21.       ผู้ที่ค้นพบระบบ ABO เป็นคนแรก คือใคร

Advertisement

(1) ลินเน่          

(2) ชาร์ลส์ ดาร์วิน        

(3) โธมัส ฮักช์เล่ห์ 

(4) คาร์ล แลนด์สไตเนอร์

ตอบ 4 หน้า 109 ในบี ค.ศ. 1900 คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) ได้ค้นพบการจัดจำแนก กลุ่มเลือดของมนุษย์ตามระบบ ABO (ABO System) ซึ่งถือเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับกัน อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทยด้วย

22.       หลุยส์ เฮนรี่ มอร์แกน ให้ความสนใจศึกษาวิเคราะห์วัฒนธรรมของชาวอินเดียนแดงเผ่าอะไร

(1) ออริกาโน    

(2) อิรอข่อย     

(3) โอดูแวน     

(4) อาชูเลส

ตอบ 2 หน้า 139 หลุยส์ เฮนรี่ มอร์แกน ได้ศึกษาวิเคราะห์วัฒนธรรมของชาวอินเดียนแดงเผ่าอิรอข่อย โดยเน้นพิจารณาในแงการทำมาหาเลี้ยงชีพ โครงสร้างทางการเมือง ภาษา ครอบครัว ความเชื่อ และศาสนา ลีลาชีวิตที่อยู่ในครัวเรือน ศิลปะและสถาปัตยกรรม แสะการถือครองทรัพย์สิน

23.       ใครคือผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับตำนานของไทยอย่างละเอียด

(1) ชาร์ล ไคน์  

(2) ไมเคิล คาราแวน    

(3) อานันท์ กาญจนพันธุ์ 

(4) ชนัญ วงษ์วิภาค

ตอบ 3 หน้า 2 ดร.อาน้นห์ กาญจนพันธุ นักมานุษย์วิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษา เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานของไทยอย่างละเอียด และกล่าวว่าตำนานได้ให้ภาพความรู้ทาง ประวัติศาสตร์พื้นนเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำนานพระยาเจือง ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานจามเทวีวงศ์ ซึ่งตำนานพื้นเมืองเหล่านี้เขียนเป็น ภาษาบาลี ยกเว้นตำนานมูลศาสนาที่เขียนขึ้นเป็นภาษาไทยเหนือ (ไทยยวน)

24.       ดีเรก ฟรีแมน ได้ทำการศึกษาความเป็นอยู่ของชาวอีบานที่อาศัยอยู่บนเกาะอะไร

(1) ชามัว          (2) อบอร์ริจิน   (3) บอร์เนียว   (4) ซาราวัค

ตอบ 4 หน้า 160 ดีเรก ฟรีแมน ได้ทำการศึกษาความเป็นอยู่ของชนเผ่าอีบานที่อาศัยอยู่บนหมู่เกะ ซาราวัค ซึ่งเป็นสังคมที่มีการปลูกพืชไร่ด้วยการทำไร่เลื่อนลอยหรือการถางป่าแล้วเผาให้ที่ดิน แถบไหลเขาโล่งเตียน เพื่อใช้ในการเพาะปลูก

25.       โรนอลด์ แฟรงกินเบอร์ได้ทำการศึกษาที่ชุมชนใดในประเทศอังกฤษ

(1)       แอชตัน           (2) กลอสสอบ (3) ฮานูน         (4) นอร์โฟค

ตอบ 2 หน้า 161 โรนอลด์ แฟรงกินเบอร์ ได้ทำการศึกษาชุมชนกลอสสอบในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นสังคมเมืองอุตสาหกรรมเล็ก ๆ ที่ผลิตผ้าฝ้ายเป็นหลัก โดยนระหว่างปี ค.ศ. 1900 ถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 อุตสาหกรรมผ้าผ่ายของเมืองนี้ก็ได้ถึงจุดขยายตัวสูงสุด

26.       อิกสู” คืออะไร        

(1) ชนเผ่าหนึ่งในแอฟริกาใต้

(2)       ซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์     (3) ที่อยู่อาศัยของชาวไซบีเรีย (4) วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยน

ตอบ 3 หน้า 163 ที่อยูอาศัยชองชาวไซบีเรียและเอสกิโมนั้น มักจะสร้างด้วยนํ้าแฃ็งที่เรียกกันในหมู่เอสกิโมว่า อิกลู” ซึ่งลักษณะการสร้างที่พักอาศัยแบบนึ่เหมาะกับสภาพอากาศ ที่หนาวจัดเท่านั้น

27.       ชาวอินเดียนแดงเผ่าควาคิตอล มีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบบใด

(1)       กุลา    (2) พอทแลทช (3) อิกสู           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 173351 ประเพณีหรือวัฒนธรรมพอทแลทชของอินเดียนแดงเผ่าควาคิตอล จะมีการ แลกเปลี่ยนด้วยการเชิญไปกินเลี้ยงและให้ของขวัญในงานวันพิเศษ โดยเฉพาะในวันที่มีการ เปลี่ยนแปลงสถานภาพของชีวิตหรือที่เรียกว่า พิธีผ่านภาวะ (Rites De Passage) เช่น วันเกิด วันเริ่มเข้าสู่วัยสาว วันแต่งงาน และวันตาย ซึ่งงานเลี้ยงจะกระทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และ ความร่ำรวยของเจ้าภาพ โดยหลังงานเลี้ยงจะมีการทำลายข้าวของ ภาชนะที่ใส่อาหาร หรือเครื่องครัว เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพ ขณะเดียวกันแขกที่ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยงก็ต้องเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยง เพื่อตอบแทนเจ้าภาพเดิม และทำลายข้าวของให้เท่ากับหรือมากกว่างานที่เคยได้รับเชิญไป

28.       เรื่องราวเกี่ยวกับนิยายปรัมปราของชาวเขาเผ่าเย้าที่ได้ยกมาให้เห็นในหนังสือ มานุษยวิทยาเบื้องต้น(AN 113) เป็นตัวอย่างที่ต้องการชี้ให้เห็นอะไร      

(1) ความเชื่อของชาวเขาเผ่าเย้า

(2)       การนับถือเทพเจ้า (3) ความเชื่อของการกำเนิดของมนุษย์     (4) วัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าเย้า

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

29.       ตำนานใดเป็นตำนานที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชนแต่ละกลุ่มของไทยเรา

(1) สุวรรณโคมคำ        (2) สิงหนวัติกุมาร        (3) เมืองเงินยางเชียงแสน       (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 2 ตำนานที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชนแต่ละกลุ่มของไทยเรา ได้แก่ ตำนานสุวรรณโคมคำ ตำนานสิงหนวัติกุมาร และตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นตำนานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของชาวล้านนาโบราณที่กล่าวถึงความสำคัญของลุ่มแม่น้ำกก

30.       คนในสมัยโบราณมักจะทำการจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมของตนและความสัมพันธ์กับคนต่างกลุ่มในรูปแบบใด

(1) ตำนาน       (2) สารคดี       (3) พงศาวดาร (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 2 เมื่อคนตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นปึกแผ่นแล้วก็จะมีการจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในสังคมของตนเองและความสัมพันธ์กับชนต่างกลุ่มในรูปของตำนาน สารคดี และพงศาวดาร ซึ่งในกรณีของตำนานนั้นเป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นข้อเขียนที่เกิดมีขึ้นมาช้านานแล้ว

Advertisement