การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทํางานของประสาทตา
(1) มนุษย์รับคลื่นการมองเห็นได้อยู่ที่ประมาณ 380 นาโนมิเตอร์
(2) การมองเห็นเริ่มเกิดขึ้นเมื่อแสงกระทบกับคอร์เนีย
(3) เรตินาเป็นเยื่อชั้นนอกของลูกตาที่ช่วยให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
(4) จุดโฟเวียเป็นจุดที่ทําให้การมองเห็นมีความชัดเจนที่สุด
(5) เลนส์ตาทําหน้าที่ปรับภาพให้ชัดเจนมากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 อวัยวะสําคัญที่สุดของการมองเห็นคือตา ซึ่งไวต่อการรับคลื่นแสงมาก โดยคลื่น ที่สายตามนุษย์รับได้มีขีดจํากัดอยู่เพียงระยะประมาณ 380 – 780 นาโนมิเตอร์ (นม.) การเห็น เกิดขึ้นเมื่อแสงผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อชั้นนอก แล้วกระทบกรอบลูกตาที่มีลักษณะโปร่งใสเรียกว่า คอร์เนีย โดยม่านตาจะทําหน้าที่ปรับแสงให้พอเหมาะ ส่วนเลนส์หรือแก้วตาจะทําหน้าที่ปรับภาพ ให้ไปตกอยู่ที่ผนังด้านหลังของลูกตาคือเรตินาซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นในของลูกตา และเป็นจุดเริ่มต้น ของการเห็นที่สําคัญ โดยเฉพาะที่โฟเวียเป็นจุดที่มีการมองเห็นที่ชัดเจนที่สุด

Advertisement

2. พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาคือข้อใด
(1) พฤติกรรมที่อธิบายได้
(2) พฤติกรรมตามสัญชาตญาณ
(3) พฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล
(4) พฤติกรรมที่มีความหมาย
(5) พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน
ตอบ 5 หน้า 3, (คําบรรยาย)พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ
2. พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่ สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ

3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบประสาทโซมาติก
(1) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง 12 คู่
(2) กระตุ้นการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบทั่วร่างกาย
(3) ทําให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล เช่น ยืน นั่ง
(4) ประกอบด้วยเส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่
(5) มีหน้าที่รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่สมองและไขสันหลัง
ตอบ 2 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาท สมอง 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับการกระตุ้นจาก สิ่งแวดล้อมภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทําให้เกิด ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด และยังประกอบด้วยเส้นประสาทที่นํากระแสประสาท จากสมองและไขสันหลังไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อกระตุ้นการทํางานของกล้ามเนื้อลาย ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทําให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล เช่น การนั่ง ยืน เดิน และการปรับตัว ของอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัวภายในช่องหู

4.บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลองคือใคร
(1) อัลเฟรด แอดเลอร์
(2) วิลเฮล์ม วุ้นท์
(3) เอ็ดเวิร์ด ทิซเนอร์
(4) ซิกมันด์ ฟรอยด์
(5) อับราฮัม มาสโลว์
ตอบ 2 หน้า 8 – 9, 19 วิลเฮล์ม วันท์ (Wilhelm Wundt) เป็นผู้ก่อตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น – เป็นแห่งแรกที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1879 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะศึกษาค้นคว้าเรื่องจิตสํานึกด้วยการสังเกตทดลองตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทําให้วันท์ ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักจิตวิทยาอย่างเป็นทางการเป็นคนแรกของโลก หรือได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยาและจิตวิทยาการทดลอง

5.อวัยวะใดมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ
(1) กล้ามเนื้อสะโพก
(2) หัวใจ
(3) กล้ามเนื้อบริเวณน่อง
(4) กระเพาะอาหาร
(5) กล้ามเนื้อที่ยึดข้อต่อและกระดูก
ตอบ 4 หน้า 32 กล้ามเนื้อ (Muscular) แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะและหน้าที่การทํางาน ดังนี้
1. กล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ คือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง
2. กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ และถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ และมีการทํางานโดยอัตโนมัติ

6. ข้อใดไม่ใช่อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับประสาทการได้ยิน
(1) กระดูกรูปโกลน
(2) กระดูกรูปค้อน
(3) บาซิลาร์เมมเบรน
(4) ซิเลียอารี
(5) หลอดก้นหอยคอคเลีย
ตอบ 4 หน้า 65 – 66 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับประสาทการได้ยิน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. หูชั้นนอก ประกอบด้วย ใบหู รูหู และแก้วหู
2. หูชั้นกลาง ประกอบด้วย กระดูกรูปค้อน (Hammer), กระดูกรูปทั่ง (Anvil) และกระดูก รูปโกลน (Stirrup)
3. หูชั้นใน ประกอบด้วย หลอดก้นหอยคอคเลีย (Cochlea) และบาซิลาร์เมมเบรน (Basilar
Membrane)

ข้อ 7 – 10 จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
(1) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ
(2) กลุ่มมนุษยนิยม
(3) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(4) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(5) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

7.การตรวจสอบภายในจิต (Introspection Technique) เป็นเทคนิคที่กลุ่มใดใช้ศึกษา
ตอบ 4 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) ได้ศึกษาค้นคว้าในห้องทดลองเกี่ยวกับการ รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการรับรู้ของมนุษย์ ทําให้รู้ถึง 3 องค์ประกอบ ของจิตสํานึก คือ การรับสัมผัส (Sensation) ความรู้สึก (Feeling) และมโนภาพ (Image) ซึ่ง ระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันในกลุ่มนี้ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ ทางจิตด้วยตนเอง เรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั่นเอง อันเป็นเทคนิคการ ผสมผสานวิธีการตรวจสอบภายในจิต (Introspection Technique) และวิธีการสังเกตในห้องทดลองเข้าด้วยกัน

8. กลุ่มทางจิตวิทยาที่สนใจศึกษา “สิ่งเร้าและการตอบสนอง” คือกลุ่มใด
ตอบ 5 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มีความเห็นว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก วัตสันได้ปฏิเสธเรื่องจิต โดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยการศึกษาบันทึกพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นจากการให้สิ่งเร้าแก่มนุษย์และสัตว์ แล้วสังเกตดูว่ามนุษย์หรือสัตว์มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นอย่างไร ซึ่งการบันทึกจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

9.“เน้นจิตใต้สํานึกที่เป็นแหล่งสะสมแรงขับ แรงปรารถนาที่ซ่อนเร้น” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ํา เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นแหล่งสะสมของความคิด แรงขับ แรงกระตุ้น และความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่า มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

10. กลุ่มที่ถูกขนานนามว่าเป็น “พลังที่ 3” (Third force in Psychology) ซึ่งสนใจ “ต้องการเข้าใจตนเอง อย่างถ่องแท้”
ตอบ 2 หน้า 11 – 12 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Psychology) ถูกขนานนามว่าเป็นพลังที่ 3 ทางจิตวิทยา (พลังที่ 1 และ 2 คือ จิตวิเคราะห์และพฤติกรรมนิยม) โดยกลุ่มนี้จะเน้นในเรื่อง เสรีภาพ และความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีการดําเนินชีวิต และสิ่งสําคัญที่สุดก็คือมนุษย์ต้องการเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้ถึงขีดสูงสุด

11. วิธีการศึกษาที่ทําให้จิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง คือข้อใด
(1) การศึกษารายกรณี
(2) การทดลอง
(3) การสํารวจ
(4) การสังเกต
(5) การทดสอบ
ตอบ 2 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาที่สําคัญยิ่งในการทําให้วิชาจิตวิทยา ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็นผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลองจะต้อง แน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว

12. สารสื่อประสาทใดมีความเกี่ยวข้องกับอาการของโรคพาร์กินสัน
(1) ซีโรโทนิน
(2) กาบา
(3) อิพิเนฟฟริน
(4) โดปามาย
(5) นอร์อิพิเนฟฟริน
ตอบ 4 หน้า 40 โดปามาย (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ถ้าเสื่อมหรือบกพร่องหรือผิดปกติจะเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) คือ มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ และยากลําบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ

13. สมองส่วนใดมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับกระแสประสาทสัมผัสจากส่วนต่าง ๆ ส่งต่อไปยังซีรีบรัม
(1) ฮิปโปแคมพัส
(2) เมดัลลา
(3) ก้านสมอง
(4) ธาลามัส
(5) ไฮโปธาลามัส

ตอบ 4 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนหน้าของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางรับ กระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์กลาง การควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของบุคคล รวมทั้งการตื่นและการหลับ

14. ข้อใดเป็นหน้าที่การทํางานหลักของต่อมใต้สมอง
(1) ผลิตโกร๊ธฮอร์โมน
(2) ผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน
(3) ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล
(4) ผลิตฮอร์โมนไทโมซิน
(5) ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์
ตอบ 1 หน้า 45 ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสําคัญที่สุดของร่างกาย เพราะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อไปควบคุมการทํางานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ โดยจะทําหน้าที่ สร้างฮอร์โมนที่สําคัญ คือ โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ ทําหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย

15. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่สําคัญของฮอร์โมน
(1) ควบคุมการพัฒนาของวุฒิภาวะ
(2) ควบคุมพลังงานในร่างกาย
(3) ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่
(4) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
(5) ควบคุมระบบสืบพันธุ์
ตอบ 1 หน้า 45 หน้าที่สําคัญของฮอร์โมน คือ
1. ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย
2. ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
3. ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
4. ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ํานม

16. ข้อใดไม่ใช่ความรู้สึกสัมผัสทางกายพื้นฐานของมนุษย์
(1) ความอุ่น
(2) ความเย็น
(3) ความร้อน
(4) ความกด
(5) ความเจ็บปวด
ตอบ 3 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของคนเราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมี ความไวต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้น มีจุดรับสัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด

17. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
(1) ไซโตพลาสซึม
(2) แอ๊กซอน
(3) นิวเคลียส
(4) เดนไดรท์

(5) นิวโรทรานสมิตเตอร์
ตอบ 5 หน้า 37 เซลล์ประสาท (Nerve Cell หรือ Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับส่งกระแสประสาท ที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาท ซึ่งประกอบด้วย 1. ตัวเซลล์ (Cell Body) มีนิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วย ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm)
2. เดนไดรท์ (Dendrite)
3. แอ็กซอน (Axon)

18. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(1) เกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ทําให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
(3) มีหน้าที่รับรู้ความรู้สึกทางร่างกาย
(4) มีผลทําให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
(5) มีผลทําให้ร่างกายตื่นตัวมากกว่าปกติ
ตอบ 2 หน้า 37 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก เป็นระบบประสาทอัตโนมัติที่อยู่ในระบบประสาท ส่วนปลาย เป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายผ่อนคลาย อยู่ในภาวะสงบและพักผ่อน มีการย่อยดี และความดันโลหิตต่ํา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังอาการตกใจจากที่มีการทํางานในอัตราเร่งมาแล้วหรือหลังจากเกิดอารมณ์เต็มที่แล้ว

19. ข้อใดใกล้เคียงกับความหมายและเป้าหมายของวิชาจิตวิทยามากที่สุด
(1) การศึกษากระบวนการรับรู้ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตเพื่อให้อธิบายที่สมเหตุสมผล เพื่อประยุกต์ใช้
ในการแก้ไขพฤติกรรมที่ผิดปกติ
(2) การศึกษาพื้นที่ทางความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
(3) การศึกษาปรัชญาแห่งชีวิตและพฤติกรรมภายใต้ศาสตร์และศิลป์ของยุคสมัยนั้น ๆ เพื่อหาคําอธิบาย ทําความเข้าใจ ทํานาย และควบคุมพฤติกรรมมนุษย์
(4) การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบาย ทําความเข้าใจ ทํานาย และควบคุมพฤติกรรม
(5) การศึกษาที่ว่าด้วยทิศทางพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตเพื่อหาคําอธิบาย ทํานาย และควบคุมพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย) ทําความเข้าใจ ทํานาย (พยากรณ์) และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

20. ข้อใดไม่ใช่รสชาติพื้นฐานที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้
(1) รสหวาน
(2) รสขม
(3) รสจืด
(4) รสเค็ม
(5) รสเปรี้ยว
ตอบ 3 หน้า 68 รสชาติพื้นฐานที่มนุษย์รับรู้โดยทั่วไปมี 4 รส คือ รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว และ รสเค็ม ส่วนรสอื่น ๆ เช่น รสเผ็ดนั้น เกิดจากการผสมกันของรสพื้นฐานเหล่านี้

21. ข้อใดเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการรับรู้น้อยที่สุด
(1) การเคลื่อนไหวของสิ่งเร้า
(2) ขนาดของสิ่งเร้า
(3) รูปร่างของสิ่งเร้า
(4) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า
(5) การเกิดซ้ำของสิ่งเร้า
ตอบ 3 หน้า 79 คุณสมบัติของสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการรับรู้ ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า
2. ขนาดของสิ่งเร้า
3. เคลื่อนไหวของสิ่งเร้า
4. การเกิดซ้ำ ๆ กันของสิ่งเร้า

22. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสัมปชัญญะได้ถูกต้องที่สุด
(1) การรู้ตัวว่ากําลังทําอะไรอยู่
(2) ความรู้จากการเรียน
(3) การเรียนรู้จากประสบการณ์
(4) ความสามารถในการทํางาน
(5) การมีสติจากการนั่งสมาธิ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90, 115 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด คิดหรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือ ขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การฝัน การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติด การดื่มสุรา การใช้ยาหรือสารเคมี และการนั่งสมาธิเจริญภาวนา

23. สภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับ (Sleep Deprivation Psychosis) เกิดจากสาเหตุใด
(1) การนอนมากเกินไป
(2) การนอนไม่เป็นเวลา
(3) การหลับ ๆ ตื่น ๆ
(4) การสะดุ้งระหว่างนอน
(5) การอดหลับอดนอน
ตอบ 5 หน้า 91 บุคคลที่ขาดการนอนหลับติดต่อกันหลายวัน (การอดหลับอดนอน) จะมีสภาพทางจิต ที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งจะทําให้บุคคลนั้น มีความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด หรือถ้าต้องอดนอน ติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจจะมีอาการทางประสาทหลอนได้

24. การนอนหลับที่เหมาะสมในวัยรุ่น ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
(1) 2-3
(2) 4-6
(3) 7-8
(4) 8-10
(5) 10 – 12
ตอบ 3 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนด ให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะมนุษย์แต่ละคน มีความแตกต่างกันในการนอน สําหรับคนบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียง สําหรับเขา แต่สําหรับคนอื่น ๆ อาจจะใช้เวลานอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้

25. สารเสพติดใดต่อไปนี้ไม่ได้ออกฤทธิ์กดประสาท
(1) ฝิ่น
(2) แอมเฟตามีน
(3) เหล้า
(4) มอร์ฟีน
(5) เฮโรอีน
ตอบ 2หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ (สุรา/เหล้า) ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

26. ความหมายของความฝันตามทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ คือข้อใด
(1) การแสดงออกทางความคิดเมื่อหลับลึกแล้ว
(2) กระบวนการทางสรีระของร่างกายที่เกิดขึ้นในช่วง REM sleep
(3) เป็นสิ่งที่มนุษย์จินตนาการขึ้นมาเองซึ่งไม่มีอยู่จริง
(4) เกิดจากการแสดงออกของนิมิต
(5) การแสดงความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก
ตอบ 5 หน้า 97 – 99 นักจิตวิทยาที่ให้ความสําคัญกับเรื่องความฝันมีหลายท่าน เช่น
1. วิลเลียม ดีเมนท์ (William Dement) เป็นผู้นําในเรื่องความฝัน โดยเขาได้พยายามศึกษา ถึงสาเหตุและประโยชน์ของความฝัน
2. ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักทฤษฎีความฝันในยุคแรก โดยเขาได้อธิบายความหมายของความฝัน ไว้ว่า ความฝันก็คือการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก
3. จุง (Jung) เชื่อว่า ความฝันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกของจิตใต้สํานึก

27. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นจากการทําสมาธิได้ถูกต้อง
(1) ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น
(2) การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น
(3) การหายใจเข้าออกช้าลง
(4) อัตราการเผาผลาญลดลง
(5) ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง
ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนหรือใช้พลังงานน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง ซึ่งมีผลทําให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น

28. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์
(1) เกิดขึ้นเอง
(2) เป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน
(3) ไม่ต่อเนื่องกัน
(4) มีทิศทางที่แน่นอน
(5) พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน
ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์ มีดังนี้
1. เกิดขึ้นเองในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน (Continuity)
2. เป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง (Sequence)
3. เกิดเป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน (Ratio)
4. มีทิศทางที่แน่นอนและเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ (Developmental Direction)
5. พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน

29. ข้อใดเป็นลักษณะของเทรซโฮลด์สมบูรณ์
(1) เป็นระดับพลังงานที่มีความถี่ต่ําสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้
(2) เป็นระดับพลังงานที่มีความถี่สูงสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้
(3) เป็นระดับพลังงานที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้ชัดเจนตามระดับของพลังงานดังกล่าว
(4) เป็นระดับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานต่ําสุดที่อินทรีย์สามารถแยกความแตกต่างได้
(5) เป็นระดับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานสูงสุดที่อินทรีย์สามารถแยกความแตกต่างได้
ตอบ 1 หน้า 69 ระดับเทรชโฮลด์ (Threshold) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เทรซโฮลด์สมบูรณ์ (Absolute Threshold) หมายถึง จํานวนพลังงานที่มีความถี่ต่ําสุดที่ อินทรีย์สามารถรับรู้ได้เป็นครั้งแรก เช่น การฉายแสงที่มีปริมาณต่ําสุดบนจอมืดและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณให้เข้มขึ้น แล้วให้ผู้ดูรายงานว่าเริ่มเห็นแสงเมื่อใด ฯลฯ
2. เทรซโฮลด์ความแตกต่าง (Difference Threshold) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า ที่มีอยู่แล้วในจํานวนน้อยที่สุดที่สามารถรู้สึกได้ เช่น ถ้าเราหิ้วของหนัก 100 กรัม แล้วมีคน เอามาวางเพิ่มอีก 1 กรัม เราอาจไม่รู้สึก แต่ถ้าเพิ่มอีก 3 กรัม เราจะรู้สึกว่าหนักกว่าเดิม ดังนั้นน้ําหนักที่เพิ่มขึ้น 3 กรัม จึงเป็นเทรซโฮลด์ความแตกต่างในการยกน้ําหนักของเรา

30. การรับรู้แบบอภิธรรมดาที่เรียกว่า โทรจิต (Telepathy) เป็นการรับรู้อย่างไร
(1) การเห็นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทางตา
(2) การเดินทางไปปรากฏกายในที่อื่นโดยไม่ต้องใช้พาหนะใด ๆ
(3) การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(4) การทําให้วัตถุหักงอโดยไม่ต้องใช้กายสัมผัส
(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
ตอบ 5 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

31. ในช่วงเวลาหลับลึกมาก ๆ คลื่นสมองจะเป็นรูปแบบใด
(1) คลื่นเดลตา
(2) คลื่นเบตา
(3) คลื่นอัลฟา
(4) คลื่นไอออน
(5) คลื่นแกมมา
ตอบ 1 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่ 4 เป็นช่วงแห่งการนอนหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) ซึ่งมักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ

ข้อ 32 – 33 จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
(1) การต่อเติมให้สมบูรณ์
(2) ความคล้ายคลึงกัน
(3) ความใกล้ชิดกัน
(4) ความต่อเนื่อง
(5) ภาพลวงตา

32. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการรับรู้วัตถุที่อยู่ใกล้ชิดเป็นภาพเดียวกันหรือหมวดหมู่เดียวกัน
ตอบ 3 หน้า 76 ความใกล้ชิดกัน (Proximity) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะรับรู้วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ อยู่ใกล้ชิดกันเป็นภาพเดียวกันหรือหมวดหมู่เดียวกัน เช่น การมองรูปสามเหลี่ยมที่อยู่ใกล้กัน เป็นกลุ่มเดียวกันหรือหมวดหมู่เดียวกัน ฯลฯ

33. รูปแบบการรับรู้ของบุคคลที่มักมองเห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนเล็ก ๆ หลายส่วน คือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 75, (คําบรรยาย) การต่อเติมให้สมบูรณ์ (Closure) คือ แนวโน้มที่จะรับรู้ความสมบูรณ์ ของวัตถุทั้งที่บางส่วนขาดหายไป โดยการมองเป็นลักษณะส่วนรวมหรือความสมบูรณ์ของวัตถุ มากกว่าการมองวัตถุเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะถ้าเรามองสิ่งใดที่ยังขาดหรือพร่องอยู่ จิตของมนุษย์ มักจะเติมส่วนที่ขาดหายไปนั้นให้เป็นรูปเต็ม

34. “มานี้อยากมีอาชีพเป็นหมอเลยสมัครสอบคณะแพทยศาสตร์ แต่มานะไม่รู้ว่าจะสอบเข้าคณะอะไร เพราะ
ไม่รู้ว่าตัวเองอยากทําอาชีพอะไร” มานะมีพัฒนาการล้มเหลวในขั้นใดของอิริคสัน
(1) ขั้นที่ 2 ความต้องการอิสระและความละอายใจไม่แน่นอน
(2) ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มและความรู้สึกผิด
(3) ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรและความรู้สึกต่ําต้อย
(4) ขั้นที่ 5 ทําความเข้าใจตนเองและสับสนในตนเอง
(5) ขั้นที่ 6 ใกล้ชิดสนิทสนมและโดดเดี่ยวอ้างว้าง
ตอบ 4 หน้า 147 อิริคสัน (Erikson) ได้เน้นศึกษาเกี่ยวกับขั้นพัฒนาการทางจิตสังคม (Psychosocial Stages) โดยเขาได้แบ่งขั้นพัฒนาการในแต่ละวัยออกเป็น 8 ระยะ ดังนี้
ขั้นที่ 1. แรกเกิดถึงหนึ่งปีแรก : มีความเชื่อถือไว้วางใจ – ความระแวงไม่ไว้วางใจ
ขั้นที่ 2. ปีที่สอง : ความต้องการอิสระ – ความละอายและความสงสัยไม่แน่ใจ
ขั้นที่ 3 ปีที่สามถึงปีที่สี่ : ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด
ขั้นที่ 4. ปีที่หกถึงระยะก่อนวัยรุ่น : ความขยันหมั่นเพียร – มีความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5. วัยรุ่น : ทําความเข้าใจรู้จักตนเอง – สับสนไม่เข้าใจตนเอง
ขั้นที่ 6. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น : ใกล้ชิดสนิทสนม – โดดเดี่ยว อ้างว้าง แยกตัว
ขั้นที่ 7. วัยผู้ใหญ่และวัยกลางคน : สร้างความมั่นคง – หมกมุ่นใส่ใจแต่เรื่องของตนเอง
ขั้นที่ 8. วัยชรา : มั่นคง สมบูรณ์ – หมดหวัง ทอดอาลัย

35. ระบบความจําที่หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
(1) ความจําระยะสั้น
(2) ความจําระยะยาว
(3) ความจําเหตุการณ์
(4) ความจําความหมาย
(5) ความจําจากการรับสัมผัส
ตอบ 1 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1. ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ
2. ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบ ความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
3. ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

36. วุฒิภาวะ (Maturation) หมายถึงข้อใด
(1) การเจริญเติบโตที่เป็นอิสระจากการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม
(2) การเจริญเติบโตที่ได้รับอิทธิพลจากการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม
(3) การเจริญเติบโตที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์และการเรียนรู้
(4) การได้รับผลกระทบจากสังคมและวัฒนธรรม
(5) การเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่เมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
ตอบ 1 หน้า 138 วุฒิภาวะ (Maturation) หรือความพร้อมของบุคคล หมายถึง กระบวนการของ ความเจริญเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่าง มีระเบียบโดยไม่เกี่ยวโยงกับสิ่งเร้าภายนอก อันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ความพร้อม ของกล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ซึ่งความพร้อมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดเป็นพฤติกรรม

37. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการเกิดการเคลื่อนไหวของลูกตาขณะหลับ (Rapid Eye Movements : REM)
(1) เกิดเมื่อมีความฝัน
(2) คนทั่วไปมักเกิดได้คืนละ 4 – 5 ครั้ง
(3) เกิดได้กับคนทุกคน
(4) เกิดทันทีในระยะแรกของการนอนหลับ
(5) เกิดหลังจากผ่านช่วงที่สี่ของการนอนหลับไปแล้ว
ตอบ 4 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับนั้น ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทุกคนเมื่อนอนไปได้สักพักก็จะมี REM เกิดขึ้นทั้งสิ้น และ แต่ละคืนจะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

38. ข้อใดคือประเภทของยาเสพติดกลุ่มกาแฟหรือคาเฟอีน
(1) กดประสาท
(2) หลอนประสาท
(3) กระตุ้นประสาท
(4) กดและกระตุ้นประสาท
(5) กระตุ้นและหลอนประสาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

39.Oral Fixation คืออะไร
(1) ความสุขที่เกิดจากการกิน
(2) ความพอใจจากการดูดกลืน
(3) การชะงักงันหรือติดแน่นอยู่กับความสุขขั้นปาก
(4) ความสุขจากการได้รับประทาน
(5) ความชอบที่จะใช้กิจกรรมทางปาก
ตอบ 3 หน้า 145, 299 ฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งพัฒนาการบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage)
2. ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแอบแฝง (Latency Stage)
5. ขั้นการมีเพศสัมพันธ์ (Genital Stage)
โดยบุคคลจะต้องพยายามหาสิ่งตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางสรีรวิทยาอยู่เสมอใน ทุกขั้นของพัฒนาการ และหากว่าไม่สามารถทําได้ในขั้นหนึ่งขั้นใดก็จะเป็นเหตุให้บุคคลเกิด การชะงักงัน (Fixation) ของพัฒนาการขั้นต่อไปซึ่งจะมีผลต่อการปรับตัวในวัยต่อมา

40. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้าเดียวกันทําให้คนต้องการต่างกัน
(2) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน
(3) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล
(4) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน
(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว
ตอบ 4 หน้า 229 เกี่ยวกับความต้องการที่เกิดจากสิ่งเร้า คือ สิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ของบุคคล สิ่งเร้าเดียวกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่แตกต่างกันได้ สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่เหมือนกันได้ สิ่งเร้าเดิมที่เคยจูงใจบุคคลอาจจะจูงใจไม่ได้อีก เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีตอาจจะจูงใจได้ในปัจจุบัน

41. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) จํานวนทารกภายในครรภ์
(2) การบริโภคของแม่
(3) สุขภาพจิตของแม่
(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(5) การได้รับรังสี
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

42. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
(1) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
(2) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม
(3) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นมีความสําคัญต่อทุกคนเท่ากัน
(4) ส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบการกระทํา
(5) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้
ตอบ 3 หน้า 247, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขส่วนใหญ่จะเป็นการ เรียนรู้แบบการกระทํา โดยที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมและคนรอบข้างว่าปัจจัยใดบ้างควรเป็น
สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยม
ของแต่ละสังคม นอกจากนี้สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย

43.หาก ด.ญ.เอ และ ด.ญ.บี หน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน เกิดวันเดียวกัน พ่อแม่เดียวกัน ถือว่า ด.ญ.เอ และ ด.ญ.บี เป็นพี่น้องแบบใด
(1) ญาติกัน
(2) แฝดเหมือน
(3) แฝดคล้าย
(4) แฝดเทียม
(5) พี่น้องตามธรรมชาติ
ตอบ 2 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

44. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
(2) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(3) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(4) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
(5) การระดมสมอง
ตอบ 4หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. นิยามปัญหาให้กว้าง
2. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
5. การหาอุปมา
6. การระดมสมอง

45. การลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การถดถอย (Regression)
(2) การเก็บกด (Repression)
(3) การหาเหตุผล (Rationalization)
(4) การเลียนแบบ (Identification)
(5) การทดแทน (Sublimation)
ตอบ 2 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

46. การกลัวสุนัขทุกตัว เพราะเคยถูกสุนัขกัดตอนเด็ก ๆ ตรงกับข้อใด
(1) การแยกความแตกต่าง
(2) การฟื้นกลับของพฤติกรรม
(3) การหยุดยั้ง
(4) การสรุปความเหมือน
(5) การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
ตอบ 4 หน้า 173 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คล้ายกับ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นการขยายผลของการเรียนรู้ไปยัง สถานการณ์ใหม่ๆ ที่คล้ายกัน เช่น เด็กชายดีจะกลัวสุนัขทุกตัว เพราะเคยถูกสุนัขกัดมาก่อน ฯลฯ

47. ในกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ข้อใดกล่าวถึง ยีนส์ ได้ถูกต้องที่สุด
(1) เป็นคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อส่งข้ามไปอีกรุ่นหนึ่ง
(2) มีหน้าที่ควบคุมโครงสร้างทางร่างกาย โดยจะปรากฏให้เห็นเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยรุ่น
(3) ตามปกติคนเราจะมียีนส์อยู่เพียง 1 – 2 ชนิดเท่านั้น
(4) ยีนส์ด้อยเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทําให้เราเกิดความบกพร่องทางร่างกาย
(5) สามารถส่งข้ามจากรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งได้
ตอบ 5 หน้า 123 ในกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น ยีนส์เป็นหน่วยของพันธุกรรมที่ถูกส่งข้าม จากคนชั่วอายุหนึ่งไปยังคนอีกชั่วอายุหนึ่ง โดยที่คุณสมบัติต่าง ๆ นั้นจะคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมไม่ว่าจะมีการถ่ายทอดไปกี่ชั่วอายุคนหรือไปผสมกับพันธุกรรมอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งยีนส์นี้ จะควบคุมโครงสร้างส่วนประกอบและลักษณะต่าง ๆ ของคนเราให้เหมือนกับบรรพบุรุษ จึง ทําให้ลูก หลาน เหลน มีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และทวดของตน โดยยีนส์ที่อยู่ ในร่างกายของคนเราจะมีอยู่ประมาณ 40,000 ชนิด

48. ตามทฤษฎีจิตสังคมทั้ง 8 ขั้นของอิริคสัน ในช่วงระยะวัยผู้ใหญ่ตอนต้น หากบุคคลไม่สามารถทํางานร่วมกับ ผู้อื่นได้ ชอบทํางานคนเดียว จะถือว่าประสบกับภาวะใด
(1) สิ้นหวัง (Despair)
(2) ไม่ไว้วางใจ (Mistrust)
(3) ไม่แน่ใจในตนเอง (Self Doubt)
(4) แยกตัว (Isolation)
(5) ขาดความคิดสร้างสรรค์ (Uninitiated)
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

49.นายเอ (หมู่โลหิต O) แต่งงานกับ น.ส.บี (หมู่โลหิต A) ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นหมู่โลหิตใด
(1) O (100%)
(2) AB (100%)
(3) B (100%)
(4) A, O (หมู่ละ 50%)
(5) A, B, AB, O (หมู่ละ 25%)
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การผสมหมู่โลหิตมีความเป็นไปได้ 10 แบบ ดังนี้
1. A + A = A, O
2. A + B = A, B, AB, O
3. A + AB = A, B, AB
4. A + O = A, O
5. B + B = B, O
6. B + AB = A, B, AB
7. B + O = B, O
8. AB + AB = A, B, AB
9. AB + O = A, B
10. O + O = O

50. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายของสิ่งที่เรารับรู้
(1) รูปแบบของสิ่งเร้า
(2) การเรียนรู้
(3) ประสบการณ์ในอดีต
(4) ภาษาที่ใช้สื่อสาร
(5) สภาพจิตใจและอารมณ์ในขณะนั้น
ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจและอารมณ์ในขณะนั้น ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ

51. ข้อใดเป็นระบบการทํางานของความจําที่ถูกต้องที่สุด
(1) รับ
(2) เก็บ
(3) จัดการ
(4) เปลี่ยนแปลง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 193, 195 ความจํา (Memory) เป็นระบบที่เตรียมพร้อมหรือระบบการทํางานที่ตื่นตัว อยู่ตลอดเวลาในการที่จะรับ เก็บ จัดการ เปลี่ยนแปลง และนําข้อมูลออกมาใช้ โดยความจํามี 3 ระบบ คือ ความจําจากการรับสัมผัส ความจําระยะสั้น และความจําระยะยาว

52. การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด
(1) การลองผิดลองถูก
(2) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม
(3) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น
(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต
(5) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา
ตอบ 2 หน้า 247 – 248, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม จะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลง ไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ

53. นักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบ
(1) พาฟลอฟ
(2) โรเจอร์
(3) แบนดูร่า
(4) มาสโลว์
(5) วัตสัน
ตอบ 3 หน้า 291 แบนดูร่า (Bandura) เป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกตและ เลียนแบบ โดยเป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่เชื่อในเรื่องการเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเขากล่าวว่า เรามักจะเลียนแบบการกระทําของผู้อื่น คือเราจะสังเกตว่าการกระทําของผู้อื่นนั้น ได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษ ถ้าได้รับผลดีหรือผลสําเร็จเราก็มักจะเลียนแบบการกระทํานั้น

54.ตามธรรมชาติ มนุษย์จะมีโครโมโซมจํานวนกี่แท่ง
(1) 22
(2) 23
(3) 44
(4) 46
(5) 48
ตอบ 4 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซม ซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้บุคคล จะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

55. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การเดินแบบได้สวยงาม
(2) การว่ายน้ําท่าฟรีสไตล์
(3) การเลือกกินอาหารที่ชอบ
(4) การชักใยของแมงมุม
(5) การร้องไห้เสียงดังเพื่อเรียกร้องความสนใจ
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณ อันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

56. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของการลืม
(1) ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา
(2) ไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้
(3) ล้มเหลวในการจําหรือการไม่สามารถจําได้
(4) การลืมเกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป
(5) เกิดขึ้นโดยไม่มีกระบวนการรบกวน
ตอบ 5 หน้า 203 – 204 การลืมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา การลืมคือการที่ไม่สามารถ เรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้ การลืมเป็นความล้มเหลวในการจําหรือการที่ไม่สามารถจําได้ การลืมเกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป และการรบกวนมักเป็นสาเหตุสําคัญของการลืม

57. นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์
(1) พาฟลอฟ
(2) มาสโลว์
(3) โรเจอร์ส
(4) แบนดูร่า
(5) วัตสัน
ตอบ 2 หน้า 229 – 230, 234 – 235, (คําบรรยาย) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่ง ลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย และขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2. ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและ ความเป็นเจ้าของ, ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ซึ่ง เป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง)

58. การติดกล้องวงจรปิดและสัญญาณกันขโมยในบ้าน แสดงว่ามีความต้องการขั้นใด
(1) ต้องการทางด้านร่างกาย
(2) ต้องการความปลอดภัย
(3) ต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(4) ต้องการได้รับความนับถือยกย่อง
(5) ต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

59. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยนําเข้า (Input) ที่ทําให้เกิดกระบวนการจูงใจ
(1) สิ่งเร้า
(2) การเรียนรู้และประสบการณ์
(3) ความต้องการ
(4) ผลของการทํางานของระบบต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 228 องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทําให้เกิดกระบวนการจูงใจ มีขั้นตอนดังนี้
1. Input คือ ปัจจัยนําเข้าอันเป็นตัวเร้าและกระตุ้นให้เกิดกระบวนการจูงใจ ได้แก่
1.1 สิ่งเร้า ได้แก่ สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย (เช่น บุคคล สิ่งของ ฯลฯ) และสิ่งเร้าภายใน ร่างกาย (เช่น น้ําย่อย ผลของการทํางานของระบบต่าง ๆ ฯลฯ)
1.2 การเรียนรู้และประสบการณ์
2. Process คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดความต้องการ แรงขับ และการตอบสนอง
3. Output คือ เป้าหมายที่กําหนดไว้

60. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)
(1) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง
(2) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง
(3) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด
(4) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
(5) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะหยุดพัก
ตอบ 4หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้น พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

61. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)
(1) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้
(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้
(3) วัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองได้
(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้
(5) วัดการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจได้
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)

62. ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของเมอร์เรย์
(1) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น
(2) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(4) ความต้องการทางด้านร่างกาย
(3) ความต้องการสืบทอดเผ่าพันธุ์
(5) ความต้องการความปลอดภัย
ตอบ 2 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน, ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ

63. ข้อใดอธิบายลักษณะของอารมณ์ไม่ถูกต้อง
(1) อารมณ์มีความซับซ้อนมากกว่าความรู้สึกทางร่างกาย
(2) อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตได้เด่นชัด
(3) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประสบการณ์ส่วนบุคคล
(4) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่มีการแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างไปจากการกระทําปกติ
(5) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากอารมณ์จะเป็นได้ทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้หรือปฏิกิริยาสะท้อนตาม
ธรรมชาติ
ตอบ 3 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตได้เด่นชัด แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติ
3. อารมณ์มีความซับซ้อนมากกว่าความรู้สึกทางร่างกายอื่น ๆ บุคคลจะมีการประเมินหรือแปล ความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์นั้น ๆ
4. อารมณ์มีความสัมพันธ์หรือจะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระทั้งนี้ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากอารมณ์จะเป็นได้ทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติ

64. การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด
(1) 12 เดือน
(2) 18 เดือน
(3) 24 เดือน
(4) 32 เดือน
(5) 40 เดือน
ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

65. ข้อใดไม่ใช่แรงขับภายในที่เกิดจากความไม่สมดุลในร่างกายของมนุษย์
(1) ความกระหาย
(2) ความต้องการทางเพศ
(3) การได้รับมลภาวะ
(4) ความหิว
(5) การหลีกหนีความเจ็บปวด
ตอบ 3 หน้า 238 เราสามารถแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามแรงขับออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. แรงขับภายในร่างกาย เช่น แรงขับทางการบริโภค (ความหิว, ความกระหาย) และแรงขับ ทางเพศ ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้บุคคลมีพฤติกรรมในการแสวงหาอาหารและน้ํามาบรรเทา ความหิว เพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ร่างกาย
2. แรงขับที่เกิดจากการเร้าจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น การได้รับความเจ็บปวด การได้รับมลภาวะ แสง และรังสีต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุล

66. บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดดีที่สุด
(1) ช่วงต้นและท้าย
(2) ช่วงต้น
(3) ช่วงกลาง
(4) ช่วงท้าย
(5) ทุกช่วง
ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

67. ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย
(1) การแต่งกาย
(2) ยา
(3) บ้าน
(4) อาหาร
(5) เครื่องนุ่งห่ม
ตอบ 2 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย (บ้าน) การตกแต่งสถานที่ เพศตรงข้าม (การแต่งกาย) ฯลฯ

68. ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)
(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย
(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย
(4) พลังภายในร่างกาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกาย ที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย

69. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยทางสรีรวิทยาที่ทําให้เกิดอารมณ์
(1) ระบบพาราซิมพาเธติกในร่างกายจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่กระตุ้นให้ต่อสู้หรือถอยหนี
(2) อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมมากที่สุด คือ อารมณ์ตื่นเต้น
(3) อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต
(4) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสรีรวิทยา
(5) สมองส่วนไฮโปธาลามัส เมื่อถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอารมณ์เศร้า ซึม เฉื่อยชา
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมได้มากที่สุด คือ อารมณ์กลัวกับอารมณ์โกรธ โดยอารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน จากต่อมหมวกไต ส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน

70. ข้อใดเป็นอารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman)
(1) เบื่อหน่าย
(2) ตื่นเต้น
(3) กลัว
(4) ยอมรับ
(5) หดหู่
ตอบ 3 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข

71. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์
(1) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ (Power Motive)
(2) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)
(3) แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive)
(4) แรงจูงใจทางสรีรวิทยา (Physiological Motive)
(5) แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive)
ตอบ 1 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (เพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. แรงจูงใจทางชีวภาพ/สรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ
2. แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ
3. แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)

72. ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดอารมณ์ของเจมส์-แลง (James-Lang Theory)
(1) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นหลังจากมีปฏิกิริยาโต้ตอบทางร่างกาย
(2) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นจากการแปลความหมายของสิ่งเร้า
(3) อธิบายว่าอารมณ์เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นจากประสาทสัมผัสที่ส่งต่อไปยังสมองส่วนธาลามัส
(4) เชื่อว่าอารมณ์และปฏิกิริยาโต้ตอบทางร่างกายเกิดขึ้นพร้อมกัน
(5) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นก่อน จากนั้นจึงมีปฏิกิริยาโต้ตอบทางร่างกายตามมา
ตอบ 1 หน้า 265, 269 ทฤษฎีของเจมส์-แลง (James-Lang Theory) อธิบายว่า ร่างกายของคนเรา จะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าเป็นอันดับแรกก่อน แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา ทั้งนี้ ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยหลังจาก ที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรมแล้วจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และ เหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

73. หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “กลัว” ตามแนวคิดของพลูทซิค
(1) การรักษาการสูญเสีย
(2) การปกป้อง
(3) การปฏิเสธ
(4) การทําลาย
(5) การปรับตัว
ตอบ 2 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik)
ได้แก่
กลัว – การปกป้อง,
โกรธ – การทําลาย,
รื่นเริง – ความร่วมมือ,
รังเกียจ – การปฏิเสธ,
ยอมรับ – การแพร่พันธุ์,
เศร้า – การรักษาการสูญเสีย,
ประหลาดใจ – การปรับตัว
คาดหวัง (อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา

74.Halo Effect อาจเกิดขึ้นจากการประเมินบุคลิกภาพโดยวิธีใด
(1) การกําหนดสถานการณ์
(2) การสังเกตโดยตรง
(3) การสัมภาษณ์
(4) การฉายภาพจิต
(5) การทดสอบ
ตอบ 3 หน้า 305 การสัมภาษณ์ เป็นการใช้คําถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ โดยผู้สัมภาษณ์สามารถ เห็นหน้าและสังเกตกิริยาท่าทางทั้งภาษากายและภาษาพูดของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้สัมภาษณ์จะต้องระมัดระวังในเรื่องอคติและ Halo Effect คือ แนวโน้มที่จะประเมินผู้อื่น สูงหรือต่ํากว่าความเป็นจริง

75.การพัฒนาแบบทดสอบ หากต้องการให้มีคุณสมบัติที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ แบบทดสอบนั้นต้องมีคุณสมบัติใด
(1) ความเป็นมาตรฐาน
(2) ความเป็นอัตนัย
(3) ความเป็นปรนัย
(4) ความเชื่อถือได้
(5) ความเที่ยงตรง
ตอบ 5 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

76. หากทดสอบความสามารถทางสติปัญญาแล้วได้คะแนนอยู่ในช่วง 81 – 90 ถือว่าสติปัญญาอยู่ในระดับใด (1) ปัญญาทึบ
(2) คาบเส้น
(3) เกณฑ์ปกติ
(4) ค่อนข้างฉลาด
(5) อัจฉริยะ
ตอบ 1 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ I.Q. 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ, 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.Q. 140 ขึ้นไป

77. การใช้อัตมโนทัศน์ (Self-concept) เพื่ออธิบายถึงบุคลิกภาพเป็นแนวคิดของใคร
(1) คาร์ล โรเจอร์ส
(2) อับราฮัม มาสโลว์
(3) อัลเฟรด แอดเลอร์
(4) ซิกมันด์ ฟรอยด์
(5) เอ็ดวาร์ด ธอร์นไดค์
ตอบ 1 หน้า 291 – 293, 314 ทฤษฎีมนุษยนิยมจะให้ความสําคัญกับประสบการณ์เฉพาะตัวของมนุษย์ โดยเฉพาะแนวคิดของคาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers) ที่กล่าวว่า อัตตา (Self) เป็นโครงสร้าง บุคลิกภาพของมนุษย์ โดยอัตตาพัฒนามาจากประสบการณ์รับรู้ของบุคคล จนก่อกําเนิดเป็น ภาพลักษณ์หรืออัตมโนทัศน์ (Self-concept) ของมนุษย์ขึ้น ซึ่งการกระทําทุกอย่างของมนุษย์ มักเกิดจากการทําพฤติกรรมที่ตรงกับอัตมโนทัศน์ของตนเอง เช่น ถ้าเรามีอัตมโนทัศน์ว่าเราเป็น คนมีเมตตาต่อผู้อื่น เราจะมีพฤติกรรมที่ตรงกับอัตมโนทัศน์คือความเมตตาของเราอยู่เสมอ ๆ

78. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสติปัญญาได้ถูกต้องที่สุด
(1) ความสามารถในการอดทนเพื่อให้ตนเองประสบความสําเร็จ
(2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทั้งรูปธรรมและนามธรรม
(3) ความสามารถในการรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
(4) ความสามารถในการรับรู้เรื่องราวตามความเป็นจริง
(5) ความสามารถในการคิดและแยกแยะความถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 319 สติปัญญา (Intelligence) เป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิด กระทํา หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

79. ข้อใดเป็นการฉายภาพจิต
(1) การทําแบบทดสอบ MMPI
(2) การให้ตอบคําถามจากภาพหยดหมึก
(3) การสนทนาที่มีโครงสร้าง
(4) การสังเกตพฤติกรรมจากวิดีโอ
(5) การถูกสังเกตแบบรู้ตัว
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอร์ซาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบ ดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขา บรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

80. ลักษณะทางอารมณ์ซึ่งนักจิตวิทยาได้จําแนกไว้ได้แก่อะไร
(1) อารมณ์ทางบวก เฉย ๆ และทางลบ
(2) อารมณ์ที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจ
(3) อารมณ์รักและโกรธ
(4) อารมณ์สงบและรุนแรง
(5) อารมณ์ที่เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 หน้า 260 อารมณ์ อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. อารมณ์ที่ทําให้เกิดความพึงพอใจ (Pleasantness) มีความสุข ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์ทางบวก ได้แก่ รื่นเริง ชื่นชม รัก ยอมรับ ฯลฯ
2. อารมณ์ที่ทําให้เกิดความไม่พึงพอใจ (Unpleasantness) มีความทุกข์ ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์ทางลบ ได้แก่ กลัว โศกเศร้า เกลียด เดือดดาล ดูถูก ขยะแขยง ฯลฯ

81.การแสดงออกทางร่างกายแบบใดเป็นการแสดงออกที่เป็นสากล
(1) การแสดงท่าทาง
(2) การแสดงสีหน้า
(3) การใช้นิ้วมือ
(4) การใช้น้ำเสียง
(5) การแสดงออกทางภาษาพูด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

82. ข้อใดคือสูตรในการคํานวณความสามารถทางสติปัญญา
(1) 100 / (CA + MA)
(2) (CA / 100) + MA
(3) (MA / 100) + CA
(4) (CA / MA) × 100
(5) (MA / CA) × 100
ตอบ 5
หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนทางสติปัญญาที่ เรียกว่า I.Q. (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A.) ที่ได้จากการทําแบบทดสอบ/แบบประเมิน และอายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100

83. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแนวทางการควบคุมอารมณ์ในการดําเนินชีวิตประจําวัน
(1) จะต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเอง
(2) เน้นการอยู่กับปัจจุบัน เลิกกังวลกับสิ่งที่ผ่านมาแล้ว
(3) มีปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ ขจัดความขัดแย้งทันทีทันใด
(4) จัดการให้อารมณ์อยู่ในรูปของการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาใหญ่หรือปมด้อย (5) พยายามหลีกหนีจากความวิตกกังวล หลีกเลี่ยงการเผชิญสถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอารมณ์ไม่เหมาะสม
ตอบ 5หน้า 276 มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนี้
1. พยายามเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และหาสาเหตุ ของอารมณ์นั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป
2. ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น และจําเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเอง
3. กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาใหญ่หรือเกิดเป็นปมด้อย
4. เลิกกังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว เน้นการอยู่กับปัจจุบันด้วยความเชื่อมั่น
5. ใช้ปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ ขจัดความขัดแย้งทันทีทันใด

84. แบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญาใดที่ประเมินได้โดยไม่ต้องใช้ภาษา
(1) Wechsler Intelligence Scale for Children (WISC)
(2) Vocational Choice Test
(3) Wechsler Adult Intelligence Scale (WAIS)
(4) Stanford-Biner Test
(5) Coloured Progressive Matrices

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตรซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็น แบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งมี 3 ฉบับ คือ Standard Progressive Matrices (ใช้กับผู้ใหญ่), Coloured Progressive Matrices (ใช้กับเด็ก) และ Advanced Progressive Matrices (ใช้สําหรับผู้ใหญ่ที่ฉลาด)

85. นายมีความสามารถพื้นฐานเหมือนเพื่อนคนอื่น และก็มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี การอธิบายนี้เป็นไปตามทฤษฎีสติปัญญาใด
(1) ทฤษฎีตัวประกอบพิเศษ
(2) ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย
(3) ทฤษฎีตัวประกอบหลัก
(4) ทฤษฎีตัวประกอบมหภาค
(5) ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย
ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

86. บุคคลใดมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า S-factor
(1) บอลชอบร้องเพลง เมื่อมีงานเลี้ยงเขาจะขอขึ้นร้องเพลงทุกครั้ง
(2) บรีสทํางานด้วยความรับผิดชอบจนเจ้านายเลื่อนตําแหน่งงานให้
(3) บอยวาดรูปได้สวยงามอย่างมืออาชีพ ทั้งที่เขาไม่เคยเรียนวาดรูปที่ใดมาก่อน
(4) ปีไปจ่ายตลาดซื้อของได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข
(5) เบลสามารถแก้ปัญหาที่เข้ามารบกวนจิตใจได้เป็นอย่างดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

87. “พฤติกรรมถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม” เป็นแนวคิดของนักทฤษฎีในกลุ่มใด
(1) เกสตัลท์
(2) มนุษยนิยม
(3) การเรียนรู้ทางสังคม
(4) จิตวิเคราะห์
(5) ประเภทและโครงสร้าง
ตอบ 3 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ส่วนธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะปรากฏขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหมดไปหรือหายไป

88. Ego ทํางานอยู่บนหลักการใด
(1) หลักความจริง
(2) หลักของตัวตน
(3) หลักของพฤติกรรมนิยม
(4) หลักการชดเชย
(5) หลักความพึงพอใจ
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กล่าวว่า โครงสร้าง ของบุคลิกภาพเกิดจากการทํางานร่วมกันระหว่าง อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ โดยอิด (Id) เป็น โครงสร้างจิตใจส่วนที่เป็นการตอบสนองความต้องการทางร่างกายโดยยึดหลักของความพึงพอใจ อีโก้ (Ego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีหรือบาปบุญคุณโทษ โดยยึดหลักของศีลธรรมหรือมโนธรรม

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตรซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็น แบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งมี 3 ฉบับ คือ Standard Progressive Matrices (ใช้กับผู้ใหญ่), Coloured Progressive Matrices (ใช้กับเด็ก) และ Advanced Progressive Matrices (ใช้สําหรับผู้ใหญ่ที่ฉลาด)

85. นายมีความสามารถพื้นฐานเหมือนเพื่อนคนอื่น และก็มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี การอธิบายนี้เป็นไปตามทฤษฎีสติปัญญาใด
(1) ทฤษฎีตัวประกอบพิเศษ
(2) ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย
(3) ทฤษฎีตัวประกอบหลัก
(4) ทฤษฎีตัวประกอบมหภาค
(5) ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย
ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

86. บุคคลใดมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า S-factor
(1) บอลชอบร้องเพลง เมื่อมีงานเลี้ยงเขาจะขอขึ้นร้องเพลงทุกครั้ง
(2) บรีสทํางานด้วยความรับผิดชอบจนเจ้านายเลื่อนตําแหน่งงานให้
(3) บอยวาดรูปได้สวยงามอย่างมืออาชีพ ทั้งที่เขาไม่เคยเรียนวาดรูปที่ใดมาก่อน
(4) ปีไปจ่ายตลาดซื้อของได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข
(5) เบลสามารถแก้ปัญหาที่เข้ามารบกวนจิตใจได้เป็นอย่างดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

87. “พฤติกรรมถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม” เป็นแนวคิดของนักทฤษฎีในกลุ่มใด
(1) เกสตัลท์
(2) มนุษยนิยม
(3) การเรียนรู้ทางสังคม
(4) จิตวิเคราะห์
(5) ประเภทและโครงสร้าง
ตอบ 3 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ส่วนธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะปรากฏขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหมดไปหรือหายไป

88. Ego ทํางานอยู่บนหลักการใด
(1) หลักความจริง
(2) หลักของตัวตน
(3) หลักของพฤติกรรมนิยม
(4) หลักการชดเชย
(5) หลักความพึงพอใจ
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กล่าวว่า โครงสร้าง ของบุคลิกภาพเกิดจากการทํางานร่วมกันระหว่าง อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ โดยอิด (Id) เป็น โครงสร้างจิตใจส่วนที่เป็นการตอบสนองความต้องการทางร่างกายโดยยึดหลักของความพึงพอใจ อีโก้ (Ego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีหรือบาปบุญคุณโทษ โดยยึดหลักของศีลธรรมหรือมโนธรรม

89. อายุสมองคือตัวเลขที่ได้จากข้อใด
(1) การใช้จินตนาการ
(2) การทําแบบประเมิน
(3) ขนาดของสมอง
(4) อายุตามปีปฏิทิน
(5) ระดับของชั้นเรียน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

90. อัตราส่วนทางสติปัญญาหรือความสามารถทางสติปัญญา ใช้คําภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) Emotional Quotient
(2) Adversity Quotient
(3) Moral Quotient
(4) Utopia Quotient
(5) Intelligence Quotient
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

91. โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมเป็นคํานิยามของข้อใด
(1) แรงขับ
(2) การแก้ไขปัญหา
(3) อัตลักษณ์
(4) บุคลิกภาพ

(5) วิธีการปรับตัว
ตอบ 4 หน้า 284 อัลพอร์ท (Altport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระ ของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคล ต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันออกไปด้วย

92. การสร้างแบบทดสอบทางสติปัญญาขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
(1) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง
(2) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางร่างกาย
(3) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางจิตใจ
(4) เพื่อให้ง่ายต่อการประเมิน
(5) เพื่อให้เกิดความทันสมัยทางวิชาการ
ตอบ 1 หน้า 324 บิเนต์ (Binet) และไซมอน (Simon) ได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดสติปัญญา รายบุคคลขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905 เพื่อแยกเด็กที่มีปัญหาในการเรียนช้าหรือเด็ก ที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ เพื่อจัดโปรแกรมพิเศษให้เด็กที่มีปัญหากลุ่มนี้

93. พฤติกรรมใดทําแล้วได้ผลดี พฤติกรรมนั้นจะปรากฏอีก ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหายไปถือเป็นกฎตามข้อใด
(1) กฎแห่งการเสริมแรง
(2) กฎแห่งการกระทํา
(3) กฎแห่งการวางเงื่อนไข
(4) กฎแห่งพฤติกรรม
(5) กฎแห่งผล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

94. ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) ช่วงที่ร่างกายมีพละกําลัง มหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ขั้นระยะตื่นตัว
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นระยะถดถอย
ตอบ 2 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด พบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2. สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น
3. ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้

95. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวเกิดจากการเรียนรู้ เช่น พฤติกรรมที่ทําแล้วได้ผลดี ก็ย่อมมีการทําซ้ํา
(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist)
(3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)
(4) กลุ่มสติปัญญา (Intellectualist)
(5) กลุ่มทฤษฎีเพื่อความอยู่รอด (Existentialist)
ตอบ 2 หน้า 344 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เชื่อในเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นสิ่งเรียนรู้ ดังนั้นคนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดีเขาก็จะสามารถมีพฤติกรรมที่โต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วได้ผลดี ก็มักจะทําพฤติกรรมนั้นซ้ําแล้วซ้ำอีก

96. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการใช้กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism)
(1) ไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาวุ่นวายกับตนเอง
(2) ให้เหตุผลกับพฤติกรรมที่แสดงออก
(3) เพิ่มความพึงพอใจส่วนตัว
(4) ลดความตึงเครียดทางอารมณ์
(5) ไม่ให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ
ตอบ 4 หน้า 357 จุดมุ่งหมายของการใช้กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) คือ การลด ความตึงเครียดทางอารมณ์ ทั้งนี้เมื่อบุคคลอยู่ในสภาวะของความคับข้องใจ/การขัดแย้งใจนั้นสภาพอารมณ์ที่มักจะมาคู่กับสภาวะดังกล่าวมักจะเป็นอารมณ์หงุดหงิด โกรธ วิตกกังวล ซึ่ง ความรู้สึกเช่นนี้มักจะสร้างความอึดอัด ไม่สบาย ไม่สมดุลกับจิตใจ ทําให้บุคคลมักจะใช้วิธีการ ปรับตัวโดยสร้างกลไกป้องกันทางจิตขึ้นมาเพื่อลดสภาพความตึงเครียดทางอารมณ์นั้นเสีย

97. การจะปรับตัวดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับอะไร
(1) สิ่งแวดล้อม
(2) การเลี้ยงดู
(3) ค่านิยม
(4) โรงเรียน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 346 การปรับตัวนั้นไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวที่ดีหรือไม่ จะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปร ที่สําคัญ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ ค่านิยม โรงเรียน และการเลี้ยงดูของพ่อแม่

98. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) ความก้าวร้าวเป็นผลจากความคับข้องใจ
(2) การฝันกลางวันเป็นการปรับตัวประเภทหนึ่ง
(3) ความคับข้องใจจะมากหรือน้อยไม่ขึ้นอยู่กับแรงขับ
(4) หากมีความคับข้องใจบ่อย จะยิ่งมีการตอบสนองที่รุนแรง
(5) การใช้สิ่งมึนเมาหรือยาเสพติดเป็นวิธีการปรับตัวประเภทหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 355 ความก้าวร้าวเป็นผลมาจากความคับข้องใจ ถ้าแรงขับไปสู่เป้าหมายมีความรุนแรง มากเท่าใด ความคับข้องใจก็จะเพิ่มอย่างรุนแรงตามไปด้วย และถ้าเราถูกกระตุ้นให้คับข้องใจ บ่อยครั้งเท่าใดก็จะยิ่งมีการตอบโต้ที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

99. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด
(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นได้
(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้
(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น
(4) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น
(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้
ตอบ 1 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และ ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สถานการณ์ที่อาจเกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การคล้อยตาม
(2) การล้างสมอง
(3) การอภิปรายกลุ่ม
(4) สถานการณ์การเสนอแนะ
(5) สถานการณ์การโต้เถียง
ตอบ 5 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

101. ข้อใดไม่ใช่ระยะห่างระหว่างบุคคล
(1) ระยะครอบครัว
(2) ระยะสนิทสนม
(3) ระยะส่วนตัว
(4) ระยะสังคม
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 1หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

102. ครูให้คะแนนนักเรียน เป็นการใช้อํานาจใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 1 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ
1. อํานาจในการให้รางวัล เช่น ครูมีอํานาจในการให้รางวัลนักเรียนด้วยการให้คะแนน
2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม
3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม
4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ
5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ

103. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการคิดก่อนที่บุคคลจะทําการช่วยเหลือผู้อื่น
(1) ต้องสังเกตเห็นบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ
(2) เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
(3) เป็นสิ่งที่ตนต้องรับผิดชอบ
(4) รู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม
(5) ได้รับการตอบแทนเมื่อช่วยเหลือ
ตอบ 5 หน้า 395 ลาตาเน่และดาร์เลย์ กล่าวว่า ก่อนที่บุคคลจะลงมือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นนั้น
ต้องผ่านกระบวนการคิด 4 ขั้นตอน คือ ต้องการความช่วยเหลือ
1. ต้องสังเกตเห็นบุคคลหรือเหตุการณ์ที่
2. ต้องแปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3. ต้องคิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ
4. ต้องรู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม

104. การเกลี้ยกล่อมให้บุคคลเปลี่ยนเจตคติได้นั้นต้องคํานึงถึงสิ่งใด
(1) ช่องทางการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร
(3) ข่าวสาร
(4) ผู้รับสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 390, (คําบรรยาย) การเกลี้ยกล่อมชักจูง (Persuasion) เป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติ โดยการให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องพิจารณาหรือคํานึงถึงคุณสมบัติของผู้ส่งสาร (Communicator), ข่าวสาร (Message), ผู้รับสาร (Audience) และช่องทางการสื่อสาร (Channel)

105. หาก น.ส.แดง เสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า น.ส.แดง จะสามารถเปลี่ยนเจตคติของลูกค้าได้หรือไม่
(1) เปลี่ยนได้ เพราะเจตคติขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล
(2) เปลี่ยนได้ เพราะเจตคติสามารถถูกชักจูงได้ เช่น ผู้ส่งสารมีคุณสมบัติที่น่าเชื่อถือ
(3) เปลี่ยนไม่ได้ เพราะเจตคติเป็นประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลต้องเผชิญด้วยตนเอง
(4) เปลี่ยนไม่ได้ เพราะเจตคติเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 390 – 391, (คําบรรยาย) จากงานวิจัยพบว่า การเปลี่ยนเจตคติจะได้ผลดี เมื่อ
1. ผู้ส่งสารเป็นผู้ที่เราชอบ เชื่อถือ ไว้ใจ เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีลักษณะคล้ายผู้รับสาร
2. ข่าวสารที่ให้เกี่ยวข้องกับความรู้สึก โดยเฉพาะความกลัวและความวิตกกังวล
3. ข่าวสารนั้นต้องไม่คลุมเครือเพื่อลดความวิตกกังวล
4. ข่าวสารต้องสรุปให้เห็นชัดเจน
5. เสนอข้อมูล 2 ด้านสําหรับผู้ที่รู้เรื่องนั้นดี
6. เสนอข่าวสารซ้ํา ๆ โดยหลักการนี้ใช้ได้ทั้งในการโฆษณาและการขายสินค้าทุกอย่าง ฯลฯ

106. เนยอยากไปเที่ยวกับเพื่อน แต่เงินเก็บไม่เหลือแล้ว ถือเป็นความขัดแย้งใจลักษณะใด
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflicts)
(4) ทั้งรักและซัง (Approach Avoidance Conflicts)
(5) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts)
ตอบ 4 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก

2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก

3.ทั้งรักและซัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากไปเที่ยวกับเพื่อน แต่เงินเก็บไม่เหลือแล้ว หรือ อยากทานขนมหวาน แต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ

4. ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

107. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยดึงดูดใจระหว่างกันในการเข้าสังคม
(1) ความคล้ายคลึงกัน
(2) ความใกล้ชิดทางกาย
(3) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
(4) ความสามารถ
(5) ความเป็นธรรมชาติของบุคคล
ตอบ 5 หน้า 380 – 381 ปัจจัยดึงดูดใจระหว่างกันในการเข้าสังคม มีดังนี้
1. ความใกล้ชิดทางกาย
2. ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
3. ความสามารถ
4. ความคล้ายคลึงกัน

108. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการที่มนุษย์ต้องการไปให้ถึงศักยภาพของตนเอง
(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
(2) กลุ่มทฤษฎีเพื่อความอยู่รอด (Existentialist)
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(4) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)
(5) กลุ่มสติปัญญา (Intellectualist)
ตอบ 4 หน้า 344 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) มีแนวคิดว่า การปรับตัวของมนุษย์พัฒนาไปตาม ศักยภาพของบุคคลที่เอื้ออํานวย ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพ จะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า “การประจักษ์ในตน ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์

109. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการทํางานร่วมกันอย่างมีสมดุลระหว่าง Id, Ego และ Superego
(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
(2) กลุ่มทฤษฎีเพื่อความอยู่รอด (Existentialist)
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(4) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)
(5) กลุ่มสติปัญญา (Intellectualist)
ตอบ 1 หน้า 343, (ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เห็นว่า คนที่ปรับตัวไม่ได้มีสาเหตุมาจากพลังอีโก้มีการพัฒนาที่อ่อนแอเกินไป ทําให้ไม่แกร่งพอ ที่จะสร้างความสมดุลระหว่างพลังอิดและซูเปอร์อีโก้ได้ ดังนั้นผู้ที่ปรับตัวดี คือ ผู้ที่มีพัฒนาการ หรือมีการทํางานร่วมกันอย่างมีสมดุลระหว่างอิด (Id), อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego)

110. แนนเลือกวิชาเรียน ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์เพราะได้เที่ยวตามที่ต่าง ๆ แต่ก็ต้องอ่านหนังสือเยอะ กับ วิชาศิลปะเพราะไม่ต้องอ่านหนังสือมาก แต่ก็ต้องวาดรูปซึ่งเธอไม่ชอบ ถือเป็นความขัดแย้งใจลักษณะใด
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflicts)
(4) ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts)
(5) ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts)
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

111. น้ำกลัวเข็มฉีดยา เมื่อเธอป่วย เธอจําใจต้องเลือกระหว่างฉีดยาแล้วกลับบ้าน กับให้น้ำเกลือแล้วต้องนอน โรงพยาบาล ถือเป็นความขัดแย้งใจลักษณะใด
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflicts)
(4) ทั้งรักและซัง (Approach-Avoidance Conflicts)
(5) ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

112. ข้อใดไม่ใช่การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์
(1) ภาพและพื้น
(2) หลักความคล้ายคลึงกัน
(3) หลักความใกล้ชิดกัน
(4) การรับรู้ภาพ 3 มิติ
(5) การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์
ตอบ 4 หน้า 74 – 76 การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) ได้แก่ ภาพและพื้น การต่อเติมให้สมบูรณ์ ความคล้ายคลึงกัน ความใกล้ชิดกัน และความต่อเนื่อง

113. การศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนอง ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม จัดเป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อใด
(1) จิตวิทยาบุคลิกภาพ
(2) สรีรจิตวิทยา
(3) การรับสัมผัส
(4) การเรียนรู้
(5) การรับรู้
ตอบ 2 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมอง และระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

114. ทฤษฎีใดเน้นว่า “อารมณ์จะเกี่ยวข้องกับการตีความหมายของสถานการณ์ที่แต่ละคนได้เผชิญ
(1) เจมส์-แลง
(2) แคนนอน-บาร์ด
(3) แชคเตอร์-ซิงเกอร์
(4) คาร์รอล-อิซาร์ด
(5) มาสโลว์ เมอร์เรย์
ตอบ 3 หน้า 267 – 269 ทฤษฎีของแซคเตอร์-ซิงเกอร์ (Schachter-Singer Theory) อธิบายว่า
อารมณ์เกิดจากการแปลความปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติทางกายและการคิดหาสาเหตุของ การตอบสนองนั้น ๆ โดยอาการตอบสนองทางกายแบบเดียวกันนั้น อารมณ์อาจแตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับการตีความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมาเร้าให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้น
การเร้าเพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย

115. คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์
(1) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
(2) อารมณ์ดี
(3) โมโหยาก
(4) อารมณ์มั่งคง
(5) เอาใจตนเป็นใหญ่
ตอบ 2 เชลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่ แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขี้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ
2. รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาใจตนเป็นใหญ่ ฯลฯ
3. รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่ มีอารมณ์มั่นคง มีน้ําใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

116. แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ตรงกับข้อใด
(1) แรงจูงใจภายใน
(2) แรงจูงใจภายนอก
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(5) แรงจูงใจที่นอกเหนือการควบคุม
ตอบ 4 หน้า 234 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive) เป็นแรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตน
และแสดงพฤติกรรมให้ตนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น อันเป็นแรงจูงใจที่สังคมสร้างเงื่อนไข กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะคนเราต้องการที่จะได้รับความรักจากผู้อื่น ต้องการการยอมรับและเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเกี่ยวข้องด้วย

117. “หน้าผามายา” เป็นการทดลองเกี่ยวกับอะไร
(1) ความเหมือน
(2) ความลึก
(3) ความสูง
(4) ความสว่าง
(5) ความคล้ายคลึงกัน
ตอบ 2 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ําต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

118. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือสิ่งใด
(1) ให้รางวัล
(2) ลงโทษ
(3) เพิกเฉย
(4) ยับยั้ง
(5) หยุด
ตอบ 1 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจ หรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบาย หมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

119. ระยะเมื่ออยู่กับเพื่อน คือระยะใด
(1) ระยะครอบครัว
(2) ระยะสนิทสนม
(3) ระยะส่วนตัว
(4) ระยะสังคม
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 101. ประกอบ

120. ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของ “กลุ่ม”
(1) คนที่เดินทางบนรถสาธารณะพร้อมกัน
(2) คนที่มารวมตัวกัน
(3) คนในห้างสรรพสินค้า
(4) คนที่อยู่รวมกันในที่สาธารณะ
(5) คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาปฏิสัมพันธ์กัน
ตอบ 5 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยกลุ่มทุกกลุ่ม จะมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างของกลุ่มและความสามัคคีในกลุ่ม

Advertisement