การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2303 (MCS 1350) วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 5. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ผู้พูด
(2) เนื้อหา
(3) ผู้ฟัง – ผู้ชม
(4) ช่องทาง
(5) ผลกระทบ

Advertisement

1 เพื่อหา Feedback ในกระบวนการสื่อสาร
ตอบ 5(คําบรรยาย) ผลจากการพูด (Impact) หรือผลกระทบ คือ การแสดงออก ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) ในกระบวนการสื่อสาร หรือผลที่เกิดขึ้นมาจากการนําเสนอเรื่องราวเนื้อหา รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์การแสดงออกทั้งในระหว่างการพูด และหลังจากการพูด

2 คือ สาระหลักของการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) ในทางวาทวิทยา หมายถึง ข่าวสารหรือ ข้อมูลที่มีการตระเตรียมไว้เพื่อการนําเสนอ ถือเป็นสาระหลักของการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นการ เตรียมให้กับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ โดยสาระหรือเนื้อหาเหล่านี้จะพิจารณาจากความน่าสนใจ ในการนําเสนอ และการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายการสื่อสาร

3. เป็น Sender เสมอ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อสาร ผู้พูด (Speaker) จะมีฐานะเป็นผู้ส่งสาร (Sender) เสมอ เพราะเป็นผู้ใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อเตรียมสารและถ่ายทอดไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้ส่งสาร นําเสนอหรือพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายนําสาระข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ หรือ ยึดถือเป็นกรอบอ้างอิง เราจะเรียกผู้ส่งสารว่า “แหล่งข่าวสาร” (Source or News Source) โดยเฉพาะในการสื่อสารมวลชน

4. โดยอนุโลม คือ เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรือเครื่องมือทางการ สื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น ตลอดจนอะไรก็ตามที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ การถ่ายทอด และการส่งต่อสาระข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความรู้หรือความเข้าใจ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

5 พิจารณาจากความเหมาะสม กาลเทศะ สถานะ และตัวบุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผู้ฟัง – ผู้ชม (Listener or Audience) จะมีฐานะเป็นผู้รับสาร (Receiver) และมักเป็นกลุ่มเป้าหมายของการพูดเสมอ โดยจะมีลักษณะสังคมประชากร สภาพการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่นําเสนอ ประสบการณ์ ความสนใจ และความคิดที่เห็นต่างกันไปตาม กาลเวลา ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องทําการวิเคราะห์ผู้รับสารทุกครั้งก่อนการเตรียมสาร โดยพิจารณา จากความเหมาะสม กาลเทศะ สถานะ และตัวบุคคล

ข้อ 6. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) รับรู้
(2) เรียนรู้
(3) มีความรู้สึก
(4) ชักจูงใจ
(5) โดยบันทึกย่อ

6.ข้อใดไม่ใช่การแบ่งตามวัตถุประสงค์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการพูด ได้แก่
1. การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูล ถือเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนในการสื่อสารปกติ
2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือให้เรียนรู้ เป็นการให้ข้อมูล + กระบวนการทางปัญญา
3. การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการเข้าถึงอารมณ์และมีความรู้สึก
4. การพูดเพื่อชักจูงใจ เป็นการโน้มน้าวใจให้เกิดพฤติกรรมตามที่กําหนด ซึ่งจําเป็นต้อง
สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ

7. เป็นการเข้าถึงความบันเทิง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

8. ข้อใดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนในการสื่อสารปกติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

9.จําเป็นต้องสร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

10. ข้อมูล + กระบวนการทางปัญญา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

ข้อ 11. – 15. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หัวเรื่อง
(2) ประเด็น
(3) คํานํา
(4) เนื้อเรื่อง
(5) โครงสร้าง

11. แนวคิดหลักในการนําเสนอ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง มีลักษณะดังนี้
1. เป็นภาพรวมหลัก แนวคิดหลัก หรือทิศทางในการนําเสนอ
2. สัน กระชับ มีความหมายในตัวเอง
3. อาจมีส่วนขยายชื่อเรื่องที่ชวนติดตาม
4. มีความน่าสนใจ หรือสอดคล้องกับความต้องการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย หากมีลักษณะ เชิงคําถาม ต้องมีการคลี่คลายในเนื้อเรื่อง

12. ปกติจะมีความยาวมากที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง คือ สาระข้อมูลหลักในการที่ผู้พูดหรือผู้นําเสนอถ่ายทอด ไปยังผู้ฟัง – ผู้ชม (กลุ่มเป้าหมาย) ซึ่งปกติจะมีความยาวมากที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ทั้งนี้ การจะสร้างสาระเนื้อหาขึ้นมาได้ ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเตรียมสาร ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยทางการสื่อสาร
2. การค้นคว้าข้อมูล
3. การประมวลเนื้อเรื่องและแนวคิด
4. การจัดทําร่างเนื้อหาเบื้องต้น

13. แบบแผนที่กําหนดเอาไว้เป็นสากล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงสร้างของเนื้อหาการพูด คือ แบบแผนซึ่งมีการกําหนดไว้ถึงกระบวนการ และขั้นตอนในการนําเสนอ เพื่อให้ผู้พูดได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพูดตามลําดับก่อน – หลัง ซึ่งผู้ฟัง – ผู้ชมสามารถติดตามได้อย่างไม่สับสน เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ มีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

14. เกริ่น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คํานําหรือบทนํา มีลักษณะดังนี้
1.เป็นส่วนน่าเข้าสู่เนื้อหาในการนําเสนอ หรือเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง
2. ทําหน้าที่ชักจูงใจ โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย หรือปูพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อนําเข้าสู่การ
นําเสนอในลําดับต่อไป
3. อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น คํานํา บทนํา ความนํา วรรคนํา อารัมภบท เกริ่น และ ส่วนเข้าสู่เนื้อหา เป็นต้น

15. จะนําเสนอได้ดีก็ต่อเมื่อมีข้อมูลสนับสนุน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเด็นหลักหรือประเด็นสําคัญในเนื้อหาของการนําเสนอนั้น จะนําเสนอได้ดี ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลสนับสนุนประเด็นในแต่ละด้านตามแนวคิดหรือวิธีการของผู้พูด

16. วาทวิทยาในบริบทของการสื่อสารมวลชน เน้นที่
(1) การนําเสนอที่น่าประทับใจ
(2) การสื่อสารที่มีแบบแผน
(3) การพูดที่มีเสน่ห์
(4) การใช้สื่อบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) การใช้คําพูดให้เป็นประโยชน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของกิจกรรมทางวาทวิทยาในบริบทของ การสื่อสารมวลชน จะเน้นที่การนําเสนอที่น่าประทับใจใน 2 สิ่งด้วยกัน ได้แก่
1. วาจา
2. ตัวตน

17. เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ
(1) คําพูด
(2) สัญลักษณ์
(3) เจตนารมณ์
(4) ความต้องการ
(5) รูปพรรณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ คําพูด ซึ่งเนื้อหาในการพูดนั้นก็พัฒนามาจากความคิดและการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ทั้งนี้ การพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจากความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

18. เนื้อหาในการพูดพัฒนามาจาก
(1) สํานึก
(2) ความคิด
(3) ความน่าจะเป็น
(4) ความต้องการ
(5) ความสําคัญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19. การสื่อสารตามอัธยาศัย ขึ้นอยู่กับ
(1) ระดับความคุ้นเคย
(2) ระดับความสามารถ
(3) ระดับจิตใจ
(4) ระดับของความสัมพันธ์
(5) ระดับสติปัญญา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการพูดในขั้น พื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และ ปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วมและมีลักษณะของการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัด ประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับระดับของความสัมพันธ์ หรือสภาวะปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลของกันและกัน

20. การสื่อสารในระดับชุมชน หรือบุคคลจํานวนมาก มีลักษณะเด่นที่
(1) ความเป็นประชาธิปไตย
(2) ความเป็นอิสรเสรีในการสื่อสาร
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) มีผู้นํา – ผู้ตาม และแบบแผนที่กําหนด
(5) อาศัยการโน้มน้าวใจอย่างสูง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดในที่ชุมชน (Communication in Public) มีดังนี้
1. เป็นการพูดหน้าที่ประชุมชน ซึ่งผู้พูดต้องมีพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ หรือกรอบอ้างอิง เกี่ยวกับเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี
2. ผู้พูดมักมีคุณสมบัติเป็นผู้นํา ส่วนผู้ฟังมีสภาพเป็นผู้ตาม
3. สาระการสื่อสารมักจะเป็นเรื่องที่มีการตระเตรียม โดยมีเป้าหมายการสื่อสารที่แน่ชัดและ
เป็นแบบแผนที่กําหนด รวมทั้งมีกระบวนการสื่อสารเป็นขั้นตอนตามแผนงาน
4. เป็นการพูดต่อหน้าผู้ฟังจํานวนมาก ซึ่งอาจทําให้ผู้พูดเกิดอาการประหม่าและตื่นเต้น ดังนั้น ผู้พูดจึงควรตั้งสติกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อการพูดที่ดีขึ้นในครั้งต่อไป
5. อาจมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น ใช้โปรแกรม PowerPoint ใช้สไลด์ หรือใช้โมเดล ประกอบการนําเสนอ ฯลฯ

21. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของกิจกรรมพูดทางสื่อสารมวลชน
(1) มีคนจํานวนมากพูด
(2) อาศัยสื่อออนไลน์
(3) ไม่มีกําหนดเวลา
(4) รูปแบบเนื้อหา
(5) มีการกําหนดผู้พูดหรือกระบวนการนําเสนอ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดผ่านสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการอาศัยสื่อการ ถ่ายทอดหลักของสังคม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสังคม เพื่อถ่ายทอดสาระการสื่อสารของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องมีการ กําหนดกระบวนการนําเสนอ และตัวผู้พูดที่ทําหน้าที่โดยตรง ได้แก่ พิธีกร ผู้ดําเนินรายการ ผู้ประกาศข่าว สื่อมวลชน หรือเป็นผู้รับเชิญให้พูดเป็นกรณี ๆ ไป ฯลฯ

22. การพูดเพื่อปลูกฝังความดีงามให้เกิดแก่จิตใจ หมายถึง การพูด
(1) ประโลมใจ
(2) ประเทืองใจ
(3) จรรโลงใจ
(4) ชําระจิตใจ
(5) สะใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อจรรโลงใจ มีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีงาม สูงส่ง ซึ่งผู้พูด จะชี้ให้เห็นถึงอุดมคติ แนวทางในการดําเนินชีวิต การสร้างสรรค์คุณงามความดี ความประณีต งดงาม คุณค่าอันน่านิยม ตลอดจนความสนุกสนานเบิกบานใจ

23. ข้อใดคือจุดกําเนิดของการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพการพูด
(1) เป็นผู้หมั่นศึกษา
(2) เป็นผู้เคารพความอาวุโส
(3) เป็นผู้มีปัญญา
(4) เป็นผู้มีความสงบเรียบร้อย
(5) เป็นผู้มีความคิดรอบคอบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเป็นผู้มีความคิดรอบคอบ ถือเป็นจุดกําเนิดของการรักษาจรรยาบรรณ วิชาชีพการพูด เพราะหากพูดโดยไม่ยั้งคิด และขาดความรอบคอบในการไตร่ตรองเนื้อหา ก่อนที่จะพูด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูดในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนาย คําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

24. ความมีสมดุลในการสื่อสารทางวาทวิทยา จะเกิดควบคู่กับแนวคิดใด
(1) เอกภาพทางความคิด
(2) มิตรภาพระหว่างกัน
(3) การมีปฏิสัมพันธ์กัน
(4) การมีส่วนร่วมทางสังคม
(5) หลักวาจาธิปไตย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความมีสมดุลในการสื่อสารทางวาทวิทยา คือ การเปิดโอกาสให้มีการสื่อสาร ระหว่างกันอย่างสมดุล โดยผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ฝ่ายเดียว เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางสังคม

25. ข้อใดเป็นเจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยา
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยาหรือการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ ตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา พฤติกรรม หรืออากัปกิริยาท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหา สาระที่จะพูด น้ำเสียงและสำเนียง

26. การถ่ายทอดสารของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย ………“ระหว่างบุคคล” และ “สื่อมวลชน
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ปฏิสัมพันธ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

27. ข้อใดพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
(1) ผู้พูด
(2) ผู้ฟัง
(3) ผู้ชม
(4) เสียง
(5) ท่าที
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งเสียงพูดที่มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณา
จากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)

28. ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “เอกลักษณ์”
(1) หายากในคนอื่น
(2) ทุกคนก็มี
(3) เป็นไปได้ทุกคน
(4) คุณค่าที่มี
(5) คนที่น่าเลื่อมใส
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คําว่า “เอกลักษณ์” (Uniqueness) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความโดดเด่น หรือสภาวะที่ไม่มีผู้ใดเหมือน หาได้ยากในคนอื่น เช่น การใช้ลูกเล่นในน้ําเสียง เพื่อบอกคนฟังว่า จุดไหนที่เน้น จุดไหนที่สําคัญ เป็นต้น

29. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี
(1) ใช้เหตุผลในการนําเสนอ
(2) ข้อมูลที่ใช้ต้องเป็นความจริง
(3) คิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) สามารถพูดได้ทุกเรื่อง
(5) ต้องมีความรู้เท่าทันคนอื่น
ตอบ 3(คําบรรยาย) หลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี คือ การรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนพูด ถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดมารยาทในการพูด และเป็นมารยาทของนักพูดที่ดีข้อแรกที่วิช วาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ)

30. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย ภาษา ……
(1) ที่ใช้ถ้อยคํา – ที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ที่ใช้ถ้อยคํา – ท่าทาง
(3) ทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) หนังสือ – ท่าหาง
(5) อักษร – สัญลักษณ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย
เวลา กลิ่น ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร และวัสดุภาษาอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจกันได้

31. อวัจนภาษาที่ใช้มากที่สุด คือ
(1) เสียงในลําคอ
(2) ท่าทางประกอบ
(3) การเปลี่ยนตําแหน่ง
(4) การชี้นิ้ว
(5) อุทาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ใช้มากที่สุด คือ ท่าทางประกอบ ซึ่งผู้พูด ควรจะแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและสาระการนําเสนอ รวมทั้ง ต้องสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม ซึ่งการแสดง ท่าทางประกอบต้องมีชีวิตจิตใจ ไม่ซ้ําซากจําเจ และอย่าทําให้เป็นระบบจนผู้ฟังคุ้นเคยหรือเดาทางออก โดยควรทําให้เห็นเด่นชัด และมีความหลากหลาย

32. เสียงในเชิงวาทวิทยาไม่สามารถสื่อสารถึง …… ได้อย่างสมบูรณ์
(1) เนื้อหา
(2) ข้อมูล
(3) สาระ
(4) ความรู้สึก
(5) ความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและสําเนียง โต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงจะเป็นเพียงการเปล่งวาจาหรือเนื้อหาออกมา ส่วนสําเนียง
ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถสื่อสารถึงอารมณ์และจะบอกถึงอากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ความรู้สึกได้โดยตรงอย่างสมบูรณ์ หากไม่มีสําเนียงมาช่วย

33. ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน คือ
(1) ขึ้นอยู่กับสุขภาพกาย
(2) ต้องอาศัยท่าทางประกอบ
(3) เสื่อมสลายไปได้ทันที
(4) ต้องใช้จักษุภาษา
(5) ต้องอาศัยพรสวรรค์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสาร มวลชน คือ เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน เพราะเสียงเมื่อพูดไปแล้วก็จบไปเลย หากผู้ฟัง ไม่มีโอกาสฟังซ้ําก็จะทําให้หลงลืม จึงไม่อาจนํามาเป็นหลักฐานได้

34. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
(4) พื้นฐานความรู้มาก – น้อย
(5) การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. การใช้จังหวะถี – ห่าง
4. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

35. ข้อใดเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ

(4) กระทําโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ คือ การพูดให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการจะให้คนฟังได้รับทราบ

36. ข้อใดไม่เป็นการพูดในทางวาทวิทยา
(1) เจรจา
(2) ปรึกษา
(3) ว่าความ
(4) อุทาน
(5) โต้วาที ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วาทวิทยา (Speech Communication) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น วาทนิเทศ วาทศาสตร์ วาทศิลป์ ฯลฯ แต่เดิมเน้นการสื่อสารด้วยเสียงและกิริยาท่าทางประกอบ ปัจจุบัน เน้นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นํา การชักจูงใจ และความบันเทิงเป็นหลัก ทั้งนี้การพูดในทาง วาทวิทยาจะต้องมีกระบวนการคิด การกําหนดเป้าหมายการพูด การวางแผน และดําเนินการ ตามแผนการพูดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การเจรจาต่อรองผลประโยชน์, การนําเสนอผลงาน การสื่อสารองค์การ, การปรึกษาหารือ, การว่าความ, การโต้วาที ฯลฯ

37. เหตุใดกิจกรรมด้านวาทวิทยาจึงเป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพ
(1) รู้จักการแต่งกาย
(2) รู้จักการวางตัว
(3) รู้จักการใช้เวลา
(4) รู้จังหวะ
(5) รู้จักบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของงานวาทวิทยาประการหนึ่ง ได้แก่ การสร้างสรรค์และส่งเสริม การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี คือ รู้จักการวางตัวและสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสม

38. ช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นคําพูด คือ
(1) สิ่งพิมพ์ – ภาพและเสียง
(2) ใบหน้า – ท่าทาง
(3) บุคคล – สื่อ
(4) เครื่องมือ – อุปกรณ์
(5) สติปัญญา – อารมณ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

39. แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือก
(1) สื่อ
(2) เวลา
(3) เรียนรู้
(4) วิธีแสดงออก
(5) วิถีชีวิต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือกวิธี แสดงออกหรือวิธีนําเสนอที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท
และแบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

40. ข้อใดไม่ใช่การวิเคราะห์
(1) แจกแจง
(2) มีรายละเอียด
(3) ทําโดยผู้เชี่ยวชาญ
(4) ประมวลสาระอย่างรอบคอบ
(5) เสนอข้อมูลที่หลากหลาย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ มีลักษณะดังนี้
1. การแยกแยะแจกแจงรายละเอียด
2. การประมวลสาระอย่างรอบคอบ
3. การนําเสนอข้อมูลที่หลากหลาย

41. การพูดเป็นการสลายอารมณ์และความรู้สึกระหว่างผู้รับสารได้ เนื่องจาก
(1) เป็นการให้เกียรติแก่กัน
(2) เป็นการสร้างสรรค์เนื้อหาร่วมกัน
(3) เป็นการรับรู้ข้อมูลพร้อม ๆ กัน
(4) เป็นการรู้จักตัวตนที่ลึกซึ้ง
(5) เป็นช่องทางของการมีปฏิสัมพันธ์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดเป็นกระบวนการ สร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกระหว่างผู้รับสารได้ เนื่องจากการพูดเป็นการสร้างสรรค์
เนื้อหาร่วมกัน ทําให้สามารถเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ฟังได้โดยตรง

42. การเรียนรู้จากข้อมูลข่าวสาร เป็นกระบวนการสําคัญของ
(1) การเข้าถึงจิตใจ
(2) การศึกษา
(3) มิตรภาพ
(4) การรักษาสมดุล
(5) การบรรลุความสําเร็จ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดทําให้เกิดการเรียนรู้ จากข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถือเป็นกระบวนการสําคัญของการศึกษา

43. ความเชื่อ หมายถึง
(1) การใส่ใจข้อมูล
(2) การนึกถึงข้อมูล
(3) การจดจําข้อมูล
(4) การให้ความสําคัญแก่ข้อมูล
(5) การยืนยันข้อมูล
ตอบ 5(คําบรรยาย) ความเชื่อในข้อมูล หมายถึง การยืนยันข้อมูล หรือยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น ความจริงหรือมีการดํารงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน

44. การรายงานข่าวสารคดีเชิงลึก อาศัยกระบวนใดด้านวาทวิทยา
(1) สืบค้น
(2) สืบชะตา
(3) สืบเสาะ
(4) สืบสาน
(5) สืบสวน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สืบค้น หมายถึง ค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องจนกว่า จะได้ผล เช่น สืบค้นหาความจริงของเหตุการณ์ เป็นต้น

45. การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคัดสรร
(2) การสังเคราะห์
(3) การเพาะบ่ม
(4) การคัดตัวเลือก
(5) การกําหนดความหมาย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญใน 2 ด้าน ดังนี้
1. การรับรู้ความหมาย
2. การกําหนดความหมาย

46. แนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น เนื้อหาข่าวสารที่น่าสนใจเกิดจากข้อมูลกลุ่มใด
(1) ประโยชน์ – การเร่งรัด
(2) การเร่งรัด – ความพอใจ
(3) ความพอใจ – ความต้องการ
(4) ความต้องการ – ภาพลักษณ์
(5) ภาพลักษณ์ – ความคุ้นเคย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามแนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น เนื้อหาข่าวสารที่น่าสนใจ พิจารณาจาก
1. ความสนใจ
2. ความพึงพอใจ
3. ความต้องการ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ

 

47. การสร้างประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจาก…….เป็นสมมุติฐาน
(1) การศึกษาที่ดี
(2) การหาข้อมูลที่ดี
(3) การเตรียมตัวที่ดี
(4) ความขยันที่มากพอ
(5) ความคุ้นเคยกับข้อมูล
ตอบ 3(คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานของความมีประสิทธิผลในกิจกรรมด้านวาทวิทยา คือ ผู้พูดต้อง มีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมาก่อนเวลาพูดเพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็นเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคย และไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพูด

48. เหตุใดจึงไม่สามารถปฏิเสธการดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นก็เพื่อ
(1) สุขภาพที่ดี
(2) ความสัมพันธ์ที่ดี
(3) สติปัญญาที่ดี
(4) การรับรู้ที่ดี
(5) โอกาสที่ดี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งกาย คุณภาพของน้ําเสียง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้ที่ดีนั่นเอง

49. การพูดเป็นการแสดง
(1) ปัญญา – ความสามารถ
(2) ความคิด – บุคลิกภาพ
(3) การจัดการ – ความสมดุล
(4) สัดส่วน – แนวโน้ม
(5) ตัวตน – วาจา
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

50. ตัวตนของผู้พูด ประกอบด้วย
(1) อัตลักษณ์ – พฤติกรรม
(2) ภูมิหลัง – การศึกษา
(3) ภูมิลําเนา – ครอบครัว
(4) ประวัติส่วนตัว – ความสามารถ
(5) วัตถุประสงค์ – ความสําเร็จ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

51. ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด พิจารณาเบื้องต้นจาก……….ในการนําเสนอ
(1) ความไพเราะ
(2) ความราบเรียบ
(3) คําอ่าน
(4) ลําดับขั้นตอน
(5) การค้นคว้าข้อมูล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด จะพิจารณาเบื้องต้นจากลําดับขั้นตอน ในการนําเสนอที่เป็นระบบ โดยมีการดําเนินเรื่องที่ดีถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ มีบทนํา เนื้อเรื่อง และบทสรุป

52. การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณาจาก
(1) บุคลิกภาพ
(2) การจัดเวที
(3) วิธีการแสดงออก
(4) สายตา
(5) สื่อที่ใช้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณา จากวิธีการแสดงออก เช่น ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความหรือ ให้ความสําคัญกับสิ่งที่พูด ซึ่งหากเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้พูดต้องการเน้นเป็นพิเศษ ควรใช้หลักการ ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก

53. การจัดลําดับข้อมูลให้น่าสนใจ อาศัยอะไรเป็นเครื่องกําหนด
(1) รสนิยมของผู้พูด
(2) ความรู้ของผู้ชม – ผู้ฟัง
(3) สื่อที่มีอยู่
(4) บรรยากาศแวดล้อม
(5) แนวความคิดในการนําเสนอ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดลําดับข้อมูลให้น่าสนใจ มักพิจารณาจากสื่อ (Media) ที่มีอยู่ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูล เพื่อถ่ายทอดไปให้ผู้รับสารเข้าใจได้ ซึ่งอาจมีความหมายรวมถึงสาร สิ่งเร้า โสตทัศนูปกรณ์ในการนําเสนอให้น่าสนใจ ตลอดจนบุคคลที่เชิญมาอภิปรายร่วม

54. เหตุใดผู้พูดจึงต้องระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ
(1) สื่อปัจจุบันมีค่าใช้จ่าย
(2) ผู้ฟังอาจไม่มีการศึกษามากพอ
(3) ผู้ชมมีสติปัญญาสูงกว่าอยู่แล้ว
(4) ไม่รู้ว่าผู้ชม – ผู้ฟังชอบอะไรกันแน่
(5) กลุ่มเป้าหมายปัจจุบันมีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน
ตอบ 5(คําบรรยาย) ผู้พูดควรระมัดระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ ชาติกําเนิด และศาสนา เพราะกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน มีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน

55. เหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อ
(1) จะได้ข้อมูลที่สนับสนุนตนเอง
(2) ป้องกันความผิดพลาด
(3) เพื่อให้ไม่ได้รับการขัดขวาง
(4) เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตรระหว่างกัน
(5) สร้างความคุ้นเคยกับคนคุ้นเคย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตร ระหว่างกัน ซึ่งกฎง่าย ๆ ที่ผู้พูดควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก คือ การยิ้มแย้มดีกว่าทิ้งตึง เพื่อให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด

56. การตรวจสอบตนเองของผู้พูด หลังจากที่ได้มีการเตรียมตัวดีแล้ว ข้อใดคือข้อพิจารณาสําคัญ
(1) พูดนานเท่าใด
(2) นัดหมายเวลาไหน
(3) ตนเองพร้อมหรือเปล่า
(4) ต้องแก้ร่างบทพูดตรงไหน
(5) สุขภาพตนเองเป็นอย่างไร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การตรวจสอบตนเองของผู้พูด หลังจากที่ได้มีการเตรียมตัวดีแล้ว สิ่งที่ผู้พูดต้อง พิจารณาเป็นสําคัญ คือ การเตรียมสุขภาพของตนเอง โดยควรระวังอย่าให้เป็นหวัด เพราะจะ เป็นอุปสรรคต่อการพูดมาก แม้จะเตรียมตัวมาดีแล้วก็ตาม

57. ข้อใดคือทักษะที่จําเป็นของผู้พูด ซึ่งต้องพูดร่วมกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย
(1) การใช้งานบุคคล
(2) การมีมนุษยสัมพันธ์
(3) การจัดการความรู้
(4) การใช้เส้นทาง
(5) การประสานงานกับช่างเทคนิค
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทักษะที่จําเป็นของผู้พูด เมื่อต้องพูดร่วมกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย คือ จะต้องเป็น ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ซึ่งเป็นผลมาจากการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคลทุกคน หรือไม่ทําลายบรรยากาศการพูดคุย จนสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น

58. ข้อใดเป็นความสามารถด้านการใช้เสียงที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์
(1) ความชัดถ้อยชัดคํา
(2) เสียงดังฟังชัด
(3) ออกเสียงชัดเจน
(4) ลูกเล่นในการนําเสนอ
(5) การลําดับข้อมูลที่ฟังง่าย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

59. ข้อใดเป็นความน่าเชื่อถือของผู้พูดในลําดับท้าย ๆ
(1) การวางตัว
(2) มารยาทสังคม
(3) การเลือกเครื่องแต่งกาย
(4) ความตรงเวลา
(5) การเลือก Application ในการนําเสนอ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูด ประกอบด้วย
1. การวางตัว มารยาทพื้นฐานทางสังคม ความตรงเวลา
2. หน้าที่ ความเกี่ยวข้อง ประสบการณ์
3. การเลือกเครื่องแต่งกาย ฯลฯ

60. คําว่า Speech หมายถึง
(1) เนื้อหาการสนทนาทั่วไป
(2) เนื้อหาการพูดที่เฉพาะเจาะจง
(3) เนื้อหาการสื่อสารทางวาจาที่มีการเตรียมการ
(4) บทประพันธ์ที่นําไปพูด
(5) การนําเสนอที่มีแบบแผน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

61. ข้อใดไม่ได้อยู่ในโครงสร้างเนื้อหาการพูด
(1) คํากล่าวทักทาย
(2) ประเด็นการนําเสนอ
(3) หลักฐานการชักจูงใจ
(4) บทสรุปเรื่องราว
(5) แนวทางในการใช้สื่อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงสร้างสาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) มีดังนี้
1. การกล่าวทักทายหรือมีปฏิสันถาร เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. การเข้าสู่เรื่อง คํานํา หรือความนํา
3. ประเด็น/สาระในการนําเสนอ
4. ข้อมูล ความรู้ ประเด็นจูงใจ การให้คุณค่าเนื้อหา
5. การสรุป การปิดท้ายเรื่อง คําลงท้าย
6. คําเชื้อเชิญ การเชิญชวน

62. เนื้อหาในการพูด ถูกพัฒนามาจาก
(1) สํานึก
(2) ความพร้อม
(3) ความคิด
(4) ความจํา
(5) สิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

63. เนื้อหาในทางวาทวิทยา ให้ความสําคัญกับ
(1) รูปแบบ – ขั้นตอน
(2) ความน่าสนใจ – เป้าหมายการสื่อสาร
(3) ความจํา – ข้อมูล
(4) แนวคิด – การตอบสนอง
(5) สิ่งประทับใจ – สาระที่ได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

64. อะไรเกิดขึ้นก่อนใน Speech Communication
(1) อารัมภบท
(2) อุทาน
(3) ทักทาย
(4) เกริ่น
(5) แนะนําตัว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65. ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องทําการประเมินผลการพูด ถือว่ามีลักษณะใด
(1) มีศรัทธา
(2) มีความนับถือ
(3) มีองค์ประกอบ
(4) มีอิทธิพล
(5) มีบริบท
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้ฟัง ผู้ชม ถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้พูด เพราะผู้ฟัง – ผู้ชมมีหน้าที่ประเมินผล การพูดในครั้งนั้น ๆ เพื่อให้ผู้พูดได้ทราบประสิทธิผลของการพูด ผู้พูดจะได้ปรับปรุงตน เนื้อหา วิธีการ และปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่จะมีต่อผู้ชม ผู้ฟังในครั้งต่อไป

66. ในการประชุมของหน่วยงาน ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะให้กับบุคคลทั่วไป บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วม ประชุม แต่รับฟัง – รับชมการถ่ายทอด ถือเป็นบุคคล…….
(1) เปิดเผย
(2) นอกองค์กร
(3) ตามพันธกรณี
(4) ไม่ได้รับเชิญ
(5) สัญจรภายนอก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการประชุมของหน่วยงาน ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะให้กับบุคคลทั่วไป บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมประชุม แต่รับฟัง – รับชมการถ่ายทอด ถือเป็นบุคคลนอกองค์กร คือ บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานที่จัดประชุม อาจจะเป็นประชาชนทั่วไปที่สนใจก็ได้

67. การพบปะชี้แจงโครงการสาธารณะที่จะได้รับหรือสูญเสียประโยชน์บางประการ ผู้จัดการประชุมต้อง
พิจารณาถึงกลุ่มเป้าหมายใดเป็นสําคัญ
(1) ภายใน – ภายนอกชุมชน
(2) เบื้องหน้า – เบื้องหลัง
(3) รู้จัก – ไม่รู้จัก

(4) ได้รับผลกระทบ – ไม่ได้รับผลกระทบ
(5) ควบคุมได้ – ควบคุมไม่ได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในกรณีที่มีการพบปะชี้แจงโครงการสาธารณะที่จะได้รับหรือสูญเสียผลประโยชน์ บางประการ กลุ่มเป้าหมายที่ผู้จัดการประชุมต้องคํานึงถึงเป็นสําคัญ คือ
1. กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการสาธารณะ
2. กลุ่มผู้ไม่ได้รับผลกระทบจากโครงการสาธารณะ

68. สิ่งใดคือเครื่องมือของผู้พูด
(1) เครื่องเสียง
(2) คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรม
(3) แสงและการจัดฉาก
(4) เครื่องบันทึกเสียง
(5) อุปกรณ์ทุกอย่างที่ผู้พูดต้องการใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

69. การใช้อวัจนภาษา ทําเพื่อ
(1) เพิ่มคุณค่า
(2) เข้าถึงการสร้างความเข้าใจ
(3) สร้างลีลาการนําเสนอ
(4) เพิ่มความสนุกสนาน
(5) เร่งเร้าให้ตัดสินใจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

70. วัตถุพยานในการพูด หมายถึง
(1) สิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหลาย
(2) สิ่งที่จับต้องได้
(3) สิ่งที่มีตัวตน
(4) สิ่งที่กล่าวอ้างขึ้นมา
(5) สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่มีร่องรอย
ตอบ 5 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) วัตถุพยานในการพูด หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ สามารถสัมผัสรับรู้ได้ หรือร่องรอยการกระทํา

71. ข้อใดเป็นแนวทางหลักในการใช้เครื่องมือประกอบการพูด
(1) ต้องมีทุกครั้ง
(2) จะมีหรือไม่ก็ได้
(3) มีตามความจําเป็น
(4) ใช้ของที่ทันสมัยเสมอ
(5) นํามาเผื่อไว้ก่อน
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) แนวทางหลักในการใช้เครื่องมือ (Channel) ประกอบการพูด ได้แก่
1. ใช้ตามความจําเป็น
2. ใช้ตามลักษณะงานและคุณสมบัติที่มี
3. ใช้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผล
4. ใช้ตามวัตถุประสงค์
5. ใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

72. เหตุใดจึงมีข้อแนะนําว่า ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อ
สาธารณชน
(1) ผู้ชม – ผู้ฟังมักไม่สนใจ
(2) เป็นการดูถูกตนเอง
(3) อาจมีการเผยแพร่ต่อในทางเสียหาย
(4) เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
(5) จะสร้างความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) ผลจากการพูด (Impact) ประการหนึ่ง คือ การพูดนั้นอาจสร้างความเสียหายต่อตัวผู้พูดได้ ดังนั้นผู้พูดจึงไม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการพูดของตน เช่น ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมา กล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อสาธารณชน เพราะอาจมีการเผยแพร่ต่อในทางเสียหายได้

73. พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ จะปรากฏเป็น
(1) ความสามารถ
(2) ศักยภาพ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) ความคิด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นิสัย หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ หรือพฤติกรรม เคยชิน ซึ่งเกิดจากการกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อย ๆ จนติด

74. คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) ได้ผล
(4) มีมาตรฐาน
(5) ครบครัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ ความเหมาะสมทั้งในเรื่องของ บุคลิกลักษณะในการแต่งกาย การปรากฏตัว การเตรียมเนื้อหา คําปฏิสันถาร ฯลฯ ซึ่งจะต้อง มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจ้าภาพและลักษณะของงาน

75. การจะทราบประสิทธิผลของการพูด อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคะเน
(2) การรู้แจ้ง
(3) การแสดงผล
(4) การประเมินผล
(5) การทํานาย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

76. กระดาษต้นฉบับประกอบการพูด ควรมีลักษณะใด
(1) มีสีสันสดใส
(2) ใหญ่จนเห็นผู้ชมได้ชัด
(3) ไม่บดบังทัศนวิสัย
(4) เล็กที่สุดเท่าที่ทําได้
(5) ไม่ควรมีเส้นบรรทัด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4. ไม่บดบังทัศนวิสัย
5. มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี ฯลฯ

77. การรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ผู้รวบรวมทําได้โดย
(1) รับรู้ – เข้าใจ
(2) วิเคราะห์ – สังเคราะห์
(3) ส่วนร่วม – ไม่มีส่วนร่วม
(4) ติดตาม – สังเกต
(5) บันทึกด้วยตนเอง – บันทึกโดยอุปกรณ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ มีวิธีรับรู้ข้อมูลอยู่ 2 วิธี ได้แก่
1. มีส่วนร่วมในกิจกรรม
2. ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรม

78. ข้อใดมิใช่การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงประจักษ์
(1) อ่านมาจาก IG
(2) คุยกับคุณป้าขายข้าวแกง
(3) แข่งปิงปองกับเพื่อนซี้
(4) กําลังติดฝนบนทางด่วน
(5) ลงทะเบียนยืนยันตัวตนเข้าสอบด้วยตนเอง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ สิ่งที่ผู้รับข้อมูลเข้าไปมีส่วนร่วม รู้เห็น รับรู้ หรือสัมผัส
กับข้อมูลนั้นด้วยตัวเองโดยตรง

79. ข้อพิจารณาสําคัญของข้อมูลแวดล้อมในทางวาทวิทยา คือ
(1) นํามากล่าวอ้างได้
(2) พูดถึงกันอยู่เสมอ
(3) มีความหมายในตัวเอง
(4) มีอยู่จริงสามารถรับรู้ได้
(5) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาแล้ว
ตอบ 4(คําบรรยาย) ข้อมูลแวดล้อม คือ สิ่งที่เกิดขึ้น สภาพที่เป็นไปซึ่งมีอยู่หรือเป็นไปในขณะนั้น ทั้งที่เป็นรูปธรรม (มีอยู่จริง สามารถรับรู้ได้) หรือนามธรรม (ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่รู้เห็น รับรู้ และสัมผัสได้)

80. การจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวถึง ผู้พูดจะต้องมีแนวคิดในการรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดเป็นสําคัญ
(1) เปิดกว้าง
(2) เน้นที่มติสาธารณะ
(3) พิจารณาจากกระแสข่าวที่น่าเชื่อถือ
(4) ทําโดยปราศจากอคติ
(5) มีการวิพากษ์ข้อมูลและวิธีได้มา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อสังเกตในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. รวบรวมโดยใจเป็นกลางโดยปราศจากอคติ
2. รวบรวมให้ครอบคลุมและครบถ้วน
3. รวมรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ
4. รวบรวมให้ตรงประเด็น
5. รวบรวมจากหลายแหล่ง

81. ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับ
(1) วิธีการนําเสนอ
(2) เอกสารที่มี
(3) ความรู้ที่ใช้ประกอบ
(4) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(5) ที่มาของข้อมูลที่จะใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82. การฝึกซ้อมพูดของผู้พูด เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียม
(1) คําพูด – อุปกรณ์
(2) อุปกรณ์ – เวที
(3) อุปกรณ์ – ทีมงาน
(4) บุคลิกภาพ – เนื้อหา
(5) บทบาท – การนําเสนอ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียมตนเองในด้านบุคลิกภาพ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่น
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ช่วยตรวจตราสิ่งจําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น หาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ

83. ข้อใดเป็นผลอันพึงปรารถนาที่สําคัญที่สุดจากการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างประสบการณ์ที่ดี
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) ตรวจสอบทีมงาน
(4) แสวงหาแนวทางของตนเอง
(5) ลดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84. หากผู้พูดพบว่า มีสิ่งที่ไม่เหมาะสมในเนื้อหาที่ร่างไว้ ควรทําอย่างไร
(1) นําไปพูดโดยบอกกับผู้ฟังว่าเป็นสิ่งไม่ดี
(2) นําไปปรึกษาทีมงาน
(3) ตัดทิ้งไม่ต้องนําไปเสนอ
(4) เก็บเป็นข้อมูลสําหรับพูดครั้งต่อไป
(5) ทําเป็นสําเนาแจกจ่ายกับทีมงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ

85. การจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ จะต้องผ่านขั้นตอนสําคัญใดก่อน
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) วางแผนซ้อมบทกับเพื่อนสนิท
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือ ความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

86. เหตุใดงานด้านวาทวิทยาจึงต้องมีการจัดทําโครงร่าง (Outline)
(1) ทําให้ดูทันสมัย
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น
(3) ทําให้น่าติดตาม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(5) ทําให้มีเอกภาพ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่างหรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด

87. การยืนยันกําหนดการพูด ต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ
(1) เจ้าภาพ
(2) รูปแบบพิธีการ
(3) วัน – เวลา สถานที่
(4) บทพูด
(5) เส้นทางและการจราจร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการยืนยันกําหนดการพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ วัน – เวลา และสถานที่ที่จะไปพูดให้แน่ใจก่อนเป็นลําดับแรก

88. เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ
(1) ไปพบกับเจ้าภาพ
(2) ติดต่อผู้ประสานงาน
(3) ไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ทําตัวให้สดชื่นมีพลัง
(5) ชวนผู้ฟังสนทนา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ ติดต่อผู้ประสานงานตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ เพื่อให้ช่วยอํานวยความสะดวกในการขึ้นเวทีพูด

89. ข้อใดให้กระทําควบคู่กับการทดสอบการออกเสียงเสมอ
(1) ทําความคุ้นเคยกับผู้ประสานงาน
(2) เชิญประธานในงานมาร่วมชม
(3) ฝึกแสดงการทําความเคารพ
(4) ฝึกการใช้อุปกรณ์ในห้องควบคุม
(5) ทดสอบลีลาท่าทางกับเวทีเท่าที่พอมีเวลา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ผู้พูดควรเตรียมตัวให้สดชื่นสําหรับงานที่รออยู่ข้างหน้า แต่สิ่งที่ไม่ควรทําอย่างยิ่ง คือ การทําอะไรเร่งรีบอย่างไม่มีการวางแผน โดยควรเตรียมการ ดังต่อไปนี้
1. เตรียมต้นฉบับและสิ่งจําเป็นต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะหยิบจับติดตัวได้ทันที
2. หากมีเวลาให้ฝึกทดสอบการออกเสียง ทดสอบลีลาท่าทางกับเวทีเท่าที่พอมีเวลา
3. ตรวจดูบันทึกย่อที่ทําเอาไว้

90. เหตุใดในการพูดแต่ละครั้งจะต้องมีการปฏิสันถาร
(1) เพื่อสร้างความสนใจ
(2) เพื่อการปรับตัว
(3) เพื่อให้ความเห็น
(4) เพื่อให้คําจํากัดความ
(5) สร้างความคุ้นเคย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

91. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคยก่อน
(5) พูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา ดังนี้ บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดัง
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้eเสียงที่ชัดเจน

92. การเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง คือ
(1) ทักทาย
(2) การปฏิสันถาร
(3) การแสดงความเคารพ
(4) ความนํา
(5) การนําเสนอข้อมูลเบื้องต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. และ 61. ประกอบ

93. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการมีคํานํา
(1) เปรียบเทียบข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ

ตอบ 1 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ) แนวคิดของการมีคํานํา ได้แก่
1. คํานํา บทนําต้องมีความชัดเจนในเนื้อหาและความน่าสนใจในประเด็นที่คัดสรรมาแล้ว ต้องไม่สั้นหรือยาวเยิ่นเย้อ และต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่จะพูดในลําดับถัดไป
2. คํานําเป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างอารมณ์ร่วม หรือสร้างความสนใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้อยากรู้ หรือจุดประกายให้ผู้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ
3. คํานําต้องชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญที่จะพูด โดยรวบรวมประเด็นสําคัญขึ้นมานําเสนอก่อน (แต่ไม่ใช่การย่อสาระสําคัญของการพูดทั้งหมด)
4. ไม่นิยมย่อความเรื่องราวที่จะพูดโดยรวมมาเป็นคํานํา
5. ไม่นําบทสวด คําทางศาสนา/ความเชื่อมาเป็นคํานํา
6. คํานําต้องมีความเหมาะสมกับกาลเทศะ และไม่ก้าวล่วงต่อสถานะของบุคคลต่าง ๆ
ในพิธีการ ฯลฯ

94. คํานําทําหน้าที่ใดในแนวคิดด้านการสื่อสาร
(1) กําหนดวัตถุประสงค์
(2) บอกกระบวนการ
(3) นําเสนอความสําเร็จ
(4) โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย
(5) สร้างอิทธิพลการนําเสนอ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

95. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่อาจละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟัง
(2) ทดสอบไมโครโฟน
(3) เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ชวนผู้ร่วมสนทนาคุย
(5) ประสานสายตากับคนรู้จัก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

96. สิ่งใดไม่ควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูด
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) หาที่นั่งและนั่งโดยเร็ว
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) ตรวจสอบบันทึกย่อที่เตรียมมา
(5) มองไปยังผู้ชม – ผู้ฟัง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูด คือ ไม่ควรทดสอบไมโครโฟน โดยการใช้ มือเคาะหรือเป่าลมใส่ไมโครโฟน และไม่ควรพูดว่า “ฮัลโหล ๆ” หรือกระแอมกระไอก่อนพูด

97. อะไรคือสิ่งที่เรียกว่า “กาลเทศะ” ในการพูด
(1) การวางตัวอย่างเหมาะสม
(2) การรู้จักรูปแบบของงาน
(3) มีเจ้าภาพที่แน่ชัด
(4) ดําเนินการได้ตามกําหนด
(5) การรับรู้แนวทางปฏิบัติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวางตัวอย่างเหมาะสม มีพื้นฐานมาจากการรู้จักกาลเทศะ คือ ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งคําว่า “กาละ” หมายถึง เหมาะสมกับเวลา จังหวะ และโอกาส ส่วนคําว่า “เทศะ” หมายถึง เหมาะสมกับสถานที่

98. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการ……….เสมอ
(1) เปรียบเทียบข้อแตกต่าง
(2) ตั้งสมมุติฐานให้กับผู้ฟัง
(3) แสดงความเห็น
(4) คําจํากัดความ
(5) ตั้งคําถามที่น่าสนใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยามหรือการให้
คําจํากัดความก่อนเสมอ หมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลักด้วยการ สร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

99. การพูดต่อสาธารณชนที่เสร็จสิ้นลงตามเนื้อหาที่เตรียมมา มักต้องมีการเผื่อเวลาสําหรับ
(1) วิจารณ์ผู้พูด
(2) นําเสนอประวัติผู้พูด
(3) ตอบข้อสงสัยบางประการ
(4) แนะนําตัวผู้ดําเนินรายการ
(5) กล่าวสดุดีตัวผู้ชม – ผู้ฟังบางคน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการพูดต่อสาธารณชนที่เสร็จสิ้นลงตามเนื้อหาที่เตรียมมานั้น ผู้พูดควรต้อง
เผื่อเวลาสําหรับการตอบข้อสงสัยบางประการ เพราะหากในเนื้อหามีคําถามมาตั้งแต่ต้นก็ควร เฉลยปมปัญหา หรือชี้แนวทางของการตอบ อย่าปล่อยให้ค้างคาใจ นอกจากนี้อาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังได้ซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ตามสมควร

100. สิ่งใดมักอยู่ในช่วงท้ายที่นอกเหนือจากการสรุปเนื้อหา
(1) ปฏิสันถาร
(2) คําอธิบายหัวข้อเรื่อง
(3) การกล่าวเชิญชวน
(4) ข้อมูลสําคัญของกิจกรรม
(5) ประวัติองค์กร/หน่วยงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่มักอยู่ในท่อนท้ายเนื้อหาที่นอกเหนือจากการสรุปเนื้อหา ได้แก่
1. ในบางกรณีจะมีการกล่าวทิ้งท้ายถึงการแสดงความเคารพ การกล่าวเชิญชวน หรือ
การแสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใดตามมา
2. ในบางสถานการณ์อาจมีการกล่าวสดุดี กล่าวคํารําลึก หรือไว้อาลัย รวมทั้งการใช้ ถ้อยคําเพื่อการจรรโลงใจบางอย่าง

Advertisement