101.    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในสกุลก่อนที่จะเป็นไพรเมต มีลักษณะอย่างไร

Advertisement

(1) มีหางยาว   

(2) ขนาดเท่าหนู          

(3) มีจมูกยาว  

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 71 สัตว์ที่อยูในสกุลก่อนที่จะเป็นไพรเมตนั้น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหางยาว มีลักษณะคล้ายกระแต มีขนาดเท่าหนู มีจมูกยาว กินแมลงเป็นอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ตามกิ่งไม้ เตี้ยๆ มีบริเวณสมองส่วนรับรู้กลิ่นขนาดใหญ่จึงยังชีพด้วยการใช้จมูกสูดดมกลิ่น มีนัยน์ตาอยู่ด้านข้างของใบหน้า และใช้หางในการทรงตัวบนกิ่งไม้

102.    จากผลการทดลองของเมนเดล รูปลักษณ์ที่ปรากฎให้เห็น (Phenotype) จากการผสมพันธ์พืช จะมีสัดส่วนของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อย เป็นสัดส่วนเท่าใดในลูกรุ่นที่สอง

(1) 1 : 3           

(2) 3 : 1           

(3) 1 : 2           

(4) 2 : 1

ตอบ 2 หน้า 58 – 59 จากผลการทดลองผสมถั่วพันธ์ขรุขระแท้ลักษณะเด่น (Dominant. Trait)กับพันธ์กลมแท้ลักษณะด้อย (Recessive Trait) ของเมนเดลนั้น รูปลักษณ์ที่ปรากฎให้เห็นด้วยสายตา (Phenotype) ในลูกรุ่นที่ 2 จะปรากฏเป็นถั่วพันธ์ขรุขระ 3 ส่วน และถั่วพันธุกลมแท้ 1 ส่วน หรืออัตราส่วนของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยที่มองเห็น คือ 3 : 1

103.    จากผลการทดลองของเมนเดลลักษณะที่ปรากฏภายในยีน (Genotype) จากการผสมพันธุ์พืช จะมีสัดส่วนของพันธุ์แท้ลักษณะเด่น ลูกผสม และพันธุแท้ลักษณะด้อยอย่างไร

(1) 2 : 1 : 2     

(2) 1 : 2 : 1     

(3) 3 : 1 : 3      

(4) 1 : 3 : 1

ตอบ 2 หน้า 58 – 59 จากผลการทดลองผสมถั่วพันธุ์ขรุขระแท้ลักษณะเด่นกับถั่วพันธุ์กลมแท้ ลักษณะด้อยของเมนเดล ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏภายในยีน (Genotype) หรือมองไม่เห็น ด้วยสายตานั้น ในลูกรุ่นที่ 2 จะมีถั่วพันธุ์ขรุขระแท้ลักษณะเด่น 1 ส่วน ลูกผสมที่มียีนของ ถั่วพันธุขรุขระและพันธุ์กลม 2 ส่วน และถั่วพันธุ์กลมแท้ลักษณะด้อย 1 ส่วน หรือ ตามอัตราส่วนคือ 1:2:1

104.    ในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมนุษยชาตินั้น คุณลักษณะทางพันธุกรรมที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับ การสืบพันธุ์ จำนวนกี่ชนิด

(1) 171 ชนิด   (2)       947 ชนิด         (3) 1,218 ชนิด            (4)       1,356 ชนิด

ตอบ 1 หน้า 61 คุณลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานในหมู่มนุษยชาติมีจำนวน2,300 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้เป็นคุณลักษณะเด่นราว 1,218 ชนิด คุณลักษณะด้อยราว 947 ชนิด และเป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ 171 ชนิด

105.    ยุคทางธรณีวิทยายุคใดต่อไปนี้ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด

(1) พาลิโอโซอิก           (2)       ซีโนโซอิก         (3) เมโสโซอิก  (4)       โฮโมโซอิก

ตอบ 1 หน้า 62 – 63 ลำดับยุคทางธรณีวิทยาที่มีผลต่อการวิวัฒนาการของมนุษย์ จัดลำดับได้ดังนี้

1.         ยุคพาลิโอโซอิก (ระหว่าง 570 – 225 ล้านปีมาแล้ว) ซึ่งเป็นยุคที่มีอายุเก่าแกที่สุด

2.         ยุคเมโสโซอิก (ระหว่าง 225 – 65 ล้านปีมาแล้ว)

3.         ยุคซีโนโซอิก (ระหว่าง 65 ล้านปี – 10,000 ปีมาแล้ว) (ดูคำอธิบายข้อ 13. และ 14. ประกอบ)

106.    ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นลักษณะของไพรเมต

(1) มีนิ้วมือนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว (2) ไมมีกระดูกไหปลาร้า

(3)       ตัวผู้จะอาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัวอย่างถาวร   (4) ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพ่อแม่เพื่อเรียนรู้พฤติกรรม

ตอบ 3 หน้า 68 แบบแผนหลักทางด้านสรีรวิทยาและพฤติกรรมของไพรเมต มีดังนี้ – 1. มีนิ้วมือและนิ้วเท้าอยู่ข้างละ 5 นิ้ว

2.         มีเล็บมือเล็บเท้าแทนการมีกรงเล็บแบบสัตว์

3.         มือและเท้าสามารถยืดและหดเข้าออกได้ง่าย

4.         มีกระดูกไหปลาร้า ซึ่งจะไม่พบในสัตว์สี่เท้าชนิดอื่น

5.         สามารถกินอาหารได้ทุกประเภทโดยไม่เลือก

6.         จำเป็นต้องพึ่งพาพ่อแม่เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ

7.         ตัวผู้ (เพศชาย) จะอาคัยอยู่ร่วมกับครอบครัวอย่างถาวร ฯลฯ

107. นักมานุษยวิทยาสาขาใดที่ให้ความสนใจศึกษาการวิวัฒนาการของมนุษย์และความแตกต่างในหมู่มนุษยชาติ

(1) นักมานุษยวิทยาชีวภาพ    (2) นักมานุษยวิทยากายภาพ

(3) นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม            (4) นักมานุษยวิทยาสังคม

ตอบ 2 หน้า 16 นักมานุษยวิทยากายภาพสนใจศึกษา 2 หัวข้อใหญ่ คือ

1.         การวิวัฒนาการชองมนุษย์ (Human Evolution)

2.         ความแตกต่างในหมู่มนุษยชาติในยุคปัจจุบัน (Human Variations in Modern Population)

108.    วิธีการทางวิทยาคาสตร์วิธีใดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในการคำนวณหาช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ของซากต่างๆ

(1) โปแตสเชียม อาร์กอน (2) คาร์บอน-12      (3) แคลเซียม-14         (4) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 24 การคำนวณหาอายุหรือช่วงวลาที่มีชีวิตอยู่ของซากดึกดำบรรพ์นั้น มักจะใช้การคำนวณ ด้วยวิธีคาร์บอน-14 และวิธีโปแตสเชียม อาร์กอน กับซากกระดูกของมนุษย์โบราณซึ่งเป็น วิธีการทางวิทยาคาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงทำให้คาดคะเนกาลเวลาได้ค่อนข้างแม่นยำ

109.    นักปราชญ์ท่านใดที่ได้อธิบายว่า ได้มีการพัฒนาจากจุลินทรีย์มาเป็นพืช และในโลกนี้มีชุมชนของสรรพสิ่ง อยู่ในธรรมชาติ

(1)       ทาเลส            (2) เฮราคลิตัส (3) อริสโตเติล  (4) ลูเครติอุส

ตอบ 3 หน้า 28 อริสโตเติล (Aristotle) อธิบายว่า ได้มีการพัฒนาจากจุลินทรีย์มาเป็นพืช และ ในโลกนี้มีชุมชนของสรรพสิ่งอยู่ในธรรมชาติ” ซึ่งคำว่าชุมชนตามแนวคิดนี้หมายถึง การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการเกิด-แตกดับของมวลสิ่งมีชีวิตในโลก

110.    ในช่วงหลังปี ค.ศ. 1758 ได้มีคำกล่าวที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้นบนโลก ส่วนใครที่เป็นผู้จัดจำแนกสรรพสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ”    

(1) ยลร์จ หลุยส์ เลอเคลร์

(2)       คาโรลัส ลินเน่ (3) กาลิเลโอ    (4) เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 2 หน้า 29 – 30 คาโรลัส ลินเน่ (Carolus Linnaeus) ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการจำแนกพืช และสัตว์ชื่อ Systema Naturae โดยได้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1758 ซึ่งนับว่าเป็น ผลงานที่ทำให้ลินน่มีชื่อเสียงอย่างมากเพราะเขาได้จำแนกพืชและสัตว์ออกเป็นกลุ่ม ๆ อย่างเป็นระบบ จนก่อให้เกิดคำกล่าวขวัญที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้นบนโลก ส่วนลินเน่เป็นผู้จัดจำแนกอย่างเป็นระบบ

Advertisement