การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2260 (MCS 2201) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. สมมติวันพรุ่งนี้ คณะสื่อสารมวลชนเตรียมจัดงานไหว้ครู ประจําปีการศึกษา 2560 พร้อมทั้งจัด
นิทรรศการเพื่อนําเสนอผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดในระดับชาติและ นานาชาติ เช่น หนังสั้น ภาพถ่าย หนังสือพิมพ์นักศึกษาฉบับออนไลน์ เป็นต้น ในงานมีกิจกรรม การเสวนากับศิษย์เก่าที่ประสบความสําเร็จในวงการสื่อมวลชน อาทิ นักข่าว ช่างภาพ ผู้กํากับ ภาพยนตร์ นักแสดง ฯลฯ ให้นักศึกษาวางแผนการทําข่าวดังกล่าว โดยให้ระบุแหล่งข่าวและ ประเด็นเนื้อหาที่จะรายงานสําหรับข่าวก่อนงาน และข่าวหลังงาน (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

Advertisement

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
การวางแผนการทําข่าวดังกล่าว มีดังนี้

– สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงานดังกล่าว เช่น กําหนดการจัดงานเป็นอย่างไร ใครเป็น เจ้าภาพจัดงาน ใครเป็นประธานในพิธีไหว้ครู สถานที่จัดงานคือที่ไหน วันที่-เวลาใน การจัดงานเมื่อไร ฯลฯ
– ศึกษาประวัติของแหล่งข่าว เช่น ชื่อ-นามสกุลของแหล่งข่าว ตําแหน่งหน้าที่การงาน นักศึกษาที่ได้รับรางวัลมีกี่คน ใครบ้าง และพิธีกร/วิทยากรในงานเสวนาเป็นใคร มีความสําคัญอย่างไร มีประสบการณ์ความรู้ในอาชีพอะไรบ้าง ฯลฯ
– เตรียมตั้งคําถามที่จะสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้า
– ลงพื้นที่ทําข่าว หากมีผู้สื่อข่าวในทีมหลายคนอาจแบ่งไปทําข่าวในกิจกรรมต่าง ๆ ตามเวลาในกําหนดการจัดงาน
– สัมภาษณ์แหล่งข่าวต่าง ๆ โดยต้องฟังและจับประเด็นสําคัญให้ได้
– เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว โดยอาจหาข้อมูลเสริมจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ มาใช้
ประกอบการเขียนข่าวดังกล่าว

แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น มีดังนี้
– คณบดีคณะสื่อสารมวลชน บรรดาอาจารย์ในงานไหว้ครู และตัวแทนนักศึกษาที่ได้ จัดพานมาไหว้ครู
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคําแหง
– นักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดผลงานต่าง ๆ
– ศิษย์เก่าที่มาเป็นวิทยากร และพิธีกรในงานเสวนา
– ผู้เข้าชมงาน และผู้ฟังในงานเสวนา
– เว็บไซต์และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
– เอกสารการจัดงานและหมายกําหนดการต่าง ๆ

ประเด็นเนื้อหาที่จะรายงาน แบ่งออกเป็น

1. ข่าวก่อนงาน ได้แก่
– เจ้าภาพจัดงานไหว้ครูเป็นใคร จัดที่ไหน วันที่ เวลาใด
– มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานอย่างไร
– กําหนดการจัดงาน กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานเริ่มเวลาใดบ้าง
– ศิษย์เก่าที่เป็นวิทยากรและพิธีกรในงานเสวนามีใครบ้าง
– ข้อมูลเสริมจากเว็บไซต์เกี่ยวกับตัววิทยากร หน้าที่การงานในปัจจุบัน

2. ข่าวหลังงาน ได้แก่
– บรรยากาศภายในงานไหว้ครูเป็นอย่างไร มีผู้มาร่วมงานคึกคักหรือไม่
– ความรู้สึกของอาจารย์และนักศึกษาที่มาไหว้ครู
– ความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดผลงานต่าง ๆ
– สาระสําคัญของคําพูดวิทยากรในงานเสวนาแต่ละคน โดยอาจหยิบยกข้อความ ที่เด่น ๆ มานําเสนอในลักษณะการอ้างคําพูดโดยตรง
– ความรู้สึกของผู้มาร่วมงาน
– ข้อมูลเสริมจาก Facebook ของคณะสื่อสารมวลชนเกี่ยวกับรูปภาพบรรยากาศ
ภายในงาน

ข้อ 2. จากเหตุการณ์ฝนตกหนักหลายชั่วโมง ทําให้น้ําท่วมขัง เกิดอุบัติเหตุ และการจราจรติดขัดใน กรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงบ่ายวานนี้ ต่อเนื่องถึงเช้าวันนี้
2.1 ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวจะรายงานเหตุการณ์นี้ในแง่มุมหรือประเด็นใดบ้าง เพื่อให้
ครอบคลุมสถานการณ์รอบด้าน
2.2 หาข้อมูลประกอบการเขียนข่าวดังกล่าวได้จากแหล่งข้อมูลใดบ้าง
2.3 ข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อมของข่าวหรือไม่ ถ้าควรมีน่าจะนําเสนอเนื้อหาใดบ้างในส่วนเชื่อมนั้น

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 83 – 91), (คําบรรยาย)
2.1 ประเด็นหรือแง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์นี้

– ฝนตกหนักทําให้มีพื้นที่ถูกน้ําท่วมขังจํานวนกี่จุด บนถนนสายใดบ้าง และเกิดอุบัติเหตุ ที่ไหน ระบุพิกัดให้ชัดเจน
– การระบายน้ำของ กทม. เป็นอย่างไร จุดไหนที่มีน้ําแห้งแล้วบ้าง อุโมงค์ระบายน้ำ ทํางานได้ดีแค่ไหน มีอุปสรรคและการแก้ปัญหาอย่างไร
– สภาพการจราจรเป็นอย่างไร ถนนสายไหนมีรถจอดเสียและน้ำท่วมสูง ควรเตือนให้ ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทาง

– สัมภาษณ์ผู้ว่าฯ กทม. เกี่ยวกับการลงพื้นที่ดูแลเรื่องการระบายน้ำ
– ความรู้สึกของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– รายงานเรื่องสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาและการเตือนภัยเกี่ยวกับพายุที่อาจ
ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

2.2 แหล่งข้อมูลที่นํามาประกอบการเขียนข่าวดังกล่าว
– ผู้ว่าฯ กทม.
– สํานักการระบายน้ำ กทม.
– ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ําท่วม กทม.
– เจ้าหน้าที่ กทม. ที่ทําหน้าที่ระบายน้ำและเก็บขยะ
– เจ้าหน้าที่จราจร
– ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– กรมอุตุนิยมวิทยา
– เว็บไซต์หรือ Facebook ของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้
– เพจชื่อดังหรือสื่อออนไลน์ที่แจ้งปัญหาน้ําท่วม พร้อมรูปภาพประกอบ

2.3 การเขียนข่าวนี้ควรมีส่วนเชื่อม โดยควรนําเสนอข้อมูลในส่วนเชื่อม ดังนี้
– อาจระบุคุณลักษณะของบุคคลในข่าว ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ยศหรือตําแหน่ง ฯลฯ และ คุณลักษณะของสถานที่ที่เป็นข่าว ได้แก่ บริเวณที่มีน้ําท่วมขังอยู่บนถนน/ซอยใดบ้าง อยู่ใกล้สถานที่สําคัญอะไร ฯลฯ
– อาจให้ภูมิหลังหรือความเป็นมาของเหตุการณ์ว่า จากกรณีเกิดฝนตกหนักทั่วพื้นที่ของ กทม. ตั้งแต่ช่วงเวลาใด ต่อเนื่องถึงช่วงเวลาไหน ของวันที่เท่าไหร่ โดยมีปริมาณ น้ำฝนสูงสุดวัดได้กี่มิลลิเมตร และพื้นที่ใดฝนตกหนักที่สุด

ข้อ 3. ถ้าทีมนักศึกษาภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวด อาหารและขนมประเภทเบเกอรี่ในเวทีการประกวดระดับนานาชาติ นักศึกษาจะรายงานข่าวนี้ อย่างไรบ้าง จงระบุแหล่งข่าว และคําถาม (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น และคําถาม

– ทีมนักศึกษาที่ชนะเลิศ : คําถาม เบเกอรี่ประเภทใดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จุดเด่นที่ ทําให้ชนะ/วัตถุดิบใดเป็นตัวชูโรง ได้รับรางวัลชนะเลิศจากผู้เข้าแข่งขันจํานวนกี่ทีม ใช้เวลาในการฝึกฝนทํากี่เดือน/ปี เคยได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดอื่นหรือไม่ และ ความรู้สึกที่ได้เป็นผู้ชนะ

– อาจารย์ที่ปรึกษา/คณบดีคณะคหกรรมศาสตร์ : คําถาม การให้คําแนะนําปรึกษาแก่ นักศึกษาในเรื่องใดบ้าง ใครเป็นผู้คิดค้นสูตรเบเกอรี เส้นทางการส่งเข้าประกวด และ การต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคต เช่น การจัดวางจําหน่ายเป็นสินค้า และช่องทางการ จัดจําหน่าย เป็นต้น
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนั้น : คําถาม การให้ความสนับสนุนคณะคหกรรมศาสตร์ใน อนาคต และความรู้สึกที่นักศึกษาได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
– ผู้จัดการประกวดระดับนานาชาติ : คําถาม เหตุผลที่ให้รางวัลชนะเลิศ และความเห็น ของคณะกรรมการท่านต่าง ๆ
– เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของเวทีการประกวดดังกล่าว เงินรางวัลที่ได้รับ และ สถิติย้อนหลังว่ามีทีมของมหาวิทยาลัยใดในไทยที่เคยได้รับรางวัลมาแล้วบ้าง
– เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น Facebook ของคณะคหกรรมศาสตร์ เพื่อหา รูปภาพของนักศึกษาที่ชนะเลิศ คณะอาจารย์ที่ปรึกษา และหน้าตาของเบเกอรีที่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ

ข้อ 4. สมมติเกิดอุบัติเหตุรถชนกันบริเวณถนนรามคําแหง ให้นักศึกษาคิดประเด็นข่าวที่ควรรายงานและ ระบุแหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว เพื่อให้สามารถรายงานข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วน
รอบด้าน

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 147 – 149), (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงาน มีดังนี้

– เกิดเหตุรถอะไรชนกัน มีคู่กรณีจํานวนกี่คัน รถชนกันบริเวณถนนรามคําแหงในช่วง ซอยอะไร ขาเข้าหรือขาออก ใกล้สถานที่สําคัญอะไรบ้าง ระบุพิกัดลงไปให้ชัดเจน
– มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตหรือไม่ ถ้ามีจํานวนกี่คน ชื่อ-นามสกุลอะไร อายุเท่าไหร่ อาการ ของผู้บาดเจ็บเป็นอย่างไร กู้ภัยนําส่งโรงพยาบาลไหน
– สภาพความเสียหายในที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร รถเกิดไฟลุกไหม้หรือไม่ และสามารถ เคลื่อนย้ายรถออกจากพื้นที่ได้เองหรือต้องใช้รถยก
– สัมภาษณ์คู่กรณีเกี่ยวกับลําดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จราจร และชาวบ้านที่ เห็นเหตุการณ์ในละแวกนั้น
– การดําเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตํารวจ การตรวจดูกล้องวงจรปิด กล้องหน้ารถ เพื่อยืนยันว่า ใครถูกใครผิด ผิดด้วยข้อหาอะไร และมีโทษเป็นอย่างไร
– การชดใช้ความเสียหายต่อผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตจากประกันภัยรถยนต์
– สภาพการจราจรบนถนนรามคําแหงภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ รถติดไปจนถึงแยกไหน ถนน/ซอยอะไร ต้องปิดการจราจรหรือไม่ พร้อมทั้งบอกเส้นทางหลีกเลี่ยง

แหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว

– คู่กรณีจากอุบัติเหตุรถชนกัน
– เจ้าหน้าที่จราจร
– อาสากู้ภัยต่าง ๆ
– แพทย์/โรงพยาบาล
– ประกันภัยรถยนต์
– ผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้ใช้รถใช้ถนนในละแวกนั้น
– ข้อมูลเสริมจากกล้องวงจรปิด กล้องหน้ารถ
– คลิปภาพเหตุการณ์ในมุมต่าง ๆ ที่มีผู้ถ่ายเอาไว้ได้และเอามาลงใน Facebook หรือ
เพจชื่อดัง

ข้อ 5. ให้นักศึกษาคิดประเด็นข่าว ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา ข่าวการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย หรืออาจเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย อย่างละ 1 ข่าว (ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว)

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 159, 165 – 166, 182),
(คําบรรยาย)
ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหรืออาจเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย

1. ข่าวเศรษฐกิจ คือ ข่าวมหาวิทยาลัยรามคําแหงขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าบํารุง มหาวิทยาลัย สําหรับนักศึกษาใหม่ตั้งแต่ภาค 1/2560 แต่ค่าหน่วยกิตยัง 25 บาท
เหมือนเดิม

2. ข่าวกีฬา ได้แก่ ข่าวการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยมีมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็น
เจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว

3. ข่าวการเมือง ได้แก่ ข่าวมหาวิทยาลัยรามคําแหงจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภานักศึกษา (ส.ม.ร.) และคณะกรรมการองค์การนักศึกษา (อ.ศ.ม.ร.)

ข้อ 6. เหตุใดสื่อมวลชนจึงรายงานข่าวการรับน้องของสถาบันการศึกษาที่มีการแสดงพฤติกรรม
ไม่เหมาะสมเป็นประจําทุกปี รวมทั้งรายงานอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากเกิดเหตุ
อธิบายโดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับคุณค่าเชิงข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 2 – 6), (คําบรรยาย)

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานเป็นข่าวในสื่อมวลชนไทย เนื่องจากมีคุณค่าเชิงข่าว (News Values) ดังนี้

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น สงสารและรู้สึก เห็นอกเห็นใจรุ่นน้องที่เป็นผู้ถูกกระทํา หรือรู้สึกโกรธและเกลียดรุ่นพี่ที่ไม่มีวุฒิภาวะและไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดกิจกรรมการรับน้องในทางที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้หากรุ่นน้องที่ถูกกระทําเป็นเพศทางเลือกหรือ เพศที่สามก็ยังเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในเรื่องเพศอีกด้วย

2. ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นความใกล้ชิดทาง กายระหว่างผู้อ่านกับตัวเหตุการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นความใกล้ชิดทางใจ หากผู้อ่านเป็นนักศึกษาที่กําลังศึกษาอยู่
หรือเคยจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เป็นข่าว

3. ความโดดเด่น ดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาที่เป็นข่าว รวมทั้งความดังของสถานที่ที่ทํากิจกรรมรับน้อง หากสถานที่นั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนทั่วไปรู้จัก

4. ความขัดแย้ง/การเผชิญหน้า คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งทางกายและ ความคิด นอกจากนี้ยังมีการเผชิญหน้าระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง มีการบังคับให้ทํากิจกรรมรับน้องที่ไม่เหมาะสม และมีการกระทําทางวาจาที่ไม่สุภาพต่าง ๆ เพื่อให้รุ่นน้องได้รับความอับอายหากไม่ปฏิบัติตามที่รุ่นพี่สั่ง 5. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 7. จากข้อมูลต่อไปนี้ ให้นักศึกษาเขียนหัวข่าวและเนื้อข่าวสําหรับหนังสือพิมพ์ หากนักศึกษาเห็นว่า ข้อมูลที่กําหนดให้ยังไม่สมบูรณ์ นักศึกษาสามารถสมมติข้อมูลเพิ่มเติมและแหล่งข่าวที่จําเป็นได้ตามสมควร

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ภาค 2 ปีการศึกษา 2560 ที่ส่วนกลาง (ม.ร. หัวหมาก) ระหว่างวันที่ 11 – 14 พฤศจิกายน 2560 (ทุกวัน) พร้อมเปิดรับ สมัครทางอินเทอร์เน็ตที่ www.iregis2.ru.ac.th ตั้งแต่บัดนี้ – 14 พฤศจิกายน 2560 รวมทั้ง เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในระบบ Pre-degree เพื่อสะสมหน่วยกิต ล่วงหน้า โดยสามารถนําหน่วยกิตมาเทียบโอนได้เมื่อจบ ม.6 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ปรับ การเรียนการสอน เพื่อขยายการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจมากขึ้น โดยมีแนวทางต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ และผู้ที่จบอนุปริญญาขึ้นไปได้พัฒนาศักยภาพ และเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น รวมถึงให้โอกาสนักศึกษาเก่า ม.ร. ที่เคยสมัครเรียนแต่ยังไม่จบ สามารถนําหน่วยกิตที่เคยสอบผ่านมาเทียบโอนเพื่อต่อยอดความรู้จนสําเร็จปริญญาตรีด้วย ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรับสมัคร อาคาร สวป. ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคําแหง โทร 02-310-8614-24 หรือ www.ru.ac.th, Facebook : PR Ramkhamhaeng University

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118), (คําบรรยาย)

หัวข่าว

ม.ร. เปิดรับ นศ. ใหม่ภาค 2/2560

ไอเดียสุดชิค “เรียนไม่จบเทียบโอนได้

เนื้อข่าว (ข้อมูลเพิ่มเติม คือ ข้อมูลที่ขีดเส้นใต้)

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ภาค 2 ปีการศึกษา 2560 เฉพาะส่วนกลาง (ม.ร. หัวหมาก) โดยมีคณะที่เปิดสอน 13 คณะ ได้แก่ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สื่อสารมวลชน วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ทัศนมาตรศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ และเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าศึกษาในระบบ Pre-degree เพื่อสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า โดยสามารถนําหน่วยกิตมาเทียบโอนได้เมื่อจบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ทางมหาวิทยาลัยยังได้ปรับการเรียนการสอน เพื่อขยายการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่ สนใจมากขึ้น โดยมีหลายแนวทางเพื่ออํานวยความสะดวกให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ และผู้ที่จบอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไปได้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น รวมถึงให้โอกาสนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่เคยสมัครเรียนแต่ยังไม่จบ สามารถนําหน่วยกิตที่เคยสอบผ่านมาเทียบโอน เพื่อต่อยอดความรู้จนสําเร็จ ปริญญาตรีด้วย

ผู้สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองระหว่างวันที่ 11 – 14 พฤศจิกายน 2560 (ทุกวัน) ตั้งแต่ เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช หรือสมัครทางอินเทอร์เน็ตที่ www.iregis2.ru.ac.th ตั้งแต่บัดนี้ – 14 พฤศจิกายน 2560 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายรับสมัคร อาคาร สวป. ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคําแหง โทร 02-310-8614-24 หรือ www.ru.ac.th, Facebook : PR Ramkhamhaeng University

Advertisement