การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 (PC 103) จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.จินตภาพ หมายถึงอะไร
(1) การได้รับสิ่งเร้า
(2) การคิดต่อเนื่องจากภาพ
(3) การวาดภาพตามจินตนาการ
(4) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
(5) ภาพในใจและความรู้สึกรับสัมผัสต่าง ๆ
ตอบ 5 หน้า 206. จินตภาพ (Images) หมายถึง ภาพในใจ รวมถึงความรู้สึกรับสัมผัสอื่น ๆ ด้วย เช่น เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเลก็จะเห็นสีฟ้าครามสดใส ได้กลิ่นไอเค็ม และได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ฯลฯ

Advertisement

2. “สุดหล่อเล่าเรื่องที่ตัวเองไปดูการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศให้เพื่อนฟังและแสดงท่าทางการเตะลูกโทษให้เพื่อนดูด้วย” ข้อความข้างต้นเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
(2) จินตภาพ
(3) มโนทัศน์
(4) ภาษา
(5) มโนทัศน์ และจินตภาพ
ตอบ 1 หน้า 206 – 207 บรูเนอร์ (Bruner) เชื่อว่า คนเราใช้การตอบสนองทางกล้ามเนื้อแทนสิ่งของ ด้วยการสร้างการกระทําภายในขึ้น เช่น ถ้าให้เพื่อนที่ไปดูการแข่งขันกีฬามาเล่าเรื่องการแข่งขัน ให้เราฟัง เราจะพบว่าเพื่อนจะเล่าเรื่องพร้อมแสดงท่าทางประกอบให้เราดูด้วย ฯลฯ

ข้อ 3 – 4 จงตอบคําถามโดยพิจรณาตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การไม่ได้ลงรหัส
(2) การเสื่อมสลาย
(3) การรบกวน
(4) การเก็บกด
(5) การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ

3. การลืมแบบติดอยู่ที่ริมฝีปาก คือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 204 การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ (Cue-Dependent Forgetting) เป็นการลืมที่ เรามักพูดว่า “ติดอยู่ที่ริมฝีปาก” ซึ่งแสดงว่าเรารู้คําตอบ แต่ดึงออกมาไม่ได้ โดยการลืมเช่นนี้ น่าจะเกิดขึ้นเพราะสิ่งชี้แนะที่เกิดในเวลาเรียนรู้ ไม่ได้เกิดในเวลาที่ต้องการดึงความจําออกมา

4.การลืมเพราะไม่ได้มีการจําตั้งแต่แรก คือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 204 การไม่ได้ลงรหัส (Encoding Failure) เป็นการลืมที่อาจเกิดขึ้นเพราะไม่ได้มีการจํา ตั้งแต่แรก เช่น การจําไม่ได้ว่าด้านหลังธนบัตรใบละ 20 เป็นรูปอะไร มีลักษณะอย่างไร ฯลฯ

5. ข้อใดกล่าวถึงแรงจูงใจ (Motive) ได้อย่างถูกต้อง
(1) แรงกระตุ้นที่ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา
(2) สภาวะที่ช่วยให้บุคคลบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
(3) การจูงใจต้องรอให้บุคคลมีความต้องการเกิดขึ้นก่อนจึงจะกําหนดสิ่งเร้าที่ชัดเจนเพื่อจูงใจได้
(4) กระบวนการที่อาศัยปัจจัยต่าง ๆ ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย
(5) สิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้บุคคลลดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ตอบ 1 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นพลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

6. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
(1) การควบคุมตนเองให้สามารถแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
(2) การควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นด้วยการเลือกใช้การจูงใจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
(3) การควบคุมให้กลุ่มสังคมมีพฤติกรรมที่เป็นไปในทิศทางหรือแนวทางที่ต้องการได้
(4) การควบคุมให้บุคคลอื่นเกิดพฤติกรรมการคล้อยตามในสิ่งที่ดีที่สังคมยึดถือปฏิบัติ
(5) การควบคุมสภาวะสมดุลในร่างกายให้บุคคลสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุข
ตอบ 5 หน้า 226 การศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจจะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. เข้าใจในพฤติกรรมของตนเองและควบคุมตนเองให้สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
และบังคับมิให้ตนเองแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
2.เข้าใจในพฤติกรรมของผู้อื่นและช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นให้คล้อยตามในสิ่งที่ดี ที่สังคมยึดถือปฏิบัติได้ด้วยการเลือกใช้การจูงใจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันได้
3. เข้าใจในพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลและจูงใจหรือควบคุมให้กลุ่มบุคคลมีพฤติกรรมที่เป็นไป
ในทิศทางหรือแนวทางที่ต้องการได้

7. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับอารมณ์
(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนรวม
(2) อารมณ์มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
(3) บุคคลจะเกิดอารมณ์ก่อนที่จะแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
(4) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่ไม่แตกต่างไปจากการกระทําปกติ
(5) อารมณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่สามารถหยุดยั้งได้
ตอบ 2 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป
3. บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์
4. อารมณ์มีความสัมพันธ์หรือจะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

8. ความปรารถนาของบุคคลที่ทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์ ตรงกับแรงจูงใจในลักษณะ
(1) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ
(2) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจใฝ่ตนเอง
(5) แรงจูงใจพื้นฐาน
ตอบ 3 หน้า 233 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) เป็นความปรารถนาของบุคคลที่ จะทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์ ประสบความสําเร็จ และเมื่อบุคคล ได้รับความสําเร็จและได้รางวัลจากสังคม บุคคลก็จะมีแรงจูงใจนี้ติดตัวไปตลอดได้

9.คําว่า Self-esteem Needs ตรงกับลําดับขั้นความต้องการใดของมาสโลว์ (Maslow)
(1) ขั้นความต้องการทางสรีระ
(2) ขั้นความต้องการได้รับการยกย่องจากบุคคลรอบข้าง
(3) ขั้นความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ
(4) ขั้นความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง
(5) ขั้นความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดในตน
ตอบ 2 หน้า 230, 234 – 235 ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกายหรือทางด้านสรีระ (Physiological Needs)
2. ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs)
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs)
4. ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่นหรือบุคคลรอบข้าง (Self-esteem Needs),
5. ความต้องการประจักษ์ตน (Self-actualization Needs)

10. การจูงใจในชีวิตประจําวันของบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ในข้อใด
(1)การเรียนรู้แบบการกระทํา
(2) การเรียนรู้โดยการลงโทษ
(3) การเรียนรู้โดยการสังเกต

(4)การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ
(5) การเรียนรู้ด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น
ตอบ 4 หน้า 247 แรงจูงใจจากการเรียนรู้ในชีวิตประจําวันจะเกิดกับบุคคลที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เท่านั้น (ไม่เกิดกับทุกคนเหมือนแรงจูงใจพื้นฐาน) อาจเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น อบรมสั่งสอน/กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ
1. การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (โดยมีสิ่งล่อและสิ่งเสริมแรงเป็นตัวแปรให้บุคคลมีแรงจูงใจ)
2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ (เลียนแบบจากคนรอบข้างโดยไม่ต้องมีการให้สิ่งเสริมแรงก็ได้)

11. ข้อใดเรียงลําดับกระบวนการเกิดแรงจูงใจได้ถูกต้อง
(1) แรงขับ – ความต้องการ – สิ่งเร้า – เป้าหมาย
(2) สิ่งเร้า — ความต้องการ — แรงขับ – เป้าหมาย
(3) ความต้องการ – สิ่งเร้า – แรงขับ – เป้าหมาย
(4) สิ่งเร้าและประสบการณ์ – แรงขับ – แรงขับ – ความต้องการ – เป้าหมาย
(5) สิ่งเร้าและประสบการณ์ – ความต้องการ – แรงขับ – เป้าหมาย
ตอบ 5 หน้า 227 – 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ สามารถเรียงลําดับขั้นตอนได้ดังนี้คือ
1. Input ได้แก่ สิ่งเร้า (Stimuli), การเรียนรู้และประสบการณ์
2. Process ได้แก่ ความต้องการ (Needs), แรงขับ (Drive), การตอบสนอง (Response)
3. Output ได้แก่ เป้าหมาย (Goal)

12. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้าภายในร่างกายเป็นสิ่งเร้าที่ไม่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของคนเรา
(2) สิ่งเร้าภายนอกร่างกายควรควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชีวิตของคนเรา
(3) สิ่งเร้าภายนอกมีคุณประโยชน์มากกว่าสิ่งเร้าภายในร่างกาย
(4) สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนเราเกิดความต้องการชนิดเดียวกันได้
(5) สิ่งเร้าที่มีราคาแพงย่อมเป็นสิ่งเร้าที่มีคุณค่ากับทุก ๆ คน
ตอบ 4 หน้า 229 อาจจะกล่าวได้ว่า สิ่งเร้าเดียวกันอาจจะทําให้คนเรามีความต้องการที่แตกต่างกัน
สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนเรามีความต้องการชนิดเดียวกันหรือเหมือนกันได้, สิ่งเร้าเดิม ที่เคยจูงใจบุคคลอาจจะจูงใจไม่ได้อีกเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีต
อาจจะจูงใจได้ในปัจจุบัน

13. ข้อใดคือคุณค่าของอารมณ์ต่อชีวิตของมนุษย์
(1) ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี
(2) เป็นสัญญาณเตือนภัยเพื่อเอาตัวรอด
(3) เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะของสุขภาพ
(4) เป็นแรงผลักดันให้มีความกระตือรือร้น
(5) เป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางสติปัญญา
ตอบ 4หน้า 276 อารมณ์และการแสดงออกมีทั้งผลดีและผลเสียต่อบุคคล โดยผลดีของอารมณ์ก็คือ ช่วยให้บุคคลมีความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ถ้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ทําให้การดําเนินชีวิต ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมเป็นไปด้วยดี

14. แรงจูงใจของมนุษย์จําแนกตามสิ่งเร้าสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใดบ้าง
(1) แรงจูงใจในการดํารงชีวิต แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(2) แรงจูงใจพื้นฐาน แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายใน
(3) แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจในการดํารงชีวิต แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายใน
(5) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ แรงจูงใจพื้นฐาน แรงจูงใจภายนอก
ตอบ 2 หน้า 233 – 234 แรงจูงใจของมนุษย์แบ่งประเภทตามสิ่งเร้าออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. แรงจูงใจพื้นฐาน (Primary Motive)
2. แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive)
3. แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motive) ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

15. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแรงจูงใจ
(1) สิ่งเร้าเดียวกันทําให้บุคคลมีความต้องการแตกต่างกัน
(2) เมื่อมีแรงจูงใจเกิดขึ้นทุกคนจะมีการตอบสนองที่เหมือนกัน
(3) สิ่งที่มาเร้าต่างกันจะทําให้บุคคลมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน
(4) สิ่งที่เคยจูงใจได้ในอดีต แต่เวลาผ่านไปอาจจะไม่สามารถจูงใจได้
(5) เมื่อบุคคลบรรลุเป้าหมายตามที่ตนต้องการจะทําให้แรงจูงใจในสิ่งนั้นลดลง
ตอบ 2 หน้า 225 – 226, (คําบรรยาย) แรงจูงใจ หมายถึง กระบวนการนําปัจจัยต่าง ๆ (สิ่งเร้าหรือ สถานการณ์) มากระตุ้นเร้าจูงใจ/ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างมีทิศทางเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ โดยสิ่งเร้าเดียวกันหรือต่างกันจะทําให้บุคคลมีความต้องการหรือ มีการตอบสนองที่แตกต่างกัน เมื่อมีแรงจูงใจเกิดขึ้นแต่ละคนจะมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน สิ่งที่เคยจูงใจได้ในอดีตแต่เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจไม่สามารถจูงใจได้ และเมื่อบุคคลบรรลุเป้าหมาย ตามที่ตนต้องการแล้วก็จะทําให้แรงจูงใจในสิ่งนั้นลดลง

16. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive)
(1) อยากรู้อยากเห็น
(2) ต้องการค้นคว้า
(3) ต้องการแข่งขันกับผู้อื่น
(4) ต้องการรางวัล
(5) ต้องการพัฒนาชีวิต
ตอบ 4 หน้า 233 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ซึ่งจะ เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าจากภายนอกมาล่อ จึงเป็นแรงจูงใจที่มีมาตั้งแต่เกิด แต่ไม่ค่อยมี ความจําเป็นหรือสําคัญเท่ากับแรงจูงใจพื้นฐาน เพราะเป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้บุคคลเกิดกิจกรรม ต่าง ๆ ในสังคม เช่น ความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการค้นคว้า ความกระตือรือร้น ต้องการ แข่งขันกับผู้อื่น ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น และแรงบันดาลใจ เป็นต้น

17. ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) มนุษย์อยู่ได้โดยปราศจากอารมณ์
(2) อารมณ์ซับซ้อนทําให้เข้าใจคนยาก
(3) อารมณ์เป็นสิ่งที่สังเกตได้โดยตรง
(4) อารมณ์เศร้าทําให้คนสร้างผลงานดีขึ้น
(5) ความรักทําให้คนตาบอด
ตอบ 2 หน้า 255 – 256, 259 – 260 อารมณ์เป็นสิ่งที่มีความสําคัญต่อชีวิตมนุษย์ โดยคนเราไม่สามารถ อยู่ได้โดยปราศจากอารมณ์ ทั้งนี้อารมณ์เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้โดยตรง
แต่จะสังเกตเห็นได้ทางอ้อมโดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มิได้แสดงออกมา เป็นภาษาหรือคําพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้า หรือกิริยาท่าทาง นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่มี ความซับซ้อน เพราะคนเราอาจมีหลาย ๆ อารมณ์ในเวลาเดียวกัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะทําความเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงทั้งของตนเองและผู้อื่น

ข้อ 18 – 20 ในเนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์พื้นฐานตามทัศนะของจาก แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) ให้พิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้ เพื่อจับคู่กับข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน
(1) คาดหวัง
(2) หวาดกลัว
(3) ตื่นตระหนก
(4) เดือดดาล
(5) สุขสม

18. ความอับอายขายหน้าส่งผลให้โกรธหรือเกลียด
ตอบ 4 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามทัศนะของจาค แพงค์เซปป์ มีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. คาดหวัง เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความต้องการส่งผลให้เกิดความปรารถนา
2. เดือดดาล เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความอับอายขายหน้าส่งผลให้โกรธหรือเกลียด
3. ตื่นตระหนก เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความสูญเสียทางสังคมส่งผลให้เกิดความเศร้า
4. หวาดกลัว เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความ

19.เจ็บปวดและมีอันตรายส่งผลให้วิตกกังวล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

20. ความต้องการส่งผลให้เกิดความปรารถนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

21. การสนองตอบทางอารมณ์แต่ละชนิดเกิดขึ้นในบริเวณใดของสมอง
(1) พอนส์
(2) ซีรีบรัม
(3) ไฮโปธาลามัส
(4) ซีรีเบลลัม
(5) ต่อมใต้สมอง
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกาย เมื่อเกิดอารมณ์ทําให้ได้คําตอบว่า ศูนย์กลางของการเกิดอารมณ์อยู่ที่การทํางานของระบบ ประสาทลิมบิก (Lymbic System) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

22. การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่กําลังจะเกิดขึ้น เป็นการทํางานของระบบประสาทส่วนใด
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(3) ระบบโซมาติก
(4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ
ตอบ 2 หน้า 34, 261 ระบบประสาทซิมพาเธติก เป็นระบบที่ไปกระตุ้นการทํางานของร่างกายใน กรณีฉุกเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

23.ระบบประสาทส่วนใดที่ทําให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลายและสงบ
(1) ไทมัส
(2) ไทรอยด์
(3) พาราไทรอยด์
(4) ซิมพาเธติก
(5) พาราซิมพาเธติก
ตอบ 5 หน้า 37, 261 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (Parasympathetic Nervous System) เป็นระบบประสาทอัตโนมัติที่ทําหน้าที่ทําให้ร่างกายผ่อนคลาย อยู่ในภาวะสงบและพักผ่อน มีการย่อยดี และความดันโลหิตต่ํา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังอาการตกใจเมื่อผ่านพ้นจากสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการทํางานในอัตราเร่งมาแล้วหรือหลังจากเกิดอารมณ์เต็มที่แล้ว

24. อารมณ์ประเภทใดก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุด
(1) กลัว
(2) สุข
(3) เศร้า
(4) เหงา
(5) ดีใจ
ตอบ 1 หน้า 262 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและ พฤติกรรม พบว่า ในบรรดาอารมณ์ทั้งหลาย อารมณ์ที่จัดว่าสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสรีระร่างกายได้มากที่สุด คือ อารมณ์กลัวกับอารมณ์โกรธ

25. ข้อใดคือลักษณะของบุคคลตามทัศนะของคาร์ล จุง (Carl Jung)
(1) โมโหร้ายและใจเย็น
(2) ขาดสติและมีเหตุผล
(3) เก็บตัวและกล้าแสดงออก
(4) ประหยัดและฟุ่มเฟือย
(5) ขี้เหนียวและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ตอบ 3 หน้า 294 คาร์ล จุง (Carl Jung) ได้แบ่งบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทเก็บตัว (Introvert) มักจะเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก สนใจตัวเอง
2. ประเภทกล้าแสดงออก (Extrovert) มักจะเป็นคนสนุกสนาน ชอบพูดคุย กล้าแสดงตัว

26. ข้อใดเป็น “พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ” เรียกว่าอะไร
(1) การเกิดจูงใจ
(2) การควบคุมอารมณ์ตนได้
(3) ลักษณะบุคลิกภาพ
(4) การปรับตัว
(5) ความสามารถส่วนบุคคล
ตอบ 3 หน้า 281 – 282 บุคลิกภาพเป็นลักษณะทางพฤติกรรมที่ถาวรของบุคคลที่มักจะแสดงออกมา ในสถานการณ์ต่าง ๆ จัดเป็นส่วนของระบบจิตสรีระที่ทําให้บุคคลมีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อ สิ่งแวดล้อม

ข้อ 27 – 30 ในเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ซองฟรอยด์ (Freud) จงพิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้ เพื่อจับคู่กับข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน
(1) สัญชาตญาณ
(2) โครงสร้างบุคลิกภาพ
(3) พัฒนาการบุคลิกภาพ
(4) ลําดับขั้นความต้องการ
(5) กระบวนการทํางานของจิต

27.อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้
ตอบ 2 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กล่าวว่า โครงสร้าง ของบุคลิกภาพเกิดจากการทํางานร่วมกันระหว่าง อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ โดยอิด (Id) เป็น โครงสร้างจิตใจส่วนที่เป็นการตอบสนองความต้องการทางร่างกายโดยยึดหลักของความพึงพอใจ อีโก้ (Ego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นโครงสร้างจิตใจส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีหรือบาปบุญคุณโทษ โดยยึดหลักของศีลธรรมหรือมโนธรรม

28. การมีชีวิตอยู่และความตาย
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ กล่าวว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ
1. สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย
2. สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

29. ขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ
ตอบ 3 หน้า 145, 299 ฟรอยด์ (Freudได้แบ่งพัฒนาการบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage)
2. ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแอบแฝง (Latency Stage)
5. ขั้นการมีเพศสัมพันธ์ (Genital Stage)

30. จิตสํานึก จิตถึงสํานึก และจิตใต้สํานึก
ตอบ 5 หน้า 289 ฟรอยด์ เชื่อว่า กระบวนการทํางานของจิตมี 3 ระดับ คือ
1. จิตสํานึก (Conscious) เป็นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการทํางานอย่างรู้ตัวของ บุคคลในระดับจิตสํานึก ซึ่งพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เป็นการทํางานของจิตส่วนนี้
2. จิตใต้สํานึกหรือจิตไร้สํานึก (Unconscious) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความขัดแย้งใจ
3. จิตก่อนสํานึกหรือจิตถึงสํานึก (Preconscious) เป็นประสบการณ์บางอย่างที่เราลืมไปแต่ถ้าได้รับการเตือนความจําขึ้นมาเราก็จะจําได้ทันที

31. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัลพอร์ท (Allport)
(1) เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล
(2) เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่
(3) ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่ของสรีรชีวภาพ
(4) มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว
(5) มองบุคลิกภาพว่าเกิดจากการวางเงื่อนไข
ตอบ 5 หน้า 283 ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัลฟอร์ท (Altport) แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล (Distinctiveness)
2. เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่ (Arrangement)
3. มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว (Adjustment)
4. เน้นการจัดบุคลิกภาพออกตามพัฒนาการเป็นลําดับขั้น (Hierarchical)
5. ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่สรีรชีวภาพ (Biophysical)
6. ประเภทจิปาถะ (Omnibus).

32. ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ใช้วัดหรือประเมินบุคลิกภาพ
(1) การสังเกต
(2) การสัมภาษณ์
(3) การใช้แบบสอบถาม
(4) การใช้สังคมมิติ
(5) การกําหนดสถานการณ์
ตอบ 4 หน้า 304 – 308, 315 วิธีการที่ใช้วัดและประเมินบุคลิกภาพ มีดังนี้
1. การสัมภาษณ์ (Interview)
2. การสังเกตโดยตรง (Direct Observation)
3. การกําหนดสถานการณ์ (Situational Testing)
4. การใช้แบบสอบถาม (Personality Questionnaires) ได้แก่ แบบทดสอบ MMPI, CPI, 16 PF
5. การฉายภาพจิต (Projective Tests) ได้แก่ แบบทดสอบรอร์ชาค (Rorschach Inkblot Test)
และ TAT

33. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของสติปัญญาตามทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย
(1) ความเข้าใจภาษา
(2) การใช้ตัวเลข
(3) ความจํา
(4) การเข้าใจเหตุผล
(5) ความสามารถด้านเครื่องจักรกล
ตอบ 5 หน้า 325 – 326 ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย ของเทอร์สโตน (Thurstone) และกิลฟอร์ด (Guilford) โดยเทอร์สโตน เห็นว่า ความสามารถขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ในขณะที่กิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญา มี 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา ด้านวิธีการ และด้านผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคล ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

34. นักจิตวิทยาคนใดที่เชื่อว่าความสามารถขั้นพื้นฐานทางสติปัญญาประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ชนิด
(1) Binet
(2) Simon
(3) Thurstone
(4) Goddard
(5) Stanford
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ข้อใดคือแบบทดสอบที่ใช้วัดหรือประเมินบุคลิกภาพ
(1) แบบทดสอบ Rorschach Inkblot Test
(2) แบบทดสอบ Thai Happiness Indicators
(3) แบบทดสอบ Emotional Quotient : EQ
(4) แบบทดสอบ Generat Health Questionnaire
(5) แบบทดสอบ Basic Vocational Orientation Test
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

36.แบบทดสอบ Thematic Apperception Test มีลักษณะตรงกับข้อใด
(1) รูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ
(2) รูปสถานการณ์ต่าง ๆ
(3) รูปตนเองในอดีต
(4) รูปญาติพี่น้อง
(5) รูปเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, 315 การฉายภาพจิต (Progressive Tests) เป็นวิธีการประเมินบุคลิกภาพที่ นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของ ผู้รับการทดสอบ โดยให้บรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอ ชาค (Rorschach Inkblot Test) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยการ ให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร ซึ่งผู้ตอบมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะบรรยายเรื่องราวอะไรก็ได้ตามความรู้สึก
2. แบบทดสอบ Thematic Apperception Test (TAT) เป็นรูปภาพสถานการณ์หรือเรื่องราว ต่าง ๆ 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่อง จากภาพ ซึ่งภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคลุมเครือ ทําให้มองได้หลายแง่มุม

37. ข้อใดมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสติปัญญามากที่สุด
(1) แฝดคล้ายที่เลี้ยงดูแยกกัน
(2) พี่น้องที่เลี้ยงดูด้วยกัน
(3) แฝดคล้ายทีเลี้ยงดูด้วยกัน
(4) แฝดเหมือนที่เลี้ยงดูแยกกัน
(5) พ่อแม่กับลูก
ตอบ 4 หน้า 323 ค่าสหสัมพันธ์โดยประมาณระหว่างคะแนนสติปัญญาในบุคคลที่มีความใกล้ชิด ทางพันธุกรรมต่าง ๆ กัน ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เรียงตามลําดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ ฝาแฝดเหมือนเลี้ยงดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.87, ฝาแฝดเหมือนเลี้ยงดูแยกจากกัน มีค่า สหสัมพันธ์ = 0.75, ฝาแฝดคล้ายเลี้ยงดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.58, บิดามารดากับลูก ๆ มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.40, พี่น้องเลี้ยงดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.36, เด็กไม่ใช่พี่น้องกันเลี้ยง ดูด้วยกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.30, เด็กไม่ใช่พี่น้องกันเลี้ยงดูแยกกัน มีค่าสหสัมพันธ์ = 0.00

38. เด็กชายณเดชมี I.Q. เท่ากับ 105 นับว่าเขามีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร
(1) ปัญญาทึบ
(2) เกณฑ์ปกติ
(3) ค่อนข้างฉลาด
(4) ฉลาดมาก
(5) อัจฉริยะ
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dult) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป

39. ข้อใดเป็นความเที่ยงตรง (Validity)
(1) ความคงที่ของคะแนน
(2) ความถูกต้องของคะแนน
(3) การวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด
(4) ความสามารถในการจําแนก
(5) การให้คะแนนมีความชัดเจน
ตอบ 3 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

40. ข้อใดเป็นความเชื่อถือได้ (Reliability)
(1) ความคงที่ของคะแนน
(2) ความถูกต้องของคะแนน
(3) การวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด
(4) การให้คะแนนมีความแน่นอน
(5) ความสัมพันธ์กับแบบทดสอบอื่น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการปรับตัวที่เหมาะสม
(1) ตนเองจะต้องได้รับประโยชน์
(2) ต้องสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
(3) ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน
(4) ต้องไม่ทําให้ตนเองสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ
(5) ต้องเป็นสร้างความสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ
ตอบ 4 หน้า 345, (คําบรรยาย) ลักษณะของการปรับตัวที่เหมาะสม ได้แก่
1. กระบวนการที่บุคคลพยายามแสวงหาความสมดุลระหว่างร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ
2. การปรับตัวที่เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเขาเอง
3. การปรับตัวที่ทําแล้วชีวิตดีขึ้นมีความสุขขึ้น
4. การปรับตัวที่บุคคลสามารถเข้าสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การปรับตัวที่ไม่ทําให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน หรือไม่ไปสกัดกั้นเสรีภาพของผู้อื่น

42. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลเมื่อเกิดภาวะเครียด
(1) เหงื่อออก
(2) หัวใจเต้นเร็ว
(3) กล้ามเนื้อเกร็ง
(4) ความดันโลหิตลดลง
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติทําหน้าที่ผิดปกติไปจากเดิม
ตอบ 4หน้า 350 การเปลี่ยนแปลงของบุคคลเมื่อร่างกายเกิดความเครียด คือ ระบบประสาทอัตโนมัติ จะทําหน้าที่ผิดไปจากสภาวะปกติ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น ม่านตาขยายเพื่อให้ได้รับแสง มากขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหว (เตรียมสู้หรือหนี) เส้นเลือดบริเวณปลายมือ ปลายเท้าหดตัวทําให้มือเท้าเย็น เหงื่อออก เพราะมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น ฯลฯ

43. ความขัดแย้งใจมักเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) มีการเลือก
(2) อยู่เพียงลําพัง
(3) ขาดการสนใจ
(4) ผิดหวังจากสิ่งที่อยากได้
(5) ไม่ได้รับการตอบสนองปัจจัยพื้นฐาน
ตอบ 1 หน้า 361, 368 ความขัดแย้งใจ (Conflict) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงผลักดันหรือ มีความต้องการที่อยากจะได้หลายสิ่งพร้อมกัน หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาพร้อม ๆ กัน ความขัดแย้งใจมักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเลือกตัวเลือกที่ดีพอกัน ไม่ดีพอกัน หรือมีทั้งดีและเลว ในตัวเอง ซึ่งทําให้ยากต่อการตัดสินใจ โดยความขัดแย้งใจนี้ถ้าแก้ไม่สําเร็จ อาจมีผลทําให้บุคคล มีความวิตกกังวลสูง และกลายเป็นคนเครียดได้ การเรียนรู้ที่จะพิจารณาตัวเลือกที่ดี ชั่งน้ำหนัก อย่างถูกต้อง และตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดจึงเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขความขัดแย้งใจได้

44. ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ดีในการเกลี้ยกล่อมชักจูงให้เปลี่ยนเจตคติ
(1) เสนอข่าวสารซ้ำๆ
(2) ผู้ส่งสารเป็นผู้ที่เราชอบ ไว้ใจ เชี่ยวชาญ
(3) ผู้ส่งสารมีลักษณะคล้ายกับผู้รับสาร
(4) เสนอข้อมูลทั้ง 2 ด้าน สําหรับผู้ที่ไม่รู้เรื่องนั้น ๆ
(5) ทุกข้อคือวิธีการที่ดีในการเกลี้ยกล่อม
ตอบ 4 หน้า 390 – 391 วิธีการที่ได้ผลดีในการเกลี้ยกล่อมชักจูงให้เปลี่ยนเจตคติ มีดังนี้
1. ผู้ส่งสารเป็นผู้ที่เราชอบ ไว้ใจ เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีลักษณะคล้ายกับผู้รับสาร
2. ข่าวสารที่ให้เกี่ยวข้องกับความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวล เช่น การโฆษณาที่กล่าวถึงโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของช่องปาก ฯลฯ
3. ข่าวสารนั้นต้องไม่คลุมเครือเพื่อลดความวิตกกังวล
4. ข่าวสารต้องสรุปให้ชัดเจน
5. เสนอข้อมูลทั้ง 2 ด้าน สําหรับผู้ที่รู้เรื่องนั้นดี
6. เสนอข้อมูลด้านเดียว สําหรับผู้ที่ไม่รู้เรื่องนั้น ๆ มาก่อน
7. ผู้เกลี้ยกล่อมชักจูงไม่ได้ผลประโยชน์อะไรในการชักชวนให้เชื่อข่าวสาร
8. เสนอข่าวสารซ้ํา ๆ โดยหลักการนี้ใช้ได้ในการโฆษณาและขายสินค้าจนถึงการหาเสียง

45. ข้อใดไม่ใช่ข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา
(1) สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน
(2) ผู้รับการทดสอบต้องมีความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้
(3) การสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ทดสอบและผู้รับการทดสอบ
(4) ผู้รับการทดสอบต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
(5) ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ
ตอบ 3 หน้า 331 ข้อควรคํานึงถึงหรือข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา มีดังนี้
1. ผู้รับการทดสอบต้องมีความรู้และความชํานาญเกี่ยวกับแบบเครื่องมือหรือแบบทดสอบที่ใช้
และต้องเตรียมเครื่องมือให้พร้อมล่วงหน้าก่อนทําการทดสอบ
2. ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
3. สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน

46. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสติปัญญา
(1) ผู้ชายกับผู้หญิงมีสติปัญญาไม่แตกต่างกัน
(2) สติปัญญาอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้เมื่ออายุ 60 ปีไปแล้ว
(3) การท่องเที่ยวทําให้สติปัญญาเสื่อมช้าลง
(4) คนผิวขาวมีพันธุกรรมที่ฉลาดกว่าคนผิวดํา
(5) เด็กที่ครอบครัวมีฐานะร่ํารวยจะมีสติปัญญาดีกว่าเด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน
ตอบ 4 หน้า 333 – 334 ตัวแปรเกี่ยวกับระดับความสามารถทางสติปัญญา มีดังนี้
1. เพศ เพศชายและเพศหญิงมีระดับสติปัญญาไม่แตกต่างกัน
2. อายุ ความสามารถสูงสุดของคนจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่เด็กจนถึงอายุ 30 ปี ต่อจากนั้น จะเพิ่มบ้างนิดหน่อยหรือคงที่จนถึงอายุ 60 ปี และระดับสติปัญญาของคนเราก็อาจเพิ่มขึ้น หรือลดลงก็ได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว
3. ฐานะทางสังคม คนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีฐานะทางสังคมต่ำจะมีระดับสติปัญญาเฉลี่ยต่ำกว่า
คนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีฐานะทางสังคมสูง
4. เชื้อชาติวัฒนธรรม คนผิวขาวอาจมีคะแนนสติปัญญาสูงกว่าคนผิวดําเนื่องจากความแตกต่าง ของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม

47. แบบทดสอบสติปัญญาของ Wechster แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่อะไร
(1) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ
(2) ความสามารถเชิงภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา
(3) ความสามารถเชิงภาษาและความสามารถเชิงคํานวณ
(4) ความสามารถเชิงเหตุผลและความสามารถเฉพาะด้าน
(5) ความสามารถเชิงใช้ถ้อยคําภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา
ตอบ 1 หน้า 330 แบบทดสอบสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechster) แบ่งออกเป็น 2 หมวด ดังนี้
1. ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจ เลขคณิต (ความสามารถเชิงคํานวณ) ความคล้ายกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์ 2. ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลข การเติมรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน

ข้อ 48 – 52 ในเนื้อหาเกี่ยวกับกลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) ให้พิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้ เพื่อจับคู่กับข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน
(1) การเข้าข้างตนเอง (Rationalization)
(2) การเก็บกด (Repression)
(3) การหาสิ่งทดแทน (Displacement)
(4) การโยนความผิด (Projection)
(5) การชดเชยสิ่งที่ขาด (Compensation)

48. เด็กชายเต่าน้อยถูกคุณแม่ดุ แต่ไม่กล้าตอบโต้ จึงหันไปตะคอกน้องสาวแทน
ตอบ 3 หน้า 358 การหาสิ่งทดแทน (Displacement) เป็นกลไกป้องกันทางจิตเมื่อเกิดความคับข้องใจ กับบุคคลที่เป็นสาเหตุ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงออกกับผู้นั้นได้โดยตรง ก็จะหาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมาเป็นแพะรับบาป เช่น โกรธเจ้านาย กลับบ้านก็มาด่าว่าภรรยาหรือเตะหมาแทน ฯลฯ

49. นายต้มแซ่บบอกกับเพื่อน ๆ ว่า สาเหตุที่เลิกกับแฟนเพราะแฟนนิสัยไม่ดี
ตอบ 1 หน้า 357 – 358 การเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคล พยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ของตัวเองเอาไว้ ซึ่ง มีลักษณะที่เรียกว่า “องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน” เช่น บ้านเล็กและคับแคบแต่ใกล้ที่ทํางาน สอบตกแต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป, สาเหตุที่เลิกกับแฟนเพราะแฟนนิสัยไม่ดี ฯลฯ

50. นางสาวมะลิหวานไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าทํางาน จึงกล่าวโทษเพื่อนว่าเป็นเพราะแนะนําให้ใส่ชุดไม่สวยไปสมัครงาน
ตอบ 4 หน้า 359 การโยนความผิด (Projection) เป็นกลไกป้องกันทางจิตด้วยการกล่าวโทษผู้อื่น ในความผิดที่ตนเองกระทํา เพื่อให้ความรู้สึกผิดของตนเองมีน้อยลง หรือเป็นการผลักความคิด ความรู้สึกที่ไม่ดีที่ตนเองมี แต่เจ้าตัวไม่ยอมรับออกไปให้พ้นตัว โดยพูดว่าเป็นความคิดหรือ ความรู้สึกของคนอื่น ๆ แทน เข้าทํานอง “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง”

51. นางสาวฤดีกังวานโกรธคุณแม่ที่ไม่ให้ไปเที่ยวกลางคืน แต่ก็ไม่แสดงความรู้สึกโกรธออกมาให้คุณแม่เห็น
ตอบ 2 หน้า 358 การเก็บกด (Repression) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคลใช้เพื่อลืมเหตุการณ์ ที่เศร้าใจ อยากจะลืม ไม่ต้องการจดจํา โดยคนเราจะเก็บกดซ่อนเร้าความรู้สึกไว้อย่างมิดชิดเป็นวิธีการที่จะทําให้แรงกระตุ้นที่ไม่พึงปรารถนาหลุดออกไปจากอีโก้หรือจิตสํานึก ซึ่งจะสามารถป้องกันตนเองจากความสะเทือนใจได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นใน วัยเด็กหรือความทรงจําที่เจ็บปวด

52. นายถุงปุ๋ยเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เมื่อทํางานหาเงินได้ จึงมักซื้อของราคาแพง ๆ ใช้ เพื่อยกฐานะ ของตนเองในสายตาของผู้คนรอบข้าง
ตอบ 5 หน้า 358 การชดเชยสิ่งที่ขาด (Compensation) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคลใช้ เพื่อชดเชยจุดอ่อนหรือปมด้อยของตัวเอง โดยหาจุดเด่นอื่นมาลบล้าง เช่น หน้าตาไม่หล่อ แต่นิสัยดี ตาพิการแต่ร้องเพลงเก่ง ฯลฯ ถือเป็นวิธีการปรับอารมณ์ทางบวกมากกว่าวิธีอื่น ๆ

53. จากตัวเลือก ก. ข. และ ค. ข้อใดไม่ถูกต้องเรื่องระยะห่างระหว่างบุคคล
ก. ระยะส่วนตัว มีระยะ 1 – 4 ฟุต เหมาะสําหรับคนพิเศษ เช่น คู่รักเท่านั้น
ข. ขนาดระยะห่างแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม
ค. ระยะห่างระหว่างบุคคลจะขยายออกไปเป็นอาณาเขตครอบครองได้

(1) ก.
(2) ข.
(3) ค.
(4) ก. และ ค.
(5) ข. และ ค.
ตอบ 1 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) มีระยะ 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสาร เฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) มีระยะ 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) มีระยะ 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและ ธุรกิจ ไม่สามารถเอื้อมมือถึงกันได้
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) มีระยะ 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ ทั้งนี้ขนาดของแต่ละระยะห่างอาจแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และระยะห่างระหว่างบุคคล อาจจะขยายออกไปเป็นอาณาเขตครอบครองได้

54. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดเจตคติ
(1) พันธุกรรม
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) การมีประสบการณ์ตรง
(4) อิทธิพลของสมาชิกในกลุ่ม
(5) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีเจตคติเหมือนกัน
ตอบ 1 หน้า 389 สาเหตุของการเกิดเจตคติ ได้แก่ การมีประสบการณ์ตรง การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ที่มีเจตคติเหมือนกัน การอบรมเลี้ยงดู อิทธิพลของสมาชิกกลุ่ม และสื่อมวลชน

55. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้วัดเจตคติมากที่สุด
(1) การสังเกต
(2) มาตรวัดเจตคติ
(3) มาตรามิลแกรม
(4) มาตรวัดระยะห่างทางสังคม
(5) การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามปลายปิด
ตอบ 2 หน้า 389 – 390 เครื่องมือที่ใช้วัดเจตคติ ได้แก่ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามปลายปิด มาตรวัดระยะห่างทางสังคม และมาตรวัดเจตคติ (ถือเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด)

56. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความก้าวร้าว
(1) สัญชาตญาณ
(2) การเรียนรู้ทางสังคม
(3) การแสดงออกเพื่อรักษาสิทธิของตน
(4) ความคับข้องใจ
(5) ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
ตอบ 3 หน้า 393 – 395 สาเหตุของความก้าวร้าว มี 4 ประการ ดังนี้
1. สัญชาตญาณ
2. ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
3. ความคับข้องใจ
4. การเรียนรู้ทางสังคม

57. จากตัวเลือก ก. ข. และ ค. ข้อใดเป็นหลักการสร้างมิตรภาพของมนุษย์ที่ถูกต้อง
ก. การเปิดเผยตนเองควรทําให้มากที่สุดเพื่อแสดงความจริงใจ
ข. การคบกันคือการแลกเปลี่ยนทางสังคมวิธีการหนึ่ง
ค. อย่าให้คนที่คบรู้สึกว่าต้องสูญเสียมากกว่าได้รับ
(1) ก.
(2) ข.
(3) ค.
(4) ก. และ ค.
(5) ข. และ ค.
ตอบ 5 หน้า 381 หลักการสร้างมิตรภาพของมนุษย์ที่ถูกต้องคือ การเปิดเผยตนเอง (Self-disclosure) โดยต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และแสดงตัวจริงของเราออกมา ทั้งนี้การเปิดเผย ตนเองนั้นต้องพองาม/พอดี ๆ ในระดับปานกลาง ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป ส่วนการคบกัน นับเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคมอย่างหนึ่ง ในขณะที่ทฤษฎีผลได้ผลเสีย (Gain-Loss Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายหลักการสร้างมิตรภาพที่สําคัญของมนุษย์ เพราะคนเรามักจะประเมินผลได้ผลเสียจากการคบกัน ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายรู้สึกว่ามีผลได้มากกว่าผลเสียมิตรภาพก็จะคงอยู่ได้ยาวนาน แต่ถ้ารู้สึกว่าเสียมากกว่าได้มิตรภาพก็จะชะงักงัน

58. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่ผู้เห็นเหตุการณ์ไม่ยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตราย
(1) ความรู้สึกแปลกแยกของคนในเมือง
(2) มีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคน
(3) ถ้าเราไม่ช่วยคนอื่นก็ช่วย
(4) กลัวว่าตนเองจะตกอยู่ในอันตราย
(5) ทุกข้อเป็นเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 395 จากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นรถชนคนหรือไฟไหม้ ฯลฯ พบว่ามีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้เห็นเหตุการณ์ไม่ยื่นมือเข้าไปให้ ความช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้นักจิตวิทยาได้อธิบายว่าเป็นเพราะความรู้สึก แปลกแยกของคนในเมือง บางคนอธิบายว่าเป็นเพราะมีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคน จึงเกิด การกระจายความรับผิดชอบ โดยผู้ที่เห็นเหตุการณ์คิดว่าแม้ตนไม่ช่วยผู้อื่นก็ช่วย

59. ข้อใดไม่ใช่ข้อจํากัดในการศึกษาทางจิตวิทยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
(1) ข้อจํากัดทางศีลธรรม
(2) ข้อจํากัดทางมนุษยธรรม
(3) อันตรายต่อชีวิตมนุษย์
(4) งบประมาณด้านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
(5) ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง
ตอบ 4 หน้า 5 ข้อจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง คือ
1. ข้อจํากัดทางศีลธรรมและมนุษยธรรม ทําให้มีขีดจํากัดในการปฏิบัติเชิงทดลองที่อาจจะเป็น อันตรายต่อชีวิตมนุษย์ เช่น ปัญหาว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเลี้ยงเด็กไว้ในห้องมืดที่ปราศจากเสียง ใด ๆ เป็นเวลา 5 ปี ฯลฯ
2. ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องหรือความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสัตว์ทดลองที่ว่าสัตว์มีความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจเช่นเดียวกับมนุษย์ ทําให้มีขีดจํากัดในการนําสัตว์มาทําการทดลอง

60. จากผลการวิจัยทางจิตวิทยาที่นํามาใช้ในการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของเด็ก ตรงกับจุดมุ่งหมายของ
การศึกษาจิตวิทยาข้อใด
(1) เพื่ออธิบาย
(2) เพื่อบรรยาย
(3) เพื่อทําความเข้าใจ
(4) เพื่อทํานาย
(5) เพื่อควบคุมพฤติกรรม
ตอบ 5 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายสูงสุดของการศึกษาจิตวิทยา คือ เพื่อควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายประการที่ 4 โดยทั่วไปหมายถึง การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่มีผลต่อพฤติกรรม ตามที่คาดหมายไว้ ทั้งนี้การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

61. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอคติ
(1) อคติเป็นรูปแบบหนึ่งของแพะรับบาป
(2) เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล
(3) คนที่มีบุคลิกภาพ เช่น เชื่อฟัง ยึดมั่น มักไม่ค่อยมีอคติ
(4) อคติกลุ่มมักเกิดจากบุคคลที่ยึดติดกับปทัสถานของกลุ่ม
(5) ทุกข้อถูกต้องเกี่ยวกับอคติ
ตอบ 3 หน้า 392 อคติ เป็นเจตคติทางลบ หรือการตัดสินล่วงหน้า เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอํานาจทางสังคม ซึ่งมักจะเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และนํามาสู่การแบ่งแยก (Discrimination) อคติเป็นรูปแบบหนึ่งของแพะรับบาปซึ่งเป็นความก้าวร้าวแบบทดแทน คือ การที่บุคคลแสดง ความก้าวร้าวต่อผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ทําให้ตนเกิดความไม่พอใจโดยตรง ทั้งนี้อคติอาจจะเกิดขึ้นได้จาก การมีประสบการณ์โดยตรงกับผู้ที่เราไม่ยอมรับ อคติกลุ่มมักเกิดจากบุคคลที่ยึดติดกับปทัสถาน ของกลุ่ม ส่วนคนที่มีบุคลิกภาพยึดมั่น อัตตนิยม ชาตินิยม ยึดอํานาจ เชื่อฟัง ฯลฯ มีแนวโน้ม ที่จะมีอคติมากกว่าคนอื่น ๆ

62.“ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา กล่าวว่า ในช่วงโรคโควิด 19 ระบาด ขอให้ประชาชนทุกคน สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน” จากข้อความข้างต้น เป็นการใช้อํานาจทางสังคมแบบใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(5) อํานาจตามการอ้างอิง
(4) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 4 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ
1. อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้
2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม
3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม
4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ
5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ (ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เป็น ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ)

ข้อ 63 – 64 จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การทดลอง
(2) การศึกษาประวัติรายกรณี
(3) การสํารวจ
(4) การสังเกต
(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

63. วิธีการศึกษาทางจิตวิทยาวิธีใดเป็นการศึกษาเหตุและผล โดยผู้ทําการศึกษาเป็นผู้สร้างสถานการณ์สิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็น
ผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลอง จะต้องแน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว
64. วิธีการศึกษาทางจิตวิทยาวิธีใดที่ช่วยให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างละเอียด
ตอบ 2 หน้า 14 – 15 การศึกษาประวัติรายกรณี (Case Study) เป็นการบันทึกข้อมูลประวัติของบุคคล โดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออาการหรือความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ทั้งนี้เพื่อศึกษา ภูมิหลังของบุคคลนั้นประกอบการแปลความหมายของแบบทดสอบ ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้เข้าใจ สาเหตุของพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

ข้อ 65 – 67 จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) พฤติกรรมนิยม
(2) หน้าที่ของจิต
(3) จิตวิเคราะห์
(4) โครงสร้างของจิต
(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ

65. แนวคิดใดเน้นเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข
ตอบ 1 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธ เรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกตดู พฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

66. แนวคิดใดกล่าวว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็ง ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ําเป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้นแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้
ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ํา เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

67. แนวคิดใดที่สนใจศึกษาการคิด จิตสํานึก การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ ๆ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิด พวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)

ข้อ 68 – 69 จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค
(3) นักจิตวิทยาสังคม
(4) นักจิตวิทยาวิศวกรรม
(5) นักจิตวิทยาการทดลอง

68. ใครทําหน้าที่วิจัยและออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม และรถยนต์
ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาวิศวกรรม จะทําหน้าที่วิจัยประยุกต์ในด้านการออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม เครื่องบิน เครื่องยนต์ ฯลฯ เพื่อธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมและวงการทหาร

69. ใครทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา
ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาผู้บริโภค จะทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา การวิจัยตลาด เพื่อศึกษาอุปนิสัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และการสํารวจประชามติเกี่ยวกับสินค้า

70. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาสรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology)
(1) การศึกษาโครงสร้างการทํางานของจิตใจมนุษย์
(2) การศึกษาพฤติกรรมที่ผิดปกติที่เกิดจากความบกพร่องของจิตใจและระบบประสาท
(3) การศึกษาการทํางานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย สมองและระบบประสาท
(4) การศึกษาความผิดปกติของสมองและการทํางานของระบบประสาท
(5) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทํางานของระบบภายนอกร่างกาย
ตอบ 3 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมอง และระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

71. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ฮอร์โมนส่วนสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศของมนุษย์
(1) เทสโตสเตอโรน
(2) แอนโดรเจน
(3) เทนทิส
(4) โปรเจสเตอโรน
(5) เอสโตรเจน
ตอบ 3 หน้า 49 ต่อมเพศ (Gonad) สร้างฮอร์โมนที่ทําหน้าที่ควบคุมพัฒนาการลักษณะทางเพศ คือ
1. อัณฑะ(Testis) ในเพศชาย ทําหน้าที่สร้างอสุจิ (Sperm) และผลิตฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) และฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone)
2. รังไข่ (Ovary) ในเพศหญิง ทําหน้าที่สร้างไข่ (Egg) และผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

72. สมองและไขสันหลังควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อชนิดใด
(1) กล้ามเนื้อลาย
(2) กล้ามเนื้อเรียบ
(3) กล้ามเนื้อหัวใจ
(4) กระเพาะอาหาร
(5) กะบังลม
ตอบ 1 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกาย เคลื่อนไหว ประกอบด้วย
1. กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ กล่าวคือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง อันได้แก่ สมองและไขสันหลัง
2. กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

73. ระบบประสาทส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรู้สึกร้อน-เย็น
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(4) ระบบประสาทโซมาติก
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ
ตอบ 4 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาท สมองจํานวน 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลังจํานวน 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทําให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด เป็นต้น

74. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์ประสาทนิวโรน
(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาท
(2) เป็นหน่วยการทํางานพื้นฐานของระบบประสาทที่เล็กที่สุด
(3) หากได้รับความเสียหายจะไม่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้
(4) เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีตัวเซลล์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
(5) มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์
ตอบ 3 หน้า 37 เซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทที่ ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาทมีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์ และจะหยุดเพิ่มจํานวนหลัง คลอดแล้ว ถ้าเซลล์ประสาทชํารุดจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ประสาทตายไปจะ ไม่เกิดเซลล์ประสาทใหม่อีก เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์

75. สารสื่อประสาทชนิดใดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก
(1) อะซีทิลโคลีน
(2) ซีโรโทนิน
(3) โดปามาย
(4) กาบา
(5) นอร์อิพิเนฟฟริน
ตอบ 5 หน้า 39 นอร์อิพิเนฟฟริน (Norepinephrin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ถูกสังเคราะห์โดย ปลายประสาทซิมพาเธติก มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับผลของอะซีทิลโคลีนที่ผลิตที่ปลายประสาทพาราซิมพาเธติก

76. สมองส่วนใดควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบ
(1) ก้านสมอง
(2) ไขสันหลัง
(3) ซีรีเบลลัม
(4) ซีรีบรัม
(5) สมองส่วนกลาง
ตอบ 3 หน้า 43 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนท้าย โดยจะทําหน้าที่ควบคุม การทํางานของกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน ควบคุมการทํางานของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง ทําให้การทรงตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าซีรีเบลลัมถูกทําลายจะทําให้เสียการทรงตัว ฯลฯ

77. การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด
(1) ไฮโปธาลามัส
(2) ธาลามัส
(3) ลิมบิก
(4) ซีรีบรัม
(5) ซีรีเบลลัม
ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกาย การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

78. ฮอร์โมนชนิดใดที่กระตุ้นการให้ร่างกายเกิดการเจริญเติบโตและกระตุ้นต่อมน้ํานม
(1) คอร์ติซอล
(2) เทสเทอสโตโรน
(3) โปรเจสเตอโรน
(4) โกร๊ธฮอร์โมน
(5) อินซูลิน
ตอบ 4 หน้า 45 โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการ
เจริญเติบโตของร่างกายและกระตุ้นต่อมน้ํานม

79. ฮอร์โมนคอร์ติซอล มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด
(1) ต่อมแพนเครียส
(2) ต่อมใต้สมอง
(3) ต่อมหมวกไต
(4) ต่อมไทรอยด์
(5) ต่อมไทมัส
ตอบ 3 หน้า 48 ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) จะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนสําคัญ 4 ชนิด ได้แก่ อัลโดสเตอโรน (Aldosterone), คอร์ติซอล (Cortisol), แอดรีนาลิน (Adrenalin) และนอร์แอดรีนาลิน (Nor-drenalin)

80. การแปลความหมายจากสิ่งที่มากระทบอวัยวะร่างกายเรียกว่าอะไร
(1) การสัมผัส
(2) การจําได้
(3) การเรียนรู้
(4) การรับรู้
(5) ประสบการณ์
ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ในอดีต การเรียนรู้ และสภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น

81. โคนส์เป็นเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ใด
(1) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน
(3) เป็นเซลล์รับแสงจ้ามาก
(2) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
(4) เป็นเซลล์รับแสงสลัว ๆ
(5) เป็นเซลล์รับแสงสีเข้ม
ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสง ในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

82. หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงคือข้อใด
(1) กิโลเมตร
(2) เดซิเบล
(3) แอพิจูด
(4) เมกกะ
(5) เฮิรตซ์
ตอบ 2 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ

83. ทฤษฎีคุมด่านเชื่อว่าอวัยวะใดเป็นที่รวมประสาททั้งหมดที่ส่งไปยังสมอง
(1) หัวใจ
(2) กะโหลก
(3) ไขสันหลัง
(4) ท้ายทอย
(5) กระเพาะอาหาร
ตอบ 3 หน้า 67 ทฤษฎีคุมด่าน (Gate Control Theory) เป็นทฤษฎีการเจ็บปวดที่เชื่อว่า ไขสันหลัง เป็นที่รวมของประสาทใหญ่น้อยที่จะส่งไปยังสมองและที่มาจากกล้ามเนื้อและผิวหนังอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากบุคคลมีอาการกลัวความเจ็บปวดในสมอง จะทําให้เกิดกระแสประสาท ไปเร้าด่านที่ไขสันหลังทําให้ด่านเปิดและส่งกระแสที่เจ็บปวดไปยังสมองได้

84. หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย จะเกิดอะไรขึ้น
(1) ไม่รับรู้อุณหภูมิจากภายนอก
(2) การทรงตัวทําได้ลําบาก
(3) ไม่สามารถระงับความเจ็บปวดได้
(4) มีอาการเวียนหัวตลอดเวลา
(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลอดเวลา
ตอบ 2 หน้า 67 – 68 สัมผัสคีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) จะทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัส เกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย การทรงตัวจะทําได้ลําบาก

85. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร
(1) เขาวงกต
(2) กล่องอาหาร
(3) หน้าผามายา
(4) บ่อน้ำจําลอง
(5) ภูเขาจําลอง
ตอบ 3 หน้า 72ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน
และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

86. หากว่าเราชูหนังสือให้เพื่อนดู เพื่อนเราเห็นแค่สันหนังสือเท่านั้น แต่ก็บอกได้ว่าเป็นหนังสือ
(1) การคงที่ของสี
(2) การคงที่ของขนาด
(3) การคงที่ของรูปร่าง
(4) การคงที่ของรูปแบบ
(5) การคงที่ของน้ําหนัก
ตอบ 3หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) ในเรื่องการรับรู้และการเห็น มี 3 ชนิด คือ
1. การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้
2. การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้ 3. การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นแค่สันหนังสือเราก็ยังรับรู้ได้ว่าเป็นหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง

87. ข้อใดคือการล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(1) Telepathy
(2) Clairvoyance
(3) Precognition
(4) Extrasensory
(5) Perception
ตอบ 3 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

88. ข้อใดหมายถึงอาการของ “Jet Lag”
(1) นอนไม่เพียงพอเพราะทํางานหนัก
(2) นอนไม่หลับไม่คุ้นชินกับสถานที่
(3) อาการกรนขณะหลับ
(4) แบบแผนการนอนถูกรบกวน
(5) ขณะหลับมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ
ตอบ 4 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง มักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่
เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

89. ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ
(1) ระยะที่ 1
(2) ระยะที่ 2
(3) ระยะที่ 3
(4) ระยะที่ 4
(5) ระยะที่ 5
ตอบ 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลง กล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุก เล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ําเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย

90. โดยปกติมนุษย์ฝันในแต่ละคืนประมาณกี่ครั้งและมีความยาวเท่าใด
(1) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 15 นาที
(2) 1 − 2 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(3) 3 – 4 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที
(4) 4 – 5 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(5) 6 – 7 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที
ตอบ 4 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทั่วไปคนเราจําเป็นต้องนอนหลับและฝันทุกคืน แต่ละคืน จะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

91.กาแฟ เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 2 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

92. กัญชา เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์
(1) ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส
(2) ภาพไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
(3) ภาพสองนัย
(4) พื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังไม่ได้รับความสนใจ
(5) ถ้าความสนใจเปลี่ยนจุดอื่นจะกลายเป็นภาพได้
ตอบ 2 หน้า 74 – 75 คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวความคิดของนักจิตวิทยาสกุล เกสตัลท์ (Gestalt) คือ ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส ลอยออกมาจากพื้น มีรูปร่างชัดเจนและมี ขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังภาพ ไม่มีขอบเขตจํากัด ถ้าความสนใจเปลี่ยนไป จุดอื่นก็จะกลายเป็นภาพได้ (ภาพสองนัยเป็นภาพที่มองเห็นสลับกันได้ทั้งภาพและพื้น)

94. ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิจากการทดลองของวอลเลสและเป็นสัน
(1) อัตราการเผาผลาญในร่างกายมากขึ้น
(2) มีการหายใจเข้าออกช้าลง
(3) ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง
(4) การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง
(5) ปริมาณสารแลคเทคในเลือดลดลง
ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง

95. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ “ฝาแฝดคล้าย” (Fraternal Twins)
(1) มีโครโมโซมเหมือนกัน
(2) ฝาแฝดอาจคลอดออกมาแล้วมีเพศที่แตกต่างกัน
(3) เกิดจากสเปิร์ม (Sperm) 2 ตัว
(4) มีกระบวนการแบ่งตัวแบบเป็นอิสระออกจากกัน
(5) เกิดจากการตกไข่ (Egg) 2 ใบ
ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

96.แนวคิดของเชลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ
(1) Endomorphy
(2) Mesomorphy
(3) Exsomorphy
(4) Suprememorphy
(5) Stablemorphy
ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่ แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขี้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ
2. รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ
3. รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

97. ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY
(1) Endomorphy
(2) Ectomorphy
(3) Turner’s Syndrome
(4) Mesomorphy
(5) Klinefelter’s Syndrome
ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และ อวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็น โรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้

98. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) จํานวนทารกภายในครรภ์
(2) การบริโภคของแม่
(3) สุขภาพจิตของแม่
(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(5) การได้รับรังสี
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

99. ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
ตอบ 1 หน้า 135 – 136 สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว มีดังนี้
1. ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
2. การอบรมเลี้ยงดูและบรรยากาศในครอบครัว
3. การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่
4. จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
5. ระดับการศึกษาของพ่อแม่ ฯลฯ

100. “เด็กมีลักษณะถือตนเองเป็นศูนย์กลาง” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget
(1) Period of Formal Operation
(2) Preoperation
(3) Premoral
(4) Sensorimotor Period
(5) Period of Concrete
ตอบ 2 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1. Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็น ของคนอื่น
2. Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็กเกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุ เข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้

101. พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การหายใจ
(2) การกะพริบตา
(3) การเรอ
(4) การขี่จักรยาน
(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณ อันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

102. ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้
1. กฎระเบียบและการปกครอง
2. ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู
3. กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

103. “เด็กมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้าม” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการ
ทางเพศ (Psychosexual Stages)
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(3) ขั้นความสุขอยู่ทีทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(5) ขั้นแอบแฝง ตอบ 2 หน้า 145, 299 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เกิดกับเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลําอวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้า เกิดความขัดแย้งใจก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedipus Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)

104. จากขั้นพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)
(1) มีพลังควบคุมตนเองได้
(2) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน
(3) ได้ความรักและความผูกพัน
(4) ได้ความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ
(5) มีการทํางานที่เหมาะสมและมีความสามารถ
ตอบ 2 หน้า 147 มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคม ของ Eriksen ขั้นพัฒนาการทางจิตใจ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)

105. จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) การตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS) เรียกว่าเกิดกระบวนการใด
(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า
(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า
(3) การหยุดยั้งของพฤติกรรม
(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม
ตอบ 1 หน้า 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ส่วนการแยกความแตกต่าง (Discrimination) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเฉพาะที่วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้า ที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ไม่ได้รับรางวัล

106. คูปองที่ใช้แลกซื้ออาหารในศูนย์อาหาร เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจาก การเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินหรือสิ่งที่ใช้แทนเงิน (บัตรเครดิต บัตรเดบิต คูปองแลกซื้อที่ใช้แทนเงินสด) ไม่เพียงแต่ สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ อื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น

107. “คุณดินมีอาการปวดศีรษะ จึงทานยาแก้ปวด ทําให้อาการปวดศีรษะหายไป หลังจากนั้นทุกครั้งที่คุณดิน ปวดศีรษะ คุณดินจะทานยาแก้ปวดทุกครั้ง” อาการปวดศีรษะที่หายไป คืออะไร
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) การเสริมแรงทางลบ
(3) การลงโทษ
(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข
(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
ตอบ 2 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) จะทําให้การ ตอบสนองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นการทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวด ทุกครั้งเพื่อระงับอาการปวด การขึ้นสะพานลอยข้ามถนนทุกครั้งเพราะกลัวอุบัติเหตุ ฯลฯ

108. “เป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อชีวิต ไม่จําเป็นต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยา” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้น
เป็นคุณสมบัติของข้อใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทาง ชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต

109. “พนักงานจะได้รับเงินเดือนในวันที่ 25 ของทุกเดือน” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรง
แบบใด
(1) แบบอัตราส่วนคงที่
(2) แบบต่อเนื่อง
(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
(5) แบบช่วงเวลาคงที่
ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริม เมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ

110. ข้อใดถูกต้อง
(1) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
(2) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว
(3) การลงโทษไม่ได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
(4) หากใช้การลงโทษจะต้องไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย
(5) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที หรือหลังเกิด
พฤติกรรมไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง
ตอบ 1 หน้า 181 – 182 การลงโทษจะมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยการลงโทษจะ ได้ผลดีที่สุด ถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมนั้นอยู่หรือทันทีที่พฤติกรรมนั้นสิ้นสุดลง (เวลาในการลงโทษ) และควรเกิดขึ้นทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น (ความคงที่ในการลงโทษ) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย ทั้งนี้การลงโทษจะ ทําให้เกิดผลข้างเคียง คือ เกิดการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัว กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าว และเรียนรู้ที่จะตอบสนองด้วยการหนีและหลีกเลี่ยง

111. ข้อใดคือลักษณะของความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(1) สามารถจําข้อมูลได้ 9 ± 2 หน่วย
(2) ข้อมูลจะเก็บในลักษณะของเหตุการณ์
(3) มีพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่จํากัด
(4) เป็นคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด
(5) เก็บข้อมูลได้เป็นช่วงเวลานาน
ตอบ 4 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1. ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ
2. ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบ ความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
3. ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

112. ระบบความจําที่หากไม่ทบทวน จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
(1) ความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)
(4) ความจําความหมาย (Semantic Memory)
(5) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 111: ประกอบ

113. ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn)
(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน
(2) ต้องผ่านการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง
(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)
(4) ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น
(5) ปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน
ตอบ 1 หน้า 184, (คําบรรยาย) การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn) เป็นผลของการคิด การเข้าใจที่มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องผ่านการเรียนรู้ จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น โดยปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

114. ระยะเวลาคงอยู่ของการได้ยินเสียงก้องในหู (Echo)
(1) 0.5 วินาที
(2) 2 วินาที
(3) 18 วินาที
(4) 24 ชั่วโมง
(5) 48 ชั่วโมง
ตอบ 2หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บ ข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ ได้ครึ่งวินาที (0.5 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

115. การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้
(1) การระลึกได้ (Recatt)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯ
ทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

116. บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดได้ดีที่สุด
(1) ช่วงต้นและท้าย
(2) ช่วงต้น
(3) ฃวงกลาง
(4) ช่วงท้าย
(5) ทุกช่วง
ตอบ 1 · ดูคําอธิบายข้อ 115. ประกอบ

117. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของการคิด
(1) จินตภาพ (Image)
(2) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response)
(3) ความมีเหตุผล (Reasoning)
(4) มโนทัศน์ (Concept)
(5) ภาษา (Language)
ตอบ 3 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของการคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ (Image) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response) มโนทัศน์ (Concept) และ ภาษาหรือสัญลักษณ์ (Language or Symbols)

118. การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การหาเหตุผล (Rationalization)

(2) การเลียนแบบ (Identification)
(3) การเก็บกด (Repression)
(4) การถดถอย (Regression)
(5) การทดแทน (Sublimation)
ตอบ 3 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

119. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(2) นิยามปัญหาให้กว้าง
(3) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(5) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
ตอบ 5 หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
2. นิยามปัญหาให้กว้าง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ

120. “การที่ความจําหนึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้าง ขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้แม้เพียงสิ่งเดียว” ข้อความข้างต้นเป็นลักษณะการวัดความจําแบบใด
(1) การระลึกได้ (Recall)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 5 หน้า 203 การบูรณาการใหม่ (Reintegration) หมายถึง การที่ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิด ความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้ แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพการเดินทาง และความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุเทพ ฯลฯ

Advertisement