเล่าข้อเท็จจริง เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การพูด แนะนําวิธีการใช้ยาหรือสมุนไพร การสอนให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ ฯลฯ
3. การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เช่น การพูดในโอกาสพบปะสังสรรค์ หรือในงานรื่นเริง ฯลฯ
4. การพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวจิตใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า การพูดหาเสียงเลือกตั้ง การพูดเชิญชวนให้บริจาคโลหิต ฯลฯ

94. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
(1) การพูดจากการอ่านต้นฉบับ
(2) การพูดอย่างกะทันหัน
(3) การพูดปาฐกถา
(4) การพูดโดยไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
(5) การพูดโดยอาศัยบันทึกย่อ
ตอบ 3หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) การพูดที่แบ่งตามวิธีการสื่อสาร หรือวิธีการพูด ได้แก่
1. การพูดอย่างกะทันหัน หรือไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
2. การพูดด้วยการอ่านจากต้นฉบับ
3. การพูดโดยอาศัยการท่องจํา
4. การพูดโดยอาศัยบันทึกย่อ หรือบันทึกเฉพาะหัวเรื่อง

95. พัฒนาการของระดับการให้ข้อมูลข่าวสารในการพูดที่พิจารณาถึงเป้าหมายเป็นสําคัญ คือ
(1) รับรู้ – เรียนรู้ – บันเทิง – จูงใจ
(2) เรียนรู้ – รับรู้ – จูงใจ – บันเทิง
(3) บันเทิง – จูงใจ – รับรู้ – เรียนรู้
(4) จูงใจ – บันเทิง – รับรู้ – เรียนรู้
(5) บันเทิง – เรียนรู้ – จูงใจ – รับรู้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

96. ในกรณีที่ถูกซักถามด้วยคําตอบที่ไม่ได้มีการเตรียมมา และไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้
วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ
(1) นัดหมายให้กลับมาถามใหม่
(2) ขอโทษที่ทําให้ผิดหวัง
(3) ต่อว่าว่าทําให้เสียภาพลักษณ์
(4) ย้อนถามว่าคุณรู้มาจากไหน
(5) อยู่เฉย ๆ รอจนกว่าผู้ถามไม่สนใจแล้วเดินออกไปเอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

97. ผลของการชักจูงใจจะมีมาก – น้อย ขึ้นอยู่กับระดับของ
(1) ความเป็นกันเอง
(2) ประเด็นสําคัญการสื่อสาร
(3) กลวิธีสร้างภาพทางความคิด
(4) อิทธิพลต่อจิตใจตามความคาดหวัง
(5) ข้อกําหนดที่สมเหตุสมผล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลของการชักจูงใจจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
1 การสร้างความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ ความเชื่อใจ และความเชื่อความเป็นไปให้กับผู้รับสาร
2 การมีอิทธิพลต่อจิตใจตามความคาดหวัง

98. การเรียงลําดับเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานของการนําเสนอเหตุการณ์เพื่อให้ผู้ฟังได้ติดตามสาระโดยไม่สับสน คือ
(1) การจัดเรียงตามเหตุผล
(2) การจัดเรียงตามความถนัดของผู้พูด
(3) การจัดเรียงตามลําดับเหตุการณ์
(4) การจัดเรียงตามความสําคัญของข้อมูล
(5) การจัดเรียงตามองค์ประกอบการสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 36, (คําบรรยาย) การจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับเวลาหรือลําดับเหตุการณ์ เช่น การลําดับ วัน เดือน ปี ถือเป็นวิธีการดําเนินเรื่องที่ง่ายต่อการนําเสนอและทําให้สับสนน้อยที่สุด

99. คําปฏิสันถารไม่ได้มีขึ้นมาเพื่อ
(1) สร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง
(2) เป็นการแจ้งเตือนว่าถึงเวลาที่จะต้องรับฟังการพูดครั้งนี้แล้ว
(3) การทักทายให้เกียรติผู้ฟัง และแสดงถึงระดับหรือสถานะของกิจกรรมนั้น
(4) บอกกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าภาพ ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ร่วมงาน
(5) ใครเป็นบุคคลที่ทําให้กิจกรรมครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
ตอบ 5 หน้า 34 – 35, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) การกล่าวคําปฏิสันถารที่ดี มีดังนี้
1. เป็นการทักทายให้เกียรติผู้ฟัง และแสดงถึงระดับหรือสถานะของกิจกรรมนั้น
2. เป็นส่วนแรกของการเริ่มต้นเนื้อหาการพูด จึงเป็นเสมือนการแจ้งเตือนว่าถึงเวลาที่จะต้อง รับฟังการพูดครั้งนี้แล้ว
3. เป็นการบอกกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าภาพ ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ร่วมงาน
4. ช่วยสร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ฯลฯ

100. ข้อใดไม่เป็นลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี
(1) มีเนื้อหาเร้าใจเพื่อกระตุ้นผู้ฟังในแบบพาชมเหตุการณ์สําคัญ
(2) สรุปสิ่งที่จะพูดเอาไว้ให้หมด เพื่อช่วงเนื้อหาจะได้กล่าวแค่รายละเอียด
(3) โยงเข้าสู่ข่าวที่เพิ่งเกิด ปลุกเร้าว่ามันเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากเข้าไปทุกที
(4) เสนอแนวความคิดรวบยอดของเรื่อง และท้าทายให้คิดตาม
(5) การปูพื้นฐานความคิดเพื่อให้สามารถเข้าถึงสถานการณ์ที่กําลังจะกล่าวต่อไป
ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) ลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี ได้แก่
1. คํานําควรเป็นการเกริ่นด้วยเนื้อหาที่เร้าใจ
2. เป็นคํานําที่ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ หรือ เสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง (แต่ไม่ใช่การสรุปสิ่งที่พูดเอาไว้ทั้งหมด)
3. เป็นบทนําที่ปูพื้น เหตุการณ์เอาไว้ก่อน หรือโยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
4. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างความสนใจ ให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึก หรือสร้างอารมณ์ร่วม ฯลฯ

Advertisement