LAW3012 กฎหมายปกครอง S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012  กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หลักการกระจายอํานาจปกครอง หมายถึงอะไร การกระจายอํานาจปกครองมีกี่วิธี และการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินโดยการกระจายอํานาจปกครองนั้นมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ขอให้อธิบายมา โดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง หมายถึง หลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยส่วนกลาง จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่น ซึ่งไม่ใช่องค์กรของส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เช่น การมอบอํานาจ ปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําบริการสาธารณะด้วยตนเอง โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ ในความบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของส่วนกลาง

ตามหลักการกระจายอํานาจปกครองนั้น ได้มีการจําแนกวิธีกระจายอํานาจปกครองได้ 2 วิธี คือ

1 การกระจายอํานาจปกครองตามอาณาเขต หรือการกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่น เป็นวิธีการกระจายอํานาจให้แก่ส่วนท้องถิ่น โดยให้ส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาแยกต่างหากจากส่วนกลาง และให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น แล้วส่วนกลางก็จะมอบอํานาจให้องค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นไปดําเนินจัดทํากิจการบริการสาธารณะ ตามอํานาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้ โดยจะมีการกําหนดขอบเขตหรือพื้นที่ไว้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นก็จะไปจัดทํา กิจการนอกเขตหรือนอกพื้นที่ที่กําหนดไว้ไม่ได้ นอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยเฉพาะ

วิธีกระจายอํานาจปกครองวิธีนี้เป็นวิธีกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่นโดยการ มอบบริการสาธารณะหลาย ๆ อย่างให้แก่ท้องถิ่นไปจัดทําโดยเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง และด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการส่วนรวมของประชาชน ในท้องถิ่นนั้น ๆ

ตัวอย่างของการกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือทางพื้นที่ ได้แก่ เทศบาล องค์การ บริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีฝ่ายบริหารและ ฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง และสามารถดําเนินการบริการสาธารณะได้โดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา แต่อยู่ภายใต้อํานาจกํากับดูแลของส่วนกลาง

2 การกระจายอํานาจตามกิจการ เป็นวิธีกระจายอํานาจ โดยการที่ส่วนกลางจะมอบบริการ สาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวให้แก่องค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยมิได้อยู่ในสังกัดของส่วนกลาง ได้แก่ องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน รับไปดําเนินงานด้วยเงินทุนและด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์การนั้น ๆ เช่น การมอบอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถไฟทั่วทั้งประเทศให้แก่องค์การของรัฐคือการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือการมอบอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการจําหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

ข้อดีของหลักการกระจายอํานาจปกครอง

1 ทําให้มีการสนองตอบต่อความต้องการเฉพาะในแต่ละท้องถิ่นได้ดี

2 เป็นการแบ่งเบาภาระของราชการบริหารส่วนกลางในกิจการเกี่ยวกับท้องถิ่นโดยเฉพาะไปได้มาก

3 การเลือกตั้งเจ้าหน้าที่จากราษฎรในท้องถิ่นนั้นเอง ทําให้ผู้ได้รับเลือกตั้งมีความสนใจในการปกครองท้องถิ่นและได้เรียนรู้วิธีการปกครองดีขึ้น โดยรู้จักสํานึกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสียของหลักการกระจายอํานาจปกครอง

1 ถ้ากระจายอํานาจปกครองมากเกินไป อาจกระทบต่อความเป็นเอกภาพในการปกครองประเทศได้

2 ทําให้ราษฎรในท้องถิ่นเห็นประโยชน์ของท้องถิ่นของตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

3 เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอาจใช้อํานาจหน้าที่โดยไม่สมควรได้

4 การจัดระเบียบการปกครองตามหลักการกระจายอํานาจปกครองย่อมสิ้นเปลืองมากกว่าการจัดระเบียบการปกครองตามหลักการรวมอํานาจ เป็นต้น

 

 

ข้อ 2. ตามระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 120 ว่าด้วยการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2541 มิได้มีข้อกําหนดใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ถูกสอบสวนในการมี ทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในกระบวนการสอบสวนแต่อย่างใด นายแดงเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟ ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดระเบียบของการรถไฟที่มาทํางานสายเป็นประจํา นายแดงจึงมาปรึกษา ท่านว่าหากนายแดงจะขอให้มีทนายความเข้ามาในกระบวนการสอบสวนตนดังกล่าวจะกระทําได้ หรือไม่ ท่านจะให้ความเห็นแก่นายแดงในเรื่องนี้อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 3 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กําหนด ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกําหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ํากว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กําหนด ในกฎหมาย”

มาตรา 23 “ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้

การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้บัญญัติ ให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะนําทนายความเข้ามาในกระบวนการพิจาณาทางปกครองของตนได้นั้น ถือเป็นหลักประกัน ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีอย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิได้มีข้อกําหนดใดที่ให้สิทธิ แก่ผู้ถูกสอบสวนในการมีทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในกระบวนการสอบสวน ระเบียบดังกล่าวจึงมีหลักเกณฑ์ ที่ประกันความเป็นธรรมต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ฉะนั้นการสอบสวนความผิดวินัยของการรถไฟ แห่งประเทศไทยจึงต้องนํามาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. วิธี ปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กล่าวคือ นายแดงสามารถขอให้มีทนายความเข้ามาในกระบวนการสอบสวนตน ดังกล่าวได้

สรุป ข้าพเจ้าจะให้ความเห็นแก่นายแดงดังที่อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 3. คนงานของเทศบาลแห่งหนึ่งได้ทําการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล และได้ทําการขุดถนนดังกล่าวโดยไม่ได้ปิดหลุมอีกทั้งไม่ได้ปักป้ายให้สัญญาณไว้ นายดําขับรถมาในเวลากลางคืนขับรถตกหลุม ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์เป็นอย่างมาก ในกรณีเช่นนี้นายดําจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก เทศบาลได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครองหรือคําสั่งอื่น หรือ จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) กรณีที่จะถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทําละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเรียกว่า “ละเมิดทางปกครอง” และจะเป็นคดี ที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้ คือ

1 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ

2 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 กรณีดังต่อไปนี้ คือ

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมาย

(2) การออกกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่น

(3) การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ

(4) การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่คนงานของเทศบาลได้ทําการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล และคนงาน ของเทศบาลได้ทําการขุดหลุมโดยไม่ได้ปิดหลุม ทั้งไม่ได้ปักป้ายให้สัญญาณไว้จนเป็นเหตุให้นายดําได้ขับรถตกหลุม ดังกล่าวนั้น การกระทําของเทศบาลไม่ถือว่าเป็นการละเมิดเนื่องจากการใช้อํานาจตามกฎหมายหรือการละเลยต่อ หน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด และไม่ใช่เป็นการละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีอื่น ๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เป็นการละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ทั่ว ๆ ไปของเทศบาล ซึ่งไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณี จึงไม่ใช่เป็นการกระทําละเมิดทางปกครอง ดังนั้นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองที่จะรับไว้ พิจารณา นายดําจึงต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทําละเมิดทางแพ่งของเทศบาลต่อศาลยุติธรรม

สรุป นายดําจะต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเทศบาลเป็นคดีแพ่งต่อศาลยุติธรรม เพราะ ข้อพิพาทดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา

 

 

ข้อ 4. นายเขียวเคยสมัครสอบเข้าเป็นพนักงานในองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งหนึ่ง แต่ถูกจับได้ว่ามีการทุจริตในการสอบจึงถูกตัดสิทธิในการสอบครั้งนั้น ต่อมาทางกระทรวงสาธารณสุขเปิดรับสมัคร บุคคลเข้ารับราชการ นายเขียวจะมาสมัครเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 36 ข. (11) “ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และ ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ข. ลักษณะต้องห้าม

(11) เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานใน หน่วยงานของรัฐ”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวเคยสมัครสอบเข้าเป็นพนักงานในองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และนายเขียวถูกจับได้ว่ามีการทุจริตในการสอบจึงถูกตัดสิทธิในการสอบครั้งนั้น ย่อมถือว่า นายเขียวเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (11) แล้ว ดังนั้น เมื่อต่อมาทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ นายเขียวจึงไม่สามารถที่จะมาสมัครเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ดังกล่าวได้

สรุป นายเขียวจะมาสมัครเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่ได้

LAW3012 กฎหมายปกครอง 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. (ก) ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น หากเจ้าหน้าที่ออกคําสั่งทางปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายไปแล้วต่อมาจะเพิกถอนคําสั่งดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

(ข) ในการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 นั้นมีกี่วิธีขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

(ก) ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 53 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า คําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งอาจเพิกถอนคําสั่งดังกล่าวในภายหลังได้ แต่ต้อง อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ คือ

1 ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่ง ทางปกครอง อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใด ขณะหนึ่งตามที่กําหนดได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่คงต้องทําคําสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาทํานองเดียวกันนั้นอีก หรือเป็น กรณีที่การเพิกถอนไม่อาจกระทําได้เพราะเหตุอื่น ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงประโยชน์ของบุคคลภายนอกประกอบด้วย

2 ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่ง ทางปกครอง อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคตไปถึง ขณะใดขณะหนึ่งตามที่กําหนดได้ เฉพาะเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้

(1) มีกฎหมายกําหนดให้เพิกถอนได้หรือมีข้อสงวนสิทธิ์ให้เพิกถอนได้ในคําสั่งทาง ปกครองนั้นเอง

(2) คําสั่งทางปกครองนั้นมีข้อกําหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการ ปฏิบัติภายในเวลาที่กําหนด

(3) ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ เช่นนี้ในขณะทําคําสั่งทางปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ทําคําสั่งทางปกครองนั้น และหากไม่เพิกถอนจะ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้

(4) บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมายเช่นนี้ในขณะทําคําสั่งทาง ปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ทําคําสั่งทางปกครองนั้น แต่การเพิกถอนในกรณีนี้ให้กระทําได้เท่าที่ผู้รับประโยชน์ ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือยังไม่ได้รับประโยชน์ตามคําสั่งทางปกครองดังกล่าว และหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิด ความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้

(5) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชน อันจําเป็นต้องป้องกันหรือขจัดเหตุดังกล่าว

ในกรณีที่มีการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองเพราะเหตุตาม (3) (4) และ (5) ผู้ได้รับประโยชน์มีสิทธิ ได้รับค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคําสั่งทางปกครองได้

3 ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินหรือ ให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลย้อนหลังหรือไม่มีผลย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กําหนดได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของคําสั่งทางปกครอง

(2) ผู้ได้รับประโยชน์มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดําเนินการให้เป็นไปตาม เงื่อนไขของคําสั่งทางปกครอง

(ข) ในการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แบ่งออก เป็น 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่

1 โดยวิธีการสอบแข่งขัน ตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ซึ่งกําหนดว่า

การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลําดับในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด

ผู้สมัครสอบแข่งขันในตําแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือ ได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งหรือได้รับ อนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62 ด้วย

2 โดยการคัดเลือก ตามมาตรา 55 ซึ่งกําหนดว่า

ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 อาจคัดเลือก บรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งโดยไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา 53 ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด

3 โดยการสรรหากรณีพิเศษ ตามมาตรา 56 ซึ่งกําหนดว่า

กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ชํานาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด

 

 

ข้อ 2. “บริการสาธารณะ” คืออะไร แบ่งได้เป็นกี่ประเภท จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา ธงคําตอบ

1 ความหมายของบริการสาธารณะ

บริการสาธารณะนั้นจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ

1) กิจกรรมที่ถือว่าเป็นบริการสาธารณะจะต้องเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลมหาชน ซึ่งหมายถึง กรณีที่นิติบุคคลมหาชนเป็นผู้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง อันได้แก่ กิจกรรมที่รัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ดําเนินการ และยังหมายความรวมถึงกรณีที่รัฐมอบกิจกรรมของรัฐบางประเภท ให้เอกชนเป็นผู้ดําเนินการแทนด้วย

2) กิจกรรมดังกล่าวในข้อ 1) จะต้องเป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ และตอบสนองความต้องการของประชาชน

2 ประเภทของบริการสาธารณะ

บริการสาธารณะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ บริการสาธารณะทางปกครอง บริการ สาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม และบริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม

1) บริการสาธารณะทางปกครอง

บริการสาธารณะทางปกครอง คือ กิจกรรมที่โดยสภาพแล้วเป็นงานในหน้าที่ของฝ่าย ปกครองที่จะต้องจัดทําเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชน กิจกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการดูแล ความปลอดภัยและความสงบสุขของชุมชน บริการสาธารณะประเภทนี้ฝ่ายปกครองต้องอาศัยอํานาจพิเศษตาม กฎหมายมหาชนในการจัดทํา

บริการสาธารณะทางปกครองส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดทําให้ประชาชนโดยไม่ต้อง เสียค่าตอบแทน และนอกจากนี้ เนื่องจากเนื้อหาของบริการสาธารณะทางปกครองจะเป็นเรื่องที่เป็นหน้าที่เฉพาะ ของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษในการจัดทํา รวมทั้งอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองในการจัดทําบริการ สาธารณะด้วย ดังนั้นบริการสาธารณะประเภทนี้ ฝ่ายปกครองจึงไม่สามารถมอบให้องค์กรอื่นหรือเอกชนเข้ามา ดําเนินการแทนได้

บริการสาธารณะทางปกครองจะได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบภายใน การป้องกันประเทศ และการคลัง เป็นต้น

– 2) บริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม คือ บริการสาธารณะที่เน้น ทางด้านการผลิตสินค้า การจําหน่ายสินค้า การให้บริการ และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับดังเช่นกิจการ ของเอกชน ซึ่งการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนี้จะมีวิธีปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นมาเอง เพื่อให้ เกิดความคล่องตัวในการดําเนินการ และเงินทุนส่วนใหญ่มาจากค่าตอบแทนการบริการจากผู้ใช้บริการ เช่น การเดิน รถโดยสารประจําทาง การให้บริการที่เป็นสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ การผลิตและจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิง เป็นต้น

3) บริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม คือ บริการสาธารณะที่เป็นการให้บริการ ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ต้องการความอิสระคล่องตัวในการทํางานโดยไม่มุ่งเน้นการหากําไร เช่น การแสดงนาฏศิลป์ พิพิธภัณฑ์ การกีฬา การศึกษาวิจัย ฯลฯ

 

 

ข้อ 3. การกระจายอํานาจทางบริการ คืออะไร แตกต่างจากการกระจายอํานาจทางเขตแดนอย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“การกระจายอํานาจ” คือ รูปแบบหนึ่งของการปกครองซึ่งรัฐถ่ายโอนอํานาจทางปกครอง บางส่วนให้นิติบุคคลมหาชนอื่นนอกจากรัฐ เพื่อจัดทําบริการสาธารณะบางอย่างได้เอง โดยมีความอิสระทางปกครอง และทางการคลัง ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐบาลกลาง เพียงแต่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐบาลส่วนกลาง เท่านั้น ซึ่งการจัดองค์กรของรัฐรูปแบบนี้มี 2 ประเภท คือ

การว่างจากงาน “การกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือทางพื้นที่” คือ การที่รัฐมอบบริการสาธารณะบางอย่าง ที่มิใช่บริการสาธารณะระดับชาติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทํา ซึ่งการจัดทําบริการสาธารณะจะถูกจํากัด ขอบเขตโดยพื้นที่หรืออาณาเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ในท้องที่นั้น ๆ การบริหารงานลักษณะนี้ เรียกว่า “การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น”

ตัวอย่างของการกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือทางพื้นที่ ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีฝ่ายบริหารและ ฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง และสามารถดําเนินการบริการสาธารณะได้โดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา แต่อยู่ภายใต้อํานาจกํากับดูแลของส่วนกลาง

ส่วน “การกระจายอํานาจทางบริการหรือทางเทคนิค” คือการที่รัฐมอบบริการสาธารณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เช่น เรื่องของการไฟฟ้า การประปา การโทรศัพท์ เป็นต้น หรือบริการสาธารณะเฉพาะด้าน ได้แก่ บริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็น บริการสาธารณะที่เป็นการให้บริการโดยไม่มีการมุ่งเน้นหากําไร เช่น เรื่องของกีฬา การศึกษาวิจัย หรือการแสดง นาฏศิลป์ เป็นต้น ให้แก่องค์กรนิติบุคคลมหาชนที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น ซึ่งมิได้อยู่ในระบบราชการเป็นผู้จัดทําและ ดําเนินการแทนรัฐ โดยให้องค์กรเหล่านั้นมีอิสระในการดําเนินงานได้เอง รัฐเพียงแต่กํากับดูแลการดําเนินงาน ขององค์กรนิติบุคคลนั้น

องค์กรที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทําและดําเนินการบริการสาธารณะแทนรัฐดังกล่าว ได้แก่ องค์กร นิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นในรูปของ “รัฐวิสาหกิจ” หรือ “องค์การมหาชน” นั่นเอง ซึ่งจะกําหนดขึ้นในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับกิจการ วัตถุประสงค์และการบริหารงาน โดย

1 ถ้าเป็นการกระจายอํานาจให้จัดทําบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม องค์กรนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นควรเป็นในรูปของรัฐวิสาหกิจ

2 ถ้าเป็นการกระจายอํานาจให้จัดทําบริการสาธารณะเฉพาะด้าน (บริการสาธารณะทาง สังคมและวัฒนธรรม) นิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นควรเป็นในรูปขององค์การมหาชน

วิธีการกระจายอํานาจทางบริการ จะแตกต่างกับวิธีการกระจายอํานาจทางเขตแดนตรงที่ว่า การกระจายอํานาจทางบริการนั้น ส่วนกลางจะมอบอํานาจให้องค์การต่างๆ ไปจัดทําบริการสาธารณะเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งโดยหลักจะไม่มีการกําหนดอาณาเขตหรือพื้นที่ไว้ แต่การกระจายอํานาจทางเขตแดนนั้น ส่วนกลางจะมอบอํานาจในการจัดทําบริการสาธารณะหลายๆ อย่างให้แก่องค์กรส่วนท้องถิ่นไปดําเนินการ โดย จะมีการกําหนดอาณาเขตหรือพื้นที่ไว้ด้วย และการกระจายอํานาจทางบริการจะไม่ถือการเลือกตั้งผู้บริหารเป็นเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์กรที่ได้รับการกระจายอํานาจ ซึ่งต่างจากการกระจายอํานาจทางเขตแดนที่ผู้บริหารต้อง มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

 

 

ข้อ 4. เทศบาลฯ ได้มีคําสั่งเป็นหนังสือให้นายแดงปลัดเทศบาลฯ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหนึ่งหมื่นบาท กรณีรับผิดทางละเมิดแก่เทศบาลฯ ภายใน 45 วัน หลังจากพ้นกําหนดอุทธรณ์คําสั่งฯ นายแดงได้ ตรวจพบใหม่ว่าในการพิจารณาคําสั่งฯ ของเทศบาลฯ มิได้หยิบยกพยานเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งมีอยู่ ในสํานวนและเป็นพยานหลักฐานที่สําคัญยิ่งขึ้นมาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยเพื่อออกคําสั่งฯ แต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นคําสั่งฯ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ภายใน 20 วันหลังจากการตรวจพบดังกล่าว นายแดงจึงได้ยื่นหนังสือขอให้เทศบาลฯ พิจารณาทบทวนคําสั่งฯ ใหม่ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่านายแดง จะขอให้เทศบาลฯ พิจารณาทบทวนคําสั่งฯ ใหม่ในกรณีนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากจนถึง เวลานี้ได้ล่วงเลยมาเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้วเทศบาลฯ ก็ได้ละเลยมิได้มีหนังสือชี้แจงหรือวินิจฉัยและ – แจ้งให้นายแดงทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนี้หากนายแดงประสงค์จะยื่นฟ้องเทศบาลฯ ใน

กรณีนี้เป็นคดีต่อศาลปกครอง ศาลปกครองมีอํานาจที่จะรับฟ้องไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 54 “เมื่อคู่กรณีมีคําขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งทางปกครองที่ พ้นกําหนดอุทธรณ์ ตามส่วนที่ 5 ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทําให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปใน สาระสําคัญ

การยื่นคําขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทําภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้ พิจารณาใหม่ได้”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 49 “การฟ้องคดีปกครอง จะต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึง เหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจาก หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับแต่เป็นคําชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผลแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีบทกฎหมายเฉพาะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัย มีดังนี้ คือ ประเด็นที่ 1 นายแดงจะขอให้เทศบาลฯ พิจารณาทบทวนคําสั่งฯ ใหม่ในกรณีนี้ได้หรือไม่

การที่นายแดงได้ยื่นหนังสือขอให้เทศบาลฯ พิจารณาทบทวนคําสั่งฯ ใหม่ โดยอ้างว่าคําสั่งของ เทศบาลฯ ที่ให้ตนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นคําสั่งฯ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากนายแดงได้ตรวจพบใหม่ว่า ในการพิจารณาคําสั่งฯ ของเทศบาลฯ มิได้หยิบยกพยานเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งมีอยู่ในสํานวนและเป็นพยานหลักฐาน ที่สําคัญยิ่งขึ้นมาประกอบการวินิจฉัยเพื่อออกคําสั่งฯ แต่อย่างใดนั้น

กรณีดังกล่าว แม้ว่านายแดงจะได้ยื่นคําขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 90 วันก็ตาม แต่พยานเอกสาร หลักฐานดังกล่าวก็ไม่ใช่ “พยานหลักฐานใหม่” ตามมาตรา 54 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้เพราะพยานหลักฐานดังกล่าวถือเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสํานวนอยู่แล้ว แม้พยานหลักฐาน นั้นเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาทางปกครองมิได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยประกอบการออกคําสั่งทางปกครองก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่ แต่เป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและเป็นการให้เหตุผล ในการทําคําสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ ดังนั้น นายแดงจะขอให้เทศบาลฯ พิจารณาทบทวนคําสั่งฯ ใหม่ในกรณีนี้

ประเด็นที่ 2 หากนายแดงยื่นฟ้องเทศบาลฯ ในกรณีนี้เป็นคดีต่อศาลปกครอง ศาลปกครอง จะรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาได้หรือไม่

ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ กําหนดว่า ในการฟ้องคดีปกครองจะต้องยื่นคําฟ้องภายใน 90 วันนับแต่วันที่พ้นกําหนด 90 วันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดี ได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจง จากหน่วยงานทางปกครอง

แต่กรณีดังกล่าว การที่นายแดงได้มีหนังสือร้องขอต่อเทศบาลฯ ให้พิจารณาคําสั่งดังกล่าวใหม่ และยังไม่ได้รับหนังสือชี้แจงหรือวินิจฉัยในกรณีนี้จากเทศบาลฯ นั้น เป็นเวลาเพียงหนึ่งเดือนยังไม่พ้นกําหนด 90 วัน จึงเป็นกรณีที่นายแดงมิได้ยื่นฟ้องคดีตามระยะเวลาการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้น ศาลปกครองจะรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป

นายแดงจะขอให้เทศบาลฯ พิจารณาทบทวนคําสั่งฯ ใหม่ในกรณีนี้ไม่ได้

หากนายแดงยื่นฟ้องเทศบาลฯ ในกรณีเป็นคดีต่อศาลปกครอง ศาลปกครองไม่มีอํานาจ รับฟ้องไว้พิจารณา

LAW3012 กฎหมายปกครอง 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. (ก) ในการออกคําสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้นเจ้าหน้าที่จะกําหนดเงื่อนไขได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

(ข) นาย ก. เป็นข้าราชการพลเรือนรับราชการในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ต่อมานาย ก. ได้ไปทําการลักทรัพย์บุคคลอื่นและถูกศาลตัดสินลงโทษจําคุก หากท่านเป็นผู้บังคับบัญชาของนาย ก. ท่านจะต้องดําเนินการกระบวนการทางวินัยตลอดจนลงโทษนาย ก. อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

(ก) ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 39 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า ในการ ออกคําสั่งทางปกครองนั้น เจ้าหน้าที่อาจจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จําเป็น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกําหนดข้อจํากัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น

ในการกําหนดเงื่อนไขนั้น ให้หมายความรวมถึงการกําหนดเงื่อนไขในกรณีดังต่อไปนี้ตาม ความเหมาะสมแก่กรณีด้วย

(1) การกําหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

(2) การกําหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ใน อนาคตที่ไม่แน่นอน

(3) ขอสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคําสั่งทางปกครอง

(4) การกําหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทําหรืองดเว้นกระทํา หรือต้องมีภาระหน้าที่หรือ ยอมรับภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกําหนดข้อความในการจัดให้มี เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มข้อกําหนดดังกล่าว

(ข) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 85 “การกระทําผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

(6) กระทําความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุก โดยคําพิพากษา ถึงที่สุดให้จําคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ

มาตรา 93 “ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา 91 ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็น ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคําชี้แจงของผู้ถูก กล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดําเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57

ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทําผิดตาม ข้อกล่าวหาให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําผิดตามข้อกล่าวหาให้ดําเนินการต่อไปตามมาตรา 96 หรือมาตรา 97 แล้วแต่กรณี”

มาตรา 97 “ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 93 วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอํานาจตามมาตรา 94 เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณีพิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.พ.

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่นาย ก. ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็น ความผิดอาญาและถูกศาลตัดสินลงโทษจําคุกซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ซึ่งถือว่า เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา 85 (6) ดังนั้นผู้บังคับบัญชาจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทําการ สอบสวนว่า นาย ก. ได้กระทําความผิดอาญาและถูกศาลตัดสินลงโทษจําคุกจริงหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการสอบสวน ดําเนินการเสร็จให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา (ตามมาตรา 93)

ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า นาย ก. ถูกศาลตัดสินลงโทษจําคุกในความผิดอาญาฐาน ลักทรัพย์จริง ซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งนาย ก. สังกัดอยู่แล้วแต่กรณีพิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติประการใดให้ผู้บังคับบัญชาสั่ง หรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น แต่ห้ามมิให้ลงโทษต่ํากว่าปลดออก (ตามมาตรา 97)

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับบัญชาของนาย ก. ข้าพเจ้าจะต้องดําเนินการกระบวนการทางวินัย ตลอดจนลงโทษนาย ก. ตามที่กล่าวไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 2. การจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและการจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นคืออะไร เหมือนกันหรือไม่ ถ้าไม่แตกต่างกันอย่างไร

ธงคําตอบ

“การจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค” คือการจัดองค์กรของรัฐ ทางปกครองโดยใช้หลักการรวมอํานาจแบบการกระจายการรวมศูนย์อํานาจการปกครอง หรือการแบ่งอํานาจ การปกครอง โดยมีการแบ่งเขตการปกครองประเทศออกเป็นจังหวัดและอําเภอ แล้วรัฐบาลในส่วนกลางจะมอบ อํานาจในการตัดสินใจหรือในการสั่งการในทางปกครองในบางเรื่องบางระดับให้แก่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ซึ่ง เป็นตัวแทนของส่วนกลางที่ถูกส่งออกไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาคทั่วราชอาณาจักรเพื่อจัดทําบริการสาธารณะ ตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่รัฐบาลส่วนกลางหรือผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังอยู่ ภายใต้บังคับบัญชาตามลําดับของรัฐบาลส่วนกลาง

สําหรับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทยนั้น เป็นไปตามกฎหมายดังนี้คือ

1 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งได้กําหนดให้ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอําเภอ

2 ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ซึ่งกําหนดให้ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นตําบลและหมู่บ้าน

“การจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” คือการจัดองค์กรของรัฐ ทางปกครองโดยใช้หลักการกระจายอํานาจทางปกครองและเป็นการกระจายอํานาจในทางเขตแดนหรือในทางพื้นที่ โดยที่รัฐจะมอบความเป็นนิติบุคคลให้แก่ชุมชนในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดที่มีความพร้อมที่จะบริหารกิจการของตนเอง โดยการจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วรัฐบาลส่วนกลางก็จะกระจายอํานาจหรือถ่ายโอนภารกิจหรือบริการ สาธารณะบางส่วนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดําเนินการแทนรัฐ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้น มีอํานาจหน้าที่เป็นของตนเอง มีรายได้เป็นของตนเอง และมีองค์กรในการบริหารงานเป็นของตนเอง เพียงแต่ ยังคงอยู่ภายใต้อํานาจการกํากับดูแลของส่วนกลาง

สําหรับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยนั้น มีอยู่ 2 ระบบ ได้แก่

1 ระบบทั่วไป ที่ใช้แก่ท้องถิ่นทั่วไป ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

(1) เทศบาล ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

(2) องค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ

(3) องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

2 ระบบพิเศษ ที่ใช้เฉพาะท้องถิ่นบางแห่ง ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

(1) กรุงเทพมหานคร ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และ

(2) เมืองพัทยา ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542

 

 

ข้อ 3. “นิติกรรมทางปกครอง” คืออะไร จะต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง “ปฏิบัติการทางปกครอง” คืออะไร แตกต่างจาก “นิติกรรมทางปกครอง” อย่างไร

ธงคําตอบ

“นิติกรรมทางปกครอง” หมายถึง การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่น ของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่กระทําโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับดังเช่น พระราชบัญญัติแทน และในนามขององค์กรดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่ง หรือคณะบุคคลคณะหนึ่งว่าตนประสงค์จะให้เกิดผลทางกฎหมายเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างองค์กร ดังกล่าวกับบุคคลนั้นหรือคณะบุคคลนั้น โดยที่บุคคลนั้นหรือคณะบุคคลนั้นไม่จําเป็นต้องให้ความยินยอม

“นิติกรรมทางปกครอง” จะต้องประกอบด้วยลักษณะที่สําคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

(1) จะต้องเป็นการกระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่นของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่กระทําโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับดังเช่นพระราชบัญญัติแทนและในนาม ขององค์กรดังกล่าวเพื่อแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลคณะหนึ่ง

(2) การแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลคณะหนึ่งโดยองค์กร ดังกล่าว จะต้องเป็นการแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ดังนั้นจึงไม่รวมถึงการที่ องค์กรดังกล่าวประกาศความตั้งใจว่าจะกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือเพียงแต่ขอความร่วมมือหรือเตือนให้บุคคล หรือคณะบุคคลกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ขอให้งดจําหน่ายสุราในวันธรรมสวนะ หรือเตือนให้ยื่นคําขอต่อใบอนุญาต เป็นต้น

(3) ผลทางกฎหมายที่องค์กรดังกล่าวประสงค์จะให้เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาของตนนั้น คือการสร้างความสัมพันธ์ทางกฎหมายหรือนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมีอํานาจหรือมีสิทธิ เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่ง กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลจึงย่อมมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ ของบุคคลที่เป็นคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เช่น การที่ผู้บังคับบัญชาออกคําสั่งแต่งตั้งหรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารออกใบอนุญาต ให้บุคคลก่อสร้างอาคาร ย่อมมีผลเป็นการสร้างสิทธิหรือหน้าที่ให้แก่ผู้ได้รับคําสั่งดังกล่าว

(4) นิติสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องเป็นนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยเจตนาที่แสดงออกมาขององค์กร ของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่นของรัฐ หรือองค์กรเอกชนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็น คู่กรณีในนิติสัมพันธ์ดังกล่าวไม่จําต้องให้ความยินยอมแต่อย่างใด

ซึ่งจากลักษณะที่สําคัญของนิติกรรมทางปกครองดังกล่าว จึงเห็นได้ว่านิติกรรมทางปกครอง ย่อมเป็นนิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียวเสมอ

“ปฏิบัติการทางปกครอง” หมายถึง การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่น ของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่กระทําโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเช่น พระราชบัญญัติแทนและในนามขององค์กรดังกล่าวโดยที่การกระทํานั้นไม่ใช่ “นิติกรรมทางปกครอง” กล่าวคือ การกระทํานั้นขาดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของ “นิติกรรมทางปกครอง” ดังกล่าวแล้วข้างต้น

“ปฏิบัติการทางปกครอง” อาจเป็นการกระทําในกระบวนการพิจารณาเพื่อออกนิติกรรม ทางปกครองขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง เช่น การที่คณะกรรมการสอบสวนความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแจ้งข้อกล่าวหา ให้ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาทราบและให้โอกาสข้าราชการผู้นั้นในการแก้ข้อกล่าวหา หรืออาจเป็นการกระทําที่เป็น “มาตรการบังคับทางปกครอง” เพื่อให้การเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนิติกรรมทางปกครองที่ได้มีการออกมาใช้ บังคับก่อนหน้านั้นแล้ว เช่น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารเข้าดําเนินการรื้อถอน อาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนกฎหมาย หลังจากที่ได้ออกคําสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว แต่ เจ้าของอาคารไม่ยอมปฏิบัติตาม

“ปฏิบัติการทางปกครอง” อาจก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง ฯลฯ กับบุคคลอื่นได้เช่นกัน เช่น “ปฏิบัติการทางปกครอง” ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้บุคคลใดเสียหาย ย่อม เป็นการกระทําละเมิด ซึ่งองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองที่กระทําการนั้น จําต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่

ผู้เสียหาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการที่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองต้องรับผิดนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาขององค์กร ดังกล่าว แต่เป็นผลบังคับของกฎหมาย

 

 

ข้อ 4. นายกองค์การบริหารส่วนตําบลฯ ได้มีคําสั่งเป็นหนังสือเพิกถอนหนังสือคําสั่งใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารที่เคยออกให้แก่นายแดง เนื่องจากตรวจพบว่านายแดงได้ยื่นหลักฐานประกอบคําร้องไม่ถูกต้อง ตามที่กฎหมายกําหนด นายแดงจึงได้ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือภายใน 15 วัน ต่อนายก อบต. โดย ระบุว่า “ข้าพเจ้าประสงค์ขออุทธรณ์คําสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตการก่อสร้างอาคาร รายละเอียด จะจัดส่งมาภายหลัง” หลังจากเลยกําหนดระยะเวลาอุทธรณ์ นายก อบต. ได้ตรวจสอบหนังสืออุทธรณ์ ของนายแดงพบว่า ยังไม่ได้ส่งรายละเอียดที่จะจัดส่งมาภายหลังตามที่ได้แจ้งไว้แต่อย่างใด และเห็นว่า เป็นเพียงการผิดหลงบกพร่องเล็กน้อยจึงได้อาศัยอํานาจตามกฎหมาย มาตรา 27 พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แจ้งเป็นหนังสือให้นายแดงดําเนินการให้แล้วเสร็จ วันรุ่งขึ้นนายแดง จึงได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์เพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่องจนสมบูรณ์ตามกฎหมาย หลังจากนั้น 6 เดือน นายก อบต. ก็ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของนายแดงแต่อย่างใด ดังนี้หากนายแดงมาปรึกษาท่านเพื่อ จะฟ้องกรณีนี้เป็นคดีต่อศาลปกครองท่านจะแนะนํานายแดงในกรณีนี้อย่างไร ให้อธิบายโดยยก หลักกฎหมายประกอบคําตอบโดยชัดแจ้ง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 27 “ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบ ตามความจําเป็นแก่กรณี

ถ้าคําขอหรือคําแถลงมีข้อบกพร่องหรือมีข้อความที่อ่านไม่เข้าใจ หรือผิดหลงอันเห็นได้ว่าเกิดจาก ความไม่รู้ หรือความเลินเล่อของคู่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แนะนําให้คู่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง”

มาตรา 44 วรรคแรกและวรรคสอง “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใด ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณี อุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้ง คําสั่งดังกล่าว

คําอุทธรณ์ต้องทําเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิง ประกอบด้วย”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 42 “ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจ หลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทําหรือการงดเว้นการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอํานาจศาลปกครองตามมาตรา 9 และ การแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้นต้องมีคําบังคับตามที่กําหนดใน มาตรา 72 ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือ เสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการดําเนินการตามขั้นตอน และวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลา ที่กฎหมายนั้นกําหนด”

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลฯ ได้มีคําสั่งเป็นหนังสือเพิกถอนหนังสือ คําสั่งใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารที่เคยออกให้แก่นายแดง ซึ่งถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า นายแดงได้ยื่นอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้นเป็นหนังสือต่อนายก อบต. ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว โดยระบุว่า “ข้าพเจ้าประสงค์ขออุทธรณ์คําสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาต การก่อสร้างอาคาร รายละเอียดจะจัดส่งมาภายหลัง” นั้น ถือว่า อุทธรณ์ของนายแดงดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 44 ทั้งนี้เพราะในอุทธรณ์ดังกล่าวของนายแดง ไม่ได้ระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย

ประเด็นที่ 2 การที่นายก อบต. ได้ตรวจสอบหนังสืออุทธรณ์ของนายแดงพบว่ายังไม่ได้ส่ง รายละเอียดที่จะจัดส่งมาภายหลังตามที่ได้แจ้งไว้ จึงได้แจ้งให้นายแดงดําเนินการให้แล้วเสร็จ และในวันรุ่งขึ้น นายแดงจึงได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์เพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่องจนสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น เป็นการดําเนินการเมื่อ พ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าหนังสืออุทธรณ์ฉบับที่สองเป็นส่วนหนึ่งของหนังสืออุทธรณ์ ฉบับแรกเนื่องจากหนังสืออุทธรณ์ฉบับที่สองได้ยื่นเมื่อพ้นกําหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์แล้ว ”

ประเด็นที่ 3 การที่นายก อบต. ได้อาศัยอํานาจตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองฯ ให้นายแดงดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น กรณีนี้ย่อมไม่สามารถ กระทําได้ เพราะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามมาตรา 44 มิใช่เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องเล็กน้อย ตามมาตรา 27 แต่อย่างใด จึงไม่มีผลทําให้อุทธรณ์ของนายแดงที่ยื่นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายกลับกลายเป็น อุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น เมื่อถือว่าการอุทธรณ์ของนายแดงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือเสมือนว่า นายแดงไม่ได้อุทธรณ์คําสั่งทางปกครองของนายก อบต. และให้ถือว่านายแดงยังมิได้ดําเนินการตามขั้นตอน และวิธีการสําหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามที่กฎหมายกําหนดไว้ก่อนฟ้องคดีตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ ดังนั้นนายแดงจึงฟ้องกรณีนี้เป็นคดีต่อศาลปกครองไม่ได้

สรุป

ข้าพเจ้าจะให้คําแนะนําแก่นายแดงในกรณีนี้ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

LAW3012 กฎหมายปกครอง S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หลักการแบ่งอํานาจปกครอง (Deconcentration) หมายถึงอะไร มีประโยชน์อย่างไร และแตกต่างจากหลักการกระจายอํานาจปกครองอย่างไร ขอให้ท่านอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายและตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

“หลักการแบ่งอํานาจปกครอง” เรียกอีกอย่างว่า หลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจ เป็นหลักการจัดระเบียบบริหารราชการที่ฝ่ายปกครองส่วนกลางมอบอํานาจวินิจฉัยสั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ของ ราชการบริหารส่วนกลางที่ส่งไปประจําเพื่อปฏิบัติราชการตามเขตภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้ จะยังคงอยู่ภายใต้อํานาจบังคับบัญชาจากส่วนกลางโดยตรง เป็นอํานาจที่ไม่มีเงื่อนไข และผู้บังคับบัญชาจาก ราชการบริหารส่วนกลางสามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอนคําสั่ง หรือการกระทําของเจ้าหน้าที่ที่ส่งไปประจําตาม ภูมิภาคต่าง ๆ ได้เสมอ แต่ก็ต้องเป็นการใช้อํานาจบังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหลักการแบ่งอํานาจปกครองนี้ จะมีความแตกต่างกับหลักการกระจายอํานาจปกครอง

ข้อแตกต่างระหว่างหลักการแบ่งอํานาจปกครองและหลักการกระจายอํานาจปกครอง

1 การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคตามหลักการแบ่งอํานาจปกครองนั้นเป็น การจัดระเบียบราชการบริหารตามหลักการรวมอํานาจปกครองมิใช่ตามหลักการกระจายอํานาจปกครองให้แก่ ท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะว่าการมอบอํานาจให้แก่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางในส่วนภูมิภาค เป็นแต่เพียง การมอบอํานาจวินิจฉัยสั่งการบางอย่างจากกระทรวง ทบวง กรม ในส่วนกลางไปให้เจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่เป็น หัวหน้าในส่วนภูมิภาคเท่านั้น อํานาจบังคับบัญชาและวินิจฉัยสั่งการขั้นสุดท้ายยังอยู่กับราชการบริหารส่วนกลาง แต่ตามหลักการกระจายอํานาจปกครองเป็นการตัดอํานาจหน้าที่ดําเนินกิจการบางส่วนจากราชการบริหารส่วนกลาง ไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อให้ท้องถิ่นดําเนินกิจการได้เอง โดยตรง ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาสั่งการของราชการบริหารส่วนกลาง

2 เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม อันเป็นราชการบริหาร ส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนทั้งสิ้น แต่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามหลักการกระจายอํานาจปกครอง มิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง แต่เป็นเจ้าหน้าที่ของ องค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นเอง

3 ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคจะเป็นไปในรูปของการบังคับบัญชา ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นนั้นจะเป็นไปในรูปของการกํากับดูแล

 

ประโยชน์ของหลักการแบ่งอํานาจปกครอง

1 การใช้หลักการแบ่งอํานาจปกครองนี้ถือเป็นก้าวแรกที่จะนําไปสู่การกระจายอํานาจ ปกครอง

2 การแบ่งอํานาจให้แก่ส่วนภูมิภาคทําให้กิจการดําเนินไปรวดเร็วขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ในส่วนภูมิภาคมีอํานาจวินิจฉัย สั่งการและจัดทํากิจการอันเป็นเรื่องธรรมดาสามัญได้โดยไม่ต้องขอคําสั่งจาก ส่วนกลางทุกเรื่องไป เอกสาร ใน

3 ในท้องที่ที่มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคย่อมทําให้มีการติดต่อประสานงาน และควบคุมดูแลองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้ใกล้ชิดขึ้น เพราะราชการบริหารส่วนกลางมีผู้แทนอยู่ในส่วนภูมิภาคที่จะคอยกํากับดูแลองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดของตน ทําให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นติดต่อกับราชการบริหารส่วนกลางได้สะดวกขึ้นโดยทางผู้ว่าราชการจังหวัด

4 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักการแบ่งอํานาจปกครองมีประโยชน์ และความจําเป็นมากสําหรับประเทศที่ราษฎรยังหย่อนความสามารถในการที่จะปกครองตนเอง ซึ่งถ้าจะมอบอํานาจ ให้ราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ ปกครองตนเองอาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ในกรณีเช่นนี้จึงต้องยับยั้งการกระจายอํานาจให้แก่ท้องถิ่นไว้ก่อน ต่อเมื่อเห็นว่าราษฎรมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะปกครองตนเองได้แล้วจึงค่อยกระจายอํานาจปกครองให้ไป

 

 

ข้อ 2. เทศบาลเมืองโพธารามได้ก่อสร้างกําแพงป้องกันน้ำท่วม ต่อมานายแดงได้ทุบทําลายกําแพงดังกล่าวบางส่วน เพื่อความสะดวกของตนในการจะเป็นเส้นทางลัดเพื่อไปสู่แม่น้ำ นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองโพธาราม จึงได้มีหนังสือแจ้งให้นายแดงซ่อมแซมแนวกําแพงป้องกันน้ำท่วมที่ถูกทุบทําลายไปบางส่วนนั้นให้กลับอยู่ในสภาพเดิม ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า หนังสือแจ้งของนายกเทศมนตรีดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

วินิจฉัย

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกเทศมนตรีเมืองโพธาราม ได้มีหนังสือแจ้งให้นายแดงซึ่งทุบ ทําลายกําแพงของเทศบาลเสียหายไปบางส่วนให้ทําการซ่อมแซมให้กลับอยู่ในสภาพเดิมนั้น แม้ว่าหนังสือ ดังกล่าวจะได้ออกโดยเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การออกหนังสือดังกล่าวของนายกเทศมนตรีเมืองโพธารามนั้น มิได้ เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการกระทําในลักษณะของการรักษาสิทธิของเทศบาล ตามกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น หนังสือแจ้งของนายกเทศมนตรีดังกล่าวจึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะไม่ครบ องค์ประกอบของคําสั่งทางปกครองตามนัยของ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 (1) ดังกล่าวข้างต้น

สรุป

หนังสือแจ้งของนายกเทศมนตรีดังกล่าวไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

 

 

ข้อ 3. นายขาวเป็นพนักงานขับรถยนต์ของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้ขับรถยนต์โดยความประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ของนายดํา ทําให้นายดําได้รับบาดเจ็บ และรถยนต์ของนายดําเสียหายด้วย นายดํา ต้องการฟ้องเรียกค่าเสียหาย หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นให้ทําการรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากการกระทําละเมิดที่เกิดจากนายขาว ดังกล่าว ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า นายดําจะต้องฟ้องหน่วยงาน ราชการดังกล่าวให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคแรก (3) “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครองหรือคําสั่งอื่น หรือจาก การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 9 วรรคแรก (3) กรณีที่จะถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทําละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเรียกว่า “ละเมิดทางปกครอง” และจะเป็นคดี ที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้คือ

1 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ

2 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 กรณี

ดังต่อไปนี้ คือ

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมาย

(2) การออกกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่น

(3) การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ

(4) การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวเป็นพนักงานขับรถยนต์ของหน่วยงานราชการ ได้ขับรถยนต์ โดยความประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ของนายดําจนได้รับความเสียหาย และนายดําได้รับบาดเจ็บด้วยนั้น ความเสียหายดังกล่าวแม้จะเกิดจากการกระทําโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อการปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กล่าวคือ ไม่ได้เกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือ จากกฎ คําสั่งทางปกครองหรือคําสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือ จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ดังนั้น การกระทําละเมิดของนายขาวจึงไม่เป็นละเมิดทางปกครอง แต่เป็นการกระทําละเมิดทางแพ่งของนายขาว นายดําจึงต้องฟ้องให้หน่วยงานราชการดังกล่าวรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทําละเมิดของนายขาวได้ที่ศาลยุติธรรม จะฟ้องร้องต่อศาลปกครองไม่ได้ เพราะ ข้อพิพาทดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

สรุป

นายดําจะฟ้องหน่วยงานราชการดังกล่าวให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการ กระทําละเมิดของนายขาวได้ที่ศาลยุติธรรม ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 4. นายเขียวเป็นข้าราชการพลเรือน รับราชการในหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งซึ่งผู้บังคับบัญชามีคําสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนให้ โดยนายเขียวเห็นว่าคําสั่งดังกล่าวของผู้บังคับบัญชาก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ต่อตน ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเขียวจะมีหนทางตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551ในการแก้ไขปัญหาของตนได้อย่างไร ขอให้อธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 114 วรรคแรก “ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตาม พ.ร.บ. นี้ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม มาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่า ทราบคําสั่ง”

มาตรา 122 “ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด 9 การอุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวดนี้”

มาตรา 123 วรรคแรก “การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและรับราชการในหน่วยงานของ รัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้บังคับบัญชามีคําสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนให้นั้น ถือว่าคําสั่งดังกล่าวของผู้บังคับบัญชาไม่ใช่คําสั่งลงโทษ ทางวินัย หรือเป็นคําสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่อย่างใด ดังนั้นนายเขียวจะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวของผู้บังคับบัญชาไม่ได้ (ตามมาตรา 114 วรรคแรก)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายเขียวมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของ ผู้บังคับบัญชา โดยเห็นว่าคําสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนให้ตนนั้นก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อตน ดังนี้นายเขียวย่อม สามารถใช้สิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้ ตามมาตรา 122) และเมื่อเหตุ ของการที่นายเขียวจะร้องทุกข์นั้นเกิดจากผู้บังคับบัญชา ดังนั้นนายเขียวจึงต้องร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือ ขึ้นไปตามลําดับ (ตามมาตรา 123 วรรคแรก)

สรุป

นายเขียวจะต้องไปร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับจะอุทธรณ์คําสั่ง ดังกล่าวไม่ได้

LAW3012 กฎหมายปกครอง 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หลักการกระจายอํานาจคืออะไร แบ่งได้เป็นประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

การกระจายอํานาจ คือ รูปแบบหนึ่งของการปกครองซึ่งรัฐถ่ายโอนอํานาจทางปกครอง บางส่วนให้นิติบุคคลมหาชนอื่นนอกจากรัฐ เพื่อจัดทําบริการสาธารณะบางอย่างได้เอง โดยมีความอิสระทาง ปกครองและทางการคลัง ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐบาลกลาง เพียงแต่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐบาล ส่วนกลางเท่านั้น ซึ่งการจัดองค์กรของรัฐรูปแบบนี้มี 2 ประเภท คือ

1 การกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือทางพื้นที่ คือ การที่รัฐมอบบริการสาธารณะ บางอย่างที่มิใช่บริการสาธารณะระดับชาติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทํา ซึ่งการจัดทําบริการสาธารณะจะถูก จํากัดขอบเขตโดยพื้นที่หรืออาณาเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ในท้องที่นั้น ๆ การบริหารงานลักษณะนี้เรียกว่า “การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น”

2 การกระจายอํานาจทางบริการหรือทางเทคนิค คือ การที่รัฐมอบบริการสาธารณะ อย่างใดอย่างหนึ่งให้องค์กรซึ่งมิได้อยู่ในระบบราชการจัดทําด้วยเงินทุนและเจ้าหน้าที่ขององค์กรนั้น ซึ่งการจัดทํา บริการสาธารณะไม่ได้ถูกจํากัดหรือกําหนดขอบเขตของกิจกรรมโดยพื้นที่ แต่เป็นเรื่องทางเทคนิค เช่น เรื่องของ การไฟฟ้า การประปา การโทรศัพท์ เป็นต้น องค์กรที่จัดทําอาจอยู่ในรูปของ “รัฐวิสาหกิจ” หรือ “องค์การมหาชน” แล้วแต่จะกําหนด โดยขึ้นอยู่กับความหลากหลายในแง่กิจการ วัตถุประสงค์ และการบริหารงาน

 

 

ข้อ 2. “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” คืออะไร มีลักษณะที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ให้นิยามของ “กฎ” ไว้เช่นเดียวกันว่า “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

จากนิยามข้างต้น จะเห็นได้ว่า “กฎ” จะมีลักษณะที่สําคัญอยู่ 2 ประการ คือ

(1) บุคคลที่ถูกบังคับให้กระทําการ ถูกห้ามมิให้กระทําการ หรือได้รับอนุญาตให้กระทําการ ต้องเป็นบุคคลที่ถูกนิยามไว้เป็นประเภท เช่น ผู้เยาว์ คนต่างด้าว ข้าราชการพลเรือนสามัญ ฯลฯ ดังนั้นจึงไม่อาจทราบ จํานวนที่แน่นอนของบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับของข้อความที่บังคับให้กระทําการ ห้ามมิให้กระทําการ หรืออนุญาต ให้กระทําการได้

(2) กรณีที่บุคคลซึ่งถูกนิยามไว้เป็นประเภทจะถูกบังคับให้กระทําการ ถูกห้ามมิให้กระทําการ หรือได้รับอนุญาตให้กระทําการ ต้องเป็นกรณีที่ถูกกําหนดไว้อย่างเป็นนามธรรม (Abstract) เช่น บังคับให้กระทําการ ทุกครั้งที่มีกรณีตามที่กําหนดไว้เกิดขึ้นหรือได้รับอนุญาตให้กระทําการทุกวันสิ้นเดือน เช่น ห้ามมิให้ผู้ใดสูบบุหรี่ บนรถโดยสารประจําทาง ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ข้าราชการกรม กองต้องแต่งเครื่องแบบมาทํางาน ทุกวันจันทร์ เป็นต้น

ส่วน “คําสั่งทางปกครอง” นั้น มีการบัญญัตินิยามไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ดังนี้

“คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่า จะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง”

จากนิยามข้างต้น จะเห็นได้ว่า “คําสั่งทางปกครอง” จะมีองค์ประกอบหรือสาระสําคัญอยู่ 5 ประการ คือ

(1) ต้องเป็นการกระทําโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

(2) ต้องเป็นการกระทําที่มีลักษณะเป็นการใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย

(3) ต้องเป็นการกระทําที่มีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้าง นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล

(4) ต้องเป็นการกระทําที่มีผลมุ่งใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

(5) ต้องเป็นการกระทําที่มีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

ตัวอย่าง การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอํานาจตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ออกใบอนุญาตให้นายดําก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตดังกล่าวถือว่าเป็น คําสั่งทางปกครอง เป็นต้น

จากความหมายและสาระสําคัญของคําว่า “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” จะมีลักษณะที่เหมือนกันคือ ต่างก็เป็น “นิติกรรมทางปกครอง” กล่าวคือ เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล แต่มีข้อแตกต่างกัน อยู่ที่ว่า “กฎ” นั้นมีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ ส่วน “คําสั่งทางปกครอง” นั้นมีผลบังคับแก่กรณีใดและหรือแก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะ

 

 

ข้อ 3. (ก) นายแดงถูกตั้งกรรมการสอบสวนว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา นายดําผู้บังคับบัญชาจึงมีคําสั่งลงโทษปลดนายแดงออกจากราชการ โดยระบุในคําสั่งว่านายแดง มีความผิดเพราะเมาสุรายิงปืนด้วยความคึกคะนอง หรือยิงปืนด้วยความคึกคะนองโดยไม่มีการ แจ้งข้อกล่าวหาแก่นายแดงว่าเมาสุรายิงปืนด้วยความคึกคะนอง หรือยิงปืนด้วยความคึกคะนอง คงตั้งข้อกล่าวหาเพียงว่าต้องหาคดีอาญาฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองฯ เท่านั้น ขอให้ท่านวินิจฉัยว่าคําสั่งของนายดําที่สั่งลงโทษนายแดงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

(ข) นายเขียวรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ต่อมานายเขียวไปก่อหนี้บุคคลภายนอกและถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย กรณีดังกล่าวนี้ภายใต้บังคับ ของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ผู้บังคับบัญชาของนายเขียวจะต้องดําเนินการตามกฎหมายกับนายเขียวอย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 30 “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้ คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติ เป็นอย่างอื่น

(1) เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ

(2) เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครอง ต้องล่าช้าออกไป

(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคําขอ คําให้การ หรือคําแถลง

(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทําได้

(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง

(6) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อ ประโยชน์สาธารณะ”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายความว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งทางปกครองใด และ คําสั่งทางปกครองนั้นอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งทางปกครองนั้นจะต้องให้คู่กรณีมี โอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และต้องให้คู่กรณีได้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง และวรรคสาม

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงถูกตั้งกรรมการสอบสวนว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยต้องหาคดีอาญา และต่อมานายดําผู้บังคับบัญชาจึงมีคําสั่งปลดนายแดงออกจากราชการ ซึ่งเป็นคําสั่งทาง ปกครองและมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณีคือนายแดง โดยไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาว่านายแดงมีความผิดเพราะเมา สุรายิงปืนด้วยความคึกคะนอง หรือยิงปืนด้วยความคึกคะนอง ซึ่งทําให้นายแดงไม่มีโอกาสที่จะได้ทราบ ข้อเท็จจริงในข้อกล่าวหาอันนําไปสู่การลงโทษได้เพียงพอ และไม่มีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีเหตุจําเป็นที่ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคแรก แต่อย่างใด ดังนั้น คําสั่งปลดนายแดง ออกจากราชการดังกล่าวของนายดําจึงขัดต่อมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ จึงเป็นคําสั่ง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งปลดนายแดงออกจากราชการของนายดํา เป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(ข) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 36 ข. (6) “ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และ ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ข. ลักษณะต้องห้าม

(6) เป็นบุคคลล้มละลาย”

มาตรา 110 “ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(3) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 36 ก. (1) หรือ (3) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) (3) (6) หรือ (7)”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในหน่วยงานราชการ แห่งหนึ่ง และต่อมานายเขียวได้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น ถือว่านายเขียวมีลักษณะต้องห้ามมิให้ รับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 36 ข. (6) ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาของนายเขียวซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 57 จึงมีอํานาจสั่งให้นายเขียวออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการได้ตามมาตรา 110 (3)

สรุป ผู้บังคับบัญชาของนายเขียวจะต้องสั่งให้นายเขียวออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญ เหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามมาตรา 110 (3) ประกอบมาตรา 36 ข. (6)

 

 

ข้อ 4. องค์การบริหารส่วนตําบลบ้านนาทองได้ทําการขยายถนนจากถนนขนาดสองช่องจราจรเป็นสี่ช่องจราจร อบต. บ้านนาทองเห็นว่าการขยายถนนนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะจึงได้ขอร้องให้ นายแดงซึ่งมีบ้านอยู่ติดถนนดังกล่าวช่วยรื้อถอนรั้วบ้านที่อยู่ติดถนนออกทั้งหมดเพื่อความสะดวก ในการก่อสร้างถนน โดย อบต. บ้านนาทองตกลงว่าจะสร้างรั้วบ้านให้นายแดงใหม่ หลังการก่อสร้าง ขยายถนนแล้วเสร็จ ซึ่งนายแดงก็ได้รื้อถอนรั้วบ้านของตนตามที่ อบต. บ้านนาทองได้ร้องขอ แต่เมื่อ การก่อสร้างขยายถนนแล้วเสร็จ อบต. บ้านนาทองก็ไม่ได้สร้างรั้วบ้านใหม่ให้แก่นายแดงตามที่ ตกลงกันไว้ นายแดงจึงได้มีหนังสือทวงถามต่อ อบต. บ้านนาทองในเรื่องนี้ แต่ อบต. บ้านนาทอง ก็คงนิ่งเฉยและไม่มีการดําเนินการในเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนั้นหากนายแดงมาปรึกษาท่านเพื่อจะฟ้อง อบต. บ้านนาทองเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายในกรณีดังกล่าวเป็นเงินหนึ่งแสนบาท เพื่อนําเงินไปสร้างรั้วบ้านใหม่ ดังนี้ ท่านจะแนะนํานายแดงในกรณีนี้อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537

มาตรา 67 “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขต องค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้

(1) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก” พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย”

มาตรา 42 วรรคแรก “ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทําหรือการงดเว้นการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอํานาจศาลปกครองตามมาตรา 9 และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้นต้องมีคําบังคับตามที่กําหนดใน มาตรา 72 ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง”

มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(3) สั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ โดยจะ กําหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิด ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง”

วินิจฉัย

การที่องค์การบริหารส่วนตําบลบ้านนาทองได้ทําการปรับปรุงและขยายถนนจากถนนขนาด สองช่องจราจรเป็นสี่ช่องจราจรนั้น ถือว่าเป็นการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของตนตามมาตรา 67 (1) แห่ง พ.ร.บ. สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537

การที่ อบต. บ้านนาทองได้ขอร้องให้นายแดงซึ่งมีบ้านอยู่ติดถนนดังกล่าวช่วยรื้อถอนรั้วบ้าน ที่อยู่ติดถนนออกทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการก่อสร้างถนน โดย อบต. บ้านนาทองตกลงว่าจะสร้างรั้วบ้านให้ นายแดงใหม่ หลังการก่อสร้างขยายถนนเสร็จแล้ว และนายแดงก็ได้รื้อถอนรั้วบ้านของตนตามที่ อบต. บ้านนาทอง ได้ร้องขอนั้น ถือได้ว่าเป็นการดําเนินการทางปกครองเพื่อให้การบริการสาธารณะที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของ อบต. บ้านนาทอง สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ในภาระหน้าที่ที่กฎหมายได้กําหนดไว้

แต่เมื่อมีการก่อสร้างขยายถนนเสร็จแล้ว อบต. บ้านนาทองก็ไม่ได้สร้างรั้วบ้านใหม่ให้แก่ นายแดงตามที่ได้ตกลงไว้ ย่อมถือว่านายแดงเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา 42 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ จากการงดเว้นการกระทําของ อบต. บ้านนาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และกรณีดังกล่าวถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ “ความรับผิดอย่างอื่น” ของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคแรก (3)

ดังนั้น นายแดงจึงสามารถฟ้อง อบต. บ้านนาทองเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลปกครอง มีคําพิพากษาตามมาตรา 72 (3) คือ สั่งให้ อบต. บ้านนาทองใช้เงินให้แก่นายแดง หรือสั่งให้ อบต. บ้านนาทอง กระทําการสร้างรั้วบ้านใหม่ให้แก่นายแดง โดยจะกําหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้

สรุป

หากนายแดงมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คําปรึกษาแก่นายแดงในกรณีตามที่ได้ อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

LAW3012 กฎหมายปกครอง 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ก. นายแดงเป็นคนต่างด้าวลักลอบเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จและแสดงเอกสารราชการปลอมในการขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย พบหลักฐานดังกล่าวว่ามีการปลอมแปลงเอกสารพยานหลักฐานดังกล่าว จึงมีคําสั่งเพิกถอน รายการทะเบียนหรือหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และมีคําสั่งเพิกถอนรายการบัตรประจําตัว ประชาชนของนายแดง โดยไม่ได้แจ้งให้นายแดงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแต่อย่างใด ขอให้ท่าน วินิจฉัยว่าคําสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ข. นายดําเป็นข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจึงตั้ง กรรมการสอบสวนข้อกล่าวหาดังกล่าว ปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนมีความเห็นว่า นายดํา มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจริงตามข้อกล่าวหา ดังนี้ผู้บังคับบัญชาจะใช้ดุลพินิจในการมีคําสั่ง ลงโทษทางวินัยกับนายดําเลยทันทีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

ก. หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มี ผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 30 วรรคแรก “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําสั่งของเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยที่ให้เพิกถอนรายการทะเบียนหรือ หลักฐานทางทะเบียนราษฎร และมีคําสั่งเพิกถอนรายการบัตรประจําตัวประชาชนของนายแดงเป็นคําสั่งทางปกครอง ตามนัยมาตรา 5 ดังนั้น เมื่อเป็นคําสั่งทางปกครองที่จะกระทบถึงสิทธิของคู่กรณีคือนายแดง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้ง ให้นายแดงได้ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่เปิดโอกาสให้นายแดงได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน ก่อนออกคําสั่งทางปกครองดังกล่าว ดังนั้น คําสั่งดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่เป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข. หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 97 “ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 93 วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอํานาจตามมาตรา 94 เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ.กระทรวง ซึ่งผู้ถูก กล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณีพิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.พ.

วินิจฉัย

ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่จะลงโทษทาง วินัยแก่ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นโดยการปลดออก หรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณีนั้น กฎหมายไม่ได้ บัญญัติให้เป็นอํานาจในการใช้ดุลพินิจแก่ผู้บังคับบัญชาในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง แต่ได้บัญญัติว่า ผู้บังคับบัญชาจะมีคําสั่งลงโทษทางวินัยร้ายแรงได้ต้องผูกพันตามมติของ อ.ก.พ. กล่าวคือ ให้ผู้บังคับบัญชาส่ง เรื่องให้ อ.ก.พ. พิจารณาก่อน เมื่อ อ.ก.พ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไป ตามนั้น (มาตรา 97 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ การที่นายดําซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่าง ร้ายแรงและคณะกรรมการสอบสวนก็มีความเห็นว่า นายดํามีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจริงตามข้อกล่าวหา ดังนี้ ผู้บังคับบัญชาจะใช้ดุลพินิจในการมีคําสั่งลงโทษทางวินัยกับนายดําทันทีไม่ได้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. พิจารณาก่อน เมื่อ อ.ก.พ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ผู้บังคับบัญชาจึงค่อยสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมติ ของ อ.ก.พ. นั้น

สรุป

ผู้บังคับบัญชาจะใช้ดุลพินิจในการมีคําสั่งลงโทษทางวินัยกับนายดําทันทีไม่ได้ ตามเหตุผล และหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 2. หลักนิติรัฐ คืออะไร มีความสัมพันธ์กับกฎหมายปกครอง หรือไม่ อย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“หลักนิติรัฐ” คือ หลักการปกครองโดยยึดกฎหมายเป็นใหญ่ และกฎหมายที่นํามาใช้นั้น จะต้องมาจากประชาชน มิใช่มาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และการใช้อํานาจของฝ่ายปกครอง ต้องสามารถตรวจสอบและควบคุมได้

สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้คือ

1 บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมาย ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะมีอํานาจสั่งการให้ราษฎรกระทําการหรือละเว้น ไม่กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อํานาจไว้อย่างชัดแจ้งและจะต้องใช้ อํานาจนั้นภายในกรอบที่กฎหมายกําหนดไว้

2 บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วย รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ให้อํานาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารล่วงล้ําเข้าไปในแดนแห่ง เสรีภาพของราษฎรนั้น จะต้องมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนพอสมควรว่าให้องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารองค์กรใดมี อํานาจล่วงล้ำเข้าไปในแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ในกรณีใดและภายในขอบเขตอย่างใด และกฎหมาย ดังกล่าวจะต้องไม่ให้อํานาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารล่วงล้ําเข้าไปในแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎรเกิน ขอบเขตแห่งความจําเป็นเพื่อธํารงรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะ

3 การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การ ควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ซึ่งมี ความเป็นอิสระจากองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ โดยองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ซึ่งทําหน้าที่ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือของการกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร อาจจะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการอีกองค์กรหนึ่งแยกต่างหากจากองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ซึ่งทําหน้าที่ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาก็ได้

หลักนิติรัฐมีความสัมพันธ์กับกฎหมายปกครอง ดังนี้คือ

1 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจรัฐ หรืออํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้โดยไม่จําเป็นต้องอาศัย ความสมัครใจหรือความยินยอมของเอกชน เช่น กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองจะกําหนดว่าในพื้นที่ “สีเขียว” ห้าม การก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างใด ๆ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารจะกําหนดว่าการก่อสร้างอาคารจะต้องได้รับอนุญาต และอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงานท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกจะกําหนดให้เจ้าพนักงานจราจร จัดระเบียบการจราจรให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องปฏิบัติตาม กฎหมายต่าง ๆ ที่ควบคุมการประกอบอาชีพของเอกชน ฯลฯ นอกจากนี้ กฎหมายปกครองยังเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจรัฐหรืออํานาจ มหาชนที่จะบังคับใช้กฎหมายโดยบังคับให้เอกชนปฏิบัติตามกฎหมาย หากเอกชนใดฝ่าฝืนกฎหมายก็ให้องค์กร ของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจตามกฎหมายที่จะบังคับการได้เองโดยไม่ต้องไปร้องขอต่อศาลให้ศาลบังคับให้ เช่น กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกให้อํานาจแก่เจ้าพนักงานจราจรในอันที่จะใช้รถยกของตนลากรถยนต์ที่จอดใน ที่ห้ามจอดไปไว้ที่สถานีตํารวจได้ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้อํานาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในอันที่จะเข้า ดําเนินการรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเจ้าของอาคารไม่ยอมปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่ให้รื้อถอนอาคารดังกล่าว

2 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ และเป็นกฎหมายที่กําหนดกฎเกณฑ์ในการควบคุมการใช้อํานาจดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นกฎหมายเฉพาะหรือกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานกลาง เช่น กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เป็นต้น

 

 

ข้อ 3. การจัดองค์กรของรัฐทางปกครองในรูปของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นคืออะไร ใช้หลักอะไร แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“การจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค” คือการจัดองค์กรของรัฐ ทางปกครองโดยใช้หลักการรวมอํานาจแบบการกระจายการรวมศูนย์อํานาจการปกครอง หรือการแบ่งอํานาจ การปกครอง โดยมีการแบ่งเขตการปกครองประเทศออกเป็นจังหวัดและอําเภอ แล้วรัฐบาลในส่วนกลางจะมอบ อํานาจในการตัดสินใจหรือในการสั่งการในทางปกครองในบางเรื่องบางระดับให้แก่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ซึ่ง เป็นตัวแทนของส่วนกลางที่ถูกส่งออกไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาคทั่วราชอาณาจักรเพื่อจัดทําบริการสาธารณะ ตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่รัฐบาลส่วนกลางหรือผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังอยู่ ภายใต้บังคับบัญชาตามลําดับของรัฐบาลส่วนกลาง

สําหรับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทยนั้น เป็นไปตามกฎหมายดังนี้คือ

1 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งได้กําหนดให้ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอําเภอ

2 ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ซึ่งกําหนดให้ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นตําบลและหมู่บ้าน

“การจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” คือการจัดองค์กรของรัฐ ทางปกครองโดยใช้หลักการกระจายอํานาจทางปกครองและเป็นการกระจายอํานาจในทางเขตแดนหรือในทาง พื้นที่ โดยที่รัฐจะมอบความเป็นนิติบุคคลให้แก่ชุมชนในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดที่มีความพร้อมที่จะบริหารกิจการของ ตนเองโดยการจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วรัฐบาลส่วนกลางก็จะกระจายอํานาจหรือถ่ายโอน ภารกิจหรือบริการสาธารณะบางส่วนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดําเนินการแทนรัฐ โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้นมีอํานาจหน้าที่เป็นของตนเอง มีรายได้เป็นของตนเอง และมีองค์กรในการ บริหารงานเป็นของตนเอง เพียงแต่ยังคงอยู่ภายใต้อํานาจการกํากับดูแลของส่วนกลาง

สําหรับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยนั้น มีอยู่ 2 ระบบ ได้แก่

1 ระบบทั่วไปที่ใช้แก่ท้องถิ่นทั่วไป ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

(1) เทศบาล ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

(2) องค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ

(3) องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

2 ระบบพิเศษ ที่ใช้เฉพาะท้องถิ่นบางแห่ง ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

(1) กรุงเทพมหานคร ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และ

(2) เมืองพัทยา ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542

 

 

ข้อ 4. นายเอกรองนายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลภูขาวถูกร้องเรียนว่าทุจริตต่อหน้าที่ คณะกรรมการสอบสวนการทุจริตที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายโทนายกเทศมนตรีฯ ได้ดําเนินการสอบสวนแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานและพยานบุคคลชัดแจ้งเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่านายเอกได้กระทําการทุจริตต่อหน้าที่จริง จึงมิได้แจ้งให้นายเอกมาชี้แจงข้อเท็จจริง และแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด และได้สรุปผลการ สอบสวนว่านายเอกทุจริตต่อหน้าที่จริง ต่อมานายโทนายกเทศมนตรีฯ ได้มีคําสั่งเป็นหนังสือให้ นายเอกพ้นจากตําแหน่งฯ ทั้งนี้มิได้แจ้งสิทธิในการอุทธรณ์และระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคําสั่ง ดังกล่าวด้วย ดังนี้หากสองเดือนต่อมานายเอกได้มาปรึกษาท่านเพื่อจะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนี้ และ ประสงค์จะฟ้องนายโทนายกเทศมนตรีฯ เป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลเพิกถอนคําสั่งฯ ที่ให้ตน พ้นจากตําแหน่ง เพราะเห็นว่าคําสั่งดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย ท่านจะให้คําแนะนําแก่นายเอก ในกรณีนี้อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496

พ.ศ. 2496 พระองมีการ มาตรา 48 โสฬส “รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตําแหน่งเมื่อ : (2) นายกเทศมนตรีมีคําสั่งให้พ้นจากตําแหน่งตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 30 วรรคแรก “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน”

มาตรา 34 “คําสั่งทางปกครองอาจทําเป็นหนังสือหรือวาจา หรือการสื่อความหมายใน รูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้”

มาตรา 40 “คําสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง การยื่นคําอุทธรณ์หรือคําโต้แย้ง และระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย

ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้ง เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลา สั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งทางปกครอง”

มาตรา 44 วรรคแรก “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดย รัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่ง ทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฏ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดเนื่องจากการกระทําโดยไม่มีอํานาจหรือ นอกเหนืออํานาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็น สาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น…”

มาตรา 42 วรรคสอง “ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการ ดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลา อันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกําหนด”

มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคําสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทําทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มี การฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 (1) ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเอกมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คําแนะนําแก่นายเอกใน กรณีดังกล่าวดังนี้คือ

1 การที่นายโทนายกเทศมนตรีฯ มีคําสั่งเป็นหนังสือให้นายเอกพ้นจากตําแหน่ง รองนายกเทศมนตรีฯ นั้น นายโทมีอํานาจที่จะกระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตาม พ.ร.บ. เทศบาลฯ มาตรา 48 โสฬส (2)

2 คําสั่งเป็นหนังสือให้นายเอกพ้นจากตําแหน่งรองนายกเทศมนตรีฯ นั้น เป็นคําสั่งที่มี ผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของนายเอก คําสั่งดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ประกอบมาตรา 34

3 เมื่อคําสั่งทางปกครองดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณีคือนายเอก แต่ในขณะที่ มีการสอบสวนกรณีที่มีการร้องเรียนว่านายเอกทุจริตต่อหน้าที่นั้น คณะกรรมการสอบสวนมิได้แจ้งให้นายเอกมา ชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด ทําให้นายเอกไม่มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน ของตน กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามิได้มีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 วรรคแรก ดังนั้น นายเอกย่อมสามารถกล่าวอ้างได้ว่า คําสั่งทางปกครองที่ให้ตนพ้นจากตําแหน่งรองนายกเทศมนตรีฯ นั้น เป็นคําสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย

4 เมื่อเป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายเอกย่อมสามารถนําคดีนี้ไป ฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 72 (1)

5 แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายเอกจะนําคดีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองนั้น นายเอก จะต้องอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนั้นก่อนตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และแม้ว่าตาม พ.ร.บ. เทศบาลฯ จะมิได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะก็ตาม นายเอกก็จะต้องอุทธรณ์คําสั่งนั้นก่อนตาม หลักเกณฑ์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ

6 การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองดังกล่าว โดยหลักแล้วนายเอกจะต้องอุทธรณ์ภายใน กําหนด 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามิได้มีการแจ้งสิทธิใน การอุทธรณ์ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคําสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด และตามข้อเท็จจริงก็มิได้มีการแจ้งใหม่แต่ อย่างใดด้วย ดังนั้นระยะเวลาในการอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวจึงให้ขยายระยะเวลาออกไปเป็น 1 ปีนับแต่วันที่ ได้รับคําสั่งนั้นตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ นายเอกจึงสามารถที่จะอุทธรณ์คําสั่ง ดังกล่าวได้ แม้ว่าระยะเวลาจะผ่านไปแล้ว 2 เดือนนับตั้งแต่วันที่นายเอกได้รับคําสั่งทางปกครองดังกล่าวแล้วก็ตาม

สรุป

นายเอกสามารถฟ้องนายโทเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งฯ ที่ให้ตนพ้นจากตําแหน่งได้ แต่นายเอกจะต้องอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวก่อนภายในกําหนด 1 ปีนับแต่วันที่ตนได้รับ คําสั่งทางปกครองนั้น

LAW3012 กฎหมายปกครอง S/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. การกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) หมายถึงอะไร มีขอบเขตในการกระจายอํานาจ ปกครองอย่างไร และมีความแตกต่างกับการกระจายอํานาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐอย่างไร ขอให้อธิบายมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง วิธีการที่รัฐมอบอํานาจ ปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรทางการปกครองอื่นนอกจากองค์กรของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อจัดทําบริการ สาธารณะบางอย่าง โดยมีอิสระตามสมควร ซึ่งองค์กรทางการปกครองนั้นไม่ต้องขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของ ส่วนกลาง เพียงแต่ขึ้นอยู่ในความกํากับดูแลเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐมอบอํานาจหน้าที่บางอย่างในการ จัดทําบริการสาธารณะซึ่งเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ดําเนินงานอยู่ในท้องถิ่นให้กับท้องถิ่นหรือ องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในราชการบริหารส่วนกลางรับไปดําเนินการด้วยงบประมาณ และ เจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นหรือองค์กรนั้นเอง โดยราชการบริหารส่วนกลางเพียงแต่ควบคุมดูเลเท่านั้น ไม่ได้เข้าไป บังคับบัญชาสั่งการ

ความแตกต่างระหว่างการกระจายอํานาจปกครองกับการกระจายอํานาจทางการเมือง แบบสหพันธรัฐ

1 การกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่น เป็นเพียงการมอบอํานาจปกครองบางอย่าง อันเป็นส่วนหนึ่งของอํานาจบริหารให้แก่ท้องถิ่นเท่านั้น มิได้มีการมอบอํานาจนิติบัญญัติหรืออํานาจตุลาการให้ ไปด้วยเหมือนกับการกระจายอํานาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐ

2 การกระจายอํานาจปกครองนั้นย่อมทําได้ทั้งในรัฐเดี่ยว หรือสหพันธรัฐก็ได้ แต่การ กระจายอํานาจทางการเมืองนั้นจะทําได้แต่เฉพาะในรัฐรวมแบบสหพันธรัฐเท่านั้น

3 ในการกระจายอํานาจปกครอง รัฐอาจจะจํากัดหรือถอนคืนได้โดยอาศัยอํานาจ กฎหมายธรรมดาของรัฐ แต่การจํากัดหรือถอนคืนการกระจายอํานาจทางการเมืองจะทําได้ก็แต่โดยการแก้ไข รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเท่านั้น

 

 

ข้อ 2. นายขาวเป็นเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีคําสั่งเป็นหนังสือลงวันที่ 3 มีนาคม 2557 เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่นายเขียวผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยมีเจ้าหน้าที่ ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปส่งหนังสือแจ้งคําสั่งดังกล่าวแก่นายเขียว ณ ภูมิลําเนาในวันที่ 6 มีนาคม 2557 แล้ว แต่นายเขียวไม่ยอมรับ จึงได้วางหนังสือคําสั่งนั้นต่อหน้า นายเขียวและต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงานที่ไปเป็นพยาน ดังนี้ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า การแจ้งคําสั่ง ดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และคําสั่งของนายขาวจะมีผลบังคับต่อนายเขียว ได้เมื่อใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 42 วรรคแรก “คําสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้ง เป็นต้นไป…”

มาตรา 70 “การแจ้งเป็นหนังสือโดยวิธีให้บุคคลนําไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะนําไปส่ง ไม่พบผู้รับ หากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทํางานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กําหนดใน กฎกระทรวงที่ไปเป็นพยาน ก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแจ้งคําสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่โดยวิธีให้บุคคล นําไปส่งและผู้รับไม่ยอมรับ ดังนี้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 70 แล้ว ก็ให้ถือว่าการแจ้งคําสั่ง ทางปกครองนั้นชอบด้วยกฎหมาย และให้ถือว่าผู้รับคําสั่งนั้นได้รับแจ้งแล้ว

ตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีคําสั่งเป็นหนังสือเพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่นายเขียวผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนนั้น คําสั่งดังกล่าวของนายขาว ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ไป ส่งหนังสือแจ้งคําสั่งดังกล่าวแก่นายเขียว ณ ภูมิลําเนาของนายเขียวในวันที่ 6 มีนาคม 2557 แต่นายเขียวไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่จึงได้วางหนังสือคําสั่งนั้นต่อหน้านายเขียวและต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ไปเป็นพยาน ดังนี้จะเห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 70 แล้ว ดังนั้น จึงถือว่าการแจ้งคําสั่งทางปกครองดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ ชอบด้วยกฎหมาย และให้ถือว่านายเขียวได้รับแจ้งคําสั่งนั้นแล้ว และเมื่อถือว่านายเขียวได้รับแจ้งคําสั่งนั้น ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2557 ดังนั้น คําสั่งของนายขาวจึงมีผลบังคับต่อนายเขียวตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป (ตามมาตรา 42 วรรคแรก)

สรุป

การแจ้งคําสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย และคําสั่งของนายขาวจะมีผลบังคับ ต่อนายเขียวได้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป

 

 

ข้อ 3. นายแดงเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้มีคําสั่งไม่อนุมัติให้นายดําซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดเบิกค่าเช่าบ้านโดยอาศัยอํานาจตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 นายดําเห็นว่าคําสั่งของนายแดงไม่ชอบด้วยกฎหมายและอีกทั้งไม่เป็นธรรมต่อตน จึงประสงค์จะ หาทางแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของตน แต่เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คําสั่งเอาไว้โดยเฉพาะ นายดําจึงยื่นฟ้องเป็นคดีต่อ ศาลปกครองโดยตรงทันที ขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งดังกล่าว ทั้งนี้ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลปกครองจะรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใดขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย ประกอบ

 

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มี ผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 44 วรรคแรก “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดย รัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่ง ทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใด…” เพราะ

มาตรา 42 วรรคสอง “ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการ ดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลา อันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกําหนด”

มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคําสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทําทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มี การฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 (1)

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้มีคําสั่ง ไม่อนุมัติให้นายดําซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดเบิกค่าเช่าบ้าน โดยอาศัยอํานาจตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2527 นั้น คําสั่งของนายแดงดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ซึ่งโดยหลักแล้ว เมื่อนายดําเห็นว่าคําสั่งของนายแดงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายดําย่อม สามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งนั้นได้ตามมาตรา 9 วรรคแรก (1) ประกอบ มาตรา 72 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ

แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายดําจะนําคดีดังกล่าวฟ้องต่อศาลปกครองนั้น นายดําจะต้องอุทธรณ์ คําสั่งนั้นก่อนตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และแม้ว่าตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2527 จะไม่ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คําสั่งไว้โดยเฉพาะก็ตาม แต่นายดําก็ต้องอุทธรณ์คําสั่งนั้น ก่อนตามหลักเกณฑ์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายดํามิได้มีการอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนั้นเสียก่อนที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง ดังนั้น ศาลปกครองย่อมไม่อาจรับคดีพิพาทเกี่ยวกับการไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านดังกล่าวไว้พิจารณาได้

สรุป ศาลปกครองจะรับฟ้องคดีดังกล่าวไว้พิจารณาไม่ได้ เพราะนายดําไม่ได้มีการอุทธรณ์ คําสั่งนั้นเสียก่อนที่จะฟ้องคดี

 

 

ข้อ 4. นายเหลืองเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง ทําการผ่าตัดต้อกระจกให้คนไข้ แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของนายเหลืองทําให้คนไข้ตาบอด ดังนี้ ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองจะต้อง ดําเนินการทางวินัยตลอดจนลงโทษนายเหลืองอย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 83 “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทําการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้

(4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ”

มาตรา 85 “การกระทําผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

(7) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง”

มาตรา 97 “ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเหลืองซึ่งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐได้ทําการผ่าตัดต้อกระจกให้คนไข้ แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของนายเหลืองทําให้คนไข้ตาบอดนั้น ถือว่าเป็นการกระทําผิดวินัยในลักษณะ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการกระทําที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่โรงพยาบาลของรัฐ ทําให้โรงพยาบาลเสียชื่อเสียงและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่คนไข้ตามมาตรา 83 (4) ประกอบมาตรา 85 (7) ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองจึงต้องดําเนินการทางวินัยกับนายเหลืองฐานกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง และให้ลงโทษ ปลดออกหรือไล่ออกแล้วแต่กรณี โดยให้นําเหตุอันควรลดหย่อนมาประกอบการพิจารณาลดโทษได้ แต่ห้ามมิให้ ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก (ตามมาตรา 97)

สรุป

ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองจะต้องดําเนินการทางวินัยฐานกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง กับนายเหลือง และให้ลงโทษนายเหลืองโดยการปลดออกหรือไล่ออกแล้วแต่กรณี

LAW3012 กฎหมายปกครอง 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ก) เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งได้อนุมัติให้ทุนการศึกษาแก่นายแดงเพื่อไปศึกษาต่อปริญญาโทในต่างประเทศ โดยกําหนดให้นายแดงต้องมีหน้าที่รายงานผลการศึกษาทุก 6 เดือน แต่นายแดงผู้รับทุนไม่ปฏิบัติตาม โดยอ้างว่าตนติดธุระส่วนตัว ทําให้ไม่ได้รายงานผล การศึกษามาภายในเวลาที่กําหนด ดังนี้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะมีคําสั่งเพิกถอนทุนการศึกษาของนายแดงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ข) นายเขียวเป็นข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ถูกผู้บังคับบัญชามีคําสั่งย้ายให้ไปปฏิบัติราชการประจําสถานทูตไทย ณ ประเทศฝรั่งเศส แต่เป็นการลดระดับตําแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม นายเขียวเห็นว่าตนเองประสงค์จะไปรับราชการประจํา ณ ประเทศฝรั่งเศสมานานแล้ว แต่ ไม่มีโอกาส ดังนั้นจึงตกลงยอมรับตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชา ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่ง ของผู้บังคับบัญชาที่สั่งย้ายนายเขียวดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบาย

ธงคําตอบ

ก) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 53 วรรคสอง “คําสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ ผู้รับคําสั่งทางปกครอง อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคต ไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กําหนดได้เฉพาะเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้

(2) คําสั่งทางปกครองนั้นมีข้อกําหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการปฏิบัติ ภายในเวลาที่กําหนด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งได้อนุมัติให้ทุนการศึกษา แก่นายแดงเพื่อไปศึกษาต่อปริญญาโทในต่างประเทศนั้น ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครองและเป็นคําสั่งทางปกครอง ที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นคําสั่งทางปกครองที่มีข้อกําหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ คือ นายแดงต้องมี หน้าที่รายงานผลการศึกษาทุก 6 เดือน ดังนั้นเมื่อนายแดงผู้รับประโยชน์ไม่ปฏิบัติตาม คือไม่ได้รายงานผล การศึกษาภายในเวลาที่กําหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เจ้าหน้าที่จึงสามารถมีคําสั่งเพิกถอนทุนการศึกษาของ นายแดงได้ตามมาตรา 53 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

สรุป

เจ้าหน้าที่จะมีคําสั่งเพิกถอนทุนการศึกษาของนายแดงได้

 

ข) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 63 วรรคสาม “การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการที่ผู้บังคับบัญชามีคําสั่งย้ายนายเขียวซึ่งเป็น ข้าราชการพลเรือนสามัญให้ไปปฏิบัติราชการประจําสถานทูตไทย ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยมีการลดระดับตําแหน่ง ของนายเขียวที่ต่ํากว่าเดิม ซึ่งโดยหลักแล้วจะกระทํามิได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเขียวได้ตกลงยินยอมและ ยอมรับตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยไม่โต้แย้งเพราะตนเองก็มีความประสงค์ที่จะไปรับราชการประจํา ณ ประเทศ ฝรั่งเศสมานานแล้ว ดังนั้น คําสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งย้ายนายเขียวดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม

สรุป

คําสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งย้ายนายเขียวดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551

 

 

ข้อ 2. การจัดองค์กรของรัฐทางปกครองโดยใช้หลักการกระจายอํานาจทางบริการคืออะไร องค์กรที่ได้รับการกระจายอํานาจทางบริการมีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

การจัดองค์กรของรัฐทางปกครองโดยใช้หลักการกระจายอํานาจทางปกครองจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือทางพื้นที่ กับการกระจายอํานาจทางบริการหรือทางเทคนิค

สําหรับ “การกระจายอํานาจทางบริการ” หรือทางเทคนิค คือการที่รัฐมอบบริการสาธารณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เช่น เรื่องของการไฟฟ้า การประปา การโทรศัพท์ เป็นต้น หรือบริการสาธารณะเฉพาะด้าน ได้แก่ บริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็น บริการสาธารณะที่เป็นการให้บริการโดยไม่มีการมุ่งเน้นหากําไร เช่น เรื่องของกีฬา การศึกษาวิจัย หรือการแสดง นาฏศิลป์ เป็นต้น ให้แก่องค์กรนิติบุคคลมหาชนที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น ซึ่งมิได้อยู่ในระบบราชการเป็นผู้จัดทําและ ดําเนินการแทนรัฐ โดยให้องค์กรเหล่านั้นมีอิสระในการดําเนินงานได้เอง รัฐเพียงแต่กํากับดูแลการดําเนินงาน ขององค์กรนิติบุคคลนั้น

องค์กรที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทําและดําเนินการบริการสาธารณะแทนรัฐดังกล่าว ได้แก่ องค์กร นิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นในรูปของ “รัฐวิสาหกิจ” หรือ” องค์การมหาชน” นั่นเอง ซึ่งจะกําหนดขึ้นในรูปแบบ ใดนั้นขึ้นอยู่กับกิจการ วัตถุประสงค์และการบริหารงาน โดย

1 ถ้าเป็นการกระจายอํานาจให้จัดทําบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม องค์กรนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นควรเป็นในรูปของรัฐวิสาหกิจ

2 ถ้าเป็นการกระจายอํานาจให้จัดทําบริการสาธารณะเฉพาะด้าน (บริการสาธารณะ ทางสังคมและวัฒนธรรม) นิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นควรเป็นในรูปขององค์การมหาชน

 

 

ข้อ 3. “นิติกรรมทางปกครอง” คืออะไร มีลักษณะสําคัญอย่างไรบ้าง จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“นิติกรรมทางปกครอง” หมายถึง การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่น ของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่กระทําโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับดังเช่น พระราชบัญญัติแทน และในนามขององค์กรดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่ง หรือคณะบุคคลคณะหนึ่งว่าตนประสงค์จะให้เกิดผลทางกฎหมายเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างองค์กร ดังกล่าวกับบุคคลนั้นหรือคณะบุคคลนั้น โดยที่บุคคลนั้นหรือคณะบุคคลนั้นไม่จําเป็นต้องให้ความยินยอม

“นิติกรรมทางปกครอง” จะต้องประกอบด้วยลักษณะที่สําคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1 จะต้องเป็นการกระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่นของรัฐ หรือองค์กร เอกชนที่กระทําโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับดังเช่นพระราชบัญญัติแทน และ ในนามขององค์กรดังกล่าวเพื่อแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลคณะหนึ่ง

2 การแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลคณะหนึ่งโดยองค์กรดังกล่าว จะต้องเป็นการแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น

3 ผลทางกฎหมายที่องค์กรดังกล่าวประสงค์จะให้เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาของตนนั้น คือการสร้างความสัมพันธ์ทางกฎหมายหรือนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมีอํานาจหรือมีสิทธิ เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่ง กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล จึงย่อมมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ที่เป็นคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น

4 นิติสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องเป็นนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยเจตนาที่แสดงออกมาขององค์กร ของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่นของรัฐ หรือองค์กรเอกชนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็น คู่กรณีในนิติสัมพันธ์ดังกล่าวไม่จําต้องให้ความยินยอมแต่อย่างใด

นิติกรรมทางปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กฎ และคําสั่งทางปกครอง

1 นิติกรรมทางปกครองที่เป็น “กฎ”

คําว่า “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติ ท้องถิ่น ระเบียบข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

2 นิติกรรมทางปกครองที่เป็น “คําสั่งทางปกครอง” คําว่า “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย การอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

 

 

ข้อ 4. เทศบาลเมืองปากช่องได้มีประกาศประกวดราคาซื้อรถขนขยะ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัท เอก จํากัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและชนะการประมูล ส่วนบริษัท โท จํากัด ซึ่งมีนายรวยสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากช่องเป็นผู้จัดการและผู้ถือหุ้นเป็น บริษัทที่ได้เสนอราคารองลงมา ต่อมาบริษัท ตรี จํากัด ซึ่งเข้าร่วมในการเสนอราคายื่นซองประกวด ราคาฯ ในครั้งนี้ด้วย เห็นว่าประกาศประกวดราคาฯ ของเทศบาลฯ ได้กําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไข รถขนขยะไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด และเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท เอก จํากัด ที่ชนะ การประมูล จึงประสงค์ที่จะฟ้องเพิกถอนประกาศประกวดราคาซื้อรถขนขยะของเทศบาลฯ เป็นคดี ต่อศาลปกครอง ดังนี้ ท่านจะแนะนําบริษัทตรีฯ ในกรณีนี้อย่างไร และบริษัท ตรี จํากัด ยังได้ยื่นเรื่อง ร้องเรียนต่อนายกเทศมนตรีฯ ว่าจากการเข้าร่วมการประมูลของบริษัท โท จํากัด ทําให้สมาชิกภาพ สมาชิกสภาเทศบาลของนายรวยสิ้นสุดลง ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้อกล่าวอ้างของบริษัท ตรี จํากัด

ในกรณีนี้สามารถรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ให้ยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบโดยชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฏ”

มาตรา 44 “ ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้น โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว…”

ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 “ศาล ปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดเนื่องจากการกระทําโดยไม่มีอํานาจหรือ นอกเหนืออํานาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็น สาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น”

มาตรา 42 “ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมีอาจ หลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทําหรือการงดเว้นการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอํานาจศาลปกครองตามมาตรา 9 และการแก้ไข หรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้นต้องมีคําบังคับตามที่กําหนดในมาตรา 72 ผู้นั้น มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย ในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการดําเนินการตามขั้นตอนและ วิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลา ที่กฎหมายนั้นกําหนด”

มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคําสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทําทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มี การฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 (1)”

และตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496

มาตรา 18 ทวิ “สมาชิกสภาเทศบาลต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทําให้แก่เทศบาล หรือที่เทศบาลนั้นจะกระทํา”

มาตรา 19 “สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงเมื่อ 1 (6) กระทําการอันต้องห้ามตามมาตรา 18 ทวิ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ บริษัท ตรี จํากัด จะฟ้องเพิกถอนประกาศประกวดราคาซื้อรถขนขยะของ เทศบาลเมืองปากช่องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้หรือไม่ และการเข้าร่วมการประมูลของบริษัท โท จํากัด จะทําให้ สมาชิกภาพสมาชิกสภาเทศบาลของนายรวยสิ้นสุดลงหรือไม่ แยกพิจารณาได้ ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การที่เทศบาลเมืองปากช่องได้มีประกาศประกวดราคาซื้อรถขนขยะนั้น ประกาศ ประกวดราคาฯ ดังกล่าว เป็นการใช้อํานาจทางปกครองของหน่วยงานทางปกครอง และแม้ประกวดราคาฯ ดังกล่าว จะมีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยมิได้เจาะจงตัวบุคคลก็ตาม แต่ก็มุ่งหมายให้ใช้บังคับเฉพาะแก่กรณีหนึ่งกรณีใด เป็นการเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ ใช้บังคับกับการประกวดราคาซื้อรถขนขยะเฉพาะครั้งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ประกาศประกวดราคาฯ ดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครองประเภท “คําสั่งทางปกครองทั่วไป”

การที่บริษัท ตรี จํากัด เห็นว่าประกาศประกวดราคาฯ ของเทศบาลฯ ได้กําหนดคุณสมบัติและ เงื่อนไขรถขนขยะไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด และเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท เอก จํากัด ที่ชนะการประมูล ทําให้ประกาศประกวดราคาฯ ดังกล่าว เป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือว่าบริษัท ตรี จํากัด เป็นผู้ที่ได้รับ ความเดือดร้อนและเสียหายตามนัยของมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง ดังนั้นบริษัท ตรี จํากัด จึงสามารถฟ้องเทศบาลฯ เป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศประกวดราคาซื้อรถขนขยะของเทศบาลฯ ได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 72 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ

และเมื่อประกาศประกวดราคาฯ ดังกล่าว มีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครองประเภทคําสั่ง ทางปกครองทั่วไป กรณีจึงไม่ต้องอุทธรณ์ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ก่อนฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง

ประเด็นที่ 2 การที่บริษัท โท จํากัด ซึ่งมีนายรวยสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากช่องเป็นผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นได้เข้าร่วมในการเสนอราคายื่นซองประกวดราคาฯ ในครั้งนี้ด้วยนั้น เมื่อไม่ได้เป็นผู้เสนอราคาที่ชนะ การประมูลเพื่อเข้าทําสัญญากับเทศบาลฯ แต่อย่างใด กรณีนี้จึงยังไม่ถือว่านายรวยเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทําให้แก่เทศบาลหรือที่เทศบาลจะกระทําตาม มาตรา 18 ทวิ อันจะทําให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลต้องสิ้นสุดลงตามนัยมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496

สรุป

บริษัท ตรี จํากัด สามารถฟ้องเพิกถอนประกาศประกวดราคาฯ ซื้อรถขนขยะของเทศบาล เมืองปากช่องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้

การเข้าร่วมการประมูลของบริษัท โท จํากัด ไม่ทําให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาเทศบาลของนายรวย สิ้นสุดลง

LAW3012 กฎหมายปกครอง 1/2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ก) นายแดงมีข้อพิพาทเป็นคดีความกับนายดําในศาลแพ่ง โดยได้แต่งตั้งนายเหลืองเป็นทนายความให้กับตน ต่อมานายแดงพบว่านายเหลืองกระทําการขัดต่อจรรยาบรรณและมรรยาทของทนายความโดยนําข้อเท็จจริงของตนไปบอกให้นายดําทราบ จึงร้องต่อคณะกรรมการมรรยาท ทนายความ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าไม่มีมูล ประธานกรรมการ มรรยาททนายความอาศัยอํานาจตามข้อ 11 ของข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการสอบสวน คดีมรรยาททนายความฯ จึงมีคําสั่งไม่รับคํากล่าวหาของนายแดง ขอให้ท่านวินิจฉัยว่าคําสั่ง ไม่รับคํากล่าวหาดังกล่าวของประธานกรรมการมรรยาททนายความ เป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ข) กรณีที่ข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงนั้น ผู้บังคับบัญชาจะต้องดําเนินการทางวินัยตลอดจนการลงโทษทางวินัยอย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย ประกอบ

ธงคําตอบ

ก) ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

1 การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่า จะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย การอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

2 การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ ใช้อํานาจทางปกครองของรัฐในการดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบ ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม

และกรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 5(1) นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ คณะกรรมการมรรยาททนายความ เป็นคณะบุคคลซึ่งใช้อํานาจตามข้อ 11 ของข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นการที่ประธานกรรมการมรรยาททนายความ อาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวมีคําสั่งไม่รับคํากล่าวหาของนายแดง ซึ่งคําสั่งนั้นจะมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิของนายแดง คือมีผลเป็นการระงับสิทธิในการกล่าวหาของนายแดงผู้กล่าวหา คําสั่งไม่รับคํากล่าวหาของ นายแดงดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งทางปกครองเพราะครบองค์ประกอบของคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5(1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

สรุป

คําสั่งไม่รับคํากล่าวหาดังกล่าวของประธานกรรมการมรรยาททนายความ เป็นคําสั่งทางปกครอง

ธงคําตอบ

ข) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการที่ ผู้บังคับบัญชาจะต้องดําเนินการทางวินัยตลอดจนการลงโทษทางวินัย ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่า กระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงไว้ดังนี้ คือ

1 เมื่อมีการกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามี หน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมี อํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (มาตรา 90)

2 เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 90 ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 รีบดําเนินการหรือสั่งให้ดําเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทําผิด วินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้

ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยโดยมี พยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดําเนินการต่อไปตามมาตรา 92 (มาตรา 91)

3 ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา 91 ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้น มิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้ง รับฟังคําชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว และเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําผิดตามข้อกล่าวหาให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษ ตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ (มาตรา 92) โดยอาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด และถ้ากรณีกระทําผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควร งดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ (มาตรา 96)

แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทําผิด ตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง (มาตรา 92 วรรคสอง)

 

 

ข้อ 2. การจัดระเบียบราชการในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานครเป็นไปตามหลักการใด มีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา ธงคําตอบ

1 การจัดระเบียบราชการในจังหวัดเชียงใหม่ ก็เหมือนกับการจัดระเบียบราชการในจังหวัด ต่าง ๆ ทั่ว ๆ ไป (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) คือ เป็นไปตามหลักการรวมอํานาจ (แบบการกระจายการรวมศูนย์อํานาจ ปกครองหรือการแบ่งอํานาจปกครอง) ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่นั้นถือว่าเป็นราชการส่วนภูมิภาค และการจัดระเบียบ บริหารราชการนั้นเป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในจังหวัดไว้ดังนี้ คือ

(1) ให้รวมท้องที่หลาย ๆ อําเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(2) ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคําสั่งจาก นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และ ประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขต จังหวัดและรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอําเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ได้ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด สังกัดกระทรวงมหาดไทย

(3) ในจังหวัดหนึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้า ส่วนราชการประจําจังหวัด ซึ่ง กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจํา ทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอํานาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม นั้นในจังหวัดนั้น

(4) ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้

(ก) สํานักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป และการวางแผนพัฒนา จังหวัดนั้น มีหัวหน้าสํานักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ สํานักงานจังหวัด

(ข) ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่ง กระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา

2 การจัดระเบียบราชการในกรุงเทพมหานคร เป็นไปตามหลักการกระจายอํานาจ กรุงเทพมหานครถือเป็นราชการส่วนท้องถิ่นระบบพิเศษ โดยการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กําหนดเกี่ยวกับ การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครไว้ดังนี้

(1) ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่ พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ

(2) ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานคร เป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวง ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ

(3) การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ปี

(4) การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร

(ก) ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีการจัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้ สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร สํานักปลัด กรุงเทพมหานคร สํานักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นสํานัก สํานักงานเขต และสภาเขต

(ข) สภาเขต ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีจํานวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้น อีกหนึ่งคนต่อราษฎรทุกหนึ่งแสนคน อายุของสภาเขตมีกําหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

 

 

ข้อ 3. “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” คืออะไร เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ให้นิยามของ “กฎ” ไว้เช่นเดียวกันว่า “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

จากนิยามข้างต้น จะเห็นได้ว่า “กฎ” จะมีลักษณะที่สําคัญอยู่ 2 ประการ คือ

(1) บุคคลที่ถูกบังคับให้กระทําการ ถูกห้ามมิให้กระทําการ หรือได้รับอนุญาตให้กระทําการ ต้องเป็นบุคคลที่ถูกนิยามไว้เป็นประเภท เช่น ผู้เยาว์ คนต่างด้าว ข้าราชการพลเรือนสามัญ ฯลฯ ดังนั้นจึงไม่อาจทราบ จํานวนที่แน่นอนของบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับของข้อความที่บังคับให้กระทําการ ห้ามมิให้กระทําการ หรืออนุญาต ให้กระทําการได้

(2) กรณีที่บุคคลซึ่งถูกนิยามไว้เป็นประเภทจะถูกบังคับให้กระทําการ ถูกห้ามมิให้กระทําการ หรือได้รับอนุญาตให้กระทําการ ต้องเป็นกรณีที่ถูกกําหนดไว้อย่างเป็นนามธรรม (Abstract) เช่น บังคับให้ กระทําการทุกครั้งที่มีกรณีตามที่กําหนดไว้เกิดขึ้นหรือได้รับอนุญาตให้กระทําการทุกวันสิ้นเดือน เช่น ห้ามมิให้ผู้ใด สูบบุหรี่บนรถโดยสารประจําทาง ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ข้าราชการกรม กองต้องแต่งเครื่องแบบ มาทํางานทุกวันจันทร์ เป็นต้น

ส่วน “คําสั่งทางปกครอง” นั้นมีการบัญญัตินิยามไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ดังนี้

“คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น การถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย อุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง”

จากนิยามข้างต้น จะเห็นได้ว่า “คําสั่งทางปกครอง” จะมีองค์ประกอบหรือสาระสําคัญอยู่ 5 ประการ คือ

(1) ต้องเป็นการกระทําโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

(2) ต้องเป็นการกระทําที่มีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

(3) ต้องเป็นการกระทําที่มีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้าง นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล”

(4) ต้องเป็นการกระทําที่มีผลใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

(5) ต้องเป็นการกระทําที่มีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

ตัวอย่าง การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอํานาจตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ออกใบอนุญาตให้นายดําก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตดังกล่าวถือว่าเป็น คําสั่งทางปกครอง เป็นต้น

จากความหมายและสาระสําคัญของคําว่า “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า “กฎ” และ “คําสั่งทางปกครอง” จะมีลักษณะที่เหมือนกันคือ ต่างก็เป็น “นิติกรรมทางปกครอง” กล่าวคือ เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล แต่มีข้อแตกต่างกัน อยู่ที่ว่า “กฎ” นั้นมีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ ส่วน “คําสั่งทางปกครอง” นั้นมีผลบังคับแก่กรณีใดและหรือแก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะ

 

 

ข้อ 4. เทศบาลตําบลเกาะสีชังได้ทําสัญญาให้บริษัท แดง จํากัด ปรับปรุงท่าเทียบเรือร้างของเทศบาลฯแต่ไม่อาจส่งมอบพื้นที่ให้ได้ตามกําหนดเวลาในสัญญาเนื่องจากนายเจ้าของป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างรุกล้ำในพื้นที่ดังกล่าวไม่ยอมรื้อถอนป้ายโฆษณา หลังจากที่นายดําได้รับคําสั่งเป็นหนังสือจาก นายกเทศมนตรีฯ ให้รื้อถอนป้ายฯ ภายใน 1 เดือน แต่นายดําเห็นว่าเทศบาลฯ ไม่มีอํานาจตามกฎหมาย ในการปรับปรุงท่าเทียบเรือนี้ แต่เป็นอํานาจของกรมเจ้าท่าที่จะต้องดําเนินการ และป้ายของตน เป็นการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสีชังย่อมได้รับยกเว้นให้ติดตั้งในพื้นที่ของทางราชการได้ ก่อนครบกําหนดเวลาอุทธรณ์นายดําได้มีหนังสืออุทธรณ์ต่อนายกเทศมนตรีฯ โดยระบุว่า “ประสงค์ จะขออุทธรณ์คําสั่งของเทศบาลฯ ที่ให้ตนรื้อถอนป้ายโฆษณา ส่วนรายละเอียดจะจัดส่งมาภายหลัง”

นายกเทศมนตรีฯ เห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ยังบกพร่องจึงได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายดําแก้ไขให้ถูกต้อง ต่อมาเมื่อพ้นกําหนดเวลาอุทธรณ์นายดําได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์คําสั่งฯ ใหม่ตามที่ได้แก้ไขโดยได้ระบุ ข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงแต่มิได้ระบุข้อกฎหมายมาด้วย ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าเทศบาลฯ มีอํานาจ ในการปรับปรุงท่าเทียบเรือในกรณีนี้หรือไม่ และข้อพิพาทความเสียหายจากการไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้ตามกําหนดเวลาในสัญญาบริษัทแดงฯ จะต้องฟ้องให้เทศบาลฯ รับผิดต่อศาลใด เพราะ เหตุใด และนายกเทศมนตรีฯ มีอํานาจดําเนินการให้นายดําแก้ไขอุทธรณ์ที่ตนเห็นว่ายังบกพร่อง ในกรณีนี้ได้หรือไม่ รวมทั้งกรณีนี้ถือว่านายดําได้มีการอุทธรณ์คําสั่งฯ ของนายกเทศมนตรีฯ ภายในกําหนดระยะเวลาแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

มาตรา 51(3) “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตําบลอาจจัดทํากิจการใด ๆ ในเขต เทศบาลดังต่อไปนี้

(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม” ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น การถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฏ

มาตรา วรรคสอง “ถ้าคําขอหรือคําแถลงมีข้อบกพร่องหรือมีข้อความที่อ่านไม่เข้าใจ หรือผิดหลงอันเห็นได้ชัดว่าเกิดจากความไม่รู้ หรือความเลินเล่อของคู่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แนะนําให้คู่กรณีแก้ไข เพิ่มเติมให้ถูกต้อง”

มาตรา 44 วรรคแรกและวรรคสอง “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใด ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณี อุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้ง คําสั่งดังกล่าว

คําอุทธรณ์ต้องทําเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิง ประกอบด้วย”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้คํานิยามของ “สัญญาทางปกครอง” ไว้ว่า

“สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทํา บริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

มาตรา 9 วรรคแรก (4) บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(3) สั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทําการหรืองดเว้น กระทําการ โดยจะกําหนด ระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดของ หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัย มีดังนี้คือ

ประเด็นที่ 1 เทศบาลฯ มีอํานาจในการปรับปรุงท่าเทียบเรือในกรณีนี้หรือไม่

ตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 51(3) ได้บัญญัติให้เทศบาลตําบลมีอํานาจในการจัดทํา ท่าเทียบเรือในเขตเทศบาล ดังนั้น การที่เทศบาลตําบลเกาะสีชังได้ทําสัญญาให้บริษัท แดง จํากัด ปรับปรุง ท่าเทียบเรือร้างของเทศบาลฯ นั้น จึงเป็นอํานาจของเทศบาลฯ ที่จะจัดทําคือจัดให้มีการปรับปรุงท่าเทียบเรือ ดังกล่าวได้

ประเด็นที่ 2 บริษัท แดง จํากัด จะต้องฟ้องเทศบาลฯ ต่อศาลใด

การที่เทศบาลฯ ได้ทําสัญญาให้บริษัท แดง จํากัด ปรับปรุงท่าเทียบเรือร้างของเทศบาลฯ นั้น เมื่อเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเอกชน และเป็นสัญญาที่มี วัตถุประสงค์เป็นการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค (ท่าเทียบเรือ) สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามนัย ของมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ดังนั้นเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กล่าวคือ เทศบาลฯ ไม่สามารถส่งมอบ พื้นที่ให้แก่บริษัท แดง จํากัด ได้ตามกําหนดเวลาในสัญญา จึงถือว่าเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอํานาจของศาลปกครอง ดังนั้น เมื่อบริษัท แดง จํากัด จะฟ้องให้เทศบาลฯ รับผิดในความเสียหายที่เกิดจาก การไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้ตามกําหนดเวลาในสัญญาบริษัท แดง จํากัด จะต้องฟ้องเทศบาลฯ ต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคแรก (4) และมาตรา 72(3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ

ประเด็นที่ 3 นายกเทศมนตรีฯ มีอํานาจดําเนินการให้นายดําแก้ไขอุทธรณ์ที่ตนเห็นว่ายัง บกพร่องได้หรือไม่ และถือว่านายดําได้มีการอุทธรณ์คําสั่งฯ ของนายกเทศมนตรีฯ ภายในกําหนดระยะเวลาแล้ว หรือไม่

ตามอุทาหรณ์ การที่นายกเทศมนตรีฯ มีคําสั่งให้นายดํารื้อถอนป้ายโฆษณาซึ่งสร้างรุกล้ําในพื้นที่ ของทางราชการนั้น คําสั่งดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ซึ่งนายดําสามารถอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ตามมาตรา 44 วรรคแรกและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครองฯ แต่คําอุทธรณ์ของนายดําจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สําคัญ 3 ประการ ดังนี้ คือ

1 คําอุทธรณ์นั้นจะต้องยื่นต่อนายกเทศมนตรีฯ ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว

2 คําอุทธรณ์นั้นต้องทําเป็นหนังสือ และ

3 คําอุทธรณ์นั้นจะต้องระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย

แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า นายดําได้มีหนังสืออุทธรณ์ต่อนายกเทศมนตรีฯ แต่ใน คําอุทธรณ์นั้นไม่ได้ระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วยเพียงแต่ระบุว่า “ประสงค์จะขออุทธรณ์คําสั่งของเทศบาลฯ ที่ให้ตนรื้อถอนป้ายโฆษณา ส่วนรายละเอียดจะจัดส่งมาในภายหลัง” ดังนี้ แม้คําอุทธรณ์ของนายดําจะได้ยื่นก่อนครบกําหนดเวลาอุทธรณ์ แต่เมื่อคําอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นไม่ครบหลักเกณฑ์ ตามที่กฎหมายกําหนด จึงถือว่าเป็นคําอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่านายดําไม่ได้มีการอุทธรณ์คําสั่งฯ ของนายกเทศมนตรีฯ ภายในกําหนดระยะเวลาของการอุทธรณ์

และเมื่อคําอุทธรณ์ของนายดําไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด มิใช่คําอุทธรณ์ที่มี ข้อบกพร่องหรือมีข้อความที่อ่านไม่เข้าใจหรือผิดหลง ตามนัยของมาตรา 27 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครองฯ ดังนั้น นายกเทศมนตรีฯ จึงไม่มีอํานาจดําเนินการให้นายดําแก้ไขอุทธรณ์ที่ตนเห็นว่า ยังบกพร่องในกรณีนี้ได้

สรุป

1 เทศบาลฯ มีอํานาจในการปรับปรุงท่าเทียบเรือในกรณีนี้ได้

2 บริษัท แดง จํากัด จะต้องฟ้องให้เทศบาลฯ รับผิดต่อศาลปกครอง

3 นายกเทศมนตรีฯ ไม่มีอํานาจดําเนินการให้นายดําแก้ไขอุทธรณ์ในกรณีนี้ได้

4 ถือว่านายดําไม่ได้มีการอุทธรณ์คําสั่งฯ ของนายกเทศมนตรีฯ ภายในกําหนดระยะเวลาของการอุทธรณ์

 

LAW3012 กฎหมายปกครอง S/2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หลักการกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) หมายถึงอะไร และอาจจําแนกวิธีกระจาย อํานาจปกครองออกได้กี่วิธี และแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันอย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง หมายถึง หลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยส่วนกลาง จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่น ซึ่งไม่ใช่องค์กรของส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เช่น การมอบอํานาจ ปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําบริการสาธารณะด้วยตนเอง โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ ในความบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของส่วนกลาง

ตามหลักการกระจายอํานาจปกครองนั้น ได้มีการจําแนกวิธีกระจายอํานาจปกครองได้ 2 วิธี คือ

1 การกระจายอํานาจปกครองตามอาณาเขต หรือการกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่น เป็นวิธีการกระจายอํานาจให้แก่ส่วนท้องถิ่น โดยให้ส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาแยกต่างหากจากส่วนกลาง และให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น แล้วส่วนกลางก็จะมอบอํานาจให้องค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นไปดําเนินจัดทํากิจการบริการสาธารณะ ตามอํานาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้ โดยจะมีการกําหนดขอบเขตหรือพื้นที่ไว้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นก็จะไปจัดทํา กิจการนอกเขตหรือนอกพื้นที่ที่กําหนดไว้ไม่ได้ นอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยเฉพาะ

วิธีกระจายอํานาจปกครองวิธีนี้เป็นวิธีกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่นโดยการ มอบบริการสาธารณะหลาย ๆ อย่างให้แก่ท้องถิ่นไปจัดทําโดยเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง และ ด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ

ตัวอย่างของการกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือทางพื้นที่ ได้แก่ เทศบาล องค์การ บริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีฝ่ายบริหารและ ฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง และสามารถดําเนินการบริการสาธารณะได้โดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา แต่อยู่ภายใต้อํานาจกํากับดูแลของส่วนกลาง

2 การกระจายอํานาจตามกิจการ เป็นวิธีกระจายอํานาจ โดยการที่ส่วนกลางจะมอบบริการ สาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวให้แก่องค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยมิได้อยู่ในสังกัดของส่วนกลาง ได้แก่ องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน รับไปดําเนินงานด้วยเงินทุนและด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์การนั้น ๆ เช่น การมอบอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถไฟทั่วทั้งประเทศให้แก่องค์การของรัฐคือการรถไฟแห่งประเทศไทย

หรือการมอบอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการจําหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

วิธีกระจายอํานาจตามกิจการนี้ จะแตกต่างกับวิธีกระจายอํานาจตามอาณาเขต เพราะ การกระจายอํานาจตามกิจการนี้ ส่วนกลางจะมอบให้องค์การต่าง ๆ ไปจัดทําบริการสาธารณะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น และโดยหลักจะไม่มีการกําหนดอาณาเขตหรือพื้นที่ไว้ แต่การกระจายอํานาจให้แก่ส่วนท้องถิ่นนั้น ส่วนกลาง จะมอบอํานาจในการจัดทําบริการสาธารณะหลาย ๆ อย่างให้แก่องค์กรส่วนท้องถิ่นไปดําเนินการ และจะมีการกําหนด อาณาเขตหรือพื้นที่ไว้ด้วย และการกระจายอํานาจตามกิจการจะไม่ถือการเลือกตั้งผู้บริหารเป็นเงื่อนไขในการจัดตั้ง องค์กรที่ได้รับการกระจายอํานาจ ซึ่งต่างจากการกระจายอํานาจตามอาณาเขตที่ผู้บริหารต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

 

 

ข้อ 2 นายแดงเป็นข้าราชการพลเรือนในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ถูกกล่าวหาต่อคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าทุจริตและประพฤติมิชอบในตําแหน่งหน้าที่ ซึ่ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้พิจารณาและขี้มูลว่ามีความผิดวินัยอย่าง ร้ายแรง นายเหลืองซึ่งเป็นเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ จึงได้มีหนังสือมายังผู้บังคับบัญชาของนายแดง เพื่อให้พิจารณาโทษทางวินัยแก่นายแดง ตามที่กฎหมายของ ป.ป.ช. ได้กําหนดไว้ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า หนังสือของนายเหลืองเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่า จะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับ จดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

วินิจฉัย

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5(1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล”

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเหลืองเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือไปถึง ผู้บังคับบัญชาของนายแดงเพื่อให้พิจารณาโทษทางวินัยแก่นายแดงนั้น เป็นเพียงการดําเนินการส่งรายงานพร้อม ความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปยังผู้บังคับบัญชาของนายแดงตามที่กฎหมายของ ป.ป.ช. ได้กําหนดไว้ เท่านั้น หนังสือดังกล่าวแม้จะออกโดยเจ้าหน้าที่และมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มี ผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่หรือมีผลเป็นการออกคําสั่งให้นายแดงได้รับโทษทางวินัยในขณะนั้น แต่อย่างใด ดังนั้น หนังสือดังกล่าวจึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5(1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539

สรุป

หนังสือของนายเหลืองเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าวไม่เป็นคําสั่ง ทางปกครอง ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 3. นายดําเป็นพนักงานขับรถยนต์ของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้ขับรถยนต์ของหน่วยงานราชการโดยความประมาทเลินเล่อชนรถของนายขาวซึ่งเป็นเอกชนเสียหาย และนอกจากนั้น นายขาวยังได้รับ บาดเจ็บสาหัสอีกด้วย ดังนี้ นายขาวจะฟ้องหน่วยงานราชการดังกล่าวให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากการกระทําละเมิดของนายดําได้ที่ศาลใด เพราะเหตุใด ขอให้ท่านอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย ประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคแรก (3) “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครองหรือคําสั่งอื่น หรือจาก การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 9 วรรคแรก (3) กรณีที่จะถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทําละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเรียกว่า “ละเมิดทางปกครอง” และจะเป็นคดี ที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้คือ

1 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ

2 เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 กรณี

ดังต่อไปนี้ คือ

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมาย

(2) การออกกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่น ๆ

(3) การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ

(4) การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําเป็นพนักงานขับรถยนต์ของหน่วยงานราชการ ได้ขับรถยนต์ของ หน่วยงานราชการนั้นโดยความประมาทเลินเล่อซนรถของนายขาวจนได้รับความเสียหาย และนายขาวเองก็ได้รับ บาดเจ็บสาหัสด้วยนั้น ความเสียหายดังกล่าวแม้จะเกิดจากการกระทําโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9(3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กล่าวคือ ไม่ได้เกิดจากการใช้อํานาจตาม กฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครองหรือคําสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้อง ปฏิบัติ หรือจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ดังนั้น การกระทําละเมิดของนายดําจึงไม่เป็นละเมิด ทางปกครอง แต่เป็นการกระทําละเมิดทางแพ่งของนายดํา นายขาวจึงต้องฟ้องให้หน่วยงานราชการดังกล่าว รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทําละเมิดของนายดําได้ที่ศาลยุติธรรม จะฟ้องร้องต่อศาลปกครองไม่ได้ เพราะข้อพิพาทดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

สรุป

นายขาวจะฟ้องหน่วยงานราชการดังกล่าวให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการ กระทําละเมิดของนายดําได้ที่ศาลยุติธรรม ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 4 นายเขียวรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ต่อมานายเขียวได้ขับรถยนต์ชนเด็กนักเรียนที่กําลังเดินข้ามถนนจนได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยประมาท จึงถูกดําเนินคดีอาญาจน ศาลตัดสินโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในกรณีดังกล่าวนี้ หากท่านเป็นผู้บังคับบัญชาของนายเขียว จะดําเนินการทางวินัยกับนายเขียวฐานกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 85 “การกระทําผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

(6) กระทําความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุก โดยคําพิพากษา ถึงที่สุดให้จําคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ

มาตรา 97 “ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ํากว่าปลดออก ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวซึ่งรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ได้ขับรถยนต์ชน เด็กนักเรียนจนได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทและถูกดําเนินคดีอาญาจนถูกศาลตัดสินโดยคําพิพากษาถึงที่สุด ให้จําคุกนั้น เมื่อความผิดอาญาที่นายเขียวได้กระทําเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท ดังนั้นแม้นายเขียวจะถูก ศาลตัดสินโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกก็ตาม ก็ถือว่าเข้าข้อยกเว้นของมาตรา 85(6) ซึ่งไม่ให้ถือว่าเป็น การกระทําที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาของนายเขียวจะดําเนินการทางวินัยกับนายเขียว ฐานกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการตามมาตรา 97 ซึ่งบัญญัติไว้สําหรับ กรณีที่ข้าราชการพลเรือนได้กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงไม่ได้

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับบัญชาของนายเขียว จะดําเนินการทางวินัยกับนายเขียวฐาน กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการไม่ได้

WordPress Ads
error: Content is protected !!