31.       ตำนานเหล่านี้ ตำนานใดที่ไม่ได้เขียนเป็นภาษาบาลี

(1) มูลศาสนา  

Advertisement

(2) จามเทวีวงศ์ 

(3) เมืองเงินยางเชียงแสน     

(4) พื้นเมืองเชียงใหม่

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

32.       ข้อใดที่ถือว่าเป็นการเปิดโฉมหน้าของการศึกษาสาขาวิชามานุษยวิทยาของไทยอย่างแท้จริง

(1) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่   

(2) ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

(3)       งานเขียนของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน 

(4) พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน

ตอบ 4 หน้า 3-4 งานเขียนเรื่องราวของชนต่างชาติที่ได้รับความสนใจแพร่หลายที่สุด คือ พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่ง ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2449 – 2450 โดยพระองศ์ทรงเขียน เป็นพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย) จำนวน 43 ฉบับ ทั้งนี้ถือว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นการเปิดโฉมหน้าของ การศึกษาสาขามานุษยวิทยาของไทยโดยแท้

33.       วิชามานุษยวิทยา มีขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับอะไร

(1) วิวัฒนาการของมนุษย์       

(2) ความแตกต่างระหว่างมนุษย์ยุคปัจจุบัน

(3)       ผลงานที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์           

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 6 – 7 วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ ในทุกแง่ทุกมุม โดยมีขอบเขตการศึกษา ดังนี้ 1. การศึกษาเกี่ยวกับตัวมนุษย์ ได้แก่ การวิวัฒนาการของมนุษย์ และความแตกต่างระหว่างมนุษย์ยุคปัจจุบัน 2. การศึกษาผลงาน ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์

34.       แนวการศึกษาแบบ ชีววัฒนธรรม” จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์เกี่ยวกับอะไร

(1) วิวัฒนาการทางชีวภาพ      (2) วิวัฒนาการของสิ่งแวดล้อม

(3)       วิวัฒนาการของวัฒนธรรม       (4) การวิวัฒนาการของมนุษย์-สิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรม

ตอบ หน้า 1315 แนวการศึกษาแบบ ชีววัฒนธรรม” (Biocultural Approach) ของนักมานุษยวิทยา จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ระหว่างการวิวัฒนาการทางชีวภาพของ มนุษย์-สิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์ อย่างสมบูรณ์

35.       ศิลปะ จำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้กี่ประเภท

(1) 3 ประเภท  (2) 4 ปรเภ๓ท (3) 5 ประเภท  (4) 6 ประเภท

ตอบ. 1 หน้า 245 ผลงานทางด้านศิลปะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ศิลปกรรม (การปั้น กราฟิก พลาสติก งานไม้ และงานวัตถุอื่น ๆ) 2. ศิลปะทางด้านภาษา 3. ศิลปะการแสดง

36.       ลักษณะของอะไรที่ใช้ในการสื่อความหมายต่อกัน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้การดำเนินชีวิต ในสังคมบรรลุผล

(1) ศิลปกรรม  (2) ภาษา         (3) ศิลปะการแสดง     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 248 ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมีระบบโดยสมาชิกของคนในสังคม เพื่อใช้ในการสื่อความหมายต่อกัน โดยภาษาก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และทำให้การดำเนินชีวิต ในสังคมบรรลุผล นอกจากนี้ภาษายังมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยอีกด้วย

37.       พีระมิดของชาวอียิปต์โบราณมีลักษณะคล้ายคลึงกับพีระมิดของชนเผ่าอะไร

(1) อบอร์ริจิน   (2) แอชเทค     (3) ซามัว          (4) อิรอข่อย

ตอบ 2 หน้า ใ40, (คำบรรยาย) นักวิชาการสาขาวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่งมองว่า รูปแบบวัฒนธรรมที่ ปรากฏขึ้นเป็นผลมาจากการแพร่กระจายมาจากสังคมอื่น (Diffusionism) โดยได้มุ่งศึกษา เรื่องการกระจายวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปยังสังคมอีกแห่งหนึ่ง และมีการสันนิษฐานว่า การสร้างพีระมิดซองชาวมายาและชาวแอซเทคไนทวีปอเมริกาใต้น่าจะเป็นผลมาจากการกระจาย วัฒนธรรมไปจากชาวอียิปต์โบราณ เนื่องจากพีระมิดของชาวอียิปต์โบราณมีลักษณะคล้ายคลึง กับพีระมิดของชาวมายาและชาวแอซเทคนั่นเอง

38.       ใครคือผู้ที่สอนให้ลูกศิษย์ทำหน้าที่เสมือน กล้องถ่ายรูป

(1) ฟรานช์ โบแอส (2) เอ็ดเวอร์ด ไทเลอร์        (3) อัลเฟรด เรดคลิฟ-บราวน์ (4) รูธ เบนเนดิกท์

ตอบ 1 หน้า 256 – 257 ฟรานช์ โบแอส (Franz Boas) นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน ได้เรียกร้อง ให้นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมทำหน้าที่เป็นเพียง นักชาติพันธุ์วรรณา” โดยให้ความสนใจ ในการสร้างเครื่องมือการวิจัยเพี่อนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม และขณะที่ เขาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนวิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เขาก็ได้ พรํ่าสอนลูกศิษย์ให้ทำหน้าที่เสมือนเป็น กล้องถ่ายรูป” ในการจับภาพวัฒนธรรมของสังคม แต่ละสังคมด้วย

39.       นักมานุษยวิทยาท่านหนึ่งได้สอนให้ลูกศิษย์ทำหน้าที่เสมือน กล้องถ่ายรูป” เพื่อเหตุผลอะไร

(1)       เก็บภาพต่าง ๆ ไว้ดูในอนาคต            (2) เพื่อจับภาพวัฒนธรรมของสังคม

(3) เพื่อประหยัดเวลาในการบันทึกข้อมูล        (4) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการทำงานในภาคสนาม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40.       อัลเฟรด เรดคลิฟ-บราวน์มีความสนใจในด้านใดอย่างมาก   

(1) โครงสร้างของวัฒนธรรม

(2)       โครงสร้างของการพัฒนาชนบท

(3) โครงสร้างการบริหารงาน

(4) โครงสร้างทางสังคม

ตอบ 4 หน้า 258 – 259 อัลเฟรด เรดคลิฟ-บราวน์ (Alfred R. Radcliffe-Brown) เรียกตัวเองว่า เป็นนักทฤษฎีหน้าที่ประโยชน์นิยม แต่ความสนใจของเขายังได้เน้นถึงความสำคัญของ โครงสร้างทางสังคม” ควบคู่ไปด้วย ดังนั้นเขาจึงได้รับการยอมรับในนามของผู้ก่อตั้งทฤษฎี โครงสร้าง-หน้าที่ประโยชน์นิยม (Structural-Functionalism)

Advertisement