LAW3106 (LAW3006) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3106 (LAW 3006) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
ข้อแนะนํา ข้อสอบนี้เป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายทองคํากับนางพิกุลอยู่กินกันฉันสามีภริยาและมีบุตรชายคือนายทองอ้นอายุยี่สิบห้าปี วันหนึ่ง
นายพุ่มลักทรัพย์นายทองคําไป นายทองคําจึงเป็นโจทก์ฟ้องนายพุ่มเป็นจําเลยในข้อหาลักทรัพย์
ต่อมานายทองคําป่วยเป็นโรคไตและเสียชีวิตในระหว่างที่ศาลชั้นต้นกําลังพิจารณาคดีนี้

ให้วินิจฉัยว่า นายทองล้นจะดําเนินคดีแทนนายทองคําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 29 วรรคหนึ่ง “เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดําเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้”

วินิจฉัย

การดําเนินคดีแทนหรือการรับมรดกความในคดีอาญานั้น จะมีได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียหายที่แท้จริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วต่อมาได้ตายลง ดังนี้ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภรรยา จะดําเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) และผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานดังกล่าวนั้น ให้หมายความถึง ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานตามความจริง (คําพิพากษาฎีกาที่ 5119/2530)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพุ่มลักทรัพย์นายทองคําไป นายทองคําย่อมเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) และย่อมมีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องนายพุ่มเป็นจําเลยในข้อหาลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (2) และเมื่อข้อเท็จริงปรากฏว่า เมื่อนายทองคําได้ยื่นฟ้องนายพุ่มแล้ว ต่อมานายทองคําได้เสียชีวิตลง ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นกําลังพิจารณาคดีนี้อยู่ ดังนี้ นายทองอ้น อายุ 25 ปี ซึ่งเป็นบุตรชายของนายทองคําที่เกิดกับ นางพิกุลซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยากับนายทองคํา แม้จะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายทองคํา แต่เมื่อ เป็นบุตรชายตามความจริงของนายทองคํา จึงถือว่านายทองอันเป็นผู้สืบสันดานของนายทองคําตามนัยของ ป.วิ.อาญา มาตรา 29 ดังนั้น นายทองอ้นจึงสามารถที่จะดําเนินคดีแทนนายทองคําได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่ง สรุป นายทองอันสามารถที่จะดําเนินคดีแทนนายทองคําได้

 

ข้อ 2. นายหาญร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีอาญากับนายนพในข้อหาชิงทรัพย์ ในระหว่าง สอบสวนนายหาญเป็นโจทก์ฟ้องนายนพเป็นจําเลยในข้อหาชิงทรัพย์ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง แล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงมีคําสั่งประทับรับฟ้อง ต่อมาในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดี นายหาญ ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง และศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง

เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสอบสวนคดีเสร็จ จึงสรุปสํานวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้อง และส่งสํานวนคดีดังกล่าวให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายนพเป็นจําเลยในข้อหาชิงทรัพย์

ให้วินิจฉัยว่า พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายนพเป็นจําเลยในข้อหาชิงทรัพย์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 35 “คําร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคําพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคําสั่งอนุญาตหรือมีอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด….”

มาตรา 36 “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้วจะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ใน
ข้อยกเว้นต่อไปนี้

(3) ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงาน อัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว”

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกัน โดยถูกต้องตามกฎหมาย

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหาญร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีอาญากับนายนพข้อหาชิงทรัพย์ ในระหว่างการสอบสวนนายหาญได้เป็นโจทก์ฟ้องนายนพเป็นจําเลยในข้อหาชิงทรัพย์ ศาลชั้นต้น ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงมีคําสั่งประทับรับฟ้อง ต่อมาในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดี นายหาญ ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง และศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 35 นั้น เมื่อคดีดังกล่าว ไม่ใช่เป็นคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว การที่นายหาญผู้เสียหายซึ่งได้ยื่นฟ้องคดีนั้นไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนฟ้องจึงไม่ตัดสิทธิของพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 (3) และไม่ทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2)
และเมื่อข้อเท็จริงปรากฏว่าคดีดังกล่าวนั้น เป็นคดีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ทําการ สอบสวนคดีเสร็จแล้ว จึงได้สรุปสํานวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้อง และส่งสํานวนคดีดังกล่าวให้พนักงานอัยการ ดังนั้น พนักงานอัยการจึงมีอํานาจเป็นโจทก์ฟ้องนายนพเป็นจําเลยในข้อหาชิงทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา
28 (1) และมาตรา 120 ประกอบมาตรา 36 (3)

สรุป พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายนพเป็นจําเลยในข้อหาชิงทรัพย์ได้

 

ข้อ 3. ร.ต.ต.อํานวยได้ยินเสียงกรีดร้องและตะโกนขอความช่วยเหลือดังมาจากบ้านหลังหนึ่ง ร.ต.ต.อํานวย
จึงเข้าไปในบ้านหลังดังกล่าวโดยไม่มีหมายค้น เมื่อเข้าไปในบ้าน ร.ต.ต.อํานวยพบนางแม้นวาดถือ ไม้เบสบอลวิ่งไล่ทุบตีนางบัวซึ่งมีบาดแผลเลือดไหลที่ศีรษะ ร.ต.ต.อํานวยจึงจับกุมนางแม้นวาด โดยไม่มีหมายจับและนําตัวส่งสถานีตํารวจเพื่อดําเนินคดีต่อไป

ให้วินิจฉัยว่า การจับชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทํา หรือพบ ในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตามบทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่า มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น

(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากําลังกระทําลงในที่รโหฐาน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.ต.อํานวยได้จับกุมนางแม้นวาดในบ้านหลังหนึ่งนั้น ถือเป็นการจับ ในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับโดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่ รโหฐาน คือ มีอํานาจการค้นโดยมีหมายค้นหรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย

การที่ ร.ต.ต.อํานวยพบนางแม้นวาดถือไม้เบสบอลวิ่งไล่ทุบตีนางบัวซึ่งมีบาดแผลเลือดไหลที่ศีรษะนั้น การกระทําของนางแม้นวาดถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและเป็นความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ร.ต.ต.อํานวยจึงมีอํานาจในการจับ นางแม้นวาดแม้จะไม่มีหมายจับ และเมื่อเป็นกรณีที่นางแม้นวาดได้กําลังกระทําความผิดซึ่งหน้าในบ้านซึ่งเป็น ที่รโหฐาน จึงถือว่า ร.ต.ต.อํานวยได้ทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการ ค้นในที่รโหฐาน คือมีอํานาจค้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 81 ประกอบมาตรา 92 (2) แล้ว อีกทั้งการที่ ร.ต.ต.อํานวย ได้เข้าไปในบ้านหลังดังกล่าวซึ่งเป็นที่รโหฐานอันถือเสมือนเป็นการค้นในที่รโหฐานนั้น ก็เป็นการเข้าไปโดยชอบ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 92 (1) เนื่องจาก ร.ต.ต.อํานวยได้ยินเสียงกรีดร้องและตะโกนขอความช่วยเหลือดังมาจาก บ้านหลังดังกล่าว ร.ต.ต.อํานวยจึงไม่ต้องขอหมายค้นของศาลเพื่อเข้าไปขอค้นในบ้านหลังดังกล่าว ดังนั้น การที่ ร.ต.ต.อํานวยจับนางแม้นวาดในบ้านหลังดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การจับนางแม้นวาดของ ร.ต.ต.อํานวยชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายศุกร์วางแผนจะฆ่านายเสาร์ด้วยการวางยาพิษ วันต่อมานายศุกร์จึงไปที่บ้านนายเสาร์ซึ่งอยู่ในเขต สน.พญาไท และนํายาพิษใส่ในโอเลี้ยงและส่งให้นายเสาร์ดื่ม หลังจากดื่มโอเลี้ยงนายเสาร์หมดสติ และถูกนําตัวส่งโรงพยาบาลในเขต สน.ปทุมวัน ต่อมาอีกสองวันนายเสาร์เสียชีวิตขณะรักษาตัวที่ โรงพยาบาลดังกล่าว หลังจากนั้นตํารวจจับกุมนายศุกร์ได้ที่อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ก่อนเริ่มถามคําให้การ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีได้แจ้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ซึ่งมีระวางโทษประหารชีวิต และแจ้งสิทธิของผู้ต้องหา ให้นายศุกร์ทราบ พร้อมกับถามว่านายศุกร์มีทนายความหรือไม่ นายศุกร์ตอบว่าไม่มีและไม่ต้องการ ทนายความ หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนจึงเริ่มถามคําให้การนายศุกร์โดยไม่มีทนายความ นายศุกร์ ให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนจึงจดบันทึกคําให้การดังกล่าวไว้

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) พนักงานสอบสวนท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี เพราะเหตุใด

(ข) คําให้การของนายศุกร์ในชั้นสอบสวนรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของนายศุกร์ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 18 วรรคสองและวรรคสาม “สําหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตํารวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตํารวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตํารวจตรีขึ้นไป มีอํานาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอํานาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอํานาจของตนได้

ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขต อํานาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน ความผิดนั้น ๆ เพื่อดําเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจําเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการสอบสวน”
ท้องที่หนึ่งขึ้นไป

มาตรา 19 “ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทําผิดอาญาได้กระทําในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่

(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทําในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง

(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทําต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่า

(4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทําลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน……

พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอํานาจสอบสวนได้
ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอํานาจ…”

มาตรา 134/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหา มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้”

มาตรา 134/4 “ในการถามคําให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้

เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคําให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้

ถ้อยคําใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะ ดําเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ของผู้นั้นไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายศุกร์วางแผนจะฆ่านายเสาร์ด้วยการวางยาพิษ วันต่อมานายศุกร์ไปที่บ้านนายเสาร์ ซึ่งอยู่ในเขต สน.พญาไท และนํายาพิษใส่ในโอเลี้ยงและส่งให้นายเสาร์ดื่ม หลังจากดื่มโอเลี้ยงนายเสาร์หมดสติ และถูกนําตัวส่งโรงพยาบาลในเขต สน.ปทุมวัน ต่อมาอีกสองวันนายเสาร์เสียชีวิตขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาล ดังกล่าวนั้น กรณีดังกล่าวถือว่าความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ สน.พญาไท (คําพิพากษาฎีกาที่ 3337/2543) ดังนั้นพนักงานสอบสวน สน.พญาไท ซึ่งความผิดได้เกิดภายในเขตอํานาจจึงเป็นพนักงานสอบสวน ที่มีอํานาจสอบสวนดําเนินคดีกับนายศุกร์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคสอง แม้ว่านายเสาร์จะเสียชีวิตในเขต ท้องที่ สน.ปทุมวันก็ตาม

การที่นายศุกร์ถูกจับได้ทีอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธร เมืองนครปฐมนั้น เมื่อคดีนี้ไม่ใช่เป็นกรณีความผิดเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 เพราะนายศุกร์ได้ กระทําความผิดสําเร็จแล้วในเขตท้องที่ สน.พญาไทก่อนถูกจับ ดังนั้น พนักงานสอบสวน สน.พญาไท จึงเป็น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคสาม

(ข) เมื่อปรากฏว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิตามมาตรา 134/4 ให้นายศุกร์ทราบ พร้อมกับถามว่านายศุกร์มีทนายความหรือไม่ ซึ่งนายศุกร์ตอบว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความนั้น กรณีนี้ต้องด้วยมาตรา 134/1 ที่ว่าถ้าผู้ต้องหาไม่มี ทนายความให้รัฐจัดหาทนายความให้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อนายศุกร์ตอบว่าไม่มีทนายความ และแม้ นายศุกร์จะไม่ต้องการทนายความ พนักงานสอบสวนไม่จัดหาทนายความให้แก่นายศุกร์ โดยพนักงานสอบสวน เริ่มถามคําให้การนายศุกร์โดยไม่มีทนายความ นายศุกร์ให้การรับสารภาพ และพนักงานสอบสวนได้จดบันทึก คําให้การของนายศุกร์ไว้นั้น ย่อมถือว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้ดําเนินการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง ดังนั้น จะมีผลตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4 วรรคสาม กล่าวคือ คําให้การของนายศุกร์ในชั้นสอบสวนจะรับฟัง เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของนายศุกร์ไม่ได้

สรุป

(ก) พนักงานสอบสวนท้องที่ สน.พญาไท เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี
ของนายศุกร์ไม่ได้

(ข) คําให้การของนายศุกร์ในชั้นสอบสวนจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3107 (LAW 3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบกระบวนวิชานี้เป็นอัตนัยล้วน ***LAW 3107 มี 3 ข้อ (ข้อ 1, 3 และ 4)
ส่วน ***LAW 3007 มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ยื่นคําฟ้องว่าจําเลยบุกรุกเข้ามาอยู่ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์สองแปลงโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่ จําเลยออกจากที่ดินทั้งสองแปลงและชดใช้เงินที่โจทก์สามารถนําออกให้เช่าได้เดือนละ 5,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โดยที่ดินของโจทก์มีราคาที่ดินแปลงละ 100,000 บาท จึงได้
จําเลยยื่นคําให้การว่าที่ดินแปลงที่หนึ่งจําเลยอยู่มาโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ส่วนที่ดินแปลงที่สองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินทั้งสองแปลง โดยที่ดินแต่ละแปลงสามารถนําออก ให้เช่าได้เพียง 500 บาท ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของ โจทก์ จําเลยเข้ามาอยู่โดยไม่มีสิทธิ ให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน และให้จําเลยชดให้เงินอันโจทก์ อาจออกให้เช่าได้เดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจําเลยจะออกไปจากที่ดิน จําเลยจึง ยื่นอุทธรณ์ว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่จําเลย ออกไปจากที่ดินทั้งสองแปลง ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์
ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งรับอุทธรณ์ดังกล่าวนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิได้ให้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก
อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ
แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการห้ามคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดี ดังนี้

1. คดีที่ราคาทรัพย์ที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท
หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

2. คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้อง ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

กรณีตามอุทาหรณ์ คําสั่งอุทธรณ์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของที่ดินแปลงที่ 1 การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องว่าจําเลยบุกรุกเข้ามาอยู่ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์ โดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน จําเลยยื่นคําให้การว่าที่ดินแปลงนี้จําเลยอยู่มาโดยสงบเปิดเผย และ เจตนาเป็นเจ้าของ จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้วนั้น ถือเป็นกรณีที่จําเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ ในที่ดินที่พิพาท จึงมีผลทําให้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ในตอนแรกกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทคือที่ดินมีราคา 100,000 บาท ซึ่งเกินกว่า 50,000 บาท เมื่อศาลได้พิพากษาให้จําเลย แพ้คดีและให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน จําเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดิน ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น โดยหลักแล้วจําเลยย่อมอุทธรณ์ได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จําเลยอุทธรณ์นั้น จําเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาท ดังกล่าวเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งเป็นประเด็นที่จําเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบใน
ศาลชั้นต้น อีกทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ดังนั้น จึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 การที่จําเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์ คําสั่งรับอุทธรณ์ กรณีนี้ของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กรณีของที่ดินแปลงที่ 2 การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องว่าจําเลยบุกรุกเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์โดย ไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน จําเลยยื่นคําให้การว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่สาธารณสมบัติของ แผ่นดินนั้น เมื่อจําเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน จึงไม่ถือว่าจําเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงเป็นคดี ฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์และมิใช่คดีมีทุนทรัพย์

เมื่อปรากฏว่าในขณะฟ้องโจทก์อ้างว่าที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถนําออกให้เช่าได้เดือนละ 5,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกําหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 2,000 บาท และโจทก์มิได้อุทธรณ์ มีเพียงจําเลยยังคงอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ใช่ของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาท อาจให้เช่าได้เดือนละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นค่าเช่าที่ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ในขณะยื่นคําฟ้องตามคําพิพากษาของ ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง (คําพิพากษาฎีกาที่ 8775/2555) การที่จําเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์ คําสั่งรับอุทธรณ์กรณีนี้ของศาลชั้นต้นจึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น การที่จําเลยยื่นอุทธรณ์ว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มี อํานาจฟ้องขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดินทั้งสองแปลง และศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์นั้น คําสั่งรับอุทธรณ์ดังกล่าว ของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งรับอุทธรณ์ดังกล่าวของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ 100,000 บาท จําเลยยื่นคําให้การขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาศาลได้นัดสืบพยานโจทก์และจําเลยในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 จําเลยได้มายื่นคําร้อง ขอเลื่อนคดี เนื่องจากพยานจําเลยป่วย ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จําเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน แต่จําเลยได้ยื่นอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวในทันที ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต่อมาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ศาลได้มีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้โจทก์ตามฟ้อง จําเลยยื่นอุทธรณ์คําสั่งที่ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จําเลยเลื่อนคดีภายใน 1 เดือนนับแต่ศาลพิพากษา ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์

ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งรับอุทธรณ์ดังกล่าวนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใต้โต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่าง
พิจารณา”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1. จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2. เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3. ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228

และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้าน คําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือ คําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ 100,000 บาท จําเลยยื่น คําให้การขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาศาลได้นัดสืบพยานโจทก์และจําเลยในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 จําเลยได้มา ยื่นคําร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากพยานจําเลยป่วย ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้น คําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ถือเป็นคําสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างพิจารณา และไม่ใช่คําสั่งตามมาตรา 227 และมาตรา 228 จึงต้องห้ามมิให้
อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่ง (1) ถ้าคู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้น จะต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะสามารถอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่ง (2)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จําเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน แต่จําเลย ได้ยื่นอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวทันทีนั้น กรณีเช่นนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 ก็ตาม แต่ถือว่าจําเลยได้โต้แย้งคําสั่งนั้นไว้ในอุทธรณ์แล้ว เพราะแม้อุทธรณ์คําสั่งระหว่างพิจารณา ครั้งแรกจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็ย่อมมีผลเป็นการโต้แย้งคําสั่งระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้นตามมาตรา 226 วรรคหนึ่ง (2) แล้ว (คําพิพากษาฎีกาที่ 6273/2537) ดังนั้น เมื่อคดีดังกล่าว ศาลได้มีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง จําเลยจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คําสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ให้จําเลยเลื่อนคดีได้ และเมื่อจําเลยยื่นอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่มาศาลมีคําพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลย คําสั่งรับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งรับอุทธรณ์ดังกล่าวของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยทําสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จํานวน 5 ล้านบาท หนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ จําเลยไม่ชําระหนี้ โจทก์จึงขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์ 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ย้ายภูมิลําเนาไปอยู่นอก ราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้ในราชอาณาจักร จําเลยจึงยื่นคําร้องขอต่อศาล ขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

ศาลชั้นต้นส่งสําเนาให้โจทก์ โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนจําเลยและได้ความจริงตามคําร้อง ของจําเลย ศาลชั้นต้นจึงมีคําสั่งให้โจทก์นําเงินมาวางต่อศาลหรือหาประกันเพื่อการชําระค่าฤชา ธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

ดังนี้ คําสั่งของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 253 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ใน ราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดี แล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา
ขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคําสั่ง ให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยจะกําหนดเงื่อนไขใด
ตามที่เห็นสมควรก็ได้”

มาตรา 253 ทวิ “ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคําพิพากษา ถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่ง ตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสํานวนความไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คําร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นทําการไต่สวน แล้วส่งคําร้องนั้นพร้อมด้วยสํานวนความไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง

ให้นําความในมาตรา 253 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับแก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยทําสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จํานวน 5 ล้านบาท หนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ จําเลยไม่ชําระหนี้ โจทก์จึงขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์ 5 ล้านบาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์ และในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ย้ายภูมิลําเนาไปอยู่นอกราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้ในราชอาณาจักรนั้น กรณีนี้จึงต้องด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 253 วรรคหนึ่ง ที่จําเลยมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลอุทธรณ์ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา เพื่อขอให้ศาล มีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ และ เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่ามีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่เชื่อได้ ศาลก็มีอํานาจออกคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาล หรือหาประกันมาให้ตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ทวิ วรรคสามประกอบมาตรา 253 วรรคสอง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการยื่นคําร้องดังกล่าวของจําเลยนั้น เมื่อปรากฏว่าจําเลยได้ยื่นคําร้องดังกล่าว ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ และเมื่อศาลชั้นต้นส่งสําเนาคําร้องให้โจทก์ โจทก์ไม่คัดค้าน ดังนี้ ศาลชั้นต้นก็จะต้องส่งคําร้องนั้นไปให้ศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาสั่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ทวิ วรรคสอง ศาลชั้นต้นไม่มีอํานาจสั่งตามคําร้องขอของจําเลยแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจําเลยได้ยื่นคําร้อง ขอคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้โจทก์นําเงินมาวางต่อศาลหรือหาประกันเพื่อ การชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาในวันที่ 16 มีนาคม 2556 ให้จําเลยชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย แก่โจทก์เป็นเงิน 8 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลออกคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติ ตามคําพิพากษาภายใน 30 วัน ครบกําหนดเวลาจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ ต่อมาโจทก์สืบทรัพย์ ทราบว่าจําเลยมีที่ดินอยู่ 1 แปลง และมีเงินในธนาคารจํานวน 2 ล้านบาท โจทก์ขอออกหมาย บังคับคดีขอให้ยึดที่ดินและอายัดเงินในธนาคารของจําเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของ จําเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2565 และอายัดเงินในธนาคารในวันที่ 19 มีนาคม 2565 หลังจากนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินของจําเลยในวันที่ 24 มีนาคม 2566 จําเลยยื่นคําร้อง ต่อศาลอ้างว่าเกินกําหนดระยะเวลา 10 ปี เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถขายทอดตลาดที่ดินของจําเลยได้

ดังนี้ ข้ออ้างของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่ง “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้ หรือได้ดําเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้ มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ซึ่งคําว่า “นับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง” ตามมาตรา 274 ดังกล่าว หมายความว่า นับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลในชั้นที่สุดในคดีนั้น และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้
ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

กรณีตามอุทาหรณ์ ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง การที่ศาลมีคําพิพากษาในวันที่ 16 มีนาคม 2556 ให้จําเลย ชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์เป็นเงิน 8 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลออกคําบังคับให้จําเลย ปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 30 วัน ครบกําหนดเวลาจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ ต่อมาโจทก์ (เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษา) สืบทรัพย์ทราบว่าจําเลยมีที่ดินอยู่ 1 แปลง และมีเงินในธนาคารจํานวน 2 ล้านบาท โจทก์จึงขอ ออกหมายบังคับคดีขอให้ยึดที่ดินและอายัดเงินในธนาคารของจําเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดที่ดิน ของจําเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2565 และอายัดเงินในธนาคารในวันที่ 19 มีนาคม 2565 นั้น ย่อมถือว่าโจทก์ ได้ดําเนินการร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินและอายัดสิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นต่อไป จนแล้วเสร็จได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้นําที่ดินของจําเลยออกขายทอดตลาด ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 จึงสามารถทําได้แม้จะเกินระยะเวลา 10 ปีแล้วก็ตาม การที่จําเลยยื่นคําร้องต่อศาล อ้างว่าเกินกําหนดระยะเวลา 10 ปีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถขายทอดตลาดที่ดินของจําเลยได้นั้น ข้ออ้างของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้ออ้างของจําเลยฟังไม่ขึ้น

 

LAW3109 (LAW3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3109 (LAW 3009) ป.พ.พ.ว่าด้วยมรดก
คําแนะนํา ข้อสอบกระบวนวิชานี้เป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายพิธามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือ นายพิบูลย์และนายพิทักษ์ นายพิธาทําสัญญาจะขาย ที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ให้แก่นายธราธร และยังให้นายปิยบุตรเช่าบ้าน (โฉนดที่ดินเลขที่ 999) เป็นเวลา 3 ปี ต่อมานายพิธาทําพินัยกรรมตามแบบของกฎหมาย ระบุยกที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ให้นายพิบูลย์ และยกบ้านพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 999 ให้นายพิทักษ์ หลังจากทําพินัยกรรมฉบับ ดังกล่าวได้เพียง 6 เดือน นายพิธาเดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ดังนี้
(1) นายพิบูลย์จะต้องขายที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ให้แก่นายธราธรหรือไม่ เพราะเหตุใด และ
(2) นายปิยบุตรจะสามารถอยู่ในบ้าน (โฉนดที่ดินเลขที่ 999) ที่เช่าจนกว่าจะครบกําหนดตาม สัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพิธาซึ่งมีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือ นายพิบูลย์และนายพิทักษ์ ได้ทําสัญญาจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 838 แก่นายธราธร และทําสัญญาให้นายปิยบุตรเช่าบ้าน (โฉนดที่ดินเลขที่ 999) เป็นเวลา 3 ปี ต่อมานายพิธาทําพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ให้นายพิบูลย์ และยกบ้านพร้อมที่ดิน โฉนดเลขที่ 999 ให้นายพิทักษ์ หลังจากทําพินัยกรรมได้ 6 เดือน นายพิธาถึงแก่ความตาย ดังนี้ นายพิบูลย์ จะต้องขายที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ให้นายธราธร และนายปิยบุตรจะสามารถอยู่ในบ้าน (โฉนดที่ดินเลขที่ 999) จนครบกําหนดสัญญาเช่าได้หรือไม่นั้น แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่นายพิบูลย์ได้รับมรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ตามพินัยกรรมนั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ ตามสัญญาจะขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้น เมื่อนายพิธาตาย หน้าที่ที่จะขายบ้านให้แก่นายธราธรตามสัญญาจะขายจึงเป็นมรดกตกทอดแก่นายพิบูลย์ นายพิบูลย์จึงต้องขายที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ให้แก่นายธราธร

(2) การที่นายพิทักษ์ได้รับมรดกคือบ้านพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 999 ตามพินัยกรรม ซึ่งบ้าน หลังดังกล่าวนายพิธาได้ทําสัญญาให้นายปิยบุตรเช่าเป็นเวลา 3 ปีนั้น เมื่อตามกฎหมายสิทธิและหน้าที่ของ ผู้เช่าเท่านั้นที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้เช่า แต่ไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า ดังนั้น เมื่อนายพิธาผู้ให้เช่าตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าจึงเป็นมรดกตกทอดแก่นายพิทักษ์ซึ่งเป็นทายาท นายพิทักษ์จึงต้องให้นายปิยบุตร
อยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อไปจนครบกําหนดสัญญาเช่า

สรุป

(1) นายไพบูลย์จะต้องขายที่ดินโฉนดเลขที่ 888 ให้แก่นายธราธร

(2) นายปิยบุตรสามารถที่จะอยู่ในบ้าน (โฉนดที่ดินเลขที่ 999) ที่เช่าจนกว่าจะครบกําหนด ตามสัญญาเช่าได้

 

ข้อ 2. นางบีมีบุตร 2 คน คือ นายหนึ่งและนายสอง นางบีมีน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันชื่อนายซี นายหนึ่งมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายชื่อนางสวย มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือนายใหญ่ นางบีทําพินัยกรรม ตามแบบของกฎหมาย ระบุยกเงินสด 300,000 บาทให้กับนายหนึ่ง และยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 500,000 บาทให้กับนายสอง ต่อมานายหนึ่งถึงแก่ความตาย นางบีเสียใจเป็นอย่างมากและ ตรอมใจตายในที่สุด นางบีมีทรัพย์มรดกคือเงินสด 300,000 บาท และที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 500,000 บาท ตามพินัยกรรม นายสองได้ยักย้ายเงินมรดกไปเป็นของตนเองโดยทุจริต จํานวน 200,000 บาท ดังนี้ ให้แบ่งมรดกของนางบี

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะ
ส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

ตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง
ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน”

มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ผู้ตายเลย”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้
ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนางบีเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมย่อมตก ได้แก่ทายาทผู้รับพินัยกรรม กล่าวคือ เงินสด 300,000 บาท ตกได้กับนายหนึ่ง ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 500,000 บาท ตกได้แก่นายสอง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายหนึ่งผู้รับพินัยกรรมได้ตายก่อน นางที่ผู้ทําพินัยกรรม ข้อกําหนดในพินัยกรรมที่ยกเงินสด 300,000 บาท ให้นายหนึ่งจึงตกไปตามมาตรา 1698 (1) จึงต้องนําเงินสดจํานวน 300,000 บาท มาแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมต่อไป ซึ่งในกรณีนี้จะไม่มีการรับ มรดกแทนที่กัน เพราะการรับมรดกแทนที่กันนั้น จะใช้บังคับกันเฉพาะในกรณีที่เป็นเรื่องทายาทโดยธรรมเท่านั้น ตามมาตรา 1642 และทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวได้แก่นายหนึ่งและนายสองซึ่งเป็นทายาทโดย ธรรมตามมาตรา 1629 (1) โดยทั้งสองจะได้รับมรดกเป็นเงินสดคนละ 150,000 บาท ส่วนนายซีซึ่งเป็นน้องชาย ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางบีนั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกในส่วนของเงินสดจํานวน 300,000 บาทนั้น ทั้งนี้เพราะ นายซีเป็นทายาทโดยธรรมในลําดับที่ 3 ตามมาตรา 1629 (3) ซึ่งเมื่อผู้ตายมีทายาทในลําดับก่อนและยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้ว ทายาทผู้อยู่ในลําดับถัดลงไปจะไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลยตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง

และเมื่อนายหนึ่งซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย และนายหนึ่งมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายใหญ่ ดังนั้น นายใหญ่จึงสามารถเข้ามารับมรดกแทนที่นายหนึ่งในการ รับมรดกของนางบีได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 โดยนายใหญ่และนายสองจะได้รับมรดกในส่วนที่เป็น เงินสดของนางบีคนละ 150,000 บาท

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายสองได้ยักย้ายเงินมรดกไปเป็นของตนโดยทุจริต จํานวน 200,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้น นายสองจึงถูกกําจัด มิให้ได้มรดกเลย ตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง มรดกของนางบีที่เป็นเงินสดจํานวน 300,000 บาท จึงตกได้แก่ นายใหญ่ซึ่งเข้ามารับมรดกแทนที่นายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 500,000 บาทนั้น ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นางบีทําพินัยกรรมยกให้กับนายสองโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคสอง กล่าวคือ ที่ดินแปลงดังกล่าวยังคงตกได้แก่นายสองในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยนายสองจะไม่ถูก กําจัดไม่ให้รับมรดกในส่วนนี้

สรุป มรดกของนางที่ในส่วนที่เป็นเงินสดจํานวน 300,000 บาท ตกได้แก่นายใหญ่แต่เพียงผู้เดียว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 500,000 บาท ตกได้แก่นายสองตามพินัยกรรม

 

ข้อ 3. นายดําและนางแดงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนายหนึ่งและนายสอง นางแดงล้มป่วยและถึงแก่ความตาย นายดําจดทะเบียนสมรสใหม่กับนางส้ม มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเอกและนายโท นายโทมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายชื่อนางทอง มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ทิว นายดําและนายโทนั่งรถไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตายทั้งสองคน ต่อมานายเอกได้ทะเลาะกับนายหนึ่งอย่างรุนแรงเรื่องมรดกของนายดํา นายเอกเอาปืนมายิงนายหนึ่ง ถึงแก่ความตาย ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดว่านายเอกฆ่านายหนึ่งตายโดยเจตนา ต่อมานายสอง ถึงแก่ความตาย มีมรดกทั้งสิ้น 800,000 บาท ดังนี้ ให้ท่านแบ่งมรดกของนายสอง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทําหรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิ
ได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําและนางแดงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนายหนึ่งและนายสอง นางแดงถึงแก่ความตาย นายดําจดทะเบียนสมรสใหม่กับนางส้ม มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเอกและนายโทนั้น ย่อมถือว่านายเอกและนายโทเป็นน้องร่วมบิดาเดียวกันกับนายหนึ่งและนายสอง และเมื่อนายสองเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มรดกของนายสองย่อมตกแก่นายดําและนางแดงซึ่งเป็นบิดามารดา และเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) แต่เมื่อปรากฏว่านายดําและนางแดงได้ถึงแก่ความตายก่อนนายสอง นายดําและนางแดงจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสอง เพราะทั้งสองไม่มีสภาพบุคคลในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และนางส้มก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสองเพราะนางส้มไม่ใช่มารดาของนายสอง จึงมิใช่ทายาทโดยธรรมของนายสองตามมาตรา 1629 (2) แต่อย่างใด

ส่วนนายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายสองและเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา
1629 (3) นั้น เมื่อปรากฏว่านายหนึ่งได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายหนึ่งจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสอง เพราะนายหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ นายดําและนางแดง ดังนั้น โดยหลักแล้วมรดกของนายสองจํานวน 800,000 บาท ย่อมตกได้แก่นายเอกและนายโท ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) เพราะทั้งสองคนเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันกับนายสอง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเอกได้ทะเลาะกับนายหนึ่งอย่างรุนแรงเรื่องมรดก ของนายดํา นายเอกเอาปืนมายิงนายหนึ่งถึงแก่ความตาย และศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดว่านายเอกฆ่านายหนึ่งตาย โดยเจตนา ดังนั้น นายเอกจึงถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายสองฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) เนื่องจากได้เจตนากระทําให้ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น มรดก ทั้งหมดของนายสองจึงตกได้แก่นายโทในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4)

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า นายโทได้ถึงแก่ความตายก่อนนายสองเจ้ามรดกตาย ดังนั้น นายโท จึงไม่อาจรับมรดกของนายสองได้ เพราะนายโทไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายโทมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ ด.ช.ทิว ซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน โดยตรง ดังนั้น ด.ช.ทิว จึงเข้ามารับมรดกแทนที่นายโทได้ ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 มรดกทั้งหมด ของนายสองจึงตกได้แก่ ด.ช.ทิว แต่เพียงผู้เดียว

สรุป มรดกของนายสองจํานวน 800,000 บาท ตกได้แก่ ด.ช.ทิวแต่เพียงผู้เดียว

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมภายใน
(1) นั่งรอรถเมล์ที่หน้ามหาวิทยาลัย
(2) ตัดหญ้าหน้าบ้านพี่สาว
(3) รู้สึกเป็นห่วงลูกเมื่อลูกต้องเดินทางไกลคนเดียว
(4) จ่ายเงินค่าอาหารคํากับบริกร
(5) อ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมตัวสอบ
ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่ สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ
2. พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

2. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา
(1) บรรยายพฤติกรรม
(2) ทําความเข้าใจการเกิดขึ้นของพฤติกรรม
(3) ทํานายการเกิดพฤติกรรม
(4) ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน
(5) ประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจําวัน
ตอบ 4 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชี โดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย), ทําความเข้าใจ, ทํานาย (พยากรณ์) และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

3.“การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(5) กลุ่มมนุษยนิยม
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) โดยกลุ่มนี้มีความสนใจในการทํางานของ จิตสํานึก และการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการ ของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ที่เชื่อว่าอินทรีย์จะมีวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอด และ สัตว์ทั้งหลายจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

4.“แบ่งจิตเป็น 3 ระดับ คือ จิตสํานึก จิตกึ่งสํานึก และจิตใต้สํานึก” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
(2) กลุ่มมนุษยนิยม
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิเคราะห์
ตอบ 5 หน้า 289 ฟรอยด์ นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อว่ากระบวนการทํางานของจิตมี 3 ระดับ คือ
1. จิตสํานึก (Conscious) เป็นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการทํางานอย่างรู้ตัวของ บุคคลในระดับจิตสํานึก ซึ่งพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เป็นการทํางานของจิตส่วนนี้
2. จิตใต้สํานึกหรือจิตไร้สํานึก (Unconscious) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความขัดแย้งใจ
3. จิตก่อนสํานึกหรือจิตถึงสํานึก (Preconscious) เป็นประสบการณ์บางอย่างที่เราลืมไปแต่ถ้าได้รับการเตือนความจําขึ้นมาเราก็จะจําได้ทันที

5.“เน้นกระบวนการรู้คิดของบุคคล” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
(5) กลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology)
ตอบ 4 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถทางปัญญา โดยเน้นกระบวนการรู้คิดที่อาศัยการทํางานของสมอง รวมทั้งเน้น กระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความรู้ ความคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิตอื่น ๆ

6. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ Ego ตามแนวคิดของจิตวิเคราะห์
(1) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
(2) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามความพอใจของตน
(3) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามหลักของศีลธรรมของสังคม
(4) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามเป้าหมายของตน
(5) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญาณ
ตอบ 1 หน้า 288 อีโก้ (Ego) จะทํางานร่วมกันไปกับกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลโดยยึดหลักแห่ง ความเป็นจริง ดังนั้น อีโก้จึงเป็นส่วนของจิตที่ทําหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้ทําตาม ความเป็นจริง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 7. – 8. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคําถามว่าเป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาประเภทใด
(1) การสังเกต
(2) การสํารวจ
(3) การทดลอง
(4) การทดสอบทางจิตวิทยา
(5) การศึกษาประวัติรายกรณี

7.ความคิดเห็นของวัยรุ่นที่มีต่อเกม ROV
ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม
ที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น

8.การศึกษาที่กําหนดให้มีตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
ตอบ 3 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาที่สําคัญยิ่งในการทําให้วิชาจิตวิทยา ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็นผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลองจะต้อง แน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว

9.สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาในเรื่องใด
(1) ศึกษาแบบแผนพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงที่ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็นในสถานการณ์ต่าง ๆ
(2) ศึกษาการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรม
(3) ศึกษากระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอก
(4) ศึกษากระบวนการแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ
(5) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต
ตอบ 2 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมอง และระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ
สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

10. กลไกของระบบประสาทใด ที่ทําหน้าที่รับสัมผัสทั้งหลาย แปลงข้อมูลเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมี และส่งต่อไปยังระบบประสาท
(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) กลไกการรับรู้
(3) กลไกการรับสิ่งเร้า
(4) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท
(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน
ตอบ 3 หน้า 31 กลไกการรับสิ่งเร้า (Receptors) คือ อวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งกลไกนี้จะทําหน้าที่รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมแล้วแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือ สารเคมี และส่งต่อไปยังระบบประสาท

11. กรณีใดไม่ได้เกิดจากวงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action)
(1) กระพริบตาเมื่อลมพัด
(2) ชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน
(3) เปิดพัดลมเมื่อร้อน
(4) ดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ
(5) ถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่
ตอบ 3 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) เป็นการแสดงออกทางร่างกายโดย อัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่ทํางานภายใต้การสั่งการของไขสันหลัง เช่น การกะพริบตา เมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่ ฯลฯ

12. ระบบประสาทใด ทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทส่วนปลาย
(3) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป
(4) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(5) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
ตอบ 1 หน้า 27, 34, 41 – 43, 52 – 53 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของระบบประสาท โดยทําหน้าที่ เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทําให้ร่างกาย เคลื่อนไหว ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ การไหลเวียนของโลหิต การทํางานของ ต่อมไร้ท่อ การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมอารมณ์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของความรู้สึก นึกคิด สติปัญญา ความคิดและความรัก ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

13. ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous system) ทําหน้าที่อะไร
(1) ควบคุมสมดุลระบบพลังงานของร่างกาย
(2) ผลิตฮอร์โมน
(3) ผลิตของเหลวส่งตามท่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
(4) ทําให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะสงบและพักผ่อนหลังอาการตกใจ
(5) สั่งการให้ร่างกายตื่นตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ตอบ 5 หน้า 34 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) เป็นระบบที่ไปกระตุ้น การทํางานของร่างกายในกรณีฉุกเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับ สถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

14.เปลือกสมองส่วน Parietal lobe ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ประมวลผลเกี่ยวกับการมองเห็น
(2) ประมวลผลพฤติกรรมจากการรู้คิด
(3) ประมวลผลเกี่ยวกับการรับความรู้สึกทั่วไป
(4) ประมวลผลเกี่ยวกับการได้ยิน
(5) ประมวลผลพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหิว ความกระหาย
ตอบ 3 หน้า 41, (ความรู้ทั่วไป) เปลือกสมอง หรือซีรีบรัล คอร์เทกซ์ (Cerebral Cortex) เป็นที่รวมของ เส้นประสาททั้งหมด และเป็นส่วนของสมองที่ทํางานซับซ้อนมาก แบ่งออกเป็น 4 กลีบ ได้แก่
1. กลีบสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ทําหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว บุคลิก การตัดสินใจ เหตุผล ความสามารถในการพูด ฯลฯ
2. กลีบสมองส่วนกลาง (Parietal lobe) ทําหน้าที่ควบคุมความรู้สึกด้านการสัมผัสต่าง ๆ การรับรส การเข้าใจภาษาในการพูด การอ่าน การเขียน และการคํานวณ
3. กลีบสมองส่วนข้าง (Temporal lobe) เกี่ยวกับความจําทางภาษา ศิลปะ การได้ยิน การดมกลิ่น
4. กลีบสมองส่วนหลัง (Occipital lobe) ทําหน้าที่ควบคุมการมองเห็น

15. ส่วนใดเกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบประสาทมากที่สุด
(1) เซลล์ประสาท
(2) สารสื่อประสาท
(3) หัวใจ
(4) ไขสันหลัง
(5) สมอง
ตอบ 5 หน้า 30, 40 สมอง (Brain) เป็นอวัยวะสําคัญของระบบประสาท ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สําคัญ ในการควบคุมการทํางานของระบบอื่น ๆ ในร่างกาย

16. แอ็กซอน (axon) ในเซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) ทําหน้าที่ในข้อใด
(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทได้ในเวลาเดียวกัน
(2) สารนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์
(3) การนํากระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปสู่เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง
(4) ทําหน้าที่กระตุ้นการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป
(5) ทําหน้าที่ยับยั้งการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป
ตอบ 3 หน้า 37 – 38 แอ็กซอน (Axon) ทําหน้าที่นําคําสั่งหรือนํากระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ ประสาทไปสู่เดนไดรท์ของเซลล์ประสาทตัวอื่น

17. กล้ามเนื้อส่วนใดที่ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ
(1) กล้ามเนื้อเรียบ
(2) กล้ามเนื้อลาย
(3) กล้ามเนื้อหัวใจ
(4) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อลาย
(5) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ
ตอบ 2 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย กล้ามเนื้อลาย (ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ) กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจ
(ทํางานนอกเหนืออํานาจจิตใจ)

18. การผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมความสมดุลในร่างกาย เป็นหน้าที่การทํางานของระบบร่างกายระบบใด
(1) เซลล์ประสาท
(2) สารสื่อประสาท
(3) ต่อมมีท่อ
(4) ต่อมไร้ท่อ
(5) กล้ามเนื้อหัวใจ
ตอบ 4 หน้า 45 ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่ไม่มีท่อสําหรับให้สารเคมีที่ต่อมผลิตได้ผ่านไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งสารเคมีที่ต่อมนี้ผลิตได้เรียกว่า “ฮอร์โมน” (Hormone) ซึ่งมีความสําคัญต่อร่างกาย และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อแต่ละชนิด จะทํางานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อควบคุมและรักษาความสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ

ข้อ 19. – 21. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคําถาม
(1) ความจําระยะสั้น
(2) ความจําระยะยาว
(3) ความจําจากการรับสัมผัส
(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน
(5) ความจําคู่

19. เก็บข้อมูลได้มากและไม่สูญหาย
ตอบ 2 หน้า 196 – 197, 199 ความจําระยะยาว (Long-term Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลัง ข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัดในการเก็บ ข้อมูล (เก็บข้อมูลได้มาก) จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้ บนพื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ
1. การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ
2. การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําเรื่องราวในวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

20. เก็บภาพติดตาไว้ได้
ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูล ในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูล ต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ได้ ครึ่งวินาที (2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูล สิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

21. เป็นคลังข้อมูลชั่วคราว
ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่ เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ ทั้งนี้ความจําระยะสั้น จะถูกรบกวนหรือถูกแทรกแซงได้ง่าย เป็นความจําที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนในการสนทนา เกี่ยวกับชื่อ วันที่ หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากนี้ยังเป็นความจําในส่วน ที่ปฏิบัติงาน (Working Memory) การคิดเลขในใจ การจํารายการสั่งของที่จะซื้อ ฯลฯ

22. การที่เราจดจําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนใด
(1) ความจําคู่
(2) ความจําขณะปฏิบัติงาน
(3) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว
(4) การจําความหมายในความจําระยะยาว
(5) ความจําจากการรับสัมผัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

23. การที่เราพยายามนึกชื่อดาราคนหนึ่ง ซึ่งจําชื่อไม่ได้แต่จําหน้าได้ จนกระทั้งมีเพื่อนนํารูปถ่ายมาให้ดู จึง สามารถเรียกชื่อดาราได้อย่างถูกต้อง ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด
(1) การจําได้
(2) การระลึกได้
(3) การพิจารณาได้
(4) การเรียนซ้ำ
(5) การบูรณการใหม่
ตอบ 1 หน้า 202 การจําได้ (Recognition) เป็นการวัดความจําโดยมีสื่อกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ หรือการเห็นร่มก็จําได้ว่าเป็นร่มที่หายไปเมื่อสองเดือนที่แล้ว ฯลฯ การจําได้จะได้ผลดีถ้ามีรูปถ่ายหรือการได้เห็นสิ่งอื่น ๆ มาช่วย เช่น การที่ตํารวจนิยมให้พยาน ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพถ่ายหรือสเก็ตภาพให้พยานดู เป็นต้น

24. หนึ่งในสาเหตุของการลืมที่เกิดขึ้นจาการทํางานของจิตใต้สํานึก คือข้อใด
(1) การถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่ ๆ
(2) การเก็บกด
(3) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา
(4) การระงับเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่นึกถึงบางอย่าง
(5) ข้อมูลไม่ได้ถูกบันทึก เพราะไม่ได้เป็นเรื่องราวที่บุคคลเลือกใส่ใจ
ตอบ 2 หน้า 205 การเก็บกด (Repression)
เป็นการจูงใจเพื่อลืมความจําที่เจ็บปวดหรือความอาย จะถูกเก็บกดให้อยู่ในจิตใต้สํานึก ทั้งนี้คนเรามักจะจดจําเหตุการณ์ที่มีความสุขหรือสิ่งดี ๆ
ในชีวิตได้มากกว่าเหตุการณ์ที่ผิดหวังหรือไม่น่ารื่นรมย์และสิ่งที่เลวร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดี

25. ข้อใดเป็นหน่วยความคิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัญลักษณ์เพื่อเป็นตัวแทนของการคิด
(1) ภาษา
(2) จินตภาพ
(3) มโนทัศน์
(4) การหยั่งเห็นคําตอบทันที
(5) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
ตอบ 1 หน้า 207 – 208 ภาษาเป็นหน่วยพื้นฐานของความคิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัญลักษณ์เพื่อ
เป็นตัวแทนของการคิดหรือสิ่งของ โดยภาษาของแต่ละชาติมีผลต่อระบบการคิดของคนในชาติ ที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ เช่น การที่ชาวเอสกิโมมีคําเรียกหิมะเกือบ 30 คํา แต่คนไทยมีคําเรียก หิมะเพียงคําเดียว ฯลฯ

26. ข้อใดไม่ใช่หน่วยพื้นฐานของการคิด
(1) ภาษา
(2) จินตภาพ
(3) มโนทัศน์
(4) การหยั่งเห็นคําตอบทันที
(5) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
ตอบ 4หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของความคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ มโนทัศน์ และภาษาหรือสัญลักษณ์

27.การที่ลิงชิมแปนซีที่อยู่ในสถานการณ์ที่มีกล่องกระดาษวางอยู่เกะกะ และมีกล้วยแขวนอยู่ในที่สูงแล้วรู้ว่า ต้องนํากล่องกระดาษมาต่อกันเพื่อไปหยิบกล้วยนั้น จัดว่าลิงชิมแปนซีใช้การแก้ปัญหาแบบใด
(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ
(2) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที
(3) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร
(4) แก้ปัญหาจากการคิดคุณสมบัติทั่วไปของคําตอบที่ถูก
(5)แก้ปัญหาจากการคิดคําตอบที่เป็นไปได้หลาย ๆ คําตอบ
ตอบ 2 หน้า 210, 218, (คําบรรยาย) จากการทดลองของโคเลอร์ (Kohler) ได้แสดงให้เห็นถึงการ แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันทีของลิงชิมแปนซี (เป็นการลองผิดลองถูกภายในจิต) ซึ่งในคนปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นหลังจากคิดแก้ปัญหาแต่ไม่ประสบผลสําเร็จ และการหยั่งเห็นคําตอบในทันทีมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

28. การให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ และแตกต่างจากคนอื่น จัดเป็นคุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์
(1) ความริเริ่ม
(2) ความมีตรรกะ
(3) การแสวงหาใคร่รู้
(4) ความคล่อง
(5) ความยืดหยุ่น
ตอบ 1 หน้า 211 คุณสมบัติของผู้มีความคิดสร้างสรรค์มีหลายประการ เช่น
1. ความคล่อง คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย
2. ความยืดหยุ่น คือ สามารถเปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดอยู่กับ ความคิดเดิม
3. ความคิดริเริ่ม คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ แปลกใหม่ ไม่ธรรมดา และแตกต่างจากคนอื่น

29. ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้
(1) การสัมผัสจําเป็นต้องอาศัยการรับรู้
(2) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส
(3) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้
(4) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส
(5) การสัมผัสคือการที่สิ่งเร้ามากระทบความต้องการ แล้วจึงเกิดพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 57, 59 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ต่าง ๆ โดยการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งกระบวนการรับรู้นี้จัดเป็น ขั้นตอนสําคัญอย่างยิ่งก่อนการแสดงพฤติกรรมโต้ตอบของมนุษย์ในทุกรูปแบบ

30. ตาบอดสีแบบ Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีแบบใด
(1) เห็นสีผิดปกติเพียงเล็กน้อย
(2) ตาบอดสีแดง
(3) ตาบอดสีเขียว
(4) เห็นได้เพียงสองสี
(5) ตาบอดทุกสี
ตอบ 4หน้า 63 – 64 ตาบอดสีเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการเห็นสี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีหมดทุกสี โดยจะเห็นสีทุกสีเป็นสีเทา
2. Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีชนิดที่สามารถมองเห็นสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น คือ พวกที่เห็นสีแดงเป็นสีดํา และพวกที่ไม่สามารถแยกสีเขียวและสีแดงออกจากกันได้
3. Trichromatism เป็นการเห็นสีครบทุกสีแต่เห็นสีนั้นอ่อนกว่าปกติ (ผิดปกติเพียงเล็กน้อย)

31. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรอดส์และโคนส์
(1) รอดส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นนอก ส่วนโคนส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นใน
(2) รอดส์และโคนส์ สามารถทําให้การรับรู้รสชาติและกลิ่นเปลี่ยนไปได้
(3) รอดส์และโคนส์ ทําหน้าที่รักษาความสมดุลภายในร่างกาย
(4) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี
(5) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา
ตอบ 4 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) มีลักษณะสั้น เป็นรูปกรวย และไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

32. ความรู้สึกที่มาสัมผัสเรานั้นแยกออกได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
(1) มี 2 ชนิด คือ ความร้อน และเย็น
(2) มี 2 ชนิด คือ ความกด และปล่อย
(3) มี 3 ชนิด คือ ความสบาย ความเจ็บปวด และความทรมาน
(4) มี 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด
(5) มี 5 ชนิด คือ ความกด ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด และความทรมาน
ตอบ 4 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของคนเราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีความไว
ต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้น มีจุดรับสัมผัส พื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด

33. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร
(1) ห้องมายา
(2) ทางสองมิติ
(3) หน้าผามายา
(4) ห้องจําลอง
(5) ภาพเงาสะท้อน
ตอบ 3 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ําต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

34. ข้อใดไม่ใช่รถพื้นฐานของมนุษย์
(1) หวาน
(2) เผ็ด
(3) เค็ม
(4) ขม
(5) เปรี้ยว
ตอบ 2 หน้า 68 รสพื้นฐานที่มนุษย์รับรู้โดยทั่วไปมี 4 รส คือ รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม ส่วนรสอื่น ๆ เช่น รสเผ็ดนั้น เกิดจากการผสมกันของรสพื้นฐานเหล่านี้

35. ข้อใดคือ แนวโน้มที่จะรับรู้ภาพที่สมบูรณ์ทั้งที่บางส่วนขาดหายไป
(1) Common fate
(2) Closure
(3) Continuity
(4) Similarity
(5) Proximity
ตอบ 2 หน้า 75, (คําบรรยาย) การต่อเติมให้สมบูรณ์ (Closure) คือ แนวโน้มที่จะรับรู้ความสมบูรณ์ ของวัตถุทั้งที่บางส่วนขาดหายไป โดยการมองเป็นลักษณะส่วนรวมหรือความสมบูรณ์ของวัตถุ มากกว่าการมองวัตถุเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะถ้าเรามองสิ่งใดที่ยังขาดหรือพร่องอยู่ จิตของมนุษย์ มักจะเติมส่วนที่ขาดหายไปนั้นให้เป็นรูปเต็ม

36. การรับรู้แบบอภิธรรมดาที่เรียกว่า โทรจิต (Telepathy) เป็นการรับรู้อย่างไร
(1) การเห็นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทางตา
(2) การเดินทางไปปรากฏกายในที่อื่นโดยไม่ต้องใช้พาหนะใด ๆ
(3) การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(4) การทําให้วัตถุหักงอโดยไม่ต้องใช้กายสัมผัส
(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
ตอบ 5 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

37. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของสี
(1) ตัวสี (Hue)
(2) ความสว่าง
(3) ความบริสุทธิ์
(4) ความมืด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 63 ส่วนใหญ่แล้วสีต่าง ๆ มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ
1. ตัวสี (Hue) เช่น สีเขียว แดง ม่วง ฯลฯ
2. ความสว่างของสี (Brightness) หมายถึง สีเดียวกันอาจมีความสว่างต่างกัน
3. ความบริสุทธิ์ของสี (Saturation) หมายถึง สีที่อิ่มตัวเป็นสีบริสุทธิ์จะมีคลื่นแสงเดียว ไม่มีคลื่นแสงอื่นเข้ามาปะปนให้เจือจางลงไป

38. ระดับอุณหภูมิขั้นต่ําเท่าไรที่จะทําให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกร้อน
(1) สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส
(2) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
(3) สูงกว่า 50 องศาเซลเซียส
(4) สูงกว่า 60 องศาเซลเซียส
(5) สูงกว่า 70 องศาเซลเซียส

ตอบ 1 หน้า 67 ผิวหนังมีแต่ความรู้สึกอุ่นและเย็นเท่านั้น ส่วนความรู้สึกร้อนเกิดจากการที่ประสาท ผิวหนังอุ่นและเย็นได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ถ้าสิ่งที่มากระตุ้นมีอุณหภูมิ สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เรารู้สึกร้อน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ํากว่านี้จะทําให้เรารู้สึกเย็น

39. ข้อใดคือความหมายของสัมปชัญญะ
(1) การรู้ว่าผู้อื่นคิดอะไรอยู่
(2) การรู้ว่าตนเองคิดอะไรอยู่
(3) การมีสติ
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูกต้อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 89 – 90, 115 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือ ขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การฝัน การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติด การใช้ยาหรือสารเคมี และการนั่งสมาธิภาวนา

40. ข้อใดคือระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับ
(1) 6 ชั่วโมง
(2) 7 ชั่วโมง
(3) 8 ชั่วโมง
(4) ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนด ให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะมนุษย์แต่ละคน มีความแตกต่างกันในการนอน สําหรับคนบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียง สําหรับเขา แต่สําหรับคนอื่น ๆ อาจจะใช้เวลานอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้

41. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสะกดจิต
(1) ช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น
(2) ช่วยลดความเจ็บปวด
(3) ทําให้คนธรรมดามีพลังพิเศษได้
(4) ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ
(5) ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น
ตอบ 1 , 3 หน้า 105, 116 ประโยชน์ของการสะกดจิต มีดังนี้
1. ช่วยให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่นและชักจูงให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น แต่ไม่สามารถ
เปลี่ยนคนธรรมดาให้มีพลังพิเศษได้
2. ช่วยโน้มน้าวจิตใจของบุคคลให้สนใจที่จะจดจํา แต่ไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น
3. ในทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเจ็บปวดของคนไข้ได้
4. ช่วยให้บุคคลเกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

42. สภาวะที่เรียกว่า “Sleep Deprivation Psychosis” คืออะไร
(1) อาการหลับไม่สนิท
(2) สภาพจิตที่ฟุ้งซ่าน ทําให้นอนไม่หลับ
(3) อาการละเมอขณะนอนหลับ
(4) สภาพจิตที่กระหายการนอนหลับ
(5) อาการกระตุกก่อนการนอนหลับ
ตอบ 4 หน้า 91 นักจิตวิทยาได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีโอกาสได้นอนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน พบว่า จะมีสภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งอาจส่งผลทําให้บุคคลนั้นเกิดความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจ ที่ผิดพลาด รวมทั้งอาจมีอาการประสาทหลอนได้

43. คลื่นใดที่เครื่อง EEG สามารถตรวจพบในขณะที่เราหลับลึกได้
(1) Alpha
(2) Beta
(3) Gamma
(4) Delta
(5) Theta
ตอบ 4 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่ 4 เป็นช่วงแห่งการนอนหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) ซึ่ง มักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ

44. ข้อใดเป็นสภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM
(1) ความดันโลหิตนิ่ง
(2) อารมณ์ไม่ปกติ
(3) ผิวหนังเย็นชา
(4) ร่างกายกระตุก
(5) หัวใจเต้นสม่ําเสมอ
ตอบ 2 หน้า 96 สภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM (ช่วงของการนอนหลับฝัน) คือ อารมณ์จะยัง ไม่ปกตินัก หัวใจเต้นไม่สม่ําเสมอ ความดันโลหิตและการหายใจจะยังไม่เข้าที่ดีนัก ร่างกายจะ มีการเคลื่อนไหวน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย และมักจะไม่เกิดการเปลี่ยนท่านอน

45. สภาวะใดเป็นสภาวะที่บุคคลออกจากสัมปชัญญะ
(1) ถูกสะกดจิต
(2) การใช้ยาเสพติด
(3) การเจริญภาวนา
(4) ผิดทุกข้อ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

46. ยาเสพติดประเภทใดออกฤทธิ์ผสมผสาน
(1) ฝิ่น
(2) เฮโรอีน
(3) กัญชา
(4) ยาบ้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 110 กัญชา จัดเป็นยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจจะกดหรือ
กระตุ้นหรือหลอนประสาทร่วมกัน

47. ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากความคิด ความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงกลางวัน
(1) Freud
(2) Adler
(3) Jung
(4) Hopson & McCarley
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 98, 115, (คําบรรยาย) แอดเลอร์ (Adler) เชื่อว่า ความฝันเป็นเรื่องราวของความคิดคํานึง รวมทั้งความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงเวลากลางวันแล้วจึงต่อเนื่องนําไปฝันในช่วงเวลากลางคืน

48. ข้อใดไม่ใช่ชนิดของการสะกดจิตที่กล่าวในบทเรียน
(1) การสะกดจิตตนเอง
(2) การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม
(3) การสะกดจิตหมู่
(4) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่ยินยอม
(5) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 การสะกดจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. การสะกดจิตตนเอง
2. การสะกดจิตผู้อื่น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม การสะกดจิต โดยผู้อื่นไม่ยินยอม และการสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว

ข้อ 49 – 53. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(2) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต
(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง

49. ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก
ตอบ 2 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพ ของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะเกิดขึ้นอีกและจะกระทําบ่อยขึ้น ฯลฯ

50. สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ
1. สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย
2. สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

51. การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้
ตอบ 5 หน้า 296 อัลฟอร์ท (Atiport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory) เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ

52. ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมนําไปสู่การพัฒนาเรื่อง Self-Concept
ตอบ 3 หน้า 292 ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theory) เชื่อว่า ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม จะนําไปสู่การพัฒนาเรื่องอัตมโนทัศน์ (Self-Concept) โดยพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้

53. พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

54. นายเอกชอบการขับรถด้วยความเร็วสูงเพราะรู้สึกสนุกทั้งที่รู้ว่าเสี่ยงอันตราย เป็นพฤติกรรมที่เกิดจาก
โครงสร้างของจิตใจส่วนใด
(1) Id
(2) Ego
(3) Superego
(4) Persona
(5) Shadow
ตอบ 1 หน้า 287 – 288, (คําบรรยาย) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. อิด (Id) เป็นสัญชาตญาณของจิตใต้สํานึกที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด โดยเป็นพลังจิตที่ขาดการขัดเกลา ไม่รับรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม มีกระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลัก ความพึงพอใจหรือทําตามความพึงพอใจของตัวเองโดยไม่สนใจกับความเป็นจริงภายนอก
ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณในเรื่องเพศ ความก้าวร้าว และการทําลายล้าง
2. อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง โดยร่วมกันไปกับ กระบวนคิดอย่างมีเหตุผล จะแสดงออกอย่างไรจึงเป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคม
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

55. โครงสร้างของจิตใจส่วนใดที่ทํางานโดยยึดหลักจริยธรรม (Moral principle)
(1) Id
(2) Ego
(3) Superego
(4) Persona
(5) Shadow
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56. ข้อใดถูกต้องตามแนวคิดของวัตสัน (Watson)
(1) บุคลิกภาพเกิดจากการทํางานของ Id, Ego และ Superego
(2) พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
(3) โครงสร้างพลังงานของระบบ จิตสรีระทําให้บุคคลมีเอกลักษณ์ในการปรับตัว
(4) มนุษย์มีธรรมชาติที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโต และพัฒนาไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์
(5) ระบบจิตสรีระของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

57. ข้อใดคือความต้องการขั้นที่ 4 ของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
(1) ความต้องการความปลอดภัย
(2) ความต้องการทางร่างกาย
(3) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(4) ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 4 หน้า 229 – 232, 234 – 235 ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) ได้แบ่งระดับความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย เช่น ต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย รถยนต์ ฯลฯ
2. ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัย เช่น หาวิธีป้องกันตนเองให้ปราศจากโรค และอันตรายต่าง ๆ ไม่ขับรถขณะมึนเมา ฯลฯ
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ เช่น ต้องการความรัก ความสามัคคี ฯลฯ
4. ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น เช่น ต้องการมีชื่อเสียงและมีหน้ามีตาในสังคม ฯลฯ
5. ความต้องการประจักษ์ตน เช่น ต้องการแสวงหาความสุขทางใจ ฯลฯ

58. การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดเรียกว่า การฉายภาพจิต
(1) ใช้แบบทดสอบ MMPI
(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าเหมือนอะไร
(3) พูดคุยโดยตั้งคําถามทางอ้อม
(4) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ
(5) ให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอร์ชาย (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบ ดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขา บรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

59. “สติปัญญาเป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิดอย่างมีเหตุผล หรือกระทําทุก ๆ สิ่งอย่างมี จุดมุ่งหมาย ตลอดจนมีความสามารถที่จะปฏิบัติตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ตรงกับ
แนวคิดของใคร
(1) อัลเฟรด บิเนต์
(2) เดวิด เวคสเลอร์
(3) จอร์จ สต๊อดดาร์ด
(4) โฮวาร์ด การ์ดเนอร์
(5) ฟรานซิส กัลตัน
ตอบ 2 หน้า 321 เดวิด เวคสเลอร์ (David Wechster) กล่าวว่า “สติปัญญาเป็นความสามารถของ แต่ละบุคคลในการที่จะคิดอย่างมีเหตุผล หรือกระทําทุก ๆ สิ่งอย่างมีจุดมุ่งหมาย ตลอดจนมีความสามารถที่จะปฏิบัติตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

60. ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) เป็นของนักทฤษฎีท่านใด
(1) ชาร์ล สเปียร์แมน
(2) อัลเฟรด บีเน่ต์
(3) เทอร์สโตน และกิลฟอร์ด
(4) ธีโอฟีล ไซมอน
(5) เดวิด เวคสเลอร์
ตอบ 3 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎี ตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถ ขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ,
ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้าน เนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

61. จุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบทดสอบสติปัญญา คือ
(1) ความต้องการจัดชั้นเรียนพิเศษสําหรับเด็กเรียนข้าของกระทรวงศึกษาธิการประเทศฝรั่งเศส
(2) ความต้องการพิจารณางบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการประเทศสหรัฐอเมริกา
(3) การสํารวจระบาดวิทยาของปัญหาสุขภาพจิตในประเทศอังกฤษ
(4) การเตรียมเปิดสถาบันบําบัดสําหรับเด็กพิเศษในประเทศแคนาดา
(5) การร่างนโยบายการศึกษาของประเทศฟินแลนด์
ตอบ 1 หน้า 324 การวัดสติปัญญาริเริ่มขึ้นโดยเซอร์ ฟรานซิส กัลตัน (Sir Francis Gatton) ซึ่งให้ความสนใจศึกษาการสืบทอดทางพันธุกรรมเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา จนในปีค.ศ. 1905 กระทรวงศึกษาของประเทศฝรั่งเศสได้ให้ความสนใจต่อการศึกษาของเด็กที่มี ปัญหาในการเรียนช้า เพื่อที่จะได้จัดเตรียมโปรแกรมพิเศษสําหรับเด็กกลุ่มนี้ ด้วยเหตุนี้ นักจิตวิทยาจึงได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาใช้เพื่อแยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ

62.“คําว่า Mental Age (M.A.)” ในสมการการคํานวณค่า I.Q. = M.A./C.A. × 100 คืออะไร
(1) อายุจริง
(2) อายุปฏิทิน
(3) อายุสมอง
(4) อายุเพดาน
(5) อายุฐาน
ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.O. (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age : M.A.) ซึ่งเป็น คะแนนที่ได้จากการทําแบบทดสอบสติปัญญา และอายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age – C.A.) ซึ่งเป็นอายุที่นับตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันทดสอบ คูณด้วย 100

63. เด็กหญิงหนึ่ง ทําแบบทดสอบได้อายุสมอง 40 เดือน อายุจริงตามปฏิทินเท่ากับ 3 ปี เด็กหญิงหนึ่งจะมี คะแนนความสามารถทางสติปัญญา (I.Q.) เท่ากับเท่าไหร่ (หากมีเศษให้ปัดลง)
(1) เท่ากับ 11
(2) เท่ากับ 77
(3) เท่ากับ 88
(4) เท่ากับ 99
(5) เท่ากับ 111
ตอบ 5

64.คะแนน I.Q. ในข้อใดจัดอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย (High Average)
(1) I.Q. = 90 – 109
(2) 1.O. = 110 – 119
(3) I.Q. = 70 – 79
(4) I.Q. – 60 – 69
(5) I.Q. = 50 – 59
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ํากว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป

65. ถ้าข้อสอบ PSY 1001 มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ ข้อสอบนี้ขาดคุณสมบัติข้อใด
(1) ความเป็นปรนัย
(2) ความเชื่อถือได้
(3) ความแม่นยํา
(4) ความเที่ยงตรง
(5) ความเป็นมาตรฐาน
ตอบ 4 หน้า 328 ความเที่ยงตรง (Validity) นับเป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด นั่นคือ แบบทดสอบ จะต้องสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดได้ ได้แก่ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและทฤษฎีที่ให้ ผู้ทรงคุณวุฒิทําการประเมินแล้ว หรือความเที่ยงตรงที่ได้จากการคํานวณหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการทํานายหรือกับการทดสอบอื่น ๆ หรือระหว่าง แบบทดสอบใหม่กับแบบทดสอบเก่าที่ผู้สร้างเดิมได้หาค่าความเที่ยงตรงไว้แล้ว

66. แบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาแบบใดไม่ใช่การโต้ตอบคําถามด้วยภาษา
(1) WAIS
(2) WISC
(3) WPPSI
(4) Stanford-Binet
(5) Progressive matrices tests
ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีพ เมตรซีส (Progressive Matrices Test) เป็นแบบทดสอบ ที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) ที่ J.G. Raven สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต

67. แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับใดที่สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีได้
(1) SPM
(2) WAIS
(3) WISC
(4) WPPSI
(5) Stanford-Binet
ตอบ 5 หน้า 329 ลักษณะของแบบทดสอบ Stanford-Binet คือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับ สติปัญญาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ที่ฉลาด

68. ข้อใดกล่าวผิด
(1) การใช้แบบทดสอบ I.Q. จะกระทําได้แต่เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น
(2) ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเพศหญิงและชายที่มีความแตกต่างทางสติปัญญา
(3) ฐานะทางสังคมไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน
(4) ความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน
(5) ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้ เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีแล้ว
ตอบ 3 หน้า 332 – 334 การขายและใช้แบบทดสอบ I.Q. จะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติ เพียงพอในการใช้แบบทดสอบเท่านั้น เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าเพศหญิงและชายใครจะมี สติปัญญาดีกว่ากัน, ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยหรือตัวแปรที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน ความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่ได้ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกันและระดับสติปัญญาของคนเราอาจจะเพิ่มหรือลดก็ได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว

69. ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดมากที่สุด
(1) คนที่เก็บกดไม่แสดงอารมณ์
(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ
(3) คนที่ไม่ชอบการแข่งขัน
(4) คนที่ทําอะไรค่อยเป็นค่อยไป
(5) คนที่ไม่ชอบสร้างบรรทัดฐานให้กับตนเอง
ตอบ 1หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟรด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่ง กลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง เก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง มักเป็นคนเข้มงวด ชอบเสี่ยงและชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด
2. กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป ชอบทํางานทีละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุด และไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

70. “การปรับตัวมาจากการเรียนรู้ว่าดีหรือไม่ หากดีก็สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” มาจากแนวคิด
ทางจิตวิทยากลุ่มใด
(1) จิตวิเคราะห์
(2) มนุษยนิยม
(3) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(4) พฤติกรรมนิยม
(5) จิตวิทยาเกสตัลท์
ตอบ 4 หน้า 344 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เชื่อในเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นสิ่งเรียนรู้ ดังนั้น คนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะสามารถ มีพฤติกรรมที่โต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน

71. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด
(1) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น
(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้
(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น
(4) ช่วยให้เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นได้
(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้
ตอบ 4 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และ ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

72. เมื่อบุคคลเครียด พยายามหาเพื่อนเพื่อปรับทุกข์ วิธีนี้ถือเป็นกลยุทธ์ในการลดความเครียดวิธีใด
(1) เรียนรู้การพูดให้ตนเองสบายใจ
(2) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ
(3) การใส่ใจดูแลตนเอง
(4) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น
(5) การทํากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด
ตอบ 4 หน้า 351 – 353, (คําบรรยาย) กลยุทธ์ในการลดความเครียด มีหลายวิธี ได้แก่
1. แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ เช่น เดินเล่นบริเวณสวนสาธารณะ ฯลฯ
2. ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มองหาข้อบกพร่องของตนเอง ฯลฯ
3. รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น นั่งสมาธิ ออกกําลังกาย เล่นดนตรี ฯลฯ
4. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ
5. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เช่น พยายามหาเพื่อนที่จะพูดคุยเพื่อปรับทุกข์ ฯลฯ
6. เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ เช่น ใคร ๆ ก็ผิดกันได้ทั้งนั้น ฯลฯ

73. อาการทางกายใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล
(1) ตาบอดสี
(2) ปัญญาอ่อน
(3) ธาลัสซีเมีย
(4) ท้องเสีย
(5) โรคจิต
ตอบ 4 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือ โรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหารท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ

74. “เอริน่าบอกกับเพื่อนว่าที่ตนทําข้อสอบ PSY 1001 ไม่ได้ เป็นเพราะอาจารย์ออกข้อสอบยากเกินไป”
เป็นกลไกทางจิตชนิดใด
(1) การเก็บกด
(2) การชดเชยสิ่งที่ขาด
(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(4) การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
(5) การโยนความผิด
ตอบ 4 หน้า 357 การเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ของตัวเองเอาไว้ ซึ่งเป็นลักษณะคล้าย การปลอบใจตัวเอง เช่น พูดว่าใคร ๆ ก็ทําอย่างนี้กันทั้งนั้นแหละถ้ามีโอกาส, เหตุที่ตนสอบตกเพราะข้อสอบยากเกินไป หรือไม่สบายเลยขาดสมาธิในการทําข้อสอบ เป็นต้น

75. “จินบอกกับเพื่อนว่าที่สอบวิชา PSY 1001 ไม่ผ่านเพราะต้องช่วยแม่ทํางาน จึงไม่มีเวลาอ่านหนังสือ”
เป็นกลไกทางจิตชนิดใด
(1) การเก็บกด
(2) การชดเชยสิ่งที่ขาด
(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(4) การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
(5) การโยนความผิด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76.ตามแนวคิดของเซลเย (Selye) “ช่วงที่ร่างกายมีการสร้างระบบป้องกันความเครียด แต่ขณะเดียวกัน ระบบป้องกันทางร่างกายทํางานได้ลดลง” เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ขั้นปฏิเสธ
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นถดถอย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
ตอบ 5 หน้า 351, (คําบรรยาย) เซลเย (Selye) ได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด พบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2. สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น แต่อาจทําให้ระบบป้องกันภัยด้านอื่นเสื่อมสมรรถภาพ เช่น เมื่อทราบข่าวร้าย ร่างกายก็จะ แสดงปฏิกิริยาตกใจ เสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ซึ่งถ้าไม่ปรับตัว อาจกลายเป็นคนอ่อนแอ
3. ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-out คือ หมดพลัง ไปต่อไม่ได้

77. ความขัดแย้งแบบใดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังนี้ “จะเลือกทํางานที่ไหนดี? ระหว่างไม่ชอบลักษณะงาน แต่เงินเดือนมาก หรือที่ที่ได้ทํางานตามที่ตัวเองชอบ แต่เงินเดือนน้อย”
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและชัง
(4) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก
2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3. ทั้งรักและซัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ
4. ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

78. “ต่อยากไปเที่ยวกับเพื่อน แต่กลัวว่าจะอ่านหนังสือสอบไม่ทัน” เป็นความขัดแย้งใจแบบใด
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและชัง
(4) ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79. จากการทดลองของซิมบาร์โดและคณะที่ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดสวมบทบาทสมมติเป็นนักโทษและผู้คุมและพบว่าบทบาทที่ได้รับทําให้นักศึกษาแสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามบทบาทสมมติที่ได้รับมากขึ้น จัดเป็นการทดลองที่ได้ข้อสรุปในเรื่องใด
(1) ปทัสถานกลุ่ม
(2) การคล้อยตาม
(3) อิทธิพลของบทบาททางสังคม
(4) อิทธิพลของสถานภาพทางสังคม
(5) การขัดแย้งกันของบทบาท
ตอบ 3 หน้า 377 ซิมบาร์โค (Zimbardo) และคณะ ได้ทดลองให้เห็นว่าบทบาททางสังคมมีผลต่อ พฤติกรรมของบุคคล โดยว่าจ้างนักศึกษาชายแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่มีสุขภาพจิตปกติ และสุขภาพกายแข็งแรง ให้สวมบทบาทเป็นนักโทษและผู้คุม ในระหว่างการทดลองนั้นทั้ง 2 ฝ่าย สวมบทบาทเหมือนจริงมาก แสดงให้เห็นว่าบทบาทนักโทษและผู้คุมที่นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม สวมอยู่นั้นมีผลต่อพฤติกรรมของพวกเขามาก นั่นหมายถึงข้อสรุปที่ว่าการเปลี่ยนบทบาทมีผล หรืออิทธิพลให้พฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนแปลงไป

80. ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ
(1) การฟังสุนทรพจน์
(2) การให้คําปรึกษาของนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา
(3) การพูดคุยกันระหว่างเพื่อน
(4) การพูดคุยของประธานบริษัทสองบริษัทที่ตกลงทําการค้าร่วมกัน
(5) การพูดคุยกันของคู่รัก
ตอบ 1หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

81. การตามผู้นําในสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากคําอธิบาย จัดเป็นการตามผู้นําลักษณะใด
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) สถานการณ์การคล้อยตาม
(3) การอภิปรายกลุ่ม
(4) สารชักจูง
(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
ตอบ 1หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

82. นายกายมีเจตคติว่า “การดูแลพ่อแม่เป็นการแสดงความกตัญญู” แสดงถึงองค์ประกอบเจตคติด้านใด
(1) องค์ประกอบทางความเชื่อ
(2) องค์ประกอบทางการกระทํา
(3) องค์ประกอบทางอารมณ์
(4) องค์ประกอบทางจิตใต้สํานึก
(5) องค์ประกอบทางการรับรู้และสัมปชัญญะ
ตอบ 1 หน้า 389 เจตคติ มีองค์ประกอบสําคัญ 3 อย่าง คือ
1. องค์ประกอบทางความเชื่อ จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความคิด/ความเข้าใจที่มีต่อที่หมาย ทางเจตคติ เช่น มีเจตคติว่า “การดูแลพ่อแม่เป็นการแสดงความกตัญญู”, มีเจตคติต่อวัดว่า “วัดเป็นสถานที่ที่ช่วยให้จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง”, “วัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจ” ฯลฯ
2. องค์ประกอบทางอารมณ์ จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์/ความรู้สึกที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ
3. องค์ประกอบทางการกระทํา จะเกี่ยวข้องกับการกระทํา/พฤติกรรมที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ เช่น มีเจตคติต่อวัดว่า “เราควรไปวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อการฝึกสมาธิและการปฏิบัติธรรม” “วัยรุ่นปัจจุบันมักใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน” ฯลฯ

83. ขั้นตอนการแสดงพฤติกรรมการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เมื่อเรียงลําดับแล้ว ขั้นตอนที่ขาดหายไปคือข้อใด
“สังเกตเห็นถึงสถานการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ —………..—- รับรู้ว่าตนควรรับผิดชอบ—-รู้วิธีการช่วยเหลือ”
(1) เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ
(2) หาเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อการช่วยเหลือ
(3) แปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
(4) ตั้งสติสัมปชัญญะเพื่อการช่วยเหลือ
(5) เตรียมใจให้พร้อมสําหรับการช่วยเหลือ
ตอบ 3 หน้า 395 ลาตาเน่และดาร์เลย์ เห็นว่า พฤติกรรมการช่วยเหลือมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ
1. สังเกตเห็นเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ
2. แปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3. คิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ
4. รู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม

84. “ประธานบริษัทที่ต้องไล่ลูกสาวออกจากงานเพราะทุจริต” จัดเป็นบริบททางสังคมในลักษณะใด
(1) การเชื่อฟัง
(2) ปทัสถานกลุ่ม
(3) การคล้อยตาม
(4) การขัดแย้งระหว่างบทบาท
(5) ตําแหน่งของบุคคลในกลุ่ม
ตอบ 4 หน้า 377 ถ้าบุคคลมีบทบาทที่ขัดแย้งกัน 2 บทบาทขึ้นไปก็จะเกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจขึ้น เช่น ครูฝ่ายปกครองที่ต้องลงโทษลูกชายตนเองเพราะเกเรหนีโรงเรียน หรือตํารวจที่ต้องจับ ลูกชายตนเองที่ค้ายาเสพติด หรือประธานบริษัทที่ต้องไล่ลูกสาวออกจากงานเพราะทุจริต ฯลฯก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างบทบาทของพ่อและบทบาทของผู้รักษากฎหมายหรือกฎระเบียบ

85.ระยะ 12 ฟุตขึ้นไป เหมาะสําหรับกิจกรรมทางสังคมแบบใด
(1) การกล่าวสุนทรพจน์
(2) ความคับข้องใจ
(3) การเรียนรู้ทางสังคม
(4) การรับประทานอาหาร
(5) การสังสรรค์ในหมู่เพื่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

86. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความก้าวร้าว
(1) สัญชาตญาณ
(2) การประชุมงาน
(3) การพูดคุยธุรกิจ
(4) การกระจายความรับผิดชอบ
(5) ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
ตอบ 4 หน้า 393 – 395 สาเหตุของความก้าวร้าว มี 4 ประการ ดังนี้
1. สัญชาตญาณ
2. ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
3. ความคับข้องใจ
4. การเรียนรู้ทางสังคม

87. การทดลองเรื่องการคล้อยตามของแอช (Asch) ที่ให้กลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบเส้นตรงมาตรฐานกับ เส้นเปรียบเทียบที่เป็นตัวเลือก พบว่าในข้อต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม
(1) มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ํา
(2) กลุ่มที่มีความสําคัญกับตนมาก
(3) ขนาดของกลุ่ม
(4) ขาดความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม
(5) ต้องการการยอมรับจากคนอื่นมาก
ตอบ 4 หน้า 383 – 385 จากการทดลองของแอช (Asch) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม ได้แก่
1. ปัจจัยส่วนบุคคล โดยคนที่คล้อยตามผู้อื่นได้ง่ายมักมีลักษณะดังนี้คือ ต้องการการยอมรับจาก ผู้อื่นมาก มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ต้องการความแน่นอน และมักมีความกระวนกระวายใจ
2. ปัจจัยด้านกลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ กลุ่มมีความสําคัญกับตนมาก ขนาดของกลุ่ม และความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม

88. นายสตีฟกล้าที่จะบอกเพื่อนที่มาแทรกคิวซื้ออาหารให้ไปต่อคิวท้ายแถว การแสดงพฤติกรรมข้างต้น
ตรงกับพฤติกรรมทางจิตวิทยาในข้อใด
(1) พฤติกรรมก้าวร้าว
(2) การเรียนรู้ทางสังคม
(3) พฤติกรรมรักษาสิทธิ
(4) การกระจายความรับผิดชอบ
(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ตอบ 5 หน้า 396 – 397 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม ได้แก่ การมีอารมณ์ที่เหมาะสม
แน่นอน จริงใจ ถูกต้อง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น ความปรารถนา และความเชื่อของตนเองอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคล คือ เคารพทั้งสิทธิของตนเองและผู้อื่นด้วย

89. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) สุขภาพของแม่
(2) สุขภาพจิตของแม่
(3) อายุของมารดา
(4) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
(5) การรับประทานอาหารของแม่
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

90. ถ้าทารกมีอาการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจนจะเกิดอะไรขึ้น ยกเว้นข้อใด
(1) ปากแหว่ง
(2) แขนขาไม่มี
(3) เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด
(4) อายุของมารดา
(5) เซลล์สมองถูกทําลาย
ตอบ 4 หน้า 132 หากมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจน อาจจะทําให้เด็กเกิดมาจมูกโหว่ ปากแหว่ง
ตาบอด แขนขาไม่มี มีความพิการในระบบอวัยวะรับสัมผัส เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และอาจ ทําให้สติปัญญาต่ํา

91. ถ้าแม่มีความบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์เด็กจะมีลักษณะดังนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) กระดูกอ่อน
(2) ผิวหยาบ
(3) หูหนวก
(4) สติปัญญาต่ำกว่าปกติ
(5) ผมติดกัน
ตอบ 3 หน้า 132 หากแม่มีความบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ จะทําให้เด็กเกิดมาเป็นโรคกระดูกอ่อน ท้องใหญ่ ผิวหนังหยาบ ผมติดกันเป็นกระจุก และสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

92. ข้อใดไม่ใช่สิ่งต้องห้ามสําหรับสตรีมีครรภ์
(1) สูบบุหรี่
(2) การทานวิตามิน
(3) รับประทานยาแก้แพ้
(4) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(5) ยาเสพติด
ตอบ 2 หน้า 132 สิ่งต้องห้ามสําหรับสตรีมีครรภ์ คือ สารอาหารและยาที่ก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพ ของมารดาและทารกในครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อทารกในครรภ์ ดังนี้
– บุหรี่ จะส่งผลทําให้ทารกเกิดหลอดลมอักเสบ มีผลต่อการเต้นของหัวใจ มีปฏิกิริยาต่อภาวะ
เคมีในเลือดของทารก
– แอลกอฮอล์และเครื่องหมักดอง จะทําลายพัฒนาการทางร่างกายและสมองของทารก และ ทําให้ทารกเป็นโรคขาดสารอาหาร
– ยาบางชนิด (เช่น ยาแก้ไข้ ยาแก้แพ้ ยาระงับประสาทประเภทควินินหรือทาลิโดไมท์ ฯลฯ) จะมีผลต่อพัฒนาการทางกายและสมองของทารก มารดาไม่ควรบริโภคในช่วง 3 เดือนแรก เพราะจะทําให้คลอดยากและเด็กตัวเล็ก หรือในขณะมีครรภ์ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยา
– สิ่งเสพติด (เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน) ส่งผลให้เด็กตัวเล็ก มีความผิดปกติของระบบหายใจ ฯลฯ

93. ถ้าแม่ติดรับประทานยาประเภททาลิโดไมท์จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กในครรภ์
(1) ทําให้คลอดยาก
(2) มีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น
(3) แขนขาไม่มี
(4) ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์
(5) มีความผิดปกติของระบบหายใจ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. ข้อใดอธิบายสภาวะของ Rh Factor ผิด
(1) มีอาการแท้ง
(2) สร้างฮอร์โมนที่จําเป็นต่อเด็ก
(3) เลือดมีลักษณะด้อย
(4) เกิดการต่อต้านระหว่างเลือดของมารดา
(5) ระบบเลือดของมารดาเข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อน
ตอบ 2 หน้า 133 สภาวะของ Rh Factor หมายถึง การที่ระบบเลือดของมารดามีสารบางอย่างที่เข้าไป ทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ ทําให้เกิดอาการแท้งหรือตายหลังคลอดได้ สภาวะนี้ จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทบวกและประเภทลบ ซึ่งถ้าลูกมีสภาวะของเลือดตรงข้ามกับมารดา (เลือดบิดาเป็น Rh บวก ซึ่งเป็นลักษณะเด่น แต่เลือดมารดาเป็น Rh ลบ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย ลูกจะมี Rh บวก ตามลักษณะเด่นซึ่งตรงข้ามกับมารดา) จะทําให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยเลือด ของมารดาจะก่อปฏิกิริยาทําลายเลือดของลูก

95. ถ้าทารกเกิดการขาดออกซิเจนกี่วินาทีจะมีผลต่อเซลล์สมองของทารก
(1) 16 วินาที
(2) 17 วินาที
(3) 18 วินาที
(4) 19 วินาที
(5) 20 วินาที
ตอบ 3หน้า 134 สภาวะของการขาดออกซิเจนขณะคลอดมีสาเหตุมาจากการที่ทารกคลอดยาก หรือรกไม่เปิด ทําให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสโลหิตของทารกไม่ได้ ซึ่งหากทารกขาดออกซิเจน ประมาณ 18 วินาทีเท่านั้น จะมีผลต่อเซลล์สมองทําให้เซลล์สมองถูกทําลาย และถ้าขาดนาน ๆ อาจทําให้ทารกตายได้

96. จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า อิทธิพลของสติปัญญากับสิ่งแวดล้อมมีกี่เปอร์เซ็นต์
(1) สติปัญญา 25% สิ่งแวดล้อม 75%
(2) สติปัญญา 75% สิ่งแวดล้อม 25%
(3) สติปัญญา 40% สิ่งแวดล้อม 60%
(4) สติปัญญา 60% สิ่งแวดล้อม 40%
(5) สติปัญญา 80% สิ่งแวดล้อม 20%
ตอบ 2 หน้า 137 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการ ทางสติปัญญา 75% และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล 25% นอกจากนี้ในด้านเกี่ยวกับพัฒนาการด้าน ร่างกาย โดยเฉพาะรูปร่างและหน้าตามีผลมาจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม

97. กระบวนการเกิดแรงจูงใจ ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
(1) ความต้องการ
(2) เป้าหมาย
(3) แรงขับ
(4) การตอบสนอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 227 กระบวนการเกิดแรงจูงใจ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ความต้องการ (Needs)
2. แรงขับ (Drive)
3. การตอบสนอง (Response)
4. เป้าหมาย (Goal)

98. เครื่องป้องกันอันตราย อยู่ในสิ่งเร้าลําดับขั้นความต้องการตามแนวคิดของมาสโลว์ (Mastow) ขั้นใด
(1) Self-Esteem Needs
(2) Physiological Needs
(3) Safety and Security Needs.
(4) Self-Actualization
(5) Love and Belonging Needs
ตอบ 3 หน้า 229 – 232 ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) มี 5 ระดับ ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น อาหาร น้ํา เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เพศตรงข้าม ฯลฯ
2. ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย (Safety and Security Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องป้องกันอันตราย อาหารเสริม อุบัติเหตุ ฯลฯ
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ
เช่น บัตรอวยพร ของขวัญ เพลง ภาพยนตร์หรือบทกวีความรักต่าง ๆ ฯลฯ
4. ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self-Esteem Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น ตําแหน่ง ถ้วยรางวัล โล่เกียรติยศ การประกาศเกียรติคุณ ปริญญาบัตร ฯลฯ
5. ความต้องการประจักษ์ตน (Self-Actualization) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น งานหรือกิจกรรม ที่พึงพอใจ สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ ฯลฯ

99. สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ อยู่ในสิ่งเร้าลําดับขั้นความต้องการตาม
แนวคิดของมาสโลว์ (Maslow) ขั้นใด
(1) Self-Esteem Needs
(2) Physiological Needs
(3) Safety and Security Needs
(4) Self-Actualization
(5) Love and Belonging Needs.
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ข้อใดเป็นสิ่งเร้าระดับความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น
(1) ตําแหน่ง
(2) ถ้วยรางวัล
(3) เครื่องแบบ
(4) ประกาศนียบัตร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

101. ข้อใดเป็นสิ่งเร้าระดับความต้องการประจักษ์ตน
(1) งาน
(2) ความสงบ
(3) กิจกรรมที่บุคคลพึงพอใจ
(4) สถานที่ทําให้บุคคลสุขใจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

102. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทของความต้องการของเมอร์เรย์ (Murray)
(1) ความต้องการเอาชนะ
(2) ความต้องการความสนุก
(3) ความต้องการแยกจากผู้อื่น
(4) ความต้องการประจักษ์ตน
(5) ความต้องการหลีกเลี่ยงปมด้อย
ตอบ 4 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว (Need for Aggression), ความต้องการ เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ (Need for Counteraction), ความต้องการที่จะยอมแพ้ (Need for
Abasement), ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง (Need for Defendance), ความต้องการ ความสําเร็จ (Need for Achievement), ความต้องการความสนุกสนาน (Need for Play), ความต้องการแยกตนเองจากผู้อื่น (Need for Rejection), ความต้องการหลีกเลี่ยงปมด้อย และความล้มเหลว (Need for Avoidance of Inferiority), ความต้องการหลีกเลี่ยงจาก การถูกตําหนิ (Need for Avoidance of Blame) ฯลฯ

103. ข้อใดไม่เกี่ยวกับประเภทความต้องการของเมอร์เรย์ (Murray)
(1) ความต้องการความรัก
(2) ความต้องการความสําเร็จ
(3) ความต้องการหลีกเลี่ยงปมด้อย
(4) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(5) ความต้องการหลีกเลี่ยงการถูกตําหนิ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

104. แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอดของชีวิต
(1) แรงจูงใจพื้นฐาน
(2) แรงจูงใจภายใน
(3) แรงจูงใจภายนอก
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของชีวิต
แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. แรงจูงใจทางชีวภาพ ได้แก่ ความหิว ความกระหาย
2. แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์
3. แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย

105. การเรียนรู้คืออะไร
(1) พฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณ
(2) พฤติกรรมที่เกิดจากพันธุกรรม
(3) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากพลังดิบ
(4) พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวก
(5) พฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีตหรือการฝึกหัด
ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต เช่น การไม่ชอบกินอาหารที่ทําให้เกิดอาการแพ้ การตบมือเมื่อดีใจ การจําทางเข้าบ้านได้ ฯลฯ แต่ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย เช่น ท้องเสียเมื่อเกิดความเครียด เมาเหล้าแล้วมักอาละวาด รู้สึกอึดอัดเมื่อขับรถในที่แคบหรือ ขึ้นที่สูง น้ําลายไหลเมื่อเห็นมะม่วงดอง ฯลฯ แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตาเมื่อแสงจ้า การไอหรือจาม ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะ ของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด การก้าวเดินได้ครั้งแรก การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

106. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์
(2) การม้วนผมได้สวยงาม
(3) การพูดคุยเสียงดังหลังดื่มเหล้า
(4) การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
(5) การร้องไห้เสียงดังเพราะเรียกร้องความสนใจ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

107. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายของสิ่งที่เรารับรู้
(1) การเรียนรู้
(2) ภาษาที่ใช้สื่อสาร
(3) ประสบการณ์ในอดีต
(4) รูปแบบของสิ่งเร้า
(5) สภาพจิตใจและอารมณ์ในขณะนั้น

ตอบ 2 หน้า 57, 59 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ต่าง ๆ โดยการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งกระบวนการรับรู้นี้จัดเป็น ขั้นตอนสําคัญอย่างยิ่งก่อนการแสดงพฤติกรรมโต้ตอบของมนุษย์ในทุกรูปแบบ

108. “นักเรียนได้เลือกทํากิจกรรมที่ชอบตามความสนใจ หลังจากที่ทําแบบฝึกหัดในชั้นเรียนเสร็จ” ตรงกับ
หลักการเรียนรู้ใด
(1) การลดภาระ
(2) การเสริมแรงทางบวก
(3) การเสริมแรงทางลบ
(4) การลงโทษทางบวก
(5) การลงโทษทางลบ
ตอบ 2 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจ หรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบาย หมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

109. ข้อใดถือเป็นสิ่งเสริมแรงทางลบ
(1) แม่ลูกเมื่อไม่ทําตามคําสั่ง
(2) ครูตัดคะแนนนักเรียนที่คุยกันในห้องเรียน
(3) นักศึกษาหกล้มเพราะพื้นลื่น
(4) แม่พาลูกไปกินไอศกรีมเพราะลูกช่วยเหลืองานบ้าน
(5) ลูกล้างจานเพราะไม่อยากให้แม่บ่น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 108. ประกอบ

110. ข้อใดเป็นสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(1) อากาศ
(2) ความรัก
(3) อาหาร
(4) แร่ธาตุ
(5) ความร้อน
ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ (Secondary Reinforcers) เป็นรางวัลที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ได้แก่ เงิน เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ ความสําเร็จ ความรัก คะแนนสอบ ฯลฯ ซึ่งบางครั้ง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอาจมีค่าโดยตรง เพราะสามารถแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้ เช่น เงินหรือธนบัตรสามารถนําไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหาร น้ํา และอื่น ๆ ได้ ฯลฯ

111. การลองทําแบบทดสอบท้ายบท ทําให้รักรามมีความเข้าใจการเรียนวิชานั้นดีขึ้น พฤติกรรมนี้เกิดจาก
สิ่งเสริมแรงประเภทใด
(1) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) การป้อนกลับ
(5) การหยุดยั้ง
ตอบ 4 หน้า 180 – 181 การป้อนกลับ (Feedback) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการตอบสนอง ซึ่งมีความสําคัญต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ เพราะทําให้บุคคลได้พัฒนาการกระทําของตนเอง และทําให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น โดยนักศึกษาสามารถทําการป้อนกลับให้แก่ตนเองได้โดย
การลองทํากิจกรรมในแต่ละบทรวมทั้งแบบทดสอบท้ายบทด้วย ก็จะทําให้ทราบว่าตัวเราเอง สามารถเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดก่อนที่จะเข้าสอบจริง ๆ

112. ตามทฤษฎีพัฒนาอารมณ์ของบริดจ์ อารมณ์จะพัฒนาอย่างสมบูรณ์เมื่ออายุเท่าไหร่
(1) ตั้งแต่เกิด
(2) 2 ขวบ
(3) 5 ขวบ
(4) 12 ขวบ
(5) วัยรุ่นขึ้นไป
ตอบ 2 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

ข้อ 113 – 114. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) Fixed Ratio
(2) Variable Ratio
(3) Fixed Interval
(4) Variable Interval
(5) ไม่มีข้อที่ถูกต้อง

113. พนักงานในโรงงานได้รับค่าจ้างตามจํานวนชิ้น เป็นการเสริมแรงแบบใด
ตอบ 1 หน้า 176 การเสริมแรงแบบอัตราส่วนคงที่ (Fixed Ratio) คือ การให้แรงเสริมตามอัตราส่วนของ การตอบสนองที่คงที่ เช่น การให้รางวัลเมื่อมีการตอบสนองทุกครั้ง ทุก 3 ครั้ง การจ่ายค่าจ้าง เป็นรายชิ้น ค่าคอมมิชชั่น ฯลฯ ซึ่งการเสริมแรงแบบนี้จะทําให้เกิดอัตราการตอบสนองสูงที่สุด

114. การถูกรางวัลลอตเตอรี่ เป็นการเสริมแรงแบบใด
ตอบ 3 หน้า 176 การเสริมแรงแบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (Variable Ratio) คือ การให้แรงเสริมต่อ การตอบสนองในอัตราที่ไม่แน่นอน เช่น การซื้อลอตเตอรี่ การเล่นพนันตู้สล็อตแมชชีน ฯลฯ

115. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญของอารมณ์
(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ร่วมระหว่างบุคคล
(2) อารมณ์มีลักษณะที่ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้
(3) อารมณ์เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
(4) การแสดงทางอารมณ์มีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงพฤติกรรมทั่วไป
(5) การแปลความหมายสถานการณ์ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดอารมณ์ของบุคคล
ตอบ 2 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป
3. บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์
4. อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

116. พฤติกรรมใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์ “กลัว (Fear Terror)” ตามแนวคิดของคาร์รอล อิซาร์ด
(1) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อประสบพบเจอกับอุปสรรค
(2) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อประสบกับความพลัดพราก
(3) สภาวะของบุคคลที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(4) สภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อถูกลงโทษ เพราะไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด
(5) พฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสิ่งที่ตนไม่สามารถเข้าใจได้ หรือไม่แน่ใจภัยอันตรายที่จะมาถึง
ตอบ 5 หน้า 258 คาร์รอส อิซาร์ด (Carroll Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็นชนิดต่าง ๆ ซึ่งอารมณ์ กลัว-สยองขวัญ (Fear Terror) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตน ไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง

117. อารมณ์ใดที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุด
(1) อารมณ์กลัว
(2) อารมณ์เกลียด
(3) อารมณ์เศร้า
(4) อารมณ์รัก
(5) อารมณ์ปัจฉา
ตอบ 1 หน้า 262 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ และพฤติกรรม พบว่า ในบรรดาอารมณ์ทั้งหลายนั้น อารมณ์ที่จัดว่าสามารถก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายได้มากที่สุด ก็คือ อารมณ์กลัวและอารมณ์โกรธ

118. อารมณ์ใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์
(1) คาดหวัง
(2) อิจฉา
(3) หวาดกลัว
(4) ตื่นตระหนก
(5) ความโกรธ
ตอบ 2 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว

119. เมื่อคนเราเกิดอารมณ์กลัว จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในด้านใด
(1) การหายใจถี่ขึ้น
(2) การตึงเครียดของกล้ามเนื้อสูงมาก
(3) ระบบขับถ่ายผิดปกติ
(5) ถูกทุกข้อ
(4) มีความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร
ตอบ 5 หน้า 261 – 262, (คําบรรยาย) เมื่อคนเราเกิดอารมณ์กลัวจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ในด้านต่าง ๆ เช่น การหายใจจะถี่ขึ้น มีความตึงเครียดของกล้ามเนื้อสูงมาก มีความผิดปกติ ของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย (ไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้) ฯลฯ

120. ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดอารมณ์ของเจมส์-แลง
(1) อารมณ์เกิดขึ้นก่อน การตอบสนองทางร่างกายจึงเกิดขึ้นตามมา
(2) อารมณ์ที่เกิดขึ้นได้จากการคิดหาสาเหตุการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น
(3) ร่างกายต้องมีการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าก่อน จึงเกิดอารมณ์ตามมา
(4) เมื่อตีความสิ่งเร้าว่าควรมีการตอบสนองทางกาย อารมณ์จึงเกิดตามมา
(5) อารมณ์และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้า
ตอบ 3 หน้า 265, 269 ทฤษฎีของเจมส์-แลง (James-Lang Theory) อธิบายว่า ร่างกายของคนเรา จะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าเป็นอันดับแรกก่อน แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา ทั้งนี้ ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยหลังจาก ที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรมแล้วจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.เส้นประสาทใดทําหน้าที่รับคําสั่งจากสมองและไขสันหลัง ไปทําหน้าที่ตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ
(1) เส้นประสาทรับความรู้สึก
(2) เส้นประสาทบงการ
(3) เส้นประสาทเชื่อมโยง
(4) จุดประสานประสาท
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 38 เส้นประสาทบงการ (Motor Nerve) เป็นเส้นประสาทซึ่งทําหน้าที่รับคําสั่งจากสมอง หรือไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ ให้ทํางานตามหน้าที่

2.ศูนย์กลางการทํางานของประสาทบริเวณลําตัวมีหน้าที่รับกระแสประสาทส่งไปที่สมอง คือส่วนใด
(1) ไขสันหลัง
(2) ธาลามัส
(3) ก้านสมอง
(4) ซีรีเบลลัม
(5) ฮิปโปแคมปัส
ตอบ 1 หน้า 43 ไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง ทําหน้าที่เป็น ศูนย์กลางที่สําคัญของระบบประสาทที่บริเวณลําตัวและแขนขา และเป็นตัวติดต่อระหว่างสมอง กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งหมด โดยรับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งไปยัง สมอง และจากสมองก็ส่งกระแสประสาทนั้นกลับมาให้ไขสันหลังเพื่อส่งต่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ

3.คําว่า “Psyche” จากคําว่า Psychology มีความหมายตามข้อใด
(1) การกระทํา
(2) สมอง
(3) พฤติกรรม
(4) การรู้คิด
(5) จิต
ตอบ 5 หน้า 3 จิตวิทยามาจากศัพท์ภาษาอังกฤษคือ Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คํา คือ Psyche (mine = จิต) และ Logos (knowledge = ความรู้ หรือการศึกษา) ทั้งนี้ จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์

4. ใครคือ “บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง”
(1) ซิกมันด์ ฟรอยด์
(2) เคิร์ท คอฟก้า
(3) รูท เบเนดิก
(4) วิลเฮล์ม วันท์
(5) อัลเฟรด แอดเลอร์
ตอบ 4 หน้า 8 – 9, 19 วิลเฮล์ม วันท์ (Wilhelm Wundt) เป็นบุคคลแรกที่เริ่มศึกษางานด้านจิตวิทยา และประกาศแยกจิตวิทยาออกจากวิชาปรัชญา โดยการจัดตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้นเป็น แห่งแรกที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1879 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ ศึกษาค้นคว้าเรื่องจิตสํานึกด้วยการสังเกตทดลองตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทําให้วุ้นท์ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยาและจิตวิทยาการทดลอง

5. ต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย คือต่อมใด
(1) ต่อมโกหนาด
(2) ต่อมหมวกไต
(3) ต่อมใต้สมอง
(4) ต่อมไพเนียล
(5) ต่อมไทรอยด์
ตอบ 5 หน้า 45 – 48 ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย
โดยจะผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
1. ไทร็อกซิน (Thyroxin) เป็นฮอร์โมนที่ทําหน้าที่ควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารต่าง ๆ ใน ร่างกาย และมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
2. ไทโรแคลซิโทนิน (Thyrocalcitonin) เป็นฮอร์โมนที่ทําหน้าที่รักษาสมดุลของแคลเซียม ในเลือด และมีผลต่อสรีรวิทยาของกระดูก

6.ข้อใดเป็นลักษณะและการทําหน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจ
(1) มีลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว และทํางานนอกเหนืออํานาจจิตใจ
(2) มีลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว และทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ
(3) มีลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว และทํางานทั้งภายใต้และนอกเหนืออํานาจจิตใจ
(4) มีลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า และทํางานนอกเหนืออํานาจจิตใจ
(5) มีลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า และทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ
ตอบ 1 หน้า 32 กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) มีลักษณะเหมือนกับกล้ามเนื้อลาย คือ เซลล์มี ลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว รวมกันเป็นมัด ๆ แต่จะทํางานอยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจ เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ

7. ข้อใดเป็นส่วนสําคัญของนิยาม “จิตวิทยา”
(1) การศึกษา – วิทยาศาสตร์ – พฤติกรรม
(2) การทํานาย – พฤติกรรม – การรู้คิด
(3) การศึกษา – การทําความเข้าใจ – การทํานาย
(4) การทําความเข้าใจ – พฤติกรรม – การรู้คิด
(5) การทําความเข้าใจ – การทํานาย – การรู้เอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

8.สารสื่อประสาทใด หากทํางานเสื่อมจะทําให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
(1) โดปามาย
(2) ซีโรโทนิน
(3) กาบา
(4) อิพิเนฟฟริน
(5) นอร์อิพิเนฟฟริน
ตอบ 1 หน้า 40 โดปามาย (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ถ้าเสื่อมหรือบกพร่องหรือผิดปกติจะเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) คือ มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ และยากลําบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ

9. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบประสาทซิมพาเธติก
(1) ทําให้หัวใจเต้นช้าลง
(2) ความดันโลหิตต่ำลง
(3) ม่านตาหดตัวลง
(4) ร่างกายสงบลง
(5) ลําไส้หดตัวน้อยลง
ตอบ 5 หน้า 34 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

10. ข้อใดเป็นหน้าที่สําคัญของระบบลิมบิก
(1) ควบคุมกล้ามเนื้อและการทรงตัว
(2) ควบคุมความสมดุลในร่างกาย
(3) ควบคุมอารมณ์ ความพึงพอใจ
(4) เป็นศูนย์กลางรับกระแสประสาทสัมผัสไปยังซีรีบรัม
(5) ศูนย์กลางควบคุมอวัยวะสัมผัส มอเตอร์ และเชื่อมต่อประสาท
ตอบ 3 หน้า 42 ระบบลิมบิก (Limbic System) จะมีการทํางานเกี่ยวโยงกับไฮโปธาลามัสมาก และ เมื่อส่วนต่าง ๆ ของระบบนี้ถูกกระตุ้น จะทําให้เกิดอารมณ์ ความพอใจ การเกา การทําความ สะอาดตัว และพฤติกรรมทางเพศ

11. กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) ให้ความสนใจศึกษาสิ่งใด
(1) องค์ประกอบของจิตสํานึก
(2) องค์ประกอบของจิตถึงสํานึก
(3) องค์ประกอบของจิตไร้สํานึก
(4) องค์ประกอบของบุคลิกภาพ
(5) องค์ประกอบของสมอง
ตอบ 1 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) ให้ความสนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส (Sensation) ความรู้สึก (Feeling) และมโนภาพ (Image) ซึ่ง
ระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มนี้ก็คือ วิธีการสังเกตทดลอง และรายงานประสบการณ์ ทางจิตด้วยตนเอง หรือการมองภายในที่เรียกว่า การสํารวจทางจิต (Introspection)

ข้อ 12 – 15 จงจับคู่ตัวเลือกด้านล่างนี้ให้ถูกต้อง
(1) โครงสร้างทางจิต
(2) หน้าที่ของจิต
(3) จิตวิเคราะห์
(4) มนุษยนิยม
(5) พฤติกรรมนิยม

12. จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก เป็นแนวคิดของกลุ่มใด
ตอบ 5 หน้า 10 จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้น เขาจึง ปฏิเสธเรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกต ดูพฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

13. จิตมนุษย์เปรียบเสมือนก้อนน้ําแข็ง เป็นแนวคิดของกลุ่มใด
ตอบ 3 หน้า 11 ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นจิตแพทย์และนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และ เปรียบจิตมนุษย์เป็นเสมือนก้อนน้ําแข็งซึ่งมีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา (จิตสํานึก) แต่ ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ (จิตไร้สํานึก) อันเป็นแหล่งสะสมของความคิด แรงขับ แรงกระตุ้น และความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

14. จิตทําหน้าที่ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นแนวคิดของกลุ่มใด
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 วิลเลียม เจมส์ (William James) นักจิตวิทยากลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) มีความเห็นว่า จิตทําหน้าที่ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จิตสํานึกจะทํางานเหมือน กระแสน้ําในลําธาร แต่เป็นกระแสธารของจินตภาพและการรับสัมผัส

15. แนวคิดใดสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง “สิ่งเร้า และการตอบสนอง
ตอบ 5 หน้า 10 สกินเนอร์ (Skinner) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่สนใจ ศึกษาและยึดมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (สิ่งแวดล้อม) กับการตอบสนอง และเพิกเฉย ต่อเรื่องความคิดและประสบการณ์ส่วนบุคคล จึงทําให้นักจิตวิทยาหลายท่านเห็นว่ากลุ่มนี้ ขาดความรู้ในส่วนจิตสํานึก

16. เหตุการณ์ใดที่แยกจิตวิทยาออกจากวิชาปรัชญา
(1) ความชุกที่เพิ่มขึ้นของภาวะป่วยทางจิตในทหารผ่านศึกหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง
(2) กระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศสต้องการเครื่องมือคัดแยกเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
(3) การจัดตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาแห่งแรกที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมัน
(4) ประเทศอังกฤษต้องการเครื่องมือตรวจวินิจฉัยภาวะจิตเสื่อมของผู้ป่วยนิติจิตเวช
(5) เหตุการณ์ฆ่าตัวตายหมู่ในสังคมรัสเซีย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

17. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบประสาทส่วนกลาง
(1) ซีรีเบลลัม
(2) เส้นประสาทสมอง
(3) ไขสันหลัง
(4) ลิมบิกซิสเต็ม
(5) ซีรีบรัม
ตอบ 2 หน้า 34 – 35, 41 – 43 ระบบประสาทส่วนกลาง (C.N.S.) ประกอบด้วย สมองและไขสันหลัง โดยสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain) ประกอบด้วย ซีรีบรัม (Cerebrum), ธาลามัส (Thalamus), ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) และระบบลิมบิก (Limbic System)
2. สมองส่วนกลาง (Midbrain)
3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม (Cerebellum) และก้านสมอง (Brain Stem)
** (ส่วนเส้นประสาทสมองเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทโซมาติกซึ่งเป็นส่วนประกอบของระบบ
ประสาทส่วนปลาย)

18. ฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ควบคุมน้ําตาลในเลือด สัมพันธ์กับการทํางานของต่อมไร้ท่อใด
(1) ต่อมใต้สมอง
(2) ต่อมโกหนาด
(3) ต่อมพาราไทรอยด์
(4) ต่อมไทรอยด์
(5) ต่อมแพนเครียส
ตอบ 5 หน้า 49 อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อนหรือต่อมแพนเครียส (Pancreas) โดยฮอร์โมนอินซูลินจะทําหน้าที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดให้เข้มข้นพอดี ถ้าตับอ่อนผลิต ฮอร์โมนอินซูลินน้อยเกินไปจะทําให้เกิดอาการของโรคเบาหวานขึ้นมาได้

19. การสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ป้องกันการติดเชื้อ เกี่ยวข้องกับต่อมใดมากที่สุด
(1) ต่อมหมวกไต
(2) ต่อมไทมัส
(3) ต่อมไพเนียล
(4) ต่อมแพนเครียส
(5) ต่อมพาราไทรอยด์
ตอบ 2 หน้า 50 ต่อมไทมัส (Thymus Gland) ทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทโมซิน (Thymocin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย การไม่รับเนื้อเยื่อแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรียบางจําพวกที่ทําให้เกิดวัณโรค

20.“การคิด” ที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษา ถือเป็นพฤติกรรมตามข้อใด
(1) พฤติกรรมภายใน
(2) พฤติกรรมขั้นสูง
(3) พฤติกรรมทางสมอง
(4) พฤติกรรมภายนอก
(5) พฤติกรรมสืบเนื่อง
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม
โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่ สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ
2. พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

21. สภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับ (Sleep Deprivation Psychosis) เกิดจากสาเหตุใด
(1) หลับ ๆ ตื่น ๆ
(2) นอนไม่เป็นเวลา
(3) นอนมากไป
(4) อดหลับอดนอน
(5) สะดุ้งตื่นระหว่างนอน
ตอบ 4 หน้า 91 บุคคลที่ขาดการนอนหลับติดต่อกันหลายวัน (การอดหลับอดนอน) จะมีสภาพทางจิต ที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งจะทําให้บุคคลนั้น มีความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด หรือถ้าต้องอดนอน ติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจจะมีอาการทางประสาทหลอนได้

ข้อ 22 – 23 จงจับคู่ตัวเลือกด้านล่างนี้ให้ถูกต้อง
(1) ภาพและพื้น
(2) การต่อเติมให้สมบูรณ์
(3) ความคล้ายคลึงกัน
(4) ความใกล้ชิดกัน
(5) ความต่อเนื่อง

22. การเขียนประโยคที่หากการเว้นวรรคของคํา วางระยะห่างของคําหรือสระผิดไป จะมีผลต่อการอ่านและ ทําความเข้าใจประโยค เป็นการรับรู้แบบใด
ตอบ 5 หน้า 76 ความต่อเนื่อง (Continuity) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะรับรู้ถึงสิ่งที่ต่อเนื่องกันไปใน
ทิศทางเดียวกัน เป็นภาพหรือส่วนประกอบของกันและกัน เพราะความต่อเนื่องทําให้เกิดเป็นภาพ
ได้ง่ายกว่าสิ่งเร้าที่ขาดออกจากกัน บางครั้งจะเกี่ยวโยงกับกฎความใกล้ชิดด้วย ถ้าเว้นวรรคผิด ความต่อเนื่องก็จะขาดไปด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้า วรรค ผิดไปท่านจะอ่านลําบาก

23. การลากเส้นเพื่อเติมเส้นประที่ขาดหายไปเป็นช่วง ๆ ให้สมบูรณ์จนกลายเป็นภาพอะไรบางอย่างที่บุคคล ตีความไว้ เป็นการรับรู้แบบใด
ตอบ 2 หน้า 75, (คําบรรยาย) การต่อเติมให้สมบูรณ์ (Closure) คือ แนวโน้มที่จะรับรู้ความสมบูรณ์ ของวัตถุทั้งที่บางส่วนขาดหายไป โดยการมองเป็นลักษณะส่วนรวมหรือความสมบูรณ์ของวัตถุ มากกว่าการมองวัตถุเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะถ้าเรามองสิ่งใดที่ยังขาดหรือพร่องอยู่ จิตของมนุษย์ มักจะเติมส่วนที่ขาดหายไปนั้นให้เป็นรูปเต็ม

24. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสัมปชัญญะได้ถูกต้องที่สุด
(1) ความรู้จากการเรียน
(2) การมีสติจากการนั่งสมาธิ
(3) ความสามารถในการทํางาน
(4) การรู้ตัวว่ากําาลังทําอะไรอยู่
(5) การเรียนรู้จากประสบการณ์
ตอบ 4 หน้า 89 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคลออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การหมดสติ การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การดื่มสุรา การนั่งสมาธิภาวนา ฯลฯ

25. เสียงที่มีความดังเกินกี่เดซิเบล ถือว่ามีอันตรายต่อหู
(1) 75 เดซิเบล
(2) 80 เดซิเบล
(3) 90 เดซิเบล
(4) 95 เดซิเบล
(5) 110 เดซิเบล
ตอบ 2 หน้า 65 ความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบล (Decibles : db) ที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมี ความสูงของเดซิเบลมากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น ส่วนเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายต่อหู ถ้าฟังนาน ๆ

26. สิ่งใดต่อไปนี้ทําให้สัมปชัญญะของบุคคลลดลงได้
(1) การดูหนัง
(2) การไปเที่ยว
(3) การเดินทาง
(4) การนอนหลับ
(5) การใช้ยากระตุ้นประสาท
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

27. ตามธรรมชาติ มนุษย์จะมีโครโมโซมจํานวนกี่คู่
(1) 22 คู่
(2) 23 คู่
(3) 44 คู่
(4) 46 คู่
(5) 48 คู่
ตอบ 2 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซม ซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้ บุคคลจะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

28. นายเขียวเป็นคนไม่มีระเบียบ วางของเกะกะ ห้องรกรุงรัง เข้าห้องน้ําไม่ชอบกด ตามทฤษฎีพัฒนาการของ ฟรอยด์ นายเขียวน่าจะเกิดภาวะการยึดติด (Fixation) ในขั้นใด
(1) Oral Stage
(2) Anal Stage
(3) Phallic Stage
(4) Latency Stage
(5) Genital Stage
ตอบ 2 หน้า 145, 298 – 299, (คําบรรยาย) ฟรอยด์ (Freud) อธิบายว่า บุคคลจะต้องพยายามหาสิ่ง ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางสรีรวิทยาอยู่เสมอในทุกขั้นของการพัฒนาการนับตั้งแต่ แรกเกิด และหากว่าไม่สามารถทําได้ในขั้นหนึ่งขั้นใดหรือพัฒนาการขั้นต่อไป ก็จะเป็นเหตุให้ บุคคลเกิดการหยุดการพัฒนาการในบางช่วงอายุ หรือมีผลต่อการปรับตัวในวัยต่อมา เรียกว่า การชะงักงัน (Fixation) เช่น หากเป็นคนไม่มีระเบียบ มักจะเกิดจากพัฒนาการขั้นความสุขอยู่ที่ ทวารหนัก (Anal Stage) ในช่วงอายุ 2-3 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กพอใจที่จะได้ปลดปล่อย หากพ่อแม่ เคร่งครัดหรือละเลยกับเด็กมากเกินไป จะทําให้เด็กเกิดความขัดแย้งใจ เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็น คนที่จู้จี้เจ้าระเบียบ/ขาดระเบียบวินัย หรือรักษาความสะอาดจนเกินเหตุ/สกปรก เป็นต้น

29. ข้อใดไม่ใช่ชนิดของกลิ่นตามการศึกษาของเฮนนิ่ง
(1) กลิ่นตัว
(2) กลิ่นดอกไม้
(3) กลิ่นเครื่องเทศ
(4) กลิ่นยาง
(5) กลิ่นเหม็น
ตอบ 1 หน้า 68 เฮนนิ่ง (Henning) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ทําการศึกษาและแบ่งกลิ่นออกเป็น 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้

30. ข้อใดไม่ถือเป็นการรับรู้ปรากฏการณ์อภิธรรมดา
(1) การมองทะลุวัตถุที่บดบังอยู่ได้ และบอกได้ถูกต้องว่าสิ่งนั้นคืออะไร
(2) การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น
(3) การได้ยินเสียงอะไรบางอย่างที่ไกลออกไปซึ่งคนทั่วไปไม่ได้ยิน
(4) การอ่านหนังสือและทําความเข้าใจเนื้อหาในหนังสือนั้นได้อย่างรวดเร็ว
(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุย
ตอบ 4 หน้า 79 การรับรู้โดยการอ่านจิต/ทายใจผู้อื่นได้นั้นเป็นการรับรู้ที่ไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัส เช่น ไม่ต้องใช้ตาในการเห็นหรือใช้หูในการได้ยิน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

31. ภาวะสายตาสั้นเกิดจากสาเหตุใดถูกต้องที่สุด
(1) ลักษณะของลูกตาที่สั้นกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินาสั้นกว่าปกติ
(2) ลักษณะของลูกตาที่ยาวกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินาสั้นกว่าปกติ
(3) ลักษณะของลูกตาที่สั้นกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินายาวกว่าปกติ
(4) ลักษณะของลูกตาที่ยาวกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินายาวกว่าปกติ
(5) ลักษณะของลูกตาปกติ แต่ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินายาวหรือสั้นกว่าปกติ
ตอบ 4 หน้า 62 คนสายตาสั้น เกิดจากการที่มีลักษณะลูกตายาวกว่าปกติ ระยะจากกระจกตาหรือ คอร์เนีย (Cornea) ถึงจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) ยาวกว่าปกติ ภาพที่เห็นจึงตกลง ก่อนถึงเรตินา ทําให้ไม่สามารถมองวัตถุที่ไกลได้ แต่มองวัตถุที่ใกล้ได้ชัดเจน แก้ไขด้วยการ สวมแว่นเลนส์เว้า

32. ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของความฝันตามทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์
(1) ความฝันเกิดจากความสุขระหว่างวัน
(2) ความฝันเป็นสิ่งที่บุคคลคิดขึ้นมาเอง
(3) ความฝันเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในวัยเด็ก
(4) ความฝันเป็นลางบอกเหตุ
(5) ความฝัน เป็นการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก
ตอบ 5 หน้า 97 ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักทฤษฎีความฝันในยุคแรก โดยเขาได้อธิบายความหมายของ ความฝันไว้ว่า ความฝันก็คือการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก

33. สารเสพติดใดต่อไปนี้ไม่ได้ออกฤทธิ์กดประสาท
(1) มอร์ฟีน
(2) ฝิ่น
(3) เหล้า
(4) เฮโรอีน
(5) แอมเฟตามีน
ตอบ 5 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

34. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์คงที่
(1) การรับรู้สีน้ําทะเลว่ามีสีฟ้า แม้จะเห็นน้ําทะเลเป็นสีเขียว
(2) การรับรู้ขนาดจริงของรถไฟได้ แม้จะมองเห็นรถไฟเล็กลงเมื่ออยู่ไกลออกไป
(3) การรับรู้ถึงลักษณะของหนังสือทั้งเล่มได้ แม้จะเห็นเพียงสันหนังสือก็ตาม
(4) การมองเห็นภาพ 3 มิติ และบอกได้ว่าสิ่งที่ซ้อนอยู่ในภาพคืออะไร
(5) การรับรู้ขนาดของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นดินได้ แม้ว่าจะมองจากบนเครื่องบิน
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) เป็นธรรมชาติของเรื่องการรับรู้และการเห็น นั่นคือ การที่ตาเห็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ความเข้าใจในการรับรู้ยังอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. การคงที่ของสี เช่น การที่เรามองเห็นน้ําทะเลเป็นสีเขียว แต่เราก็ยังรู้ว่าน้ําทะเลมีสีฟ้า ฯลฯ
2. การคงที่ของขนาด เช่น มองจากตึกสูงเห็นคนตัวเท่ามด แต่เราก็ยังรู้ว่าคนมีขนาดเท่าเดิม ฯลฯ
3. การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นเพียงแค่สันหนังสือ แต่เราก็ยังรับรู้ว่าเป็นหนังสือ ฯลฯ

35. ในช่วงเวลาหลับลึกมาก ๆ คลื่นสมองจะเป็นรูปแบบใด
(1) คลื่นไอออน
(2) คลื่นเดลตา
(3) คลื่นอัลฟา
(4) คลื่นแกมมา
(5) คลื่นเบตา
ตอบ 2 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่ 4 เป็นช่วงแห่งการนอนหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) ซึ่ง มักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ

36. การนอนหลับที่เหมาะสมในวัยรุ่น ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
(1) 2-3
(2) 4 – 6
(3) 7-8
(4) 8 – 10
(5) 10 – 12
ตอบ 3 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนด ให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียง แต่บางคนอาจนอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้

37. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการเกิดการเคลื่อนไหวของลูกตาขณะหลับ (Rapid Eye Movements : REM)
(1) เกิดเมื่อมีความฝัน
(2) เกิดในระยะแรกของการนอนหลับ
(3) ไม่ได้เกิดกับคนทุกคน
(4) คนทั่วไปมักเกิดได้คืนละ 4 – 5 ครั้ง
(5) เกิดหลังจากผ่านช่วงที่สี่ของการนอนหลับไปแล้ว
ตอบ 3 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับนั้น ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทุกคนเมื่อนอนไปได้สักพักก็จะมี REM เกิดขึ้นทั้งสิ้น และ แต่ละคืนจะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

38. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นจากการทําสมาธิได้ถูกต้อง
(1) ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง
(2) อัตราการเผาผลาญลดลง
(3) การหายใจเข้าออกช้าลง
(4) ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น
(5) การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น
ตอบ 4หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนหรือใช้พลังงานน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง ซึ่งมีผลทําให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น

39. พาพิลลา (Papillae) คืออะไร
(1) ตุ่มรับรส
(2) ตุ่มรับสัมผัสใต้ผิวหนัง
(4) ของเหลวในชั้นหูที่ควบคุมการทรงตัว
(3) ของเหลวที่ตอบสนองต่อเสียงในชั้นหู
(5) ชนิดของกลิ่นที่ประสาทการดมกลิ่นรับสัมผัสได้
ตอบ 1 หน้า 68 พาพิลลา (Papillae) คือ ตุ่มรับรส (Taste Bud) มีลักษณะนูนเหนือผิวลิ้นเล็กน้อย
อยู่เป็นกลุ่มคล้ายดอกไม้ตูม

40. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของโคนส์ (Cones) ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น
(1) เป็นเซลล์ที่มีความไวต่อแสงต่ํามาก
(2) มีความไวต่อแสงคลื่นสั้นมากกว่าคลื่นยาว
(3) มีความไวต่อแสงขาวและดํา
(4) มีความไวต่อแสงที่เป็นสี
(5) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
ตอบ 4 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงสลัวในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสงจ้า ในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

41. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการลืม
(1) การลืมเพราะระบบความจําไม่ดี
(2) การลืมที่เกิดจากระยะเวลา
(3) การลืมเพราะไม่ได้มีการจําตั้งแต่แรก
(4) การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เก่า
(5) การลืมเพราะไม่ได้ลงรหัส
ตอบ 1 หน้า 204 – 205 สาเหตุของการลืม มีหลายประการ ได้แก่
1. การไม่ได้ลงรหัส เพราะไม่ได้มีการจําตั้งแต่แรก
2. การเสื่อมสลายตามกาลเวลาเพราะการไม่ได้ใช้
3. การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ
4. การถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่
5. การเก็บกด

42. ในการทดลองการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคพบว่าอินทรีย์เกิดความกลัวสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียง กับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข ตรงกับข้อใด
(1) การคืนสภาพ (Spontaneous Recovery)
(2) การแผ่ขยาย (Generalization)
(3) การแยกแยะ (Discrimination)
(4) การลดภาวะ (Extinction)
(5) การเสริมแรง (Reinforcement)
ตอบ 2 หน้า 173 การแผ่ขยายหรือการสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อ สิ่งเร้าที่คล้ายกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นการขยายผลของ การเรียนรู้ไปยังสถานการณ์ใหม่ๆที่คล้ายกัน เช่น เด็กชายป้อมจะกลัวสุนัขทุกตัว เพราะเคย ถูกสุนัขกัดมาก่อนตอนเด็ก ๆ ฯลฯ

43. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แฝง (Latent Learning)
(1) หากร่างกายมีแรงขับต่ํา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะแสดงออกมาทันที
(2) เป็นแนวคิดของ Totman and Honzik
(3) การเรียนรู้เกิดขึ้นในช่วงที่ร่างกายมีแรงขับต่ําหรือไม่มีรางวัลจูงใจ
(4) หากร่างกายมีรางวัลจูงใจสูง การเรียนรู้จะแสดงออกมาทันที
(5) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่แสดงออกมาทันทีทันใด
ตอบ 1 หน้า 183 – 184 Tomland และ Honzik ได้ทําการทดลองหลายครั้ง และแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้แฝง (Latent Learning) คือ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน นั่นคือ แม้ไม่มีการเสริมแรง การเรียนรู้ก็ยังเกิดขึ้น แต่เกิดแบบแอบแฝง และจะปรากฏให้เห็นชัดเจน ต่อเมื่อมีการให้แรงเสริม โดยความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงขับที่สําคัญที่ทําให้เกิดการเรียนรู้แม้จะไม่แสดงให้เห็นว่าเกิดการเรียนรู้และไม่ได้รับการเสริมแรง

44. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
(1) ผู้เรียนจะต้องมีความใส่ใจ
(2) ผู้เรียนจะต้องเข้ารหัสไว้ในความจําระยะยาว
(3) ผู้เรียนจะต้องลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
(4) ผู้เรียนจะต้องรู้จักประเมินพฤติกรรมของตนเอง
(5) ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นความสนใจ (Attention) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนให้ความสนใจในพฤติกรรมของตัวแบบ
2. ขั้นการจดจํา (Retention) เป็นขั้นตอนของการจดจํารูปแบบของพฤติกรรมตัวแบบ
3. ขั้นการกระทํา (Production) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนําการจดจํามาเป็นรูปแบบของการ กระทํา โดยอาจจะลองแสดงพฤติกรรมนั้น หรือลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
4. ขั้นแรงจูงใจ (Motivation) เป็นขั้นตอนจูงใจให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้า เป็นไปในทางบวกผู้เรียนจะอยากแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้าเป็นในทางลบผู้เรียนก็จะหลีกเลี่ยงแสดงพฤติกรรมนั้นไป

45. การทราบผลการกระทําที่จะช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้นตรงกับข้อใด
(1) การวางเงื่อนไข
(2) การลงโทษ
(3) การป้อนกลับ
(4) การเสริมแรง
(5) การตําหนิ
ตอบ 3หน้า 180 – 181, (คําบรรยาย) การป้อนกลับ (Feedback) หมายถึง การทราบผลการกระทําที่ จะช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อให้การป้อนกลับอย่างละเอียดในทันที เช่น เมื่อนักศึกษา เรียนจบบทที่ 6 ก็ลองไปทําแบบฝึกหัด ซึ่งถ้าทําถูกหมดสิ่งที่ป้อนกลับก็คือ นักศึกษาเข้าใจ บทเรียนได้เป็นอย่างดี ฯลฯ

46. ข้อใดเป็นการเรียนรู้โดยการเลียนแบบ
(1) น้องฟางเฟยดีใจเมื่อคุณแม่เดินมา
(2) น้องสกายร้องไห้เมื่อหกล้ม
(3) น้องนิต้าเดินได้เมื่ออายุ 11 เดือน
(4) น้องใจดีเคยถูกสุนัขกัดจึงกลัวสุนัขมาก
(5) น้องพราวดู YouTube แล้วร้องเพลงตาม
ตอบ 5 หน้า 247 การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบ บุคคลรอบข้าง ได้แก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อน และบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว

47. วุฒิภาวะ (Maturity) หมายถึงข้อใด
(1) การเจริญเต็มบริบูรณ์ของร่างกายและพร้อมจะทําหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
(2) สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีผลให้การเจริญเติบโตที่สมบูรณ์
(3) ช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด
(4) การเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่ เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 138 วุฒิภาวะ (Maturation) หรือความพร้อมของบุคคล หมายถึง กระบวนการของ ความเจริญเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่าง มีระเบียบโดยไม่เกี่ยวโยงกับสิ่งเร้าภายนอก อันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ความพร้อม ของกล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ซึ่งความพร้อมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดเป็นพฤติกรรม

48. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด
(1) สภาวะของ Rh Factor
(2) การรับประทานอาหารของแม่
(3) สุขภาพของแม่
(4) สุขภาพจิตของแม่
(5) การคลอดโดยการใช้คีมช่วยคลอด
ตอบ 5 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิดเป็นสิ่งแวดล้อมภายในครรภ์และการปฏิบัติตัว ของแม่ที่มีผลต่อตัวอ่อนในครรภ์เป็นอย่างมาก ถ้าได้รับการบํารุงและทะนุถนอมอย่างดี ถือเป็น การปูพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาการทางสมอง ซึ่งมีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ HIV
6. สภาวะของ Rh Factor
7. อายุของมารดา
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

49. หลักการให้สิ่งเสริมแรงที่ถูกต้อง คือข้อใด
(1) หลังจากอินทรีย์เกิดการเรียนรู้ แล้วควรให้สิ่งเสริมแรงแก่อินทรีย์ทุกครั้ง
(2) เมื่ออินทรีย์ทําพฤติกรรมที่ต้องการ ควรเว้นช่วงแล้วจึงค่อยให้รางวัล
(3) การให้สิ่งเสริมแรงต้องให้สิ่งที่มีค่าราคาแพง
(4) เพื่อให้พฤติกรรมสม่ําเสมอ ควรให้สิ่งเสริมแรงแบบช่วงเวลาแน่นอน
(5) ในระยะแรก ๆ ควรให้สิ่งเสริมแรงแก่อินทรีย์ทุกครั้ง
ตอบ 5 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) การเสริมแรง (Reinforcement) มี 2 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบต่อเนื่อง (Continuous) คือ การวางเงื่อนไขที่ให้รางวัลทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมที่ ปรารถนาออกมา ควรให้ทันที และจะได้ผลดีในช่วงแรกของการเรียนรู้
2. แบบบางครั้งบางคราว (Partial) มี 4 ประเภท ได้แก่ แบบอัตราส่วนคงที่ (เช่น การให้ค่า คอมมิชชั่น) ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ดีที่สุด, แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (เช่น การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ), แบบช่วงเวลาที่คงที่ (การได้ขึ้นเงินเดือนประจําปี ฯลฯ) และแบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (เช่น นั่งตกปลา ไม่รู้ว่าปลาจะกินเบ็ดเมื่อใด ฯลฯ) จะได้ผลดี ในช่วงหลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว

50. ข้อใดคือการเกิดการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
(1) ความชํานาญ
(2) ความจํา
(3) ทักษะ
(4) ความรู้สึก
(5) ความสนใจ
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นกลุ่มพฤติกรรมทาง การศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านสติปัญญาหรือความคิด แบ่งได้ 6 ระดับ ดังนี้
1. ความรู้ความจํา (Knowledge)
2. ความเข้าใจ (Comprehension)
3. การนําไปใช้ (Application)
4. การวิเคราะห์ (Analysis)
5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
6. การประเมินค่า (Evaluation)

51. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับลักษณะของพัฒนาการมนุษย์
(1) เกิดอย่างต่อเนื่องทุกช่วงวัย
(2) เกิดขึ้นอย่างมีแบบแผน
(3) เกิดเป็นอัตราที่ไม่คงที่
(4) เกิดเป็นทิศทางจากบนลงล่าง
(5) แต่ละช่วงวัยเกิดเป็นอัตราเดียวกัน
ตอบ 5 หน้า 121, 140 – 141, (คําบรรยาย) พัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เป็นไปตามแบบฉบับของตนเอง เป็นไปในทิศทางเฉพาะ ค่อยเป็นค่อยไป และเป็นไปในอัตราที่ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงอายุ

52. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความจําระยะยาว
(1) เก็บข้อมูลความจําได้นานและไม่จํากัด
(2) เก็บข้อมูลในลักษณะของเหตุการณ์
(3) เก็บข้อมูลในลักษณะของความหมาย
(4) เก็บข้อมูลในลักษณะของทักษะ
(5) หากไม่มีการส่งต่อข้อมูล สิ่งที่จําได้จะค่อยๆหายไป
ตอบ 5 หน้า 196 – 199, (คําบรรยาย) ความจําระยะยาว (Long-term Memory) เป็นระบบความจํา ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ มีความสามารถไม่จํากัดในการเก็บข้อมูล และไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ โดย จะเก็บข้อมูลไว้บนพื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล จึงสามารถนําไปใช้ประโยชน์ ได้มาก ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ
1. การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ
2. การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย อุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

53. ระบบความจําที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้มาก
(1) ความจําระยะสั้น (Short-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําปฏิบัติการ (Working Memory)
(4) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
(5) ความจําเชิงกระบวนวิธี (Procedural Memory)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54. ระบบความจําที่ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวในจํานวนจํากัด
(1) ความจําระยะสั้น (Short-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)
(4) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
(5) ความจําเชิงความหมาย (Semantic Memory)
ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) เป็นระบบความจําที่ทําหน้าที่คล้าย คลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรก ได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า

55. ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) ระยะใดที่เด็กสามารถจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
(1) Period of Concrete
(2) Sensorimotor Period
(3) Thought Period
(4) Intuition Phase
(5) Period of formal Operations
ตอบ 4 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1. Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น 2. Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็ก เกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้

56. ตามทฤษฎีพัฒนาการทางศีลธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg) ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
(1) วัยรุ่นมักทําความดีตามที่ตนคิดว่าดีตามที่สังคมกําหนด
(2) วัยผู้ใหญ่มักทําความดีตามที่ตนคิดว่าดี
(3) การเป็นคนดีตามความหมายของเด็กเล็กคือการทําแล้วไม่ถูกลงโทษ
(4) ขั้นที่ 1 เด็กทําความดีเพื่อให้ได้รับการยอมรับ
(5) รางวัลเป็นเครื่องล่อใจให้ผู้ใหญ่ทําความดี
ตอบ 3 หน้า 148 – 149, 161 โคลเบิร์ก (Kohlberg) ได้แบ่งพัฒนาการทางศีลธรรมออกเป็น 3 ระดับ (6 ขั้น) และศึกษาระหว่างช่วงอายุ 7 – 16 ปี ดังนี้
(1) ก่อนมีจริยธรรม (Premoral)
ขั้นที่ 1 ยอมทําตามสิ่งที่สังคมกําหนดว่าดีหรือไม่ดี (เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ)
ขั้นที่ 2 มองความถูกผิดอยู่ที่ความสามารถจะได้ในสิ่งที่ต้องการ (เพื่อหวังสิ่งตอบแทน)
(2) มีจริยธรรมตามสังคม (Morality of Conventional Role-conformity)
ขั้นที่ 3 พยายามทําตามกฎเกณฑ์ ประพฤติตนเป็นคนดี (เพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ)
ขั้นที่ 4 ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างเคร่งครัด ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามสังคมนั้น จะอยู่ไม่ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกประณามจากสังคม)
(3) มีจริยธรรมเหนือกว่าเกณฑ์ของสังคม (Morality of Self-accepted Moral Principles)
ขั้นที่ 5 ยอมรับกฎเกณฑ์ที่เป็นประชาธิปไตย (เพื่อประโยชน์ของชุมชน)
ขั้นที่ 6 สร้างคุณธรรมประจําใจ (เพื่อหลีกเลี่ยงการตําหนิตัวเอง)

57. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การเรียนรู้”
(1) เป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก
(2) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชั่วคราว
(3) เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ
(4) เป็นการตอบสนองตามวุฒิภาวะ
(5) เป็นการตอบสนองตามสัญชาตญาณ
ตอบ 1 หน้า 160, 167, 169 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมหรือการ แสดงออกซึ่งมีผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด และเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการปรับตัว ของมนุษย์ นอกจากนี้การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร (แต่พฤติกรรม บางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากสัญชาตญาณ และเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด)

58. “นายแดงชอบทํางานคนเดียว เพราะไม่ชอบให้ใครสั่งงาน และทนรับการถูกตําหนิไม่ได้” นายแดงมี พัฒนาการล้มเหลวในขั้นใดของอีริคสัน
(1) ขั้นที่ 2 ความต้องการอิสระและความละอายใจไม่แน่นอน
(2) ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มและความรู้สึกผิด
(3) ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรและความรู้สึกต่ำต้อย
(4) ขั้นที่ 5 ทําความเข้าใจและสับสนในตนเอง
(5) ขั้นที่ 6 ใกล้ชิดสนิทสนมและโดดเดี่ยวอ้างว้าง
ตอบ 3 หน้า 147, 160 – 161 ขั้นพัฒนาการทางสังคมของอีริคสัน (Erikson) ในขั้นที่ 4 ของชีวิต (ช่วงปีที่หกถึงระยะก่อนวัยรุ่น) จะมีพัฒนาการทางจิตใจที่สําคัญ คือ มีความขยันหมั่นเพียร – ความรู้สึกด้อย (Industry VS Inferiority) และใช้ความสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่น

59. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการเกิดลูกแฝด
(1) ฝาแฝดมี 2 ชนิดคือ แฝดเหมือนและแฝดคล้าย
(2) แฝดเหมือนเกิดจากไข่ 1 ใบ กับอสุจิ 2 ตัว
(3) แฝดคล้ายเกิดจากไข่ 2 ใบ กับอสุจิ 2 ตัว
(4) แฝดเหมือนมักมีเพศเหมือนกัน
(5) แฝดคล้ายมักมีเพศต่างกัน
ตอบ 2 หน้า 125 (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

60. ข้อใดไม่ใช่ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer)
(1) อากาศ
(2) ยารักษาโรค
(3) ที่อยู่อาศัย
(4) เงิน
(5) อาหาร
ตอบ 4 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ํา อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ (ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ เป็นรางวัลที่ได้เรียนรู้มาแล้ว เช่น เงิน เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ ความสําเร็จ ความรัก คะแนนสอบ ฯลฯ

61. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
(1) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
(2) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นที่เป็นเรื่องสําคัญจะเหมือนกันในทุกคน
(3) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้
(4) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นที่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม
(5) ส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบการกระทํา
ตอบ 2 หน้า 247, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขส่วนใหญ่จะเป็นการ เรียนรู้แบบการกระทํา โดยที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมและคนรอบข้างว่าปัจจัยใดบ้างควรเป็นสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของแต่ละสังคม นอกจากนี้สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย

62. อารมณ์ใดเป็นอารมณ์ผสมระหว่างอารมณ์กลัวและอารมณ์ประหลาดใจ
(1) อารมณ์รัก
(2) อารมณ์ก้าวร้าว
(3) อารมณ์ผิดหวัง
(4) อารมณ์เกรงขาม
(5) อารมณ์ยอมจํานน
ตอบ 4 หน้า 258, (รูปที่ 9.1) พลูทชิค (Plutchik) เชื่อว่า อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์มีอยู่ 8 ชนิด คือ กลัว ประหลาดใจ เศร้าเสียใจ รังเกียจ โกรธ คาดหวัง รื่นเริง และยอมรับ ซึ่งอารมณ์พื้นฐานทั้ง 8 ชนิด ยังแปรเปลี่ยนไปตามระดับความเข้มของอารมณ์และยังอาจผสมผสานกันเป็นอารมณ์ที่ ซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น อารมณ์เกรงขามเป็นอารมณ์ผสมกันระหว่างกลัวและประหลาดใจ ฯลฯ

63. อารมณ์ใดตามแนวคิดของอิซาร์ดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาทอย่างฉับพลัน
เพื่อเตรียมบุคคลที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(1) โกรธ
(2) ขยะแขยง
(3) สนุกสนาน
(4) กลัว
(5) ประหลาดใจ
ตอบ 5 หน้า 257 – 258 คาร์รอล อิซาร์ด (Carrott Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 10 ประเภท คือ
1. Interest-Excitement (สนใจ ตื่นเต้น) เป็นอารมณ์ที่ช่วยทําให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการ ที่จะเรียนรู้และต้องใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น อยากเรียนสูง ๆ
2. Joy (รื่นเริง) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสภาวะของความเชื่อมั่น มองว่าโลกนี้ช่างน่าอยู่เหลือเกิน
3. Surprise (ประหลาดใจ) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาท
อย่างฉับพลันเพื่อตระเตรียมบุคคลที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
4. Distress-Anguish (เสียใจ-เจ็บปวด) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องประสบกับความ พลัดพราก หรือเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต
5. Anger-Rage (โกรธ เดือดดาล) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพบกับการขัดขวางหรืออุปสรรค
6. Disqust (รังเกียจ) เป็นอารมณ์อันเกิดจากการกระทบกับสัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา
7. Contempt Scorn (ดูถูกเหยียดหยาม) เป็นอารมณ์ที่อาจเกิดผสมระหว่างอารมณ์โกรธ กับอารมณ์ขยะแขยง จัดเป็นอารมณ์ที่มีลักษณะที่เย็นชา
8. Fear-Terror (กลัว-สยองขวัญ) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตน ไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง
9. Shame Sin Shyness-Humiliation (อับอายขายหน้า) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคล ถูกลงโทษ เพราะไม่ประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
10. Guilt (รู้สึกผิด) เป็นอารมณ์ที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความวิตกกังวลและความอาย

64. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการตามลําดับขั้นของมาสโลว์
(1) ชีวิตของบุคคลจะมีความต้องการแตกต่างกัน
(2) บุคคลแต่ละคนจะมีความต้องการสูงสุดคือความสุข
(3) สิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการเหมือนกันทุกคน
(4) บุคคลจะมีความต้องการเป็นลําดับขั้น
(5) บุคคลจะมีความต้องการข้ามขั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ตอบ 4 หน้า 229 – 230 มาสโลว์ (Maslow) เชื่อว่า “ชีวิตของบุคคลจะมีความต้องการตามลําดับขั้น โดยจะมีความต้องการขั้นพื้นฐานเป็นลําดับแรก ต่อมาเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐานแล้ว จึงมีความต้องการขั้นสูงต่อ ๆ ไปตามลําดับโดยไม่ข้ามขั้น

65. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยทางสรีระวิทยาที่ทําให้เกิดอารมณ์
(1) ระบบพาราซิมพาเธติกในร่ายกายจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่กระตุ้นให้ต่อสู้หรือถอยหนี
(2) สมองส่วนไฮโปธาลามัสเมื่อถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอารมณ์เศร้า ซึม เฉื่อยชา
(3) อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมมากที่สุดคือ อารมณ์ตื่นเต้น
(4) อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนจากต่อมหมวกไต
(5) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสรีระวิทยา
ตอบ 4 หน้า 262 – 263 อารมณ์กลัวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ การหายใจจะถี่ขึ้น ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง มีความตึงเครียด ของกล้ามเนื้อสูงมาก และจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนจากต่อมหมวกไต

66. ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ
(1) การเลียนแบบ
(2) การหยั่งเห็นคําตอบในทันที
(3) การท่องจําคําตอบ
(4) การใช้ปัญญาแก้ปัญหา
(5) การลองผิดลองถูก
ตอบ 4 หน้า 209 การแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ (Solution by Understanding) เป็นการใช้ ความคิดระดับสูงในการแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากการค้นหาคุณสมบัติทั่วไปของคําตอบ และมา สู่ขั้นคิดคําตอบที่เป็นไปได้หลายคําตอบ จากนั้นก็จะเลือกคําตอบให้เหลือเพียงคําตอบเดียว

67. ข้อใดไม่ใช่เป็นลักษณะสําคัญของอารมณ์
(1) อารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนบุคคล
(2) การแปลความหมายของสถานการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางอารมณ์ได้
(3) อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมที่แสดงออกภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง
(4) การแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างจากการกระทําโดยทั่วไป
(5) อารมณ์เกิดขึ้นร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
ตอบ 1 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป
3. บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์
4. อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

68. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)
(1) วัดการเปลี่ยนแปลงของหัวใจได้
(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้
(3) วัดการทํางานของสมองได้
(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้
(5) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)

69. หน่วยพื้นฐานของการคิด คือข้อใด
(1) ประสบการณ์
(2) สติปัญญา
(3) ทักษะ
(4) จินตภาพ
(5) วุฒิภาวะ
ตอบ 4 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของความคิด ประกอบด้วย จินตภาพ การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ มโนทัศน์ และภาษาหรือสัญลักษณ์

70. ข้อใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานที่สัมพันธ์กับการทํางานในตําแหน่งสมองของแพงค์เซปป์
(1) ตื่นตระหนก
(2) ประหลาดใจ
(3) เดือดดาล
(4) หวาดกลัว
(5) คาดหวัง
ตอบ 2 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว

71. “แรงจูงใจ” มีลักษณะตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) เป้าหมายที่ได้เลือกไว้แล้ว
(2) การเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรม
(3) สัญชาตญาณที่ติดตัวมาตั้งแต่กําเนิด
(4) แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายนอกของบุคคล
(5) บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทําให้บุคคลต้องกระทํา
ตอบ 2 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นหรือเป็นกระบวนการ ที่สร้างและกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลเกิดหรือแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและพฤติกรรมจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

72. ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นตอนความต้องการของเมอร์เรย์
(1) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น
(2) ความต้องการความปลอดภัย
(3) ความต้องการทางร่างกาย
(5) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(4) ความต้องการสืบทอดเผ่าพันธุ์
ตอบ 5 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน, ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ

73. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) นิยามปัญหาให้กว้าง
(2) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
(3) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(5) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
ตอบ 2 หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
2. นิยามปัญหาให้กว้าง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ

74. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับโค้งการลืมของเอบทิ้งเฮาส์
(1) การจําได้จะมีมากในช่วงแรก และน้อยลงในช่วงหลัง
(2) บุคคลจะจําได้ 0 – 100% ในช่วงเริ่มต้นจนช่วงหลัง ๆ
(3) เมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน ความจําจะเหลือประมาณ 0%
(4) เมื่อบุคคลจําได้ 100% จะไม่เกิดการลืม
(5) ผู้สูงอายุจะเกิดการลืมมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว
ตอบ 1 หน้า 203, 218 เฮอร์แมน เอบทิ้งเฮาส์ (Herman Ebbinghaus) ได้กล่าวว่า การลืมส่วนใหญ่ เกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา โดยเขาได้ทําการทดสอบความจําหลังการเรียนรู้คําที่ไม่มีความหมาย ในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน และได้สร้างโค้งการลืมออกมา ซึ่งพบว่า เราจะจําได้ 100% ในช่วงเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป 20 นาที ความจําจะเหลือ 60%, 1 ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้ 50%, 9 ชั่วโมงผ่านไป จะจําได้ 40% และภายใน 1 วัน ความจําจะเหลือประมาณ 30%

75. แรงจูงใจมีที่มาจากองค์ประกอบใด
(1) ความมีเหตุผล
(2) ความสมบูรณ์
(3) ความต้องการ
(4) ความฉลาดต
(5) สติปัญญา
ตอบ 3 หน้า 227 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความต้องการ (Needs)
2. แรงขับ (Drive)
3. การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม
4. เป้าหมาย (Goal)

76. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน
(2) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล
(3) สิ่งเร้าเดียวกันทําให้คนต้องการต่างกัน
(4) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน
(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว
ตอบ 1 หน้า 229 เกี่ยวกับความต้องการที่เกิดจากสิ่งเร้า คือ สิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ของบุคคล สิ่งเร้าเดียวกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่แตกต่างกันได้ สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่เหมือนกันได้ สิ่งเร้าเดิมที่เคยจูงใจบุคคลอาจจะจูงใจไม่ได้อีก เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีตอาจจะจูงใจได้ในปัจจุบัน

77. การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การเก็บกด (Repression)
(2) การทดแทน (Sublimation)
(3) การถดถอย (Regression)
(4) การหาเหตุผล (Rationalization)
(5) การกล่าวโทษผู้อื่น (Projection)
ตอบ 1 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวดความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

78. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจทางสังคมหรือแรงจูงใจเพื่อพัฒนาตน
(1) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด
(2) แรงจูงใจเพื่อการเรียนรู้
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(5) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ
ตอบ 2 หน้า 225, 233 – 234, 239, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามสิ่งเร้าอันเป็น แรงจูงใจทางสังคมหรือแรงจูงใจเพื่อพัฒนาตน มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. แรงจูงใจพื้นฐาน เป็นแรงจูงใจพื้นฐานในการกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอด ของชีวิต ได้แก่ แรงจูงใจทางชีวภาพ แรงจูงใจเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ และแรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย หรือแรงจูงใจเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด
2. แรงจูงใจภายใน เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเองภายในตัวบุคคลโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าจากภายนอก
3. แรงจูงใจภายนอก หรือแรงจูงใจเฉพาะบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ และแรงจูงใจใฝ่อํานาจ ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่บุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก

79. สาโรจน์ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นและถูกมองข้ามจากเจ้านาย ตรงกับข้อใด
(1) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(2) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
(3) ความต้องการความปลอดภัย
(4) ความต้องการทางร่างกาย
(5) ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง
ตอบ 5หน้า 229 – 230, 234 – 235 มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่งลําดับขั้น ความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น 2 ระดับ ดังนี้คือ
1. ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2. ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ความต้องการความรักและความเป็น เจ้าของความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น และความต้องการประจักษ์ตน

80. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการเกิดแรงจูงใจ
(1) ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล
(2) ร่างกายลดแรงขับ
(3) ร่างกายเกิดความต้องการ
(4) ร่างกายแสดงพฤติกรรม
(5) ร่างกายเกิดแรงขับ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

81. แบบทดสอบที่มีชื่อว่า Stanford Binet Intelligence Test สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถใด
(1) พัฒนาการทางร่างกาย
(2) พฤติกรรม
(3) สติปัญญา
(4) ความเจ็บป่วยทางจิต
(5) อารมณ์
ตอบ 3 หน้า 324, 336 อัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet) และธีโอฟิล ไซมอน (Theophile Simon) ได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905 เพื่อแยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ ต่อมาเทอร์แมน (Terman) ได้นํามา ปรับปรุงใช้ในสหรัฐอเมริกา และเรียกแบบทดสอบนี้ว่า Stanford Binet Intelligence Test

82. วัตถุประสงค์ของการสร้างแบบทดสอบสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาในครั้งแรก เพราะสาเหตุใด
(1) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม
(2) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางความคิด
(3) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางอารมณ์
(4) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางการอ่าน
(5) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

83.จากนิยาม “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อม” คํา “นิยาม” ดังกล่าวหมายถึงข้อใด
(1) บุคลิกภาพ
(2) วิถีชีวิต
(3) กลไกทางจิต
(4) การปรับตัว
(5) โครงสร้างทางจิต
ตอบ 1 หน้า 284 อัลพอร์ท (Allport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระ ของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคลต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันด้วย

84. บุคลิกภาพแบบจี้จี้เจ้าระเบียบ เกิดขึ้นจากการชะงักงันในพัฒนาการขั้นใด ตามแนวคิดของฟรอยด์
(1) ขั้นปาก
(2) ขั้นทวารหนัก
(3) ขั้นแอบแฝง
(4) ขั้นอวัยวะเพศ
(5) ขั้นมีเพศสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

85. มโนธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และตัวตนในอุดมคติ เข้ากับนิยามของข้อใด
(1) Id
(2) Ego
(3) Superego
(4) Shadow
(5) Reinforcement
ตอบ 3 หน้า 287 – 288, (คําบรรยาย) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. อิด (Id) เป็นสัญชาตญาณของจิตใต้สํานึกที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด โดยเป็นพลังจิตที่ขาดการขัดเกลา ไม่รับรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม มีกระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลัก ความพึงพอใจหรือทําตามความพึงพอใจของตัวเองโดยไม่สนใจกับความเป็นจริงภายนอกส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณในเรื่องเพศ ความก้าวร้าว และการทําลายล้าง
2. อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง โดยร่วมกันไปกับ กระบวนคิดอย่างมีเหตุผล จะแสดงออกอย่างไรจึงเป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคม
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

86. เมื่อซื้อลอตเตอรี่แล้วถูกรางวัล ทําให้บุคคลนั้น ๆ มีแนวโน้มจะซื้อล็อตเตอรี่อีกเป็นไปตามข้อใด
(1) กฎแห่งพฤติกรรม
(2) กฎแห่งการทําซ้ำ
(3) กฎแห่งจิตสํานึก
(4) กฎแห่งการฝึก
(5) กฎแห่งผล
ตอบ 5 หน้า 289 – 290 ธอร์นไดค์ (Thorndike) มีความเชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะปรากฏขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นก็จะหมดไป

87. ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย ประกอบไปด้วยปัจจัยใด
(1) A และ B factor
(2) P และ Q factor
(3) C และ K factor
(4) T และ M factor
(5) G และ S factor
ตอบ 5 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

88. จากนิยาม “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อม” คําว่า “จิตสรีระ” หมายถึงข้อใด
(1) ระบบของการรู้คิด
(2) ระบบของสมอง
(3) ระบบของพฤติกรรม
(4) ระบบรักษาสมดุลของบุคลิกภาพ
(5) ระบบของร่างกายและจิตใจ
ตอบ 5 หน้า 284 ระบบจิตสรีระ คือ ระบบของจิตใจและร่างกาย เช่น อารมณ์ (Temperament) เป็นระบบของจิตใจที่มีพื้นฐานมาจากร่างกาย ไม่ใช่เป็นสิ่งเรียนรู้ เช่น เด็กบางคนงอแงและขี้อ้อน มาตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่เด็กบางคนเลี้ยงง่ายผิดพี่ผิดน้อง ซึ่งอัลพอร์ทเชื่อว่า ลักษณะอารมณ์ ดังกล่าวจะติดตัวเด็กไปจนโต และทําให้บุคคล 2 คนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน

89. คําว่า สติปัญญา หมายความว่าอย่างไร
(1) ความสามารถในการคิด แก้ไขปัญหา
(2) ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ
(3) ความสามารถในการรับรู้สิ่งแวดล้อม
(4) ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น
(5) ความสามารถในการอดทนรอคอย
ตอบ 1 หน้า 319 สติปัญญา (Intelligence) เป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิด กระทํา หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

90. ตามเกณฑ์ความสามารถทางสติปัญญาของบิเนต์ หากทําคะแนนได้ 130 จะถือว่าอยู่ในระดับใด
(1) อัจฉริยะ
(2) ฉลาดมาก
(3) เกณฑ์ปกติ
(4) คาบเส้น
(5) ค่อนข้างฉลาด
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ํากว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dult) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป

91. สัญชาตญาณของจิตไร้สํานึกที่แสวงหาความพึงพอใจ เข้ากับนิยามของข้อใด
(1) Ego
(2) Superego
(3) Id
(4) Psyche
(5) Persona
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

92. ข้อใดเกี่ยวข้องกับแนวทางควบคุมอารมณ์ในการดําเนินชีวิตประจําวันน้อยที่สุด
(1) จัดการให้อารมณ์อยู่ในรูปของการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
(2) เมื่อมีอารมณ์ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ให้วิเคราะห์ว่าทําไมเราถึงมีอารมณ์เช่นนั้น
(3) พยายามหาสาเหตุของความวิตกกังวล เพื่อนํามาใช้ในการแสดงออกที่เหมาะสม
(4) เมื่อมีอารมณ์ทางลบเกิดขึ้น ให้รีบปลดปล่อยอารมณ์ของตนเองให้เร็วที่สุด
(5) เมื่อเกิดอารมณ์ทางลบ พยายามคิดทบทวนว่าเพราะเหตุใดตนเองถึงทําผิดพลาด
ตอบ 5 หน้า 276 มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนี้
1.พยายามเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และหาสาเหตุ ของอารมณ์นั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป
2. ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น และจําเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเอง
3. กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาใหญ่หรือเกิดเป็นปมด้อย
4. เลิกกังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว เน้นการอยู่กับปัจจุบันด้วยความเชื่อมั่น
5. ใช้ปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ ขจัดความขัดแย้งทันทีทันใด

93. การที่เด็กเกิดมาแล้วมีสติปัญญาในระดับใกล้เคียงกับบิดามารดา เป็นอิทธิพลจากสิ่งใด
(1) อิทธิพลของการรู้คิด
(2) อิทธิพลของพันธุกรรม
(3) อิทธิพลของสภาพจิตใจ
(4) อิทธิพลของครอบครัว
(5) อิทธิพลของบุคลิกภาพ
ตอบ 2 หน้า 129 – 130 พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมและ สิ่งแวดล้อม โดยมีพันธุกรรมเป็นตัวปูพื้นฐานของระดับสติปัญญา กล่าวคือ บุคคลจะมีระดับ สติปัญญาที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของตน และพันธุกรรมมีอิทธิพลอย่างมากต่อระดับสติปัญญาเพราะโครโมโซมที่เกี่ยวกับความคิดและสติปัญญาจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกนั่นเอง

94. ข้อใดคือความหมายของความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ
(1) มีแบบแผนดําเนินการทดสอบ
(2) ให้ผลแบบเดิมไม่ว่าใครจะทดสอบ
(3) ให้ความคงที่ของคะแนน
(4) วัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด
(5) มีเกณฑ์ในการแปลความหมาย
ตอบ 3 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

95. ตามทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย ความสามารถเฉพาะบุคคลคือข้อใด
(1) ชีสชอบร้องเพลงในห้องน้ำคนเดียว
(2) เซนร้องเพลงได้ เค้าชอบไปร้องคาราโอเกะ
(3) เซฟมักร้องเพลงไป ทํากับข้าวไป
(4) เชียร์ร้องเพลงได้ดี จนประกวดได้รางวัลที่ 1 เสมอ
(5) เซลลี่เป็นตัวแทนร้องเพลงชาติ เพราะเป็นประธานนักเรียน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

96. การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด
(1) 12 เดือน
(2) 18 เดือน
(3) 20 เดือน
(4) 24 เดือน
(5) 28 เดือน
ตอบ 4 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

ข้อ 97 – 99 จงจับคู่ตัวเลือกด้านล่างนี้ให้ถูกต้อง
(1) การสัมภาษณ์
(2) การสังเกตโดยตรง
(3) การกําหนดสถานการณ์
(4) การฉายภาพจิต
(5) การใช้แบบสอบถาม

97. วิธีการใดที่ต้องระมัดระวังเรื่อง Halo Effect
ตอบ 1 หน้า 305 การสัมภาษณ์ เป็นการใช้คําถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ โดยผู้สัมภาษณ์สามารถ เห็นหน้าและสังเกตกิริยาท่าทางทั้งภาษากายและภาษาพูดของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้สัมภาษณ์จะต้องระมัดระวังในเรื่องอคติและ Halo Effect คือ แนวโน้มที่จะประเมินผู้อื่น สูงหรือต่ํากว่าความเป็นจริง

98. วิธีการใดมีความเป็นปรนัย และไม่มีอคติเข้ามาเกี่ยวข้อง
ตอบ 5 หน้า 307 การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการศึกษาบุคลิกภาพที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากที่สุด เพราะทําได้ง่าย สะดวก และไม่ซับซ้อนเหมือนวิธีการอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีความเป็นปรนัย คือ ไม่มีอคติของผู้ตรวจเข้ามาเกี่ยวข้องมากที่สุด และเป็นวิธีที่เหมาะสําหรับการประเมินบุคลิกภาพ ในกรณีผู้รับการทดสอบมีจํานวนมาก

99. วิธีการใดเป็นวิธีการที่ใช้สิ่งเร้าที่คลุมเครือทําความเข้าใจจิตไร้สํานึก
ตอบ 4 หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งภาพส่วนใหญ่จะมีลักษณะ คลุมเครือ มองได้หลายแง่มุม โดยแบ่งแบบทดสอบออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอ ชาค เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ แล้วถามว่าเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT” เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ แล้วให้บรรยายหรือแต่งเรื่องจากภาพ

100. อาการเหนื่อยล้าไปต่อไม่ได้ที่เรียกว่า Burn-out มักเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของปฏิกิริยาความเครียด
(1) ระยะตื่นตระหนก
(2) ระยะต้านทานภัย
(3) ระยะเหนื่อยล้า
(4) ระยะคับขัน
(5) ระยะพักผ่อน
ตอบ 3 หน้า 351 เซลเย (Setye) ได้ศึกษาพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยา ต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก
2. สร้างระบบต้านทานภัย
3. ระยะเหนื่อยล้า เป็นการปรับตัวของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดระยะสุดท้าย ซึ่งในระยะนี้ หากความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกายเกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจจะไปถึง จุดที่เรียกว่า Burn-out คือ ไปต่อไม่ได้

101. ข้อใดคือสูตรในการคํานวณความสามารถทางสติปัญญา
(1) (CA / 100) + MA
(2) (MA / 100) + CA
(3) 100 / (CA + MA)
(4) (CA / MA) x 100
(5) (MA / CA) x 100
ตอบ 5 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า IQ (Intelligence Quctient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = MA) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = CA) คูณ 100 ดังสมการ (MA / CA) × 100

102. ระบบประสาทใดที่ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเมื่อเกิดภาวะเครียด
(1) ระบบประสาทอัตโนมัติ
(2) ระบบประสาทนอนซิมพาเธติก
(3) ระบบประสาทโซมาติก
(4) ระบบประสาทนิวรอน
(5) ระบบประสาทส่วนกลาง
ตอบ 1 หน้า 349 – 350 เมื่อมนุษย์เผชิญกับความเครียด จะส่งผลให้ร่างกายเกิดการตอบสนอง ทางสรีรจิตวิทยา ในยามปกติเมื่อร่างกายปลอดจากความเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติ จะควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด เพื่อรักษาให้ระบบการทํางานต่าง ๆ มีความสมดุล แต่เมื่อร่างกายได้รับตัวกระตุ้นที่ทําให้เครียด ตัวกระตุ้นนี้จะมีผลต่อการทํางานของระบบ ประสาทอัตโนมัติ ทําให้ทําหน้าที่ผิดไปจากสภาวะปกติ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว เหงื่อออก มีการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน ฯลฯ

103. ปรางเลือกอาหารเย็น เธอลังเลว่าจะเลือกอะไรดีระหว่างของชอบทั้งคู่ คือ ข้าวต้มและข้าวมันไก่
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflict)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflict)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflict)
(4) ทั้งรักทั้งชัง (Approach-Avoidance Conflict)
(5) ทั้งรักทั้งชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflict)
ตอบ 1 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก
2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3. ทั้งรักและชัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากจะเปิดดูซีรีส์ที่ชอบ แต่ก็กลัวท่องหนังสือไม่ทัน ฯลฯ
4. ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

104. ภาวะที่ร่างกายและจิตใจเตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ที่ฉุกเฉินหรือสิ่งเร้าที่จู่โจมเข้ามา เป็นความหมายของสิ่งใด
(1) ความหวั่นไหว
(2) ความกดดัน
(3) ความพยายาม
(4) ความเครียด
(5) ความคับข้องใจ
ตอบ 4 ความเครียด เป็นสภาวะที่บุคคลเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นอันตราย ความเครียดมักมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ เช่น มีโรคหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ดังนั้นการลดความเครียดจึงเป็นสิ่งจําเป็น ในชีวิตประจําวันของมนุษย์

105. ข้อใดไม่ใช่ระยะห่างระหว่างบุคคล
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะใกล้ชิด
(4) ระยะสาธารณะ
(5) ระยะสังคม
ตอบ 3 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อน ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

106. นายเอเป็นหัวหน้างานได้ออกประกาศให้พนักงานมาร่วมทําบุญปีใหม่ของบริษัท หากใครมาจะได้รับโบนัสเพิ่มเติม เป็นการใช้อํานาจในข้อใด
(1) อํานาจตามกฎหมาย
(2) อํานาจในการให้รางวัล
(3) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
(4) อํานาจในการบังคับ
(5) อํานาจตามการอ้างอิง
ตอบ 2 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ 1. อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้ 2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม 3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม 4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ 5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ

107. ข้อใดต่อไปนี้เป็นกระบวนการคิดก่อนที่บุคคลจะทําการช่วยเหลือผู้อื่น
(1) ผู้ที่ต้องการการช่วยเหลือนั้นไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
(2) ได้รับการตอบแทนเมื่อช่วยเหลือ
(3) เป็นเหตุการณ์ที่คนส่วนใหญ่ให้การช่วยเหลือ
(4) บุคคลนั้นร้องขอให้ช่วยเหลือ
(5) เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ
ตอบ 1 หน้า 395 สาตาเน่และดาร์เลย์ กล่าวว่า ก่อนที่บุคคลจะลงมือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิด 4 ขั้นตอน คือ
1. ต้องสังเกตเห็นบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ต้องการการช่วยเหลือ
2. ต้องแปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3. ต้องคิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ
4. ต้องรู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม

108. ระยะเมื่ออยู่กับเพื่อน มักเอื้อมมือถึงกันได้ เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลในข้อใด
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะใกล้ชิด
(4) ระยะสาธารณะ
(5) ระยะสังคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

109. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการเรียนรู้
(1) กลุ่มสติปัญญา
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(4) กลุ่มมนุษยนิยม
(5) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
ตอบ 3 หน้า 343 – 344 นักจิตวิทยาทั้งหลายมีทัศนะในเรื่องการปรับตัวต่างกัน ดังนี้
1. กลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อว่า ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีการพัฒนาอย่างสมดุลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้
2. กลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า การปรับตัวที่ดีขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ที่ดีของแต่ละบุคคล
3. กลุ่มมนุษยนิยม เชื่อว่า การปรับตัวที่ดีคือการพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
4. กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด เชื่อว่า การปรับตัวที่ดีคือการที่บุคคลสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ อย่างมีความสุข

110. น.ส.สุดสวย ยกมือกอดอกเมื่อเพื่อนผู้ชายเดินเข้ามาใกล้ ๆ เป็นการแสดงออกในเรื่องระยะห่างระหว่างบุคคล
ในข้อใด
(1) รู้สึกว่ากําลังถูกรุกล้ำพื้นที่ของตนเอง
(2) น.ส.สุดสวยเกิดความรู้สึกประหม่า
(3) รู้สึกเขินอาย
(4) เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติของบุคคล
(5) เป็นการส่งสัญญาณว่ากําลังให้ความสนใจ
ตอบ 1 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล หมายถึง อาณาเขตที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราซึ่งมองไม่เห็น มีผลโดยตรงต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะอาณาเขตนี้เราจะอนุญาตให้คนบางคนเข้ามา ใกล้เราในบางระยะและไม่ให้เข้าใกล้ในบางระยะได้ หรือหากถูกรุกล้ํา อาจมีการปกป้องด้วย วิธีการต่าง ๆ เช่น กอดอก หันข้างให้ ถอยจากจุดเดิม หรือเดินออกไปจากตรงนั้นเลย ฯลฯ

111. เปรี้ยวลังเลใจว่าจะเปิดซีรีส์ที่ชอบดูดีหรือไม่ แต่ก็กลัวท่องหนังสือไม่ทัน
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflict)
(2) อยากหนี้ทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflict)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflict)
(4) ทั้งรักทั้งซัง (Approach Avoidance Conflict)
(5) ทั้งรักทั้งชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflict)
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

112. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “กลุ่ม”
(1) เป็นการรวมกันของคน 2 คนขึ้นไป และมีปฏิสัมพันธ์กัน
(2) ความสามัคคีในกลุ่มเป็นตัวชี้ให้เห็นระดับของอํานาจระหว่างกัน
(3) บรรทัดฐานของกลุ่มเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของคนในกลุ่ม
(4) กลุ่มทําให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(5) กลุ่มมีอิทธิพลต่อความเชื่อ เจตคติ และพฤติกรรมของบุคคล
ตอบ 4 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ตามความหมาย
ของจิตวิทยา ประกอบด้วย
1. โครงสร้างของกลุ่ม หมายถึง การจัดระบบ บทบาท วิธีการสื่อสาร และอํานาจภายในกลุ่ม
2. ความสามัคคีในกลุ่ม จะเป็นตัวชี้ให้เห็นระดับของความดึงดูดใจระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม และเป็นพื้นฐานอํานาจต่าง ๆ ที่กลุ่มจะมีเหนือสมาชิก
3. ปทัสถานหรือบรรทัดฐานของกลุ่ม เป็นมาตรฐานของความประพฤติที่ชี้แนะหรือกําหนดพฤติกรรมของคนในกลุ่ม และมีอิทธิพลต่อเจตคติ/ความเชื่อและพฤติกรรมของบุคคล

113. ข้อใดคือความหมายของการปรับตัว
(1) ความพยายามรักษาสมดุลทางจิตใจ
(2) ความพยายามรักษาสมดุลทางการเรียนรู้
(3) ความพยายามรักษาสมดุลทางพฤติกรรม
(4) ความพยายามรักษาสมดุลทางความคิด
(5) ความพยายามรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 หน้า 341 – 342, 313 การปรับตัว (Adjustment) เป็นกระบวนการที่บุคคลพยายามสร้าง ความสมดุลให้เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล และ เพื่อให้มีพลังไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตต่อไป

114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน
(1) ความสามารถ
(2) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
(3) ความไม่แสแสร้ง
(4) ความคล้ายคลึงกัน
(5) ความใกล้ชิดทางกาย
ตอบ 3 หน้า 380 – 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้
1. ความใกล้ชิดทางกาย
2. ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
3. ความสามารถ
4. ความคล้ายคลึงกัน

115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการเกลี้ยกล่อมให้บุคคลเปลี่ยนเจตคติได้
(1) ผู้รับสาร
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) ข่าวสาร
(4) ผู้ส่งสาร
(5) ความรวดเร็วของการสื่อสาร
ตอบ 5 หน้า 390, (คําบรรยาย) การเกลี้ยกล่อมชักจูง (Persuasion) เป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติ โดยการให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องพิจารณาหรือคํานึงถึงคุณสมบัติของผู้ส่งสาร (Communicator), ข่าวสาร (Message), ผู้รับสาร (Audience) และช่องทางการสื่อสาร (Channel)

116. ข้อใดเป็นสาเหตุของความเครียดด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
(1) อากาศ
(2) การสอบ
(3) เศรษฐกิจ
(4) รายได้
(5) นิสัยส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 347 – 348 สาเหตุของความเครียด มีดังนี้
1. สภาพแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ น้ำ ดิน รวมทั้งเสียง
2. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
3. สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น การแข่งขันกันในการทํางาน การเรียน รวมไปถึงการสอบ
4. การใช้ชีวิตประจําวัน เช่น ชอบดื่มชาและกาแฟ ซึ่งมีสารที่กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
5. อุปนิสัยส่วนตัว เช่น ชอบคิดว่าตัวเองต่ําต้อย สู้คนอื่นไม่ได้ ทําให้เกิดความหดหู่ใจ

117. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการพัฒนาตนเองไปจนสุดศักยภาพ
(1) กลุ่มสติปัญญา
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(4) กลุ่มมนุษยนิยม
(5) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 109. ประกอบ

118. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สถานการณ์ที่อาจเกิดอิทธิพลในสังคม
(1) นายเอทะเลาะกับนายบีเรื่องการการลงทุนร่วมกัน
(2) นายเอกล่อมนายปีให้ไปเที่ยวเพราะเพื่อนในกลุ่มไปทุกคน
(3) นายเอสั่งให้นายบีทํางานให้เสร็จทันเวลา
(4) นายเอส่งจดหมายชวนเชื่อให้นายปีทุกวัน
(5) นายเอชี้แจงให้นายบีเห็นข้อดีข้อเสียของการลงทุน
ตอบ 5 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

119. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการแสดงความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ
(1) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มสติปัญญา
(4) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(5) กลุ่มมนุษยนิยม
ตอบ 1 หน้า 344 กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง ไม่ควรโทษผู้อื่น และเชื่อว่า ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัวต่าง ๆ และสามารถแสดงความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ ในชีวิตของเขาเอง รับผิดชอบต่อชีวิตที่เขาเป็นผู้เลือก ยืนหยัดอยู่กับความเชื่อและเผชิญกับ ความเป็นจริงแห่งชีวิตได้ เขาเหล่านี้จะพบความหมายที่แท้จริงของชีวิตและเป็นผู้ที่ปรับตัวได้

120. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเจคติของบุคคล
(1) สมาชิกภายในกลุ่ม
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ประสบการณ์
(4) สื่อมวลชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 389 สาเหตุของการเกิดเจตคติ ได้แก่ การมีประสบการณ์ตรง การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ที่มีเจตคติเหมือนกัน การอบรมเลี้ยงดู อิทธิพลของสมาชิกกลุ่ม และสื่อมวลชน

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทํางานของประสาทตา
(1) มนุษย์รับคลื่นการมองเห็นได้อยู่ที่ประมาณ 380 นาโนมิเตอร์
(2) การมองเห็นเริ่มเกิดขึ้นเมื่อแสงกระทบกับคอร์เนีย
(3) เรตินาเป็นเยื่อชั้นนอกของลูกตาที่ช่วยให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
(4) จุดโฟเวียเป็นจุดที่ทําให้การมองเห็นมีความชัดเจนที่สุด
(5) เลนส์ตาทําหน้าที่ปรับภาพให้ชัดเจนมากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 อวัยวะสําคัญที่สุดของการมองเห็นคือตา ซึ่งไวต่อการรับคลื่นแสงมาก โดยคลื่น ที่สายตามนุษย์รับได้มีขีดจํากัดอยู่เพียงระยะประมาณ 380 – 780 นาโนมิเตอร์ (นม.) การเห็น เกิดขึ้นเมื่อแสงผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อชั้นนอก แล้วกระทบกรอบลูกตาที่มีลักษณะโปร่งใสเรียกว่า คอร์เนีย โดยม่านตาจะทําหน้าที่ปรับแสงให้พอเหมาะ ส่วนเลนส์หรือแก้วตาจะทําหน้าที่ปรับภาพ ให้ไปตกอยู่ที่ผนังด้านหลังของลูกตาคือเรตินาซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นในของลูกตา และเป็นจุดเริ่มต้น ของการเห็นที่สําคัญ โดยเฉพาะที่โฟเวียเป็นจุดที่มีการมองเห็นที่ชัดเจนที่สุด

2. พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาคือข้อใด
(1) พฤติกรรมที่อธิบายได้
(2) พฤติกรรมตามสัญชาตญาณ
(3) พฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล
(4) พฤติกรรมที่มีความหมาย
(5) พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน
ตอบ 5 หน้า 3, (คําบรรยาย)พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ
2. พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่ สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ

3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบประสาทโซมาติก
(1) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง 12 คู่
(2) กระตุ้นการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบทั่วร่างกาย
(3) ทําให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล เช่น ยืน นั่ง
(4) ประกอบด้วยเส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่
(5) มีหน้าที่รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่สมองและไขสันหลัง
ตอบ 2 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาท สมอง 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับการกระตุ้นจาก สิ่งแวดล้อมภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทําให้เกิด ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด และยังประกอบด้วยเส้นประสาทที่นํากระแสประสาท จากสมองและไขสันหลังไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อกระตุ้นการทํางานของกล้ามเนื้อลาย ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทําให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล เช่น การนั่ง ยืน เดิน และการปรับตัว ของอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัวภายในช่องหู

4.บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลองคือใคร
(1) อัลเฟรด แอดเลอร์
(2) วิลเฮล์ม วุ้นท์
(3) เอ็ดเวิร์ด ทิซเนอร์
(4) ซิกมันด์ ฟรอยด์
(5) อับราฮัม มาสโลว์
ตอบ 2 หน้า 8 – 9, 19 วิลเฮล์ม วันท์ (Wilhelm Wundt) เป็นผู้ก่อตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น – เป็นแห่งแรกที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1879 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะศึกษาค้นคว้าเรื่องจิตสํานึกด้วยการสังเกตทดลองตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทําให้วันท์ ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักจิตวิทยาอย่างเป็นทางการเป็นคนแรกของโลก หรือได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยาและจิตวิทยาการทดลอง

5.อวัยวะใดมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ
(1) กล้ามเนื้อสะโพก
(2) หัวใจ
(3) กล้ามเนื้อบริเวณน่อง
(4) กระเพาะอาหาร
(5) กล้ามเนื้อที่ยึดข้อต่อและกระดูก
ตอบ 4 หน้า 32 กล้ามเนื้อ (Muscular) แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะและหน้าที่การทํางาน ดังนี้
1. กล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ คือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง
2. กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ และถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ และมีการทํางานโดยอัตโนมัติ

6. ข้อใดไม่ใช่อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับประสาทการได้ยิน
(1) กระดูกรูปโกลน
(2) กระดูกรูปค้อน
(3) บาซิลาร์เมมเบรน
(4) ซิเลียอารี
(5) หลอดก้นหอยคอคเลีย
ตอบ 4 หน้า 65 – 66 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับประสาทการได้ยิน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. หูชั้นนอก ประกอบด้วย ใบหู รูหู และแก้วหู
2. หูชั้นกลาง ประกอบด้วย กระดูกรูปค้อน (Hammer), กระดูกรูปทั่ง (Anvil) และกระดูก รูปโกลน (Stirrup)
3. หูชั้นใน ประกอบด้วย หลอดก้นหอยคอคเลีย (Cochlea) และบาซิลาร์เมมเบรน (Basilar
Membrane)

ข้อ 7 – 10 จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
(1) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ
(2) กลุ่มมนุษยนิยม
(3) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(4) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(5) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

7.การตรวจสอบภายในจิต (Introspection Technique) เป็นเทคนิคที่กลุ่มใดใช้ศึกษา
ตอบ 4 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) ได้ศึกษาค้นคว้าในห้องทดลองเกี่ยวกับการ รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการรับรู้ของมนุษย์ ทําให้รู้ถึง 3 องค์ประกอบ ของจิตสํานึก คือ การรับสัมผัส (Sensation) ความรู้สึก (Feeling) และมโนภาพ (Image) ซึ่ง ระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันในกลุ่มนี้ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ ทางจิตด้วยตนเอง เรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั่นเอง อันเป็นเทคนิคการ ผสมผสานวิธีการตรวจสอบภายในจิต (Introspection Technique) และวิธีการสังเกตในห้องทดลองเข้าด้วยกัน

8. กลุ่มทางจิตวิทยาที่สนใจศึกษา “สิ่งเร้าและการตอบสนอง” คือกลุ่มใด
ตอบ 5 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มีความเห็นว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก วัตสันได้ปฏิเสธเรื่องจิต โดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยการศึกษาบันทึกพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นจากการให้สิ่งเร้าแก่มนุษย์และสัตว์ แล้วสังเกตดูว่ามนุษย์หรือสัตว์มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นอย่างไร ซึ่งการบันทึกจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

9.“เน้นจิตใต้สํานึกที่เป็นแหล่งสะสมแรงขับ แรงปรารถนาที่ซ่อนเร้น” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ํา เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นแหล่งสะสมของความคิด แรงขับ แรงกระตุ้น และความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่า มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

10. กลุ่มที่ถูกขนานนามว่าเป็น “พลังที่ 3” (Third force in Psychology) ซึ่งสนใจ “ต้องการเข้าใจตนเอง อย่างถ่องแท้”
ตอบ 2 หน้า 11 – 12 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Psychology) ถูกขนานนามว่าเป็นพลังที่ 3 ทางจิตวิทยา (พลังที่ 1 และ 2 คือ จิตวิเคราะห์และพฤติกรรมนิยม) โดยกลุ่มนี้จะเน้นในเรื่อง เสรีภาพ และความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีการดําเนินชีวิต และสิ่งสําคัญที่สุดก็คือมนุษย์ต้องการเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้ถึงขีดสูงสุด

11. วิธีการศึกษาที่ทําให้จิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง คือข้อใด
(1) การศึกษารายกรณี
(2) การทดลอง
(3) การสํารวจ
(4) การสังเกต
(5) การทดสอบ
ตอบ 2 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาที่สําคัญยิ่งในการทําให้วิชาจิตวิทยา ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็นผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลองจะต้อง แน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว

12. สารสื่อประสาทใดมีความเกี่ยวข้องกับอาการของโรคพาร์กินสัน
(1) ซีโรโทนิน
(2) กาบา
(3) อิพิเนฟฟริน
(4) โดปามาย
(5) นอร์อิพิเนฟฟริน
ตอบ 4 หน้า 40 โดปามาย (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ถ้าเสื่อมหรือบกพร่องหรือผิดปกติจะเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) คือ มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ และยากลําบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ

13. สมองส่วนใดมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับกระแสประสาทสัมผัสจากส่วนต่าง ๆ ส่งต่อไปยังซีรีบรัม
(1) ฮิปโปแคมพัส
(2) เมดัลลา
(3) ก้านสมอง
(4) ธาลามัส
(5) ไฮโปธาลามัส

ตอบ 4 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนหน้าของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางรับ กระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์กลาง การควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของบุคคล รวมทั้งการตื่นและการหลับ

14. ข้อใดเป็นหน้าที่การทํางานหลักของต่อมใต้สมอง
(1) ผลิตโกร๊ธฮอร์โมน
(2) ผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน
(3) ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล
(4) ผลิตฮอร์โมนไทโมซิน
(5) ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์
ตอบ 1 หน้า 45 ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสําคัญที่สุดของร่างกาย เพราะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อไปควบคุมการทํางานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ โดยจะทําหน้าที่ สร้างฮอร์โมนที่สําคัญ คือ โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ ทําหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย

15. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่สําคัญของฮอร์โมน
(1) ควบคุมการพัฒนาของวุฒิภาวะ
(2) ควบคุมพลังงานในร่างกาย
(3) ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่
(4) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
(5) ควบคุมระบบสืบพันธุ์
ตอบ 1 หน้า 45 หน้าที่สําคัญของฮอร์โมน คือ
1. ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย
2. ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
3. ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
4. ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ํานม

16. ข้อใดไม่ใช่ความรู้สึกสัมผัสทางกายพื้นฐานของมนุษย์
(1) ความอุ่น
(2) ความเย็น
(3) ความร้อน
(4) ความกด
(5) ความเจ็บปวด
ตอบ 3 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของคนเราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมี ความไวต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้น มีจุดรับสัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด

17. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
(1) ไซโตพลาสซึม
(2) แอ๊กซอน
(3) นิวเคลียส
(4) เดนไดรท์

(5) นิวโรทรานสมิตเตอร์
ตอบ 5 หน้า 37 เซลล์ประสาท (Nerve Cell หรือ Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับส่งกระแสประสาท ที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาท ซึ่งประกอบด้วย 1. ตัวเซลล์ (Cell Body) มีนิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วย ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm)
2. เดนไดรท์ (Dendrite)
3. แอ็กซอน (Axon)

18. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(1) เกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ทําให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
(3) มีหน้าที่รับรู้ความรู้สึกทางร่างกาย
(4) มีผลทําให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
(5) มีผลทําให้ร่างกายตื่นตัวมากกว่าปกติ
ตอบ 2 หน้า 37 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก เป็นระบบประสาทอัตโนมัติที่อยู่ในระบบประสาท ส่วนปลาย เป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายผ่อนคลาย อยู่ในภาวะสงบและพักผ่อน มีการย่อยดี และความดันโลหิตต่ํา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังอาการตกใจจากที่มีการทํางานในอัตราเร่งมาแล้วหรือหลังจากเกิดอารมณ์เต็มที่แล้ว

19. ข้อใดใกล้เคียงกับความหมายและเป้าหมายของวิชาจิตวิทยามากที่สุด
(1) การศึกษากระบวนการรับรู้ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตเพื่อให้อธิบายที่สมเหตุสมผล เพื่อประยุกต์ใช้
ในการแก้ไขพฤติกรรมที่ผิดปกติ
(2) การศึกษาพื้นที่ทางความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
(3) การศึกษาปรัชญาแห่งชีวิตและพฤติกรรมภายใต้ศาสตร์และศิลป์ของยุคสมัยนั้น ๆ เพื่อหาคําอธิบาย ทําความเข้าใจ ทํานาย และควบคุมพฤติกรรมมนุษย์
(4) การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบาย ทําความเข้าใจ ทํานาย และควบคุมพฤติกรรม
(5) การศึกษาที่ว่าด้วยทิศทางพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตเพื่อหาคําอธิบาย ทํานาย และควบคุมพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย) ทําความเข้าใจ ทํานาย (พยากรณ์) และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

20. ข้อใดไม่ใช่รสชาติพื้นฐานที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้
(1) รสหวาน
(2) รสขม
(3) รสจืด
(4) รสเค็ม
(5) รสเปรี้ยว
ตอบ 3 หน้า 68 รสชาติพื้นฐานที่มนุษย์รับรู้โดยทั่วไปมี 4 รส คือ รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว และ รสเค็ม ส่วนรสอื่น ๆ เช่น รสเผ็ดนั้น เกิดจากการผสมกันของรสพื้นฐานเหล่านี้

21. ข้อใดเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการรับรู้น้อยที่สุด
(1) การเคลื่อนไหวของสิ่งเร้า
(2) ขนาดของสิ่งเร้า
(3) รูปร่างของสิ่งเร้า
(4) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า
(5) การเกิดซ้ำของสิ่งเร้า
ตอบ 3 หน้า 79 คุณสมบัติของสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการรับรู้ ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า
2. ขนาดของสิ่งเร้า
3. เคลื่อนไหวของสิ่งเร้า
4. การเกิดซ้ำ ๆ กันของสิ่งเร้า

22. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสัมปชัญญะได้ถูกต้องที่สุด
(1) การรู้ตัวว่ากําลังทําอะไรอยู่
(2) ความรู้จากการเรียน
(3) การเรียนรู้จากประสบการณ์
(4) ความสามารถในการทํางาน
(5) การมีสติจากการนั่งสมาธิ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90, 115 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด คิดหรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือ ขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การฝัน การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติด การดื่มสุรา การใช้ยาหรือสารเคมี และการนั่งสมาธิเจริญภาวนา

23. สภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับ (Sleep Deprivation Psychosis) เกิดจากสาเหตุใด
(1) การนอนมากเกินไป
(2) การนอนไม่เป็นเวลา
(3) การหลับ ๆ ตื่น ๆ
(4) การสะดุ้งระหว่างนอน
(5) การอดหลับอดนอน
ตอบ 5 หน้า 91 บุคคลที่ขาดการนอนหลับติดต่อกันหลายวัน (การอดหลับอดนอน) จะมีสภาพทางจิต ที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งจะทําให้บุคคลนั้น มีความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด หรือถ้าต้องอดนอน ติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจจะมีอาการทางประสาทหลอนได้

24. การนอนหลับที่เหมาะสมในวัยรุ่น ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
(1) 2-3
(2) 4-6
(3) 7-8
(4) 8-10
(5) 10 – 12
ตอบ 3 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนด ให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะมนุษย์แต่ละคน มีความแตกต่างกันในการนอน สําหรับคนบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียง สําหรับเขา แต่สําหรับคนอื่น ๆ อาจจะใช้เวลานอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้

25. สารเสพติดใดต่อไปนี้ไม่ได้ออกฤทธิ์กดประสาท
(1) ฝิ่น
(2) แอมเฟตามีน
(3) เหล้า
(4) มอร์ฟีน
(5) เฮโรอีน
ตอบ 2หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ (สุรา/เหล้า) ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

26. ความหมายของความฝันตามทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ คือข้อใด
(1) การแสดงออกทางความคิดเมื่อหลับลึกแล้ว
(2) กระบวนการทางสรีระของร่างกายที่เกิดขึ้นในช่วง REM sleep
(3) เป็นสิ่งที่มนุษย์จินตนาการขึ้นมาเองซึ่งไม่มีอยู่จริง
(4) เกิดจากการแสดงออกของนิมิต
(5) การแสดงความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก
ตอบ 5 หน้า 97 – 99 นักจิตวิทยาที่ให้ความสําคัญกับเรื่องความฝันมีหลายท่าน เช่น
1. วิลเลียม ดีเมนท์ (William Dement) เป็นผู้นําในเรื่องความฝัน โดยเขาได้พยายามศึกษา ถึงสาเหตุและประโยชน์ของความฝัน
2. ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักทฤษฎีความฝันในยุคแรก โดยเขาได้อธิบายความหมายของความฝัน ไว้ว่า ความฝันก็คือการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก
3. จุง (Jung) เชื่อว่า ความฝันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกของจิตใต้สํานึก

27. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นจากการทําสมาธิได้ถูกต้อง
(1) ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น
(2) การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น
(3) การหายใจเข้าออกช้าลง
(4) อัตราการเผาผลาญลดลง
(5) ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง
ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนหรือใช้พลังงานน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง ซึ่งมีผลทําให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น

28. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์
(1) เกิดขึ้นเอง
(2) เป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน
(3) ไม่ต่อเนื่องกัน
(4) มีทิศทางที่แน่นอน
(5) พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน
ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์ มีดังนี้
1. เกิดขึ้นเองในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน (Continuity)
2. เป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง (Sequence)
3. เกิดเป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน (Ratio)
4. มีทิศทางที่แน่นอนและเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ (Developmental Direction)
5. พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน

29. ข้อใดเป็นลักษณะของเทรซโฮลด์สมบูรณ์
(1) เป็นระดับพลังงานที่มีความถี่ต่ําสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้
(2) เป็นระดับพลังงานที่มีความถี่สูงสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้
(3) เป็นระดับพลังงานที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้ชัดเจนตามระดับของพลังงานดังกล่าว
(4) เป็นระดับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานต่ําสุดที่อินทรีย์สามารถแยกความแตกต่างได้
(5) เป็นระดับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานสูงสุดที่อินทรีย์สามารถแยกความแตกต่างได้
ตอบ 1 หน้า 69 ระดับเทรชโฮลด์ (Threshold) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เทรซโฮลด์สมบูรณ์ (Absolute Threshold) หมายถึง จํานวนพลังงานที่มีความถี่ต่ําสุดที่ อินทรีย์สามารถรับรู้ได้เป็นครั้งแรก เช่น การฉายแสงที่มีปริมาณต่ําสุดบนจอมืดและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณให้เข้มขึ้น แล้วให้ผู้ดูรายงานว่าเริ่มเห็นแสงเมื่อใด ฯลฯ
2. เทรซโฮลด์ความแตกต่าง (Difference Threshold) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า ที่มีอยู่แล้วในจํานวนน้อยที่สุดที่สามารถรู้สึกได้ เช่น ถ้าเราหิ้วของหนัก 100 กรัม แล้วมีคน เอามาวางเพิ่มอีก 1 กรัม เราอาจไม่รู้สึก แต่ถ้าเพิ่มอีก 3 กรัม เราจะรู้สึกว่าหนักกว่าเดิม ดังนั้นน้ําหนักที่เพิ่มขึ้น 3 กรัม จึงเป็นเทรซโฮลด์ความแตกต่างในการยกน้ําหนักของเรา

30. การรับรู้แบบอภิธรรมดาที่เรียกว่า โทรจิต (Telepathy) เป็นการรับรู้อย่างไร
(1) การเห็นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทางตา
(2) การเดินทางไปปรากฏกายในที่อื่นโดยไม่ต้องใช้พาหนะใด ๆ
(3) การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(4) การทําให้วัตถุหักงอโดยไม่ต้องใช้กายสัมผัส
(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
ตอบ 5 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

31. ในช่วงเวลาหลับลึกมาก ๆ คลื่นสมองจะเป็นรูปแบบใด
(1) คลื่นเดลตา
(2) คลื่นเบตา
(3) คลื่นอัลฟา
(4) คลื่นไอออน
(5) คลื่นแกมมา
ตอบ 1 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่ 4 เป็นช่วงแห่งการนอนหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) ซึ่งมักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ

ข้อ 32 – 33 จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
(1) การต่อเติมให้สมบูรณ์
(2) ความคล้ายคลึงกัน
(3) ความใกล้ชิดกัน
(4) ความต่อเนื่อง
(5) ภาพลวงตา

32. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการรับรู้วัตถุที่อยู่ใกล้ชิดเป็นภาพเดียวกันหรือหมวดหมู่เดียวกัน
ตอบ 3 หน้า 76 ความใกล้ชิดกัน (Proximity) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะรับรู้วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ อยู่ใกล้ชิดกันเป็นภาพเดียวกันหรือหมวดหมู่เดียวกัน เช่น การมองรูปสามเหลี่ยมที่อยู่ใกล้กัน เป็นกลุ่มเดียวกันหรือหมวดหมู่เดียวกัน ฯลฯ

33. รูปแบบการรับรู้ของบุคคลที่มักมองเห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนเล็ก ๆ หลายส่วน คือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 75, (คําบรรยาย) การต่อเติมให้สมบูรณ์ (Closure) คือ แนวโน้มที่จะรับรู้ความสมบูรณ์ ของวัตถุทั้งที่บางส่วนขาดหายไป โดยการมองเป็นลักษณะส่วนรวมหรือความสมบูรณ์ของวัตถุ มากกว่าการมองวัตถุเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะถ้าเรามองสิ่งใดที่ยังขาดหรือพร่องอยู่ จิตของมนุษย์ มักจะเติมส่วนที่ขาดหายไปนั้นให้เป็นรูปเต็ม

34. “มานี้อยากมีอาชีพเป็นหมอเลยสมัครสอบคณะแพทยศาสตร์ แต่มานะไม่รู้ว่าจะสอบเข้าคณะอะไร เพราะ
ไม่รู้ว่าตัวเองอยากทําอาชีพอะไร” มานะมีพัฒนาการล้มเหลวในขั้นใดของอิริคสัน
(1) ขั้นที่ 2 ความต้องการอิสระและความละอายใจไม่แน่นอน
(2) ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มและความรู้สึกผิด
(3) ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรและความรู้สึกต่ําต้อย
(4) ขั้นที่ 5 ทําความเข้าใจตนเองและสับสนในตนเอง
(5) ขั้นที่ 6 ใกล้ชิดสนิทสนมและโดดเดี่ยวอ้างว้าง
ตอบ 4 หน้า 147 อิริคสัน (Erikson) ได้เน้นศึกษาเกี่ยวกับขั้นพัฒนาการทางจิตสังคม (Psychosocial Stages) โดยเขาได้แบ่งขั้นพัฒนาการในแต่ละวัยออกเป็น 8 ระยะ ดังนี้
ขั้นที่ 1. แรกเกิดถึงหนึ่งปีแรก : มีความเชื่อถือไว้วางใจ – ความระแวงไม่ไว้วางใจ
ขั้นที่ 2. ปีที่สอง : ความต้องการอิสระ – ความละอายและความสงสัยไม่แน่ใจ
ขั้นที่ 3 ปีที่สามถึงปีที่สี่ : ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด
ขั้นที่ 4. ปีที่หกถึงระยะก่อนวัยรุ่น : ความขยันหมั่นเพียร – มีความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5. วัยรุ่น : ทําความเข้าใจรู้จักตนเอง – สับสนไม่เข้าใจตนเอง
ขั้นที่ 6. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น : ใกล้ชิดสนิทสนม – โดดเดี่ยว อ้างว้าง แยกตัว
ขั้นที่ 7. วัยผู้ใหญ่และวัยกลางคน : สร้างความมั่นคง – หมกมุ่นใส่ใจแต่เรื่องของตนเอง
ขั้นที่ 8. วัยชรา : มั่นคง สมบูรณ์ – หมดหวัง ทอดอาลัย

35. ระบบความจําที่หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
(1) ความจําระยะสั้น
(2) ความจําระยะยาว
(3) ความจําเหตุการณ์
(4) ความจําความหมาย
(5) ความจําจากการรับสัมผัส
ตอบ 1 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1. ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ
2. ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบ ความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
3. ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

36. วุฒิภาวะ (Maturation) หมายถึงข้อใด
(1) การเจริญเติบโตที่เป็นอิสระจากการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม
(2) การเจริญเติบโตที่ได้รับอิทธิพลจากการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม
(3) การเจริญเติบโตที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์และการเรียนรู้
(4) การได้รับผลกระทบจากสังคมและวัฒนธรรม
(5) การเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่เมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
ตอบ 1 หน้า 138 วุฒิภาวะ (Maturation) หรือความพร้อมของบุคคล หมายถึง กระบวนการของ ความเจริญเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่าง มีระเบียบโดยไม่เกี่ยวโยงกับสิ่งเร้าภายนอก อันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ความพร้อม ของกล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ซึ่งความพร้อมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดเป็นพฤติกรรม

37. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการเกิดการเคลื่อนไหวของลูกตาขณะหลับ (Rapid Eye Movements : REM)
(1) เกิดเมื่อมีความฝัน
(2) คนทั่วไปมักเกิดได้คืนละ 4 – 5 ครั้ง
(3) เกิดได้กับคนทุกคน
(4) เกิดทันทีในระยะแรกของการนอนหลับ
(5) เกิดหลังจากผ่านช่วงที่สี่ของการนอนหลับไปแล้ว
ตอบ 4 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับนั้น ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทุกคนเมื่อนอนไปได้สักพักก็จะมี REM เกิดขึ้นทั้งสิ้น และ แต่ละคืนจะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

38. ข้อใดคือประเภทของยาเสพติดกลุ่มกาแฟหรือคาเฟอีน
(1) กดประสาท
(2) หลอนประสาท
(3) กระตุ้นประสาท
(4) กดและกระตุ้นประสาท
(5) กระตุ้นและหลอนประสาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

39.Oral Fixation คืออะไร
(1) ความสุขที่เกิดจากการกิน
(2) ความพอใจจากการดูดกลืน
(3) การชะงักงันหรือติดแน่นอยู่กับความสุขขั้นปาก
(4) ความสุขจากการได้รับประทาน
(5) ความชอบที่จะใช้กิจกรรมทางปาก
ตอบ 3 หน้า 145, 299 ฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งพัฒนาการบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage)
2. ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแอบแฝง (Latency Stage)
5. ขั้นการมีเพศสัมพันธ์ (Genital Stage)
โดยบุคคลจะต้องพยายามหาสิ่งตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางสรีรวิทยาอยู่เสมอใน ทุกขั้นของพัฒนาการ และหากว่าไม่สามารถทําได้ในขั้นหนึ่งขั้นใดก็จะเป็นเหตุให้บุคคลเกิด การชะงักงัน (Fixation) ของพัฒนาการขั้นต่อไปซึ่งจะมีผลต่อการปรับตัวในวัยต่อมา

40. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้าเดียวกันทําให้คนต้องการต่างกัน
(2) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน
(3) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล
(4) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน
(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว
ตอบ 4 หน้า 229 เกี่ยวกับความต้องการที่เกิดจากสิ่งเร้า คือ สิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ของบุคคล สิ่งเร้าเดียวกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่แตกต่างกันได้ สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่เหมือนกันได้ สิ่งเร้าเดิมที่เคยจูงใจบุคคลอาจจะจูงใจไม่ได้อีก เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีตอาจจะจูงใจได้ในปัจจุบัน

41. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) จํานวนทารกภายในครรภ์
(2) การบริโภคของแม่
(3) สุขภาพจิตของแม่
(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(5) การได้รับรังสี
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

42. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
(1) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
(2) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม
(3) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นมีความสําคัญต่อทุกคนเท่ากัน
(4) ส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบการกระทํา
(5) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้
ตอบ 3 หน้า 247, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขส่วนใหญ่จะเป็นการ เรียนรู้แบบการกระทํา โดยที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมและคนรอบข้างว่าปัจจัยใดบ้างควรเป็น
สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยม
ของแต่ละสังคม นอกจากนี้สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย

43.หาก ด.ญ.เอ และ ด.ญ.บี หน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน เกิดวันเดียวกัน พ่อแม่เดียวกัน ถือว่า ด.ญ.เอ และ ด.ญ.บี เป็นพี่น้องแบบใด
(1) ญาติกัน
(2) แฝดเหมือน
(3) แฝดคล้าย
(4) แฝดเทียม
(5) พี่น้องตามธรรมชาติ
ตอบ 2 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

44. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
(2) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(3) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(4) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
(5) การระดมสมอง
ตอบ 4หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. นิยามปัญหาให้กว้าง
2. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
5. การหาอุปมา
6. การระดมสมอง

45. การลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การถดถอย (Regression)
(2) การเก็บกด (Repression)
(3) การหาเหตุผล (Rationalization)
(4) การเลียนแบบ (Identification)
(5) การทดแทน (Sublimation)
ตอบ 2 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

46. การกลัวสุนัขทุกตัว เพราะเคยถูกสุนัขกัดตอนเด็ก ๆ ตรงกับข้อใด
(1) การแยกความแตกต่าง
(2) การฟื้นกลับของพฤติกรรม
(3) การหยุดยั้ง
(4) การสรุปความเหมือน
(5) การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
ตอบ 4 หน้า 173 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คล้ายกับ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นการขยายผลของการเรียนรู้ไปยัง สถานการณ์ใหม่ๆ ที่คล้ายกัน เช่น เด็กชายดีจะกลัวสุนัขทุกตัว เพราะเคยถูกสุนัขกัดมาก่อน ฯลฯ

47. ในกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ข้อใดกล่าวถึง ยีนส์ ได้ถูกต้องที่สุด
(1) เป็นคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อส่งข้ามไปอีกรุ่นหนึ่ง
(2) มีหน้าที่ควบคุมโครงสร้างทางร่างกาย โดยจะปรากฏให้เห็นเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยรุ่น
(3) ตามปกติคนเราจะมียีนส์อยู่เพียง 1 – 2 ชนิดเท่านั้น
(4) ยีนส์ด้อยเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทําให้เราเกิดความบกพร่องทางร่างกาย
(5) สามารถส่งข้ามจากรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งได้
ตอบ 5 หน้า 123 ในกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น ยีนส์เป็นหน่วยของพันธุกรรมที่ถูกส่งข้าม จากคนชั่วอายุหนึ่งไปยังคนอีกชั่วอายุหนึ่ง โดยที่คุณสมบัติต่าง ๆ นั้นจะคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมไม่ว่าจะมีการถ่ายทอดไปกี่ชั่วอายุคนหรือไปผสมกับพันธุกรรมอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งยีนส์นี้ จะควบคุมโครงสร้างส่วนประกอบและลักษณะต่าง ๆ ของคนเราให้เหมือนกับบรรพบุรุษ จึง ทําให้ลูก หลาน เหลน มีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และทวดของตน โดยยีนส์ที่อยู่ ในร่างกายของคนเราจะมีอยู่ประมาณ 40,000 ชนิด

48. ตามทฤษฎีจิตสังคมทั้ง 8 ขั้นของอิริคสัน ในช่วงระยะวัยผู้ใหญ่ตอนต้น หากบุคคลไม่สามารถทํางานร่วมกับ ผู้อื่นได้ ชอบทํางานคนเดียว จะถือว่าประสบกับภาวะใด
(1) สิ้นหวัง (Despair)
(2) ไม่ไว้วางใจ (Mistrust)
(3) ไม่แน่ใจในตนเอง (Self Doubt)
(4) แยกตัว (Isolation)
(5) ขาดความคิดสร้างสรรค์ (Uninitiated)
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

49.นายเอ (หมู่โลหิต O) แต่งงานกับ น.ส.บี (หมู่โลหิต A) ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นหมู่โลหิตใด
(1) O (100%)
(2) AB (100%)
(3) B (100%)
(4) A, O (หมู่ละ 50%)
(5) A, B, AB, O (หมู่ละ 25%)
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การผสมหมู่โลหิตมีความเป็นไปได้ 10 แบบ ดังนี้
1. A + A = A, O
2. A + B = A, B, AB, O
3. A + AB = A, B, AB
4. A + O = A, O
5. B + B = B, O
6. B + AB = A, B, AB
7. B + O = B, O
8. AB + AB = A, B, AB
9. AB + O = A, B
10. O + O = O

50. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายของสิ่งที่เรารับรู้
(1) รูปแบบของสิ่งเร้า
(2) การเรียนรู้
(3) ประสบการณ์ในอดีต
(4) ภาษาที่ใช้สื่อสาร
(5) สภาพจิตใจและอารมณ์ในขณะนั้น
ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจและอารมณ์ในขณะนั้น ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ

51. ข้อใดเป็นระบบการทํางานของความจําที่ถูกต้องที่สุด
(1) รับ
(2) เก็บ
(3) จัดการ
(4) เปลี่ยนแปลง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 193, 195 ความจํา (Memory) เป็นระบบที่เตรียมพร้อมหรือระบบการทํางานที่ตื่นตัว อยู่ตลอดเวลาในการที่จะรับ เก็บ จัดการ เปลี่ยนแปลง และนําข้อมูลออกมาใช้ โดยความจํามี 3 ระบบ คือ ความจําจากการรับสัมผัส ความจําระยะสั้น และความจําระยะยาว

52. การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด
(1) การลองผิดลองถูก
(2) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม
(3) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น
(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต
(5) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา
ตอบ 2 หน้า 247 – 248, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม จะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลง ไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ

53. นักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบ
(1) พาฟลอฟ
(2) โรเจอร์
(3) แบนดูร่า
(4) มาสโลว์
(5) วัตสัน
ตอบ 3 หน้า 291 แบนดูร่า (Bandura) เป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกตและ เลียนแบบ โดยเป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่เชื่อในเรื่องการเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเขากล่าวว่า เรามักจะเลียนแบบการกระทําของผู้อื่น คือเราจะสังเกตว่าการกระทําของผู้อื่นนั้น ได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษ ถ้าได้รับผลดีหรือผลสําเร็จเราก็มักจะเลียนแบบการกระทํานั้น

54.ตามธรรมชาติ มนุษย์จะมีโครโมโซมจํานวนกี่แท่ง
(1) 22
(2) 23
(3) 44
(4) 46
(5) 48
ตอบ 4 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซม ซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้บุคคล จะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

55. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การเดินแบบได้สวยงาม
(2) การว่ายน้ําท่าฟรีสไตล์
(3) การเลือกกินอาหารที่ชอบ
(4) การชักใยของแมงมุม
(5) การร้องไห้เสียงดังเพื่อเรียกร้องความสนใจ
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณ อันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

56. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของการลืม
(1) ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา
(2) ไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้
(3) ล้มเหลวในการจําหรือการไม่สามารถจําได้
(4) การลืมเกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป
(5) เกิดขึ้นโดยไม่มีกระบวนการรบกวน
ตอบ 5 หน้า 203 – 204 การลืมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา การลืมคือการที่ไม่สามารถ เรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้ การลืมเป็นความล้มเหลวในการจําหรือการที่ไม่สามารถจําได้ การลืมเกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป และการรบกวนมักเป็นสาเหตุสําคัญของการลืม

57. นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์
(1) พาฟลอฟ
(2) มาสโลว์
(3) โรเจอร์ส
(4) แบนดูร่า
(5) วัตสัน
ตอบ 2 หน้า 229 – 230, 234 – 235, (คําบรรยาย) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่ง ลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย และขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2. ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและ ความเป็นเจ้าของ, ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ซึ่ง เป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง)

58. การติดกล้องวงจรปิดและสัญญาณกันขโมยในบ้าน แสดงว่ามีความต้องการขั้นใด
(1) ต้องการทางด้านร่างกาย
(2) ต้องการความปลอดภัย
(3) ต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(4) ต้องการได้รับความนับถือยกย่อง
(5) ต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

59. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยนําเข้า (Input) ที่ทําให้เกิดกระบวนการจูงใจ
(1) สิ่งเร้า
(2) การเรียนรู้และประสบการณ์
(3) ความต้องการ
(4) ผลของการทํางานของระบบต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 228 องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทําให้เกิดกระบวนการจูงใจ มีขั้นตอนดังนี้
1. Input คือ ปัจจัยนําเข้าอันเป็นตัวเร้าและกระตุ้นให้เกิดกระบวนการจูงใจ ได้แก่
1.1 สิ่งเร้า ได้แก่ สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย (เช่น บุคคล สิ่งของ ฯลฯ) และสิ่งเร้าภายใน ร่างกาย (เช่น น้ําย่อย ผลของการทํางานของระบบต่าง ๆ ฯลฯ)
1.2 การเรียนรู้และประสบการณ์
2. Process คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดความต้องการ แรงขับ และการตอบสนอง
3. Output คือ เป้าหมายที่กําหนดไว้

60. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)
(1) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง
(2) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง
(3) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด
(4) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
(5) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะหยุดพัก
ตอบ 4หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้น พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

61. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)
(1) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้
(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้
(3) วัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองได้
(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้
(5) วัดการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจได้
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)

62. ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของเมอร์เรย์
(1) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น
(2) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(4) ความต้องการทางด้านร่างกาย
(3) ความต้องการสืบทอดเผ่าพันธุ์
(5) ความต้องการความปลอดภัย
ตอบ 2 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน, ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ

63. ข้อใดอธิบายลักษณะของอารมณ์ไม่ถูกต้อง
(1) อารมณ์มีความซับซ้อนมากกว่าความรู้สึกทางร่างกาย
(2) อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตได้เด่นชัด
(3) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประสบการณ์ส่วนบุคคล
(4) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่มีการแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างไปจากการกระทําปกติ
(5) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากอารมณ์จะเป็นได้ทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้หรือปฏิกิริยาสะท้อนตาม
ธรรมชาติ
ตอบ 3 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตได้เด่นชัด แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติ
3. อารมณ์มีความซับซ้อนมากกว่าความรู้สึกทางร่างกายอื่น ๆ บุคคลจะมีการประเมินหรือแปล ความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์นั้น ๆ
4. อารมณ์มีความสัมพันธ์หรือจะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระทั้งนี้ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากอารมณ์จะเป็นได้ทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติ

64. การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด
(1) 12 เดือน
(2) 18 เดือน
(3) 24 เดือน
(4) 32 เดือน
(5) 40 เดือน
ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

65. ข้อใดไม่ใช่แรงขับภายในที่เกิดจากความไม่สมดุลในร่างกายของมนุษย์
(1) ความกระหาย
(2) ความต้องการทางเพศ
(3) การได้รับมลภาวะ
(4) ความหิว
(5) การหลีกหนีความเจ็บปวด
ตอบ 3 หน้า 238 เราสามารถแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามแรงขับออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. แรงขับภายในร่างกาย เช่น แรงขับทางการบริโภค (ความหิว, ความกระหาย) และแรงขับ ทางเพศ ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้บุคคลมีพฤติกรรมในการแสวงหาอาหารและน้ํามาบรรเทา ความหิว เพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ร่างกาย
2. แรงขับที่เกิดจากการเร้าจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น การได้รับความเจ็บปวด การได้รับมลภาวะ แสง และรังสีต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุล

66. บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดดีที่สุด
(1) ช่วงต้นและท้าย
(2) ช่วงต้น
(3) ช่วงกลาง
(4) ช่วงท้าย
(5) ทุกช่วง
ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

67. ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย
(1) การแต่งกาย
(2) ยา
(3) บ้าน
(4) อาหาร
(5) เครื่องนุ่งห่ม
ตอบ 2 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย (บ้าน) การตกแต่งสถานที่ เพศตรงข้าม (การแต่งกาย) ฯลฯ

68. ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)
(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย
(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย
(4) พลังภายในร่างกาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกาย ที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย

69. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยทางสรีรวิทยาที่ทําให้เกิดอารมณ์
(1) ระบบพาราซิมพาเธติกในร่างกายจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่กระตุ้นให้ต่อสู้หรือถอยหนี
(2) อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมมากที่สุด คือ อารมณ์ตื่นเต้น
(3) อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต
(4) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสรีรวิทยา
(5) สมองส่วนไฮโปธาลามัส เมื่อถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอารมณ์เศร้า ซึม เฉื่อยชา
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมได้มากที่สุด คือ อารมณ์กลัวกับอารมณ์โกรธ โดยอารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน จากต่อมหมวกไต ส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน

70. ข้อใดเป็นอารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman)
(1) เบื่อหน่าย
(2) ตื่นเต้น
(3) กลัว
(4) ยอมรับ
(5) หดหู่
ตอบ 3 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข

71. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์
(1) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ (Power Motive)
(2) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)
(3) แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive)
(4) แรงจูงใจทางสรีรวิทยา (Physiological Motive)
(5) แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive)
ตอบ 1 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (เพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. แรงจูงใจทางชีวภาพ/สรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ
2. แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ
3. แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)

72. ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดอารมณ์ของเจมส์-แลง (James-Lang Theory)
(1) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นหลังจากมีปฏิกิริยาโต้ตอบทางร่างกาย
(2) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นจากการแปลความหมายของสิ่งเร้า
(3) อธิบายว่าอารมณ์เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นจากประสาทสัมผัสที่ส่งต่อไปยังสมองส่วนธาลามัส
(4) เชื่อว่าอารมณ์และปฏิกิริยาโต้ตอบทางร่างกายเกิดขึ้นพร้อมกัน
(5) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นก่อน จากนั้นจึงมีปฏิกิริยาโต้ตอบทางร่างกายตามมา
ตอบ 1 หน้า 265, 269 ทฤษฎีของเจมส์-แลง (James-Lang Theory) อธิบายว่า ร่างกายของคนเรา จะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าเป็นอันดับแรกก่อน แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา ทั้งนี้ ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยหลังจาก ที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรมแล้วจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และ เหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

73. หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “กลัว” ตามแนวคิดของพลูทซิค
(1) การรักษาการสูญเสีย
(2) การปกป้อง
(3) การปฏิเสธ
(4) การทําลาย
(5) การปรับตัว
ตอบ 2 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik)
ได้แก่
กลัว – การปกป้อง,
โกรธ – การทําลาย,
รื่นเริง – ความร่วมมือ,
รังเกียจ – การปฏิเสธ,
ยอมรับ – การแพร่พันธุ์,
เศร้า – การรักษาการสูญเสีย,
ประหลาดใจ – การปรับตัว
คาดหวัง (อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา

74.Halo Effect อาจเกิดขึ้นจากการประเมินบุคลิกภาพโดยวิธีใด
(1) การกําหนดสถานการณ์
(2) การสังเกตโดยตรง
(3) การสัมภาษณ์
(4) การฉายภาพจิต
(5) การทดสอบ
ตอบ 3 หน้า 305 การสัมภาษณ์ เป็นการใช้คําถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ โดยผู้สัมภาษณ์สามารถ เห็นหน้าและสังเกตกิริยาท่าทางทั้งภาษากายและภาษาพูดของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้สัมภาษณ์จะต้องระมัดระวังในเรื่องอคติและ Halo Effect คือ แนวโน้มที่จะประเมินผู้อื่น สูงหรือต่ํากว่าความเป็นจริง

75.การพัฒนาแบบทดสอบ หากต้องการให้มีคุณสมบัติที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ แบบทดสอบนั้นต้องมีคุณสมบัติใด
(1) ความเป็นมาตรฐาน
(2) ความเป็นอัตนัย
(3) ความเป็นปรนัย
(4) ความเชื่อถือได้
(5) ความเที่ยงตรง
ตอบ 5 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

76. หากทดสอบความสามารถทางสติปัญญาแล้วได้คะแนนอยู่ในช่วง 81 – 90 ถือว่าสติปัญญาอยู่ในระดับใด (1) ปัญญาทึบ
(2) คาบเส้น
(3) เกณฑ์ปกติ
(4) ค่อนข้างฉลาด
(5) อัจฉริยะ
ตอบ 1 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ I.Q. 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ, 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.Q. 140 ขึ้นไป

77. การใช้อัตมโนทัศน์ (Self-concept) เพื่ออธิบายถึงบุคลิกภาพเป็นแนวคิดของใคร
(1) คาร์ล โรเจอร์ส
(2) อับราฮัม มาสโลว์
(3) อัลเฟรด แอดเลอร์
(4) ซิกมันด์ ฟรอยด์
(5) เอ็ดวาร์ด ธอร์นไดค์
ตอบ 1 หน้า 291 – 293, 314 ทฤษฎีมนุษยนิยมจะให้ความสําคัญกับประสบการณ์เฉพาะตัวของมนุษย์ โดยเฉพาะแนวคิดของคาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers) ที่กล่าวว่า อัตตา (Self) เป็นโครงสร้าง บุคลิกภาพของมนุษย์ โดยอัตตาพัฒนามาจากประสบการณ์รับรู้ของบุคคล จนก่อกําเนิดเป็น ภาพลักษณ์หรืออัตมโนทัศน์ (Self-concept) ของมนุษย์ขึ้น ซึ่งการกระทําทุกอย่างของมนุษย์ มักเกิดจากการทําพฤติกรรมที่ตรงกับอัตมโนทัศน์ของตนเอง เช่น ถ้าเรามีอัตมโนทัศน์ว่าเราเป็น คนมีเมตตาต่อผู้อื่น เราจะมีพฤติกรรมที่ตรงกับอัตมโนทัศน์คือความเมตตาของเราอยู่เสมอ ๆ

78. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสติปัญญาได้ถูกต้องที่สุด
(1) ความสามารถในการอดทนเพื่อให้ตนเองประสบความสําเร็จ
(2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทั้งรูปธรรมและนามธรรม
(3) ความสามารถในการรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
(4) ความสามารถในการรับรู้เรื่องราวตามความเป็นจริง
(5) ความสามารถในการคิดและแยกแยะความถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 319 สติปัญญา (Intelligence) เป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิด กระทํา หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

79. ข้อใดเป็นการฉายภาพจิต
(1) การทําแบบทดสอบ MMPI
(2) การให้ตอบคําถามจากภาพหยดหมึก
(3) การสนทนาที่มีโครงสร้าง
(4) การสังเกตพฤติกรรมจากวิดีโอ
(5) การถูกสังเกตแบบรู้ตัว
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอร์ซาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบ ดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขา บรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

80. ลักษณะทางอารมณ์ซึ่งนักจิตวิทยาได้จําแนกไว้ได้แก่อะไร
(1) อารมณ์ทางบวก เฉย ๆ และทางลบ
(2) อารมณ์ที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจ
(3) อารมณ์รักและโกรธ
(4) อารมณ์สงบและรุนแรง
(5) อารมณ์ที่เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 หน้า 260 อารมณ์ อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. อารมณ์ที่ทําให้เกิดความพึงพอใจ (Pleasantness) มีความสุข ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์ทางบวก ได้แก่ รื่นเริง ชื่นชม รัก ยอมรับ ฯลฯ
2. อารมณ์ที่ทําให้เกิดความไม่พึงพอใจ (Unpleasantness) มีความทุกข์ ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์ทางลบ ได้แก่ กลัว โศกเศร้า เกลียด เดือดดาล ดูถูก ขยะแขยง ฯลฯ

81.การแสดงออกทางร่างกายแบบใดเป็นการแสดงออกที่เป็นสากล
(1) การแสดงท่าทาง
(2) การแสดงสีหน้า
(3) การใช้นิ้วมือ
(4) การใช้น้ำเสียง
(5) การแสดงออกทางภาษาพูด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

82. ข้อใดคือสูตรในการคํานวณความสามารถทางสติปัญญา
(1) 100 / (CA + MA)
(2) (CA / 100) + MA
(3) (MA / 100) + CA
(4) (CA / MA) × 100
(5) (MA / CA) × 100
ตอบ 5
หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนทางสติปัญญาที่ เรียกว่า I.Q. (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A.) ที่ได้จากการทําแบบทดสอบ/แบบประเมิน และอายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100

83. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแนวทางการควบคุมอารมณ์ในการดําเนินชีวิตประจําวัน
(1) จะต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเอง
(2) เน้นการอยู่กับปัจจุบัน เลิกกังวลกับสิ่งที่ผ่านมาแล้ว
(3) มีปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ ขจัดความขัดแย้งทันทีทันใด
(4) จัดการให้อารมณ์อยู่ในรูปของการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาใหญ่หรือปมด้อย (5) พยายามหลีกหนีจากความวิตกกังวล หลีกเลี่ยงการเผชิญสถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอารมณ์ไม่เหมาะสม
ตอบ 5หน้า 276 มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนี้
1. พยายามเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และหาสาเหตุ ของอารมณ์นั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป
2. ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น และจําเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเอง
3. กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาใหญ่หรือเกิดเป็นปมด้อย
4. เลิกกังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว เน้นการอยู่กับปัจจุบันด้วยความเชื่อมั่น
5. ใช้ปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ ขจัดความขัดแย้งทันทีทันใด

84. แบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญาใดที่ประเมินได้โดยไม่ต้องใช้ภาษา
(1) Wechsler Intelligence Scale for Children (WISC)
(2) Vocational Choice Test
(3) Wechsler Adult Intelligence Scale (WAIS)
(4) Stanford-Biner Test
(5) Coloured Progressive Matrices

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตรซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็น แบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งมี 3 ฉบับ คือ Standard Progressive Matrices (ใช้กับผู้ใหญ่), Coloured Progressive Matrices (ใช้กับเด็ก) และ Advanced Progressive Matrices (ใช้สําหรับผู้ใหญ่ที่ฉลาด)

85. นายมีความสามารถพื้นฐานเหมือนเพื่อนคนอื่น และก็มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี การอธิบายนี้เป็นไปตามทฤษฎีสติปัญญาใด
(1) ทฤษฎีตัวประกอบพิเศษ
(2) ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย
(3) ทฤษฎีตัวประกอบหลัก
(4) ทฤษฎีตัวประกอบมหภาค
(5) ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย
ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

86. บุคคลใดมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า S-factor
(1) บอลชอบร้องเพลง เมื่อมีงานเลี้ยงเขาจะขอขึ้นร้องเพลงทุกครั้ง
(2) บรีสทํางานด้วยความรับผิดชอบจนเจ้านายเลื่อนตําแหน่งงานให้
(3) บอยวาดรูปได้สวยงามอย่างมืออาชีพ ทั้งที่เขาไม่เคยเรียนวาดรูปที่ใดมาก่อน
(4) ปีไปจ่ายตลาดซื้อของได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข
(5) เบลสามารถแก้ปัญหาที่เข้ามารบกวนจิตใจได้เป็นอย่างดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

87. “พฤติกรรมถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม” เป็นแนวคิดของนักทฤษฎีในกลุ่มใด
(1) เกสตัลท์
(2) มนุษยนิยม
(3) การเรียนรู้ทางสังคม
(4) จิตวิเคราะห์
(5) ประเภทและโครงสร้าง
ตอบ 3 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ส่วนธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะปรากฏขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหมดไปหรือหายไป

88. Ego ทํางานอยู่บนหลักการใด
(1) หลักความจริง
(2) หลักของตัวตน
(3) หลักของพฤติกรรมนิยม
(4) หลักการชดเชย
(5) หลักความพึงพอใจ
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กล่าวว่า โครงสร้าง ของบุคลิกภาพเกิดจากการทํางานร่วมกันระหว่าง อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ โดยอิด (Id) เป็น โครงสร้างจิตใจส่วนที่เป็นการตอบสนองความต้องการทางร่างกายโดยยึดหลักของความพึงพอใจ อีโก้ (Ego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีหรือบาปบุญคุณโทษ โดยยึดหลักของศีลธรรมหรือมโนธรรม

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตรซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็น แบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งมี 3 ฉบับ คือ Standard Progressive Matrices (ใช้กับผู้ใหญ่), Coloured Progressive Matrices (ใช้กับเด็ก) และ Advanced Progressive Matrices (ใช้สําหรับผู้ใหญ่ที่ฉลาด)

85. นายมีความสามารถพื้นฐานเหมือนเพื่อนคนอื่น และก็มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี การอธิบายนี้เป็นไปตามทฤษฎีสติปัญญาใด
(1) ทฤษฎีตัวประกอบพิเศษ
(2) ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย
(3) ทฤษฎีตัวประกอบหลัก
(4) ทฤษฎีตัวประกอบมหภาค
(5) ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย
ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

86. บุคคลใดมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า S-factor
(1) บอลชอบร้องเพลง เมื่อมีงานเลี้ยงเขาจะขอขึ้นร้องเพลงทุกครั้ง
(2) บรีสทํางานด้วยความรับผิดชอบจนเจ้านายเลื่อนตําแหน่งงานให้
(3) บอยวาดรูปได้สวยงามอย่างมืออาชีพ ทั้งที่เขาไม่เคยเรียนวาดรูปที่ใดมาก่อน
(4) ปีไปจ่ายตลาดซื้อของได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข
(5) เบลสามารถแก้ปัญหาที่เข้ามารบกวนจิตใจได้เป็นอย่างดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

87. “พฤติกรรมถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม” เป็นแนวคิดของนักทฤษฎีในกลุ่มใด
(1) เกสตัลท์
(2) มนุษยนิยม
(3) การเรียนรู้ทางสังคม
(4) จิตวิเคราะห์
(5) ประเภทและโครงสร้าง
ตอบ 3 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ส่วนธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะปรากฏขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหมดไปหรือหายไป

88. Ego ทํางานอยู่บนหลักการใด
(1) หลักความจริง
(2) หลักของตัวตน
(3) หลักของพฤติกรรมนิยม
(4) หลักการชดเชย
(5) หลักความพึงพอใจ
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กล่าวว่า โครงสร้าง ของบุคลิกภาพเกิดจากการทํางานร่วมกันระหว่าง อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ โดยอิด (Id) เป็น โครงสร้างจิตใจส่วนที่เป็นการตอบสนองความต้องการทางร่างกายโดยยึดหลักของความพึงพอใจ อีโก้ (Ego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีหรือบาปบุญคุณโทษ โดยยึดหลักของศีลธรรมหรือมโนธรรม

89. อายุสมองคือตัวเลขที่ได้จากข้อใด
(1) การใช้จินตนาการ
(2) การทําแบบประเมิน
(3) ขนาดของสมอง
(4) อายุตามปีปฏิทิน
(5) ระดับของชั้นเรียน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

90. อัตราส่วนทางสติปัญญาหรือความสามารถทางสติปัญญา ใช้คําภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) Emotional Quotient
(2) Adversity Quotient
(3) Moral Quotient
(4) Utopia Quotient
(5) Intelligence Quotient
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

91. โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมเป็นคํานิยามของข้อใด
(1) แรงขับ
(2) การแก้ไขปัญหา
(3) อัตลักษณ์
(4) บุคลิกภาพ

(5) วิธีการปรับตัว
ตอบ 4 หน้า 284 อัลพอร์ท (Altport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระ ของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคล ต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันออกไปด้วย

92. การสร้างแบบทดสอบทางสติปัญญาขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
(1) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง
(2) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางร่างกาย
(3) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางจิตใจ
(4) เพื่อให้ง่ายต่อการประเมิน
(5) เพื่อให้เกิดความทันสมัยทางวิชาการ
ตอบ 1 หน้า 324 บิเนต์ (Binet) และไซมอน (Simon) ได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดสติปัญญา รายบุคคลขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905 เพื่อแยกเด็กที่มีปัญหาในการเรียนช้าหรือเด็ก ที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ เพื่อจัดโปรแกรมพิเศษให้เด็กที่มีปัญหากลุ่มนี้

93. พฤติกรรมใดทําแล้วได้ผลดี พฤติกรรมนั้นจะปรากฏอีก ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหายไปถือเป็นกฎตามข้อใด
(1) กฎแห่งการเสริมแรง
(2) กฎแห่งการกระทํา
(3) กฎแห่งการวางเงื่อนไข
(4) กฎแห่งพฤติกรรม
(5) กฎแห่งผล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

94. ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) ช่วงที่ร่างกายมีพละกําลัง มหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ขั้นระยะตื่นตัว
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นระยะถดถอย
ตอบ 2 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด พบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2. สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น
3. ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้

95. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวเกิดจากการเรียนรู้ เช่น พฤติกรรมที่ทําแล้วได้ผลดี ก็ย่อมมีการทําซ้ํา
(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist)
(3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)
(4) กลุ่มสติปัญญา (Intellectualist)
(5) กลุ่มทฤษฎีเพื่อความอยู่รอด (Existentialist)
ตอบ 2 หน้า 344 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เชื่อในเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นสิ่งเรียนรู้ ดังนั้นคนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดีเขาก็จะสามารถมีพฤติกรรมที่โต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วได้ผลดี ก็มักจะทําพฤติกรรมนั้นซ้ําแล้วซ้ำอีก

96. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการใช้กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism)
(1) ไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาวุ่นวายกับตนเอง
(2) ให้เหตุผลกับพฤติกรรมที่แสดงออก
(3) เพิ่มความพึงพอใจส่วนตัว
(4) ลดความตึงเครียดทางอารมณ์
(5) ไม่ให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ
ตอบ 4 หน้า 357 จุดมุ่งหมายของการใช้กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) คือ การลด ความตึงเครียดทางอารมณ์ ทั้งนี้เมื่อบุคคลอยู่ในสภาวะของความคับข้องใจ/การขัดแย้งใจนั้นสภาพอารมณ์ที่มักจะมาคู่กับสภาวะดังกล่าวมักจะเป็นอารมณ์หงุดหงิด โกรธ วิตกกังวล ซึ่ง ความรู้สึกเช่นนี้มักจะสร้างความอึดอัด ไม่สบาย ไม่สมดุลกับจิตใจ ทําให้บุคคลมักจะใช้วิธีการ ปรับตัวโดยสร้างกลไกป้องกันทางจิตขึ้นมาเพื่อลดสภาพความตึงเครียดทางอารมณ์นั้นเสีย

97. การจะปรับตัวดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับอะไร
(1) สิ่งแวดล้อม
(2) การเลี้ยงดู
(3) ค่านิยม
(4) โรงเรียน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 346 การปรับตัวนั้นไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวที่ดีหรือไม่ จะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปร ที่สําคัญ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ ค่านิยม โรงเรียน และการเลี้ยงดูของพ่อแม่

98. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) ความก้าวร้าวเป็นผลจากความคับข้องใจ
(2) การฝันกลางวันเป็นการปรับตัวประเภทหนึ่ง
(3) ความคับข้องใจจะมากหรือน้อยไม่ขึ้นอยู่กับแรงขับ
(4) หากมีความคับข้องใจบ่อย จะยิ่งมีการตอบสนองที่รุนแรง
(5) การใช้สิ่งมึนเมาหรือยาเสพติดเป็นวิธีการปรับตัวประเภทหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 355 ความก้าวร้าวเป็นผลมาจากความคับข้องใจ ถ้าแรงขับไปสู่เป้าหมายมีความรุนแรง มากเท่าใด ความคับข้องใจก็จะเพิ่มอย่างรุนแรงตามไปด้วย และถ้าเราถูกกระตุ้นให้คับข้องใจ บ่อยครั้งเท่าใดก็จะยิ่งมีการตอบโต้ที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

99. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด
(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นได้
(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้
(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น
(4) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น
(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้
ตอบ 1 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และ ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สถานการณ์ที่อาจเกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การคล้อยตาม
(2) การล้างสมอง
(3) การอภิปรายกลุ่ม
(4) สถานการณ์การเสนอแนะ
(5) สถานการณ์การโต้เถียง
ตอบ 5 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

101. ข้อใดไม่ใช่ระยะห่างระหว่างบุคคล
(1) ระยะครอบครัว
(2) ระยะสนิทสนม
(3) ระยะส่วนตัว
(4) ระยะสังคม
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 1หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

102. ครูให้คะแนนนักเรียน เป็นการใช้อํานาจใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 1 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ
1. อํานาจในการให้รางวัล เช่น ครูมีอํานาจในการให้รางวัลนักเรียนด้วยการให้คะแนน
2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม
3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม
4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ
5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ

103. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการคิดก่อนที่บุคคลจะทําการช่วยเหลือผู้อื่น
(1) ต้องสังเกตเห็นบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ
(2) เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
(3) เป็นสิ่งที่ตนต้องรับผิดชอบ
(4) รู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม
(5) ได้รับการตอบแทนเมื่อช่วยเหลือ
ตอบ 5 หน้า 395 ลาตาเน่และดาร์เลย์ กล่าวว่า ก่อนที่บุคคลจะลงมือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นนั้น
ต้องผ่านกระบวนการคิด 4 ขั้นตอน คือ ต้องการความช่วยเหลือ
1. ต้องสังเกตเห็นบุคคลหรือเหตุการณ์ที่
2. ต้องแปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3. ต้องคิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ
4. ต้องรู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม

104. การเกลี้ยกล่อมให้บุคคลเปลี่ยนเจตคติได้นั้นต้องคํานึงถึงสิ่งใด
(1) ช่องทางการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร
(3) ข่าวสาร
(4) ผู้รับสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 390, (คําบรรยาย) การเกลี้ยกล่อมชักจูง (Persuasion) เป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติ โดยการให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องพิจารณาหรือคํานึงถึงคุณสมบัติของผู้ส่งสาร (Communicator), ข่าวสาร (Message), ผู้รับสาร (Audience) และช่องทางการสื่อสาร (Channel)

105. หาก น.ส.แดง เสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า น.ส.แดง จะสามารถเปลี่ยนเจตคติของลูกค้าได้หรือไม่
(1) เปลี่ยนได้ เพราะเจตคติขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล
(2) เปลี่ยนได้ เพราะเจตคติสามารถถูกชักจูงได้ เช่น ผู้ส่งสารมีคุณสมบัติที่น่าเชื่อถือ
(3) เปลี่ยนไม่ได้ เพราะเจตคติเป็นประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลต้องเผชิญด้วยตนเอง
(4) เปลี่ยนไม่ได้ เพราะเจตคติเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 390 – 391, (คําบรรยาย) จากงานวิจัยพบว่า การเปลี่ยนเจตคติจะได้ผลดี เมื่อ
1. ผู้ส่งสารเป็นผู้ที่เราชอบ เชื่อถือ ไว้ใจ เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีลักษณะคล้ายผู้รับสาร
2. ข่าวสารที่ให้เกี่ยวข้องกับความรู้สึก โดยเฉพาะความกลัวและความวิตกกังวล
3. ข่าวสารนั้นต้องไม่คลุมเครือเพื่อลดความวิตกกังวล
4. ข่าวสารต้องสรุปให้เห็นชัดเจน
5. เสนอข้อมูล 2 ด้านสําหรับผู้ที่รู้เรื่องนั้นดี
6. เสนอข่าวสารซ้ํา ๆ โดยหลักการนี้ใช้ได้ทั้งในการโฆษณาและการขายสินค้าทุกอย่าง ฯลฯ

106. เนยอยากไปเที่ยวกับเพื่อน แต่เงินเก็บไม่เหลือแล้ว ถือเป็นความขัดแย้งใจลักษณะใด
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflicts)
(4) ทั้งรักและซัง (Approach Avoidance Conflicts)
(5) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts)
ตอบ 4 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก

2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก

3.ทั้งรักและซัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากไปเที่ยวกับเพื่อน แต่เงินเก็บไม่เหลือแล้ว หรือ อยากทานขนมหวาน แต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ

4. ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

107. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยดึงดูดใจระหว่างกันในการเข้าสังคม
(1) ความคล้ายคลึงกัน
(2) ความใกล้ชิดทางกาย
(3) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
(4) ความสามารถ
(5) ความเป็นธรรมชาติของบุคคล
ตอบ 5 หน้า 380 – 381 ปัจจัยดึงดูดใจระหว่างกันในการเข้าสังคม มีดังนี้
1. ความใกล้ชิดทางกาย
2. ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
3. ความสามารถ
4. ความคล้ายคลึงกัน

108. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการที่มนุษย์ต้องการไปให้ถึงศักยภาพของตนเอง
(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
(2) กลุ่มทฤษฎีเพื่อความอยู่รอด (Existentialist)
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(4) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)
(5) กลุ่มสติปัญญา (Intellectualist)
ตอบ 4 หน้า 344 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) มีแนวคิดว่า การปรับตัวของมนุษย์พัฒนาไปตาม ศักยภาพของบุคคลที่เอื้ออํานวย ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพ จะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า “การประจักษ์ในตน ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์

109. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการทํางานร่วมกันอย่างมีสมดุลระหว่าง Id, Ego และ Superego
(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
(2) กลุ่มทฤษฎีเพื่อความอยู่รอด (Existentialist)
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(4) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)
(5) กลุ่มสติปัญญา (Intellectualist)
ตอบ 1 หน้า 343, (ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เห็นว่า คนที่ปรับตัวไม่ได้มีสาเหตุมาจากพลังอีโก้มีการพัฒนาที่อ่อนแอเกินไป ทําให้ไม่แกร่งพอ ที่จะสร้างความสมดุลระหว่างพลังอิดและซูเปอร์อีโก้ได้ ดังนั้นผู้ที่ปรับตัวดี คือ ผู้ที่มีพัฒนาการ หรือมีการทํางานร่วมกันอย่างมีสมดุลระหว่างอิด (Id), อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego)

110. แนนเลือกวิชาเรียน ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์เพราะได้เที่ยวตามที่ต่าง ๆ แต่ก็ต้องอ่านหนังสือเยอะ กับ วิชาศิลปะเพราะไม่ต้องอ่านหนังสือมาก แต่ก็ต้องวาดรูปซึ่งเธอไม่ชอบ ถือเป็นความขัดแย้งใจลักษณะใด
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflicts)
(4) ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts)
(5) ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts)
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

111. น้ำกลัวเข็มฉีดยา เมื่อเธอป่วย เธอจําใจต้องเลือกระหว่างฉีดยาแล้วกลับบ้าน กับให้น้ำเกลือแล้วต้องนอน โรงพยาบาล ถือเป็นความขัดแย้งใจลักษณะใด
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflicts)
(4) ทั้งรักและซัง (Approach-Avoidance Conflicts)
(5) ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

112. ข้อใดไม่ใช่การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์
(1) ภาพและพื้น
(2) หลักความคล้ายคลึงกัน
(3) หลักความใกล้ชิดกัน
(4) การรับรู้ภาพ 3 มิติ
(5) การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์
ตอบ 4 หน้า 74 – 76 การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) ได้แก่ ภาพและพื้น การต่อเติมให้สมบูรณ์ ความคล้ายคลึงกัน ความใกล้ชิดกัน และความต่อเนื่อง

113. การศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนอง ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม จัดเป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อใด
(1) จิตวิทยาบุคลิกภาพ
(2) สรีรจิตวิทยา
(3) การรับสัมผัส
(4) การเรียนรู้
(5) การรับรู้
ตอบ 2 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมอง และระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

114. ทฤษฎีใดเน้นว่า “อารมณ์จะเกี่ยวข้องกับการตีความหมายของสถานการณ์ที่แต่ละคนได้เผชิญ
(1) เจมส์-แลง
(2) แคนนอน-บาร์ด
(3) แชคเตอร์-ซิงเกอร์
(4) คาร์รอล-อิซาร์ด
(5) มาสโลว์ เมอร์เรย์
ตอบ 3 หน้า 267 – 269 ทฤษฎีของแซคเตอร์-ซิงเกอร์ (Schachter-Singer Theory) อธิบายว่า
อารมณ์เกิดจากการแปลความปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติทางกายและการคิดหาสาเหตุของ การตอบสนองนั้น ๆ โดยอาการตอบสนองทางกายแบบเดียวกันนั้น อารมณ์อาจแตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับการตีความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมาเร้าให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้น
การเร้าเพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย

115. คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์
(1) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
(2) อารมณ์ดี
(3) โมโหยาก
(4) อารมณ์มั่งคง
(5) เอาใจตนเป็นใหญ่
ตอบ 2 เชลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่ แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขี้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ
2. รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาใจตนเป็นใหญ่ ฯลฯ
3. รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่ มีอารมณ์มั่นคง มีน้ําใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

116. แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ตรงกับข้อใด
(1) แรงจูงใจภายใน
(2) แรงจูงใจภายนอก
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(5) แรงจูงใจที่นอกเหนือการควบคุม
ตอบ 4 หน้า 234 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive) เป็นแรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตน
และแสดงพฤติกรรมให้ตนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น อันเป็นแรงจูงใจที่สังคมสร้างเงื่อนไข กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะคนเราต้องการที่จะได้รับความรักจากผู้อื่น ต้องการการยอมรับและเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเกี่ยวข้องด้วย

117. “หน้าผามายา” เป็นการทดลองเกี่ยวกับอะไร
(1) ความเหมือน
(2) ความลึก
(3) ความสูง
(4) ความสว่าง
(5) ความคล้ายคลึงกัน
ตอบ 2 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ําต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

118. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือสิ่งใด
(1) ให้รางวัล
(2) ลงโทษ
(3) เพิกเฉย
(4) ยับยั้ง
(5) หยุด
ตอบ 1 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจ หรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบาย หมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

119. ระยะเมื่ออยู่กับเพื่อน คือระยะใด
(1) ระยะครอบครัว
(2) ระยะสนิทสนม
(3) ระยะส่วนตัว
(4) ระยะสังคม
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 101. ประกอบ

120. ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของ “กลุ่ม”
(1) คนที่เดินทางบนรถสาธารณะพร้อมกัน
(2) คนที่มารวมตัวกัน
(3) คนในห้างสรรพสินค้า
(4) คนที่อยู่รวมกันในที่สาธารณะ
(5) คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาปฏิสัมพันธ์กัน
ตอบ 5 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยกลุ่มทุกกลุ่ม จะมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างของกลุ่มและความสามัคคีในกลุ่ม

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดเป็นขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง
(1) ขาดห้องทดลองทางจิตวิทยา
(2) ขาดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
(3) เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มีราคาแพง
(4) เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม
(5) ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 5 ขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง คือ
1. เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม ทําให้มีขีดจํากัดในการปฏิบัติเชิงทดลอง
2. ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสัตว์ทดลองที่ว่าสัตว์มีความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจเช่นเดียวกับ มนุษย์ ทําให้มีขีดจํากัดในการนําสัตว์มาทําการทดลอง

2. การหาคําตอบของคําถามที่ว่า “มีรถเสียอยู่กลางถนน แต่บุคคลที่ยืนอยู่บนฟุตบาทกลับเพิกเฉยไม่ได้ให้ ความช่วยเหลือ” สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางจิตวิทยาข้อใด
(1) ศึกษา
(2) อธิบาย
(3) ทําความเข้าใจ
(4) ทํานาย
(5) ควบคุม
ตอบ 3 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ได้แก่
1. หาคําอธิบาย เช่น จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนน ฯลฯ
2. ทําความเข้าใจ เช่น การหาคําตอบของคําถามที่ว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ฯลฯ
3. ทํานาย (พยากรณ์) เช่น มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ผู้ประสบเหตุจะได้รับความช่วยเหลือ ฯลฯ
4. ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีบุคคลถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ

ข้อ 3. – 5. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) พฤติกรรมนิยม
(2) หน้าที่ของจิต
(3) จิตวิเคราะห์
(4) โครงสร้างของจิต
(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ

3.แนวคิดใดเน้นเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข
ตอบ 1 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธ เรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกตดู พฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

4. แนวคิดใดกล่าวว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็ง ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ําเป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้นแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้
ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ํา เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

5.แนวคิดใดที่สนใจศึกษาการคิด จิตสํานึก การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ตอบ 5หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิด พวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)

ข้อ 6. – 8. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การสังเกต
(2) การสํารวจ
(3) การทดลอง
(4) การทดสอบทางจิตวิทยา
(5) การศึกษาประวัติรายกรณี

6.วิธีใดที่ใช้ศึกษาประชามติเกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ
ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม ที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น

7.วิธีใดที่ใช้ศึกษาพฤติกรรมที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
ตอบ 4 หน้า 14 การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะ พฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม เช่น การศึกษาความสามารถทางสติปัญญาของเด็กที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ การวัดความถนัดและความสนใจ การตรวจลักษณะของบุคลิกภาพและอารมณ์ ฯลฯ

8.วิธีใดที่เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง โดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์ตามที่เป็นจริง แล้วบันทึกรายละเอียดไว้ ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะ เป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด

ข้อ 9. – 10. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค
(3) นักจิตวิทยาสังคม
(4) นักจิตวิทยาวิศวกรรม
(5) นักจิตวิทยาการทดลอง

9. ใครทําหน้าที่วิจัยและออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม และรถยนต์
ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาวิศวกรรม จะทําหน้าที่วิจัยประยุกต์ในด้านการออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม เครื่องบิน เครื่องยนต์ ฯลฯ เพื่อธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมและวงการทหาร

10. ใครทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา
ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาผู้บริโภค จะทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา การวิจัยตลาด เพื่อศึกษาอุปนิสัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และการสํารวจประชามติเกี่ยวกับสินค้า

11. พฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ บุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท เป็นการศึกษา
เกี่ยวกับเรื่องใด
(1) สรีรจิตวิทยา
(2) พันธุศาสตร์
(3) ประสาทวิทยา
(4) จิตวิทยา
(5) เซลล์วิทยา

ตอบ 1 หน้า 25, 27, (คําบรรยาย) สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาค้นหา ความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่สมดุล และอยู่รอดของชีวิต โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของสมอง ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท และเชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ และการคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย

12. สมองและไขสันหลังควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อชนิดใด
(1) กล้ามเนื้อลาย
(2) กล้ามเนื้อเรียบ
(3) กล้ามเนื้อหัวใจ
(4) กระเพาะอาหาร
(5) กะบังลม
ตอบ 1 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกาย เคลื่อนไหว ประกอบด้วย 1. กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ กล่าวคือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง อันได้แก่ สมองและไขสันหลัง 2. กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ 3. กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

13. ระบบประสาทส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรู้สึกร้อน-เย็น
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(4) ระบบประสาทโซมาติก
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ
ตอบ 4 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาท สมองจํานวน 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลังจํานวน 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทําให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด เป็นต้น

14. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์ประสาทนิวโรน
(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาท
(2) เป็นหน่วยการทํางานพื้นฐานของระบบประสาทที่เล็กที่สุด
(3) หากได้รับความเสียหายจะไม่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้
(4) เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีตัวเซลล์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
(5) มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์
ตอบ 3 หน้า 37 เซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทที่ ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาทมีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์ และจะหยุดเพิ่มจํานวนหลัง คลอดแล้ว ถ้าเซลล์ประสาทชํารุดจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ประสาทตายไปจะ ไม่เกิดเซลล์ประสาทใหม่อีก เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์

15. สารสื่อประสาทชนิดใดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก
(1) อะซีทิลโคลีน
(2) ซีโรโทนิน
(3) โดปามาย
(4) กาบา
(5) นอร์อีพิเนฟฟริน
ตอบ 5 หน้า 39 นอร์อิพิเนฟฟริน (Norepinephrin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ถูกสังเคราะห์โดย ปลายประสาทซิมพาเธติก มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับผลของอะซีทิลโคลีน ที่ผลิตที่ปลายประสาทพาราซิมพาเธติก

16. สมองส่วนใดควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบ
(1) ก้านสมอง
(2) ไขสันหลัง
(3) ซีรีเบลลัม
(4) ซีรีบรัม
(5) สมองส่วนกลาง
ตอบ 3 หน้า 43 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนท้าย โดยจะทําหน้าที่ควบคุม การทํางานของกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน ควบคุมการทํางานของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง ทําให้การทรงตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าซีรีเบลลัมถูกทําลายจะทําให้เสียการทรงตัว ฯลฯ

17. การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด
(1) ไฮโปธาลามัส
(2) ธาลามัส
(3) ลิมบิก
(4) ซีรีบรัม
(5) ซีรีเบลลัม
ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกาย การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

18. ฮอร์โมนชนิดใดที่กระตุ้นการให้ร่างกายเกิดการเจริญเติบโตและกระตุ้นต่อมน้ํานม
(1) คอร์ติซอล
(2) เทสเทอสโตโรน
(3) โปรเจสเตอโรน
(4) โกร๊ธฮอร์โมน
(5) อินซูลิน
ตอบ 4 หน้า 45 โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการ
เจริญเติบโตของร่างกายและกระตุ้นต่อมนํ้านม

19. ฮอร์โมนคอร์ติซอล มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด
(1) ต่อมแพนเครียส
(2) ต่อมใต้สมอง
(3) ต่อมหมวกไต
(4) ต่อมไทรอยด์
(5) ต่อมไทมัส
ตอบ 3 หน้า 48 ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) จะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนสําคัญ 4 ชนิด ได้แก่ อัลโดสเตอโรน (Aldosterone), คอร์ติซอล (Cortisol), แอดรีนาลิน (Adrenalin) และนอร์แอดรีนาลิน (Nor-drenalin)

20.การแปลความหมายจากสิ่งที่มากระทบอวัยวะร่างกายเรียกว่าอะไร
(1) การสัมผัส
(2) การจําได้
(3) การเรียนรู้
(4) การรับรู้
(5) ประสบการณ์
ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ในอดีต การเรียนรู้ และสภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ

21. โคนส์เป็นเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ใด
(1) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน
(2) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
(3) เป็นเซลล์รับแสงจ้ามาก
(4) เป็นเซลล์รับแสงสลัว ๆ
(5) เป็นเซลล์รับแสงสีเข้ม
ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสง ในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

22. หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงคือข้อใด
(1) กิโลเมตร
(2) เดซิเบล
(3) แอพิจูด
(4) เมกกะ
(5) เฮิรตซ์
ตอบ 2 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ

23. ทฤษฎีคุมด่านเชื่อว่าอวัยวะใดเป็นที่รวมประสาททั้งหมดที่ส่งไปยังสมอง
(1) หัวใจ
(2) กะโหลก
(3) ไขสันหลัง
(4) ท้ายทอย
(5) กระเพาะอาหาร
ตอบ 3 หน้า 67 ทฤษฎีคุมด่าน (Gate Control Theory) เป็นทฤษฎีการเจ็บปวดที่เชื่อว่า ไขสันหลัง เป็นที่รวมของประสาทใหญ่น้อยที่จะส่งไปยังสมองและที่มาจากกล้ามเนื้อและผิวหนังอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากบุคคลมีอาการกลัวความเจ็บปวดในสมอง จะทําให้เกิดกระแสประสาท ไปเร้าด่านที่ไขสันหลังทําให้ท่านเปิดและส่งกระแสที่เจ็บปวดไปยังสมองได้

24. หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย จะเกิดอะไรขึ้น
(1) ไม่รับรู้อุณหภูมิจากภายนอก
(2) การทรงตัวทําได้ลําบาก
(3) ไม่สามารถระงับความเจ็บปวดได้
(4) มีอาการเวียนหัวตลอดเวลา
(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลอดเวลา
ตอบ 2 หน้า 67 – 68 สัมผัสคีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) จะทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัส เกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย การทรงตัวจะทําได้ลําบาก

25. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร
(1) เขาวงกต
(2) กล่องอาหาร
(3) หน้าผามายา
(4) บ่อน้ําจําลอง
(5) ภูเขาจําลอง
ตอบ 3 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ําต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

26. หากว่าเราชูหนังสือให้เพื่อนดู เพื่อนเราเห็นแค่สันหนังสือเท่านั้น แต่ก็บอกได้ว่าเป็นหนังสือ
(1) การคงที่ของสี
(2) การคงที่ของขนาด
(3) การคงที่ของรูปร่าง
(4) การคงที่ของรูปแบบ
(5) การคงที่ของน้ำหนัก
ตอบ 3หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) ในเรื่องการรับรู้และการเห็น มี 3 ชนิด คือ
1. การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้
2. การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้
3. การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นแค่สันหนังสือเราก็ยังรับรู้ได้ว่าเป็นหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง

27. ข้อใดคือการล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(1) Telepathy
(2) Clairvoyance
(3) Precognition
(4) Extrasensory
(5) Perception
ตอบ 3 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

28. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์
(1) ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส
(2) ภาพไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
(3) ภาพสองนัย
(4) พื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังไม่ได้รับความสนใจ
(5) ถ้าความสนใจเปลี่ยนจุดอื่นจะกลายเป็นภาพได้

ตอบ 2 หน้า 74 – 75 คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวความคิดของนักจิตวิทยาสกุล – เกสตัลท์ (Gestalt) คือ ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส ลอยออกมาจากพื้น มีรูปร่างชัดเจนและมี ขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังภาพ ไม่มีขอบเขตจํากัด ถ้าความสนใจเปลี่ยนไป จุดอื่นก็จะกลายเป็นภาพได้ (ภาพสองนัยเป็นภาพที่มองเห็นสลับกันได้ทั้งภาพและพื้น)

29. ข้อใดหมายถึงอาการของ “Jet Lag
(1) นอนไม่เพียงพอเพราะทํางานหนัก
(3) อาการกรนขณะหลับ
(2) นอนไม่หลับไม่คุ้นชินกับสถานที่
(4) แบบแผนการนอนถูกรบกวน
(5) ขณะหลับมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ
ตอบ 4 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง มักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่ เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

30. ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ
(1) ระยะที่ 1
(2) ระยะที่ 2
(3) ระยะที่ 3
(4) ระยะที่ 4
(5) ระยะที่ 5
ตอน 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลง กล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุก เล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ําเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย

31. โดยปกติมนุษย์ฝันในแต่ละคืนประมาณกี่ครั้งและมีความยาวเท่าใด
(1) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 15 นาที
(2) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(3) 3 – 4 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที
(4) 4 – 5 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(5) 6 – 7 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที
ตอบ 4หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทั่วไปคนเราจําเป็นต้องนอนหลับและฝันทุกคืน แต่ละคืน จะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

32.กาแฟ เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 2หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

33. ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิจากการทดลองของวอลเลสและเบนสัน
(1) อัตราการเผาผลาญในร่างกายมากขึ้น
(2) มีการหายใจเข้าออกช้าลง
(3) ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง
(4) การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง
(5) ปริมาณสารแลคเทคในเลือดลดลง
ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง

34. กัญชา เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

35. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ “ฝาแฝดคล้าย” (Fraternal Twins)
(1) มีโครโมโซมเหมือนกัน
(2) ฝาแฝดอาจคลอดออกมาแล้วมีเพศที่แตกต่างกัน
(3) เกิดจากสเปิร์ม (Sperm) 2 ตัว
(4) มีกระบวนการแบ่งตัวแบบเป็นอิสระออกจากกัน
(5) เกิดจากการตกไข่ (Egg) 2 ใบ
ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

36. ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY”
(1) Endomorphy
(2) Ectomorphy
(3) Turner’s Syndrome
(4) Mesomorphy
(5) Klinefelter’s Syndrome
ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และ อวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็น โรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้

37.แนวคิดของเซลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ

(1) Endomorphy
(2) Mesomorphy
(3) Exsomorphy
(4) Suprememorphy
(5) Stablemorphy
ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่ แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขี้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ
2. รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ
3. รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

38. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) จํานวนทารกภายในครรภ์
(2) การบริโภคของแม่
(3) สุขภาพจิตของแม่
(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(5) การได้รับรังสี
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

39. ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
ตอบ 1 หน้า 135 – 136 สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว มีดังนี้
1. ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
2. การอบรมเลี้ยงดูและบรรยากาศในครอบครัว
3. การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่
4. จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
5. ระดับการศึกษาของพ่อแม่ ฯลฯ

40. ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้
1. กฎระเบียบและการปกครอง
2. ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู
3. กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

41. “เด็กมีลักษณะถือตนเองเป็นศูนย์กลาง” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget
(1) Period of Formal Operation
(2) Preoperation
(3) Premoral
(4) Sensorimotor Period
(5) Period of Concrete
ตอบ 2 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1. Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น
2. Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็ก เกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้

42. พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การหายใจ
(2) การกะพริบตา
(3) การเรอ
(4) การขี่จักรยาน
(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณ อันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

43. “เด็กมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้าม” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการ ทางเพศ (Psychosexual Stages)
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นแอบแฝง

ตอบ 2 หน้า 145, 299 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เกิดกับเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลําอวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้า เกิดความขัดแย้งใจก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedipus Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)

44. จากขั้นพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)
(1) มีพลังควบคุมตนเองได้
(2) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน
(3) ได้ความรักและความผูกพัน

(4) ได้ความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ
(5) มีการทํางานที่เหมาะสมและมีความสามารถ
ตอบ 2 หน้า 147 มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคม ของ Erikson ขั้นพัฒนาการทางจิตใจ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)

45. จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) การตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS) เรียกว่า เกิดกระบวนการใด
(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า
(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า
(3) การหยุดยั้งของพฤติกรรม
(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม
ตอบ 1หน้า 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generatization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ส่วนการแยกความแตกต่าง (Discrimination) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเฉพาะที่วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้า ที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ไม่ได้รับรางวัล

46. คูปองที่ใช้แลกซื้ออาหารในศูนย์อาหาร เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจาก การเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินหรือสิ่งที่ใช้แทนเงิน (บัตรเครดิต บัตรเดบิต คูปองแลกซื้อที่ใช้แทนเงินสด) ไม่เพียงแต่ สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ อื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น

47. “คุณศรีมีอาการปวดศีรษะ จึงทานยาแก้ปวด ทําให้อาการปวดศีรษะหายไป หลังจากนั้นทุกครั้งที่คุณศรี ปวดศีรษะ คุณศรีจะทานยาแก้ปวดทุกครั้ง” อาการปวดศีรษะที่หายไป คืออะไร
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) การเสริมแรงทางลบ
(3) การลงโทษ
(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข
(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
ตอบ 2 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) จะทําให้การ ตอบสนองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นการทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวด ทุกครั้งเพื่อระงับอาการปวด การขึ้นสะพานลอยข้ามถนนทุกครั้งเพราะกลัวอุบัติเหตุ ฯลฯ

48. “เป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อชีวิต ไม่จําเป็นต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยา” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้น
เป็นคุณสมบัติของข้อใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทาง ชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต

49.“พนักงานจะได้รับเงินเดือนในวันที่ 25 ของทุกเดือน” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรงแบบใด
(1) แบบอัตราส่วนคงที่
(2) แบบต่อเนื่อง
(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
(5) แบบช่วงเวลาคงที่
ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริม เมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ

50. ข้อใดถูกต้อง
(1) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
(2) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว
(3) การลงโทษไม่ได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
(4) หากใช้การลงโทษจะต้องไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย
(5) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที หรือหลังเกิด
พฤติกรรมไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง
ตอบ 1 หน้า 181 – 182 การลงโทษจะมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยการลงโทษจะ ได้ผลดีที่สุด ถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมนั้นอยู่หรือทันทีที่พฤติกรรมนั้นสิ้นสุดลง (เวลาในการลงโทษ) และควรเกิดขึ้นทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น (ความคงที่ในการลงโทษ) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย ทั้งนี้การลงโทษจะ ทําให้เกิดผลข้างเคียง คือ เกิดการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัว กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าว และเรียนรู้ที่จะตอบสนองด้วยการหนีและหลีกเลี่ยง

51. ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn)
(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน
(2) ต้องผ่านการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง
(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)
(4) ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น
(5) ปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน
ตอบ 1 หน้า 184, (คําบรรยาย) การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn) เป็นผลของการคิด การเข้าใจที่มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องผ่านการเรียนรู้ จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น โดยปัญหาที่สร้าง
ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

52. ข้อใดคือลักษณะของความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(1) สามารถจําข้อมูลได้ 9 – 2 หน่วย
(2) ข้อมูลจะเก็บในลักษณะของเหตุการณ์
(3) มีพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่จํากัด
(4) เป็นคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด
(5) เก็บข้อมูลได้เป็นช่วงเวลานาน
ตอบ 4 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้ 1. ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ 2. ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบ ความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า 3. ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

53. ระยะเวลาคงอยู่ของการได้ยินเสียงก้องในหู (Echo)
(1) 0.5 วินาที
(2) 2 วินาที
(3) 18 วินาที
(4) 24 ชั่วโมง
(5) 48 ชั่วโมง
ตอบ 2 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บ ข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ ได้ครึ่งวินาที (0.5 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

54. ระบบความจําที่หากไม่ทบทวน จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
(1) ความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)
(4) ความจําความหมาย (Semantic Memory)
(5) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

55. การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้
(1) การระลึกได้ (Recall)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

56. บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดได้ดีที่สุด
(1) ช่วงต้นและท้าย
(2) ช่วงต้น
(3) ช่วงกลาง
(4) ช่วงท้าย
(5) ทุกช่วง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของการคิด
(1) จินตภาพ (Image)
(2) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response)
(3) ความมีเหตุผล (Reasoning)
(4) มโนทัศน์ (Concept)
(5) ภาษา (Language)
ตอบ 4 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของการคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ (Image) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response) มโนทัศน์ (Concept) และ ภาษาหรือสัญลักษณ์ (Language or Symbols)

58. การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การหาเหตุผล (Rationalization)
(2) การเลียนแบบ (Identification)
(3) การเก็บกด (Repression)
(4) การถดถอย (Regression)
(5) การทดแทน (Sublimation)
ตอบ 3 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

59. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(2) นิยามปัญหาให้กว้าง
(3) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(5) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
ตอบ 5 หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
2. นิยามปัญหาให้กว้าง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ

60. ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา
(1) การระลึกได้ (Recall)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 5 หน้า 203 การบูรณาการใหม่ (Reintegration) หมายถึง การที่ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิด ความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้ แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพการเดินทาง และความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุเทพ ฯลฯ

61. วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด สามารถรู้คําตอบได้ในทันที
(1) การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็น
(2) การแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา
(3) การแก้ปัญหาด้วยวิจารณญาณ
(4) การแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
(5) การแก้ปัญหาโดยการเลียนแบบ
ตอบ 1 หน้า 210 การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที เป็นวิธีการแก้ปัญหาของบุคคล
โดยฉับพลันทันใด และสามารถรู้คําตอบได้ในทันที

62. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)
(1) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง
(2) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง
(3) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด
(4) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
(5) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะหยุดพัก
ตอบ 4 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้น พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

63. นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์
(1) พาฟลอฟ
(2) แบนดูรา
(3) โรเจอร์ส
(4) มาสโลว์
(5) วัตสัน
ตอบ 4 หน้า 229 – 230, 234 – 235, (คําบรรยาย) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่ง ลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย และขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2. ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและ ความเป็นเจ้าของ, ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ซึ่ง เป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง)

64. แรงจูงใจมีที่มาจากองค์ประกอบใด
(1) ความต้องการ
(2) ความสมบูรณ์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ความฉลาด
(5) สติปัญญา
ตอบ 1 หน้า 227 – 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความต้องการ (Needs)
2. แรงขับ (Drive)
3. การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม
4. เป้าหมาย (Goal)

65. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล
(2) สิ่งเร้าเดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน
(3) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน
(4) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน
(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว
ตอบ 4 หน้า 229 ความต้องการของบุคคลเกิดจากสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ของบุคคล การจูงใจบุคคลต้องเร้าด้วยสิ่งเร้าที่ต่างกันตามความต้องการของบุคคลนั้น สิ่งเร้า เดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน เมื่อเวลา เปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคล และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีตอาจจูงใจได้ในปัจจุบัน

66. ข้อใดคือความต้องการขั้นสูงสุดของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
(1) ความต้องการความปลอดภัย
(2) ความต้องการทางด้านร่างกาย
(3) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ
(4) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

67. ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของเมอร์เรย์
(1) ความต้องการทางด้านร่างกาย
(2) ความต้องการความปลอดภัย
(3) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(4) ความต้องการสืบเผ่าพันธุ์
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น
ตอบ 3 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ, ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ

68. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์
(1) แรงจูงใจทางชีวภาพ
(2) แรงจูงใจทางสรีรวิทยา
(3) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ
(4) แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์
(5) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย
ตอบ 3 หน้า 239 – 243 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (แรงจูงใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น3 ชนิด คือ
1. แรงจูงใจทางชีวภาพ/ทางสรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ
2. แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ
3. แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)

69. แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) ตรงกับข้อใด
(1) ความหิว
(2) ความกระหาย
(3) ความต้องการทางเพศ
(4) ความต้องการหนีอันตราย
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. บุคคลมีความอิสระที่จะกระทําพฤติกรรม รู้ว่าตนต้องการอะไร ตรงกับทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล
(2) ทฤษฎีสัญชาตญาณ
(3) ทฤษฎีแรงขับ
(4) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ
(5) ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 245 ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล เชื่อว่า บุคคลมีอิสระที่จะกระทําพฤติกรรมใด ๆ ได้อย่าง มีเหตุผล รู้ว่าตนต้องการอะไร ปรารถนาสิ่งใด และควรจะต้องตัดสินใจออกมาในลักษณะใด

71. ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)
(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย
(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย
(4) พลังภายในร่างกาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกาย ที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย

72. การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด
(1) การลองผิดลองถูก
(2) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม
(3) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น
(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต
(5) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา
ตอบ 2 หน้า 247 – 248, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม จะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลง ไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ

73. อารมณ์ใดมีลักษณะคล้ายอารมณ์ที่เย็นชามากที่สุด
(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว
(2) อารมณ์โกรธ
(3) อารมณ์ดูถูก
(4) อารมณ์รู้สึกผิด
(5) อารมณ์หวาดกลัว
ตอบ 3 หน้า 257 – 258 คาร์รอล อิซาร์ด (Carroll Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 10 ประเภท คือ
1. Interest-Excitement (สนใจ ตื่นเต้น) เป็นอารมณ์ที่ช่วยทําให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการ ที่จะเรียนรู้และต้องใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น อยากเรียนสูง ๆ
2. Joy (รื่นเริง) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสภาวะของความเชื่อมั่น มองว่าโลกนี้ช่างน่าอยู่เหลือเกิน
3. Surprise (ประหลาดใจ) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาท
4. Distress-Anguish (เสียใจ-เจ็บปวด) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องประสบกับ ความพลัดพราก หรือเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต
5. Anger-Rage (โกรธ-เดือดดาล) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพบกับการขัดขวางหรืออุปสรรค
6. Disgust (รังเกียจ) เป็นอารมณ์อันเกิดจากการกระทบกับสัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา
7. Contempt-Scorn (ดูถูกเหยียดหยาม) เป็นอารมณ์ที่อาจเกิดผสมระหว่างอารมณ์โกรธ กับอารมณ์ขยะแขยง จัดเป็นอารมณ์ที่มีลักษณะที่เย็นชา
8. Fear-Terror (กลัว-สยองขวัญ) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตน ไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง
9. Shame Sin Shyness-Humiliation (อับอายขายหน้า) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคล ถูกลงโทษ เพราะไม่ประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
10. Guilt (รู้สึกผิด) เป็นอารมณ์ที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความวิตกกังวลและความอาย

74. อารมณ์ใดเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ความพลัดพรากหรือล้มเหลว
(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว
(2) อารมณ์โกรธ
(3) อารมณ์ดูถูก
(4) อารมณ์รู้สึกผิด
(5) อารมณ์หวาดกลัว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. อารมณ์ใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาก แพงค์เซปป์
(1) ตื่นตระหนก
(2) คาดหวัง
(3) เดือดดาล
(4) หวาดกลัว
(5) เศร้าโศก
ตอบ 5 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว

76. ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)
(1) วัดการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจได้
(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้
(3) วัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองได้
(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้
(5) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)

77. การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด
(1) 12 เดือน
(2) 18 เดือน
(3) 24 เดือน
(4) 28 เดือน
(5) 32 เดือน
ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

78. หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “กลัว” ตามแนวคิดของพลูทชิค
(1) การปฏิเสธ
(2) การปกป้อง
(3) การทําลาย
(4) การปรับตัว
(5) การรักษาการสูญเสีย
ตอบ 2 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik) ได้แก่ กลัว – การปกป้อง, โกรธ – การทําลาย, รื่นเริง – ความร่วมมือ, รังเกียจ – การปฏิเสธ, ยอมรับ – การแพร่พันธุ์, เศร้า – การรักษาการสูญเสีย, ประหลาดใจ – การปรับตัว, คาดหวัง (อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา

79. ข้อใดเป็นอารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน
(1) ว้าวุ่น
(2) เบื่อหน่าย
(3) คาดหวัง
(4) ยอมรับ
(5) ประหลาดใจ
ตอบ 5 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข

ข้อ 80 – 84. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(2) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต
(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม
(4) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง

80. สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ
1. สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย
2. สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

81. ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก
ตอบ 4 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพ ของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะเกิดขึ้นอีกและจะกระทําบ่อยขึ้น ฯลฯ

82. พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้
ตอบ 3 หน้า 291 – 293 โรเจอร์ส (Rogers) นักทฤษฎีมนุษยนิยม (Humantistic Theory) กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่อง อัตมโนทัศน์ (Self Concept) ของตัวเราเอาไว้

83. พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

84. การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้
ตอบ 5 หน้า 296 อัลพอร์ท (Altport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory) เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ

85. ตามแนวคิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ “ปมเอดิปุส” ที่เชื่อว่าเด็กชายจะรักแม่และอิจฉาพ่อ
เกิดขึ้นในขั้นใด
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นแอบแฝง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

86. วิษณุมีบุคลิกภาพที่จู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดเกินเหตุ และดันทุรัง เกิดจากการหยุดชะงักของ พัฒนาการในขั้นใด
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นแอบแฝง
ตอบ 3 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) เกิดในช่วง อายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย หากในช่วงนี้บิดามารดาที่เคร่งครัดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้นจะเกิด ความขัดแย้งใจ เป็นบุคลิกภาพที่จู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุ และบางครั้ง อาจมีพฤติกรรมประเภทดื้อรั้นและตันทุรังได้

87. แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบเล่าเรื่องจากภาพ
(1) Rorschach
(2) 16PF
(3) TAT
(4) MMPI
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. แบบทดสอบรอ ชาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบ ดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขา บรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

88. การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดที่เรียกว่า การฉายภาพจิต
(1) ใช้แบบทดสอบ MMPI
(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าภาพนั้นเหมือนอะไร
(3) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ
(4) พูดคุยในสภาพผ่อนคลาย และตั้งคําถามทางอ้อม
(5) จําลองสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง แล้วให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในเหตุการณ์นั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

89. ข้อใดเป็นสูตรของการคํานวณ I.Q.
(1) อายุสมองคุณด้วยอายุจริง
(2) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง
(3) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง คูณ 100
(4) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง
(5) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง คูณ 100
ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.Q. (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A.) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100

90. เด็กชายอ่อยมี I.Q. เท่ากับ 100 นับว่าเขามีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร
(1) ปัญญาทึบ
(2) เกณฑ์ปกติ
(3) ค่อนข้างฉลาด
(4) ฉลาดมาก
(5) อัจฉริยะ
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ, ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Bordertine) มีระดับ IQ, 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ, 140 ขึ้นไป

91. ตัวประกอบทั่วไปที่เรียกว่า G-factor ของทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยเน้นความสามารถเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) การใช้เหตุผล
(2) ความเข้าใจภาษา
(3) การคํานวณ
(4) ความไวในการรับรู้
(5) ความสามารถในการจํา

ตอบ 1 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

92. ข้อใดเป็นส่วนประกอบของสติปัญญาตามทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัยของเทอร์สโตน
(1) ความสามารถในการช่างสังเกต
(2) ความสามารถในด้านศิลปะ
(3) ความสามารถใช้มือ
(4) ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว
(5) ความสามารถในการประสานกันระหว่างมือและตา
ตอบ 4 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎี ตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถ ขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้าน เนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

93. ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบหมายถึงอะไร
(1) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน
(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด
(3) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ
(5) ทดสอบภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตอบ 1 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

94. ความเป็นปรนัยของแบบทดสอบหมายถึงอะไร
(1) มีเกณฑ์ปกติหรือค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนปกติ
(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด
(3) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน
(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ
(5) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95. แบบทดสอบสติปัญญาของ Wechster แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่อะไร
(1) ความสามารถเชิงภาษาและเชิงคํานวณ
(2) ความสามารถเชิงคํานวณและเชิงเหตุผล
(3) ความสามารถเชิงเหตุผลและเชิงภาษา
(4) ความสามารถเชิงภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา
(5) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ
ตอบ 5 หน้า 330 องค์ประกอบของแบบทดสอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechster) แบ่งข้อทดสอบออกเป็น 2 หมวด ดังนี้คือ
1. ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจ
เลขคณิต (ความสามารถเชิงคํานวณ) ความคล้ายคลึงกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์
2. ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลข การเติมรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน

96. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการทดสอบแบบประกอบการของแบบทดสอบสติปัญญาของ Wechster
(1) ความคล้ายคลึงกัน
(2) การจําช่วงตัวเลข
(3) การลําดับภาพ
(4) ความสามารถเชิงคํานวณ
(5) การทํางานประสานกันระหว่างมือและตา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97. แบบทดสอบชนิดใดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล
(1) WAIS
(2) TAT Test
(3) Stanford-Binet Test
(4) WPPSI
(5) Progressive Matrices Test
ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตรซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็น แบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล

98. ข้อใดไม่ใช่ข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา
(1) ผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ
(2) ผู้ทดสอบต้องมีความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้
(3) สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน
(4) ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือและมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
(5) แบบทดสอบสติปัญญาเป็นแบบทดสอบที่ไม่จําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบ
ตอบ 5 หน้า 331 – 332, (คําบรรยาย) ข้อควรคํานึงหรือข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา มีดังนี้
1. ผู้ทดสอบต้องมีความรู้และความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้ จะต้องเตรียมตัวและฝึกใช้เครื่องมือก่อนทําการทดสอบ หรือฝึกซ้อมใช้แบบทดสอบก่อนการใช้งานจริง
2. ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
3. สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องทําในสถานที่เงียบสงบปราศจากสิ่งรบกวน
4. การซื้อขายและการใช้แบบทดสอบต้องอยู่ในความควบคุมและมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ซื้อหรือผู้นําแบบทดสอบไปใช้ และผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ

99. ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เพศชายสามารถทําแบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาด้านใดดีกว่าเพศหญิง
(1) ด้านภาษา
(2) ด้านเสมียน
(3) ด้านการวางแผน
(4) ด้านการบัญชี
(5) ด้านการแสดง
ตอบ 2 หน้า 333 จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กชายในระดับมัธยมศึกษาสามารถทําคะแนนแบบ
ทดสอบวัดระดับสติปัญญาได้ดีกว่าเด็กหญิงในแบบทดสอบย่อยด้านประกอบการที่ต้องอาศัยความคล่องแคล่วในเชิงเสมียนและความสามารถเชิงจักรกล ส่วนเด็กหญิงจะทําคะแนนได้ดีกว่าในแบบทดสอบย่อยด้านภาษา

100. การให้เหตุผลว่า “ผู้ที่ปรับตัวได้คือผู้ที่ก้าวข้ามความกลัว และยืนหยัดกับการเผชิญความเป็นจริงของชีวิตได้” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด
(1) จิตวิเคราะห์
(2) พฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(4) มนุษยนิยม
(5) จิตวิทยาเกสตัลท์
ตอบ 3 หน้า 344 กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง โดยมนุษย์จะไม่สามารถโทษผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อมว่าทําให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้เลย ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัว และยืนหยัดอยู่กับความเชื่อและเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิตได้ จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้ดี

101. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด
(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นได้
(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้
(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น
(4) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น
(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้
ตอบ 1 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และ ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

102. “การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งสําเร็จภายในเวลาที่จํากัด” เป็นความหมายของ
(1) ความคับข้องใจ
(2) ความก้าวร้าว
(3) ความกดดัน
(4) ความขัดแย้งใจ
(5) ความคาดหวัง
ตอบ 3 หน้า 347 ความกดดัน หมายถึง การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สําเร็จภายในเวลาที่จํากัด
โดยเฉพาะในภาวะหน้าสิ่วหน้าขวานที่จะต้องทํางานภายใต้เส้นตายที่ขีดไว้

103. ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดมากที่สุด
(1) คนที่ทําอะไรค่อยเป็นค่อยไป
(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ
(3) คนที่เก็บกดไม่แสดงอารมณ์
(4) คนที่ไม่ชอบการแข่งขัน
(5) คนที่ไม่ชอบสร้างบรรทัดฐานให้กับตนเอง
ตอบ 3 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่ง กลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง เก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง มักเป็นคนเข้มงวด และชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด
2. กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป ชอบทํางานทีละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุดและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

104. อาการทางกายใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล
(1) ท้องผูก
(2) ปัญญาอ่อน
(3) สมองเสื่อม
(4) ภาวะโรคจิต
(5) ภาวะตาบอดสี
ตอบ 1 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือ โรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหารท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ

105. ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) “หากปล่อยให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง ยาวนาน ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการดําเนินชีวิต อาจส่งผลให้สุขภาพทรุดหนักหรือพังได้” เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ชั้นระยะตื่นตัว
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นระยะถดถอย
ตอบ 4 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด พบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2. สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น
3. ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้

106. ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว
(1) กลไกป้องกันทางจิตช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้
(2) กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล
(3) การใช้กลไกป้องกันทางจิตไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะของโรคประสาท
(4) การใช้กลไกป้องกันทางจิตมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้
(5) การใช้กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลยุทธ์ที่ใช้บิดเบือนหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทําให้เกิดความวิตกกังวล
ตอบ 3 หน้า 357 กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) เป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับ ความคับข้องใจของบุคคล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อบิดเบือนหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธสถานการณ์ที่ทําให้ เกิดความวิตกกังวล จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้ แม้ว่าการใช้กลไก ป้องกันทางจิตจะสามารถรักษาความสมดุลของสภาพทางจิตใจไว้ได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้ ซึ่งจะนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ในที่สุด

107. การหาแพะรับบาป น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลไกทางจิตชนิดใด
(1) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(2) การเก็บกด
(3) การเลียนแบบ
(4) การหาสิ่งทดแทน
(5) การไม่รับรู้ความจริง
ตอบ 4 หน้า 358 การหาสิ่งทดแทน (Displacement) เป็นกลไกป้องกันทางจิตเมื่อเกิดความคับข้องใจ กับบุคคลที่เป็นสาเหตุ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงออกกับผู้นั้นได้โดยตรง ก็จะหาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมา เป็นแพะรับบาป เช่น โกรธเจ้านาย กลับบ้านก็มาด่าว่าภรรยาหรือเตะหมาแทน ฯลฯ

108. “หนีเสือปะจระเข้” เป็นความขัดแย้งใจชนิดใด
(1) Approach-Approach Conflicts
(2) Avoidance-Avoidance Conflicts
(3) Approach-Avoidance Conflicts
(4) Double Approach-Avoidance Conflicts
(5) Double Approach–Approach Conflicts
ตอบ 2 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก
2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3. ทั้งรักและชัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ
4. ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

109. ความขัดแย้งใดที่ก่อให้เกิดภาวะ “เป้าหมายหนึ่งอาจลดความดึงดูดลงไปได้ หากเข้าใกล้อีกเป้าหมายหนึ่ง”
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและชัง
(4) ทั้งชอบและยังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 108, ประกอบ

110. วิธีการใดเกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ
(1) ควรรีบจัดการแก้ปัญหาที่เกิดความคับข้องใจให้เร็วที่สุด
(2) เมื่อแก้ไขความขัดแย้งแล้วต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นด้วย
(3) ต้องตระหนักว่ามีทางที่ถูกต้องเพียงทางเดียวเท่านั้นในการแก้ปัญหา
(4) การตัดสินใจอาศัยการวิเคราะห์ ไม่จําเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นก่อน
(5) ปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเองเท่านั้น ไม่ควรให้ผู้อื่นรู้ หรือไม่จําเป็นต้องสอบถามจากผู้อื่น
ตอบ 2 หน้า 364 – 365 วิธีการแก้ไขความขัดแย้งใจอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. อย่ารีบร้อนในการตัดสินใจ เมื่อมีความคับข้องใจเกิดขึ้น
2. ก่อนการตัดสินใจสิ่งใดควรลองไป “สัมผัส” กับสถานการณ์นั้นเสียก่อน
3. พยายามหาทางเลือกอื่นเท่าที่จะหาได้เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด อาจถามจากผู้รู้แหล่งต่าง ๆ
4. ถ้าการเลือกของเรายังผิดพลาดก็ต้องทําใจยอมรับ และรับผิดชอบในสิ่งที่เราได้ทําลงไป

111. ข้อใดเป็นระยะห่างระหว่างบุคคลที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะสังคม
(4) ระยะห่างไกล
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 2หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

112. “นกปรึกษาคุณแม่เรื่องการเรียน” เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลระยะใด
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะสังคม
(4) ระยะห่างไกล
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 111. ประกอบ

113. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน
(1) ความสามารถ
(2) ความใกล้ชิดทางกาย
(3) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
(4) ความมีน้ำใจ
(5) ความคล้ายคลึงกัน
ตอบ 4 หน้า 380 – 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้
1. ความใกล้ชิดทางกาย
2. ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
3. ความสามารถ
4. ความคล้ายคลึงกัน

114. “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยไม่มีการอธิบาย” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใด
ที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) การอภิปรายกลุ่ม
(3) สถานการณ์การคล้อยตาม
(4) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
(5) สารชักจูง
ตอบ 1 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

115. “คุณถูกนําเสนอนโยบายซึ่งได้ผ่านการขัดเกลาภาษามาเป็นอย่างดีเพื่อให้เพื่อน ๆ ประทับใจและเลือกเขาเป็นประธานนักเรียน” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) สถานการณ์การคล้อยตาม
(3) การอภิปรายกลุ่ม
(4) สารชักจูง
(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ

116. “เมื่อทําผิดต้องถูกลงโทษโดยการติดคุกตามความผิดของตน” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 2 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ
1. อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้
2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม
3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม
4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ
5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ

117. “คุณหมอได้รับการยอมรับนับถือจากคนไข้” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 116. ประกอบ

118. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเจตคติและอคติ
(1) ประกอบด้วย ความเชื่อ การกระทํา และอารมณ์
(2) อคติเป็นเจตคติทางลบ
(3) สื่อมวลชนไม่มีส่วนในการสร้างเจตคติ
(4) การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล
(5) สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดอคติระหว่างกลุ่ม
ตอบ 3 หน้า 389 – 393 เจตคติ มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ความเชื่อ อารมณ์ และการกระทําสื่อมวลชนทุกแขนงโดยเฉพาะโทรทัศน์มีผลหรือมีส่วนในการเกิดหรือสร้างเจตคติอย่างมาก การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล, อคติเป็นเจตคติทางลบ, สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอคติระหว่างกลุ่มขึ้น

119. “คุณป้อมรู้สึกเสียหน้าและรู้สึกโกรธจากคําพูดของคุณ คุณป้อมมีความคิดว่าถ้ามีโอกาสจะหาทางเอาคืน คุณให้ได้” ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของผู้ที่ถูกกระทําจากพฤติกรรมในข้อใด
(1) พฤติกรรมเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
(2) พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก
(3) พฤติกรรมก้าวร้าว
(4) พฤติกรรมการช่วยเหลือ
(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ตอบ 3 หน้า 397 ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักจะมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมาค่อนข้างมาก มีความรู้สึกเหยียดหยามเป็นบางครั้ง อาจรู้สึกผิดในเวลาต่อมา รู้สึกเจ็บปวด รู้สึกถูกทําร้าย จิตใจ รู้สึกเสียหน้า รู้สึกเสียศักดิ์ศรี รู้สึกโกรธ และจะหาทางแก้แค้นหรือเอาคืนถ้ามีโอกาส

120. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก
(1) ผู้ถูกกระทํามีความรู้สึกถูกทําร้าย
(2) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีพฤติกรรมปฏิเสธตนเอง
(3) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกเหยียดหยามผู้ถูกกระทํา
(4) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมา
(5) บุคคลที่สามรู้สึกว่าผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกเป็นผู้น่าศรัทธา
ตอบ 2 หน้า 397, (ดูคําอธิบายข้อ 119. ประกอบ) ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมักจะมีอารมณ์ ไม่เหมาะสม ซ่อนเร้นปิดบัง ปฏิเสธตนเอง มีการไตร่ตรอง และมีความรู้สึกเด่นกว่าเหนือกว่า

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 (PC 103) จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.จินตภาพ หมายถึงอะไร
(1) การได้รับสิ่งเร้า
(2) การคิดต่อเนื่องจากภาพ
(3) การวาดภาพตามจินตนาการ
(4) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
(5) ภาพในใจและความรู้สึกรับสัมผัสต่าง ๆ
ตอบ 5 หน้า 206. จินตภาพ (Images) หมายถึง ภาพในใจ รวมถึงความรู้สึกรับสัมผัสอื่น ๆ ด้วย เช่น เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเลก็จะเห็นสีฟ้าครามสดใส ได้กลิ่นไอเค็ม และได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ฯลฯ

2. “สุดหล่อเล่าเรื่องที่ตัวเองไปดูการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศให้เพื่อนฟังและแสดงท่าทางการเตะลูกโทษให้เพื่อนดูด้วย” ข้อความข้างต้นเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
(2) จินตภาพ
(3) มโนทัศน์
(4) ภาษา
(5) มโนทัศน์ และจินตภาพ
ตอบ 1 หน้า 206 – 207 บรูเนอร์ (Bruner) เชื่อว่า คนเราใช้การตอบสนองทางกล้ามเนื้อแทนสิ่งของ ด้วยการสร้างการกระทําภายในขึ้น เช่น ถ้าให้เพื่อนที่ไปดูการแข่งขันกีฬามาเล่าเรื่องการแข่งขัน ให้เราฟัง เราจะพบว่าเพื่อนจะเล่าเรื่องพร้อมแสดงท่าทางประกอบให้เราดูด้วย ฯลฯ

ข้อ 3 – 4 จงตอบคําถามโดยพิจรณาตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การไม่ได้ลงรหัส
(2) การเสื่อมสลาย
(3) การรบกวน
(4) การเก็บกด
(5) การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ

3. การลืมแบบติดอยู่ที่ริมฝีปาก คือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 204 การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ (Cue-Dependent Forgetting) เป็นการลืมที่ เรามักพูดว่า “ติดอยู่ที่ริมฝีปาก” ซึ่งแสดงว่าเรารู้คําตอบ แต่ดึงออกมาไม่ได้ โดยการลืมเช่นนี้ น่าจะเกิดขึ้นเพราะสิ่งชี้แนะที่เกิดในเวลาเรียนรู้ ไม่ได้เกิดในเวลาที่ต้องการดึงความจําออกมา

4.การลืมเพราะไม่ได้มีการจําตั้งแต่แรก คือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 204 การไม่ได้ลงรหัส (Encoding Failure) เป็นการลืมที่อาจเกิดขึ้นเพราะไม่ได้มีการจํา ตั้งแต่แรก เช่น การจําไม่ได้ว่าด้านหลังธนบัตรใบละ 20 เป็นรูปอะไร มีลักษณะอย่างไร ฯลฯ

5. ข้อใดกล่าวถึงแรงจูงใจ (Motive) ได้อย่างถูกต้อง
(1) แรงกระตุ้นที่ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา
(2) สภาวะที่ช่วยให้บุคคลบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
(3) การจูงใจต้องรอให้บุคคลมีความต้องการเกิดขึ้นก่อนจึงจะกําหนดสิ่งเร้าที่ชัดเจนเพื่อจูงใจได้
(4) กระบวนการที่อาศัยปัจจัยต่าง ๆ ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย
(5) สิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้บุคคลลดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ตอบ 1 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นพลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

6. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
(1) การควบคุมตนเองให้สามารถแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
(2) การควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นด้วยการเลือกใช้การจูงใจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
(3) การควบคุมให้กลุ่มสังคมมีพฤติกรรมที่เป็นไปในทิศทางหรือแนวทางที่ต้องการได้
(4) การควบคุมให้บุคคลอื่นเกิดพฤติกรรมการคล้อยตามในสิ่งที่ดีที่สังคมยึดถือปฏิบัติ
(5) การควบคุมสภาวะสมดุลในร่างกายให้บุคคลสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุข
ตอบ 5 หน้า 226 การศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจจะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. เข้าใจในพฤติกรรมของตนเองและควบคุมตนเองให้สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
และบังคับมิให้ตนเองแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
2.เข้าใจในพฤติกรรมของผู้อื่นและช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นให้คล้อยตามในสิ่งที่ดี ที่สังคมยึดถือปฏิบัติได้ด้วยการเลือกใช้การจูงใจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันได้
3. เข้าใจในพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลและจูงใจหรือควบคุมให้กลุ่มบุคคลมีพฤติกรรมที่เป็นไป
ในทิศทางหรือแนวทางที่ต้องการได้

7. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับอารมณ์
(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนรวม
(2) อารมณ์มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
(3) บุคคลจะเกิดอารมณ์ก่อนที่จะแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
(4) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่ไม่แตกต่างไปจากการกระทําปกติ
(5) อารมณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่สามารถหยุดยั้งได้
ตอบ 2 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป
3. บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์
4. อารมณ์มีความสัมพันธ์หรือจะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

8. ความปรารถนาของบุคคลที่ทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์ ตรงกับแรงจูงใจในลักษณะ
(1) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ
(2) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจใฝ่ตนเอง
(5) แรงจูงใจพื้นฐาน
ตอบ 3 หน้า 233 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) เป็นความปรารถนาของบุคคลที่ จะทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์ ประสบความสําเร็จ และเมื่อบุคคล ได้รับความสําเร็จและได้รางวัลจากสังคม บุคคลก็จะมีแรงจูงใจนี้ติดตัวไปตลอดได้

9.คําว่า Self-esteem Needs ตรงกับลําดับขั้นความต้องการใดของมาสโลว์ (Maslow)
(1) ขั้นความต้องการทางสรีระ
(2) ขั้นความต้องการได้รับการยกย่องจากบุคคลรอบข้าง
(3) ขั้นความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ
(4) ขั้นความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง
(5) ขั้นความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดในตน
ตอบ 2 หน้า 230, 234 – 235 ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกายหรือทางด้านสรีระ (Physiological Needs)
2. ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs)
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs)
4. ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่นหรือบุคคลรอบข้าง (Self-esteem Needs),
5. ความต้องการประจักษ์ตน (Self-actualization Needs)

10. การจูงใจในชีวิตประจําวันของบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ในข้อใด
(1)การเรียนรู้แบบการกระทํา
(2) การเรียนรู้โดยการลงโทษ
(3) การเรียนรู้โดยการสังเกต

(4)การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ
(5) การเรียนรู้ด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น
ตอบ 4 หน้า 247 แรงจูงใจจากการเรียนรู้ในชีวิตประจําวันจะเกิดกับบุคคลที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เท่านั้น (ไม่เกิดกับทุกคนเหมือนแรงจูงใจพื้นฐาน) อาจเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น อบรมสั่งสอน/กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ
1. การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (โดยมีสิ่งล่อและสิ่งเสริมแรงเป็นตัวแปรให้บุคคลมีแรงจูงใจ)
2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ (เลียนแบบจากคนรอบข้างโดยไม่ต้องมีการให้สิ่งเสริมแรงก็ได้)

11. ข้อใดเรียงลําดับกระบวนการเกิดแรงจูงใจได้ถูกต้อง
(1) แรงขับ – ความต้องการ – สิ่งเร้า – เป้าหมาย
(2) สิ่งเร้า — ความต้องการ — แรงขับ – เป้าหมาย
(3) ความต้องการ – สิ่งเร้า – แรงขับ – เป้าหมาย
(4) สิ่งเร้าและประสบการณ์ – แรงขับ – แรงขับ – ความต้องการ – เป้าหมาย
(5) สิ่งเร้าและประสบการณ์ – ความต้องการ – แรงขับ – เป้าหมาย
ตอบ 5 หน้า 227 – 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ สามารถเรียงลําดับขั้นตอนได้ดังนี้คือ
1. Input ได้แก่ สิ่งเร้า (Stimuli), การเรียนรู้และประสบการณ์
2. Process ได้แก่ ความต้องการ (Needs), แรงขับ (Drive), การตอบสนอง (Response)
3. Output ได้แก่ เป้าหมาย (Goal)

12. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้าภายในร่างกายเป็นสิ่งเร้าที่ไม่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของคนเรา
(2) สิ่งเร้าภายนอกร่างกายควรควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชีวิตของคนเรา
(3) สิ่งเร้าภายนอกมีคุณประโยชน์มากกว่าสิ่งเร้าภายในร่างกาย
(4) สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนเราเกิดความต้องการชนิดเดียวกันได้
(5) สิ่งเร้าที่มีราคาแพงย่อมเป็นสิ่งเร้าที่มีคุณค่ากับทุก ๆ คน
ตอบ 4 หน้า 229 อาจจะกล่าวได้ว่า สิ่งเร้าเดียวกันอาจจะทําให้คนเรามีความต้องการที่แตกต่างกัน
สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนเรามีความต้องการชนิดเดียวกันหรือเหมือนกันได้, สิ่งเร้าเดิม ที่เคยจูงใจบุคคลอาจจะจูงใจไม่ได้อีกเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีต
อาจจะจูงใจได้ในปัจจุบัน

13. ข้อใดคือคุณค่าของอารมณ์ต่อชีวิตของมนุษย์
(1) ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี
(2) เป็นสัญญาณเตือนภัยเพื่อเอาตัวรอด
(3) เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะของสุขภาพ
(4) เป็นแรงผลักดันให้มีความกระตือรือร้น
(5) เป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางสติปัญญา
ตอบ 4หน้า 276 อารมณ์และการแสดงออกมีทั้งผลดีและผลเสียต่อบุคคล โดยผลดีของอารมณ์ก็คือ ช่วยให้บุคคลมีความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ถ้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ทําให้การดําเนินชีวิต ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมเป็นไปด้วยดี

14. แรงจูงใจของมนุษย์จําแนกตามสิ่งเร้าสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใดบ้าง
(1) แรงจูงใจในการดํารงชีวิต แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(2) แรงจูงใจพื้นฐาน แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายใน
(3) แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจในการดํารงชีวิต แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายใน
(5) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ แรงจูงใจพื้นฐาน แรงจูงใจภายนอก
ตอบ 2 หน้า 233 – 234 แรงจูงใจของมนุษย์แบ่งประเภทตามสิ่งเร้าออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. แรงจูงใจพื้นฐาน (Primary Motive)
2. แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive)
3. แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motive) ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

15. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแรงจูงใจ
(1) สิ่งเร้าเดียวกันทําให้บุคคลมีความต้องการแตกต่างกัน
(2) เมื่อมีแรงจูงใจเกิดขึ้นทุกคนจะมีการตอบสนองที่เหมือนกัน
(3) สิ่งที่มาเร้าต่างกันจะทําให้บุคคลมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน
(4) สิ่งที่เคยจูงใจได้ในอดีต แต่เวลาผ่านไปอาจจะไม่สามารถจูงใจได้
(5) เมื่อบุคคลบรรลุเป้าหมายตามที่ตนต้องการจะทําให้แรงจูงใจในสิ่งนั้นลดลง
ตอบ 2 หน้า 225 – 226, (คําบรรยาย) แรงจูงใจ หมายถึง กระบวนการนําปัจจัยต่าง ๆ (สิ่งเร้าหรือ สถานการณ์) มากระตุ้นเร้าจูงใจ/ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างมีทิศทางเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ โดยสิ่งเร้าเดียวกันหรือต่างกันจะทําให้บุคคลมีความต้องการหรือ มีการตอบสนองที่แตกต่างกัน เมื่อมีแรงจูงใจเกิดขึ้นแต่ละคนจะมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน สิ่งที่เคยจูงใจได้ในอดีตแต่เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจไม่สามารถจูงใจได้ และเมื่อบุคคลบรรลุเป้าหมาย ตามที่ตนต้องการแล้วก็จะทําให้แรงจูงใจในสิ่งนั้นลดลง

16. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive)
(1) อยากรู้อยากเห็น
(2) ต้องการค้นคว้า
(3) ต้องการแข่งขันกับผู้อื่น
(4) ต้องการรางวัล
(5) ต้องการพัฒนาชีวิต
ตอบ 4 หน้า 233 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ซึ่งจะ เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าจากภายนอกมาล่อ จึงเป็นแรงจูงใจที่มีมาตั้งแต่เกิด แต่ไม่ค่อยมี ความจําเป็นหรือสําคัญเท่ากับแรงจูงใจพื้นฐาน เพราะเป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้บุคคลเกิดกิจกรรม ต่าง ๆ ในสังคม เช่น ความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการค้นคว้า ความกระตือรือร้น ต้องการ แข่งขันกับผู้อื่น ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น และแรงบันดาลใจ เป็นต้น

17. ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) มนุษย์อยู่ได้โดยปราศจากอารมณ์
(2) อารมณ์ซับซ้อนทําให้เข้าใจคนยาก
(3) อารมณ์เป็นสิ่งที่สังเกตได้โดยตรง
(4) อารมณ์เศร้าทําให้คนสร้างผลงานดีขึ้น
(5) ความรักทําให้คนตาบอด
ตอบ 2 หน้า 255 – 256, 259 – 260 อารมณ์เป็นสิ่งที่มีความสําคัญต่อชีวิตมนุษย์ โดยคนเราไม่สามารถ อยู่ได้โดยปราศจากอารมณ์ ทั้งนี้อารมณ์เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้โดยตรง
แต่จะสังเกตเห็นได้ทางอ้อมโดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มิได้แสดงออกมา เป็นภาษาหรือคําพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้า หรือกิริยาท่าทาง นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่มี ความซับซ้อน เพราะคนเราอาจมีหลาย ๆ อารมณ์ในเวลาเดียวกัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะทําความเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงทั้งของตนเองและผู้อื่น

ข้อ 18 – 20 ในเนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์พื้นฐานตามทัศนะของจาก แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) ให้พิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้ เพื่อจับคู่กับข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน
(1) คาดหวัง
(2) หวาดกลัว
(3) ตื่นตระหนก
(4) เดือดดาล
(5) สุขสม

18. ความอับอายขายหน้าส่งผลให้โกรธหรือเกลียด
ตอบ 4 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามทัศนะของจาค แพงค์เซปป์ มีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. คาดหวัง เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความต้องการส่งผลให้เกิดความปรารถนา
2. เดือดดาล เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความอับอายขายหน้าส่งผลให้โกรธหรือเกลียด
3. ตื่นตระหนก เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความสูญเสียทางสังคมส่งผลให้เกิดความเศร้า
4. หวาดกลัว เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความ

19.เจ็บปวดและมีอันตรายส่งผลให้วิตกกังวล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

20. ความต้องการส่งผลให้เกิดความปรารถนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

21. การสนองตอบทางอารมณ์แต่ละชนิดเกิดขึ้นในบริเวณใดของสมอง
(1) พอนส์
(2) ซีรีบรัม
(3) ไฮโปธาลามัส
(4) ซีรีเบลลัม
(5) ต่อมใต้สมอง
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกาย เมื่อเกิดอารมณ์ทําให้ได้คําตอบว่า ศูนย์กลางของการเกิดอารมณ์อยู่ที่การทํางานของระบบ ประสาทลิมบิก (Lymbic System) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

22. การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่กําลังจะเกิดขึ้น เป็นการทํางานของระบบประสาทส่วนใด
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(3) ระบบโซมาติก
(4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ
ตอบ 2 หน้า 34, 261 ระบบประสาทซิมพาเธติก เป็นระบบที่ไปกระตุ้นการทํางานของร่างกายใน กรณีฉุกเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

23.ระบบประสาทส่วนใดที่ทําให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลายและสงบ
(1) ไทมัส
(2) ไทรอยด์
(3) พาราไทรอยด์
(4) ซิมพาเธติก
(5) พาราซิมพาเธติก
ตอบ 5 หน้า 37, 261 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (Parasympathetic Nervous System) เป็นระบบประสาทอัตโนมัติที่ทําหน้าที่ทําให้ร่างกายผ่อนคลาย อยู่ในภาวะสงบและพักผ่อน มีการย่อยดี และความดันโลหิตต่ํา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังอาการตกใจเมื่อผ่านพ้นจากสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการทํางานในอัตราเร่งมาแล้วหรือหลังจากเกิดอารมณ์เต็มที่แล้ว

24. อารมณ์ประเภทใดก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุด
(1) กลัว
(2) สุข
(3) เศร้า
(4) เหงา
(5) ดีใจ
ตอบ 1 หน้า 262 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและ พฤติกรรม พบว่า ในบรรดาอารมณ์ทั้งหลาย อารมณ์ที่จัดว่าสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสรีระร่างกายได้มากที่สุด คือ อารมณ์กลัวกับอารมณ์โกรธ

25. ข้อใดคือลักษณะของบุคคลตามทัศนะของคาร์ล จุง (Carl Jung)
(1) โมโหร้ายและใจเย็น
(2) ขาดสติและมีเหตุผล
(3) เก็บตัวและกล้าแสดงออก
(4) ประหยัดและฟุ่มเฟือย
(5) ขี้เหนียวและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ตอบ 3 หน้า 294 คาร์ล จุง (Carl Jung) ได้แบ่งบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทเก็บตัว (Introvert) มักจะเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก สนใจตัวเอง
2. ประเภทกล้าแสดงออก (Extrovert) มักจะเป็นคนสนุกสนาน ชอบพูดคุย กล้าแสดงตัว

26. ข้อใดเป็น “พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ” เรียกว่าอะไร
(1) การเกิดจูงใจ
(2) การควบคุมอารมณ์ตนได้
(3) ลักษณะบุคลิกภาพ
(4) การปรับตัว
(5) ความสามารถส่วนบุคคล
ตอบ 3 หน้า 281 – 282 บุคลิกภาพเป็นลักษณะทางพฤติกรรมที่ถาวรของบุคคลที่มักจะแสดงออกมา ในสถานการณ์ต่าง ๆ จัดเป็นส่วนของระบบจิตสรีระที่ทําให้บุคคลมีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อ สิ่งแวดล้อม

ข้อ 27 – 30 ในเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ซองฟรอยด์ (Freud) จงพิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้ เพื่อจับคู่กับข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน
(1) สัญชาตญาณ
(2) โครงสร้างบุคลิกภาพ
(3) พัฒนาการบุคลิกภาพ
(4) ลําดับขั้นความต้องการ
(5) กระบวนการทํางานของจิต

27.อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้
ตอบ 2 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กล่าวว่า โครงสร้าง ของบุคลิกภาพเกิดจากการทํางานร่วมกันระหว่าง อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ โดยอิด (Id) เป็น โครงสร้างจิตใจส่วนที่เป็นการตอบสนองความต้องการทางร่างกายโดยยึดหลักของความพึงพอใจ อีโก้ (Ego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีหรือบาปบุญคุณโทษ โดยยึดหลักของศีลธรรมหรือมโนธรรม

28. การมีชีวิตอยู่และความตาย
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ กล่าวว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ
1. สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย
2. สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

29. ขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ
ตอบ 3 หน้า 145, 299 ฟรอยด์ (Freudได้แบ่งพัฒนาการบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage)
2. ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแอบแฝง (Latency Stage)
5. ขั้นการมีเพศสัมพันธ์ (Genital Stage)

30. จิตสํานึก จิตถึงสํานึก และจิตใต้สํานึก
ตอบ 5 หน้า 289 ฟรอยด์ เชื่อว่า กระบวนการทํางานของจิตมี 3 ระดับ คือ
1. จิตสํานึก (Conscious) เป็นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการทํางานอย่างรู้ตัวของ บุคคลในระดับจิตสํานึก ซึ่งพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เป็นการทํางานของจิตส่วนนี้
2. จิตใต้สํานึกหรือจิตไร้สํานึก (Unconscious) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความขัดแย้งใจ
3. จิตก่อนสํานึกหรือจิตถึงสํานึก (Preconscious) เป็นประสบการณ์บางอย่างที่เราลืมไปแต่ถ้าได้รับการเตือนความจําขึ้นมาเราก็จะจําได้ทันที

31. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัลพอร์ท (Allport)
(1) เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล
(2) เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่
(3) ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่ของสรีรชีวภาพ
(4) มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว
(5) มองบุคลิกภาพว่าเกิดจากการวางเงื่อนไข
ตอบ 5 หน้า 283 ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัลฟอร์ท (Altport) แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล (Distinctiveness)
2. เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่ (Arrangement)
3. มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว (Adjustment)
4. เน้นการจัดบุคลิกภาพออกตามพัฒนาการเป็นลําดับขั้น (Hierarchical)
5. ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่สรีรชีวภาพ (Biophysical)
6. ประเภทจิปาถะ (Omnibus).

32. ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ใช้วัดหรือประเมินบุคลิกภาพ
(1) การสังเกต
(2) การสัมภาษณ์
(3) การใช้แบบสอบถาม
(4) การใช้สังคมมิติ
(5) การกําหนดสถานการณ์
ตอบ 4 หน้า 304 – 308, 315 วิธีการที่ใช้วัดและประเมินบุคลิกภาพ มีดังนี้
1. การสัมภาษณ์ (Interview)
2. การสังเกตโดยตรง (Direct Observation)
3. การกําหนดสถานการณ์ (Situational Testing)
4. การใช้แบบสอบถาม (Personality Questionnaires) ได้แก่ แบบทดสอบ MMPI, CPI, 16 PF
5. การฉายภาพจิต (Projective Tests) ได้แก่ แบบทดสอบรอร์ชาค (Rorschach Inkblot Test)
และ TAT

33. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของสติปัญญาตามทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย
(1) ความเข้าใจภาษา
(2) การใช้ตัวเลข
(3) ความจํา
(4) การเข้าใจเหตุผล
(5) ความสามารถด้านเครื่องจักรกล
ตอบ 5 หน้า 325 – 326 ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย ของเทอร์สโตน (Thurstone) และกิลฟอร์ด (Guilford) โดยเทอร์สโตน เห็นว่า ความสามารถขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ในขณะที่กิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญา มี 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา ด้านวิธีการ และด้านผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคล ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

34. นักจิตวิทยาคนใดที่เชื่อว่าความสามารถขั้นพื้นฐานทางสติปัญญาประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ชนิด
(1) Binet
(2) Simon
(3) Thurstone
(4) Goddard
(5) Stanford
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ข้อใดคือแบบทดสอบที่ใช้วัดหรือประเมินบุคลิกภาพ
(1) แบบทดสอบ Rorschach Inkblot Test
(2) แบบทดสอบ Thai Happiness Indicators
(3) แบบทดสอบ Emotional Quotient : EQ
(4) แบบทดสอบ Generat Health Questionnaire
(5) แบบทดสอบ Basic Vocational Orientation Test
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

36.แบบทดสอบ Thematic Apperception Test มีลักษณะตรงกับข้อใด
(1) รูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ
(2) รูปสถานการณ์ต่าง ๆ
(3) รูปตนเองในอดีต
(4) รูปญาติพี่น้อง
(5) รูปเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, 315 การฉายภาพจิต (Progressive Tests) เป็นวิธีการประเมินบุคลิกภาพที่ นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของ ผู้รับการทดสอบ โดยให้บรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอ ชาค (Rorschach Inkblot Test) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยการ ให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร ซึ่งผู้ตอบมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะบรรยายเรื่องราวอะไรก็ได้ตามความรู้สึก
2. แบบทดสอบ Thematic Apperception Test (TAT) เป็นรูปภาพสถานการณ์หรือเรื่องราว ต่าง ๆ 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่อง จากภาพ ซึ่งภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคลุมเครือ ทําให้มองได้หลายแง่มุม

37. ข้อใดมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสติปัญญามากที่สุด
(1) แฝดคล้ายที่เลี้ยงดูแยกกัน
(2) พี่น้องที่เลี้ยงดูด้วยกัน
(3) แฝดคล้ายทีเลี้ยงดูด้วยกัน
(4) แฝดเหมือนที่เลี้ยงดูแยกกัน
(5) พ่อแม่กับลูก
ตอบ 4 หน้า 323 ค่าสหสัมพันธ์โดยประมาณระหว่างคะแนนสติปัญญาในบุคคลที่มีความใกล้ชิด ทางพันธุกรรมต่าง ๆ กัน ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เรียงตามลําดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ ฝาแฝดเหมือนเลี้ยงดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.87, ฝาแฝดเหมือนเลี้ยงดูแยกจากกัน มีค่า สหสัมพันธ์ = 0.75, ฝาแฝดคล้ายเลี้ยงดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.58, บิดามารดากับลูก ๆ มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.40, พี่น้องเลี้ยงดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.36, เด็กไม่ใช่พี่น้องกันเลี้ยง ดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.30, เด็กไม่ใช่พี่น้องกันเลี้ยงดูแยกกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.00

38. เด็กชายณเดชมี I.Q. เท่ากับ 105 นับว่าเขามีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร
(1) ปัญญาทึบ
(2) เกณฑ์ปกติ
(3) ค่อนข้างฉลาด
(4) ฉลาดมาก
(5) อัจฉริยะ
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dult) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป

39. ข้อใดเป็นความเที่ยงตรง (Validity)
(1) ความคงที่ของคะแนน
(2) ความถูกต้องของคะแนน
(3) การวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด
(4) ความสามารถในการจําแนก
(5) การให้คะแนนมีความชัดเจน
ตอบ 3 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

40. ข้อใดเป็นความเชื่อถือได้ (Reliability)
(1) ความคงที่ของคะแนน
(2) ความถูกต้องของคะแนน
(3) การวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด
(4) การให้คะแนนมีความแน่นอน
(5) ความสัมพันธ์กับแบบทดสอบอื่น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการปรับตัวที่เหมาะสม
(1) ตนเองจะต้องได้รับประโยชน์
(2) ต้องสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
(3) ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน
(4) ต้องไม่ทําให้ตนเองสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ
(5) ต้องเป็นสร้างความสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ
ตอบ 4 หน้า 345, (คําบรรยาย) ลักษณะของการปรับตัวที่เหมาะสม ได้แก่
1. กระบวนการที่บุคคลพยายามแสวงหาความสมดุลระหว่างร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ
2. การปรับตัวที่เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเขาเอง
3. การปรับตัวที่ทําแล้วชีวิตดีขึ้นมีความสุขขึ้น
4. การปรับตัวที่บุคคลสามารถเข้าสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การปรับตัวที่ไม่ทําให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน หรือไม่ไปสกัดกั้นเสรีภาพของผู้อื่น

42. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลเมื่อเกิดภาวะเครียด
(1) เหงื่อออก
(2) หัวใจเต้นเร็ว
(3) กล้ามเนื้อเกร็ง
(4) ความดันโลหิตลดลง
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติทําหน้าที่ผิดปกติไปจากเดิม
ตอบ 4หน้า 350 การเปลี่ยนแปลงของบุคคลเมื่อร่างกายเกิดความเครียด คือ ระบบประสาทอัตโนมัติ จะทําหน้าที่ผิดไปจากสภาวะปกติ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น ม่านตาขยายเพื่อให้ได้รับแสง มากขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหว (เตรียมสู้หรือหนี) เส้นเลือดบริเวณปลายมือ ปลายเท้าหดตัวทําให้มือเท้าเย็น เหงื่อออก เพราะมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น ฯลฯ

43. ความขัดแย้งใจมักเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) มีการเลือก
(2) อยู่เพียงลําพัง
(3) ขาดการสนใจ
(4) ผิดหวังจากสิ่งที่อยากได้
(5) ไม่ได้รับการตอบสนองปัจจัยพื้นฐาน
ตอบ 1 หน้า 361, 368 ความขัดแย้งใจ (Conflict) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงผลักดันหรือ มีความต้องการที่อยากจะได้หลายสิ่งพร้อมกัน หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาพร้อม ๆ กัน ความขัดแย้งใจมักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเลือกตัวเลือกที่ดีพอกัน ไม่ดีพอกัน หรือมีทั้งดีและเลว ในตัวเอง ซึ่งทําให้ยากต่อการตัดสินใจ โดยความขัดแย้งใจนี้ถ้าแก้ไม่สําเร็จ อาจมีผลทําให้บุคคล มีความวิตกกังวลสูง และกลายเป็นคนเครียดได้ การเรียนรู้ที่จะพิจารณาตัวเลือกที่ดี ชั่งน้ำหนัก อย่างถูกต้อง และตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดจึงเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขความขัดแย้งใจได้

44. ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ดีในการเกลี้ยกล่อมชักจูงให้เปลี่ยนเจตคติ
(1) เสนอข่าวสารซ้ำๆ
(2) ผู้ส่งสารเป็นผู้ที่เราชอบ ไว้ใจ เชี่ยวชาญ
(3) ผู้ส่งสารมีลักษณะคล้ายกับผู้รับสาร
(4) เสนอข้อมูลทั้ง 2 ด้าน สําหรับผู้ที่ไม่รู้เรื่องนั้น ๆ
(5) ทุกข้อคือวิธีการที่ดีในการเกลี้ยกล่อม
ตอบ 4 หน้า 390 – 391 วิธีการที่ได้ผลดีในการเกลี้ยกล่อมชักจูงให้เปลี่ยนเจตคติ มีดังนี้
1. ผู้ส่งสารเป็นผู้ที่เราชอบ ไว้ใจ เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีลักษณะคล้ายกับผู้รับสาร
2. ข่าวสารที่ให้เกี่ยวข้องกับความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวล เช่น การโฆษณาที่กล่าวถึงโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของช่องปาก ฯลฯ
3. ข่าวสารนั้นต้องไม่คลุมเครือเพื่อลดความวิตกกังวล
4. ข่าวสารต้องสรุปให้ชัดเจน
5. เสนอข้อมูลทั้ง 2 ด้าน สําหรับผู้ที่รู้เรื่องนั้นดี
6. เสนอข้อมูลด้านเดียว สําหรับผู้ที่ไม่รู้เรื่องนั้น ๆ มาก่อน
7. ผู้เกลี้ยกล่อมชักจูงไม่ได้ผลประโยชน์อะไรในการชักชวนให้เชื่อข่าวสาร
8. เสนอข่าวสารซ้ํา ๆ โดยหลักการนี้ใช้ได้ในการโฆษณาและขายสินค้าจนถึงการหาเสียง

45. ข้อใดไม่ใช่ข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา
(1) สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน
(2) ผู้รับการทดสอบต้องมีความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้
(3) การสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ทดสอบและผู้รับการทดสอบ
(4) ผู้รับการทดสอบต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
(5) ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ
ตอบ 3 หน้า 331 ข้อควรคํานึงถึงหรือข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา มีดังนี้
1. ผู้รับการทดสอบต้องมีความรู้และความชํานาญเกี่ยวกับแบบเครื่องมือหรือแบบทดสอบที่ใช้
และต้องเตรียมเครื่องมือให้พร้อมล่วงหน้าก่อนทําการทดสอบ
2. ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
3. สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน

46. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสติปัญญา
(1) ผู้ชายกับผู้หญิงมีสติปัญญาไม่แตกต่างกัน
(2) สติปัญญาอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้เมื่ออายุ 60 ปีไปแล้ว
(3) การท่องเที่ยวทําให้สติปัญญาเสื่อมช้าลง
(4) คนผิวขาวมีพันธุกรรมที่ฉลาดกว่าคนผิวดํา
(5) เด็กที่ครอบครัวมีฐานะร่ํารวยจะมีสติปัญญาดีกว่าเด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน
ตอบ 4 หน้า 333 – 334 ตัวแปรเกี่ยวกับระดับความสามารถทางสติปัญญา มีดังนี้
1. เพศ เพศชายและเพศหญิงมีระดับสติปัญญาไม่แตกต่างกัน
2. อายุ ความสามารถสูงสุดของคนจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่เด็กจนถึงอายุ 30 ปี ต่อจากนั้น จะเพิ่มบ้างนิดหน่อยหรือคงที่จนถึงอายุ 60 ปี และระดับสติปัญญาของคนเราก็อาจเพิ่มขึ้น หรือลดลงก็ได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว
3. ฐานะทางสังคม คนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีฐานะทางสังคมต่ำจะมีระดับสติปัญญาเฉลี่ยต่ำกว่า
คนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีฐานะทางสังคมสูง
4. เชื้อชาติวัฒนธรรม คนผิวขาวอาจมีคะแนนสติปัญญาสูงกว่าคนผิวดําเนื่องจากความแตกต่าง ของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม

47. แบบทดสอบสติปัญญาของ Wechster แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่อะไร
(1) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ
(2) ความสามารถเชิงภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา
(3) ความสามารถเชิงภาษาและความสามารถเชิงคํานวณ
(4) ความสามารถเชิงเหตุผลและความสามารถเฉพาะด้าน
(5) ความสามารถเชิงใช้ถ้อยคําภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา
ตอบ 1 หน้า 330 แบบทดสอบสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechster) แบ่งออกเป็น 2 หมวด ดังนี้
1. ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจ เลขคณิต (ความสามารถเชิงคํานวณ) ความคล้ายกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์ 2. ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลข การเติมรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน

ข้อ 48 – 52 ในเนื้อหาเกี่ยวกับกลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) ให้พิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้ เพื่อจับคู่กับข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน
(1) การเข้าข้างตนเอง (Rationalization)
(2) การเก็บกด (Repression)
(3) การหาสิ่งทดแทน (Displacement)
(4) การโยนความผิด (Projection)
(5) การชดเชยสิ่งที่ขาด (Compensation)

48. เด็กชายเต่าน้อยถูกคุณแม่ดุ แต่ไม่กล้าตอบโต้ จึงหันไปตะคอกน้องสาวแทน
ตอบ 3 หน้า 358 การหาสิ่งทดแทน (Displacement) เป็นกลไกป้องกันทางจิตเมื่อเกิดความคับข้องใจ กับบุคคลที่เป็นสาเหตุ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงออกกับผู้นั้นได้โดยตรง ก็จะหาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมาเป็นแพะรับบาป เช่น โกรธเจ้านาย กลับบ้านก็มาด่าว่าภรรยาหรือเตะหมาแทน ฯลฯ

49. นายต้มแซ่บบอกกับเพื่อน ๆ ว่า สาเหตุที่เลิกกับแฟนเพราะแฟนนิสัยไม่ดี
ตอบ 1 หน้า 357 – 358 การเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคล พยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ของตัวเองเอาไว้ ซึ่ง มีลักษณะที่เรียกว่า “องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน” เช่น บ้านเล็กและคับแคบแต่ใกล้ที่ทํางาน สอบตกแต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป, สาเหตุที่เลิกกับแฟนเพราะแฟนนิสัยไม่ดี ฯลฯ

50. นางสาวมะลิหวานไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าทํางาน จึงกล่าวโทษเพื่อนว่าเป็นเพราะแนะนําให้ใส่ชุดไม่สวยไปสมัครงาน
ตอบ 4 หน้า 359 การโยนความผิด (Projection) เป็นกลไกป้องกันทางจิตด้วยการกล่าวโทษผู้อื่น ในความผิดที่ตนเองกระทํา เพื่อให้ความรู้สึกผิดของตนเองมีน้อยลง หรือเป็นการผลักความคิด ความรู้สึกที่ไม่ดีที่ตนเองมี แต่เจ้าตัวไม่ยอมรับออกไปให้พ้นตัว โดยพูดว่าเป็นความคิดหรือ ความรู้สึกของคนอื่น ๆ แทน เข้าทํานอง “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง”

51. นางสาวฤดีกังวานโกรธคุณแม่ที่ไม่ให้ไปเที่ยวกลางคืน แต่ก็ไม่แสดงความรู้สึกโกรธออกมาให้คุณแม่เห็น
ตอบ 2 หน้า 358 การเก็บกด (Repression) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคลใช้เพื่อลืมเหตุการณ์ ที่เศร้าใจ อยากจะลืม ไม่ต้องการจดจํา โดยคนเราจะเก็บกดซ่อนเร้าความรู้สึกไว้อย่างมิดชิดเป็นวิธีการที่จะทําให้แรงกระตุ้นที่ไม่พึงปรารถนาหลุดออกไปจากอีโก้หรือจิตสํานึก ซึ่งจะสามารถป้องกันตนเองจากความสะเทือนใจได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นใน วัยเด็กหรือความทรงจําที่เจ็บปวด

52. นายถุงปุ๋ยเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เมื่อทํางานหาเงินได้ จึงมักซื้อของราคาแพง ๆ ใช้ เพื่อยกฐานะ ของตนเองในสายตาของผู้คนรอบข้าง
ตอบ 5 หน้า 358 การชดเชยสิ่งที่ขาด (Compensation) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคลใช้ เพื่อชดเชยจุดอ่อนหรือปมด้อยของตัวเอง โดยหาจุดเด่นอื่นมาลบล้าง เช่น หน้าตาไม่หล่อ แต่นิสัยดี ตาพิการแต่ร้องเพลงเก่ง ฯลฯ ถือเป็นวิธีการปรับอารมณ์ทางบวกมากกว่าวิธีอื่น ๆ

53. จากตัวเลือก ก. ข. และ ค. ข้อใดไม่ถูกต้องเรื่องระยะห่างระหว่างบุคคล
ก. ระยะส่วนตัว มีระยะ 1 – 4 ฟุต เหมาะสําหรับคนพิเศษ เช่น คู่รักเท่านั้น
ข. ขนาดระยะห่างแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม
ค. ระยะห่างระหว่างบุคคลจะขยายออกไปเป็นอาณาเขตครอบครองได้

(1) ก.
(2) ข.
(3) ค.
(4) ก. และ ค.
(5) ข. และ ค.
ตอบ 1 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) มีระยะ 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสาร เฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) มีระยะ 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) มีระยะ 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและ ธุรกิจ ไม่สามารถเอื้อมมือถึงกันได้
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) มีระยะ 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ ทั้งนี้ขนาดของแต่ละระยะห่างอาจแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และระยะห่างระหว่างบุคคล อาจจะขยายออกไปเป็นอาณาเขตครอบครองได้

54. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดเจตคติ
(1) พันธุกรรม
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) การมีประสบการณ์ตรง
(4) อิทธิพลของสมาชิกในกลุ่ม
(5) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีเจตคติเหมือนกัน
ตอบ 1 หน้า 389 สาเหตุของการเกิดเจตคติ ได้แก่ การมีประสบการณ์ตรง การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ที่มีเจตคติเหมือนกัน การอบรมเลี้ยงดู อิทธิพลของสมาชิกกลุ่ม และสื่อมวลชน

55. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้วัดเจตคติมากที่สุด
(1) การสังเกต
(2) มาตรวัดเจตคติ
(3) มาตรามิลแกรม
(4) มาตรวัดระยะห่างทางสังคม
(5) การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามปลายปิด
ตอบ 2 หน้า 389 – 390 เครื่องมือที่ใช้วัดเจตคติ ได้แก่ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามปลายปิด มาตรวัดระยะห่างทางสังคม และมาตรวัดเจตคติ (ถือเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด)

56. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความก้าวร้าว
(1) สัญชาตญาณ
(2) การเรียนรู้ทางสังคม
(3) การแสดงออกเพื่อรักษาสิทธิของตน
(4) ความคับข้องใจ
(5) ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
ตอบ 3 หน้า 393 – 395 สาเหตุของความก้าวร้าว มี 4 ประการ ดังนี้
1. สัญชาตญาณ
2. ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
3. ความคับข้องใจ
4. การเรียนรู้ทางสังคม

57. จากตัวเลือก ก. ข. และ ค. ข้อใดเป็นหลักการสร้างมิตรภาพของมนุษย์ที่ถูกต้อง
ก. การเปิดเผยตนเองควรทําให้มากที่สุดเพื่อแสดงความจริงใจ
ข. การคบกันคือการแลกเปลี่ยนทางสังคมวิธีการหนึ่ง
ค. อย่าให้คนที่คบรู้สึกว่าต้องสูญเสียมากกว่าได้รับ
(1) ก.
(2) ข.
(3) ค.
(4) ก. และ ค.
(5) ข. และ ค.
ตอบ 5 หน้า 381 หลักการสร้างมิตรภาพของมนุษย์ที่ถูกต้องคือ การเปิดเผยตนเอง (Self-disclosure) โดยต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และแสดงตัวจริงของเราออกมา ทั้งนี้การเปิดเผย ตนเองนั้นต้องพองาม/พอดี ๆ ในระดับปานกลาง ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป ส่วนการคบกัน นับเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคมอย่างหนึ่ง ในขณะที่ทฤษฎีผลได้ผลเสีย (Gain-Loss Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายหลักการสร้างมิตรภาพที่สําคัญของมนุษย์ เพราะคนเรามักจะประเมินผลได้ผลเสียจากการคบกัน ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายรู้สึกว่ามีผลได้มากกว่าผลเสียมิตรภาพก็จะคงอยู่ได้ยาวนาน แต่ถ้ารู้สึกว่าเสียมากกว่าได้มิตรภาพก็จะชะงักงัน

58. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่ผู้เห็นเหตุการณ์ไม่ยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตราย
(1) ความรู้สึกแปลกแยกของคนในเมือง
(2) มีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคน
(3) ถ้าเราไม่ช่วยคนอื่นก็ช่วย
(4) กลัวว่าตนเองจะตกอยู่ในอันตราย
(5) ทุกข้อเป็นเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 395 จากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นรถชนคนหรือไฟไหม้ ฯลฯ พบว่ามีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้เห็นเหตุการณ์ไม่ยื่นมือเข้าไปให้ ความช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้นักจิตวิทยาได้อธิบายว่าเป็นเพราะความรู้สึก แปลกแยกของคนในเมือง บางคนอธิบายว่าเป็นเพราะมีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคน จึงเกิด การกระจายความรับผิดชอบ โดยผู้ที่เห็นเหตุการณ์คิดว่าแม้ตนไม่ช่วยผู้อื่นก็ช่วย

59. ข้อใดไม่ใช่ข้อจํากัดในการศึกษาทางจิตวิทยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
(1) ข้อจํากัดทางศีลธรรม
(2) ข้อจํากัดทางมนุษยธรรม
(3) อันตรายต่อชีวิตมนุษย์
(4) งบประมาณด้านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
(5) ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง
ตอบ 4 หน้า 5 ข้อจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง คือ
1. ข้อจํากัดทางศีลธรรมและมนุษยธรรม ทําให้มีขีดจํากัดในการปฏิบัติเชิงทดลองที่อาจจะเป็น อันตรายต่อชีวิตมนุษย์ เช่น ปัญหาว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเลี้ยงเด็กไว้ในห้องมืดที่ปราศจากเสียง ใด ๆ เป็นเวลา 5 ปี ฯลฯ
2. ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องหรือความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสัตว์ทดลองที่ว่าสัตว์มีความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจเช่นเดียวกับมนุษย์ ทําให้มีขีดจํากัดในการนําสัตว์มาทําการทดลอง

60. จากผลการวิจัยทางจิตวิทยาที่นํามาใช้ในการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของเด็ก ตรงกับจุดมุ่งหมายของ
การศึกษาจิตวิทยาข้อใด
(1) เพื่ออธิบาย
(2) เพื่อบรรยาย
(3) เพื่อทําความเข้าใจ
(4) เพื่อทํานาย
(5) เพื่อควบคุมพฤติกรรม
ตอบ 5 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายสูงสุดของการศึกษาจิตวิทยา คือ เพื่อควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายประการที่ 4 โดยทั่วไปหมายถึง การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่มีผลต่อพฤติกรรม ตามที่คาดหมายไว้ ทั้งนี้การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

61. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอคติ
(1) อคติเป็นรูปแบบหนึ่งของแพะรับบาป
(2) เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล
(3) คนที่มีบุคลิกภาพ เช่น เชื่อฟัง ยึดมั่น มักไม่ค่อยมีอคติ
(4) อคติกลุ่มมักเกิดจากบุคคลที่ยึดติดกับปทัสถานของกลุ่ม
(5) ทุกข้อถูกต้องเกี่ยวกับอคติ
ตอบ 3 หน้า 392 อคติ เป็นเจตคติทางลบ หรือการตัดสินล่วงหน้า เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอํานาจทางสังคม ซึ่งมักจะเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และนํามาสู่การแบ่งแยก (Discrimination) อคติเป็นรูปแบบหนึ่งของแพะรับบาปซึ่งเป็นความก้าวร้าวแบบทดแทน คือ การที่บุคคลแสดง ความก้าวร้าวต่อผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ทําให้ตนเกิดความไม่พอใจโดยตรง ทั้งนี้อคติอาจจะเกิดขึ้นได้จาก การมีประสบการณ์โดยตรงกับผู้ที่เราไม่ยอมรับ อคติกลุ่มมักเกิดจากบุคคลที่ยึดติดกับปทัสถาน ของกลุ่ม ส่วนคนที่มีบุคลิกภาพยึดมั่น อัตตนิยม ชาตินิยม ยึดอํานาจ เชื่อฟัง ฯลฯ มีแนวโน้ม ที่จะมีอคติมากกว่าคนอื่น ๆ

62.“ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา กล่าวว่า ในช่วงโรคโควิด 19 ระบาด ขอให้ประชาชนทุกคน สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน” จากข้อความข้างต้น เป็นการใช้อํานาจทางสังคมแบบใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(5) อํานาจตามการอ้างอิง
(4) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 4 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ
1. อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้
2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม
3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม
4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ
5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ (ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เป็น ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ)

ข้อ 63 – 64 จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การทดลอง
(2) การศึกษาประวัติรายกรณี
(3) การสํารวจ
(4) การสังเกต
(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

63. วิธีการศึกษาทางจิตวิทยาวิธีใดเป็นการศึกษาเหตุและผล โดยผู้ทําการศึกษาเป็นผู้สร้างสถานการณ์สิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็น
ผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลอง จะต้องแน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว
64. วิธีการศึกษาทางจิตวิทยาวิธีใดที่ช่วยให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างละเอียด
ตอบ 2 หน้า 14 – 15 การศึกษาประวัติรายกรณี (Case Study) เป็นการบันทึกข้อมูลประวัติของบุคคล โดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออาการหรือความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ทั้งนี้เพื่อศึกษา ภูมิหลังของบุคคลนั้นประกอบการแปลความหมายของแบบทดสอบ ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้เข้าใจ สาเหตุของพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

ข้อ 65 – 67 จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) พฤติกรรมนิยม
(2) หน้าที่ของจิต
(3) จิตวิเคราะห์
(4) โครงสร้างของจิต
(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ

65. แนวคิดใดเน้นเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข
ตอบ 1 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธ เรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกตดู พฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

66. แนวคิดใดกล่าวว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็ง ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ําเป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้นแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้
ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ํา เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

67. แนวคิดใดที่สนใจศึกษาการคิด จิตสํานึก การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ ๆ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิด พวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)

ข้อ 68 – 69 จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค
(3) นักจิตวิทยาสังคม
(4) นักจิตวิทยาวิศวกรรม
(5) นักจิตวิทยาการทดลอง

68. ใครทําหน้าที่วิจัยและออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม และรถยนต์
ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาวิศวกรรม จะทําหน้าที่วิจัยประยุกต์ในด้านการออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม เครื่องบิน เครื่องยนต์ ฯลฯ เพื่อธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมและวงการทหาร

69. ใครทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา
ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาผู้บริโภค จะทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา การวิจัยตลาด เพื่อศึกษาอุปนิสัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และการสํารวจประชามติเกี่ยวกับสินค้า

70. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาสรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology)
(1) การศึกษาโครงสร้างการทํางานของจิตใจมนุษย์
(2) การศึกษาพฤติกรรมที่ผิดปกติที่เกิดจากความบกพร่องของจิตใจและระบบประสาท
(3) การศึกษาการทํางานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย สมองและระบบประสาท
(4) การศึกษาความผิดปกติของสมองและการทํางานของระบบประสาท
(5) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทํางานของระบบภายนอกร่างกาย
ตอบ 3 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมอง และระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

71. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ฮอร์โมนส่วนสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศของมนุษย์
(1) เทสโตสเตอโรน
(2) แอนโดรเจน
(3) เทนทิส
(4) โปรเจสเตอโรน
(5) เอสโตรเจน
ตอบ 3 หน้า 49 ต่อมเพศ (Gonad) สร้างฮอร์โมนที่ทําหน้าที่ควบคุมพัฒนาการลักษณะทางเพศ คือ
1. อัณฑะ(Testis) ในเพศชาย ทําหน้าที่สร้างอสุจิ (Sperm) และผลิตฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) และฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone)
2. รังไข่ (Ovary) ในเพศหญิง ทําหน้าที่สร้างไข่ (Egg) และผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

72. สมองและไขสันหลังควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อชนิดใด
(1) กล้ามเนื้อลาย
(2) กล้ามเนื้อเรียบ
(3) กล้ามเนื้อหัวใจ
(4) กระเพาะอาหาร
(5) กะบังลม
ตอบ 1 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกาย เคลื่อนไหว ประกอบด้วย
1. กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ กล่าวคือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง อันได้แก่ สมองและไขสันหลัง
2. กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

73. ระบบประสาทส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรู้สึกร้อน-เย็น
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(4) ระบบประสาทโซมาติก
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ
ตอบ 4 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาท สมองจํานวน 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลังจํานวน 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทําให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด เป็นต้น

74. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์ประสาทนิวโรน
(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาท
(2) เป็นหน่วยการทํางานพื้นฐานของระบบประสาทที่เล็กที่สุด
(3) หากได้รับความเสียหายจะไม่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้
(4) เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีตัวเซลล์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
(5) มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์
ตอบ 3 หน้า 37 เซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทที่ ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาทมีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์ และจะหยุดเพิ่มจํานวนหลัง คลอดแล้ว ถ้าเซลล์ประสาทชํารุดจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ประสาทตายไปจะ ไม่เกิดเซลล์ประสาทใหม่อีก เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์

75. สารสื่อประสาทชนิดใดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก
(1) อะซีทิลโคลีน
(2) ซีโรโทนิน
(3) โดปามาย
(4) กาบา
(5) นอร์อิพิเนฟฟริน
ตอบ 5 หน้า 39 นอร์อิพิเนฟฟริน (Norepinephrin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ถูกสังเคราะห์โดย ปลายประสาทซิมพาเธติก มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับผลของอะซีทิลโคลีนที่ผลิตที่ปลายประสาทพาราซิมพาเธติก

76. สมองส่วนใดควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบ
(1) ก้านสมอง
(2) ไขสันหลัง
(3) ซีรีเบลลัม
(4) ซีรีบรัม
(5) สมองส่วนกลาง
ตอบ 3 หน้า 43 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนท้าย โดยจะทําหน้าที่ควบคุม การทํางานของกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน ควบคุมการทํางานของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง ทําให้การทรงตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าซีรีเบลลัมถูกทําลายจะทําให้เสียการทรงตัว ฯลฯ

77. การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด
(1) ไฮโปธาลามัส
(2) ธาลามัส
(3) ลิมบิก
(4) ซีรีบรัม
(5) ซีรีเบลลัม
ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกาย การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

78. ฮอร์โมนชนิดใดที่กระตุ้นการให้ร่างกายเกิดการเจริญเติบโตและกระตุ้นต่อมน้ํานม
(1) คอร์ติซอล
(2) เทสเทอสโตโรน
(3) โปรเจสเตอโรน
(4) โกร๊ธฮอร์โมน
(5) อินซูลิน
ตอบ 4 หน้า 45 โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการ
เจริญเติบโตของร่างกายและกระตุ้นต่อมน้ํานม

79. ฮอร์โมนคอร์ติซอล มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด
(1) ต่อมแพนเครียส
(2) ต่อมใต้สมอง
(3) ต่อมหมวกไต
(4) ต่อมไทรอยด์
(5) ต่อมไทมัส
ตอบ 3 หน้า 48 ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) จะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนสําคัญ 4 ชนิด ได้แก่ อัลโดสเตอโรน (Aldosterone), คอร์ติซอล (Cortisol), แอดรีนาลิน (Adrenalin) และนอร์แอดรีนาลิน (Nor-drenalin)

80. การแปลความหมายจากสิ่งที่มากระทบอวัยวะร่างกายเรียกว่าอะไร
(1) การสัมผัส
(2) การจําได้
(3) การเรียนรู้
(4) การรับรู้
(5) ประสบการณ์
ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ในอดีต การเรียนรู้ และสภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น

81. โคนส์เป็นเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ใด
(1) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน
(3) เป็นเซลล์รับแสงจ้ามาก
(2) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
(4) เป็นเซลล์รับแสงสลัว ๆ
(5) เป็นเซลล์รับแสงสีเข้ม
ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสง ในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

82. หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงคือข้อใด
(1) กิโลเมตร
(2) เดซิเบล
(3) แอพิจูด
(4) เมกกะ
(5) เฮิรตซ์
ตอบ 2 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ

83. ทฤษฎีคุมด่านเชื่อว่าอวัยวะใดเป็นที่รวมประสาททั้งหมดที่ส่งไปยังสมอง
(1) หัวใจ
(2) กะโหลก
(3) ไขสันหลัง
(4) ท้ายทอย
(5) กระเพาะอาหาร
ตอบ 3 หน้า 67 ทฤษฎีคุมด่าน (Gate Control Theory) เป็นทฤษฎีการเจ็บปวดที่เชื่อว่า ไขสันหลัง เป็นที่รวมของประสาทใหญ่น้อยที่จะส่งไปยังสมองและที่มาจากกล้ามเนื้อและผิวหนังอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากบุคคลมีอาการกลัวความเจ็บปวดในสมอง จะทําให้เกิดกระแสประสาท ไปเร้าด่านที่ไขสันหลังทําให้ด่านเปิดและส่งกระแสที่เจ็บปวดไปยังสมองได้

84. หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย จะเกิดอะไรขึ้น
(1) ไม่รับรู้อุณหภูมิจากภายนอก
(2) การทรงตัวทําได้ลําบาก
(3) ไม่สามารถระงับความเจ็บปวดได้
(4) มีอาการเวียนหัวตลอดเวลา
(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลอดเวลา
ตอบ 2 หน้า 67 – 68 สัมผัสคีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) จะทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัส เกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย การทรงตัวจะทําได้ลําบาก

85. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร
(1) เขาวงกต
(2) กล่องอาหาร
(3) หน้าผามายา
(4) บ่อน้ำจําลอง
(5) ภูเขาจําลอง
ตอบ 3 หน้า 72ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน
และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

86. หากว่าเราชูหนังสือให้เพื่อนดู เพื่อนเราเห็นแค่สันหนังสือเท่านั้น แต่ก็บอกได้ว่าเป็นหนังสือ
(1) การคงที่ของสี
(2) การคงที่ของขนาด
(3) การคงที่ของรูปร่าง
(4) การคงที่ของรูปแบบ
(5) การคงที่ของน้ําหนัก
ตอบ 3หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) ในเรื่องการรับรู้และการเห็น มี 3 ชนิด คือ
1. การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้
2. การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้ 3. การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นแค่สันหนังสือเราก็ยังรับรู้ได้ว่าเป็นหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง

87. ข้อใดคือการล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(1) Telepathy
(2) Clairvoyance
(3) Precognition
(4) Extrasensory
(5) Perception
ตอบ 3 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

88. ข้อใดหมายถึงอาการของ “Jet Lag”
(1) นอนไม่เพียงพอเพราะทํางานหนัก
(2) นอนไม่หลับไม่คุ้นชินกับสถานที่
(3) อาการกรนขณะหลับ
(4) แบบแผนการนอนถูกรบกวน
(5) ขณะหลับมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ
ตอบ 4 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง มักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่
เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

89. ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ
(1) ระยะที่ 1
(2) ระยะที่ 2
(3) ระยะที่ 3
(4) ระยะที่ 4
(5) ระยะที่ 5
ตอบ 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลง กล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุก เล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ําเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย

90. โดยปกติมนุษย์ฝันในแต่ละคืนประมาณกี่ครั้งและมีความยาวเท่าใด
(1) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 15 นาที
(2) 1 − 2 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(3) 3 – 4 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที
(4) 4 – 5 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(5) 6 – 7 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที
ตอบ 4 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทั่วไปคนเราจําเป็นต้องนอนหลับและฝันทุกคืน แต่ละคืน จะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

91.กาแฟ เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 2 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

92. กัญชา เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์
(1) ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส
(2) ภาพไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
(3) ภาพสองนัย
(4) พื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังไม่ได้รับความสนใจ
(5) ถ้าความสนใจเปลี่ยนจุดอื่นจะกลายเป็นภาพได้
ตอบ 2 หน้า 74 – 75 คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวความคิดของนักจิตวิทยาสกุล เกสตัลท์ (Gestalt) คือ ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส ลอยออกมาจากพื้น มีรูปร่างชัดเจนและมี ขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังภาพ ไม่มีขอบเขตจํากัด ถ้าความสนใจเปลี่ยนไป จุดอื่นก็จะกลายเป็นภาพได้ (ภาพสองนัยเป็นภาพที่มองเห็นสลับกันได้ทั้งภาพและพื้น)

94. ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิจากการทดลองของวอลเลสและเป็นสัน
(1) อัตราการเผาผลาญในร่างกายมากขึ้น
(2) มีการหายใจเข้าออกช้าลง
(3) ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง
(4) การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง
(5) ปริมาณสารแลคเทคในเลือดลดลง
ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง

95. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ “ฝาแฝดคล้าย” (Fraternal Twins)
(1) มีโครโมโซมเหมือนกัน
(2) ฝาแฝดอาจคลอดออกมาแล้วมีเพศที่แตกต่างกัน
(3) เกิดจากสเปิร์ม (Sperm) 2 ตัว
(4) มีกระบวนการแบ่งตัวแบบเป็นอิสระออกจากกัน
(5) เกิดจากการตกไข่ (Egg) 2 ใบ
ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

96.แนวคิดของเชลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ
(1) Endomorphy
(2) Mesomorphy
(3) Exsomorphy
(4) Suprememorphy
(5) Stablemorphy
ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่ แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขี้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ
2. รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ
3. รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

97. ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY
(1) Endomorphy
(2) Ectomorphy
(3) Turner’s Syndrome
(4) Mesomorphy
(5) Klinefelter’s Syndrome
ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และ อวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็น โรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้

98. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) จํานวนทารกภายในครรภ์
(2) การบริโภคของแม่
(3) สุขภาพจิตของแม่
(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(5) การได้รับรังสี
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

99. ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
ตอบ 1 หน้า 135 – 136 สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว มีดังนี้
1. ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
2. การอบรมเลี้ยงดูและบรรยากาศในครอบครัว
3. การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่
4. จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
5. ระดับการศึกษาของพ่อแม่ ฯลฯ

100. “เด็กมีลักษณะถือตนเองเป็นศูนย์กลาง” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget
(1) Period of Formal Operation
(2) Preoperation
(3) Premoral
(4) Sensorimotor Period
(5) Period of Concrete
ตอบ 2 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1. Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็น ของคนอื่น
2. Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็กเกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุ เข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้

101. พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การหายใจ
(2) การกะพริบตา
(3) การเรอ
(4) การขี่จักรยาน
(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณ อันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

102. ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้
1. กฎระเบียบและการปกครอง
2. ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู
3. กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

103. “เด็กมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้าม” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการ
ทางเพศ (Psychosexual Stages)
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(3) ขั้นความสุขอยู่ทีทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(5) ขั้นแอบแฝง ตอบ 2 หน้า 145, 299 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เกิดกับเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลําอวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้า เกิดความขัดแย้งใจก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedipus Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)

104. จากขั้นพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)
(1) มีพลังควบคุมตนเองได้
(2) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน
(3) ได้ความรักและความผูกพัน
(4) ได้ความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ
(5) มีการทํางานที่เหมาะสมและมีความสามารถ
ตอบ 2 หน้า 147 มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคม ของ Eriksen ขั้นพัฒนาการทางจิตใจ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)

105. จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) การตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS) เรียกว่าเกิดกระบวนการใด
(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า
(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า
(3) การหยุดยั้งของพฤติกรรม
(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม
ตอบ 1 หน้า 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ส่วนการแยกความแตกต่าง (Discrimination) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเฉพาะที่วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้า ที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ไม่ได้รับรางวัล

106. คูปองที่ใช้แลกซื้ออาหารในศูนย์อาหาร เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจาก การเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินหรือสิ่งที่ใช้แทนเงิน (บัตรเครดิต บัตรเดบิต คูปองแลกซื้อที่ใช้แทนเงินสด) ไม่เพียงแต่ สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ อื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น

107. “คุณดินมีอาการปวดศีรษะ จึงทานยาแก้ปวด ทําให้อาการปวดศีรษะหายไป หลังจากนั้นทุกครั้งที่คุณดิน ปวดศีรษะ คุณดินจะทานยาแก้ปวดทุกครั้ง” อาการปวดศีรษะที่หายไป คืออะไร
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) การเสริมแรงทางลบ
(3) การลงโทษ
(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข
(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
ตอบ 2 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) จะทําให้การ ตอบสนองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นการทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวด ทุกครั้งเพื่อระงับอาการปวด การขึ้นสะพานลอยข้ามถนนทุกครั้งเพราะกลัวอุบัติเหตุ ฯลฯ

108. “เป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อชีวิต ไม่จําเป็นต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยา” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้น
เป็นคุณสมบัติของข้อใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทาง ชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต

109. “พนักงานจะได้รับเงินเดือนในวันที่ 25 ของทุกเดือน” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรง
แบบใด
(1) แบบอัตราส่วนคงที่
(2) แบบต่อเนื่อง
(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
(5) แบบช่วงเวลาคงที่
ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริม เมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ

110. ข้อใดถูกต้อง
(1) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
(2) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว
(3) การลงโทษไม่ได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
(4) หากใช้การลงโทษจะต้องไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย
(5) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที หรือหลังเกิด
พฤติกรรมไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง
ตอบ 1 หน้า 181 – 182 การลงโทษจะมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยการลงโทษจะ ได้ผลดีที่สุด ถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมนั้นอยู่หรือทันทีที่พฤติกรรมนั้นสิ้นสุดลง (เวลาในการลงโทษ) และควรเกิดขึ้นทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น (ความคงที่ในการลงโทษ) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย ทั้งนี้การลงโทษจะ ทําให้เกิดผลข้างเคียง คือ เกิดการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัว กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าว และเรียนรู้ที่จะตอบสนองด้วยการหนีและหลีกเลี่ยง

111. ข้อใดคือลักษณะของความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(1) สามารถจําข้อมูลได้ 9 ± 2 หน่วย
(2) ข้อมูลจะเก็บในลักษณะของเหตุการณ์
(3) มีพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่จํากัด
(4) เป็นคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด
(5) เก็บข้อมูลได้เป็นช่วงเวลานาน
ตอบ 4 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1. ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ
2. ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบ ความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
3. ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

112. ระบบความจําที่หากไม่ทบทวน จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
(1) ความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)
(4) ความจําความหมาย (Semantic Memory)
(5) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 111: ประกอบ

113. ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn)
(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน
(2) ต้องผ่านการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง
(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)
(4) ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น
(5) ปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน
ตอบ 1 หน้า 184, (คําบรรยาย) การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn) เป็นผลของการคิด การเข้าใจที่มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องผ่านการเรียนรู้ จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น โดยปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

114. ระยะเวลาคงอยู่ของการได้ยินเสียงก้องในหู (Echo)
(1) 0.5 วินาที
(2) 2 วินาที
(3) 18 วินาที
(4) 24 ชั่วโมง
(5) 48 ชั่วโมง
ตอบ 2หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บ ข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ ได้ครึ่งวินาที (0.5 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

115. การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้
(1) การระลึกได้ (Recatt)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯ
ทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

116. บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดได้ดีที่สุด
(1) ช่วงต้นและท้าย
(2) ช่วงต้น
(3) ฃวงกลาง
(4) ช่วงท้าย
(5) ทุกช่วง
ตอบ 1 · ดูคําอธิบายข้อ 115. ประกอบ

117. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของการคิด
(1) จินตภาพ (Image)
(2) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response)
(3) ความมีเหตุผล (Reasoning)
(4) มโนทัศน์ (Concept)
(5) ภาษา (Language)
ตอบ 3 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของการคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ (Image) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response) มโนทัศน์ (Concept) และ ภาษาหรือสัญลักษณ์ (Language or Symbols)

118. การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การหาเหตุผล (Rationalization)

(2) การเลียนแบบ (Identification)
(3) การเก็บกด (Repression)
(4) การถดถอย (Regression)
(5) การทดแทน (Sublimation)
ตอบ 3 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

119. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(2) นิยามปัญหาให้กว้าง
(3) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(5) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
ตอบ 5 หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
2. นิยามปัญหาให้กว้าง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ

120. “การที่ความจําหนึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้าง ขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้แม้เพียงสิ่งเดียว” ข้อความข้างต้นเป็นลักษณะการวัดความจําแบบใด
(1) การระลึกได้ (Recall)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 5 หน้า 203 การบูรณาการใหม่ (Reintegration) หมายถึง การที่ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิด ความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้ แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพการเดินทาง และความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุเทพ ฯลฯ

RAM1301 (RAM1000) ความรู้คู่คุณธรรม s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1301 (RAM 1000) คุณธรรมคู่ความรู้
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง สีน้ำเงิน – สีทอง มีความหมายถึงอะไร
(1) พระมหากษัตริย์และผู้เรียน
(2) ประชาชนและแหล่งความรู้
(3) ความรู้และคุณธรรม
(4) พระมหากษัตริย์และความเจริญรุ่งเรือง
ตอบ 4หน้า 22 สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ “สีน้ำเงิน – ทอง” หมายถึง
1. สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ คือ พ่อขุนรามคําแหง
2. สีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรือง ของอาณาจักรสุโขทัย

2. ในปี พ.ศ. 2565 นี้ จะครบรอบปีในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ครบรอบ 51 ปี
(2) ครบรอบ 40 ปี
(3) ครบรอบ 55 ปี
(4) ครบรอบ 45 ปี
ตอบ 1หน้า 1, 23 มหาวิทยาลัยรามคําแหงก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ดังนั้นในปี พ.ศ. 2565 จะครบรอบ 51 ปี ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง

3. ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหงในปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2514
(2) พ.ศ. 2516
(3) พ.ศ. 2541
(4) พ.ศ. 2544
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2541 ซึ่งให้ไว้ ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม

4.มหาวิทยาลัยรามคําแหงอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงใด
(1) กระทรวงศึกษาธิการ
(2) กระทรวงอุดมศึกษา
(3) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม
(4) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) แต่เดิมมหาวิทยาลัยรามคําแหงอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมา ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 ทําให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

5. อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) รศ.สุขุม นวลสกุล
(2) รศ.รังสรรค์ แสงสุข
(3) ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่
(4) รศ.คิม ไชยแสนสุข
ตอบ 3 หน้า 24 ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้เป็น อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (ปัจจุบัน ศาลปกครองกลางมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ กลับมาปฏิบัติหน้าที่ ในตําแหน่งอธิการบดี มีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)

6.เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) สัญลักษณ์พ่อขุนราม
(2) ศิลาจารึกและตราพ่อขุน
(3) ศิลาจารึก
(4) ตราพ่อขุน
ตอบ 2 หน้า 21, (ความรู้ทั่วไป) ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 148 วันที่ 16 กันยายน
พ.ศ. 2535 (ฉบับพิเศษ หน้า 1 – 3) ระบุว่า เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัย รามคําแหง* (ตราประจํามหาวิทยาลัย) คือ “พระรูปพ่อขุนรามคําแหงมหาราช และศิลาจารึก พ่อขุนรามคําแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1)

7. มหาวิทยาลัยรามคําแหงก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์ใด
(1) เพื่อลดช่องว่างในการเรียนรู้
(2) เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
(3) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา
(4) เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ว่างเปล่าของรัฐ
ตอบ 3 หน้า 1 จุดกําเนิดของมหาวิทยาลัยรามคําแหงนั้นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งอื่น ๆ ตรงที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เกิดจากความต้องการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มองเห็นปัญหา จํานวนที่เรียนไม่เพียงพอในมหาวิทยาลัยปิดต่าง ๆ เพราะในยุคนั้นมีนักเรียนที่พลาดหวังจาก การสอบเข้ามหาวิทยาลัยปิดปีละจํานวนไม่น้อย ส่วนผู้ที่มีฐานะก็ต้องส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อ ต่างประเทศ ดังนั้น ส.ส. จึงได้ร่วมกันเสนอร่าง พ.ร.บ. ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ เพื่อขยาย โอกาสทางการศึกษา อันเป็นการแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่มีที่เล่าเรียนจะได้หมดสิ้นไป

8.“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” คล้องจองกับพุทธศาสนสุภาษิตข้อใด
(1) “ปุญญา เว ธเนน เสยโย”
(2) “พาโล อปุริณายโก”
(3) “ททมาโน ปิโย โหติ
(4) “อัตตาหิ อตฺตโน นาโถ
ตอบ 4 หน้า 23 คติพจน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ “อัตตาหิ อตฺตโน นาโถ” แปลว่า ตนเป็น ที่พึ่งแห่งตน (เป็นวลีในยุคแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ที่ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นอธิการบดี โดยใช้ วลีนี้ในข่าวรามคําแหง)

9.วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี มีความสําคัญอย่างไรกับมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย
(2) วันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(3) วันพระราชทานปริญญาบัตร ปี พ.ศ. 2514
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 32 (ความรู้ทั่วไป) รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

10.ต้นไม้ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง คือข้อใด
(1) กระถินณรงค์
(2) ชมพูพันทิพย์
(3) เหลืองปรีดียาธร
(4) สุพรรณิการ์
ตอบ 4 หน้า 22, (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งในขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้า อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542

11. อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือข้อใด
(1) รศ.สุขุม นวลสกุล
(2) รศ.รังสรรค์ แสงสุข
(3) รศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) รศ.คิม ไชยแสนสุข
ตอบ 3หน้า 22 – 23 อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ รศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ดํารงตําแหน่ง 3 วาระ ดังนี้
1. 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1)
2. 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 2)
3. 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 3)

12. คําขวัญแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือข้อใด
(1) รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
(2) สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม
(3) เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง
(4) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ตอบ 1 หน้า 22 – 23 คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
1. “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคําขวัญแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
2. “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527 3. “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดคําขวัญเนื่องใน โอกาส 40 ปี รามคําแหง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ฯลฯ

13. คําทักทาย “ต้องห้าม” เพราะอาจทําให้เสียบรรยากาศ
(1) แป้ง หมู่นี้ไปทําอะไรมาสวยขึ้นเป็นกองเลย
(2) หมู่นี้แต่งตัวเปรี้ยวทันสมัย ตามเทรนเลยนะยิ่ง
(3) ตุ๊กตา เราเพิ่งรู้ว่าเธอแต่งงาน ไม่บอกกันเลยจะได้ไปแสดงความยินดีด้วย
(4) นิตยา แต่งงานมาตั้งนานแล้ว เมื่อไหร่จะซื้อบ้านซื้อรถสักทีล่ะ
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) การทักทายของคนไทยมักจะเริ่มต้นด้วยการกล่าวคําว่า “สวัสดีค่ะ ครับ” และกล่าวต่อไปว่า “สบายดีหรือคะ/ครับ” หรือพูดถึงเรื่องทั่วไปในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ หรือการทํามาหากิน ฯลฯ ไม่ควรพูดวิจารณ์รูปร่าง หน้าตา สถานะทางการเงิน ฯลฯ ของคู่สนทนาในแง่ลบ ดูหมิ่น และไม่ให้เกียรติผู้อื่น

14. มารยาทในการรับประทานอาหาร
(1) นาน ๆ เจอกันที จิ๊บกับมินมักจะคุยไปกินไปอย่างสนุกสนาน
(2) อ๊อดชอบกินเป็ดปักกิ่งมาก จึงตักแต่เป็ดปักกิ่งโดยไม่ส่งต่อให้ผู้อื่นตักด้วย
(3) นิดมีธุระ พอทานข้าวเสร็จก็ลุกออกจากโต๊ะโดยไม่บอกกล่าวใคร
(4) งานเลี้ยงอาหารบุฟเฟต์ สุภาพมักจะไปตักทานอาหารเอง โดยเลือกตักอาหารที่ชอบ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน
ตอบ 4 หน้า 140 มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ มีดังนี้
1. ควรลุกไปตักอาหารเองโดยยืนต่อแถว ไม่ตักอาหารเพื่อคนอื่น และอย่าตักอาหารมากเกินไป ถ้าไม่พอสามารถไปเติมใหม่ได้
2. ไม่พูดคุยขณะที่ตักอาหาร รีบตักอาหารเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ผู้อื่นได้ตักอาหารบ้าง
3. ตักอาหารเป็นอย่าง ๆ อย่าวางสุมทับกัน ถ้าของเป็นชิ้นควรหยิบเพียง 1 ชิ้น
4. อาหารที่ตักมาต้องรับประทานให้หมด
5. ไม่เบียดหรือแซงคิวผู้อื่นขนาดไปยืนรอตักอาหาร ควรรอจังหวะให้ผู้อื่นตักเสร็จเสียก่อน
6. เมื่อรับประทานเสร็จ ต้องเขียนเศษอาหารในจานให้อยู่รวมกัน แล้วรวบรวมช้อนส้อม ให้เรียบร้อย ฯลฯ

15. การแต่งกาย บ่งบอกถึง
(1) อุปนิสัยของผู้แต่ง ระดับการศึกษา ฐานะความเป็นอยู่ เชื้อชาติและวัฒนธรรมประจําชาติ
(2) บุคลิกภาพ อุปนิสัย สภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่
(3) การได้รับการอบรม การเลี้ยงดู ฐานะ ค่านิยม
(4) ความสวยงาม
ตอบ 1 หน้า 142 ความสําคัญของการแต่งกาย มีดังนี้
1. ช่วยบ่งบอกถึงอุปนิสัยของผู้แต่ง
2. ช่วยบอกถึงระดับการศึกษา
3. ช่วยบอกถึงฐานะความเป็นอยู่
4. ช่วยบอกถึงเชื้อชาติและวัฒนธรรมประจําชาติ

16. มารยาทในสังคมที่ไม่ควรทํา
(1) ไม่ควรแสดงกิริยาละเมิดหรือดูหมิ่นสถาบันเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไทย
(2) พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความเคารพ ไม่ควรกระทําการใด ๆ ที่แสดงถึงการลบหลู่ดูหมิ่น
(3) ไม่ควรกระทําการใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้สึกอับอายเสียหน้าในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าสาธารณชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 156 มารยาทในสังคมไทยที่ไม่ควรทํา ได้แก่
1. ไม่ควรแสดงกิริยาละเมิดหรือดูหมิ่นสถาบันเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไทย
2. คนไทยถือศีรษะเป็นสิ่งสูงสุด ไม่ควรจับหรือส่งสิ่งของข้ามศีรษะ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพ
3. คนไทยถือว่าเท้าเป็นของต่ํา ไม่ควรใช้เท้าเขี่ย หรือเดินข้ามบุคคลหรือสิ่งของ เช่น อาหาร หนังสือ เป็นต้น
4. พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความเคารพ ไม่ควรกระทําการใด ๆ ที่แสดงถึงการลบหลู่ ดูหมิ่น เช่น การปีนป่าย หรือนําไปวางในที่ที่ไม่เหมาะสม
5. ไม่ควรกระทําการใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้สึกอับอายเสียหน้าในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าสาธารณชน
6. ไม่ควรทักทายคนไทย โดยเฉพาะสุภาพสตรีด้วยการโอบกอด หรือจูบ ฯลฯ

17. คํากล่าวขอบพระคุณ ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ใช้กับผู้ที่เป็นผู้ใหญ่กว่า
(2) ใช้กับผู้ที่เป็นเด็กกว่า
(3) ใช้กับเพื่อน
(4) ใช้ได้กับทุกระดับ
ตอบ 1 หน้า 128 คํากล่าว “ขอบคุณ” เป็นคําที่ใช้เมื่อมีผู้อื่นให้สิ่งของ ให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะ โดยหน้าที่ของเขา หรือมีน้ําใจหรือไม่ก็ตาม ถ้ากล่าวกับผู้ที่อาวุโสกว่า หรือมีวัยเสมอกันจะใช้ คําว่า “ขอบคุณ” แต่ถ้ากล่าวกับคนที่มีอายุน้อยกว่าจะใช้คําว่า “ขอบใจ” ส่วนระดับของการ
ขอบคุณจะใช้คําว่า “ขอบคุณ ขอบคุณมาก ขอบพระคุณมาก”, “ขอบใจ ขอบใจมาก” ซึ่งจะ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้พูดต่อสิ่งที่ทําให้หรือได้รับ โดยเฉพาะคําว่า “ขอบพระคุณมาก” นั้น จะใช้กับผู้อาวุโส มิใช่แค่คําพูด แต่น้ำเสียงที่พูด กิริยาท่าทางที่พูด จะบอกว่าผู้นั้นพูดออกมา จากความรู้สึกที่อยู่ในใจจริง ๆ หรือพูดออกมาตามหน้าที่

18. การดําเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ใช้ความเป็นตัวตนของตนเอง อย่าเชื่อใคร
(2) ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมเป็นหลัก
(3) รู้จักประหยัด ลดการใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิต
(4) ใครเป็นใครไม่สนใจ ขอให้เป็นตัวของตัวเอง
ตอบ 3 หน้า 259, 261 การดําเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ รู้จัก ประหยัด ลดการใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิต ยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ ไม่สร้างหนี้สินแต่ให้สร้างวินัยการใช้เงิน และออมเงินส่วนที่เหลือจ่าย

19. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่า “มารยาท”
(1) กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
(2) การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ
(3) ได้รับการอบรมให้งดงามแห่งสังคม ได้มาจากสิ่งแวดล้อม การศึกษา
(4) สาวชอบไปทําบุญที่วัดกับสมใจ
ตอบ 4 หน้า 127 พรทิพย์ เกยุรานนท์ (2559) กล่าวถึง “มารยาท” (Etiquette or good manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ หรือการแสดงออกที่มีแบบแผนในการ ประพฤติปฏิบัติ โดยได้รับการอบรมให้งดงามแห่งสังคม ทั้งนี้มารยาทไม่ได้ติดตัวมาแต่กําเนิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษาอบรมเป็นสําคัญ ซึ่งเมื่อดูกิริยาวาจาแล้วพอคาดได้ว่า ผู้นั้น ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไร นอกจากนี้พื้นฐานที่สําคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพ และสํารวม โดยมารยาทที่ถือเป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่
1. การมีสัมมาคารวะ
2. ความสุภาพอ่อนน้อม
3. ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น

20. มารยาทที่ไม่ใช่คุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่
(1) มีความเป็นตัวเองสูง ไม่ชอบยุ่งกับใคร
(2) มีความสุภาพอ่อนน้อม
(3) มีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
(4) มีสัมมาคารวะ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21. มารยาททางสังคม ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) การ์ตูนไม่ชอบเป็นมิตรกับใคร เพราะหวาดระแวง เห็นผู้อื่นเป็นศัตรู
(2) นิตยาไม่ชอบแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความช่วยเหลือเพื่อนในห้องเรียน
(3) พัชราชอบซื้อของไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ในโอกาสต่าง ๆ เสมอ
(4) สนิทไม่เคยขอบคุณ ขอโทษ หรือตอบรับการทักทายจากใคร เพราะกลัวเสียศักดิ์ศรี
ตอบ 3 หน้า 126 คําว่า “มารยาททางสังคม” หมายถึง กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติ หรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก ด้วยเหตุที่มนุษย์เรานั้น ไม่สามารถอยู่ลําพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย จึงต้องมีกฎ
กติกาเพื่อกําหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่ เรียกกันว่า “มารยาททางสังคม” ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง

22.ความหมายของมารยาททางสังคม คือ
(1) กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติปฏิบัติ
(2) กรอบหรือแนวคิดที่นํามาใช้ในการประพฤติปฏิบัติ
(3) กรอบหรือแนวทางที่นํามาใช้ในการดํารงชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23. ระดับของการขอบคุณนั้นจะใช้อย่างไรถูกต้องที่สุด
(1) ขอบคุณ ขอบใจ ขอบพระคุณ
(2) ขอบคุณ ขอบคุณมาก ขอบพระคุณมาก
(3) ขอบใจ ขอบใจ ขอบใจมาก
(4) ขอบพระคุณ ขอบคุณมาก ขอบคุณ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

24. การแนะนําบุคคลให้รู้จักกัน
(1) นิสาแนะนําผู้อาวุโสให้รู้จักกับน้องสาวของตนก่อน
(2) จันทร์แนะนําเพื่อนให้รู้จักกับลูกตนก่อน
(3) จิตแนะนําแฟนให้รู้จักและสวัสดีคุณพ่อของตัวเอง
(4) อนันต์แนะนําผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ให้รู้จักกับพ่อแม่ของตนเองก่อน
ตอบ 3 หน้า 129 การแนะนําบุคคลให้รู้จักกันนั้น ตามหลักโดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะแนะนําผู้อาวุโสมาก ก่อนผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่า หรือแนะนําผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือมีตําแหน่งระดับสูงกว่าก่อน ผู้อื่น ถ้ามีสถานภาพเสมอกันก็ให้แนะนําตามความเหมาะสม อาจแนะนําผู้ที่มาก่อนก็ได้

25. เมื่อเพื่อนเรียนจบก่อนเรา และเราร่วมยินดีด้วยจากใจจริง แสดงถึงหลักคุณธรรมในข้อใด
(1) อุเบกขา
(2) กรุณา
(3) จิตตะ
(4) มุทิตา
ตอบ 4 หน้า 42, 223, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลัก
คุณธรรมประจําใจ ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม

26. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
(1) สุตตะ คือ การคิด
(2) ศีล 5 เป็นระดับคุณธรรมของสภาวะพ้นโลก
(3) ลิขิต คือ การถาม
(4) ลอยกระทง คือ แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรมประเภทสังคม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. ปรัชญา (ความรักในความรู้) คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือศาสนาอื่น ๆ
3. วรรณคดี เป็นหนังสือที่มีมาตรฐานทั้งด้านเนื้อหาสาระ คุณค่า และวิธีแต่ง เป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไป ซึ่งมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ ฯลฯ
4. สังคม คือ สิ่งที่สังคมกําหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่ถือปฏิบัติกันในสังคมและยอมรับสืบทอดกันมา
5. การเมืองการปกครอง ซึ่งได้กําหนดข้อบังคับ ระเบียบ กฎหมายของบ้านเมือง รวมทั้ง จรรยาบรรณต่าง ๆ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และเพื่อความยุติธรรมโดยทั่วกัน

27. การเกิดคุณธรรม จริยธรรมแบบ “บําเพ็ญประโยชน์” สามารถเกิดขึ้นได้ในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) จิตสาธารณะ
(2) เศรษฐกิจพอเพียง
(3) วัยใสใจสะอาด
(4) ปัญญาประดิษฐ์
ตอบ 1 หน้า 225, (คําบรรยาย) การเกิดคุณธรรมจริยธรรมแบบบําเพ็ญประโยชน์และพันธะสัญญา ประชาคม เป็นการปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชาติ มีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท และใช้สิทธิหน้าที่ทําให้เกิด ความสงบสุขและความสามัคคี ซึ่งการเกิดคุณธรรมจริยธรรมแบบ “บําเพ็ญประโยชน์” นี้มักจะ เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีอุตสาธารณะมากที่สุด

28. ความกรุณา เป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมในข้อใดต่อไปนี้
(1) พรหมวิหาร 4
(2) อิทธิบาท 4
(3) มงคลชีวิต
(4) กาลามสูตร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

29.“บวร” เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) การสร้างในตนเอง
(2) มโนธรรม
(3) พันธสัญญาประชาคม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเกิดคุณธรรมจริยธรรมจากการเลียนแบบ เป็นกระบวนการที่เกิดจากการ เรียนรู้ การยอมรับ การเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่แวดล้อมตนอยู่ แล้วนํามาปรับเข้ากับ ตนเอง ดังนั้นจึงถือเป็นกระบวนการที่มีความสําคัญต่อพัฒนาการของเด็ก นิสิต และนักศึกษา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน และชุมชน (“บ้าน วัด โรงเรียน” ซึ่งทั้ง 3 สถาบันนี้ รวมเรียกย่อ ๆ ว่า “บวร”)

30. ตู้ปันสุข มาจากพื้นฐานของการมีหลักธรรมในข้อใด
(1) จาคะ
(2) อุเบกขา
(3) มุทิตา
(4) วิริยะ
ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) จาคะ (ความเสียสละ) หมายถึง การตัดใจจากกรรมสิทธิ์หรือการตัดใจ จากความยึดครองของตนไปให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียสละแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยกําลังกาย กําลังทรัพย์ และกําลังสติปัญญา โดยความเสียสละมีอยู่ 2 ประการ คือ
1. สละวัตถุ คือ การสละทรัพย์หรือสิ่งของของตน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
2. สละอารมณ์ คือ การปล่อยวางหรือรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเองที่ทําให้จิตใจไม่สงบ รวมไปถึงการสละความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ

31.พระอรหันต์ ถือเป็นระดับคุณธรรมจริยธรรมประเภทใด
(1) สภาวะเนื่องกับโลก
(2) โลกิยธรรม
(3) ผู้พ้นจากกิเลส
(4) ธรรมขั้นต้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวัดระดับของคุณธรรมจริยธรรมทําได้ 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโลกิยธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของมนุษย์โลก สภาวะเนื่องกับโลก จัดเป็นธรรม ขั้นต้น เช่น ศีล 5 เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติตามโลกิยธรรมจะมุ่งให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสันติสุข ไม่ทําชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
2. ระดับโลกุตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก จัดเป็นธรรมชั้นสูง เช่น มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งผู้ที่บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือ ผู้พ้นจากกิเลส ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 4 ระดับ จากระดับต่ําไปสู่ระดับสูง ได้แก่ โสดาบันอริยบุคคล สกทาคามีอริยบุคคล อนาคามีอริยบุคคล และอรหันตอริยบุคคล

32. ธรรมทั้งหลายมี …….. เป็นเยี่ยมยอด
(1) จริยธรรม
(2) ปัญญา
(3) อวิชชา
(4) อุเบกขา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม จะเห็นได้ว่า “ปัญญา” เป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด ซึ่งจะชี้นําให้จิตใจและพฤติกรรมของ มนุษย์ให้ดําเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “สพเพ ธมฺมา ปญฺญุตตา” แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นเยี่ยมยอด

33. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง “ความเสียสละ”
(1) จินตะ
(2) จาคะ
(3) มุทิตา
(4) วิมังสา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

34. แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรมในข้อใดที่เกี่ยวกับ “ความรักในความรู้”
(1) ศาสนา
(2) วรรณคดี
(3) ปรัชญา
(4) สังคม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

35. มโนธรรม สอดคล้องกับการเกิดคุณธรรมจริยธรรมในข้อใดน้อยที่สุด
(1) การสร้างในตนเอง
(2) การเลียนแบบ
(3) การรู้จักรับผิดชอบชั่วดี
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ) การเกิดคุณธรรมจริยธรรมจากการสร้างใน ตนเอง โดยตัวเองเป็นผู้กําหนดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของมโนธรรม เหตุผลหรืออารมณ์ของมนุษย์ ในลักษณะการรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมชาติ แล้วเลือกเอาแนวทางที่ดีมาเป็นหลัก ในการดําเนินชีวิต เกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยมที่ได้จากการวิเคราะห์ คุณค่าความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกําหนด และแนวศีลธรรม

36. “คดในข้อ งอในกระดูก” เกี่ยวข้องกับคุณธรรมพื้นฐานในข้อใดมากที่สุด
(1) ประหยัด
(2) สามัคคี
(3) วินัย
(4) ซื่อสัตย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
4. มีวินัย
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
8. มีน้ําใจ
(สํานวน “คดในข้องอในกระดูก” – คนไม่ซื่อสัตย์ มีนิสัยคดโกงเอาเปรียบผู้อื่นจนเป็นสันดาน)

37. ข้อใดกล่าวถึงความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
(1) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
(2) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(3) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
ตอบ 2 หน้า 293, (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต
3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ

38.Open Educational Resources หมายถึงข้อใด
(1) ระบบการเรียนรู้รายบุคคล
(2) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
(3) การจัดการศึกษาแบบเปิด
(4) คลังทรัพยากรการเรียนรู้แบบปิด
ตอบ 4 หน้า 296, 298 คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources : OER) คือ แหล่งการเรียนรู้ทางด้านการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียม การใช้ ดังนั้นจึงเป็นแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ สนับสนุน และมีเป้าหมายใช้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้า ซึ่งผู้นําไปใช้อาจจะเป็นการเรียนรู้ เพื่อตนเอง ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง หรือเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เช่น สื่อมัลติมีเดียใหม่ ๆ วิดีโอบรรยาย ตําราเรียน ฯลฯ

39. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด

(1) ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
(2) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า
(3) ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลง โดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
(4) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
ตอบ 2 หน้า 301 เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว เป็นการกําหนดสัญญาอนุญาตโดยการ ระบุเงื่อนไขร่วมกัน ได้แก่ Attribution CC – BY – NC – ND หมายถึง อนุญาตให้เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า

40. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด
(1) แสดงที่มา/อ้างอิงที่มา
(2) ใช้เพื่อการค้า
(3) อนุญาตแบบเดียวกัน
(4) อนุญาตให้ใช้แต่ต้องไม่ดัดแปลง

ตอบ 1 หน้า 285 – 286, (คําบรรยาย) ความรู้ 2 ประเภท มีดังนี้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่าง ยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้ง ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด เช่น เชฟทําอาหาร, นักกีฬา ฟุตบอลทีมชาติ, ครูสอนหนังสือ ฯลฯ
2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถ สัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะถ่ายทอดออกมาในรูปของตํารา หนังสือพิมพ์ นวนิยาย ภาพวาด รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

46. ความรู้ในลักษณะ Soft Skill คือข้อใด
(1) สมหมายเก๋งขับรถยนต์
(2) สมคิดมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้นํา
(3) สมหวังเก่งการถ่ายภาพ
(4) สมควรเรียนหนังสือเก่งมาก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเภทของความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบของสื่อหรือเอกสาร (Hard Skills) ที่เราถ่ายทอด ปฏิบัติ หรือได้รับ การฝึกฝนมา เช่น การเขียนหนังสือหรือตํารา, การขับรถยนต์เก่ง, การถ่ายภาพสวย ฯลฯ
2. ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา (Soft Skills) หรือเรียกว่า “พรสวรรค์” รวมทั้งทักษะในด้าน ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยุคปัจจุบัน เช่น ทักษะด้านการถ่ายทอดสื่อสารข้อมูล, ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นํา, การจัดการแก้ปัญหา, การมีคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ

47. Global Village แสดงถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องในเรื่องใด
(1) การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
(2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
(3) กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
(4) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หมู่บ้านโลก (Global Village) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฉพาะการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ทําให้สังคมโลก
ไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทําอะไรก็สามารถ รับรู้ได้ทั่วโลก หรือสิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้

48. ถ้านักศึกษาต้องการสําเนาสื่อคําบรรยายกระบวนวิชา แหล่งเรียนรู้ใดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.techno.ru.ac.th/new
(2) www.computer.ru.ac.th
(3) www.e-learning.ru.ac.th
(4) www.ram2.ru.ac.th
ตอบ 1 หน้า 294, (คําบรรยาย) ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สํานักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการผลิต พัฒนา และให้บริการสื่อการศึกษา ที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคําแหงทุกแขนงวิชา ดังนั้น สํานักเทคโนโลยีการศึกษาจึงถือเป็นแหล่งรวมของสื่อการศึกษาที่มีความหลากหลายในทุกสาขา วิชาและทุกชั้นปี ผ่านทาง www.techno.ru.ac.th/new/ เช่น ให้บริการสําเนาสื่อคําบรรยาย กระบวนวิชาต่าง ๆ ด้วย DVD และ Flash Drive, ให้บริการยืมสื่อการศึกษา, การผลิตรายการ RU Radio Podcast: แนะแนวการศึกษา “มีคําถาม มีคําตอบ” ฯลฯ

49. สิ่งที่อาสาสมัครพึงมี พึงปฏิบัติ
(1) พรหมวิหาร 4
(2) กรุณา
(3) วางใจเป็นหนึ่งเดียว
(4) มุทิตา
ตอบ 1 หน้า 220, 223 เมื่อกล่าวถึงคําว่า “อาสาสมัคร” จะมีอีกคําหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงควบคู่กัน อยู่เสมอ นั่นคือ คําว่า “จิตอาสา” อย่างไรก็ตามเราสามารถอธิบายโดยเปรียบอาสาสมัครว่า เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีจิตอาสา ซึ่งชลลดา ทองทวี (2549) ได้กล่าวถึงความหมายของจิตอาสา ไว้ว่า “จิตอาสา” คือ กิจกรรมอาสาสมัครที่เป็นกระบวนการของการฝึกการให้ที่ดีเพื่อขัดเกลา ละวางตัวตน และบ่มเพาะการรักผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไข ยอมสละตนเพื่อรับใช้และช่วยเหลือผู้ที่ ประสบกับความทุกข์ยากลําบากในวิถีของพรหมวิหาร 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ)

50. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมหลักทั้ง 3 ด้าน ของจิตอาสา
(1) การเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(2) การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
(3) มุ่งมั่นพัฒนาสิ่งรอบตัวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
(4) พูดจาสุภาพอ่อนหวาน
ตอบ 4 หน้า 222 – 223, (คําบรรยาย) พฤติกรรมหลักทั้ง 3 ด้าน ของจิตอาสา มีดังนี้
1. การเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
2. การช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
3. การมุ่งมั่นพัฒนาสิ่งรอบตัวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

51. ข้อใดไม่ใช่ความหมายเกี่ยวกับ “จิตสํานึก” ที่ถูกต้อง
(1) จิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทําอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง
(2) เป็นคุณธรรมประการหนึ่งสําหรับพลเมือง
(3) Conscious
(4) รู้จักการประมาณตน ครองตน
ตอบ 4 หน้า 108, (คําบรรยาย) ความหมายเกี่ยวกับ “จิตสํานึก” ที่ถูกต้อง ได้แก่
1. จิตสํานึก (Conscious) เป็นจิตระดับที่มนุษย์เราแสดงออกยามเมื่อรู้ตัว มีสติตลอดเวลา รู้ว่า ตนเองเป็นใคร ต้องการอะไร กําลังทําอะไร อยู่ที่ไหน รู้สึกอย่างไร ขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง
2. จิตสํานึกสาธารณะเป็นคุณธรรมประการหนึ่งของพลเมืองที่ดี เพราะการเป็นพลเมืองดีจะมุ่ง สร้างจิตสํานึกเพื่อส่วนร่วมหรือจิตสํานึกสาธารณะให้เกิดขึ้นกับประชาชน ฯลฯ

52. การเสริมสร้างจิตสาธารณะของคนในสังคมจําต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกัน ได้แก่
(1) สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว สื่อมวลชน
(2) สถาบันทางสังคม สถาบันทางเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว
(3) สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันทางทหาร
(4) สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมือง
ตอบ 1 หน้า 235 รัญจวน อินทรกําแหง (2528) เสนอแนวทางในการเสริมสร้างจิตสํานึกสาธารณะ ของคนในสังคมว่า จําเป็นที่จะต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกัน ดังนี้
1. สถาบันครอบครัว ถือเป็นจุดเริ่มต้นหรือแหล่งเรียนรู้แห่งแรกในชีวิต
2. สถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ฯลฯ
3. สถาบันศาสนา
4. สื่อมวลชน

53. “จิตสาธารณะ” ตรงกับภาษาอังกฤษข้อใด
(1) Public Mite
(2) Public Mind
(3) Public Service
(4) Publication
ตอบ 2 หน้า 223, (คําบรรยาย) คําว่า “จิตสาธารณะ” เป็นคําที่มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ นานา เนื่องจากยังเป็นคําใหม่ที่สังคมไทยเริ่มใช้กัน โดยภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า “Public Mind / Mind Service / Service Mind” และมีคําใกล้เคียงกัน คือ คําว่า “จิตสํานึกสาธารณะ” หรือ “Public Consciousness

54. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะ
(1) ปิ่นเป็นคนทํางานทุ่มเทและอุทิศตนเสมอ
(2) บ้านเป็นคนมีเหตุผลและเคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคลเสมอ
(3) ปุ๊กชอบวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เพียงเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาทางอ้อม
(4) ไปป์ชอบทํางานเพื่อผู้อื่น เพื่อองค์กรของตน และเกิดผลต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
ตอบ 3 หน้า 233 ยุทธนา วรุณปิติกุล กล่าวถึง บุคคลที่มีจิตสาธารณะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. ทุ่มเทและอุทิศตน มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นผู้ที่เสียสละ
2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
4. การลงมือกระทํา

55. ผู้ที่มีจิตสาธารณะ จิตอาสา คือ ผู้ที่มีหลักธรรมในข้อใดมากที่สุด
(1) มุทิตา
(2) อุเบกขา
(3) จาคะ
(4) วิริยะ
ตอบ 3 หน้า 219, 223, (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ จิตอาสา คือ ผู้ที่มีหลักธรรม จาคะ” (ความเสียสละ) มากที่สุด เพราะผู้ที่มีจิตสาธารณะ จิตอาสา ถือเป็นบุคคลที่พร้อมจะ เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยแสดงออกทางพฤติกรรมที่ เสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

56. จิตสาธารณะ หมายถึง
(1) ความรู้สึกตระหนักต่อส่วนรวม
(2) การคิดจะทําการใดโดยคิดถึงงานส่วนรวมเป็นหลัก
(3) มีความรับผิดชอบต่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 225, 237 จิตสาธารณะ คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือเป็นการตระหนักรู้ตน ที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อรับผิดชอบต่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

57. ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะของผู้ที่มีจิตสาธารณะ
(1) ทุ่มเทอุทิศตน
(2) คํานึงถึงประโยชน์ส่วนตน
(3) รับผิดชอบต่อสังคม
(4) เป็นผู้ที่เสียสละ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

58. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดที่ใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด
(1) หลักเศรษฐกิจพอเพียง
(2) หลักความสมดุล
(3) หลักความมีเหตุผล
(4) หลักความพอประมาณ

ตอบ 1 หน้า 230, 238, (คําบรรยาย) แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

59. เกี่ยวกับจิตสาธารณะ ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) การไม่ทิ้งขยะลงบนถนน
(2) จิตสาธารณะควรมีมาแต่กําเนิด
(3) การปล้นคนรวยมาช่วยคนจน
(4) การปลูกฝังจิตสาธารณะควรสั่งสมทํามาตั้งแต่วัยเด็ก
ตอบ 4 หน้า 234, 238 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการปลูกฝังจิตสาธารณะของคนในสังคม ควรเริ่มขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก โดยต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว การศึกษา ศาสนา และสื่อมวลชน (ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ)

60. จิตสาธารณะ” ตรงกับภาษาอังกฤษข้อใด
(1) Volunteer
(2) Victory
(3) Olimpeer
(4) Mind Service
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

61. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของการเป็น “พลเมืองดี”
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) สังคม
(4) ประวัติศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 112 ณัฐนันท์ ศิริเจริญ (2555) ได้กล่าวถึงความสําคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย ควรมีแนวทางในการปฏิบัติตน 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านสังคม
2. ด้านเศรษฐกิจ
3. ด้านการเมืองการปกครอง

62. ในฐานะที่เป็นคนไทย ทุกคนปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคมได้ ข้อใดถูกต้อง
(1) ทุกคนจะต้องเสียภาษีเท่ากัน
(2) ทุกคนสามารถรับราชการทหารเพื่อรับใช้ชาติได้
(3) ทุกคนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองได้
(4) ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในฐานะที่เป็นคนไทย ทุกคนสามารถปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคมได้ คือ ทุกคน สามารถปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด และต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ

63. หลักการของประชาธิปไตย พลเมืองสามารถชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นของสังคม ข้อใดถูกต้อง
(1) การชุมนุมโดยการใช้ความคิด ความเชื่อของตนเองที่เป็นที่ตั้ง
(2) การชุมนุมกันอย่างสันติ มีเหตุผล ไม่ใช้กําลังรุนแรง
(3) ชุมนุมเรียกร้องตามที่กลุ่มต้องการ ทําให้ถึงที่สุด
(4) การชุมนุมโดยการปิดทําเนียบ ปิดสนามบิน ปิดถนน เพื่อกดดันคณะรัฐบาล
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) ตามหลักการของประชาธิปไตยนั้น พลเมืองสามารถชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นของสังคมได้โดยการเคารพกติกา และยอมรับผลของการละเมิดกติกา คือ ชุมนุมกันอย่างสันติ มีเหตุผล ไม่ใช้กําลังรุนแรง ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 ได้ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ ปราศจากอาวุธ

64. ข้อใดถูกต้องตามหลักการความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship)
(1) การเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กํากับตน
(2) ผิด รู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม
(3) ความรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คือ พลเมือง ที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กํากับตน รู้ผิด รู้ถูก และ รู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบ เรียนรู้ ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย พลเมืองดิจิทัลจึงต้องตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงในโลกดิจิทัล เข้าใจถึงสิทธิและความรับผิดชอบในโลกออนไลน์

65. ข้อใดไม่ใช่พลเมืองดีของสังคม 8 ประการ
(1) ประหยัด อดออม ไม่แบ่งปันให้ใคร
(2) มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
(3) รับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง
(4) คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคม 8 ประการ มีลักษณะดังนี้
1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย

66. การปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาที่ดีของมหาวิทยาลัย ข้อใดเหมาะสมที่สุด
(1) การเข้าเรียนทุกครั้งเมื่อมีเวลาว่าง
(2) การตั้งใจศึกษาเล่าเรียนแข่งขันกับเพื่อน
(3) การแต่งตัวให้ถูกต้องตามระเบียบการเข้าสอบของมหาวิทยาลัย
(4) การช่วยเก็บของตามริมทางของมหาวิทยาลัย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาที่ดีของมหาวิทยาลัย คือ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ มหาวิทยาลัย เช่น แต่งตัวให้ถูกต้องตามระเบียบการเข้าสอบของมหาวิทยาลัย โดยแต่งกายให้
สุภาพเรียบร้อยตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ไม่สวมรองเท้าแตะเข้ามาในห้องสอบ นักศึกษาชายไม่สวมเสื้อที่ไม่มีคอปก ชายเสื้อสอดไว้ในกางเกง นักศึกษาหญิงต้องสวมกระโปรง ห้ามสวมกางเกงหรือกระโปรงกางเกง เป็นต้น

67. พลเมืองที่ดีควรปฏิบัติตนอย่างไร
(1) ปฏิบัติตามใจตนเอง
(2) มีความซื่อสัตย์
(3) มีความกระตือรือร้น
(4) มีความมีระเบียบ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

68. การปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาที่ดีของมหาวิทยาลัย ควรปฏิบัติตนอย่างไร
(1) มีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์
(2) ปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
(3) มีความรู้ความสามารถในการสอบ
(4) มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้สอน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

69.“พลเมือง” (Citizen) หมายถึง
(1) ประชาชนจํานวนมากในประเทศหนึ่ง
(2) บุคคลในสังคมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีสิทธิและเสรีภาพอย่างอิสระในการอยู่ร่วมกันในสังคม
(3) ประชากรที่ดําเนินชีวิตในประเทศหนึ่ง ๆ ตามกฎหมาย
(4) การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
ตอบ 2 หน้า 103 – 104, (คําบรรยาย) “พลเมือง” (Citizen) หมายถึง คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะ ประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักจะมีดังนั้นพลเมืองจึงเป็นบุคคลในสังคมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีสิทธิและเสรีภาพวัฒนธรรมเดียวกัน อย่างอิสระในการอยู่ร่วมกันในสังคม

70. พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย เมื่อมีอายุครบเท่าไรต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
(1) 15 ปี
(2) 18 ปี
(3) 20 ปี
(4) 25 ปี
ตอบ 4 หน้า 113 – 114, (คําบรรยาย) พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย กําหนดให้บุคคลที่มีสิทธิ์ เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบัน จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุ ไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง

71. การรักษาไว้ซึ่งชาติของพลเมืองดี ควรทําโดยวิธีใด
(1) ร้องเพลงชาติทุกวัน
(2) นําธงชาติไปปราศรัยหน้าบ้าน
(3) การป้องกันดูแลไม่ให้เกิดความแตกแยก
(4) การร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีของประเทศ มีดังนี้
1. ธํารงรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยต้องช่วยกันป้องกันดูแลไม่ให้เกิดความแตกแยกหรือแตกความสามัคคีในประเทศ
2. เสียภาษีอากรให้แก่รัฐอย่างครบถ้วน
3. ปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด
4. มีส่วนร่วมในหน่วยราชการทหารหรือการป้องกันประเทศ เมื่ออายุครบเกณฑ์
5. รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่สังคมยอมรับว่า เป็นสิ่งดีงามควรอนุรักษ์ไว้ ฯลฯ

72. ข้อใดไม่ใช่การปฏิบัติตนของบุคคลที่ถือว่าได้ทําหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี
(1) นายแก้วเสียภาษีครบถ้วน
(2) นายเลิศสมัครเข้ารับราชการทหาร เมื่ออายุครบเกณฑ์
(3) นางสายใจปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด
(4) นายศรีอนันต์เป็นผู้ที่รักษาประเพณีโบราณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

73. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีภาวะผู้นําแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสําคัญ ดังนี้
(1) ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติ
(2) ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ
(3) ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม

(4) ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
ตอบ 2 หน้า 167 ทฤษฎีภาวะผู้นําแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสําคัญดังนี้
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ (Trait) และคุณสมบัติ (Qualities) ของผู้นําที่มีประสิทธิผล
(Trait Theories)
2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม (Behavior Theories)
3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (Situational Theories)

74. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทของผู้นํา
(1) การกําหนดแนวทางหลัก (Pathfinding)
(2) การสร้างระบบการทํางานที่มีประสิทธิผล (Aligning)
(3) การมอบอํานาจ (Empowering)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 170 – 171 บทบาทของผู้นําแบ่งอย่างกว้าง ๆ ออกเป็น 4 ประการดังนี้
1. การกําหนดแนวทางหลัก (Pathfinding)
2. การสร้างระบบการทํางานที่มีประสิทธิผล (Aligning)
3. การมอบอํานาจ (Empowering)
4. การสร้างตัวแบบ (Modeling)

75. ผู้นําในสังคมยุคใหม่ ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความจริงใจ คิดออก ทําได้ ทําจริง มีบทบาทให้คุณให้โทษได้
(2) เปลี่ยนแปลงปรับปรุงองค์กรจากเดิมให้ทันสมัย ก้าวล้ํานําหน้ามากกว่าคนอื่น ๆ
(3) ผู้นําที่สามารถวางแผนและบริหารองค์กร ซึ่งเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร รู้จักการใช้เทคโนโลยี
(4) ผู้นําต้องมีบทบาทการประสานงานร่วมมือช่วยเหลือให้สําเร็จได้
ตอบ 3 หน้า 171 172 ลักษณะของผู้นําในยุคสมัยใหม่จะต้องเป็นผู้นําที่สามารถวางแผนและบริหาร องค์กร ซึ่งเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ผู้นําต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รู้จักการใช้เทคโนโลยีด้าน ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร นอกจากนี้ ผู้นําในสังคมยุคใหม่ยังต้องสามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันแก้ไขปัญหาได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งถ้าหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่และสลับซับซ้อน จําเป็นต้องมีผู้นําที่มีความสามารถ ต้องเป็นนักพัฒนาสามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจ เพื่อให้ ทุกคนขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสําเร็จ

76. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้นํายุคใหม่ ข้อใดถูกต้อง
(1) ตามทฤษฎีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยทั่วไป (PEST Analysis)
(2) ไม่เห็นความสําคัญของสิ่งแวดล้อมภายนอก
(3) โดยทั่วไปเป็นปัจจัยในระดับแคบ
(4) ไม่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อการปฏิบัติการขององค์กร
ตอบ 1 หน้า 172 – 174 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้นํายุคใหม่ ตามทฤษฎีการวิเคราะห์ สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยทั่วไป (PEST Analysis) เห็นว่า สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยทั่วไป เป็นปัจจัยในระดับกว้างที่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อการปฏิบัติการขององค์กร ดังนี้
1. ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal Factors)
2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Factors)
3. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social culture Factors)
4. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)

77. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้นํายุคใหม่
(1) ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย
(2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
(3) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78. ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : Thailand 4.0 ควรมีลักษณะใด
(1) การวางแผน การจัดองค์กร การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม
(2) การจัดองค์กร การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม การติดตาม
(3) การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม การติดตาม การประเมินผล
(4) การวางแผน การประสานงาน การบังคับบัญชา การควบคุม การติดตาม
ตอบ 1 หน้า 176 ทักษะของภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : Thailand 4.0 ที่จะประสบ ความสําเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรได้นั้น ต้องมีการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลสูง สามารถแก้ปัญหา โดยมีแนวทางดังนี้
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์กร (Organizing)
3. การบังคับบัญชา (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)

79.Webster (1985) ให้ความหมายของผู้นํา ข้อใดถูกต้อง
(1) บุคคลที่มีอํานาจสั่งการ
(2) บุคคลที่สามารถลงโทษ เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิด
(3) บุคคลที่เป็นหัวหน้าทําหน้าที่ในการสั่งการ แนะนํา หรือชี้แนะให้กลุ่มปฏิบัติตาม
(4) บุคคลที่มีบทบาทการประสานงาน ช่วยเหลือการปฏิบัติการต่าง ๆ
ตอบ 3 หน้า 160 Webster (1985) ให้ความหมายของ “ผู้นํา” ไว้ว่า บุคคลที่เป็นหัวหน้าทําหน้าที่ ในการสั่งการ แนะนํา หรือชี้แนะให้กลุ่มปฏิบัติตาม หรือมีบทบาทในการนําด้านการปฏิบัติการ แสดงความคิดเห็น ตลอดจนความเคลื่อนไหวต่าง ๆ

80. ข้อใดผิดเมื่อกล่าวถึง “ภาวะผู้นํา ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
(1) ภาวะผู้นํา เป็นคําผสมระหว่างคําว่า “ภาวะ” กับ “ผู้นํา”
(2) ภาวะ เป็นคํานาม แปลว่า “ความมี หรือความเป็น หรือความปรากฏ
(3) “ผู้นํา” ไม่ได้บัญญัติในพจนานุกรมโดยตรง แต่มีคําที่ใกล้เคียงกันมาก คือ คําว่า “หัวหน้า”
(4) ความหมายสรุปรวม คือ ผู้บริหาร
ตอบ 4 หน้า 161 “ภาวะผู้นํา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายว่า ภาวะผู้นํา เป็นคําผสมระหว่างคําว่า “ภาวะ” กับ “ผู้นํา” โดยคําว่า “ภาวะ” เป็นคํานาม แปลว่า “ความมี หรือความเป็น หรือความปรากฏ” ส่วนคําว่า “ผู้นํา” ไม่ได้บัญญัติไว้ใน พจนานุกรมโดยตรง แต่มีคําที่ใกล้เคียงกันมาก คือ คําว่า “หัวหน้า” เป็นคํานาม แปลว่า ผู้ใหญ่ในหมู่หนึ่ง ๆ และที่บัญญัติไว้อีกคําหนึ่ง คือ “ผู้จัดการ” เป็นคํานาม แปลว่า บุคคล ที่มีหน้าที่บริหารและควบคุมดูแลกิจการ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรากศัพท์ที่กล่าวไปแล้วพอจะ สรุปได้ว่า “ภาวะผู้นํา” หมายถึง ความเป็นหัวหน้าของกลุ่มหนึ่ง

81. แนวคิดผู้นําที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ต้องมีลักษณะอย่างไร
(1) ไม่คํานึงถึงผลการทํางานที่บรรลุเป้าหมาย แต่คํานึงถึงความเป็นผู้นํา
(2) การจัดสรรทรัพยากรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่
(3) พิจารณาจากการประหยัดเงิน ทรัพยากร แรงงาน เวลา และคนปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ
(4) ผู้นําต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 3 หน้า 163 แนวคิดภาวะผู้นําที่มี “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) หมายถึง ผลการทํางานที่ บรรลุเป้าหมายและต้องการให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยมองความสัมพันธ์ระหว่างความสําเร็จของงานกับการใช้ทรัพยากร พิจารณาจากการประหยัดเงิน ทรัพยากร แรงงาน เวลา และคน ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ ส่วน “ประสิทธิผล” (Effectiveness) หมายถึง ผลของการทํางาน ที่สําเร็จตามที่คาดหวังไว้ เป็นการพิจารณาผลลัพธ์ คือ ผลงานที่ออกมาว่าบรรลุตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้หรือไม่

82. Likert (1984) เชื่อว่า ภาวะผู้นําที่มีประสิทธิภาพ ข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้นําต้องมีวิสัยทัศน์
(2) พฤติกรรมการแสดงออกของผู้นําที่ต้องการทั้งผลงานและความสุข ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงาน
(3) องค์กรจะประสบความสําเร็จ ถ้ามีผู้นําที่มีความรู้ความสามารถ
(4) การจัดองค์กรโดยมีการปรับโครงสร้างเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับผู้นํา
ตอบ 2 หน้า 163 Likert (1984) เชื่อว่า ภาวะผู้นําที่มีประสิทธิภาพ คือ พฤติกรรมการแสดงออก ของผู้นําที่ต้องการทั้งผลงานและความสุข ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงาน จึงต้องการผู้นํา ที่มุ่งสร้างทีมงาน โดยใช้กิจกรรมสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม พึ่งพาอาศัยกัน ตลอดจนหลีกเลี่ยง ความขัดแย้ง และเห็นว่า ภาวะผู้นําที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นรากฐานของการสร้าง ความสําเร็จของงานต่าง ๆ

83. ข้อใดไม่ใช่ 7 ลักษณะของผู้นําที่มีประสิทธิผล
(1) คุณลักษณะเบื้องต้นลําดับแรกของผู้นํา คือ ต้องมีวิสัยทัศน์
(2) ผู้นําจะกระตุ้นให้ทีมงานมีการแข่งขันในด้านความสามารถ
(3) ผู้นําจะถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้แก่
(4) ผู้นําต้องเข้าใจความต้องการขององค์กร
ตอบ 4 หน้า 163 – 164 คุณลักษณะ 7 ประการ ของผู้นําที่มีประสิทธิผล ได้แก่
1. คุณลักษณะเบื้องต้นลําดับแรกของผู้นํา คือ ต้องมีวิสัยทัศน์
2. ผู้นําจะกระตุ้นให้ทีมงานมีการแข่งขันในด้านความสามารถ
3. ผู้นําจะถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้แก่ทีมงาน
4. ผู้นําจะกํากับการดําเนินการของทีม
5. ผู้นําจะให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วม
6. คุณสมบัติที่สําคัญของผู้นํานอกจากต้องมีความรู้ความสามารถแล้ว ก็จะต้องมีความทุ่มเท เสียสละ ลดความเสี่ยงในการทํางานให้น้อยที่สุด
7. สิ่งสําคัญที่ผู้นําประสบความสําเร็จ คือ เข้าใจความต้องการของผู้อื่น เสียสละในการทํางาน โดยคํานึงถึงว่าความสําเร็จขององค์กรต้อง อาศัยความร่วมมือของคนในองค์กรเป็นสําคัญ

84. หลักการใช้อํานาจของผู้นําตามทฤษฎีของเลวิน ลิฟฟิตต์ และไวท์ (Lewin Lippitt & White) 3 แบบ คือ (1) แบบสั่งการ, แบบรวมอํานาจ, แบบประชาธิปไตย
(2) แบบประชาธิปไตย, แบบความสามารถ, แบบสั่งการ
(3) แบบประชาธิปไตย, แบบอัตตาธิปไตย, แบบตามสบาย
(4) แบบสั่งการ, แบบประชาธิปไตย, แบบวิสัยทัศน์
ตอบ 3 หน้า 164 – 165 อาคม วัดไธสง (2547, หน้า 26) ได้อธิบายการศึกษาเกี่ยวกับหลักการ ใช้อํานาจของผู้นําตามทฤษฎีของเลวิน ลิฟฟิตต์ และไวท์ (Lewin Lippitt & White) ซึ่งได้ จําแนกผู้นําเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. แบบประชาธิปไตย (Democratic)
2. แบบอัตตาธิปไตย Autocratic)
3. แบบตามสบาย (Laissez – fair)

85. การดําเนินกิจกรรมข้อใดต้องอาศัยความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการ
ตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขชีวิต
ตอบ 3 หน้า 250 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัย
ความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก

86. การที่บุคคลมีการดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการ ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลักคุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เกี่ยวข้อง
กับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขชีวิต
ตอบ 4 หน้า 250, (คําบรรยาย) เงื่อนไขชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การที่บุคคลดําเนินชีวิต ด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการชีวิต โดยใช้หลัก วิชาและหลักคุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เนื่องจาก สามารถเข้าใจชีวิตและทําให้รับได้กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะร้ายหรือดี

87. การที่บุคคลมีการช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ การช่วยกัน
ดูแลความสงบและความปลอดภัย และการให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างเหมาะสม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 230, 264 – 265, (คําบรรยาย) ความพอเพียงระดับชุมชน คือ การสร้างเครือข่าย เพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

88. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างงบประมาณ ให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะ และไม่ลงทุน เกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

89. เกษตรกรมีการรวมกลุ่มหรือสหกรณ์ในการร่วมแรงร่วมใจในการดําเนินกิจการด้านการผลิต การตลาด สวัสดิการชุมชน การศึกษา สังคม และศาสนา เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(2) ทฤษฎีใหม่ชั้นที่สอง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 2 หน้า 261, (คําบรรยาย) ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 2 หลังจากที่เกษตรกรได้ปฏิบัติ
ตามหลักการในขั้นที่ 1 จนได้ผลแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาไปสู่ขั้นของการรวมพลังเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดําเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. การผลิต
2. การตลาด
3. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
4. สวัสดิการชุมชน
5. การศึกษา
6. สังคมและศาสนา

90. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 3 หน้า 261, (คําบรรยาย) ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนในด้าน การลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

91. ข้อใดกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) พอประมาณ สมดุล มีเหตุผล
(2) มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มั่นคง
(3) พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
(4) มีเหตุผล มั่นคง ยืนได้ด้วยตนเอง
ตอบ 3 หน้า 254, (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียงประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม

92. หากนักศึกษาจะปฏิบัติตามหลักความพอเพียง ควรเริ่มจากข้อใด
(1) ตนเอง
(2) เพื่อน
(3) ครอบครัว
(4) ประเทศ
ตอบ 1 หน้า 270, (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนหรือดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจาก ตนเองก่อนเป็นลําดับแรก เมื่อตนเองสามารถยืนหยัดอยู่ได้แล้วก็ย่อมจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ ผู้อื่นนําไปประพฤติปฏิบัติตาม จากนั้นจึงเป็นครอบครัว ชุมชน รัฐหรือประเทศชาติ

93. นักศึกษามีแนวทางการดํารงชีวิตและการปฏิบัติตนให้ดําเนินการไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 1 หน้า 229 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายถึง แนวทาง การดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึง ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

94. ผู้ที่มีการสร้างสมดุลและมีความพร้อมในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองนั้นต้องสามารถสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ

95. การที่นักศึกษามีการวางแผนทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และต้องมีการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะความพอเพียงในข้อใด
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(4) ความไม่ประมาท
ตอบ 3 หน้า 229, 247, 2553. 256, (คําบรรยาย) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้ พร้อมรับกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ และต้องประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อให้ สามารถปรับตัวและพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพด้วยเวลาที่เหมาะสม เช่น การที่นักศึกษาวางแผนการทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เป็นต้น

96. องค์ประกอบหลักที่กล่าวว่า “จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการ นําวิชาต่าง ๆ มาใช้ในการดําเนินการทุกขั้นตอน และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ” เกี่ยวข้อง
กับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 229, 244, 250, (คําบรรยาย) เงื่อนไขพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผน และดําเนินการทุกขั้นตอน และต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสํานึก ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

97. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(2) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(3) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
(4) เห็นประโยชน์เครือญาติสําคัญกว่าประโยชน์พวกพ้อง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ

98. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดของระบบคิด “ฐานสอง Digital”
(1) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น
(2) เป็นระบบที่มีค่าตัวเลข คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง)
(3) มีโอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช้กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้
(4) สามารถแยกประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์พวกพ้องได้อย่างเด็ดขาด
ตอบ 4 หน้า 314, (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสอง (Digital) เป็นระบบของการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) และอาจหมายถึง โอกาสที่ จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช้กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้ ฯลฯ จึงเป็นระบบคิด ที่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด ไม่กระทําการ ที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

99. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดได้
(1) คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการทุจริต
(2) คิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
(3) คิดก่อนทํา
(4) คิดถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้จากการตัดสินใจทํา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการคิดได้ มีดังนี้
1. คิดก่อนทํา (ก่อนกระทําการทุจริต)
2. คิดถึงผลเสียผลกระทบต่อประเทศชาติ (ความเสียหายต่อส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน)
3. คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการกระทําการทุจริต (เอามาเป็นบทเรียน)
4. คิดถึงผลเสียผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (จะต้องอยู่กับความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียน ถูกลงโทษไล่ออก และติดคุก)

100. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(4) มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 4 หน้า 314, (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้าน บวกและด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง

101. ต่อไปนี้เป็นการลงโทษทางสังคมเชิงบวก ยกเว้นข้อใด
(1) ให้การสนับสนุน
(2) ให้รางวัล
(3) สร้างแรงจูงใจ
(4) ชื่นชมตักเตือน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 100. ประกอบ

102. มีวินัย เป็นคุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ซึ่งหมายความว่าอะไร

(1) ความตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสําเร็จตามความมุ่งหมาย
(2) ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรืออคติ
(3) การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
(4) ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทําให้เกิด ความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ข้อ 4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีวินัยใน ตนเองและมีวินัยต่อสังคม

103. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(2) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
(3) การทําสมาธิ
(4) ฝึกการเป็นผู้ให้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ

104. ขันติเป็นหนึ่งในฆราวาสธรรม 4 ประการ หมายถึงตามข้อใด
(1) ความจริง คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือ
ไว้วางใจได้
(2) การข่มใจ คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ (3) อดทน คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทนไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอย มั่นคงในจุดหมาย
(4) เสียสละ คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงาน กับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักคุณธรรมสําหรับฆราวาส หรือหลักการครองชีวิต ให้มีความสุข ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย
1. สัจจะ (ความจริง) คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไร ก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
2. ทมะ (การข่มใจ) คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้า ดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
3. ขันติ (อดทน) คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ (เสียสละ) คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ
ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน

105. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(2) หลักความโปร่งใส (Accountability)
(3) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
(4) หลักความรับผิด (Responsibility)
ตอบ 4 หน้า 191 – 192, (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นแนวทางการ จัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถ อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานของการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

106. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
(3) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(4) หลักความเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐธรรมนูญ
ตอบ 4 หน้า 191, (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

107. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการให้โทษ
(1) มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
(2) มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างรุนแรง
(3) มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
(4) มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 หน้า 191, (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการให้โทษ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างยุติธรรม
3. มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
4. มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
5. หัวหน้างานลงโทษผู้ทุจริตอย่างจริงจัง ฯลฯ

108. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 3 หน้า 192, (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

109. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี
(1) ความมั่นคง
(2) การสร้างความสามารถในการอยู่รอด
(3) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
(4) การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ ได้วางกรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมีกรอบวิสัยทัศน์ คือ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และ เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีคติพจน์ ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ความมั่นคง
2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ

110. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
(2) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรับ
(3) ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
(4) ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่

1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต

111. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร G ในหลัก STRONG คืออะไร
(1) Generosity
(2) Generality
(3) Genocide
(4) Geography
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้)
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = KNowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)

112. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริอยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก เพราะครอบคลุม
มิติ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต
(2) มิติด้านเศรษฐกิจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านการดําเนินการ
ตอบ 4หน้า 244 เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของ ตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง จิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเพราะ ครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน

113. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเภทของรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันที่กําหนดโดยคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา สอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา
(1) การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(2) การทุจริตในการคัดเลือกบุคคล
(3) การทุจริตในการให้สัมปทาน
(4) การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ของวุฒิสภา ได้แบ่งรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
3. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
4. การทุจริตในการให้สัมปทาน
5. การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของการทุจริต
(1) กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
(2) การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
(3) ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
(4) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุของการทุจริต ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่เอื้อหรือสนับสนุนต่อ การเกิดการทุจริต มีดังนี้
1. แรงขับเคลื่อนที่ทําให้อยากมีรายได้เป็นจํานวนมาก
2. มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
3. การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
4. กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
5. ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก 6. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง

115. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
(3) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(4) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
ตอบ 2 หน้า 314, (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วน บุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

116. นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสําเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเทิด พระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันเดือนปีใด
(1) 26 พฤษภาคม 2549
(2) 5 ธันวาคม 2550
(3) 26 พฤษภาคม 2550
(4) 5 ธันวาคม 2549
ตอบ 1 หน้า 319 ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 นายโคฟี อันนั้น ซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การ สหประชาชาติ (UN) ในขณะนั้น ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัลความสําเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP : The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเทิดพระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

117. ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่าเมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ ถือเป็น
ความละอายระดับใด
(1) ความละอายระดับสูง
(2) ความละอายระดับภายนอก
(3) ความละอายระดับต่ำ
(4) ความละอายระดับต้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสาม สามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่า เมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนเองจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

118. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยจิตพอเพียง
(1) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
(2) ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
(3) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน
(4) ภูมิคุ้มกันทางสังคม
ตอบ 3 หน้า 319, (คําบรรยาย) การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทยด้วยจิตพอเพียงมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันทางสังคม
2. ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
3. ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ

119. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตรงกับคําในภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) Conflict of Common
(2) Conflict of Personal
(3) Conflict of Advantage
(4) Conflict of Interest
ตอบ 4 หน้า 311, (คําบรรยาย) การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม หรือ เรียกว่า “Conflict of Interest” จะมีลักษณะทํานองเดียวกันกับกฎศีลธรรม จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม หลักคุณธรรม จริยธรรม กล่าวคือ การกระทําใด ๆ ที่เป็นการขัดกันระหว่าง ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรจะกระทํา แต่บุคคล แต่ละคน แต่ละกลุ่มสังคมอาจเห็นว่า เรื่องใดเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับ
ประโยชน์ส่วนรวมแตกต่างกันออกไป

120. ดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ซึ่งย่อมาจากคําว่าอะไร
(1) Corruption Period Indicator
(2) Corruption Perceptions Index
(3) Corruption Perceptions Indicator
(4) Cooperation Perceptions Index
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ย่อมาจากคําเต็มที่เป็นภาษาอังกฤษว่า
“Corruption Perceptions Index”

RAM1301 (RAM1000) ความรู้คู่คุณธรรม s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1301 (RAM 1000) คุณธรรมคู่ความรู้
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)

1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเภทของรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นที่กําหนดโดยคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา สอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา
(1) การทุจริตในการคัดเลือกบุคคล
(2) การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(3) การทุจริตในการให้สัมปทาน
(4) การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ของวุฒิสภา ได้แบ่งรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
3. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
4. การทุจริตในการให้สัมปทาน
5. การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

2.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดของระบบคิด “ฐานสอง Digital”
(1) มีโอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้
(2) สามารถแยกประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์พวกพ้องได้อย่างเด็ดขาด
(3) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น
(4) เป็นระบบที่มีค่าตัวเลข คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง)
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสอง (Digital) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือก ได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) และอาจหมายถึง โอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช้กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้ ฯลฯ จึงเป็นระบบคิดที่สามารถแยกแยะ ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด และไม่กระทําการที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักความโปร่งใส (Accountability)
(2) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(3) หลักความรับผิด (Responsibility)
(4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
(1) Common – dealing or Contracts
(2) Accepting Benefits
(3) Pork – barreling
(4) Outside Employment or Moonlighting
ตอบ 1(คําบรรยาย) John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จําแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ (Accepting Benefits)
2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self – dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts)
3. การทํางานหลังออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post – employment)
4. การทํางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting)
5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information)
6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using your Employer’s
property for Private Advantage)
7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork – barreling)

5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยจิตพอเพียง
(1) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
(2) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน
(3) ภูมิคุ้มกันทางสังคม
(4) ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทยด้วยจิตพอเพียงมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันทางสังคม
2. ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
3. ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ

6.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
(2) ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(3) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรับ
(4) ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต

7. การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตนให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ รู้รักสามัคคี ไม่โลภ และรู้จักแบ่งปัน ให้ผู้อื่น เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขคุณธรรม
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตน ให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น เช่น นักศึกษาแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ตนได้รับ

8. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร T ในหลัก STRONG คือ
(1) Transparent
(2) Transportation
(3) Transitivity
(4) Triumph
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้)
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = K.Nowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)

9.การรวมกลุ่มของเกษตรกรหรือสหกรณ์ในการร่วมแรงร่วมใจในการดําเนินกิจการด้านต่าง ๆ
เป็นทฤษฎีใหม่ชั้นใต
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(2) ทฤษฎีใหม่ชั้นที่สาม
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
ตอบ 4หน้า 72 – 73 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 2 หลังจากที่เกษตรกรได้ปฏิบัติตาม หลักการในขั้นที่ 1 จนได้ผลแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาไปสู่ขั้นของการรวมพลังเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดําเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. การผลิต
2. การตลาด
3. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
4. สวัสดิการชุมชน
5. การศึกษา
6. สังคมและศาสนา

10. การที่นักศึกษาลดใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด โดยทําลายสิ่งแวดล้อมให้ น้อยที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูเพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ถูกทําลายไป จึงจะสามารถรักษาสมดุลระหว่าง วัตถุกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ได้นาน เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

11. “จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการ ดําเนินการทุกขั้นตอน และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและดําเนินการทุกขั้นตอนและต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

12. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและนิติบัญญัติ
(2) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(3) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(4) หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย”
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

13. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้ จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์
(1) การตรวจสอบ
(2) ด้านการแข่งขัน
(3) ด้านการเมือง
(4) ด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย ของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุถึงเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเกิดจาก ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย
1. ด้านเศรษฐกิจ
2. ด้านสังคม
3. ด้านวัฒนธรรม
4. ด้านการเมือง
5. ด้านระบบราชการ
6. กฎหมายและระเบียบ
7. การตรวจสอบ
8. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง และการพนัน

14. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักในการพึ่งตนเอง 5 ประการ สําหรับประชาชนทั่วไป
(1) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) หลักด้านเทคโนโลยี
(3) หลักด้านจิตใจ
(4) หลักด้านครอบครัว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

15. ข้อใดต่อไปนี้คือระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
(1) การทุจริตในวงราชการ และการทุจริตในภาคเอกชน
(2) การทุจริตระดับชาติ และการทุจริตในระดับท้องถิ่น
(3) การทุจริตในประเทศ และการทุจริตนอกประเทศ
(4) การทุจริตส่วนรวม และการทุจริตส่วนบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถ
แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. การทุจริตระดับชาติ
2. การทุจริตในระดับท้องถิ่น

16. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการให้โทษ
(1) มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
(2) มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างรุนแรง
(3) มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
(4) มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการให้โทษ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างยุติธรรม
3. มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
4. มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

17. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการให้ข้อมูล
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็นระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

18. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของการทุจริต
(1) กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
(2) การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
(3) ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
(4) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุของการทุจริต ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่เอื้อหรือสนับสนุนต่อ การเกิดการทุจริต มีดังนี้
1. แรงขับเคลื่อนที่ทําให้อยากมีรายได้เป็นจํานวนมาก
2. มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
3. การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
4. กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
5. ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
6. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง

19. การที่บุคคลมีการช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ และการให้
ความร่วมมือสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 69 ความพอเพียงระดับชุมชน คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

20. การบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
ตอบ 4 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1.ขุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ําฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ำต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

21. หลักการปฏิบัติตนตามแนวทางของความพอเพียงของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ประมวล หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้ประชาชนได้เห็นมาโดยตลอดได้ 10 ข้อ ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ในหลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท
(1) พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนกล้า
(2) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
(3) มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
(4) มีความสุจริตและความกตัญญู
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท มีดังนี้
1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
7. มีความสุจริตและความกตัญญู
8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
9. รักประชาชน
10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

22. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
(3) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(4) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

23. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่

ตอบ 2 หน้า 73 – 74 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนด้านการลงทุนและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

24. การที่บุคคลมีความรับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต บริหารรายรับและรายจ่ายให้เกิด ความสมดุล รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างมีคุณค่า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับชุมชน
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3หน้า 68. ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสง่างาม เหมาะสมกับที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้เลียนแบบ และปฏิบัติตาม โดยหัวหน้าครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
8. อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

25. การดําเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการ
ตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เงื่อนไขหลักวิชา
(3) เงื่อนไขคุณธรรม
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 2 หน้า 66 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัยความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก

26. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการเปิดเผย
(1) ประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรพัฒนาเอกชนได้มีโอกาสควบคุมฝ่ายบริหารโดยวิธีการต่าง ๆ มากขึ้น (2) ประชาชนและสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดหา การให้สัมปทาน การออกกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
(3) ประชาชนได้เข้ามารับรู้การทํางานของคณะกรรมการตรวจสอบ
(4) มีการใช้กลุ่มวิชาชีพภายในหน่วยงานเข้ามาร่วมตรวจสอบ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการเปิดเผย ประกอบด้วย
1. ประชาชนได้เข้ามารับรู้การทํางานของคณะกรรมการตรวจสอบ
2. ประชาชนและสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดหา การให้สัมปทาน การออกกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ
3. ประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้มีโอกาสควบคุมฝ่ายบริหารโดยวิธีการ ต่าง ๆ มากขึ้น
4. มีการใช้กลุ่มวิชาชีพภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบ

27. การมีน้ำใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษาและสืบสานวัฒนธรรม อันดีงามของชาติให้คงอยู่ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ด้านจิตใจ
(4) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ตอน 4 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยความมีน้ําใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษา และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ โดยหาโอกาสขยายผลงานด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น อีกทั้งจะต้องมีภูมิคุ้มกันในการรับวัฒนธรรมต่างชาติ ด้วยการเลือกรับแต่สิ่งที่เกิดผลดี และสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

28. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดเป็น
(1) คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน
(2) คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(3) คิดไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
(4) คิดแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะของการ “คิดเป็น” มีดังนี้
1. คิดแยกเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
2. คิดแยกเรื่องตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. คิดที่จะไม่นําประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมมาปะปนกัน หรือมาก้าวก่ายกัน
4. คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. คิดที่จะไม่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
6. คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เครือญาติ และพวกพ้อง

29. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) เห็นประโยชน์เครือญาติสําคัญกว่าประโยชน์พวกพ้อง
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
(3) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(4) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ

30. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(4) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวก
และด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง

31. การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมโดยคํานึงถึงระดับความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมายหลักจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) ความพอประมาณ
(2) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(3) ความไม่ประมาท
(4) ความมีเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับ ความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ

32. มีวินัย เป็นคุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ซึ่งหมายความว่าอะไร (1) ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรืออคติ
(2) การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
(3) ความตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสําเร็จตามความมุ่งหมาย
(4) ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทําให้เกิด ความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต โดย ข้อ 4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม

33. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างงบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

34. ต่อไปนี้เป็นการลงโทษทางสังคมเชิงลบ ยกเว้นข้อใด
(1) ต่อต้าน
(2) กดดัน
(3) ตักเตือนชื่นชม
(4) ประท้วง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

35. การคอร์รัปชั่นตามน้ำ เป็นรูปแบบการทุจริตที่กระทําโดยใคร
(1) นักการเมือง
(2) นายทุน
(3) ข้าราชการ
(4) พ่อค้า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทุจริตโดยข้าราชการ หมายถึง การกระทําที่มีการใช้หน่วยงานราชการเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ มากกว่าประโยชน์ ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การคอร์รัปชั่นตามน้ํา (Corruption without Theft)
2. การคอร์รัปชั่นทวนน้ํา (Corruption with Theft)

36. การที่บุคคลมีการดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการ ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลักคุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เงื่อนไขชีวิต
(3) เป้าประสงค์
(4) เงื่อนไขหลักวิชา
ตอบ 2 หน้า 66 – 67 เงื่อนไขชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลัก คุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เพราะสามารถเข้าใจ ชีวิตและทําให้รับได้กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะร้ายหรือดี

37. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการ ประกอบอาชีพตามที่ถนัด และมีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่ น่าอยู่ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน เป็นการประยุกต์ใช้
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับประเทศ
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 70 ความพอเพียงระดับประเทศ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามที่ถนัด และ มีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่น่าอยู่ และมีการ รวมกลุ่มของชุมชนให้เป็นเครือข่ายที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน

38. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม
(1) เขื่อนภูมิพล
(2) คุณสนธิ ลิ้มทองกุล
(3) วัดพนัญเชิงวรวิหาร
(4) ประเพณีสงกรานต์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณี คือ แหล่งเรียนรู้ทางสังคม ที่แสดงถึงความเป็นอยู่ ความเชื่อ และวิถีชีวิตที่สืบทอดต่อกันมา จึงถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็น นามธรรม (จับต้องไม่ได้) ซึ่งควรค่าแก่การรักษาไว้ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ประเพณี สงกรานต์, การทําบุญในวันสําคัญทางศาสนา ฯลฯ

39. ข้อใดหมายถึง เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในปัจจุบัน
(1) มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัดจํานวน
(2) มหาวิทยาลัยตลาดวิชา
(3) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
(4) มหาวิทยาลัยตลาดวิชา ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
ตอบ 1 หน้าคํานํา, (คําบรรยาย) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นมหาวิทยาลัยแบบ ตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัดจํานวน

40. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
ตอบ 1หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

41. ข้อใดกล่าวถึงโลกยุคดิจิทัลกับการเรียนรู้ได้ถูกต้องที่สุด
(1) โลกแห่งการเรียนรู้ไร้พรมแดน
(2) สังคมแห่งฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
(3) โลกแห่งการติดต่อสื่อสารทางเดียว
(4) โลกแห่งการโดดเดี่ยว
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โลกยุคดิจิทัลกับการเรียนรู้ จะเกี่ยวข้องกับโลกแห่งการเรียนรู้ไร้พรมแดน คือ มีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้และค้นหาข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเข้าถึงได้จากหลายช่องทาง

42. การใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ เป็นรูปแบบการทุจริต
ในลักษณะใด
(1) ทุจริตตามผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ทุจริตตามกระบวนการที่ใช้
(3) ทุจริตตามลักษณะรูปธรรม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตที่แบ่งตามกระบวนการที่ใช้ จะมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้ 1. เกิดจากการใช้อํานาจในการกําหนดกฎกติกาพื้นฐาน เช่น การออกกฎหมาย และ กฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออํานวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง 2. เกิดจากการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ทําให้เจ้าหน้าที่สามารถ ใช้ความคิดเห็นของตนในทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้

43.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ แหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(2) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(3) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(4) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจากห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน

44. การสร้างสมดุลในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) หลักการ
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 4 หน้า 64 เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองต้องสามารถสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เช่น เมื่อนักศึกษามีความสามารถในการหารายได้ด้วยตนเองจากงานพิเศษก็ต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล

45. กลุ่มเพื่อนและชุมชน เป็นลักษณะของการก่อให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมแบบใด
(1) เกิดจากการบําเพ็ญประโยชน์
(2) เกิดจากการสร้างในตนเอง
(3) เกิดจากมโนธรรม
(4) เกิดจากการเลียนแบบ
ตอบ 4หน้า 47 สาเหตุแรกของการเกิดคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน ได้แก่ การเลียนแบบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้ การยอมรับ และการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ที่แวดล้อมตนอยู่ แล้วนํามาปรับให้เข้ากับตนเอง ดังนั้นกระบวนการนี้จึงจัดเป็นกระบวนการ ที่มีความสําคัญต่อพัฒนาการของเด็ก นิสิต และนักศึกษา ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อนและชุมชน

46. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้ที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
(1) https://mcoc.chula.ac.th/
(2) https://www.lib.ru.ac.th/
(3) https://www.ieas.ru.ac.th/
(4) https://www.museumthailand.com/th/home
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้
1. เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น https://www.lib.ru.ac.th/ หรือเว็บไซต์สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ฯลฯ
4. เป็นแหล่งที่ใช้สร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการ และประสบการณ์ ผ่านการถ่ายทอด ความรู้ในแบบวิธีต่าง ๆ
5. เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

47. การปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินการ
ไปในทางสายกลาง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) หลักการ
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) เป้าประสงค์
(4) แนวคิดหลัก
ตอบ 4 หน้า 63, 67 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายความว่า แนวทางการดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

48. องค์ประกอบของการเรียนรู้ในข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(2) ผู้สอน ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน
(3) ผู้เรียน ผู้สอน แหล่งเรียนรู้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน คือ แหล่งเรียนรู้ชนิดหนึ่ง
2. ผู้เรียน
3. สื่อ/แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ตํารา หนังสือ สื่อออนไลน์ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ

49. ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้อ
กับข้อใด
(1) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(2) ความไม่ประมาท
(3) ความมีเหตุผล
(4) ความพอประมาณ
ตอบ 4 หน้า 65, (คําบรรยาย) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปจนขาดแคลน และไม่มากเกินศักยภาพ โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นความพอดีในการผลิตและการ บริโภคที่พิจารณาแล้วว่าจําเป็นและเหมาะสมกับสถานะของตนเอง สิ่งแวดล้อมโดยรอบ รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่

50. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
(2) การทําวิจัย
(3) พันธุกรรม
(4) ละคร
ตอบ 1หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม

51. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) ช่วงเริ่มเข้าโรงเรียน
(2) ก่อนอายุ 6 ขวบ
(3) แรกเกิด
(4) หลังอายุ 15 ปี
ตอบ 2 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง

52. “การประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูล แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ ที่ต้องการ” จากข้อความข้างต้นหมายถึง
(1) สารสนเทศ
(2) ข้อมูล
(3) แหล่งการเรียนรู้
(4) ความรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือเสียงที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการ ประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่ต้องการ

53. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ตรงกับ พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2565 – 2569
(2) พ.ศ. 2555 – 2559
(3) พ.ศ. 2560 – 2564
(4) พ.ศ. 2550 – 2554
ตอบ 3 หน้า 62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการจัดทําแผนตั้งแต่ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) จนถึงฉบับที่ 12 เพื่อนําสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

54.ข้อใดคือความหมายของจิตสาธารณะ
(1) ความคิดถึงส่วนรวม
(2) ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม
(3) การคํานึงถึงความต้องการของส่วนรวม
(4) ความรักในสาธารณสมบัติ
ตอบ 2 หน้า 79 – 81, 93 จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือ
เป็นการตระหนักรู้ตนที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้นจึงเป็นคําที่ มีความหมายตรงข้ามกับคําว่า “เห็นแก่ตัว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

55. ปัจจัยภายในใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การประเมินพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม
(2) การตระหนักถึงส่วนรวม
(3) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
(4) การแยกแยะความดี ความชั่ว
ตอบ 3 หน้า 85 – 86 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม ซึ่งเป็นภาวะที่ลึกซึ้งกว่าภาวะทางกายภาพเพียงประการเดียว เป็นภาวะที่ได้รับการฝึกอบรม กล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละน้อย
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและ ความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ

56. ข้อใดคือองค์ประกอบสําคัญที่ก่อให้เกิดกระบวนการของการเรียนรู้
(1) ผู้เรียน แหล่งเรียนรู้ ผู้สอน
(2) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(3) ผู้สอน สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้
(4) ผู้เรียน สิ่งเร้า การตอบสนอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57.Creative Commons หมายถึงข้อใด
(1) สัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์
(2) สัญญาอนุญาตทางการค้า
(3) สัญญาอนุญาตประเภทสื่อ
(4) สัญญาอนุญาตทางการศึกษา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการเผยแพร่สื่อทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ทุกรูปแบบ โดยแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกเพื่อการ แจกจ่ายและใช้ข้อมูลด้วยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

58. อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน คือ แหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นที่เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การประดิษฐ์หุ่นยนต์เสิร์ฟ อาหาร, การประดิษฐ์อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นต้น

59. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) มีความรักในชาติ
(2) มีประชาคมคอยช่วยเหลือ
(3) มีความพอประมาณ
(4) มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
ตอบ 4 หน้า 83 – 84 วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคมภาคประชาชน พบว่า
ผู้ที่มีจิตสํานึกสาธารณะจะมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้

1. มีความรัก ความเอื้ออาทร
2. มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
3. มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

60. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของจิตสาธารณะ
(1) จิตสาธารณะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(2) จิตสาธารณะจะช่วยทําให้ครอบครัวประหยัด
(3) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ สังคมจะชื่นชม
(4) จิตสาธารณะจะช่วยลดปัญหาทางสังคม
ตอบ 4 หน้า 77, 81 จิตสาธารณะมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เมื่อบุคคลมีจิตสาธารณะ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

61. ข้อใดคือการเรียนรู้แบบเปิดสําหรับมหาชน
(1) E-learning
(2) OER
(3) MOOC
(4) E-Testing
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเรียนรู้แบบเปิดสําหรับมหาชน (Massive Open Online Courseware : MOOC) คือ หลักสูตร (Course) หรือรายวิชาที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิดให้ ใช้งานฟรี (Open) และรองรับผู้เรียนจํานวนมาก (Massive) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตาม ความชอบ โดยการเชื่อมต่อเข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทําแบบทดสอบหรือ แบบฝึกหัด ตลอดจนร่วมสนทนากับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้แบบไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต

62. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(2) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
(3) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(4) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 4 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

63. ข้อใดคือปัจจัยทางสังคมที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) คุณธรรม จริยธรรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

64. องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย หมายถึงแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน คือ บุคคล คณะบุคคล หรือตัวแทน ขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก, คุณสนธิ ลิ้มทองกุล พิธีกรรายการข่าว, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เป็นต้น

65. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ความหมายของคุณธรรม คือ
(1) คุณธรรม คือ หลักการพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้ดีงาม
(2) คุณธรรม คือ ธรรมที่มีกรอบปฏิบัติที่ดีงามและถูกต้องชอบธรรม
(3) คุณธรรม คือ ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูงกว่าผู้อื่นที่พบเห็น
(4) คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูลที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 41 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คุณธรรม คือ กรรมที่เป็นคุณความดีงาม หรือสภาพที่เกื้อกูลซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้าง คุณสมบัติทางจิตใจให้ดีงาม ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูง ประณีต และประเสริฐแก่ผู้ที่พบเห็นหรือ ได้อยู่ด้วย ประกอบด้วย
1. เมตตา
2. กรุณา
3. มทิตา
4. อุเบกขา
5. จาคะ

66.Course on Demand ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ แหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(2) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(3) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Course on Demand หมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัย รามคําแหง หรือวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังจากห้องเรียน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง และถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) คือ การเรียนแบบต่างเวลา (Anytime) ต่างสถานที่ (Anywhere) โดยผู้เรียนจะเรียนเมื่อใดและที่ไหนก็ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

67. ปัจจัยภายนอกใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การตระหนักถึงส่วนรวม
(2) การฝึกอบรม
(3) การเลียนแบบ
(4) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

68. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความรู้
(3) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
(2) ความรัก
(4) ความเป็นธรรมชาติ
ตอบ 3 หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของการสร้าง ประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ซึ่ง อาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ความรัก 2. ความรู้ 3. ความเป็นธรรมชาติ

69. การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในการทํางาน
(2) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การฝึกอบรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

70. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมหาวิทยาลัย รามคําแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เป็นปีที่เท่าไรของรัชกาลที่ 9
(1) 25
(2) 26
(3) 27
(4) 28
ตอบ 2 หน้า 11 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เป็นปีที่ 26 ของรัชกาล ที่ 9 ซึ่งปรากฏในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514

71. แหล่งเรียนรู้ หมายถึงข้อใด
(1) เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
(2) เป็นแหล่งสารสนเทศให้ความรู้อย่างกว้างขวาง
(3) ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัวที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ แหล่งความรู้ทางวิชาการที่รวบรวมความรู้ให้แนวคิดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดความรู้และประสบการณ์ เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

72. การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สื่อมวลชน
(3) สถาบันการศึกษา
(4) สถาบันศาสนา
ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) สถาบันการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม โดยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสํานึกความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก ภายใน อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งเน้นไปที่การพัฒนา จริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ มากกว่าการพัฒนาเพื่อความสําเร็จในวิชาชีพโดยปราศจากพื้นฐานทางด้านจริยธรรม

73. ข้อใดคือองค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมของกรมวิชาการ
(1) ด้านความสามารถ
(2) ด้านความรู้
(3) ด้านการกระทํา
(4) ด้านสติปัญญา
ตอบ 2 หน้า 49 กรมวิชาการ ได้จัดทําเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย และสรุปว่า คุณธรรมจริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้านความรู้
2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก
3. ด้านพฤติกรรม

74. การเบียดเบียนและคดโกงในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้สังคมเสื่อมโทรม เกิดจากผู้คนขาดสิ่งใด
(1) การขาดความร่วมมือที่ดี
(2) การขาดจริยธรรม
(3) การขาดวินัย
(4) การขาดความรับผิดชอบ
ตอบ 2 หน้า 45 การทุจริต คดโกง และการเบียดเบียนกันในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้สังคม เสื่อมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ซึ่งไม่ได้ยึดเอาจริยธรรมเป็น แนวทางในการดําเนินชีวิต

75. เมื่อนักศึกษาถูกนินทาว่าร้าย ควรยึดหลักคุณธรรมข้อใด
(1) วิริยะ
(2) ทาน
(3) จาคะ
(4) ขันติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ธรรมอันทําให้งาม เป็นคุณธรรมที่ทําให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงามอยู่เสมอในทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ มีอยู่ 2 ประการ ได้แก่
1. ขันติ คือ ความอดทน ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อราคะ (ความกําหนัดยินดี) อดทนต่อ โทสะ (การประทุษร้ายผู้อื่น) อดทนต่อโมหะ (ความโง่เขลาเบาปัญญาที่เกิดขึ้น) อดทนต่อ การล่วงเกินหรือคําด่าว่านินทาของผู้อื่น อดทนอดกลั้นต่อความยากลําบาก ฯลฯ
2. โสรัจจะ คือ ความสงบเสงี่ยมทางกาย วาจา และใจ มีอัธยาศัยงดงาม รักษาอากัปกิริยาให้ เหมาะสมเรียบร้อย

76.EdTechRU Channel คือ แหล่งเรียนรู้ลักษณะใดของสํานักเทคโนโลยีการศึกษา
(1) รายการวิทยุทางการศึกษา
(2) รายการข่าวของสํานัก
(3) ช่องรายการเฟซบุ๊กของสํานัก
(4) ช่องรายการยูทูบของสํานัก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) EdTechRU Channel คือ ช่องรายการยูทูบของสํานักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อสังคมที่เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยผ่านทางช่องยูทูบ เช่น การเพิ่ม-เลิกกระบวนวิชา สําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง (Ep.57), การย้ายคณะ มหาวิทยาลัยรามคําแหง (Ep.58) เป็นต้น

77. ในฐานะ “นักศึกษา” ท่านจะสามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) เดินขบวนรณรงค์ให้กับประชาชนทั่วไป
(2) เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้องในครอบครัว
(3) ไม่ทิ้งขยะในมหาวิทยาลัย
(4) เข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้
ตอบ 4 หน้า 92 ในฐานะนักศึกษาสามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การเข้าร่วม กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ การออกค่ายอาสาพัฒนา และการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ที่ทางกลุ่มเพื่อน ชมรมวิชาการ หรือทางมหาวิทยาลัยจัดให้

78. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันศาสนา
(2) สถาบันครอบครัว
(3) สื่อมวลชน
(4) สถาบันการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานอง คลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง

79. หลักอัตตาธิปไตย คือ
(1) การรู้จักวางตน
(2) การมีตัวตน
(3) การถือว่าตนตัวใหญ่
(4) การถือเอาฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คนที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี ต้องมีหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ และกระทําการด้วยการปรารถนาตนในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพตน
2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพเสียงหมู่ชน
3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือเอาความถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล ชอบธรรม ซึ่งเป็น หลักการปกครองที่ดีที่สุด เพราะจะทําให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างแท้จริง

80.“การตรงทั้งต่อเวลา พฤติกรรมดีต่อหน้าที่และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรือ มีอคติ ไม่ใช้เล่ห์คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม” ข้อความข้างต้นตรงกับคุณธรรม 8 ประการในข้อใด
(1) ความมีวินัย
(2) ความสามัคคี
(3) ความขยัน
(4) ความซื่อสัตย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ข้อ 3 ซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึก ลําเอียงหรือมีอคติ ซึ่งผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตรงทั้งต่อเวลา มีพฤติกรรมดี ต่อหน้าที่และต่อวิชาชีพ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและ ปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

81. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่า “พลเมือง” ที่ถูกต้อง
(1) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(2) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
(3) ประชาชนคนไทยที่ไร้สัญชาติ
(4) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า “พลเมือง” มีอยู่หลายความหมาย ดังนี้
1. คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
2. บุคคลที่เกิดในประเทศนั้น ๆ หรือได้รับสัญชาติและมีความจงรักภักดีต่อรัฐ
3. กลุ่มคนที่มีสิทธิและความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะสมาชิกของสังคม
4. ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน ฯลฯ

82. ข้อใดที่ไม่ใช่คํากล่าว “ขอโทษ” ที่เป็นมารยาททางสังคม
(1) ใช้เมื่อพอใจที่จะกล่าวคําขอโทษ
(2) ใช้เมื่อผู้พูดรู้สึกสํานึกผิดในสิ่งที่ทํา
(3) ใช้เมื่อทําสิ่งที่ผิดหรือผิดพลาด
(4) ใช้เมื่อแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คํากล่าว “ขอโทษ” มักใช้เมื่อทําสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ไม่เหมาะสม การรบกวน การขัดจังหวะในขณะที่พูดหรือทํางานเมื่อมีธุระด่วน และการพูดจาหรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีหรือ ไม่เหมาะสมต่อบุคคลอื่นทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ทั้งนี้การกล่าวคําขอโทษจะใช้เมื่อผู้พูด รู้สึกสํานึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทํา พูด หรือแสดงออกมา

83. ปัญหาคอร์รัปชันขจัดได้ด้วยคุณธรรมในข้อใด
(1) เพียร อดทน
(2) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
(3) ซื่อสัตย์สุจริต
(4) ไม่โลภ ไม่ตระหนี่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

84. การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาบ้านเมือง ควรให้มีการพัฒนาในด้านใดก่อน
(1) พัฒนาสติปัญญา
(2) พัฒนาจิตใจคน
(3) พัฒนาคุณภาพชีวิต
(4) พัฒนาการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ ได้กล่าวว่า การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรือ อย่างน้อยก็ให้พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ เพราะการ พัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนําจะสูญเปล่า และเกิดผลเสียเป็นอันมาก ทําให้บุคคลลุ่มหลง ในวัตถุและอบายมุข ซึ่งการที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคม ละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ําใจในการดําเนินชีวิต

85. วันสถาปนามหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปี คือ
(1) 27 พฤศจิกายน
(2) 24 พฤศจิกายน
(3) 25 พฤศจิกายน
(4) 26 พฤศจิกายน
ตอบ 4 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

86. ข้อใดคือความหมายของ “มารยาททางสังคม”
(1) บุคคลแต่ละคนมาชุมนุมกันเพื่อทํากิจกรรม โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
(2) บุคคลผู้มีกิริยาวาจาดี อยู่ร่วมกับหมู่คณะใดก็ได้รับความชื่นชม
(3) บุคคลแต่ละคนมาร่วมกันทํากิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน
(4) บุคคลแต่ละคนมาสมาคมกัน ณ จุดนัดพบ โดยมีเป้าหมายในโอกาสต่าง ๆ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) มารยาททางสังคม คือ กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติปฏิบัติ หรือควรละเว้นในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และเพื่อให้ทุก ๆ คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข จึงต้องมีกฎกติกากําหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกันเอาไว้ เช่น บุคคลผู้มีกิริยามารยาทดี มีวาจาดี เมื่ออยู่ร่วมกับหมู่คณะใดก็ย่อมได้รับความชื่นชม เป็นต้น

87. ข้อใดเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) เข้าร่วมกิจกรรมของสังคม
(2) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(3) เข้าร่วมกิจกรรมภาคสนาม
(4) เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีดังนี้
1. เคารพกฎหมายและกติกาของสังคม
2. เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและของผู้อื่น
3. มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
6. เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม การกล้าเสนอตนเองในการทําหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง ฯลฯ

88.“ธรรมะ” มีความหมายถึงข้อใด
(1) การกระทําที่มีความหมายเป็นนามธรรม
(2) การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม
(3) การกระทําที่แสดงออกมา
(4) การกระทําที่สังคมยอมรับว่ามีศีลธรรม
ตอบ 2 หน้า 40 คําว่า “คุณธรรมจริยธรรม” มักถูกใช้ควบคู่กันเสมอ แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นคํา 2 คํา ที่แยกออกจากกันและมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ความหมายของคําว่า “คุณ” (คุณะ) หมายถึง ความดี ซึ่งเป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนคําว่า “ธรรม” (ธรรมะ) หมายถึง การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม

89. พลเมืองดี ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน
(2) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ควรทําและกิจที่ต้องทํา
(3) ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองในกิจที่ควรทํา
(4) ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองในกิจที่ต้องทํา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมืองดี” หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้อย่างครบถ้วน ทั้งกิจที่ ต้องทํา และกิจที่ควรทํา ดังนี้
1 กิจที่ต้องทํา เป็นสิ่งที่กําหนดให้ทํา หรือห้ามมิให้กระทํา เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายและ
ระเบียบข้อบังคับของสังคม ฯลฯ
2. กิจที่ควรทํา เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่ควรทํา เช่น การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี, การช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม, การคํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณ เป็นหลัก, การมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว, การมีน้ําใจไมตรีช่วยเหลือต่อผู้ยากไร้ ฯลฯ

90. ข้อใดคือการประพฤติปฏิบัติตนทั้งกาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องงดงาม ถูกกาลเทศะจนสังคมยอมรับ
(1) การสมาคม
(2) มารยาท
(3) กิจนิสัย
(4) ธรรมเนียมปฏิบัติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “มารยาท” (Etiquette or Good Manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ หรือการแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตน ทั้งกาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องงดงาม ถูกกาลเทศะจนสังคมยอมรับ

91.ส.ส. จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) นายแคล้ว นรปติ
(2) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(3) นายประมวล กุลมาตย์
(4) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ตอบ 1 หน้า 7 สําหรับชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นชื่อที่นายแคล้ว นรปติ ส.ส. จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอ โดยให้เหตุผลว่าเป็นพระนามของปฐมกษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นมหาราชองค์แรกของไทย และเป็นการเทิดพระเกียรติ

92. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก คือที่ใด
(1) ณ สนามกีฬาแห่งชาติ
(2) ณ ตึกไทยคู่ฟ้า
(3) ณ บริเวณลานพระรูปพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(4) ณ บริเวณลานพระรูปทรงม้า
ตอบ 2 หน้า 22 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในฐานะนายก สภามหาวิทยาลัยรามคําแหงคนแรก เป็นประธาน

93. ข้อใดไม่ใช่กิจที่ควรทํา
(1) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(2) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของสังคม
(3) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(4) มีน้ำใจไมตรีช่วยเหลือต่อผู้ยากไร้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ (ตัวเลือกข้อ 2 เป็นกิจที่ต้องทํา)

94. สิ่งใดมีความสําคัญที่สุดในการแต่งกายไปร่วมงานต่าง ๆ
(1) แต่งกายให้ทันสมัย
(2) การให้เกียรติเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน
(3) การแต่งกายตามความเหมาะสมกับวัย
(4) แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่สําคัญที่สุดในการแต่งกายไปร่วมงานต่าง ๆ คือ แต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ สถานที่ที่จะไป และความนิยม เช่น ผู้หญิงไปงานศพควรใส่ เสื้อคอปิดสีดําหรือขาว ส่วนผู้ชายใส่ชุดสีเข้มหรือสูท สวมรองเท้าหนังหุ้มส้น ฯลฯ

95. ข้อใดที่ไม่ใช่มารยาทในการขับรถเบื้องต้น
(1) รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง
(2) ปฏิบัติตามกฎจราจร และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง
(3) ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน
(4) การเลี้ยวระยะใกล้ ๆ ไม่ต้องเปิดไฟเลี้ยวก็ได้
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) มารยาทในการขับรถเบื้องต้น ได้แก่
1. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และมีน้ําใจต่อเพื่อนร่วมทาง
2. เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยว
3. ขับรถช้า/เร็ว ควรอยู่เลนให้ถูก คือ ขับช้าชิดซ้าย ส่วนขับเร็วชิดขวา
4. ไม่ใช้ไฟสูงอย่างพร่ําเพรื่อ
5. ไม่ปาด แทรก เบียดในทุกกรณี
6. ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน
7. รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง ฯลฯ

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม
(1) รายได้
(2) พุทธศาสนา
(3) กฎหมาย
(4) สุภาษิตสอนหญิง
ตอบ 1 หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1.วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ เช่น พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ฯลฯ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และสุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง เช่น ข้อบังคับ กฎหมาย ระเบียบของบ้านเมือง ฯลฯ

97. ข้อความในข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า ตําบลหัวหมาก
(2) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ เอดี 1
(3) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า ตําบลหัวหมาก อําเภอบางกะปิ
จังหวัดพระนคร
(4) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เป็นมติให้อาศัยสถานที่แสดงสินค้าของทางการที่ตําบล หัวหมาก อําเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นสถานที่ชั่วคราว โดยเป็นการใช้สถานที่ร่วมกัน กับกรมเศรษฐสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่ดูแลสถานที่แสดงสินค้าในขณะนั้น

98. ต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ทองกวาว
(2) ดาวเรือง
(3) สุพรรณิการ์
(4) กฐินณรงค์
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542

99. จังหวัดใดไม่มีชื่ออยู่ในสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) จังหวัดสกลนคร ภูเก็ต กระบี่ ตาก
(2) จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สงขลา
(3) จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย
(4) จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคที่ จัดตั้งตามลําดับอยู่ใน 23 จังหวัด ได้แก่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี อํานาจเจริญ นครพนม แพร่ นครราชสีมา สุโขทัย ขอนแก่น ศรีสะเกษ ตรัง ลพบุรี หนองบัวลําภู ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ อุดรธานี กาญจนบุรี สุรินทร์ เชียงราย สงขลา เชียงใหม่ และพังงา

100. หัวใจสําคัญของหลักประชาธิปไตย ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
(1) ฟังเสียงข้างมาก
(2) การปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน
(3) มีเสรีภาพ
(4) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการทางประชาธิปไตยที่สําคัญที่สุด ได้แก่
1. หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
2. หลักความเสมอภาค
3. หลักนิติธรรม
4. หลักเหตุผล
5. หลักการถือเสียงข้างมาก
6. หลักการประนีประนอม

101. วศิน อินทสระ กล่าวถึงความสําคัญและประโยชน์ของจริยธรรม ข้อใดไม่ถูก
(1) สอนให้เลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน
(2) สอนให้รู้จักรักนวลสงวนตัว
(3) การพัฒนาบ้านเมือง
(4) รากฐานอันสําคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง
ตอบ 2 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ กล่าวถึงความสําคัญและประโยชน์ของจริยธรรมไว้ดังนี้
1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสําคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง
2. การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน
3. จริยธรรมมิได้หมายถึง การถือศีล เข้าวัดฟังธรรม จําศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทําประโยชน์ ให้แก่สังคม แต่จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ การกระทํา ความคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ต่อการทําหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์
4. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ฯลฯ

102. ข้อใดถูกต้องที่สุด เมื่อได้ยินเสียงโทรศัพท์
(1) ขณะที่โทรศัพท์ ฟ้าชอบพูดแทรกและขัดจังหวะแดงเสมอ
(2) เจี๊ยบปล่อยให้ดังระยะหนึ่งค่อยรับ เพื่อที่จะรู้ว่าผู้โทรมาต้องการโทรหาเราจริง ๆ
(3) ดาวชอบคุยเรื่องไร้สาระ และเรื่องที่เป็นความลับทางโทรศัพท์
(4) หากมีสายเข้าในขณะที่อยู่ในที่สาธารณะ ให้รับสายและขออนุญาตโทรกลับไปหาใหม่ เนื่องจากไม่สะดวกคุย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทในการรับสายโทรศัพท์ มีดังนี้
1. ยกหูโทรศัพท์ทันที เมื่อมีเสียงกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้นควรรับสายทันที (ไม่ควรให้ดังเกิน 3 ครั้ง)
2. งดเคี้ยวอาหาร และลดเสียงลงหากมีสายเข้า
3. เริ่มต้นสนทนาด้วยการแนะนําตัวเอง คือ ชื่อบริษัท และบอกชื่อผู้รับสาย
4. เตรียมกระดาษ ดินสอ/ปากกาให้พร้อม เพื่อจดบันทึกข้อความได้ทันที
5. ไม่พูดเรื่องความลับ หรือเรื่องไร้สาระ
6. ควรเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่พูดแทรกและขัดจังหวะคู่สนทนา
7. รับโทรศัพท์และจบการพูดด้วย “สวัสดีครับ/ค่ะ” ทุกครั้ง
8. หากมีสายเข้าในขณะที่อยู่ในที่สาธารณะ ให้รับสายและขออนุญาตโทรกลับไปหาใหม่ เนื่องจากไม่สะดวกคุย ฯลฯ

103. สนธยาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มาเรียนแต่เช้าและเข้าเรียนตรงเวลา แสดงว่าสนธยามีคุณสมบัติตามข้อใด
(1) มีมารยาท
(2) มีบุคลิกดี
(3) มีความเป็นสุภาพชน
(4) มีวินัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

104. มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา ยังขาดความรู้ ขาดปัญญา มักมีสิ่งใดเป็นตัวนําพฤติกรรมไปในทางที่ไม่เหมาะสม
(1) ปรัชญา
(2) ปัญหา
(3) จิตใจ
(4) ตัณหา
ตอบ 4 หน้า 49 – 50 พระธรรมปิฎก ได้กล่าวว่า มนุษย์ที่มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึกยินดียินร้ายต่อ อารมณ์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า “ตัณหา” ซึ่งตัณหานี้จะเป็นตัวกําหนดพฤติกรรม เพราะมนุษย์ยัง ไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา ดังนั้นเราจะปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวกําหนดหรือตัวนํา พฤติกรรมไม่ได้ มนุษย์จะต้องกําหนดรู้ว่า อะไรเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตตน แล้วทําตาม ความรู้นั้น คือ เอาความรู้เป็นตัวกําหนดนําพฤติกรรม

105. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(2) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
(3) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(4) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคมมีลักษณะดังนี้
1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย

106. คําว่า “พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย” หมายถึง
(1) เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(3) มีหลักการทางอนาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(4) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะสําคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการ ดํารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

107. ข้อใดไม่ใช่หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี
(1) ด้านการเมือง
(2) ด้านวัฒนธรรมประเพณีและท้องถิ่น
(3) ด้านสังคม
(4) ด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความสําคัญในด้านการเมือง คือ ประชาธิปไตยจะประสบความสําเร็จได้ ประชาชนจะต้อง เป็นพลเมืองดี
2. ความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ คือ เกิดความเป็นธรรมในการผลิต การบริโภค การกระจาย การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ นํามาซึ่งความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม
3. ความสําคัญในด้านสังคม คือ ทําให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความรักและ ความสามัคคีในหมู่คณะ สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

108. ข้อใดที่ไม่ใช่การประพฤติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(2) ประพฤติตนไม่อยู่ในร่องในรอย
(3) ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม
(4) ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยมีแนวทางการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
1. แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล รับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดี
2. ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก
3. ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
4. ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมอันดีงาม
5. ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง ฯลฯ

109. ข้อใดเป็นคําขวัญของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
(1) “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง”
(2) ความรู้คู่คุณธรรม
(3) “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ”
(4) “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม”
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
1. “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคําขวัญแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะ แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
2. “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527
3. “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดคําขวัญเนื่องใน โอกาส 40 ปี รามคําแหง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ฯลฯ

110. “คุณะ” มีความหมายถึงข้อใด
(1) ความดี เป็นความหมายทางรูปธรรมและเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา
(2) ความดี เป็นความหมายของอารมณ์และความรู้สึก
(3) ความดี เป็นความหมายของความถูกต้องชอบธรรม
(4) ความดี เป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

111. ส.ส. จังหวัดชุมพร พรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) คือใคร
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายประมวล กุลมาตย์
(3) นายแคล้ว นรปติ
(4) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ตอบ 2 หน้า 2 – 3 ในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทุกภาคของประเทศ ที่สังกัดพรรคสหประชาไทยได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) ได้แก่
1. นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส. จังหวัดชุมพร เป็นผู้เริ่มจัดทําร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัย…….. พ.ศ.
2. นายสวัสดิ์ คําประกอบ ส.ส. จังหวัดนครสวรรค์
3. นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส. จังหวัดอุดรธานี
4. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา
5. นายสุรินทร์ เทพกาญจนา ส.ส. จังหวัดสมุทรสาคร
6. นายประสิทธิ์ ชูพินิจ ส.ส. จังหวัดกําแพงเพชร
7. นายชื่น ระวิวรรณ ส.ส. จังหวัดหนองคาย และมี ส.ส. ร่วมลงชื่อรับรองอีก 43 คน

112. ข้อใดไม่ใช่การเกิดของคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์
(1) การสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
(2) การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม
(3) การเลียนแบบ
(4) การสร้างในตนเอง
ตอบ 1 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. การเลียนแบบ
2. การสร้างในตนเอง
3. การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)

113. โคลเบิร์กและเพียเจต์ มีความเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับพัฒนาการของเรื่องใดต่อไปนี้
(1) พัฒนาการของจริยธรรม
(2) พัฒนาการของทฤษฎีใหม่
(3) พัฒนาการของการมีส่วนร่วม
(4) พัฒนาการของพลเมือง
ตอบ 1 หน้า 50 โคลเบิร์ก (Kohlberg) นักการศึกษาชาวตะวันตก กล่าวว่า การพัฒนาทางสติปัญญา และอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม โดยจริยธรรมของมนุษย์จะมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญาเมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น และจริยธรรมยังมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา จะสอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget)ซึ่งทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

114. ผู้ริเริ่มให้มีข่าวรามคําแหง
(1) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
(2) รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล
(3) ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ข่าวรามคําแหงฉบับแรกได้ถือกําเนิดขึ้น โดยมี ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ซึ่งดํารงตําแหน่งรักษาการอธิการบดีในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่มให้มีการ จัดทําขึ้นมา ทั้งนี้ข่าวรามคําแหงฉบับแรกเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ มีจํานวนหน้าเพียง 4 หน้า

115. ข้อใดไม่ใช่มารยาทที่เป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล
(1) การมีสัมมาคารวะ
(2) ความสุภาพอ่อนน้อม
(3) ความมีวินัย และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
(4) รู้จักวิธีการพูดในที่สาธารณะเพื่อให้คนยอมรับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทที่เป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่
1. การมีสัมมาคารวะ
2. ความสุภาพอ่อนน้อม
3. ความมีวินัย และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น

116. เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษามารยาททางสังคม
(1) เพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
(2) เพื่อให้เกิดความเจริญในสังคม
(3) เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
(4) เพราะอยู่ในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

117. ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) หลักการ
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 3 หน้า 64 หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง ซึ่งมีความหมายว่า ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

118. การไหว้พระที่ถูกต้อง ได้แก่
(1) พนมมือระดับอก ปลายนิ้วชี้จรดปลายคาง
(2) หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พนมมือแนบชิดหน้าผาก
(3) หัวแม่มือจรดระหว่างปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
(4) หัวแม่มือจรดระหว่างปาก ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การไหว้ตามประเพณีไทยมีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้
1. การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันหรือรับไหว้ ผู้ไหว้จะพนมมือกลางอก ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบน
โดยอาจก้มหน้าลงเล็กน้อย
2. การไหว้ผู้ที่อาวุโสกว่า ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้อยู่ตรง ปลายสันจมูก แล้วก้มหน้าลง
3. การไหว้บิดามารดาหรือบุคคลอันเป็นที่เคารพยิ่ง ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรด ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง
4. การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พนมมือแนบชิดหน้าผาก พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง

119. คุณลักษณะที่สําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่า เป็นส่วนประกอบที่เป็น 3 ห่วง
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) ความมีวินัย
(4) มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ 1. เงื่อนไขความรู้ 2. เงื่อนไขคุณธรรม

120. เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีจิตสาธารณะ บุคคลนั้นย่อมมีจิตใจและความคิดอย่างไร
(1) ดิ้นรนต่อสู้เอาชนะปัญหาชีวิตทุกรูปแบบ
(2) เอื้อเฟื้อแก่ผู้ด้อยโอกาส
(3) มีความรู้สึกชาตินิยม
(4) ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
ตอบ 4 หน้า 84 ยุทธนา วรุณปิติกุล กล่าวถึง บุคคลที่มีจิตสาธารณะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. การทุ่มเทและอุทิศตน
2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
4. การลงมือกระทํา

WordPress Ads
error: Content is protected !!