การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1301 (RAM 1000) คุณธรรมคู่ความรู้
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)

1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเภทของรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นที่กําหนดโดยคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา สอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา
(1) การทุจริตในการคัดเลือกบุคคล
(2) การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(3) การทุจริตในการให้สัมปทาน
(4) การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ของวุฒิสภา ได้แบ่งรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
3. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
4. การทุจริตในการให้สัมปทาน
5. การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

Advertisement

2.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดของระบบคิด “ฐานสอง Digital”
(1) มีโอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้
(2) สามารถแยกประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์พวกพ้องได้อย่างเด็ดขาด
(3) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น
(4) เป็นระบบที่มีค่าตัวเลข คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง)
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสอง (Digital) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือก ได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) และอาจหมายถึง โอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช้กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้ ฯลฯ จึงเป็นระบบคิดที่สามารถแยกแยะ ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด และไม่กระทําการที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักความโปร่งใส (Accountability)
(2) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(3) หลักความรับผิด (Responsibility)
(4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
(1) Common – dealing or Contracts
(2) Accepting Benefits
(3) Pork – barreling
(4) Outside Employment or Moonlighting
ตอบ 1(คําบรรยาย) John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จําแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ (Accepting Benefits)
2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self – dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts)
3. การทํางานหลังออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post – employment)
4. การทํางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting)
5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information)
6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using your Employer’s
property for Private Advantage)
7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork – barreling)

5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยจิตพอเพียง
(1) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
(2) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน
(3) ภูมิคุ้มกันทางสังคม
(4) ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทยด้วยจิตพอเพียงมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันทางสังคม
2. ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
3. ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ

6.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
(2) ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(3) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรับ
(4) ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต

7. การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตนให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ รู้รักสามัคคี ไม่โลภ และรู้จักแบ่งปัน ให้ผู้อื่น เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขคุณธรรม
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตน ให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น เช่น นักศึกษาแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ตนได้รับ

8. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร T ในหลัก STRONG คือ
(1) Transparent
(2) Transportation
(3) Transitivity
(4) Triumph
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้)
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = K.Nowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)

9.การรวมกลุ่มของเกษตรกรหรือสหกรณ์ในการร่วมแรงร่วมใจในการดําเนินกิจการด้านต่าง ๆ
เป็นทฤษฎีใหม่ชั้นใต
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(2) ทฤษฎีใหม่ชั้นที่สาม
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
ตอบ 4หน้า 72 – 73 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 2 หลังจากที่เกษตรกรได้ปฏิบัติตาม หลักการในขั้นที่ 1 จนได้ผลแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาไปสู่ขั้นของการรวมพลังเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดําเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. การผลิต
2. การตลาด
3. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
4. สวัสดิการชุมชน
5. การศึกษา
6. สังคมและศาสนา

10. การที่นักศึกษาลดใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด โดยทําลายสิ่งแวดล้อมให้ น้อยที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูเพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ถูกทําลายไป จึงจะสามารถรักษาสมดุลระหว่าง วัตถุกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ได้นาน เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

11. “จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการ ดําเนินการทุกขั้นตอน และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและดําเนินการทุกขั้นตอนและต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

12. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและนิติบัญญัติ
(2) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(3) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(4) หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย”
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

13. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้ จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์
(1) การตรวจสอบ
(2) ด้านการแข่งขัน
(3) ด้านการเมือง
(4) ด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย ของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุถึงเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเกิดจาก ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย
1. ด้านเศรษฐกิจ
2. ด้านสังคม
3. ด้านวัฒนธรรม
4. ด้านการเมือง
5. ด้านระบบราชการ
6. กฎหมายและระเบียบ
7. การตรวจสอบ
8. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง และการพนัน

14. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักในการพึ่งตนเอง 5 ประการ สําหรับประชาชนทั่วไป
(1) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) หลักด้านเทคโนโลยี
(3) หลักด้านจิตใจ
(4) หลักด้านครอบครัว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

15. ข้อใดต่อไปนี้คือระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
(1) การทุจริตในวงราชการ และการทุจริตในภาคเอกชน
(2) การทุจริตระดับชาติ และการทุจริตในระดับท้องถิ่น
(3) การทุจริตในประเทศ และการทุจริตนอกประเทศ
(4) การทุจริตส่วนรวม และการทุจริตส่วนบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถ
แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. การทุจริตระดับชาติ
2. การทุจริตในระดับท้องถิ่น

16. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการให้โทษ
(1) มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
(2) มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างรุนแรง
(3) มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
(4) มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการให้โทษ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างยุติธรรม
3. มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
4. มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

17. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการให้ข้อมูล
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็นระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

18. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของการทุจริต
(1) กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
(2) การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
(3) ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
(4) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุของการทุจริต ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่เอื้อหรือสนับสนุนต่อ การเกิดการทุจริต มีดังนี้
1. แรงขับเคลื่อนที่ทําให้อยากมีรายได้เป็นจํานวนมาก
2. มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
3. การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
4. กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
5. ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
6. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง

19. การที่บุคคลมีการช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ และการให้
ความร่วมมือสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 69 ความพอเพียงระดับชุมชน คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

20. การบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
ตอบ 4 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1.ขุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ําฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ำต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

21. หลักการปฏิบัติตนตามแนวทางของความพอเพียงของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ประมวล หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้ประชาชนได้เห็นมาโดยตลอดได้ 10 ข้อ ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ในหลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท
(1) พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนกล้า
(2) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
(3) มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
(4) มีความสุจริตและความกตัญญู
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท มีดังนี้
1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
7. มีความสุจริตและความกตัญญู
8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
9. รักประชาชน
10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

22. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
(3) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(4) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

23. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่

ตอบ 2 หน้า 73 – 74 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนด้านการลงทุนและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

24. การที่บุคคลมีความรับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต บริหารรายรับและรายจ่ายให้เกิด ความสมดุล รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างมีคุณค่า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับชุมชน
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3หน้า 68. ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสง่างาม เหมาะสมกับที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้เลียนแบบ และปฏิบัติตาม โดยหัวหน้าครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
8. อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

25. การดําเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการ
ตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เงื่อนไขหลักวิชา
(3) เงื่อนไขคุณธรรม
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 2 หน้า 66 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัยความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก

26. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการเปิดเผย
(1) ประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรพัฒนาเอกชนได้มีโอกาสควบคุมฝ่ายบริหารโดยวิธีการต่าง ๆ มากขึ้น (2) ประชาชนและสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดหา การให้สัมปทาน การออกกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
(3) ประชาชนได้เข้ามารับรู้การทํางานของคณะกรรมการตรวจสอบ
(4) มีการใช้กลุ่มวิชาชีพภายในหน่วยงานเข้ามาร่วมตรวจสอบ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการเปิดเผย ประกอบด้วย
1. ประชาชนได้เข้ามารับรู้การทํางานของคณะกรรมการตรวจสอบ
2. ประชาชนและสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดหา การให้สัมปทาน การออกกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ
3. ประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้มีโอกาสควบคุมฝ่ายบริหารโดยวิธีการ ต่าง ๆ มากขึ้น
4. มีการใช้กลุ่มวิชาชีพภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบ

27. การมีน้ำใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษาและสืบสานวัฒนธรรม อันดีงามของชาติให้คงอยู่ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ด้านจิตใจ
(4) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ตอน 4 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยความมีน้ําใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษา และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ โดยหาโอกาสขยายผลงานด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น อีกทั้งจะต้องมีภูมิคุ้มกันในการรับวัฒนธรรมต่างชาติ ด้วยการเลือกรับแต่สิ่งที่เกิดผลดี และสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

28. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดเป็น
(1) คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน
(2) คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(3) คิดไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
(4) คิดแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะของการ “คิดเป็น” มีดังนี้
1. คิดแยกเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
2. คิดแยกเรื่องตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. คิดที่จะไม่นําประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมมาปะปนกัน หรือมาก้าวก่ายกัน
4. คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. คิดที่จะไม่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
6. คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เครือญาติ และพวกพ้อง

29. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) เห็นประโยชน์เครือญาติสําคัญกว่าประโยชน์พวกพ้อง
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
(3) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(4) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ

30. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(4) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวก
และด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง

31. การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมโดยคํานึงถึงระดับความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมายหลักจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) ความพอประมาณ
(2) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(3) ความไม่ประมาท
(4) ความมีเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับ ความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ

32. มีวินัย เป็นคุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ซึ่งหมายความว่าอะไร (1) ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรืออคติ
(2) การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
(3) ความตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสําเร็จตามความมุ่งหมาย
(4) ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทําให้เกิด ความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต โดย ข้อ 4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม

33. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างงบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

34. ต่อไปนี้เป็นการลงโทษทางสังคมเชิงลบ ยกเว้นข้อใด
(1) ต่อต้าน
(2) กดดัน
(3) ตักเตือนชื่นชม
(4) ประท้วง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

35. การคอร์รัปชั่นตามน้ำ เป็นรูปแบบการทุจริตที่กระทําโดยใคร
(1) นักการเมือง
(2) นายทุน
(3) ข้าราชการ
(4) พ่อค้า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทุจริตโดยข้าราชการ หมายถึง การกระทําที่มีการใช้หน่วยงานราชการเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ มากกว่าประโยชน์ ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การคอร์รัปชั่นตามน้ํา (Corruption without Theft)
2. การคอร์รัปชั่นทวนน้ํา (Corruption with Theft)

36. การที่บุคคลมีการดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการ ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลักคุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เงื่อนไขชีวิต
(3) เป้าประสงค์
(4) เงื่อนไขหลักวิชา
ตอบ 2 หน้า 66 – 67 เงื่อนไขชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลัก คุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เพราะสามารถเข้าใจ ชีวิตและทําให้รับได้กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะร้ายหรือดี

37. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการ ประกอบอาชีพตามที่ถนัด และมีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่ น่าอยู่ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน เป็นการประยุกต์ใช้
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับประเทศ
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 70 ความพอเพียงระดับประเทศ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามที่ถนัด และ มีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่น่าอยู่ และมีการ รวมกลุ่มของชุมชนให้เป็นเครือข่ายที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน

38. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม
(1) เขื่อนภูมิพล
(2) คุณสนธิ ลิ้มทองกุล
(3) วัดพนัญเชิงวรวิหาร
(4) ประเพณีสงกรานต์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณี คือ แหล่งเรียนรู้ทางสังคม ที่แสดงถึงความเป็นอยู่ ความเชื่อ และวิถีชีวิตที่สืบทอดต่อกันมา จึงถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็น นามธรรม (จับต้องไม่ได้) ซึ่งควรค่าแก่การรักษาไว้ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ประเพณี สงกรานต์, การทําบุญในวันสําคัญทางศาสนา ฯลฯ

39. ข้อใดหมายถึง เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในปัจจุบัน
(1) มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัดจํานวน
(2) มหาวิทยาลัยตลาดวิชา
(3) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
(4) มหาวิทยาลัยตลาดวิชา ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
ตอบ 1 หน้าคํานํา, (คําบรรยาย) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นมหาวิทยาลัยแบบ ตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัดจํานวน

40. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
ตอบ 1หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

41. ข้อใดกล่าวถึงโลกยุคดิจิทัลกับการเรียนรู้ได้ถูกต้องที่สุด
(1) โลกแห่งการเรียนรู้ไร้พรมแดน
(2) สังคมแห่งฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
(3) โลกแห่งการติดต่อสื่อสารทางเดียว
(4) โลกแห่งการโดดเดี่ยว
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โลกยุคดิจิทัลกับการเรียนรู้ จะเกี่ยวข้องกับโลกแห่งการเรียนรู้ไร้พรมแดน คือ มีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้และค้นหาข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเข้าถึงได้จากหลายช่องทาง

42. การใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ เป็นรูปแบบการทุจริต
ในลักษณะใด
(1) ทุจริตตามผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ทุจริตตามกระบวนการที่ใช้
(3) ทุจริตตามลักษณะรูปธรรม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตที่แบ่งตามกระบวนการที่ใช้ จะมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้ 1. เกิดจากการใช้อํานาจในการกําหนดกฎกติกาพื้นฐาน เช่น การออกกฎหมาย และ กฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออํานวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง 2. เกิดจากการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ทําให้เจ้าหน้าที่สามารถ ใช้ความคิดเห็นของตนในทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้

43.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ แหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(2) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(3) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(4) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจากห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน

44. การสร้างสมดุลในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) หลักการ
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 4 หน้า 64 เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองต้องสามารถสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เช่น เมื่อนักศึกษามีความสามารถในการหารายได้ด้วยตนเองจากงานพิเศษก็ต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล

45. กลุ่มเพื่อนและชุมชน เป็นลักษณะของการก่อให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมแบบใด
(1) เกิดจากการบําเพ็ญประโยชน์
(2) เกิดจากการสร้างในตนเอง
(3) เกิดจากมโนธรรม
(4) เกิดจากการเลียนแบบ
ตอบ 4หน้า 47 สาเหตุแรกของการเกิดคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน ได้แก่ การเลียนแบบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้ การยอมรับ และการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ที่แวดล้อมตนอยู่ แล้วนํามาปรับให้เข้ากับตนเอง ดังนั้นกระบวนการนี้จึงจัดเป็นกระบวนการ ที่มีความสําคัญต่อพัฒนาการของเด็ก นิสิต และนักศึกษา ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อนและชุมชน

46. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้ที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
(1) https://mcoc.chula.ac.th/
(2) https://www.lib.ru.ac.th/
(3) https://www.ieas.ru.ac.th/
(4) https://www.museumthailand.com/th/home
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้
1. เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น https://www.lib.ru.ac.th/ หรือเว็บไซต์สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ฯลฯ
4. เป็นแหล่งที่ใช้สร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการ และประสบการณ์ ผ่านการถ่ายทอด ความรู้ในแบบวิธีต่าง ๆ
5. เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

47. การปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินการ
ไปในทางสายกลาง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) หลักการ
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) เป้าประสงค์
(4) แนวคิดหลัก
ตอบ 4 หน้า 63, 67 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายความว่า แนวทางการดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

48. องค์ประกอบของการเรียนรู้ในข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(2) ผู้สอน ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน
(3) ผู้เรียน ผู้สอน แหล่งเรียนรู้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน คือ แหล่งเรียนรู้ชนิดหนึ่ง
2. ผู้เรียน
3. สื่อ/แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ตํารา หนังสือ สื่อออนไลน์ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ

49. ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้อ
กับข้อใด
(1) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(2) ความไม่ประมาท
(3) ความมีเหตุผล
(4) ความพอประมาณ
ตอบ 4 หน้า 65, (คําบรรยาย) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปจนขาดแคลน และไม่มากเกินศักยภาพ โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นความพอดีในการผลิตและการ บริโภคที่พิจารณาแล้วว่าจําเป็นและเหมาะสมกับสถานะของตนเอง สิ่งแวดล้อมโดยรอบ รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่

50. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
(2) การทําวิจัย
(3) พันธุกรรม
(4) ละคร
ตอบ 1หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม

51. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) ช่วงเริ่มเข้าโรงเรียน
(2) ก่อนอายุ 6 ขวบ
(3) แรกเกิด
(4) หลังอายุ 15 ปี
ตอบ 2 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง

52. “การประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูล แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ ที่ต้องการ” จากข้อความข้างต้นหมายถึง
(1) สารสนเทศ
(2) ข้อมูล
(3) แหล่งการเรียนรู้
(4) ความรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือเสียงที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการ ประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่ต้องการ

53. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ตรงกับ พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2565 – 2569
(2) พ.ศ. 2555 – 2559
(3) พ.ศ. 2560 – 2564
(4) พ.ศ. 2550 – 2554
ตอบ 3 หน้า 62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการจัดทําแผนตั้งแต่ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) จนถึงฉบับที่ 12 เพื่อนําสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

54.ข้อใดคือความหมายของจิตสาธารณะ
(1) ความคิดถึงส่วนรวม
(2) ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม
(3) การคํานึงถึงความต้องการของส่วนรวม
(4) ความรักในสาธารณสมบัติ
ตอบ 2 หน้า 79 – 81, 93 จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือ
เป็นการตระหนักรู้ตนที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้นจึงเป็นคําที่ มีความหมายตรงข้ามกับคําว่า “เห็นแก่ตัว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

55. ปัจจัยภายในใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การประเมินพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม
(2) การตระหนักถึงส่วนรวม
(3) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
(4) การแยกแยะความดี ความชั่ว
ตอบ 3 หน้า 85 – 86 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม ซึ่งเป็นภาวะที่ลึกซึ้งกว่าภาวะทางกายภาพเพียงประการเดียว เป็นภาวะที่ได้รับการฝึกอบรม กล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละน้อย
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและ ความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ

56. ข้อใดคือองค์ประกอบสําคัญที่ก่อให้เกิดกระบวนการของการเรียนรู้
(1) ผู้เรียน แหล่งเรียนรู้ ผู้สอน
(2) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(3) ผู้สอน สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้
(4) ผู้เรียน สิ่งเร้า การตอบสนอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57.Creative Commons หมายถึงข้อใด
(1) สัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์
(2) สัญญาอนุญาตทางการค้า
(3) สัญญาอนุญาตประเภทสื่อ
(4) สัญญาอนุญาตทางการศึกษา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการเผยแพร่สื่อทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ทุกรูปแบบ โดยแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกเพื่อการ แจกจ่ายและใช้ข้อมูลด้วยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

58. อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน คือ แหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นที่เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การประดิษฐ์หุ่นยนต์เสิร์ฟ อาหาร, การประดิษฐ์อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นต้น

59. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) มีความรักในชาติ
(2) มีประชาคมคอยช่วยเหลือ
(3) มีความพอประมาณ
(4) มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
ตอบ 4 หน้า 83 – 84 วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคมภาคประชาชน พบว่า
ผู้ที่มีจิตสํานึกสาธารณะจะมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้

1. มีความรัก ความเอื้ออาทร
2. มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
3. มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

60. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของจิตสาธารณะ
(1) จิตสาธารณะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(2) จิตสาธารณะจะช่วยทําให้ครอบครัวประหยัด
(3) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ สังคมจะชื่นชม
(4) จิตสาธารณะจะช่วยลดปัญหาทางสังคม
ตอบ 4 หน้า 77, 81 จิตสาธารณะมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เมื่อบุคคลมีจิตสาธารณะ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

61. ข้อใดคือการเรียนรู้แบบเปิดสําหรับมหาชน
(1) E-learning
(2) OER
(3) MOOC
(4) E-Testing
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเรียนรู้แบบเปิดสําหรับมหาชน (Massive Open Online Courseware : MOOC) คือ หลักสูตร (Course) หรือรายวิชาที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิดให้ ใช้งานฟรี (Open) และรองรับผู้เรียนจํานวนมาก (Massive) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตาม ความชอบ โดยการเชื่อมต่อเข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทําแบบทดสอบหรือ แบบฝึกหัด ตลอดจนร่วมสนทนากับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้แบบไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต

62. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(2) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
(3) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(4) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 4 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

63. ข้อใดคือปัจจัยทางสังคมที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) คุณธรรม จริยธรรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

64. องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย หมายถึงแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน คือ บุคคล คณะบุคคล หรือตัวแทน ขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก, คุณสนธิ ลิ้มทองกุล พิธีกรรายการข่าว, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เป็นต้น

65. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ความหมายของคุณธรรม คือ
(1) คุณธรรม คือ หลักการพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้ดีงาม
(2) คุณธรรม คือ ธรรมที่มีกรอบปฏิบัติที่ดีงามและถูกต้องชอบธรรม
(3) คุณธรรม คือ ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูงกว่าผู้อื่นที่พบเห็น
(4) คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูลที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 41 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คุณธรรม คือ กรรมที่เป็นคุณความดีงาม หรือสภาพที่เกื้อกูลซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้าง คุณสมบัติทางจิตใจให้ดีงาม ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูง ประณีต และประเสริฐแก่ผู้ที่พบเห็นหรือ ได้อยู่ด้วย ประกอบด้วย
1. เมตตา
2. กรุณา
3. มทิตา
4. อุเบกขา
5. จาคะ

66.Course on Demand ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ แหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(2) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(3) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Course on Demand หมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัย รามคําแหง หรือวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังจากห้องเรียน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง และถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) คือ การเรียนแบบต่างเวลา (Anytime) ต่างสถานที่ (Anywhere) โดยผู้เรียนจะเรียนเมื่อใดและที่ไหนก็ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

67. ปัจจัยภายนอกใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การตระหนักถึงส่วนรวม
(2) การฝึกอบรม
(3) การเลียนแบบ
(4) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

68. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความรู้
(3) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
(2) ความรัก
(4) ความเป็นธรรมชาติ
ตอบ 3 หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของการสร้าง ประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ซึ่ง อาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ความรัก 2. ความรู้ 3. ความเป็นธรรมชาติ

69. การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในการทํางาน
(2) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การฝึกอบรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

70. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมหาวิทยาลัย รามคําแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เป็นปีที่เท่าไรของรัชกาลที่ 9
(1) 25
(2) 26
(3) 27
(4) 28
ตอบ 2 หน้า 11 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เป็นปีที่ 26 ของรัชกาล ที่ 9 ซึ่งปรากฏในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514

71. แหล่งเรียนรู้ หมายถึงข้อใด
(1) เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
(2) เป็นแหล่งสารสนเทศให้ความรู้อย่างกว้างขวาง
(3) ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัวที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ แหล่งความรู้ทางวิชาการที่รวบรวมความรู้ให้แนวคิดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดความรู้และประสบการณ์ เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

72. การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สื่อมวลชน
(3) สถาบันการศึกษา
(4) สถาบันศาสนา
ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) สถาบันการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม โดยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสํานึกความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก ภายใน อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งเน้นไปที่การพัฒนา จริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ มากกว่าการพัฒนาเพื่อความสําเร็จในวิชาชีพโดยปราศจากพื้นฐานทางด้านจริยธรรม

73. ข้อใดคือองค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมของกรมวิชาการ
(1) ด้านความสามารถ
(2) ด้านความรู้
(3) ด้านการกระทํา
(4) ด้านสติปัญญา
ตอบ 2 หน้า 49 กรมวิชาการ ได้จัดทําเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย และสรุปว่า คุณธรรมจริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้านความรู้
2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก
3. ด้านพฤติกรรม

74. การเบียดเบียนและคดโกงในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้สังคมเสื่อมโทรม เกิดจากผู้คนขาดสิ่งใด
(1) การขาดความร่วมมือที่ดี
(2) การขาดจริยธรรม
(3) การขาดวินัย
(4) การขาดความรับผิดชอบ
ตอบ 2 หน้า 45 การทุจริต คดโกง และการเบียดเบียนกันในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้สังคม เสื่อมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ซึ่งไม่ได้ยึดเอาจริยธรรมเป็น แนวทางในการดําเนินชีวิต

75. เมื่อนักศึกษาถูกนินทาว่าร้าย ควรยึดหลักคุณธรรมข้อใด
(1) วิริยะ
(2) ทาน
(3) จาคะ
(4) ขันติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ธรรมอันทําให้งาม เป็นคุณธรรมที่ทําให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงามอยู่เสมอในทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ มีอยู่ 2 ประการ ได้แก่
1. ขันติ คือ ความอดทน ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อราคะ (ความกําหนัดยินดี) อดทนต่อ โทสะ (การประทุษร้ายผู้อื่น) อดทนต่อโมหะ (ความโง่เขลาเบาปัญญาที่เกิดขึ้น) อดทนต่อ การล่วงเกินหรือคําด่าว่านินทาของผู้อื่น อดทนอดกลั้นต่อความยากลําบาก ฯลฯ
2. โสรัจจะ คือ ความสงบเสงี่ยมทางกาย วาจา และใจ มีอัธยาศัยงดงาม รักษาอากัปกิริยาให้ เหมาะสมเรียบร้อย

76.EdTechRU Channel คือ แหล่งเรียนรู้ลักษณะใดของสํานักเทคโนโลยีการศึกษา
(1) รายการวิทยุทางการศึกษา
(2) รายการข่าวของสํานัก
(3) ช่องรายการเฟซบุ๊กของสํานัก
(4) ช่องรายการยูทูบของสํานัก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) EdTechRU Channel คือ ช่องรายการยูทูบของสํานักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อสังคมที่เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยผ่านทางช่องยูทูบ เช่น การเพิ่ม-เลิกกระบวนวิชา สําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง (Ep.57), การย้ายคณะ มหาวิทยาลัยรามคําแหง (Ep.58) เป็นต้น

77. ในฐานะ “นักศึกษา” ท่านจะสามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) เดินขบวนรณรงค์ให้กับประชาชนทั่วไป
(2) เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้องในครอบครัว
(3) ไม่ทิ้งขยะในมหาวิทยาลัย
(4) เข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้
ตอบ 4 หน้า 92 ในฐานะนักศึกษาสามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การเข้าร่วม กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ การออกค่ายอาสาพัฒนา และการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ที่ทางกลุ่มเพื่อน ชมรมวิชาการ หรือทางมหาวิทยาลัยจัดให้

78. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันศาสนา
(2) สถาบันครอบครัว
(3) สื่อมวลชน
(4) สถาบันการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานอง คลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง

79. หลักอัตตาธิปไตย คือ
(1) การรู้จักวางตน
(2) การมีตัวตน
(3) การถือว่าตนตัวใหญ่
(4) การถือเอาฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คนที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี ต้องมีหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ และกระทําการด้วยการปรารถนาตนในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพตน
2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพเสียงหมู่ชน
3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือเอาความถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล ชอบธรรม ซึ่งเป็น หลักการปกครองที่ดีที่สุด เพราะจะทําให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างแท้จริง

80.“การตรงทั้งต่อเวลา พฤติกรรมดีต่อหน้าที่และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรือ มีอคติ ไม่ใช้เล่ห์คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม” ข้อความข้างต้นตรงกับคุณธรรม 8 ประการในข้อใด
(1) ความมีวินัย
(2) ความสามัคคี
(3) ความขยัน
(4) ความซื่อสัตย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ข้อ 3 ซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึก ลําเอียงหรือมีอคติ ซึ่งผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตรงทั้งต่อเวลา มีพฤติกรรมดี ต่อหน้าที่และต่อวิชาชีพ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและ ปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

81. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่า “พลเมือง” ที่ถูกต้อง
(1) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(2) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
(3) ประชาชนคนไทยที่ไร้สัญชาติ
(4) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า “พลเมือง” มีอยู่หลายความหมาย ดังนี้
1. คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
2. บุคคลที่เกิดในประเทศนั้น ๆ หรือได้รับสัญชาติและมีความจงรักภักดีต่อรัฐ
3. กลุ่มคนที่มีสิทธิและความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะสมาชิกของสังคม
4. ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน ฯลฯ

82. ข้อใดที่ไม่ใช่คํากล่าว “ขอโทษ” ที่เป็นมารยาททางสังคม
(1) ใช้เมื่อพอใจที่จะกล่าวคําขอโทษ
(2) ใช้เมื่อผู้พูดรู้สึกสํานึกผิดในสิ่งที่ทํา
(3) ใช้เมื่อทําสิ่งที่ผิดหรือผิดพลาด
(4) ใช้เมื่อแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คํากล่าว “ขอโทษ” มักใช้เมื่อทําสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ไม่เหมาะสม การรบกวน การขัดจังหวะในขณะที่พูดหรือทํางานเมื่อมีธุระด่วน และการพูดจาหรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีหรือ ไม่เหมาะสมต่อบุคคลอื่นทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ทั้งนี้การกล่าวคําขอโทษจะใช้เมื่อผู้พูด รู้สึกสํานึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทํา พูด หรือแสดงออกมา

83. ปัญหาคอร์รัปชันขจัดได้ด้วยคุณธรรมในข้อใด
(1) เพียร อดทน
(2) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
(3) ซื่อสัตย์สุจริต
(4) ไม่โลภ ไม่ตระหนี่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

84. การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาบ้านเมือง ควรให้มีการพัฒนาในด้านใดก่อน
(1) พัฒนาสติปัญญา
(2) พัฒนาจิตใจคน
(3) พัฒนาคุณภาพชีวิต
(4) พัฒนาการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ ได้กล่าวว่า การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรือ อย่างน้อยก็ให้พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ เพราะการ พัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนําจะสูญเปล่า และเกิดผลเสียเป็นอันมาก ทําให้บุคคลลุ่มหลง ในวัตถุและอบายมุข ซึ่งการที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคม ละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ําใจในการดําเนินชีวิต

85. วันสถาปนามหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปี คือ
(1) 27 พฤศจิกายน
(2) 24 พฤศจิกายน
(3) 25 พฤศจิกายน
(4) 26 พฤศจิกายน
ตอบ 4 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

86. ข้อใดคือความหมายของ “มารยาททางสังคม”
(1) บุคคลแต่ละคนมาชุมนุมกันเพื่อทํากิจกรรม โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
(2) บุคคลผู้มีกิริยาวาจาดี อยู่ร่วมกับหมู่คณะใดก็ได้รับความชื่นชม
(3) บุคคลแต่ละคนมาร่วมกันทํากิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน
(4) บุคคลแต่ละคนมาสมาคมกัน ณ จุดนัดพบ โดยมีเป้าหมายในโอกาสต่าง ๆ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) มารยาททางสังคม คือ กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติปฏิบัติ หรือควรละเว้นในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และเพื่อให้ทุก ๆ คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข จึงต้องมีกฎกติกากําหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกันเอาไว้ เช่น บุคคลผู้มีกิริยามารยาทดี มีวาจาดี เมื่ออยู่ร่วมกับหมู่คณะใดก็ย่อมได้รับความชื่นชม เป็นต้น

87. ข้อใดเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) เข้าร่วมกิจกรรมของสังคม
(2) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(3) เข้าร่วมกิจกรรมภาคสนาม
(4) เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีดังนี้
1. เคารพกฎหมายและกติกาของสังคม
2. เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและของผู้อื่น
3. มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
6. เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม การกล้าเสนอตนเองในการทําหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง ฯลฯ

88.“ธรรมะ” มีความหมายถึงข้อใด
(1) การกระทําที่มีความหมายเป็นนามธรรม
(2) การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม
(3) การกระทําที่แสดงออกมา
(4) การกระทําที่สังคมยอมรับว่ามีศีลธรรม
ตอบ 2 หน้า 40 คําว่า “คุณธรรมจริยธรรม” มักถูกใช้ควบคู่กันเสมอ แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นคํา 2 คํา ที่แยกออกจากกันและมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ความหมายของคําว่า “คุณ” (คุณะ) หมายถึง ความดี ซึ่งเป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนคําว่า “ธรรม” (ธรรมะ) หมายถึง การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม

89. พลเมืองดี ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน
(2) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ควรทําและกิจที่ต้องทํา
(3) ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองในกิจที่ควรทํา
(4) ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองในกิจที่ต้องทํา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมืองดี” หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้อย่างครบถ้วน ทั้งกิจที่ ต้องทํา และกิจที่ควรทํา ดังนี้
1 กิจที่ต้องทํา เป็นสิ่งที่กําหนดให้ทํา หรือห้ามมิให้กระทํา เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายและ
ระเบียบข้อบังคับของสังคม ฯลฯ
2. กิจที่ควรทํา เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่ควรทํา เช่น การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี, การช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม, การคํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณ เป็นหลัก, การมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว, การมีน้ําใจไมตรีช่วยเหลือต่อผู้ยากไร้ ฯลฯ

90. ข้อใดคือการประพฤติปฏิบัติตนทั้งกาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องงดงาม ถูกกาลเทศะจนสังคมยอมรับ
(1) การสมาคม
(2) มารยาท
(3) กิจนิสัย
(4) ธรรมเนียมปฏิบัติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “มารยาท” (Etiquette or Good Manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ หรือการแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตน ทั้งกาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องงดงาม ถูกกาลเทศะจนสังคมยอมรับ

91.ส.ส. จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) นายแคล้ว นรปติ
(2) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(3) นายประมวล กุลมาตย์
(4) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ตอบ 1 หน้า 7 สําหรับชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นชื่อที่นายแคล้ว นรปติ ส.ส. จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอ โดยให้เหตุผลว่าเป็นพระนามของปฐมกษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นมหาราชองค์แรกของไทย และเป็นการเทิดพระเกียรติ

92. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก คือที่ใด
(1) ณ สนามกีฬาแห่งชาติ
(2) ณ ตึกไทยคู่ฟ้า
(3) ณ บริเวณลานพระรูปพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(4) ณ บริเวณลานพระรูปทรงม้า
ตอบ 2 หน้า 22 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในฐานะนายก สภามหาวิทยาลัยรามคําแหงคนแรก เป็นประธาน

93. ข้อใดไม่ใช่กิจที่ควรทํา
(1) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(2) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของสังคม
(3) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(4) มีน้ำใจไมตรีช่วยเหลือต่อผู้ยากไร้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ (ตัวเลือกข้อ 2 เป็นกิจที่ต้องทํา)

94. สิ่งใดมีความสําคัญที่สุดในการแต่งกายไปร่วมงานต่าง ๆ
(1) แต่งกายให้ทันสมัย
(2) การให้เกียรติเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน
(3) การแต่งกายตามความเหมาะสมกับวัย
(4) แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่สําคัญที่สุดในการแต่งกายไปร่วมงานต่าง ๆ คือ แต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ สถานที่ที่จะไป และความนิยม เช่น ผู้หญิงไปงานศพควรใส่ เสื้อคอปิดสีดําหรือขาว ส่วนผู้ชายใส่ชุดสีเข้มหรือสูท สวมรองเท้าหนังหุ้มส้น ฯลฯ

95. ข้อใดที่ไม่ใช่มารยาทในการขับรถเบื้องต้น
(1) รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง
(2) ปฏิบัติตามกฎจราจร และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง
(3) ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน
(4) การเลี้ยวระยะใกล้ ๆ ไม่ต้องเปิดไฟเลี้ยวก็ได้
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) มารยาทในการขับรถเบื้องต้น ได้แก่
1. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และมีน้ําใจต่อเพื่อนร่วมทาง
2. เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยว
3. ขับรถช้า/เร็ว ควรอยู่เลนให้ถูก คือ ขับช้าชิดซ้าย ส่วนขับเร็วชิดขวา
4. ไม่ใช้ไฟสูงอย่างพร่ําเพรื่อ
5. ไม่ปาด แทรก เบียดในทุกกรณี
6. ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน
7. รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง ฯลฯ

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม
(1) รายได้
(2) พุทธศาสนา
(3) กฎหมาย
(4) สุภาษิตสอนหญิง
ตอบ 1 หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1.วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ เช่น พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ฯลฯ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และสุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง เช่น ข้อบังคับ กฎหมาย ระเบียบของบ้านเมือง ฯลฯ

97. ข้อความในข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า ตําบลหัวหมาก
(2) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ เอดี 1
(3) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า ตําบลหัวหมาก อําเภอบางกะปิ
จังหวัดพระนคร
(4) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เป็นมติให้อาศัยสถานที่แสดงสินค้าของทางการที่ตําบล หัวหมาก อําเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นสถานที่ชั่วคราว โดยเป็นการใช้สถานที่ร่วมกัน กับกรมเศรษฐสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่ดูแลสถานที่แสดงสินค้าในขณะนั้น

98. ต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ทองกวาว
(2) ดาวเรือง
(3) สุพรรณิการ์
(4) กฐินณรงค์
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542

99. จังหวัดใดไม่มีชื่ออยู่ในสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) จังหวัดสกลนคร ภูเก็ต กระบี่ ตาก
(2) จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สงขลา
(3) จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย
(4) จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคที่ จัดตั้งตามลําดับอยู่ใน 23 จังหวัด ได้แก่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี อํานาจเจริญ นครพนม แพร่ นครราชสีมา สุโขทัย ขอนแก่น ศรีสะเกษ ตรัง ลพบุรี หนองบัวลําภู ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ อุดรธานี กาญจนบุรี สุรินทร์ เชียงราย สงขลา เชียงใหม่ และพังงา

100. หัวใจสําคัญของหลักประชาธิปไตย ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
(1) ฟังเสียงข้างมาก
(2) การปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน
(3) มีเสรีภาพ
(4) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการทางประชาธิปไตยที่สําคัญที่สุด ได้แก่
1. หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
2. หลักความเสมอภาค
3. หลักนิติธรรม
4. หลักเหตุผล
5. หลักการถือเสียงข้างมาก
6. หลักการประนีประนอม

101. วศิน อินทสระ กล่าวถึงความสําคัญและประโยชน์ของจริยธรรม ข้อใดไม่ถูก
(1) สอนให้เลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน
(2) สอนให้รู้จักรักนวลสงวนตัว
(3) การพัฒนาบ้านเมือง
(4) รากฐานอันสําคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง
ตอบ 2 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ กล่าวถึงความสําคัญและประโยชน์ของจริยธรรมไว้ดังนี้
1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสําคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง
2. การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน
3. จริยธรรมมิได้หมายถึง การถือศีล เข้าวัดฟังธรรม จําศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทําประโยชน์ ให้แก่สังคม แต่จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ การกระทํา ความคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ต่อการทําหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์
4. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ฯลฯ

102. ข้อใดถูกต้องที่สุด เมื่อได้ยินเสียงโทรศัพท์
(1) ขณะที่โทรศัพท์ ฟ้าชอบพูดแทรกและขัดจังหวะแดงเสมอ
(2) เจี๊ยบปล่อยให้ดังระยะหนึ่งค่อยรับ เพื่อที่จะรู้ว่าผู้โทรมาต้องการโทรหาเราจริง ๆ
(3) ดาวชอบคุยเรื่องไร้สาระ และเรื่องที่เป็นความลับทางโทรศัพท์
(4) หากมีสายเข้าในขณะที่อยู่ในที่สาธารณะ ให้รับสายและขออนุญาตโทรกลับไปหาใหม่ เนื่องจากไม่สะดวกคุย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทในการรับสายโทรศัพท์ มีดังนี้
1. ยกหูโทรศัพท์ทันที เมื่อมีเสียงกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้นควรรับสายทันที (ไม่ควรให้ดังเกิน 3 ครั้ง)
2. งดเคี้ยวอาหาร และลดเสียงลงหากมีสายเข้า
3. เริ่มต้นสนทนาด้วยการแนะนําตัวเอง คือ ชื่อบริษัท และบอกชื่อผู้รับสาย
4. เตรียมกระดาษ ดินสอ/ปากกาให้พร้อม เพื่อจดบันทึกข้อความได้ทันที
5. ไม่พูดเรื่องความลับ หรือเรื่องไร้สาระ
6. ควรเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่พูดแทรกและขัดจังหวะคู่สนทนา
7. รับโทรศัพท์และจบการพูดด้วย “สวัสดีครับ/ค่ะ” ทุกครั้ง
8. หากมีสายเข้าในขณะที่อยู่ในที่สาธารณะ ให้รับสายและขออนุญาตโทรกลับไปหาใหม่ เนื่องจากไม่สะดวกคุย ฯลฯ

103. สนธยาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มาเรียนแต่เช้าและเข้าเรียนตรงเวลา แสดงว่าสนธยามีคุณสมบัติตามข้อใด
(1) มีมารยาท
(2) มีบุคลิกดี
(3) มีความเป็นสุภาพชน
(4) มีวินัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

104. มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา ยังขาดความรู้ ขาดปัญญา มักมีสิ่งใดเป็นตัวนําพฤติกรรมไปในทางที่ไม่เหมาะสม
(1) ปรัชญา
(2) ปัญหา
(3) จิตใจ
(4) ตัณหา
ตอบ 4 หน้า 49 – 50 พระธรรมปิฎก ได้กล่าวว่า มนุษย์ที่มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึกยินดียินร้ายต่อ อารมณ์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า “ตัณหา” ซึ่งตัณหานี้จะเป็นตัวกําหนดพฤติกรรม เพราะมนุษย์ยัง ไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา ดังนั้นเราจะปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวกําหนดหรือตัวนํา พฤติกรรมไม่ได้ มนุษย์จะต้องกําหนดรู้ว่า อะไรเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตตน แล้วทําตาม ความรู้นั้น คือ เอาความรู้เป็นตัวกําหนดนําพฤติกรรม

105. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(2) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
(3) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(4) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคมมีลักษณะดังนี้
1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย

106. คําว่า “พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย” หมายถึง
(1) เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(3) มีหลักการทางอนาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(4) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะสําคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการ ดํารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

107. ข้อใดไม่ใช่หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี
(1) ด้านการเมือง
(2) ด้านวัฒนธรรมประเพณีและท้องถิ่น
(3) ด้านสังคม
(4) ด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความสําคัญในด้านการเมือง คือ ประชาธิปไตยจะประสบความสําเร็จได้ ประชาชนจะต้อง เป็นพลเมืองดี
2. ความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ คือ เกิดความเป็นธรรมในการผลิต การบริโภค การกระจาย การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ นํามาซึ่งความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม
3. ความสําคัญในด้านสังคม คือ ทําให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความรักและ ความสามัคคีในหมู่คณะ สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

108. ข้อใดที่ไม่ใช่การประพฤติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(2) ประพฤติตนไม่อยู่ในร่องในรอย
(3) ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม
(4) ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยมีแนวทางการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
1. แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล รับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดี
2. ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก
3. ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
4. ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมอันดีงาม
5. ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง ฯลฯ

109. ข้อใดเป็นคําขวัญของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
(1) “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง”
(2) ความรู้คู่คุณธรรม
(3) “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ”
(4) “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม”
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
1. “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคําขวัญแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะ แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
2. “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527
3. “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดคําขวัญเนื่องใน โอกาส 40 ปี รามคําแหง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ฯลฯ

110. “คุณะ” มีความหมายถึงข้อใด
(1) ความดี เป็นความหมายทางรูปธรรมและเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา
(2) ความดี เป็นความหมายของอารมณ์และความรู้สึก
(3) ความดี เป็นความหมายของความถูกต้องชอบธรรม
(4) ความดี เป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

111. ส.ส. จังหวัดชุมพร พรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) คือใคร
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายประมวล กุลมาตย์
(3) นายแคล้ว นรปติ
(4) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ตอบ 2 หน้า 2 – 3 ในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทุกภาคของประเทศ ที่สังกัดพรรคสหประชาไทยได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) ได้แก่
1. นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส. จังหวัดชุมพร เป็นผู้เริ่มจัดทําร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัย…….. พ.ศ.
2. นายสวัสดิ์ คําประกอบ ส.ส. จังหวัดนครสวรรค์
3. นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส. จังหวัดอุดรธานี
4. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา
5. นายสุรินทร์ เทพกาญจนา ส.ส. จังหวัดสมุทรสาคร
6. นายประสิทธิ์ ชูพินิจ ส.ส. จังหวัดกําแพงเพชร
7. นายชื่น ระวิวรรณ ส.ส. จังหวัดหนองคาย และมี ส.ส. ร่วมลงชื่อรับรองอีก 43 คน

112. ข้อใดไม่ใช่การเกิดของคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์
(1) การสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
(2) การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม
(3) การเลียนแบบ
(4) การสร้างในตนเอง
ตอบ 1 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. การเลียนแบบ
2. การสร้างในตนเอง
3. การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)

113. โคลเบิร์กและเพียเจต์ มีความเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับพัฒนาการของเรื่องใดต่อไปนี้
(1) พัฒนาการของจริยธรรม
(2) พัฒนาการของทฤษฎีใหม่
(3) พัฒนาการของการมีส่วนร่วม
(4) พัฒนาการของพลเมือง
ตอบ 1 หน้า 50 โคลเบิร์ก (Kohlberg) นักการศึกษาชาวตะวันตก กล่าวว่า การพัฒนาทางสติปัญญา และอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม โดยจริยธรรมของมนุษย์จะมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญาเมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น และจริยธรรมยังมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา จะสอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget)ซึ่งทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

114. ผู้ริเริ่มให้มีข่าวรามคําแหง
(1) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
(2) รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล
(3) ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ข่าวรามคําแหงฉบับแรกได้ถือกําเนิดขึ้น โดยมี ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ซึ่งดํารงตําแหน่งรักษาการอธิการบดีในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่มให้มีการ จัดทําขึ้นมา ทั้งนี้ข่าวรามคําแหงฉบับแรกเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ มีจํานวนหน้าเพียง 4 หน้า

115. ข้อใดไม่ใช่มารยาทที่เป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล
(1) การมีสัมมาคารวะ
(2) ความสุภาพอ่อนน้อม
(3) ความมีวินัย และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
(4) รู้จักวิธีการพูดในที่สาธารณะเพื่อให้คนยอมรับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทที่เป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่
1. การมีสัมมาคารวะ
2. ความสุภาพอ่อนน้อม
3. ความมีวินัย และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น

116. เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษามารยาททางสังคม
(1) เพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
(2) เพื่อให้เกิดความเจริญในสังคม
(3) เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
(4) เพราะอยู่ในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

117. ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) หลักการ
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 3 หน้า 64 หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง ซึ่งมีความหมายว่า ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

118. การไหว้พระที่ถูกต้อง ได้แก่
(1) พนมมือระดับอก ปลายนิ้วชี้จรดปลายคาง
(2) หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พนมมือแนบชิดหน้าผาก
(3) หัวแม่มือจรดระหว่างปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
(4) หัวแม่มือจรดระหว่างปาก ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การไหว้ตามประเพณีไทยมีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้
1. การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันหรือรับไหว้ ผู้ไหว้จะพนมมือกลางอก ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบน
โดยอาจก้มหน้าลงเล็กน้อย
2. การไหว้ผู้ที่อาวุโสกว่า ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้อยู่ตรง ปลายสันจมูก แล้วก้มหน้าลง
3. การไหว้บิดามารดาหรือบุคคลอันเป็นที่เคารพยิ่ง ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรด ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง
4. การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พนมมือแนบชิดหน้าผาก พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง

119. คุณลักษณะที่สําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่า เป็นส่วนประกอบที่เป็น 3 ห่วง
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) ความมีวินัย
(4) มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ 1. เงื่อนไขความรู้ 2. เงื่อนไขคุณธรรม

120. เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีจิตสาธารณะ บุคคลนั้นย่อมมีจิตใจและความคิดอย่างไร
(1) ดิ้นรนต่อสู้เอาชนะปัญหาชีวิตทุกรูปแบบ
(2) เอื้อเฟื้อแก่ผู้ด้อยโอกาส
(3) มีความรู้สึกชาตินิยม
(4) ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
ตอบ 4 หน้า 84 ยุทธนา วรุณปิติกุล กล่าวถึง บุคคลที่มีจิตสาธารณะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. การทุ่มเทและอุทิศตน
2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
4. การลงมือกระทํา

Advertisement