LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน) ๒ ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 32 วรรคหนึ่ง มีดังนี้คือ

1 บุคคลนั้นจะต้องมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

(1) กายพิการ

(2) จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(3) ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ

(4) ติดสุรายาเมา

(5) มีเหตุอื่นในทํานองเดียวกันกับ (1) – (4)

2 บุคคลนั้นไม่สามารถจะจัดทําการงานโดยตนเองได้ เพราะเหตุบกพร่องนั้น หรือจัดทํา การงานได้ แต่จะจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว

3 ได้มีบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล

4 ศาลได้มีคําสั่งแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

 

ข้อ 2. นายจนทําสัญญากู้ยืมเงินนายรวยจํานวน 2,000,000 บาท หนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ นายจนไม่มีเงินชําระหนี้ นายจนมีที่ดิน 1 แปลง ซึ่งนายจนกลัวนายรวยจะมาบังคับชําระหนี้เอากับที่ดิน แปลงนี้ นายจนจึงสมคบกับนายโกงโอนที่ดินให้นายโกง เพื่อหลอกนายรวย

ดังนี้ การโอนที่ดินระหว่างนายจนและนายโกง เป็นการแสดงเจตนาอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดง เจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้กระทําการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทํานิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทํานิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กําหนดให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่นายจนทําสัญญากู้ยืมเงินนายรวยจํานวน 2,000,000 บาท เมื่อหนี้เงินกู้ ถึงกําหนดชําระ นายจนไม่มีเงินชําระหนี้ และนายจนมีที่ดิน 1 แปลงซึ่งนายจนกลัวว่านายรวยจะมาบังคับชําระหนี้ เอากับที่ดินแปลงนี้ นายจนจึงสมคบกับนายโกงโอนที่ดินให้นายโกงเพื่อหลอกนายรวยนั้น จะเห็นได้ว่า การที่นายจน ได้สมคบกับนายโกงโอนที่ดินให้แก่กันเป็นเพียงการแสดงเจตนาลวงเท่านั้น เพราะคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทํานิติกรรม โอนที่ดินกันแต่อย่างใด แต่ได้แสดงเจตนาทํานิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น และตามกฎหมาย มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดให้การอนที่ดินซึ่งเป็นการแสดงเจตนาลวงดังกล่าวเป็นโมฆะ

สรุป

การโอนที่ดินระหว่างนายจุนและนายโกง เป็นการแสดงเจตนาลวงและมีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 3. นายใหญ่ตกลงทําสัญญาซื้อที่ดินของนายเล็ก 1 แปลงจํานวน 100 ตารางวา ราคาตารางวาละ 10,000 บาท แต่เมื่อมีการรังวัดที่ดินตามโฉนดแล้วที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่ 110 ตารางวา ดังนี้ 11 นายใหญ่จะปฏิเสธไม่รับมอบที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ หรือถ้านายใหญ่ยอมรับมอบที่ดินทั้งหมด 110 ตารางวา นายใหญ่ต้องชําระราคาอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 466 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า

“ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าได้มีการระบุจํานวนเนื้อที่ทั้งหมดไว้ และผู้ขายได้ส่งมอบ ทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อน้อยกว่าหรือมากไปกว่าที่ได้ตกลงทําสัญญาไว้ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิที่จะบอกปัดเสียหรือจะรับเอาไว้ และใช้ราคาตามส่วนก็ได้ ตามแต่จะเลือก

แต่ถ้าจํานวนส่วนที่ขาดตกบกพร่องหรือส่วนที่เกินนั้นมีจํานวนไม่มากกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ ทั้งหมดที่ได้ระบุไว้ ผู้ซื้อจะต้องรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วนจะบอกปัดไม่รับไม่ได้”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นายใหญ่ตกลงทําสัญญาซื้อที่ดินของนายเล็ก 1 แปลงจํานวน 100 ตารางวา ราคาตารางวาละ 10,000 บาท แต่เมื่อมีการรังวัดที่ดินตามโฉนดแล้วที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่ 110 ตารางวานั้น ถือว่า เป็นการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มีการระบุจํานวนเนื้อที่ทั้งหมดไว้ ดังนั้น เมื่อนายเล็กได้ส่งมอบที่ดิน ให้นายใหญ่มีจํานวนเนื้อที่มากไปกว่าที่ได้ตกลงทําสัญญาไว้ และจํานวนส่วนที่เกินคือ 10 ตารางวานั้น มีจํานวน มากกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ทั้งหมดที่ได้ระบุไว้ นายใหญ่ย่อมมีสิทธิตามมาตรา 466 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ 1

1 นายใหญ่สามารถปฏิเสธไม่รับมอบที่ดินดังกล่าวได้ หรือ

2 ถ้านายใหญ่ยอมรับมอบที่ดินทั้งหมด 110 ตารางวา นายใหญ่ก็ต้องชําระราคาค่าที่ดิน ตามส่วน เป็นเงินทั้งสิ้นจํานวน 1,100,000 บาท ตามแต่นายใหญ่จะเลือก

สรุป

นายใหญ่จะปฏิเสธไม่รับมอบที่ดินแปลงดังกล่าวได้ หรือถ้านายใหญ่ยอมรับมอบที่ดิน ทั้งหมด 110 ตารางวา นายใหญ่ก็ต้องชําระราคาให้แก่นายเล็กเป็นเงิน 1,100,000 บาท

 

ข้อ 4. เมื่อผู้เคยค้าออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ธนาคารจําต้องใช้เงินตามคําสั่งเว้นกรณีใดบ้างที่ธนาคารสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าไม่จําเป็นต้องใช้เงินตามเช็คนั้น จงระบุให้ครบถ้วน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 991 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็ค ของธนาคารไว้ว่า “ธนาคารจําต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คได้ คือ

(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(2) เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3) ได้มีคําบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 991 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า โดยหลักการแล้วเมื่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่ายเช็ค ได้ออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ธนาคารจําต้องใช้เงินตามคําสั่งนั้น แต่อย่างไรก็ดี ธนาคารสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าไม่จําเป็นต้องใช้เงินตามเช็คนั้นได้ ถ้าเข้าข้อยกเว้นอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

1 ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้น (ผู้สั่งจ่ายเช็ค) เป็นเจ้าหนี้พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

2 เช็คนั้นได้นําไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินเมื่อพ้นกําหนด 6 เดือนนับแต่วันออกเซ็คนั้น หรือ

3 ได้มีคําบอกกล่าว (มีการแจ้งให้ธนาคารทราบ) ว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยสวน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายสุดหล่อ อายุ 25 ปี เป็นคนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยมีนางสุดสวยเป็นผู้อนุบาล วันหนึ่งนายสุดหล่อซื้อรถยนต์จากนางสุดสวาท อายุ 28 ปี ในราคา 1,000,000 บาท โดยในขณะที่นายสุดหล่อซื้อรถยนต์จากนางสุดสวาท นายสุดหล่อไม่มีอาการวิกลจริต และนางสุดสวาท ไม่ทราบว่านายสุดหล่อเป็นคนไร้ความสามารถ อีกทั้งนายสุดหล่อยังได้รับความยินยอมจาก นางสุดสวยผู้อนุบาลให้ซื้อรถยนต์จากนางสุดสวาทได้ ดังนี้ นิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายสุดหล่อกับนางสุดสวาทจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 29 บัญญัติว่า “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

ตามหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถ กระทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น นิติกรรมที่เกี่ยวกับคนไร้ความสามารถจะต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทําแทน ในกรณีที่ คนไร้ความสามารถได้มีการฝ่าฝืนไปกระทํานิติกรรมใด ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะได้กระทําในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือ การทํานิติกรรมนั้นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะ

กรณีตามปัญหา การที่นายสุดหล่ออายุ 25 ปี ซึ่งเป็นคนวิกลจริตและศาลได้สั่งให้เป็นคน ไร้ความสามารถโดยมีนางสุดสวยเป็นผู้อนุบาล ได้ไปทําสัญญาซื้อรถยนต์จากนางสุดสวาท อายุ 28 ปี ในราคา 1,000,000 บาทนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าในขณะที่นายสุดหล่อทํานิติกรรมซื้อรถยนต์จากนางสุดสวาทนั้น นายสุดหล่อจะไม่มีอาการวิกลจริต และนางสุดสวาทไม่ทราบว่านายสุดหล่อเป็นคนไร้ความสามารถ อีกทั้งในการทํา นิติกรรมซื้อขายดังกล่าวนายสุดหล่อยังได้รับความยินยอมจากนางสุดสวยผู้อนุบาลก็ตาม ก็ถือว่า การทํานิติกรรม ซื้อขายรถยนต์ของนายสุดหล่อนั้น เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 29 ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ ระหว่างนายสุดหล่อกับนางสุดสวาทจึงมีผลเป็นโมฆียะ

สรุป นิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายสุดหล่อกับนางสุดสวาทมีผลเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 2. เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 นาย ก. ได้ตกลงขายรถยนต์ของตนคันหนึ่งเลขทะเบียน กท 9999 ให้แก่นาย ข. ในราคา 3,000,000 บาท ข้อเท็จจริงปรากฏว่า รถยนต์คันดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้ เสียหายไปหมดทั้งคันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 โดยที่นาย ก. และนาย ข. มิได้รู้แต่ประการใด

ดังนี้ สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลตามกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 150 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า

“นิติกรรมใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ”

คําว่า “พ้นวิสัย” หมายถึง การใด ๆ ที่ไม่สามารถกระทําได้โดยแน่แท้ และให้หมายความ รวมถึงการทํานิติกรรมที่มุ่งถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สิ่ง ๆ นั้นไม่มีตัวตนอยู่ในขณะทํานิติกรรม

ตามปัญหา การที่นาย ก. ได้ตกลงขายรถยนต์หมายเลขทะเบียน กท 9999 ของตนให้แก่ นาย ข. ในวันที่ 1 มกราคม 2560 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า รถยนต์คันดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้ เสียหายไปหมดทั้งคันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 จึงถือว่าสิ่งที่นาย ก. และนาย ข. ได้มุ่งถึงโดยเฉพาะจากการ ทํานิติกรรมคือรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้นไม่มีตัวตนอยู่ในขณะทํานิติกรรม ดังนั้นนิติกรรมซื้อขายรถยนต์ ดังกล่าวถือว่าเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย นิติกรรมจึงมีผลเป็นโมฆะ

สรุป

นิติกรรมในรูปสัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลเป็นโมฆะ เพราะ มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย

 

ข้อ 3. นายมะนาวตกลงทําสัญญาซื้อขายที่ดินของนายมะม่วงจํานวน 100 ตารางวา ราคาตารางวาละ 50,000 บาท โดยทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายมะม่วงส่งมอบที่ดิน ให้นายมะนาวจํานวน 103 ตารางวา นายมะนาวจึงปฏิเสธที่จะไม่รับมอบที่ดินจากนายมะม่วง

ดังนี้ นายมะนาวจะปฏิเสธไม่รับมอบที่ดินจากนายมะม่วงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 466 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า

“ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าได้มีการระบุจํานวนเนื้อที่ทั้งหมดไว้ และผู้ขายได้ส่งมอบ ทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อน้อยกว่าหรือมากไปกว่าที่ได้ตกลงทําสัญญาไว้ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิที่จะบอกปัดเสียหรือจะรับเอาไว้ และใช้ราคาตามส่วนก็ได้ ตามแต่จะเลือก

แต่ถ้าจํานวนส่วนที่ขาดตกบกพร่องหรือส่วนที่เกินนั้นมีจํานวนไม่มากกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ ทั้งหมดที่ได้ระบุไว้ ผู้ซื้อจะต้องรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วนจะบอกปัดไม่รับไม่ได้”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นายมะนาวได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายที่ดินของนายมะม่วงจํานวน 100 ตารางวา นั้น ถือว่าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มีการระบุจํานวนเนื้อที่ทั้งหมดไว้ ดังนั้นโดยหลักแล้วเมื่อนายมะม่วง ได้ส่งมอบที่ดินให้นายมะนาวมีจํานวนเนื้อที่เกินกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ นายมะนาวผู้ซื้อย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่รับมอบ ที่ดินจากนายมะม่วงได้ หรือนายมะนาวจะรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายมะม่วงได้ส่งมอบที่ดินให้แก่นายมะนาวมีจํานวน เนื้อที่ 103 ตารางวา ซึ่งเกินกว่าที่ตกลงกันแต่จํานวนส่วนที่เกินไปนั้นมีจํานวนเพียง 3 ตารางวา ซึ่งเป็นจํานวนที่ ไม่มากกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนเนื้อที่ทั้งหมดที่ตกลงกัน ดังนั้นกรณีนี้นายมะนาวจึงต้องรับเอาไว้และใช้ราคา ตามส่วน จะบอกปัดไม่รับไม่ได้

สรุป

นายมะนาวจะปฏิเสธไม่รับมอบที่ดินจากนายมะม่วงไม่ได้

 

ข้อ 4. นางแย้มสั่งจ่ายเช็คธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จํานวน 100,000 บาท แล้วส่งมอบให้แก่นางเย็นเพื่อเป็นของขวัญวันเกิด โดยหลังจากที่นางเย็นได้รับเช็คฉบับดังกล่าวมาแล้วก็นําไปเก็บไว้ จนหลงลืมมิได้นําไปยื่นให้ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ใช้เงินตามเช็คให้ จนเวลาล่วงเลยไป หนึ่งปีเศษนับแต่วันที่ที่ลงไว้ในเช็ค นางเย็นจึงนําเช็คไปยื่นให้ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ชําระเงินให้ในกรณีนี้หากเงินในบัญชีของนางแย้มที่สั่งจ่ายเช็คไปนั้นยังมีเพียงพอที่จะชําระให้แก่ นางเย็นได้ ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จะสามารถปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าว ให้แก่นางเย็นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 991 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็ค ของธนาคารไว้ว่า “ธนาคารจําต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คได้ คือ

(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจายตามเช็คนั้น หรือ

(2) เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3) ได้มีคําบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นางแย้มได้สั่งจ่ายเช็คธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จํานวน 100,000 บาท แล้วส่งมอบให้แก่นางเย็น และนางเย็น ด้นําเช็คไปเก็บไว้จนหลงลืมมิได้นําเช็คไปยื่นให้ธนาคารฯ ใช้เงินตามเช็ค จนเวลาล่วงเลยไปหนึ่งปีเศษนับแต่วันที่ที่ลงไว้ในเช็คนั้น เมื่อต่อมานางเย็นได้นําเช็คไปยื่นให้ธนาคารฯใช้เงิน ตามเช็คย่อมถือว่าเป็นการนําเช็คไปยื่นให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค (วันที่ที่ลงไว้ในเช็ค) แล้ว ดังนั้น แม้ว่าเงินในบัญชีของนางแย้มผู้สั่งจ่ายเช็คจะยังมีเพียงพอที่จะให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คได้ก็ตาม ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ก็สามารถที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คให้แก่นางเย็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 (2)

สรุป

ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) สามารถปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าว ให้แก่นางเย็นได้

 

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายชาติเป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ศาลได้ตั้งนางก้อยซึ่งเป็นมารดาของนายชาติเป็นผู้อนุบาล วันหนึ่งนายชาติให้แหวนของตนแก่นายวีระที่เป็นญาติกัน โดยนางก้อย ได้ให้ความยินยอมในการให้แหวนดังกล่าว

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมการให้แหวนของนายชาติแก่นายวีระมีผลทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 29 บัญญัติว่า “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

ตามหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถ กระทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีการฝ่าฝืนไปกระทํานิติกรรมใด ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะได้กระทําในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือการทํานิติกรรมนั้นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายชาติซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ทํา นิติกรรมโดยการให้แหวนของตนแก่นายวีระที่เป็นญาติกันนั้น แม้นายชาติจะได้ทํานิติกรรมการให้ดังกล่าว โดยนางก้อยมารดาของนายชาติที่ศาลได้ตั้งให้เป็นผู้อนุบาลของนายชาติได้ให้ความยินยอมในการให้แหวนดังกล่าว ก็ตาม นิติกรรมการให้แหวนของนายชาติแก่นายวีระก็มีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 29

สรุป

นิติกรรมการให้แหวนของนายชาติแก่นายวีระมีผลเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 2. นายเมฆเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ซึ่งนายหมอกต้องการซื้อที่ดินแปลงนี้จากนายเมฆนายหมอกจึงข่มขู่นายเมฆว่า ถ้าไม่ยอมขายที่ดินแปลงนี้ให้ นายหมอกจะเปิดเผยความลับของ นายเมฆให้คนอื่นทราบ นายเมฆไม่กลัวที่นายหมอกข่มขู่ แต่ยอมขายที่ดินให้เพราะสงสารนายหมอก ดังนี้ การแสดงเจตนาเข้าทําสัญญาระหว่างนายเมฆและนายหมอก เป็นการแสดงเจตนาอย่างไรและมีผลในทางกฎหมายอย่างไร ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 164 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ

การข่มขู่ที่จะทําให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทําขึ้น”

“การข่มขู่” คือการใช้อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคลอื่น เพื่อให้เขาแสดงเจตนาทํานิติกรรมออกมาตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ โดยอาจจะข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นภัย แก่ผู้ถูกข่มขู่ หรือแก่สกุลผู้ถูกข่มขู่ หรืออาจจะเป็นความเสียหายเป็นภัยแก่ทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขู่ก็ได้

และตามกฎหมาย ถ้าการข่มขู่นั้นเป็นการข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดภัยที่ร้ายแรงทําให้ผู้ถูกข่มขู่กลัว และยอมทํานิติกรรมตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ นิติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 164

ตามปัญหา การที่นายหมอกต้องการซื้อที่ดินของนายเมฆ นายหมอกจึงได้ข่มขู่นายเมฆว่า ถ้าไม่ยอมขายที่ดินแปลงนี้ให้จะเปิดเผยความลับของนายเมฆให้คนอื่นทราบนั้น การกระทําของนายหมอกถือว่า เป็นการข่มขู่นายเมฆแล้ว เพราะเป็นการใช้อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่จิตใจของนายหมอก

การแต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นายหมอกข่มขู่นายเมฆดังกล่าวนั้น ไม่ได้ทําให้ นายเมฆเกิดความกลัวต่อสิ่งที่นายหมอกข่มขู่แต่อย่างใด แต่ที่นายเมฆได้ขายที่ดินให้แก่นายหมอกนั้นเป็นเพราะ นายเมฆสงสารนายหมอก จึงถือว่า การที่นายเมฆได้ขายที่ดินให้แก่นายหมอกนั้น เป็นการแสดงเจตนาทํานิติกรรม ของนายเมฆเอง มิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการที่นายหมอกข่มขู่แต่อย่างใด ดังนั้น การแสดงเจตนาขายที่ดินของนายเมฆ จึงเป็นการแสดงเจตนาที่ถูกต้องสมบูรณ์ และสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์

สรุป

การแสดงเจตนาเข้าทําสัญญาระหว่างนายเมฆและนายหมอก เป็นการแสดงเจตนา ที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีผลทําให้สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวมีผลสมบูรณ์

 

ข้อ 3. นายเอกและนายโทตกลงทําสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งของนายโทในราคาหนึ่งล้านบาท นายเอกชําระเงินค่าที่ดินทั้งหมดให้นายโทและนายโทได้ส่งมอบโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายเอง โดยทั้งสองตกลงกันว่าจะไม่ไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายที่ดินที่นายเอกและนายโทตกลงทํากันนี้เป็นสัญญาซื้อขาย ประเภทใด และกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของใคร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 453 บัญญัติว่า “อันว่าซื้อขายนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อ ตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

และมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่า “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ท่านว่าเป็นโมฆะ…”

ตามปัญหา การที่นายเอกกับนายโทตกลงทําสัญญาซื้อขายที่ดินของนายโทในราคาหนึ่งล้านบาท นั้น ข้อตกลงระหว่างนายเอกกับนายโทดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 และการที่นายเอก และนายโทได้ตกลงกันว่าจะไม่ไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือได้ว่าทั้งสองได้ทํา สัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นสัญญาระหว่างนายเอกและนายโทจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) เพราะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และคู่กรณีไม่มีเจตนาที่จะไปกระทำตามแบบคือไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหน้าแต่อย่างใด

และแม้ว่าในการทําสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้น นายเอกจะได้ชําระเงินค่าที่ดินทั้งหมด นายโทและนายโทจะได้ส่งมอบโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายเอกแล้วก็ตาม แต่เมื่อสัญญาซื้อขายนั้นเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์ แต่คู่กรณีไม่ได้กระทําให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้ คือไม่ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายเอกและนายโท จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 455 วรรคหนึ่ง

และเมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงยังไม่โอนไปเป็น ของนายเอก ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายโท

สรุป

สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายเอกและนายโทเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่มีผล เป็นโมฆะ และกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปเป็นของนายเอก ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายโท

 

ข้อ 4. สุดหล่อเขียนเช็คฉบับหนึ่งสังธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์จ่ายเงินแก่สุดสวย สุดสวยรับเช็คมาแล้วขอให้สุดหล่อช่วยพาไปที่ธนาคารด้วย เมื่อถึงธนาคาร สุดสวยยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้จ่ายเงิน สุดหล่อยืนดูเป็นลมตายต่อหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารต้องจ่ายเงินตามเช็คให้แก่สุดสวยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 992 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า“หน้าที่และอํานาจของธนาคารซึ่งจะต้องใช้เงินตามเช็คที่นํามาเบิกแก่ตนนั้น ย่อมเป็นอัน สิ้นสุดลงเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1 มีคําบอกห้ามการใช้เงิน

2 ธนาคารรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย

3 ธนาคารรู้ว่าศาลได้มีคําสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือคําสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลายหรือได้มีประกาศโฆษณาคําสั่งเช่นนั้น”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า โดยหลักแล้วธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็ค ที่ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คเพื่อนํามาเบิกแก่ตน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 992 ที่ธนาคาร จะต้องงดจ่ายเงินโดยเด็ดขาด ถ้าธนาคารได้จ่ายเงินไปก็ไม่มีอํานาจที่จะไปหักเงินในบัญชีผู้สั่งจ่ายได้

ตามปัญหา การที่สุดหล่อผู้สั่งจ่ายได้เขียนเช็คฉบับหนึ่งและสั่งให้ธนาคารฯ จ่ายเงินแก่สุดสวย และในขณะที่สุดสวยยืนเช็คแก่ธนาคารฯ เพื่อให้จ่ายเงินนั้น สุดหล่อซึ่งได้ไปกับสุดสวยและยืนดูอยู่ด้วยเป็นลมตาย ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของธนาคารฯ ดังนี้เมื่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารฯ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของธนาคารได้รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย ก็ถือว่าธนาคารฯ ได้รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตายด้วย ดังนั้นธนาคารฯ จะต้องงดจ่ายเงินตามเช็คนั้น เพราะหน้าที่และอํานาจ ในการจ่ายเงินตามเช็คของธนาคารฯ ได้สิ้นสุดลงแล้วตามมาตรา 992 (2)

สรุป

ธนาคารฯ จะต้องงดจ่ายเงินตามเช็คให้แก่สุดสวย ตามเหตุผลและหลักกฎหมาย ดังกล่าวข้างต้น

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ นิติกรรม ดังต่อไปนี้ คือ

1 นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”

นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวนั้น แยกออกเป็น 2 กรณี คือ

1) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เสียสิทธิ หรือรับเอาหน้าที่อย่างใด ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น การที่ผู้เยาว์ตกลงรับเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้โดยเสน่หา โดยไม่มี เงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ เป็นต้น

2) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นการหลุดพ้นจาก หน้าที่โดยไม่มีเงื่อนไข หรือภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ผู้เยาว์ได้ทํานิติกรรมรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้ ทําให้ผู้เยาว์ หลุดพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องชําระหนี้ เป็นต้น

2 นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์ อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว”

คําว่า “นิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว” ที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเองนั้น หมายถึงนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําด้วยตนเอง จะให้บุคคลอื่นทําแทนไม่ได้นั่นเอง เช่น การจดทะเบียนรับรองบุตร เพื่อให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ หรือการทําพินัยกรรมในขณะที่ผู้เยาว์มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น

3 นิติกรรมที่เป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 24 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตาม สมควร”

ซึ่งนิติกรรมที่ได้รับการยกเว้นว่าผู้เยาว์สามารถกระทําได้โดยลําพัง โดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 24 นี้ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ

1) ต้องเป็นนิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพจริง ๆ อันขาดเสียไม่ได้ และ

2) ต้องเป็นนิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูป และฐานะการเงินของผู้เยาว์ด้วย

 

ข้อ 2. นายเมฆต้องการซื้อที่ดินของนายหมอก 1 แปลง แต่นายหมอกไม่ยอมขายให้ นายเมฆจึงข่มขู่นายหมอกว่า ถ้าไม่ขายที่ดินให้จะเปิดเผยความลับของนายหมอก นายหมอกไม่กลัวสิ่งที่นายเมฆข่มขู่ แต่นายหมอกยอมขายที่ดินให้เนื่องจากมีธุระจําเป็นต้องใช้เงินพอดี ดังนี้ สัญญาซื้อขายที่ดินเกิดจากการแสดงเจตนาที่บกพร่องหรือไม่ และสัญญาดังกล่าวมีผลในทาง กฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 164 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ

การข่มขู่ที่จะทําให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทําขึ้น”

“การข่มขู่” คือการใช้อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคลอื่น เพื่อให้เขาแสดงเจตนาทํานิติกรรมออกมาตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ โดยอาจจะข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นภัย แก่ผู้ถูกข่มขู่ หรือแก่สกุลผู้ถูกข่มขู่ หรืออาจจะเป็นความเสียหายเป็นภัยแก่ทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขู่ก็ได้

และตามกฎหมาย ถ้าการข่มขู่นั้นเป็นการข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดภัยที่ร้ายแรงทําให้ผู้ถูกข่มขู่กลัว และยอมทํานิติกรรมตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ นิติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 164

ตามปัญหา การที่นายเมฆต้องการซื้อที่ดินของนายหมอก 1 แปลง แต่นายหมอกไม่ยอมขายให้ นายเมฆจึงข่มขู่นายหมอกว่า ถ้าไม่ขายที่ดินให้จะเปิดเผยความลับของนายหมอกนั้น การกระทําของนายเมฆ ถือว่าเป็นการข่มขู่นายหมอกแล้ว เพราะเป็นการใช้อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่จิตใจของนายหมอก

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นายเมฆข่มขู่นายหมอกดังกล่าวนั้น นายหมอก ไม่กลัวสิ่งที่นายเมฆข่มขู่แต่อย่างใด แต่ที่นายหมอกยอมขายที่ดินให้แก่นายเมฆนั้นเป็นเพราะนายหมอกมีธุระ จําเป็นต้องใช้เงินพอดี จึงถือว่า การที่นายหมอกได้ขายที่ดินให้แก่นายเมฆนั้น เป็นการแสดงเจตนาทํานิติกรรม ของนายหมอกเอง มิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการที่นายเมฆข่มขู่แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินจึงมิได้เกิดจาก การแสดงเจตนาที่บกพร่องของนายหมอก คือมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการถูกข่มขู่โดยตรง สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าว จึงมีผลสมบูรณ์

สรุป สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ได้เกิดจากการแสดงเจตนาที่บกพร่อง และสัญญาดังกล่าวมีผล สมบูรณ์

 

ข้อ 3. นายเอกตกลงซื้อเสื้อสีดําจํานวน 200 ตัวจากนายโทในราคาตัวละ 100 บาท โดยนายเอกและนายโทนัดส่งมอบเสื้อสีดําทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น เมื่อถึงเวลาส่งมอบนายโทกลับนําเสื้อสีดํามาส่งมอบ เพียง 150 ตัว ดังนี้ นายเอกจะปฏิเสธที่จะไม่รับมอบเสื้อสีดําที่นายโทนํามาส่งมอบนั้นทั้งหมดและไม่ยอมชําระราคาเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับหน้าที่และ ความรับผิดของผู้ขายในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ หรือระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ

(1) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(2) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะ ที่ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมด แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(3) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ใน ข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้

ตามปัญหา การที่นายเอกได้ตกลงซื้อเสื้อสีดําจํานวน 200 ตัวจากนายโทนั้น เป็นการตกลง ซื้อขายทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ และเมื่อนายโทผู้ขายได้ส่งมอบเสื้อสีดําให้แก่นายเอกผู้ซื้อเพียง 150 ตัว กรณีนี้ถือว่านายโทผู้ขายมิได้ปฏิบัติตามสัญญา กล่าวคือ นายโทผู้ขายได้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้แก่นายเอกผู้ซื้อน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ดังนั้น ตามกฎหมายนายเอกผู้ซื้อย่อมมีสิทธิตามมาตรา 465 (1) คือ มีสิทธิที่จะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

ดังนั้น ตามปัญหานายเอกผู้ซื้อจึงสามารถปฏิเสธไม่รับมอบเสื้อสีดําจํานวน 150 ตัวที่นายโท นํามาส่งมอบทั้งหมดและไม่ชําระราคาเลยได้

สรุป นายเอกปฏิเสธไม่รับมอบเสื้อสีดําที่นายโทนํามาส่งมอบทั้งหมดและไม่ยอมชําระราคาเลยได้

 

ข้อ 4. ให้นักศึกษาตอบคําถามทั้งข้อ ก. และข้อ ข. โดยให้อธิบายหลักกฎหมาย

ก. ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือจําเป็นหรือไม่ที่ผู้โอนตั๋วต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว เพราะเหตุใด ข. เช็คที่ผู้ทรงเช็คยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน ธนาคารจะต้องจ่ายเงินให้หรือไม่ ถ้าปรากฏว่าเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีไม่พอตามมูลค่าเช็คที่ยื่น

ธงคําตอบ

ก. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับวิธีการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ ไว้ดังนี้ คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตัวนั้นให้แก่กัน (มาตรา 918)

2 การสลักหลังตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ ให้ถือว่าเป็นเพียงการอาวัล (รับประกัน) ผู้สั่งจ่าย(มาตรา 921)

ดังนั้น ในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือจึงไม่จําเป็นที่ผู้โอนตั๋วจะต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋วเพราะ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้กําหนดไว้แล้วว่า ในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือนั้น การโอนย่อมสมบูรณ์ โดยการที่ผู้โอนเพียงแต่ส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่ผู้รับโอนเท่านั้น ไม่ต้องมีการสลักหลังแต่อย่างใด ในกรณีที่มีการสลักหลัง กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงการรับประกันหรือรับอาวัลผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

ข. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็คของธนาคาร ไว้ดังนี้ คือ

1 ธนาคารจําต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณี ที่ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 991 (1)

2 ถ้าธนาคารได้รับรองเช็คโดยเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคําว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือคําใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ธนาคารต้องผูกพันในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงิน แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 993 วรรคหนึ่ง)

โดยหลักแล้วธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค จะต้องจ่ายเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น เมื่อ ผู้ทรงเช็คได้นําเช็คมายื่นเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงิน แต่ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินตาม เช็คนั้นก็ได้ ถ้าหากเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คนั้นไม่มีหรือมีแต่ไม่พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเช็คนั้น เป็นเช็คที่ธนาคารผู้จ่ายได้รับรองเช็คไว้แล้ว ธนาคารก็จะต้องผูกพันในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันที่จะต้องจ่ายเงิน ตามเช็คนั้น จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินโดยอ้างว่าเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คไม่มีหรือมีแต่ไม่พอจ่ายไม่ได้

สรุป

ก. ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ ในการโอนผู้โอนไม่จําเป็นต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว

ข. เช็คที่ผู้ทรงเช็คยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน ถ้าปรากฏว่าเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีไม่พอตามมูลค่าเช็ค ธนาคารจะจ่ายหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ถ้าเป็นเช็คที่ธนาคารผู้จ่าย ได้รับรองไว้แล้ว ธนาคารก็จะต้องจ่ายเงินตามเช็คนั้น

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ที่บุคคลใดจะเป็นคนสาบสูญมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 61 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ของการเป็นคนสาบสูญไว้ดังนี้ คือ

1 บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลา 5 ปีในกรณีธรรมดา โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีผู้ได้พบเห็น หรือ นับตั้งแต่วันที่บุคคลนั้นได้จากภูมิลําเนาไป หรือนับแต่วันที่ได้รับข่าวคราวของบุคคลนั้น ในครั้งหลังสุดเป็นต้นไป แต่ถ้าเป็นกรณีพิเศษให้นับระยะเวลาเพียง 2 ปี โดยให้เริ่มนับดังนี้คือ 1) ให้เริ่มนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

2) ให้เริ่มนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

3) ให้เริ่มนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน 1) หรือ 2) ได้ผ่านพ้นไปถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

2 ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญและ

3 ศาลได้มีคําสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ

และเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญแล้ว ก็ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย เมื่อครบ กําหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 62 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลซึ่งศาลได้มีคําสั่ง ให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกําหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61”

 

ข้อ 2. นาย ก. ได้เอาเข็มขัดทองแดงมาขายให้นาย ข. โดยบอกว่าเป็นวัตถุที่มีทองคําเจือปน ข้อเท็จจริงไม่มีทองคําดังที่นาย ก. อ้าง ถ้านาย ข. หลงเชื่อและซื้อไป ต่อมาได้รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ นาย ข. บอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทําขึ้น”

นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล และจะตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1 มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดต่อความจริง

2 ได้กระทําโดยจงใจเพื่อหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น

3 การใช้อุบายหลอกลวงนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น คงจะมิได้กระทําขึ้น

ตามปัญหา การที่นาย ข. ได้ซื้อเข็มขัดทองแดงจากนาย ก. นั้น นิติกรรมในรูปสัญญาซื้อขาย ดังกล่าวเป็นโมฆียะ ซึ่งนาย ข. สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เพราะเป็นนิติกรรมที่นาย ข. ได้แสดงเจตนาเนื่องจาก ถูกนาย ก. ใช้กลฉ้อฉลตามมาตรา 159 คือ การที่นาย ก. ได้หลอกลวงนาย ข. ว่าเข็มขัดเส้นนั้นเป็นวัตถุที่มีทองคํา เจือปน แต่ข้อเท็จจริงไม่มีทองคําตามที่นาย ก. อ้างแต่อย่างใด และการใช้อุบายหลอกลวงดังกล่าวถึงขนาดทําให้ นาย ข. หลงเชื่อและซื้อเข็มขัดเส้นนั้นจากนาย ก.

สรุป

สัญญาซื้อขายเป็นโมฆยะ นาย ข. บอกเลิกสัญญาได้

 

ข้อ 3. นายดําตกลงซื้อไข่เป็ดของนายแดงจํานวน 500 ฟอง เป็นเงิน 2,000 บาท โดยนายแดงจะนําไข่เป็ดนั้นมาส่งมอบให้แก่นายดําที่บ้านในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าในเวลาที่นายแดงมาส่งมอบไข่ที่ ตกลงซื้อกันไว้นั้น กลับพบว่ามีทั้งไข่ไก่และไข่เป็ดระคนปนกันมาจํานวน 500 ฟอง นายดําจึงปฏิเสธ ที่จะรับมอบไข่ดังกล่าวทั้งหมด รวมทั้งปฏิเสธที่จะชําระราคาค่าไข่เป็ดแก่นายแดง เช่นนี้นักศึกษา จงวินิจฉัยว่านายดํามีสิทธิตามกฎหมายที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบไข่ที่นายแดงนํามาส่งมอบ ทั้งหมดและไม่ชําระราคาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับหน้าที่และความ รับผิดของผู้ขายในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ หรือ ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ

(1) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(2) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะที่ ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเลยก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(3) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ใน ข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายดําได้ตกลงซื้อไข่เป็ดจากนายแดง ซึ่งเป็นการตกลงซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เมื่อนายแดงผู้ขายได้ส่งมอบไข่ไก่ระคนปนกันมากับไข่เป็ด ดังนี้ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น คือมีสิทธิที่จะรับเอาไว้เฉพาะไข่เป็ดซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและบอกปัดไม่รับมอบไข่ไก่ หรือจะ ปฏิเสธไม่ยอมรับมอบไข่ไก่และไข่เป็ดนั้นทั้งหมดตลอดจนไม่ชําระราคาค่าไข่นั้นก็ได้

สรุป นายดํามีสิทธิตามกฎหมายที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบไข่ที่นายแดงนํามาส่งมอบทั้งหมด และไม่ชําระราคาได้ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. อัคนีสั่งจ่ายเช็คจํานวน 100,000 บาท ระบุอุบลเป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคําว่า “ หรือผู้ถือ” ในเช็คออก และส่งมอบให้อุบลเพื่อชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่มีต่อกัน หากต่อมาอุบลต้องการจะ โอนเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่ทิพอาภา อุบลจะต้องกระทําการโอนอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นการโอนเช็ค ฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 918 บัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

ตามหลักกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า ตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือนั้น ถ้าจะมีการโอน ให้แก่กัน การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตั๋วเงินให้แก่กันเท่านั้นไม่ต้องมีการสลักหลังแต่อย่างใด

จากข้อเท็จจริง เช็คที่อัคนีสั่งจ่ายระบุชื่ออุบลเป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ใน เช็คออก ถือว่าเป็นเช็คแบบระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ดังนั้นหากต่อมาอุบลต้องการจะโอนเช็คฉบับดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่ ทิพอาภา อุบลสามารถโอนได้โดยการส่งมอบเช็คนั้นให้แก่ทิพอาภาเท่านั้นโดยไม่ต้องสลักหลัง ก็ถือว่าการโอนเช็ค ดังกล่าวเป็นการโอนโดยชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

อุบลจะต้องกระทําการโอนด้วยการส่งมอบเช็คให้แก่ทิพอาภาเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็น การโอนเซ็คโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นางสาวเกดอายุ 18 ปี ได้รับเงินจากนายชัดซึ่งเป็นคุณปู่ของนางสาวเกดจํานวน 20,000 บาท โดยที่นางแก้วมารดาของนางสาวเกดไม่ได้รู้เห็นแต่อย่างใด ต่อมานางสาวเกดได้นําเงินทั้งหมดไป ซื้อกระเป๋าสะพายยี่ห้อดังตามลําพังโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนางแก้ว นางแก้วมาทราบเรื่อง ทั้งหมดภายหลัง ดังนี้ นางแก้วจะบอกล้างนิติกรรมการรับเงิน และซื้อกระเป๋าสะพายของนางสาวเกดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการทํานิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ดังนี้

1 ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน นิติกรรม ใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงโดยปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆยะ (มาตรา 21)

2 ผู้เยาว์อาจทํานิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นนิติกรรมเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิ อันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง (มาตรา 22)

3 ผู้เยาว์อาจทํานิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ถ้าเป็นนิติกรรมที่เป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร (มาตรา 24)

กรณีตามปัญหา แยกพิจารณาได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1

การที่นายชัดซึ่งเป็นคุณปู่ของนางสาวเกดผู้เยาว์ได้ให้เงินจํานวน 20,000 บาท แก่นางสาวเกด โดยที่นางแก้วซึ่งเป็นมารดาของนางสาวเกดและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาวเกดไม่ได้รู้เห็น และให้ความยินยอมในการรับเงินของนางสาวเกดแต่อย่างใดนั้น กรณีนี้ถือว่านิติกรรมการรับเงินของนางสาวเกด มีผลสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เพราะเป็นนิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22 คือเป็นนิติกรรมที่นางสาวเกด ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเองและจะมีผลสมบูรณ์ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากนางแก้วผู้แทนโดย ชอบธรรม และเมื่อนิติกรรมการรับเงินของนางสาวเกดมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ ดังนั้นนางแก้วจะบอกล้าง นิติกรรมการรับเงินของนางสาวเกดไม่ได้

ประเด็นที่ 2

การที่นางสาวเกดผู้เยาว์ได้นําเงินจํานวน 20,000 บาท ที่ได้รับจากนายชัด ไปซื้อกระเป๋าสะพายยี่ห้อดังตามลําพังโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนางแก้วผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น นิติกรรม การซื้อกระเป๋าสะพายของนางสาวเกดย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เพราะเป็นนิติกรรมที่นางสาวเกดผู้เยาว์ ได้ทําลงโดยปราศจากความยินยอมของนางแก้วผู้แทนโดยชอบธรรม และการซื้อกระเป๋าสะพายดังกล่าวไม่ใช่นิติกรรม ที่เป็นการสมแก่ฐานานุรูปและเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควรของผู้เยาว์ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 24 ที่ผู้เยาว์จะสามารถทําได้โดยลําพังตนเองได้ และเมื่อนิติกรรมการซื้อกระเป๋าสะพายดังกล่าวตกเป็นโมฆียะ ดังนั้นนางแก้วจึงสามารถบอกล้างนิติกรรมนี้ได้

สรุป

นางแก้วจะบอกล้างนิติกรรมการรับเงินของนางสาวเกดไม่ได้ แต่สามารถบอกล้างนิติกรรม การซื้อกระเป๋าสะพายของนางสาวเกดได้

 

ข้อ 2. นายเมฆต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายหมอก ซึ่งมีเนื้อที่ 10 ไร่ ตกลงราคากัน 5 ล้านบาท พอถึงวันนัดทําสัญญากัน นายเมฆทําสัญญาเช่าที่ดินจากนายหมอก โดยที่นายเมฆเข้าใจว่า สัญญาเช่าที่ดินนี้ คือสัญญาซื้อขาย ดังนี้ สัญญาเช่าที่ดินเกิดจากการแสดงเจตนาอย่างไร และมีผลในทางกฎหมาย อย่างไร

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 156 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า “การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ

ความสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสําคัญผิดใน ลักษณะของนิติกรรม ความสําคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสําคัญผิดในทรัพย์สินซึ่ง เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น”

ตามปัญหา การที่นายเมฆต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายหมอก ซึ่งมีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคา 5 ล้านบาท และเมื่อถึงวันนัดทําสัญญากัน นายเมฆได้ทําสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากนายหมอก โดยที่นายเมฆ เข้าใจว่า สัญญาเช่าที่ดินนี้คือสัญญาซื้อขายนั้น ถือว่านายเมฆได้แสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม กล่าวคือ นายเมฆต้องการแสดงเจตนาทํานิติกรรมอย่างหนึ่ง แต่ได้แสดงเจตนาทํานิติกรรมอีกอย่างหนึ่ง เพราะ เข้าใจผิดคิดว่าเป็นนิติกรรมที่ตนประสงค์จะทําและเมื่อการแสดงเจตนาเพราะสําคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญแห่งนิติกรรม ดังนั้น การแสดงเจตนา ทําสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 156

สรุป

สัญญาเช่าที่ดินเกิดจากการแสดงเจตนาเพราะสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญแห่ง นิติกรรม และมีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 3. นายเอกต้องการซื้อดินจากนายโทเพื่อนําไปถมที่ดินของตนจํานวน 20 คันรถ ตกลงราคากัน 20,000 บาท โดยนายเอกตกลงกับนายโทว่าจะไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ สัญญาซื้อขายดินระหว่างนายเอกและนายโทเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และมีผลในทาง กฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นายเอกได้ตกลงซื้อดินจากนายโทเพื่อนําไปถมที่ดินของตนจํานวน 20 คันรถ โดยตกลงราคา 20,000 บาทนั้น การตกลงซื้อดินดังกล่าวถือว่าเป็นการตกลงซื้อขายทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ และเมื่อทั้งสองได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาด

เมื่อเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเป็นเพียงสังหาริมทรัพย์ ธรรมดา ดังนั้นแม้ทั้งสองจะได้ตกลงกันว่าจะไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขาย ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดานั้น กฎหมายมิได้กําหนดแบบของการทําสัญญาไว้แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาซื้อขายดินระหว่างนายเอกและนายโท จึงไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง

สรุป สัญญาซื้อขายดินดังกล่าวระหว่างนายเอกและนายโทเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

 

ข้อ 4. ให้ตอบคําถามทั้งข้อ ก. และข้อ ข. โดยให้อธิบายหลักกฎหมาย

ก. ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือจําเป็นหรือไม่ที่ผู้โอนตัวต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว เพราะเหตุใด ข. เช็คที่ผู้ทรงเซ็คยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน ธนาคารจะต้องจ่ายเงินให้หรือไม่ ถ้าปรากฏว่าเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีไม่พอตามมูลค่าเช็คที่ยื่น

ธงคําตอบ

ก. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับวิธีการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือไว้ ดังนี้ คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่กัน (มาตรา 918)

2 การสลักหลังตัวแลกเงินชนิดผู้ถือ ให้ถือว่าเป็นเพียงการอาวัล (รับประกัน) ผู้สั่งจ่าย(มาตรา 921)

ดังนั้น ในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือจึงไม่จําเป็นที่ผู้โอนตั๋วจะต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว เพราะ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้กําหนดไว้แล้วว่า ในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือนั้น การโอนย่อมสมบูรณ์ โดยการที่ผู้โอนเพียงแต่ส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่ผู้รับโอนเท่านั้น ไม่ต้องมีการสลักหลังแต่อย่างใด ในกรณีที่มีการสลักหลัง กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงการรับประกันหรือรับอาวัลผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

ข. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็คของธนาคาร ไว้ดังนี้ คือ

1 ธนาคารจําต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณี ที่ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 991 (1)

2 ถ้าธนาคารได้รับรองเช็คโดยเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคําว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือคําใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ธนาคารต้องผูกพันในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงิน แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 993 วรรคหนึ่ง)

โดยหลักแล้วธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค จะต้องจ่ายเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น เมื่อ ผู้ทรงเช็คได้นําเช็คมายื่นเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงิน แตธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินตาม เช็คนั้นก็ได้ ถ้าหากเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คนั้นไม่มีหรือมีแต่ไม่พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเช็คนั้น เป็นเช็คที่ธนาคารผู้จ่ายได้รับรองเช็คไว้แล้ว ธนาคารก็จะต้องผูกพันในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันที่จะต้องจ่ายเงิน ตามเช็คนั้น จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินโดยอ้างว่าเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คไม่มีหรือมีแต่ไม่พอจ่ายไม่ได้

สรุป

ก. ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ ในการโอนผู้โอนไม่จําเป็นต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว

ข. เช็คที่ผู้ทรงเช็คยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน ถ้าปรากฏว่าเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีไม่พอตามมูลค่าเช็ค ธนาคารจะจ่ายหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ถ้าเป็นเช็คที่ธนาคารผู้จ่าย ได้รับรองไว้แล้ว ธนาคารก็จะต้องจ่ายเงินตามเช็คนั้น

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายวงศ์เป็นบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ วันหนึ่งนายวงศ์ขายรถจักรยานของตนแก่นายคมซึ่งเป็นเพื่อนในราคา 1,000 บาท โดยในขณะนั้นนายวงศ์มีจิตปกติ ไม่ได้มีอาการวิกลจริต แต่นายคมทราบดีว่านายวงศ์เป็นคนวิกลจริต ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมการขายจักรยานของนายวงศ์แก่นายคมมีผลทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 30 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการทํานิติกรรมของ คนวิกลจริตไว้ว่า “คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อนิติกรรมนั้นได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่า ผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อ

1 นิติกรรมนั้นได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และ

2 คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้กระทํานิติกรรมนั้นเป็นคนวิกลจริต

ตามปัญหา การที่นายวงศ์ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตแต่ศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ได้ทํานิติกรรมโดยการขายรถจักรยานของตนให้แก่นายคมซึ่งเป็นเพื่อนในราคา 1,000 บาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ในขณะที่นายวงศ์ได้ขายรถจักรยานให้แก่นายคมนั้น นายวงศ์มีจิตปกติไม่ได้มีอาการวิกลจริตแต่ อย่างใด ดังนั้น แม้นายคมจะทราบดีอยู่แล้วว่านายวงศ์เป็นคนวิกลจริต ก็ไม่ทําให้นิติกรรมการขายรถจักรยาน ของนายวงศ์แก่นายคมตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด กล่าวคือนิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์นั่นเอง

สรุป

นิติกรรมการขายรถจักรยานของนายวงศ์แก่นายคมมีผลสมบูรณ์

 

ข้อ 2. กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง คืออะไร ให้ท่านอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 162 ได้บัญญัติลักษณะของกลฉ้อฉลโดยการนิ่งไว้ว่า

“ในนิติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสีย ไม่ไขข้อความจริงหรือคุณสมบัติอันใด อันหนึ่งที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้นั้น ให้ถือว่าเป็นกลฉ้อฉล ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมอันนั้น ก็คงจะมิได้ทําขึ้นเลย”

กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง คือการที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้ใช้อุบายหลอกลวงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด เพื่อให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นแสดงเจตนาทํานิติกรรมด้วยเช่นเดียวกับกลฉ้อฉลโดยทั่ว ๆ ไป เพียงแต่กลฉ้อฉลโดย การนิ่งนั้น เกิดขึ้นโดยคู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้เท่านั้น โดยไม่มี การแสดงข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา

กรณีที่จะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลโดยการนิ่งและจะมีผลทําให้นิติกรรมที่เกิดขึ้นตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้ คือ

1 จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในนิติกรรมสองฝ่ายที่เรียกว่าสัญญา เท่านั้น

2 คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงหรือข้อคุณสมบัติอันใดอันหนึ่งซึ่งคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ คือคู่กรณีฝ่ายหนึ่งนั้นได้จงใจหรือตั้งใจที่จะปกปิดข้อความจริงหรือ ข้อคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่ตนมีหน้าที่ที่จะต้องบอกความจริงนั้น

3 คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้ทําขึ้นเลย

ตัวอย่าง เช่น ในสัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตเคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย โรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ไม่มีทางรักษา และอาจตายได้ภายใน 7 วัน 6 เดือนหรืออย่างช้า 5 ปี ซึ่งผู้เอาประกัน ชีวิตมีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงข้อนี้แก่ผู้รับประกันภัย แต่ได้ปกปิดความจริงไม่เปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยได้ ทราบความจริงนั้น ดังนี้ ย่อมถือว่า ผู้เอาประกันชีวิตได้ใช้กลฉ้อฉลโดยการนิ่งแล้ว และมีผลทําให้สัญญาประกัน ชีวิตตกเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 3. นายเมฆทําสัญญาซื้อขายเก้าอี้จากนายหมอกจํานวน 50 ตัว พอถึงวันส่งมอบ นายหมอกนําเก้าอี้มาส่งมอบให้นายเมฆจํานวน 50 ตัว พร้อมทั้งโต๊ะอีก 50 ตัว ดังนี้ ถ้านายเมฆไม่พอใจ จะปฏิเสธไม่รับมอบทั้งเก้าอี้และโต๊ะได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับสิทธิของ ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายในกรณีที่ผู้ขายได้มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้ สัญญาไว้ หรือระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ

(1) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(2) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะ ที่ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมด แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(3) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ใน ข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้

ตามปัญหา การที่นายเมฆทําสัญญาซื้อขายเก้าอี้จากนายหมอกจํานวน 50 ตัว พอถึงวันส่งมอบ นายหมอกนําเก้าอี้มาส่งมอบให้นายเมฆจํานวน 50 ตัว พร้อมทั้งโต๊ะอีก 50 ตัวนั้น กรณีดังกล่าวถือได้ว่านายหมอก ผู้ขายมิได้ปฏิบัติตามสัญญา กล่าวคือได้ส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนปนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้ รวมอยู่ในข้อสัญญา ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 465 (3) นายเมฆผู้ซื้อย่อมมีสิทธิที่จะรับเอาไว้เฉพาะเก้าอี้จํานวน 50 ตัว ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา และบอกปัดไม่รับมอบโต๊ะ 50 ตัวนั้น หรือจะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบ เก้าอี้ทั้ง 50 ตัว และโต๊ะ 50 ตัวนั้นทั้งหมดก็ได้

ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เมื่อนายเมฆไม่พอใจ นายเมฆย่อมสามารถปฏิเสธไม่รับมอบ ทั้งเก้าอี้และโต๊ะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 465 (3)

สรุป

ถ้านายเมฆไม่พอใจ นายเมฆสามารถปฏิเสธไม่รับมอบทั้งเก้าอี้และโต๊ะได้

 

ข้อ 4. (ก) ตั๋วแลกเงินสามารถโอนให้กันได้โดยวิธีใดบ้าง จงอธิบายพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบ

(ข) เมื่อผู้เคยค้าออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ธนาคารจําต้องใช้เงินตราตามคําสั่ง เว้นกรณีใดบ้างที่ธนาคารไม่จําเป็นต้องใช้เงินตามเช็คนั้น

ธงคําตอบ

(ก) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้ คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง)

2 ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3 การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)

จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้นสามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

1 ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) การโอนย่อมสามารถทําได้โดยการ สลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง) หมายความว่าตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะ มีการโอนต่อไปให้แก่บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและ ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย” ก็ได้

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินเท่านั้น (มาตรา 919 วรรคสอง)

ตัวอย่าง หนึ่งได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินให้แก่สาม โดยระบุชื่อสามเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปให้ ก. สามจะต้องลงลายมือชื่อของสามสลักหลังไว้ด้วย โดยสามอาจจะระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังลงไว้ในตัวด้วยซึ่งเรียกว่า การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสามอาจจะ ลงแต่ลายมือชื่อของสามไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่ระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังไว้ในตัวซึ่งเรียกว่าเป็น การสลักหลังลอยก็ได้

2 ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนตั๋วชนิดนี้ย่อมสามารถทําได้โดยการ ส่งมอบตั๋วแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีการสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

ตัวอย่าง หนึ่งออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินแก่ผู้ถือ และส่งมอบตัวนั้นให้แก่สาม ดังนี้ ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ให้แก่ ก. สามสามารถโอนได้โดยการส่งมอบตัวให้แก่ ก. โดยที่สาม ไม่ต้องลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋ว การโอนตั๋วดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์

(ข) เมื่อผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน โดยหลักแล้วธนาคารจําต้องใช้เงิน ตามคําสั่ง เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ธนาคารมีสิทธิไม่ต้องใช้เงินตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 991)

(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้น เป็นเจ้าหนี้พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(2) เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3) ได้มีคําบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 32 วรรคหนึ่ง มีดังนี้คือ

1 บุคคลนั้นจะต้องมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

(1) กายพิการ

(2) จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(3) ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ

(4) ติดสุรายาเมา

(5) มีเหตุอื่นในทํานองเดียวกันกับ (1) – (4)

2 บุคคลนั้นไม่สามารถจะจัดทําการงานโดยตนเองได้ เพราะเหตุบกพร่องนั้น หรือจัดทํา การงานได้ แต่จะจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว

3 ได้มีบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล

4 ศาลได้มีคําสั่งแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

 

ข้อ 2. นายฟ้าต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน 6s เครื่องใหม่มือหนึ่งจากนายเหลืองจํานวน 1 เครื่อง แต่นายเหลืองกลับนําโทรศัพท์มือสองมาขายให้นายฟ้า โดยบอกนายฟ้าว่าเป็นโทรศัพท์เครื่องใหม่ นายฟ้าจึงตกลงใจซื้อโทรศัพท์จากนายเหลืองเพราะเชื่อใจนายเหลือง ดังนี้ นิติกรรมระหว่างนายฟ้าและนายเหลืองเป็นการแสดงเจตนาอย่างไร และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทําขึ้น”

นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล และจะตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1 มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดต่อความจริง

2 ได้กระทําโดยจงใจเพื่อหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น

3 การใช้อุบายหลอกลวงนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นิติกรรมอันเป็น โมณียะนั้น คงจะมิได้กระทําขึ้น

ตามปัญหา การที่นายฟ้าต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่มือหนึ่งจากนายเหลือง 1 เครื่อง แต่นายเหลืองกลับนําโทรศัพท์มือสองมาขายให้นายฟ้า โดยบอกกับนายฟ้าว่าเป็นโทรศัพท์เครื่องใหม่ ทําให้นายฟ้า ตกลงซื้อโทรศัพท์จากนายเหลืองเพราะเชื่อใจนายเหลืองนั้น กรณีดังกล่าวถือว่านายเหลืองได้จงใจใช้อุบายหลอกลวง นายฟ้าด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแล้ว และเมื่อการใช้อุบายหลอกลวงของนายเหลืองได้ถึงขนาด กล่าวคือทําให้นายฟ้าหลงเชื่อและได้แสดงเจตนาเข้าทํานิติกรรมซื้อโทรศัพท์จากนายเหลือง จึงถือว่า นายฟ้าได้ แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ดังนั้น การแสดงเจตนาของนายฟ้า จึงมีผลเป็นโมฆี่ยะ และนายฟ้าสามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้

สรุป

นิติกรรมระหว่างนายฟ้าและนายเหลืองเป็นการแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉล และมีผล เป็นโมฆียะ

 

ข้อ 3. นายเมฆต้องการซื้อบ้านทรงไทย 1 หลัง ราคา 5 ล้านบาท ที่นายหมอกปลูกไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง นายหมอกทําการรื้อบ้านทรงไทยหลังดังกล่าว เพื่อนําไปปลูกบนที่ดินของนายเมฆ โดยที่ทั้งสองคน ตกลงกันว่าจะไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้สัญญาซื้อขายบ้านทรงไทย ระหว่างนายเมฆและนายหมอกเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นายเมฆได้ซื้อบ้านทรงไทย 1 หลังจากนายหมอก โดยตกลงให้นายหมอก ทําการรื้อบ้านทรงไทยหลังดังกล่าวเพื่อนําไปปลูกบนที่ดินของนายเมฆนั้น ถือว่าเป็นการตกลงซื้อขายทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ และเมื่อทั้งสองได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว สัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

เมื่อเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเป็นเพียงสังหาริมทรัพย์ ธรรมดา ดังนั้นแม้ทั้งสองจะได้ตกลงกันว่าจะไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขาย ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดานั้น กฎหมายมิได้กําหนดแบบของการทําสัญญาไว้แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาซื้อขายบ้านทรงไทยระหว่างนายเมฆและ นายหมอก จึงไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง

สรุป

สัญญาซื้อขายบ้านทรงไทยระหว่างนายเมฆและนายหมอกเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

 

ข้อ 4. นางแย้มสั่งจ่ายเช็คธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จํานวน 100,000 บาท แล้วส่งมอบให้แก่นางเย็นเพื่อเป็นของขวัญวันเกิด โดยหลังจากที่นางเย็นได้รับเช็คฉบับดังกล่าวมาแล้วก็นําไปเก็บไว้ จนหลงลืมมิได้นําไปยื่นให้ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ใช้เงินตามเช็คให้ จนเวลาล่วงเลยไป หนึ่งปีเศษนับแต่วันที่ที่ลงไว้ในเซ็ค นางเย็นจึงนําเช็คไปยื่นให้ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ชําระเงินให้ในกรณีนี้หากเงินในบัญชีของนางแย้มที่สั่งจ่ายเช็คไปนั้นยังมีเพียงพอที่จะชําระให้แก่ นางเย็นได้ ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จะสามารถปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าว ให้แก่นางเย็นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 991 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็ค ของธนาคารไว้ว่า “ธนาคารจําต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คได้ คือ

(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(2) เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3) ได้มีคําบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นางแย้มได้สั่งจ่ายเช็คธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จํานวน 100,000 บาท แล้วส่งมอบให้แก่นางเย็น และนางเย็น ด้นําเช็คไปเก็บไว้จนหลงลืมมิได้นําเช็คไปยื่นให้ธนาคารฯ ใช้เงินตามเช็ค จนเวลาล่วงเลยไปหนึ่งปีเศษนับแต่วันที่ที่ลงไว้ในเช็คนั้น เมื่อต่อมานางเย็นได้นําเช็คไปยืนให้ธนาคารฯ ใช้เงิน ตามเช็ค ย่อมถือว่าเป็นการนําเช็คไปยื่นให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค (วันที่ที่ลงไว้ในเช็ค) แล้ว ดังนั้น แม้ว่าเงินในบัญชีของนางแย้มผู้สั่งจ่ายเช็คจะยังมีเพียงพอที่จะให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คได้ก็ตาม ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ก็สามารถที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คให้แก่นางเย็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 (2)

สรุป

ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) สามารถปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าว ให้แก่นางเย็นได้

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําฟังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ นิติกรรม ดังต่อไปนี้ คือ

1 นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”

นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวนั้น แยกออกเป็น 2 กรณี คือ

1) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เสียสิทธิ หรือรับเอาหน้าที่อย่างใด ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น การที่ผู้เยาว์ตกลงรับเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้โดยเสน่หา โดยไม่มี เงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ เป็นต้น

2) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นการหลุดพ้นจาก หน้าที่โดยไม่มีเงื่อนไข หรือภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ผู้เยาว์ได้ทํานิติกรรมรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้ ทําให้ผู้เยาว์ หลุดพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องชําระหนี้ เป็นต้น

2 นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์ อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว”

คําว่า “นิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว” ที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเองนั้น หมายถึงนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําด้วยตนเอง จะให้บุคคลอื่นทําแทนไม่ได้นั่นเอง เช่น การจดทะเบียนรับรองบุตร เพื่อให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ หรือการทําพินัยกรรมในขณะที่ผู้เยาว์มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น

3 นิติกรรมที่เป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 24 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร”

ซึ่งนิติกรรมที่ได้รับการยกเว้นว่าผู้เยาว์สามารถกระทําได้โดยลําพัง โดยไม่ต้องได้ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 24 นี้ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ

1) ต้องเป็นนิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพจริง ๆ อันขาดเสียไม่ได้ และ 2) ต้องเป็นนิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูป และฐานะการเงินของผู้เยาว์ด้วย

 

ข้อ 2. นายเอต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายบี แต่นายที่ไม่ต้องการขายที่ดินแปลงดังกล่าว นายเอจึงไปหานายบีที่บ้านและบอกแก่นายบีว่า ถ้านายไม่ยอมขายที่ดินให้ตน ตนจะเปิดเผยความลับ ของนายบีให้ญาติของนายบีทราบ นายบีเกิดความกลัวจึงยอมทําสัญญาซื้อขายที่ดินกับนายเอ ดังนี้สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวมีการแสดงเจตนาที่บกพร่องอย่างไร และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 164 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ

การข่มขู่ที่จะทําให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทําขึ้น”

“การข่มขู่” คือการใช้อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคลอื่น เพื่อให้เขาแสดงเจตนาทํานิติกรรมออกมาตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ โดยอาจจะข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นภัย แก่ผู้ถูกข่มขู่ หรือแก่สกุลผู้ถูกข่มขู่ หรืออาจจะเป็นความเสียหายเป็นภัยแก่ทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขู่ก็ได้

และตามกฎหมาย ถ้าการข่มขู่นั้นเป็นการข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดภัยที่ร้ายแรงทําให้ผู้ถูกข่มขู่กลัว และยอมทํานิติกรรมตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ นิติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 164

ตามปัญหา การที่นายเอต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายบี แต่นายบีไม่ต้องการขายที่ดิน แปลงดังกล่าว นายเอจึงไปหานายบีที่บ้านและบอกแก่นายบีว่า ถ้านายบีไม่ยอมขายที่ดินให้ตน ตนจะเปิดเผยความลับ ของนายบีให้ญาติของนายบีทราบนั้น การกระทําของนายเอถือว่าเป็นการข่มขู่นายบีแล้ว เพราะเป็นการใช้ อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่จิตใจของนายบี และเมื่อนายบีเกิดความกลัวจึงยอมทําสัญญาซื้อขายที่ดิน กับนายเอ การแสดงเจตนาทําสัญญาซื้อขายที่ดินของนายบีจึงเป็นการแสดงเจตนาที่บกพร่อง กล่าวคือถือว่า เป็นการแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ และมีผลทําให้สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวตกเป็นโมฆียะ

สรุป สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวมีการแสดงเจตนาที่บกพร่อง คือนายบีได้แสดงเจตนา เพราะถูกข่มขู่ และมีผลทางกฎหมายคือตกเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 3. นายเมฆทําสัญญาซื้อขายโต๊ะกับนายหมอกจํานวน 500 ตัว ราคาตัวละ 800 บาท พอถึงกําหนดวันส่งมอบ นายหมอกนําโต๊ะมาส่งมอบให้นายเมฆจํานวน 300 ตัว ดังนี้ ถ้านายเมฆไม่พอใจและปฏิเสธไม่รับมอบโต๊ะทั้ง 300 ตัวนั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับหน้าที่และ ความรับผิดของผู้ขายในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ หรือระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ

(1) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(2) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะ ที่ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมด แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(3) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ใน ข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้

กรณีตามปัญหา การที่นายเมฆทําสัญญาซื้อขายโต๊ะกับนายหมอกจํานวน 500 ตัว ราคาตัวละ 800 บาท พอถึงกําหนดวันส่งมอบ นายหมอกนําโต๊ะมาส่งมอบให้นายเมฆจํานวน 300 ตัวนั้น กรณีดังกล่าวถือ ได้ว่านายหมอกผู้ขายมิได้ปฏิบัติตามสัญญา กล่าวคือ ได้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าที่ได้ สัญญาไว้ ดังนั้น ตามกฎหมายผู้ซื้อย่อมมีสิทธิตามมาตรา 465 (1) คือ มีสิทธิที่จะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

และตามปัญหา การที่นายเมฆผู้ซื้อไม่พอใจและปฏิเสธไม่รับมอบโต๊ะทั้ง 300 ตัวนั้น นายเมฆ ย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายเมฆผู้ชื่อตามมาตรา 465 (1) ดังกล่าว

สรุป ถ้านายเมฆไม่พอใจ นายเมฆสามารถปฏิเสธไม่รับมอบโต๊ะทั้ง 300 ตัวนั้นได้

 

ข้อ 4. ก. ตัวแลกเงินสามารถโอนให้กันได้โดยวิธีใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ข. เมื่อผู้เคยค้าออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ธนาคารจําต้องใช้เงินตามคําสั่ง เว้นกรณีใดบ้างที่ธนาคารไม่จําเป็นต้องใช้เงินตามเช็คนั้น

ธงคําตอบ

(ก) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้ คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อนั้นยอมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา917 วรรคแรก)

2 ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3 การสลักหลังต้องเขียนลงในตัวแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)

จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้นสามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ

1 ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ผู้รับเงิน) การโอนย่อมสามารถทําได้โดยการ สลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคแรก) หมายความว่าตัวแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะ มีการโอนต่อไปให้แก่บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและ ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย”ก็ได้

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินเท่านั้น (มาตรา 919 วรรคสอง)

ตัวอย่าง หนึ่งได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินให้แก่สาม โดยระบุชื่อสามเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปให้ ก. สามจะต้องลงลายมือชื่อของสามสลักหลังไว้ด้วย โดยสามอาจจะระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังลงไว้ในตัวด้วยซึ่งเรียกว่า การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสามอาจจะ ลงแต่ลายมือชื่อของสามไว้ที่ด้านหลังของตัวแลกเงินนั้น โดยไม่ระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังไว้ในตัวซึ่งเรียกว่าเป็น การสลักหลังลอยก็ได้

2 ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนถั่วชนิดนี้ย่อมสามารถทําได้โดยการ ส่งมอบตั๋วแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีการสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

ตัวอย่าง หนึ่งออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินแก่ผู้ถือ และส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่สาม ดังนี้ ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ให้แก่ ก. สามสามารถโอนได้โดยการส่งมอบตั๋วให้แก่ ก. โดยที่สาม ไม่ต้องลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋ว การโอนตั๋วดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์

(ข) เมื่อผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน โดยหลักแล้วธนาคารจําต้องใช้เงิน ตามคําสั่ง เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ธนาคารมีสิทธิไม่ต้องใช้เงินตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 991)

(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้น เป็นเจ้าหนี้พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(2) เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3) ได้มีคําบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

LAW2015 กฎหมายธุรกิจ1 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นางสาวแก้ว อายุ 25 ปี เป็นบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ นางสาวแก้วยกสร้อยทองให้นายก้องน้องชาย นางสาวแก้วมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในขณะที่ยกสร้อยทอง ให้นายก้อง แต่นายก้องรู้อยู่แล้วว่านางสาวแก้วเป็นคนวิกลจริต ดังนี้ การที่นางสาวแก้วยกสร้อยทองให้นายก้อง มีผลทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 30 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการทํานิติกรรมของ คนวิกลจริตไว้ว่า “คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆี่ยะก็ต่อเมื่อนิติกรรมนั้นได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่า ผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อ

1 นิติกรรมนั้นได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และ

2 คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้กระทํานิติกรรมนั้นเป็นคนวิกลจริต

ตามปัญหา การที่นางสาวแก้วซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ได้ทํานิติกรรมโดยการยกสร้อยทองให้แก่นายก้องน้องชายนั้น เมื่อปรากฏว่าในขณะที่นางสาวแก้วได้ให้สร้อยทอง แก่นายก้องนั้น นางสาวแก้วมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่ได้มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใด ดังนั้น แม้นายก้องจะ รู้อยู่แล้วว่านางสาวแก้วเป็นคนวิกลจริตก็ตาม นิติกรรมการให้สร้อยทองของนางสาวแก้วแก่นายก้องก็มีผลสมบูรณ์ ตามกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆียะ

สรุป

การที่นางสาวแก้วยกสร้อยทองให้นายก้องจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายเมฆกู้ยืมเงินนายฟ้าจํานวน 500,000 บาท หนี้เงินกู้กําลังจะถึงกําหนดชําระ นายเมฆไม่มีเงินชําระคืนแก่นายฟ้า ซึ่งนายเมฆมีที่ดินอยู่ 1 แปลง นายเมฆกลัวว่าถ้าตนไม่มีเงินชําระหนี้ นายฟ้าจะฟ้องคดีบังคับเอากับที่ดินของตนซึ่งนายเมฆไม่ต้องการที่จะเสียที่ดินแปลงนี้ นายเมฆจึงสมคบ กับนายหมอกทําสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงนี้เพื่อลวงนายฟ้าไม่ให้มาบังคับเอากับที่ดินแปลงนี้อีก ดังนี้ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายเมฆและนายหมอกเป็นการแสดงเจตนาประเภทใด และมีผล ในทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดง เจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้กระทําการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทํานิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทํานิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กําหนดให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่นายเมฆกู้ยืมเงินนายฟ้าจํานวน 500,000 บาท เมื่อหนี้เงินกู้กําลังจะถึงกําหนด นายเมฆไม่มีเงินชําระคืนแก่นายฟ้า และกลัวว่าถ้าตนไม่มีเงินชําระหนี้ นายฟ้าจะฟ้องคดีบังคับเอาที่ดินของตนซึ่ง มีอยู่ 1 แปลงไป ซึ่งนายเมฆไม่ต้องการที่จะเสียที่ดินแปลงนี้ จึงได้สมคบกับนายหมอกทําสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงนี้ เพื่อลวงนายฟ้าไม่ให้มาบังคับเอากับที่ดินแปลงนี้นั้นจะเห็นได้ว่า สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายเมฆและนายหมอก เป็นเพียงการแสดงเจตนาลวงเท่านั้น เพราะคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทํานิติกรรมซื้อขายที่ดินกันแต่อย่างใด แต่ ได้แสดงเจตนาทํานิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น และตามกฎหมายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง นายเมฆและหมอกจะตกเป็นโมฆะ

สรุป

สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายเมฆและนายหมอกเป็นการแสดงเจตนาลวง จึงทําให้ สัญญามีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 3. นายจันทร์ต้องการซื้อที่ดินจากนายอังคารจํานวน 5 ไร่ ราคา 10 ล้านบาท โดยนายจันทร์ตกลงกับนายอังคารปากเปล่าว่า นายจันทร์จะโอนเงินจํานวน 10 ล้านบาท ให้นายอังคาร และให้ นายอังคารส่งมอบที่ดินจํานวน 10 ไร่ แก่นายจันทร์โดยไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 453 บัญญัติว่า “อันว่าซื้อขายนั้น คือ สัญญา ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะ ใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

และมาตรา 456 วรรคแรก ได้บัญญัติว่า “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ท่านว่าเป็นโมฆะ…”

ตามปัญหา การที่นายจันทร์ตกลงซื้อที่ดินจากนายอังคารจํานวน 5 ไร่ ราคา 10 ล้านบาทนั้น ข้อตกลงระหว่างนายจันทร์และนายอังคารดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายตามมาตรา 453 และการที่ทั้งสองได้ตกลง ด้วยปากเปล่าว่า นายจันทร์จะโอนเงินจํานวน 10 ล้านบาท ให้นายอังคาร และให้นายอังคารส่งมอบที่ดินจํานวน 10 ไร่แก่นายจันทร์ โดยไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือว่าทั้งสองได้ตกลง ทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) เพราะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และคู่กรณีไม่มีเจตนาที่จะไปกระทํา ตามแบบพิธีใด ๆ ในภายหน้า

แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวเมื่อได้ตกลงกันด้วยปากเปล่าไม่ได้ทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก

สรุป

สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายจันทร์และนายอังคารเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพราะคู่สัญญาได้ตกลงกันในเนื้อหาสาระสําคัญของสัญญาเสร็จสิ้นแล้ว

 

ข้อ 4. นายชายสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อนายนพเป็นผู้รับเงิน โดยนายชายได้มีการขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก แล้วส่งมอบเช็คชําระหนี้ค่าสินค้าให้แก่นายนพ ต่อมาถ้านายนพต้องการโอนเช็คฉบับนี้ ให้แก่นายพงษ์ นายนพจะต้องทําอย่างไรจึงจะเป็นการโอนเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักในเรื่องนี้ไว้ว่า

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ย่อมโอนให้แก่กันได้โดยการสลักหลังและส่งมอบ(มาตรา 917)

2 การสลักหลังตัวแลกเงินนั้น อาจจะเป็นการสลักหลังระบุชื่อ หรือจะเป็นการสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)

3 หลักกฎหมายในข้อ 1) และ 2) ให้นํามาใช้กับการโอนเช็คด้วย (มาตรา 989)

ตามปัญหา การที่นายชายสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อนายนพเป็นผู้รับเงิน และได้มีการขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก ย่อมถือว่าเป็นเช็คแบบระบุชื่อผู้รับเงิน ดังนั้น ถ้านายนพต้องการโอนเช็คฉบับนี้ให้แก่ นายพงษ์ นายนพจะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเช็คนั้นให้แก่นายพงษ์ ซึ่งในการสลักหลังเช็คนั้น นายนพ อาจจะทําการสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) คือการระบุชื่อนายพงษ์เป็นผู้รับสลักหลัง หรือนายนพอาจจะสลักหลังลอย คือ การลงแต่ลายมือชื่อของนายนพไว้ที่ด้านหลังเช็คโดยไม่ระบุชื่อของนายพงษ์ก็ได้ ซึ่งถ้านายนพได้กระทําการ ดังที่กล่าวมา ก็จะถือว่าเป็นการโอนเซ็คโดยชอบด้วยกฎหมาย

สรุป นายนพจะต้องทําการสลักหลัง (โดยอาจจะสลักหลังลอยหรือสลักหลังเฉพาะก็ได้ และส่งมอบเช็คนั้นให้แก่นายพงษ์ จึงจะถือว่าเป็นการโอนเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย

WordPress Ads
error: Content is protected !!