61.       ลัทธิที่มีความเชื่อในวิญญาณของเหล่าบรรพบุรุษ คือลัทธิใด

Advertisement

(1) Animism       

(2) Totemism    

(3) Shamanism 

(4) Spiritonism

ตอบ 2 หน้า 236357 ลัทธิความเชื่อตัวแทนบรรพบุรุษ (Totemism) เชื่อว่า สายตระกูลหนึ่งจะมีความลัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ตระกูลช้องนางจะมีไม้ยาง เป็นโทเท็ม (ตัวแทนบรรพบุรุษ) เพราะเชื่อกันว่าวิญญาณของเหล่าบรรพบุรุษตระกูลช้องนาง จะสิงสถิตอยู่ในต้นไม้นั้น

62.       ผีเรือนของชาวเขาเผ่าเย้า คือผีอะไร

(1) ฟามซิ้ง       

(2) จุ๊ซ้งเมี่ยน   

(3) สามดาว     

(4) เมี่ยนเตีย

ตอบ 4 หน้า 223 ผีเรือนหรือผีบรรพบุรุษที่พวกเย้านับถือนั้นภาษาเย้าเรียกว่า เมี่ยนเตีย” นอกจากนี้ ยังมีผีอีกจำพวกหนึ่งที่พวกเย้าถือว่ามีความสำคัญสูงสุดคือ ผีใหญ่ หรือ จุ๊ซ้งเมี่ยน” ซึ่งมี ทั้งหมด 18 ตน มีอำนาจลดหลั่นกัน แต่มีอยู 3 ตนที่พวกเย้าถือว่ามีอำนาจสูงสุดคือ ฟามซิ้ง หรือสามดาว (สามดาว)

63.       ชาวเขาเผ่าเย้าส่วนใหญ่นับถือศาสนาอะไร

(1) คริสต์ศาสนา          

(2) ศาสนาพุทธ           

(3) ลัทธิหมอผี 

(4) ลัทธิขงจื๊อ

ตอบ 3 หน้า 222, .228 – 229 ชาวเขาเผ่าเย้าและชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ไม่มีศาสนาใด ๆ เป็นเครื่อง

ยึดเหนี่ยวจิตใจ หากแต่ยึดถือในสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือธรรมชาติ เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีปีศาจ และดวงวิญญาณต่าง ๆ โดยจะมีหมอผีเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมหรือเป็นผู้นำทางความเชื่อถือ ของพวกเย้าทุกคนนับตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นพวกเย้าส่วนใหญ่จึงนับถือลัทธิหมอผี

64.       เรื่องของคนทรงของเกาหลีในสมัยก่อนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีอะไร

(1) ภูตผี           (2) สายตระกูล            (3) ประเพณีเกี่ยวกับบ้านและครอบครัว (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 231 – 232 การศึกษาเรื่อง คนทรง” หรือที่ชาวเกาหลีเรียกว่า มูดัง” ซึ่งถือเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาดั้งเดิมของคนเมืองโสมมาแต่ครั้งอดีตกาลนั้น อาจจะทำให้ผู้ศึกษา เข้าใจถึงความเชื่อและขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เรื่องภูตผี สายตระกูล ประเพณีเกี่ยวกับบ้านและครอบครัว ฯลฯ ของคนเกาหลีได้ดียิ่งขึ้น

65.       ลัทธิใดต่อไปนี้ที่ถือเป็นหลักคำสอนของลัทธิความเชื่อพื้นบ้าน (Little Tradition)

(1) ลัทธิการถือผี          (2) ลัทธิที่เชื่ออำนาจลึกลับ

(3) ลัทธิความเชื่อตัวแทนบรรพบุรุษ    (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 229 – 231235 – 236 ลัทธิความเชื่อพื้นบ้าน (Little Tradition) มีประเด็นสำคัญ ที่ใช้เป็นแนวทางการศึกษา ดังนี้ 1. บุคคลที่เป็นผู้นำและผู้ทำหน้าที่ทางด้านพิธีกรรม ได้แก่ พอมดแม่มด (Witch) หมอผี (Spirit Doctor) คนทรง (Shaman) 2. หลักคำสอน ได้แก่ ลัทธิการถือผีและวิญญาณ ลัทธิที่เชื่ออำนาจลึกลับ ลัทธิความเชื่อตัวแทนบรรพบุรุษ

66.       ข้อใดต่อไปนี้คือองค์ประกอบของศาสนา

(1)       ระบบความเชื่อและการปฏิบัติ            (2) กลุ่มคน

(3) ปรากฏการณ์ที่มีอำนาจนอกเหนือธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์        (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 236 – 237 องค์ประกอบของศาสนา คือ 1. ระบบความเชื่อและการปฏิบัติ

2.         กลุ่มคน 3. ปรากฏการณ์ที่มีอำนาจนอกเหนือธรรมชาติและศักดิ์สิทธิ์

67.       แนวทางใดที่เป็นแนวทางในการศึกษาศาสนา

(1)       ศาสนาเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะปฏิบัติในสิ่งที่ตนเชื่อ

(2)       ศาสนาเป็นเรื่องของพฤติกรรมของคน โดยใช้ศาสนาเพื่อประโยชน์ของตนเอง

(3)       ศาสนาเป็นเรื่องของพิธีกรรมและศวามเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดึ๋สิทธิ์

(4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 239 – 240 แนวทางในการศึกษาศาสนาแบงออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ

1.         ศาสนาเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลในสังคมที่จะะประพฤติและปฏิบัติในสิ่งที่ตนเชื่อถือ

2.         ศาสนาเป็นเรื่องของพฤติกรรมของคน โดยอาจใช้ศาสนาเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของตนเอง

3.         ศาสนาเป็นเรื่องของพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิและสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ

68.       ก่อนที่จะมีการตรากฎหมายขึ้นใช้ สังคมสามารถอยู่รวมกันได้ด้วยความเป็นสุขเพราะมีอะไร เป็นสิ่งกำหนดวิถีการดำเนินชีวิตของคน

(1) พระมหากษัตริย์     (2) เทพเจ้า      (3) สถานภาพและบทบาท (4) ศาสนา

ตอบ4 หน้า 241 ในสังคมที่ปราศจากกฎหมายหรือก่อนที่จะมีการตรากฎหมายขึ้นใช้นั้น ศาสนาจะทำหน้าทีกำหนดวิถีการดำเนินชีวิตที่ทำให้คนประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้อยูร่วมกันในสังคม ด้วยความเป็นสุข ซึ่งศาสนาได้ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันแบบสมัครใจ อีกทั้งได้กำหนดค่านิยม และให้แนวทางแก่คนในสังคมในการทำหรือไมทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และยังเป็นวัฒนธรรมที่ใช้ อบรมสั่งสอนให้แกคนรุ่นหลังอีกด้วย

69.       พงศาวดาร เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1)       เล่าพรรณนาความบรรยายถึงเรื่องราวในอดีต

(2)       เรื่องของบุคคลและสังคมที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์แฝงอยู่มาก

(3)       เล่าถึงลักษณะของสัตว์หรือบุคคลประเภทพิเศษ เล่าเพื่อให้เกิดความบันเทิง

(4)       คำพูดสั้น ๆ กินความหมายกว้าง อาจเป็นคติสอนใจ

ตอบ 2 หน้า 246 ศิลปะทางด้านภาษา ได้แก่

1.         นิยายปรัมปรา เป็นเรื่องเล่าประเภทพรรณนาความ ซึ่งบรรยายถึงเรื่องราวในอดีตกาล นับตั้งแต่แรกเริ่มหรือก่อนกำเนิดโลกจนถึงที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2.         พงศาวดาร เป็นเรื่องราวของบุคคลและสังคมซึ่งมีเนื้อหาสาระทางประวัติศาสตร์แฝงอยู่มาก

3.         นิทานชาวบ้าน เป็นเรื่องเล่าที่บรรยายถึงลักษณะของสัตว์หรือบุคคลประเภทพิเศษ

ซึ่งเล่าเพื่อให้เกิดความบันเทิง บางครั้งเป็นการให้การศึกษาแกอนุชนและคนทั่วไปด้วย เพราะเป็นเรื่องราวที่ทำให้พลังทางจิตใจเกิดขึ้นและแฝงไว้ด้วยศีลธรรมจรรยา

4.         สุภาษิต เป็นคำพูดสั้น ๆ ที่กินความหมายกว้างขวาง ซึ่งอาจเป็นคติสอนใจและเป็นค่านิยม ของสังคมด้วย ฯลฯ

70.       ศิลปะแบบจำลอง ศิลปะตกแต่ง และศิลปะนามธรรม จัดเป็นงานของศิลปะด้านใด

(1)       ศิลปกรรม        (2) ศิลปะทางด้านภาษา (3) ศิลปะด้านการร้อง         (4) สไตล์และลีลา

ตอบ 4 หน้า 247 – 248 สไตล์และลีลาของงานศิลปะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.         ศิลปะแบบจำลอง คือ การจำลองสิ่งที่เป็นของจริงออกมา ซึ่งมักจะหมายถึง รูปถ่าย หรือศิลปะที่เป็นแบบธรรมชาติ

2.         ศิลปะตกแต่ง คือ งานที่ผู้สร้างได้ต่อเติมเสริมแต่งให้มีลักษณะต่างไปจากธรรมชาติ เช่น ภาพการ์ตูน แบบโฆษณา หรือภาพแลเงา

3.         ศิลปะนามธรรม คือ ศิลปะที่ผลิตขึ้นแทนความคิดหรือความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การใช้สี ลายเส้น หรือรูปแบบ

Advertisement