การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา CDM2402 MCS2150 MCS2100 การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

Advertisement

1 คําว่า PR ย่อมาจากคําใด
(1) Public Retention
(2) Publish Relations
(3) Public Relations
(4) Publish Retention
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) คําว่า PR ย่อมาจากคําว่า “Public Relations” ซึ่งสามารถแยก ความหมายได้ดังนี้
1 Public หมายถึง กลุ่มคน ประชาชน สาธารณชน หรือผู้มีส่วนได้เสีย
2 Relations หมายถึง ความสัมพันธ์ หรือความเกี่ยวข้องผูกพัน

2 การประชาสัมพันธ์มุ่งเน้นการสื่อสารในระดับใด
(1) การสื่อสารระดับสาธารณะ (Public Communication)
(2) การสื่อสารระดับมวลชน (Mass Communication)
(3) การสื่อสารระดับกลุ่ม (Group Communication)
(4) การสื่อสารระดับภายใน (Intra – Communication)
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D1), (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ สื่อสารในระดับอื่น ๆ ได้ แต่การประชาสัมพันธ์จะมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารในระดับสาธารณะ (Public Communication) มากที่สุด คือ การสื่อสารกับคนจํานวนมากที่เป็นกลุ่มภาคส่วน ต่าง ๆ แต่ยังเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่เห็นหน้าค่าตากัน (Face – to – Face) มากกว่าจะเป็นแบบการสื่อสารที่ผ่านตัวกลาง

3 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการประชาสัมพันธ์
(1) มีจุดมุ่งหมายเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจอันดี
(2) การสื่อสารข่าวสารกับกลุ่มประชาชน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นในขณะเดียวกัน
(3) การสื่อสารนําเสนอข้อมูลผ่านการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว
(4) มุ่งหวังให้เกิดการยอมรับ และมีรูปแบบเป็นการสื่อสารสองทาง
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารความคิดเห็น ข่าวสาร และ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไปสู่กลุ่มประชาชน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในขณะเดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างหน่วยงาน (Organization) กับกลุ่มประชาชน (Public) เพื่อหวังผลในความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชน รวมทั้งชื่อเสียงที่ดี (Good Reputation) และภาพลักษณ์ที่ดี (Good Image) ของหน่วยงาน ตลอดจนให้เกิดการยอมรับการดําเนินงานของสถาบัน โดยมีรูปแบบเป็นการสื่อสารสองทาง

4 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของการประชาสัมพันธ์
(1) เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
(2) มีจุดหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
(3) มีการวางแผน และมีการประเมินผล
(4) ต้องการให้เกิดอิทธิพลทางความคิด ทัศนคติ

ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D3) คุณลักษณะของการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เป็นการทํางานที่มีจุดหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
2 เป็นการทํางานที่ต้องการให้เกิดอิทธิพลทางความคิดและทัศนคติ
3 เป็นการทํางานที่มีการวางแผนอย่างรัดกุม และมีการประเมินผล
4 เป็นการสื่อสารแบบสองทาง และเป็นการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจ
5 เป็นการทํางานที่ทําต่อเนื่อง และหวังผลระยะยาว

5 การประชาสัมพันธ์มุ่งเน้นการสร้าง/ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใด
(1) สร้างการรับรู้ข้อมูลการดําเนินงานขององค์กรให้กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
(2) สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในตัวองค์กรแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
(3) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์มุ่งสร้าง/ก่อ (Create) ให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1 สร้างการรับรู้ เพื่อสื่อสารถึงนโยบาย วัตถุประสงค์ การดําเนินงาน และประเภทของ การดําเนินงานขององค์กรให้กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
2 สร้างความเข้าใจ เพื่อสื่อสารให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปฏิบัติการได้ทราบถึงประชามติ
หรือความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อหน่วยงาน
3 สร้างการยอมรับ เพื่อให้ประชาชนยอมรับหรือเกิดทัศนคติเชิงบวกกับสินค้า/ผลิตภัณฑ์ องค์กร และบริการ รวมทั้งมีส่วนเพิ่มพูนปริมาณการขายทางอ้อมด้วย 4. สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในตัวองค์กรแก่ผู้มีส่วนได้เสีย

6 การประชาสัมพันธ์สามารถช่วยป้องกันปัญหาในด้านใดได้บ้าง
(1) ป้องกันการเข้าใจผิด หรือข่าวลือที่จะกระทบต่อองค์กร ด้วยการควบคุมข้อมูลข่าวสาร
(2) ป้องกันการเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์กร ด้วยการพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดี
(3) ป้องกันการโจมตีชื่อเสียง หรือการลดความน่าเชื่อถือ ด้วยการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์ช่วยเสริม/ป้องกัน (Prevent) ปัญหาดังนี้
1 ป้องกันปัญหายุ่งยากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน
2 ป้องกันการเข้าใจผิด หรือข่าวลือที่จะกระทบการปฏิบัติงาน ด้วยการควบคุมข้อมูลข่าวสาร
3 ป้องกันการเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์กร ด้วยการพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดี
4 ป้องกันการโจมตีชื่อเสียง หรือการลดความน่าเชื่อถือ (Discredit) ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสาร จากองค์กรอย่างต่อเนื่อง
5 ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้แก่องค์กร

7 การประชาสัมพันธ์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ยกเว้นข้อใด
(1) แก้ไขความเข้าใจที่ผิดที่เกิดขึ้นกับองค์กร
(2) แก้ไขภาพลักษณ์ที่เป็นลบให้เป็นกลาง หรือกลายเป็นบวก
(3) แก้ไขผลกระทบจากภาวะวิกฤติ ด้วยการอธิบายและให้ข้อมูล
(4) แก้ไขการแทรกแซงผลประโยชน์ผ่านการควบคุมสื่อมวลชน
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D1) การประชาสัมพันธ์ช่วยซ่อม/แก้ไข (Adjust) ปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
1 แก้ไขความเข้าใจที่ผิดที่เกิดขึ้นกับองค์กร รวมไปถึงขจัดปัญหาความยุ่งยากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการสื่อสารข้อมูล

2 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายและให้ข้อมูลเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ ซึ่งช่วยลดผลกระทบทั้ง
ทางตรงและทางอ้อมแก่องค์กร
3 แก้ไขภาพลักษณ์ที่เป็นลบให้เป็นกลาง หรือกลายเป็นบวก

8 ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ตามแนวคิดของ Thomas Harris
(1) เป็นสื่อกลางในการตรวจสอบการดําเนินงานของภาครัฐ
(2) สร้างความสนใจแก่ผู้รับสาร
(3) แนะนําสินค้าใหม่ หรือตัวองค์กรแก่ผู้รับสาร
(4) โน้มน้าวผู้มีอิทธิพล (Influencer) ผู้มีอํานาจในการตัดสินใจผ่านการให้ข้อมูล
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D1) บทบาทหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ (New Role of PR) ตามแนวคิดของ Thomas L. Harris (1998) มีดังนี้
1 สร้างความสนใจแก่ผู้รับสาร (สร้างความสนใจแก่ตลาดก่อนที่จะใช้โฆษณา) เช่น ก่อนที่ Apple จะเปิดตัว iPhone หรือ iOS เขาใช้การแจ้งข้อมูลผ่านการ PR (ผ่านงาน WWDC หรือกิจกรรมพิเศษ) จากนั้นจึงมีการปล่อยตัวสินค้าอย่างเปิดทางการในภายหลัง เป็นต้น
2 ช่วยเพิ่ม ROI (ผลตอบแทนทางธุรกิจ) เนื่องจาก PR ในปัจจุบันจะช่วยสร้างผลลัพธ์ทาง การตลาดมากขึ้น จึงมีบทบาทในการช่วยสร้างกําไร และลดค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาด โดยรวมได้ (ลดการใช้สื่อโฆษณาที่ถี่และเยอะแบบแต่ก่อน)
3 สร้างกระแส คือ เมื่อไม่มีข่าวเกี่ยวกับตัวสินค้าก็จะใช้เทคนิคการสร้างความสงสัยให้แก่ ประชาชน/สื่อมวลชน
4 การแนะนําสินค้าใหม่ บริการ หรือตัวองค์กรแก่ผู้รับสาร (โดยไม่พึ่งการโฆษณามากนัก) คือ การใช้ PR เป็นสื่อนําในการเปิดตัวสินค้า/บริการ ทําให้ในช่วงหลังเรามักเห็นการทํา PR Event ต่าง ๆ ก่อนการโฆษณาในภายหลัง เช่น Grand Opening, แถลงข่าวเปิดตัว สินค้า, การร่วมงาน Expo/Road Show เป็นต้น
5 โน้มน้าวผู้มีอิทธิพล (Influencer) หรือผู้มีอํานาจในการตัดสินใจ (Decision Maker) คือ การให้ข้อมูลของ PR จะช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้ที่มีบทบาทสําคัญ เช่น ช่วยผลักดันนโยบาย หรือช่วยให้ผู้ที่มีอิทธิพลสนับสนุนกิจกรรมขององค์กร เป็นต้น

9 กระบวนการทางการประชาสัมพันธ์แบบ RACE ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
(1) Research, Advertising, Communication, Evaluation
(2) Research, Advance Planning, Communication, Evaluation
(3) Result, Advance Planning, Community, End Result
(4) Result, Advertising, Community, End Result
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D1) กระบวนการทางการประชาสัมพันธ์แบบ RACE ประกอบด้วย
1 Research คือ การตรวจสอบ/วิเคราะห์สภาพการณ์ ปัญหา และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2 Advance Planning คือ การวางแผนและตัดสินใจเพื่อกําหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และวิธีการดําเนินงาน
3 Communication คือ การสื่อสารตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือ เทคนิค และกลยุทธ์ทางการสื่อสารที่วางไว้
4 Evaluation คือ การตรวจสอบวัดผลว่างานประชาสัมพันธ์ที่ทําไปให้ผลดีมากน้อยเพียงใด

10. ข้อใดต่อไปนี้นับเป็นวัตถุประสงค์ของการทําการประชาสัมพันธ์
(1) ก่อ – กัน – แก้
(2) สร้าง – ซ่อม – เสริม
(3) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D1) วัตถุประสงค์ของการทําการประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1 ก่อสร้าง (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ)
2 ก้น/เสริม (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ)
3 แก้ไข ซ่อม (ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

11 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญของการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) เพื่อควบคุมปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อมภายนอกที่กระทบกับงาน
(2) เพื่อลดความเสียหายจากการทํางานซ้ำซ้อน
(3) เพื่อลดความไม่แน่นอน และเพื่อคาดคะเนการเปลี่ยนแปลง
(4) เพื่อให้รู้ทิศทางในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์และควบคุมมาตรฐาน
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D3) ความสําคัญของการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เพื่อให้รู้ทิศทางในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
2 เพื่อลดความไม่แน่นอน และเพื่อคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
3 เพื่อลดความเสียหายจากการทํางานซ้ําซ้อน
4 เพื่อควบคุมมาตรฐานในการดําเนินงาน

12 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) เวลา และสถานการณ์
(2) ต้นทุน และงบประมาณ
(3) ระดับความสําคัญ
(4) โครงสร้างของหน่วยงาน
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D3) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เวลา (บริหารจัดการได้ แต่ควบคุมไม่ได้)
2 สถานการณ์ (ตึงเครียด/สบาย ๆ /บีบคั้น)
3 ต้นทุน และงบประมาณ (ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน)
4 ระดับความสําคัญ ได้แก่ ปัจจัยภายนอก (สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถกําหนด/ ควบคุมได้ที่อยู่ภายนอกองค์กร) และปัจจัยภายใน (สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราสามารถ กําหนด/ควบคุมได้ที่อยู่ภายในองค์กร)

13 ปัจจัยภายนอก หมายถึงข้อใด
(1) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราสามารถกําหนด/ควบคุมได้
(2) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถกําหนด/ควบคุมได้
(3) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างชัดเจน
(4) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14 ปัจจัยภายใน หมายถึงข้อใด
(1) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราสามารถกําหนด/ควบคุมได้
(2) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถกําหนด/ควบคุมได้
(3) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างชัดเจน
(4) รูปแบบการวางแผนที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

ข้อ 15. – 20. จงเลือกจับคู่วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับรูปแบบของ แผนประชาสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากตัวเลือกวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
(1) ก่อ/สร้าง
(2) ป้องกัน
(3) แก้ไข/ซ่อม
(4) เสริม

15. แผนประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นให้เกิดการยอมรับในการทํางานขององค์กร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

16. แผนประชาสัมพันธ์เพื่อควบคุม/เป็นแนวทางในการให้ข้อมูลเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินวิกฤติ ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

17. แผนประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นให้เกิดความน่าเชื่อถือแก่องค์กร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

18. แผนประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นให้เกิดทัศนคติเชิงบวกกับสินค้าและบริการขององค์กร ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

19. แผนประชาสัมพันธ์ปรับความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับองค์กร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

20. แผนประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงแก่องค์กร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

ข้อ 21. – 25. จงเลือกจับคู่บทบาทของการประชาสัมพันธ์ตามแนวคิดของ New Role of PR (Thomas L. Harris, 1998) ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์/กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) สร้างความสนใจ/กระแส
(2) เพิ่มผลตอบแทนทางธุรกิจ
(3) แนะนําสินค้า/บริการ/องค์กร
(4) โน้มน้าวใจ/สร้างการยอมรับ

21. การแจ้งข้อมูลรายละเอียดแก่ผู้รับสารผ่านการประชาสัมพันธ์/ผ่านกิจกรรมพิเศษ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

22. การใช้การประชาสัมพันธ์สร้างความสงสัยให้แก่ประชาชน สื่อมวลชน เมื่อไม่มีข่าวเกี่ยวกับตัวสินค้า
หรือองค์กร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

23. การใช้การประชาสัมพันธ์เป็นสื่อนําในการเปิดตัวสินค้า/บริการ ก่อนการโฆษณาในภายหลัง ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

24. การให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้มีบทบาทสําคัญ เช่น ช่วยในการผลักดันนโยบาย หรือช่วยให้ผู้ที่ มีอิทธิพลสนับสนุนกิจกรรมขององค์กร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

25. การสร้างผลลัพธ์ทางการตลาดผ่านการประชาสัมพันธ์ในการช่วยสร้างกําไร และลดค่าใช้จ่าย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

26 ข้อใดไม่ใช่กลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายใน (Internal Public) ในการประชาสัมพันธ์
(1) ผู้บริหารขององค์กร
(2) พนักงาน/เจ้าหน้าที่
(3) หน่วยงานราชการ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D3) กลุ่มเป้าหมายหรือประชาชนเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 กลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายใน (Internal Public) คือ กลุ่มที่ใกล้ชิดมีความเกี่ยวข้องกับ การดําเนินงานขององค์กรโดยตรง หรือมีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียร่วมกับองค์กร เช่น ผู้บริหารขององค์กร, พนักงาน/เจ้าหน้าที่ ฯลฯ
2 กลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายนอก (External Public) คือ กลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกองค์กร ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อการทํางานขององค์กร เช่น นักลงทุน, ลูกค้า, ผู้ถือหุ้น, หน่วยงานราชการ, ชุมชน, สื่อมวลชน ฯลฯ

27 ข้อใดคือกลุ่มประชาชน/ผู้รับสารภายนอก (External Public) ในการประชาสัมพันธ์
(1) ผู้บริหารขององค์กร
(2) พนักงาน/เจ้าหน้าที่
(3) หน่วยงานราชการ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28 ข้อใดไม่ใช่ความหมายหรือนิยามของผู้ประกอบวิชาชีพนักประชาสัมพันธ์
(1) ผู้สร้างความนิยม ทัศนคติที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
(2) ผู้ที่ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานและสร้างความสัมพันธ์อันดี
(3) ผู้ที่ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาด้านการวางแผนการสื่อสารและให้ข้อมูล
(4) ผู้ที่ทําหน้าที่ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ลูกค้า และนําเสนอสิทธิประโยชน์
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D2) นิยามอาชีพผู้ปฏิบัติงานนักประชาสัมพันธ์/เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer) ทําหน้าที่เป็นผู้สร้างความนิยม ทัศนคติที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ ที่ดีขององค์กร รวมไปถึงส่งเสริมงานบริการหรือสินค้าขององค์กรต่อสาธารณชนหรือประชาชนให้คําปรึกษาด้านการวางแผนการสื่อสารและให้ข้อมูล ตลอดจนติดต่อประสานงานและสร้าง ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า พนักงานขององค์กร ผู้ขายหรือผู้จัดส่งสินค้าให้องค์กร นักลงทุน ผู้ถือหุ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐ สาธารณชนหรือชุมชนทั่วไป

29 ข้อใดไม่นับว่าเป็นหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์
(1) วิชชุตาทําการตรวจสอบและรวบรวมข่าวสารที่มีผลกระทบต่อองค์กร
(2) อาลีทําการออกแบบสื่อโฆษณาและจัดเตรียมข้อมูลทางการขาย
(3) อนุรักษ์ทําหน้าที่ประสานงานและจัดส่งข้อมูลขององค์กรแก่สื่อมวลชน
(4) สุดารัตน์ทําหน้าที่ร่างคําแถลงการณ์ให้แก่ผู้บริหาร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D2) หน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 ศึกษางาน กิจกรรม หรือสินค้าขององค์กร ตลอดจนศึกษานโยบาย วัตถุประสงค์ และ เป้าหมายที่ต้องการทําการประชาสัมพันธ์
2 วิเคราะห์และวางแผนงานโครงการ เพื่อดําเนินงานประชาสัมพันธ์
3 คัดเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับงาน หรือผลิตภัณฑ์ที่จะประชาสัมพันธ์
4 ประสานงานและจัดส่งข้อมูลขององค์กรให้แก่สื่อมวลชน
5 จัดทําข่าวสารหรือจัดเตรียมการแถลงข่าวของผู้บริหารองค์กร และร่างสุนทรพจน์ คําปราศรัย หรือคําแถลงการณ์ให้แก่ผู้บริหาร
6 จัดเก็บข่าวขององค์กร ตรวจสอบและรวบรวมข่าวสารที่มีผลกระทบต่อองค์กร ฯลฯ

30 ทักษะใดเกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์น้อยที่สุด
(1) การเสาะแสวงหา เข้าถึงแหล่งข่าวที่รวดเร็วฉับไว
(2) การวิเคราะห์และวางแผน
(3) ไหวพริบและความฉลาดทางอารมณ์
(4) ทักษะการสื่อสาร
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D2), (ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ) นักประชาสัมพันธ์ที่ดีควรมีคุณสมบัติ
5 ประการ ดังนี้
1. มีบุคลิกภาพที่เพียบพร้อม
2. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับบริษัทในทุกเรื่อง 3. มีทักษะการสื่อสารด้วยการพูดที่ดี
4. มีใจรักงานบริการอย่างแท้จริง
5. มีไหวพริบและความฉลาดทางอารมณ์เป็นเลิศ

ข้อ 31. – 34. จงเลือกจับคู่ความหมายของประเภทงานประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยพิจารณาจาก
ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) สื่อมวลชนสัมพันธ์
(2) การรณรงค์
(3) การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
(4) การประชาสัมพันธ์องค์กร

31. มุ่งสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงาน สู่สายตาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D4) การประชาสัมพันธ์องค์กร (Corporate Public Relations) คือ การประชาสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรให้ประจักษ์ต่อสายตาของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการประชาสัมพันธ์จุดยืนขององค์กรให้สาธารณชนได้รับรู้อีกด้วย ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 1. เน้นสื่อสารถึงภาพลักษณ์ เรื่องราวดี ๆ 3. เน้นความใส่ใจต่อสังคม ผู้มีส่วนได้เสีย
2. เน้นวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้ายั่งยืน

32. เน้นให้ข้อมูลเพื่อโน้มน้าวใจและใช้ความน่าเชื่อถือในการจูงใจลูกค้า
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D4) การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด (Marketing Public Relations : MPR) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ลูกค้าซื้อสินค้า โดยเน้นให้ข้อมูลเพื่อชักจูงและใช้ความน่าเชื่อถือ ในการจูงใจลูกค้า นอกจากนี้ยังหมายถึงวัตถุประสงค์อื่น ๆ “ที่นอกเหนือไปจากการทําให้รู้จัก เชื่อใจ เข้าใจ ให้ความรู้ โน้มน้าว ปฏิบัติตาม หรือซื้อ” ในลักษณะหวังผลประโยชน์ทางอ้อม เช่น การเชิญนักข่าวมาทานอาหาร เพื่อให้กลับไปแนะนําร้าน, การเชิญนักข่าวมาทดสอบรถ รุ่นใหม่ หรือการเชิญผู้มีชื่อเสียงมาร่วมงาน, การถ่ายทอดแฟชั่นโชว์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

33. มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และตระหนักต่อปัญหา เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่าง ๆ ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D4) การรณรงค์ (Campaigns) คือ การประชาสัมพันธ์ที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่าง ๆ (โดยเฉพาะต่อโครงสร้างเชิงสังคม) ซึ่งจะมุ่งเน้นการ สร้างการรับรู้และตระหนักต่อปัญหา จากนั้นจึงทําการโน้มน้าวใจและกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมาย กระทําบางอย่าง ยอมรับ หรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

34. สร้างความสัมพันธ์กับสื่อในรูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร โดยการเชิญมาทําข่าว/ทําข่าวแจก
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D4) สื่อมวลชนสัมพันธ์ (Media Relations) ทําหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ กับสื่อในรูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร โดยใช้วิธีการเชิญมาทําข่าว จัดทําข่าวแจกแก่สื่อ จัดให้ สื่อเข้ามาสัมภาษณ์ผู้บริหาร จัดให้ผู้เชี่ยวชาญตอบคําถามสื่อมวลชน หรือการจัดกิจกรรมเพื่อ เชื่อมสัมพันธ์กับสื่อมวลชน

35. ข้อใดคือความหมายของ Press Release
(1) การนําสื่อมวลชนเข้าชมกิจการของหน่วยงาน เพื่อนําเสนอข้อมูลสู่สาธารณชน
(2) บทความที่เขียนขึ้น และภาพที่ส่งไปให้สื่อมวลชน เพื่อให้นําไปใช้เผยแพร่ต่อ
(3) การให้ถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการขององค์กรแก่สาธารณชน
(4) การตอบคําถามสื่อมวลชนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเป็นการให้ข้อมูลผ่านข้อคําถาม
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D4) ข่าวแจก (Press & Photo Release) เป็นบทความและภาพที่ ฝ่าย PR เขียนขึ้นและส่งไปให้สื่อมวลชน เพื่อให้นําไปใช้เผยแพร่ต่อ โดยข่าวที่ส่งออกไปนี้ อาจเกี่ยวเนื่องกับองค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่, การได้รับรางวัลต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่องค์กรทํา

36 ข้อใดตรงกับคําว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (CSR)
(1) Corporate Social Responsibility
(2) Canvas Social Responsibility
(3) Creative Social Responsibility
(4) Copper Social Responsibility
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D5) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) มีที่มาจากโลกาภิวัตน์ (Globalization) และการตลาดหนึ่งเดียว จนส่งผลให้เกิด CSR เป็นการประชาสัมพันธ์แนวใหม่ที่มีต้นกําเนิดมาจากยุโรป ซึ่งเป็นมากกว่าการประชาสัมพันธ์ ตนเอง มากกว่าการกุศล โดยมีเป้าหมายมากกว่าการสร้างภาพลักษณ์ (เน้นสร้างความยั่งยืน)

37. ข้อใดเป็นที่มาของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
(1) โลกาภิวัตน์ (Globalization)
(2) การตลาดหนึ่งเดียว
(3) การประชาสัมพันธ์แนวใหม่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) CSR เป็นรูปแบบการส่งเสริมจากภายในองค์กรเท่านั้น
(2) CSR เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กรที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคม
(3) CSR เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กรที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมในระดับย่อย
(4) CSR เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กรที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมในระดับโดยรวม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D5) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นการดําเนินกิจกรรมขององค์กร ที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับย่อยและระดับสังคมโดยรวม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า และชุมชน เช่น ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องสิทธิมนุษยชน ฯลฯ โดยส่งเสริมจากภายใน องค์กรไปสู่ภายนอกองค์กร ในลักษณะที่เป็นไปตามกฎหมาย และตรงตามความต้องการของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสําคัญ

39. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) CSR ไม่ต่างจากการประชาสัมพันธ์
(2) CSR ไม่เน้นการสื่อสารความสําเร็จขององค์กร
(3) CSR เป็นการจัดการความรู้ของสังคม
(4) CSR เป็นความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กร
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D5) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นความไว้วางใจของประชาชน
ที่มีต่อองค์กร ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ต้องใช้ระยะเวลาในการสั่งสม
2. เกิดขึ้นจากพฤติกรรมองค์กร
3. เกิดขึ้นจากการกระทําของบุคลากรในองค์กร

40. ข้อใดเป็นความสําคัญของการทํา CSR
(1) เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
(2) เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ จากภาคสังคม ๆ
(3) เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนและกลุ่มรักษาประโยชน์สาธารณะ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D5) ความสําคัญของการทํา CSR มีดังนี้
1. ช่วยให้องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานภาครัฐเห็นแรงบันดาลใจด้านต่าง ๆ จากภาคสังคม
2. เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ จากภาคสังคม
3. เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนและกลุ่มรักษาประโยชน์สาธารณะ
4. เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน และเกิดผลตอบแทนอย่างคุ้มค่ากับทั้งสองฝ่าย

41. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) CSR เป็นการทํากิจกรรมเพื่อสังคม
(2) CSR เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจ
(3) การสื่อสารไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินโครงการ CSR
(4) CSR ช่วยให้องค์กรเห็นโอกาสจากความต้องการของชุมชน
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D6) ความสําคัญของการสื่อสารในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการดําเนิน โครงการ CSR มีดังนี้
1. การทํากิจกรรมต่าง ๆ ของ CSR เป็นการดําเนินงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับชุมชน
2. ต้องใช้การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3. การสื่อสารที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีหรือทักษะใหม่ ๆ
4. การสื่อสารช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการ
5. การสื่อสารช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ
6. การสื่อสารส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
7. การสื่อสารจะส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามมา

ข้อ 42 – 48, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การตลาดสังคมองค์กร
(2) การตลาดเหตุสัมพันธ์
(3) การให้เพื่อสังคมขององค์กร
(4) การอาสาชุมชน

42. พนักงานเป็นผู้คัดเลือกกิจกรรมแล้วนําเสนอเพื่อรับการสนับสนุนจากองค์กร
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D5) การอาสาชุมชน (Community Volunteering) คือ การสนับสนุน/ จูงใจพนักงาน คู่ค้า และสมาชิกให้มาร่วมสละเวลาแรงงานในการทํางานให้แก่ชุมชนที่องค์กร ตั้งอยู่ เพื่อตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางสังคมที่องค์กรให้ความสนใจหรือห่วงใย ผ่านการดําเนินการเองหรือร่วมมือกับองค์กรอื่นก็ได้ หรือพนักงานเป็นผู้คัดเลือกกิจกรรมแล้วนําเสนอ เพื่อรับการสนับสนุนจากองค์กร

43. การนําการรณรงค์ไปปฏิบัติ “เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D5) การตลาดสังคมองค์กร (Corporate Social Marketing) มีลักษณะดังนี้
1. สนับสนุนการพัฒนาหรือนําการรณรงค์ไปปฏิบัติ “เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. การปรับปรุงด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือความอยู่ดีของชุมชน
3. มุ่งแก้ไขปัญหาสังคม
4. เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

44. มุ่งแก้ไขปัญหาสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45. การผูกมัดในการให้หรือบริจาคจากจํานวนร้อยละของรายได้ คิดจากยอดขายสินค้า
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D5) การตลาดเหตุสัมพันธ์ (Cause – related Marketing) หมายถึง การผูกมัดในการให้หรือบริจาคจากจํานวนร้อยละของรายได้ คิดจากยอดขายสินค้า/บริการ เพื่อสนับสนุนแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะมีการประกาศอย่าง มีระยะเวลาแน่นอนกับสินค้าที่ร่วมรายการ และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือการกุศล ผ่านทางการซื้อสินค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้จะเน้นเรื่องการ ตระหนักเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคม การสนับสนุนด้านทรัพยากร เพื่อให้รับรู้ประเด็นปัญหา

46. เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือการกุศล ผ่านการซื้อสินค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47. เพิ่มการตระหนักเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48. สนับสนุน/จูงใจพนักงาน คู่ค้า สมาชิกให้มาร่วมสละเวลาแรงงานในการทํางานให้แก่ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

49. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของการสื่อสาร
(1) ความไม่เป็นพลวัตร
(2) การที่ไม่สามารถเพิกถอนได้
(3) การกระทําล่วงหน้าเชิงป้องกัน
(4) ปฏิสัมพันธ์
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) คุณลักษณะของการสื่อสาร มีดังนี้
1. ความเป็นพลวัตร
2. การที่ไม่สามารถเพิกถอนได้
3. การกระทําล่วงหน้าเชิงป้องกัน
4. ปฏิสัมพันธ์
5. บริบท

ข้อ 50 – 55. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ถูก
(2) ผิด

50. การทํากิจกรรมต่าง ๆ ของ CSR เป็นการดําเนินงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับชุมชน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

51. การสื่อสารที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีหรือทักษะใหม่ ๆ ในการจัดกิจกรรม CSR ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
52. การสื่อสารเกิดจากความว่างเปล่า
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6), (ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ) คุณลักษณะของการสื่อสารข้อหนึ่ง คือ บริบท เนื่องจากการสื่อสารไม่ได้เกิดจากความว่างเปล่า โดยการสนทนาในที่ประชุม หรือ การสนทนากับลูกค้าทางโทรศัพท์ ก็จะแวดล้อมไปด้วยผู้ร่วมประชุมหรือผู้ร่วมสนทนา ดังนั้น บรรยากาศจึงมีผลกระทบต่อปฏิกิริยาของคนที่มีต่อข่าวสาร เช่น ความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นจาก การโต้เถียง ความกระตือรือร้น หรือการไม่ให้ความสนใจ

53. การสื่อสารมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นตามมาได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

54. บรรยากาศมีผลกระทบต่อปฏิกิริยาของคนที่มีต่อข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

55. การจัดกิจกรรม CSR ไม่จําเป็นต้องใช้การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

ข้อ 56. – 60. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(2) การสื่อสารด้วยคําพูดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(3) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบส่วนตัว
(4) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบไม่ใช่ส่วนตัว

56. สื่อหนังสือพิมพ์
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบไม่ใช่ส่วนตัว มีลักษณะดังนี้
1. ความเข้มข้นของข่าวสารน้อยที่สุด
2. ไม่ทราบว่าผู้รับจะเป็นใคร
3. ไม่สามารถสื่อสารในเรื่องที่ลึกซึ้งได้
4. ใช้ถ้อยคําทั่วไปในการสื่อสาร
5. มีข้อดี คือ สามารถส่งไปยังผู้รับสารหลายรายและคาดหวังการตอบกลับที่น้อย
เช่น สื่อหนังสือพิมพ์, รายงานต่าง ๆ ฯลฯ

57. การส่งข่าวสารภายในองค์กรผ่านอีเมล
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารด้วยการเขียนแบบส่วนตัว มีลักษณะดังนี้
1. มีความเข้มข้นของข่าวสารต่ํากว่าการสื่อสารด้วยวาจา
2. ส่งตรงไปยังบุคคลที่ต้องการได้รูปแบบของจดหมายส่วนตัวและอีเมล
3. แน่ใจได้ว่าผู้รับข่าวสารจะได้อ่าน ซึ่งอยู่ใน
4. เหมาะสําหรับข่าวสารที่มีความซับซ้อน
5. มีข้อจํากัด คือ ไม่สามารถส่งกลับไปยังผู้ส่งสารได้

58. ผู้บริหารสนทนาทางโทรศัพท์กับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารด้วยคําพูดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะดังนี้
1. มีความเข้มข้นของข่าวสารมากเป็นอันดับสอง
2. การสนทนาทางโทรศัพท์จะทําให้มีความเข้มข้นของข่าวสารด้วยโทนเสียง
3. เน้นเสียงของผู้ส่งสารและการตอบกลับอย่างรวดเร็ว
4. ไม่สามารถให้ภาพและส่วนที่ไม่ใช้เสียงได้

59. ผู้บริหารระดับสูงลงไปหาข้อเท็จจริงภาคสนาม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face – to – Face Communication) มีลักษณะดังนี้
1. เป็นการสื่อสารที่มีความเข้มข้นของข่าวสารสูงสุด
2. สามารถโต้ตอบซักถามได้ทันที
3. ใช้ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง
4. ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การสื่อสารสะดวกสบายขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ช่วยร่นระยะเวลา และทําได้ง่าย
5. การสื่อสารแบบเผชิญหน้าสามารถใช้เป็นเทคนิคในการ “จัดการโดยการเดินไปรอบ ๆ”
6. ผู้บริหารระดับสูงลงไปหาข้อเท็จจริงภาคสนาม หรือการไปเยี่ยมลูกค้าต่างจังหวัด ทําให้ทราบข้อมูลที่ไม่อยู่ในรายงานที่ได้รับได้

60. เอมิลี่เขียนจดหมายหาแฟนหนุ่มที่อเมริกาบอกว่า ตนเองสบายดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

ข้อ 61. – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ถูก
(2) ผิด

61. กลยุทธ์การสื่อสารในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรทําหน้าที่ส่งข้อมูล
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารองค์กรในบริบทของความรับผิดชอบ ต่อสังคม (CSR) ต้องระมัดระวังใน 3 ปัจจัย ดังนี้
1. องค์กรผู้ทําหน้าที่ส่งข้อมูล
2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือกลุ่มคนที่รับสาร
3. สาร/ภาพลักษณ์ที่ส่งออกไป

62. การกําหนดกลยุทธ์ระดับองค์กรไม่จําเป็นต้องกําหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6), (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ) องค์กรผู้ทําหน้าที่ส่งข้อมูล มีขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้
1. ต้องกําหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร ได้แก่ การกําหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร (องค์กรต้องการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทําอะไร)
2. การตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรที่ต้องใช้ ได้แก่ เงิน เวลา และคน
3. ต้องตอบคําถามให้ได้ว่า ภาพลักษณ์ขององค์กรด้านใดที่มีความน่าเชื่อถือในสายตา ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

63. การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมใช้ทั้งการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มีดังนี้
1. สามารถสื่อสารได้ทั้งแบบเป็นทางการ ซึ่งทําในนามขององค์กร และแบบไม่เป็นทางการ ทําส่วนตัว/ปกปิดแหล่งข่าว/ไม่ทราบแหล่งข่าว
2. การสื่อสารภายนอกองค์กรที่มุ่งไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ชุมชน และการสื่อสารภายใน องค์กรที่มุ่งสู่พนักงานในองค์กร เพื่อเกิดการรับรู้ ภูมิใจ ระดมส่งเสริมอาสาสมัคร

64. การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมไม่จําเป็นต้องกําหนดกลุ่มผู้รับข่าวสาร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D6) การสื่อสารในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จะต้อง กําหนดกลุ่มผู้รับข่าวสารว่า ควรจะสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มไหน ประเด็นอะไร และ ระดับในการสื่อสารจะต้องส่งสารอยู่ในระดับใด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ

65. การได้มาซึ่งหน้าข่าวที่ดี เป็นตัวชี้วัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D6) การได้มาซึ่งหน้าข่าวที่ดี จะเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อ สังคม (CSR) ขององค์กร เพื่อต่อยอดด้านการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร และเพื่อต่อยอดทาง การตลาด ทั้งนี้เพราะ “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์” แต่ถ้าหากกิจกรรมขององค์กรมีความคิด สร้างสรรค์ สื่อต่าง ๆ ก็ยินดีลงข่าวให้ฟรีเหมือนกัน

ข้อ 66 – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) วางแผน (Plan)
(2) ปฏิบัติ (Do)
(3) ตรวจสอบ (Check)
(4) ดําเนินการ (Act)

66. วางแผนปรับปรุงแผนงาน
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D7) วงจร PDCA เป็นขั้นตอนการตรวจสอบ “การเผชิญปัญหา” ไปสู่ “การแก้ปัญหา” แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1. วางแผน (Plan) คือ วางแผนปรับปรุงแผนงาน โดยค้นหาว่าสิ่งใดทําให้เกิดความผิดพลาด จึงเป็นขั้นตอนการกําหนดปัญหา และหาแนวคิดสําหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ
2. ปฏิบัติ (Do) คือ การแก้ปัญหาตามที่เราได้เลือกไว้ในระดับเล็ก ๆ หรือระดับทดลองตามที่ กําหนดไว้ในการวางแผน โดยมีการตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติว่า ได้ดําเนินไปในทิศทาง ที่ถูกต้องตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่
3. ตรวจสอบ (Check) คือ การตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระดับเล็ก/ระดับทดลอง ว่าได้ผลหรือไม่ เพื่อทําให้ทราบว่าการปฏิบัติในขั้นตอนที่สองสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่
ต้องการหรือไม่
4. ดําเนินการ (Act) คือ การนําเอาวิธีการที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปดําเนินการในระยะที่ใหญ่ กว่าระดับทดลอง เป็นการนําไปใช้ในงานประจํา โดยนําแนวทางหรือการปฏิบัติที่สําเร็จนั้น มาจัดทําให้เป็นมาตรฐานหรือมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

67. การหาแนวคิดสําหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68. การแก้ปัญหาตามที่เราเลือกไว้ในระดับเล็ก ๆ หรือระดับทดลองตามที่กําหนดไว้ในการวางแผน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

69. การตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระดับเล็กหรือระดับทดลองว่าได้ผลหรือไม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

70. นําแนวทางหรือการปฏิบัติที่สําเร็จนั้นมาจัดทําให้เป็นมาตรฐานหรือมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

ข้อ 71 – 75. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่าสื่อในข้อต่าง ๆ เหล่านี้ คือ สื่อประเภทใด
(1) Owned Media
(2) Paid Media
(3) Earned Media
(4) Shared Media

71. จารุวัฒน์เห็นสื่อโฆษณาขึ้นบนเว็บไซต์ข่าวที่กําลังอ่าน
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D9) Paid Media คือ สื่อที่ต้องจ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือสื่อ ออฟไลน์ ถ้าต้องการใช้เงินเพื่อซื้อพื้นที่โฆษณาให้คิดว่าเป็น Paid Media ได้เลย ดังนั้นสื่อแบบ ชําระเงินจึงมีบทบาทสําคัญในการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ทําให้กลุ่มเป้าหมายพบเห็นเนื้อหา โฆษณาที่ต้องการได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้คนมาติดตามหรือค้นหา ส่วนใหญ่จะปรากฏ/แทรกหรือขัดจังหวะในขณะที่กลุ่มเป้าหมายกําลังรับชม หรือกําลังอ่านเนื้อหาที่พวกเขาสนใจ เช่น สื่อโฆษณาที่แทรกบนเว็บไซต์ข่าว, ป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่, จอ LED ขนาดใหญ่, สติ๊กเกอร์ เพื่อการโฆษณาบนรถบัสแบบติดเต็มทั้งคันและติดครึ่งคัน ฯลฯ

72. ยุทธพงศ์อ่านกระทู้รีวิวโรงแรมที่พักย่านหัวหินจากเว็บบอร์ด โดยที่ผู้ตั้งกระทู้ไม่ได้เป็นบุคคลมีชื่อเสียง ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D9) Earned Media คือ สื่อที่ผู้อื่นสร้างให้หรือสื่อที่ได้มาจากการพูดถึง หรือบอกต่อ ซึ่งจะแตกต่างจาก Paid Media และ Owned Media เพราะเป็นสื่อที่ไม่สามารถ ซื้อหรือว่าจ้าง ไม่สามารถควบคุมสื่อชนิดนี้ได้ เพราะส่วนใหญ่สื่อที่ผู้อื่นสร้างให้เป็นผลลัพธ์ที่ มาจากการทดลองใช้สินค้าหรือบริการ หรือภายหลังจากที่ได้รับเนื้อหาคุณภาพที่เกี่ยวข้องและ เป็นประโยชน์ ผู้ชม/ผู้สนใจจึงยินดีที่จะรีวิว เผยแพร่ แชร์เนื้อหา หรือบอกต่อ

73. สรุจเห็นป้ายโฆษณา LED จอใหญ่ ขณะขับรถในถนนทางพิเศษบูรพาวิถี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

74 วรันทรอัปโหลดภาพถ่ายอาหารลง Instagram พร้อมเขียนคําอธิบายว่า “อร่อยมาก ๆ”
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

75. พิชัยสร้างเว็บไซต์ของร้านค้าตนเอง โดยในเว็บไซต์มีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมราคา
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D9) Owned Media คือ สื่อที่แบรนด์หรือองค์กรเป็นเจ้าของ หมายถึง สินทรัพย์ทางการตลาดที่องค์กรเป็นเจ้าของ เช่น เว็บไซต์, บัญชีในโซเชียลมีเดีย, สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ฯลฯ ทั้งนี้การใช้สื่อ Owned Media หมายความว่า เราสามารถควบคุมได้ ตั้งแต่รูปลักษณ์และสีสันไปจนถึงรูปแบบเนื้อหา, ความถี่ของการอัปเดต, วิธีการเผยแพร่ และวิธีการประชาสัมพันธ์

76. ในการเลือกใช้เครื่องมือหรือสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ จําเป็นต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบใดบ้าง
(1) กลุ่มเป้าหมาย
(2) งบประมาณ
(3) วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4PDF (MCS 2150 : D9) การเลือกเครื่องมือหรือสื่อที่จะใช้ในการประชาสัมพันธ์ในกรณีใด ก็ตาม ต้องมีการกําหนดวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวกําหนดเครื่องมือ หรือสื่อที่จะใช้ ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสาร ตัวข่าวสารเอง องค์ประกอบด้านเวลา และ งบประมาณขององค์กร โดยปกติในการประชาสัมพันธ์มักจะใช้สื่อมากกว่าหนึ่งอย่าง

77. ข้อต่อไปนี้คือ สื่อที่สามารถควบคุมได้ (Controlted Media) ยกเว้นข้อใด
(1) ป้ายบิลบอร์ด
(2) ผู้ใช้งานทั่วไปรีวิวในเว็บบอร์ด
(3) โฆษณาในโทรทัศน์
(4) การแต่งตั้งพรีเซ็นเตอร์ขององค์กร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D9) สื่อที่สามารถควบคุมได้ (Controlled Media) คือ สื่อที่แบรนด์ หรือองค์กรสามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ การผลิต และวิธีการ เผยแพร่ไปสู่สาธารณชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น กระดานป้าย (Billboard) ซึ่งองค์กรสามารถ ควบคุมเนื้อหาและรูปร่างลักษณะได้อย่างเต็มที่, เว็บไซต์ขององค์กร, โฆษณาในโทรทัศน์, โฆษณาบนจอ LED ทั่วเมือง, การแต่งตั้งพรีเซ็นเตอร์ขององค์กร, การลงทุนจ้างผู้มีอิทธิพล ทางความคิด ฯลฯ (ส่วนผู้ใช้งานทั่วไปรีวิวในเว็บบอร์ด จัดเป็นสื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้) (ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ)

78. ข้อใดต่อไปนี้คือ สื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Uncontrolled Media)
(1) ข่าววิทยุ โทรทัศน์
(2) เว็บไซต์ขององค์กร
(3) โฆษณาบนจอ LED ทั่วเมือง
(4) การลงทุนจ้างผู้มีอิทธิพลทางความคิด
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D9) สื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Uncontrolled Media) คือ สื่อที่องค์กร หรือแบรนด์ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากองค์กรไม่ใช่เจ้าของสื่อเหล่านี้ ดังนั้นจึงไม่สามารถ บังคับให้สื่อเหล่านี้เสนอข่าวสารตามที่องค์กรต้องการได้ ซึ่งลักษณะของสื่อแบบนี้จะเป็นสื่อที่ สามารถเข้าถึงสาธารณชนจํานวนมากได้ หรือเรียกว่า “สื่อมวลชน” (Mass Media) เช่น ข่าว ในวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์, การที่ผู้ใช้สินค้าหรือบริการรีวิว เผยแพร่ แซร์เนื้อหา หรือ บอกต่อถึงคุณภาพและความประทับใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

79. ข้อต่อไปนี้คือ สื่อนอกบ้าน (Out of Home Media) ยกเว้นข้อใด
(1) สติ๊กเกอร์แปะรอบขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส
(2) ป้ายโฆษณาที่ท่าเรือคลองแสนแสบ
(3) ภาพยนตร์โฆษณาที่เปิดดูผ่านเฟซบุ๊กขณะอยู่นอกบ้าน
(4) จอดิจิทัลในศูนย์การค้าชั้นนํา
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D9) ตัวอย่างสื่อนอกบ้าน (Out of Home Media : OOH) ได้แก่
1. ป้ายโฆษณา (Billboard) ขนาดใหญ่
2. จอ LED ขนาดใหญ่
3. สติ๊กเกอร์บนรถไฟฟ้า BTS ทั้งคัน, โปสเตอร์ในขบวนรถไฟฟ้า BTS, ที่จับในขบวนรถ และสื่อบน LED ในขบวน
4. จอดิจิทัลในศูนย์การค้าชั้นนํา ฯลฯ

80. ข้อใดสําคัญที่สุดในการทํา Search Engine Optimization (SEO)
(1) คําสําคัญ (Keyword)
(2) ความยาวของบทความ
(3) รูปภาพที่ประกอบบทความ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D9) Search Engine Optimization (SEO) คือ วิธีการปรับแต่งเว็บไซต์ การปรับปรุงเนื้อหา และการเพิ่ม Backlink ซึ่งเป็นลิงค์ที่มีคุณภาพมายังเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ บน Search Result Page (หน้าแสดงผลการค้นหา) เมื่อกรอกคําสําคัญ หรือ Keyword (ถือเป็นสิ่งสําคัญที่สุดในการทํา SEO) ที่ต้องการผ่าน Search Engine ต่าง ๆ เช่น Google, Yahoo, Bing เป็นต้น โดยเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในระยะยาว

81. ข้อต่อไปนี้คือ บทบาทของการประชาสัมพันธ์ ยกเว้นข้อใด
(1) สื่อมวลชนสัมพันธ์
(2) ชุมชนสัมพันธ์
(3) การจัดการประเด็นและภาวะวิกฤติ
(4) การโฆษณา
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D10) บทบาทของการประชาสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1. การเป็นที่ปรึกษา (Counseling)
2. การวิจัย (Research)
3. สื่อมวลชนสัมพันธ์และผู้มีอิทธิพล (Media and Influencers Relations)
4. การเผยแพร่ (Publicity)
5. ชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations)
6. พนักงานหรือสมาชิกสัมพันธ์(Employee/Member Relations)
7. การสื่อสารกิจการสาธารณะ (Public Affairs)
8. การจัดการประเด็นและภาวะวิกฤติ (Issues and Crisis Management) ฯลฯ

82. ข้อใดต่อไปนี้คือ บทบาทของการประชาสัมพันธ์ในแง่ของการเป็นที่ปรึกษา (Counseling)
(1) ผังโครงสร้างองค์กรมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ขึ้นตรงกับผู้บริหาร
(2) นักประชาสัมพันธ์สามารถเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสร้างสื่อได้
(3) การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์จําเป็นต้องปรึกษานักประชาสัมพันธ์เสมอ
(4) นักประชาสัมพันธ์เป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D10) การเป็นที่ปรึกษา (Counseling) หมายถึง บทบาทในการเป็น ที่ปรึกษาให้ผู้บริหารในการตัดสินใจและกําหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น การกําหนดนโยบาย การตลาด การสร้างภาพลักษณ์สินค้าหรือบริการ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การขยายฐาน การผลิต การแถลงผลประกอบการ ฯลฯ ซึ่งบทบาทในด้านนี้จะทําได้ดีหากผังโครงสร้าง องค์กรมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ขึ้นตรงกับผู้บริหาร และนักประชาสัมพันธ์สามารถเข้าร่วมใน การประชุมผู้บริหารระดับสูง หรือเป็นคณะกรรมการบริหารของหน่วยงาน

83. การออกแบบเนื้อหาสารให้มีประสิทธิภาพ ควรคํานึงถึงเรื่องใดมากที่สุด
(1) การออกแบบเนื้อหาสารให้ตรงกับความต้องการของคนทั่วไป
(2) การออกแบบเนื้อหาสารให้ตรงกับที่หน่วยงานภาครัฐกําหนด
(3) การสื่อสารเนื้อหาสารที่ตรงกับความคิดส่วนลึกในใจของผู้รับสาร
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D10) การออกแบบเนื้อหาสารให้มีประสิทธิภาพ ควรคํานึงถึงเรื่องการ สื่อสารเนื้อหาสารที่ตรงกับความคิดส่วนลึกในใจของผู้รับสาร (Consumer Insight) ทั้งนี้เพื่อ ประสิทธิผลในการสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าองค์กรนั้น ๆ เข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างดี

84. การทําวิจัยเพื่อค้นหาความคิดส่วนลึกที่อยู่ในใจของผู้บริโภค (Consumer Insight) มีทั้งหมดกี่ขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน
(2) 3 ขั้นตอน
(3) 4 ขั้นตอน
(4) 5 ขั้นตอน
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D10) การทําวิจัยเพื่อค้นหาความคิดส่วนลึกที่อยู่ในใจของผู้บริโภค (Consumer Insight) มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การตั้งคําถามหรือประเด็นที่ต้องการทราบจากผู้บริโภค
2. การค้นหาข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
3. การค้นหาข้อมูลปฐมภูมิจากการทําวิจัย
4. การแปลผลเพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

85. การเขียนเอกสารสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ (Creative Brief) แบ่งเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) ใคร คือ ผู้บริโภคหรือผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย
(2) ความต้องการให้ผู้รับสารรู้สึกอย่างไรต่อเนื้อหาสาร
(3) แก่นของความคิดในการสื่อสาร
(4) ความสามารถในการสื่อสารของผู้รับสาร
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D10) รูปแบบการเขียนเอกสารสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ (Creative Brief) แบ่งออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. ใคร คือ ผู้บริโภค/ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย ๆ
2. ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรหรือแบรนด์อย่างไร
3. ความต้องการให้ผู้รับสารรับรู้หรือรู้สึกอย่างไรต่อเนื้อหาสารและตราสินค้าของบริษัท 4. แก่นของความคิดในการสื่อสาร

86. ข้อใดคือเป้าหมายสูงสุดของการทํา Customer Journey
(1) การรับรู้ (Awareness)
(2) การเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจ (Evaluation)
(3) การใช้สินค้าหรือบริการ (Purchase)
(4) ความภักดีต่อแบรนด์หรือองค์กร (Loyalty) PDF (MCS 2150 : D10) Customer Journey คือ การเดินตอบ 4 ทางของลูกค้า จะบอกเล่าถึง ประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่การรับรู้ถึงตัวตนของแบรนด์หรือองค์กรครั้งแรก สู่กระบวนการ ซื้อขายหรือการใช้บริการ การทดลองใช้งาน จนกระทั่งเกิดความภักดีต่อแบรนด์หรือองค์กร (Loyalty) ซึ่งถือเป้าหมายสูงสุดของการทํา Customer Journey ในระยะยาว ทั้งหมดนี้คือ เรื่องของปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ลูกค้าหรือผู้รับบริการมีต่อแบรนด์หรือองค์กร

87. การออกแบบสารที่มีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาถึงองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) ความเหมาะสมตรงประเด็น
(2) จดจําได้ง่าย
(3) มีความน่าเชื่อถือ
(4) ถูกทุกข้อฃ

ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D11) Patrick Jackson (2000) ซึ่งเป็นบรรณาธิการของวารสาร PR Reporter ได้แนะนําการออกแบบสารประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพว่า ควรพิจารณาถึง องค์ประกอบต่อไปนี้
1. ความเหมาะสมตรงประเด็น (Appropriate)
2. มีความน่าเชื่อถือ (Meaningful)
3. จดจําได้ง่าย (Memorable)
4. เข้าใจได้ทันที (Understandable)
5. มีความน่าเชื่อถือ (Believable)

88. ข้อใดเป็นตัวอย่างการใช้ตัวย่อของชื่อองค์กร โดยเป็นการทําให้เป็นชื่อที่ผู้รับสารเรียกอย่างติดปาก คุ้นหู
(1) MERCEDES
(2) UNESCO
(3) KONAMI
(4) PANASONIC
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D11) ตัวอย่างของการใช้สัญลักษณ์ สโลแกน และตัวย่อของชื่อองค์กร (Symbols, Slogans, Acronyms) โดยเป็นการทําให้เป็นชื่อที่ผู้รับสารเรียกอย่างติดปากและ คุ้นหู ได้แก่ 1. AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome)
2. UNESCO (United Nations, Educational, Scientific and Cultural Organization) 3. NOW (National Organization for Women) ฯลฯ

89.อัตลักษณ์องค์กร หรือ CI มีความหมายภาษาอังกฤษ ตรงกับข้อใด
(1) Corporate Internet
(2) Community Integration
(3) Corporate Identity
(4) Connection Interrupt
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D11) อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity : CI) จะเกี่ยวข้องกับ การออกแบบการสื่อสารขององค์กร ดังต่อไปนี้
1. การใช้คู่สีใดสีหนึ่งเป็นประจํา
2. การใช้ฟอนต์ตัวอักษรแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ อย่าใช้ฟอนต์หลายตระกูล
3. การเน้นให้เกิดภาพจําภาพลักษณ์ขององค์กร โดยการใช้ซ้ํา ๆ ฯลฯ

90. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการออกแบบการสื่อสารที่เป็นการสื่อสารอัตลักษณ์องค์กร
(1) ในการออกแบบการสื่อสารขององค์กรใช้คู่สีใดคู่สีหนึ่งเป็นประจํา
(2) ในการออกแบบการสื่อสารมีการใช้ฟอนต์ตัวอักษรแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ
(3) ในการออกแบบการสื่อสารมีการเน้นให้เกิดภาพจําภาพลักษณ์ขององค์กร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

91. การเล่าเรื่อง (Storytelling) ถูกนํามาใช้ในการสื่อสารเนื้อหาในด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์
(2) การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร
(3) การรักษาความสดใหม่ของสินค้า
(4) การเขียนบทความทางเว็บไซต์
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D11) การเล่าเรื่อง (Storytelling) ถือเป็นรูปแบบการเล่าเรื่องแบบหนึ่ง ที่ใช้กระบวนการเล่าเหมือนกับนิทาน หรือเรื่องราวของนิยาย เรื่องเล่าต่าง ๆ ร้อยต่อกัน และ สร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้รับสารสนใจ ให้ความตั้งใจ และจดจําเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมา มักถูกนํามา ใช้ในการสื่อสารเนื้อหาในด้านต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, การเขียนบทความ ทางเว็บไซต์, การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร ฯลฯ

92. ข้อต่อไปนี้คือกลยุทธ์การสื่อสารที่สําคัญที่สุด
(1) เป้าหมายในการสื่อสาร
(2) ช่องทางในการสื่อสาร
(3) การวิเคราะห์และวิจัยกลุ่มเป้าหมาย
(4) บูรณาการทุกข้อร่วมกัน

ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D11) กลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategy) ที่สําคัญที่สุด
จะต้องบูรณาการทุกข้อร่วมกัน ได้แก่
1. เป้าหมายในการสื่อสาร
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
3. การวิเคราะห์คู่แข่ง
4. การวิจัยและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
5. ส่วนลึกในใจผู้บริโภค
6. ช่องทางในการสื่อสาร
7. เป้าหมายของธุรกิจ/เป้าหมายขององค์กร

93. เป้าหมายที่สําคัญที่สุดของการสร้างสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ
(1) การปฏิบัติตามสาร
(2) การจดจําสาร
(3) การสร้างความน่าเชื่อถือ
(4) การสร้างความสนใจต่อสาร
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D11) เป้าหมายที่สําคัญที่สุดของการสร้างสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ การปฏิบัติตามสาร ซึ่งการที่ผู้รับสารจะปฏิบัติตามสารที่เราส่งออกไปจะมีขั้นตอน ดังนี้
1. Awareness (รับรู้)
2. Interest (สนใจ)
3. Evaluation (ประเมิน)
4. Trail (ทดลอง)
5. Adoption (ยอมรับ)

94. การวัดการประชาสัมพันธ์จากผลการสื่อสารในระดับใด คือ ระดับที่เป็นเป้าหมายสูงสุด
(1) การจดจําเนื้อหา
(2) การยอมรับว่าเป็นความรู้
(3) การเปลี่ยนทัศนคติ
(4) การเปลี่ยนพฤติกรรม
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D12) การวัดการประชาสัมพันธ์จากผลการสื่อสารแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. การเผยแพร่และการสื่อสาร
2. การจดจําเนื้อหา
3. การยอมรับว่าเป็นความรู้
4. การเริ่มก่อตัว หรือการเปลี่ยนทัศนคติ
5. การเกิด/เปลี่ยนพฤติกรรม (เป็นระดับที่เป็นเป้าหมายสูงสุด)

95. จากการทําแคมเปญรณรงค์ “แกว่งแขวน” ผ่านโครงการลดพุง ลดโรค ของ สสส. หากผู้รับสารสามารถ จดจําภาพและสามารถปฏิบัติตามในโฆษณาได้ แต่ไม่ได้นํามาถือปฏิบัติ ถือเป็นผลการสื่อสารในระดับใด
(1) การจดจําเนื้อหา
(2) การเปลี่ยนทัศนคติ
(3) การยอมรับว่าเป็นความรู้
(4) การเกิดพฤติกรรม
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D12), (ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ) ขั้นการจดจําเนื้อหา (Retention of Message) คือ การวัดผลที่เกิดจากการที่ผู้ที่ได้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาร และจดจําเนื้อหาได้ แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะแสดงความคิดหรือเปลี่ยนพฤติกรรมอะไร ดังนั้นจึงเป็นการวัดในระดับที่สูงขึ้นมาอีก เพื่อบอกว่าผู้อ่านเข้าใจข่าวสารที่เผยแพร่ในสื่อมากน้อยเพียงใด

96. การวัดการประชาสัมพันธ์ตามกระบวนการดําเนินงานแบ่งเป็นระดับ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับเตรียมงาน
(2) ระดับปฏิบัติงาน
(3) ระดับผลกระทบ
(4) ระดับประเมินผล
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D12) การวัดการประชาสัมพันธ์ตามกระบวนการดําเนินงาน สามารถ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับเตรียมงาน (Preparation)
2. ระดับปฏิบัติงาน (Implementation)
3. ระดับผลกระทบ (Impact)

ข้อ 97. – 100, การประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานประชาสัมพันธ์ดังที่กล่าว คือ คุณลักษณะของมิติใด ให้ใช้คําตอบจากตัวเลือกดังต่อไปนี้
(1) มิติด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์
(2) มิติด้านผลประโยชน์ของความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย
(3) มิติด้านพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
(4) มิติด้านผลประโยชน์ขององค์กร

97. เป็นความสําเร็จขั้นต้นของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่มีคุณลักษณะด้านปริมาณ และคุณภาพของ
การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์
เป็นความสําเร็จขั้นต้นของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่มีคุณลักษณะด้านปริมาณ และ คุณภาพของการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ โดยมีตัวชี้วัด 3 ประการ ได้แก่
1. ปริมาณและคุณภาพของงานที่ปฏิบัติ
2. ความคุ้มค่าในการลงทุนที่ใช้ไปในการปฏิบัติงาน
3. การบรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน

98. เป็นผลของการสื่อสารที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายหลังจากที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ ออกไป และข่าวสารนั้นก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้ความรู้ที่เขามีต่อองค์กร
ตอบ 2 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านผลประโยชน์ของความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผลของ การสื่อสารที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายหลังจากที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ ออกไป และข่าวสารนั้นก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้ความรู้ที่เขามีต่อองค์กร จากความรู้นี้ได้ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันพฤติกรรมของเขาที่มีต่อองค์กร และความสําเร็จที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพ

99. เป็นผลจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่เกิดจากการที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ออกไปแล้วข่าวสารนั้นได้ก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งมีระดับมากเพียงพอที่จะผลักดันให้เกิด
พฤติกรรมที่มีต่อองค์กร
ตอบ 3 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผลมาจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่เกิดจากการที่กลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ออกไป จากนั้นข่าวสารที่ก่อให้เกิดผลในด้านการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งมีระดับมากเพียงพอที่จะผลักดันให้ เกิดพฤติกรรมที่มีต่อองค์กร โดยมีตัวชี้วัดความสําเร็จ 2 ประการ ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย
2. พฤติกรรมที่กลุ่มเป้าหมายแสดงออกเป็นไปตามที่องค์กรต้องการ

100. เป็นความสําเร็จที่เกิดจากการสนับสนุนของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ความสําเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการประชาสัมพันธ์โดยตรง แต่การปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่ประสบความสําเร็จจะช่วยสนับสนุนให้เกิด ผลด้านนี้ขึ้น
ตอบ 4 PDF (MCS 2150 : D12) มิติด้านผลประโยชน์ขององค์กร เป็นความสําเร็จที่เกิดขึ้นจากการ สนับสนุนของการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ความสําเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการประชาสัมพันธ์โดยตรง แต่การปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ที่ประสบความสําเร็จจะช่วยสนับสนุนให้เกิดผลทาง ด้านนี้ขึ้น นอกจากนี้ผลประโยชน์ขององค์กรยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอีกว่า การประชาสัมพันธ์มีคุณค่าและมีความสําคัญต่อองค์กร

 

Advertisement